• อายเขามั้ย?!?ชาวมาเลย์รุมสับ"อันวาร์"สิ้นคิด! ตั้ง"นักโทษหนีคดี"เป็นที่ปรึกษาฯ 19/12/67 #ชาวมาเลย์ #อันวาร์ #นักโทษหนีคดี #มาเลเซีย
    อายเขามั้ย?!?ชาวมาเลย์รุมสับ"อันวาร์"สิ้นคิด! ตั้ง"นักโทษหนีคดี"เป็นที่ปรึกษาฯ 19/12/67 #ชาวมาเลย์ #อันวาร์ #นักโทษหนีคดี #มาเลเซีย
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 266 มุมมอง 9 0 รีวิว
  • ฝ่ายค้านมาเลเซียวิจารณ์หนัก "อันวาร์ อิบราฮิม" ตั้ง "ทักษิณ" เป็นที่ปรึกษาช่วงเป็นประธานอาเซียนปี 2025 ถามอาเซียนจะได้ประโยชน์จริงหรือ ซัดตั้งคนที่ถูกพิพากษาจำคุกฐานใช้อำนาจโดยมิชอบ ทำไมไม่ตั้งนักการทูตหรือนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทศ ด้าน "ดร.มหาเธร์" งง ทำไมเลือกทักษิณ ทั้งที่มีคนอื่นมากมาย

    อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000121256

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ฝ่ายค้านมาเลเซียวิจารณ์หนัก "อันวาร์ อิบราฮิม" ตั้ง "ทักษิณ" เป็นที่ปรึกษาช่วงเป็นประธานอาเซียนปี 2025 ถามอาเซียนจะได้ประโยชน์จริงหรือ ซัดตั้งคนที่ถูกพิพากษาจำคุกฐานใช้อำนาจโดยมิชอบ ทำไมไม่ตั้งนักการทูตหรือนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทศ ด้าน "ดร.มหาเธร์" งง ทำไมเลือกทักษิณ ทั้งที่มีคนอื่นมากมาย อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000121256 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    Love
    Yay
    10
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 504 มุมมอง 0 รีวิว
  • อันวาร์ตั้งทักษิณ ฝ่าด่านออกนอกประเทศ

    การประกาศแต่งตั้งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียน ของนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธานอาเซียนในปี 2568 ระหว่างการเยือนประเทศมาเลเซียอย่างเป็นทางการของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายอันวาร์มั่นใจว่าประสบการณ์นายทักษิณในฐานะนักการเมืองจะให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่า พร้อมกับทีมงานจากประเทศสมาชิกอาเซียนในรูปแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งมาเลเซียต้องการประโยชน์จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญการเมือง (Statesmen) เหล่านี้

    นายโมฮัมหมัด ฮะซัน รมว.ต่างประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า นายทักษิณจะมีบทบาทในฐานะที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการ เพราะเป็นผู้มีอิทธิพลในประเทศไทย ได้รับการยอมรับจากสหรัฐอเมริกา และมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับจีน ซึ่งจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างอาเซียน นายทักษิณและบุคคลที่มีชื่อเสียงคนอื่นๆ ที่จะประกาศแต่งตั้งในภายหลังร่วมงานกับนายอันวาร์มายาวนาน สามารถเสนอข้อมูลเชิงลึกว่าอาเซียนจะก้าวต่อไปได้อย่างไร ยืนยันว่าไม่ใช่คณะที่ปรึกษาอาเซียน แต่เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในฐานะประธานอาเซียน และไม่ใช่องค์กรอย่างเป็นทางการหรือหน่วยงานใหม่ในอาเซียน

    เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2567 ศาลอาญาให้ปล่อยตัวชั่วคราวนายทักษิณ ในคดีมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากกรณีให้สัมภาษณ์สื่อเกาหลีใต้เมื่อปี 2558 ตีราคาประกัน 500,000 บาท และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล นายทักษิณเคยขอเดินทางออกนอกประเทศเพื่อไปพบแพทย์ที่ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และไปพบบุคคลสำคัญ แต่ศาลอาญายกคำร้องไม่อนุญาต เพราะอาการป่วยเป็นโรคที่เกิดแก่บุคคลทั่วไป และแพทย์ในประเทศตรวจรักษาเป็นประจำอยู่แล้ว ส่วนการไปพบบุคคลสำคัญก็เป็นเรื่องส่วนตัว และไม่มีพยานหลักฐานยืนยันชัดแจ้งถึงความจำเป็น

    นายทักษิณอาจใช้การเป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียนของนายอันวาร์ เพื่อขอเดินทางออกนอกประเทศก็เป็นได้ ซึ่งคดีมาตรา 112 ศาลกำหนดนัดสืบพยานโจทก์และจำเลยในช่วงเดือน ก.ค. 2568

    รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง เห็นว่าการที่นายอันวาร์แต่งตั้งนายทักษิณ ช่วยอุดช่องว่างเรื่องที่รัฐบาลชุดปัจจุบันขาดความรู้ความชำนาญในเรื่องมาเลเซีย เพราะ น.ส.แพทองธาร ไม่มีความพร้อมในหลายเรื่อง โดยเฉพาะความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ก็เป็นดาบสองคม หากใช้ไม่ระวัง ไม่มีความชัดเจนและโปร่งใส เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศในแนวทางที่ถูกต้อง อาจกระทบต่อความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ และคนไทยโดยรวมได้ในที่สุด

    #Newskit
    อันวาร์ตั้งทักษิณ ฝ่าด่านออกนอกประเทศ การประกาศแต่งตั้งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียน ของนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธานอาเซียนในปี 2568 ระหว่างการเยือนประเทศมาเลเซียอย่างเป็นทางการของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายอันวาร์มั่นใจว่าประสบการณ์นายทักษิณในฐานะนักการเมืองจะให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่า พร้อมกับทีมงานจากประเทศสมาชิกอาเซียนในรูปแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งมาเลเซียต้องการประโยชน์จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญการเมือง (Statesmen) เหล่านี้ นายโมฮัมหมัด ฮะซัน รมว.ต่างประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า นายทักษิณจะมีบทบาทในฐานะที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการ เพราะเป็นผู้มีอิทธิพลในประเทศไทย ได้รับการยอมรับจากสหรัฐอเมริกา และมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับจีน ซึ่งจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างอาเซียน นายทักษิณและบุคคลที่มีชื่อเสียงคนอื่นๆ ที่จะประกาศแต่งตั้งในภายหลังร่วมงานกับนายอันวาร์มายาวนาน สามารถเสนอข้อมูลเชิงลึกว่าอาเซียนจะก้าวต่อไปได้อย่างไร ยืนยันว่าไม่ใช่คณะที่ปรึกษาอาเซียน แต่เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในฐานะประธานอาเซียน และไม่ใช่องค์กรอย่างเป็นทางการหรือหน่วยงานใหม่ในอาเซียน เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2567 ศาลอาญาให้ปล่อยตัวชั่วคราวนายทักษิณ ในคดีมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากกรณีให้สัมภาษณ์สื่อเกาหลีใต้เมื่อปี 2558 ตีราคาประกัน 500,000 บาท และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล นายทักษิณเคยขอเดินทางออกนอกประเทศเพื่อไปพบแพทย์ที่ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และไปพบบุคคลสำคัญ แต่ศาลอาญายกคำร้องไม่อนุญาต เพราะอาการป่วยเป็นโรคที่เกิดแก่บุคคลทั่วไป และแพทย์ในประเทศตรวจรักษาเป็นประจำอยู่แล้ว ส่วนการไปพบบุคคลสำคัญก็เป็นเรื่องส่วนตัว และไม่มีพยานหลักฐานยืนยันชัดแจ้งถึงความจำเป็น นายทักษิณอาจใช้การเป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียนของนายอันวาร์ เพื่อขอเดินทางออกนอกประเทศก็เป็นได้ ซึ่งคดีมาตรา 112 ศาลกำหนดนัดสืบพยานโจทก์และจำเลยในช่วงเดือน ก.ค. 2568 รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง เห็นว่าการที่นายอันวาร์แต่งตั้งนายทักษิณ ช่วยอุดช่องว่างเรื่องที่รัฐบาลชุดปัจจุบันขาดความรู้ความชำนาญในเรื่องมาเลเซีย เพราะ น.ส.แพทองธาร ไม่มีความพร้อมในหลายเรื่อง โดยเฉพาะความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ก็เป็นดาบสองคม หากใช้ไม่ระวัง ไม่มีความชัดเจนและโปร่งใส เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศในแนวทางที่ถูกต้อง อาจกระทบต่อความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ และคนไทยโดยรวมได้ในที่สุด #Newskit
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 229 มุมมอง 0 รีวิว
  • เราจะทรัมป์ตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน

    แม้ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2024 ยังไม่เสร็จสิ้น แต่อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนจากพรรครีพับลิกันประกาศชัยชนะ หลังคะแนนคณะผู้เลือกตั้งมีมากกว่า 270 เสียง เกินกึ่งหนึ่้งจากทั้งหมด 538 คน ทิ้งห่างนางกมลา แฮร์ริส ตัวแทนจากพรรคเดโมแครต นับเป็นการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สองของนายทรัมป์ หลังการเลือกตั้งเมื่อปี 2020 แพ้ให้กับนายโจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต 306 ต่อ 232 เสียง

    นายทรัมป์ขึ้นเวทีครั้งแรกที่เมืองเวสต์ปาล์มบีช รัฐฟลอริดา ระบุว่า การได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีสมัยที่สองจะนำไปสู่ยุคทองของอเมริกา (Golden Age of America) โดยย้ำนโยบายหาเสียงเน้นไปที่การกวาดล้างผู้อพยพเข้าเมืองผิดกฎหมาย และการพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่คาดว่าจะล้มเหลว ภายใต้การนำของนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนก่อนหน้า ซึ่งนายทรัมป์สัญญาว่าจะแก้ไขปัญหาพรมแดน และแก้ไขทุกอย่างที่เกี่ยวกับสหรัฐฯ

    “หากร่วมมือกัน เราจะสามารถทำให้สหรัฐอเมริกายิ่งใหญ่ขึ้นอีกครั้ง สำหรับชาวอเมริกันทุกคน ผมจะไม่ทำให้คุณผิดหวัง อนาคตของอเมริกาจะยิ่งใหญ่ขึ้น ดีขึ้น กล้าหาญขึ้น ร่ำรวยขึ้น ปลอดภัยขึ้น และแข็งแกร่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา” นายทรัมป์กล่าวกับผู้สนับสนุน

    น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แสดงความยินดีต่อนายทรัมป์ พร้อมทำงานร่วมกันส่งเสริมความสัมพันธมิตรระหว่างไทย-สหรัฐฯ ที่มีมาอย่างยาวนานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ด้านนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.ต่างประเทศ ระบุว่า พร้อมดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ร่วมมือกับกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ส่วนผลกระทบทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์นั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลใหม่ แต่ได้วางเป้าหมายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการทำธุรกิจแล้ว

    ประเทศในอาเซียน นายลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ แสดงความยินดีกับนายทรัมป์ มั่นใจว่าสหรัฐฯ จะเติบโตเป็นผู้นำในระดับโลกต่อไป และยกระดับความร่วมมือกับสิงคโปร์ให้สูงขึ้นไปอีก ส่วนนายอันวาร์ อิบราฮิม ประธานาธิบดีมาเลเซีย แสดงความยินดีกับนายทรัมป์ จะนำมาซึ่งโอกาสใหม่ๆ ของมาเลเซีย พร้อมก้าวไปข้างหน้าและทำงานร่วมกัน เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นชาติที่มีนักลงทุนใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย พร้อมเรียกร้องให้สหรัฐฯ ช่วยยุติความรุนแรงในปาเลสไตน์และยูเครน

    ด้านธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) พร้อมรักษาเสถียรภาพของค่าเงินรูเปียห์ หลังเกิดความกังวลว่าหากนายทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง จะหนุนให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น อาจส่งผลให้มีการเรียกเก็บภาษีที่สูงขึ้น และการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว

    #Newskit #USElection2024 #DonaldTrump
    เราจะทรัมป์ตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน แม้ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2024 ยังไม่เสร็จสิ้น แต่อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนจากพรรครีพับลิกันประกาศชัยชนะ หลังคะแนนคณะผู้เลือกตั้งมีมากกว่า 270 เสียง เกินกึ่งหนึ่้งจากทั้งหมด 538 คน ทิ้งห่างนางกมลา แฮร์ริส ตัวแทนจากพรรคเดโมแครต นับเป็นการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สองของนายทรัมป์ หลังการเลือกตั้งเมื่อปี 2020 แพ้ให้กับนายโจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต 306 ต่อ 232 เสียง นายทรัมป์ขึ้นเวทีครั้งแรกที่เมืองเวสต์ปาล์มบีช รัฐฟลอริดา ระบุว่า การได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีสมัยที่สองจะนำไปสู่ยุคทองของอเมริกา (Golden Age of America) โดยย้ำนโยบายหาเสียงเน้นไปที่การกวาดล้างผู้อพยพเข้าเมืองผิดกฎหมาย และการพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่คาดว่าจะล้มเหลว ภายใต้การนำของนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนก่อนหน้า ซึ่งนายทรัมป์สัญญาว่าจะแก้ไขปัญหาพรมแดน และแก้ไขทุกอย่างที่เกี่ยวกับสหรัฐฯ “หากร่วมมือกัน เราจะสามารถทำให้สหรัฐอเมริกายิ่งใหญ่ขึ้นอีกครั้ง สำหรับชาวอเมริกันทุกคน ผมจะไม่ทำให้คุณผิดหวัง อนาคตของอเมริกาจะยิ่งใหญ่ขึ้น ดีขึ้น กล้าหาญขึ้น ร่ำรวยขึ้น ปลอดภัยขึ้น และแข็งแกร่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา” นายทรัมป์กล่าวกับผู้สนับสนุน น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แสดงความยินดีต่อนายทรัมป์ พร้อมทำงานร่วมกันส่งเสริมความสัมพันธมิตรระหว่างไทย-สหรัฐฯ ที่มีมาอย่างยาวนานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ด้านนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.ต่างประเทศ ระบุว่า พร้อมดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ร่วมมือกับกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ส่วนผลกระทบทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์นั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลใหม่ แต่ได้วางเป้าหมายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการทำธุรกิจแล้ว ประเทศในอาเซียน นายลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ แสดงความยินดีกับนายทรัมป์ มั่นใจว่าสหรัฐฯ จะเติบโตเป็นผู้นำในระดับโลกต่อไป และยกระดับความร่วมมือกับสิงคโปร์ให้สูงขึ้นไปอีก ส่วนนายอันวาร์ อิบราฮิม ประธานาธิบดีมาเลเซีย แสดงความยินดีกับนายทรัมป์ จะนำมาซึ่งโอกาสใหม่ๆ ของมาเลเซีย พร้อมก้าวไปข้างหน้าและทำงานร่วมกัน เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นชาติที่มีนักลงทุนใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย พร้อมเรียกร้องให้สหรัฐฯ ช่วยยุติความรุนแรงในปาเลสไตน์และยูเครน ด้านธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) พร้อมรักษาเสถียรภาพของค่าเงินรูเปียห์ หลังเกิดความกังวลว่าหากนายทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง จะหนุนให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น อาจส่งผลให้มีการเรียกเก็บภาษีที่สูงขึ้น และการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว #Newskit #USElection2024 #DonaldTrump
    Like
    Haha
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 726 มุมมอง 0 รีวิว
  • โกตาบารูอัปเกรดสนามบิน-ระบบราง

    โกตาบารู (Kota Bharu) เมืองหลวงของรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนไทย-มาเลเซีย ทางรถยนต์ที่ด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก และเรือข้ามฟากที่ด่านตากใบ (ท่าเรือ) จ.นราธิวาส แม้จะเป็นรัฐอนุรักษ์นิยมที่เคร่งครัดในเรื่องศาสนามากที่สุด และจัดอยู่ในกลุ่มรัฐที่ยากจนที่สุด แต่ที่ผ่านมารัฐบาลกลางของมาเลเซียได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง กระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุน และการท่องเที่ยว

    ท่าอากาศยานสุลต่านอิสมาอิล เปตรา โกตาบารู (KBR) ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2567 ได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ระยะที่ 1 รองรับผู้โดยสารได้ 1.5 ล้านคนต่อปี ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 440 ล้านริงกิต ขณะที่นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เคยตอบรับที่จะขยายทางวิ่ง (Runway) เพิ่มอีก 400 เมตร จากเดิม 2,400 เมตร เป็น 2,800 เมตร ตามที่มุขมนตรีรัฐกลันตันร้องขอ เพื่อรองรับการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ นำผู้แสวงบุญไปยังประเทศซาอุดิอาระเบีย

    ปัจจุบันสนามบินโกตาบารู มีเที่ยวบินไปยังสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) มี 3 สายการบิน ได้แก่ แอร์เอเชีย มาเลเซียแอร์ไลน์ส และบาติกแอร์ สนามบินซูบัง (SZB) กับสนามบินปีนัง (PEN) มีบินทุกวันโดยไฟร์ฟลาย สนามบินโคตาคินาบาลู (BKI) กับสนามบินยะโฮร์บาห์รู (JHB) 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินกูชิ่ง (KCH) 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ที่ผ่านมามีชาวไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาขึ้นเครื่องไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพราะค่าโดยสารถูก ไม่ถึง 1,000 บาทต่อเที่ยว

    ส่วนโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งตะวันออกมาเลเซีย หรือ ECRL (East Coast Rail Link) ระยะทาง 665 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 50,270 ล้านริงกิต ต้นทางจากสถานีโกตาบารู ผ่านรัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐปะหัง และรัฐสลังงอร์ ปลายทางสถานีจาลัน คาสตัม (Jalan Castam) ย่านพอร์ตแคลง (Port Klang) โดยใช้รถไฟโดยสารความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลดเวลาเดินทางไปยังสถานีกอมบัค (Gombak) เหลือประมาณ 4 ชั่วโมง สามารถต่อรถไฟฟ้า LRT ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ได้

    นายนิค โซห์ ยาคูบ (Nik Soh Yaacoub) ผู้อำนวยการฝ่ายโยธาธิการของรัฐกลันตัน เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างทางรถไฟช่วงที่ผ่านรัฐกลันตัน ระยะทาง 48.86 กิโลเมตร คืบหน้า 83.27% ส่วนการก่อสร้างสถานีโกตาบารู คืบหน้า 45.48% เร็วกว่าแผนเล็กน้อย ส่วนสถานีปาซีร์ปูเตะห์ (Pasir Puteh) สำหรับการโดยสารและขนส่งสินค้า ล่าช้าเล็กน้อยเพราะปัจจัยแวดล้อมหลายประการ คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2568 และเปิดให้บริการในปี 2570

    #Newskit #KotaBharu #ECRL
    โกตาบารูอัปเกรดสนามบิน-ระบบราง โกตาบารู (Kota Bharu) เมืองหลวงของรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนไทย-มาเลเซีย ทางรถยนต์ที่ด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก และเรือข้ามฟากที่ด่านตากใบ (ท่าเรือ) จ.นราธิวาส แม้จะเป็นรัฐอนุรักษ์นิยมที่เคร่งครัดในเรื่องศาสนามากที่สุด และจัดอยู่ในกลุ่มรัฐที่ยากจนที่สุด แต่ที่ผ่านมารัฐบาลกลางของมาเลเซียได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง กระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุน และการท่องเที่ยว ท่าอากาศยานสุลต่านอิสมาอิล เปตรา โกตาบารู (KBR) ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2567 ได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ระยะที่ 1 รองรับผู้โดยสารได้ 1.5 ล้านคนต่อปี ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 440 ล้านริงกิต ขณะที่นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เคยตอบรับที่จะขยายทางวิ่ง (Runway) เพิ่มอีก 400 เมตร จากเดิม 2,400 เมตร เป็น 2,800 เมตร ตามที่มุขมนตรีรัฐกลันตันร้องขอ เพื่อรองรับการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ นำผู้แสวงบุญไปยังประเทศซาอุดิอาระเบีย ปัจจุบันสนามบินโกตาบารู มีเที่ยวบินไปยังสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) มี 3 สายการบิน ได้แก่ แอร์เอเชีย มาเลเซียแอร์ไลน์ส และบาติกแอร์ สนามบินซูบัง (SZB) กับสนามบินปีนัง (PEN) มีบินทุกวันโดยไฟร์ฟลาย สนามบินโคตาคินาบาลู (BKI) กับสนามบินยะโฮร์บาห์รู (JHB) 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินกูชิ่ง (KCH) 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ที่ผ่านมามีชาวไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาขึ้นเครื่องไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพราะค่าโดยสารถูก ไม่ถึง 1,000 บาทต่อเที่ยว ส่วนโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งตะวันออกมาเลเซีย หรือ ECRL (East Coast Rail Link) ระยะทาง 665 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 50,270 ล้านริงกิต ต้นทางจากสถานีโกตาบารู ผ่านรัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐปะหัง และรัฐสลังงอร์ ปลายทางสถานีจาลัน คาสตัม (Jalan Castam) ย่านพอร์ตแคลง (Port Klang) โดยใช้รถไฟโดยสารความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลดเวลาเดินทางไปยังสถานีกอมบัค (Gombak) เหลือประมาณ 4 ชั่วโมง สามารถต่อรถไฟฟ้า LRT ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ได้ นายนิค โซห์ ยาคูบ (Nik Soh Yaacoub) ผู้อำนวยการฝ่ายโยธาธิการของรัฐกลันตัน เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างทางรถไฟช่วงที่ผ่านรัฐกลันตัน ระยะทาง 48.86 กิโลเมตร คืบหน้า 83.27% ส่วนการก่อสร้างสถานีโกตาบารู คืบหน้า 45.48% เร็วกว่าแผนเล็กน้อย ส่วนสถานีปาซีร์ปูเตะห์ (Pasir Puteh) สำหรับการโดยสารและขนส่งสินค้า ล่าช้าเล็กน้อยเพราะปัจจัยแวดล้อมหลายประการ คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2568 และเปิดให้บริการในปี 2570 #Newskit #KotaBharu #ECRL
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 672 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายกรัฐมนตรี อันวาร์ อิบราฮิม ของมาเลเซีย เดินทางไปเยือนรัสเซีย เพื่อเข้าร่วมการประชุมเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Forum-EEF) ครั้งที่ 9 ระหว่าง 3-6 ก.ย.67 ณ เมืองวลาดิวอสตอก โดยมีกำหนดการปราศรัยต่อที่ประชุม และหารือทวิภาคีกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เป้าหมายหลักเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีและหารือด้านการค้า การลงทุน การศึกษา เกษตร ความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงความร่วมมือในด้านเทคโนโลยีขั้นสูงและอวกาศ โอกาสนี้นายกรัฐมนตรี อันวาร์ อิบราฮิม ย้ำถึงความสนใจของมาเลเซียในการเข้าร่วมองค์กร BRICS และคาดว่าจะมีการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงความสัมพันธ์ในบริบทอาเซียน-รัสเซีย การเยือนครั้งนี้นับเป็นการเยือนรัสเซียครั้งแรกของนายกรัฐมนตรี อันวาร์ อิบราฮิม นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง เมื่อปี 2565

    นายกฯอันวาร์ อิบราฮิม (Anwar Ibrahim) นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวชื่นชมประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่รับปากว่ารัสเซียจะกระชับความสัมพันธ์และนำพาการพัฒนามาสู่ภูมิภาคที่ปูตินกล่าวว่ามี “ศักยภาพมหาศาล” จากการมุ่งเน้นไปยังอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เมื่อวันที่ 4 กันยายน นอกรอบการประชุมเศรษฐกิจตะวันออก (Eastern Economic Forum) ของรัสเซีย ที่เมืองวลาดิวอสต๊อก ซึ่งอันวาร์ เยือนมอสโกว์เป็นเวลา 2 วัน

    อันวาร์กล่าวว่า จะเป็นประโยชน์ต่อมาเลเซียหากรัสเซียตกลงที่จะ “ร่วมมือกันในทุกด้าน” และแบ่งปันผลสัมฤทธิ์ให้กับมาเลเซีย โดยทั้งสองประเทศกำลังเจรจาหารือถึงความร่วมมือ ตั้งแต่ด้านการบิน อวกาศ และเทคโนโลยีขั้นสูง ไปจนถึงเกษตรกรรม และความมั่นคงด้านอาหาร

    อันวาร์กล่าวอีกว่า ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีความข้องเกี่ยวกับรัสเซียเสมอมา และมี “การค้าเสรี” ที่มุ่งเน้นไปยังอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    “ผมหวังว่าจะได้ร่วมงานกับคุณ (ปูติน) และทีมของคุณ แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผมเห็นด้วยนะท่านประธานาธิบดี ศักยภาพมหาศาลจริง ๆ” ผู้นำมาเลย์กล่าว

    การประชุมเศรษฐกิจภาคตะวันออกเป็นเวทีหารือทางเศรษฐกิจที่รัสเซียผลักดันอย่างต่อเนื่องตามนโยบายหันหาตะวันออก (Look East) โดยภาคอุตสาหกรรมที่มีการเจรจาส่วนมาก ได้แก่ เหมืองแร่ พลังงาน และปุ๋ย ที่ผ่านมามีประเทศที่ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุม อาทิ จีน อินเดีย สิงคโปร์ เวียดนาม และมาเลเซีย

    นายกรัฐมนตรีมาเลเซียดำเนินตามรอยผู้นำเอเชียคนอื่น ๆ ในการพบปะกับปูติน โดยไม่สะทกสะท้านต่อการประณามและข้อกล่าวหาเรื่องอาชญากรรมสงครามจากฝ่ายตะวันตกที่มีต่อผู้นำรัสเซีย อันวาร์กล่าวว่า การตัดสินใจเยือนรัสเซีย “ไม่ใช่เรื่องง่าย” แต่ก็เป็น “การตัดสินใจที่ถูกต้อง”

    โดยตอนหนึ่งของ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวเกี่ยวกับสงครามฉนวนกาซาในงานนี้ที่รัสเซียว่า"เหตุการณ์นี้ไม่ได้เริ่มในวันที่ 7 ตุลาคม แต่เริ่มตั้งแต่การล่าอาณานิคมและขบวนการนัคบาในปี 1948... เหตุการณ์นี้ไม่ได้หยุดลงเพราะความดื้อรั้นของอิสราเอลที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสหรัฐฯ... ถึงเวลาแล้วที่ชาวปาเลสไตน์ควรได้รับการปฏิบัติเหมือนมนุษย์ ไม่ใช่ทาส"

    นอกจากนี้นายกฯอันวาร์โพสต์บนเฟซบุ๊กว่า ได้รับคำเชิญส่วนตัวจากปูตินให้มาเลเซียเข้าร่วมการประชุมสุดยอด BRICS ที่เมืองคาซานในเดือนตุลาคม ซึ่งถือเป็น “ก้าวสำคัญ” ในการเข้าร่วมกลุ่มของมาเลเซีย

    ที่มา : https://www.youtube.com/live/uAkJtZgyY-E?si=cOMnw5ebIsD8LAcL
    นายกรัฐมนตรี อันวาร์ อิบราฮิม ของมาเลเซีย เดินทางไปเยือนรัสเซีย เพื่อเข้าร่วมการประชุมเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Forum-EEF) ครั้งที่ 9 ระหว่าง 3-6 ก.ย.67 ณ เมืองวลาดิวอสตอก โดยมีกำหนดการปราศรัยต่อที่ประชุม และหารือทวิภาคีกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เป้าหมายหลักเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีและหารือด้านการค้า การลงทุน การศึกษา เกษตร ความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงความร่วมมือในด้านเทคโนโลยีขั้นสูงและอวกาศ โอกาสนี้นายกรัฐมนตรี อันวาร์ อิบราฮิม ย้ำถึงความสนใจของมาเลเซียในการเข้าร่วมองค์กร BRICS และคาดว่าจะมีการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงความสัมพันธ์ในบริบทอาเซียน-รัสเซีย การเยือนครั้งนี้นับเป็นการเยือนรัสเซียครั้งแรกของนายกรัฐมนตรี อันวาร์ อิบราฮิม นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง เมื่อปี 2565 นายกฯอันวาร์ อิบราฮิม (Anwar Ibrahim) นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวชื่นชมประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่รับปากว่ารัสเซียจะกระชับความสัมพันธ์และนำพาการพัฒนามาสู่ภูมิภาคที่ปูตินกล่าวว่ามี “ศักยภาพมหาศาล” จากการมุ่งเน้นไปยังอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เมื่อวันที่ 4 กันยายน นอกรอบการประชุมเศรษฐกิจตะวันออก (Eastern Economic Forum) ของรัสเซีย ที่เมืองวลาดิวอสต๊อก ซึ่งอันวาร์ เยือนมอสโกว์เป็นเวลา 2 วัน อันวาร์กล่าวว่า จะเป็นประโยชน์ต่อมาเลเซียหากรัสเซียตกลงที่จะ “ร่วมมือกันในทุกด้าน” และแบ่งปันผลสัมฤทธิ์ให้กับมาเลเซีย โดยทั้งสองประเทศกำลังเจรจาหารือถึงความร่วมมือ ตั้งแต่ด้านการบิน อวกาศ และเทคโนโลยีขั้นสูง ไปจนถึงเกษตรกรรม และความมั่นคงด้านอาหาร อันวาร์กล่าวอีกว่า ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีความข้องเกี่ยวกับรัสเซียเสมอมา และมี “การค้าเสรี” ที่มุ่งเน้นไปยังอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง “ผมหวังว่าจะได้ร่วมงานกับคุณ (ปูติน) และทีมของคุณ แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผมเห็นด้วยนะท่านประธานาธิบดี ศักยภาพมหาศาลจริง ๆ” ผู้นำมาเลย์กล่าว การประชุมเศรษฐกิจภาคตะวันออกเป็นเวทีหารือทางเศรษฐกิจที่รัสเซียผลักดันอย่างต่อเนื่องตามนโยบายหันหาตะวันออก (Look East) โดยภาคอุตสาหกรรมที่มีการเจรจาส่วนมาก ได้แก่ เหมืองแร่ พลังงาน และปุ๋ย ที่ผ่านมามีประเทศที่ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุม อาทิ จีน อินเดีย สิงคโปร์ เวียดนาม และมาเลเซีย นายกรัฐมนตรีมาเลเซียดำเนินตามรอยผู้นำเอเชียคนอื่น ๆ ในการพบปะกับปูติน โดยไม่สะทกสะท้านต่อการประณามและข้อกล่าวหาเรื่องอาชญากรรมสงครามจากฝ่ายตะวันตกที่มีต่อผู้นำรัสเซีย อันวาร์กล่าวว่า การตัดสินใจเยือนรัสเซีย “ไม่ใช่เรื่องง่าย” แต่ก็เป็น “การตัดสินใจที่ถูกต้อง” โดยตอนหนึ่งของ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวเกี่ยวกับสงครามฉนวนกาซาในงานนี้ที่รัสเซียว่า"เหตุการณ์นี้ไม่ได้เริ่มในวันที่ 7 ตุลาคม แต่เริ่มตั้งแต่การล่าอาณานิคมและขบวนการนัคบาในปี 1948... เหตุการณ์นี้ไม่ได้หยุดลงเพราะความดื้อรั้นของอิสราเอลที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสหรัฐฯ... ถึงเวลาแล้วที่ชาวปาเลสไตน์ควรได้รับการปฏิบัติเหมือนมนุษย์ ไม่ใช่ทาส" นอกจากนี้นายกฯอันวาร์โพสต์บนเฟซบุ๊กว่า ได้รับคำเชิญส่วนตัวจากปูตินให้มาเลเซียเข้าร่วมการประชุมสุดยอด BRICS ที่เมืองคาซานในเดือนตุลาคม ซึ่งถือเป็น “ก้าวสำคัญ” ในการเข้าร่วมกลุ่มของมาเลเซีย ที่มา : https://www.youtube.com/live/uAkJtZgyY-E?si=cOMnw5ebIsD8LAcL
    Like
    Love
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 748 มุมมอง 0 รีวิว
  • หลุมยุบกัวลาลัมเปอร์ นักท่องเที่ยวอินเดียร่วง

    โศกนาฎกรรมที่สร้างความตกใจให้แก่ผู้พบเห็น เมื่อเกิดอุบัติเหตุหลุมยุบบริเวณถนนมัสยิดอินเดีย (Jalan Masjid India) เป็นเหตุทำให้นางวิชัยลักษณี (Vijayalakshmi) นักท่องเที่ยวหญิงชาวอินเดียวัย 48 ปี ตกลงไปในหลุมดังกล่าว ซึ่งมีความลึกประมาณ 8 เมตร เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเวลา 08.44 น. ตามเวลาบนกล้องวงจรปิด ของวันที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา

    ทีมปฎิบัติการค้นหาและกู้ภัย (SAR) เข้าค้นหานักท่องเที่ยวชาวอินเดีย โดยเปิดท่อระบายน้ำรอบพื้นที่รวม 6 แห่ง เข้าไปค้นหาครั้งละ 2-3 คน ใช้เวลาประมาณ 20 นาที รวมทั้งโรงบำบัดน้ำเสียบริษัทอินดะห์ วอเตอร์ คอนซอร์เตียม (Indah Water Konsortium หรือ IWK) ย่านปันตาย ดาลัม ซึ่งเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องรับมือกับกระแสน้ำเชี่ยวในท่อระบายน้ำ และมีแก๊สที่อาจเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม เวลาผ่านไปกว่า 3 วัน กลับไม่พบเบาะแสใดๆ

    สำนักข่าวเบอร์นามา รายงานว่า นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ยืนยันว่าปฎิบัติการค้นหาและช่วยเหลือผู้สูญหายจะยังคงดำเนินต่อไป พร้อมแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยสั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ศาลาว่าการกรุงกัวลาลัมเปอร์ (DKBL) ให้ไปพบกับครอบครัวของผู้สูญหายแล้ว

    ด้านนายฟาดิลลาห์ ยูซอฟ รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุว่า เกิดจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์และโครงสร้างของดิน โดยเมื่อชั้นหินปูนขัดขวางการไหลของน้ำใต้ดิน ส่งผลให้ดินไม่มั่นคงและเกิดหลุมยุบ บางครั้งไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าหลุมยุบจะเกิดขึ้นเมื่อใดและที่ใด

    เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในมาเลเซียเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีหินปูนและสภาพธรณีวิทยาเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ด้วยความรู้และเทคโนโลยีที่ถูกต้องจะทำให้เหตุการณ์เช่นนี้ลดน้อยลงและดำเนินมาตรการป้องกันเพื่อปกป้องชุมชนและบรรเทาผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้

    ขณะที่นายเจฟฟรีย์ เชียง ชุง ลุยน์ ประธานสถาบันวิศวกรแห่งมาเลเซีย (IEM) เรียกร้องให้มีการสืบสวนเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างละเอียด เพราะจากการสังเกตผ่าน Google Maps พบว่าตำแหน่งหลุมยุบอยู่ห่างจากแม่น้ำแคลงประมาณ 24 เมตร และจากภาพที่สื่อมวลชนนำเสนอ พบว่าหลุมยุบอาจเกี่ยวข้องกับระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน แม้ว่าจะยังไม่ระบุสาเหตุที่แน่ชัดก็ตาม

    จากรายงานหัวข้อ "Karstic Features of Kuala Lumpur Limestone" [1] ที่กล่าวถึงลักษณะของหินปูนของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเขียนโดย นายตัน ไซมอน เสี่ยว เมง จากสถาบันวิศวกรแห่งมาเลเซีย ระบุว่า ชั้นหินปูนในกรุงกัวลาลัมเปอร์มีลักษณะไม่แน่นอน พบในบริเวณเหมืองแร่ดีบุก แต่หลังเหมืองปิดตัวลง พื้นที่เหมืองแร่ถูกปกคลุมไปด้วยเศษซากตั้งแต่โคลนถึงทราย

    โดยคาดว่าหินปูนมีความหนาประมาณ 1,850 เมตร ทับอยู่บนหินชนวนกราไฟต์ที่เรียกว่า ฮอร์ธอร์นเดน ชีสต์ (Hawthornden Schist) ส่วนบนสุดของลำดับชั้นคือชั้นหินเคนนี่ ฮิลล์ (Kenny Hill) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ รวมถึงพื้นที่ย่าน KLCC (Kuala Lumpur City Centre) และบูกิตบินตัง (Bukit Bintang)

    ในตอนหนึ่งของรายงานระบุว่า หินปูนเกิดจากกระบวนการละลายทางเคมี ซึ่งเป็นกระบวนการที่ยาวนาน ประกอบด้วยหลุม แอ่งชัน และช่องทางสารละลาย ส่งผลให้ชั้นหินปูนมีรูปร่างไม่แน่นอน เป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมากในการก่อสร้างฐานราก ซึ่งการเกิดหลุมยุบมาจากการเคลื่อนตัวของชั้นหินปูน เนื่องจากการซึมของน้ำใต้ดิน ระดับน้ำใต้ดินที่ลดลง การรับน้ำหนักเพิ่ม การสั่นสะเทือน การเจาะรูหรือเสาเข็มบนช่องว่างของหินปูนโดยตรง ซึ่งหินปูนที่ปกคลุมด้วยดินบางจะเสี่ยงต่อการเกิดหลุมยุบมากกว่า

    อีกด้านหนึ่ง การก่อสร้างรถไฟใต้ดินสายสุไหงบูเลาะห์-กาจัง (Sungai Buloh-Kajang) [2] บางช่วงเป็นเส้นทางใต้ดิน ยาว 9.5 กิโลเมตร มี 7 สถานีใต้ดิน หนึ่งในนั้นคือสถานีตุน ราซัค เอ็กซ์เชนจ์ (TRX) ซึ่งมีความลึกเทียบเท่าตึก 13 ชั้น พบว่ามีหินปูนในชั้นหินปูนกัวลาลัมเปอร์ บริเวณอยู่ทางทิศตะวันออกของย่านบูกิตบินตังมีลักษณะไม่แน่นอน หากไม่ค้นพบก่อนอาจเกิดอันตราย

    จึงต้องพัฒนาเครื่องเจาะอุโมงค์ (TBM) แบบพิเศษที่เรียกว่า แวริเอเบิล เดนซิตี้ (Variable Density) ที่พัฒนาระหว่างบริษัทเฮอร์เร็นคเน็ช เอจี (Herrenknecht AG) ผู้ผลิตเครื่องเจาะอุโมงค์จากเยอรมนี และบริษัทร่วมทุน เอ็มเอ็มซี กามูดา (MMC Gamuda) สามารถปรับความหนาแน่นและความหนืดของสารละลายได้ ป้องกันไม่ให้ไหลเข้าไปในโพรงหรือรอยแยกไปสู่พื้นผิว

    เหตุการณ์หลุมยุบกะทันหันใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ครั้งนี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นในการป้องกันภัยพิบัติ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเมืองใหญ่ชั้นนำของอาเซียน ที่มีประชากรกว่า 8.8 ล้านคน อุดมไปด้วยความเจริญทางเศรษฐกิจ อาคารสูง และโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าที่เพียบพร้อม นอกจากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเมื่อฝนตกหนักมากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไป

    ที่มา : [1] https://nrmt.wordpress.com/wp-content/uploads/2011/04/kl-limestone-paper.pdf

    [2] https://thehub.mmc.com.my/2017Q3/page54.html

    #Newskit #KualaLumpur #JalanMasjidIndia
    หลุมยุบกัวลาลัมเปอร์ นักท่องเที่ยวอินเดียร่วง โศกนาฎกรรมที่สร้างความตกใจให้แก่ผู้พบเห็น เมื่อเกิดอุบัติเหตุหลุมยุบบริเวณถนนมัสยิดอินเดีย (Jalan Masjid India) เป็นเหตุทำให้นางวิชัยลักษณี (Vijayalakshmi) นักท่องเที่ยวหญิงชาวอินเดียวัย 48 ปี ตกลงไปในหลุมดังกล่าว ซึ่งมีความลึกประมาณ 8 เมตร เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเวลา 08.44 น. ตามเวลาบนกล้องวงจรปิด ของวันที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา ทีมปฎิบัติการค้นหาและกู้ภัย (SAR) เข้าค้นหานักท่องเที่ยวชาวอินเดีย โดยเปิดท่อระบายน้ำรอบพื้นที่รวม 6 แห่ง เข้าไปค้นหาครั้งละ 2-3 คน ใช้เวลาประมาณ 20 นาที รวมทั้งโรงบำบัดน้ำเสียบริษัทอินดะห์ วอเตอร์ คอนซอร์เตียม (Indah Water Konsortium หรือ IWK) ย่านปันตาย ดาลัม ซึ่งเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องรับมือกับกระแสน้ำเชี่ยวในท่อระบายน้ำ และมีแก๊สที่อาจเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม เวลาผ่านไปกว่า 3 วัน กลับไม่พบเบาะแสใดๆ สำนักข่าวเบอร์นามา รายงานว่า นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ยืนยันว่าปฎิบัติการค้นหาและช่วยเหลือผู้สูญหายจะยังคงดำเนินต่อไป พร้อมแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยสั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ศาลาว่าการกรุงกัวลาลัมเปอร์ (DKBL) ให้ไปพบกับครอบครัวของผู้สูญหายแล้ว ด้านนายฟาดิลลาห์ ยูซอฟ รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุว่า เกิดจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์และโครงสร้างของดิน โดยเมื่อชั้นหินปูนขัดขวางการไหลของน้ำใต้ดิน ส่งผลให้ดินไม่มั่นคงและเกิดหลุมยุบ บางครั้งไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าหลุมยุบจะเกิดขึ้นเมื่อใดและที่ใด เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในมาเลเซียเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีหินปูนและสภาพธรณีวิทยาเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ด้วยความรู้และเทคโนโลยีที่ถูกต้องจะทำให้เหตุการณ์เช่นนี้ลดน้อยลงและดำเนินมาตรการป้องกันเพื่อปกป้องชุมชนและบรรเทาผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้ ขณะที่นายเจฟฟรีย์ เชียง ชุง ลุยน์ ประธานสถาบันวิศวกรแห่งมาเลเซีย (IEM) เรียกร้องให้มีการสืบสวนเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างละเอียด เพราะจากการสังเกตผ่าน Google Maps พบว่าตำแหน่งหลุมยุบอยู่ห่างจากแม่น้ำแคลงประมาณ 24 เมตร และจากภาพที่สื่อมวลชนนำเสนอ พบว่าหลุมยุบอาจเกี่ยวข้องกับระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน แม้ว่าจะยังไม่ระบุสาเหตุที่แน่ชัดก็ตาม จากรายงานหัวข้อ "Karstic Features of Kuala Lumpur Limestone" [1] ที่กล่าวถึงลักษณะของหินปูนของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเขียนโดย นายตัน ไซมอน เสี่ยว เมง จากสถาบันวิศวกรแห่งมาเลเซีย ระบุว่า ชั้นหินปูนในกรุงกัวลาลัมเปอร์มีลักษณะไม่แน่นอน พบในบริเวณเหมืองแร่ดีบุก แต่หลังเหมืองปิดตัวลง พื้นที่เหมืองแร่ถูกปกคลุมไปด้วยเศษซากตั้งแต่โคลนถึงทราย โดยคาดว่าหินปูนมีความหนาประมาณ 1,850 เมตร ทับอยู่บนหินชนวนกราไฟต์ที่เรียกว่า ฮอร์ธอร์นเดน ชีสต์ (Hawthornden Schist) ส่วนบนสุดของลำดับชั้นคือชั้นหินเคนนี่ ฮิลล์ (Kenny Hill) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ รวมถึงพื้นที่ย่าน KLCC (Kuala Lumpur City Centre) และบูกิตบินตัง (Bukit Bintang) ในตอนหนึ่งของรายงานระบุว่า หินปูนเกิดจากกระบวนการละลายทางเคมี ซึ่งเป็นกระบวนการที่ยาวนาน ประกอบด้วยหลุม แอ่งชัน และช่องทางสารละลาย ส่งผลให้ชั้นหินปูนมีรูปร่างไม่แน่นอน เป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมากในการก่อสร้างฐานราก ซึ่งการเกิดหลุมยุบมาจากการเคลื่อนตัวของชั้นหินปูน เนื่องจากการซึมของน้ำใต้ดิน ระดับน้ำใต้ดินที่ลดลง การรับน้ำหนักเพิ่ม การสั่นสะเทือน การเจาะรูหรือเสาเข็มบนช่องว่างของหินปูนโดยตรง ซึ่งหินปูนที่ปกคลุมด้วยดินบางจะเสี่ยงต่อการเกิดหลุมยุบมากกว่า อีกด้านหนึ่ง การก่อสร้างรถไฟใต้ดินสายสุไหงบูเลาะห์-กาจัง (Sungai Buloh-Kajang) [2] บางช่วงเป็นเส้นทางใต้ดิน ยาว 9.5 กิโลเมตร มี 7 สถานีใต้ดิน หนึ่งในนั้นคือสถานีตุน ราซัค เอ็กซ์เชนจ์ (TRX) ซึ่งมีความลึกเทียบเท่าตึก 13 ชั้น พบว่ามีหินปูนในชั้นหินปูนกัวลาลัมเปอร์ บริเวณอยู่ทางทิศตะวันออกของย่านบูกิตบินตังมีลักษณะไม่แน่นอน หากไม่ค้นพบก่อนอาจเกิดอันตราย จึงต้องพัฒนาเครื่องเจาะอุโมงค์ (TBM) แบบพิเศษที่เรียกว่า แวริเอเบิล เดนซิตี้ (Variable Density) ที่พัฒนาระหว่างบริษัทเฮอร์เร็นคเน็ช เอจี (Herrenknecht AG) ผู้ผลิตเครื่องเจาะอุโมงค์จากเยอรมนี และบริษัทร่วมทุน เอ็มเอ็มซี กามูดา (MMC Gamuda) สามารถปรับความหนาแน่นและความหนืดของสารละลายได้ ป้องกันไม่ให้ไหลเข้าไปในโพรงหรือรอยแยกไปสู่พื้นผิว เหตุการณ์หลุมยุบกะทันหันใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ครั้งนี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นในการป้องกันภัยพิบัติ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเมืองใหญ่ชั้นนำของอาเซียน ที่มีประชากรกว่า 8.8 ล้านคน อุดมไปด้วยความเจริญทางเศรษฐกิจ อาคารสูง และโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าที่เพียบพร้อม นอกจากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเมื่อฝนตกหนักมากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไป ที่มา : [1] https://nrmt.wordpress.com/wp-content/uploads/2011/04/kl-limestone-paper.pdf [2] https://thehub.mmc.com.my/2017Q3/page54.html #Newskit #KualaLumpur #JalanMasjidIndia
    Like
    Sad
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1087 มุมมอง 0 รีวิว
  • สะพานสุไหงโก-ลก จะได้สร้างกี่โมง

    การพบปะหารือระหว่าง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีของไทย กับนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เกี่ยวกับโครงการก่อสร้างสะพานคู่ขนานข้ามแม่น้ำโก-ลก เชื่อมระหว่างด่านสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส กับด่านรันเตาปันยัง เมืองปาซีร์มัส รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2567 ได้ข้อสรุปว่าจะเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป

    สำนักข่าวเบอร์นามาของมาเลเซีย รายงานว่า นายอันวาร์ จะเร่งรัดโครงการโดยจัดทำรายงานให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีมาเลเซียพิจารณา คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในเดือน เม.ย. 2568 ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี แล้วเสร็จในปี 2570 แต่อาจจะเร่งรัดการก่อสร้างให้เร็วขึ้น แล้วเสร็จในปลายปี 2569 ส่วนสะพานเดิมที่เปิดใช้ตั้งแต่ปี 2516 จะได้รับการปรับปรุง

    นอกจากนี้ นายอันวาร์ยังมีแนวคิดสร้างโอกาสทางธุรกิจบริเวณโดยรอบด่านรันเตาปันยัง โดยปรับปรุงพื้นที่เชิงพาณิชย์ แผงลอย และร้านค้าขนาดเล็ก เพื่อส่งเสริมธุรกิจท้องถิ่นในรัฐกลันตันอีกด้วย

    สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานคู่ขนานข้ามแม่น้ำโก-ลก เป็นการก่อสร้างสะพานใหม่คู่ขนานสะพานเดิมขนาด 2 ช่องจราจร กว้าง 14 เมตร ยาว 116 เมตร สถาปัตยกรรมออกแบบเป็นรูปเรือกอและ สะพานตัวเก่าจะใช้เป็นช่องทางขาออกไปมาเลเซีย ส่วนสะพานที่สร้างใหม่จะเป็นช่องทางขาเข้าไทย เสริมด้วยช่องทางของรถจักรยานยนต์ และทางเดินเท้ามีหลังคาคลุม

    ที่ผ่านมา ฝ่ายไทยเเละฝ่ายมาเลเซียได้ร่วมประชุมหารือ เพื่อวางแผนการทำงานร่วมกันมาโดยตลอด นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังได้มีการจัดทำรายงานเรื่องผลกระทบด้านสิ่งเเวดล้อม (EIA) ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งขณะนี้ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

    สำหรับงบประมาณในการก่อสร้าง ฝั่งไทยและมาเลเซียจะดูแลรับผิดชอบกันคนละครึ่ง โดยฝั่งไทยได้ตั้งงบประมาณในการก่อสร้าง ราว 200 ล้านบาท ซึ่งส่วนนี้จะประกอบด้วยการก่อสร้างสะพานคู่ขนานกับสะพานเดิม รวมถึงการปรับปรุงสะพานเดิมให้มีความสะดวก ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยกรมทางหลวงได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณการก่อสร้าง ในปีงบประมาณ 2568

    อย่างไรก็ตาม เวลานี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเมืองไทย โดยเฉพาะนายเศรษฐา ที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดลงมติว่า ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ กรณีการแต่งตั้งบุคคลที่ขาดคุณสมบัติเป็นรัฐมนตรี ในวันที่ 14 ส.ค. ที่จะถึงนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล อาจกระทบกับโครงการไปบ้าง แต่ถ้ายังอยู่ในขั้วอำนาจเดิม ก็ไม่มีปัญหาที่โครงการนี้จะเดินหน้าต่อไป

    #Newskit #สุไหงโกลก #สะพานข้ามแม่น้ำโกลก
    สะพานสุไหงโก-ลก จะได้สร้างกี่โมง การพบปะหารือระหว่าง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีของไทย กับนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เกี่ยวกับโครงการก่อสร้างสะพานคู่ขนานข้ามแม่น้ำโก-ลก เชื่อมระหว่างด่านสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส กับด่านรันเตาปันยัง เมืองปาซีร์มัส รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2567 ได้ข้อสรุปว่าจะเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป สำนักข่าวเบอร์นามาของมาเลเซีย รายงานว่า นายอันวาร์ จะเร่งรัดโครงการโดยจัดทำรายงานให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีมาเลเซียพิจารณา คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในเดือน เม.ย. 2568 ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี แล้วเสร็จในปี 2570 แต่อาจจะเร่งรัดการก่อสร้างให้เร็วขึ้น แล้วเสร็จในปลายปี 2569 ส่วนสะพานเดิมที่เปิดใช้ตั้งแต่ปี 2516 จะได้รับการปรับปรุง นอกจากนี้ นายอันวาร์ยังมีแนวคิดสร้างโอกาสทางธุรกิจบริเวณโดยรอบด่านรันเตาปันยัง โดยปรับปรุงพื้นที่เชิงพาณิชย์ แผงลอย และร้านค้าขนาดเล็ก เพื่อส่งเสริมธุรกิจท้องถิ่นในรัฐกลันตันอีกด้วย สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานคู่ขนานข้ามแม่น้ำโก-ลก เป็นการก่อสร้างสะพานใหม่คู่ขนานสะพานเดิมขนาด 2 ช่องจราจร กว้าง 14 เมตร ยาว 116 เมตร สถาปัตยกรรมออกแบบเป็นรูปเรือกอและ สะพานตัวเก่าจะใช้เป็นช่องทางขาออกไปมาเลเซีย ส่วนสะพานที่สร้างใหม่จะเป็นช่องทางขาเข้าไทย เสริมด้วยช่องทางของรถจักรยานยนต์ และทางเดินเท้ามีหลังคาคลุม ที่ผ่านมา ฝ่ายไทยเเละฝ่ายมาเลเซียได้ร่วมประชุมหารือ เพื่อวางแผนการทำงานร่วมกันมาโดยตลอด นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังได้มีการจัดทำรายงานเรื่องผลกระทบด้านสิ่งเเวดล้อม (EIA) ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งขณะนี้ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับงบประมาณในการก่อสร้าง ฝั่งไทยและมาเลเซียจะดูแลรับผิดชอบกันคนละครึ่ง โดยฝั่งไทยได้ตั้งงบประมาณในการก่อสร้าง ราว 200 ล้านบาท ซึ่งส่วนนี้จะประกอบด้วยการก่อสร้างสะพานคู่ขนานกับสะพานเดิม รวมถึงการปรับปรุงสะพานเดิมให้มีความสะดวก ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยกรมทางหลวงได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณการก่อสร้าง ในปีงบประมาณ 2568 อย่างไรก็ตาม เวลานี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเมืองไทย โดยเฉพาะนายเศรษฐา ที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดลงมติว่า ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ กรณีการแต่งตั้งบุคคลที่ขาดคุณสมบัติเป็นรัฐมนตรี ในวันที่ 14 ส.ค. ที่จะถึงนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล อาจกระทบกับโครงการไปบ้าง แต่ถ้ายังอยู่ในขั้วอำนาจเดิม ก็ไม่มีปัญหาที่โครงการนี้จะเดินหน้าต่อไป #Newskit #สุไหงโกลก #สะพานข้ามแม่น้ำโกลก
    Like
    Love
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 731 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายกฯ มาเลเซีย ด่าเฟซบุ๊กว่าขี้ขลาด หลังลบโพสต์แสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตจากการลอบสังหาร อิสมาอิล ฮานิเยห์ ผู้นำฮามาส

    1 สิงหาคม 2567-รายงานข่าวรอยเตอร์ระบุว่า นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย อันวาร์ อิบราฮิม ด่าบริษัท Meta Platforms ว่าขี้ขลาด หลังจากที่คลิปวิดีโอที่เขาโพสต์บนเฟซบุ๊กเกี่ยวกับการลอบสังหารอิสมาอิล ฮานิเยห์ ผู้นำฮามาส ถูกลบออก ซึ่งถือเป็นการเผชิญหน้าครั้งล่าสุดระหว่างรัฐบาลกับบริษัทMetaของมาร์ก ซัคเคอร์เบิร์กดังกล่าว กรณีถูกบล็อกเนื้อหา

    มาเลเซียซึ่งเป็นประเทศมุสลิมส่วนใหญ่สนับสนุนปาเลสไตน์ และอันวาร์ได้โพสต์คลิปวิดีโอขณะสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่างเขากับเจ้าหน้าที่ระดับสูงฮามาส เพื่อแสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของฮานิเยห์ ซึ่งต่อมาคลิปวิดีโอดังกล่าวถูกลบออก

    การลอบสังหารฮานิเยห์ในอิหร่านเมื่อวันพุธที่ 31 ก.ค.ยิ่งทำให้ความกังวลว่าความขัดแย้งในฉนวนกาซาอาจกลายเป็นสงครามในตะวันออกกลาง

    อันวาร์ ซึ่งพบกับฮานิเยห์ที่กาตาร์เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กล่าวว่าเขามีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำทางการเมืองของกลุ่มฮามาส แต่ไม่มีความเกี่ยวข้องในระดับความมั่นคงทางทหาร

    “ขอให้สิ่งนี้เป็นข้อความที่ชัดเจนและชัดเจนถึง Meta: หยุดการแสดงออกถึงความขี้ขลาดนี้” ("Let this serve as a clear and unequivocal message to Meta: Cease this display of cowardice,") Anwarโพสต์บนหน้า Facebook ของเขา

    Meta ไม่ได้ตอบกลับคำขอแสดงความคิดเห็นในทันทีเมื่อวันพฤหัสบดี

    ฟาห์มี ฟาดซิล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารของมาเลเซียกล่าวว่าได้ขอคำอธิบายจาก Meta แล้ว แต่ยังไม่ชัดเจนว่าโพสต์ดังกล่าวถูกลบโดยอัตโนมัติหรือถูกลบออกหลังจากมีการร้องเรียน

    Meta ได้กำหนดให้ฮามาส ซึ่งเป็นกลุ่มอิสลามิสต์ของปาเลสไตน์ที่ปกครองฉนวนกาซา เป็น “องค์กรอันตราย” และห้ามเนื้อหาที่ยกย่องกลุ่มดังกล่าว นอกจากนี้ Meta ยังใช้การตรวจจับอัตโนมัติและการตรวจสอบโดยมนุษย์เพื่อลบหรือติดป้ายกำกับภาพที่มีเนื้อหารุนแรง

    มาเลเซียเคยร้องเรียนไปยัง Meta เกี่ยวกับการลบเนื้อหาดังกล่าว รวมถึงการรายงานข่าวของสื่อท้องถิ่นเกี่ยวกับการพบกันครั้งล่าสุดของ Anwar กับ Haniyeh ซึ่งต่อมาได้รับการฟื้นฟู

    Meta กล่าวในขณะนั้นว่าไม่ได้จงใจปิดกั้นเสียงบนแพลตฟอร์ม Facebook และไม่ได้จำกัดเนื้อหาที่สนับสนุนชาวปาเลสไตน์

    ทั้งนี้รัฐบาลมาเลเซียสนับสนุนแนวทางสองรัฐสำหรับอิสราเอลและปาเลสไตน์มาอย่างยาวนาน

    #Thaitimes
    นายกฯ มาเลเซีย ด่าเฟซบุ๊กว่าขี้ขลาด หลังลบโพสต์แสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตจากการลอบสังหาร อิสมาอิล ฮานิเยห์ ผู้นำฮามาส 1 สิงหาคม 2567-รายงานข่าวรอยเตอร์ระบุว่า นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย อันวาร์ อิบราฮิม ด่าบริษัท Meta Platforms ว่าขี้ขลาด หลังจากที่คลิปวิดีโอที่เขาโพสต์บนเฟซบุ๊กเกี่ยวกับการลอบสังหารอิสมาอิล ฮานิเยห์ ผู้นำฮามาส ถูกลบออก ซึ่งถือเป็นการเผชิญหน้าครั้งล่าสุดระหว่างรัฐบาลกับบริษัทMetaของมาร์ก ซัคเคอร์เบิร์กดังกล่าว กรณีถูกบล็อกเนื้อหา มาเลเซียซึ่งเป็นประเทศมุสลิมส่วนใหญ่สนับสนุนปาเลสไตน์ และอันวาร์ได้โพสต์คลิปวิดีโอขณะสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่างเขากับเจ้าหน้าที่ระดับสูงฮามาส เพื่อแสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของฮานิเยห์ ซึ่งต่อมาคลิปวิดีโอดังกล่าวถูกลบออก การลอบสังหารฮานิเยห์ในอิหร่านเมื่อวันพุธที่ 31 ก.ค.ยิ่งทำให้ความกังวลว่าความขัดแย้งในฉนวนกาซาอาจกลายเป็นสงครามในตะวันออกกลาง อันวาร์ ซึ่งพบกับฮานิเยห์ที่กาตาร์เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กล่าวว่าเขามีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำทางการเมืองของกลุ่มฮามาส แต่ไม่มีความเกี่ยวข้องในระดับความมั่นคงทางทหาร “ขอให้สิ่งนี้เป็นข้อความที่ชัดเจนและชัดเจนถึง Meta: หยุดการแสดงออกถึงความขี้ขลาดนี้” ("Let this serve as a clear and unequivocal message to Meta: Cease this display of cowardice,") Anwarโพสต์บนหน้า Facebook ของเขา Meta ไม่ได้ตอบกลับคำขอแสดงความคิดเห็นในทันทีเมื่อวันพฤหัสบดี ฟาห์มี ฟาดซิล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารของมาเลเซียกล่าวว่าได้ขอคำอธิบายจาก Meta แล้ว แต่ยังไม่ชัดเจนว่าโพสต์ดังกล่าวถูกลบโดยอัตโนมัติหรือถูกลบออกหลังจากมีการร้องเรียน Meta ได้กำหนดให้ฮามาส ซึ่งเป็นกลุ่มอิสลามิสต์ของปาเลสไตน์ที่ปกครองฉนวนกาซา เป็น “องค์กรอันตราย” และห้ามเนื้อหาที่ยกย่องกลุ่มดังกล่าว นอกจากนี้ Meta ยังใช้การตรวจจับอัตโนมัติและการตรวจสอบโดยมนุษย์เพื่อลบหรือติดป้ายกำกับภาพที่มีเนื้อหารุนแรง มาเลเซียเคยร้องเรียนไปยัง Meta เกี่ยวกับการลบเนื้อหาดังกล่าว รวมถึงการรายงานข่าวของสื่อท้องถิ่นเกี่ยวกับการพบกันครั้งล่าสุดของ Anwar กับ Haniyeh ซึ่งต่อมาได้รับการฟื้นฟู Meta กล่าวในขณะนั้นว่าไม่ได้จงใจปิดกั้นเสียงบนแพลตฟอร์ม Facebook และไม่ได้จำกัดเนื้อหาที่สนับสนุนชาวปาเลสไตน์ ทั้งนี้รัฐบาลมาเลเซียสนับสนุนแนวทางสองรัฐสำหรับอิสราเอลและปาเลสไตน์มาอย่างยาวนาน #Thaitimes
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 513 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาเลเซียยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิก BRICSแล้ว

    28 กรกฏาคม 2567-รายงานข่าวซินหัวระบุว่า อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 มาเลเซียได้ส่งหนังสือถึงประเทศรัสเซียซึ่งเป็นประธานหมุนเวียนของกลุ่ม BRICS เพื่อสมัครเข้าเป็นพันธมิตรร่วมกลไกความร่วมมือของกลุ่ม BRICS หลังจากหารือกับนายเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งเยือนมาเลเซีย และในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีอันวาร์ของมาเลเซียได้แสดงความประสงค์ในการเข้าร่วมกลไกความร่วมมือ BRICS ต่อประธานาธิบดีบราซิล โดยอ้างถึงความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ว่า ตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศเป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากศักยภาพในการเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ของมาเลเซียมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ เนื่องจากตั้งอยู่ในตำแหน่งริมช่องแคบมะละกา ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือสำคัญที่เชื่อมระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียระหว่างมาเลเซียและเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย

    สำนักงานนายกรัฐมนตรีมาเลเซียระบุในแถลงการณ์ว่า นอกจากการสมัครของมาเลเซียเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS แล้ว ยังมีการหารือถึงความร่วมมือทวิภาคีในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะการลงทุนและการค้า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเกษตร การป้องกันประเทศและการทหาร การศึกษา การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม

    นายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวว่า“การหารือของเราเน้นไปที่การสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ของมาเลเซีย ซึ่งปัจจุบันรัสเซียเป็นประธาน การเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ถือเป็นความหวังที่สำคัญสำหรับทั้งสองประเทศ และตอกย้ำความมุ่งมั่นของเราในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศที่แข็งแกร่ง”

    ส่วนนายลาฟรอฟกล่าวว่า รัสเซียยินดีต้อนรับความสนใจของมาเลเซียที่มีต่อกลุ่ม BRICS และจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์

    นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันในปาเลสไตน์ โดยมาเลเซียเรียกร้องให้มีการหยุดยิงถาวรในฉนวนกาซาโดยเร็ว และเร่งการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ฉนวนกาซา รวมถึงการยอมรับปาเลสไตน์เป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการของสหประชาชาติ

    มาเลเซียเป็นประเทศล่าสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่แสดงความสนใจเข้าร่วมกลุ่ม BRICS หลังจากที่ไทย เมียนมา ลาว และกัมพูชา แสดงเจตจำนงไปก่อนหน้านี้ ในขณะที่เวียดนามและอินโดนีเซียอยู่ระหว่างการพิจารณา ความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์เชิงยุทธศาสตร์

    ในเดือนตุลาคม 2024 รัสเซียจะรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการประชุมสุดยอดประจำปีที่เมืองคาซาน ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ในโอกาสนี้ ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซียบอกว่า เขาจะใช้การดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มบริกส์ในครั้งนี้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ

    1.เพิ่มบทบาทของกลุ่มบริกส์ในเวทีการเงินระหว่างประเทศ
    2.พัฒนาความร่วมมือระหว่างภาคธนาคารและขยายการใช้เงินสกุลท้องถิ่นของสมาชิกกลุ่มบริกส์
    3.ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านสรรพากร (ภาษี) และศุลกากร
    มาเลเซียยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิก BRICSแล้ว 28 กรกฏาคม 2567-รายงานข่าวซินหัวระบุว่า อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 มาเลเซียได้ส่งหนังสือถึงประเทศรัสเซียซึ่งเป็นประธานหมุนเวียนของกลุ่ม BRICS เพื่อสมัครเข้าเป็นพันธมิตรร่วมกลไกความร่วมมือของกลุ่ม BRICS หลังจากหารือกับนายเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งเยือนมาเลเซีย และในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีอันวาร์ของมาเลเซียได้แสดงความประสงค์ในการเข้าร่วมกลไกความร่วมมือ BRICS ต่อประธานาธิบดีบราซิล โดยอ้างถึงความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ว่า ตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศเป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากศักยภาพในการเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ของมาเลเซียมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ เนื่องจากตั้งอยู่ในตำแหน่งริมช่องแคบมะละกา ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือสำคัญที่เชื่อมระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียระหว่างมาเลเซียและเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย สำนักงานนายกรัฐมนตรีมาเลเซียระบุในแถลงการณ์ว่า นอกจากการสมัครของมาเลเซียเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS แล้ว ยังมีการหารือถึงความร่วมมือทวิภาคีในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะการลงทุนและการค้า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเกษตร การป้องกันประเทศและการทหาร การศึกษา การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวว่า“การหารือของเราเน้นไปที่การสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ของมาเลเซีย ซึ่งปัจจุบันรัสเซียเป็นประธาน การเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ถือเป็นความหวังที่สำคัญสำหรับทั้งสองประเทศ และตอกย้ำความมุ่งมั่นของเราในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศที่แข็งแกร่ง” ส่วนนายลาฟรอฟกล่าวว่า รัสเซียยินดีต้อนรับความสนใจของมาเลเซียที่มีต่อกลุ่ม BRICS และจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันในปาเลสไตน์ โดยมาเลเซียเรียกร้องให้มีการหยุดยิงถาวรในฉนวนกาซาโดยเร็ว และเร่งการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ฉนวนกาซา รวมถึงการยอมรับปาเลสไตน์เป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการของสหประชาชาติ มาเลเซียเป็นประเทศล่าสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่แสดงความสนใจเข้าร่วมกลุ่ม BRICS หลังจากที่ไทย เมียนมา ลาว และกัมพูชา แสดงเจตจำนงไปก่อนหน้านี้ ในขณะที่เวียดนามและอินโดนีเซียอยู่ระหว่างการพิจารณา ความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์เชิงยุทธศาสตร์ ในเดือนตุลาคม 2024 รัสเซียจะรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการประชุมสุดยอดประจำปีที่เมืองคาซาน ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ในโอกาสนี้ ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซียบอกว่า เขาจะใช้การดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มบริกส์ในครั้งนี้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1.เพิ่มบทบาทของกลุ่มบริกส์ในเวทีการเงินระหว่างประเทศ 2.พัฒนาความร่วมมือระหว่างภาคธนาคารและขยายการใช้เงินสกุลท้องถิ่นของสมาชิกกลุ่มบริกส์ 3.ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านสรรพากร (ภาษี) และศุลกากร
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 681 มุมมอง 0 รีวิว
  • ลูกชายของฉันร้องไห้ทั้งคืนเพราะความหิวโหย และถูกดับชีพในอีก 4 วันต่อมา
    เจ้าหน้าที่เอลปฏิเสธไม่ให้เยาวชนชาวปาเลสในกาซาเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ ส่งผลให้ อดอาหารและขาดสารอาหารมากขึ้น Defense for Children Palestine กล่าว
    “การกีดกันโดยเจตนาเช่นนี้ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง การเจริญเติบโตที่ชะงักงัน และอัตราการเสียชีวิตของเหล่าเยาวชนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ” กลุ่มสิทธิมนุษยชนกล่าว
    เนื้อหาพูดถึงครอบครัว 7 ครอบครัวที่มีตัวน้อย อดอาหารจนถูกดับชีพ รวมถึงแม่ของอันวาร์ อัล-คูดารี วัย 3 เดือนด้วย
    “ไม่มีนมผงเพราะถูกปิดล้อมโดยเอล และไม่มีน้ำนมในเต้านมของฉันเพราะขาดสารอาหารและขัดขวางไม่ให้ความช่วยเหลือเข้ามา” แถลงการณ์ดังกล่าวอ้างคำพูดของเธอ
    “ฉันถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาลอัลชิฟาพร้อมกับสามี ลูกชายของฉันร้องไห้ตลอดทั้งคืนเพราะความหิว อุณหภูมิร่างกายของเขาสูงขึ้น และเขาเริ่มมีอาการชัก เขาถูกดับชีพในอีกสี่วันต่อมา”
    ขณะนี้โรงพยาบาล Kamal Adwan ทางตอนเหนือของกาซา กำลังรักษาเหล่าเยาวชน มากกว่า 70 รายที่ประสบปัญหาทุพโภชนาการและขาดน้ำ
    .
    #WAYTNEWS #WayTNews #waytnews
    #ข่าวสารอัพเดท #ติดตามข่าว #สถานการณ์ปัจจุบัน #ข่าวสารความจริง
    -------------------------------
    สนใจโปรไวต้า คลิก▶ https://www.facebook.com/TPIPolene?locale=t
    ลูกชายของฉันร้องไห้ทั้งคืนเพราะความหิวโหย และถูกดับชีพในอีก 4 วันต่อมา เจ้าหน้าที่เอลปฏิเสธไม่ให้เยาวชนชาวปาเลสในกาซาเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ ส่งผลให้ อดอาหารและขาดสารอาหารมากขึ้น Defense for Children Palestine กล่าว “การกีดกันโดยเจตนาเช่นนี้ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง การเจริญเติบโตที่ชะงักงัน และอัตราการเสียชีวิตของเหล่าเยาวชนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ” กลุ่มสิทธิมนุษยชนกล่าว เนื้อหาพูดถึงครอบครัว 7 ครอบครัวที่มีตัวน้อย อดอาหารจนถูกดับชีพ รวมถึงแม่ของอันวาร์ อัล-คูดารี วัย 3 เดือนด้วย “ไม่มีนมผงเพราะถูกปิดล้อมโดยเอล และไม่มีน้ำนมในเต้านมของฉันเพราะขาดสารอาหารและขัดขวางไม่ให้ความช่วยเหลือเข้ามา” แถลงการณ์ดังกล่าวอ้างคำพูดของเธอ “ฉันถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาลอัลชิฟาพร้อมกับสามี ลูกชายของฉันร้องไห้ตลอดทั้งคืนเพราะความหิว อุณหภูมิร่างกายของเขาสูงขึ้น และเขาเริ่มมีอาการชัก เขาถูกดับชีพในอีกสี่วันต่อมา” ขณะนี้โรงพยาบาล Kamal Adwan ทางตอนเหนือของกาซา กำลังรักษาเหล่าเยาวชน มากกว่า 70 รายที่ประสบปัญหาทุพโภชนาการและขาดน้ำ . #WAYTNEWS #WayTNews #waytnews #ข่าวสารอัพเดท #ติดตามข่าว #สถานการณ์ปัจจุบัน #ข่าวสารความจริง ------------------------------- สนใจโปรไวต้า คลิก▶ https://www.facebook.com/TPIPolene?locale=t
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 395 มุมมอง 0 รีวิว