หลุมยุบกัวลาลัมเปอร์ นักท่องเที่ยวอินเดียร่วง
โศกนาฎกรรมที่สร้างความตกใจให้แก่ผู้พบเห็น เมื่อเกิดอุบัติเหตุหลุมยุบบริเวณถนนมัสยิดอินเดีย (Jalan Masjid India) เป็นเหตุทำให้นางวิชัยลักษณี (Vijayalakshmi) นักท่องเที่ยวหญิงชาวอินเดียวัย 48 ปี ตกลงไปในหลุมดังกล่าว ซึ่งมีความลึกประมาณ 8 เมตร เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเวลา 08.44 น. ตามเวลาบนกล้องวงจรปิด ของวันที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา
ทีมปฎิบัติการค้นหาและกู้ภัย (SAR) เข้าค้นหานักท่องเที่ยวชาวอินเดีย โดยเปิดท่อระบายน้ำรอบพื้นที่รวม 6 แห่ง เข้าไปค้นหาครั้งละ 2-3 คน ใช้เวลาประมาณ 20 นาที รวมทั้งโรงบำบัดน้ำเสียบริษัทอินดะห์ วอเตอร์ คอนซอร์เตียม (Indah Water Konsortium หรือ IWK) ย่านปันตาย ดาลัม ซึ่งเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องรับมือกับกระแสน้ำเชี่ยวในท่อระบายน้ำ และมีแก๊สที่อาจเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม เวลาผ่านไปกว่า 3 วัน กลับไม่พบเบาะแสใดๆ
สำนักข่าวเบอร์นามา รายงานว่า นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ยืนยันว่าปฎิบัติการค้นหาและช่วยเหลือผู้สูญหายจะยังคงดำเนินต่อไป พร้อมแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยสั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ศาลาว่าการกรุงกัวลาลัมเปอร์ (DKBL) ให้ไปพบกับครอบครัวของผู้สูญหายแล้ว
ด้านนายฟาดิลลาห์ ยูซอฟ รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุว่า เกิดจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์และโครงสร้างของดิน โดยเมื่อชั้นหินปูนขัดขวางการไหลของน้ำใต้ดิน ส่งผลให้ดินไม่มั่นคงและเกิดหลุมยุบ บางครั้งไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าหลุมยุบจะเกิดขึ้นเมื่อใดและที่ใด
เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในมาเลเซียเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีหินปูนและสภาพธรณีวิทยาเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ด้วยความรู้และเทคโนโลยีที่ถูกต้องจะทำให้เหตุการณ์เช่นนี้ลดน้อยลงและดำเนินมาตรการป้องกันเพื่อปกป้องชุมชนและบรรเทาผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้
ขณะที่นายเจฟฟรีย์ เชียง ชุง ลุยน์ ประธานสถาบันวิศวกรแห่งมาเลเซีย (IEM) เรียกร้องให้มีการสืบสวนเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างละเอียด เพราะจากการสังเกตผ่าน Google Maps พบว่าตำแหน่งหลุมยุบอยู่ห่างจากแม่น้ำแคลงประมาณ 24 เมตร และจากภาพที่สื่อมวลชนนำเสนอ พบว่าหลุมยุบอาจเกี่ยวข้องกับระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน แม้ว่าจะยังไม่ระบุสาเหตุที่แน่ชัดก็ตาม
จากรายงานหัวข้อ "Karstic Features of Kuala Lumpur Limestone" [1] ที่กล่าวถึงลักษณะของหินปูนของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเขียนโดย นายตัน ไซมอน เสี่ยว เมง จากสถาบันวิศวกรแห่งมาเลเซีย ระบุว่า ชั้นหินปูนในกรุงกัวลาลัมเปอร์มีลักษณะไม่แน่นอน พบในบริเวณเหมืองแร่ดีบุก แต่หลังเหมืองปิดตัวลง พื้นที่เหมืองแร่ถูกปกคลุมไปด้วยเศษซากตั้งแต่โคลนถึงทราย
โดยคาดว่าหินปูนมีความหนาประมาณ 1,850 เมตร ทับอยู่บนหินชนวนกราไฟต์ที่เรียกว่า ฮอร์ธอร์นเดน ชีสต์ (Hawthornden Schist) ส่วนบนสุดของลำดับชั้นคือชั้นหินเคนนี่ ฮิลล์ (Kenny Hill) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ รวมถึงพื้นที่ย่าน KLCC (Kuala Lumpur City Centre) และบูกิตบินตัง (Bukit Bintang)
