• มาตรการภาษีตอบโต้ที่ทรัมป์ประกาศ เป็นเพียงหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลก ไทยและอาเซียนกำลังเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ต่อจากมิติการค้าการลงทุนซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน (แต่ผู้นำไทยก็ยังล่าช้า ไม่เท่าทัน) ในระยะกลาง มิติความมั่นคงจะกลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น และไทยต้องชิงเล่นบทบาทนำ เพื่อชดเชยกับความล่าช้าล้าหลังที่เราเสียตำแหน่งผู้นำอาเซียนไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
    .
    ASEAN ZOPFAN และ Bangkok Treaty of 1995 ที่ประกาศให้อาเซียนเป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ต้องได้รับการ upgrade
    .
    “ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปรากฎการณ์ ‘กฎแห่งป่า’ (Law of the Jungle) อำนาจกลายเป็นความถูกต้องในการกำหนดกติกา (Might is Right) รัฐที่มีพลังอำนาจเหนือกว่าสามารถเข้ายึดครอง ครอบครอง และกำหนดชะตากรรมของรัฐที่มีพลังอำนาจอ่อนด้อยกว่า และเมื่อกลไกสถาบันระหว่างประเทศไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็น ประชาคมอาเซียนที่รัฐสมาชิกส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็กและขนาดกลางมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพากฎกติกาแบบเสรีนิยม”
    .
    ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระเบียบโลกใหม่ ปิติ ศรีแสงนาม ชวนหาที่ทางของประชาคมอาเซียนในมิติความเป็นศูนย์กลางด้านความมั่นคงในภูมิภาค
    .
    อ่านได้ที่: https://www.the101.world/amidst-the-two-oceans-3/
    .
    “แน่นอนว่า เมื่อกฎแห่งป่าและพลังอำนาจกลายเป็นความถูกต้องในการกำหนดกติกา ฉากทัศน์ที่น่าห่วงกังวลมากที่สุดคือ แต่ละประเทศมุ่งหน้าพัฒนา ผลิต และสะสมเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่มีศักยภาพทางการทหาร เพราะนี่คือแนวทางที่พิสูจน์มาแล้วในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่าเป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจในการต่อรองสูงสุด โดยเฉพาะเมื่อต้องต่อรองกับมหาอำนาจ”
    .
    “อาเซียนเองมีการลงนามและบังคับใช้ปฏิญญาว่าด้วยเขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Declaration on the Zone of Peace, Freedom, and Neutrality: ZOPFAN) มาตั้งแต่ปี 1971 เมื่อไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ (สมาชิกอาเซียน ณ ขณะนั้น) เห็นการแทรกแซงกิจการภายในของ เวียดนาม ลาว และกัมพูชา โดยมหาอำนาจภายนอก ไม่ว่าจะเป็นสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และหลายประเทศในยุโรป จนลุกลามใหญ่โตกลายเป็นสงครามที่ล้างผลาญชีวิตคนจำนวนมาก และเมื่อการสะสมอาวุธนิวเคลียร์กลายเป็นปรากฏการณ์ที่นำความสุ่มเสี่ยงไปทั่วโลก อาเซียนโดยการผลักดันของประเทศไทยก็สามารถลงนามในสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone: SEANWFZ) ได้สำเร็จในปี 1995”
    .
    “ข้อตกลงที่เอ่ยถึงนี้ถือเป็นความสำเร็จในอดีตที่อาเซียนต้องทบทวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยกำลังเดินหน้าเพื่อครอบครองเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เมียนมาและเวียดนามกำลังเดินหน้าเพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 2 แห่งแรกในภูมิภาค แน่นอนว่าด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสันติ เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน และคาดว่าทั้ง 2 ประเทศจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากรัสเซีย”
    .
    “แน่นอนว่าเมื่อพิจารณามิติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติร่วมกับการสร้างและใช้งานโครงข่ายพลังงานอาเซียน (ASEAN Power Grid) อาเซียนจะมีความมั่นคงทางพลังงานสูงขึ้น แต่การมีเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เตาปฏิกรณ์ และการเสริมสร้างสารตั้งต้นของปฏิกิริยานิวเคลียร์ ล้วนแล้วแต่ทำให้ศักย์สงคราม (War Capability) ของประเทศนั้นๆ สูงขึ้น”
    .
    “ลองนึกถึงข้อจำกัดทางทรัพยากรมนุษย์ที่อาจต้องทำให้โรงงานเหล่านี้ดำเนินการโดยวิศวกรและทีมเทคนิคต่างชาติ ลงทุนโดยต่างชาติ และควบคุมตรวจสอบโดยต่างชาติ ร่วมกับเงินทุนที่มีจำกัด เช่น อาจสร้างเตาปฏิกรณ์ในประเทศ และระบบกำจัดกากของเสียจากเตาปฏิกรณ์ต้องส่งออกไปทำลายในต่างประเทศ เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความไม่สบายใจได้ว่า ประเทศอาเซียนจะกลายเป็นแหล่งส่งออกวัตถุดิบต้นน้ำสำหรับการประกอบอาวุธนิวเคลียร์ได้หรือไม่”
    .
    “ในวันที่ระเบียบโลกกำลังมีความซัดส่ายอย่างยิ่ง สิ่งหนึ่งที่ประเทศไทยเคยทำสำเร็จมาแล้วและต้องเร่งผลักดัน คือการคำนึงถึงว่าจะเป็นการดีหรือไม่ หากต้องมีการปรับปรุงแก้ไขสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) ให้ประเทศคู่เจรจาที่ต้องการเป็นมิตรและแสวงหาประโยชร์ร่วมกันอย่างยั่งยืนกับอาเซียนต้องยอมรับเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ของอาเซียนด้วย”
    .
    ภาพประกอบ: พิรุฬพร นามมูลน้อย
    มาตรการภาษีตอบโต้ที่ทรัมป์ประกาศ เป็นเพียงหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลก ไทยและอาเซียนกำลังเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ต่อจากมิติการค้าการลงทุนซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน (แต่ผู้นำไทยก็ยังล่าช้า ไม่เท่าทัน) ในระยะกลาง มิติความมั่นคงจะกลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น และไทยต้องชิงเล่นบทบาทนำ เพื่อชดเชยกับความล่าช้าล้าหลังที่เราเสียตำแหน่งผู้นำอาเซียนไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา . ASEAN ZOPFAN และ Bangkok Treaty of 1995 ที่ประกาศให้อาเซียนเป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ต้องได้รับการ upgrade . “ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปรากฎการณ์ ‘กฎแห่งป่า’ (Law of the Jungle) อำนาจกลายเป็นความถูกต้องในการกำหนดกติกา (Might is Right) รัฐที่มีพลังอำนาจเหนือกว่าสามารถเข้ายึดครอง ครอบครอง และกำหนดชะตากรรมของรัฐที่มีพลังอำนาจอ่อนด้อยกว่า และเมื่อกลไกสถาบันระหว่างประเทศไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็น ประชาคมอาเซียนที่รัฐสมาชิกส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็กและขนาดกลางมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพากฎกติกาแบบเสรีนิยม” . ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระเบียบโลกใหม่ ปิติ ศรีแสงนาม ชวนหาที่ทางของประชาคมอาเซียนในมิติความเป็นศูนย์กลางด้านความมั่นคงในภูมิภาค . อ่านได้ที่: https://www.the101.world/amidst-the-two-oceans-3/ . “แน่นอนว่า เมื่อกฎแห่งป่าและพลังอำนาจกลายเป็นความถูกต้องในการกำหนดกติกา ฉากทัศน์ที่น่าห่วงกังวลมากที่สุดคือ แต่ละประเทศมุ่งหน้าพัฒนา ผลิต และสะสมเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่มีศักยภาพทางการทหาร เพราะนี่คือแนวทางที่พิสูจน์มาแล้วในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่าเป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจในการต่อรองสูงสุด โดยเฉพาะเมื่อต้องต่อรองกับมหาอำนาจ” . “อาเซียนเองมีการลงนามและบังคับใช้ปฏิญญาว่าด้วยเขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Declaration on the Zone of Peace, Freedom, and Neutrality: ZOPFAN) มาตั้งแต่ปี 1971 เมื่อไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ (สมาชิกอาเซียน ณ ขณะนั้น) เห็นการแทรกแซงกิจการภายในของ เวียดนาม ลาว และกัมพูชา โดยมหาอำนาจภายนอก ไม่ว่าจะเป็นสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และหลายประเทศในยุโรป จนลุกลามใหญ่โตกลายเป็นสงครามที่ล้างผลาญชีวิตคนจำนวนมาก และเมื่อการสะสมอาวุธนิวเคลียร์กลายเป็นปรากฏการณ์ที่นำความสุ่มเสี่ยงไปทั่วโลก อาเซียนโดยการผลักดันของประเทศไทยก็สามารถลงนามในสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone: SEANWFZ) ได้สำเร็จในปี 1995” . “ข้อตกลงที่เอ่ยถึงนี้ถือเป็นความสำเร็จในอดีตที่อาเซียนต้องทบทวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยกำลังเดินหน้าเพื่อครอบครองเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เมียนมาและเวียดนามกำลังเดินหน้าเพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 2 แห่งแรกในภูมิภาค แน่นอนว่าด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสันติ เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน และคาดว่าทั้ง 2 ประเทศจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากรัสเซีย” . “แน่นอนว่าเมื่อพิจารณามิติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติร่วมกับการสร้างและใช้งานโครงข่ายพลังงานอาเซียน (ASEAN Power Grid) อาเซียนจะมีความมั่นคงทางพลังงานสูงขึ้น แต่การมีเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เตาปฏิกรณ์ และการเสริมสร้างสารตั้งต้นของปฏิกิริยานิวเคลียร์ ล้วนแล้วแต่ทำให้ศักย์สงคราม (War Capability) ของประเทศนั้นๆ สูงขึ้น” . “ลองนึกถึงข้อจำกัดทางทรัพยากรมนุษย์ที่อาจต้องทำให้โรงงานเหล่านี้ดำเนินการโดยวิศวกรและทีมเทคนิคต่างชาติ ลงทุนโดยต่างชาติ และควบคุมตรวจสอบโดยต่างชาติ ร่วมกับเงินทุนที่มีจำกัด เช่น อาจสร้างเตาปฏิกรณ์ในประเทศ และระบบกำจัดกากของเสียจากเตาปฏิกรณ์ต้องส่งออกไปทำลายในต่างประเทศ เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความไม่สบายใจได้ว่า ประเทศอาเซียนจะกลายเป็นแหล่งส่งออกวัตถุดิบต้นน้ำสำหรับการประกอบอาวุธนิวเคลียร์ได้หรือไม่” . “ในวันที่ระเบียบโลกกำลังมีความซัดส่ายอย่างยิ่ง สิ่งหนึ่งที่ประเทศไทยเคยทำสำเร็จมาแล้วและต้องเร่งผลักดัน คือการคำนึงถึงว่าจะเป็นการดีหรือไม่ หากต้องมีการปรับปรุงแก้ไขสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) ให้ประเทศคู่เจรจาที่ต้องการเป็นมิตรและแสวงหาประโยชร์ร่วมกันอย่างยั่งยืนกับอาเซียนต้องยอมรับเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ของอาเซียนด้วย” . ภาพประกอบ: พิรุฬพร นามมูลน้อย
    WWW.THE101.WORLD
    Amidst the Two Oceans ตอนที่ 3: ประชาคมอาเซียนในระเบียบโลกใหม่
    ปิติ ศรีแสงนาม ชวนหาที่ทางของประชาคมอาเซียนในมิติความเป็นศูนย์กลางด้านความมั่นคงในภูมิภาค ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระเบียบโลกใหม่
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 296 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากไทย 36% (ล่าสุดปรับอีกครั้งเป็น 37%) หนึ่งในทางออกคือ ไทยต้องเล่นบทบาทนำในอาเซียน เพื่อผ่านวิกฤตครั้งนี้ให้ได้.ประเด็นเร่งด่วนในระยะสั้นที่ไทยต้องเร่งผลักดันผ่านคณะทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับสูง และที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อให้ทันก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้คือ.รับมือกับมาตรการทางทางการค้าของสหรัฐอเมริการ่วมกัน เพราะสมาชิกอาเซียนโดนกันถ้วนหน้า กัมพูชา 49% สปป ลาว 48% เวียดนาม 46% เมียนมา 44% ไทย 36-37% อินโดนีเซีย 32% มาเลเซียและบรูไน 24% ฟิลิปปินส์ 17% หรือแม้แต่สิงคโปร์ก็โดนภาษี 10% เราต้องคำนวณร่วมกันว่า อัตราที่ทรัมป์กล่าวอ้าง นั่นคือ x2 ของอัตราภาษีเหล่านี้ คืออัตราจริงหรือไม่ ที่มาเป็นอย่างไร ถ้าไม่จริงต้องเร่งปฏิเสธ (ซึ่งผมค่อนข้างมั่นใจว่าไม่น่าจะใช่อัตราที่ถูกต้อง รวมทั้งมีผู้คำนวณแล้วว่าตัวเลขชุดนี้ แท้จริงแล้วคือ สัดส่วนมูลค่าการขาดดุลการค้าต่อมูลค่าการนำเข้าที่สหรัฐนำเข้าสินค้าจากแต่ละประเทศ).จากนั้น ต้องคิดต่อว่าหากให้แต่ละประเทศสมาชิกเจรจากับสหรัฐ (ซึ่งจะมีเวลาเตรียมตัวสั้นมาก) เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า อำนาจการต่อรองของแต่ละสมาชิกเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาคือ เรื่องจิ๊บจ๊อยขี้ประติ๋ว แต่หากประชาคมอาเซียนรวมตัวกัน นี้คือตลาดของประชาชนเรือน 700 ล้านประชากร ที่มีรายได้สูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก และเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญ ดังนั้น อาเซียนต้องร่วมมือกัน อาเซียนต้องเดินหน้าต่อรองด้วยกัน .อาเซียนต้องไม่ดำเนินมาตรการที่ขัดแข้งขัดขาซึ่งกันและกัน มาตรการจำพวกตั้งภาษีตอบโต้กัน หรือเลียนแบบมาตรการทางการค้าเพื่อตอบโต้ซึ่งกันและกัน (Tariff Retaliation and/or Trade Emulation) รวมทั้งนโยบายประเภทเอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น ขอทานจากประเทศเพื่อบ้าน (Beggar-thy-neighbor) อาทิ ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดึงดูดเงินทุน แข่งกันให้สิทธิพิเศษทางการค้าการลงทุนจนวายวอดทั้งภูมิภาค ฯลฯ เหล่านี้ต้องไม่เกิดขึ้น .จากนั้นทั้งอาเซียนต้องร่วมกัน.1. แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า อาเซียนคืออาเซียน อาเซียนมีจุดแข็งของตนเอง อาเซียนพร้อมสนับสนุนการค้า การลงทุนเสรี อาเซียนสนับสนุนกฎกติการแบบพหุภาคีนิยม และอาเซียนไม่ได้เป็นเขตอิทธิพลของมหาอำนาจใดมหาอำนาจหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น จีน สหรัฐ หรือ มหาอำนาจใดๆ.2. เร่งสำรวจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากมาตรการทางการค้าที่สหรัฐประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน ว่าแต่ละประเทศได้รับผลกระทบอย่างไร และหากเราร่วมมือกัน เราต้องการตจะกำหนดทิศทางการเจรจาอย่างไร แน่นอนว่า ทุกประเทศ ทุกคน คงไม่ได้สิ่งที่ต้องการทั้งหมด แต่ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ บางเรื่อง บางประเทศ คงต้องยอมถอย เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อบางภาคการผลิต บางประเทศ และจากนั้นค่อยไปหารือกันว่าอาเซียนจะช่วยการเยียวยาผลกระทบซึ่งกันและกันได้อย่างไร เร่งปรึกษาหารือกับวิสาหกิจสหรัฐที่ทำการค้า ทำการลงทุนอยู่แล้วในอาเซียน ว่าพวกเขามีข้อเสนอแนะใดบ้าง.3. เร่งสำรวจว่าแต่ละประเทศมีช่องทาง มีสายสัมพันธ์ มีแนวทางการติดต่อประสานงานกับประธานาธิบดีทรัมป์ และทีมงานที่ภักดีของเขา รวมทั้งผู้สนับสนุนการรณรงค์หาเสียงของเขาในช่องทางใดบ้าง มีอะไรที่จะเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้คนเหล่านี้ต้องการเป็นสะพานเพื่อเปิดการเจรจาระหว่างอาเซียนกับสหรัฐ.4. วางยุทธศาสตร์การเจรจาร่วมกัน โดยการจัดทำ “ยุทธศาสตร์ราชสีห์กับหนู” นำเสนอนโยบายที่ทำให้ทรัมป์ต้องให้ความสนใจอาเซียน (ทรัมป์เคยมาเยือนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ฟิลิปปินส์ในปี 2017 แต่ไม่เคยเข้าประชุมกับผู้นำอาเซียน) อาเซียนต้องเป็นหนูที่แสดงความเกรงใจนบนอบในระยะปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแสดงให้เห็นโอกาสที่สหรัฐจะได้จากการร่วมมือกับในอนาคต มีอะไรที่เราจะเสนอกับอาเซียนได้บ้าง อาทิ ความต้องการในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของอาเซียนร่วมกันในอีก 5 ปีต่อจากนี้ ความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการที่เป็น Billing ขนาดใหญ่ อาทิ การจัดหาเครื่องบินพาณิชย์ของสายการบินต่างๆ ในประเทศอาเซียนที่มีตลาดการบินขนาดใหญ่และเป็น Hub ทางการบินที่สำคัญ, การจัดซื้อ Software และ Hardware สำหรับระบบบริหาร ASEAN Smart City Network รวมทั้งความต้องการในการจัดซื้อบริการเหล่านี้สำหรับการบริหารกิจการทั้งของรัฐบาลและของภาคเอกชนในอาเซียน, ความต้องการซื้ออุปกรณ์และองค์ความรู้ในการติดตั้งเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าและศักยภาพของการผลิตพลังงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมดิจิตอลที่ผู้ประกอบการสหรัฐต้องการ, ทรัพยากรธรรมชาติของอาเซียนที่สหรัฐดิ้นรนแสวงหาอยู่ ณ ขณะนี้, ไปจนถึงการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนคาสิโนแห่ง Las Vegas ได้มีโอกาสในการทำธุรกิจในอาเซียนในประเทศที่กำลังเดินหน้านโยบายการเปิดบ่อน (ส่วนตัวผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อนคาสิโนที่มอมเมาประชาชน แต่หากรัฐบาลจะดันทุรังเปิดให้ได้ อย่างน้อยก็ต้องเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพราะต้องอย่าลืมว่าผู้สนับสนุนทรัมป์ก็เป็นกลุ่มทุนคาสิโนยักษ์ใหญ่) ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นอำนาจต่อรองที่หนูตัวนี้จะรอดจากเงื้อมมือราชสีห์ด้วยกันทั้งสิ้น.5. และเนื่องจาก ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม ได้รับสิทธิ์ในการเป็น Partner Country ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BRICS ในขณะที่อินโดนีเซียได้รับสิทธิ์เป็น Full Member ของ BRICS เรียบร้อยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่หนูน้อยอาเซียนต้องดำเนินการด้วยนั่นก็คือ เร่งเจรจากับผู้นำบราซิลที่จะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดกลุ่ม BRICS ในปีนี้ ว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะรับอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าเป็นสมาชิก เพราะหนูตัวนี้บางครั้งก็ต้องพึ่งพาราชสีห์อีกตัวมากดดันราชสีห์อันทพาลตัวเก่า การแสวงหาโอกาส การแสวงหาตลาดใหม่ๆ ที่จะเป็นทางเลือกเพื่อมาทดแทนตลาดการค้าที่กำลังจะเสียไป เป็นทางเลือกที่เรามีสิทธิ์ในฐานะรัฐอธิปไตย.ขอเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายของไทยต้องมีวิสัยทัศน์ มีความกล้าหาญในการเล่นบทบาทนำของประเทศไทยในประชาคมอาเซียน เราต้องมีข้อเสนอกับประชาคมอาเซียนเพื่อรับมือมาตรการกีดกันทางการค้าจะสหรัฐร่วมกัน.รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนามคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ปล. รบกวนช่วยกัน Share นะครับ เราต้องลุกขึ้นมาทำอะไรบ้าง ไม่งั้นไทยจะหายไปจากจอเรดาร์
    สหรัฐเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากไทย 36% (ล่าสุดปรับอีกครั้งเป็น 37%) หนึ่งในทางออกคือ ไทยต้องเล่นบทบาทนำในอาเซียน เพื่อผ่านวิกฤตครั้งนี้ให้ได้.ประเด็นเร่งด่วนในระยะสั้นที่ไทยต้องเร่งผลักดันผ่านคณะทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับสูง และที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อให้ทันก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้คือ.รับมือกับมาตรการทางทางการค้าของสหรัฐอเมริการ่วมกัน เพราะสมาชิกอาเซียนโดนกันถ้วนหน้า กัมพูชา 49% สปป ลาว 48% เวียดนาม 46% เมียนมา 44% ไทย 36-37% อินโดนีเซีย 32% มาเลเซียและบรูไน 24% ฟิลิปปินส์ 17% หรือแม้แต่สิงคโปร์ก็โดนภาษี 10% เราต้องคำนวณร่วมกันว่า อัตราที่ทรัมป์กล่าวอ้าง นั่นคือ x2 ของอัตราภาษีเหล่านี้ คืออัตราจริงหรือไม่ ที่มาเป็นอย่างไร ถ้าไม่จริงต้องเร่งปฏิเสธ (ซึ่งผมค่อนข้างมั่นใจว่าไม่น่าจะใช่อัตราที่ถูกต้อง รวมทั้งมีผู้คำนวณแล้วว่าตัวเลขชุดนี้ แท้จริงแล้วคือ สัดส่วนมูลค่าการขาดดุลการค้าต่อมูลค่าการนำเข้าที่สหรัฐนำเข้าสินค้าจากแต่ละประเทศ).จากนั้น ต้องคิดต่อว่าหากให้แต่ละประเทศสมาชิกเจรจากับสหรัฐ (ซึ่งจะมีเวลาเตรียมตัวสั้นมาก) เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า อำนาจการต่อรองของแต่ละสมาชิกเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาคือ เรื่องจิ๊บจ๊อยขี้ประติ๋ว แต่หากประชาคมอาเซียนรวมตัวกัน นี้คือตลาดของประชาชนเรือน 700 ล้านประชากร ที่มีรายได้สูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก และเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญ ดังนั้น อาเซียนต้องร่วมมือกัน อาเซียนต้องเดินหน้าต่อรองด้วยกัน .อาเซียนต้องไม่ดำเนินมาตรการที่ขัดแข้งขัดขาซึ่งกันและกัน มาตรการจำพวกตั้งภาษีตอบโต้กัน หรือเลียนแบบมาตรการทางการค้าเพื่อตอบโต้ซึ่งกันและกัน (Tariff Retaliation and/or Trade Emulation) รวมทั้งนโยบายประเภทเอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น ขอทานจากประเทศเพื่อบ้าน (Beggar-thy-neighbor) อาทิ ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดึงดูดเงินทุน แข่งกันให้สิทธิพิเศษทางการค้าการลงทุนจนวายวอดทั้งภูมิภาค ฯลฯ เหล่านี้ต้องไม่เกิดขึ้น .จากนั้นทั้งอาเซียนต้องร่วมกัน.1. แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า อาเซียนคืออาเซียน อาเซียนมีจุดแข็งของตนเอง อาเซียนพร้อมสนับสนุนการค้า การลงทุนเสรี อาเซียนสนับสนุนกฎกติการแบบพหุภาคีนิยม และอาเซียนไม่ได้เป็นเขตอิทธิพลของมหาอำนาจใดมหาอำนาจหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น จีน สหรัฐ หรือ มหาอำนาจใดๆ.2. เร่งสำรวจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากมาตรการทางการค้าที่สหรัฐประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน ว่าแต่ละประเทศได้รับผลกระทบอย่างไร และหากเราร่วมมือกัน เราต้องการตจะกำหนดทิศทางการเจรจาอย่างไร แน่นอนว่า ทุกประเทศ ทุกคน คงไม่ได้สิ่งที่ต้องการทั้งหมด แต่ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ บางเรื่อง บางประเทศ คงต้องยอมถอย เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อบางภาคการผลิต บางประเทศ และจากนั้นค่อยไปหารือกันว่าอาเซียนจะช่วยการเยียวยาผลกระทบซึ่งกันและกันได้อย่างไร เร่งปรึกษาหารือกับวิสาหกิจสหรัฐที่ทำการค้า ทำการลงทุนอยู่แล้วในอาเซียน ว่าพวกเขามีข้อเสนอแนะใดบ้าง.3. เร่งสำรวจว่าแต่ละประเทศมีช่องทาง มีสายสัมพันธ์ มีแนวทางการติดต่อประสานงานกับประธานาธิบดีทรัมป์ และทีมงานที่ภักดีของเขา รวมทั้งผู้สนับสนุนการรณรงค์หาเสียงของเขาในช่องทางใดบ้าง มีอะไรที่จะเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้คนเหล่านี้ต้องการเป็นสะพานเพื่อเปิดการเจรจาระหว่างอาเซียนกับสหรัฐ.4. วางยุทธศาสตร์การเจรจาร่วมกัน โดยการจัดทำ “ยุทธศาสตร์ราชสีห์กับหนู” นำเสนอนโยบายที่ทำให้ทรัมป์ต้องให้ความสนใจอาเซียน (ทรัมป์เคยมาเยือนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ฟิลิปปินส์ในปี 2017 แต่ไม่เคยเข้าประชุมกับผู้นำอาเซียน) อาเซียนต้องเป็นหนูที่แสดงความเกรงใจนบนอบในระยะปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแสดงให้เห็นโอกาสที่สหรัฐจะได้จากการร่วมมือกับในอนาคต มีอะไรที่เราจะเสนอกับอาเซียนได้บ้าง อาทิ ความต้องการในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของอาเซียนร่วมกันในอีก 5 ปีต่อจากนี้ ความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการที่เป็น Billing ขนาดใหญ่ อาทิ การจัดหาเครื่องบินพาณิชย์ของสายการบินต่างๆ ในประเทศอาเซียนที่มีตลาดการบินขนาดใหญ่และเป็น Hub ทางการบินที่สำคัญ, การจัดซื้อ Software และ Hardware สำหรับระบบบริหาร ASEAN Smart City Network รวมทั้งความต้องการในการจัดซื้อบริการเหล่านี้สำหรับการบริหารกิจการทั้งของรัฐบาลและของภาคเอกชนในอาเซียน, ความต้องการซื้ออุปกรณ์และองค์ความรู้ในการติดตั้งเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าและศักยภาพของการผลิตพลังงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมดิจิตอลที่ผู้ประกอบการสหรัฐต้องการ, ทรัพยากรธรรมชาติของอาเซียนที่สหรัฐดิ้นรนแสวงหาอยู่ ณ ขณะนี้, ไปจนถึงการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนคาสิโนแห่ง Las Vegas ได้มีโอกาสในการทำธุรกิจในอาเซียนในประเทศที่กำลังเดินหน้านโยบายการเปิดบ่อน (ส่วนตัวผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อนคาสิโนที่มอมเมาประชาชน แต่หากรัฐบาลจะดันทุรังเปิดให้ได้ อย่างน้อยก็ต้องเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพราะต้องอย่าลืมว่าผู้สนับสนุนทรัมป์ก็เป็นกลุ่มทุนคาสิโนยักษ์ใหญ่) ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นอำนาจต่อรองที่หนูตัวนี้จะรอดจากเงื้อมมือราชสีห์ด้วยกันทั้งสิ้น.5. และเนื่องจาก ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม ได้รับสิทธิ์ในการเป็น Partner Country ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BRICS ในขณะที่อินโดนีเซียได้รับสิทธิ์เป็น Full Member ของ BRICS เรียบร้อยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่หนูน้อยอาเซียนต้องดำเนินการด้วยนั่นก็คือ เร่งเจรจากับผู้นำบราซิลที่จะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดกลุ่ม BRICS ในปีนี้ ว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะรับอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าเป็นสมาชิก เพราะหนูตัวนี้บางครั้งก็ต้องพึ่งพาราชสีห์อีกตัวมากดดันราชสีห์อันทพาลตัวเก่า การแสวงหาโอกาส การแสวงหาตลาดใหม่ๆ ที่จะเป็นทางเลือกเพื่อมาทดแทนตลาดการค้าที่กำลังจะเสียไป เป็นทางเลือกที่เรามีสิทธิ์ในฐานะรัฐอธิปไตย.ขอเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายของไทยต้องมีวิสัยทัศน์ มีความกล้าหาญในการเล่นบทบาทนำของประเทศไทยในประชาคมอาเซียน เราต้องมีข้อเสนอกับประชาคมอาเซียนเพื่อรับมือมาตรการกีดกันทางการค้าจะสหรัฐร่วมกัน.รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนามคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ปล. รบกวนช่วยกัน Share นะครับ เราต้องลุกขึ้นมาทำอะไรบ้าง ไม่งั้นไทยจะหายไปจากจอเรดาร์
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 524 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถอดบทเรียนยูเครน: เมื่อผู้นำไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ
    .
    ภาพความอัปยศอดสูที่ผู้นำยูเครน Zelenskyy ถูกเชิญไปรุมกินโต๊ะโดย ประธานาธิบดี Trump และรองประธานาธิบดี Vance รวมทั้งการเจรจาที่ชะงักงันและไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต้องประชาชนยูเครนที่สูญเสียทั้งชีวิต ดินแดน ทรัพยากร และที่สำคัญที่สุดคือ อนาคต ทำให้เราต้องมาถอดบทเรียน
    .
    1. ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศยูเครนมิได้เป็นตัวของตัวเองเนื่องจากถูกแทรกแซงผ่านกระบวนการการสงครามผสมผสาน (Hybrid Warfare) มาอย่างต่อเนื่อง ปั่นหัวให้ประชาชนยูเครนลุกฮือขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง 1) Orange Revolution 2004/2005 2) Euro Maidan 2014 และ 3) การลงประชามติของประชาชนในคาบสมุทร Crimea เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและในที่สุดขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทั้งหมดไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศ หากแต่ทั้งหมดเป็นเกมส์ของมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายยุโรป+สหรัฐ หรือฝ่ายรัสเซีย
    .
    2. ผู้นำของยูเครน ไม่ว่าจะเป็น Leonid Kuchma (1995-2005 โปรรัสเซีย), Viktor Yushchenko (2005-2010 โปร NATO), Viktor Yanukovych (2010-2014 โปรรัสเซีย), Petro Poroshenko (2014-2019) และ Volodymyr Zelenskyy (2019- ปัจจุบัน) แน่นอนว่า 2 คนสุดท้ายโปร NATO อย่างยิ่งยวด ล้วนทำให้เราเห็นว่าผู้นำที่เลือกข้าง ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจภายนอกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ทำให้ตลอดมา แทนที่พวกเขาจะรักษาผลประโยชน์ของยูเครนเป็นหลัก พวกเขากลับต้องเอาอกเอาใจมหาอำนาจภายนอก และดึงยูเครนเข้าสู่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
    .
    3. ผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย 4 ประเด็น 1) ความมั่นคงทางในมิติอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความมั่นคงแบบ Non-Traditional Security ที่เน้นความมั่นคงของมนุษย์ 2) ความมั่งคั่งที่หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีการเจริญเติบโต และมีการจัดสรรที่เป็นธรรม 3) การขยายพลังอำนาจของชาติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การทหาร และ สุดท้ายที่อาจจะสำคัญที่สุด นั่นคือ 4) ความภาคภูมิใจของชาติ (บางพื้นที่ บางชนชาติ อาจจะไม่ได้รับรองเป็นประเทศ อาจจะไม่มีแผ่นดิน แต่พวกเขาก็ยังคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง ลองนึกถึง ชาวปาเลสไตน์ ชาวไต้หวัน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ)
    .
    4. แต่เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่ได้รับการรักษาผลประโยชน์ เพราะผู้นำต้องเลือกข้างรับใช้มหาอำนาจที่มีอิทธิพลเหนือกว่า เมื่อประชาชนถูกปลุกปั่นแทรกแซงให้เลือกข้าง ให้แตกแยก ในที่สุด อย่างกรณีของยูเครน ความมั่นคงก็กำลังสูญเสียดินแดน ซึ่งคงไม่สามารถกลับไปมีดินแดนเหมือนก่อนปี 2014 ได้ ในเรื่องความมั่งคั่ง คงไม่ต้องพูดถึง เพราะมหาอำนาจที่เคยสนับสนุนนั่นเองที่ตอนนี้กำลังจะกลับมาของสูบเลือด สูบทรัพยากร มิพักต้องพูดถึงพลังอำนาจในมิติต่างๆ ที่วันนี้ประชาชนยูเครนก็อ่อนแรง หมดกำลังใจ และในที่สุดผู้นำก็ถูกเรียกมาโดนรุมแบบไร้ศักดิ์ศรีเช่นนี้
    .
    5. คำถามคือ สำหรับประเทศไทย เราต้องช่วยกันระวังอย่างยิ่งยวด อย่าให้มีใครมาแทรกแซง ปลุกปั่น ต้องคอยเฝ้าระวังให้ผู้นำรักษาผลประโยชน์ของชาติ อย่าให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ของครอบครัว และผลประโยชน์ทางธุรกิจ
    .
    6. นาทีนี้เราต้องการทีมประเทศไทยที่ประกอบขึ้นจาก 6 เสาหลักที่ทำงานสอดประสานกัน อันได้แก่
    1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ ไม่สับสนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศกับผลประโยชน์ของครอบครัวหรือของธุรกิจครอบครัว
    2. ผู้ตัดสินใจทางนโยบายในระดับสูงที่มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบการตัดสินใจ
    3. เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
    4. นักวิชาการที่ทำงานหนักแบบสหสาขาวิชา ให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้จริง และกล้าเปลืองตัวที่จะชี้นำสังคมผ่านการบริการวิชาการ
    5. ภาคเอกชน (แน่นอนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ) และภาคประชาสังคม (ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชน) ที่ต้องการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลสนับสนุนช่วยการตัดสินใจ
    6. สื่อสารมวลชนที่เข้มแข็ง กล้าหาญที่จะตรวจสอบ และนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือนแทรกแซง
    .
    ผมเขียนเรื่องยูเครนเอาไว้นานแล้วตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2022 at the beginning of the end ขอเอามาแปะอีกครั้งเพื่อเป็นข้อมูลประกอบครับ

    1. จากยูเครนสู่อาเซียน: กรณีศึกษา Hybrid Warfare (สงครามผสมผสาน) ที่ไทยต้องเฝ้าระวัง https://thestandard.co/asean-and-hybrid-warfare/
    2. จากยูเครนสู่ปัตตานี กรณี Gerasimov Doctrine และแผนบันได 7 ขั้น https://www.the101.world/ukraine-to-pattani/
    .
    Cr. รองศาสตราจารย์ ดร. ปิติ ศรีแสงนาม
    คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    ถอดบทเรียนยูเครน: เมื่อผู้นำไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ . ภาพความอัปยศอดสูที่ผู้นำยูเครน Zelenskyy ถูกเชิญไปรุมกินโต๊ะโดย ประธานาธิบดี Trump และรองประธานาธิบดี Vance รวมทั้งการเจรจาที่ชะงักงันและไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต้องประชาชนยูเครนที่สูญเสียทั้งชีวิต ดินแดน ทรัพยากร และที่สำคัญที่สุดคือ อนาคต ทำให้เราต้องมาถอดบทเรียน . 1. ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศยูเครนมิได้เป็นตัวของตัวเองเนื่องจากถูกแทรกแซงผ่านกระบวนการการสงครามผสมผสาน (Hybrid Warfare) มาอย่างต่อเนื่อง ปั่นหัวให้ประชาชนยูเครนลุกฮือขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง 1) Orange Revolution 2004/2005 2) Euro Maidan 2014 และ 3) การลงประชามติของประชาชนในคาบสมุทร Crimea เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและในที่สุดขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทั้งหมดไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศ หากแต่ทั้งหมดเป็นเกมส์ของมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายยุโรป+สหรัฐ หรือฝ่ายรัสเซีย . 2. ผู้นำของยูเครน ไม่ว่าจะเป็น Leonid Kuchma (1995-2005 โปรรัสเซีย), Viktor Yushchenko (2005-2010 โปร NATO), Viktor Yanukovych (2010-2014 โปรรัสเซีย), Petro Poroshenko (2014-2019) และ Volodymyr Zelenskyy (2019- ปัจจุบัน) แน่นอนว่า 2 คนสุดท้ายโปร NATO อย่างยิ่งยวด ล้วนทำให้เราเห็นว่าผู้นำที่เลือกข้าง ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจภายนอกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ทำให้ตลอดมา แทนที่พวกเขาจะรักษาผลประโยชน์ของยูเครนเป็นหลัก พวกเขากลับต้องเอาอกเอาใจมหาอำนาจภายนอก และดึงยูเครนเข้าสู่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ . 3. ผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย 4 ประเด็น 1) ความมั่นคงทางในมิติอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความมั่นคงแบบ Non-Traditional Security ที่เน้นความมั่นคงของมนุษย์ 2) ความมั่งคั่งที่หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีการเจริญเติบโต และมีการจัดสรรที่เป็นธรรม 3) การขยายพลังอำนาจของชาติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การทหาร และ สุดท้ายที่อาจจะสำคัญที่สุด นั่นคือ 4) ความภาคภูมิใจของชาติ (บางพื้นที่ บางชนชาติ อาจจะไม่ได้รับรองเป็นประเทศ อาจจะไม่มีแผ่นดิน แต่พวกเขาก็ยังคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง ลองนึกถึง ชาวปาเลสไตน์ ชาวไต้หวัน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ) . 4. แต่เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่ได้รับการรักษาผลประโยชน์ เพราะผู้นำต้องเลือกข้างรับใช้มหาอำนาจที่มีอิทธิพลเหนือกว่า เมื่อประชาชนถูกปลุกปั่นแทรกแซงให้เลือกข้าง ให้แตกแยก ในที่สุด อย่างกรณีของยูเครน ความมั่นคงก็กำลังสูญเสียดินแดน ซึ่งคงไม่สามารถกลับไปมีดินแดนเหมือนก่อนปี 2014 ได้ ในเรื่องความมั่งคั่ง คงไม่ต้องพูดถึง เพราะมหาอำนาจที่เคยสนับสนุนนั่นเองที่ตอนนี้กำลังจะกลับมาของสูบเลือด สูบทรัพยากร มิพักต้องพูดถึงพลังอำนาจในมิติต่างๆ ที่วันนี้ประชาชนยูเครนก็อ่อนแรง หมดกำลังใจ และในที่สุดผู้นำก็ถูกเรียกมาโดนรุมแบบไร้ศักดิ์ศรีเช่นนี้ . 5. คำถามคือ สำหรับประเทศไทย เราต้องช่วยกันระวังอย่างยิ่งยวด อย่าให้มีใครมาแทรกแซง ปลุกปั่น ต้องคอยเฝ้าระวังให้ผู้นำรักษาผลประโยชน์ของชาติ อย่าให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ของครอบครัว และผลประโยชน์ทางธุรกิจ . 6. นาทีนี้เราต้องการทีมประเทศไทยที่ประกอบขึ้นจาก 6 เสาหลักที่ทำงานสอดประสานกัน อันได้แก่ 1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ ไม่สับสนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศกับผลประโยชน์ของครอบครัวหรือของธุรกิจครอบครัว 2. ผู้ตัดสินใจทางนโยบายในระดับสูงที่มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบการตัดสินใจ 3. เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล 4. นักวิชาการที่ทำงานหนักแบบสหสาขาวิชา ให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้จริง และกล้าเปลืองตัวที่จะชี้นำสังคมผ่านการบริการวิชาการ 5. ภาคเอกชน (แน่นอนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ) และภาคประชาสังคม (ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชน) ที่ต้องการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลสนับสนุนช่วยการตัดสินใจ 6. สื่อสารมวลชนที่เข้มแข็ง กล้าหาญที่จะตรวจสอบ และนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือนแทรกแซง . ผมเขียนเรื่องยูเครนเอาไว้นานแล้วตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2022 at the beginning of the end ขอเอามาแปะอีกครั้งเพื่อเป็นข้อมูลประกอบครับ 1. จากยูเครนสู่อาเซียน: กรณีศึกษา Hybrid Warfare (สงครามผสมผสาน) ที่ไทยต้องเฝ้าระวัง https://thestandard.co/asean-and-hybrid-warfare/ 2. จากยูเครนสู่ปัตตานี กรณี Gerasimov Doctrine และแผนบันได 7 ขั้น https://www.the101.world/ukraine-to-pattani/ . Cr. รองศาสตราจารย์ ดร. ปิติ ศรีแสงนาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    THESTANDARD.CO
    จากยูเครนสู่อาเซียน: กรณีศึกษา Hybrid Warfare (สงครามผสมผสาน) ที่ไทยต้องเฝ้าระวัง
    การสงครามผสมผสาน การสงครามผสมผสาน หรือ Hybrid Warfare เป็นยุทธศาสตร์ทางทหารซึ่งใช้การสงครามทางการเมือง และผสมรวมการสงครามตามแบบ (Conventional Warfare)
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 777 มุมมอง 0 รีวิว
  • บทจะถูกทอดทิ้ง ยูเครนก็ถูก สหรัฐทอดทิ้งเอาได้ง่ายๆ หากศึกษาประวัติศาสตร์ในอดีตของไทย จะพบว่าครั้งหนึ่ง ไทยเองก็ถูกอเมริกาทอดทิ้งและเป็นบทเรียนให้เราได้รู้ว่า การเลือกข้าง ไม่ว่าจะมหาอำนาจข้างใดเขามองเห็นแค่ผลประโยชน์ของประเทศเขาเท่านั้น เรื่องมีอยู่ว่า....เมื่อในอดีต....ไทยเป็นประเทศเฉกเช่นเดียวกับหลายๆ ประเทศที่จะต้องรับมือการขยายอำนาจของประเทศคอมมิวนิสต์ อย่างรัสเซีย ผ่านเวียดนาม และจีนและสหรัฐอเมริกา ก็มีความพยายามในการสกัดกั้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้การเข้ามาประจันของทั้งสองมหาอำนาจนี้บางประเทศก็เลือกที่จะเข้าข้างอำนาจหนึ่ง บางประเทศก็เลือกที่จะผูกพันกับอีกอำนาจหนึ่ง แต่การผูกพันกับอำนาจใดอำนาจหนึ่งมากก็ย่อมส่งผลเสียตามมาหากมีมหาอำนาจฝ่ายหนึ่งต้องถอยหลังไป ดังนั้นแล้วการทุ่มตัวในการพลิกให้เป็นฝ่ายชนะให้ได้จึงเป็นสิ่งที่น่าจะให้ผลประโยชน์ได้ดีที่สุดมากกว่าการแพ้ แต่มีคนไทยผู้หนึ่งนั้นมองอย่างแตกต่างออกไปที่ถึงจะไม่ชนะ แต่ก็ต้องไม่แพ้ กล่าวคือการ “หนีเสือปะจระเข้” จะไม่มีผลต่อการเลือกว่าเราจะต้องอยู่บนบกหรือในน้ำอีกต่อไป คนไทยผู้นี้คือ " ถนัด คอมันตร์ "“หากเราหนีเสือ [จีน] แล้วไปปะจระเข้ [โซเวียต] มันก็ไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่านัก… ถ้าเราไม่มีทางอื่น เราอาจจะต้องอยู่กับจระเข้… ที่ว่ามานี้คือรูปแบบที่เป็นไปได้ถ้าสหรัฐอเมริกาต้องถอนกำลังออกจากประเทศเรา… เพราะเราไม่อาจบอกได้ว่าภูมิภาคของเราตอนนี้มีอำนาจมากพอ… เราหวังว่าทุกคนจะเข้าใจในประเด็นนี้ และช่วยสนับสนุนประเทศในภูมิภาคที่จะรวมตัวสร้างกลุ่มใหม่ขึ้นให้เหนียวแน่นกว่าเดิม” คำกล่าวนี้คือคำกล่าวของถนัด คอมันตร์ ผู้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศที่เป็นระดับตำนานของไทยที่จะคิดหาวิธีอยู่รอดในวันที่สหรัฐอเมริกากำลังเลือกที่จะถอนกำลังออก และในวันที่ประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์นั้นมีพลังมากขึ้นด้วยการรวมกลุ่มประเทศที่ไม่เป็นคอมมิวนิสต์เพื่อคานอิทธิพลของอำนาจแดงเอาไว้ Choawalit Chotwattanaphong เรามักจะคุ้นหูว่าหลักการ Nixon (Nixon Doctrine) ที่ประกาศว่าสหรัฐอเมริกาจะถอนกำลังออกจากเวียดนามได้ทำให้ประเทศไทยต้องเปลี่ยนนโยบายกับประเทศคอมมิวนิสต์ แต่ความจริงแล้วการเปลี่ยนทิศของนโยบายการต่างประเทศไทยนั้นได้เริ่มขึ้นก่อนที่การตัดสินใจของสหรัฐอเมริกาจะเกิดขึ้น และการตัดสินใจนี้เองก็มีส่วนที่ทำให้สงครามเวียดนามบรรเทาความรุนแรงลงด้วย การตัดสินใจเปลี่ยนทิศของไทยนั้นเริ่มหลังจากที่ประธานาธิบดีลินดอน จอห์นสัน ประกาศนโยบายกลับลำให้คุยสันติภาพหลังจากการรุกตรุษญวน ในการนี้ ถนัด คอมันตร์ และคนอื่นๆ ได้มีการกล่าวว่าสหรัฐอเมริกาได้สร้างข้อสงสัยขึ้นให้กับประเทศอื่นๆ และตอนนี้ไทยก็ได้รู้ตัวอย่างแจ่มแจ้งมากกว่าเก่าว่าการพึ่งกับสหรัฐอเมริกานั้นไม่ใช่ทางที่ดีอีกต่อไปถึงแม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะต้องถอนทัพออกไป แต่ถนัดก็ได้ขอให้การถอนทัพนี้เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามความเหมาะสมของสถานการณ์ และไทยเองก็ต้องสร้างความสัมพันธ์กับประเทศคอมมิวนิสต์ในท่ามกลางดุลอำนาจที่เปลี่ยนไปนี้ด้วย ถนัดจึงได้คิดค้นการทูตแบบยืดหยุ่นขึ้นในขณะนั้นถนัดประเมินว่ามีอยู่ 5 แนวทางสำหรับนโยบายการต่างประเทศของไทยในอนาคต คือ ทางเลือกที่หนึ่ง การไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่นโยบายนี้เขาพบว่ามหาอำนาจจะไม่ยอมให้ประเทศเล็กๆ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และมักจะโดนยำเสมอ ทางเลือกนี้จึงตัดทิ้งไป ทางที่สอง คือการเข้าไปหาคอมมิวนิสต์โดยตรงและ “ชนะใจ” ในเชิงการทูตเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ซึ่งถนัดก็เห็นว่ามีความเป็นไปได้ เพียงแต่ยังไม่ใช่ในตอนนั้น ทางเลือกที่สาม คือการประกาศว่าเป็นกลางคือจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับประเด็นสงครามหรือความขัดแย้งทั้งสิ้นซึ่งต่างจากการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่เขาก็ประเมินว่าประเทศคอมมิวนิสต์คงไม่อยู่เฉยๆ เพราะถึงเราจะเป็นกลาง แต่คอมมิวนิสต์ไม่กลางด้วย หรือทางที่สี่ การเข้าไปร่วมกับคอมมิวนิสต์ด้วยเลยก็ไม่มีประโยชน์เพราะจะถูกบีบได้เสมอ เขาเห็นว่าทางที่ห้า เป็นไปได้มากที่สุดคือการรวมกลุ่มประเทศที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเข้าไว้ด้วยกันเพื่อเป็นพลังต่อรองใหม่ ซึ่งนี่คือจุดกำเนิดของ ASEAN นั่นเองถนัดเป็นผู้ริเริ่มเรื่องนี้ขึ้นเนื่องจากประเทศต่างๆ ในเอเชียไม่ต้องการพึ่งพลังจากภายนอกอีกต่อไป แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถจัดการต่อรองประเด็นต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียมและมีพลังด้วย ถึงแม้ว่าถนัดในช่วงก่อนนั้นจะเห็นว่าการมีอยู่ของกองทัพสหรัฐอเมริกานั้นเป็นประโยชน์แต่ก็เสียความชอบธรรมลงไปเพราะการเมืองในประเทศของสหรัฐอเมริกาเอง ซึ่งถนัดได้ชี้ว่า “เป้าหมายของสหรัฐอเมริกาเปลี่ยนไป เราไม่ได้เปลี่ยน พวกเขาต่างหากที่เปลี่ยน การมีอยู่ของกองทัพอเมริกันในไทยเสียความชอบธรรมไปแล้ว” และเขายังได้ติติงว่าสหรัฐอเมริกาจะเป็นมหาอำนาจได้ก็ต่อเมื่อรับผิดชอบในภารกิจของตนให้เสร็จสิ้น การถอนทัพออกไปนั้นจะไม่ใช่แค่ส่งผลต่อประเทศอื่น แต่ยังส่งผลไปยังสหรัฐอเมริกาเองด้วยว่าไม่สามารถทำหน้าที่มหาอำนาจได้อีกต่อไปอย่างไรก็ดี ถนัดได้เดินหน้าต่อในการวางแนวทางใหม่ทางการทูตที่ไม่ต้องพึ่งสหรัฐอเมริกาอีกต่อไป พร้อมกับที่สหรัฐอเมริกาค่อยๆ ถอนกำลังออกจากไทย การถอนทัพนี้ได้สร้างความไม่ลงรอยทางการเมืองในไทยเองด้วย กล่าวคือกลุ่มกองทัพไทยยังคงอยากให้กองทัพสหรัฐอเมริกาอยู่ต่อไปเพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัย ส่วนกลุ่มในกระทรวงการต่างประเทศนั้นแม้จะยังอยากให้กองทัพอยู่เช่นกัน แต่ก็ตระหนักถึงความจริงที่สหรัฐอเมริกาได้ตัดสินใจไปแล้วด้วย ดังนั้นพวกเขาจึงตระหนักว่าการถอนทัพออกของอเมริกันเองก็ได้มอบพื้นที่ใหม่ทางการต่างประเทศให้กับไทยและภูมิภาคด้วยการถอนกำลังของสหรัฐอเมริกานั้นสามารถก่อให้เกิดช่องว่างทางอำนาจขึ้นได้ ดังนั้นการร่วมมือของประเทศในภูมิภาคจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไทยจึงกลายเป็นหัวหอกในการพาชาติต่างๆ เข้ามาร่วมทำงานด้วยกันในการสร้างสันติภาพภายใต้องค์การ ASEAN ที่จะกลายเป็นสิ่งที่ถ่วงเอาไว้ไม่ให้เกิดช่องว่างอำนาจจนอาจสั่นคลอนภูมิภาคได้ แต่ ASEAN แตกต่างจากองค์การอื่นๆ ก่อนหน้าเช่น SEATO เพราะ ASEAN ไม่ใช่องค์การในเชิงทหาร แต่เป็นองค์การเชิงการเมือง โดยถนัดชี้ว่าต่อให้ทุกประเทศรวมกันในเชิงกองกำลังก็ยังต้านจีนไม่ได้ วิธีการจึงต้องเป็นวิธีอื่นนอกจากการทหารควบคู่ไปกับการร่วมมือกันของประเทศต่างๆ ไทย (และประเทศอื่น) ก็เริ่มหาแนวทางปรับความสัมพันธ์กับประเทศคอมมิวนิสต์ ถนัดได้เขียนบทความลง Times เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) ว่า “จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีการพูดคุยในทางการทูตระหว่างกันระหว่างเรากับประเทศคอมมิวนิสต์ แต่เราจะต้องพยายามให้เกิดขึ้นให้ได้ แต่เราจะทำได้ก็ต่อเมื่อประเทศในอาเซียนสามารถร่วมมือกันอย่างเป็นระบบได้ในการโน้มน้าวให้กลุ่มคอมมิวนิสต์ละทิ้งสงครามและร่วมมือกันอย่างสร้างสรรค์” นั่นหมายความว่าถนัดได้เห็นแล้วว่าการผ่อนคลายระหว่างกัน (Détente) นั้นเป็นสิ่งที่จะต้องทำซึ่งในช่วงเวลาของเขานั้นเรื่องนี้คือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่เขาก็ยังเชื่อว่าจะเป็นนโยบายที่ “สามารถปฏิบัติได้จริงในอนาคต” เพราะว่าประเทศคอมมิวนิสต์ไม่สามารถมีท่าทีในเชิงรุกได้ตลอดไป ดังนั้นไทยต้องเตรียมที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองให้สอดคล้องด้วย หรือเป็นการ “มีนโยบายที่ยืดหยุ่นมากขึ้นกับจีน” เขาจึงกล่าวว่า “ถ้าปักกิ่งมีสัญญาณว่าเราสามารถพูดคุยกันได้เมื่อไร ผมจะแนะนำให้รัฐบาลไทยไปนั่งโต๊ะทันที แต่ตอนนี้สัญญาณนั้นยังไม่เกิดขึ้น” ถนัดยืนยันว่าไทยไม่ต่อต้านคอมมิวนิสต์หรือจีน และต้องการที่จะพูดคุยหาทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติให้ได้ ถนัดยังกล่าวต่อไปอีกว่าจีนต่างหากที่ต้านไทยเพราะรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของจีนนั้นพูดเองว่าจะทำสงครามกองโจรกับไทยถนัดนั้นจึงเตรียมพร้อมเสมอในการไปปักกิ่ง และคาดกันว่าเขาเตรียมจะส่ง ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ไปเจรจา หรือกระทั่งแคล้ว นรปติ ซึ่งเป็นนักการเมืองสายสังคมนิยมในขณะนั้น ไปเพื่อถามกันตรงๆ ว่า ที่ว่าจะทำสงครามเป็นเพราะอะไร แต่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์นั้นได้ออกมาปฏิเสธในการไปคุยกับจีนว่าไม่มีประโยชน์เพราะคำตอบนั้นชัดอยู่แล้วว่าเพราะไทยอยู่ข้างสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดีถนัดได้ยืนยันว่านโยบายต่างประเทศไทยนั้นไม่เคยเปลี่ยนเลย คือ การปกป้องเอกราชของประเทศไทยนั้นคือสิ่งที่ดำเนินมาตลอด แต่วิธีการที่จะบรรลุเป้าหมายนี้จะต้องปรับเปลี่ยนไปตามบริบทดังที่เขากล่าวว่า “เราต้องตระหนักสถานการณ์ในปัจจุบันที่ดุลอำนาจเปลี่ยนไปแล้ว แต่เราไม่ได้เปลี่ยนนโยบายของเรา นโยบายของเราเหมือนเดิม และเราจะไม่มีวันปล่อยหลักการทางศีลธรรมและทางสติปัญญาของเราทิ้งไป” ดังนั้นจึงหมายความว่าแม้จะ “ลู่ลม” แต่ “ราก” นั้นไม่เปลี่ยนไปตามลมนั่นเองหลักการการทูตที่ยืดหยุ่นนั้นประกอบไปด้วยสามประการ คือ ไม่อเมริกัน การร่วมมือในภูมิภาค และการผ่อนคลายความตึงเครียด ถนัดได้สร้างช่องทางในการติดต่อกับจีนผ่านคนที่สามในการหาทางอยู่ร่วมกัน เช่น UN รวมไปถึงการติดต่อกับโซเวียตไปพร้อมกันด้วย แม้ว่าถนัดจะยืนยันว่านโยบายไม่ได้เปลี่ยนก็ตาม แต่การใช้วิธีแบบยืดหยุ่นนี้ได้สร้างการผ่อนคลายได้ในที่สุด และได้กลายเป็นฐานให้ผู้มีอำนาจอื่นๆ ต่อยอดวิธีการของถนัดในการอยู่กับประเทศคอมมิวนิสต์อย่างสันติและปกป้องเอกราชของไทยเอาไว้ได้ถนัดจึงสมควรได้รับการยกย่องที่สุดว่า “ถนัดและคนอื่นๆ ได้คิดในสิ่งที่มิอาจจินตนาการได้ในสงครามเย็น นั่นคือการอยู่ร่วมกับทั้งจระเข้และเสืออย่างปลอดภัย” และนี่คือถนัด คอมันตร์ ตำนานรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยตลอดกาล #มูลนิธิสยามรีกอเดอ #LueHistory #ประวัติศาสตร์ #ฤๅคัฟเวอรี่
    บทจะถูกทอดทิ้ง ยูเครนก็ถูก สหรัฐทอดทิ้งเอาได้ง่ายๆ หากศึกษาประวัติศาสตร์ในอดีตของไทย จะพบว่าครั้งหนึ่ง ไทยเองก็ถูกอเมริกาทอดทิ้งและเป็นบทเรียนให้เราได้รู้ว่า การเลือกข้าง ไม่ว่าจะมหาอำนาจข้างใดเขามองเห็นแค่ผลประโยชน์ของประเทศเขาเท่านั้น เรื่องมีอยู่ว่า....เมื่อในอดีต....ไทยเป็นประเทศเฉกเช่นเดียวกับหลายๆ ประเทศที่จะต้องรับมือการขยายอำนาจของประเทศคอมมิวนิสต์ อย่างรัสเซีย ผ่านเวียดนาม และจีนและสหรัฐอเมริกา ก็มีความพยายามในการสกัดกั้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้การเข้ามาประจันของทั้งสองมหาอำนาจนี้บางประเทศก็เลือกที่จะเข้าข้างอำนาจหนึ่ง บางประเทศก็เลือกที่จะผูกพันกับอีกอำนาจหนึ่ง แต่การผูกพันกับอำนาจใดอำนาจหนึ่งมากก็ย่อมส่งผลเสียตามมาหากมีมหาอำนาจฝ่ายหนึ่งต้องถอยหลังไป ดังนั้นแล้วการทุ่มตัวในการพลิกให้เป็นฝ่ายชนะให้ได้จึงเป็นสิ่งที่น่าจะให้ผลประโยชน์ได้ดีที่สุดมากกว่าการแพ้ แต่มีคนไทยผู้หนึ่งนั้นมองอย่างแตกต่างออกไปที่ถึงจะไม่ชนะ แต่ก็ต้องไม่แพ้ กล่าวคือการ “หนีเสือปะจระเข้” จะไม่มีผลต่อการเลือกว่าเราจะต้องอยู่บนบกหรือในน้ำอีกต่อไป คนไทยผู้นี้คือ " ถนัด คอมันตร์ "“หากเราหนีเสือ [จีน] แล้วไปปะจระเข้ [โซเวียต] มันก็ไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่านัก… ถ้าเราไม่มีทางอื่น เราอาจจะต้องอยู่กับจระเข้… ที่ว่ามานี้คือรูปแบบที่เป็นไปได้ถ้าสหรัฐอเมริกาต้องถอนกำลังออกจากประเทศเรา… เพราะเราไม่อาจบอกได้ว่าภูมิภาคของเราตอนนี้มีอำนาจมากพอ… เราหวังว่าทุกคนจะเข้าใจในประเด็นนี้ และช่วยสนับสนุนประเทศในภูมิภาคที่จะรวมตัวสร้างกลุ่มใหม่ขึ้นให้เหนียวแน่นกว่าเดิม” คำกล่าวนี้คือคำกล่าวของถนัด คอมันตร์ ผู้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศที่เป็นระดับตำนานของไทยที่จะคิดหาวิธีอยู่รอดในวันที่สหรัฐอเมริกากำลังเลือกที่จะถอนกำลังออก และในวันที่ประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์นั้นมีพลังมากขึ้นด้วยการรวมกลุ่มประเทศที่ไม่เป็นคอมมิวนิสต์เพื่อคานอิทธิพลของอำนาจแดงเอาไว้ [1]เรามักจะคุ้นหูว่าหลักการ Nixon (Nixon Doctrine) ที่ประกาศว่าสหรัฐอเมริกาจะถอนกำลังออกจากเวียดนามได้ทำให้ประเทศไทยต้องเปลี่ยนนโยบายกับประเทศคอมมิวนิสต์ แต่ความจริงแล้วการเปลี่ยนทิศของนโยบายการต่างประเทศไทยนั้นได้เริ่มขึ้นก่อนที่การตัดสินใจของสหรัฐอเมริกาจะเกิดขึ้น และการตัดสินใจนี้เองก็มีส่วนที่ทำให้สงครามเวียดนามบรรเทาความรุนแรงลงด้วย การตัดสินใจเปลี่ยนทิศของไทยนั้นเริ่มหลังจากที่ประธานาธิบดีลินดอน จอห์นสัน ประกาศนโยบายกลับลำให้คุยสันติภาพหลังจากการรุกตรุษญวน ในการนี้ ถนัด คอมันตร์ และคนอื่นๆ ได้มีการกล่าวว่าสหรัฐอเมริกาได้สร้างข้อสงสัยขึ้นให้กับประเทศอื่นๆ และตอนนี้ไทยก็ได้รู้ตัวอย่างแจ่มแจ้งมากกว่าเก่าว่าการพึ่งกับสหรัฐอเมริกานั้นไม่ใช่ทางที่ดีอีกต่อไปถึงแม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะต้องถอนทัพออกไป แต่ถนัดก็ได้ขอให้การถอนทัพนี้เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามความเหมาะสมของสถานการณ์ และไทยเองก็ต้องสร้างความสัมพันธ์กับประเทศคอมมิวนิสต์ในท่ามกลางดุลอำนาจที่เปลี่ยนไปนี้ด้วย ถนัดจึงได้คิดค้นการทูตแบบยืดหยุ่นขึ้นในขณะนั้นถนัดประเมินว่ามีอยู่ 5 แนวทางสำหรับนโยบายการต่างประเทศของไทยในอนาคต คือ ทางเลือกที่หนึ่ง การไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่นโยบายนี้เขาพบว่ามหาอำนาจจะไม่ยอมให้ประเทศเล็กๆ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และมักจะโดนยำเสมอ ทางเลือกนี้จึงตัดทิ้งไป ทางที่สอง คือการเข้าไปหาคอมมิวนิสต์โดยตรงและ “ชนะใจ” ในเชิงการทูตเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ซึ่งถนัดก็เห็นว่ามีความเป็นไปได้ เพียงแต่ยังไม่ใช่ในตอนนั้น ทางเลือกที่สาม คือการประกาศว่าเป็นกลางคือจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับประเด็นสงครามหรือความขัดแย้งทั้งสิ้นซึ่งต่างจากการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่เขาก็ประเมินว่าประเทศคอมมิวนิสต์คงไม่อยู่เฉยๆ เพราะถึงเราจะเป็นกลาง แต่คอมมิวนิสต์ไม่กลางด้วย หรือทางที่สี่ การเข้าไปร่วมกับคอมมิวนิสต์ด้วยเลยก็ไม่มีประโยชน์เพราะจะถูกบีบได้เสมอ เขาเห็นว่าทางที่ห้า เป็นไปได้มากที่สุดคือการรวมกลุ่มประเทศที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเข้าไว้ด้วยกันเพื่อเป็นพลังต่อรองใหม่ ซึ่งนี่คือจุดกำเนิดของ ASEAN นั่นเองถนัดเป็นผู้ริเริ่มเรื่องนี้ขึ้นเนื่องจากประเทศต่างๆ ในเอเชียไม่ต้องการพึ่งพลังจากภายนอกอีกต่อไป แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถจัดการต่อรองประเด็นต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียมและมีพลังด้วย ถึงแม้ว่าถนัดในช่วงก่อนนั้นจะเห็นว่าการมีอยู่ของกองทัพสหรัฐอเมริกานั้นเป็นประโยชน์แต่ก็เสียความชอบธรรมลงไปเพราะการเมืองในประเทศของสหรัฐอเมริกาเอง ซึ่งถนัดได้ชี้ว่า “เป้าหมายของสหรัฐอเมริกาเปลี่ยนไป เราไม่ได้เปลี่ยน พวกเขาต่างหากที่เปลี่ยน การมีอยู่ของกองทัพอเมริกันในไทยเสียความชอบธรรมไปแล้ว” และเขายังได้ติติงว่าสหรัฐอเมริกาจะเป็นมหาอำนาจได้ก็ต่อเมื่อรับผิดชอบในภารกิจของตนให้เสร็จสิ้น การถอนทัพออกไปนั้นจะไม่ใช่แค่ส่งผลต่อประเทศอื่น แต่ยังส่งผลไปยังสหรัฐอเมริกาเองด้วยว่าไม่สามารถทำหน้าที่มหาอำนาจได้อีกต่อไปอย่างไรก็ดี ถนัดได้เดินหน้าต่อในการวางแนวทางใหม่ทางการทูตที่ไม่ต้องพึ่งสหรัฐอเมริกาอีกต่อไป พร้อมกับที่สหรัฐอเมริกาค่อยๆ ถอนกำลังออกจากไทย การถอนทัพนี้ได้สร้างความไม่ลงรอยทางการเมืองในไทยเองด้วย กล่าวคือกลุ่มกองทัพไทยยังคงอยากให้กองทัพสหรัฐอเมริกาอยู่ต่อไปเพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัย ส่วนกลุ่มในกระทรวงการต่างประเทศนั้นแม้จะยังอยากให้กองทัพอยู่เช่นกัน แต่ก็ตระหนักถึงความจริงที่สหรัฐอเมริกาได้ตัดสินใจไปแล้วด้วย ดังนั้นพวกเขาจึงตระหนักว่าการถอนทัพออกของอเมริกันเองก็ได้มอบพื้นที่ใหม่ทางการต่างประเทศให้กับไทยและภูมิภาคด้วยการถอนกำลังของสหรัฐอเมริกานั้นสามารถก่อให้เกิดช่องว่างทางอำนาจขึ้นได้ ดังนั้นการร่วมมือของประเทศในภูมิภาคจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไทยจึงกลายเป็นหัวหอกในการพาชาติต่างๆ เข้ามาร่วมทำงานด้วยกันในการสร้างสันติภาพภายใต้องค์การ ASEAN ที่จะกลายเป็นสิ่งที่ถ่วงเอาไว้ไม่ให้เกิดช่องว่างอำนาจจนอาจสั่นคลอนภูมิภาคได้ แต่ ASEAN แตกต่างจากองค์การอื่นๆ ก่อนหน้าเช่น SEATO เพราะ ASEAN ไม่ใช่องค์การในเชิงทหาร แต่เป็นองค์การเชิงการเมือง โดยถนัดชี้ว่าต่อให้ทุกประเทศรวมกันในเชิงกองกำลังก็ยังต้านจีนไม่ได้ วิธีการจึงต้องเป็นวิธีอื่นนอกจากการทหารควบคู่ไปกับการร่วมมือกันของประเทศต่างๆ ไทย (และประเทศอื่น) ก็เริ่มหาแนวทางปรับความสัมพันธ์กับประเทศคอมมิวนิสต์ ถนัดได้เขียนบทความลง Times เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) ว่า “จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีการพูดคุยในทางการทูตระหว่างกันระหว่างเรากับประเทศคอมมิวนิสต์ แต่เราจะต้องพยายามให้เกิดขึ้นให้ได้ แต่เราจะทำได้ก็ต่อเมื่อประเทศในอาเซียนสามารถร่วมมือกันอย่างเป็นระบบได้ในการโน้มน้าวให้กลุ่มคอมมิวนิสต์ละทิ้งสงครามและร่วมมือกันอย่างสร้างสรรค์” นั่นหมายความว่าถนัดได้เห็นแล้วว่าการผ่อนคลายระหว่างกัน (Détente) นั้นเป็นสิ่งที่จะต้องทำซึ่งในช่วงเวลาของเขานั้นเรื่องนี้คือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่เขาก็ยังเชื่อว่าจะเป็นนโยบายที่ “สามารถปฏิบัติได้จริงในอนาคต” เพราะว่าประเทศคอมมิวนิสต์ไม่สามารถมีท่าทีในเชิงรุกได้ตลอดไป ดังนั้นไทยต้องเตรียมที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองให้สอดคล้องด้วย หรือเป็นการ “มีนโยบายที่ยืดหยุ่นมากขึ้นกับจีน” เขาจึงกล่าวว่า “ถ้าปักกิ่งมีสัญญาณว่าเราสามารถพูดคุยกันได้เมื่อไร ผมจะแนะนำให้รัฐบาลไทยไปนั่งโต๊ะทันที แต่ตอนนี้สัญญาณนั้นยังไม่เกิดขึ้น” ถนัดยืนยันว่าไทยไม่ต่อต้านคอมมิวนิสต์หรือจีน และต้องการที่จะพูดคุยหาทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติให้ได้ ถนัดยังกล่าวต่อไปอีกว่าจีนต่างหากที่ต้านไทยเพราะรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของจีนนั้นพูดเองว่าจะทำสงครามกองโจรกับไทยถนัดนั้นจึงเตรียมพร้อมเสมอในการไปปักกิ่ง และคาดกันว่าเขาเตรียมจะส่ง ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ไปเจรจา หรือกระทั่งแคล้ว นรปติ ซึ่งเป็นนักการเมืองสายสังคมนิยมในขณะนั้น ไปเพื่อถามกันตรงๆ ว่า ที่ว่าจะทำสงครามเป็นเพราะอะไร แต่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์นั้นได้ออกมาปฏิเสธในการไปคุยกับจีนว่าไม่มีประโยชน์เพราะคำตอบนั้นชัดอยู่แล้วว่าเพราะไทยอยู่ข้างสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดีถนัดได้ยืนยันว่านโยบายต่างประเทศไทยนั้นไม่เคยเปลี่ยนเลย คือ การปกป้องเอกราชของประเทศไทยนั้นคือสิ่งที่ดำเนินมาตลอด แต่วิธีการที่จะบรรลุเป้าหมายนี้จะต้องปรับเปลี่ยนไปตามบริบทดังที่เขากล่าวว่า “เราต้องตระหนักสถานการณ์ในปัจจุบันที่ดุลอำนาจเปลี่ยนไปแล้ว แต่เราไม่ได้เปลี่ยนนโยบายของเรา นโยบายของเราเหมือนเดิม และเราจะไม่มีวันปล่อยหลักการทางศีลธรรมและทางสติปัญญาของเราทิ้งไป” ดังนั้นจึงหมายความว่าแม้จะ “ลู่ลม” แต่ “ราก” นั้นไม่เปลี่ยนไปตามลมนั่นเองหลักการการทูตที่ยืดหยุ่นนั้นประกอบไปด้วยสามประการ คือ ไม่อเมริกัน การร่วมมือในภูมิภาค และการผ่อนคลายความตึงเครียด ถนัดได้สร้างช่องทางในการติดต่อกับจีนผ่านคนที่สามในการหาทางอยู่ร่วมกัน เช่น UN รวมไปถึงการติดต่อกับโซเวียตไปพร้อมกันด้วย แม้ว่าถนัดจะยืนยันว่านโยบายไม่ได้เปลี่ยนก็ตาม แต่การใช้วิธีแบบยืดหยุ่นนี้ได้สร้างการผ่อนคลายได้ในที่สุด และได้กลายเป็นฐานให้ผู้มีอำนาจอื่นๆ ต่อยอดวิธีการของถนัดในการอยู่กับประเทศคอมมิวนิสต์อย่างสันติและปกป้องเอกราชของไทยเอาไว้ได้ถนัดจึงสมควรได้รับการยกย่องที่สุดว่า “ถนัดและคนอื่นๆ ได้คิดในสิ่งที่มิอาจจินตนาการได้ในสงครามเย็น นั่นคือการอยู่ร่วมกับทั้งจระเข้และเสืออย่างปลอดภัย” และนี่คือถนัด คอมันตร์ ตำนานรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยตลอดกาล #มูลนิธิสยามรีกอเดอ #LueHistory #ประวัติศาสตร์ #ฤๅคัฟเวอรี่
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 737 มุมมอง 0 รีวิว
  • มีการค้นพบแหล่งแร่หายากขนาดใหญ่ในมณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน! การค้นพบนี้ถูกประกาศโดย China Geological Survey (CGS) ซึ่งเป็นสถาบันภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติของจีน เมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา

    แหล่งแร่หายากนี้มีทรัพยากรที่มีศักยภาพถึง 1.15 ล้านตัน โดยมีธาตุหายากที่สำคัญ เช่น โพรซีโอดิเมียม นีโอดิเมียม ดิสโพรเซียม และเทอร์เบียม รวมกันมากกว่า 470,000 ตัน ธาตุเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสูง เช่น การผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

    การค้นพบนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของจีน เนื่องจากธาตุหายากเป็นส่วนประกอบสำคัญในเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น สมาร์ทโฟน แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ นอกจากนี้ การค้นพบแหล่งแร่หายากในประเทศยังช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของจีน

    https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2025/01/19/large-rare-earth-deposit-discovered-in-sw-china
    มีการค้นพบแหล่งแร่หายากขนาดใหญ่ในมณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน! การค้นพบนี้ถูกประกาศโดย China Geological Survey (CGS) ซึ่งเป็นสถาบันภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติของจีน เมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา แหล่งแร่หายากนี้มีทรัพยากรที่มีศักยภาพถึง 1.15 ล้านตัน โดยมีธาตุหายากที่สำคัญ เช่น โพรซีโอดิเมียม นีโอดิเมียม ดิสโพรเซียม และเทอร์เบียม รวมกันมากกว่า 470,000 ตัน ธาตุเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสูง เช่น การผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า การค้นพบนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของจีน เนื่องจากธาตุหายากเป็นส่วนประกอบสำคัญในเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น สมาร์ทโฟน แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ นอกจากนี้ การค้นพบแหล่งแร่หายากในประเทศยังช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของจีน https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2025/01/19/large-rare-earth-deposit-discovered-in-sw-china
    WWW.THESTAR.COM.MY
    Large rare earth deposit discovered in SW China
    KUNMING: The China Geological Survey (CGS) announced on Frida (Jan 17) that it has discovered a large rare earth deposit in southwest China's Yunnan Province, with potential resources of 1.15 million tonnes.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 365 มุมมอง 0 รีวิว
  • Pete Hegseth ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของรัฐบาลทรัมป์ แยกไม่ออกระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน! (ASEAN - Association of Southeast Asian Nations) กับเอเซีย (ASIA)

