• เปรียบเทียบ แบบฝึกหัดนี้ กับ กรณี #เส้นแบ่งเขต ตาม #แผนที่ ใน #MOU2544 คุณว่าอย่างไร ?
    เปรียบเทียบ แบบฝึกหัดนี้ กับ กรณี #เส้นแบ่งเขต ตาม #แผนที่ ใน #MOU2544 คุณว่าอย่างไร ?
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 142 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    #ยกเลิก #MOU2544 #JC2544 เร็วที่สุด ถ้าโดน #กฎหมายปิดปาก แบบเดิม #ไทย ก็ #เสียดินแดน เสีย #พื้นที่ #ทะเล เสีย #ทรัพยากร ทางทะเลทั้งหมด ทั้ง #อาหารทะเล #น้ำมัน #แร่ธาตุ #พืชน้ำสัตว์น้ำ ฯลฯ #ประเทศไทย เคยเสีย #ดินแดน #อาณาเขต #อธิปไตย #เขาพระวิหาร เพราะ กฎหมายปิดปาก คือ การ #เงียบเฉย #ปล่อย และ #ไม่ปฏิเสธ #เส้นแบ่งเขต #พื้นที่ของไทย ที่ #เพื่อนบ้าน #รุกล้ำ เข้ามา #ศาลโลก ตัดสินว่า นั่นคือการ #ยอมรับ แล้ว ทำให้พื้นที่ที่โดนรุกตกเป็นของเพื่อนบ้านไปเลย … ในครั้งนี้ #เขมร กำลังทำแบบเดิม ขอถาม #ประชาชน #คนไทย #ทหาร #กองทัพ #กระทรวงการต่างประเทศ จะยังเฉย ยังปล่อย ไม่ยุ่ง ไม่เกี่ยว ไม่สนใจ เอาตัวรอด ก้มหน้าทำมาหากินแต่ตัวเอง แบบเดิมๆ อีกไหม?
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 438 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    ส.ค.ส.พระราชทาน ๒๕๔๗ “สามัคคีเป็นพลัง ค้ำจุนแผ่นดินไทย”.วันนี้ (9 ธันวาคม 2567) ผมและอาจารย์ปานเทพได้มอบเอกสารหนังสือร้องเรียนกึ่งๆกล่าวหาว่า รัฐบาลชุดนี้กำลังทำผิด เพราะ MOU44 มันเป็น MOU ขายชาติ .นี่คือส.ค.ส.๒๕๔๗ ยี่สิบปีที่แล้วที่รัชกาลที่ ๙ ได้ทรงเขียนขึ้นมา แล้วพระราชทานให้ประชาชนคนไทยได้รับทราบ ทรงเขียนว่า มีระเบิดทั่วไปหมด มีประเทศไทยประเทศเดียวไม่มี และที่สำคัญคือว่าท่านบอกว่า “สามัคคีเป็นพลังค้ำจุนแผ่นดินไทย” .พี่น้องลองดู ตรงนี้ถึงตรงนี้ เป็นพื้นที่ประเทศไทยที่พระองค์ทรงเขียนขึ้นมา และตัวจริงคือนี่คือแผนที่ประเทศไทย ถ้าเอาสองแผ่นประกบกันจะตรงกันเป๊ะ และภาพถัดไปเราเอาแผนที่ตัวจริงและพระบรมราชโองการลงตัวกันพอดี มีเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทยชัดเจน .ผมจะอ่านพระบรมราชโองการปี 2516 ให้ฟัง “ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย มีพระบรมราชโองการให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย .ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฏหมายระหว่างประเทศอันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไปและตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีปซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ ๒๙ เมษายน ค.ศ.๑๙๕๘ และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๑ .แผนที่และจุดต่อเนื่องที่กำหนดพิกัดภูมิศาสตร์ตามประกาศนี้มีเพื่อแสดงแนวทั่วไปของเส้นกำหนดไหล่ทวีป สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ ๒๙ เมษายน ค.ศ. ๑๙๕๘ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖ เป็นปีที่ ๒๘ ในรัชกาลปัจจุบัน”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 401 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    ส.ค.ส.พระราชทาน ๒๕๔๗ “สามัคคีเป็นพลัง ค้ำจุนแผ่นดินไทย” . วันนี้ (9 ธันวาคม 2567) ผมและอาจารย์ปานเทพได้มอบเอกสารหนังสือร้องเรียนกึ่งๆกล่าวหาว่า รัฐบาลชุดนี้กำลังทำผิด เพราะ MOU44 มันเป็น MOU ขายชาติ . นี่คือส.ค.ส.๒๕๔๗ ยี่สิบปีที่แล้วที่รัชกาลที่ ๙ ได้ทรงเขียนขึ้นมา แล้วพระราชทานให้ประชาชนคนไทยได้รับทราบ ทรงเขียนว่า มีระเบิดทั่วไปหมด มีประเทศไทยประเทศเดียวไม่มี และที่สำคัญคือว่าท่านบอกว่า “สามัคคีเป็นพลังค้ำจุนแผ่นดินไทย” . พี่น้องลองดู ตรงนี้ถึงตรงนี้ เป็นพื้นที่ประเทศไทยที่พระองค์ทรงเขียนขึ้นมา และตัวจริงคือนี่คือแผนที่ประเทศไทย ถ้าเอาสองแผ่นประกบกันจะตรงกันเป๊ะ และภาพถัดไปเราเอาแผนที่ตัวจริงและพระบรมราชโองการลงตัวกันพอดี มีเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทยชัดเจน . ผมจะอ่านพระบรมราชโองการปี 2516 ให้ฟัง “ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย มีพระบรมราชโองการให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย . ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฏหมายระหว่างประเทศอันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไปและตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีปซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ ๒๙ เมษายน ค.ศ.๑๙๕๘ และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๑ . แผนที่และจุดต่อเนื่องที่กำหนดพิกัดภูมิศาสตร์ตามประกาศนี้มีเพื่อแสดงแนวทั่วไปของเส้นกำหนดไหล่ทวีป สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ ๒๙ เมษายน ค.ศ. ๑๙๕๘ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖ เป็นปีที่ ๒๘ ในรัชกาลปัจจุบัน”
    Like
    Love
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 738 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    กองกำลังอิสราเอลยอมรับละเมิดข้อตกลงหยุดยิงจริง แต่อ้างว่าเป็นเพราะฮิซบอลเลาะห์ยั่วยุโดยแอบลักลอบกลับเข้ามาในพื้นที่ขัดแย้ง กองทัพอิสราเอล ออกมายอมรับว่า มีการละเมิดข้อตกลงหยุดยิงจริง แต่เป็นเพราะพบสมาชิกกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ แอบลักลอบกลับเข้ามาทางตอนใต้ของเลบานอนพร้อมยานพาหนะ ทำให้รถถังของอิสราเอล "จำเป็น" ต้องยิงโจมตีพื้นที่ 6 แห่งบริเวณพรมแดนในช่วงเช้าวานนี้ ซึ่งทั้งหมดอยู่ห่างจากเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างเลบานอนและอิสราเอลไม่เกิน 2 กิโลเมตร ทางด้านประชาชนในพื้นที่กล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่า พวกเขาเป็นเพียงชาวบ้านที่กลับเข้ามาที่บ้านพักและถิ่นฐานเดิมของพวกเขา หลังจากต้องอพยพออกไปนานหลายเดือน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 188 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    ## เพิกถอน MOU 2544 ยึดมั่นพระบรมราชโองการ ## .. .. โดยหลักการ พื้นที่อ้างสิทธิ์ สามารถทับซ้อนกันได้... . แต่ถ้ามีพื้นที่อ้างสิทธิ์ ทับซ้อนเกินความเป็นจริงไปมาก ทำให้อีกฝั่ง เสียสิทธิ์ โดยไม่ยึดตามหลักกฎหมายทะเลสากล สิ่งนี้รับไม่ได้... . MOU44 มีแผนที่แนบท้าย ซึ่งวาดเอาเองตามอำเภอใจ ของ กัมพูชา ตีเส้นผ่านเกาะกูด ทำให้พื้นที่ "น่านน้ำภายในอ่าวไทย" และ “ทะเลอาณาเขต” หายไป รวมทั้ง “เขตต่อเนื่อง” อีกด้วย . อีกทั้งยังเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพื้นที่อ้างสิทธิ์ที่ถูกต้องไป ทำให้เกิดพื้นที่อ้างสิทธิ์ ซึ่งเกิดการทับซ้อนเกินจริงไปมาก...!!! . ดังนั้น MOU44 มีโอกาสทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบบนเวทีโลก โดยมี กรณีเข้าพระวิหารเป็นตัวอย่างซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้ว เพียงเพราะแค่ ประเทศไทย ไม่เคยแสดงออก ไม่เคยปฎิเสธ ประเทศไทยก็สูญเสียเขาพระวิหารไปแล้ว สิ่งนี้เขาเรียกว่า “หลักกฎหมายปิดปาก” . อีกทั้ง MOU44 ซึ่งมีลักษณะ อันอาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐได้ ดังนั้น MOU44 จึงถือเป็นหนังสือสัญญา ที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา . ซึ่ง MOU44 ฉบับนี้ ชัดเจนที่สุดมาก ว่าไม่ได้เคยผ่านความเห็นชอบของสภาเลยแม้แต่นิดเดียว จึงเป็นการ ขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ . อีกทั้ง MOU44 ฉบับนี้ มีเนื้อหาขัดต่อ พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป ที่กำหนดวิธีการ ในการเจรจาไว้แล้ว ว่าจะต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายสากลระหว่างประเทศ ว่าด้วยทะเล เท่านั้น . ดังนั้น ด้วยเหตุผลที่ว่ามาทั้งหมดนี้ MOU44 จึงเป็น “โมฆะ” มาตั้งแต่ต้น มีผลเสมือนไม่เคยเกิดมีขึ้นบนโลกใบนี้มาก่อน ตั้งแต่โบราณกาลจวบกระทั่งอนาคต ตราบชั่วฟ้าดินสลาย...!!! ... ... 12 กรกฎาคม 2515 กัมพูชา ประกาศเขตไหล่ทวีป ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 รุกล้ำอธิปไตยไทย รุกล้ำทะเลอาณาเขต รุกล้ำทะเลต่อเนื่องไทย และ รุกล้ำเศรษฐกิจจำเพาะไทย... . โดยไม่เป็นไปตามหลักกฎหมายสากลว่าด้วยทะเล บทบัญญัติแห่งกรุงเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีป ค.ศ.1958...!!! . มีการนับโขดหิน ขึ้นมาอ้างเพื่อวาดเส้นไหล่ทวีปนี้ ซึ่งขัดกับ กฎหมาย UNCLOS ล่าสุดข้อหนึ่งที่ว่า ไม่ให้นับรวมโขดหินที่มนุษย์ไม่สามารถใช้ชีวิตอาศัยอยู่ได้ ในการขีดเส้นไหล่ทวีป... . ย้อนกลับไปในวันที่ 1 กรกฎาคม 2515 พระราชกฤษฎีกากัมพูชา ประกาศไหล่ทวีปฝ่ายเดียวจากหลักเขตที่ 73 อ้อมเกาะกูดของไทยเป็นรูปตัว U ลงนามโดย นายพล ลอนนอน . ขีดเส้นไหล่ทวีปประชิดเกาะกูด แต่...!!! . ยอมรับว่า เกาะกูด เป็นของประเทศไทย...!!! . โดยหลักกหมายสากลทางทะเล ถ้าเกาะกูดเป็นของประเทศไทยจริง...!!! . เกาะกูดก็ต้องมี... . 1.ทะเลอาณาเขต รอบเกาะกูด (12 ไมล์ทะเล) 2.ทะเลต่อเนื่องไทย (24 ไมล์ทะเล) . ดังนั้น ประเทศไทย เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนครั้งที่เสีย ปราสาทพระวิหาร ให้กัมพูชา... . จึงแก้เกมด้วยการประกาศ พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป ของประเทศไทยด้านอ่าวไทย โดย ในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นพระมหากัตริย์ เป็นพระประมุขแห่งรัฐ เป็นผู้นำสูงสุดแห่งรัฐ . โดยแผนที่นี้ ขีดเส้นไหล่ทวีปด้วยการ ลากจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเส้นฐานที่ใกล้ที่สุดระหว่าง เกาะกูด และ เกาะกง ลงไป เรียกว่า เส้นมัธยฐาน... . ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นไปตาม หลักกฎหมายทะเลสากล...!!! . พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป ฉบับบนี้ จึงความหมาย เป็นการ "ปฏิเสธเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย" . โดยใน พระบรมราชโองการ กำหนดชัดเจนว่า "การใช้สิทธิ์อธิปไตย ในการสำรวจแสวงผลประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย" จึงกำหนดเขตไล่ทวีปขึ้น . ให้เป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1958 และ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2511 . และ กำหนดวิธีการเจรจาไว้แล้วด้วยว่า ส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียง อันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีป . จะเป็นไปตามที่ตกลงกัน โดย...!!! . ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของ อนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1958 . เมื่อประเทศไทย ยึดหลักตามหลักกฎหมายทะเลสากล เส้นไหล่ทวีปที่ยึดจึงต้องเป็น เส้นไหล่ทวีป ที่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดไว้เท่านั้น...!!! . ดังนั้น เมื่อยึดเขตไหล่ทวีปตามหลักกฎหมายสากลทางทะเล...!!! . พลังงานภายใต้ แอ่งปัตตานี ตรงนั้น จึงต้องเป็นของประเทศไทย ทั้งหมด ตามกฎหมายสากลระหว่างประเทศว่าด้วยทะเล...!!! . ไม่จำเป็นต้องแบ่งให้ใครเลย... . https://www.youtube.com/watch?v=FyksvXqjj1s&t=124s
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 565 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    ดร.สุรเกียรติ์ยิ่งก่อข้อสงสัยรูป 1-2 มีเอกสารวิชาการเขียนโดย ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เกี่ยวกับ MOU44 เผยแพร่ในปี 2554 จุลสารความมั่นคงศึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ มีข้อมูลสำคัญที่ผมไม่รู้มาก่อนแต่ข้อมูลใหม่เหล่านี้ ยิ่งก่อข้อสงสัยในเจตนารมณ์ที่รัฐบาลของอดีตนายกฯทักษิณไปจัดทำ MOU44 🫡 ข้อสงสัยที่หนึ่ง กัมพูชาขีดเส้นเว้นเกาะกูดจริงหรือ?รูป 3-6 คือพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชา ผมเข้าใจมาตลอดว่า กัมพูชาขีดเส้นพาดผ่านเกาะกูด แต่ในเอกสารหน้า 6-9 ดร.สุรเกียรติ์วิเคราะห์ว่ากัมพูชาขีดเส้นเว้นเกาะกูดแผนที่รูป 6 ขยายไปเป็นรูป 7 ท่านเขียนว่าเส้นของกัมพูชาลากจากจุด A บนชายฝั่งมาจนถึงชายฝั่งเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วไปเริ่มเส้นต่อไปจากชายฝั่งเกาะกูดด้านตะวันตก ประกอบกับท่านเห็นว่า ในแผนที่มีการระบุชื่อเกาะกูดว่า Koh Kut (Siam) ซึ่งท่านอนุมาน'เป็นการบ่งบอกว่าเกาะกูดเป็นของประเทศไทย' ท่านจึงตีความว่า "ดังนั้น กัมพูชาไม่เคยอ้างอธิปไตยเหนือเกาะกูด"🧐 ผมโต้แย้ง:- ในรูป 3 พระราชกฤษฎีกา กัมพูชาระบุตั้งใจลากเส้นโดยอ้างอิงสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส คศ 1907 เพราะต้องการใช้ประโยชน์จากในสนธิสัญญาฯ มีข้อความ "ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด" ดังนั้น ถึงแม้ในรูป 7 ท่านตีความว่ากัมพูชาแสดงเจตนาไม่ต้องการให้เส้นผ่านเกาะกูด แต่อาจเป็นการตีความเข้าข้างตัวเอง🥶 ข้อสงสัย:- ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้แน่นอนว่า วันหน้ากัมพูชาจะไม่อ้างว่าไทยรับรู้ใน MOU44 แล้วว่า โดยสภาพความเป็นจริง เส้นนี้ย่อมมีเจตนาผ่านเกาะกูด เพราะ (ก) พระราชกฤษฎีกามีการอ้างอิงตำแหน่งแห่งหนที่ตั้งอยู่เฉพาะบนเกาะกูด และ(ข) ตรรกแห่งการตีเส้นเขตไหล่ทวีปที่ขาดแหว่งเป็นเส้นประ ไม่อยู่ในข้อใดในอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีป มีแต่เส้นต่อเนื่องทั้งนั้น🫡 ข้อสงสัยที่สอง กัมพูชายอมรับว่าเกาะกูดเป็นอธิปไตยของไทยจริงหรือ?ในเอกสารหน้า 35-36 ท่านเขียนว่า "ถึงแม้ว่าบันทึกความเข้าใจนี้จะไม่ถือว่าเป็นที่สิ้นสุดของการเจรจามีผลผูกพันทั้งสองประเทศเกี่ยวกับเส้นเขตทางทะเล แต่อย่างน้อยที่สุด ก็ถือเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการที่รัฐบาลกัมพูชาในปัจจุบันได้ยอมรับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ประเทศไทยมีอธิปไตยเหนือเกาะกูด" และ"ภายหลังจากการลงนามในบันทึกความเข้าใจแล้วนั้น ฝ่ายไทยก็ได้มอบหมายให้ผู้เขียนพยายามที่จะเจรจาในระดับรัฐมตรีเพื่อไม่ไม่ให้เส้นเขตแดนล้อมรอบเกาะกูดถูกกำหนดเป็นรูปตัว "U" ซึ่งผู้เขียนจำได้ว่าเคยหารือกับนาย ซก อาน รัฐมนตรีอาวุโสของกัมพูชา (ตำแหน่งในขณะนั้น) ว่าเหตุใดเส้นเขตแดนจึงมีโค้งเป็นเบ้าขนมครก เหตุใดจึงไม่เป็นเส้นตรง ซึ่งหมายความว่าจากหลักเขตแดนที่ 73 นั้น เส้นเขตทางทะเลควรจะลากจากลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นเส้นตรง และต้องไม่ลากผ่านเกาะกูด มิใช่ลากเส้นมาถึงเกาะกูดแล้ว จึงเกิดส่วนเว้าหลบอ้อมเกาะกูดไป ซึ่งในแง่ของไทยแล้วการลากเส้นเขตแดนเป็นเส้นตรงโดยไม่ผ่านกึ่งกลางของเกาะกูดจะมีผลทำให้อธิปไตยของเกาะกูดมีความชัดเจนมากขึ้น และทำให้อาณาเขตรวมของพื้นที่ทับช้อนทางทะเลมีขนาดเล็กลง ดังรูป 10 (เป็นเส้นประที่ลูกศรขี้ซึ่งแสดงอยู่ในรูป 8 )ซึ่งในเรื่องนี้อยู่ในระหว่างการที่ฝ่ายกัมพูชาจะขอความเห็นชอบจากผู้นำสูงสุดของกัมพูชา แต่ผู้เขียนได้พ้นหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคไปเสียก่อน"🧐 ผมโต้แย้ง:- กัมพูชาไม่ได้ยอมรับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่าประเทศไทยมีอธิปไตยเหนือเกาะกูด เพราะ(ก) ไม่มีข้อความเช่นนั้นแม้แต่คำเดียวปรากฏใน MOU44 กลับเป็นการตีความของท่านฝ่ายเดียว(ข) ถ้ากัมพูชายอมรับเช่นนั้นจริง เส้นจะต้องไม่เข้ามาใกล้เกาะกูด แต่จะต้องเอียงลงตะวันตกเฉียงใต้ ดังที่ท่านเองก็ยอมรับในบทความ🥶 ข้อสงสัย:- ในขณะที่ลงนามใน MOU44 ท่านทราบหรือไม่ว่า เส้นที่ถูกต้องคือไม่เข้ามาใกล้เกาะกูด? ถ้าทราบ ท่านไปลงนามทำไม?🫡 ข้อสงสัยที่สาม:- ฝ่ายไทยควรพอใจแผนผังแนบท้าย MOU44 จริงหรือ?ในเอกสารหน้า 35 ท่านเขียนว่า"ดังนั้น แผนผังแนบท้ายบันทึกความเข้าใจนี้จึงเป็นสิ่งที่ฝ่ายไทยพอใจเพราะแสดงถึงความคืบหน้าในการเจรจาจุดเริ่มต้นของการลงเส้นเขตทางทะเลจากหลักเขตแดนทางบกที่ตรงกับจุดยืนของไทย และเส้นที่ลากนั้นได้ยอมรับอธิปไตยของไทยเหนือเกาะกูด และยังยอมรับอธิบไตยของไทยเหนือทะเลอาณาเขตรอบๆ"🧐 ผมโต้แย้ง:- ไม่มีเหตุผลใดที่ไทยควรจะพอใจกับการแสดงแผนที่ซึ่งเป็นแผนผังแนบท้าย MOU44 เพราะแสดงเส้นของสองประเทศที่ไม่เท่าเทียมกัน คือเส้นของไทยประกาศตามอนุสัญญาเจนีวา ในขณะที่เส้นของกัมพูชาไม่เป็นเช่นนั้น🫡 ข้อสงสัยที่สี่:- ท่านรู้ว่า MOU44 เป็นโมฆะตั้งแต่ต้น หรือไม่?ในเอกสารหน้า 36 ท่านเขียนว่า"(5) บันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้ลงนามโดยผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาลของทั้งสองประเทศ จึงมีสถานะเป็นสนธิสัญญาตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969"🧐 ผมโต้แย้ง:- ตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะท่านในฐานะผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาลไทย ไปลงนามในสนธิสัญญา ..ทั้งที่มิได้มีการทูลเกล้าฯ และมีได้มีการนำเสนอรัฐสภาเสียก่อน เป็นการกระทำเกินอำนาจ ultra vires จึงไม่ผูกพันรัฐบาลไทย และทำให้ MOU44 เป็นโมฆะตั้งแต่ต้นผมเห็นว่าไม่มีเอกสารหลักฐานชิ้นไหน ที่มีความสำคัญเท่าชิ้นนี้อีกแล้ว🫡 ข้อสงสัยที่ห้า:- ทำไมท่านไม่แจ้งรัฐบาลว่ากัมพูชาตีความสนธิสัญญาฯ ผิด?ในเอกสารหน้า 11-12 ท่านวิเคราะห์ว่ากัมพูชาตีความสนธิสัญญาฯ เข้าข้างตัวเองว่าเป็นการแบ่งเขตทางทะเล แต่เจตนารมณ์เป็นเพียงเพื่อกำหนดเส้นแบ่งเขตทางบก ซึ่งตรงกับของผม 🧐 ผมโต้แย้ง:- ในเมื่อท่านรู้ดีอยู่แล้วว่าเส้นของกัมพูชาไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ท่านควรจะแจ้งให้รัฐบาลของท่านนายกทักษิณทราบ และกต.น่าจะแจ้งให้รัฐบาลต่างๆ ทราบ 🫡 ข้อสงสัยที่หก:- ท่านรู้หรือไม่ว่าเส้นของกัมพูชาขัดกับอนุสัญญาไหล่ทวีป?ข้อ 6 ในอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ไม่ได้อนุญาตการลากเส้นที่อ้างอิงสิทธิทางประวัติศาสตร์ดังเช่นกรณีขอทะเลอาณาเขต แต่กัมพูชากลับไปอ้างอิงสนธิสัญญาฯ เป็นสิทธิทางประวัติศาสตร์ ทั้งที่ไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ และขัดกับอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีปอย่างสิ้นเชิง🧐 ผมโต้แย้ง:- ในเมื่อท่านรู้ดีอยู่แล้วว่าเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาขัดกับอนุสัญญาไหล่ทวีป ทำไมท่านไม่โต้แย้งกัมพูชาเป็นลายลักษณ์อักษร?🫡 ข้อสงสัยที่เจ็ด:- ทำไมท่านไม่ดำเนินการตามขั้นตอนของพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย?ในเอกสารหน้า 36 ท่านเขียนว่า"ภายหลังจากที่ผู้เขียนได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ก็ได้รับทราบถึงผลการเจรจาร่วมกันในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และได้มีความเห็นตรงกันว่าควรมีการเปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการกับรัฐบาลกัมพูชาเนื่องจากเป็นประเทศเดียวที่ไทยยังไม่เคยเจรจาอย่างจริงจังเพื่อแสวงพาผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งๆ ที่ได้มีการเจรจากับรัฐบาลมาเลเซียและเวียดนามจนเสร็จสิ้นเรียบร้อยไปแล้ว ดังนั้น จึงได้มีการเริ่มเปิดการเจรจากับกัมพูชาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเขตพื้นที่ที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับช้อนกัน และการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมร่วมกันในพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย จนสามารถกำหนดแนวทางการเจรจาและการดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของทั้งสองประเทศที่เมืองเสียมราฐ เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2544 และนำไปสู่การลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ"🧐 ผมโต้แย้ง:- ประชาชนมีข้อสงสัยดังนี้(ก) ในลำดับขั้นตอนการจัดทำพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เริ่มต้นจากการเจรจาเส้นเขตแดนของทั้งสองประเทศให้เสร็จเรียบร้อยก่อน จึงจะได้อาณาเขตพื้นที่พัฒนาร่วมที่ยอมรับทั้งสองฝ่าย เป็นขั้นตอน ใช้ม้าลากรถแต่ลำดับขั้นตอนการจัดทำพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-กัมพูชา เริ่มต้นจากการกำหนดอาณาเขตพื้นที่พัฒนาร่วมขึ้นมาเอง เป็นการรีบร้อนลัดขั้นตอน ใช้รถลากม้า(ข) การเจรจากำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซีย ใช้เวลาหลายปี ท่านใช้เวลาเจรจากำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาเพียงสองสามเดือนส่อเจตนาชัดเจนว่าให้ความสำคัญลำดับหนึ่งแก่การแสวงหาประโยชน์ปิโตรเลียม จนมีความเสี่ยงเรื่องเขตแดนเกิดขึ้นการเร่งรีบเช่นนี้ ทำให้ประชาชนกังวลว่า มีวาระซ่อนเร้นแฝงอยู่ในการเจรจาหรือไม่🧐 ผมขอย้ำว่า เขียนบทความนี้ด้วยความเคารพ และหวังจะให้ประโยชน์แก่รัฐมนตรีพรรคร่วมอย่างเต็มที่เป็นสำคัญวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 646 มุมมอง 0 รีวิว
  • กัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีป ปี 2515 โดยยึดถือจากการวาดเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเล ที่ตนกำหนดขึ้นเอง โดยใช้หลักเขตที่ 73 บริเวณพรมแดนทางบกเป็นจุดเริ่มต้น ในการลากเส้นลงไปในทะเล ซึ่งเส้นดังกล่าวผ่าผ่านพื้นที่ทางใต้ของเกาะกูด ทำให้เกิดข้อขัดแย้งกับประเทศไทย ขณะที่ไทยไม่ยอมรับการประกาศดังกล่าว เนื่องจากกัมพูชาอ้างสิทธิโดยฝ่ายเดียว ไม่ได้อ้างอิงตามแนวทาง การกำหนดเขตแดนของอนุสัญญาระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) และอนุสัญญาเจนีวา 1958 ครับ​​​​​​
    กัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีป ปี 2515 โดยยึดถือจากการวาดเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเล ที่ตนกำหนดขึ้นเอง โดยใช้หลักเขตที่ 73 บริเวณพรมแดนทางบกเป็นจุดเริ่มต้น ในการลากเส้นลงไปในทะเล ซึ่งเส้นดังกล่าวผ่าผ่านพื้นที่ทางใต้ของเกาะกูด ทำให้เกิดข้อขัดแย้งกับประเทศไทย ขณะที่ไทยไม่ยอมรับการประกาศดังกล่าว เนื่องจากกัมพูชาอ้างสิทธิโดยฝ่ายเดียว ไม่ได้อ้างอิงตามแนวทาง การกำหนดเขตแดนของอนุสัญญาระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) และอนุสัญญาเจนีวา 1958 ครับ​​​​​​
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 236 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    ## มหาเทพ ชี้ MOU44 เป็นโมฆะ ## .. .. เจาะเด็ด เผ็ดลึก แสบสัน ทะลุกึ๋น ทะลวงเซี่ยงจี๊... . วันอังคาร ที่ 12/11/2567 อาจารย์ ปานเทพ ชี้ ไม่ต้องยกเลิก MOU44 เพราะ เป็นโมฆะ มาตั้งแต่ต้น...!!! ... ... ผมเดาว่าผมเข้าใจความหมายของ ทนายนกเขา และ อาจารย์ ปานเทพ นะครับ . เดี๋ยวผมจะ อธิบายเพิ่มเติมเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆนะครับ ยกตัวอย่าง... . ศักดิ์ของกฎหมายในประเทศไทย ไล่เรียงลำดับลงไปนะครับ คือ . 1.รัฐธรรมนูญ 2.พระราชบัญญัติ 3.พระราชกําหนด 4.พระราชกฎษฎีกา 5.กฎกระทรวง 6.ข้อบัญญัติ . พระราชบัญญัติ จะมีศักดิ์ต่ำกว่า รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ . และ พระราชกําหนด จะมีศักดิ์ต่ำกว่า พระราชบัญญัติ . หลักการคือ กฎหมาย ที่มีศักดิ์ต่ำกว่า จะบัญญัติขึ้น โดยมีเนื้อหา ขัด หรือ แย้ง กับ กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า ไม่ได้... . ซึ่งจะมีผลให้ กฎหมายที่บัญญัติขึ้นนั้น... . "ใช้บังคับไม่ได้...!!!" . เช่นเดียวกัน...!!! . เมื่อมี ประกาศ พระบรมราชโองการ ในหลวงรัชกาลที่ 9 "กำหนดเขตไหล่ทวีป ของประเทศไทย ด้านอ่าวไทย" . ซึ่งประกาศจริง ในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2516 และ ประกาศ ไว้ใน ราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2516 . มีสถานะเป็น พระบรมราชโองการ ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งว่า... . "สำหรับสิทธิอธิปไตยที่เป็นทะเลอาณาเขต ซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียง อันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขต และ เขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1958" . ซึ่งหมายความว่า... . การเจรจาต่างๆ เกี่ยวสิทธิอธิปไตยที่เป็นทะเลอาณาเขต ต้องเจรจาอยู่บน บทบัญญัติว่าด้วย "อนุสัญญาว่าด้วยทะเล กรุงเจนีวา" ซึ่งเป็นการยึดตามกฎหมายสากลระหว่างประเทศ เท่านั้น...!!! . เพราะฉะนั้น MOU44 ซึ่งเป็นเพียง หนังสือบันทึกความเข้าใจร่วมกัน ที่ยังไม่ได้ผ่านสภาด้วยซ้ำ . โดยมีนัยยะว่า รับรู้ถึง การขีดเส้นเขตแดนของ กัมพูชา ซึ่งไม่ได้ยึดหลักกฎหมายสากลอะไรเลย... . เท่ากับว่า มีเนื้อหา ขัด และ แย้ง กับประกาศ พระบรมราชโองการ ในหลวงรัชกาลที่ 9 "กำหนดเขตไหล่ทวีป ของประเทศไทย ด้านอ่าวไทย" . ดังนั้น MOU44 จึงจะ "ใช้บังคับไม่ได้" เพราะ เป็น "โมฆะ" มาตั้งแต่ต้น...!!! . มีผลเสมือน ไม่เคยมี MOU44 เกิดขึ้นบนโลกนี้มาก่อนเลยตั้งแต่แรก...!!! .... .... แต่ในการนี้เราคงจะต้อง Action ให้ใหญ่โตครับ ต้องการทำการให้เป็นประเด็นผ่านหน่วยงานของประเทศ ให้เป็นกิจลักษณะ... . จะได้ไม่โดนกฎหมายปิดปากเหมือนครั้ง ปราสาทเขาพระวิหาร อีก เพราะ กัมพูชาเขาวางเกมส์มาเป็น 10 ปีแล้ว... . ประเด็นนี้ เผ็ดร้อน ระดับ พริก 1 ล้าน เม็ด...!!! . ผมเองก็จะคอยติดตาม ข้อมูล หรือ แนวทางของ "สำนักบ้านพระอาทิตย์" ต่อไป ในงาน "ความจริงมีหนึ่งเดียว" ในวันที่ 24 พฤศจิกายน นี้ครับ . https://youtu.be/3ke7aL9gKi8?si=0iOYA_b8tW80bhBK
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 692 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    โฉมหน้าเจ้าตัวร้าย “กฤษฎีกากัมพูชา 1972” รุกล้ำอธิปไตยเกาะ/น่านน้ำไทย ! ________ . ใครที่บอกว่ากัมพูชาไม่เคย ”พูด“ อ้างกรรมสิทธิเหนือเกาะกูด และบรรดาคนไทยที่นำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นคือพวกคลั่งชาติ ลองพิจารณาอ่านเรื่องนี้สักนิด… . กัมพูชาอาจจะไม่เคย ”พูด“ อย่างเป็นทางการในนามรัฐบาล ไม่ว่าในยุคไหนระบอบอะไร แต่กัมพูชาลงมือ “ทำ” เลยอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยเมื่อ 52 ปีก่อนในช่วงสั้น ๆ ของรัฐบาลระบอบสาธารณรัฐ . และ “ผลแห่งการกระทำ” นั้นยังคงอยู่ ! . “กฤษฎีกาที่ 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972” . วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 . จอมพลลอนนอลลงนามในฐานะประธานาธิบดีสาธารณรัฐกัมพูชา หลังรัฐประหารโค่นล้มระบอบกษัตริย์ 2 ปี และก่อนพนมเปญแตกพ่ายแพ้ต่อคอมมิวนิสต์เขมรแดง 3 ปี . สารัตถะสำคัญอยู่ในมาตราแรก (Article Premier) ผมสรุปมาจากที่ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์เขียนไว้ในบทความของท่านเมื่อปี 2554 รวมทั้งการเสวนาที่สยามสมาคมในปีเดียวกันนั้น . วรรคแรกเป็นการอ้างฐานทางกฎหมาย . (1) อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีปลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 . (2) สนธิสัญญาสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และ… . (3) บันทึกการปักปันเขตแดนสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1908 รวมทั้ง… . (4) แผนที่เดินเรือของฝรั่งเศส 1972 มาตราส่วน 1:1,096,000 . กฤษฎีกา 1972 ระบุพิกัดของเขตไหล่ทวีปตามจุดอ้างอิงที่เกี่ยวกับ “เกาะกูด” รวมทั้ง “ทะเลอาณาเขต(ของไทย)“ โดยตรง . โดยในวรรคสอง (ย่อหน้าล่างสุดของกฤษฎีกาหน้าแรก) กล่าวว่าได้มีการปักปันเขตไหล่ทวีประหว่างไทยกับฝรั่งเศสแล้ว โดยทางทิศเหนือ ใช้เส้นตรงเชื่อมจุดชายแดนแผ่นดินที่จุด “A” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นที่ตั้งหลักเขตที่ 73) มายังจุดสูงสุดบนเกาะกูดที่เรียกว่าจุด “S” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการอ้างอิงจากหนังสือแนบท้ายสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 1) และลากต่อออกทะเลไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่เรียกว่าจุด “P” . โดยในตารางท้ายมาตราแรก (อยู่ตอนต้นของกฤษฎีกาหน้า 2) ได้กำหนดรายละเอียดของจุด “A“ และ “P” ไว้ . จุด ”A” คือจุดใต้สุดของการแบ่งเขตแดนทางบกตามสนธิสัญญาค.ศ. 1907 ก็คือหลักเขตที่ 73 นั่นเอง . จุด “P” กึ่งกลางอ่าวไทยนั้น กฤษฎีการะบุว่าเป็นจุดมัธยะ (หรือกึ่งกลาง) ระหว่างไหล่ทวีปของกัมพูชากับไทย . มาตราแรกโดยเฉพาะวรรคสองนี่แหละ “เท็จ” โดยสิ้นเชิง . เพราะไม่เคยมีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสกันมาก่อน โดยเฉพาะในช่วงค.ศ. 1907 หรือ 1908 ไม่เคยมีสนธิสัญญาเกี่ยวกับการนี้ ประวัติศาสตร์ฉบับไหนก็ไม่เคยระบุ กฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับอาณาเขตทางทะเลที่นานาชาติยึดถือกันเมื่อ 127 ปีก่อนก็ต่างกับปัจจุบัน ยุคนั้นยังไม่มีสิ่งที่นานาชาติกำหนดอาณาเขตทางทะเลขึ้นมาให้รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตยเหนือแล้วเรียกว่า “ไหล่ทวีป” เสียด้วยซ้ำ ไม่มีเขตต่อเนื่อง ไม่มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะ มีแค่ทะเลอาณาเขตระยะ 3 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง พ้นออกมาเป็นเขตทะเลหลวงที่เป็นเขตทะเลเสรีไม่มีประเทศใดมีสิทธิถือครองเป็นเจ้าของได้ . แต่สมมติแม้จะยึดกฎเกณฑ์ในยุคสมัยค.ศ. 1907 หากจะปักปันเขตแดนทางทะเลกัน การขีดเส้นแนว “A-S-P” เป็นอาณาเขตทางทะเลของอินโดจีนฝรั่งเศสก็ไม่ถูกและไม่มีกฎเกณฑ์ใดรองรับอยู่ดี เพราะระยะทางจากชายฝั่งถึงเกาะกูดประมาณ 19 ไมล์ทะเล เกิน 3 ไมล์ทะเลตั้งเยอะ อินโดจีนฝรั่งเศสจะไปถือสิทธิครอบครองเขตทะเลหลวงได้อย่างไร . การจงใจระบุพิกัดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อค.ศ. 1972 เช่นนี้คือการกระทำที่ละเมิดอธิปไตยไทยเหนือเกาะกูด ทั้งตัวเกาะ และทะเลอาณาเขต . ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์ กล่าวไว้ในงานเขียนของท่านว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการแบ่งเขตไหล่ทวีปโดยเส้นผ่าเกาะกูดซึ่งเป็นดินแดนทางบก เพราะไหล่ทวีปหมายถึงพื้นดินใต้ทะเลและใต้พื้นดินใต้ทะเล . ดังนั้น โอกาสที่แนว “A-S-P” จะถูกต้องมีอยู่เงื่อนไขเดียวเท่านั้น… . คือตัวเกาะกูดต้องเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่ง ! . ขอย้ำอีกครั้งว่า แนว “A-S-P” อันเป็นเส้นเขตไหล่ทวีปด้านเหนือของกัมพูชาตามกฤษฎีกา 1972 จะถูกต้องก็ต่อเมื่อตัวเกาะกูดเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่งเท่านั้น !! . แล้วประเทศไทยผู้ถูกรุกล้ำอธิปไตยจะ “ยอมรับ” ได้อย่างไร ? . แม้จะไม่ใช่การยอมรับใน “ความถูกต้อง” แค่ยอมรับ “การมีอยู่”, “การคงอยู่” เพื่อเป็นเพียง “กรอบ” ในการ “เจรจาเรื่องอื่น” ก็เถอะ !! . ตรงนี้จำเป็นต้องมีการพูดถึงแผนที่หรือแผนผัง 2 (+1) ฉบับที่นำมาลงเป็นภาพประกอบไว้ . ฉบับที่ 1 คือแผนที่เดินเรือฝรั่งเศสที่ใช้แนบท้ายกฤษฎีกา 1972 ไม่ได้มีการเขียนลากเส้นบนแผนที่พาดผ่านตัวเกาะกูดโดยตรง หากแต่ลากเป็นเส้นตรงออกมาจากชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดสุดเขตแดนทางบกของไทยกับกัมพูชามาหยุดที่ตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันออก แล้วลากเส้นตรงใหม่จากตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันตกตรงไปกลางอ่าวไทย แผนที่ทำนองนี้โดยทั่วไปเป็นแผนที่ใช้สำหรับกิจการในกองทัพเรือรวมถึงการเดินเรือไม่ใช่แผนที่แสดงเขตแดนใด ๆ ทั้งสิ้น เส้นตรงที่ลากผ่านเกาะกูดไปยังกลางอ่าวไทยในแผนที่นี้ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเส้นอะไร แต่กระนั้นตรงชื่อเกาะกูด (Koh Kut) ก็ยังมีวงเล็บต่อท้ายว่า “(Siam)” อย่างที่พอเห็นได้ จึงแสดงให้เห็นว่าในปีค.ศ. 1907 จนกระทั่งถึงวันคืนเอกราชให้ 3 ประเทศอินโดจีน ฝรั่งเศสไม่ได้มีความพยายาม “เคลม” กรรมสิทธิ์เหนือเกาะกูดแต่ประการใด เพราะในสนธิสัญญา 1907 ข้อ 2 อันเป็นสัญญาหลัก ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าเขายกให้เรา แลกกับ 3 มณฑลใหญ่ของกัมพูชาดังที่ทราบกันดี . ฉบับที่ 2 เป็นแผนที่ที่กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นแจกแก่ผู้สื่อข่าวเพื่อชี้แจงกฤษฎีกา 1972 ให้ชัดเจนขึ้น คราวนี้นอกจากตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไปเพื่อขับเน้นเฉพาะเส้นที่เสกสรรค์ปั้นแต่งว่าเป็นเขตไหล่ทวีปของตนแล้ว ยังเขียนเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรง . แผนที่ฉบับหลังนี้เข้าใจว่าเมื่อกระทรวงการต่างประเทศไทยได้รับ ก็นำมาทำใหม่เพื่อประกอบการศึกษาภายใน มีภาษาไทยกำกับ ยังคงแสดงเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรงตามเจตนาของต้นฉบับที่ฝ่ายกันพูชาจัดทำ . เช่นนี้แล้ว ใครที่ออกตัวรับรองว่ากัมพูชาไม่เคย “พูด” ไม่เคยอ้างสิทธิเหนือเกาะกูดน่ะจะว่าอย่างไร ? . เพราะการที่กัมพูชาลงมือ “ทำ” โดยกฤษฎีกา 1972 ตามที่เล่ามานี้มันยิ่งกว่า “พูด” เสียอีก ! . ไม่เคยได้ยินภาษิตที่ว่า “การกระทำดังกว่าคำพูด” หรือ ?!! . ณ ปีค.ศ. 1907 มีแต่การปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส . แต่แน่ละ มีการกล่าวถึงเกาะกูดไว้ในหนังสือติดท้ายสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 ข้อ 1 จริง แต่ก็เพียงเพื่อใช้เป็นจุดเล็งไปยังจุดใดจุดหนึ่งบนแผ่นดินชายหาดที่จะกำหนดให้ป็นหลักเขตที่ 73 เพราะบนแผ่นดินชายหาดบริเวณนั้นไม่มีภูมิประเทศใดที่ยั่งยืนพอให้เป็นที่สังเกตได้ . “เขตแดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามกับยอดเขาสูงที่สุดของเกาะกูดเป็นหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวาน….“ . แค่ข้อความที่ระบุว่า “ตั้งแต่ชายทะเล…” วิญญูชนย่อมเข้าใจได้ว่าหมายถึงแผ่นดิน-ไม่ใช่ทะเล แต่กัมพูชาในยุคจอมพลลอนนอลในปีค.ศ. 1972 ไปตีขลุมว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลแล้วในอดีต แล้วก็ตีเส้นตามอำเภอใจ เพื่อตีกินพื้นที่ทรัพยากรในอ่าวไทย . โดยในอีกทางหนึ่งก็ไปหยิบเอา ”เส้นประ“ (- - - - - - -) ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายหาดจังหวัดตราดในแผนที่ประกอบหนังสือติดท้ายสนธิสัญญาค.ศ. 1907 มาเป็นประเด็นอธิบายการแถระดับโลกของตัวเอง . หากดูภาพสุดท้ายจะพบมีเส้น ++++++ อันเป็นสัญลักษณ์สากลของเส้นแบ่งเขตแดน (boundary line) ตลอดแนวเขตแดนทางบกไทยกัมพูชา ขณะที่เส้นประ (dotted line) - - - - - - มีอยู่เพียงสั้น ๆ ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายทะเลจังหวัดตราดเท่านั้น ซึ่งเมื่อดูในบริบทของสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 วิญญูชนก็ย่อมเข้าใจได้ไม่ยากอีกเช่นกันว่าเป็นการแสดงจุดเล็งไปยังแผ่นดินเพื่อหาจุดที่ตั้งหลักเขตที่ 73 . การแถดังกล่าวกลายเป็นกรณีศึกษาทางวิชาการกันพอสมควรหลังปีค.ศ. 1972 และก็มีการยืนยันในข้อเท็จจริงแล้วอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากบุคคลระดับชนชั้นนำของกัมพูชาเอง . ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่ากฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชานี้ยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน ในฐานะที่เป็นประกาศของประมุขแห่งรัฐ . การที่แผนผังแนบท้าย MOU 2544 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ คือเส้นแนว “A-S-P” กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านบนของกัมพูชาไม่ได้เขียนแบบลากพาดผ่าน หรือเขียนแบบหยุดเว้นตัวเกาะ แต่เขียนประชิดติดตัวเกาะเว้าเป็นรูปตัว ”U” ทางทิศใต้แล้วก็ตาม นั่นหาเป็นผลแปรเปลี่ยนใด ๆ ไม่ เพราะด้านหนึ่งตัวกฤษฎีกา 1972 ยังคงอยู่ อีกด้านหนึ่งแนวเส้น “A-S-P” ยังคงอยู่ การละเมิดอธิปไตยเหนือตัวเกาะกูดและทะเลอาณาเขตของไทยยังคงอยู่ . มีหนำซ้ำเนื้อหาใน MOU 2544 ข้อ 5 ก็ระบุไว้ว่าการตกลงใด ๆ หากจะมีขึ้นไม่กระทบกระเทือนการอ้างสิทธิของแต่ละฝ่าย . พระอัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคุณต่อคนไทยจังหวัดจันทบุรีและตราดในองค์พระปิยมหาราชเจ้าช่วงวิกฤตกับฝรั่งเศสระหว่าง ร.ศ. 112 - 125 ทำให้ประเทศไทย ณ วันนี้มีฝั่งทะเลตะวันออกด้านอ่าวไทยยาวเหยียดจนแทบจะโอบล้อมแหล่งทรัพยากรไว้ได้ทั้งหมด - คนไทยต้องรักษาไว้ . ประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ของล้นเกล้าฯในหลวงรัชกาลที่ 9 สืบทอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระอัยกา - คนไทยต้องรักษาไว้ . . คำนูณ สิทธิสมาน 4 พฤศจิกายน 2567 ที่มา https://www.facebook.com/share/p/15CSsZXGkk/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    Sad
    5
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1424 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    ## มหาเทพ ซัด "บัวแก้ว" ตัดตอนพระบรมราชโองการ ในหลวงรัชกาลที่ 9 เรื่องเกาะกูด และ พื้นที่ทางทะเล...!!! ## .. .. วันอังคาร ที่ 05/11/2567 อาจารย์ ปานเทพ ละเอียดยิบ ชี้...!!! . กรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ แถลงการณ์ โดยมีการนำเสนอ ด้วยการ ทำกรอบสีแดง และไฮไลท์เน้นข้อความสีเหลือง . ซึ่ง อาจารย์ ปานเทพ ไม่สบายใจ ว่านี่ทำให้คนทั่วไป เข้าใจได้ว่าเป็นการ ตัดตอน พระบรมราชโองการ ในหลวงรัชกาลที่ 9...!!! . และ เป็นการส่งสัญญาณบางอย่างหรือไม่...??? . ซึ่ง พระบรมราชโองการนี้ ประกาศจริง ในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2516 และ ประกาศ ไว้ใน ราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2516 . โดย ฉบับเต็ม มีใจความตอนหนึ่งว่า... . "สำหรับสิทธิอธิปไตยที่เป็นทะเลอาณาเขต ซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียง อันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขต และ เขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1958" . และ ตีกรอบ ลงไฮไลท์ ตัดตอนลงเหลือเพียง... . "...สิทธิอธิปไตย...จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน..." . MOU44 เท่ากับประเทศไทยเปลี่ยนจุดยืนจากการปฏิเสธเส้นไหล่ทวีปของ กัมพูชา โดยพระบรมราชโองการ ของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 . กลายมาเป็น รับรู้ และ ไม่ปฏิเสธ เส้นเขตแดนที่ กัมพูชา วาดขึ้นตามอำเภอใจ โดยไม่ได้สนกฎหมายระหว่างประเทศอะไรเลย..!!! . ซ้ำ เปลี่ยนหลักการแบ่งเขตไหล่ทวีป จากการใช้บทบัญญัติของอนุสัญญา กรุงเจนีวา กลายเป็นใช้มูลฐานอื่น . นี่เป็นการ จงใจ เปิดโอกาส ให้มีการเจรจากัน นอกเหนือจากมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขต และ เขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ได้ ใช่หรือไม่...??? . ทั้งหมดนี้ ทำไปเพื่ออะไร...??? . ที่แท้ มีเจตนา อะไรกันแน่...??? . ในเมื่อประเทศไทย มีโอกาสที่จะสูญเสียผลประโยชน์ที่พึงมีพึงได้ จาก MOU44 อันเนื่องมาจาก หลักกฎหมายปิดปาก เช่นเดียวกับ กรณี เขาพระวิหาร... . เมื่อมีคนเสนอให้ยกเลิกไปซะ แต่รัฐบาลกลับ ปฏิเสธว่าทำไมได้...!!! . หึหึ... . คนเราผิดแล้ว รู้แก้ไข นั้น ถือเป็นผู้ตื่นรู้ครับ... . แต่ถ้าหากว่า มีคนเตือนแล้ว รู้ผิดแล้ว คงยังดึงดันที่จะเดินหน้าทำต่อให้ได้...!!! . แสดงว่าคนผู้นั้นมีเจตนาแอบแฝง ในการที่จะกระทำผิดต่อไป ใช่หรือไม่...??? . นี่ผลประโยชน์ของชาตินะครับ ประเด็นนี้ เผ็ดร้อน ระดับ พริก 1 ล้านเม็ด...!!! . https://youtu.be/yy-kEcRaovY?si=uQ8KFo1yAI9dSdng . https://mgronline.com/daily/detail/9670000102716 . https://mgronline.com/politics/detail/9670000106616
    Like
    Love
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 783 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    ทำไมกระทรวงการต่างประเทศ ถึงบังอาจแถลงข่าวตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9?/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ จากเอกสารของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ในประเด็นพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน น่าประหลาดใจตรงที่มีการนำเสนอสไลด์ลำดับที่ 12 ในหัวข้อภาพว่า “พระบรมราชโองการการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516“ โดยทั้งข้อความมีการขีดเส้นว่า “สิทธิอธิปไตย” ในตอนต้นของพระบรมราชโองการ และมีการนำเสนอพระบรมราชโองการย่อหน้าที่ 3 โดยการ “เน้น”เป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงว่า “จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน“ อีกทั้งยังได้มีแถบไฮไลท์สีเหลืองเพื่อเน้นย้ำว่า “เป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน”ด้วย การเขียนข้อความดังกล่าวอาจทำให้สังคมหรือคณะรัฐมนตรี “หลงประเด็น“ไปว่า พระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปอาจเปิดทางให้ตกลงกันอย่างไรก็ได้ อันเป็นการดำเนินการตามในรูปแบบของ MOU 2544 ก็ได้ แต่ความจริงแล้วการนำเสนอของกระทรวงการต่างประเทศในภาพนี้ มีเจตนานำเสนอ ”เน้นไม่ครบคำ“ ตามพระบรมราชโองการที่มีข้อความในฉบับเต็มว่า ”จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ ดังนั้นพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 จึงมีความหมายคือ 1.ราชอาณาจักรไทย “ปฏิเสธ” การประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ไม่ได้ยึดกฎหมายทะเลสากล เพราะรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย รุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และรุกล้ำเส้นมัธยะ (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 2.ราชอาณาจักรไทย ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดกฎหมายทะเลสากลในเวลานั้นคือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งราชอาณาจักรไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 3.หาก “จะ” มีการเจรจาเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีปกับประเทศใกล้เคียงใน “อนาคต” จะต้องยึดมูลฐานจากฎหมายทะเลสากลเท่านั้น คือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และย่อมไม่ใช่การเส้นเขตแดนตามประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2515 และมีความหมายด้วยว่าไม่ได้เปิดโอกาสให้นักการเมืองไปเจรจากับชาติใดตามอำเภอใจ โดยไม่ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 การลงนามใน MOU 2544 จึงแตกต่างจาก 3 หลักการเดิมของพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 ดังนี้ 1.MOU 2544 ได้ทำให้พื้นที่ซึ่งเป็นของราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ปี 2516 ซึ่ง “เคยปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ให้กลายเป็น “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ”เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ใน MOU 2544 ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนเกินจริงไปอย่างมหาศาล และเท่ากับ 1.1 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย “รับรู้”และ“ไม่ปฏิเสธ”การรุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำเส้นกลาง (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา 1.2 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การขีดเส้นของกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 2. ราชอาณาจักรไทย เปลี่ยนหลักการใหญ่ ให้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เป็นมูลฐานเดียวในการเจรจา ให้กลายเป็น “มูลฐานอื่น” ที่ใช้การเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ตาม MOU 2544 ที่มีการขีดเส้นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเกินจริง จึงไม่เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ต่างชาติพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลไทย-มาเลเซีย ที่ต่างเคารพการอ้างอนุสัญญาด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 จึงเป็นการอ้างสิทธิทับซ้อนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ส่งผลทำให้มีการตกลงกำหนดให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกับไทย-มาเลเซียเป็นผลสำเร็จ ส่งผลทำให้พื้นที่ซึ่งแน่ชัดตามพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ว่าเป็น ทะเลอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย เขตทะเลต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเป็นของราชอาณาจักรไทยหรือกัมพูชา มีจำนวนมากถึง 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงสิทธิการประมง สิทธิการเดินทาง และการสำรวจและการแสวงหาใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่เคยเป็นของไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งของไทยหรือกัมพูชา หรือไม่ก็ให้ถอยออกจากพื้นที่ทั้ง 2 ประเทศ การขีดเส้นแบบนี้ โดยรับรู้และไม่ปฏิเสธ แม้อ้างว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่ต่อไปใครไปนั่งที่ด้านทิศใต้เกาะกูด ใครเอาเท้าจุ่มในทะเล ก็จะเกิดข้อพิพาทว่าที่เท้าจุ่มลงไปนั้น อยู่ในทะเลไทยหรือทะเลกัมพูชา จนเกิดข้อสงสัยว่าภาพแถลงกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ บังอาจแถลงข่าวเน้นตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9 นั้น กำลังทำตัวเป็นกรมสนธิสัญญาเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลชาติใดกันแน่? ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 5 พฤศจิกายน 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1088203086006724/?
    Like
    Love
    12
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 792 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    ทำไมกัมพูชาไม่ยอมรับกฎเกณฑ์ UNCLOS 1982 ที่ประเทศทั่วโลกยอมรับและยึดถือกว่า 160 ประเทศ เป็นกฎหมายจารีตประเพณีที่เป็นหลักในการเจรจาความเมืองใด ๆ เกี่ยวกับทะเล ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณได้เขียนเรื่อง “ความลับกัมพูชาที่คนไทยทุกคนควรต้องรู้ ”เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2567ไว้ว่า “กัมพูชาเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคแถบนี้ ที่ไม่ยอมเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือ United Nations Convention on the Law Of the Sea (UNCLOS) อ่านออกเสียงตัวอักษรย่อ UNCLOS ว่า "อันโคลซ" ซึ่งปัจจุบันนับได้ว่าเป็นอนุสัญญาสหประชาชาติสำคัญ เป็นที่ยอมรับในการแบ่งเขตแดนทางทะเลของแต่ละประเทศอันเป็นหลักสากล โปร่งใส และมีความเป็นธรรม สามารถช่วยแก้ไข ตลอดจนระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างประเทศได้อย่างสันติ เหตุผลประการสำคัญที่กัมพูชาไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เป็นเพราะทางกัมพูชาทราบดีว่าจะเสียเปรียบในการเจรจาแบ่งเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย ดร.วันนาริธ ชเฮียง นักวิชาการชื่อดังชาวกัมพูชาเป็นผู้ยอมรับเอง ยืนยันว่ารัฐบาลกัมพูชากลัวการเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล UNCLOS จะทำให้กัมพูชาเสียเปรียบในการเจรจากำหนดเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังที่กัมพูชาพยายามอ้างสิทธิ์ตามเส้นเขตแดนที่ลากขึ้นในสมัยที่ยังเป็นรัฐอารักขาของประเทศฝรั่งเศส เมื่อทราบความจริงดังนี้ ประเทศไทยของเราจึงไม่ควรเจรจากับกัมพูชาเป็นอย่างยิ่งตราบใดที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เพราะไทยจะกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเสียเองหากยังคงยึดข้อพิพาทเดิมตามแนวทาง MOU 2544 ที่ล้าสมัยไปแล้ว ขนาดรัฐบาลกัมพูชายังไม่ยอมเสียเปรียบไทย ถ้ารัฐบาลไทยยอมเสียเปรียบกัมพูชา ยอมยกผลประโยชน์ของประเทศชาติและปวงชนชาวไทยมูลค่านับล้านล้านบาทให้กับกัมพูชา กล้าเสนอหน้าไปเจรจาโดยที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS จะเรียกว่า "โง่" หรือ "ขายชาติ" ดีครับ? ดังนั้น UNCLOS จึงเป็นหลักสำคัญในการเจรจาระหว่างไทยและกัมพูชา ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนจะจบลงทันที เพราะเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาภายใต้ UNCLOS เป็นสากลอยู่แล้ว สิ่งที่เหลือให้ไทยและกัมพูชายังต้องเจรจาตกลงกัน คือ หลุมน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่วางตัวอยู่ในแนวเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลของทั้งสองประเทศ นอกจากไทยเราจะไม่เสียเกาะกูดเป็นแน่แล้ว ยังจะสามารถครองพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นข้อพิพาท รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติในท้องทะเล ทั้งน้ำมันดิบและก๊าชธรรมชาติส่วนใหญ่จะตกเป็นของไทย ขนาดนักวิชาการกัมพูชายังยืนยันชัดเจนว่ารัฐบาลกัมพูชาไม่เข้าร่วม UNCLOS เพราะกลัวเสียเปรียบ พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนจึงควรตระหนักรู้เกี่ยวกับ UNCLOS เพื่อให้รัฐบาลไทยยื่นข้อเสนอให้กัมพูชาเข้าร่วม UNCLOS เสียก่อนเท่านั้น แล้วจึงค่อยเปิดการเจรจาที่เป็นธรรม! ที่มา https://www.facebook.com/share/15FAF2zRds/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    Yay
    Angry
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 515 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ และนางสุพรรณวษา โชติก็ญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) แถลงข่าวเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อน (OCA) ระหว่างไทย – กัมพูชา 4 พฤศจิกายน 2567- รายงานข่าว NBT CONNEXT เปิดเผยว่า อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. กล่าวว่า ไทยได้ประกาศเขตไหล่ทวีปในปี 2516 เนื่องจากเห็นว่าการประเทศของกัมพูชาในปี 2515 เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เพราะเส้นผ่านเข้าไปในเกาะกูด จึงประกาศเขตไหล่ทวีปของไทย เป็นพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2516 ระบุว่าสิทธิอธิปไตยซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่ได้ตกลงกัน ดังนั้นในการประกาศของกัมพูชาและไทย มีพื้นที่ทับซ้อนกัน 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งค่อนข้างมีขนาดใหญ่ หรือกว่า 4 เท่าเมื่อเทียบกับกรณีพื้นที่ทับซ้อนของไทยกับมาเลเซีย โดยเป็นเส้นที่ครอบคลุมทะเลอาณาเขต EEZ และไหล่ทวีป อย่างไรก็ตาม ไทย-กัมพูชา เริ่มเจรจาเรื่องพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่ปี 2513 แต่เกิดปัญหาว่ากัมพูชาต้องการคุยเพียงการพัฒนาร่วมในเรื่องของทรัพยากร ขณะที่ไทยเห็นว่าเขตทางทะเลมีความสำคัญ รวมถึงความมั่นคง และความเป็นอยู่ของประชาชน โดยยืนยันว่าต้องคุยประเด็นเหล่านี้ด้วย ซึ่งไทยได้ประกาศเส้นด้านใต้ลงมาระหว่างเกาะกูดกับเกาะกง แสดงออกว่าไทยไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กัมพูชาประกาศ หลักสากลเมื่อเกิดพื้นที่ทับซ้อน จึงต้องเจรจากันทั้งสองฝ่ายเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ สำหรับ MOU 2544 แบ่งเป็นพื้นที่เหนือเส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาแบ่งเขตทางทะเล และพื้นที่อยู่ใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน สิ่งที่ดำเนินการประชาชนทั้งสองฝ่ายต้องยอมรับในข้อตกลง และผลการเจรจาต้องผ่านความเห็นชอบโดยรัฐสภา และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง “ ยืนยันว่า MOU 44 ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเกาะกูด เพราะสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ส.1907 ระบุชัดเจน เกาะกูด เป็นของไทย เป็นการยืนยันกรรมสิทธิ์เหนือตัวเกาะ และยังใช้อำนาจอธิปไตยเกาะกูด 100% ประเด็นยกเลิก MOU 44 เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ในปี 2552 ซึ่งเสนอให้ยกเลิก เพราะขณะนั้นไม่มีความคืบหน้า และ ครม.รับในหลักการ แต่ขอให้พิจารณาให้รอบคอบและได้หารือกับที่ปรึกษาทีมต่างชาติ และประชุมคณะกรรมการพิเศษที่เป็นภาคี และหน่วยงานด้านความมั่นคง สมช. กระทรวงพลังงาน รวมทั้งกฤษฎีกา โดยปี 2557 ได้ข้อสรุปว่า MOU 44 ยังมีประโยชนที่จะนำไปสู่การเจรจา จึงเสนอ ครม.ให้ทบทวนมติ ครม.ปี 2552 ว่าเรื่องนี้ต้องใช้ MOU 44 ต่อทุกครั้งที่มีรัฐบาลใหม่ยังขอให้กรอบ MOU 44 เป็นพื้นฐานในการเจรจาข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา เป็นกลไกที่เหมาะสมที่สุด และรักษาผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ ซึ่งทุกรัฐบาลก็ยอมรับและหลักการยังเหมือนเดิม” อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ กล่าว ที่มา NBT CONNEXT #Thaitimes
    Like
    3
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 566 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    นาย ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ แสดงทัศนะประเด็นอดีตโฆษกทร. สนับสนุน MOU44 ว่าดูละเอียดหรือยัง? เนื้อหาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนระบุว่า “ผมท้าทาย เชิญชวน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม และรัฐมนตรีต่างประเทศ ให้ออกมาโต้แย้งประเด็นเทคนิคที่ทีมพรรคพลังประชารัฐเปิดเผยปัญหาแก่ประชาชนเรื่อง MOU44 ยังไม่มีคนใดคนหนึ่งออกมาชี้แจง มีแต่พลเรือเอกจุมพล ลุมพิกานนท์ อดีตโฆษกกองทัพเรือ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการรักษาประโยชน์ของชาติทางทะเล ติดต่อขอให้ข้อมูลแก่ PPTV ในคลิปข้างล่าง PPTV ระบุว่า หลังจากที่ PPTV นำเสนอเรื่องข้อตกลงความร่วมมือ MOU44 ระหว่างไทยกับกัมพูชา ที่หลายคนออกมาให้ความเห็นว่า อาจจะทำให้ไทยเสียเขตแดนทางทะเลให้กับกัมพูชาในอนาคต ซึ่งรวมถึงเกาะกูดด้วย เพราะเส้นเขตแดนที่ทางกัมพูชาลากมามันข้ามเกาะกูดมาเลย หลายคนจึงอยากจะให้ยกเลิก MOU44 ฉบับนี้ แต่ล่าสุด หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ ออกมาให้ความเห็นอีกทาง ว่าไม่ควรจะยกเลิก MOU44 เพราะไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ ตรงกันข้าม นี่คือสารตั้งต้นที่จะทำให้เกิดการเจรจา แต่ถ้ายกเลิกต่างหากอาจจะมีผลเสียตามมาเพียบ ผมเชื่อว่าพลเรือเอกจุมพล ในฐานะเจ้าหน้าที่กองทัพเรือระดับสูง ย่อมมีเลือดรักชาติอยู่เต็มเปี่ยม แต่ขอเรียนด้วยความเคารพว่า คนไทยไม่ควรฝากความหวังไว้กับนักการเมืองมากเกินไป รูป 1 ท่านกล่าวว่า ชัดเจนว่าเกาะกูดเป็นของไทย จบตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ห้า มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ชัดเจน ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 รูป 2 แสดงขั้นตอนเวลาที่เวียดนาม กัมพูชา และไทยประกาศเขตแดนไหล่ทวีป รูป 3 ท่านกล่าวว่า MOU44 ฉบับนี้จะเป็นกรอบที่ทั้งสองประเทศจะหยิบขึ้นมาเจรจากันต่อว่า เขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน รวมถึงเจรจาผลประโยชน์ในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมกัน รูป 4 แสดงเขตพื้นที่พัฒนาร่วมกัน Joint Development Area (สีแดง) ส่วนพื้นที่ที่อยู่เหนือเส้นรุ้งที่ 11 องศา (สีน้ำเงิน) เป็นพื้นที่ทำการแบ่งเขต ผมให้ข้อสังเกตแก่ท่านพลเรือเอกจุมพล ในประเด็นจุดแยบยลทางกฎหมาย ดังนี้ **หนึ่ง MOU44 ยอมรับกรอบขอบเขต boundaries พื้นที่สีแดงไปแล้ว ในรูป 5 จะเห็นได้ว่า คำบรรยายพื้นที่สีน้ำเงิน ข้อ 2 (ข) คือเพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน ตามที่ท่านว่า ส่วนคำบรรยายพื้นที่สีแดง ข้อ 2 (ก) คือเพื่อเจรจาผลประโยชน์ ถ้อยคำในรูป 5 ไม่มีข้อใดที่สามารถอ่านได้ว่า สำหรับพื้นที่สีแดงนั้น "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน" ในรูป 6 จะเห็นได้ว่า คำบรรยายหน้าที่ของคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค พื้นที่สีน้ำเงิน ข้อ 3 (ข) คือเพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน ตามที่ท่านว่า ส่วนคำบรรยายพื้นที่สีแดง ข้อ 3 (ก) คือเพื่อเจรจาผลประโยชน์ล้วนๆ ถ้อยคำในรูป 6 ไม่มีข้อใดที่สามารถอ่านได้ว่า สำหรับพื้นที่สีแดงนั้น "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน" สรุปแล้ว ใน MOU44 ทั้งสองประเทศได้กำหนด "พื้นที่พัฒนาร่วม" "Joint Development Area" ขึ้นมา มิใช่ "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน" แต่ "เพื่อเจรจาผลประโยชน์" ดังนั้น ใน MOU44 ทั้งสองประเทศจึงพอใจในกรอบขอบเขต boundaries ของพื้นที่พัฒนาร่วมไปแล้ว **สอง กรอบขอบเขตของพื้นที่พัฒนาร่วมที่ยอมรับกันไปแล้วนั้น ไม่ตรงตามสนธิสัญญาฯ ทั้งนี้ กรอบขอบเขต boundaries ของพื้นที่พัฒนาร่วม ด้านทิศตะวันตก ในรูป 7 เส้นสีแดง นั้น เส้นสีแดงดังกล่าว เกิดขึ้นได้ มีสารตั้งต้น มีต้นกำเนิด เกิดจากเส้นแบ่งเขตที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูด ซึ่งขัดกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ อธิบายแบบชาวบ้าน ถ้าไม่มีเส้นแบ่งเขตที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดไปจนถึงตำแหน่ง P เส้นแบ่งเขตทิศเหนือ-ใต้ ย่อมไม่สามารถตั้งต้นจากตำแหน่ง P เกิดขึ้นได้ ดังนั้น เส้นแบ่งเขตทิศเหนือ-ใต้ ที่ตั้งต้นจากตำแหน่ง P จึงไม่ตรงตามจุดเริ่มต้นในสนธิสัญญาฯ และ การที่รัฐบาลไทยไปยอมรับเส้นแบ่งเขตสีแดงดังกล่าว ก็ย่อมแสดงว่า ** ไม่ขัดข้องกับตำแหน่ง P ** ทั้งที่ไม่ตรงตามจุดเริ่มต้นในสนธิสัญญาฯ ** **สาม JDA ตีกรอบขอบเขต boundaries ด้วยเส้นเขตแดน ถ้าดูแผนที่ JDA ไทย-มาเลเซีย จะเห็นได้ว่า ตีกรอบขอบเขต boundaries ด้วยเส้นเขตแดน ที่ทั้งสองประเทศอ้างอนุสัญญาสหประชาชาติฯ แตกต่างกัน โดยไทยถือโขดหิน โลซิน เป็นเกาะ ที่สามารถใช้วางอาณาเขตกินแดนได้ แต่มาเลเซียไม่ถือว่าเป็นเกาะ ต่อมามีการแก้ไขอนุสัญญาสหประชาชาติฯ ไม่ถือโขดหิน โลซิน เป็นเกาะ ที่สามารถใช้วางอาณาเขตกินแดนได้ แต่เนื่องจาก JDA ไทย-มาเลเซียได้เกิดขึ้นลงนามไปก่อนหน้า ไทยจึงได้ประโยชน์ระหว่างที่ JDA มีผลบังคับ แต่กรณีเส้นที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดนั้น เป็นการลากเส้นโดยอ้างสนธิสัญญาฯ อย่างที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น บัดนี้เมื่อคนไทยทราบถึงปัญหา จึงย่อมต้องเรียกร้องให้ ยกเลิกการอ้างที่ไม่ถูกต้อง การลากเส้นที่ขัดเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ออกไปก่อนเริ่มต้นเจรจาแบ่งผลประโยชน์ ทั้งนี้ การเจรจาแบ่งผลประโยชน์ จะสามารถทำได้เร็วถ้าทั้งสองประเทศยึดมั่นในความเป็นธรรม ไม่จำเป็นต้องอาศัยความสัมพันธ์ครอบครัว แต่ถ้ามีวาระซ่อนเร้น ถ้าคนไทยจะเสียเปรียบ ผมก็จะคัดค้านต่อไป ผมจึงขอสรุปว่า ประชาชนคนไทยไม่ควรฝากความหวังไว้กับนักการเมืองที่ไปเจรจาโดยยอมรับสิ่งที่กัมพูชา ดำเนินการไปผิดกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ MOU44 ยอมรับพื้นที่พัฒนาร่วมที่กินล้ำทะเลจากตำแหน่ง P ที่ทำให้ไทยเสียประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นของประชาชนทุกคน การยอมรับเส้นกรอบขอบเขตของพื้นที่พัฒนาร่วม ที่เริ่มจากตำแหน่ง P อันสืบเนื่องมากจากเส้นที่ผิดเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ย่อมจะทำให้ไทยเสี่ยงเสียดินแดนได้ในอนาคต ถ้าท่านพลเรือเอกจุมพลไม่เชื่อผม ขอให้ท่านอ่านถ้อยคำใน MOU44 เองได้เลยครับ” วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ https://youtu.be/PEArT6M-wDE?si=NuuT8XefJDmOCmnO ที่มา https://www.facebook.com/share/p/1EgDTTKTHn/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 805 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    ณ บ้านพระอาทิตย์ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ การประกาศขีดเส้นเขตไหล่ทวีป และทะเลอาณาเขตของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2515 ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากลนั้น ได้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยทางทะเลของราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน และส่งผลทำให้ราชอาณาจักรไทยได้ “ปฏิเสธ” การประกาศขีดเส้นที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชาไปแล้ว ด้วยการมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากนั้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย โดยมีรายละเอียด ดังนี้ พระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียว ซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 อีกด้วย โดยมีผลตามมาดังนี้ 1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 จึงเป็นการละเมิดเส้นแบ่งที่ระยะทางเท่ากันระหว่างไทยและกัมพูชา (Equidistant Line) อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรไทยได้เคย “ปฏิเสธ” การขีดเส้นทางทะเลของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลไปแล้วในเวลาต่อมา โดยราชอาณาจักรไทยได้มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ “พระบรมราชโองการ” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Royal Command” ซึ่งมีความหมายว่า “คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์” พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชอำนาจภายใต้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพกำหนดเขตแดนทางทะเลของ “ราชอาณาจักรไทย” กับ “จอมทัพไทย” และองค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้ “มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย มาตรา 18 บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ” ดังนั้น พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน จึงมีผลตามกฎหมายและต้องมีการบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องมีการแก้ไขด้วยพระบรมราชโองการเช่นกัน ดังนั้นจะอาศัยนักการเมืองไปตกลงกันเองตามอำเภอใจโดยขัดต่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้ ความสำคัญของพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะมีความหมายถึงการ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่รุกล้ำราชอาณาเขตทะเลไทยแล้ว ยังได้ประกาศถึงเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ” อย่างชัดเจนดังปรากฏเป็นข้อความในพระบรมราชโองการความว่า “เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย“ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการฉบับนี้เป็นเวลา 2 ปี คือปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 รัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ทำการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้กับต่างชาติไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ยึดถือการซื้อขายปิโตรเลียมเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า ปิโตรดอลลาร์ ดังนั้น การที่กัมพูชาตราพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ย่อมทำให้ผู้รับสัมปทานในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการให้สำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยได้ และอาจทำให้แหล่งปิโตรเลียมของราชอาณาจักรไทยกลายเป็นของกัมพูชาได้ด้วย ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนราคาแพงมาเป็นเวลา 10 ปีที่ได้สูญเสียปราสาทพระวิหารไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ที่คำตัดสินของศาลโลกให้ประเทศไทยแพ้คดีด้วยเพราะ “กฎหมายปิดปาก” โดยอ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ฝรั่งเศส อ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อการสำแดงอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่ชัดเจน ดังนั้น ประเทศไทยจะดำเนินการปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับปี พ.ศ. 2515 จึงต้องมีความรอบคอบ รัดกุม และคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกแย่งชิงแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้ไปเป็นของกัมพูชา ไม่ให้ซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505 ด้วย ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์และชอบธรรมในการ “ปฏิเสธ” แผนที่เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่กระทำการตามกฎหมายทะเลสากล พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงอยู่บน “มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล” ดังความปรากฎในพระบรมราชโองการว่า “ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511” แม้ราชอาณาจักรไทยจะมีพระบรมราชโองการประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปที่อยู่บนมูลฐานของกฎหมายสากล แต่ก็ยังมีความตระหนักด้วยว่าอาจจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ในอนาคต” กับเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาอย่างแน่นอน ราชอาณาจักรไทยจึงได้ประกาศโดยพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้วางหลักในอนาคตว่าหากจะมีการตกลงกันในวันข้างหน้าจะต้องใช้มูลฐานของกฎหมายสากลเท่านั้น ซึ่งแปลว่าฝ่ายราชอาณาจักรไทยนอกจากจะประกาศ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ยังจะต้อง “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลทุกกรณีใน “อนาคต” ด้วย ดังข้อความปรากฏในพระบรมราชโองการความว่า “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ หมายความว่าหากราชอาณาจักรไทยมีข้อพิพาทในอาณาเขตใกล้เคียงกันแล้วก็เปิดทางให้ตกลงกันได้ แต่ต้อง “ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958” เท่านั้น ดังเช่นกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเส้นเขตไหล่ทวีปของประเทศตัวเองให้ได้เปรียบที่สุด แต่เมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันโดยอาศัยมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล จึงสามารถยอมรับการอ้างสิทธิทับซ้อนเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่ซึ่งกันและกันได้ และยังคงเป็นการดำเนินรอยตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียในการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม โดยการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของไทย-มาเลเซียในอ่าวไทย แต่เมื่อจะมีบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทยแล้ว ก็ยังต้องอาศัยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้บันทีกความเข้าใจฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และรับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี แต่กรณีของเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บนฐานของมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล ซึ่งราชอาณาจักรไทย ได้ “ปฏิเสธ” ไปแล้วโดยมีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้ “ปฏิเสธ” การตกลงกันในอนาคตด้วย เพราะการขีดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวไม่ได้อยู่บนมูลฐานของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของกฎหมายทะเลสากล ดังนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ“ เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย มากลายเป็น “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล การที่ประเทศไทย “ไม่ปฏิเสธ” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชา ย่อมเท่ากับประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการยอมรับการเกิดพื้นที่ไม่แน่ชัดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างการลากเส้นตามกฎหมายสากลของราชอาณาจักรไทย กับการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย MOU 2544 จึงอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เนื่องด้วยมีการ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การอ้างสิทธิทับซ้อนโดยอาศัยการขีดเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บน ”มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล“ เรากำลังขาดสติเดินตามรอย “กฎหมายปิดปาก”เสี่ยงสูญเสียเกาะกูดในอนาคตได้เหมือนการสูญเสียปราสาทพระวิหารในอดีตหรือไม่? ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้เคยเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอย่างมากระหว่างรัฐบาลไทยและภาคประชาชนต่อเนื่องมาก่อนแล้วเมื่อ 16 ปีก่อน จนในที่สุดในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้ว ดังปรากฏหลักฐานของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้ตอบกระทู้ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ความตอนหนึ่งว่า “ขอกราบเรียนดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2554 แต่โดยที่เรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ จึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกำลังดำเนินการศึกษาและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วก็เพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป” โดยพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นที่เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคมาตุภูมิ จริงอยู่ที่ว่าการยกเลิก MOU 2544 จนปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยังมีผลจนถึงปัจจุบันหากยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทุกกระทรวงจะดำเนินการไปในหลักการอื่นโดยฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะทำต่อไปได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่ว่ามีการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ จริงหรือไม่? ดังนั้น การเดินหน้าในการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม MOU 2544 ต่อไป อาจเข้าข่ายไม่เพียงเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น แต่ยังฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย สำหรับ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนที่จะมากล่าวหาว่าประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้า MOU 2544 ว่าเป็นพวกคลั่งชาตินั้น ก็ควรจะสำรวจรัฐบาลตัวเองด้วยว่ากำลังขายชาติอยู่หรือไม่ ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต https://mgronline.com/daily/detail/9670000105530 #Thaitimes
    Like
    Love
    8
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1156 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    'ดร.นิว' แฉความลับกัมพูชาที่คนไทยควรรู้! 31 ต.ค.2567 - ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ความลับกัมพูชาที่คนไทยทุกคนควรต้องรู้” ระบุว่า กัมพูชาเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคแทบนี้ ที่ไม่ยอมเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือ United Nations Convention on the Law Of the Sea (UNCLOS) อ่านออกเสียงตัวอักษรย่อ UNCLOS ว่า "อันโคลซ" ซึ่งปัจจุบันนับได้ว่าเป็นอนุสัญญาสหประชาชาติสำคัญ เป็นที่ยอมรับในการแบ่งเขตแดนทางทะเลของแต่ละประเทศอันเป็นหลักสากล โปร่งใส และมีความเป็นธรรม สามารถช่วยแก้ไข ตลอดจนระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างประเทศได้อย่างสันติ เหตุผลประการสำคัญที่กัมพูชาไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เป็นเพราะทางกัมพูชาทราบดีว่าจะเสียเปรียบในการเจรจาแบ่งเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย ดร.วันนาริธ ชเฮียง นักวิชาการชื่อดังชาวกัมพูชาเป็นผู้ยอมรับเอง ยืนยันว่ารัฐบาลกัมพูชากลัวการเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล UNCLOS จะทำให้กัมพูชาเสียเปรียบในการเจรจากำหนดเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังที่กัมพูชาพยายามอ้างสิทธิ์ตามเส้นเขตแดนที่ลากขึ้นในสมัยที่ยังเป็นรัฐอารักขาของประเทศฝรั่งเศส เมื่อทราบความจริงดังนี้ ประเทศไทยของเราจึงไม่ควรเจรจากับกัมพูชาเป็นอย่างยิ่งตราบใดที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เพราะไทยจะกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเสียเองหากยังคงยึดข้อพิพาทเดิมตามแนวทาง MOU 2544 ที่ล้าสมัยไปแล้ว ขนาดรัฐบาลกัมพูชายังไม่ยอมเสียเปรียบไทย ถ้ารัฐบาลไทยยอมเสียเปรียบกัมพูชา ยอมยกผลประโยชน์ของประเทศชาติและปวงชนชาวไทยมูลค่านับล้านล้านบาทให้กับกัมพูชา กล้าเสนอหน้าไปเจรจาโดยที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS จะเรียกว่า "โง่" หรือ "ขายชาติ" ดีครับ? ดังนั้น UNCLOS จึงเป็นหลักสำคัญในการเจรจาระหว่างไทยและกัมพูชา ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนจะจบลงทันที เพราะเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาภายใต้ UNCLOS เป็นสากลอยู่แล้ว สิ่งที่เหลือให้ไทยและกัมพูชายังต้องเจรจาตกลงกัน คือ หลุมน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่วางตัวอยู่ในแนวเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลของทั้งสองประเทศ นอกจากไทยเราจะไม่เสียเกาะกูดเป็นแน่แล้ว ยังจะสามารถครองพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นข้อพิพาท รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติในท้องทะเล ทั้งน้ำมันดิบและก๊าชธรรมชาติส่วนใหญ่จะตกเป็นของไทย ขนาดนักวิชาการกัมพูชายังยืนยันชัดเจนว่ารัฐบาลกัมพูชาไม่เข้าร่วม UNCLOS เพราะกลัวเสียเปรียบ พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนจึงควรตระหนักรู้เกี่ยวกับ UNCLOS เพื่อให้รัฐบาลไทยยื่นข้อเสนอให้กัมพูชาเข้าร่วม UNCLOS เสียก่อนเท่านั้น แล้วจึงค่อยเปิดการเจรจาที่เป็นธรรม! ที่มา https://www.thaipost.net/x-cite-news/682589/ #Thaitimes
    WWW.THAIPOST.NET
    'ดร.นิว' แฉความลับกัมพูชาที่คนไทยควรรู้!
    ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 3 การแบ่งปัน 682 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไอ่แม้วศรีธนญชัย ขีดเส้นแบ่งเขตใหม่ไว้เจรจา ตบตาคนไทย แล้วค่อยปล้นเกาะกูดในวันหน้า
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    ไอ่แม้วศรีธนญชัย ขีดเส้นแบ่งเขตใหม่ไว้เจรจา ตบตาคนไทย แล้วค่อยปล้นเกาะกูดในวันหน้า #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    Like
    Love
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 418 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    หยุดฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ หยุดละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ การที่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกำลัง “เร่งรัด” เจรจาด้านผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ค.ศ. 2001 หรือที่เรียกว่า “MOU 2544” นั้น อาจสุ่มเสี่ยงต่อการฝ่าฝืนกฎหมายของประเทศไทย ฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ และอาจทำให้ประเทศชาติและประชาชนอาจจะสูญเสียผลประโยชน์ตามมาได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการนั้น ได้ทำให้เห็นว่า พื้นที่ทางทะเลซึ่งกำลังมีการเจรจาผลประโยชน์ระหว่างไทยและกัมพูชาตาม MOU 2544 อยู่ในขณะนี้มี จำนวน 26,000 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวตามกฎหมายสากลทั้งสิ้น ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาดังที่พยายามเจรจากันอยู่ในขณะนี้ ดังมีรายละเอียดดังนี้ ประการแรก พระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ไม่สามารถลบล้างด้วยข้อตกลงหรือการเจรจากันเองของนักการเมืองหรือข้าราชการได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องเป็นไปโดยเงื่อนไขที่กำหนดโดย “พระบรมราชโองการ” เท่านั้น ประการที่สอง พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้น ได้ระบุวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนว่าเพื่อใช้ “สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย” จึงต้องตระหนักว่าพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้มี 3 คำสำคัญประกอบกัน คือ “สิทธิ” , “อธิปไตย” ตลอดจนคำว่า ”ของประเทศไทย“ ดังนั้นพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ไม่ใช่เรื่อง “อธิปไตย“ของประเทศไทยแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมถึง “สิทธิ”ของประเทศไทย ไม่ใช่ “อธิปไตย” ของชาติอื่นและไม่ใช่“สิทธิ”ของชาติอื่นมาผสมปะปนได้ โดยมีข้อความระบุเฉพาะถึงขอบเขตอย่างชัดเจนด้วยว่า “การใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย”นั้นเพื่อใช้ “ในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ“ ในอ่าวไทย ภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 มีสาระสำคัญในเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย“ ดังนั้นทรัพยากรธรรมชาติภายใต้การประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยย่อมต้องเป็นของราชอาณาจักรไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น ดังนั้นผู้สำรวจ ผู้รับสัมปทาน หรือมีผู้แสวงหาผลประโยชน์ในทรัพยากรในอ่าวไทยจะต้องทำสัญญากับอธิปไตยได้เพียงรัฐเดียวเท่านั้นคือ ”ประเทศไทย“ การบิดเบือนให้ “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย” ที่เดิมต้องลงนามโดยรัฐบาลประเทศไทยเพียงรัฐเดียว ให้กลายเป็นสิทธิในการสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางพลังงานที่ต้องลงนามโดยรัฐบาล 2 ประเทศ คือประเทศไทยร่วมกับประเทศกัมพูชานั้น ย่อมเท่ากับว่ารัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้สละ “สิทธิ” และ “อธิปไตย” ในการอนุญาตสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยฝ่ายเดียว การกระทำดังที่กล่าวมานี้อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ประการที่สาม พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศตามกฎหมายสากลเท่านั้น ปรากฏเป็นข้อความเป็นหลักการว่า “ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป ตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511“ ทั้งนี้ บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 นั้น ต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย ประกอบกับจุดเริ่มต้นของประเทศไทยในการแบ่งแยกระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 2 นั้น ได้ระบุอย่างชัดแจ้งว่า “เกาะกูดเป็นของสยาม” อย่างแน่นอนความว่า “รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราด กับเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไป จนถึงเกาะกูดนั้น ให้แก่กรุงสยาม ตามกำหนดเขตร์แดนดังว่าไว้ ในข้อ 2 ของสัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดนดังกล่าวมาแล้ว“ นอกจากนั้นยังมีหลักฐานเป็น “แผนที่” แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาที่ได้กำหนดแผนที่แสดง “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 และพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาซึ่งได้ประกาศกำหนดแผนที่แสดง “เส้นทะเลอาณาเขต”ของกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 โดยมีข้อความด้านซ้ายแผนที่ภาพเกาะกูดเป็นภาษาอังกฤษคำว่า “Koh Kut” โดยมีวงเล็บอยู่ด้านล่างกำกับด้วยคำว่า “สยาม” เป็นภาษาอังกฤษว่า ”(SIAM)“ ทั้ง 2 ฉบับ ย่อมเป็นการยืนยันโดยราชอาณาจักรกัมพูชาว่า “เกาะกูด” เป็นของสยามประเทศอย่างแน่นอน เมื่อเกาะกูดเป็นของสยามประเทศ สยามประเทศจึงย่อมต้องมี ”ทะเลอาณาเขต“ จากเส้นฐานของเกาะกูดไปอีก 12 ไมล์ทะเล และมี ”เขตทะเลต่อเนื่อง“จากเส้นฐานของเกาะกูด 24 ไมล์ทะเล “รอบเกาะกูด” ตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาหลักการนี้ได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย อย่างไรก็ตาม “เกาะกูด” ของสยาม และ “เกาะกง” ของกัมพูชา คือเกาะที่มีดินแดนยื่นออกมาในทะเลใกล้ที่สุดจากหลักเขตที่ 73 บนแผ่นดิน ซึ่งเป็นหลักเขตสุดท้ายทางทิศใต้ร่วมกันระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา ที่บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราด ดังนั้นพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 จึงได้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงปรากฏแผนที่การลากเส้นเขตไหล่ทวีปตาม ”กฎหมายสากล“ คือ เริ่มลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง การลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกงนั้น ก็เป็นการดำเนินไปตามกฎหมายสากลด้วยทั้งสิ้น คือบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย ดังนั้นพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันตก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันออกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียวซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล และไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วยเพราะมีผลตามมาดังนี้ 1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 ดังนั้นหากราชอาณาจักรไทยยินยอมหรือรับรู้ โดยไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด ไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่องรอบเกาะกูด และไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางพื้นที่ด้านทิศทะวันตกเส้นแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง ย่อมเป็นการสุ่มเสี่ยงที่ราชอาณาจักรไทยจะสูญเสียสิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด สุ่มเสี่ยงสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเขตทะเลต่อเนื่อง สุ่่มเสี่ยงสูญเสียพื้นที่ทะเลในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เมื่อสละกฎหมายทะเลสากลรอบเกาะกูดทั้งหมด ก็จะส่งผลทำให้เกิดความสุ่่มเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ดินแดนเกาะกูด” ในฐานะที่ราชอาณาจักรไทย “นิ่งเฉย” ต่อการละเมิดพื้นที่ทะเลอาณาเขต ละเมิดพื้นที่ทะเลต่อเนื่อง และการละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะรอบเกาะกูด มีความสุ่มเสี่ยงที่รัฐบาลกัมพูชาอาจอ้างกฎหมายปิดปากให้เกาะกูดตกเป็นของกัมพูชาในอนาคตได้ ดังที่ราชอาณาจักรไทยได้เคยสูญเสียปราสาทพระวิหารและสูญเสียพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารโดยศาลโลกเมื่อปี พ.ศ. 2505 มาแล้ว ดังนั้นหากยังฝ่าฝืนดำเนินการ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการตกลงใดๆที่อยู่นอกเหนือแผนที่ตามประกาศภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 อาจสุ่มเสี่ยงว่าเป็นการดำเนินที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และไม่เป็นการยึดถือตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วย ประการที่สี่ พื้นที่ทับซ้อนสามารถเจรจาแบ่งผลประโยชน์ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายสากลเท่านั้น ไม่ใช่ทำตามอำเภอใจ พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้นได้ “เปิดช่องให้มีการเจรจาตกลงกันได้” แต่จะต้องยึดถือมูลฐานจาก บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น และต้องไม่ใช้เงื่อนไขอื่นในการตกลงกันความว่า “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ เพราะตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 สามารถเกิดพื้นที่ทับซ้อนกันได้ จึงอาจเกิดพื้นที่ลักษณะอ้างสิทธิทับซ้อนกันได้จริงดังที่ได้เกิดขึ้นกับพื้นที่การพัฒนาร่วมระหว่างไทย-มาเลเซีย แต่เมื่อ MOU 2544 ไทย-กัมพูชา แตกต่างจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เพราะ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา ได้เกิดพื้นที่โดยรับรู้เส้นไหล่ทวีปอ้างสิทธิของราชอาณาจักรกัมพูชาที่กำหนดเขตไหล่ทวีปที่ลากเส้น ”ละเมิด“ สิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด และละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมจากหลักเขตที่ 73 เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาจึงย่อมไม่มีทางเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ได้เลย หากจะมีพื้นที่ทับซ้อนในทางเทคนิกก็ต้องเป็นไปตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น จึงจะสามารถเริ่มเจรจาได้ ซึ่งแปลว่าก็ต้องมีความใกล้เคียงกับแผนที่แนบท้ายพระบรมราชโองการทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยฉบับเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น ดังนั้นการเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ลากเส้นโดยไม่ยึดถือตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 หรือทำให้ฝ่ายไทยสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเกินกว่าพระบรมราชโองการย่อมกระทำไม่ได้ และหากรัฐบาลยังฝ่าฝืนดำเนินต่อไป ก็ย่อมมีความเสี่ยงว่าจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอย่างร้ายแรง เพราะเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการของในหลวงรัชกาลที่ 9 ยินยอมให้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 23 ตุลาคม 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1079446800215686/? #Thaitimes
    Like
    17
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1092 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    เปียงยางระเบิดถนนและทางรถไฟเชื่อมต่อสองเกาหลีในฝั่งของตน ขณะที่คิม โยจอง น้องสาวผู้ทรงอิทธิพลของผู้นำคิม ยันมีหลักฐานชัดเจนว่า กองทัพเกาหลีใต้อยู่เบื้องหลังการส่งโดรนรุกล้ำไปถึงเมืองหลวงเกาหลีเหนือเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พร้อมประกาศว่าผู้ยั่วยุจะต้องจ่ายราคาแพงมาก ด้านจีนเรียกร้องทุกฝ่ายหลีกเลี่ยงการทำให้ความขัดแย้งลุกลาม . คณะเสนาธิการทหารร่วมของเกาหลีใต้ (เจซีเอส) แถลงในวันอังคาร (15 ต.ค.) ว่า เกาหลีเหนือระเบิดทำลายถนนและทางรถไฟบางส่วนที่เชื่อมต่อกับเกาหลีใต้เมื่อราวเที่ยงวันเดียวกัน และกองทัพเกาหลีใต้ได้ยิงเตือนจากบริเวณเส้นแบ่งเขตแดนทางทหารในฝั่งของตนเพื่อเป็นการตอบโต้ แม้การระเบิดดังกล่าวไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายในฝั่งโสมขาวก็ตาม . เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากสัปดาห์ที่แล้วเปียงยางประกาศจะตัดขาดถนนและทางรถไฟทุกสายที่เชื่อมต่อระหว่างสองเกาหลี และสร้างกำแพงตลอดแนวพรมแดน จากนั้นเกาหลีใต้เตือนเมื่อวันจันทร์ (14) ว่า เกาหลีเหนือพร้อมระเบิดถนนและทางรถไฟแล้ว . เจซีเอสเสริมว่า เกาหลีเหนือยังฝังทุ่นระเบิดและสร้างแนวเครื่องกีดขวางรถถังตลอดชายแดน และจากการสังเกตการณ์เมื่อวันจันทร์พบว่า เปียงยางติดตั้งอุปกรณ์หนักเพิ่มเติมที่แนวป้องกันดังกล่าว ขณะที่เกาหลีใต้ก็ได้ยกระดับการเฝ้าระวังและการเตรียมพร้อมสำหรับรับมือกับความเคลื่อนไหวล่าสุดของเปียงยางแล้ว . เวลาเดียวกัน กระทรวงรวมชาติของเกาหลีใต้ได้แถลงประณามการกระทำล่าสุดของเปียงยางว่า เป็นการยั่วยุที่ผิดปกติมาก และสำทับว่า เกาหลีใต้หมดเงินหลายล้านดอลลาร์กับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ และทางเกาหลีเหนือยังคงต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายนี้ในส่วนของพวกเขาเอง . ปัจจุบันทั้งเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ในทางเทคนิคแล้วยังคงถือว่าอยู่ในภาวะทำสงครามกัน เนื่องจากสงครามเกาหลีในช่วงระหว่างปี 1950-1953 สิ้นสุดลงด้วยการทำข้อตกลงหยุดยิง แต่ยังไม่มีการทำสนธิสัญญาสันติภาพ . เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเปียงยางกล่าวหาโซลส่งโดรนไปปล่อยใบปลิวโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านตนถึงในกรุงเปียงยางมาแล้วหลายครั้ง และผู้นำคิม จองอึน เรียกประชุมฝ่ายความมั่นคงเพื่อบัญชาการแผนการทางทหารเพื่อตอบโต้ . ทางด้านกองทัพเกาหลีใต้นั้นแรกเริ่มได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว แต่ต่อมาก็งดแสดงความคิดเห็น แม้กระทั่งเมื่อเปียงยางเตือนสำทับว่า หากยังพบโดรนรุกล้ำเข้าไปอีก จะถือเป็นการประกาศสงคราม . ในวันอังคาร (15) คิม โยจอง น้องสาวผู้ทรงอิทธิพลของผู้นำคิม ยังได้ออกคำแถลงระบุว่า มีหลักฐานชัดเจนว่ากองทัพเกาหลีใต้คืออยู่เบื้องหลังการส่งโดรนรุกล้ำไปถึงเปียงยาง พร้อมกับบอกว่าผู้ยั่วยุจะต้องจ่ายราคาแพงมาก . ที่ผ่านมา กลุ่มนักเคลื่อนไหวในเกาหลีใต้มักส่งบอลลูนไปปล่อยใบปลิวโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านผู้นำเกาหลีเหนือและเนื้อหาอื่นๆ รวมถึงอุปกรณ์ยูเอสบีที่บรรจุเพลงเค-ป็อป และซีรีส์เกาหลีเข้าไปในแดนโสมแดง อย่างไรก็ดี เป็นที่รับรู้ว่า มีนักเคลื่อนไหวหัวรุนแรงบางคนเคยส่งโดรนขนาดเล็กที่ทำจากเอ็กซ์แพนด์โพลีโพรพีลีน ซึ่งทำให้ตรวจจับได้ยาก เข้าไปในเกาหลีเหนือเช่นกัน . สำนักข่าวเคซีเอ็นเอของทางการเปียงยางรายงานว่า ในการประชุมฝ่ายความมั่นคงเมื่อวันจันทร์ มีการรายงานเกี่ยวกับการยั่วยุอันตรายของศัตรู และผู้นำคิมแสดงจุดยืนทางการเมืองและการทหารอย่างแข็งกร้าว . เกาหลีเหนือยังระบุว่า อเมริกาที่เป็นพันธมิตรทางการทหารกับเกาหลีใต้ ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย . เปียงยางเองเคยส่งโดรน 5 ลำเข้าไปในเกาหลีใต้ในปี 2022 ทำให้กองทัพเกาหลีใต้ยิงเตือนและส่งเครื่องบินขับไล่ขึ้นไปสกัด แต่ไม่สามารถยิงโดรนเหล่านั้นได้ . กระทั่งในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โซลประกาศว่า ภายในปีนี้จะใช้ระบบเลเซอร์ทำลายโดรน ซึ่งมีชื่อว่า “โครงการสตาร์วอร์” ยิงลำแสงที่มองไม่เห็นและไม่มีเสียง โจมตีโดรนให้ระเบิด โดยใช้ต้นทุนต่ำมากเพียง 1.45 ดอลลาร์ต่อการใช้งานหนึ่งครั้ง และสำทับว่า ด้วยระบบเช่นนี้ ศักยภาพของโซลในการตอบโต้การยั่วยุจะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน . ทางด้าน ชอง ซองชาง จากสถาบันเซจอง ในเกาหลีใต้ ชี้ว่า ภายหลังการประชุมของผู้นำคิม ความสนใจได้โฟกัสไปยังเรื่องที่ว่า เกาหลีเหนือจะตอบโต้ด้วยการส่งโดรนเข้าไปในเกาหลีใต้ หรือใช้มาตรการแข็งกร้าวหากโดรนจากเกาหลีใต้ยังรุกล้ำเข้าไปอีก . ส่วนที่ปักกิ่ง เหมา หนิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวระหว่างแถลงข่าวประจำวันตามปกติในวันอังคารว่า ความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีไม่ได้เป็นประโยชน์กับฝ่ายใด สิ่งสำคัญที่สุดคือหลีกเลี่ยงการทำให้ความขัดแย้งลุกลาม และย้ำว่า จุดยืนของจีนคือการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคดังกล่าว รวมทั้งส่งเสริมการแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางการเมือง และหวังว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะพยายามเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้เช่นเดียวกัน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000099598 .............. Sondhi X
    Like
    Wow
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1160 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    🤠#สงครามเกาหลีมีผลกระทบต่อสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นอย่างไร ตอน01.🤠 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1953 ผู้แทนจากสหรัฐอเมริกา จีน และเกาหลีเหนือลงนามข้อตกลงสงบศึกที่พันมุนจ็อม(Panmunjom板門店) สงครามอันยาวนานและโหดร้ายสิ้นสุดลงแล้ว แต่ดูเหมือนว่าโลกจะยังไม่ตอบสนอง สงครามครั้งนี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อทุกประเทศที่เข้าร่วม จีนและเกาหลีเหนือได้รับชัยชนะในสภาพแวดล้อมที่สงบสุข สำหรับสหรัฐอเมริกา ความพ่ายแพ้ครั้งนี้ถือเป็นความอัปยศอดสูอย่างยิ่ง ประเทศเหล่านั้นที่ปฏิบัติตามการนำของสหรัฐอเมริกาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถเชื่อได้ว่าสหรัฐอเมริกาจะกลายเป็นผู้แพ้ 😎การเจรจาต่อรองที่ยืดเยื้อ😎 ในความเป็นจริง จีนและสหรัฐอเมริกาได้เจรจาสงบศึกมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1951 แต่สิ่งต่างๆ กลับไม่ราบรื่น เนื่องจากเป็นเรื่องยากสำหรับสหรัฐฯ ที่จะยอมรับความพ่ายแพ้ของตนเอง จนกระทั่งปี ค.ศ. 1953 เมื่อความสมดุลแห่งชัยชนะในสงครามเกาหลีเอียงไปทางจีนและเกาหลีเหนือโดยสิ้นเชิง ในที่สุดสหรัฐฯ ก็ยอมรับความจริงและตกลงที่จะเจรจา . อย่างไรก็ตาม โต๊ะเจรจายังคงเต็มไปด้วยกลิ่นอายของดินปืนอันแรงกล้า สหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับใบหน้าของตนเองเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ปีค.ศ. 1950 ซึ่งเป็นช่วงที่สงครามดำเนินไปในสภาพที่เลวร้าย ประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน (Harry S. Truman哈里·S·杜鲁门) ของสหรัฐฯ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่ากองทหารสหรัฐฯ จะสามารถถอนตัวออกจากเกาหลีเหนืออย่างมีศักดิ์ศรี อย่างไรก็ตาม การต่อสู้ก็พ่ายแพ้ ความเหมาะสมมาจากไหน? ด้วยเหตุนี้ ทรูแมน(Truman)เกิดความคิดที่อุกอาจชนิดซึ่งไม่คำนึงถึงความไม่พอใจของชาวโลก เขาประกาศต่อสาธารณะว่าเขาจะใช้ระเบิดปรมาณูต่อจีน คำพูดที่น่าตกตะลึงของทรูแมน(Truman)ไม่เพียงทำให้จีนตกใจเท่านั้น แต่ยังทำให้คนทั้งโลกตื่นตระหนกอีกด้วย บุคคลแรกที่แสดงการต่อต้านเรื่องนี้คือสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากอังกฤษรู้ดีว่า ทันทีที่สหรัฐฯใช้ระเบิดปรมาณูต่อจีน สหภาพโซเวียตก็สามารถใช้ระเบิดปรมาณูต่อประเทศในยุโรปได้เช่นกัน เมื่อถึงเวลาหากประตูเมืองเกิดเพลิงไหม้และปลาในบ่อได้รับผลกระทบ ราคาค่าตอบแทนไม่ใช่สิ่งที่ประเทศในยุโรปจะสามารถยอมรับได้ อีกทั้งประกอบกับความพ่ายแพ้อย่างต่อเนื่องของกองทหารสหประชาชาติในสนามรบเกาหลี ประเทศในยุโรปได้รับความสูญเสียอย่างหนัก ดังนั้น นายกรัฐมนตรีอังกฤษจึงบินไปสหรัฐอเมริกาทันทีและจัดการเจรจากับทรูแมน(Truman)5 ครั้ง โดยหวังว่าทรูแมน(Truman)จะยอมรับเงื่อนไขที่จีนและเกาหลีเหนือเสนอมาและทำการอ่อนข้อลง แต่ทรูแมน(Truman)กล่าวว่าแม้ว่าเขาจะสามารถยอมรับการเจรจาสันติภาพและการถอนทหารได้ แต่เขาก็จะไม่มีวันละทิ้งผลประโยชน์ใดๆ เพื่อให้เป็นไปตามคำร้องขอของประธานาธิบดี คณะผู้แทนที่ส่งมาจากสหรัฐอเมริกาก็ใช้สมองอย่างหนักเช่นกัน โชคดีที่เวลานี้จีนและสหภาพโซเวียตก็พยายามอย่างเต็มที่ที่จะส่งเสริมการสงบศึก ดังนั้น คณะผู้แทนอเมริกาจึงส่งคำพูดข้อความสื่อสารผ่านสหภาพโซเวียต โดยหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะหยุดยิงและถอนทหารออกจากเส้นขนานที่ 38 . จีนมีข้อตอบโต้ในทางสาธารณะอย่างรวดเร็วบนหนังสือพิมพ์ โดยแสดงความเห็นด้วยกับความเห็นของสหรัฐอเมริกา ทั้งสองฝ่ายถอยคนละก้าวกลับไปเจรจา ในที่สุดก็ได้มองเห็นแสงสว่าง ทรูแมน(Truman)จึงได้แถลงการณ์ต่อสาธารณะอย่างรวดเร็วที่จะมีการเจรจาอย่างตรงไปตรงมากับจีน อย่างไรก็ตาม ประธานเหมาได้คาดการณ์ไว้แล้วถึงความไม่แน่นอนของสหรัฐอเมริกา ประธานเหมาเสนอว่ากลยุทธ์ของเราสำหรับสถานการณ์ปัจจุบันคือ: “การต่อสู้ทางการเมืองและการทหารเป็นของคู่กันให้ดำเนินการพร้อมกันสองทาง คือ มุ่งมั่นเพื่อสันติภาพ ไม่กลัวสงคราม และเตรียมพร้อมที่จะชะลอลากยาว อดทนในการเจรจา เด็ดเดี่ยวในการรบต่อสู้ และถกเถียงช่วงชิงกันอย่างมีเหตุผล จนกว่าจะมีการสงบศึกที่ยุติธรรมและสมเหตุสมผล” " 😎เกมจิตวิทยา😎 หลังสงครามครั้งที่ 5 ผลลัพธ์ก็ชัดเจนอยู่แล้ว และสหรัฐฯ ก็แสดงเจตจำนงอย่างแรงกล้าที่จะเจรจาอีกครั้ง ทั้งสองฝ่ายจึงได้สรุปสถานที่เจรจาที่พันมุนจ็อม(Panmunjom板門店) อย่างไรก็ตาม พวกเขาประสบปัญหาตั้งแต่เริ่มต้น เพราะทั้งสองฝ่ายต้องแก้ไขปัญหาที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง ซึ่งก็คือการวาดเส้นแบ่งเขตทางทหารระหว่างทั้งสองฝ่าย จีนเสนอให้ใช้เส้นขนานที่ 38 เป็นเขตแดน แต่สหรัฐฯ ปฏิเสธอย่างแม่นมั่น เนื่องจากเมื่อใช้เส้นขนานที่ 38 เป็นเส้นแบ่งเขต หมายความว่าผลประโยชน์ที่สหรัฐฯ เคยได้รับมาก่อนหน้านี้จะได้รับความเสียหาย ซึ่งฝ่าฝืนข้อกำหนดก่อนหน้าของทรูแมน(Truman)ซึ่งเสนอไว้ ทั้งสองฝ่ายปฏิเสธที่จะยอมต่อกัน และบรรยากาศที่โต๊ะเจรจาก็เย็นวูบลงและเงื่อนไขก็แสดงชัดเจน แล้วจากนั้นไม่มีใครพูดอะไร และพวกเขาก็เริ่มนั่งเงียบๆ เกมนี้เป็นเกมเงียบ ใครถอยก่อน คนนั้นแพ้ แล้วจากนั้นผลก็คือการนั่งนิ่งอยู่นั้นกินเวลานานกว่าสองชั่วโมง ในช่วงเวลานี้ แม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะพยายามสงบสติอารมณ์อย่างเต็มที่ แต่ในใจของพวกเขาก็ตกอยู่ในความสับสนวุ่นวาย เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวแทนของฝ่ายจีนสูญเสียสมาธิความสงบ หลี่เค่อหนง(李克农)ซึ่งเป็นผู้นำทีมได้ส่งจดหมายน้อยข้อความอย่างเงียบ ๆ เพื่อแนะนำให้ผู้ที่อยู่ในสถานที่สงบสติอารมณ์ อาการความสงบของฝ่ายจีนตลอดกระบวนการทั้งหมดทำให้สหรัฐอเมริกาประหลาดใจมาก ท้ายที่สุด พลโทชาร์ลส์ เทิร์นเนอร์ จอย(Charles Turner Joy查尔斯·特纳·乔伊)ผู้แทนสหรัฐฯหมดความอดทน และประกาศเลิกประชุม การเจรจาวันแรกจบลงอย่างไม่น่าพอใจ อย่างไรก็ตาม การผัดวันประกันพรุ่งเพียงแค่นั่งเฉยๆ ก็ยังไม่ได้ผล วันรุ่งขึ้นปัญหายังคงอยู่และต้องมีการเจรจา วันรุ่งขึ้น ฝ่ายเกาหลีเหนือมีหน้าที่เป็นประธานในการเจรจา ทั้งสองฝ่ายนั่งลงเป็นเวลา 25 วินาทีโดยไม่พูดอะไรสักคำ ตัวแทนเกาหลีเหนือประกาศว่าหยุดการเจรจา ซึ่งทำให้แผนของกองทัพสหรัฐฯ หยุดชะงักกะทันหัน ตอนนั้นเองที่สหรัฐฯ ตระหนักได้ว่า จีนและเกาหลีเหนือไม่เพียงแต่เป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อกองทัพสหรัฐฯ ในสนามรบเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลผลกระทบอย่างรุนแรงที่โต๊ะเจรจาด้วย เมื่อการเจรจาไม่ราบรื่น และทั้งสองฝ่ายยังคงเข้าสู่โหมดสงครามต่อไป ภายในเวลาไม่นาน กองทัพสหรัฐฯ สูญเสียผู้คนไปอีก 150,000 คนในสงคราม สิ่งนี้บังคับให้สหรัฐฯ พิจารณาให้ยอมอ่อนข้อมากขึ้น กล่าวคือ เห็นด้วยกับเส้นแบ่งเขตทางทหารที่เสนอโดยจีน หลังจากปัญหานี้ได้รับการแก้ไข หลี่เค่อหนง(李克农)มีความดีใจมาก และเชื่อว่าการสงบศึกโดยสมบูรณ์จะเกิดขึ้นในไม่ช้า อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครคาดคิดว่าการเจรจาครั้งนี้จะยืดเยื้อถึง 747 วันเต็ม เพื่อใช้คำพูดของคณะผู้แทนของจีนมาอธิบาย สหรัฐอเมริกาขณะเจรจาสงบศึกก็ต้องการจะรบต่อ และเมื่อพวกเขาเริ่มรบกันพวกเขาก็อยากจะเจรจาสงบศึกอีกครั้ง ทัศนคติความคิดของพวกเขาไม่อาจคาดเดาได้ ความทะเยอทะยานโลภมากของพวกเขามักจะกำจัดให้หายไปได้ยาก ซึ่งทำให้ความขัดแย้งระหว่างทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการแก้ไข แม้ว่าปัญหาที่ร้ายแรงที่สุดคือเส้นแบ่งเขตทางทหารจะได้รับการแก้ไข แต่ในไม่ช้าความขัดแย้งก็เกิดขึ้นระหว่างทั้งสองฝ่ายในเรื่องการกำจัดเชลยศึก ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าจำนวนเชลยศึกในมือของทั้งสองฝ่ายไม่เท่ากันในขณะนั้น ทางฝั่งจีนมีนักโทษทหารสหรัฐฯ มากกว่า 10,000 คน อย่างไรก็ตามทางฝั่งกองทัพสหรัฐฯมีนักโทษรวม 130,000 คน ตามบทบัญญัติของอนุสัญญาระหว่างประเทศเจนีวา หลังจากการสงบศึก ทั้งสองฝ่ายควรปล่อยเชลยศึกทั้งหมด แต่กองทัพสหรัฐฯ ยืนกรานให้มีการแลกเปลี่ยนแบบตัวต่อตัว ซึ่งหมายความว่าเชลยศึก 120,000 คนจะไม่สามารถปล่อยตัวได้ นี่มันจึงเป็นเรื่องไร้สาระ อเมริกากระทำแบบเช่นนี้ เห็นได้ชัดว่าพวกเขากำลังจับตัวไว้เป็นตัวประกัน ฝ่ายจีนมุ่งมั่นที่จะไม่ยอมแพ้ในประเด็นนี้ และสหรัฐอเมริกาก็หันไปใช้กลอุบายเก่า ๆ อีกครั้ง เมื่อการเจรจาไม่เป็นไปด้วยดี พวกเขาก็เดินออกจากเต็นท์ทันที และประกาศเลื่อนการประชุม นี่ยังคงเป็นการท้ารบทางสงครามจิตวิทยาต่อจีนเช่นเดิม คณะผู้แทนของจีนจึงหารือล่วงหน้าว่า เมื่อต้องเผชิญกับพฤติกรรมเช่นนี้ของกองทัพสหรัฐฯ จะต้องไม่ตื่นตระหนก ในทางกลับกัน จะต้องให้ทำตัวสงบและผ่อนคลาย พูดคุยอารมณ์ดี ด้วยวิธีนี้เท่านั้นที่จะทำลายการป้องกันทางจิตวิทยาของกองทัพสหรัฐฯ ได้ เหตุการณ์ลากยาวไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1953 เมื่อดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์(Dwight D. Eisenhower德怀特·艾森豪威尔) ได้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกา หลังจากเข้ารับตำแหน่ง ไอเซนฮาวร์(Eisenhower)ก็ตระหนักถึงปัญหาหนึ่ง ในสงครามเกาหลี สหรัฐฯ ลงทุนมากเกินไป บัดนี้ ยิ่งยืดเยื้อนานเท่าไรก็ยิ่งส่งผลเสียต่อสหรัฐฯ มากขึ้นเท่านั้น และอาจถึงขั้นสั่นคลอนการปกครองของรัฐบาลสหรัฐฯ ด้วยซ้ำ ด้วยเหตุนี้ ไอเซนฮาวร์(Eisenhower)จึงหวังที่จะยุติสงครามโดยเร็วที่สุด ดังนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ของปีนั้น สหรัฐฯ จึงส่งข้อความสื่อสารไปยังจีนและตกลงที่จะแลกเปลี่ยนนักโทษที่บาดเจ็บบางส่วนก่อน ในเวลานี้สตาลินผู้นำสหภาพโซเวียตได้ถึงแก่กรรมแล้ว และจีนต้องแก้ไขปัญหานี้โดยเร็วที่สุด ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงบรรลุข้อตกลงในประเด็นเรื่องเชลยศึกในที่สุด ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1953 ทั้งสองฝ่ายได้จัดพิธีส่งมอบแลกเปลี่ยนนักโทษที่เมืองพันมุนจ็อม(Panmunjom板門店) ต่อจากนั้นทั้งสองฝ่ายตัดสินใจลงนามข้อตกลงสงบศึกอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1953 ตัวแทนของกองทัพสหรัฐฯ คือ พลโทวิลเลียม เคลลี่ แฮร์ริสัน จูเนียร์(William Kelly Harrison Jr. 小威廉·凱利·哈里森)และตัวแทนของเกาหลีเหนือคือ นายพลนัม อิล(Nam Il南日) ขณะนั้นบรรยากาศในที่เกิดเหตุน่าอับอายมาก โดยเฉพาะฝั่งคณะผู้แทนสหรัฐฯ ที่น่าสังเวช 🥳โปรดติดตามบทความ #สงครามเกาหลีมีผลกระทบต่อสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นอย่างไร ตอน02.ที่น่าสนใจต่อไป.ในโอกาสหน้า🥳 🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 432 มุมมอง 0 รีวิว