• Sondhitalk EP 281 : ยิว จะยึดเมืองปาย? (Full)

    - “หลิว จงอี้”สุดซอย ล้างบาง “แม่สอด-เมียวดี”
    - ปัญหา เมืองปาย กับ ยิว
    - ทรัมป์ ชน Deep State
    - สหรัฐฯ ฉีกสัมพันธ์ยุโรป
    - “สี จิ้นผิง” ประชุมบิ๊กธุรกิจจีน

    #สนธิทอล์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #sondhiapp #thaitimes #ความจริงมีหนึ่งเดียว #แม่สอด #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #จีนเทา #ไทยเทา #หลิวจงอี้ #ยิวยึดปาย #deepstate #ทรัมป์ #อีลอนมัสก์ #สงครามเทคโนโลยี
    Sondhitalk EP 281 : ยิว จะยึดเมืองปาย? (Full) - “หลิว จงอี้”สุดซอย ล้างบาง “แม่สอด-เมียวดี” - ปัญหา เมืองปาย กับ ยิว - ทรัมป์ ชน Deep State - สหรัฐฯ ฉีกสัมพันธ์ยุโรป - “สี จิ้นผิง” ประชุมบิ๊กธุรกิจจีน #สนธิทอล์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #sondhiapp #thaitimes #ความจริงมีหนึ่งเดียว #แม่สอด #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #จีนเทา #ไทยเทา #หลิวจงอี้ #ยิวยึดปาย #deepstate #ทรัมป์ #อีลอนมัสก์ #สงครามเทคโนโลยี
    Like
    Love
    7
    0 Comments 1 Shares 339 Views 74 2 Reviews
  • Kash Patel ได้รับการรับรองจากรัฐสภาสหรัฐฯให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ FBI คนใหม่แล้ว ด้วยผลโหวต 51-49 คะแนน ท่ามกลางความกังวลจากฝ่ายเดโมแครตว่าเขาอาจจะใช้ FBI เป็นเครื่องมือล้างแค้นทางการเมืองให้กับทรัมป์

    ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ลงนามในแต่งตั้งอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับผู้อำนวยการคนที่ 9 ของสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ หรือ FBI
    Kash Patel ได้รับการรับรองจากรัฐสภาสหรัฐฯให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ FBI คนใหม่แล้ว ด้วยผลโหวต 51-49 คะแนน ท่ามกลางความกังวลจากฝ่ายเดโมแครตว่าเขาอาจจะใช้ FBI เป็นเครื่องมือล้างแค้นทางการเมืองให้กับทรัมป์ ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ลงนามในแต่งตั้งอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับผู้อำนวยการคนที่ 9 ของสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ หรือ FBI
    Like
    1
    0 Comments 1 Shares 199 Views 0 Reviews
  • -รายงานข่าว 20 กุมภาพันธ์ 2568-

    วันนี้ครบรอบ 1 เดือน (20 มกราคม-20 กุมภาพันธ์ 2568) ของการบริหารงานของนายโดนัล เจ. ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกา นางคาโรไลน์ เลวิทท์ โฆษกทำเนียบขาว ออกมารายงานผลความคืบหน้าของทรัมป์ 2.0 ว่า มีคำสั่งอำนาจบริหารออกมารวม 73 ฉบับ มากกว่ายุคไบเดนและยุคโอบามา 2-3 เท่า...ครม.ของทรัมป์ยุคนี้ได้รับการไว้วางใจโวตยอมรับจากสภาสูงซีเนทมากถึง 18 คน มากกว่ายุคโอบามาปี 2009 และยุคไบเดนปี 2021...และนายทรัมป์จะประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งหมดในวันอังคารหน้าที่จะถึงนี้ โดยที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะมาเยือนในวันจันทร์ ตามด้วยนายกรัฐมนตรีอังกฤษในวันพฤหัสบดี...ขณะรายงานข่าวทำเนียบขาวนั้นได้มีเจ้าหน้าที่ของกระทรวง Homeland Security ที่ปรึกษากฏหมายฝ่ายเศรษฐกิจแห่งชาติ และที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ เข้าร่วมแถลงข่าวด้วย นายไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติหรือ National Security Advisor ตอบคำถามผู้สื่อข่าวประเด็นยุติสงครามในยูเครนว่า สงครามยูเครนต้องจบแน่นอน เพราะสหรัฐฯไม่ต้องการนำเงินภาษีของคนอเมริกันไปช่วยเหลือสงครามยูเครนอีกต่อไปแล้ว โดยสหรัฐฯจะเข้าไปเจรจากับนายปูตินผู้นำรัสเซียในเร็ววันนี้..ข่าวล่าสุดในวันนี้ เมื่อตอนบ่าย สภาสูงหรือซีเนทของคองเกรส ได้ลงมติด้วยคะแนนชนะ 51:49 ให้นายแคช ปาเทล (Kash Patel) ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเอฟบีไอ หรือสำนักงานตำรวจสอบสวนกลาง ดูแลงานการสอบสวนและปราบปรามได้ทั่วประเทศ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรมของคุณ แพม บอนดิ และเอฟบีไอยังต้องรายงานข่าวโดยตรงให้กับผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติกับคุณ ทุลซี แก็บบาร์ด ให้รับทราบอีกด้วย
    -รายงานข่าว 20 กุมภาพันธ์ 2568- วันนี้ครบรอบ 1 เดือน (20 มกราคม-20 กุมภาพันธ์ 2568) ของการบริหารงานของนายโดนัล เจ. ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกา นางคาโรไลน์ เลวิทท์ โฆษกทำเนียบขาว ออกมารายงานผลความคืบหน้าของทรัมป์ 2.0 ว่า มีคำสั่งอำนาจบริหารออกมารวม 73 ฉบับ มากกว่ายุคไบเดนและยุคโอบามา 2-3 เท่า...ครม.ของทรัมป์ยุคนี้ได้รับการไว้วางใจโวตยอมรับจากสภาสูงซีเนทมากถึง 18 คน มากกว่ายุคโอบามาปี 2009 และยุคไบเดนปี 2021...และนายทรัมป์จะประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งหมดในวันอังคารหน้าที่จะถึงนี้ โดยที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะมาเยือนในวันจันทร์ ตามด้วยนายกรัฐมนตรีอังกฤษในวันพฤหัสบดี...ขณะรายงานข่าวทำเนียบขาวนั้นได้มีเจ้าหน้าที่ของกระทรวง Homeland Security ที่ปรึกษากฏหมายฝ่ายเศรษฐกิจแห่งชาติ และที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ เข้าร่วมแถลงข่าวด้วย นายไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติหรือ National Security Advisor ตอบคำถามผู้สื่อข่าวประเด็นยุติสงครามในยูเครนว่า สงครามยูเครนต้องจบแน่นอน เพราะสหรัฐฯไม่ต้องการนำเงินภาษีของคนอเมริกันไปช่วยเหลือสงครามยูเครนอีกต่อไปแล้ว โดยสหรัฐฯจะเข้าไปเจรจากับนายปูตินผู้นำรัสเซียในเร็ววันนี้..ข่าวล่าสุดในวันนี้ เมื่อตอนบ่าย สภาสูงหรือซีเนทของคองเกรส ได้ลงมติด้วยคะแนนชนะ 51:49 ให้นายแคช ปาเทล (Kash Patel) ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเอฟบีไอ หรือสำนักงานตำรวจสอบสวนกลาง ดูแลงานการสอบสวนและปราบปรามได้ทั่วประเทศ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรมของคุณ แพม บอนดิ และเอฟบีไอยังต้องรายงานข่าวโดยตรงให้กับผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติกับคุณ ทุลซี แก็บบาร์ด ให้รับทราบอีกด้วย
    0 Comments 0 Shares 60 Views 0 Reviews
  • 2/
    เซเลนสกี พบกับคีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษสหรัฐฯ ประจำยูเครน

    ตามกำหนดการ หลังการประชุมจบลงในวันนี้ จะมีการแถลงข่าวร่วมกัน แต่ถูกยกเลิกกะทันหันตามคำสั่งรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งก่อนหน้านี้ทรัมป์และเซเลนสกีมีการตอบโต้กันไปมา
    2/ เซเลนสกี พบกับคีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษสหรัฐฯ ประจำยูเครน ตามกำหนดการ หลังการประชุมจบลงในวันนี้ จะมีการแถลงข่าวร่วมกัน แต่ถูกยกเลิกกะทันหันตามคำสั่งรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งก่อนหน้านี้ทรัมป์และเซเลนสกีมีการตอบโต้กันไปมา
    0 Comments 0 Shares 364 Views 31 0 Reviews
  • 1/
    เซเลนสกี พบกับคีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษสหรัฐฯ ประจำยูเครน

    ตามกำหนดการ หลังการประชุมจบลงในวันนี้ จะมีการแถลงข่าวร่วมกัน แต่ถูกยกเลิกกะทันหันตามคำสั่งรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งก่อนหน้านี้ทรัมป์และเซเลนสกีมีการตอบโต้กันไปมา
    1/ เซเลนสกี พบกับคีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษสหรัฐฯ ประจำยูเครน ตามกำหนดการ หลังการประชุมจบลงในวันนี้ จะมีการแถลงข่าวร่วมกัน แต่ถูกยกเลิกกะทันหันตามคำสั่งรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งก่อนหน้านี้ทรัมป์และเซเลนสกีมีการตอบโต้กันไปมา
    0 Comments 0 Shares 157 Views 0 Reviews
  • ถ้านายกชื่อ "ประยุทธ" เศรษฐาจะพูดแบบนี้มั้ย

    นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในรายการกรรมกรข่าวคุยนอกจอ บอกขออนุญาตให้คำว่า “รัฐบาลเพื่อไทยสร้างหนี้อีกแล้ว” เป็นวาทกรรม เพราะหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่นอังกฤษ ญี่ปุ่น แคนาดา สหรัฐฯ ซึ่งหนี้สาธารณะต่อจีดีพี เกิน 100 % ก็ไม่เห็นเป็นปัญหาเลย ขณะที่ไทยไม่เกิน 70 % เมื่อ