    Duckworth: มีกี่ประเทศในอาเซียน?

    Hegseth: เรามีพันธมิตรในเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย

    Duckworth: ประเทศเหล่านั้นไม่ได้อยู่ในอาเซียน
    Pete Hegseth ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของรัฐบาลทรัมป์ แยกไม่ออกระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน! (ASEAN - Association of Southeast Asian Nations) กับเอเซีย (ASIA) Duckworth: มีกี่ประเทศในอาเซียน? Hegseth: เรามีพันธมิตรในเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย Duckworth: ประเทศเหล่านั้นไม่ได้อยู่ในอาเซียน
    Haha
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 526 มุมมอง 22 0 รีวิว
  • หลังจากทีมไทยพ่ายเวียดนามชิงนัดแรกไป 1-2 วันที่ 5 ม.ค.นี้กลับมาเล่นนัดชิงรอบ2 ที่ราชมังคลาฯ ส่งแรงใจเชียร์ให้ทีมชาติไทยเป็นแชมป์สมัยที่ 3

    #TikTokการกีฬา #ASEANUtdFC #MitsubishiElectricCup #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน2024 #ASEANMitsubishiElectricCup #ASEANMitsubishiElectricCup2024 #ฟุตบอลไทย #NewsStory #News1 #น้าติง
    หลังจากทีมไทยพ่ายเวียดนามชิงนัดแรกไป 1-2 วันที่ 5 ม.ค.นี้กลับมาเล่นนัดชิงรอบ2 ที่ราชมังคลาฯ ส่งแรงใจเชียร์ให้ทีมชาติไทยเป็นแชมป์สมัยที่ 3 #TikTokการกีฬา #ASEANUtdFC #MitsubishiElectricCup #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน2024 #ASEANMitsubishiElectricCup #ASEANMitsubishiElectricCup2024 #ฟุตบอลไทย #NewsStory #News1 #น้าติง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1929 มุมมอง 55 0 รีวิว
  • ช้างศึก" ทีมชาติไทย เดินทางกลับถึงประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อช่วงสายที่ผ่านมาหลังพ่ายฟิลิปปินส์ ที่ ริซัล เมโมเรียล สเตเดียม 1-2 เตรียมล้างตาเกมสอง 30 ธันวาคมนี้ ที่ราชมังคลากีฬาสถาน

    #TikTokการกีฬา #ASEANUtdFC #MitsubishiElectricCup #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน2024 #ASEANMitsubishiElectricCup #ASEANMitsubishiElectricCup2024 #ฟุตบอลไทย #NewsStory #News1 #น้าติง
    ช้างศึก" ทีมชาติไทย เดินทางกลับถึงประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อช่วงสายที่ผ่านมาหลังพ่ายฟิลิปปินส์ ที่ ริซัล เมโมเรียล สเตเดียม 1-2 เตรียมล้างตาเกมสอง 30 ธันวาคมนี้ ที่ราชมังคลากีฬาสถาน #TikTokการกีฬา #ASEANUtdFC #MitsubishiElectricCup #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน2024 #ASEANMitsubishiElectricCup #ASEANMitsubishiElectricCup2024 #ฟุตบอลไทย #NewsStory #News1 #น้าติง
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1555 มุมมอง 31 0 รีวิว
  • ทีมชาติไทยแพ้ฟิลิปปินส์ 1-2 ในรอบ 52 ปี ในศึกฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียนคัพ 2024

    #TikTokการกีฬา #ASEANUtdFC #MitsubishiElectricCup #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน2024 #ASEANMitsubishiElectricCup #ASEANMitsubishiElectricCup2024 #ฟุตบอลไทย #NewsStory #News1 #น้าติง
    ทีมชาติไทยแพ้ฟิลิปปินส์ 1-2 ในรอบ 52 ปี ในศึกฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียนคัพ 2024 #TikTokการกีฬา #ASEANUtdFC #MitsubishiElectricCup #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน2024 #ASEANMitsubishiElectricCup #ASEANMitsubishiElectricCup2024 #ฟุตบอลไทย #NewsStory #News1 #น้าติง
    Like
    Love
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1539 มุมมอง 39 0 รีวิว
  • ทีมชาติไทยเจอกัมพูชานัดสุดท้าย กลุ่ม A ที่สนามราชมังคลากีฬาสถานในศึกชิงแชมป์อาเซียน 2024

    #TikTokการกีฬา #ASEANUtdFC #MitsubishiElectricCup #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน2024 #ASEANMitsubishiElectricCup #ASEANMitsubishiElectricCup2024 #ฟุตบอลไทย #NewsStory #News1 #น้าติง
    ทีมชาติไทยเจอกัมพูชานัดสุดท้าย กลุ่ม A ที่สนามราชมังคลากีฬาสถานในศึกชิงแชมป์อาเซียน 2024 #TikTokการกีฬา #ASEANUtdFC #MitsubishiElectricCup #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน2024 #ASEANMitsubishiElectricCup #ASEANMitsubishiElectricCup2024 #ฟุตบอลไทย #NewsStory #News1 #น้าติง
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1464 มุมมอง 26 0 รีวิว
  • ## ฮุนมาเนต แจงระเอียด...!!! เกาะกูด อยู่ระหว่างเจรจา... ##
    ..
    ..
    ฮุนมาเนต บอกว่า เกาะกูด ยังไม่ใช่ของ ประเทศไทย เพราะ...
    .
    การเจรจาระหว่าง กัมพูชา และ ไทย ยังคงดำเนินต่อไป และ ยังไม่มีการบรรลุข้อตกลงใดๆ
    .
    ดังนั้นการอ้างว่า กัมพูชา เสีย เกาะกูด ให้ ไทย นั้นไม่มีมูลความจริง...!!!
    .
    เราจะไม่สูญเสีย ดินแดน หรือ อธิปไตย...!!!
    .
    ฮุนมาเนต บอกว่า การเจรจาเรื่อ เกาะกูด เขาให้ความสำคัญต่อ บูรณภาพแห่งดินแดน อธิปไตยของ ชาติ เป็นอย่างแรก...!!!
    .
    https://sondhitalk.com/detail/9670000119176?fbclid=IwY2xjawHKF3FleHRuA2FlbQIxMAABHeMtBpb9Dgh63V6hR9PiPSLsNU63Ovaoo74Hrs4vjIBQD19tpV5wrndMvQ_aem__Ic_ZjGOzN6ZFx29j6Fi0w
    .
    https://www.khmertimeskh.com/501596196/opposition-abroad-accused-of-provoking-border-dispute-over-koh-kut/?fbclid=IwY2xjawHKF3pleHRuA2FlbQIxMAABHW1fHP3AI8dndh27bhqEiQhu8_ynUXXmYqR9bXQPbx18B673kW4z7rZGqA_aem_qul_Uet2JEdPqZI9HY3NsA#google_vignette
    .
    https://www.nationthailand.com/news/asean/40043498?fbclid=IwY2xjawHKF4dleHRuA2FlbQIxMAABHTnok7IsOjxo8wRMcglgOVDJP5mOUVTa_jZvwlLO7ncuRGmmcrFgU_k35w_aem_JLYEYDFWT8UXRuaat446FA
    .
    https://www.youtube.com/watch?v=HYukCpVtIC0
    ## ฮุนมาเนต แจงระเอียด...!!! เกาะกูด อยู่ระหว่างเจรจา... ## .. .. ฮุนมาเนต บอกว่า เกาะกูด ยังไม่ใช่ของ ประเทศไทย เพราะ... . การเจรจาระหว่าง กัมพูชา และ ไทย ยังคงดำเนินต่อไป และ ยังไม่มีการบรรลุข้อตกลงใดๆ . ดังนั้นการอ้างว่า กัมพูชา เสีย เกาะกูด ให้ ไทย นั้นไม่มีมูลความจริง...!!! . เราจะไม่สูญเสีย ดินแดน หรือ อธิปไตย...!!! . ฮุนมาเนต บอกว่า การเจรจาเรื่อ เกาะกูด เขาให้ความสำคัญต่อ บูรณภาพแห่งดินแดน อธิปไตยของ ชาติ เป็นอย่างแรก...!!! . https://sondhitalk.com/detail/9670000119176?fbclid=IwY2xjawHKF3FleHRuA2FlbQIxMAABHeMtBpb9Dgh63V6hR9PiPSLsNU63Ovaoo74Hrs4vjIBQD19tpV5wrndMvQ_aem__Ic_ZjGOzN6ZFx29j6Fi0w . https://www.khmertimeskh.com/501596196/opposition-abroad-accused-of-provoking-border-dispute-over-koh-kut/?fbclid=IwY2xjawHKF3pleHRuA2FlbQIxMAABHW1fHP3AI8dndh27bhqEiQhu8_ynUXXmYqR9bXQPbx18B673kW4z7rZGqA_aem_qul_Uet2JEdPqZI9HY3NsA#google_vignette . https://www.nationthailand.com/news/asean/40043498?fbclid=IwY2xjawHKF4dleHRuA2FlbQIxMAABHTnok7IsOjxo8wRMcglgOVDJP5mOUVTa_jZvwlLO7ncuRGmmcrFgU_k35w_aem_JLYEYDFWT8UXRuaat446FA . https://www.youtube.com/watch?v=HYukCpVtIC0
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 516 มุมมอง 0 รีวิว
  • นักเตะทีมชาติไทยทยอยสมทบทีมพร้อมลงเตะนัดแรกเจอกับติมอร์เลสเตวันอาทิตย์ที่ 8 นี้ที่เวียดนาม

    #TikTokการกีฬา #ASEANUtdFC #MitsubishiElectricCup #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน2024 #ASEANMitsubishiElectricCup #ASEANMitsubishiElectricCup2024 #NewsStory #News1
    นักเตะทีมชาติไทยทยอยสมทบทีมพร้อมลงเตะนัดแรกเจอกับติมอร์เลสเตวันอาทิตย์ที่ 8 นี้ที่เวียดนาม #TikTokการกีฬา #ASEANUtdFC #MitsubishiElectricCup #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน2024 #ASEANMitsubishiElectricCup #ASEANMitsubishiElectricCup2024 #NewsStory #News1
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1425 มุมมอง 24 0 รีวิว
  • ## ผู้นำ กัมพูชา ไม่เคยยอมรับว่า "เกาะกูด" เป็นของ ประเทศไทย...!!! ##
    ..
    ..
    ล่าสุด พออ่านข่าวนี้จบ ทำให้เราเข้าใจเพิ่มเติมขึ้นมาอีก...
    .
    วันก่อน คุณ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล แถลงเรื่อง MOU44 มีใจความตอนนึง ประมาณว่า...
    .
    เส้นที่ หลายคนเคยเข้าใจว่า กัมพูชา ลากตัดเกาะกูดบ้าง ลากอ้อมเกาะกูดเป็นรูปตัว U บ้าง ความจริงแล้ว...
    .
    คุณ สุรเกียรติ์ เสถียรไทย บอกว่า กัมพูชา ขีดเส้นจากทางตะวันออก มาจนถึง เกาะกูด แล้วหยุด ไปโผล่อีกที ที่ฝั่งตะวันตกของ เกาะกูด แล้วลากออกไปต่อทางตะวันตก...
    .
    บวกกับ บทสัมภาษณ์นี้ ชัดเจนมาก...
    .
    Prime Minister Hun Manet has addressed the government’s decision to remain silent on the sovereignty dispute over Ko Kut, citing ongoing maritime border negotiations with Thailand that have yet to yield an agreement. Both nations currently claim the island as part of their territory.
    ...
    ...
    "the sovereignty dispute over Ko Kut."
    .
    "ข้อพิพาทอธิปไตยเหนือเกาะกูด"
    .
    "Both nations currently claim the island as part of their territory."
    .
    "ปัจจุบันทั้งสองประเทศอ้างว่าเกาะนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตของตน"
    ...
    ...
    ข้อพิพาทอธิปไตยเหนือเกาะกูด"
    .
    "ทั้งสองประเทศ"
    .
    "อ้างว่าเกาะนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตของตน"
    ...
    ...
    ชัดเจนมาก...!!!
    .
    ชัดแบบ ไม่รู้จะชัดยังไงให้มากกว่านี้แล้ว...!!!
    .
    ว่า กัมพูชา เขาไม่ยอมรับว่า "เกาะกูด" เป็นของ ประเทศไทย...!!!
    .
    ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรี และ ผู้นำประเทศกัมพูชา ลูกชายของ ฮุน เซน พูดชัดเจน ว่า...
    .
    ทั้งประเทศไทย และ ประเทศ กัมพูชา ต่างอ้างสิทธิ์เหนือ เกาะกูด ทั้งคู่...!!!
    .
    กัมพูชา อ้างสิทธิ์อธิปไตย เหนือเกาะกูด...!!!
    .
    เขาเหลี่ยมทุกดอกแบบนี่ เรายังจะเดินหน้าไปแบบ เหม่อลอย ก้าวท้าวไปน้ำลายยืดไป แบบนี้มันจะไหวจริงๆเหรอครับ...???
    .
    https://www.nationthailand.com/news/asean/40043498
    ## ผู้นำ กัมพูชา ไม่เคยยอมรับว่า "เกาะกูด" เป็นของ ประเทศไทย...!!! ## .. .. ล่าสุด พออ่านข่าวนี้จบ ทำให้เราเข้าใจเพิ่มเติมขึ้นมาอีก... . วันก่อน คุณ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล แถลงเรื่อง MOU44 มีใจความตอนนึง ประมาณว่า... . เส้นที่ หลายคนเคยเข้าใจว่า กัมพูชา ลากตัดเกาะกูดบ้าง ลากอ้อมเกาะกูดเป็นรูปตัว U บ้าง ความจริงแล้ว... . คุณ สุรเกียรติ์ เสถียรไทย บอกว่า กัมพูชา ขีดเส้นจากทางตะวันออก มาจนถึง เกาะกูด แล้วหยุด ไปโผล่อีกที ที่ฝั่งตะวันตกของ เกาะกูด แล้วลากออกไปต่อทางตะวันตก... . บวกกับ บทสัมภาษณ์นี้ ชัดเจนมาก... . Prime Minister Hun Manet has addressed the government’s decision to remain silent on the sovereignty dispute over Ko Kut, citing ongoing maritime border negotiations with Thailand that have yet to yield an agreement. Both nations currently claim the island as part of their territory. ... ... "the sovereignty dispute over Ko Kut." . "ข้อพิพาทอธิปไตยเหนือเกาะกูด" . "Both nations currently claim the island as part of their territory." . "ปัจจุบันทั้งสองประเทศอ้างว่าเกาะนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตของตน" ... ... ข้อพิพาทอธิปไตยเหนือเกาะกูด" . "ทั้งสองประเทศ" . "อ้างว่าเกาะนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตของตน" ... ... ชัดเจนมาก...!!! . ชัดแบบ ไม่รู้จะชัดยังไงให้มากกว่านี้แล้ว...!!! . ว่า กัมพูชา เขาไม่ยอมรับว่า "เกาะกูด" เป็นของ ประเทศไทย...!!! . ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรี และ ผู้นำประเทศกัมพูชา ลูกชายของ ฮุน เซน พูดชัดเจน ว่า... . ทั้งประเทศไทย และ ประเทศ กัมพูชา ต่างอ้างสิทธิ์เหนือ เกาะกูด ทั้งคู่...!!! . กัมพูชา อ้างสิทธิ์อธิปไตย เหนือเกาะกูด...!!! . เขาเหลี่ยมทุกดอกแบบนี่ เรายังจะเดินหน้าไปแบบ เหม่อลอย ก้าวท้าวไปน้ำลายยืดไป แบบนี้มันจะไหวจริงๆเหรอครับ...??? . https://www.nationthailand.com/news/asean/40043498
    WWW.NATIONTHAILAND.COM
    Hun Manet defends government’s silence on Ko Kut dispute
    Prime Minister Hun Manet has addressed the government’s decision to remain silent on the sovereignty dispute over Ko Kut, citing ongoing maritime border negotiations with Thailand that have yet to yield an agreement. Both nations currently claim the island as part of their territory.
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 544 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฟอรั่ม 'โลกแห่งโอกาส' สะท้อนความร่วมมือรัสเซีย-อาเซียน
    .
    'World of Opportunities' forum reflects Russia-ASEAN cooperation
    .
    1:03 AM · Nov 29, 2024 · 7,607 Views
    https://x.com/RT_com/status/1862195610725531803
    ฟอรั่ม 'โลกแห่งโอกาส' สะท้อนความร่วมมือรัสเซีย-อาเซียน . 'World of Opportunities' forum reflects Russia-ASEAN cooperation . 1:03 AM · Nov 29, 2024 · 7,607 Views https://x.com/RT_com/status/1862195610725531803
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 610 มุมมอง 7 0 รีวิว
  • กุนซือที่พาช้างศึกคว้าแชมป์ AFF CUP มีใครบ้าง

    #ทีมมารยาทยอดเยี่ยมในAFFCUP #นักเตะยอดเยี่ยมAFFCUP #News1 #TikTokการกีฬา #ASEANUtdFC #MitsubishiElectricCup #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน2024 #ASEANMitsubishiElectricCup #ASEANMitsubishiElectricCup2024 #NewsStory
    กุนซือที่พาช้างศึกคว้าแชมป์ AFF CUP มีใครบ้าง #ทีมมารยาทยอดเยี่ยมในAFFCUP #นักเตะยอดเยี่ยมAFFCUP #News1 #TikTokการกีฬา #ASEANUtdFC #MitsubishiElectricCup #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน2024 #ASEANMitsubishiElectricCup #ASEANMitsubishiElectricCup2024 #NewsStory
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2153 มุมมอง 29 0 รีวิว
  • Land for Sale with Building in Prime Location ❗️❗️ 583 sq.m (145.8 Sq.w)

    Property Code : MP7057

    Property Info: Located on the main road with spacious interior and ample usable space. Previously used as a timber trading business.

    Krabi Road, Pak Nam Subdistrict, Mueang District, Krabi
    Map: Location https://maps.apple.com/?ll=8.071266,98.906703&q=Unknown%20Location&t=m

    Price: 12,000,000 THB
    (Negotiable directly with the landowner)

    Contact ☎️
    Ella: 092-553-6147 (Thai, English, Dutch)

    Details:

    • Size: 145.8 sq.wah (583 sq.m)
    • Width: 20 meters, Length: 30 meters
    • Close to the community
    • West-facing property
    • Convenient transportation access
    • Only 4.9 km from Central Krabi development site
    • 14 km from Ao Nang Beach
    • 15 km from Krabi Airport
    • 3.6 km from Krabi Town’s Vogue Department Store
    • 2 km from Krabi Nakharin International Hospital
    __________________________________
    Realty One Estate (Thailand) Public Company Limited, Phuket Branch
    Network: Member of the Thai Real Estate Broker Association and ASEAN Real Estate Consultants Confederation
    REALTY ONE .co.th
    ----------------------------------------
    ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ทำเลดี❗️❗️ 145.8 ตารางวา ( 583 ตร.ม )

    ข้อมูลทรัพย์ : ติดถนนเส้นหลักถึงหน้าแปลง ข้างในกว้างขวางพื้นที่ใช้สอยเหลือเยอะ เดิมๆเป็นธุรกิจค้าขายไม้

    ถ.กระบี่ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.กระบี่
    Map: https://maps.apple.com/?ll=8.071266,98.906703&q=Unknown%20Location&t=m
    ** ราคา 12,000,000 บาท **
    (ราคาเจ้าของที่ดิน ต่อรองได้โดยตรง)

    Contact ☎️ 092-553-6147
    คุณเอลล่า (Thai, English, Dutch)

    รายละเอียด
    - ขนาด 145.8 ตารางวา
    - กว้าง 20เมตร ยาว 30เมตร
    - อยู่ใกล้แหล่งชุมชน
    - ทรัพย์หันหน้าทิศตะวันตก
    - ทำเล ช่องทางการคมนาคมมีความสะดวก
    - ใกล้ทำเลสร้าง Central Krabi แค่4.9 กิโลเมตร
    - ห่างจากหาดอ่าวนาง 14 กิโลเมตร
    - ห่างจากสนามบินกระบี่ 15 กิโลเมตร
    - ห่างจากจุดศูนย์กลางเมืองกระบี่ห้างโวค 3.6 กิโลเมตร
    - ห่างจากโรงพยาบาลเอกชนกระบี่นครินทร์อินเตอร์ 2 กิโลเมตร

    _____________________

    รหัส- MP 7057
    บริษัท เรียลตี้วัน เอสเตท (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สาขาภูเก็ต
    เครือข่าย: สมาชิกสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทยและสมาพันธ์ที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์อาเซียน
    REALTY ONE .co.th
    .................................................
    Land for Sale with Building in Prime Location ❗️❗️ 583 sq.m (145.8 Sq.w) Property Code : MP7057 Property Info: Located on the main road with spacious interior and ample usable space. Previously used as a timber trading business. Krabi Road, Pak Nam Subdistrict, Mueang District, Krabi Map: Location https://maps.apple.com/?ll=8.071266,98.906703&q=Unknown%20Location&t=m Price: 12,000,000 THB (Negotiable directly with the landowner) Contact ☎️ Ella: 092-553-6147 (Thai, English, Dutch) Details: • Size: 145.8 sq.wah (583 sq.m) • Width: 20 meters, Length: 30 meters • Close to the community • West-facing property • Convenient transportation access • Only 4.9 km from Central Krabi development site • 14 km from Ao Nang Beach • 15 km from Krabi Airport • 3.6 km from Krabi Town’s Vogue Department Store • 2 km from Krabi Nakharin International Hospital __________________________________ Realty One Estate (Thailand) Public Company Limited, Phuket Branch Network: Member of the Thai Real Estate Broker Association and ASEAN Real Estate Consultants Confederation REALTY ONE .co.th ---------------------------------------- ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ทำเลดี❗️❗️ 145.8 ตารางวา ( 583 ตร.ม ) ข้อมูลทรัพย์ : ติดถนนเส้นหลักถึงหน้าแปลง ข้างในกว้างขวางพื้นที่ใช้สอยเหลือเยอะ เดิมๆเป็นธุรกิจค้าขายไม้ ถ.กระบี่ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.กระบี่ Map: https://maps.apple.com/?ll=8.071266,98.906703&q=Unknown%20Location&t=m ** ราคา 12,000,000 บาท ** (ราคาเจ้าของที่ดิน ต่อรองได้โดยตรง) Contact ☎️ 092-553-6147 คุณเอลล่า (Thai, English, Dutch) รายละเอียด - ขนาด 145.8 ตารางวา - กว้าง 20เมตร ยาว 30เมตร - อยู่ใกล้แหล่งชุมชน - ทรัพย์หันหน้าทิศตะวันตก - ทำเล ช่องทางการคมนาคมมีความสะดวก - ใกล้ทำเลสร้าง Central Krabi แค่4.9 กิโลเมตร - ห่างจากหาดอ่าวนาง 14 กิโลเมตร - ห่างจากสนามบินกระบี่ 15 กิโลเมตร - ห่างจากจุดศูนย์กลางเมืองกระบี่ห้างโวค 3.6 กิโลเมตร - ห่างจากโรงพยาบาลเอกชนกระบี่นครินทร์อินเตอร์ 2 กิโลเมตร _____________________ รหัส- MP 7057 บริษัท เรียลตี้วัน เอสเตท (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สาขาภูเก็ต เครือข่าย: สมาชิกสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทยและสมาพันธ์ที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์อาเซียน REALTY ONE .co.th .................................................
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1086 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทีมมารยาทยอดเยี่ยมใน AFF CUP ที่ผ่านมามีประเทศอะไรบ้าง และทีมชาติไทยได้ไปกี่ครั้ง

    #ทีมมารยาทยอดเยี่ยมในAFFCUP #นักเตะยอดเยี่ยมAFFCUP #News1 #TikTokการกีฬา #ASEANUtdFC #MitsubishiElectricCup #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน2024 #ASEANMitsubishiElectricCup #ASEANMitsubishiElectricCup2024 #NewsStory
    ทีมมารยาทยอดเยี่ยมใน AFF CUP ที่ผ่านมามีประเทศอะไรบ้าง และทีมชาติไทยได้ไปกี่ครั้ง #ทีมมารยาทยอดเยี่ยมในAFFCUP #นักเตะยอดเยี่ยมAFFCUP #News1 #TikTokการกีฬา #ASEANUtdFC #MitsubishiElectricCup #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน #ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน2024 #ASEANMitsubishiElectricCup #ASEANMitsubishiElectricCup2024 #NewsStory
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1859 มุมมอง 183 0 รีวิว
  • หลังจากที่สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียนหรือ AFFจับฉลากแบ่งกลุ่มสายบี
    มีประเทศอะไรบ้าง

    #News1 #Newsstory #TIKTOKการกีฬา #ASEANUtdFC #MitsubishiElectricCup

    หลังจากที่สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียนหรือ AFFจับฉลากแบ่งกลุ่มสายบี มีประเทศอะไรบ้าง #News1 #Newsstory #TIKTOKการกีฬา #ASEANUtdFC #MitsubishiElectricCup
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1321 มุมมอง 65 0 รีวิว
  • ส่องทำเนียบแชมป์อาเซียน คัพ AFF Mitsubishi Electric ในอดีต ไทยครองแชมป์มากสุด
    #TikTokการกีฬา #ASEANUtdFC #MitsubishiElectricCup #Newsstory #News1 #ไทยครองแชมป์มากสุด
    ส่องทำเนียบแชมป์อาเซียน คัพ AFF Mitsubishi Electric ในอดีต ไทยครองแชมป์มากสุด #TikTokการกีฬา #ASEANUtdFC #MitsubishiElectricCup #Newsstory #News1 #ไทยครองแชมป์มากสุด
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1419 มุมมอง 217 0 รีวิว
  • “สารัช อยู่เย็น” เจ้าชายอาเซียนถึง 4 ครั้ง

    “สารัช อยู่เย็น” ได้สัมผัสถ้วยรางวันของการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียนมากที่สุดถึง 4 ครั้ง


    #News1 #Newsstory #TikTokการกีฬา #ASEANUtdFC #MitsubishiElectricCup
    “สารัช อยู่เย็น” เจ้าชายอาเซียนถึง 4 ครั้ง “สารัช อยู่เย็น” ได้สัมผัสถ้วยรางวันของการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียนมากที่สุดถึง 4 ครั้ง
 #News1 #Newsstory #TikTokการกีฬา #ASEANUtdFC #MitsubishiElectricCup
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1509 มุมมอง 233 0 รีวิว
  • ASEAN แตก SUMMIT สามัคคีสร้างภาพ : [คุยผ่าโลก worldtalk]
    #worldtalk #คุยผ่าโลก #วารินทร์สัจเดว #highlights #ข่าวต่างประเทศ #ASEANSUMMIT
    ASEAN แตก SUMMIT สามัคคีสร้างภาพ : [คุยผ่าโลก worldtalk] #worldtalk #คุยผ่าโลก #วารินทร์สัจเดว #highlights #ข่าวต่างประเทศ #ASEANSUMMIT
    Angry
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 857 มุมมอง 173 1 รีวิว
  • อย่างนี้มันเสียชื่อประเทศไทยไหม!!
    แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ผู้โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ X เขียนตำแหน่งผู้นำจีนผิดพลาดอย่างแรงว่า
    “ในระหว่างการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนที่เวียงจันทน์ ดิฉันได้มีโอกาสพบกับท่าน
    ประธานาธิบดีหลี่เฉียงของจีน และได้แสดงความยินดีที่ไทยและจีนจะเฉลิมฉลองการครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปีหน้า เป็นโอกาสที่จะยิ่งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน และ กิจกรรมอีกมากมาย ไทยและจีนเป็นมิตรที่ใกล้ชิด และมีความตั้งใจร่วมกันในการส่งเสริมความมั่นคง และความมั่งคั่งของภูมิภาค

    During the ASEAN Summits in Vientiane, I had the opportunity to meet with President Li Qiang of China and looked forward to our celebration of the 50th anniversary of the establishment of Thai-China diplomatic relations…“

    นายกฯอุ๊งอิ้งค์เขียนโดยขาดการศึกษาความรู้ว่า ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจีนมาสิบปีจนถึงปัจจุบันคือ สี จิ้นผิง ขณะที่นายหลี่ เฉียง เป็นนายกรัฐมนตรีจีน ที่นายกฯฟันน้ำนมไทยจับมือด้วยดังในภาพที่ปรากฏต่อสาธารณชน

    โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง..
    “President”คือประธานาธิบดี สี จิ้นผิง
    ”Prime Minister “คือ นายกรัฐมนตรี หลี่ เฉียง

    #Thaitimes
    อย่างนี้มันเสียชื่อประเทศไทยไหม!! แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ผู้โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ X เขียนตำแหน่งผู้นำจีนผิดพลาดอย่างแรงว่า “ในระหว่างการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนที่เวียงจันทน์ ดิฉันได้มีโอกาสพบกับท่าน ประธานาธิบดีหลี่เฉียงของจีน และได้แสดงความยินดีที่ไทยและจีนจะเฉลิมฉลองการครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปีหน้า เป็นโอกาสที่จะยิ่งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน และ กิจกรรมอีกมากมาย ไทยและจีนเป็นมิตรที่ใกล้ชิด และมีความตั้งใจร่วมกันในการส่งเสริมความมั่นคง และความมั่งคั่งของภูมิภาค During the ASEAN Summits in Vientiane, I had the opportunity to meet with President Li Qiang of China and looked forward to our celebration of the 50th anniversary of the establishment of Thai-China diplomatic relations…“ นายกฯอุ๊งอิ้งค์เขียนโดยขาดการศึกษาความรู้ว่า ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจีนมาสิบปีจนถึงปัจจุบันคือ สี จิ้นผิง ขณะที่นายหลี่ เฉียง เป็นนายกรัฐมนตรีจีน ที่นายกฯฟันน้ำนมไทยจับมือด้วยดังในภาพที่ปรากฏต่อสาธารณชน โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง.. “President”คือประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ”Prime Minister “คือ นายกรัฐมนตรี หลี่ เฉียง #Thaitimes
    Like
    Haha
    8
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1219 มุมมอง 0 รีวิว
  • สื่อญี่ปุ่น Nikkei Asia พลาดเรื่อง QR Payment

    ในที่สุดนิกเกอิ เอเชีย (Nikkei Asia) สื่อจากประเทศญี่ปุ่น ยอมแก้ไขเนื้อหาข่าวหัวข้อ "Malaysia and Cambodia lead QR payment expansion in ASEAN" (มาเลเซียและกัมพูชาเป็นผู้นำการขยายตัวของระบบการชำระเงิน QR Payment ในอาเซียน) ซึ่งตีพิมพ์ไปเมื่อวันที่ 18 ก.ย. ที่ผ่านมา เป็น "QR payments expand in Thailand, Malaysia and Cambodia" (การชำระเงินด้วย QR ขยายตัวในประเทศไทย มาเลเซีย และกัมพูชา) เมื่อค่ำวันที่ 24 ก.ย.

    พร้อมกับแก้ไขแผนภูมิหัวข้อ "QR code payments in Southeast Asia" (เปรียบเทียบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) จากเดิมไม่มีประเทศไทยอยู่ในการจัดอันดับ เป็นอันดับหนึ่งของแผนภูมิดังกล่าว

    หลังเฟซบุ๊กทางการของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า การโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์เพิ่มขึ้นจาก 14,800 ล้านครั้งในปี 2022 เป็น 19,900 ล้านครั้งในปี 2023 ส่วนปริมาณธุรกรรมการชำระงินผ่าน QR payment ในประเทศไทยผ่านระบบพร้อมเพย์ เพิ่มขึ้นจาก 2,500 ล้านครั้งในปี 2022 เป็น 5,700 ล้านครั้งในปี 2023 พร้อมกับแนบลิงก์สถิติดังกล่าว กระทั่งเว็บไซต์ Nikkei Asia ได้แก้ไขเนื้อหาและแผนภูมิในที่สุด

    ก่อนหน้านี้ Nikkei Asia ลงแผนภูมิเปรียบเทียบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฎว่าจัดอันดับประเทศไทยรั้งท้าย เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กชาวไทยคอมเมนต์ว่าข้อมูลผิด จึงได้ลงแผนภูมิใหม่ โดยไม่มีประเทศไทยอยู่ในการจัดอันดับอีกเลย ผลก็คือคนไทยจำนวนมากไม่พอใจ และธนาคารแห่งประเทศไทยต้องให้ข้อมูลที่แท้จริง จึงยอมแก้ไข

    หากไม่นับเรื่องการเมืองในไทย มีหลายกรณีที่การนำเสนอข่าวของ Nikkei Asia เป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของผู้อ่านชาวไทย อาทิ วิจารณ์ค่ายรถยนต์จากจีนว่าเป็นวงจรอุบาทว์ในอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย วิจารณ์ว่าประเทศไทยฟื้นตัวจากโควิด-19 ช้าที่สุด ทำให้เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวขณะนั้นตอบโต้ และวิจารณ์การเปิดตัวศูนย์การค้าไอคอนสยามในแง่ลบ

    แม้จะแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องในเวลานี้ แต่ผู้อ่านชาวไทยต่างมีภาพจำเรื่องดังกล่าว ย่อมกระทบไปถึงชื่อเสียงในระยะยาว ยิ่งเป็นระบบบอกรับสมาชิก (Subsciption) คือต้องจ่ายเงินก่อน ถึงจะอ่านเนื้อหาข่าวได้ ผู้บริโภคสื่อย่อมลังเลถึงความน่าเชื่อถือ ในฐานะสมาชิก ที่ยอมเสียเงินเพื่อหวังเสพเนื้อหาข่าวที่เชื่อว่ามีคุณภาพ จากสำนักข่าวที่มีชื่อเสียง

    ถือเป็นบทเรียนของคนทำสื่อ ที่ต้องรักษาคุณภาพ ภายใต้การแบกรับความคาดหวังของสมาชิกเป็นเดิมพัน

    #Newskit #NikkeiAsia #BankOfThailand
    สื่อญี่ปุ่น Nikkei Asia พลาดเรื่อง QR Payment ในที่สุดนิกเกอิ เอเชีย (Nikkei Asia) สื่อจากประเทศญี่ปุ่น ยอมแก้ไขเนื้อหาข่าวหัวข้อ "Malaysia and Cambodia lead QR payment expansion in ASEAN" (มาเลเซียและกัมพูชาเป็นผู้นำการขยายตัวของระบบการชำระเงิน QR Payment ในอาเซียน) ซึ่งตีพิมพ์ไปเมื่อวันที่ 18 ก.ย. ที่ผ่านมา เป็น "QR payments expand in Thailand, Malaysia and Cambodia" (การชำระเงินด้วย QR ขยายตัวในประเทศไทย มาเลเซีย และกัมพูชา) เมื่อค่ำวันที่ 24 ก.ย. พร้อมกับแก้ไขแผนภูมิหัวข้อ "QR code payments in Southeast Asia" (เปรียบเทียบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) จากเดิมไม่มีประเทศไทยอยู่ในการจัดอันดับ เป็นอันดับหนึ่งของแผนภูมิดังกล่าว หลังเฟซบุ๊กทางการของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า การโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์เพิ่มขึ้นจาก 14,800 ล้านครั้งในปี 2022 เป็น 19,900 ล้านครั้งในปี 2023 ส่วนปริมาณธุรกรรมการชำระงินผ่าน QR payment ในประเทศไทยผ่านระบบพร้อมเพย์ เพิ่มขึ้นจาก 2,500 ล้านครั้งในปี 2022 เป็น 5,700 ล้านครั้งในปี 2023 พร้อมกับแนบลิงก์สถิติดังกล่าว กระทั่งเว็บไซต์ Nikkei Asia ได้แก้ไขเนื้อหาและแผนภูมิในที่สุด ก่อนหน้านี้ Nikkei Asia ลงแผนภูมิเปรียบเทียบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฎว่าจัดอันดับประเทศไทยรั้งท้าย เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กชาวไทยคอมเมนต์ว่าข้อมูลผิด จึงได้ลงแผนภูมิใหม่ โดยไม่มีประเทศไทยอยู่ในการจัดอันดับอีกเลย ผลก็คือคนไทยจำนวนมากไม่พอใจ และธนาคารแห่งประเทศไทยต้องให้ข้อมูลที่แท้จริง จึงยอมแก้ไข หากไม่นับเรื่องการเมืองในไทย มีหลายกรณีที่การนำเสนอข่าวของ Nikkei Asia เป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของผู้อ่านชาวไทย อาทิ วิจารณ์ค่ายรถยนต์จากจีนว่าเป็นวงจรอุบาทว์ในอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย วิจารณ์ว่าประเทศไทยฟื้นตัวจากโควิด-19 ช้าที่สุด ทำให้เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวขณะนั้นตอบโต้ และวิจารณ์การเปิดตัวศูนย์การค้าไอคอนสยามในแง่ลบ แม้จะแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องในเวลานี้ แต่ผู้อ่านชาวไทยต่างมีภาพจำเรื่องดังกล่าว ย่อมกระทบไปถึงชื่อเสียงในระยะยาว ยิ่งเป็นระบบบอกรับสมาชิก (Subsciption) คือต้องจ่ายเงินก่อน ถึงจะอ่านเนื้อหาข่าวได้ ผู้บริโภคสื่อย่อมลังเลถึงความน่าเชื่อถือ ในฐานะสมาชิก ที่ยอมเสียเงินเพื่อหวังเสพเนื้อหาข่าวที่เชื่อว่ามีคุณภาพ จากสำนักข่าวที่มีชื่อเสียง ถือเป็นบทเรียนของคนทำสื่อ ที่ต้องรักษาคุณภาพ ภายใต้การแบกรับความคาดหวังของสมาชิกเป็นเดิมพัน #Newskit #NikkeiAsia #BankOfThailand
    Like
    Haha
    Sad
    Angry
    8
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1364 มุมมอง 0 รีวิว
  • Kishore Mahbubani: The Biggest Mistakes of the US, China, and ASEAN

    https://youtu.be/jn7Q9ZvXRcI?si=pQKeAv_F120Yj6of

    #Thaitimes
    Kishore Mahbubani: The Biggest Mistakes of the US, China, and ASEAN https://youtu.be/jn7Q9ZvXRcI?si=pQKeAv_F120Yj6of #Thaitimes
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1568 มุมมอง 0 รีวิว
  • Technology is not the answer for everything

    Faster internet will not make peoples lives better now

    With 5g you can start to manipulate DNA

    It’s not good for corrupt government or corporations to have 5g

    Why give corporations that power?.. Because you can penetrate the DNA with those waves

    Why do government now give corporations the power to do anything they want ?

    It’s globalism, When corporations control government, Or when government is a big corporation, Government should be run for the benefit of the people

    In Thailand people are brainwashed by so many commercials.. The 5g is for the corporations

    No good doctor is going to operate on the Internet.. That’s only for cheap health care

    In China they will control the people better with 5g.. The people in Hong Kong fighting against that.. In Hong Kong the people have no future

    Social Credit Scores!... They use 5g to check everybody in the internet.. Can take your money away on the internet in China now.. They want the same in Thailand

    ASEAN will demand that system soon 😤😤😤

    Thai people need to wake up

    Where is the sustainability economy?

    .............................................................................
    Technology is not the answer for everything Faster internet will not make peoples lives better now With 5g you can start to manipulate DNA It’s not good for corrupt government or corporations to have 5g Why give corporations that power?.. Because you can penetrate the DNA with those waves Why do government now give corporations the power to do anything they want ? It’s globalism, When corporations control government, Or when government is a big corporation, Government should be run for the benefit of the people In Thailand people are brainwashed by so many commercials.. The 5g is for the corporations No good doctor is going to operate on the Internet.. That’s only for cheap health care In China they will control the people better with 5g.. The people in Hong Kong fighting against that.. In Hong Kong the people have no future Social Credit Scores!... They use 5g to check everybody in the internet.. Can take your money away on the internet in China now.. They want the same in Thailand ASEAN will demand that system soon 😤😤😤 Thai people need to wake up Where is the sustainability economy? .............................................................................
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 282 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts