• ข่าวดี ใน/นอก ประเทศ? 23/05/68 #กะเทาะหุ้น #SET #ตลาดหุ้น #เศรษฐกิจ #การค้าต่างประเทศ
    ข่าวดี ใน/นอก ประเทศ? 23/05/68 #กะเทาะหุ้น #SET #ตลาดหุ้น #เศรษฐกิจ #การค้าต่างประเทศ
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 589 มุมมอง 19 0 รีวิว
  • แอปฯ K PLUS สแกนจ่ายที่ลาวได้แล้ว

    แอปพลิเคชัน K PLUS ของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เวอร์ชัน 5.19.11 เมื่อวันที่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ สแกนจ่ายผ่าน QR Code ระบบ Cross-border QR Payment ของ LAO QR ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยไม่ต้องพกเงินสด ไม่ต้องแลกเงิน และไม่มีค่าธรรมเนียม เป็นธนาคารที่สี่ ต่อจากแอปพลิเคชัน KMA ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, Krungthai NEXT ธนาคารกรุงไทย และ Bangkok Bank Mobile Banking ธนาคารกรุงเทพ

    ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของโมบายแบงกิ้งอันดับหนึ่ง ด้วยจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 23 ล้านราย หันมาพัฒนาระบบ Cross-border QR Payment เอง นอกจากพัฒนารองรับการสแกน QR Code ในต่างประเทศหลากหลายรูปแบบ เช่น UnionPay QR Payment, Alipay+, WeChat เฉพาะประเทศจีน และ Cross Border Outbound เฉพาะประเทศมาเลเซีย ที่สแกนจ่าย QR Code ของ DuitNow ผ่านเครือข่าย Alipay+ ต่างจากธนาคารอื่น ที่เชื่อมโยงระบบจากเครือข่าย PayNet ผู้ให้บริการระบบ DuitNow

    ผู้ใช้งาน K PLUS สามารถสแกนคิวอาร์โค้ดจากร้านค้าที่ใช้ระบบ LAO QR ของธนาคารในลาว 12 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารเอซีลีดา (ACLEDA) ธนาคารส่งเสริมกสิกรรรม (APB) ธนาคารการค้าต่างประเทศลาว (BCEL) ธนาคารลาว-ฝรั่งเศส (LBF) ธนาคารบีไอซี (BIC) ธนาคารอินโดจีน (IBL) ธนาคารร่วมพัฒนา (JDB) ธนาคารกสิกรไทย ลาว (KBANK LAOS) ธนาคารพัฒนาลาว (LDB) ธนาคารร่วมธุรกิจลาว-เวียด (Laoviet) ธนาคารพงสะหวัน (Pongsavanh) และธนาคารเอสที (ST Bank) วงเงินไม่เกิน 100,000 บาทต่อรายการ และไม่เกิน 500,000 บาทต่อวัน

    อย่างไรก็ตาม แอปฯ ธนาคารในไทยทั้ง 4 แห่ง สามารถสแกน QR Code ของ LAO QR ได้เฉพาะคิวอาร์โค้ดร้านค้าที่รองรับเท่านั้น แต่คิวอาร์โค้ดสำหรับโอนเงินระหว่างบุคคล หรือร้านค้าขนาดเล็กในประเทศลาวไม่สามารถใช้ได้ จึงควรทดลองใช้ธนาคารของไทยสแกนคิวอาร์โค้ดก่อน โดยยังไม่ต้องโอนเงิน หากขึ้นหน้าจอชำระเงินถือว่าสามารถสแกนจ่ายได้

    ก่อนหน้านี้ผู้ใช้โมบายแบงกิ้งในประเทศลาว สามารถสแกนจ่ายตามร้านค้า Thai QR Payment ผ่านเครื่องรับบัตร EDC หรือ QR Code สำหรับร้านค้า มาตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 2567 อาทิ K SHOP ธนาคารกสิกรไทย, ถุงเงิน ธนาคารกรุงไทย, BeMerchant NextGen ธนาคารกรุงเทพ และ krungsri Mung-Mee SHOP ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

    ข้อมูลจากกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว ประเทศลาว พบว่าในปี 2567 ที่ผ่านมา ประเทศลาวต้อนรับนักท่องเที่ยว 4,120,832 คน โดยอันดับ 1 นักท่องเที่ยวจากไทย 1,215,553 คน อันดับ 2 จากเวียดนาม 1,054,204 คน และอันดับ 3 จากจีน 1,048,034 คน

    #Newskit
    แอปฯ K PLUS สแกนจ่ายที่ลาวได้แล้ว แอปพลิเคชัน K PLUS ของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เวอร์ชัน 5.19.11 เมื่อวันที่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ สแกนจ่ายผ่าน QR Code ระบบ Cross-border QR Payment ของ LAO QR ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยไม่ต้องพกเงินสด ไม่ต้องแลกเงิน และไม่มีค่าธรรมเนียม เป็นธนาคารที่สี่ ต่อจากแอปพลิเคชัน KMA ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, Krungthai NEXT ธนาคารกรุงไทย และ Bangkok Bank Mobile Banking ธนาคารกรุงเทพ ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของโมบายแบงกิ้งอันดับหนึ่ง ด้วยจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 23 ล้านราย หันมาพัฒนาระบบ Cross-border QR Payment เอง นอกจากพัฒนารองรับการสแกน QR Code ในต่างประเทศหลากหลายรูปแบบ เช่น UnionPay QR Payment, Alipay+, WeChat เฉพาะประเทศจีน และ Cross Border Outbound เฉพาะประเทศมาเลเซีย ที่สแกนจ่าย QR Code ของ DuitNow ผ่านเครือข่าย Alipay+ ต่างจากธนาคารอื่น ที่เชื่อมโยงระบบจากเครือข่าย PayNet ผู้ให้บริการระบบ DuitNow ผู้ใช้งาน K PLUS สามารถสแกนคิวอาร์โค้ดจากร้านค้าที่ใช้ระบบ LAO QR ของธนาคารในลาว 12 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารเอซีลีดา (ACLEDA) ธนาคารส่งเสริมกสิกรรรม (APB) ธนาคารการค้าต่างประเทศลาว (BCEL) ธนาคารลาว-ฝรั่งเศส (LBF) ธนาคารบีไอซี (BIC) ธนาคารอินโดจีน (IBL) ธนาคารร่วมพัฒนา (JDB) ธนาคารกสิกรไทย ลาว (KBANK LAOS) ธนาคารพัฒนาลาว (LDB) ธนาคารร่วมธุรกิจลาว-เวียด (Laoviet) ธนาคารพงสะหวัน (Pongsavanh) และธนาคารเอสที (ST Bank) วงเงินไม่เกิน 100,000 บาทต่อรายการ และไม่เกิน 500,000 บาทต่อวัน อย่างไรก็ตาม แอปฯ ธนาคารในไทยทั้ง 4 แห่ง สามารถสแกน QR Code ของ LAO QR ได้เฉพาะคิวอาร์โค้ดร้านค้าที่รองรับเท่านั้น แต่คิวอาร์โค้ดสำหรับโอนเงินระหว่างบุคคล หรือร้านค้าขนาดเล็กในประเทศลาวไม่สามารถใช้ได้ จึงควรทดลองใช้ธนาคารของไทยสแกนคิวอาร์โค้ดก่อน โดยยังไม่ต้องโอนเงิน หากขึ้นหน้าจอชำระเงินถือว่าสามารถสแกนจ่ายได้ ก่อนหน้านี้ผู้ใช้โมบายแบงกิ้งในประเทศลาว สามารถสแกนจ่ายตามร้านค้า Thai QR Payment ผ่านเครื่องรับบัตร EDC หรือ QR Code สำหรับร้านค้า มาตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 2567 อาทิ K SHOP ธนาคารกสิกรไทย, ถุงเงิน ธนาคารกรุงไทย, BeMerchant NextGen ธนาคารกรุงเทพ และ krungsri Mung-Mee SHOP ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ข้อมูลจากกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว ประเทศลาว พบว่าในปี 2567 ที่ผ่านมา ประเทศลาวต้อนรับนักท่องเที่ยว 4,120,832 คน โดยอันดับ 1 นักท่องเที่ยวจากไทย 1,215,553 คน อันดับ 2 จากเวียดนาม 1,054,204 คน และอันดับ 3 จากจีน 1,048,034 คน #Newskit
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 329 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัฐบาลอินเดียประกาศห้ามนำเข้าสินค้าที่ผลิตหรือขนส่งผ่านปากีสถาน ท่ามกลางความสัมพันธ์การทูตระหว่าง 2 มหาอำนาจนิวเคลียร์เพื่อนบ้านที่ตกต่ำลงอย่างรุนแรงจากเหตุกราดยิงนักท่องเที่ยวในดินแดนแคชเมียร์ฝั่งอินเดีย

    กรมการค้าต่างประเทศของอินเดีย (Directorate General of Foreign Trade – DGFT) ระบุในคำประกาศว่า มาตรการนี้มีผลบังคับใช้ในทันที

    “ข้อจำกัดนี้ถูกบังคับใช้เพื่อผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของชาติและนโยบายสาธารณะ” DGFT ระบุ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://mgronline.com/around/detail/9680000041498

    #MGROnline #รัฐบาลอินเดีย
    รัฐบาลอินเดียประกาศห้ามนำเข้าสินค้าที่ผลิตหรือขนส่งผ่านปากีสถาน ท่ามกลางความสัมพันธ์การทูตระหว่าง 2 มหาอำนาจนิวเคลียร์เพื่อนบ้านที่ตกต่ำลงอย่างรุนแรงจากเหตุกราดยิงนักท่องเที่ยวในดินแดนแคชเมียร์ฝั่งอินเดีย • กรมการค้าต่างประเทศของอินเดีย (Directorate General of Foreign Trade – DGFT) ระบุในคำประกาศว่า มาตรการนี้มีผลบังคับใช้ในทันที • “ข้อจำกัดนี้ถูกบังคับใช้เพื่อผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของชาติและนโยบายสาธารณะ” DGFT ระบุ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://mgronline.com/around/detail/9680000041498 • #MGROnline #รัฐบาลอินเดีย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 338 มุมมอง 0 รีวิว
  • ”สุทิน" ชง “รัฐบาล” ทวงหนี้ ”แทนซาเนีย“ ค้างค่าข้าว 2.7 ล้านล้านบาท
    .
    กลับมาสวมบทเสาหลักฝ่ายนิติบัญญัติตามถนัด สุทิน คลังแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่วันนี้ประสบการณ์อยู่เบอร์ต้นๆของสภาผู้แทนราษฎร
    .
    วันก่อนลุกขึ้นพูดช่วงหารือ 2 นาทีก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม หยิบเรื่องไม่ธรรมดา ฝากรัฐบาลติดตามทวงถามหนี้ก้อนโตจากรัฐบาลสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย ประเทศในทวีปแอฟริกา
    .
    อันมีข้อมูลว่า รัฐบาลเซนซิบาร์ แห่งสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย ค้างชำระหนี้ค่าข้าวให้กับ บริษัท แหลมทองค้าข้าว จำกัด เอกชนรายใหญ่ของไทยถึง 2.7 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นยอดหนี้สะสมมาหลายสิบปี แต่ที่ผ่านมา บริษัท แหลมทองค้าข้าว จำกัด ต้องต่อสู้ติดตามทวงถามอย่างโดดเดี่ยว ไม่ได้รับการเหลียวแลจากรัฐเท่าที่ควร
    .
    โดยมีข้อมูลว่า ยอดหนี้ดังกล่าวมีการติดค้างกันจริง และ บริษัท แหลมทองค้าข้าว จำกัด เองก็พึ่งกระบวนการยุติธรรมในประเทศแทนซาเนีย จนชนะมาทุกศาล ตามระบบการปกครองของประเทศคู่ค้าที่มีถึง 4 ศาลด้วยกัน
    .
    ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลเซนซิบาร์ แห่งสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย ที่แม้ติดขัดในเรื่องการชำระหนี้ ก็ได้พยายามติดต่อมาขอเจรจาไกล่เกลี้ยกับทาง บริษัท แหลมทองค้าข้าว จำกัด หลายต่อหลายครั้ง โดยมี กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง
    .
    อย่างไรก็ตามเรื่องกลับไม่มีความคืบหน้า นายสุทิน ที่เป็น สส.ในฝ่ายรัฐบาลจึงหยิบยกขึ้นมาให้หารือในสภาผู้แทนราษฎร ด้วยเหตุว่าหากติดตามหนี้มูลค่า 2.7 ล้านล้านบาท มาได้ ไม่เพียงเอกชนที่จะได้รับประโยชน์เท่านั้น รัฐบาลไทยก็จะได้ผลพลอยได้ไปด้วย กับภาษีก้อนมหาศาลจากยอดหนี้ที่เอกชนทวงถามได้ไปด้วย
    .
    ถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างน้อยๆเป็นหลักหลายแสนล้านบาท โดยแทบไม่มีพิษมีภัย ไม่สร้างปัญหาในภายหลัง ดีกว่าไปจะคิดสร้างรายได้จาก “บ่อนการพนัน“ ที่รัฐบาลพยายามผลักดัน ที่จะมีผลกระทบในแง่ลบตามมาแบบคาดคะเนไม่ได้
    .
    ตามขั้นตอนหลังการหารือในสภาฯ ข้อมูลของ สส.ผู้หารือจะถูกส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในเรื่องของ บริษัท แหลมทองค้าข้าว จำกัด นี้ก็จะเป็นในส่วนของกรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนี้ก็น่าจะมีรายงานไปถึง นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ด้วย
    .
    ก็ต้องดูว่า รัฐบาลเพื่อไทย จะนำพาข้อหารือที่เป็นประโยชน์ของ นายสุทิน ที่ถือเป็นแกนนำพรรคระดับสูงไปปฏิบัติหรือไม่อย่างไร.
    ..............
    Sondhi X
    ”สุทิน" ชง “รัฐบาล” ทวงหนี้ ”แทนซาเนีย“ ค้างค่าข้าว 2.7 ล้านล้านบาท . กลับมาสวมบทเสาหลักฝ่ายนิติบัญญัติตามถนัด สุทิน คลังแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่วันนี้ประสบการณ์อยู่เบอร์ต้นๆของสภาผู้แทนราษฎร . วันก่อนลุกขึ้นพูดช่วงหารือ 2 นาทีก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม หยิบเรื่องไม่ธรรมดา ฝากรัฐบาลติดตามทวงถามหนี้ก้อนโตจากรัฐบาลสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย ประเทศในทวีปแอฟริกา . อันมีข้อมูลว่า รัฐบาลเซนซิบาร์ แห่งสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย ค้างชำระหนี้ค่าข้าวให้กับ บริษัท แหลมทองค้าข้าว จำกัด เอกชนรายใหญ่ของไทยถึง 2.7 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นยอดหนี้สะสมมาหลายสิบปี แต่ที่ผ่านมา บริษัท แหลมทองค้าข้าว จำกัด ต้องต่อสู้ติดตามทวงถามอย่างโดดเดี่ยว ไม่ได้รับการเหลียวแลจากรัฐเท่าที่ควร . โดยมีข้อมูลว่า ยอดหนี้ดังกล่าวมีการติดค้างกันจริง และ บริษัท แหลมทองค้าข้าว จำกัด เองก็พึ่งกระบวนการยุติธรรมในประเทศแทนซาเนีย จนชนะมาทุกศาล ตามระบบการปกครองของประเทศคู่ค้าที่มีถึง 4 ศาลด้วยกัน . ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลเซนซิบาร์ แห่งสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย ที่แม้ติดขัดในเรื่องการชำระหนี้ ก็ได้พยายามติดต่อมาขอเจรจาไกล่เกลี้ยกับทาง บริษัท แหลมทองค้าข้าว จำกัด หลายต่อหลายครั้ง โดยมี กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง . อย่างไรก็ตามเรื่องกลับไม่มีความคืบหน้า นายสุทิน ที่เป็น สส.ในฝ่ายรัฐบาลจึงหยิบยกขึ้นมาให้หารือในสภาผู้แทนราษฎร ด้วยเหตุว่าหากติดตามหนี้มูลค่า 2.7 ล้านล้านบาท มาได้ ไม่เพียงเอกชนที่จะได้รับประโยชน์เท่านั้น รัฐบาลไทยก็จะได้ผลพลอยได้ไปด้วย กับภาษีก้อนมหาศาลจากยอดหนี้ที่เอกชนทวงถามได้ไปด้วย . ถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างน้อยๆเป็นหลักหลายแสนล้านบาท โดยแทบไม่มีพิษมีภัย ไม่สร้างปัญหาในภายหลัง ดีกว่าไปจะคิดสร้างรายได้จาก “บ่อนการพนัน“ ที่รัฐบาลพยายามผลักดัน ที่จะมีผลกระทบในแง่ลบตามมาแบบคาดคะเนไม่ได้ . ตามขั้นตอนหลังการหารือในสภาฯ ข้อมูลของ สส.ผู้หารือจะถูกส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในเรื่องของ บริษัท แหลมทองค้าข้าว จำกัด นี้ก็จะเป็นในส่วนของกรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนี้ก็น่าจะมีรายงานไปถึง นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ด้วย . ก็ต้องดูว่า รัฐบาลเพื่อไทย จะนำพาข้อหารือที่เป็นประโยชน์ของ นายสุทิน ที่ถือเป็นแกนนำพรรคระดับสูงไปปฏิบัติหรือไม่อย่างไร. .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    18
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2704 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🇷🇺 รัสเซียใช้ Bitcoin ในการค้าต่างประเทศ, รัฐมนตรีคลัง กล่าว
    .
    JUST IN: 🇷🇺 Russia uses Bitcoin in foreign trade, finance minister says.
    .
    7:12 PM · Dec 25, 2024 · 266.1K Views
    https://x.com/BRICSinfo/status/1871891827982516490
