• แท็กซี่สนามบินเดือด ประณาม Grab ขายชาติ

    เมื่อวันที่ 20 พ.ค. มีการชุมนุมของกลุ่มสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ ร่วมกับเครือข่ายผู้ประกอบการรถยนต์รับจ้างสาธารณะแท็กซี่ เครือข่ายแท็กซี่ประเทศไทย นำโดย นายวรพล แกมขุนทด ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน ปี 2560 และกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2564 หลังอนุญาตให้แกร็บ (Grab) จัดตั้งจุดรับผู้โดยสารในสนามบินสุวรรณภูมิ แล้วมีผู้ใช้บริการมากกว่า ทำให้รถแท็กซี่เสียเปรียบ

    โดยกลุ่มผู้ขับขี่แท็กซี่ถามรัฐบาล ต้องชัดเจนว่าจะเลือกแกร็บหรือแท็กซี่ ถ้าเลือกแกร็บถือว่าขายชาติ เพราะไม่ใช่บริษัทคนไทย ยืนยันว่าไม่ได้โยงเรื่องการเมือง แต่เพื่อความเป็นอยู่ของทุกคน หากรัฐบาลยังดื้อดึงไม่มีข้อสรุป จะยกระดับการชุมนุม อาจรวมตัวปิดทางเข้าออกสนามบินสุวรรณภูมิ ภายหลัง นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม มอบหมายให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. พิจารณาแนวทางการให้บริการรถสาธารณะ แก้ไขกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับเพื่อความเป็นธรรมและบรรเทาความเดือดร้อน โดยยึดประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ

    อีกด้านหนึ่ง กระแสสังคมต่างวิจารณ์การเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ขับขี่แท็กซี่ เพราะแต่ละคนต่างมีประสบการณ์ที่แย่เกี่ยวกับรถแท็กซี่สนามบิน เช่น กลุ่มผู้ขับขี่แท็กซี่ส่วนหนึ่งไม่รับ หรือไม่เต็มใจรับลูกค้าคนไทย รับแต่ชาวต่างชาติ และร้องขอไม่กดมิเตอร์กลางทาง โดยคิดราคาเหมาในอัตราที่สูง นอกจากนี้ รายงานจากสถาบันเศรษฐศาสตร์มาสเตอร์การ์ดระบุว่า กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่นักท่องเที่ยวเสี่ยงถูกฉ้อโกงอย่างยิ่ง โดยพบว่ามีปัญหาฉ้อโกงจากแท็กซี่และบริการรถเช่า 48%

    ด้านบริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) ยืนยันว่าได้รับอนุญาตจาก ทอท.ให้ดำเนินการตั้งจุดให้บริการผู้โดยสารแกร็บอย่างถูกต้อง อีกทั้งเป็นคนละพื้นที่และแยกกันกับจุดให้บริการรถแท็กซี่สาธารณะในสนามบินอย่างชัดเจน พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ยังคงเปิดรับคนขับที่สนใจเข้าระบบอย่างต่อเนื่อง ยืนยันว่าไม่เคยมีความขัดแย้งใดๆ กับกลุ่มคนขับรถแท็กซี่สาธารณะทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม แต่ยังคงเคารพสิทธิ์ของผู้โดยสารให้เลือกใช้บริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละบุคคล และเชื่อว่าสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติ

    อนึ่ง แกร็บและ ทอท.ร่วมกันตั้งจุดรับ-ส่งผู้โดยสารแกร็บที่สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 1 ประตู 4 และสนามบินดอนเมือง อาคาร 2 ชั้น 1 ประตู 12 อีกทั้งเมื่อปี 2566 แกร็บเปิดให้บริการจุดรับผู้โดยสารในสนามบินภูเก็ตและสนามบินเชียงใหม่

    #Newskit
    แท็กซี่สนามบินเดือด ประณาม Grab ขายชาติ เมื่อวันที่ 20 พ.ค. มีการชุมนุมของกลุ่มสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ ร่วมกับเครือข่ายผู้ประกอบการรถยนต์รับจ้างสาธารณะแท็กซี่ เครือข่ายแท็กซี่ประเทศไทย นำโดย นายวรพล แกมขุนทด ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน ปี 2560 และกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2564 หลังอนุญาตให้แกร็บ (Grab) จัดตั้งจุดรับผู้โดยสารในสนามบินสุวรรณภูมิ แล้วมีผู้ใช้บริการมากกว่า ทำให้รถแท็กซี่เสียเปรียบ โดยกลุ่มผู้ขับขี่แท็กซี่ถามรัฐบาล ต้องชัดเจนว่าจะเลือกแกร็บหรือแท็กซี่ ถ้าเลือกแกร็บถือว่าขายชาติ เพราะไม่ใช่บริษัทคนไทย ยืนยันว่าไม่ได้โยงเรื่องการเมือง แต่เพื่อความเป็นอยู่ของทุกคน หากรัฐบาลยังดื้อดึงไม่มีข้อสรุป จะยกระดับการชุมนุม อาจรวมตัวปิดทางเข้าออกสนามบินสุวรรณภูมิ ภายหลัง นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม มอบหมายให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. พิจารณาแนวทางการให้บริการรถสาธารณะ แก้ไขกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับเพื่อความเป็นธรรมและบรรเทาความเดือดร้อน โดยยึดประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ อีกด้านหนึ่ง กระแสสังคมต่างวิจารณ์การเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ขับขี่แท็กซี่ เพราะแต่ละคนต่างมีประสบการณ์ที่แย่เกี่ยวกับรถแท็กซี่สนามบิน เช่น กลุ่มผู้ขับขี่แท็กซี่ส่วนหนึ่งไม่รับ หรือไม่เต็มใจรับลูกค้าคนไทย รับแต่ชาวต่างชาติ และร้องขอไม่กดมิเตอร์กลางทาง โดยคิดราคาเหมาในอัตราที่สูง นอกจากนี้ รายงานจากสถาบันเศรษฐศาสตร์มาสเตอร์การ์ดระบุว่า กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่นักท่องเที่ยวเสี่ยงถูกฉ้อโกงอย่างยิ่ง โดยพบว่ามีปัญหาฉ้อโกงจากแท็กซี่และบริการรถเช่า 48% ด้านบริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) ยืนยันว่าได้รับอนุญาตจาก ทอท.ให้ดำเนินการตั้งจุดให้บริการผู้โดยสารแกร็บอย่างถูกต้อง อีกทั้งเป็นคนละพื้นที่และแยกกันกับจุดให้บริการรถแท็กซี่สาธารณะในสนามบินอย่างชัดเจน พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ยังคงเปิดรับคนขับที่สนใจเข้าระบบอย่างต่อเนื่อง ยืนยันว่าไม่เคยมีความขัดแย้งใดๆ กับกลุ่มคนขับรถแท็กซี่สาธารณะทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม แต่ยังคงเคารพสิทธิ์ของผู้โดยสารให้เลือกใช้บริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละบุคคล และเชื่อว่าสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติ อนึ่ง แกร็บและ ทอท.ร่วมกันตั้งจุดรับ-ส่งผู้โดยสารแกร็บที่สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 1 ประตู 4 และสนามบินดอนเมือง อาคาร 2 ชั้น 1 ประตู 12 อีกทั้งเมื่อปี 2566 แกร็บเปิดให้บริการจุดรับผู้โดยสารในสนามบินภูเก็ตและสนามบินเชียงใหม่ #Newskit
    Like
    Love
    3
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 147 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันที่ true ล่ม บอกอะไรเรา

    10 โมงเช้า 22 พ.ค. ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเครือข่ายทรู (True) ที่หลังควบรวมกับดีแทค (dtac) กลายเป็นเครือข่ายอันดับหนึ่งด้วยผู้ใช้งานรวม 48.8 ล้านเลขหมาย ประสบปัญหาเครือข่ายล่ม ขึ้นข้อความว่าไม่มีบริการ (No Service) ไม่สามารถโทรออกและรับสายได้ อินเทอร์เน็ตใช้งานไม่ได้ ยกเว้นลูกค้าดีแทคประมาณ 20 ล้านเลขหมายไม่ได้รับผลกระทบ ก่อนที่จะกลับมาใช้ได้เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. สำนักงาน กสทช. สั่งให้ทรูหาทางเยียวยาลูกค้า ขณะผู้ใช้งานที่ไม่ได้เชื่อมต่อไว-ไฟต่างไม่ทราบข่าว พยายามเปิด-ปิดเน็ตและมือถือ เพราะคิดว่ามือถือมีปัญหา กว่าจะรู้ตัวก็ทราบข่าวจากคนรอบข้าง เมื่อโทรศัพท์มือถือกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ในชีวิตประจำวัน ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง

    ตัวอย่างเช่น ใช้แอปฯ ธนาคารไม่ได้ สแกนจ่ายไม่ได้ ร้านอาหาร ข้าวแกง อาหารตามสั่งที่รับสแกนจ่ายก็รับเงินจากลูกค้าไม่ได้ แพลตฟอร์มส่งอาหารเกิดออเดอร์ค้าง ติดต่อไรเดอร์ไม่ได้ ส่วนฝั่งไรเดอร์ที่ใช้ซิมทรูก็ติดต่อลูกค้าไม่ได้ ติดต่อร้านอาหารไม่ได้ ยกเลิกก็ไม่ได้ ส่วนคนที่ทำธุรกิจ คนที่ใช้ซิมทรูติดต่อประสานงานไม่ได้ ธุรกิจได้รับความเสียหายอย่างประเมินค่าไม่ได้ และคนที่ปฎิบัติภารกิจเกี่ยวกับความเป็นความตาย เช่น คนที่ทำหน้าที่รถฉุกเฉินในโรงพยาบาล แต่ใช้ซิมทรู ก็ติดต่อห้องฉุกเฉินไม่ได้ จะส่งรายงานคลื่นไฟฟ้าหัวใจก็ใช้เน็ตมือถือไม่ได้ ต้องใช้วิทยุสื่อสารแทน

    ที่ผ่านมาคนที่รู้ตัวดีว่าค่ายมือถือในไทยยุคนี้มีลักษณะกึ่งผูกขาด เพราะแข่งขันจริงจังแค่สองค่าย คือทรูและเอไอเอส (AIS) พึ่งพาอะไรไม่ได้ จะมีโทรศัพท์มือถือสองเครื่องหรือสองซิมการ์ดต่างเครือข่าย ประกอบด้วยเบอร์ที่ใช้ประจำและเบอร์อีกค่ายที่ใช้สำรอง ย่อมเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

    จุฑา สังขชาติ อนุกรรมการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาผู้บริโภค มองว่า ความเสียหายของประชาชนกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศที่ใช้ทรูประเมินค่าไม่ได้ เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง บางครั้งก็ไม่มีการเยียวยา สะท้อนว่าปัญหาไม่ได้อยู่แค่จำนวนผู้ให้บริการ แต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ขณะที่ประเทศไทยมีผู้ให้บริการโทรคมนาคมหลักเหลือเพียง 2 ราย กำลังสร้างความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางไซเบอร์ สิทธิของผู้บริโภค และระบบเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม โดยเฉพาะหลังควบรวมกิจการ

    ทั้งนี้ สภาผู้บริโภค เรียกร้องให้ กสทช.เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง และออกมาตรการชดเชยแบบอัตโนมัติให้ผู้บริโภคทุกคนที่ได้รับผลกระทบ ส่งเสริมระบบอินเทอร์เน็ตกลางของภาครัฐ เพื่อใช้เป็นเครือข่ายสำรองในกรณีฉุกเฉินและลดการพึ่งพาเอกชน

    #Newskit
    วันที่ true ล่ม บอกอะไรเรา 10 โมงเช้า 22 พ.ค. ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเครือข่ายทรู (True) ที่หลังควบรวมกับดีแทค (dtac) กลายเป็นเครือข่ายอันดับหนึ่งด้วยผู้ใช้งานรวม 48.8 ล้านเลขหมาย ประสบปัญหาเครือข่ายล่ม ขึ้นข้อความว่าไม่มีบริการ (No Service) ไม่สามารถโทรออกและรับสายได้ อินเทอร์เน็ตใช้งานไม่ได้ ยกเว้นลูกค้าดีแทคประมาณ 20 ล้านเลขหมายไม่ได้รับผลกระทบ ก่อนที่จะกลับมาใช้ได้เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. สำนักงาน กสทช. สั่งให้ทรูหาทางเยียวยาลูกค้า ขณะผู้ใช้งานที่ไม่ได้เชื่อมต่อไว-ไฟต่างไม่ทราบข่าว พยายามเปิด-ปิดเน็ตและมือถือ เพราะคิดว่ามือถือมีปัญหา กว่าจะรู้ตัวก็ทราบข่าวจากคนรอบข้าง เมื่อโทรศัพท์มือถือกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ในชีวิตประจำวัน ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ตัวอย่างเช่น ใช้แอปฯ ธนาคารไม่ได้ สแกนจ่ายไม่ได้ ร้านอาหาร ข้าวแกง อาหารตามสั่งที่รับสแกนจ่ายก็รับเงินจากลูกค้าไม่ได้ แพลตฟอร์มส่งอาหารเกิดออเดอร์ค้าง ติดต่อไรเดอร์ไม่ได้ ส่วนฝั่งไรเดอร์ที่ใช้ซิมทรูก็ติดต่อลูกค้าไม่ได้ ติดต่อร้านอาหารไม่ได้ ยกเลิกก็ไม่ได้ ส่วนคนที่ทำธุรกิจ คนที่ใช้ซิมทรูติดต่อประสานงานไม่ได้ ธุรกิจได้รับความเสียหายอย่างประเมินค่าไม่ได้ และคนที่ปฎิบัติภารกิจเกี่ยวกับความเป็นความตาย เช่น คนที่ทำหน้าที่รถฉุกเฉินในโรงพยาบาล แต่ใช้ซิมทรู ก็ติดต่อห้องฉุกเฉินไม่ได้ จะส่งรายงานคลื่นไฟฟ้าหัวใจก็ใช้เน็ตมือถือไม่ได้ ต้องใช้วิทยุสื่อสารแทน ที่ผ่านมาคนที่รู้ตัวดีว่าค่ายมือถือในไทยยุคนี้มีลักษณะกึ่งผูกขาด เพราะแข่งขันจริงจังแค่สองค่าย คือทรูและเอไอเอส (AIS) พึ่งพาอะไรไม่ได้ จะมีโทรศัพท์มือถือสองเครื่องหรือสองซิมการ์ดต่างเครือข่าย ประกอบด้วยเบอร์ที่ใช้ประจำและเบอร์อีกค่ายที่ใช้สำรอง ย่อมเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จุฑา สังขชาติ อนุกรรมการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาผู้บริโภค มองว่า ความเสียหายของประชาชนกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศที่ใช้ทรูประเมินค่าไม่ได้ เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง บางครั้งก็ไม่มีการเยียวยา สะท้อนว่าปัญหาไม่ได้อยู่แค่จำนวนผู้ให้บริการ แต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ขณะที่ประเทศไทยมีผู้ให้บริการโทรคมนาคมหลักเหลือเพียง 2 ราย กำลังสร้างความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางไซเบอร์ สิทธิของผู้บริโภค และระบบเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม โดยเฉพาะหลังควบรวมกิจการ ทั้งนี้ สภาผู้บริโภค เรียกร้องให้ กสทช.เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง และออกมาตรการชดเชยแบบอัตโนมัติให้ผู้บริโภคทุกคนที่ได้รับผลกระทบ ส่งเสริมระบบอินเทอร์เน็ตกลางของภาครัฐ เพื่อใช้เป็นเครือข่ายสำรองในกรณีฉุกเฉินและลดการพึ่งพาเอกชน #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 148 มุมมอง 0 รีวิว
  • NT วุ่นสหภาพค้านแหลก AIS ขอซื้อลูกค้ามือถือ-เน็ตบ้าน

    เรื่องวุ่นๆ ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT รัฐวิสาหกิจของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เมื่อเว็บไซต์ The Mature ของอดีตนักข่าวไอทีค่ายใหญ่ เผยแพร่หนังสือที่นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ลงนามเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2568 ถึงกรรมการผู้จัดการใหญ่ NT ขอซื้อฐานลูกค้ามือถือ รวมทั้งพิจารณาการแก้ไขและยกเลิกสัญญาการให้บริการมือถือบนคลื่น 700 MHz รวมทั้งลูกค้าบรอดแบนด์รายย่อยทั้งหมด โดยขอเช่าใช้และขอสิทธิบริหารโครงข่ายบรอดแบนด์ของ NT ระบุว่า เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย และเป็นโอกาสของ NT ในการสร้างรายได้ที่มั่นคง

    เรื่องนี้ทำให้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ NT ออกมาคัดค้าน เนื่องจากคลื่นความถี่เป็นทรัพย์สินของชาติ ควรอยู่ในการกำกับดูแลของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ควรให้เอกชนเข้ามาใช้ประโยชน์ รวมถึงข้อเสนอดังกล่าวคล้ายการแปรรูป NT ทางอ้อม อาจส่งผลกระทบต่อพนักงาน NT ทั้งในด้านการจ้างงาน บทบาทหน้าที่ และอนาคตในสายงาน พร้อมเรียกร้องให้ผู้บริหาร NT ไม่สนับสนุนข้อเสนอของเอไอเอส และให้กระทรวงดีอี คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ

    นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ดีอี ยืนยันว่า การเสนอซื้อฐานลูกค้ามือถือและบรอดแบนด์รายย่อย แม้จะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่ต้องเปิดกว้างรับข้อเสนอจากทุกราย เพื่อประโยชน์สูงสุดของ NT และยังต้องรับผิดชอบพนักงาน NT ที่จะถูกโอนย้ายไปด้วย ขณะนี้กำลังศึกษาความเป็นไปได้และมีหลายปัจจัยต้องพิจารณา ต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบอร์ด NT และยังต้องดูผลประกอบการของธุรกิจบรอดแบนด์ จึงยังจะไม่ได้ข้อสรุปในเร็ววันนี้

    ขณะที่เอไอเอสทำหนังสือชี้แจงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ขณะนี้ยังไม่มีข้อตกลงหรือความคืบหน้าใดๆ โดยหากมีพัฒนาการที่สำคัญ บริษัทจะแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป ส่วนแหล่งข่าวจาก กสทช. กล่าวกับเว็บไซต์ MGR Online ว่า ลูกค้ามือถือ-บรอดแบนด์ซื้อขายกันไม่ได้ ต้องได้รับการยินยอมจากลูกค้า จะบังคับให้ย้ายหรือโอนย้ายโดยไม่แจ้งลูกค้าไม่ได้ ที่ผ่านมาไม่เคยเกิดกรณีแบบนี้มาก่อน

    ปัจจุบัน NT มีลูกค้าบรอดแบนด์รายย่อยประมาณ 2 ล้านราย ฐานลูกค้ามือถือ NT Mobile ที่มาจาก TOT Mobile เดิม ราว 3 แสนราย ที่ใบอนุญาตคลื่นความถี่ 2100 และ 2300 MHz. จะหมดอายุในวันที่ 3 ส.ค.นี้ และ My by NT ที่มาจาก CAT Telecom เดิมบนคลื่นความถี่ 700 MHz. ราว 2.17 ล้านราย ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าระบบเติมเงิน

    #Newskit
    NT วุ่นสหภาพค้านแหลก AIS ขอซื้อลูกค้ามือถือ-เน็ตบ้าน เรื่องวุ่นๆ ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT รัฐวิสาหกิจของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เมื่อเว็บไซต์ The Mature ของอดีตนักข่าวไอทีค่ายใหญ่ เผยแพร่หนังสือที่นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ลงนามเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2568 ถึงกรรมการผู้จัดการใหญ่ NT ขอซื้อฐานลูกค้ามือถือ รวมทั้งพิจารณาการแก้ไขและยกเลิกสัญญาการให้บริการมือถือบนคลื่น 700 MHz รวมทั้งลูกค้าบรอดแบนด์รายย่อยทั้งหมด โดยขอเช่าใช้และขอสิทธิบริหารโครงข่ายบรอดแบนด์ของ NT ระบุว่า เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย และเป็นโอกาสของ NT ในการสร้างรายได้ที่มั่นคง เรื่องนี้ทำให้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ NT ออกมาคัดค้าน เนื่องจากคลื่นความถี่เป็นทรัพย์สินของชาติ ควรอยู่ในการกำกับดูแลของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ควรให้เอกชนเข้ามาใช้ประโยชน์ รวมถึงข้อเสนอดังกล่าวคล้ายการแปรรูป NT ทางอ้อม อาจส่งผลกระทบต่อพนักงาน NT ทั้งในด้านการจ้างงาน บทบาทหน้าที่ และอนาคตในสายงาน พร้อมเรียกร้องให้ผู้บริหาร NT ไม่สนับสนุนข้อเสนอของเอไอเอส และให้กระทรวงดีอี คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ดีอี ยืนยันว่า การเสนอซื้อฐานลูกค้ามือถือและบรอดแบนด์รายย่อย แม้จะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่ต้องเปิดกว้างรับข้อเสนอจากทุกราย เพื่อประโยชน์สูงสุดของ NT และยังต้องรับผิดชอบพนักงาน NT ที่จะถูกโอนย้ายไปด้วย ขณะนี้กำลังศึกษาความเป็นไปได้และมีหลายปัจจัยต้องพิจารณา ต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบอร์ด NT และยังต้องดูผลประกอบการของธุรกิจบรอดแบนด์ จึงยังจะไม่ได้ข้อสรุปในเร็ววันนี้ ขณะที่เอไอเอสทำหนังสือชี้แจงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ขณะนี้ยังไม่มีข้อตกลงหรือความคืบหน้าใดๆ โดยหากมีพัฒนาการที่สำคัญ บริษัทจะแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป ส่วนแหล่งข่าวจาก กสทช. กล่าวกับเว็บไซต์ MGR Online ว่า ลูกค้ามือถือ-บรอดแบนด์ซื้อขายกันไม่ได้ ต้องได้รับการยินยอมจากลูกค้า จะบังคับให้ย้ายหรือโอนย้ายโดยไม่แจ้งลูกค้าไม่ได้ ที่ผ่านมาไม่เคยเกิดกรณีแบบนี้มาก่อน ปัจจุบัน NT มีลูกค้าบรอดแบนด์รายย่อยประมาณ 2 ล้านราย ฐานลูกค้ามือถือ NT Mobile ที่มาจาก TOT Mobile เดิม ราว 3 แสนราย ที่ใบอนุญาตคลื่นความถี่ 2100 และ 2300 MHz. จะหมดอายุในวันที่ 3 ส.ค.นี้ และ My by NT ที่มาจาก CAT Telecom เดิมบนคลื่นความถี่ 700 MHz. ราว 2.17 ล้านราย ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าระบบเติมเงิน #Newskit
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 156 มุมมอง 0 รีวิว
  • โรงพยาบาลวัดไร่ขิง เจ้าคุณแย้มไม่ใยดี

    การตรวจสอบเส้นทางการเงิน หลังจับกุมนายแย้ม อินทร์กรุงเก่า หรืออดีตพระธรรมวชิรานุวัตร (เจ้าคุณแย้ม) อายุ 69 ปี อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม และอดีตเจ้าคณะภาค 14 ข้อหายักยอกเงินวัดกว่า 300 ล้านบาทเล่นพนันออนไลน์ มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ การตรวจสอบบัญชีธนาคารที่เกี่ยวข้องกับวัดไร่ขิง 53 บัญชี พบว่ามี 2 บัญชีที่เปิดเพื่อรับเงินจาคตู้บริจาคในนามของมูลนิธิเมตตาประชารักษ์ และจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ให้กับโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) แต่พนักงานสอบสวนได้รับแจ้งข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลว่า ทางวัดไม่ได้สนับสนุนเงินให้กับโรงพยาบาลมานานกว่า 3 ปี และจากการตรวจสอบยอดเงินในบัญชีธนาคาร ทั้ง 2 บัญชี พบว่ามีเงินคงเหลือในบัญชีเพียงแค่ล้านกว่าบาท

    ในอดีตโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) เคยได้รับเงินสนับสนุนด้านทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาแพทย์ การอบรม ผ่านมูลนิธิเมตตาประชารักษ์ และบัญชีสนับสนุนการซื้อเครื่องมือแพทย์อยู่เป็นประจำ แต่ในช่วงปี 2564-2565 ทางโรงพยาบาลได้รับเงินสนับสนุนจากทางวัดน้อยลง และหยุดสนับสนุนมานานกว่า 3 ปี ซึ่งบัญชีมูลนิธิเมตตาประชารักษ์ มีเจ้าคุณแย้มเป็นประธานมูลนิธิและผู้มีอำนาจเบิกถอน ทำให้ พญ.สายจินต์ อิสีประดิฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขณะนั้นได้จัดตั้งมูลนิธิขึ้นมาใหม่ เพื่อเปิดรับเงินจากประชาชนอีกหนึ่งบัญชี โดยขาดอำนาจจากมูลนิธิเมตตาประชารักษ์เดิม

    แม้โรงพยาบาลจะขออนุญาตจากคณะกรรมการวัดไร่ขิง ตั้งตู้บริจาคเงินโรงพยาบาลอีก 1 ตู้ และส่งเจ้าหน้าที่มาเปิดไขเงินเอง ไม่เกี่ยวข้องกับบัญชีวัด แต่ก็ยังพบเห็นตู้บริจาคของมูลนิธิเดิม และตู้บริจาคซื้ออุปกรณ์การแพทย์อันเดิมตั้งอยู่ด้วยเช่นกัน

    สำหรับโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) ก่อตั้งเมื่อปี 2532 โดยพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินทปัญฺโญ) ขณะเป็นเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นพระนักพัฒนา มรณภาพเมื่อปี 2551 โดยจัดสร้างโรงพยาบาลขนาด 400 เตียง ด้วยเงินบริจาคกว่า 95.77 ล้านบาท สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านจักษุวิทยา เพื่อก้าวสู่สถาบันจักษุวิทยาแห่งชาติในอนาคต การให้บริการเป็น 2 ลักษณะคือ สถาบันจักษุวิทยา และโรงพยาบาลทั่วไประดับตติยภูมิ เน้นโรคที่เกี่ยวข้องกับเด็กและผู้สูงอายุ

    สำหรับผู้สนใจบริจาคให้กับโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) ดูรายละเอียดเลขที่บัญชีเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.metta.go.th/Donate/DonateCenter หรือ มูลนิธิโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ โทรศัพท์ 09-1808-8899

    #Newskit
    โรงพยาบาลวัดไร่ขิง เจ้าคุณแย้มไม่ใยดี การตรวจสอบเส้นทางการเงิน หลังจับกุมนายแย้ม อินทร์กรุงเก่า หรืออดีตพระธรรมวชิรานุวัตร (เจ้าคุณแย้ม) อายุ 69 ปี อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม และอดีตเจ้าคณะภาค 14 ข้อหายักยอกเงินวัดกว่า 300 ล้านบาทเล่นพนันออนไลน์ มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ การตรวจสอบบัญชีธนาคารที่เกี่ยวข้องกับวัดไร่ขิง 53 บัญชี พบว่ามี 2 บัญชีที่เปิดเพื่อรับเงินจาคตู้บริจาคในนามของมูลนิธิเมตตาประชารักษ์ และจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ให้กับโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) แต่พนักงานสอบสวนได้รับแจ้งข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลว่า ทางวัดไม่ได้สนับสนุนเงินให้กับโรงพยาบาลมานานกว่า 3 ปี และจากการตรวจสอบยอดเงินในบัญชีธนาคาร ทั้ง 2 บัญชี พบว่ามีเงินคงเหลือในบัญชีเพียงแค่ล้านกว่าบาท ในอดีตโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) เคยได้รับเงินสนับสนุนด้านทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาแพทย์ การอบรม ผ่านมูลนิธิเมตตาประชารักษ์ และบัญชีสนับสนุนการซื้อเครื่องมือแพทย์อยู่เป็นประจำ แต่ในช่วงปี 2564-2565 ทางโรงพยาบาลได้รับเงินสนับสนุนจากทางวัดน้อยลง และหยุดสนับสนุนมานานกว่า 3 ปี ซึ่งบัญชีมูลนิธิเมตตาประชารักษ์ มีเจ้าคุณแย้มเป็นประธานมูลนิธิและผู้มีอำนาจเบิกถอน ทำให้ พญ.สายจินต์ อิสีประดิฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขณะนั้นได้จัดตั้งมูลนิธิขึ้นมาใหม่ เพื่อเปิดรับเงินจากประชาชนอีกหนึ่งบัญชี โดยขาดอำนาจจากมูลนิธิเมตตาประชารักษ์เดิม แม้โรงพยาบาลจะขออนุญาตจากคณะกรรมการวัดไร่ขิง ตั้งตู้บริจาคเงินโรงพยาบาลอีก 1 ตู้ และส่งเจ้าหน้าที่มาเปิดไขเงินเอง ไม่เกี่ยวข้องกับบัญชีวัด แต่ก็ยังพบเห็นตู้บริจาคของมูลนิธิเดิม และตู้บริจาคซื้ออุปกรณ์การแพทย์อันเดิมตั้งอยู่ด้วยเช่นกัน สำหรับโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) ก่อตั้งเมื่อปี 2532 โดยพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินทปัญฺโญ) ขณะเป็นเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นพระนักพัฒนา มรณภาพเมื่อปี 2551 โดยจัดสร้างโรงพยาบาลขนาด 400 เตียง ด้วยเงินบริจาคกว่า 95.77 ล้านบาท สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านจักษุวิทยา เพื่อก้าวสู่สถาบันจักษุวิทยาแห่งชาติในอนาคต การให้บริการเป็น 2 ลักษณะคือ สถาบันจักษุวิทยา และโรงพยาบาลทั่วไประดับตติยภูมิ เน้นโรคที่เกี่ยวข้องกับเด็กและผู้สูงอายุ สำหรับผู้สนใจบริจาคให้กับโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) ดูรายละเอียดเลขที่บัญชีเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.metta.go.th/Donate/DonateCenter หรือ มูลนิธิโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ โทรศัพท์ 09-1808-8899 #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 140 มุมมอง 0 รีวิว
  • มหาดไทยเหิมเกริม อ้าง PDPA ลบชื่อผู้ทิ้งงาน

    บัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงาน เป็นมาตรการลงโทษสำหรับผู้รับจ้างหรือคู่สัญญาของหน่วยงานของรัฐที่ได้รับการคัดเลือกแล้วแต่ไม่ยอมทำสัญญา ไม่ปฎิบัติตามสัญญาโดยไม่มีเหตุอันควร มีลักษณะขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ผลการปฎิบัติงานมีข้อบกพร่อง ผิดพลาด หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐอย่างร้ายแรง และไม่ปฎิบัติตามมาตรา 88 พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ปี 2560 โดยมีอายุความ 10 ปี

    มาบัดนี้กลายเป็นประเด็นความไม่ชอบมาพากล เมื่อนายมานะ นิมิตรมงคล ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ออกมาเปิดประเด็นว่า เมื่อต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือแจ้งไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ให้ลบรายชื่อบริษัทที่ถูกขึ้นบัญชี “ผู้ทิ้งงาน” ออกจากเว็บไซต์ โดยอ้างการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

    "นี่่คือการกระทำที่ส่งสัญญาณชัดว่า ระบบราชการกำลังเอื้อประโยชน์ให้คนผิดและพยายามลบล้างร่องรอยของความล้มเหลวแทนที่จะเปิดเผยความจริงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ" นายมานะ ระบุ

    เฟซบุ๊ก Sarinee Achavanuntakul ของ น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและนักวิจารณ์สังคม มองว่าเป็นการอ้างมั่วมาก เพราะกฎหมาย PDPA เขียนข้อยกเว้นชัดอยู่แล้วในมาตรา 24 ว่ากรณีไหนบ้างที่ไม่ต้องขอความยินยอม ได้แก่

    (4) เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะของผู้ควบคุม ข้อมูลส่วนบุคคล หรือปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐที่ได้มอบให้แก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

    (5) เป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่ประโยชน์ดังกล่าวมีความสำคัญน้อยกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานในข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

    สำหรับหนังสือดังกล่าวเป็นของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ มท.0808.2/ว.1558 ลงวันที่ 2 เม.ย. ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ขอความอนุเคราะห์ลบข้อมูลของผู้ประกอบการที่ถูกแจ้งเวียนชื่อให้เป็นผู้ทิ้งงานและเพิกถอนรายชื่อผู้ทิ้งงาน โดยอ้างว่าคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการพิจารณาผู้ทิ้งงานแจ้งว่า มีผู้ประกอบการได้ขอให้กรมบัญชีกลางลบชื่อผู้ประกอบการ ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับนิติบุคคล เลขทะเบียนนิติบุคคล ชื่อกรรมการผู้จัดการ ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ ที่อยู่ และเลขบัตรประชาชน ซึ่งอาจเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพนำไปใช้ในทางผิดกฎหมายได้ ลงนามโดย นายสุรพล เจริญภูมิ รองอธิบดี ปฎิบัติราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

    #Newskit
    มหาดไทยเหิมเกริม อ้าง PDPA ลบชื่อผู้ทิ้งงาน บัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงาน เป็นมาตรการลงโทษสำหรับผู้รับจ้างหรือคู่สัญญาของหน่วยงานของรัฐที่ได้รับการคัดเลือกแล้วแต่ไม่ยอมทำสัญญา ไม่ปฎิบัติตามสัญญาโดยไม่มีเหตุอันควร มีลักษณะขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ผลการปฎิบัติงานมีข้อบกพร่อง ผิดพลาด หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐอย่างร้ายแรง และไม่ปฎิบัติตามมาตรา 88 พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ปี 2560 โดยมีอายุความ 10 ปี มาบัดนี้กลายเป็นประเด็นความไม่ชอบมาพากล เมื่อนายมานะ นิมิตรมงคล ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ออกมาเปิดประเด็นว่า เมื่อต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือแจ้งไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ให้ลบรายชื่อบริษัทที่ถูกขึ้นบัญชี “ผู้ทิ้งงาน” ออกจากเว็บไซต์ โดยอ้างการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) "นี่่คือการกระทำที่ส่งสัญญาณชัดว่า ระบบราชการกำลังเอื้อประโยชน์ให้คนผิดและพยายามลบล้างร่องรอยของความล้มเหลวแทนที่จะเปิดเผยความจริงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ" นายมานะ ระบุ เฟซบุ๊ก Sarinee Achavanuntakul ของ น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและนักวิจารณ์สังคม มองว่าเป็นการอ้างมั่วมาก เพราะกฎหมาย PDPA เขียนข้อยกเว้นชัดอยู่แล้วในมาตรา 24 ว่ากรณีไหนบ้างที่ไม่ต้องขอความยินยอม ได้แก่ (4) เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะของผู้ควบคุม ข้อมูลส่วนบุคคล หรือปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐที่ได้มอบให้แก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (5) เป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่ประโยชน์ดังกล่าวมีความสำคัญน้อยกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานในข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับหนังสือดังกล่าวเป็นของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ มท.0808.2/ว.1558 ลงวันที่ 2 เม.ย. ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ขอความอนุเคราะห์ลบข้อมูลของผู้ประกอบการที่ถูกแจ้งเวียนชื่อให้เป็นผู้ทิ้งงานและเพิกถอนรายชื่อผู้ทิ้งงาน โดยอ้างว่าคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการพิจารณาผู้ทิ้งงานแจ้งว่า มีผู้ประกอบการได้ขอให้กรมบัญชีกลางลบชื่อผู้ประกอบการ ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับนิติบุคคล เลขทะเบียนนิติบุคคล ชื่อกรรมการผู้จัดการ ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ ที่อยู่ และเลขบัตรประชาชน ซึ่งอาจเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพนำไปใช้ในทางผิดกฎหมายได้ ลงนามโดย นายสุรพล เจริญภูมิ รองอธิบดี ปฎิบัติราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น #Newskit
    Angry
    2
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 189 มุมมอง 0 รีวิว
  • อดีตนักแสดงสิงคโปร์ คุก 40 เดือนพรากผู้เยาว์

    เรื่องอื้อฉาวในวงการบันเทิงสิงคโปร์ เมื่อ เอียน ฟาง เหวยจี้ (Ian Fang Weijie) อดีตนักแสดงสัญชาติจีนวัย 35 ปี ถูกศาลสิงคโปร์สั่งจำคุก 40 เดือนในข้อหาล่วงละเมิดทางเพศเยาวชน เมื่อวันที่ 19 พ.ค. ที่ผ่านมา หลังคำพิพากษาได้รับการประกันตัวด้วยวงเงิน 30,000 เหรียญสิงคโปร์ (ประมาณ 764,000 บาท) แต่จะต้องมารับโทษจำคุกในวันที่ 16 มิ.ย.ที่จะถึงนี้

    สำหรับเหยื่อเป็นเยาวชนเพศหญิงวัย 15 ปี ขณะที่เขาเป็นครูสอนการแสดง พบกันครั้งแรกในงานวงการบันเทิงเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2567 ก่อนที่จะคุยกันทุกวันจนสนิทสนม ต่อมาวันที่ 6 มิ.ย. 2567 แม่ของเยาวชนรายนี้พาเธอมากักตัวที่โรงแรมแห่งหนึ่ง เนื่องจากติดโควิด-19 กระทั่งเวลา 21.00 น. ฟางไปเยี่ยมเธอและมีเพศสัมพันธ์กันครั้งแรกโดยไม่ป้องกัน แม้ฝ่ายหญิงจะร้องขอ

    ไม่ถึงสัปดาห์ต่อมา ฟางยังพาเธอออกจากโรงแรมที่กักตัวไปที่บ้านของฟาง และมีเซ็กซ์อีกครั้ง แม้ต่อมาเธอจะถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลเมื่อวันที่ 17 มิ.ย.2567 เพราะติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ แต่ฟางยังตามไปเยี่ยมและมีเซ็กซ์ในห้องพักผู้ป่วยส่วนตัวอีกด้วย กระทั่งเธอพบว่าอวัยวะเพศมีอาการเจ็บ จึงไปพบแพทย์ ก่อนจะทราบว่าติดเชื้อฮิวแมนพัพพิลโลมาไวรัส (HPV) ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

    เมื่อแม่ของเยาวชนรายนี้ทราบเรื่องจึงแจ้งความกับตำรวจเมื่อเดือน ส.ค.2567 โดยพบว่าฟางและเธอมีเซ็กซ์มาแล้ว 5 ครั้ง ส่วนใหญ่ไม่ป้องกัน ใช้ถุงยางอนามัยเพียง 2 ครั้งตามที่ฝ่ายหญิงร้องขอ จากนั้นฟางพยายามติดต่อผ่านโซเชียลมีเดียหลายครั้ง โน้มน้าวให้แม่ถอนแจ้งความ บอกว่าถ้าติดคุกจะฆ่าตัวตาย ขณะที่เหยื่อต้องรักษาอาการทางจิต เพราะสูญเสียความมั่นใจและไม่มีความสุขอีกต่อไป

    นอกจากนี้ ระหว่างการพิจารณาคดี ทนายความของฟางยังร้องต่อศาลสั่งห้ามเปิดเผยตัวตนของฟาง แต่ภายหลังอัยการร้องต่อศาลขอให้เปิดเผยตัวตน ในที่สุดศาลจึงพิพากษาในข้อหาล่วงละเมิดทางเพศผู้หญิงที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รวมทั้งข้อหาคุกคามจากการส่งข้อความไปหาเหยื่อ และขัดขวางกระบวนการยุติธรรม

    สำหรับเอียน ฟาง เหวยจี้ เกิดเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.2532 ที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ก่อนย้ายมาที่สิงคโปร์ เป็นอดีตนักแสดงค่ายมีเดียคอร์ป (Mediacorp) สื่อของสิงคโปร์ เข้าสู่วงการเมื่อปี 2554 มีผลงานทั้งภาพยนตร์ ละคร พิธีกรรายการวาไรตี้ และผลงานเพลง ได้แก่ ละครเรื่อง Don't Stop Believin' และภาพยนตร์เรื่อง Goodbye Mr. Loser แต่ไม่ต่อสัญญาและออกจากวงการเมื่อปี 2566 โดยผันตัวไปทำงานเป็นครูสอนการแสดงให้กับเยาวชนอายุระหว่าง 4 ถึง 14 ปี ที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง

    #Newskit
    อดีตนักแสดงสิงคโปร์ คุก 40 เดือนพรากผู้เยาว์ เรื่องอื้อฉาวในวงการบันเทิงสิงคโปร์ เมื่อ เอียน ฟาง เหวยจี้ (Ian Fang Weijie) อดีตนักแสดงสัญชาติจีนวัย 35 ปี ถูกศาลสิงคโปร์สั่งจำคุก 40 เดือนในข้อหาล่วงละเมิดทางเพศเยาวชน เมื่อวันที่ 19 พ.ค. ที่ผ่านมา หลังคำพิพากษาได้รับการประกันตัวด้วยวงเงิน 30,000 เหรียญสิงคโปร์ (ประมาณ 764,000 บาท) แต่จะต้องมารับโทษจำคุกในวันที่ 16 มิ.ย.ที่จะถึงนี้ สำหรับเหยื่อเป็นเยาวชนเพศหญิงวัย 15 ปี ขณะที่เขาเป็นครูสอนการแสดง พบกันครั้งแรกในงานวงการบันเทิงเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2567 ก่อนที่จะคุยกันทุกวันจนสนิทสนม ต่อมาวันที่ 6 มิ.ย. 2567 แม่ของเยาวชนรายนี้พาเธอมากักตัวที่โรงแรมแห่งหนึ่ง เนื่องจากติดโควิด-19 กระทั่งเวลา 21.00 น. ฟางไปเยี่ยมเธอและมีเพศสัมพันธ์กันครั้งแรกโดยไม่ป้องกัน แม้ฝ่ายหญิงจะร้องขอ ไม่ถึงสัปดาห์ต่อมา ฟางยังพาเธอออกจากโรงแรมที่กักตัวไปที่บ้านของฟาง และมีเซ็กซ์อีกครั้ง แม้ต่อมาเธอจะถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลเมื่อวันที่ 17 มิ.ย.2567 เพราะติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ แต่ฟางยังตามไปเยี่ยมและมีเซ็กซ์ในห้องพักผู้ป่วยส่วนตัวอีกด้วย กระทั่งเธอพบว่าอวัยวะเพศมีอาการเจ็บ จึงไปพบแพทย์ ก่อนจะทราบว่าติดเชื้อฮิวแมนพัพพิลโลมาไวรัส (HPV) ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมื่อแม่ของเยาวชนรายนี้ทราบเรื่องจึงแจ้งความกับตำรวจเมื่อเดือน ส.ค.2567 โดยพบว่าฟางและเธอมีเซ็กซ์มาแล้ว 5 ครั้ง ส่วนใหญ่ไม่ป้องกัน ใช้ถุงยางอนามัยเพียง 2 ครั้งตามที่ฝ่ายหญิงร้องขอ จากนั้นฟางพยายามติดต่อผ่านโซเชียลมีเดียหลายครั้ง โน้มน้าวให้แม่ถอนแจ้งความ บอกว่าถ้าติดคุกจะฆ่าตัวตาย ขณะที่เหยื่อต้องรักษาอาการทางจิต เพราะสูญเสียความมั่นใจและไม่มีความสุขอีกต่อไป นอกจากนี้ ระหว่างการพิจารณาคดี ทนายความของฟางยังร้องต่อศาลสั่งห้ามเปิดเผยตัวตนของฟาง แต่ภายหลังอัยการร้องต่อศาลขอให้เปิดเผยตัวตน ในที่สุดศาลจึงพิพากษาในข้อหาล่วงละเมิดทางเพศผู้หญิงที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รวมทั้งข้อหาคุกคามจากการส่งข้อความไปหาเหยื่อ และขัดขวางกระบวนการยุติธรรม สำหรับเอียน ฟาง เหวยจี้ เกิดเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.2532 ที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ก่อนย้ายมาที่สิงคโปร์ เป็นอดีตนักแสดงค่ายมีเดียคอร์ป (Mediacorp) สื่อของสิงคโปร์ เข้าสู่วงการเมื่อปี 2554 มีผลงานทั้งภาพยนตร์ ละคร พิธีกรรายการวาไรตี้ และผลงานเพลง ได้แก่ ละครเรื่อง Don't Stop Believin' และภาพยนตร์เรื่อง Goodbye Mr. Loser แต่ไม่ต่อสัญญาและออกจากวงการเมื่อปี 2566 โดยผันตัวไปทำงานเป็นครูสอนการแสดงให้กับเยาวชนอายุระหว่าง 4 ถึง 14 ปี ที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 177 มุมมอง 0 รีวิว
  • TNG eWallet เติมเงินด้วยบัตรไทยได้แล้ว

    สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางไปเที่ยวประเทศมาเลเซียบ่อยครั้ง นอกจากจะต้องมีหัวแปลงปลั๊กไฟมาเลเซีย กับเบอร์มือถือมาเลเซียไว้เล่นเน็ตแทนการซื้อแพ็คเกจโรมมิ่งราคาแพงแล้ว บัตร Touch 'n Go สำหรับใช้บริการขนส่งมวลชน เช่น รถเมล์ รถไฟฟ้าในกรุงกัวลาลัมเปอร์ จ่ายค่าทางด่วน ที่จอดรถ และร้านค้าก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน ยิ่งถ้าใช้ควบคู่กับแอปพลิเคชัน TNG eWallet ก็สามารถทำธุรกรรมกับบัตร Touch 'n Go รุ่น NFC ได้ทันที รวมทั้งใช้จ่ายที่ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ และประเทศไทยได้อีกด้วย

    การเติมเงินถ้าเป็นในประเทศมาเลเซีย มีช่องทางที่หลากหลาย โดยเฉพาะสถานีรถไฟฟ้าในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ขั้นต่ำ 10 ริงกิตโดยไม่มีค่าธรรมเนียม แต่ถ้าเป็นต่างประเทศ คนที่อยู่ชายแดนไทย-มาเลเซีย อาจเลือกใช้วิธีแลกเงินที่ร้านแลกเงิน แล้วซื้อรหัสเติมเงิน (Reload PIN) ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นฝั่งประเทศมาเลเซีย หรือหากอยู่ที่ต่างประเทศมักจะซื้อรหัสผ่านตัวแทนจำหน่าย เช่น เว็บไซต์ SEAGM ขั้นต่ำ 10 ริงกิต บวกค่าบริการ 0.10 ริงกิต สำหรับชาวไทยสามารถซื้อรหัสผ่านเว็บไซต์ เลือกสกุลเงิน MYR แล้วเลือกชำระผ่าน DuitNow QR สแกนจ่ายผ่านแอปฯ Krungthai NEXT หรือ CIMB THAI ได้

    อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ผู้ใช้งาน Touch N'Go e-Wallet ที่อยู่ต่างประเทศ สามารถเติมเงินด้วยบัตร VISA, Mastercard และ AMEX ที่ออกจากต่างประเทศได้แล้วบางธนาคารในประเทศไทย ขั้นต่ำ 20 ริงกิต เช่น บัตร YouTrip ของธนาคารกสิกรไทย บัตร Krungthai Travel Debit Card ธนาคารกรุงไทย โดยคิดค่าธรรมเนียม 2.6% ของยอดที่เติม โดยจะเป็นยอดเงินแบบ Transferable สามารถโอนเงินระหว่างบุคคล (Peer-to-Peer) ได้ ต่างจากการเติมเงินผ่าน Reload PIN สามารถเลือกแบบ Non-Transferable สำหรับสแกนจ่ายร้านค้าเท่านั้น ที่ไม่มีค่าธรรมเนียม แต่หากโอนเงินระหว่างบุคคลจะถูกหัก 1% ต่อรายการ

    วิธีการเติมเงิน ให้เข้าไปที่ "Add money" เลือก "Credit Card" ใส่จำนวนเงินที่ต้องการลงไป (ขั้นต่ำ 20 ริงกิต) แล้วกด Continue จากนั้นกรอกเลขที่บัตรเครดิต (Card Number) เดือน/ปีที่หมดอายุบัตร (MM/YY) รหัสความปลอดภัย (CVV/CVV2) แล้วกด Next ระบบจะยืนยันการทำรายการ (Confirm amount) โดยจะแสดงจำนวนเงิน (Amount) และค่าธรรมเนียม (Convenience fee 2.6%) กด Continue ระบบจะเข้าสู่หน้าระบบรักษาความปลอดภัยของธนาคาร กรอกรหัส OTP ลงไปเหมือนการช้อปปิ้งออนไลน์ เมื่อทำรายการสำเร็จจะมีข้อความแจ้งเตือนและหน้าธุรกรรมสำเร็จ (Successfully added)

    #Newskit
    TNG eWallet เติมเงินด้วยบัตรไทยได้แล้ว สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางไปเที่ยวประเทศมาเลเซียบ่อยครั้ง นอกจากจะต้องมีหัวแปลงปลั๊กไฟมาเลเซีย กับเบอร์มือถือมาเลเซียไว้เล่นเน็ตแทนการซื้อแพ็คเกจโรมมิ่งราคาแพงแล้ว บัตร Touch 'n Go สำหรับใช้บริการขนส่งมวลชน เช่น รถเมล์ รถไฟฟ้าในกรุงกัวลาลัมเปอร์ จ่ายค่าทางด่วน ที่จอดรถ และร้านค้าก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน ยิ่งถ้าใช้ควบคู่กับแอปพลิเคชัน TNG eWallet ก็สามารถทำธุรกรรมกับบัตร Touch 'n Go รุ่น NFC ได้ทันที รวมทั้งใช้จ่ายที่ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ และประเทศไทยได้อีกด้วย การเติมเงินถ้าเป็นในประเทศมาเลเซีย มีช่องทางที่หลากหลาย โดยเฉพาะสถานีรถไฟฟ้าในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ขั้นต่ำ 10 ริงกิตโดยไม่มีค่าธรรมเนียม แต่ถ้าเป็นต่างประเทศ คนที่อยู่ชายแดนไทย-มาเลเซีย อาจเลือกใช้วิธีแลกเงินที่ร้านแลกเงิน แล้วซื้อรหัสเติมเงิน (Reload PIN) ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นฝั่งประเทศมาเลเซีย หรือหากอยู่ที่ต่างประเทศมักจะซื้อรหัสผ่านตัวแทนจำหน่าย เช่น เว็บไซต์ SEAGM ขั้นต่ำ 10 ริงกิต บวกค่าบริการ 0.10 ริงกิต สำหรับชาวไทยสามารถซื้อรหัสผ่านเว็บไซต์ เลือกสกุลเงิน MYR แล้วเลือกชำระผ่าน DuitNow QR สแกนจ่ายผ่านแอปฯ Krungthai NEXT หรือ CIMB THAI ได้ อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ผู้ใช้งาน Touch N'Go e-Wallet ที่อยู่ต่างประเทศ สามารถเติมเงินด้วยบัตร VISA, Mastercard และ AMEX ที่ออกจากต่างประเทศได้แล้วบางธนาคารในประเทศไทย ขั้นต่ำ 20 ริงกิต เช่น บัตร YouTrip ของธนาคารกสิกรไทย บัตร Krungthai Travel Debit Card ธนาคารกรุงไทย โดยคิดค่าธรรมเนียม 2.6% ของยอดที่เติม โดยจะเป็นยอดเงินแบบ Transferable สามารถโอนเงินระหว่างบุคคล (Peer-to-Peer) ได้ ต่างจากการเติมเงินผ่าน Reload PIN สามารถเลือกแบบ Non-Transferable สำหรับสแกนจ่ายร้านค้าเท่านั้น ที่ไม่มีค่าธรรมเนียม แต่หากโอนเงินระหว่างบุคคลจะถูกหัก 1% ต่อรายการ วิธีการเติมเงิน ให้เข้าไปที่ "Add money" เลือก "Credit Card" ใส่จำนวนเงินที่ต้องการลงไป (ขั้นต่ำ 20 ริงกิต) แล้วกด Continue จากนั้นกรอกเลขที่บัตรเครดิต (Card Number) เดือน/ปีที่หมดอายุบัตร (MM/YY) รหัสความปลอดภัย (CVV/CVV2) แล้วกด Next ระบบจะยืนยันการทำรายการ (Confirm amount) โดยจะแสดงจำนวนเงิน (Amount) และค่าธรรมเนียม (Convenience fee 2.6%) กด Continue ระบบจะเข้าสู่หน้าระบบรักษาความปลอดภัยของธนาคาร กรอกรหัส OTP ลงไปเหมือนการช้อปปิ้งออนไลน์ เมื่อทำรายการสำเร็จจะมีข้อความแจ้งเตือนและหน้าธุรกรรมสำเร็จ (Successfully added) #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 217 มุมมอง 0 รีวิว
  • No Processing Fee แค่มุกใหม่ไทยแอร์เอเชีย

    แคมเปญล่าสุดของสายการบินไทยแอร์เอเชีย คือการงดเก็บค่าธรรมเนียมการชำระเงิน (Processing Fee) สำหรับทุกการจองเที่ยวบิน FD ผ่านแอปพลิเคชัน AirAsia MOVE ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. ถึง 15 ส.ค. 2568 ถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดล่าสุดนอกจากการออกโปรโมชัน BIG SALE จ่ายเฉพาะภาษีสนามบิน (Airport Tax) แต่ก็ต้องจ่ายค่า Processing Fee ตั้งแต่ 107.00 ถึง 128.40 บาทต่อคนต่อเที่ยวบิน เท่ากับค่าโดยสารราคาโปรโมชันประมาณ 300-600 บาทต่อเที่ยวบิน ถึงกระนั้น ในช่วงนี้ยังไม่มีโปรโมชันแรงๆ อย่าง BIG SALE เกิดขึ้น มีแต่โปรโมชันปกติ ราคาเริ่มต้นที่ 900-930 บาทต่อเที่ยว ซึ่งช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยว (Low Season) ที่นักท่องเที่ยวลดลง ราคาบัตรโดยสารไม่น่าจะเกิน 2,000 บาทต่อเที่ยว

    แต่ถ้าเป็นประเทศมาเลเซีย ต้นกำเนิดแอร์เอเชีย เส้นทางบินทั้งในมาเลเซียและต่างประเทศ เช่น ดอนเมือง สุวรรณภูมิ ไม่มีค่า Processing Fee อย่างชัดเจน เพราะได้ยกเลิกไปตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย. 2562 หรือเมื่อ 6 ปีก่อน หลังคณะกรรมการการบินแห่งมาเลเซีย (MAVCOM) สั่งปรับสายการบินแอร์เอเชีย และแอร์เอเชียเอ็กซ์ สายการบินละ 200,000 ริงกิต เนื่องจากคิดค่า Processing Fee แยกจากค่าโดยสารพื้นฐาน เพราะก่อนหน้านี้ MAVCOM กำหนดให้ทุกสายการบินในมาเลเซียยกเลิกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแฝง หนึ่งในนั้นคือค่า Processing Fee ตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคการบินแห่งมาเลเซีย 2016 (MACPC) นับจากนั้นเป็นต้นมาการจองผ่านแอปฯ ของแอร์เอเชีย โดยเฉพาะบัตรเครดิตจะไม่ถูกเรียกเก็บค่า Processing Fee อีกต่อไป

    น่าเสียดายที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หรือ CAAT กลับมองข้ามถึงเรื่องนี้ ทั้งที่เป็นการคุ้มครองผู้โดยสารไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบอีกทางหนึ่ง เพราะที่ผ่านมาโปรโมชันค่าโดยสารถูกที่สุดมีเพียงแค่การนำที่นั่งในช่วงเวลาที่ไม่มีผู้โดยสารคับคั่งออกมาลดราคา เฉลี่ยแล้วไม่เกิน 20% ของจำนวนที่นั่งต่อเที่ยวบิน ผู้โดยสารจำนวนไม่น้อยนอกจากจะต้องจ่ายในราคาที่สูงแล้ว ต่อที่สองยังต้องจ่ายค่า Processing Fee ต่อคนต่อเที่ยวบินอีก ถึงกระนั้นหากมองอีกมุมหนึ่ง ถือเป็นช่องทางหารายได้ของสายการบิน ตราบใดที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายห้ามเหมือนมาเลเซีย อีกทั้งการชำระเงินผ่านช่องทาง Direct Debit และบัตรเครดิต สายการบินยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแก่ผู้ให้บริการอีก

    สำหรับผลประกอบการไตรมาส 1/2568 บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV ผู้ถือหุ้นในสายการบินแอร์เอเชีย พบว่า รายได้จากการขายและบริการ 13,225 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,387 ล้านบาท

    #Newskit
    No Processing Fee แค่มุกใหม่ไทยแอร์เอเชีย แคมเปญล่าสุดของสายการบินไทยแอร์เอเชีย คือการงดเก็บค่าธรรมเนียมการชำระเงิน (Processing Fee) สำหรับทุกการจองเที่ยวบิน FD ผ่านแอปพลิเคชัน AirAsia MOVE ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. ถึง 15 ส.ค. 2568 ถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดล่าสุดนอกจากการออกโปรโมชัน BIG SALE จ่ายเฉพาะภาษีสนามบิน (Airport Tax) แต่ก็ต้องจ่ายค่า Processing Fee ตั้งแต่ 107.00 ถึง 128.40 บาทต่อคนต่อเที่ยวบิน เท่ากับค่าโดยสารราคาโปรโมชันประมาณ 300-600 บาทต่อเที่ยวบิน ถึงกระนั้น ในช่วงนี้ยังไม่มีโปรโมชันแรงๆ อย่าง BIG SALE เกิดขึ้น มีแต่โปรโมชันปกติ ราคาเริ่มต้นที่ 900-930 บาทต่อเที่ยว ซึ่งช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยว (Low Season) ที่นักท่องเที่ยวลดลง ราคาบัตรโดยสารไม่น่าจะเกิน 2,000 บาทต่อเที่ยว แต่ถ้าเป็นประเทศมาเลเซีย ต้นกำเนิดแอร์เอเชีย เส้นทางบินทั้งในมาเลเซียและต่างประเทศ เช่น ดอนเมือง สุวรรณภูมิ ไม่มีค่า Processing Fee อย่างชัดเจน เพราะได้ยกเลิกไปตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย. 2562 หรือเมื่อ 6 ปีก่อน หลังคณะกรรมการการบินแห่งมาเลเซีย (MAVCOM) สั่งปรับสายการบินแอร์เอเชีย และแอร์เอเชียเอ็กซ์ สายการบินละ 200,000 ริงกิต เนื่องจากคิดค่า Processing Fee แยกจากค่าโดยสารพื้นฐาน เพราะก่อนหน้านี้ MAVCOM กำหนดให้ทุกสายการบินในมาเลเซียยกเลิกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแฝง หนึ่งในนั้นคือค่า Processing Fee ตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคการบินแห่งมาเลเซีย 2016 (MACPC) นับจากนั้นเป็นต้นมาการจองผ่านแอปฯ ของแอร์เอเชีย โดยเฉพาะบัตรเครดิตจะไม่ถูกเรียกเก็บค่า Processing Fee อีกต่อไป น่าเสียดายที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หรือ CAAT กลับมองข้ามถึงเรื่องนี้ ทั้งที่เป็นการคุ้มครองผู้โดยสารไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบอีกทางหนึ่ง เพราะที่ผ่านมาโปรโมชันค่าโดยสารถูกที่สุดมีเพียงแค่การนำที่นั่งในช่วงเวลาที่ไม่มีผู้โดยสารคับคั่งออกมาลดราคา เฉลี่ยแล้วไม่เกิน 20% ของจำนวนที่นั่งต่อเที่ยวบิน ผู้โดยสารจำนวนไม่น้อยนอกจากจะต้องจ่ายในราคาที่สูงแล้ว ต่อที่สองยังต้องจ่ายค่า Processing Fee ต่อคนต่อเที่ยวบินอีก ถึงกระนั้นหากมองอีกมุมหนึ่ง ถือเป็นช่องทางหารายได้ของสายการบิน ตราบใดที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายห้ามเหมือนมาเลเซีย อีกทั้งการชำระเงินผ่านช่องทาง Direct Debit และบัตรเครดิต สายการบินยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแก่ผู้ให้บริการอีก สำหรับผลประกอบการไตรมาส 1/2568 บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV ผู้ถือหุ้นในสายการบินแอร์เอเชีย พบว่า รายได้จากการขายและบริการ 13,225 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,387 ล้านบาท #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 216 มุมมอง 0 รีวิว
  • แอปฯ K PLUS สแกนจ่ายที่ลาวได้แล้ว

    แอปพลิเคชัน K PLUS ของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เวอร์ชัน 5.19.11 เมื่อวันที่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ สแกนจ่ายผ่าน QR Code ระบบ Cross-border QR Payment ของ LAO QR ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยไม่ต้องพกเงินสด ไม่ต้องแลกเงิน และไม่มีค่าธรรมเนียม เป็นธนาคารที่สี่ ต่อจากแอปพลิเคชัน KMA ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, Krungthai NEXT ธนาคารกรุงไทย และ Bangkok Bank Mobile Banking ธนาคารกรุงเทพ

    ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของโมบายแบงกิ้งอันดับหนึ่ง ด้วยจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 23 ล้านราย หันมาพัฒนาระบบ Cross-border QR Payment เอง นอกจากพัฒนารองรับการสแกน QR Code ในต่างประเทศหลากหลายรูปแบบ เช่น UnionPay QR Payment, Alipay+, WeChat เฉพาะประเทศจีน และ Cross Border Outbound เฉพาะประเทศมาเลเซีย ที่สแกนจ่าย QR Code ของ DuitNow ผ่านเครือข่าย Alipay+ ต่างจากธนาคารอื่น ที่เชื่อมโยงระบบจากเครือข่าย PayNet ผู้ให้บริการระบบ DuitNow

    ผู้ใช้งาน K PLUS สามารถสแกนคิวอาร์โค้ดจากร้านค้าที่ใช้ระบบ LAO QR ของธนาคารในลาว 12 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารเอซีลีดา (ACLEDA) ธนาคารส่งเสริมกสิกรรรม (APB) ธนาคารการค้าต่างประเทศลาว (BCEL) ธนาคารลาว-ฝรั่งเศส (LBF) ธนาคารบีไอซี (BIC) ธนาคารอินโดจีน (IBL) ธนาคารร่วมพัฒนา (JDB) ธนาคารกสิกรไทย ลาว (KBANK LAOS) ธนาคารพัฒนาลาว (LDB) ธนาคารร่วมธุรกิจลาว-เวียด (Laoviet) ธนาคารพงสะหวัน (Pongsavanh) และธนาคารเอสที (ST Bank) วงเงินไม่เกิน 100,000 บาทต่อรายการ และไม่เกิน 500,000 บาทต่อวัน

    อย่างไรก็ตาม แอปฯ ธนาคารในไทยทั้ง 4 แห่ง สามารถสแกน QR Code ของ LAO QR ได้เฉพาะคิวอาร์โค้ดร้านค้าที่รองรับเท่านั้น แต่คิวอาร์โค้ดสำหรับโอนเงินระหว่างบุคคล หรือร้านค้าขนาดเล็กในประเทศลาวไม่สามารถใช้ได้ จึงควรทดลองใช้ธนาคารของไทยสแกนคิวอาร์โค้ดก่อน โดยยังไม่ต้องโอนเงิน หากขึ้นหน้าจอชำระเงินถือว่าสามารถสแกนจ่ายได้

    ก่อนหน้านี้ผู้ใช้โมบายแบงกิ้งในประเทศลาว สามารถสแกนจ่ายตามร้านค้า Thai QR Payment ผ่านเครื่องรับบัตร EDC หรือ QR Code สำหรับร้านค้า มาตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 2567 อาทิ K SHOP ธนาคารกสิกรไทย, ถุงเงิน ธนาคารกรุงไทย, BeMerchant NextGen ธนาคารกรุงเทพ และ krungsri Mung-Mee SHOP ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

    ข้อมูลจากกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว ประเทศลาว พบว่าในปี 2567 ที่ผ่านมา ประเทศลาวต้อนรับนักท่องเที่ยว 4,120,832 คน โดยอันดับ 1 นักท่องเที่ยวจากไทย 1,215,553 คน อันดับ 2 จากเวียดนาม 1,054,204 คน และอันดับ 3 จากจีน 1,048,034 คน

    #Newskit
    แอปฯ K PLUS สแกนจ่ายที่ลาวได้แล้ว แอปพลิเคชัน K PLUS ของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เวอร์ชัน 5.19.11 เมื่อวันที่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ สแกนจ่ายผ่าน QR Code ระบบ Cross-border QR Payment ของ LAO QR ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยไม่ต้องพกเงินสด ไม่ต้องแลกเงิน และไม่มีค่าธรรมเนียม เป็นธนาคารที่สี่ ต่อจากแอปพลิเคชัน KMA ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, Krungthai NEXT ธนาคารกรุงไทย และ Bangkok Bank Mobile Banking ธนาคารกรุงเทพ ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของโมบายแบงกิ้งอันดับหนึ่ง ด้วยจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 23 ล้านราย หันมาพัฒนาระบบ Cross-border QR Payment เอง นอกจากพัฒนารองรับการสแกน QR Code ในต่างประเทศหลากหลายรูปแบบ เช่น UnionPay QR Payment, Alipay+, WeChat เฉพาะประเทศจีน และ Cross Border Outbound เฉพาะประเทศมาเลเซีย ที่สแกนจ่าย QR Code ของ DuitNow ผ่านเครือข่าย Alipay+ ต่างจากธนาคารอื่น ที่เชื่อมโยงระบบจากเครือข่าย PayNet ผู้ให้บริการระบบ DuitNow ผู้ใช้งาน K PLUS สามารถสแกนคิวอาร์โค้ดจากร้านค้าที่ใช้ระบบ LAO QR ของธนาคารในลาว 12 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารเอซีลีดา (ACLEDA) ธนาคารส่งเสริมกสิกรรรม (APB) ธนาคารการค้าต่างประเทศลาว (BCEL) ธนาคารลาว-ฝรั่งเศส (LBF) ธนาคารบีไอซี (BIC) ธนาคารอินโดจีน (IBL) ธนาคารร่วมพัฒนา (JDB) ธนาคารกสิกรไทย ลาว (KBANK LAOS) ธนาคารพัฒนาลาว (LDB) ธนาคารร่วมธุรกิจลาว-เวียด (Laoviet) ธนาคารพงสะหวัน (Pongsavanh) และธนาคารเอสที (ST Bank) วงเงินไม่เกิน 100,000 บาทต่อรายการ และไม่เกิน 500,000 บาทต่อวัน อย่างไรก็ตาม แอปฯ ธนาคารในไทยทั้ง 4 แห่ง สามารถสแกน QR Code ของ LAO QR ได้เฉพาะคิวอาร์โค้ดร้านค้าที่รองรับเท่านั้น แต่คิวอาร์โค้ดสำหรับโอนเงินระหว่างบุคคล หรือร้านค้าขนาดเล็กในประเทศลาวไม่สามารถใช้ได้ จึงควรทดลองใช้ธนาคารของไทยสแกนคิวอาร์โค้ดก่อน โดยยังไม่ต้องโอนเงิน หากขึ้นหน้าจอชำระเงินถือว่าสามารถสแกนจ่ายได้ ก่อนหน้านี้ผู้ใช้โมบายแบงกิ้งในประเทศลาว สามารถสแกนจ่ายตามร้านค้า Thai QR Payment ผ่านเครื่องรับบัตร EDC หรือ QR Code สำหรับร้านค้า มาตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 2567 อาทิ K SHOP ธนาคารกสิกรไทย, ถุงเงิน ธนาคารกรุงไทย, BeMerchant NextGen ธนาคารกรุงเทพ และ krungsri Mung-Mee SHOP ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ข้อมูลจากกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว ประเทศลาว พบว่าในปี 2567 ที่ผ่านมา ประเทศลาวต้อนรับนักท่องเที่ยว 4,120,832 คน โดยอันดับ 1 นักท่องเที่ยวจากไทย 1,215,553 คน อันดับ 2 จากเวียดนาม 1,054,204 คน และอันดับ 3 จากจีน 1,048,034 คน #Newskit
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 242 มุมมอง 0 รีวิว
  • รถไฟฟ้าสายสีชมพู เปิดประตูสู่เมืองทองธานี

    วันอังคารที่ 20 พ.ค. รถไฟฟ้ามหานครสาย สีชมพู จะเปิดทดสอบระบบส่วนต่อขยายเมืองทองธานี 2 สถานี ได้แก่ สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี (MT01) และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี (MT02) วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เปิดบริการเวลา 06.00 ถึง 22.00 น. วันเสาร์และวันอาทิตย์ เปิดบริการเวลา 06.00 ถึง 23.30 น. ความถี่ทุก 10 นาที ก่อนเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์วันที่ 17 มิ.ย. ถือเป็นการเติมเต็มอาณาจักรเมืองทองธานี บนพื้นที่รวมกว่า 4,000 ไร่ ประกอบด้วยโครงการอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์แสดงสินค้าและศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี โรงแรม และพื้นที่ค้าปลีก ให้มีระบบคมนาคมขนส่งที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น

    จากเดิมการเดินทางมายังอิมแพ็คด้วยระบบขนส่งมวลชน มีทั้งรถประจำทาง รถตู้สาธารณะ และรถสองแถว แต่ต้องประสบปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะถนนแจ้งวัฒนะ แม้โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะให้บริการที่สถานีศรีรัช (PK09) ทางออก 1 แต่ต้องต่อรถสองแถว 12 บาท รถตู้ 15 บาท หรือมอเตอร์ไซค์รับจ้าง 30-40 บาท

    แต่รถไฟฟ้ามหานครสายสีชมพู ส่วนต่อขยายเมืองทองธานี เมื่อออกจากสถานีเมืองทองธานี (PK10) สามารถเปลี่ยนขบวนรถไปยังสถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี โดยเสียค่าโดยสารเพิ่ม 3-5 บาท แต่จ่ายสูงสุดในโครงข่ายสายสีชมพู (ศูนย์ราชการนนทบุรี-มีนบุรี) ไม่เกิน 45 บาท เมื่อถึงสถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี ใช้ทางออก 3 เพื่อไปยังอิมแพ็คได้ทันที

    หากเดินทางด้วยรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง เดินทางข้ามสายที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ด้วยบัตร EMV (บัตรเครดิต VISA และ Mastercard ทุกธนาคาร บัตรเดบิตธนาคารกรุงไทย และยูโอบี) ยังมีส่วนลดค่าแรกเข้า 15 บาท ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียว เปลี่ยนขบวนรถที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ไม่มีส่วนลดและไม่สามารถใช้บัตร EMV ได้ ต้องใช้บัตรแรบบิท หรือบัตรโดยสารเที่ยวเดียว

    การให้บริการจะใช้รถจำนวน 3 ขบวน จากทั้งหมด 42 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ มีที่นั่งทั้งหมด 60 ที่นั่งต่อขบวน รองรับผู้โดยสารได้ทั้งหมด 738 คน ระยะแรกคาดว่าจะมีผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการประมาณ 13,800 คน-เที่ยวต่อวัน จากปัจจุบันมีผู้โดยสารช่วงแคราย-มีนบุรีเฉลี่ยประมาณ 70,000 คน-เที่ยวต่อวัน และเมื่อเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์จะขยายเวลาให้บริการเป็น 06.00 ถึง 24.00 น. ความถี่ 10 นาทีต่อขบวน แต่ช่วงที่มีอีเวนต์ คอนเสิร์ต จะเพิ่มความถี่เป็น 5 นาทีต่อขบวน

    นอกจากนี้ สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี ยังมีทางออก 1 ไปมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ทางออก 2 ไปโรงเรียนวัดผาสุกมณีจักร และทางออก 4 ไปซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39

    #Newskit
    รถไฟฟ้าสายสีชมพู เปิดประตูสู่เมืองทองธานี วันอังคารที่ 20 พ.ค. รถไฟฟ้ามหานครสาย สีชมพู จะเปิดทดสอบระบบส่วนต่อขยายเมืองทองธานี 2 สถานี ได้แก่ สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี (MT01) และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี (MT02) วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เปิดบริการเวลา 06.00 ถึง 22.00 น. วันเสาร์และวันอาทิตย์ เปิดบริการเวลา 06.00 ถึง 23.30 น. ความถี่ทุก 10 นาที ก่อนเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์วันที่ 17 มิ.ย. ถือเป็นการเติมเต็มอาณาจักรเมืองทองธานี บนพื้นที่รวมกว่า 4,000 ไร่ ประกอบด้วยโครงการอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์แสดงสินค้าและศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี โรงแรม และพื้นที่ค้าปลีก ให้มีระบบคมนาคมขนส่งที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น จากเดิมการเดินทางมายังอิมแพ็คด้วยระบบขนส่งมวลชน มีทั้งรถประจำทาง รถตู้สาธารณะ และรถสองแถว แต่ต้องประสบปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะถนนแจ้งวัฒนะ แม้โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะให้บริการที่สถานีศรีรัช (PK09) ทางออก 1 แต่ต้องต่อรถสองแถว 12 บาท รถตู้ 15 บาท หรือมอเตอร์ไซค์รับจ้าง 30-40 บาท แต่รถไฟฟ้ามหานครสายสีชมพู ส่วนต่อขยายเมืองทองธานี เมื่อออกจากสถานีเมืองทองธานี (PK10) สามารถเปลี่ยนขบวนรถไปยังสถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี โดยเสียค่าโดยสารเพิ่ม 3-5 บาท แต่จ่ายสูงสุดในโครงข่ายสายสีชมพู (ศูนย์ราชการนนทบุรี-มีนบุรี) ไม่เกิน 45 บาท เมื่อถึงสถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี ใช้ทางออก 3 เพื่อไปยังอิมแพ็คได้ทันที หากเดินทางด้วยรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง เดินทางข้ามสายที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ด้วยบัตร EMV (บัตรเครดิต VISA และ Mastercard ทุกธนาคาร บัตรเดบิตธนาคารกรุงไทย และยูโอบี) ยังมีส่วนลดค่าแรกเข้า 15 บาท ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียว เปลี่ยนขบวนรถที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ไม่มีส่วนลดและไม่สามารถใช้บัตร EMV ได้ ต้องใช้บัตรแรบบิท หรือบัตรโดยสารเที่ยวเดียว การให้บริการจะใช้รถจำนวน 3 ขบวน จากทั้งหมด 42 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ มีที่นั่งทั้งหมด 60 ที่นั่งต่อขบวน รองรับผู้โดยสารได้ทั้งหมด 738 คน ระยะแรกคาดว่าจะมีผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการประมาณ 13,800 คน-เที่ยวต่อวัน จากปัจจุบันมีผู้โดยสารช่วงแคราย-มีนบุรีเฉลี่ยประมาณ 70,000 คน-เที่ยวต่อวัน และเมื่อเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์จะขยายเวลาให้บริการเป็น 06.00 ถึง 24.00 น. ความถี่ 10 นาทีต่อขบวน แต่ช่วงที่มีอีเวนต์ คอนเสิร์ต จะเพิ่มความถี่เป็น 5 นาทีต่อขบวน นอกจากนี้ สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี ยังมีทางออก 1 ไปมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ทางออก 2 ไปโรงเรียนวัดผาสุกมณีจักร และทางออก 4 ไปซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 200 มุมมอง 0 รีวิว
  • วิบากกรรมเปรมชัย จากเสือดำถึงตึก สตง.

    ยังคงกลายเป็นวิบากกรรมต่อไปสำหรับนายเปรมชัย กรรณสูต วัย 71 ปี อดีตประธานกรรมการ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ล่าสุดศาลอาญาอนุมัติหมายจับในความผิดตามมาตรา 227 และมาตรา 238 กรณีอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา พร้อมกับกลุ่มบริษัทผู้ออกแบบ กลุ่มบริษัทผู้รับจ้างควบคุมการก่อสร้าง และกลุ่มบริษัทผู้รับจ้างก่อสร้าง รวม 17 ราย ตามที่พนักงานสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล ขออนุมัติศาลออกหมายจับ ซึ่งเจ้าตัวได้ประสานเข้ามอบตัวในวันที่ 16 พ.ค. เวลา 09.00 น. ที่ สน.บางซื่อ พร้อมผู้ต้องหารายอื่น

    สำหรับผู้ต้องหาตามหมายจับทั้ง 17 ราย มีทั้งผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลกลุ่มบริษัทผู้ออกแบบ 1 ราย บริษัทผู้รับจ้างควบคุมการก่อสร้าง 4 ราย บริษัทผู้รับจ้างก่อสร้าง 3 ราย กลุ่มวิศวกรผู้ลงนามในแบบแปลน 5 ราย ผู้จัดการโครงการ 1 ราย ผู้ได้รับมอบหมายกระทำแทนกิจการร่วมค้าฯ 1 ราย และวิศวกรโครงสร้าง บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด อีก 2 ราย กรณีของนายเปรมชัย แม้จะลาออกจากประธานกรรมการ ITD ไปแล้ว แต่มีรายชื่อเป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจลงนามใน ITD ลงลายมือชื่อร่วมกับ นางนิจพร จรณะจิตต์ อายุ 73 ปี รวมเป็นสองคนและประทับตราสำคัญของบริษัทฯ

    จากการตรวจสอบพยานหลักฐานพบว่าแบบแปลนการก่อสร้างไม่สอดคล้องกับกฎกระทรวง และมาตรฐาน กลุ่มกำแพงปล่องลิฟต์ของอาคาร ไม่ได้อยู่ตรงกลางอาคาร แต่ชิดขอบด้านหลัง ทำให้ศูนย์กลางของการบิดตัวของอาคารเยื้องไปจากศูนย์กลางอาคาร เมื่อแผ่นดินไหวกำแพงปล่องลิฟต์และเสาที่ฐานถล่มเกือบพร้อมกัน ทำให้อาคารทั้งหลังตกลงมาในแนวดิ่งอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน ผลตรวจปูนซีเมนต์พบว่าไม่ได้มาตรฐานตามค่า KSC เหล็กบางส่วนไม่เป็นไปตามแบบ และลายมือชื่อของ นายสมเกียรติ ชูแสงสุข ผู้เสียหายที่ถูกปลอมลายมือชื่อลงไปในฐานะวุฒิวิศวกร ไม่ใช่ลายมือชื่อของคนเดียวกัน

    ก่อนหน้านี้นายเปรมชัยเคยถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุก 2 ปี 14 เดือน ไม่รอลงอาญา ชดใช้เงิน 2 ล้านบาท เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2564 ในคดีล่าสัตว์ป่า (เสือดำ) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2561 แต่กรมราชทัณฑ์ได้ปล่อยตัวออกจากเรือนจำทองผาภูมิ เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2566 และเห็นควรไม่ให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) เนื่องจากบริเวณข้อเท้าเคยถูกคว้านเนื้อที่ตายจากอาการเบาหวานลงขา แต่อยู่ภายใต้เงื่อนไขคุมประพฤติ กระทั่งครบกำหนดโทษเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา

    #Newskit
    วิบากกรรมเปรมชัย จากเสือดำถึงตึก สตง. ยังคงกลายเป็นวิบากกรรมต่อไปสำหรับนายเปรมชัย กรรณสูต วัย 71 ปี อดีตประธานกรรมการ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ล่าสุดศาลอาญาอนุมัติหมายจับในความผิดตามมาตรา 227 และมาตรา 238 กรณีอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา พร้อมกับกลุ่มบริษัทผู้ออกแบบ กลุ่มบริษัทผู้รับจ้างควบคุมการก่อสร้าง และกลุ่มบริษัทผู้รับจ้างก่อสร้าง รวม 17 ราย ตามที่พนักงานสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล ขออนุมัติศาลออกหมายจับ ซึ่งเจ้าตัวได้ประสานเข้ามอบตัวในวันที่ 16 พ.ค. เวลา 09.00 น. ที่ สน.บางซื่อ พร้อมผู้ต้องหารายอื่น สำหรับผู้ต้องหาตามหมายจับทั้ง 17 ราย มีทั้งผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลกลุ่มบริษัทผู้ออกแบบ 1 ราย บริษัทผู้รับจ้างควบคุมการก่อสร้าง 4 ราย บริษัทผู้รับจ้างก่อสร้าง 3 ราย กลุ่มวิศวกรผู้ลงนามในแบบแปลน 5 ราย ผู้จัดการโครงการ 1 ราย ผู้ได้รับมอบหมายกระทำแทนกิจการร่วมค้าฯ 1 ราย และวิศวกรโครงสร้าง บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด อีก 2 ราย กรณีของนายเปรมชัย แม้จะลาออกจากประธานกรรมการ ITD ไปแล้ว แต่มีรายชื่อเป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจลงนามใน ITD ลงลายมือชื่อร่วมกับ นางนิจพร จรณะจิตต์ อายุ 73 ปี รวมเป็นสองคนและประทับตราสำคัญของบริษัทฯ จากการตรวจสอบพยานหลักฐานพบว่าแบบแปลนการก่อสร้างไม่สอดคล้องกับกฎกระทรวง และมาตรฐาน กลุ่มกำแพงปล่องลิฟต์ของอาคาร ไม่ได้อยู่ตรงกลางอาคาร แต่ชิดขอบด้านหลัง ทำให้ศูนย์กลางของการบิดตัวของอาคารเยื้องไปจากศูนย์กลางอาคาร เมื่อแผ่นดินไหวกำแพงปล่องลิฟต์และเสาที่ฐานถล่มเกือบพร้อมกัน ทำให้อาคารทั้งหลังตกลงมาในแนวดิ่งอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน ผลตรวจปูนซีเมนต์พบว่าไม่ได้มาตรฐานตามค่า KSC เหล็กบางส่วนไม่เป็นไปตามแบบ และลายมือชื่อของ นายสมเกียรติ ชูแสงสุข ผู้เสียหายที่ถูกปลอมลายมือชื่อลงไปในฐานะวุฒิวิศวกร ไม่ใช่ลายมือชื่อของคนเดียวกัน ก่อนหน้านี้นายเปรมชัยเคยถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุก 2 ปี 14 เดือน ไม่รอลงอาญา ชดใช้เงิน 2 ล้านบาท เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2564 ในคดีล่าสัตว์ป่า (เสือดำ) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2561 แต่กรมราชทัณฑ์ได้ปล่อยตัวออกจากเรือนจำทองผาภูมิ เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2566 และเห็นควรไม่ให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) เนื่องจากบริเวณข้อเท้าเคยถูกคว้านเนื้อที่ตายจากอาการเบาหวานลงขา แต่อยู่ภายใต้เงื่อนไขคุมประพฤติ กระทั่งครบกำหนดโทษเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 307 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขอบคุณเงินบุญ ต่อทุนอาตมา

    นับเป็นข่าวเสื่อมเสียต่อวงการพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 15 พ.ค. เจ้าคุณแย้ม หรือพระธรรมวชิรานุวัตร (แย้ม กิตฺตินฺธโร) หรือนายแย้ม อินทร์กรุงเก่า อายุ 70 ปี เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม เจ้าคณะภาค 14 เดินทางเข้าพบ พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รอง ผบช.ก. หลังทราบว่ากำลังจะถูกดำเนินคดีข้อหาทุจริตยักยอกเงินวัด 300 ล้านบาท ขณะเดียวกัน พล.ต.ต.ประสงค์ เฉลิมพันธ์ ผบก.ปปป. ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ขอออกหมายจับข้อหายักยอกทรัพย์ ปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต ก่อนที่ศาลอนุมัติหมายจับช่วงเที่ยง

    ก่อนหน้านี้ชาวบ้านร้องเรียนตำรวจกองปราบปราม เจ้าคุณแย้มยักยอกเงินวัดไร่ขิงไปเล่นพนันออนไลน์ จึงส่งสายลับแฝงตัวอยู่ในวัดตั้งแต่ปี 2567 ทั้งไปทำบุญและทำกิจกรรมในวัดนานกว่า 8 เดือน สืบสวนพบว่าเจ้าคุณแย้มสั่งให้คณะกรรมการวัดโอนเงินจากบัญชีวัดเข้าบัญชีส่วนตัว แล้วโอนไปให้สีกา คือ น.ส.อรัญญาวรรณ วังทะพันธ์ อายุ 28 ปี นายหน้าเครือข่ายเว็บพนัน เพื่อโอนเข้าบัญชีเว็บพนันออนไลน์เติมเครดิตใช้เล่นบาคาร่า ตรวจสอบเส้นเงินพบว่าตั้งแต่ปี 2564-2568 เงินบัญชีวัดถูกโอนออกหลายครั้ง รวมกว่า 300 ล้านบาท ส่วนเส้นเงินบัญชีเจ้าคุณแย้มกับบัญชีเว็บพนัน พบว่ามียอดโอนเข้า-ออกจากการได้และเสียไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท

    เมื่อเงินในบัญชีวัดร่อยหรอ เจ้าคุณแย้มเริ่มหันไปยืมเงินพระผู้ใหญ่วัดอื่นๆ ที่สนิทสนมกัน เพื่อนำมาเล่นพนัน มีตั้งแต่หลักแสนบาท ถึงหลักล้านบาทต่อครั้ง ด้าน น.ส.อรัญญาวรรณ สีการุ่นเอ๊าะ ตรวจสอบเชิงลึกพบว่าเป็นเจ้าของบัญชีและดูแลเส้นเงินธุรกิจพนันออนไลน์ เมื่อปลายปี 2567 เคยถูกตำรวจไซเบอร์จับกุมหลังพัวพันเครือข่ายเว็บพนัน LAGALAXY911 ก่อนประกันตัวสู้คดี ล่าสุดตำรวจกองปราบปรามจับกุมที่บ้านพักในเมืองพัทยา จ.ชลบุรี ฐานเป็นผู้สนับสนุนกระทำความผิด

    สำหรับวัดไร่ขิง พระอารามหลวง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำนครชัยศรี มีชื่อเสียงจากพระพุทธรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิง มีนักท่องเที่ยวเข้ามากราบไหว้อย่างต่อเนื่อง แต่อีกด้านหนึ่งเป็นที่วิจารณ์ว่ามีเรื่องพุทธพาณิชย์ โดยเฉพาะค่าเช่าแผงค้างานประจำปีวัดไร่ขิง ปี 2565 แผงละ 120,000 บาท ปี 2566 พุ่งสูงถึงแผงละ 400,000 บาท ปี 2567 ย้ายมายังทำเลทองแผงละ 2,300,000 บาท และล่าสุดปลายปี 2567 แผงละ 1,500,000 บาท กลายเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยบนโลกออนไลน์ กรณีวัดไร่ขิงเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็ง เพราะยังมีอีกหลายวัดในประเทศไทยที่มีลักษณะพุทธพาณิชย์ชัดเจน แต่ก็ยังมีคนไม่รู้ไปบูชาสักการะ และแก้บนด้วยของเซ่นไหว้สิ้นเปลืองมหาศาลอย่างต่อเนื่อง

    #Newskit
    ขอบคุณเงินบุญ ต่อทุนอาตมา นับเป็นข่าวเสื่อมเสียต่อวงการพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 15 พ.ค. เจ้าคุณแย้ม หรือพระธรรมวชิรานุวัตร (แย้ม กิตฺตินฺธโร) หรือนายแย้ม อินทร์กรุงเก่า อายุ 70 ปี เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม เจ้าคณะภาค 14 เดินทางเข้าพบ พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รอง ผบช.ก. หลังทราบว่ากำลังจะถูกดำเนินคดีข้อหาทุจริตยักยอกเงินวัด 300 ล้านบาท ขณะเดียวกัน พล.ต.ต.ประสงค์ เฉลิมพันธ์ ผบก.ปปป. ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ขอออกหมายจับข้อหายักยอกทรัพย์ ปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต ก่อนที่ศาลอนุมัติหมายจับช่วงเที่ยง ก่อนหน้านี้ชาวบ้านร้องเรียนตำรวจกองปราบปราม เจ้าคุณแย้มยักยอกเงินวัดไร่ขิงไปเล่นพนันออนไลน์ จึงส่งสายลับแฝงตัวอยู่ในวัดตั้งแต่ปี 2567 ทั้งไปทำบุญและทำกิจกรรมในวัดนานกว่า 8 เดือน สืบสวนพบว่าเจ้าคุณแย้มสั่งให้คณะกรรมการวัดโอนเงินจากบัญชีวัดเข้าบัญชีส่วนตัว แล้วโอนไปให้สีกา คือ น.ส.อรัญญาวรรณ วังทะพันธ์ อายุ 28 ปี นายหน้าเครือข่ายเว็บพนัน เพื่อโอนเข้าบัญชีเว็บพนันออนไลน์เติมเครดิตใช้เล่นบาคาร่า ตรวจสอบเส้นเงินพบว่าตั้งแต่ปี 2564-2568 เงินบัญชีวัดถูกโอนออกหลายครั้ง รวมกว่า 300 ล้านบาท ส่วนเส้นเงินบัญชีเจ้าคุณแย้มกับบัญชีเว็บพนัน พบว่ามียอดโอนเข้า-ออกจากการได้และเสียไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท เมื่อเงินในบัญชีวัดร่อยหรอ เจ้าคุณแย้มเริ่มหันไปยืมเงินพระผู้ใหญ่วัดอื่นๆ ที่สนิทสนมกัน เพื่อนำมาเล่นพนัน มีตั้งแต่หลักแสนบาท ถึงหลักล้านบาทต่อครั้ง ด้าน น.ส.อรัญญาวรรณ สีการุ่นเอ๊าะ ตรวจสอบเชิงลึกพบว่าเป็นเจ้าของบัญชีและดูแลเส้นเงินธุรกิจพนันออนไลน์ เมื่อปลายปี 2567 เคยถูกตำรวจไซเบอร์จับกุมหลังพัวพันเครือข่ายเว็บพนัน LAGALAXY911 ก่อนประกันตัวสู้คดี ล่าสุดตำรวจกองปราบปรามจับกุมที่บ้านพักในเมืองพัทยา จ.ชลบุรี ฐานเป็นผู้สนับสนุนกระทำความผิด สำหรับวัดไร่ขิง พระอารามหลวง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำนครชัยศรี มีชื่อเสียงจากพระพุทธรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิง มีนักท่องเที่ยวเข้ามากราบไหว้อย่างต่อเนื่อง แต่อีกด้านหนึ่งเป็นที่วิจารณ์ว่ามีเรื่องพุทธพาณิชย์ โดยเฉพาะค่าเช่าแผงค้างานประจำปีวัดไร่ขิง ปี 2565 แผงละ 120,000 บาท ปี 2566 พุ่งสูงถึงแผงละ 400,000 บาท ปี 2567 ย้ายมายังทำเลทองแผงละ 2,300,000 บาท และล่าสุดปลายปี 2567 แผงละ 1,500,000 บาท กลายเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยบนโลกออนไลน์ กรณีวัดไร่ขิงเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็ง เพราะยังมีอีกหลายวัดในประเทศไทยที่มีลักษณะพุทธพาณิชย์ชัดเจน แต่ก็ยังมีคนไม่รู้ไปบูชาสักการะ และแก้บนด้วยของเซ่นไหว้สิ้นเปลืองมหาศาลอย่างต่อเนื่อง #Newskit
    Like
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 345 มุมมอง 0 รีวิว
  • HOT STAR GIANT CHICKEN ไก่ทอดไต้หวันกลับมาแล้ว

    ย้อนกลับไปกว่า 10 ปีก่อน ไก่ทอดใหญ่ไซส์เท่าใบหน้าจากไต้หวัน ฮฮตสตาร์ (HOT STAR GIANT CHICKEN) เข้ามาทำการตลาดในประเทศไทย เปิดสาขาแรกที่ศูนย์การค้าดิเอ็มควอเทียร์ เมื่อปี 2557 โดยบริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด เจ้าของเดียวกับร้านบาร์บีคิวพลาซ่า หลังจากนั้นไม่นานก็อำลาวงการไป ด้วยราคาไก่ทอดไซส์ XXL ในขณะนั้นสูงถึงชิ้นละ 129 บาท แต่การกลับมาครั้งนี้ ภายใต้การดูแลของ บริษัท ฮอท สตาร์ ชิกเก้น (ประเทศไทย) จำกัด นอกจากจะเปิดสาขาแรกที่สยามสแควร์ ซอย 10 ตรงข้ามเตี๋ยวเรือท่าสยาม เมื่อวันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมาแล้ว ยังขายในราคาถูกลง ชิ้นละ 89 บาทเท่านั้น

    Newskit มีโอกาสมาเยือนร้านฮอตสตาร์สาขานี้ด้วยตัวเอง พบว่าตัวร้านจะอยู่ที่ชั้น 2 ต้องเดินขึ้นบันได โดยมีที่นั่งพร้อมปลั๊กไฟสำหรับนั่งทำงานหรือชาร์จโทรศัพท์มือถือ เมนูหลักของที่นี่คือไก่ทอดไซส์ XXL ราคา 89 บาท มีให้เลือก 6 รสชาติ ได้แก่ ออริจินอล ซึ่งมีความเผ็ดเล็กน้อย บาร์บีคิว เห็ดทัฟเฟิล ต้มยำ หมาล่า และซาวครีม แต่จะมีคอมโบเซตให้เลือกหลากหลาย เช่น คลาสสิกคอมโบ ไก่ทอดไซส์ XXL พร้อมน้ำอัดลมและเฟรนซ์ฟรายส์ไซส์ M ราคา 109 บาท นอกจากนี้ยังมีไก่ส่วนอื่นๆ ทั้ง Giant Leg, Giant Drum Stick, Giant Wing, Mini Wing 6 ชิ้น และเมนูอย่างข้าวหน้าไก่และสลัดไก่ Hot Star Signature

    ส่วนเมนูคอมโบเซต มีให้เลือกทั้งมินิคอมโบเซต ราคาเริ่มต้นที่ 69 บาท ชุดคอมโบสำหรับหลายคนตั้งแต่ Crunchy Combo สำหรับ 1 คน (นับตามจำนวนน้ำอัดลม) ราคา 269 บาท Family Combo สำหรับ 2 คน ราคา 279 บาท และ Party Combo สำหรับ 4 คน ราคา 499 บาท ลูกค้าสามารถสมัครสมาชิกผ่านคิวอาร์โค้ดของทางร้าน แจ้งเบอร์โทรเพื่อสะสมคะแนน โดยทุก 10 บาทได้ 1 คะแนน และทุก 50 คะแนน แลกส่วนลดท้ายบิล 5 บาท หากสะสม 5,000 คะแนนจะได้สถานะ Exclusive Member สามารถแลกรับเมนูต่างๆ ของทางร้านได้อีกด้วย

    ผู้ที่อยู่เบื้องหลังแบรนด์ฮอตสตาร์ในไทย คือ พญ.ศิโรรัตน์ อินทรปัญญา ซึ่งทำธุรกิจไก่ส่งออก ทำให้สามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ และขายในราคาไม่ถึงหลักร้อยใกล้เคียงกับไต้หวัน สำหรับแผนขยายสาขานั้นมีการเปิดแฟรนไชส์ซึ่งมีให้เลือกตั้งแต่ไซส์ S แบบซุ้ม ไซส์ M แบบร้านนั่งรับประทานทั้ง Outdoor และ Indoor สำหรับห้างสรรพสินค้า และไซส์ L สำหรับอาคารพาณิชย์ 1 คูหา วางตำแหน่งเป็นสตรีทฟู้ดพรีเมียม ท่ามกลางการแข่งขันของร้านไก่ทอดที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 27,000 ล้านบาท มี KFC เป็นเจ้าตลาดกว่า 1,000 สาขา

    ร้านฮอตสตาร์ สาขาสยามสแควร์ ซอย 10 เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 11.00-22.00 น.

    #Newskit
    HOT STAR GIANT CHICKEN ไก่ทอดไต้หวันกลับมาแล้ว ย้อนกลับไปกว่า 10 ปีก่อน ไก่ทอดใหญ่ไซส์เท่าใบหน้าจากไต้หวัน ฮฮตสตาร์ (HOT STAR GIANT CHICKEN) เข้ามาทำการตลาดในประเทศไทย เปิดสาขาแรกที่ศูนย์การค้าดิเอ็มควอเทียร์ เมื่อปี 2557 โดยบริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด เจ้าของเดียวกับร้านบาร์บีคิวพลาซ่า หลังจากนั้นไม่นานก็อำลาวงการไป ด้วยราคาไก่ทอดไซส์ XXL ในขณะนั้นสูงถึงชิ้นละ 129 บาท แต่การกลับมาครั้งนี้ ภายใต้การดูแลของ บริษัท ฮอท สตาร์ ชิกเก้น (ประเทศไทย) จำกัด นอกจากจะเปิดสาขาแรกที่สยามสแควร์ ซอย 10 ตรงข้ามเตี๋ยวเรือท่าสยาม เมื่อวันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมาแล้ว ยังขายในราคาถูกลง ชิ้นละ 89 บาทเท่านั้น Newskit มีโอกาสมาเยือนร้านฮอตสตาร์สาขานี้ด้วยตัวเอง พบว่าตัวร้านจะอยู่ที่ชั้น 2 ต้องเดินขึ้นบันได โดยมีที่นั่งพร้อมปลั๊กไฟสำหรับนั่งทำงานหรือชาร์จโทรศัพท์มือถือ เมนูหลักของที่นี่คือไก่ทอดไซส์ XXL ราคา 89 บาท มีให้เลือก 6 รสชาติ ได้แก่ ออริจินอล ซึ่งมีความเผ็ดเล็กน้อย บาร์บีคิว เห็ดทัฟเฟิล ต้มยำ หมาล่า และซาวครีม แต่จะมีคอมโบเซตให้เลือกหลากหลาย เช่น คลาสสิกคอมโบ ไก่ทอดไซส์ XXL พร้อมน้ำอัดลมและเฟรนซ์ฟรายส์ไซส์ M ราคา 109 บาท นอกจากนี้ยังมีไก่ส่วนอื่นๆ ทั้ง Giant Leg, Giant Drum Stick, Giant Wing, Mini Wing 6 ชิ้น และเมนูอย่างข้าวหน้าไก่และสลัดไก่ Hot Star Signature ส่วนเมนูคอมโบเซต มีให้เลือกทั้งมินิคอมโบเซต ราคาเริ่มต้นที่ 69 บาท ชุดคอมโบสำหรับหลายคนตั้งแต่ Crunchy Combo สำหรับ 1 คน (นับตามจำนวนน้ำอัดลม) ราคา 269 บาท Family Combo สำหรับ 2 คน ราคา 279 บาท และ Party Combo สำหรับ 4 คน ราคา 499 บาท ลูกค้าสามารถสมัครสมาชิกผ่านคิวอาร์โค้ดของทางร้าน แจ้งเบอร์โทรเพื่อสะสมคะแนน โดยทุก 10 บาทได้ 1 คะแนน และทุก 50 คะแนน แลกส่วนลดท้ายบิล 5 บาท หากสะสม 5,000 คะแนนจะได้สถานะ Exclusive Member สามารถแลกรับเมนูต่างๆ ของทางร้านได้อีกด้วย ผู้ที่อยู่เบื้องหลังแบรนด์ฮอตสตาร์ในไทย คือ พญ.ศิโรรัตน์ อินทรปัญญา ซึ่งทำธุรกิจไก่ส่งออก ทำให้สามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ และขายในราคาไม่ถึงหลักร้อยใกล้เคียงกับไต้หวัน สำหรับแผนขยายสาขานั้นมีการเปิดแฟรนไชส์ซึ่งมีให้เลือกตั้งแต่ไซส์ S แบบซุ้ม ไซส์ M แบบร้านนั่งรับประทานทั้ง Outdoor และ Indoor สำหรับห้างสรรพสินค้า และไซส์ L สำหรับอาคารพาณิชย์ 1 คูหา วางตำแหน่งเป็นสตรีทฟู้ดพรีเมียม ท่ามกลางการแข่งขันของร้านไก่ทอดที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 27,000 ล้านบาท มี KFC เป็นเจ้าตลาดกว่า 1,000 สาขา ร้านฮอตสตาร์ สาขาสยามสแควร์ ซอย 10 เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 11.00-22.00 น. #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 204 มุมมอง 0 รีวิว
  • THE ANWAR’S DISGUSTING ADVISOR

    เป็นที่เคลือบแคลงสงสัยมาตั้งแต่ปีที่แล้ว สำหรับนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย แต่งตั้งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวประธานอาเซียน ที่มาเลเซียเป็นเจ้าภาพในปี 2568 ทั้งที่นายทักษิณเพิ่งได้รับการพักโทษอย่างน่ากังขาจากคดีทุจริต 3 คดี โดยที่ไม่เคยติดคุกแม้แต่วันเดียว กลับอาศัยอยู่ที่ห้องพักสุดหรูบนชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจด้วยข้ออ้างอาการป่วยขั้นวิกฤต เป็นบุคคลน่ารังเกียจในสายตาชาวไทยที่ยึดถือความยุติธรรม และตลอดครึ่งปีที่ผ่านมาที่ปรึกษารายนี้ไม่มีผลงานใดเป็นรูปธรรม นอกจากใช้เป็นข้ออ้าง ขออนุญาตศาลอาญาเดินทางออกนอกประเทศ

    เมื่อวันที่ 14 พ.ค. เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) นำโดย นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำ ชุมนุมหน้าอาคารโครนอส สาทร ทาวเวอร์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ เพื่อยื่นหนังสือผ่านสถานเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ทบทวนการแต่งตั้งนายทักษิณเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวประธานอาเซียน ทั้งที่ปัจจุบันนายทักษิณเป็นจำเลยในคดีอาญา มาตรา 112 รวมทั้งนายทักษิณเคยให้การรับสารภาพและถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก โดยคดีถึงที่สุดแล้ว ในคดีทุจริตคอร์รัปชันเมื่อครั้งเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ถูกประชาชนคนไทยมีคำถามกับสิ่งที่นายทักษิณอ้างว่าป่วยวิกฤตและไม่เข้าเรือนจำแม้แต่วันเดียว

    คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กำลังดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และศาลฎีกาได้เริ่มกระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริงว่า การบังคับโทษนายทักษิณเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ ดังนั้น นายทักษิณที่ปรึกษาส่วนตัวประธานอาเซียนที่นายอันวาร์แต่งตั้ง จึงเป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกดำเนินการทางกฎหมายของประเทศไทย และถูกดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงจากศาลไทยซึ่งอาจจะนำมาสู่การลงโทษผู้กระทำความผิด หรือแม้แต่การลงโทษนายทักษิณอีกครั้งหนึ่ง

    "เกรงว่าด้วยตำแหน่งที่นายอันวาร์แต่งตั้งให้นายทักษิณเป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียน จะกลายเป็นเงื่อนไขใช้เป็นข้ออ้างในการเดินทางออกนอกประเทศของนายทักษิณ แล้วไม่กลับมาสู่การพิสูจน์ความจริงเหมือนที่นายทักษิณเคยกระทำมาแล้ว ซึ่งก็จะกลายเป็นการใช้ตำแหน่งที่ปรึกษาของนายอันวาร์ มาบดบังกระบวนการยุติธรรมของไทย อันเป็นการกระทำที่ไม่ควรเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดมิตรไมตรีของสองประเทศอันมีมาช้านาน จึงขอให้ทบทวนการแต่งตั้งนายทักษิณ เพื่อธํารงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมืองของประเทศอาเซียน และให้กระบวนการยุติธรรมไทยมีความศักดิ์สิทธิ์ เหมือนทุกประเทศมีกระบวนการยุติธรรมในประเทศของตนเอง"

    #Newskit
    THE ANWAR’S DISGUSTING ADVISOR เป็นที่เคลือบแคลงสงสัยมาตั้งแต่ปีที่แล้ว สำหรับนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย แต่งตั้งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวประธานอาเซียน ที่มาเลเซียเป็นเจ้าภาพในปี 2568 ทั้งที่นายทักษิณเพิ่งได้รับการพักโทษอย่างน่ากังขาจากคดีทุจริต 3 คดี โดยที่ไม่เคยติดคุกแม้แต่วันเดียว กลับอาศัยอยู่ที่ห้องพักสุดหรูบนชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจด้วยข้ออ้างอาการป่วยขั้นวิกฤต เป็นบุคคลน่ารังเกียจในสายตาชาวไทยที่ยึดถือความยุติธรรม และตลอดครึ่งปีที่ผ่านมาที่ปรึกษารายนี้ไม่มีผลงานใดเป็นรูปธรรม นอกจากใช้เป็นข้ออ้าง ขออนุญาตศาลอาญาเดินทางออกนอกประเทศ เมื่อวันที่ 14 พ.ค. เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) นำโดย นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำ ชุมนุมหน้าอาคารโครนอส สาทร ทาวเวอร์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ เพื่อยื่นหนังสือผ่านสถานเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ทบทวนการแต่งตั้งนายทักษิณเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวประธานอาเซียน ทั้งที่ปัจจุบันนายทักษิณเป็นจำเลยในคดีอาญา มาตรา 112 รวมทั้งนายทักษิณเคยให้การรับสารภาพและถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก โดยคดีถึงที่สุดแล้ว ในคดีทุจริตคอร์รัปชันเมื่อครั้งเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ถูกประชาชนคนไทยมีคำถามกับสิ่งที่นายทักษิณอ้างว่าป่วยวิกฤตและไม่เข้าเรือนจำแม้แต่วันเดียว คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กำลังดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และศาลฎีกาได้เริ่มกระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริงว่า การบังคับโทษนายทักษิณเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ ดังนั้น นายทักษิณที่ปรึกษาส่วนตัวประธานอาเซียนที่นายอันวาร์แต่งตั้ง จึงเป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกดำเนินการทางกฎหมายของประเทศไทย และถูกดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงจากศาลไทยซึ่งอาจจะนำมาสู่การลงโทษผู้กระทำความผิด หรือแม้แต่การลงโทษนายทักษิณอีกครั้งหนึ่ง "เกรงว่าด้วยตำแหน่งที่นายอันวาร์แต่งตั้งให้นายทักษิณเป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียน จะกลายเป็นเงื่อนไขใช้เป็นข้ออ้างในการเดินทางออกนอกประเทศของนายทักษิณ แล้วไม่กลับมาสู่การพิสูจน์ความจริงเหมือนที่นายทักษิณเคยกระทำมาแล้ว ซึ่งก็จะกลายเป็นการใช้ตำแหน่งที่ปรึกษาของนายอันวาร์ มาบดบังกระบวนการยุติธรรมของไทย อันเป็นการกระทำที่ไม่ควรเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดมิตรไมตรีของสองประเทศอันมีมาช้านาน จึงขอให้ทบทวนการแต่งตั้งนายทักษิณ เพื่อธํารงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมืองของประเทศอาเซียน และให้กระบวนการยุติธรรมไทยมีความศักดิ์สิทธิ์ เหมือนทุกประเทศมีกระบวนการยุติธรรมในประเทศของตนเอง" #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 314 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิดสะพานมหาสวัสดิ์ แก้คอขวดราชพฤกษ์

    ถนนราชพฤกษ์ เส้นทางหลักจากย่านที่อยู่อาศัยบางใหญ่ บางบัวทอง จ.นนทบุรี และ จ.ปทุมธานี ไปยังสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน สู่ใจกลางเมืองย่านธุรกิจสาทรและสีลม ปัจจุบันการใช้ที่ดินในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยามีการพัฒนาและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีปริมาณการจราจรมากกว่า 120,000 คันต่อวัน แมัจะมีการขยายถนนเป็น 10 ช่องจราจร แต่ก็มีบางจุดมีลักษณะเป็นคอขวด ทำให้การจราจรติดขัดในช่วงเช้าและเย็น หนึ่งในนั้นคือบริเวณสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ รอยต่อระหว่างเขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ และ ต.มหาสวัสดิ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

    กรมทางหลวงชนบท โดยสำนักก่อสร้างสะพาน จึงดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถนนราชพฤกษ์ ช่วง กม. 12+850 ถึง กม. 15+100 งบประมาณ 1,181.515 ล้านบาท ลักษณะเป็นสะพานยกระดับขนาด 2 ช่องจราจร ขนานไปกับสะพานเดิม กว้าง 8.50 เมตร ฝั่งขาเข้ายาว 2.10 กิโลเมตร และฝั่งขาออกยาว 1.90 กิโลเมตร พร้อมก่อสร้างระบบระบายน้ำ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และงานเบ็ดเตล็ด เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. 2566 เป็นต้นมา โดยมีผู้รับจ้างก่อสร้าง คือ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นสัญญา 30 ก.ย.2565 สิ้นสุดสัญญา 18 ธ.ค.2568

    ล่าสุดเมื่อวันที่ 13 พ.ค. เปิดใช้สะพานฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ แล้ว รับรถจากวงเวียนราชพฤกษ์ มุ่งหน้าไปยังทางพิเศษประจิมรัถยา ด่านตลิ่งชัน และทางแยกต่างระดับบรมราชชนนี ส่วนสะพานฝั่งขาออกกรุงเทพฯ จากสาทรมุ่งหน้าวงเวียนราชพฤกษ์ มีกำหนดจะเปิดในวันที่ 20 มิ.ย. ช่วยเพิ่มศักยภาพในการคมนาคมให้คล่องตัว ส่งเสริมและพัฒนาโครงข่ายถนนให้ครอบคลุมกับความต้องการในการเดินทาง อีกทั้งช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดอีกด้วย

    สะพานดังกล่าวออกแบบมาพิเศษคล้ายทางยกระดับ เนื่องจากเขตทางเดิมไม่เพียงพอที่จะก่อสร้างทางขนานกับสะพานเดิมในรูปแบบทั่วไปได้ โดยใช้โครงสร้างเสาและส่วนบนเป็นโครงสร้างเหล็ก เพื่อให้งานก่อสร้างรวดเร็ว และกระทบกับการจราจรบนถนนราชพฤกษ์ให้น้อยที่สุด โดยทางขนานขนาด 2 ช่องจราจร วางตัวอยู่เหนือสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ (ทางหลัก) เดิม ซึ่งทำให้บริเวณนี้ไม่เกิดสภาพเป็นคอขวด

    ถนนราชพฤกษ์ ระยะทาง 42 กิโลเมตร จากแยกตากสินเชื่อมกับถนนเพชรเกษม ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 ถนนบรมราชชนนี ถนนนครอินทร์ (ไปตัวเมืองนนทบุรี) ถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนชัยพฤกษ์ (ไปสะพานพระราม 4 และถนนแจ้งวัฒนะ) ถนนสาย 345 และจังหวัดปทุมธานี เป็นย่านที่อยู่อาศัยชานเมือง นอกจากโครงการหมู่บ้านจัดสรรหลายแห่งแล้ว ยังมีศูนย์การค้าและคอมมูนิตีมอลล์อีกด้วย

    #Newskit
    เปิดสะพานมหาสวัสดิ์ แก้คอขวดราชพฤกษ์ ถนนราชพฤกษ์ เส้นทางหลักจากย่านที่อยู่อาศัยบางใหญ่ บางบัวทอง จ.นนทบุรี และ จ.ปทุมธานี ไปยังสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน สู่ใจกลางเมืองย่านธุรกิจสาทรและสีลม ปัจจุบันการใช้ที่ดินในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยามีการพัฒนาและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีปริมาณการจราจรมากกว่า 120,000 คันต่อวัน แมัจะมีการขยายถนนเป็น 10 ช่องจราจร แต่ก็มีบางจุดมีลักษณะเป็นคอขวด ทำให้การจราจรติดขัดในช่วงเช้าและเย็น หนึ่งในนั้นคือบริเวณสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ รอยต่อระหว่างเขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ และ ต.มหาสวัสดิ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี กรมทางหลวงชนบท โดยสำนักก่อสร้างสะพาน จึงดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถนนราชพฤกษ์ ช่วง กม. 12+850 ถึง กม. 15+100 งบประมาณ 1,181.515 ล้านบาท ลักษณะเป็นสะพานยกระดับขนาด 2 ช่องจราจร ขนานไปกับสะพานเดิม กว้าง 8.50 เมตร ฝั่งขาเข้ายาว 2.10 กิโลเมตร และฝั่งขาออกยาว 1.90 กิโลเมตร พร้อมก่อสร้างระบบระบายน้ำ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และงานเบ็ดเตล็ด เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. 2566 เป็นต้นมา โดยมีผู้รับจ้างก่อสร้าง คือ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นสัญญา 30 ก.ย.2565 สิ้นสุดสัญญา 18 ธ.ค.2568 ล่าสุดเมื่อวันที่ 13 พ.ค. เปิดใช้สะพานฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ แล้ว รับรถจากวงเวียนราชพฤกษ์ มุ่งหน้าไปยังทางพิเศษประจิมรัถยา ด่านตลิ่งชัน และทางแยกต่างระดับบรมราชชนนี ส่วนสะพานฝั่งขาออกกรุงเทพฯ จากสาทรมุ่งหน้าวงเวียนราชพฤกษ์ มีกำหนดจะเปิดในวันที่ 20 มิ.ย. ช่วยเพิ่มศักยภาพในการคมนาคมให้คล่องตัว ส่งเสริมและพัฒนาโครงข่ายถนนให้ครอบคลุมกับความต้องการในการเดินทาง อีกทั้งช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดอีกด้วย สะพานดังกล่าวออกแบบมาพิเศษคล้ายทางยกระดับ เนื่องจากเขตทางเดิมไม่เพียงพอที่จะก่อสร้างทางขนานกับสะพานเดิมในรูปแบบทั่วไปได้ โดยใช้โครงสร้างเสาและส่วนบนเป็นโครงสร้างเหล็ก เพื่อให้งานก่อสร้างรวดเร็ว และกระทบกับการจราจรบนถนนราชพฤกษ์ให้น้อยที่สุด โดยทางขนานขนาด 2 ช่องจราจร วางตัวอยู่เหนือสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ (ทางหลัก) เดิม ซึ่งทำให้บริเวณนี้ไม่เกิดสภาพเป็นคอขวด ถนนราชพฤกษ์ ระยะทาง 42 กิโลเมตร จากแยกตากสินเชื่อมกับถนนเพชรเกษม ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 ถนนบรมราชชนนี ถนนนครอินทร์ (ไปตัวเมืองนนทบุรี) ถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนชัยพฤกษ์ (ไปสะพานพระราม 4 และถนนแจ้งวัฒนะ) ถนนสาย 345 และจังหวัดปทุมธานี เป็นย่านที่อยู่อาศัยชานเมือง นอกจากโครงการหมู่บ้านจัดสรรหลายแห่งแล้ว ยังมีศูนย์การค้าและคอมมูนิตีมอลล์อีกด้วย #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 305 มุมมอง 0 รีวิว
  • รถบรรทุกหินพุ่งชน คร่า 9 ชีวิตตำรวจมาเลย์ฯ

    โศกนาฎกรรมบนท้องถนนที่คร่าชีวิตตำรวจมาเลเซียครั้งนี้เกิดขึ้น เมื่อรถบรรทุกของตำรวจ หน่วยกองกำลังสำรองแห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย (The Federal Reserve Unit หรือ FRU) ประสบอุบัติเหตุชนกับรถบรรทุกหินกรวด เหตุเกิดเมื่อเวลา 08.50 น. วันที่ 13 พ.ค. บนถนนสายชิคุส-สุไหงลำปำ เมืองเตลุก อินตาน รัฐเปรัก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมาเลเซีย เป็นเหตุให้ตำรวจหน่วย FRU เสียชีวิต 9 นาย บาดเจ็บอีก 9 นาย รักษาตัวที่โรงพยาบาลเตลุก อินตาน รัฐเปรัก

    ก่อนเกิดเหตุตำรวจหน่วย FRU เพิ่งเสร็จสิ้นภารกิจดูแลความเรียบร้อยในพิธีชิตรา ปูร์นามิ ในเมืองเตลุก อินตาน กำลังจะเดินทางกลับที่ตั้งในเมืองอิโปห์ โดยมีรถบรรทุก 7 คันเป็นยานพาหนะ เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุ รถบรรทุกหินกรวดที่ระบบบังคับเลี้ยวขัดข้อง พุ่งชนรถบรรทุกคันที่ 5 ซึ่งมีตำรวจทั้งหมด 18 นาย ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บดังกล่าว โดยพบว่ารถบรรทุกหินคันดังกล่าวไม่ได้บำรุงรักษารถ และจากการสืบสวนของตำรวจรัฐเปรัก พบว่าคนขับรถบรรทุกหินกรวดวัย 45 ปี มีประวัติอาชญากรรม 6 ครั้ง รวมทั้งความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และมีหมายคดีจราจรค้างอยู่หลายฉบับ

    สำหรับตำรวจที่เสียชีวิตจะได้รับค่าชดเชยเยียวยาตั้งแต่ 58,000 ถึง 269,700 ริงกิต (ประมาณ 449,000 ถึง 2,000,000 บาท) ผ่านกองทุนสวัสดิการต่างๆ ซึ่งศพของตำรวจทั้ง 9 นาย หลังชันสูตรแล้วจะประกอบพิธีทางศาสนาอิสลาม โดยจะมีพิธีฝังศพที่หน่วยบัญชาการตำรวจกำลังสำรองแห่งสหพันธรัฐที่ 5 (FRU No.5) สุไหงเซนัม เมืองอิโปห์

    ตำรวจหน่วยกองกำลังสำรองของมาเลเซีย (FRU) เป็นหน่วยตำรวจที่ทำหน้าที่ควบคุมฝูงชนและตอบสนองเหตุฉุกเฉินพิเศษ ขึ้นตรงสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาเลเซีย และกระทรวงมหาดไทย มีลักษณะกึ่งทหาร สามารถส่งกำลังไปได้ทุกแห่งเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินหรือความไม่สงบในประเทศ มีบทบาทหลักได้แก่ สลายการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย ปราบปรามจลาจล และปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของสาธารณะ เช่น อุทกภัย เพลิงไหม้ ดินถล่ม เครื่องบินตก เป็นต้น

    ตำรวจหน่วยดังกล่าวมีหมวกเบเร่ต์สีแดงเป็นสัญลักษณ์ ปัจจุบันมีหน่วยบัญชาการของตำรวจ FRU จำนวน 10 แห่ง ได้แก่ ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ 2 แห่ง (No.1 และ No.4) ยะโฮร์บาห์รู (No.2) ปีนัง (No.3) เมืองอิโปห์ รัฐเปรัก (No.5) กัวลาตรังกานู (No.6) เมืองเซเรมบัน รัฐเนกรีเซมบีลัน (No.7) และยังมีหน่วยเฉพาะได้แก่ กองกำลังสตรี หน่วยตำรวจม้า (Mounted Unit) และศูนย์ฝึกอบรม FRU ในเมืองอิโปห์ รัฐเปรัก โดยมีกำลังพลรวมกันประมาณ 2,400 นาย

    #Newskit
    รถบรรทุกหินพุ่งชน คร่า 9 ชีวิตตำรวจมาเลย์ฯ โศกนาฎกรรมบนท้องถนนที่คร่าชีวิตตำรวจมาเลเซียครั้งนี้เกิดขึ้น เมื่อรถบรรทุกของตำรวจ หน่วยกองกำลังสำรองแห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย (The Federal Reserve Unit หรือ FRU) ประสบอุบัติเหตุชนกับรถบรรทุกหินกรวด เหตุเกิดเมื่อเวลา 08.50 น. วันที่ 13 พ.ค. บนถนนสายชิคุส-สุไหงลำปำ เมืองเตลุก อินตาน รัฐเปรัก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมาเลเซีย เป็นเหตุให้ตำรวจหน่วย FRU เสียชีวิต 9 นาย บาดเจ็บอีก 9 นาย รักษาตัวที่โรงพยาบาลเตลุก อินตาน รัฐเปรัก ก่อนเกิดเหตุตำรวจหน่วย FRU เพิ่งเสร็จสิ้นภารกิจดูแลความเรียบร้อยในพิธีชิตรา ปูร์นามิ ในเมืองเตลุก อินตาน กำลังจะเดินทางกลับที่ตั้งในเมืองอิโปห์ โดยมีรถบรรทุก 7 คันเป็นยานพาหนะ เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุ รถบรรทุกหินกรวดที่ระบบบังคับเลี้ยวขัดข้อง พุ่งชนรถบรรทุกคันที่ 5 ซึ่งมีตำรวจทั้งหมด 18 นาย ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บดังกล่าว โดยพบว่ารถบรรทุกหินคันดังกล่าวไม่ได้บำรุงรักษารถ และจากการสืบสวนของตำรวจรัฐเปรัก พบว่าคนขับรถบรรทุกหินกรวดวัย 45 ปี มีประวัติอาชญากรรม 6 ครั้ง รวมทั้งความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และมีหมายคดีจราจรค้างอยู่หลายฉบับ สำหรับตำรวจที่เสียชีวิตจะได้รับค่าชดเชยเยียวยาตั้งแต่ 58,000 ถึง 269,700 ริงกิต (ประมาณ 449,000 ถึง 2,000,000 บาท) ผ่านกองทุนสวัสดิการต่างๆ ซึ่งศพของตำรวจทั้ง 9 นาย หลังชันสูตรแล้วจะประกอบพิธีทางศาสนาอิสลาม โดยจะมีพิธีฝังศพที่หน่วยบัญชาการตำรวจกำลังสำรองแห่งสหพันธรัฐที่ 5 (FRU No.5) สุไหงเซนัม เมืองอิโปห์ ตำรวจหน่วยกองกำลังสำรองของมาเลเซีย (FRU) เป็นหน่วยตำรวจที่ทำหน้าที่ควบคุมฝูงชนและตอบสนองเหตุฉุกเฉินพิเศษ ขึ้นตรงสำนักงานตำรวจแห่งชาติมาเลเซีย และกระทรวงมหาดไทย มีลักษณะกึ่งทหาร สามารถส่งกำลังไปได้ทุกแห่งเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินหรือความไม่สงบในประเทศ มีบทบาทหลักได้แก่ สลายการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย ปราบปรามจลาจล และปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของสาธารณะ เช่น อุทกภัย เพลิงไหม้ ดินถล่ม เครื่องบินตก เป็นต้น ตำรวจหน่วยดังกล่าวมีหมวกเบเร่ต์สีแดงเป็นสัญลักษณ์ ปัจจุบันมีหน่วยบัญชาการของตำรวจ FRU จำนวน 10 แห่ง ได้แก่ ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ 2 แห่ง (No.1 และ No.4) ยะโฮร์บาห์รู (No.2) ปีนัง (No.3) เมืองอิโปห์ รัฐเปรัก (No.5) กัวลาตรังกานู (No.6) เมืองเซเรมบัน รัฐเนกรีเซมบีลัน (No.7) และยังมีหน่วยเฉพาะได้แก่ กองกำลังสตรี หน่วยตำรวจม้า (Mounted Unit) และศูนย์ฝึกอบรม FRU ในเมืองอิโปห์ รัฐเปรัก โดยมีกำลังพลรวมกันประมาณ 2,400 นาย #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 285 มุมมอง 0 รีวิว
  • อุทาหรณ์ห้องเช่า สาวยูเครนวัยใสพังยับ

    กลายเป็นที่ฮือฮาบนโซเชียลฯ เมื่อเจ้าของห้องชุดให้เช่ารายหนึ่ง โพสต์ภาพอุทาหรณ์ห้องเช่า ระบุว่า ซื้อห้องมาฝากตัวแทน (เอเจนท์) ปล่อยเช่าได้ 1 ปี พบว่าลูกค้าชาวยูเครนทำลายห้องเสียหาย จากภาพจะเห็นว่าผู้เช่ารายดังกล่าว ใช้ปากกาเมจิกขีดเขียนผนัง เฟอร์นิเจอร์ พร้อมกับทำลายข้าวของ เฟอร์นิเจอร์ ฝาผนังห้อง เพดานห้อง เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด มูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 350,000 บาท เหตุเกิดที่คอนโดมิเนียมแห่งหนึ่ง ชั้น 8 ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก ใกล้ห้างสรรพสินค้าชื่อดังกลางเมืองภูเก็ต ต.วิชิต อ.เมืองฯ จ.ภูเก็ต โดยเอเจนท์ได้ลงบันทึกประจำวันไว้กับพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรวิชิต จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ที่ผ่านมา

    รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า ก่อนเกิดเหตุผู้เช่ารายดังกล่าว เช่าห้องกับเอเจนท์มาตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย. 2567 เป็นเวลา 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่านมา แต่ผู้เช่าไม่ยอมย้ายออกจากห้อง กลับอยู่ต่อ กระทั่งวันที่ 29 เม.ย. ได้นัดเอเจนท์ส่งมอบห้องดังกล่าวคืน เวลา 16.00 น. แต่เวลา 15.00 น. ได้ส่งข้อความแจ้งว่า ได้ออกจากห้องมาแล้ว นำกุญแจมาทิ้งไว้ที่ถังขยะ เอเจนท์จึงเข้าไปที่คอนโดมิเนียมดังกล่าวพร้อมกับเพื่อนและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของคอนโดมิเนียม ก่อนเรียกช่างกุญแจมาเปิดประตูห้อง พบว่าสภาพห้องได้รับความเสียหายดังกล่าว

    ต่อมาตำรวจชุดสืบสวนตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) จังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สืบสวน สภ.วิชิต ร่วมกันสืบสวนและประสานด่าน ตม. ระงับการเดินทางเข้าออกผู้เช่ารายนี้ กระทั่งเช้าวันที่ 10 พ.ค. ตม.ท่าอากาศยานภูเก็ต ควบคุมตัวผู้เช่ารายดังกล่าว คือ น.ส.อนาสตาเซีย ฟีดาเนี่ยน (Mrs. Anastasiia Fidanian) อายุ 20 ปี สัญชาติยูเครน ขณะกำลังเดินทางออกนอกประเทศ ที่ ตม.ขาออก เจ้าตัวรับสารภาพว่าได้ทำลายทรัพย์สินภายในห้องจริง เนื่องจากไม่ได้รับเงินค่ามัดจำห้องคืน 32,000 บาท และกำลังตั้งครรภ์ ทำให้เกิดภาวะเครียดและได้กระทำการดังกล่าวไป

    ด้านการซ่อมแซมห้องที่ได้รับความเสียหาย พบว่าเจ้าของห้องได้ว่าจ้างทีมงาน World Clean Phuket ทำความสะอาดห้องที่เกิดเหตุให้สะอาดในระดับหนึ่งแล้ว แม้จะมีร่องรอยความเสียหายที่ทำความสะอาดไม่ออก หรือโซฟาที่ถูกทำลายเสียหายก็ตาม ส่วนข้อกล่าวหาที่ว่าไม่คืนค่ามัดจำห้องนั้น ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง ตามสัญญามีสิทธิที่จะไม่คืนด้วยซ้ำ เพราะผู้เช่าไม่ได้แจ้งล่วงหน้าก่อนย้ายออก 1 เดือน อีกทั้งผิดนัดชำระค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟที่ค้างจ่าย และค่าใช้จ่ายตามสัญญา ซึ่งจะต้องหักออกก่อนที่จะคืน ไม่สามารถจ่ายคืนเต็มจำนวนได้

    #Newskit
    อุทาหรณ์ห้องเช่า สาวยูเครนวัยใสพังยับ กลายเป็นที่ฮือฮาบนโซเชียลฯ เมื่อเจ้าของห้องชุดให้เช่ารายหนึ่ง โพสต์ภาพอุทาหรณ์ห้องเช่า ระบุว่า ซื้อห้องมาฝากตัวแทน (เอเจนท์) ปล่อยเช่าได้ 1 ปี พบว่าลูกค้าชาวยูเครนทำลายห้องเสียหาย จากภาพจะเห็นว่าผู้เช่ารายดังกล่าว ใช้ปากกาเมจิกขีดเขียนผนัง เฟอร์นิเจอร์ พร้อมกับทำลายข้าวของ เฟอร์นิเจอร์ ฝาผนังห้อง เพดานห้อง เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด มูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 350,000 บาท เหตุเกิดที่คอนโดมิเนียมแห่งหนึ่ง ชั้น 8 ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก ใกล้ห้างสรรพสินค้าชื่อดังกลางเมืองภูเก็ต ต.วิชิต อ.เมืองฯ จ.ภูเก็ต โดยเอเจนท์ได้ลงบันทึกประจำวันไว้กับพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรวิชิต จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ที่ผ่านมา รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า ก่อนเกิดเหตุผู้เช่ารายดังกล่าว เช่าห้องกับเอเจนท์มาตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย. 2567 เป็นเวลา 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่านมา แต่ผู้เช่าไม่ยอมย้ายออกจากห้อง กลับอยู่ต่อ กระทั่งวันที่ 29 เม.ย. ได้นัดเอเจนท์ส่งมอบห้องดังกล่าวคืน เวลา 16.00 น. แต่เวลา 15.00 น. ได้ส่งข้อความแจ้งว่า ได้ออกจากห้องมาแล้ว นำกุญแจมาทิ้งไว้ที่ถังขยะ เอเจนท์จึงเข้าไปที่คอนโดมิเนียมดังกล่าวพร้อมกับเพื่อนและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของคอนโดมิเนียม ก่อนเรียกช่างกุญแจมาเปิดประตูห้อง พบว่าสภาพห้องได้รับความเสียหายดังกล่าว ต่อมาตำรวจชุดสืบสวนตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) จังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สืบสวน สภ.วิชิต ร่วมกันสืบสวนและประสานด่าน ตม. ระงับการเดินทางเข้าออกผู้เช่ารายนี้ กระทั่งเช้าวันที่ 10 พ.ค. ตม.ท่าอากาศยานภูเก็ต ควบคุมตัวผู้เช่ารายดังกล่าว คือ น.ส.อนาสตาเซีย ฟีดาเนี่ยน (Mrs. Anastasiia Fidanian) อายุ 20 ปี สัญชาติยูเครน ขณะกำลังเดินทางออกนอกประเทศ ที่ ตม.ขาออก เจ้าตัวรับสารภาพว่าได้ทำลายทรัพย์สินภายในห้องจริง เนื่องจากไม่ได้รับเงินค่ามัดจำห้องคืน 32,000 บาท และกำลังตั้งครรภ์ ทำให้เกิดภาวะเครียดและได้กระทำการดังกล่าวไป ด้านการซ่อมแซมห้องที่ได้รับความเสียหาย พบว่าเจ้าของห้องได้ว่าจ้างทีมงาน World Clean Phuket ทำความสะอาดห้องที่เกิดเหตุให้สะอาดในระดับหนึ่งแล้ว แม้จะมีร่องรอยความเสียหายที่ทำความสะอาดไม่ออก หรือโซฟาที่ถูกทำลายเสียหายก็ตาม ส่วนข้อกล่าวหาที่ว่าไม่คืนค่ามัดจำห้องนั้น ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง ตามสัญญามีสิทธิที่จะไม่คืนด้วยซ้ำ เพราะผู้เช่าไม่ได้แจ้งล่วงหน้าก่อนย้ายออก 1 เดือน อีกทั้งผิดนัดชำระค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟที่ค้างจ่าย และค่าใช้จ่ายตามสัญญา ซึ่งจะต้องหักออกก่อนที่จะคืน ไม่สามารถจ่ายคืนเต็มจำนวนได้ #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 312 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถึงเวลาปลดล็อก รถทัวร์ไทย-มาเลเซีย

    การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของนายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย เมื่อวันที่ 2 พ.ค. อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ไทยและมาเลเซียกำลังพิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างเอ็มโอยูว่าด้วยการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย (CBTG) และ ร่างเอ็มโอยูว่าด้วยการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย (CBTP) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาการขนส่งสินค้า อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนทั้งสองประเทศ และเกิดสิทธิในการขนส่งทางถนนที่เท่าเทียมกัน คาดว่าจะได้ข้อยุติและลงนามเอ็มโอยูทั้ง 2 ฉบับภายในเดือน ก.ค.2568

    ที่ผ่านมารถโดยสารจากมาเลเซีย เดินรถเข้ามาในจังหวัดสงขลาได้ เพราะมีประกาศจังหวัดสงขลา ลงวันที่ 25 ส.ค. 2557 อนุญาตนำรถโดยสารที่จดทะเบียนต่างประเทศเข้ามาใน จ.สงขลา สามารถเข้าถึงทุกอำเภอได้ จากเดิมเฉพาะ อ.หาดใหญ่ แต่ถ้าจะไปจังหวัดอื่นต้องขออนุญาตต่อกรมการขนส่งทางบกล่วงหน้า ซึ่งที่ผ่านมามีรถทัวร์ให้บริการจากหาดใหญ่ไปยังประเทศมาเลเซียหลายบริษัท ได้แก่ ปีนัง มีทั้งรถตู้และรถทัวร์ ราคาประมาณ 600-800 บาท กัวลาลัมเปอร์ ราคาประมาณ 500-1,000 บาท และยะโฮร์บาห์รู ราคาประมาณ 1,300-1,500 บาท ซึ่งขัดต่อ พ.ร.บ.การขนส่งทางบก ปี 2522 มาตรา 26 แต่รถโดยสารของฝ่ายไทยวิ่งเข้าไปในประเทศมาเลเซียไม่ได้ ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบมาเลเซีย ทำลายธุรกิจการขนส่งในประเทศไทย

    การลงนามเอ็มโอยูดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถประกอบธุรกิจเดินรถไปยังประเทศมาเลเซียได้ หนึ่งในนั้นคือ บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ที่มีประสบการณ์เดินรถโดยสารระหว่างประเทศกับลาวและกัมพูชา 12 เส้นทาง รวม 61 เที่ยววิ่งต่อวัน สามารถร่วมกับผู้ประกอบการจากมาเลเซีย ให้บริการเดินรถโดยสารจาก อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ไปยังจุดหมายปลายทางยอดนิยมในมาเลเซีย เช่น ปีนัง กัวลาลัมเปอร์ หรือยะโฮร์บาห์รู โดยไม่ปล่อยให้ผูกขาดเฉพาะรถโดยสารจากมาเลเซียแต่เพียงฝ่ายเดียว

    นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อการเดินทางของประชาชนทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเที่ยวหาดใหญ่ หรือคนไทยมาเที่ยวมาเลเซีย นักท่องเที่ยวแบบประหยัด (Budget Travelers) ชาวไทย สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ด้วยเครื่องบินไปยังหาดใหญ่ แล้วต่อรถโดยสารไปยังประเทศมาเลเซีย เช่นเดียวกับเดินทางด้วยเครื่องบินไปยังอุดรธานี แล้วต่อรถโดยสารไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ช่วยให้ประหยัดค่าเดินทาง จากเดิมต้องจ่ายภาษีสนามบินระหว่างประเทศ 730 บาท เหลือแค่ภาษีสนามบินในประเทศ 130 บาท

    #Newskit
    ถึงเวลาปลดล็อก รถทัวร์ไทย-มาเลเซีย การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของนายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย เมื่อวันที่ 2 พ.ค. อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ไทยและมาเลเซียกำลังพิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างเอ็มโอยูว่าด้วยการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย (CBTG) และ ร่างเอ็มโอยูว่าด้วยการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย (CBTP) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาการขนส่งสินค้า อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนทั้งสองประเทศ และเกิดสิทธิในการขนส่งทางถนนที่เท่าเทียมกัน คาดว่าจะได้ข้อยุติและลงนามเอ็มโอยูทั้ง 2 ฉบับภายในเดือน ก.ค.2568 ที่ผ่านมารถโดยสารจากมาเลเซีย เดินรถเข้ามาในจังหวัดสงขลาได้ เพราะมีประกาศจังหวัดสงขลา ลงวันที่ 25 ส.ค. 2557 อนุญาตนำรถโดยสารที่จดทะเบียนต่างประเทศเข้ามาใน จ.สงขลา สามารถเข้าถึงทุกอำเภอได้ จากเดิมเฉพาะ อ.หาดใหญ่ แต่ถ้าจะไปจังหวัดอื่นต้องขออนุญาตต่อกรมการขนส่งทางบกล่วงหน้า ซึ่งที่ผ่านมามีรถทัวร์ให้บริการจากหาดใหญ่ไปยังประเทศมาเลเซียหลายบริษัท ได้แก่ ปีนัง มีทั้งรถตู้และรถทัวร์ ราคาประมาณ 600-800 บาท กัวลาลัมเปอร์ ราคาประมาณ 500-1,000 บาท และยะโฮร์บาห์รู ราคาประมาณ 1,300-1,500 บาท ซึ่งขัดต่อ พ.ร.บ.การขนส่งทางบก ปี 2522 มาตรา 26 แต่รถโดยสารของฝ่ายไทยวิ่งเข้าไปในประเทศมาเลเซียไม่ได้ ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบมาเลเซีย ทำลายธุรกิจการขนส่งในประเทศไทย การลงนามเอ็มโอยูดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถประกอบธุรกิจเดินรถไปยังประเทศมาเลเซียได้ หนึ่งในนั้นคือ บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ที่มีประสบการณ์เดินรถโดยสารระหว่างประเทศกับลาวและกัมพูชา 12 เส้นทาง รวม 61 เที่ยววิ่งต่อวัน สามารถร่วมกับผู้ประกอบการจากมาเลเซีย ให้บริการเดินรถโดยสารจาก อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ไปยังจุดหมายปลายทางยอดนิยมในมาเลเซีย เช่น ปีนัง กัวลาลัมเปอร์ หรือยะโฮร์บาห์รู โดยไม่ปล่อยให้ผูกขาดเฉพาะรถโดยสารจากมาเลเซียแต่เพียงฝ่ายเดียว นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อการเดินทางของประชาชนทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเที่ยวหาดใหญ่ หรือคนไทยมาเที่ยวมาเลเซีย นักท่องเที่ยวแบบประหยัด (Budget Travelers) ชาวไทย สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ด้วยเครื่องบินไปยังหาดใหญ่ แล้วต่อรถโดยสารไปยังประเทศมาเลเซีย เช่นเดียวกับเดินทางด้วยเครื่องบินไปยังอุดรธานี แล้วต่อรถโดยสารไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ช่วยให้ประหยัดค่าเดินทาง จากเดิมต้องจ่ายภาษีสนามบินระหว่างประเทศ 730 บาท เหลือแค่ภาษีสนามบินในประเทศ 130 บาท #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 354 มุมมอง 0 รีวิว
  • สถานีต่อไป กรุงเทพอภิวัฒน์ - KL Sentral

    การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของนายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย เข้าพบ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เมื่อวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา มีรายงานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ของมาเลเซีย จะร่วมกันกลับมาเปิดให้บริการรถไฟ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ปาดังเบซาร์-บัตเตอร์เวิร์ธ รัฐปีนัง ซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อม คาดว่าจะเปิดให้บริการเที่ยวแรกภายในเดือน ก.ค. 2568 เป็นผลมาจากการประชุมร่วมระหว่าง ร.ฟ.ท. และ KTM Berhad ครั้งที่ 42 (KTMB-SRT Joint Conference) เมื่อเดือน ส.ค.2567

    ถือเป็นการฟื้นการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปีนัง กลับมาอีกครั้ง หลังเคยเปิดการเดินรถมาตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.2465 เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 94 ปี ก่อนยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.2559 เป็นต้นมา หลังจากประเทศมาเลเซียได้ปรับปรุงทางรถไฟทางคู่ระบบปิด ก่อนให้บริการรถไฟแบบ ETS ซึ่งเป็นรถไฟด่วนพิเศษ และ KTM Komuter ซึ่งเป็นรถไฟธรรมดา ปัจจุบันเหลือเพียงแค่ขบวนรถที่ 45/46 จากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ปลายทางของรถไฟทางไกลในปัจจุบัน ไปยังสถานีปลายทางปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส เท่านั้น

    ที่น่าสนใจก็คือ รายงานข่าวจากสำนักข่าวเบอร์นามา (Bernama) ของมาเลเซีย นายโลค เปิดเผยว่า มีแผนจะกลับมาเปิดให้บริการรถไฟทางไกล ระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กับกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย อีกครั้งในปี 2568 ซึ่ง KTM Berhad และ ร.ฟ.ท. จะใช้เวลาเตรียมการเบื้องต้น 3 เดือน แม้การดำเนินการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องสร้างเส้นทางรถไฟใหม่ แต่จำเป็นต้องมีการประสานงาน การทำการตลาดร่วมกัน และการออกตั๋วโดยสารร่วมกันระหว่างสองประเทศ

    ขณะเดียวกัน ฝ่ายไทยได้เสนอให้ขยายบริการรถไฟทางไกล จากสถานีสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ไปยังเมืองรันเตาปันยัง (Rantau Panjang) และเมืองปาเซร์มัส (Pasir Mas) รัฐกลันตันในมาเลเซีย ซึ่งตนยินดีรับข้อเสนอนี้ เนื่องจากถือเป็นอีกก้าวหนึ่งที่มีศักยภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น และปรับปรุงคุณภาพชีวิตในพื้นที่ชายแดน แต่จะต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมเพื่อฟื้นฟูเส้นทางรถไฟระหว่างสุไหงโก-ลก รันเตาปันยัง และปาเซร์มัส เนื่องจากต้องมีการบูรณะรางรถไฟที่ไม่ได้ใช้งานมานานในเมืองรันเตาปันยังและสุไหงโก-ลก

    ปัจจุบัน สถานีปาดังเบซาร์ ประเทศมาเลเซีย มีบริการรถไฟ ETS (Electric Train Service) ไปยังสถานี KL Sentral กรุงกัวลาลัมเปอร์ วันละ 5 ขบวน ปลายทางไกลที่สุดคือสถานีเซกามัต (Segamat) รัฐยะโฮร์

    #Newskit

    หมายเหตุ : ลงวันที่ล่วงหน้า เพราะจะเผยแพร่ทาง Facebook และ Instagram วันที่ 12 พ.ค. 2568
    สถานีต่อไป กรุงเทพอภิวัฒน์ - KL Sentral การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของนายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย เข้าพบ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เมื่อวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา มีรายงานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ของมาเลเซีย จะร่วมกันกลับมาเปิดให้บริการรถไฟ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ปาดังเบซาร์-บัตเตอร์เวิร์ธ รัฐปีนัง ซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อม คาดว่าจะเปิดให้บริการเที่ยวแรกภายในเดือน ก.ค. 2568 เป็นผลมาจากการประชุมร่วมระหว่าง ร.ฟ.ท. และ KTM Berhad ครั้งที่ 42 (KTMB-SRT Joint Conference) เมื่อเดือน ส.ค.2567 ถือเป็นการฟื้นการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปีนัง กลับมาอีกครั้ง หลังเคยเปิดการเดินรถมาตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.2465 เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 94 ปี ก่อนยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.2559 เป็นต้นมา หลังจากประเทศมาเลเซียได้ปรับปรุงทางรถไฟทางคู่ระบบปิด ก่อนให้บริการรถไฟแบบ ETS ซึ่งเป็นรถไฟด่วนพิเศษ และ KTM Komuter ซึ่งเป็นรถไฟธรรมดา ปัจจุบันเหลือเพียงแค่ขบวนรถที่ 45/46 จากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ปลายทางของรถไฟทางไกลในปัจจุบัน ไปยังสถานีปลายทางปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส เท่านั้น ที่น่าสนใจก็คือ รายงานข่าวจากสำนักข่าวเบอร์นามา (Bernama) ของมาเลเซีย นายโลค เปิดเผยว่า มีแผนจะกลับมาเปิดให้บริการรถไฟทางไกล ระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กับกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย อีกครั้งในปี 2568 ซึ่ง KTM Berhad และ ร.ฟ.ท. จะใช้เวลาเตรียมการเบื้องต้น 3 เดือน แม้การดำเนินการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องสร้างเส้นทางรถไฟใหม่ แต่จำเป็นต้องมีการประสานงาน การทำการตลาดร่วมกัน และการออกตั๋วโดยสารร่วมกันระหว่างสองประเทศ ขณะเดียวกัน ฝ่ายไทยได้เสนอให้ขยายบริการรถไฟทางไกล จากสถานีสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ไปยังเมืองรันเตาปันยัง (Rantau Panjang) และเมืองปาเซร์มัส (Pasir Mas) รัฐกลันตันในมาเลเซีย ซึ่งตนยินดีรับข้อเสนอนี้ เนื่องจากถือเป็นอีกก้าวหนึ่งที่มีศักยภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น และปรับปรุงคุณภาพชีวิตในพื้นที่ชายแดน แต่จะต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมเพื่อฟื้นฟูเส้นทางรถไฟระหว่างสุไหงโก-ลก รันเตาปันยัง และปาเซร์มัส เนื่องจากต้องมีการบูรณะรางรถไฟที่ไม่ได้ใช้งานมานานในเมืองรันเตาปันยังและสุไหงโก-ลก ปัจจุบัน สถานีปาดังเบซาร์ ประเทศมาเลเซีย มีบริการรถไฟ ETS (Electric Train Service) ไปยังสถานี KL Sentral กรุงกัวลาลัมเปอร์ วันละ 5 ขบวน ปลายทางไกลที่สุดคือสถานีเซกามัต (Segamat) รัฐยะโฮร์ #Newskit หมายเหตุ : ลงวันที่ล่วงหน้า เพราะจะเผยแพร่ทาง Facebook และ Instagram วันที่ 12 พ.ค. 2568
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 414 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมื่อนักท่องเที่ยวไทยใช้บริการ Rapid Penang On-Demand

    บริษัทแรพิดบัส (Rapid Bus) ผู้ให้บริการรถโดยสารประจำทาง แรพิด ปีนัง (Rapid Penang) ประเทศมาเลเซีย เปิดให้บริการขนส่งสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการเดินทาง หรือ DRT (Demand Responsive Transport) ภายใต้ชื่อ Rapid Penang On-Demand มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 โดยใช้รถตู้เป็นยานพาหนะ ในพื้นที่ประชากรหนาแน่นและย่านที่อยู่อาศัยที่เพิ่งพัฒนา แต่ยังขาดการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ เชื่อมต่อไปยังป้ายรถเมล์ Rapid Penang คิดค่าโดยสาร 1 ริงกิตต่อเที่ยว

    เฟซบุ๊ก "แซม ญาณบ้าน" นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ทดลองใช้บริการ Rapid Penang On-Demand เปิดเผยว่า เป็นขนส่งสาธารณะที่เป็นการเรียกยานพาหนะที่ใช้รถร่วมกัน หรือ คาร์พูล (Carpool) ในพื้นที่ให้บริการ โดยใช้รถตู้ 13 ที่นั่ง แต่ต้องเรียกผ่านแอปพลิเคชัน Kummute เมื่อเรียกรถ ระบบจะเรียกรถตู้ที่มีจุดหมายหรือทางผ่านเดียวกันที่ใกล้ที่สุด ถ้ามีคนไปทางเดียวกันก็เป็นคาร์พูลไปโดยปริยาย

    เขาใช้บริการ Rapid Penang On-Demand ในช่วงเช้า จาก George Town ไปยัง Karpal Singh Drive ซึ่งพบว่ามีรถแสดงผลในระบบ 5 คัน อารมณ์คล้ายรถตุ๊กตุ๊กในเมืองหาดใหญ่ ที่รับผู้โดยสารตามรายทางไปเรื่อยๆ แต่เปลี่ยนเป็นเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งสามารถจัดการเส้นทางคาร์พูลได้ดีกว่า ที่สำคัญราคาช่วงโปรโมชัน 1 ริงกิต แต่ถ้าหากหมดโปรโมชัน ขึ้นค่าโดยสารเป็น 2-3 ริงกิต คนที่เดินทางคนเดียวแบบ Solo Trip ก็ถือว่ายังถูกอยู่

    วิธีการเรียกรถ ให้เลือกจุดรับ (Pick-Up) จุดลง (Drop-Off) เลือกช่องทางการชำระเงิน (Payment) เลือกจำนวนผู้โดยสาร (Passenger) กดที่ "Choose drop-off time" เลือก As soon as possible (เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้) จากนั้นกด Continue แล้วรอรถตู้มารับ แล้วชำระเงินที่รถเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางต่อไป

    สำหรับการชำระเงิน สามารถใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตที่เครื่อง EDC ที่อยู่กับคนขับรถ ซึ่งบัตรเครดิตที่ออกในประเทศไทยสามารถใช้ได้ ส่วนเครื่อง EDC ที่อยู่หน้ารถสำหรับบัตร Rapid Penang บัตรมูเทียราพาส (Mutiara Pass) และบัตรสำหรับผู้พิการ (OKU Smile Pass) เฉพาะชาวมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังรองรับคิวอาร์โค้ด DuitNow และ E-Wallet ของมาเลเซียอีกด้วย

    ส่วนข้อจำกัดก็คือ ผู้โดยสารต้องติดตั้งแอปพลิเคชัน Kummute ซึ่งใช้เบอร์มือถือมาเลเซียยืนยันตัวตนผ่าน OTP นอกจากนี้ในบางช่วงเวลายังไม่สามารถเรียกรถได้ โดยระบุคำเตือน "High service demand" ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้โดยสารมีปริมาณความต้องการสูง รวมทั้งปัญหาการจราจรติดขัดบนเกาะปีนังที่ยังแก้ไม่ได้

    #Newskit

    หมายเหตุ : ลงวันที่ล่วงหน้า เพราะจะเผยแพร่ทาง Facebook และ Instagram วันที่ 12 พ.ค. 2568
    เมื่อนักท่องเที่ยวไทยใช้บริการ Rapid Penang On-Demand บริษัทแรพิดบัส (Rapid Bus) ผู้ให้บริการรถโดยสารประจำทาง แรพิด ปีนัง (Rapid Penang) ประเทศมาเลเซีย เปิดให้บริการขนส่งสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการเดินทาง หรือ DRT (Demand Responsive Transport) ภายใต้ชื่อ Rapid Penang On-Demand มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 โดยใช้รถตู้เป็นยานพาหนะ ในพื้นที่ประชากรหนาแน่นและย่านที่อยู่อาศัยที่เพิ่งพัฒนา แต่ยังขาดการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ เชื่อมต่อไปยังป้ายรถเมล์ Rapid Penang คิดค่าโดยสาร 1 ริงกิตต่อเที่ยว เฟซบุ๊ก "แซม ญาณบ้าน" นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ทดลองใช้บริการ Rapid Penang On-Demand เปิดเผยว่า เป็นขนส่งสาธารณะที่เป็นการเรียกยานพาหนะที่ใช้รถร่วมกัน หรือ คาร์พูล (Carpool) ในพื้นที่ให้บริการ โดยใช้รถตู้ 13 ที่นั่ง แต่ต้องเรียกผ่านแอปพลิเคชัน Kummute เมื่อเรียกรถ ระบบจะเรียกรถตู้ที่มีจุดหมายหรือทางผ่านเดียวกันที่ใกล้ที่สุด ถ้ามีคนไปทางเดียวกันก็เป็นคาร์พูลไปโดยปริยาย เขาใช้บริการ Rapid Penang On-Demand ในช่วงเช้า จาก George Town ไปยัง Karpal Singh Drive ซึ่งพบว่ามีรถแสดงผลในระบบ 5 คัน อารมณ์คล้ายรถตุ๊กตุ๊กในเมืองหาดใหญ่ ที่รับผู้โดยสารตามรายทางไปเรื่อยๆ แต่เปลี่ยนเป็นเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งสามารถจัดการเส้นทางคาร์พูลได้ดีกว่า ที่สำคัญราคาช่วงโปรโมชัน 1 ริงกิต แต่ถ้าหากหมดโปรโมชัน ขึ้นค่าโดยสารเป็น 2-3 ริงกิต คนที่เดินทางคนเดียวแบบ Solo Trip ก็ถือว่ายังถูกอยู่ วิธีการเรียกรถ ให้เลือกจุดรับ (Pick-Up) จุดลง (Drop-Off) เลือกช่องทางการชำระเงิน (Payment) เลือกจำนวนผู้โดยสาร (Passenger) กดที่ "Choose drop-off time" เลือก As soon as possible (เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้) จากนั้นกด Continue แล้วรอรถตู้มารับ แล้วชำระเงินที่รถเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางต่อไป สำหรับการชำระเงิน สามารถใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตที่เครื่อง EDC ที่อยู่กับคนขับรถ ซึ่งบัตรเครดิตที่ออกในประเทศไทยสามารถใช้ได้ ส่วนเครื่อง EDC ที่อยู่หน้ารถสำหรับบัตร Rapid Penang บัตรมูเทียราพาส (Mutiara Pass) และบัตรสำหรับผู้พิการ (OKU Smile Pass) เฉพาะชาวมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังรองรับคิวอาร์โค้ด DuitNow และ E-Wallet ของมาเลเซียอีกด้วย ส่วนข้อจำกัดก็คือ ผู้โดยสารต้องติดตั้งแอปพลิเคชัน Kummute ซึ่งใช้เบอร์มือถือมาเลเซียยืนยันตัวตนผ่าน OTP นอกจากนี้ในบางช่วงเวลายังไม่สามารถเรียกรถได้ โดยระบุคำเตือน "High service demand" ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้โดยสารมีปริมาณความต้องการสูง รวมทั้งปัญหาการจราจรติดขัดบนเกาะปีนังที่ยังแก้ไม่ได้ #Newskit หมายเหตุ : ลงวันที่ล่วงหน้า เพราะจะเผยแพร่ทาง Facebook และ Instagram วันที่ 12 พ.ค. 2568
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 449 มุมมอง 0 รีวิว
  • สงกรานต์ปี 68 ต่างชาติเที่ยวไทยลดลง

    สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) หรือ BDI เปิดเผยสถิติการเดินทางเข้าออกประเทศ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2568 เทียบกับปี 2567 โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ระหว่างวันที่ 1-20 เม.ย. พบว่าชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยลดลงกว่าปีก่อน ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวจีนลดลงกว่า 43% อีกด้านหนึ่ง คนไทยเดินทางออกนอกประเทศมากกว่า 10% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

    โดยชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย มีจำนวนประมาณ 2.1 ล้านคน ลดลง 4.5% จากปี 2567 สัญชาติที่เข้าประเทศไทยมากที่สุด คือ มาเลเซีย ประมาณ 306,000 คน ลดลงจากปีที่แล้ว 6.53% อันดับสอง จีน ประมาณ 225,000 คน ลดลงจากปีที่แล้ว 43.06% อันดับสาม ลาว ประมาณ 189,000 คน ลดลงจากปีที่แล้ว 7.02% อันดับสี่ อินเดีย ประมาณ 141,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 23.43% และอันดับห้า รัสเซีย ประมาณ 118,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 15.43%

    ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศมากที่สุด อันดับ 1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประมาณ 897,000 คน ลดลงจากปีที่แล้ว 3.18% อันดับสอง ท่าอากาศยานภูเก็ต ประมาณ 299,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10.73% อันดับสาม ท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) ประมาณ 224,000 คน ลดลงจากปีที่แล้ว 18.63% อันดับสี่ ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา จ.สงขลา ประมาณ 122,000 คน ลดลงจากปีที่แล้ว 6.43% และอันดับห้า จุดตรวจสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 จ.หนองคาย ประมาณ 74,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 11.27% ส่วนเที่ยวบินขาเข้าจากต่างประเทศ มีประมาณ 12,000 เที่ยวบิน ลดลงจากปีที่แล้ว 5.24%

    ส่วนคนไทยที่เดินทางออกนอกประเทศ มีประมาณ 702,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10.92% โดยพบว่าผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมากที่สุด ประมาณ 196,000 คน ลดลงจากปีที่แล้ว 0.67% จุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก จ.สระแก้ว ประมาณ 97,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 20.02% ท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) ประมาณ 82,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 58.62% ด่านตรวจคนเข้าเมืองปาดังเบซาร์ จ.สงขลา ประมาณ 57,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 64.15% และ จุดตรวจสะพานข้ามแม่น้ำสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ประมาณ 54,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 19.37%

    ก่อนหน้านี้ กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยจำนวนนักท่องเที่ยวสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 20 เม.ย. 2568 พบว่ามีจำนวน 11,272,379 คน จำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน 1,524,697 คน มาเลเซีย 1,401,169 คน รัสเซีย 835,385 คน อินเดีย 677,793 คน และเกาหลีใต้ 549,982 คน

    #Newskit
    สงกรานต์ปี 68 ต่างชาติเที่ยวไทยลดลง สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) หรือ BDI เปิดเผยสถิติการเดินทางเข้าออกประเทศ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2568 เทียบกับปี 2567 โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ระหว่างวันที่ 1-20 เม.ย. พบว่าชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยลดลงกว่าปีก่อน ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวจีนลดลงกว่า 43% อีกด้านหนึ่ง คนไทยเดินทางออกนอกประเทศมากกว่า 10% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย มีจำนวนประมาณ 2.1 ล้านคน ลดลง 4.5% จากปี 2567 สัญชาติที่เข้าประเทศไทยมากที่สุด คือ มาเลเซีย ประมาณ 306,000 คน ลดลงจากปีที่แล้ว 6.53% อันดับสอง จีน ประมาณ 225,000 คน ลดลงจากปีที่แล้ว 43.06% อันดับสาม ลาว ประมาณ 189,000 คน ลดลงจากปีที่แล้ว 7.02% อันดับสี่ อินเดีย ประมาณ 141,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 23.43% และอันดับห้า รัสเซีย ประมาณ 118,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 15.43% ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศมากที่สุด อันดับ 1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประมาณ 897,000 คน ลดลงจากปีที่แล้ว 3.18% อันดับสอง ท่าอากาศยานภูเก็ต ประมาณ 299,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10.73% อันดับสาม ท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) ประมาณ 224,000 คน ลดลงจากปีที่แล้ว 18.63% อันดับสี่ ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา จ.สงขลา ประมาณ 122,000 คน ลดลงจากปีที่แล้ว 6.43% และอันดับห้า จุดตรวจสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 จ.หนองคาย ประมาณ 74,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 11.27% ส่วนเที่ยวบินขาเข้าจากต่างประเทศ มีประมาณ 12,000 เที่ยวบิน ลดลงจากปีที่แล้ว 5.24% ส่วนคนไทยที่เดินทางออกนอกประเทศ มีประมาณ 702,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10.92% โดยพบว่าผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมากที่สุด ประมาณ 196,000 คน ลดลงจากปีที่แล้ว 0.67% จุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก จ.สระแก้ว ประมาณ 97,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 20.02% ท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) ประมาณ 82,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 58.62% ด่านตรวจคนเข้าเมืองปาดังเบซาร์ จ.สงขลา ประมาณ 57,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 64.15% และ จุดตรวจสะพานข้ามแม่น้ำสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ประมาณ 54,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 19.37% ก่อนหน้านี้ กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยจำนวนนักท่องเที่ยวสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 20 เม.ย. 2568 พบว่ามีจำนวน 11,272,379 คน จำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน 1,524,697 คน มาเลเซีย 1,401,169 คน รัสเซีย 835,385 คน อินเดีย 677,793 คน และเกาหลีใต้ 549,982 คน #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 452 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยางคอนติเนนทอล ปิดโรงงานอลอร์สตาร์ มาเลเซีย

    คอนติเนนทอล (Continental) ผู้ผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์อันดับ 1 จากประเทศเยอรมนี ที่มียอดขายสูงสุด 1 ใน 3 ของโลก กำลังเตรียมปิดโรงงานผลิตยางรถยนต์ สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถบรรทุกขนาดเบา และจักรยานยนต์สำหรับตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในเมืองอลอร์สตาร์ (Aloe Setar) รัฐเคดะห์ (Kedah) ทางภาคเหนือของมาเลเซีย ภายในสิ้นปี 2568 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อต้องการคงความสามารถในการแข่งขันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นผลจากการพิจารณาทบทวนธุรกิจเต็มรูปแบบ การตัดสินใจดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ปรับปรุงกลุ่มผลิตภัณฑ์ และสถานที่ตั้งโรงงาน

    สำหรับพนักงานทั้งหมด 950 คน ที่จะได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานในครั้งนี้ คอนติเนนทอลได้เสนอความช่วยเหลือ เช่น การให้คำปรึกษาด้านอาชีพ และการสำรวจโอกาสในการทำงานทั้งภายในและภายนอกบริษัทฯ การปิดโรงงานดังกล่าวนับเป็นการปิดฉากโรงงานผลิตยางรถยนต์ที่ดำเนินกิจการมาเป็นเวลา 46 ปี ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2522 บนพื้นที่ 133,000 ตารางเมตร และกลายเป็นบริษัทในเครือคอนติเนนทอลมาตั้งแต่เดือน พ.ค. 2555 อย่างไรก็ตาม ยังเหลือโรงงานในมาเลเซียอีก 1 แห่ง ที่เมืองเปอตาลิง จายา รัฐสลังงอร์ ผลิตยางออฟโรดสำหรับขนย้ายวัสดุและใช้งานทางการเกษตร มีพนักงาน 500 คน

    ยางรถยนต์คอนติเนนทอลก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2414 นำเข้าและจำหน่ายในมาเลเซียช่วงต้นทศวรรษปี 1960-1970 กระทั่งในช่วงต้นทศวรรษปี 2000 คอนติเนนทอลเริ่มลงทุนโดยตรงมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งมาเลเซีย โดยในปี 2549 เข้าซื้อหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัท ไซม์ ไทร์ อินเตอร์เนชันแนล บริษัทในเครือ ไซม์ ดาร์บี้ (Sime Darby) หนึ่งในผู้นำธุรกิจยานยนต์ในมาเลเซีย ทำให้คอนติเนนตัลมีฐานการผลิตและการเข้าถึงตลาดที่สำคัญในมาเลเซียในที่สุด

    แม้ว่าโรงงานที่อลอร์สตาร์จะต้องปิดตัวลง แต่คอนติเนนทอลยืนยันที่จะให้มาเลเซียเป็นตลาดสำคัญเชิงกลยุทธ์สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เน้นย้ำถึงการมุ่งรักษาความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้าและพันธมิตรในประเทศอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันคอนติเนนทอลมีโรงงานผลิตยางรถยนต์ 22 แห่งใน 17 ประเทศทั่วโลก โดยในภูมิภาคเอเชีย มีโรงงานทั้งที่มาเลเซีย เหอเฟย์ในจีน ระยองในไทย โมดิปุรัมในอินเดีย และกาลูทาราในศรีลังกา ก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ต.ค. 2567 คอนติเนนทอล ประกาศว่า กำลังขยายกำลังการผลิตยางรถยนต์ในโรงงานจังหวัดระยอง ประเทศไทย อีก 3 ล้านเส้นต่อปี สร้างงานเพิ่ม 600 อัตรา วางแผนลงทุนมากกว่า 300 ล้านยูโร (13,000 ล้านบาท)

    #Newskit
    ยางคอนติเนนทอล ปิดโรงงานอลอร์สตาร์ มาเลเซีย คอนติเนนทอล (Continental) ผู้ผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์อันดับ 1 จากประเทศเยอรมนี ที่มียอดขายสูงสุด 1 ใน 3 ของโลก กำลังเตรียมปิดโรงงานผลิตยางรถยนต์ สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถบรรทุกขนาดเบา และจักรยานยนต์สำหรับตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในเมืองอลอร์สตาร์ (Aloe Setar) รัฐเคดะห์ (Kedah) ทางภาคเหนือของมาเลเซีย ภายในสิ้นปี 2568 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อต้องการคงความสามารถในการแข่งขันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นผลจากการพิจารณาทบทวนธุรกิจเต็มรูปแบบ การตัดสินใจดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ปรับปรุงกลุ่มผลิตภัณฑ์ และสถานที่ตั้งโรงงาน สำหรับพนักงานทั้งหมด 950 คน ที่จะได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานในครั้งนี้ คอนติเนนทอลได้เสนอความช่วยเหลือ เช่น การให้คำปรึกษาด้านอาชีพ และการสำรวจโอกาสในการทำงานทั้งภายในและภายนอกบริษัทฯ การปิดโรงงานดังกล่าวนับเป็นการปิดฉากโรงงานผลิตยางรถยนต์ที่ดำเนินกิจการมาเป็นเวลา 46 ปี ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2522 บนพื้นที่ 133,000 ตารางเมตร และกลายเป็นบริษัทในเครือคอนติเนนทอลมาตั้งแต่เดือน พ.ค. 2555 อย่างไรก็ตาม ยังเหลือโรงงานในมาเลเซียอีก 1 แห่ง ที่เมืองเปอตาลิง จายา รัฐสลังงอร์ ผลิตยางออฟโรดสำหรับขนย้ายวัสดุและใช้งานทางการเกษตร มีพนักงาน 500 คน ยางรถยนต์คอนติเนนทอลก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2414 นำเข้าและจำหน่ายในมาเลเซียช่วงต้นทศวรรษปี 1960-1970 กระทั่งในช่วงต้นทศวรรษปี 2000 คอนติเนนทอลเริ่มลงทุนโดยตรงมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งมาเลเซีย โดยในปี 2549 เข้าซื้อหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัท ไซม์ ไทร์ อินเตอร์เนชันแนล บริษัทในเครือ ไซม์ ดาร์บี้ (Sime Darby) หนึ่งในผู้นำธุรกิจยานยนต์ในมาเลเซีย ทำให้คอนติเนนตัลมีฐานการผลิตและการเข้าถึงตลาดที่สำคัญในมาเลเซียในที่สุด แม้ว่าโรงงานที่อลอร์สตาร์จะต้องปิดตัวลง แต่คอนติเนนทอลยืนยันที่จะให้มาเลเซียเป็นตลาดสำคัญเชิงกลยุทธ์สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เน้นย้ำถึงการมุ่งรักษาความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้าและพันธมิตรในประเทศอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันคอนติเนนทอลมีโรงงานผลิตยางรถยนต์ 22 แห่งใน 17 ประเทศทั่วโลก โดยในภูมิภาคเอเชีย มีโรงงานทั้งที่มาเลเซีย เหอเฟย์ในจีน ระยองในไทย โมดิปุรัมในอินเดีย และกาลูทาราในศรีลังกา ก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ต.ค. 2567 คอนติเนนทอล ประกาศว่า กำลังขยายกำลังการผลิตยางรถยนต์ในโรงงานจังหวัดระยอง ประเทศไทย อีก 3 ล้านเส้นต่อปี สร้างงานเพิ่ม 600 อัตรา วางแผนลงทุนมากกว่า 300 ล้านยูโร (13,000 ล้านบาท) #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 375 มุมมอง 0 รีวิว
  • สิงคโปร์ ยุบสภาก่อนได้เปรียบ?

    การประกาศยุบสภาของรัฐบาลสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. และจัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 พ.ค.ที่จะถึงนี้ นายลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ให้เหตุผลว่า เพื่อต้องการให้ชาวสิงคโปร์ได้ตัดสินใจเลือกรัฐบาลซึ่งจะนำพาประเทศในช่วงเวลาวิกฤต หลังจากโลกกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอนและอาจถึงขั้นไร้เสถียรภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้า ซึ่งสิงคโปร์ถูกขึ้นภาษี 10% นายหว่องเคยกล่าวต่อรัฐสภาว่า ยุคของโลกาภิวัตน์ตามกฎเกณฑ์และการค้าเสรีได้สิ้นสุดลงแล้ว สิงคโปร์เสี่ยงที่จะถูกบีบให้หลุดจากการแข่งขัน ตกขอบ และถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

    การยุบสภาไม่ใช่เรื่องใหม่ของสิงคโปร์ ก่อนหน้านี้สมัยนายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 3 ก็เคยยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 10 ก.ค.2563 เพื่อต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่มีเวลาทำงานเต็ม 5 ปีในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และความท้าทายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น สามารถตัดสินใจในเรื่องสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการจัดเลือกตั้งในช่วงโควิด-19 ก็ตาม และนายลี เซียน ลุง ก็ลงจากตำแหน่งในวันที่ 15 พ.ค. 2567 เพื่อส่งต่อให้กับนายลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 4

    การเลือกตั้งทั่วไปของสิงคโปร์ในครั้งนี้ เป็นการเลือกสมาชิกรัฐสภา 97 คน จาก 33 เขตเลือกตั้ง มีผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง 2.7 ล้านคน นับเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 19 นับตั้งแค่การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในปี ค.ศ.1948 และเป็นครั้งที่ 14 นับตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี ค.ศ.1965 รวมทั้งเป็นครั้งแรกที่นายลอว์เรนซ์ หว่อง รับบทบาทเป็นหัวหน้าพรรคกิจประชาชน (PAP) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเสียงข้างมากในรัฐสภาสิงคโปร์ ที่ครองอำนาจมายาวนาน สมัยที่แล้วได้มา 79 ที่นั่ง จะต้องแข่งกับพรรคแรงงาน (WP) ซึ่งสมัยที่แล้วได้มา 8 ที่นั่ง พรรคก้าวหน้าสิงคโปร์ (PSP) ได้มา 2 ที่นั่ง และพรรคอื่นๆ

    บทความจาก รศ.วิทยา ด่านธำรงกูล สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) วิเคราะห์ตอนหนึ่งว่า การยุบสภาของนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ นอกจากจะเป็นการพยายามหาฉันทมติจากประชาชนว่าจะเห็นด้วยกับแนวทางการแก้ปัญหาของเขา และคณะรัฐมนตรีของเขามากน้อยเพียงใดแล้ว ยังเป็นการฉกฉวยโอกาสจากวิกฤติสงครามการค้า เพื่อให้ประชาชนได้เห็นว่ารัฐบาลของเขาเข้าใจวิกฤติครั้งนี้ และพร้อมจะเข้ามามีบทบาทเต็มที่ในการหาทางออกให้ประเทศ ย่อมเป็นการฉกฉวยคะแนนบนความกังวลใจของชาวสิงคโปร์

    #Newskit
    สิงคโปร์ ยุบสภาก่อนได้เปรียบ? การประกาศยุบสภาของรัฐบาลสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. และจัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 พ.ค.ที่จะถึงนี้ นายลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ให้เหตุผลว่า เพื่อต้องการให้ชาวสิงคโปร์ได้ตัดสินใจเลือกรัฐบาลซึ่งจะนำพาประเทศในช่วงเวลาวิกฤต หลังจากโลกกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอนและอาจถึงขั้นไร้เสถียรภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้า ซึ่งสิงคโปร์ถูกขึ้นภาษี 10% นายหว่องเคยกล่าวต่อรัฐสภาว่า ยุคของโลกาภิวัตน์ตามกฎเกณฑ์และการค้าเสรีได้สิ้นสุดลงแล้ว สิงคโปร์เสี่ยงที่จะถูกบีบให้หลุดจากการแข่งขัน ตกขอบ และถูกทิ้งไว้ข้างหลัง การยุบสภาไม่ใช่เรื่องใหม่ของสิงคโปร์ ก่อนหน้านี้สมัยนายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 3 ก็เคยยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 10 ก.ค.2563 เพื่อต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่มีเวลาทำงานเต็ม 5 ปีในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และความท้าทายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น สามารถตัดสินใจในเรื่องสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการจัดเลือกตั้งในช่วงโควิด-19 ก็ตาม และนายลี เซียน ลุง ก็ลงจากตำแหน่งในวันที่ 15 พ.ค. 2567 เพื่อส่งต่อให้กับนายลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 4 การเลือกตั้งทั่วไปของสิงคโปร์ในครั้งนี้ เป็นการเลือกสมาชิกรัฐสภา 97 คน จาก 33 เขตเลือกตั้ง มีผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง 2.7 ล้านคน นับเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 19 นับตั้งแค่การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในปี ค.ศ.1948 และเป็นครั้งที่ 14 นับตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี ค.ศ.1965 รวมทั้งเป็นครั้งแรกที่นายลอว์เรนซ์ หว่อง รับบทบาทเป็นหัวหน้าพรรคกิจประชาชน (PAP) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเสียงข้างมากในรัฐสภาสิงคโปร์ ที่ครองอำนาจมายาวนาน สมัยที่แล้วได้มา 79 ที่นั่ง จะต้องแข่งกับพรรคแรงงาน (WP) ซึ่งสมัยที่แล้วได้มา 8 ที่นั่ง พรรคก้าวหน้าสิงคโปร์ (PSP) ได้มา 2 ที่นั่ง และพรรคอื่นๆ บทความจาก รศ.วิทยา ด่านธำรงกูล สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) วิเคราะห์ตอนหนึ่งว่า การยุบสภาของนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ นอกจากจะเป็นการพยายามหาฉันทมติจากประชาชนว่าจะเห็นด้วยกับแนวทางการแก้ปัญหาของเขา และคณะรัฐมนตรีของเขามากน้อยเพียงใดแล้ว ยังเป็นการฉกฉวยโอกาสจากวิกฤติสงครามการค้า เพื่อให้ประชาชนได้เห็นว่ารัฐบาลของเขาเข้าใจวิกฤติครั้งนี้ และพร้อมจะเข้ามามีบทบาทเต็มที่ในการหาทางออกให้ประเทศ ย่อมเป็นการฉกฉวยคะแนนบนความกังวลใจของชาวสิงคโปร์ #Newskit
    Like
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 450 มุมมอง 0 รีวิว
  • สายสัมพันธ์ไทย-ภูฏาน สองราชวงศ์เชื่อมใจประชาชน

    การเสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรภูฏานอย่างเป็นทางการ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ระหว่างวันที่ 25-28 เม.ย. 2568 ตามคำทูลเชิญของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งภูฏาน นับเป็นการกระชับมิตรภาพและความร่วมมืออันใกล้ชิดระหว่างราชอาณาจักรทั้งสองให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จากการมีมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกันในความเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนาและสายสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ทั้งสอง รวมทั้งระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ

    พระราชกรณียกิจที่น่าสนใจ อาทิ ทอดพระเนตรโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งภูฏาน เพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชน ได้แก่ โครงการฝึกอบรมเกียลซุง (Gyalsung National Service) ให้เยาวชนทุกคนที่มีอายุ 18 ปี เข้าร่วมการฝึกอบรมระยะเวลา 1 ปี เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และมีทักษะประจำตัวในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ โครงการจิตอาสาเดซุง (De-suung) เพื่อส่งเสริมให้ชาวภูฏานมีบทบาทในการสร้างชาติและพัฒนาประเทศ มีจิตอาสาทำงานเพื่อสังคมและส่วนรวม ความสมานฉันท์ สามารถทำงานเป็นทีมและมีระเบียบวินัย

    การเสด็จพระราชดำเนินไปยังสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดอร์เดนมา เพื่อร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคล โดยคณะสงฆ์ฝ่ายภูฏานและคณะสงฆ์ไทย ฝ่ายละ 74 รูป การเสด็จพระราชดำเนินไปยังโครงการหลวงเดเชนโชลิง ทอดพระเนตรนิทรรศการความร่วมมือระหว่างมูลนิธิโครงการหลวงของไทย กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภูฏาน ทอดพระเนตรโครงการเดชุง และโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

    การเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชวังลิงคานา เพื่อทอดพระเนตรการแสดงศิลปวัฒนธรรมของภูฏาน การยิงธนู และกีฬาพื้นบ้าน ทอดพระเนตรงานหัตถกรรมผ้าและสิ่งทอของราชอาณาจักรภูฏาน การเสด็จพระราชดำเนินไปยังตลาดกลางประจำกรุงทิมพู ทอดพระเนตรโครงการพัฒนาทักษะอาสาสมัครในโครงการเดซุง ทอดพระเนตรร้านค้าจำหน่ายพืชผลทางการเกษตร การเสด็จพระราชดำเนินไปยังป้อมดุงการ์ ทรงสักการะพระศากยมุนี ทอดพระเนตรกิจกรรมของราชวิทยาลัย และโครงการพัฒนาเมืองเกเลฟู ให้เป็นเมืองแห่งสติปัญญาในเขตปกครองพิเศษ

    นับเป็นพระราชไมตรีส่วนพระองค์ ที่มีค่านิยมร่วมกันในการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล บนพื้นฐานของวัฒนธรรมและศรัทธา​ของประชาชนทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะการน้อมนำหลักการของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ ตามนโยบายความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness) ที่มุ่งเน้นความสุขของประชาชนมากกว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจ

    #Newskit
    สายสัมพันธ์ไทย-ภูฏาน สองราชวงศ์เชื่อมใจประชาชน การเสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรภูฏานอย่างเป็นทางการ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ระหว่างวันที่ 25-28 เม.ย. 2568 ตามคำทูลเชิญของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งภูฏาน นับเป็นการกระชับมิตรภาพและความร่วมมืออันใกล้ชิดระหว่างราชอาณาจักรทั้งสองให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จากการมีมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกันในความเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนาและสายสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ทั้งสอง รวมทั้งระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ พระราชกรณียกิจที่น่าสนใจ อาทิ ทอดพระเนตรโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งภูฏาน เพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชน ได้แก่ โครงการฝึกอบรมเกียลซุง (Gyalsung National Service) ให้เยาวชนทุกคนที่มีอายุ 18 ปี เข้าร่วมการฝึกอบรมระยะเวลา 1 ปี เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และมีทักษะประจำตัวในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ โครงการจิตอาสาเดซุง (De-suung) เพื่อส่งเสริมให้ชาวภูฏานมีบทบาทในการสร้างชาติและพัฒนาประเทศ มีจิตอาสาทำงานเพื่อสังคมและส่วนรวม ความสมานฉันท์ สามารถทำงานเป็นทีมและมีระเบียบวินัย การเสด็จพระราชดำเนินไปยังสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดอร์เดนมา เพื่อร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคล โดยคณะสงฆ์ฝ่ายภูฏานและคณะสงฆ์ไทย ฝ่ายละ 74 รูป การเสด็จพระราชดำเนินไปยังโครงการหลวงเดเชนโชลิง ทอดพระเนตรนิทรรศการความร่วมมือระหว่างมูลนิธิโครงการหลวงของไทย กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภูฏาน ทอดพระเนตรโครงการเดชุง และโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชวังลิงคานา เพื่อทอดพระเนตรการแสดงศิลปวัฒนธรรมของภูฏาน การยิงธนู และกีฬาพื้นบ้าน ทอดพระเนตรงานหัตถกรรมผ้าและสิ่งทอของราชอาณาจักรภูฏาน การเสด็จพระราชดำเนินไปยังตลาดกลางประจำกรุงทิมพู ทอดพระเนตรโครงการพัฒนาทักษะอาสาสมัครในโครงการเดซุง ทอดพระเนตรร้านค้าจำหน่ายพืชผลทางการเกษตร การเสด็จพระราชดำเนินไปยังป้อมดุงการ์ ทรงสักการะพระศากยมุนี ทอดพระเนตรกิจกรรมของราชวิทยาลัย และโครงการพัฒนาเมืองเกเลฟู ให้เป็นเมืองแห่งสติปัญญาในเขตปกครองพิเศษ นับเป็นพระราชไมตรีส่วนพระองค์ ที่มีค่านิยมร่วมกันในการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล บนพื้นฐานของวัฒนธรรมและศรัทธา​ของประชาชนทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะการน้อมนำหลักการของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ ตามนโยบายความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness) ที่มุ่งเน้นความสุขของประชาชนมากกว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจ #Newskit
    Like
    Love
    6
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 496 มุมมอง 0 รีวิว
  • รถไฟลาว-จีน ดีเลย์เหมือนไทย

    เปิดให้บริการก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ของรถไฟลาว-จีน จากนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ลงใต้ไปถึงเวียงจันทน์ ประเทศลาว รวมระยะทาง 1,035 กิโลเมตร ปัจจุบันมีผู้โดยสารช่วงระหว่างหลวงพระบางถึงสิบสองปันนา มากกว่า 800 คนต่อวัน และสูงสุดถึง 1,200 คนต่อวัน นับตั้งแต่ประเทศจีนขยายนโยบายฟรีวีซ่ากับประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้น รวมทั้งประเทศไทย แม้ที่ผ่านมาจะพัฒนาการบริการ โดยเฉพาะการซื้อตั๋วล่วงหน้าที่สะดวกยิ่งขึ้นผ่านแอปฯ LCR Ticket ที่เบอร์มือถือลาว จีน และไทยสามารถใช้ได้ แก้ปัญหาการกักตุนและขายต่อเกินราคา แต่ปัญหาที่ดูเหมือนจะแก้ไขได้ยาก คือขบวนรถล่าช้าเหมือนรถไฟไทย แถมหนักกว่าตรงที่เช็กไม่ได้ ไม่เหมือนรถไฟไทยที่มีระบบ TTS

    ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2568 ที่ผ่านมา Newskit มีโอกาสไปเยือนเมืองบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา เริ่มจากขาไป ขบวน C82 นครหลวงเวียงจันทน์-บ่อเต็น ออกจากสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ 13.30 น. ตามกำหนดต้องถึงสถานีบ่อเต็น 17.25 น. แต่วันนั้นถึงจริง 18.26 น. เหตุเพราะรอรถหลีกช่วงสถานีวังเวียง ถึงสถานีหลวงพระบาง จากสถานีบ่อเต็นจะมีรถรับจ้างไปส่งที่ด่านบ่อเต็น และโรงแรมในเมืองบ่อเต็น คิดคนละ 50,000 กีบ (ประมาณ 78 บาท)

    ส่วนขากลับ ขบวน D87 คุนหมิงใต้-บ่อเต็น-นครหลวงเวียงจันทน์ ออกจากสถานีบ่อเต็น 13.27 น. ตามกำหนดต้องถึงสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ 16.44 น. แต่ถึงจริง 17.00 น. เหตุเพราะรอรถหลีก โชคดีที่รถเมล์ของรัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ (VCSBE) ยังรอให้บริการ ไปสะพานมิตรภาพไทย-ลาว และตลาดซันเจียง แต่ต้องรีบออกจากสถานี ไม่เช่นนั้นต้องจ่ายค่าแท็กซี่ในราคาที่สูง

    สาเหตุที่ทำให้รถไฟลาว-จีนล่าช้า เพราะเส้นทางรถไฟส่วนใหญ่เป็นรถไฟทางเดียว และต้องลอดใต้อุโมงค์ช่วงสถานีวังเวียง ถึงสถานีบ่อเต็นแบบถี่ยิบ แต่เพราะเป็นรถไฟฟ้า EMU สามารถทำความเร็วมากกว่า 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงสามารถทำความเร็วเพื่อชดเชยเวลาที่เสียไปได้ โดยเฉพาะขบวนที่ D87 ซึ่งเป็นขบวนรถจากประเทศจีนมายังเมืองหลวงของ สปป.ลาว ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว นักท่องเที่ยวที่จัดโปรแกรมหรือนักเดินทางที่มีนัดหมายแน่นอน ควรเผื่อเวลาไว้สัก 1-2 ชั่วโมง

    คำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ รถไฟลาว-จีนมีสัญญาณมือถือเฉพาะช่วงที่ผ่านสถานี เมื่อออกจากสถานีสัญญาณจะค่อยๆ ขาดหาย ควรเปิดโหมดเครื่องบินตลอดการเดินทางเพื่อประหยัดแบตเตอรี ส่วนขากลับเมื่อออกจากสถานีวังเวียงแล้ว ก่อนถึงสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ควรเข้าห้องน้ำบนรถไฟให้เรียบร้อย เพราะห้องน้ำตรงทางออกปิดบริการ ต้องไปเข้าห้องน้ำข้างนอกสถานีซึ่งเดินไกลมาก และจะได้ไม่พลาดรถเมล์อีกด้วย

    #Newskit
    รถไฟลาว-จีน ดีเลย์เหมือนไทย เปิดให้บริการก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ของรถไฟลาว-จีน จากนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ลงใต้ไปถึงเวียงจันทน์ ประเทศลาว รวมระยะทาง 1,035 กิโลเมตร ปัจจุบันมีผู้โดยสารช่วงระหว่างหลวงพระบางถึงสิบสองปันนา มากกว่า 800 คนต่อวัน และสูงสุดถึง 1,200 คนต่อวัน นับตั้งแต่ประเทศจีนขยายนโยบายฟรีวีซ่ากับประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้น รวมทั้งประเทศไทย แม้ที่ผ่านมาจะพัฒนาการบริการ โดยเฉพาะการซื้อตั๋วล่วงหน้าที่สะดวกยิ่งขึ้นผ่านแอปฯ LCR Ticket ที่เบอร์มือถือลาว จีน และไทยสามารถใช้ได้ แก้ปัญหาการกักตุนและขายต่อเกินราคา แต่ปัญหาที่ดูเหมือนจะแก้ไขได้ยาก คือขบวนรถล่าช้าเหมือนรถไฟไทย แถมหนักกว่าตรงที่เช็กไม่ได้ ไม่เหมือนรถไฟไทยที่มีระบบ TTS ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2568 ที่ผ่านมา Newskit มีโอกาสไปเยือนเมืองบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา เริ่มจากขาไป ขบวน C82 นครหลวงเวียงจันทน์-บ่อเต็น ออกจากสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ 13.30 น. ตามกำหนดต้องถึงสถานีบ่อเต็น 17.25 น. แต่วันนั้นถึงจริง 18.26 น. เหตุเพราะรอรถหลีกช่วงสถานีวังเวียง ถึงสถานีหลวงพระบาง จากสถานีบ่อเต็นจะมีรถรับจ้างไปส่งที่ด่านบ่อเต็น และโรงแรมในเมืองบ่อเต็น คิดคนละ 50,000 กีบ (ประมาณ 78 บาท) ส่วนขากลับ ขบวน D87 คุนหมิงใต้-บ่อเต็น-นครหลวงเวียงจันทน์ ออกจากสถานีบ่อเต็น 13.27 น. ตามกำหนดต้องถึงสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ 16.44 น. แต่ถึงจริง 17.00 น. เหตุเพราะรอรถหลีก โชคดีที่รถเมล์ของรัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ (VCSBE) ยังรอให้บริการ ไปสะพานมิตรภาพไทย-ลาว และตลาดซันเจียง แต่ต้องรีบออกจากสถานี ไม่เช่นนั้นต้องจ่ายค่าแท็กซี่ในราคาที่สูง สาเหตุที่ทำให้รถไฟลาว-จีนล่าช้า เพราะเส้นทางรถไฟส่วนใหญ่เป็นรถไฟทางเดียว และต้องลอดใต้อุโมงค์ช่วงสถานีวังเวียง ถึงสถานีบ่อเต็นแบบถี่ยิบ แต่เพราะเป็นรถไฟฟ้า EMU สามารถทำความเร็วมากกว่า 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงสามารถทำความเร็วเพื่อชดเชยเวลาที่เสียไปได้ โดยเฉพาะขบวนที่ D87 ซึ่งเป็นขบวนรถจากประเทศจีนมายังเมืองหลวงของ สปป.ลาว ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว นักท่องเที่ยวที่จัดโปรแกรมหรือนักเดินทางที่มีนัดหมายแน่นอน ควรเผื่อเวลาไว้สัก 1-2 ชั่วโมง คำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ รถไฟลาว-จีนมีสัญญาณมือถือเฉพาะช่วงที่ผ่านสถานี เมื่อออกจากสถานีสัญญาณจะค่อยๆ ขาดหาย ควรเปิดโหมดเครื่องบินตลอดการเดินทางเพื่อประหยัดแบตเตอรี ส่วนขากลับเมื่อออกจากสถานีวังเวียงแล้ว ก่อนถึงสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ควรเข้าห้องน้ำบนรถไฟให้เรียบร้อย เพราะห้องน้ำตรงทางออกปิดบริการ ต้องไปเข้าห้องน้ำข้างนอกสถานีซึ่งเดินไกลมาก และจะได้ไม่พลาดรถเมล์อีกด้วย #Newskit
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 397 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts