ดร.สุรเกียรติ์ยิ่งก่อข้อสงสัยรูป 1-2 มีเอกสารวิชาการเขียนโดย ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เกี่ยวกับ MOU44 เผยแพร่ในปี 2554 จุลสารความมั่นคงศึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ มีข้อมูลสำคัญที่ผมไม่รู้มาก่อนแต่ข้อมูลใหม่เหล่านี้ ยิ่งก่อข้อสงสัยในเจตนารมณ์ที่รัฐบาลของอดีตนายกฯทักษิณไปจัดทำ MOU44 🫡 ข้อสงสัยที่หนึ่ง กัมพูชาขีดเส้นเว้นเกาะกูดจริงหรือ?รูป 3-6 คือพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชา ผมเข้าใจมาตลอดว่า กัมพูชาขีดเส้นพาดผ่านเกาะกูด แต่ในเอกสารหน้า 6-9 ดร.สุรเกียรติ์วิเคราะห์ว่ากัมพูชาขีดเส้นเว้นเกาะกูดแผนที่รูป 6 ขยายไปเป็นรูป 7 ท่านเขียนว่าเส้นของกัมพูชาลากจากจุด A บนชายฝั่งมาจนถึงชายฝั่งเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วไปเริ่มเส้นต่อไปจากชายฝั่งเกาะกูดด้านตะวันตก ประกอบกับท่านเห็นว่า ในแผนที่มีการระบุชื่อเกาะกูดว่า Koh Kut (Siam) ซึ่งท่านอนุมาน'เป็นการบ่งบอกว่าเกาะกูดเป็นของประเทศไทย' ท่านจึงตีความว่า "ดังนั้น กัมพูชาไม่เคยอ้างอธิปไตยเหนือเกาะกูด"🧐 ผมโต้แย้ง:- ในรูป 3 พระราชกฤษฎีกา กัมพูชาระบุตั้งใจลากเส้นโดยอ้างอิงสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส คศ 1907 เพราะต้องการใช้ประโยชน์จากในสนธิสัญญาฯ มีข้อความ "ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด" ดังนั้น ถึงแม้ในรูป 7 ท่านตีความว่ากัมพูชาแสดงเจตนาไม่ต้องการให้เส้นผ่านเกาะกูด แต่อาจเป็นการตีความเข้าข้างตัวเอง🥶 ข้อสงสัย:- ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้แน่นอนว่า วันหน้ากัมพูชาจะไม่อ้างว่าไทยรับรู้ใน MOU44 แล้วว่า โดยสภาพความเป็นจริง เส้นนี้ย่อมมีเจตนาผ่านเกาะกูด เพราะ (ก) พระราชกฤษฎีกามีการอ้างอิงตำแหน่งแห่งหนที่ตั้งอยู่เฉพาะบนเกาะกูด และ(ข) ตรรกแห่งการตีเส้นเขตไหล่ทวีปที่ขาดแหว่งเป็นเส้นประ ไม่อยู่ในข้อใดในอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีป มีแต่เส้นต่อเนื่องทั้งนั้น🫡 ข้อสงสัยที่สอง กัมพูชายอมรับว่าเกาะกูดเป็นอธิปไตยของไทยจริงหรือ?ในเอกสารหน้า 35-36 ท่านเขียนว่า "ถึงแม้ว่าบันทึกความเข้าใจนี้จะไม่ถือว่าเป็นที่สิ้นสุดของการเจรจามีผลผูกพันทั้งสองประเทศเกี่ยวกับเส้นเขตทางทะเล แต่อย่างน้อยที่สุด ก็ถือเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการที่รัฐบาลกัมพูชาในปัจจุบันได้ยอมรับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ประเทศไทยมีอธิปไตยเหนือเกาะกูด" และ"ภายหลังจากการลงนามในบันทึกความเข้าใจแล้วนั้น ฝ่ายไทยก็ได้มอบหมายให้ผู้เขียนพยายามที่จะเจรจาในระดับรัฐมตรีเพื่อไม่ไม่ให้เส้นเขตแดนล้อมรอบเกาะกูดถูกกำหนดเป็นรูปตัว "U" ซึ่งผู้เขียนจำได้ว่าเคยหารือกับนาย ซก อาน รัฐมนตรีอาวุโสของกัมพูชา (ตำแหน่งในขณะนั้น) ว่าเหตุใดเส้นเขตแดนจึงมีโค้งเป็นเบ้าขนมครก เหตุใดจึงไม่เป็นเส้นตรง ซึ่งหมายความว่าจากหลักเขตแดนที่ 73 นั้น เส้นเขตทางทะเลควรจะลากจากลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นเส้นตรง และต้องไม่ลากผ่านเกาะกูด มิใช่ลากเส้นมาถึงเกาะกูดแล้ว