• บทวิเคราะห์ของ สมหมาย ภาษี อดีตรัฐมนตรีคลัง “นโยบายปรับภาษี (Tariff) ของ Trump จะทำให้โลกใบนี้ไม่เหมือนเดิมอีกแล้วพัฒนาการของการค้าโลกในช่วงประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา มีการตั้งองค์การด้านการค้าโลกขึ้น เริ่มด้วยการตั้ง GATTS แล้วต่อมาปรับเป็น WTO (World Trade Organization) เพื่อสร้างกฎเกณฑ์การค้าขายระหว่างประเทศและกำกับให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามแนวทางการค้าเสรี ช่วงนี้จะมีประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา รัสเซีย ประเทศใหญ่ๆในยุโรป และประเทศญี่ปุ่นได้ปรับตัวให้ตนเองมั่งคั่งและสะสมความร่ำรวย เข้าไปควบคุมตลาดเงินและสกุลเงินตราสำคัญ รวมทั้งควบคุมตลาดการค้าหลักๆให้เป็นระเบียบและเอื้อต่อการขยายตัวของการค้าขายของแต่ละประเทศเพื่อประโยชน์ต่อตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ .แต่แล้วในช่วงดังกล่าวนี้ประเทศจีนเสือหลับแห่งเอเชีย ที่ได้ผู้นำประเทศที่ขึ้นมาพลิกผันประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรมได้รวดเร็วและต่อเนื่อง ชื่อ เติ้ง เสี่ยวผิง เติ้งได้ทำการปฏิวัติและปฏิรูปประเทศในทุกด้านโดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมตั้งแต่แบบเก่าจนแบบที่ต้องใช้เทคนิคล้ำหน้า จนขณะนี้จีนภายใต้ผู้นำชื่อ สี จิ้น ผิง ที่เข้มแข็ง มือสะอาด มีฝีมือ มีคุณธรรม มีความตั้งใจจริง เข้ามาบริหารประเทศที่มีพลเมืองมากที่สุดให้ใหญ่โตจนทัดเทียมกับประเทศสหรัฐอเมริกาในทุกด้าน จนผู้นำของสหรัฐอย่าง Trump รู้สึกเสียหน้ามาก. ที่มาของการใช้มาตรการทำสงครามการค้าของ Trump ความแข็งแกร่งของจีนในขณะนี้ Trump ได้เฝ้าดูแลมาร่วม 8 ปี เมื่อเขาสามารถเข้ามาเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอีกครั้งก็ไม่รีรอที่จะลงมือนำนโยบายปรับภาษีสินค้านำเข้าและส่งออก (Tariff) ชนิดสุดโต่งและจำเพาะเจาะจงมาใช้กับประเทศจีนโดยทันที ขณะเดียวกันก็ได้ประกาศใช้กับประเทศคู่ค้าอื่นๆ ทั่วโลกด้วย แต่มาตรการจะเบากว่าที่ใช้กับจีน. สิ่งที่เห็นตามที่เป็นข่าวอยู่ทุกวันนี้ก็คือ การเกิดแรงกระแทกอย่างมากต่อวิถีการค้าระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ทั่วโลก ไม่ต้องถามว่าทำไม Trump ต้องทำแบบนี้ เพราะเขาเองเห็นชัดว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาของเขากำลังตกต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดดุลการค้าอย่างมากที่เกิดต่อเนื่องมานานและมีหนี้สาธารณะสูงมาก .Trump ยังได้เห็นชัดว่า ฝ่ายของจีนมีพวกพ้องมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดตั้งกลุ่ม BRICS ประกอบด้วย Brazil, Russia, India, China และ South Africa รวมหัวกันทำการค้าต่อกันอย่างใกล้ชิด คิดใช้สกุลเงินตราของตนเอง โดยหันหน้าหนีการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ.เท่านั้นยังไม่พอ กลุ่ม BRICS ยังค่อยๆลดการลงทุนในพันธบัตรของสหรัฐที่แต่ละประเทศถือไว้มากมายลงไปโดยการขายออก และหันไปซื้อทองคำหรือกระจายการลงทุนเป็นอย่างอื่น ขณะเดียวกันนักลงทุนรายใหญ่อื่นๆ ในตลาดเงินก็ทำการทิ้งพันธบัตรสหรัฐตามกันไปด้วย มีผลทำให้พันธบัตรซึ่งเป็นสินทรัพย์ในอนาคตจำนวนมากของสหรัฐด้อยค่าลงมากอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน.สรุปได้ว่า Trump ได้มองเห็นอย่างชัดเจนว่าสหรัฐอเมริกาตอนนี้ได้ต่ำต้อยลงอย่างรวดเร็วมาก ตัวเองจึงจำเป็นต้องทำตัวเป็นอัศวินขี่ม้าขาวเข้ามากู้ประเทศให้พลิกผันให้สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งอย่างเต็มตัวต่อไป ที่ Trump ตั้งใจจะทำก่อนและให้แรงมากคือเล่นงานด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าของสินค้าจีนอย่างบ้าระห่ำ ซึ่งจีนก็ได้ตอบโต้ด้วยมาตรการทำนองเดียวกัน แบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน นี่เป็นแค่ยกแรกแค่นั้น.ประเทศน้อยใหญ่ และสถาบันการเงินระหว่างประเทศทั้งหลายต่างก็มองการกระทำของ Trump ในแง่ลบ แม้แต่ประธาน Federal Reserve ของสหรัฐเองอย่าง Jerome Powell เองก็มีอาการกึ่งช็อคกึ่งหัวหมุนกับนโยบายประเภทบ้าบิ่นที่ประธานาธิบดีของเขาจัดมาเป็นชุดๆ Powell ถึงกับกล่าวว่านโยบายของ Trump ที่นำออกมาใช้นี้จะเป็นสิ่งกระตุ้นให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ภาวะเศรษฐกิจจะตกต่ำและการว่างงานจะมีมากขึ้น ตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหุ้นก็จะปั่นป่วนมาก ความตั้งใจที่ Fed จะลดดอกเบี้ยลงจึงทำได้ยากขึ้นซึ่งความเห็นของประธาน Fed ดังกล่าว Trump ไม่พอใจมากเพราะเขาอยากให้มีการลดดอกเบี้ยถึงกับเอ่ยออกมาว่าคงต้องคิดเรื่องการเด้งประธาน Fed ซะแล้ว ฟังคล้ายกำลังจะเอาอย่างประเทศไทย.แนวทางของไทยที่จะรับมือเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประเทศทุกประเทศที่โดนผลกระทบในเรื่องการขึ้น Tariff ของ Trump ต่างก็กำลังระดมความคิดและเตรียมตัวที่จะส่งผู้แทนไปเจรจา ยกเว้นจีนประเทศเดียวที่ขึ้นป้ายจะสู้กับสหรัฐอย่างแน่วแน่.สำหรับประเทศไทย ยังฟังไม่ได้ศัพท์จากฝ่ายรัฐบาลว่าจะมีกลยุทธ์ในการรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร ชี้ให้เห็นชัดว่าศักยภาพของรัฐบาลไทยในการแก้ปัญหาใหญ่ต่ำมาก ฟังความได้อย่างเดียวจากท่านนายกรัฐมนตรีว่าจะใช้นโยบายและแนวทางเหมือนกับประเทศอาเซียนอื่นๆเท่านั้นตอนนี้ก็เห็นภาพชัดขึ้นอีกจากคณะผู้แทนที่เตรียมการจะไปเจรจา โดยจะไปบอกทางสหรัฐว่าไทยเราจะซื้อสินค้าจากเขามากขึ้น เช่น LNG ข้าวโพด ถั่วเหลือง เป็นต้น ถ้าจะเดาก็จะขอให้ทางสหรัฐบันยะบันยังกับการเพิ่มภาษีสินค้าที่นำเข้าจากไทยที่มีมูลค่าถึง 18 % ของมูลค่าการส่งออกของไทยทั้งหมด.ส่วนผลกระทบต่อไทย เท่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พยายามจะบอกพอสังเขป สรุปได้ว่าการส่งออกของไทยจะโดนกระทบมากโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และอาหารแปรรูป และจะทำให้การเติบโตของ GDP ในปีนี้ลดต่ำกว่าเป้าเหลือโตไม่ถึง 2.5 % และอัตราเงินเฟ้อของไทยก็จะชะลอลงด้วย นี่ยังไม่พูดถึงผลกระทบในปีหน้าและต่อๆไป ว่าจะรุนแรงสักแค่ไหน เชื่อได้เถอะครับมันแรงเกินคาด.ความเห็นผมนั้น เห็นว่าไทยเราจะโดนหนักกว่าที่รัฐบาลและหน่วยราชการไทยประเมินไว้มาก เกินศักยภาพของรัฐบาลไทยชุดนี้จะรับมือได้ วิกฤตที่จะเกิดขึ้นจากเรื่อง Tariff หนนี้ ไม่ใช่ Covid 19 นะครับ มันเป็นเรื่องประเทศใครประเทศมัน ใครมีผู้นำเก่งก็ทำให้เบาได้ สามารถเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสได้.แนวทางในการคิดแก้วิกฤตของประเทศขนาดเล็กผมอยากนำท่านผู้อ่านไปดูว่าผู้นำของสิงคโปร์อย่างอดีตนายกลี เซียนลุง ได้พูดเมื่อไม่กี่วันมานี้ซึ่งดีมาก เขาเริ่มบอกประชาชนรวมทั้งคณะรัฐมนตรีที่บริหารประเทศและนักธุรกิจ นักลงทุนของเขาว่าแม้จะมีความไม่แน่นอนในช่วง 90 วันที่ Trump จะให้ประเทศอื่นๆ นอกจากจีนไปคิดกันให้ดี แต่ก็ต้องมองให้ออกว่าทุกอย่างจะไม่กลับไปเหมือนก่อนหน้านี้อีกแล้ว ดังนั้น เราต้องกังวลและคิดให้ตกว่ามันจะส่งผลกับเรามากแค่ไหน ต้องตระหนักให้ได้ว่าวิกฤตที่จะเกิดทั่วโลกนี้ บางสิ่งบางอย่างที่สำคัญมันแตกต่างไปจากเดิมมาก .ลี เซียนลุง ชี้ให้เห็นชัดว่า การขึ้นภาษีหรือ Tariff ไปทั่วโลกครั้งนี้มันจะก่อกวนต่อการผลิตมากกว่าที่คิด เพราะ Supply Chain หรือ ห่วงโซ่การผลิตทุกอย่างจะหยุดชะงัก แผนการผลิตเดิมทุกอย่างจะหายไป และจะนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (Recession) อย่างรวดเร็ว และขอให้คาดหวังไว้ได้เลยว่า ปัญหานี้จะอยู่กับเราไปอีกนาน.หลังจากลี เซียนลุง พูดเรื่องนี้ได้ไม่กี่วัน นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ที่มีเสียงสนับสนุนหนาแน่นอยู่ได้ประเทศยุบสภาไปเมื่อวันที่ 18 เมษายน นี้เอง เหตุผลเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเลือกผู้นำใหม่ขึ้นมา นี่คือสิงคโปร์ นี่คือสิ่งที่เขาเป็นชาติที่เจริญได้อย่างรวดเร็วและมั่นคงจนเราไม่สามารถแหงนหน้าขึ้นไปมองเขาได้แล้ว.ทางรอดของไทยจะเป็นอย่างไร ท้ายที่สุดนี้ เรามาดูว่าประเทศไทยเราจะมีทางรอดแค่ไหนก่อนเราต้องส่องกระจกดูตัวเอง และต้องฟังดูว่ามีใครมองเราอย่างไรบ้างให้ชัดก่อน เมื่อไม่กี่เดือนมานี้เองได้มีการชี้แนะจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศแห่งหนึ่งว่า “ประเทศไทยนั้นมีเรื่องคอร์รัปชั่นเป็นตัวหลักที่ทำให้การบริหารประเทศในทุกด้านเดินหน้าไม่ได้” และเมื่อมีนาคม 2568 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ชี้ว่าเศรษฐกิจไทยน่าห่วงเทียบได้เป็น “คนป่วยแห่งเอเชีย”เป็นคนป่วยยังไงหรือ ทางด้านเศรษฐกิจก็เห็นกันชัดอยู่แล้วว่าไทยเรา กำลังเผชิญกับหนี้สาธารณะสูงมาก ภาษีเก็บได้น้อย ช่องทางในการหาเงินมาบริหารประเทศยังชักหน้าไม่ถึงหลัง อนาคตด้านการคลังริบหรี่ ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจเรื่องหนี้ครัวเรือนก็ไม่มีทางจะแก้ให้เบาบางลงได้ แม้ไม่มีเรื่องการปรับ Tariff ของ Trump ประเทศไทยเราก็มีความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจมากเกินอยู่แล้ว นี่คืออาการของคนป่วยเรื้อรังแห่งเอเชีย.ไม่ต้องสาธยายกันมาก อีกเรื่องทุกคนก็รู้ดีอยู่ว่า การเมืองของไทยยักแย่ยักยันอยู่ในปลักโคลนตมเดิมจนโงหัวไม่ขึ้นมานานแล้ว การเล่นการเมืองของนักการเมืองไทยเด็กๆก็รู้ว่าเพื่ออำนาจและผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องเท่านั้น ใครจะเห็นต่างกี่คนก็บอกมา.เมื่อองคาพยพของการเมืองไทยซึ่งมีการแต่งตั้งคณะรัฐบาลมาบริหารประเทศจากรากเหง้าเก่าๆที่รู้กันอยู่ เมื่อเจอกับปัญหาใหญ่ระดับโลกชนิดที่ว่าหันไปทางไหนก็มากระทบเราทั้งนั้น ท่านผู้ที่ได้ใช้สิทธิใช้เสียงเลือกพวกเขาเข้ามาบริหารประเทศ เชื่อและมั่นใจหรือไม่ว่าเขาจะแก้ปัญหาใหญ่ที่จะมากระทบประเทศเราได้ .หันไปดูนโยบายของพรรคการเมืองผู้กุมอำนาจบริหารประเทศอยู่ในขณะนี้ก็จะเห็นชัดเจนว่า ตอนนี้นโยบายของพวกเขาเหล่านั้น มันเน่าบูดกันแทบหมดแล้วครับ ถ้าจะแก้ปัญหาใหญ่ที่จะมีแรงกระแทกก่อให้เกิดวิกฤตที่ใหญ่เกินคาด ด้วยการปรับ ครม. แต่ยังดันทุรังคงสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ไว้ น่าจะไม่เป็นการกระทำของผู้นำที่รักชาติจริง”
    บทวิเคราะห์ของ สมหมาย ภาษี อดีตรัฐมนตรีคลัง “นโยบายปรับภาษี (Tariff) ของ Trump จะทำให้โลกใบนี้ไม่เหมือนเดิมอีกแล้วพัฒนาการของการค้าโลกในช่วงประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา มีการตั้งองค์การด้านการค้าโลกขึ้น เริ่มด้วยการตั้ง GATTS แล้วต่อมาปรับเป็น WTO (World Trade Organization) เพื่อสร้างกฎเกณฑ์การค้าขายระหว่างประเทศและกำกับให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามแนวทางการค้าเสรี ช่วงนี้จะมีประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา รัสเซีย ประเทศใหญ่ๆในยุโรป และประเทศญี่ปุ่นได้ปรับตัวให้ตนเองมั่งคั่งและสะสมความร่ำรวย เข้าไปควบคุมตลาดเงินและสกุลเงินตราสำคัญ รวมทั้งควบคุมตลาดการค้าหลักๆให้เป็นระเบียบและเอื้อต่อการขยายตัวของการค้าขายของแต่ละประเทศเพื่อประโยชน์ต่อตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ .แต่แล้วในช่วงดังกล่าวนี้ประเทศจีนเสือหลับแห่งเอเชีย ที่ได้ผู้นำประเทศที่ขึ้นมาพลิกผันประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรมได้รวดเร็วและต่อเนื่อง ชื่อ เติ้ง เสี่ยวผิง เติ้งได้ทำการปฏิวัติและปฏิรูปประเทศในทุกด้านโดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมตั้งแต่แบบเก่าจนแบบที่ต้องใช้เทคนิคล้ำหน้า จนขณะนี้จีนภายใต้ผู้นำชื่อ สี จิ้น ผิง ที่เข้มแข็ง มือสะอาด มีฝีมือ มีคุณธรรม มีความตั้งใจจริง เข้ามาบริหารประเทศที่มีพลเมืองมากที่สุดให้ใหญ่โตจนทัดเทียมกับประเทศสหรัฐอเมริกาในทุกด้าน จนผู้นำของสหรัฐอย่าง Trump รู้สึกเสียหน้ามาก. ที่มาของการใช้มาตรการทำสงครามการค้าของ Trump ความแข็งแกร่งของจีนในขณะนี้ Trump ได้เฝ้าดูแลมาร่วม 8 ปี เมื่อเขาสามารถเข้ามาเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอีกครั้งก็ไม่รีรอที่จะลงมือนำนโยบายปรับภาษีสินค้านำเข้าและส่งออก (Tariff) ชนิดสุดโต่งและจำเพาะเจาะจงมาใช้กับประเทศจีนโดยทันที ขณะเดียวกันก็ได้ประกาศใช้กับประเทศคู่ค้าอื่นๆ ทั่วโลกด้วย แต่มาตรการจะเบากว่าที่ใช้กับจีน. สิ่งที่เห็นตามที่เป็นข่าวอยู่ทุกวันนี้ก็คือ การเกิดแรงกระแทกอย่างมากต่อวิถีการค้าระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ทั่วโลก ไม่ต้องถามว่าทำไม Trump ต้องทำแบบนี้ เพราะเขาเองเห็นชัดว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาของเขากำลังตกต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดดุลการค้าอย่างมากที่เกิดต่อเนื่องมานานและมีหนี้สาธารณะสูงมาก .Trump ยังได้เห็นชัดว่า ฝ่ายของจีนมีพวกพ้องมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดตั้งกลุ่ม BRICS ประกอบด้วย Brazil, Russia, India, China และ South Africa รวมหัวกันทำการค้าต่อกันอย่างใกล้ชิด คิดใช้สกุลเงินตราของตนเอง โดยหันหน้าหนีการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ.เท่านั้นยังไม่พอ กลุ่ม BRICS ยังค่อยๆลดการลงทุนในพันธบัตรของสหรัฐที่แต่ละประเทศถือไว้มากมายลงไปโดยการขายออก และหันไปซื้อทองคำหรือกระจายการลงทุนเป็นอย่างอื่น ขณะเดียวกันนักลงทุนรายใหญ่อื่นๆ ในตลาดเงินก็ทำการทิ้งพันธบัตรสหรัฐตามกันไปด้วย มีผลทำให้พันธบัตรซึ่งเป็นสินทรัพย์ในอนาคตจำนวนมากของสหรัฐด้อยค่าลงมากอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน.สรุปได้ว่า Trump ได้มองเห็นอย่างชัดเจนว่าสหรัฐอเมริกาตอนนี้ได้ต่ำต้อยลงอย่างรวดเร็วมาก ตัวเองจึงจำเป็นต้องทำตัวเป็นอัศวินขี่ม้าขาวเข้ามากู้ประเทศให้พลิกผันให้สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งอย่างเต็มตัวต่อไป ที่ Trump ตั้งใจจะทำก่อนและให้แรงมากคือเล่นงานด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าของสินค้าจีนอย่างบ้าระห่ำ ซึ่งจีนก็ได้ตอบโต้ด้วยมาตรการทำนองเดียวกัน แบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน นี่เป็นแค่ยกแรกแค่นั้น.ประเทศน้อยใหญ่ และสถาบันการเงินระหว่างประเทศทั้งหลายต่างก็มองการกระทำของ Trump ในแง่ลบ แม้แต่ประธาน Federal Reserve ของสหรัฐเองอย่าง Jerome Powell เองก็มีอาการกึ่งช็อคกึ่งหัวหมุนกับนโยบายประเภทบ้าบิ่นที่ประธานาธิบดีของเขาจัดมาเป็นชุดๆ Powell ถึงกับกล่าวว่านโยบายของ Trump ที่นำออกมาใช้นี้จะเป็นสิ่งกระตุ้นให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ภาวะเศรษฐกิจจะตกต่ำและการว่างงานจะมีมากขึ้น ตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหุ้นก็จะปั่นป่วนมาก ความตั้งใจที่ Fed จะลดดอกเบี้ยลงจึงทำได้ยากขึ้นซึ่งความเห็นของประธาน Fed ดังกล่าว Trump ไม่พอใจมากเพราะเขาอยากให้มีการลดดอกเบี้ยถึงกับเอ่ยออกมาว่าคงต้องคิดเรื่องการเด้งประธาน Fed ซะแล้ว ฟังคล้ายกำลังจะเอาอย่างประเทศไทย.แนวทางของไทยที่จะรับมือเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประเทศทุกประเทศที่โดนผลกระทบในเรื่องการขึ้น Tariff ของ Trump ต่างก็กำลังระดมความคิดและเตรียมตัวที่จะส่งผู้แทนไปเจรจา ยกเว้นจีนประเทศเดียวที่ขึ้นป้ายจะสู้กับสหรัฐอย่างแน่วแน่.สำหรับประเทศไทย ยังฟังไม่ได้ศัพท์จากฝ่ายรัฐบาลว่าจะมีกลยุทธ์ในการรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร ชี้ให้เห็นชัดว่าศักยภาพของรัฐบาลไทยในการแก้ปัญหาใหญ่ต่ำมาก ฟังความได้อย่างเดียวจากท่านนายกรัฐมนตรีว่าจะใช้นโยบายและแนวทางเหมือนกับประเทศอาเซียนอื่นๆเท่านั้นตอนนี้ก็เห็นภาพชัดขึ้นอีกจากคณะผู้แทนที่เตรียมการจะไปเจรจา โดยจะไปบอกทางสหรัฐว่าไทยเราจะซื้อสินค้าจากเขามากขึ้น เช่น LNG ข้าวโพด ถั่วเหลือง เป็นต้น ถ้าจะเดาก็จะขอให้ทางสหรัฐบันยะบันยังกับการเพิ่มภาษีสินค้าที่นำเข้าจากไทยที่มีมูลค่าถึง 18 % ของมูลค่าการส่งออกของไทยทั้งหมด.ส่วนผลกระทบต่อไทย เท่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พยายามจะบอกพอสังเขป สรุปได้ว่าการส่งออกของไทยจะโดนกระทบมากโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และอาหารแปรรูป และจะทำให้การเติบโตของ GDP ในปีนี้ลดต่ำกว่าเป้าเหลือโตไม่ถึง 2.5 % และอัตราเงินเฟ้อของไทยก็จะชะลอลงด้วย นี่ยังไม่พูดถึงผลกระทบในปีหน้าและต่อๆไป ว่าจะรุนแรงสักแค่ไหน เชื่อได้เถอะครับมันแรงเกินคาด.ความเห็นผมนั้น เห็นว่าไทยเราจะโดนหนักกว่าที่รัฐบาลและหน่วยราชการไทยประเมินไว้มาก เกินศักยภาพของรัฐบาลไทยชุดนี้จะรับมือได้ วิกฤตที่จะเกิดขึ้นจากเรื่อง Tariff หนนี้ ไม่ใช่ Covid 19 นะครับ มันเป็นเรื่องประเทศใครประเทศมัน ใครมีผู้นำเก่งก็ทำให้เบาได้ สามารถเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสได้.แนวทางในการคิดแก้วิกฤตของประเทศขนาดเล็กผมอยากนำท่านผู้อ่านไปดูว่าผู้นำของสิงคโปร์อย่างอดีตนายกลี เซียนลุง ได้พูดเมื่อไม่กี่วันมานี้ซึ่งดีมาก เขาเริ่มบอกประชาชนรวมทั้งคณะรัฐมนตรีที่บริหารประเทศและนักธุรกิจ นักลงทุนของเขาว่าแม้จะมีความไม่แน่นอนในช่วง 90 วันที่ Trump จะให้ประเทศอื่นๆ นอกจากจีนไปคิดกันให้ดี แต่ก็ต้องมองให้ออกว่าทุกอย่างจะไม่กลับไปเหมือนก่อนหน้านี้อีกแล้ว ดังนั้น เราต้องกังวลและคิดให้ตกว่ามันจะส่งผลกับเรามากแค่ไหน ต้องตระหนักให้ได้ว่าวิกฤตที่จะเกิดทั่วโลกนี้ บางสิ่งบางอย่างที่สำคัญมันแตกต่างไปจากเดิมมาก .ลี เซียนลุง ชี้ให้เห็นชัดว่า การขึ้นภาษีหรือ Tariff ไปทั่วโลกครั้งนี้มันจะก่อกวนต่อการผลิตมากกว่าที่คิด เพราะ Supply Chain หรือ ห่วงโซ่การผลิตทุกอย่างจะหยุดชะงัก แผนการผลิตเดิมทุกอย่างจะหายไป และจะนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (Recession) อย่างรวดเร็ว และขอให้คาดหวังไว้ได้เลยว่า ปัญหานี้จะอยู่กับเราไปอีกนาน.หลังจากลี เซียนลุง พูดเรื่องนี้ได้ไม่กี่วัน นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ที่มีเสียงสนับสนุนหนาแน่นอยู่ได้ประเทศยุบสภาไปเมื่อวันที่ 18 เมษายน นี้เอง เหตุผลเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเลือกผู้นำใหม่ขึ้นมา นี่คือสิงคโปร์ นี่คือสิ่งที่เขาเป็นชาติที่เจริญได้อย่างรวดเร็วและมั่นคงจนเราไม่สามารถแหงนหน้าขึ้นไปมองเขาได้แล้ว.ทางรอดของไทยจะเป็นอย่างไร ท้ายที่สุดนี้ เรามาดูว่าประเทศไทยเราจะมีทางรอดแค่ไหนก่อนเราต้องส่องกระจกดูตัวเอง และต้องฟังดูว่ามีใครมองเราอย่างไรบ้างให้ชัดก่อน เมื่อไม่กี่เดือนมานี้เองได้มีการชี้แนะจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศแห่งหนึ่งว่า “ประเทศไทยนั้นมีเรื่องคอร์รัปชั่นเป็นตัวหลักที่ทำให้การบริหารประเทศในทุกด้านเดินหน้าไม่ได้” และเมื่อมีนาคม 2568 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ชี้ว่าเศรษฐกิจไทยน่าห่วงเทียบได้เป็น “คนป่วยแห่งเอเชีย”เป็นคนป่วยยังไงหรือ ทางด้านเศรษฐกิจก็เห็นกันชัดอยู่แล้วว่าไทยเรา กำลังเผชิญกับหนี้สาธารณะสูงมาก ภาษีเก็บได้น้อย ช่องทางในการหาเงินมาบริหารประเทศยังชักหน้าไม่ถึงหลัง อนาคตด้านการคลังริบหรี่ ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจเรื่องหนี้ครัวเรือนก็ไม่มีทางจะแก้ให้เบาบางลงได้ แม้ไม่มีเรื่องการปรับ Tariff ของ Trump ประเทศไทยเราก็มีความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจมากเกินอยู่แล้ว นี่คืออาการของคนป่วยเรื้อรังแห่งเอเชีย.ไม่ต้องสาธยายกันมาก อีกเรื่องทุกคนก็รู้ดีอยู่ว่า การเมืองของไทยยักแย่ยักยันอยู่ในปลักโคลนตมเดิมจนโงหัวไม่ขึ้นมานานแล้ว การเล่นการเมืองของนักการเมืองไทยเด็กๆก็รู้ว่าเพื่ออำนาจและผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องเท่านั้น ใครจะเห็นต่างกี่คนก็บอกมา.เมื่อองคาพยพของการเมืองไทยซึ่งมีการแต่งตั้งคณะรัฐบาลมาบริหารประเทศจากรากเหง้าเก่าๆที่รู้กันอยู่ เมื่อเจอกับปัญหาใหญ่ระดับโลกชนิดที่ว่าหันไปทางไหนก็มากระทบเราทั้งนั้น ท่านผู้ที่ได้ใช้สิทธิใช้เสียงเลือกพวกเขาเข้ามาบริหารประเทศ เชื่อและมั่นใจหรือไม่ว่าเขาจะแก้ปัญหาใหญ่ที่จะมากระทบประเทศเราได้ .หันไปดูนโยบายของพรรคการเมืองผู้กุมอำนาจบริหารประเทศอยู่ในขณะนี้ก็จะเห็นชัดเจนว่า ตอนนี้นโยบายของพวกเขาเหล่านั้น มันเน่าบูดกันแทบหมดแล้วครับ ถ้าจะแก้ปัญหาใหญ่ที่จะมีแรงกระแทกก่อให้เกิดวิกฤตที่ใหญ่เกินคาด ด้วยการปรับ ครม. แต่ยังดันทุรังคงสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ไว้ น่าจะไม่เป็นการกระทำของผู้นำที่รักชาติจริง”
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 150 Views 0 Reviews
  • Shein และ Temu เตรียมปรับขึ้นราคาสินค้าในสัปดาห์หน้า เนื่องจากนโยบายของ อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เข้มงวดขึ้นเกี่ยวกับ ภาษีนำเข้าและการปิดช่องโหว่ทางการค้า ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทเพิ่มขึ้น

