อัปเดตล่าสุด
  • ** บทกวีทับทิมจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้เราได้คุยถึงเรื่องสีแดงในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้คงจะจำได้ว่าพ่อของนางเอกทิ้งสูตรเกี่ยวกับการผสมสีแดงของตระกูลไว้ในบทกวีที่เกี่ยวกับทับทิม Storyฯ เห็นว่ามีเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ สอดแทรกอยู่ในนี้ที่เพื่อนเพจคงไม่รู้ เลยมาแบ่งปันให้ฟัง... เป็นเรื่องราวชีวิตคู่ของหลี่ไป๋

    บทกวีดังกล่าวมีชื่อว่า ‘หย่งหลินหนี่ว์ตงชวงไห่สือหลิ่ว’ (咏邻女东窗海石榴 แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมสตรีข้างบ้านผ่านหน้าต่างและต้นทับทิม) เป็นผลงานของหลี่ไป๋ เซียนกวีแห่งราชวงศ์ถัง ถูกประพันธ์ขึ้นสมัยที่เขาพำนักอยู่ในเขตซานตง ใจความบรรยายถึงความงามของสตรีข้างบ้านที่เขามองเห็นผ่านหน้าต่าง ซึ่งเขาเรียกในบทกวีว่า ‘สตรีจากแดนหลู่’ ความงามของนางถูกเสริมด้วยความงามของต้นทับทิมที่มีดอกสีแดงจัดตัดกับใบเขียว เขาถึงกับรำพันว่าจะยอมเป็นกิ่งทับทิมที่ทอดเกยอาภรณ์ของนางเพื่อขอเพียงให้ได้ใกล้ชิดอนงค์นาง แต่จนใจได้แต่ชะเง้อมองผ่านหน้าต่าง

    แน่นอนว่ามันเป็นกลอนบอกรัก และสตรีดังกล่าวเป็นหนึ่งในภรรรยาของหลี่ไป๋

    เพื่อนเพจหลายท่านอาจไม่คุ้นเคยกับชีวประวัติของหลี่ไป๋และคงไม่ทราบว่าหลี่ไป๋มีภรรยาสี่คน จริงๆ แล้วเขาแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมเนียมสองครั้ง ส่วนภรรยาอีกสองคนไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ

    เขาแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุยี่สิบเจ็ดปีกับภรรยาคนแรกคือสตรีสกุลสวี่ผู้เป็นหลานของอดีตอัครเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ถังเกาจง ถูกรับเข้าจวนสกุลสวี่เป็นเขยแต่งเข้าหรือที่เรียกว่า ‘จุ้ยซวี่’ มีลูกด้วยกันสองคน ชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แต่ลูกทั้งสองได้ใช้แซ่หลี่ตามหลี่ไป๋ผู้เป็นบิดา (อนึ่ง ปกติจุ้ยซวี่แต่งเข้าเรือนของสตรี เมื่อมีลูกก็จะใช้แซ่ของผู้เป็นมารดาไม่ใช่บิดา Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว แปะลิ้งค์ไว้ให้อ่านใหม่ที่ท้ายเรื่อง) ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันกับนางสกุลสวี่นี้ หลี่ไป๋มีชีวิตค่อนข้างสบายเพราะฝ่ายหญิงมีฐานะดีและเขามีอิสระที่จะเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ตามใจหมาย ว่ากันว่าเขารักภรรยาคนนี้มากแต่นางป่วยตายหลังจากใช้ชีวิตคู่ด้วยกันนานสิบเอ็ดปี

    เมื่อสิ้นภรรยาคนแรก หลี่ไป๋ก็พาลูกจากจวนสกุลสวี่ออกเดินทาง มาหยุดพำนักที่บริเวณพื้นที่แถบซานตง หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็อยู่กินกับนางสกุลหลิว ว่ากันว่าเป็นเพราะต้องการหาคนมาช่วยเลี้ยงลูกเพื่อว่าตนเองจะได้มีอิสระในการเดินทาง ส่วนนางสกุลหลิวเองก็คาดหวังว่าหลี่ไป๋จะมีอนาคตขุนนางสวยงาม แต่ หลี่ไป๋ก็ยังไม่ได้เข้ารับราชการเสียที สุดท้ายนางทนไม่ได้กับความเป็นกวีขี้เมาของหลี่ไป๋ ทั้งสองจึงแยกทางกันอย่างไม่แฮปปี้

    ต่อมาอีกประมาณหกปี หลี่ไป๋ยังคงอยู่ในละแวกพื้นที่ซานตงหรือที่เรียกว่าพื้นที่หลู่นี้ และได้อยู่กินกับภรรยาคนที่สาม ซึ่งก็คือ ‘สตรีจากแดนหลู่’ ในบทกวีข้างต้นนั่นเอง เขาซื้อที่ดินทำกินให้นางดูแลทรัพย์สินอย่างไว้ใจ นางเองก็ขยันขันแข็งทำมาหากิน ส่วนตัวเขายังคงออกเดินทางไปตามพื้นที่ต่างๆ และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวง พวกเขามีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน แต่ไม่มีการบันทึกถึงรายละเอียดว่าเกิดอะไรกับลูกชายคนนี้ และไม่มีหลักฐานปรากฏด้วยซ้ำว่าสตรีนางนี้มีชื่อสกุลใด บ้างว่านางเป็นแม่หม้ายบ้างว่านางได้หมั้นหมายแล้วแต่คู่หมายหายไปหลายปีกลายเป็นหม้ายขันหมาก แต่ที่แน่ๆ คือนางอยู่ข้างบ้าน มองกันไปมองกันมาก็เกิดปิ๊งกันเลยอยู่กินกัน เล่าขานกันต่อมาเพียงว่าอยู่ด้วยกันเพียงห้าปีนางก็ตายจากไป

    หลี่ไป๋แต่งงานครั้งที่สองกับภรรยาคนสุดท้ายคือสตรีสกุลจง เป็นหลานปู่ของจงฉู่เค่อ อดีตอัครเสนาบดีอีกท่านหนึ่งและเขาแต่งเข้าเรือนฝ่ายหญิงอีกครั้ง อยู่ด้วยกันสิบปีอย่างสมบูรณ์พูนสุขแต่ไม่มีบุตร แต่สุดท้ายหลี่ไป๋เข้าไปพัวพันกับคดีการเมืองและนางเสียชีวิตลง ส่วนเขาถูกเนรเทศและแม้ว่าในบั้นปลายชีวิตจะได้รับอิสรภาพแต่ก็ต้องจบชีวิตลงอย่างเดียวดาย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความในอดีตเกี่ยวกับเจ้าบ่าวจุ้ยซวี่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/134357391983589

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.gdzjdaily.com.cn/p/2903387.html
    https://www.photophoto.cn/pic/11693708.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_7753758
    https://gushici.china.com/srgushi/10.html
    https://www.163.com/dy/article/G328S2640543SC39.html
    https://baike.baidu.com/item/咏邻女东窗海石榴/9436296
    https://www.sohu.com/a/341251009_100053536

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #กวีเอก #หลี่ไป๋ #เซียนกวี #ราชวงศ์ถัง #สาระจีน
    ** บทกวีทับทิมจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้เราได้คุยถึงเรื่องสีแดงในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้คงจะจำได้ว่าพ่อของนางเอกทิ้งสูตรเกี่ยวกับการผสมสีแดงของตระกูลไว้ในบทกวีที่เกี่ยวกับทับทิม Storyฯ เห็นว่ามีเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ สอดแทรกอยู่ในนี้ที่เพื่อนเพจคงไม่รู้ เลยมาแบ่งปันให้ฟัง... เป็นเรื่องราวชีวิตคู่ของหลี่ไป๋ บทกวีดังกล่าวมีชื่อว่า ‘หย่งหลินหนี่ว์ตงชวงไห่สือหลิ่ว’ (咏邻女东窗海石榴 แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมสตรีข้างบ้านผ่านหน้าต่างและต้นทับทิม) เป็นผลงานของหลี่ไป๋ เซียนกวีแห่งราชวงศ์ถัง ถูกประพันธ์ขึ้นสมัยที่เขาพำนักอยู่ในเขตซานตง ใจความบรรยายถึงความงามของสตรีข้างบ้านที่เขามองเห็นผ่านหน้าต่าง ซึ่งเขาเรียกในบทกวีว่า ‘สตรีจากแดนหลู่’ ความงามของนางถูกเสริมด้วยความงามของต้นทับทิมที่มีดอกสีแดงจัดตัดกับใบเขียว เขาถึงกับรำพันว่าจะยอมเป็นกิ่งทับทิมที่ทอดเกยอาภรณ์ของนางเพื่อขอเพียงให้ได้ใกล้ชิดอนงค์นาง แต่จนใจได้แต่ชะเง้อมองผ่านหน้าต่าง แน่นอนว่ามันเป็นกลอนบอกรัก และสตรีดังกล่าวเป็นหนึ่งในภรรรยาของหลี่ไป๋ เพื่อนเพจหลายท่านอาจไม่คุ้นเคยกับชีวประวัติของหลี่ไป๋และคงไม่ทราบว่าหลี่ไป๋มีภรรยาสี่คน จริงๆ แล้วเขาแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมเนียมสองครั้ง ส่วนภรรยาอีกสองคนไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ เขาแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุยี่สิบเจ็ดปีกับภรรยาคนแรกคือสตรีสกุลสวี่ผู้เป็นหลานของอดีตอัครเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ถังเกาจง ถูกรับเข้าจวนสกุลสวี่เป็นเขยแต่งเข้าหรือที่เรียกว่า ‘จุ้ยซวี่’ มีลูกด้วยกันสองคน ชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แต่ลูกทั้งสองได้ใช้แซ่หลี่ตามหลี่ไป๋ผู้เป็นบิดา (อนึ่ง ปกติจุ้ยซวี่แต่งเข้าเรือนของสตรี เมื่อมีลูกก็จะใช้แซ่ของผู้เป็นมารดาไม่ใช่บิดา Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว แปะลิ้งค์ไว้ให้อ่านใหม่ที่ท้ายเรื่อง) ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันกับนางสกุลสวี่นี้ หลี่ไป๋มีชีวิตค่อนข้างสบายเพราะฝ่ายหญิงมีฐานะดีและเขามีอิสระที่จะเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ตามใจหมาย ว่ากันว่าเขารักภรรยาคนนี้มากแต่นางป่วยตายหลังจากใช้ชีวิตคู่ด้วยกันนานสิบเอ็ดปี เมื่อสิ้นภรรยาคนแรก หลี่ไป๋ก็พาลูกจากจวนสกุลสวี่ออกเดินทาง มาหยุดพำนักที่บริเวณพื้นที่แถบซานตง หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็อยู่กินกับนางสกุลหลิว ว่ากันว่าเป็นเพราะต้องการหาคนมาช่วยเลี้ยงลูกเพื่อว่าตนเองจะได้มีอิสระในการเดินทาง ส่วนนางสกุลหลิวเองก็คาดหวังว่าหลี่ไป๋จะมีอนาคตขุนนางสวยงาม แต่ หลี่ไป๋ก็ยังไม่ได้เข้ารับราชการเสียที สุดท้ายนางทนไม่ได้กับความเป็นกวีขี้เมาของหลี่ไป๋ ทั้งสองจึงแยกทางกันอย่างไม่แฮปปี้ ต่อมาอีกประมาณหกปี หลี่ไป๋ยังคงอยู่ในละแวกพื้นที่ซานตงหรือที่เรียกว่าพื้นที่หลู่นี้ และได้อยู่กินกับภรรยาคนที่สาม ซึ่งก็คือ ‘สตรีจากแดนหลู่’ ในบทกวีข้างต้นนั่นเอง เขาซื้อที่ดินทำกินให้นางดูแลทรัพย์สินอย่างไว้ใจ นางเองก็ขยันขันแข็งทำมาหากิน ส่วนตัวเขายังคงออกเดินทางไปตามพื้นที่ต่างๆ และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวง พวกเขามีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน แต่ไม่มีการบันทึกถึงรายละเอียดว่าเกิดอะไรกับลูกชายคนนี้ และไม่มีหลักฐานปรากฏด้วยซ้ำว่าสตรีนางนี้มีชื่อสกุลใด บ้างว่านางเป็นแม่หม้ายบ้างว่านางได้หมั้นหมายแล้วแต่คู่หมายหายไปหลายปีกลายเป็นหม้ายขันหมาก แต่ที่แน่ๆ คือนางอยู่ข้างบ้าน มองกันไปมองกันมาก็เกิดปิ๊งกันเลยอยู่กินกัน เล่าขานกันต่อมาเพียงว่าอยู่ด้วยกันเพียงห้าปีนางก็ตายจากไป หลี่ไป๋แต่งงานครั้งที่สองกับภรรยาคนสุดท้ายคือสตรีสกุลจง เป็นหลานปู่ของจงฉู่เค่อ อดีตอัครเสนาบดีอีกท่านหนึ่งและเขาแต่งเข้าเรือนฝ่ายหญิงอีกครั้ง อยู่ด้วยกันสิบปีอย่างสมบูรณ์พูนสุขแต่ไม่มีบุตร แต่สุดท้ายหลี่ไป๋เข้าไปพัวพันกับคดีการเมืองและนางเสียชีวิตลง ส่วนเขาถูกเนรเทศและแม้ว่าในบั้นปลายชีวิตจะได้รับอิสรภาพแต่ก็ต้องจบชีวิตลงอย่างเดียวดาย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความในอดีตเกี่ยวกับเจ้าบ่าวจุ้ยซวี่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/134357391983589 Credit รูปภาพจาก: https://www.gdzjdaily.com.cn/p/2903387.html https://www.photophoto.cn/pic/11693708.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/baijiahao_7753758 https://gushici.china.com/srgushi/10.html https://www.163.com/dy/article/G328S2640543SC39.html https://baike.baidu.com/item/咏邻女东窗海石榴/9436296 https://www.sohu.com/a/341251009_100053536 #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #กวีเอก #หลี่ไป๋ #เซียนกวี #ราชวงศ์ถัง #สาระจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 84 มุมมอง 0 รีวิว
  • Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ

    วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้
    ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน”
    สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น”
    - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์

    บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ

    แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร?

    ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น

    Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา)

    หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ

    อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29
    https://www.sohu.com/a/155060661_701638
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html
    https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645
    https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579
    http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf

    #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้ ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น” - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์ บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร? ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา) หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29 https://www.sohu.com/a/155060661_701638 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645 https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579 http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 163 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขออภัยที่หายไปหนึ่งอาทิตย์ค่ะ วันนี้ Storyฯ เห็นว่าเรากำลังอยู่ในบรรยากาศการเลือกคนดีคนเก่งมาบริหารบ้านเมือง เลยลองมาคุยกันเรื่องปรัชญาจีนโบราณ (แม้ว่า Storyฯ จะไม่สันทัดเรื่องปรัชญาก็ตาม)

    เพื่อนเพจที่เคยอ่านนิยายของกิมย้งหรือดูหนังเรื่อง <กระบี่เย้ยยุทธจักร> ต้องคุ้นหูกับคำว่า ‘วิญญูชนจอมปลอม’ ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า ‘เหว่ยจวินจื่อ’ (伪君子) โดยคำว่า ‘จวินจื่อ’ นี้ปัจจุบันมักใช้คำแปลว่า ‘สุภาพชน’ (gentleman)

    แน่นอนว่าคำว่า ‘วิญญูชน’ และ ‘สุภาพชน’ มีนัยแตกต่าง คำถามที่ตามมาก็คือ: ‘จวินจื่อ’ (君子) คืออะไร? นี่เป็นคำถามในข้อสอบยอดฮิตในสมัยจีนโบราณ

    Storyฯ ขอยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีฉากที่นางเอกต้องร่วมสอบและได้ต่อว่าคนที่กลั่นแกล้งนางและดูถูกพ่อของนางไว้ว่า “วิญญูชนไม่คิดอกุศล ข้าเดินได้อย่างผึ่งผาย นั่งได้อย่างหลังตรง มิเคยต้องกังวลลมปากของผู้ใด... วิญญูชนไม่แบ่งแยกสูงต่ำด้วยชาติกำเนิด” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ประโยคที่ว่า ‘วิญญูชนไม่คิดอกุศล’ หรือ ‘จวินจื่อซืออู๋เสีย’ (君子思无邪) นี้ เป็นการรวมสองปรัชญาจากคัมภีร์หลุนอวี่ (论语) เข้ามาด้วยกันในประโยคเดียว

    ปรัชญาแรกว่าด้วยเรื่องของ ‘จวินจื่อ’ ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก ‘จวิน’ ที่หมายถึงผู้เป็นประมุขหรือผู้มียศศักดิ์ และ ‘จื่อ’ ที่แปลว่าบุตรชาย ดังนั้นความหมายดั้งเดิมคือหมายถึง ‘Nobleman’ หรืออาจแปลเป็นไทยได้ว่าราชนิกุลหรือลูกหลานชนชั้นศักดินา ต่อมาหมายถึงผู้ที่มีศีลธรรมและคุณสมบัติสูงส่งอันเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้ (‘A man of noble character’) เป็นส่วนประกอบสำคัญของปรัชญาขงจื๊อในการสร้างมาตรฐานสังคม โดยขงจื๊อมักใช้การเปรียบเทียบระหว่าง ‘จวินจื่อ’ กับ ‘เสี่ยวเหริน’ (小人 / ทุรชน) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ‘จวินจื่อ’ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร Storyฯ สรุปมาไม่ได้หมด เลยยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพดังนี้:

    – จวินจื่อคำนึงถึงความเที่ยงธรรม (义) แต่เสี่ยวเหรินคำนึงถึงผลประโยชน์
    – จวินจื่ออยู่ร่วมได้ด้วยความต่าง แต่เสี่ยวเหรินแม้ไม่ต่างแต่ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ --- ประเด็นนี้ Storyฯ อาจแปลได้ไม่ดี ขอขยายความว่า จวินจื่อเมื่อเรียนรู้และตระหนักถึงสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าอาจมีแก่นความคิดที่แตกต่างกันไป แต่เพราะมีความเข้าใจในเนื้อแท้ของคนและเคารพยอมรับซึ่งกันและกันได้ ก็สามารถส่งเสริมเกื้อกูลหล่อหลอมเข้าด้วยกันได้ แต่ในทางกลับกัน เสี่ยวเหรินมีความเสแสร้งพยายามให้ดูกลมกลืน แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง สุดท้ายแม้อยู่ร่วมกันแต่ไม่สามารถหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันได้
    – จวินจื่อเปิดเผยผึ่งผาย จึงไม่ต้องกังวลถึงความเห็นคนอื่น แต่เสี่ยวเหรินทำอะไรก็พะวงหน้าพะวงหลังกลัวคนมากลั่นแกล้ง
    – จวินจื่อพึ่งพาตนเอง แต่เสี่ยวเหรินพึ่งพาผู้อื่น
    – จวินจื่อส่งเสริมผู้อื่นในเรื่องที่ดีและไม่สนับสนุนในเรื่องที่ไม่ดี แต่เสี่ยวเหรินขัดผู้อื่นในเรื่องที่ดีและส่งเสริมในเรื่องที่ไม่ดี
    – จวินจื่อเปรียบเสมือนลม เสี่ยวเหรินเป็นเหมือนหญ้าที่ต้องเอนไหวศิโรราบให้เมื่อลมพัดผ่าน เป็นการอุปมาอุปไมยว่าคุณธรรมของจวินจื่อ สามารถเอาชนะความไม่ดีของเสี่ยวเหรินได้

    ปรัชญาที่สอง ‘ไม่คิดอกุศล’ (ซืออู๋เสีย/思无邪) โดยปรัชญานี้ขงจื๊อเคยใช้ในสองบริบท บริบทแรกในการวิจารณ์งานประพันธ์โดยหมายถึงว่า สิ่งที่นักประพันธ์สื่อผ่านตัวอักษรออกมานั้น ควรบ่งบอกจิตวิญญาณและความคิดที่แท้จริง พูดง่ายๆ คือซื่อตรงต่อตัวเอง ส่วนอีกบริบทหนึ่งนั้นคือเป็นการกล่าวถึงคุณสมบัติของคน โดยหมายถึงว่า อันความคิดที่ดี ย่อมไม่กลัวที่จะเปิดเผยให้ผู้ใดรับรู้

    คำว่า ‘จวินจื่อ’ ปรากฏอยู่บนงานประพันธ์และสำนวนจีนมากมาย และปรัชญาของขงจื๊อถูกศึกษามาหลายพันปีโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงวิชาจำนวนนับไม่ถ้วน Storyฯ ไม่หาญกล้ามาเสวนามากมายในปรัชญาเหล่านี้ เพียงแต่เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามา คำว่า ‘จวินจื่อ’ หรือ ‘วิญญูชน’ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในสังคมทุกวันนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นวิญญูชน และใครเป็นวิญญูชนจอมปลอม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/467496758_120871225
    https://www.sohu.com/a/433221328_99929216
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/思无邪/5080
    https://guoxue.ifeng.com/c/7jUG4KBpiZC
    https://baike.baidu.com/item/君子/1389

    #ดุจฝันบันดาลใจ #จวินจื่อ #วิญญูชน #ขงจื๊อ
    ขออภัยที่หายไปหนึ่งอาทิตย์ค่ะ วันนี้ Storyฯ เห็นว่าเรากำลังอยู่ในบรรยากาศการเลือกคนดีคนเก่งมาบริหารบ้านเมือง เลยลองมาคุยกันเรื่องปรัชญาจีนโบราณ (แม้ว่า Storyฯ จะไม่สันทัดเรื่องปรัชญาก็ตาม) เพื่อนเพจที่เคยอ่านนิยายของกิมย้งหรือดูหนังเรื่อง <กระบี่เย้ยยุทธจักร> ต้องคุ้นหูกับคำว่า ‘วิญญูชนจอมปลอม’ ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า ‘เหว่ยจวินจื่อ’ (伪君子) โดยคำว่า ‘จวินจื่อ’ นี้ปัจจุบันมักใช้คำแปลว่า ‘สุภาพชน’ (gentleman) แน่นอนว่าคำว่า ‘วิญญูชน’ และ ‘สุภาพชน’ มีนัยแตกต่าง คำถามที่ตามมาก็คือ: ‘จวินจื่อ’ (君子) คืออะไร? นี่เป็นคำถามในข้อสอบยอดฮิตในสมัยจีนโบราณ Storyฯ ขอยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีฉากที่นางเอกต้องร่วมสอบและได้ต่อว่าคนที่กลั่นแกล้งนางและดูถูกพ่อของนางไว้ว่า “วิญญูชนไม่คิดอกุศล ข้าเดินได้อย่างผึ่งผาย นั่งได้อย่างหลังตรง มิเคยต้องกังวลลมปากของผู้ใด... วิญญูชนไม่แบ่งแยกสูงต่ำด้วยชาติกำเนิด” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ประโยคที่ว่า ‘วิญญูชนไม่คิดอกุศล’ หรือ ‘จวินจื่อซืออู๋เสีย’ (君子思无邪) นี้ เป็นการรวมสองปรัชญาจากคัมภีร์หลุนอวี่ (论语) เข้ามาด้วยกันในประโยคเดียว ปรัชญาแรกว่าด้วยเรื่องของ ‘จวินจื่อ’ ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก ‘จวิน’ ที่หมายถึงผู้เป็นประมุขหรือผู้มียศศักดิ์ และ ‘จื่อ’ ที่แปลว่าบุตรชาย ดังนั้นความหมายดั้งเดิมคือหมายถึง ‘Nobleman’ หรืออาจแปลเป็นไทยได้ว่าราชนิกุลหรือลูกหลานชนชั้นศักดินา ต่อมาหมายถึงผู้ที่มีศีลธรรมและคุณสมบัติสูงส่งอันเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้ (‘A man of noble character’) เป็นส่วนประกอบสำคัญของปรัชญาขงจื๊อในการสร้างมาตรฐานสังคม โดยขงจื๊อมักใช้การเปรียบเทียบระหว่าง ‘จวินจื่อ’ กับ ‘เสี่ยวเหริน’ (小人 / ทุรชน) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ‘จวินจื่อ’ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร Storyฯ สรุปมาไม่ได้หมด เลยยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพดังนี้: – จวินจื่อคำนึงถึงความเที่ยงธรรม (义) แต่เสี่ยวเหรินคำนึงถึงผลประโยชน์ – จวินจื่ออยู่ร่วมได้ด้วยความต่าง แต่เสี่ยวเหรินแม้ไม่ต่างแต่ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ --- ประเด็นนี้ Storyฯ อาจแปลได้ไม่ดี ขอขยายความว่า จวินจื่อเมื่อเรียนรู้และตระหนักถึงสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าอาจมีแก่นความคิดที่แตกต่างกันไป แต่เพราะมีความเข้าใจในเนื้อแท้ของคนและเคารพยอมรับซึ่งกันและกันได้ ก็สามารถส่งเสริมเกื้อกูลหล่อหลอมเข้าด้วยกันได้ แต่ในทางกลับกัน เสี่ยวเหรินมีความเสแสร้งพยายามให้ดูกลมกลืน แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง สุดท้ายแม้อยู่ร่วมกันแต่ไม่สามารถหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ – จวินจื่อเปิดเผยผึ่งผาย จึงไม่ต้องกังวลถึงความเห็นคนอื่น แต่เสี่ยวเหรินทำอะไรก็พะวงหน้าพะวงหลังกลัวคนมากลั่นแกล้ง – จวินจื่อพึ่งพาตนเอง แต่เสี่ยวเหรินพึ่งพาผู้อื่น – จวินจื่อส่งเสริมผู้อื่นในเรื่องที่ดีและไม่สนับสนุนในเรื่องที่ไม่ดี แต่เสี่ยวเหรินขัดผู้อื่นในเรื่องที่ดีและส่งเสริมในเรื่องที่ไม่ดี – จวินจื่อเปรียบเสมือนลม เสี่ยวเหรินเป็นเหมือนหญ้าที่ต้องเอนไหวศิโรราบให้เมื่อลมพัดผ่าน เป็นการอุปมาอุปไมยว่าคุณธรรมของจวินจื่อ สามารถเอาชนะความไม่ดีของเสี่ยวเหรินได้ ปรัชญาที่สอง ‘ไม่คิดอกุศล’ (ซืออู๋เสีย/思无邪) โดยปรัชญานี้ขงจื๊อเคยใช้ในสองบริบท บริบทแรกในการวิจารณ์งานประพันธ์โดยหมายถึงว่า สิ่งที่นักประพันธ์สื่อผ่านตัวอักษรออกมานั้น ควรบ่งบอกจิตวิญญาณและความคิดที่แท้จริง พูดง่ายๆ คือซื่อตรงต่อตัวเอง ส่วนอีกบริบทหนึ่งนั้นคือเป็นการกล่าวถึงคุณสมบัติของคน โดยหมายถึงว่า อันความคิดที่ดี ย่อมไม่กลัวที่จะเปิดเผยให้ผู้ใดรับรู้ คำว่า ‘จวินจื่อ’ ปรากฏอยู่บนงานประพันธ์และสำนวนจีนมากมาย และปรัชญาของขงจื๊อถูกศึกษามาหลายพันปีโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงวิชาจำนวนนับไม่ถ้วน Storyฯ ไม่หาญกล้ามาเสวนามากมายในปรัชญาเหล่านี้ เพียงแต่เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามา คำว่า ‘จวินจื่อ’ หรือ ‘วิญญูชน’ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในสังคมทุกวันนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นวิญญูชน และใครเป็นวิญญูชนจอมปลอม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/467496758_120871225 https://www.sohu.com/a/433221328_99929216 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/思无邪/5080 https://guoxue.ifeng.com/c/7jUG4KBpiZC https://baike.baidu.com/item/君子/1389 #ดุจฝันบันดาลใจ #จวินจื่อ #วิญญูชน #ขงจื๊อ
    WWW.SOHU.COM
    《雁归西窗月》是根据小说改编的吗 《雁归西窗月》结局是什么_赵孝
    《雁归西窗月》讲述了霸道郡王赵孝谦与率真少女谢小满的乌龙甜怼恋,两人从开始的欢喜冤家到逐渐相知相守,携手历经坎坷,冲破重重阻碍,最终收获了一段浪漫的爱情故事。 这部剧是先婚后爱的戏码,女主谢小满…
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 136 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง

    เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ

    แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’?

    สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才)

    เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ

    Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html
    https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子
    https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/
    https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D
    http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html
    https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593

    #สำนวนจีน #เสาหลัก
    สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’? สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才) เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子 https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/ https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593 #สำนวนจีน #เสาหลัก
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 142 มุมมอง 0 รีวิว
  • ** โฉมงามอวี๋ บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู **

    สวัสดีค่ะ ก่อนอื่น Storyฯ ขอแสดงความเสียใจกับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาและหวังเพื่อนเพจทั้งหลายแคล้วคลาดปลอดภัย

    สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงสีแดงจากเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> มีการกล่าวถึงบทกวีที่มีชื่อว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人) หรือ ‘โฉมงามอวี๋’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมากแล้วแต่บทความถูกลบไป (อาจด้วยมีลิ้งค์ที่ต้องห้าม) วันนี้เลยแก้ไขแล้วเอามาลงใหม่ให้อ่านกัน

    ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีเลื่องชื่อของจีน และถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู> โดยชื่อของนางเอกพระเอก ‘ชุนฮวา’ และ ‘ชิวเยวี่ย’ มาจากวลีหนึ่งในบทกวีนี้ ซึ่งก็คือ ‘ชุนฮวาชิวเยวี่ยเหอสือเหลี่ยว หว่างซื่อจือตัวส่าว?’ (春花秋月何时了,往事知多少?) แปลตรงตัวว่า ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดูสิ้นสุดไปเมื่อใด มีเรื่องราวมากน้อยเท่าไรให้รำลึกถึง?’ โดยในซีรีส์เรื่องนี้มีการกล่าวถึงวรรคแรกของวลีนี้อยู่บ่อยครั้ง

    ฟังดูเหงาๆ โรแมนติก เป็นวลีฮอตฮิตยามชมจันทร์ ละครเรื่องนี้ก็เป็นแนวรักตลก จะมีเพื่อนเพจกี่ท่านที่ทราบถึงความเจ็บปวดที่แฝงไว้อยู่ในบทกวีนี้?

    บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทประพันธ์ขององค์หลี่อวี้ (ค.ศ. 937-978) ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ถังปลายในช่วงยุคสมัยห้าราชวงศ์สิบแคว้น (คือคนเดียวกับที่สั่งให้จิตรกรไปวาดภาพงานเลี้ยงราตรีของหานซีจ่ายที่ Storyฯ เคยเล่าถึง)

    พระองค์ทรงมีชื่อเสียงในฐานะกวีที่มีผลงานน่ายกย่องหลายชิ้น แต่ก็ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่อ่อนแอที่สุดของจีน ภายหลังจากอาณาจักรถังปลายล่มสลาย องค์หลี่อวี้ถูกจับกุมเป็นเชลยศึกและกักบริเวณอยู่ที่เมืองตงจิง (เมืองหลวงของราชวงศ์ซ่ง คือเมืองไคเฟิงปัจจุบัน) โดยองค์เจ้าควงอิ้งปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง หลี่อวี้ได้รับการอวยบรรดาศักดิ์ให้ใหม่เป็นระดับโหว นามว่า ‘เหวยมิ่งโหว’ (ก็คือถูกถอดยศกษัตริย์เนื่องจากชาติล่มสลายไปแล้ว) เขาถูกกักบริเวณอยู่ด้วยกันกับมเหสีองค์ที่สองผู้ซึ่งมาจากสกุลโจวเช่นเดียวกับพระมเหสีองค์แรก นามจริงไม่ปรากฏ เรียกกันในประวัติศาสตร์ว่า ‘เสี่ยวโจวโฮ่ว’ (มเหสีสกุลโจวเล็ก) ว่ากันว่าเขารักนางมาก

    ต่อมาเข้าสู่รัชสมัยขององค์เจ้ากวงอี้ (ฮ่องเต้องค์ที่สองของราชวงศ์ซ่ง) หลี่อวี้ได้ประพันธ์บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้ขึ้น ความหมายของบทกวีแปลได้ประมาณว่า: วันเวลาที่สวยงามสิ้นสุดไปแล้วอย่างรวดเร็ว เมื่อคืนนี้ลมบูรพาโชยมาอีกครา ภายใต้ดวงจันทร์ที่ทอแสงสุกสกาว จะทำอย่างไรให้ลืมความทุกข์ของการที่บ้านเมืองล่มสลาย? สถานที่ที่งดงามคงยังอยู่ แต่คนที่อยู่ในห้วงคะนึงหาคงล้วนแก่ชรากันไปตามเวลาแล้ว หากจะถามว่าใจข้าทุกข์เพียงใด... คงเปรียบได้ดั่งคลื่นนทีที่ไหล่รินสู่ทิศบูรพา

    จะเห็นได้ว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีที่บรรยายถึงความทุกข์ขมขื่นในยามที่มองจันทร์ แต่ถูกองค์เจ้ากวงอี้ตีความหมายว่าหลี่อวี้คิดไม่ซื่อกับราชสำนักซ่ง หวังจะพลิกฟื้นราชวงศ์เดิมขึ้นใหม่ จึงพระราชทานยาพิษให้หลี่อวี้ฆ่าตัวตาย

    แต่มีเรื่องเล่าขานกันว่านี่เป็นเพียงข้ออ้าง ว่ากันว่าองค์เจ้ากวงอี้ทรงรอจังหวะหาข้ออ้างสังหารหลี่อวี้อยู่แล้วเพราะทรงหลงไหลในชายาเสี่ยวโจวของหลี่อวี้ผู้ซึ่งงามพิลาส ถึงกับทรงล่อลวงนางเข้าวังแล้วขืนใจและหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ในวัง จากนั้นมีการบังคับขืนใจนางอีกหลายครั้งครา มีการเล่าขานว่าทรงถึงขนาดให้จิตรกรมาวาดภาพขณะกำลังย่ำยีนางเพื่อส่งให้หลี่อวี้ดูเป็นการขยี้ใจ จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจของบทกวีนี้ขึ้น... ข้อเท็จจริงใช่อย่างนี้หรือไม่? ไม่มีใครยืนยันได้ มีการกล่าวไว้เพียงว่าบทกวีอวี๋เหม่ยเหรินนี้ทำให้หลี่อวี้ถูกพระราชทานยาพิษตาย แต่ก็มีเอกสารเรื่องเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ในสมัยหมิงที่กล่าวถึงภาพวาดที่องค์เจ้ากวงอี้ได้ทรงให้คนวาดขึ้นนี้

    นอกจากชื่อบทกวีแล้ว ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ ยังเป็นชื่อเรียกดอกป๊อปปี้ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีความหมายถึงความทุกข์และการตายจากพลัดพรากมาแต่จีนโบราณอีกด้วย

    วันนี้จบกันแบบสั้นๆ เศร้าๆ อย่างนี้แล

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://image.tmdb.org/t/p/original/enj2s0CNvp2oaf84j87H8Vsdbr0.jpg
    https://bowuguan.bucm.edu.cn/kpzl/zyyzs/57214.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.lllst.com/guoxuejingdian/scmj/271349.html
    https://baike.baidu.com/item/虞美人·春花秋月何时了/10926799
    https://www.jianshu.com/p/8ff00c387fbe
    https://baike.sogou.com/v6849891.htm
    https://www.guwenxuexi.com/classical/24854.html
    https://k.sina.cn/article_1659337544_62e77b48001003bvc.html

    #บุปผาวสันต์ #จันทราสารทฤดู #ชุนฮวาชิวเยวี่ย #อวี๋เหม่ยเหริน #หลี่อวี
    ** โฉมงามอวี๋ บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู ** สวัสดีค่ะ ก่อนอื่น Storyฯ ขอแสดงความเสียใจกับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาและหวังเพื่อนเพจทั้งหลายแคล้วคลาดปลอดภัย สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงสีแดงจากเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> มีการกล่าวถึงบทกวีที่มีชื่อว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人) หรือ ‘โฉมงามอวี๋’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมากแล้วแต่บทความถูกลบไป (อาจด้วยมีลิ้งค์ที่ต้องห้าม) วันนี้เลยแก้ไขแล้วเอามาลงใหม่ให้อ่านกัน ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีเลื่องชื่อของจีน และถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู> โดยชื่อของนางเอกพระเอก ‘ชุนฮวา’ และ ‘ชิวเยวี่ย’ มาจากวลีหนึ่งในบทกวีนี้ ซึ่งก็คือ ‘ชุนฮวาชิวเยวี่ยเหอสือเหลี่ยว หว่างซื่อจือตัวส่าว?’ (春花秋月何时了,往事知多少?) แปลตรงตัวว่า ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดูสิ้นสุดไปเมื่อใด มีเรื่องราวมากน้อยเท่าไรให้รำลึกถึง?’ โดยในซีรีส์เรื่องนี้มีการกล่าวถึงวรรคแรกของวลีนี้อยู่บ่อยครั้ง ฟังดูเหงาๆ โรแมนติก เป็นวลีฮอตฮิตยามชมจันทร์ ละครเรื่องนี้ก็เป็นแนวรักตลก จะมีเพื่อนเพจกี่ท่านที่ทราบถึงความเจ็บปวดที่แฝงไว้อยู่ในบทกวีนี้? บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทประพันธ์ขององค์หลี่อวี้ (ค.ศ. 937-978) ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ถังปลายในช่วงยุคสมัยห้าราชวงศ์สิบแคว้น (คือคนเดียวกับที่สั่งให้จิตรกรไปวาดภาพงานเลี้ยงราตรีของหานซีจ่ายที่ Storyฯ เคยเล่าถึง) พระองค์ทรงมีชื่อเสียงในฐานะกวีที่มีผลงานน่ายกย่องหลายชิ้น แต่ก็ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่อ่อนแอที่สุดของจีน ภายหลังจากอาณาจักรถังปลายล่มสลาย องค์หลี่อวี้ถูกจับกุมเป็นเชลยศึกและกักบริเวณอยู่ที่เมืองตงจิง (เมืองหลวงของราชวงศ์ซ่ง คือเมืองไคเฟิงปัจจุบัน) โดยองค์เจ้าควงอิ้งปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง หลี่อวี้ได้รับการอวยบรรดาศักดิ์ให้ใหม่เป็นระดับโหว นามว่า ‘เหวยมิ่งโหว’ (ก็คือถูกถอดยศกษัตริย์เนื่องจากชาติล่มสลายไปแล้ว) เขาถูกกักบริเวณอยู่ด้วยกันกับมเหสีองค์ที่สองผู้ซึ่งมาจากสกุลโจวเช่นเดียวกับพระมเหสีองค์แรก นามจริงไม่ปรากฏ เรียกกันในประวัติศาสตร์ว่า ‘เสี่ยวโจวโฮ่ว’ (มเหสีสกุลโจวเล็ก) ว่ากันว่าเขารักนางมาก ต่อมาเข้าสู่รัชสมัยขององค์เจ้ากวงอี้ (ฮ่องเต้องค์ที่สองของราชวงศ์ซ่ง) หลี่อวี้ได้ประพันธ์บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้ขึ้น ความหมายของบทกวีแปลได้ประมาณว่า: วันเวลาที่สวยงามสิ้นสุดไปแล้วอย่างรวดเร็ว เมื่อคืนนี้ลมบูรพาโชยมาอีกครา ภายใต้ดวงจันทร์ที่ทอแสงสุกสกาว จะทำอย่างไรให้ลืมความทุกข์ของการที่บ้านเมืองล่มสลาย? สถานที่ที่งดงามคงยังอยู่ แต่คนที่อยู่ในห้วงคะนึงหาคงล้วนแก่ชรากันไปตามเวลาแล้ว หากจะถามว่าใจข้าทุกข์เพียงใด... คงเปรียบได้ดั่งคลื่นนทีที่ไหล่รินสู่ทิศบูรพา จะเห็นได้ว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีที่บรรยายถึงความทุกข์ขมขื่นในยามที่มองจันทร์ แต่ถูกองค์เจ้ากวงอี้ตีความหมายว่าหลี่อวี้คิดไม่ซื่อกับราชสำนักซ่ง หวังจะพลิกฟื้นราชวงศ์เดิมขึ้นใหม่ จึงพระราชทานยาพิษให้หลี่อวี้ฆ่าตัวตาย แต่มีเรื่องเล่าขานกันว่านี่เป็นเพียงข้ออ้าง ว่ากันว่าองค์เจ้ากวงอี้ทรงรอจังหวะหาข้ออ้างสังหารหลี่อวี้อยู่แล้วเพราะทรงหลงไหลในชายาเสี่ยวโจวของหลี่อวี้ผู้ซึ่งงามพิลาส ถึงกับทรงล่อลวงนางเข้าวังแล้วขืนใจและหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ในวัง จากนั้นมีการบังคับขืนใจนางอีกหลายครั้งครา มีการเล่าขานว่าทรงถึงขนาดให้จิตรกรมาวาดภาพขณะกำลังย่ำยีนางเพื่อส่งให้หลี่อวี้ดูเป็นการขยี้ใจ จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจของบทกวีนี้ขึ้น... ข้อเท็จจริงใช่อย่างนี้หรือไม่? ไม่มีใครยืนยันได้ มีการกล่าวไว้เพียงว่าบทกวีอวี๋เหม่ยเหรินนี้ทำให้หลี่อวี้ถูกพระราชทานยาพิษตาย แต่ก็มีเอกสารเรื่องเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ในสมัยหมิงที่กล่าวถึงภาพวาดที่องค์เจ้ากวงอี้ได้ทรงให้คนวาดขึ้นนี้ นอกจากชื่อบทกวีแล้ว ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ ยังเป็นชื่อเรียกดอกป๊อปปี้ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีความหมายถึงความทุกข์และการตายจากพลัดพรากมาแต่จีนโบราณอีกด้วย วันนี้จบกันแบบสั้นๆ เศร้าๆ อย่างนี้แล (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://image.tmdb.org/t/p/original/enj2s0CNvp2oaf84j87H8Vsdbr0.jpg https://bowuguan.bucm.edu.cn/kpzl/zyyzs/57214.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.lllst.com/guoxuejingdian/scmj/271349.html https://baike.baidu.com/item/虞美人·春花秋月何时了/10926799 https://www.jianshu.com/p/8ff00c387fbe https://baike.sogou.com/v6849891.htm https://www.guwenxuexi.com/classical/24854.html https://k.sina.cn/article_1659337544_62e77b48001003bvc.html #บุปผาวสันต์ #จันทราสารทฤดู #ชุนฮวาชิวเยวี่ย #อวี๋เหม่ยเหริน #หลี่อวี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 328 มุมมอง 0 รีวิว
  • https://www.facebook.com/share/v/1AYkcoh1LB/?mibextid=wwXIfr
    https://www.facebook.com/share/v/1AYkcoh1LB/?mibextid=wwXIfr
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 81 มุมมอง 0 รีวิว
  • เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องเคยเห็นอุปกรณ์จุดไฟชนิดหนึ่งในละครจีนหลายเรื่อง หน้าตาเป็นกระบอกไม้ไผ่เล็กๆ เปิดฝามาใช้มือโบกพัดหรือปากเป่าไม่กี่ทีก็มีไฟติด ใช้แทนเทียนได้ ซึ่ง Storyฯ คิดว่ามันน่าทึ่งมากเพราะไม่ต้องใช้หินเหล็กตีให้เกิดประกายไฟและไม่ต้องมีการชักสูบเหมือนตะบันไฟ Storyฯ ขอเรียกมันว่า ‘กระบอกจุดไฟ’ หรือที่ชาวจีนเรียกว่า ‘หั่วเจ๋อจื่อ’ (火折子)

    จากบันทึกโบราณ เทคโนโลยีนี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์เหนือใต้ (ประมาณช่วงปีค.ศ. 577) เป็นวิธีการเก็บไฟไว้ใช้ของนางกำนัลในวังโดยใช้กระดาษเนื้อหยาบมาม้วนอัดลงไปในถังไม้แล้วจุดไฟ จากนั้นก็ดับไฟลงจนไม่เหลือเปลวไฟแต่ยังมีสะเก็ดไฟคุกรุ่นไว้แล้วก็ปิดฝาไว้ พอจะใช้ก็เปิดฝาออกมาเป่าจนไฟติด ต่อมาจึงพัฒนามาเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พกพาได้ แต่แรกเริ่มนั้น จุดติดได้เพียงครั้งเดียว

    กระบอกจุดไฟแบบนี้เป็นที่นิยมเพราะสะดวกต่อการพกพา และเมื่อเป็นที่นิยมมากขึ้นกรรมวิธีการทำก็ซับซ้อนขึ้น วิธีทำกระบอกไฟที่ดีคือใช้วัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงได้ (เช่น กระดาษเนื้อหยาบ หญ้าบางชนิด มูลสัตว์ หรืออย่างดีคือเถามันเทศและปุยนุ่น) มาหมักน้ำแล้วบีบทุบและเค้นจนเป็นใย ทำอย่างนี้หลายครั้งก่อนจะนำไปตากแห้ง จากนั้นก็นำไปผสมกับขี้ไต้ (ส่วนผสมเท่าที่หาข้อมูลได้ก็มี ดีเกลือ ผงกำมะถัน ยางสน และการบูร) แล้วอัดเข้าไปในกระบอกไม้ไผ่ ก่อนใช้ต้องจุดไฟจนติดแรง แล้วค่อยดับไฟลงจนเหลือเพียงสะเก็ดไฟคุกรุ่นอยู่ข้างในแต่ไม่เหลือเปลวไฟ แล้วจึงปิดกระบอกด้วยฝาที่มีรูเล็ก พอจะใช้ก็เปิดออกแล้วเป่าจนไฟติด สามารถใช้ได้หลายครั้งจนเชื้อเพลิงหมดกระบอก และสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานหลายวัน

    ฟังดูเหมือนง่าย แต่ความยากของมันอยู่ที่ความพอดีของวัสดุเชื้อเพลิงและขี้ไต้ และความหนาแน่นที่พอดีในกระบอกที่ใส่ แน่นอนว่ากระบอกจุดไฟหั่วเจ๋อจื่อมีหลายเกรดแตกต่างกัน ในกลุ่มผู้มีอันจะกินจะใช้เชื้อเพลิงจากใยมันเทศและนุ่นผสมขี้ไต้ตามที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งกรรมวิธีทำจะซับซ้อน แต่จุดง่ายกว่า เพียงใช้มือโบกพัดไม่กี่ทีก็จุดติด

    ส่วนชาวบ้านธรรมดานิยมใช้เยื่อกระดาษหยาบ จะติดไฟยากกว่า เวลาเป่าให้ไฟติดจึงต้องมีเทคนิคมากหน่อย เพราะต้องเป็นลมที่เกิดอย่างกะทันหัน สั้นและแรง จึงจะก่อให้เกิดแรงกระตุ้นที่ดี เพราะฉะนั้นอย่างที่เราเห็นในละคร... ถ้าเราเป็นจอมยุทธ์ก็เพียงสะบัดมือวืดเดียวค่ะ แต่ถ้าไร้วรยุทธ์ก็ต้องใช้ปากเป่าค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากละคร <ปริศนาลับราชวงศ์ถัง> และจาก:
    https://k.sina.cn/article_5100008885_12ffbf5b500100ysyy.html?from=ent&subch=film
    https://www.163.com/dy/article/FO6T9F2R05437E9K.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/FO6T9F2R05437E9K.html
    https://kknews.cc/history/x4q6ojr.html
    http://m.qulishi.com/article/202009/438462.html

    #ปริศนาลับราชวงศ์ถัง #กระบอกไฟ #แท่งไฟโบราณ #แท่งจุดไฟ #หั่วเจ๋อจื่อ #กระบอกจุดไฟโบราณ
    เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องเคยเห็นอุปกรณ์จุดไฟชนิดหนึ่งในละครจีนหลายเรื่อง หน้าตาเป็นกระบอกไม้ไผ่เล็กๆ เปิดฝามาใช้มือโบกพัดหรือปากเป่าไม่กี่ทีก็มีไฟติด ใช้แทนเทียนได้ ซึ่ง Storyฯ คิดว่ามันน่าทึ่งมากเพราะไม่ต้องใช้หินเหล็กตีให้เกิดประกายไฟและไม่ต้องมีการชักสูบเหมือนตะบันไฟ Storyฯ ขอเรียกมันว่า ‘กระบอกจุดไฟ’ หรือที่ชาวจีนเรียกว่า ‘หั่วเจ๋อจื่อ’ (火折子) จากบันทึกโบราณ เทคโนโลยีนี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์เหนือใต้ (ประมาณช่วงปีค.ศ. 577) เป็นวิธีการเก็บไฟไว้ใช้ของนางกำนัลในวังโดยใช้กระดาษเนื้อหยาบมาม้วนอัดลงไปในถังไม้แล้วจุดไฟ จากนั้นก็ดับไฟลงจนไม่เหลือเปลวไฟแต่ยังมีสะเก็ดไฟคุกรุ่นไว้แล้วก็ปิดฝาไว้ พอจะใช้ก็เปิดฝาออกมาเป่าจนไฟติด ต่อมาจึงพัฒนามาเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พกพาได้ แต่แรกเริ่มนั้น จุดติดได้เพียงครั้งเดียว กระบอกจุดไฟแบบนี้เป็นที่นิยมเพราะสะดวกต่อการพกพา และเมื่อเป็นที่นิยมมากขึ้นกรรมวิธีการทำก็ซับซ้อนขึ้น วิธีทำกระบอกไฟที่ดีคือใช้วัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงได้ (เช่น กระดาษเนื้อหยาบ หญ้าบางชนิด มูลสัตว์ หรืออย่างดีคือเถามันเทศและปุยนุ่น) มาหมักน้ำแล้วบีบทุบและเค้นจนเป็นใย ทำอย่างนี้หลายครั้งก่อนจะนำไปตากแห้ง จากนั้นก็นำไปผสมกับขี้ไต้ (ส่วนผสมเท่าที่หาข้อมูลได้ก็มี ดีเกลือ ผงกำมะถัน ยางสน และการบูร) แล้วอัดเข้าไปในกระบอกไม้ไผ่ ก่อนใช้ต้องจุดไฟจนติดแรง แล้วค่อยดับไฟลงจนเหลือเพียงสะเก็ดไฟคุกรุ่นอยู่ข้างในแต่ไม่เหลือเปลวไฟ แล้วจึงปิดกระบอกด้วยฝาที่มีรูเล็ก พอจะใช้ก็เปิดออกแล้วเป่าจนไฟติด สามารถใช้ได้หลายครั้งจนเชื้อเพลิงหมดกระบอก และสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานหลายวัน ฟังดูเหมือนง่าย แต่ความยากของมันอยู่ที่ความพอดีของวัสดุเชื้อเพลิงและขี้ไต้ และความหนาแน่นที่พอดีในกระบอกที่ใส่ แน่นอนว่ากระบอกจุดไฟหั่วเจ๋อจื่อมีหลายเกรดแตกต่างกัน ในกลุ่มผู้มีอันจะกินจะใช้เชื้อเพลิงจากใยมันเทศและนุ่นผสมขี้ไต้ตามที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งกรรมวิธีทำจะซับซ้อน แต่จุดง่ายกว่า เพียงใช้มือโบกพัดไม่กี่ทีก็จุดติด ส่วนชาวบ้านธรรมดานิยมใช้เยื่อกระดาษหยาบ จะติดไฟยากกว่า เวลาเป่าให้ไฟติดจึงต้องมีเทคนิคมากหน่อย เพราะต้องเป็นลมที่เกิดอย่างกะทันหัน สั้นและแรง จึงจะก่อให้เกิดแรงกระตุ้นที่ดี เพราะฉะนั้นอย่างที่เราเห็นในละคร... ถ้าเราเป็นจอมยุทธ์ก็เพียงสะบัดมือวืดเดียวค่ะ แต่ถ้าไร้วรยุทธ์ก็ต้องใช้ปากเป่าค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากละคร <ปริศนาลับราชวงศ์ถัง> และจาก: https://k.sina.cn/article_5100008885_12ffbf5b500100ysyy.html?from=ent&subch=film https://www.163.com/dy/article/FO6T9F2R05437E9K.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/FO6T9F2R05437E9K.html https://kknews.cc/history/x4q6ojr.html http://m.qulishi.com/article/202009/438462.html #ปริศนาลับราชวงศ์ถัง #กระบอกไฟ #แท่งไฟโบราณ #แท่งจุดไฟ #หั่วเจ๋อจื่อ #กระบอกจุดไฟโบราณ
    该文章已不存在_手机新浪网
    手机新浪网是新浪网的手机门户网站,为亿万用户打造一个手机联通世界的超级平台,提供24小时全面及时的中文资讯,内容覆盖国内外突发新闻事件、体坛赛事、娱乐时尚、产业资讯、实用信息等。手机新浪网触屏版 - sina.cn
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 295 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มาคุยกันถึงวลีจีนที่พบเห็นได้บ่อย

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ท่านพ่อ แต่เรื่องนี้หากลู่อี้รู้เข้า พวกเราจะมีปัญหาหรือไม่?” หยางเยวี่ยเอ่ยอย่างไม่สบายใจ
    จินเซี่ยพยักหน้าหงึกหงัก “นั่นสิ เจ้าตัวร้ายผู้นั้นมิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน ยามแกล้งคนนั้นอำมหิตนัก”...
    - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)
    (หมายเหตุ ละครเรื่องยอดองค์รักษ์เสื้อแพรดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    อะไรคือ ‘มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’?

    ก่อนอื่นก็ต้องมาทำความเข้าใจกับ ‘ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ หรือ ‘เสิ่งโหยวเติง’ (省油灯)

    ในซีรีย์จีนเรามักเห็นเขาจุดเทียนเพื่อแสงสว่างกัน หรือในบางเรื่องก็จะเห็นเป็นตะเกียงน้ำมันแบบที่ใช้จานหรือชามตื้นเป็นภาชนะ ว่ากันว่า เทียนไขแรกเริ่มปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์ฉิน (ปี 221-206 ก่อนคริสต์ศักราช) เมื่อมีการนำน้ำมันจากไขสัตว์ไปเทใส่ในหลอดหญ้าที่มีเชือกทิ้งปลายออกมาเป็นไส้เทียน

    แต่ไม่ว่าจะเป็นเทียนหรือตะเกียงน้ำมันล้วนจัดเป็นของแพง เพราะต้องใช้ไขมันสกัดมาทำเทียนไขหรือเผาเป็นน้ำมัน จึงเป็นของมีราคาสูงและหายาก ไม่สามารถใช้พร่ำเพรื่อ เดิมมีใช้กันเฉพาะในวังและจวนขุนนางระดับสูง จัดเป็นของมีค่าหนึ่งรายการที่นิยมพระราชทานเป็นรางวัลให้กับขุนนาง ส่วนชาวบ้านธรรมดาก็ใช้คบเพลิงที่ทำขึ้นเองซึ่งไม่ต้องใช้น้ำมันมากเพราะใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง แต่จะมานั่งจุดคบกันทั้งคืนในห้องก็กระไรอยู่ เราจึงมักได้ยินถึงบทกวีหรือเห็นในละครที่บัณฑิตยากจนต้องนั่งอ่านหนังสือใต้แสงจันทร์

    ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งจึงเริ่มใช้เทียนไขกันอย่างแพร่หลายเพราะมีการสกัดไขมันพืชขึ้นซึ่งขึ้นรูปและอยู่ตัวได้ดีกว่าไขสัตว์ แต่ก็ยังจัดเป็นของฟุ่มเฟือย และแน่นอนว่าเทียนนั้นมีหลายเกรด มีบันทึกว่าในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ค.ศ. 1067-1085) นั้น เทียนไขเกรดสูงหนึ่งเล่มมีราคาสูงเป็นสิบเท่าของเทียนเกรดต่ำและคิดเป็นรายได้ประมาณสามวันของชาวบ้านธรรมดาเลยทีเดียว

    ในเมื่อไขมันสำหรับทำเทียนไขหรือตะเกียงน้ำมันล้วนเป็นของหายาก จึงเกิดสิ่งประดิษฐ์ขึ้นที่ประหยัดทรัพย์กว่าซึ่งก็คือตะเกียงประหยัดน้ำมัน บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยถังแต่ใช้แพร่หลายในสมัยซ่ง บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยซ่ง

    หลักการของเทคโนโลยีตะเกียงประหยัดน้ำมันนั้นง่ายจนน่าทึ่งว่าคนโบราณช่างฉลาดคิด คือเป็นการใส่น้ำไว้ในตะเกียงเพื่อลดความร้อนและรักษาอุณหภูมิไม่ให้ไขมันนั้นถูกเผาผลาญเร็วเกินไป และต้องใช้เป็นตะเกียงกระเบื้อง จะทรงสูงหรือเตี้ยก็ได้ แต่ไม่ใช้โลหะ ว่ากันว่าสามารถประหยัดน้ำมันได้ถึงครึ่งหนึ่งทีเดียว หน้าตาเป็นอย่างไรดูได้จากรูปประกอบ

    เข้าใจแล้วว่าตะเกียงประหยัดน้ำมันเป็นอย่างไร ก็คงเข้าใจความหมายของวลี ‘คนที่มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ ได้ไม่ยาก

    วลีนี้ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่ฉลาดหรือเก่งมากจนคนอื่น ‘เอาไม่อยู่’ หรือจัดการได้ยาก กว่าจะจัดการได้ต้องสิ้นเปลืองพลังงานมาก เป็นคนที่ไม่เคยเสียเปรียบใครเพราะฉลาดทันคน ฟังดูคล้ายเป็นการเปรียบเปรยเชิงลบ แต่จริงแล้วไม่ใช่ เพราะมันแฝงไว้ด้วยอาการยอมรับหรือเลื่อมใสอย่างเสียไม่ได้จากผู้ที่พูด

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://mercury0314.pixnet.net/blog/post/469082246-錦衣之下》任嘉倫、譚松韻、韓棟、葉青、
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=936cd571088453d061412ab3
    https://www.163.com/dy/article/F2QG74VJ05238DGE.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.baike.com/wikiid/4698842907576744062?view_id=3qk0zj0se7c000
    http://www.qulishi.com/article/201906/344431.html
    https://www.sohu.com/a/410514175_189939

    #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ตะเกียงน้ำมัน #ตะเกียงประหยัดน้ำมัน #เสิ่งโหยวเติง #วลีจีน
    วันนี้มาคุยกันถึงวลีจีนที่พบเห็นได้บ่อย ความมีอยู่ว่า ... “ท่านพ่อ แต่เรื่องนี้หากลู่อี้รู้เข้า พวกเราจะมีปัญหาหรือไม่?” หยางเยวี่ยเอ่ยอย่างไม่สบายใจ จินเซี่ยพยักหน้าหงึกหงัก “นั่นสิ เจ้าตัวร้ายผู้นั้นมิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน ยามแกล้งคนนั้นอำมหิตนัก”... - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) (หมายเหตุ ละครเรื่องยอดองค์รักษ์เสื้อแพรดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) อะไรคือ ‘มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’? ก่อนอื่นก็ต้องมาทำความเข้าใจกับ ‘ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ หรือ ‘เสิ่งโหยวเติง’ (省油灯) ในซีรีย์จีนเรามักเห็นเขาจุดเทียนเพื่อแสงสว่างกัน หรือในบางเรื่องก็จะเห็นเป็นตะเกียงน้ำมันแบบที่ใช้จานหรือชามตื้นเป็นภาชนะ ว่ากันว่า เทียนไขแรกเริ่มปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์ฉิน (ปี 221-206 ก่อนคริสต์ศักราช) เมื่อมีการนำน้ำมันจากไขสัตว์ไปเทใส่ในหลอดหญ้าที่มีเชือกทิ้งปลายออกมาเป็นไส้เทียน แต่ไม่ว่าจะเป็นเทียนหรือตะเกียงน้ำมันล้วนจัดเป็นของแพง เพราะต้องใช้ไขมันสกัดมาทำเทียนไขหรือเผาเป็นน้ำมัน จึงเป็นของมีราคาสูงและหายาก ไม่สามารถใช้พร่ำเพรื่อ เดิมมีใช้กันเฉพาะในวังและจวนขุนนางระดับสูง จัดเป็นของมีค่าหนึ่งรายการที่นิยมพระราชทานเป็นรางวัลให้กับขุนนาง ส่วนชาวบ้านธรรมดาก็ใช้คบเพลิงที่ทำขึ้นเองซึ่งไม่ต้องใช้น้ำมันมากเพราะใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง แต่จะมานั่งจุดคบกันทั้งคืนในห้องก็กระไรอยู่ เราจึงมักได้ยินถึงบทกวีหรือเห็นในละครที่บัณฑิตยากจนต้องนั่งอ่านหนังสือใต้แสงจันทร์ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งจึงเริ่มใช้เทียนไขกันอย่างแพร่หลายเพราะมีการสกัดไขมันพืชขึ้นซึ่งขึ้นรูปและอยู่ตัวได้ดีกว่าไขสัตว์ แต่ก็ยังจัดเป็นของฟุ่มเฟือย และแน่นอนว่าเทียนนั้นมีหลายเกรด มีบันทึกว่าในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ค.ศ. 1067-1085) นั้น เทียนไขเกรดสูงหนึ่งเล่มมีราคาสูงเป็นสิบเท่าของเทียนเกรดต่ำและคิดเป็นรายได้ประมาณสามวันของชาวบ้านธรรมดาเลยทีเดียว ในเมื่อไขมันสำหรับทำเทียนไขหรือตะเกียงน้ำมันล้วนเป็นของหายาก จึงเกิดสิ่งประดิษฐ์ขึ้นที่ประหยัดทรัพย์กว่าซึ่งก็คือตะเกียงประหยัดน้ำมัน บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยถังแต่ใช้แพร่หลายในสมัยซ่ง บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยซ่ง หลักการของเทคโนโลยีตะเกียงประหยัดน้ำมันนั้นง่ายจนน่าทึ่งว่าคนโบราณช่างฉลาดคิด คือเป็นการใส่น้ำไว้ในตะเกียงเพื่อลดความร้อนและรักษาอุณหภูมิไม่ให้ไขมันนั้นถูกเผาผลาญเร็วเกินไป และต้องใช้เป็นตะเกียงกระเบื้อง จะทรงสูงหรือเตี้ยก็ได้ แต่ไม่ใช้โลหะ ว่ากันว่าสามารถประหยัดน้ำมันได้ถึงครึ่งหนึ่งทีเดียว หน้าตาเป็นอย่างไรดูได้จากรูปประกอบ เข้าใจแล้วว่าตะเกียงประหยัดน้ำมันเป็นอย่างไร ก็คงเข้าใจความหมายของวลี ‘คนที่มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ ได้ไม่ยาก วลีนี้ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่ฉลาดหรือเก่งมากจนคนอื่น ‘เอาไม่อยู่’ หรือจัดการได้ยาก กว่าจะจัดการได้ต้องสิ้นเปลืองพลังงานมาก เป็นคนที่ไม่เคยเสียเปรียบใครเพราะฉลาดทันคน ฟังดูคล้ายเป็นการเปรียบเปรยเชิงลบ แต่จริงแล้วไม่ใช่ เพราะมันแฝงไว้ด้วยอาการยอมรับหรือเลื่อมใสอย่างเสียไม่ได้จากผู้ที่พูด (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://mercury0314.pixnet.net/blog/post/469082246-錦衣之下》任嘉倫、譚松韻、韓棟、葉青、 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=936cd571088453d061412ab3 https://www.163.com/dy/article/F2QG74VJ05238DGE.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.baike.com/wikiid/4698842907576744062?view_id=3qk0zj0se7c000 http://www.qulishi.com/article/201906/344431.html https://www.sohu.com/a/410514175_189939 #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ตะเกียงน้ำมัน #ตะเกียงประหยัดน้ำมัน #เสิ่งโหยวเติง #วลีจีน
    MERCURY0314.PIXNET.NET
    《錦衣之下》分集劇情+心得分享(第1-55集大結局劇情)任嘉倫、譚松韻、韓棟、葉青、姚奕辰、路宏主演,劇情角色演員介紹,根據藍色獅的同名小說改編,將「懸疑推理」與「古裝言情」相結合,一下夫婦劇中高甜互動,十分引人期待!
    錦衣之下 任嘉倫譚松韻主演 2019年末古裝大劇接連播出, 真的是讓人追劇追到上頭了, 這不又有一波優質古裝劇要開播, 那就是任嘉倫、譚松韻主演的 《錦衣之下》。 其實這部早在2018年
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 345 มุมมอง 0 รีวิว

  • เพื่อนเพจคงเคยคุ้นกับคำมงคลจีนที่เอามาติดผนังหรือทำการ์ดหรือของชำร่วย บางอักษรที่เคยผ่านตาอาจจะดูซับซ้อนมากจนถึงกับคิดว่าทำไมอักษรจีนมันช่างเขียนยากอย่างนี้ แต่คุณอาจไม่เคยสังเกตหรือทราบมาก่อนว่า บางอักษรเหล่านั้นเป็นอักษรประสมหรือ ‘เหอเฉิงจื้อ’ (合成字 หรือ Compound Chinese Character) หรือ ‘เหอถี่จื้อ’ (合体字)

    อักษรประสมจีนคือการเอาอักษรสองตัวหรือมากกว่ามาเขียนรวมกันจนดูราวกับว่ามันเป็นเพียงอักษรเดียว อย่างเช่นภาพอักษรมงคลคู่ที่เราเห็นบ่อยในงานมงคล (ภาพประกอบ1-ซ้าย) จริงแล้วก็คืออักษร ‘สี่’ ที่แปลว่ามงคลหรือความสุข (喜)มาเขียนติดกันสองตัว

    การใช้อักษรประสมที่นิยมทำกันคือการนำประโยคสุภาษิตจีนมาเขียนเป็นอักษรประสมเพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล เราจะเห็นบ่อยมากในช่วงเทศกาลตรุษจีน อย่างเช่น ‘จาวฉายจิ้งป่าว’ ที่แปลว่า กวักทรัพย์เรียกสมบัติ (ดูภาพประกอบ1-ขวา)

    ว่ากันว่าต้นกำเนิดของการเขียนอักษรประสมมาจากงานพิธีกรรมทางศาสนาโดยมีการนำคำที่มีความหมายมงคลหรือการขับไล่สิ่งที่ไม่ดีมาเขียนประสมขึ้นบนยันต์ บ้างก็มีการนำชื่อเทพเจ้ามาเขียนเป็นอักษรประสม ต่อมาชาวบ้านจึงนิยมมีไว้ประดับบ้านเรือนเพื่อป้องกันภูตผีปีศาจและโชคร้าย จนกลายมาเป็นการเขียนคำมงคลทั่วไปที่ใช้ในเทศกาลและงานมงคลต่างๆ แบบที่เรายังเห็นมีใช้ในปัจจุบัน นอกจากนี้ปัจจุบันยังกลายมาเป็นเทรนด์ในการดีไซน์โลโก้ของแบรนด์หรือร้านค้าในจีนด้วยเช่นกัน

    แล้วอักษรประสมอ่านออกเสียงอย่างไร?

    อักษรประสมโดยส่วนใหญ่แทบจะทั้งหมดจะไม่มีเสียงอ่านเฉพาะของมัน แต่จะอ่านครบตามประโยคที่นำมาเขียนรวม เช่น ‘จาวฉายจิ้งป่าว’ ที่เห็นในรูปภาพประกอบ1-ขวา ก็จะอ่านออกมาเต็มๆ สี่อักษร แต่ก็มีบางอักษรประสมที่มีเสียงอ่านเฉพาะ อย่างตัวอย่างอักษรมงคลคู่ (喜喜)จะไม่อ่านว่า ‘สี่สี่’ แต่มีเสียงอ่านเฉพาะตัวว่า ‘สี่’ หรือจะอ่านว่า ‘ซวงสี่’ ก็ได้ (‘ซวง’ แปลว่าคู่)

    อักษรประสมต้องดูซับซ้อนเสมอไปหรือไม่? แน่นอนว่าจำนวนอักษรที่นำมาประสมยิ่งมากก็ยิ่งดูซับซ้อน แต่มีอักษรที่ใช้ประจำวันบางตัวที่จัดเป็นอักษรประสมด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสองอักษร ไม่ซับซ้อนเหมือนอักษรมงคลที่กล่าวมาข้างต้น เช่น คำว่า ‘ไว้’ ซึ่งแปลว่าเบี้ยวหรือเอียง (歪) ประกอบด้วยอักษร ‘ปู้’ ด้านบนและ ‘เจิ้ง’ด้านล่าง ซึ่ง ‘ปู้เจิ้ง’ แปลรวมว่าไม่ตรง เป็นต้น

    จากที่ไปอ่านเพจของจีนมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ Storyฯ เห็นมีเพจหนึ่งเขาเอารูปถ่ายประตูบ้านของบ้านหลังหนึ่งในเมืองซีอันมาลงให้ดู เลยเอามาให้เพื่อนเพจดูด้วย (ภาพประกอบ 2) ... เห็นแล้วก็อึ้งทึ่งกับความ ‘จัดเต็ม’ ของคำมงคลจีนที่เจ้าของบ้านเอามาแปะไว้ เพราะรวมได้ทั้งหมดสุภาษิต 18 ประโยค เป็นการประสมทั้งหมด 72 อักษรให้เหลือเพียง 18 อักษร เก่งไหมล่ะ?

    อยากชวนเพื่อนเพจลองมองซองอั่งเปาและรูปภาพต่างๆ ในเทศกาลตรุษจีนนี้ คุณอาจได้เห็นอักษรประสมเท่ๆ ที่ Storyฯ ไม่ได้กล่าวถึง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาอักษรประสมไหนอีก แปะรูปหรือเม้นท์มาคุยให้ฟังกันบ้างนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.marieclaire.com.tw/entertainment/tvshow/60505
    https://baike.baidu.com/item/合体字/2459569
    https://www.163.com/dy/article/DBTJP8OA0524L8US.html#:~:text=合体字:就是由两,表示人倚着树木。
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/合体字/2459569
    https://new.qq.com/rain/a/20210627A08TKO00

    #เหอถี่จื้อ #เหอเฉิงจื้อ #คำมงคลจีน #อักษรประสม #อักษรจีน
    เพื่อนเพจคงเคยคุ้นกับคำมงคลจีนที่เอามาติดผนังหรือทำการ์ดหรือของชำร่วย บางอักษรที่เคยผ่านตาอาจจะดูซับซ้อนมากจนถึงกับคิดว่าทำไมอักษรจีนมันช่างเขียนยากอย่างนี้ แต่คุณอาจไม่เคยสังเกตหรือทราบมาก่อนว่า บางอักษรเหล่านั้นเป็นอักษรประสมหรือ ‘เหอเฉิงจื้อ’ (合成字 หรือ Compound Chinese Character) หรือ ‘เหอถี่จื้อ’ (合体字) อักษรประสมจีนคือการเอาอักษรสองตัวหรือมากกว่ามาเขียนรวมกันจนดูราวกับว่ามันเป็นเพียงอักษรเดียว อย่างเช่นภาพอักษรมงคลคู่ที่เราเห็นบ่อยในงานมงคล (ภาพประกอบ1-ซ้าย) จริงแล้วก็คืออักษร ‘สี่’ ที่แปลว่ามงคลหรือความสุข (喜)มาเขียนติดกันสองตัว การใช้อักษรประสมที่นิยมทำกันคือการนำประโยคสุภาษิตจีนมาเขียนเป็นอักษรประสมเพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล เราจะเห็นบ่อยมากในช่วงเทศกาลตรุษจีน อย่างเช่น ‘จาวฉายจิ้งป่าว’ ที่แปลว่า กวักทรัพย์เรียกสมบัติ (ดูภาพประกอบ1-ขวา) ว่ากันว่าต้นกำเนิดของการเขียนอักษรประสมมาจากงานพิธีกรรมทางศาสนาโดยมีการนำคำที่มีความหมายมงคลหรือการขับไล่สิ่งที่ไม่ดีมาเขียนประสมขึ้นบนยันต์ บ้างก็มีการนำชื่อเทพเจ้ามาเขียนเป็นอักษรประสม ต่อมาชาวบ้านจึงนิยมมีไว้ประดับบ้านเรือนเพื่อป้องกันภูตผีปีศาจและโชคร้าย จนกลายมาเป็นการเขียนคำมงคลทั่วไปที่ใช้ในเทศกาลและงานมงคลต่างๆ แบบที่เรายังเห็นมีใช้ในปัจจุบัน นอกจากนี้ปัจจุบันยังกลายมาเป็นเทรนด์ในการดีไซน์โลโก้ของแบรนด์หรือร้านค้าในจีนด้วยเช่นกัน แล้วอักษรประสมอ่านออกเสียงอย่างไร? อักษรประสมโดยส่วนใหญ่แทบจะทั้งหมดจะไม่มีเสียงอ่านเฉพาะของมัน แต่จะอ่านครบตามประโยคที่นำมาเขียนรวม เช่น ‘จาวฉายจิ้งป่าว’ ที่เห็นในรูปภาพประกอบ1-ขวา ก็จะอ่านออกมาเต็มๆ สี่อักษร แต่ก็มีบางอักษรประสมที่มีเสียงอ่านเฉพาะ อย่างตัวอย่างอักษรมงคลคู่ (喜喜)จะไม่อ่านว่า ‘สี่สี่’ แต่มีเสียงอ่านเฉพาะตัวว่า ‘สี่’ หรือจะอ่านว่า ‘ซวงสี่’ ก็ได้ (‘ซวง’ แปลว่าคู่) อักษรประสมต้องดูซับซ้อนเสมอไปหรือไม่? แน่นอนว่าจำนวนอักษรที่นำมาประสมยิ่งมากก็ยิ่งดูซับซ้อน แต่มีอักษรที่ใช้ประจำวันบางตัวที่จัดเป็นอักษรประสมด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสองอักษร ไม่ซับซ้อนเหมือนอักษรมงคลที่กล่าวมาข้างต้น เช่น คำว่า ‘ไว้’ ซึ่งแปลว่าเบี้ยวหรือเอียง (歪) ประกอบด้วยอักษร ‘ปู้’ ด้านบนและ ‘เจิ้ง’ด้านล่าง ซึ่ง ‘ปู้เจิ้ง’ แปลรวมว่าไม่ตรง เป็นต้น จากที่ไปอ่านเพจของจีนมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ Storyฯ เห็นมีเพจหนึ่งเขาเอารูปถ่ายประตูบ้านของบ้านหลังหนึ่งในเมืองซีอันมาลงให้ดู เลยเอามาให้เพื่อนเพจดูด้วย (ภาพประกอบ 2) ... เห็นแล้วก็อึ้งทึ่งกับความ ‘จัดเต็ม’ ของคำมงคลจีนที่เจ้าของบ้านเอามาแปะไว้ เพราะรวมได้ทั้งหมดสุภาษิต 18 ประโยค เป็นการประสมทั้งหมด 72 อักษรให้เหลือเพียง 18 อักษร เก่งไหมล่ะ? อยากชวนเพื่อนเพจลองมองซองอั่งเปาและรูปภาพต่างๆ ในเทศกาลตรุษจีนนี้ คุณอาจได้เห็นอักษรประสมเท่ๆ ที่ Storyฯ ไม่ได้กล่าวถึง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาอักษรประสมไหนอีก แปะรูปหรือเม้นท์มาคุยให้ฟังกันบ้างนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.marieclaire.com.tw/entertainment/tvshow/60505 https://baike.baidu.com/item/合体字/2459569 https://www.163.com/dy/article/DBTJP8OA0524L8US.html#:~:text=合体字:就是由两,表示人倚着树木。 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/合体字/2459569 https://new.qq.com/rain/a/20210627A08TKO00 #เหอถี่จื้อ #เหอเฉิงจื้อ #คำมงคลจีน #อักษรประสม #อักษรจีน
    WWW.MARIECLAIRE.COM.TW
    《一生一世》超前大結局!任嘉倫爆打惡人周文川,白鹿從前世跳樓到今生
    絕世大甜劇《一生一世》迎來大結局前,也狠狠虐了觀眾一波,事故和意外不斷,惡人周文川受觀眾的討厭程度,大概和《周生如故》劉子行不相上下。
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 307 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มาคุยกันสั้นๆ กับสิ่งที่สะดุดตา Storyฯ จากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้จะเห็นว่ามีฉากงานเลี้ยงและรับประทานอาหารบ่อยมาก ไม่ทราบว่ามีใครสะดุดตากับวิธีการจัดวางอาหารบนโต๊ะหรือไม่ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องนี้ เพราะในละครนี้มีการจัดวางอาหารไว้คล้ายคลึงกับที่ปรากฏไว้ในบันทึกพิธีการราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’

    ในบันทึกโจวหลี่มีหลักการการจัดโต๊ะไว้ให้สะดวกต่อการรับประทาน (ดูได้ในรูปประกอบขวาล่าง) โดยกำหนดว่า 1. เนื้อที่ติดกระดูกและปลาอยู่ด้านซ้ายของผู้นั่ง ถ้ามีทั้งสองอย่าง เนื้อติดกระดูกอยู่บน ปลาอยู่ล่างและหางปลาต้องหันเข้าหาตัวผู้นั่งเพื่อสะดวกต่อการตักเนื้อปลา 2. ส่วนด้านขวานั้นเป็นเนื้อที่หั่นเป็นชิ้นแล้ว 3. ด้านขวานอกสุดเป็นตำแหน่งของเนื้อย่าง 4. เครื่องขบเคี้ยวหรือแกล้มวางถัดมาด้านในของเนื้อย่าง (ที่นิยมคือต้นหอมนึ่งสุก) 5. เครื่องดื่ม(เช่น น้ำแกง) ไว้ด้านขวาของคนนั่ง สุราก็เช่นกัน 6. น้ำจิ้มต่างๆ อยู่ด้านหน้า 7. ด้านบนเยื้องขวาเป็นเนื้อตากแห้ง/เนื้อหมัก โดยเนื้อตากแห้ง/หมักนี้หากเป็นแบบเส้นตรงไว้ขวา หากแบบไม่ตรงให้ไว้ซ้าย

    จากรูปประกอบล่างขวาจะเห็นว่า พื้นที่ด้านบนตรงกลางและเยื้องไปทางซ้ายของโต๊ะมักจะมีที่ว่าง ตรงนี้ไม่มีกำหนดไว้ว่าต้องวางอะไร จึงถูกใช้เป็นที่วางพวกผลไม้และผักอื่นๆ โดยวางเรียงจากขวามา อย่างเช่นภาพโต๊ะอาหารท่านย่าเฉิงที่ยกมาจากในละครเป็นต้น (รูปประกอบซ้ายล่าง) และแน่นอนว่าพวกเนื้อสัตว์เป็นชิ้นๆ มีราคาแพงจึงไม่ใช่ทุกมื้อที่ ‘จัดเต็ม’ อย่างที่กล่าวถึงในบันทึกพิธีการโจวหลี่ ดังนั้น อาหารชนิดใดที่ตรงตามระบุไว้ ให้วางตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ ที่ไม่ใช่ค่อยวางตรงพื้นที่เหลือด้านบน

    ภาพจากละครเอามาลงให้ไม่หมดจริงๆ ใครกำลังดูอยู่หรือกลับไปดูซ้ำ ลองสังเกตดูนะคะว่าเขาจัดวางโต๊ะตามที่กล่าวมาข้างต้นอย่างไร เพราะละครเรื่องนี้ว่าตามยุคสมัยฮั่น ซึ่งหลายๆ อย่างยังยึดธรรมเนียมและพิธีการตามโจวหลี่อยู่

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/355808498_528910
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/汉朝饮食/7192206
    https://www.sohu.com/a/580224319_121147311
    https://www.sohu.com/a/355808498_528910
    http://www.ruiwen.com/liyichangshi/2381391.html

    #ดาราจักรรักลำนำใจ #โจวหลี่ #จัดวางอาหารจีนโบราณ
    วันนี้มาคุยกันสั้นๆ กับสิ่งที่สะดุดตา Storyฯ จากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้จะเห็นว่ามีฉากงานเลี้ยงและรับประทานอาหารบ่อยมาก ไม่ทราบว่ามีใครสะดุดตากับวิธีการจัดวางอาหารบนโต๊ะหรือไม่ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องนี้ เพราะในละครนี้มีการจัดวางอาหารไว้คล้ายคลึงกับที่ปรากฏไว้ในบันทึกพิธีการราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบันทึกโจวหลี่มีหลักการการจัดโต๊ะไว้ให้สะดวกต่อการรับประทาน (ดูได้ในรูปประกอบขวาล่าง) โดยกำหนดว่า 1. เนื้อที่ติดกระดูกและปลาอยู่ด้านซ้ายของผู้นั่ง ถ้ามีทั้งสองอย่าง เนื้อติดกระดูกอยู่บน ปลาอยู่ล่างและหางปลาต้องหันเข้าหาตัวผู้นั่งเพื่อสะดวกต่อการตักเนื้อปลา 2. ส่วนด้านขวานั้นเป็นเนื้อที่หั่นเป็นชิ้นแล้ว 3. ด้านขวานอกสุดเป็นตำแหน่งของเนื้อย่าง 4. เครื่องขบเคี้ยวหรือแกล้มวางถัดมาด้านในของเนื้อย่าง (ที่นิยมคือต้นหอมนึ่งสุก) 5. เครื่องดื่ม(เช่น น้ำแกง) ไว้ด้านขวาของคนนั่ง สุราก็เช่นกัน 6. น้ำจิ้มต่างๆ อยู่ด้านหน้า 7. ด้านบนเยื้องขวาเป็นเนื้อตากแห้ง/เนื้อหมัก โดยเนื้อตากแห้ง/หมักนี้หากเป็นแบบเส้นตรงไว้ขวา หากแบบไม่ตรงให้ไว้ซ้าย จากรูปประกอบล่างขวาจะเห็นว่า พื้นที่ด้านบนตรงกลางและเยื้องไปทางซ้ายของโต๊ะมักจะมีที่ว่าง ตรงนี้ไม่มีกำหนดไว้ว่าต้องวางอะไร จึงถูกใช้เป็นที่วางพวกผลไม้และผักอื่นๆ โดยวางเรียงจากขวามา อย่างเช่นภาพโต๊ะอาหารท่านย่าเฉิงที่ยกมาจากในละครเป็นต้น (รูปประกอบซ้ายล่าง) และแน่นอนว่าพวกเนื้อสัตว์เป็นชิ้นๆ มีราคาแพงจึงไม่ใช่ทุกมื้อที่ ‘จัดเต็ม’ อย่างที่กล่าวถึงในบันทึกพิธีการโจวหลี่ ดังนั้น อาหารชนิดใดที่ตรงตามระบุไว้ ให้วางตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ ที่ไม่ใช่ค่อยวางตรงพื้นที่เหลือด้านบน ภาพจากละครเอามาลงให้ไม่หมดจริงๆ ใครกำลังดูอยู่หรือกลับไปดูซ้ำ ลองสังเกตดูนะคะว่าเขาจัดวางโต๊ะตามที่กล่าวมาข้างต้นอย่างไร เพราะละครเรื่องนี้ว่าตามยุคสมัยฮั่น ซึ่งหลายๆ อย่างยังยึดธรรมเนียมและพิธีการตามโจวหลี่อยู่ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/355808498_528910 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/汉朝饮食/7192206 https://www.sohu.com/a/580224319_121147311 https://www.sohu.com/a/355808498_528910 http://www.ruiwen.com/liyichangshi/2381391.html #ดาราจักรรักลำนำใจ #โจวหลี่ #จัดวางอาหารจีนโบราณ
    WWW.SOHU.COM
    古人的请客之道,处处有讲究_客人
    除了上菜时需要注意的礼节,菜肴摆放的位置也在《礼记·曲礼》中做了严格的规定:客人面前的桌子上,左边依次为带骨的熟肉、主食(饭),右边依次是大块的熟肉、酒和饮料;在最里边放酱酪调料,外边放烤肉,右边放着蒸…
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 292 มุมมอง 0 รีวิว
  • เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นหูคุ้นตากับ ‘คทาหรูอี้’ (หรูอี้/如意 แปลตรงตัวได้ว่า สมดังปรารถนา) บริบทที่เรามักเห็นในนิยาย/ละครจีนบ่อยๆ คือ ฮ่องเต้พระราชทานคทาหรูอี้หยกให้เป็นรางวัลต่อขุนนาง หรือบุรุษสูงศักดิ์มอบคทาหรูอี้ให้สตรีที่ถูกเลือกเป็นภรรยา อย่างเช่นตัวอย่างภาพประกอบยกมาจากละคร <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ตอนที่องค์ชายหงอี้ทรงเลือกชิงอิงเป็นพระชายา (รูปประกอบ1 ซ้าย) หรือเป็นวัตถุมงคลเหมาะกับการมอบให้เป็นของขวัญ

    เคยมีคนเขียนถึงคทาหรูอี้มาแล้วบ้าง ด้วยความหมายที่กล่าวถึงข้างต้น และเพื่อนเพจอาจเคยคุ้นกับการที่มีคทาหรูอี้ปรากฏในรูปภาพและรูปปั้นเทพเจ้าจีน และนักบวชนิยมถือคทาหรูอี้ยามสวดมนต์ ว่ากันว่าการใช้คทาหรูอี้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนานั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโบราณ

    แต่วันนี้ Storyฯ มาคุยเกี่ยวกับคทาหรูอี้ในอีกแง่มุมหนึ่ง... เพื่อนเพจเคยสงสัยเหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า เข้าใจล่ะว่าชื่อเป็นมงคล แต่คทาหรูอี้ออกจะเทอะทะ... มันไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากตั้งโชว์หรือถือไว้เท่ๆ เลยหรือ?

    จากภาพวาดโบราณ (รูปประกอบ 1 ขวา) จะเห็นว่าคทาหรูอี้เป็นของใช้ติดมือของชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้แก่ผู้เฒ่า... แสดงว่ามันต้องมีประโยชน์สิน่ะ เพื่อนเพจพอจะเดากันออกหรือไม่?

    จากข้อมูลที่ทางพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามรวบรวมได้ คทาหรูอี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 206 ก่อนคริสตศักราช - ปีค.ศ. 220) เดิมถูกใช้เป็นไม้เกาหลัง เรียกว่า ‘หรูอี้’ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘ไม่ง้อใคร’ (不求人/ปู้ฉิวเหริน) แรกเริ่มมีรูปทรงคล้ายมือ โดยในบันทึกสมัยราชวงศ์ชิง (事物异名录/ซื่ออู้อี้หมิงลู่) ได้เขียนไว้ว่า “หรูอี้นั้นไซร้ เป็นไม้กรงเล็บ”

    นอกจากนี้ ยังมีบทความสมัยราชวงศ์เหนือใต้ว่ามีการใช้คทาหรูอี้เป็นไม้ส่งสัญญาณเคลื่อนทัพในยามศึก นัยว่าเพื่อให้ชนะศึกได้ดังใจหมาย

    คทาหรูอี้กลายเป็นวัตถุประจำตัวที่คนนิยมพกพาเพราะชื่อเป็นมงคลและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวก็ได้ จึงพัฒนารูปแบบให้สวยงามมากขึ้น ว่ากันว่าในสมัยราชวงศ์เหนือใต้นั้นใช้กันแพร่หลายในหลายแคว้นทั้งในวังและนอกวัง โดยสมัยนั้นนิยมให้ด้ามจับโค้งเป็นทรงกลุ่มดาวจระเข้ ตัวด้ามกลมมนเพื่อให้จับถนัดมือ ทำจากไม้ ไม้ไผ่หรือโลหะ มีใช้กันตั้งแต่ในวังยันชาวบ้านธรรมดานอกวัง ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังจึงทำด้ามจับให้แบนลงและเป็นเส้นตรง โค้งที่ปลายหัว

    นานวันเข้า เมื่อถึงสมัยหมิงและชิง คทาหรูอี้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในฐานะวัตถุมงคลที่ใช้ประดับบ้านเรือนหรือของขวัญ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรมีในสินสอดของหมั้นของแต่งงาน จึงมีรูปแบบที่วิจิตรขึ้น รูปทรงที่เราคุ้นตาคือหัวเป็นทรงเห็ดหลินจือ โดยเฉพาะในยุคสมัยชิงนั้น คทาหรูอี้เป็นที่นิยมมากในวัง ไม่ว่าจะในงานราชประเพณี การแต่งตั้งขุนนาง การรับทูตจากต่างแดน ฯลฯ ล้วนต้องมีการถือคทาหรูอี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล

    ปัจจุบันในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามมีการเก็บรักษาคทาหรูอี้โบราณไว้กว่าสองพันชิ้นโดยส่วนใหญ่เป็นของสมัยชิง วัสดุที่ใช้ทำคทาหรูอี้นั้นหลากหลาย มีทั้งหยกชนิดต่างๆ ปะการัง ทองคำ เงิน ทองเหลือง งาช้าง ไม้ไผ่และไม้ชนิดต่างๆ และมีการแกะสลักลวดลายมากมายลงบนคทา

    Storyฯ เคยไปเที่ยวเมื่อนานมากแล้ว จำไม่ได้เลยว่าได้เคยเห็นอะไรในพิพิธภัณฑ์นี้บ้าง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาก็มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.jianshu.com/p/faa99f5d9868
    https://new.qq.com/rain/a/20211210A027EU00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.mct.gov.cn/whzx/zsdw/ggbwy/202102/t20210210_921534.htm
    https://www.sohu.com/a/508658629_322551
    https://baike.baidu.com/item/如意/254746
    https://new.qq.com/rain/a/20220728A054CG00

