• สหรัฐเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากไทย 36% (ล่าสุดปรับอีกครั้งเป็น 37%) หนึ่งในทางออกคือ ไทยต้องเล่นบทบาทนำในอาเซียน เพื่อผ่านวิกฤตครั้งนี้ให้ได้.ประเด็นเร่งด่วนในระยะสั้นที่ไทยต้องเร่งผลักดันผ่านคณะทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับสูง และที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อให้ทันก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้คือ.รับมือกับมาตรการทางทางการค้าของสหรัฐอเมริการ่วมกัน เพราะสมาชิกอาเซียนโดนกันถ้วนหน้า กัมพูชา 49% สปป ลาว 48% เวียดนาม 46% เมียนมา 44% ไทย 36-37% อินโดนีเซีย 32% มาเลเซียและบรูไน 24% ฟิลิปปินส์ 17% หรือแม้แต่สิงคโปร์ก็โดนภาษี 10% เราต้องคำนวณร่วมกันว่า อัตราที่ทรัมป์กล่าวอ้าง นั่นคือ x2 ของอัตราภาษีเหล่านี้ คืออัตราจริงหรือไม่ ที่มาเป็นอย่างไร ถ้าไม่จริงต้องเร่งปฏิเสธ (ซึ่งผมค่อนข้างมั่นใจว่าไม่น่าจะใช่อัตราที่ถูกต้อง รวมทั้งมีผู้คำนวณแล้วว่าตัวเลขชุดนี้ แท้จริงแล้วคือ สัดส่วนมูลค่าการขาดดุลการค้าต่อมูลค่าการนำเข้าที่สหรัฐนำเข้าสินค้าจากแต่ละประเทศ).จากนั้น ต้องคิดต่อว่าหากให้แต่ละประเทศสมาชิกเจรจากับสหรัฐ (ซึ่งจะมีเวลาเตรียมตัวสั้นมาก) เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า อำนาจการต่อรองของแต่ละสมาชิกเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาคือ เรื่องจิ๊บจ๊อยขี้ประติ๋ว แต่หากประชาคมอาเซียนรวมตัวกัน นี้คือตลาดของประชาชนเรือน 700 ล้านประชากร ที่มีรายได้สูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก และเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญ ดังนั้น อาเซียนต้องร่วมมือกัน อาเซียนต้องเดินหน้าต่อรองด้วยกัน .อาเซียนต้องไม่ดำเนินมาตรการที่ขัดแข้งขัดขาซึ่งกันและกัน มาตรการจำพวกตั้งภาษีตอบโต้กัน หรือเลียนแบบมาตรการทางการค้าเพื่อตอบโต้ซึ่งกันและกัน (Tariff Retaliation and/or Trade Emulation) รวมทั้งนโยบายประเภทเอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น ขอทานจากประเทศเพื่อบ้าน (Beggar-thy-neighbor) อาทิ ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดึงดูดเงินทุน แข่งกันให้สิทธิพิเศษทางการค้าการลงทุนจนวายวอดทั้งภูมิภาค ฯลฯ เหล่านี้ต้องไม่เกิดขึ้น .จากนั้นทั้งอาเซียนต้องร่วมกัน.1. แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า อาเซียนคืออาเซียน อาเซียนมีจุดแข็งของตนเอง อาเซียนพร้อมสนับสนุนการค้า การลงทุนเสรี อาเซียนสนับสนุนกฎกติการแบบพหุภาคีนิยม และอาเซียนไม่ได้เป็นเขตอิทธิพลของมหาอำนาจใดมหาอำนาจหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น จีน สหรัฐ หรือ มหาอำนาจใดๆ.2. เร่งสำรวจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากมาตรการทางการค้าที่สหรัฐประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน ว่าแต่ละประเทศได้รับผลกระทบอย่างไร และหากเราร่วมมือกัน เราต้องการตจะกำหนดทิศทางการเจรจาอย่างไร แน่นอนว่า ทุกประเทศ ทุกคน คงไม่ได้สิ่งที่ต้องการทั้งหมด แต่ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ บางเรื่อง บางประเทศ คงต้องยอมถอย เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อบางภาคการผลิต บางประเทศ และจากนั้นค่อยไปหารือกันว่าอาเซียนจะช่วยการเยียวยาผลกระทบซึ่งกันและกันได้อย่างไร เร่งปรึกษาหารือกับวิสาหกิจสหรัฐที่ทำการค้า ทำการลงทุนอยู่แล้วในอาเซียน ว่าพวกเขามีข้อเสนอแนะใดบ้าง.3. เร่งสำรวจว่าแต่ละประเทศมีช่องทาง มีสายสัมพันธ์ มีแนวทางการติดต่อประสานงานกับประธานาธิบดีทรัมป์ และทีมงานที่ภักดีของเขา รวมทั้งผู้สนับสนุนการรณรงค์หาเสียงของเขาในช่องทางใดบ้าง มีอะไรที่จะเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้คนเหล่านี้ต้องการเป็นสะพานเพื่อเปิดการเจรจาระหว่างอาเซียนกับสหรัฐ.4. วางยุทธศาสตร์การเจรจาร่วมกัน โดยการจัดทำ “ยุทธศาสตร์ราชสีห์กับหนู” นำเสนอนโยบายที่ทำให้ทรัมป์ต้องให้ความสนใจอาเซียน (ทรัมป์เคยมาเยือนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ฟิลิปปินส์ในปี 2017 แต่ไม่เคยเข้าประชุมกับผู้นำอาเซียน) อาเซียนต้องเป็นหนูที่แสดงความเกรงใจนบนอบในระยะปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแสดงให้เห็นโอกาสที่สหรัฐจะได้จากการร่วมมือกับในอนาคต มีอะไรที่เราจะเสนอกับอาเซียนได้บ้าง อาทิ ความต้องการในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของอาเซียนร่วมกันในอีก 5 ปีต่อจากนี้ ความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการที่เป็น Billing ขนาดใหญ่ อาทิ การจัดหาเครื่องบินพาณิชย์ของสายการบินต่างๆ ในประเทศอาเซียนที่มีตลาดการบินขนาดใหญ่และเป็น Hub ทางการบินที่สำคัญ, การจัดซื้อ Software และ Hardware สำหรับระบบบริหาร ASEAN Smart City Network รวมทั้งความต้องการในการจัดซื้อบริการเหล่านี้สำหรับการบริหารกิจการทั้งของรัฐบาลและของภาคเอกชนในอาเซียน, ความต้องการซื้ออุปกรณ์และองค์ความรู้ในการติดตั้งเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าและศักยภาพของการผลิตพลังงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมดิจิตอลที่ผู้ประกอบการสหรัฐต้องการ, ทรัพยากรธรรมชาติของอาเซียนที่สหรัฐดิ้นรนแสวงหาอยู่ ณ ขณะนี้, ไปจนถึงการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนคาสิโนแห่ง Las Vegas ได้มีโอกาสในการทำธุรกิจในอาเซียนในประเทศที่กำลังเดินหน้านโยบายการเปิดบ่อน (ส่วนตัวผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อนคาสิโนที่มอมเมาประชาชน แต่หากรัฐบาลจะดันทุรังเปิดให้ได้ อย่างน้อยก็ต้องเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพราะต้องอย่าลืมว่าผู้สนับสนุนทรัมป์ก็เป็นกลุ่มทุนคาสิโนยักษ์ใหญ่) ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นอำนาจต่อรองที่หนูตัวนี้จะรอดจากเงื้อมมือราชสีห์ด้วยกันทั้งสิ้น.5. และเนื่องจาก ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม ได้รับสิทธิ์ในการเป็น Partner Country ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BRICS ในขณะที่อินโดนีเซียได้รับสิทธิ์เป็น Full Member ของ BRICS เรียบร้อยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่หนูน้อยอาเซียนต้องดำเนินการด้วยนั่นก็คือ เร่งเจรจากับผู้นำบราซิลที่จะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดกลุ่ม BRICS ในปีนี้ ว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะรับอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าเป็นสมาชิก เพราะหนูตัวนี้บางครั้งก็ต้องพึ่งพาราชสีห์อีกตัวมากดดันราชสีห์อันทพาลตัวเก่า การแสวงหาโอกาส การแสวงหาตลาดใหม่ๆ ที่จะเป็นทางเลือกเพื่อมาทดแทนตลาดการค้าที่กำลังจะเสียไป เป็นทางเลือกที่เรามีสิทธิ์ในฐานะรัฐอธิปไตย.ขอเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายของไทยต้องมีวิสัยทัศน์ มีความกล้าหาญในการเล่นบทบาทนำของประเทศไทยในประชาคมอาเซียน เราต้องมีข้อเสนอกับประชาคมอาเซียนเพื่อรับมือมาตรการกีดกันทางการค้าจะสหรัฐร่วมกัน.รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนามคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ปล. รบกวนช่วยกัน Share นะครับ เราต้องลุกขึ้นมาทำอะไรบ้าง ไม่งั้นไทยจะหายไปจากจอเรดาร์
    สหรัฐเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากไทย 36% (ล่าสุดปรับอีกครั้งเป็น 37%) หนึ่งในทางออกคือ ไทยต้องเล่นบทบาทนำในอาเซียน เพื่อผ่านวิกฤตครั้งนี้ให้ได้.ประเด็นเร่งด่วนในระยะสั้นที่ไทยต้องเร่งผลักดันผ่านคณะทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับสูง และที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อให้ทันก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้คือ.รับมือกับมาตรการทางทางการค้าของสหรัฐอเมริการ่วมกัน เพราะสมาชิกอาเซียนโดนกันถ้วนหน้า กัมพูชา 49% สปป ลาว 48% เวียดนาม 46% เมียนมา 44% ไทย 36-37% อินโดนีเซีย 32% มาเลเซียและบรูไน 24% ฟิลิปปินส์ 17% หรือแม้แต่สิงคโปร์ก็โดนภาษี 10% เราต้องคำนวณร่วมกันว่า อัตราที่ทรัมป์กล่าวอ้าง นั่นคือ x2 ของอัตราภาษีเหล่านี้ คืออัตราจริงหรือไม่ ที่มาเป็นอย่างไร ถ้าไม่จริงต้องเร่งปฏิเสธ (ซึ่งผมค่อนข้างมั่นใจว่าไม่น่าจะใช่อัตราที่ถูกต้อง รวมทั้งมีผู้คำนวณแล้วว่าตัวเลขชุดนี้ แท้จริงแล้วคือ สัดส่วนมูลค่าการขาดดุลการค้าต่อมูลค่าการนำเข้าที่สหรัฐนำเข้าสินค้าจากแต่ละประเทศ).จากนั้น ต้องคิดต่อว่าหากให้แต่ละประเทศสมาชิกเจรจากับสหรัฐ (ซึ่งจะมีเวลาเตรียมตัวสั้นมาก) เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า อำนาจการต่อรองของแต่ละสมาชิกเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาคือ เรื่องจิ๊บจ๊อยขี้ประติ๋ว แต่หากประชาคมอาเซียนรวมตัวกัน นี้คือตลาดของประชาชนเรือน 700 ล้านประชากร ที่มีรายได้สูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก และเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญ ดังนั้น อาเซียนต้องร่วมมือกัน อาเซียนต้องเดินหน้าต่อรองด้วยกัน .อาเซียนต้องไม่ดำเนินมาตรการที่ขัดแข้งขัดขาซึ่งกันและกัน มาตรการจำพวกตั้งภาษีตอบโต้กัน หรือเลียนแบบมาตรการทางการค้าเพื่อตอบโต้ซึ่งกันและกัน (Tariff Retaliation and/or Trade Emulation) รวมทั้งนโยบายประเภทเอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น ขอทานจากประเทศเพื่อบ้าน (Beggar-thy-neighbor) อาทิ ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดึงดูดเงินทุน แข่งกันให้สิทธิพิเศษทางการค้าการลงทุนจนวายวอดทั้งภูมิภาค ฯลฯ เหล่านี้ต้องไม่เกิดขึ้น .จากนั้นทั้งอาเซียนต้องร่วมกัน.1. แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า อาเซียนคืออาเซียน อาเซียนมีจุดแข็งของตนเอง อาเซียนพร้อมสนับสนุนการค้า การลงทุนเสรี อาเซียนสนับสนุนกฎกติการแบบพหุภาคีนิยม และอาเซียนไม่ได้เป็นเขตอิทธิพลของมหาอำนาจใดมหาอำนาจหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น จีน สหรัฐ หรือ มหาอำนาจใดๆ.2. เร่งสำรวจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากมาตรการทางการค้าที่สหรัฐประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน ว่าแต่ละประเทศได้รับผลกระทบอย่างไร และหากเราร่วมมือกัน เราต้องการตจะกำหนดทิศทางการเจรจาอย่างไร แน่นอนว่า ทุกประเทศ ทุกคน คงไม่ได้สิ่งที่ต้องการทั้งหมด แต่ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ บางเรื่อง บางประเทศ คงต้องยอมถอย เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อบางภาคการผลิต บางประเทศ และจากนั้นค่อยไปหารือกันว่าอาเซียนจะช่วยการเยียวยาผลกระทบซึ่งกันและกันได้อย่างไร เร่งปรึกษาหารือกับวิสาหกิจสหรัฐที่ทำการค้า ทำการลงทุนอยู่แล้วในอาเซียน ว่าพวกเขามีข้อเสนอแนะใดบ้าง.3. เร่งสำรวจว่าแต่ละประเทศมีช่องทาง มีสายสัมพันธ์ มีแนวทางการติดต่อประสานงานกับประธานาธิบดีทรัมป์ และทีมงานที่ภักดีของเขา รวมทั้งผู้สนับสนุนการรณรงค์หาเสียงของเขาในช่องทางใดบ้าง มีอะไรที่จะเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้คนเหล่านี้ต้องการเป็นสะพานเพื่อเปิดการเจรจาระหว่างอาเซียนกับสหรัฐ.4. วางยุทธศาสตร์การเจรจาร่วมกัน โดยการจัดทำ “ยุทธศาสตร์ราชสีห์กับหนู” นำเสนอนโยบายที่ทำให้ทรัมป์ต้องให้ความสนใจอาเซียน (ทรัมป์เคยมาเยือนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ฟิลิปปินส์ในปี 2017 แต่ไม่เคยเข้าประชุมกับผู้นำอาเซียน) อาเซียนต้องเป็นหนูที่แสดงความเกรงใจนบนอบในระยะปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแสดงให้เห็นโอกาสที่สหรัฐจะได้จากการร่วมมือกับในอนาคต มีอะไรที่เราจะเสนอกับอาเซียนได้บ้าง อาทิ ความต้องการในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของอาเซียนร่วมกันในอีก 5 ปีต่อจากนี้ ความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการที่เป็น Billing ขนาดใหญ่ อาทิ การจัดหาเครื่องบินพาณิชย์ของสายการบินต่างๆ ในประเทศอาเซียนที่มีตลาดการบินขนาดใหญ่และเป็น Hub ทางการบินที่สำคัญ, การจัดซื้อ Software และ Hardware สำหรับระบบบริหาร ASEAN Smart City Network รวมทั้งความต้องการในการจัดซื้อบริการเหล่านี้สำหรับการบริหารกิจการทั้งของรัฐบาลและของภาคเอกชนในอาเซียน, ความต้องการซื้ออุปกรณ์และองค์ความรู้ในการติดตั้งเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าและศักยภาพของการผลิตพลังงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมดิจิตอลที่ผู้ประกอบการสหรัฐต้องการ, ทรัพยากรธรรมชาติของอาเซียนที่สหรัฐดิ้นรนแสวงหาอยู่ ณ ขณะนี้, ไปจนถึงการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนคาสิโนแห่ง Las Vegas ได้มีโอกาสในการทำธุรกิจในอาเซียนในประเทศที่กำลังเดินหน้านโยบายการเปิดบ่อน (ส่วนตัวผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อนคาสิโนที่มอมเมาประชาชน แต่หากรัฐบาลจะดันทุรังเปิดให้ได้ อย่างน้อยก็ต้องเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพราะต้องอย่าลืมว่าผู้สนับสนุนทรัมป์ก็เป็นกลุ่มทุนคาสิโนยักษ์ใหญ่) ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นอำนาจต่อรองที่หนูตัวนี้จะรอดจากเงื้อมมือราชสีห์ด้วยกันทั้งสิ้น.5. และเนื่องจาก ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม ได้รับสิทธิ์ในการเป็น Partner Country ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BRICS ในขณะที่อินโดนีเซียได้รับสิทธิ์เป็น Full Member ของ BRICS เรียบร้อยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่หนูน้อยอาเซียนต้องดำเนินการด้วยนั่นก็คือ เร่งเจรจากับผู้นำบราซิลที่จะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดกลุ่ม BRICS ในปีนี้ ว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะรับอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าเป็นสมาชิก เพราะหนูตัวนี้บางครั้งก็ต้องพึ่งพาราชสีห์อีกตัวมากดดันราชสีห์อันทพาลตัวเก่า การแสวงหาโอกาส การแสวงหาตลาดใหม่ๆ ที่จะเป็นทางเลือกเพื่อมาทดแทนตลาดการค้าที่กำลังจะเสียไป เป็นทางเลือกที่เรามีสิทธิ์ในฐานะรัฐอธิปไตย.ขอเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายของไทยต้องมีวิสัยทัศน์ มีความกล้าหาญในการเล่นบทบาทนำของประเทศไทยในประชาคมอาเซียน เราต้องมีข้อเสนอกับประชาคมอาเซียนเพื่อรับมือมาตรการกีดกันทางการค้าจะสหรัฐร่วมกัน.รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนามคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ปล. รบกวนช่วยกัน Share นะครับ เราต้องลุกขึ้นมาทำอะไรบ้าง ไม่งั้นไทยจะหายไปจากจอเรดาร์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 33 มุมมอง 0 รีวิว
  • 31 มีนา “วันเจษฎาบดินทร์” ระลึกพระนั่งเกล้าฯ ผู้ให้กำเนิด "เงินถุงแดง" ไถ่บ้านไถ่เมือง

    ✨ วันแห่งประวัติศาสตร์ไทย ที่ไม่ควรลืม ✨ วันที่ 31 มีนาคมของทุกปี ได้รับการประกาศจากคณะรัฐมนตรีให้เป็น “วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” หรือเรียกกันว่า “วันเจษฎาบดินทร์” 💛

    เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้วางรากฐานสำคัญให้กับการค้า การป้องกันประเทศ การทำนุบำรุงศาสนา และเป็นผู้นำแนวคิดการเก็บออม ไว้ให้ชาติบ้านเมืองในยามคับขัน ที่รู้จักกันในนาม “เงินถุงแดง” 💰

    🏯 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 กับสมเด็จพระศรีสุลาลัย หรือเจ้าจอมมารดาเรียม ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2331 ที่พระราชวังเดิม ธนบุรี 🏰

    พระองค์มีพระนามเดิมว่า “หม่อมเจ้าชายทับ” ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” และขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ทรงมีพระชนมพรรษา 37 ปี

    ตลอดรัชสมัยกว่า 27 ปี พระองค์ทรงใช้พระปรีชาญาณ ในการบริหารบ้านเมืองอย่างรอบคอบ ทรงวางระบบเศรษฐกิจ 📈 ขยายเส้นทางการค้า 🌏 และจัดสรรรายได้แผ่นดินอย่างเป็นระบบ เพื่อความมั่นคงในอนาคต 🇹🇭

    👑 จุดเริ่มต้นของคำว่า “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามใหม่อย่างย่อว่า “พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว”

    โดยคำว่า “เจษฎา” หมายถึง เลิศล้ำ ยอดเยี่ยม และ “บดินทร์” หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน ดังนั้น “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” จึงหมายถึง “พระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่และเป็นเลิศ” ✨

    🧭 รัชสมัยแห่งความมั่นคงและเจริญรุ่งเรือง พระองค์ทรงส่งเสริมการค้าขายกับต่างชาติ โดยเฉพาะกับจีน และประเทศทางตะวันตก อย่างอังกฤษและสหรัฐฯ มีการลงนามในสนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ. 2369 และสนธิสัญญากับอเมริกาใน พ.ศ. 2375 ซึ่งเป็นสนธิสัญญาฉบับแรก ระหว่างสหรัฐอเมริกา กับประเทศในเอเชียตะวันออก 🌐

    พระองค์ทรงวางรากฐานเศรษฐกิจการค้า เสริมสร้างรายได้แผ่นดิน โดยมีระบบภาษีใหม่ถึง 38 รายการ และทรงปกครองด้วยพระปรีชาญาณอย่างเด็ดขาด รวมถึงการสร้างคลอง เพื่อใช้ในสงครามและการพาณิชย์ เช่น คลองบางขุนเทียน คลองหมาหอน 🚤

    📚 “เงินถุงแดง” ตำนานที่กลายเป็นจริง หนึ่งในมรดกที่สำคัญที่สุ ดจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ เงินถุงแดง หรือ “พระคลังข้างที่” 💼

    📌 พระคลังข้างที่ คือ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ที่สะสมไว้ใช้ในยามจำเป็นของแผ่นดิน พระองค์ทรงประหยัดมัธยัสถ์ และตั้งพระราชดำริว่า “เก็บไว้เพื่อไถ่บ้านไถ่เมือง” ในยามเกิดภัยพิบัติหรือสงคราม

    ต่อมาในเหตุการณ์ ร.ศ. 112 หรือ พ.ศ. 2436 เมื่อฝรั่งเศสบุกเรือรบ เข้ายึดดินแดนของไทย และเรียกร้องค่าปรับสงคราม 3,000,000 ฟรังก์ รัฐบาลสยามจึงได้นำเงินถุงแดง ออกมาใช้ในการไถ่แผ่นดิน 💸

    📆 เหตุการณ์ ร.ศ.112 และการใช้ “เงินถุงแดง” ไถ่ชาติ

    🔥 ความขัดแย้งไทย - ฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสกล่าวหาไทย ว่าเป็นฝ่ายเริ่มต้นสงคราม โดยอ้างเหตุการณ์ที่แม่น้ำโขง ที่กองกำลังไทยสังหารทหารฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสส่งเรือรบ เข้าปิดล้อมแม่น้ำเจ้าพระยา

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต้องเผชิญกับสถานการณ์อันตึงเครียด ในระดับที่ชาติอาจล่มสลาย 💣 ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทยจ่ายค่าปรับ และยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง

    🧾 ตัวเลขที่มากมาย
    ค่าเสียหายที่เรียกร้อง = 2,000,000 ฟรังก์
    เงินมัดจำเพิ่มเติม = 1,000,000 ฟรังก์
    รวมเป็น 3,000,000 ฟรังก์ ประมาณ 1.6 ล้านบาท ในขณะนั้น

    📤 แหล่งเงินสำคัญ เงินที่นำมาใช้จ่ายครั้งนั้น มาจาก “พระคลังข้างที่” ซึ่งเป็นเงินส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 3 ที่ถูกเก็บไว้ในถุงแดงอย่างเงียบงัน 😌

    🧠 ข้อเท็จจริงหรือแค่ตำนาน? เงินถุงแดงมีจริงหรือไม่ 🤔 มีบางความเห็นในยุคปัจจุบัน ที่ตั้งข้อสังเกตว่า “เงินถุงแดง” อาจไม่มีอยู่จริง และเป็นแค่เรื่องเล่าขาน แต่เมื่อพิจารณาหลักฐานจากหลายแหล่ง ทั้ง

    📖 หนังสือพิมพ์ Le Monde Illustré ของฝรั่งเศส
    📚 หนังสือ “เหตุการณ์ ร.ศ.112 และเรื่องเสียเขตแดนใน ร.5”
    📜 พระราชนิพนธ์ และคำกราบบังคมทูล ของกรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์

    ต่างยืนยันว่า มีการชำระเงินมัดจำด้วยเหรียญเม็กซิกัน จำนวนกว่า 800,000 เหรียญ หรือประมาณ 23 ตัน ที่ขนส่งออกไปจากกรุงเทพฯ 🚢

    🔍 วิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ เงินถุงแดงสะท้อนอะไร? เงินถุงแดงไม่เพียงเป็นสัญลักษณ์ ของความสามารถในการบริหารเศรษฐกิจ ของรัชกาลที่ 3 แต่ยังสะท้อนถึงแนวคิด “เงินสำรองแผ่นดิน” ซึ่งในภายหลัง ก็กลายเป็นแนวคิดตั้งต้นของ “ทุนสำรองระหว่างประเทศ” ในรูปแบบที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ 🌎💹

    📖 พระราชสมัญญา แห่งพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ต่อมาใน พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พระราชทานพระราชสมัญญา “พระมหาเจษฎาราชเจ้า”

    ตามมาด้วยใน พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2558 ได้มีการถวายพระราชสมัญญาเพิ่มเติม ได้แก่
    - พระบิดาแห่งการค้าไทย 🛍
    - พระบิดาแห่งการพาณิชย์นาวีไทย 🚢
    - พระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย 🌿

    🧡 วันเจษฎาบดินทร์ 31 มีนาคม วันแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปี เป็น “วันเจษฎาบดินทร์” เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ แห่งรัชกาลที่ 3 แม้ไม่ใช่วันหยุดราชการ แต่ถือเป็น วันสำคัญของชาติไทย 🗓🇹🇭

    💬 รัชกาลที่ 3 กับมรดกที่คนไทยไม่ควรลืม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงเป็นกษัตริย์ ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ด้านการค้าและเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังทรงเป็นกษัตริย์ที่ “เตรียมพร้อม” รับสถานการณ์ล่วงหน้าอย่างชาญฉลาด 💼💪

    “เงินถุงแดง” คือสัญลักษณ์ของ วินัยทางการเงินระดับชาติ และความห่วงใยต่อแผ่นดิน ของพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 310848 มี.ค. 2568

    📌 #วันเจษฎาบดินทร์ #พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว #เงินถุงแดง #ราชวงศ์จักรี #ประวัติศาสตร์ไทย #รัชกาลที่3 #รศ112 #บทเรียนจากอดีต #พระมหาเจษฎาราชเจ้า #อธิปไตยไทย
    31 มีนา “วันเจษฎาบดินทร์” ระลึกพระนั่งเกล้าฯ ผู้ให้กำเนิด "เงินถุงแดง" ไถ่บ้านไถ่เมือง ✨ วันแห่งประวัติศาสตร์ไทย ที่ไม่ควรลืม ✨ วันที่ 31 มีนาคมของทุกปี ได้รับการประกาศจากคณะรัฐมนตรีให้เป็น “วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” หรือเรียกกันว่า “วันเจษฎาบดินทร์” 💛 เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้วางรากฐานสำคัญให้กับการค้า การป้องกันประเทศ การทำนุบำรุงศาสนา และเป็นผู้นำแนวคิดการเก็บออม ไว้ให้ชาติบ้านเมืองในยามคับขัน ที่รู้จักกันในนาม “เงินถุงแดง” 💰 🏯 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 กับสมเด็จพระศรีสุลาลัย หรือเจ้าจอมมารดาเรียม ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2331 ที่พระราชวังเดิม ธนบุรี 🏰 พระองค์มีพระนามเดิมว่า “หม่อมเจ้าชายทับ” ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” และขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ทรงมีพระชนมพรรษา 37 ปี ตลอดรัชสมัยกว่า 27 ปี พระองค์ทรงใช้พระปรีชาญาณ ในการบริหารบ้านเมืองอย่างรอบคอบ ทรงวางระบบเศรษฐกิจ 📈 ขยายเส้นทางการค้า 🌏 และจัดสรรรายได้แผ่นดินอย่างเป็นระบบ เพื่อความมั่นคงในอนาคต 🇹🇭 👑 จุดเริ่มต้นของคำว่า “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามใหม่อย่างย่อว่า “พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว” โดยคำว่า “เจษฎา” หมายถึง เลิศล้ำ ยอดเยี่ยม และ “บดินทร์” หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน ดังนั้น “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” จึงหมายถึง “พระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่และเป็นเลิศ” ✨ 🧭 รัชสมัยแห่งความมั่นคงและเจริญรุ่งเรือง พระองค์ทรงส่งเสริมการค้าขายกับต่างชาติ โดยเฉพาะกับจีน และประเทศทางตะวันตก อย่างอังกฤษและสหรัฐฯ มีการลงนามในสนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ. 2369 และสนธิสัญญากับอเมริกาใน พ.ศ. 2375 ซึ่งเป็นสนธิสัญญาฉบับแรก ระหว่างสหรัฐอเมริกา กับประเทศในเอเชียตะวันออก 🌐 พระองค์ทรงวางรากฐานเศรษฐกิจการค้า เสริมสร้างรายได้แผ่นดิน โดยมีระบบภาษีใหม่ถึง 38 รายการ และทรงปกครองด้วยพระปรีชาญาณอย่างเด็ดขาด รวมถึงการสร้างคลอง เพื่อใช้ในสงครามและการพาณิชย์ เช่น คลองบางขุนเทียน คลองหมาหอน 🚤 📚 “เงินถุงแดง” ตำนานที่กลายเป็นจริง หนึ่งในมรดกที่สำคัญที่สุ ดจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ เงินถุงแดง หรือ “พระคลังข้างที่” 💼 📌 พระคลังข้างที่ คือ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ที่สะสมไว้ใช้ในยามจำเป็นของแผ่นดิน พระองค์ทรงประหยัดมัธยัสถ์ และตั้งพระราชดำริว่า “เก็บไว้เพื่อไถ่บ้านไถ่เมือง” ในยามเกิดภัยพิบัติหรือสงคราม ต่อมาในเหตุการณ์ ร.ศ. 112 หรือ พ.ศ. 2436 เมื่อฝรั่งเศสบุกเรือรบ เข้ายึดดินแดนของไทย และเรียกร้องค่าปรับสงคราม 3,000,000 ฟรังก์ รัฐบาลสยามจึงได้นำเงินถุงแดง ออกมาใช้ในการไถ่แผ่นดิน 💸 📆 เหตุการณ์ ร.ศ.112 และการใช้ “เงินถุงแดง” ไถ่ชาติ 🔥 ความขัดแย้งไทย - ฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสกล่าวหาไทย ว่าเป็นฝ่ายเริ่มต้นสงคราม โดยอ้างเหตุการณ์ที่แม่น้ำโขง ที่กองกำลังไทยสังหารทหารฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสส่งเรือรบ เข้าปิดล้อมแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต้องเผชิญกับสถานการณ์อันตึงเครียด ในระดับที่ชาติอาจล่มสลาย 💣 ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทยจ่ายค่าปรับ และยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง 🧾 ตัวเลขที่มากมาย ค่าเสียหายที่เรียกร้อง = 2,000,000 ฟรังก์ เงินมัดจำเพิ่มเติม = 1,000,000 ฟรังก์ รวมเป็น 3,000,000 ฟรังก์ ประมาณ 1.6 ล้านบาท ในขณะนั้น 📤 แหล่งเงินสำคัญ เงินที่นำมาใช้จ่ายครั้งนั้น มาจาก “พระคลังข้างที่” ซึ่งเป็นเงินส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 3 ที่ถูกเก็บไว้ในถุงแดงอย่างเงียบงัน 😌 🧠 ข้อเท็จจริงหรือแค่ตำนาน? เงินถุงแดงมีจริงหรือไม่ 🤔 มีบางความเห็นในยุคปัจจุบัน ที่ตั้งข้อสังเกตว่า “เงินถุงแดง” อาจไม่มีอยู่จริง และเป็นแค่เรื่องเล่าขาน แต่เมื่อพิจารณาหลักฐานจากหลายแหล่ง ทั้ง 📖 หนังสือพิมพ์ Le Monde Illustré ของฝรั่งเศส 📚 หนังสือ “เหตุการณ์ ร.ศ.112 และเรื่องเสียเขตแดนใน ร.5” 📜 พระราชนิพนธ์ และคำกราบบังคมทูล ของกรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ต่างยืนยันว่า มีการชำระเงินมัดจำด้วยเหรียญเม็กซิกัน จำนวนกว่า 800,000 เหรียญ หรือประมาณ 23 ตัน ที่ขนส่งออกไปจากกรุงเทพฯ 🚢 🔍 วิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ เงินถุงแดงสะท้อนอะไร? เงินถุงแดงไม่เพียงเป็นสัญลักษณ์ ของความสามารถในการบริหารเศรษฐกิจ ของรัชกาลที่ 3 แต่ยังสะท้อนถึงแนวคิด “เงินสำรองแผ่นดิน” ซึ่งในภายหลัง ก็กลายเป็นแนวคิดตั้งต้นของ “ทุนสำรองระหว่างประเทศ” ในรูปแบบที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ 🌎💹 📖 พระราชสมัญญา แห่งพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ต่อมาใน พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พระราชทานพระราชสมัญญา “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” ตามมาด้วยใน พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2558 ได้มีการถวายพระราชสมัญญาเพิ่มเติม ได้แก่ - พระบิดาแห่งการค้าไทย 🛍 - พระบิดาแห่งการพาณิชย์นาวีไทย 🚢 - พระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย 🌿 🧡 วันเจษฎาบดินทร์ 31 มีนาคม วันแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปี เป็น “วันเจษฎาบดินทร์” เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ แห่งรัชกาลที่ 3 แม้ไม่ใช่วันหยุดราชการ แต่ถือเป็น วันสำคัญของชาติไทย 🗓🇹🇭 💬 รัชกาลที่ 3 กับมรดกที่คนไทยไม่ควรลืม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงเป็นกษัตริย์ ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ด้านการค้าและเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังทรงเป็นกษัตริย์ที่ “เตรียมพร้อม” รับสถานการณ์ล่วงหน้าอย่างชาญฉลาด 💼💪 “เงินถุงแดง” คือสัญลักษณ์ของ วินัยทางการเงินระดับชาติ และความห่วงใยต่อแผ่นดิน ของพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 310848 มี.ค. 2568 📌 #วันเจษฎาบดินทร์ #พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว #เงินถุงแดง #ราชวงศ์จักรี #ประวัติศาสตร์ไทย #รัชกาลที่3 #รศ112 #บทเรียนจากอดีต #พระมหาเจษฎาราชเจ้า #อธิปไตยไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 345 มุมมอง 0 รีวิว
  • รายละเอียดเพิ่มเติมในการพบปะกับสื่อมวลชนของเซเลนสกี:

    👉ยูเครนไม่ยอมรับการเป็นหนี้จากการสนับสนุนทางทหารของสหรัฐในนอดีต และสหรัฐได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่าความช่วยเหลือในอนาคตจะไม่ฟรีอีกต่อไป

    👉ข้อตกลงแร่ธาตุของสหรัฐไม่หมือนที่เจรจากันไว้ และมันแตกต่างอย่างสิ้นเชิงในตอนนี้ เงื่อนไขที่ทั้งสองฝ่ายไม่เห็นด้วยร่วมกัน แต่มันกลับถูกนำมาเพิ่มเติมใหม่

    👉ปูตินไม่อยากให้มีการเจรจาเกิดขึ้นกับยูเครน เขากลัวการเจรจาโดยตรงกับผม เขาพยายามหาเหตุผลเพื่อยืดเวลาสงครามออกไป ในความคิดของเขา ยูเครนไม่ได้มีอำนาจอธิปไตย ซึ่งนั่นเป็นความคิดส่วนตัวของเขา

    👉ยูเครนพร้อมเปิดใจให้การเจรจากับรัสเซีย "แต่ไม่ใช่กับปูติน"

    👉หากภายในธุรกิจหรือประชาชนในภูมิภาคใดๆของรัสเซียที่พร้อมจะต่อต้านสงครามและทำงานเพื่อสันติภาพ แจ้งมาที่เรา เราพร้อมที่จะรับฟังและร่วมมือกัน

    👉ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรพร้อมส่งกองกำลังเข้าสู่ยูเครน เราเป็นสามเหลี่ยมที่จับมือกันอย่างแน่นหนา "ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และยูเครน"

    👉ยูเครนจะมีการแลกเปลี่ยนข่าวกรอง ภาพถ่ายดาวเทียม รวมทั้งได้รับใบอนุญาตจากประเทศในยุโรป ในการผลิตกระสุน ขีปนาวุธ และเทคโนโลยีป้องกันภัยทางอากาศ

    👉สัปดาห์นี้ เคียฟจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฉุกเฉินแบบปิด(ไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าร่วมฟัง) ของผู้นำกองทัพจากประเทศต่างๆ ที่พร้อมจะส่งกองกำลังเข้าสู่ยูเครน

    👉ก่อนหน้านี้สหรัฐรับปากจะทำงานร่วมกับซาอุดีอาระเบีย ตุรกี และพันธมิตรในยุโรป เกี่ยวกับวิธีการติดตามการโจมตีของรัสเซียต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของยูเครน

    👉ยูเครนไม่เห็นด้วยที่จะให้ซาอุดีอาระเบียเข้ามากำกับดูแลโครงสร้างด้านพลังงานของเรา พวกเขาขาดอุปกรณ์ ประสบการณ์ความรู้ทางเทคนิค และความสามารถด้านข่าวกรอง

    👉การติดตามความปลอดภัยในทะเลดำ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และรัฐชายฝั่งทะเลดำ ได้แก่ โรมาเนียและบัลแกเรีย จะเป็นฝ่ายที่ต้องดูแลร่วมกัน
    รายละเอียดเพิ่มเติมในการพบปะกับสื่อมวลชนของเซเลนสกี: 👉ยูเครนไม่ยอมรับการเป็นหนี้จากการสนับสนุนทางทหารของสหรัฐในนอดีต และสหรัฐได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่าความช่วยเหลือในอนาคตจะไม่ฟรีอีกต่อไป 👉ข้อตกลงแร่ธาตุของสหรัฐไม่หมือนที่เจรจากันไว้ และมันแตกต่างอย่างสิ้นเชิงในตอนนี้ เงื่อนไขที่ทั้งสองฝ่ายไม่เห็นด้วยร่วมกัน แต่มันกลับถูกนำมาเพิ่มเติมใหม่ 👉ปูตินไม่อยากให้มีการเจรจาเกิดขึ้นกับยูเครน เขากลัวการเจรจาโดยตรงกับผม เขาพยายามหาเหตุผลเพื่อยืดเวลาสงครามออกไป ในความคิดของเขา ยูเครนไม่ได้มีอำนาจอธิปไตย ซึ่งนั่นเป็นความคิดส่วนตัวของเขา 👉ยูเครนพร้อมเปิดใจให้การเจรจากับรัสเซีย "แต่ไม่ใช่กับปูติน" 👉หากภายในธุรกิจหรือประชาชนในภูมิภาคใดๆของรัสเซียที่พร้อมจะต่อต้านสงครามและทำงานเพื่อสันติภาพ แจ้งมาที่เรา เราพร้อมที่จะรับฟังและร่วมมือกัน 👉ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรพร้อมส่งกองกำลังเข้าสู่ยูเครน เราเป็นสามเหลี่ยมที่จับมือกันอย่างแน่นหนา "ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และยูเครน" 👉ยูเครนจะมีการแลกเปลี่ยนข่าวกรอง ภาพถ่ายดาวเทียม รวมทั้งได้รับใบอนุญาตจากประเทศในยุโรป ในการผลิตกระสุน ขีปนาวุธ และเทคโนโลยีป้องกันภัยทางอากาศ 👉สัปดาห์นี้ เคียฟจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฉุกเฉินแบบปิด(ไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าร่วมฟัง) ของผู้นำกองทัพจากประเทศต่างๆ ที่พร้อมจะส่งกองกำลังเข้าสู่ยูเครน 👉ก่อนหน้านี้สหรัฐรับปากจะทำงานร่วมกับซาอุดีอาระเบีย ตุรกี และพันธมิตรในยุโรป เกี่ยวกับวิธีการติดตามการโจมตีของรัสเซียต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของยูเครน 👉ยูเครนไม่เห็นด้วยที่จะให้ซาอุดีอาระเบียเข้ามากำกับดูแลโครงสร้างด้านพลังงานของเรา พวกเขาขาดอุปกรณ์ ประสบการณ์ความรู้ทางเทคนิค และความสามารถด้านข่าวกรอง 👉การติดตามความปลอดภัยในทะเลดำ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และรัฐชายฝั่งทะเลดำ ได้แก่ โรมาเนียและบัลแกเรีย จะเป็นฝ่ายที่ต้องดูแลร่วมกัน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 393 มุมมอง 18 0 รีวิว
  • "บิดเก่ง!"
    สถานการณ์ล่าสุด เซเลนสกียุติการลงนามข้อตกลงแร่ธาตุกับสหรัฐอีกครั้ง! โดยอ้างว่าข้อตกลงดังกล่าวขัดขวางการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป

    “รัฐธรรมนูญของยูเครนระบุชัดเจนว่าแนวทางของเรามุ่งไปที่สหภาพยุโรป” “เราไม่สามารถยอมรับสิ่งใดที่อาจขัดขวางการเข้าร่วมสหภาพยุโรปของยูเครนได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดมาหมายที่ส่งผลกระทบต่ออำนาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจของยูเครน” เซเลนสกีกล่าวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม

    การพลิกลิ้นของเซเลนสกีมีขึ้นหนึ่งวันหลังจากที่รายละเอียดของร่างข้อตกลงแร่ธาตุฉบับใหม่ระหว่างเคียฟและวอชิงตันถูกเปิดเผยโดยไฟแนนเชียลไทม์ส ซึ่งรายงานว่า ข้อตกลงฉบับล่าสุดที่สหรัฐเสนอ มีเงื่อนไขที่ให้วอชิงตันเข้าควบคุมทรัพยากรธรรมชาติของยูเครนได้อย่างเต็มที่ผ่านกองทุนการลงทุนร่วมสองประเทศ

    ต่อมาเซเลนสกีได้ประกาศว่า เขาบรรลุข้อตกลงกับ "บางประเทศในยุโรป" เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองและใบอนุญาตสำหรับการผลิตระบบป้องกันภัยทางอากาศและขีปนาวุธ (ยูเครนเคยขอใบอนุญาตจากสหรัฐในการผลิตระบบ Patriot แต่ถูกปฏิเสธ)


    นอกจากนี้ เซเลนสกียังยืนยันอีกครั้งว่า ไม่ยอมรับหนี้ที่เกิดขึ้นในอดีตกับสหรัฐสำหรับความช่วยเหลือที่ให้ไปก่อนหน้านี้ แต่อาจพิจารณาเปิดช่องให้กับการจ่ายสำหรับแพ็คเกจความช่วยเหลือทางทหารใหม่จากสหรัฐที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

    "เราซาบซึ้งในการสนับสนุน แต่สิ่งนี้ไม่ใช่เงินกู้และเราจะไม่ยอมรับ" เซเลนสกีกล่าวยืนยัน
    "บิดเก่ง!" สถานการณ์ล่าสุด เซเลนสกียุติการลงนามข้อตกลงแร่ธาตุกับสหรัฐอีกครั้ง! โดยอ้างว่าข้อตกลงดังกล่าวขัดขวางการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป “รัฐธรรมนูญของยูเครนระบุชัดเจนว่าแนวทางของเรามุ่งไปที่สหภาพยุโรป” “เราไม่สามารถยอมรับสิ่งใดที่อาจขัดขวางการเข้าร่วมสหภาพยุโรปของยูเครนได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดมาหมายที่ส่งผลกระทบต่ออำนาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจของยูเครน” เซเลนสกีกล่าวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม การพลิกลิ้นของเซเลนสกีมีขึ้นหนึ่งวันหลังจากที่รายละเอียดของร่างข้อตกลงแร่ธาตุฉบับใหม่ระหว่างเคียฟและวอชิงตันถูกเปิดเผยโดยไฟแนนเชียลไทม์ส ซึ่งรายงานว่า ข้อตกลงฉบับล่าสุดที่สหรัฐเสนอ มีเงื่อนไขที่ให้วอชิงตันเข้าควบคุมทรัพยากรธรรมชาติของยูเครนได้อย่างเต็มที่ผ่านกองทุนการลงทุนร่วมสองประเทศ ต่อมาเซเลนสกีได้ประกาศว่า เขาบรรลุข้อตกลงกับ "บางประเทศในยุโรป" เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองและใบอนุญาตสำหรับการผลิตระบบป้องกันภัยทางอากาศและขีปนาวุธ (ยูเครนเคยขอใบอนุญาตจากสหรัฐในการผลิตระบบ Patriot แต่ถูกปฏิเสธ) นอกจากนี้ เซเลนสกียังยืนยันอีกครั้งว่า ไม่ยอมรับหนี้ที่เกิดขึ้นในอดีตกับสหรัฐสำหรับความช่วยเหลือที่ให้ไปก่อนหน้านี้ แต่อาจพิจารณาเปิดช่องให้กับการจ่ายสำหรับแพ็คเกจความช่วยเหลือทางทหารใหม่จากสหรัฐที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต "เราซาบซึ้งในการสนับสนุน แต่สิ่งนี้ไม่ใช่เงินกู้และเราจะไม่ยอมรับ" เซเลนสกีกล่าวยืนยัน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 292 มุมมอง 0 รีวิว
  • คณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งอิสราเอล มีมติรับรองนิคม 13 แห่งในเขตเวสต์แบงก์ (ซึ่งก็คือการผนวกดินแดนในเขตเวสต์แบงก์ เป็นของอิสราเอลเพิ่มเติม)

    เบซาเลล สโมตริช รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอิสราเอล กล่าวถึงการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีว่า ถือเป็นก้าวสำคัญสู่การผนวกดินแดนและอำนาจอธิปไตยอย่างเป็นทางการเหนือเขตเวสต์แบงก์ ซึ่งทำให้การตั้งถิ่นฐานเป็นปกติและถูกต้องตามกฎหมายของอิสราเอล
    คณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งอิสราเอล มีมติรับรองนิคม 13 แห่งในเขตเวสต์แบงก์ (ซึ่งก็คือการผนวกดินแดนในเขตเวสต์แบงก์ เป็นของอิสราเอลเพิ่มเติม) เบซาเลล สโมตริช รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอิสราเอล กล่าวถึงการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีว่า ถือเป็นก้าวสำคัญสู่การผนวกดินแดนและอำนาจอธิปไตยอย่างเป็นทางการเหนือเขตเวสต์แบงก์ ซึ่งทำให้การตั้งถิ่นฐานเป็นปกติและถูกต้องตามกฎหมายของอิสราเอล
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 262 มุมมอง 0 รีวิว
  • ด่วน! เครื่องบิน F-14 Tomcat ของอิหร่าน 2 ลำ ขึ้นบินเพื่อสกัดกั้นโดรนสอดแนมของสหรัฐ MQ-4C Triton ใกล้พื้นที่น่านฟ้าอิหร่าน ส่งผลให้โดรนต้องเปลี่ยนเส้นทางออกไป

    โดรนลำดังกล่าวบินเข้าใกล้พื้นที่น่านฟ้าอธิปไตยของอิหร่านอย่างอันตรายใกล้เมืองบูเชห์ร (Bushehr) และถูกบังคับให้บินกลับฐานทัพหลังจากเครื่องบินไอพ่นของกองทัพอากาศอิหร่านขึ้นบินกดดัน

    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นท่ามกลางคำขู่ของทรัมป์ที่ว่าอิหร่านจะเผชิญกับ "การตอบโต้อย่างรุนแรง" จากการโจมตีของกลุ่มฮูตีเยเมนต่อกองเรือรบของสหรัฐฯ
    ด่วน! เครื่องบิน F-14 Tomcat ของอิหร่าน 2 ลำ ขึ้นบินเพื่อสกัดกั้นโดรนสอดแนมของสหรัฐ MQ-4C Triton ใกล้พื้นที่น่านฟ้าอิหร่าน ส่งผลให้โดรนต้องเปลี่ยนเส้นทางออกไป โดรนลำดังกล่าวบินเข้าใกล้พื้นที่น่านฟ้าอธิปไตยของอิหร่านอย่างอันตรายใกล้เมืองบูเชห์ร (Bushehr) และถูกบังคับให้บินกลับฐานทัพหลังจากเครื่องบินไอพ่นของกองทัพอากาศอิหร่านขึ้นบินกดดัน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นท่ามกลางคำขู่ของทรัมป์ที่ว่าอิหร่านจะเผชิญกับ "การตอบโต้อย่างรุนแรง" จากการโจมตีของกลุ่มฮูตีเยเมนต่อกองเรือรบของสหรัฐฯ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 350 มุมมอง 0 รีวิว
  • มีความกังวลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของโซนยูโรเกี่ยวกับนโยบายใหม่ของสหรัฐฯ ภายใต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งมีการสนับสนุนการใช้งานคริปโทเคอร์เรนซีอย่างเข้มข้น การเปลี่ยนแปลงนี้รวมถึงการออกคำสั่งบริหารเพื่อสร้างเงินสำรองคริปโทโดยใช้โทเค็นที่รัฐบาลเป็นเจ้าของอยู่แล้ว ซึ่งถือเป็นท่าทีใหม่ที่แตกต่างจากรัฐบาลชุดก่อนหน้า

    ความกังวลหลักของโซนยูโรคือ การเปลี่ยนแปลงนโยบายของสหรัฐฯ อาจส่งผลกระทบต่ออธิปไตยทางการเงินและความมั่นคงของยูโร เพราะหากคริปโทเคอร์เรนซีโดยเฉพาะ stablecoin ที่ผูกกับค่าเงินดอลลาร์ประสบความสำเร็จ อาจกระตุ้นให้บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ กลับมาพัฒนาระบบชำระเงินผ่าน stablecoin อีกครั้ง ซึ่งอาจสร้างความท้าทายต่อระบบการเงินของยุโรป

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/03/11/eu-worries-us-embrace-of-crypto-assets-could-impact-europe-financial-stability
    มีความกังวลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของโซนยูโรเกี่ยวกับนโยบายใหม่ของสหรัฐฯ ภายใต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งมีการสนับสนุนการใช้งานคริปโทเคอร์เรนซีอย่างเข้มข้น การเปลี่ยนแปลงนี้รวมถึงการออกคำสั่งบริหารเพื่อสร้างเงินสำรองคริปโทโดยใช้โทเค็นที่รัฐบาลเป็นเจ้าของอยู่แล้ว ซึ่งถือเป็นท่าทีใหม่ที่แตกต่างจากรัฐบาลชุดก่อนหน้า ความกังวลหลักของโซนยูโรคือ การเปลี่ยนแปลงนโยบายของสหรัฐฯ อาจส่งผลกระทบต่ออธิปไตยทางการเงินและความมั่นคงของยูโร เพราะหากคริปโทเคอร์เรนซีโดยเฉพาะ stablecoin ที่ผูกกับค่าเงินดอลลาร์ประสบความสำเร็จ อาจกระตุ้นให้บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ กลับมาพัฒนาระบบชำระเงินผ่าน stablecoin อีกครั้ง ซึ่งอาจสร้างความท้าทายต่อระบบการเงินของยุโรป https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/03/11/eu-worries-us-embrace-of-crypto-assets-could-impact-europe-financial-stability
    WWW.THESTAR.COM.MY
    EU worries US embrace of crypto assets could impact Europe financial stability
    BRUSSELS (Reuters) - Euro zone finance ministers are worried that the change of policy under the new U.S. administration to embrace cryptocurrencies could affect euro zone monetary sovereignty and financial stability, top officials said on Monday.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 298 มุมมอง 0 รีวิว
  • ## ท่าทีที่น่ากังวล ของ สส. ผู้ทรงเกียรติ ##
    ..
    ..
    นายคนนี้ คือ สส. พรรคสีสัม ใครเลือกมา ได้โปรด ติดตามผลงานของท่านด้วย...!!!
    .
    นายคนนี้คือ นาย รอมฎอน ปันจอร์ สส. ที่อยู่ทางภาคใต้ ของ พรรคประชาชน
    .
    ไม่ว่าจะกี่ครั้งที่เกิดเหตุความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเหตุก่อขึ้นโดย กลุ่มก่อการร้ายภาคใต้...
    .
    สส. พรรคสีส้ม รายนี้ ไม่เคยตำหนิผู้ก่อการร้าย ที่ใช้ความรุนแรงเลย...
    .
    อย่างเดียวที่เขาพูดคือ ตำหนิ รัฐไทย ว่า เจ้าหน้าที่ไทยมีปัญหา กดขี่ ข่มขู่ ไม่จริงใจในการแสวงหาสันติภาพ...!!!
    .
    ให้ยกเลิก กฎอัยการศึก ให้ยกเลิก ศอ.บต.
    .
    จริงหรือไม่ หลายครั้ง สส.ท่านนี้ ไปงานสัมนา มากกว่า 1 ครั้ง และ พูด ชวัดเชวียน ไปมา ในทำนอง ประกาศอิสรภาพ เอกราช ประชามติ ปกครองตัวเอง
    .
    โดยครั้งหนึ่ง งานเสวนาที่ท่านเป็นแขกรับเชิญ ท่าน อาจะเป็น นกรู้ หรือ อย่างไรก็ไม่ทราบ ท่านไม่มา...
    .
    แต่ในงานนั้นมีการ "จัดการจำลอง" การ "ทำประชามติ แบ่งแยกดินแดน" ให้ รัฐปาตานี ปกครองตัวเอง (ในมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งของรัฐทางภาคใต้)
    .
    ซึ่ง รัฐปาตานี นี้นักประวัติศาสตร์หลายท่านกล่าวว่า จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้นไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงกลุ่มคนผลักดันขึ้นมาเพื่อประโยชน์ทางการเมือง
    .
    ถึงขั้น คนอีกกลุ่ม เอาไปทำบอร์ดเกม เนื้อหาระบุว่า รัฐไทยกระทำการเหี้ยมโหด โหดร้ายทารุณ ต่อ ชาวปาตานี
    .
    ปาตานี ในที่นี้ พวกเขาไม่ได้หมายถึง จังหวัดปัตตานี นะครับ เขาหมายรวม ครอบคลุม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอ ของ จังหวัดสงขลา ในปัจจุบัน รวมทั้งตอนเหนือของมาเลเซียในบางยุคสมัย ด้วย (นี่คือชุดข้อมูลของพวกเขา)
    .
    ซึ่งหลายครั้ง คุณ พวกคุณ คณะก้าวหน้า ธนาธร ช่อ ปิยะบุตร รวมไปถึง นักการเมืองอีกพรรคหนึ่ง เวลาไปเสวนา ก็จะพูดไปในทำนองนี้ รัฐไทยกดขี่ สร้างความเจ็บปวดให้ ใช่หรือไม่...???
    .
    คลิป มันมีนะครับ สมัยนี้เขาเรียก Digital Footprint พวกคุณหนีความจริงไม่พ้นหรอก
    .
    พวกเราประชาชนตาดำๆ ตัวจริงเสียงจริง ที่ไม่ใช่พรรคการเมือง ต้องช่วยกัน สอดส่องพฤติกรรม ของ สส. ที่พวกคุณเลือกเข้ามาด้วยนะครับ ว่าพวกเขาทำอะไรบ้าง...???
    .
    ลึกๆแล้วพวกเขาคิดอะไร ต้องการอะไรกันแน่...???
    .
    ผมอาจจะผิดก็ได้ แต่ผมไม่สบายใจกับท่าที ของ สส. ผู้ทรงเกียรติหลายท่าน รวมไปถึง อดีต สส.เอย NGO เอย มานานพอสมควรแล้วครับ
    .
    แล้วจริงหรือไม่ ที่พรรคก้าวไกล เคยเสนอแก้รัฐนูญ นอกจากหมวด 2 ที่เกี่ยวกับ สถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว...
    .
    พรรคก้าวไกล ยังเคยเสนอแก้รัฐนูญ หมวด 1 อีกด้วย
    .
    หากผมจำไม่ผิด รัฐธรรมนูญ หมวด 1 ระบุว่า
    .
    มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
    .
    มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    .
    มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
    .
    ผมถาม ใน 3 มาตรานี้ พวกคุณต้องการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อไหน...???
    .
    ผมจำชื่อไม่ได้ แต่มีอาจารย์คนหนึ่งเคยพูดว่า เรื่อง "มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้" ไว้ว่า...
    .
    "มันต้องแบ่งได้"
    .
    ซึ่งนั่นก็อาจจะเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของอาจารย์ท่านนั้นคนเดียวก็ได้...
    .
    แต่ผมเห็น หลายๆท่าน หลายๆกระบวนการ บอกตามตรงในฐานะ "พลเมืองไทย" ผมกังวลต่อท่าทีของหลายๆท่านมากนะครับ...
    .
    สงสารตัวเอง สงสารลูกหลาน...
    .
    และ ผมเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่า คนที่ยังไม่รู้พฤติกรรมแปลกๆพวกนี้ ยังมีอีกเยอะครับ...
    ## ท่าทีที่น่ากังวล ของ สส. ผู้ทรงเกียรติ ## .. .. นายคนนี้ คือ สส. พรรคสีสัม ใครเลือกมา ได้โปรด ติดตามผลงานของท่านด้วย...!!! . นายคนนี้คือ นาย รอมฎอน ปันจอร์ สส. ที่อยู่ทางภาคใต้ ของ พรรคประชาชน . ไม่ว่าจะกี่ครั้งที่เกิดเหตุความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเหตุก่อขึ้นโดย กลุ่มก่อการร้ายภาคใต้... . สส. พรรคสีส้ม รายนี้ ไม่เคยตำหนิผู้ก่อการร้าย ที่ใช้ความรุนแรงเลย... . อย่างเดียวที่เขาพูดคือ ตำหนิ รัฐไทย ว่า เจ้าหน้าที่ไทยมีปัญหา กดขี่ ข่มขู่ ไม่จริงใจในการแสวงหาสันติภาพ...!!! . ให้ยกเลิก กฎอัยการศึก ให้ยกเลิก ศอ.บต. . จริงหรือไม่ หลายครั้ง สส.ท่านนี้ ไปงานสัมนา มากกว่า 1 ครั้ง และ พูด ชวัดเชวียน ไปมา ในทำนอง ประกาศอิสรภาพ เอกราช ประชามติ ปกครองตัวเอง . โดยครั้งหนึ่ง งานเสวนาที่ท่านเป็นแขกรับเชิญ ท่าน อาจะเป็น นกรู้ หรือ อย่างไรก็ไม่ทราบ ท่านไม่มา... . แต่ในงานนั้นมีการ "จัดการจำลอง" การ "ทำประชามติ แบ่งแยกดินแดน" ให้ รัฐปาตานี ปกครองตัวเอง (ในมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งของรัฐทางภาคใต้) . ซึ่ง รัฐปาตานี นี้นักประวัติศาสตร์หลายท่านกล่าวว่า จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้นไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงกลุ่มคนผลักดันขึ้นมาเพื่อประโยชน์ทางการเมือง . ถึงขั้น คนอีกกลุ่ม เอาไปทำบอร์ดเกม เนื้อหาระบุว่า รัฐไทยกระทำการเหี้ยมโหด โหดร้ายทารุณ ต่อ ชาวปาตานี . ปาตานี ในที่นี้ พวกเขาไม่ได้หมายถึง จังหวัดปัตตานี นะครับ เขาหมายรวม ครอบคลุม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอ ของ จังหวัดสงขลา ในปัจจุบัน รวมทั้งตอนเหนือของมาเลเซียในบางยุคสมัย ด้วย (นี่คือชุดข้อมูลของพวกเขา) . ซึ่งหลายครั้ง คุณ พวกคุณ คณะก้าวหน้า ธนาธร ช่อ ปิยะบุตร รวมไปถึง นักการเมืองอีกพรรคหนึ่ง เวลาไปเสวนา ก็จะพูดไปในทำนองนี้ รัฐไทยกดขี่ สร้างความเจ็บปวดให้ ใช่หรือไม่...??? . คลิป มันมีนะครับ สมัยนี้เขาเรียก Digital Footprint พวกคุณหนีความจริงไม่พ้นหรอก . พวกเราประชาชนตาดำๆ ตัวจริงเสียงจริง ที่ไม่ใช่พรรคการเมือง ต้องช่วยกัน สอดส่องพฤติกรรม ของ สส. ที่พวกคุณเลือกเข้ามาด้วยนะครับ ว่าพวกเขาทำอะไรบ้าง...??? . ลึกๆแล้วพวกเขาคิดอะไร ต้องการอะไรกันแน่...??? . ผมอาจจะผิดก็ได้ แต่ผมไม่สบายใจกับท่าที ของ สส. ผู้ทรงเกียรติหลายท่าน รวมไปถึง อดีต สส.เอย NGO เอย มานานพอสมควรแล้วครับ . แล้วจริงหรือไม่ ที่พรรคก้าวไกล เคยเสนอแก้รัฐนูญ นอกจากหมวด 2 ที่เกี่ยวกับ สถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว... . พรรคก้าวไกล ยังเคยเสนอแก้รัฐนูญ หมวด 1 อีกด้วย . หากผมจำไม่ผิด รัฐธรรมนูญ หมวด 1 ระบุว่า . มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ . มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข . มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ . ผมถาม ใน 3 มาตรานี้ พวกคุณต้องการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อไหน...??? . ผมจำชื่อไม่ได้ แต่มีอาจารย์คนหนึ่งเคยพูดว่า เรื่อง "มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้" ไว้ว่า... . "มันต้องแบ่งได้" . ซึ่งนั่นก็อาจจะเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของอาจารย์ท่านนั้นคนเดียวก็ได้... . แต่ผมเห็น หลายๆท่าน หลายๆกระบวนการ บอกตามตรงในฐานะ "พลเมืองไทย" ผมกังวลต่อท่าทีของหลายๆท่านมากนะครับ... . สงสารตัวเอง สงสารลูกหลาน... . และ ผมเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่า คนที่ยังไม่รู้พฤติกรรมแปลกๆพวกนี้ ยังมีอีกเยอะครับ...
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 619 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหภาพยุโรปประณามอย่างรุนแรงต่อเหตุการณ์ในซีเรีย โดยกล่าวหาว่ากลุ่มที่สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีอัสซาด เป็นฝ่ายกระทำการรุนแรงต่อพลเมืองชีเรีย

    "สหภาพยุโรปประณามการโจมตีล่าสุดที่รายงานว่าเป็นฝีมือของกลุ่มที่สนับสนุนอัสซาดต่อกองกำลังรักษาการของรัฐบาลในพื้นที่ชายฝั่งของซีเรียและความรุนแรงทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับพลเรือน

    พลเรือนต้องได้รับการปกป้องในทุกสถานการณ์โดยเคารพกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างเต็มที่

    สหภาพยุโรปยังเรียกร้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายนอกทั้งหมดเคารพอำนาจอธิปไตย ความสามัคคี และบูรณภาพแห่งดินแดนของซีเรียอย่างเต็มที่ สหภาพยุโรปประณามความพยายามใดๆ ที่จะบ่อนทำลายเสถียรภาพและโอกาสในการเปลี่ยนผ่านอย่างสันติที่ยั่งยืน ซึ่งรวมและเคารพความหลากหลายของชาวซีเรียทุกคน"
    สหภาพยุโรปประณามอย่างรุนแรงต่อเหตุการณ์ในซีเรีย โดยกล่าวหาว่ากลุ่มที่สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีอัสซาด เป็นฝ่ายกระทำการรุนแรงต่อพลเมืองชีเรีย "สหภาพยุโรปประณามการโจมตีล่าสุดที่รายงานว่าเป็นฝีมือของกลุ่มที่สนับสนุนอัสซาดต่อกองกำลังรักษาการของรัฐบาลในพื้นที่ชายฝั่งของซีเรียและความรุนแรงทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับพลเรือน พลเรือนต้องได้รับการปกป้องในทุกสถานการณ์โดยเคารพกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างเต็มที่ สหภาพยุโรปยังเรียกร้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายนอกทั้งหมดเคารพอำนาจอธิปไตย ความสามัคคี และบูรณภาพแห่งดินแดนของซีเรียอย่างเต็มที่ สหภาพยุโรปประณามความพยายามใดๆ ที่จะบ่อนทำลายเสถียรภาพและโอกาสในการเปลี่ยนผ่านอย่างสันติที่ยั่งยืน ซึ่งรวมและเคารพความหลากหลายของชาวซีเรียทุกคน"
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 311 มุมมอง 0 รีวิว
  • เขมรไม่ยอมหยุด! ยั่วยุเยาะเย้ย “ผู้การเนี๊ยะ” จากร้องเพลงปลุกใจ ในปราสาทตาเมือนธม สู่ยกพล 3 กองร้อย ประชิดพรมแดน

    🔥 สถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา เริ่มตึงเครียดขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากประเทศไทย เริ่มปราบปราม "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" อย่างจริงจัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ ที่มีเครือข่ายอยู่ในกัมพูชา 🇰🇭

    แม้ว่าทางการกัมพูชา จะออกมาสนับสนุนไทยอย่างเป็นทางการ แต่กลับมีเหตุการณ์ไม่สงบ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามแนวชายแดน โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดสุรินทร์ และอุบลราชธานี

    และล่าสุด... 💥

    เมื่อวันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2568 กองกำลังติดอาวุธทหารกัมพูชา จำนวน 3 กองร้อย รวม 528 นาย ได้เคลื่อนกำลังเข้าใกล้ชายแดน ด้านอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ อ้างว่า “พากำลังทหารมากราบไหว้ สักการะปราสาทตาเมือนธม” แต่กลับไม่มีการเตรียมดอกไม้ ธูปเทียน หรือสิ่งของบูชาใด ๆ

    🔴 นี่คือการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ หรือเป็นมากกว่านั้น?

    👤 พล.ต.เนี๊ยะ วงษ์ (Neak Vong) หรือผู้การเยี๊ยะ ผู้บังคับการกองพลน้อยทหารราบที่ 42 ของกัมพูชา เป็นตัวละครสำคัญในเหตุการณ์ครั้งนี้

    📌 ย้อนรอยเหตุการณ์ที่ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด

    5 ตุลาคม 2567 ผู้การเนี๊ยะนำพระสงฆ์ และเด็กนักเรียนกัมพูชา เข้ามาในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม พร้อมร้องเพลงชาติกัมพูชา

    ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผู้การเนี๊ยะนำคณะแม่บ้าน 25 คน มาร้องเพลงปลุกใจ ในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม สร้างความไม่พอใจให้กับฝ่ายไทย ทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ 2 กรมทหารราบที่ 23 กองทัพภาคที่ 2 ที่ประจำการรักษาอธิปไตยไทยในบริเวณนั้น ต้องกล่าวแจ้งเตือนไม่ให้ผู้การเนี้ยะ ทำกิจกรรมในเชิงสัญลักษณ์ สร้างความไม่พอใจให้ผู้การเนี๊ยะเป็นอย่างมาก ถึงขั้นโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง หลุดปากกล่าวท้าทายทหารไทย "ให้มายิงกัน!"

    บ่ายวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 15.00 น. นายเนียม จันญาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา ได้นำคณะทหารกัมพูชา รวมถึงผู้การเนี๊ยะ เดินทางมาเจรจากับ พันโท จักรกฤษ ปิยะศุภฤกษ์ ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 23 (ผบ.ร.23 พัน.4) ที่ปราสาทตาเมือนธม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาระดับสูง ในกองทัพภูมิภาคที่ 4 กัมพูชา เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาจจะด้วยความเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม

    วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม 2568 กองกำลังติดอาวุธ ทหารกัมพูชา 3 กองร้อย 528 นาย เคลื่อนพลมาประชิดพรมแดน ด้านอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ แล้วปลดอาวุธเดินข้ามพรมแดน อ้างว่ามากราบไหว้สักการะปราสาทตาเหมือนธม โดยที่ไม่มีการเตรียมธูปเทียนดอกไม้ หรือสิ่งของเซ่นไหว้มาด้วย จนคล้ายกับเป็นการยั่วยุเยาะเย้ยทหารไทย

    🇹🇭 ฝ่ายไทยพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง โดยการเจรจาผ่านทางการทูต แต่กัมพูชากลับใช้วิธี ปลุกกระแสรักชาติในประเทศตนเอง

    🔴 แล้วอะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของ “ผู้การเนี้ยะ” และรัฐบาลกัมพูชา?

    📍 ปราสาทตาเมือนธม จุดยุทธศาสตร์และประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ในเขต อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์

    🏛️ เป็นหนึ่งในปราสาทสำคัญ ของกลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วย 3 ปราสาทหลัก ได้แก่
    1️⃣ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทหลักและใหญ่ที่สุด
    2️⃣ ปราสาทตาเมือนโต๊ด เชื่อว่าเคยเป็นโรงพยาบาลโบราณ
    3️⃣ ปราสาทตาเมือน หรือบายกรีม เป็นธรรมศาลา หรือสถานที่พักของนักเดินทาง

    🔎 ปราสาทแห่งนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะเป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางโบราณ จากกัมพูชาสู่ภาคอีสานของไทย มีความสำคัญทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่พิพาททางพรมแดน ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ

    👉 นี่อาจเป็นเหตุผลที่กัมพูชา พยายามเข้ามาสร้างอิทธิพล ในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม

    🎭 เบื้องหลังความขัดแย้ง การเมืองหรือศักดิ์ศรีชาติ? การเคลื่อนไหวของกัมพูชา ไม่ใช่แค่เรื่องประวัติศาสตร์หรือพรมแดน แต่นี่คือ "เกมการเมือง"

    📌 เชื่อมโยงกับปัญหาการเมืองภายในของกัมพูชา ปัจจุบันรัฐบาล "ฮุน มาเนต" ลูกชายของฮุน เซน กำลังเผชิญแรงกดดันจากฝ่ายค้าน ที่ผ่านมา "ฮุน เซน" เคยใช้ประเด็นความขัดแย้งชายแดน ปลุกกระแสรักชาติ เพื่อรักษาอำนาจของตระกูลตนเอง การกระทำของผู้การเนี๊ยะ อาจเป็นแผนสร้างแรงสนับสนุนให้รัฐบาลกัมพูชา

    📌 เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ไทย-กัมพูชา? ไทยและกัมพูชามีแผนขุดเจาะทรัพยากรน้ำมัน ในเขตทับซ้อนทางทะเล ข้อพิพาทชายแดน อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือเจรจาต่อรอง ทางเศรษฐกิจและการเมือง

    🇰🇭 หรือแท้จริงแล้ว นี่คือแผนของกัมพูชา ในการกดดันไทย?

    🔴 กัมพูชากำลังเล่นเกมอะไร? การกระทำของผู้การเนี๊ยะ และทหารกัมพูชา อาจเป็นเพียงแค่ หมากตัวหนึ่งของรัฐบาลกัมพูชา

    📌 วิเคราะห์แนวทางที่เป็นไปได้ของกัมพูชา
    - สร้างกระแสรักชาติเพื่อดึงความสนใจ จากปัญหาการเมืองภายใน
    - กดดันไทยในประเด็นพรมแดน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเจรจาทางเศรษฐกิจ
    - ทดสอบปฏิกิริยาของรัฐบาลไทย ก่อนเดินเกมต่อไป

    🇹🇭 ทางออกของไทยควรเป็นอย่างไร?
    ✅ รักษาความสัมพันธ์ทางการทูต หลีกเลี่ยงการใช้กำลัง
    ✅ เฝ้าระวังการเคลื่อนไหวของทหารกัมพูชา อย่างใกล้ชิด
    ✅ ใช้การเจรจาในระดับสูง เพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์ลุกลาม

    🔥 นี่คือเกมการเมือง หรือสงครามชายแดนรอบใหม่? ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด!

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 090905 มี.ค. 2568

    #เขมรไม่หยุด #ตาเมือนธม #ชายแดนไทยกัมพูชา #สงครามชายแดน #ผู้การเนี้ยะ #กัมพูชา #ข่าวด่วน #ความขัดแย้งชายแดน #ไทยกัมพูชา #ปราสาทตาเมือน
    เขมรไม่ยอมหยุด! ยั่วยุเยาะเย้ย “ผู้การเนี๊ยะ” จากร้องเพลงปลุกใจ ในปราสาทตาเมือนธม สู่ยกพล 3 กองร้อย ประชิดพรมแดน 🔥 สถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา เริ่มตึงเครียดขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากประเทศไทย เริ่มปราบปราม "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" อย่างจริงจัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ ที่มีเครือข่ายอยู่ในกัมพูชา 🇰🇭 แม้ว่าทางการกัมพูชา จะออกมาสนับสนุนไทยอย่างเป็นทางการ แต่กลับมีเหตุการณ์ไม่สงบ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามแนวชายแดน โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดสุรินทร์ และอุบลราชธานี และล่าสุด... 💥 เมื่อวันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2568 กองกำลังติดอาวุธทหารกัมพูชา จำนวน 3 กองร้อย รวม 528 นาย ได้เคลื่อนกำลังเข้าใกล้ชายแดน ด้านอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ อ้างว่า “พากำลังทหารมากราบไหว้ สักการะปราสาทตาเมือนธม” แต่กลับไม่มีการเตรียมดอกไม้ ธูปเทียน หรือสิ่งของบูชาใด ๆ 🔴 นี่คือการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ หรือเป็นมากกว่านั้น? 👤 พล.ต.เนี๊ยะ วงษ์ (Neak Vong) หรือผู้การเยี๊ยะ ผู้บังคับการกองพลน้อยทหารราบที่ 42 ของกัมพูชา เป็นตัวละครสำคัญในเหตุการณ์ครั้งนี้ 📌 ย้อนรอยเหตุการณ์ที่ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด 5 ตุลาคม 2567 ผู้การเนี๊ยะนำพระสงฆ์ และเด็กนักเรียนกัมพูชา เข้ามาในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม พร้อมร้องเพลงชาติกัมพูชา ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผู้การเนี๊ยะนำคณะแม่บ้าน 25 คน มาร้องเพลงปลุกใจ ในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม สร้างความไม่พอใจให้กับฝ่ายไทย ทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ 2 กรมทหารราบที่ 23 กองทัพภาคที่ 2 ที่ประจำการรักษาอธิปไตยไทยในบริเวณนั้น ต้องกล่าวแจ้งเตือนไม่ให้ผู้การเนี้ยะ ทำกิจกรรมในเชิงสัญลักษณ์ สร้างความไม่พอใจให้ผู้การเนี๊ยะเป็นอย่างมาก ถึงขั้นโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง หลุดปากกล่าวท้าทายทหารไทย "ให้มายิงกัน!" บ่ายวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 15.00 น. นายเนียม จันญาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา ได้นำคณะทหารกัมพูชา รวมถึงผู้การเนี๊ยะ เดินทางมาเจรจากับ พันโท จักรกฤษ ปิยะศุภฤกษ์ ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 23 (ผบ.ร.23 พัน.4) ที่ปราสาทตาเมือนธม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาระดับสูง ในกองทัพภูมิภาคที่ 4 กัมพูชา เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาจจะด้วยความเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม 2568 กองกำลังติดอาวุธ ทหารกัมพูชา 3 กองร้อย 528 นาย เคลื่อนพลมาประชิดพรมแดน ด้านอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ แล้วปลดอาวุธเดินข้ามพรมแดน อ้างว่ามากราบไหว้สักการะปราสาทตาเหมือนธม โดยที่ไม่มีการเตรียมธูปเทียนดอกไม้ หรือสิ่งของเซ่นไหว้มาด้วย จนคล้ายกับเป็นการยั่วยุเยาะเย้ยทหารไทย 🇹🇭 ฝ่ายไทยพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง โดยการเจรจาผ่านทางการทูต แต่กัมพูชากลับใช้วิธี ปลุกกระแสรักชาติในประเทศตนเอง 🔴 แล้วอะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของ “ผู้การเนี้ยะ” และรัฐบาลกัมพูชา? 📍 ปราสาทตาเมือนธม จุดยุทธศาสตร์และประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ในเขต อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ 🏛️ เป็นหนึ่งในปราสาทสำคัญ ของกลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วย 3 ปราสาทหลัก ได้แก่ 1️⃣ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทหลักและใหญ่ที่สุด 2️⃣ ปราสาทตาเมือนโต๊ด เชื่อว่าเคยเป็นโรงพยาบาลโบราณ 3️⃣ ปราสาทตาเมือน หรือบายกรีม เป็นธรรมศาลา หรือสถานที่พักของนักเดินทาง 🔎 ปราสาทแห่งนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะเป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางโบราณ จากกัมพูชาสู่ภาคอีสานของไทย มีความสำคัญทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่พิพาททางพรมแดน ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ 👉 นี่อาจเป็นเหตุผลที่กัมพูชา พยายามเข้ามาสร้างอิทธิพล ในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม 🎭 เบื้องหลังความขัดแย้ง การเมืองหรือศักดิ์ศรีชาติ? การเคลื่อนไหวของกัมพูชา ไม่ใช่แค่เรื่องประวัติศาสตร์หรือพรมแดน แต่นี่คือ "เกมการเมือง" 📌 เชื่อมโยงกับปัญหาการเมืองภายในของกัมพูชา ปัจจุบันรัฐบาล "ฮุน มาเนต" ลูกชายของฮุน เซน กำลังเผชิญแรงกดดันจากฝ่ายค้าน ที่ผ่านมา "ฮุน เซน" เคยใช้ประเด็นความขัดแย้งชายแดน ปลุกกระแสรักชาติ เพื่อรักษาอำนาจของตระกูลตนเอง การกระทำของผู้การเนี๊ยะ อาจเป็นแผนสร้างแรงสนับสนุนให้รัฐบาลกัมพูชา 📌 เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ไทย-กัมพูชา? ไทยและกัมพูชามีแผนขุดเจาะทรัพยากรน้ำมัน ในเขตทับซ้อนทางทะเล ข้อพิพาทชายแดน อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือเจรจาต่อรอง ทางเศรษฐกิจและการเมือง 🇰🇭 หรือแท้จริงแล้ว นี่คือแผนของกัมพูชา ในการกดดันไทย? 🔴 กัมพูชากำลังเล่นเกมอะไร? การกระทำของผู้การเนี๊ยะ และทหารกัมพูชา อาจเป็นเพียงแค่ หมากตัวหนึ่งของรัฐบาลกัมพูชา 📌 วิเคราะห์แนวทางที่เป็นไปได้ของกัมพูชา - สร้างกระแสรักชาติเพื่อดึงความสนใจ จากปัญหาการเมืองภายใน - กดดันไทยในประเด็นพรมแดน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเจรจาทางเศรษฐกิจ - ทดสอบปฏิกิริยาของรัฐบาลไทย ก่อนเดินเกมต่อไป 🇹🇭 ทางออกของไทยควรเป็นอย่างไร? ✅ รักษาความสัมพันธ์ทางการทูต หลีกเลี่ยงการใช้กำลัง ✅ เฝ้าระวังการเคลื่อนไหวของทหารกัมพูชา อย่างใกล้ชิด ✅ ใช้การเจรจาในระดับสูง เพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์ลุกลาม 🔥 นี่คือเกมการเมือง หรือสงครามชายแดนรอบใหม่? ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด! ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 090905 มี.ค. 2568 #เขมรไม่หยุด #ตาเมือนธม #ชายแดนไทยกัมพูชา #สงครามชายแดน #ผู้การเนี้ยะ #กัมพูชา #ข่าวด่วน #ความขัดแย้งชายแดน #ไทยกัมพูชา #ปราสาทตาเมือน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 795 มุมมอง 0 รีวิว
  • 7 มีนาคม 2568-เมื่อเวลา 08.55 น.วันที่ 7 มีนาคม 2568 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในฉลองพระองค์ชุดนักบิน เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ไปทอดพระเนตรการแสดงการบิน เนื่องในโอกาสครบ 88 ปี กองทัพอากาศ ณ ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 กองทัพอากาศ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานครเมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก เสกสรร คันธา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ ประธานจัดงานการแสดงการบินเนื่องในโอกาสครบ 88 ปี กองทัพอากาศ พร้อมด้วยนายทหารชั้นผู้ใหญ่ และข้าราชการทหารอากาศ เฝ้าฯ รับเสด็จจากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ประทับหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พร้อมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพอากาศ แล้วพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลอากาศเอก คิดควร สดับ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ และนางวริสรา สดับ ภริยา เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าฯ ถวายสูจิบัตร แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสร็จแล้ว ผู้บัญชาการทหารอากาศ กราบบังคมทูลรายงานการจัดการแสดงการบินเนื่องในโอกาสครบ 88 ปี กองทัพอากาศจากนั้น ทอดพระเนตรการแสดงการบิน ชุดที่ 1 ประกอบด้วย “การบินฟอร์เมชัน ดิสเพลย์ วิธ เนชันแนล คัลเลอร์ส สโมค” (Formation Display with National Colors Smoke) โดยเครื่องบิน AU-23, T-50TH และเครื่องบิน F-16MLU จากกองทัพอากาศไทย “การบินกริพเพน เดโม” (Gripen Demo) จากกองทัพอากาศไทย “การบินออกัสท์ เฟิร์ธ” (August 1ST) โดยเครื่องบิน J-10C จากกองทัพอากาศสาธารณรัฐประชาชนจีน และ “การบินเอฟ-35เอ เดโม” (F-35A Demo) จากกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาภายหลังจบการแสดงการบินชุดที่ 1 แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จเข้าภายในอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ และภริยา เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายของที่ระลึกจากนั้น ทอดพระเนตรนิทรรศการและวีดิทัศน์ภารกิจเครื่องบิน “กริพเพน” (Gripen) บินลงจอดบนถนนในพื้นที่จังหวัดสงขลา ซึ่งทำการวิ่งขึ้นจาก สนามบินหาดใหญ่บินไปตามจุดที่กำหนดเพื่อทำการลงสนามแบบ Straight in approach โดยในเที่ยวแรกได้ทำ Low approach เพื่อทำความคุ้นเคยและในเที่ยวบินที่2 จึงทำการลงสนามจริง นิทรรศการพระมหากษัตริย์นักบินแห่งราชวงศ์จักรี ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัย และทรงพระปรีชาสามารถด้านการบินทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเชี่ยวชาญ หลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาทางการทหารเมื่อพุทธศักราช 2522 ทรงเริ่มเข้ารับการฝึกบินหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธ (Gunship) ของกองทัพบก เมื่อพุทธศักราช 2523 และทรงฝึกบินหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพอากาศ ทรงสำเร็จตามหลักสูตร เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2523 และได้ทรงบินเฮลิคอปเตอร์ด้วยพระองค์เอง เสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงเรียนนายเรืออากาศ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2523 ซึ่งปัจจุบันคือโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และทรงรับพระราชทานประดับเครื่องหมายแสดงความสามารถในการบินของกองทัพอากาศ จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อันเป็นความภูมิใจของกำลังพลของกองทัพอากาศ และพสกนิกรชาวไทยที่ได้มีพระมหากษัตริย์นักบิน เป็นมิ่งขวัญของแผ่นดินภายหลังจากทอดพระเนตรนิทรรศการเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี เสด็จฯ ไปยังหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ทอดพระเนตรเครื่องบินขับไล่ไอพ่นแบบ เอฟ-5อี (F-5E) และทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์กับเครื่องบิน ที-50 อากาศยานไอพ่นความเร็วเหนือเสียง และเป็นอากาศยานโจมตี จากกองบิน 4 ตาคลี จ.นครสวรรค์ด้วยพระราชปณิธานในการเป็นนักบิน ทรงเข้ารับการถวายการฝึกบินกับอากาศยานปีกตรึงโดยกองทัพอากาศ และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาเทคนิคการบินจากฐานทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ฐานทัพอากาศเล็คแลนด์ เมืองแซนเอนโทนิโอ รัฐเท็กซัส ทรงจบหลักสูตรการบินขับไล่ไอพ่น ยุทธวิธีขั้นพื้นฐานจากฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 425 ฐานบินวิลเลียมส์ รัฐแอริโซนา ทรงเข้าศึกษาฝึกบินกับเครื่องบินขับไล่ไอพ่นแบบ เอฟ-5อี (F-5E) ในหลักสูตรการบินขับไล่ไอพ่นทางยุทธวิธีชั้นสูง ทรงเข้าประจำการ ณ กองปฏิบัติการทางอากาศพิเศษ การทำลายและยุทธวิธีรบนอกแบบ กับทรงศึกษาหลักสูตรทางทหารเพิ่มเติม เช่น หลักสูตรต้นหนชั้นสูง การลาดตระเวน หลักสูตรส่งทางอากาศ หลักสูตรการบิ เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ยูเอช-1เอช (UH-1H) ของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา ณ ฟอร์ท แบรกก์ รัฐนอร์ธ แคโรไลนา และหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธแบบ เอเอช-1เอส คอบรา (AH-1S COBRA) ทรงฝึกฝนการบินอย่างสม่ำเสมอ และยังได้ทรงเข้าร่วมการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีของกองทัพอากาศที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยทรงเข้าร่วมแข่งขันระหว่างพุทธศักราช 2526 ถึง 2530 ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จ.ลพบุรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักบินขับไล่ไอพ่นพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี ที่ทรงทำการบินกับเครื่องบินกองทัพอากาศได้เกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นอากาศยานปีกหมุน อากาศยานปีกตรึงแบบใบพัด และเครื่องยนต์ไอพ่น และด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเป็นนักบินขับไล่ที่มีชั่วโมงบินต่อเนื่องมากกว่า 2,800 ชั่วโมงบิน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ยากยิ่งสำหรับนักบินขับไล่ทั่วโลกที่จะทำได้ และด้วยพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา ทรงถ่ายทอดประสบการณ์ที่ทรงมี ปฏิบัติหน้าที่ครูการบิน พระราชทานการฝึกสอนทั้งวิชาการภาคพื้นและการฝึกบินให้แก่นักบินขับไล่ของกองทัพอากาศ แสดงถึงพระปรีชาสามารถที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยพัฒนาและยกระดับการบินของชาติให้ทัดเทียมนานาประเทศ ทรงอุปถัมภ์งานด้านการบินอย่างต่อเนื่อง นับเป็นคุณูปการแก่กองทัพอากาศไทย และกิจการการบินของประเทศเป็นอย่างยิ่งจากนั้นทอดพระเนตรนิทรรศการเครื่องบินฝึกจำลอง (Gripen E/F Simulator) ของเครื่องบิน Gripen ด้วยความสนพระราชหฤทัย ในโอกาสนี้ มีพระราชปฏิสันถารกับนักบินในฝูงบินจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และสหรัฐอเมริกาเสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ประทับหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ทอดพระเนตรการแสดงการบิน ชุดที่ 2 “การบินสูรยกิรัณ” (Suryakiran) จากกองทัพอากาศสาธารณรัฐอินเดีย ภายหลังจบการแสดงการบิน เสด็จออกจากที่ประทับหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับกองทัพอากาศ จัดการแสดงการบินเนื่องในโอกาสครบ 88 ปี เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในวาระที่กระทรวงกลาโหมได้ยกฐานะกรมทหารอากาศ ขึ้นเป็นกองทัพอากาศ ตั้งแต่พุทธศักราช 2480 ซึ่งปฏิบัติภารกิจอย่างมุ่งมั่นเพื่อรักษาความมั่นคง ของชาติ และดํารงความพร้อมของกําลังทางอากาศ เพื่อรับมือกับภัยคุกคาม ทุกรูปแบบ รวมทั้งการใช้ขีดความสามารถของ กองทัพอากาศทุกมิติ เพื่อช่วยเหลือ ประชาชนอย่างเต็มความสามารถตลอด 88 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น จึงจัดงานขึ้นภายใต้แนวคิด “AIR SOVEREIGNTY THROUGH UNBEATABLE COLLABORATION” หรือ “อธิปไตยเหนือน่านฟ้า ผ่านความร่วมมืออันแข็งแกร่ง” เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงเกียรติประวัติความภาคภูมิใจ ในเกียรติภูมิของกองทัพอากาศ และแสดงถึงขีดความสามารถของ กองทัพอากาศ ในการปฏิบัติภารกิจด้านความมั่นคง การสนับสนุนหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน การใช้ขีดความสามารถในทุกด้านเพื่อช่วยเหลือประชาชน ตลอดจนแสดงถึงแผนการพัฒนากองทัพอากาศในอนาคต แสดงถึงความพร้อมของกองทัพอากาศ ในด้านการส่งเสริม ภาคอุตสาหกรรมการบิน และภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อันนำไปสู่ การเป็นศูนย์กลางทางการบินในภูมิภาคตามนโยบายรัฐบาล ที่ส่งเสริมและกระชับความร่วมมือภายในประเทศ และเสริมสร้างมิตรภาพความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกองทัพอากาศ กับกองทัพอากาศมิตรประเทศโดยปีนี้ได้จัดแสดงอากาศยานของกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศมิตรประเทศ ทั้ง 3 ประเทศด้วยกัน ประกอบด้วย กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา , กองทัพอากาศสาธารณรัฐอินเดีย และกองทัพอากาศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 7 - 8 มีนาคม ณ กองบิน 6 ท่าอากาศยานทหารดอนเมือง
    7 มีนาคม 2568-เมื่อเวลา 08.55 น.วันที่ 7 มีนาคม 2568 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในฉลองพระองค์ชุดนักบิน เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ไปทอดพระเนตรการแสดงการบิน เนื่องในโอกาสครบ 88 ปี กองทัพอากาศ ณ ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 กองทัพอากาศ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานครเมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก เสกสรร คันธา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ ประธานจัดงานการแสดงการบินเนื่องในโอกาสครบ 88 ปี กองทัพอากาศ พร้อมด้วยนายทหารชั้นผู้ใหญ่ และข้าราชการทหารอากาศ เฝ้าฯ รับเสด็จจากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ประทับหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พร้อมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพอากาศ แล้วพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลอากาศเอก คิดควร สดับ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ และนางวริสรา สดับ ภริยา เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าฯ ถวายสูจิบัตร แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสร็จแล้ว ผู้บัญชาการทหารอากาศ กราบบังคมทูลรายงานการจัดการแสดงการบินเนื่องในโอกาสครบ 88 ปี กองทัพอากาศจากนั้น ทอดพระเนตรการแสดงการบิน ชุดที่ 1 ประกอบด้วย “การบินฟอร์เมชัน ดิสเพลย์ วิธ เนชันแนล คัลเลอร์ส สโมค” (Formation Display with National Colors Smoke) โดยเครื่องบิน AU-23, T-50TH และเครื่องบิน F-16MLU จากกองทัพอากาศไทย “การบินกริพเพน เดโม” (Gripen Demo) จากกองทัพอากาศไทย “การบินออกัสท์ เฟิร์ธ” (August 1ST) โดยเครื่องบิน J-10C จากกองทัพอากาศสาธารณรัฐประชาชนจีน และ “การบินเอฟ-35เอ เดโม” (F-35A Demo) จากกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาภายหลังจบการแสดงการบินชุดที่ 1 แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จเข้าภายในอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ และภริยา เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายของที่ระลึกจากนั้น ทอดพระเนตรนิทรรศการและวีดิทัศน์ภารกิจเครื่องบิน “กริพเพน” (Gripen) บินลงจอดบนถนนในพื้นที่จังหวัดสงขลา ซึ่งทำการวิ่งขึ้นจาก สนามบินหาดใหญ่บินไปตามจุดที่กำหนดเพื่อทำการลงสนามแบบ Straight in approach โดยในเที่ยวแรกได้ทำ Low approach เพื่อทำความคุ้นเคยและในเที่ยวบินที่2 จึงทำการลงสนามจริง นิทรรศการพระมหากษัตริย์นักบินแห่งราชวงศ์จักรี ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัย และทรงพระปรีชาสามารถด้านการบินทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเชี่ยวชาญ หลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาทางการทหารเมื่อพุทธศักราช 2522 ทรงเริ่มเข้ารับการฝึกบินหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธ (Gunship) ของกองทัพบก เมื่อพุทธศักราช 2523 และทรงฝึกบินหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพอากาศ ทรงสำเร็จตามหลักสูตร เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2523 และได้ทรงบินเฮลิคอปเตอร์ด้วยพระองค์เอง เสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงเรียนนายเรืออากาศ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2523 ซึ่งปัจจุบันคือโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และทรงรับพระราชทานประดับเครื่องหมายแสดงความสามารถในการบินของกองทัพอากาศ จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อันเป็นความภูมิใจของกำลังพลของกองทัพอากาศ และพสกนิกรชาวไทยที่ได้มีพระมหากษัตริย์นักบิน เป็นมิ่งขวัญของแผ่นดินภายหลังจากทอดพระเนตรนิทรรศการเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี เสด็จฯ ไปยังหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ทอดพระเนตรเครื่องบินขับไล่ไอพ่นแบบ เอฟ-5อี (F-5E) และทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์กับเครื่องบิน ที-50 อากาศยานไอพ่นความเร็วเหนือเสียง และเป็นอากาศยานโจมตี จากกองบิน 4 ตาคลี จ.นครสวรรค์ด้วยพระราชปณิธานในการเป็นนักบิน ทรงเข้ารับการถวายการฝึกบินกับอากาศยานปีกตรึงโดยกองทัพอากาศ และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาเทคนิคการบินจากฐานทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ฐานทัพอากาศเล็คแลนด์ เมืองแซนเอนโทนิโอ รัฐเท็กซัส ทรงจบหลักสูตรการบินขับไล่ไอพ่น ยุทธวิธีขั้นพื้นฐานจากฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 425 ฐานบินวิลเลียมส์ รัฐแอริโซนา ทรงเข้าศึกษาฝึกบินกับเครื่องบินขับไล่ไอพ่นแบบ เอฟ-5อี (F-5E) ในหลักสูตรการบินขับไล่ไอพ่นทางยุทธวิธีชั้นสูง ทรงเข้าประจำการ ณ กองปฏิบัติการทางอากาศพิเศษ การทำลายและยุทธวิธีรบนอกแบบ กับทรงศึกษาหลักสูตรทางทหารเพิ่มเติม เช่น หลักสูตรต้นหนชั้นสูง การลาดตระเวน หลักสูตรส่งทางอากาศ หลักสูตรการบิ เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ยูเอช-1เอช (UH-1H) ของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา ณ ฟอร์ท แบรกก์ รัฐนอร์ธ แคโรไลนา และหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธแบบ เอเอช-1เอส คอบรา (AH-1S COBRA) ทรงฝึกฝนการบินอย่างสม่ำเสมอ และยังได้ทรงเข้าร่วมการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีของกองทัพอากาศที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยทรงเข้าร่วมแข่งขันระหว่างพุทธศักราช 2526 ถึง 2530 ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จ.ลพบุรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักบินขับไล่ไอพ่นพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี ที่ทรงทำการบินกับเครื่องบินกองทัพอากาศได้เกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นอากาศยานปีกหมุน อากาศยานปีกตรึงแบบใบพัด และเครื่องยนต์ไอพ่น และด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเป็นนักบินขับไล่ที่มีชั่วโมงบินต่อเนื่องมากกว่า 2,800 ชั่วโมงบิน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ยากยิ่งสำหรับนักบินขับไล่ทั่วโลกที่จะทำได้ และด้วยพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา ทรงถ่ายทอดประสบการณ์ที่ทรงมี ปฏิบัติหน้าที่ครูการบิน พระราชทานการฝึกสอนทั้งวิชาการภาคพื้นและการฝึกบินให้แก่นักบินขับไล่ของกองทัพอากาศ แสดงถึงพระปรีชาสามารถที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยพัฒนาและยกระดับการบินของชาติให้ทัดเทียมนานาประเทศ ทรงอุปถัมภ์งานด้านการบินอย่างต่อเนื่อง นับเป็นคุณูปการแก่กองทัพอากาศไทย และกิจการการบินของประเทศเป็นอย่างยิ่งจากนั้นทอดพระเนตรนิทรรศการเครื่องบินฝึกจำลอง (Gripen E/F Simulator) ของเครื่องบิน Gripen ด้วยความสนพระราชหฤทัย ในโอกาสนี้ มีพระราชปฏิสันถารกับนักบินในฝูงบินจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และสหรัฐอเมริกาเสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ประทับหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ทอดพระเนตรการแสดงการบิน ชุดที่ 2 “การบินสูรยกิรัณ” (Suryakiran) จากกองทัพอากาศสาธารณรัฐอินเดีย ภายหลังจบการแสดงการบิน เสด็จออกจากที่ประทับหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับกองทัพอากาศ จัดการแสดงการบินเนื่องในโอกาสครบ 88 ปี เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในวาระที่กระทรวงกลาโหมได้ยกฐานะกรมทหารอากาศ ขึ้นเป็นกองทัพอากาศ ตั้งแต่พุทธศักราช 2480 ซึ่งปฏิบัติภารกิจอย่างมุ่งมั่นเพื่อรักษาความมั่นคง ของชาติ และดํารงความพร้อมของกําลังทางอากาศ เพื่อรับมือกับภัยคุกคาม ทุกรูปแบบ รวมทั้งการใช้ขีดความสามารถของ กองทัพอากาศทุกมิติ เพื่อช่วยเหลือ ประชาชนอย่างเต็มความสามารถตลอด 88 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น จึงจัดงานขึ้นภายใต้แนวคิด “AIR SOVEREIGNTY THROUGH UNBEATABLE COLLABORATION” หรือ “อธิปไตยเหนือน่านฟ้า ผ่านความร่วมมืออันแข็งแกร่ง” เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงเกียรติประวัติความภาคภูมิใจ ในเกียรติภูมิของกองทัพอากาศ และแสดงถึงขีดความสามารถของ กองทัพอากาศ ในการปฏิบัติภารกิจด้านความมั่นคง การสนับสนุนหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน การใช้ขีดความสามารถในทุกด้านเพื่อช่วยเหลือประชาชน ตลอดจนแสดงถึงแผนการพัฒนากองทัพอากาศในอนาคต แสดงถึงความพร้อมของกองทัพอากาศ ในด้านการส่งเสริม ภาคอุตสาหกรรมการบิน และภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อันนำไปสู่ การเป็นศูนย์กลางทางการบินในภูมิภาคตามนโยบายรัฐบาล ที่ส่งเสริมและกระชับความร่วมมือภายในประเทศ และเสริมสร้างมิตรภาพความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกองทัพอากาศ กับกองทัพอากาศมิตรประเทศโดยปีนี้ได้จัดแสดงอากาศยานของกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศมิตรประเทศ ทั้ง 3 ประเทศด้วยกัน ประกอบด้วย กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา , กองทัพอากาศสาธารณรัฐอินเดีย และกองทัพอากาศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 7 - 8 มีนาคม ณ กองบิน 6 ท่าอากาศยานทหารดอนเมือง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 766 มุมมอง 0 รีวิว
  • พวกผู้เชี่ยวชาญชี้ แผนการลงทุนมูลค่า 100,000 ล้านดอลลาร์ในอเมริกาของทีเอสเอ็มซี บริษัทไต้หวันที่เป็นผู้ผลิตชิปใหญ่ที่สุดของโลก อาจส่งผลให้ “โล่ซิลิคอน” ของไทเปอ่อนแอลง เปิดทางให้ทรัมป์เข้าควบคุมการผลิตชิปของทีเอสเอ็มซี หรือในทางกลับกันอาจทำให้ไต้หวัน “ปลอดภัยขึ้น” และสร้างความไว้วางใจระหว่างไทเปกับวอชิงตัน
    .
    ไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟกเจอริง (ทีเอสเอ็มซี) ซึ่งเวลานี้มีฐานะเป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีสำคัญ ที่กลายเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจโลก
    .
    ในสัปดาห์นี้ การประกาศลงทุนครั้งมหึมาในสหรัฐฯ ทำให้มูลค่าการลงทุนทั้งหมดของทีเอสเอ็มซีในอเมริกาเพิ่มเป็น 165,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งบริษัทบอกว่า เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่มีมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์อเมริกัน
    .
    ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวหาไต้หวันขโมยอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา พร้อมขู่รีดภาษี 100% และไทเปต้องรีบตอบสนองโดยให้สัญญาว่า จะลงทุนในอเมริกาเพิ่ม
    .
    เอเอฟพีเสนอรายงานที่ระบุว่า การลงทุนของทีเอสเอ็มซีครั้งนี้อาจมีนัยสำคัญสำหรับไต้หวัน ดังต่อไปนี้
    .
    โล่ซิลิคอน
    .
    ชิปเซมิคอนดักเตอร์ในปัจจุบันเป็นส่วนประกอบอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่สมาร์ทโฟนไปจนถึงทีวี รถยนต์ไฟฟ้า และขีปนาวุธ และชิปเหล่านี้กว่าครึ่งผลิตในไต้หวัน
    .
    การผลิตชิปที่กระจุกตัวอยู่ในไต้หวันถูกมองมานานแล้วว่าเป็น “โล่ซิลิคอน” ที่ปกป้องไต้หวันจากการรุกรานหรือการปิดล้อมของจีน อีกทั้งยังเป็นแรงจูงใจให้อเมริกากางปีกปกป้องไทเป
    .
    ช่วงหลายปีมานี้จีนเพิ่มความกดดันทางทหารต่อไต้หวันเพื่อผลักดันการอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือเกาะแห่งนี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่และโรงงานผลิตชิปมากมายหลายแห่งของทีเอสเอ็มซี
    .
    ความเคลื่อนไหวของจีนทำให้มีเสียงเรียกร้องให้ทีเอสเอ็มซีย้ายการผลิตออกจากไต้หวันเพื่อป้องกันการชะงักงันด้านอุปทานหากถูกจีนโจมตี
    .
    เมื่อไม่นานมานี้ ทรัมป์เตือนว่า อาจเรียกเก็บภาษีชิปที่ผลิตนอกสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 25% หรือมากกว่านั้น ซึ่งนักวิเคราะห์คนหนึ่งระบุว่า อาจทำให้อุตสาหกรรมชิปเผชิญภาวะถดถอย
    .
    แม้การลงทุนล่าสุดคราวนี้ของทีเอสเอ็มซี น่าจะสามารถหลบเลี่ยงจากการข่มขู่รีดภาษีศุลกากรเช่นว่านี้ แต่ยังมีความกังวลว่า การดำเนินการดังกล่าวอาจกระทบต่อเศรษฐกิจไต้หวันและทำให้ “โล่ซิลิคอน” ความมั่นคงของไต้หวันอ่อนแอลง
    .
    โก จูชุน สมาชิกรัฐสภาจากพรรคก๊กมินตั๋งซึ่งเป็นแกนนำฝ่ายค้าน ชี้ว่า ยิ่งทีเอสเอ็มซีออกไปผลิตในอเมริกามากเท่าไหร่ ไต้หวันยิ่งหมดความสำคัญในแง่ภูมิรัฐศาสตร์มากขึ้นเท่านั้น รวมทั้งยังลดแรงจูงใจต่ออเมริกาในการให้ความช่วยเหลือไต้หวันในอนาคต
    .
    การควบคุมทีเอสเอ็มซี
    .
    ผู้นำไต้หวันตระหนักดีถึงความเสี่ยงขณะพยายามรักษาการสนับสนุนจากวอชิงตัน ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนด้านความมั่นคงที่สำคัญที่สุด และปกป้องสถานะผู้ทรงอิทธิพลในการผลิตชิปของไต้หวัน
    .
    สำนักงานของประธานาธิบดีไล่ ชิงเต๋อ แถลงเมื่อวันอังคาร (4 มี.ค.) ว่า รัฐบาลจะตรวจสอบข้อตกลงของทีเอสเอ็มซีว่า สอดคล้องกับกฎหมายของไต้หวันหรือไม่ และทำให้แน่ใจว่า กระบวนการผลิตชิปขั้นสูงสุดจะยังคงอยู่ในไต้หวัน
    .
    ก่อนหน้านี้ ทีเอสเอ็มซีประกาศลงทุนมูลค่ากว่า 65,000 ล้านดอลลาร์ในการจัดตั้งโรงงาน 3 แห่งในรัฐแอริโซนาของอเมริกา โดยที่โรงงานแห่งแรกเริ่มต้นผลิตตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
    .
    สำหรับการลงทุน 100,000 ล้านดอลลาร์ซึ่งประกาศในสัปดาห์นี้ จะเป็นการขยายโครงการในอเมริกาด้วยการจัดตั้งโรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ 3 แห่ง โรงงานบรรจุภัณฑ์ขั้นสูง 2 แห่ง และศูนย์วิจัยและพัฒนา
    .
    ริชาร์ด หู รองผู้อำนวยการของกลุ่มคลังสมอง ที่ใช้ชื่อว่า ศูนย์เพื่อการศึกษาด้านความมั่นคงของไต้หวัน ให้ความเห็นว่า ทรัมป์ต้องการป้องกันไม่ให้ทีเอสเอ็มซีตกอยู่ในมือจีน และทำให้บริษัทแห่งนี้เป็นสินทรัพย์ด้านเทคโนโลยีของอเมริกา
    .
    หูเสริมว่า เป้าหมายสูงสุดของทรัมป์คือ อเมริกาจะสามารถควบคุมการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของทีเอสเอ็มซีทั้งหมดหรืออย่างมีนัยสำคัญ และทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา
    .
    การรับประกันความมั่นคง
    .
    อย่างไรก็ตาม ซู จื๋ออวิ๋น นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงจากสถาบันเพื่อการวิจัยด้านกลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติของไทเป มองโลกในแง่ดีมากกว่า โดยบอกว่า การลงทุนในสหรัฐฯ ของทีเอสเอ็มซีน่าจะทำให้ไต้หวัน “ปลอดภัยขึ้น” และช่วยส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมชิป อีกทั้งยังสร้างความไว้วางใจระหว่างไทเปกับวอชิงตัน และลดความกังวลของทรัมป์เกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของอเมริกา
    .
    ซูเสริมว่า ไต้หวันไม่ได้มีความสำคัญเพราะมีทีเอสเอ็มซีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านภูมิยุทธศาสตร์ โดยตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความสำคัญของเส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเลของโลกที่อยู่ใกล้ไต้หวัน
    .
    ทว่า เจมส์ อี้ฟาน เฉิน จากมหาวิทยาลัยตั้นเจียง เสนอมุมมองอีกด้านหนึ่งว่า ต้นทุนการผลิตในอเมริกาที่สูงกว่าอาจทำให้ราคาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ชิปทีเอสเอ็มซีแพงขึ้น
    .
    นอกจากนั้น ยังไม่มีการรับประกันว่า การลงทุนจะทำให้ทรัมป์ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ มีความโน้มเอียงมากขึ้นจริงๆ ที่จะปกป้องไต้หวัน
    .
    เหวิน ตี้ซุง นักวิชาการจากโกลบัล ไชน่า ฮับ ของกลุ่มคลังสมองในสหรัฐฯ แอตแลนติก เคาน์ซิล บอกว่า ผลลัพธ์จากข้อตกลงนี้ในแง่ความเต็มใจของอเมริกาในการปกป้องไต้หวันนั้นต้องพูดว่ายังไม่มีความชัดเจน โดยขึ้นอยู่กับความรู้สึกของทรัมป์ ณ ขณะนั้นมากกว่า รวมทั้งขึ้นอยู่กับว่า ปักกิ่งจะพยายามยื่นข้อเสนอที่น่าสนใจกว่าไต้หวันหรือไม่
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000021621
    ..............
    Sondhi X
    พวกผู้เชี่ยวชาญชี้ แผนการลงทุนมูลค่า 100,000 ล้านดอลลาร์ในอเมริกาของทีเอสเอ็มซี บริษัทไต้หวันที่เป็นผู้ผลิตชิปใหญ่ที่สุดของโลก อาจส่งผลให้ “โล่ซิลิคอน” ของไทเปอ่อนแอลง เปิดทางให้ทรัมป์เข้าควบคุมการผลิตชิปของทีเอสเอ็มซี หรือในทางกลับกันอาจทำให้ไต้หวัน “ปลอดภัยขึ้น” และสร้างความไว้วางใจระหว่างไทเปกับวอชิงตัน . ไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟกเจอริง (ทีเอสเอ็มซี) ซึ่งเวลานี้มีฐานะเป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีสำคัญ ที่กลายเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจโลก . ในสัปดาห์นี้ การประกาศลงทุนครั้งมหึมาในสหรัฐฯ ทำให้มูลค่าการลงทุนทั้งหมดของทีเอสเอ็มซีในอเมริกาเพิ่มเป็น 165,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งบริษัทบอกว่า เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่มีมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์อเมริกัน . ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวหาไต้หวันขโมยอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา พร้อมขู่รีดภาษี 100% และไทเปต้องรีบตอบสนองโดยให้สัญญาว่า จะลงทุนในอเมริกาเพิ่ม . เอเอฟพีเสนอรายงานที่ระบุว่า การลงทุนของทีเอสเอ็มซีครั้งนี้อาจมีนัยสำคัญสำหรับไต้หวัน ดังต่อไปนี้ . โล่ซิลิคอน . ชิปเซมิคอนดักเตอร์ในปัจจุบันเป็นส่วนประกอบอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่สมาร์ทโฟนไปจนถึงทีวี รถยนต์ไฟฟ้า และขีปนาวุธ และชิปเหล่านี้กว่าครึ่งผลิตในไต้หวัน . การผลิตชิปที่กระจุกตัวอยู่ในไต้หวันถูกมองมานานแล้วว่าเป็น “โล่ซิลิคอน” ที่ปกป้องไต้หวันจากการรุกรานหรือการปิดล้อมของจีน อีกทั้งยังเป็นแรงจูงใจให้อเมริกากางปีกปกป้องไทเป . ช่วงหลายปีมานี้จีนเพิ่มความกดดันทางทหารต่อไต้หวันเพื่อผลักดันการอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือเกาะแห่งนี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่และโรงงานผลิตชิปมากมายหลายแห่งของทีเอสเอ็มซี . ความเคลื่อนไหวของจีนทำให้มีเสียงเรียกร้องให้ทีเอสเอ็มซีย้ายการผลิตออกจากไต้หวันเพื่อป้องกันการชะงักงันด้านอุปทานหากถูกจีนโจมตี . เมื่อไม่นานมานี้ ทรัมป์เตือนว่า อาจเรียกเก็บภาษีชิปที่ผลิตนอกสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 25% หรือมากกว่านั้น ซึ่งนักวิเคราะห์คนหนึ่งระบุว่า อาจทำให้อุตสาหกรรมชิปเผชิญภาวะถดถอย . แม้การลงทุนล่าสุดคราวนี้ของทีเอสเอ็มซี น่าจะสามารถหลบเลี่ยงจากการข่มขู่รีดภาษีศุลกากรเช่นว่านี้ แต่ยังมีความกังวลว่า การดำเนินการดังกล่าวอาจกระทบต่อเศรษฐกิจไต้หวันและทำให้ “โล่ซิลิคอน” ความมั่นคงของไต้หวันอ่อนแอลง . โก จูชุน สมาชิกรัฐสภาจากพรรคก๊กมินตั๋งซึ่งเป็นแกนนำฝ่ายค้าน ชี้ว่า ยิ่งทีเอสเอ็มซีออกไปผลิตในอเมริกามากเท่าไหร่ ไต้หวันยิ่งหมดความสำคัญในแง่ภูมิรัฐศาสตร์มากขึ้นเท่านั้น รวมทั้งยังลดแรงจูงใจต่ออเมริกาในการให้ความช่วยเหลือไต้หวันในอนาคต . การควบคุมทีเอสเอ็มซี . ผู้นำไต้หวันตระหนักดีถึงความเสี่ยงขณะพยายามรักษาการสนับสนุนจากวอชิงตัน ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนด้านความมั่นคงที่สำคัญที่สุด และปกป้องสถานะผู้ทรงอิทธิพลในการผลิตชิปของไต้หวัน . สำนักงานของประธานาธิบดีไล่ ชิงเต๋อ แถลงเมื่อวันอังคาร (4 มี.ค.) ว่า รัฐบาลจะตรวจสอบข้อตกลงของทีเอสเอ็มซีว่า สอดคล้องกับกฎหมายของไต้หวันหรือไม่ และทำให้แน่ใจว่า กระบวนการผลิตชิปขั้นสูงสุดจะยังคงอยู่ในไต้หวัน . ก่อนหน้านี้ ทีเอสเอ็มซีประกาศลงทุนมูลค่ากว่า 65,000 ล้านดอลลาร์ในการจัดตั้งโรงงาน 3 แห่งในรัฐแอริโซนาของอเมริกา โดยที่โรงงานแห่งแรกเริ่มต้นผลิตตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว . สำหรับการลงทุน 100,000 ล้านดอลลาร์ซึ่งประกาศในสัปดาห์นี้ จะเป็นการขยายโครงการในอเมริกาด้วยการจัดตั้งโรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ 3 แห่ง โรงงานบรรจุภัณฑ์ขั้นสูง 2 แห่ง และศูนย์วิจัยและพัฒนา . ริชาร์ด หู รองผู้อำนวยการของกลุ่มคลังสมอง ที่ใช้ชื่อว่า ศูนย์เพื่อการศึกษาด้านความมั่นคงของไต้หวัน ให้ความเห็นว่า ทรัมป์ต้องการป้องกันไม่ให้ทีเอสเอ็มซีตกอยู่ในมือจีน และทำให้บริษัทแห่งนี้เป็นสินทรัพย์ด้านเทคโนโลยีของอเมริกา . หูเสริมว่า เป้าหมายสูงสุดของทรัมป์คือ อเมริกาจะสามารถควบคุมการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของทีเอสเอ็มซีทั้งหมดหรืออย่างมีนัยสำคัญ และทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมชิปของอเมริกา . การรับประกันความมั่นคง . อย่างไรก็ตาม ซู จื๋ออวิ๋น นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงจากสถาบันเพื่อการวิจัยด้านกลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติของไทเป มองโลกในแง่ดีมากกว่า โดยบอกว่า การลงทุนในสหรัฐฯ ของทีเอสเอ็มซีน่าจะทำให้ไต้หวัน “ปลอดภัยขึ้น” และช่วยส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมชิป อีกทั้งยังสร้างความไว้วางใจระหว่างไทเปกับวอชิงตัน และลดความกังวลของทรัมป์เกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของอเมริกา . ซูเสริมว่า ไต้หวันไม่ได้มีความสำคัญเพราะมีทีเอสเอ็มซีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านภูมิยุทธศาสตร์ โดยตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความสำคัญของเส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเลของโลกที่อยู่ใกล้ไต้หวัน . ทว่า เจมส์ อี้ฟาน เฉิน จากมหาวิทยาลัยตั้นเจียง เสนอมุมมองอีกด้านหนึ่งว่า ต้นทุนการผลิตในอเมริกาที่สูงกว่าอาจทำให้ราคาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ชิปทีเอสเอ็มซีแพงขึ้น . นอกจากนั้น ยังไม่มีการรับประกันว่า การลงทุนจะทำให้ทรัมป์ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ มีความโน้มเอียงมากขึ้นจริงๆ ที่จะปกป้องไต้หวัน . เหวิน ตี้ซุง นักวิชาการจากโกลบัล ไชน่า ฮับ ของกลุ่มคลังสมองในสหรัฐฯ แอตแลนติก เคาน์ซิล บอกว่า ผลลัพธ์จากข้อตกลงนี้ในแง่ความเต็มใจของอเมริกาในการปกป้องไต้หวันนั้นต้องพูดว่ายังไม่มีความชัดเจน โดยขึ้นอยู่กับความรู้สึกของทรัมป์ ณ ขณะนั้นมากกว่า รวมทั้งขึ้นอยู่กับว่า ปักกิ่งจะพยายามยื่นข้อเสนอที่น่าสนใจกว่าไต้หวันหรือไม่ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000021621 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    14
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2368 มุมมอง 0 รีวิว
  • Alexsandr  Duginที่ปรึกษาคนแรกของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย เพิ่งให้สัมภาษณ์ BOMBSHELL โดยนักข่าวฝ่ายค้านชาวอูเครน Diana Panchenko นี่คือประเด็นที่สำคัญ1.ยูเครนพลาดโอกาสครั้งประวัติศาสตร์ในการแยกตัวเป็นเอกราช"ยูเครนหมดแรงและพลาดโอกาสทางประวัติศาสตร์ในการดำรงอยู่ทางการเมืองระดับชาติที่เป็นอิสระ"2.ยูเครนปฏิเสธโอกาสสร้างอาณาจักรรัสเซีย-ยูเครนที่ยิ่งใหญ่ ดูจินบอกกับชาวอูเครนว่า "แทนที่จะต่อสู้กันเอง เราควรจะร่วมกันต่อสู้กับผู้ที่โจมตีจักรวรรดิแห่งนี้ แต่ทุกอย่างกลับกลายเป็นตรงกันข้าม"3.ชาตินิยมยูเครนทำลายยูเครนเองดูจินกล่าวว่าชาตินิยมที่แท้จริงจะต้องปกป้องบูรณภาพแห่งดินแดน:"แต่ชาตินิยมยูเครนเป็นผู้ที่ […] ทำให้ [ยูเครน] อ่อนแอลง และลากเข้าสู่ความขัดแย้งที่สิ้นหวัง ซึ่งเป็นหายนะสำหรับยูเครนในฐานะรัฐที่มีอำนาจอธิปไตย"4.ชาติตะวันตกเสรีนิยมพยายามทำลายความร่วมมือของดูจินกับปูติน"การดำเนินการทั้งหมดนี้ Jeeranan Watteerachot ไม่เพียงแต่เป็นการต่อต้านปูตินเท่านั้น แต่ยังเป็นการต่อต้านรัสเซียด้วย เพราะเมื่อผู้รักชาติมารวมตัวกัน […] สิ่งนี้ไม่เพียงแต่เพิ่มศักยภาพให้กับเขาเท่านั้น แต่ยังเพิ่มทวีคูณอีกด้วย"5.ทรัมป์พลิกเปลี่ยนทัศนคติชนิด 180° ต่ออุดมการณ์สหรัฐฯ"เขายกเลิกนโยบายเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ขับไล่บุคคลข้ามเพศออกจากกองทัพ […] มันเป็นการตบหน้าการเคลื่อนไหวที่มุ่งสู่เสรีนิยม ลัทธิซาตาน และลัทธิหลังสมัยใหม่ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา"
    Alexsandr  Duginที่ปรึกษาคนแรกของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย เพิ่งให้สัมภาษณ์ BOMBSHELL โดยนักข่าวฝ่ายค้านชาวอูเครน Diana Panchenko นี่คือประเด็นที่สำคัญ1.ยูเครนพลาดโอกาสครั้งประวัติศาสตร์ในการแยกตัวเป็นเอกราช"ยูเครนหมดแรงและพลาดโอกาสทางประวัติศาสตร์ในการดำรงอยู่ทางการเมืองระดับชาติที่เป็นอิสระ"2.ยูเครนปฏิเสธโอกาสสร้างอาณาจักรรัสเซีย-ยูเครนที่ยิ่งใหญ่ ดูจินบอกกับชาวอูเครนว่า "แทนที่จะต่อสู้กันเอง เราควรจะร่วมกันต่อสู้กับผู้ที่โจมตีจักรวรรดิแห่งนี้ แต่ทุกอย่างกลับกลายเป็นตรงกันข้าม"3.ชาตินิยมยูเครนทำลายยูเครนเองดูจินกล่าวว่าชาตินิยมที่แท้จริงจะต้องปกป้องบูรณภาพแห่งดินแดน:"แต่ชาตินิยมยูเครนเป็นผู้ที่ […] ทำให้ [ยูเครน] อ่อนแอลง และลากเข้าสู่ความขัดแย้งที่สิ้นหวัง ซึ่งเป็นหายนะสำหรับยูเครนในฐานะรัฐที่มีอำนาจอธิปไตย"4.ชาติตะวันตกเสรีนิยมพยายามทำลายความร่วมมือของดูจินกับปูติน"การดำเนินการทั้งหมดนี้ [...] ไม่เพียงแต่เป็นการต่อต้านปูตินเท่านั้น แต่ยังเป็นการต่อต้านรัสเซียด้วย เพราะเมื่อผู้รักชาติมารวมตัวกัน […] สิ่งนี้ไม่เพียงแต่เพิ่มศักยภาพให้กับเขาเท่านั้น แต่ยังเพิ่มทวีคูณอีกด้วย"5.ทรัมป์พลิกเปลี่ยนทัศนคติชนิด 180° ต่ออุดมการณ์สหรัฐฯ"เขายกเลิกนโยบายเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ขับไล่บุคคลข้ามเพศออกจากกองทัพ […] มันเป็นการตบหน้าการเคลื่อนไหวที่มุ่งสู่เสรีนิยม ลัทธิซาตาน และลัทธิหลังสมัยใหม่ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา"
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 291 มุมมอง 0 รีวิว
  • หลังจากทรัมป์ ประกาศยุติความช่วยเหลือทุกทางต่อยูเครน

    วันนี้เซเลนสกีโพสต์ข้อความบน "X" ว่าพร้อมแล้วสำหรับการเจรจาเพื่อยุติสงคราม และยังบอกอีกว่า พร้อมจะลงนามข้อตกลงแร่ธาตุของสหรัฐฯ "เมื่อใดก็ได้ และในรูปแบบใดก็ได้ที่สหรัฐสะดวก"

    ซึ่งไม่แน่ใจว่า นี่จะถือเป็นคำขอโทษตามที่ทรัมป์เรียกร้องให้เซเลนสกีออกมากล่าวอย่างเป็นทางการต่อหน้าสาธารณะหรือไม่!!

    นอกจากนี้ เขายังยื่นข้อเสนอว่า พร้อมที่จะทำข้อตกลงหยุดยิงให้เร็วที่สุดเพื่อยุติสงคราม โดยที่ขั้นแรกอาจเป็นการปล่อยนักโทษ และการหยุดโจมตีทางอากศ โดยหยุดการใช้ขีปนาวุธ โดรนพิสัยไกล ในการโจมตีด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานพลเรือนอื่นๆ และต่อไปจะหยุดการโจมตีทสงทะเลทันที ซึ่งทางรัสเซียจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย
    .

    👉แถลงการณ์ฉบับเต็มของเซเลนสกี:

    ผมขอเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของยูเครนในความพยายามสร้างสันติภาพอีกครั้ง

    ไม่มีใครต้องการสงครามที่ไม่มีวันจบสิ้น ยูเครนพร้อมที่จะเข้าร่วมโต๊ะเจรจาโดยเร็วที่สุดเพื่อนำสันติภาพที่ยั่งยืนให้เข้ามาใกล้ที่สุด ไม่มีใครต้องการสันติภาพมากกว่าชาวยูเครน ทีมงานของผมรวมทั้งตัวผม พร้อมที่จะทำงานภายใต้การนำที่เข้มแข็งของประธานาธิบดีทรัมป์เพื่อให้ได้สันติภาพที่ยั่งยืน

    เราพร้อมที่จะทำงานอย่างรวดเร็วเพื่อยุติสงคราม ซึ่งขั้นตอนแรกอาจเป็นการปล่อยนักโทษและยุติการโจมตีทางอาหศ โดยห้ามใช้ขีปนาวุธ โดรนพิสัยไกล เพื่อโจมตีเป้าหมายด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานพลเรือนอื่นๆ และจะยุติการต่อสู้ในทะเลทันที หากรัสเซียจะทำเช่นเดียวกัน จากนั้นเราต้องการดำเนินการอย่างรวดเร็วผ่านขั้นตอนต่อไปทั้งหมดและทำงานร่วมกับสหรัฐฯ เพื่อตกลงข้อตกลงสุดท้ายที่แข็งแกร่ง

    เราให้ความสำคัญอย่างที่สุดต่ออเมริกาซึ่งได้ทำสิ่งที่ช่วยให้ยูเครนรักษาอำนาจอธิปไตยและเอกราชของตนไว้ได้ เราซาบซึ้งในสิ่งนี้

    การประชุมของเราในกรุงวอชิงตันที่ทำเนียบขาวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาไม่ได้เป็นไปตามที่คาดไว้ เป็นเรื่องน่าเสียดายที่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ถึงเวลาแล้วที่จะต้องทำให้ทุกอย่างดีขึ้น เราต้องการให้ความร่วมมือและการสื่อสารในอนาคตเป็นไปอย่างสร้างสรรค์

    เกี่ยวกับข้อตกลงด้านแร่ธาตุและความมั่นคง ยูเครนพร้อมที่จะลงนามเมื่อใดก็ได้และในรูปแบบที่สะดวก เราเห็นว่าข้อตกลงนี้เป็นก้าวสำคัญสู่ความมั่นคงที่มากขึ้นและการค้ำประกันด้านความมั่นคงที่มั่นคง และฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อตกลงนี้จะมีผลใช้บังคับอย่างมีประสิทธิผล
    หลังจากทรัมป์ ประกาศยุติความช่วยเหลือทุกทางต่อยูเครน วันนี้เซเลนสกีโพสต์ข้อความบน "X" ว่าพร้อมแล้วสำหรับการเจรจาเพื่อยุติสงคราม และยังบอกอีกว่า พร้อมจะลงนามข้อตกลงแร่ธาตุของสหรัฐฯ "เมื่อใดก็ได้ และในรูปแบบใดก็ได้ที่สหรัฐสะดวก" ซึ่งไม่แน่ใจว่า นี่จะถือเป็นคำขอโทษตามที่ทรัมป์เรียกร้องให้เซเลนสกีออกมากล่าวอย่างเป็นทางการต่อหน้าสาธารณะหรือไม่!! นอกจากนี้ เขายังยื่นข้อเสนอว่า พร้อมที่จะทำข้อตกลงหยุดยิงให้เร็วที่สุดเพื่อยุติสงคราม โดยที่ขั้นแรกอาจเป็นการปล่อยนักโทษ และการหยุดโจมตีทางอากศ โดยหยุดการใช้ขีปนาวุธ โดรนพิสัยไกล ในการโจมตีด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานพลเรือนอื่นๆ และต่อไปจะหยุดการโจมตีทสงทะเลทันที ซึ่งทางรัสเซียจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย . 👉แถลงการณ์ฉบับเต็มของเซเลนสกี: ผมขอเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของยูเครนในความพยายามสร้างสันติภาพอีกครั้ง ไม่มีใครต้องการสงครามที่ไม่มีวันจบสิ้น ยูเครนพร้อมที่จะเข้าร่วมโต๊ะเจรจาโดยเร็วที่สุดเพื่อนำสันติภาพที่ยั่งยืนให้เข้ามาใกล้ที่สุด ไม่มีใครต้องการสันติภาพมากกว่าชาวยูเครน ทีมงานของผมรวมทั้งตัวผม พร้อมที่จะทำงานภายใต้การนำที่เข้มแข็งของประธานาธิบดีทรัมป์เพื่อให้ได้สันติภาพที่ยั่งยืน เราพร้อมที่จะทำงานอย่างรวดเร็วเพื่อยุติสงคราม ซึ่งขั้นตอนแรกอาจเป็นการปล่อยนักโทษและยุติการโจมตีทางอาหศ โดยห้ามใช้ขีปนาวุธ โดรนพิสัยไกล เพื่อโจมตีเป้าหมายด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานพลเรือนอื่นๆ และจะยุติการต่อสู้ในทะเลทันที หากรัสเซียจะทำเช่นเดียวกัน จากนั้นเราต้องการดำเนินการอย่างรวดเร็วผ่านขั้นตอนต่อไปทั้งหมดและทำงานร่วมกับสหรัฐฯ เพื่อตกลงข้อตกลงสุดท้ายที่แข็งแกร่ง เราให้ความสำคัญอย่างที่สุดต่ออเมริกาซึ่งได้ทำสิ่งที่ช่วยให้ยูเครนรักษาอำนาจอธิปไตยและเอกราชของตนไว้ได้ เราซาบซึ้งในสิ่งนี้ การประชุมของเราในกรุงวอชิงตันที่ทำเนียบขาวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาไม่ได้เป็นไปตามที่คาดไว้ เป็นเรื่องน่าเสียดายที่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ถึงเวลาแล้วที่จะต้องทำให้ทุกอย่างดีขึ้น เราต้องการให้ความร่วมมือและการสื่อสารในอนาคตเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ เกี่ยวกับข้อตกลงด้านแร่ธาตุและความมั่นคง ยูเครนพร้อมที่จะลงนามเมื่อใดก็ได้และในรูปแบบที่สะดวก เราเห็นว่าข้อตกลงนี้เป็นก้าวสำคัญสู่ความมั่นคงที่มากขึ้นและการค้ำประกันด้านความมั่นคงที่มั่นคง และฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อตกลงนี้จะมีผลใช้บังคับอย่างมีประสิทธิผล
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 357 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ภูมิธรรม” ลั่น อย่าไปคิดมาก กัมพูชาประท้วงปมเกาะกูด ทำได้แต่ต้องไม่ละเมิดอธิปไตยไทย
    https://www.thai-tai.tv/news/17459/
    “ภูมิธรรม” ลั่น อย่าไปคิดมาก กัมพูชาประท้วงปมเกาะกูด ทำได้แต่ต้องไม่ละเมิดอธิปไตยไทย https://www.thai-tai.tv/news/17459/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 188 มุมมอง 0 รีวิว
  • จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา ว่าเขาเตรียมเข้าเฝ้าฯ กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร พูดคุยเกี่ยวกับการปกป้องอธิปไตยของแคนาดา หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ส่งเสียงเรียกร้องซ้ำๆ ให้เข้ามาเป็นรัฐที่ 51 ของอเมริกา
    .
    คำพูดซ้ำแล้วซ้ำเล่าของทรัมป์ โหมกระพือเสียงโวยวายในแคนาดา โดยพวกเจ้าหน้าที่ปฏิเสธอย่างหนักแน่น เกี่ยวกับการพูดคุยใดๆ กรณีที่พวกเขาจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ
    .
    ครั้งที่เข้าเฝ้าฯ กษัตริย์ชาร์ลส์ ซึ่งทรงอยู่ในฐานะประมุขแห่งรัฐของแคนาดา ในวันจันทร์ (3 มี.ค.) ทรูโดเผยว่าเขาหวัง "หารือในประเด็นต่างๆ ที่มีความสำคัญกับแคนาดาและชาวแคนาดา"
    .
    "และผมสามารถบอกกับคุณได้ว่า เวลานี้ไม่มีอะไรสำคัญกับชาวแคนาดามากไปกว่าการยืนหยัดเพื่ออธิปไตยของเราและเอกราชของเรา ในฐานะประเทศหนึ่ง" นายกรัฐมนตรีแคนาดาระบุ ระหว่างอยู่ในลอนดอน เพื่อร่วมประชุมซัมมิตเกี่ยวกับยูเครน
    .
    ทรัมป์ ยึดติดอยู่กับอธิปไตยของแคนาดาโดยเฉพาะ นับตั้งแต่ได้รับชัยชนะในศึกเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีกสมัย
    .
    ผู้สำสหรัฐฯ พาดพิงแคนาดาบ่อยครั้งในฐานะ "รัฐที่ 51" และดูหมิ่น ทรูโด ด้วยการเรียกเขาว่าเป็น "ผู้ว่าการรัฐ" แทนที่จะเป็น "นายกรัฐมนตรี"
    .
    ทั้งนี้ ทรัมป์ ออกคำสั่งรีดภาษีบรรดาคู่ค้าหลีกของสหรัฐฯ ซึ่งมีกำหนดบังคับใช้ในวันอังคาร (4 มี.ค.) แต่บอกว่าแคนาดาสามารถหลีกเลี่ยงการถูกรีดภาษีได้ หากกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอเมริกา
    .
    เมื่อเดือนที่แล้ว ทรูโด เตือนว่าการพูดจาอย่างไม่หยุดหย่อนของทรัมป์ เกี่ยวกับการดูดกลืนแคนาดา เพื่อเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาตินั้น "เป็นของจริง"
    .
    ชาวแคนาดาบางส่วนส่งเสียงแสดงความสงสัยว่าทำไมกษัตริย์ชาร์ลส์ถึงไม่ออกมาตรัสอะไรบ้าง เกี่ยวกับการปกป้องแคนาดา อย่างไรก็ตาม ตามธรรมเนียมประเพณีแล้ว กษัตริย์มีหน้าที่ได้แค่เพียงให้คำแนะนำนายกรัฐมนตรี ในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชาติในเครือจักรภพ
    .
    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เชิญ ทรัมป์ เดินทางเยือนสหราชอาณาจักรแบบรัฐพิธีเป็นครั้งที่ 2 อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งอาจเป็นการเปิดโอกาสให้กษัตริย์ชาร์ลส์ทรงหยิบยกประเด็นอธิปไตยของแคนาดาพูดคุยกับทรัมป์
    .
    ณ ที่ประชุมซัมมิตด้านความมั่นคงของยูเครน ในลอนดอน เมื่อวันอาทิตย์ (2 มี.ค.) ทรูโด เน้นย้ำว่า แคนาดา ยังคงให้การสนับสนุนยูเครน อย่างหนักแน่นและไม่เปลี่ยนแปลง และได้แถลงมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่เล่นงานรัสเซีย
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020426
    ..............
    Sondhi X
    จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา ว่าเขาเตรียมเข้าเฝ้าฯ กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร พูดคุยเกี่ยวกับการปกป้องอธิปไตยของแคนาดา หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ส่งเสียงเรียกร้องซ้ำๆ ให้เข้ามาเป็นรัฐที่ 51 ของอเมริกา . คำพูดซ้ำแล้วซ้ำเล่าของทรัมป์ โหมกระพือเสียงโวยวายในแคนาดา โดยพวกเจ้าหน้าที่ปฏิเสธอย่างหนักแน่น เกี่ยวกับการพูดคุยใดๆ กรณีที่พวกเขาจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ . ครั้งที่เข้าเฝ้าฯ กษัตริย์ชาร์ลส์ ซึ่งทรงอยู่ในฐานะประมุขแห่งรัฐของแคนาดา ในวันจันทร์ (3 มี.ค.) ทรูโดเผยว่าเขาหวัง "หารือในประเด็นต่างๆ ที่มีความสำคัญกับแคนาดาและชาวแคนาดา" . "และผมสามารถบอกกับคุณได้ว่า เวลานี้ไม่มีอะไรสำคัญกับชาวแคนาดามากไปกว่าการยืนหยัดเพื่ออธิปไตยของเราและเอกราชของเรา ในฐานะประเทศหนึ่ง" นายกรัฐมนตรีแคนาดาระบุ ระหว่างอยู่ในลอนดอน เพื่อร่วมประชุมซัมมิตเกี่ยวกับยูเครน . ทรัมป์ ยึดติดอยู่กับอธิปไตยของแคนาดาโดยเฉพาะ นับตั้งแต่ได้รับชัยชนะในศึกเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีกสมัย . ผู้สำสหรัฐฯ พาดพิงแคนาดาบ่อยครั้งในฐานะ "รัฐที่ 51" และดูหมิ่น ทรูโด ด้วยการเรียกเขาว่าเป็น "ผู้ว่าการรัฐ" แทนที่จะเป็น "นายกรัฐมนตรี" . ทั้งนี้ ทรัมป์ ออกคำสั่งรีดภาษีบรรดาคู่ค้าหลีกของสหรัฐฯ ซึ่งมีกำหนดบังคับใช้ในวันอังคาร (4 มี.ค.) แต่บอกว่าแคนาดาสามารถหลีกเลี่ยงการถูกรีดภาษีได้ หากกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอเมริกา . เมื่อเดือนที่แล้ว ทรูโด เตือนว่าการพูดจาอย่างไม่หยุดหย่อนของทรัมป์ เกี่ยวกับการดูดกลืนแคนาดา เพื่อเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาตินั้น "เป็นของจริง" . ชาวแคนาดาบางส่วนส่งเสียงแสดงความสงสัยว่าทำไมกษัตริย์ชาร์ลส์ถึงไม่ออกมาตรัสอะไรบ้าง เกี่ยวกับการปกป้องแคนาดา อย่างไรก็ตาม ตามธรรมเนียมประเพณีแล้ว กษัตริย์มีหน้าที่ได้แค่เพียงให้คำแนะนำนายกรัฐมนตรี ในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชาติในเครือจักรภพ . เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เชิญ ทรัมป์ เดินทางเยือนสหราชอาณาจักรแบบรัฐพิธีเป็นครั้งที่ 2 อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งอาจเป็นการเปิดโอกาสให้กษัตริย์ชาร์ลส์ทรงหยิบยกประเด็นอธิปไตยของแคนาดาพูดคุยกับทรัมป์ . ณ ที่ประชุมซัมมิตด้านความมั่นคงของยูเครน ในลอนดอน เมื่อวันอาทิตย์ (2 มี.ค.) ทรูโด เน้นย้ำว่า แคนาดา ยังคงให้การสนับสนุนยูเครน อย่างหนักแน่นและไม่เปลี่ยนแปลง และได้แถลงมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่เล่นงานรัสเซีย . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020426 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1361 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยุโรปและแคนาดาตัดสินใจยุติแผนสันติภาพของทรัมป์ที่มีต่อยูเครน ทำให้ข้อตกลงสันติภาพใดๆ จะยังไม่เกิดขึ้นในตอนนี้!

    ข้อสรุปมีดังต่อไปนี้:

    1) จะมีการส่งความช่วยเหลือทางทหารให้กับยูเครน และมาตการคว่ำบาตรรัสเซียเพิ่มเติม

    2) ยูเครนจะต้องมีอำนาจอธิปไตยเต็มที่บนดินแดนของตนเอง นั่นหมายความว่ายูเครนต้องได้รับดินแดนทั้งหมดกลับคืน และยูเครนต้องมีส่วนร่วมในการเจรจาสัติภาพที่จะมีขึ้นในอนาคต

    3) หลังจากข้อตกลงสันติภาพเกิดขึ้น ยูเครนจะสามารถสร้างกองทัพเป็นของตนเองได้

    4) สหราชอาณาจักรและประเทศอื่นๆ จะจัดตั้งกองกำลังทหารสันติภาพเพื่อประจำการในยูเครน!!


    -> จำคำประกาศนี้ เห็นได้ชัดว่ารัสเซียจะไม่ยอมรับข้อตกลงใดๆได้เลย
    และคาดว่าสหรัฐคงจะต้องถอนตัวออกไปในที่สุด และยูเครนจะต่อสู้ต่อไปจนถึงยูเครนคนสุดท้าย!
    ยุโรปและแคนาดาตัดสินใจยุติแผนสันติภาพของทรัมป์ที่มีต่อยูเครน ทำให้ข้อตกลงสันติภาพใดๆ จะยังไม่เกิดขึ้นในตอนนี้! ข้อสรุปมีดังต่อไปนี้: 1) จะมีการส่งความช่วยเหลือทางทหารให้กับยูเครน และมาตการคว่ำบาตรรัสเซียเพิ่มเติม 2) ยูเครนจะต้องมีอำนาจอธิปไตยเต็มที่บนดินแดนของตนเอง นั่นหมายความว่ายูเครนต้องได้รับดินแดนทั้งหมดกลับคืน และยูเครนต้องมีส่วนร่วมในการเจรจาสัติภาพที่จะมีขึ้นในอนาคต 3) หลังจากข้อตกลงสันติภาพเกิดขึ้น ยูเครนจะสามารถสร้างกองทัพเป็นของตนเองได้ 4) สหราชอาณาจักรและประเทศอื่นๆ จะจัดตั้งกองกำลังทหารสันติภาพเพื่อประจำการในยูเครน!! -> จำคำประกาศนี้ เห็นได้ชัดว่ารัสเซียจะไม่ยอมรับข้อตกลงใดๆได้เลย และคาดว่าสหรัฐคงจะต้องถอนตัวออกไปในที่สุด และยูเครนจะต่อสู้ต่อไปจนถึงยูเครนคนสุดท้าย!
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 316 มุมมอง 8 0 รีวิว
  • 1 มี.ค.2568 - กรณี โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ไล่ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ออกจากทำเนียบขาว หลังจากโต้เถียงกัน ส่อแววล้มข้อตกลงสันติภาพ รวมทั้งข้อตกลงการเข้าถึงแร่หายาก

    ล่าสุด รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ถอดบทเรียนยูเครน: เมื่อผู้นำไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ

    ภาพความอัปยศอดสูที่ผู้นำยูเครน Zelenskyy ถูกเชิญไปรุมกินโต๊ะโดย ประธานาธิบดี Trump และรองประธานาธิบดี Vance รวมทั้งการเจรจาที่ชะงักงันและไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต้องประชาชนยูเครนที่สูญเสียทั้งชีวิต ดินแดน ทรัพยากร และที่สำคัญที่สุดคือ อนาคต ทำให้เราต้องมาถอดบทเรียน

    1. ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศยูเครนมิได้เป็นตัวของตัวเองเนื่องจากถูกแทรกแซงผ่านกระบวนการการสงครามผสมผสาน (Hybrid Warfare) มาอย่างต่อเนื่อง ปั่นหัวให้ประชาชนยูเครนลุกฮือขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง 1) Orange Revolution 2004/2005 2) Euro Maidan 2014 และ 3) การลงประชามติของประชาชนในคาบสมุทร Crimea เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและในที่สุดขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทั้งหมดไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศ หากแต่ทั้งหมดเป็นเกมส์ของมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายยุโรป+สหรัฐ หรือฝ่ายรัสเซีย

    2. ผู้นำของยูเครน ไม่ว่าจะเป็น Leonid Kuchma (1995-2005 โปรรัสเซีย), Viktor Yushchenko (2005-2010 โปร NATO), Viktor Yanukovych (2010-2014 โปรรัสเซีย), Petro Poroshenko (2014-2019) และ Volodymyr Zelenskyy (2019- ปัจจุบัน) แน่นอนว่า 2 คนสุดท้ายโปร NATO อย่างยิ่งยวด ล้วนทำให้เราเห็นว่าผู้นำที่เลือกข้าง ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจภายนอกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ทำให้ตลอดมา แทนที่พวกเขาจะรักษาผลประโยชน์ของยูเครนเป็นหลัก พวกเขากลับต้องเอาอกเอาใจมหาอำนาจภายนอก และดึงยูเครนเข้าสู่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

    3. ผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย 4 ประเด็น 1) ความมั่นคงทางในมิติอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความมั่นคงแบบ Non-Traditional Security ที่เน้นความมั่นคงของมนุษย์ 2) ความมั่งคั่งที่หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีการเจริญเติบโต และมีการจัดสรรที่เป็นธรรม 3) การขยายพลังอำนาจของชาติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การทหาร และ สุดท้ายที่อาจจะสำคัญที่สุด นั่นคือ 4) ความภาคภูมิใจของชาติ (บางพื้นที่ บางชนชาติ อาจจะไม่ได้รับรองเป็นประเทศ อาจจะไม่มีแผ่นดิน แต่พวกเขาก็ยังคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง ลองนึกถึง ชาวปาเลสไตน์ ชาวไต้หวัน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ)

    4. แต่เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่ได้รับการรักษาผลประโยชน์ เพราะผู้นำต้องเลือกข้างรับใช้มหาอำนาจที่มีอิทธิพลเหนือกว่า เมื่อประชาชนถูกปลุกปั่นแทรกแซงให้เลือกข้าง ให้แตกแยก ในที่สุด อย่างกรณีของยูเครน ความมั่นคงก็กำลังสูญเสียดินแดน ซึ่งคงไม่สามารถกลับไปมีดินแดนเหมือนก่อนปี 2014 ได้ ในเรื่องความมั่งคั่ง คงไม่ต้องพูดถึง เพราะมหาอำนาจที่เคยสนับสนุนนั่นเองที่ตอนนี้กำลังจะกลับมาของสูบเลือด สูบทรัพยากร มิพักต้องพูดถึงพลังอำนาจในมิติต่างๆ ที่วันนี้ประชาชนยูเครนก็อ่อนแรง หมดกำลังใจ และในที่สุดผู้นำก็ถูกเรียกมาโดนรุมแบบไร้ศักดิ์ศรีเช่นนี้

    5. คำถามคือ สำหรับประเทศไทย เราต้องช่วยกันระวังอย่างยิ่งยวด อย่าให้มีใครมาแทรกแซง ปลุกปั่น ต้องคอยเฝ้าระวังให้ผู้นำรักษาผลประโยชน์ของชาติ อย่าให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ของครอบครัว และผลประโยชน์ทางธุรกิจ

    6. นาทีนี้เราต้องการทีมประเทศไทยที่ประกอบขึ้นจาก 6 เสาหลักที่ทำงานสอดประสานกัน อันได้แก่

    1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ ไม่สับสนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศกับผลประโยชน์ของครอบครัวหรือของธุรกิจครอบครัว

    2. ผู้ตัดสินใจทางนโยบายในระดับสูงที่มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบการตัดสินใจ

    3. เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

    4. นักวิชาการที่ทำงานหนักแบบสหสาขาวิชา ให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้จริง และกล้าเปลืองตัวที่จะชี้นำสังคมผ่านการบริการวิชาการ

    5. ภาคเอกชน (แน่นอนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ) และภาคประชาสังคม (ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชน) ที่ต้องการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลสนับสนุนช่วยการตัดสินใจ

    6. สื่อสารมวลชนที่เข้มแข็ง กล้าหาญที่จะตรวจสอบ และนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือนแทรกแซง

    ที่มา ไทยโพสต์
    1 มี.ค.2568 - กรณี โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ไล่ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ออกจากทำเนียบขาว หลังจากโต้เถียงกัน ส่อแววล้มข้อตกลงสันติภาพ รวมทั้งข้อตกลงการเข้าถึงแร่หายาก ล่าสุด รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ถอดบทเรียนยูเครน: เมื่อผู้นำไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ ภาพความอัปยศอดสูที่ผู้นำยูเครน Zelenskyy ถูกเชิญไปรุมกินโต๊ะโดย ประธานาธิบดี Trump และรองประธานาธิบดี Vance รวมทั้งการเจรจาที่ชะงักงันและไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต้องประชาชนยูเครนที่สูญเสียทั้งชีวิต ดินแดน ทรัพยากร และที่สำคัญที่สุดคือ อนาคต ทำให้เราต้องมาถอดบทเรียน 1. ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศยูเครนมิได้เป็นตัวของตัวเองเนื่องจากถูกแทรกแซงผ่านกระบวนการการสงครามผสมผสาน (Hybrid Warfare) มาอย่างต่อเนื่อง ปั่นหัวให้ประชาชนยูเครนลุกฮือขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง 1) Orange Revolution 2004/2005 2) Euro Maidan 2014 และ 3) การลงประชามติของประชาชนในคาบสมุทร Crimea เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและในที่สุดขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทั้งหมดไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศ หากแต่ทั้งหมดเป็นเกมส์ของมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายยุโรป+สหรัฐ หรือฝ่ายรัสเซีย 2. ผู้นำของยูเครน ไม่ว่าจะเป็น Leonid Kuchma (1995-2005 โปรรัสเซีย), Viktor Yushchenko (2005-2010 โปร NATO), Viktor Yanukovych (2010-2014 โปรรัสเซีย), Petro Poroshenko (2014-2019) และ Volodymyr Zelenskyy (2019- ปัจจุบัน) แน่นอนว่า 2 คนสุดท้ายโปร NATO อย่างยิ่งยวด ล้วนทำให้เราเห็นว่าผู้นำที่เลือกข้าง ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจภายนอกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ทำให้ตลอดมา แทนที่พวกเขาจะรักษาผลประโยชน์ของยูเครนเป็นหลัก พวกเขากลับต้องเอาอกเอาใจมหาอำนาจภายนอก และดึงยูเครนเข้าสู่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ 3. ผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย 4 ประเด็น 1) ความมั่นคงทางในมิติอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความมั่นคงแบบ Non-Traditional Security ที่เน้นความมั่นคงของมนุษย์ 2) ความมั่งคั่งที่หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีการเจริญเติบโต และมีการจัดสรรที่เป็นธรรม 3) การขยายพลังอำนาจของชาติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การทหาร และ สุดท้ายที่อาจจะสำคัญที่สุด นั่นคือ 4) ความภาคภูมิใจของชาติ (บางพื้นที่ บางชนชาติ อาจจะไม่ได้รับรองเป็นประเทศ อาจจะไม่มีแผ่นดิน แต่พวกเขาก็ยังคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง ลองนึกถึง ชาวปาเลสไตน์ ชาวไต้หวัน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ) 4. แต่เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่ได้รับการรักษาผลประโยชน์ เพราะผู้นำต้องเลือกข้างรับใช้มหาอำนาจที่มีอิทธิพลเหนือกว่า เมื่อประชาชนถูกปลุกปั่นแทรกแซงให้เลือกข้าง ให้แตกแยก ในที่สุด อย่างกรณีของยูเครน ความมั่นคงก็กำลังสูญเสียดินแดน ซึ่งคงไม่สามารถกลับไปมีดินแดนเหมือนก่อนปี 2014 ได้ ในเรื่องความมั่งคั่ง คงไม่ต้องพูดถึง เพราะมหาอำนาจที่เคยสนับสนุนนั่นเองที่ตอนนี้กำลังจะกลับมาของสูบเลือด สูบทรัพยากร มิพักต้องพูดถึงพลังอำนาจในมิติต่างๆ ที่วันนี้ประชาชนยูเครนก็อ่อนแรง หมดกำลังใจ และในที่สุดผู้นำก็ถูกเรียกมาโดนรุมแบบไร้ศักดิ์ศรีเช่นนี้ 5. คำถามคือ สำหรับประเทศไทย เราต้องช่วยกันระวังอย่างยิ่งยวด อย่าให้มีใครมาแทรกแซง ปลุกปั่น ต้องคอยเฝ้าระวังให้ผู้นำรักษาผลประโยชน์ของชาติ อย่าให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ของครอบครัว และผลประโยชน์ทางธุรกิจ 6. นาทีนี้เราต้องการทีมประเทศไทยที่ประกอบขึ้นจาก 6 เสาหลักที่ทำงานสอดประสานกัน อันได้แก่ 1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ ไม่สับสนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศกับผลประโยชน์ของครอบครัวหรือของธุรกิจครอบครัว 2. ผู้ตัดสินใจทางนโยบายในระดับสูงที่มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบการตัดสินใจ 3. เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล 4. นักวิชาการที่ทำงานหนักแบบสหสาขาวิชา ให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้จริง และกล้าเปลืองตัวที่จะชี้นำสังคมผ่านการบริการวิชาการ 5. ภาคเอกชน (แน่นอนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ) และภาคประชาสังคม (ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชน) ที่ต้องการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลสนับสนุนช่วยการตัดสินใจ 6. สื่อสารมวลชนที่เข้มแข็ง กล้าหาญที่จะตรวจสอบ และนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือนแทรกแซง ที่มา ไทยโพสต์
    Like
    Love
    2
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 748 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถอดบทเรียนยูเครน: เมื่อผู้นำไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ
    .
    ภาพความอัปยศอดสูที่ผู้นำยูเครน Zelenskyy ถูกเชิญไปรุมกินโต๊ะโดย ประธานาธิบดี Trump และรองประธานาธิบดี Vance รวมทั้งการเจรจาที่ชะงักงันและไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต้องประชาชนยูเครนที่สูญเสียทั้งชีวิต ดินแดน ทรัพยากร และที่สำคัญที่สุดคือ อนาคต ทำให้เราต้องมาถอดบทเรียน
    .
    1. ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศยูเครนมิได้เป็นตัวของตัวเองเนื่องจากถูกแทรกแซงผ่านกระบวนการการสงครามผสมผสาน (Hybrid Warfare) มาอย่างต่อเนื่อง ปั่นหัวให้ประชาชนยูเครนลุกฮือขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง 1) Orange Revolution 2004/2005 2) Euro Maidan 2014 และ 3) การลงประชามติของประชาชนในคาบสมุทร Crimea เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและในที่สุดขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทั้งหมดไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศ หากแต่ทั้งหมดเป็นเกมส์ของมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายยุโรป+สหรัฐ หรือฝ่ายรัสเซีย
    .
    2. ผู้นำของยูเครน ไม่ว่าจะเป็น Leonid Kuchma (1995-2005 โปรรัสเซีย), Viktor Yushchenko (2005-2010 โปร NATO), Viktor Yanukovych (2010-2014 โปรรัสเซีย), Petro Poroshenko (2014-2019) และ Volodymyr Zelenskyy (2019- ปัจจุบัน) แน่นอนว่า 2 คนสุดท้ายโปร NATO อย่างยิ่งยวด ล้วนทำให้เราเห็นว่าผู้นำที่เลือกข้าง ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจภายนอกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ทำให้ตลอดมา แทนที่พวกเขาจะรักษาผลประโยชน์ของยูเครนเป็นหลัก พวกเขากลับต้องเอาอกเอาใจมหาอำนาจภายนอก และดึงยูเครนเข้าสู่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
    .
    3. ผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย 4 ประเด็น 1) ความมั่นคงทางในมิติอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความมั่นคงแบบ Non-Traditional Security ที่เน้นความมั่นคงของมนุษย์ 2) ความมั่งคั่งที่หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีการเจริญเติบโต และมีการจัดสรรที่เป็นธรรม 3) การขยายพลังอำนาจของชาติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การทหาร และ สุดท้ายที่อาจจะสำคัญที่สุด นั่นคือ 4) ความภาคภูมิใจของชาติ (บางพื้นที่ บางชนชาติ อาจจะไม่ได้รับรองเป็นประเทศ อาจจะไม่มีแผ่นดิน แต่พวกเขาก็ยังคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง ลองนึกถึง ชาวปาเลสไตน์ ชาวไต้หวัน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ)
    .
    4. แต่เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่ได้รับการรักษาผลประโยชน์ เพราะผู้นำต้องเลือกข้างรับใช้มหาอำนาจที่มีอิทธิพลเหนือกว่า เมื่อประชาชนถูกปลุกปั่นแทรกแซงให้เลือกข้าง ให้แตกแยก ในที่สุด อย่างกรณีของยูเครน ความมั่นคงก็กำลังสูญเสียดินแดน ซึ่งคงไม่สามารถกลับไปมีดินแดนเหมือนก่อนปี 2014 ได้ ในเรื่องความมั่งคั่ง คงไม่ต้องพูดถึง เพราะมหาอำนาจที่เคยสนับสนุนนั่นเองที่ตอนนี้กำลังจะกลับมาของสูบเลือด สูบทรัพยากร มิพักต้องพูดถึงพลังอำนาจในมิติต่างๆ ที่วันนี้ประชาชนยูเครนก็อ่อนแรง หมดกำลังใจ และในที่สุดผู้นำก็ถูกเรียกมาโดนรุมแบบไร้ศักดิ์ศรีเช่นนี้
    .
    5. คำถามคือ สำหรับประเทศไทย เราต้องช่วยกันระวังอย่างยิ่งยวด อย่าให้มีใครมาแทรกแซง ปลุกปั่น ต้องคอยเฝ้าระวังให้ผู้นำรักษาผลประโยชน์ของชาติ อย่าให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ของครอบครัว และผลประโยชน์ทางธุรกิจ
    .
    6. นาทีนี้เราต้องการทีมประเทศไทยที่ประกอบขึ้นจาก 6 เสาหลักที่ทำงานสอดประสานกัน อันได้แก่
    1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ ไม่สับสนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศกับผลประโยชน์ของครอบครัวหรือของธุรกิจครอบครัว
    2. ผู้ตัดสินใจทางนโยบายในระดับสูงที่มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบการตัดสินใจ
    3. เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
    4. นักวิชาการที่ทำงานหนักแบบสหสาขาวิชา ให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้จริง และกล้าเปลืองตัวที่จะชี้นำสังคมผ่านการบริการวิชาการ
    5. ภาคเอกชน (แน่นอนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ) และภาคประชาสังคม (ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชน) ที่ต้องการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลสนับสนุนช่วยการตัดสินใจ
    6. สื่อสารมวลชนที่เข้มแข็ง กล้าหาญที่จะตรวจสอบ และนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือนแทรกแซง
    .
    ผมเขียนเรื่องยูเครนเอาไว้นานแล้วตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2022 at the beginning of the end ขอเอามาแปะอีกครั้งเพื่อเป็นข้อมูลประกอบครับ

    1. จากยูเครนสู่อาเซียน: กรณีศึกษา Hybrid Warfare (สงครามผสมผสาน) ที่ไทยต้องเฝ้าระวัง https://thestandard.co/asean-and-hybrid-warfare/
    2. จากยูเครนสู่ปัตตานี กรณี Gerasimov Doctrine และแผนบันได 7 ขั้น https://www.the101.world/ukraine-to-pattani/
    .
    Cr. รองศาสตราจารย์ ดร. ปิติ ศรีแสงนาม
    คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    ถอดบทเรียนยูเครน: เมื่อผู้นำไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ . ภาพความอัปยศอดสูที่ผู้นำยูเครน Zelenskyy ถูกเชิญไปรุมกินโต๊ะโดย ประธานาธิบดี Trump และรองประธานาธิบดี Vance รวมทั้งการเจรจาที่ชะงักงันและไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต้องประชาชนยูเครนที่สูญเสียทั้งชีวิต ดินแดน ทรัพยากร และที่สำคัญที่สุดคือ อนาคต ทำให้เราต้องมาถอดบทเรียน . 1. ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศยูเครนมิได้เป็นตัวของตัวเองเนื่องจากถูกแทรกแซงผ่านกระบวนการการสงครามผสมผสาน (Hybrid Warfare) มาอย่างต่อเนื่อง ปั่นหัวให้ประชาชนยูเครนลุกฮือขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง 1) Orange Revolution 2004/2005 2) Euro Maidan 2014 และ 3) การลงประชามติของประชาชนในคาบสมุทร Crimea เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและในที่สุดขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทั้งหมดไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศ หากแต่ทั้งหมดเป็นเกมส์ของมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายยุโรป+สหรัฐ หรือฝ่ายรัสเซีย . 2. ผู้นำของยูเครน ไม่ว่าจะเป็น Leonid Kuchma (1995-2005 โปรรัสเซีย), Viktor Yushchenko (2005-2010 โปร NATO), Viktor Yanukovych (2010-2014 โปรรัสเซีย), Petro Poroshenko (2014-2019) และ Volodymyr Zelenskyy (2019- ปัจจุบัน) แน่นอนว่า 2 คนสุดท้ายโปร NATO อย่างยิ่งยวด ล้วนทำให้เราเห็นว่าผู้นำที่เลือกข้าง ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจภายนอกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ทำให้ตลอดมา แทนที่พวกเขาจะรักษาผลประโยชน์ของยูเครนเป็นหลัก พวกเขากลับต้องเอาอกเอาใจมหาอำนาจภายนอก และดึงยูเครนเข้าสู่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ . 3. ผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย 4 ประเด็น 1) ความมั่นคงทางในมิติอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความมั่นคงแบบ Non-Traditional Security ที่เน้นความมั่นคงของมนุษย์ 2) ความมั่งคั่งที่หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีการเจริญเติบโต และมีการจัดสรรที่เป็นธรรม 3) การขยายพลังอำนาจของชาติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การทหาร และ สุดท้ายที่อาจจะสำคัญที่สุด นั่นคือ 4) ความภาคภูมิใจของชาติ (บางพื้นที่ บางชนชาติ อาจจะไม่ได้รับรองเป็นประเทศ อาจจะไม่มีแผ่นดิน แต่พวกเขาก็ยังคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง ลองนึกถึง ชาวปาเลสไตน์ ชาวไต้หวัน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ) . 4. แต่เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่ได้รับการรักษาผลประโยชน์ เพราะผู้นำต้องเลือกข้างรับใช้มหาอำนาจที่มีอิทธิพลเหนือกว่า เมื่อประชาชนถูกปลุกปั่นแทรกแซงให้เลือกข้าง ให้แตกแยก ในที่สุด อย่างกรณีของยูเครน ความมั่นคงก็กำลังสูญเสียดินแดน ซึ่งคงไม่สามารถกลับไปมีดินแดนเหมือนก่อนปี 2014 ได้ ในเรื่องความมั่งคั่ง คงไม่ต้องพูดถึง เพราะมหาอำนาจที่เคยสนับสนุนนั่นเองที่ตอนนี้กำลังจะกลับมาของสูบเลือด สูบทรัพยากร มิพักต้องพูดถึงพลังอำนาจในมิติต่างๆ ที่วันนี้ประชาชนยูเครนก็อ่อนแรง หมดกำลังใจ และในที่สุดผู้นำก็ถูกเรียกมาโดนรุมแบบไร้ศักดิ์ศรีเช่นนี้ . 5. คำถามคือ สำหรับประเทศไทย เราต้องช่วยกันระวังอย่างยิ่งยวด อย่าให้มีใครมาแทรกแซง ปลุกปั่น ต้องคอยเฝ้าระวังให้ผู้นำรักษาผลประโยชน์ของชาติ อย่าให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ของครอบครัว และผลประโยชน์ทางธุรกิจ . 6. นาทีนี้เราต้องการทีมประเทศไทยที่ประกอบขึ้นจาก 6 เสาหลักที่ทำงานสอดประสานกัน อันได้แก่ 1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ ไม่สับสนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศกับผลประโยชน์ของครอบครัวหรือของธุรกิจครอบครัว 2. ผู้ตัดสินใจทางนโยบายในระดับสูงที่มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบการตัดสินใจ 3. เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล 4. นักวิชาการที่ทำงานหนักแบบสหสาขาวิชา ให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้จริง และกล้าเปลืองตัวที่จะชี้นำสังคมผ่านการบริการวิชาการ 5. ภาคเอกชน (แน่นอนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ) และภาคประชาสังคม (ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชน) ที่ต้องการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลสนับสนุนช่วยการตัดสินใจ 6. สื่อสารมวลชนที่เข้มแข็ง กล้าหาญที่จะตรวจสอบ และนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือนแทรกแซง . ผมเขียนเรื่องยูเครนเอาไว้นานแล้วตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2022 at the beginning of the end ขอเอามาแปะอีกครั้งเพื่อเป็นข้อมูลประกอบครับ 1. จากยูเครนสู่อาเซียน: กรณีศึกษา Hybrid Warfare (สงครามผสมผสาน) ที่ไทยต้องเฝ้าระวัง https://thestandard.co/asean-and-hybrid-warfare/ 2. จากยูเครนสู่ปัตตานี กรณี Gerasimov Doctrine และแผนบันได 7 ขั้น https://www.the101.world/ukraine-to-pattani/ . Cr. รองศาสตราจารย์ ดร. ปิติ ศรีแสงนาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    THESTANDARD.CO
    จากยูเครนสู่อาเซียน: กรณีศึกษา Hybrid Warfare (สงครามผสมผสาน) ที่ไทยต้องเฝ้าระวัง
    การสงครามผสมผสาน การสงครามผสมผสาน หรือ Hybrid Warfare เป็นยุทธศาสตร์ทางทหารซึ่งใช้การสงครามทางการเมือง และผสมรวมการสงครามตามแบบ (Conventional Warfare)
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 699 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยูเครนยอมตกลงในเงื่อนไขต่างๆ ในข้อตกลงแร่กับสหรัฐฯ และอาจลงนาม จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ยูเครนรายหนึ่ง ในความเคลื่อนไหวที่เคียฟได้แต่หวังว่าจะเป็นตัวปูทางสำหรับการรับประกันความมั่นคงจากวอชิงตันในอนาคต
    .
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เรียกร้องยูเครนเปิดทางให้อเมริกาเข้าถึงแร่แรร์เอิร์ธ สำหรับชดใช้เงินหลายแสนล้านดอลลาร์ ในความช่วยเหลือต่างๆ ในช่วงระหว่างสงคราม ในสมัยอดีตประธานาธิบดี โจ ไบเดน
    .
    แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูเครน เปิดเผยกับเอเอฟพี โดยไม่ประสงค์เอ่ยนามในช่วงค่ำวันอังคาร (25 ก.พ.) ว่าข้อตกลงนี้จะได้เห็นสหรัฐฯ ร่วมพัฒนาความมั่งคั่งทางแร่ธาตุของยูเครน ในขณะที่ผลกำไรจะไหลเข้าสู่กองทุนใหม่ที่จัดตั้งขึ้นมา ซึ่งจะเป็นกองทุนร่วมระหว่างยูเครนกับอเมริกา
    .
    รายงานข่าวระบุ แหล่งข่าวบอกด้วยว่าร่างข้อตกลงนี้ยังรวมไปถึงการพาดพิงถึง "ความมั่นคง" แต่ไม่กำหนดอย่างชัดเจนเกี่ยวกับพันธสัญญาของสหรัฐฯ หนึ่งข้อเรียกร้องหลักของเคียฟ สำหรับข้อตกลงนี้
    .
    "มีประโยคทั่วไปที่บอกว่าอเมริกาจะลงทุนในชาติอธิปไตยยูเครน ที่มีเสถียรภาพและความรุ่งเรือง และมันรับใช้สันติภาพที่ยั่งยืนและบอกว่าอเมริกาสนับสนุนความพยายามรับประกันความมั่นคง เวลานี้พวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลกำลังทำงานกันในรายละเอียด" แหล่งข่าวระบุ พร้อมบอกว่าประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน อาจลงนามในข้อตกลงนี้ ระหว่างเดินทางเยือนกรุงวอชิงตัน อย่างเร็วที่สุดในวันศุกร์ (28 ก.พ.)
    .
    ทรัมป์ เปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ครั้งใหญ่ นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนที่แล้ว หันไปเปิดการเจรจากับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ขณะเดียวกันก็ข่มขู่บรรดาพันธมิตรดั้งเดิมของวอชิงตัน
    .
    นอกจากนี้ ในวอชิงตันยังยืนอยู่ข้างรัสเซีย ณ เวทีสหประชาชาติ ในการลงมติใน 2 ญัตติเมื่อวันจันทร์ (24 ก.พ.) ในขณะที่พวกเขาหาทางหลีกเลี่ยงการประณามใดๆ ต่อกณีมอสโกรุกรานยูเครนเมื่อ 3 ปีก่อน
    .
    ยูเครน หวังว่าข้อตกลงแร่จะช่วยปรับปรุงความสัมพันธ์กับรัฐบาลทรัมป์ ซึ่งมึนตึงมากขึ้นเรื่อยๆ ท่ามกลางสงครามน้ำลายระหว่างเซเลนสกีกับผู้นำสหรัฐฯ
    .
    เมื่อเดือนที่แล้ว ทรัมป์ ตราหน้า เซเลนสกี ว่าเป็น "เผด็จการ" และเรียกร้องให้เขาดำเนินการอย่างรวดเร็วในการยุติสงคราม หนึ่งวันหลังจากพวกเจ้าหน้าที่รัสเซียและสหรัฐฯ เปิดการพูดคุยหารือกันในซาอุดีอาระเบีย โดยที่ยูเครนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ
    .
    จากนั้นในวันเสาร์ (22 ก.พ.) ณ ที่ประชุมของฝ่ายอนุรักษนิยม ทรัมป์เน้นย้ำอีกครั้งว่าเขากำลังพยายามทวงเงินความช่วยเหลือหลายแสนล้านดอลลาร์ ที่ส่งไปสนับสนุนยูเครนทำสงครามกับรัสเซีย หลัง เซเลนสกี กล่าวหาผู้นำสหรัฐฯ กำลังใช้ชีวิตอยู่ใน "ฟองสบู่แห่งการบิดเบือนข้อมูลของรัสเซีย"
    .
    ก่อนหน้านี้ ทรัมป์ เคยเรียกร้องขอแร่แร์เฮิร์ธ มูลค่า 500,000 ล้านดอลลาร์ แลกกับความช่วยเหลือที่เคยมอบให้เคียฟ ตัวเลขที่ยูเครนลังเลที่จะตอบรับ และไม่สอดคล้องกับตัวเลขความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ
    .
    แหล่งข่าวบอกว่าวอชิงตันตัดข้อแม้นี้ออกไป เช่นเดียวกับเงื่อนไขอื่นๆ ที่ไม่เอื้ออำนวยกับยูเครน "พวกเขาถอนเงื่อนไขทั้งหมดที่ไม่เหมาะกับเรา"
    .
    อ้างอิงข้อมูลอย่างเป็นทางการ สหรัฐฯ มอบเงินช่วยเหลือทางทหารแก่เคียฟไปแล้วมากกว่า 60,000 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่รัสเซียรุกราน ถือเป็นสัดส่วนใหญ่ที่สุดในหมู่พันธมิตรของเคียฟ แต่ต่ำกว่าตัวเลข 500,000 ล้านดอลลาร์ ตามที่ทรัมป์กล่าวอ้าง
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000018794
    ..............
    Sondhi X
    ยูเครนยอมตกลงในเงื่อนไขต่างๆ ในข้อตกลงแร่กับสหรัฐฯ และอาจลงนาม จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ยูเครนรายหนึ่ง ในความเคลื่อนไหวที่เคียฟได้แต่หวังว่าจะเป็นตัวปูทางสำหรับการรับประกันความมั่นคงจากวอชิงตันในอนาคต . ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เรียกร้องยูเครนเปิดทางให้อเมริกาเข้าถึงแร่แรร์เอิร์ธ สำหรับชดใช้เงินหลายแสนล้านดอลลาร์ ในความช่วยเหลือต่างๆ ในช่วงระหว่างสงคราม ในสมัยอดีตประธานาธิบดี โจ ไบเดน . แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูเครน เปิดเผยกับเอเอฟพี โดยไม่ประสงค์เอ่ยนามในช่วงค่ำวันอังคาร (25 ก.พ.) ว่าข้อตกลงนี้จะได้เห็นสหรัฐฯ ร่วมพัฒนาความมั่งคั่งทางแร่ธาตุของยูเครน ในขณะที่ผลกำไรจะไหลเข้าสู่กองทุนใหม่ที่จัดตั้งขึ้นมา ซึ่งจะเป็นกองทุนร่วมระหว่างยูเครนกับอเมริกา . รายงานข่าวระบุ แหล่งข่าวบอกด้วยว่าร่างข้อตกลงนี้ยังรวมไปถึงการพาดพิงถึง "ความมั่นคง" แต่ไม่กำหนดอย่างชัดเจนเกี่ยวกับพันธสัญญาของสหรัฐฯ หนึ่งข้อเรียกร้องหลักของเคียฟ สำหรับข้อตกลงนี้ . "มีประโยคทั่วไปที่บอกว่าอเมริกาจะลงทุนในชาติอธิปไตยยูเครน ที่มีเสถียรภาพและความรุ่งเรือง และมันรับใช้สันติภาพที่ยั่งยืนและบอกว่าอเมริกาสนับสนุนความพยายามรับประกันความมั่นคง เวลานี้พวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลกำลังทำงานกันในรายละเอียด" แหล่งข่าวระบุ พร้อมบอกว่าประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน อาจลงนามในข้อตกลงนี้ ระหว่างเดินทางเยือนกรุงวอชิงตัน อย่างเร็วที่สุดในวันศุกร์ (28 ก.พ.) . ทรัมป์ เปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ครั้งใหญ่ นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนที่แล้ว หันไปเปิดการเจรจากับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ขณะเดียวกันก็ข่มขู่บรรดาพันธมิตรดั้งเดิมของวอชิงตัน . นอกจากนี้ ในวอชิงตันยังยืนอยู่ข้างรัสเซีย ณ เวทีสหประชาชาติ ในการลงมติใน 2 ญัตติเมื่อวันจันทร์ (24 ก.พ.) ในขณะที่พวกเขาหาทางหลีกเลี่ยงการประณามใดๆ ต่อกณีมอสโกรุกรานยูเครนเมื่อ 3 ปีก่อน . ยูเครน หวังว่าข้อตกลงแร่จะช่วยปรับปรุงความสัมพันธ์กับรัฐบาลทรัมป์ ซึ่งมึนตึงมากขึ้นเรื่อยๆ ท่ามกลางสงครามน้ำลายระหว่างเซเลนสกีกับผู้นำสหรัฐฯ . เมื่อเดือนที่แล้ว ทรัมป์ ตราหน้า เซเลนสกี ว่าเป็น "เผด็จการ" และเรียกร้องให้เขาดำเนินการอย่างรวดเร็วในการยุติสงคราม หนึ่งวันหลังจากพวกเจ้าหน้าที่รัสเซียและสหรัฐฯ เปิดการพูดคุยหารือกันในซาอุดีอาระเบีย โดยที่ยูเครนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ . จากนั้นในวันเสาร์ (22 ก.พ.) ณ ที่ประชุมของฝ่ายอนุรักษนิยม ทรัมป์เน้นย้ำอีกครั้งว่าเขากำลังพยายามทวงเงินความช่วยเหลือหลายแสนล้านดอลลาร์ ที่ส่งไปสนับสนุนยูเครนทำสงครามกับรัสเซีย หลัง เซเลนสกี กล่าวหาผู้นำสหรัฐฯ กำลังใช้ชีวิตอยู่ใน "ฟองสบู่แห่งการบิดเบือนข้อมูลของรัสเซีย" . ก่อนหน้านี้ ทรัมป์ เคยเรียกร้องขอแร่แร์เฮิร์ธ มูลค่า 500,000 ล้านดอลลาร์ แลกกับความช่วยเหลือที่เคยมอบให้เคียฟ ตัวเลขที่ยูเครนลังเลที่จะตอบรับ และไม่สอดคล้องกับตัวเลขความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ . แหล่งข่าวบอกว่าวอชิงตันตัดข้อแม้นี้ออกไป เช่นเดียวกับเงื่อนไขอื่นๆ ที่ไม่เอื้ออำนวยกับยูเครน "พวกเขาถอนเงื่อนไขทั้งหมดที่ไม่เหมาะกับเรา" . อ้างอิงข้อมูลอย่างเป็นทางการ สหรัฐฯ มอบเงินช่วยเหลือทางทหารแก่เคียฟไปแล้วมากกว่า 60,000 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่รัสเซียรุกราน ถือเป็นสัดส่วนใหญ่ที่สุดในหมู่พันธมิตรของเคียฟ แต่ต่ำกว่าตัวเลข 500,000 ล้านดอลลาร์ ตามที่ทรัมป์กล่าวอ้าง . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000018794 .............. Sondhi X
    Like
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2267 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์หวังสงครามในยูเครนใกล้จบลงเร็วๆ นี้ พร้อมคาดว่า เซเลนสกี้อาจเดินทางไปวอชิงตันในสัปดาห์นี้หรือสัปดาห์หน้าเพื่อทำข้อตกลงเกี่ยวกับเหมืองแร่สำคัญในยูเครน ขณะที่มาครงตั้งข้อสังเกตระหว่างเยือนทำเนียบขาวว่า ข้อตกลงยุติสงครามไม่ควรหมายถึงการยอมแพ้สำหรับยูเครน
    .
    การพบกันระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของอเมริกา และประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครงของฝรั่งเศสเมื่อวันจันทร์ (24 ก.พ.) ซึ่งเป็นวันครบรอบ 3 ปีที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น เกิดขึ้นขณะที่ความสัมพันธ์สองฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกไร้ความแน่นอนอย่างยิ่งจากการที่ทรัมป์เปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของอเมริกาครั้งใหญ่ และตัดยุโรปออกจากการเจรจายุติสงครามในยูเครน
    .
    แม้การพบกันระหว่างทรัมป์กับมาครงที่ทำเนียบขาวเป็นไปด้วยดี แต่อเมริกากับฝรั่งเศสกลับขัดแย้งกันเกี่ยวกับญัตติในสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่ระบุว่า รัสเซียเป็นผู้รุกรานในสงครามยูเครน
    .
    ระหว่างการหารือภาพรวมเกี่ยวกับความขัดแย้งในยูเครน ทรัมป์แสดงความเชื่อมั่นว่า ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย จะยอมให้ยุโรปมีส่วนร่วมในกองกำลังสันติภาพในยูเครน เขายังหวังว่า สงครามจะจบลงภายในไม่กี่สัปดาห์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ของยูเครน อาจเดินทางไปวอชิงตันในสัปดาห์นี้หรือสัปดาห์หน้าเพื่อเซ็นข้อตกลงเปิดทางให้อเมริกาเข้าถึงแร่ธาตุสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ การแพทย์ และเทคโนโลยีของอเมริกา
    .
    ทรัมป์กำลังผลักดันข้อตกลงทางเศรษฐกิจเพื่อให้ยูเครนชดใช้เงินบางส่วนที่อเมริกาให้ความช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มต้นสงครามรวม 180,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่เคียฟต้องการให้ข้อตกลงดังกล่าวครอบคลุมการรับประกันความมั่นคงในอนาคต ทว่า ทรัมป์ไม่ได้ระบุชัดเจนว่า ข้อตกลงที่จะเกิดขึ้นจะรวมข้อเรียกร้องดังกล่าวหรือไม่
    .
    ทางด้านมาครงยอมรับระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับทรัมป์ว่า ประเทศยุโรปต้องยกระดับการปกป้องภูมิภาค แต่เตือนว่า ข้อตกลงสันติภาพต้องไม่ได้หมายถึงการยอมจำนน แต่ต้องเคารพอธิปไตย รวมทั้งต้องมีการรับประกันความมั่นคงของยูเครน
    .
    ผู้นำฝรั่งเศสตัดขาดการสื่อสารโดยตรงกับปูตินนับจากรัสเซียโจมตีเมืองบูชาอย่างโหดร้ายในช่วงต้นสงคราม กระนั้น เขายอมรับว่า ขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากคณะบริหารชุดใหม่ของอเมริกา ซึ่งหมายถึงบริบทใหม่จึงมีเหตุผลอันควรที่ทรัมป์จะฟื้นการติดต่อกับปูติน
    .
    ทางฝ่ายปูตินนั้นกล่าวในวันจันทร์ว่า ยังไม่ได้หารือเรื่องการแก้ไขความขัดแย้งกับยูเครนอย่างละเอียดกับทรัมป์ รวมทั้งยังไม่มีการหารือในคณะเจรจารัสเซีย-อเมริกาที่ซาอุดีอาระเบียสัปดาห์ที่แล้ว ผู้นำรัสเซียยังเสริมว่า รัสเซียไม่ได้ตัดชาติยุโรปออกจากการเจรจาสันติภาพ
    .
    การหารือที่ทำเนียบขาวครั้งนี้เกิดขึ้นขณะที่ยุโรปกำลังกังวลหนักเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกาภายใต้การนำของทรัมป์
    .
    นับจากเข้ารับตำแหน่งสมัยที่สอง ทรัมป์ต้องการครอบครองกรีนแลนด์ แคนาดา กาซา และคลองปานามา นอกจากนั้นประธานาธิบดีที่ชูนโยบาย “อเมริกาต้องมาก่อน” ผู้นี้ยังครอบงำจุดยืนของอเมริกาที่เคยเป็นมิตรท่ามกลางสถานการณ์โลกที่มีเสถียรภาพและต่อเนื่อง
    .
    เอียน เคลลี อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำจอร์เจียในคณะบริหารของอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา และทรัมป์สมัยแรก ชี้ว่า นโยบายต่อต้านผู้รุกรานของอเมริกาที่ดำเนินมา 80 ปีถูกทำลายย่อยยับโดยปราศจากการหารือหรือไตร่ตรองใดๆ
    .
    นอกจากมาครงแล้ว ทรัมป์ยังมีกำหนดต้อนรับนายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษในวันพฤหัสบดี (27 ก.พ.) ซึ่งก่อนหน้านี้ทรัมป์ทำผู้นำยุโรปช็อกไปตามๆ กันด้วยการวิจารณ์เซเลนสกี้ว่า ล้มเหลวในการเจรจายุติสงคราม ซ้ำยังไม่ยอมเซ็นข้อตกลงให้อเมริกาเข้าถึงแร่ธาตุสำคัญของยูเครน
    .
    แรกทีเดียวนั้นเซเลนสกี้โวยว่า ข้อตกลงดังกล่าวไม่ครอบคลุมการรับประกันความมั่นคง แต่ต่อมาเมื่อวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) เขาโพสต์บนเอ็กซ์ว่า มีความคืบหน้าอย่างมาก แต่ยูเครนยังต้องการข้อตกลงทางเศรษฐกิจที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบรับประกันความปลอดภัยสำหรับประเทศอย่างแท้จริง
    .
    ก่อนหน้านี้เซเลนสกี้ทำให้ทรัมป์หัวเสียมากจากการโจมตีผู้นำสหรัฐฯ ว่า ติดอยู่กับข้อมูลผิดๆ ของรัสเซีย และประมุขทำเนียบขาวตอกกลับโดยเรียกเซเลนสกี้ว่า “ผู้นำเผด็จการ” รวมทั้งกล่าวหาเคียฟเป็นผู้เริ่มสงคราม ทั้งที่ความจริงรัสเซียเป็นฝ่ายเปิดฉากรุกรานยูเครนในเดือนกุมภาพันธ์ 2022
    .
    นอกจากนั้นเมื่อถูกผู้สื่อข่าวถามเมื่อวันจันทร์ว่า คิดว่าปูตินเป็นผู้นำเผด็จการด้วยหรือไม่นั้น ทรัมป์ตอบว่า ตนไม่ใช้คำนั้นพล่อยๆ
    .
    อเมริกายังงัดข้อกับพันธมิตรยุโรปในการประชุมยูเอ็น ด้วยการปฏิเสธที่จะกล่าวหาว่า รัสเซียรุกรานยูเครน ซึ่งอเมริกางดออกเสียงในการลงมติข้อเสนอของตนเอง หลังจากยุโรปที่นำโดยฝรั่งเศส สามารถผลักดันให้มีการระบุชัดเจนว่า รัสเซียเป็นผู้รุกราน
    .
    ก่อนพบกับทรัมป์ มาครงบอกว่า เขาตั้งใจแจ้งกับผู้นำสหรัฐฯ ว่า ไม่ควรยอมอ่อนข้อให้ปูติน ทั้งนี้ เพื่อผลประโยชน์ของคนอเมริกันและยุโรป
    .
    เมื่อไม่นานมานี้ ทรัมป์ประกาศชัดเจนว่า ต้องการให้รัสเซียกลับเข้าร่วมจี7 หลังจากถูกระงับสมาชิกภาพในจี8 นับจากเข้าผนวกแคว้นไครเมียของยูเครนในปี 2014
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000018788
    ..............
    Sondhi X
    ทรัมป์หวังสงครามในยูเครนใกล้จบลงเร็วๆ นี้ พร้อมคาดว่า เซเลนสกี้อาจเดินทางไปวอชิงตันในสัปดาห์นี้หรือสัปดาห์หน้าเพื่อทำข้อตกลงเกี่ยวกับเหมืองแร่สำคัญในยูเครน ขณะที่มาครงตั้งข้อสังเกตระหว่างเยือนทำเนียบขาวว่า ข้อตกลงยุติสงครามไม่ควรหมายถึงการยอมแพ้สำหรับยูเครน . การพบกันระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของอเมริกา และประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครงของฝรั่งเศสเมื่อวันจันทร์ (24 ก.พ.) ซึ่งเป็นวันครบรอบ 3 ปีที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น เกิดขึ้นขณะที่ความสัมพันธ์สองฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกไร้ความแน่นอนอย่างยิ่งจากการที่ทรัมป์เปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของอเมริกาครั้งใหญ่ และตัดยุโรปออกจากการเจรจายุติสงครามในยูเครน . แม้การพบกันระหว่างทรัมป์กับมาครงที่ทำเนียบขาวเป็นไปด้วยดี แต่อเมริกากับฝรั่งเศสกลับขัดแย้งกันเกี่ยวกับญัตติในสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่ระบุว่า รัสเซียเป็นผู้รุกรานในสงครามยูเครน . ระหว่างการหารือภาพรวมเกี่ยวกับความขัดแย้งในยูเครน ทรัมป์แสดงความเชื่อมั่นว่า ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย จะยอมให้ยุโรปมีส่วนร่วมในกองกำลังสันติภาพในยูเครน เขายังหวังว่า สงครามจะจบลงภายในไม่กี่สัปดาห์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ของยูเครน อาจเดินทางไปวอชิงตันในสัปดาห์นี้หรือสัปดาห์หน้าเพื่อเซ็นข้อตกลงเปิดทางให้อเมริกาเข้าถึงแร่ธาตุสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ การแพทย์ และเทคโนโลยีของอเมริกา . ทรัมป์กำลังผลักดันข้อตกลงทางเศรษฐกิจเพื่อให้ยูเครนชดใช้เงินบางส่วนที่อเมริกาให้ความช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มต้นสงครามรวม 180,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่เคียฟต้องการให้ข้อตกลงดังกล่าวครอบคลุมการรับประกันความมั่นคงในอนาคต ทว่า ทรัมป์ไม่ได้ระบุชัดเจนว่า ข้อตกลงที่จะเกิดขึ้นจะรวมข้อเรียกร้องดังกล่าวหรือไม่ . ทางด้านมาครงยอมรับระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับทรัมป์ว่า ประเทศยุโรปต้องยกระดับการปกป้องภูมิภาค แต่เตือนว่า ข้อตกลงสันติภาพต้องไม่ได้หมายถึงการยอมจำนน แต่ต้องเคารพอธิปไตย รวมทั้งต้องมีการรับประกันความมั่นคงของยูเครน . ผู้นำฝรั่งเศสตัดขาดการสื่อสารโดยตรงกับปูตินนับจากรัสเซียโจมตีเมืองบูชาอย่างโหดร้ายในช่วงต้นสงคราม กระนั้น เขายอมรับว่า ขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากคณะบริหารชุดใหม่ของอเมริกา ซึ่งหมายถึงบริบทใหม่จึงมีเหตุผลอันควรที่ทรัมป์จะฟื้นการติดต่อกับปูติน . ทางฝ่ายปูตินนั้นกล่าวในวันจันทร์ว่า ยังไม่ได้หารือเรื่องการแก้ไขความขัดแย้งกับยูเครนอย่างละเอียดกับทรัมป์ รวมทั้งยังไม่มีการหารือในคณะเจรจารัสเซีย-อเมริกาที่ซาอุดีอาระเบียสัปดาห์ที่แล้ว ผู้นำรัสเซียยังเสริมว่า รัสเซียไม่ได้ตัดชาติยุโรปออกจากการเจรจาสันติภาพ . การหารือที่ทำเนียบขาวครั้งนี้เกิดขึ้นขณะที่ยุโรปกำลังกังวลหนักเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกาภายใต้การนำของทรัมป์ . นับจากเข้ารับตำแหน่งสมัยที่สอง ทรัมป์ต้องการครอบครองกรีนแลนด์ แคนาดา กาซา และคลองปานามา นอกจากนั้นประธานาธิบดีที่ชูนโยบาย “อเมริกาต้องมาก่อน” ผู้นี้ยังครอบงำจุดยืนของอเมริกาที่เคยเป็นมิตรท่ามกลางสถานการณ์โลกที่มีเสถียรภาพและต่อเนื่อง . เอียน เคลลี อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำจอร์เจียในคณะบริหารของอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา และทรัมป์สมัยแรก ชี้ว่า นโยบายต่อต้านผู้รุกรานของอเมริกาที่ดำเนินมา 80 ปีถูกทำลายย่อยยับโดยปราศจากการหารือหรือไตร่ตรองใดๆ . นอกจากมาครงแล้ว ทรัมป์ยังมีกำหนดต้อนรับนายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษในวันพฤหัสบดี (27 ก.พ.) ซึ่งก่อนหน้านี้ทรัมป์ทำผู้นำยุโรปช็อกไปตามๆ กันด้วยการวิจารณ์เซเลนสกี้ว่า ล้มเหลวในการเจรจายุติสงคราม ซ้ำยังไม่ยอมเซ็นข้อตกลงให้อเมริกาเข้าถึงแร่ธาตุสำคัญของยูเครน . แรกทีเดียวนั้นเซเลนสกี้โวยว่า ข้อตกลงดังกล่าวไม่ครอบคลุมการรับประกันความมั่นคง แต่ต่อมาเมื่อวันอาทิตย์ (23 ก.พ.) เขาโพสต์บนเอ็กซ์ว่า มีความคืบหน้าอย่างมาก แต่ยูเครนยังต้องการข้อตกลงทางเศรษฐกิจที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบรับประกันความปลอดภัยสำหรับประเทศอย่างแท้จริง . ก่อนหน้านี้เซเลนสกี้ทำให้ทรัมป์หัวเสียมากจากการโจมตีผู้นำสหรัฐฯ ว่า ติดอยู่กับข้อมูลผิดๆ ของรัสเซีย และประมุขทำเนียบขาวตอกกลับโดยเรียกเซเลนสกี้ว่า “ผู้นำเผด็จการ” รวมทั้งกล่าวหาเคียฟเป็นผู้เริ่มสงคราม ทั้งที่ความจริงรัสเซียเป็นฝ่ายเปิดฉากรุกรานยูเครนในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 . นอกจากนั้นเมื่อถูกผู้สื่อข่าวถามเมื่อวันจันทร์ว่า คิดว่าปูตินเป็นผู้นำเผด็จการด้วยหรือไม่นั้น ทรัมป์ตอบว่า ตนไม่ใช้คำนั้นพล่อยๆ . อเมริกายังงัดข้อกับพันธมิตรยุโรปในการประชุมยูเอ็น ด้วยการปฏิเสธที่จะกล่าวหาว่า รัสเซียรุกรานยูเครน ซึ่งอเมริกางดออกเสียงในการลงมติข้อเสนอของตนเอง หลังจากยุโรปที่นำโดยฝรั่งเศส สามารถผลักดันให้มีการระบุชัดเจนว่า รัสเซียเป็นผู้รุกราน . ก่อนพบกับทรัมป์ มาครงบอกว่า เขาตั้งใจแจ้งกับผู้นำสหรัฐฯ ว่า ไม่ควรยอมอ่อนข้อให้ปูติน ทั้งนี้ เพื่อผลประโยชน์ของคนอเมริกันและยุโรป . เมื่อไม่นานมานี้ ทรัมป์ประกาศชัดเจนว่า ต้องการให้รัสเซียกลับเข้าร่วมจี7 หลังจากถูกระงับสมาชิกภาพในจี8 นับจากเข้าผนวกแคว้นไครเมียของยูเครนในปี 2014 . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000018788 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    10
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2428 มุมมอง 0 รีวิว
  • คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ขานรับญัตติหนึ่งที่ร่างโดยสหรัฐฯ ในวาระครบรอบ 3 ปี รัสเซียรุกรานยูเครน ที่ขอให้ใช้จุดยืนเป็นกลางในความขัดแย้งดังกล่าว ในขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังหาทางเป็นคนกลางสร้างสันติภาพ
    .
    ที่ผ่านมา สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 15 ชาติ ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้เกี่ยวกับความขัดแย้งในยูเครน สืบเนื่องจากรัสเซียมีอำนาจวีโต้ ในขณะที่ญัตติล่าสุดที่เสนอโดยสหรัฐฯ นั้น ได้รับเสียงสนับสนุน 10 เสียง ส่วนฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร กรีซ และสโลวีเนีย งดออกเสียง
    .
    "ญัตตินี้นำพาเราไปสู่เส้นทางแห่งสันติภาพ มันเป็นก้าวย่างแรก แต่เป็นก้าวย่างที่สำคัญ เป็นหนึ่งในก้าวย่างที่เราทุกคนควรภูมิใจ" โดโรธีย์ เชีย ผู้แทนทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติบอกกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ "ตอนนี้ เราต้องใช้มันสร้างอนาคตแห่งสันติเพื่อยูเครน รัสเซียและประชาคมนานาชาติ"
    .
    ในญัตติสั้นๆ ที่ไว้อาลัยผู้สูญเสียชีวิตในความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ได้เน้นย้ำถึงเจตจำนงของสหประชาชาติในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และหาทางออกในข้อพิพาทต่างๆ อย่างสันติ รวมถึงเรียกร้องให้ยุติความขัดแย้งอย่างรวดเร็วและแสวงหาสันติภาพอย่างยั่งยืน
    .
    ความพยายามเป็นคนกลางของทรัมป์ ก่อความกังวลแก่บรรดาพันธมิตรยุโรปและยูเครน ที่วิตกว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ มุ่งเน้นให้ความสำคัญแต่กับรัสเซียและกีดกันพวกเขาออกจากการเจรจาสันติภาพ
    .
    บาร์บารา วู้ดวาร์ด ผู้แทนทูตสหราชอาณาจักรประจำสหประชาชาติ บอกกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติว่า เงื่อนไขสำหรับสันติภาพในยูเครนเป็นสิ่งสำคัญ และต้องไม่ส่งสารผิดๆ ไปถึงผู้รุกราน "นี่คือเหตุผลว่าทำไมถึงไม่อาจมีความเท่าเทียมได้ระหว่างรัสเซียและยูเครน ในแนวทางที่คณะมนตรีกล่าวอ้างถึงสงครามนี้ ถ้าเราจะพบเส้นทางสันติภาพที่ยั่งยืน คณะมนตรีต้องพูดอย่างชัดเจนเกี่ยวกับที่มาที่ไปของสงคราม"
    .
    ก่อนหน้านี้ ที่ประชุมสมัชชาแห่งสหประชาติ 193 ประเทศ ปฏิเสธข้อเสนอของสหรัฐฯ ที่ขอให้ลดสุ้มเสียงแข็งกร้าวขององค์กรระหว่างประเทศแห่งนี้ ที่มีจุดยืนมาช้านานในการหนุนหลังอธิปไตย เอกราช ความเป็นหนึ่งเดียวกันและบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน และเรียกร้องสันติภาพที่ยั่งยืนและครอบคลุมตามกรอบของกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งถือเป็นตราสารสถาปนาองค์การแห่งนี้อย่างเป็นทางการ
    .
    ขณะเดียวกัน สมัชชาแห่งสหประชาติได้ขานรับญัตติ 2 ญัตติ หนึ่งในนั้นร่างโดยยูเครนและยุโรป ส่วนอีกหนึ่งร่างโดยสหรัฐฯ ที่ผ่านการปรับแก้โดยที่ประชุมสมัชชาแล้ว ในนั้นรวมถึงภาษาที่สนับสนุนยูเครน ทั้งนี้ผลโหวตดังกล่าวถือเป็นชัยชนะทางการทูตของยูเครนและยุโรป เหนือวอชิงตัน
    .
    "สงครามนี้ไม่เคยเป็นเรื่องเกี่ยวกับเฉพาะยูเครนเท่านั้น แต่มันเกี่ยวข้องกับสิทธิพื้นฐานของประเทศไหนในการอยู่รอด ในการเลือกเส้นทางของตนเองและในการมีชีวิตอยู่โดยปราศจากการรุกราน" มาเรียนา เบตซา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของยูเครน บอกกับที่ประชุมก่อนการโหวต
    .
    ญัตติที่ร่างโดยสหรัฐฯ ฉบับผ่านการปรับแก้แล้ว ได้รับเสียงสนับสนุนจากที่ประชุม 93 เสียง งดออกเสียง 73 เสียงและมี 8 เสียงที่โหวตคัดค้าน ขณะที่รัสเซียเองก็ล้มเหลวในการปรับแก้ร่างของสหรัฐฯ ในนั้นรวมถึงกรณีถูกพาดพิงเป็น "สาเหตุรากเหง้า" ของความขัดแย้ง
    .
    ส่วนญัตติที่ร่างโดยยูเครนและบรรดาชาติยุโรป ผ่านความเห็นชอบด้วยคะแนน 93 เสียง งดออกเสียง 65 เสียง และโหวตคัดค้าน 18 เสียง โดยนอกเหนือจากสหรัฐฯ แล้ว บางประเทศที่โหวตโน ได้แก่รัสเซีย เกาหลีเหนือและอิสราเอล
    .
    "วันนี้ สหายอเมริกาของเรา มองตัวเองว่าเป็นเส้นทางสู่สันติภาพในยูเครน แต่มันจะไม่ใช่เส้นทางที่ง่าย และมีอยู่หลายชาติที่พยายามเตะถ่วงการมาของสันติภาพให้ยืดเยื้อนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่พวกเขาไม่อาจหยุดยั้งเราได้" วาสซิลีย์ เนเบนเซีย ผู้แทนทูตรัสเซียประจำสหประชาชาติบอกกับที่ประชุม
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000018396
    ..............
    Sondhi X
    คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ขานรับญัตติหนึ่งที่ร่างโดยสหรัฐฯ ในวาระครบรอบ 3 ปี รัสเซียรุกรานยูเครน ที่ขอให้ใช้จุดยืนเป็นกลางในความขัดแย้งดังกล่าว ในขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังหาทางเป็นคนกลางสร้างสันติภาพ . ที่ผ่านมา สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 15 ชาติ ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้เกี่ยวกับความขัดแย้งในยูเครน สืบเนื่องจากรัสเซียมีอำนาจวีโต้ ในขณะที่ญัตติล่าสุดที่เสนอโดยสหรัฐฯ นั้น ได้รับเสียงสนับสนุน 10 เสียง ส่วนฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร กรีซ และสโลวีเนีย งดออกเสียง . "ญัตตินี้นำพาเราไปสู่เส้นทางแห่งสันติภาพ มันเป็นก้าวย่างแรก แต่เป็นก้าวย่างที่สำคัญ เป็นหนึ่งในก้าวย่างที่เราทุกคนควรภูมิใจ" โดโรธีย์ เชีย ผู้แทนทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติบอกกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ "ตอนนี้ เราต้องใช้มันสร้างอนาคตแห่งสันติเพื่อยูเครน รัสเซียและประชาคมนานาชาติ" . ในญัตติสั้นๆ ที่ไว้อาลัยผู้สูญเสียชีวิตในความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ได้เน้นย้ำถึงเจตจำนงของสหประชาชาติในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และหาทางออกในข้อพิพาทต่างๆ อย่างสันติ รวมถึงเรียกร้องให้ยุติความขัดแย้งอย่างรวดเร็วและแสวงหาสันติภาพอย่างยั่งยืน . ความพยายามเป็นคนกลางของทรัมป์ ก่อความกังวลแก่บรรดาพันธมิตรยุโรปและยูเครน ที่วิตกว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ มุ่งเน้นให้ความสำคัญแต่กับรัสเซียและกีดกันพวกเขาออกจากการเจรจาสันติภาพ . บาร์บารา วู้ดวาร์ด ผู้แทนทูตสหราชอาณาจักรประจำสหประชาชาติ บอกกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติว่า เงื่อนไขสำหรับสันติภาพในยูเครนเป็นสิ่งสำคัญ และต้องไม่ส่งสารผิดๆ ไปถึงผู้รุกราน "นี่คือเหตุผลว่าทำไมถึงไม่อาจมีความเท่าเทียมได้ระหว่างรัสเซียและยูเครน ในแนวทางที่คณะมนตรีกล่าวอ้างถึงสงครามนี้ ถ้าเราจะพบเส้นทางสันติภาพที่ยั่งยืน คณะมนตรีต้องพูดอย่างชัดเจนเกี่ยวกับที่มาที่ไปของสงคราม" . ก่อนหน้านี้ ที่ประชุมสมัชชาแห่งสหประชาติ 193 ประเทศ ปฏิเสธข้อเสนอของสหรัฐฯ ที่ขอให้ลดสุ้มเสียงแข็งกร้าวขององค์กรระหว่างประเทศแห่งนี้ ที่มีจุดยืนมาช้านานในการหนุนหลังอธิปไตย เอกราช ความเป็นหนึ่งเดียวกันและบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน และเรียกร้องสันติภาพที่ยั่งยืนและครอบคลุมตามกรอบของกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งถือเป็นตราสารสถาปนาองค์การแห่งนี้อย่างเป็นทางการ . ขณะเดียวกัน สมัชชาแห่งสหประชาติได้ขานรับญัตติ 2 ญัตติ หนึ่งในนั้นร่างโดยยูเครนและยุโรป ส่วนอีกหนึ่งร่างโดยสหรัฐฯ ที่ผ่านการปรับแก้โดยที่ประชุมสมัชชาแล้ว ในนั้นรวมถึงภาษาที่สนับสนุนยูเครน ทั้งนี้ผลโหวตดังกล่าวถือเป็นชัยชนะทางการทูตของยูเครนและยุโรป เหนือวอชิงตัน . "สงครามนี้ไม่เคยเป็นเรื่องเกี่ยวกับเฉพาะยูเครนเท่านั้น แต่มันเกี่ยวข้องกับสิทธิพื้นฐานของประเทศไหนในการอยู่รอด ในการเลือกเส้นทางของตนเองและในการมีชีวิตอยู่โดยปราศจากการรุกราน" มาเรียนา เบตซา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของยูเครน บอกกับที่ประชุมก่อนการโหวต . ญัตติที่ร่างโดยสหรัฐฯ ฉบับผ่านการปรับแก้แล้ว ได้รับเสียงสนับสนุนจากที่ประชุม 93 เสียง งดออกเสียง 73 เสียงและมี 8 เสียงที่โหวตคัดค้าน ขณะที่รัสเซียเองก็ล้มเหลวในการปรับแก้ร่างของสหรัฐฯ ในนั้นรวมถึงกรณีถูกพาดพิงเป็น "สาเหตุรากเหง้า" ของความขัดแย้ง . ส่วนญัตติที่ร่างโดยยูเครนและบรรดาชาติยุโรป ผ่านความเห็นชอบด้วยคะแนน 93 เสียง งดออกเสียง 65 เสียง และโหวตคัดค้าน 18 เสียง โดยนอกเหนือจากสหรัฐฯ แล้ว บางประเทศที่โหวตโน ได้แก่รัสเซีย เกาหลีเหนือและอิสราเอล . "วันนี้ สหายอเมริกาของเรา มองตัวเองว่าเป็นเส้นทางสู่สันติภาพในยูเครน แต่มันจะไม่ใช่เส้นทางที่ง่าย และมีอยู่หลายชาติที่พยายามเตะถ่วงการมาของสันติภาพให้ยืดเยื้อนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่พวกเขาไม่อาจหยุดยั้งเราได้" วาสซิลีย์ เนเบนเซีย ผู้แทนทูตรัสเซียประจำสหประชาชาติบอกกับที่ประชุม . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000018396 .............. Sondhi X
    Like
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2472 มุมมอง 0 รีวิว
  • อังเดร เยอร์มัค หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ทำเนียบประธานาธิบดียูเครน กล่าวบนเวทีเดียวกับเซเลนสกีว่า ไม่มีการประนีประนอมใดๆ เกี่ยวกับเอกราชบนดินแดน และอำนาจอธิปไตยของยูเครน:

    “ทั้งตัวประธานาธิบดี และทีมงานยังคงไม่เปลี่ยนแปลงเป้าหมาย นั่นคือจะไม่มีการประนีประนอมใดๆ เกี่ยวกับเอกราชบนดินแดน และอำนาจอธิปไตยของยูเครน หากมีการรับประกันความปลอดภัยที่แข็งแกร่งและไม่มีดินแดนใดตกเป็นของรัสเซีย มันจะทำให้ยูเครนก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดของสงครามอีกครั้ง”
    อังเดร เยอร์มัค หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ทำเนียบประธานาธิบดียูเครน กล่าวบนเวทีเดียวกับเซเลนสกีว่า ไม่มีการประนีประนอมใดๆ เกี่ยวกับเอกราชบนดินแดน และอำนาจอธิปไตยของยูเครน: “ทั้งตัวประธานาธิบดี และทีมงานยังคงไม่เปลี่ยนแปลงเป้าหมาย นั่นคือจะไม่มีการประนีประนอมใดๆ เกี่ยวกับเอกราชบนดินแดน และอำนาจอธิปไตยของยูเครน หากมีการรับประกันความปลอดภัยที่แข็งแกร่งและไม่มีดินแดนใดตกเป็นของรัสเซีย มันจะทำให้ยูเครนก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดของสงครามอีกครั้ง”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 220 มุมมอง 0 รีวิว
  • ‘ภูมิธรรม’ เผย ‘หลิว จงอี้’ ขอโทษคนไทย ทำรู้สึกถูกรุกล้ำอธิปไตย ยืนยันใช้ยาแรง ‘เมียนมา’
    https://www.thai-tai.tv/news/17250/
    ‘ภูมิธรรม’ เผย ‘หลิว จงอี้’ ขอโทษคนไทย ทำรู้สึกถูกรุกล้ำอธิปไตย ยืนยันใช้ยาแรง ‘เมียนมา’ https://www.thai-tai.tv/news/17250/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 218 มุมมอง 0 รีวิว
  • เชือดโจรไซเบอร์ อธิปไตยไทยไม่กระทบ เพื่อประโยชน์ระยะยาว : ข่าวลึกปมลับ 19/02/68
    เชือดโจรไซเบอร์ อธิปไตยไทยไม่กระทบ เพื่อประโยชน์ระยะยาว : ข่าวลึกปมลับ 19/02/68
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 489 มุมมอง 4 0 รีวิว
Pages Boosts