Newskit
Newskit
ข่าวออนไลน์ อารมณ์หนังสือพิมพ์ กับเรื่องราวทั้งไทยและอาเซียน
  • 1075 คนติดตามเรื่องนี้
  • 211 โพสต์
  • 203 รูปภาพ
  • 2 วิดีโอ
  • 7 รีวิว 4.9
  • ข่าวและการเมือง
ลิงก์โซเชียล
โพสต์ที่ปักไว้
ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes

มูลค่า 10 ริงกิต (77.09 บาท) เป็นบัตรเปล่า ไม่มียอดเงินในบัตร

สามารถเติมเงินลงในบัตรได้ที่สถานีรถไฟฟ้า MRT Corp หรือ Rapid KL หรือเครื่อง Kiosk ของ Touch 'n Go และร้านค้า อาทิ 7-Eleven (มาเลเซีย), ECONSAVE, Watsons (มาเลเซีย), KK Mart, 99 Speedmart, Lotus's (มาเลเซีย) หรือจุดบริการตามที่ Touch 'n Go กำหนด แต่ถ้ามีซิมการ์ดค่ายมือถือประเทศมาเลเซีย สามารถใช้ร่วมกับแอปพลิเคชัน Touch 'n Go e-Wallet ได้

เพียงกรอกแบบฟอร์มนี้ >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9

เฉพาะชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์มือถือ เพื่อใช้สำหรับจัดส่งของรางวัลหากเป็นผู้โชคดีเท่านั้น

(แบบฟอร์มนี้ไม่มีการกรอกข้อมูลทางการเงิน อาทิ ข้อมูลบัญชีธนาคาร ข้อมูลบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือข้อมูลบัตรอิเล็กทรอนิกส์ใดๆ ทั้งสิ้น)

ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 มกราคม 2568 ประกาศรายชื่อผู้โชคดี 3 กุมภาพันธ์ 2568 ที่เพจ Newskit ใน Thaitimes

เงื่อนไขเป็นไปตามที่เพจ Newskit กำหนด กิจกรรมนี้ทาง Thaitimes ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes มูลค่า 10 ริงกิต (77.09 บาท) เป็นบัตรเปล่า ไม่มียอดเงินในบัตร สามารถเติมเงินลงในบัตรได้ที่สถานีรถไฟฟ้า MRT Corp หรือ Rapid KL หรือเครื่อง Kiosk ของ Touch 'n Go และร้านค้า อาทิ 7-Eleven (มาเลเซีย), ECONSAVE, Watsons (มาเลเซีย), KK Mart, 99 Speedmart, Lotus's (มาเลเซีย) หรือจุดบริการตามที่ Touch 'n Go กำหนด แต่ถ้ามีซิมการ์ดค่ายมือถือประเทศมาเลเซีย สามารถใช้ร่วมกับแอปพลิเคชัน Touch 'n Go e-Wallet ได้ เพียงกรอกแบบฟอร์มนี้ >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9 เฉพาะชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์มือถือ เพื่อใช้สำหรับจัดส่งของรางวัลหากเป็นผู้โชคดีเท่านั้น (แบบฟอร์มนี้ไม่มีการกรอกข้อมูลทางการเงิน อาทิ ข้อมูลบัญชีธนาคาร ข้อมูลบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือข้อมูลบัตรอิเล็กทรอนิกส์ใดๆ ทั้งสิ้น) ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 มกราคม 2568 ประกาศรายชื่อผู้โชคดี 3 กุมภาพันธ์ 2568 ที่เพจ Newskit ใน Thaitimes เงื่อนไขเป็นไปตามที่เพจ Newskit กำหนด กิจกรรมนี้ทาง Thaitimes ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 221 มุมมอง 0 รีวิว
อัปเดตล่าสุด
  • Saloma Link สะพานที่มากกว่าไฟสวย

    มาเลเซียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีแหล่งท่องเที่ยวเพื่อนันทนาการ (Recreational Attraction) จำนวนมาก ซึ่งมนุษย์สร้างขึ้นเพื่อการพักผ่อนและเสริมสร้างสุขภาพ ให้ความสนุกสนาน บันเทิง และการศึกษาหาความรู้ แม้ไม่มีความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม แต่มีลักษณะเป็นแหล่งท่องเที่ยวร่วมสมัย ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ River of Life บริเวณสถานีรถไฟฟ้า LRT Masjid Jamek และสะพาน Saloma Link บริเวณสถานีรถไฟฟ้า LRT Kampung Baru

    กล่าวถึงสะพาน Saloma Link (ซาโลมาลิงก์) เป็นสะพานขนาดไม่ใหญ่ ยาว 69 เมตร กว้าง 3 เมตร สูง 7 เมตร ข้ามทางด่วนสาย E12 อัมปัง-กัวลาลัมเปอร์ (AKLEH) และแม่น้ำแคลงที่อยู่เกาะกลาง มีทางลาดลงไปยังด้านข้างสุสานอิสลามจาลันอัมปัง แล้วออกทางแยกหน้าอาคารปิโตรนาส ทวิน ทาวเวอร์ ย่าน KLCC เปิดให้เข้าชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2563 โดยมีบริษัท VERITAS Design Group ออกแบบโครงสร้าง ใช้งบก่อสร้าง 31 ล้านริงกิต (237 ล้านบาท)

    จุดเด่นของสะพานซาโลมาลิงก์ คือการออกแบบโครงสร้างเหล็ก โดยได้แรงบันดาลใจจากการจัดช่อดอกไม้มงคลที่เรียกว่า ซิเระ จุนจุง (Sireh Junjung) ในพิธีแต่งงานของชาวมาเลย์ ประดับด้วยกระจกและแผงไฟ LED รูปทรงเพชร ฉายแสงในรูปแบบต่างๆ หลากสีสัน ชื่อสะพานมาจาก ซาโลมา ชื่อเรียกของ ซัลมาห์ อิสมาอิล (Salmah Ismail) นักร้อง นักแสดงชื่อดังชาวสิงคโปร์-มาเลเซีย ฉายามาริลิน มอนโรแห่งเอเชีย ที่เสียชีวิตเมื่อปี 2526 ด้วยวัย 48 ปี และถูกฝังอยู่ในสุสานอิสลามจาลันอัมปัง

    ก่อนจะมาเป็นสะพานที่สวยงามแห่งนี้ แต่เดิมเคยเป็นสะพานข้ามแม่น้ำแคลง จากกัวลาลัมเปอร์ไปยังกำปุงบารู (Kampung Baru) ชุมชนที่อยู่อีกฝั่ง แต่ได้รื้อสะพานเมื่อปี 2539 เพื่อก่อสร้างทางด่วนที่ยกสูงขึ้น เสมือนเป็นเขื่อนกั้นแม่น้ำที่อยู่ตรงกลาง

    ในยามค่ำคืน สะพานแห่งนี้จะเปิดไฟ LED หลากสีสันอย่างสวยงาม ล้อไปกับตึกแฝดปิโตรนาสทาวเวอร์ ที่เปิดไฟส่องไสวไปทั่วตึกเช่นกัน นักท่องเที่ยวนิยมถ่ายรูปสะพานโดยเฉพาะฝั่งกำปุงบารู จะเห็นด้านหลังทั้งสะพานและตึกปิโตรนาส เป็นจุดเช็กอินยอดนิยมของนักท่องเที่ยวที่มาเยือนมาเลเซียต้องไม่พลาด ซึ่งฝั่งกำปุงบารูจะเป็นชุมชนเก่าแก่ขนาดเล็ก มีร้านอาหารแบบสตรีทฟู้ดจำหน่าย ขึ้นลงได้จากบันไดและลิฟต์ และมีทางเดินไปถึงสถานีรถไฟฟ้า LRT Kampung Baru ซึ่งเป็นสถานีใต้ดิน

    สะพานแห่งนี้เปิดให้เข้าชมฟรี ตั้งแต่ 05.00-24.00 น. โปรดปฎิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ใช้ความระมัดระวังในการถ่ายรูป ไม่ปีนป่ายราวสะพาน และระวังสิ่งของที่ติดตัวตกจากสะพาน

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Saloma Link สะพานที่มากกว่าไฟสวย มาเลเซียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีแหล่งท่องเที่ยวเพื่อนันทนาการ (Recreational Attraction) จำนวนมาก ซึ่งมนุษย์สร้างขึ้นเพื่อการพักผ่อนและเสริมสร้างสุขภาพ ให้ความสนุกสนาน บันเทิง และการศึกษาหาความรู้ แม้ไม่มีความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม แต่มีลักษณะเป็นแหล่งท่องเที่ยวร่วมสมัย ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ River of Life บริเวณสถานีรถไฟฟ้า LRT Masjid Jamek และสะพาน Saloma Link บริเวณสถานีรถไฟฟ้า LRT Kampung Baru กล่าวถึงสะพาน Saloma Link (ซาโลมาลิงก์) เป็นสะพานขนาดไม่ใหญ่ ยาว 69 เมตร กว้าง 3 เมตร สูง 7 เมตร ข้ามทางด่วนสาย E12 อัมปัง-กัวลาลัมเปอร์ (AKLEH) และแม่น้ำแคลงที่อยู่เกาะกลาง มีทางลาดลงไปยังด้านข้างสุสานอิสลามจาลันอัมปัง แล้วออกทางแยกหน้าอาคารปิโตรนาส ทวิน ทาวเวอร์ ย่าน KLCC เปิดให้เข้าชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2563 โดยมีบริษัท VERITAS Design Group ออกแบบโครงสร้าง ใช้งบก่อสร้าง 31 ล้านริงกิต (237 ล้านบาท) จุดเด่นของสะพานซาโลมาลิงก์ คือการออกแบบโครงสร้างเหล็ก โดยได้แรงบันดาลใจจากการจัดช่อดอกไม้มงคลที่เรียกว่า ซิเระ จุนจุง (Sireh Junjung) ในพิธีแต่งงานของชาวมาเลย์ ประดับด้วยกระจกและแผงไฟ LED รูปทรงเพชร ฉายแสงในรูปแบบต่างๆ หลากสีสัน ชื่อสะพานมาจาก ซาโลมา ชื่อเรียกของ ซัลมาห์ อิสมาอิล (Salmah Ismail) นักร้อง นักแสดงชื่อดังชาวสิงคโปร์-มาเลเซีย ฉายามาริลิน มอนโรแห่งเอเชีย ที่เสียชีวิตเมื่อปี 2526 ด้วยวัย 48 ปี และถูกฝังอยู่ในสุสานอิสลามจาลันอัมปัง ก่อนจะมาเป็นสะพานที่สวยงามแห่งนี้ แต่เดิมเคยเป็นสะพานข้ามแม่น้ำแคลง จากกัวลาลัมเปอร์ไปยังกำปุงบารู (Kampung Baru) ชุมชนที่อยู่อีกฝั่ง แต่ได้รื้อสะพานเมื่อปี 2539 เพื่อก่อสร้างทางด่วนที่ยกสูงขึ้น เสมือนเป็นเขื่อนกั้นแม่น้ำที่อยู่ตรงกลาง ในยามค่ำคืน สะพานแห่งนี้จะเปิดไฟ LED หลากสีสันอย่างสวยงาม ล้อไปกับตึกแฝดปิโตรนาสทาวเวอร์ ที่เปิดไฟส่องไสวไปทั่วตึกเช่นกัน นักท่องเที่ยวนิยมถ่ายรูปสะพานโดยเฉพาะฝั่งกำปุงบารู จะเห็นด้านหลังทั้งสะพานและตึกปิโตรนาส เป็นจุดเช็กอินยอดนิยมของนักท่องเที่ยวที่มาเยือนมาเลเซียต้องไม่พลาด ซึ่งฝั่งกำปุงบารูจะเป็นชุมชนเก่าแก่ขนาดเล็ก มีร้านอาหารแบบสตรีทฟู้ดจำหน่าย ขึ้นลงได้จากบันไดและลิฟต์ และมีทางเดินไปถึงสถานีรถไฟฟ้า LRT Kampung Baru ซึ่งเป็นสถานีใต้ดิน สะพานแห่งนี้เปิดให้เข้าชมฟรี ตั้งแต่ 05.00-24.00 น. โปรดปฎิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ใช้ความระมัดระวังในการถ่ายรูป ไม่ปีนป่ายราวสะพาน และระวังสิ่งของที่ติดตัวตกจากสะพาน #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 66 มุมมอง 0 รีวิว
  • ด่านปาดังเบซาร์ วันนี้ที่เปลี่ยนไป

    ใกล้จะครบรอบ 1 ปี สำหรับการกลับมาเปิดใช้สะพานลอยปาดังเบซาร์ (Padang Besar) รัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย นับตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ.2567 เป็นต้นมา ซึ่งเชื่อมระหว่างศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ ตรงข้ามด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา กับสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ ของการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ที่มีรถไฟ KTM Komuter ไปสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง และรถไฟ ETS ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ พบว่าเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด

    ถ้ามาจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ หรือรัฐปีนังด้วยรถไฟ ถึงสถานีปาดังเบซาร์ เมื่อออกจากประตูอัตโนมัติ (ACG) จะพบกับบรรดาโชเฟอร์แท็กซี่และรถตู้ไปหาดใหญ่ คนละ 30 ริงกิต (ประมาณ 231 บาท) แต่มีป้ายบอกทางระบุเป็นภาษาไทยและภาษามาเลย์ว่า "ออกจากเมือง ไปด่านตรวจคนเข้าเมือง (ICQS) และไปศูนย์การค้า NIAGA ปาดังเบซาร์" โดยลูกศรชี้ไปที่สะพานลอยที่เปิดขึ้นมา ถ้าไม่ได้ใช้บริการรถไฟไปยังสถานีชุมทางหาดใหญ่ก็ใช้สะพานลอยแห่งนี้

    สะพานลอยดังกล่าวไปออกวงเวียนปาดังเบซาร์ ซึ่งจะมีรถจักรยานยนต์รับจ้างไปส่งถึงฝั่งประเทศไทย ค่าโดยสาร 10 ริงกิต แต่ถ้าจะเดินเข้าไปเองก็ทำได้แต่ไกลหน่อย ศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ เปิดเวลา 06.00-22.00 น. ส่วนด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทย เปิด 05.00-21.00 น. (เวลาไทย)

    ด้านพื้นที่การค้าย่านวงเวียนปาดังเบซาร์ พบว่ามีร้านมิสเตอร์ดีไอวาย (มาเลเซีย) เปิดอยู่ใกล้กับวงเวียน ตามมาด้วยอาคารพาณิชย์ ศูนย์การค้า Arked Niaga ศูนย์การค้า Plaza Niaga และศูนย์การค้า Padang Waremart แต่ก็มีศูนย์การค้าเปิดใหม่ด้านในสุด คือ Padang Besar Street ที่มีศูนย์อาหาร Border Kitchen และร้าน Tealive ตั้งอยู่

    สำหรับร้านค้าปลอดภาษี (Duty Free) มีอยู่ 2 แห่ง ได้แก่ ร้าน Warisan Limpahan เป็นอาคารพาณิชย์ใกล้ Arked Niaga จำหน่ายน้ำหอม สุรา และบุหรี่ แต่การรับสินค้าหลังชำระเงินแล้ว ต้องนำใบเสร็จไปรับที่ห้องกระจกหลังผ่านจุดลงตราประทับ โดยจะมีพนักงานตามไปส่งสินค้าด้วยจักรยานยนต์ ส่วนอีกแห่งหนึ่งคือ The ZON Duty Free อยู่เลยศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ไปแล้ว ก่อนถึงด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทย ด้านในคล้ายกับห้างสรรพสินค้า

    เมื่อออกจากด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทยแล้ว มีจุดจอดรถตู้บริเวณตรงข้ามด่าน ค่าโดยสารคนละ 70 บาท รถออกเที่ยวแรก 06.30 น. เที่ยวสุดท้าย 17.30 น. (เวลาไทย) หากต้องการส่งพัสดุไปรษณีย์ จะมีที่ทำการไปรษณีย์ปาดังเบซาร์ อยู่ตรงข้ามสถานีตำรวจภูธรปาดังเบซาร์ เปิดวันจันทร์-ศุกร์ 08.30-17.00 น. วันเสาร์ 09.00-15.00 น. หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    ด่านปาดังเบซาร์ วันนี้ที่เปลี่ยนไป ใกล้จะครบรอบ 1 ปี สำหรับการกลับมาเปิดใช้สะพานลอยปาดังเบซาร์ (Padang Besar) รัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย นับตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ.2567 เป็นต้นมา ซึ่งเชื่อมระหว่างศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ ตรงข้ามด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา กับสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ ของการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ที่มีรถไฟ KTM Komuter ไปสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง และรถไฟ ETS ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ พบว่าเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด ถ้ามาจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ หรือรัฐปีนังด้วยรถไฟ ถึงสถานีปาดังเบซาร์ เมื่อออกจากประตูอัตโนมัติ (ACG) จะพบกับบรรดาโชเฟอร์แท็กซี่และรถตู้ไปหาดใหญ่ คนละ 30 ริงกิต (ประมาณ 231 บาท) แต่มีป้ายบอกทางระบุเป็นภาษาไทยและภาษามาเลย์ว่า "ออกจากเมือง ไปด่านตรวจคนเข้าเมือง (ICQS) และไปศูนย์การค้า NIAGA ปาดังเบซาร์" โดยลูกศรชี้ไปที่สะพานลอยที่เปิดขึ้นมา ถ้าไม่ได้ใช้บริการรถไฟไปยังสถานีชุมทางหาดใหญ่ก็ใช้สะพานลอยแห่งนี้ สะพานลอยดังกล่าวไปออกวงเวียนปาดังเบซาร์ ซึ่งจะมีรถจักรยานยนต์รับจ้างไปส่งถึงฝั่งประเทศไทย ค่าโดยสาร 10 ริงกิต แต่ถ้าจะเดินเข้าไปเองก็ทำได้แต่ไกลหน่อย ศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ เปิดเวลา 06.00-22.00 น. ส่วนด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทย เปิด 05.00-21.00 น. (เวลาไทย) ด้านพื้นที่การค้าย่านวงเวียนปาดังเบซาร์ พบว่ามีร้านมิสเตอร์ดีไอวาย (มาเลเซีย) เปิดอยู่ใกล้กับวงเวียน ตามมาด้วยอาคารพาณิชย์ ศูนย์การค้า Arked Niaga ศูนย์การค้า Plaza Niaga และศูนย์การค้า Padang Waremart แต่ก็มีศูนย์การค้าเปิดใหม่ด้านในสุด คือ Padang Besar Street ที่มีศูนย์อาหาร Border Kitchen และร้าน Tealive ตั้งอยู่ สำหรับร้านค้าปลอดภาษี (Duty Free) มีอยู่ 2 แห่ง ได้แก่ ร้าน Warisan Limpahan เป็นอาคารพาณิชย์ใกล้ Arked Niaga จำหน่ายน้ำหอม สุรา และบุหรี่ แต่การรับสินค้าหลังชำระเงินแล้ว ต้องนำใบเสร็จไปรับที่ห้องกระจกหลังผ่านจุดลงตราประทับ โดยจะมีพนักงานตามไปส่งสินค้าด้วยจักรยานยนต์ ส่วนอีกแห่งหนึ่งคือ The ZON Duty Free อยู่เลยศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ไปแล้ว ก่อนถึงด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทย ด้านในคล้ายกับห้างสรรพสินค้า เมื่อออกจากด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทยแล้ว มีจุดจอดรถตู้บริเวณตรงข้ามด่าน ค่าโดยสารคนละ 70 บาท รถออกเที่ยวแรก 06.30 น. เที่ยวสุดท้าย 17.30 น. (เวลาไทย) หากต้องการส่งพัสดุไปรษณีย์ จะมีที่ทำการไปรษณีย์ปาดังเบซาร์ อยู่ตรงข้ามสถานีตำรวจภูธรปาดังเบซาร์ เปิดวันจันทร์-ศุกร์ 08.30-17.00 น. วันเสาร์ 09.00-15.00 น. หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 197 มุมมอง 0 รีวิว
  • Gombak ศูนย์กลางคมนาคมใหม่ใกล้กัวลาลัมเปอร์

    ในอนาคตอันใกล้ มาเลเซียกำลังจะมีรถไฟความเร็วปานกลางสายใหม่ อีสต์โคสต์ เรล ลิงก์ (East Coast Rail Link) หรือ ECRL ระยะทาง 665 กิโลเมตร พาดผ่าน 4 รัฐ ได้แก่ รัฐกลันตัน ตรังกานู ปะหัง และสลังงอร์ มีสถานีรถไฟทั้งหมด 20 เฉพาะ รับ-ส่งผู้โดยสาร 10 สถานี และรับ-ส่งผู้โดยสารคู่กับขนส่งสินค้า 10 สถานี ตั้งเป้าที่จะแล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค.2569 และเปิดให้บริการในเดือน ม.ค.2570

    ปลายทางของรถไฟสายนี้อยู่ที่อำเภอกอมบัค (Gombak) รัฐสลังงอร์ ทางทิศเหนือของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งมีสถานีรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) สายเกอลานา จายา (Kelana Jaya) หรือ KJL ให้บริการ ระยะทาง 46.4 กิโลเมตร มี 37 สถานี ผ่านสถานีกลางเคแอล เซ็นทรัล (KL Sentral) ไปยังสถานีปูตราไฮท์ส (Putra Heights) ปัจจุบันมีผู้โดยสารมากถึง 84 ล้านคน-เที่ยวต่อปี โดยสถานีกอมบัคเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2542

    สถานีกอมบัคห่างจากสถานีเคแอลเซ็นทรัล 15 สถานี ใช้เวลาเดินทางประมาณ 37 นาที เป็นอาคาร 2 ชั้น โดยชั้นล่างเป็นร้านสะดวกซื้อ ห้องบริการบัตรโดยสาร เครื่องจำหน่ายเหรียญโดยสารอัตโนมัติ เครื่องคีออสบัตร Touch 'n Go มีอาคารจอดแล้วจรอยู่อีกฝั่ง รองรับรถยนต์ได้ 1,441 คัน มีรถโดยสารฟีดเดอร์ (Feeder Bus) สาย T200 ไปมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติมาเลเซีย (UIAM) และ T201 ไปยัง Hab Wira Damai ให้บริการ

    ทิศเหนือของอาคารจอดแล้วจร เป็นสถานที่ก่อสร้างสถานีกอมบัค ของโครงการ ECRL บนพื้นที่ 8.73 เฮคเตอร์ ริมแนวสันเขากอมบัค มีชานชาลายกระดับและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ที่จอดรถ จุดจอดรถรับส่ง ทางเดินที่มีหลังคาคลุม ที่พักพนักงาน และพื้นที่ภูมิทัศน์ วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.2567 ที่ผ่านมา โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทมาเลเซีย เรล ลิงก์ (MRL) และบริษัทไชน่า คอมมูนิเคชัน คอนสตรัคชัน (CCCC) ด้วยงบลงทุนกว่า 5 หมื่นล้านริงกิต

    หากโครงการแล้วเสร็จ การเดินทางจากสถานีโกตาบารู (Kota Bharu) รัฐกลันตัน ไปยังสถานีกอมบัค จะใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมง 45 นาที ใช้รถไฟ EMU รุ่น CR200J ทำความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

    ส่วนด้านข้างสถานีกอมบัค เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารเบอร์เซอปาดูกอมบัค (Terminal Bersepadu Gombak หรือ TBG) สร้างขึ้นเพื่อรองรับรถทัวร์ที่จะไปรัฐชายฝั่งตะวันออก (East Coast) ได้แก่ รัฐปาหัง ตรังกานู และกลันตัน ลดความหนาแน่นของสถานีขนส่งผู้โดยสารเบอร์เซอปาดูเซอลาตัน (Terminal Bersepadu Selatan หรือ TBS) พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งร้านค้า ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ และที่พักภายในสถานีขนส่ง

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Gombak ศูนย์กลางคมนาคมใหม่ใกล้กัวลาลัมเปอร์ ในอนาคตอันใกล้ มาเลเซียกำลังจะมีรถไฟความเร็วปานกลางสายใหม่ อีสต์โคสต์ เรล ลิงก์ (East Coast Rail Link) หรือ ECRL ระยะทาง 665 กิโลเมตร พาดผ่าน 4 รัฐ ได้แก่ รัฐกลันตัน ตรังกานู ปะหัง และสลังงอร์ มีสถานีรถไฟทั้งหมด 20 เฉพาะ รับ-ส่งผู้โดยสาร 10 สถานี และรับ-ส่งผู้โดยสารคู่กับขนส่งสินค้า 10 สถานี ตั้งเป้าที่จะแล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค.2569 และเปิดให้บริการในเดือน ม.ค.2570 ปลายทางของรถไฟสายนี้อยู่ที่อำเภอกอมบัค (Gombak) รัฐสลังงอร์ ทางทิศเหนือของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งมีสถานีรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) สายเกอลานา จายา (Kelana Jaya) หรือ KJL ให้บริการ ระยะทาง 46.4 กิโลเมตร มี 37 สถานี ผ่านสถานีกลางเคแอล เซ็นทรัล (KL Sentral) ไปยังสถานีปูตราไฮท์ส (Putra Heights) ปัจจุบันมีผู้โดยสารมากถึง 84 ล้านคน-เที่ยวต่อปี โดยสถานีกอมบัคเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2542 สถานีกอมบัคห่างจากสถานีเคแอลเซ็นทรัล 15 สถานี ใช้เวลาเดินทางประมาณ 37 นาที เป็นอาคาร 2 ชั้น โดยชั้นล่างเป็นร้านสะดวกซื้อ ห้องบริการบัตรโดยสาร เครื่องจำหน่ายเหรียญโดยสารอัตโนมัติ เครื่องคีออสบัตร Touch 'n Go มีอาคารจอดแล้วจรอยู่อีกฝั่ง รองรับรถยนต์ได้ 1,441 คัน มีรถโดยสารฟีดเดอร์ (Feeder Bus) สาย T200 ไปมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติมาเลเซีย (UIAM) และ T201 ไปยัง Hab Wira Damai ให้บริการ ทิศเหนือของอาคารจอดแล้วจร เป็นสถานที่ก่อสร้างสถานีกอมบัค ของโครงการ ECRL บนพื้นที่ 8.73 เฮคเตอร์ ริมแนวสันเขากอมบัค มีชานชาลายกระดับและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ที่จอดรถ จุดจอดรถรับส่ง ทางเดินที่มีหลังคาคลุม ที่พักพนักงาน และพื้นที่ภูมิทัศน์ วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.2567 ที่ผ่านมา โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทมาเลเซีย เรล ลิงก์ (MRL) และบริษัทไชน่า คอมมูนิเคชัน คอนสตรัคชัน (CCCC) ด้วยงบลงทุนกว่า 5 หมื่นล้านริงกิต หากโครงการแล้วเสร็จ การเดินทางจากสถานีโกตาบารู (Kota Bharu) รัฐกลันตัน ไปยังสถานีกอมบัค จะใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมง 45 นาที ใช้รถไฟ EMU รุ่น CR200J ทำความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนด้านข้างสถานีกอมบัค เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารเบอร์เซอปาดูกอมบัค (Terminal Bersepadu Gombak หรือ TBG) สร้างขึ้นเพื่อรองรับรถทัวร์ที่จะไปรัฐชายฝั่งตะวันออก (East Coast) ได้แก่ รัฐปาหัง ตรังกานู และกลันตัน ลดความหนาแน่นของสถานีขนส่งผู้โดยสารเบอร์เซอปาดูเซอลาตัน (Terminal Bersepadu Selatan หรือ TBS) พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งร้านค้า ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ และที่พักภายในสถานีขนส่ง #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    Love
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 208 มุมมอง 0 รีวิว
  • นับหนึ่งถึงอนาคต รถไฟฟ้าสายแรกปีนัง

    รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย กำลังจะมีรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) สายแรกเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ หลังจากเมื่อเดือน มี.ค.2567 รัฐบาลกลางมาเลเซีย รับช่วงต่อจากรัฐบาลท้องถิ่นรัฐปีนัง พัฒนาโครงการรถไฟรางเบาสายมูเทียร่า ไลน์ (Mutiara Line) โดยแต่งตั้งบริษัท เอ็มอาร์ที คอร์ป (MRT Corp) ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมด เป็นผู้พัฒนาโครงการ

    พิธีวางศิลาฤกษ์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2568 บริเวณสถานที่ก่อสร้างสถานีบันดาร์ ศรี ปีนัง (Bandar Sri Pinang) โดยมีนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเป็นประธาน

    จากการลงพื้นที่ของ Newskit พบว่า สถานที่ก่อสร้างสถานีบันดาร์ ศรี ปีนัง (Bandar Sri Pinang) ติดกับทางด่วนลิม ชอง ยู (Lim Chong Eu) ใกล้กับมัสยิดอัล บัคฮารี่ (Al Bukhary) และทางจักรยานเลียบชายทะเล บริเวณฝั่งตะวันออกของเกาะปีนัง เมื่อข้ามแม่น้ำปีนังไปแล้วจะเป็นสถานีแมคคัลลัม ก่อนแยกเป็นสองสาย แยกซ้ายไปสถานีคอมตาร์ แยกขวาข้ามทะเลไปสถานีปีนังเซ็นทรัล

    ก่อนที่เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2568 จะมีการลงนามสัญญาก่อสร้างช่วงคอมตาร์-เกาะซิลิคอน (Komtar-Silicon Island) ระยะทาง 24 กิโลเมตร รวม 19 สถานี มูลค่าประมาณ 8,310 ล้านริงกิต (64,000 ล้านบาท) โดยมีกลุ่มกิจการร่วมค้าเอสอาร์เอส ที่บริษัทก่อสร้างกามูดา (Gamuda) ถือหุ้น 60% เป็นผู้รับเหมาในการก่อสร้าง โดยมีระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2574

    ส่วนช่วงคอมตาร์-ปีนังเซ็นทรัล (Komtar-Penang Sentral) จากสถานีแมคคัลลัม (Macallum) ในเมืองจอร์จทาวน์ ผ่านช่องแคบปีนัง ระยะทาง 5.8 กิโลเมตร คาดว่าจะเปิดประมูลในเดือน ก.ค. 2568 และประกาศผลการประมูลในต้นปี 2569 ส่วนการประมูลระบบรถไฟฟ้าและการบำรุงรักษา กำลังดำเนินการ โดยมีกำหนดส่งข้อเสนอขั้นสุดท้ายในวันที่ 14 เม.ย. 2568

    นายแอนโทนี ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า โครงการนี้ได้รับการวางแผนอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้สามารถเข้าถึงศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่สำคัญได้อย่างราบรื่น สนับสนุนโครงการ Penang Silicon Design @5km+ การยกระดับท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง และเขตอุตสาหกรรมเสรีบายัน เลอปาส (Bayan Lepas)

    อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ยังมีปัญหาเรื่องที่ดินก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณสถานีสุไหงนิบง (Sungai Nibong) ซึ่งเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีการจัดงานเทศกาลประจำปี เพสต้า ปูเลา ปีนัง (Pesta Pulau Pinang) มาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2509 แต่ทาง MRT Corp ยืนยันว่าจะใช้พื้นที่ไม่มาก ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรองและพื้นที่พัฒนารอบสถานี (TOD) เท่านั้น

    #Newskit

    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    นับหนึ่งถึงอนาคต รถไฟฟ้าสายแรกปีนัง รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย กำลังจะมีรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) สายแรกเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ หลังจากเมื่อเดือน มี.ค.2567 รัฐบาลกลางมาเลเซีย รับช่วงต่อจากรัฐบาลท้องถิ่นรัฐปีนัง พัฒนาโครงการรถไฟรางเบาสายมูเทียร่า ไลน์ (Mutiara Line) โดยแต่งตั้งบริษัท เอ็มอาร์ที คอร์ป (MRT Corp) ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมด เป็นผู้พัฒนาโครงการ พิธีวางศิลาฤกษ์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2568 บริเวณสถานที่ก่อสร้างสถานีบันดาร์ ศรี ปีนัง (Bandar Sri Pinang) โดยมีนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเป็นประธาน จากการลงพื้นที่ของ Newskit พบว่า สถานที่ก่อสร้างสถานีบันดาร์ ศรี ปีนัง (Bandar Sri Pinang) ติดกับทางด่วนลิม ชอง ยู (Lim Chong Eu) ใกล้กับมัสยิดอัล บัคฮารี่ (Al Bukhary) และทางจักรยานเลียบชายทะเล บริเวณฝั่งตะวันออกของเกาะปีนัง เมื่อข้ามแม่น้ำปีนังไปแล้วจะเป็นสถานีแมคคัลลัม ก่อนแยกเป็นสองสาย แยกซ้ายไปสถานีคอมตาร์ แยกขวาข้ามทะเลไปสถานีปีนังเซ็นทรัล ก่อนที่เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2568 จะมีการลงนามสัญญาก่อสร้างช่วงคอมตาร์-เกาะซิลิคอน (Komtar-Silicon Island) ระยะทาง 24 กิโลเมตร รวม 19 สถานี มูลค่าประมาณ 8,310 ล้านริงกิต (64,000 ล้านบาท) โดยมีกลุ่มกิจการร่วมค้าเอสอาร์เอส ที่บริษัทก่อสร้างกามูดา (Gamuda) ถือหุ้น 60% เป็นผู้รับเหมาในการก่อสร้าง โดยมีระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2574 ส่วนช่วงคอมตาร์-ปีนังเซ็นทรัล (Komtar-Penang Sentral) จากสถานีแมคคัลลัม (Macallum) ในเมืองจอร์จทาวน์ ผ่านช่องแคบปีนัง ระยะทาง 5.8 กิโลเมตร คาดว่าจะเปิดประมูลในเดือน ก.ค. 2568 และประกาศผลการประมูลในต้นปี 2569 ส่วนการประมูลระบบรถไฟฟ้าและการบำรุงรักษา กำลังดำเนินการ โดยมีกำหนดส่งข้อเสนอขั้นสุดท้ายในวันที่ 14 เม.ย. 2568 นายแอนโทนี ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า โครงการนี้ได้รับการวางแผนอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้สามารถเข้าถึงศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่สำคัญได้อย่างราบรื่น สนับสนุนโครงการ Penang Silicon Design @5km+ การยกระดับท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง และเขตอุตสาหกรรมเสรีบายัน เลอปาส (Bayan Lepas) อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ยังมีปัญหาเรื่องที่ดินก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณสถานีสุไหงนิบง (Sungai Nibong) ซึ่งเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีการจัดงานเทศกาลประจำปี เพสต้า ปูเลา ปีนัง (Pesta Pulau Pinang) มาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2509 แต่ทาง MRT Corp ยืนยันว่าจะใช้พื้นที่ไม่มาก ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรองและพื้นที่พัฒนารอบสถานี (TOD) เท่านั้น #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 238 มุมมอง 0 รีวิว
  • ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes

    มูลค่า 10 ริงกิต (77.09 บาท) เป็นบัตรเปล่า ไม่มียอดเงินในบัตร

    สามารถเติมเงินลงในบัตรได้ที่สถานีรถไฟฟ้า MRT Corp หรือ Rapid KL หรือเครื่อง Kiosk ของ Touch 'n Go และร้านค้า อาทิ 7-Eleven (มาเลเซีย), ECONSAVE, Watsons (มาเลเซีย), KK Mart, 99 Speedmart, Lotus's (มาเลเซีย) หรือจุดบริการตามที่ Touch 'n Go กำหนด แต่ถ้ามีซิมการ์ดค่ายมือถือประเทศมาเลเซีย สามารถใช้ร่วมกับแอปพลิเคชัน Touch 'n Go e-Wallet ได้

    เพียงกรอกแบบฟอร์มนี้ >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9

    เฉพาะชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์มือถือ เพื่อใช้สำหรับจัดส่งของรางวัลหากเป็นผู้โชคดีเท่านั้น

    (แบบฟอร์มนี้ไม่มีการกรอกข้อมูลทางการเงิน อาทิ ข้อมูลบัญชีธนาคาร ข้อมูลบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือข้อมูลบัตรอิเล็กทรอนิกส์ใดๆ ทั้งสิ้น)

    ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 มกราคม 2568 ประกาศรายชื่อผู้โชคดี 3 กุมภาพันธ์ 2568 ที่เพจ Newskit ใน Thaitimes

    เงื่อนไขเป็นไปตามที่เพจ Newskit กำหนด กิจกรรมนี้ทาง Thaitimes ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes มูลค่า 10 ริงกิต (77.09 บาท) เป็นบัตรเปล่า ไม่มียอดเงินในบัตร สามารถเติมเงินลงในบัตรได้ที่สถานีรถไฟฟ้า MRT Corp หรือ Rapid KL หรือเครื่อง Kiosk ของ Touch 'n Go และร้านค้า อาทิ 7-Eleven (มาเลเซีย), ECONSAVE, Watsons (มาเลเซีย), KK Mart, 99 Speedmart, Lotus's (มาเลเซีย) หรือจุดบริการตามที่ Touch 'n Go กำหนด แต่ถ้ามีซิมการ์ดค่ายมือถือประเทศมาเลเซีย สามารถใช้ร่วมกับแอปพลิเคชัน Touch 'n Go e-Wallet ได้ เพียงกรอกแบบฟอร์มนี้ >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9 เฉพาะชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์มือถือ เพื่อใช้สำหรับจัดส่งของรางวัลหากเป็นผู้โชคดีเท่านั้น (แบบฟอร์มนี้ไม่มีการกรอกข้อมูลทางการเงิน อาทิ ข้อมูลบัญชีธนาคาร ข้อมูลบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือข้อมูลบัตรอิเล็กทรอนิกส์ใดๆ ทั้งสิ้น) ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 มกราคม 2568 ประกาศรายชื่อผู้โชคดี 3 กุมภาพันธ์ 2568 ที่เพจ Newskit ใน Thaitimes เงื่อนไขเป็นไปตามที่เพจ Newskit กำหนด กิจกรรมนี้ทาง Thaitimes ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 221 มุมมอง 0 รีวิว
  • ต่อนยอนสู่ปีนัง ขบวนรถไฟ My Sawasdee

    หลังการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ประเทศมาเลเซีย ประสบความสำเร็จในการเปิดให้บริการขบวนรถพิเศษ My Sawasdee เส้นทางกัวลาลัมเปอร์-หาดใหญ่ ในช่วงวันหยุดยาวของมาเลเซีย นับตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2565 ล่าสุดเมื่อช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 ที่ผ่านมา เปิดตัวรถไฟขบวนพิเศษ My Sawasdee Penang Edition เส้นทางจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ไปยังสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้บริการระหว่างวันที่ 29 ธ.ค.2567 ถึง 5 ม.ค.2568

    เฟซบุ๊ก "แซม ญาณบ้าน" นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการ เปิดเผยว่า ขบวนรถดังกล่าวจำหน่ายตั๋วเที่ยวเดียวในราคา 45 ริงกิต (ประมาณ 346 บาท) เน้นสำหรับชาวมาเลเซียที่จะไปเที่ยวหาดใหญ่ เพราะออกจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 7 โมงเช้า ถึงปลายทางหาดใหญ่ประมาณเที่ยงวัน ส่วนขากลับออกจากหาดใหญ่เวลาประมาณ 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย จอดที่สถานีปาดังเบซาร์ เพื่อลงตราประทับจากตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ก่อนจอดส่งผู้โดยสารตามรายทาง รวม 5 สถานี

    ก่อนเข้าสถานีปาดังเบซาร์ เจ้าหน้าที่จะกำชับเรื่องการกรอกบัตรขาเข้าดิจิทัลของมาเลเซีย (MDAC) สำหรับชาวต่างชาติ และต้องนำสิ่งของทุกอย่างลงจากรถไฟ รวมทั้งน้ำดื่มและอาหาร เข้า ตม. เพื่อผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากร

    ตู้โดยสารที่ใช้เป็นตู้โดยสารปรับอากาศ คล้ายรถนั่งปรับอากาศชั้น 2 ในไทย เมื่อถึงสถานีปาดังเบซาร์ ให้นั่งรอในขบวนรถระหว่าง ตม. ไทยและมาเลเซียลงตราประทับนักท่องเที่ยวขาออกจากมาเลเซีย ไปขบวน 950 และ 46 ให้หมดก่อน ประมาณ 30 นาทีจึงให้ผู้โดยสารออกมาลงตราประทับ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และไม่มีผู้โดยสารขึ้นระหว่างทางก่อนถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ก็ปล่อยขบวนรถก่อนเวลาเกือบ 20 นาที แต่ปรากฎว่าต้องรอหลีกให้รถไฟ KTM Komuter มาถึงทีหลังให้แซงไปก่อน ถึงจะออกรถได้

    แม้จะถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 21.36 น. ตามเวลามาเลเซีย แต่ขึ้นเรือเฟอร์รี่ไม่ทันรอบ 21.30 น. ต้องรอเรือรอบถัดไป 23.00 น. ถึงจะเข้าไปบนเกาะปีนัง จึงแนะว่าถ้าไม่เร่งรีบก็น่าสนใจ แต่ถ้าต้องทำเวลาจริงๆ ใช้บริการ KTM Komuter ดีกว่า เพราะใช้เวลาจากสถานีปาดังเบซาร์ ถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธไม่ถึง 2 ชั่วโมง

    สำหรับความคืบหน้าการเดินรถไฟ บัตเตอร์เวิร์ธ-กรุงเทพอภิวัฒน์ ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวบูเลทิน มูเทียรา (Buletin Mutiara) รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย รายงานว่า นายวง ฮอน ไว ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งรัฐปีนัง กล่าวต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งรัฐปีนัง เมื่อเดือน พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา ว่าจะเริ่มให้บริการในช่วงต้นปี 2568

    #Newskit
    ต่อนยอนสู่ปีนัง ขบวนรถไฟ My Sawasdee หลังการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ประเทศมาเลเซีย ประสบความสำเร็จในการเปิดให้บริการขบวนรถพิเศษ My Sawasdee เส้นทางกัวลาลัมเปอร์-หาดใหญ่ ในช่วงวันหยุดยาวของมาเลเซีย นับตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2565 ล่าสุดเมื่อช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 ที่ผ่านมา เปิดตัวรถไฟขบวนพิเศษ My Sawasdee Penang Edition เส้นทางจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ไปยังสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้บริการระหว่างวันที่ 29 ธ.ค.2567 ถึง 5 ม.ค.2568 เฟซบุ๊ก "แซม ญาณบ้าน" นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการ เปิดเผยว่า ขบวนรถดังกล่าวจำหน่ายตั๋วเที่ยวเดียวในราคา 45 ริงกิต (ประมาณ 346 บาท) เน้นสำหรับชาวมาเลเซียที่จะไปเที่ยวหาดใหญ่ เพราะออกจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 7 โมงเช้า ถึงปลายทางหาดใหญ่ประมาณเที่ยงวัน ส่วนขากลับออกจากหาดใหญ่เวลาประมาณ 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย จอดที่สถานีปาดังเบซาร์ เพื่อลงตราประทับจากตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ก่อนจอดส่งผู้โดยสารตามรายทาง รวม 5 สถานี ก่อนเข้าสถานีปาดังเบซาร์ เจ้าหน้าที่จะกำชับเรื่องการกรอกบัตรขาเข้าดิจิทัลของมาเลเซีย (MDAC) สำหรับชาวต่างชาติ และต้องนำสิ่งของทุกอย่างลงจากรถไฟ รวมทั้งน้ำดื่มและอาหาร เข้า ตม. เพื่อผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากร ตู้โดยสารที่ใช้เป็นตู้โดยสารปรับอากาศ คล้ายรถนั่งปรับอากาศชั้น 2 ในไทย เมื่อถึงสถานีปาดังเบซาร์ ให้นั่งรอในขบวนรถระหว่าง ตม. ไทยและมาเลเซียลงตราประทับนักท่องเที่ยวขาออกจากมาเลเซีย ไปขบวน 950 และ 46 ให้หมดก่อน ประมาณ 30 นาทีจึงให้ผู้โดยสารออกมาลงตราประทับ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และไม่มีผู้โดยสารขึ้นระหว่างทางก่อนถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ก็ปล่อยขบวนรถก่อนเวลาเกือบ 20 นาที แต่ปรากฎว่าต้องรอหลีกให้รถไฟ KTM Komuter มาถึงทีหลังให้แซงไปก่อน ถึงจะออกรถได้ แม้จะถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 21.36 น. ตามเวลามาเลเซีย แต่ขึ้นเรือเฟอร์รี่ไม่ทันรอบ 21.30 น. ต้องรอเรือรอบถัดไป 23.00 น. ถึงจะเข้าไปบนเกาะปีนัง จึงแนะว่าถ้าไม่เร่งรีบก็น่าสนใจ แต่ถ้าต้องทำเวลาจริงๆ ใช้บริการ KTM Komuter ดีกว่า เพราะใช้เวลาจากสถานีปาดังเบซาร์ ถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธไม่ถึง 2 ชั่วโมง สำหรับความคืบหน้าการเดินรถไฟ บัตเตอร์เวิร์ธ-กรุงเทพอภิวัฒน์ ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวบูเลทิน มูเทียรา (Buletin Mutiara) รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย รายงานว่า นายวง ฮอน ไว ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งรัฐปีนัง กล่าวต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งรัฐปีนัง เมื่อเดือน พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา ว่าจะเริ่มให้บริการในช่วงต้นปี 2568 #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 386 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฝั่งธนยังต้องทน ก่อสร้างตลอดปี

    นับตั้งแต่ฝั่งธนบุรีมีการก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก บนถนนพระรามที่ 2 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน–ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) บนถนนสุขสวัสดิ์ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และถนนประชาธิปก มาตั้งแต่ปี 2565 ทำการจราจรติดขัดทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็นแล้ว ในปี 2568 มีการก่อสร้างเพิ่มเติมทั้งทางยกระดับและรถไฟฟ้า คราวนี้กระทบโซนปิ่นเกล้า ถนนบรมราชชนนี ถึงถนนพุทธมณฑล สาย 4

    เริ่มจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.2568 เวลา 22.00 น. จะปิดสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชั่น และถนนสุทธาวาส เพื่อดำเนินงานก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางขุนนนท์ ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ใช้เส้นทางนี้ระหว่างแยกพรานนก สถานีรถไฟธนบุรี ข้ามสะพานไปยังฝั่งถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชัน เพื่อไปออกถนนบรมราชชนนี สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน ถึงถนนกาญจนาภิเษก ได้รับผลกระทบ

    โดยผู้รับจ้างจะรื้อถอนสะพานข้ามแยกดังกล่าวเพื่อก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางขุนนนท์ OR2 จากนั้นจะก่อสร้างสะพานทดแทน ในเดือน ธ.ค.2569 และคาดว่าจะเปิดใช้งานได้ในเดือน มิ.ย.2571 รวมระยะเวลาประมาณ 3 ปีครึ่ง

    อย่างต่อมา คือ การก่อสร้างส่วนต่อขยายทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 338 (ถนนบรมราชชนนี) ช่วงพุทธมณฑลสาย 3-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทางประมาณ 4.7 กิโลเมตร ปีงบประมาณ 2568 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 4,490 ล้านบาท แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 6 สัญญา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการคำนวณราคากลาง

    อีกโครงการหนึ่ง คือ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ทางยกระดับสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ช่วงบางขุนเทียน–บางบัวทอง (M9) ระยะทาง 38 กิโลเมตร พาดผ่านพื้นที่เขตบางขุนเทียน เขตบางแค เขตตลิ่งชัน และเขตทวีวัฒนา กทม. กับ อ.บางกรวย อ.บางใหญ่ และ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี หลังคณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2567 คาดว่าจะเปิดประมูลปลายปี 2568 ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี

    สำหรับส่วนต่อขยายถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 ที่จะแบ่งเบาการจราจรถนนเพชรเกษม และถนนบรมราชชนนี ได้แก่ โครงการต่อเชื่อมถนนพุทธมณฑลสาย 2-ถนนพุทธมณฑลสาย 3 ระยะทาง 3.4 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 1,532 ล้านบาท ปัจจุบันคืบหน้าแล้ว 72.14% คาดว่าจะเปิดให้บริการเดือน มิ.ย.2568 และโครงการต่อเชื่อมถนนพุทธมณฑลสาย 3-ถนนพุทธมณฑลสาย 4 สิ้นสุดบริเวณตรงข้ามปากซอยกระทุ่มล้ม 9 อ.สามพราน จ.นครปฐม ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 1,299.90 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 720 วัน สิ้นสุดสัญญาเดือน ก.ย.2569

    #Newskit
    ฝั่งธนยังต้องทน ก่อสร้างตลอดปี นับตั้งแต่ฝั่งธนบุรีมีการก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก บนถนนพระรามที่ 2 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน–ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) บนถนนสุขสวัสดิ์ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และถนนประชาธิปก มาตั้งแต่ปี 2565 ทำการจราจรติดขัดทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็นแล้ว ในปี 2568 มีการก่อสร้างเพิ่มเติมทั้งทางยกระดับและรถไฟฟ้า คราวนี้กระทบโซนปิ่นเกล้า ถนนบรมราชชนนี ถึงถนนพุทธมณฑล สาย 4 เริ่มจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.2568 เวลา 22.00 น. จะปิดสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชั่น และถนนสุทธาวาส เพื่อดำเนินงานก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางขุนนนท์ ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ใช้เส้นทางนี้ระหว่างแยกพรานนก สถานีรถไฟธนบุรี ข้ามสะพานไปยังฝั่งถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชัน เพื่อไปออกถนนบรมราชชนนี สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน ถึงถนนกาญจนาภิเษก ได้รับผลกระทบ โดยผู้รับจ้างจะรื้อถอนสะพานข้ามแยกดังกล่าวเพื่อก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางขุนนนท์ OR2 จากนั้นจะก่อสร้างสะพานทดแทน ในเดือน ธ.ค.2569 และคาดว่าจะเปิดใช้งานได้ในเดือน มิ.ย.2571 รวมระยะเวลาประมาณ 3 ปีครึ่ง อย่างต่อมา คือ การก่อสร้างส่วนต่อขยายทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 338 (ถนนบรมราชชนนี) ช่วงพุทธมณฑลสาย 3-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทางประมาณ 4.7 กิโลเมตร ปีงบประมาณ 2568 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 4,490 ล้านบาท แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 6 สัญญา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการคำนวณราคากลาง อีกโครงการหนึ่ง คือ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ทางยกระดับสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ช่วงบางขุนเทียน–บางบัวทอง (M9) ระยะทาง 38 กิโลเมตร พาดผ่านพื้นที่เขตบางขุนเทียน เขตบางแค เขตตลิ่งชัน และเขตทวีวัฒนา กทม. กับ อ.บางกรวย อ.บางใหญ่ และ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี หลังคณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2567 คาดว่าจะเปิดประมูลปลายปี 2568 ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี สำหรับส่วนต่อขยายถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 ที่จะแบ่งเบาการจราจรถนนเพชรเกษม และถนนบรมราชชนนี ได้แก่ โครงการต่อเชื่อมถนนพุทธมณฑลสาย 2-ถนนพุทธมณฑลสาย 3 ระยะทาง 3.4 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 1,532 ล้านบาท ปัจจุบันคืบหน้าแล้ว 72.14% คาดว่าจะเปิดให้บริการเดือน มิ.ย.2568 และโครงการต่อเชื่อมถนนพุทธมณฑลสาย 3-ถนนพุทธมณฑลสาย 4 สิ้นสุดบริเวณตรงข้ามปากซอยกระทุ่มล้ม 9 อ.สามพราน จ.นครปฐม ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 1,299.90 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 720 วัน สิ้นสุดสัญญาเดือน ก.ย.2569 #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 347 มุมมอง 0 รีวิว
  • มอเตอร์เวย์กาญจนบุรี ทำติดท็อปไฟว์เคานต์ดาวน์

    ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 น่าสนใจกับชุดข้อมูลการเคลื่อนที่ของประชากรจากโทรศัพท์มือถือ (Mobility Data) ของสองค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ เอไอเอส และทรู-ดีแทค เปิดเผยจังหวัดที่นักท่องเที่ยวเดินทางช่วงปีใหม่ และใช้งานข้อมูลมือถือ (Data) สูงสุด หากไม่นับกรุงเทพฯ พบว่ามี 3 จังหวัดที่มีการใช้งานมากที่สุด ได้แก่ นครราชสีมา กาญจนบุรี และเชียงใหม่

    โดยเอไอเอสเปิดเผยจังหวัดที่มีการใช้งานข้อมูลมือถือสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ 1. กรุงเทพมหานคร 2. นครราชสีมา 3. เชียงใหม่ 4. กาญจนบุรี และ 5. ชลบุรี โดยโซเชียลมีเดียที่นิยมใช้งานมากที่สุด ได้แก่ 1. เฟซบุ๊ก 2. ติ๊กต็อก 3. ยูทูบ 4. อินสตาแกรม 5. ไลน์ ด้านทรู-ดีแทค เปิดเผยนักท่องเที่ยวเดินทางและกลับภูมิลำเนาช่วงปีใหม่มากสุด 10 อันดับ คือ 1. นครราชสีมา 2. เพชรบูรณ์ 3. อุบลราชธานี 4. ศรีสะเกษ 5. กาญจนบุรี 6. ขอนแก่น 7. เชียงใหม่ 8. บุรีรัมย์ 9. นครสวรรค์ 10. สุรินทร์

    กล่าวถึงจังหวัดกาญจนบุรี แม้จะไม่ได้จัดงานเคานต์ดาวน์อย่างยิ่งใหญ่ แบบชนิดที่ว่าประชันกันระดับประเทศ แต่ก็มีนักท่องเที่ยวมาเยือนอย่างมหาศาล ซึ่งเป็นผลมาจากการเปิดใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 81 สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร จากปกติเปิดเฉพาะด่านนครปฐมฝั่งตะวันตก (ถนนมาลัยแมน) ถึงด่านกาญจนบุรีเฉพาะวันหยุดสุดสัปดาห์เท่านั้น ทำให้มีนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ และปริมณฑลอย่างนนทบุรีและปทุมธานีสนใจทดลองใช้เส้นทางเป็นจำนวนมาก

    นับตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค. 2567 ถึง 2 ม.ค. 2568 พบว่าช่วงบางใหญ่-นครปฐม มีปริมาณการจราจรรวม 276,316 คัน ส่วนช่วงนครปฐม-กาญจนบุรี มีปริมาณการจราจรรวม 219,181 คัน แบ่งเบาปริมาณจราจรบนถนนเพชรเกษม ช่วง อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ได้ถึง 23% และถนนแสงชูโต ช่วง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ได้ถึง 43% ขณะที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานกาญจนบุรี คาดการณ์ว่าเทศกาลปีใหม่ 2568 จะมีเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท โดยเป็นผลมาจากการเปิดใช้มอเตอร์เวย์ที่ช่วยลดเวลาการเดินทาง รวมทั้งอากาศเย็น 16-18 องศาเซลเซียส

    อย่างไรก็ตาม ในการเปิดใช้มอเตอร์เวย์ระยะแรก เกิดการจราจรติดขัดบริเวณแยกวังสารภี ซึ่งรับรถมาจากด่านกาญจนบุรี รวมทั้งยังมีการก่อสร้างสะพานข้ามแยกวังสารภีและแยกแก่งเสี้ยน คาดว่าแล้วเสร็จในปี 2570 ส่วนกรมทางหลวงเปิดใช้มอเตอร์เวย์หมายเลข 81 ชั่วคราว ระหว่างด่านนครปฐมฝั่งตะวันตก ถึงด่านกาญจนบุรี ระยะทาง 51 กิโลเมตร ทุกวันศุกร์ เวลา 15.00 น. ถึงวันจันทร์ เวลา 12.00 น. จนกว่างานระบบ O&M จะแล้วเสร็จ

    #Newskit
    มอเตอร์เวย์กาญจนบุรี ทำติดท็อปไฟว์เคานต์ดาวน์ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 น่าสนใจกับชุดข้อมูลการเคลื่อนที่ของประชากรจากโทรศัพท์มือถือ (Mobility Data) ของสองค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ เอไอเอส และทรู-ดีแทค เปิดเผยจังหวัดที่นักท่องเที่ยวเดินทางช่วงปีใหม่ และใช้งานข้อมูลมือถือ (Data) สูงสุด หากไม่นับกรุงเทพฯ พบว่ามี 3 จังหวัดที่มีการใช้งานมากที่สุด ได้แก่ นครราชสีมา กาญจนบุรี และเชียงใหม่ โดยเอไอเอสเปิดเผยจังหวัดที่มีการใช้งานข้อมูลมือถือสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ 1. กรุงเทพมหานคร 2. นครราชสีมา 3. เชียงใหม่ 4. กาญจนบุรี และ 5. ชลบุรี โดยโซเชียลมีเดียที่นิยมใช้งานมากที่สุด ได้แก่ 1. เฟซบุ๊ก 2. ติ๊กต็อก 3. ยูทูบ 4. อินสตาแกรม 5. ไลน์ ด้านทรู-ดีแทค เปิดเผยนักท่องเที่ยวเดินทางและกลับภูมิลำเนาช่วงปีใหม่มากสุด 10 อันดับ คือ 1. นครราชสีมา 2. เพชรบูรณ์ 3. อุบลราชธานี 4. ศรีสะเกษ 5. กาญจนบุรี 6. ขอนแก่น 7. เชียงใหม่ 8. บุรีรัมย์ 9. นครสวรรค์ 10. สุรินทร์ กล่าวถึงจังหวัดกาญจนบุรี แม้จะไม่ได้จัดงานเคานต์ดาวน์อย่างยิ่งใหญ่ แบบชนิดที่ว่าประชันกันระดับประเทศ แต่ก็มีนักท่องเที่ยวมาเยือนอย่างมหาศาล ซึ่งเป็นผลมาจากการเปิดใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 81 สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร จากปกติเปิดเฉพาะด่านนครปฐมฝั่งตะวันตก (ถนนมาลัยแมน) ถึงด่านกาญจนบุรีเฉพาะวันหยุดสุดสัปดาห์เท่านั้น ทำให้มีนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ และปริมณฑลอย่างนนทบุรีและปทุมธานีสนใจทดลองใช้เส้นทางเป็นจำนวนมาก นับตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค. 2567 ถึง 2 ม.ค. 2568 พบว่าช่วงบางใหญ่-นครปฐม มีปริมาณการจราจรรวม 276,316 คัน ส่วนช่วงนครปฐม-กาญจนบุรี มีปริมาณการจราจรรวม 219,181 คัน แบ่งเบาปริมาณจราจรบนถนนเพชรเกษม ช่วง อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ได้ถึง 23% และถนนแสงชูโต ช่วง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ได้ถึง 43% ขณะที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานกาญจนบุรี คาดการณ์ว่าเทศกาลปีใหม่ 2568 จะมีเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท โดยเป็นผลมาจากการเปิดใช้มอเตอร์เวย์ที่ช่วยลดเวลาการเดินทาง รวมทั้งอากาศเย็น 16-18 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม ในการเปิดใช้มอเตอร์เวย์ระยะแรก เกิดการจราจรติดขัดบริเวณแยกวังสารภี ซึ่งรับรถมาจากด่านกาญจนบุรี รวมทั้งยังมีการก่อสร้างสะพานข้ามแยกวังสารภีและแยกแก่งเสี้ยน คาดว่าแล้วเสร็จในปี 2570 ส่วนกรมทางหลวงเปิดใช้มอเตอร์เวย์หมายเลข 81 ชั่วคราว ระหว่างด่านนครปฐมฝั่งตะวันตก ถึงด่านกาญจนบุรี ระยะทาง 51 กิโลเมตร ทุกวันศุกร์ เวลา 15.00 น. ถึงวันจันทร์ เวลา 12.00 น. จนกว่างานระบบ O&M จะแล้วเสร็จ #Newskit
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 445 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำไมหมูเด้ง ถึงฮีลใจคนไทย

    ท่ามกลางบ้านเมืองที่ไม่แน่นอน เศรษฐกิจซบเซาและสังคมตกต่ำ คนไทยต่างพยายามหาสารพัดวิธีเพื่อผ่อนคลายจากความตึงเครียดและเสียสุขภาพจิต ตั้งแต่เพลงและท่าเต้นไวรัล คอนเทนต์จาก OTT รวมไปถึงคอนเทนต์ฮีลใจ ซึ่งปีที่ผ่านมาคลิปท่องเที่ยวของสองหนุ่มเกาหลี พี่จอง-คัลเลน แห่งช่อง Cullen HateBerry ได้รับความนิยมอย่างมาก

    ปี 2567 สังคมฮีลใจอยู่ 3 อย่าง เริ่มจากสารวัตรแจ๊ะ พ.ต.ต.ธัญพีรสิษฐ์ จุลพิภพ ที่มีวีดีโอคลิปผลงานจับกุมในเพจ "สืบนครบาล" ด้วยคาแรกเตอร์สวมหมวกไหมพรม ใส่แว่นตา ปิดแมสก์ กางเกงยีนส์ทรงกระบอกขาดๆ ทับด้วยเสื้อแจ็กเก็ต ปฎิบัติหน้าที่ด้วยความขึงขังดุดัน แต่จิตใจภายในอ่อนโยน ทำฮีลใจสังคมในยามที่วงการสีกากีเกิดวิกฤตศรัทธา

    ตามมาด้วย หมีเนย มาสคอตประจำร้านขนมหวานบัตเตอร์แบร์ (Butterbear) ที่ดึงความสนใจทั้งชาวไทย รวมทั้งนักท่องเที่ยวจีน ด้วยคาแรกเตอร์ที่เต้นตามเพลงต่างๆ ด้วยความน่ารักจริตแบบสาวน้อยวัยใส นอกจากจะสร้างชื่อเสียงแบบร้านแทบแตกแล้ว ยังได้เป็นพรีเซ็นเตอร์โปรโมตการท่องเที่ยว โดยเน้นไปที่ตลาดนักท่องเที่ยวจีนอีกด้วย

    แต่ที่โด่งดังระดับโลกคือ หมูเด้ง ฮิปโปแคระเพศเมียแห่งสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี เกิดจากพ่อโทนี่และแม่โจวน่าเมื่อวันที่ 10 ก.ค.2567 ด้วยความที่พี่เลี้ยงอย่าง เบนซ์ อรรถพล หนุนดี มักจะถ่ายวีดีโอคลิปลงในเพจ "ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง" ทำให้โด่งดังระดับโลก ผู้คนเข้าชมสวนสัตว์นับแสนคน มีสินค้าลิขสิทธิ์นับร้อยรายการ นำรายได้ช่วยเหลือสวัสดิภาพสัตว์

    มีโพสต์ที่น่าสนใจจากเพจ American Heart Association - Pennsylvania ที่สหรัฐอเมริกา ระบุถึง 5 เหตุผลว่าทำไมหมูเด้งถึงเป็นแบบอย่างด้านสุขภาพ ได้แก่

    1. หมูเด้งกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ได้แก่ หญ้า ผลไม้ และใบไม้ เมื่อเทียบกับมนุษย์แล้ว การได้เพิ่มอาหารประเภทผัก ผลไม้ลงในจาน ทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น

    2. หมูเด้งรู้จักออกกำลังกาย เพราะทั้งวิ่ง กระโดด และว่ายน้ำ ซึ่งการเคลื่อนไหวที่มากขึ้น ทำให้หัวใจและหลอดเลือดดีขึ้น

    3. หมูเด้งไม่เก็บซ่อนความรู้สึก มักจะแสดงอาการให้เราได้เห็น ไม่ว่าจะมีความสุข เคือง หิว ง่วงนอน หรือโกรธจัด ซึ่งการแสดงอารมณ์ออกมาตรงๆ ถือเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพจิต

    4. หมูเด้งชอบนอนหลับ ซึ่งโดยธรรมชาติฮิปโปแคระต้องการการนอนหลับมากกว่ามนุษย์เล็กน้อย แต่การนอนหลับในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายของเราฟื้นตัวได้

    5. หมูเด้งช่วยลดความเครียดของคนเราได้ เพราะการใช้เวลาอยู่กับสัตว์ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยลดความเครียดได้ ดังนั้นการชมวีดีโอคลิปตลกๆ ของหมูเด้งจึงยังคงมีอยู่ต่อไป

    #Newskit
    ทำไมหมูเด้ง ถึงฮีลใจคนไทย ท่ามกลางบ้านเมืองที่ไม่แน่นอน เศรษฐกิจซบเซาและสังคมตกต่ำ คนไทยต่างพยายามหาสารพัดวิธีเพื่อผ่อนคลายจากความตึงเครียดและเสียสุขภาพจิต ตั้งแต่เพลงและท่าเต้นไวรัล คอนเทนต์จาก OTT รวมไปถึงคอนเทนต์ฮีลใจ ซึ่งปีที่ผ่านมาคลิปท่องเที่ยวของสองหนุ่มเกาหลี พี่จอง-คัลเลน แห่งช่อง Cullen HateBerry ได้รับความนิยมอย่างมาก ปี 2567 สังคมฮีลใจอยู่ 3 อย่าง เริ่มจากสารวัตรแจ๊ะ พ.ต.ต.ธัญพีรสิษฐ์ จุลพิภพ ที่มีวีดีโอคลิปผลงานจับกุมในเพจ "สืบนครบาล" ด้วยคาแรกเตอร์สวมหมวกไหมพรม ใส่แว่นตา ปิดแมสก์ กางเกงยีนส์ทรงกระบอกขาดๆ ทับด้วยเสื้อแจ็กเก็ต ปฎิบัติหน้าที่ด้วยความขึงขังดุดัน แต่จิตใจภายในอ่อนโยน ทำฮีลใจสังคมในยามที่วงการสีกากีเกิดวิกฤตศรัทธา ตามมาด้วย หมีเนย มาสคอตประจำร้านขนมหวานบัตเตอร์แบร์ (Butterbear) ที่ดึงความสนใจทั้งชาวไทย รวมทั้งนักท่องเที่ยวจีน ด้วยคาแรกเตอร์ที่เต้นตามเพลงต่างๆ ด้วยความน่ารักจริตแบบสาวน้อยวัยใส นอกจากจะสร้างชื่อเสียงแบบร้านแทบแตกแล้ว ยังได้เป็นพรีเซ็นเตอร์โปรโมตการท่องเที่ยว โดยเน้นไปที่ตลาดนักท่องเที่ยวจีนอีกด้วย แต่ที่โด่งดังระดับโลกคือ หมูเด้ง ฮิปโปแคระเพศเมียแห่งสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี เกิดจากพ่อโทนี่และแม่โจวน่าเมื่อวันที่ 10 ก.ค.2567 ด้วยความที่พี่เลี้ยงอย่าง เบนซ์ อรรถพล หนุนดี มักจะถ่ายวีดีโอคลิปลงในเพจ "ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง" ทำให้โด่งดังระดับโลก ผู้คนเข้าชมสวนสัตว์นับแสนคน มีสินค้าลิขสิทธิ์นับร้อยรายการ นำรายได้ช่วยเหลือสวัสดิภาพสัตว์ มีโพสต์ที่น่าสนใจจากเพจ American Heart Association - Pennsylvania ที่สหรัฐอเมริกา ระบุถึง 5 เหตุผลว่าทำไมหมูเด้งถึงเป็นแบบอย่างด้านสุขภาพ ได้แก่ 1. หมูเด้งกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ได้แก่ หญ้า ผลไม้ และใบไม้ เมื่อเทียบกับมนุษย์แล้ว การได้เพิ่มอาหารประเภทผัก ผลไม้ลงในจาน ทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น 2. หมูเด้งรู้จักออกกำลังกาย เพราะทั้งวิ่ง กระโดด และว่ายน้ำ ซึ่งการเคลื่อนไหวที่มากขึ้น ทำให้หัวใจและหลอดเลือดดีขึ้น 3. หมูเด้งไม่เก็บซ่อนความรู้สึก มักจะแสดงอาการให้เราได้เห็น ไม่ว่าจะมีความสุข เคือง หิว ง่วงนอน หรือโกรธจัด ซึ่งการแสดงอารมณ์ออกมาตรงๆ ถือเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพจิต 4. หมูเด้งชอบนอนหลับ ซึ่งโดยธรรมชาติฮิปโปแคระต้องการการนอนหลับมากกว่ามนุษย์เล็กน้อย แต่การนอนหลับในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายของเราฟื้นตัวได้ 5. หมูเด้งช่วยลดความเครียดของคนเราได้ เพราะการใช้เวลาอยู่กับสัตว์ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยลดความเครียดได้ ดังนั้นการชมวีดีโอคลิปตลกๆ ของหมูเด้งจึงยังคงมีอยู่ต่อไป #Newskit
    Like
    5
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 515 มุมมอง 0 รีวิว
  • บิ๊กซี ฟู้ดเพลส เจาะพรีเมียมซูเปอร์มาร์เก็ต

    ปลายปี 2567 บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ค้าปลีกในกลุ่มบีเจซี เปิดสาขาโมเดลบิ๊กซี ฟู้ดเพลส (Big C Foodplace) ซึ่งเป็นพรีเมียมซูเปอร์มาร์เก็ต (Premium Supermarket) อย่างต่อเนื่อง เริ่มจากสาขามหาทุนพลาซ่า ถนนเพลินจิต เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2567 เป็นสาขาลำดับที่ 14 ขนาดพื้นที่ 386 ตารางเมตร เจาะกลุ่มลูกค้าโซนสำนักงาน รวมถึงกลุ่มลูกค้าชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีรายได้ระดับกลาง

    ตามมาด้วยสาขาดิโอลด์สยามพลาซ่า ถนนตรีเพชร เปิดเมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2567 มาพร้อมกับโซนเดลิก้า (Delica) ที่จำหน่ายอาหารพร้อมทาน และอาหารจานหลักหลากหลายเมนู พร้อมสินค้าอุปโภคบริโภค และของฝากสำหรับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะ และสาขาล่าสุด เดอะแจ๊ส รามอินทรา เปิดเมื่อวันที่ 22 ธ.ค.2567 มาแทนแม็กซ์แวลู ทำให้ขณะนี้มีสาขาบิ๊กซี ฟู้ดเพลส รวม 16 สาขา

    พร้อมกันนี้ยังได้เปิดตัวโมเดลใหม่ บิ๊กซี บางกอก มาร์เช่ (Big C Bangkok Marche) ที่อาคารเดอะฟอรั่ม วันแบงค็อก ถนนพระรามที่ 4 เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2567 มี 3 โซนหลัก ได้แก่ Delica โซนอาหารเช้าและอาหารพร้อมทาน ราคาเริ่มต้นที่ 99 บาท, Grilled Bar จำหน่ายเมนูซีฟู๊ด สเต็กเนื้อออสเตรเลีย และ Wine Cellar จำหน่ายสุราหลากหลายประเทศ พร้อมสินค้าอุปโภคบริโภค

    สำหรับบิ๊กซี ฟู้ดเพลส เป็นพรีเมียม ซูเปอร์มาร์เก็ต ในรูปแบบที่แตกต่างจากบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ และบิ๊กซี มาร์เก็ต เน้นจำหน่ายอาหารสด อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารพร้อมรับประทาน และผลิตภัณฑ์นำเข้าจากต่างประเทศ พร้อมพื้นที่รับประทานอาหาร เปิดสาขาต้นแบบที่ศูนย์การค้าเกตเวย์ แอท บางซื่อ เมื่อวันที่ 30 พ.ย.2561 ก่อนเปิดสาขาแรกที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เมื่อวันที่ 20 ก.ย.2562 ขณะนั้นเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตเปิด 24 ชั่วโมง

    หลังจากนั้นจึงได้รีโนเวตห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี มาร์เก็ตบางสาขา ให้กลายเป็นบิ๊กซี ฟู้ดเพลส ช่วงปี 2562-2565 ได้แก่ สาขาสุขาภิบาล 5 สาขาเคหะร่มเกล้า สาขาสวนหลวง สาขาประชาอุทิศ สาขาหทัยราษฏร์ สาขาสายไหม เปิดสาขาใหม่เพิ่มเติมได้แก่ สาขาท่าอิฐ เปิด 16 ก.ค.2563 สาขาหนามแดง เปิด 26 ส.ค.2563 สาขาสำนักงานใหญ่ บีเจซี 1 เปิด 1 ก.ค.2565 สาขาพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน เปิด 6 ก.ค.2566 และสาขาเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เปิด 16 พ.ย.2566

    นอกจากนี้ ยังมีโมเดลบิ๊กซี เพลส (Big C Place) สาขาลำลูกกา สาขาสระบุรี สาขารัชดาภิเษก สาขาฉะเชิงเทรา 1 (ถนนสิริโสธร) แผนกอาหารสดใช้คำว่า บิ๊กซี ฟู้ดเพลส แต่โปรโมชันสินค้าบางรายการของบิ๊กซี ฟู้ดเพลส จัดรายการเฉพาะสาขาข้างต้น 16 สาขาเท่านั้น