    เมื่อถูกถามว่า เดี๋ยวก็ยังมีคนมาบอกว่าลูกหลานต้องมาใช้หนี้ นายเศรษฐา เผยว่า ทุกคนก็ต้องใช้หนี้อยู่ดี แต่มันสำคัญว่าเอาหนี้ไปทำอะไรมากกว่า มันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องกู้มาเพื่อให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้น ในฐานะที่เป็นนักการเมืองการดูแลพี่น้องประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ การกู้เงิน เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องกู้ เพื่อให้ชีวิตประชาชนดีขึ้น แต่หากมีการกู้มากกว่า 70-80 % เป็นหน้าที่ที่ต้องอธิบายว่าเอาไปทำอะไร ส่งผลต่อ GDP อย่างไร และจะทำให้หนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลงมาเมื่อไหร่ ต้องมีรายละเอียดชัด
    ถ้านายกชื่อ "ประยุทธ" เศรษฐาจะพูดแบบนี้มั้ย นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในรายการกรรมกรข่าวคุยนอกจอ บอกขออนุญาตให้คำว่า “รัฐบาลเพื่อไทยสร้างหนี้อีกแล้ว” เป็นวาทกรรม เพราะหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่นอังกฤษ ญี่ปุ่น แคนาดา สหรัฐฯ ซึ่งหนี้สาธารณะต่อจีดีพี เกิน 100 % ก็ไม่เห็นเป็นปัญหาเลย ขณะที่ไทยไม่เกิน 70 % เมื่อ เมื่อถูกถามว่า เดี๋ยวก็ยังมีคนมาบอกว่าลูกหลานต้องมาใช้หนี้ นายเศรษฐา เผยว่า ทุกคนก็ต้องใช้หนี้อยู่ดี แต่มันสำคัญว่าเอาหนี้ไปทำอะไรมากกว่า มันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องกู้มาเพื่อให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้น ในฐานะที่เป็นนักการเมืองการดูแลพี่น้องประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ การกู้เงิน เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องกู้ เพื่อให้ชีวิตประชาชนดีขึ้น แต่หากมีการกู้มากกว่า 70-80 % เป็นหน้าที่ที่ต้องอธิบายว่าเอาไปทำอะไร ส่งผลต่อ GDP อย่างไร และจะทำให้หนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลงมาเมื่อไหร่ ต้องมีรายละเอียดชัด
    0 Comments 0 Shares 193 Views 0 Reviews
  • ยูเครนชนะกี่โมง? ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์"
    ฟันธงรัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ
    .
    ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์" ยอดนักวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศสายส้ม วิเคราะห์สงครามยูเครนแบบมั่นหน้า ด้วยการฟันธงว่า รัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ ปูตินจะถูกรัฐประหารเงียบ จนชาวเน็ตผู้มาจากอนาคตเข้าไปรุมคอมเมนต์เดือด เตือนความทรงจำ ถามเมื่อไหร่รัสเซียจะแพ้-ยูเครนจะชนะ?
    .
    ในสถานการณ์ทางการเมืองโลกที่ผันผวนภายหลังการยกหูโทรศัพท์พูดคุยกันนานกว่า 90 นาทีระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เมื่อวันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 โดยในประเด็นสงครามยูเครนนั้น นายทรัมป์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังว่า “ถึงเวลาแล้วที่จะยุติสงครามไร้สาระนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยการสังหารและการทำลายล้างที่ไม่จำเป็นเลย ขอพระเจ้าอวยพรประชาชนชาวรัสเซียและยูเครน!”
    .
    การเริ่มต้นพูดคุยระหว่าง ทรัมป์และปูติน อันนำมาสู่เหตุการณ์เมื่อ วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 สหรัฐฯ และรัสเซียนำโดย นายมาร์ค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ นายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งดำเนินการเปิดโต๊ะการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนกันเพียง 2 ฝ่าย อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยปราศจากตัวแทนของยูเครน และชาติต่าง ๆ ในยุโรปร่วมโต๊ะเลย แม้แต่คนเดียว
    .
    สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความเดือดดาลให้กับนายโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนและผู้นำชาติต่างๆ ในยุโรปอย่างมาก เพราะการเปิดโต๊ะเจรจาดังกล่าวเป็นสัญญาณว่า ยูเครนและยุโรปน่าจะต้องตกเป็นเบี้ยล่าง และพ่ายแพ้ถูกทิ้งไว้ท่ามกลางซากปรักหักพัง รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่เข้ารุมเร้าทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ การแย่งชิงบีบบังคับเอาทรัพยากรเพื่อชดใช้เงินช่วยเหลือในสงคราม ความวุ่นวายทางการเมืองภายใน รวมไปถึงปัญหาสังคมและผู้อพยพ ฯลฯ
    .
    ในส่วนของผู้ที่ติดตามข่าวสารเรื่องสงครามยูเครนในประเทศไทยส่วนหนึ่ง ได้มีผู้ย้อนไปหยิบยกการวิเคราะห์สถานการณ์สงครามยูเครนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดย น.ส.พรรณิการ์ วานิช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคอนาคตใหม่ และอดีตเป็นพิธีกรรายการข่าวทางช่องวอยซ์ทีวี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโฆษกคณะก้าวหน้า ซึ่งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 หรือเกือบ 3 ปีที่แล้ว ได้วิเคราะห์เรื่องนี้เอาไว้ในยูทูปช่อง คณะก้าวหน้า - Progressive Movement ความยาวกว่า 25 นาที ในหัวเรื่องว่า "ช่อฟันธง! รัสเซียแพ้ย่อยยับ ปูตินชักศึกเข้าบ้าน!" (ลิงก์ >> https://www.youtube.com/watch?v=ytfIw1BHnEM)
    .
    ทั้งนี้ในรายการดังกล่าว "ช่อ พรรณิการ์" แห่งคณะก้าวหน้าได้กล่าวในตอนต้นว่า "ดิฉันขอฟันธง รัสเซียเธอแพ้แน่นอน นับวันแพ้ ทำไมถึงจะแพ้ เป็นเพราะอะไรเกิดอะไรขึ้น เป็นเพราะอะไร?"
    .
    จากนั้น อดีตโฆษกพรรคอนาคตใหม่ได้กล่าววิเคราะห์ต่อว่า สาเหตุที่รัสเซียจะพ่ายแพ้ต่อยูเครนและชาติพันธมิตรยุโรปนั้นมาจาก การบีบบังคับด้วยการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ-การเงินต่อยุโรป
    "มาตรการหลัก ๆ ที่ตอนนี้นำโดยสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ใช้อยู่จริง ๆ คือ มาตรการการเงิน ซึ่งมากไปกว่า มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจการค้านะ แต่เรียกว่าเป็นการทุบค่าเงินและตัดตอนทางการเงินแบบขนานใหญ่ อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา นานาประเทศตัดรัสเซียออกจากระบบการโอนเงินระหว่างประเทศ S.W.I.F.T., ระบบการเงินของธนาคารต่าง ๆ, มีการฟรีซแอสเสท หรือสินทรัพย์ของรัสเซียที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงประกาศไม่ให้มีการค้าขายกับรัสเซีย ..." น.ส.พรรณิการ์กล่าว และวิเคราะห์ต่อว่า นี่เองเป็นสาเหตุที่ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียตกต่ำลงอย่างมาก จนแทบจะไม่มีค่า แทบจะกลายเป็นเศษกระดาษ
    .
    นอกจากนี้ ช่อ พรรณิการ์ ยังวิเคราะห์ต่ออย่างออกรสด้วยว่า ความเคลื่อนไหวที่สำคัญที่สุดคือ ท่าทีของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่เลือกจะทำตามมาตรการคว่ำบาตรของอียู คือ การอายัดทรัพย์สินของรัสเซียที่อยู่ในแบงก์สวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไม่ใช่แค่การอายัดเฉพาะทรัพย์สินของรัฐ แต่เป็นทรัพย์สินของเอกชน และมหาเศรษฐีต่าง ๆ ของรัสเซียที่เกี่ยวข้องกับนายปูตินด้วยจะเป็นปัจจัยชี้ขายให้รัสเซียและนายปูตินพ่ายแพ้อย่างแน่นอน
    .
    "ดิฉันคิดว่า เมื่อสวิตเซอร์แลนด์ทำขนาดนี้แล้ว ปูตินนับวันแพ้ได้เลยนะคะ" โฆษกคณะก้าวหน้าฟันธง
    .
    ล่วงเลยมาถึงวันนี้ เมื่อทีมงาน Sondhi X กลับไปสำรวจความเห็นของผู้ที่เข้ามาชมคลิปการวิเคราะห์สถานการณ์โลกดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ ทางยูทูปของคณะก้าวหน้าแล้วก็พบว่า มีผู้เข้าไปย้อนดูคลิปดังกล่าวและแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น
    • สวัสดีเรามาจากอนาคต 2025 ตอนนี้ทรัมป์กับปูตินเจรจากันแล้วนะเรื่องยูเครนโดยไม่มีไอ้กี้ หรือใช้คำว่าไม่เห็นหัวไอ้กี้ ก็คงไม่ผิดนัก ส่วนไอ้กี้ก็หัวซุกหัวซุนเกาะยุโรปที่เหลืออย่างแนบแน่น จริงแล้วตอนนี้ ยูเครนต้องเลือกปธน.ใหม่แล้วนะ แต่ไอ้กี้ไม่ยอม และไม่ฟังเสียงปชช.เลย โคจรหวงอำนาจเลย ยังไงรบกวนคุณช่อประท้วงแทนปชช.ชาวยูเครนด้วยนะ หรือส่งให้ว่าที่ เลขา UN ด้วยนะครับ
    • เมื่อไรจะแพ้ รออยู่นะคับ
    • ทายแค่ ซ้ายขวายังผิดยังคิดจะมาบริหารประเทศ อายมั้ยส้ม
    • 20-2-2025 ทายผิดจนขนลุก ยูเครนเละโดนรุมทึ้งแบ่งเค้กผลประโยชน์ของชาติ แถมไม่มีสิทธิแม้แต่เข้าร่วมเจรจาสันติภาพเลือกชะตากรรมของชาติตัวเอง 😂
    • ยูเครนชนะยังครับ รอจนเมื่อยแล้ว
    • สรุปทำไมวิเคราะห์ผิดหมดเลย ไม่มีข้อมูลเพียงพอรอบด้าน หรือไม่มีศักยภาพในการวิเคราะห์ ถ้าได้บริหารประเทศวิเคราะห์ผิดแบบนี้แย่แน่นอน
    • สวัสดีเรามาจากอนาคต สภาพ ผิดทุกเรื่องตรงข้ามทุกอย่าง 5555
    • วิเคราะห์มาถึงขนาดนี้ ปัจจุบันคุณเห็นหรือยังใครเป็นคนทำสงคราม นาโต้ทำสงครามกับรัสเซีย ยูเครนเป็นสนามรบ ผู้สนับสนุนหลักคืออเมริกา
    รัสเซียบุกยูเครน ก็เพราะนาโต้ขยายอาณาเขตเข้ามาในยูเครน รัสเซียแค่ป้องกันตนเองจากกลุ่มนาโต้ มีหัวเรือเป็นสหรัฐอเมริกา ตัวตลกยูเครนคือหุ่นเชิด
    • ธงหักหมดแล้ว จากคนเคยเลือกและลาขาด
    .
    สำหรับคลิปการวิเคราะห์ดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ เรื่องสงครามยูเครน นับถึงเวลา 20.00น. ที่ผ่านมาของวันที่ 20 ก.พ. 68 มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 1.49 ล้านครั้ง
    ยูเครนชนะกี่โมง? ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์" ฟันธงรัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ . ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์" ยอดนักวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศสายส้ม วิเคราะห์สงครามยูเครนแบบมั่นหน้า ด้วยการฟันธงว่า รัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ ปูตินจะถูกรัฐประหารเงียบ จนชาวเน็ตผู้มาจากอนาคตเข้าไปรุมคอมเมนต์เดือด เตือนความทรงจำ ถามเมื่อไหร่รัสเซียจะแพ้-ยูเครนจะชนะ? . ในสถานการณ์ทางการเมืองโลกที่ผันผวนภายหลังการยกหูโทรศัพท์พูดคุยกันนานกว่า 90 นาทีระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เมื่อวันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 โดยในประเด็นสงครามยูเครนนั้น นายทรัมป์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังว่า “ถึงเวลาแล้วที่จะยุติสงครามไร้สาระนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยการสังหารและการทำลายล้างที่ไม่จำเป็นเลย ขอพระเจ้าอวยพรประชาชนชาวรัสเซียและยูเครน!” . การเริ่มต้นพูดคุยระหว่าง ทรัมป์และปูติน อันนำมาสู่เหตุการณ์เมื่อ วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 สหรัฐฯ และรัสเซียนำโดย นายมาร์ค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ นายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งดำเนินการเปิดโต๊ะการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนกันเพียง 2 ฝ่าย อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยปราศจากตัวแทนของยูเครน และชาติต่าง ๆ ในยุโรปร่วมโต๊ะเลย แม้แต่คนเดียว . สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความเดือดดาลให้กับนายโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนและผู้นำชาติต่างๆ ในยุโรปอย่างมาก เพราะการเปิดโต๊ะเจรจาดังกล่าวเป็นสัญญาณว่า ยูเครนและยุโรปน่าจะต้องตกเป็นเบี้ยล่าง และพ่ายแพ้ถูกทิ้งไว้ท่ามกลางซากปรักหักพัง รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่เข้ารุมเร้าทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ การแย่งชิงบีบบังคับเอาทรัพยากรเพื่อชดใช้เงินช่วยเหลือในสงคราม ความวุ่นวายทางการเมืองภายใน รวมไปถึงปัญหาสังคมและผู้อพยพ ฯลฯ . ในส่วนของผู้ที่ติดตามข่าวสารเรื่องสงครามยูเครนในประเทศไทยส่วนหนึ่ง ได้มีผู้ย้อนไปหยิบยกการวิเคราะห์สถานการณ์สงครามยูเครนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดย น.ส.พรรณิการ์ วานิช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคอนาคตใหม่ และอดีตเป็นพิธีกรรายการข่าวทางช่องวอยซ์ทีวี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโฆษกคณะก้าวหน้า ซึ่งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 หรือเกือบ 3 ปีที่แล้ว ได้วิเคราะห์เรื่องนี้เอาไว้ในยูทูปช่อง คณะก้าวหน้า - Progressive Movement ความยาวกว่า 25 นาที ในหัวเรื่องว่า "ช่อฟันธง! รัสเซียแพ้ย่อยยับ ปูตินชักศึกเข้าบ้าน!" (ลิงก์ >> https://www.youtube.com/watch?v=ytfIw1BHnEM) . ทั้งนี้ในรายการดังกล่าว "ช่อ พรรณิการ์" แห่งคณะก้าวหน้าได้กล่าวในตอนต้นว่า "ดิฉันขอฟันธง รัสเซียเธอแพ้แน่นอน นับวันแพ้ ทำไมถึงจะแพ้ เป็นเพราะอะไรเกิดอะไรขึ้น เป็นเพราะอะไร?" . จากนั้น อดีตโฆษกพรรคอนาคตใหม่ได้กล่าววิเคราะห์ต่อว่า สาเหตุที่รัสเซียจะพ่ายแพ้ต่อยูเครนและชาติพันธมิตรยุโรปนั้นมาจาก การบีบบังคับด้วยการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ-การเงินต่อยุโรป "มาตรการหลัก ๆ ที่ตอนนี้นำโดยสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ใช้อยู่จริง ๆ คือ มาตรการการเงิน ซึ่งมากไปกว่า มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจการค้านะ แต่เรียกว่าเป็นการทุบค่าเงินและตัดตอนทางการเงินแบบขนานใหญ่ อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา นานาประเทศตัดรัสเซียออกจากระบบการโอนเงินระหว่างประเทศ S.W.I.F.T., ระบบการเงินของธนาคารต่าง ๆ, มีการฟรีซแอสเสท หรือสินทรัพย์ของรัสเซียที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงประกาศไม่ให้มีการค้าขายกับรัสเซีย ..." น.ส.พรรณิการ์กล่าว และวิเคราะห์ต่อว่า นี่เองเป็นสาเหตุที่ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียตกต่ำลงอย่างมาก จนแทบจะไม่มีค่า แทบจะกลายเป็นเศษกระดาษ . นอกจากนี้ ช่อ พรรณิการ์ ยังวิเคราะห์ต่ออย่างออกรสด้วยว่า ความเคลื่อนไหวที่สำคัญที่สุดคือ ท่าทีของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่เลือกจะทำตามมาตรการคว่ำบาตรของอียู คือ การอายัดทรัพย์สินของรัสเซียที่อยู่ในแบงก์สวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไม่ใช่แค่การอายัดเฉพาะทรัพย์สินของรัฐ แต่เป็นทรัพย์สินของเอกชน และมหาเศรษฐีต่าง ๆ ของรัสเซียที่เกี่ยวข้องกับนายปูตินด้วยจะเป็นปัจจัยชี้ขายให้รัสเซียและนายปูตินพ่ายแพ้อย่างแน่นอน . "ดิฉันคิดว่า เมื่อสวิตเซอร์แลนด์ทำขนาดนี้แล้ว ปูตินนับวันแพ้ได้เลยนะคะ" โฆษกคณะก้าวหน้าฟันธง . ล่วงเลยมาถึงวันนี้ เมื่อทีมงาน Sondhi X กลับไปสำรวจความเห็นของผู้ที่เข้ามาชมคลิปการวิเคราะห์สถานการณ์โลกดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ ทางยูทูปของคณะก้าวหน้าแล้วก็พบว่า มีผู้เข้าไปย้อนดูคลิปดังกล่าวและแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น • สวัสดีเรามาจากอนาคต 2025 ตอนนี้ทรัมป์กับปูตินเจรจากันแล้วนะเรื่องยูเครนโดยไม่มีไอ้กี้ หรือใช้คำว่าไม่เห็นหัวไอ้กี้ ก็คงไม่ผิดนัก ส่วนไอ้กี้ก็หัวซุกหัวซุนเกาะยุโรปที่เหลืออย่างแนบแน่น จริงแล้วตอนนี้ ยูเครนต้องเลือกปธน.ใหม่แล้วนะ แต่ไอ้กี้ไม่ยอม และไม่ฟังเสียงปชช.เลย โคจรหวงอำนาจเลย ยังไงรบกวนคุณช่อประท้วงแทนปชช.ชาวยูเครนด้วยนะ หรือส่งให้ว่าที่ เลขา UN ด้วยนะครับ • เมื่อไรจะแพ้ รออยู่นะคับ • ทายแค่ ซ้ายขวายังผิดยังคิดจะมาบริหารประเทศ อายมั้ยส้ม • 20-2-2025 ทายผิดจนขนลุก ยูเครนเละโดนรุมทึ้งแบ่งเค้กผลประโยชน์ของชาติ แถมไม่มีสิทธิแม้แต่เข้าร่วมเจรจาสันติภาพเลือกชะตากรรมของชาติตัวเอง 😂 • ยูเครนชนะยังครับ รอจนเมื่อยแล้ว • สรุปทำไมวิเคราะห์ผิดหมดเลย ไม่มีข้อมูลเพียงพอรอบด้าน หรือไม่มีศักยภาพในการวิเคราะห์ ถ้าได้บริหารประเทศวิเคราะห์ผิดแบบนี้แย่แน่นอน • สวัสดีเรามาจากอนาคต สภาพ ผิดทุกเรื่องตรงข้ามทุกอย่าง 5555 • วิเคราะห์มาถึงขนาดนี้ ปัจจุบันคุณเห็นหรือยังใครเป็นคนทำสงคราม นาโต้ทำสงครามกับรัสเซีย ยูเครนเป็นสนามรบ ผู้สนับสนุนหลักคืออเมริกา รัสเซียบุกยูเครน ก็เพราะนาโต้ขยายอาณาเขตเข้ามาในยูเครน รัสเซียแค่ป้องกันตนเองจากกลุ่มนาโต้ มีหัวเรือเป็นสหรัฐอเมริกา ตัวตลกยูเครนคือหุ่นเชิด • ธงหักหมดแล้ว จากคนเคยเลือกและลาขาด . สำหรับคลิปการวิเคราะห์ดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ เรื่องสงครามยูเครน นับถึงเวลา 20.00น. ที่ผ่านมาของวันที่ 20 ก.พ. 68 มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 1.49 ล้านครั้ง
    Haha
    Like
    5
    1 Comments 0 Shares 186 Views 0 Reviews
  • โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ โพสต์ข้อความบน Truth Social ยกย่องตัวเองว่าเป็น “กษัตริย์” หลังจากยกเลิกโครงการเก็บ “ค่าธรรมเนียมรถติด” (Congestion pricing) ในนครนิวยอร์ก โดยทรัมป์ กล่าวว่าค่าธรรมเนียมรถติดตายแล้ว ทำให้ แมนฮัตตันและทั่วทั้งนิวยอร์กปลอดภัยและลงท้ายว่า “LONG LIVE THE KING!" ปรากฏว่าในXบัญชีThe White House ของทำเนียบขาวถือโอกาสเชียร์ สร้างภาพทรัมป์สวมมงกุฎพระราชาภายในกรอบแดง เลียนแบบหน้าปกของนิตยสารไทม์ โดยพาดว่า “LONG LIVE THE KING”โดยต่อยอดคำพูดยกยอตัวเองของทรัมป์เผยแพร่ออกไป ทำให้คำว่า “LONG LIVE THE KING” ติดเทรนด์ยอดนิยมบน X ในสหรัฐฯ สื่อท้องถิ่นสหรัฐฯ บางสำนักกล่าวว่าการโพสต์จากบัญชีทางการของทำเนียบขาวที่แปลก ๆทรัมป์เกิดขึ้นในยุคทรัมป์ครองอำนาจประธานาธิบดีที่อยากเป็น "กษัตริย์แห่งอเมริกา"
    โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ โพสต์ข้อความบน Truth Social ยกย่องตัวเองว่าเป็น “กษัตริย์” หลังจากยกเลิกโครงการเก็บ “ค่าธรรมเนียมรถติด” (Congestion pricing) ในนครนิวยอร์ก โดยทรัมป์ กล่าวว่าค่าธรรมเนียมรถติดตายแล้ว ทำให้ แมนฮัตตันและทั่วทั้งนิวยอร์กปลอดภัยและลงท้ายว่า “LONG LIVE THE KING!" ปรากฏว่าในXบัญชีThe White House ของทำเนียบขาวถือโอกาสเชียร์ สร้างภาพทรัมป์สวมมงกุฎพระราชาภายในกรอบแดง เลียนแบบหน้าปกของนิตยสารไทม์ โดยพาดว่า “LONG LIVE THE KING”โดยต่อยอดคำพูดยกยอตัวเองของทรัมป์เผยแพร่ออกไป ทำให้คำว่า “LONG LIVE THE KING” ติดเทรนด์ยอดนิยมบน X ในสหรัฐฯ สื่อท้องถิ่นสหรัฐฯ บางสำนักกล่าวว่าการโพสต์จากบัญชีทางการของทำเนียบขาวที่แปลก ๆทรัมป์เกิดขึ้นในยุคทรัมป์ครองอำนาจประธานาธิบดีที่อยากเป็น "กษัตริย์แห่งอเมริกา"
    Like
    Haha
    2
    0 Comments 0 Shares 117 Views 0 Reviews
  • มีข้อเสนอให้หน่วยงาน DOGE ของ อีลอน มัสก์ เข้าไปตรวจสอบเงินของรัฐบาลสหรัฐฯที่ส่งไปยังยูเครน

    มัสก์ ตอบรับ พร้อมตรวจสอบซะด้วย!

    หมายเหตุ : DOGE คือ Department of Government Efficiency เป็นหน่วยงานใหม่ มีหน้าที่ปรับปรุงประสิทธิภาพของรัฐบาลสหรัฐฯที่ทรัมป์ตั้งขึ้นมา
    มีข้อเสนอให้หน่วยงาน DOGE ของ อีลอน มัสก์ เข้าไปตรวจสอบเงินของรัฐบาลสหรัฐฯที่ส่งไปยังยูเครน มัสก์ ตอบรับ พร้อมตรวจสอบซะด้วย! หมายเหตุ : DOGE คือ Department of Government Efficiency เป็นหน่วยงานใหม่ มีหน้าที่ปรับปรุงประสิทธิภาพของรัฐบาลสหรัฐฯที่ทรัมป์ตั้งขึ้นมา
    0 Comments 0 Shares 168 Views 0 Reviews
  • เปิดปริศนา "คลังทองคำ Fort Knox" ที่ซ่อนความลับมากว่า 90 ปี!

    อีลอน มัสก์' พร้อมนำทีม DOGE เปิดกล่องแพนดอร่า 'Fort Knox' ด้วยการถ่ายทอดสดตรวจสอบคลังทองคำ 4,584 ตัน มูลค่า 4.25 แสนล้าน$ ท่ามกลางทฤษฎีเขย่าขวัญ "โดนขโมย?" "เป็นทังสเตนปลอม?" แม้แต่ 'วุฒิสมาชิกแรนด์ พอล' ยังพยายามเข้าดูมา 10 ปีไม่สำเร็จ การเปิดเผยครั้งนี้อาจเปลี่ยนประวัติศาสตร์การเงินโลกตลอดกาล!