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #คทาหรูอี้ #วัตถุมงคลจีน #ไม้เกาหลัง
    เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นหูคุ้นตากับ ‘คทาหรูอี้’ (หรูอี้/如意 แปลตรงตัวได้ว่า สมดังปรารถนา) บริบทที่เรามักเห็นในนิยาย/ละครจีนบ่อยๆ คือ ฮ่องเต้พระราชทานคทาหรูอี้หยกให้เป็นรางวัลต่อขุนนาง หรือบุรุษสูงศักดิ์มอบคทาหรูอี้ให้สตรีที่ถูกเลือกเป็นภรรยา อย่างเช่นตัวอย่างภาพประกอบยกมาจากละคร <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ตอนที่องค์ชายหงอี้ทรงเลือกชิงอิงเป็นพระชายา (รูปประกอบ1 ซ้าย) หรือเป็นวัตถุมงคลเหมาะกับการมอบให้เป็นของขวัญ เคยมีคนเขียนถึงคทาหรูอี้มาแล้วบ้าง ด้วยความหมายที่กล่าวถึงข้างต้น และเพื่อนเพจอาจเคยคุ้นกับการที่มีคทาหรูอี้ปรากฏในรูปภาพและรูปปั้นเทพเจ้าจีน และนักบวชนิยมถือคทาหรูอี้ยามสวดมนต์ ว่ากันว่าการใช้คทาหรูอี้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนานั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโบราณ แต่วันนี้ Storyฯ มาคุยเกี่ยวกับคทาหรูอี้ในอีกแง่มุมหนึ่ง... เพื่อนเพจเคยสงสัยเหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า เข้าใจล่ะว่าชื่อเป็นมงคล แต่คทาหรูอี้ออกจะเทอะทะ... มันไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากตั้งโชว์หรือถือไว้เท่ๆ เลยหรือ? จากภาพวาดโบราณ (รูปประกอบ 1 ขวา) จะเห็นว่าคทาหรูอี้เป็นของใช้ติดมือของชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้แก่ผู้เฒ่า... แสดงว่ามันต้องมีประโยชน์สิน่ะ เพื่อนเพจพอจะเดากันออกหรือไม่? จากข้อมูลที่ทางพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามรวบรวมได้ คทาหรูอี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 206 ก่อนคริสตศักราช - ปีค.ศ. 220) เดิมถูกใช้เป็นไม้เกาหลัง เรียกว่า ‘หรูอี้’ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘ไม่ง้อใคร’ (不求人/ปู้ฉิวเหริน) แรกเริ่มมีรูปทรงคล้ายมือ โดยในบันทึกสมัยราชวงศ์ชิง (事物异名录/ซื่ออู้อี้หมิงลู่) ได้เขียนไว้ว่า “หรูอี้นั้นไซร้ เป็นไม้กรงเล็บ” นอกจากนี้ ยังมีบทความสมัยราชวงศ์เหนือใต้ว่ามีการใช้คทาหรูอี้เป็นไม้ส่งสัญญาณเคลื่อนทัพในยามศึก นัยว่าเพื่อให้ชนะศึกได้ดังใจหมาย คทาหรูอี้กลายเป็นวัตถุประจำตัวที่คนนิยมพกพาเพราะชื่อเป็นมงคลและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวก็ได้ จึงพัฒนารูปแบบให้สวยงามมากขึ้น ว่ากันว่าในสมัยราชวงศ์เหนือใต้นั้นใช้กันแพร่หลายในหลายแคว้นทั้งในวังและนอกวัง โดยสมัยนั้นนิยมให้ด้ามจับโค้งเป็นทรงกลุ่มดาวจระเข้ ตัวด้ามกลมมนเพื่อให้จับถนัดมือ ทำจากไม้ ไม้ไผ่หรือโลหะ มีใช้กันตั้งแต่ในวังยันชาวบ้านธรรมดานอกวัง ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังจึงทำด้ามจับให้แบนลงและเป็นเส้นตรง โค้งที่ปลายหัว นานวันเข้า เมื่อถึงสมัยหมิงและชิง คทาหรูอี้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในฐานะวัตถุมงคลที่ใช้ประดับบ้านเรือนหรือของขวัญ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรมีในสินสอดของหมั้นของแต่งงาน จึงมีรูปแบบที่วิจิตรขึ้น รูปทรงที่เราคุ้นตาคือหัวเป็นทรงเห็ดหลินจือ โดยเฉพาะในยุคสมัยชิงนั้น คทาหรูอี้เป็นที่นิยมมากในวัง ไม่ว่าจะในงานราชประเพณี การแต่งตั้งขุนนาง การรับทูตจากต่างแดน ฯลฯ ล้วนต้องมีการถือคทาหรูอี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล ปัจจุบันในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามมีการเก็บรักษาคทาหรูอี้โบราณไว้กว่าสองพันชิ้นโดยส่วนใหญ่เป็นของสมัยชิง วัสดุที่ใช้ทำคทาหรูอี้นั้นหลากหลาย มีทั้งหยกชนิดต่างๆ ปะการัง ทองคำ เงิน ทองเหลือง งาช้าง ไม้ไผ่และไม้ชนิดต่างๆ และมีการแกะสลักลวดลายมากมายลงบนคทา Storyฯ เคยไปเที่ยวเมื่อนานมากแล้ว จำไม่ได้เลยว่าได้เคยเห็นอะไรในพิพิธภัณฑ์นี้บ้าง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาก็มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.jianshu.com/p/faa99f5d9868 https://new.qq.com/rain/a/20211210A027EU00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.mct.gov.cn/whzx/zsdw/ggbwy/202102/t20210210_921534.htm https://www.sohu.com/a/508658629_322551 https://baike.baidu.com/item/如意/254746 https://new.qq.com/rain/a/20220728A054CG00 #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #คทาหรูอี้ #วัตถุมงคลจีน #ไม้เกาหลัง
    WWW.JIANSHU.COM
    【如懿传|如懿】年少情深,也可以走到相看两厌
    一出墙头马上,两心相许。山河依旧,唯人兰因絮果。 如懿的一生都把真心付给了自己的少年郎,年少时的扶持,无人之巅的陪伴,病榻前的守护,相比于甄嬛,她更加令人心疼。 执着勇敢是她...
    Like
    1
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 536 มุมมอง 0 รีวิว
  • “รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา” (ฉิงปู้จื๊อสัวฉี่ อี้หว่างเอ๋อร์เซิ้น / 情不知所起,一往而深)

    ต้อนรับสัปดาห์แห่งความรักกันด้วยอีกหนึ่งวลีสุดฮิตเกี่ยวกับความรัก ที่ Storyฯ เชื่อว่าแฟนนิยายจีนต้องเคยผ่านตายามตัวละครบอกรักกัน (แต่อาจแปลแตกต่างกันบ้างแล้วแต่ผู้แปล)

    ตัวอย่างจากในซีรีส์ก็มี อย่างเช่นในเรื่อง <เจินหวน จอมนางคู่แผ่นดิน> ในฉากที่เหล่ามเหสีชายาและสนมนั่งชมละครงิ้วในวังหลัง นางเอกเมื่อยังเป็นว่านกุ้ยเหรินได้พูดว่า “ในบทประพันธ์ <ศาลาโบตั๋น> มีเขียนไว้ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’...” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ละครเรื่องนี้แฝงบทกวีเลื่องชื่อไว้ในคำสนทนาหลายบท วลีที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นวลีจากบทประพันธ์ ‘ศาลาโบตั๋น’ (หมู่ตานถิง / 牡丹亭) (ค.ศ. 1598) ของทังเสียนจู่ นักอักษรและนักประพันธ์บทงิ้วที่เลื่องชื่อในสมัยราชวงศ์หมิง เป็นบทประพันธ์ที่โด่งดังเพราะเป็นเรื่องราวความรักกินใจและเพราะความสละสลวยของภาษา มีทั้งสิ้น 55 ตอน ว่ากันว่า ถ้าแสดงชุดเต็ม ละครงิ้วนี้อาจกินเวลานานถึง 22 ชั่วโมง!

    ปัจจุบัน ‘ศาลาโบตั๋น’ ยังคงเป็นหนึ่งในงิ้วสุดนิยมและได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ของบทประพันธ์ละครงิ้วโบราณที่ดีที่สุดของจีน ได้รับการแปลไปหลายภาษาเช่น อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น ฯลฯ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ฝันคืนวิญญาณ’ (还魂梦)

    ‘ศาลาโบตั๋น’ เป็นเรื่องราวของตู้ลี่เหนียง สตรีลูกขุนนางที่งามเพียบพร้อม วันหนึ่งนางหลับอยู่ในอุทยานในเรือนแล้วฝันว่าได้พบรักกับบัณฑิตหนุ่มนามว่าหลิ่วเมิ่งเหมย เป็นรักที่ตราตรึงใจทำให้นางโหยหาแม้เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว สุดท้ายนางเฝ้ารอแต่ชายในฝันจนตรอมใจตายไป ก่อนตายนางได้ให้คนวาดภาพนางไว้ และสามปีให้หลัง ปรากฏว่ามีบัณฑิตหนุ่มชื่อหลิ่วเมิ่งเหมยเข้าเมืองมาสอบราชบัณฑิต ได้เห็นรูปของนางก็หลงรักและฝันถึง ในฝันนั้นนางบอกเขาว่า หากเขาขุดศพของนางที่ถูกฝังอยู่ในอุทยานขึ้นมา นางจะฟื้นคืนชีพ หลิ่วเมิ่งเหมยทำตามคำบอกของนางก็พบว่าศพของนางยังไม่เน่าเปื่อยและนางก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมาจริงๆ เขาทั้งสองจึงครองรักกันต่อไป

    จึงเป็นที่มาของวรรคที่ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’ และเป็นวลีที่ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งเพื่อสะท้อนความหมายของมันว่า รักนั้น บางทีก็หาเหตุผลและจุดเริ่มต้นไม่ได้ คนที่ถลำลงไปในรักสามารถตายเพื่อรักได้ และรักก็สามารถสร้างปาฏิหารย์ให้คนตายฟื้นคืนชีพได้

    เป็นประโยคที่ผ่านตา Storyฯ บ่อยมากจนจำไม่ได้แล้วว่ามีในละครหรือนิยายเรื่องไหนอีกที่กล่าวถึงวลีนี้ เท่าที่พอจะจำได้ ก็มีเรื่อง ‘ความฝันในหอแดง’ หากเพื่อนเพจคุ้นหูคุ้นตาจากซีรีส์หรือนิยายเรื่องอื่นก็เม้นท์มาบอกกันได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://new.qq.com/rain/a/20210820A0E6Z100
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e1f2a8e8bf19704ecbbbff47
    https://baike.baidu.com/item/情不知所起一往而深
    https://www.ximalaya.com/ask/q142274?source=m_jump

    #เจินหวน #หมู่ตานถิง #ศาลาโบตั๋น #วลีรักจีน #ทังเสียนจู่
    “รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา” (ฉิงปู้จื๊อสัวฉี่ อี้หว่างเอ๋อร์เซิ้น / 情不知所起,一往而深) ต้อนรับสัปดาห์แห่งความรักกันด้วยอีกหนึ่งวลีสุดฮิตเกี่ยวกับความรัก ที่ Storyฯ เชื่อว่าแฟนนิยายจีนต้องเคยผ่านตายามตัวละครบอกรักกัน (แต่อาจแปลแตกต่างกันบ้างแล้วแต่ผู้แปล) ตัวอย่างจากในซีรีส์ก็มี อย่างเช่นในเรื่อง <เจินหวน จอมนางคู่แผ่นดิน> ในฉากที่เหล่ามเหสีชายาและสนมนั่งชมละครงิ้วในวังหลัง นางเอกเมื่อยังเป็นว่านกุ้ยเหรินได้พูดว่า “ในบทประพันธ์ <ศาลาโบตั๋น> มีเขียนไว้ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’...” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ละครเรื่องนี้แฝงบทกวีเลื่องชื่อไว้ในคำสนทนาหลายบท วลีที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นวลีจากบทประพันธ์ ‘ศาลาโบตั๋น’ (หมู่ตานถิง / 牡丹亭) (ค.ศ. 1598) ของทังเสียนจู่ นักอักษรและนักประพันธ์บทงิ้วที่เลื่องชื่อในสมัยราชวงศ์หมิง เป็นบทประพันธ์ที่โด่งดังเพราะเป็นเรื่องราวความรักกินใจและเพราะความสละสลวยของภาษา มีทั้งสิ้น 55 ตอน ว่ากันว่า ถ้าแสดงชุดเต็ม ละครงิ้วนี้อาจกินเวลานานถึง 22 ชั่วโมง! ปัจจุบัน ‘ศาลาโบตั๋น’ ยังคงเป็นหนึ่งในงิ้วสุดนิยมและได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ของบทประพันธ์ละครงิ้วโบราณที่ดีที่สุดของจีน ได้รับการแปลไปหลายภาษาเช่น อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น ฯลฯ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ฝันคืนวิญญาณ’ (还魂梦) ‘ศาลาโบตั๋น’ เป็นเรื่องราวของตู้ลี่เหนียง สตรีลูกขุนนางที่งามเพียบพร้อม วันหนึ่งนางหลับอยู่ในอุทยานในเรือนแล้วฝันว่าได้พบรักกับบัณฑิตหนุ่มนามว่าหลิ่วเมิ่งเหมย เป็นรักที่ตราตรึงใจทำให้นางโหยหาแม้เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว สุดท้ายนางเฝ้ารอแต่ชายในฝันจนตรอมใจตายไป ก่อนตายนางได้ให้คนวาดภาพนางไว้ และสามปีให้หลัง ปรากฏว่ามีบัณฑิตหนุ่มชื่อหลิ่วเมิ่งเหมยเข้าเมืองมาสอบราชบัณฑิต ได้เห็นรูปของนางก็หลงรักและฝันถึง ในฝันนั้นนางบอกเขาว่า หากเขาขุดศพของนางที่ถูกฝังอยู่ในอุทยานขึ้นมา นางจะฟื้นคืนชีพ หลิ่วเมิ่งเหมยทำตามคำบอกของนางก็พบว่าศพของนางยังไม่เน่าเปื่อยและนางก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมาจริงๆ เขาทั้งสองจึงครองรักกันต่อไป จึงเป็นที่มาของวรรคที่ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’ และเป็นวลีที่ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งเพื่อสะท้อนความหมายของมันว่า รักนั้น บางทีก็หาเหตุผลและจุดเริ่มต้นไม่ได้ คนที่ถลำลงไปในรักสามารถตายเพื่อรักได้ และรักก็สามารถสร้างปาฏิหารย์ให้คนตายฟื้นคืนชีพได้ เป็นประโยคที่ผ่านตา Storyฯ บ่อยมากจนจำไม่ได้แล้วว่ามีในละครหรือนิยายเรื่องไหนอีกที่กล่าวถึงวลีนี้ เท่าที่พอจะจำได้ ก็มีเรื่อง ‘ความฝันในหอแดง’ หากเพื่อนเพจคุ้นหูคุ้นตาจากซีรีส์หรือนิยายเรื่องอื่นก็เม้นท์มาบอกกันได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://new.qq.com/rain/a/20210820A0E6Z100 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e1f2a8e8bf19704ecbbbff47 https://baike.baidu.com/item/情不知所起一往而深 https://www.ximalaya.com/ask/q142274?source=m_jump #เจินหวน #หมู่ตานถิง #ศาลาโบตั๋น #วลีรักจีน #ทังเสียนจู่
    腾讯网
    腾讯网从2003年创立至今,已经成为集新闻信息,区域垂直生活服务、社会化媒体资讯和产品为一体的互联网媒体平台。腾讯网下设新闻、科技、财经、娱乐、体育、汽车、时尚等多个频道,充分满足用户对不同类型资讯的需求。同时专注不同领域内容,打造精品栏目,并顺应技术发展趋势,推出网络直播等创新形式,改变了用户获取资讯的方式和习惯。
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 503 มุมมอง 0 รีวิว
  • **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน

    เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’

    ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา

    ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร

    กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี

    เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น

    เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง

    บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ)

    Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน)

    เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล

    เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง

    ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน

    บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://news.agentm.tw/310261/
    https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00
    https://www.yeeyi.com/news/details/629504/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/李白/1043
    https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719
    http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259
    https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904
    https://www.sohu.com/a/538839040_355475
    http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211#

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ) Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน) เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223 Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.agentm.tw/310261/ https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00 https://www.yeeyi.com/news/details/629504/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/李白/1043 https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719 http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259 https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904 https://www.sohu.com/a/538839040_355475 http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211# #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 767 มุมมอง 0 รีวิว
  • สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจเคยขอให้เขียนเกี่ยวกับวลีจีนที่มาจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ วันนี้ Storyฯ จะมาคุยเกี่ยวกับคำพังเพยที่หลายท่านต้องร้อง “อ๋อ!” ซึ่งก็คือ ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ (หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ / 狸猫换太子) หรือที่แฟนคลับเปาบุ้นจิ้นต้องเคยได้ยินชื่อตอน ‘คดีสับเปลี่ยนพระโอรส’

    เป็นคำพังเพยที่ไม่ได้มาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ แต่เป็นการอ้างอิงเรื่องเล่าที่มีตัวละครจากประวัติศาสตร์ แรกเริ่มเป็นละครงิ้วในสมัยราชวงศ์หยวน ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของนวนิยาย <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> (ซ้านเสียอู่อี้ / 三俠五義) ที่ประพันธ์ขึ้นโดยสืออวี้คุ้น ในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนอิงประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ซ่งเดินเรื่องโดยเปาบุ้นจิ้น และต่อมาถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์หลายครั้ง

    ในเนื้อความเดิมจาก <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> นั้น กล่าวถึงพระนางหลิวเอ๋อ ซึ่งก็คือพระอัครมเหสีในองค์ซ่งเจินจง และต่อมาเป็นไทเฮาและผู้สำเร็จราชการแทนองค์ซ่งเหรินจงเป็นเวลาเก้าปี (ค.ศ. 1022–1031) โดยเล่าว่าพระนางหลิวเอ๋อริษยาพระชายาหลี่เฉินที่ได้ความรักจากองค์ซ่งเจินจง และต้องการรักษาราชอำนาจแต่แท้งลูก จึงเอาศพแมวป่าถลกหนังออกสลับไปเป็นลูกของพระชายาหลี่ที่เพิ่งคลอดออกมา แล้วสลับเอาลูกของพระชายาหลี่มาเป็นลูกของตนเพื่อว่าเด็กจะได้เป็นองค์ชายรัชทายาทและขึ้นครองราชย์ต่อไป ส่วนพระชายาหลี่เฉินนั้นก็ถูกจองจำในตำหนักเย็นเพราะคลอดลูกออกมาเป็นสัตว์ประหลาด ต่อมาเปาบุ้นจิ้นสืบสวนจนปรากฏข้อเท็จจริง (ขออภัยที่ไม่ใช้ราชาศัพท์)

    แต่ในละครเรื่อง <จอมนางแห่งวังหลัง> ได้มีการนำเสนออีกในแง่มุม ว่าเรื่องราวการสลับองค์ชายเป็นแผนขององค์ฮ่องเต้ซ่งเจินจงเพื่อไม่ให้ราชอำนาจในราชสำนักสั่นคลอน เรียกได้ว่าลบภาพลักษณ์ตัวร้ายของพระนางหลิวเอ๋อออกไปได้ รายละเอียดความเป็นมาเป็นอย่างไร ติดตามดูกันได้ในละครเรื่องนี้

    มีคนเคยวิเคราะห์แล้วว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ เป็นเรื่องที่มีความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์หลายประเด็น เช่นว่า
    – ตอนที่องค์ซ่งเหรินจงสืบหาความจริงเกี่ยวกับแม่แท้ๆ นั้น เปาบุ้นจิ้นยังไม่เข้ารับราชการ
    – พระนางหลิวเอ๋อไม่จำเป็นต้องสลับลูกเพราะนางเองในตอนนั้นมีฐานอำนาจที่มั่นคงมากแล้ว อีกทั้งนางพบรักกับองค์ซ่งเจินจงมานานก่อนหน้านั้น และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าฮ่องเต้ทรงโปรดปรานพระชายาหลี่เฉินมากกว่า
    – พระนางหลิวเอ๋อจัดงานศพพระชายาหลี่เฉินให้ตามพิธีการของอัครมเหสี ไม่ใช่ชายาทั่วไป

    เรื่องราวที่แท้จริงตามประวัติศาสตร์เป็นอย่างไรไม่ทราบได้ แต่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่าพระนางหลิวเอ๋อใช้พระราชอำนาจในการบริหารบ้านเมืองได้ดี เป็นอีกหนึ่งสตรีเหล็กแห่งประวัติศาสตร์จีน และเรื่องสับเปลี่ยนพระโอรสนี้กลายเป็นนิทานปรำปราและเป็นที่มาของคำพังเพยที่ว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ หรือ ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’

    ในวลี ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ นี้ Storyฯ แปลคำว่า ‘หลีเม้า’ เป็นแมวป่า แต่จริงๆ แล้วมันหน้าตาเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ เพราะบ้างบรรยายว่ามันเป็นแมวลายดาว (Leopard Cat) และบ้างว่ามันเป็นแมวชะมด (Civet Cat) หน้าตาต่างกันค่อนข้างมาก เลยแปะรูปมาให้ดูเป็นการเปรียบเทียบ

    เล่ามาเสียยืดยาว สรุป ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ หมายถึงอะไร? เป็นคำพังเพยที่หมายความว่า เอาของปลอมมาสลับเปลี่ยนแทนของจริง หรือที่บ้านเราอาจเรียกว่า ‘ย้อมแมวขาย’ นั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=efb5598dede9bd9a810a7272
    https://www.163.com/dy/article/G72T9QTQ05179OJ2.html
    http://www.china.org.cn/english/scitech/67652.htm
    https://felids.wordpress.com/2011/12/14/cats-in-china-leopard-cat/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.baike.com/wikiid/8060072274706103379?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=4mgrmib6ruo000
    http://k.sina.com.cn/article_5863047530_15d77016a00100jl1w.html?from=history#/
    https://new.qq.com/rain/a/20211209A08QHG00

    #จอมนางแห่งวังหลัง #หลิวเอ๋อ #สับเปลี่ยนพระโอรส #เปาบุ้นจิ้น #หลีเม้า #แมวป่าจีน #หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ
    สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจเคยขอให้เขียนเกี่ยวกับวลีจีนที่มาจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ วันนี้ Storyฯ จะมาคุยเกี่ยวกับคำพังเพยที่หลายท่านต้องร้อง “อ๋อ!” ซึ่งก็คือ ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ (หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ / 狸猫换太子) หรือที่แฟนคลับเปาบุ้นจิ้นต้องเคยได้ยินชื่อตอน ‘คดีสับเปลี่ยนพระโอรส’ เป็นคำพังเพยที่ไม่ได้มาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ แต่เป็นการอ้างอิงเรื่องเล่าที่มีตัวละครจากประวัติศาสตร์ แรกเริ่มเป็นละครงิ้วในสมัยราชวงศ์หยวน ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของนวนิยาย <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> (ซ้านเสียอู่อี้ / 三俠五義) ที่ประพันธ์ขึ้นโดยสืออวี้คุ้น ในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนอิงประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ซ่งเดินเรื่องโดยเปาบุ้นจิ้น และต่อมาถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์หลายครั้ง ในเนื้อความเดิมจาก <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> นั้น กล่าวถึงพระนางหลิวเอ๋อ ซึ่งก็คือพระอัครมเหสีในองค์ซ่งเจินจง และต่อมาเป็นไทเฮาและผู้สำเร็จราชการแทนองค์ซ่งเหรินจงเป็นเวลาเก้าปี (ค.ศ. 1022–1031) โดยเล่าว่าพระนางหลิวเอ๋อริษยาพระชายาหลี่เฉินที่ได้ความรักจากองค์ซ่งเจินจง และต้องการรักษาราชอำนาจแต่แท้งลูก จึงเอาศพแมวป่าถลกหนังออกสลับไปเป็นลูกของพระชายาหลี่ที่เพิ่งคลอดออกมา แล้วสลับเอาลูกของพระชายาหลี่มาเป็นลูกของตนเพื่อว่าเด็กจะได้เป็นองค์ชายรัชทายาทและขึ้นครองราชย์ต่อไป ส่วนพระชายาหลี่เฉินนั้นก็ถูกจองจำในตำหนักเย็นเพราะคลอดลูกออกมาเป็นสัตว์ประหลาด ต่อมาเปาบุ้นจิ้นสืบสวนจนปรากฏข้อเท็จจริง (ขออภัยที่ไม่ใช้ราชาศัพท์) แต่ในละครเรื่อง <จอมนางแห่งวังหลัง> ได้มีการนำเสนออีกในแง่มุม ว่าเรื่องราวการสลับองค์ชายเป็นแผนขององค์ฮ่องเต้ซ่งเจินจงเพื่อไม่ให้ราชอำนาจในราชสำนักสั่นคลอน เรียกได้ว่าลบภาพลักษณ์ตัวร้ายของพระนางหลิวเอ๋อออกไปได้ รายละเอียดความเป็นมาเป็นอย่างไร ติดตามดูกันได้ในละครเรื่องนี้ มีคนเคยวิเคราะห์แล้วว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ เป็นเรื่องที่มีความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์หลายประเด็น เช่นว่า – ตอนที่องค์ซ่งเหรินจงสืบหาความจริงเกี่ยวกับแม่แท้ๆ นั้น เปาบุ้นจิ้นยังไม่เข้ารับราชการ – พระนางหลิวเอ๋อไม่จำเป็นต้องสลับลูกเพราะนางเองในตอนนั้นมีฐานอำนาจที่มั่นคงมากแล้ว อีกทั้งนางพบรักกับองค์ซ่งเจินจงมานานก่อนหน้านั้น และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าฮ่องเต้ทรงโปรดปรานพระชายาหลี่เฉินมากกว่า – พระนางหลิวเอ๋อจัดงานศพพระชายาหลี่เฉินให้ตามพิธีการของอัครมเหสี ไม่ใช่ชายาทั่วไป เรื่องราวที่แท้จริงตามประวัติศาสตร์เป็นอย่างไรไม่ทราบได้ แต่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่าพระนางหลิวเอ๋อใช้พระราชอำนาจในการบริหารบ้านเมืองได้ดี เป็นอีกหนึ่งสตรีเหล็กแห่งประวัติศาสตร์จีน และเรื่องสับเปลี่ยนพระโอรสนี้กลายเป็นนิทานปรำปราและเป็นที่มาของคำพังเพยที่ว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ หรือ ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ ในวลี ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ นี้ Storyฯ แปลคำว่า ‘หลีเม้า’ เป็นแมวป่า แต่จริงๆ แล้วมันหน้าตาเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ เพราะบ้างบรรยายว่ามันเป็นแมวลายดาว (Leopard Cat) และบ้างว่ามันเป็นแมวชะมด (Civet Cat) หน้าตาต่างกันค่อนข้างมาก เลยแปะรูปมาให้ดูเป็นการเปรียบเทียบ เล่ามาเสียยืดยาว สรุป ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ หมายถึงอะไร? เป็นคำพังเพยที่หมายความว่า เอาของปลอมมาสลับเปลี่ยนแทนของจริง หรือที่บ้านเราอาจเรียกว่า ‘ย้อมแมวขาย’ นั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=efb5598dede9bd9a810a7272 https://www.163.com/dy/article/G72T9QTQ05179OJ2.html http://www.china.org.cn/english/scitech/67652.htm https://felids.wordpress.com/2011/12/14/cats-in-china-leopard-cat/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.baike.com/wikiid/8060072274706103379?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=4mgrmib6ruo000 http://k.sina.com.cn/article_5863047530_15d77016a00100jl1w.html?from=history#/ https://new.qq.com/rain/a/20211209A08QHG00 #จอมนางแห่งวังหลัง #หลิวเอ๋อ #สับเปลี่ยนพระโอรส #เปาบุ้นจิ้น #หลีเม้า #แมวป่าจีน #หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ
    《大宋宫词》评分下滑惨烈,古装剧只有唯美画风是不够的_百科TA说
    百度百科是一部内容开放、自由的网络百科全书,旨在创造一个涵盖所有领域知识,服务所有互联网用户的中文知识性百科全书。在这里你可以参与词条编辑,分享贡献你的知识。
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 573 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มาคุยในเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งเคยถามมา สืบเนื่องจากเราเห็นละครจีนโบราณหลายเรื่องมีการกินน้ำแกงคุมกำเนิดหรือแม้แต่น้ำแกงที่ทำให้แท้งลูก อย่างตัวอย่างในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่หนึ่งในตัวละครหลักคืออนุฉินถูกบังคับให้กินน้ำแกงคุมกำเนิดมาตลอดจนภายหลังเมื่อตั้งครรภ์ก็แท้งลูกและไม่สามารถมีลูกได้อีก คำถามคือ มียาอย่างนี้จริงๆ หรือ?

