• 🪭แม่สื่อสมัยโบราณ 🪭

    สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับขั้นตอนการสู่ขอและ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ และมีการกล่าวถึงการใช้แม่สื่อ แต่เพื่อนเพจคงไม่ได้อรรถรสว่าจริงๆ แล้วการใช้แม่สื่อมีความสำคัญมาก ในบางยุคสมัยอย่างเช่นสมัยถังถึงกับบัญญัติเป็นกฎหมายไว้ว่าการแต่งงานต้องมีแม่สื่อ

    เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า มีหน่วยงานรัฐรับหน้าที่แม่สื่อ?

    ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ ของสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกมีการระบุไว้ว่า: สำนักงาน ‘เหมยซึ’ (媒氏) มีหน้าที่ดูแลการแต่งงานของประชาชน... ทำทะเบียนบันทึกวันเดือนปีเกิดของทุกคนและจัดให้บุรุษแต่งงานเมื่ออายุสามสิบปีและสตรีเมื่ออายุยี่สิบปี... จัดเทศกาลกลางฤดูใบไม้ผลิหรือที่เรียกว่า ‘จงชุนฮุ่ย’ (仲春会) เพื่อเป็นโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะดูตัว...

    ก่อนจะลงลึกเรื่องหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อเหมยซึนี้ เรามาคุยกันเล็กน้อยเรื่องเกณฑ์อายุสมรสที่กล่าวถึงข้างต้น

    พวกเราจะคุ้นเคยว่ากฎหมายกำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำไว้ แต่ในสมัยโบราณมีกำหนดเกณฑ์อายุสูงสุดไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้คนแต่งงานมีลูกสืบสกุล ในความเชื่อของคนโบราณคือการไม่มีบุตรสืบสกุลถือเป็นความอกตัญญูอย่างใหญ่หลวง แต่จริงๆ แล้วในมุมมองของรัฐมันมีเหตุผลด้านการพัฒนาประเทศ อย่าลืมว่าแรกเริ่มเลยเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยเกษตรกรรม เมื่อประชากรน้อยผลผลิตก็น้อยรัฐก็จน อีกทั้งในสมัยโบราณมีศึกสงครามและอายุขัยของคนไม่ยาวเหมือนสมัยนี้ ดังนั้นทางการจึงพยายามกระตุ้นให้คนแต่งงานและมีลูกหลานกัน จนถึงขั้นกำหนดเป็นกฎหมายบังคับ เพียงแต่เกณฑ์อายุตามกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อย่างเช่นในสมัยฮั่นบุรุษต้องแต่งงานภายในอายุสามสิบปีและสตรีภายในอายุสิบห้าปี หาไม่แล้วต้องถูกปรับด้วยการจ่ายภาษีเพิ่มเป็นห้าเท่า (ในสมัยนั้นจ่ายภาษีเป็นรายหัว ไม่เกี่ยวกับรายได้) และในสมัยราชวงศ์เหนือใต้กำหนดว่าหากสตรีไม่แต่งงานภายในอายุสิบห้าปีพ่อแม่ต้องโทษจำคุก

    แต่ในสมัยโบราณก็มีคนที่ไม่ได้แต่งงานภายในอายุที่กฎหมายที่กำหนด บ้างยืดเวลาออกไปเพราะเหตุผลการไว้ทุกข์ให้พ่อแม่ บ้างมีเหตุผลอื่น แต่ Storyฯ ไม่ได้ไปหาข้อมูลต่อว่าแต่ละยุคสมัยเขามีวิธีหลีกเลี่ยงการแต่งงานกันอย่างไร แต่ที่ชัดเจนก็คือว่า ผู้ที่ถึงเกณฑ์อายุสูงสุดแล้วยังไม่ได้แต่งงานจะมีสำนักงานแม่สื่อมาช่วยจัดการหาคู่ให้ โดยมีความพยายามหว่านล้อมให้เจ้าตัวเห็นชอบและมีตัวเลือกให้ ไม่ใช่นึกจะบังคับแต่งกับใครก็บังคับเลย ประมาณว่าเป็นการบังคับแต่งงานแบบประนีประนอม และนี่เป็นหนึ่งในหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อ

    ทีนี้มาเข้าเรื่องหน้าที่แม่สื่อ... สำหรับหน้าที่แม่สื่อนี้ สำนักงานเหมยซึไม่เพียงหาคู่ให้กับผู้ที่ใกล้จะเลยเกณฑ์อายุสูงสุด หากแต่ยังช่วยหาคู่ให้กับผู้ที่ไม่มีพ่อแม่หรือผู้ใหญ่จัดการเรื่องนี้ รวมถึงจัดงานเทศกาลที่บังคับให้หนุ่มสาวออกมาพบปะและดูตัวกัน นอกจากนี้ ยังเป็นธุระดูแลเรื่องพิธีการต่างๆ ให้ถูกต้องเช่นส่งคนไปช่วยสู่ขอ กำหนดวันแต่งงาน ช่วยจัดงานแต่งงาน และดูแลสินสอดให้เหมาะสม ในบางสมัยถึงกับมีหน้าที่จัดสรรเงินจากงบประมาณแผ่นดินหรือหาคณบดีท้องถิ่นมาเป็นผู้อุปถัมภ์เพื่อให้บุรุษที่ยากจนสามารถมีเงินสินสอดไปแต่งเมียได้ และอย่างในสมัยฉินมีหน้าที่จัดสรรที่ดินทำกินให้คู่บ่าวสาวไปตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่างๆ อันเกิดขึ้นในการหมั้นหมายและแต่งงาน

    และจากตัวอย่างที่ยกมาจากบันทึกโจวหลี่ จะเห็นว่าหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อมีอีกส่วนหนึ่งคืองานด้านทะเบียน โดยมีหน้าที่บันทึกว่าใครเกิดเมื่อไหร่แต่งงานแล้วหรือยัง หย่าร้างหรือไม่ รวมถึงดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน เช่นการลงโทษตามกฏหมาย (เช่น หลบหนีการแต่งงาน)

    ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่แม่สื่อในงานพิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมงคลสมรสก็คือคนจากสำนักงานเหมยซึนี่เอง หรือที่เรียกว่า ‘แม่สื่อหลวง’ (官媒) แต่ผู้ที่เป็นแม่สื่อหลวงอาจไม่ใช่ขุนนางทุกคน เพราะเขาจะมีการจ้างคนนอกช่วยทำงาน กล่าวคือคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถมีฝีปากเป็นเลิศคล่องแคล่วแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ไม่มีประวัติอาชญากรรม ฯลฯ มาขึ้นทะเบียนเป็นแม่สื่อหลวงที่ต้องออกไปช่วยเจรจาทาบทามสู่ขอ ช่วยทำพิธีการต่างๆ โดยคนเหล่านี้ได้รับค่าจ้างหลวงแต่ไม่ใช่ข้าราชการ และส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโสที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือในท้องที่นั้นๆ หรือเป็นผู้ที่ผู้อาวุโสเหล่านี้แนะนำมา

    ในยุคที่รุ่งเรืองมากๆ อย่างสมัยซ่งนั้น กิจการแม่สื่อมืออาชีพก็เฟื่องฟูตาม มีทั้งแม่สื่อฝ่ายชายและแม่สื่อฝ่ายหญิง ในสมัยซ่งถึงขนาดมีแบ่งแยกระดับของแม่สื่อ ในบันทึก ‘ตงจิงเมิ่งหัวลู่’ ที่ให้รายละเอียดวิถีชีวิตและธรรมเนียมปฏิบัติของคนสมัยซ่งเหนือได้กล่าวไว้ว่า แม่สื่อขั้นสูงสุดนั้นมีผ้าโพกศีรษะสวมเสื้อนอกสีม่วง ให้บริการเฉพาะขุนนางและครอบครัวขุนนาง

    และต่อมาพัฒนาขึ้นเป็น ‘แม่สื่อเอกชน’ (私媒) แบบมืออาชีพ กล่าวคือได้ค่าจ้างจากครอบครัวบ่าวสาว แต่ก็ต้องขึ้นทะเบียนกับทางการอยู่ดี

    ทำไมแค่ช่วยสู่ขอช่วยจัดงานแต่งยังต้องทำเป็นทางการขนาดนั้น? นั่นเป็นเพราะว่าแม่สื่อมีหน้าที่และความรับผิดได้ตามกฎหมาย เป็นต้นว่า หากแม่สื่อโฆษณาคุณสมบัติของบุรุษสตรีเกินจริงจนเข้าข่ายบิดเบือนหรือหลอกลวงก็จะมีโทษ; แม่สื่อมีหน้าที่ตรวจสอบและสืบข้อมูลประวัติของทั้งสองครอบครัวเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นการแต่งงานที่เข้าข่ายต้องห้าม (เช่น ข้ามสถานะระหว่างบุคคลธรรมดากับบุคคลในทะเบียนทาส; เป็นพยานสำคัญว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวถูกคนหรือไม่ ตั้งแต่ข้อมูลวันเดือนปีเกิด เอกสารการหมั้นและการรับตัวเจ้าสาว หรือหากรู้เห็นเป็นใจการหนีสมรสก็มีโทษเช่นกัน; เป็นพยานสำคัญว่าสินสอดและสินเดิมเจ้าสาวถูกต้องครบถ้วนตามรายการบัญชีที่ทำ; และอาจเป็นพยานหรือเป็นผู้ช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างครอบครัวบ่าวสาวได้ ฯลฯ

    แม่สื่อเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ เพียงแต่ในยุคที่กิจการแม่สื่อเฟื่องฟู คนที่นิยมทำหน้าที่นี้เป็นสตรีเสียส่วนใหญ่ และจวบจนสมัยชิงยังมีการกล่าวถึงแม่สื่อหลวง โดยมีตัวอย่างจากบทประพันธ์โบราณชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น) ซึ่งเป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ดังนั้น แม่สื่อหลวงและแม่สื่อเอกชนอยู่คู่กับจีนมาหลายพันปีแล้ว

    และแน่นอนว่า แม่สื่อเอกชนแบบที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับทางการก็มี เช่นอาจมีการเชิญผู้ใหญ่คนรู้จักไปช่วยพูดจาทาบทาม เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะนึกภาพออกเพราะบ้านเราเรียกว่า ‘เถ้าแก่’ แต่เถ้าแก่นี้ไม่ใช่แม่สื่อหลักเพราะตามกระบวนการของกฎหมายต้องมีแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วช่วยดำเนินเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแม่สื่อหลวงหรือแม่สื่อเอกชน ดังนั้นในบริบทนี้ บางครอบครัวอาจใช้เถ้าแก่มาเสริม จึงเกิดเป็นสำนวนที่ว่า ‘ซานเหมยลิ่วพิ่น’ ( 三媒六聘/สามแม่สื่อหกพิธีการแต่งงาน) กล่าวคือแม่สื่อหรือเถ้าแก่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และคนกลางซึ่งมักเป็นแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://meihuamag.com/牵线说媒,这行当已有五千年历史/
    http://sino.newdu.com/m/view.php?aid=91147
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.sss.net.cn/106001/30036.aspx
    http://www.heyuanxw.com/2014/wenhua_1216/15238.html
    http://iolaw.cssn.cn/xspl/200607/t20060726_4598436.shtml
    http://www.xinfajia.net/2592.html
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=795664&remap=gb#%娶妇
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_26937009

    #แม่สื่อ #กวนเหมย #ซือเหมย #เหมยซึ #การแต่งงานจีนโบราณ #สาระจีน
    🪭แม่สื่อสมัยโบราณ 🪭 สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับขั้นตอนการสู่ขอและ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ และมีการกล่าวถึงการใช้แม่สื่อ แต่เพื่อนเพจคงไม่ได้อรรถรสว่าจริงๆ แล้วการใช้แม่สื่อมีความสำคัญมาก ในบางยุคสมัยอย่างเช่นสมัยถังถึงกับบัญญัติเป็นกฎหมายไว้ว่าการแต่งงานต้องมีแม่สื่อ เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า มีหน่วยงานรัฐรับหน้าที่แม่สื่อ? ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ ของสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกมีการระบุไว้ว่า: สำนักงาน ‘เหมยซึ’ (媒氏) มีหน้าที่ดูแลการแต่งงานของประชาชน... ทำทะเบียนบันทึกวันเดือนปีเกิดของทุกคนและจัดให้บุรุษแต่งงานเมื่ออายุสามสิบปีและสตรีเมื่ออายุยี่สิบปี... จัดเทศกาลกลางฤดูใบไม้ผลิหรือที่เรียกว่า ‘จงชุนฮุ่ย’ (仲春会) เพื่อเป็นโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะดูตัว... ก่อนจะลงลึกเรื่องหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อเหมยซึนี้ เรามาคุยกันเล็กน้อยเรื่องเกณฑ์อายุสมรสที่กล่าวถึงข้างต้น พวกเราจะคุ้นเคยว่ากฎหมายกำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำไว้ แต่ในสมัยโบราณมีกำหนดเกณฑ์อายุสูงสุดไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้คนแต่งงานมีลูกสืบสกุล ในความเชื่อของคนโบราณคือการไม่มีบุตรสืบสกุลถือเป็นความอกตัญญูอย่างใหญ่หลวง แต่จริงๆ แล้วในมุมมองของรัฐมันมีเหตุผลด้านการพัฒนาประเทศ อย่าลืมว่าแรกเริ่มเลยเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยเกษตรกรรม เมื่อประชากรน้อยผลผลิตก็น้อยรัฐก็จน อีกทั้งในสมัยโบราณมีศึกสงครามและอายุขัยของคนไม่ยาวเหมือนสมัยนี้ ดังนั้นทางการจึงพยายามกระตุ้นให้คนแต่งงานและมีลูกหลานกัน จนถึงขั้นกำหนดเป็นกฎหมายบังคับ เพียงแต่เกณฑ์อายุตามกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อย่างเช่นในสมัยฮั่นบุรุษต้องแต่งงานภายในอายุสามสิบปีและสตรีภายในอายุสิบห้าปี หาไม่แล้วต้องถูกปรับด้วยการจ่ายภาษีเพิ่มเป็นห้าเท่า (ในสมัยนั้นจ่ายภาษีเป็นรายหัว ไม่เกี่ยวกับรายได้) และในสมัยราชวงศ์เหนือใต้กำหนดว่าหากสตรีไม่แต่งงานภายในอายุสิบห้าปีพ่อแม่ต้องโทษจำคุก แต่ในสมัยโบราณก็มีคนที่ไม่ได้แต่งงานภายในอายุที่กฎหมายที่กำหนด บ้างยืดเวลาออกไปเพราะเหตุผลการไว้ทุกข์ให้พ่อแม่ บ้างมีเหตุผลอื่น แต่ Storyฯ ไม่ได้ไปหาข้อมูลต่อว่าแต่ละยุคสมัยเขามีวิธีหลีกเลี่ยงการแต่งงานกันอย่างไร แต่ที่ชัดเจนก็คือว่า ผู้ที่ถึงเกณฑ์อายุสูงสุดแล้วยังไม่ได้แต่งงานจะมีสำนักงานแม่สื่อมาช่วยจัดการหาคู่ให้ โดยมีความพยายามหว่านล้อมให้เจ้าตัวเห็นชอบและมีตัวเลือกให้ ไม่ใช่นึกจะบังคับแต่งกับใครก็บังคับเลย ประมาณว่าเป็นการบังคับแต่งงานแบบประนีประนอม และนี่เป็นหนึ่งในหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อ ทีนี้มาเข้าเรื่องหน้าที่แม่สื่อ... สำหรับหน้าที่แม่สื่อนี้ สำนักงานเหมยซึไม่เพียงหาคู่ให้กับผู้ที่ใกล้จะเลยเกณฑ์อายุสูงสุด หากแต่ยังช่วยหาคู่ให้กับผู้ที่ไม่มีพ่อแม่หรือผู้ใหญ่จัดการเรื่องนี้ รวมถึงจัดงานเทศกาลที่บังคับให้หนุ่มสาวออกมาพบปะและดูตัวกัน นอกจากนี้ ยังเป็นธุระดูแลเรื่องพิธีการต่างๆ ให้ถูกต้องเช่นส่งคนไปช่วยสู่ขอ กำหนดวันแต่งงาน ช่วยจัดงานแต่งงาน และดูแลสินสอดให้เหมาะสม ในบางสมัยถึงกับมีหน้าที่จัดสรรเงินจากงบประมาณแผ่นดินหรือหาคณบดีท้องถิ่นมาเป็นผู้อุปถัมภ์เพื่อให้บุรุษที่ยากจนสามารถมีเงินสินสอดไปแต่งเมียได้ และอย่างในสมัยฉินมีหน้าที่จัดสรรที่ดินทำกินให้คู่บ่าวสาวไปตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่างๆ อันเกิดขึ้นในการหมั้นหมายและแต่งงาน และจากตัวอย่างที่ยกมาจากบันทึกโจวหลี่ จะเห็นว่าหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อมีอีกส่วนหนึ่งคืองานด้านทะเบียน โดยมีหน้าที่บันทึกว่าใครเกิดเมื่อไหร่แต่งงานแล้วหรือยัง หย่าร้างหรือไม่ รวมถึงดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน เช่นการลงโทษตามกฏหมาย (เช่น หลบหนีการแต่งงาน) ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่แม่สื่อในงานพิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมงคลสมรสก็คือคนจากสำนักงานเหมยซึนี่เอง หรือที่เรียกว่า ‘แม่สื่อหลวง’ (官媒) แต่ผู้ที่เป็นแม่สื่อหลวงอาจไม่ใช่ขุนนางทุกคน เพราะเขาจะมีการจ้างคนนอกช่วยทำงาน กล่าวคือคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถมีฝีปากเป็นเลิศคล่องแคล่วแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ไม่มีประวัติอาชญากรรม ฯลฯ มาขึ้นทะเบียนเป็นแม่สื่อหลวงที่ต้องออกไปช่วยเจรจาทาบทามสู่ขอ ช่วยทำพิธีการต่างๆ โดยคนเหล่านี้ได้รับค่าจ้างหลวงแต่ไม่ใช่ข้าราชการ และส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโสที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือในท้องที่นั้นๆ หรือเป็นผู้ที่ผู้อาวุโสเหล่านี้แนะนำมา ในยุคที่รุ่งเรืองมากๆ อย่างสมัยซ่งนั้น กิจการแม่สื่อมืออาชีพก็เฟื่องฟูตาม มีทั้งแม่สื่อฝ่ายชายและแม่สื่อฝ่ายหญิง ในสมัยซ่งถึงขนาดมีแบ่งแยกระดับของแม่สื่อ ในบันทึก ‘ตงจิงเมิ่งหัวลู่’ ที่ให้รายละเอียดวิถีชีวิตและธรรมเนียมปฏิบัติของคนสมัยซ่งเหนือได้กล่าวไว้ว่า แม่สื่อขั้นสูงสุดนั้นมีผ้าโพกศีรษะสวมเสื้อนอกสีม่วง ให้บริการเฉพาะขุนนางและครอบครัวขุนนาง และต่อมาพัฒนาขึ้นเป็น ‘แม่สื่อเอกชน’ (私媒) แบบมืออาชีพ กล่าวคือได้ค่าจ้างจากครอบครัวบ่าวสาว แต่ก็ต้องขึ้นทะเบียนกับทางการอยู่ดี ทำไมแค่ช่วยสู่ขอช่วยจัดงานแต่งยังต้องทำเป็นทางการขนาดนั้น? นั่นเป็นเพราะว่าแม่สื่อมีหน้าที่และความรับผิดได้ตามกฎหมาย เป็นต้นว่า หากแม่สื่อโฆษณาคุณสมบัติของบุรุษสตรีเกินจริงจนเข้าข่ายบิดเบือนหรือหลอกลวงก็จะมีโทษ; แม่สื่อมีหน้าที่ตรวจสอบและสืบข้อมูลประวัติของทั้งสองครอบครัวเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นการแต่งงานที่เข้าข่ายต้องห้าม (เช่น ข้ามสถานะระหว่างบุคคลธรรมดากับบุคคลในทะเบียนทาส; เป็นพยานสำคัญว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวถูกคนหรือไม่ ตั้งแต่ข้อมูลวันเดือนปีเกิด เอกสารการหมั้นและการรับตัวเจ้าสาว หรือหากรู้เห็นเป็นใจการหนีสมรสก็มีโทษเช่นกัน; เป็นพยานสำคัญว่าสินสอดและสินเดิมเจ้าสาวถูกต้องครบถ้วนตามรายการบัญชีที่ทำ; และอาจเป็นพยานหรือเป็นผู้ช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างครอบครัวบ่าวสาวได้ ฯลฯ แม่สื่อเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ เพียงแต่ในยุคที่กิจการแม่สื่อเฟื่องฟู คนที่นิยมทำหน้าที่นี้เป็นสตรีเสียส่วนใหญ่ และจวบจนสมัยชิงยังมีการกล่าวถึงแม่สื่อหลวง โดยมีตัวอย่างจากบทประพันธ์โบราณชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น) ซึ่งเป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ดังนั้น แม่สื่อหลวงและแม่สื่อเอกชนอยู่คู่กับจีนมาหลายพันปีแล้ว และแน่นอนว่า แม่สื่อเอกชนแบบที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับทางการก็มี เช่นอาจมีการเชิญผู้ใหญ่คนรู้จักไปช่วยพูดจาทาบทาม เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะนึกภาพออกเพราะบ้านเราเรียกว่า ‘เถ้าแก่’ แต่เถ้าแก่นี้ไม่ใช่แม่สื่อหลักเพราะตามกระบวนการของกฎหมายต้องมีแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วช่วยดำเนินเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแม่สื่อหลวงหรือแม่สื่อเอกชน ดังนั้นในบริบทนี้ บางครอบครัวอาจใช้เถ้าแก่มาเสริม จึงเกิดเป็นสำนวนที่ว่า ‘ซานเหมยลิ่วพิ่น’ ( 三媒六聘/สามแม่สื่อหกพิธีการแต่งงาน) กล่าวคือแม่สื่อหรือเถ้าแก่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และคนกลางซึ่งมักเป็นแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://meihuamag.com/牵线说媒,这行当已有五千年历史/ http://sino.newdu.com/m/view.php?aid=91147 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.sss.net.cn/106001/30036.aspx http://www.heyuanxw.com/2014/wenhua_1216/15238.html http://iolaw.cssn.cn/xspl/200607/t20060726_4598436.shtml http://www.xinfajia.net/2592.html https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=795664&remap=gb#%娶妇 https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_26937009 #แม่สื่อ #กวนเหมย #ซือเหมย #เหมยซึ #การแต่งงานจีนโบราณ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 55 มุมมอง 0 รีวิว
  • -รายงานข่าว 20 กุมภาพันธ์ 2568-