จึงเกิดส่วนเว้าหลบอ้อมเกาะกูดไป ซึ่งในแง่ของไทยแล้วการลากเส้นเขตแดนเป็นเส้นตรงโดยไม่ผ่านกึ่งกลางของเกาะกูดจะมีผลทำให้อธิปไตยของเกาะกูดมีความชัดเจนมากขึ้น และทำให้อาณาเขตรวมของพื้นที่ทับช้อนทางทะเลมีขนาดเล็กลง ดังรูป 10 (เป็นเส้นประที่ลูกศรขี้ซึ่งแสดงอยู่ในรูป 8 )ซึ่งในเรื่องนี้อยู่ในระหว่างการที่ฝ่ายกัมพูชาจะขอความเห็นชอบจากผู้นำสูงสุดของกัมพูชา แต่ผู้เขียนได้พ้นหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคไปเสียก่อน"🧐 ผมโต้แย้ง:- กัมพูชาไม่ได้ยอมรับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่าประเทศไทยมีอธิปไตยเหนือเกาะกูด เพราะ(ก) ไม่มีข้อความเช่นนั้นแม้แต่คำเดียวปรากฏใน MOU44 กลับเป็นการตีความของท่านฝ่ายเดียว(ข) ถ้ากัมพูชายอมรับเช่นนั้นจริง เส้นจะต้องไม่เข้ามาใกล้เกาะกูด แต่จะต้องเอียงลงตะวันตกเฉียงใต้ ดังที่ท่านเองก็ยอมรับในบทความ🥶 ข้อสงสัย:- ในขณะที่ลงนามใน MOU44 ท่านทราบหรือไม่ว่า เส้นที่ถูกต้องคือไม่เข้ามาใกล้เกาะกูด? ถ้าทราบ ท่านไปลงนามทำไม?🫡 ข้อสงสัยที่สาม:- ฝ่ายไทยควรพอใจแผนผังแนบท้าย MOU44 จริงหรือ?ในเอกสารหน้า 35 ท่านเขียนว่า"ดังนั้น แผนผังแนบท้ายบันทึกความเข้าใจนี้จึงเป็นสิ่งที่ฝ่ายไทยพอใจเพราะแสดงถึงความคืบหน้าในการเจรจาจุดเริ่มต้นของการลงเส้นเขตทางทะเลจากหลักเขตแดนทางบกที่ตรงกับจุดยืนของไทย และเส้นที่ลากนั้นได้ยอมรับอธิปไตยของไทยเหนือเกาะกูด และยังยอมรับอธิบไตยของไทยเหนือทะเลอาณาเขตรอบๆ"🧐 ผมโต้แย้ง:- ไม่มีเหตุผลใดที่ไทยควรจะพอใจกับการแสดงแผนที่ซึ่งเป็นแผนผังแนบท้าย MOU44 เพราะแสดงเส้นของสองประเทศที่ไม่เท่าเทียมกัน คือเส้นของไทยประกาศตามอนุสัญญาเจนีวา ในขณะที่เส้นของกัมพูชาไม่เป็นเช่นนั้น🫡 ข้อสงสัยที่สี่:- ท่านรู้ว่า MOU44 เป็นโมฆะตั้งแต่ต้น หรือไม่?ในเอกสารหน้า 36 ท่านเขียนว่า"(5) บันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้ลงนามโดยผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาลของทั้งสองประเทศ จึงมีสถานะเป็นสนธิสัญญาตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969"🧐 ผมโต้แย้ง:- ตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะท่านในฐานะผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาลไทย ไปลงนามในสนธิสัญญา ..ทั้งที่มิได้มีการทูลเกล้าฯ และมีได้มีการนำเสนอรัฐสภาเสียก่อน เป็นการกระทำเกินอำนาจ ultra vires จึงไม่ผูกพันรัฐบาลไทย และทำให้ MOU44 เป็นโมฆะตั้งแต่ต้นผมเห็นว่าไม่มีเอกสารหลักฐานชิ้นไหน ที่มีความสำคัญเท่าชิ้นนี้อีกแล้ว🫡 ข้อสงสัยที่ห้า:- ทำไมท่านไม่แจ้งรัฐบาลว่ากัมพูชาตีความสนธิสัญญาฯ ผิด?ในเอกสารหน้า 11-12 ท่านวิเคราะห์ว่ากัมพูชาตีความสนธิสัญญาฯ เข้าข้างตัวเองว่าเป็นการแบ่งเขตทางทะเล แต่เจตนารมณ์เป็นเพียงเพื่อกำหนดเส้นแบ่งเขตทางบก ซึ่งตรงกับของผม 🧐 ผมโต้แย้ง:- ในเมื่อท่านรู้ดีอยู่แล้วว่าเส้นของกัมพูชาไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ท่านควรจะแจ้งให้รัฐบาลของท่านนายกทักษิณทราบ และกต.น่าจะแจ้งให้รัฐบาลต่างๆ ทราบ 🫡 ข้อสงสัยที่หก:- ท่านรู้หรือไม่ว่าเส้นของกัมพูชาขัดกับอนุสัญญาไหล่ทวีป?