    คำตอบคือ ‘น่าจะมี’ เพราะมีสูตรยาจีนโบราณหลายฉบับที่สืบทอดกันมาจวบจนปัจจุบัน เพียงแต่ว่าไม่มีใครออกมายืนยันว่าได้ทดลองและได้ผลจริง สาเหตุก็เพราะว่าปัจจุบันมีวิธีและยาคุมกำเนิดหลากหลาย และยาสูตรโบราณเหล่านี้อาจมีผลร้ายในระยะยาวต่อร่างกายได้ ดังเช่นที่ตำรายาจีนโบราณเคยกล่าวไว้ว่า ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ (是药三分毒) อันหมายความว่า ยาอาจให้คุณและให้โทษได้

    จีนโบราณมีวิธีคุมกำเนิดหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการกินน้ำแกงป้องกันการมีบุตร (ปี้จื่อทั้ง / 避子汤) หรือสูตรยาที่หยุดครรภ์ (ต้วนฉ่านฟ้าง / 断产方) อย่างเช่นใน ‘ตำราครรภ์’ ของเต๋อเจิ๊นฉางในสมัยสุย-ถัง หรือ ‘สูตรยาสำคัญของสตรี’ ของซุ้นซื้อเหมี่ยว แพทย์สมัยถังที่เลื่องชื่อในประวัติศาสตร์จีน

    เท่าที่ Storyฯ หาข้อมูลได้ พบว่ามีสูตรหลากหลาย แต่พอจะสรุปจากตัวยาหลักได้ว่าสรรพคุณโดยรวมของยาคุมกำเนิดและยาหยุดครรภ์เหล่านี้ก็คือ การเพิ่มฤทธิ์ธาตุหยิน (หรือฤทธิ์เย็น) ภายในร่างกาย และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ขับลม ขับเลือดเสีย ซึ่งมียาสมุนไพรจีนหลายตัวที่ให้สรรพคุณเหล่านี้ และหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายจะใช้เป็นยารักษาหรือยาบำรุงได้ เช่นว่า โบราณใช้เป็นยาก่อนตั้งครรภ์เพื่อล้างมดลูกให้สะอาดและบำรุงชี่ปรับสภาพร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น และยาหลังคลอดบุตรหรือหลังประจำเดือนหมดเพื่อขับเลือดเสียที่เกาะอยู่บนผนังมดลูกออกมา ตัวอย่างของยาที่อยู่ในกลุ่มประเภทนี้ก็มีหลายชนิด (ดูรูปตัวอย่าง) เช่น ต่อมหางกวางชะมด ดอกคำฝอย ชวนเกียง น้ำมันที่สกัดจากผักกาดก้านขาว (canola oil) เป็นต้น แน่นอนว่าสูตรยาแต่ละขนานจะประกอบด้วยตัวยาหลากชนิด จึงอาจมีสรรพคุณในด้านอื่นด้วย เช่น ขับลม ลดสภาวะอักเสบในร่างกาย ลดการจับตัวของไขมัน ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น เป็นต้น

    แต่ ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ หากรับประทานต่อเนื่องระยะยาวอาจทำให้มีภาวะโลหิตจาง ร่างกายอ่อนเพลียง่าย มดลูกทำงานไม่ปกติและประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ และหากรับประทานในช่วงตั้งครรภ์จะขับลิ่มเลือดและทำให้มดลูกบีบตัว ทำให้แท้งลูกได้ ยกตัวอย่างคือดอกคำฝอย เพื่อนเพจที่ดื่มชาดอกคำฝอยจะทราบดีถึงคำเตือนว่าห้ามดื่มในระหว่างตั้งครรภ์

    เพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับยาสมุนไพรและยาจีนจะทราบว่า ยาเหล่านี้ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ผลดังที่ต้องการ เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อาหารอย่างอื่นที่เรารับประทานว่ามีฤทธิค้านกัน หรือมีฤทธิเสริมกันแรงเกินไปหรือไม่ และขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน

    ดังนั้นยาสูตร ‘ปี้จื่อทั้ง’ หรือ ‘ต้วนฉ่านฟ้าง’ ที่สืบทอดมาแต่โบราณเหล่านี้ จะออกฤทธิ์ทันควันเหมือนที่เราเห็นในละครหรือไม่? หรือว่าออกฤทธิ์ได้จริงแบบที่เห็นในละครหรือไม่? Storyฯ ก็ไม่ทราบได้ และไม่มีความรู้ลึกซึ้งถึงการรักษาแบบแผนจีนพอที่จะให้ความเห็น แต่ด้วยหลักการ ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ เราจึงมักเห็นพล็อตละคร/นิยายที่มีการปรับสัดส่วนของสมุนไพรในสูตรยาหรือเพิ่มยาตัวอื่นเข้าไปให้กลายเป็นพิษนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://inf.news/entertainment/b6ddc93cc4f9a720bf5c3fd752c4e1b9.html
    https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802
    https://www.sohu.com/a/251057863_100011360
    https://www.sohu.com/a/249476484_242776
    https://www.sohu.com/a/525891685_121119111
    https://www.huachiewtcm.com/content/8036/ชวนซฺยง-川芎-ข้อมูลสมุนไพรจีน
    https://baike.baidu.com/item/红花/16556131
    https://zh.wikipedia.org/zh-hant/麝香

    #ร้อยรักปักดวงใจ #ปี้จื่อทัง #น้ำแกงห้ามลูก #สมุนไพรในละครจีน
    วันนี้มาคุยในเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งเคยถามมา สืบเนื่องจากเราเห็นละครจีนโบราณหลายเรื่องมีการกินน้ำแกงคุมกำเนิดหรือแม้แต่น้ำแกงที่ทำให้แท้งลูก อย่างตัวอย่างในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่หนึ่งในตัวละครหลักคืออนุฉินถูกบังคับให้กินน้ำแกงคุมกำเนิดมาตลอดจนภายหลังเมื่อตั้งครรภ์ก็แท้งลูกและไม่สามารถมีลูกได้อีก คำถามคือ มียาอย่างนี้จริงๆ หรือ? คำตอบคือ ‘น่าจะมี’ เพราะมีสูตรยาจีนโบราณหลายฉบับที่สืบทอดกันมาจวบจนปัจจุบัน เพียงแต่ว่าไม่มีใครออกมายืนยันว่าได้ทดลองและได้ผลจริง สาเหตุก็เพราะว่าปัจจุบันมีวิธีและยาคุมกำเนิดหลากหลาย และยาสูตรโบราณเหล่านี้อาจมีผลร้ายในระยะยาวต่อร่างกายได้ ดังเช่นที่ตำรายาจีนโบราณเคยกล่าวไว้ว่า ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ (是药三分毒) อันหมายความว่า ยาอาจให้คุณและให้โทษได้ จีนโบราณมีวิธีคุมกำเนิดหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการกินน้ำแกงป้องกันการมีบุตร (ปี้จื่อทั้ง / 避子汤) หรือสูตรยาที่หยุดครรภ์ (ต้วนฉ่านฟ้าง / 断产方) อย่างเช่นใน ‘ตำราครรภ์’ ของเต๋อเจิ๊นฉางในสมัยสุย-ถัง หรือ ‘สูตรยาสำคัญของสตรี’ ของซุ้นซื้อเหมี่ยว แพทย์สมัยถังที่เลื่องชื่อในประวัติศาสตร์จีน เท่าที่ Storyฯ หาข้อมูลได้ พบว่ามีสูตรหลากหลาย แต่พอจะสรุปจากตัวยาหลักได้ว่าสรรพคุณโดยรวมของยาคุมกำเนิดและยาหยุดครรภ์เหล่านี้ก็คือ การเพิ่มฤทธิ์ธาตุหยิน (หรือฤทธิ์เย็น) ภายในร่างกาย และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ขับลม ขับเลือดเสีย ซึ่งมียาสมุนไพรจีนหลายตัวที่ให้สรรพคุณเหล่านี้ และหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายจะใช้เป็นยารักษาหรือยาบำรุงได้ เช่นว่า โบราณใช้เป็นยาก่อนตั้งครรภ์เพื่อล้างมดลูกให้สะอาดและบำรุงชี่ปรับสภาพร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น และยาหลังคลอดบุตรหรือหลังประจำเดือนหมดเพื่อขับเลือดเสียที่เกาะอยู่บนผนังมดลูกออกมา ตัวอย่างของยาที่อยู่ในกลุ่มประเภทนี้ก็มีหลายชนิด (ดูรูปตัวอย่าง) เช่น ต่อมหางกวางชะมด ดอกคำฝอย ชวนเกียง น้ำมันที่สกัดจากผักกาดก้านขาว (canola oil) เป็นต้น แน่นอนว่าสูตรยาแต่ละขนานจะประกอบด้วยตัวยาหลากชนิด จึงอาจมีสรรพคุณในด้านอื่นด้วย เช่น ขับลม ลดสภาวะอักเสบในร่างกาย ลดการจับตัวของไขมัน ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น เป็นต้น แต่ ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ หากรับประทานต่อเนื่องระยะยาวอาจทำให้มีภาวะโลหิตจาง ร่างกายอ่อนเพลียง่าย มดลูกทำงานไม่ปกติและประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ และหากรับประทานในช่วงตั้งครรภ์จะขับลิ่มเลือดและทำให้มดลูกบีบตัว ทำให้แท้งลูกได้ ยกตัวอย่างคือดอกคำฝอย เพื่อนเพจที่ดื่มชาดอกคำฝอยจะทราบดีถึงคำเตือนว่าห้ามดื่มในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับยาสมุนไพรและยาจีนจะทราบว่า ยาเหล่านี้ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ผลดังที่ต้องการ เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อาหารอย่างอื่นที่เรารับประทานว่ามีฤทธิค้านกัน หรือมีฤทธิเสริมกันแรงเกินไปหรือไม่ และขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน ดังนั้นยาสูตร ‘ปี้จื่อทั้ง’ หรือ ‘ต้วนฉ่านฟ้าง’ ที่สืบทอดมาแต่โบราณเหล่านี้ จะออกฤทธิ์ทันควันเหมือนที่เราเห็นในละครหรือไม่? หรือว่าออกฤทธิ์ได้จริงแบบที่เห็นในละครหรือไม่? Storyฯ ก็ไม่ทราบได้ และไม่มีความรู้ลึกซึ้งถึงการรักษาแบบแผนจีนพอที่จะให้ความเห็น แต่ด้วยหลักการ ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ เราจึงมักเห็นพล็อตละคร/นิยายที่มีการปรับสัดส่วนของสมุนไพรในสูตรยาหรือเพิ่มยาตัวอื่นเข้าไปให้กลายเป็นพิษนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://inf.news/entertainment/b6ddc93cc4f9a720bf5c3fd752c4e1b9.html https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802 https://www.sohu.com/a/251057863_100011360 https://www.sohu.com/a/249476484_242776 https://www.sohu.com/a/525891685_121119111 https://www.huachiewtcm.com/content/8036/ชวนซฺยง-川芎-ข้อมูลสมุนไพรจีน https://baike.baidu.com/item/红花/16556131 https://zh.wikipedia.org/zh-hant/麝香 #ร้อยรักปักดวงใจ #ปี้จื่อทัง #น้ำแกงห้ามลูก #สมุนไพรในละครจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 492 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่วงนี้ Storyฯ ย้อนไปดูซีรีส์เก่า มีฉากหนึ่งในเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> ที่เตะตา เพื่อนเพจที่เคยดูคงจำได้ว่าพระนางของเรื่องต้องผ่านด่านกลหมากปริวรรตเพื่อช่วงชิงสุดยอดวิชาหลันอิงปี้เยวี่ย ซึ่งเป็นการต่อสู้กับจิตใจของตนเอง โดยในด่านสุดท้ายนั้นพระเอกต้องตัดสายใยที่อยู่ในใจทั้งหมดทิ้ง แต่พระเอกเลือกที่จะเหลือสายใยไว้หนึ่งเส้นซึ่งก็คือสายใยที่มีต่อนางเอก พร้อมกับวลีที่ว่า “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม สายใยความวุ่นวายแห่งทางโลกสามพันเส้น ข้าเหลือไว้เส้นหนึ่งจะเป็นไรไป?” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า>

    วันนี้มาคุยกันสั้นๆ เรื่องวลี “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม” (รั่วสุ่ยซันเชียน จื๋อฉวี่อี้เผียว / 弱水三千只取一瓢) (หมายเหตุ ซันเชียน แปลว่า สามพัน เป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงสามพันลี้)

    วลีนี้เคยถูกแปลไว้ว่า “แม่น้ำรั่วสามพันลี้ หนึ่งจอกดับกระหาย” เพื่อนเพจบางท่านอาจงงว่ามันต่างกันหรือไม่อย่างไร ขออธิบายก่อนว่า คำว่า ‘รั่วสุ่ย’ ในโบราณใช้หมายถึงลำธารที่อันตราบไม่สามารถใช้สัญจรได้ และ ‘รั่วสุ่ย’ ยังเป็นชื่อแม่น้ำสายหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ซานไห่จิงหรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ และแม่น้ำสายนี้ได้ถูกแปลมาเป็นภาษาไทยและอังกฤษว่า ‘แม่น้ำรั่ว’ นั่นเอง

    วลีนี้มีที่มาจากคำสอนทางศาสนาพุทธ เป็นนิทานว่าชายผู้ที่กำลังจะขาดน้ำตายเมื่อได้เห็นน้ำในลำธารก็โอดครวญอย่างเสียดายว่าน้ำทั้งลำธารจะดื่มอย่างไรหมด พระพุทธเจ้าจึงสอนว่าในชีวิตเรานั้นอาจพานพบหลากหลายสรรพสิ่งที่ดีงาม แต่เราไม่จำเป็นต้องครอบครองได้ทั้งหมด เพียงมีสิ่งเล็กๆ ที่สำคัญก็เพียงพอแล้ว ดังวลีนี้ที่เปรียบเปรยว่า น้ำในสายธารที่ทอดยาว ไม่จำเป็นต้องเอาน้ำมาดื่มใช้ให้หมด ขอเพียงหนึ่งชามก็พอยังชีพแล้ว

    แม้ว่าคำว่า ‘รั่วสุ่ย’ จะมีมาแต่โบราณ แต่วรรคที่ว่า ‘รั่วสุ่ยซันเชียน’ หรือ ‘ธารน้ำสามพัน(ลี้)’ ในรูปประโยคอย่างนี้ แรกปรากฏให้เห็นในอมตะวรรณกรรมเรื่อง <ความฝันในหอแดง> โดยเป็นตอนที่พระเอกเจี๋ยเป่าอวี้ใช้วลีเต็ม “แม้ธารน้ำยาวสามพันลี้ ข้าก็จะขอตักเพียงหนึ่งชาม” เพื่อบอกต่อนางเอกหลินไต้อวี้ว่า แม้จะมีสตรีอื่นรายล้อมเพียงใด เขาขอเพียงนางคนเดียวมาเป็นคู่ครองก็พอใจแล้ว และต่อมาวลีนี้จึงกลายเป็นวลีอมตะที่บ่งบอกถึงรักอันมั่นคง รักเดียวใจเดียว

    และด้วยคำว่า ‘รั่วสุ่ย’ ในโบราณแปลว่าสายธารที่อันตราย จึงมีการตีความวลี “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม” นี้เพิ่มเติมด้วยว่า กว่าจะตักน้ำนั้นมาได้หนึ่งชามก็ยากแสนยาก พึงเห็นคุณค่าของมันให้จงดี

    ดังนั้น จริงๆ แล้ววลีนี้ใช้ในบริบทอื่นก็ได้ เพื่อสื่อความหมายว่า ในบรรดาสรรพสิ่งมากมาย ขอเพียงได้ในสิ่งเดียวที่ตั้งใจที่มีคุณค่ามากมายต่อจิตใจเรา ก็เพียงพอแล้ว

    Storyฯ ถือโอกาสนี้แปะรูปมาให้แฟนคลับของหยางหยางดูว่า เขาไม่เพียงกล่าววลีนี้มาแล้วในละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> แต่เมื่อปี 2010 ยังเคยแสดงเป็นเจี๋ยเป่าอวี้ ในเรื่อง <ความฝันในหอแดง> ซึ่งเป็นต้นฉบับของวลีอมตะนี้ด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://imgur.com/20Mx6mv
    http://yule.sohu.com/20160617/n454973158.shtml
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/弱水三千只取一瓢/96378
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=242a130850f0cbde411c456e&lemmaId=96378&fromLemmaModule=pcBottom&lemmaTitle=%E5%BC%B1%E6%B0%B4%E4%B8%89%E5%8D%83%E5%8F%AA%E5%8F%96%E4%B8%80%E7%93%A2&fromModule=lemma_bottom-tashuo-article
    https://www.sohu.com/a/325578545_594411

    #เทียบท้าปฐพี #แม่น้ำรั่ว #สายธารสามพันลี้
    ช่วงนี้ Storyฯ ย้อนไปดูซีรีส์เก่า มีฉากหนึ่งในเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> ที่เตะตา เพื่อนเพจที่เคยดูคงจำได้ว่าพระนางของเรื่องต้องผ่านด่านกลหมากปริวรรตเพื่อช่วงชิงสุดยอดวิชาหลันอิงปี้เยวี่ย ซึ่งเป็นการต่อสู้กับจิตใจของตนเอง โดยในด่านสุดท้ายนั้นพระเอกต้องตัดสายใยที่อยู่ในใจทั้งหมดทิ้ง แต่พระเอกเลือกที่จะเหลือสายใยไว้หนึ่งเส้นซึ่งก็คือสายใยที่มีต่อนางเอก พร้อมกับวลีที่ว่า “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม สายใยความวุ่นวายแห่งทางโลกสามพันเส้น ข้าเหลือไว้เส้นหนึ่งจะเป็นไรไป?” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า> วันนี้มาคุยกันสั้นๆ เรื่องวลี “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม” (รั่วสุ่ยซันเชียน จื๋อฉวี่อี้เผียว / 弱水三千只取一瓢) (หมายเหตุ ซันเชียน แปลว่า สามพัน เป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงสามพันลี้) วลีนี้เคยถูกแปลไว้ว่า “แม่น้ำรั่วสามพันลี้ หนึ่งจอกดับกระหาย” เพื่อนเพจบางท่านอาจงงว่ามันต่างกันหรือไม่อย่างไร ขออธิบายก่อนว่า คำว่า ‘รั่วสุ่ย’ ในโบราณใช้หมายถึงลำธารที่อันตราบไม่สามารถใช้สัญจรได้ และ ‘รั่วสุ่ย’ ยังเป็นชื่อแม่น้ำสายหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ซานไห่จิงหรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ และแม่น้ำสายนี้ได้ถูกแปลมาเป็นภาษาไทยและอังกฤษว่า ‘แม่น้ำรั่ว’ นั่นเอง วลีนี้มีที่มาจากคำสอนทางศาสนาพุทธ เป็นนิทานว่าชายผู้ที่กำลังจะขาดน้ำตายเมื่อได้เห็นน้ำในลำธารก็โอดครวญอย่างเสียดายว่าน้ำทั้งลำธารจะดื่มอย่างไรหมด พระพุทธเจ้าจึงสอนว่าในชีวิตเรานั้นอาจพานพบหลากหลายสรรพสิ่งที่ดีงาม แต่เราไม่จำเป็นต้องครอบครองได้ทั้งหมด เพียงมีสิ่งเล็กๆ ที่สำคัญก็เพียงพอแล้ว ดังวลีนี้ที่เปรียบเปรยว่า น้ำในสายธารที่ทอดยาว ไม่จำเป็นต้องเอาน้ำมาดื่มใช้ให้หมด ขอเพียงหนึ่งชามก็พอยังชีพแล้ว แม้ว่าคำว่า ‘รั่วสุ่ย’ จะมีมาแต่โบราณ แต่วรรคที่ว่า ‘รั่วสุ่ยซันเชียน’ หรือ ‘ธารน้ำสามพัน(ลี้)’ ในรูปประโยคอย่างนี้ แรกปรากฏให้เห็นในอมตะวรรณกรรมเรื่อง <ความฝันในหอแดง> โดยเป็นตอนที่พระเอกเจี๋ยเป่าอวี้ใช้วลีเต็ม “แม้ธารน้ำยาวสามพันลี้ ข้าก็จะขอตักเพียงหนึ่งชาม” เพื่อบอกต่อนางเอกหลินไต้อวี้ว่า แม้จะมีสตรีอื่นรายล้อมเพียงใด เขาขอเพียงนางคนเดียวมาเป็นคู่ครองก็พอใจแล้ว และต่อมาวลีนี้จึงกลายเป็นวลีอมตะที่บ่งบอกถึงรักอันมั่นคง รักเดียวใจเดียว และด้วยคำว่า ‘รั่วสุ่ย’ ในโบราณแปลว่าสายธารที่อันตราย จึงมีการตีความวลี “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม” นี้เพิ่มเติมด้วยว่า กว่าจะตักน้ำนั้นมาได้หนึ่งชามก็ยากแสนยาก พึงเห็นคุณค่าของมันให้จงดี ดังนั้น จริงๆ แล้ววลีนี้ใช้ในบริบทอื่นก็ได้ เพื่อสื่อความหมายว่า ในบรรดาสรรพสิ่งมากมาย ขอเพียงได้ในสิ่งเดียวที่ตั้งใจที่มีคุณค่ามากมายต่อจิตใจเรา ก็เพียงพอแล้ว Storyฯ ถือโอกาสนี้แปะรูปมาให้แฟนคลับของหยางหยางดูว่า เขาไม่เพียงกล่าววลีนี้มาแล้วในละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> แต่เมื่อปี 2010 ยังเคยแสดงเป็นเจี๋ยเป่าอวี้ ในเรื่อง <ความฝันในหอแดง> ซึ่งเป็นต้นฉบับของวลีอมตะนี้ด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://imgur.com/20Mx6mv http://yule.sohu.com/20160617/n454973158.shtml Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/弱水三千只取一瓢/96378 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=242a130850f0cbde411c456e&lemmaId=96378&fromLemmaModule=pcBottom&lemmaTitle=%E5%BC%B1%E6%B0%B4%E4%B8%89%E5%8D%83%E5%8F%AA%E5%8F%96%E4%B8%80%E7%93%A2&fromModule=lemma_bottom-tashuo-article https://www.sohu.com/a/325578545_594411 #เทียบท้าปฐพี #แม่น้ำรั่ว #สายธารสามพันลี้
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 501 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มาคุยกันเรื่องดอกเหมย (ดอกบ๊วย) ที่เพื่อนเพจเห็นบ่อยในวัฒนธรรมจีน เคยมีคนเขียนถึงความหมายของดอกเหมยไปไม่น้อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้อีกมุมมองที่แตกต่าง

    ดอกเหมยจีนมีทั้งหมดกว่า 30 สายพันธุ์หลัก (แบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยได้อีกรวมกว่า 300 ชนิด) ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดบุปผาของจีนโดยเป็นตัวแทนแห่งฤดูหนาว และเป็นดอกไม้ประจำชาติของไต้หวัน ความหมายที่มักถูกเอ่ยถึงคือความอดทนและความเพียรเพราะเป็นดอกไม้ที่บานในช่วงฤดูหนาว บานทนได้ถึง 2-3 เดือน เป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังและเป็นที่นิยมในช่วงตรุษจีนเพราะมันเป็นสัญญาณว่าใกล้ถึงฤดูใบไม้ผลิแล้ว

    ในซีรีย์หรือนิยายจีนเรามักจะเห็นดอกเหมยถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนแห่งความรักที่มั่นคง ดังเช่นในเรื่อง <ฝ่ามิติพิชิตบัลลังก์> (ปู้ปู้จิงซิน) ที่เหมยแดงเบ่งบานกลางหิมะ เปรียบเสมือนความรักที่มั่นคงแม้อีกฝ่ายจะไม่เหลียวแล จนStoryฯ อดรู้สึกไม่ได้ว่า หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการใช้ดอกเหมยมาเปรียบเปรยถึงความอดทนนั้น สามารถใช้ได้ในหลายบริบท

    จริงแล้วดอกเหมยใช้ในบริบทอื่นใดได้อีก?

    บทกวีโบราณหลายยุคหลายสมัยใช้ดอกเหมยเปรียบเปรยถึงการยึดมั่นในอุดมการณ์ ยกตัวอย่างมาจากบทกวีที่ชื่อว่า “เหมยฮวา” (ดอกเหมย) ผลงานของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะนักปฏิรูปและนักเศรษฐกิจชื่อดัง ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ฮ่องเต้องค์ที่หกแห่งราชวงศ์ซ่ง) แต่ภายหลังนโยบายใหม่ๆ ของเขาถูกต่อต้านอย่างแรงจากขุนนางอื่น จนสุดท้ายเขาต้องลาออกจากราชการกลับบ้านเกิดไป บทกวีนี้ถูกแต่งขึ้นในภายหลัง Storyฯ แปลและเรียบเรียงได้ดังนี้ (ขออภัยหากไม่สละสลวยนัก)
    “เหมยแตกกิ่งอยู่มุมรั้ว ผลิบานเดียวดายรับความหนาว
    แลเห็นมิใช่หิมะขาว ด้วยกรุ่นกลิ่นจางมิคลาย”
    ความนัยหมายถึงว่า อันอุดมการณ์สูงส่งนั้น ดำรงไว้ได้ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอับจนเพียงใด (เช่นซอกมุมรั้วมุมกำแพง) และแม้ดูแต่ไกลขาวกลมกลืนไปกับหิมะ แต่กลิ่นหอมโชยบ่งบอกถึงตัวตน ดังนั้น ดอกเหมยในบริบทนี้หมายถึงผู้ที่ยึดมั่นในอุดมคติ ชวนให้ชื่นชมจากเนื้อแท้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ถ้านึกแบบง่ายๆ Storyฯ คงนึกถึงสำนวน “เพชรในตม”

    และมีอีกบริบทหนึ่งของดอกเหมยที่คนไม่ค่อยกล่าวถึง นั่นคือความแร้นแค้นเดียวดาย Storyฯ ยกมาเป็นตัวอย่างอีกบทกวีหนึ่งคือ “อี้เหมย” (รำลึกเหมย) ของหลี่ซันอิ่งในสมัยถัง
    “จองจำอยู่ปลายฟ้า ถวิลหาความงามแห่งวสันต์
    เหมันต์เหมยชวนชิงชัง เป็นบุปผาแห่งปีกลาย”
    - คำแปลจาก <หรูซือ... กุ้ยฮวาผลิบานในใจข้า> โดยหวินไฉ่เฟยหยาง
    โดยสองวรรคแรกบรรยายถึงคนที่จำเป็นต้องจากบ้านไปไกล ได้แต่รอคอยสิ่งดีๆ และสองวรรคสุดท้ายกล่าวถึงดอกเหมยที่ชูช่อให้ชมในความกันดารแห่งเหมันต์ แต่แล้วเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ ดอกเหมยกลับถูกรังเกียจว่าเป็นดอกไม้ที่บานตั้งแต่ฤดูหนาวปีที่แล้ว เป็นความเก่าไร้ความสดชื่น ผู้คนหันไปตื่นตาตื่นใจกับดอกไม้อื่นที่เริ่มผลิบานแทน เป็นบทกวีที่บ่งบอกถึงความขมขื่นของคนที่ถูกลืมหรือถูกมองว่าหมดประโยชน์แล้ว

    ดังนั้น Storyฯ ขอสวมวิญญาณนักประพันธ์มาสรุปให้ดังนี้:
    หากเปรียบรัก ดอกเหมยคือรักที่คงทนฟันฝ่าอุปสรรค
    หากเปรียบคน ดอกเหมยคือคนที่ยึดมั่นในคุณค่าของตนแม้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย
    และธรรมชาติของดอกเหมยนั้น ดูงดงามทั้งในห้วงเวลาแห่งความสุขและในยามทุกข์
    เมื่อสุข ดอกเหมยคือความหวังและความแน่วแน่ที่จะผ่านความลำบากไปได้
    เมื่อทุกข์ ดอกเหมยคือความเดียวดายและความขมขื่นของคนที่ถูกลืม

    เพื่อนเพจดูซีรีย์และอ่านนิยายแล้ว ‘อิน’ กับดอกเหมยอย่างไรบ้างไหม? มาเล่าสู่กันฟังนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://ent.sina.com.cn/v/m/2011-03-31/14353269488.shtml
    http://5sing.kugou.com/fc/13497084.html
    http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html
    https://www.sgss8.net/tpdq/2670634/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.cmeii.com/xinwenzhongxin/2190.html
    http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_aed4fe678529.aspx
    https://www.sohu.com/a/239647354_661147

    #ดอกบ๊วย #ดอกเหมย #เหมยฮวา #อี้เหมย #รำลึกเหมย #บุปผาปีกลาย
    วันนี้มาคุยกันเรื่องดอกเหมย (ดอกบ๊วย) ที่เพื่อนเพจเห็นบ่อยในวัฒนธรรมจีน เคยมีคนเขียนถึงความหมายของดอกเหมยไปไม่น้อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้อีกมุมมองที่แตกต่าง ดอกเหมยจีนมีทั้งหมดกว่า 30 สายพันธุ์หลัก (แบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยได้อีกรวมกว่า 300 ชนิด) ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดบุปผาของจีนโดยเป็นตัวแทนแห่งฤดูหนาว และเป็นดอกไม้ประจำชาติของไต้หวัน ความหมายที่มักถูกเอ่ยถึงคือความอดทนและความเพียรเพราะเป็นดอกไม้ที่บานในช่วงฤดูหนาว บานทนได้ถึง 2-3 เดือน เป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังและเป็นที่นิยมในช่วงตรุษจีนเพราะมันเป็นสัญญาณว่าใกล้ถึงฤดูใบไม้ผลิแล้ว ในซีรีย์หรือนิยายจีนเรามักจะเห็นดอกเหมยถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนแห่งความรักที่มั่นคง ดังเช่นในเรื่อง <ฝ่ามิติพิชิตบัลลังก์> (ปู้ปู้จิงซิน) ที่เหมยแดงเบ่งบานกลางหิมะ เปรียบเสมือนความรักที่มั่นคงแม้อีกฝ่ายจะไม่เหลียวแล จนStoryฯ อดรู้สึกไม่ได้ว่า หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการใช้ดอกเหมยมาเปรียบเปรยถึงความอดทนนั้น สามารถใช้ได้ในหลายบริบท จริงแล้วดอกเหมยใช้ในบริบทอื่นใดได้อีก? บทกวีโบราณหลายยุคหลายสมัยใช้ดอกเหมยเปรียบเปรยถึงการยึดมั่นในอุดมการณ์ ยกตัวอย่างมาจากบทกวีที่ชื่อว่า “เหมยฮวา” (ดอกเหมย) ผลงานของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะนักปฏิรูปและนักเศรษฐกิจชื่อดัง ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ฮ่องเต้องค์ที่หกแห่งราชวงศ์ซ่ง) แต่ภายหลังนโยบายใหม่ๆ ของเขาถูกต่อต้านอย่างแรงจากขุนนางอื่น จนสุดท้ายเขาต้องลาออกจากราชการกลับบ้านเกิดไป บทกวีนี้ถูกแต่งขึ้นในภายหลัง Storyฯ แปลและเรียบเรียงได้ดังนี้ (ขออภัยหากไม่สละสลวยนัก) “เหมยแตกกิ่งอยู่มุมรั้ว ผลิบานเดียวดายรับความหนาว แลเห็นมิใช่หิมะขาว ด้วยกรุ่นกลิ่นจางมิคลาย” ความนัยหมายถึงว่า อันอุดมการณ์สูงส่งนั้น ดำรงไว้ได้ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอับจนเพียงใด (เช่นซอกมุมรั้วมุมกำแพง) และแม้ดูแต่ไกลขาวกลมกลืนไปกับหิมะ แต่กลิ่นหอมโชยบ่งบอกถึงตัวตน ดังนั้น ดอกเหมยในบริบทนี้หมายถึงผู้ที่ยึดมั่นในอุดมคติ ชวนให้ชื่นชมจากเนื้อแท้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ถ้านึกแบบง่ายๆ Storyฯ คงนึกถึงสำนวน “เพชรในตม” และมีอีกบริบทหนึ่งของดอกเหมยที่คนไม่ค่อยกล่าวถึง นั่นคือความแร้นแค้นเดียวดาย Storyฯ ยกมาเป็นตัวอย่างอีกบทกวีหนึ่งคือ “อี้เหมย” (รำลึกเหมย) ของหลี่ซันอิ่งในสมัยถัง “จองจำอยู่ปลายฟ้า ถวิลหาความงามแห่งวสันต์ เหมันต์เหมยชวนชิงชัง เป็นบุปผาแห่งปีกลาย” - คำแปลจาก <หรูซือ... กุ้ยฮวาผลิบานในใจข้า> โดยหวินไฉ่เฟยหยาง โดยสองวรรคแรกบรรยายถึงคนที่จำเป็นต้องจากบ้านไปไกล ได้แต่รอคอยสิ่งดีๆ และสองวรรคสุดท้ายกล่าวถึงดอกเหมยที่ชูช่อให้ชมในความกันดารแห่งเหมันต์ แต่แล้วเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ ดอกเหมยกลับถูกรังเกียจว่าเป็นดอกไม้ที่บานตั้งแต่ฤดูหนาวปีที่แล้ว เป็นความเก่าไร้ความสดชื่น ผู้คนหันไปตื่นตาตื่นใจกับดอกไม้อื่นที่เริ่มผลิบานแทน เป็นบทกวีที่บ่งบอกถึงความขมขื่นของคนที่ถูกลืมหรือถูกมองว่าหมดประโยชน์แล้ว ดังนั้น Storyฯ ขอสวมวิญญาณนักประพันธ์มาสรุปให้ดังนี้: หากเปรียบรัก ดอกเหมยคือรักที่คงทนฟันฝ่าอุปสรรค หากเปรียบคน ดอกเหมยคือคนที่ยึดมั่นในคุณค่าของตนแม้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย และธรรมชาติของดอกเหมยนั้น ดูงดงามทั้งในห้วงเวลาแห่งความสุขและในยามทุกข์ เมื่อสุข ดอกเหมยคือความหวังและความแน่วแน่ที่จะผ่านความลำบากไปได้ เมื่อทุกข์ ดอกเหมยคือความเดียวดายและความขมขื่นของคนที่ถูกลืม เพื่อนเพจดูซีรีย์และอ่านนิยายแล้ว ‘อิน’ กับดอกเหมยอย่างไรบ้างไหม? มาเล่าสู่กันฟังนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://ent.sina.com.cn/v/m/2011-03-31/14353269488.shtml http://5sing.kugou.com/fc/13497084.html http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html https://www.sgss8.net/tpdq/2670634/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.cmeii.com/xinwenzhongxin/2190.html http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_aed4fe678529.aspx https://www.sohu.com/a/239647354_661147 #ดอกบ๊วย #ดอกเหมย #เหมยฮวา #อี้เหมย #รำลึกเหมย #บุปผาปีกลาย
    ?????????ġ?ɱ?? ????¡??ʫʫ??????ӵ?????_Ӱ?????_????
    ?????????ġ?ɱ?? ????¡??ʫʫ??????ӵ?????
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 631 มุมมอง 0 รีวิว
  • **ผ้าไหมทอลายสูจิ่น เทคนิคการทออันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาวัฒนธรรม**

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราตามรอย <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ไปยังแหล่งผลิตของผ้าไหมสูจิ่น (蜀锦) หรือเมืองอี้โจวในเรื่องซึ่งก็คือเมืองเฉิงตูนั่นเอง Storyฯ ได้กล่าวไว้ว่าผ้าไหมสูจิ่นเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดผ้าไหมทอลายของจีน และเทคนิคการทอผ้าสูจิ่นได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจีนเมื่อปี 2006 วันนี้มาคุยกันต่อค่ะ

    ประวัติการทอผ้าไหมจีนมีมายาวนานหลายพันปี แต่เทคนิคการทอผ้าสูจิ่นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนี้มีมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (ปี 206 ก่อนคริสตกาล - ปีค.ศ. 220) โดยมีหลักฐานจากการขุดพบเครื่องทอโบราณจากหลุมฝังศพสมัยราชวงศ์ฮั่น และใช้เวลานานมากในการทำความเข้าใจวิธีการทำงานของมัน เนื่องจากเอกสารข้อมูลที่หลงเหลือเกี่ยวกับมันมีน้อยมากอันสืบเนื่องจากเมืองเฉิงตูและเขตพื้นที่ทอผ้าได้รับความเสียหายจากไฟสงครามเมื่อแมนจูเข้ายึด ปัจจุบันมีการจำลองขึ้นใหม่จนใช้การได้จริง จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าทอและงานปักสูจิ่นเมืองเฉิงตู (Chengdu Shu Brocade And Embroidery Museum) (ดูรูปประกอบ 2)

    นอกจากนี้ยังมีการขุดพบผ้าไหมทอลายสูจิ่นในพื้นที่แถบซินเกียงที่สะท้อนถึงความสามารถในการทอผ้าลายซับซ้อนในสมัยฮั่น โดยผลงานที่โด่งดังมากที่สุดคือผ้าหุ้มข้อมือที่มีชื่อเรียกว่า ‘อู่ซิงชูตงฟางลี่จงกั๋ว’ (五星出东方利中国/ Five Stars Rising in the East) ผ้าผืนนี้มีสีสันสดใสโดยเน้นสีที่เป็นตัวแทนของห้าดาว (ห้าธาตุ) มีลายสัตว์มงคลและตัวอักษร ‘อู่ซิงชูตงฟางลี่ตงกั๋ว’ และเนื่องด้วยมีการค้นพบเศษผ้าอื่นที่มีลายต่อเนื่องกัน ผู้เชี่ยวชาญจึงวิเคราะห์ไว้ว่าผ้าผืนเต็มประกอบด้วยตัวอักษรยี่สิบอักษร เป็นผ้าทอเนื้อละเอียดมาก ภายในผ้าหนึ่งตารางเซ็นติเมตรมีด้ายยืนทับซ้อนกันทั้งสิ้นกว่า 200 เส้น!