    🇷🇺 รัสเซียใช้ Bitcoin ในการค้าต่างประเทศ, รัฐมนตรีคลัง กล่าว . JUST IN: 🇷🇺 Russia uses Bitcoin in foreign trade, finance minister says. . 7:12 PM · Dec 25, 2024 · 266.1K Views https://x.com/BRICSinfo/status/1871891827982516490
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 302 มุมมอง 0 รีวิว
  • พิชัยลั่นไม่มีรัฐประหาร เร่งการค้าต่างประเทศ พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย
    .
    เมื่อเร็วๆนี้ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพิ่งประกาศวิสัยทัศน์ที่ว่าด้วยการออก “stable coin” หรือจะเรียกว่า พันธบัตรดิจิทัล เพื่อเพิ่มปริมาณเงินให้เพิ่มเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งรัฐมนตรีในรัฐบาลหลายคนออกมาสนับสนุนแนวความคิดนี้ เพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ
    .
    โดยนอกเหนือไปจากเรื่องการปั้นสกุลเงินดิจิทัลขึ้นมาแล้ว ภาคการค้าและการส่งออกก็เป็นอีกหนึ่งความหวังของรัฐบาลที่จะใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการพลิกฟื้นเศรษฐกิจเช่นกัน โดยนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แสดงความคิดเห็นระหว่างเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ หัวข้อ “การเมืองและเศรษฐกิจไทยในศตวรรษที่ 21 และนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน ที่มหาวิทยาลัยโตเกียว (Komaba Research Campus) ประเทศญี่ปุ่นว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยโตแค่ 1.9% ซึ่งต่ำมาก ส่วนหนึ่งมาจากการลงทุนจากต่างประเทศที่หายไป
    .
    นายพิชัย กล่าวอีกว่า ปีนี้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ไตรมาสที่แล้วจีดีพีขยายตัว 3% และไตรมาสนี้น่าจะขยายตัวได้ 4% แต่จีดีพีไทยต้องโตอย่างน้อย 5% ขึ้นไป ต่อเนื่องไปอีก 20 ปี ถึงจะหลุดพ้นจากประเทศกับดักรายได้ปานกลาง และการส่งออกไทยเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา บวกถึง 14.6% คาดว่าการส่งออกทั้งปีของปีนี้จะเติบโตได้ถึง 5% และการลงทุนในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมาสูงที่สุดในรอบ 10 ปี สิ้นปีนี้น่าจะแตะ 1 ล้านล้านบาท เพราะรัฐบาลไทย มีนโยบายส่งเสริมในอุตสาหกรรมไฮเทค ที่ไทยได้รับความสนใจมากอย่าง PCB Data Center และ AI ซึ่งทางญี่ปุ่นกำลังจะมีการลงทุนเพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของญี่ปุ่นในช่วง 10 ปีข้างหน้า โดยจะทุ่มงบประมาณมากกว่า 10 ล้านล้านเยน (2.2 ล้านล้านบาท) และทางไทยหวังว่าจะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในซัพพลายเชนของญี่ปุ่นด้วย
    .
    “ส่วนเรื่องการเมืองของไทย กว่า 10 ปีที่ผ่านมา เรามีปัญหามาโดยตลอดตั้งแต่การรัฐประหาร รัฐบาลของนายกฯทักษิณ ก่อนหน้าการรัฐประหาร เศรษฐกิจไทยโต 5-8% หลังรัฐประหารขยายตัวเพียง 3% และตั้งแต่ปี 2557 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้เพียง 1.9% เห็นได้ชัดว่าสถานการณ์ทางการเมืองมีผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก เมื่อการเมืองกลับมามั่นคง เสถียรภาพรัฐบาลก็มั่นคง เศรษฐกิจไทยก็กลับมามั่นคง คนไทยรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่เห็นภาพนี้ชัดเจนเชื่อว่าจะเรียนรู้และไม่ยอมให้มีการรัฐประหารอีก แนวทางการบริหารงานและการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของท่านนายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ก็เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้น ตอนนี้มีเพียงการแก้ปัญหาเรื่องหนี้ภาคครัวเรือน ถ้าแก้ได้เศรษฐกิจไทยก็จะฟื้นได้รวดเร็ว” นายพิชัย กล่าว
    ..............
    Sondhi X
    พิชัยลั่นไม่มีรัฐประหาร เร่งการค้าต่างประเทศ พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย . เมื่อเร็วๆนี้ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพิ่งประกาศวิสัยทัศน์ที่ว่าด้วยการออก “stable coin” หรือจะเรียกว่า พันธบัตรดิจิทัล เพื่อเพิ่มปริมาณเงินให้เพิ่มเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งรัฐมนตรีในรัฐบาลหลายคนออกมาสนับสนุนแนวความคิดนี้ เพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ . โดยนอกเหนือไปจากเรื่องการปั้นสกุลเงินดิจิทัลขึ้นมาแล้ว ภาคการค้าและการส่งออกก็เป็นอีกหนึ่งความหวังของรัฐบาลที่จะใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการพลิกฟื้นเศรษฐกิจเช่นกัน โดยนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แสดงความคิดเห็นระหว่างเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ หัวข้อ “การเมืองและเศรษฐกิจไทยในศตวรรษที่ 21 และนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน ที่มหาวิทยาลัยโตเกียว (Komaba Research Campus) ประเทศญี่ปุ่นว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยโตแค่ 1.9% ซึ่งต่ำมาก ส่วนหนึ่งมาจากการลงทุนจากต่างประเทศที่หายไป . นายพิชัย กล่าวอีกว่า ปีนี้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ไตรมาสที่แล้วจีดีพีขยายตัว 3% และไตรมาสนี้น่าจะขยายตัวได้ 4% แต่จีดีพีไทยต้องโตอย่างน้อย 5% ขึ้นไป ต่อเนื่องไปอีก 20 ปี ถึงจะหลุดพ้นจากประเทศกับดักรายได้ปานกลาง และการส่งออกไทยเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา บวกถึง 14.6% คาดว่าการส่งออกทั้งปีของปีนี้จะเติบโตได้ถึง 5% และการลงทุนในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมาสูงที่สุดในรอบ 10 ปี สิ้นปีนี้น่าจะแตะ 1 ล้านล้านบาท เพราะรัฐบาลไทย มีนโยบายส่งเสริมในอุตสาหกรรมไฮเทค ที่ไทยได้รับความสนใจมากอย่าง PCB Data Center และ AI ซึ่งทางญี่ปุ่นกำลังจะมีการลงทุนเพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของญี่ปุ่นในช่วง 10 ปีข้างหน้า โดยจะทุ่มงบประมาณมากกว่า 10 ล้านล้านเยน (2.2 ล้านล้านบาท) และทางไทยหวังว่าจะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในซัพพลายเชนของญี่ปุ่นด้วย . “ส่วนเรื่องการเมืองของไทย กว่า 10 ปีที่ผ่านมา เรามีปัญหามาโดยตลอดตั้งแต่การรัฐประหาร รัฐบาลของนายกฯทักษิณ ก่อนหน้าการรัฐประหาร เศรษฐกิจไทยโต 5-8% หลังรัฐประหารขยายตัวเพียง 3% และตั้งแต่ปี 2557 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้เพียง 1.9% เห็นได้ชัดว่าสถานการณ์ทางการเมืองมีผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก เมื่อการเมืองกลับมามั่นคง เสถียรภาพรัฐบาลก็มั่นคง เศรษฐกิจไทยก็กลับมามั่นคง คนไทยรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่เห็นภาพนี้ชัดเจนเชื่อว่าจะเรียนรู้และไม่ยอมให้มีการรัฐประหารอีก แนวทางการบริหารงานและการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของท่านนายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ก็เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้น ตอนนี้มีเพียงการแก้ปัญหาเรื่องหนี้ภาคครัวเรือน ถ้าแก้ได้เศรษฐกิจไทยก็จะฟื้นได้รวดเร็ว” นายพิชัย กล่าว .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Wow
    Sad
    7
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1351 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปูติน ผู้นำรัสเซีย ประกาศจำกัดการส่งออกยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ (Enriched Uranium) หรือยูเรเนียมที่ใช้ในการผลิตนิวเคลียร์ไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นการชั่วคราว!

    จากสถานการณ์นี้ ส่งผลให้ราคาเสนอซื้อยูเรเนียมสำหรับการส่งมอบในเดือนพฤศจิกายน 2025 พุ่งขึ้นอีก 4 ดอลลาร์ เป็น 84 ดอลลาร์ต่อปอนด์

    นี่เป็นมาตรการตอบโต้จากทางรัสเซีย หลังจากกระทรวงการคลังสหรัฐฯห้ามการนำเข้ายูเรเนียมจากรัสเซียจนถึงปี 2040 โดยอนุญาตให้มีข้อยกเว้นได้จนถึงปี 2028 แม้จะมีคำเตือนว่าการดำเนินการดังกล่าวอาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

    การประกาศของรัสเซียครั้งนี้ ส่งผลต่อการจัดหาวัตถุดิบด้านนิวเคลียร์ในสหรัฐฯ ส่งผลให้เกิดความกังวลในอุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์ของอเมริกาในระยะใกล้นี้อย่างแน่นอน

    ข้อจำกัดดังกล่าว ครอบคลุมถึงประเทศอื่นที่ทำข้อตกลงการค้าต่างประเทศกับสหรัฐอเมริกาด้วย

    หลังการจำกัดการส่งมอบยูเรเนียมเสริมสมรรถนะให้กับสหรัฐฯ คาดว่ารัสเซียจะพื่อเส้นทางไปยังอินเดีย อิหร่าน และจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีการติดตั้งเครื่องปฏิกรณ์ที่ผลิตในประเทศ

    รัสเซียมีกำลังการผลิตยูเรเนียมเสริมสมรรถนะประมาณ 44% ของโลก
    ปูติน ผู้นำรัสเซีย ประกาศจำกัดการส่งออกยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ (Enriched Uranium) หรือยูเรเนียมที่ใช้ในการผลิตนิวเคลียร์ไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นการชั่วคราว! จากสถานการณ์นี้ ส่งผลให้ราคาเสนอซื้อยูเรเนียมสำหรับการส่งมอบในเดือนพฤศจิกายน 2025 พุ่งขึ้นอีก 4 ดอลลาร์ เป็น 84 ดอลลาร์ต่อปอนด์ นี่เป็นมาตรการตอบโต้จากทางรัสเซีย หลังจากกระทรวงการคลังสหรัฐฯห้ามการนำเข้ายูเรเนียมจากรัสเซียจนถึงปี 2040 โดยอนุญาตให้มีข้อยกเว้นได้จนถึงปี 2028 แม้จะมีคำเตือนว่าการดำเนินการดังกล่าวอาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ การประกาศของรัสเซียครั้งนี้ ส่งผลต่อการจัดหาวัตถุดิบด้านนิวเคลียร์ในสหรัฐฯ ส่งผลให้เกิดความกังวลในอุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์ของอเมริกาในระยะใกล้นี้อย่างแน่นอน ข้อจำกัดดังกล่าว ครอบคลุมถึงประเทศอื่นที่ทำข้อตกลงการค้าต่างประเทศกับสหรัฐอเมริกาด้วย หลังการจำกัดการส่งมอบยูเรเนียมเสริมสมรรถนะให้กับสหรัฐฯ คาดว่ารัสเซียจะพื่อเส้นทางไปยังอินเดีย อิหร่าน และจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีการติดตั้งเครื่องปฏิกรณ์ที่ผลิตในประเทศ รัสเซียมีกำลังการผลิตยูเรเนียมเสริมสมรรถนะประมาณ 44% ของโลก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 352 มุมมอง 0 รีวิว
  • ที่ประชุมซัมมิต BRICS ในสัปดาห์นี้ ที่เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย จะดึงดูดอีกหลายประเทศเข้าร่วมกลุ่มเพิ่มเติม ท่ามกลางสัญญาณว่ากลุ่ม BRICS กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และสถานการณ์เช่นนี้ วอชิงตัน ไม่อาจโทษใครอื่นได้ยกเว้นตนเอง จากความเห็นของ ไมเคิล มาลูฟ อดีตนักวิเคราะห์กระทรวงกลาโหมอเมริกา(เพนตากอน)
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์กับรายงานมาเธอร์ ออฟ ออล ทอล์ค โชว์ (MOATS) ของจอร์จ กัลโลเวย์ อดีตสมาชิกรัฐสภาสหราชอาณาจักรเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มาลูฟ ชื่นชมประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย สำหรับการตระหนักว่าประเทศต่างๆทั่วโลกเหลือคณานับ ต่างกำลังเสาะหาระบบเศรษฐกิจที่มีความครอบคลุมมากกว่าเดิมและหาทางในสิ่งที่ มาลูฟ บอกว่า "ออกจากการอยู่ภายใต้มาตรการคว่ำบาตรอันน่ารังเกียจของตะวันตก และระบบการเงินที่กีดขวางพวกเขา"
    .
    "สหรัฐฯควบคุมระเบียบระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกติกา(rules-based order) ซึ่งนั่นหมายความว่า พวกเขาไม่ใช่แค่เพียงเป็นคนสร้างกฏขึ้นมา แต่ยังสามารถละเมิดมันได้ตามความต้องการ และเราพบเห็นสิ่งนี้มาอย่างต่อเนื่อง ในการตัดสินใจทำสิ่งต่างๆของพวกเขา และโลกกำลังบอกว่าเราไม่เอาแล้ว พอแล้วสำหรับเรื่องแบบนี้" มาลูปบอกกับกัลโลเวย์
    .
    "สิ่งที่เรากำลังพบเห็นคือการท้าทายความเป็นเจ้าโลกของดอลลาร์ และการท้าทายการใช้ดอลลาร์เป็นอาวุธและระบบตะวันตก และเราได้พบเห็นกลไกต่างๆนานา ที่จะถูกนำเสนอ ณ ที่ประชุมซัมมิตครั้งนี้ ในสัปดาห์นี้"
    .
    หลังจากเสมือนถูกตัดขาดจากระบบการเงินของตะวันตก ต่อกรณีเปิดฉากรุกรานยูเครนในปี 2022 รัสเซียยกระดับความพยายามชำระการค้าต่างประเทศด้วยสกุลเงินรูเบิลและสกุลเงินอื่นๆ "เราไม่ได้เป็นคนปฏิเสธการทำธุรกรรมในรูปแบบของดอลลาร์ แต่เราถูกปฏิเสธ และเราถูกบีบให้มองหาทางเลือกอื่นๆ" ปูติน อธิบายระหว่างร่วมบรรยาย ณ เวที อิสเทิร์น อีโคโนมิค ฟอรัม ในเมืองวลาดิวอสตอค เมื่อเดือนที่แล้ว
    .
    ปูติน เน้นว่า รัสเซียและพันธมิตรในกลุ่ม BRICS เวลานี้กำลังใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้าขายระหว่างกัน คิดเป็นสัดส่วนแล้วกว่า 65% และอ้างอิงจากรายงานของรอยเตอร์ รัสเซีย จะเสนอระบบการเงินระหว่างประเทศใหม่ที่อยู่บนพื้นฐาของบล็อคเชน ณ ที่ประชุมในสัปดาห์นี้
    .
    แม้มอสโกไม่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรายงานของรอยเตอร์ แต่ อันทอน ซิลูอานอฟ รัฐมนตรีคลังของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์กับอาร์ทีนิวส์ ว่ามอสโกและประเทศอื่นๆในกลุ่ม BRICS กำลังหาทางจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินข้ามชาติใหม่ ที่ไม่ต้องพึ่งพิงระบบ SWIFT ของตะวันตกอีกต่อไป
    .
    มาลูฟ กล่าวกับ กัลโลเวย์ ว่า "ความตั้งใจของสหรัฐฯและพันธมิตรที่ในการใช้ดอลลาร์เป็นอาวุธ และปิดตายมหาอำนาจคู่อริไม่ให้เข้าถึงระบบของตะวันตก กลับกลายเป็นการผลักดันให้บรรดาประเทศที่เป็นมิตรกับวอชิงตัน อย่างบราซิล อินเดียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กำลังหาทางเลือกอื่น"
    .
    "ประกอบกับที่ข้อเท็จจริงที่ว่า มาตรการคว่ำบาตรผลักให้รัสเซียและจีน เข้าสู่ความเป็นพันธมิตรใกล้ชิดที่สุดเท่าที่เคยมีมาก มันพิสูจน์แล้วว่า คุณไม่อาจพบเห็นความคิดเชิงกลยุทธ์ออกมาจากสหรัฐฯอีกต่อไปแล้ว" เขาบอกกับกัลโลเวย์
    .
    BRICS เดิมทีก่อตั้งโดย บราซิล จีน อินเดียและจีน ก่อนแอฟริกาเข้าร่วมในปี 2011 ขณะที่ล่าสุด อียิปต์, เอธิโอเปีย อิหร่านและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เข้าร่วมในปี 2024 ส่วน ซาอุดีอาระเบีย ยังไม่ได้ให้สัตยาบันความเป็นรัฐสมาชิก หลังจากได้รับเชิญให้เข้าร่วม
    .
    ปัจจุบัน รัสเซีย ดำรงตำแหน่งประธาน BRICS และมีมากกว่า 30 ประเทศ ในนั้นรวมถึงสมาชิกนาโตอย่างตุรกี ที่ยื่นสมัครเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000101624
    ..............
    Sondhi X
    ที่ประชุมซัมมิต BRICS ในสัปดาห์นี้ ที่เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย จะดึงดูดอีกหลายประเทศเข้าร่วมกลุ่มเพิ่มเติม ท่ามกลางสัญญาณว่ากลุ่ม BRICS กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และสถานการณ์เช่นนี้ วอชิงตัน ไม่อาจโทษใครอื่นได้ยกเว้นตนเอง จากความเห็นของ ไมเคิล มาลูฟ อดีตนักวิเคราะห์กระทรวงกลาโหมอเมริกา(เพนตากอน) . ระหว่างให้สัมภาษณ์กับรายงานมาเธอร์ ออฟ ออล ทอล์ค โชว์ (MOATS) ของจอร์จ กัลโลเวย์ อดีตสมาชิกรัฐสภาสหราชอาณาจักรเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มาลูฟ ชื่นชมประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย สำหรับการตระหนักว่าประเทศต่างๆทั่วโลกเหลือคณานับ ต่างกำลังเสาะหาระบบเศรษฐกิจที่มีความครอบคลุมมากกว่าเดิมและหาทางในสิ่งที่ มาลูฟ บอกว่า "ออกจากการอยู่ภายใต้มาตรการคว่ำบาตรอันน่ารังเกียจของตะวันตก และระบบการเงินที่กีดขวางพวกเขา" . "สหรัฐฯควบคุมระเบียบระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกติกา(rules-based order) ซึ่งนั่นหมายความว่า พวกเขาไม่ใช่แค่เพียงเป็นคนสร้างกฏขึ้นมา แต่ยังสามารถละเมิดมันได้ตามความต้องการ และเราพบเห็นสิ่งนี้มาอย่างต่อเนื่อง ในการตัดสินใจทำสิ่งต่างๆของพวกเขา และโลกกำลังบอกว่าเราไม่เอาแล้ว พอแล้วสำหรับเรื่องแบบนี้" มาลูปบอกกับกัลโลเวย์ . "สิ่งที่เรากำลังพบเห็นคือการท้าทายความเป็นเจ้าโลกของดอลลาร์ และการท้าทายการใช้ดอลลาร์เป็นอาวุธและระบบตะวันตก และเราได้พบเห็นกลไกต่างๆนานา ที่จะถูกนำเสนอ ณ ที่ประชุมซัมมิตครั้งนี้ ในสัปดาห์นี้" . หลังจากเสมือนถูกตัดขาดจากระบบการเงินของตะวันตก ต่อกรณีเปิดฉากรุกรานยูเครนในปี 2022 รัสเซียยกระดับความพยายามชำระการค้าต่างประเทศด้วยสกุลเงินรูเบิลและสกุลเงินอื่นๆ "เราไม่ได้เป็นคนปฏิเสธการทำธุรกรรมในรูปแบบของดอลลาร์ แต่เราถูกปฏิเสธ และเราถูกบีบให้มองหาทางเลือกอื่นๆ" ปูติน อธิบายระหว่างร่วมบรรยาย ณ เวที อิสเทิร์น อีโคโนมิค ฟอรัม ในเมืองวลาดิวอสตอค เมื่อเดือนที่แล้ว . ปูติน เน้นว่า รัสเซียและพันธมิตรในกลุ่ม BRICS เวลานี้กำลังใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้าขายระหว่างกัน คิดเป็นสัดส่วนแล้วกว่า 65% และอ้างอิงจากรายงานของรอยเตอร์ รัสเซีย จะเสนอระบบการเงินระหว่างประเทศใหม่ที่อยู่บนพื้นฐาของบล็อคเชน ณ ที่ประชุมในสัปดาห์นี้ . แม้มอสโกไม่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรายงานของรอยเตอร์ แต่ อันทอน ซิลูอานอฟ รัฐมนตรีคลังของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์กับอาร์ทีนิวส์ ว่ามอสโกและประเทศอื่นๆในกลุ่ม BRICS กำลังหาทางจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินข้ามชาติใหม่ ที่ไม่ต้องพึ่งพิงระบบ SWIFT ของตะวันตกอีกต่อไป . มาลูฟ กล่าวกับ กัลโลเวย์ ว่า "ความตั้งใจของสหรัฐฯและพันธมิตรที่ในการใช้ดอลลาร์เป็นอาวุธ และปิดตายมหาอำนาจคู่อริไม่ให้เข้าถึงระบบของตะวันตก กลับกลายเป็นการผลักดันให้บรรดาประเทศที่เป็นมิตรกับวอชิงตัน อย่างบราซิล อินเดียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กำลังหาทางเลือกอื่น" . "ประกอบกับที่ข้อเท็จจริงที่ว่า มาตรการคว่ำบาตรผลักให้รัสเซียและจีน เข้าสู่ความเป็นพันธมิตรใกล้ชิดที่สุดเท่าที่เคยมีมาก มันพิสูจน์แล้วว่า คุณไม่อาจพบเห็นความคิดเชิงกลยุทธ์ออกมาจากสหรัฐฯอีกต่อไปแล้ว" เขาบอกกับกัลโลเวย์ . BRICS เดิมทีก่อตั้งโดย บราซิล จีน อินเดียและจีน ก่อนแอฟริกาเข้าร่วมในปี 2011 ขณะที่ล่าสุด อียิปต์, เอธิโอเปีย อิหร่านและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เข้าร่วมในปี 2024 ส่วน ซาอุดีอาระเบีย ยังไม่ได้ให้สัตยาบันความเป็นรัฐสมาชิก หลังจากได้รับเชิญให้เข้าร่วม . ปัจจุบัน รัสเซีย ดำรงตำแหน่งประธาน BRICS และมีมากกว่า 30 ประเทศ ในนั้นรวมถึงสมาชิกนาโตอย่างตุรกี ที่ยื่นสมัครเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000101624 .............. Sondhi X
    Like
    8
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1310 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัสเซียเสนอ "ระบบสกุลเงินหลายสกุล" ของกลุ่ม BRICS สำหรับการค้าข้ามพรมแดน

    รัสเซียเสนอการปฏิรูประบบการชำระเงินข้ามพรมแดนระหว่างประเทศกลุ่ม BRICS เพื่อเลี่ยงระบบการเงินโลกและปกป้องเศรษฐกิจจากการคว่ำบาตร

    ทางเลือกที่เสนอ ได้แก่ การสร้างเครือข่ายธนาคารพาณิชย์เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น และการสร้างการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างธนาคารกลาง

    รายงานจากกระทรวงการคลังรัสเซีย, ธนาคารแห่งรัสเซีย, และบริษัทที่ปรึกษา Yakov & Partners เน้นย้ำถึงความจำเป็นของ "ระบบสกุลเงินหลายสกุล" นี้เพื่อปกป้องผู้เข้าร่วมจากแรงกดดันภายนอก, เช่น การคว่ำบาตร

    รายงานยังระบุด้วยว่า ผลประโยชน์ของสหรัฐฯไม่ได้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของสมาชิกอื่นๆ ในเครือข่ายการเงินโลกเสมอไป

    แผนดังกล่าวยังเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งศูนย์กลางการค้าสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน, ก๊าซธรรมชาติ, ธัญพืช, และทองคำ

    หลังจากที่รัสเซียรุกรานยูเครนในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๐๒๒, สหรัฐฯและพันธมิตรได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรอย่างรุนแรง, โดยอายัดทรัพย์สินต่างประเทศของรัสเซียและตัดธนาคารหลักของรัสเซียออกจากระบบการเงิน SWIFT เพื่อตอบโต้, รัสเซียได้พยายามลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

    อย่างไรก็ตาม, ประเทศ BRICS อื่นๆ, ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้แรงกดดันจากการคว่ำบาตรเช่นเดียวกัน, ยังคงให้ความสำคัญกับการเข้าถึงระบบการเงินที่ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ

    ทั่วโลก, เงินดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น ๕๘% ของการชำระเงินระหว่างประเทศ (นอกเขตยูโร) และ ๕๔% ของใบแจ้งหนี้การค้าต่างประเทศ ณ ปี ๒๐๒๒, ตามข้อมูลของสถาบัน Brookings

    ที่มา: Bloomberg
    .
    Russia proposes a BRICS "multicurrency system" for cross-border trade.

    Russia is proposing reforms to cross-border payment systems among BRICS countries to bypass the global financial system and shield its economy from sanctions.

    The proposed alternatives include creating a network of commercial banks to facilitate transactions in local currencies and establishing direct connections between central banks.

    A report from the Russian Finance Ministry, the Bank of Russia, and consultancy Yakov & Partners highlights the need for this "multicurrency system" to protect participants from external pressures, such as sanctions.

    The report also notes that U.S. interests do not always align with those of other members in the global financial network.

    The plan also involves establishing trade hubs for commodities like oil, natural gas, grain, and gold.

    After Russia's invasion of Ukraine in February 2022, the U.S. and its allies imposed severe sanctions, freezing Russia’s foreign assets and cutting major Russian banks from the SWIFT financial system. In response, Russia has been working to reduce its reliance on the U.S. dollar.

    However, other BRICS countries, which aren’t under the same sanctions pressure, continue to value access to the dollar-based financial system.

    Globally, the U.S. dollar accounts for 58% of international payments (outside the eurozone) and 54% of foreign trade invoices as of 2022, according to the Brookings Institution.

    Source: Bloomberg
    .
    11:08 AM · Oct 13, 2024 · 79.6K Views
    https://x.com/BRICSinfo/status/1845315600173695235
    รัสเซียเสนอ "ระบบสกุลเงินหลายสกุล" ของกลุ่ม BRICS สำหรับการค้าข้ามพรมแดน รัสเซียเสนอการปฏิรูประบบการชำระเงินข้ามพรมแดนระหว่างประเทศกลุ่ม BRICS เพื่อเลี่ยงระบบการเงินโลกและปกป้องเศรษฐกิจจากการคว่ำบาตร ทางเลือกที่เสนอ ได้แก่ การสร้างเครือข่ายธนาคารพาณิชย์เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น และการสร้างการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างธนาคารกลาง รายงานจากกระทรวงการคลังรัสเซีย, ธนาคารแห่งรัสเซีย, และบริษัทที่ปรึกษา Yakov & Partners เน้นย้ำถึงความจำเป็นของ "ระบบสกุลเงินหลายสกุล" นี้เพื่อปกป้องผู้เข้าร่วมจากแรงกดดันภายนอก, เช่น การคว่ำบาตร รายงานยังระบุด้วยว่า ผลประโยชน์ของสหรัฐฯไม่ได้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของสมาชิกอื่นๆ ในเครือข่ายการเงินโลกเสมอไป แผนดังกล่าวยังเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งศูนย์กลางการค้าสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน, ก๊าซธรรมชาติ, ธัญพืช, และทองคำ หลังจากที่รัสเซียรุกรานยูเครนในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๐๒๒, สหรัฐฯและพันธมิตรได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรอย่างรุนแรง, โดยอายัดทรัพย์สินต่างประเทศของรัสเซียและตัดธนาคารหลักของรัสเซียออกจากระบบการเงิน SWIFT เพื่อตอบโต้, รัสเซียได้พยายามลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม, ประเทศ BRICS อื่นๆ, ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้แรงกดดันจากการคว่ำบาตรเช่นเดียวกัน, ยังคงให้ความสำคัญกับการเข้าถึงระบบการเงินที่ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ทั่วโลก, เงินดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น ๕๘% ของการชำระเงินระหว่างประเทศ (นอกเขตยูโร) และ ๕๔% ของใบแจ้งหนี้การค้าต่างประเทศ ณ ปี ๒๐๒๒, ตามข้อมูลของสถาบัน Brookings ที่มา: Bloomberg . Russia proposes a BRICS "multicurrency system" for cross-border trade. Russia is proposing reforms to cross-border payment systems among BRICS countries to bypass the global financial system and shield its economy from sanctions. The proposed alternatives include creating a network of commercial banks to facilitate transactions in local currencies and establishing direct connections between central banks. A report from the Russian Finance Ministry, the Bank of Russia, and consultancy Yakov & Partners highlights the need for this "multicurrency system" to protect participants from external pressures, such as sanctions. The report also notes that U.S. interests do not always align with those of other members in the global financial network. The plan also involves establishing trade hubs for commodities like oil, natural gas, grain, and gold. After Russia's invasion of Ukraine in February 2022, the U.S. and its allies imposed severe sanctions, freezing Russia’s foreign assets and cutting major Russian banks from the SWIFT financial system. In response, Russia has been working to reduce its reliance on the U.S. dollar. However, other BRICS countries, which aren’t under the same sanctions pressure, continue to value access to the dollar-based financial system. Globally, the U.S. dollar accounts for 58% of international payments (outside the eurozone) and 54% of foreign trade invoices as of 2022, according to the Brookings Institution. Source: Bloomberg . 11:08 AM · Oct 13, 2024 · 79.6K Views https://x.com/BRICSinfo/status/1845315600173695235
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 478 มุมมอง 0 รีวิว
  • กรมการค้าต่างประเทศเตรียมยกระดับสกัดกั้นการนำเข้าเศษกระดาษ หลังตรวจสอบพบ 400 ตัน จากประเทศสหรัฐอเมริกา นำเข้าโดยบริษัทเอสซีจี อินเตอร์เนชันแนล คอร์ปอเรชัน จำกัด โดยใช้วิธีการสำแดงเป็นเศษกระดาษลูกฟูก เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ที่ผ่านมา มีขยะเจือปนอยู่เป็นจำนวนมากเข้าข่ายเป็น "ขยะเทศบาล"
    .
    จากข้อมูลของกรมการค้าต่างประเทศ ตั้งแต่ต้นปี 2567 ได้รับการรายงานมาเป็นระยะว่ามีผู้ประกอบการสำแดงการนำเข้าเศษกระดาษ แต่เมื่อตรวจสอบกลับพบว่ามีวัสดุอื่นเจือปนอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ของใช้แล้วจำพวกขวดพลาสติก โฟม ถุงพลาสติก กระป๋องน้ำอัดลม ผ้าอ้อมสำเร็จรูป หน้ากากอนามัย ถุงน้ำยาทางการแพทย์และสายยาง
    .
    อย่างกรณีล่าสุดที่ปรากฏเป็นข่าวว่า กรมศุลกากรตรวจพบเศษพลาสติกและขยะติดเชื้อที่เข้าข่ายเป็น "ขยะเทศบาล" นำเข้าโดยบริษัทเอสซีจี อินเตอร์เนชันแนล คอร์ปอเรชัน จำกัด โดยใช้วิธีการสำแดงเป็นเศษกระดาษลูกฟูก น้ำหนักรวมกว่า 400 ตัน จากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ที่ผ่านมา
    .
    “การตรวจสอบพบการนำเข้าเศษกระดาษที่เจือปนของเสียหรือวัสดุอื่น ๆ ซึ่งมีวัสดุที่เข้าข่ายเป็นขยะอันตราย และของเสียทางการแพทย์ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและได้สร้างความเสียหายต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก รวมทั้งส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนโดยตรง หากยังพบว่ามีการนำเข้าเศษกระดาษโดยมีของเสียและวัสดุอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายเจือปน กระทรวงพาณิชย์จำเป็นต้องกำหนดมาตรการที่เข้มงวด เช่น การห้ามนำเข้าเศษกระดาษหรือการกำหนดมาตรการใบอนุญาตนำเข้าเศษกระดาษที่ต้องกลั่นกรองอย่างเข้มงวดเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป” อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเน้นย้ำ

    ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/4REeUyGFUExELep6/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    กรมการค้าต่างประเทศเตรียมยกระดับสกัดกั้นการนำเข้าเศษกระดาษ หลังตรวจสอบพบ 400 ตัน จากประเทศสหรัฐอเมริกา นำเข้าโดยบริษัทเอสซีจี อินเตอร์เนชันแนล คอร์ปอเรชัน จำกัด โดยใช้วิธีการสำแดงเป็นเศษกระดาษลูกฟูก เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ที่ผ่านมา มีขยะเจือปนอยู่เป็นจำนวนมากเข้าข่ายเป็น "ขยะเทศบาล" . จากข้อมูลของกรมการค้าต่างประเทศ ตั้งแต่ต้นปี 2567 ได้รับการรายงานมาเป็นระยะว่ามีผู้ประกอบการสำแดงการนำเข้าเศษกระดาษ แต่เมื่อตรวจสอบกลับพบว่ามีวัสดุอื่นเจือปนอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ของใช้แล้วจำพวกขวดพลาสติก โฟม ถุงพลาสติก กระป๋องน้ำอัดลม ผ้าอ้อมสำเร็จรูป หน้ากากอนามัย ถุงน้ำยาทางการแพทย์และสายยาง . อย่างกรณีล่าสุดที่ปรากฏเป็นข่าวว่า กรมศุลกากรตรวจพบเศษพลาสติกและขยะติดเชื้อที่เข้าข่ายเป็น "ขยะเทศบาล" นำเข้าโดยบริษัทเอสซีจี อินเตอร์เนชันแนล คอร์ปอเรชัน จำกัด โดยใช้วิธีการสำแดงเป็นเศษกระดาษลูกฟูก น้ำหนักรวมกว่า 400 ตัน จากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ที่ผ่านมา . “การตรวจสอบพบการนำเข้าเศษกระดาษที่เจือปนของเสียหรือวัสดุอื่น ๆ ซึ่งมีวัสดุที่เข้าข่ายเป็นขยะอันตราย และของเสียทางการแพทย์ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและได้สร้างความเสียหายต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก รวมทั้งส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนโดยตรง หากยังพบว่ามีการนำเข้าเศษกระดาษโดยมีของเสียและวัสดุอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายเจือปน กระทรวงพาณิชย์จำเป็นต้องกำหนดมาตรการที่เข้มงวด เช่น การห้ามนำเข้าเศษกระดาษหรือการกำหนดมาตรการใบอนุญาตนำเข้าเศษกระดาษที่ต้องกลั่นกรองอย่างเข้มงวดเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป” อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเน้นย้ำ ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/4REeUyGFUExELep6/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    Sad
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1204 มุมมอง 0 รีวิว