    ✅ Shein และ Temu จะปรับขึ้นราคาสินค้าในวันที่ 25 เมษายน 2025
    - ทั้งสองบริษัทส่งจดหมายแจ้งลูกค้าให้รีบซื้อสินค้าก่อนราคาจะปรับขึ้น
    - การขึ้นราคาสินค้าเป็นผลมาจาก การเปลี่ยนแปลงกฎการค้าระหว่างประเทศและภาษีนำเข้า

    ✅ นโยบายภาษีนำเข้าของทรัมป์ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของ Shein และ Temu
    - ก่อนหน้านี้ Shein และ Temu อาศัย ข้อยกเว้น "de minimis" ที่อนุญาตให้สินค้าราคาไม่เกิน $800 เข้าสหรัฐฯ โดยไม่ต้องเสียภาษี
    - คำสั่งบริหารใหม่ของทรัมป์ ปิดช่องโหว่นี้ และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2025

    ✅ ราคาสินค้าบนแพลตฟอร์มก่อนการปรับขึ้น
    - Shein มีสินค้าราคาอยู่ระหว่าง $6 ถึง $91
    - Temu มีสินค้าราคาอยู่ระหว่าง $2.48 ถึง $210

    ✅ ผลกระทบต่อผู้บริโภคและตลาดอีคอมเมิร์ซ
    - ผู้บริโภคอาจต้องจ่ายเงินมากขึ้นสำหรับสินค้าแฟชั่นและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
    - อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในสหรัฐฯ

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/04/17/shein-temu-to-get-pricier-as-trump-cracks-down-on-cheap-imports
    Shein และ Temu เตรียมปรับขึ้นราคาสินค้าในสัปดาห์หน้า เนื่องจากนโยบายของ อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เข้มงวดขึ้นเกี่ยวกับ ภาษีนำเข้าและการปิดช่องโหว่ทางการค้า ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทเพิ่มขึ้น ✅ Shein และ Temu จะปรับขึ้นราคาสินค้าในวันที่ 25 เมษายน 2025 - ทั้งสองบริษัทส่งจดหมายแจ้งลูกค้าให้รีบซื้อสินค้าก่อนราคาจะปรับขึ้น - การขึ้นราคาสินค้าเป็นผลมาจาก การเปลี่ยนแปลงกฎการค้าระหว่างประเทศและภาษีนำเข้า ✅ นโยบายภาษีนำเข้าของทรัมป์ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของ Shein และ Temu - ก่อนหน้านี้ Shein และ Temu อาศัย ข้อยกเว้น "de minimis" ที่อนุญาตให้สินค้าราคาไม่เกิน $800 เข้าสหรัฐฯ โดยไม่ต้องเสียภาษี - คำสั่งบริหารใหม่ของทรัมป์ ปิดช่องโหว่นี้ และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2025 ✅ ราคาสินค้าบนแพลตฟอร์มก่อนการปรับขึ้น - Shein มีสินค้าราคาอยู่ระหว่าง $6 ถึง $91 - Temu มีสินค้าราคาอยู่ระหว่าง $2.48 ถึง $210 ✅ ผลกระทบต่อผู้บริโภคและตลาดอีคอมเมิร์ซ - ผู้บริโภคอาจต้องจ่ายเงินมากขึ้นสำหรับสินค้าแฟชั่นและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ - อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในสหรัฐฯ https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/04/17/shein-temu-to-get-pricier-as-trump-cracks-down-on-cheap-imports
    WWW.THESTAR.COM.MY
    Shein, Temu to get pricier as Trump cracks down on cheap imports
    (Reuters) -Chinese e-marketplace Temu and fast-fashion retailer Shein will raise prices next week as U.S. President Donald Trump's sweeping tariffs and crackdown on low-value imports push up costs for the companies known for their budget offerings.
    0 Comments 0 Shares 154 Views 0 Reviews
  • Sundar Pichai CEO ของ Alphabet ยืนยันแผนการลงทุนมูลค่า 75 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2025 เพื่อขยายศักยภาพของศูนย์ข้อมูลและพัฒนาเทคโนโลยี AI โดยเฉพาะโมเดล Gemini ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญที่บริษัทมุ่งเน้น

    🌐 การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน:
    - งบประมาณนี้จะถูกใช้ในการพัฒนาชิปและเซิร์ฟเวอร์ที่จำเป็นสำหรับบริการหลัก เช่น Search และการพัฒนา AI
    - การลงทุนยังครอบคลุมถึงการสนับสนุนลูกค้าองค์กรที่ใช้บริการคลาวด์ของ Google

    🤖 โอกาสใน AI:
    - Sundar Pichai ระบุว่า AI เป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนี้ และ Alphabet มุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีนี้ไปสู่มือของผู้บริโภคและองค์กร

    📈 ผลกระทบต่อหุ้น:
    - หุ้นของ Alphabet เพิ่มขึ้นกว่า 7% หลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศหยุดการเก็บภาษีชั่วคราว ซึ่งช่วยลดแรงกดดันในตลาด

    ความท้าทายที่ต้องเผชิญ:
    💡 ความกังวลของนักลงทุน:
    - แม้การลงทุนใน AI จะมีศักยภาพสูง แต่นักลงทุนเริ่มตั้งคำถามถึงผลตอบแทนที่ชัดเจนจากการลงทุนมหาศาลนี้

    💡 สงครามการค้า:
    - ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างประเทศอาจเพิ่มต้นทุนการผลิตและส่งผลกระทบต่อแผนการลงทุน

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/04/10/alphabet-ceo-reaffirms-planned-75-billion-capital-spending-in-2025
    Sundar Pichai CEO ของ Alphabet ยืนยันแผนการลงทุนมูลค่า 75 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2025 เพื่อขยายศักยภาพของศูนย์ข้อมูลและพัฒนาเทคโนโลยี AI โดยเฉพาะโมเดล Gemini ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญที่บริษัทมุ่งเน้น 🌐 การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน: - งบประมาณนี้จะถูกใช้ในการพัฒนาชิปและเซิร์ฟเวอร์ที่จำเป็นสำหรับบริการหลัก เช่น Search และการพัฒนา AI - การลงทุนยังครอบคลุมถึงการสนับสนุนลูกค้าองค์กรที่ใช้บริการคลาวด์ของ Google 🤖 โอกาสใน AI: - Sundar Pichai ระบุว่า AI เป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนี้ และ Alphabet มุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีนี้ไปสู่มือของผู้บริโภคและองค์กร 📈 ผลกระทบต่อหุ้น: - หุ้นของ Alphabet เพิ่มขึ้นกว่า 7% หลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศหยุดการเก็บภาษีชั่วคราว ซึ่งช่วยลดแรงกดดันในตลาด ความท้าทายที่ต้องเผชิญ: 💡 ความกังวลของนักลงทุน: - แม้การลงทุนใน AI จะมีศักยภาพสูง แต่นักลงทุนเริ่มตั้งคำถามถึงผลตอบแทนที่ชัดเจนจากการลงทุนมหาศาลนี้ 💡 สงครามการค้า: - ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างประเทศอาจเพิ่มต้นทุนการผลิตและส่งผลกระทบต่อแผนการลงทุน https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/04/10/alphabet-ceo-reaffirms-planned-75-billion-capital-spending-in-2025
    WWW.THESTAR.COM.MY
    Alphabet CEO reaffirms planned $75 billion capital spending in 2025
    Las Vegas (Reuters) - Alphabet reiterated on Wednesday it would spend about $75 billion this year to build out data center capacity, doubling down on its generative AI bet even as the payoff remains unclear and a global trade war threatens to raise costs.
    0 Comments 0 Shares 221 Views 0 Reviews
  • กำแพงภาษี (Tariff Barriers) เป็นมาตรการที่รัฐบาลใช้ในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ โดยการกำหนดภาษีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งผลดีและผลเสียต่อเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ ดังนี้

    ### **ผลดีของกำแพงภาษี**
    1. **ปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ**
    - ช่วยให้ผู้ผลิตในประเทศสามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าได้ โดยการทำให้สินค้าต่างประเทศมีราคาสูงขึ้น
    - ส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมเกิดใหม่ (Infant Industry Protection)

    2. **สร้างรายได้ให้รัฐบาล**
    - ภาษีนำเข้าสามารถเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาล เพื่อนำไปใช้พัฒนาประเทศ

    3. **ลดการขาดดุลการค้า**
    - หากประเทศนำเข้าสินค้ามากเกินไป การเก็บภาษีนำเข้าช่วยลดการนำเข้าและปรับสมดุลการค้า

    4. **ปกป้องตลาดแรงงานและสิ่งแวดล้อม**
    - บางประเทศใช้กำแพงภาษีเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ผลิตด้วยแรงงานถูกหรือไม่ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม

    5. **เป็นเครื่องมือในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ**
    - ประเทศอาจใช้กำแพงภาษีเป็นข้อต่อรองเพื่อให้ได้ข้อตกลงการค้าที่เป็นประโยชน์

    ### **ผลเสียของกำแพงภาษี**
    1. **เพิ่มต้นทุนให้ผู้บริโภค**
    - สินค้านำเข้าแพงขึ้น ทำให้ประชาชนต้องจ่ายมากขึ้น

    2. **ลดประสิทธิภาพการผลิต**
    - การปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศมากเกินไปอาจทำให้ผู้ผลิตไม่พัฒนาคุณภาพสินค้า

    3. **อาจเกิดการตอบโต้จากประเทศคู่ค้า**
    - ประเทศอื่นอาจตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีสินค้าส่งออกของประเทศนั้น ทำให้การค้าระหว่างประเทศลดลง

    4. **บิดเบือนกลไกตลาด**
    - สินค้าที่ควรผลิตในประเทศที่มีประสิทธิภาพสูงสุดอาจถูกแทนที่ด้วยสินค้าภายในประเทศที่ผลิตได้ไม่ดีเท่า

    5. **ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโลก**
    - หากหลายประเทศใช้กำแพงภาษีมากเกินไป อาจนำไปสู่สงครามการค้า (Trade War) และชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจโลก

    ### **สรุป**
    กำแพงภาษีมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และบริบทของแต่ละประเทศ การใช้มาตรการนี้ควรพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจในระยะยาว

    หากต้องการแนวทางอื่นแทนกำแพงภาษี ประเทศอาจใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers) เช่น โควต้านำเข้า หรือกฎระเบียบด้านคุณภาพสินค้า เพื่อควบคุมการค้าโดยไม่เพิ่มต้นทุนให้ผู้บริโภคมากเกินไป
    กำแพงภาษี (Tariff Barriers) เป็นมาตรการที่รัฐบาลใช้ในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ โดยการกำหนดภาษีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งผลดีและผลเสียต่อเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ ดังนี้ ### **ผลดีของกำแพงภาษี** 1. **ปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ** - ช่วยให้ผู้ผลิตในประเทศสามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าได้ โดยการทำให้สินค้าต่างประเทศมีราคาสูงขึ้น - ส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมเกิดใหม่ (Infant Industry Protection) 2. **สร้างรายได้ให้รัฐบาล** - ภาษีนำเข้าสามารถเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาล เพื่อนำไปใช้พัฒนาประเทศ 3. **ลดการขาดดุลการค้า** - หากประเทศนำเข้าสินค้ามากเกินไป การเก็บภาษีนำเข้าช่วยลดการนำเข้าและปรับสมดุลการค้า 4. **ปกป้องตลาดแรงงานและสิ่งแวดล้อม** - บางประเทศใช้กำแพงภาษีเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ผลิตด้วยแรงงานถูกหรือไม่ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม 5. **เป็นเครื่องมือในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ** - ประเทศอาจใช้กำแพงภาษีเป็นข้อต่อรองเพื่อให้ได้ข้อตกลงการค้าที่เป็นประโยชน์ ### **ผลเสียของกำแพงภาษี** 1. **เพิ่มต้นทุนให้ผู้บริโภค** - สินค้านำเข้าแพงขึ้น ทำให้ประชาชนต้องจ่ายมากขึ้น 2. **ลดประสิทธิภาพการผลิต** - การปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศมากเกินไปอาจทำให้ผู้ผลิตไม่พัฒนาคุณภาพสินค้า 3. **อาจเกิดการตอบโต้จากประเทศคู่ค้า** - ประเทศอื่นอาจตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีสินค้าส่งออกของประเทศนั้น ทำให้การค้าระหว่างประเทศลดลง 4. **บิดเบือนกลไกตลาด** - สินค้าที่ควรผลิตในประเทศที่มีประสิทธิภาพสูงสุดอาจถูกแทนที่ด้วยสินค้าภายในประเทศที่ผลิตได้ไม่ดีเท่า 5. **ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโลก** - หากหลายประเทศใช้กำแพงภาษีมากเกินไป อาจนำไปสู่สงครามการค้า (Trade War) และชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ### **สรุป** กำแพงภาษีมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และบริบทของแต่ละประเทศ การใช้มาตรการนี้ควรพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจในระยะยาว หากต้องการแนวทางอื่นแทนกำแพงภาษี ประเทศอาจใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers) เช่น โควต้านำเข้า หรือกฎระเบียบด้านคุณภาพสินค้า เพื่อควบคุมการค้าโดยไม่เพิ่มต้นทุนให้ผู้บริโภคมากเกินไป
    0 Comments 0 Shares 147 Views 0 Reviews
  • Foxconn บริษัทผลิตอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นผู้ประกอบ iPhone รายหลักของ Apple ได้ประกาศรายได้สูงสุดในไตรมาสแรกของปี 2025 ด้วยตัวเลขมหาศาลกว่า 49.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (T$1.64 ล้านล้าน) ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 24.2% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการสินค้าด้าน AI และระบบคลาวด์

    ✅ รายได้สูงสุดในประวัติศาสตร์
    - รายได้ในเดือนมีนาคมทำลายสถิติด้วยการเติบโต 23.4% (T$552.1 พันล้าน)
    - กลุ่มผลิตภัณฑ์คลาวด์และเครือข่ายเติบโตโดดเด่น เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากตลาด AI

    ✅ การเจริญเติบโตในผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคอัจฉริยะ
    - รายได้จาก iPhone และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ผู้บริโภคอื่น ๆ มีการเติบโตในระดับคงที่เมื่อเทียบกับปีก่อน

    ✅ ผลกระทบจากนโยบายภาษีของสหรัฐฯ
    - ประธานาธิบดี Donald Trump ได้กำหนดภาษีเพิ่มเติมสูงถึง 54% สำหรับสินค้าจากจีน และ 32% สำหรับสินค้าจากไต้หวัน แม้ Foxconn มีฐานการผลิตในหลายประเทศ แต่ยังคงได้รับผลกระทบในระดับหนึ่ง
    - โรงงานที่ใหญ่ที่สุดของ Foxconn ตั้งอยู่ในเมือง Zhengzhou ประเทศจีน ซึ่งเป็นฐานการผลิต iPhone ระดับโลก

    ✅ การคาดการณ์และคำเตือนของ Foxconn
    - Foxconn คาดว่ารายได้จะเติบโตขึ้นในไตรมาสที่สองนี้ แต่เตือนว่า สถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองโลก ยังมีความไม่แน่นอนที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

    ✅ ความผันผวนในหุ้นเทคโนโลยี
    - แม้หุ้นของ Foxconn เพิ่มขึ้น 76% ในปี 2024 แต่ปีนี้ลดลง 17% อันเนื่องมาจากความกังวลในนโยบายการค้าระหว่างประเทศ

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/04/05/foxconn-reports-record-first-quarter-revenue
    Foxconn บริษัทผลิตอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นผู้ประกอบ iPhone รายหลักของ Apple ได้ประกาศรายได้สูงสุดในไตรมาสแรกของปี 2025 ด้วยตัวเลขมหาศาลกว่า 49.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (T$1.64 ล้านล้าน) ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 24.2% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการสินค้าด้าน AI และระบบคลาวด์ ✅ รายได้สูงสุดในประวัติศาสตร์ - รายได้ในเดือนมีนาคมทำลายสถิติด้วยการเติบโต 23.4% (T$552.1 พันล้าน) - กลุ่มผลิตภัณฑ์คลาวด์และเครือข่ายเติบโตโดดเด่น เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากตลาด AI ✅ การเจริญเติบโตในผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคอัจฉริยะ - รายได้จาก iPhone และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ผู้บริโภคอื่น ๆ มีการเติบโตในระดับคงที่เมื่อเทียบกับปีก่อน ✅ ผลกระทบจากนโยบายภาษีของสหรัฐฯ - ประธานาธิบดี Donald Trump ได้กำหนดภาษีเพิ่มเติมสูงถึง 54% สำหรับสินค้าจากจีน และ 32% สำหรับสินค้าจากไต้หวัน แม้ Foxconn มีฐานการผลิตในหลายประเทศ แต่ยังคงได้รับผลกระทบในระดับหนึ่ง - โรงงานที่ใหญ่ที่สุดของ Foxconn ตั้งอยู่ในเมือง Zhengzhou ประเทศจีน ซึ่งเป็นฐานการผลิต iPhone ระดับโลก ✅ การคาดการณ์และคำเตือนของ Foxconn - Foxconn คาดว่ารายได้จะเติบโตขึ้นในไตรมาสที่สองนี้ แต่เตือนว่า สถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองโลก ยังมีความไม่แน่นอนที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ✅ ความผันผวนในหุ้นเทคโนโลยี - แม้หุ้นของ Foxconn เพิ่มขึ้น 76% ในปี 2024 แต่ปีนี้ลดลง 17% อันเนื่องมาจากความกังวลในนโยบายการค้าระหว่างประเทศ https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/04/05/foxconn-reports-record-first-quarter-revenue
    WWW.THESTAR.COM.MY
    Foxconn reports record Q1 revenue, says it must closely watch global politics
    TAIPEI (Reuters) -Taiwan's Foxconn, the world's largest contract electronics maker, posted its highest first-quarter revenue ever on strong demand for artificial intelligence products but said it would need to closely watch global politics.
    0 Comments 0 Shares 271 Views 0 Reviews
  • ภาษีทรัมป์ เขย่าเศรษฐกิจโลก : คนเคาะข่าว 03-04-68
    ดำเนินรายการโดย : อุษณีย์ เอกอุษณีย์ / อ.สุดาทิพย์ จารุจินดา อินทร

    #คนเคาะข่าว #ภาษีทรัมป์ #เศรษฐกิจโลก #นโยบายสหรัฐ #DonaldTrump #สงครามการค้า #ผลกระทบเศรษฐกิจ #ข่าวต่างประเทศ #สุดาทิพย์จารุจินดา #อุษณีย์เอกอุษณีย์ #วิเคราะห์เศรษฐกิจโลก #Geopolitics #thaitimes #ภาษีนำเข้า #การค้าระหว่างประเทศ
    ภาษีทรัมป์ เขย่าเศรษฐกิจโลก : คนเคาะข่าว 03-04-68 ดำเนินรายการโดย : อุษณีย์ เอกอุษณีย์ / อ.สุดาทิพย์ จารุจินดา อินทร #คนเคาะข่าว #ภาษีทรัมป์ #เศรษฐกิจโลก #นโยบายสหรัฐ #DonaldTrump #สงครามการค้า #ผลกระทบเศรษฐกิจ #ข่าวต่างประเทศ #สุดาทิพย์จารุจินดา #อุษณีย์เอกอุษณีย์ #วิเคราะห์เศรษฐกิจโลก #Geopolitics #thaitimes #ภาษีนำเข้า #การค้าระหว่างประเทศ
    Like
    Sad
    3
    0 Comments 0 Shares 484 Views 20 0 Reviews
  • เรย์ ดาลิโอ 📌ส่งสัญญาณเตือน! 6 ผลกระทบภาษีศุลกากรต่อเศรษฐกิจโลก เผยระบบการเงิน-การค้าปัจจุบันไม่ยั่งยืน คาดเปลี่ยนแปลงฉับพลัน ชี้ประเด็นดอลลาร์-หยวนเป็นกุญแจสำคัญในการปรับดุลอำนาจใหม่📌ขณะที่การเพิ่มค่าเงินหยวนอาจเป็นประเด็นสำคัญในการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ-จีน โดยอาจเกิดขึ้นเมื่อประธานาธิบดีทรัมป์และประธานาธิบดีสีจิ้นผิงพบกัน👉เรย์ ดาลิโอ ผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ยักษ์ใหญ่ Bridgewater Associates และนักลงทุนระดับตำนาน เผยบทวิเคราะห์เจาะลึกเกี่ยวกับผลกระทบของภาษีศุลกากรในช่วงที่ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างประเทศกำลังทวีความรุนแรง โดยระบุผลกระทบลำดับแรก 6 ประการสำคัญ ได้แก่ 1) เพิ่มรายได้ให้ประเทศผู้เรียกเก็บ โดยผู้ผลิตต่างประเทศและผู้บริโภคในประเทศรับภาระร่วมกัน 2) ลดประสิทธิภาพการผลิตในระดับโลก 3) ก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงันพร้อมเงินเฟ้อ (stagflation) ต่อเศรษฐกิจโลก 4) ปกป้องบริษัทในประเทศผู้เรียกเก็บภาษีจากการแข่งขันจากต่างประเทศ 5) จำเป็นในช่วงความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจเพื่อรับประกันศักยภาพการผลิตภายในประเทศ และ 6) ลดความไม่สมดุลทั้งในบัญชีเดินสะพัดและบัญชีทุน นอกจากนี้ยังมีการอธิบายถึงผลกระทบลำดับที่สองซึ่งขึ้นอยู่กับการตอบโต้ของประเทศที่ถูกเรียกเก็บภาษี การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน นโยบายการเงิน อัตราดอกเบี้ย และนโยบายการคลัง โดยเฉพาะหากเกิดการตอบโต้ด้วยการเรียกเก็บภาษีเช่นกัน ซึ่งจะสร้างภาวะเศรษฐกิจชะงักงันพร้อมเงินเฟ้อในวงกว้างมากขึ้น ดาลิโอยังเน้นย้ำความไม่สมดุลในระบบปัจจุบันจะต้องลดลงไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน พร้อมชี้ว่าดอลลาร์สหรัฐในฐานะสกุลเงินสำรองโลกมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขณะที่การเพิ่มค่าเงินหยวนอาจเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงการค้าและเงินทุนระหว่างสหรัฐฯ-จีนในอนาคต #imctnews รายงาน
    เรย์ ดาลิโอ 📌ส่งสัญญาณเตือน! 6 ผลกระทบภาษีศุลกากรต่อเศรษฐกิจโลก เผยระบบการเงิน-การค้าปัจจุบันไม่ยั่งยืน คาดเปลี่ยนแปลงฉับพลัน ชี้ประเด็นดอลลาร์-หยวนเป็นกุญแจสำคัญในการปรับดุลอำนาจใหม่📌ขณะที่การเพิ่มค่าเงินหยวนอาจเป็นประเด็นสำคัญในการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ-จีน โดยอาจเกิดขึ้นเมื่อประธานาธิบดีทรัมป์และประธานาธิบดีสีจิ้นผิงพบกัน👉เรย์ ดาลิโอ ผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ยักษ์ใหญ่ Bridgewater Associates และนักลงทุนระดับตำนาน เผยบทวิเคราะห์เจาะลึกเกี่ยวกับผลกระทบของภาษีศุลกากรในช่วงที่ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างประเทศกำลังทวีความรุนแรง โดยระบุผลกระทบลำดับแรก 6 ประการสำคัญ ได้แก่ 1) เพิ่มรายได้ให้ประเทศผู้เรียกเก็บ โดยผู้ผลิตต่างประเทศและผู้บริโภคในประเทศรับภาระร่วมกัน 2) ลดประสิทธิภาพการผลิตในระดับโลก 3) ก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงันพร้อมเงินเฟ้อ (stagflation) ต่อเศรษฐกิจโลก 4) ปกป้องบริษัทในประเทศผู้เรียกเก็บภาษีจากการแข่งขันจากต่างประเทศ 5) จำเป็นในช่วงความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจเพื่อรับประกันศักยภาพการผลิตภายในประเทศ และ 6) ลดความไม่สมดุลทั้งในบัญชีเดินสะพัดและบัญชีทุน นอกจากนี้ยังมีการอธิบายถึงผลกระทบลำดับที่สองซึ่งขึ้นอยู่กับการตอบโต้ของประเทศที่ถูกเรียกเก็บภาษี การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน นโยบายการเงิน อัตราดอกเบี้ย และนโยบายการคลัง โดยเฉพาะหากเกิดการตอบโต้ด้วยการเรียกเก็บภาษีเช่นกัน ซึ่งจะสร้างภาวะเศรษฐกิจชะงักงันพร้อมเงินเฟ้อในวงกว้างมากขึ้น ดาลิโอยังเน้นย้ำความไม่สมดุลในระบบปัจจุบันจะต้องลดลงไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน พร้อมชี้ว่าดอลลาร์สหรัฐในฐานะสกุลเงินสำรองโลกมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขณะที่การเพิ่มค่าเงินหยวนอาจเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงการค้าและเงินทุนระหว่างสหรัฐฯ-จีนในอนาคต #imctnews รายงาน
    0 Comments 0 Shares 359 Views 0 Reviews
  • ไทยจะโดนใบแดงกำแพงภาษีทรัมป์มากน้อยเพียงใด? : คนเคาะข่าว 01-04-68
    : ทนง ขันทอง ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ
    ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์

    #คนเคาะข่าว #ภาษีทรัมป์ #ไทยส่งออก #เศรษฐกิจโลก #กำแพงภาษี #การค้าระหว่างประเทศ #News1 #Thaitimes
    ไทยจะโดนใบแดงกำแพงภาษีทรัมป์มากน้อยเพียงใด? : คนเคาะข่าว 01-04-68 : ทนง ขันทอง ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์ #คนเคาะข่าว #ภาษีทรัมป์ #ไทยส่งออก #เศรษฐกิจโลก #กำแพงภาษี #การค้าระหว่างประเทศ #News1 #Thaitimes
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 389 Views 18 1 Reviews
  • สหรัฐฯ พร้อมเข้าสู่สงครามกับจีนถ้าจำเป็น จากคำประกาศกร้าวของกระทรวงกลาโหมอเมริกา (เพนตากอน) ความเห็นซึ่งมีขึ้นตามหลังปักกิ่งบอกว่าพร้อมต่อสู้ในทุกรูปแบบของสงคราม ท่ามกลางความเคลื่อนไหวรีดภาษีตอบโต้กันไปมา ที่กำลังลุกลามกลายเป็นสงครามการค้าระหว่าง 2 ชาติเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก
    .
    พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐฯ แสดงจุดยืนของอเมริกาอย่างชัดเจน ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ฟ็อกซ์นิวส์ ในวันพุธ (5 มี.ค.) ตอบโต้สถานทูตจีนประจำอเมริกา ที่บอกว่าปักกิ่งพร้อมต่อสู้ "ในทุกรูปแบบของสงคราม"
    .
    "เราก็พร้อม" เฮกเซธบอก พร้อมระบุ "ใครที่มีสันติภาพมาช้านาน ต้องเตรียมพร้อมสำหรับสงคราม" ทั้งนี้เขาเน้นย้ำว่านี่คือเหตุผลว่าทำไมสหรัฐฯ ถึงเดินหน้าเสริมความเข้มแข็งด้านการทหาร
    .
    เขากล่าวว่า "เราอยู่ในโลกที่อันตราย เต็มไปด้วยบรรดาประเทศที่มีพลังอำนาจและอิทธิพล ที่มีอุดมการณ์แตกต่างกันอย่างมาก" เฮกเซธระบุ "พวกเขาเพิ่มการใช้จ่ายด้านกลาโหมอย่างรวดเร็ว ปรับปรุงเทคโนโลยีให้มีความทันสมัย พวกเขาต้องการแทนที่สหรัฐฯ"
    .
    อย่างไรก็ตาม เฮกเซธ เน้นว่าการคงไว้ซึ่งความเข้มแข็งทางทหาร คือกุญแจหลักสำหรับหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง "ถ้าเราต้องการปรามสงครามกับจีนหรือชาติอื่นๆ เราจำเป็นต้องเข้มแข็ง"
    .
    รัฐมนตรีกลาโหมรายนี้ระบุด้วยว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีความสำคัญที่ยอดเยี่้ยมกับ สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน และกำลังเสาะแสวงหาความร่วมมือกับความเป็นหุ้นส่วนในสิ่งที่เป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม เฮกเซธ เน้นว่าบทบาทของเขาในฐานะรัฐมนตรีกลาโหม จำเป็นต้องรับประกันความพร้อมสำหรับความเป็นไปได้ของการเผชิญหน้าใดๆ
    .
    ความเห็นของเขามีขึ้นหลังจากเมื่อช่วงเย็นวันอังคาร (4 มี.ค.) จีนบอกว่าพวกเขาจะตอบโต้ หากว่าสหรัฐฯ เดินหน้าสงครามการค้าหรือสงครามรีดภาษี ตามหลัง ทรัมป์ ตัดสินใจขึ้นภาษีเท่าตัวสินค้านำเข้าจากจีน จาก 10% เป็น 20% มาตรการนี้มีขึ้นหลังจากรัฐบาลชุดก่อนของทรัมป์ เคยรีดภาษีสินค้านำเข้าจากจีน ย้อนกลับไปในปี 2018 และ 2019 คิดเป็นมูลค่ากว่า 370,000 ล้านดอลลาร์
    .
    "ถ้าสงครามคือสิ่งที่สหรัฐฯ ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นสงครามรีดภาษี สงครามการค้า หรือสงครามรูปแบบอื่นๆ รูปแบบใดก็ตาม เราพร้อมสู้จนถึงจุดจบ" หลิน เจียน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนระบุในถ้อยแถลง
    .
    ในการตอบโต้อย่างทันควันต่อมาตรการของทรัมป์ ทางปักกิ่งได้แถลงขึ้นภาษีอีก 10% ถึง 15% ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอาหารต่างๆ ที่นำเข้าจากสหรัฐฯ นอกจากนี้ พวกเขายังกำหนดข้อจำกัดด้านการส่งออกและการลงทุนกับบริษัทต่างๆ ของอเมริกา 25 แห่ง อ้างถึงความกังวลด้านความมั่นคง
    .
    ปักกิ่งยังได้ยื่นฟ้องต่อองค์การการค้าโลก (WTO) กล่าวอ้างว่ามาตรการรรีดภาษีของสหรัฐฯ ละเมิดกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ และเรียกร้องให้วอชิงตันคลี่คลายข้อพิพาทนี้ผ่านการเจรจา
    .
    ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนเคยปะทุขึ้นในปี 2018 ครั้งที่ทรัมป์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก โดยเขากำหนดมาตรการรีดภาษีสินค้านำเข้าจากจีน อ้างถึงการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่ยุติธรรมและการขโมยทรัพย์สินทางปัญญา ความเคลื่อนไหวกระตุ้นการตอบโต้กันไปมา จนลุกลามบานปลายกระทบต่อตลาดโลกและห่วงโซ่อุปทานโลก
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000021626
    ..............
    Sondhi X
    สหรัฐฯ พร้อมเข้าสู่สงครามกับจีนถ้าจำเป็น จากคำประกาศกร้าวของกระทรวงกลาโหมอเมริกา (เพนตากอน) ความเห็นซึ่งมีขึ้นตามหลังปักกิ่งบอกว่าพร้อมต่อสู้ในทุกรูปแบบของสงคราม ท่ามกลางความเคลื่อนไหวรีดภาษีตอบโต้กันไปมา ที่กำลังลุกลามกลายเป็นสงครามการค้าระหว่าง 2 ชาติเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก . พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐฯ แสดงจุดยืนของอเมริกาอย่างชัดเจน ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ฟ็อกซ์นิวส์ ในวันพุธ (5 มี.ค.) ตอบโต้สถานทูตจีนประจำอเมริกา ที่บอกว่าปักกิ่งพร้อมต่อสู้ "ในทุกรูปแบบของสงคราม" . "เราก็พร้อม" เฮกเซธบอก พร้อมระบุ "ใครที่มีสันติภาพมาช้านาน ต้องเตรียมพร้อมสำหรับสงคราม" ทั้งนี้เขาเน้นย้ำว่านี่คือเหตุผลว่าทำไมสหรัฐฯ ถึงเดินหน้าเสริมความเข้มแข็งด้านการทหาร . เขากล่าวว่า "เราอยู่ในโลกที่อันตราย เต็มไปด้วยบรรดาประเทศที่มีพลังอำนาจและอิทธิพล ที่มีอุดมการณ์แตกต่างกันอย่างมาก" เฮกเซธระบุ "พวกเขาเพิ่มการใช้จ่ายด้านกลาโหมอย่างรวดเร็ว ปรับปรุงเทคโนโลยีให้มีความทันสมัย พวกเขาต้องการแทนที่สหรัฐฯ" . อย่างไรก็ตาม เฮกเซธ เน้นว่าการคงไว้ซึ่งความเข้มแข็งทางทหาร คือกุญแจหลักสำหรับหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง "ถ้าเราต้องการปรามสงครามกับจีนหรือชาติอื่นๆ เราจำเป็นต้องเข้มแข็ง" . รัฐมนตรีกลาโหมรายนี้ระบุด้วยว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีความสำคัญที่ยอดเยี่้ยมกับ สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน และกำลังเสาะแสวงหาความร่วมมือกับความเป็นหุ้นส่วนในสิ่งที่เป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม เฮกเซธ เน้นว่าบทบาทของเขาในฐานะรัฐมนตรีกลาโหม จำเป็นต้องรับประกันความพร้อมสำหรับความเป็นไปได้ของการเผชิญหน้าใดๆ . ความเห็นของเขามีขึ้นหลังจากเมื่อช่วงเย็นวันอังคาร (4 มี.ค.) จีนบอกว่าพวกเขาจะตอบโต้ หากว่าสหรัฐฯ เดินหน้าสงครามการค้าหรือสงครามรีดภาษี ตามหลัง ทรัมป์ ตัดสินใจขึ้นภาษีเท่าตัวสินค้านำเข้าจากจีน จาก 10% เป็น 20% มาตรการนี้มีขึ้นหลังจากรัฐบาลชุดก่อนของทรัมป์ เคยรีดภาษีสินค้านำเข้าจากจีน ย้อนกลับไปในปี 2018 และ 2019 คิดเป็นมูลค่ากว่า 370,000 ล้านดอลลาร์ . "ถ้าสงครามคือสิ่งที่สหรัฐฯ ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นสงครามรีดภาษี สงครามการค้า หรือสงครามรูปแบบอื่นๆ รูปแบบใดก็ตาม เราพร้อมสู้จนถึงจุดจบ" หลิน เจียน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนระบุในถ้อยแถลง . ในการตอบโต้อย่างทันควันต่อมาตรการของทรัมป์ ทางปักกิ่งได้แถลงขึ้นภาษีอีก 10% ถึง 15% ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอาหารต่างๆ ที่นำเข้าจากสหรัฐฯ นอกจากนี้ พวกเขายังกำหนดข้อจำกัดด้านการส่งออกและการลงทุนกับบริษัทต่างๆ ของอเมริกา 25 แห่ง อ้างถึงความกังวลด้านความมั่นคง . ปักกิ่งยังได้ยื่นฟ้องต่อองค์การการค้าโลก (WTO) กล่าวอ้างว่ามาตรการรรีดภาษีของสหรัฐฯ ละเมิดกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ และเรียกร้องให้วอชิงตันคลี่คลายข้อพิพาทนี้ผ่านการเจรจา . ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนเคยปะทุขึ้นในปี 2018 ครั้งที่ทรัมป์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก โดยเขากำหนดมาตรการรีดภาษีสินค้านำเข้าจากจีน อ้างถึงการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่ยุติธรรมและการขโมยทรัพย์สินทางปัญญา ความเคลื่อนไหวกระตุ้นการตอบโต้กันไปมา จนลุกลามบานปลายกระทบต่อตลาดโลกและห่วงโซ่อุปทานโลก . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000021626 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    Wow
    26
    0 Comments 1 Shares 2586 Views 1 Reviews
  • ปมร้อน ข่าวลึก : ปลุก “พลังเงียบ” เลือก ก.อ.หักโพย “ขาใหญ่อัยการ” คุมกำเนิด “ทายาทอสูร”
    .
    งวดเข้ามาทุกขณะ อีเวนท์ใหญ่ปีนี้ของ สำนักงานอัยการสูงสุด ที่จะมีการเลือกตั้ง ประธาน และคณะกรรมการอัยการ หรือ “ก.อ.” ชุดใหม่ โดยเริ่มจากการเลือกตั้ง “ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิ” ที่กำลังจะหมดวาระดำรงตำแหน่ง 2 ปีตามกฎหมายกำหนด
    .
    โดยในส่วนของการเลือกตั้ง “ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิ” นั้นได้เริ่มดำเนินการเปิดรับสมัคร และทาบทามมาแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2568 กระทั่งได้ผู้สมัครรวม 26 ราย ที่จะช่วงชิง 8 เก้าอี้ ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมกับประธาน ก.อ. 1 คน ที่กำหนดว่า ปัจจุบันไม่ใช่ข้าราชการอัยการและมีคุณสมบัติตามกฎหมายมาจากการเลือกตั้งของพนักงานอัยการทั่วประเทศ และอัยการสูงสุดเป็นรองประธาน ก.อ.โดยตำแหน่ง ทั้งให้รวมรองอัยการสูงสุดตั้งแต่อาวุโสอันดับ 1-5 เป็น ก.อ.โดยตำแหน่งเช่นเดียวกัน รวมเป็น 15 คน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการฉบับปัจจุบัน
    .
    สำหรับการลงคะแนนเลือกตั้ง 8 ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒินั้น จะเป็นการเลือกของอัยการทั่วประเทศ แบ่งเป็นกลุ่มอัยการชั้น 5 ขึ้นไป จำนวน 4 คนที่ได้คะแนนสูงสุด ซึ่งครั้งนี้มีผู้สมัคร 13 คน, กลุ่มอัยการที่เกษียณอายุราชการ จำนวน 2 คน ที่ได้คะแนนสูงสุดจากผู้สมัคร 9 คน และกลุ่มผู้ที่ไม่เป็นหรือเคยเป็นอัยการมาก่อน และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการงบประมาณ การพัฒนาองค์กร หรือการบริหารจัดการ จำนวน 2 คนที่ได้คะแนนสูงสุดจากผู้สมัคร 4 คน
    .
    โดยขณะนี้มีการทยอยลงคะแนน ก่อนจะมีการปิดผนึกลงคะแนนกันเพื่อส่งเข้าส่วนกลางในวันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2568 และกำหนดนับคะแนนในวันรุ่งขึ้น อังคารที่ 12 มีนาคม 2568
    .
    สำหรับ 8 ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิที่เปิดให้อัยการทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการลงคะแนนถือเป็นจุดชี้ขาดความเป็นไปขององค์การอัยการ ด้วยที่ผ่านมาหลังใช้ระบบนี้ ก็มักถูก “ขาใหญ่อัยการ” ทั้งอดีต-ปัจจุบัน วางเส้นสายไลน์อำนาจผ่านการเลือกตั้ง ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสืบทอดอำนาจ สร้างอิทธิพลของตัวเองและพวกพ้อง ส่งคนของตัวเองเข้ามาเสนอตัวเป็นแคนดิเดต
    .
    ตลอดจนมีปฏิบัติการล็อบบี้ในทางลับให้อัยการผู้น้อยทั่วประเทศลงคะแนนให้ลงคะแนนเลือกผู้สมัครตาม “โพย” โดยไม่ได้คำนึงถึงความรู้ความสามารถ หรือคุณงามความดีใดๆ เพียงแค่ต้องตรงสเปก “กดปุ่ม” สั่งการได้เท่านั้น
    .
    โดยทำกันในรูปแบบขบวนการที่หวังเข้าฮุบอำนาจของที่ประชุม ก.อ. ซึ่งมี “พระเดช-พระคุณ” กับข้าราชการอัยการทุกระดับ ทั้งการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ, การพิจารณาดำเนินการทางวินัย และการสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการอัยการที่กระทำผิดระเบียบ รวมทั้งการพิจารณาออกระเบียบบริหารงานบุคคลอัตรากำลังข้าราชการฝ่ายอัยการ
    .
    โดยเฉพาะอำนาจในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งข้าราชการอัยการ ที่รวมไปถึงตำแหน่ง “อัยการสูงสุด” ที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม ก.อ. ก่อนส่งให้ วุฒิสภา ให้ความเห็นชอบอีกครั้ง และนำความขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในลำดับถัดไปด้วย
    .
    ครั้งนี้ก็เช่นกันในจำนวนอัยการชั้น 5 ขึ้นไปที่สมัครเข้ามา 13 รายนั้น คนในวงการก็มองออกว่า ใครเป็นใคร ใครเด็กใคร และใครเป็นตัวเต็งที่ “ขาใหญ่” ส่งเข้าประกวด
    .
    ตรงนี้เองที่ต้องถามใจอัยการทั่วประเทศที่เป็น “โหวตเตอร์” ว่ายังจะยอมตกเป็นเครื่องมือปั้น “ทายาทอสูร” เหมือนที่ผ่านๆมาอีกหรือไม่ เพราะต้องไม่ลืมว่า การปล่อยให้มีการสืบทอดอำนาจผ่านที่ประชุม ก.อ.เช่นนี้ นับวันจะทำให้ ”อัยการ“ ถลำเข้าสู่ “วงจรอุบาทว์” จนมีส่วนสำคัญในการฉุดภาพลักษณ์องค์กรทนายแผ่นดินให้ตกต่ำอย่างเช่นในปัจจุบัน
    .
    การเลือก ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิ ครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีที่อัยการผู้รักในองค์กรจะร่วมกันปลุก “พลังเงียบ” ยกระดับมาตรฐานการเลือกบุคคล ขึ้นมางัดง้างกับ “ขาใหญ่” ตัดตอนคุมกำเนิด “ทายาทอสูร” ผ่านการลงคะแนนเลือก ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ วิสัยทัศน์ ผลงาน หรือคุณธรรมความดี ของแคนดิเดตเป็นสำคัญ
    .
    โดยขณะนี้ในหมู่พลังเงียบก็มีการกล่าวขวัญถึงแคนดิเดต ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ดูจะมีความเหมาะสม และเป็นความหวังในการเข้าไปต่อกรโค่นล้มวงจร “ขั้วอำนาจเก่า”
    .
    โดยในกลุ่มที่เป็นข้าราชการอัยการตั้งแต่ชั้น 5 ขึ้นไป 4 คน คือ ชัยนันท์ งามขจรกุลกิจ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ, ณรงค์ ศรีระสันต์ รองอธิบดีอัยการภาค 9, ต่อศักดิ์ บูรณะเรืองโรจน์ รองอธิบดีอัยการสำนักงานคณะกรรมการอัยการ และ น้ำแท้ มีบุญสล้าง เลขานุการรองอัยการสูงสุด
    .
    รวมกับ 2 แคนดิเดตจากกลุ่มอัยการที่เกษียณอายุราชการ ได้แก่ ชนิญญา ชัยสุวรรณ อดีตอธิบดีอัยการคดียาเสพติด และ อภิชาต อาสภวิริยะ อดีตอธิบดีอัยการคดีศาลสูง
    .
    และอีก 2 แคนดิเดตจากกลุ่มผู้ที่ไม่เป็นหรือเคยเป็นอัยการมาก่อน และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการงบประมาณ การพัฒนาองค์กร หรือการบริหารจัดการ คือ พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และ รศ.ดร.เจษฏ์ โทณะวณิก ประธานคณะนิติศาสตร์วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
    .
    ซึ่งหาก “พลังเงียบ” สามัคคียึดโยงผลประโยชน์องค์กรกันอย่างเข้มแข็ง ก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการกอบกู้ศรัทธาองค์กรอัยการให้กลับมาเป็นที่ยอมรับน่าเชื่อถือได้อีกครั้ง.
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://news1live.com/detail/9680000021277
    .
    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes

    ปมร้อน ข่าวลึก : ปลุก “พลังเงียบ” เลือก ก.อ.หักโพย “ขาใหญ่อัยการ” คุมกำเนิด “ทายาทอสูร” . งวดเข้ามาทุกขณะ อีเวนท์ใหญ่ปีนี้ของ สำนักงานอัยการสูงสุด ที่จะมีการเลือกตั้ง ประธาน และคณะกรรมการอัยการ หรือ “ก.อ.” ชุดใหม่ โดยเริ่มจากการเลือกตั้ง “ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิ” ที่กำลังจะหมดวาระดำรงตำแหน่ง 2 ปีตามกฎหมายกำหนด . โดยในส่วนของการเลือกตั้ง “ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิ” นั้นได้เริ่มดำเนินการเปิดรับสมัคร และทาบทามมาแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2568 กระทั่งได้ผู้สมัครรวม 26 ราย ที่จะช่วงชิง 8 เก้าอี้ ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมกับประธาน ก.อ. 1 คน ที่กำหนดว่า ปัจจุบันไม่ใช่ข้าราชการอัยการและมีคุณสมบัติตามกฎหมายมาจากการเลือกตั้งของพนักงานอัยการทั่วประเทศ และอัยการสูงสุดเป็นรองประธาน ก.อ.โดยตำแหน่ง ทั้งให้รวมรองอัยการสูงสุดตั้งแต่อาวุโสอันดับ 1-5 เป็น ก.อ.โดยตำแหน่งเช่นเดียวกัน รวมเป็น 15 คน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการฉบับปัจจุบัน . สำหรับการลงคะแนนเลือกตั้ง 8 ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒินั้น จะเป็นการเลือกของอัยการทั่วประเทศ แบ่งเป็นกลุ่มอัยการชั้น 5 ขึ้นไป จำนวน 4 คนที่ได้คะแนนสูงสุด ซึ่งครั้งนี้มีผู้สมัคร 13 คน, กลุ่มอัยการที่เกษียณอายุราชการ จำนวน 2 คน ที่ได้คะแนนสูงสุดจากผู้สมัคร 9 คน และกลุ่มผู้ที่ไม่เป็นหรือเคยเป็นอัยการมาก่อน และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการงบประมาณ การพัฒนาองค์กร หรือการบริหารจัดการ จำนวน 2 คนที่ได้คะแนนสูงสุดจากผู้สมัคร 4 คน . โดยขณะนี้มีการทยอยลงคะแนน ก่อนจะมีการปิดผนึกลงคะแนนกันเพื่อส่งเข้าส่วนกลางในวันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2568 และกำหนดนับคะแนนในวันรุ่งขึ้น อังคารที่ 12 มีนาคม 2568 . สำหรับ 8 ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิที่เปิดให้อัยการทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการลงคะแนนถือเป็นจุดชี้ขาดความเป็นไปขององค์การอัยการ ด้วยที่ผ่านมาหลังใช้ระบบนี้ ก็มักถูก “ขาใหญ่อัยการ” ทั้งอดีต-ปัจจุบัน วางเส้นสายไลน์อำนาจผ่านการเลือกตั้ง ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสืบทอดอำนาจ สร้างอิทธิพลของตัวเองและพวกพ้อง ส่งคนของตัวเองเข้ามาเสนอตัวเป็นแคนดิเดต . ตลอดจนมีปฏิบัติการล็อบบี้ในทางลับให้อัยการผู้น้อยทั่วประเทศลงคะแนนให้ลงคะแนนเลือกผู้สมัครตาม “โพย” โดยไม่ได้คำนึงถึงความรู้ความสามารถ หรือคุณงามความดีใดๆ เพียงแค่ต้องตรงสเปก “กดปุ่ม” สั่งการได้เท่านั้น . โดยทำกันในรูปแบบขบวนการที่หวังเข้าฮุบอำนาจของที่ประชุม ก.อ. ซึ่งมี “พระเดช-พระคุณ” กับข้าราชการอัยการทุกระดับ ทั้งการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ, การพิจารณาดำเนินการทางวินัย และการสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการอัยการที่กระทำผิดระเบียบ รวมทั้งการพิจารณาออกระเบียบบริหารงานบุคคลอัตรากำลังข้าราชการฝ่ายอัยการ . โดยเฉพาะอำนาจในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งข้าราชการอัยการ ที่รวมไปถึงตำแหน่ง “อัยการสูงสุด” ที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม ก.อ. ก่อนส่งให้ วุฒิสภา ให้ความเห็นชอบอีกครั้ง และนำความขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในลำดับถัดไปด้วย . ครั้งนี้ก็เช่นกันในจำนวนอัยการชั้น 5 ขึ้นไปที่สมัครเข้ามา 13 รายนั้น คนในวงการก็มองออกว่า ใครเป็นใคร ใครเด็กใคร และใครเป็นตัวเต็งที่ “ขาใหญ่” ส่งเข้าประกวด . ตรงนี้เองที่ต้องถามใจอัยการทั่วประเทศที่เป็น “โหวตเตอร์” ว่ายังจะยอมตกเป็นเครื่องมือปั้น “ทายาทอสูร” เหมือนที่ผ่านๆมาอีกหรือไม่ เพราะต้องไม่ลืมว่า การปล่อยให้มีการสืบทอดอำนาจผ่านที่ประชุม ก.อ.เช่นนี้ นับวันจะทำให้ ”อัยการ“ ถลำเข้าสู่ “วงจรอุบาทว์” จนมีส่วนสำคัญในการฉุดภาพลักษณ์องค์กรทนายแผ่นดินให้ตกต่ำอย่างเช่นในปัจจุบัน . การเลือก ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิ ครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีที่อัยการผู้รักในองค์กรจะร่วมกันปลุก “พลังเงียบ” ยกระดับมาตรฐานการเลือกบุคคล ขึ้นมางัดง้างกับ “ขาใหญ่” ตัดตอนคุมกำเนิด “ทายาทอสูร” ผ่านการลงคะแนนเลือก ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ วิสัยทัศน์ ผลงาน หรือคุณธรรมความดี ของแคนดิเดตเป็นสำคัญ . โดยขณะนี้ในหมู่พลังเงียบก็มีการกล่าวขวัญถึงแคนดิเดต ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ดูจะมีความเหมาะสม และเป็นความหวังในการเข้าไปต่อกรโค่นล้มวงจร “ขั้วอำนาจเก่า” . โดยในกลุ่มที่เป็นข้าราชการอัยการตั้งแต่ชั้น 5 ขึ้นไป 4 คน คือ ชัยนันท์ งามขจรกุลกิจ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ, ณรงค์ ศรีระสันต์ รองอธิบดีอัยการภาค 9, ต่อศักดิ์ บูรณะเรืองโรจน์ รองอธิบดีอัยการสำนักงานคณะกรรมการอัยการ และ น้ำแท้ มีบุญสล้าง เลขานุการรองอัยการสูงสุด . รวมกับ 2 แคนดิเดตจากกลุ่มอัยการที่เกษียณอายุราชการ ได้แก่ ชนิญญา ชัยสุวรรณ อดีตอธิบดีอัยการคดียาเสพติด และ อภิชาต อาสภวิริยะ อดีตอธิบดีอัยการคดีศาลสูง . และอีก 2 แคนดิเดตจากกลุ่มผู้ที่ไม่เป็นหรือเคยเป็นอัยการมาก่อน และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการงบประมาณ การพัฒนาองค์กร หรือการบริหารจัดการ คือ พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และ รศ.ดร.เจษฏ์ โทณะวณิก ประธานคณะนิติศาสตร์วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย . ซึ่งหาก “พลังเงียบ” สามัคคียึดโยงผลประโยชน์องค์กรกันอย่างเข้มแข็ง ก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการกอบกู้ศรัทธาองค์กรอัยการให้กลับมาเป็นที่ยอมรับน่าเชื่อถือได้อีกครั้ง. . อ่านเพิ่มเติม..https://news1live.com/detail/9680000021277 . #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    3
    0 Comments 0 Shares 1198 Views 0 Reviews
  • ”สุทิน" ชง “รัฐบาล” ทวงหนี้ ”แทนซาเนีย“ ค้างค่าข้าว 2.7 ล้านล้านบาท
    .
    กลับมาสวมบทเสาหลักฝ่ายนิติบัญญัติตามถนัด สุทิน คลังแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่วันนี้ประสบการณ์อยู่เบอร์ต้นๆของสภาผู้แทนราษฎร
    .
    วันก่อนลุกขึ้นพูดช่วงหารือ 2 นาทีก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม หยิบเรื่องไม่ธรรมดา ฝากรัฐบาลติดตามทวงถามหนี้ก้อนโตจากรัฐบาลสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย ประเทศในทวีปแอฟริกา
    .
    อันมีข้อมูลว่า รัฐบาลเซนซิบาร์ แห่งสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย ค้างชำระหนี้ค่าข้าวให้กับ บริษัท แหลมทองค้าข้าว จำกัด เอกชนรายใหญ่ของไทยถึง 2.7 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นยอดหนี้สะสมมาหลายสิบปี แต่ที่ผ่านมา บริษัท แหลมทองค้าข้าว จำกัด ต้องต่อสู้ติดตามทวงถามอย่างโดดเดี่ยว ไม่ได้รับการเหลียวแลจากรัฐเท่าที่ควร
    .
    โดยมีข้อมูลว่า ยอดหนี้ดังกล่าวมีการติดค้างกันจริง และ บริษัท แหลมทองค้าข้าว จำกัด เองก็พึ่งกระบวนการยุติธรรมในประเทศแทนซาเนีย จนชนะมาทุกศาล ตามระบบการปกครองของประเทศคู่ค้าที่มีถึง 4 ศาลด้วยกัน
    .
    ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลเซนซิบาร์ แห่งสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย ที่แม้ติดขัดในเรื่องการชำระหนี้ ก็ได้พยายามติดต่อมาขอเจรจาไกล่เกลี้ยกับทาง บริษัท แหลมทองค้าข้าว จำกัด หลายต่อหลายครั้ง โดยมี กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง
    .
    อย่างไรก็ตามเรื่องกลับไม่มีความคืบหน้า นายสุทิน ที่เป็น สส.ในฝ่ายรัฐบาลจึงหยิบยกขึ้นมาให้หารือในสภาผู้แทนราษฎร ด้วยเหตุว่าหากติดตามหนี้มูลค่า 2.7 ล้านล้านบาท มาได้ ไม่เพียงเอกชนที่จะได้รับประโยชน์เท่านั้น รัฐบาลไทยก็จะได้ผลพลอยได้ไปด้วย กับภาษีก้อนมหาศาลจากยอดหนี้ที่เอกชนทวงถามได้ไปด้วย
    .
    ถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างน้อยๆเป็นหลักหลายแสนล้านบาท โดยแทบไม่มีพิษมีภัย ไม่สร้างปัญหาในภายหลัง ดีกว่าไปจะคิดสร้างรายได้จาก “บ่อนการพนัน“ ที่รัฐบาลพยายามผลักดัน ที่จะมีผลกระทบในแง่ลบตามมาแบบคาดคะเนไม่ได้
    .
    ตามขั้นตอนหลังการหารือในสภาฯ ข้อมูลของ สส.ผู้หารือจะถูกส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในเรื่องของ บริษัท แหลมทองค้าข้าว จำกัด นี้ก็จะเป็นในส่วนของกรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนี้ก็น่าจะมีรายงานไปถึง นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ด้วย
    .
    ก็ต้องดูว่า รัฐบาลเพื่อไทย จะนำพาข้อหารือที่เป็นประโยชน์ของ นายสุทิน ที่ถือเป็นแกนนำพรรคระดับสูงไปปฏิบัติหรือไม่อย่างไร.
    ..............
    Sondhi X
    ”สุทิน" ชง “รัฐบาล” ทวงหนี้ ”แทนซาเนีย“ ค้างค่าข้าว 2.7 ล้านล้านบาท . กลับมาสวมบทเสาหลักฝ่ายนิติบัญญัติตามถนัด สุทิน คลังแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่วันนี้ประสบการณ์อยู่เบอร์ต้นๆของสภาผู้แทนราษฎร . วันก่อนลุกขึ้นพูดช่วงหารือ 2 นาทีก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม หยิบเรื่องไม่ธรรมดา ฝากรัฐบาลติดตามทวงถามหนี้ก้อนโตจากรัฐบาลสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย ประเทศในทวีปแอฟริกา . อันมีข้อมูลว่า รัฐบาลเซนซิบาร์ แห่งสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย ค้างชำระหนี้ค่าข้าวให้กับ บริษัท แหลมทองค้าข้าว จำกัด เอกชนรายใหญ่ของไทยถึง 2.7 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นยอดหนี้สะสมมาหลายสิบปี แต่ที่ผ่านมา บริษัท แหลมทองค้าข้าว จำกัด ต้องต่อสู้ติดตามทวงถามอย่างโดดเดี่ยว ไม่ได้รับการเหลียวแลจากรัฐเท่าที่ควร . โดยมีข้อมูลว่า ยอดหนี้ดังกล่าวมีการติดค้างกันจริง และ บริษัท แหลมทองค้าข้าว จำกัด เองก็พึ่งกระบวนการยุติธรรมในประเทศแทนซาเนีย จนชนะมาทุกศาล ตามระบบการปกครองของประเทศคู่ค้าที่มีถึง 4 ศาลด้วยกัน . ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลเซนซิบาร์ แห่งสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย ที่แม้ติดขัดในเรื่องการชำระหนี้ ก็ได้พยายามติดต่อมาขอเจรจาไกล่เกลี้ยกับทาง บริษัท แหลมทองค้าข้าว จำกัด หลายต่อหลายครั้ง โดยมี กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง . อย่างไรก็ตามเรื่องกลับไม่มีความคืบหน้า นายสุทิน ที่เป็น สส.ในฝ่ายรัฐบาลจึงหยิบยกขึ้นมาให้หารือในสภาผู้แทนราษฎร ด้วยเหตุว่าหากติดตามหนี้มูลค่า 2.7 ล้านล้านบาท มาได้ ไม่เพียงเอกชนที่จะได้รับประโยชน์เท่านั้น รัฐบาลไทยก็จะได้ผลพลอยได้ไปด้วย กับภาษีก้อนมหาศาลจากยอดหนี้ที่เอกชนทวงถามได้ไปด้วย . ถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างน้อยๆเป็นหลักหลายแสนล้านบาท โดยแทบไม่มีพิษมีภัย ไม่สร้างปัญหาในภายหลัง ดีกว่าไปจะคิดสร้างรายได้จาก “บ่อนการพนัน“ ที่รัฐบาลพยายามผลักดัน ที่จะมีผลกระทบในแง่ลบตามมาแบบคาดคะเนไม่ได้ . ตามขั้นตอนหลังการหารือในสภาฯ ข้อมูลของ สส.ผู้หารือจะถูกส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในเรื่องของ บริษัท แหลมทองค้าข้าว จำกัด นี้ก็จะเป็นในส่วนของกรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนี้ก็น่าจะมีรายงานไปถึง นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ด้วย . ก็ต้องดูว่า รัฐบาลเพื่อไทย จะนำพาข้อหารือที่เป็นประโยชน์ของ นายสุทิน ที่ถือเป็นแกนนำพรรคระดับสูงไปปฏิบัติหรือไม่อย่างไร. .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    18
    1 Comments 0 Shares 2622 Views 0 Reviews
  • การวิเคราะห์การเงินโลกเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและครอบคลุมหลายปัจจัย ซึ่งรวมถึงสถานะเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ นโยบายการเงิน การค้าระหว่างประเทศ ตลาดการเงิน และปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ ต่อไปนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการวิเคราะห์การเงินโลก:

    ### 1. **เศรษฐกิจโลกและแนวโน้มการเติบโต**
    - **GDP โลก**: การเติบโตของ GDP โลกเป็นตัวชี้วัดสำคัญของสุขภาพเศรษฐกิจโลก การชะลอตัวหรือการเติบโตที่ลดลงอาจส่งสัญญาณถึงปัญหาเศรษฐกิจ เช่น การว่างงานที่เพิ่มขึ้นหรือการบริโภคที่ลดลง
    - **เศรษฐกิจหลัก**: เศรษฐกิจของประเทศใหญ่ ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น มีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลก

    ### 2. **นโยบายการเงินและการคลัง**
    - **อัตราดอกเบี้ย**: ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ เช่น Federal Reserve (สหรัฐอเมริกา), European Central Bank (สหภาพยุโรป), และ Bank of Japan (ญี่ปุ่น) มีบทบาทสำคัญในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสามารถส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก
    - **นโยบายการคลัง**: การใช้จ่ายของรัฐบาลและการเก็บภาษีมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการลงทุน

    ### 3. **ตลาดการเงิน**
    - **ตลาดหุ้น**: ดัชนีตลาดหุ้นหลัก ๆ เช่น S&P 500, Dow Jones, และ Nikkei 225 เป็นตัวชี้วัดสำคัญของสุขภาพเศรษฐกิจและการลงทุน
    - **ตลาดพันธบัตร**: อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเป็นตัวชี้วัดสำคัญของความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจและความเสี่ยง
    - **ตลาดสกุลเงิน**: อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศมีผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

    ### 4. **การค้าระหว่างประเทศ**
    - **ดุลการค้า**: การเกินดุลหรือขาดดุลการค้าของประเทศต่าง ๆ มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก
    - **ข้อตกลงการค้า**: ข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ เช่น NAFTA, CPTPP, และ RCEP มีผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

    ### 5. **ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์**
    - **ความขัดแย้งระหว่างประเทศ**: ความขัดแย้งทางการเมืองและการทหารสามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงิน
    - **ความมั่นคงทางพลังงาน**: ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาการส่งออกพลังงาน

    ### 6. **เทคโนโลยีและนวัตกรรม**
    - **เทคโนโลยีการเงิน (FinTech)**: การพัฒนาของเทคโนโลยีการเงิน เช่น บล็อกเชนและคริปโตเคอร์เรนซี มีผลกระทบต่อระบบการเงินโลก
    - **นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม**: การพัฒนาของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น AI, IoT, และรถยนต์ไฟฟ้า มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุน

    ### 7. **ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน**
    - **การระบาดของโรค**: การระบาดของโรค เช่น COVID-19 มีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก
    - **การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ**: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุน

    ### สรุป
    การวิเคราะห์การเงินโลกต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกัน การเข้าใจแนวโน้มและความเสี่ยงเหล่านี้สามารถช่วยในการตัดสินใจทางการเงินและการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    การวิเคราะห์การเงินโลกเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและครอบคลุมหลายปัจจัย ซึ่งรวมถึงสถานะเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ นโยบายการเงิน การค้าระหว่างประเทศ ตลาดการเงิน และปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ ต่อไปนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการวิเคราะห์การเงินโลก: ### 1. **เศรษฐกิจโลกและแนวโน้มการเติบโต** - **GDP โลก**: การเติบโตของ GDP โลกเป็นตัวชี้วัดสำคัญของสุขภาพเศรษฐกิจโลก การชะลอตัวหรือการเติบโตที่ลดลงอาจส่งสัญญาณถึงปัญหาเศรษฐกิจ เช่น การว่างงานที่เพิ่มขึ้นหรือการบริโภคที่ลดลง - **เศรษฐกิจหลัก**: เศรษฐกิจของประเทศใหญ่ ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น มีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลก ### 2. **นโยบายการเงินและการคลัง** - **อัตราดอกเบี้ย**: ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ เช่น Federal Reserve (สหรัฐอเมริกา), European Central Bank (สหภาพยุโรป), และ Bank of Japan (ญี่ปุ่น) มีบทบาทสำคัญในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสามารถส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก - **นโยบายการคลัง**: การใช้จ่ายของรัฐบาลและการเก็บภาษีมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการลงทุน ### 3. **ตลาดการเงิน** - **ตลาดหุ้น**: ดัชนีตลาดหุ้นหลัก ๆ เช่น S&P 500, Dow Jones, และ Nikkei 225 เป็นตัวชี้วัดสำคัญของสุขภาพเศรษฐกิจและการลงทุน - **ตลาดพันธบัตร**: อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเป็นตัวชี้วัดสำคัญของความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจและความเสี่ยง - **ตลาดสกุลเงิน**: อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศมีผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ### 4. **การค้าระหว่างประเทศ** - **ดุลการค้า**: การเกินดุลหรือขาดดุลการค้าของประเทศต่าง ๆ มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก - **ข้อตกลงการค้า**: ข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ เช่น NAFTA, CPTPP, และ RCEP มีผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ### 5. **ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์** - **ความขัดแย้งระหว่างประเทศ**: ความขัดแย้งทางการเมืองและการทหารสามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงิน - **ความมั่นคงทางพลังงาน**: ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาการส่งออกพลังงาน ### 6. **เทคโนโลยีและนวัตกรรม** - **เทคโนโลยีการเงิน (FinTech)**: การพัฒนาของเทคโนโลยีการเงิน เช่น บล็อกเชนและคริปโตเคอร์เรนซี มีผลกระทบต่อระบบการเงินโลก - **นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม**: การพัฒนาของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น AI, IoT, และรถยนต์ไฟฟ้า มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุน ### 7. **ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน** - **การระบาดของโรค**: การระบาดของโรค เช่น COVID-19 มีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก - **การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ**: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุน ### สรุป การวิเคราะห์การเงินโลกต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกัน การเข้าใจแนวโน้มและความเสี่ยงเหล่านี้สามารถช่วยในการตัดสินใจทางการเงินและการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    0 Comments 0 Shares 894 Views 0 Reviews
  • 4. **การค้าระหว่างประเทศ**
    - **ดุลการค้า**: ดุลการค้าระหว่างประเทศสามารถบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศ
    - **ข้อตกลงการค้า**: ข้อตกลงการค้าเสรีหรือมาตรการกีดกันทางการค้ามีผลต่อการไหลเวียนของสินค้าและบริการ
    4. **การค้าระหว่างประเทศ** - **ดุลการค้า**: ดุลการค้าระหว่างประเทศสามารถบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศ - **ข้อตกลงการค้า**: ข้อตกลงการค้าเสรีหรือมาตรการกีดกันทางการค้ามีผลต่อการไหลเวียนของสินค้าและบริการ
    0 Comments 0 Shares 88 Views 0 Reviews
  • การวิเคราะห์การเงินโลกเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและครอบคลุมหลายปัจจัย ซึ่งรวมถึงสถานะเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ นโยบายการเงิน การค้าระหว่างประเทศ ตลาดการเงิน และปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ ต่อไปนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการวิเคราะห์การเงินโลก:

    ### 1. **เศรษฐกิจโลกและแนวโน้มการเติบโต**
    - **GDP โลก**: การเติบโตของ GDP โลกเป็นตัวชี้วัดสำคัญของสุขภาพเศรษฐกิจโลก การชะลอตัวหรือการเติบโตที่ลดลงอาจส่งสัญญาณถึงปัญหาเศรษฐกิจ เช่น การว่างงานที่เพิ่มขึ้นหรือการบริโภคที่ลดลง
    - **เศรษฐกิจหลัก**: เศรษฐกิจของประเทศใหญ่ ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น มีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลก

    ### 2. **นโยบายการเงินและการคลัง**
    - **อัตราดอกเบี้ย**: ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ เช่น Federal Reserve (สหรัฐอเมริกา), European Central Bank (สหภาพยุโรป), และ Bank of Japan (ญี่ปุ่น) มีบทบาทสำคัญในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสามารถส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก
    - **นโยบายการคลัง**: การใช้จ่ายของรัฐบาลและการเก็บภาษีมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการลงทุน

    ### 3. **ตลาดการเงิน**
    - **ตลาดหุ้น**: ดัชนีตลาดหุ้นหลัก ๆ เช่น S&P 500, Dow Jones, และ Nikkei 225 เป็นตัวชี้วัดสำคัญของสุขภาพเศรษฐกิจและการลงทุน
    - **ตลาดพันธบัตร**: อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเป็นตัวชี้วัดสำคัญของความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจและความเสี่ยง
    - **ตลาดสกุลเงิน**: อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศมีผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

    ### 4. **การค้าระหว่างประเทศ**
    - **ดุลการค้า**: การเกินดุลหรือขาดดุลการค้าของประเทศต่าง ๆ มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก
    - **ข้อตกลงการค้า**: ข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ เช่น NAFTA, CPTPP, และ RCEP มีผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

    ### 5. **ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์**
    - **ความขัดแย้งระหว่างประเทศ**: ความขัดแย้งทางการเมืองและการทหารสามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงิน
    - **ความมั่นคงทางพลังงาน**: ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาการส่งออกพลังงาน

    ### 6. **เทคโนโลยีและนวัตกรรม**
    - **เทคโนโลยีการเงิน (FinTech)**: การพัฒนาของเทคโนโลยีการเงิน เช่น บล็อกเชนและคริปโตเคอร์เรนซี มีผลกระทบต่อระบบการเงินโลก
    - **นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม**: การพัฒนาของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น AI, IoT, และรถยนต์ไฟฟ้า มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุน

    ### 7. **ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน**
    - **การระบาดของโรค**: การระบาดของโรค เช่น COVID-19 มีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก
    - **การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ**: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุน

    ### สรุป
    การวิเคราะห์การเงินโลกต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกัน การเข้าใจแนวโน้มและความเสี่ยงเหล่านี้สามารถช่วยในการตัดสินใจทางการเงินและการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    การวิเคราะห์การเงินโลกเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและครอบคลุมหลายปัจจัย ซึ่งรวมถึงสถานะเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ นโยบายการเงิน การค้าระหว่างประเทศ ตลาดการเงิน และปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ ต่อไปนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการวิเคราะห์การเงินโลก: ### 1. **เศรษฐกิจโลกและแนวโน้มการเติบโต** - **GDP โลก**: การเติบโตของ GDP โลกเป็นตัวชี้วัดสำคัญของสุขภาพเศรษฐกิจโลก การชะลอตัวหรือการเติบโตที่ลดลงอาจส่งสัญญาณถึงปัญหาเศรษฐกิจ เช่น การว่างงานที่เพิ่มขึ้นหรือการบริโภคที่ลดลง - **เศรษฐกิจหลัก**: เศรษฐกิจของประเทศใหญ่ ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น มีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลก ### 2. **นโยบายการเงินและการคลัง** - **อัตราดอกเบี้ย**: ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ เช่น Federal Reserve (สหรัฐอเมริกา), European Central Bank (สหภาพยุโรป), และ Bank of Japan (ญี่ปุ่น) มีบทบาทสำคัญในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสามารถส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก - **นโยบายการคลัง**: การใช้จ่ายของรัฐบาลและการเก็บภาษีมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการลงทุน ### 3. **ตลาดการเงิน** - **ตลาดหุ้น**: ดัชนีตลาดหุ้นหลัก ๆ เช่น S&P 500, Dow Jones, และ Nikkei 225 เป็นตัวชี้วัดสำคัญของสุขภาพเศรษฐกิจและการลงทุน - **ตลาดพันธบัตร**: อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเป็นตัวชี้วัดสำคัญของความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจและความเสี่ยง - **ตลาดสกุลเงิน**: อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศมีผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ### 4. **การค้าระหว่างประเทศ** - **ดุลการค้า**: การเกินดุลหรือขาดดุลการค้าของประเทศต่าง ๆ มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก - **ข้อตกลงการค้า**: ข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ เช่น NAFTA, CPTPP, และ RCEP มีผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ### 5. **ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์** - **ความขัดแย้งระหว่างประเทศ**: ความขัดแย้งทางการเมืองและการทหารสามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงิน - **ความมั่นคงทางพลังงาน**: ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาการส่งออกพลังงาน ### 6. **เทคโนโลยีและนวัตกรรม** - **เทคโนโลยีการเงิน (FinTech)**: การพัฒนาของเทคโนโลยีการเงิน เช่น บล็อกเชนและคริปโตเคอร์เรนซี มีผลกระทบต่อระบบการเงินโลก - **นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม**: การพัฒนาของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น AI, IoT, และรถยนต์ไฟฟ้า มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุน ### 7. **ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน** - **การระบาดของโรค**: การระบาดของโรค เช่น COVID-19 มีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก - **การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ**: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุน ### สรุป การวิเคราะห์การเงินโลกต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกัน การเข้าใจแนวโน้มและความเสี่ยงเหล่านี้สามารถช่วยในการตัดสินใจทางการเงินและการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    0 Comments 0 Shares 836 Views 0 Reviews
  • จีนได้เริ่มการสอบสวนใหม่เกี่ยวกับ Google และ Nvidia ในเรื่องการละเมิดกฎหมายการผูกขาด และยังมีแผนที่จะสอบสวน Intel ด้วย กิจกรรมนี้อาจส่งผลให้บริษัททั้งสามถูกปรับหรือถูกจำกัดการเข้าถึงตลาดจีน การสอบสวนนี้มีแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา และอาจเป็นวิธีหนึ่งที่จีนใช้เพื่อเพิ่มอำนาจการเจรจาในการพบปะระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศ

    สำหรับ Google การสอบสวนเน้นที่ระบบปฏิบัติการ Android และว่ามันได้สร้างความเสียหายต่อผู้ผลิตสมาร์ทโฟนจีนเช่น Oppo และ Xiaomi ที่ต้องพึ่งพาซอฟต์แวร์ของ Google หรือไม่ ขณะที่ Nvidia ถูกสอบสวนเกี่ยวกับการทำตามเงื่อนไขการเข้าซื้อบริษัท Mellanox Technologies ในปี 2019

    ส่วน Intel ยังไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการสอบสวน แต่ถ้าเริ่มต้นขึ้น การสอบสวนอาจเน้นที่วิธีการดำเนินธุรกิจของ Intel ในจีน ที่ถือว่าเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของบริษัท

    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในขณะที่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ตั้งอัตราภาษีใหม่สำหรับสินค้าจีน และจีนอาจตอบโต้ด้วยการใช้กฎหมายการผูกขาดเป็นเครื่องมือ นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกาเพิ่มความพยายามในการจำกัดการพัฒนาของจีนในด้านปัญญาประดิษฐ์และการคำนวณประสิทธิภาพสูง

    แม้จะเป็นเครื่องมือในการเจรจา แต่วิธีนี้อาจเสี่ยงต่อการสร้างความขัดแย้งมากขึ้น เพราะไม่เพียงแต่บริษัทอเมริกันที่ต้องพึ่งพาตลาดจีน บริษัทจีนเองก็พึ่งพาเทคโนโลยีอเมริกันเช่นกัน

    การสอบสวนนี้อาจส่งผลกระทบต่อทั้งสองฝ่ายและเปลี่ยนแปลงสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศอย่างมากมาย

    https://www.tomshardware.com/tech-industry/china-reopens-antitrust-probe-into-google-nvidia-and-intel-may-be-next
    จีนได้เริ่มการสอบสวนใหม่เกี่ยวกับ Google และ Nvidia ในเรื่องการละเมิดกฎหมายการผูกขาด และยังมีแผนที่จะสอบสวน Intel ด้วย กิจกรรมนี้อาจส่งผลให้บริษัททั้งสามถูกปรับหรือถูกจำกัดการเข้าถึงตลาดจีน การสอบสวนนี้มีแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา และอาจเป็นวิธีหนึ่งที่จีนใช้เพื่อเพิ่มอำนาจการเจรจาในการพบปะระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศ สำหรับ Google การสอบสวนเน้นที่ระบบปฏิบัติการ Android และว่ามันได้สร้างความเสียหายต่อผู้ผลิตสมาร์ทโฟนจีนเช่น Oppo และ Xiaomi ที่ต้องพึ่งพาซอฟต์แวร์ของ Google หรือไม่ ขณะที่ Nvidia ถูกสอบสวนเกี่ยวกับการทำตามเงื่อนไขการเข้าซื้อบริษัท Mellanox Technologies ในปี 2019 ส่วน Intel ยังไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการสอบสวน แต่ถ้าเริ่มต้นขึ้น การสอบสวนอาจเน้นที่วิธีการดำเนินธุรกิจของ Intel ในจีน ที่ถือว่าเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของบริษัท เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในขณะที่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ตั้งอัตราภาษีใหม่สำหรับสินค้าจีน และจีนอาจตอบโต้ด้วยการใช้กฎหมายการผูกขาดเป็นเครื่องมือ นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกาเพิ่มความพยายามในการจำกัดการพัฒนาของจีนในด้านปัญญาประดิษฐ์และการคำนวณประสิทธิภาพสูง แม้จะเป็นเครื่องมือในการเจรจา แต่วิธีนี้อาจเสี่ยงต่อการสร้างความขัดแย้งมากขึ้น เพราะไม่เพียงแต่บริษัทอเมริกันที่ต้องพึ่งพาตลาดจีน บริษัทจีนเองก็พึ่งพาเทคโนโลยีอเมริกันเช่นกัน การสอบสวนนี้อาจส่งผลกระทบต่อทั้งสองฝ่ายและเปลี่ยนแปลงสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศอย่างมากมาย https://www.tomshardware.com/tech-industry/china-reopens-antitrust-probe-into-google-nvidia-and-intel-may-be-next
    0 Comments 0 Shares 266 Views 0 Reviews
  • "กูไม่กลัวมึง!"
    เม็กซิโกและแคนาดาประกาศตอบโต้มาตรกาภาษีนำเข้า 25% ของทรัมป์ ส่วนจีนขอใช้วิธีฟ้องไปที่ WTO แทน

    นายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด ประกาศตอบโต้มาตรการจัดเก็บภาษีของทรัมป์ โดยแคนาดาจะจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ 25% กับสินค้านำเข้าเกือบทุกประเภท ซึ่งรวมถึงสินค้าในกลุ่มพลังงานด้วย

    รัฐบาลแคนานาจะดำเนินการเพิ่มภาษี 25% สำหรับนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ที่มีมูลค่าราว 1.55 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (5.23 ล้านล้านบาท) โดยราว 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (1 ล้านล้านบาท) จะเกิดขึ้นหลังจากมาตรการนี้มีผลบังคับใช้ในวันอังคารนี้ และอีก 1.25 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (4.22 ล้านล้านบาท) จะมีผลในอีก 21 วัน

    ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดี Sheinbaum แห่งเม็กซิโก สั่งการให้รัฐมนตรีที่ดูแลงานด้านเศรษฐกิจให้ตอบโต้ด้วยมาตรการทั้งในรูปแบบภาษีและไม่ใช่ภาษี ซึ่งคาดว่าในจำนวนนั้นจะมีมาตรการตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ 25%

    สำหรับทางการ "จีน" ที่โดนมาตรการภาษีจากทรัมป์ 10% ออกแถลงการณ์ล่าสุด ประกาศจะตอบโต้กลับสหรัฐ แต่ยังไม่ถึงขั้นตอบโต้ด้านภาษีศุลกากรโดยตรง โดยกระทรวงพาณิชย์ของจีนประกาศยื่นฟ้องสหรัฐต่อองค์การการค้าโลก (WTO) พร้อมประณามการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนว่าเป็น “การละเมิดกฎการค้าระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง” และปักกิ่งจะ “ใช้มาตรการตอบโต้เพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของตนเองอย่างมั่นคง” ทว่ายังไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม
    "กูไม่กลัวมึง!" เม็กซิโกและแคนาดาประกาศตอบโต้มาตรกาภาษีนำเข้า 25% ของทรัมป์ ส่วนจีนขอใช้วิธีฟ้องไปที่ WTO แทน นายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด ประกาศตอบโต้มาตรการจัดเก็บภาษีของทรัมป์ โดยแคนาดาจะจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ 25% กับสินค้านำเข้าเกือบทุกประเภท ซึ่งรวมถึงสินค้าในกลุ่มพลังงานด้วย รัฐบาลแคนานาจะดำเนินการเพิ่มภาษี 25% สำหรับนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ที่มีมูลค่าราว 1.55 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (5.23 ล้านล้านบาท) โดยราว 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (1 ล้านล้านบาท) จะเกิดขึ้นหลังจากมาตรการนี้มีผลบังคับใช้ในวันอังคารนี้ และอีก 1.25 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (4.22 ล้านล้านบาท) จะมีผลในอีก 21 วัน ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดี Sheinbaum แห่งเม็กซิโก สั่งการให้รัฐมนตรีที่ดูแลงานด้านเศรษฐกิจให้ตอบโต้ด้วยมาตรการทั้งในรูปแบบภาษีและไม่ใช่ภาษี ซึ่งคาดว่าในจำนวนนั้นจะมีมาตรการตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ 25% สำหรับทางการ "จีน" ที่โดนมาตรการภาษีจากทรัมป์ 10% ออกแถลงการณ์ล่าสุด ประกาศจะตอบโต้กลับสหรัฐ แต่ยังไม่ถึงขั้นตอบโต้ด้านภาษีศุลกากรโดยตรง โดยกระทรวงพาณิชย์ของจีนประกาศยื่นฟ้องสหรัฐต่อองค์การการค้าโลก (WTO) พร้อมประณามการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนว่าเป็น “การละเมิดกฎการค้าระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง” และปักกิ่งจะ “ใช้มาตรการตอบโต้เพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของตนเองอย่างมั่นคง” ทว่ายังไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 422 Views 0 Reviews
  • และแล้ว #เปลือยธารินทร์ ก็มาถึงตอนสุดท้ายแล้ว ขอขอบพระคุณ ๆ #สนธิลิ้มทองกุล กองบรรณาธิการผู้จัดการ ผู้เขียน มาอีกครั้งขอบคุณทุกท่านที่ติดตามฟังค่ะ

    ประชุม APEC สัตยาบันของการยอมเป็นทาส
    เงิน IMF ที่ช่วยมาทาง Asia นั้น อเมริกาไม่ได้ลงสักแดงเดียว เป็นเงินญี่ปุ่นเสียส่วนใหญ่
    อเมริกาทำตัวรีดไถและทำตัวเป็นคนคุ้มครองเรียกค่าคุ้มครองด้วยการใช้จิตวิทยาของความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลี ที่อเมริกาอยากให้มีอยู่นาน ๆ เพื่อใช้เป็นข้อต่อรองในการคุ้มครองความมั่งคั่งของญี่ปุ่น โดยดำรงกำลังทหนารอยู่ในคาบสมุทรเกาหลี เพื่อให้ญี่ปุ่นอดทนต่อการถูกอเมริกาดุด่าสั่งสอน และรีดไถในการเมืองและเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ
    https://youtu.be/mWdQxcgMzm0
    และแล้ว #เปลือยธารินทร์ ก็มาถึงตอนสุดท้ายแล้ว ขอขอบพระคุณ ๆ #สนธิลิ้มทองกุล กองบรรณาธิการผู้จัดการ ผู้เขียน มาอีกครั้งขอบคุณทุกท่านที่ติดตามฟังค่ะ ประชุม APEC สัตยาบันของการยอมเป็นทาส เงิน IMF ที่ช่วยมาทาง Asia นั้น อเมริกาไม่ได้ลงสักแดงเดียว เป็นเงินญี่ปุ่นเสียส่วนใหญ่ อเมริกาทำตัวรีดไถและทำตัวเป็นคนคุ้มครองเรียกค่าคุ้มครองด้วยการใช้จิตวิทยาของความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลี ที่อเมริกาอยากให้มีอยู่นาน ๆ เพื่อใช้เป็นข้อต่อรองในการคุ้มครองความมั่งคั่งของญี่ปุ่น โดยดำรงกำลังทหนารอยู่ในคาบสมุทรเกาหลี เพื่อให้ญี่ปุ่นอดทนต่อการถูกอเมริกาดุด่าสั่งสอน และรีดไถในการเมืองและเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ https://youtu.be/mWdQxcgMzm0
    0 Comments 0 Shares 451 Views 0 Reviews
  • คณะบริหารไบเดนเสนอกรอบโครงใหม่จำกัดการส่งออกชิปเอไอ หวังสกัดจีน คู่แข่งตัวกลั่นในสงครามไฮเทค แต่กลับกลายเป็นการสร้างความกังวลในหมู่ผู้บริหารในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในประเทศ ตลอดจนถึงอียู
    .
    ขณะที่เหลือเวลาอีกเพียงสัปดาห์เดียวก่อนที่โดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ พวกเจ้าหน้าที่คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ระบุชัดเจนว่า กฎใหม่หล่านี้จะมีผลบังคับใช้ภายใน 120 วัน ดังนั้นจึงทำให้คณะบริหารของทรัมป์ต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะสานต่อหรือยกเลิกกรอบโครงเหล่านี้ที่จะส่งผลกระทบต่อ 120 ประเทศ ขณะที่เจ้าหน้าที่อาวุโสคนหนึ่งเตือนว่า การระงับการใช้กฎนี้อาจเท่ากับเปิดโอกาสให้จีนมีเวลาสะสมมากขึ้นในการสะสมฮาร์ดแวร์ที่มาจากอเมริกา
    .
    เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว กล่าวอ้างเมื่อวันจันทร์ (13 ม.ค.) ว่า เดิมพันจะสูงมาก หากจีนกลายเป็นผู้กำหนดอนาคตของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)
    .
    จีนา ไรมอนโด รัฐมนตรีพาณิชย์สหรัฐฯ ขานรับว่า สิ่งสำคัญคือการรักษาความเป็นผู้นำของอเมริกาในด้านเอไอและการพัฒนาชิปเกี่ยวกับเอไอ และเสริมว่า กรอบโครงนี้ออกแบบมาเพื่อปกป้องเทคโนโลยีเอไอขั้นสูงสุด และให้ความมั่นใจว่า เทคโนโลยีนี้จะไม่ตกอยู่ในมือศัตรูต่างชาติ แต่ขณะเดียวกันจะสามารถเผยแพร่และแบ่งปันประโยชน์กับประเทศที่เป็นหุ้นส่วนของอเมริกา
    .
    แม้คณะบริหารชุดนี้ออกมาตรการจำกัดการส่งออกกับศัตรู เช่น จีนและรัสเซียไปแล้ว แต่พวกเขาอ้างว่าบางมาตรการยังมีช่องโหว่ และกฎล่าสุดมุ่งจะตั้งข้อจำกัดกับประเทศต่างๆ ในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น
    .
    ด้าน เอ็ด มิลส์ นักวิเคราะห์ของ เรย์มอนด์ เจมส์ ชี้ว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ แสดงความกังวลโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับศูนย์ข้อมูลในตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากบริษัทจีนใช้ศูนย์เหล่านั้นในการสร้างโมเดลเอไอด้วยเทคโนโลยีที่ตนเองไม่สามารถนำเข้าสู่จีนได้โดยตรง
    .
    อย่างไรก็ตาม สัปดาห์ที่แล้ว สภาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของอเมริกาเตือนไรมอนโดว่า การเร่งรีบใช้กฎใหม่ของคณะบริหารเดโมแครต อาจกลายเป็นการบ่อนทำลายห่วงโซ่อุปทานโลก และทำให้บริษัทอเมริกันเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
    .
    ต่อมาในวันจันทร์ สมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของอเมริกา (เอสไอเอ) แสดงความเห็นว่า ผิดหวังที่มีการเร่งรัดผลักดันนโยบายก่อนที่จะมีการเปลี่ยนผ่านคณะบริหาร
    .
    จอห์น นิวเฟอร์ ประธานและซีอีโอเอสไอเอ เตือนว่า กฎใหม่เสี่ยงทำให้เกิดความเสียหายยาวนานโดยไม่ตั้งใจกับเศรษฐกิจและขีดความสามารถแข่งขันระดับโลกของธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์และเอไอของอเมริกา เนื่องจากการทำเช่นนี้มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นการยกตลาดสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ให้แก่พวกคู่แข่ง
    .
    เอ็นวิเดีย บริษัทชิปยักษ์ใหญ่ โพสต์บนบล็อก สำทับว่า แม้มีจุดประสงค์เพื่อต่อต้านจีน แต่มาตรการนี้ไม่ได้ช่วยส่งเสริมความมั่นคงของอเมริกาแต่อย่างใด
    .
    กฎใหม่นี้เนื้อหาสำคัญคือยกระดับการควบคุมการส่งออกชิป ด้วยการกำหนดให้ต้องมีการขออนุญาตสำหรับการส่งออก รวมทั้งการส่งออกต่อ และการถ่ายโอนภายในประเทศ ขณะที่ศูนย์ข้อมูลเอไอต้องปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยที่รัดกุมมากขึ้นหากต้องการนำเข้าชิป รวมทั้งมีการเพิ่มความเข้มงวดในการแชร์โมเดลเอไอล้ำสมัย
    .
    กฎใหม่เหล่านี้มีข้อยกเว้นหลายอย่างสำหรับพันธมิตรและหุ้นส่วนสำคัญราว 20 ชาติ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และอังกฤษ
    .
    อย่างไรก็ดี การตั้งข้อจำกัดกับบางประเทศในสหภาพยุโรป ทำให้เจ้าหน้าที่บรัสเซลส์ออกมาคัดค้านโดยระบุว่า การขายชิปเอไอขั้นสูงให้สมาชิกอียูถือเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับอเมริกา ไม่ใช่ความเสี่ยงด้านความมั่นคง
    .
    ทางด้านกระทรวงพาณิชย์จีนโจมตีนโยบายใหม่ของไบเดนว่า ละเมิดกฎการค้าระหว่างประเทศ พร้อมประกาศปกป้องผลประโยชน์ของชาติเต็มที่
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004280
    ..............
    Sondhi X
    คณะบริหารไบเดนเสนอกรอบโครงใหม่จำกัดการส่งออกชิปเอไอ หวังสกัดจีน คู่แข่งตัวกลั่นในสงครามไฮเทค แต่กลับกลายเป็นการสร้างความกังวลในหมู่ผู้บริหารในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในประเทศ ตลอดจนถึงอียู . ขณะที่เหลือเวลาอีกเพียงสัปดาห์เดียวก่อนที่โดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ พวกเจ้าหน้าที่คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ระบุชัดเจนว่า กฎใหม่หล่านี้จะมีผลบังคับใช้ภายใน 120 วัน ดังนั้นจึงทำให้คณะบริหารของทรัมป์ต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะสานต่อหรือยกเลิกกรอบโครงเหล่านี้ที่จะส่งผลกระทบต่อ 120 ประเทศ ขณะที่เจ้าหน้าที่อาวุโสคนหนึ่งเตือนว่า การระงับการใช้กฎนี้อาจเท่ากับเปิดโอกาสให้จีนมีเวลาสะสมมากขึ้นในการสะสมฮาร์ดแวร์ที่มาจากอเมริกา . เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว กล่าวอ้างเมื่อวันจันทร์ (13 ม.ค.) ว่า เดิมพันจะสูงมาก หากจีนกลายเป็นผู้กำหนดอนาคตของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) . จีนา ไรมอนโด รัฐมนตรีพาณิชย์สหรัฐฯ ขานรับว่า สิ่งสำคัญคือการรักษาความเป็นผู้นำของอเมริกาในด้านเอไอและการพัฒนาชิปเกี่ยวกับเอไอ และเสริมว่า กรอบโครงนี้ออกแบบมาเพื่อปกป้องเทคโนโลยีเอไอขั้นสูงสุด และให้ความมั่นใจว่า เทคโนโลยีนี้จะไม่ตกอยู่ในมือศัตรูต่างชาติ แต่ขณะเดียวกันจะสามารถเผยแพร่และแบ่งปันประโยชน์กับประเทศที่เป็นหุ้นส่วนของอเมริกา . แม้คณะบริหารชุดนี้ออกมาตรการจำกัดการส่งออกกับศัตรู เช่น จีนและรัสเซียไปแล้ว แต่พวกเขาอ้างว่าบางมาตรการยังมีช่องโหว่ และกฎล่าสุดมุ่งจะตั้งข้อจำกัดกับประเทศต่างๆ ในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น . ด้าน เอ็ด มิลส์ นักวิเคราะห์ของ เรย์มอนด์ เจมส์ ชี้ว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ แสดงความกังวลโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับศูนย์ข้อมูลในตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากบริษัทจีนใช้ศูนย์เหล่านั้นในการสร้างโมเดลเอไอด้วยเทคโนโลยีที่ตนเองไม่สามารถนำเข้าสู่จีนได้โดยตรง . อย่างไรก็ตาม สัปดาห์ที่แล้ว สภาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของอเมริกาเตือนไรมอนโดว่า การเร่งรีบใช้กฎใหม่ของคณะบริหารเดโมแครต อาจกลายเป็นการบ่อนทำลายห่วงโซ่อุปทานโลก และทำให้บริษัทอเมริกันเป็นฝ่ายเสียเปรียบ . ต่อมาในวันจันทร์ สมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของอเมริกา (เอสไอเอ) แสดงความเห็นว่า ผิดหวังที่มีการเร่งรัดผลักดันนโยบายก่อนที่จะมีการเปลี่ยนผ่านคณะบริหาร . จอห์น นิวเฟอร์ ประธานและซีอีโอเอสไอเอ เตือนว่า กฎใหม่เสี่ยงทำให้เกิดความเสียหายยาวนานโดยไม่ตั้งใจกับเศรษฐกิจและขีดความสามารถแข่งขันระดับโลกของธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์และเอไอของอเมริกา เนื่องจากการทำเช่นนี้มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นการยกตลาดสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ให้แก่พวกคู่แข่ง . เอ็นวิเดีย บริษัทชิปยักษ์ใหญ่ โพสต์บนบล็อก สำทับว่า แม้มีจุดประสงค์เพื่อต่อต้านจีน แต่มาตรการนี้ไม่ได้ช่วยส่งเสริมความมั่นคงของอเมริกาแต่อย่างใด . กฎใหม่นี้เนื้อหาสำคัญคือยกระดับการควบคุมการส่งออกชิป ด้วยการกำหนดให้ต้องมีการขออนุญาตสำหรับการส่งออก รวมทั้งการส่งออกต่อ และการถ่ายโอนภายในประเทศ ขณะที่ศูนย์ข้อมูลเอไอต้องปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยที่รัดกุมมากขึ้นหากต้องการนำเข้าชิป รวมทั้งมีการเพิ่มความเข้มงวดในการแชร์โมเดลเอไอล้ำสมัย . กฎใหม่เหล่านี้มีข้อยกเว้นหลายอย่างสำหรับพันธมิตรและหุ้นส่วนสำคัญราว 20 ชาติ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และอังกฤษ . อย่างไรก็ดี การตั้งข้อจำกัดกับบางประเทศในสหภาพยุโรป ทำให้เจ้าหน้าที่บรัสเซลส์ออกมาคัดค้านโดยระบุว่า การขายชิปเอไอขั้นสูงให้สมาชิกอียูถือเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับอเมริกา ไม่ใช่ความเสี่ยงด้านความมั่นคง . ทางด้านกระทรวงพาณิชย์จีนโจมตีนโยบายใหม่ของไบเดนว่า ละเมิดกฎการค้าระหว่างประเทศ พร้อมประกาศปกป้องผลประโยชน์ของชาติเต็มที่ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004280 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    5
    0 Comments 0 Shares 1758 Views 0 Reviews
  • 🇮🇳🇺🇸 อินเดีย กล่าวว่า 🤣ไม่ได้ดำเนินนโยบายลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐฯ🤣 และยังไม่มีการตัดสินใจใดๆเกี่ยวกับสกุลเงินของกลุ่ม BRICS จนถึงขณะนี้

    ข่าวนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ประธานาธิบดีทรัมป์ของสหรัฐฯ ขู่ว่าจะเรียกเก็บภาษี ๑๐๐% จากกลุ่ม BRICS หากพวกเขาพยายามแทนที่ดอลลาร์ในการค้าระหว่างประเทศ
    .
    JUST IN: 🇮🇳🇺🇸 India says it's not pursuing de-dollarization policies and no decisions have been made so far on a BRICS currency.

    This comes after US President-elect Trump threatened 100% tariffs on BRICS nations if they attempt to replace the dollar in international trade.
    .
    9:23 PM · Dec 7, 2024 · 253.6K Views
    https://x.com/BRICSinfo/status/1865401684442108307
    🇮🇳🇺🇸 อินเดีย กล่าวว่า 🤣ไม่ได้ดำเนินนโยบายลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐฯ🤣 และยังไม่มีการตัดสินใจใดๆเกี่ยวกับสกุลเงินของกลุ่ม BRICS จนถึงขณะนี้ ข่าวนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ประธานาธิบดีทรัมป์ของสหรัฐฯ ขู่ว่าจะเรียกเก็บภาษี ๑๐๐% จากกลุ่ม BRICS หากพวกเขาพยายามแทนที่ดอลลาร์ในการค้าระหว่างประเทศ . JUST IN: 🇮🇳🇺🇸 India says it's not pursuing de-dollarization policies and no decisions have been made so far on a BRICS currency. This comes after US President-elect Trump threatened 100% tariffs on BRICS nations if they attempt to replace the dollar in international trade. . 9:23 PM · Dec 7, 2024 · 253.6K Views https://x.com/BRICSinfo/status/1865401684442108307
    Haha
    1
    0 Comments 0 Shares 163 Views 0 Reviews
  • วังเครมลินระบุ ความพยายามใดๆ ของสหรัฐฯ ในการบีบบังคับประเทศอื่นให้ใช้สกุลเงินดอลาร์จะเจอกับไฟย้อนศร หลัง โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีอเมริกา ขู่รีดภาษีบรรดาสมาชิกกลุ่ม BRICS หากว่าพวกเขาจัดตั้งสกุลเงินของตนเองขึ้นมา
    .
    เมื่อวันเสาร์ (30 พ.ย.) ทรัมป์ เรียกร้องให้บรรดาประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICS รับปากว่าจะไม่จัดตั้งสกุลเงินใหม่หรือสนับสนุนสกุลเงินอื่นๆ ที่จะมาทดแทนดอลลาร์สหรัฐ โดยขู่ว่ามิเช่นนั้นแล้วจะต้องเจอการขึ้นภาษี 100%
    .
    กลุ่ม BRICS ในเบื้องต้น มีสมาชิกประกอบไปด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ทว่านับตั้งแต่นั้นก็ขยายวงอ้าแขนรับประเทศอื่นๆ ด้วย ปัจจุบันทางกลุ่มยังไม่มีสกุลเงินร่วม แต่ได้มีการพูดคุยกันมานานในประเด็นนี้ และการหารือในหัวข้อดังกล่าวทวีความเข้มข้นขึ้น หลังจากตะวันตกกำหนดมาตรการคว่ำบาตรเล่นงานรัสเซีย ลงโทษต่อกรณีทำสงครามในยูเครน
    .
    เมื่อสอบถามเกี่ยวกับคำขู่ของทรัมป์ ทาง ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกวังเครมลินบอกว่า ดอลลาร์กำลังสูญเสียความเย้ายวนในฐานะเงินตราที่ใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศสำหรับหลายชาติ แนวโน้มที่เขาบอกว่ากำลังทวีความรวดเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ
    .
    "มีประเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หันมาใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้าขายและในกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ" เปสคอฟบอกกับผู้สื่อข่าว พร้อมคาดการณ์ว่า ถ้าสหรัฐฯ เลือกใช้หนทาง "บีบบังคับทางเศรษฐกิจ" เพื่อกดดันให้ประเทศต่างๆ ใช้ดอลลาร์ เมื่อนั้นพวกเขาจะต้องเจอกับไฟย้อนศร
    .
    "ถ้าสหรัฐฯ ใช้กำลังแบบที่พวกเขาเรียกว่าการใช้กำลังทางเศรษฐกิจ บีบบังคับประเทศต่างๆ ให้ใช้ดอลลาร์ พวกเขาจะเจอกับแนวโน้มของการเปลี่ยนไปใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้าระหว่างประเทศเข้มข้นขึ้น" เปสคอฟกล่าว "ดอลลาร์กำลังสูญเสียความน่าดึงดูดใจในฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศ สำหรับประเทศต่างๆ มากมายหลายชาติ"
    .
    อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ในข้อเท็จจริงคือ การครองโลกของดอลลาร์ หรือบทบาทสำคัญยิ่งของดอลลาร์สหรัฐในเศรษฐกิจโลก ดูเหมือนจะแข็งแกร่งขึ้นในช่วงหลัง สืบเนื่องจากความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของอเมริกา นโยบายกระชับทางการเงินและความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่พุ่งสูง แม้การแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจได้ผลักให้บรรดาประเทศในกลุ่ม BRICS ตีตัวออกห่างจากดอลลาร์ หันหน้าเข้าสู่สกุลเงินอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นก็ตาม
    .
    รอยเตอร์รายงานอ้างผลการศึกษาหนึ่งของศูนย์ภูมิเศรษฐศาสตร์ของสภาแอตแลนติก ในปีนี้ ที่พบว่าดอลลาร์สหรัฐยังคงเป็นสกุลเงินสำรองหลักของโลก โดยที่ทั้งยูโรและบรรดาประเทศต่างๆ ในกลุ่ม BRICS ไม่อาจลดพึ่งพิงดอลลาร์ได้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000116109
    ..............
    Sondhi X
    วังเครมลินระบุ ความพยายามใดๆ ของสหรัฐฯ ในการบีบบังคับประเทศอื่นให้ใช้สกุลเงินดอลาร์จะเจอกับไฟย้อนศร หลัง โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีอเมริกา ขู่รีดภาษีบรรดาสมาชิกกลุ่ม BRICS หากว่าพวกเขาจัดตั้งสกุลเงินของตนเองขึ้นมา . เมื่อวันเสาร์ (30 พ.ย.) ทรัมป์ เรียกร้องให้บรรดาประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICS รับปากว่าจะไม่จัดตั้งสกุลเงินใหม่หรือสนับสนุนสกุลเงินอื่นๆ ที่จะมาทดแทนดอลลาร์สหรัฐ โดยขู่ว่ามิเช่นนั้นแล้วจะต้องเจอการขึ้นภาษี 100% . กลุ่ม BRICS ในเบื้องต้น มีสมาชิกประกอบไปด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ทว่านับตั้งแต่นั้นก็ขยายวงอ้าแขนรับประเทศอื่นๆ ด้วย ปัจจุบันทางกลุ่มยังไม่มีสกุลเงินร่วม แต่ได้มีการพูดคุยกันมานานในประเด็นนี้ และการหารือในหัวข้อดังกล่าวทวีความเข้มข้นขึ้น หลังจากตะวันตกกำหนดมาตรการคว่ำบาตรเล่นงานรัสเซีย ลงโทษต่อกรณีทำสงครามในยูเครน . เมื่อสอบถามเกี่ยวกับคำขู่ของทรัมป์ ทาง ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกวังเครมลินบอกว่า ดอลลาร์กำลังสูญเสียความเย้ายวนในฐานะเงินตราที่ใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศสำหรับหลายชาติ แนวโน้มที่เขาบอกว่ากำลังทวีความรวดเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ . "มีประเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หันมาใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้าขายและในกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ" เปสคอฟบอกกับผู้สื่อข่าว พร้อมคาดการณ์ว่า ถ้าสหรัฐฯ เลือกใช้หนทาง "บีบบังคับทางเศรษฐกิจ" เพื่อกดดันให้ประเทศต่างๆ ใช้ดอลลาร์ เมื่อนั้นพวกเขาจะต้องเจอกับไฟย้อนศร . "ถ้าสหรัฐฯ ใช้กำลังแบบที่พวกเขาเรียกว่าการใช้กำลังทางเศรษฐกิจ บีบบังคับประเทศต่างๆ ให้ใช้ดอลลาร์ พวกเขาจะเจอกับแนวโน้มของการเปลี่ยนไปใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้าระหว่างประเทศเข้มข้นขึ้น" เปสคอฟกล่าว "ดอลลาร์กำลังสูญเสียความน่าดึงดูดใจในฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศ สำหรับประเทศต่างๆ มากมายหลายชาติ" . อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ในข้อเท็จจริงคือ การครองโลกของดอลลาร์ หรือบทบาทสำคัญยิ่งของดอลลาร์สหรัฐในเศรษฐกิจโลก ดูเหมือนจะแข็งแกร่งขึ้นในช่วงหลัง สืบเนื่องจากความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของอเมริกา นโยบายกระชับทางการเงินและความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่พุ่งสูง แม้การแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจได้ผลักให้บรรดาประเทศในกลุ่ม BRICS ตีตัวออกห่างจากดอลลาร์ หันหน้าเข้าสู่สกุลเงินอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นก็ตาม . รอยเตอร์รายงานอ้างผลการศึกษาหนึ่งของศูนย์ภูมิเศรษฐศาสตร์ของสภาแอตแลนติก ในปีนี้ ที่พบว่าดอลลาร์สหรัฐยังคงเป็นสกุลเงินสำรองหลักของโลก โดยที่ทั้งยูโรและบรรดาประเทศต่างๆ ในกลุ่ม BRICS ไม่อาจลดพึ่งพิงดอลลาร์ได้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000116109 .............. Sondhi X
    Haha
    Like
    5
    0 Comments 0 Shares 995 Views 0 Reviews
  • วันนี้ (1 ธ.ค.) นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้โพสต์ข้อความผ่านทางโซเชียลมีเดียของตัวเองโดยระบุถึงสถานการณ์ทีประเทศในกลุ่มบริกส์ (BRICS) ที่นำโดย จีน รัสเซีย บราซิล อินเดีย และแอฟริกาใต้ พยายามลดการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในการค้าขาย โดยทรัมป์ระบุว่าจะดำเนินการอย่างเด็ดขาดต่อกลุ่มประเทศเหล่านี้."จากแนวคิดของกลุ่มประเทศ BRICS ที่กำลังมีความพยายามในการเลิกใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ นั้น สหรัฐฯ จะไม่นิ่งเฉยอีกต่อไป เราต้องการคำมั่นสัญญาจากประเทศเหล่านี้ว่าพวกเขาจะไม่สร้างสกุลเงิน BRICS ขึ้นมาใหม่ หรือสนับสนุนสกุลเงินอื่นใดเพื่อมาแทนที่ ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เกรียงไกร (mighty dollar) มิฉะนั้น พวกเขาจะต้องเผชิญภาษีนำเข้า 100%" ทรัมป์ระบุ.นอกจากนี้ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังจะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2568 ยังระบุด้วยว่า นอกจากนี้หากยังดื้อดึงประเทศเหล่านี้ จะต้องโบกมือลาการขายสินค้าให้กับเศรษฐกิจอันยอดเยี่ยมของสหรัฐฯ โดยพวกเขาสามารถไปหา "พวกห่วยแตก (sucker)" รายอื่นแทนได้ แต่ไม่มีโอกาสที่เงินสกุล BRICS จะมาแทนที่ดอลลาร์สหรัฐฯ ในการค้าระหว่างประเทศ และประเทศใดก็ตามที่พยายามทำอย่างนั้นก็ควรโบกมือลาสหรัฐอเมริกาไปเสีย.ทั้งนี้เมื่อเดือนตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ในการประชุม BRICS Summit 2024 จัดขึ้นที่เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย มีการออกแถลงการณ์ที่ชื่อว่า “ปฏิญญาคาซาน” (Kazan Declaration) โดย แถลงการณ์ดังกล่าวมีมติรับ “พันธมิตรหุ้นส่วน (Partner Countries)” จำนวน 13 ประเทศ แม้ว่ายังไม่ได้เป็นสมาชิกเต็มตัว แต่จะเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือที่มากขึ้นในด้านต่าง ๆ เช่น การค้า การลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการจัดวางตำแหน่งทางการเมือง ประกอบด้วยอาเซียน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซียและเวียดนาม รวมถึงแอลจีเรีย เบลารุส โบลิเวีย คิวบา คาซัคสถาน ไนจีเรีย ทูร์เคีย ยูกันดา และอุซเบกิสถานด้วย.คลิกอ่าน >> https://sondhitalk.com/detail/9670000115463......Sondhi X
    วันนี้ (1 ธ.ค.) นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้โพสต์ข้อความผ่านทางโซเชียลมีเดียของตัวเองโดยระบุถึงสถานการณ์ทีประเทศในกลุ่มบริกส์ (BRICS) ที่นำโดย จีน รัสเซีย บราซิล อินเดีย และแอฟริกาใต้ พยายามลดการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในการค้าขาย โดยทรัมป์ระบุว่าจะดำเนินการอย่างเด็ดขาดต่อกลุ่มประเทศเหล่านี้."จากแนวคิดของกลุ่มประเทศ BRICS ที่กำลังมีความพยายามในการเลิกใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ นั้น สหรัฐฯ จะไม่นิ่งเฉยอีกต่อไป เราต้องการคำมั่นสัญญาจากประเทศเหล่านี้ว่าพวกเขาจะไม่สร้างสกุลเงิน BRICS ขึ้นมาใหม่ หรือสนับสนุนสกุลเงินอื่นใดเพื่อมาแทนที่ ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เกรียงไกร (mighty dollar) มิฉะนั้น พวกเขาจะต้องเผชิญภาษีนำเข้า 100%" ทรัมป์ระบุ.นอกจากนี้ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังจะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2568 ยังระบุด้วยว่า นอกจากนี้หากยังดื้อดึงประเทศเหล่านี้ จะต้องโบกมือลาการขายสินค้าให้กับเศรษฐกิจอันยอดเยี่ยมของสหรัฐฯ โดยพวกเขาสามารถไปหา "พวกห่วยแตก (sucker)" รายอื่นแทนได้ แต่ไม่มีโอกาสที่เงินสกุล BRICS จะมาแทนที่ดอลลาร์สหรัฐฯ ในการค้าระหว่างประเทศ และประเทศใดก็ตามที่พยายามทำอย่างนั้นก็ควรโบกมือลาสหรัฐอเมริกาไปเสีย.ทั้งนี้เมื่อเดือนตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ในการประชุม BRICS Summit 2024 จัดขึ้นที่เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย มีการออกแถลงการณ์ที่ชื่อว่า “ปฏิญญาคาซาน” (Kazan Declaration) โดย แถลงการณ์ดังกล่าวมีมติรับ “พันธมิตรหุ้นส่วน (Partner Countries)” จำนวน 13 ประเทศ แม้ว่ายังไม่ได้เป็นสมาชิกเต็มตัว แต่จะเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือที่มากขึ้นในด้านต่าง ๆ เช่น การค้า การลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการจัดวางตำแหน่งทางการเมือง ประกอบด้วยอาเซียน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซียและเวียดนาม รวมถึงแอลจีเรีย เบลารุส โบลิเวีย คิวบา คาซัคสถาน ไนจีเรีย ทูร์เคีย ยูกันดา และอุซเบกิสถานด้วย.คลิกอ่าน >> https://sondhitalk.com/detail/9670000115463......Sondhi X
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 538 Views 0 Reviews
  • ขู่ BRICS! "ทรัมป์" ลั่นใครทิ้งดอลลาร์ เจอขึ้นภาษี 100%
    .
    วันนี้ (1 ธ.ค.) นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้โพสต์ข้อความผ่านทางโซเชียลมีเดียของตัวเองโดยระบุถึงสถานการณ์ทีประเทศในกลุ่มบริกส์ (BRICS) ที่นำโดย จีน รัสเซีย บราซิล อินเดีย และแอฟริกาใต้ พยายามลดการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในการค้าขาย โดยทรัมป์ระบุว่าจะดำเนินการอย่างเด็ดขาดต่อกลุ่มประเทศเหล่านี้
    .
    "จากแนวคิดของกลุ่มประเทศ BRICS ที่กำลังมีความพยายามในการเลิกใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ นั้น สหรัฐฯ จะไม่นิ่งเฉยอีกต่อไป เราต้องการคำมั่นสัญญาจากประเทศเหล่านี้ว่าพวกเขาจะไม่สร้างสกุลเงิน BRICS ขึ้นมาใหม่ หรือสนับสนุนสกุลเงินอื่นใดเพื่อมาแทนที่ ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เกรียงไกร (mighty dollar) มิฉะนั้น พวกเขาจะต้องเผชิญภาษีนำเข้า 100%" ทรัมป์ระบุ
    .
    นอกจากนี้ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังจะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2568 ยังระบุด้วยว่า นอกจากนี้หากยังดื้อดึงประเทศเหล่านี้ จะต้องโบกมือลาการขายสินค้าให้กับเศรษฐกิจอันยอดเยี่ยมของสหรัฐฯ โดยพวกเขาสามารถไปหา "พวกห่วยแตก (sucker)" รายอื่นแทนได้ แต่ไม่มีโอกาสที่เงินสกุล BRICS จะมาแทนที่ดอลลาร์สหรัฐฯ ในการค้าระหว่างประเทศ และประเทศใดก็ตามที่พยายามทำอย่างนั้นก็ควรโบกมือลาสหรัฐอเมริกาไปเสีย
    .
    ทั้งนี้เมื่อเดือนตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ในการประชุม BRICS Summit 2024 จัดขึ้นที่เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย มีการออกแถลงการณ์ที่ชื่อว่า “ปฏิญญาคาซาน” (Kazan Declaration) โดย แถลงการณ์ดังกล่าวมีมติรับ “พันธมิตรหุ้นส่วน (Partner Countries)” จำนวน 13 ประเทศ แม้ว่ายังไม่ได้เป็นสมาชิกเต็มตัว แต่จะเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือที่มากขึ้นในด้านต่าง ๆ เช่น การค้า การลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการจัดวางตำแหน่งทางการเมือง ประกอบด้วยอาเซียน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซียและเวียดนาม รวมถึงแอลจีเรีย เบลารุส โบลิเวีย คิวบา คาซัคสถาน ไนจีเรีย ทูร์เคีย ยูกันดา และอุซเบกิสถานด้วย
    .
    คลิกอ่าน >> https://sondhitalk.com/detail/9670000115463
    ขู่ BRICS! "ทรัมป์" ลั่นใครทิ้งดอลลาร์ เจอขึ้นภาษี 100% . วันนี้ (1 ธ.ค.) นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้โพสต์ข้อความผ่านทางโซเชียลมีเดียของตัวเองโดยระบุถึงสถานการณ์ทีประเทศในกลุ่มบริกส์ (BRICS) ที่นำโดย จีน รัสเซีย บราซิล อินเดีย และแอฟริกาใต้ พยายามลดการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในการค้าขาย โดยทรัมป์ระบุว่าจะดำเนินการอย่างเด็ดขาดต่อกลุ่มประเทศเหล่านี้ . "จากแนวคิดของกลุ่มประเทศ BRICS ที่กำลังมีความพยายามในการเลิกใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ นั้น สหรัฐฯ จะไม่นิ่งเฉยอีกต่อไป เราต้องการคำมั่นสัญญาจากประเทศเหล่านี้ว่าพวกเขาจะไม่สร้างสกุลเงิน BRICS ขึ้นมาใหม่ หรือสนับสนุนสกุลเงินอื่นใดเพื่อมาแทนที่ ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เกรียงไกร (mighty dollar) มิฉะนั้น พวกเขาจะต้องเผชิญภาษีนำเข้า 100%" ทรัมป์ระบุ . นอกจากนี้ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังจะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2568 ยังระบุด้วยว่า นอกจากนี้หากยังดื้อดึงประเทศเหล่านี้ จะต้องโบกมือลาการขายสินค้าให้กับเศรษฐกิจอันยอดเยี่ยมของสหรัฐฯ โดยพวกเขาสามารถไปหา "พวกห่วยแตก (sucker)" รายอื่นแทนได้ แต่ไม่มีโอกาสที่เงินสกุล BRICS จะมาแทนที่ดอลลาร์สหรัฐฯ ในการค้าระหว่างประเทศ และประเทศใดก็ตามที่พยายามทำอย่างนั้นก็ควรโบกมือลาสหรัฐอเมริกาไปเสีย . ทั้งนี้เมื่อเดือนตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ในการประชุม BRICS Summit 2024 จัดขึ้นที่เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย มีการออกแถลงการณ์ที่ชื่อว่า “ปฏิญญาคาซาน” (Kazan Declaration) โดย แถลงการณ์ดังกล่าวมีมติรับ “พันธมิตรหุ้นส่วน (Partner Countries)” จำนวน 13 ประเทศ แม้ว่ายังไม่ได้เป็นสมาชิกเต็มตัว แต่จะเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือที่มากขึ้นในด้านต่าง ๆ เช่น การค้า การลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการจัดวางตำแหน่งทางการเมือง ประกอบด้วยอาเซียน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซียและเวียดนาม รวมถึงแอลจีเรีย เบลารุส โบลิเวีย คิวบา คาซัคสถาน ไนจีเรีย ทูร์เคีย ยูกันดา และอุซเบกิสถานด้วย . คลิกอ่าน >> https://sondhitalk.com/detail/9670000115463
    SONDHITALK.COM
    ขู่ BRICS! "ทรัมป์" ใครทิ้งดอลลาร์ เจอขึ้นภาษี 100%
    วันนี้ (1 ธ.ค.) นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้โพสต์ข้อความผ่านทางโซเชียลมีเดียของตัวเองโดยระบุถึงสถานการณ์ทีประเทศในกลุ่มบริกส์ (BRICS) ที่นำโดย จีน รัสเซีย บราซิล อินเดีย และแอฟริกาใต้ พยายามลดการใช้เงินดอลลาร์สหร
    Like
    Angry
    6
    0 Comments 0 Shares 672 Views 1 Reviews
  • 🤣ทรัมป์ขู่ประเทศกลุ่มบริกส์ด้วย “ภาษีนำเข้า ๑๐๐%” เว้นแต่ว่าพวกเขาจะล้มเลิกแผนแทนที่ดอลลาร์สหรัฐฯ🤣

    💬 “แนวคิดที่ว่าประเทศ BRICS กำลังพยายามเลิกใช้เงินดอลลาร์ ในขณะที่เรายืนดูเฉยๆ นั้นสิ้นสุดลงแล้ว 🤣เราต้องการคำมั่นสัญญาจากประเทศเหล่านี้ว่าพวกเขาจะไม่สร้างสกุลเงิน BRICS ใหม่หรือสนับสนุนสกุลเงินอื่นใดเพื่อแทนที่ดอลลาร์สหรัฐฯที่ยิ่งใหญ่ มิฉะนั้น, พวกเขาจะต้องเผชิญภาษีนำเข้า ๑๐๐% และควรคาดหวังว่าจะต้องบอกลาการขายให้กับเศรษฐกิจที่ยอดเยี่ยมของสหรัฐฯ🤣 พวกเขาสามารถไปหา 'เหยื่อรายใหม่!' ได้” ทรัมป์กล่าวในรายการ Truth Social

    ทรัมป์กล่าวเสริมว่า ประเทศใดก็ตามที่พยายามแทนที่ดอลลาร์สหรัฐในการค้าระหว่างประเทศจะ "โบกมือลาอเมริกา"

    ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า ยังเร็วเกินไปที่จะพูดถึงการสร้างสกุลเงินร่วมของกลุ่ม BRICS, และขณะนี้ยังไม่มีเป้าหมายดังกล่าว ปูตินอธิบายว่าการสร้างสกุลเงินร่วมนั้นต้องอาศัยการบูรณาการเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก BRICS และความคล้ายคลึงกันในเชิงโครงสร้างมากขึ้น ประธานาธิบดีรัสเซียยังกล่าวอีกว่ามูลค่าการค้าของรัสเซียสองในสามดำเนินการด้วยสกุลเงินของประเทศ — และสำหรับประเทศ BRICS ตัวเลขดังกล่าวจะสูงถึง ๘๘%
    .
    TRUMP THREATENS BRICS COUNTRIES WITH '100% TARIFFS' UNLESS THEY ABANDON PLANS TO REPLACE THE US DOLLAR

    💬 “The idea that the BRICS Countries are trying to move away from the Dollar while we stand by and watch is OVER. We require a commitment from these Countries that they will neither create a new BRICS Currency nor back any other Currency to replace the mighty U.S. Dollar or, they will face 100% Tariffs and should expect to say goodbye to selling into the wonderful U.S. Economy. They can go find another 'sucker!'” Trump said on Truth Social.

    Trump added that any country that attempts to replace the US dollar in international trade will "wave goodbye to America."

    Russian President Vladimir Putin previously stated that it is too early to talk about the creation of a common BRICS currency, and that there is no such goal at the moment. Putin explained that creating a common currency requires greater integration of the economies of the BRICS member countries and their structural similarity. The Russian president also noted that two-thirds of Russia's trade turnover is conducted in national currencies — and with BRICS countries, that figure reaches 88%.
    .
    3:09 AM · Dec 1, 2024 · 3,583 Views
    https://x.com/SputnikInt/status/1862952170913497486
    🤣ทรัมป์ขู่ประเทศกลุ่มบริกส์ด้วย “ภาษีนำเข้า ๑๐๐%” เว้นแต่ว่าพวกเขาจะล้มเลิกแผนแทนที่ดอลลาร์สหรัฐฯ🤣 💬 “แนวคิดที่ว่าประเทศ BRICS กำลังพยายามเลิกใช้เงินดอลลาร์ ในขณะที่เรายืนดูเฉยๆ นั้นสิ้นสุดลงแล้ว 🤣เราต้องการคำมั่นสัญญาจากประเทศเหล่านี้ว่าพวกเขาจะไม่สร้างสกุลเงิน BRICS ใหม่หรือสนับสนุนสกุลเงินอื่นใดเพื่อแทนที่ดอลลาร์สหรัฐฯที่ยิ่งใหญ่ มิฉะนั้น, พวกเขาจะต้องเผชิญภาษีนำเข้า ๑๐๐% และควรคาดหวังว่าจะต้องบอกลาการขายให้กับเศรษฐกิจที่ยอดเยี่ยมของสหรัฐฯ🤣 พวกเขาสามารถไปหา 'เหยื่อรายใหม่!' ได้” ทรัมป์กล่าวในรายการ Truth Social ทรัมป์กล่าวเสริมว่า ประเทศใดก็ตามที่พยายามแทนที่ดอลลาร์สหรัฐในการค้าระหว่างประเทศจะ "โบกมือลาอเมริกา" ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า ยังเร็วเกินไปที่จะพูดถึงการสร้างสกุลเงินร่วมของกลุ่ม BRICS, และขณะนี้ยังไม่มีเป้าหมายดังกล่าว ปูตินอธิบายว่าการสร้างสกุลเงินร่วมนั้นต้องอาศัยการบูรณาการเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก BRICS และความคล้ายคลึงกันในเชิงโครงสร้างมากขึ้น ประธานาธิบดีรัสเซียยังกล่าวอีกว่ามูลค่าการค้าของรัสเซียสองในสามดำเนินการด้วยสกุลเงินของประเทศ — และสำหรับประเทศ BRICS ตัวเลขดังกล่าวจะสูงถึง ๘๘% . TRUMP THREATENS BRICS COUNTRIES WITH '100% TARIFFS' UNLESS THEY ABANDON PLANS TO REPLACE THE US DOLLAR 💬 “The idea that the BRICS Countries are trying to move away from the Dollar while we stand by and watch is OVER. We require a commitment from these Countries that they will neither create a new BRICS Currency nor back any other Currency to replace the mighty U.S. Dollar or, they will face 100% Tariffs and should expect to say goodbye to selling into the wonderful U.S. Economy. They can go find another 'sucker!'” Trump said on Truth Social. Trump added that any country that attempts to replace the US dollar in international trade will "wave goodbye to America." Russian President Vladimir Putin previously stated that it is too early to talk about the creation of a common BRICS currency, and that there is no such goal at the moment. Putin explained that creating a common currency requires greater integration of the economies of the BRICS member countries and their structural similarity. The Russian president also noted that two-thirds of Russia's trade turnover is conducted in national currencies — and with BRICS countries, that figure reaches 88%. . 3:09 AM · Dec 1, 2024 · 3,583 Views https://x.com/SputnikInt/status/1862952170913497486
    Haha
    1
    0 Comments 0 Shares 554 Views 0 Reviews
  • #Bitcoin แตะระดับสูงสุดใหม่ที่ ๘๕,๐๐๐ ดอลลาร์

    BRICS ควรใช้ Bitcoin สำหรับการชำระเงินทางการค้าระหว่างประเทศหรือไม่?
    .
    JUST IN: #Bitcoin reaches new all-time high of $85,000.

    Should BRICS use Bitcoin for international trade settlements?
    .
    1:47 AM · Nov 12, 2024 · 89.2K Views
    https://x.com/BRICSinfo/status/1856046224706592798
    #Bitcoin แตะระดับสูงสุดใหม่ที่ ๘๕,๐๐๐ ดอลลาร์ BRICS ควรใช้ Bitcoin สำหรับการชำระเงินทางการค้าระหว่างประเทศหรือไม่? . JUST IN: #Bitcoin reaches new all-time high of $85,000. Should BRICS use Bitcoin for international trade settlements? . 1:47 AM · Nov 12, 2024 · 89.2K Views https://x.com/BRICSinfo/status/1856046224706592798
    Wow
    1
    0 Comments 0 Shares 271 Views 0 Reviews
  • 🧵💲 เหตุการณ์สำคัญใดบ้างที่นำไปสู่การล่มสลายของระบบดอลลาร์ทั่วโลก?

    การประชุมประจำปี ๒๐๒๔ ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และกลุ่มธนาคารโลก (WBG) จะเปิดขึ้นในวันที่ ๒๑ ตุลาคม เพื่อมุ่งเน้นไปที่หนี้สาธารณะทั่วโลกที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว, ซึ่งคาดว่าจะสูงถึง ๑๐๐ ล้านล้านดอลลาร์ภายในสิ้นปีนี้ หนี้, ส่วนใหญ่, เกิดจากการกู้ยืมเงินของสหรัฐฯมากเกินไป, โดยปัจจุบันหนี้ของรัฐบาลอยู่ที่ ๓๕.๖๘ ล้านล้านดอลลาร์
    .
    ในขณะเดียวกัน, ส่วนแบ่งของสหรัฐฯในเศรษฐกิจโลกที่คำนวณโดยใช้ความเท่าเทียมของอำนาจซื้อได้แตะระดับต่ำสุดในประวัติศาสตร์, โดยร่วงลงต่ำกว่า ๑๕%, จากการวิเคราะห์ของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศของสปุตนิก คาดว่าจะลดลงอีก, โดยแตะระดับ ๑๔.๗๖% เมื่อสิ้นสุดวาระของประธานาธิบดีโจ ไบเดน
    .
    ระบบการเงินของสหรัฐฯและระบบดอลลาร์ทั่วโลก เริ่มสูญเสียอิทธิพลเมื่อใด?

    ◻️ สหรัฐฯคาดว่ามี ๔๘-๕๒% ของ GDP ทั่วโลก และประมาณ ๖๐% ของการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกในปี ๑๙๔๔
    .
    ◻️ อเมริกาได้รับสถานะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒, เมื่อมีการสร้างระบบการเงินระหว่างประเทศที่เรียกว่าระบบเบรตตันวูดส์ขึ้นในเดือนกรกฎาคม ๑๙๔๔ การประชุมเบรตตันวูดส์ได้แต่งตั้งให้ดอลลาร์สหรัฐฯเป็นสกุลเงินสำรองของโลกอย่างเป็นทางการ, โดยมีทองคำสำรองที่ใหญ่ที่สุดในโลกหนุนหลังอยู่ สกุลเงินอื่นๆจะถูกผูกไว้กับค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ
    .
    ◻️ กฎเกณฑ์ระหว่างประเทศสำหรับการค้าระหว่างประเทศได้ถูกกำหนดไว้ในข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) ในปี ๑๙๔๗ ในปี ๑๙๙๕, ข้อตกลงดังกล่าวได้ถูกแปลงเป็นองค์การการค้าโลก (WTO) สหรัฐอเมริกาใช้ "เครื่องมือ" เหล่านี้เพื่อรักษาอิทธิพลทางภูมิรัฐศาสตร์ในยุโรปและญี่ปุ่น ยุโรปตะวันออก, สหภาพโซเวียต, และจีน ยังคงอยู่ภายนอกเขตการขยายตัวของอเมริกา
    .
    ◻️ ภายใต้แผนการมาร์แชลล์, สหรัฐฯจัดสรรเงิน, โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของเงินช่วยเหลือ, เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม ในเวลาเดียวกัน, สหรัฐฯยังได้ส่งคำสั่งซื้อที่ทำกำไรมหาศาลให้กับบริษัทในอเมริกา, กระตุ้นเศรษฐกิจของตนเองไปพร้อมกับเสริมสร้างอิทธิพลที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของยุโรปตะวันตก ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากประมาณ ๒๐๐ พันล้านดอลลาร์ในปี ๑๙๔๐ เป็นมากกว่า ๕๐๐ พันล้านดอลลาร์ในปี ๑๙๖๐
    .
    🧵💲 What were the milestones leading to the global dollar system’s collapse?

    The 2024 Annual Meetings of the International Monetary Fund (IMF) and the World Bank Group (WBG) are opening on October 21 to focus on skyrocketing global public debt, which is expected to reach $100 trillion by the end of this year. The debt, in large part, is driven by the borrowing binge of the US, where the government debt currently stands at $35.68 trillion.
    .
    Meanwhile, the US’ share of the global economy calculated using purchasing power parity has reached a historic low, plunging below 15%, Sputnik’s analysis of World Bank and IMF calculations has showed. It is expected to sag further, to reach 14.76% by the end of President Joe Biden's term.
    .
    When did US finances and the global dollar system start losing clout?

    ◻️ The US is estimated to have accounted for 48-52% of global GDP and about 60% of global industrial production in 1944.
    .
    ◻️ America secured its economic superpower status at the end of WWII, when the international monetary system known as the Bretton Woods system was forged in July 1944. The Bretton Woods Conference officially crowned the US dollar as the global reserve currency, backed by the world’s largest gold reserves. Other currencies were pegged to the US dollar’s value.
    .
    ◻️ International rules for foreign trade were laid out in the General Agreement on Tariffs and Trade (GATT) in 1947. In 1995, the agreement was transformed into the WTO. The US wielded these “tools” to secure geopolitical influence across Europe and Japan. Eastern Europe, the USSR, and China remained outside the zone of American expansion.
    .
    ◻️ Under the Marshall Plan, the US provided money, chiefly in the form of grants, to rebuild war-ravaged European economies. At the same time, it funneled lucrative orders to American companies, stimulating its own economy while solidifying its influence over Western Europe's economic systems. US gross national product rose from about $200 billion in 1940 to more than $500 billion in 1960.
    .
    10:27 PM · Oct 21, 2024 · 8,506 Views
    https://x.com/SputnikInt/status/1848385613361225740
    🧵💲 เหตุการณ์สำคัญใดบ้างที่นำไปสู่การล่มสลายของระบบดอลลาร์ทั่วโลก? การประชุมประจำปี ๒๐๒๔ ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และกลุ่มธนาคารโลก (WBG) จะเปิดขึ้นในวันที่ ๒๑ ตุลาคม เพื่อมุ่งเน้นไปที่หนี้สาธารณะทั่วโลกที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว, ซึ่งคาดว่าจะสูงถึง ๑๐๐ ล้านล้านดอลลาร์ภายในสิ้นปีนี้ หนี้, ส่วนใหญ่, เกิดจากการกู้ยืมเงินของสหรัฐฯมากเกินไป, โดยปัจจุบันหนี้ของรัฐบาลอยู่ที่ ๓๕.๖๘ ล้านล้านดอลลาร์ . ในขณะเดียวกัน, ส่วนแบ่งของสหรัฐฯในเศรษฐกิจโลกที่คำนวณโดยใช้ความเท่าเทียมของอำนาจซื้อได้แตะระดับต่ำสุดในประวัติศาสตร์, โดยร่วงลงต่ำกว่า ๑๕%, จากการวิเคราะห์ของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศของสปุตนิก คาดว่าจะลดลงอีก, โดยแตะระดับ ๑๔.๗๖% เมื่อสิ้นสุดวาระของประธานาธิบดีโจ ไบเดน . ระบบการเงินของสหรัฐฯและระบบดอลลาร์ทั่วโลก เริ่มสูญเสียอิทธิพลเมื่อใด? ◻️ สหรัฐฯคาดว่ามี ๔๘-๕๒% ของ GDP ทั่วโลก และประมาณ ๖๐% ของการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกในปี ๑๙๔๔ . ◻️ อเมริกาได้รับสถานะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒, เมื่อมีการสร้างระบบการเงินระหว่างประเทศที่เรียกว่าระบบเบรตตันวูดส์ขึ้นในเดือนกรกฎาคม ๑๙๔๔ การประชุมเบรตตันวูดส์ได้แต่งตั้งให้ดอลลาร์สหรัฐฯเป็นสกุลเงินสำรองของโลกอย่างเป็นทางการ, โดยมีทองคำสำรองที่ใหญ่ที่สุดในโลกหนุนหลังอยู่ สกุลเงินอื่นๆจะถูกผูกไว้กับค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ . ◻️ กฎเกณฑ์ระหว่างประเทศสำหรับการค้าระหว่างประเทศได้ถูกกำหนดไว้ในข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) ในปี ๑๙๔๗ ในปี ๑๙๙๕, ข้อตกลงดังกล่าวได้ถูกแปลงเป็นองค์การการค้าโลก (WTO) สหรัฐอเมริกาใช้ "เครื่องมือ" เหล่านี้เพื่อรักษาอิทธิพลทางภูมิรัฐศาสตร์ในยุโรปและญี่ปุ่น ยุโรปตะวันออก, สหภาพโซเวียต, และจีน ยังคงอยู่ภายนอกเขตการขยายตัวของอเมริกา . ◻️ ภายใต้แผนการมาร์แชลล์, สหรัฐฯจัดสรรเงิน, โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของเงินช่วยเหลือ, เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม ในเวลาเดียวกัน, สหรัฐฯยังได้ส่งคำสั่งซื้อที่ทำกำไรมหาศาลให้กับบริษัทในอเมริกา, กระตุ้นเศรษฐกิจของตนเองไปพร้อมกับเสริมสร้างอิทธิพลที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของยุโรปตะวันตก ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากประมาณ ๒๐๐ พันล้านดอลลาร์ในปี ๑๙๔๐ เป็นมากกว่า ๕๐๐ พันล้านดอลลาร์ในปี ๑๙๖๐ . 🧵💲 What were the milestones leading to the global dollar system’s collapse? The 2024 Annual Meetings of the International Monetary Fund (IMF) and the World Bank Group (WBG) are opening on October 21 to focus on skyrocketing global public debt, which is expected to reach $100 trillion by the end of this year. The debt, in large part, is driven by the borrowing binge of the US, where the government debt currently stands at $35.68 trillion. . Meanwhile, the US’ share of the global economy calculated using purchasing power parity has reached a historic low, plunging below 15%, Sputnik’s analysis of World Bank and IMF calculations has showed. It is expected to sag further, to reach 14.76% by the end of President Joe Biden's term. . When did US finances and the global dollar system start losing clout? ◻️ The US is estimated to have accounted for 48-52% of global GDP and about 60% of global industrial production in 1944. . ◻️ America secured its economic superpower status at the end of WWII, when the international monetary system known as the Bretton Woods system was forged in July 1944. The Bretton Woods Conference officially crowned the US dollar as the global reserve currency, backed by the world’s largest gold reserves. Other currencies were pegged to the US dollar’s value. . ◻️ International rules for foreign trade were laid out in the General Agreement on Tariffs and Trade (GATT) in 1947. In 1995, the agreement was transformed into the WTO. The US wielded these “tools” to secure geopolitical influence across Europe and Japan. Eastern Europe, the USSR, and China remained outside the zone of American expansion. . ◻️ Under the Marshall Plan, the US provided money, chiefly in the form of grants, to rebuild war-ravaged European economies. At the same time, it funneled lucrative orders to American companies, stimulating its own economy while solidifying its influence over Western Europe's economic systems. US gross national product rose from about $200 billion in 1940 to more than $500 billion in 1960. . 10:27 PM · Oct 21, 2024 · 8,506 Views https://x.com/SputnikInt/status/1848385613361225740
    Like
    Wow
    2
    8 Comments 0 Shares 1600 Views 0 Reviews
More Results