    ต่อมาในสมัยถังและซ่ง เครื่องทอผ้าถูกพัฒนาให้ทอลายที่หลากหลายได้มากยิ่งขึ้นและมีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น โดยมีการบรรยายลักษณะไว้ในบันทึก ‘เทียนกงคายอู้’ (天工开物 /The Exploitation of the Works of Nature) ซึ่งเป็นหนังสือสมัยหมิงจัดทำขึ้นโดยซ่งอิงซิงเมื่อปีค.ศ. 1637 เพื่อบันทึกถึงกว่า 300 อาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้อง (ดูรูปประกอบ 3) ปัจจุบันมีเครื่องโบราณจริงจากสมัยชิงแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าทอและงานปักสูจิ่นเมืองเฉิงตู

    เครื่องทอที่ว่านี้ต้องใช้ช่างทอสองคนพร้อมกัน คนหนึ่งนั่งข้างบนบังคับกลุ่มเส้นไหมเพื่อจัดลายทอ อีกคนหนึ่งนั่งข้างล่างทำหน้าที่ทอและดูแลเรื่องเฉดสี รวมแล้วมีเส้นไหมกว่าหมื่นเส้นที่ต้องบังคับ มีขนาดเล็กคือ ‘เสี่ยวฮวาโหลว’ และขนาดใหญ่คือ ‘ต้าฮวาโหลว’ โดยต้าฮวาโหลวมีความสูงถึงห้าเมตร

    แม้แต่อาจารย์ผู้มีประสบการณ์มาหลายสิบปียังสามารถทอได้เพียงไม่เกินสิบเซ็นติเมตรต่อวันด้วยมันต้องใช้แรงและโฟกัสมาก และความยากที่สุดของการทอผ้าไหมสูจิ่นด้วยเครื่องอย่างนี้คือการเอาลายที่ดีไซน์บนภาพวาดแปลงออกมาเป็นการเรียงเส้นไหมนั่งเอง เล่าอย่างนี้อาจนึกภาพไม่ออก เพื่อนเพจลองดูคลิปสั้นนี้ก็จะพอเห็นภาพค่ะ https://www.youtube.com/shorts/fPzQzevjD2M และหากใครพอมีเวลาก็ลองดูสาระคดียาวประมาณ 15 นาทีมีซับภาษาอังกฤษ ก็จะเห็นความซับซ้อนของการทอผ้าสูจิ่นอย่างเต็มรูปแบบ... https://www.youtube.com/watch?v=uYHbELbospQ&t=609s

    เอกลักษณ์ของผ้าสูจิ่นคือลายทอพื้นเมือง เทคนิคการทอลายทับซ้อนได้หลายชั้นและมีสีสันที่สดใส โดยมีชื่อเรียกจำแนกชนิดย่อยไปได้อีกตามลายทอ อธิบายเช่นนี้ก็คงจะยังไม่ค่อยเห็นความแตกต่าง แต่ในรูปประกอบ 1 ก็พอจะเห็นบางส่วนของลายทอต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในซีรีส์ <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://m.bjnews.com.cn/detail/1732938607168793.html
    https://www.facebook.com/permalink.php/?story_fbid=1083381463798209&id=100063790956424
    https://j.021east.com/p/1652758642049238
    https://sichuan.scol.com.cn/ggxw/202102/58058065.html
    https://www.ccmapp.cn/news/detail?id=bd8d36d9-2b59-4fa0-b8e9-7d8b65852db3&categoryid=&categoryname=最新资讯
    https://www.chinasilkmuseum.com/cs/info_164.aspx?itemid=26725
    https://www.researchgate.net/figure/Traditional-Chinese-drawbar-silk-loom-Roads-to-Zanadu_fig4_284551990
    https://news.qq.com/rain/a/20241229A059DQ00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.youtube.com/shorts/fPzQzevjD2M https://www.youtube.com/watch?v=uYHbELbospQ&t=609s
    https://www.youtube.com/watch?v=1zNDpGNh_Z4&t=1197s
    https://sichuan.scol.com.cn/ggxw/202102/58058065.html

    #ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ #ผ้าไหมจีน #ผ้าไหมจิ่น #สูจิ่น #เฉิงตู #สามก๊ก #สี่สุดยอดผ้าไหมจีน #เครื่องทอผ้าจีนโบราณ #สาระจีน
    **ผ้าไหมทอลายสูจิ่น เทคนิคการทออันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาวัฒนธรรม** สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราตามรอย <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ไปยังแหล่งผลิตของผ้าไหมสูจิ่น (蜀锦) หรือเมืองอี้โจวในเรื่องซึ่งก็คือเมืองเฉิงตูนั่นเอง Storyฯ ได้กล่าวไว้ว่าผ้าไหมสูจิ่นเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดผ้าไหมทอลายของจีน และเทคนิคการทอผ้าสูจิ่นได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจีนเมื่อปี 2006 วันนี้มาคุยกันต่อค่ะ ประวัติการทอผ้าไหมจีนมีมายาวนานหลายพันปี แต่เทคนิคการทอผ้าสูจิ่นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนี้มีมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (ปี 206 ก่อนคริสตกาล - ปีค.ศ. 220) โดยมีหลักฐานจากการขุดพบเครื่องทอโบราณจากหลุมฝังศพสมัยราชวงศ์ฮั่น และใช้เวลานานมากในการทำความเข้าใจวิธีการทำงานของมัน เนื่องจากเอกสารข้อมูลที่หลงเหลือเกี่ยวกับมันมีน้อยมากอันสืบเนื่องจากเมืองเฉิงตูและเขตพื้นที่ทอผ้าได้รับความเสียหายจากไฟสงครามเมื่อแมนจูเข้ายึด ปัจจุบันมีการจำลองขึ้นใหม่จนใช้การได้จริง จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าทอและงานปักสูจิ่นเมืองเฉิงตู (Chengdu Shu Brocade And Embroidery Museum) (ดูรูปประกอบ 2) นอกจากนี้ยังมีการขุดพบผ้าไหมทอลายสูจิ่นในพื้นที่แถบซินเกียงที่สะท้อนถึงความสามารถในการทอผ้าลายซับซ้อนในสมัยฮั่น โดยผลงานที่โด่งดังมากที่สุดคือผ้าหุ้มข้อมือที่มีชื่อเรียกว่า ‘อู่ซิงชูตงฟางลี่จงกั๋ว’ (五星出东方利中国/ Five Stars Rising in the East) ผ้าผืนนี้มีสีสันสดใสโดยเน้นสีที่เป็นตัวแทนของห้าดาว (ห้าธาตุ) มีลายสัตว์มงคลและตัวอักษร ‘อู่ซิงชูตงฟางลี่ตงกั๋ว’ และเนื่องด้วยมีการค้นพบเศษผ้าอื่นที่มีลายต่อเนื่องกัน ผู้เชี่ยวชาญจึงวิเคราะห์ไว้ว่าผ้าผืนเต็มประกอบด้วยตัวอักษรยี่สิบอักษร เป็นผ้าทอเนื้อละเอียดมาก ภายในผ้าหนึ่งตารางเซ็นติเมตรมีด้ายยืนทับซ้อนกันทั้งสิ้นกว่า 200 เส้น! ต่อมาในสมัยถังและซ่ง เครื่องทอผ้าถูกพัฒนาให้ทอลายที่หลากหลายได้มากยิ่งขึ้นและมีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น โดยมีการบรรยายลักษณะไว้ในบันทึก ‘เทียนกงคายอู้’ (天工开物 /The Exploitation of the Works of Nature) ซึ่งเป็นหนังสือสมัยหมิงจัดทำขึ้นโดยซ่งอิงซิงเมื่อปีค.ศ. 1637 เพื่อบันทึกถึงกว่า 300 อาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้อง (ดูรูปประกอบ 3) ปัจจุบันมีเครื่องโบราณจริงจากสมัยชิงแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าทอและงานปักสูจิ่นเมืองเฉิงตู เครื่องทอที่ว่านี้ต้องใช้ช่างทอสองคนพร้อมกัน คนหนึ่งนั่งข้างบนบังคับกลุ่มเส้นไหมเพื่อจัดลายทอ อีกคนหนึ่งนั่งข้างล่างทำหน้าที่ทอและดูแลเรื่องเฉดสี รวมแล้วมีเส้นไหมกว่าหมื่นเส้นที่ต้องบังคับ มีขนาดเล็กคือ ‘เสี่ยวฮวาโหลว’ และขนาดใหญ่คือ ‘ต้าฮวาโหลว’ โดยต้าฮวาโหลวมีความสูงถึงห้าเมตร แม้แต่อาจารย์ผู้มีประสบการณ์มาหลายสิบปียังสามารถทอได้เพียงไม่เกินสิบเซ็นติเมตรต่อวันด้วยมันต้องใช้แรงและโฟกัสมาก และความยากที่สุดของการทอผ้าไหมสูจิ่นด้วยเครื่องอย่างนี้คือการเอาลายที่ดีไซน์บนภาพวาดแปลงออกมาเป็นการเรียงเส้นไหมนั่งเอง เล่าอย่างนี้อาจนึกภาพไม่ออก เพื่อนเพจลองดูคลิปสั้นนี้ก็จะพอเห็นภาพค่ะ https://www.youtube.com/shorts/fPzQzevjD2M และหากใครพอมีเวลาก็ลองดูสาระคดียาวประมาณ 15 นาทีมีซับภาษาอังกฤษ ก็จะเห็นความซับซ้อนของการทอผ้าสูจิ่นอย่างเต็มรูปแบบ... https://www.youtube.com/watch?v=uYHbELbospQ&t=609s เอกลักษณ์ของผ้าสูจิ่นคือลายทอพื้นเมือง เทคนิคการทอลายทับซ้อนได้หลายชั้นและมีสีสันที่สดใส โดยมีชื่อเรียกจำแนกชนิดย่อยไปได้อีกตามลายทอ อธิบายเช่นนี้ก็คงจะยังไม่ค่อยเห็นความแตกต่าง แต่ในรูปประกอบ 1 ก็พอจะเห็นบางส่วนของลายทอต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในซีรีส์ <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://m.bjnews.com.cn/detail/1732938607168793.html https://www.facebook.com/permalink.php/?story_fbid=1083381463798209&id=100063790956424 https://j.021east.com/p/1652758642049238 https://sichuan.scol.com.cn/ggxw/202102/58058065.html https://www.ccmapp.cn/news/detail?id=bd8d36d9-2b59-4fa0-b8e9-7d8b65852db3&categoryid=&categoryname=最新资讯 https://www.chinasilkmuseum.com/cs/info_164.aspx?itemid=26725 https://www.researchgate.net/figure/Traditional-Chinese-drawbar-silk-loom-Roads-to-Zanadu_fig4_284551990 https://news.qq.com/rain/a/20241229A059DQ00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.youtube.com/shorts/fPzQzevjD2M https://www.youtube.com/watch?v=uYHbELbospQ&t=609s https://www.youtube.com/watch?v=1zNDpGNh_Z4&t=1197s https://sichuan.scol.com.cn/ggxw/202102/58058065.html #ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ #ผ้าไหมจีน #ผ้าไหมจิ่น #สูจิ่น #เฉิงตู #สามก๊ก #สี่สุดยอดผ้าไหมจีน #เครื่องทอผ้าจีนโบราณ #สาระจีน
    3 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 817 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติเพราะ Storyฯ จะไปเที่ยววีคเอนด์นี้ เลยรีบมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากละครจีนโบราณเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีเรื่องราวให้พูดคุยเกี่ยวกับวัฒนธรรมไม่น้อย มีตอนหนึ่งที่หนึ่งในตัวละครสมทบคือซูวุ่ยถูกกักบริเวณโดยแม่ของนาง และจะสามารถก้าวเท้าออกจากบ้านได้ก็ต่อเมื่อนางเรียนงานปัก ‘เปี้ยนซิ่ว’ ได้สำเร็จ สร้างความหนักใจให้แก่นางนัก เป็นการบอกเล่าให้พวกเราทราบได้ว่า งานปักชนิดนี้ยากนักหนา

    ‘เปี้ยนซิ่ว’ (汴绣)คืออะไร? มันคือสไตล์การปักที่มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ มีชื่อมาจากเมืองหลวงเปี้ยนจิง (หรือที่เราคุ้นหูว่าตงจิง) บ้างเรียกว่า ‘ซ่งซิ่ว’ (宋绣) บ้างจำแนกละเอียดกว่านั้นว่า เปี้ยนซิ่วเป็นงานชาววังในขณะที่ซ่งซิ่วเป็นงานของชาวบ้านทั่วไป

    Storyฯ ลองไปหาข้อมูลดูเลยพบเจอคลิปวีดีโอนี้ https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk เลยอยากให้เพื่อนๆ ได้ลองดูกัน อาจจะยาวสักนิด แต่จะเห็นภาพได้ดีถึงขั้นตอนการทำต่างๆ ตั้งแต่เลือกผ้าจนปลดออกจากสะดึง และที่สำคัญมีการซูมให้ดูถึงรายละเอียดของงานปักที่ทำเอา Storyฯ รู้สึกทึ่งไม่น้อย

    งานปักจีนโบราณพัฒนาขึ้นมากในสมัยถังแต่ในสมัยนั้นยังมีเทคนิคการปักไม่กี่แบบ และเมื่อมาถึงสมัยซ่งก็ได้รับการพัฒนายิ่งขึ้นไปอีกเป็นกว่ายี่สิบเทคนิค จากบันทึกโบราณพบว่างานปักเปี้ยนซิ่วโดยหลักเกิดขึ้นจากในวัง เรียกได้ว่าเป็นงานปักชาววัง รับผิดชอบงานฉลองพระองค์และของใช้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในวัง ความนิยมและเทคนิคการปักได้รับความสำคัญจนถึงกับมีการก่อตั้งวิทยาลัยเฉพาะทาง (เหวินซิ่วย่วน / 文绣院) ขึ้นเมื่อปี 1005 มีช่างปักกว่าสามร้อยคน

    เปี้ยนซิ่วถูกหลงลืมไปตามกาลเวลาจนแทบจะสูญหาย มีไม่กี่คนที่ยังสืบทอดมาภายหลังจากสิ้นราชวงศ์ งานเปี้ยนซิ่วรับการฟื้นฟูเมื่อมีผู้ที่สืบทอดเอาผลงานเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองครบสิบปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปีค.ศ. 1959 โดยผลงานที่สร้างชื่อเสียงชิ้นนี้ก็คืองานปัก <ชิงหมิงซ่างเหอถู> เป็นผลงานที่ได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมากจากประธานเหมา และปัจจุบันถูกจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม (ดูได้จากรูป 1 และรูป 2 บน และจากคลิปวีดีโอที่เป็นการสาธิตการปัก) ต่อมาเปี้ยนซิ่วถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในห้าของสไตล์การปักที่โด่งดังที่สุดของจีน จัดเป็นศิลปะแห่งชาติแขนงหนึ่ง มีการสืบทอดอย่างเป็นทางการ

    เอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วคืออะไร?

    เปี้ยนซิ่วขึ้นชื่อว่าเป็นงานละเอียด ใช้เส้นด้ายเพียงหนึ่งหรือสองเส้นเท่านั้น (หมายเหตุ หากสังเกตดีๆ ไหมปักที่เราใช้ทั่วไปปัจจุบันนี้เป็นเกลียวที่ประกอบขึ้นจากด้ายปักหลายเส้น) นำมาปักจนทึบโดยไม่เห็นรอยช่องไฟใดๆ ริมขอบลายปักเลย และอาศัยเทคนิคการปักต่างๆ ไม่ว่าจะความหนานูน ทิศทางของฝีเข็มที่แตกต่าง หรือการคัดสีไหม เพื่อสร้างมิติให้แก่ภาพปัก เพราะเอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วนี้คือการนำงานศิลปะภาพวาดพู่กันจีนมาถ่ายทอดลงบนผืนผ้า ไม่ว่าจะเป็นลายภูผาวารี นก ดอกไม้ คนและสัตว์ รวมถึงบทกวีโคลงกลอนด้วย (ดูตัวอย่างได้ในรูป 2) เรียกได้ว่า งานปักสมัยซ่งนี้ ไม่เพียงปักสิ่งของใช้สอย แต่เป็นงานศิลปะที่มีไว้ชมอีกด้วย (เช่นภาพติดผนัง ภาพติดฉากกั้น ฯลฯ) นอกจากนี้ ยังมีการปักแบบสองด้าน ไม่แพ้งานปักสไตล์ชื่อดังอื่นๆ ของจีนที่เราอาจเคยผ่านตากันมา

    Storyฯ รู้สึกว่า เขียนอย่างไรก็บรรยายความงามของเปี้ยนซิ่วออกมาไม่ได้เพียงพอ ยังอยากให้เพื่อนเพจเข้าไปดูคลิปวีดิโอตามคลิปข้างบน ชอบไม่ชอบอะไรมาเม้นท์ให้ฟังกันบ้างนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://baike.baidu.com/item/雁归西窗月
    https://www.tvzn.com/15774/role/226234.html
    https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk
    http://m.news.xixik.com/content/55c6bf156997ce9f/
    http://5b0988e595225.cdn.sohucs.com/images/20190514/7e22d3dd9d0244ddada007df51228ee0.jpeg
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.yxhenan.com/info/kf/scyjl_13025_1289.html
    https://kknews.cc/collect/4xyn5m2.html
    https://baike.baidu.com/item/汴绣/1124193
    #ดุจฝันบันดาลใจ #เปี้ยนซิ่ว #ซ่งซิ่ว #งานปักจีนโบราณ #ชิงหมิงซ่างเหอถู
    สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติเพราะ Storyฯ จะไปเที่ยววีคเอนด์นี้ เลยรีบมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากละครจีนโบราณเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีเรื่องราวให้พูดคุยเกี่ยวกับวัฒนธรรมไม่น้อย มีตอนหนึ่งที่หนึ่งในตัวละครสมทบคือซูวุ่ยถูกกักบริเวณโดยแม่ของนาง และจะสามารถก้าวเท้าออกจากบ้านได้ก็ต่อเมื่อนางเรียนงานปัก ‘เปี้ยนซิ่ว’ ได้สำเร็จ สร้างความหนักใจให้แก่นางนัก เป็นการบอกเล่าให้พวกเราทราบได้ว่า งานปักชนิดนี้ยากนักหนา ‘เปี้ยนซิ่ว’ (汴绣)คืออะไร? มันคือสไตล์การปักที่มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ มีชื่อมาจากเมืองหลวงเปี้ยนจิง (หรือที่เราคุ้นหูว่าตงจิง) บ้างเรียกว่า ‘ซ่งซิ่ว’ (宋绣) บ้างจำแนกละเอียดกว่านั้นว่า เปี้ยนซิ่วเป็นงานชาววังในขณะที่ซ่งซิ่วเป็นงานของชาวบ้านทั่วไป Storyฯ ลองไปหาข้อมูลดูเลยพบเจอคลิปวีดีโอนี้ https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk เลยอยากให้เพื่อนๆ ได้ลองดูกัน อาจจะยาวสักนิด แต่จะเห็นภาพได้ดีถึงขั้นตอนการทำต่างๆ ตั้งแต่เลือกผ้าจนปลดออกจากสะดึง และที่สำคัญมีการซูมให้ดูถึงรายละเอียดของงานปักที่ทำเอา Storyฯ รู้สึกทึ่งไม่น้อย งานปักจีนโบราณพัฒนาขึ้นมากในสมัยถังแต่ในสมัยนั้นยังมีเทคนิคการปักไม่กี่แบบ และเมื่อมาถึงสมัยซ่งก็ได้รับการพัฒนายิ่งขึ้นไปอีกเป็นกว่ายี่สิบเทคนิค จากบันทึกโบราณพบว่างานปักเปี้ยนซิ่วโดยหลักเกิดขึ้นจากในวัง เรียกได้ว่าเป็นงานปักชาววัง รับผิดชอบงานฉลองพระองค์และของใช้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในวัง ความนิยมและเทคนิคการปักได้รับความสำคัญจนถึงกับมีการก่อตั้งวิทยาลัยเฉพาะทาง (เหวินซิ่วย่วน / 文绣院) ขึ้นเมื่อปี 1005 มีช่างปักกว่าสามร้อยคน เปี้ยนซิ่วถูกหลงลืมไปตามกาลเวลาจนแทบจะสูญหาย มีไม่กี่คนที่ยังสืบทอดมาภายหลังจากสิ้นราชวงศ์ งานเปี้ยนซิ่วรับการฟื้นฟูเมื่อมีผู้ที่สืบทอดเอาผลงานเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองครบสิบปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปีค.ศ. 1959 โดยผลงานที่สร้างชื่อเสียงชิ้นนี้ก็คืองานปัก <ชิงหมิงซ่างเหอถู> เป็นผลงานที่ได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมากจากประธานเหมา และปัจจุบันถูกจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม (ดูได้จากรูป 1 และรูป 2 บน และจากคลิปวีดีโอที่เป็นการสาธิตการปัก) ต่อมาเปี้ยนซิ่วถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในห้าของสไตล์การปักที่โด่งดังที่สุดของจีน จัดเป็นศิลปะแห่งชาติแขนงหนึ่ง มีการสืบทอดอย่างเป็นทางการ เอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วคืออะไร? เปี้ยนซิ่วขึ้นชื่อว่าเป็นงานละเอียด ใช้เส้นด้ายเพียงหนึ่งหรือสองเส้นเท่านั้น (หมายเหตุ หากสังเกตดีๆ ไหมปักที่เราใช้ทั่วไปปัจจุบันนี้เป็นเกลียวที่ประกอบขึ้นจากด้ายปักหลายเส้น) นำมาปักจนทึบโดยไม่เห็นรอยช่องไฟใดๆ ริมขอบลายปักเลย และอาศัยเทคนิคการปักต่างๆ ไม่ว่าจะความหนานูน ทิศทางของฝีเข็มที่แตกต่าง หรือการคัดสีไหม เพื่อสร้างมิติให้แก่ภาพปัก เพราะเอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วนี้คือการนำงานศิลปะภาพวาดพู่กันจีนมาถ่ายทอดลงบนผืนผ้า ไม่ว่าจะเป็นลายภูผาวารี นก ดอกไม้ คนและสัตว์ รวมถึงบทกวีโคลงกลอนด้วย (ดูตัวอย่างได้ในรูป 2) เรียกได้ว่า งานปักสมัยซ่งนี้ ไม่เพียงปักสิ่งของใช้สอย แต่เป็นงานศิลปะที่มีไว้ชมอีกด้วย (เช่นภาพติดผนัง ภาพติดฉากกั้น ฯลฯ) นอกจากนี้ ยังมีการปักแบบสองด้าน ไม่แพ้งานปักสไตล์ชื่อดังอื่นๆ ของจีนที่เราอาจเคยผ่านตากันมา Storyฯ รู้สึกว่า เขียนอย่างไรก็บรรยายความงามของเปี้ยนซิ่วออกมาไม่ได้เพียงพอ ยังอยากให้เพื่อนเพจเข้าไปดูคลิปวีดิโอตามคลิปข้างบน ชอบไม่ชอบอะไรมาเม้นท์ให้ฟังกันบ้างนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://baike.baidu.com/item/雁归西窗月 https://www.tvzn.com/15774/role/226234.html https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk http://m.news.xixik.com/content/55c6bf156997ce9f/ http://5b0988e595225.cdn.sohucs.com/images/20190514/7e22d3dd9d0244ddada007df51228ee0.jpeg Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.yxhenan.com/info/kf/scyjl_13025_1289.html https://kknews.cc/collect/4xyn5m2.html https://baike.baidu.com/item/汴绣/1124193 #ดุจฝันบันดาลใจ #เปี้ยนซิ่ว #ซ่งซิ่ว #งานปักจีนโบราณ #ชิงหมิงซ่างเหอถู
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 674 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ Storyฯ หายไปตามรอยซากุระมา จำได้ว่าตอนที่เคยเล่าถึงความหมายของดอกเหมยในวัฒนธรรมจีน มีเพื่อนเพจถามถึงดอกซากุระด้วย วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ

    เพื่อนเพจคงทราบดีว่าดอกซากุระเป็นดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น มีคนกล่าวถึงความหมายของมันต่อคนญี่ปุ่นว่าจริงแล้วคือ Rebirth หรือการเกิดใหม่ กล่าวคือการยอมรับความไม่จีรังในชีวิตแต่ยังเปี่ยมด้วยความหวังว่าสิ่งดีๆ จะเกิดขึ้นใหม่ เฉกเช่นดอกซากุระที่บานให้ชื่นชมเพียงไม่นานก็ร่วงโรยแต่แล้วก็จะผลิใหม่และเบ่งบานให้ชมอีกเรื่อยไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายความหมาย เช่น ความสำเร็จ หัวใจที่เข้มแข็ง ความรัก ความบริสุทธิ์ และความอ่อนโยน ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้ล้วนให้อารมณ์แห่งความหวังและความสุข

    แล้วที่จีนล่ะ?

    ดอกซากุระมีชื่อจีนว่า ‘อิงฮวา’ (樱花) หรือโบราณเคยเรียกว่า ‘อิงเถา’ แต่มีการระบุชัดว่าไม่ใช่ดอกท้อ (เถาฮวา) เฉพาะในประเทศจีนมีกว่าสี่สิบสายพันธุ์ เชื่อว่ามีการเริ่มปลูกต้นอิงฮวาในเขตพระราชฐานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น แต่แพร่สู่บ้านเรือนสามัญชนและพบเห็นได้ทั่วไปในสมัยราชวงศ์ถัง (บ้างก็ว่าในช่วงสมัยถังนี่เองที่ อิงฮวาหรือซากุระถูกเผยแพร่ในญี่ปุ่น) ต่อมาในสมัยซ่งเหนือคนหันมานิยมดอกเหมยมากกว่า ทำให้ดอกอิงฮวาถูกกล่าวขานถึงน้อยลง

    ผลงานทางศิลปะเกี่ยวกับอิงฮวามีน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นบทกวีหรือภาพวาด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับดอกบ๊วยหรือดอกท้อที่ดูจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผลงานมากกว่า แรกเริ่มเลยในงานประพันธ์ต่างๆ จะเรียกมันว่า ‘ซันอิง’ หมายถึงต้นอิงฮวาที่โตตามป่าเขา โดยบทกวีที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับอิงฮวาคือในสมัยราชวงศ์ใต้ ประพันธ์โดยเสิ่นเยวี้ย (ค.ศ. 441-513) เป็นการบรรยายถึงดอกซันอิงบานรับฤดูใบไม้ผลิ คงจะกล่าวได้ว่านี่เป็นครั้งแรกที่ดอกอิงฮวาถูกโยงเข้ากับการมาเยือนของวสันตฤดู

    ในสมัยถังมีบทกวีเกี่ยวกับดอกอิงฮวามากกว่ายุคสมัยอื่น บ่งบอกถึงความนิยมในสมัยนั้น โดยนักการเมืองไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) ได้สร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกอิงฮวาไว้หลายบท แต่ผลงานของเขามักบ่งบอกถึงอารมณ์แห่งความเสียดายยามบุปผาโรยรา ทว่าแฝงไว้ซึ่งความหวังเพราะซันอิงยังจะคงอยู่และผลิบานใหม่ท่ามกลางป่าเขา โดยผลงานเหล่านี้สะท้อนถึงชีวิตทางการเมืองที่ผ่านร้อนผ่านหนาวของเขา

    อิงฮวากลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่ในช่วงยุคสมัยถังเช่นเดียวกัน มีการกล่าวถึงธรรมเนียมการหักกิ่งอิงฮวามอบให้กันยามคู่รักต้องจากลา โดยใช้อิงฮวาเป็นตัวแทนแห่งความคนึงหา และในหลายบทกวีในยุคนั้น ใช้อิงฮวาเปรียบเปรยถึงความคิดถึงและความอ้างว้าง ดุจฉากดอกอิงฮวาร่วงโรยโปรยพลิ้วในสายลม Storyฯ ขอยกตัวอย่างจากบทกวี <หักกิ่งบุปผามอบอำลา> ของหยวนเจิ่นในสมัยถัง (ขออภัยหากแปลไม่สละสลวย) ที่กล่าวถึงความอาลัยอาวรณ์ของสตรียามต้องส่งชายคนรักจากไป:
    “ส่งท่านใต้ร่มเงาอิงเถา ใจวสันต์ฝากไว้ในกิ่ง
    ที่ใดชวนให้คำนึงถึงที่สุด นั่นคือป่าอิงเถาอันดารดาษ”

    ต่อมาอิงฮวากลายมาเป็นสัญลักษณ์ของสตรีเพศที่อ่อนหวานและอ่อนโยน ไม่ปรากฏชัดเจนว่ามุมมองในลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อใด แต่ในบทกวี <ซันอิง> ของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ (คนเดียวกับที่ฝากผลงานอันโดดเด่น <เหมยฮวา> ที่ Storyฯ เคยเขียนไปแล้ว) มีการบรรยายเปรียบเปรยอิงฮวาดุจสตรีที่เอียงอายหลบอยู่ใต้เงาไม้และเบ่งบานหลังดอกไม้อื่น แต่เมื่อลมวสันต์โชยก็พัดพากลิ่นหอมขจรขจายให้ความงามเป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน

    จะเห็นได้ว่า ในวัฒนธรรมจีนนั้น ความหมายของดอกอิงฮวาคล้ายคลึงกับซากุระในวัฒนธรรมญี่ปุ่น คือเป็นตัวแทนแห่งความไม่จีรัง ความบริสุทธิ์ และความอ่อนหวาน

    แต่ในความคล้ายคลึงก็มีความแตกต่าง เพราะซากุระในญี่ปุ่นแฝงไว้ด้วยความหวังท่ามกลางความไม่จีรังในชีวิต แต่โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ รู้สึกว่าบทกวีเกี่ยวกับอิงฮวาของจีนมักแฝงไว้ด้วยความเศร้า หากจะกล่าวว่าดอกบ๊วยเป็นตัวแทนแห่งความงามที่คงทน ดอกอิงฮวาก็คงเป็นตัวแทนแห่งความงามที่เปราะบาง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    รูปภาพจาก: พี่ชายของ Storyฯ เอง
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://news.bjd.com.cn/2022/04/08/10066983.shtml
    https://www.baike.com/wikiid/4777101092071907963?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=32kicegvg8m000
    https://www.163.com/dy/article/HV0LDNRE05418YI9.html

    #อิงฮวา #ซากุระจีน
    สวัสดีค่ะ Storyฯ หายไปตามรอยซากุระมา จำได้ว่าตอนที่เคยเล่าถึงความหมายของดอกเหมยในวัฒนธรรมจีน มีเพื่อนเพจถามถึงดอกซากุระด้วย วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เพื่อนเพจคงทราบดีว่าดอกซากุระเป็นดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น มีคนกล่าวถึงความหมายของมันต่อคนญี่ปุ่นว่าจริงแล้วคือ Rebirth หรือการเกิดใหม่ กล่าวคือการยอมรับความไม่จีรังในชีวิตแต่ยังเปี่ยมด้วยความหวังว่าสิ่งดีๆ จะเกิดขึ้นใหม่ เฉกเช่นดอกซากุระที่บานให้ชื่นชมเพียงไม่นานก็ร่วงโรยแต่แล้วก็จะผลิใหม่และเบ่งบานให้ชมอีกเรื่อยไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายความหมาย เช่น ความสำเร็จ หัวใจที่เข้มแข็ง ความรัก ความบริสุทธิ์ และความอ่อนโยน ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้ล้วนให้อารมณ์แห่งความหวังและความสุข แล้วที่จีนล่ะ? ดอกซากุระมีชื่อจีนว่า ‘อิงฮวา’ (樱花) หรือโบราณเคยเรียกว่า ‘อิงเถา’ แต่มีการระบุชัดว่าไม่ใช่ดอกท้อ (เถาฮวา) เฉพาะในประเทศจีนมีกว่าสี่สิบสายพันธุ์ เชื่อว่ามีการเริ่มปลูกต้นอิงฮวาในเขตพระราชฐานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น แต่แพร่สู่บ้านเรือนสามัญชนและพบเห็นได้ทั่วไปในสมัยราชวงศ์ถัง (บ้างก็ว่าในช่วงสมัยถังนี่เองที่ อิงฮวาหรือซากุระถูกเผยแพร่ในญี่ปุ่น) ต่อมาในสมัยซ่งเหนือคนหันมานิยมดอกเหมยมากกว่า ทำให้ดอกอิงฮวาถูกกล่าวขานถึงน้อยลง ผลงานทางศิลปะเกี่ยวกับอิงฮวามีน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นบทกวีหรือภาพวาด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับดอกบ๊วยหรือดอกท้อที่ดูจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผลงานมากกว่า แรกเริ่มเลยในงานประพันธ์ต่างๆ จะเรียกมันว่า ‘ซันอิง’ หมายถึงต้นอิงฮวาที่โตตามป่าเขา โดยบทกวีที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับอิงฮวาคือในสมัยราชวงศ์ใต้ ประพันธ์โดยเสิ่นเยวี้ย (ค.ศ. 441-513) เป็นการบรรยายถึงดอกซันอิงบานรับฤดูใบไม้ผลิ คงจะกล่าวได้ว่านี่เป็นครั้งแรกที่ดอกอิงฮวาถูกโยงเข้ากับการมาเยือนของวสันตฤดู ในสมัยถังมีบทกวีเกี่ยวกับดอกอิงฮวามากกว่ายุคสมัยอื่น บ่งบอกถึงความนิยมในสมัยนั้น โดยนักการเมืองไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) ได้สร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกอิงฮวาไว้หลายบท แต่ผลงานของเขามักบ่งบอกถึงอารมณ์แห่งความเสียดายยามบุปผาโรยรา ทว่าแฝงไว้ซึ่งความหวังเพราะซันอิงยังจะคงอยู่และผลิบานใหม่ท่ามกลางป่าเขา โดยผลงานเหล่านี้สะท้อนถึงชีวิตทางการเมืองที่ผ่านร้อนผ่านหนาวของเขา อิงฮวากลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่ในช่วงยุคสมัยถังเช่นเดียวกัน มีการกล่าวถึงธรรมเนียมการหักกิ่งอิงฮวามอบให้กันยามคู่รักต้องจากลา โดยใช้อิงฮวาเป็นตัวแทนแห่งความคนึงหา และในหลายบทกวีในยุคนั้น ใช้อิงฮวาเปรียบเปรยถึงความคิดถึงและความอ้างว้าง ดุจฉากดอกอิงฮวาร่วงโรยโปรยพลิ้วในสายลม Storyฯ ขอยกตัวอย่างจากบทกวี <หักกิ่งบุปผามอบอำลา> ของหยวนเจิ่นในสมัยถัง (ขออภัยหากแปลไม่สละสลวย) ที่กล่าวถึงความอาลัยอาวรณ์ของสตรียามต้องส่งชายคนรักจากไป: “ส่งท่านใต้ร่มเงาอิงเถา ใจวสันต์ฝากไว้ในกิ่ง ที่ใดชวนให้คำนึงถึงที่สุด นั่นคือป่าอิงเถาอันดารดาษ” ต่อมาอิงฮวากลายมาเป็นสัญลักษณ์ของสตรีเพศที่อ่อนหวานและอ่อนโยน ไม่ปรากฏชัดเจนว่ามุมมองในลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อใด แต่ในบทกวี <ซันอิง> ของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ (คนเดียวกับที่ฝากผลงานอันโดดเด่น <เหมยฮวา> ที่ Storyฯ เคยเขียนไปแล้ว) มีการบรรยายเปรียบเปรยอิงฮวาดุจสตรีที่เอียงอายหลบอยู่ใต้เงาไม้และเบ่งบานหลังดอกไม้อื่น แต่เมื่อลมวสันต์โชยก็พัดพากลิ่นหอมขจรขจายให้ความงามเป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน จะเห็นได้ว่า ในวัฒนธรรมจีนนั้น ความหมายของดอกอิงฮวาคล้ายคลึงกับซากุระในวัฒนธรรมญี่ปุ่น คือเป็นตัวแทนแห่งความไม่จีรัง ความบริสุทธิ์ และความอ่อนหวาน แต่ในความคล้ายคลึงก็มีความแตกต่าง เพราะซากุระในญี่ปุ่นแฝงไว้ด้วยความหวังท่ามกลางความไม่จีรังในชีวิต แต่โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ รู้สึกว่าบทกวีเกี่ยวกับอิงฮวาของจีนมักแฝงไว้ด้วยความเศร้า หากจะกล่าวว่าดอกบ๊วยเป็นตัวแทนแห่งความงามที่คงทน ดอกอิงฮวาก็คงเป็นตัวแทนแห่งความงามที่เปราะบาง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) รูปภาพจาก: พี่ชายของ Storyฯ เอง Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://news.bjd.com.cn/2022/04/08/10066983.shtml https://www.baike.com/wikiid/4777101092071907963?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=32kicegvg8m000 https://www.163.com/dy/article/HV0LDNRE05418YI9.html #อิงฮวา #ซากุระจีน
    樱花 花开花谢皆诗意的早春花木_北京日报网
    我国野生樱花品种最多 樱属植物广泛分布于北半球的温带与亚热带地区。亚洲、欧洲、北美洲均有分布,但主要集中在东亚地区。中国的西南、华南、长江流域、华北、东北地区,俄罗斯、日本、朝鲜一线,以及缅甸、不丹...
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 588 มุมมอง 0 รีวิว
  • ก่อนหน้านี้มีคุยเรื่องความหมายของดอกไม้ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เรื่องสุภาษิตจีนที่เกี่ยวกับดอกไม้

    เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <เทียบท้าปฐพี> คงเคยผ่านตาฉากที่พระเอกต้องแกล้งเป็นดื่มเหล้าเมาแล้วนางเอกเตือนไม่ให้ดื่มเยอะ ตัวร้ายถึงกับออกปากว่า “นางข้าหลวงคนนี้ มาจากในวังหรือ? ทั้งซื่อสัตย์และงดงามนัก เป็นดอกไม้งามที่เฉลียวฉลาด” (หมายเหตุ คำแปลยกมาจากซับไทยของละครเรื่องนี้)

    แต่เพื่อนเพจที่ไม่ทราบภาษาจีนคงไม่รู้ว่า ‘ดอกไม้งามที่เฉลียวฉลาด’ นี้ ในฉบับภาษาจีนใช้คำว่า ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ (解语花) แปลตรงตัวว่า เข้าใจ+ภาษา+ดอกไม้ (อุ้ย... ความหมายเพี้ยน!) เปรียบเปรยถึงหญิงงามที่ฉลาดมีความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็นวลีที่นิยมใช้ในสมัยซ่ง

    สุภาษิตนี้มีจุดกำเนิดจากบทประพันธ์เชิงประวัติศาสตร์ของนักอักษรศาสตร์ในช่วงปลายราชวงศ์ถังนามว่า หวางเหรินอี้ (ค.ศ. 880-956) เป็นเรื่องเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากสมัยองค์ถังเสวียนจง ฮ่องเต้องค์ที่เจ็ดแห่งราชวงศ์ถัง โดยฉากที่กล่าวถึงนี้บรรยายว่า วันหนึ่งในสารทฤดู เดือนแปด องค์ถังเสวียนจงทรงชื่นชมความงามของธรรมชาติอยู่ในอุทยานกับญาติๆ และนางใน ดอกบัวขาวบานสะพรั่งชูช่อเป็นที่ชื่นชมของผู้คน แต่แล้วทรงหันมาชี้นิ้วไปยังหยางกุ้ยเฟยที่ตามเสด็จมาด้วยแล้วเอ่ยว่า “ไยจะสู้เจี๋ยอวี่ฮวาของเรา” (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) เป็นเหตุการณ์ที่ถูกเล่ากันต่อๆ มาให้เป็นตัวอย่างว่าหยางกุ้ยเฟยเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังเสวียนจงเพียงใด

    ความหมายดั้งเดิมของ ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ ในตอนนั้นคือ บุปผาที่พูดได้ ย่อมงดงามกว่าบุปผาธรรมดา ใช้เปรียบเปรยสตรีที่งดงามยิ่งนัก และในเวลานั้นใช้หมายถึงหยางกุ้ยเฟยนั่นเอง

    ต่อมาคำว่า ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ ถูกนำมาใช้ในบทกวีและบทประพันธ์ของชนรุ่นหลัง ปัจจุบันเป็นสุภาษิตที่แปลว่าสตรีที่งามยิ่งนัก หรือสตรีที่ทั้งงามและมีเสน่ห์ (เพราะมีความเข้าอกเข้าใจคน)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://baike.baidu.com/item/解语花/9250245
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/解语花/9250245
    https://baike.baidu.com/item/王仁裕
    https://www.sohu.com/a/273086275_100069764
    https://cidian.qianp.com/ci/%E8%A7%A3%E8%AF%AD%E8%8A%B1

    #เทียบท้าปฐพี #หยางกุ้ยเฟย #เจี๋ยอวี่ฮวา
    ก่อนหน้านี้มีคุยเรื่องความหมายของดอกไม้ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เรื่องสุภาษิตจีนที่เกี่ยวกับดอกไม้ เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <เทียบท้าปฐพี> คงเคยผ่านตาฉากที่พระเอกต้องแกล้งเป็นดื่มเหล้าเมาแล้วนางเอกเตือนไม่ให้ดื่มเยอะ ตัวร้ายถึงกับออกปากว่า “นางข้าหลวงคนนี้ มาจากในวังหรือ? ทั้งซื่อสัตย์และงดงามนัก เป็นดอกไม้งามที่เฉลียวฉลาด” (หมายเหตุ คำแปลยกมาจากซับไทยของละครเรื่องนี้) แต่เพื่อนเพจที่ไม่ทราบภาษาจีนคงไม่รู้ว่า ‘ดอกไม้งามที่เฉลียวฉลาด’ นี้ ในฉบับภาษาจีนใช้คำว่า ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ (解语花) แปลตรงตัวว่า เข้าใจ+ภาษา+ดอกไม้ (อุ้ย... ความหมายเพี้ยน!) เปรียบเปรยถึงหญิงงามที่ฉลาดมีความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็นวลีที่นิยมใช้ในสมัยซ่ง สุภาษิตนี้มีจุดกำเนิดจากบทประพันธ์เชิงประวัติศาสตร์ของนักอักษรศาสตร์ในช่วงปลายราชวงศ์ถังนามว่า หวางเหรินอี้ (ค.ศ. 880-956) เป็นเรื่องเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากสมัยองค์ถังเสวียนจง ฮ่องเต้องค์ที่เจ็ดแห่งราชวงศ์ถัง โดยฉากที่กล่าวถึงนี้บรรยายว่า วันหนึ่งในสารทฤดู เดือนแปด องค์ถังเสวียนจงทรงชื่นชมความงามของธรรมชาติอยู่ในอุทยานกับญาติๆ และนางใน ดอกบัวขาวบานสะพรั่งชูช่อเป็นที่ชื่นชมของผู้คน แต่แล้วทรงหันมาชี้นิ้วไปยังหยางกุ้ยเฟยที่ตามเสด็จมาด้วยแล้วเอ่ยว่า “ไยจะสู้เจี๋ยอวี่ฮวาของเรา” (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) เป็นเหตุการณ์ที่ถูกเล่ากันต่อๆ มาให้เป็นตัวอย่างว่าหยางกุ้ยเฟยเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังเสวียนจงเพียงใด ความหมายดั้งเดิมของ ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ ในตอนนั้นคือ บุปผาที่พูดได้ ย่อมงดงามกว่าบุปผาธรรมดา ใช้เปรียบเปรยสตรีที่งดงามยิ่งนัก และในเวลานั้นใช้หมายถึงหยางกุ้ยเฟยนั่นเอง ต่อมาคำว่า ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ ถูกนำมาใช้ในบทกวีและบทประพันธ์ของชนรุ่นหลัง ปัจจุบันเป็นสุภาษิตที่แปลว่าสตรีที่งามยิ่งนัก หรือสตรีที่ทั้งงามและมีเสน่ห์ (เพราะมีความเข้าอกเข้าใจคน) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://baike.baidu.com/item/解语花/9250245 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/解语花/9250245 https://baike.baidu.com/item/王仁裕 https://www.sohu.com/a/273086275_100069764 https://cidian.qianp.com/ci/%E8%A7%A3%E8%AF%AD%E8%8A%B1 #เทียบท้าปฐพี #หยางกุ้ยเฟย #เจี๋ยอวี่ฮวา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 388 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่วงนี้มีกระแสเรื่องหนังสือเรียนเด็กชั้นประถมบ้านเรา ทำให้ Storyฯ เกิด ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วในสมัยจีนโบราณ เด็กๆ เรียนอะไร ผ่านตาในซีรีส์ก็จะเห็นเด็กท่องกันไปยาวๆ อย่างเช่นใน <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบลี้> ตอนที่พระเอกลงไปผ่านด่านเคราะห์ในโลกมนุษย์

    วันนี้เลยมาคุยกันคร่าวๆ เรื่องการศึกษาของเด็กในสมัยจีนโบราณ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า ‘เหมิงเสวี๋ย’ (蒙学) หมายถึงการเรียนเพื่อปูพื้นฐานหรือก็คือการเรียนของเด็ก

    เริ่มกันจากที่ว่า เขาเริ่มเข้าเรียนกันตอนอายุเท่าไหร่? เรื่องอายุการเริ่มเรียนมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยพร้อมๆ กับการจัดระเบียบด้านการศึกษา เดิมเด็กๆ เริ่มเรียนกันได้ตั้งแต่สี่ขวบ เข้าเรียนได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบไม้ร่วงและฤดูหนาว (ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเปลี่ยนมาเป็นเปิดเทอมตอนฤดูหนาวเป็นหลัก) ต่อมาในสมัยถังเริ่มเรียนกันที่ 6-7 ขวบ ต่อมาสมัยหมิงและชิงมีจัดตั้งโรงเรียนให้ประชาชนได้เรียนกันอย่างแพร่หลายโดยมีช่วงอายุ 8-15 ปี

    แล้วเขาเรียนอะไร? ตั้งแต่สมัยโบราณมีการแบ่งแยกการสอนเด็กเล็กและเด็กโตโดยจัดเนื้อหาแตกต่างกัน มีตัวอย่างให้เห็นจากการเรียนของราชนิกุลสมัยราชวงศ์เซี่ย ซังและโจว แม้แต่ในบทสอนของขงจื๊อก็มีการแยกระหว่างเด็กเล็กเด็กโต สำหรับเด็กเล็กเน้นให้อ่านออกเขียนได้ โตขึ้นอีกหน่อยก็เริ่มเรียนพวกบทกวีและบทความและปูพื้นฐานสำหรับเรียน ‘สี่หนังสือ’ (ซื่อซู/四书) ว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อเมื่อโตขึ้นอีกหน่อย

    แต่อย่าลืมว่าการเรียนหนังสือแต่เดิมเป็นเอกสิทธิ์ของราชนิกูลและลูกหลานตระกูลผู้ดีหรือลูกหลานข้าราชการ ต่อมาจึงมีการเปิดโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชน และมีการพัฒนาเอกสารการเรียนการสอนมากขึ้น นับแต่สมัยซ่งมา หนังสือสำหรับเด็กเล็กที่สำคัญและใช้เป็นหลัก เดิมมีอยู่สามเล่ม เรียกรวมว่า ‘สามร้อยพัน’ (ซานป่ายเชียน/三百千) ต่อมาเพิ่มมาอีก ‘พัน’ เป็น ‘สามร้อยพันพัน’ (ซานป่ายเชียนเชียน/三百千千) สรุปได้ดังนี้

    - ‘สาม’ หมายถึง ‘คัมภีร์สามอักษร’ (ซานจื้อจิง /三字经) เป็นตำราที่มีขึ้นในสมัยซ่งใต้ มีทั้งหมด 1,722 อักษร (โอ้โห... สงสารเด็กเลย!) เนื้อหารวมความรู้พื้นฐานเช่น ประวัติศาสตร์สำคัญ ความรู้ทั่วไป (เช่นทิศ เวลา ฤดูกาล) และหลักคุณธรรม ลักษณะการเขียนแบ่งเป็นวรรคละสามอักษร ประโยคละสองวรรค วรรคแรกคือเนื้อหาที่ต้องการกล่าวถึง วรรคหลังคือคำอธิบายเหตุผลหรือสาระของมัน เช่น ตัวอย่างสองประโยคแรก อธิบายว่า อันคนเรานั้นแต่เดิมมีจิตใจดี นิสัยใจคอธรรมชาติให้มาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อฝึกฝนกันไปความแตกต่างก็จะยิ่งมากขึ้น เป็นต้น มีเว็บไทยอธิบายไว้ ลองไปอ่านดูนะคะ (https://pasajeen.com/three-character-classic/)
    - ‘ร้อย’ หมายถึง ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) แต่จริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ ไว้ให้หัดจำตัวอักษร แฝงไว้ซึ่งความสำคัญของวงศ์ตระกูล (สงสารเด็กอีกแล้ว อักษรจีนจำยากนะ)
    - ‘พัน’ หมายถึง ‘บทความพันอักษร’ (เชียนจื้อเหวิน / 千字文) เป็นหนังสือโบราณตั้งแต่ยุคราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 502-549) โดยครั้งนั้นฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ให้ขุนนางเลือกอักษรออกมาหนึ่งพันตัว แล้วเอามาเรียงร้อยจนได้เป็นบทความ แบ่งเป็นวรรคละสี่อักษร Storyฯ ได้ลองอ่านแล้วถึงกับถอดใจว่าอ่านเข้าใจยากมาก ต้องไปอ่านที่เขาแปลมาให้เข้าใจง่ายๆ อีกที สรุปใจความประมาณว่าธาตุทั้งหลายก่อเกิดเป็นสรรพสิ่ง สอดแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปเช่นว่า น้ำทะเลนั้นเค็ม น้ำจืดนั้นรสจาง เล่าต่อเป็นเรื่องการปกครองแว่นแคว้นให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข สอดแทรกหลักคุณธรรมของกษัตริย์ เล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ สอดแทรกแนวปฏิบัติเช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ การวางตัวให้มีจริยธรรม การแต่งกายอย่างสะอาดสุภาพ ฯลฯ
    - อีก ‘พัน’ สุดท้ายคือ ‘บทกวีพันเรือน’ (เชียนเจียซือ /千家诗) จัดทำขึ้นในสมัยชิง เป็นหนังสือที่รวบรวมบทกวีและวลีเด็ดของยุคสมัยถังและซ่ง (แม้จะมีของสมัยหยวนและหมิงปนมาบ้างแต่น้อยมาก) รวมทั้งสิ้น 226 ชิ้นงาน เน้นการสอนอ่านให้คล่อง ออกเสียงให้ชัด และมีจังหวะจะโคน

    หนังสือเรียนเด็กยังมีอีกไม่น้อย ใครท่องได้ไวเรียนเก่งก็พัฒนาไวไปจนอ่านบันทึกพิธีการโจวหลี่และซื่อซูของขงจื๊อได้แม้จะเป็นแค่เด็กตัวกะเปี๊ยก แต่แค่ที่เขียนมาข้างต้น Storyฯ ก็รู้สึกเหนื่อยแทนแล้ว มิน่าล่ะ เราถึงเห็นฉากในละครบ่อยๆ เวลาเด็กท่องหนังสือก็ร่ายกันไปยาวๆ หัวก็โคลงหมุนไปตามจังหวะการท่องด้วย แล้วเพื่อนเพจล่ะคะ รู้สึกยังไงกันบ้าง?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    http://www.fakutownee.cn/wenti/yule/16786.html
    https://www.sohu.com/a/584299187_161835
    https://wang-tobeboss.com/archives/1449
    https://www.hrxfw.com/fjbk/fjdj/2682.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/323332934
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/三百千千/10984837
    https://www.lzs100.com/post/565.html
    https://www.sohu.com/a/584299187_161835
    https://baike.baidu.com/item/蒙学/5024354

    #หนังสือเรียนจีนโบราณ #เหมิงเสวี๋ย #คัมภีร์สามอักษร #ซานจื้อจิง #ร้อยตระกูล #ร้อยแซ่ #ป่ายเจียซิ่ง #พันอักษร #เชียนจื้อเหวิน #กวีพันเรือน #เชียนเจียซือ
    ช่วงนี้มีกระแสเรื่องหนังสือเรียนเด็กชั้นประถมบ้านเรา ทำให้ Storyฯ เกิด ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วในสมัยจีนโบราณ เด็กๆ เรียนอะไร ผ่านตาในซีรีส์ก็จะเห็นเด็กท่องกันไปยาวๆ อย่างเช่นใน <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบลี้> ตอนที่พระเอกลงไปผ่านด่านเคราะห์ในโลกมนุษย์ วันนี้เลยมาคุยกันคร่าวๆ เรื่องการศึกษาของเด็กในสมัยจีนโบราณ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า ‘เหมิงเสวี๋ย’ (蒙学) หมายถึงการเรียนเพื่อปูพื้นฐานหรือก็คือการเรียนของเด็ก เริ่มกันจากที่ว่า เขาเริ่มเข้าเรียนกันตอนอายุเท่าไหร่? เรื่องอายุการเริ่มเรียนมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยพร้อมๆ กับการจัดระเบียบด้านการศึกษา เดิมเด็กๆ เริ่มเรียนกันได้ตั้งแต่สี่ขวบ เข้าเรียนได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบไม้ร่วงและฤดูหนาว (ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเปลี่ยนมาเป็นเปิดเทอมตอนฤดูหนาวเป็นหลัก) ต่อมาในสมัยถังเริ่มเรียนกันที่ 6-7 ขวบ ต่อมาสมัยหมิงและชิงมีจัดตั้งโรงเรียนให้ประชาชนได้เรียนกันอย่างแพร่หลายโดยมีช่วงอายุ 8-15 ปี แล้วเขาเรียนอะไร? ตั้งแต่สมัยโบราณมีการแบ่งแยกการสอนเด็กเล็กและเด็กโตโดยจัดเนื้อหาแตกต่างกัน มีตัวอย่างให้เห็นจากการเรียนของราชนิกุลสมัยราชวงศ์เซี่ย ซังและโจว แม้แต่ในบทสอนของขงจื๊อก็มีการแยกระหว่างเด็กเล็กเด็กโต สำหรับเด็กเล็กเน้นให้อ่านออกเขียนได้ โตขึ้นอีกหน่อยก็เริ่มเรียนพวกบทกวีและบทความและปูพื้นฐานสำหรับเรียน ‘สี่หนังสือ’ (ซื่อซู/四书) ว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อเมื่อโตขึ้นอีกหน่อย แต่อย่าลืมว่าการเรียนหนังสือแต่เดิมเป็นเอกสิทธิ์ของราชนิกูลและลูกหลานตระกูลผู้ดีหรือลูกหลานข้าราชการ ต่อมาจึงมีการเปิดโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชน และมีการพัฒนาเอกสารการเรียนการสอนมากขึ้น นับแต่สมัยซ่งมา หนังสือสำหรับเด็กเล็กที่สำคัญและใช้เป็นหลัก เดิมมีอยู่สามเล่ม เรียกรวมว่า ‘สามร้อยพัน’ (ซานป่ายเชียน/三百千) ต่อมาเพิ่มมาอีก ‘พัน’ เป็น ‘สามร้อยพันพัน’ (ซานป่ายเชียนเชียน/三百千千) สรุปได้ดังนี้ - ‘สาม’ หมายถึง ‘คัมภีร์สามอักษร’ (ซานจื้อจิง /三字经) เป็นตำราที่มีขึ้นในสมัยซ่งใต้ มีทั้งหมด 1,722 อักษร (โอ้โห... สงสารเด็กเลย!) เนื้อหารวมความรู้พื้นฐานเช่น ประวัติศาสตร์สำคัญ ความรู้ทั่วไป (เช่นทิศ เวลา ฤดูกาล) และหลักคุณธรรม ลักษณะการเขียนแบ่งเป็นวรรคละสามอักษร ประโยคละสองวรรค วรรคแรกคือเนื้อหาที่ต้องการกล่าวถึง วรรคหลังคือคำอธิบายเหตุผลหรือสาระของมัน เช่น ตัวอย่างสองประโยคแรก อธิบายว่า อันคนเรานั้นแต่เดิมมีจิตใจดี นิสัยใจคอธรรมชาติให้มาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อฝึกฝนกันไปความแตกต่างก็จะยิ่งมากขึ้น เป็นต้น มีเว็บไทยอธิบายไว้ ลองไปอ่านดูนะคะ (https://pasajeen.com/three-character-classic/) - ‘ร้อย’ หมายถึง ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) แต่จริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ ไว้ให้หัดจำตัวอักษร แฝงไว้ซึ่งความสำคัญของวงศ์ตระกูล (สงสารเด็กอีกแล้ว อักษรจีนจำยากนะ) - ‘พัน’ หมายถึง ‘บทความพันอักษร’ (เชียนจื้อเหวิน / 千字文) เป็นหนังสือโบราณตั้งแต่ยุคราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 502-549) โดยครั้งนั้นฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ให้ขุนนางเลือกอักษรออกมาหนึ่งพันตัว แล้วเอามาเรียงร้อยจนได้เป็นบทความ แบ่งเป็นวรรคละสี่อักษร Storyฯ ได้ลองอ่านแล้วถึงกับถอดใจว่าอ่านเข้าใจยากมาก ต้องไปอ่านที่เขาแปลมาให้เข้าใจง่ายๆ อีกที สรุปใจความประมาณว่าธาตุทั้งหลายก่อเกิดเป็นสรรพสิ่ง สอดแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปเช่นว่า น้ำทะเลนั้นเค็ม น้ำจืดนั้นรสจาง เล่าต่อเป็นเรื่องการปกครองแว่นแคว้นให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข สอดแทรกหลักคุณธรรมของกษัตริย์ เล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ สอดแทรกแนวปฏิบัติเช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ การวางตัวให้มีจริยธรรม การแต่งกายอย่างสะอาดสุภาพ ฯลฯ - อีก ‘พัน’ สุดท้ายคือ ‘บทกวีพันเรือน’ (เชียนเจียซือ /千家诗) จัดทำขึ้นในสมัยชิง เป็นหนังสือที่รวบรวมบทกวีและวลีเด็ดของยุคสมัยถังและซ่ง (แม้จะมีของสมัยหยวนและหมิงปนมาบ้างแต่น้อยมาก) รวมทั้งสิ้น 226 ชิ้นงาน เน้นการสอนอ่านให้คล่อง ออกเสียงให้ชัด และมีจังหวะจะโคน หนังสือเรียนเด็กยังมีอีกไม่น้อย ใครท่องได้ไวเรียนเก่งก็พัฒนาไวไปจนอ่านบันทึกพิธีการโจวหลี่และซื่อซูของขงจื๊อได้แม้จะเป็นแค่เด็กตัวกะเปี๊ยก แต่แค่ที่เขียนมาข้างต้น Storyฯ ก็รู้สึกเหนื่อยแทนแล้ว มิน่าล่ะ เราถึงเห็นฉากในละครบ่อยๆ เวลาเด็กท่องหนังสือก็ร่ายกันไปยาวๆ หัวก็โคลงหมุนไปตามจังหวะการท่องด้วย แล้วเพื่อนเพจล่ะคะ รู้สึกยังไงกันบ้าง? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://www.fakutownee.cn/wenti/yule/16786.html https://www.sohu.com/a/584299187_161835 https://wang-tobeboss.com/archives/1449 https://www.hrxfw.com/fjbk/fjdj/2682.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/323332934 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/三百千千/10984837 https://www.lzs100.com/post/565.html https://www.sohu.com/a/584299187_161835 https://baike.baidu.com/item/蒙学/5024354 #หนังสือเรียนจีนโบราณ #เหมิงเสวี๋ย #คัมภีร์สามอักษร #ซานจื้อจิง #ร้อยตระกูล #ร้อยแซ่ #ป่ายเจียซิ่ง #พันอักษร #เชียนจื้อเหวิน #กวีพันเรือน #เชียนเจียซือ
    PASAJEEN.COM
    คัมภีร์ภาษาจีน สามอักษร 三字经 | ภาษาจีน.คอม "เปิดโลกอักษรจีน เปิดโลกภาษาจีน"
    เสน่ห์ของ 三字经 อยู่ที่การท่องทีละ 3 คำ และแม้มีการแบ่งคำ แบ่ง 3 คำๆก็จริง ยังแยกเป็นคู่ๆ สังเกตุจากเครื่องหมายวรรคตอน โดย 3 ตัวแรก อาจบอกสาเหตุ 3 ตัวหลังบอกผล หรือ 3 ตัวแรก อาจบอกอะไรสักอย่าง 3 ตัวหลังขยายความ คู่ ที่ 1 人之初,性本善。คู่ที่ 1 3 ตัวแรกบอกว่า กำเนิดของมนุษย์ หรือธรรมชาติดั้งเดิมของคน 3 ตัวหลังบอกว่า พื้นฐานจิตใจมีเมตตากรุณา คู่ ที่ 2 性相近,习相远。 3 ตัวแรกบอกว่า จิตใจอารมณ์มนุษย์ทุกคนธรรมชาติให้มาใกล้เคียง 3 ตัวหลังบอกว่า การฝึกหัด (อาจดีหรือเลว อยู่ที่สิ่งแวดล้อม) ทำให้คนห่างไกลกัน คนเราพื้นฐานล้วนคล้ายคลึงกันคือเป็นคนดี แต่สิ่งแวดล้อมที่ทำให้คนแตกต่างกัน อันนี้เป็นความเชื่อ ที่นำไปสู่ทัศนคติ การอบรม ลัทธิต่างๆอีกมากมาย บางระบบอย่างฝรั่ง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 694 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขออภัยที่หายไปหนึ่งอาทิตย์ค่ะ วันนี้ Storyฯ เห็นว่าเรากำลังอยู่ในบรรยากาศการเลือกคนดีคนเก่งมาบริหารบ้านเมือง เลยลองมาคุยกันเรื่องปรัชญาจีนโบราณ (แม้ว่า Storyฯ จะไม่สันทัดเรื่องปรัชญาก็ตาม)

    เพื่อนเพจที่เคยอ่านนิยายของกิมย้งหรือดูหนังเรื่อง <กระบี่เย้ยยุทธจักร> ต้องคุ้นหูกับคำว่า ‘วิญญูชนจอมปลอม’ ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า ‘เหว่ยจวินจื่อ’ (伪君子) โดยคำว่า ‘จวินจื่อ’ นี้ปัจจุบันมักใช้คำแปลว่า ‘สุภาพชน’ (gentleman)

    แน่นอนว่าคำว่า ‘วิญญูชน’ และ ‘สุภาพชน’ มีนัยแตกต่าง คำถามที่ตามมาก็คือ: ‘จวินจื่อ’ (君子) คืออะไร? นี่เป็นคำถามในข้อสอบยอดฮิตในสมัยจีนโบราณ

    Storyฯ ขอยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีฉากที่นางเอกต้องร่วมสอบและได้ต่อว่าคนที่กลั่นแกล้งนางและดูถูกพ่อของนางไว้ว่า “วิญญูชนไม่คิดอกุศล ข้าเดินได้อย่างผึ่งผาย นั่งได้อย่างหลังตรง มิเคยต้องกังวลลมปากของผู้ใด... วิญญูชนไม่แบ่งแยกสูงต่ำด้วยชาติกำเนิด” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ประโยคที่ว่า ‘วิญญูชนไม่คิดอกุศล’ หรือ ‘จวินจื่อซืออู๋เสีย’ (君子思无邪) นี้ เป็นการรวมสองปรัชญาจากคัมภีร์หลุนอวี่ (论语) เข้ามาด้วยกันในประโยคเดียว

    ปรัชญาแรกว่าด้วยเรื่องของ ‘จวินจื่อ’ ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก ‘จวิน’ ที่หมายถึงผู้เป็นประมุขหรือผู้มียศศักดิ์ และ ‘จื่อ’ ที่แปลว่าบุตรชาย ดังนั้นความหมายดั้งเดิมคือหมายถึง ‘Nobleman’ หรืออาจแปลเป็นไทยได้ว่าราชนิกุลหรือลูกหลานชนชั้นศักดินา ต่อมาหมายถึงผู้ที่มีศีลธรรมและคุณสมบัติสูงส่งอันเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้ (‘A man of noble character’) เป็นส่วนประกอบสำคัญของปรัชญาขงจื๊อในการสร้างมาตรฐานสังคม โดยขงจื๊อมักใช้การเปรียบเทียบระหว่าง ‘จวินจื่อ’ กับ ‘เสี่ยวเหริน’ (小人 / ทุรชน) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ‘จวินจื่อ’ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร Storyฯ สรุปมาไม่ได้หมด เลยยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพดังนี้:

    – จวินจื่อคำนึงถึงความเที่ยงธรรม (义) แต่เสี่ยวเหรินคำนึงถึงผลประโยชน์
    – จวินจื่ออยู่ร่วมได้ด้วยความต่าง แต่เสี่ยวเหรินแม้ไม่ต่างแต่ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ --- ประเด็นนี้ Storyฯ อาจแปลได้ไม่ดี ขอขยายความว่า จวินจื่อเมื่อเรียนรู้และตระหนักถึงสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าอาจมีแก่นความคิดที่แตกต่างกันไป แต่เพราะมีความเข้าใจในเนื้อแท้ของคนและเคารพยอมรับซึ่งกันและกันได้ ก็สามารถส่งเสริมเกื้อกูลหล่อหลอมเข้าด้วยกันได้ แต่ในทางกลับกัน เสี่ยวเหรินมีความเสแสร้งพยายามให้ดูกลมกลืน แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง สุดท้ายแม้อยู่ร่วมกันแต่ไม่สามารถหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันได้
    – จวินจื่อเปิดเผยผึ่งผาย จึงไม่ต้องกังวลถึงความเห็นคนอื่น แต่เสี่ยวเหรินทำอะไรก็พะวงหน้าพะวงหลังกลัวคนมากลั่นแกล้ง
    – จวินจื่อพึ่งพาตนเอง แต่เสี่ยวเหรินพึ่งพาผู้อื่น
    – จวินจื่อส่งเสริมผู้อื่นในเรื่องที่ดีและไม่สนับสนุนในเรื่องที่ไม่ดี แต่เสี่ยวเหรินขัดผู้อื่นในเรื่องที่ดีและส่งเสริมในเรื่องที่ไม่ดี
    – จวินจื่อเปรียบเสมือนลม เสี่ยวเหรินเป็นเหมือนหญ้าที่ต้องเอนไหวศิโรราบให้เมื่อลมพัดผ่าน เป็นการอุปมาอุปไมยว่าคุณธรรมของจวินจื่อ สามารถเอาชนะความไม่ดีของเสี่ยวเหรินได้

    ปรัชญาที่สอง ‘ไม่คิดอกุศล’ (ซืออู๋เสีย/思无邪) โดยปรัชญานี้ขงจื๊อเคยใช้ในสองบริบท บริบทแรกในการวิจารณ์งานประพันธ์โดยหมายถึงว่า สิ่งที่นักประพันธ์สื่อผ่านตัวอักษรออกมานั้น ควรบ่งบอกจิตวิญญาณและความคิดที่แท้จริง พูดง่ายๆ คือซื่อตรงต่อตัวเอง ส่วนอีกบริบทหนึ่งนั้นคือเป็นการกล่าวถึงคุณสมบัติของคน โดยหมายถึงว่า อันความคิดที่ดี ย่อมไม่กลัวที่จะเปิดเผยให้ผู้ใดรับรู้

    คำว่า ‘จวินจื่อ’ ปรากฏอยู่บนงานประพันธ์และสำนวนจีนมากมาย และปรัชญาของขงจื๊อถูกศึกษามาหลายพันปีโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงวิชาจำนวนนับไม่ถ้วน Storyฯ ไม่หาญกล้ามาเสวนามากมายในปรัชญาเหล่านี้ เพียงแต่เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามา คำว่า ‘จวินจื่อ’ หรือ ‘วิญญูชน’ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในสังคมทุกวันนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นวิญญูชน และใครเป็นวิญญูชนจอมปลอม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/467496758_120871225
    https://www.sohu.com/a/433221328_99929216
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/思无邪/5080
    https://guoxue.ifeng.com/c/7jUG4KBpiZC
    https://baike.baidu.com/item/君子/1389

    #ดุจฝันบันดาลใจ #จวินจื่อ #วิญญูชน #ขงจื๊อ
    ขออภัยที่หายไปหนึ่งอาทิตย์ค่ะ วันนี้ Storyฯ เห็นว่าเรากำลังอยู่ในบรรยากาศการเลือกคนดีคนเก่งมาบริหารบ้านเมือง เลยลองมาคุยกันเรื่องปรัชญาจีนโบราณ (แม้ว่า Storyฯ จะไม่สันทัดเรื่องปรัชญาก็ตาม) เพื่อนเพจที่เคยอ่านนิยายของกิมย้งหรือดูหนังเรื่อง <กระบี่เย้ยยุทธจักร> ต้องคุ้นหูกับคำว่า ‘วิญญูชนจอมปลอม’ ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า ‘เหว่ยจวินจื่อ’ (伪君子) โดยคำว่า ‘จวินจื่อ’ นี้ปัจจุบันมักใช้คำแปลว่า ‘สุภาพชน’ (gentleman) แน่นอนว่าคำว่า ‘วิญญูชน’ และ ‘สุภาพชน’ มีนัยแตกต่าง คำถามที่ตามมาก็คือ: ‘จวินจื่อ’ (君子) คืออะไร? นี่เป็นคำถามในข้อสอบยอดฮิตในสมัยจีนโบราณ Storyฯ ขอยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีฉากที่นางเอกต้องร่วมสอบและได้ต่อว่าคนที่กลั่นแกล้งนางและดูถูกพ่อของนางไว้ว่า “วิญญูชนไม่คิดอกุศล ข้าเดินได้อย่างผึ่งผาย นั่งได้อย่างหลังตรง มิเคยต้องกังวลลมปากของผู้ใด... วิญญูชนไม่แบ่งแยกสูงต่ำด้วยชาติกำเนิด” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ประโยคที่ว่า ‘วิญญูชนไม่คิดอกุศล’ หรือ ‘จวินจื่อซืออู๋เสีย’ (君子思无邪) นี้ เป็นการรวมสองปรัชญาจากคัมภีร์หลุนอวี่ (论语) เข้ามาด้วยกันในประโยคเดียว ปรัชญาแรกว่าด้วยเรื่องของ ‘จวินจื่อ’ ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก ‘จวิน’ ที่หมายถึงผู้เป็นประมุขหรือผู้มียศศักดิ์ และ ‘จื่อ’ ที่แปลว่าบุตรชาย ดังนั้นความหมายดั้งเดิมคือหมายถึง ‘Nobleman’ หรืออาจแปลเป็นไทยได้ว่าราชนิกุลหรือลูกหลานชนชั้นศักดินา ต่อมาหมายถึงผู้ที่มีศีลธรรมและคุณสมบัติสูงส่งอันเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้ (‘A man of noble character’) เป็นส่วนประกอบสำคัญของปรัชญาขงจื๊อในการสร้างมาตรฐานสังคม โดยขงจื๊อมักใช้การเปรียบเทียบระหว่าง ‘จวินจื่อ’ กับ ‘เสี่ยวเหริน’ (小人 / ทุรชน) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ‘จวินจื่อ’ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร Storyฯ สรุปมาไม่ได้หมด เลยยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพดังนี้: – จวินจื่อคำนึงถึงความเที่ยงธรรม (义) แต่เสี่ยวเหรินคำนึงถึงผลประโยชน์ – จวินจื่ออยู่ร่วมได้ด้วยความต่าง แต่เสี่ยวเหรินแม้ไม่ต่างแต่ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ --- ประเด็นนี้ Storyฯ อาจแปลได้ไม่ดี ขอขยายความว่า จวินจื่อเมื่อเรียนรู้และตระหนักถึงสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าอาจมีแก่นความคิดที่แตกต่างกันไป แต่เพราะมีความเข้าใจในเนื้อแท้ของคนและเคารพยอมรับซึ่งกันและกันได้ ก็สามารถส่งเสริมเกื้อกูลหล่อหลอมเข้าด้วยกันได้ แต่ในทางกลับกัน เสี่ยวเหรินมีความเสแสร้งพยายามให้ดูกลมกลืน แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง สุดท้ายแม้อยู่ร่วมกันแต่ไม่สามารถหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ – จวินจื่อเปิดเผยผึ่งผาย จึงไม่ต้องกังวลถึงความเห็นคนอื่น แต่เสี่ยวเหรินทำอะไรก็พะวงหน้าพะวงหลังกลัวคนมากลั่นแกล้ง – จวินจื่อพึ่งพาตนเอง แต่เสี่ยวเหรินพึ่งพาผู้อื่น – จวินจื่อส่งเสริมผู้อื่นในเรื่องที่ดีและไม่สนับสนุนในเรื่องที่ไม่ดี แต่เสี่ยวเหรินขัดผู้อื่นในเรื่องที่ดีและส่งเสริมในเรื่องที่ไม่ดี – จวินจื่อเปรียบเสมือนลม เสี่ยวเหรินเป็นเหมือนหญ้าที่ต้องเอนไหวศิโรราบให้เมื่อลมพัดผ่าน เป็นการอุปมาอุปไมยว่าคุณธรรมของจวินจื่อ สามารถเอาชนะความไม่ดีของเสี่ยวเหรินได้ ปรัชญาที่สอง ‘ไม่คิดอกุศล’ (ซืออู๋เสีย/思无邪) โดยปรัชญานี้ขงจื๊อเคยใช้ในสองบริบท บริบทแรกในการวิจารณ์งานประพันธ์โดยหมายถึงว่า สิ่งที่นักประพันธ์สื่อผ่านตัวอักษรออกมานั้น ควรบ่งบอกจิตวิญญาณและความคิดที่แท้จริง พูดง่ายๆ คือซื่อตรงต่อตัวเอง ส่วนอีกบริบทหนึ่งนั้นคือเป็นการกล่าวถึงคุณสมบัติของคน โดยหมายถึงว่า อันความคิดที่ดี ย่อมไม่กลัวที่จะเปิดเผยให้ผู้ใดรับรู้ คำว่า ‘จวินจื่อ’ ปรากฏอยู่บนงานประพันธ์และสำนวนจีนมากมาย และปรัชญาของขงจื๊อถูกศึกษามาหลายพันปีโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงวิชาจำนวนนับไม่ถ้วน Storyฯ ไม่หาญกล้ามาเสวนามากมายในปรัชญาเหล่านี้ เพียงแต่เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามา คำว่า ‘จวินจื่อ’ หรือ ‘วิญญูชน’ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในสังคมทุกวันนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นวิญญูชน และใครเป็นวิญญูชนจอมปลอม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/467496758_120871225 https://www.sohu.com/a/433221328_99929216 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/思无邪/5080 https://guoxue.ifeng.com/c/7jUG4KBpiZC https://baike.baidu.com/item/君子/1389 #ดุจฝันบันดาลใจ #จวินจื่อ #วิญญูชน #ขงจื๊อ
    WWW.SOHU.COM
    《雁归西窗月》是根据小说改编的吗 《雁归西窗月》结局是什么_赵孝
    《雁归西窗月》讲述了霸道郡王赵孝谦与率真少女谢小满的乌龙甜怼恋,两人从开始的欢喜冤家到逐渐相知相守,携手历经坎坷,冲破重重阻碍,最终收获了一段浪漫的爱情故事。 这部剧是先婚后爱的戏码,女主谢小满…
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 646 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง

    เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ

    แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’?

    สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才)

    เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ

    Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html
    https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子
    https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/
    https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D
    http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html
    https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593

    #สำนวนจีน #เสาหลัก
    สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’? สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才) เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子 https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/ https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593 #สำนวนจีน #เสาหลัก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 574 มุมมอง 0 รีวิว
  • เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยจำได้ว่า Storyฯ เคยเขียนว่าพระเอกในเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> ‘ลู่อี้’ นั้นมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ วันนี้มาคุยกันกับเกร็ดประวัติศาสตร์จากละครเรื่องนี้ที่ Storyฯ เพิ่งได้กลับมาตั้งใจดูอีกครั้งและพบว่าตัวเองตกหล่นรายละเอียดไปไม่น้อย

    เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่าในเนื้อเรื่องมีตัวร้ายคือ ‘เหยียนซื่อฟาน’ ซึ่งเป็นลูกชายของขุนนางตัวโกงนาม ‘เหยียนซง’ ซึ่งทั้งสองคนนี้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในรัชสมัยขององค์หมิงซื่อจงแห่งราชวง์หมิง โดยเหยียนซงรับตำแหน่งหัวหน้าของคณะขุนนางสูงสุดหรือที่เรียกว่า ‘เน่ยเก๋อ’ (内阁 จึงเป็นที่มาของการเรียกขาน เหยียนซื่อฟานว่า ‘เสี่ยวเก๋อเหล่า’) ในละครมีฉากที่เหยียนซื่อฟานได้ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาและมีการถกกันว่าเป็นภาพของแท้หรือไม่

    Storyฯ เคยเขียนถึงภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาแล้วตอนที่คุยกันเกี่ยวกับละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> แต่วันนี้มีรายละเอียดเพิ่มเติม ขอถอดบทสนทนาจากในละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> มาดังนี้
    ... “ได้ยินมาว่าจางเจ๋อตวนใช้เวลาหนึ่งปีก็วาดภาพม้วนยาวนี้เสร็จ นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถหายาก... ท่านใต้เท่าสวี่... เชิญท่านลองคุยๆ ดูภาพนี้จริงปลอมหรือไม่อย่างไร” เหยียนซงกล่าว
    ใต้เท้าสวี่เอ่ย “...ตามที่ข้าน้อยทราบมา ภาพนี้ควรมีลายพระอักษรรูปแบบโซ่วจินขององค์ซ่งฮุยจงเป็นคำว่า ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ห้าอักษร... และมีตราประทับมังกรคู่ อีกทั้งมีบทกลอนนำ ภาพนี้ดูแล้วไม่คล้ายเป็นภาพวาดเลียนแบบ” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ยาว 528 ซม. สูง 24.8 ซม. เป็นหนึ่งในสิบของภาพโบราณที่มีค่าที่สุดของจีน ถูกวาดขึ้นโดยจางเจ๋อตวน เขาใช้เวลาหนึ่งปีในการวาดภาพนี้จริงหรือไม่ ไม่ปรากฏหลักฐานหรือบันทึกใดกล่าวชัด แต่ภาพนี้เคยตกอยู่ในมือของเหยียนซงจริง! ตอนที่ตระกูลเหยียนถูกลงทัณฑ์และยึดสมบัตินั้น รายชื่อของสมบัติที่ริบได้นั้นยาวถึง 140 หน้ากระดาษและหนึ่งในนั้นก็คือ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ นี้

    จากบันทึกที่พอแกะรอยกันได้ ว่ากันว่าภาพนี้แรกเริ่มถูกนำถวายองค์ซ่งฮุยจง (ค.ศ. 1522-1566) และพระองค์ทรงเขียนชื่อ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ขึ้นบนภาพด้วยอักษรในรูปแบบ ‘โซ่วจิน’ ซึ่งเป็นรูปแบบอักษรที่ทรงคิดประดิษฐ์ขึ้นเอง (ดูตัวอย่างจากรูป2 ขวา) เป็นที่ถกเถียงกันต่อมาว่าทรงโปรดภาพนี้หรือไม่เพราะมันไม่ได้ถูกเก็บไว้ในท้องพระคลังแต่ถูกพระราชทานให้ขุนนาง

    หลังจากนั้น ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ผ่านการเดินทางอย่างโชกโชน ในช่วงที่ราชวงศ์จินยึดแผ่นดินซ่งได้สำเร็จนั้น ว่ากันว่ามันถูกเก็บเข้าท้องพระคลังและถูกยักยอกออกมาขายทอดตลาด เป็นช่วงที่มีการเขียนบทนำลงไปหน้าภาพ ต่อมาในสมัยหยวนก็ถูกซื้อเก็บเข้าท้องพระคลังอีกครั้งและถูกยักยอกออกมาขายอีก มีการเสาะหามันเรื่อยมาจนตกมาอยู่ในมือของเหยียนซงในสมัยหมิง โดยที่ก่อนหน้านั้นปรากฏงานลอกเลียนแบบออกมาจำนวนไม่น้อย ต่อมามันถูกริบเป็นสมบัติหลวงอีกครั้งโดยมีการลบตราประทับที่แสดงความเป็นเจ้าของของตระกูลเหยียนออกจากภาพ หลังจากนั้นมันถูกเปลี่ยนมือไปมาในแวดวงขุนนาง โดยไม่แน่ว่าเป็นการได้รับพระราชทานหรือยักยอก และปรากฏบทความนำหน้าภาพขึ้นมาเพิ่มอีก โดยที่ลายพระหัตถ์ขององค์หมิงซื่อจงไม่ทราบว่าหายไปจากภาพตั้งแต่เมื่อใด ผู้ที่ถือครองครั้งสุดท้ายว่ากันว่าคือขันทีนามว่า ‘เฝิงเป่า’ ซึ่งต่อมาถูกลงทัณฑ์ริบสมบัติ

    ภาพนี้หายสาบสูญไปนานกว่าสองร้อยปี แน่นอนว่ามีภาพปลอมจำนวนไม่น้อยปรากฏขึ้น และภาพที่เชื่อว่าเป็นฉบับจริงนี้ปรากฏในตลาดและมาถึงมือของพิพิธภัณฑ์มณฑลเหลียวหนิงในปีค.ศ. 1950 ปัจจุบันถูกเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับลู่อี้: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0QA8xxCRgWSD6jP6PexAdnrZmEdGAHVxGTu3UXj3CpZfkovdY37ft9rQbauD6KfQzl
    บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับชิงหมิงซ่างเหอถู: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid01MbyBtawx6X9xEHogRvHY8NesM2MVWHUBgYeuujQnFrPFA39dgddSihm4jjXrfiPl

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    http://www.zgsshh.com/Works_body.asp?id=1190&amp;qx=137
    http://www.fengxuelin.com/tougao/16546.html
    http://ent.sina.com.cn/v/m/2017-10-12/doc-ifymviyp0369720.shtml
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2010/06-21/2352544.shtml
    http://collection.sina.com.cn/jczs/2016-10-26/doc-ifxwztrt0466746.shtml
    https://baike.baidu.com/item/瘦金体/884949

    #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ชิงหมิงซ่างเหอถู #เหยียนซื่อฟาน #ซ่งฮุยจง #อักษรโซ่วจิน
    เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยจำได้ว่า Storyฯ เคยเขียนว่าพระเอกในเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> ‘ลู่อี้’ นั้นมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ วันนี้มาคุยกันกับเกร็ดประวัติศาสตร์จากละครเรื่องนี้ที่ Storyฯ เพิ่งได้กลับมาตั้งใจดูอีกครั้งและพบว่าตัวเองตกหล่นรายละเอียดไปไม่น้อย เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่าในเนื้อเรื่องมีตัวร้ายคือ ‘เหยียนซื่อฟาน’ ซึ่งเป็นลูกชายของขุนนางตัวโกงนาม ‘เหยียนซง’ ซึ่งทั้งสองคนนี้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในรัชสมัยขององค์หมิงซื่อจงแห่งราชวง์หมิง โดยเหยียนซงรับตำแหน่งหัวหน้าของคณะขุนนางสูงสุดหรือที่เรียกว่า ‘เน่ยเก๋อ’ (内阁 จึงเป็นที่มาของการเรียกขาน เหยียนซื่อฟานว่า ‘เสี่ยวเก๋อเหล่า’) ในละครมีฉากที่เหยียนซื่อฟานได้ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาและมีการถกกันว่าเป็นภาพของแท้หรือไม่ Storyฯ เคยเขียนถึงภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาแล้วตอนที่คุยกันเกี่ยวกับละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> แต่วันนี้มีรายละเอียดเพิ่มเติม ขอถอดบทสนทนาจากในละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> มาดังนี้ ... “ได้ยินมาว่าจางเจ๋อตวนใช้เวลาหนึ่งปีก็วาดภาพม้วนยาวนี้เสร็จ นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถหายาก... ท่านใต้เท่าสวี่... เชิญท่านลองคุยๆ ดูภาพนี้จริงปลอมหรือไม่อย่างไร” เหยียนซงกล่าว ใต้เท้าสวี่เอ่ย “...ตามที่ข้าน้อยทราบมา ภาพนี้ควรมีลายพระอักษรรูปแบบโซ่วจินขององค์ซ่งฮุยจงเป็นคำว่า ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ห้าอักษร... และมีตราประทับมังกรคู่ อีกทั้งมีบทกลอนนำ ภาพนี้ดูแล้วไม่คล้ายเป็นภาพวาดเลียนแบบ” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ยาว 528 ซม. สูง 24.8 ซม. เป็นหนึ่งในสิบของภาพโบราณที่มีค่าที่สุดของจีน ถูกวาดขึ้นโดยจางเจ๋อตวน เขาใช้เวลาหนึ่งปีในการวาดภาพนี้จริงหรือไม่ ไม่ปรากฏหลักฐานหรือบันทึกใดกล่าวชัด แต่ภาพนี้เคยตกอยู่ในมือของเหยียนซงจริง! ตอนที่ตระกูลเหยียนถูกลงทัณฑ์และยึดสมบัตินั้น รายชื่อของสมบัติที่ริบได้นั้นยาวถึง 140 หน้ากระดาษและหนึ่งในนั้นก็คือ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ นี้ จากบันทึกที่พอแกะรอยกันได้ ว่ากันว่าภาพนี้แรกเริ่มถูกนำถวายองค์ซ่งฮุยจง (ค.ศ. 1522-1566) และพระองค์ทรงเขียนชื่อ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ขึ้นบนภาพด้วยอักษรในรูปแบบ ‘โซ่วจิน’ ซึ่งเป็นรูปแบบอักษรที่ทรงคิดประดิษฐ์ขึ้นเอง (ดูตัวอย่างจากรูป2 ขวา) เป็นที่ถกเถียงกันต่อมาว่าทรงโปรดภาพนี้หรือไม่เพราะมันไม่ได้ถูกเก็บไว้ในท้องพระคลังแต่ถูกพระราชทานให้ขุนนาง หลังจากนั้น ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ผ่านการเดินทางอย่างโชกโชน ในช่วงที่ราชวงศ์จินยึดแผ่นดินซ่งได้สำเร็จนั้น ว่ากันว่ามันถูกเก็บเข้าท้องพระคลังและถูกยักยอกออกมาขายทอดตลาด เป็นช่วงที่มีการเขียนบทนำลงไปหน้าภาพ ต่อมาในสมัยหยวนก็ถูกซื้อเก็บเข้าท้องพระคลังอีกครั้งและถูกยักยอกออกมาขายอีก มีการเสาะหามันเรื่อยมาจนตกมาอยู่ในมือของเหยียนซงในสมัยหมิง โดยที่ก่อนหน้านั้นปรากฏงานลอกเลียนแบบออกมาจำนวนไม่น้อย ต่อมามันถูกริบเป็นสมบัติหลวงอีกครั้งโดยมีการลบตราประทับที่แสดงความเป็นเจ้าของของตระกูลเหยียนออกจากภาพ หลังจากนั้นมันถูกเปลี่ยนมือไปมาในแวดวงขุนนาง โดยไม่แน่ว่าเป็นการได้รับพระราชทานหรือยักยอก และปรากฏบทความนำหน้าภาพขึ้นมาเพิ่มอีก โดยที่ลายพระหัตถ์ขององค์หมิงซื่อจงไม่ทราบว่าหายไปจากภาพตั้งแต่เมื่อใด ผู้ที่ถือครองครั้งสุดท้ายว่ากันว่าคือขันทีนามว่า ‘เฝิงเป่า’ ซึ่งต่อมาถูกลงทัณฑ์ริบสมบัติ ภาพนี้หายสาบสูญไปนานกว่าสองร้อยปี แน่นอนว่ามีภาพปลอมจำนวนไม่น้อยปรากฏขึ้น และภาพที่เชื่อว่าเป็นฉบับจริงนี้ปรากฏในตลาดและมาถึงมือของพิพิธภัณฑ์มณฑลเหลียวหนิงในปีค.ศ. 1950 ปัจจุบันถูกเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับลู่อี้: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0QA8xxCRgWSD6jP6PexAdnrZmEdGAHVxGTu3UXj3CpZfkovdY37ft9rQbauD6KfQzl บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับชิงหมิงซ่างเหอถู: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid01MbyBtawx6X9xEHogRvHY8NesM2MVWHUBgYeuujQnFrPFA39dgddSihm4jjXrfiPl Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://www.zgsshh.com/Works_body.asp?id=1190&amp;qx=137 http://www.fengxuelin.com/tougao/16546.html http://ent.sina.com.cn/v/m/2017-10-12/doc-ifymviyp0369720.shtml Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2010/06-21/2352544.shtml http://collection.sina.com.cn/jczs/2016-10-26/doc-ifxwztrt0466746.shtml https://baike.baidu.com/item/瘦金体/884949 #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ชิงหมิงซ่างเหอถู #เหยียนซื่อฟาน #ซ่งฮุยจง #อักษรโซ่วจิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 747 มุมมอง 0 รีวิว
เรื่องราวเพิ่มเติม