ในตอนหนึ่งของรายงานระบุว่า หินปูนเกิดจากกระบวนการละลายทางเคมี ซึ่งเป็นกระบวนการที่ยาวนาน ประกอบด้วยหลุม แอ่งชัน และช่องทางสารละลาย ส่งผลให้ชั้นหินปูนมีรูปร่างไม่แน่นอน เป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมากในการก่อสร้างฐานราก ซึ่งการเกิดหลุมยุบมาจากการเคลื่อนตัวของชั้นหินปูน เนื่องจากการซึมของน้ำใต้ดิน ระดับน้ำใต้ดินที่ลดลง การรับน้ำหนักเพิ่ม การสั่นสะเทือน การเจาะรูหรือเสาเข็มบนช่องว่างของหินปูนโดยตรง ซึ่งหินปูนที่ปกคลุมด้วยดินบางจะเสี่ยงต่อการเกิดหลุมยุบมากกว่า
อีกด้านหนึ่ง การก่อสร้างรถไฟใต้ดินสายสุไหงบูเลาะห์-กาจัง (Sungai Buloh-Kajang) [2] บางช่วงเป็นเส้นทางใต้ดิน ยาว 9.5 กิโลเมตร มี 7 สถานีใต้ดิน หนึ่งในนั้นคือสถานีตุน ราซัค เอ็กซ์เชนจ์ (TRX) ซึ่งมีความลึกเทียบเท่าตึก 13 ชั้น พบว่ามีหินปูนในชั้นหินปูนกัวลาลัมเปอร์ บริเวณอยู่ทางทิศตะวันออกของย่านบูกิตบินตังมีลักษณะไม่แน่นอน หากไม่ค้นพบก่อนอาจเกิดอันตราย
จึงต้องพัฒนาเครื่องเจาะอุโมงค์ (TBM) แบบพิเศษที่เรียกว่า แวริเอเบิล เดนซิตี้ (Variable Density) ที่พัฒนาระหว่างบริษัทเฮอร์เร็นคเน็ช เอจี (Herrenknecht AG) ผู้ผลิตเครื่องเจาะอุโมงค์จากเยอรมนี และบริษัทร่วมทุน เอ็มเอ็มซี กามูดา (MMC Gamuda) สามารถปรับความหนาแน่นและความหนืดของสารละลายได้ ป้องกันไม่ให้ไหลเข้าไปในโพรงหรือรอยแยกไปสู่พื้นผิว
เหตุการณ์หลุมยุบกะทันหันใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ครั้งนี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นในการป้องกันภัยพิบัติ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเมืองใหญ่ชั้นนำของอาเซียน ที่มีประชากรกว่า 8.8 ล้านคน อุดมไปด้วยความเจริญทางเศรษฐกิจ อาคารสูง และโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าที่เพียบพร้อม นอกจากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเมื่อฝนตกหนักมากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไป
ที่มา : [1]
https://nrmt.wordpress.com/wp-content/uploads/2011/04/kl-limestone-paper.pdf
[2]
https://thehub.mmc.com.my/2017Q3/page54.html #Newskit #KualaLumpur #JalanMasjidIndia หลุมยุบกัวลาลัมเปอร์ นักท่องเที่ยวอินเดียร่วง
โศกนาฎกรรมที่สร้างความตกใจให้แก่ผู้พบเห็น เมื่อเกิดอุบัติเหตุหลุมยุบบริเวณถนนมัสยิดอินเดีย (Jalan Masjid India) เป็นเหตุทำให้นางวิชัยลักษณี (Vijayalakshmi) นักท่องเที่ยวหญิงชาวอินเดียวัย 48 ปี ตกลงไปในหลุมดังกล่าว ซึ่งมีความลึกประมาณ 8 เมตร เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเวลา 08.44 น. ตามเวลาบนกล้องวงจรปิด ของวันที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา
ทีมปฎิบัติการค้นหาและกู้ภัย (SAR) เข้าค้นหานักท่องเที่ยวชาวอินเดีย โดยเปิดท่อระบายน้ำรอบพื้นที่รวม 6 แห่ง เข้าไปค้นหาครั้งละ 2-3 คน ใช้เวลาประมาณ 20 นาที รวมทั้งโรงบำบัดน้ำเสียบริษัทอินดะห์ วอเตอร์ คอนซอร์เตียม (Indah Water Konsortium หรือ IWK) ย่านปันตาย ดาลัม ซึ่งเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องรับมือกับกระแสน้ำเชี่ยวในท่อระบายน้ำ และมีแก๊สที่อาจเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม เวลาผ่านไปกว่า 3 วัน กลับไม่พบเบาะแสใดๆ
สำนักข่าวเบอร์นามา รายงานว่า นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ยืนยันว่าปฎิบัติการค้นหาและช่วยเหลือผู้สูญหายจะยังคงดำเนินต่อไป พร้อมแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยสั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ศาลาว่าการกรุงกัวลาลัมเปอร์ (DKBL) ให้ไปพบกับครอบครัวของผู้สูญหายแล้ว
ด้านนายฟาดิลลาห์ ยูซอฟ รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุว่า เกิดจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์และโครงสร้างของดิน โดยเมื่อชั้นหินปูนขัดขวางการไหลของน้ำใต้ดิน ส่งผลให้ดินไม่มั่นคงและเกิดหลุมยุบ บางครั้งไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าหลุมยุบจะเกิดขึ้นเมื่อใดและที่ใด
เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในมาเลเซียเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีหินปูนและสภาพธรณีวิทยาเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ด้วยความรู้และเทคโนโลยีที่ถูกต้องจะทำให้เหตุการณ์เช่นนี้ลดน้อยลงและดำเนินมาตรการป้องกันเพื่อปกป้องชุมชนและบรรเทาผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้
ขณะที่นายเจฟฟรีย์ เชียง ชุง ลุยน์ ประธานสถาบันวิศวกรแห่งมาเลเซีย (IEM) เรียกร้องให้มีการสืบสวนเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างละเอียด เพราะจากการสังเกตผ่าน Google Maps พบว่าตำแหน่งหลุมยุบอยู่ห่างจากแม่น้ำแคลงประมาณ 24 เมตร และจากภาพที่สื่อมวลชนนำเสนอ พบว่าหลุมยุบอาจเกี่ยวข้องกับระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน แม้ว่าจะยังไม่ระบุสาเหตุที่แน่ชัดก็ตาม
จากรายงานหัวข้อ "Karstic Features of Kuala Lumpur Limestone" [1] ที่กล่าวถึงลักษณะของหินปูนของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเขียนโดย นายตัน ไซมอน เสี่ยว เมง จากสถาบันวิศวกรแห่งมาเลเซีย ระบุว่า ชั้นหินปูนในกรุงกัวลาลัมเปอร์มีลักษณะไม่แน่นอน พบในบริเวณเหมืองแร่ดีบุก แต่หลังเหมืองปิดตัวลง พื้นที่เหมืองแร่ถูกปกคลุมไปด้วยเศษซากตั้งแต่โคลนถึงทราย
โดยคาดว่าหินปูนมีความหนาประมาณ 1,850 เมตร ทับอยู่บนหินชนวนกราไฟต์ที่เรียกว่า ฮอร์ธอร์นเดน ชีสต์ (Hawthornden Schist) ส่วนบนสุดของลำดับชั้นคือชั้นหินเคนนี่ ฮิลล์ (Kenny Hill) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ รวมถึงพื้นที่ย่าน KLCC (Kuala Lumpur City Centre) และบูกิตบินตัง (Bukit Bintang)
ในตอนหนึ่งของรายงานระบุว่า หินปูนเกิดจากกระบวนการละลายทางเคมี ซึ่งเป็นกระบวนการที่ยาวนาน ประกอบด้วยหลุม แอ่งชัน และช่องทางสารละลาย ส่งผลให้ชั้นหินปูนมีรูปร่างไม่แน่นอน เป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมากในการก่อสร้างฐานราก ซึ่งการเกิดหลุมยุบมาจากการเคลื่อนตัวของชั้นหินปูน เนื่องจากการซึมของน้ำใต้ดิน ระดับน้ำใต้ดินที่ลดลง การรับน้ำหนักเพิ่ม การสั่นสะเทือน การเจาะรูหรือเสาเข็มบนช่องว่างของหินปูนโดยตรง ซึ่งหินปูนที่ปกคลุมด้วยดินบางจะเสี่ยงต่อการเกิดหลุมยุบมากกว่า
อีกด้านหนึ่ง การก่อสร้างรถไฟใต้ดินสายสุไหงบูเลาะห์-กาจัง (Sungai Buloh-Kajang) [2] บางช่วงเป็นเส้นทางใต้ดิน ยาว 9.5 กิโลเมตร มี 7 สถานีใต้ดิน หนึ่งในนั้นคือสถานีตุน ราซัค เอ็กซ์เชนจ์ (TRX) ซึ่งมีความลึกเทียบเท่าตึก 13 ชั้น พบว่ามีหินปูนในชั้นหินปูนกัวลาลัมเปอร์ บริเวณอยู่ทางทิศตะวันออกของย่านบูกิตบินตังมีลักษณะไม่แน่นอน หากไม่ค้นพบก่อนอาจเกิดอันตราย
จึงต้องพัฒนาเครื่องเจาะอุโมงค์ (TBM) แบบพิเศษที่เรียกว่า แวริเอเบิล เดนซิตี้ (Variable Density) ที่พัฒนาระหว่างบริษัทเฮอร์เร็นคเน็ช เอจี (Herrenknecht AG) ผู้ผลิตเครื่องเจาะอุโมงค์จากเยอรมนี และบริษัทร่วมทุน เอ็มเอ็มซี กามูดา (MMC Gamuda) สามารถปรับความหนาแน่นและความหนืดของสารละลายได้ ป้องกันไม่ให้ไหลเข้าไปในโพรงหรือรอยแยกไปสู่พื้นผิว
เหตุการณ์หลุมยุบกะทันหันใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ครั้งนี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นในการป้องกันภัยพิบัติ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเมืองใหญ่ชั้นนำของอาเซียน ที่มีประชากรกว่า 8.8 ล้านคน อุดมไปด้วยความเจริญทางเศรษฐกิจ อาคารสูง และโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าที่เพียบพร้อม นอกจากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเมื่อฝนตกหนักมากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไป
ที่มา : [1] https://nrmt.wordpress.com/wp-content/uploads/2011/04/kl-limestone-paper.pdf
[2] https://thehub.mmc.com.my/2017Q3/page54.html
#Newskit #KualaLumpur #JalanMasjidIndia