    วันนี้ครบรอบ 1 เดือน (20 มกราคม-20 กุมภาพันธ์ 2568) ของการบริหารงานของนายโดนัล เจ. ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกา นางคาโรไลน์ เลวิทท์ โฆษกทำเนียบขาว ออกมารายงานผลความคืบหน้าของทรัมป์ 2.0 ว่า มีคำสั่งอำนาจบริหารออกมารวม 73 ฉบับ มากกว่ายุคไบเดนและยุคโอบามา 2-3 เท่า...ครม.ของทรัมป์ยุคนี้ได้รับการไว้วางใจโวตยอมรับจากสภาสูงซีเนทมากถึง 18 คน มากกว่ายุคโอบามาปี 2009 และยุคไบเดนปี 2021...และนายทรัมป์จะประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งหมดในวันอังคารหน้าที่จะถึงนี้ โดยที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะมาเยือนในวันจันทร์ ตามด้วยนายกรัฐมนตรีอังกฤษในวันพฤหัสบดี...ขณะรายงานข่าวทำเนียบขาวนั้นได้มีเจ้าหน้าที่ของกระทรวง Homeland Security ที่ปรึกษากฏหมายฝ่ายเศรษฐกิจแห่งชาติ และที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ เข้าร่วมแถลงข่าวด้วย นายไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติหรือ National Security Advisor ตอบคำถามผู้สื่อข่าวประเด็นยุติสงครามในยูเครนว่า สงครามยูเครนต้องจบแน่นอน เพราะสหรัฐฯไม่ต้องการนำเงินภาษีของคนอเมริกันไปช่วยเหลือสงครามยูเครนอีกต่อไปแล้ว โดยสหรัฐฯจะเข้าไปเจรจากับนายปูตินผู้นำรัสเซียในเร็ววันนี้..ข่าวล่าสุดในวันนี้ เมื่อตอนบ่าย สภาสูงหรือซีเนทของคองเกรส ได้ลงมติด้วยคะแนนชนะ 51:49 ให้นายแคช ปาเทล (Kash Patel) ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเอฟบีไอ หรือสำนักงานตำรวจสอบสวนกลาง ดูแลงานการสอบสวนและปราบปรามได้ทั่วประเทศ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรมของคุณ แพม บอนดิ และเอฟบีไอยังต้องรายงานข่าวโดยตรงให้กับผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติกับคุณ ทุลซี แก็บบาร์ด ให้รับทราบอีกด้วย
    -รายงานข่าว 20 กุมภาพันธ์ 2568- วันนี้ครบรอบ 1 เดือน (20 มกราคม-20 กุมภาพันธ์ 2568) ของการบริหารงานของนายโดนัล เจ. ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกา นางคาโรไลน์ เลวิทท์ โฆษกทำเนียบขาว ออกมารายงานผลความคืบหน้าของทรัมป์ 2.0 ว่า มีคำสั่งอำนาจบริหารออกมารวม 73 ฉบับ มากกว่ายุคไบเดนและยุคโอบามา 2-3 เท่า...ครม.ของทรัมป์ยุคนี้ได้รับการไว้วางใจโวตยอมรับจากสภาสูงซีเนทมากถึง 18 คน มากกว่ายุคโอบามาปี 2009 และยุคไบเดนปี 2021...และนายทรัมป์จะประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งหมดในวันอังคารหน้าที่จะถึงนี้ โดยที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะมาเยือนในวันจันทร์ ตามด้วยนายกรัฐมนตรีอังกฤษในวันพฤหัสบดี...ขณะรายงานข่าวทำเนียบขาวนั้นได้มีเจ้าหน้าที่ของกระทรวง Homeland Security ที่ปรึกษากฏหมายฝ่ายเศรษฐกิจแห่งชาติ และที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ เข้าร่วมแถลงข่าวด้วย นายไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติหรือ National Security Advisor ตอบคำถามผู้สื่อข่าวประเด็นยุติสงครามในยูเครนว่า สงครามยูเครนต้องจบแน่นอน เพราะสหรัฐฯไม่ต้องการนำเงินภาษีของคนอเมริกันไปช่วยเหลือสงครามยูเครนอีกต่อไปแล้ว โดยสหรัฐฯจะเข้าไปเจรจากับนายปูตินผู้นำรัสเซียในเร็ววันนี้..ข่าวล่าสุดในวันนี้ เมื่อตอนบ่าย สภาสูงหรือซีเนทของคองเกรส ได้ลงมติด้วยคะแนนชนะ 51:49 ให้นายแคช ปาเทล (Kash Patel) ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเอฟบีไอ หรือสำนักงานตำรวจสอบสวนกลาง ดูแลงานการสอบสวนและปราบปรามได้ทั่วประเทศ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรมของคุณ แพม บอนดิ และเอฟบีไอยังต้องรายงานข่าวโดยตรงให้กับผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติกับคุณ ทุลซี แก็บบาร์ด ให้รับทราบอีกด้วย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 50 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยูเครนชนะกี่โมง? ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์"
    ฟันธงรัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ
    .
    ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์" ยอดนักวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศสายส้ม วิเคราะห์สงครามยูเครนแบบมั่นหน้า ด้วยการฟันธงว่า รัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ ปูตินจะถูกรัฐประหารเงียบ จนชาวเน็ตผู้มาจากอนาคตเข้าไปรุมคอมเมนต์เดือด เตือนความทรงจำ ถามเมื่อไหร่รัสเซียจะแพ้-ยูเครนจะชนะ?
    .
    ในสถานการณ์ทางการเมืองโลกที่ผันผวนภายหลังการยกหูโทรศัพท์พูดคุยกันนานกว่า 90 นาทีระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เมื่อวันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 โดยในประเด็นสงครามยูเครนนั้น นายทรัมป์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังว่า “ถึงเวลาแล้วที่จะยุติสงครามไร้สาระนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยการสังหารและการทำลายล้างที่ไม่จำเป็นเลย ขอพระเจ้าอวยพรประชาชนชาวรัสเซียและยูเครน!”
    .
    การเริ่มต้นพูดคุยระหว่าง ทรัมป์และปูติน อันนำมาสู่เหตุการณ์เมื่อ วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 สหรัฐฯ และรัสเซียนำโดย นายมาร์ค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ นายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งดำเนินการเปิดโต๊ะการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนกันเพียง 2 ฝ่าย อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยปราศจากตัวแทนของยูเครน และชาติต่าง ๆ ในยุโรปร่วมโต๊ะเลย แม้แต่คนเดียว
    .
    สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความเดือดดาลให้กับนายโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนและผู้นำชาติต่างๆ ในยุโรปอย่างมาก เพราะการเปิดโต๊ะเจรจาดังกล่าวเป็นสัญญาณว่า ยูเครนและยุโรปน่าจะต้องตกเป็นเบี้ยล่าง และพ่ายแพ้ถูกทิ้งไว้ท่ามกลางซากปรักหักพัง รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่เข้ารุมเร้าทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ การแย่งชิงบีบบังคับเอาทรัพยากรเพื่อชดใช้เงินช่วยเหลือในสงคราม ความวุ่นวายทางการเมืองภายใน รวมไปถึงปัญหาสังคมและผู้อพยพ ฯลฯ
    .
    ในส่วนของผู้ที่ติดตามข่าวสารเรื่องสงครามยูเครนในประเทศไทยส่วนหนึ่ง ได้มีผู้ย้อนไปหยิบยกการวิเคราะห์สถานการณ์สงครามยูเครนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดย น.ส.พรรณิการ์ วานิช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคอนาคตใหม่ และอดีตเป็นพิธีกรรายการข่าวทางช่องวอยซ์ทีวี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโฆษกคณะก้าวหน้า ซึ่งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 หรือเกือบ 3 ปีที่แล้ว ได้วิเคราะห์เรื่องนี้เอาไว้ในยูทูปช่อง คณะก้าวหน้า - Progressive Movement ความยาวกว่า 25 นาที ในหัวเรื่องว่า "ช่อฟันธง! รัสเซียแพ้ย่อยยับ ปูตินชักศึกเข้าบ้าน!" (ลิงก์ >> https://www.youtube.com/watch?v=ytfIw1BHnEM)
    .
    ทั้งนี้ในรายการดังกล่าว "ช่อ พรรณิการ์" แห่งคณะก้าวหน้าได้กล่าวในตอนต้นว่า "ดิฉันขอฟันธง รัสเซียเธอแพ้แน่นอน นับวันแพ้ ทำไมถึงจะแพ้ เป็นเพราะอะไรเกิดอะไรขึ้น เป็นเพราะอะไร?"
    .
    จากนั้น อดีตโฆษกพรรคอนาคตใหม่ได้กล่าววิเคราะห์ต่อว่า สาเหตุที่รัสเซียจะพ่ายแพ้ต่อยูเครนและชาติพันธมิตรยุโรปนั้นมาจาก การบีบบังคับด้วยการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ-การเงินต่อยุโรป
    "มาตรการหลัก ๆ ที่ตอนนี้นำโดยสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ใช้อยู่จริง ๆ คือ มาตรการการเงิน ซึ่งมากไปกว่า มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจการค้านะ แต่เรียกว่าเป็นการทุบค่าเงินและตัดตอนทางการเงินแบบขนานใหญ่ อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา นานาประเทศตัดรัสเซียออกจากระบบการโอนเงินระหว่างประเทศ S.W.I.F.T., ระบบการเงินของธนาคารต่าง ๆ, มีการฟรีซแอสเสท หรือสินทรัพย์ของรัสเซียที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงประกาศไม่ให้มีการค้าขายกับรัสเซีย ..." น.ส.พรรณิการ์กล่าว และวิเคราะห์ต่อว่า นี่เองเป็นสาเหตุที่ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียตกต่ำลงอย่างมาก จนแทบจะไม่มีค่า แทบจะกลายเป็นเศษกระดาษ
    .
    นอกจากนี้ ช่อ พรรณิการ์ ยังวิเคราะห์ต่ออย่างออกรสด้วยว่า ความเคลื่อนไหวที่สำคัญที่สุดคือ ท่าทีของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่เลือกจะทำตามมาตรการคว่ำบาตรของอียู คือ การอายัดทรัพย์สินของรัสเซียที่อยู่ในแบงก์สวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไม่ใช่แค่การอายัดเฉพาะทรัพย์สินของรัฐ แต่เป็นทรัพย์สินของเอกชน และมหาเศรษฐีต่าง ๆ ของรัสเซียที่เกี่ยวข้องกับนายปูตินด้วยจะเป็นปัจจัยชี้ขายให้รัสเซียและนายปูตินพ่ายแพ้อย่างแน่นอน
    .
    "ดิฉันคิดว่า เมื่อสวิตเซอร์แลนด์ทำขนาดนี้แล้ว ปูตินนับวันแพ้ได้เลยนะคะ" โฆษกคณะก้าวหน้าฟันธง
    .
    ล่วงเลยมาถึงวันนี้ เมื่อทีมงาน Sondhi X กลับไปสำรวจความเห็นของผู้ที่เข้ามาชมคลิปการวิเคราะห์สถานการณ์โลกดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ ทางยูทูปของคณะก้าวหน้าแล้วก็พบว่า มีผู้เข้าไปย้อนดูคลิปดังกล่าวและแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น
    • สวัสดีเรามาจากอนาคต 2025 ตอนนี้ทรัมป์กับปูตินเจรจากันแล้วนะเรื่องยูเครนโดยไม่มีไอ้กี้ หรือใช้คำว่าไม่เห็นหัวไอ้กี้ ก็คงไม่ผิดนัก ส่วนไอ้กี้ก็หัวซุกหัวซุนเกาะยุโรปที่เหลืออย่างแนบแน่น จริงแล้วตอนนี้ ยูเครนต้องเลือกปธน.ใหม่แล้วนะ แต่ไอ้กี้ไม่ยอม และไม่ฟังเสียงปชช.เลย โคจรหวงอำนาจเลย ยังไงรบกวนคุณช่อประท้วงแทนปชช.ชาวยูเครนด้วยนะ หรือส่งให้ว่าที่ เลขา UN ด้วยนะครับ
    • เมื่อไรจะแพ้ รออยู่นะคับ
    • ทายแค่ ซ้ายขวายังผิดยังคิดจะมาบริหารประเทศ อายมั้ยส้ม
    • 20-2-2025 ทายผิดจนขนลุก ยูเครนเละโดนรุมทึ้งแบ่งเค้กผลประโยชน์ของชาติ แถมไม่มีสิทธิแม้แต่เข้าร่วมเจรจาสันติภาพเลือกชะตากรรมของชาติตัวเอง 😂
    • ยูเครนชนะยังครับ รอจนเมื่อยแล้ว
    • สรุปทำไมวิเคราะห์ผิดหมดเลย ไม่มีข้อมูลเพียงพอรอบด้าน หรือไม่มีศักยภาพในการวิเคราะห์ ถ้าได้บริหารประเทศวิเคราะห์ผิดแบบนี้แย่แน่นอน
    • สวัสดีเรามาจากอนาคต สภาพ ผิดทุกเรื่องตรงข้ามทุกอย่าง 5555
    • วิเคราะห์มาถึงขนาดนี้ ปัจจุบันคุณเห็นหรือยังใครเป็นคนทำสงคราม นาโต้ทำสงครามกับรัสเซีย ยูเครนเป็นสนามรบ ผู้สนับสนุนหลักคืออเมริกา
    รัสเซียบุกยูเครน ก็เพราะนาโต้ขยายอาณาเขตเข้ามาในยูเครน รัสเซียแค่ป้องกันตนเองจากกลุ่มนาโต้ มีหัวเรือเป็นสหรัฐอเมริกา ตัวตลกยูเครนคือหุ่นเชิด
    • ธงหักหมดแล้ว จากคนเคยเลือกและลาขาด
    .
    สำหรับคลิปการวิเคราะห์ดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ เรื่องสงครามยูเครน นับถึงเวลา 20.00น. ที่ผ่านมาของวันที่ 20 ก.พ. 68 มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 1.49 ล้านครั้ง
    ยูเครนชนะกี่โมง? ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์" ฟันธงรัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ . ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์" ยอดนักวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศสายส้ม วิเคราะห์สงครามยูเครนแบบมั่นหน้า ด้วยการฟันธงว่า รัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ ปูตินจะถูกรัฐประหารเงียบ จนชาวเน็ตผู้มาจากอนาคตเข้าไปรุมคอมเมนต์เดือด เตือนความทรงจำ ถามเมื่อไหร่รัสเซียจะแพ้-ยูเครนจะชนะ? . ในสถานการณ์ทางการเมืองโลกที่ผันผวนภายหลังการยกหูโทรศัพท์พูดคุยกันนานกว่า 90 นาทีระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เมื่อวันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 โดยในประเด็นสงครามยูเครนนั้น นายทรัมป์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังว่า “ถึงเวลาแล้วที่จะยุติสงครามไร้สาระนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยการสังหารและการทำลายล้างที่ไม่จำเป็นเลย ขอพระเจ้าอวยพรประชาชนชาวรัสเซียและยูเครน!” . การเริ่มต้นพูดคุยระหว่าง ทรัมป์และปูติน อันนำมาสู่เหตุการณ์เมื่อ วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 สหรัฐฯ และรัสเซียนำโดย นายมาร์ค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ นายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งดำเนินการเปิดโต๊ะการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนกันเพียง 2 ฝ่าย อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยปราศจากตัวแทนของยูเครน และชาติต่าง ๆ ในยุโรปร่วมโต๊ะเลย แม้แต่คนเดียว . สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความเดือดดาลให้กับนายโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนและผู้นำชาติต่างๆ ในยุโรปอย่างมาก เพราะการเปิดโต๊ะเจรจาดังกล่าวเป็นสัญญาณว่า ยูเครนและยุโรปน่าจะต้องตกเป็นเบี้ยล่าง และพ่ายแพ้ถูกทิ้งไว้ท่ามกลางซากปรักหักพัง รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่เข้ารุมเร้าทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ การแย่งชิงบีบบังคับเอาทรัพยากรเพื่อชดใช้เงินช่วยเหลือในสงคราม ความวุ่นวายทางการเมืองภายใน รวมไปถึงปัญหาสังคมและผู้อพยพ ฯลฯ . ในส่วนของผู้ที่ติดตามข่าวสารเรื่องสงครามยูเครนในประเทศไทยส่วนหนึ่ง ได้มีผู้ย้อนไปหยิบยกการวิเคราะห์สถานการณ์สงครามยูเครนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดย น.ส.พรรณิการ์ วานิช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคอนาคตใหม่ และอดีตเป็นพิธีกรรายการข่าวทางช่องวอยซ์ทีวี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโฆษกคณะก้าวหน้า ซึ่งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 หรือเกือบ 3 ปีที่แล้ว ได้วิเคราะห์เรื่องนี้เอาไว้ในยูทูปช่อง คณะก้าวหน้า - Progressive Movement ความยาวกว่า 25 นาที ในหัวเรื่องว่า "ช่อฟันธง! รัสเซียแพ้ย่อยยับ ปูตินชักศึกเข้าบ้าน!" (ลิงก์ >> https://www.youtube.com/watch?v=ytfIw1BHnEM) . ทั้งนี้ในรายการดังกล่าว "ช่อ พรรณิการ์" แห่งคณะก้าวหน้าได้กล่าวในตอนต้นว่า "ดิฉันขอฟันธง รัสเซียเธอแพ้แน่นอน นับวันแพ้ ทำไมถึงจะแพ้ เป็นเพราะอะไรเกิดอะไรขึ้น เป็นเพราะอะไร?" . จากนั้น อดีตโฆษกพรรคอนาคตใหม่ได้กล่าววิเคราะห์ต่อว่า สาเหตุที่รัสเซียจะพ่ายแพ้ต่อยูเครนและชาติพันธมิตรยุโรปนั้นมาจาก การบีบบังคับด้วยการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ-การเงินต่อยุโรป "มาตรการหลัก ๆ ที่ตอนนี้นำโดยสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ใช้อยู่จริง ๆ คือ มาตรการการเงิน ซึ่งมากไปกว่า มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจการค้านะ แต่เรียกว่าเป็นการทุบค่าเงินและตัดตอนทางการเงินแบบขนานใหญ่ อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา นานาประเทศตัดรัสเซียออกจากระบบการโอนเงินระหว่างประเทศ S.W.I.F.T., ระบบการเงินของธนาคารต่าง ๆ, มีการฟรีซแอสเสท หรือสินทรัพย์ของรัสเซียที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงประกาศไม่ให้มีการค้าขายกับรัสเซีย ..." น.ส.พรรณิการ์กล่าว และวิเคราะห์ต่อว่า นี่เองเป็นสาเหตุที่ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียตกต่ำลงอย่างมาก จนแทบจะไม่มีค่า แทบจะกลายเป็นเศษกระดาษ . นอกจากนี้ ช่อ พรรณิการ์ ยังวิเคราะห์ต่ออย่างออกรสด้วยว่า ความเคลื่อนไหวที่สำคัญที่สุดคือ ท่าทีของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่เลือกจะทำตามมาตรการคว่ำบาตรของอียู คือ การอายัดทรัพย์สินของรัสเซียที่อยู่ในแบงก์สวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไม่ใช่แค่การอายัดเฉพาะทรัพย์สินของรัฐ แต่เป็นทรัพย์สินของเอกชน และมหาเศรษฐีต่าง ๆ ของรัสเซียที่เกี่ยวข้องกับนายปูตินด้วยจะเป็นปัจจัยชี้ขายให้รัสเซียและนายปูตินพ่ายแพ้อย่างแน่นอน . "ดิฉันคิดว่า เมื่อสวิตเซอร์แลนด์ทำขนาดนี้แล้ว ปูตินนับวันแพ้ได้เลยนะคะ" โฆษกคณะก้าวหน้าฟันธง . ล่วงเลยมาถึงวันนี้ เมื่อทีมงาน Sondhi X กลับไปสำรวจความเห็นของผู้ที่เข้ามาชมคลิปการวิเคราะห์สถานการณ์โลกดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ ทางยูทูปของคณะก้าวหน้าแล้วก็พบว่า มีผู้เข้าไปย้อนดูคลิปดังกล่าวและแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น • สวัสดีเรามาจากอนาคต 2025 ตอนนี้ทรัมป์กับปูตินเจรจากันแล้วนะเรื่องยูเครนโดยไม่มีไอ้กี้ หรือใช้คำว่าไม่เห็นหัวไอ้กี้ ก็คงไม่ผิดนัก ส่วนไอ้กี้ก็หัวซุกหัวซุนเกาะยุโรปที่เหลืออย่างแนบแน่น จริงแล้วตอนนี้ ยูเครนต้องเลือกปธน.ใหม่แล้วนะ แต่ไอ้กี้ไม่ยอม และไม่ฟังเสียงปชช.เลย โคจรหวงอำนาจเลย ยังไงรบกวนคุณช่อประท้วงแทนปชช.ชาวยูเครนด้วยนะ หรือส่งให้ว่าที่ เลขา UN ด้วยนะครับ • เมื่อไรจะแพ้ รออยู่นะคับ • ทายแค่ ซ้ายขวายังผิดยังคิดจะมาบริหารประเทศ อายมั้ยส้ม • 20-2-2025 ทายผิดจนขนลุก ยูเครนเละโดนรุมทึ้งแบ่งเค้กผลประโยชน์ของชาติ แถมไม่มีสิทธิแม้แต่เข้าร่วมเจรจาสันติภาพเลือกชะตากรรมของชาติตัวเอง 😂 • ยูเครนชนะยังครับ รอจนเมื่อยแล้ว • สรุปทำไมวิเคราะห์ผิดหมดเลย ไม่มีข้อมูลเพียงพอรอบด้าน หรือไม่มีศักยภาพในการวิเคราะห์ ถ้าได้บริหารประเทศวิเคราะห์ผิดแบบนี้แย่แน่นอน • สวัสดีเรามาจากอนาคต สภาพ ผิดทุกเรื่องตรงข้ามทุกอย่าง 5555 • วิเคราะห์มาถึงขนาดนี้ ปัจจุบันคุณเห็นหรือยังใครเป็นคนทำสงคราม นาโต้ทำสงครามกับรัสเซีย ยูเครนเป็นสนามรบ ผู้สนับสนุนหลักคืออเมริกา รัสเซียบุกยูเครน ก็เพราะนาโต้ขยายอาณาเขตเข้ามาในยูเครน รัสเซียแค่ป้องกันตนเองจากกลุ่มนาโต้ มีหัวเรือเป็นสหรัฐอเมริกา ตัวตลกยูเครนคือหุ่นเชิด • ธงหักหมดแล้ว จากคนเคยเลือกและลาขาด . สำหรับคลิปการวิเคราะห์ดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ เรื่องสงครามยูเครน นับถึงเวลา 20.00น. ที่ผ่านมาของวันที่ 20 ก.พ. 68 มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 1.49 ล้านครั้ง
    Haha
    Like
    5
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 155 มุมมอง 0 รีวิว
  • "หัวจะปวด" คิดได้ไง

    ต้องแก้รัฐธรรมนูญ แล้วปัญหาเศรษฐกิจจะแก้ได้
    "หัวจะปวด" คิดได้ไง ต้องแก้รัฐธรรมนูญ แล้วปัญหาเศรษฐกิจจะแก้ได้
    Haha
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 136 มุมมอง 0 รีวิว
  • 'สว.นันทนา' บอกเศรษฐกิจไทยวิกฤต ลั่นรื้อโครงสร้างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้เป็นกติกาประชาธิปไตย คือทางรอด
    https://www.thai-tai.tv/news/17271/
    'สว.นันทนา' บอกเศรษฐกิจไทยวิกฤต ลั่นรื้อโครงสร้างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้เป็นกติกาประชาธิปไตย คือทางรอด https://www.thai-tai.tv/news/17271/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 22 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าวหา โดนัลด์ ทรัมป์ ว่า เอาแต่เชื่อฟัง “ข้อมูลข่าวสารเท็จ” ของฝ่ายรัสเซีย เป็นการตอบโต้ผู้นำสหรัฐฯ ที่พูดเมื่อ 1 วันก่อนหน้านั้น โจมตีประมุขเคียฟกลายๆ ว่า เขาเป็นต้นตอปล่อยให้ความขัดแย้งกับรัสเซียเริ่มต้นขึ้นมาและลุกลามบานปลายอย่างไม่จำเป็น การโจมตีใส่กันเช่นนี้ส่อแสดงให้เห็นว่ายูเครนกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกายิ่งมองหน้ากันไม่ติด หลังจากคณะผู้แทนทางการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ และรัสเซียเปิดการหารือกันอย่างชื่นมื่นที่ซาอุดีอาระเบีย ในเรื่องหนทางยุติสงครามในยูเครนและการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างแดนอินทรีกับแดนหมีขาว โดยที่ไม่เชิญยูเครนหรือชาติยุโรปซึ่งหนุนหลังเคียฟเข้าร่วมด้วย
    .
    ระหว่างการแถลงข่าวสื่อมวลชนเมื่อวันอังคาร (18) ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวย้ำประเด็นจำนวนมากที่ฝ่ายรัสเซียได้พูดเอาไว้ในช่วง 3 ปีที่เกิดสงครามในยูเครน โดยประณามเคียฟว่าเป็นผู้เริ่มต้นทำให้เกิดการสู้รบขึ้นมาอย่างไม่จำเป็น พร้อมกับย้ำว่า บรรดาผู้นำในเคียฟไม่ควรปล่อยให้เกิดการสู้รบขัดแย้งขึ้นมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้คำพูดเช่นนี้ของเขาอาจตีความได้ว่า เขาเห็นว่ายูเครนน่าจะยอมโอนอ่อนผ่อนตามแดนหมีขาว ก่อนที่รัสเซียจะยกทัพบุกเมื่อต้นปี 2022 นอกจากนั้น ทรัมป์ยังเสนอแนะว่าเซเลนสกีกำลังไม่เป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนชาวยูเครน
    .
    เซเลนสกีกล่าวตอบโต้กลับในวันพุธ โดยบอกว่า “โชคร้าย ท่านประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้ซึ่งเรามีความเคารพอย่างใหญ่หลวงในฐานะเป็นผู้นำของประชาชนชาวอเมริกัน ... มีชีวิตอยู่ในท่ามกลางแวดวงข้อมูลข่าวสารเท็จเช่นนี้”
    .
    “ผมเชื่อว่าสหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือให้ปูตินสามารถทลายการถูกโดดเดี่ยวมาเป็นเวลาหลายปี” เซเลนสกี กล่าว
    .
    ในวันอังคาร ทรัมป์กล่าวตำหนิทางยูเครนที่ส่งเสียงคร่ำครวญกรณีถูกกีดกันออกจากการเจรจาของสหรัฐฯ กับรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันเดียวกัน
    .
    "ผมผิดหวังอย่างมาก ผมได้ยินว่าพวกเขาอารมณ์เสียที่ไม่มีที่นั่งบนโต๊ะเจรจา" ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่รีสอร์ตมาร์-อา-ลาโก ของเขาในฟลอริดา หลังถูกสอบถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของยูเครน
    .
    "วันนี้ผมได้ยิน (ทางยูเครนพูด) ว่า โอ้ เราไม่ได้รับเชิญ ก็แน่นอนล่ะ คุณอยู่ตรงนั้นมา 3 ปี แต่คุณไม่เคยเริ่มมันเลย คุณควรทำข้อตกลง (กับรัสเซีย)" เขากล่าว
    .
    ในการแถลงข่าว ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจพบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก่อนสิ้นเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบีย เวลาเดียวกันเขาก็เพิ่มความกดดันให้เซเลนสกีต้องจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญของรัสเซีย ทั้งนี้ เนื่องจากเซเลนสกีรับตำแหน่งเกิน 5 ปีตามกำหนดวาระแล้ว แต่ยังไม่จัดการเลือกตั้งโดยอ้างว่า ยูเครนยังคงอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก
    .
    "พวกเขา (พวกผู้นำยูเครน) ต้องการเก้าอี้บนโต๊ะเจรจา แต่คุณสามารถพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชวยูเครน มันนานมาแล้วนะที่เขามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์ระบุ พร้อมกับกล่าวว่า "นี่ไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากเรา มาจากประเทศอื่นๆ"
    .
    ผู้นำสหรัฐฯ ยังบอกว่า มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ตนเองมีอำนาจในการหยุดยั้งสงครามในยูเครน ภายหลังการหารือของคณะผู้แทนของสหรัฐฯ และรัสเซียที่กรุงริยาด ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น
    .
    ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า ในการหารือที่ริยาดที่ใช้เวลายาวนานราว 4 ชั่วโมงครึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายอเมริกา และรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะของฝ่ายแดนหมีขาว ได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อหารือกันถึงเกี่ยวกับวิธีการยุติสงครามในยูเครนโดยเร็วที่สุด แต่ยังไม่ระบุชัดเจนว่าจะประชุมกันครั้งแรกเมื่อใด
    .
    ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องสร้างกลไกการหารือเพื่อจัดการ “สิ่งที่สร้างความระคายเคือง” ต่อความสัมพันธ์สองประเทศ และวางรากฐานสำหรับการร่วมมือในอนาคต
    .
    ด้าน ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ ซึ่งร่วมเจรจาที่ริยาดด้วย เสริมว่า ประเด็นด้านดินแดนและการรับประกันความมั่นคงจะเป็นส่วนหนึ่งในการหารือ
    .
    สำหรับ คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจของรัสเซีย กล่าวว่า ความพยายามของตะวันตกในการโดดเดี่ยวรัสเซียล้มเหลวอย่างชัดเจน และเสริมว่า รัสเซียและอเมริกาควรพัฒนาโครงการพลังงานร่วมกัน ซึ่งรวมถึงในอาร์กติกและภูมิภาคอื่นๆ
    .
    ด้านลาฟรอฟแสดงความเชื่อมั่นว่า อเมริกาเข้าใจจุดยืนของรัสเซียดีขึ้น และยังย้ำว่า มอสโกคัดค้านการนำกองกำลังนาโตไปประจำการในยูเครนภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้นำยุโรปกำลังถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016776
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าวหา โดนัลด์ ทรัมป์ ว่า เอาแต่เชื่อฟัง “ข้อมูลข่าวสารเท็จ” ของฝ่ายรัสเซีย เป็นการตอบโต้ผู้นำสหรัฐฯ ที่พูดเมื่อ 1 วันก่อนหน้านั้น โจมตีประมุขเคียฟกลายๆ ว่า เขาเป็นต้นตอปล่อยให้ความขัดแย้งกับรัสเซียเริ่มต้นขึ้นมาและลุกลามบานปลายอย่างไม่จำเป็น การโจมตีใส่กันเช่นนี้ส่อแสดงให้เห็นว่ายูเครนกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกายิ่งมองหน้ากันไม่ติด หลังจากคณะผู้แทนทางการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ และรัสเซียเปิดการหารือกันอย่างชื่นมื่นที่ซาอุดีอาระเบีย ในเรื่องหนทางยุติสงครามในยูเครนและการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างแดนอินทรีกับแดนหมีขาว โดยที่ไม่เชิญยูเครนหรือชาติยุโรปซึ่งหนุนหลังเคียฟเข้าร่วมด้วย . ระหว่างการแถลงข่าวสื่อมวลชนเมื่อวันอังคาร (18) ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวย้ำประเด็นจำนวนมากที่ฝ่ายรัสเซียได้พูดเอาไว้ในช่วง 3 ปีที่เกิดสงครามในยูเครน โดยประณามเคียฟว่าเป็นผู้เริ่มต้นทำให้เกิดการสู้รบขึ้นมาอย่างไม่จำเป็น พร้อมกับย้ำว่า บรรดาผู้นำในเคียฟไม่ควรปล่อยให้เกิดการสู้รบขัดแย้งขึ้นมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้คำพูดเช่นนี้ของเขาอาจตีความได้ว่า เขาเห็นว่ายูเครนน่าจะยอมโอนอ่อนผ่อนตามแดนหมีขาว ก่อนที่รัสเซียจะยกทัพบุกเมื่อต้นปี 2022 นอกจากนั้น ทรัมป์ยังเสนอแนะว่าเซเลนสกีกำลังไม่เป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนชาวยูเครน . เซเลนสกีกล่าวตอบโต้กลับในวันพุธ โดยบอกว่า “โชคร้าย ท่านประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้ซึ่งเรามีความเคารพอย่างใหญ่หลวงในฐานะเป็นผู้นำของประชาชนชาวอเมริกัน ... มีชีวิตอยู่ในท่ามกลางแวดวงข้อมูลข่าวสารเท็จเช่นนี้” . “ผมเชื่อว่าสหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือให้ปูตินสามารถทลายการถูกโดดเดี่ยวมาเป็นเวลาหลายปี” เซเลนสกี กล่าว . ในวันอังคาร ทรัมป์กล่าวตำหนิทางยูเครนที่ส่งเสียงคร่ำครวญกรณีถูกกีดกันออกจากการเจรจาของสหรัฐฯ กับรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันเดียวกัน . "ผมผิดหวังอย่างมาก ผมได้ยินว่าพวกเขาอารมณ์เสียที่ไม่มีที่นั่งบนโต๊ะเจรจา" ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่รีสอร์ตมาร์-อา-ลาโก ของเขาในฟลอริดา หลังถูกสอบถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของยูเครน . "วันนี้ผมได้ยิน (ทางยูเครนพูด) ว่า โอ้ เราไม่ได้รับเชิญ ก็แน่นอนล่ะ คุณอยู่ตรงนั้นมา 3 ปี แต่คุณไม่เคยเริ่มมันเลย คุณควรทำข้อตกลง (กับรัสเซีย)" เขากล่าว . ในการแถลงข่าว ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจพบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก่อนสิ้นเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบีย เวลาเดียวกันเขาก็เพิ่มความกดดันให้เซเลนสกีต้องจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญของรัสเซีย ทั้งนี้ เนื่องจากเซเลนสกีรับตำแหน่งเกิน 5 ปีตามกำหนดวาระแล้ว แต่ยังไม่จัดการเลือกตั้งโดยอ้างว่า ยูเครนยังคงอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก . "พวกเขา (พวกผู้นำยูเครน) ต้องการเก้าอี้บนโต๊ะเจรจา แต่คุณสามารถพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชวยูเครน มันนานมาแล้วนะที่เขามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์ระบุ พร้อมกับกล่าวว่า "นี่ไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากเรา มาจากประเทศอื่นๆ" . ผู้นำสหรัฐฯ ยังบอกว่า มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ตนเองมีอำนาจในการหยุดยั้งสงครามในยูเครน ภายหลังการหารือของคณะผู้แทนของสหรัฐฯ และรัสเซียที่กรุงริยาด ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น . ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า ในการหารือที่ริยาดที่ใช้เวลายาวนานราว 4 ชั่วโมงครึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายอเมริกา และรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะของฝ่ายแดนหมีขาว ได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อหารือกันถึงเกี่ยวกับวิธีการยุติสงครามในยูเครนโดยเร็วที่สุด แต่ยังไม่ระบุชัดเจนว่าจะประชุมกันครั้งแรกเมื่อใด . ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องสร้างกลไกการหารือเพื่อจัดการ “สิ่งที่สร้างความระคายเคือง” ต่อความสัมพันธ์สองประเทศ และวางรากฐานสำหรับการร่วมมือในอนาคต . ด้าน ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ ซึ่งร่วมเจรจาที่ริยาดด้วย เสริมว่า ประเด็นด้านดินแดนและการรับประกันความมั่นคงจะเป็นส่วนหนึ่งในการหารือ . สำหรับ คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจของรัสเซีย กล่าวว่า ความพยายามของตะวันตกในการโดดเดี่ยวรัสเซียล้มเหลวอย่างชัดเจน และเสริมว่า รัสเซียและอเมริกาควรพัฒนาโครงการพลังงานร่วมกัน ซึ่งรวมถึงในอาร์กติกและภูมิภาคอื่นๆ . ด้านลาฟรอฟแสดงความเชื่อมั่นว่า อเมริกาเข้าใจจุดยืนของรัสเซียดีขึ้น และยังย้ำว่า มอสโกคัดค้านการนำกองกำลังนาโตไปประจำการในยูเครนภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้นำยุโรปกำลังถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016776 .............. Sondhi X
    Like
    9
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1030 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์ทิ้งบอมบ์รอบใหม่ ขู่รีดภาษีศุลกากรรถนำเข้า 25% และจัดเก็บในระดับเดียวกันหรือสูงกว่าสำหรับผลิตภัณฑ์ยาและเซมิคอนดักเตอร์ ด้านจีนประณามมาตรการภาษีและการข่มขู่ของทรัมป์ระหว่างการประชุมองค์การการค้าโลกว่า เป็นการคุกคามระบบการค้าและทำให้เศรษฐกิจโลกถดถอย
    .
    นับจากเข้ารับตำแหน่งปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ได้สั่งเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้าของพวกประเทศคู่ค้าใหญ่ที่สุดบางแห่งโดยอ้างว่า เพื่อตอบโต้กับแนวทางปฏิบัติทางการค้าที่เอาเปรียบและไม่เป็นธรรมกับสหรัฐฯ นอกจากนั้น ในหลายกรณีก็ระบุเหตุผลว่าเพื่อผลักดันนโยบายสำคัญของอเมริกา อย่างเช่นการปราบปรามการอพยพเข้าสหรัฐฯ อย่างผิดกฎหมาย
    .
    ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศรีดภาษีศุลกากรจากสินค้านำเข้าทุกรายการจากจีนเพิ่มขึ้นอีก 10% และปักกิ่งได้ตอบโต้ด้วยมาตรการทำนองเดียวกันในขนาดขอบเขตที่แคบกว่า จากนั้นทรัมป์ยังสั่งขึ้นภาษีที่เก็บจากเหล็กกล้าและอะลูมิเนียมนำเข้าจากทุกประเทศในอัตรา 25%
    .
    ล่าสุดในวันอังคาร (18 ก.พ.) ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า จะขึ้นภาษีศุลกากรที่จะเรียกเก็บจากอุตสาหกรรมรถยนต์ในอัตราประมาณ 25% โดยจะบังคับใช้ในราววันที่ 2 เมษายน
    .
    สำหรับสินค้าพวกยาและเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งทรัมป์เคยบอกไว้ว่าจะพิจารณาเพิ่มภาษีในช่วงเวลาเดียวกับรถยนต์นั้น ทรัมป์ขยายความในคราวนี้ว่า จะเก็บสูงขึ้นในอัตรา 25% หรือสูงกว่านั้น แล้วจากนั้นจะเพิ่มขึ้นสูงมากภายใน 1 ปี แต่เขายังไม่ระบุว่าจะเริ่มเมื่อใด
    .
    เขายังบอกว่า ต้องการให้เวลาพวกบริษัทที่ได้รับผลกระทบ เพื่อจะได้กลับลำมาทำธุรกิจในอเมริกา และเสริมด้วยว่า ประเทศคู่ค้าของวอชิงตันก็สามารถหลีกเลี่ยงการถูกเก็บภาษีเพิ่มได้ด้วยการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานในอเมริกา
    .
    อย่างไรก็ตาม พวกผู้เชี่ยวชาญย้ำคำเตือนที่ได้ให้ไว้ตั้งแต่ก่อนหน้านี้ ที่ว่ามาตรการเพิ่มภาษีศุลกาการจากสินค้านำเข้านั้น คนอเมริกันเองมีแนวโน้มต้องแบกรับมากกว่าพวกผู้ส่งออกต่างชาติ เนื่องจากคนที่ต้องควักเงินจ่ายภาษีจริงๆ ก็คือผู้นำเข้าในอเมริกา และพวกเขาก็มักแบ่งเบาภาระนี้ด้วยการขึ้นราคาสินค้าที่จำหน่ายในสหรัฐฯ
    .
    เฉพาะรถยนต์นั้น ปัจจุบันรถยนต์ราว 50% ที่ขายในอเมริกาเป็นรถที่ผลิตภายในประเทศ ขณะที่รถนำเข้าประมาณครึ่งหนึ่งเป็นรถจากเม็กซิโกและแคนาดา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแบรนด์ระดับอินเตอร์ไปตั้งโรงงานประกอบกันที่นั่น นอกจากนั้นยังมีญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเยอรมนีที่เป็นซัปพลายเออร์รายสำคัญ
    .
    เอเชียจับตามาตรการภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างระมัดระวังมาก เนื่องจากมีซัปพลายเออร์หลักบางแห่งของอุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกาตั้งอยู่
    .
    โยชิมาสะ ฮายาชิ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์เมื่อวันพุธว่า ญี่ปุ่นได้หยิบยกประเด็นภาษีศุลกากรรถยนต์หารือกับอเมริกาแล้ว และรัฐบาลจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมควบคู่กับการตรวจสอบรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงของมาตรการภาษีดังกล่าว
    .
    ทางด้านไต้หวันที่เป็นฮับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของโลกและถูกทรัมป์กล่าวหาว่า ปล้นอุตสาหกรรมชิปไปจากอเมริกานั้น ก็แสดงท่าทีตื่นตัวเฝ้าระวัง ถึงแม้กระทรวงเศรษฐกิจแถลงว่า ขอบเขตผลิตภัณฑ์ที่จะถูกเรียกเก็บภาษียังไม่มีความชัดเจน และรัฐบาลจะติดตามทิศทางนโยบายของอเมริกาต่อไป รวมทั้งจะให้ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมท้องถิ่นที่ได้รับความเดือดร้อน
    .
    ก่อนหน้านี้ไทเปประกาศแล้วว่า จะเพิ่มการลงทุนในอเมริกาเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงมาตรการภาษีของทรัมป์
    .
    ผู้นำอเมริกายังแสดงความยินดีที่สหภาพยุโรป ลดภาษีศุลกากรรถยนต์จาก 10% เหลือ 2.5% เท่ากับอเมริกา และบอกว่า ถ้าทุกประเทศทำแบบนี้ การค้าทั่วโลกจะแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม
    .
    ในอีกด้านหนึ่ง หลี่ เฉิงกัง เอกอัครราชทูตจีนประจำองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ได้ประณามมาตรการภาษีศุลกากรและการข่มขู่ของทรัมป์ ในระหว่างการประชุมคณะมนตรีใหญ่ดับเบิลยูทีโอในวันอังคารโดยระบุว่า การขึ้นภาษีอย่างแรงและการดำเนินการฝ่ายเดียวของทรัมป์เช่นนี้ ส่งผลกระทบหนักหน่วงต่อระบบการค้าโลก ทำให้เศรษฐกิจไร้ความแน่นอนมากขึ้น การค้าโลกสะดุด เสี่ยงเกิดภาวะเฟ้อในอเมริกา บิดเบือนตลาด หรือแม้กระทั่งทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย
    .
    ทว่า เดวิด บิสบี นักการทูตของอเมริกาตอบโต้ว่า เศรษฐกิจจีนเป็นระบบเศรษฐกิจนักล่าที่ไม่ได้อิงกับตลาด และเสริมว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่เข้าเป็นสมาชิก จีนละเมิด เพิกเฉย และหลบเลี่ยงกฎของดับเบิลยูทีโอมาหลายครั้ง
    .
    ทั้งนี้ ความขัดแย้งระหว่างสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในดับเบิลยูทีโอเกิดขึ้นมานานแล้ว โดยปักกิ่งกล่าวหาวอชิงตันละเมิดกฎ ขณะที่วอชิงตันระบุว่า ปักกิ่งไม่สมควรได้รับสถานะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งได้รับการปฏิบัติพิเศษภายใต้กฎของดับเบิลยูทีโอ
    .
    นอกจากนั้น การที่คณะบริหารของทรัมป์ประกาศแผนถอนตัวจากองค์กรระดับโลกหลายแห่ง ยังเท่ากับว่า ดับเบิลยูทีโอไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่ทำเนียบขาวคำนึงถึงมากนัก
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016777
    ..............
    Sondhi X
    ทรัมป์ทิ้งบอมบ์รอบใหม่ ขู่รีดภาษีศุลกากรรถนำเข้า 25% และจัดเก็บในระดับเดียวกันหรือสูงกว่าสำหรับผลิตภัณฑ์ยาและเซมิคอนดักเตอร์ ด้านจีนประณามมาตรการภาษีและการข่มขู่ของทรัมป์ระหว่างการประชุมองค์การการค้าโลกว่า เป็นการคุกคามระบบการค้าและทำให้เศรษฐกิจโลกถดถอย . นับจากเข้ารับตำแหน่งปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ได้สั่งเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้าของพวกประเทศคู่ค้าใหญ่ที่สุดบางแห่งโดยอ้างว่า เพื่อตอบโต้กับแนวทางปฏิบัติทางการค้าที่เอาเปรียบและไม่เป็นธรรมกับสหรัฐฯ นอกจากนั้น ในหลายกรณีก็ระบุเหตุผลว่าเพื่อผลักดันนโยบายสำคัญของอเมริกา อย่างเช่นการปราบปรามการอพยพเข้าสหรัฐฯ อย่างผิดกฎหมาย . ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศรีดภาษีศุลกากรจากสินค้านำเข้าทุกรายการจากจีนเพิ่มขึ้นอีก 10% และปักกิ่งได้ตอบโต้ด้วยมาตรการทำนองเดียวกันในขนาดขอบเขตที่แคบกว่า จากนั้นทรัมป์ยังสั่งขึ้นภาษีที่เก็บจากเหล็กกล้าและอะลูมิเนียมนำเข้าจากทุกประเทศในอัตรา 25% . ล่าสุดในวันอังคาร (18 ก.พ.) ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า จะขึ้นภาษีศุลกากรที่จะเรียกเก็บจากอุตสาหกรรมรถยนต์ในอัตราประมาณ 25% โดยจะบังคับใช้ในราววันที่ 2 เมษายน . สำหรับสินค้าพวกยาและเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งทรัมป์เคยบอกไว้ว่าจะพิจารณาเพิ่มภาษีในช่วงเวลาเดียวกับรถยนต์นั้น ทรัมป์ขยายความในคราวนี้ว่า จะเก็บสูงขึ้นในอัตรา 25% หรือสูงกว่านั้น แล้วจากนั้นจะเพิ่มขึ้นสูงมากภายใน 1 ปี แต่เขายังไม่ระบุว่าจะเริ่มเมื่อใด . เขายังบอกว่า ต้องการให้เวลาพวกบริษัทที่ได้รับผลกระทบ เพื่อจะได้กลับลำมาทำธุรกิจในอเมริกา และเสริมด้วยว่า ประเทศคู่ค้าของวอชิงตันก็สามารถหลีกเลี่ยงการถูกเก็บภาษีเพิ่มได้ด้วยการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานในอเมริกา . อย่างไรก็ตาม พวกผู้เชี่ยวชาญย้ำคำเตือนที่ได้ให้ไว้ตั้งแต่ก่อนหน้านี้ ที่ว่ามาตรการเพิ่มภาษีศุลกาการจากสินค้านำเข้านั้น คนอเมริกันเองมีแนวโน้มต้องแบกรับมากกว่าพวกผู้ส่งออกต่างชาติ เนื่องจากคนที่ต้องควักเงินจ่ายภาษีจริงๆ ก็คือผู้นำเข้าในอเมริกา และพวกเขาก็มักแบ่งเบาภาระนี้ด้วยการขึ้นราคาสินค้าที่จำหน่ายในสหรัฐฯ . เฉพาะรถยนต์นั้น ปัจจุบันรถยนต์ราว 50% ที่ขายในอเมริกาเป็นรถที่ผลิตภายในประเทศ ขณะที่รถนำเข้าประมาณครึ่งหนึ่งเป็นรถจากเม็กซิโกและแคนาดา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแบรนด์ระดับอินเตอร์ไปตั้งโรงงานประกอบกันที่นั่น นอกจากนั้นยังมีญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเยอรมนีที่เป็นซัปพลายเออร์รายสำคัญ . เอเชียจับตามาตรการภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างระมัดระวังมาก เนื่องจากมีซัปพลายเออร์หลักบางแห่งของอุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกาตั้งอยู่ . โยชิมาสะ ฮายาชิ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์เมื่อวันพุธว่า ญี่ปุ่นได้หยิบยกประเด็นภาษีศุลกากรรถยนต์หารือกับอเมริกาแล้ว และรัฐบาลจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมควบคู่กับการตรวจสอบรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงของมาตรการภาษีดังกล่าว . ทางด้านไต้หวันที่เป็นฮับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของโลกและถูกทรัมป์กล่าวหาว่า ปล้นอุตสาหกรรมชิปไปจากอเมริกานั้น ก็แสดงท่าทีตื่นตัวเฝ้าระวัง ถึงแม้กระทรวงเศรษฐกิจแถลงว่า ขอบเขตผลิตภัณฑ์ที่จะถูกเรียกเก็บภาษียังไม่มีความชัดเจน และรัฐบาลจะติดตามทิศทางนโยบายของอเมริกาต่อไป รวมทั้งจะให้ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมท้องถิ่นที่ได้รับความเดือดร้อน . ก่อนหน้านี้ไทเปประกาศแล้วว่า จะเพิ่มการลงทุนในอเมริกาเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงมาตรการภาษีของทรัมป์ . ผู้นำอเมริกายังแสดงความยินดีที่สหภาพยุโรป ลดภาษีศุลกากรรถยนต์จาก 10% เหลือ 2.5% เท่ากับอเมริกา และบอกว่า ถ้าทุกประเทศทำแบบนี้ การค้าทั่วโลกจะแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม . ในอีกด้านหนึ่ง หลี่ เฉิงกัง เอกอัครราชทูตจีนประจำองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ได้ประณามมาตรการภาษีศุลกากรและการข่มขู่ของทรัมป์ ในระหว่างการประชุมคณะมนตรีใหญ่ดับเบิลยูทีโอในวันอังคารโดยระบุว่า การขึ้นภาษีอย่างแรงและการดำเนินการฝ่ายเดียวของทรัมป์เช่นนี้ ส่งผลกระทบหนักหน่วงต่อระบบการค้าโลก ทำให้เศรษฐกิจไร้ความแน่นอนมากขึ้น การค้าโลกสะดุด เสี่ยงเกิดภาวะเฟ้อในอเมริกา บิดเบือนตลาด หรือแม้กระทั่งทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย . ทว่า เดวิด บิสบี นักการทูตของอเมริกาตอบโต้ว่า เศรษฐกิจจีนเป็นระบบเศรษฐกิจนักล่าที่ไม่ได้อิงกับตลาด และเสริมว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่เข้าเป็นสมาชิก จีนละเมิด เพิกเฉย และหลบเลี่ยงกฎของดับเบิลยูทีโอมาหลายครั้ง . ทั้งนี้ ความขัดแย้งระหว่างสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในดับเบิลยูทีโอเกิดขึ้นมานานแล้ว โดยปักกิ่งกล่าวหาวอชิงตันละเมิดกฎ ขณะที่วอชิงตันระบุว่า ปักกิ่งไม่สมควรได้รับสถานะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งได้รับการปฏิบัติพิเศษภายใต้กฎของดับเบิลยูทีโอ . นอกจากนั้น การที่คณะบริหารของทรัมป์ประกาศแผนถอนตัวจากองค์กรระดับโลกหลายแห่ง ยังเท่ากับว่า ดับเบิลยูทีโอไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่ทำเนียบขาวคำนึงถึงมากนัก . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016777 .............. Sondhi X
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1036 มุมมอง 0 รีวิว
  • ในยุคที่ AI พัฒนาไปถึงจุดสูงสุดและสมบูรณ์แบบที่สุด จุดสูงสุดและจุดต่ำสุดของมนุษย์อาจถูกมองผ่านมุมมองต่าง ๆ ดังนี้:

    ### จุดสูงสุดของมนุษย์:
    1. **การปลดปล่อยศักยภาพ**: AI อาจช่วยให้มนุษย์ปลดปล่อยศักยภาพของตนเองได้เต็มที่ โดยรับมือกับงาน routine และปล่อยให้มนุษย์มุ่งเน้นไปที่ความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ และการพัฒนาตนเอง
    2. **การขยายขีดความสามารถ**: AI อาจช่วยให้มนุษย์เข้าถึงความรู้และความสามารถที่เกินขีดจำกัดทางกายภาพ เช่น การวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ การออกแบบนวัตกรรมใหม่ ๆ หรือการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน
    3. **การสร้างความหมาย**: ในโลกที่ AI ทำงานแทนมนุษย์ได้เกือบทุกอย่าง มนุษย์อาจมีโอกาสค้นหาความหมายของชีวิตมากขึ้น ผ่านการสร้างสรรค์ศิลปะ ปรัชญา หรือการเชื่อมโยงกับผู้อื่น
    4. **การอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล**: มนุษย์อาจเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับ AI อย่างสมดุล โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสังคม

    ### จุดต่ำสุดของมนุษย์:
    1. **การสูญเสียจุดมุ่งหมาย**: หาก AI ทำงานแทนมนุษย์ได้ทุกอย่าง มนุษย์อาจสูญเสียความรู้สึกมีจุดมุ่งหมายหรือคุณค่าในชีวิต
    2. **การพึ่งพาเกินไป**: มนุษย์อาจกลายเป็นผู้พึ่งพา AI มากเกินไป จนสูญเสียทักษะและความสามารถพื้นฐาน
    3. **ความเหลื่อมล้ำ**: หากการเข้าถึง AI ไม่เท่าเทียม อาจเกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้น
    4. **การสูญเสียความเป็นมนุษย์**: การพึ่งพา AI มากเกินไปอาจทำให้มนุษย์สูญเสียความเป็นมนุษย์ เช่น ความเห็นอกเห็นใจ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม

    ### สรุป:
    ในยุคที่ AI สมบูรณ์แบบที่สุด มนุษย์อาจเข้าถึงศักยภาพสูงสุดของตนเอง แต่ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความเป็นมนุษย์และความสมดุลในชีวิต การใช้ AI อย่างชาญฉลาดและมีจริยธรรมจะเป็นกุญแจสำคัญในการกำหนดว่ายยุคนี้จะเป็นจุดสูงสุดหรือจุดต่ำสุดของมนุษยชาติ
    ในยุคที่ AI พัฒนาไปถึงจุดสูงสุดและสมบูรณ์แบบที่สุด จุดสูงสุดและจุดต่ำสุดของมนุษย์อาจถูกมองผ่านมุมมองต่าง ๆ ดังนี้: ### จุดสูงสุดของมนุษย์: 1. **การปลดปล่อยศักยภาพ**: AI อาจช่วยให้มนุษย์ปลดปล่อยศักยภาพของตนเองได้เต็มที่ โดยรับมือกับงาน routine และปล่อยให้มนุษย์มุ่งเน้นไปที่ความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ และการพัฒนาตนเอง 2. **การขยายขีดความสามารถ**: AI อาจช่วยให้มนุษย์เข้าถึงความรู้และความสามารถที่เกินขีดจำกัดทางกายภาพ เช่น การวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ การออกแบบนวัตกรรมใหม่ ๆ หรือการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน 3. **การสร้างความหมาย**: ในโลกที่ AI ทำงานแทนมนุษย์ได้เกือบทุกอย่าง มนุษย์อาจมีโอกาสค้นหาความหมายของชีวิตมากขึ้น ผ่านการสร้างสรรค์ศิลปะ ปรัชญา หรือการเชื่อมโยงกับผู้อื่น 4. **การอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล**: มนุษย์อาจเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับ AI อย่างสมดุล โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสังคม ### จุดต่ำสุดของมนุษย์: 1. **การสูญเสียจุดมุ่งหมาย**: หาก AI ทำงานแทนมนุษย์ได้ทุกอย่าง มนุษย์อาจสูญเสียความรู้สึกมีจุดมุ่งหมายหรือคุณค่าในชีวิต 2. **การพึ่งพาเกินไป**: มนุษย์อาจกลายเป็นผู้พึ่งพา AI มากเกินไป จนสูญเสียทักษะและความสามารถพื้นฐาน 3. **ความเหลื่อมล้ำ**: หากการเข้าถึง AI ไม่เท่าเทียม อาจเกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้น 4. **การสูญเสียความเป็นมนุษย์**: การพึ่งพา AI มากเกินไปอาจทำให้มนุษย์สูญเสียความเป็นมนุษย์ เช่น ความเห็นอกเห็นใจ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม ### สรุป: ในยุคที่ AI สมบูรณ์แบบที่สุด มนุษย์อาจเข้าถึงศักยภาพสูงสุดของตนเอง แต่ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความเป็นมนุษย์และความสมดุลในชีวิต การใช้ AI อย่างชาญฉลาดและมีจริยธรรมจะเป็นกุญแจสำคัญในการกำหนดว่ายยุคนี้จะเป็นจุดสูงสุดหรือจุดต่ำสุดของมนุษยชาติ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 78 มุมมอง 0 รีวิว
  • ความสมดุลระหว่างเทคโนโลยีกับสิ่งมีชีวิตบนโลกเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ สิ่งมีชีวิตบนโลก รวมทั้งมนุษย์ พึ่งพาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการดำรงชีวิต ในขณะที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต แต่ก็อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศได้หากไม่มีการจัดการที่เหมาะสม

    ### ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับความสมดุลนี้ ได้แก่:
    1. **การใช้นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม**
    - เทคโนโลยีสามารถช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนาพลังงานสะอาด (พลังงานแสงอาทิตย์ ลม) การใช้ยานพาหนะไฟฟ้า และการรีไซเคิลขยะ
    - เทคโนโลยีช่วยในการตรวจสอบและจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ดาวเทียมเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    2. **ผลกระทบเชิงลบของเทคโนโลยี**
    - การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมากเพื่อผลิตเทคโนโลยี เช่น การขุดแร่หายากสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
    - มลพิษจากกระบวนการผลิตและขยะอิเล็กทรอนิกส์
    - การรบกวนระบบนิเวศจากการขยายตัวของเมืองและอุตสาหกรรม

    3. **การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต**
    - สิ่งมีชีวิตหลายชนิดต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เกิดจากเทคโนโลยี เช่น มลพิษทางอากาศและน้ำ
    - การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเนื่องจากที่อยู่อาศัยถูกทำลาย

    4. **บทบาทของมนุษย์ในการสร้างสมดุล**
    - มนุษย์ต้องรับผิดชอบในการใช้เทคโนโลยีอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
    - การส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนและการลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น
    - การสนับสนุนนโยบายและกฎหมายที่ส่งเสริมการปกป้องสิ่งแวดล้อม

    ### สรุป:
    ความสมดุลระหว่างเทคโนโลยีกับสิ่งมีชีวิตบนโลกเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยการจัดการอย่างรอบคอบ มนุษย์ในฐานะผู้ใช้เทคโนโลยีต้องตระหนักถึงผลกระทบและพยายามลดการทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทั้งเทคโนโลยีและสิ่งมีชีวิตสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
    ความสมดุลระหว่างเทคโนโลยีกับสิ่งมีชีวิตบนโลกเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ สิ่งมีชีวิตบนโลก รวมทั้งมนุษย์ พึ่งพาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการดำรงชีวิต ในขณะที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต แต่ก็อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศได้หากไม่มีการจัดการที่เหมาะสม ### ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับความสมดุลนี้ ได้แก่: 1. **การใช้นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม** - เทคโนโลยีสามารถช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนาพลังงานสะอาด (พลังงานแสงอาทิตย์ ลม) การใช้ยานพาหนะไฟฟ้า และการรีไซเคิลขยะ - เทคโนโลยีช่วยในการตรวจสอบและจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ดาวเทียมเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2. **ผลกระทบเชิงลบของเทคโนโลยี** - การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมากเพื่อผลิตเทคโนโลยี เช่น การขุดแร่หายากสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ - มลพิษจากกระบวนการผลิตและขยะอิเล็กทรอนิกส์ - การรบกวนระบบนิเวศจากการขยายตัวของเมืองและอุตสาหกรรม 3. **การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต** - สิ่งมีชีวิตหลายชนิดต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เกิดจากเทคโนโลยี เช่น มลพิษทางอากาศและน้ำ - การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเนื่องจากที่อยู่อาศัยถูกทำลาย 4. **บทบาทของมนุษย์ในการสร้างสมดุล** - มนุษย์ต้องรับผิดชอบในการใช้เทคโนโลยีอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม - การส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนและการลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น - การสนับสนุนนโยบายและกฎหมายที่ส่งเสริมการปกป้องสิ่งแวดล้อม ### สรุป: ความสมดุลระหว่างเทคโนโลยีกับสิ่งมีชีวิตบนโลกเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยการจัดการอย่างรอบคอบ มนุษย์ในฐานะผู้ใช้เทคโนโลยีต้องตระหนักถึงผลกระทบและพยายามลดการทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทั้งเทคโนโลยีและสิ่งมีชีวิตสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 93 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภท.โยนบาป
    ตรวจสอบสนามกอล์ฟอนุทิน ทำลายเศรษฐกิจโคราช
    ปลุกชาวบ้าน หอการค้า สมาคมให้ปกป้อง
    หน้าตัวเมียที่แท้จริง
    #7ดอกจิก
    ภท.โยนบาป ตรวจสอบสนามกอล์ฟอนุทิน ทำลายเศรษฐกิจโคราช ปลุกชาวบ้าน หอการค้า สมาคมให้ปกป้อง หน้าตัวเมียที่แท้จริง #7ดอกจิก
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 123 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์รู้ดีว่า หากไม่เร่งให้มีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดียูเครน การเจรจาสันติภาพ อาจเกิดการสะดุดจนไปต่อไม่ได้ เพราะเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่ปูตินตั้งไว้

    นอกจากตำแหน่งประธานาธิบดีที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ยังมีกฎหมายอีกหลายฉบับของยูเครนที่เซเลนสกีลงนามไว้ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเจรจา ซึ่งยูเครนต้องการ "ประธานาธิบดีตัวจริง" เพื่อยกเลิกกฎหมายเหล่านี้ เช่น:

    - เมื่อปี 2022 เซเลนสกี ลงนามคำสั่งห้ามการเจรจากับสหพันธรัฐรัสเซียตราบใดที่วลาดิมีร์ ปูตินยังคงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหพันธรัฐรัสเซีย นั่นเท่ากับว่า ยูเครนจะไม่สามารถเจรจากับปูตินได้จนกว่าจะถึงเดือนพฤษภาคม ปี 2030

    - นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการห้ามการเจรจากับรัสเซีย เช่น คำสั่งประกาศให้รัสเซียเป็นรัฐก่อการร้าย คำสั่งตัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมทั้งหมดกับรัสเซีย การประกาศใช้กฎหมายของยูเครนกับประเทศที่ไม่เป็นมิตร
    ทรัมป์รู้ดีว่า หากไม่เร่งให้มีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดียูเครน การเจรจาสันติภาพ อาจเกิดการสะดุดจนไปต่อไม่ได้ เพราะเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่ปูตินตั้งไว้ นอกจากตำแหน่งประธานาธิบดีที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ยังมีกฎหมายอีกหลายฉบับของยูเครนที่เซเลนสกีลงนามไว้ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเจรจา ซึ่งยูเครนต้องการ "ประธานาธิบดีตัวจริง" เพื่อยกเลิกกฎหมายเหล่านี้ เช่น: - เมื่อปี 2022 เซเลนสกี ลงนามคำสั่งห้ามการเจรจากับสหพันธรัฐรัสเซียตราบใดที่วลาดิมีร์ ปูตินยังคงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหพันธรัฐรัสเซีย นั่นเท่ากับว่า ยูเครนจะไม่สามารถเจรจากับปูตินได้จนกว่าจะถึงเดือนพฤษภาคม ปี 2030 - นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการห้ามการเจรจากับรัสเซีย เช่น คำสั่งประกาศให้รัสเซียเป็นรัฐก่อการร้าย คำสั่งตัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมทั้งหมดกับรัสเซีย การประกาศใช้กฎหมายของยูเครนกับประเทศที่ไม่เป็นมิตร
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 138 มุมมอง 0 รีวิว
  • 'นายกฯอิ๊งค์' ปาฐกถาพิเศษ 'เชื่อมั่นประเทศไทย' บี้ 'แบงก์ชาติ' ลดดอกเบี้ย มั่นใจเศรษฐกิจไทยฟื้น
    https://www.thai-tai.tv/news/17244/
    'นายกฯอิ๊งค์' ปาฐกถาพิเศษ 'เชื่อมั่นประเทศไทย' บี้ 'แบงก์ชาติ' ลดดอกเบี้ย มั่นใจเศรษฐกิจไทยฟื้น https://www.thai-tai.tv/news/17244/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 44 มุมมอง 0 รีวิว
  • เขากระโดง ชิดชอบและผู้ว่าฯ บรร.ก็อ้างชาวบ้านเดือดร้อน ตระกูลใหญ่ไปแอบหลบหลังชาวบ้าน มาถึงสนามกอล์ฟเขาใหญ่ เสี่ยหนูก็อ้างโฉนดมีตราพระปรมาภิไธย ไปหลบหลังตรากษัตริย์ แถมไอ้ทนายของ "แรนโช ชาญวีร์" ยังอ้างกระทบเศรษฐกิจปากช่องหมื่นล้าน ทำตัวเป็นอีแอบหลังชาวบ้านอีก สรุปใครกันแน่ที่เป็นหน้าตัวเมีย
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง3
    เขากระโดง ชิดชอบและผู้ว่าฯ บรร.ก็อ้างชาวบ้านเดือดร้อน ตระกูลใหญ่ไปแอบหลบหลังชาวบ้าน มาถึงสนามกอล์ฟเขาใหญ่ เสี่ยหนูก็อ้างโฉนดมีตราพระปรมาภิไธย ไปหลบหลังตรากษัตริย์ แถมไอ้ทนายของ "แรนโช ชาญวีร์" ยังอ้างกระทบเศรษฐกิจปากช่องหมื่นล้าน ทำตัวเป็นอีแอบหลังชาวบ้านอีก สรุปใครกันแน่ที่เป็นหน้าตัวเมีย #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง3
    Angry
    Like
    Haha
    4
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 203 มุมมอง 0 รีวิว
  • โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บ่งชี้ว่ายูเครนอาจจำเป็นต้องจัดเลือกตั้งใหม่ และเน้นย้ำว่า โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำโดยพฤตินัยของเคียฟในปัจจุบัน ไม่เป็นที่นิยมนัก
    .
    ทรัมป์ แสดงความคิดเห็นไม่กี่ชั่วโมงหลังจากคณะผู้เจรจาของสหรัฐฯและรัสเซีย พบปะกันในกรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เพื่อหารือถึงแนวทางต่างๆในการยุติความขัดแย้งในยูเครน มันถือเป็นการพูดคุยกัยครั้งแรกนับตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำอเมริกาคนก่อนหน้าทรัมป์ ระงับการติดต่อทั้งหมดกับมอสโกในปี 2022
    .
    ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เน้นย้ำมาตลอดว่ามอสโกมองว่า เซเลนสกี ไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมายมานานแล้ว สืบเนื่องจากวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปีของเขา สิ้นสุดลงไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2024 และจนถึงตอนนี้ยังไม่มีการจัดเลือกตั้งใหม่ ก็เพราะกฎอัยการศึกที่ประกาศโดยเซเลนสกี
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวในวันอังคาร(18ก.พ.) ทรัมป์เน้นย้ำว่าเซเลนสกี ไม่เป็นที่นิยมอย่างมากภายในประเทศของตนเอง "ผู้นำในยูเครน ผมไม่อยากพูดเลยว่า เขามีคะแนนนิยมลดต่ำอยู่แค่ระดับ 4%" ทรัมป์ระบุ
    .
    "ตอนที่พวกเขาบอกว่าต้องการเก้าอี้ในโต๊ะเจรจา คุณอาจพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชาวยูเครน มันนานมาแล้วนับตั้งแต่เรามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์เน้นย้ำ "มันไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากผม และออกมาจากประเทศอื่นๆหลายชาติเช่นกัน"
    .
    พวกเจ้าที่ยูเครนยืนยันว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดการเลือกตั้งใหม่ในระหว่างที่ความขัดแย้งกับรัสเซียยังคงดำเนินอยู่
    .
    คะแนนิยมของเซเลนสกี พุ่งทะลุฟ้าแตะระดับ 90% ในช่วงเดือนแรกๆของความขัดแย้งในปี 2022 แต่นับตั้งแต่นั้นก็ร่วลงสู่ระดับ 50%
    .
    ตามหลังความพ่ายแพ้อย่างต่อเนื่องในสมรภูมิรบและปัญหารื้อรังในด้านเศรษฐกิจ เมื่อเดือนที่แล้ว สื่อมวลชนยูเครนอ้างผลสำรวจของสำนักโพล Socis poll พบว่าเหลือชาวยูเครนแค่ 40% ที่ยังคงเชื่อมั่นในเซเลนสกี ผิดกับ วาเลรี ซาลูซนีย์ อดีตนายพลแห่งกองทัพยูเครน ที่เวลานี้เป็นเอกอัครราชทูตประจำลอนดอน ที่ได้รับความเชื่อมั่นเกือบๆ 72%
    .
    ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกวังเครมลินบอกในวันอังคาร(18ก.พ.) ว่า ปูติน เปิดกว้างที่จะเจรจากับ เซเลนสกี แต่ก็ต่อเมื่อประเด็นเกี่ยวกับความชอบธรรมของผู้นำยูเครนได้รับการคลี่คลายแล้วเท่านั้น
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016369
    ..............
    Sondhi X
    โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บ่งชี้ว่ายูเครนอาจจำเป็นต้องจัดเลือกตั้งใหม่ และเน้นย้ำว่า โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำโดยพฤตินัยของเคียฟในปัจจุบัน ไม่เป็นที่นิยมนัก . ทรัมป์ แสดงความคิดเห็นไม่กี่ชั่วโมงหลังจากคณะผู้เจรจาของสหรัฐฯและรัสเซีย พบปะกันในกรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เพื่อหารือถึงแนวทางต่างๆในการยุติความขัดแย้งในยูเครน มันถือเป็นการพูดคุยกัยครั้งแรกนับตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำอเมริกาคนก่อนหน้าทรัมป์ ระงับการติดต่อทั้งหมดกับมอสโกในปี 2022 . ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เน้นย้ำมาตลอดว่ามอสโกมองว่า เซเลนสกี ไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมายมานานแล้ว สืบเนื่องจากวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปีของเขา สิ้นสุดลงไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2024 และจนถึงตอนนี้ยังไม่มีการจัดเลือกตั้งใหม่ ก็เพราะกฎอัยการศึกที่ประกาศโดยเซเลนสกี . ระหว่างให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวในวันอังคาร(18ก.พ.) ทรัมป์เน้นย้ำว่าเซเลนสกี ไม่เป็นที่นิยมอย่างมากภายในประเทศของตนเอง "ผู้นำในยูเครน ผมไม่อยากพูดเลยว่า เขามีคะแนนนิยมลดต่ำอยู่แค่ระดับ 4%" ทรัมป์ระบุ . "ตอนที่พวกเขาบอกว่าต้องการเก้าอี้ในโต๊ะเจรจา คุณอาจพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชาวยูเครน มันนานมาแล้วนับตั้งแต่เรามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์เน้นย้ำ "มันไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากผม และออกมาจากประเทศอื่นๆหลายชาติเช่นกัน" . พวกเจ้าที่ยูเครนยืนยันว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดการเลือกตั้งใหม่ในระหว่างที่ความขัดแย้งกับรัสเซียยังคงดำเนินอยู่ . คะแนนิยมของเซเลนสกี พุ่งทะลุฟ้าแตะระดับ 90% ในช่วงเดือนแรกๆของความขัดแย้งในปี 2022 แต่นับตั้งแต่นั้นก็ร่วลงสู่ระดับ 50% . ตามหลังความพ่ายแพ้อย่างต่อเนื่องในสมรภูมิรบและปัญหารื้อรังในด้านเศรษฐกิจ เมื่อเดือนที่แล้ว สื่อมวลชนยูเครนอ้างผลสำรวจของสำนักโพล Socis poll พบว่าเหลือชาวยูเครนแค่ 40% ที่ยังคงเชื่อมั่นในเซเลนสกี ผิดกับ วาเลรี ซาลูซนีย์ อดีตนายพลแห่งกองทัพยูเครน ที่เวลานี้เป็นเอกอัครราชทูตประจำลอนดอน ที่ได้รับความเชื่อมั่นเกือบๆ 72% . ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกวังเครมลินบอกในวันอังคาร(18ก.พ.) ว่า ปูติน เปิดกว้างที่จะเจรจากับ เซเลนสกี แต่ก็ต่อเมื่อประเด็นเกี่ยวกับความชอบธรรมของผู้นำยูเครนได้รับการคลี่คลายแล้วเท่านั้น . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016369 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1208 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐฯ กับรัสเซียเห็นพ้องกันที่จะเริ่มต้นทำงานเพื่อยุติสงครามในยูเครน และปรับปรุงสายสัมพันธ์ทางการทูตและทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ระบุภายหลังการเจรจากันของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ที่นำโดยตัวเขา กับคณะของรัสเซียซึ่งมีรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ เป็นผู้นำ ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยที่ไม่มีตัวแทนจากยูเครนหรือทางยุโรปเข้าร่วมด้วย
    .
    ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีภายหลังการเจรจากับฝ่ายรัสเซีย รูบิโอกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายมีการตกลงกันอย่างกว้างๆ ที่จะมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การหวนคืนในเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายได้กลับเข้าประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูตของกันและกันในกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโก การก่อตั้งทีมงานระดับสูงเพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพยูเครน และการสำรวจลู่ทางเพื่อให้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
    .
    อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า การพูดจาคราวนี้ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้นสนทนากัน และยังจำเป็นจะต้องทำงานกันต่อไปอีกมาก
    .
    ทั้งนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียได้ตกลงมาสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปีระหว่างที่เกิดสงครามในยูเครน โดยที่สถานเอกอัครราชทูตของแต่ละฝ่ายซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากการที่ต่างฝ่ายต่างสั่งขับไล่นักการทูตของกันและกันเป็นจำนวนมากหลายๆ ระลอกในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจากการที่สหรัฐฯ จับมือกับยุโรปในการประกาศใช้มาตรการแซงก์ชันด้านต่างๆ กับรัสเซีย
    .
    รูบิโอ ยังกล่าวแสดงความหวังให้การสู้รบขัดแย้งในยูเครนเดินเข้าสู่จุดจบที่สามารถยอมรับกันได้ และสหรัฐฯ กับรัสเซียจะมีโอกาสอันน่าเชื่อถือที่จะจับมือกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนในทางเศรษฐกิจด้วยประเด็นซึ่งจะเป็นผลดีต่อโลกและก็จะปรับปรุงความสัมพันธ์ของสองประเทศในระยะยาว
    .
    การหารือในวันอังคารคราวนี้ ยังมุ่งหมายที่จะแผ้วถางทางให้แก่การประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทว่าภายหลังการเจรจาสิ้นสุดลง ยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการต่างประเทศของปูติน ซึ่งอยู่ในคณะของฝ่ายรัสเซีย บอกกับสถานีโทรทัศน์แชนเนลวัน ของรัสเซียว่า ยังไม่มีการกำหนดวันแน่นอนสำหรับซัมมิตดังที่ว่านี้ และ “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่จะเกิดขึ้นมาในสัปดาห์หน้า
    .
    ในส่วนของ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เขากล่าวกับพวกผู้สื่อข่าวหลังการหารือว่า “การสนทนากันคราวนี้เป็นประโยชน์มาก” โดยที่เขาอ้างอิงถึงเป้าหมาย 3 ประการเช่นเดียวกับที่รูบิโอพูด และบอกว่าวอชิงตันกับมอสโกตกลงกันที่จะแต่งตั้งคณะตัวแทนที่จะดำเนินการ “การปรึกษาหารืออย่างเป็นประจำ” ในเรื่องยูเครนขึ้นมา
    .
    “เราไม่เพียงแค่รับฟัง แต่ยังได้ยินกันและกันอีกด้วย” ลาฟรอฟบอก “และผมมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าฝ่ายอเมริกันได้เริ่มต้นที่จะเข้าอกเข้าใจจุดยืนของเราดีขึ้นแล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พูดสรุปโดยมีการลงรายละเอียด ใช้ตัวอย่างเฉพาะเจาะจงต่างๆ โดยยึดโยงอยู่กับคำปราศรัยครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีปูติน”
    .
    ก่อนหน้าการเจรจาคราวนี้ ทั้งสองฝ่ายดูจะมีความพยายามเน้นย้ำไมให้เกิดการตั้งความหวังมากจนเกินความเป็นจริง
    .
    ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า การหารือคราวนี้มุ่งเน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโกเป็นหลัก ตลอดจนถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับยูเครน และการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
    .
    ส่วน แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า การประชุมที่ซาอุดีอาระเบียมีเป้าหมายในการพิจารณาว่า รัสเซียจริงจังกับข้อตกลงสันติภาพแค่ไหน และจะเริ่มต้นการเจรจาอย่างละเอียดได้หรือไม่
    .
    บรูซเสริมว่า แม้ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมการหารือในวันอังคาร แต่การเจรจาสันติภาพที่แท้จริงจะต้องมีเคียฟร่วมวงด้วย
    .
    การเจรจาคราวนี้จัดขึ้นที่ที่พระราชวังดิริยาห์ในกรุงริยาด โดยคณะของฝ่ายของสหรัฐฯ นอกจากรัฐมนตรีต่างประเทาศรูบิโอ แล้ว ยังมี ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลาง ขณะที่ฝ่ายรัสเซีย ได้แก่ เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปูติน
    .
    รายงานข่าวระบุว่า การหารือเริ่มต้นขึ้นโดยไม่มีการจับมือหรือการแถลงใดๆ แต่มีเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮัน และมูซาอัด บิน โมฮัมหมัด อัล-ไอบาน รัฐมนตรีต่างประเทศและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียตามลำดับร่วมอยู่ด้วย
    .
    การหารือครั้งนี้ถือเป็นการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองชาติครั้งแรกนับจากที่รัสเซียบุกยูเครน และยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกา
    .
    เปสคอฟแถลงเมื่อวันอังคารระหว่างที่การหารือในริยาดดำเนินอยู่ว่า การแก้ไขวิกฤตยูเครนอย่างยั่งยืนไม่มีทางเป็นไปได้หากไม่พิจารณาสถานการณ์ความมั่นคงของยุโรป และสำทับว่า ยูเครนมีสิทธิอธิปไตยในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่รัสเซียคัดค้านการเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ของเคียฟ
    .
    โฆษกเครมลินเสริมว่า ปูตินพร้อมคุยกับเซเลนสกีถ้าจำเป็น
    .
    รัสเซียยังระบุก่อนการหารือว่า ปูตินและทรัมป์ต้องการออกจาก “ความสัมพันธ์ที่ผิดปกติ” และไม่เห็นความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องร่วมเจรจาใดๆ
    .
    คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจและประธานกองทุนการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีของทางการรัสเซียเมื่อวันอังคารว่า เขาคาดหวังว่า จะมีความคืบหน้าภายในเวลา 2-3 เดือน
    .
    ในส่วนความคืบหน้าที่อาจนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงในยูเครนนั้นยังไม่มีความชัดเจน โดยทั้งอเมริกาและรัสเซียต่างออกตัวว่า การหารือในวันอังคารเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานเท่านั้น
    .
    บรูซ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การหารือที่ริยาดไม่ควรถูกคาดหวังว่า จะมีรายละเอียดหรือมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาหยุดยิง
    .
    ขณะที่อูชาคอฟให้สัมภาษณ์สื่อของทางการรัสเซียว่า การพูดคุยในวันอังคารเป็นเพียงการหารือถึงวิธีเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016365
    ..............
    Sondhi X
    สหรัฐฯ กับรัสเซียเห็นพ้องกันที่จะเริ่มต้นทำงานเพื่อยุติสงครามในยูเครน และปรับปรุงสายสัมพันธ์ทางการทูตและทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ระบุภายหลังการเจรจากันของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ที่นำโดยตัวเขา กับคณะของรัสเซียซึ่งมีรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ เป็นผู้นำ ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยที่ไม่มีตัวแทนจากยูเครนหรือทางยุโรปเข้าร่วมด้วย . ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีภายหลังการเจรจากับฝ่ายรัสเซีย รูบิโอกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายมีการตกลงกันอย่างกว้างๆ ที่จะมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การหวนคืนในเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายได้กลับเข้าประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูตของกันและกันในกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโก การก่อตั้งทีมงานระดับสูงเพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพยูเครน และการสำรวจลู่ทางเพื่อให้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น . อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า การพูดจาคราวนี้ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้นสนทนากัน และยังจำเป็นจะต้องทำงานกันต่อไปอีกมาก . ทั้งนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียได้ตกลงมาสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปีระหว่างที่เกิดสงครามในยูเครน โดยที่สถานเอกอัครราชทูตของแต่ละฝ่ายซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากการที่ต่างฝ่ายต่างสั่งขับไล่นักการทูตของกันและกันเป็นจำนวนมากหลายๆ ระลอกในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจากการที่สหรัฐฯ จับมือกับยุโรปในการประกาศใช้มาตรการแซงก์ชันด้านต่างๆ กับรัสเซีย . รูบิโอ ยังกล่าวแสดงความหวังให้การสู้รบขัดแย้งในยูเครนเดินเข้าสู่จุดจบที่สามารถยอมรับกันได้ และสหรัฐฯ กับรัสเซียจะมีโอกาสอันน่าเชื่อถือที่จะจับมือกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนในทางเศรษฐกิจด้วยประเด็นซึ่งจะเป็นผลดีต่อโลกและก็จะปรับปรุงความสัมพันธ์ของสองประเทศในระยะยาว . การหารือในวันอังคารคราวนี้ ยังมุ่งหมายที่จะแผ้วถางทางให้แก่การประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทว่าภายหลังการเจรจาสิ้นสุดลง ยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการต่างประเทศของปูติน ซึ่งอยู่ในคณะของฝ่ายรัสเซีย บอกกับสถานีโทรทัศน์แชนเนลวัน ของรัสเซียว่า ยังไม่มีการกำหนดวันแน่นอนสำหรับซัมมิตดังที่ว่านี้ และ “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่จะเกิดขึ้นมาในสัปดาห์หน้า . ในส่วนของ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เขากล่าวกับพวกผู้สื่อข่าวหลังการหารือว่า “การสนทนากันคราวนี้เป็นประโยชน์มาก” โดยที่เขาอ้างอิงถึงเป้าหมาย 3 ประการเช่นเดียวกับที่รูบิโอพูด และบอกว่าวอชิงตันกับมอสโกตกลงกันที่จะแต่งตั้งคณะตัวแทนที่จะดำเนินการ “การปรึกษาหารืออย่างเป็นประจำ” ในเรื่องยูเครนขึ้นมา . “เราไม่เพียงแค่รับฟัง แต่ยังได้ยินกันและกันอีกด้วย” ลาฟรอฟบอก “และผมมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าฝ่ายอเมริกันได้เริ่มต้นที่จะเข้าอกเข้าใจจุดยืนของเราดีขึ้นแล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พูดสรุปโดยมีการลงรายละเอียด ใช้ตัวอย่างเฉพาะเจาะจงต่างๆ โดยยึดโยงอยู่กับคำปราศรัยครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีปูติน” . ก่อนหน้าการเจรจาคราวนี้ ทั้งสองฝ่ายดูจะมีความพยายามเน้นย้ำไมให้เกิดการตั้งความหวังมากจนเกินความเป็นจริง . ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า การหารือคราวนี้มุ่งเน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโกเป็นหลัก ตลอดจนถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับยูเครน และการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ . ส่วน แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า การประชุมที่ซาอุดีอาระเบียมีเป้าหมายในการพิจารณาว่า รัสเซียจริงจังกับข้อตกลงสันติภาพแค่ไหน และจะเริ่มต้นการเจรจาอย่างละเอียดได้หรือไม่ . บรูซเสริมว่า แม้ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมการหารือในวันอังคาร แต่การเจรจาสันติภาพที่แท้จริงจะต้องมีเคียฟร่วมวงด้วย . การเจรจาคราวนี้จัดขึ้นที่ที่พระราชวังดิริยาห์ในกรุงริยาด โดยคณะของฝ่ายของสหรัฐฯ นอกจากรัฐมนตรีต่างประเทาศรูบิโอ แล้ว ยังมี ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลาง ขณะที่ฝ่ายรัสเซีย ได้แก่ เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปูติน . รายงานข่าวระบุว่า การหารือเริ่มต้นขึ้นโดยไม่มีการจับมือหรือการแถลงใดๆ แต่มีเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮัน และมูซาอัด บิน โมฮัมหมัด อัล-ไอบาน รัฐมนตรีต่างประเทศและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียตามลำดับร่วมอยู่ด้วย . การหารือครั้งนี้ถือเป็นการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองชาติครั้งแรกนับจากที่รัสเซียบุกยูเครน และยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกา . เปสคอฟแถลงเมื่อวันอังคารระหว่างที่การหารือในริยาดดำเนินอยู่ว่า การแก้ไขวิกฤตยูเครนอย่างยั่งยืนไม่มีทางเป็นไปได้หากไม่พิจารณาสถานการณ์ความมั่นคงของยุโรป และสำทับว่า ยูเครนมีสิทธิอธิปไตยในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่รัสเซียคัดค้านการเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ของเคียฟ . โฆษกเครมลินเสริมว่า ปูตินพร้อมคุยกับเซเลนสกีถ้าจำเป็น . รัสเซียยังระบุก่อนการหารือว่า ปูตินและทรัมป์ต้องการออกจาก “ความสัมพันธ์ที่ผิดปกติ” และไม่เห็นความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องร่วมเจรจาใดๆ . คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจและประธานกองทุนการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีของทางการรัสเซียเมื่อวันอังคารว่า เขาคาดหวังว่า จะมีความคืบหน้าภายในเวลา 2-3 เดือน . ในส่วนความคืบหน้าที่อาจนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงในยูเครนนั้นยังไม่มีความชัดเจน โดยทั้งอเมริกาและรัสเซียต่างออกตัวว่า การหารือในวันอังคารเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานเท่านั้น . บรูซ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การหารือที่ริยาดไม่ควรถูกคาดหวังว่า จะมีรายละเอียดหรือมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาหยุดยิง . ขณะที่อูชาคอฟให้สัมภาษณ์สื่อของทางการรัสเซียว่า การพูดคุยในวันอังคารเป็นเพียงการหารือถึงวิธีเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016365 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1215 มุมมอง 0 รีวิว
  • ข่าวนี้เล่าถึงการก่อสร้างศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2028 โดยโครงการนี้มีมูลค่ารวมสูงถึง 35 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และจะสร้างงานได้ถึง 10,000 ตำแหน่ง

    ศูนย์ข้อมูลนี้จะถูกสร้างขึ้นในจังหวัด Jeollanam-do และจะมีความจุ 3GW ซึ่งเป็นการก้าวกระโดดที่สำคัญในการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของเกาหลีใต้ โดยคาดว่าจะเพิ่มความจุของศูนย์ข้อมูลแบบ hyper-scale ถึงสามเท่าจากที่มีในปัจจุบัน เช่นของ Microsoft, Google และ Amazon

    โครงการนี้ได้รับการก่อตั้งโดยทายาทของบริษัท LG Electronics Brian Koo และ Dr. Amin Badr-El-Din โดยมีการลงนามบันทึกความเข้าใจกับผู้ว่าราชการจังหวัด Jeollanam-do เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี

    แม้ว่าโครงการนี้จะต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย เช่น การใช้พลังงานและน้ำเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่โครงการนี้สามารถยกระดับเกาหลีใต้ให้เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก และสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจให้กับภูมิภาคนี้

    นอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบกับโครงการของ Meta ในสหรัฐฯ ที่มีมูลค่า 10 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่จะสร้างงานโดยตรงเพียง 500 ตำแหน่งเท่านั้น ซึ่งโครงการของเกาหลีใต้มีการคาดการณ์ว่าจะสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจมากมาย

    https://www.techradar.com/pro/security/worlds-largest-mega-data-center-planned-for-south-korea-in-usd35bn-project
    ข่าวนี้เล่าถึงการก่อสร้างศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2028 โดยโครงการนี้มีมูลค่ารวมสูงถึง 35 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และจะสร้างงานได้ถึง 10,000 ตำแหน่ง ศูนย์ข้อมูลนี้จะถูกสร้างขึ้นในจังหวัด Jeollanam-do และจะมีความจุ 3GW ซึ่งเป็นการก้าวกระโดดที่สำคัญในการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของเกาหลีใต้ โดยคาดว่าจะเพิ่มความจุของศูนย์ข้อมูลแบบ hyper-scale ถึงสามเท่าจากที่มีในปัจจุบัน เช่นของ Microsoft, Google และ Amazon โครงการนี้ได้รับการก่อตั้งโดยทายาทของบริษัท LG Electronics Brian Koo และ Dr. Amin Badr-El-Din โดยมีการลงนามบันทึกความเข้าใจกับผู้ว่าราชการจังหวัด Jeollanam-do เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี แม้ว่าโครงการนี้จะต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย เช่น การใช้พลังงานและน้ำเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่โครงการนี้สามารถยกระดับเกาหลีใต้ให้เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก และสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจให้กับภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบกับโครงการของ Meta ในสหรัฐฯ ที่มีมูลค่า 10 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่จะสร้างงานโดยตรงเพียง 500 ตำแหน่งเท่านั้น ซึ่งโครงการของเกาหลีใต้มีการคาดการณ์ว่าจะสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจมากมาย https://www.techradar.com/pro/security/worlds-largest-mega-data-center-planned-for-south-korea-in-usd35bn-project
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 91 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ
    ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ
    สตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษประจำตะวันออกกลางของทำเนียบขาว
    ร่วมกันเปิดเผยรายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับการเจรจาครั้งสำคัญระหว่างสหรัฐและรัสเซีย:

    - การเจรจากับรัสเซียในซาอุดีอาระเบียถือเป็น "ก้าวสำคัญที่พัฒนาไปข้างหน้า"

    - ทั้งสองประเทศตกลงที่จะวางรากฐานสำหรับความร่วมมือในอนาคตในประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และโอกาสการลงทุนเมื่อความขัดแย้งในยูเครนสิ้นสุดลง

    - สหรัฐและรัสเซีย ให้คำมั่นที่จะมีส่วนร่วมเพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการดำเนินไปอย่างทันท่วงทีและสร้างสรรค์

    - การทำงานเพื่อยุติความขัดแย้งในยูเครนจะต้องใช้ "การทูตที่ซับซ้อนและเข้มข้น" และต้องใช้ระยะเวลา "ซึ่งต้องอาศัยการประนีประนอมจากทุกฝ่าย" (พุ่งเป้าไปที่รัสเซีย) และเงื่อนไขจะต้อง "ยอมรับได้"

    - ยังไม่ได้มีการกำหนดวัน ของการพบปะกันระหว่างผู้นำทั้งสอง แต่เชื่อว่าประธานาธิบดีทั้งสองได้สนทนากันถึงการพบกันแล้ว ซึ่งคาดว่าจะได้พบกันในที่สุด - ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐกล่าว

    - อนาคตของการเจรจาขึ้นอยู่กับความเต็มใจของทั้งสองฝ่ายที่จะ "ทำตามสัญญา" ซึ่งเป็นการทดสอบในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

    - ทรัมป์ตั้งเป้าหมายที่จะหาทางแก้ไขอย่างยุติธรรม เพื่อหลีกเลี่ยงการกลับมาสร้างความขัดแย้งในอีก 2-3 ปี ข้างหน้า

    - การฟื้นฟูทางการทูตระหว่างกันอาจทำได้ในเร็วๆนี้ หลังจากไม่ได้ติดต่อสื่อสารกันอย่างมีนัยสำคัญมาเกือบสามปีแล้ว

    - มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียเป็นผลจากความขัดแย้ง และอาจยกเลิกได้เมื่อความขัดแย้งสิ้นสุดลง
    มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ สตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษประจำตะวันออกกลางของทำเนียบขาว ร่วมกันเปิดเผยรายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับการเจรจาครั้งสำคัญระหว่างสหรัฐและรัสเซีย: - การเจรจากับรัสเซียในซาอุดีอาระเบียถือเป็น "ก้าวสำคัญที่พัฒนาไปข้างหน้า" - ทั้งสองประเทศตกลงที่จะวางรากฐานสำหรับความร่วมมือในอนาคตในประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และโอกาสการลงทุนเมื่อความขัดแย้งในยูเครนสิ้นสุดลง - สหรัฐและรัสเซีย ให้คำมั่นที่จะมีส่วนร่วมเพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการดำเนินไปอย่างทันท่วงทีและสร้างสรรค์ - การทำงานเพื่อยุติความขัดแย้งในยูเครนจะต้องใช้ "การทูตที่ซับซ้อนและเข้มข้น" และต้องใช้ระยะเวลา "ซึ่งต้องอาศัยการประนีประนอมจากทุกฝ่าย" (พุ่งเป้าไปที่รัสเซีย) และเงื่อนไขจะต้อง "ยอมรับได้" - ยังไม่ได้มีการกำหนดวัน ของการพบปะกันระหว่างผู้นำทั้งสอง แต่เชื่อว่าประธานาธิบดีทั้งสองได้สนทนากันถึงการพบกันแล้ว ซึ่งคาดว่าจะได้พบกันในที่สุด - ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐกล่าว - อนาคตของการเจรจาขึ้นอยู่กับความเต็มใจของทั้งสองฝ่ายที่จะ "ทำตามสัญญา" ซึ่งเป็นการทดสอบในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า - ทรัมป์ตั้งเป้าหมายที่จะหาทางแก้ไขอย่างยุติธรรม เพื่อหลีกเลี่ยงการกลับมาสร้างความขัดแย้งในอีก 2-3 ปี ข้างหน้า - การฟื้นฟูทางการทูตระหว่างกันอาจทำได้ในเร็วๆนี้ หลังจากไม่ได้ติดต่อสื่อสารกันอย่างมีนัยสำคัญมาเกือบสามปีแล้ว - มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียเป็นผลจากความขัดแย้ง และอาจยกเลิกได้เมื่อความขัดแย้งสิ้นสุดลง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 195 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไม่เหมือนที่คุยโวไว้! สรุปออกมาแล้ว เศรษฐกิจไทยปี 67 ภายใต้การบริหารของรัฐบาลเพื่อไทย ขยายตัวได้เพียง 2.5% รั้งท้ายอาเซียน อยู่เหนือแค่‘เมียนมา’ ส่วนปี 68 สภาพัฒน์ คาดการณ์ช่วงขยายตัวไว้ที่ 2.3–3.3% หรือ ค่ากลาง 2.8% ต่ำกว่าตัวเลขที่รัฐบาลขายฝันไว้จะให้โตถึง 3.5% แถมเม็ดเงินที่จะใช้กระตุ้น ก็ ร่อย หรอ!
    ไม่เหมือนที่คุยโวไว้! สรุปออกมาแล้ว เศรษฐกิจไทยปี 67 ภายใต้การบริหารของรัฐบาลเพื่อไทย ขยายตัวได้เพียง 2.5% รั้งท้ายอาเซียน อยู่เหนือแค่‘เมียนมา’ ส่วนปี 68 สภาพัฒน์ คาดการณ์ช่วงขยายตัวไว้ที่ 2.3–3.3% หรือ ค่ากลาง 2.8% ต่ำกว่าตัวเลขที่รัฐบาลขายฝันไว้จะให้โตถึง 3.5% แถมเม็ดเงินที่จะใช้กระตุ้น ก็ ร่อย หรอ!
    Like
    Haha
    12
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 735 มุมมอง 45 0 รีวิว
  • การศึกษาของคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเมื่อเทียบกับอดีต เนื่องจากเทคโนโลยีและสภาพสังคมที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว นี่คือประเด็นสำคัญบางประการเกี่ยวกับการศึกษาของคนรุ่นใหม่:

    ### 1. **เทคโนโลยีและการเรียนรู้ดิจิทัล**
    - **การเข้าถึงข้อมูล**: คนรุ่นใหม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้การเรียนรู้ไม่จำกัดอยู่เพียงในห้องเรียน
    - **การเรียนรู้แบบออนไลน์**: คอร์สออนไลน์และแพลตฟอร์มการเรียนรู้เช่น Coursera, Udemy, Khan Academy ทำให้คนรุ่นใหม่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา
    - **การใช้ AI และเครื่องมือดิจิทัล**: คนรุ่นใหม่ใช้เครื่องมือเช่น ChatGPT, Google Scholar และแอปพลิเคชันอื่นๆ เพื่อช่วยในการศึกษาและการวิจัย

    ### 2. **การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)**
    - คนรุ่นใหม่ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดงานและเทคโนโลยี
    - การเรียนไม่จำกัดเฉพาะในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย แต่รวมถึงการฝึกอบรม การเรียนรู้นอกระบบ และการพัฒนาทักษะใหม่ๆ

    ### 3. **ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21**
    - **ทักษะดิจิทัล**: การใช้เทคโนโลยีเป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็น
    - **ทักษะการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา**: คนรุ่นใหม่ต้องสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    - **ทักษะการสื่อสารและทำงานเป็นทีม**: การทำงานร่วมกับผู้อื่นและการสื่อสารที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ
    - **ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม**: การคิดนอกกรอบและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เป็นทักษะที่ถูกต้องการในยุคนี้

    ### 4. **การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง**
    - คนรุ่นใหม่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม ดังนั้นการปรับตัวและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ
    - การศึกษาต้องไม่เพียงแต่ให้ความรู้ แต่ต้องสอนให้รู้จักคิด วิเคราะห์ และปรับตัวได้

    ### 5. **ความท้าทาย**
    - **ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา**: การเข้าถึงเทคโนโลยีและทรัพยากรทางการศึกษายังไม่เท่าเทียมกันในทุกพื้นที่
    - **การแข่งขันสูง**: คนรุ่นใหม่ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงทั้งในด้านการศึกษาและการทำงาน
    - **สุขภาพจิต**: ความกดดันจากการเรียนและการทำงานอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนรุ่นใหม่

    ### 6. **แนวโน้มในอนาคต**
    - **การเรียนรู้แบบ personalized**: การศึกษาจะปรับให้เหมาะกับความต้องการและความสนใจของแต่ละคนมากขึ้น
    - **การเรียนรู้นอกระบบ**: การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงและการทำงานจะมีความสำคัญมากขึ้น
    - **การศึกษาแบบบูรณาการ**: การเรียนจะไม่แยกส่วนระหว่างวิชาการและทักษะชีวิต แต่จะรวมเข้าด้วยกันเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับชีวิตจริง

    การศึกษาของคนรุ่นใหม่จึงไม่เพียงแต่เป็นการเรียนในห้องเรียน แต่เป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตและการทำงานในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
    การศึกษาของคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเมื่อเทียบกับอดีต เนื่องจากเทคโนโลยีและสภาพสังคมที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว นี่คือประเด็นสำคัญบางประการเกี่ยวกับการศึกษาของคนรุ่นใหม่: ### 1. **เทคโนโลยีและการเรียนรู้ดิจิทัล** - **การเข้าถึงข้อมูล**: คนรุ่นใหม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้การเรียนรู้ไม่จำกัดอยู่เพียงในห้องเรียน - **การเรียนรู้แบบออนไลน์**: คอร์สออนไลน์และแพลตฟอร์มการเรียนรู้เช่น Coursera, Udemy, Khan Academy ทำให้คนรุ่นใหม่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา - **การใช้ AI และเครื่องมือดิจิทัล**: คนรุ่นใหม่ใช้เครื่องมือเช่น ChatGPT, Google Scholar และแอปพลิเคชันอื่นๆ เพื่อช่วยในการศึกษาและการวิจัย ### 2. **การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)** - คนรุ่นใหม่ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดงานและเทคโนโลยี - การเรียนไม่จำกัดเฉพาะในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย แต่รวมถึงการฝึกอบรม การเรียนรู้นอกระบบ และการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ### 3. **ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21** - **ทักษะดิจิทัล**: การใช้เทคโนโลยีเป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็น - **ทักษะการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา**: คนรุ่นใหม่ต้องสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ - **ทักษะการสื่อสารและทำงานเป็นทีม**: การทำงานร่วมกับผู้อื่นและการสื่อสารที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ - **ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม**: การคิดนอกกรอบและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เป็นทักษะที่ถูกต้องการในยุคนี้ ### 4. **การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง** - คนรุ่นใหม่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม ดังนั้นการปรับตัวและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ - การศึกษาต้องไม่เพียงแต่ให้ความรู้ แต่ต้องสอนให้รู้จักคิด วิเคราะห์ และปรับตัวได้ ### 5. **ความท้าทาย** - **ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา**: การเข้าถึงเทคโนโลยีและทรัพยากรทางการศึกษายังไม่เท่าเทียมกันในทุกพื้นที่ - **การแข่งขันสูง**: คนรุ่นใหม่ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงทั้งในด้านการศึกษาและการทำงาน - **สุขภาพจิต**: ความกดดันจากการเรียนและการทำงานอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนรุ่นใหม่ ### 6. **แนวโน้มในอนาคต** - **การเรียนรู้แบบ personalized**: การศึกษาจะปรับให้เหมาะกับความต้องการและความสนใจของแต่ละคนมากขึ้น - **การเรียนรู้นอกระบบ**: การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงและการทำงานจะมีความสำคัญมากขึ้น - **การศึกษาแบบบูรณาการ**: การเรียนจะไม่แยกส่วนระหว่างวิชาการและทักษะชีวิต แต่จะรวมเข้าด้วยกันเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับชีวิตจริง การศึกษาของคนรุ่นใหม่จึงไม่เพียงแต่เป็นการเรียนในห้องเรียน แต่เป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตและการทำงานในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 116 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหภาพยุโรปจะไม่ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย แม้ว่าสหรัฐฯ จะยกเลิกก็ตาม

    "วาลดิส ดอมบรอฟสกี้" หนึ่งในคณะกรรมาธิการยุโรปด้านเศรษฐกิจ กล่าวที่กรุงบรัสเซลส์ว่า สหภาพยุโรปไม่มีแผนยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย แม้ว่าสหรัฐฯ จะตัดสินใจยกเลิกก็ตาม

    นอกจากนี้ สหภาพยุโรปกำลังดำเนินการจัดทำมาตรการคว่ำบาตรชุดที่ 16 ต่อไป
    สหภาพยุโรปจะไม่ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย แม้ว่าสหรัฐฯ จะยกเลิกก็ตาม "วาลดิส ดอมบรอฟสกี้" หนึ่งในคณะกรรมาธิการยุโรปด้านเศรษฐกิจ กล่าวที่กรุงบรัสเซลส์ว่า สหภาพยุโรปไม่มีแผนยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย แม้ว่าสหรัฐฯ จะตัดสินใจยกเลิกก็ตาม นอกจากนี้ สหภาพยุโรปกำลังดำเนินการจัดทำมาตรการคว่ำบาตรชุดที่ 16 ต่อไป
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 126 มุมมอง 0 รีวิว
  • คิริลล์ ดมิทรีเยฟ (Kirill Dmitriev) หัวหน้ากองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติรัสเซีย (RDIF - Russian Direct Investment Fund) ซึ่งได้เข้าร่วมทีมเจรจาระดับสูงระหว่างสหรัฐกับรัสเซียครั้งนี้ด้วย บ่งชี้ถึงความต้องการของรัสเซียที่มีแนวโน้มจะให้สหรัฐลดมาตรการคว่ำบาตรที่มีต่อรัสเซียลงซึ่งอดีตนายธนาคารจากโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) เคยมีบทบาทสำคัญในการประสานงานช่วงแรกระหว่างมอสโกกับวอชิงตัน ในสมัยที่ทรัมป์ดำรงตำแหน่งปธน.วาระแรกระหว่างปี 2559-2563

    ก่อนเข้าร่วมการประชุม ดมิทรีเยฟ กล่าวว่า มาตรการลงโทษของสหรัฐที่มีต่อรัสเซีย มีแต่จะทำให้ธุรกิจของอเมริกาเสียหาย เพราะที่ผ่านมาพวกเขาสูญเสียเงินไปแล้วประมาณ 300,000 ล้านดอลลาร์ หลังต้องทิ้งธุรกิจเพื่อจากออกจากรัสเซียไป

    “สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักคือ ธุรกิจอเมริกันสูญเสียเงินราว 3 แสนล้านดอลลาร์จากการถอนตัวออกจากรัสเซีย นี่คือผลกระทบทางเศรษฐกิจอันใหญ่หลวงต่อหลายประเทศจากสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และเราเชื่อว่าหนทางข้างหน้าคือการหาทางออกร่วมกัน” ดมิทรีเยฟกล่าว

    ดมิทรีเยฟ เกิดที่กรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน ในสมัยที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของอดีตสหภาพโซเวียต และได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีปูติน ให้เป็น CEO ของกองทุน RDIF ตั้งแต่ปี 2011

    เขามีประวัติการทำงานที่น่าสนใจ ซึ่งเคยทำงานในบริษัทระดับโลกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น Goldman Sachs, McKinsey, General Electric (GE) และ Société Générale
    คิริลล์ ดมิทรีเยฟ (Kirill Dmitriev) หัวหน้ากองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติรัสเซีย (RDIF - Russian Direct Investment Fund) ซึ่งได้เข้าร่วมทีมเจรจาระดับสูงระหว่างสหรัฐกับรัสเซียครั้งนี้ด้วย บ่งชี้ถึงความต้องการของรัสเซียที่มีแนวโน้มจะให้สหรัฐลดมาตรการคว่ำบาตรที่มีต่อรัสเซียลงซึ่งอดีตนายธนาคารจากโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) เคยมีบทบาทสำคัญในการประสานงานช่วงแรกระหว่างมอสโกกับวอชิงตัน ในสมัยที่ทรัมป์ดำรงตำแหน่งปธน.วาระแรกระหว่างปี 2559-2563 ก่อนเข้าร่วมการประชุม ดมิทรีเยฟ กล่าวว่า มาตรการลงโทษของสหรัฐที่มีต่อรัสเซีย มีแต่จะทำให้ธุรกิจของอเมริกาเสียหาย เพราะที่ผ่านมาพวกเขาสูญเสียเงินไปแล้วประมาณ 300,000 ล้านดอลลาร์ หลังต้องทิ้งธุรกิจเพื่อจากออกจากรัสเซียไป “สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักคือ ธุรกิจอเมริกันสูญเสียเงินราว 3 แสนล้านดอลลาร์จากการถอนตัวออกจากรัสเซีย นี่คือผลกระทบทางเศรษฐกิจอันใหญ่หลวงต่อหลายประเทศจากสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และเราเชื่อว่าหนทางข้างหน้าคือการหาทางออกร่วมกัน” ดมิทรีเยฟกล่าว ดมิทรีเยฟ เกิดที่กรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน ในสมัยที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของอดีตสหภาพโซเวียต และได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีปูติน ให้เป็น CEO ของกองทุน RDIF ตั้งแต่ปี 2011 เขามีประวัติการทำงานที่น่าสนใจ ซึ่งเคยทำงานในบริษัทระดับโลกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น Goldman Sachs, McKinsey, General Electric (GE) และ Société Générale
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 262 มุมมอง 14 0 รีวิว
  • เก็บภาษีความเค็ม เพื่อสร้างสุขภาพที่ดี แต่ไม่แตะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
    .
    ข่าวสารบ้านเมืองเวลานี้คนส่วนใหญ่อาจจะให้ความสนใจกับความเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นหลัก ทำให้ข่าวสารด้านเศรษฐกิจกลายเป็นข่าวกระแสรองไปโดยปริยาย แต่เวลานี้มีเรื่องเศรษฐกิจใกล้ตัวที่ประชาชนควรต้องรับรู้ คือ การออกมาตรการภาษีความเค็ม โดยจะเริ่มจากสินค้าจำพวกขนมคบเคี้ยว
    .
    ในประเด็นนี้ นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตเตรียมเร่งสรุปแผนการจัดเก็บภาษีสินค้าตัวใหม่ และ ปรับปรุงโครงสร้างภาษีสินค้าที่อยู่ในพิกัด โดยเฉพาะการเก็บภาษีจากสินค้าที่มีส่วนประกอบของโซเดียม หรือภาษีความเค็ม ซึ่งในหลักการกรมสรรพสามิตจะจัดเก็บจากปริมาณการใช้โซเดียมเป็นหลัก เพื่อเป็นการช่วยปรับพฤติกรรมให้ลดการบริโภคโซเดียมลดลง
    .
    อธิบดีกรมสรรพสามิต ระบุว่า ในเฟสแรกจะเน้นไปที่สินค้าประเภทขนมขบเคี้ยว ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ค่อยมีความจำเป็นในการบริโภคเมื่อเทียบกับสินค้าอื่น ส่วนสินค้าที่เป็นประเภทเครื่องปรุง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ยังไม่อยู่ในแผนการจัดเก็บ ทั้งนี้ ได้หารือร่วมกับภาคเอกชน เพื่อให้มีการปรับตัวรองรับการจัดเก็บภาษีดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ดี สำหรับการจัดเก็บจริงนั้น ทางกรมฯก็จะให้เวลาภาคเอกชนในการปรับตัวเช่นเดียวกันกับการจัดเก็บภาษีความหวาน คือการนับอัตราแบบขั้นบันได เพื่อเวลาผู้ประกอบการได้ปรับตัว โดยเรื่องการเก็บภาษีความเค็มนั้น เกี่ยวข้องกับสุขภาพของประชาชน
    .
    สำหรับการจัดเก็บภาษีความเค็ม เป็นมาตรการใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นเพิ่มเติมจากเดิมที่ก่อนหน้านี้ หน่วยงานภาครัฐได้กำหนดการจัดเก็บภาษีความหวานที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2566 กล่าวคือ ปริมาณน้ำตาล 6-8 กรัม คิดอัตราภาษี 0.3 บาทต่อลิตร ปริมาณน้ำตาล 8-10 กรัม คิดอัตราภาษี 1 บาทต่อลิตร ปริมาณน้ำตาล 10-14 กรัม คิดอัตราภาษี 3 บาทต่อลิตร ปริมาณน้ำตาล 14-18 กรัม คิดอัตราภาษี 5 บาทต่อลิตร และปริมาณน้ำตาล ตั้งแต่ 18 กรัม คิดอัตราภาษี 5 บาทต่อลิตร
    ...............
    Sondhi X
    เก็บภาษีความเค็ม เพื่อสร้างสุขภาพที่ดี แต่ไม่แตะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป . ข่าวสารบ้านเมืองเวลานี้คนส่วนใหญ่อาจจะให้ความสนใจกับความเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นหลัก ทำให้ข่าวสารด้านเศรษฐกิจกลายเป็นข่าวกระแสรองไปโดยปริยาย แต่เวลานี้มีเรื่องเศรษฐกิจใกล้ตัวที่ประชาชนควรต้องรับรู้ คือ การออกมาตรการภาษีความเค็ม โดยจะเริ่มจากสินค้าจำพวกขนมคบเคี้ยว . ในประเด็นนี้ นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตเตรียมเร่งสรุปแผนการจัดเก็บภาษีสินค้าตัวใหม่ และ ปรับปรุงโครงสร้างภาษีสินค้าที่อยู่ในพิกัด โดยเฉพาะการเก็บภาษีจากสินค้าที่มีส่วนประกอบของโซเดียม หรือภาษีความเค็ม ซึ่งในหลักการกรมสรรพสามิตจะจัดเก็บจากปริมาณการใช้โซเดียมเป็นหลัก เพื่อเป็นการช่วยปรับพฤติกรรมให้ลดการบริโภคโซเดียมลดลง . อธิบดีกรมสรรพสามิต ระบุว่า ในเฟสแรกจะเน้นไปที่สินค้าประเภทขนมขบเคี้ยว ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ค่อยมีความจำเป็นในการบริโภคเมื่อเทียบกับสินค้าอื่น ส่วนสินค้าที่เป็นประเภทเครื่องปรุง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ยังไม่อยู่ในแผนการจัดเก็บ ทั้งนี้ ได้หารือร่วมกับภาคเอกชน เพื่อให้มีการปรับตัวรองรับการจัดเก็บภาษีดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ดี สำหรับการจัดเก็บจริงนั้น ทางกรมฯก็จะให้เวลาภาคเอกชนในการปรับตัวเช่นเดียวกันกับการจัดเก็บภาษีความหวาน คือการนับอัตราแบบขั้นบันได เพื่อเวลาผู้ประกอบการได้ปรับตัว โดยเรื่องการเก็บภาษีความเค็มนั้น เกี่ยวข้องกับสุขภาพของประชาชน . สำหรับการจัดเก็บภาษีความเค็ม เป็นมาตรการใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นเพิ่มเติมจากเดิมที่ก่อนหน้านี้ หน่วยงานภาครัฐได้กำหนดการจัดเก็บภาษีความหวานที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2566 กล่าวคือ ปริมาณน้ำตาล 6-8 กรัม คิดอัตราภาษี 0.3 บาทต่อลิตร ปริมาณน้ำตาล 8-10 กรัม คิดอัตราภาษี 1 บาทต่อลิตร ปริมาณน้ำตาล 10-14 กรัม คิดอัตราภาษี 3 บาทต่อลิตร ปริมาณน้ำตาล 14-18 กรัม คิดอัตราภาษี 5 บาทต่อลิตร และปริมาณน้ำตาล ตั้งแต่ 18 กรัม คิดอัตราภาษี 5 บาทต่อลิตร ............... Sondhi X
    Like
    Haha
    11
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1319 มุมมอง 0 รีวิว
  • อิหร่านระบุคำขู่ของสหรัฐฯ และอิสราเอลที่มีกับเตหะราน ถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างโจ่งแจ้ง พร้อมเตือนทั้ง 2 ชาติ อย่าได้ทำสิ่งที่น่ารังเกียจกับอิหร่าน
    .
    ถ้อยแถลงนี้มีขึ้นหลังจาก เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล พบปะกับ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ในเยรูซาเลม เมื่อวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) และบอกว่าทั้ง 2 ประเทศ มีความมั่งมุ่นทำลายความทะเยอทะยานทางนิวเคลียร์ของอิหร่าน และอิทธิพลของเตหะรานในตะวันออกกลาง
    .
    เนทันยาฮู อวดอ้างว่าอิสราเอลก่อความเสียหายอย่างหนักแก่อิหร่าน นับตั้งแต่สงครามในกาซาเริ่มต้นขึ้น และบอกว่าภายใต้แรงสนับสนุนของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ "ผมไม่สงสัยเลยว่าเราสามารถและจะปิดฉากงานนี้"
    .
    ระหว่างแถลงข่าวกับสื่อมวลชนรายสัปดาห์เมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) เอสมาอิล เบกาอี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน ตอบโต้ว่า "เมื่อเป็นเรื่องของประเทศหนึ่งๆ อย่างอิหร่าน พวกเขาไม่อาจทำในสิ่งที่น่ารังเกียจ คุณไม่อาจข่มขู่อิหร่านด้วยมือข้างหนึ่ง แล้วอีกข้างหนึ่งอวดอ้างสนับสนุนการเจรจา"
    .
    ทรัมป์ แสดงออกเปิดกว้างสำหรับเจรจาตกลงกับเตหะราน แต่ขณะเดียวก็คืนสถานะยุทธการ "กดดันขั้นสูงสุด" ต่ออิหร่าน นโยบายที่เขาเคยใช้ครั้งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยแรก เพื่อหยุดเตหะรานจากการมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง
    .
    เมื่อช่วงต้นที่ผ่านมา อยาตอลเลาะห์ อาลี คอเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน บอกว่าไม่ควรมีการเจรจากับสหรัฐฯ ไม่กี่วันหลังจาก ทรัมป์ เรียกร้องให้มีข้อตกลงนิวเคลียร์ฉบับใหม่ ขณะที่ผู้นำสูงสุดของอิหร่านรายนี้เคยวิพากษ์รัฐบาลทรัมป์ชุดก่อน ว่าไม่ยึดถือคำมั่นสัญญา
    .
    "คุณไม่ควรเจรจากับรัฐบาลแบบนั้น มันไม่ฉลาด ไม่ชาญฉลาด ไม่เป็นเกียรติที่จะเจรจา" คาเมเนอีกล่าวระหว่างการประชุมกับผู้บัญชาการกองทัพ "สหรัฐฯ เคยทำลาย ละเมิด และฉีกข้อตกลงนิวเคลียร์มาก่อน และบุคคลเดียวกันที่อยู่ในอำนาจในตอนนี้ คือคนที่ฉีกสัญญา”
    .
    ในปี 2018 ทรัมป์ถอนสหรัฐฯ ออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน ที่ทางเตหะรานทำไว้กับบรรดามหาอำนาจโลกในปี 2015 และกลับมากำหนดมาตรการคว่ำบาตรอีกรอบ เพื่อฉีกเศรษฐกิจอิหร่านเป็นชิ้นๆ
    .
    หนึ่งปีหลังจากนั้น อิหร่านตอบโต้การละเมิดข้อตกลงควบคุมนิวเคลียร์ ด้วยการเร่งเสริมสมรรถนะยูเรเนียมให้มีความบริสุทธิ์ 60% เข้าใกล้ระดับราว 90% ที่จำเป็นสำหรับเกรดผลิตอาวุธนิวเคลียร์ อย่างไรก็ตาม เตหะรานยืนกรานว่าโครงการนิวเคลียร์ของพวกเขามีจุดประสงค์ทางสันติแต่เพียงอย่างเดียว
    .
    แม้ถ้อยแถลงของโฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน ใช้ถ้อยคำที่แข็งกร้าว แต่ดูเหมือนอิทธิพลของเตหะรานทั่วภูมิภาคตะวันออกกลางจะอ่อนแอลงอย่างมาก ในขณะที่พันธมิตรต่างๆ ของพวกเขาในภูมิภาค ที่รู้จักกันในฐานะ "อักษะแห่งการต่อต้าน" ทั้งถูกถอนรากถอนโคนหรือไม่ก็ได้รับความเสียหายร้ายแรง นับตั้งแต่ความขัดแย้งระหว่างฮามาส-อิสราเอลเริ่มต้นขึ้นในกาซา และการล่มสลายของอดีตประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด ในซีเรีย เมื่อเดือนธันวาคม
    .
    อักษะแห่งการต่อต้านนี้ ไม่ได้มีเฉพาะแค่ฮามาส แต่ยังรวมไปถึงพวกฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน กบฏฮูตีในเยเมน และกลุ่มติดอาวุธชีอะห์ต่างๆ ในอิรักและซีเรีย
    .
    ตลอด 16 เดือนนับตั้งแต่สงครามกาซาปะทุขึ้น อิสราเอลได้ลอบสังหารพวกผู้นำของฮามาสและฮิซบอลเลาะห์ไปแล้วหลายคน ในขณะที่อิหร่านและอิหร่านปฏิบัติการโจมตีอย่างจำกัด ตอบโต้กันไปมาแล้วหลายรอบ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015978
    ..............
    Sondhi X
    อิหร่านระบุคำขู่ของสหรัฐฯ และอิสราเอลที่มีกับเตหะราน ถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างโจ่งแจ้ง พร้อมเตือนทั้ง 2 ชาติ อย่าได้ทำสิ่งที่น่ารังเกียจกับอิหร่าน . ถ้อยแถลงนี้มีขึ้นหลังจาก เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล พบปะกับ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ในเยรูซาเลม เมื่อวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) และบอกว่าทั้ง 2 ประเทศ มีความมั่งมุ่นทำลายความทะเยอทะยานทางนิวเคลียร์ของอิหร่าน และอิทธิพลของเตหะรานในตะวันออกกลาง . เนทันยาฮู อวดอ้างว่าอิสราเอลก่อความเสียหายอย่างหนักแก่อิหร่าน นับตั้งแต่สงครามในกาซาเริ่มต้นขึ้น และบอกว่าภายใต้แรงสนับสนุนของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ "ผมไม่สงสัยเลยว่าเราสามารถและจะปิดฉากงานนี้" . ระหว่างแถลงข่าวกับสื่อมวลชนรายสัปดาห์เมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) เอสมาอิล เบกาอี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน ตอบโต้ว่า "เมื่อเป็นเรื่องของประเทศหนึ่งๆ อย่างอิหร่าน พวกเขาไม่อาจทำในสิ่งที่น่ารังเกียจ คุณไม่อาจข่มขู่อิหร่านด้วยมือข้างหนึ่ง แล้วอีกข้างหนึ่งอวดอ้างสนับสนุนการเจรจา" . ทรัมป์ แสดงออกเปิดกว้างสำหรับเจรจาตกลงกับเตหะราน แต่ขณะเดียวก็คืนสถานะยุทธการ "กดดันขั้นสูงสุด" ต่ออิหร่าน นโยบายที่เขาเคยใช้ครั้งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยแรก เพื่อหยุดเตหะรานจากการมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง . เมื่อช่วงต้นที่ผ่านมา อยาตอลเลาะห์ อาลี คอเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน บอกว่าไม่ควรมีการเจรจากับสหรัฐฯ ไม่กี่วันหลังจาก ทรัมป์ เรียกร้องให้มีข้อตกลงนิวเคลียร์ฉบับใหม่ ขณะที่ผู้นำสูงสุดของอิหร่านรายนี้เคยวิพากษ์รัฐบาลทรัมป์ชุดก่อน ว่าไม่ยึดถือคำมั่นสัญญา . "คุณไม่ควรเจรจากับรัฐบาลแบบนั้น มันไม่ฉลาด ไม่ชาญฉลาด ไม่เป็นเกียรติที่จะเจรจา" คาเมเนอีกล่าวระหว่างการประชุมกับผู้บัญชาการกองทัพ "สหรัฐฯ เคยทำลาย ละเมิด และฉีกข้อตกลงนิวเคลียร์มาก่อน และบุคคลเดียวกันที่อยู่ในอำนาจในตอนนี้ คือคนที่ฉีกสัญญา” . ในปี 2018 ทรัมป์ถอนสหรัฐฯ ออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน ที่ทางเตหะรานทำไว้กับบรรดามหาอำนาจโลกในปี 2015 และกลับมากำหนดมาตรการคว่ำบาตรอีกรอบ เพื่อฉีกเศรษฐกิจอิหร่านเป็นชิ้นๆ . หนึ่งปีหลังจากนั้น อิหร่านตอบโต้การละเมิดข้อตกลงควบคุมนิวเคลียร์ ด้วยการเร่งเสริมสมรรถนะยูเรเนียมให้มีความบริสุทธิ์ 60% เข้าใกล้ระดับราว 90% ที่จำเป็นสำหรับเกรดผลิตอาวุธนิวเคลียร์ อย่างไรก็ตาม เตหะรานยืนกรานว่าโครงการนิวเคลียร์ของพวกเขามีจุดประสงค์ทางสันติแต่เพียงอย่างเดียว . แม้ถ้อยแถลงของโฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน ใช้ถ้อยคำที่แข็งกร้าว แต่ดูเหมือนอิทธิพลของเตหะรานทั่วภูมิภาคตะวันออกกลางจะอ่อนแอลงอย่างมาก ในขณะที่พันธมิตรต่างๆ ของพวกเขาในภูมิภาค ที่รู้จักกันในฐานะ "อักษะแห่งการต่อต้าน" ทั้งถูกถอนรากถอนโคนหรือไม่ก็ได้รับความเสียหายร้ายแรง นับตั้งแต่ความขัดแย้งระหว่างฮามาส-อิสราเอลเริ่มต้นขึ้นในกาซา และการล่มสลายของอดีตประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด ในซีเรีย เมื่อเดือนธันวาคม . อักษะแห่งการต่อต้านนี้ ไม่ได้มีเฉพาะแค่ฮามาส แต่ยังรวมไปถึงพวกฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน กบฏฮูตีในเยเมน และกลุ่มติดอาวุธชีอะห์ต่างๆ ในอิรักและซีเรีย . ตลอด 16 เดือนนับตั้งแต่สงครามกาซาปะทุขึ้น อิสราเอลได้ลอบสังหารพวกผู้นำของฮามาสและฮิซบอลเลาะห์ไปแล้วหลายคน ในขณะที่อิหร่านและอิหร่านปฏิบัติการโจมตีอย่างจำกัด ตอบโต้กันไปมาแล้วหลายรอบ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015978 .............. Sondhi X
    Like
    Angry
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1314 มุมมอง 0 รีวิว
  • สว แรนด์ พอลเชิญให้อีลอน มัสก์ตรวนสอบทองคำสำรองที่Fort Knox
    18-2-2025
    วุฒิสมาชิกแรนด์ พอล ได้เชิญอีลอน มัสก์ มายังรัฐเคนทักกีของเขา เพื่อตรวจสอบทองคำสำรองที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ
    บัญชี X ของสว. พอล ที่มีผู้ติดตาม 2 ล้านคน ได้ขอให้หัวหน้าหน่วยงาน Department of Government Efficiency (DOGE) เล็งไปที่ Fort Knox เพื่อตรวจสอบว่าทองคำสำรองของสหรัฐฯ ยังอยู่ในที่เก็บหรือไม่
    มัสก์ตั้งคำถามว่าทำไมไม่มีการตรวจสอบทองคำสำรองทุกปี ซึ่งทำให้เกิดการคาดคะเนว่าเขาอาจจะเข้าไปตรวจสอบฐานทัพที่มีห้องนิรภัยที่บรรจุทองคำสำรองของสหรัฐฯ
    ตั้งแต่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งและแต่งตั้งมัสก์ให้มีอำนาจในวอชิงตัน มหาเศรษฐีคนนี้ก็ได้ตั้งเป้าหมายที่จะลดงบประมาณในหลายหน่วยงานที่ทั้งคู่เห็นว่าจะช่วยลด "การใช้งบประมาณที่สิ้นเปลือง" ของรัฐบาลกลาง รวมท้ังกำจัดการคอรัปชั่น
    มัสก์ช่วยยกเลิก USAID อย่างสมบูรณ์ โดยไล่พนักงานหรือทำให้พนักงานกว่า 10,000 คนตกอยู่ในสภาพที่ไม่แน่นอน และยังตัดงบประมาณหลายพันล้านดอลลาร์ในหน่วยงานเช่นกระทรวงศึกษาธิการ และไล่เจ้าหน้าที่การเงินระดับสูงของ FEMA ออกสี่คน
    "คงจะเป็นการดีถ้าอีลอน มัสก์ สามารถเข้าไปดูภายใน Fort Knox เพื่อตรวจสอบว่าทองคำ 4,580 ตันของสหรัฐฯ ยังอยู่ที่นั่นหรือไม่" Zero Hedge โพสต์บน X "ครั้งสุดท้ายที่มีคนตรวจสอบคือ 50 ปีที่แล้วในปี 1974"
    มัสก์ตอบกลับโพสต์นี้ด้วยคำถามว่า "แน่นอนว่ามันควรถูกตรวจสอบอย่างน้อยทุกปีใช่ไหม?"
    แต่วุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกัน แรนด์ พอล จากเคนทักกี ตอบว่า "ไม่" และเชิญชวนมัสก์ให้ "ทำเลย" โดยให้ทีม DOGE ของเขาดำเนินการตรวจสอบทองคำสำรองที่ฐานทัพ Fort Knox
    ห้องนิรภัย Bullion Depository เก็บทองคำประมาณ 147 ล้านทรอยออนซ์ ซึ่งคิดเป็นกว่า 56.35% ของทองคำทั้งหมดที่รัฐบาลสหรัฐฯ ถือครอง
    ตำรวจ U.S. Mint มีหน้าที่ปกป้องทองคำสำรองนี้
    ทองคำสำรองในสหรัฐฯ เช่นเดียวกับทองคำสำรองทั่วไป ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันเสถียรภาพในระบบการเงินต่อความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ทองเก็บมูลค่าที่จับต้องได้และช่วยป้องกันอัตราเงินเฟ้อ โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาความเชื่อมั่นของประชาชนในสกุลเงินของประเทศ แม้ว่ามาตรฐานทองคำจะไม่ใช่ระบบเศรษฐกิจที่ใช้อยู่ในปัจจุบันแล้วก็ตาม
    ในขณะที่โพสต์บน X ระบุว่าการตรวจสอบทองคำครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 1974 แต่ก็มีการตรวจสอบอีกครั้งในเดือนสิงหาคม 2017 เมื่อวุฒิสมาชิกมิทช์ แมคคอนเนลล์ จากเคนทักกี นำกลุ่มเล็กๆ รวมถึงรัฐมนตรีคลังสตีเวน มนูชิน ในขณะนั้น เข้าไปในห้องนิรภัย
    หลังจากนั้น มีภาพขาวดำคุณภาพต่ำของมนูชินในห้องนิรภัยถูกเผยแพร่ โดยมีทองคำแท่งอยู่เบื้องหลัง
    มนูชินเป็นหัวหน้ากระทรวงการคลังคนแรกที่เข้าไปเยี่ยมชมห้องนิรภัยนี้ตั้งแต่ปี 1948
    การตรวจสอบครั้งแรกของห้องนิรภัยเกิดขึ้นในปี 1943 โดยประธานาธิบดีแฟรงคลิน โรสเวลต์ หลังจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่และในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
    การตรวจสอบในปี 1974 ที่กล่าวถึงเกิดขึ้นเพื่อตอบโต้ทฤษฎีสมคบคิดที่แพร่กระจายในเวลานั้น ซึ่งอ้างว่าชนชั้นนำได้ลักลอบนำทองคำออกไปและห้องนิรภัยว่างเปล่า
    สมาชิกรัฐสภาและสื่อมวลชนได้ร่วมทัวร์นำโดยผู้อำนวยการ U.S. Mint ในขณะนั้น เพื่อพิสูจน์ให้สาธารณชนเห็นว่าทองคำยังอยู่ที่นั่น
    อย่างไรก็ดี ไม่เคยมีการตรวจนับทองคำแท่งในตู้นิรภัยอย่างจริงๆจังๆโดยหน่วยงานอิสระ
    ที่มา
    https://www.dailymail.co.uk/.../gold-reserve-doge-audit...
    สว แรนด์ พอลเชิญให้อีลอน มัสก์ตรวนสอบทองคำสำรองที่Fort Knox 18-2-2025 วุฒิสมาชิกแรนด์ พอล ได้เชิญอีลอน มัสก์ มายังรัฐเคนทักกีของเขา เพื่อตรวจสอบทองคำสำรองที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ บัญชี X ของสว. พอล ที่มีผู้ติดตาม 2 ล้านคน ได้ขอให้หัวหน้าหน่วยงาน Department of Government Efficiency (DOGE) เล็งไปที่ Fort Knox เพื่อตรวจสอบว่าทองคำสำรองของสหรัฐฯ ยังอยู่ในที่เก็บหรือไม่ มัสก์ตั้งคำถามว่าทำไมไม่มีการตรวจสอบทองคำสำรองทุกปี ซึ่งทำให้เกิดการคาดคะเนว่าเขาอาจจะเข้าไปตรวจสอบฐานทัพที่มีห้องนิรภัยที่บรรจุทองคำสำรองของสหรัฐฯ ตั้งแต่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งและแต่งตั้งมัสก์ให้มีอำนาจในวอชิงตัน มหาเศรษฐีคนนี้ก็ได้ตั้งเป้าหมายที่จะลดงบประมาณในหลายหน่วยงานที่ทั้งคู่เห็นว่าจะช่วยลด "การใช้งบประมาณที่สิ้นเปลือง" ของรัฐบาลกลาง รวมท้ังกำจัดการคอรัปชั่น มัสก์ช่วยยกเลิก USAID อย่างสมบูรณ์ โดยไล่พนักงานหรือทำให้พนักงานกว่า 10,000 คนตกอยู่ในสภาพที่ไม่แน่นอน และยังตัดงบประมาณหลายพันล้านดอลลาร์ในหน่วยงานเช่นกระทรวงศึกษาธิการ และไล่เจ้าหน้าที่การเงินระดับสูงของ FEMA ออกสี่คน "คงจะเป็นการดีถ้าอีลอน มัสก์ สามารถเข้าไปดูภายใน Fort Knox เพื่อตรวจสอบว่าทองคำ 4,580 ตันของสหรัฐฯ ยังอยู่ที่นั่นหรือไม่" Zero Hedge โพสต์บน X "ครั้งสุดท้ายที่มีคนตรวจสอบคือ 50 ปีที่แล้วในปี 1974" มัสก์ตอบกลับโพสต์นี้ด้วยคำถามว่า "แน่นอนว่ามันควรถูกตรวจสอบอย่างน้อยทุกปีใช่ไหม?" แต่วุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกัน แรนด์ พอล จากเคนทักกี ตอบว่า "ไม่" และเชิญชวนมัสก์ให้ "ทำเลย" โดยให้ทีม DOGE ของเขาดำเนินการตรวจสอบทองคำสำรองที่ฐานทัพ Fort Knox ห้องนิรภัย Bullion Depository เก็บทองคำประมาณ 147 ล้านทรอยออนซ์ ซึ่งคิดเป็นกว่า 56.35% ของทองคำทั้งหมดที่รัฐบาลสหรัฐฯ ถือครอง ตำรวจ U.S. Mint มีหน้าที่ปกป้องทองคำสำรองนี้ ทองคำสำรองในสหรัฐฯ เช่นเดียวกับทองคำสำรองทั่วไป ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันเสถียรภาพในระบบการเงินต่อความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ทองเก็บมูลค่าที่จับต้องได้และช่วยป้องกันอัตราเงินเฟ้อ โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาความเชื่อมั่นของประชาชนในสกุลเงินของประเทศ แม้ว่ามาตรฐานทองคำจะไม่ใช่ระบบเศรษฐกิจที่ใช้อยู่ในปัจจุบันแล้วก็ตาม ในขณะที่โพสต์บน X ระบุว่าการตรวจสอบทองคำครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 1974 แต่ก็มีการตรวจสอบอีกครั้งในเดือนสิงหาคม 2017 เมื่อวุฒิสมาชิกมิทช์ แมคคอนเนลล์ จากเคนทักกี นำกลุ่มเล็กๆ รวมถึงรัฐมนตรีคลังสตีเวน มนูชิน ในขณะนั้น เข้าไปในห้องนิรภัย หลังจากนั้น มีภาพขาวดำคุณภาพต่ำของมนูชินในห้องนิรภัยถูกเผยแพร่ โดยมีทองคำแท่งอยู่เบื้องหลัง มนูชินเป็นหัวหน้ากระทรวงการคลังคนแรกที่เข้าไปเยี่ยมชมห้องนิรภัยนี้ตั้งแต่ปี 1948 การตรวจสอบครั้งแรกของห้องนิรภัยเกิดขึ้นในปี 1943 โดยประธานาธิบดีแฟรงคลิน โรสเวลต์ หลังจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่และในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การตรวจสอบในปี 1974 ที่กล่าวถึงเกิดขึ้นเพื่อตอบโต้ทฤษฎีสมคบคิดที่แพร่กระจายในเวลานั้น ซึ่งอ้างว่าชนชั้นนำได้ลักลอบนำทองคำออกไปและห้องนิรภัยว่างเปล่า สมาชิกรัฐสภาและสื่อมวลชนได้ร่วมทัวร์นำโดยผู้อำนวยการ U.S. Mint ในขณะนั้น เพื่อพิสูจน์ให้สาธารณชนเห็นว่าทองคำยังอยู่ที่นั่น อย่างไรก็ดี ไม่เคยมีการตรวจนับทองคำแท่งในตู้นิรภัยอย่างจริงๆจังๆโดยหน่วยงานอิสระ ที่มา https://www.dailymail.co.uk/.../gold-reserve-doge-audit...
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 181 มุมมอง 0 รีวิว
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ม.ค.68 ทุกรายการ ดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และสูงสุดในรอบ 8 เดือน สอดคล้องความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ สูงสุดรอบ 9 เดือน /คนกล้าลงทุนซื้อบ้าน ซื้อรถ ,การท่องเที่ยวดี ,การใช้จ่ายภาครัฐขยับ จับตาสถานการณ์การเมืองในประเทศ หวั่นซ้ำเติมสงครามจริง สงครามการค้า ฉุดความเชื่อมั่น และเศรษฐกิจที่เริ่มกระเตื้อง
    ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ม.ค.68 ทุกรายการ ดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และสูงสุดในรอบ 8 เดือน สอดคล้องความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ สูงสุดรอบ 9 เดือน /คนกล้าลงทุนซื้อบ้าน ซื้อรถ ,การท่องเที่ยวดี ,การใช้จ่ายภาครัฐขยับ จับตาสถานการณ์การเมืองในประเทศ หวั่นซ้ำเติมสงครามจริง สงครามการค้า ฉุดความเชื่อมั่น และเศรษฐกิจที่เริ่มกระเตื้อง
    Like
    Haha
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 720 มุมมอง 38 0 รีวิว
Pages Boosts