    #Newskit
    บิ๊กซี ฟู้ดเพลส เจาะพรีเมียมซูเปอร์มาร์เก็ต ปลายปี 2567 บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ค้าปลีกในกลุ่มบีเจซี เปิดสาขาโมเดลบิ๊กซี ฟู้ดเพลส (Big C Foodplace) ซึ่งเป็นพรีเมียมซูเปอร์มาร์เก็ต (Premium Supermarket) อย่างต่อเนื่อง เริ่มจากสาขามหาทุนพลาซ่า ถนนเพลินจิต เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2567 เป็นสาขาลำดับที่ 14 ขนาดพื้นที่ 386 ตารางเมตร เจาะกลุ่มลูกค้าโซนสำนักงาน รวมถึงกลุ่มลูกค้าชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีรายได้ระดับกลาง ตามมาด้วยสาขาดิโอลด์สยามพลาซ่า ถนนตรีเพชร เปิดเมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2567 มาพร้อมกับโซนเดลิก้า (Delica) ที่จำหน่ายอาหารพร้อมทาน และอาหารจานหลักหลากหลายเมนู พร้อมสินค้าอุปโภคบริโภค และของฝากสำหรับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะ และสาขาล่าสุด เดอะแจ๊ส รามอินทรา เปิดเมื่อวันที่ 22 ธ.ค.2567 มาแทนแม็กซ์แวลู ทำให้ขณะนี้มีสาขาบิ๊กซี ฟู้ดเพลส รวม 16 สาขา พร้อมกันนี้ยังได้เปิดตัวโมเดลใหม่ บิ๊กซี บางกอก มาร์เช่ (Big C Bangkok Marche) ที่อาคารเดอะฟอรั่ม วันแบงค็อก ถนนพระรามที่ 4 เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2567 มี 3 โซนหลัก ได้แก่ Delica โซนอาหารเช้าและอาหารพร้อมทาน ราคาเริ่มต้นที่ 99 บาท, Grilled Bar จำหน่ายเมนูซีฟู๊ด สเต็กเนื้อออสเตรเลีย และ Wine Cellar จำหน่ายสุราหลากหลายประเทศ พร้อมสินค้าอุปโภคบริโภค สำหรับบิ๊กซี ฟู้ดเพลส เป็นพรีเมียม ซูเปอร์มาร์เก็ต ในรูปแบบที่แตกต่างจากบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ และบิ๊กซี มาร์เก็ต เน้นจำหน่ายอาหารสด อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารพร้อมรับประทาน และผลิตภัณฑ์นำเข้าจากต่างประเทศ พร้อมพื้นที่รับประทานอาหาร เปิดสาขาต้นแบบที่ศูนย์การค้าเกตเวย์ แอท บางซื่อ เมื่อวันที่ 30 พ.ย.2561 ก่อนเปิดสาขาแรกที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เมื่อวันที่ 20 ก.ย.2562 ขณะนั้นเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตเปิด 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงได้รีโนเวตห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี มาร์เก็ตบางสาขา ให้กลายเป็นบิ๊กซี ฟู้ดเพลส ช่วงปี 2562-2565 ได้แก่ สาขาสุขาภิบาล 5 สาขาเคหะร่มเกล้า สาขาสวนหลวง สาขาประชาอุทิศ สาขาหทัยราษฏร์ สาขาสายไหม เปิดสาขาใหม่เพิ่มเติมได้แก่ สาขาท่าอิฐ เปิด 16 ก.ค.2563 สาขาหนามแดง เปิด 26 ส.ค.2563 สาขาสำนักงานใหญ่ บีเจซี 1 เปิด 1 ก.ค.2565 สาขาพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน เปิด 6 ก.ค.2566 และสาขาเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เปิด 16 พ.ย.2566 นอกจากนี้ ยังมีโมเดลบิ๊กซี เพลส (Big C Place) สาขาลำลูกกา สาขาสระบุรี สาขารัชดาภิเษก สาขาฉะเชิงเทรา 1 (ถนนสิริโสธร) แผนกอาหารสดใช้คำว่า บิ๊กซี ฟู้ดเพลส แต่โปรโมชันสินค้าบางรายการของบิ๊กซี ฟู้ดเพลส จัดรายการเฉพาะสาขาข้างต้น 16 สาขาเท่านั้น #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 439 มุมมอง 0 รีวิว
  • สุขนิยมอุ๊งอิ๊ง ไม่ชอบก็ปล่อยผ่าน

    ฉายารัฐบาลประจำปี 2567 รัฐบาล "พ่อ" เลี้ยง" ฉายา "แพทองโพย" และวาทะแห่งปี "สามีเป็นคนใต้" ของนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร เจ้าตัวจะใจดีสู้เสือยังยิ้มได้ หยอกล้อกับสื่ออย่างอารมณ์ดีว่า "ไม่ใช่ เราเป็นแพทองแพด เราใช้ไอแพดไม่ได้ใช้โพย ทำไมถึงเป็นโพย โพยคือกระดาษใช่ไหม" และยืนยันว่าไม่โกรธ จะโกรธอะไร

    เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. แพทองธารกล่าวทำนองว่า ต้องหัดมองมุมที่ดีบ้าง ถ้าต้องดรามาทะเลาะกันอย่างนั้นเหนื่อย อยากให้ทุกคนคิดว่าทำงานมา 1 ปีมีความสุขอะไรบ้าง ภูมิใจในตัวเองเรื่องอะไรบ้าง และอยากปรับปรุงอะไร อย่าไปบี้ตัวเองหรือทำให้รู้สึกว่าแย่ และอย่าไปเครียดมาก เพราะมีเรื่องเครียดในชีวิตเยอะแล้ว

    "เป็นหนึ่งคนที่ผ่านอะไรมาเยอะในชีวิตตั้งแต่เด็ก ที่เจอเรื่องการเมืองหรืออะไรก็ตาม แต่ถ้าให้นึกว่าเกลียดใครจริงๆ นึกไม่ออก เพราะไม่ค่อยเกลียดใคร เกลียดแล้วเหนื่อย รู้สึกว่าไม่ต้องเกลียดหรอก สมมติถ้าเราไม่ชอบ หรือเรากับบุคคลนั้นไปกันไม่ได้ก็แค่ถอยออกมา จะไปเกลียดไม่ชอบใคร มันเหนื่อย"

    แม้แพทองธารจะไม่ทราบว่ามีภูมิต้านทานทางการเมืองมาตั้งแต่เด็ก แต่รู้สึกว่าถ้าไม่ชอบตรงไหนก็ถอยออกมาอยู่ในจุดที่ลงตัว มีความสุข และเป็นประโยชน์ได้ก็อยู่ตรงนั้น อย่าไปเกลียดใครมากมันเหนื่อย

    วันต่อมาในงานเลี้ยงสื่อมวลชนทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า อยากให้เข้าใจคาแรกเตอร์ส่วนตัว เป็นคนตรงๆ อาจจะดูโผงผาง พูดตรง เสียงดัง แต่ไม่ได้คิดร้ายกับใคร ถ้าไม่ชอบหรือไม่แฮปปี้ ก็บอกไปแล้วว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร เป็นแบบนี้มานานแล้ว ไม่ต้องคิดอะไรมาก ไม่ได้มีเล่ห์เหลี่ยมอะไรมาก พร้อมกล่าวติดตลกว่า "หน้าอาจจะเหลี่ยมบ้างเล็กน้อย แต่ไม่ได้มีเล่ห์เหลี่ยมมากมาย"

    "อยากให้ทุกคนมีความสุขในทุกๆวัน แม้บางวันที่มันยาก บางวันที่ไม่น่าจะมีความสุขเลยก็น่าจะหาความสุขให้ได้ในวันนั้น เพื่อรักษาใจตัวเองให้วันต่อไป ... เราเริ่มจากอะไรเล็กๆ ใกล้ๆ ตัวก่อน รักตัวเองให้ได้เพื่อจะมีแรงไปรักคนอื่น มีแรงไปทำดีให้คนอื่น ขอให้มีพลังบวกแบบนี้ไปเยอะๆ แต่อย่าบวกกันเยอะ"

    ก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ก.ย. มีคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งพาดหัวบทความว่า "ประเทศในมือนายกฯ ฟันน้ำนม" ว่ากันว่าแพทองธารไม่พอใจคำว่า "นายกฯ ฟันน้ำนม" อย่างมาก ทีมงานนายกรัฐมนตรี วิม รุ่งวัฒนจินดา จี้ให้ลบบทความออกจากเว็บไซต์ สุดท้ายบทความนั้นหายไปจากระบบ

    แต่วันนี้ท่าทีที่ออกมาดูแตกต่างกันพอสมควร มองจากภายนอกเสมือนรู้ตัวว่าต้องทำอย่างไรในฐานะบุคคลสาธารณะ ส่วนจะเข้าใจโลกเข้าใจชีวิตหรือไม่ ไม่มีใครรู้ เพราะไม่ได้อยู่คฤหาสน์หรูย่านนวมินทร์-รามอินทรา

    #Newskit
    สุขนิยมอุ๊งอิ๊ง ไม่ชอบก็ปล่อยผ่าน ฉายารัฐบาลประจำปี 2567 รัฐบาล "พ่อ" เลี้ยง" ฉายา "แพทองโพย" และวาทะแห่งปี "สามีเป็นคนใต้" ของนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร เจ้าตัวจะใจดีสู้เสือยังยิ้มได้ หยอกล้อกับสื่ออย่างอารมณ์ดีว่า "ไม่ใช่ เราเป็นแพทองแพด เราใช้ไอแพดไม่ได้ใช้โพย ทำไมถึงเป็นโพย โพยคือกระดาษใช่ไหม" และยืนยันว่าไม่โกรธ จะโกรธอะไร เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. แพทองธารกล่าวทำนองว่า ต้องหัดมองมุมที่ดีบ้าง ถ้าต้องดรามาทะเลาะกันอย่างนั้นเหนื่อย อยากให้ทุกคนคิดว่าทำงานมา 1 ปีมีความสุขอะไรบ้าง ภูมิใจในตัวเองเรื่องอะไรบ้าง และอยากปรับปรุงอะไร อย่าไปบี้ตัวเองหรือทำให้รู้สึกว่าแย่ และอย่าไปเครียดมาก เพราะมีเรื่องเครียดในชีวิตเยอะแล้ว "เป็นหนึ่งคนที่ผ่านอะไรมาเยอะในชีวิตตั้งแต่เด็ก ที่เจอเรื่องการเมืองหรืออะไรก็ตาม แต่ถ้าให้นึกว่าเกลียดใครจริงๆ นึกไม่ออก เพราะไม่ค่อยเกลียดใคร เกลียดแล้วเหนื่อย รู้สึกว่าไม่ต้องเกลียดหรอก สมมติถ้าเราไม่ชอบ หรือเรากับบุคคลนั้นไปกันไม่ได้ก็แค่ถอยออกมา จะไปเกลียดไม่ชอบใคร มันเหนื่อย" แม้แพทองธารจะไม่ทราบว่ามีภูมิต้านทานทางการเมืองมาตั้งแต่เด็ก แต่รู้สึกว่าถ้าไม่ชอบตรงไหนก็ถอยออกมาอยู่ในจุดที่ลงตัว มีความสุข และเป็นประโยชน์ได้ก็อยู่ตรงนั้น อย่าไปเกลียดใครมากมันเหนื่อย วันต่อมาในงานเลี้ยงสื่อมวลชนทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า อยากให้เข้าใจคาแรกเตอร์ส่วนตัว เป็นคนตรงๆ อาจจะดูโผงผาง พูดตรง เสียงดัง แต่ไม่ได้คิดร้ายกับใคร ถ้าไม่ชอบหรือไม่แฮปปี้ ก็บอกไปแล้วว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร เป็นแบบนี้มานานแล้ว ไม่ต้องคิดอะไรมาก ไม่ได้มีเล่ห์เหลี่ยมอะไรมาก พร้อมกล่าวติดตลกว่า "หน้าอาจจะเหลี่ยมบ้างเล็กน้อย แต่ไม่ได้มีเล่ห์เหลี่ยมมากมาย" "อยากให้ทุกคนมีความสุขในทุกๆวัน แม้บางวันที่มันยาก บางวันที่ไม่น่าจะมีความสุขเลยก็น่าจะหาความสุขให้ได้ในวันนั้น เพื่อรักษาใจตัวเองให้วันต่อไป ... เราเริ่มจากอะไรเล็กๆ ใกล้ๆ ตัวก่อน รักตัวเองให้ได้เพื่อจะมีแรงไปรักคนอื่น มีแรงไปทำดีให้คนอื่น ขอให้มีพลังบวกแบบนี้ไปเยอะๆ แต่อย่าบวกกันเยอะ" ก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ก.ย. มีคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งพาดหัวบทความว่า "ประเทศในมือนายกฯ ฟันน้ำนม" ว่ากันว่าแพทองธารไม่พอใจคำว่า "นายกฯ ฟันน้ำนม" อย่างมาก ทีมงานนายกรัฐมนตรี วิม รุ่งวัฒนจินดา จี้ให้ลบบทความออกจากเว็บไซต์ สุดท้ายบทความนั้นหายไปจากระบบ แต่วันนี้ท่าทีที่ออกมาดูแตกต่างกันพอสมควร มองจากภายนอกเสมือนรู้ตัวว่าต้องทำอย่างไรในฐานะบุคคลสาธารณะ ส่วนจะเข้าใจโลกเข้าใจชีวิตหรือไม่ ไม่มีใครรู้ เพราะไม่ได้อยู่คฤหาสน์หรูย่านนวมินทร์-รามอินทรา #Newskit
    Like
    Angry
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 487 มุมมอง 0 รีวิว
  • 2024 THAILAND VIRAL CALENDAR

    วันคืนล่วงไป มีอะไรเข้ามาบ้าง Newskit ขอนำเสนอปฎิทินไวรัลในรอบปี 2567 สะท้อนเหตุการณ์ที่เป็นกระแสในช่วงที่ผ่านมา

    มกราคม - จับศรีสุวรรณ จรรยา นักเคลื่อนไหวดัง หลังอธิบดีกรมการข้าวร้องเรียนตำรวจว่าถูกเรียกรับเงิน 3 ล้านบาท ปิดตำนานนักร้องเรียนหลังออกจากคุกแทบไม่มีข่าวออกสื่อ

    กุมภาพันธ์ - เดวิดถีบหมอ ชาวต่างชาติพักวิลล่าหรูริมทะเลภูเก็ตเตะแพทย์สาวนั่งชมพระจันทร์กับเพื่อน แถมพูดจาเหยียดหยาม ทำชาวบ้านไม่พอใจขับไล่ ทวงคืนชายหาดสาธารณะ

    มีนาคม - วันกะเทยผ่านศึก กลุ่มกะเทยไทยปะทะฟิลิปปินส์ใจกลางสุขุมวิท เพราะฝ่ายปินส์ไปรุมเขาก่อน 20 รุม 2 กลายเป็นศึกศักดิ์ศรี ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด

    เมษายน - น้องไนซ์ปีนเกลียว เด็กอายุ 8 ขวบฉายาเชื่อมจิตพาดพิงพิธีกรดัง หนุ่ม กรรชัย แถมพ่วงด้วย แพรรี่ ไพรวัลย์ อดีตพระนักเทศน์ สุดท้ายกลายเป็นคดีความ

    พฤษภาคม - ข้าวเก่า 10 ปี ภูมิธรรม เวชยชัย ขณะเป็น รมว.พาณิชย์ พาสื่อชมโกดังจำนำข้าวที่สุรินทร์ โชว์กินข้าวสีออกเหลือง การันตีกินได้แบบสังคมน่ากังขา ก่อนเปิดประมูลข้าวเก่าล็อตสุดท้าย

    มิถุนายน - ลิซ่า ลลิลา เปิดตัวเอ็ม.วี. ROCKSTAR ในฐานะศิลปินเดี่ยว ใช้กรุงเทพฯ เป็นฉากล้วนๆ โดยเฉพาะเยาวราช กลายเป็นจุดเช็กอินตามรอยซูปตาร์ฯ สาวระดับโลก

    กรกฎาคม - นาย-ใบเฟิร์นเลิกเป็นแฟน ฝ่ายชายขอถอยกลับมาเป็นเพื่อน ส่วนฝ่ายหญิงเจ็บปวดน้ำตาคลอ ท่ามกลางข่าวสะพัดแม่ฝ่ายชายไม่ปลื้ม แต่แม่หมูส่งทนายยื่นโนติสทุกสื่ออย่าโยงมั่ว

    สิงหาคม - เทนนิส พาณิภัค นักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย คว้าเหรียญทองโอลิมปิกปารีส 2024 เหรียญที่สองในชีวิต ก่อนอำลาทีมชาติ ขอรักษาอาการบาดเจ็บและเปิดยิมเล็กๆ ส่งต่อความรู้สู่เยาวชน

    กันยายน - หมูเด้ง ฮิปโปแคระสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ชลบุรี โด่งดังระดับโลก จากคลิปความน่ารักที่พี่เลี้ยงถ่ายลงโซเชียลฯ ทำชาวเน็ตติดงอมแงม แถมมีสินค้าลิขสิทธิ์ให้ซื้ออีกเพียบ

    ตุลาคม - ไฟไหม้รถบัส โศกเศร้าทั้งแผ่นดิน นักเรียนและครูจากอุทัยธานีมาทัศนศึกษา ออกมาไม่ได้ถูกไฟคลอกเสียชีวิต 23 ราย พบมาจากก๊าซเอ็นจีวีรั่ว แถมลักลอบติดถังก๊าซนับสิบลูกเกินกว่าที่ขนส่งกำหนด

    พฤศจิกายน - จับทนายตั้ม ษิทรา เบี้ยบังเกิด และภรรยา หลังเศรษฐีนีแจ้งความ ถูกฉ้อโกงเงินทำแอปฯ หวย 71 ล้าน ทำไปทำมาคดีงอกทั้งเรื่องสแกมเมอร์ทิพย์ 39 ล้าน ออกแบบโรงแรม 9 ล้าน และส่วนต่างซื้อรถเบนซ์ 1.5 ล้าน

    ธันวาคม - แบงค์ เลสเตอร์ เสียชีวิตเพราะรับคำท้าดื่มสุรารวดเดียวหมดแบน แลกกับเงิน 30,000 บาท ในงานเปิดร้านสินค้าการเกษตร สลดใจกลายเป็นสวนสัตว์มนุษย์ของอินฟลูฯ ตลาดล่าง

    #Newskit
    2024 THAILAND VIRAL CALENDAR วันคืนล่วงไป มีอะไรเข้ามาบ้าง Newskit ขอนำเสนอปฎิทินไวรัลในรอบปี 2567 สะท้อนเหตุการณ์ที่เป็นกระแสในช่วงที่ผ่านมา มกราคม - จับศรีสุวรรณ จรรยา นักเคลื่อนไหวดัง หลังอธิบดีกรมการข้าวร้องเรียนตำรวจว่าถูกเรียกรับเงิน 3 ล้านบาท ปิดตำนานนักร้องเรียนหลังออกจากคุกแทบไม่มีข่าวออกสื่อ กุมภาพันธ์ - เดวิดถีบหมอ ชาวต่างชาติพักวิลล่าหรูริมทะเลภูเก็ตเตะแพทย์สาวนั่งชมพระจันทร์กับเพื่อน แถมพูดจาเหยียดหยาม ทำชาวบ้านไม่พอใจขับไล่ ทวงคืนชายหาดสาธารณะ มีนาคม - วันกะเทยผ่านศึก กลุ่มกะเทยไทยปะทะฟิลิปปินส์ใจกลางสุขุมวิท เพราะฝ่ายปินส์ไปรุมเขาก่อน 20 รุม 2 กลายเป็นศึกศักดิ์ศรี ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด เมษายน - น้องไนซ์ปีนเกลียว เด็กอายุ 8 ขวบฉายาเชื่อมจิตพาดพิงพิธีกรดัง หนุ่ม กรรชัย แถมพ่วงด้วย แพรรี่ ไพรวัลย์ อดีตพระนักเทศน์ สุดท้ายกลายเป็นคดีความ พฤษภาคม - ข้าวเก่า 10 ปี ภูมิธรรม เวชยชัย ขณะเป็น รมว.พาณิชย์ พาสื่อชมโกดังจำนำข้าวที่สุรินทร์ โชว์กินข้าวสีออกเหลือง การันตีกินได้แบบสังคมน่ากังขา ก่อนเปิดประมูลข้าวเก่าล็อตสุดท้าย มิถุนายน - ลิซ่า ลลิลา เปิดตัวเอ็ม.วี. ROCKSTAR ในฐานะศิลปินเดี่ยว ใช้กรุงเทพฯ เป็นฉากล้วนๆ โดยเฉพาะเยาวราช กลายเป็นจุดเช็กอินตามรอยซูปตาร์ฯ สาวระดับโลก กรกฎาคม - นาย-ใบเฟิร์นเลิกเป็นแฟน ฝ่ายชายขอถอยกลับมาเป็นเพื่อน ส่วนฝ่ายหญิงเจ็บปวดน้ำตาคลอ ท่ามกลางข่าวสะพัดแม่ฝ่ายชายไม่ปลื้ม แต่แม่หมูส่งทนายยื่นโนติสทุกสื่ออย่าโยงมั่ว สิงหาคม - เทนนิส พาณิภัค นักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย คว้าเหรียญทองโอลิมปิกปารีส 2024 เหรียญที่สองในชีวิต ก่อนอำลาทีมชาติ ขอรักษาอาการบาดเจ็บและเปิดยิมเล็กๆ ส่งต่อความรู้สู่เยาวชน กันยายน - หมูเด้ง ฮิปโปแคระสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ชลบุรี โด่งดังระดับโลก จากคลิปความน่ารักที่พี่เลี้ยงถ่ายลงโซเชียลฯ ทำชาวเน็ตติดงอมแงม แถมมีสินค้าลิขสิทธิ์ให้ซื้ออีกเพียบ ตุลาคม - ไฟไหม้รถบัส โศกเศร้าทั้งแผ่นดิน นักเรียนและครูจากอุทัยธานีมาทัศนศึกษา ออกมาไม่ได้ถูกไฟคลอกเสียชีวิต 23 ราย พบมาจากก๊าซเอ็นจีวีรั่ว แถมลักลอบติดถังก๊าซนับสิบลูกเกินกว่าที่ขนส่งกำหนด พฤศจิกายน - จับทนายตั้ม ษิทรา เบี้ยบังเกิด และภรรยา หลังเศรษฐีนีแจ้งความ ถูกฉ้อโกงเงินทำแอปฯ หวย 71 ล้าน ทำไปทำมาคดีงอกทั้งเรื่องสแกมเมอร์ทิพย์ 39 ล้าน ออกแบบโรงแรม 9 ล้าน และส่วนต่างซื้อรถเบนซ์ 1.5 ล้าน ธันวาคม - แบงค์ เลสเตอร์ เสียชีวิตเพราะรับคำท้าดื่มสุรารวดเดียวหมดแบน แลกกับเงิน 30,000 บาท ในงานเปิดร้านสินค้าการเกษตร สลดใจกลายเป็นสวนสัตว์มนุษย์ของอินฟลูฯ ตลาดล่าง #Newskit
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 670 มุมมอง 0 รีวิว
  • Newskit ขอแจ้งหยุดตีพิมพ์

    เนื่องในเทศกาลปีใหม่
    วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม 2567
    ถึง วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม 2568

    ลาพักร้อน
    วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม 2568
    ถึง วันอังคารที่ 14 มกราคม 2568

    ขออภัยในความไม่สะดวก
    และขอให้คุณผู้อ่านมีความสุข
    สนุก ปลอดภัย ตลอดเทศกาลนี้
    Newskit ขอแจ้งหยุดตีพิมพ์ เนื่องในเทศกาลปีใหม่ วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม 2567 ถึง วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม 2568 ลาพักร้อน วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม 2568 ถึง วันอังคารที่ 14 มกราคม 2568 ขออภัยในความไม่สะดวก และขอให้คุณผู้อ่านมีความสุข สนุก ปลอดภัย ตลอดเทศกาลนี้
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 288 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไมเนอร์ซุ่มปั้นแบรนด์ เดอะสเต็กแอนด์มอร์

    วันคริสต์มาส 25 ธ.ค. 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวสต์เกต จ.นนทบุรี ต้อนรับร้านอาหารใหม่ที่ชื่อว่า เดอะ สเต็ก แอนด์ มอร์ (The Steak & More) บริเวณชั้น 2 ใกล้ลานน้ำพุ เป็นร้านเมนูสเต็กจานใหญ่ ราคาเริ่มต้นที่ 129 บาท พร้อมเครื่องเคียงให้เลือกมากกว่า 20 เมนู แถมยังมีเมนูพาสต้าและสลัดให้บริการอีกด้วย รูปแบบของร้านตกแต่งด้วยโทนสีส้มและดำ ในคอนเซปต์ Tasty, Variety, Value, Fun

    เมนูสเต็กเลือกซอสได้ 1 อย่าง ประกอบด้วย ซอสพริกไทยดำ ซอสสไปซี่มาโย กระเทียม หรือน้ำจิ้มแจ่ว และเครื่องเคียง 1 อย่าง เช่น ส้มตำ ลาบไก่ ยำวุ้นเส้น ข้าวเหนียว เฟรนซ์ฟรายส์ โปเตโต้ป๊อป มันบด ข้าวผัดเนยกระเทียม ซีซาร์สลัด สลัดญี่ปุ่น สลัดยูสุ โคลส์สลอว์ ชีสโทสต์ หรือจะเพิ่มเครื่องเคียงแบบพรีเมียมได้ในราคา 15 บาท ได้แก่ ขนมปังกระเทียมชีส มันอบชีส มักกะโรนีชีส กุ้งเลมอนครีม คาร์โบนารา ไก่ผัดพริกกระเทียม หมึกดำไข่กุ้ง และสไปซี่เพสโต เป็นต้น

    นอกจากนี้ ยังมีเมนูพาสต้า สลัด และซุปให้เลือกอีกด้วย เมนูแนะนำได้แก่ สลัดเต้าหู้สาหร่ายซิกเนเจอร์ ราคา 169 บาท ด้วยจุดเด่นเต้าหู้ชิ้นใหญ่ สปาเก็ตตี้หมึกดำไข่กุ้ง ราคา 169 บาท ส้มตำ ราคา 79 บาท พอร์คชอปราคา 299 บาท ไก่กรอบไจแอนท์ ราคา 169 บาท สเต็กปลาย่าง ราคา 149 บาท ซุปครีมเห็ด หรือซุปหอยลาย ราคา 69 บาท รวมทั้งมีมุม Drink & Soft Serve ที่มีเครื่องดื่มรีฟิลเติมได้ไม่อั้น โค้กสลัชชี่ และไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟพร้อมท็อปปิ้ง

    จากการค้นหาปรากฎว่าเป็นของ บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจร้านอาหารและฟาสต์ฟู้ดใหญ่ที่สุดในเอเชียแปซิฟิก มีธุรกิจร้านอาหารมากกว่า 30 แบรนด์ ที่มีชื่อเสียงในไทยได้แก่ เดอะพิซซ่าคอมปะนี สเวนเซ่นส์ บอนชอน เบอร์เกอร์คิง ซิซซ์เล่อร์ แดรี่ควีน เดอะคอฟฟี่คลับ คอฟฟี่เจอร์นี่ กาก้า เป็นต้น

    แม้ในไทยจะมีร้านสเต็กทั้งรายใหญ่และรายย่อย แต่ที่กำลังมาแรงคือ อีทแอมอาร์ (Eat Am Are) ของบริษัท อีท แอม อา กรุ๊ป จำกัด ที่ขึ้นชื่อเรื่องปริมาณเยอะ เสิร์ฟพร้อมขนมปังชีสและเครื่องเคียง 1 รายการ ในราคาที่เข้าถึงได้ เพิ่มเครื่องเคียงพิเศษได้ในราคา 15 บาท ได้แก่ สไลซ์โปเตโต้ มันบด มันอบ สปาเก็ตตี้ ส้มตำ จากสาขาแรกปากซอยรางน้ำ ปัจจุบันขยายไปแล้ว 18 สาขา และหากเปิดตัวครั้งใดก็มีคนต่อคิวยาวเหยียด

    อาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ไมเนอร์ฯ ตัดสินใจปั้นแบรนด์ร้านสเต็กจานใหญ่ นอกเหนือจากซิซซ์เล่อร์ (Sizzler) ร้านอาหารสไตล์อเมริกันที่มาพร้อมกับสลัดบาร์ เปิดสาขาแรกในไทยเมื่อปี 2535 และมีจำนวนสาขา 68 สาขาในปัจจุบัน

    #Newskit
    ไมเนอร์ซุ่มปั้นแบรนด์ เดอะสเต็กแอนด์มอร์ วันคริสต์มาส 25 ธ.ค. 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวสต์เกต จ.นนทบุรี ต้อนรับร้านอาหารใหม่ที่ชื่อว่า เดอะ สเต็ก แอนด์ มอร์ (The Steak & More) บริเวณชั้น 2 ใกล้ลานน้ำพุ เป็นร้านเมนูสเต็กจานใหญ่ ราคาเริ่มต้นที่ 129 บาท พร้อมเครื่องเคียงให้เลือกมากกว่า 20 เมนู แถมยังมีเมนูพาสต้าและสลัดให้บริการอีกด้วย รูปแบบของร้านตกแต่งด้วยโทนสีส้มและดำ ในคอนเซปต์ Tasty, Variety, Value, Fun เมนูสเต็กเลือกซอสได้ 1 อย่าง ประกอบด้วย ซอสพริกไทยดำ ซอสสไปซี่มาโย กระเทียม หรือน้ำจิ้มแจ่ว และเครื่องเคียง 1 อย่าง เช่น ส้มตำ ลาบไก่ ยำวุ้นเส้น ข้าวเหนียว เฟรนซ์ฟรายส์ โปเตโต้ป๊อป มันบด ข้าวผัดเนยกระเทียม ซีซาร์สลัด สลัดญี่ปุ่น สลัดยูสุ โคลส์สลอว์ ชีสโทสต์ หรือจะเพิ่มเครื่องเคียงแบบพรีเมียมได้ในราคา 15 บาท ได้แก่ ขนมปังกระเทียมชีส มันอบชีส มักกะโรนีชีส กุ้งเลมอนครีม คาร์โบนารา ไก่ผัดพริกกระเทียม หมึกดำไข่กุ้ง และสไปซี่เพสโต เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเมนูพาสต้า สลัด และซุปให้เลือกอีกด้วย เมนูแนะนำได้แก่ สลัดเต้าหู้สาหร่ายซิกเนเจอร์ ราคา 169 บาท ด้วยจุดเด่นเต้าหู้ชิ้นใหญ่ สปาเก็ตตี้หมึกดำไข่กุ้ง ราคา 169 บาท ส้มตำ ราคา 79 บาท พอร์คชอปราคา 299 บาท ไก่กรอบไจแอนท์ ราคา 169 บาท สเต็กปลาย่าง ราคา 149 บาท ซุปครีมเห็ด หรือซุปหอยลาย ราคา 69 บาท รวมทั้งมีมุม Drink & Soft Serve ที่มีเครื่องดื่มรีฟิลเติมได้ไม่อั้น โค้กสลัชชี่ และไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟพร้อมท็อปปิ้ง จากการค้นหาปรากฎว่าเป็นของ บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจร้านอาหารและฟาสต์ฟู้ดใหญ่ที่สุดในเอเชียแปซิฟิก มีธุรกิจร้านอาหารมากกว่า 30 แบรนด์ ที่มีชื่อเสียงในไทยได้แก่ เดอะพิซซ่าคอมปะนี สเวนเซ่นส์ บอนชอน เบอร์เกอร์คิง ซิซซ์เล่อร์ แดรี่ควีน เดอะคอฟฟี่คลับ คอฟฟี่เจอร์นี่ กาก้า เป็นต้น แม้ในไทยจะมีร้านสเต็กทั้งรายใหญ่และรายย่อย แต่ที่กำลังมาแรงคือ อีทแอมอาร์ (Eat Am Are) ของบริษัท อีท แอม อา กรุ๊ป จำกัด ที่ขึ้นชื่อเรื่องปริมาณเยอะ เสิร์ฟพร้อมขนมปังชีสและเครื่องเคียง 1 รายการ ในราคาที่เข้าถึงได้ เพิ่มเครื่องเคียงพิเศษได้ในราคา 15 บาท ได้แก่ สไลซ์โปเตโต้ มันบด มันอบ สปาเก็ตตี้ ส้มตำ จากสาขาแรกปากซอยรางน้ำ ปัจจุบันขยายไปแล้ว 18 สาขา และหากเปิดตัวครั้งใดก็มีคนต่อคิวยาวเหยียด อาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ไมเนอร์ฯ ตัดสินใจปั้นแบรนด์ร้านสเต็กจานใหญ่ นอกเหนือจากซิซซ์เล่อร์ (Sizzler) ร้านอาหารสไตล์อเมริกันที่มาพร้อมกับสลัดบาร์ เปิดสาขาแรกในไทยเมื่อปี 2535 และมีจำนวนสาขา 68 สาขาในปัจจุบัน #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 440 มุมมอง 0 รีวิว
  • บุคคลเปราะบาง เหยื่อคอนเทนต์

    การเสียชีวิตของนายธนาคาร คันธี หรือแบงค์ เลสเตอร์ อินฟลูเอนเซอร์วัย 27 ปี เมื่อเวลา 03.40 น. วันที่ 26 ธ.ค. 2567 หลังรับคำท้าดื่มสุรา 350 มิลลิลิตรแบบรวดเดียวหมดแบน เพื่อแลกกับเงิน 30,000 บาท แล้วเกิดพิษแอลกอฮอล์เฉียบพลัน ภายในงานเลี้ยงร้านออมสินการเกษตร ของนายเอกชาติ มีพร้อม หรือเอ็ม เอกชาติ ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ต.ทุ่งเบญจา อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ซึ่งวันเกิดเหตุ แบงค์ เลสเตอร์ มากับนายธีระวัฒน์ ศรีรอด หรือเบิร์ด วันว่างๆ อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง

    ที่น่าเศร้าก็คือ ครั้งหนึ่งแบงค์ เลสเตอร์ เคยโพสต์ข้อความว่า "ชีวิตคนเราไม่สามารถเลือกเกิดได้ ผมยอมโดนแกล้ง ยอมโดนดูถูก เพื่อแลกกับเงินมาจุนเจือครอบครัว" พร้อมกับคลิปที่ตัวเองโดนแกล้งเอาแตงโมมาลูบหน้าบนช่องติ๊กต็อกเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2566 สังคมไทยเริ่มตื่นรู้กับพฤติกรรมที่เรียกว่าสวนสัตว์มนุษย์ (Human Zoo) ยุคนี้หมายถึงการนำบุคคลเปราะบางมากลั่นแกล้งแล้วผลิตคอนเทนต์เพื่อความบันเทิง แลกกับชื่อเสียงในวงการและรายได้ที่ตามมา

    ที่ผ่านมามีวีดีโอคลิปที่แบงค์ เลสเตอร์ ถูกอินฟลูเอนเซอร์บางคนกลั่นแกล้งเพื่อความสนุกในรูปแบบต่างๆ ทั้งการทำร้ายร่างกายหรือปะทะด้วยสิ่งของ การบังคับให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กินเจลหล่อลื่นที่ใช้ในการเพศสัมพันธ์ การนำปัสสาวะผสมเบียร์แล้วหลอกให้ดื่ม ต่างกรรมต่างวาระ แม้จะอ้างได้ว่าแบงค์ เลสเตอร์ ยินยอม แต่เป็นการยินยอมในลักษณะทำเพื่อเงิน ถูกบังคับทางอ้อมเพราะเป็นบุคคลเปราะบาง

    ที่น่าเศร้าก็คือ ยังมีคนที่เสพคอนเทนต์แบบนี้ เคยเหยียดบุคคลเปราะบาง เคยกดถูกใจ กดไลค์กดแชร์เพราะตลกขบขัน สะใจ ให้ความบันเทิงสนุกสนาน ไร้การกลั่นกรอง ปราศจากความรับผิดชอบ หนำซ้ำอัลกอริทึม (Algorithm) ของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ทำให้อินฟลูเอนเซอร์ผู้กระทำมีชื่อเสียงขึ้นมา โซเชียลมีเดียตะวันตกแทบทุกค่าย ล้วนคัดเลือกคอนเทนต์เฉพาะสิ่งที่ผู้ใช้งานสนใจ หรืออยากรู้อยากเห็น แล้วระบบจะปรับจูนให้ ในขณะที่คอนเทนต์ดีๆ ถ้าไม่ใช้เงินซื้อจำนวนมากก็แทบถูกปิดกั้น

    เมื่อยอดไลค์ ยอดแชร์ ยอดวิว ทำให้อินฟลูเอนเซอร์บางคนหิวกระหาย ทำอะไรก็ได้เพื่อให้มีคนดู แต่ลืมความเป็นมนุษย์ จึงเกิดเหตุสลดขึ้นถึงขั้นพรากชีวิตไป แม้จะมีเสียงเรียกร้องให้เลิกสนับสนุนอินฟลูเอนเซอร์ที่ไร้ความรับผิดชอบต่อเยาวชนและสังคม หันมาสนับสนุนคนทำคอนเทนต์ดีๆ แต่แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียไม่ดันให้ หนำซ้ำสังคมไทยเป็นพวกมือถือสากปากถือศีล ปากบอกว่าไม่แต่ใจถลำลึก วันเวลาผ่านไปเมื่อมีเหตุการณ์ใหม่เข้ามา สุดท้ายเรื่องนี้ก็ถูกลืมจากสังคม จางหายไปกับสายลมเช่นเคย

    #Newskit
    บุคคลเปราะบาง เหยื่อคอนเทนต์ การเสียชีวิตของนายธนาคาร คันธี หรือแบงค์ เลสเตอร์ อินฟลูเอนเซอร์วัย 27 ปี เมื่อเวลา 03.40 น. วันที่ 26 ธ.ค. 2567 หลังรับคำท้าดื่มสุรา 350 มิลลิลิตรแบบรวดเดียวหมดแบน เพื่อแลกกับเงิน 30,000 บาท แล้วเกิดพิษแอลกอฮอล์เฉียบพลัน ภายในงานเลี้ยงร้านออมสินการเกษตร ของนายเอกชาติ มีพร้อม หรือเอ็ม เอกชาติ ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ต.ทุ่งเบญจา อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ซึ่งวันเกิดเหตุ แบงค์ เลสเตอร์ มากับนายธีระวัฒน์ ศรีรอด หรือเบิร์ด วันว่างๆ อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง ที่น่าเศร้าก็คือ ครั้งหนึ่งแบงค์ เลสเตอร์ เคยโพสต์ข้อความว่า "ชีวิตคนเราไม่สามารถเลือกเกิดได้ ผมยอมโดนแกล้ง ยอมโดนดูถูก เพื่อแลกกับเงินมาจุนเจือครอบครัว" พร้อมกับคลิปที่ตัวเองโดนแกล้งเอาแตงโมมาลูบหน้าบนช่องติ๊กต็อกเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2566 สังคมไทยเริ่มตื่นรู้กับพฤติกรรมที่เรียกว่าสวนสัตว์มนุษย์ (Human Zoo) ยุคนี้หมายถึงการนำบุคคลเปราะบางมากลั่นแกล้งแล้วผลิตคอนเทนต์เพื่อความบันเทิง แลกกับชื่อเสียงในวงการและรายได้ที่ตามมา ที่ผ่านมามีวีดีโอคลิปที่แบงค์ เลสเตอร์ ถูกอินฟลูเอนเซอร์บางคนกลั่นแกล้งเพื่อความสนุกในรูปแบบต่างๆ ทั้งการทำร้ายร่างกายหรือปะทะด้วยสิ่งของ การบังคับให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กินเจลหล่อลื่นที่ใช้ในการเพศสัมพันธ์ การนำปัสสาวะผสมเบียร์แล้วหลอกให้ดื่ม ต่างกรรมต่างวาระ แม้จะอ้างได้ว่าแบงค์ เลสเตอร์ ยินยอม แต่เป็นการยินยอมในลักษณะทำเพื่อเงิน ถูกบังคับทางอ้อมเพราะเป็นบุคคลเปราะบาง ที่น่าเศร้าก็คือ ยังมีคนที่เสพคอนเทนต์แบบนี้ เคยเหยียดบุคคลเปราะบาง เคยกดถูกใจ กดไลค์กดแชร์เพราะตลกขบขัน สะใจ ให้ความบันเทิงสนุกสนาน ไร้การกลั่นกรอง ปราศจากความรับผิดชอบ หนำซ้ำอัลกอริทึม (Algorithm) ของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ทำให้อินฟลูเอนเซอร์ผู้กระทำมีชื่อเสียงขึ้นมา โซเชียลมีเดียตะวันตกแทบทุกค่าย ล้วนคัดเลือกคอนเทนต์เฉพาะสิ่งที่ผู้ใช้งานสนใจ หรืออยากรู้อยากเห็น แล้วระบบจะปรับจูนให้ ในขณะที่คอนเทนต์ดีๆ ถ้าไม่ใช้เงินซื้อจำนวนมากก็แทบถูกปิดกั้น เมื่อยอดไลค์ ยอดแชร์ ยอดวิว ทำให้อินฟลูเอนเซอร์บางคนหิวกระหาย ทำอะไรก็ได้เพื่อให้มีคนดู แต่ลืมความเป็นมนุษย์ จึงเกิดเหตุสลดขึ้นถึงขั้นพรากชีวิตไป แม้จะมีเสียงเรียกร้องให้เลิกสนับสนุนอินฟลูเอนเซอร์ที่ไร้ความรับผิดชอบต่อเยาวชนและสังคม หันมาสนับสนุนคนทำคอนเทนต์ดีๆ แต่แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียไม่ดันให้ หนำซ้ำสังคมไทยเป็นพวกมือถือสากปากถือศีล ปากบอกว่าไม่แต่ใจถลำลึก วันเวลาผ่านไปเมื่อมีเหตุการณ์ใหม่เข้ามา สุดท้ายเรื่องนี้ก็ถูกลืมจากสังคม จางหายไปกับสายลมเช่นเคย #Newskit
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 474 มุมมอง 0 รีวิว
  • ข่าวร้ายโทลล์เวย์ขึ้นราคา ข่าวดีเคาะมอเตอร์เวย์ M5

    แม้ว่าทางด่วนอัปยศอย่างทางยกระดับอุตราภิมุข หรือดอนเมืองโทลล์เวย์ ผู้ประกอบการขึ้นราคาตามสัญญาสัมปทาน เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.2567 ช่วงดินแดง-ดอนเมือง จาก 80 เป็น 90 บาท รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 110 เป็น 120 บาท และช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน จาก 35 เป็น 40 บาท มากกว่า 4 ล้อ จาก 45 เป็น 50 บาท จะเรียกเสียงบ่นแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน แต่วันที่ 22 ธ.ค.2572 หรืออีก 5 ปีข้างหน้าจะขึ้นราคาอีกรอบ ช่วงดินแดง-ดอนเมือง จาก 90 เป็น 100 บาท รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 120 เป็น 130 บาท และช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน จาก 40 เป็น 45 บาท มากกว่า 4 ล้อ จาก 50 เป็น 55 บาท

    สัญญาสัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์เป็นที่วิจารณ์จากสังคมถึงการขูดเลือดขูดเนื้อผู้ใช้รถใช้ถนน เริ่มต้นเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2532 สมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี และมีนายมนตรี พงษ์พานิช เป็น รมว.คมนาคม เดิมมีอายุ 25 ปี ตั้งแต่วันที่ 21 ส.ค.2532 ถึง 20 ส.ค.2557 แต่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงหลายรัฐบาล ฉบับล่าสุดเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และมี พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ เป็น รมว.คมนาคม ขยายสัมปทาน 27 ปี ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย.2550 ถึง 11 ก.ย.2577 เพื่อแลกกับการยกเลิกแผนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากเอกชน

    ที่ผ่านมากรมทางหลวงพยายามไม่เก็บค่าผ่านทางช่วงอนุสรณ์สถาน-รังสิต เพื่อบรรเทาเสียงด่าจากประชาชน ส่งผลทำให้กลายเป็นด่านร้าง มาถึงยุคนี้แม้มีความพยายามจากนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม จะเจรจากับนายสมบัติ พานิชชีวะ เจ้าของบริษัทดอนเมืองโทลล์เวย์ ให้ลดค่าผ่านทางเพื่อแลกกับการต่อสัญญาสัมปทาน แต่เจอเสียงก่นด่าจากสังคมว่าเอื้อประโยชน์ให้เอกชนอีกแล้วหรือ ในที่สุดกรมทางหลวงจึงประกาศว่าไม่ลดราคาเพราะไม่คุ้มทุน ยอมให้สัมปทานหมดแล้วทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของกรมทางหลวง ระหว่างนั้นเริ่มศึกษารูปแบบบริหารตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ไปด้วย

    จากข่าวร้ายมาถึงข่าวดี ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 ธ.ค.2567 มีมติอนุมัติโครงการลงทุนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 5 รังสิต-บางปะอินของกรมทางหลวง ในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ประเภท Gross Cost วงเงินลงทุนรวม 79,916.78 ล้านบาท ระยะทาง 22 กิโลเมตร เริ่มต้นจากปลายทางยกระดับอุตราภิมุข บริเวณโรงกษาปณ์ สิ้นสุดโครงการบริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา มีทางขึ้น-ลง 7 จุด และปลายทางเชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์หมายเลข 6 บางปะอิน-นครราชสีมา คาดว่าลงนามสัญญาปี 2569 เปิดให้บริการปี 2572

    #Newskit
    ข่าวร้ายโทลล์เวย์ขึ้นราคา ข่าวดีเคาะมอเตอร์เวย์ M5 แม้ว่าทางด่วนอัปยศอย่างทางยกระดับอุตราภิมุข หรือดอนเมืองโทลล์เวย์ ผู้ประกอบการขึ้นราคาตามสัญญาสัมปทาน เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.2567 ช่วงดินแดง-ดอนเมือง จาก 80 เป็น 90 บาท รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 110 เป็น 120 บาท และช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน จาก 35 เป็น 40 บาท มากกว่า 4 ล้อ จาก 45 เป็น 50 บาท จะเรียกเสียงบ่นแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน แต่วันที่ 22 ธ.ค.2572 หรืออีก 5 ปีข้างหน้าจะขึ้นราคาอีกรอบ ช่วงดินแดง-ดอนเมือง จาก 90 เป็น 100 บาท รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 120 เป็น 130 บาท และช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน จาก 40 เป็น 45 บาท มากกว่า 4 ล้อ จาก 50 เป็น 55 บาท สัญญาสัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์เป็นที่วิจารณ์จากสังคมถึงการขูดเลือดขูดเนื้อผู้ใช้รถใช้ถนน เริ่มต้นเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2532 สมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี และมีนายมนตรี พงษ์พานิช เป็น รมว.คมนาคม เดิมมีอายุ 25 ปี ตั้งแต่วันที่ 21 ส.ค.2532 ถึง 20 ส.ค.2557 แต่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงหลายรัฐบาล ฉบับล่าสุดเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และมี พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ เป็น รมว.คมนาคม ขยายสัมปทาน 27 ปี ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย.2550 ถึง 11 ก.ย.2577 เพื่อแลกกับการยกเลิกแผนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากเอกชน ที่ผ่านมากรมทางหลวงพยายามไม่เก็บค่าผ่านทางช่วงอนุสรณ์สถาน-รังสิต เพื่อบรรเทาเสียงด่าจากประชาชน ส่งผลทำให้กลายเป็นด่านร้าง มาถึงยุคนี้แม้มีความพยายามจากนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม จะเจรจากับนายสมบัติ พานิชชีวะ เจ้าของบริษัทดอนเมืองโทลล์เวย์ ให้ลดค่าผ่านทางเพื่อแลกกับการต่อสัญญาสัมปทาน แต่เจอเสียงก่นด่าจากสังคมว่าเอื้อประโยชน์ให้เอกชนอีกแล้วหรือ ในที่สุดกรมทางหลวงจึงประกาศว่าไม่ลดราคาเพราะไม่คุ้มทุน ยอมให้สัมปทานหมดแล้วทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของกรมทางหลวง ระหว่างนั้นเริ่มศึกษารูปแบบบริหารตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ไปด้วย จากข่าวร้ายมาถึงข่าวดี ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 ธ.ค.2567 มีมติอนุมัติโครงการลงทุนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 5 รังสิต-บางปะอินของกรมทางหลวง ในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ประเภท Gross Cost วงเงินลงทุนรวม 79,916.78 ล้านบาท ระยะทาง 22 กิโลเมตร เริ่มต้นจากปลายทางยกระดับอุตราภิมุข บริเวณโรงกษาปณ์ สิ้นสุดโครงการบริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา มีทางขึ้น-ลง 7 จุด และปลายทางเชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์หมายเลข 6 บางปะอิน-นครราชสีมา คาดว่าลงนามสัญญาปี 2569 เปิดให้บริการปี 2572 #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 456 มุมมอง 0 รีวิว
  • นครชัยแอร์เปิดนครสวรรค์ เชื่อมเหนือ-กทม.-ตะวันออก

    นับตั้งแต่ที่กลุ่มของนายคีรี กาญจนพาสน์ รับช่วงต่อกิจการเดินรถ บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด จากครอบครัววงศ์เบญจรัตน์ มาตั้งแต่ปี 2566 ได้พยายามเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้เปิดสาขานครราชสีมา พร้อมกับห้องรับรองผู้โดยสาร เปิดให้สำรองที่นั่งช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และเปิดบริการรถเชื่อมต่อจากอุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สกลนคร ไปชลบุรี อ่าวอุดม พัทยา และระยอง โดยเปลี่ยนรถที่นครราชสีมา

    ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2567 เปิดสาขานครสวรรค์ อยู่ในสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์ พร้อมกับห้องรับรองผู้โดยสาร และเปิดให้สำรองที่นั่งช่วงกรุงเทพฯ-นครสวรรค์ 5 เที่ยว รวมทั้งผู้โดยสารจากนครสวรรค์สามารถเดินทางเข้ากรุงเทพฯ หรือไปยังปลายทางภาคเหนือ ได้แก่ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เด่นชัย ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ งาว ม.พะเยา พะเยา แม่ใจ พาน เชียงราย และภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี อ่าวอุดม พัทยา บ้านฉาง ระยอง เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00​ ถึง 02.30 น.

    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นรถเป็นรถผ่านเข้ารับ สำรองที่นั่งได้ทาง Call Center 1624 เปิดเวลา 07.00-22.00 น. หรือ NCA Social Booking ผ่านไลน์และเฟซบุ๊ก เปิดเวลา 09.00-18.00 น. และเคาน์เตอร์นครชัยแอร์ทุกสาขา เปิดเวลา 08.00-22.00 น. ส่วนบางเส้นทางต้องซื้อวันต่อวันเท่านั้น ที่หน้าช่องขายตั๋วก่อนรถออก 1 ชั่วโมง

    กรุงเทพฯ ไปนครสวรรค์ มีเที่ยวเวลา 08.30, 09.00 (First Class), 10.00 (First Class), 18.30 และ 20.31 น. ส่วนนครสวรรค์ไปกรุงเทพฯ มีเที่ยวเวลา 14.05 (First Class), 15.15, 16.37 (First Class), 01.55 และ 02.50 น. ค่าโดยสาร Gold Class 252 บาท และ First Class 336 บาท

    นครสวรรค์ไปชลบุรี อ่าวอุดม พัทยา บ้านฉาง ระยอง มีเที่ยวเวลา 11.00, 23.40, 23.45, 01.18, 01.51 และ 02.48 น. ค่าโดยสาร Gold Class ไประยอง 458 บาท ไปชลบุรี อ่าวอุดม พัทยา 372 บาท

    นครสวรรค์ไปเชียงใหม่ มีเที่ยวเวลา 12.05, 13.45 (First Class), 22.05, 23.56, 00.00 และ 01.00 น. ค่าโดยสาร Gold Class 473 บาท และ First Class 630 บาท

    นครสวรรค์ไปเชียงราย มีเที่ยวเวลา 00.30 น. ค่าโดยสาร 536 บาท

    นครสวรรค์ไปลำปาง มีเที่ยวเวลา 12.52 (First Class), 00.00 และ 01.00 น. ค่าโดยสาร Gold Class 385 บาท และ First Class 504 บาท

    นครสวรรค์ไปอุตรดิตถ์ มีเที่ยวเวลา 00.00, 00.30, 01.00 และ 03.00 น. ค่าโดยสาร Gold Class 254 บาท

    นครสวรรค์ไปพิษณุโลก มีเที่ยวเวลา 15.50, 00.00, 00.30, 01.00 และ 01.55 น. ค่าโดยสาร Gold Class 147 บาท

    #Newskit
    นครชัยแอร์เปิดนครสวรรค์ เชื่อมเหนือ-กทม.-ตะวันออก นับตั้งแต่ที่กลุ่มของนายคีรี กาญจนพาสน์ รับช่วงต่อกิจการเดินรถ บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด จากครอบครัววงศ์เบญจรัตน์ มาตั้งแต่ปี 2566 ได้พยายามเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้เปิดสาขานครราชสีมา พร้อมกับห้องรับรองผู้โดยสาร เปิดให้สำรองที่นั่งช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และเปิดบริการรถเชื่อมต่อจากอุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สกลนคร ไปชลบุรี อ่าวอุดม พัทยา และระยอง โดยเปลี่ยนรถที่นครราชสีมา ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2567 เปิดสาขานครสวรรค์ อยู่ในสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์ พร้อมกับห้องรับรองผู้โดยสาร และเปิดให้สำรองที่นั่งช่วงกรุงเทพฯ-นครสวรรค์ 5 เที่ยว รวมทั้งผู้โดยสารจากนครสวรรค์สามารถเดินทางเข้ากรุงเทพฯ หรือไปยังปลายทางภาคเหนือ ได้แก่ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เด่นชัย ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ งาว ม.พะเยา พะเยา แม่ใจ พาน เชียงราย และภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี อ่าวอุดม พัทยา บ้านฉาง ระยอง เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00​ ถึง 02.30 น. อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นรถเป็นรถผ่านเข้ารับ สำรองที่นั่งได้ทาง Call Center 1624 เปิดเวลา 07.00-22.00 น. หรือ NCA Social Booking ผ่านไลน์และเฟซบุ๊ก เปิดเวลา 09.00-18.00 น. และเคาน์เตอร์นครชัยแอร์ทุกสาขา เปิดเวลา 08.00-22.00 น. ส่วนบางเส้นทางต้องซื้อวันต่อวันเท่านั้น ที่หน้าช่องขายตั๋วก่อนรถออก 1 ชั่วโมง กรุงเทพฯ ไปนครสวรรค์ มีเที่ยวเวลา 08.30, 09.00 (First Class), 10.00 (First Class), 18.30 และ 20.31 น. ส่วนนครสวรรค์ไปกรุงเทพฯ มีเที่ยวเวลา 14.05 (First Class), 15.15, 16.37 (First Class), 01.55 และ 02.50 น. ค่าโดยสาร Gold Class 252 บาท และ First Class 336 บาท นครสวรรค์ไปชลบุรี อ่าวอุดม พัทยา บ้านฉาง ระยอง มีเที่ยวเวลา 11.00, 23.40, 23.45, 01.18, 01.51 และ 02.48 น. ค่าโดยสาร Gold Class ไประยอง 458 บาท ไปชลบุรี อ่าวอุดม พัทยา 372 บาท นครสวรรค์ไปเชียงใหม่ มีเที่ยวเวลา 12.05, 13.45 (First Class), 22.05, 23.56, 00.00 และ 01.00 น. ค่าโดยสาร Gold Class 473 บาท และ First Class 630 บาท นครสวรรค์ไปเชียงราย มีเที่ยวเวลา 00.30 น. ค่าโดยสาร 536 บาท นครสวรรค์ไปลำปาง มีเที่ยวเวลา 12.52 (First Class), 00.00 และ 01.00 น. ค่าโดยสาร Gold Class 385 บาท และ First Class 504 บาท นครสวรรค์ไปอุตรดิตถ์ มีเที่ยวเวลา 00.00, 00.30, 01.00 และ 03.00 น. ค่าโดยสาร Gold Class 254 บาท นครสวรรค์ไปพิษณุโลก มีเที่ยวเวลา 15.50, 00.00, 00.30, 01.00 และ 01.55 น. ค่าโดยสาร Gold Class 147 บาท #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 460 มุมมอง 0 รีวิว
  • เอสโซ่เป็นบางจาก ครบแล้ว 2,200 สถานี

    ในที่สุด บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศเปลี่ยนตราสัญลักษณ์และปรับโฉมสถานีบริการน้ำมันเอสโซ่ (ESSO) เดิมเป็นบางจากครบสมบูรณ์ทั่วประเทศ 2,200 สาขา หลังจากที่บางจากเข้าซื้อหุ้น บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จากเอ็กซอนโมบิล ก่อนทยอยเปลี่ยนโฉมตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2566 เป็นต้นมา รวมเวลาเกือบ 1 ปีครึ่ง และได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) หรือ BSRC ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย. 2566 ที่ผ่านมา

    หากใครเติมน้ำมันสถานีบริการน้ำมันบางจาก ที่เปลี่ยนจากเอสโซ่เดิม แล้วชำระด้วยบัตรเครดิต จะสังเกตคำว่า BSRC บนเซลล์สลิป หมายถึงปั๊มดังกล่าวอยู่ในการดูแลของบางจาก ศรีราชา (Bangchak Sriracha) ซึ่งมีทั้งหมด 745 สาขาทั่วประเทศ โดยได้นำผลิตภัณฑ์เกรดพรีเมียมมาจำหน่าย เช่น ไฮ-พรีเมียม 97, ไฮ-พรีเมียมดีเซล เอส และน้ำมันเครื่อง FURIO อีกทั้งมีการเพิ่มร้านค้าในสถานีบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า พร้อมปรับปรุงห้องน้ำให้สะดวกและสะอาด

    ที่ผ่านมาการเปลี่ยนโฉมสถานีบริการน้ำมันจากเอสโซ่เป็นบางจากดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แม้บริษัท เพียวพลังงานไทย จำกัด ขอยกเลิกสัญญา หันไปจับมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ บริษัท สตาร์ ฟูเอลส์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เปลี่ยนสถานีบริการน้ำมันบางจากและเอสโซ่เพียวไทย 78 สาขา ให้กลายเป็นสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ รวมทั้งยังมีบางสถานีไม่ได้ไปต่อ ส่งผลให้จำนวนสถานีบริการน้ำมันของ BSRC ลดลงจาก 821 สาขาในไตรมาส 2/2567 เหลือ 745 สาขาในไตรมาส 3/2567

    อย่างไรก็ตาม ยังมีสถานีบริการน้ำมันเอสโซ่ ภายใต้การบริหารของบริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ SUSCO ที่ทำธุรกิจโค-แบรนดิ้งอายุสัญญา 10 ปี ตัดสินใจร่วมกันปรับโฉมให้กลายเป็นสถานีบริการน้ำมันบางจาก ในพื้นที่กรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 108 สาขา โดยผสานกับธุรกิจนอนออยล์ การสะสมคะแนนบางจากกรีนไมลส์ และการจำหน่ายน้ำมันเครื่อง FURIO โดยตั้งเป้าที่จะขยายสถานีร่วมกันในรูปแบบนี้เพิ่มต่อไปในอนาคต

    ณ เดือน ก.ย. 2567 บางจากมีสถานีบริการน้ำมัน 2,141 สาขา โดยมีสถานีบริการน้ำมันพีทีที สเตชั่น (PTT Station) มีจำนวนสถานีเป็นอันดับหนึ่ง 2,279 สาขา และสถานีบริการน้ำมันพีที (PT) ที่มีจำนวน 2,214 สาขา แต่ส่วนแบ่งการตลาดพบว่าพีทีที สเตชั่น ครองส่วนแบ่งการตลาด 34.2% รองลงมาคือบางจาก 29.8% และพีที 21.5% นอกนั้นเป็นเชลล์ 7.4% และคาลเท็กซ์ 5.1% ซึ่งที่ผ่านมาบางจากได้นำผลิตภัณฑ์เกรดพรีเมียมมาจำหน่าย โดยมีส่วนแบ่งการตลาด 13.2%

    #Newskit
    เอสโซ่เป็นบางจาก ครบแล้ว 2,200 สถานี ในที่สุด บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศเปลี่ยนตราสัญลักษณ์และปรับโฉมสถานีบริการน้ำมันเอสโซ่ (ESSO) เดิมเป็นบางจากครบสมบูรณ์ทั่วประเทศ 2,200 สาขา หลังจากที่บางจากเข้าซื้อหุ้น บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จากเอ็กซอนโมบิล ก่อนทยอยเปลี่ยนโฉมตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2566 เป็นต้นมา รวมเวลาเกือบ 1 ปีครึ่ง และได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) หรือ BSRC ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย. 2566 ที่ผ่านมา หากใครเติมน้ำมันสถานีบริการน้ำมันบางจาก ที่เปลี่ยนจากเอสโซ่เดิม แล้วชำระด้วยบัตรเครดิต จะสังเกตคำว่า BSRC บนเซลล์สลิป หมายถึงปั๊มดังกล่าวอยู่ในการดูแลของบางจาก ศรีราชา (Bangchak Sriracha) ซึ่งมีทั้งหมด 745 สาขาทั่วประเทศ โดยได้นำผลิตภัณฑ์เกรดพรีเมียมมาจำหน่าย เช่น ไฮ-พรีเมียม 97, ไฮ-พรีเมียมดีเซล เอส และน้ำมันเครื่อง FURIO อีกทั้งมีการเพิ่มร้านค้าในสถานีบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า พร้อมปรับปรุงห้องน้ำให้สะดวกและสะอาด ที่ผ่านมาการเปลี่ยนโฉมสถานีบริการน้ำมันจากเอสโซ่เป็นบางจากดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แม้บริษัท เพียวพลังงานไทย จำกัด ขอยกเลิกสัญญา หันไปจับมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ บริษัท สตาร์ ฟูเอลส์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เปลี่ยนสถานีบริการน้ำมันบางจากและเอสโซ่เพียวไทย 78 สาขา ให้กลายเป็นสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ รวมทั้งยังมีบางสถานีไม่ได้ไปต่อ ส่งผลให้จำนวนสถานีบริการน้ำมันของ BSRC ลดลงจาก 821 สาขาในไตรมาส 2/2567 เหลือ 745 สาขาในไตรมาส 3/2567 อย่างไรก็ตาม ยังมีสถานีบริการน้ำมันเอสโซ่ ภายใต้การบริหารของบริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ SUSCO ที่ทำธุรกิจโค-แบรนดิ้งอายุสัญญา 10 ปี ตัดสินใจร่วมกันปรับโฉมให้กลายเป็นสถานีบริการน้ำมันบางจาก ในพื้นที่กรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 108 สาขา โดยผสานกับธุรกิจนอนออยล์ การสะสมคะแนนบางจากกรีนไมลส์ และการจำหน่ายน้ำมันเครื่อง FURIO โดยตั้งเป้าที่จะขยายสถานีร่วมกันในรูปแบบนี้เพิ่มต่อไปในอนาคต ณ เดือน ก.ย. 2567 บางจากมีสถานีบริการน้ำมัน 2,141 สาขา โดยมีสถานีบริการน้ำมันพีทีที สเตชั่น (PTT Station) มีจำนวนสถานีเป็นอันดับหนึ่ง 2,279 สาขา และสถานีบริการน้ำมันพีที (PT) ที่มีจำนวน 2,214 สาขา แต่ส่วนแบ่งการตลาดพบว่าพีทีที สเตชั่น ครองส่วนแบ่งการตลาด 34.2% รองลงมาคือบางจาก 29.8% และพีที 21.5% นอกนั้นเป็นเชลล์ 7.4% และคาลเท็กซ์ 5.1% ซึ่งที่ผ่านมาบางจากได้นำผลิตภัณฑ์เกรดพรีเมียมมาจำหน่าย โดยมีส่วนแบ่งการตลาด 13.2% #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 367 มุมมอง 0 รีวิว
  • จังหวะนรก ก่อนถึงความสูญเสีย

    อุบัติเหตุรถยนต์ฮอนด้า ซีอาร์วี สีบรอนซ์เงิน พุ่งชนตำรวจจราจร ประชาชน และนักเรียนที่กำลังเลิกเรียน บริเวณหน้าโรงเรียนบ้านดอนขวาง ถนนเพชรมาตุคลา ต.หัวทะเล อ.เมืองฯ จ.นครราชสีมา เมื่อเวลา 16.15 น. วันที่ 23 ธ.ค. 2567 เป็นเหตุให้ ร.ต.ท.วิมุต แท่นสุโพธิ์ รองสารวัตรจราจร สภ.เมืองนครราชสีมา เสียชีวิต บาดเจ็บอีก 9 คน รถยนต์ รถจักรยานยนต์ถูกชนได้รับความเสียหายนับสิบคัน คนขับรถคันดังกล่าวคือ นายธเนศ อาศรัยเจ้า สภาพมึนเมาพูดคุยไม่รู้เรื่อง เมื่อตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์พบพุ่งสูงขึ้นถึง 194 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

    เหตุการณ์นี้นอกจากจะเกิดความสูญเสียที่เป็นผลมาจากเมาแล้วขับโดยตรงแล้ว อาจเป็นจังหวะนรกของคนบางกลุ่ม

    เพราะเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2567 ตัวแทนภาคเอกชน 14 องค์กรในจังหวัดนครราชสีมาเข้าพบ พล.ต.ท.วัฒนา ยี่จีน ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 เพื่อมอบกระเช้าแสดงความยินดี และหารือเรื่องความเดือดร้อนของผู้ประกอบการสถานบันเทิง ร้านอาหาร และประชาชนในพื้นที่ อ้างว่ามาตรการการตั้งด่านทำให้ประชาชนไม่กล้าออกมาใช้บริการ เศรษฐกิจในพื้นที่ซบเซา ซึ่ง พล.ต.ท.วัฒนา รับปากว่าจะกำชับให้ลดตั้งด่านตรวจแอลกอฮอล์ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ แต่ให้เน้นการตั้งด่านบนถนนสายหลักเพื่อป้องกันอาชญากรรม และสิ่งของผิดกฎหมายเท่านั้น

    จากโศกนาฎกรรมดังกล่าว ทำให้เฟซบุ๊กเพจ "เพื่อนตำรวจ" กระบอกเสียงของตำรวจชั้นผู้น้อย ระบุว่า ผู้ประกอบการเพิ่งตบเท้าเข้าพบ ผบช.ภาค 3 ให้ลดการตั้งด่านเมาเเล้วขับ โดยอ้างเหตุผลว่าเศรษฐกิจซบเซาเพราะตำรวจตั้งด่านกวดขัน วันนี้ตำรวจจราจร สภ.เมืองนครราชสีมา เสียชีวิตเพราะคนเมาเเล้วขับ 14 องค์กรภาคเอกชนจะรับผิดชอบยังไง?

    จังหวะนรกก่อนหน้านี้ เมื่อเช้าวันที่ 1 ต.ค. 2567 สมาคมธุรกิจรถตู้ต่างจังหวัด ยื่นข้อเรียกร้องถึงนายกรัฐมนตรีให้แต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหารถโดยสารสาธารณะ โดยเฉพาะระเบียบของกรมการขนส่งทางบกที่กำหนดให้รถตู้โดยสารที่มีอายุ 13 ปี จะต้องเปลี่ยนเป็นรถมินิบัสทั้งหมด ซึ่งผู้ประกอบการรถตู้มองว่าไม่คุ้มทุน จากต้นทุนเชื้อเพลิงของรถมินิบัสสูงกว่ารถตู้ แต่คนที่ใช้บริการเป็นประจำทราบดีว่า รถตู้ส่วนหนึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวีเป็นเชื้อเพลิง

    ปรากฎว่า ช่วงเที่ยงวันเดียวกัน เกิดโศกนาฎกรรมเพลิงไหม้รถบัสทัศนศึกษาบนถนนวิภาวดีรังสิต หน้าอนุสรณ์สถานแห่งชาติ จ.ปทุมธานี ทำให้นักเรียนและครูเสียชีวิต 23 ราย ภายหลังสำนักงานพิสูจน์หลักฐานกลาง เปิดเผยว่า สาเหตุมาจากการรั่วไกลของก๊าซเอ็นจีวีบริเวณส่วนหน้าของรถ และพบว่ามีการติดถังถังก๊าซเอ็นจีวีมากกว่าที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด

    #Newskit
    จังหวะนรก ก่อนถึงความสูญเสีย อุบัติเหตุรถยนต์ฮอนด้า ซีอาร์วี สีบรอนซ์เงิน พุ่งชนตำรวจจราจร ประชาชน และนักเรียนที่กำลังเลิกเรียน บริเวณหน้าโรงเรียนบ้านดอนขวาง ถนนเพชรมาตุคลา ต.หัวทะเล อ.เมืองฯ จ.นครราชสีมา เมื่อเวลา 16.15 น. วันที่ 23 ธ.ค. 2567 เป็นเหตุให้ ร.ต.ท.วิมุต แท่นสุโพธิ์ รองสารวัตรจราจร สภ.เมืองนครราชสีมา เสียชีวิต บาดเจ็บอีก 9 คน รถยนต์ รถจักรยานยนต์ถูกชนได้รับความเสียหายนับสิบคัน คนขับรถคันดังกล่าวคือ นายธเนศ อาศรัยเจ้า สภาพมึนเมาพูดคุยไม่รู้เรื่อง เมื่อตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์พบพุ่งสูงขึ้นถึง 194 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เหตุการณ์นี้นอกจากจะเกิดความสูญเสียที่เป็นผลมาจากเมาแล้วขับโดยตรงแล้ว อาจเป็นจังหวะนรกของคนบางกลุ่ม เพราะเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2567 ตัวแทนภาคเอกชน 14 องค์กรในจังหวัดนครราชสีมาเข้าพบ พล.ต.ท.วัฒนา ยี่จีน ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 เพื่อมอบกระเช้าแสดงความยินดี และหารือเรื่องความเดือดร้อนของผู้ประกอบการสถานบันเทิง ร้านอาหาร และประชาชนในพื้นที่ อ้างว่ามาตรการการตั้งด่านทำให้ประชาชนไม่กล้าออกมาใช้บริการ เศรษฐกิจในพื้นที่ซบเซา ซึ่ง พล.ต.ท.วัฒนา รับปากว่าจะกำชับให้ลดตั้งด่านตรวจแอลกอฮอล์ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ แต่ให้เน้นการตั้งด่านบนถนนสายหลักเพื่อป้องกันอาชญากรรม และสิ่งของผิดกฎหมายเท่านั้น จากโศกนาฎกรรมดังกล่าว ทำให้เฟซบุ๊กเพจ "เพื่อนตำรวจ" กระบอกเสียงของตำรวจชั้นผู้น้อย ระบุว่า ผู้ประกอบการเพิ่งตบเท้าเข้าพบ ผบช.ภาค 3 ให้ลดการตั้งด่านเมาเเล้วขับ โดยอ้างเหตุผลว่าเศรษฐกิจซบเซาเพราะตำรวจตั้งด่านกวดขัน วันนี้ตำรวจจราจร สภ.เมืองนครราชสีมา เสียชีวิตเพราะคนเมาเเล้วขับ 14 องค์กรภาคเอกชนจะรับผิดชอบยังไง? จังหวะนรกก่อนหน้านี้ เมื่อเช้าวันที่ 1 ต.ค. 2567 สมาคมธุรกิจรถตู้ต่างจังหวัด ยื่นข้อเรียกร้องถึงนายกรัฐมนตรีให้แต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหารถโดยสารสาธารณะ โดยเฉพาะระเบียบของกรมการขนส่งทางบกที่กำหนดให้รถตู้โดยสารที่มีอายุ 13 ปี จะต้องเปลี่ยนเป็นรถมินิบัสทั้งหมด ซึ่งผู้ประกอบการรถตู้มองว่าไม่คุ้มทุน จากต้นทุนเชื้อเพลิงของรถมินิบัสสูงกว่ารถตู้ แต่คนที่ใช้บริการเป็นประจำทราบดีว่า รถตู้ส่วนหนึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวีเป็นเชื้อเพลิง ปรากฎว่า ช่วงเที่ยงวันเดียวกัน เกิดโศกนาฎกรรมเพลิงไหม้รถบัสทัศนศึกษาบนถนนวิภาวดีรังสิต หน้าอนุสรณ์สถานแห่งชาติ จ.ปทุมธานี ทำให้นักเรียนและครูเสียชีวิต 23 ราย ภายหลังสำนักงานพิสูจน์หลักฐานกลาง เปิดเผยว่า สาเหตุมาจากการรั่วไกลของก๊าซเอ็นจีวีบริเวณส่วนหน้าของรถ และพบว่ามีการติดถังถังก๊าซเอ็นจีวีมากกว่าที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 565 มุมมอง 0 รีวิว
  • ล้างตำนานสาย 8 คว้าผู้โดยสาร-รายได้สูงสุด

    หลังให้บริการรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้ามานานกว่า 2 ปี ในที่สุดรถเมล์เส้นทางปฎิรูปสาย 2-38 หรือสาย 8 แฮปปี้แลนด์-ท่าเรือสะพานพุทธ ของบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด กลายเป็นเส้นทางที่มีจำนวนผู้โดยสารและรายได้สูงสุดจากทั้งหมด 124 เส้นทาง โดยมีผู้โดยสารสูงสุด 20,500 คนต่อวัน รายได้สูงสุด 358,328 บาทต่อวัน ล้างอาถรรพ์ตำนานรถเมล์นรก ที่ขึ้นชื่อว่าซิ่งปาดซ้ายปาดขวา มารยาทแย่ อุบัติเหตุบ่อยครั้ง แม้ผู้โดยสารจะต้องเสียค่าโดยสารเพิ่มขึ้นก็ตาม

    รถเมล์สาย 8 เริ่มต้นจากแฮปปี้แลนด์ เลี้ยวขวาไปตามถนนลาดพร้าว ถึงห้าแยกลาดพร้าว เลี้ยวซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จอดที่เกาะราชวิถี (เที่ยวกลับจอดที่เกาะพหลโยธิน) ไปตามถนนราชวิถี เลี้ยวซ้ายไปตามถนนพระรามที่ 6 เลี้ยวขวาแยกศรีอยุธยา ข้ามทางรถไฟ เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสวรรคโลก ถึงแยกยมราชตรงไปตามถนนหลานหลวง เลี้ยวซ้ายไปตามถนนจักรพรรดิพงษ์ เลี้ยวขวาที่วัดบพิตรพิมุข แล้วชิดซ้ายลอดใต้สะพาน สิ้นสุดที่ท่าน้ำสะพานพุทธ

    ให้บริการกับคนกรุงเทพฯ กว่า 90 ปี โดยมีบริษัท นายเลิศ จำกัด เป็นผู้ประกอบการรายแรก ก่อนที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะให้สัมปทาน 3 บริษัท ได้แก่ บริษัทไทยบัสขนส่ง บริษัทกลุ่ม 39 และบริษัททรัพย์ 888 เมื่อกรมการขนส่งทางบกเข้ามากำกับดูแลและปฎิรูปเส้นทางรถเมล์ บริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด จึงชนะการประมูลไป แม้ผู้ประกอบการเดิมยังแอบให้บริการเป็นรถเถื่อน แต่กรมขนส่งฯ ก็สั่งหยุดเดินรถตั้งแต่วันที่ 8 พ.ย. 2567 จึงทำให้ไทยสมายล์บัสเดินรถแต่เพียงผู้เดียว

    ส่วนอันดับ 2 ได้แก่ สาย 4-25L (สาย 147L) วงกลม การเคหะธนบุรี-บางแค ผู้โดยสาร 14,000 คน รายได้ 250,421 บาท อันดับ 3 สาย 4-46 (สาย 84) วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี ผู้โดยสาร 13,000 คน รายได้ 240,000 บาท อันดับ 4 สาย 4-23E (สาย 140) ทางด่วน แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ผู้โดยสาร 12,000 คน รายได้ 237,191 บาท อันดับ 5 สาย 1-18E (สาย 504) ทางด่วน รังสิต-บางรัก ผู้โดยสาร 9,000 คน รายได้ 177,159 บาท

    น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทยสมายล์บัส เปิดเผยว่า ในปี 2568 จะเพิ่มรถโดยสารอีก 350 คัน จากทั้งหมด 1,650 คัน และติดตั้งระบบติดตามการปล่อยรถคล้ายหอบังคับการบิน ส่วนนายวรวิทย์ ชาญชญานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายปฏิบัติการและกลยุทธ์ กล่าวว่า ในปี 2568 เตรียมรับชำระค่าโดยสารด้วยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ นำร่องแอปพลิเคชันถุงเงิน วางแผนรับบัตรเครดิต บัตรเดบิต VISA และ Mastercard รวมทั้ง China T-Union ของจีน

    #Newskit
    ล้างตำนานสาย 8 คว้าผู้โดยสาร-รายได้สูงสุด หลังให้บริการรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้ามานานกว่า 2 ปี ในที่สุดรถเมล์เส้นทางปฎิรูปสาย 2-38 หรือสาย 8 แฮปปี้แลนด์-ท่าเรือสะพานพุทธ ของบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด กลายเป็นเส้นทางที่มีจำนวนผู้โดยสารและรายได้สูงสุดจากทั้งหมด 124 เส้นทาง โดยมีผู้โดยสารสูงสุด 20,500 คนต่อวัน รายได้สูงสุด 358,328 บาทต่อวัน ล้างอาถรรพ์ตำนานรถเมล์นรก ที่ขึ้นชื่อว่าซิ่งปาดซ้ายปาดขวา มารยาทแย่ อุบัติเหตุบ่อยครั้ง แม้ผู้โดยสารจะต้องเสียค่าโดยสารเพิ่มขึ้นก็ตาม รถเมล์สาย 8 เริ่มต้นจากแฮปปี้แลนด์ เลี้ยวขวาไปตามถนนลาดพร้าว ถึงห้าแยกลาดพร้าว เลี้ยวซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จอดที่เกาะราชวิถี (เที่ยวกลับจอดที่เกาะพหลโยธิน) ไปตามถนนราชวิถี เลี้ยวซ้ายไปตามถนนพระรามที่ 6 เลี้ยวขวาแยกศรีอยุธยา ข้ามทางรถไฟ เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสวรรคโลก ถึงแยกยมราชตรงไปตามถนนหลานหลวง เลี้ยวซ้ายไปตามถนนจักรพรรดิพงษ์ เลี้ยวขวาที่วัดบพิตรพิมุข แล้วชิดซ้ายลอดใต้สะพาน สิ้นสุดที่ท่าน้ำสะพานพุทธ ให้บริการกับคนกรุงเทพฯ กว่า 90 ปี โดยมีบริษัท นายเลิศ จำกัด เป็นผู้ประกอบการรายแรก ก่อนที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะให้สัมปทาน 3 บริษัท ได้แก่ บริษัทไทยบัสขนส่ง บริษัทกลุ่ม 39 และบริษัททรัพย์ 888 เมื่อกรมการขนส่งทางบกเข้ามากำกับดูแลและปฎิรูปเส้นทางรถเมล์ บริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด จึงชนะการประมูลไป แม้ผู้ประกอบการเดิมยังแอบให้บริการเป็นรถเถื่อน แต่กรมขนส่งฯ ก็สั่งหยุดเดินรถตั้งแต่วันที่ 8 พ.ย. 2567 จึงทำให้ไทยสมายล์บัสเดินรถแต่เพียงผู้เดียว ส่วนอันดับ 2 ได้แก่ สาย 4-25L (สาย 147L) วงกลม การเคหะธนบุรี-บางแค ผู้โดยสาร 14,000 คน รายได้ 250,421 บาท อันดับ 3 สาย 4-46 (สาย 84) วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี ผู้โดยสาร 13,000 คน รายได้ 240,000 บาท อันดับ 4 สาย 4-23E (สาย 140) ทางด่วน แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ผู้โดยสาร 12,000 คน รายได้ 237,191 บาท อันดับ 5 สาย 1-18E (สาย 504) ทางด่วน รังสิต-บางรัก ผู้โดยสาร 9,000 คน รายได้ 177,159 บาท น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทยสมายล์บัส เปิดเผยว่า ในปี 2568 จะเพิ่มรถโดยสารอีก 350 คัน จากทั้งหมด 1,650 คัน และติดตั้งระบบติดตามการปล่อยรถคล้ายหอบังคับการบิน ส่วนนายวรวิทย์ ชาญชญานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายปฏิบัติการและกลยุทธ์ กล่าวว่า ในปี 2568 เตรียมรับชำระค่าโดยสารด้วยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ นำร่องแอปพลิเคชันถุงเงิน วางแผนรับบัตรเครดิต บัตรเดบิต VISA และ Mastercard รวมทั้ง China T-Union ของจีน #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 437 มุมมอง 0 รีวิว
  • สายแรกที่รอคอย รถไฟฟ้าโฮจิมินห์

    22 ธ.ค.2567 รถไฟฟ้าสายแรกของนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม สาย 1 เบนถั่น-เซื่อยเตียน (Ben Thanh-Suoi Tien) ขององค์การบริหารรถไฟเขตเมืองนครโฮจิมินห์ (HCMC METRO) จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป นับเป็นรถไฟฟ้าสายแรกในนครโฮจิมินห์ และเป็นเมืองที่สองต่อจากเมืองหลวง กรุงฮานอยที่มี 2 เส้นทาง ได้แก่ สาย 2A ก๊าตลีง-ห่าโดง (Cat Linh-Ha Dong) และสาย 3 เญิน-ฮานอย (Nhon-Ha Noi)

    รถไฟฟ้าสายนี้มีระยะทาง 19.7 กิโลเมตร 14 สถานี เชื่อมระหว่างตลาดเบนถั่น ย่านการค้าที่มีชื่อเสียง ถึงปลายทางฝั่งตะวันออกของเมือง ผ่านสถานที่สำคัญ ได้แก่ โรงอุปรากรไซ่ง่อน (Saigon Opera House), ศูนย์การค้าวินคอม เมกา มอลล์, นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค, สถานีขนส่งเมียนดง (ตะวันออก), สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาอีกหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยแห่งชาติ โดยให้บริการผู้โดยสารฟรี 30 วัน ถึงวันที่ 20 ม.ค.2568 ในช่วง 6 เดือนแรกเปิดตั้งแต่เวลา 05.00-22.00 น. ความถี่ 8-12 นาทีต่อเที่ยว หลังจากนั้นจะเปิดเวลา 05.00-23.30 น. ความถี่ 5-10-15 นาที

    ค่าโดยสารคิดตามระยะทาง ตั๋วเที่ยวเดียวเริ่มต้นที่ 7,000-20,000 ดอง (9.41-26.89 บาท) ตั๋ว 1 วันราคา 40,000 ดอง (53.77 บาท) ตั๋ว 3 วันราคา 90,000 ดอง (120.99 บาท) ตั๋วรายเดือนบุคคลทั่วไปราคา 300,000 ดอง (403.30 บาท) และนักเรียน นักศึกษาราคา 150,000 ดอง (201.65 บาท) รับชำระด้วยเงินสดหรือบัตร EMV (Mastercard หรือ VISA) ทั้งบัตรในเวียดนามและบัตรต่างประเทศ รวมทั้งซื้อตั๋วและออกรหัส QR Code ผ่านแอปพลิเคชัน HCMC Metro

    โครงการก่อสร้างอนุมัติครั้งแรกในปี 2550 หรือเมื่อ 17 ปีก่อน เริ่มก่อสร้างทางรถไฟยกระดับช่วงสถานีบาเซิน (Ba Son) ถึงสถานีวานถั่น (Van Thanh) เมื่อวันที่ 28 ส.ค.2555 แต่ประสบปัญหาเวนคืนที่ดิน ต่อมาในเดือน ก.ค. 2557 ก่อสร้างสถานีใต้ดินโอเปร่าเฮาส์ (Opera House) เดือน พ.ค.2560 เริ่มขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดิน ส่วนทางรถไฟยกระดับ 11 สถานี เริ่มติดตั้งคานในปี 2558 ใช้เวลาประมาณ 2 ปี

    ที่ผ่านมาประสบปัญหาทั้งขาดแคลนเงินทุน สถานการณ์โควิด-19 และแผ่นยางรองคอสะพานหลุดออกมา กระทั่ง 8 ต.ค.2563 รถไฟฟ้าขบวนแรกจากประเทศญี่ปุ่นมาถึงท่าเรือคั้ญฮอย (Khanh Hoi) ทยอยนำเข้าครบ 17 ขบวนเมื่อวันที่ 6 พ.ค.2565 การก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จช่วงปลายปี ทดลองเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2565 มีการฝึกอบรมให้กับทีมปฏิบัติการและซ้อมรับมือเหตุการณ์ต่างๆ สุดท้าย HCMC METRO ประกาศเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2567 ว่าแล้วเสร็จ 100% ก่อนแจ้งเปิดให้บริการในที่สุด

    #Newskit
    สายแรกที่รอคอย รถไฟฟ้าโฮจิมินห์ 22 ธ.ค.2567 รถไฟฟ้าสายแรกของนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม สาย 1 เบนถั่น-เซื่อยเตียน (Ben Thanh-Suoi Tien) ขององค์การบริหารรถไฟเขตเมืองนครโฮจิมินห์ (HCMC METRO) จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป นับเป็นรถไฟฟ้าสายแรกในนครโฮจิมินห์ และเป็นเมืองที่สองต่อจากเมืองหลวง กรุงฮานอยที่มี 2 เส้นทาง ได้แก่ สาย 2A ก๊าตลีง-ห่าโดง (Cat Linh-Ha Dong) และสาย 3 เญิน-ฮานอย (Nhon-Ha Noi) รถไฟฟ้าสายนี้มีระยะทาง 19.7 กิโลเมตร 14 สถานี เชื่อมระหว่างตลาดเบนถั่น ย่านการค้าที่มีชื่อเสียง ถึงปลายทางฝั่งตะวันออกของเมือง ผ่านสถานที่สำคัญ ได้แก่ โรงอุปรากรไซ่ง่อน (Saigon Opera House), ศูนย์การค้าวินคอม เมกา มอลล์, นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค, สถานีขนส่งเมียนดง (ตะวันออก), สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาอีกหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยแห่งชาติ โดยให้บริการผู้โดยสารฟรี 30 วัน ถึงวันที่ 20 ม.ค.2568 ในช่วง 6 เดือนแรกเปิดตั้งแต่เวลา 05.00-22.00 น. ความถี่ 8-12 นาทีต่อเที่ยว หลังจากนั้นจะเปิดเวลา 05.00-23.30 น. ความถี่ 5-10-15 นาที ค่าโดยสารคิดตามระยะทาง ตั๋วเที่ยวเดียวเริ่มต้นที่ 7,000-20,000 ดอง (9.41-26.89 บาท) ตั๋ว 1 วันราคา 40,000 ดอง (53.77 บาท) ตั๋ว 3 วันราคา 90,000 ดอง (120.99 บาท) ตั๋วรายเดือนบุคคลทั่วไปราคา 300,000 ดอง (403.30 บาท) และนักเรียน นักศึกษาราคา 150,000 ดอง (201.65 บาท) รับชำระด้วยเงินสดหรือบัตร EMV (Mastercard หรือ VISA) ทั้งบัตรในเวียดนามและบัตรต่างประเทศ รวมทั้งซื้อตั๋วและออกรหัส QR Code ผ่านแอปพลิเคชัน HCMC Metro โครงการก่อสร้างอนุมัติครั้งแรกในปี 2550 หรือเมื่อ 17 ปีก่อน เริ่มก่อสร้างทางรถไฟยกระดับช่วงสถานีบาเซิน (Ba Son) ถึงสถานีวานถั่น (Van Thanh) เมื่อวันที่ 28 ส.ค.2555 แต่ประสบปัญหาเวนคืนที่ดิน ต่อมาในเดือน ก.ค. 2557 ก่อสร้างสถานีใต้ดินโอเปร่าเฮาส์ (Opera House) เดือน พ.ค.2560 เริ่มขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดิน ส่วนทางรถไฟยกระดับ 11 สถานี เริ่มติดตั้งคานในปี 2558 ใช้เวลาประมาณ 2 ปี ที่ผ่านมาประสบปัญหาทั้งขาดแคลนเงินทุน สถานการณ์โควิด-19 และแผ่นยางรองคอสะพานหลุดออกมา กระทั่ง 8 ต.ค.2563 รถไฟฟ้าขบวนแรกจากประเทศญี่ปุ่นมาถึงท่าเรือคั้ญฮอย (Khanh Hoi) ทยอยนำเข้าครบ 17 ขบวนเมื่อวันที่ 6 พ.ค.2565 การก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จช่วงปลายปี ทดลองเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2565 มีการฝึกอบรมให้กับทีมปฏิบัติการและซ้อมรับมือเหตุการณ์ต่างๆ สุดท้าย HCMC METRO ประกาศเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2567 ว่าแล้วเสร็จ 100% ก่อนแจ้งเปิดให้บริการในที่สุด #Newskit
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 496 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปิดตำนานบ้านร้าง เอื้ออาทรสุไหงโก-ลก

    โครงการบ้านเอื้ออาทรสุไหงโก-ลก บ้านเดี่ยว 288 ยูนิต บนที่ดิน 25 ไร่ พร้อมถนนเชื่อมระหว่างถนนประชาวิวัฒน์ ซอย 3 กับถนนเจริญเขต กลางเมืองสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ถูกปล่อยทิ้งร้างนานเกือบ 20 ปี เนื่องจากผู้รับเหมาสร้างไม่เสร็จแล้วทิ้งงาน กลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรม โครงสร้างบ้านแต่ละหลังชำรุด เต็มไปด้วยป่าหญ้าและวัชพืช ครั้งหนึ่งกลายเป็นจุดเช็กอินถ่ายภาพบนโซเชียลฯ ที่ทำเอาคนในสังคมอีกส่วนหนึ่งขำไม่ออก แต่เร็วๆ นี้กำลังจะกลายเป็นตำนาน

    เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. การเคหะแห่งชาติ นำโดยนายปรีดา สุขสุมิตร รองผู้ว่าการฯ และคณะ พร้อมด้วยนางสุชาดา พันธ์นรา นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก และผู้ที่เกี่ยวข้อง ประชุมเรื่องการใช้ที่ดินโครงการบ้านเอื้ออาทรสุไหงโก-ลก ทุกฝ่ายต่างเห็นพ้องที่จะให้การเคหะฯ เป็นผู้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ โดยรื้อถอนโครงสร้างสิ่งก่อสร้างเดิม แล้วแบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ 5 ไร่ การเคหะฯ จะก่อสร้างบ้านเพื่อกลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบาง

    ส่วนพื้นที่อีก 20 ไร่ จะวางแผนงานเป็น 2 รูปแบบ คือ 1. การเคหะฯ จะเป็นผู้จัดทำโครงการพัฒนาพื้นที่ภายใต้กรอบความเป็นไปได้ของพื้นที่ 2. การเคหะฯ จะเปิดโอกาสให้เอกชนสามารถเช่าที่ดินเพื่อการพัฒนาบริหารจัดการต่อไป โดยจะนำปัจจัยเชิงบริบทของพื้นที่ อาทิ ด้านสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการน้ำ การจัดสัดส่วนพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ส่วนกลางที่ใช้ร่วมกัน มาประกอบแผนดำเนินการ ซึ่งการเคหฯ จะร่างแผนงานและนำเสนอต่อที่ประชุมในโอกาสถัดไป

    ก่อนหน้านี้ การเคหะฯ ได้ทำสัญญาร่วมดำเนินกิจการกับ หจก.ฉัตรวาริน ดีเวลลอปเม้นท์ ซื้อที่ดินวงเงิน 20 ล้านบาท เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2548 และทำสัญญาก่อสร้างบ้านเดี่ยว 2 ชั้น 288 หน่วย วงเงิน 100.94 ล้านบาท กระทั่งทำสัญญาเพิ่มเติมอีก 210 ล้านบาท โดยได้ดำเนินการตั้งแต่เดือน ก.ย.2550 จำหน่ายบ้านเดี่ยว 2 ชั้น เนื้อที่ 21 ตารางวา ราคาประมาณ 390,000 บาท กำหนดส่งมอบเดือน เม.ย.2562 แต่บริษัทเอกชนสร้างไม่เสร็จแล้วทิ้งงาน การเคหะฯ ได้ฟ้องและคดีเป็นที่สิ้นสุดแล้ว โดยศาลสั่งยึดทรัพย์ 11 ล้านบาท ส่วนผู้จองมี 50 ราย ขอเงินคืนไปแล้ว 21 ราย ส่วนอีก 29 ราย ได้ผ่อนจ่ายจนครบตามสัญญา

    โครงการบ้านเอื้ออาทร เป็นหนึ่งในนโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่พบผู้รับเหมาทิ้งงานและการทุจริตเชิงนโยบาย มีการเรียกรับสินบนจากผู้ประกอบการ ซึ่งคดีนี้ศาลพิพากษาจำคุก นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พัฒนาสังคมฯ 99 ปี กับนายอภิชาติ จันทร์สกุลพร หรือเสี่ยเปี๋ยง จำคุก 50 ปี แต่ได้รับการพักโทษเมื่อเร็วๆ นี้

    #Newskit
    ปิดตำนานบ้านร้าง เอื้ออาทรสุไหงโก-ลก โครงการบ้านเอื้ออาทรสุไหงโก-ลก บ้านเดี่ยว 288 ยูนิต บนที่ดิน 25 ไร่ พร้อมถนนเชื่อมระหว่างถนนประชาวิวัฒน์ ซอย 3 กับถนนเจริญเขต กลางเมืองสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ถูกปล่อยทิ้งร้างนานเกือบ 20 ปี เนื่องจากผู้รับเหมาสร้างไม่เสร็จแล้วทิ้งงาน กลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรม โครงสร้างบ้านแต่ละหลังชำรุด เต็มไปด้วยป่าหญ้าและวัชพืช ครั้งหนึ่งกลายเป็นจุดเช็กอินถ่ายภาพบนโซเชียลฯ ที่ทำเอาคนในสังคมอีกส่วนหนึ่งขำไม่ออก แต่เร็วๆ นี้กำลังจะกลายเป็นตำนาน เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. การเคหะแห่งชาติ นำโดยนายปรีดา สุขสุมิตร รองผู้ว่าการฯ และคณะ พร้อมด้วยนางสุชาดา พันธ์นรา นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก และผู้ที่เกี่ยวข้อง ประชุมเรื่องการใช้ที่ดินโครงการบ้านเอื้ออาทรสุไหงโก-ลก ทุกฝ่ายต่างเห็นพ้องที่จะให้การเคหะฯ เป็นผู้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ โดยรื้อถอนโครงสร้างสิ่งก่อสร้างเดิม แล้วแบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ 5 ไร่ การเคหะฯ จะก่อสร้างบ้านเพื่อกลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบาง ส่วนพื้นที่อีก 20 ไร่ จะวางแผนงานเป็น 2 รูปแบบ คือ 1. การเคหะฯ จะเป็นผู้จัดทำโครงการพัฒนาพื้นที่ภายใต้กรอบความเป็นไปได้ของพื้นที่ 2. การเคหะฯ จะเปิดโอกาสให้เอกชนสามารถเช่าที่ดินเพื่อการพัฒนาบริหารจัดการต่อไป โดยจะนำปัจจัยเชิงบริบทของพื้นที่ อาทิ ด้านสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการน้ำ การจัดสัดส่วนพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ส่วนกลางที่ใช้ร่วมกัน มาประกอบแผนดำเนินการ ซึ่งการเคหฯ จะร่างแผนงานและนำเสนอต่อที่ประชุมในโอกาสถัดไป ก่อนหน้านี้ การเคหะฯ ได้ทำสัญญาร่วมดำเนินกิจการกับ หจก.ฉัตรวาริน ดีเวลลอปเม้นท์ ซื้อที่ดินวงเงิน 20 ล้านบาท เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2548 และทำสัญญาก่อสร้างบ้านเดี่ยว 2 ชั้น 288 หน่วย วงเงิน 100.94 ล้านบาท กระทั่งทำสัญญาเพิ่มเติมอีก 210 ล้านบาท โดยได้ดำเนินการตั้งแต่เดือน ก.ย.2550 จำหน่ายบ้านเดี่ยว 2 ชั้น เนื้อที่ 21 ตารางวา ราคาประมาณ 390,000 บาท กำหนดส่งมอบเดือน เม.ย.2562 แต่บริษัทเอกชนสร้างไม่เสร็จแล้วทิ้งงาน การเคหะฯ ได้ฟ้องและคดีเป็นที่สิ้นสุดแล้ว โดยศาลสั่งยึดทรัพย์ 11 ล้านบาท ส่วนผู้จองมี 50 ราย ขอเงินคืนไปแล้ว 21 ราย ส่วนอีก 29 ราย ได้ผ่อนจ่ายจนครบตามสัญญา โครงการบ้านเอื้ออาทร เป็นหนึ่งในนโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่พบผู้รับเหมาทิ้งงานและการทุจริตเชิงนโยบาย มีการเรียกรับสินบนจากผู้ประกอบการ ซึ่งคดีนี้ศาลพิพากษาจำคุก นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พัฒนาสังคมฯ 99 ปี กับนายอภิชาติ จันทร์สกุลพร หรือเสี่ยเปี๋ยง จำคุก 50 ปี แต่ได้รับการพักโทษเมื่อเร็วๆ นี้ #Newskit
    Like
    Yay
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 472 มุมมอง 0 รีวิว
  • นับหนึ่งถึงพัน ขอบคุณที่ติดตาม

    20 ธ.ค. 2567 จำนวนผู้ติดตามเพจ Newskit บนแพลตฟอร์ม Thaitimes โซเชียลมีเดียภายใต้สโลแกน "เวลาของคนไทย" ก้าวเข้าสู่ 1,000 คน นับตั้งแต่ได้รับเชิญจากทีมงาน Thaitimes ให้ร่วมผลิตคอนเทนต์และทดสอบระบบ เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2567 เป็นต้นมา ขณะที่แพลตฟอร์ม Thaitimes ที่ก่อตั้งโดย คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ปัจจุบันมีผู้ติดตามกว่า 54,000 คน ซึ่งเติบโตแบบก้าวกระโดด ในยุคที่โซเชียลมีเดียจากต่างประเทศเซ็นเซอร์ ปิดกั้นข้อมูลข้อเท็จจริง และแสวงหากำไรเกินควร

    แม้ว่าจำนวน 1,000 คน ตามมาตรฐานโซเชียลมีเดียตะวันตก จะนับเป็นแค่ Nano Influencer ซึ่งในยุคนี้หากจะเป็นคนดังหรือคนที่มีชื่อเสียง ต้องมีผู้ติดตามมากกว่า 500,000 คนขึ้นไป แต่ความตั้งใจของเรามีเพียงหนึ่งเดียว คือ ต้องการถ่ายทอดสิ่งที่พบเห็นและเป็นไป นำเสนอเรื่องราวที่แตกต่าง ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมืองเพียงเล็กน้อยในประเทศไทย เรื่องราวแปลกใหม่และใกล้ตัวในอาเซียน ภายใต้ศักยภาพการทำงานแบบ One Man Journalist ที่มีอยู่

    ตลอดระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา เราพัฒนาการนำเสนอเนื้อหาจากอินโฟกราฟิกธรรมดา ให้มีกลิ่นอายของหนังสือพิมพ์ ด้วยเนื้อหาที่สั้น กระชับ สรุปความให้จบภายในโพสต์เดียว อาศัยข้อจำกัดของแพลตฟอร์มอินสตาแกรม (IG) ที่โพสต์ข้อความไม่เกิน 2,200 ตัวอักษร มาเป็นหลักในการทำงาน เสมือนหนังสือพิมพ์สมัยก่อนที่จำกัดจำนวนคำเพื่อให้พอดีกับกรอบที่วางไว้ อีกทั้งช่วงเวลาเผยแพร่เน้นให้ทุกเช้าที่เปิดแอปฯ จะได้เห็นเรื่องราวของเรา เสมือนหนังสือพิมพ์มาส่งทุกเช้า

    เรามีความเชื่ออยู่เสมอว่า ความพยายามไม่เคยทำร้ายใคร และสำนึกอยู่เสมอว่าถ้าไม่มีผู้อ่านคงไม่มีวันนี้ จึงพยายามค้นหาเรื่องราวในมุมมองที่หาอ่านที่ไหนไม่ได้ มุ่งมั่นตั้งใจคิด เขียน นำเสนอเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอเท่าที่จะทำได้ เสมือนเป็นการรับผิดชอบผู้อ่านเสมอมา

    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เราไม่มีรายได้จากการทำเพจ Newskit เลยแม้แต่น้อย ขณะนี้กำลังพิจารณาการหารายได้โดยไม่เป็นการรบกวนคุณผู้อ่านมากเกินไป เช่น แบนเนอร์โฆษณาขนาด 1820x450 Pixel การทำ Advertorial หรือการจำหน่ายสินค้า Merchandise หากเรามีศักยภาพมากพอที่จะดำเนินการสิ่งเหล่านี้ได้ จะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง

    ขอขอบคุณผู้อ่านที่ติดตาม รวมถึงทุกกำลังใจในช่วงที่ผ่านมา ไม่มีคำสัญญาใดที่ดีไปกว่าการทำหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับเนื้อหาสาระเป็นประจำทุกวันตามที่คาดหวัง ขอสวัสดีปีใหม่ล่วงหน้าแก่คุณผู้อ่านทุกท่าน ให้มีความสุขความเจริญทุกประการ

    กิตตินันท์ นาคทอง

    #Newskit #Thaitimes #ขอบคุณผู้อ่าน
    นับหนึ่งถึงพัน ขอบคุณที่ติดตาม 20 ธ.ค. 2567 จำนวนผู้ติดตามเพจ Newskit บนแพลตฟอร์ม Thaitimes โซเชียลมีเดียภายใต้สโลแกน "เวลาของคนไทย" ก้าวเข้าสู่ 1,000 คน นับตั้งแต่ได้รับเชิญจากทีมงาน Thaitimes ให้ร่วมผลิตคอนเทนต์และทดสอบระบบ เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2567 เป็นต้นมา ขณะที่แพลตฟอร์ม Thaitimes ที่ก่อตั้งโดย คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ปัจจุบันมีผู้ติดตามกว่า 54,000 คน ซึ่งเติบโตแบบก้าวกระโดด ในยุคที่โซเชียลมีเดียจากต่างประเทศเซ็นเซอร์ ปิดกั้นข้อมูลข้อเท็จจริง และแสวงหากำไรเกินควร แม้ว่าจำนวน 1,000 คน ตามมาตรฐานโซเชียลมีเดียตะวันตก จะนับเป็นแค่ Nano Influencer ซึ่งในยุคนี้หากจะเป็นคนดังหรือคนที่มีชื่อเสียง ต้องมีผู้ติดตามมากกว่า 500,000 คนขึ้นไป แต่ความตั้งใจของเรามีเพียงหนึ่งเดียว คือ ต้องการถ่ายทอดสิ่งที่พบเห็นและเป็นไป นำเสนอเรื่องราวที่แตกต่าง ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมืองเพียงเล็กน้อยในประเทศไทย เรื่องราวแปลกใหม่และใกล้ตัวในอาเซียน ภายใต้ศักยภาพการทำงานแบบ One Man Journalist ที่มีอยู่ ตลอดระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา เราพัฒนาการนำเสนอเนื้อหาจากอินโฟกราฟิกธรรมดา ให้มีกลิ่นอายของหนังสือพิมพ์ ด้วยเนื้อหาที่สั้น กระชับ สรุปความให้จบภายในโพสต์เดียว อาศัยข้อจำกัดของแพลตฟอร์มอินสตาแกรม (IG) ที่โพสต์ข้อความไม่เกิน 2,200 ตัวอักษร มาเป็นหลักในการทำงาน เสมือนหนังสือพิมพ์สมัยก่อนที่จำกัดจำนวนคำเพื่อให้พอดีกับกรอบที่วางไว้ อีกทั้งช่วงเวลาเผยแพร่เน้นให้ทุกเช้าที่เปิดแอปฯ จะได้เห็นเรื่องราวของเรา เสมือนหนังสือพิมพ์มาส่งทุกเช้า เรามีความเชื่ออยู่เสมอว่า ความพยายามไม่เคยทำร้ายใคร และสำนึกอยู่เสมอว่าถ้าไม่มีผู้อ่านคงไม่มีวันนี้ จึงพยายามค้นหาเรื่องราวในมุมมองที่หาอ่านที่ไหนไม่ได้ มุ่งมั่นตั้งใจคิด เขียน นำเสนอเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอเท่าที่จะทำได้ เสมือนเป็นการรับผิดชอบผู้อ่านเสมอมา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เราไม่มีรายได้จากการทำเพจ Newskit เลยแม้แต่น้อย ขณะนี้กำลังพิจารณาการหารายได้โดยไม่เป็นการรบกวนคุณผู้อ่านมากเกินไป เช่น แบนเนอร์โฆษณาขนาด 1820x450 Pixel การทำ Advertorial หรือการจำหน่ายสินค้า Merchandise หากเรามีศักยภาพมากพอที่จะดำเนินการสิ่งเหล่านี้ได้ จะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง ขอขอบคุณผู้อ่านที่ติดตาม รวมถึงทุกกำลังใจในช่วงที่ผ่านมา ไม่มีคำสัญญาใดที่ดีไปกว่าการทำหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับเนื้อหาสาระเป็นประจำทุกวันตามที่คาดหวัง ขอสวัสดีปีใหม่ล่วงหน้าแก่คุณผู้อ่านทุกท่าน ให้มีความสุขความเจริญทุกประการ กิตตินันท์ นาคทอง #Newskit #Thaitimes #ขอบคุณผู้อ่าน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 492 มุมมอง 0 รีวิว
  • BEM x SIEMENS เรารู้กันอยู่ 3 ตู้...3 ตู้เท่านั้น

    เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มบริษัทซีเมนส์ โมบิลิตี้ ประเทศเยอรมนี ได้รับการว่าจ้างจาก บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้ดำเนินโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ของระบบเครื่องกลและไฟฟ้าในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร ครอบคลุมการส่งมอบขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ 32 ขบวน รวมถึงการบูรณาการระบบเครื่องกลและไฟฟ้า พร้อมสัญญาซ่อมบำรุง

    และโครงการปรับปรุงรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน หลักสอง-ท่าพระ ระยะทาง 48 กิโลเมตร ครอบคลุมการส่งมอบรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้เพิ่มเติม 21 ขบวน รวมถึงการปรับปรุงระบบเครื่องกลและไฟฟ้าเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถี่การเดินรถพร้อมสัญญาซ่อมบำรุง อีกทั้งยังได้เซ็นสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรสำหรับขบวนรถไฟใหม่ที่เพิ่มเติมมา รวมถึงการขยายสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรที่มีอยู่เดิม สิ้นสุดสัญญาในปี 2582

    มีคนสงสัยว่าทำไม BEM ยังคงใช้ขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ กับสายสีน้ำเงินและสายสีส้ม ทั้งๆ ที่คู่แข่งอย่างรถไฟฟ้าบีทีเอสได้เพิ่มตู้รถไฟฟ้าของซีเมนส์จากแบบ 3 ตู้ เป็น 4 ตู้ทั้ง 35 ขบวน ส่วนรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงก็มีทั้ง 4 ตู้ต่อขบวน และ 6 ตู้ต่อขบวน คำตอบอย่างไม่เป็นทางการก็คือ ต้องไปแก้ไขระบบอาณัติสัญญาณ (Signaling) และประตูกั้นชานชาลา (PSD) ถ้าเพิ่มขบวนรถไม่ต้องแก้ไข และช่วยเพิ่มความถี่ให้ผู้โดยสารไม่ต้องรอนาน

    ในตอนหนึ่งการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น BEM ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2567 ชี้แจงว่าเนื่องจากสายทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) มีจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานีร่วม ดังนั้นเมื่อรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกเปิดให้บริการในปี 2571 จะส่งต่อผู้โดยสารจำนวนมากเข้าสู่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

    บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องจัดหาขบวนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มเติมอีก 21 ขบวน และปรับปรุงระบบที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการให้บริการทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยมีแนวทางในการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าแบบ 3 ตู้ประกอบต่อขบวน ซึ่งจะสามารถเพิ่มความถี่ในการให้บริการมากขึ้น มีความยืดหยุ่นได้ตลอดเส้นทาง ไม่เกิดผลกระทบต่อการให้บริการเดินรถในช่วงปรับปรุงระบบรถไฟฟ้า

    อนึ่ง ปัจจุบันรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินมีทั้งหมด 54 ขบวน แบ่งเป็นรถไฟฟ้ารุ่นแรก 19 ขบวน และรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ 35 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ หากมีขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติม 21 ขบวน จะทำให้มีรถไฟฟ้ารวม 75 ขบวน

    #Newskit
    BEM x SIEMENS เรารู้กันอยู่ 3 ตู้...3 ตู้เท่านั้น เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มบริษัทซีเมนส์ โมบิลิตี้ ประเทศเยอรมนี ได้รับการว่าจ้างจาก บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้ดำเนินโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ของระบบเครื่องกลและไฟฟ้าในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร ครอบคลุมการส่งมอบขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ 32 ขบวน รวมถึงการบูรณาการระบบเครื่องกลและไฟฟ้า พร้อมสัญญาซ่อมบำรุง และโครงการปรับปรุงรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน หลักสอง-ท่าพระ ระยะทาง 48 กิโลเมตร ครอบคลุมการส่งมอบรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้เพิ่มเติม 21 ขบวน รวมถึงการปรับปรุงระบบเครื่องกลและไฟฟ้าเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถี่การเดินรถพร้อมสัญญาซ่อมบำรุง อีกทั้งยังได้เซ็นสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรสำหรับขบวนรถไฟใหม่ที่เพิ่มเติมมา รวมถึงการขยายสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรที่มีอยู่เดิม สิ้นสุดสัญญาในปี 2582 มีคนสงสัยว่าทำไม BEM ยังคงใช้ขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ กับสายสีน้ำเงินและสายสีส้ม ทั้งๆ ที่คู่แข่งอย่างรถไฟฟ้าบีทีเอสได้เพิ่มตู้รถไฟฟ้าของซีเมนส์จากแบบ 3 ตู้ เป็น 4 ตู้ทั้ง 35 ขบวน ส่วนรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงก็มีทั้ง 4 ตู้ต่อขบวน และ 6 ตู้ต่อขบวน คำตอบอย่างไม่เป็นทางการก็คือ ต้องไปแก้ไขระบบอาณัติสัญญาณ (Signaling) และประตูกั้นชานชาลา (PSD) ถ้าเพิ่มขบวนรถไม่ต้องแก้ไข และช่วยเพิ่มความถี่ให้ผู้โดยสารไม่ต้องรอนาน ในตอนหนึ่งการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น BEM ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2567 ชี้แจงว่าเนื่องจากสายทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) มีจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานีร่วม ดังนั้นเมื่อรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกเปิดให้บริการในปี 2571 จะส่งต่อผู้โดยสารจำนวนมากเข้าสู่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องจัดหาขบวนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มเติมอีก 21 ขบวน และปรับปรุงระบบที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการให้บริการทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยมีแนวทางในการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าแบบ 3 ตู้ประกอบต่อขบวน ซึ่งจะสามารถเพิ่มความถี่ในการให้บริการมากขึ้น มีความยืดหยุ่นได้ตลอดเส้นทาง ไม่เกิดผลกระทบต่อการให้บริการเดินรถในช่วงปรับปรุงระบบรถไฟฟ้า อนึ่ง ปัจจุบันรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินมีทั้งหมด 54 ขบวน แบ่งเป็นรถไฟฟ้ารุ่นแรก 19 ขบวน และรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ 35 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ หากมีขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติม 21 ขบวน จะทำให้มีรถไฟฟ้ารวม 75 ขบวน #Newskit
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 493 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาเลย์ฯ เชือดจริง ข้ามแดนผิดกฎหมาย

    ศาลอำเภอปาเซมัส รัฐกลันตัน พิพากษาปรับชาวมาเลเซีย 3 คน ได้แก่คนขับเรือวัย 33 ปี และผู้โดยสาร 2 คน อายุ 21 และ 26 ปี ซึ่งถูกดำเนินคดีข้อหาเข้าประเทศโดยผิดกฎหมาย คนละ 2,500 ริงกิต หรือประมาณ 19,200 บาท เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. หลังทั้งสามรับสารภาพว่าเข้าประเทศผิดกฎหมายโดยใช้เรือข้ามแม่น้ำโกลกไปยังเมืองรันเตาปันยัง ก่อนถูกจับกุมเมื่อเวลา 16.00 น. ของวันที่ 16 ธ.ค. เป็นหนึ่งในตัวอย่างผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมและศาลตัดสิน หลังทางการมาเลเซียออกมาตรการจับกุมผู้ลักลอบเข้าประเทศอย่างจริงจัง ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.2567 เป็นต้นมา

    แต่เดิมชาวมาเลเซียในพื้นที่รัฐกลันตันจำนวนมาก ข้ามแดนเข้าประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย โดยจอดรถที่ด่านรันเตาปันยัง นั่งเรือข้ามแม่น้ำโกลก แทนการเข้าด่านตรวจคนเข้าเมือง (ICQS) รันเตาปันยัง เพื่อไปมาหาสู่กันและแสวงหาความบันเทิง ที่ผ่านมาตำรวจรัฐกลันตันทำได้แค่ระงับยับยั้งแต่ดำเนินคดีไม่ได้ เพราะโดยหน้าที่จำกัดแค่จับกุมชาวต่างชาติลักลอบเข้าเมืองเท่านั้น แต่เหตุการณ์ที่ตำรวจ สภ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส จับกุม 6 ผู้ต้องหาชาวมาเลเซียพร้อมยาบ้า 6,000 เม็ด เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ทางการมาเลเซียต้องใช้มาตรการดังกล่าว

    ทั้งนี้ บุคคลใดก็ตามที่เข้าออกจากชายแดนมาเลเซียและไทยผ่านช่องทางที่ไม่ได้รับอนุญาต จะถูกจับกุมดำเนินคดีตามมาตรา 5 (2) แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมืองมาเลเซีย 1959/1963 มีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี ปรับสูงสุด 10,000 ริงกิต หรือทั้งจำทั้งปรับ

    ก่อนหน้านี้ พ.ต.อ.พูลศักดิ์ แก้วสีขาว ผู้กำกับการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดนราธิวาส เตือนคนไทยที่จะเดินทางเข้า-ออกระหว่างไทยและมาเลเซีย ให้ใช้หนังสือเดินทางหรือหนังสือผ่านแดนอย่างถูกต้องกฎหมาย เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่มาเลเซียจับกุม โดยได้รับรายงานการจับกุมแล้วจำนวนหนึ่ง เช่นเดียวกับนายอนิรุทร บัวอ่อน นายอำเภอสุไหงโก-ลก ขอความร่วมมือเดินทางผ่านด่านพรมแดนหลักทั้ง 3 แห่งของนราธิวาส ได้แก่ ด่านสุไหงโก-ลก-รันเตาปันยัง ด่านตากใบ-กาลังกูโบร์ และด่านบูเก๊ะตา-บูเก๊ะบูงอ

    มาตรการจับกุมผู้ลักลอบเข้าประเทศอย่างจริงจังของมาเลเซีย ส่งผลทำให้ท่าเรือข้ามฟากของชาวบ้านตลอดสองฝั่งแม่น้ำโกลกเงียบเหงา ส่วนวินจักรยานยนต์รับจ้างแทบไม่มีผู้มาใช้บริการ มีเพียงเฉพาะคนในชุมชน รายได้ลดลงจากเดิมวันละ 1,000 บาท เหลือน้อยมาก ส่วนข่าวลือที่ว่าทางการมาเลเซียจะเลื่อนบังคับใช้กฎหมายนั้นไม่เป็นความจริง เพราะหลังจากน้ำท่วมคลี่คลาย เจ้าหน้าที่กองกำลังปฏิบัติการทั่วไป (GOF) หรือ ตชด.มาเลเซีย เข้ามาปฏิบัติงานตลอดแนวริมฝั่งแม่น้ำโก-ลกตามปกติ

    #Newskit
    มาเลย์ฯ เชือดจริง ข้ามแดนผิดกฎหมาย ศาลอำเภอปาเซมัส รัฐกลันตัน พิพากษาปรับชาวมาเลเซีย 3 คน ได้แก่คนขับเรือวัย 33 ปี และผู้โดยสาร 2 คน อายุ 21 และ 26 ปี ซึ่งถูกดำเนินคดีข้อหาเข้าประเทศโดยผิดกฎหมาย คนละ 2,500 ริงกิต หรือประมาณ 19,200 บาท เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. หลังทั้งสามรับสารภาพว่าเข้าประเทศผิดกฎหมายโดยใช้เรือข้ามแม่น้ำโกลกไปยังเมืองรันเตาปันยัง ก่อนถูกจับกุมเมื่อเวลา 16.00 น. ของวันที่ 16 ธ.ค. เป็นหนึ่งในตัวอย่างผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมและศาลตัดสิน หลังทางการมาเลเซียออกมาตรการจับกุมผู้ลักลอบเข้าประเทศอย่างจริงจัง ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.2567 เป็นต้นมา แต่เดิมชาวมาเลเซียในพื้นที่รัฐกลันตันจำนวนมาก ข้ามแดนเข้าประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย โดยจอดรถที่ด่านรันเตาปันยัง นั่งเรือข้ามแม่น้ำโกลก แทนการเข้าด่านตรวจคนเข้าเมือง (ICQS) รันเตาปันยัง เพื่อไปมาหาสู่กันและแสวงหาความบันเทิง ที่ผ่านมาตำรวจรัฐกลันตันทำได้แค่ระงับยับยั้งแต่ดำเนินคดีไม่ได้ เพราะโดยหน้าที่จำกัดแค่จับกุมชาวต่างชาติลักลอบเข้าเมืองเท่านั้น แต่เหตุการณ์ที่ตำรวจ สภ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส จับกุม 6 ผู้ต้องหาชาวมาเลเซียพร้อมยาบ้า 6,000 เม็ด เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ทางการมาเลเซียต้องใช้มาตรการดังกล่าว ทั้งนี้ บุคคลใดก็ตามที่เข้าออกจากชายแดนมาเลเซียและไทยผ่านช่องทางที่ไม่ได้รับอนุญาต จะถูกจับกุมดำเนินคดีตามมาตรา 5 (2) แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมืองมาเลเซีย 1959/1963 มีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี ปรับสูงสุด 10,000 ริงกิต หรือทั้งจำทั้งปรับ ก่อนหน้านี้ พ.ต.อ.พูลศักดิ์ แก้วสีขาว ผู้กำกับการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดนราธิวาส เตือนคนไทยที่จะเดินทางเข้า-ออกระหว่างไทยและมาเลเซีย ให้ใช้หนังสือเดินทางหรือหนังสือผ่านแดนอย่างถูกต้องกฎหมาย เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่มาเลเซียจับกุม โดยได้รับรายงานการจับกุมแล้วจำนวนหนึ่ง เช่นเดียวกับนายอนิรุทร บัวอ่อน นายอำเภอสุไหงโก-ลก ขอความร่วมมือเดินทางผ่านด่านพรมแดนหลักทั้ง 3 แห่งของนราธิวาส ได้แก่ ด่านสุไหงโก-ลก-รันเตาปันยัง ด่านตากใบ-กาลังกูโบร์ และด่านบูเก๊ะตา-บูเก๊ะบูงอ มาตรการจับกุมผู้ลักลอบเข้าประเทศอย่างจริงจังของมาเลเซีย ส่งผลทำให้ท่าเรือข้ามฟากของชาวบ้านตลอดสองฝั่งแม่น้ำโกลกเงียบเหงา ส่วนวินจักรยานยนต์รับจ้างแทบไม่มีผู้มาใช้บริการ มีเพียงเฉพาะคนในชุมชน รายได้ลดลงจากเดิมวันละ 1,000 บาท เหลือน้อยมาก ส่วนข่าวลือที่ว่าทางการมาเลเซียจะเลื่อนบังคับใช้กฎหมายนั้นไม่เป็นความจริง เพราะหลังจากน้ำท่วมคลี่คลาย เจ้าหน้าที่กองกำลังปฏิบัติการทั่วไป (GOF) หรือ ตชด.มาเลเซีย เข้ามาปฏิบัติงานตลอดแนวริมฝั่งแม่น้ำโก-ลกตามปกติ #Newskit
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 455 มุมมอง 0 รีวิว
เรื่องราวเพิ่มเติม