    ความลับ 90 ปีกำลังจะถูกเปิดเผย! อีลอน มัสก์ ท้าท้ายตรวจสอบคลังทองคำ "Fort Knox" พร้อมถ่ายทอดสด ท่ามกลางทฤษฎีสะเทือนโลกการเงิน

    เรื่องราวเริ่มขึ้นเมื่อมัสก์โพสต์คำถามที่ไม่มีใครกล้าถาม "ใครยืนยันได้ว่าทองคำไม่ได้ถูกขโมยไปจาก Fort Knox?" พร้อมแชร์มีมว่า "และมันหายไปแล้ว" จุดประกายข้อสงสัยเกี่ยวกับทรัพย์สินมูลค่ามหาศาลกว่า 425,000 ล้านดอลลาร์ของสหรัฐฯ
    วุฒิสมาชิกแรนด์ พอล ยอมรับว่าพยายามขอเข้าดูทองคำมานานถึง 10 ปีแต่ไม่สำเร็จ! ขณะที่พ่อของเขา อดีต ส.ส. รอน พอล ก็เคยพยายามยื่นขอตรวจสอบทองคำแท่งกว่า 700,000 แท่งในปี 2554 แต่ถูกปฏิเสธเช่นกัน
    ทฤษฎีที่น่าสะพรึงได้ถูกเสนอจากผู้เชี่ยวชาญหลายคน: ทองคำอาจเป็นเพียง "ทังสเตนชุบทอง" เพราะมีน้ำหนักเท่ากัน ยากต่อการตรวจพบ

    ตระกูลร็อคกี้เฟลเลอร์อาจบงการให้ธนาคารกลางขายทองคำไปตั้งแต่ยุค 70s
    คณะกรรมการทองคำในสมัยประธานาธิบดีเรแกน (1982) อาจพบว่าไม่มีทองคำเหลือแล้ว
    น่าแปลกใจที่ตลอด 90 ปี มีเพียง 3 ครั้งเท่านั้นที่มีการเข้าตรวจสอบอย่างเป็นทางการ ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2560 โดยรัฐมนตรีคลัง สตีเวน มนูชิน แต่ไม่มีหลักฐานที่เปิดเผยต่อสาธารณะเลย

    การถ่ายทอดสดตรวจสอบของมัสก์อาจเปลี่ยนประวัติศาสตร์การเงินโลกและความเชื่อมั่นในระบบทองคำ หากพบว่าทฤษฎีเหล่านี้เป็นความจริง!

    https://www.imctnews.com/news_details-news-6829.html
    เปิดปริศนา "คลังทองคำ Fort Knox" ที่ซ่อนความลับมากว่า 90 ปี! อีลอน มัสก์' พร้อมนำทีม DOGE เปิดกล่องแพนดอร่า 'Fort Knox' ด้วยการถ่ายทอดสดตรวจสอบคลังทองคำ 4,584 ตัน มูลค่า 4.25 แสนล้าน$ ท่ามกลางทฤษฎีเขย่าขวัญ "โดนขโมย?" "เป็นทังสเตนปลอม?" แม้แต่ 'วุฒิสมาชิกแรนด์ พอล' ยังพยายามเข้าดูมา 10 ปีไม่สำเร็จ การเปิดเผยครั้งนี้อาจเปลี่ยนประวัติศาสตร์การเงินโลกตลอดกาล! ความลับ 90 ปีกำลังจะถูกเปิดเผย! อีลอน มัสก์ ท้าท้ายตรวจสอบคลังทองคำ "Fort Knox" พร้อมถ่ายทอดสด ท่ามกลางทฤษฎีสะเทือนโลกการเงิน เรื่องราวเริ่มขึ้นเมื่อมัสก์โพสต์คำถามที่ไม่มีใครกล้าถาม "ใครยืนยันได้ว่าทองคำไม่ได้ถูกขโมยไปจาก Fort Knox?" พร้อมแชร์มีมว่า "และมันหายไปแล้ว" จุดประกายข้อสงสัยเกี่ยวกับทรัพย์สินมูลค่ามหาศาลกว่า 425,000 ล้านดอลลาร์ของสหรัฐฯ วุฒิสมาชิกแรนด์ พอล ยอมรับว่าพยายามขอเข้าดูทองคำมานานถึง 10 ปีแต่ไม่สำเร็จ! ขณะที่พ่อของเขา อดีต ส.ส. รอน พอล ก็เคยพยายามยื่นขอตรวจสอบทองคำแท่งกว่า 700,000 แท่งในปี 2554 แต่ถูกปฏิเสธเช่นกัน ทฤษฎีที่น่าสะพรึงได้ถูกเสนอจากผู้เชี่ยวชาญหลายคน: ทองคำอาจเป็นเพียง "ทังสเตนชุบทอง" เพราะมีน้ำหนักเท่ากัน ยากต่อการตรวจพบ ตระกูลร็อคกี้เฟลเลอร์อาจบงการให้ธนาคารกลางขายทองคำไปตั้งแต่ยุค 70s คณะกรรมการทองคำในสมัยประธานาธิบดีเรแกน (1982) อาจพบว่าไม่มีทองคำเหลือแล้ว น่าแปลกใจที่ตลอด 90 ปี มีเพียง 3 ครั้งเท่านั้นที่มีการเข้าตรวจสอบอย่างเป็นทางการ ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2560 โดยรัฐมนตรีคลัง สตีเวน มนูชิน แต่ไม่มีหลักฐานที่เปิดเผยต่อสาธารณะเลย การถ่ายทอดสดตรวจสอบของมัสก์อาจเปลี่ยนประวัติศาสตร์การเงินโลกและความเชื่อมั่นในระบบทองคำ หากพบว่าทฤษฎีเหล่านี้เป็นความจริง! https://www.imctnews.com/news_details-news-6829.html
    0 Comments 0 Shares 165 Views 0 Reviews
  • สหรัฐเล็งถอนทหารออกจากยุโรปตะวันออก

    มีรายงานว่าสหรัฐฯ กำลังเจรจาเรื่องการถอนทหารจากประเทศสมาชิก NATO ที่เข้าร่วมหลังปี 1990 ซึ่งรวมถึงโปแลนด์ ประเทศบอลติก โรมาเนีย และอื่นๆ

    ณ ปี พ.ศ. 2565 สหรัฐฯ มีทหารมากกว่า 100,000 นายในยุโรป โดยมีทหารประจำการอยู่ในโปแลนด์ 10,500 นาย ทหารประจำการในลิทัวเนีย 4,000 นาย ทหารประจำการในฮังการี 3,300 นาย และทหารประจำการในบัลแกเรีย 900 นาย
    การเคลื่อนไหวครั้งนี้อาจทำให้ยุโรปตะวันออกเปิดรับอิทธิพลของรัสเซียในฐานะส่วนหนึ่งของการเจรจาสงครามยูเครนที่กำลังดำเนินอยู่

    มีรายงานว่ามีเพียงฐานทัพสหรัฐฯ ในเยอรมนีและสหราชอาณาจักรเท่านั้นที่ได้รับการยกเว้น
    สหรัฐเล็งถอนทหารออกจากยุโรปตะวันออก มีรายงานว่าสหรัฐฯ กำลังเจรจาเรื่องการถอนทหารจากประเทศสมาชิก NATO ที่เข้าร่วมหลังปี 1990 ซึ่งรวมถึงโปแลนด์ ประเทศบอลติก โรมาเนีย และอื่นๆ ณ ปี พ.ศ. 2565 สหรัฐฯ มีทหารมากกว่า 100,000 นายในยุโรป โดยมีทหารประจำการอยู่ในโปแลนด์ 10,500 นาย ทหารประจำการในลิทัวเนีย 4,000 นาย ทหารประจำการในฮังการี 3,300 นาย และทหารประจำการในบัลแกเรีย 900 นาย การเคลื่อนไหวครั้งนี้อาจทำให้ยุโรปตะวันออกเปิดรับอิทธิพลของรัสเซียในฐานะส่วนหนึ่งของการเจรจาสงครามยูเครนที่กำลังดำเนินอยู่ มีรายงานว่ามีเพียงฐานทัพสหรัฐฯ ในเยอรมนีและสหราชอาณาจักรเท่านั้นที่ได้รับการยกเว้น
    0 Comments 0 Shares 134 Views 0 Reviews
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าวหา โดนัลด์ ทรัมป์ ว่า เอาแต่เชื่อฟัง “ข้อมูลข่าวสารเท็จ” ของฝ่ายรัสเซีย เป็นการตอบโต้ผู้นำสหรัฐฯ ที่พูดเมื่อ 1 วันก่อนหน้านั้น โจมตีประมุขเคียฟกลายๆ ว่า เขาเป็นต้นตอปล่อยให้ความขัดแย้งกับรัสเซียเริ่มต้นขึ้นมาและลุกลามบานปลายอย่างไม่จำเป็น การโจมตีใส่กันเช่นนี้ส่อแสดงให้เห็นว่ายูเครนกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกายิ่งมองหน้ากันไม่ติด หลังจากคณะผู้แทนทางการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ และรัสเซียเปิดการหารือกันอย่างชื่นมื่นที่ซาอุดีอาระเบีย ในเรื่องหนทางยุติสงครามในยูเครนและการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างแดนอินทรีกับแดนหมีขาว โดยที่ไม่เชิญยูเครนหรือชาติยุโรปซึ่งหนุนหลังเคียฟเข้าร่วมด้วย
    .
    ระหว่างการแถลงข่าวสื่อมวลชนเมื่อวันอังคาร (18) ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวย้ำประเด็นจำนวนมากที่ฝ่ายรัสเซียได้พูดเอาไว้ในช่วง 3 ปีที่เกิดสงครามในยูเครน โดยประณามเคียฟว่าเป็นผู้เริ่มต้นทำให้เกิดการสู้รบขึ้นมาอย่างไม่จำเป็น พร้อมกับย้ำว่า บรรดาผู้นำในเคียฟไม่ควรปล่อยให้เกิดการสู้รบขัดแย้งขึ้นมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้คำพูดเช่นนี้ของเขาอาจตีความได้ว่า เขาเห็นว่ายูเครนน่าจะยอมโอนอ่อนผ่อนตามแดนหมีขาว ก่อนที่รัสเซียจะยกทัพบุกเมื่อต้นปี 2022 นอกจากนั้น ทรัมป์ยังเสนอแนะว่าเซเลนสกีกำลังไม่เป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนชาวยูเครน
    .
    เซเลนสกีกล่าวตอบโต้กลับในวันพุธ โดยบอกว่า “โชคร้าย ท่านประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้ซึ่งเรามีความเคารพอย่างใหญ่หลวงในฐานะเป็นผู้นำของประชาชนชาวอเมริกัน ... มีชีวิตอยู่ในท่ามกลางแวดวงข้อมูลข่าวสารเท็จเช่นนี้”
    .
    “ผมเชื่อว่าสหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือให้ปูตินสามารถทลายการถูกโดดเดี่ยวมาเป็นเวลาหลายปี” เซเลนสกี กล่าว
    .
    ในวันอังคาร ทรัมป์กล่าวตำหนิทางยูเครนที่ส่งเสียงคร่ำครวญกรณีถูกกีดกันออกจากการเจรจาของสหรัฐฯ กับรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันเดียวกัน
    .
    "ผมผิดหวังอย่างมาก ผมได้ยินว่าพวกเขาอารมณ์เสียที่ไม่มีที่นั่งบนโต๊ะเจรจา" ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่รีสอร์ตมาร์-อา-ลาโก ของเขาในฟลอริดา หลังถูกสอบถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของยูเครน
    .
    "วันนี้ผมได้ยิน (ทางยูเครนพูด) ว่า โอ้ เราไม่ได้รับเชิญ ก็แน่นอนล่ะ คุณอยู่ตรงนั้นมา 3 ปี แต่คุณไม่เคยเริ่มมันเลย คุณควรทำข้อตกลง (กับรัสเซีย)" เขากล่าว
    .
    ในการแถลงข่าว ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจพบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก่อนสิ้นเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบีย เวลาเดียวกันเขาก็เพิ่มความกดดันให้เซเลนสกีต้องจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญของรัสเซีย ทั้งนี้ เนื่องจากเซเลนสกีรับตำแหน่งเกิน 5 ปีตามกำหนดวาระแล้ว แต่ยังไม่จัดการเลือกตั้งโดยอ้างว่า ยูเครนยังคงอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก
    .
    "พวกเขา (พวกผู้นำยูเครน) ต้องการเก้าอี้บนโต๊ะเจรจา แต่คุณสามารถพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชวยูเครน มันนานมาแล้วนะที่เขามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์ระบุ พร้อมกับกล่าวว่า "นี่ไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากเรา มาจากประเทศอื่นๆ"
    .
    ผู้นำสหรัฐฯ ยังบอกว่า มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ตนเองมีอำนาจในการหยุดยั้งสงครามในยูเครน ภายหลังการหารือของคณะผู้แทนของสหรัฐฯ และรัสเซียที่กรุงริยาด ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น
    .
    ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า ในการหารือที่ริยาดที่ใช้เวลายาวนานราว 4 ชั่วโมงครึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายอเมริกา และรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะของฝ่ายแดนหมีขาว ได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อหารือกันถึงเกี่ยวกับวิธีการยุติสงครามในยูเครนโดยเร็วที่สุด แต่ยังไม่ระบุชัดเจนว่าจะประชุมกันครั้งแรกเมื่อใด
    .
    ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องสร้างกลไกการหารือเพื่อจัดการ “สิ่งที่สร้างความระคายเคือง” ต่อความสัมพันธ์สองประเทศ และวางรากฐานสำหรับการร่วมมือในอนาคต
    .
    ด้าน ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ ซึ่งร่วมเจรจาที่ริยาดด้วย เสริมว่า ประเด็นด้านดินแดนและการรับประกันความมั่นคงจะเป็นส่วนหนึ่งในการหารือ
    .
    สำหรับ คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจของรัสเซีย กล่าวว่า ความพยายามของตะวันตกในการโดดเดี่ยวรัสเซียล้มเหลวอย่างชัดเจน และเสริมว่า รัสเซียและอเมริกาควรพัฒนาโครงการพลังงานร่วมกัน ซึ่งรวมถึงในอาร์กติกและภูมิภาคอื่นๆ
    .
    ด้านลาฟรอฟแสดงความเชื่อมั่นว่า อเมริกาเข้าใจจุดยืนของรัสเซียดีขึ้น และยังย้ำว่า มอสโกคัดค้านการนำกองกำลังนาโตไปประจำการในยูเครนภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้นำยุโรปกำลังถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016776
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าวหา โดนัลด์ ทรัมป์ ว่า เอาแต่เชื่อฟัง “ข้อมูลข่าวสารเท็จ” ของฝ่ายรัสเซีย เป็นการตอบโต้ผู้นำสหรัฐฯ ที่พูดเมื่อ 1 วันก่อนหน้านั้น โจมตีประมุขเคียฟกลายๆ ว่า เขาเป็นต้นตอปล่อยให้ความขัดแย้งกับรัสเซียเริ่มต้นขึ้นมาและลุกลามบานปลายอย่างไม่จำเป็น การโจมตีใส่กันเช่นนี้ส่อแสดงให้เห็นว่ายูเครนกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกายิ่งมองหน้ากันไม่ติด หลังจากคณะผู้แทนทางการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ และรัสเซียเปิดการหารือกันอย่างชื่นมื่นที่ซาอุดีอาระเบีย ในเรื่องหนทางยุติสงครามในยูเครนและการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างแดนอินทรีกับแดนหมีขาว โดยที่ไม่เชิญยูเครนหรือชาติยุโรปซึ่งหนุนหลังเคียฟเข้าร่วมด้วย . ระหว่างการแถลงข่าวสื่อมวลชนเมื่อวันอังคาร (18) ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวย้ำประเด็นจำนวนมากที่ฝ่ายรัสเซียได้พูดเอาไว้ในช่วง 3 ปีที่เกิดสงครามในยูเครน โดยประณามเคียฟว่าเป็นผู้เริ่มต้นทำให้เกิดการสู้รบขึ้นมาอย่างไม่จำเป็น พร้อมกับย้ำว่า บรรดาผู้นำในเคียฟไม่ควรปล่อยให้เกิดการสู้รบขัดแย้งขึ้นมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้คำพูดเช่นนี้ของเขาอาจตีความได้ว่า เขาเห็นว่ายูเครนน่าจะยอมโอนอ่อนผ่อนตามแดนหมีขาว ก่อนที่รัสเซียจะยกทัพบุกเมื่อต้นปี 2022 นอกจากนั้น ทรัมป์ยังเสนอแนะว่าเซเลนสกีกำลังไม่เป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนชาวยูเครน . เซเลนสกีกล่าวตอบโต้กลับในวันพุธ โดยบอกว่า “โชคร้าย ท่านประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้ซึ่งเรามีความเคารพอย่างใหญ่หลวงในฐานะเป็นผู้นำของประชาชนชาวอเมริกัน ... มีชีวิตอยู่ในท่ามกลางแวดวงข้อมูลข่าวสารเท็จเช่นนี้” . “ผมเชื่อว่าสหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือให้ปูตินสามารถทลายการถูกโดดเดี่ยวมาเป็นเวลาหลายปี” เซเลนสกี กล่าว . ในวันอังคาร ทรัมป์กล่าวตำหนิทางยูเครนที่ส่งเสียงคร่ำครวญกรณีถูกกีดกันออกจากการเจรจาของสหรัฐฯ กับรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันเดียวกัน . "ผมผิดหวังอย่างมาก ผมได้ยินว่าพวกเขาอารมณ์เสียที่ไม่มีที่นั่งบนโต๊ะเจรจา" ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่รีสอร์ตมาร์-อา-ลาโก ของเขาในฟลอริดา หลังถูกสอบถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของยูเครน . "วันนี้ผมได้ยิน (ทางยูเครนพูด) ว่า โอ้ เราไม่ได้รับเชิญ ก็แน่นอนล่ะ คุณอยู่ตรงนั้นมา 3 ปี แต่คุณไม่เคยเริ่มมันเลย คุณควรทำข้อตกลง (กับรัสเซีย)" เขากล่าว . ในการแถลงข่าว ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจพบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก่อนสิ้นเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบีย เวลาเดียวกันเขาก็เพิ่มความกดดันให้เซเลนสกีต้องจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญของรัสเซีย ทั้งนี้ เนื่องจากเซเลนสกีรับตำแหน่งเกิน 5 ปีตามกำหนดวาระแล้ว แต่ยังไม่จัดการเลือกตั้งโดยอ้างว่า ยูเครนยังคงอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก . "พวกเขา (พวกผู้นำยูเครน) ต้องการเก้าอี้บนโต๊ะเจรจา แต่คุณสามารถพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชวยูเครน มันนานมาแล้วนะที่เขามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์ระบุ พร้อมกับกล่าวว่า "นี่ไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากเรา มาจากประเทศอื่นๆ" . ผู้นำสหรัฐฯ ยังบอกว่า มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ตนเองมีอำนาจในการหยุดยั้งสงครามในยูเครน ภายหลังการหารือของคณะผู้แทนของสหรัฐฯ และรัสเซียที่กรุงริยาด ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น . ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า ในการหารือที่ริยาดที่ใช้เวลายาวนานราว 4 ชั่วโมงครึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายอเมริกา และรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะของฝ่ายแดนหมีขาว ได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อหารือกันถึงเกี่ยวกับวิธีการยุติสงครามในยูเครนโดยเร็วที่สุด แต่ยังไม่ระบุชัดเจนว่าจะประชุมกันครั้งแรกเมื่อใด . ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องสร้างกลไกการหารือเพื่อจัดการ “สิ่งที่สร้างความระคายเคือง” ต่อความสัมพันธ์สองประเทศ และวางรากฐานสำหรับการร่วมมือในอนาคต . ด้าน ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ ซึ่งร่วมเจรจาที่ริยาดด้วย เสริมว่า ประเด็นด้านดินแดนและการรับประกันความมั่นคงจะเป็นส่วนหนึ่งในการหารือ . สำหรับ คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจของรัสเซีย กล่าวว่า ความพยายามของตะวันตกในการโดดเดี่ยวรัสเซียล้มเหลวอย่างชัดเจน และเสริมว่า รัสเซียและอเมริกาควรพัฒนาโครงการพลังงานร่วมกัน ซึ่งรวมถึงในอาร์กติกและภูมิภาคอื่นๆ . ด้านลาฟรอฟแสดงความเชื่อมั่นว่า อเมริกาเข้าใจจุดยืนของรัสเซียดีขึ้น และยังย้ำว่า มอสโกคัดค้านการนำกองกำลังนาโตไปประจำการในยูเครนภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้นำยุโรปกำลังถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016776 .............. Sondhi X
    Like
    10
    1 Comments 0 Shares 1185 Views 0 Reviews
  • ทรัมป์ทิ้งบอมบ์รอบใหม่ ขู่รีดภาษีศุลกากรรถนำเข้า 25% และจัดเก็บในระดับเดียวกันหรือสูงกว่าสำหรับผลิตภัณฑ์ยาและเซมิคอนดักเตอร์ ด้านจีนประณามมาตรการภาษีและการข่มขู่ของทรัมป์ระหว่างการประชุมองค์การการค้าโลกว่า เป็นการคุกคามระบบการค้าและทำให้เศรษฐกิจโลกถดถอย
    .
    นับจากเข้ารับตำแหน่งปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ได้สั่งเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้าของพวกประเทศคู่ค้าใหญ่ที่สุดบางแห่งโดยอ้างว่า เพื่อตอบโต้กับแนวทางปฏิบัติทางการค้าที่เอาเปรียบและไม่เป็นธรรมกับสหรัฐฯ นอกจากนั้น ในหลายกรณีก็ระบุเหตุผลว่าเพื่อผลักดันนโยบายสำคัญของอเมริกา อย่างเช่นการปราบปรามการอพยพเข้าสหรัฐฯ อย่างผิดกฎหมาย
    .
    ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศรีดภาษีศุลกากรจากสินค้านำเข้าทุกรายการจากจีนเพิ่มขึ้นอีก 10% และปักกิ่งได้ตอบโต้ด้วยมาตรการทำนองเดียวกันในขนาดขอบเขตที่แคบกว่า จากนั้นทรัมป์ยังสั่งขึ้นภาษีที่เก็บจากเหล็กกล้าและอะลูมิเนียมนำเข้าจากทุกประเทศในอัตรา 25%
    .
    ล่าสุดในวันอังคาร (18 ก.พ.) ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า จะขึ้นภาษีศุลกากรที่จะเรียกเก็บจากอุตสาหกรรมรถยนต์ในอัตราประมาณ 25% โดยจะบังคับใช้ในราววันที่ 2 เมษายน
    .
    สำหรับสินค้าพวกยาและเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งทรัมป์เคยบอกไว้ว่าจะพิจารณาเพิ่มภาษีในช่วงเวลาเดียวกับรถยนต์นั้น ทรัมป์ขยายความในคราวนี้ว่า จะเก็บสูงขึ้นในอัตรา 25% หรือสูงกว่านั้น แล้วจากนั้นจะเพิ่มขึ้นสูงมากภายใน 1 ปี แต่เขายังไม่ระบุว่าจะเริ่มเมื่อใด
    .
    เขายังบอกว่า ต้องการให้เวลาพวกบริษัทที่ได้รับผลกระทบ เพื่อจะได้กลับลำมาทำธุรกิจในอเมริกา และเสริมด้วยว่า ประเทศคู่ค้าของวอชิงตันก็สามารถหลีกเลี่ยงการถูกเก็บภาษีเพิ่มได้ด้วยการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานในอเมริกา
    .
    อย่างไรก็ตาม พวกผู้เชี่ยวชาญย้ำคำเตือนที่ได้ให้ไว้ตั้งแต่ก่อนหน้านี้ ที่ว่ามาตรการเพิ่มภาษีศุลกาการจากสินค้านำเข้านั้น คนอเมริกันเองมีแนวโน้มต้องแบกรับมากกว่าพวกผู้ส่งออกต่างชาติ เนื่องจากคนที่ต้องควักเงินจ่ายภาษีจริงๆ ก็คือผู้นำเข้าในอเมริกา และพวกเขาก็มักแบ่งเบาภาระนี้ด้วยการขึ้นราคาสินค้าที่จำหน่ายในสหรัฐฯ
    .
    เฉพาะรถยนต์นั้น ปัจจุบันรถยนต์ราว 50% ที่ขายในอเมริกาเป็นรถที่ผลิตภายในประเทศ ขณะที่รถนำเข้าประมาณครึ่งหนึ่งเป็นรถจากเม็กซิโกและแคนาดา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแบรนด์ระดับอินเตอร์ไปตั้งโรงงานประกอบกันที่นั่น นอกจากนั้นยังมีญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเยอรมนีที่เป็นซัปพลายเออร์รายสำคัญ
    .
    เอเชียจับตามาตรการภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างระมัดระวังมาก เนื่องจากมีซัปพลายเออร์หลักบางแห่งของอุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกาตั้งอยู่
    .
    โยชิมาสะ ฮายาชิ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์เมื่อวันพุธว่า ญี่ปุ่นได้หยิบยกประเด็นภาษีศุลกากรรถยนต์หารือกับอเมริกาแล้ว และรัฐบาลจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมควบคู่กับการตรวจสอบรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงของมาตรการภาษีดังกล่าว
    .
    ทางด้านไต้หวันที่เป็นฮับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของโลกและถูกทรัมป์กล่าวหาว่า ปล้นอุตสาหกรรมชิปไปจากอเมริกานั้น ก็แสดงท่าทีตื่นตัวเฝ้าระวัง ถึงแม้กระทรวงเศรษฐกิจแถลงว่า ขอบเขตผลิตภัณฑ์ที่จะถูกเรียกเก็บภาษียังไม่มีความชัดเจน และรัฐบาลจะติดตามทิศทางนโยบายของอเมริกาต่อไป รวมทั้งจะให้ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมท้องถิ่นที่ได้รับความเดือดร้อน
    .
    ก่อนหน้านี้ไทเปประกาศแล้วว่า จะเพิ่มการลงทุนในอเมริกาเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงมาตรการภาษีของทรัมป์
    .
    ผู้นำอเมริกายังแสดงความยินดีที่สหภาพยุโรป ลดภาษีศุลกากรรถยนต์จาก 10% เหลือ 2.5% เท่ากับอเมริกา และบอกว่า ถ้าทุกประเทศทำแบบนี้ การค้าทั่วโลกจะแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม
    .
    ในอีกด้านหนึ่ง หลี่ เฉิงกัง เอกอัครราชทูตจีนประจำองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ได้ประณามมาตรการภาษีศุลกากรและการข่มขู่ของทรัมป์ ในระหว่างการประชุมคณะมนตรีใหญ่ดับเบิลยูทีโอในวันอังคารโดยระบุว่า การขึ้นภาษีอย่างแรงและการดำเนินการฝ่ายเดียวของทรัมป์เช่นนี้ ส่งผลกระทบหนักหน่วงต่อระบบการค้าโลก ทำให้เศรษฐกิจไร้ความแน่นอนมากขึ้น การค้าโลกสะดุด เสี่ยงเกิดภาวะเฟ้อในอเมริกา บิดเบือนตลาด หรือแม้กระทั่งทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย
    .
    ทว่า เดวิด บิสบี นักการทูตของอเมริกาตอบโต้ว่า เศรษฐกิจจีนเป็นระบบเศรษฐกิจนักล่าที่ไม่ได้อิงกับตลาด และเสริมว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่เข้าเป็นสมาชิก จีนละเมิด เพิกเฉย และหลบเลี่ยงกฎของดับเบิลยูทีโอมาหลายครั้ง
    .
    ทั้งนี้ ความขัดแย้งระหว่างสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในดับเบิลยูทีโอเกิดขึ้นมานานแล้ว โดยปักกิ่งกล่าวหาวอชิงตันละเมิดกฎ ขณะที่วอชิงตันระบุว่า ปักกิ่งไม่สมควรได้รับสถานะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งได้รับการปฏิบัติพิเศษภายใต้กฎของดับเบิลยูทีโอ
    .
    นอกจากนั้น การที่คณะบริหารของทรัมป์ประกาศแผนถอนตัวจากองค์กรระดับโลกหลายแห่ง ยังเท่ากับว่า ดับเบิลยูทีโอไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่ทำเนียบขาวคำนึงถึงมากนัก
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016777
    ..............
    Sondhi X
    ทรัมป์ทิ้งบอมบ์รอบใหม่ ขู่รีดภาษีศุลกากรรถนำเข้า 25% และจัดเก็บในระดับเดียวกันหรือสูงกว่าสำหรับผลิตภัณฑ์ยาและเซมิคอนดักเตอร์ ด้านจีนประณามมาตรการภาษีและการข่มขู่ของทรัมป์ระหว่างการประชุมองค์การการค้าโลกว่า เป็นการคุกคามระบบการค้าและทำให้เศรษฐกิจโลกถดถอย . นับจากเข้ารับตำแหน่งปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ได้สั่งเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้าของพวกประเทศคู่ค้าใหญ่ที่สุดบางแห่งโดยอ้างว่า เพื่อตอบโต้กับแนวทางปฏิบัติทางการค้าที่เอาเปรียบและไม่เป็นธรรมกับสหรัฐฯ นอกจากนั้น ในหลายกรณีก็ระบุเหตุผลว่าเพื่อผลักดันนโยบายสำคัญของอเมริกา อย่างเช่นการปราบปรามการอพยพเข้าสหรัฐฯ อย่างผิดกฎหมาย . ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศรีดภาษีศุลกากรจากสินค้านำเข้าทุกรายการจากจีนเพิ่มขึ้นอีก 10% และปักกิ่งได้ตอบโต้ด้วยมาตรการทำนองเดียวกันในขนาดขอบเขตที่แคบกว่า จากนั้นทรัมป์ยังสั่งขึ้นภาษีที่เก็บจากเหล็กกล้าและอะลูมิเนียมนำเข้าจากทุกประเทศในอัตรา 25% . ล่าสุดในวันอังคาร (18 ก.พ.) ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า จะขึ้นภาษีศุลกากรที่จะเรียกเก็บจากอุตสาหกรรมรถยนต์ในอัตราประมาณ 25% โดยจะบังคับใช้ในราววันที่ 2 เมษายน . สำหรับสินค้าพวกยาและเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งทรัมป์เคยบอกไว้ว่าจะพิจารณาเพิ่มภาษีในช่วงเวลาเดียวกับรถยนต์นั้น ทรัมป์ขยายความในคราวนี้ว่า จะเก็บสูงขึ้นในอัตรา 25% หรือสูงกว่านั้น แล้วจากนั้นจะเพิ่มขึ้นสูงมากภายใน 1 ปี แต่เขายังไม่ระบุว่าจะเริ่มเมื่อใด . เขายังบอกว่า ต้องการให้เวลาพวกบริษัทที่ได้รับผลกระทบ เพื่อจะได้กลับลำมาทำธุรกิจในอเมริกา และเสริมด้วยว่า ประเทศคู่ค้าของวอชิงตันก็สามารถหลีกเลี่ยงการถูกเก็บภาษีเพิ่มได้ด้วยการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานในอเมริกา . อย่างไรก็ตาม พวกผู้เชี่ยวชาญย้ำคำเตือนที่ได้ให้ไว้ตั้งแต่ก่อนหน้านี้ ที่ว่ามาตรการเพิ่มภาษีศุลกาการจากสินค้านำเข้านั้น คนอเมริกันเองมีแนวโน้มต้องแบกรับมากกว่าพวกผู้ส่งออกต่างชาติ เนื่องจากคนที่ต้องควักเงินจ่ายภาษีจริงๆ ก็คือผู้นำเข้าในอเมริกา และพวกเขาก็มักแบ่งเบาภาระนี้ด้วยการขึ้นราคาสินค้าที่จำหน่ายในสหรัฐฯ . เฉพาะรถยนต์นั้น ปัจจุบันรถยนต์ราว 50% ที่ขายในอเมริกาเป็นรถที่ผลิตภายในประเทศ ขณะที่รถนำเข้าประมาณครึ่งหนึ่งเป็นรถจากเม็กซิโกและแคนาดา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแบรนด์ระดับอินเตอร์ไปตั้งโรงงานประกอบกันที่นั่น นอกจากนั้นยังมีญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเยอรมนีที่เป็นซัปพลายเออร์รายสำคัญ . เอเชียจับตามาตรการภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างระมัดระวังมาก เนื่องจากมีซัปพลายเออร์หลักบางแห่งของอุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกาตั้งอยู่ . โยชิมาสะ ฮายาชิ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์เมื่อวันพุธว่า ญี่ปุ่นได้หยิบยกประเด็นภาษีศุลกากรรถยนต์หารือกับอเมริกาแล้ว และรัฐบาลจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมควบคู่กับการตรวจสอบรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงของมาตรการภาษีดังกล่าว . ทางด้านไต้หวันที่เป็นฮับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของโลกและถูกทรัมป์กล่าวหาว่า ปล้นอุตสาหกรรมชิปไปจากอเมริกานั้น ก็แสดงท่าทีตื่นตัวเฝ้าระวัง ถึงแม้กระทรวงเศรษฐกิจแถลงว่า ขอบเขตผลิตภัณฑ์ที่จะถูกเรียกเก็บภาษียังไม่มีความชัดเจน และรัฐบาลจะติดตามทิศทางนโยบายของอเมริกาต่อไป รวมทั้งจะให้ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมท้องถิ่นที่ได้รับความเดือดร้อน . ก่อนหน้านี้ไทเปประกาศแล้วว่า จะเพิ่มการลงทุนในอเมริกาเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงมาตรการภาษีของทรัมป์ . ผู้นำอเมริกายังแสดงความยินดีที่สหภาพยุโรป ลดภาษีศุลกากรรถยนต์จาก 10% เหลือ 2.5% เท่ากับอเมริกา และบอกว่า ถ้าทุกประเทศทำแบบนี้ การค้าทั่วโลกจะแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม . ในอีกด้านหนึ่ง หลี่ เฉิงกัง เอกอัครราชทูตจีนประจำองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ได้ประณามมาตรการภาษีศุลกากรและการข่มขู่ของทรัมป์ ในระหว่างการประชุมคณะมนตรีใหญ่ดับเบิลยูทีโอในวันอังคารโดยระบุว่า การขึ้นภาษีอย่างแรงและการดำเนินการฝ่ายเดียวของทรัมป์เช่นนี้ ส่งผลกระทบหนักหน่วงต่อระบบการค้าโลก ทำให้เศรษฐกิจไร้ความแน่นอนมากขึ้น การค้าโลกสะดุด เสี่ยงเกิดภาวะเฟ้อในอเมริกา บิดเบือนตลาด หรือแม้กระทั่งทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย . ทว่า เดวิด บิสบี นักการทูตของอเมริกาตอบโต้ว่า เศรษฐกิจจีนเป็นระบบเศรษฐกิจนักล่าที่ไม่ได้อิงกับตลาด และเสริมว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่เข้าเป็นสมาชิก จีนละเมิด เพิกเฉย และหลบเลี่ยงกฎของดับเบิลยูทีโอมาหลายครั้ง . ทั้งนี้ ความขัดแย้งระหว่างสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในดับเบิลยูทีโอเกิดขึ้นมานานแล้ว โดยปักกิ่งกล่าวหาวอชิงตันละเมิดกฎ ขณะที่วอชิงตันระบุว่า ปักกิ่งไม่สมควรได้รับสถานะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งได้รับการปฏิบัติพิเศษภายใต้กฎของดับเบิลยูทีโอ . นอกจากนั้น การที่คณะบริหารของทรัมป์ประกาศแผนถอนตัวจากองค์กรระดับโลกหลายแห่ง ยังเท่ากับว่า ดับเบิลยูทีโอไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่ทำเนียบขาวคำนึงถึงมากนัก . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016777 .............. Sondhi X
    Like
    5
    0 Comments 0 Shares 1182 Views 0 Reviews
  • รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ Vance เตือนเซเรนสกี้จะต้องเสียใจ หาก"ปากเสีย"ใส่ทรัมป์

    เจดี แวนซ์เตือนเซเลนสกีว่าอย่าพูดโจมตีทรัมป์ ชี้การ "ปากเสีย" ต่อหน้าจะย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง
    เมื่อวันพุธที่ผ่านมา รองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ ได้เตือนประธานาธิบดียูเครนว่าอย่าโจมตีประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยกล่าวว่าการ "พูดให้ร้าย" ต่อสาธารณะจะส่งผลเสียกลับมาหาตัวเอง

    แวนซ์ให้สัมภาษณ์กับ DailyMail.com ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน กล่าวหาว่าทรัมป์กำลังตกอยู่ใน "แวดวงข่าวปลอมที่รัสเซียสร้างขึ้น"

    คำพูดที่รุนแรงจากทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญของสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ขณะที่ทรัมป์ผลักดันให้มีการยุติสงครามโดยเร็ว

    "ความคิดที่ว่าเซเลนสกีจะสามารถเปลี่ยนใจประธานาธิบดีทรัมป์ได้ด้วยการปากเสียใส่เขาผ่านสื่อสาธารณะ—ทุกคนที่รู้จักประธานาธิบดีจะบอกคุณว่านั่นเป็นวิธีที่เลวร้ายมากในการจัดการกับรัฐบาลชุดนี้" แวนซ์กล่าวระหว่างการสัมภาษณ์พิเศษที่สำนักงานของเขาในทำเนียบขาว

    ขณะเดียวกัน ทรัมป์ก็ออกมาโจมตีเซเลนสกีผ่านแพลตฟอร์ม Truth Social
    "เผด็จการที่ไม่มีการเลือกตั้ง เซเลนสกีควรเร่งมือให้ไว ไม่อย่างนั้นเขาอาจไม่มีประเทศเหลืออีกต่อไป" ทรัมป์โพสต์
    เหตุการณ์นี้ถือเป็นการล่มสลายของความสัมพันธ์ระหว่างวอชิงตันและเคียฟอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

    แวนซ์กล่าวว่า เซเลนสกีได้รับ "คำแนะนำที่ผิดพลาด" เกี่ยวกับวิธีจัดการกับรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ และในช่วงสามปีที่ผ่านมา เขาถูกทำให้เชื่อว่าเขาจะทำอะไรก็ได้โดยไม่มีผลกระทบ

    "แน่นอนว่าเรารักประชาชนชาวยูเครน เราชื่นชมความกล้าหาญของทหารยูเครน แต่เราก็เห็นว่าสงครามนี้จำเป็นต้องจบลงโดยเร็ว" แวนซ์กล่าวต่อ

    "นี่คือแนวทางของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา มันไม่ได้อิงอยู่กับข่าวลวงของรัสเซีย แต่มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าโดนัลด์ ทรัมป์ มีความรู้เกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์มาก และมีมุมมองที่ชัดเจนมาเป็นเวลานาน"

    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทรัมป์ได้เริ่มต้นความพยายามผลักดันสันติภาพครั้งใหม่ผ่านการพูดคุยทางโทรศัพท์เป็นเวลา 90 นาที กับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย

    เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในเคียฟ เนื่องจากมีความกังวลว่ายูเครนอาจถูกกันออกจากข้อตกลง ขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เริ่มวางแนวทางเบื้องต้น ซึ่งรวมถึงการเสนอว่ายูเครนอาจไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วม NATO

    https://web.facebook.com/share/p/161bqe2t3S/
    รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ Vance เตือนเซเรนสกี้จะต้องเสียใจ หาก"ปากเสีย"ใส่ทรัมป์ เจดี แวนซ์เตือนเซเลนสกีว่าอย่าพูดโจมตีทรัมป์ ชี้การ "ปากเสีย" ต่อหน้าจะย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง เมื่อวันพุธที่ผ่านมา รองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ ได้เตือนประธานาธิบดียูเครนว่าอย่าโจมตีประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยกล่าวว่าการ "พูดให้ร้าย" ต่อสาธารณะจะส่งผลเสียกลับมาหาตัวเอง แวนซ์ให้สัมภาษณ์กับ DailyMail.com ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน กล่าวหาว่าทรัมป์กำลังตกอยู่ใน "แวดวงข่าวปลอมที่รัสเซียสร้างขึ้น" คำพูดที่รุนแรงจากทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญของสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ขณะที่ทรัมป์ผลักดันให้มีการยุติสงครามโดยเร็ว "ความคิดที่ว่าเซเลนสกีจะสามารถเปลี่ยนใจประธานาธิบดีทรัมป์ได้ด้วยการปากเสียใส่เขาผ่านสื่อสาธารณะ—ทุกคนที่รู้จักประธานาธิบดีจะบอกคุณว่านั่นเป็นวิธีที่เลวร้ายมากในการจัดการกับรัฐบาลชุดนี้" แวนซ์กล่าวระหว่างการสัมภาษณ์พิเศษที่สำนักงานของเขาในทำเนียบขาว ขณะเดียวกัน ทรัมป์ก็ออกมาโจมตีเซเลนสกีผ่านแพลตฟอร์ม Truth Social "เผด็จการที่ไม่มีการเลือกตั้ง เซเลนสกีควรเร่งมือให้ไว ไม่อย่างนั้นเขาอาจไม่มีประเทศเหลืออีกต่อไป" ทรัมป์โพสต์ เหตุการณ์นี้ถือเป็นการล่มสลายของความสัมพันธ์ระหว่างวอชิงตันและเคียฟอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แวนซ์กล่าวว่า เซเลนสกีได้รับ "คำแนะนำที่ผิดพลาด" เกี่ยวกับวิธีจัดการกับรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ และในช่วงสามปีที่ผ่านมา เขาถูกทำให้เชื่อว่าเขาจะทำอะไรก็ได้โดยไม่มีผลกระทบ "แน่นอนว่าเรารักประชาชนชาวยูเครน เราชื่นชมความกล้าหาญของทหารยูเครน แต่เราก็เห็นว่าสงครามนี้จำเป็นต้องจบลงโดยเร็ว" แวนซ์กล่าวต่อ "นี่คือแนวทางของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา มันไม่ได้อิงอยู่กับข่าวลวงของรัสเซีย แต่มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าโดนัลด์ ทรัมป์ มีความรู้เกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์มาก และมีมุมมองที่ชัดเจนมาเป็นเวลานาน" เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทรัมป์ได้เริ่มต้นความพยายามผลักดันสันติภาพครั้งใหม่ผ่านการพูดคุยทางโทรศัพท์เป็นเวลา 90 นาที กับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในเคียฟ เนื่องจากมีความกังวลว่ายูเครนอาจถูกกันออกจากข้อตกลง ขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เริ่มวางแนวทางเบื้องต้น ซึ่งรวมถึงการเสนอว่ายูเครนอาจไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วม NATO https://web.facebook.com/share/p/161bqe2t3S/
    Haha
    1
    0 Comments 0 Shares 141 Views 0 Reviews
  • เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์แถลงว่า ยุโรปไม่ต้องการให้ชาติเอเชียต้องเลือกระหว่างสหรัฐฯ และจีน ท่ามกลางกระแสการแข่งขันโลกเชี่ยวกราก ปูทางประธานาธิบดี เอ็มมานุเอล มาครง ขึ้นเวทีการประชุมแชงกรีลาไดอะล็อกฟอรัม พฤษภาคมนี้ ขณะที่สิงคโปร์เปิดอกรับเอเชียมองวอชิงตันทำตัวเหมือนเจ้าของที่กำลังเรียกเก็บค่าเช่า
    .
    รอยเตอร์รายงานวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์ สตีเฟน มาร์กีซีโอ (Stephen Marchisio) เริ่มทำหน้าที่ตั้งแต่วันอังคาร (18) เปิดใจว่า ฝรั่งเศสเห็นแรงกดดันเพิ่มขึ้น “บางทีมาจากฝั่งสหรัฐฯ” ที่พันธมิตรในเอเชียจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกข้าง”
    .
    เขาย้ำว่า “มันมีความสำคัญที่ต้องกล่าวว่าพวกเราสามารถพูดคุยได้กับทุกคน” และเสริมว่า “พวกเราไม่ต้องการให้ใครต้องเลือก”
    .
    ทูตแดนน้ำหอมคนใหม่ของประธานาธิบดีเอ็มมานุเอล มาครงให้สัมภาษณ์กับนักข่าวระหว่างอาหารค่ำในสิงคโปร์ที่ซึ่งมาครงจะเดินทางมาที่นี่เพื่อขึ้นกล่าวในการประชุมความมั่นคงแชงกรีลาฟอรัมในวันที่ 30 พ.ค.ที่จะถึง
    .
    มาร์กีซีโอกล่าวว่า ประธานาธิบดีมาครงจะขึ้นกล่าวยืนยันบนเวทีว่า ทุกชาติภายในภูมิภาคสามารถปกป้องผลประโยชน์ของชาติตัวเองได้
    .
    “พวกคุณสามารถทำได้ถึงแม้ว่าคุณจะไม่เห็นด้วยกับรูปแบบทางการเมืองของจีน และคุณสามารถทำได้ถึงแม้คุณจะไม่ต้องการฐานทัพจากสหรัฐฯ ในดินแดนของพวกคุณก็ตาม”
    .
    สถานทูตสหรัฐฯ ในสิงคโปร์ได้ตอบคำถามรอยเตอร์ไปยังแถลงการณ์ของกลุ่ม G-7 ที่ลงนามในมิวนิกโดยฝรั่งเศสและสหรัฐฯ ที่กล่าวว่า สมาชิกทุกชาติมีพันธต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรี เปิดกว้าง และมั่นคง
    .
    ตามแถลงการณ์ทูตฝรั่งเศสชี้ว่า ยุโรปต้องสามัคคี
    .
    มาร์กีซีโอยังชี้ว่า ยุโรปต้องมีความสามัคคีที่รวมไปถึงการสั่งซื้ออาวุธอเมริกัน ที่ชี้ว่าเป็นการตอบโต้คำแถลงจากรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดีเจ แวนซ์ ในมิวนิกเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
    .
    ทูตแดนน้ำหอมกล่าวว่า มีบางประเทศมองความเกี่ยวข้องในการซื้ออาวุธเป็นหนทางที่จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทรัมป์สมัยแรก แต่ทว่ามุมมองนี้เปลี่ยนไปแล้วโดยเฉพาะหลังจากที่รองประธานาธิบดีแวนซ์ของสหรัฐฯ ได้ส่งสัญญาณผ่านำแถลงที่เผ็ดร้อนในการประชุมมิวนิกฟอรัมในยุโรป
    .
    “เกิดอะไรขึ้นในมิวนิก? เขาพยายามโจมตีแก่นกลางของประชาธิปไตย” และเสริมต่อว่า “ดังนั้นมันจึงทำให้เกิดไปสู่คำถามอื่นต่อ”
    .
    ดังนั้นเวลานี้ประเทศในยุโรปอาจจะไม่ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อเมริกัน และเสริมต่อว่าเป็นเพราะไม่มีหลักประกันในการทำเช่นนั้นจะช่วยผ่อนคลายความกดดันของสหรัฐฯ ลงหรือวาทะโจมตีแสดงความเป็นปรปักษ์
    .
    “พวกเราไม่ต้องการที่จะกล่าวว่า ..แต่พวกเราจะตอบโต้หากว่าพวกเราต้องทำ” โดยอ้างไปถึงภาษีและแรงกดดันอื่นๆ ของสหรัฐฯ
    .
    มาร์กีซีโอรายงานว่า สถานการณ์ที่ดีที่สุดของฝรั่งเศสคือการไม่ต้องการตอบโต้เอาคืนจากการที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและชาติยุโรปต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันมากมายรวมไปถึงอุตสาหกรรม
    .
    การแสดงความเห็นของทูตฝรั่งเศสคนใหม่สะท้อนความเห็นรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์ อึ้ง เอ็ง เฮง (Ng Eng Hen) ที่แถลงในการประชุมความมั่นคงยุโรปว่า “ภาพของอเมริกาที่มีต่อเอเชียได้เปลี่ยนไป”
    .
    “ภาพลักษณ์เปลี่ยนไปจากผู้ปลดปล่อยไปสู่ผู้สร้างความปั่นป่วนไปสู่เจ้าของที่ต้องการเรียกเก็บค่าเช่า”
    .
    บลูมเบิร์กรายงานวันจันทร์ (17) ว่า อึ้ง เอ็ง เฮง แถลงในการประชุมนอกรอบที่การประชุมความมั่นคงมิวนิกว่า แนวคิดที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายปีหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
    .
    ทั้งนี้ เว็บไซต์รัฐบาลสิงคโปร์ได้โพสต์เมื่อสุดสัปดาห์ในคำแถลงของรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์กล่าววิจารณ์สหรัฐฯ ในการประชุมมิวนิก
    .
    คำแถลงเกิดขึ้นหลังรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่สมัยทรัมป์มืดมัวตาบอดไม่สนใจต่อประวัติศาสตร์ที่เป็นมาของพันธมิตรนาโตเปิดฉากแผนการหารือตรงกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูตินต่ออนาคตของสงครามเครมลินในยูเครน
    .
    บลูมเบิร์กวิเคราะห์ว่า สิงคโปร์เป็นเหมือนเช่นชาติส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องการแสวงหาทางสายกลางในการเพิ่มขึ้นของภาพที่ซับซ้อนทางการเมืองเชิงภูมิศาสตร์ เพื่อเสาะหาความสัมพันธ์ที่สมดุลกับสหรัฐอเมริกาในฐานะหุ้นส่วนความมั่นคงหลักและต่อจีนในฐานะแหล่งของการพัฒนาและหนึ่งในพันธมิตรทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดของตัวเอง
    .
    ทั้งนี้สหรัฐฯ ในสมัยอดีตรัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน อเมริกาได้ทำงานเพื่อสร้างข้อผูกพันทางความมั่นคงภายในภูมิภาคต่อต้านการรุกคืบจากจีนในทะเลจีนใต้ และเป็นความวิตกทางความมั่นคงที่ยังคงเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของปักกิ่งในการนำไต้หวันกลับสู่อ้อมอกอีกครั้งในอนาคตไม่ว่าจะเป็นการใช้กำลังหรือไม่
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016775
    ..............
    Sondhi X
    เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์แถลงว่า ยุโรปไม่ต้องการให้ชาติเอเชียต้องเลือกระหว่างสหรัฐฯ และจีน ท่ามกลางกระแสการแข่งขันโลกเชี่ยวกราก ปูทางประธานาธิบดี เอ็มมานุเอล มาครง ขึ้นเวทีการประชุมแชงกรีลาไดอะล็อกฟอรัม พฤษภาคมนี้ ขณะที่สิงคโปร์เปิดอกรับเอเชียมองวอชิงตันทำตัวเหมือนเจ้าของที่กำลังเรียกเก็บค่าเช่า . รอยเตอร์รายงานวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์ สตีเฟน มาร์กีซีโอ (Stephen Marchisio) เริ่มทำหน้าที่ตั้งแต่วันอังคาร (18) เปิดใจว่า ฝรั่งเศสเห็นแรงกดดันเพิ่มขึ้น “บางทีมาจากฝั่งสหรัฐฯ” ที่พันธมิตรในเอเชียจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกข้าง” . เขาย้ำว่า “มันมีความสำคัญที่ต้องกล่าวว่าพวกเราสามารถพูดคุยได้กับทุกคน” และเสริมว่า “พวกเราไม่ต้องการให้ใครต้องเลือก” . ทูตแดนน้ำหอมคนใหม่ของประธานาธิบดีเอ็มมานุเอล มาครงให้สัมภาษณ์กับนักข่าวระหว่างอาหารค่ำในสิงคโปร์ที่ซึ่งมาครงจะเดินทางมาที่นี่เพื่อขึ้นกล่าวในการประชุมความมั่นคงแชงกรีลาฟอรัมในวันที่ 30 พ.ค.ที่จะถึง . มาร์กีซีโอกล่าวว่า ประธานาธิบดีมาครงจะขึ้นกล่าวยืนยันบนเวทีว่า ทุกชาติภายในภูมิภาคสามารถปกป้องผลประโยชน์ของชาติตัวเองได้ . “พวกคุณสามารถทำได้ถึงแม้ว่าคุณจะไม่เห็นด้วยกับรูปแบบทางการเมืองของจีน และคุณสามารถทำได้ถึงแม้คุณจะไม่ต้องการฐานทัพจากสหรัฐฯ ในดินแดนของพวกคุณก็ตาม” . สถานทูตสหรัฐฯ ในสิงคโปร์ได้ตอบคำถามรอยเตอร์ไปยังแถลงการณ์ของกลุ่ม G-7 ที่ลงนามในมิวนิกโดยฝรั่งเศสและสหรัฐฯ ที่กล่าวว่า สมาชิกทุกชาติมีพันธต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรี เปิดกว้าง และมั่นคง . ตามแถลงการณ์ทูตฝรั่งเศสชี้ว่า ยุโรปต้องสามัคคี . มาร์กีซีโอยังชี้ว่า ยุโรปต้องมีความสามัคคีที่รวมไปถึงการสั่งซื้ออาวุธอเมริกัน ที่ชี้ว่าเป็นการตอบโต้คำแถลงจากรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดีเจ แวนซ์ ในมิวนิกเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา . ทูตแดนน้ำหอมกล่าวว่า มีบางประเทศมองความเกี่ยวข้องในการซื้ออาวุธเป็นหนทางที่จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทรัมป์สมัยแรก แต่ทว่ามุมมองนี้เปลี่ยนไปแล้วโดยเฉพาะหลังจากที่รองประธานาธิบดีแวนซ์ของสหรัฐฯ ได้ส่งสัญญาณผ่านำแถลงที่เผ็ดร้อนในการประชุมมิวนิกฟอรัมในยุโรป . “เกิดอะไรขึ้นในมิวนิก? เขาพยายามโจมตีแก่นกลางของประชาธิปไตย” และเสริมต่อว่า “ดังนั้นมันจึงทำให้เกิดไปสู่คำถามอื่นต่อ” . ดังนั้นเวลานี้ประเทศในยุโรปอาจจะไม่ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อเมริกัน และเสริมต่อว่าเป็นเพราะไม่มีหลักประกันในการทำเช่นนั้นจะช่วยผ่อนคลายความกดดันของสหรัฐฯ ลงหรือวาทะโจมตีแสดงความเป็นปรปักษ์ . “พวกเราไม่ต้องการที่จะกล่าวว่า ..แต่พวกเราจะตอบโต้หากว่าพวกเราต้องทำ” โดยอ้างไปถึงภาษีและแรงกดดันอื่นๆ ของสหรัฐฯ . มาร์กีซีโอรายงานว่า สถานการณ์ที่ดีที่สุดของฝรั่งเศสคือการไม่ต้องการตอบโต้เอาคืนจากการที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและชาติยุโรปต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันมากมายรวมไปถึงอุตสาหกรรม . การแสดงความเห็นของทูตฝรั่งเศสคนใหม่สะท้อนความเห็นรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์ อึ้ง เอ็ง เฮง (Ng Eng Hen) ที่แถลงในการประชุมความมั่นคงยุโรปว่า “ภาพของอเมริกาที่มีต่อเอเชียได้เปลี่ยนไป” . “ภาพลักษณ์เปลี่ยนไปจากผู้ปลดปล่อยไปสู่ผู้สร้างความปั่นป่วนไปสู่เจ้าของที่ต้องการเรียกเก็บค่าเช่า” . บลูมเบิร์กรายงานวันจันทร์ (17) ว่า อึ้ง เอ็ง เฮง แถลงในการประชุมนอกรอบที่การประชุมความมั่นคงมิวนิกว่า แนวคิดที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายปีหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง . ทั้งนี้ เว็บไซต์รัฐบาลสิงคโปร์ได้โพสต์เมื่อสุดสัปดาห์ในคำแถลงของรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์กล่าววิจารณ์สหรัฐฯ ในการประชุมมิวนิก . คำแถลงเกิดขึ้นหลังรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่สมัยทรัมป์มืดมัวตาบอดไม่สนใจต่อประวัติศาสตร์ที่เป็นมาของพันธมิตรนาโตเปิดฉากแผนการหารือตรงกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูตินต่ออนาคตของสงครามเครมลินในยูเครน . บลูมเบิร์กวิเคราะห์ว่า สิงคโปร์เป็นเหมือนเช่นชาติส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องการแสวงหาทางสายกลางในการเพิ่มขึ้นของภาพที่ซับซ้อนทางการเมืองเชิงภูมิศาสตร์ เพื่อเสาะหาความสัมพันธ์ที่สมดุลกับสหรัฐอเมริกาในฐานะหุ้นส่วนความมั่นคงหลักและต่อจีนในฐานะแหล่งของการพัฒนาและหนึ่งในพันธมิตรทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดของตัวเอง . ทั้งนี้สหรัฐฯ ในสมัยอดีตรัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน อเมริกาได้ทำงานเพื่อสร้างข้อผูกพันทางความมั่นคงภายในภูมิภาคต่อต้านการรุกคืบจากจีนในทะเลจีนใต้ และเป็นความวิตกทางความมั่นคงที่ยังคงเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของปักกิ่งในการนำไต้หวันกลับสู่อ้อมอกอีกครั้งในอนาคตไม่ว่าจะเป็นการใช้กำลังหรือไม่ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016775 .............. Sondhi X
    Like
    5
    0 Comments 0 Shares 1191 Views 0 Reviews
  • เซเลนสกีตอบโต้ทรัมป์ เกี่ยวกับเงินความช่วยเหลือ 500,000 ล้านดอลลาร์

    เซเลนสกี: สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่ยูเครนเพียง 67,000 ล้านดอลลาร์ และสนับสนุนงบประมาณด้านอื่นๆ 31,000 ล้านดอลลาร์

    การเรียกร้องเชื้อเพลิงฟอสซิล 500,000 ล้านดอลลาร์ของทรัมป์ มันดูเกินจริงไปหน่อย!

    .
    นอกจากเรื่องเงินแล้ว เซเลนสกียังตอบโต้ทรัมป์เรื่องคะแนนนิยมว่า: เมื่อเช้านี้ ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า 57% (รูปประกอบที่1) ของชาวยูเครนยังคงเชื่อใจผม ดังนั้น ถ้าใครกำลังคิดที่จะแทนที่ผมตอนนี้ มันคงจะไม่เกิดขึ้นง่ายๆ

    สำหรับคำอ้างเกี่ยวกับ 4% เราได้เห็นแล้ว และรู้ว่ามันเป็นผลสำรวจที่มาจากรัสเซีย
    เซเลนสกีตอบโต้ทรัมป์ เกี่ยวกับเงินความช่วยเหลือ 500,000 ล้านดอลลาร์ เซเลนสกี: สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่ยูเครนเพียง 67,000 ล้านดอลลาร์ และสนับสนุนงบประมาณด้านอื่นๆ 31,000 ล้านดอลลาร์ การเรียกร้องเชื้อเพลิงฟอสซิล 500,000 ล้านดอลลาร์ของทรัมป์ มันดูเกินจริงไปหน่อย! . นอกจากเรื่องเงินแล้ว เซเลนสกียังตอบโต้ทรัมป์เรื่องคะแนนนิยมว่า: เมื่อเช้านี้ ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า 57% (รูปประกอบที่1) ของชาวยูเครนยังคงเชื่อใจผม ดังนั้น ถ้าใครกำลังคิดที่จะแทนที่ผมตอนนี้ มันคงจะไม่เกิดขึ้นง่ายๆ สำหรับคำอ้างเกี่ยวกับ 4% เราได้เห็นแล้ว และรู้ว่ามันเป็นผลสำรวจที่มาจากรัสเซีย
    0 Comments 0 Shares 122 Views 0 Reviews
  • ประธานาธิบดีปูตินเผยว่า เขาได้รับรายงานการเจรจาที่ริยาดแล้ว:

    - รัสเซียพร้อมที่จะกลับสู่โต๊ะเจรจาเรื่องยูเครน

    - ปูตินยินดีจะพบกับโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่การพบกันเช่นนี้ต้องมีการเตรียมการ

    - ปูตินยังกล่าวอีกว่า การ "พบปะ" กับโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นต้องแก้ไขปัญหาที่สำคัญที่สุดก่อน ซึ่งรวมถึงยูเครนด้วย

    - ปูตินเปิดทางให้ภารกิจทางสถานทูตจะกลับมาดำเนินการอีกครั้ง

    - มอสโกได้เริ่มดำเนินการขั้นแรกในการร่วมมือกับสหรัฐไปแล้ว

    - รัสเซียยังพร้อมร่วมมือกับสหรัฐในด้านอวกาศต่อไป

    - รัสเซียจะไม่พูดถึงหรือคาดเดาความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปกับสหรัฐ

    - ปูตินบอกว่า เขาประหลาดใจที่เห็นทรัมป์อดกลั้นต่อพฤติกรรมหยาบคายของประเทศยุโรปที่มีต่อสหรัฐในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง

    - ยูเครนได้รับข้อมูลข่าวกรองอวกาศจากตะวันตกเท่านั้น กองทัพยูเครนไม่สามารถจัดการโจมตี CPC ได้โดยอิสระ
    (CPC เป็นโครงการขนส่งน้ำมันระหว่างประเทศที่มีรัสเซีย คาซัคสถาน และบริษัทขุดเจาะน้ำมันชั้นนำระดับโลกเข้าร่วม เพิ่งโดนโดรนโจมตีไปเมื่อเร็วๆนี้)

    - ไม่มีระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซียใน CPC เนื่องจากเป็นโรงงานระหว่างประเทศ รัสเซียมีส่วนร่วมเพียงเล็กน้อยสำหรับการขนส่ง ส่วนน้ำมันทั้งหมดนี้เป็นของบริษัทในอเมริกาและยุโรป

    - ปูติน ยังกล่าวอีกว่า เมื่อหนึ่งชั่วโมงที่แล้ว เขาเพิ่งได้รับแจ้งว่าทหารกองทัพรัสเซียได้ข้ามพรมแดนไปยังยูเครนจากทางภูมิภาคเคิร์สก์แล้ว!

    ประธานาธิบดีปูตินเผยว่า เขาได้รับรายงานการเจรจาที่ริยาดแล้ว: - รัสเซียพร้อมที่จะกลับสู่โต๊ะเจรจาเรื่องยูเครน - ปูตินยินดีจะพบกับโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่การพบกันเช่นนี้ต้องมีการเตรียมการ - ปูตินยังกล่าวอีกว่า การ "พบปะ" กับโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นต้องแก้ไขปัญหาที่สำคัญที่สุดก่อน ซึ่งรวมถึงยูเครนด้วย - ปูตินเปิดทางให้ภารกิจทางสถานทูตจะกลับมาดำเนินการอีกครั้ง - มอสโกได้เริ่มดำเนินการขั้นแรกในการร่วมมือกับสหรัฐไปแล้ว - รัสเซียยังพร้อมร่วมมือกับสหรัฐในด้านอวกาศต่อไป - รัสเซียจะไม่พูดถึงหรือคาดเดาความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปกับสหรัฐ - ปูตินบอกว่า เขาประหลาดใจที่เห็นทรัมป์อดกลั้นต่อพฤติกรรมหยาบคายของประเทศยุโรปที่มีต่อสหรัฐในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง - ยูเครนได้รับข้อมูลข่าวกรองอวกาศจากตะวันตกเท่านั้น กองทัพยูเครนไม่สามารถจัดการโจมตี CPC ได้โดยอิสระ (CPC เป็นโครงการขนส่งน้ำมันระหว่างประเทศที่มีรัสเซีย คาซัคสถาน และบริษัทขุดเจาะน้ำมันชั้นนำระดับโลกเข้าร่วม เพิ่งโดนโดรนโจมตีไปเมื่อเร็วๆนี้) - ไม่มีระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซียใน CPC เนื่องจากเป็นโรงงานระหว่างประเทศ รัสเซียมีส่วนร่วมเพียงเล็กน้อยสำหรับการขนส่ง ส่วนน้ำมันทั้งหมดนี้เป็นของบริษัทในอเมริกาและยุโรป - ปูติน ยังกล่าวอีกว่า เมื่อหนึ่งชั่วโมงที่แล้ว เขาเพิ่งได้รับแจ้งว่าทหารกองทัพรัสเซียได้ข้ามพรมแดนไปยังยูเครนจากทางภูมิภาคเคิร์สก์แล้ว!
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 155 Views 0 Reviews
  • ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่สหรัฐใช้คำพูดสวยหรู เกี่ยวกับความต้องการกลับมาติดต่อทางการทูตกับรัสเซียอีกครั้ง นี่อาจจะเป็นเพียงแผนการซื้อเวลาเท่านั้น!

    ฮิลลารี คลินตัน อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ ในรัฐบาลประธานาธิบดีบารัก โอบามา ก็เคยใช้คำพูดสวยหรูเช่นเดียวกับที่ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ คนปัจจุบันของสหรัฐเพิ่งใช้ไปเมื่อวานนี้กับ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียคนเดิม

    เป็นที่ทราบกันดีว่า สหรัฐไม่มีอาวุธ หรือกระสุนจะส่งให้ยูเครน เห็นได้จากอาวุธที่รัสเซียยึดได้ จะเป็นอาวุธที่ผลิตใหม่ทั้งสิ้นในช่วงหลัง ไม่ได้ใช้จากคลังอาวุธเหมือนช่วงต้นสงคราม

    นอกจากนั้นยังมีการกดดันให้ยุโรปขยายเงินทุนเกี่ยวการด้านการป้องกันประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 5% ของ GDP จากเดิม 2% บ่งบอกว่าสหรัฐเข้าตาจนแล้วจริงๆ

    เบื้องหลัง สหรัฐอาจกำลังพยายามเร่งอย่างสุดความสามารถที่จะผลิตอาวุธใหม่อีกครั้ง เนื่องจากต้องการเปิดฉากสงครามตัวแทนกับศัตรู เช่น จีน และอิหร่าน หรือแม้แต่รัสเซียเองก็ตาม
    ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่สหรัฐใช้คำพูดสวยหรู เกี่ยวกับความต้องการกลับมาติดต่อทางการทูตกับรัสเซียอีกครั้ง นี่อาจจะเป็นเพียงแผนการซื้อเวลาเท่านั้น! ฮิลลารี คลินตัน อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ ในรัฐบาลประธานาธิบดีบารัก โอบามา ก็เคยใช้คำพูดสวยหรูเช่นเดียวกับที่ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ คนปัจจุบันของสหรัฐเพิ่งใช้ไปเมื่อวานนี้กับ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียคนเดิม เป็นที่ทราบกันดีว่า สหรัฐไม่มีอาวุธ หรือกระสุนจะส่งให้ยูเครน เห็นได้จากอาวุธที่รัสเซียยึดได้ จะเป็นอาวุธที่ผลิตใหม่ทั้งสิ้นในช่วงหลัง ไม่ได้ใช้จากคลังอาวุธเหมือนช่วงต้นสงคราม นอกจากนั้นยังมีการกดดันให้ยุโรปขยายเงินทุนเกี่ยวการด้านการป้องกันประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 5% ของ GDP จากเดิม 2% บ่งบอกว่าสหรัฐเข้าตาจนแล้วจริงๆ เบื้องหลัง สหรัฐอาจกำลังพยายามเร่งอย่างสุดความสามารถที่จะผลิตอาวุธใหม่อีกครั้ง เนื่องจากต้องการเปิดฉากสงครามตัวแทนกับศัตรู เช่น จีน และอิหร่าน หรือแม้แต่รัสเซียเองก็ตาม
    Like
    2
    0 Comments 1 Shares 189 Views 0 Reviews
  • ยูเครนกำลังขาดแคลนขีปนาวุธป้องกันภัยทางอากาศ Zelenskyy วอนขอใบอนุญาตผลิตขีปนาวุธ Patriot

    ประธานาธิบดี Volodymyr Zelenskyy ประกาศว่ายูเครนขาดแคลนขีปนาวุธสำหรับระบบป้องกันภัยทางอากาศ Patriot และขอให้สหรัฐฯ ให้ใบอนุญาตในการผลิต โดยยูเครนต้องการระบบป้องกันภัยทางอากาศประมาณ 20 ระบบเพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ

    "เมื่อพวกเขาบอกว่าไม่มีทหารในยูเครน แต่มีระบบป้องกันภัยทางอากาศ สหรัฐฯ มีระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ทรงพลัง เราขอ 20 ระบบได้ไหม? แค่นั้นก็พอ เราไม่ต้องการให้พวกเขามาดูแลระบบ เรามีคนของเราเอง เราจะฝึกพวกเขาเอง เราไม่ได้พูดถึงการส่งทหารมายูเครนโดยตรง แต่เราขอใบอนุญาต ไม่ใช่ขีปนาวุธ แต่เป็นใบอนุญาตผลิตขีปนาวุธสำหรับระบบ Patriot"

    Zelenskyy เล่าว่าผู้บัญชาการโทรหาเขาตอนเช้ามืด แจ้งว่าไม่มีขีปนาวุธ Patriot เหลือป้องกันเมือง "ผมเข้าใจว่าเราหมด เขาบอกว่ามีขีปนาวุธ 8 ลูกกำลังเข้ามา แต่เราไม่มีขีปนาวุธสำหรับระบบป้องกันภัยทางอากาศ"

    เขาเน้นว่าได้พูดเรื่องนี้กับตัวแทนสหรัฐฯ ในบริบทของการรับประกันความมั่นคง "คุณไม่อยากส่งทหาร ไม่อยากให้เข้า NATO เราขอระบบ Patriot ให้เพียงพอได้ไหม? มันเป็นการพูดคุยที่ยาวนาน นานเกินไป"

    ในปัจจุบันมีเพียง เยอรมนี ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้สามารถผลิตชิ้นส่วนของ Patriot ได้ แต่ใช้สำหรับเป็นอะไหล่ในการซ่อมบำรุงเท่านั้น มีเพียงสหรัฐเท่านั้นที่เป็นผู้ผลิตหลักและควบคุมการส่งออก
    ยูเครนกำลังขาดแคลนขีปนาวุธป้องกันภัยทางอากาศ Zelenskyy วอนขอใบอนุญาตผลิตขีปนาวุธ Patriot ประธานาธิบดี Volodymyr Zelenskyy ประกาศว่ายูเครนขาดแคลนขีปนาวุธสำหรับระบบป้องกันภัยทางอากาศ Patriot และขอให้สหรัฐฯ ให้ใบอนุญาตในการผลิต โดยยูเครนต้องการระบบป้องกันภัยทางอากาศประมาณ 20 ระบบเพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ "เมื่อพวกเขาบอกว่าไม่มีทหารในยูเครน แต่มีระบบป้องกันภัยทางอากาศ สหรัฐฯ มีระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ทรงพลัง เราขอ 20 ระบบได้ไหม? แค่นั้นก็พอ เราไม่ต้องการให้พวกเขามาดูแลระบบ เรามีคนของเราเอง เราจะฝึกพวกเขาเอง เราไม่ได้พูดถึงการส่งทหารมายูเครนโดยตรง แต่เราขอใบอนุญาต ไม่ใช่ขีปนาวุธ แต่เป็นใบอนุญาตผลิตขีปนาวุธสำหรับระบบ Patriot" Zelenskyy เล่าว่าผู้บัญชาการโทรหาเขาตอนเช้ามืด แจ้งว่าไม่มีขีปนาวุธ Patriot เหลือป้องกันเมือง "ผมเข้าใจว่าเราหมด เขาบอกว่ามีขีปนาวุธ 8 ลูกกำลังเข้ามา แต่เราไม่มีขีปนาวุธสำหรับระบบป้องกันภัยทางอากาศ" เขาเน้นว่าได้พูดเรื่องนี้กับตัวแทนสหรัฐฯ ในบริบทของการรับประกันความมั่นคง "คุณไม่อยากส่งทหาร ไม่อยากให้เข้า NATO เราขอระบบ Patriot ให้เพียงพอได้ไหม? มันเป็นการพูดคุยที่ยาวนาน นานเกินไป" ในปัจจุบันมีเพียง เยอรมนี ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้สามารถผลิตชิ้นส่วนของ Patriot ได้ แต่ใช้สำหรับเป็นอะไหล่ในการซ่อมบำรุงเท่านั้น มีเพียงสหรัฐเท่านั้นที่เป็นผู้ผลิตหลักและควบคุมการส่งออก
    0 Comments 0 Shares 193 Views 0 Reviews
  • เซเลนสกี้กล่าวว่าทรัมป์อาศัยอยู่บน 'พื้นที่ข้อมูลบิดเบือน'

    โวโลดิมีร์ เซเลนสกี กล่าวหาโดนัลด์ ทรัมป์ว่าให้ข้อมูลเท็จซ้ำแล้วซ้ำเล่า หนึ่งวันหลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวหายูเครนอย่างเท็จว่าเริ่มสงครามกับรัสเซีย

    - ความคิดเห็นของเซเลนสกี้ เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่กำลังก่อตัวเป็นการแลกเปลี่ยนข้อกล่าวหาต่อสาธารณะมากที่สุดระหว่างเคียฟและวอชิงตัน นับตั้งแต่สงครามเต็มรูปแบบเริ่มต้นขึ้นเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน
    .
    - เมื่อพูดคุยกับผู้สื่อข่าวในกรุงเคียฟ เซเลนสกีได้โต้แย้งคำกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลความจริงหลายกรณีที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันอังคาร ขณะเดียวกันก็ย้ำจุดยืนของยูเครนว่าข้อตกลงยุติสงครามต้องได้รับการมีส่วนร่วมจากยูเครน
    .
    - “น่าเสียดายที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ผมเคารพเขามากในฐานะผู้นำของประเทศที่เราเคารพนับถืออย่างยิ่ง ประชาชนชาวอเมริกันที่สนับสนุนเราเสมอ น่าเสียดายที่เขาต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งข้อมูลบิดเบือน” เซเลนสกีกล่าว
    .
    - เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ และรัสเซียได้จัดการเจรจาระดับสูงเพื่อยุติสงครามในยูเครน ณ กรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันอังคาร โดยการประชุมครั้งนี้ไม่ได้จัดขึ้นที่กรุงเคียฟ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องแต่งตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อเจรจายุติสงคราม และกล่าวว่าพวกเขากำลังดำเนินการเพื่อสร้างช่องทางการทูตขึ้นใหม่
    .
    - เซเลนสกีกล่าวว่า แม้ประเทศใดๆ ก็มีสิทธิที่จะหารือเรื่องปัญหาทวิภาคีกับซาอุดีอาระเบีย แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าสหรัฐฯ จัดการเจรจาโดยตรงกับรัสเซียนั้น “ช่วยให้ปูตินพ้นจากความโดดเดี่ยวอันยาวนานได้”
    .
    - การร้องเรียนของเคียฟเรื่องการถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าร่วมการเจรจาเป็นชนวนให้ทรัมป์ออกมาโจมตีด้วยความเท็จในวันอังคาร
    .
    - ทรัมป์กล่าวเมื่อช่วงดึกของวันอังคารว่า “วันนี้ผมได้ยินว่า ‘โอ้ เราไม่ได้รับเชิญเลย คุณอยู่ที่นั่นมาสามปีแล้ว คุณควรยุติเรื่องนี้หลังจากสามปี คุณไม่ควรเริ่มเรื่องนี้เลย คุณควรทำข้อตกลงได้แล้ว”
    .
    - ความคิดเห็นของทรัมป์ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในกรุงมอสโก โดยที่รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ ชื่นชมประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่สะท้อนคำพูดของเครมลิน และกล่าวต่อรัฐสภารัสเซีย หรือดูมา ว่าทรัมป์ดูเหมือนจะ "เข้าใจจุดยืนของพวกเรา"
    .
    - “ผมคิดว่าทรัมป์เป็นผู้นำตะวันตกคนแรกที่ออกมาพูดต่อสาธารณะว่าสาเหตุของความขัดแย้งในยูเครนคือความพยายามของรัฐบาลชุดก่อนที่จะขยายนาโต” ลาฟรอฟกล่าวกับสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันพุธ “ไม่มีผู้นำตะวันตกคนใดเคยพูดแบบนั้นมาก่อน ดังนั้น นั่นจึงเป็นสัญญาณว่าเขาเข้าใจจุดยืนของเราแล้ว”
    .
    - รัสเซียโต้แย้งมานานแล้วว่าการขยายตัวของนาโต้ไปทางตะวันออกทำให้ความมั่นคงของประเทศตกอยู่ในอันตราย โดยผู้นำนาโต้สัญญากับรัสเซียว่าพันธมิตรป้องกันประเทศจะไม่ขยายตัวหลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง นาโต้มีนโยบายเปิดประตูต้อนรับรัฐในยุโรปทุกรัฐให้เข้าร่วมตราบใดที่รัฐเหล่านั้นตรงตามเกณฑ์การเข้าร่วม
    .
    - แต่ทรัมป์ไม่ได้หยุดเพียงแค่ตั้งคำถามว่าใครเป็นคนเริ่มสงครามในยูเครน โดยทรัมป์ยังคงตั้งคำถามถึงความชอบธรรมของเซเลนสกี โดยเขาพูดซ้ำแนวทางที่เครมลินมักจะเสนออยู่เสมอ
    .
    - เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เซเลนสกีระบุโดยเฉพาะว่าการอ้างว่าคะแนนนิยมของเขาอยู่ที่ 4% มาจากรัสเซีย และเคียฟก็มีหลักฐานบางอย่างที่บ่งชี้ว่าตัวเลขดังกล่าวได้รับการหารือกันระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียแล้ว
    -------
    CNN
    เซเลนสกี้กล่าวว่าทรัมป์อาศัยอยู่บน 'พื้นที่ข้อมูลบิดเบือน' โวโลดิมีร์ เซเลนสกี กล่าวหาโดนัลด์ ทรัมป์ว่าให้ข้อมูลเท็จซ้ำแล้วซ้ำเล่า หนึ่งวันหลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวหายูเครนอย่างเท็จว่าเริ่มสงครามกับรัสเซีย - ความคิดเห็นของเซเลนสกี้ เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่กำลังก่อตัวเป็นการแลกเปลี่ยนข้อกล่าวหาต่อสาธารณะมากที่สุดระหว่างเคียฟและวอชิงตัน นับตั้งแต่สงครามเต็มรูปแบบเริ่มต้นขึ้นเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน . - เมื่อพูดคุยกับผู้สื่อข่าวในกรุงเคียฟ เซเลนสกีได้โต้แย้งคำกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลความจริงหลายกรณีที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันอังคาร ขณะเดียวกันก็ย้ำจุดยืนของยูเครนว่าข้อตกลงยุติสงครามต้องได้รับการมีส่วนร่วมจากยูเครน . - “น่าเสียดายที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ผมเคารพเขามากในฐานะผู้นำของประเทศที่เราเคารพนับถืออย่างยิ่ง ประชาชนชาวอเมริกันที่สนับสนุนเราเสมอ น่าเสียดายที่เขาต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งข้อมูลบิดเบือน” เซเลนสกีกล่าว . - เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ และรัสเซียได้จัดการเจรจาระดับสูงเพื่อยุติสงครามในยูเครน ณ กรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันอังคาร โดยการประชุมครั้งนี้ไม่ได้จัดขึ้นที่กรุงเคียฟ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องแต่งตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อเจรจายุติสงคราม และกล่าวว่าพวกเขากำลังดำเนินการเพื่อสร้างช่องทางการทูตขึ้นใหม่ . - เซเลนสกีกล่าวว่า แม้ประเทศใดๆ ก็มีสิทธิที่จะหารือเรื่องปัญหาทวิภาคีกับซาอุดีอาระเบีย แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าสหรัฐฯ จัดการเจรจาโดยตรงกับรัสเซียนั้น “ช่วยให้ปูตินพ้นจากความโดดเดี่ยวอันยาวนานได้” . - การร้องเรียนของเคียฟเรื่องการถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าร่วมการเจรจาเป็นชนวนให้ทรัมป์ออกมาโจมตีด้วยความเท็จในวันอังคาร . - ทรัมป์กล่าวเมื่อช่วงดึกของวันอังคารว่า “วันนี้ผมได้ยินว่า ‘โอ้ เราไม่ได้รับเชิญเลย คุณอยู่ที่นั่นมาสามปีแล้ว คุณควรยุติเรื่องนี้หลังจากสามปี คุณไม่ควรเริ่มเรื่องนี้เลย คุณควรทำข้อตกลงได้แล้ว” . - ความคิดเห็นของทรัมป์ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในกรุงมอสโก โดยที่รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ ชื่นชมประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่สะท้อนคำพูดของเครมลิน และกล่าวต่อรัฐสภารัสเซีย หรือดูมา ว่าทรัมป์ดูเหมือนจะ "เข้าใจจุดยืนของพวกเรา" . - “ผมคิดว่าทรัมป์เป็นผู้นำตะวันตกคนแรกที่ออกมาพูดต่อสาธารณะว่าสาเหตุของความขัดแย้งในยูเครนคือความพยายามของรัฐบาลชุดก่อนที่จะขยายนาโต” ลาฟรอฟกล่าวกับสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันพุธ “ไม่มีผู้นำตะวันตกคนใดเคยพูดแบบนั้นมาก่อน ดังนั้น นั่นจึงเป็นสัญญาณว่าเขาเข้าใจจุดยืนของเราแล้ว” . - รัสเซียโต้แย้งมานานแล้วว่าการขยายตัวของนาโต้ไปทางตะวันออกทำให้ความมั่นคงของประเทศตกอยู่ในอันตราย โดยผู้นำนาโต้สัญญากับรัสเซียว่าพันธมิตรป้องกันประเทศจะไม่ขยายตัวหลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง นาโต้มีนโยบายเปิดประตูต้อนรับรัฐในยุโรปทุกรัฐให้เข้าร่วมตราบใดที่รัฐเหล่านั้นตรงตามเกณฑ์การเข้าร่วม . - แต่ทรัมป์ไม่ได้หยุดเพียงแค่ตั้งคำถามว่าใครเป็นคนเริ่มสงครามในยูเครน โดยทรัมป์ยังคงตั้งคำถามถึงความชอบธรรมของเซเลนสกี โดยเขาพูดซ้ำแนวทางที่เครมลินมักจะเสนออยู่เสมอ . - เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เซเลนสกีระบุโดยเฉพาะว่าการอ้างว่าคะแนนนิยมของเขาอยู่ที่ 4% มาจากรัสเซีย และเคียฟก็มีหลักฐานบางอย่างที่บ่งชี้ว่าตัวเลขดังกล่าวได้รับการหารือกันระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียแล้ว ------- CNN
    0 Comments 0 Shares 198 Views 0 Reviews
  • มีรายงานว่า สหรัฐฯ ยืนยันเตรียมโจมตีกลุ่มก่อการร้ายค้ายาในเม็กซิโก

    หลังจากที่เมื่อเดือนที่แล้ว มีรายงานว่าสหรัฐใช้โดรนสอดแนมลุกล้ำน่านฟ้าเม็กซิโก เพื่อระบุตำแหน่งของก่อการร้ายเหล่านี้
    มีรายงานว่า สหรัฐฯ ยืนยันเตรียมโจมตีกลุ่มก่อการร้ายค้ายาในเม็กซิโก หลังจากที่เมื่อเดือนที่แล้ว มีรายงานว่าสหรัฐใช้โดรนสอดแนมลุกล้ำน่านฟ้าเม็กซิโก เพื่อระบุตำแหน่งของก่อการร้ายเหล่านี้
    0 Comments 0 Shares 125 Views 0 Reviews
  • ข่าวนี้เกี่ยวกับการโจมตีทางไซเบอร์ที่ใช้มัลแวร์ประเภท Infostealer ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานทหารและผู้รับเหมาด้านกลาโหมของสหรัฐฯ เช่น Lockheed Martin, BAE Systems, Boeing, Honeywell, L3Harris, และ Leidos โดยมัลแวร์นี้มีความสามารถในการขโมยข้อมูลที่สำคัญจากอุปกรณ์ของผู้ที่ถูกโจมตี

    จากรายงานของ Hudson Rock ระบุว่า อาชญากรสามารถซื้อข้อมูลที่ขโมยจากพนักงานที่ทำงานในภาคการป้องกันและกองทัพได้ในราคาประมาณ $10 ต่อคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถูกขโมยนั้นรวมถึงรหัสผ่านและข้อมูลการเข้าสู่ระบบของระบบสำคัญ เช่น Active Directory Federation Services (ADFS), Identity and Access Management (IAM) ของ Honeywell รวมถึงการแทรกซึมเข้าสู่ระบบ intranet ภายในองค์กร

    นอกจากนี้ยังพบการโจมตีที่ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานภาครัฐ เช่น US Army, US Navy, FBI และ Government Accountability Office (GAO) โดยผู้โจมตีสามารถเข้าถึงข้อมูลการยืนยันตัวตนภายในระบบเช่น OWA, Confluence, Citrix, และ FTP ทำให้ผู้โจมตีสามารถเคลื่อนย้ายภายในระบบทหารได้

    Infostealer เป็นมัลแวร์ที่อาศัยความผิดพลาดของผู้ใช้ เช่น การดาวน์โหลดไฟล์ PDF ที่ติดไวรัส หรือการคลิกลิงก์ที่เป็นอันตราย ดังนั้นการมีการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับพนักงานทุกระดับขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อป้องกันการโจมตีในลักษณะนี้

    การโจมตีแบบ Infostealer ไม่ได้ใช้การโจมตีแบบ brute-force แต่เน้นการใช้ความผิดพลาดของมนุษย์เพื่อเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ ทำให้เห็นว่าการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญในทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน

    https://www.techradar.com/pro/security/us-military-and-defense-contractors-hit-with-infostealer-malware
    ข่าวนี้เกี่ยวกับการโจมตีทางไซเบอร์ที่ใช้มัลแวร์ประเภท Infostealer ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานทหารและผู้รับเหมาด้านกลาโหมของสหรัฐฯ เช่น Lockheed Martin, BAE Systems, Boeing, Honeywell, L3Harris, และ Leidos โดยมัลแวร์นี้มีความสามารถในการขโมยข้อมูลที่สำคัญจากอุปกรณ์ของผู้ที่ถูกโจมตี จากรายงานของ Hudson Rock ระบุว่า อาชญากรสามารถซื้อข้อมูลที่ขโมยจากพนักงานที่ทำงานในภาคการป้องกันและกองทัพได้ในราคาประมาณ $10 ต่อคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถูกขโมยนั้นรวมถึงรหัสผ่านและข้อมูลการเข้าสู่ระบบของระบบสำคัญ เช่น Active Directory Federation Services (ADFS), Identity and Access Management (IAM) ของ Honeywell รวมถึงการแทรกซึมเข้าสู่ระบบ intranet ภายในองค์กร นอกจากนี้ยังพบการโจมตีที่ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานภาครัฐ เช่น US Army, US Navy, FBI และ Government Accountability Office (GAO) โดยผู้โจมตีสามารถเข้าถึงข้อมูลการยืนยันตัวตนภายในระบบเช่น OWA, Confluence, Citrix, และ FTP ทำให้ผู้โจมตีสามารถเคลื่อนย้ายภายในระบบทหารได้ Infostealer เป็นมัลแวร์ที่อาศัยความผิดพลาดของผู้ใช้ เช่น การดาวน์โหลดไฟล์ PDF ที่ติดไวรัส หรือการคลิกลิงก์ที่เป็นอันตราย ดังนั้นการมีการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับพนักงานทุกระดับขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อป้องกันการโจมตีในลักษณะนี้ การโจมตีแบบ Infostealer ไม่ได้ใช้การโจมตีแบบ brute-force แต่เน้นการใช้ความผิดพลาดของมนุษย์เพื่อเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ ทำให้เห็นว่าการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญในทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน https://www.techradar.com/pro/security/us-military-and-defense-contractors-hit-with-infostealer-malware
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 114 Views 0 Reviews
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เปิดเผยว่าเขาสั่งการให้กระทรวงยุติธรรม เลิกจ้างบรรดาอัยการอเมริกาในยุคของไบเดน ที่ยังเหลือยู่ทั้งหมด อ้างว่ากระทรวงแห่งนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
    .
    "เราต้องทำความสะอาดบ้านในทันที และฟื้นฟูความชื่อมั่น ยุคทองของอเมริกาจำเป็นต้องมีระบบยุติธรรมที่ยุติธรรม และมันเริ่มขึ้นแล้วในวันนี้" ทรัมป์โพสต์ข้อความบนทรัสต์โซเชียล
    .
    สำนักข่าวรอยเตอร์ติดต่อสอบถามไปยังกระทรวงยุติธรรม แต่กระทรวงยุติธรรมยังไม่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรายงานข่าวดังกล่าว
    .
    เมื่อสัปดาห์ก่อน ทำเนียบขาวส่งหนังสือแจ้งยกเลิกสัญญาไปยังอัยการสหรัฐฯ หลายคนทั่วประเทศ ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากอดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต และล่าสุดในวันจันทร์ (17 ก.พ.) อัยการสหรัฐฯ หลายคนที่ได้รับการแต่งตั้งจากไบเดน แถลงว่ากำลังลาออก ส่วนคนอื่นๆ ได้ออกจากรัฐบาลตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว
    .
    แม้ตามธรรรมเนียมแล้ว บรรดาอัยการหรัฐฯ จะลาออกหลังมีการเปลี่ยนแปลงในการบริหารงานประธานาธิบดี แต่โดยปกติแล้วรัฐบาลที่กำลังเข้ารับตำแหน่งจะร้องขอให้พวกเขาลาออกจากตำแหน่งอย่างละมุนละม่อมและไม่ออกหนังสือเลิกจ้างที่ใช้ถ้อยคำกะทัดรัดเช่นนี้ จากความเห็นของอดีตทนายความทั้งในอดีตและปัจจุบันของกระทรวงยุติธรรม
    .
    การเลิกจ้างบรรดาอัยการสหรัฐฯ ซึ่งทำหน้าที่ในฐานะเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายรัฐบาลกลางระดับสูงสุด ตามเขตต่างๆ ของอัยการรายนั้นๆ ถือเป็นการยกเครื่องล่าสุดภายในกระทรวงยุติธรรม นับตั้งแต่ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งในเดือนที่แล้ว
    .
    แม้กระทั่งพวกเจ้าหน้าที่ที่มีอาชีพการเงินในกระทรวงยุติธรรม ที่ปกติแล้วจะยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปแม้จะมีการเปลี่ยนรัฐบาลก็ตาม แต่คราวนี้มีพวกเขาหลายสิบคนในเมืองต่างๆ อย่างเช่นวอชิงตันและนิวยอร์ก ที่ถูกไล่ออกหรือลาออกไป นับตั้งแต่ ทรัมป์ ก้าวเข้าสู่อำนาจ
    .
    ระหว่างรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ทรัมป์ประกาศกร้าวว่าจะยุติการใช้กระทรวงยุติธรรมเป็นเครื่องมือทางการเมือง ในสิ่งที่เขากล่าวอ้างว่าถูกใช้เล่นงานเขา ในช่วงหลายขวบปีที่พ้นจากอำนาจไป
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016385
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เปิดเผยว่าเขาสั่งการให้กระทรวงยุติธรรม เลิกจ้างบรรดาอัยการอเมริกาในยุคของไบเดน ที่ยังเหลือยู่ทั้งหมด อ้างว่ากระทรวงแห่งนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน . "เราต้องทำความสะอาดบ้านในทันที และฟื้นฟูความชื่อมั่น ยุคทองของอเมริกาจำเป็นต้องมีระบบยุติธรรมที่ยุติธรรม และมันเริ่มขึ้นแล้วในวันนี้" ทรัมป์โพสต์ข้อความบนทรัสต์โซเชียล . สำนักข่าวรอยเตอร์ติดต่อสอบถามไปยังกระทรวงยุติธรรม แต่กระทรวงยุติธรรมยังไม่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรายงานข่าวดังกล่าว . เมื่อสัปดาห์ก่อน ทำเนียบขาวส่งหนังสือแจ้งยกเลิกสัญญาไปยังอัยการสหรัฐฯ หลายคนทั่วประเทศ ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากอดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต และล่าสุดในวันจันทร์ (17 ก.พ.) อัยการสหรัฐฯ หลายคนที่ได้รับการแต่งตั้งจากไบเดน แถลงว่ากำลังลาออก ส่วนคนอื่นๆ ได้ออกจากรัฐบาลตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว . แม้ตามธรรรมเนียมแล้ว บรรดาอัยการหรัฐฯ จะลาออกหลังมีการเปลี่ยนแปลงในการบริหารงานประธานาธิบดี แต่โดยปกติแล้วรัฐบาลที่กำลังเข้ารับตำแหน่งจะร้องขอให้พวกเขาลาออกจากตำแหน่งอย่างละมุนละม่อมและไม่ออกหนังสือเลิกจ้างที่ใช้ถ้อยคำกะทัดรัดเช่นนี้ จากความเห็นของอดีตทนายความทั้งในอดีตและปัจจุบันของกระทรวงยุติธรรม . การเลิกจ้างบรรดาอัยการสหรัฐฯ ซึ่งทำหน้าที่ในฐานะเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายรัฐบาลกลางระดับสูงสุด ตามเขตต่างๆ ของอัยการรายนั้นๆ ถือเป็นการยกเครื่องล่าสุดภายในกระทรวงยุติธรรม นับตั้งแต่ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งในเดือนที่แล้ว . แม้กระทั่งพวกเจ้าหน้าที่ที่มีอาชีพการเงินในกระทรวงยุติธรรม ที่ปกติแล้วจะยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปแม้จะมีการเปลี่ยนรัฐบาลก็ตาม แต่คราวนี้มีพวกเขาหลายสิบคนในเมืองต่างๆ อย่างเช่นวอชิงตันและนิวยอร์ก ที่ถูกไล่ออกหรือลาออกไป นับตั้งแต่ ทรัมป์ ก้าวเข้าสู่อำนาจ . ระหว่างรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ทรัมป์ประกาศกร้าวว่าจะยุติการใช้กระทรวงยุติธรรมเป็นเครื่องมือทางการเมือง ในสิ่งที่เขากล่าวอ้างว่าถูกใช้เล่นงานเขา ในช่วงหลายขวบปีที่พ้นจากอำนาจไป . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016385 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    5
    0 Comments 0 Shares 1328 Views 0 Reviews
  • โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บ่งชี้ว่ายูเครนอาจจำเป็นต้องจัดเลือกตั้งใหม่ และเน้นย้ำว่า โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำโดยพฤตินัยของเคียฟในปัจจุบัน ไม่เป็นที่นิยมนัก
    .
    ทรัมป์ แสดงความคิดเห็นไม่กี่ชั่วโมงหลังจากคณะผู้เจรจาของสหรัฐฯและรัสเซีย พบปะกันในกรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เพื่อหารือถึงแนวทางต่างๆในการยุติความขัดแย้งในยูเครน มันถือเป็นการพูดคุยกัยครั้งแรกนับตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำอเมริกาคนก่อนหน้าทรัมป์ ระงับการติดต่อทั้งหมดกับมอสโกในปี 2022
    .
    ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เน้นย้ำมาตลอดว่ามอสโกมองว่า เซเลนสกี ไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมายมานานแล้ว สืบเนื่องจากวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปีของเขา สิ้นสุดลงไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2024 และจนถึงตอนนี้ยังไม่มีการจัดเลือกตั้งใหม่ ก็เพราะกฎอัยการศึกที่ประกาศโดยเซเลนสกี
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวในวันอังคาร(18ก.พ.) ทรัมป์เน้นย้ำว่าเซเลนสกี ไม่เป็นที่นิยมอย่างมากภายในประเทศของตนเอง "ผู้นำในยูเครน ผมไม่อยากพูดเลยว่า เขามีคะแนนนิยมลดต่ำอยู่แค่ระดับ 4%" ทรัมป์ระบุ
    .
    "ตอนที่พวกเขาบอกว่าต้องการเก้าอี้ในโต๊ะเจรจา คุณอาจพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชาวยูเครน มันนานมาแล้วนับตั้งแต่เรามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์เน้นย้ำ "มันไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากผม และออกมาจากประเทศอื่นๆหลายชาติเช่นกัน"
    .
    พวกเจ้าที่ยูเครนยืนยันว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดการเลือกตั้งใหม่ในระหว่างที่ความขัดแย้งกับรัสเซียยังคงดำเนินอยู่
    .
    คะแนนิยมของเซเลนสกี พุ่งทะลุฟ้าแตะระดับ 90% ในช่วงเดือนแรกๆของความขัดแย้งในปี 2022 แต่นับตั้งแต่นั้นก็ร่วลงสู่ระดับ 50%
    .
    ตามหลังความพ่ายแพ้อย่างต่อเนื่องในสมรภูมิรบและปัญหารื้อรังในด้านเศรษฐกิจ เมื่อเดือนที่แล้ว สื่อมวลชนยูเครนอ้างผลสำรวจของสำนักโพล Socis poll พบว่าเหลือชาวยูเครนแค่ 40% ที่ยังคงเชื่อมั่นในเซเลนสกี ผิดกับ วาเลรี ซาลูซนีย์ อดีตนายพลแห่งกองทัพยูเครน ที่เวลานี้เป็นเอกอัครราชทูตประจำลอนดอน ที่ได้รับความเชื่อมั่นเกือบๆ 72%
    .
    ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกวังเครมลินบอกในวันอังคาร(18ก.พ.) ว่า ปูติน เปิดกว้างที่จะเจรจากับ เซเลนสกี แต่ก็ต่อเมื่อประเด็นเกี่ยวกับความชอบธรรมของผู้นำยูเครนได้รับการคลี่คลายแล้วเท่านั้น
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016369
    ..............
    Sondhi X
    โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บ่งชี้ว่ายูเครนอาจจำเป็นต้องจัดเลือกตั้งใหม่ และเน้นย้ำว่า โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำโดยพฤตินัยของเคียฟในปัจจุบัน ไม่เป็นที่นิยมนัก . ทรัมป์ แสดงความคิดเห็นไม่กี่ชั่วโมงหลังจากคณะผู้เจรจาของสหรัฐฯและรัสเซีย พบปะกันในกรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เพื่อหารือถึงแนวทางต่างๆในการยุติความขัดแย้งในยูเครน มันถือเป็นการพูดคุยกัยครั้งแรกนับตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำอเมริกาคนก่อนหน้าทรัมป์ ระงับการติดต่อทั้งหมดกับมอสโกในปี 2022 . ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เน้นย้ำมาตลอดว่ามอสโกมองว่า เซเลนสกี ไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมายมานานแล้ว สืบเนื่องจากวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปีของเขา สิ้นสุดลงไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2024 และจนถึงตอนนี้ยังไม่มีการจัดเลือกตั้งใหม่ ก็เพราะกฎอัยการศึกที่ประกาศโดยเซเลนสกี . ระหว่างให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวในวันอังคาร(18ก.พ.) ทรัมป์เน้นย้ำว่าเซเลนสกี ไม่เป็นที่นิยมอย่างมากภายในประเทศของตนเอง "ผู้นำในยูเครน ผมไม่อยากพูดเลยว่า เขามีคะแนนนิยมลดต่ำอยู่แค่ระดับ 4%" ทรัมป์ระบุ . "ตอนที่พวกเขาบอกว่าต้องการเก้าอี้ในโต๊ะเจรจา คุณอาจพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชาวยูเครน มันนานมาแล้วนับตั้งแต่เรามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์เน้นย้ำ "มันไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากผม และออกมาจากประเทศอื่นๆหลายชาติเช่นกัน" . พวกเจ้าที่ยูเครนยืนยันว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดการเลือกตั้งใหม่ในระหว่างที่ความขัดแย้งกับรัสเซียยังคงดำเนินอยู่ . คะแนนิยมของเซเลนสกี พุ่งทะลุฟ้าแตะระดับ 90% ในช่วงเดือนแรกๆของความขัดแย้งในปี 2022 แต่นับตั้งแต่นั้นก็ร่วลงสู่ระดับ 50% . ตามหลังความพ่ายแพ้อย่างต่อเนื่องในสมรภูมิรบและปัญหารื้อรังในด้านเศรษฐกิจ เมื่อเดือนที่แล้ว สื่อมวลชนยูเครนอ้างผลสำรวจของสำนักโพล Socis poll พบว่าเหลือชาวยูเครนแค่ 40% ที่ยังคงเชื่อมั่นในเซเลนสกี ผิดกับ วาเลรี ซาลูซนีย์ อดีตนายพลแห่งกองทัพยูเครน ที่เวลานี้เป็นเอกอัครราชทูตประจำลอนดอน ที่ได้รับความเชื่อมั่นเกือบๆ 72% . ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกวังเครมลินบอกในวันอังคาร(18ก.พ.) ว่า ปูติน เปิดกว้างที่จะเจรจากับ เซเลนสกี แต่ก็ต่อเมื่อประเด็นเกี่ยวกับความชอบธรรมของผู้นำยูเครนได้รับการคลี่คลายแล้วเท่านั้น . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016369 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    9
    0 Comments 0 Shares 1323 Views 0 Reviews
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน วิพากษ์วิจารณ์การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซีย ที่กีดกันไม่ให้เคียฟเข้าร่วม ระบุความพยายามยุติสงครามต้อง "ยุติธรรม" และบรรดาประเทศยุโรป ในนั้นรวมถึงตุรกี ควรมีส่วนร่วมด้วย
    .
    ความเห็นของเขามีขึ้นหลังจากวอชิงตันและมอสโก เผยว่าพวกเขาจะเปิดเผยชื่อคณะทำงานสำหรับเจรจาเส้นทางสู่การยุติสงครามในยูเครน ระหว่างการเจรจาอย่างเป็นทางการระดับสูงครั้งแรกของทั้ง 2 ฝ่าย นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน
    .
    ความเห็นอันเดือดดาลของผู้นำยูเครน มีขึ้นหลังจากเขาได้พบปะกับประธานาธิบดี เรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน แห่งตุรกี เป็นเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ในกรุงอังการา เมืองหลวงของตุรกี
    .
    "ยูเครนและยุโรปในสามัญสำนักอย่างกว้างๆ และนี่รวมถึงสหภาพยุโรป ตุรกีและสหราชอาณาจักร ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนทนาและก่อรูปร่างมาตรการรับประกันความมั่นคงที่จำเป็นร่วมกับอเมริกา ในเรื่องเกี่ยวกับชะตากรรมของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลก" เซเลนสกีกล่าว
    .
    "ความพยายามเป็นคนกลางใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง ควรเป็นไปอย่างยุติธรรม" เขากล่าว ประณามเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย ในริยาด ก่อนหน้านี้ในวันอังคาร (18 ก.พ.) และเน้นย้ำจุดยืนคัดค้าน "การพูดคุยใดๆ ที่ปราศจากยูเครน เกี่ยวกับแนวทางยุติสงครามในยูเครน"
    .
    เซเลนสกีเผยว่าเขาไม่ได้รับเชิญให้ร่วมเจรจาในริยาด และตัดสินใจเลื่อนโปรแกรมเดินทางเยือนเมืองหลวงของซาดุอีอาระเบีย จากเดิมที่คาดหมายว่าจะมีขึ้นในวันพุธ (19 ก.พ.) ไปเป็นวันที่ 10 มีนาคม
    .
    การยกเครื่องนโยบายเกี่ยวกับรัสเซียของทรัมป์ โหมกระพือความกังวลว่าวอชิงตันกำลังเตรียมการบีบเคียฟให้ยอมเจรจาต่อรองบนเงื่อนไขของมอสโก
    .
    นอกเหนือจากการเจรจาในริยาดแล้ว ความกังวลนี้มีมากขึ้นไปอีก เมื่อ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย พบปะหารือกันในประเด็นความมั่นคงยุโรปและยูเครน โดยไม่มีตัวแทนใดๆ จากเคียฟหรือบรัสเซลส์เข้าร่วมด้วย
    .
    ในส่วนของแอร์โดอัน ที่ยืนอยู่ข้างๆ เซเลนสกี ระหว่างแถลงข่าว ได้เสนอให้ตุรกีเป็นเจ้าภาพการเจรจาใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง โดยย้อนให้นึกถึงครั้งที่ทั้ง 2 ฝ่าย พบปะกันในอิสตุนบูลในปี 2022 ไม่กี่สัปดาห์หลังรัสเซียรุกรานยูเครน
    .
    "ตุรกีจะเป็นเจ้าภาพในอุดมคติสำหรับความเป็นไปได้ในการเจรจาใดๆ ระหว่างรัสเซีย ยูเครนและอเมริกา ในอนาคตอันใกล้นี้" เขากล่าว พร้อมบอกว่าการเจรจาในอิสตันบูล "เป็นจุดอ้างอิงที่สำคัญและเป็นแพลตฟอร์มที่ฝ่ายต่างๆ เฉียดใกล้ได้ข้อตกลงหนึ่งมากที่สุดแล้ว"
    .
    การเดินทางครั้งนี้ของเซเลนสกี ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่เขาเดินทางเยือนตุรกี นับตั้งแต่รัสเซียรุกราน โดยคราวนี้เกิดขึ้นในขณะที่เขาพยายามค้ำยันสถานะของเคียฟ ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เอื้อมมือเข้าหามอสโก
    .
    ตุรกี ซึ่งเป็นชาติสมาชิกนาโต หาทางคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับ 2 ชาติเพื่อนบ้านคู่สงครามทะเลดำ โดยที่แอร์โดอัน วางสถานะของตนเองในฐานะคนกลางและผู้สร้างสันติระหว่าง 2 ฝ่าย
    .
    แม้อังการาจะมอบโดรนแก่ยูเครน แต่ขณะเดียวกัน พวกเขาก็เพิกเฉยปลีกตัวออกต่างจากมาตรการคว่ำบาตรที่นำโดยตะวันตก ที่กำหนดเล่นงานมอสโก
    .
    เช่นเดียวกับซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตุรกีเล่นบทบาทสำคัญในการเป็นคนกลางแลกเปลี่ยนเชลยศึกหลายรายระหว่างรัสเซียกับยูเครน ข้อตกลงนี้พบเห็นนักโทษหลายร้อยคนถูกปล่อยตัวกลับมาตุภูมิ แม้ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016367
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน วิพากษ์วิจารณ์การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซีย ที่กีดกันไม่ให้เคียฟเข้าร่วม ระบุความพยายามยุติสงครามต้อง "ยุติธรรม" และบรรดาประเทศยุโรป ในนั้นรวมถึงตุรกี ควรมีส่วนร่วมด้วย . ความเห็นของเขามีขึ้นหลังจากวอชิงตันและมอสโก เผยว่าพวกเขาจะเปิดเผยชื่อคณะทำงานสำหรับเจรจาเส้นทางสู่การยุติสงครามในยูเครน ระหว่างการเจรจาอย่างเป็นทางการระดับสูงครั้งแรกของทั้ง 2 ฝ่าย นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน . ความเห็นอันเดือดดาลของผู้นำยูเครน มีขึ้นหลังจากเขาได้พบปะกับประธานาธิบดี เรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน แห่งตุรกี เป็นเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ในกรุงอังการา เมืองหลวงของตุรกี . "ยูเครนและยุโรปในสามัญสำนักอย่างกว้างๆ และนี่รวมถึงสหภาพยุโรป ตุรกีและสหราชอาณาจักร ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนทนาและก่อรูปร่างมาตรการรับประกันความมั่นคงที่จำเป็นร่วมกับอเมริกา ในเรื่องเกี่ยวกับชะตากรรมของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลก" เซเลนสกีกล่าว . "ความพยายามเป็นคนกลางใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง ควรเป็นไปอย่างยุติธรรม" เขากล่าว ประณามเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย ในริยาด ก่อนหน้านี้ในวันอังคาร (18 ก.พ.) และเน้นย้ำจุดยืนคัดค้าน "การพูดคุยใดๆ ที่ปราศจากยูเครน เกี่ยวกับแนวทางยุติสงครามในยูเครน" . เซเลนสกีเผยว่าเขาไม่ได้รับเชิญให้ร่วมเจรจาในริยาด และตัดสินใจเลื่อนโปรแกรมเดินทางเยือนเมืองหลวงของซาดุอีอาระเบีย จากเดิมที่คาดหมายว่าจะมีขึ้นในวันพุธ (19 ก.พ.) ไปเป็นวันที่ 10 มีนาคม . การยกเครื่องนโยบายเกี่ยวกับรัสเซียของทรัมป์ โหมกระพือความกังวลว่าวอชิงตันกำลังเตรียมการบีบเคียฟให้ยอมเจรจาต่อรองบนเงื่อนไขของมอสโก . นอกเหนือจากการเจรจาในริยาดแล้ว ความกังวลนี้มีมากขึ้นไปอีก เมื่อ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย พบปะหารือกันในประเด็นความมั่นคงยุโรปและยูเครน โดยไม่มีตัวแทนใดๆ จากเคียฟหรือบรัสเซลส์เข้าร่วมด้วย . ในส่วนของแอร์โดอัน ที่ยืนอยู่ข้างๆ เซเลนสกี ระหว่างแถลงข่าว ได้เสนอให้ตุรกีเป็นเจ้าภาพการเจรจาใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง โดยย้อนให้นึกถึงครั้งที่ทั้ง 2 ฝ่าย พบปะกันในอิสตุนบูลในปี 2022 ไม่กี่สัปดาห์หลังรัสเซียรุกรานยูเครน . "ตุรกีจะเป็นเจ้าภาพในอุดมคติสำหรับความเป็นไปได้ในการเจรจาใดๆ ระหว่างรัสเซีย ยูเครนและอเมริกา ในอนาคตอันใกล้นี้" เขากล่าว พร้อมบอกว่าการเจรจาในอิสตันบูล "เป็นจุดอ้างอิงที่สำคัญและเป็นแพลตฟอร์มที่ฝ่ายต่างๆ เฉียดใกล้ได้ข้อตกลงหนึ่งมากที่สุดแล้ว" . การเดินทางครั้งนี้ของเซเลนสกี ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่เขาเดินทางเยือนตุรกี นับตั้งแต่รัสเซียรุกราน โดยคราวนี้เกิดขึ้นในขณะที่เขาพยายามค้ำยันสถานะของเคียฟ ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เอื้อมมือเข้าหามอสโก . ตุรกี ซึ่งเป็นชาติสมาชิกนาโต หาทางคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับ 2 ชาติเพื่อนบ้านคู่สงครามทะเลดำ โดยที่แอร์โดอัน วางสถานะของตนเองในฐานะคนกลางและผู้สร้างสันติระหว่าง 2 ฝ่าย . แม้อังการาจะมอบโดรนแก่ยูเครน แต่ขณะเดียวกัน พวกเขาก็เพิกเฉยปลีกตัวออกต่างจากมาตรการคว่ำบาตรที่นำโดยตะวันตก ที่กำหนดเล่นงานมอสโก . เช่นเดียวกับซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตุรกีเล่นบทบาทสำคัญในการเป็นคนกลางแลกเปลี่ยนเชลยศึกหลายรายระหว่างรัสเซียกับยูเครน ข้อตกลงนี้พบเห็นนักโทษหลายร้อยคนถูกปล่อยตัวกลับมาตุภูมิ แม้ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016367 .............. Sondhi X
    Haha
    Like
    8
    0 Comments 0 Shares 1327 Views 0 Reviews
More Results