ข้อ 6 ในอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ไม่ได้อนุญาตการลากเส้นที่อ้างอิงสิทธิทางประวัติศาสตร์ดังเช่นกรณีขอทะเลอาณาเขต แต่กัมพูชากลับไปอ้างอิงสนธิสัญญาฯ เป็นสิทธิทางประวัติศาสตร์ ทั้งที่ไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ และขัดกับอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีปอย่างสิ้นเชิง🧐 ผมโต้แย้ง:- ในเมื่อท่านรู้ดีอยู่แล้วว่าเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาขัดกับอนุสัญญาไหล่ทวีป ทำไมท่านไม่โต้แย้งกัมพูชาเป็นลายลักษณ์อักษร?🫡 ข้อสงสัยที่เจ็ด:- ทำไมท่านไม่ดำเนินการตามขั้นตอนของพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย?ในเอกสารหน้า 36 ท่านเขียนว่า"ภายหลังจากที่ผู้เขียนได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ก็ได้รับทราบถึงผลการเจรจาร่วมกันในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และได้มีความเห็นตรงกันว่าควรมีการเปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการกับรัฐบาลกัมพูชาเนื่องจากเป็นประเทศเดียวที่ไทยยังไม่เคยเจรจาอย่างจริงจังเพื่อแสวงพาผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งๆ ที่ได้มีการเจรจากับรัฐบาลมาเลเซียและเวียดนามจนเสร็จสิ้นเรียบร้อยไปแล้ว ดังนั้น จึงได้มีการเริ่มเปิดการเจรจากับกัมพูชาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเขตพื้นที่ที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับช้อนกัน และการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมร่วมกันในพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย จนสามารถกำหนดแนวทางการเจรจาและการดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของทั้งสองประเทศที่เมืองเสียมราฐ เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2544 และนำไปสู่การลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ"🧐 ผมโต้แย้ง:- ประชาชนมีข้อสงสัยดังนี้(ก) ในลำดับขั้นตอนการจัดทำพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เริ่มต้นจากการเจรจาเส้นเขตแดนของทั้งสองประเทศให้เสร็จเรียบร้อยก่อน จึงจะได้อาณาเขตพื้นที่พัฒนาร่วมที่ยอมรับทั้งสองฝ่าย เป็นขั้นตอน ใช้ม้าลากรถแต่ลำดับขั้นตอนการจัดทำพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-กัมพูชา เริ่มต้นจากการกำหนดอาณาเขตพื้นที่พัฒนาร่วมขึ้นมาเอง เป็นการรีบร้อนลัดขั้นตอน ใช้รถลากม้า(ข) การเจรจากำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซีย ใช้เวลาหลายปี ท่านใช้เวลาเจรจากำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาเพียงสองสามเดือนส่อเจตนาชัดเจนว่าให้ความสำคัญลำดับหนึ่งแก่การแสวงหาประโยชน์ปิโตรเลียม จนมีความเสี่ยงเรื่องเขตแดนเกิดขึ้นการเร่งรีบเช่นนี้ ทำให้ประชาชนกังวลว่า มีวาระซ่อนเร้นแฝงอยู่ในการเจรจาหรือไม่🧐 ผมขอย้ำว่า เขียนบทความนี้ด้วยความเคารพ และหวังจะให้ประโยชน์แก่รัฐมนตรีพรรคร่วมอย่างเต็มที่เป็นสำคัญวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
ดร.สุรเกียรติ์ยิ่งก่อข้อสงสัยรูป 1-2 มีเอกสารวิชาการเขียนโดย ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เกี่ยวกับ MOU44 เผยแพร่ในปี 2554 จุลสารความมั่นคงศึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ มีข้อมูลสำคัญที่ผมไม่รู้มาก่อนแต่ข้อมูลใหม่เหล่านี้ ยิ่งก่อข้อสงสัยในเจตนารมณ์ที่รัฐบาลของอดีตนายกฯทักษิณไปจัดทำ MOU44 🫡 ข้อสงสัยที่หนึ่ง กัมพูชาขีดเส้นเว้นเกาะกูดจริงหรือ?รูป 3-6 คือพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชา ผมเข้าใจมาตลอดว่า กัมพูชาขีดเส้นพาดผ่านเกาะกูด แต่ในเอกสารหน้า 6-9 ดร.สุรเกียรติ์วิเคราะห์ว่ากัมพูชาขีดเส้นเว้นเกาะกูดแผนที่รูป 6 ขยายไปเป็นรูป 7 ท่านเขียนว่าเส้นของกัมพูชาลากจากจุด A บนชายฝั่งมาจนถึงชายฝั่งเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วไปเริ่มเส้นต่อไปจากชายฝั่งเกาะกูดด้านตะวันตก ประกอบกับท่านเห็นว่า ในแผนที่มีการระบุชื่อเกาะกูดว่า Koh Kut (Siam) ซึ่งท่านอนุมาน'เป็นการบ่งบอกว่าเกาะกูดเป็นของประเทศไทย' ท่านจึงตีความว่า "ดังนั้น กัมพูชาไม่เคยอ้างอธิปไตยเหนือเกาะกูด"🧐 ผมโต้แย้ง:- ในรูป 3 พระราชกฤษฎีกา กัมพูชาระบุตั้งใจลากเส้นโดยอ้างอิงสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส คศ 1907 เพราะต้องการใช้ประโยชน์จากในสนธิสัญญาฯ มีข้อความ "ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด" ดังนั้น ถึงแม้ในรูป 7 ท่านตีความว่ากัมพูชาแสดงเจตนาไม่ต้องการให้เส้นผ่านเกาะกูด แต่อาจเป็นการตีความเข้าข้างตัวเอง🥶 ข้อสงสัย:- ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้แน่นอนว่า วันหน้ากัมพูชาจะไม่อ้างว่าไทยรับรู้ใน MOU44 แล้วว่า โดยสภาพความเป็นจริง เส้นนี้ย่อมมีเจตนาผ่านเกาะกูด เพราะ (ก) พระราชกฤษฎีกามีการอ้างอิงตำแหน่งแห่งหนที่ตั้งอยู่เฉพาะบนเกาะกูด และ(ข) ตรรกแห่งการตีเส้นเขตไหล่ทวีปที่ขาดแหว่งเป็นเส้นประ ไม่อยู่ในข้อใดในอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีป มีแต่เส้นต่อเนื่องทั้งนั้น🫡 ข้อสงสัยที่สอง กัมพูชายอมรับว่าเกาะกูดเป็นอธิปไตยของไทยจริงหรือ?ในเอกสารหน้า 35-36 ท่านเขียนว่า "ถึงแม้ว่าบันทึกความเข้าใจนี้จะไม่ถือว่าเป็นที่สิ้นสุดของการเจรจามีผลผูกพันทั้งสองประเทศเกี่ยวกับเส้นเขตทางทะเล แต่อย่างน้อยที่สุด ก็ถือเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการที่รัฐบาลกัมพูชาในปัจจุบันได้ยอมรับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ประเทศไทยมีอธิปไตยเหนือเกาะกูด" และ"ภายหลังจากการลงนามในบันทึกความเข้าใจแล้วนั้น ฝ่ายไทยก็ได้มอบหมายให้ผู้เขียนพยายามที่จะเจรจาในระดับรัฐมตรีเพื่อไม่ไม่ให้เส้นเขตแดนล้อมรอบเกาะกูดถูกกำหนดเป็นรูปตัว "U" ซึ่งผู้เขียนจำได้ว่าเคยหารือกับนาย ซก อาน รัฐมนตรีอาวุโสของกัมพูชา (ตำแหน่งในขณะนั้น) ว่าเหตุใดเส้นเขตแดนจึงมีโค้งเป็นเบ้าขนมครก เหตุใดจึงไม่เป็นเส้นตรง ซึ่งหมายความว่าจากหลักเขตแดนที่ 73 นั้น เส้นเขตทางทะเลควรจะลากจากลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นเส้นตรง และต้องไม่ลากผ่านเกาะกูด มิใช่ลากเส้นมาถึงเกาะกูดแล้ว จึงเกิดส่วนเว้าหลบอ้อมเกาะกูดไป ซึ่งในแง่ของไทยแล้วการลากเส้นเขตแดนเป็นเส้นตรงโดยไม่ผ่านกึ่งกลางของเกาะกูดจะมีผลทำให้อธิปไตยของเกาะกูดมีความชัดเจนมากขึ้น และทำให้อาณาเขตรวมของพื้นที่ทับช้อนทางทะเลมีขนาดเล็กลง ดังรูป 10 (เป็นเส้นประที่ลูกศรขี้ซึ่งแสดงอยู่ในรูป 8 )ซึ่งในเรื่องนี้อยู่ในระหว่างการที่ฝ่ายกัมพูชาจะขอความเห็นชอบจากผู้นำสูงสุดของกัมพูชา แต่ผู้เขียนได้พ้นหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคไปเสียก่อน"🧐 ผมโต้แย้ง:- กัมพูชาไม่ได้ยอมรับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่าประเทศไทยมีอธิปไตยเหนือเกาะกูด เพราะ(ก) ไม่มีข้อความเช่นนั้นแม้แต่คำเดียวปรากฏใน MOU44 กลับเป็นการตีความของท่านฝ่ายเดียว(ข) ถ้ากัมพูชายอมรับเช่นนั้นจริง เส้นจะต้องไม่เข้ามาใกล้เกาะกูด แต่จะต้องเอียงลงตะวันตกเฉียงใต้ ดังที่ท่านเองก็ยอมรับในบทความ🥶 ข้อสงสัย:- ในขณะที่ลงนามใน MOU44 ท่านทราบหรือไม่ว่า เส้นที่ถูกต้องคือไม่เข้ามาใกล้เกาะกูด? ถ้าทราบ ท่านไปลงนามทำไม?🫡 ข้อสงสัยที่สาม:- ฝ่ายไทยควรพอใจแผนผังแนบท้าย MOU44 จริงหรือ?ในเอกสารหน้า 35 ท่านเขียนว่า"ดังนั้น แผนผังแนบท้ายบันทึกความเข้าใจนี้จึงเป็นสิ่งที่ฝ่ายไทยพอใจเพราะแสดงถึงความคืบหน้าในการเจรจาจุดเริ่มต้นของการลงเส้นเขตทางทะเลจากหลักเขตแดนทางบกที่ตรงกับจุดยืนของไทย และเส้นที่ลากนั้นได้ยอมรับอธิปไตยของไทยเหนือเกาะกูด และยังยอมรับอธิบไตยของไทยเหนือทะเลอาณาเขตรอบๆ"🧐 ผมโต้แย้ง:- ไม่มีเหตุผลใดที่ไทยควรจะพอใจกับการแสดงแผนที่ซึ่งเป็นแผนผังแนบท้าย MOU44 เพราะแสดงเส้นของสองประเทศที่ไม่เท่าเทียมกัน คือเส้นของไทยประกาศตามอนุสัญญาเจนีวา ในขณะที่เส้นของกัมพูชาไม่เป็นเช่นนั้น🫡 ข้อสงสัยที่สี่:- ท่านรู้ว่า MOU44 เป็นโมฆะตั้งแต่ต้น หรือไม่?ในเอกสารหน้า 36 ท่านเขียนว่า"(5) บันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้ลงนามโดยผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาลของทั้งสองประเทศ จึงมีสถานะเป็นสนธิสัญญาตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969"🧐 ผมโต้แย้ง:- ตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะท่านในฐานะผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาลไทย ไปลงนามในสนธิสัญญา ..ทั้งที่มิได้มีการทูลเกล้าฯ และมีได้มีการนำเสนอรัฐสภาเสียก่อน เป็นการกระทำเกินอำนาจ ultra vires จึงไม่ผูกพันรัฐบาลไทย และทำให้ MOU44 เป็นโมฆะตั้งแต่ต้นผมเห็นว่าไม่มีเอกสารหลักฐานชิ้นไหน ที่มีความสำคัญเท่าชิ้นนี้อีกแล้ว🫡 ข้อสงสัยที่ห้า:- ทำไมท่านไม่แจ้งรัฐบาลว่ากัมพูชาตีความสนธิสัญญาฯ ผิด?ในเอกสารหน้า 11-12 ท่านวิเคราะห์ว่ากัมพูชาตีความสนธิสัญญาฯ เข้าข้างตัวเองว่าเป็นการแบ่งเขตทางทะเล แต่เจตนารมณ์เป็นเพียงเพื่อกำหนดเส้นแบ่งเขตทางบก ซึ่งตรงกับของผม 🧐 ผมโต้แย้ง:- ในเมื่อท่านรู้ดีอยู่แล้วว่าเส้นของกัมพูชาไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ท่านควรจะแจ้งให้รัฐบาลของท่านนายกทักษิณทราบ และกต.น่าจะแจ้งให้รัฐบาลต่างๆ ทราบ 🫡 ข้อสงสัยที่หก:- ท่านรู้หรือไม่ว่าเส้นของกัมพูชาขัดกับอนุสัญญาไหล่ทวีป?ข้อ 6 ในอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ไม่ได้อนุญาตการลากเส้นที่อ้างอิงสิทธิทางประวัติศาสตร์ดังเช่นกรณีขอทะเลอาณาเขต แต่กัมพูชากลับไปอ้างอิงสนธิสัญญาฯ เป็นสิทธิทางประวัติศาสตร์ ทั้งที่ไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ และขัดกับอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีปอย่างสิ้นเชิง🧐 ผมโต้แย้ง:- ในเมื่อท่านรู้ดีอยู่แล้วว่าเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาขัดกับอนุสัญญาไหล่ทวีป ทำไมท่านไม่โต้แย้งกัมพูชาเป็นลายลักษณ์อักษร?🫡 ข้อสงสัยที่เจ็ด:- ทำไมท่านไม่ดำเนินการตามขั้นตอนของพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย?ในเอกสารหน้า 36 ท่านเขียนว่า"ภายหลังจากที่ผู้เขียนได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ก็ได้รับทราบถึงผลการเจรจาร่วมกันในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และได้มีความเห็นตรงกันว่าควรมีการเปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการกับรัฐบาลกัมพูชาเนื่องจากเป็นประเทศเดียวที่ไทยยังไม่เคยเจรจาอย่างจริงจังเพื่อแสวงพาผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งๆ ที่ได้มีการเจรจากับรัฐบาลมาเลเซียและเวียดนามจนเสร็จสิ้นเรียบร้อยไปแล้ว ดังนั้น จึงได้มีการเริ่มเปิดการเจรจากับกัมพูชาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเขตพื้นที่ที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับช้อนกัน และการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมร่วมกันในพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย จนสามารถกำหนดแนวทางการเจรจาและการดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของทั้งสองประเทศที่เมืองเสียมราฐ เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2544 และนำไปสู่การลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ"🧐 ผมโต้แย้ง:- ประชาชนมีข้อสงสัยดังนี้(ก) ในลำดับขั้นตอนการจัดทำพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เริ่มต้นจากการเจรจาเส้นเขตแดนของทั้งสองประเทศให้เสร็จเรียบร้อยก่อน จึงจะได้อาณาเขตพื้นที่พัฒนาร่วมที่ยอมรับทั้งสองฝ่าย เป็นขั้นตอน ใช้ม้าลากรถแต่ลำดับขั้นตอนการจัดทำพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-กัมพูชา เริ่มต้นจากการกำหนดอาณาเขตพื้นที่พัฒนาร่วมขึ้นมาเอง เป็นการรีบร้อนลัดขั้นตอน ใช้รถลากม้า(ข) การเจรจากำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซีย ใช้เวลาหลายปี ท่านใช้เวลาเจรจากำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาเพียงสองสามเดือนส่อเจตนาชัดเจนว่าให้ความสำคัญลำดับหนึ่งแก่การแสวงหาประโยชน์ปิโตรเลียม จนมีความเสี่ยงเรื่องเขตแดนเกิดขึ้นการเร่งรีบเช่นนี้ ทำให้ประชาชนกังวลว่า มีวาระซ่อนเร้นแฝงอยู่ในการเจรจาหรือไม่🧐 ผมขอย้ำว่า เขียนบทความนี้ด้วยความเคารพ และหวังจะให้ประโยชน์แก่รัฐมนตรีพรรคร่วมอย่างเต็มที่เป็นสำคัญวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
Like
1
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 723 มุมมอง 0 รีวิว