• ยูเครนชนะกี่โมง? ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์"
    ฟันธงรัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ
    .
    ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์" ยอดนักวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศสายส้ม วิเคราะห์สงครามยูเครนแบบมั่นหน้า ด้วยการฟันธงว่า รัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ ปูตินจะถูกรัฐประหารเงียบ จนชาวเน็ตผู้มาจากอนาคตเข้าไปรุมคอมเมนต์เดือด เตือนความทรงจำ ถามเมื่อไหร่รัสเซียจะแพ้-ยูเครนจะชนะ?
    .
    ในสถานการณ์ทางการเมืองโลกที่ผันผวนภายหลังการยกหูโทรศัพท์พูดคุยกันนานกว่า 90 นาทีระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เมื่อวันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 โดยในประเด็นสงครามยูเครนนั้น นายทรัมป์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังว่า “ถึงเวลาแล้วที่จะยุติสงครามไร้สาระนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยการสังหารและการทำลายล้างที่ไม่จำเป็นเลย ขอพระเจ้าอวยพรประชาชนชาวรัสเซียและยูเครน!”
    .
    การเริ่มต้นพูดคุยระหว่าง ทรัมป์และปูติน อันนำมาสู่เหตุการณ์เมื่อ วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 สหรัฐฯ และรัสเซียนำโดย นายมาร์ค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ นายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งดำเนินการเปิดโต๊ะการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนกันเพียง 2 ฝ่าย อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยปราศจากตัวแทนของยูเครน และชาติต่าง ๆ ในยุโรปร่วมโต๊ะเลย แม้แต่คนเดียว
    .
    สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความเดือดดาลให้กับนายโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนและผู้นำชาติต่างๆ ในยุโรปอย่างมาก เพราะการเปิดโต๊ะเจรจาดังกล่าวเป็นสัญญาณว่า ยูเครนและยุโรปน่าจะต้องตกเป็นเบี้ยล่าง และพ่ายแพ้ถูกทิ้งไว้ท่ามกลางซากปรักหักพัง รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่เข้ารุมเร้าทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ การแย่งชิงบีบบังคับเอาทรัพยากรเพื่อชดใช้เงินช่วยเหลือในสงคราม ความวุ่นวายทางการเมืองภายใน รวมไปถึงปัญหาสังคมและผู้อพยพ ฯลฯ
    .
    ในส่วนของผู้ที่ติดตามข่าวสารเรื่องสงครามยูเครนในประเทศไทยส่วนหนึ่ง ได้มีผู้ย้อนไปหยิบยกการวิเคราะห์สถานการณ์สงครามยูเครนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดย น.ส.พรรณิการ์ วานิช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคอนาคตใหม่ และอดีตเป็นพิธีกรรายการข่าวทางช่องวอยซ์ทีวี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโฆษกคณะก้าวหน้า ซึ่งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 หรือเกือบ 3 ปีที่แล้ว ได้วิเคราะห์เรื่องนี้เอาไว้ในยูทูปช่อง คณะก้าวหน้า - Progressive Movement ความยาวกว่า 25 นาที ในหัวเรื่องว่า "ช่อฟันธง! รัสเซียแพ้ย่อยยับ ปูตินชักศึกเข้าบ้าน!" (ลิงก์ >> https://www.youtube.com/watch?v=ytfIw1BHnEM)
    .
    ทั้งนี้ในรายการดังกล่าว "ช่อ พรรณิการ์" แห่งคณะก้าวหน้าได้กล่าวในตอนต้นว่า "ดิฉันขอฟันธง รัสเซียเธอแพ้แน่นอน นับวันแพ้ ทำไมถึงจะแพ้ เป็นเพราะอะไรเกิดอะไรขึ้น เป็นเพราะอะไร?"
    .
    จากนั้น อดีตโฆษกพรรคอนาคตใหม่ได้กล่าววิเคราะห์ต่อว่า สาเหตุที่รัสเซียจะพ่ายแพ้ต่อยูเครนและชาติพันธมิตรยุโรปนั้นมาจาก การบีบบังคับด้วยการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ-การเงินต่อยุโรป
    "มาตรการหลัก ๆ ที่ตอนนี้นำโดยสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ใช้อยู่จริง ๆ คือ มาตรการการเงิน ซึ่งมากไปกว่า มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจการค้านะ แต่เรียกว่าเป็นการทุบค่าเงินและตัดตอนทางการเงินแบบขนานใหญ่ อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา นานาประเทศตัดรัสเซียออกจากระบบการโอนเงินระหว่างประเทศ S.W.I.F.T., ระบบการเงินของธนาคารต่าง ๆ, มีการฟรีซแอสเสท หรือสินทรัพย์ของรัสเซียที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงประกาศไม่ให้มีการค้าขายกับรัสเซีย ..." น.ส.พรรณิการ์กล่าว และวิเคราะห์ต่อว่า นี่เองเป็นสาเหตุที่ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียตกต่ำลงอย่างมาก จนแทบจะไม่มีค่า แทบจะกลายเป็นเศษกระดาษ
    .
    นอกจากนี้ ช่อ พรรณิการ์ ยังวิเคราะห์ต่ออย่างออกรสด้วยว่า ความเคลื่อนไหวที่สำคัญที่สุดคือ ท่าทีของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่เลือกจะทำตามมาตรการคว่ำบาตรของอียู คือ การอายัดทรัพย์สินของรัสเซียที่อยู่ในแบงก์สวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไม่ใช่แค่การอายัดเฉพาะทรัพย์สินของรัฐ แต่เป็นทรัพย์สินของเอกชน และมหาเศรษฐีต่าง ๆ ของรัสเซียที่เกี่ยวข้องกับนายปูตินด้วยจะเป็นปัจจัยชี้ขายให้รัสเซียและนายปูตินพ่ายแพ้อย่างแน่นอน
    .
    "ดิฉันคิดว่า เมื่อสวิตเซอร์แลนด์ทำขนาดนี้แล้ว ปูตินนับวันแพ้ได้เลยนะคะ" โฆษกคณะก้าวหน้าฟันธง
    .
    ล่วงเลยมาถึงวันนี้ เมื่อทีมงาน Sondhi X กลับไปสำรวจความเห็นของผู้ที่เข้ามาชมคลิปการวิเคราะห์สถานการณ์โลกดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ ทางยูทูปของคณะก้าวหน้าแล้วก็พบว่า มีผู้เข้าไปย้อนดูคลิปดังกล่าวและแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น
    • สวัสดีเรามาจากอนาคต 2025 ตอนนี้ทรัมป์กับปูตินเจรจากันแล้วนะเรื่องยูเครนโดยไม่มีไอ้กี้ หรือใช้คำว่าไม่เห็นหัวไอ้กี้ ก็คงไม่ผิดนัก ส่วนไอ้กี้ก็หัวซุกหัวซุนเกาะยุโรปที่เหลืออย่างแนบแน่น จริงแล้วตอนนี้ ยูเครนต้องเลือกปธน.ใหม่แล้วนะ แต่ไอ้กี้ไม่ยอม และไม่ฟังเสียงปชช.เลย โคจรหวงอำนาจเลย ยังไงรบกวนคุณช่อประท้วงแทนปชช.ชาวยูเครนด้วยนะ หรือส่งให้ว่าที่ เลขา UN ด้วยนะครับ
    • เมื่อไรจะแพ้ รออยู่นะคับ
    • ทายแค่ ซ้ายขวายังผิดยังคิดจะมาบริหารประเทศ อายมั้ยส้ม
    • 20-2-2025 ทายผิดจนขนลุก ยูเครนเละโดนรุมทึ้งแบ่งเค้กผลประโยชน์ของชาติ แถมไม่มีสิทธิแม้แต่เข้าร่วมเจรจาสันติภาพเลือกชะตากรรมของชาติตัวเอง 😂
    • ยูเครนชนะยังครับ รอจนเมื่อยแล้ว
    • สรุปทำไมวิเคราะห์ผิดหมดเลย ไม่มีข้อมูลเพียงพอรอบด้าน หรือไม่มีศักยภาพในการวิเคราะห์ ถ้าได้บริหารประเทศวิเคราะห์ผิดแบบนี้แย่แน่นอน
    • สวัสดีเรามาจากอนาคต สภาพ ผิดทุกเรื่องตรงข้ามทุกอย่าง 5555
    • วิเคราะห์มาถึงขนาดนี้ ปัจจุบันคุณเห็นหรือยังใครเป็นคนทำสงคราม นาโต้ทำสงครามกับรัสเซีย ยูเครนเป็นสนามรบ ผู้สนับสนุนหลักคืออเมริกา
    รัสเซียบุกยูเครน ก็เพราะนาโต้ขยายอาณาเขตเข้ามาในยูเครน รัสเซียแค่ป้องกันตนเองจากกลุ่มนาโต้ มีหัวเรือเป็นสหรัฐอเมริกา ตัวตลกยูเครนคือหุ่นเชิด
    • ธงหักหมดแล้ว จากคนเคยเลือกและลาขาด
    .
    สำหรับคลิปการวิเคราะห์ดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ เรื่องสงครามยูเครน นับถึงเวลา 20.00น. ที่ผ่านมาของวันที่ 20 ก.พ. 68 มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 1.49 ล้านครั้ง
    ยูเครนชนะกี่โมง? ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์" ฟันธงรัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ . ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์" ยอดนักวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศสายส้ม วิเคราะห์สงครามยูเครนแบบมั่นหน้า ด้วยการฟันธงว่า รัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ ปูตินจะถูกรัฐประหารเงียบ จนชาวเน็ตผู้มาจากอนาคตเข้าไปรุมคอมเมนต์เดือด เตือนความทรงจำ ถามเมื่อไหร่รัสเซียจะแพ้-ยูเครนจะชนะ? . ในสถานการณ์ทางการเมืองโลกที่ผันผวนภายหลังการยกหูโทรศัพท์พูดคุยกันนานกว่า 90 นาทีระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เมื่อวันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 โดยในประเด็นสงครามยูเครนนั้น นายทรัมป์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังว่า “ถึงเวลาแล้วที่จะยุติสงครามไร้สาระนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยการสังหารและการทำลายล้างที่ไม่จำเป็นเลย ขอพระเจ้าอวยพรประชาชนชาวรัสเซียและยูเครน!” . การเริ่มต้นพูดคุยระหว่าง ทรัมป์และปูติน อันนำมาสู่เหตุการณ์เมื่อ วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 สหรัฐฯ และรัสเซียนำโดย นายมาร์ค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ นายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งดำเนินการเปิดโต๊ะการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนกันเพียง 2 ฝ่าย อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยปราศจากตัวแทนของยูเครน และชาติต่าง ๆ ในยุโรปร่วมโต๊ะเลย แม้แต่คนเดียว . สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความเดือดดาลให้กับนายโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนและผู้นำชาติต่างๆ ในยุโรปอย่างมาก เพราะการเปิดโต๊ะเจรจาดังกล่าวเป็นสัญญาณว่า ยูเครนและยุโรปน่าจะต้องตกเป็นเบี้ยล่าง และพ่ายแพ้ถูกทิ้งไว้ท่ามกลางซากปรักหักพัง รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่เข้ารุมเร้าทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ การแย่งชิงบีบบังคับเอาทรัพยากรเพื่อชดใช้เงินช่วยเหลือในสงคราม ความวุ่นวายทางการเมืองภายใน รวมไปถึงปัญหาสังคมและผู้อพยพ ฯลฯ . ในส่วนของผู้ที่ติดตามข่าวสารเรื่องสงครามยูเครนในประเทศไทยส่วนหนึ่ง ได้มีผู้ย้อนไปหยิบยกการวิเคราะห์สถานการณ์สงครามยูเครนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดย น.ส.พรรณิการ์ วานิช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคอนาคตใหม่ และอดีตเป็นพิธีกรรายการข่าวทางช่องวอยซ์ทีวี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโฆษกคณะก้าวหน้า ซึ่งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 หรือเกือบ 3 ปีที่แล้ว ได้วิเคราะห์เรื่องนี้เอาไว้ในยูทูปช่อง คณะก้าวหน้า - Progressive Movement ความยาวกว่า 25 นาที ในหัวเรื่องว่า "ช่อฟันธง! รัสเซียแพ้ย่อยยับ ปูตินชักศึกเข้าบ้าน!" (ลิงก์ >> https://www.youtube.com/watch?v=ytfIw1BHnEM) . ทั้งนี้ในรายการดังกล่าว "ช่อ พรรณิการ์" แห่งคณะก้าวหน้าได้กล่าวในตอนต้นว่า "ดิฉันขอฟันธง รัสเซียเธอแพ้แน่นอน นับวันแพ้ ทำไมถึงจะแพ้ เป็นเพราะอะไรเกิดอะไรขึ้น เป็นเพราะอะไร?" . จากนั้น อดีตโฆษกพรรคอนาคตใหม่ได้กล่าววิเคราะห์ต่อว่า สาเหตุที่รัสเซียจะพ่ายแพ้ต่อยูเครนและชาติพันธมิตรยุโรปนั้นมาจาก การบีบบังคับด้วยการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ-การเงินต่อยุโรป "มาตรการหลัก ๆ ที่ตอนนี้นำโดยสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ใช้อยู่จริง ๆ คือ มาตรการการเงิน ซึ่งมากไปกว่า มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจการค้านะ แต่เรียกว่าเป็นการทุบค่าเงินและตัดตอนทางการเงินแบบขนานใหญ่ อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา นานาประเทศตัดรัสเซียออกจากระบบการโอนเงินระหว่างประเทศ S.W.I.F.T., ระบบการเงินของธนาคารต่าง ๆ, มีการฟรีซแอสเสท หรือสินทรัพย์ของรัสเซียที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงประกาศไม่ให้มีการค้าขายกับรัสเซีย ..." น.ส.พรรณิการ์กล่าว และวิเคราะห์ต่อว่า นี่เองเป็นสาเหตุที่ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียตกต่ำลงอย่างมาก จนแทบจะไม่มีค่า แทบจะกลายเป็นเศษกระดาษ . นอกจากนี้ ช่อ พรรณิการ์ ยังวิเคราะห์ต่ออย่างออกรสด้วยว่า ความเคลื่อนไหวที่สำคัญที่สุดคือ ท่าทีของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่เลือกจะทำตามมาตรการคว่ำบาตรของอียู คือ การอายัดทรัพย์สินของรัสเซียที่อยู่ในแบงก์สวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไม่ใช่แค่การอายัดเฉพาะทรัพย์สินของรัฐ แต่เป็นทรัพย์สินของเอกชน และมหาเศรษฐีต่าง ๆ ของรัสเซียที่เกี่ยวข้องกับนายปูตินด้วยจะเป็นปัจจัยชี้ขายให้รัสเซียและนายปูตินพ่ายแพ้อย่างแน่นอน . "ดิฉันคิดว่า เมื่อสวิตเซอร์แลนด์ทำขนาดนี้แล้ว ปูตินนับวันแพ้ได้เลยนะคะ" โฆษกคณะก้าวหน้าฟันธง . ล่วงเลยมาถึงวันนี้ เมื่อทีมงาน Sondhi X กลับไปสำรวจความเห็นของผู้ที่เข้ามาชมคลิปการวิเคราะห์สถานการณ์โลกดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ ทางยูทูปของคณะก้าวหน้าแล้วก็พบว่า มีผู้เข้าไปย้อนดูคลิปดังกล่าวและแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น • สวัสดีเรามาจากอนาคต 2025 ตอนนี้ทรัมป์กับปูตินเจรจากันแล้วนะเรื่องยูเครนโดยไม่มีไอ้กี้ หรือใช้คำว่าไม่เห็นหัวไอ้กี้ ก็คงไม่ผิดนัก ส่วนไอ้กี้ก็หัวซุกหัวซุนเกาะยุโรปที่เหลืออย่างแนบแน่น จริงแล้วตอนนี้ ยูเครนต้องเลือกปธน.ใหม่แล้วนะ แต่ไอ้กี้ไม่ยอม และไม่ฟังเสียงปชช.เลย โคจรหวงอำนาจเลย ยังไงรบกวนคุณช่อประท้วงแทนปชช.ชาวยูเครนด้วยนะ หรือส่งให้ว่าที่ เลขา UN ด้วยนะครับ • เมื่อไรจะแพ้ รออยู่นะคับ • ทายแค่ ซ้ายขวายังผิดยังคิดจะมาบริหารประเทศ อายมั้ยส้ม • 20-2-2025 ทายผิดจนขนลุก ยูเครนเละโดนรุมทึ้งแบ่งเค้กผลประโยชน์ของชาติ แถมไม่มีสิทธิแม้แต่เข้าร่วมเจรจาสันติภาพเลือกชะตากรรมของชาติตัวเอง 😂 • ยูเครนชนะยังครับ รอจนเมื่อยแล้ว • สรุปทำไมวิเคราะห์ผิดหมดเลย ไม่มีข้อมูลเพียงพอรอบด้าน หรือไม่มีศักยภาพในการวิเคราะห์ ถ้าได้บริหารประเทศวิเคราะห์ผิดแบบนี้แย่แน่นอน • สวัสดีเรามาจากอนาคต สภาพ ผิดทุกเรื่องตรงข้ามทุกอย่าง 5555 • วิเคราะห์มาถึงขนาดนี้ ปัจจุบันคุณเห็นหรือยังใครเป็นคนทำสงคราม นาโต้ทำสงครามกับรัสเซีย ยูเครนเป็นสนามรบ ผู้สนับสนุนหลักคืออเมริกา รัสเซียบุกยูเครน ก็เพราะนาโต้ขยายอาณาเขตเข้ามาในยูเครน รัสเซียแค่ป้องกันตนเองจากกลุ่มนาโต้ มีหัวเรือเป็นสหรัฐอเมริกา ตัวตลกยูเครนคือหุ่นเชิด • ธงหักหมดแล้ว จากคนเคยเลือกและลาขาด . สำหรับคลิปการวิเคราะห์ดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ เรื่องสงครามยูเครน นับถึงเวลา 20.00น. ที่ผ่านมาของวันที่ 20 ก.พ. 68 มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 1.49 ล้านครั้ง
    Haha
    Like
    6
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 219 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถนนจูเชวี่ยแห่งนครฉางอัน

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเร็วหน่อยก่อนจะแยกย้ายกันไปฉลองปีใหม่ พูดถึงเทศกาลคริสมาสและปีใหม่ ก็หนีไม่พ้นเรื่องของการซื้อของให้ของขวัญ ทำให้ Storyฯ นึกถึงถนนสายหนึ่งที่มักถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เวลาที่นางเอกชวนสาวใช้ไปเดินช้อปปิ้ง

    ถนนสายนี้มีชื่อว่า ถนนจูเชวี่ย (朱雀街 / ถนนวิหคชาด) ซึ่งเป็นชื่อที่ปรากฏบ่อยมากในซีรีส์และนิยายจีน เพราะมันเป็นถนนที่โด่งดังมากแห่งนครฉางอัน และปัจจุบันยังคงมีถนนสายนี้อยู่ที่เมืองซีอัน แต่เรียกจริงๆ ว่าถนนใหญ่จูเชวี่ย (朱雀大街 / Zhuque Avenue)

    ถนนจูเชวี่ยที่เราเห็นในละครหลายเรื่องดูจะเป็นถนนเล็ก สองฟากเรียงรายด้วยแผงขายของ แต่จริงๆ แล้ว ถนนจูเชวี่ยเป็นถนนที่ใหญ่มาก เลยต้องเอารูปประกอบมาเสริมจากละครเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> ซึ่งถูกกล่าวขานยกย่องว่ามีการจำลองผังเมืองนครฉางอันมาอย่างดี

    ‘ฉางอัน’ ชื่อนี้แปลว่าสงบสุขยืนยาว และเมืองฉางอันมีอดีตยาวนานสมชื่อ มันเคยเป็นเมืองหลวงเก่าแก่หลายราชวงศ์ แต่ไม่ได้มีอาณาเขตเท่ากันในทุกยุคสมัย ในสมัยราชวงศ์สุยและถังมีการสร้างพระราชวังขึ้นเพิ่มและขยายอาณาเขตออกไป และในสมัยถังจัดได้ว่าเป็นช่วงที่เรืองรองที่สุดของนครฉางอัน ในช่วงที่เฟื่องฟูที่สุดนั้น นครฉางอันมีประชากรถึง 3 ล้านคน เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกในสมัยนั้น ใหญ่กว่ากรุงโรมโบราณถึง 7 เท่า เส้นผ่าศูนย์กลางตะวันออก-ตะวันตกของเมืองยาว 9.7 กิโลเมตร เหนือ-ใต้ยาว 8.7 กิโลเมตร

    ต่อมาในสมัยปลายถังมีการหนีข้าศึกย้ายราชธานีไปยังเมืองลั่วหยาง เมืองฉางอันก็ค่อยๆ เสื่อมโทรมลง ในสมัยหมิงมีการบูรณะฉางอันสร้างขึ้นอีกครั้งเป็นเมืองซีอัน แต่ก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่เท่าฉางอันเดิม

    นครฉางอันสมัยถังแบ่งเป็นสองเขตใหญ่ คือฝั่งตะวันออกและตะวันตก มีถนนใหญ่คั่นกลางคือถนนจูเชวี่ย (ดูรูปประกอบ2) พื้นที่ทั้งหมดถูกแบ่งซอยย่อยเป็นเขตเล็กทรงสี่เหลี่ยมเรียกว่า ‘ฟาง’ มีหลายขนาด ยาวประมาณ 500-800 เมตร กว้าง 700-1,000 เมตร แต่ละเขตฟางมีกำแพงและคูระบายน้ำล้อมรอบ และมีประตูเข้าออกของมันเองเพื่อความปลอดภัย โดยประตูจะเปิดในตอนเช้าและปิดในตอนกลางคืน มีทั้งหมดด้วยกัน 108 เขตฟาง (ไม่รวมตลาดอีก 2 ฟาง) จนบางคนเปรียบผังเมืองฉางอันเป็นกระดานหมากล้อม เพื่อนเพจที่ได้ดู <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> น่าจะคุ้นเคยกับภาพของเขตฟางเหล่านี้

    นครฉางอันมีประตูเมือง 12 ประตู (Storyฯ เคยคุยถึงประตูเมืองโบราณแล้วใน https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/581451090649854 ) และประตูเมืองที่สำคัญเพราะเป็นประตูหลักในการเข้าออกเมืองนี้ก็คือประตูทิศใต้ที่มีชื่อว่า ประตูหมิงเต๋อ มันเป็นประตูเมืองประตูเดียวที่มีถึงห้าบาน โดยหนึ่งบานนั้นเป็นประตูที่เปิดใช้เฉพาะยามที่ฮ่องเต้เสด็จเข้าออกเมือง

    ถนนจูเชวี่ยนี้ ทิศใต้จรดประตูเมืองหมิงเต๋อที่กล่าวถึงข้างต้น ส่วนทิศเหนือนั้นจรดประตูเขตพระนครชื่อว่าประตูจูเชวี่ย และเลยผ่านเขตพระนครไปจรดประตูพระราชวังเฉิงเทียน อนึ่ง เขตพระนครหรือหวงเฉิง (皇城 / Royal City) นั้นคือส่วนที่เป็นบริเวณสถานที่ราชการต่างๆ ส่วนเขตพระราชวังหรือกงเฉิง (宫城 / Palace City) นั้นคือเขตที่ประทับของฮ่องเต้และเหล่าเชื้อพระวงศ์ ถนนจูเชวี่ยส่วนที่อยู่ในเขตพระนครนั้นเรียกว่า ถนนเฉิงเทียน ตามชื่อประตู และเป็นที่มาว่าถนนจูเชวี่ยถูกเรียกว่าถนน ‘เทียนเจีย’ (ถนนสวรรค์)

    ถนนจูเชวี่ยแห่งนครฉางอันในสมัยถังนั้น จริงแท้หน้าตาเป็นอย่างไรไม่ปรากฏภาพวาดเปรียบเทียบกับถนนอื่นอย่างชัดเจน แต่มีการขุดพบซากถนนเก่าที่ยืนยันขนาดของมันว่ามีความยาว กว่า 5 กม. ถนนหน้ากว้าง 150 เมตร (รวมคูข้างถนน ถ้าไม่รวมคือประมาณ 129-130 เมตร) และทุกระยะทาง 200 เมตรจะมีการขยายถนนออกไปเล็กน้อย คล้ายเป็นไหล่ทาง มีไว้ให้คนยืนหลบเวลาที่ฮ่องเต้เสด็จผ่าน --- ลองนึกเปรียบเทียบดูว่า ถนนบ้านเราปัจจุบันตามกฎหมายกว้าง 3 เมตร ดังนั้นความกว้างของถนนจูเชวี่ยเทียบเท่าถนนห้าสิบเลนปัจจุบันของเราเลยทีเดียว! ทีนี้เพื่อนเพจคงนึกภาพตามได้ไม่ยากแล้วว่า ในละครที่เราเห็นภาพฮ่องเต้ทรงอวยพรให้แม่ทัพและเหล่ากองกำลังทหารก่อนเดินทัพออกจากพระราชวังนั้น เขามีถนนใหญ่อย่างนี้จริง

    มีคนวิเคราะห์ไว้ว่า ขนาดความกว้างของถนนจูเชวี่ยนี้ เป็นเพราะระยะทางการยิงของธนูธรรมดาในสมัยนั้น ยิงได้ไกลประมาณ 60 เมตร ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของขบวนเสด็จของฮ่องเต้ ถนนจูเชวี่ยจึงต้องมีความกว้างถึง 150 เมตร

    แต่ไม่ใช่ถนนทุกสายที่มีหน้ากว้างขนาดนี้ ถนนสายรองของเมืองมีหน้ากว้างปกติ 40-70 เมตร และถนนเล็กเลียบกำแพงเมืองจะมีหน้ากว้างไม่เกิน 25 เมตร ส่วนถนนระหว่างเขตฟางส่วนใหญ่มีความกว้างเพียงให้รถเกวียนหรือรถม้าสองคันวิ่งสวนกัน

    ถนนจูเชวี่ยใหญ่ขนาดนี้ ใช่ถนนช้อปปิ้งหรือไม่?

    จากบันทึกโบราณ สถานช้อปปิ้งหลักของนครฉางอันคือตลาดตะวันตกและตลาดตะวันออก (ดูรูปผังเมืองที่แปะมา) โดยสินค้าในตลาดตะวันตกส่วนใหญ่เป็นสินค้าพื้นบ้านหรือของนำเข้าจากเมืองอื่นสำหรับชาวบ้านทั่วไป แต่สินค้าในตลาดตะวันออกจากมีราคาสูงขึ้นมาอีก เพราะกลุ่มลูกค้าจะเป็นชนชั้นสูง ส่วนถนนจูเชวี่ยนั้น สองฝั่งฟากส่วนใหญ่เป็นวัดวาอารามและหอชมวิว

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.niusnews.com/=P0123ga33
    https://n.znds.com/article/39071.html
    http://v.xiancity.cn/folder11/folder186/2016-11-25/89648.html
    https://m.planning.org.cn/zx_news/9888.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.planning.org.cn/zx_news/9888.htm
    https://en.unesco.org/silkroad/content/did-you-know-cosmopolitan-city-changan-eastern-end-silk-roads
    https://i.ifeng.com/c/8NbyjwjSa8B
    https://kknews.cc/history/6o6lop.html
    https://kknews.cc/news/e8orjvn.html
    https://www.gugong.net/zhongguo/tangchao/29679.html

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #ฉางอัน #ถนนจูเชวี่ย #ถนนสวรรค์
    ถนนจูเชวี่ยแห่งนครฉางอัน สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเร็วหน่อยก่อนจะแยกย้ายกันไปฉลองปีใหม่ พูดถึงเทศกาลคริสมาสและปีใหม่ ก็หนีไม่พ้นเรื่องของการซื้อของให้ของขวัญ ทำให้ Storyฯ นึกถึงถนนสายหนึ่งที่มักถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เวลาที่นางเอกชวนสาวใช้ไปเดินช้อปปิ้ง ถนนสายนี้มีชื่อว่า ถนนจูเชวี่ย (朱雀街 / ถนนวิหคชาด) ซึ่งเป็นชื่อที่ปรากฏบ่อยมากในซีรีส์และนิยายจีน เพราะมันเป็นถนนที่โด่งดังมากแห่งนครฉางอัน และปัจจุบันยังคงมีถนนสายนี้อยู่ที่เมืองซีอัน แต่เรียกจริงๆ ว่าถนนใหญ่จูเชวี่ย (朱雀大街 / Zhuque Avenue) ถนนจูเชวี่ยที่เราเห็นในละครหลายเรื่องดูจะเป็นถนนเล็ก สองฟากเรียงรายด้วยแผงขายของ แต่จริงๆ แล้ว ถนนจูเชวี่ยเป็นถนนที่ใหญ่มาก เลยต้องเอารูปประกอบมาเสริมจากละครเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> ซึ่งถูกกล่าวขานยกย่องว่ามีการจำลองผังเมืองนครฉางอันมาอย่างดี ‘ฉางอัน’ ชื่อนี้แปลว่าสงบสุขยืนยาว และเมืองฉางอันมีอดีตยาวนานสมชื่อ มันเคยเป็นเมืองหลวงเก่าแก่หลายราชวงศ์ แต่ไม่ได้มีอาณาเขตเท่ากันในทุกยุคสมัย ในสมัยราชวงศ์สุยและถังมีการสร้างพระราชวังขึ้นเพิ่มและขยายอาณาเขตออกไป และในสมัยถังจัดได้ว่าเป็นช่วงที่เรืองรองที่สุดของนครฉางอัน ในช่วงที่เฟื่องฟูที่สุดนั้น นครฉางอันมีประชากรถึง 3 ล้านคน เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกในสมัยนั้น ใหญ่กว่ากรุงโรมโบราณถึง 7 เท่า เส้นผ่าศูนย์กลางตะวันออก-ตะวันตกของเมืองยาว 9.7 กิโลเมตร เหนือ-ใต้ยาว 8.7 กิโลเมตร ต่อมาในสมัยปลายถังมีการหนีข้าศึกย้ายราชธานีไปยังเมืองลั่วหยาง เมืองฉางอันก็ค่อยๆ เสื่อมโทรมลง ในสมัยหมิงมีการบูรณะฉางอันสร้างขึ้นอีกครั้งเป็นเมืองซีอัน แต่ก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่เท่าฉางอันเดิม นครฉางอันสมัยถังแบ่งเป็นสองเขตใหญ่ คือฝั่งตะวันออกและตะวันตก มีถนนใหญ่คั่นกลางคือถนนจูเชวี่ย (ดูรูปประกอบ2) พื้นที่ทั้งหมดถูกแบ่งซอยย่อยเป็นเขตเล็กทรงสี่เหลี่ยมเรียกว่า ‘ฟาง’ มีหลายขนาด ยาวประมาณ 500-800 เมตร กว้าง 700-1,000 เมตร แต่ละเขตฟางมีกำแพงและคูระบายน้ำล้อมรอบ และมีประตูเข้าออกของมันเองเพื่อความปลอดภัย โดยประตูจะเปิดในตอนเช้าและปิดในตอนกลางคืน มีทั้งหมดด้วยกัน 108 เขตฟาง (ไม่รวมตลาดอีก 2 ฟาง) จนบางคนเปรียบผังเมืองฉางอันเป็นกระดานหมากล้อม เพื่อนเพจที่ได้ดู <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> น่าจะคุ้นเคยกับภาพของเขตฟางเหล่านี้ นครฉางอันมีประตูเมือง 12 ประตู (Storyฯ เคยคุยถึงประตูเมืองโบราณแล้วใน https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/581451090649854 ) และประตูเมืองที่สำคัญเพราะเป็นประตูหลักในการเข้าออกเมืองนี้ก็คือประตูทิศใต้ที่มีชื่อว่า ประตูหมิงเต๋อ มันเป็นประตูเมืองประตูเดียวที่มีถึงห้าบาน โดยหนึ่งบานนั้นเป็นประตูที่เปิดใช้เฉพาะยามที่ฮ่องเต้เสด็จเข้าออกเมือง ถนนจูเชวี่ยนี้ ทิศใต้จรดประตูเมืองหมิงเต๋อที่กล่าวถึงข้างต้น ส่วนทิศเหนือนั้นจรดประตูเขตพระนครชื่อว่าประตูจูเชวี่ย และเลยผ่านเขตพระนครไปจรดประตูพระราชวังเฉิงเทียน อนึ่ง เขตพระนครหรือหวงเฉิง (皇城 / Royal City) นั้นคือส่วนที่เป็นบริเวณสถานที่ราชการต่างๆ ส่วนเขตพระราชวังหรือกงเฉิง (宫城 / Palace City) นั้นคือเขตที่ประทับของฮ่องเต้และเหล่าเชื้อพระวงศ์ ถนนจูเชวี่ยส่วนที่อยู่ในเขตพระนครนั้นเรียกว่า ถนนเฉิงเทียน ตามชื่อประตู และเป็นที่มาว่าถนนจูเชวี่ยถูกเรียกว่าถนน ‘เทียนเจีย’ (ถนนสวรรค์) ถนนจูเชวี่ยแห่งนครฉางอันในสมัยถังนั้น จริงแท้หน้าตาเป็นอย่างไรไม่ปรากฏภาพวาดเปรียบเทียบกับถนนอื่นอย่างชัดเจน แต่มีการขุดพบซากถนนเก่าที่ยืนยันขนาดของมันว่ามีความยาว กว่า 5 กม. ถนนหน้ากว้าง 150 เมตร (รวมคูข้างถนน ถ้าไม่รวมคือประมาณ 129-130 เมตร) และทุกระยะทาง 200 เมตรจะมีการขยายถนนออกไปเล็กน้อย คล้ายเป็นไหล่ทาง มีไว้ให้คนยืนหลบเวลาที่ฮ่องเต้เสด็จผ่าน --- ลองนึกเปรียบเทียบดูว่า ถนนบ้านเราปัจจุบันตามกฎหมายกว้าง 3 เมตร ดังนั้นความกว้างของถนนจูเชวี่ยเทียบเท่าถนนห้าสิบเลนปัจจุบันของเราเลยทีเดียว! ทีนี้เพื่อนเพจคงนึกภาพตามได้ไม่ยากแล้วว่า ในละครที่เราเห็นภาพฮ่องเต้ทรงอวยพรให้แม่ทัพและเหล่ากองกำลังทหารก่อนเดินทัพออกจากพระราชวังนั้น เขามีถนนใหญ่อย่างนี้จริง มีคนวิเคราะห์ไว้ว่า ขนาดความกว้างของถนนจูเชวี่ยนี้ เป็นเพราะระยะทางการยิงของธนูธรรมดาในสมัยนั้น ยิงได้ไกลประมาณ 60 เมตร ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของขบวนเสด็จของฮ่องเต้ ถนนจูเชวี่ยจึงต้องมีความกว้างถึง 150 เมตร แต่ไม่ใช่ถนนทุกสายที่มีหน้ากว้างขนาดนี้ ถนนสายรองของเมืองมีหน้ากว้างปกติ 40-70 เมตร และถนนเล็กเลียบกำแพงเมืองจะมีหน้ากว้างไม่เกิน 25 เมตร ส่วนถนนระหว่างเขตฟางส่วนใหญ่มีความกว้างเพียงให้รถเกวียนหรือรถม้าสองคันวิ่งสวนกัน ถนนจูเชวี่ยใหญ่ขนาดนี้ ใช่ถนนช้อปปิ้งหรือไม่? จากบันทึกโบราณ สถานช้อปปิ้งหลักของนครฉางอันคือตลาดตะวันตกและตลาดตะวันออก (ดูรูปผังเมืองที่แปะมา) โดยสินค้าในตลาดตะวันตกส่วนใหญ่เป็นสินค้าพื้นบ้านหรือของนำเข้าจากเมืองอื่นสำหรับชาวบ้านทั่วไป แต่สินค้าในตลาดตะวันออกจากมีราคาสูงขึ้นมาอีก เพราะกลุ่มลูกค้าจะเป็นชนชั้นสูง ส่วนถนนจูเชวี่ยนั้น สองฝั่งฟากส่วนใหญ่เป็นวัดวาอารามและหอชมวิว (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.niusnews.com/=P0123ga33 https://n.znds.com/article/39071.html http://v.xiancity.cn/folder11/folder186/2016-11-25/89648.html https://m.planning.org.cn/zx_news/9888.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.planning.org.cn/zx_news/9888.htm https://en.unesco.org/silkroad/content/did-you-know-cosmopolitan-city-changan-eastern-end-silk-roads https://i.ifeng.com/c/8NbyjwjSa8B https://kknews.cc/history/6o6lop.html https://kknews.cc/news/e8orjvn.html https://www.gugong.net/zhongguo/tangchao/29679.html #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #ฉางอัน #ถนนจูเชวี่ย #ถนนสวรรค์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 397 มุมมอง 0 รีวิว
  • เนื่องจากสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ติดตามตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกการแจ้งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กรณีเข้ารับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2567 นางสาวแพทองธาร นายปิฎก สุขสวัสดิ์ ผู้อยู่กินฉันสามีภริยาตามที่ ป.ป.ช. กำหนด และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ แจ้งมีทรัพย์สินทั้งสิ้น 13,993,826,903 บาท หนี้สินทั้งสิ้น 4,441,159,711 บาท 
    มีการระบุสิทธิในการเช่าที่อยู่ที่อังกฤษ 2 แห่ง ได้แก่ 1. สิทธิในการเช่าที่ Flat 11 Knaresborough Place London 2. สิทธิในการเช่าที่ Flat 6, 14 Montpelier street London
    โดยรายการสิทธิในการเช่าที่ Flat 11 Knaresborough Place London มีการระบุว่า ได้สิทธินี้มาตั้งแต่วันที่ 20 ก.พ.2550 สิ้นสุดวันที่ 24 ธ.ค. 3537 หรือก็คือระยะเวลาเช่าสิทธินาน ถึง 987 ปี มูลค่าอยู่ที่ 111,612,250 บาท
    ส่วนสิทธิในการเช่าที่ Flat 6, 14 Montpelier street London ระบุว่า ได้สิทธินี้มาตั้งแต่วันที่ 20 ก.พ.2560 สิ้นสุดวันที่ 24 ม.ค. 3552 หรือก็คือระยะเวลาเช่าสิทธินาน ถึง 992 ปี มูลค่าอยู่ที่ 208,342,867 บาท  

    ล่าสุด ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา ย้อนกลับไปตรวจสอบรายละเอียดสิทธิในการเช่าที่อยู่ที่อังกฤษ 2 แห่ง เพิ่มเติม พบว่า สิทธิในการเช่าที่ Flat 6, 14 Montpelier street London มีการแนบเอกสารเกี่ยวกับสิทธิในการเช่า จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 26 ก.ค.2560 ระบุรายละเอียดคร่าวๆว่ามีเงื่อนไขการเช่า 999 ปี ถึงวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 3009
    มีคู่สัญญา (Parties) สองฝ่าย ได้แก่ 1.Tropic Offshore Holdings Inc และ 2. น.ส.แพทองธาร ชินวัตร,นายพานทองแท้ ชินวัตร และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร
    ในส่วนทะเบียนกรรมสิทธิ์ระบุว่า มีผู้เป็นเจ้าของหรือProprietor ได้แก่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร,นายพานทองแท้ ชินวัตร และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร 
    โดยราคานอกเหนือจากค่าเช่าที่ระบุไว้ว่าได้จ่ายจากการให้สัญญาเช่าคือ 1 ปอนด์ (The Price, other than rents,  stated to have been paid on the grant of the lease was 1 Pound)
    สำหรับรายละเอียด บริษัท Tropic Offshore Holdings Inc ปรากฏข้อมูลจากเอกสารข่าวปานามาเปเปอร์ส ซึ่งเป็นการตีแผ่ข้อมูลการถือครองบริษัทนอกอาณาเขต (offshore company) ที่อยู่ในฐานข้อมูลของสำนักกฎหมายชื่อ มอสแซค ฟอนเซก้า (Mossack Fonceka) ที่เป็นบริษัทรับจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทนอกอาณาเขตที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ปานามา และมีสาขาอยู่ใน 42 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ฐานข้อมูลดังกล่าวเป็นฐานข้อมูลเรื่องการถือครองบริษัทนอกอาณาเขตที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ตกถึงมือของสื่อมวลชน โดยมีขนาดความจุ 2.6 เทราไบต์ มีเอกสารทั้งหมด 11.5 ล้านชิ้น ประกอบไปด้วยข้อมูลของบริษัทนอกอาณาเขตทั้งหมด 214,000 บริษัท โดยการขุดคุ้ยและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดของเอกสารที่ให้ชื่อว่า “ปานามาลีก” (Panama Leak) นี้เป็นความร่วมมือกันของผู้สื่อข่าวจำนวน 370 คนจาก 78 ประเทศ) 
    เอกสารข่าวปานามาเปเปอร์ส ระบุว่า เมื่อปี 2549 นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ประธานกรรมการบริษัท โรงพยาบาลพระราม 9 จำกัด (มหาชน) พี่ชายบุญธรรม ของคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ ได้ดำเนินการเข้าซื้อและจดทะเบียนเป็นเจ้าของผู้รับผลประโยชน์แต่เพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตาม ชื่อเจ้าของผู้รับผลประโยชน์ได้เปลี่ยนจากนายบรรณพจน์เป็นนาย กาลิด โมฮัมหมัด กาดฟอร์ อัลเมไฮรี (Khalid Mohamad Kadfoor Almehairi) ในปี 2550

    ข้อมูลบริคณห์สนธิบริษัทฯ ระบุว่า บริษัท Tropic Offshore Holdings Inc ถูกจัดตั้งโดยบริษัทในสิงคโปร์ชื่อว่าบริษัท UBS AG สิงคโปร์ โดยการจัดตั้งบริษัทนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2549 และมีการขายบริษัทไปเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2549 และบริษัทมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 5 หมื่นดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 1,681,675 บาท ตามค่าเงินปัจจุบัน)

    โดยผู้ถือหุ้นและผู้อำนวยการบริษัทในปัจจุบัน คือ บริษัท NWT Directors Limited ซึ่งเข้ามาเป็นทั้งผู้ถือหุ้นและผู้อำนวยการเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2550
    สำหรับที่อยู่ปัจจุบันของบริษัทฯ อยู่ที่ One Raffles Quay#50-01 North TowerSINGAPORE 048583

    ทั้งหมดนี้ คือ ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบริษัทที่เป็นคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการเช่าที่ Flat 6, 14 Montpelier street London ของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ที่มีการแจ้งบัญชีทรัพย์และหนี้สิน ต่อ ป.ป.ช. กรณีเข้ารับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2567 

    ที่มา https://www.isranews.org/article/isranews/135213-isranews-Panamaaart.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR2nLggEACbFIpzdcfGrZHzXUZThT8iizlgvTwRRYpTn4EOauqjWa9YuLWk_aem_NcAfeRGv0VtwZQuV8JHOxA#a76xjgtso0awrd0kdad0xn25e74459qj
    เนื่องจากสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ติดตามตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกการแจ้งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กรณีเข้ารับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2567 นางสาวแพทองธาร นายปิฎก สุขสวัสดิ์ ผู้อยู่กินฉันสามีภริยาตามที่ ป.ป.ช. กำหนด และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ แจ้งมีทรัพย์สินทั้งสิ้น 13,993,826,903 บาท หนี้สินทั้งสิ้น 4,441,159,711 บาท  มีการระบุสิทธิในการเช่าที่อยู่ที่อังกฤษ 2 แห่ง ได้แก่ 1. สิทธิในการเช่าที่ Flat 11 Knaresborough Place London 2. สิทธิในการเช่าที่ Flat 6, 14 Montpelier street London โดยรายการสิทธิในการเช่าที่ Flat 11 Knaresborough Place London มีการระบุว่า ได้สิทธินี้มาตั้งแต่วันที่ 20 ก.พ.2550 สิ้นสุดวันที่ 24 ธ.ค. 3537 หรือก็คือระยะเวลาเช่าสิทธินาน ถึง 987 ปี มูลค่าอยู่ที่ 111,612,250 บาท ส่วนสิทธิในการเช่าที่ Flat 6, 14 Montpelier street London ระบุว่า ได้สิทธินี้มาตั้งแต่วันที่ 20 ก.พ.2560 สิ้นสุดวันที่ 24 ม.ค. 3552 หรือก็คือระยะเวลาเช่าสิทธินาน ถึง 992 ปี มูลค่าอยู่ที่ 208,342,867 บาท   ล่าสุด ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา ย้อนกลับไปตรวจสอบรายละเอียดสิทธิในการเช่าที่อยู่ที่อังกฤษ 2 แห่ง เพิ่มเติม พบว่า สิทธิในการเช่าที่ Flat 6, 14 Montpelier street London มีการแนบเอกสารเกี่ยวกับสิทธิในการเช่า จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 26 ก.ค.2560 ระบุรายละเอียดคร่าวๆว่ามีเงื่อนไขการเช่า 999 ปี ถึงวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 3009 มีคู่สัญญา (Parties) สองฝ่าย ได้แก่ 1.Tropic Offshore Holdings Inc และ 2. น.ส.แพทองธาร ชินวัตร,นายพานทองแท้ ชินวัตร และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร ในส่วนทะเบียนกรรมสิทธิ์ระบุว่า มีผู้เป็นเจ้าของหรือProprietor ได้แก่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร,นายพานทองแท้ ชินวัตร และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร  โดยราคานอกเหนือจากค่าเช่าที่ระบุไว้ว่าได้จ่ายจากการให้สัญญาเช่าคือ 1 ปอนด์ (The Price, other than rents,  stated to have been paid on the grant of the lease was 1 Pound) สำหรับรายละเอียด บริษัท Tropic Offshore Holdings Inc ปรากฏข้อมูลจากเอกสารข่าวปานามาเปเปอร์ส ซึ่งเป็นการตีแผ่ข้อมูลการถือครองบริษัทนอกอาณาเขต (offshore company) ที่อยู่ในฐานข้อมูลของสำนักกฎหมายชื่อ มอสแซค ฟอนเซก้า (Mossack Fonceka) ที่เป็นบริษัทรับจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทนอกอาณาเขตที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ปานามา และมีสาขาอยู่ใน 42 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ฐานข้อมูลดังกล่าวเป็นฐานข้อมูลเรื่องการถือครองบริษัทนอกอาณาเขตที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ตกถึงมือของสื่อมวลชน โดยมีขนาดความจุ 2.6 เทราไบต์ มีเอกสารทั้งหมด 11.5 ล้านชิ้น ประกอบไปด้วยข้อมูลของบริษัทนอกอาณาเขตทั้งหมด 214,000 บริษัท โดยการขุดคุ้ยและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดของเอกสารที่ให้ชื่อว่า “ปานามาลีก” (Panama Leak) นี้เป็นความร่วมมือกันของผู้สื่อข่าวจำนวน 370 คนจาก 78 ประเทศ)  เอกสารข่าวปานามาเปเปอร์ส ระบุว่า เมื่อปี 2549 นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ประธานกรรมการบริษัท โรงพยาบาลพระราม 9 จำกัด (มหาชน) พี่ชายบุญธรรม ของคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ ได้ดำเนินการเข้าซื้อและจดทะเบียนเป็นเจ้าของผู้รับผลประโยชน์แต่เพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตาม ชื่อเจ้าของผู้รับผลประโยชน์ได้เปลี่ยนจากนายบรรณพจน์เป็นนาย กาลิด โมฮัมหมัด กาดฟอร์ อัลเมไฮรี (Khalid Mohamad Kadfoor Almehairi) ในปี 2550 ข้อมูลบริคณห์สนธิบริษัทฯ ระบุว่า บริษัท Tropic Offshore Holdings Inc ถูกจัดตั้งโดยบริษัทในสิงคโปร์ชื่อว่าบริษัท UBS AG สิงคโปร์ โดยการจัดตั้งบริษัทนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2549 และมีการขายบริษัทไปเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2549 และบริษัทมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 5 หมื่นดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 1,681,675 บาท ตามค่าเงินปัจจุบัน) โดยผู้ถือหุ้นและผู้อำนวยการบริษัทในปัจจุบัน คือ บริษัท NWT Directors Limited ซึ่งเข้ามาเป็นทั้งผู้ถือหุ้นและผู้อำนวยการเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2550 สำหรับที่อยู่ปัจจุบันของบริษัทฯ อยู่ที่ One Raffles Quay#50-01 North TowerSINGAPORE 048583 ทั้งหมดนี้ คือ ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบริษัทที่เป็นคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการเช่าที่ Flat 6, 14 Montpelier street London ของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ที่มีการแจ้งบัญชีทรัพย์และหนี้สิน ต่อ ป.ป.ช. กรณีเข้ารับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2567  ที่มา https://www.isranews.org/article/isranews/135213-isranews-Panamaaart.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR2nLggEACbFIpzdcfGrZHzXUZThT8iizlgvTwRRYpTn4EOauqjWa9YuLWk_aem_NcAfeRGv0VtwZQuV8JHOxA#a76xjgtso0awrd0kdad0xn25e74459qj
    WWW.ISRANEWS.ORG
    เปิดตัวบริษัทในเอกสารปานามา คู่สัญญานายกฯได้กรรมสิทธิ์เช่าอะพาร์ตเมนต์ลอนดอน เฉียดพันปี
    เอกสารข่าวปานามาเปเปอร์ส ระบุว่า เมื่อปี 2549 นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ประธานกรรมการบริษัท โรงพยาบาลพระราม 9 จำกัด (มหาชน) พี่ชายคนโตของคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ได้ดำเนินการเข้าซื้อและจดทะเบียนเป็นเจ้าของผู้รับผลประโยชน์แต่เพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตาม ชื่อเจ้าของผู้รับผลประโยชน์ได้เปลี่ยนจากนายบรรณพจน์เป็นนาย กาลิด โมฮัมหมัด กาดฟอร์ อัลเมไฮรี (Khalid Mohamad Kadfoor Almehairi) ในปี 2550
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 539 มุมมอง 0 รีวิว
  • "เดนมาร์กตัดสินใจซ่อมท่อส่งก๊าซ Nord Stream ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับสหรัฐเรื่องเกาะกรีนแลนด์"

    กระทรวงพลังงานของเดนมาร์กได้ออกใบอนุญาตให้บริษัท Nord Stream AG ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการท่อส่งก๊าซ Nord Stream เพื่อเข้าดำเนินงานซ่อมแซม และรักษาท่อส่วนที่เสียหาย

    ท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 และ Nord Stream 2 ทอดยาวจากเมืองวีบอร์ก(Vyborg) ประเทศรัสเซีย ไปยังเมืองลูบมิน(Lubmin) ใกล้กับเมืองไกรฟส์วัลด์(Greifswald) ประเทศเยอรมนี และทอดผ่านน่านน้ำอาณาเขตของรัสเซีย เดนมาร์ก และเยอรมนี ถูกวางระเบิดจนได้รับความเสียหายเมื่อปี 2022

    ท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 และ 2 ที่ได้รับความเสียหายนั้นคาดว่ายังมีก๊าซที่ค้างในท่ออยู่ ซึ่งอยู่ในสถานะที่เป็นอันตราย

    เพื่อให้แน่ใจว่าท่อส่งดังกล่าวจะทำงานได้อย่างปลอดภัย สำนักงานพลังงานเดนมาร์กเป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ได้ตัดสินใจออกอนุญาตให้แก่ Nord Stream 2 AG เพื่อเข้าดำเนินการซ่อมแซมท่อส่งที่เสียหาย ให้กลับมาอยู่สถานะปกติ เพื่อป้องกันการระเบิดของก๊าซ

    Nord Stream 2 AG มีแผนจะดำเนินการดังกล่าวในไตรมาสที่สองหรือสามของปี 2025 โดยคาดว่าจะใช้เวลาสองถึงสามสัปดาห์

    บริษัทซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเมือง Zug ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นกลุ่มบริษัทระหว่างประเทศที่ประกอบด้วยบริษัท 5 แห่งที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2005 เพื่อวางแผน ก่อสร้าง และดำเนินการท่อส่งก๊าซธรรมชาติทั้งสองแห่ง ผู้ถือหุ้นทั้ง 5 ราย ได้แก่ Gazprom, Wintershall Dea, PEG Infrastruktur (E.ON), N.V. Nederlandse Gasunie และ ENGIE
    "เดนมาร์กตัดสินใจซ่อมท่อส่งก๊าซ Nord Stream ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับสหรัฐเรื่องเกาะกรีนแลนด์" กระทรวงพลังงานของเดนมาร์กได้ออกใบอนุญาตให้บริษัท Nord Stream AG ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการท่อส่งก๊าซ Nord Stream เพื่อเข้าดำเนินงานซ่อมแซม และรักษาท่อส่วนที่เสียหาย ท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 และ Nord Stream 2 ทอดยาวจากเมืองวีบอร์ก(Vyborg) ประเทศรัสเซีย ไปยังเมืองลูบมิน(Lubmin) ใกล้กับเมืองไกรฟส์วัลด์(Greifswald) ประเทศเยอรมนี และทอดผ่านน่านน้ำอาณาเขตของรัสเซีย เดนมาร์ก และเยอรมนี ถูกวางระเบิดจนได้รับความเสียหายเมื่อปี 2022 ท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 และ 2 ที่ได้รับความเสียหายนั้นคาดว่ายังมีก๊าซที่ค้างในท่ออยู่ ซึ่งอยู่ในสถานะที่เป็นอันตราย เพื่อให้แน่ใจว่าท่อส่งดังกล่าวจะทำงานได้อย่างปลอดภัย สำนักงานพลังงานเดนมาร์กเป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ได้ตัดสินใจออกอนุญาตให้แก่ Nord Stream 2 AG เพื่อเข้าดำเนินการซ่อมแซมท่อส่งที่เสียหาย ให้กลับมาอยู่สถานะปกติ เพื่อป้องกันการระเบิดของก๊าซ Nord Stream 2 AG มีแผนจะดำเนินการดังกล่าวในไตรมาสที่สองหรือสามของปี 2025 โดยคาดว่าจะใช้เวลาสองถึงสามสัปดาห์ บริษัทซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเมือง Zug ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นกลุ่มบริษัทระหว่างประเทศที่ประกอบด้วยบริษัท 5 แห่งที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2005 เพื่อวางแผน ก่อสร้าง และดำเนินการท่อส่งก๊าซธรรมชาติทั้งสองแห่ง ผู้ถือหุ้นทั้ง 5 ราย ได้แก่ Gazprom, Wintershall Dea, PEG Infrastruktur (E.ON), N.V. Nederlandse Gasunie และ ENGIE
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 336 มุมมอง 0 รีวิว
  • โยวโจวคือสถานที่ใด?

    สวัสดีค่ะ Storyฯ เพิ่งอ่านนวนิยายเรื่อง <สยบรักจอมเสเพล> จบไป (ชอบมาก คุณธรรมน้ำมิตรดี แนะนำ!) แต่ยังไม่มีเวลาดูซีรีส์ ก็ไม่แน่ใจว่ามีการดัดแปลงเนื้อหาไปจากนิยายต้นฉบับมากน้อยแค่ไหน

    เนื่องจากมีหลายเหตุการณ์ในเรื่องนี้เกิดขึ้นที่ ‘โยวโจว’ (幽州) จึงเกิดความ ‘เอ๊ะ’ ว่ามันคือสถานที่ใด เพราะชื่อนี้ปรากฏบ่อยมากในนิยายและซีรีส์จีนโบราณหลายเรื่องที่มีฉากสู้รบ (ใครคุ้นหูคุ้นตาจากเรื่องอะไรมาเม้นท์บอกกันได้) Storyฯ เลยไปทำการบ้านมาเล่าสู่กันฟัง

    ‘โจว’ ปัจจุบันใช้เรียกทวีป เช่น ย่าโจว คือทวีปเอเชีย แต่ในสมัยจีนโบราณ โจวเป็นการเรียกเขตพื้นที่ แต่ขนาดและอำนาจการปกครองของมันแตกต่างกันไป แรกเริ่มเลยมันเป็นเพียงการแบ่งพื้นที่ ไม่ได้มีอำนาจการปกครอง ในสมัยฉินมีการกล่าวถึงเก้าโจว แต่จากบันทึกโบราณพบว่าชื่อเรียกของเก้าโจวนี้แตกต่างกันไป ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่นเพิ่มเป็นสิบสามโจว มีอำนาจการปกครองท้องถิ่น นับเป็นเขตการปกครองท้องถิ่นที่ใหญ่ที่สุด หากต้องใช้คำไทย Storyฯ คิดว่า ‘มณฑล’ น่าจะเป็นคำที่ใกล้เคียงที่สุด ถัดจากโจวคือจวิ้น (郡) แล้วก็เป็นเซี่ยน (县)

    สิบสามมณฑลนี้หน้าตาเป็นอย่างไร ดูได้ในรูปประกอบ 2 (ขวา) โยวโจวคือเขตพื้นที่สีเหลืองและหยางโจว (บ้านเดิมของพระเอกและนางเอกในเรื่อง) คือพื้นที่สีม่วง เห็นแล้วเพื่อนเพจคงได้อรรถรสของความยากลำบากและระยะทางของการเดินทางที่ถูกกล่าวถึงในนิยาย/ละครเรื่องนี้กัน

    <สยบรักจอมเสเพล> ไม่ได้เป็นเรื่องราวที่เกิดในสมัยฮั่น มันเป็นยุคสมัยสมมุติและราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากเหตุการณ์ต่างๆ และสไตล์การแต่งกายในละครแล้ว เทียบใกล้เคียงกับช่วงปลายสมัยห้าราชวงศ์สิบรัฐที่แม่ทัพใหญ่ระดับเจี๋ยตู้สื่อมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการปกครองและการทหารในพื้นที่ของตนและช่วงชิงดินแดนกัน (เริ่มมีตำแหน่งนี้ในสมัยถัง) และเลียนแบบเหตุการณ์สวมอาภรณ์สีเหลืองตั้งตนเป็นฮ่องเต้อันเป็นตำนานของจ้าวควงอิ้นเมื่อครั้งสถาปนาตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง มีการกล่าวถึงแม่น้ำฮวงโห เขตเปี้ยนเหลียงและเมืองหลวงที่ชื่อว่าตงตู ซึ่งอาจเป็นชื่อสมมุติของเมืองตงจิง (เปี้ยนเหลียงหรือไคเฟิงซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ซ่งเหนือ) หรืออาจหมายถึงเมืองลั่วหยางซึ่งเป็นตงตูหรือนครตะวันออกสมัยถัง (หมายเหตุ ‘จิง’ ‘ตู’ และ ‘เฉิง’ ล้วนแปลว่านครหรือเมือง)

    แต่... แม้ว่าเหตุการณ์ในละคร/นิยายจะใกล้เคียงกับช่วงต้นราชวงศ์ซ่ง ทว่าการเรียกเขตพื้นที่การปกครองต่างๆ ยังอิงตามสิบสามมณฑลสมัยฮั่น เพราะในสมัยซ่งเหนือ โยวโจวไม่ได้อยู่ในอาณาเขตของซ่ง แต่อยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์เหลียว และมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไป (ดูแผนที่โดยคร่าวในรูปประกอบ 1)

    หน้าตาแผนที่ของจีนเปลี่ยนไปในแต่ละสมัย การแบ่งเขตปกครองและชื่อเรียกก็ย่อมแตกต่างกันไป โยวโจวในสมัยฮั่นนั้น ต่อมาถูกเรียกเป็นเยียนเป่ยในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นจัวจวิ้นในสมัยสุย กลับมาเป็นโยวโจวในสมัยถัง ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่ออีกเป็นฟ่านหยางจวิ้นในสมัยถังกลาง หลังจากนั้นกลับมาเป็นโยวโจวแล้วจัวโจว ในสมัยเหลียว/ซ่งกลายเป็นเขตปกครองสิบหกเขตย่อยเรียกว่าโยวอวิ๋นหรือเยียนอวิ๋น หลังจากนั้นเขตการปกครองก็เปลี่ยนไปอีก และชื่อ ‘โยวโจว’ ก็หายไปจากแผนที่จีน

    แต่มันไม่ได้หายไปไหน ศูนย์การปกครองของโยวโจวในสมัยโบราณคือเมืองโยวตู (หรือในสมัยสุยคือจัวตู) ซึ่งก็คือกรุงปักกิ่งในปัจจุบันนั่นเอง

    โยวตูในสมัยก่อนเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาก เพราะมันเป็นศูนย์กลางการปกครองของมณฑลโยวโจว ซึ่งเป็นฐานกำลังทหารรักษาชายแดนที่สำคัญ ในสมัยถังนั้น เจี๋ยตู้สื่อแห่งโยวโจวมีอำนาจการปกครองและจำนวนกองทัพในมือมากที่สุดในบรรดาเจี๋ยตู้สื่อทั้งหมด จึงไม่แปลกที่จะมีนิยายเกี่ยวกับการรบและการแย่งชิงกำลังทหารกันที่โยวโจว นอกจากนี้ โยวตูยังเป็นเมืองปลายทางเมืองหนึ่งของคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยสุย จึงเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมและการค้าขายในภาคเหนือของจีน พัฒนาขึ้นเป็นศูนย์การเกษตรธัญพืชที่สำคัญ ไม่เพียงมีปริมาณผลผลิตเพียงพอสำหรับประชากรในโยวโจวเอง หากแต่ยังส่งออกโดยผ่านต้าอวิ้นเหอไปขายเป็นเสบียงยังพื้นที่อื่นๆ อีกด้วย ดังเช่นที่ถูกกล่าวถึงในนิยาย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g44250708/destined/
    https://kknews.cc/history/l8r6qvg.html
    https://www.artsmia.org/art-of-asia/history/maps.cfm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/幽州/1049370
    https://zh.wikipedia.org/wiki/北京历史
    https://www.sohu.com/a/674479826_121180648
    https://www.sohu.com/a/277568460_628936

    #สยบรักจอมเสเพล #โยวโจว #โยวตู #สิบสามมณฑล #ปักกิ่ง
    โยวโจวคือสถานที่ใด? สวัสดีค่ะ Storyฯ เพิ่งอ่านนวนิยายเรื่อง <สยบรักจอมเสเพล> จบไป (ชอบมาก คุณธรรมน้ำมิตรดี แนะนำ!) แต่ยังไม่มีเวลาดูซีรีส์ ก็ไม่แน่ใจว่ามีการดัดแปลงเนื้อหาไปจากนิยายต้นฉบับมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากมีหลายเหตุการณ์ในเรื่องนี้เกิดขึ้นที่ ‘โยวโจว’ (幽州) จึงเกิดความ ‘เอ๊ะ’ ว่ามันคือสถานที่ใด เพราะชื่อนี้ปรากฏบ่อยมากในนิยายและซีรีส์จีนโบราณหลายเรื่องที่มีฉากสู้รบ (ใครคุ้นหูคุ้นตาจากเรื่องอะไรมาเม้นท์บอกกันได้) Storyฯ เลยไปทำการบ้านมาเล่าสู่กันฟัง ‘โจว’ ปัจจุบันใช้เรียกทวีป เช่น ย่าโจว คือทวีปเอเชีย แต่ในสมัยจีนโบราณ โจวเป็นการเรียกเขตพื้นที่ แต่ขนาดและอำนาจการปกครองของมันแตกต่างกันไป แรกเริ่มเลยมันเป็นเพียงการแบ่งพื้นที่ ไม่ได้มีอำนาจการปกครอง ในสมัยฉินมีการกล่าวถึงเก้าโจว แต่จากบันทึกโบราณพบว่าชื่อเรียกของเก้าโจวนี้แตกต่างกันไป ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่นเพิ่มเป็นสิบสามโจว มีอำนาจการปกครองท้องถิ่น นับเป็นเขตการปกครองท้องถิ่นที่ใหญ่ที่สุด หากต้องใช้คำไทย Storyฯ คิดว่า ‘มณฑล’ น่าจะเป็นคำที่ใกล้เคียงที่สุด ถัดจากโจวคือจวิ้น (郡) แล้วก็เป็นเซี่ยน (县) สิบสามมณฑลนี้หน้าตาเป็นอย่างไร ดูได้ในรูปประกอบ 2 (ขวา) โยวโจวคือเขตพื้นที่สีเหลืองและหยางโจว (บ้านเดิมของพระเอกและนางเอกในเรื่อง) คือพื้นที่สีม่วง เห็นแล้วเพื่อนเพจคงได้อรรถรสของความยากลำบากและระยะทางของการเดินทางที่ถูกกล่าวถึงในนิยาย/ละครเรื่องนี้กัน <สยบรักจอมเสเพล> ไม่ได้เป็นเรื่องราวที่เกิดในสมัยฮั่น มันเป็นยุคสมัยสมมุติและราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากเหตุการณ์ต่างๆ และสไตล์การแต่งกายในละครแล้ว เทียบใกล้เคียงกับช่วงปลายสมัยห้าราชวงศ์สิบรัฐที่แม่ทัพใหญ่ระดับเจี๋ยตู้สื่อมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการปกครองและการทหารในพื้นที่ของตนและช่วงชิงดินแดนกัน (เริ่มมีตำแหน่งนี้ในสมัยถัง) และเลียนแบบเหตุการณ์สวมอาภรณ์สีเหลืองตั้งตนเป็นฮ่องเต้อันเป็นตำนานของจ้าวควงอิ้นเมื่อครั้งสถาปนาตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง มีการกล่าวถึงแม่น้ำฮวงโห เขตเปี้ยนเหลียงและเมืองหลวงที่ชื่อว่าตงตู ซึ่งอาจเป็นชื่อสมมุติของเมืองตงจิง (เปี้ยนเหลียงหรือไคเฟิงซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ซ่งเหนือ) หรืออาจหมายถึงเมืองลั่วหยางซึ่งเป็นตงตูหรือนครตะวันออกสมัยถัง (หมายเหตุ ‘จิง’ ‘ตู’ และ ‘เฉิง’ ล้วนแปลว่านครหรือเมือง) แต่... แม้ว่าเหตุการณ์ในละคร/นิยายจะใกล้เคียงกับช่วงต้นราชวงศ์ซ่ง ทว่าการเรียกเขตพื้นที่การปกครองต่างๆ ยังอิงตามสิบสามมณฑลสมัยฮั่น เพราะในสมัยซ่งเหนือ โยวโจวไม่ได้อยู่ในอาณาเขตของซ่ง แต่อยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์เหลียว และมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไป (ดูแผนที่โดยคร่าวในรูปประกอบ 1) หน้าตาแผนที่ของจีนเปลี่ยนไปในแต่ละสมัย การแบ่งเขตปกครองและชื่อเรียกก็ย่อมแตกต่างกันไป โยวโจวในสมัยฮั่นนั้น ต่อมาถูกเรียกเป็นเยียนเป่ยในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นจัวจวิ้นในสมัยสุย กลับมาเป็นโยวโจวในสมัยถัง ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่ออีกเป็นฟ่านหยางจวิ้นในสมัยถังกลาง หลังจากนั้นกลับมาเป็นโยวโจวแล้วจัวโจว ในสมัยเหลียว/ซ่งกลายเป็นเขตปกครองสิบหกเขตย่อยเรียกว่าโยวอวิ๋นหรือเยียนอวิ๋น หลังจากนั้นเขตการปกครองก็เปลี่ยนไปอีก และชื่อ ‘โยวโจว’ ก็หายไปจากแผนที่จีน แต่มันไม่ได้หายไปไหน ศูนย์การปกครองของโยวโจวในสมัยโบราณคือเมืองโยวตู (หรือในสมัยสุยคือจัวตู) ซึ่งก็คือกรุงปักกิ่งในปัจจุบันนั่นเอง โยวตูในสมัยก่อนเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาก เพราะมันเป็นศูนย์กลางการปกครองของมณฑลโยวโจว ซึ่งเป็นฐานกำลังทหารรักษาชายแดนที่สำคัญ ในสมัยถังนั้น เจี๋ยตู้สื่อแห่งโยวโจวมีอำนาจการปกครองและจำนวนกองทัพในมือมากที่สุดในบรรดาเจี๋ยตู้สื่อทั้งหมด จึงไม่แปลกที่จะมีนิยายเกี่ยวกับการรบและการแย่งชิงกำลังทหารกันที่โยวโจว นอกจากนี้ โยวตูยังเป็นเมืองปลายทางเมืองหนึ่งของคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยสุย จึงเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมและการค้าขายในภาคเหนือของจีน พัฒนาขึ้นเป็นศูนย์การเกษตรธัญพืชที่สำคัญ ไม่เพียงมีปริมาณผลผลิตเพียงพอสำหรับประชากรในโยวโจวเอง หากแต่ยังส่งออกโดยผ่านต้าอวิ้นเหอไปขายเป็นเสบียงยังพื้นที่อื่นๆ อีกด้วย ดังเช่นที่ถูกกล่าวถึงในนิยาย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g44250708/destined/ https://kknews.cc/history/l8r6qvg.html https://www.artsmia.org/art-of-asia/history/maps.cfm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/幽州/1049370 https://zh.wikipedia.org/wiki/北京历史 https://www.sohu.com/a/674479826_121180648 https://www.sohu.com/a/277568460_628936 #สยบรักจอมเสเพล #โยวโจว #โยวตู #สิบสามมณฑล #ปักกิ่ง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 561 มุมมอง 0 รีวิว
  • หนึ่งรำลึกกวนซาน

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ไม่รู้ภาษาจีนอาจไม่ทราบว่าชื่อจีนของซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> นั้นมีความหมายแตกต่างจากชื่อไทย (หรือแม้แต่ชื่อภาษาอังกฤษ) ชื่อจีนที่ว่านี้คือ ‘อี๋เนี่ยนกวนซาน’ (一念关山แปลตรงตัวว่า หนึ่งความคิด/รำลึก + เขากวนซาน) วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘กวนซาน’ กัน

    ภูเขาที่มีชื่อว่า ‘กวนซาน’ นี้เป็นสถานที่จริงหรือไม่?

    จากข้อมูลที่หาได้ กวนซานคือบริเวณที่ในสมัยโบราณเรียกว่าเขาหล่งซานบรรจบเขตพื้นที่ราบกวนจง (ไม่ไกลจากอดีตเมืองฉางอัน) (ดูแผนที่ภาพ 2) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมโบราณที่เชื่อมจีนและดินแดนทางตะวันตก และเป็นพื้นที่สมรภูมิอยู่หลายครั้งหลายคราเพราะเป็นเส้นทางผ่านเขตแดนที่เชื่อมขึ้นไปตะวันตกเฉียงเหนือก่อนจะเข้าสู่อาณาเขตเหลียวหรือชี่ตัน มันเป็นเทือกเขาสูงและชัน สูงกว่า 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ยากต่อการเดินทางและการป้องกัน

    แต่ในซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> ไม่ได้เอ่ยชัดเจนถึงภูเขาหรือสถานที่ที่ชื่อว่า ‘กวนซาน’ จึงเป็นไปได้ว่าชื่อของซีรีส์นี้ไม่ได้หมายถึงสถานที่จริง Storyฯ เลยวางแผนที่ลงแล้วไปหยิบบทกวีโบราณมาดูกันว่าจริงแล้ว ‘กวนซาน’ หมายถึงอะไร

    ‘กวนซาน’ ปรากฏในบทกวีโบราณกว่าหนึ่งร้อยบท มักอยู่ในบริบทของบทกวีที่รำพันถึงความยากลำบากของชีวิต เปรียบเสมือนการเดินทางข้ามเขากวนซานที่ทั้งสูงทั้งอันตราย และเมื่อข้ามผ่านแล้วจะเดินทางกลับบ้านก็ยากยิ่งนัก

    มีบทกวีที่เตะตามาก ด้วยวรรคลงท้ายสองวรรคของบทกวีที่ใกล้เคียงกับชื่อซีรีส์นี้ คือวรรคที่กล่าวว่า “หนึ่งรำลึกถึงกวนซัน พันลี้พะวงถึงถ้ำรังจิ้งจอก” (一念起关山 千里顾丘窟) ซึ่งในที่นี้ ถ้ำรังจิ้งจอกเป็นการอุปมาอุปไมยถึงบ้านเกิด เพราะว่ากันว่าเวลาจิ้งจอกบาดเจ็บใกล้ตายจะพยายามกลับรัง บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘เชวี่ยตงซีเหมินสิง’ (却东西门行 แปลได้ประมาณว่า ละทิ้ง(เมือง)ตะวันออกเดินทางออกประตูตะวันตก) ของเสิ่นเยวี้ย ประพันธ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์ใต้ บรรยายถึงการเดินทางของคนคนหนึ่งที่ขี่ม้ามุ่งหน้าไปยังทิศตะวันตกข้ามผ่านแนวเขา ย้อนมองเมืองหลวง (เมืองตะวันออก) แต่เมืองหลวงค่อยๆ เลือนหายไปในหมอกควัน วันเวลาที่ผันผ่านยิ่งทำให้รำลึกถึงอดีต ยามมองทิวเขานึกถึงถ้ำรังจิ้งจอกคือหวนคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน สะท้อนถึงชีวิตจริงของกวีที่ต้องจากลาเมืองหลวงเมื่อตระกูลตกต่ำ

    ดังนั้น ‘กวนซาน’ ในบทกวีนี้คือหมายถึงมาตุภูมิ และในอีกหลายบทกวีคำว่า ‘กวนซาน’ ก็ถูกนำมาใช้เพื่อสะท้อนถึงความหมายนี้เช่นกัน และ Storyฯ คิดว่าชื่อภาษาจีนของ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> สะท้อนได้ดีถึงการเดินเรื่องด้วยเรื่องราวความพยายามที่จะพาฮ่องเต้แคว้นอู๋กลับบ้าน และเรื่องราวความรักและความเสียสละของเหล่าตัวละครที่มีต่อแผ่นดินเกิด

    ... หนึ่งรำลึกคือกวนซาน
    ... หนึ่งรำลึกคือมาตุภูมิ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://star.tom.com/202311/1572406490.html
    https://topimage.design/images/5cffdf94ccb56d3ea8caeb7d.html
    https://collection.sina.com.cn/plfx/20141223/1032174072.shtml?from=wap
    https://www.sohu.com/a/414709176_100091417
    https://www.sohu.com/a/497600136_100185418
    https://www.sohu.com/a/730286086_121157391
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://mt.sohu.com/20170416/n488714328.shtml
    https://www.sohu.com/a/730286086_121157391
    https://www.cidianwang.com/lishi/diming/6/63246lp.htm
    https://www.gushiju.net/ju/1703370

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #กวนซาน
    หนึ่งรำลึกกวนซาน สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ไม่รู้ภาษาจีนอาจไม่ทราบว่าชื่อจีนของซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> นั้นมีความหมายแตกต่างจากชื่อไทย (หรือแม้แต่ชื่อภาษาอังกฤษ) ชื่อจีนที่ว่านี้คือ ‘อี๋เนี่ยนกวนซาน’ (一念关山แปลตรงตัวว่า หนึ่งความคิด/รำลึก + เขากวนซาน) วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘กวนซาน’ กัน ภูเขาที่มีชื่อว่า ‘กวนซาน’ นี้เป็นสถานที่จริงหรือไม่? จากข้อมูลที่หาได้ กวนซานคือบริเวณที่ในสมัยโบราณเรียกว่าเขาหล่งซานบรรจบเขตพื้นที่ราบกวนจง (ไม่ไกลจากอดีตเมืองฉางอัน) (ดูแผนที่ภาพ 2) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมโบราณที่เชื่อมจีนและดินแดนทางตะวันตก และเป็นพื้นที่สมรภูมิอยู่หลายครั้งหลายคราเพราะเป็นเส้นทางผ่านเขตแดนที่เชื่อมขึ้นไปตะวันตกเฉียงเหนือก่อนจะเข้าสู่อาณาเขตเหลียวหรือชี่ตัน มันเป็นเทือกเขาสูงและชัน สูงกว่า 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ยากต่อการเดินทางและการป้องกัน แต่ในซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> ไม่ได้เอ่ยชัดเจนถึงภูเขาหรือสถานที่ที่ชื่อว่า ‘กวนซาน’ จึงเป็นไปได้ว่าชื่อของซีรีส์นี้ไม่ได้หมายถึงสถานที่จริง Storyฯ เลยวางแผนที่ลงแล้วไปหยิบบทกวีโบราณมาดูกันว่าจริงแล้ว ‘กวนซาน’ หมายถึงอะไร ‘กวนซาน’ ปรากฏในบทกวีโบราณกว่าหนึ่งร้อยบท มักอยู่ในบริบทของบทกวีที่รำพันถึงความยากลำบากของชีวิต เปรียบเสมือนการเดินทางข้ามเขากวนซานที่ทั้งสูงทั้งอันตราย และเมื่อข้ามผ่านแล้วจะเดินทางกลับบ้านก็ยากยิ่งนัก มีบทกวีที่เตะตามาก ด้วยวรรคลงท้ายสองวรรคของบทกวีที่ใกล้เคียงกับชื่อซีรีส์นี้ คือวรรคที่กล่าวว่า “หนึ่งรำลึกถึงกวนซัน พันลี้พะวงถึงถ้ำรังจิ้งจอก” (一念起关山 千里顾丘窟) ซึ่งในที่นี้ ถ้ำรังจิ้งจอกเป็นการอุปมาอุปไมยถึงบ้านเกิด เพราะว่ากันว่าเวลาจิ้งจอกบาดเจ็บใกล้ตายจะพยายามกลับรัง บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘เชวี่ยตงซีเหมินสิง’ (却东西门行 แปลได้ประมาณว่า ละทิ้ง(เมือง)ตะวันออกเดินทางออกประตูตะวันตก) ของเสิ่นเยวี้ย ประพันธ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์ใต้ บรรยายถึงการเดินทางของคนคนหนึ่งที่ขี่ม้ามุ่งหน้าไปยังทิศตะวันตกข้ามผ่านแนวเขา ย้อนมองเมืองหลวง (เมืองตะวันออก) แต่เมืองหลวงค่อยๆ เลือนหายไปในหมอกควัน วันเวลาที่ผันผ่านยิ่งทำให้รำลึกถึงอดีต ยามมองทิวเขานึกถึงถ้ำรังจิ้งจอกคือหวนคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน สะท้อนถึงชีวิตจริงของกวีที่ต้องจากลาเมืองหลวงเมื่อตระกูลตกต่ำ ดังนั้น ‘กวนซาน’ ในบทกวีนี้คือหมายถึงมาตุภูมิ และในอีกหลายบทกวีคำว่า ‘กวนซาน’ ก็ถูกนำมาใช้เพื่อสะท้อนถึงความหมายนี้เช่นกัน และ Storyฯ คิดว่าชื่อภาษาจีนของ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> สะท้อนได้ดีถึงการเดินเรื่องด้วยเรื่องราวความพยายามที่จะพาฮ่องเต้แคว้นอู๋กลับบ้าน และเรื่องราวความรักและความเสียสละของเหล่าตัวละครที่มีต่อแผ่นดินเกิด ... หนึ่งรำลึกคือกวนซาน ... หนึ่งรำลึกคือมาตุภูมิ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://star.tom.com/202311/1572406490.html https://topimage.design/images/5cffdf94ccb56d3ea8caeb7d.html https://collection.sina.com.cn/plfx/20141223/1032174072.shtml?from=wap https://www.sohu.com/a/414709176_100091417 https://www.sohu.com/a/497600136_100185418 https://www.sohu.com/a/730286086_121157391 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://mt.sohu.com/20170416/n488714328.shtml https://www.sohu.com/a/730286086_121157391 https://www.cidianwang.com/lishi/diming/6/63246lp.htm https://www.gushiju.net/ju/1703370 #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #กวนซาน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 517 มุมมอง 0 รีวิว
  • แมวเหลืองแก่มารืชชี่ลูก้าหลบหนีภัย ล้วงอาหารแล้วฉี่ใส่เครื่องแสดงอาณาเขต
    แมวเหลืองแก่มารืชชี่ลูก้าหลบหนีภัย ล้วงอาหารแล้วฉี่ใส่เครื่องแสดงอาณาเขต
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 145 มุมมอง 0 รีวิว
  • New York Post เผยถึงเหตุที่ #ทรัมป์ ต้องการ #กรีนแลนด์ ถึงขั้นบอกว่าถ้าจำเป็น ก็อาจจะต้องใช้กำลังทหารเพื่อผนวกกรีนแลนด์ ซึ่งทำให้ชาวอเมริกันหลายคนตั้งคำถามว่า “แต่ทำไมล่ะ”

    ทั้งนี้ เพราะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ริมเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ และมีวัตถุดิบสำคัญที่หาได้ยากจากที่อื่น

    ปัจจุบัน #สหรัฐฯ กำลังต่อสู้กับ #จีน และ #รัสเซีย เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของ #ภูมิภาคอาร์กติก เช่น ลิเธียม โคบอลต์ และกราไฟต์

    มี 2 เหตุผลหลัก ที่สหรัฐฯต้องการผนวกกรีนแลนด์
    - ประการแรกคือ แหล่งแร่หายากจำนวนมากที่จำเป็นสำหรับการผลิตอุปกรณ์ป้องกันประเทศและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ

    - ประการที่สอง กรีนแลนด์มีสิทธิใน #อาร์กติก อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะช่วยให้สหรัฐฯ มีสถานะที่แข็งแกร่งขึ้น เนื่องจากการแข่งขันด้านการเดินเรือและทรัพยากรกำลังทวีความรุนแรงขึ้น

    สหรัฐฯ แข่งขันอย่างเงียบๆ กับจีนและรัสเซียในการเข้าถึงอาร์กติกมาหลายปีแล้ว โดยส่งเรือตัดน้ำแข็งทางทหารไปยังภูมิภาคนี้เพื่อปฏิบัติภารกิจสำรวจทุ่งทุนดราที่อุดมด้วยทรัพยากร

    ปัจจุบันสหรัฐฯ พึ่งพาแร่ธาตุหายากจากจีนอย่างมาก

    ขณะที่แร่ธาตุหายากก็พบในอาร์กติกนอกเหนือจากในเอเชีย และใช้ในทุกอย่างตั้งแต่โทรศัพท์มือถือไปจนถึงอาวุธทำลายล้างสูง

    “ด้วยความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า ระบบพลังงานหมุนเวียน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงที่เพิ่มมากขึ้น สหรัฐฯ จึงพึ่งพาวัสดุที่สำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนการสร้างสรรค์นวัตกรรมและรักษาความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจระดับโลก”

    “[แร่ธาตุหายาก] ถูกใช้ในการป้องกันประเทศ เทคโนโลยี ขีปนาวุธ รถถัง ดาวเทียม เรือรบ เครื่องบินขับไล่ และด้วยเหตุนี้ การรักษาความปลอดภัยจึงกลายมาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความมั่นคงของชาติ”

    การแข่งขันในอาร์กติกทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลให้แผ่นน้ำแข็งที่เคยทำให้ทรัพยากรต่างๆ แทบจะเข้าถึงไม่ได้ละลายลง

    "ภาวะโลกร้อนทำให้การเดินเรือในอาร์กติกมีอิสระมากขึ้น"

    แต่จนถึงขณะนี้ สหรัฐฯ ก็ยังถูกแซงหน้าโดยฝ่ายตรงข้าม ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะสหรัฐฯ เข้าถึงพื้นที่ดังกล่าวได้จำกัด และมีเรือตัดน้ำแข็งจำนวนค่อนข้างน้อย

    ปัญหานี้สร้างความรำคาญให้กับสมาชิกพรรครีพับลิกันบางคนมานานแล้ว รวมถึง ส.ส. ไมค์ วอลซ์ (R-Fla.) ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์

    “ในอาร์กติกที่เราต้องแข่งขันกันเพื่อทรัพยากรธรรมชาติ กองกำลังชายฝั่งต้องการเรือตัดน้ำแข็งมากกว่าหนึ่งลำ! รัสเซียมีเป็นโหล!” เขาโพสต์บน X เมื่อปี 2017

    ปัจจุบัน กองกำลังชายฝั่งของสหรัฐฯมีเรือตัดน้ำแข็งเพียงสองลำ แต่เมื่อไม่นานมานี้ วอลซ์ได้ให้คำมั่นว่าจะผลักดันให้มีเรือตัดน้ำแข็งเพิ่มขึ้นในรัฐสภาชุดที่ 119 ในการตอบกลับโพสต์บน X ที่เรียกร้องให้มีเรือตัดน้ำแข็ง “เพิ่มอีกสิบลำ”
    “นั่นคือแผน!” วอลซ์ให้คำมั่นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม

    การจัดหาเรือตัดน้ำแข็งเพิ่มเติมและการซื้อกรีนแลนด์ถือเป็นโอกาสที่น่าสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากสหรัฐฯ กำลังสร้างโรงงานแปรรูปแร่ธาตุหายากเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามล่าสุดของสหรัฐฯ ที่ต้องการลดการพึ่งพาจีน
    แต่เนื่องจากสหรัฐฯ มีแร่ธาตุหายากเพียง 1.3% ของโลก ในขณะที่จีนมีมากถึง 70% "ตอนนี้เราจำเป็นต้องหาแร่ธาตุหายากเหล่านี้จากที่ใดสักแห่งเพื่อแปรรูปในประเทศ ... ซึ่งทำให้กรีนแลนด์มีเสน่ห์ดึงดูดใจ เนื่องจากกรีนแลนด์อาจเป็นแหล่งแร่ธาตุหายาก"

    ทรัมป์ ได้สรุปวิสัยทัศน์ของเขาสำหรับซีกโลกตะวันตกในงานแถลงข่าวที่มาร์อาลาโก
    🎯กรีนแลนด์
    ทรัมป์บอกจะไม่ตัดความเป็นไปได้ที่จะใช้กำลังทางเศรษฐกิจหรือการทหารเพื่อยึดกรีนแลนด์หรือคลองปานามาออกไป “ไม่ ผมรับรองคุณไม่ได้หรอกว่าจะใช้กำลังทั้งสองอย่าง แต่ผมบอกได้ว่าเราต้องการมันเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ”

    🎯อ่าวเม็กซิโก
    ทรัมป์บอกจะขยายการขุดเจาะนอกชายฝั่ง “เราจะเปลี่ยนแปลง ซึ่งตรงข้ามกับการที่ไบเดนปิดทุกอย่างและกำจัดทรัพย์สินมูลค่า 50 ถึง 60 ล้านล้านดอลลาร์ เราจะเปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโกเป็นอ่าวอเมริกา ซึ่งมีความหมายที่สวยงาม”

    🎯แคนาดา
    ทรัมป์บอก #แคนาดา อาจกลายเป็นรัฐที่ 51 โดยมีเวย์น เกรตสกี้ นักฮ็อกกี้ชื่อดังเป็นผู้ว่าการรัฐ “คุณสามารถกำจัดเส้นแบ่งที่วาดขึ้นอย่างไม่เป็นธรรมชาตินั้นได้ และลองดูว่ามันเป็นอย่างไร และมันจะดีขึ้นมากสำหรับความมั่นคงของชาติด้วย “พวกเขาเป็นคนดี แต่เราใช้เงินหลายร้อยพันล้านที่นี่เพื่อปกป้องมัน เราใช้เงินหลายร้อยพันล้านต่อปีเพื่อดูแลแคนาดา เราสูญเสียดุลการค้า”

    🎯คลองปานามา
    “จีนเป็นผู้ดำเนินการ! จีน! และเรามอบคลองปานามาให้ปานามา” ทรัมป์กล่าว “เราไม่ได้มอบคลองนี้ให้จีน และพวกเขาใช้คลองนี้ในทางที่ผิด พวกเขาใช้ของขวัญนั้นในทางที่ผิด”

    ❌“ไม่ขาย”
    ความทะเยอทะยานของทรัมป์ไม่ได้รับการตอบรับที่ดีในเดนมาร์ก ซึ่งนายกรัฐมนตรีเมตเต้ เฟรเดอริกเซน ย้ำเมื่อวันอังคารว่าดินแดนนี้ “ไม่ขาย”

    “กรีนแลนด์เป็นของชาวกรีนแลนด์” นายกรัฐมนตรีเมตเตอ เฟรเดอริกเซนแห่งเดนมาร์ก ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์เดนมาร์ก TV 2 “ในแง่หนึ่ง ผมยินดีที่อเมริกาสนใจกรีนแลนด์มากขึ้น แต่แน่นอนว่าสิ่งสำคัญคือเรื่องนี้ต้องเกิดขึ้นในลักษณะที่ชาวกรีนแลนด์เป็นผู้ตัดสินใจเองว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต”

    “ในแง่ของการเป็นเจ้าของ เราอาจเห็นต่างกันได้มาก เพราะเรากำลังดำเนินการสร้างประเทศที่มีอำนาจอธิปไตยซึ่งก็คือกรีนแลนด์ และเราต้องการสร้างรัฐกรีนแลนด์” เฟนเคอร์กล่าว พร้อมเสริมว่ารัฐบาลอาณาเขตอาจเต็มใจทำงานร่วมกับสหรัฐฯ ในข้อตกลงการค้าโดยเสรี
    .
    ลิ้งค์ต้นทาง:
    https://web.facebook.com/share/p/15nuKPRz54/
    New York Post เผยถึงเหตุที่ #ทรัมป์ ต้องการ #กรีนแลนด์ ถึงขั้นบอกว่าถ้าจำเป็น ก็อาจจะต้องใช้กำลังทหารเพื่อผนวกกรีนแลนด์ ซึ่งทำให้ชาวอเมริกันหลายคนตั้งคำถามว่า “แต่ทำไมล่ะ” ทั้งนี้ เพราะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ริมเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ และมีวัตถุดิบสำคัญที่หาได้ยากจากที่อื่น ปัจจุบัน #สหรัฐฯ กำลังต่อสู้กับ #จีน และ #รัสเซีย เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของ #ภูมิภาคอาร์กติก เช่น ลิเธียม โคบอลต์ และกราไฟต์ มี 2 เหตุผลหลัก ที่สหรัฐฯต้องการผนวกกรีนแลนด์ - ประการแรกคือ แหล่งแร่หายากจำนวนมากที่จำเป็นสำหรับการผลิตอุปกรณ์ป้องกันประเทศและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ - ประการที่สอง กรีนแลนด์มีสิทธิใน #อาร์กติก อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะช่วยให้สหรัฐฯ มีสถานะที่แข็งแกร่งขึ้น เนื่องจากการแข่งขันด้านการเดินเรือและทรัพยากรกำลังทวีความรุนแรงขึ้น สหรัฐฯ แข่งขันอย่างเงียบๆ กับจีนและรัสเซียในการเข้าถึงอาร์กติกมาหลายปีแล้ว โดยส่งเรือตัดน้ำแข็งทางทหารไปยังภูมิภาคนี้เพื่อปฏิบัติภารกิจสำรวจทุ่งทุนดราที่อุดมด้วยทรัพยากร ปัจจุบันสหรัฐฯ พึ่งพาแร่ธาตุหายากจากจีนอย่างมาก ขณะที่แร่ธาตุหายากก็พบในอาร์กติกนอกเหนือจากในเอเชีย และใช้ในทุกอย่างตั้งแต่โทรศัพท์มือถือไปจนถึงอาวุธทำลายล้างสูง “ด้วยความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า ระบบพลังงานหมุนเวียน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงที่เพิ่มมากขึ้น สหรัฐฯ จึงพึ่งพาวัสดุที่สำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนการสร้างสรรค์นวัตกรรมและรักษาความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจระดับโลก” “[แร่ธาตุหายาก] ถูกใช้ในการป้องกันประเทศ เทคโนโลยี ขีปนาวุธ รถถัง ดาวเทียม เรือรบ เครื่องบินขับไล่ และด้วยเหตุนี้ การรักษาความปลอดภัยจึงกลายมาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความมั่นคงของชาติ” การแข่งขันในอาร์กติกทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลให้แผ่นน้ำแข็งที่เคยทำให้ทรัพยากรต่างๆ แทบจะเข้าถึงไม่ได้ละลายลง "ภาวะโลกร้อนทำให้การเดินเรือในอาร์กติกมีอิสระมากขึ้น" แต่จนถึงขณะนี้ สหรัฐฯ ก็ยังถูกแซงหน้าโดยฝ่ายตรงข้าม ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะสหรัฐฯ เข้าถึงพื้นที่ดังกล่าวได้จำกัด และมีเรือตัดน้ำแข็งจำนวนค่อนข้างน้อย ปัญหานี้สร้างความรำคาญให้กับสมาชิกพรรครีพับลิกันบางคนมานานแล้ว รวมถึง ส.ส. ไมค์ วอลซ์ (R-Fla.) ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ “ในอาร์กติกที่เราต้องแข่งขันกันเพื่อทรัพยากรธรรมชาติ กองกำลังชายฝั่งต้องการเรือตัดน้ำแข็งมากกว่าหนึ่งลำ! รัสเซียมีเป็นโหล!” เขาโพสต์บน X เมื่อปี 2017 ปัจจุบัน กองกำลังชายฝั่งของสหรัฐฯมีเรือตัดน้ำแข็งเพียงสองลำ แต่เมื่อไม่นานมานี้ วอลซ์ได้ให้คำมั่นว่าจะผลักดันให้มีเรือตัดน้ำแข็งเพิ่มขึ้นในรัฐสภาชุดที่ 119 ในการตอบกลับโพสต์บน X ที่เรียกร้องให้มีเรือตัดน้ำแข็ง “เพิ่มอีกสิบลำ” “นั่นคือแผน!” วอลซ์ให้คำมั่นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม การจัดหาเรือตัดน้ำแข็งเพิ่มเติมและการซื้อกรีนแลนด์ถือเป็นโอกาสที่น่าสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากสหรัฐฯ กำลังสร้างโรงงานแปรรูปแร่ธาตุหายากเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามล่าสุดของสหรัฐฯ ที่ต้องการลดการพึ่งพาจีน แต่เนื่องจากสหรัฐฯ มีแร่ธาตุหายากเพียง 1.3% ของโลก ในขณะที่จีนมีมากถึง 70% "ตอนนี้เราจำเป็นต้องหาแร่ธาตุหายากเหล่านี้จากที่ใดสักแห่งเพื่อแปรรูปในประเทศ ... ซึ่งทำให้กรีนแลนด์มีเสน่ห์ดึงดูดใจ เนื่องจากกรีนแลนด์อาจเป็นแหล่งแร่ธาตุหายาก" ทรัมป์ ได้สรุปวิสัยทัศน์ของเขาสำหรับซีกโลกตะวันตกในงานแถลงข่าวที่มาร์อาลาโก 🎯กรีนแลนด์ ทรัมป์บอกจะไม่ตัดความเป็นไปได้ที่จะใช้กำลังทางเศรษฐกิจหรือการทหารเพื่อยึดกรีนแลนด์หรือคลองปานามาออกไป “ไม่ ผมรับรองคุณไม่ได้หรอกว่าจะใช้กำลังทั้งสองอย่าง แต่ผมบอกได้ว่าเราต้องการมันเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ” 🎯อ่าวเม็กซิโก ทรัมป์บอกจะขยายการขุดเจาะนอกชายฝั่ง “เราจะเปลี่ยนแปลง ซึ่งตรงข้ามกับการที่ไบเดนปิดทุกอย่างและกำจัดทรัพย์สินมูลค่า 50 ถึง 60 ล้านล้านดอลลาร์ เราจะเปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโกเป็นอ่าวอเมริกา ซึ่งมีความหมายที่สวยงาม” 🎯แคนาดา ทรัมป์บอก #แคนาดา อาจกลายเป็นรัฐที่ 51 โดยมีเวย์น เกรตสกี้ นักฮ็อกกี้ชื่อดังเป็นผู้ว่าการรัฐ “คุณสามารถกำจัดเส้นแบ่งที่วาดขึ้นอย่างไม่เป็นธรรมชาตินั้นได้ และลองดูว่ามันเป็นอย่างไร และมันจะดีขึ้นมากสำหรับความมั่นคงของชาติด้วย “พวกเขาเป็นคนดี แต่เราใช้เงินหลายร้อยพันล้านที่นี่เพื่อปกป้องมัน เราใช้เงินหลายร้อยพันล้านต่อปีเพื่อดูแลแคนาดา เราสูญเสียดุลการค้า” 🎯คลองปานามา “จีนเป็นผู้ดำเนินการ! จีน! และเรามอบคลองปานามาให้ปานามา” ทรัมป์กล่าว “เราไม่ได้มอบคลองนี้ให้จีน และพวกเขาใช้คลองนี้ในทางที่ผิด พวกเขาใช้ของขวัญนั้นในทางที่ผิด” ❌“ไม่ขาย” ความทะเยอทะยานของทรัมป์ไม่ได้รับการตอบรับที่ดีในเดนมาร์ก ซึ่งนายกรัฐมนตรีเมตเต้ เฟรเดอริกเซน ย้ำเมื่อวันอังคารว่าดินแดนนี้ “ไม่ขาย” “กรีนแลนด์เป็นของชาวกรีนแลนด์” นายกรัฐมนตรีเมตเตอ เฟรเดอริกเซนแห่งเดนมาร์ก ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์เดนมาร์ก TV 2 “ในแง่หนึ่ง ผมยินดีที่อเมริกาสนใจกรีนแลนด์มากขึ้น แต่แน่นอนว่าสิ่งสำคัญคือเรื่องนี้ต้องเกิดขึ้นในลักษณะที่ชาวกรีนแลนด์เป็นผู้ตัดสินใจเองว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต” “ในแง่ของการเป็นเจ้าของ เราอาจเห็นต่างกันได้มาก เพราะเรากำลังดำเนินการสร้างประเทศที่มีอำนาจอธิปไตยซึ่งก็คือกรีนแลนด์ และเราต้องการสร้างรัฐกรีนแลนด์” เฟนเคอร์กล่าว พร้อมเสริมว่ารัฐบาลอาณาเขตอาจเต็มใจทำงานร่วมกับสหรัฐฯ ในข้อตกลงการค้าโดยเสรี . ลิ้งค์ต้นทาง: https://web.facebook.com/share/p/15nuKPRz54/
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 796 มุมมอง 0 รีวิว
  • จีนระบุในวันพุธ (8 ม.ค.) สามารถช่วยผู้ประสบภัยกว่า 400 คนที่ติดอยู่ในซากปรักหักพังจากแผ่นดินไหวในทิเบตเมื่อวันอังคาร (7) โดยเจ้าหน้าที่กู้ภัยยังคงกำลังเร่งค้นหาผู้สูญหายไม่ทราบจำนวนท่ามกลางสภาพอากาศติดลบ 18 องศาเซลเซียส

    พื้นที่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวความรุนแรงระดับ 6.8 ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อตอนเช้าวันอังคาร และถือเป็นธรณีพิโรธครั้งรุนแรงที่สุดในบริเวณดังกล่าวในรอบหลายปีที่ผ่านมา อยู่ที่อำเภอติงกริ จังหวัดซีกัตเซ ของเขตปกครองตนเองทิเบต โดยอยู่ห่างจากด้านเหนือของยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกประมาณ 80 กิโลเมตร ขณะที่ซีกัตเซ ถือเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพุทธนิกายทิเบต เนื่องจากเมืองซีกัตเซถือเป็นที่ประทับของปันเจนลามะ หนึ่งในพระลามะผู้นำทางจิตวิญญาณสูงสุดของศาสนาพุทธนิกายทิเบต โดยเป็นรองเฉพาะองค์ทะไลลามะเท่านั้น

    จากการที่แผ่นดินไหวคราวนี้เกิดขึ้นมาแล้วกว่า 24 ชั่วโมง ย่อมหมายความว่าผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังต้องผจญค่ำคืนที่อุณหภูมิลดต่ำกว่าจุดเยือกแข็งมาแล้ว 1 คืน และเพิ่มความกดดันสำหรับพวกเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่ต้องรีบเร่งค้นหาผู้รอดชีวิตในพื้นที่ประสบภัยซึ่งเป็นเขตเขาสูง และมีความกว้างขวางพอๆ กับอาณาเขตประเทศกัมพูชา

    ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ท่ามกลางอุณหภูมิในพื้นที่ดังกล่าวที่ลดลงถึงระดับ -18 องศาเซลเซียสในช่วงคืนวันอังคาร ผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังหรือกระทั่งผู้ซึ่งต้องหลบภัยอยู่นอกอาคารบ้านเรือน มีความเสี่ยงเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายลดต่ำกว่าปกติอย่างรวดเร็ว และอาจอยู่รอดได้เพียง 5-10 ชั่วโมงแม้ไม่ได้รับบาดเจ็บ

    ภาพข่าวจากสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของทางการจีน (ซีซีทีวี) เผยให้เห็นสมาชิกครอบครัวเบียดกันอยู่ในเต็นท์สีน้ำเงินและเขียวที่ทหารและเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์รีบไปติดตั้งให้ในชุมชนรอบๆ พื้นที่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว โดยที่ยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกติดตามมาอีกหลายร้อยระลอก

    ในวันพุธ ซีซีทีวียังคงรายงานตัวเลขเดิมซึ่งอัปเดตตั้งแต่ตอนดึกวันอังคารที่ว่า ในทิเบตมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 126 คน และบาดเจ็บ 188 คน ขณะที่รายงานจากพวกเพื่อนบ้านอย่างเนปาลและประเทศใกล้เคียง ถึงแม้รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนขณะเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ ทว่ายังไม่พบว่ามีผู้เสียชีวิต

    จากการวิเคราะห์ของสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งสหรัฐฯ ความรุนแรงของแผ่นดินไหวในทิเบตคราวนี้ ทำให้พื้นดินรอบๆ พื้นที่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวยุบตัวลงถึง 1.6 เมตรในระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร

    ด้านสื่อของทางการจีนรายงานว่า บริเวณโดยรอบของพื้นที่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว อยู่ในสภาพเสียหายหนัก จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า บ้านเรือน 3,609 หลังพังทลายในเมืองซีกัตเซ ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ 800,000 คน และเวลานี้ทางการจีนจัดส่งเจ้าหน้าที่กู้ภัยกว่า 14,000 คนไปยังพื้นที่ประสบภัยแล้ว

    ด้านเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นแถลงวันพุธ (8 ) ว่า ผู้ประสบภัยกว่า 46,500 คนถูกนำไปยังที่พักใหม่ เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยว 484 คนในติงกริที่ได้รับการนำส่งอย่างปลอดภัยไปยังเมืองซีกัตเซ

    ทั้งนี้ พื้นที่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของจีนซึ่งครอบคลุมถึงทิเบต ที่มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองระดับมณฑลของแดนมังกร รวมทั้งเนปาล และตอนเหนือของอินเดีย เป็นพื้นที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้งเนื่องจากการแปรสัณฐานของแผ่นเปลือกโลกอินเดียและยูเรเซียที่มาบรรจบกัน

    รายงานระบุว่า จนถึงเที่ยงวันพุธ มีอาฟเตอร์ช็อก เกิดขึ้น 646 ครั้งในบริเวณรอบๆ พื้นที่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว โดยครั้งรุนแรงที่สุดอยู่ในระดับ 4.4

    ข้อมูลจากสำนักงานแผ่นดินไหวท้องถิ่นระบุว่า ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เกิดแผ่นดินไหว 29 ครั้ง วัดความแรงได้ระดับ 3 ขึ้นไปภายในรัศมี 200 กิโลเมตรรอบพื้นท่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวเมื่อวันอังคาร

    เหมิง ฮุ่ย รองหัวหน้าสำนักงานแผ่นดินไหวทิเบต แถลงว่า จากการวิเคราะห์พบว่า อาจเกิดแผ่นดินไหวขนาด 5-6 ในบริเวณเดียวกันนี้ในอนาคต

    แผ่นดินไหวในทิเบตเมื่อวันอังคารถือเป็นแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงที่สุดในจีนนับจากปี 2023 ที่เกิดแผ่นดินไหวความแรง 6.2 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 149 คนในพื้นที่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของจีน

    ปี 2008 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ในเสฉวน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 70,000 คน ถือเป็นแผ่นดินไหวในจีนที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดนับจากเหตุแผ่นดินไหวที่เมืองถังชานในปี 1976 ที่มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 242,000 คน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000002350
    ..............
    Sondhi X
    จีนระบุในวันพุธ (8 ม.ค.) สามารถช่วยผู้ประสบภัยกว่า 400 คนที่ติดอยู่ในซากปรักหักพังจากแผ่นดินไหวในทิเบตเมื่อวันอังคาร (7) โดยเจ้าหน้าที่กู้ภัยยังคงกำลังเร่งค้นหาผู้สูญหายไม่ทราบจำนวนท่ามกลางสภาพอากาศติดลบ 18 องศาเซลเซียส พื้นที่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวความรุนแรงระดับ 6.8 ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อตอนเช้าวันอังคาร และถือเป็นธรณีพิโรธครั้งรุนแรงที่สุดในบริเวณดังกล่าวในรอบหลายปีที่ผ่านมา อยู่ที่อำเภอติงกริ จังหวัดซีกัตเซ ของเขตปกครองตนเองทิเบต โดยอยู่ห่างจากด้านเหนือของยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกประมาณ 80 กิโลเมตร ขณะที่ซีกัตเซ ถือเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพุทธนิกายทิเบต เนื่องจากเมืองซีกัตเซถือเป็นที่ประทับของปันเจนลามะ หนึ่งในพระลามะผู้นำทางจิตวิญญาณสูงสุดของศาสนาพุทธนิกายทิเบต โดยเป็นรองเฉพาะองค์ทะไลลามะเท่านั้น จากการที่แผ่นดินไหวคราวนี้เกิดขึ้นมาแล้วกว่า 24 ชั่วโมง ย่อมหมายความว่าผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังต้องผจญค่ำคืนที่อุณหภูมิลดต่ำกว่าจุดเยือกแข็งมาแล้ว 1 คืน และเพิ่มความกดดันสำหรับพวกเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่ต้องรีบเร่งค้นหาผู้รอดชีวิตในพื้นที่ประสบภัยซึ่งเป็นเขตเขาสูง และมีความกว้างขวางพอๆ กับอาณาเขตประเทศกัมพูชา ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ท่ามกลางอุณหภูมิในพื้นที่ดังกล่าวที่ลดลงถึงระดับ -18 องศาเซลเซียสในช่วงคืนวันอังคาร ผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังหรือกระทั่งผู้ซึ่งต้องหลบภัยอยู่นอกอาคารบ้านเรือน มีความเสี่ยงเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายลดต่ำกว่าปกติอย่างรวดเร็ว และอาจอยู่รอดได้เพียง 5-10 ชั่วโมงแม้ไม่ได้รับบาดเจ็บ ภาพข่าวจากสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของทางการจีน (ซีซีทีวี) เผยให้เห็นสมาชิกครอบครัวเบียดกันอยู่ในเต็นท์สีน้ำเงินและเขียวที่ทหารและเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์รีบไปติดตั้งให้ในชุมชนรอบๆ พื้นที่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว โดยที่ยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกติดตามมาอีกหลายร้อยระลอก ในวันพุธ ซีซีทีวียังคงรายงานตัวเลขเดิมซึ่งอัปเดตตั้งแต่ตอนดึกวันอังคารที่ว่า ในทิเบตมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 126 คน และบาดเจ็บ 188 คน ขณะที่รายงานจากพวกเพื่อนบ้านอย่างเนปาลและประเทศใกล้เคียง ถึงแม้รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนขณะเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ ทว่ายังไม่พบว่ามีผู้เสียชีวิต จากการวิเคราะห์ของสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งสหรัฐฯ ความรุนแรงของแผ่นดินไหวในทิเบตคราวนี้ ทำให้พื้นดินรอบๆ พื้นที่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวยุบตัวลงถึง 1.6 เมตรในระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร ด้านสื่อของทางการจีนรายงานว่า บริเวณโดยรอบของพื้นที่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว อยู่ในสภาพเสียหายหนัก จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า บ้านเรือน 3,609 หลังพังทลายในเมืองซีกัตเซ ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ 800,000 คน และเวลานี้ทางการจีนจัดส่งเจ้าหน้าที่กู้ภัยกว่า 14,000 คนไปยังพื้นที่ประสบภัยแล้ว ด้านเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นแถลงวันพุธ (8 ) ว่า ผู้ประสบภัยกว่า 46,500 คนถูกนำไปยังที่พักใหม่ เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยว 484 คนในติงกริที่ได้รับการนำส่งอย่างปลอดภัยไปยังเมืองซีกัตเซ ทั้งนี้ พื้นที่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของจีนซึ่งครอบคลุมถึงทิเบต ที่มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองระดับมณฑลของแดนมังกร รวมทั้งเนปาล และตอนเหนือของอินเดีย เป็นพื้นที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้งเนื่องจากการแปรสัณฐานของแผ่นเปลือกโลกอินเดียและยูเรเซียที่มาบรรจบกัน รายงานระบุว่า จนถึงเที่ยงวันพุธ มีอาฟเตอร์ช็อก เกิดขึ้น 646 ครั้งในบริเวณรอบๆ พื้นที่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว โดยครั้งรุนแรงที่สุดอยู่ในระดับ 4.4 ข้อมูลจากสำนักงานแผ่นดินไหวท้องถิ่นระบุว่า ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เกิดแผ่นดินไหว 29 ครั้ง วัดความแรงได้ระดับ 3 ขึ้นไปภายในรัศมี 200 กิโลเมตรรอบพื้นท่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวเมื่อวันอังคาร เหมิง ฮุ่ย รองหัวหน้าสำนักงานแผ่นดินไหวทิเบต แถลงว่า จากการวิเคราะห์พบว่า อาจเกิดแผ่นดินไหวขนาด 5-6 ในบริเวณเดียวกันนี้ในอนาคต แผ่นดินไหวในทิเบตเมื่อวันอังคารถือเป็นแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงที่สุดในจีนนับจากปี 2023 ที่เกิดแผ่นดินไหวความแรง 6.2 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 149 คนในพื้นที่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ปี 2008 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ในเสฉวน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 70,000 คน ถือเป็นแผ่นดินไหวในจีนที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดนับจากเหตุแผ่นดินไหวที่เมืองถังชานในปี 1976 ที่มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 242,000 คน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000002350 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1318 มุมมอง 0 รีวิว
  • “นพดล ปัทมะ” คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกของประเทศไทย ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    ณ บ้านพระอาทิตย์
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    ประเด็นที่  นายนพดล ปัทมะ อ้างว่า ปราสาทพระวิหารได้เป็นของกัมพูชาตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อปี พ.ศ.2505 แล้ว แถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา จึงไม่กระทบต่อประเทศไทยใดๆเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารเป็นความจริงที่พูดไม่ครบเพราะ

    ประการแรก นายนพดลอาจจะไม่ได้ตระหนักว่า นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในเวลานั้นได้ยื่นหนังสือ “ข้อสงวนที่จะทวงคืนปราสาทพระวิหารในวันข้างหน้า” ถึงผู้รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 เอาไว้ด้วย โดยผู้รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติก็ไม่มีข้อปฏิเสธใดๆ

    ข้อสงวนดังกล่าวเป็นการแสดงออกของรัฐบาลไทย ถึงความอยุติธรรมของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 

    ข้อสงวนดังกล่าวไม่ได้อ้างข้อบทบัญญัติในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ แต่เมื่อฝ่ายไทยเพลี่ยงพล้ำในเวทีนี้ ฝ่ายไทยก็ไม่ได้เป็นสมาชิกของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศอีกจนถึงปัจจุบัน และข้อสงวนของฝ่ายไทยนั้นก็ไม่ได้อ้างอิงข้อบทในกฎหมายของศาลยุติธรรมต่างประเทศในเวลานั้น หากแต่วันหนึ่งในวันข้างหน้าที่กฎหมายพัฒนา หรือเกิดสิทธิที่ถูกต้องเป็นธรรมขึ้น ก็พร้อมที่จะทวงคืนประสาทพระวิหารกลับคืนมาด้วย จึงเป็นการสงวนสิทธิ์ในอนาคตแบบไม่ได้กำหนดระยะเวลา

    ดังนั้น การอ้างว่าไทยได้แพ้ในคดีปราสาทพระวิหารไปแล้ว การลงนามในแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา จึงไม่ได้เป็นการยกปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลกของกัมพูชาฝ่ายเดียวนั้น จึงต้องตั้งคำถามว่ารัฐบาลไทยได้ละทิ้งข้อสงวนของไทยที่นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ในเวลานั้นได้ยื่นหนังสือ “ข้อสงวน” ถึงผู้รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 จริงหรือไม่?

     ประการที่สอง ประเด็นการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของตัวปราสาทวิหารนั้นจะไม่สามารถทำได้ หากไม่มีพื้นที่พัฒนา พื้นที่กันชน ซึ่งเป็นเรื่อง “แผ่นดิน” นอกเหนือจาก “ตัวปราสาทพระวิหาร” ตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2505 จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนว่า มีการยินยอมจากฝ่ายไทยในแผนผัง(N1, N2, N3) ให้ตัวปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของกัมพูชาฝ่ายเดียวในแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชาได้อย่างไร โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา

    ความจริงเรื่องนี้ไม่ควรจะถกเถียงใดๆ อีกแล้ว เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 6-7/2511 เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2551 ได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดสิ้นสุดไปแล้ว ในคดีที่สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า แถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2551 เป็นหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 หรือไม่ โดยปรากฏคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในหน้าที่ 23-24 ความตอนหนึ่งว่า

    “ส่วนเรื่องอาณาเขตของประเทศนั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในบริเวณที่ยังมีข้อขัดแย้งกันอยู่ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ การดำเนินการและการพิจารณาวินิจฉัยในเรื่องนี้จึงต้องกระทำอย่างรอบคอบ หากเป็นกรณีที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศแล้ว ย่อมจะต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรคสองด้วย

    สำหรับคำแถลงการณ์ร่วม-กัมพูชา ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นั้น แม้จะไม่ได้ปรากฏสาระสำคัญอย่างชัดเจนว่าเป็นหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่อันเป็นอาณาเขตของประเทศไทยก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาข้อบททั้งหมดในคำแถลงการณ์ร่วมประกอบกับแผนที่หรือแผนผังแนบท้ายซึ่งจัดทำขึ้นโดยประเทศกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียว อันประกอบเป็นส่วนหนึ่งของคำแถลงการณ์ร่วมแล้ว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าแผนที่ดังกล่าวได้กล่าวอ้างถึงพื้นที่ N.1 N.2 และ N.3 ได้ชัดเจนว่ามีบริเวณครอบคลุมส่วนใดของประเทศใดเป็นจำนวนเท่าใด ซึ่งเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อผลกระทบเรื่องอาณาเขตของประเทศไทย อันเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนและอาจก่อให้เกิดข้อพิพาทระหว่างประเทศตอบไปภายหน้าได้ 

    ประกอบกับการที่ประเทศกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้นมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่เป็นประเด็นโต้เถียงกันในเรื่องของเส้นเขตแดนและขอบเขตที่ปราสาทตั้งอยู่ ทั้งเป็นประเด็นที่มีความเห็นแตกต่างกันทั้งทางด้านสังคมและการเมืองมาโดยตลอด

    การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการเจรจากับประเทศกัมพูชาก่อนที่จะได้มีการลงนามคำแถลงการร่วมดังกล่าว พึงเล็งเห็นได้ว่า การลงนามคำแถลงการณ์ร่วมไป ก็อาจก่อให้เกิดการแตกแยกกันทางด้านความคิดเห็นของคนในสังคมทั้งสองประเทศ อีกทั้งอาจก่อให้เกิดวิกฤติแก่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา อันมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมอย่างกว้างขวาง คำแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวจึงเป็นหนังสือสัญญาที่อาจมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศไทย จึงเป็นหนังสือสัญญาที่รัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรคสอง กำหนดให้ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา

    อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา หรือ Joint Communiqe’ ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เป็นหนังสือสัญญาที่อาจมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศ ทั้งยังมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมของประเทศอย่างกว้างขวางอีกด้วย ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาตามประมวลมาตรา 190 วรรคสอง”

    ดังนั้น การโพสต์ว่านายนพดล ปัทมะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ในกรณีให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการใส่ร้ายตรงไหน และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกในประเทศไทยที่ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาที่ไม่ชอบรัฐธรรมนูญนั้นผิดตรงไหน?

    ต่อมาคำพิพากษาศาลฎีกาสำนวนคดีหมายเลขดำ ที่ อม.3/2556 เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558 ว่านายนพดล ปัทมะ ไม่มีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 นั้น ในประเด็นแห่งคดีที่ว่านายนพดล ปัทมะ ไม่ได้นำเรื่องแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชาไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภานั้น ศาลฟังไม่ได้ว่า “จำเลยมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่นำร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ”

      แปลว่าเราต้องเคารพคำวินิจฉันของศาลรัฐธรรมนูญ และคำพิพากษาของศาลฎีกาซึ่งสรุปสั้นๆ ได้คือ นายนพดล ปัทมะ ในสมัยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ให้ปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกพร้อมแผนผังนั้น เป็นการกระทำที่ไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา และขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกของประเทศไทยที่กระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ในอีกคดีหนึ่งที่ศาลฎีกาเห็นว่าไม่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพราะไม่ได้มี “เจตนาหลีกเลี่ยงไม่นำร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ”

    จึงต้องตั้งคำถามต่อจากนายนพดล ปัทมะ ที่ตั้งประเด็นในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า จะให้เชื่อใครระหว่างนายสนธิ ลิ้มทองกุลและคณะ กับกรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ของประเทศไทยนั้น ประเทศไทยได้รับบทเรียนจากกระทรวงการต่างประเทศที่ได้มีการกระทำแบบที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แพ้คำตัดสินตัวปราสาทพระวิหารในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2505 แพ้การตีความพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2556 ดังนั้นการที่มาตั้งคำถามเพื่อด้อยค่าการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในทำนองว่าอาจจะมีความรู้น้อยกว่า กรมสนธิสัญญากระทรวงการต่างประเทศจึงไม่น่าเชื่อถือ โดยไม่ฟังเสียงทักท้วงจากประชาชน ถูกต้องแล้วหรือ?

    จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงต้องตั้งคำถามว่าข้อความต่อไปนี้ ไม่ใช่ความเท็จ และไม่ใช่การใส่ร้ายป้ายดีใดๆ จริงหรือไม่ ดังจะได้บันทึกให้อ่านกันเป็นข้อความซ้ำกัน 3 ครั้ง ความว่า

     “นายนพดล ปัทมะ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกของประเทศไทย ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ”

     “นายนพดล ปัทมะ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกของประเทศไทย ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ”

      “นายนพดล ปัทมะ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกของประเทศไทย ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ”

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต



    “นพดล ปัทมะ” คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกของประเทศไทย ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ณ บ้านพระอาทิตย์ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ประเด็นที่  นายนพดล ปัทมะ อ้างว่า ปราสาทพระวิหารได้เป็นของกัมพูชาตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อปี พ.ศ.2505 แล้ว แถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา จึงไม่กระทบต่อประเทศไทยใดๆเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารเป็นความจริงที่พูดไม่ครบเพราะ ประการแรก นายนพดลอาจจะไม่ได้ตระหนักว่า นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในเวลานั้นได้ยื่นหนังสือ “ข้อสงวนที่จะทวงคืนปราสาทพระวิหารในวันข้างหน้า” ถึงผู้รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 เอาไว้ด้วย โดยผู้รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติก็ไม่มีข้อปฏิเสธใดๆ ข้อสงวนดังกล่าวเป็นการแสดงออกของรัฐบาลไทย ถึงความอยุติธรรมของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ  ข้อสงวนดังกล่าวไม่ได้อ้างข้อบทบัญญัติในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ แต่เมื่อฝ่ายไทยเพลี่ยงพล้ำในเวทีนี้ ฝ่ายไทยก็ไม่ได้เป็นสมาชิกของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศอีกจนถึงปัจจุบัน และข้อสงวนของฝ่ายไทยนั้นก็ไม่ได้อ้างอิงข้อบทในกฎหมายของศาลยุติธรรมต่างประเทศในเวลานั้น หากแต่วันหนึ่งในวันข้างหน้าที่กฎหมายพัฒนา หรือเกิดสิทธิที่ถูกต้องเป็นธรรมขึ้น ก็พร้อมที่จะทวงคืนประสาทพระวิหารกลับคืนมาด้วย จึงเป็นการสงวนสิทธิ์ในอนาคตแบบไม่ได้กำหนดระยะเวลา ดังนั้น การอ้างว่าไทยได้แพ้ในคดีปราสาทพระวิหารไปแล้ว การลงนามในแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา จึงไม่ได้เป็นการยกปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลกของกัมพูชาฝ่ายเดียวนั้น จึงต้องตั้งคำถามว่ารัฐบาลไทยได้ละทิ้งข้อสงวนของไทยที่นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ในเวลานั้นได้ยื่นหนังสือ “ข้อสงวน” ถึงผู้รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 จริงหรือไม่?  ประการที่สอง ประเด็นการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของตัวปราสาทวิหารนั้นจะไม่สามารถทำได้ หากไม่มีพื้นที่พัฒนา พื้นที่กันชน ซึ่งเป็นเรื่อง “แผ่นดิน” นอกเหนือจาก “ตัวปราสาทพระวิหาร” ตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2505 จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนว่า มีการยินยอมจากฝ่ายไทยในแผนผัง(N1, N2, N3) ให้ตัวปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของกัมพูชาฝ่ายเดียวในแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชาได้อย่างไร โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ความจริงเรื่องนี้ไม่ควรจะถกเถียงใดๆ อีกแล้ว เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 6-7/2511 เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2551 ได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดสิ้นสุดไปแล้ว ในคดีที่สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า แถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2551 เป็นหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 หรือไม่ โดยปรากฏคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในหน้าที่ 23-24 ความตอนหนึ่งว่า “ส่วนเรื่องอาณาเขตของประเทศนั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในบริเวณที่ยังมีข้อขัดแย้งกันอยู่ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ การดำเนินการและการพิจารณาวินิจฉัยในเรื่องนี้จึงต้องกระทำอย่างรอบคอบ หากเป็นกรณีที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศแล้ว ย่อมจะต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรคสองด้วย สำหรับคำแถลงการณ์ร่วม-กัมพูชา ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นั้น แม้จะไม่ได้ปรากฏสาระสำคัญอย่างชัดเจนว่าเป็นหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่อันเป็นอาณาเขตของประเทศไทยก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาข้อบททั้งหมดในคำแถลงการณ์ร่วมประกอบกับแผนที่หรือแผนผังแนบท้ายซึ่งจัดทำขึ้นโดยประเทศกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียว อันประกอบเป็นส่วนหนึ่งของคำแถลงการณ์ร่วมแล้ว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าแผนที่ดังกล่าวได้กล่าวอ้างถึงพื้นที่ N.1 N.2 และ N.3 ได้ชัดเจนว่ามีบริเวณครอบคลุมส่วนใดของประเทศใดเป็นจำนวนเท่าใด ซึ่งเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อผลกระทบเรื่องอาณาเขตของประเทศไทย อันเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนและอาจก่อให้เกิดข้อพิพาทระหว่างประเทศตอบไปภายหน้าได้  ประกอบกับการที่ประเทศกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้นมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่เป็นประเด็นโต้เถียงกันในเรื่องของเส้นเขตแดนและขอบเขตที่ปราสาทตั้งอยู่ ทั้งเป็นประเด็นที่มีความเห็นแตกต่างกันทั้งทางด้านสังคมและการเมืองมาโดยตลอด การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการเจรจากับประเทศกัมพูชาก่อนที่จะได้มีการลงนามคำแถลงการร่วมดังกล่าว พึงเล็งเห็นได้ว่า การลงนามคำแถลงการณ์ร่วมไป ก็อาจก่อให้เกิดการแตกแยกกันทางด้านความคิดเห็นของคนในสังคมทั้งสองประเทศ อีกทั้งอาจก่อให้เกิดวิกฤติแก่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา อันมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมอย่างกว้างขวาง คำแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวจึงเป็นหนังสือสัญญาที่อาจมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศไทย จึงเป็นหนังสือสัญญาที่รัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรคสอง กำหนดให้ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา หรือ Joint Communiqe’ ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เป็นหนังสือสัญญาที่อาจมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศ ทั้งยังมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมของประเทศอย่างกว้างขวางอีกด้วย ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาตามประมวลมาตรา 190 วรรคสอง” ดังนั้น การโพสต์ว่านายนพดล ปัทมะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ในกรณีให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการใส่ร้ายตรงไหน และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกในประเทศไทยที่ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาที่ไม่ชอบรัฐธรรมนูญนั้นผิดตรงไหน? ต่อมาคำพิพากษาศาลฎีกาสำนวนคดีหมายเลขดำ ที่ อม.3/2556 เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558 ว่านายนพดล ปัทมะ ไม่มีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 นั้น ในประเด็นแห่งคดีที่ว่านายนพดล ปัทมะ ไม่ได้นำเรื่องแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชาไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภานั้น ศาลฟังไม่ได้ว่า “จำเลยมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่นำร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ”   แปลว่าเราต้องเคารพคำวินิจฉันของศาลรัฐธรรมนูญ และคำพิพากษาของศาลฎีกาซึ่งสรุปสั้นๆ ได้คือ นายนพดล ปัทมะ ในสมัยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ให้ปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกพร้อมแผนผังนั้น เป็นการกระทำที่ไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา และขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกของประเทศไทยที่กระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ในอีกคดีหนึ่งที่ศาลฎีกาเห็นว่าไม่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพราะไม่ได้มี “เจตนาหลีกเลี่ยงไม่นำร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ” จึงต้องตั้งคำถามต่อจากนายนพดล ปัทมะ ที่ตั้งประเด็นในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า จะให้เชื่อใครระหว่างนายสนธิ ลิ้มทองกุลและคณะ กับกรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ของประเทศไทยนั้น ประเทศไทยได้รับบทเรียนจากกระทรวงการต่างประเทศที่ได้มีการกระทำแบบที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แพ้คำตัดสินตัวปราสาทพระวิหารในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2505 แพ้การตีความพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2556 ดังนั้นการที่มาตั้งคำถามเพื่อด้อยค่าการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในทำนองว่าอาจจะมีความรู้น้อยกว่า กรมสนธิสัญญากระทรวงการต่างประเทศจึงไม่น่าเชื่อถือ โดยไม่ฟังเสียงทักท้วงจากประชาชน ถูกต้องแล้วหรือ? จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงต้องตั้งคำถามว่าข้อความต่อไปนี้ ไม่ใช่ความเท็จ และไม่ใช่การใส่ร้ายป้ายดีใดๆ จริงหรือไม่ ดังจะได้บันทึกให้อ่านกันเป็นข้อความซ้ำกัน 3 ครั้ง ความว่า  “นายนพดล ปัทมะ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกของประเทศไทย ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ”  “นายนพดล ปัทมะ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกของประเทศไทย ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ”   “นายนพดล ปัทมะ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกของประเทศไทย ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ” ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 585 มุมมอง 0 รีวิว
  • ## เปิดหนังสือทวงถามนายกรัฐมนตรีครบ 15 วันหลังได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้เพิกถอน MOU2544 และ JC2544 ##
    ..
    ..
    ด่วนที่สุด!
    ที่ กอ. ๑๙๙/๒๕๖๗
    วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๗

    เรื่อง ​ทวงถามการดำเนินการตามหนังสือให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีป ของราชอาณาจักรไทย
    กราบเรียน​ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
    อ้างถึง
    (๑) หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กอ.๑๗๒/๒๕๖๗ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๗
    (๒) หนังสือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๑๐๕.๔/๑๐๖๒๔ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๗
    (๓) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ
    (๔) ประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓ ความผิดต่อความมั่นคงภายนอกราชอาณาจักร มาตรา ๑๑๙ – มาตรา ๑๒๙

    ตามที่พวกข้าพเจ้า นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และมวลหมู่ประชาชนจำนวนมาก ได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทย โดยขอให้ดำเนินการในประการสำคัญ คือ ขอให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย และขอให้ท่านเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามีมติให้ส่ง MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยหรือไม่ ตามมาตรา ๑๗๘ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งขอให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชน โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป

    ต่อมา สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง (๒) แจ้งว่า ได้นำเรียนเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อโปรดทราบและนำพิจารณากราบเรียนนายกรัฐมนตรีตามที่เห็นสมควร และได้ประสานงานส่งเรื่องให้กระทรวงการต่างประเทศเพื่อพิจารณา โดยขอให้แจ้งผลให้ข้าพเจ้าทราบโดยตรงให้ข้าพเจ้าโดยตรง ความละเอียดทราบแล้วนั้น แต่หนังสือดังกล่าวไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการใดๆ ตามข้อเรียกร้อง รวม ๖ ประการ ซึ่งข้าพเจ้ากับมวลหมู่ประชาชนได้ให้เวลาแก่ท่านดำเนินการและแจ้งตอบเป็นเวลา ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว
    บัดนี้ ระยะเวลาได้ครบกำหนด ๑๕ วัน แล้ว ท่านและคณะรัฐมนตรียังไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการตามที่ได้ร้องขอตามหนังสือที่อ้างถึง(๑) ให้แก่ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน อีกทั้งได้ปรากฏข้อเท็จจริงในสื่อมวลชนจำนวนมากว่า ท่านได้รับหนังสือและรับรู้
    ในข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนแล้ว แต่ท่านกลับนิ่งเฉยและไม่ปรากฏคำสัมภาษณ์ว่าจะเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีหรือจัดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังไม่ตอบรับใดๆว่าจะจัดให้มีเวทีสาธารณะเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ในการตัดสินใจในปัญหาสำคัญของประเทศ ตามคำร้องขอในหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ซึ่งเป็นการกระทำที่สวนทางและขัดแย้งกับที่ท่านได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า พร้อมจะพูดคุยกับข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน
    ดังนั้นการแสดงออกดังกล่าวของท่านและคณะรัฐมนตรี ทำให้ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนเห็นประจักษ์ชัดแจ้งว่า ท่านและคณะรัฐมนตรีจงใจละเลยต่อหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย อันเป็นการกระทำที่ละเลยต่อหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ และมาตรา ๕๗ ตามที่อ้างถึง (๓)
    ดังนั้นข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจึงเห็นว่า หากท่านและคณะรัฐมนตรียังคงนิ่งเฉยต่อข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจนอาจทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะถือว่าท่านและคณะรัฐมนตรีได้กระทำการอันเป็นการตระเตรียมหรือสนับสนุนการกระทำความผิดที่จะทำให้ราชอาณาจักรไทยหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรไทยต้องไปอยู่ในอธิปไตยของรัฐต่างประเทศหรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป รวมทั้งเห็นว่าท่านและคณะรัฐมนตรีมีพฤติการณ์บางประการที่ทำให้เห็นว่าได้ตระเตรียมการเพื่อคบคิดกับผู้นำของประเทศกัมพูชาด้วยความประสงค์ที่จะเป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย อันอาจเป็นการกระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๙
    และมาตรา ๑๒๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒๘ และมาตรา ๑๒๙ ตามที่อ้างถึง (๔) ซึ่งข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะได้ดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายและตามที่เห็นสมควรเพื่อปกป้องอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยต่อไป
    จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

    ขอแสดงความนับถือ
    นายสนธิ ลิ้มทองกุล
    นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    ## เปิดหนังสือทวงถามนายกรัฐมนตรีครบ 15 วันหลังได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้เพิกถอน MOU2544 และ JC2544 ## .. .. ด่วนที่สุด! ที่ กอ. ๑๙๙/๒๕๖๗ วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๗ เรื่อง ​ทวงถามการดำเนินการตามหนังสือให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีป ของราชอาณาจักรไทย กราบเรียน​ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี อ้างถึง (๑) หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กอ.๑๗๒/๒๕๖๗ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๗ (๒) หนังสือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๑๐๕.๔/๑๐๖๒๔ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๗ (๓) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ (๔) ประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓ ความผิดต่อความมั่นคงภายนอกราชอาณาจักร มาตรา ๑๑๙ – มาตรา ๑๒๙ ตามที่พวกข้าพเจ้า นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และมวลหมู่ประชาชนจำนวนมาก ได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทย โดยขอให้ดำเนินการในประการสำคัญ คือ ขอให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย และขอให้ท่านเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามีมติให้ส่ง MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยหรือไม่ ตามมาตรา ๑๗๘ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งขอให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชน โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ต่อมา สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง (๒) แจ้งว่า ได้นำเรียนเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อโปรดทราบและนำพิจารณากราบเรียนนายกรัฐมนตรีตามที่เห็นสมควร และได้ประสานงานส่งเรื่องให้กระทรวงการต่างประเทศเพื่อพิจารณา โดยขอให้แจ้งผลให้ข้าพเจ้าทราบโดยตรงให้ข้าพเจ้าโดยตรง ความละเอียดทราบแล้วนั้น แต่หนังสือดังกล่าวไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการใดๆ ตามข้อเรียกร้อง รวม ๖ ประการ ซึ่งข้าพเจ้ากับมวลหมู่ประชาชนได้ให้เวลาแก่ท่านดำเนินการและแจ้งตอบเป็นเวลา ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว บัดนี้ ระยะเวลาได้ครบกำหนด ๑๕ วัน แล้ว ท่านและคณะรัฐมนตรียังไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการตามที่ได้ร้องขอตามหนังสือที่อ้างถึง(๑) ให้แก่ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน อีกทั้งได้ปรากฏข้อเท็จจริงในสื่อมวลชนจำนวนมากว่า ท่านได้รับหนังสือและรับรู้ ในข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนแล้ว แต่ท่านกลับนิ่งเฉยและไม่ปรากฏคำสัมภาษณ์ว่าจะเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีหรือจัดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังไม่ตอบรับใดๆว่าจะจัดให้มีเวทีสาธารณะเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ในการตัดสินใจในปัญหาสำคัญของประเทศ ตามคำร้องขอในหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ซึ่งเป็นการกระทำที่สวนทางและขัดแย้งกับที่ท่านได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า พร้อมจะพูดคุยกับข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน ดังนั้นการแสดงออกดังกล่าวของท่านและคณะรัฐมนตรี ทำให้ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนเห็นประจักษ์ชัดแจ้งว่า ท่านและคณะรัฐมนตรีจงใจละเลยต่อหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย อันเป็นการกระทำที่ละเลยต่อหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ และมาตรา ๕๗ ตามที่อ้างถึง (๓) ดังนั้นข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจึงเห็นว่า หากท่านและคณะรัฐมนตรียังคงนิ่งเฉยต่อข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจนอาจทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะถือว่าท่านและคณะรัฐมนตรีได้กระทำการอันเป็นการตระเตรียมหรือสนับสนุนการกระทำความผิดที่จะทำให้ราชอาณาจักรไทยหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรไทยต้องไปอยู่ในอธิปไตยของรัฐต่างประเทศหรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป รวมทั้งเห็นว่าท่านและคณะรัฐมนตรีมีพฤติการณ์บางประการที่ทำให้เห็นว่าได้ตระเตรียมการเพื่อคบคิดกับผู้นำของประเทศกัมพูชาด้วยความประสงค์ที่จะเป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย อันอาจเป็นการกระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๙ และมาตรา ๑๒๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒๘ และมาตรา ๑๒๙ ตามที่อ้างถึง (๔) ซึ่งข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะได้ดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายและตามที่เห็นสมควรเพื่อปกป้องอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ขอแสดงความนับถือ นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 477 มุมมอง 0 รีวิว
  • ## เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) ##
    ..
    ..
    เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้
    วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้
    ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม
    .
    ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
    .
    ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ
    ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ
    เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
    ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้
    .
    ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ
    ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย
    .
    ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก
    ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    .
    ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล
    ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว
    .
    ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย
    ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
    นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน
    .
    จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้
    .
    1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
    .
    2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน
    .
    3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที
    .
    4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป
    .
    5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง
    .
    6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป
    ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้
    .
    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    ## เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) ## .. .. เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้ วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้ ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม . ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ . ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้ . ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย . ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 . ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว . ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน . จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ . 1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 . 2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน . 3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที . 4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป . 5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง . 6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้ . https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 688 มุมมอง 0 รีวิว
  • “สนธิ” ยื่นหนังสือทวงถามนายกฯ ปมยกเลิก MOU2544 และ JC2544 หลังยื่นข้อเรียกร้องครบ 15 วันแล้วยังนิ่งเฉย เสี่ยงทำให้ประเทศเสียอธิปไตยทางทะเล ผิดรัฐธรรมนูญ เตรียมดำเนินการทางกฎหมายตามที่เห็นสมควรต่อไป
    .
    วันนี้(24 ธ.ค.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะได้เดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีให้เพิกถอน MOU 2544 และ JC 2544 ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ (กพร. ฝั่งตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล) วันอังคารที่ 24 ธันวาคม 2567 ร่วมลงนามตั้งแต่ 9.00 น. และยื่นหนังสือเวลา 10.00 น. หลังเคยยื่นหนังสือเรียกร้องเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2567 และครบกำหนด 15 วัน จึงมาทวงถามในวันนี้
    .
    รายละเอียดหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี
    .
    ที่ กอ. ๑๙๙/๒๕๖๗
    วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๗
    เรื่อง ทวงถามการดำเนินการตามหนังสือให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีป ของราชอาณาจักรไทย
    .
    กราบเรียนฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
    อ้างถึง (๑) หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กอ.๑๗๒/๒๕๖๗ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๗
    (๒) หนังสือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๑๐๕.๔/๑๐๖๒๔ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๗
    (๓) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ
    (๔) ประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓ ความผิดต่อความมั่นคงภายนอกราชอาณาจักร มาตรา ๑๑๙ – มาตรา ๑๒๙
    .
    ตามที่พวกข้าพเจ้า นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และมวลหมู่ประชาชนจำนวนมาก ได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทย โดยขอให้ดำเนินการในประการสำคัญ คือ ขอให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย และขอให้ท่านเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามีมติให้ส่ง MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยหรือไม่ ตามมาตรา ๑๗๘ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งขอให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชน โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ต่อมา สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง (๒) แจ้งว่า ได้นำเรียนเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อโปรดทราบและนำพิจารณากราบเรียนนายกรัฐมนตรีตามที่เห็นสมควร และได้ประสานงานส่งเรื่องให้กระทรวงการต่างประเทศเพื่อพิจารณา โดยขอให้แจ้งผลให้ข้าพเจ้าทราบโดยตรงให้ข้าพเจ้าโดยตรง ความละเอียดทราบแล้วนั้น แต่หนังสือดังกล่าวไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการใดๆ ตามข้อเรียกร้อง รวม ๖ ประการ ซึ่งข้าพเจ้ากับมวลหมู่ประชาชนได้ให้เวลาแก่ท่านดำเนินการและแจ้งตอบเป็นเวลา ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว
    .
    บัดนี้ ระยะเวลาได้ครบกำหนด ๑๕ วัน แล้ว ท่านและคณะรัฐมนตรียังไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการตามที่ได้ร้องขอตามหนังสือที่อ้างถึง(๑) ให้แก่ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน อีกทั้งได้ปรากฏข้อเท็จจริงในสื่อมวลชนจำนวนมากว่า ท่านได้รับหนังสือและรับรู้ในข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนแล้ว แต่ท่านกลับนิ่งเฉยและไม่ปรากฏคำสัมภาษณ์ว่าจะเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีหรือจัดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังไม่ตอบรับใดๆว่าจะจัดให้มีเวทีสาธารณะเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ในการตัดสินใจในปัญหาสำคัญของประเทศ ตามคำร้องขอในหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ซึ่งเป็นการกระทำที่สวนทางและขัดแย้งกับที่ท่านได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า พร้อมจะพูดคุยกับข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน ดังนั้น การแสดงออกดังกล่าวของท่านและคณะรัฐมนตรี ทำให้ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนเห็นประจักษ์ชัดแจ้งว่า ท่านและคณะรัฐมนตรีจงใจละเลยต่อหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย อันเป็นการกระทำที่ละเลยต่อหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ และมาตรา ๕๗ ตามที่อ้างถึง (๓) ดังนั้น ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจึงเห็นว่า หากท่านและคณะรัฐมนตรียังคงนิ่งเฉยต่อข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจนอาจทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะถือว่าท่านและคณะรัฐมนตรีได้กระทำการอันเป็นการตระเตรียมหรือสนับสนุนการกระทำความผิดที่จะทำให้ราชอาณาจักรไทยหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรไทยต้องไปอยู่ในอธิปไตยของรัฐต่างประเทศหรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป รวมทั้งเห็นว่าท่านและคณะรัฐมนตรีมีพฤติการณ์บางประการที่ทำให้เห็นว่าได้ตระเตรียมการเพื่อคบคิดกับผู้นำของประเทศกัมพูชาด้วยความประสงค์ที่จะเป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย อันอาจเป็นการกระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๙ และมาตรา ๑๒๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒๘ และมาตรา ๑๒๙ ตามที่อ้างถึง (๔) ซึ่งข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะได้ดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายและตามที่เห็นสมควรเพื่อปกป้องอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยต่อไป
    .
    จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
    ขอแสดงความนับถือ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000123204
    ..............
    Sondhi X
    “สนธิ” ยื่นหนังสือทวงถามนายกฯ ปมยกเลิก MOU2544 และ JC2544 หลังยื่นข้อเรียกร้องครบ 15 วันแล้วยังนิ่งเฉย เสี่ยงทำให้ประเทศเสียอธิปไตยทางทะเล ผิดรัฐธรรมนูญ เตรียมดำเนินการทางกฎหมายตามที่เห็นสมควรต่อไป . วันนี้(24 ธ.ค.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะได้เดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีให้เพิกถอน MOU 2544 และ JC 2544 ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ (กพร. ฝั่งตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล) วันอังคารที่ 24 ธันวาคม 2567 ร่วมลงนามตั้งแต่ 9.00 น. และยื่นหนังสือเวลา 10.00 น. หลังเคยยื่นหนังสือเรียกร้องเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2567 และครบกำหนด 15 วัน จึงมาทวงถามในวันนี้ . รายละเอียดหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี . ที่ กอ. ๑๙๙/๒๕๖๗ วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๗ เรื่อง ทวงถามการดำเนินการตามหนังสือให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีป ของราชอาณาจักรไทย . กราบเรียนฯพณฯ นายกรัฐมนตรี อ้างถึง (๑) หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กอ.๑๗๒/๒๕๖๗ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๗ (๒) หนังสือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๑๐๕.๔/๑๐๖๒๔ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๗ (๓) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ (๔) ประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓ ความผิดต่อความมั่นคงภายนอกราชอาณาจักร มาตรา ๑๑๙ – มาตรา ๑๒๙ . ตามที่พวกข้าพเจ้า นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และมวลหมู่ประชาชนจำนวนมาก ได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทย โดยขอให้ดำเนินการในประการสำคัญ คือ ขอให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย และขอให้ท่านเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามีมติให้ส่ง MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยหรือไม่ ตามมาตรา ๑๗๘ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งขอให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชน โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ต่อมา สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง (๒) แจ้งว่า ได้นำเรียนเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อโปรดทราบและนำพิจารณากราบเรียนนายกรัฐมนตรีตามที่เห็นสมควร และได้ประสานงานส่งเรื่องให้กระทรวงการต่างประเทศเพื่อพิจารณา โดยขอให้แจ้งผลให้ข้าพเจ้าทราบโดยตรงให้ข้าพเจ้าโดยตรง ความละเอียดทราบแล้วนั้น แต่หนังสือดังกล่าวไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการใดๆ ตามข้อเรียกร้อง รวม ๖ ประการ ซึ่งข้าพเจ้ากับมวลหมู่ประชาชนได้ให้เวลาแก่ท่านดำเนินการและแจ้งตอบเป็นเวลา ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว . บัดนี้ ระยะเวลาได้ครบกำหนด ๑๕ วัน แล้ว ท่านและคณะรัฐมนตรียังไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการตามที่ได้ร้องขอตามหนังสือที่อ้างถึง(๑) ให้แก่ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน อีกทั้งได้ปรากฏข้อเท็จจริงในสื่อมวลชนจำนวนมากว่า ท่านได้รับหนังสือและรับรู้ในข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนแล้ว แต่ท่านกลับนิ่งเฉยและไม่ปรากฏคำสัมภาษณ์ว่าจะเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีหรือจัดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังไม่ตอบรับใดๆว่าจะจัดให้มีเวทีสาธารณะเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ในการตัดสินใจในปัญหาสำคัญของประเทศ ตามคำร้องขอในหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ซึ่งเป็นการกระทำที่สวนทางและขัดแย้งกับที่ท่านได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า พร้อมจะพูดคุยกับข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน ดังนั้น การแสดงออกดังกล่าวของท่านและคณะรัฐมนตรี ทำให้ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนเห็นประจักษ์ชัดแจ้งว่า ท่านและคณะรัฐมนตรีจงใจละเลยต่อหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย อันเป็นการกระทำที่ละเลยต่อหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ และมาตรา ๕๗ ตามที่อ้างถึง (๓) ดังนั้น ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจึงเห็นว่า หากท่านและคณะรัฐมนตรียังคงนิ่งเฉยต่อข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจนอาจทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะถือว่าท่านและคณะรัฐมนตรีได้กระทำการอันเป็นการตระเตรียมหรือสนับสนุนการกระทำความผิดที่จะทำให้ราชอาณาจักรไทยหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรไทยต้องไปอยู่ในอธิปไตยของรัฐต่างประเทศหรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป รวมทั้งเห็นว่าท่านและคณะรัฐมนตรีมีพฤติการณ์บางประการที่ทำให้เห็นว่าได้ตระเตรียมการเพื่อคบคิดกับผู้นำของประเทศกัมพูชาด้วยความประสงค์ที่จะเป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย อันอาจเป็นการกระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๙ และมาตรา ๑๒๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒๘ และมาตรา ๑๒๙ ตามที่อ้างถึง (๔) ซึ่งข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะได้ดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายและตามที่เห็นสมควรเพื่อปกป้องอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยต่อไป . จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ขอแสดงความนับถือ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000123204 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    14
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1088 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิดหนังสือทวงถามนายกรัฐมนตรีครบ 15 วันหลังได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้เพิกถอน MOU2544 และ JC2544

    ด่วนท่ีสุด!

    ที่ กอ. ๑๙๙/๒๕๖๗

    วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๗

    เรื่อง ​ทวงถามการดำเนินการตามหนังสือให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีป ของราชอาณาจักรไทย

    กราบเรียน​ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี

    อ้างถึง (๑) หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กอ.๑๗๒/๒๕๖๗ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๗
    (๒) หนังสือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๑๐๕.๔/๑๐๖๒๔ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๗
    (๓) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ
    (๔) ประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓ ความผิดต่อความมั่นคงภายนอกราชอาณาจักร มาตรา ๑๑๙ – มาตรา ๑๒๙

    ตามที่พวกข้าพเจ้า นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และมวลหมู่ประชาชนจำนวนมาก ได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทย โดยขอให้ดำเนินการในประการสำคัญ คือ ขอให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย และขอให้ท่านเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามีมติให้ส่ง MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยหรือไม่ ตามมาตรา ๑๗๘ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งขอให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชน โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป

    ต่อมา สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง (๒) แจ้งว่า ได้นำเรียนเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อโปรดทราบและนำพิจารณากราบเรียนนายกรัฐมนตรีตามที่เห็นสมควร และได้ประสานงานส่งเรื่องให้กระทรวงการต่างประเทศเพื่อพิจารณา โดยขอให้แจ้งผลให้ข้าพเจ้าทราบโดยตรงให้ข้าพเจ้าโดยตรง ความละเอียดทราบแล้วนั้น แต่หนังสือดังกล่าวไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการใดๆ ตามข้อเรียกร้อง รวม ๖ ประการ ซึ่งข้าพเจ้ากับมวลหมู่ประชาชนได้ให้เวลาแก่ท่านดำเนินการและแจ้งตอบเป็นเวลา ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว
    บัดนี้ ระยะเวลาได้ครบกำหนด ๑๕ วัน แล้ว ท่านและคณะรัฐมนตรียังไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการตามที่ได้ร้องขอตามหนังสือที่อ้างถึง(๑) ให้แก่ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน อีกทั้งได้ปรากฏข้อเท็จจริงในสื่อมวลชนจำนวนมากว่า ท่านได้รับหนังสือและรับรู้
    ในข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนแล้ว แต่ท่านกลับนิ่งเฉยและไม่ปรากฏคำสัมภาษณ์ว่าจะเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีหรือจัดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังไม่ตอบรับใดๆว่าจะจัดให้มีเวทีสาธารณะเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ในการตัดสินใจในปัญหาสำคัญของประเทศ ตามคำร้องขอในหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ซึ่งเป็นการกระทำที่สวนทางและขัดแย้งกับที่ท่านได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า พร้อมจะพูดคุยกับข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน

    ดังนั้นการแสดงออกดังกล่าวของท่านและคณะรัฐมนตรี ทำให้ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนเห็นประจักษ์ชัดแจ้งว่า ท่านและคณะรัฐมนตรีจงใจละเลยต่อหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย อันเป็นการกระทำที่ละเลยต่อหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ และมาตรา ๕๗ ตามที่อ้างถึง (๓)

    ดังนั้นข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจึงเห็นว่า หากท่านและคณะรัฐมนตรียังคงนิ่งเฉยต่อข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจนอาจทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะถือว่าท่านและคณะรัฐมนตรีได้กระทำการอันเป็นการตระเตรียมหรือสนับสนุนการกระทำความผิดที่จะทำให้ราชอาณาจักรไทยหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรไทยต้องไปอยู่ในอธิปไตยของรัฐต่างประเทศหรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป รวมทั้งเห็นว่าท่านและคณะรัฐมนตรีมีพฤติการณ์บางประการที่ทำให้เห็นว่าได้ตระเตรียมการเพื่อคบคิดกับผู้นำของประเทศกัมพูชาด้วยความประสงค์ที่จะเป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย อันอาจเป็นการกระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๙
    และมาตรา ๑๒๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒๘ และมาตรา ๑๒๙ ตามที่อ้างถึง (๔) ซึ่งข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะได้ดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายและตามที่เห็นสมควรเพื่อปกป้องอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยต่อไป

    จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
    ขอแสดงความนับถือ
    นายสนธิ ลิ้มทองกุล
    นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    เปิดหนังสือทวงถามนายกรัฐมนตรีครบ 15 วันหลังได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้เพิกถอน MOU2544 และ JC2544 ด่วนท่ีสุด! ที่ กอ. ๑๙๙/๒๕๖๗ วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๗ เรื่อง ​ทวงถามการดำเนินการตามหนังสือให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีป ของราชอาณาจักรไทย กราบเรียน​ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี อ้างถึง (๑) หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กอ.๑๗๒/๒๕๖๗ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๗ (๒) หนังสือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๑๐๕.๔/๑๐๖๒๔ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๗ (๓) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ (๔) ประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓ ความผิดต่อความมั่นคงภายนอกราชอาณาจักร มาตรา ๑๑๙ – มาตรา ๑๒๙ ตามที่พวกข้าพเจ้า นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และมวลหมู่ประชาชนจำนวนมาก ได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทย โดยขอให้ดำเนินการในประการสำคัญ คือ ขอให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย และขอให้ท่านเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามีมติให้ส่ง MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยหรือไม่ ตามมาตรา ๑๗๘ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งขอให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชน โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ต่อมา สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง (๒) แจ้งว่า ได้นำเรียนเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อโปรดทราบและนำพิจารณากราบเรียนนายกรัฐมนตรีตามที่เห็นสมควร และได้ประสานงานส่งเรื่องให้กระทรวงการต่างประเทศเพื่อพิจารณา โดยขอให้แจ้งผลให้ข้าพเจ้าทราบโดยตรงให้ข้าพเจ้าโดยตรง ความละเอียดทราบแล้วนั้น แต่หนังสือดังกล่าวไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการใดๆ ตามข้อเรียกร้อง รวม ๖ ประการ ซึ่งข้าพเจ้ากับมวลหมู่ประชาชนได้ให้เวลาแก่ท่านดำเนินการและแจ้งตอบเป็นเวลา ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว บัดนี้ ระยะเวลาได้ครบกำหนด ๑๕ วัน แล้ว ท่านและคณะรัฐมนตรียังไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการตามที่ได้ร้องขอตามหนังสือที่อ้างถึง(๑) ให้แก่ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน อีกทั้งได้ปรากฏข้อเท็จจริงในสื่อมวลชนจำนวนมากว่า ท่านได้รับหนังสือและรับรู้ ในข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนแล้ว แต่ท่านกลับนิ่งเฉยและไม่ปรากฏคำสัมภาษณ์ว่าจะเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีหรือจัดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังไม่ตอบรับใดๆว่าจะจัดให้มีเวทีสาธารณะเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ในการตัดสินใจในปัญหาสำคัญของประเทศ ตามคำร้องขอในหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ซึ่งเป็นการกระทำที่สวนทางและขัดแย้งกับที่ท่านได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า พร้อมจะพูดคุยกับข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน ดังนั้นการแสดงออกดังกล่าวของท่านและคณะรัฐมนตรี ทำให้ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนเห็นประจักษ์ชัดแจ้งว่า ท่านและคณะรัฐมนตรีจงใจละเลยต่อหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย อันเป็นการกระทำที่ละเลยต่อหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ และมาตรา ๕๗ ตามที่อ้างถึง (๓) ดังนั้นข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจึงเห็นว่า หากท่านและคณะรัฐมนตรียังคงนิ่งเฉยต่อข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจนอาจทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะถือว่าท่านและคณะรัฐมนตรีได้กระทำการอันเป็นการตระเตรียมหรือสนับสนุนการกระทำความผิดที่จะทำให้ราชอาณาจักรไทยหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรไทยต้องไปอยู่ในอธิปไตยของรัฐต่างประเทศหรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป รวมทั้งเห็นว่าท่านและคณะรัฐมนตรีมีพฤติการณ์บางประการที่ทำให้เห็นว่าได้ตระเตรียมการเพื่อคบคิดกับผู้นำของประเทศกัมพูชาด้วยความประสงค์ที่จะเป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย อันอาจเป็นการกระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๙ และมาตรา ๑๒๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒๘ และมาตรา ๑๒๙ ตามที่อ้างถึง (๔) ซึ่งข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะได้ดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายและตามที่เห็นสมควรเพื่อปกป้องอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ขอแสดงความนับถือ นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    Like
    Love
    Wow
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 476 มุมมอง 1 รีวิว
  • ผมไม่แน่ใจว่า “นายกรัฐมนตรี อ.อ.” เคยรู้เห็นเรื่องเกี่ยวกับ พรบ.การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ปี ๒๕๖๒ หรือไม่

    หรือเธอถูกปิดบังไม่ให้รู้เรื่องนี้

    หรือเคยศึกษาเรื่อง “กฎหมายทะเลหรือไม่?” ในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรีมีความรับผิดชอบเรื่อง “ผลประโยชน์ของชาติทั้งมวล โดยเฉพาะผลประโยชน์ทางทะเล”

    เอาละ “เรื่องมาตราส่วนแผ่นที่ระหว่างแผนที่ทางบกกับแผ่นที่ทางทะเลต่างกัน มาตรฐานการใช้มาตราส่วนต่างกัน แผนที่ทะเลมีมาตรฐานเดียวทั้งโลก แต่มาตราส่วนขึ้นอยู่กับขนาดของแผ่นที่ที่ใช้ว่าต้องการละเอียดมากน้อยอย่างไร ซึ่งมีมาแต่โบราณแต่มาตราส่วนแผ่นที่ทางบกนั้นแต่งต่างกันตามยุค ตามเวลา ที่มีการทำขึ้นเพื่อใช้ในข้อตกลง

    แต่แผ่นที่ทะเลมีการกำหนดพิกัดตำบลสมมติบนผิวทะเลตามเส้นรุ้ง เส้นแวงที่มีฐานจากการวัดตำแหน่งของดวงดาวตามที่ Sextant เครื่องวัดมุมตามตำแหน่งของดวงดาวต่างๆ ที่กระทำต่อพื้นผิวทะเล

    ทำให้วิธี “คำนวณลากเส้นมัธยฐานเลขาคณิตสมุทรศาสตร์เป็นสากล”

    ดังนั้นการกำหนดเส้นมัธยฐานทางทะเลเพื่อแบ่งเขตทะเลจึงพิสูจน์ได้ง่ายเป็นสากลตาม กฎหมายทะเล ที่สหประชาชาติประกาศใช้

    พรบ.ประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยของไทย พ.ศ.๒๕๑๖ (ค.ศ.๑๙๗๓) ก็เป็นไปตาม “หลักกฎหมายทะเลของสหประชาชาติว่าด้วยการกำหนดเขตไหล่ทวีป แต่เขตไหล่ทวีปไม่ละเอียดพอ ทำให้สหประชาชาติจึงออกกฎหมายทะเล ฉบับปี ค.ศ. ๑๙๘๒ (พ.ศ.๒๕๑๕) เพื่อ “ขยายความไหล่ทวีปที่มีขนาดไม่เท่ากันในพื้นที่ทะเลต่างๆ และแก้ไขด้วยการกำหนดเป็นระยะทาง ๒๐๐ ไมล์ทะเล” แต่ก็ยังใช้หลักการทางนิตินัยเดิมเป็นหลัก

    It was not until 1982 with the UN Convention on the Law of the Sea (UNCLOS) that the 200 nautical mile exclusive economic zone was formally adopted.

    ตัวแปรหลักๆ เรื่อง “พื้นที่ไหล่ทวีป (ก่อน พ.ศ.๒๕ค๑๕) เปลี่ยนเป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ๒๐๐ ไมล์ทะเล” แต่พื้นฐานการลากเส้นกำหนดเขตทะเลเป็นไปตาม “กฎหมายทะเล” ก่อนหน้านี้ คือ ๑. แนวเส้นชายฝั่งทะเลของไทยและวัดออกไป ๒๐๐ ไมล์ทะเลจากแนวเขตทะเลต่อเนื่องที่น้ำลงต่ำสุด โดยลากตามหลักกฎหมายทะเล ๒๕๑๕ (ค.ศ.๑๙๘๒) ๒. เกาะกูดเป็นของไทยตามสนธิสัญญาสยาม/ฝรั่งเศส และเกาะกูดตามกฎหมายทะเลนั้นมีทะเลอาณาเขตของมันเอง แม้ติดกับชาบฝั่งทะเลของกัมพูชาก็ตามก็มีกฎหมายกำหนดวิธีกำหนดเขตชายฝั่งของเกาะกูด

    ดังนั้นเรื่อง “พื้นที่ไหล่ทวีปหรือเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ๒๐๐ ไมล์ทะเลไม่มีการทับซ้อนกัน” อย่างแน่นอน (ศึกษาเพิ่มเติมจาก IILSS - International Institue for Law of the Sea Studies ซึ่งเป็นองค์กรที่ปรึกษากฎหมายทะเลอิสระ)

    ไม่ทราบว่านายกรัฐมนตรี อ.อ.รู้เรื่องหรือเปล่า (เห็นท่าทางจะใช้ IPad ได้คล่องแคล่ว).

    :Vachara Riddhagni
    ผมไม่แน่ใจว่า “นายกรัฐมนตรี อ.อ.” เคยรู้เห็นเรื่องเกี่ยวกับ พรบ.การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ปี ๒๕๖๒ หรือไม่ หรือเธอถูกปิดบังไม่ให้รู้เรื่องนี้ หรือเคยศึกษาเรื่อง “กฎหมายทะเลหรือไม่?” ในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรีมีความรับผิดชอบเรื่อง “ผลประโยชน์ของชาติทั้งมวล โดยเฉพาะผลประโยชน์ทางทะเล” เอาละ “เรื่องมาตราส่วนแผ่นที่ระหว่างแผนที่ทางบกกับแผ่นที่ทางทะเลต่างกัน มาตรฐานการใช้มาตราส่วนต่างกัน แผนที่ทะเลมีมาตรฐานเดียวทั้งโลก แต่มาตราส่วนขึ้นอยู่กับขนาดของแผ่นที่ที่ใช้ว่าต้องการละเอียดมากน้อยอย่างไร ซึ่งมีมาแต่โบราณแต่มาตราส่วนแผ่นที่ทางบกนั้นแต่งต่างกันตามยุค ตามเวลา ที่มีการทำขึ้นเพื่อใช้ในข้อตกลง แต่แผ่นที่ทะเลมีการกำหนดพิกัดตำบลสมมติบนผิวทะเลตามเส้นรุ้ง เส้นแวงที่มีฐานจากการวัดตำแหน่งของดวงดาวตามที่ Sextant เครื่องวัดมุมตามตำแหน่งของดวงดาวต่างๆ ที่กระทำต่อพื้นผิวทะเล ทำให้วิธี “คำนวณลากเส้นมัธยฐานเลขาคณิตสมุทรศาสตร์เป็นสากล” ดังนั้นการกำหนดเส้นมัธยฐานทางทะเลเพื่อแบ่งเขตทะเลจึงพิสูจน์ได้ง่ายเป็นสากลตาม กฎหมายทะเล ที่สหประชาชาติประกาศใช้ พรบ.ประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยของไทย พ.ศ.๒๕๑๖ (ค.ศ.๑๙๗๓) ก็เป็นไปตาม “หลักกฎหมายทะเลของสหประชาชาติว่าด้วยการกำหนดเขตไหล่ทวีป แต่เขตไหล่ทวีปไม่ละเอียดพอ ทำให้สหประชาชาติจึงออกกฎหมายทะเล ฉบับปี ค.ศ. ๑๙๘๒ (พ.ศ.๒๕๑๕) เพื่อ “ขยายความไหล่ทวีปที่มีขนาดไม่เท่ากันในพื้นที่ทะเลต่างๆ และแก้ไขด้วยการกำหนดเป็นระยะทาง ๒๐๐ ไมล์ทะเล” แต่ก็ยังใช้หลักการทางนิตินัยเดิมเป็นหลัก It was not until 1982 with the UN Convention on the Law of the Sea (UNCLOS) that the 200 nautical mile exclusive economic zone was formally adopted. ตัวแปรหลักๆ เรื่อง “พื้นที่ไหล่ทวีป (ก่อน พ.ศ.๒๕ค๑๕) เปลี่ยนเป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ๒๐๐ ไมล์ทะเล” แต่พื้นฐานการลากเส้นกำหนดเขตทะเลเป็นไปตาม “กฎหมายทะเล” ก่อนหน้านี้ คือ ๑. แนวเส้นชายฝั่งทะเลของไทยและวัดออกไป ๒๐๐ ไมล์ทะเลจากแนวเขตทะเลต่อเนื่องที่น้ำลงต่ำสุด โดยลากตามหลักกฎหมายทะเล ๒๕๑๕ (ค.ศ.๑๙๘๒) ๒. เกาะกูดเป็นของไทยตามสนธิสัญญาสยาม/ฝรั่งเศส และเกาะกูดตามกฎหมายทะเลนั้นมีทะเลอาณาเขตของมันเอง แม้ติดกับชาบฝั่งทะเลของกัมพูชาก็ตามก็มีกฎหมายกำหนดวิธีกำหนดเขตชายฝั่งของเกาะกูด ดังนั้นเรื่อง “พื้นที่ไหล่ทวีปหรือเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ๒๐๐ ไมล์ทะเลไม่มีการทับซ้อนกัน” อย่างแน่นอน (ศึกษาเพิ่มเติมจาก IILSS - International Institue for Law of the Sea Studies ซึ่งเป็นองค์กรที่ปรึกษากฎหมายทะเลอิสระ) ไม่ทราบว่านายกรัฐมนตรี อ.อ.รู้เรื่องหรือเปล่า (เห็นท่าทางจะใช้ IPad ได้คล่องแคล่ว). :Vachara Riddhagni
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 396 มุมมอง 0 รีวิว
  • คนไทยมาจากไหน
    หลักฐาน บรรพชนคนโบราณ คนไทยมาจากไหน นานมาแล้วมีชนชาติที่ยังไม่เรียกตัวเองว่าไทย อพยพมาจากแผ่นดินที่ เรียกว่ากุมารีกันดัม(Kumari Gundam)ชนชาตินี้อยู่บนทะเลกลางมหาสมุทรอินเดียเมื่อเกิดการปรับรอยเลื่อนแผ่นดินทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุ่นแรง รุนแรงขนาดน้ำท่วมโลกและเกิดสึนามิทำลายแผ่นดินที่เรียกว่าKumarikandamทำให้คนบนแผ่นดินนั้นอพยพหนีภัย ไปรอบมหาสมุทรอินเดียหนีภัยเหมือนผึ้งแตกรัง ประเทศไทยซึ่งอยู่บนขอบมหาสมุทรอินเดียก็เป็นอีกแผ่นดิน ที่ใช่แผ่นดินที่คนโบราณพวกนี้หนีภัยมา เมื่อหนีภัยมาพร้อมมวลน้ำที่เรียกว่ามหาสึนามิที่เกิดตำนานเหตการณ์น้ำท่วมโลก
    คนไทยมาจากไหนมีหลักฐานใหม Kumari Kandam หรือ Lemuria – ทวีปที่จมอยู่ในทะเล
    ครั้งหนึ่งมีดินแดนหรือทวีปในมหาสมุทรอินเดียซึ่งผู้คนอาศัยอยู่ที่นั่น อาณาเขตทางบกเรียกว่า Lemuria หรือ Kumarikkottam หรือ Kumari Kandam แผ่นดินพินาศโดยการจมน้ำในมหาสมุทรเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา เป็นการปรับแผ่นเปลือกโลกครั้งใหญ่ ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่หลายครั้ง การเกิดแผ่นดินไหวกลางมหาสมุทรครั้งนั้นทำให้เกิดสึนามิขนาดใหญ่มาก ขนาดที่ทำให้แผ่นดินจมหายลงไปในทะเลแค่วันกับคืน ทำให้เกิดตำนานน้ำท่วมโลก ตำนานแอตแลนติส
    จากภัยพิบัติครั้งนั้นทำให้มีการเขียนเรื่องแผ่นดินนี้มาตลอด เพลโตเขียนแอตแลนติส นักธรณีวิทยาหลายคนได้ทำการวิจัยและกล่าวว่าสิ่งมีชีวิตมีต้นกำเนิดมาจาก “ลีมูเรีย” นักวิชาการชาวอังกฤษ วิลเลียม สก็อตต์ เอลเลียต ยืนยันในหนังสือของเขา “The Lost Lemuria” ว่ามีอาณาเขตทางบกในมหาสมุทรอินเดียปัจจุบันและผู้คนอาศัยอยู่ที่นั่น เขายังรวมแผนที่ของ Lemuria ไว้ในหนังสือของเขาด้วย
    แต่หลักฐานอื่นก็มี นักฟื้นฟูทมิฬส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับอาณาจักรปันยันที่กล่าวถึงในงานวรรณกรรมทมิฬและสันสกฤต คำว่า "กุมารี กันดัม" ปรากฏครั้งแรกในคันดา ปูรานัม ซึ่งเป็นฉบับภาษาทมิฬของสกันดาปุราณะในศตวรรษที่ 15 ซึ่งเขียนโดยกาจิอัปปา ศิวัจฉริยรา (ค.ศ. 1350 - 1420)
    Kumari Kandam เป็นตำนานทมิฬเกี่ยวกับอารยธรรมโบราณที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดียแล้วจมลงสู่มหาสมุทร แม้ว่านักเขียนชาวทมิฬหลายคนไม่ได้ระบุวันที่ที่กุมารีกันดัมจมอยู่ใต้น้ำ แต่ใช้วลีเช่น "กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว" หรือ "หลายพันปีก่อน" แต่เรื่องราวดังกล่าวสอดคล้องกับทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกไม่สนับสนุนการมีอยู่ของแผ่นดินดังกล่าวภายในเวลาหลายพันปีหลัง สามารถสันนิษฐานได้ว่า Kumari Kandam กำลังมีความสัมพันธ์กับ Atlantis หรืออารยธรรมอื่น ๆ ในภายหลังระหว่าง 11,000 ถึง 12,000 ปี BP ซึ่งเป็นจำนวนที่ใกล้เคียงกันโดย Plato ที่พูดถึง Atlantis ที่ 11,600 BP ซึ่งอาจเชื่อมโยงอาณาจักร Pandyan กับ Atlantis
    มีหลักฐานอีกเป็นจำนวนมากที่ถูกทำโดยลูกหลานของบรรพบุรุษของผู้ที่รอดตายมาจากมหาภัยพิบัติครั้งนั้น แต่ถูกมองข้ามและตีความเป็นเรื่องอื่นทำให้ไม่มีคำอธิบายจากหลักฐานนั้น หลักฐานที่เรามีอยู่เราคิดว่าใช่เรื่องเดียวกันก็เป็นหลักฐานจากเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่เรียกกว่า เหรียญทวารวดี เหรียญศรีเกษตร เหรียญฟูนัน เงินพดด้วงโบราณ และกลองมโหระทึกโบราณที่มีบนแผ่นดินเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นี้
    "คำขอของ เรา คือให้นำความจริงที่แท้จริงมาทำการวิจัยโดยนักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ และนักวิชาการ จนกว่าจะถึงเวลานั้นเราต้องรอ"
    เสียดายแทนคนไทย
    ที่มาของคนไทยไม่ได้มีในหนังสือบันทึก?
    "ขอให้คนไทยโชคดีรู้ที่มาของเผ่าพันธุ์ตัวเอง"
    ผลงานภาพ และลิขสิทธิ์ภาพ โดยเพจ : ทราวิฑะ นอกกรอบ
    คนไทยมาจากไหน หลักฐาน บรรพชนคนโบราณ คนไทยมาจากไหน นานมาแล้วมีชนชาติที่ยังไม่เรียกตัวเองว่าไทย อพยพมาจากแผ่นดินที่ เรียกว่ากุมารีกันดัม(Kumari Gundam)ชนชาตินี้อยู่บนทะเลกลางมหาสมุทรอินเดียเมื่อเกิดการปรับรอยเลื่อนแผ่นดินทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุ่นแรง รุนแรงขนาดน้ำท่วมโลกและเกิดสึนามิทำลายแผ่นดินที่เรียกว่าKumarikandamทำให้คนบนแผ่นดินนั้นอพยพหนีภัย ไปรอบมหาสมุทรอินเดียหนีภัยเหมือนผึ้งแตกรัง ประเทศไทยซึ่งอยู่บนขอบมหาสมุทรอินเดียก็เป็นอีกแผ่นดิน ที่ใช่แผ่นดินที่คนโบราณพวกนี้หนีภัยมา เมื่อหนีภัยมาพร้อมมวลน้ำที่เรียกว่ามหาสึนามิที่เกิดตำนานเหตการณ์น้ำท่วมโลก คนไทยมาจากไหนมีหลักฐานใหม Kumari Kandam หรือ Lemuria – ทวีปที่จมอยู่ในทะเล ครั้งหนึ่งมีดินแดนหรือทวีปในมหาสมุทรอินเดียซึ่งผู้คนอาศัยอยู่ที่นั่น อาณาเขตทางบกเรียกว่า Lemuria หรือ Kumarikkottam หรือ Kumari Kandam แผ่นดินพินาศโดยการจมน้ำในมหาสมุทรเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา เป็นการปรับแผ่นเปลือกโลกครั้งใหญ่ ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่หลายครั้ง การเกิดแผ่นดินไหวกลางมหาสมุทรครั้งนั้นทำให้เกิดสึนามิขนาดใหญ่มาก ขนาดที่ทำให้แผ่นดินจมหายลงไปในทะเลแค่วันกับคืน ทำให้เกิดตำนานน้ำท่วมโลก ตำนานแอตแลนติส จากภัยพิบัติครั้งนั้นทำให้มีการเขียนเรื่องแผ่นดินนี้มาตลอด เพลโตเขียนแอตแลนติส นักธรณีวิทยาหลายคนได้ทำการวิจัยและกล่าวว่าสิ่งมีชีวิตมีต้นกำเนิดมาจาก “ลีมูเรีย” นักวิชาการชาวอังกฤษ วิลเลียม สก็อตต์ เอลเลียต ยืนยันในหนังสือของเขา “The Lost Lemuria” ว่ามีอาณาเขตทางบกในมหาสมุทรอินเดียปัจจุบันและผู้คนอาศัยอยู่ที่นั่น เขายังรวมแผนที่ของ Lemuria ไว้ในหนังสือของเขาด้วย แต่หลักฐานอื่นก็มี นักฟื้นฟูทมิฬส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับอาณาจักรปันยันที่กล่าวถึงในงานวรรณกรรมทมิฬและสันสกฤต คำว่า "กุมารี กันดัม" ปรากฏครั้งแรกในคันดา ปูรานัม ซึ่งเป็นฉบับภาษาทมิฬของสกันดาปุราณะในศตวรรษที่ 15 ซึ่งเขียนโดยกาจิอัปปา ศิวัจฉริยรา (ค.ศ. 1350 - 1420) Kumari Kandam เป็นตำนานทมิฬเกี่ยวกับอารยธรรมโบราณที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดียแล้วจมลงสู่มหาสมุทร แม้ว่านักเขียนชาวทมิฬหลายคนไม่ได้ระบุวันที่ที่กุมารีกันดัมจมอยู่ใต้น้ำ แต่ใช้วลีเช่น "กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว" หรือ "หลายพันปีก่อน" แต่เรื่องราวดังกล่าวสอดคล้องกับทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกไม่สนับสนุนการมีอยู่ของแผ่นดินดังกล่าวภายในเวลาหลายพันปีหลัง สามารถสันนิษฐานได้ว่า Kumari Kandam กำลังมีความสัมพันธ์กับ Atlantis หรืออารยธรรมอื่น ๆ ในภายหลังระหว่าง 11,000 ถึง 12,000 ปี BP ซึ่งเป็นจำนวนที่ใกล้เคียงกันโดย Plato ที่พูดถึง Atlantis ที่ 11,600 BP ซึ่งอาจเชื่อมโยงอาณาจักร Pandyan กับ Atlantis มีหลักฐานอีกเป็นจำนวนมากที่ถูกทำโดยลูกหลานของบรรพบุรุษของผู้ที่รอดตายมาจากมหาภัยพิบัติครั้งนั้น แต่ถูกมองข้ามและตีความเป็นเรื่องอื่นทำให้ไม่มีคำอธิบายจากหลักฐานนั้น หลักฐานที่เรามีอยู่เราคิดว่าใช่เรื่องเดียวกันก็เป็นหลักฐานจากเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่เรียกกว่า เหรียญทวารวดี เหรียญศรีเกษตร เหรียญฟูนัน เงินพดด้วงโบราณ และกลองมโหระทึกโบราณที่มีบนแผ่นดินเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นี้ "คำขอของ เรา คือให้นำความจริงที่แท้จริงมาทำการวิจัยโดยนักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ และนักวิชาการ จนกว่าจะถึงเวลานั้นเราต้องรอ" เสียดายแทนคนไทย ที่มาของคนไทยไม่ได้มีในหนังสือบันทึก? "ขอให้คนไทยโชคดีรู้ที่มาของเผ่าพันธุ์ตัวเอง" ผลงานภาพ และลิขสิทธิ์ภาพ โดยเพจ : ทราวิฑะ นอกกรอบ
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 358 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายกรัฐมนตรีเนทันยาฮูของอิสราเอลตัดสินใจไม่เข้าร่วมพิธีรำลึกเหตุการณ์โฮโลคอสต์ในโปแลนด์ เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับหมายจับของ ICC ซึ่งเขาอาจถูกจับกุมได้

    สหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 27 ม.ค. เป็นวันรำลึกการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุสากล หรือโฮโลคอสต์ (Holocaust) เพื่อรำลึกถึงเหยื่อเคราะห์ร้ายกว่า 6 ล้านคนที่ถูกสังหารโดยกองทัพนาซี เยอรมนี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

    สำหรับงานที่โปแลนด์จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์การต่อสู้ที่ค่ายกักกันเก็ตโตวอร์ซอ ซึ่งเป็นเรื่องราวการลุกฮือของชาวยิวเมื่อพ.ศ. 2486 (เก็ตโต คือ อาณาเขตที่มีรั้วรอบขอบชิด เพื่อแยกชาวยิวออกจากพลเมืองอื่นๆ ที่ไม่ใช่ยิว) เหตุการณ์นี้เป็นการก่อกบถต่อต้านนาซีที่เกิดขึ้นในเขตเมืองเป็นครั้งแรกของบรรดาดินแดนที่ถูกยึดครองโดยระบอบนาซี ทั้งยังเป็นการต่อสู้ที่ยาวนานที่สุด โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวนมากที่สุด
    นายกรัฐมนตรีเนทันยาฮูของอิสราเอลตัดสินใจไม่เข้าร่วมพิธีรำลึกเหตุการณ์โฮโลคอสต์ในโปแลนด์ เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับหมายจับของ ICC ซึ่งเขาอาจถูกจับกุมได้ สหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 27 ม.ค. เป็นวันรำลึกการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุสากล หรือโฮโลคอสต์ (Holocaust) เพื่อรำลึกถึงเหยื่อเคราะห์ร้ายกว่า 6 ล้านคนที่ถูกสังหารโดยกองทัพนาซี เยอรมนี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สำหรับงานที่โปแลนด์จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์การต่อสู้ที่ค่ายกักกันเก็ตโตวอร์ซอ ซึ่งเป็นเรื่องราวการลุกฮือของชาวยิวเมื่อพ.ศ. 2486 (เก็ตโต คือ อาณาเขตที่มีรั้วรอบขอบชิด เพื่อแยกชาวยิวออกจากพลเมืองอื่นๆ ที่ไม่ใช่ยิว) เหตุการณ์นี้เป็นการก่อกบถต่อต้านนาซีที่เกิดขึ้นในเขตเมืองเป็นครั้งแรกของบรรดาดินแดนที่ถูกยึดครองโดยระบอบนาซี ทั้งยังเป็นการต่อสู้ที่ยาวนานที่สุด โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวนมากที่สุด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 311 มุมมอง 0 รีวิว
  • หยุดสารตั้งต้นให้เขมรลากเส้นตามใจชอบ อ้างเจรจาเรื่องเกาะกูด.ผมจะพูดกรณีที่นายกฯ อุ๊งอิ๊งค์เมินเปิดเวทีสาธารณะ เรื่อง MOU 44 แล้วที่สำคัญคือ ที่อ้างกันนักกันหนา ไม่ว่าจะจากคุณภูมิธรรม เวชยชัย และนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ว่า เกาะกูดยังเป็นของไทยจริงหรือเปล่า เพราะเท่าที่ทราบนั้น ฮุน มาแณต พูดออกมาแล้วว่าเกาะกูดเป็นของเขมร เหตุผลที่อ้างว่าเกาะกูดเป็นของเขมรได้ ก็เพราะว่า MOU 2544 นั่นเอง.ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คุณภูมิธรรมเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า การที่ผมเสนอให้เปิดเวทีสาธารณะนั้น ไม่ได้เปิดเพื่อผม เปิดเพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้รับทราบความจริง เพราะพวกคุณหมกเม็ดไว้หลายเรื่อง จนวันนี้คุณภูมิธรรม แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศ ท่านอธิบดีกรมสนธิสัญญา ก็ยังไม่ยอมพูดถึงพระบรมราชโองการในปี 2516 ไม่เคยพูดถึงเลย หรือ ไม่กล้าพูด.ผมมั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า ถ้าคุณยังรักษา MOU 2544 โดยไม่คำนึงถึงพระบรมราชโองการ 2516 ประเทศไทยจะสูญเสียดินแดนให้กับเขมร ถ้าเรื่องนี้ขึ้นไปสู่ศาลโลกแล้ว ไทยจะแพ้อย่างแน่นอน เหมือนกับคุณนพดล ปัทมะ เคยพูดเรื่องเขาพระวิหาร แล้วเราก็แพ้คดีที่ศาลโลก เราเสียพื้นที่เขาพระวิหารไปเรียบร้อยแล้ว เรากำลังจะเสียพื้นที่ทางทะเล.คุณลืมไปแล้วหรือว่า ความจริงนั้นมีหนึ่งเดียว นี่คือธรรมขั้นสูงของพระพุทธเจ้า คุณหลีกเลี่ยงความจริงไม่ได้ แล้วถ้าวันหนึ่งประเทศไทยต้องเสียดินแดน นอกจากผมจะลงถนนไปประท้วงคุณแล้ว พวกคุณจะต้องรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นภูมิธรรม เวชยชัย ไม่ว่าจะเป็นอุ๊งอิ๊งค์ ไม่ว่าจะเป็นอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ คุณต้องรับผิดชอบ และผมจะตามล้างตามเช็ดคุณ ให้คุณรับผิดชอบ เพราะ MOU 2544 นั้นคือสารตั้งต้นของการที่ทำให้เขมรนั้นลากเส้นตามใจชอบได้.ส่วนทักษิณ ชินวัตร ก็บอกว่า ชี้แจงได้ เดี๋ยวจะพูดในที่ประชุมพรรคเพื่อไทย ถ้าคุณจะพูดทั้งที คุณอธิบายเรื่องพระบรมราชโองการ 2516 หน่อยได้ไหม คุณไม่ควรจะละเลยพระบรมราชโองการ 2516 เพราะว่า 2566 คุณก็ยอมรับพระบรมราชโองการในการลดโทษให้คุณไม่ใช่หรือ ถ้าคุณยอมรับพระบรมราชโองการอันนี้ แล้วทำไม 2516 คุณถึงไม่ยอมรับ.รัฐบาลชุดนี้โกหกพกลมไปวันๆ ภูมิธรรมบอกเกาะกูดเป็นของไทย เขมรก็ยอมรับ อุ๊งอิ๊งค์ก็บอกว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่วันนี้ฮุน มาแฌต บอกว่าไม่ใช่ เป็นของมัน ส่วนนายฮุน เซน ทะลึ่ง พูดบอกว่ารัฐบาลสองประเทศกำลังเจรจากันอย่างสันติเกี่ยวกับปัญหาเกาะกูด แสดงว่าเขมรไม่ยอมใช่ไหม.มีใครเชื่อถือคุณได้บ้างเนี่ย คุณสะกดคำว่า รักชาติ รักแผ่นดิน ไม่เป็นเลยใช่ไหม คุณนึกว่าสนุกเหรอที่ผมจะต้องลงถนนในที่สุด แต่ผมยอมไม่ได้ ไม่ได้คลั่งชาติ ก็ในเมื่อมันเป็นของคนไทย พื้นที่อาณาเขตทะเลไทยรอบเกาะกูดก็เป็นของคนไทย แล้วจะมายกให้เขมรได้อย่างไร
    หยุดสารตั้งต้นให้เขมรลากเส้นตามใจชอบ อ้างเจรจาเรื่องเกาะกูด.ผมจะพูดกรณีที่นายกฯ อุ๊งอิ๊งค์เมินเปิดเวทีสาธารณะ เรื่อง MOU 44 แล้วที่สำคัญคือ ที่อ้างกันนักกันหนา ไม่ว่าจะจากคุณภูมิธรรม เวชยชัย และนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ว่า เกาะกูดยังเป็นของไทยจริงหรือเปล่า เพราะเท่าที่ทราบนั้น ฮุน มาแณต พูดออกมาแล้วว่าเกาะกูดเป็นของเขมร เหตุผลที่อ้างว่าเกาะกูดเป็นของเขมรได้ ก็เพราะว่า MOU 2544 นั่นเอง.ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คุณภูมิธรรมเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า การที่ผมเสนอให้เปิดเวทีสาธารณะนั้น ไม่ได้เปิดเพื่อผม เปิดเพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้รับทราบความจริง เพราะพวกคุณหมกเม็ดไว้หลายเรื่อง จนวันนี้คุณภูมิธรรม แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศ ท่านอธิบดีกรมสนธิสัญญา ก็ยังไม่ยอมพูดถึงพระบรมราชโองการในปี 2516 ไม่เคยพูดถึงเลย หรือ ไม่กล้าพูด.ผมมั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า ถ้าคุณยังรักษา MOU 2544 โดยไม่คำนึงถึงพระบรมราชโองการ 2516 ประเทศไทยจะสูญเสียดินแดนให้กับเขมร ถ้าเรื่องนี้ขึ้นไปสู่ศาลโลกแล้ว ไทยจะแพ้อย่างแน่นอน เหมือนกับคุณนพดล ปัทมะ เคยพูดเรื่องเขาพระวิหาร แล้วเราก็แพ้คดีที่ศาลโลก เราเสียพื้นที่เขาพระวิหารไปเรียบร้อยแล้ว เรากำลังจะเสียพื้นที่ทางทะเล.คุณลืมไปแล้วหรือว่า ความจริงนั้นมีหนึ่งเดียว นี่คือธรรมขั้นสูงของพระพุทธเจ้า คุณหลีกเลี่ยงความจริงไม่ได้ แล้วถ้าวันหนึ่งประเทศไทยต้องเสียดินแดน นอกจากผมจะลงถนนไปประท้วงคุณแล้ว พวกคุณจะต้องรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นภูมิธรรม เวชยชัย ไม่ว่าจะเป็นอุ๊งอิ๊งค์ ไม่ว่าจะเป็นอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ คุณต้องรับผิดชอบ และผมจะตามล้างตามเช็ดคุณ ให้คุณรับผิดชอบ เพราะ MOU 2544 นั้นคือสารตั้งต้นของการที่ทำให้เขมรนั้นลากเส้นตามใจชอบได้.ส่วนทักษิณ ชินวัตร ก็บอกว่า ชี้แจงได้ เดี๋ยวจะพูดในที่ประชุมพรรคเพื่อไทย ถ้าคุณจะพูดทั้งที คุณอธิบายเรื่องพระบรมราชโองการ 2516 หน่อยได้ไหม คุณไม่ควรจะละเลยพระบรมราชโองการ 2516 เพราะว่า 2566 คุณก็ยอมรับพระบรมราชโองการในการลดโทษให้คุณไม่ใช่หรือ ถ้าคุณยอมรับพระบรมราชโองการอันนี้ แล้วทำไม 2516 คุณถึงไม่ยอมรับ.รัฐบาลชุดนี้โกหกพกลมไปวันๆ ภูมิธรรมบอกเกาะกูดเป็นของไทย เขมรก็ยอมรับ อุ๊งอิ๊งค์ก็บอกว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่วันนี้ฮุน มาแฌต บอกว่าไม่ใช่ เป็นของมัน ส่วนนายฮุน เซน ทะลึ่ง พูดบอกว่ารัฐบาลสองประเทศกำลังเจรจากันอย่างสันติเกี่ยวกับปัญหาเกาะกูด แสดงว่าเขมรไม่ยอมใช่ไหม.มีใครเชื่อถือคุณได้บ้างเนี่ย คุณสะกดคำว่า รักชาติ รักแผ่นดิน ไม่เป็นเลยใช่ไหม คุณนึกว่าสนุกเหรอที่ผมจะต้องลงถนนในที่สุด แต่ผมยอมไม่ได้ ไม่ได้คลั่งชาติ ก็ในเมื่อมันเป็นของคนไทย พื้นที่อาณาเขตทะเลไทยรอบเกาะกูดก็เป็นของคนไทย แล้วจะมายกให้เขมรได้อย่างไร
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 655 มุมมอง 0 รีวิว
  • สื่อสหรัสฯThe Diplomat สับรัฐบาลไทยเรื่องเรือชาวประมงไทยที่ถูกพม่ากล่าวหาว่ารุกน่านน้ำจับตัวคนไทยไป ทำให้เห็นถึงความไม่เป็นมืออาชีพและขาดประสิทธิภาพในการสื่อสารของผู้นำที่ทำให้สับสนในช่วงเวลาที่วิกฤติ การแถลงแต่ละครั้งกลับทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบเปรียบเปรียบเปรียบเปรียบเปรียบเปรียบหายและเสียเปรียบ สำหรับเนื้อหาที่ระบุในDiplomatเมื่อ17ธันวาคม2567ระบุว่า “เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลไทยขาดตกบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่แม้ว่าคำแถลงของแพทองธารจะสอดคล้องกับพิธีการในระดับสูง แต่ก็เน้นย้ำแสดงถึงความสับสนในการสื่อสารในภาวะวิกฤตของไทย ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากแหล่งข่าวทางการอีกสองแหล่งเปิดเผยข้อมูลที่ไม่แน่นอนและไม่ได้รับการยืนยันต่อสาธารณชน นอกจากนี้ แม้ว่าเรือของไทยจะข้ามเข้าสู่เขตน่านน้ำเมียนมาร์ก็ตาม แต่แหล่งข่าวของรัฐบาลไทยก็ถือว่าไม่เป็นมืออาชีพและไม่มีความรับผิดชอบที่ไปยอมรับเรื่องนี้ ความจริงก็คือเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยและเมียนมาร์อยู่ในเขตที่ไม่มีขอบเขตอาณาเขตและไม่ชัดเจน การประกาศอย่างเปิดเผยว่าเรือของไทยอยู่ในเขตน่านน้ำเมียนมาร์ถือเป็นการสร้างบรรทัดฐานอย่างเป็นทางการสำหรับการเจรจาระหว่างสองรัฐผู้เรียกร้องในภายหลัง หาก พื้นที่ใดไม่ได้ถูกกำหนดขอบเขตทางกฎหมายโดยสองรัฐ เจ้าหน้าที่จะต้องไม่ยอมรับอย่างเป็นทางการว่าดินแดนแห่งหนึ่งเป็นของรัฐอื่น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการอ้างสิทธิ์ในดินแดนของรัฐนั้นได้“
    สื่อสหรัสฯThe Diplomat สับรัฐบาลไทยเรื่องเรือชาวประมงไทยที่ถูกพม่ากล่าวหาว่ารุกน่านน้ำจับตัวคนไทยไป ทำให้เห็นถึงความไม่เป็นมืออาชีพและขาดประสิทธิภาพในการสื่อสารของผู้นำที่ทำให้สับสนในช่วงเวลาที่วิกฤติ การแถลงแต่ละครั้งกลับทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบเปรียบเปรียบเปรียบเปรียบเปรียบเปรียบหายและเสียเปรียบ สำหรับเนื้อหาที่ระบุในDiplomatเมื่อ17ธันวาคม2567ระบุว่า “เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลไทยขาดตกบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่แม้ว่าคำแถลงของแพทองธารจะสอดคล้องกับพิธีการในระดับสูง แต่ก็เน้นย้ำแสดงถึงความสับสนในการสื่อสารในภาวะวิกฤตของไทย ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากแหล่งข่าวทางการอีกสองแหล่งเปิดเผยข้อมูลที่ไม่แน่นอนและไม่ได้รับการยืนยันต่อสาธารณชน นอกจากนี้ แม้ว่าเรือของไทยจะข้ามเข้าสู่เขตน่านน้ำเมียนมาร์ก็ตาม แต่แหล่งข่าวของรัฐบาลไทยก็ถือว่าไม่เป็นมืออาชีพและไม่มีความรับผิดชอบที่ไปยอมรับเรื่องนี้ ความจริงก็คือเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยและเมียนมาร์อยู่ในเขตที่ไม่มีขอบเขตอาณาเขตและไม่ชัดเจน การประกาศอย่างเปิดเผยว่าเรือของไทยอยู่ในเขตน่านน้ำเมียนมาร์ถือเป็นการสร้างบรรทัดฐานอย่างเป็นทางการสำหรับการเจรจาระหว่างสองรัฐผู้เรียกร้องในภายหลัง หาก พื้นที่ใดไม่ได้ถูกกำหนดขอบเขตทางกฎหมายโดยสองรัฐ เจ้าหน้าที่จะต้องไม่ยอมรับอย่างเป็นทางการว่าดินแดนแห่งหนึ่งเป็นของรัฐอื่น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการอ้างสิทธิ์ในดินแดนของรัฐนั้นได้“
    Like
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 301 มุมมอง 0 รีวิว
  • หยุดสารตั้งต้นให้เขมรลากเส้นตามใจชอบ อ้างเจรจาเรื่องเกาะกูด
    .
    ผมจะพูดกรณีที่นายกฯ อุ๊งอิ๊งค์เมินเปิดเวทีสาธารณะ เรื่อง MOU 44 แล้วที่สำคัญคือ ที่อ้างกันนักกันหนา ไม่ว่าจะจากคุณภูมิธรรม เวชยชัย และนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ว่า เกาะกูดยังเป็นของไทยจริงหรือเปล่า เพราะเท่าที่ทราบนั้น ฮุน มาแณต พูดออกมาแล้วว่าเกาะกูดเป็นของเขมร เหตุผลที่อ้างว่าเกาะกูดเป็นของเขมรได้ ก็เพราะว่า MOU 2544 นั่นเอง
    .
    ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คุณภูมิธรรมเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า การที่ผมเสนอให้เปิดเวทีสาธารณะนั้น ไม่ได้เปิดเพื่อผม เปิดเพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้รับทราบความจริง เพราะพวกคุณหมกเม็ดไว้หลายเรื่อง จนวันนี้คุณภูมิธรรม แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศ ท่านอธิบดีกรมสนธิสัญญา ก็ยังไม่ยอมพูดถึงพระบรมราชโองการในปี 2516 ไม่เคยพูดถึงเลย หรือ ไม่กล้าพูด
    .
    ผมมั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า ถ้าคุณยังรักษา MOU 2544 โดยไม่คำนึงถึงพระบรมราชโองการ 2516 ประเทศไทยจะสูญเสียดินแดนให้กับเขมร ถ้าเรื่องนี้ขึ้นไปสู่ศาลโลกแล้ว ไทยจะแพ้อย่างแน่นอน เหมือนกับคุณนพดล ปัทมะ เคยพูดเรื่องเขาพระวิหาร แล้วเราก็แพ้คดีที่ศาลโลก เราเสียพื้นที่เขาพระวิหารไปเรียบร้อยแล้ว เรากำลังจะเสียพื้นที่ทางทะเล
    .
    คุณลืมไปแล้วหรือว่า ความจริงนั้นมีหนึ่งเดียว นี่คือธรรมขั้นสูงของพระพุทธเจ้า คุณหลีกเลี่ยงความจริงไม่ได้ แล้วถ้าวันหนึ่งประเทศไทยต้องเสียดินแดน นอกจากผมจะลงถนนไปประท้วงคุณแล้ว พวกคุณจะต้องรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นภูมิธรรม เวชยชัย ไม่ว่าจะเป็นอุ๊งอิ๊งค์ ไม่ว่าจะเป็นอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ คุณต้องรับผิดชอบ และผมจะตามล้างตามเช็ดคุณ ให้คุณรับผิดชอบ เพราะ MOU 2544 นั้นคือสารตั้งต้นของการที่ทำให้เขมรนั้นลากเส้นตามใจชอบได้
    .
    ส่วนทักษิณ ชินวัตร ก็บอกว่า ชี้แจงได้ เดี๋ยวจะพูดในที่ประชุมพรรคเพื่อไทย ถ้าคุณจะพูดทั้งที คุณอธิบายเรื่องพระบรมราชโองการ 2516 หน่อยได้ไหม คุณไม่ควรจะละเลยพระบรมราชโองการ 2516 เพราะว่า 2566 คุณก็ยอมรับพระบรมราชโองการในการลดโทษให้คุณไม่ใช่หรือ ถ้าคุณยอมรับพระบรมราชโองการอันนี้ แล้วทำไม 2516 คุณถึงไม่ยอมรับ
    .
    รัฐบาลชุดนี้โกหกพกลมไปวันๆ ภูมิธรรมบอกเกาะกูดเป็นของไทย เขมรก็ยอมรับ อุ๊งอิ๊งค์ก็บอกว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่วันนี้ฮุน มาแฌต บอกว่าไม่ใช่ เป็นของมัน ส่วนนายฮุน เซน ทะลึ่ง พูดบอกว่ารัฐบาลสองประเทศกำลังเจรจากันอย่างสันติเกี่ยวกับปัญหาเกาะกูด แสดงว่าเขมรไม่ยอมใช่ไหม
    .
    มีใครเชื่อถือคุณได้บ้างเนี่ย คุณสะกดคำว่า รักชาติ รักแผ่นดิน ไม่เป็นเลยใช่ไหม คุณนึกว่าสนุกเหรอที่ผมจะต้องลงถนนในที่สุด แต่ผมยอมไม่ได้ ไม่ได้คลั่งชาติ ก็ในเมื่อมันเป็นของคนไทย พื้นที่อาณาเขตทะเลไทยรอบเกาะกูดก็เป็นของคนไทย แล้วจะมายกให้เขมรได้อย่างไร
    หยุดสารตั้งต้นให้เขมรลากเส้นตามใจชอบ อ้างเจรจาเรื่องเกาะกูด . ผมจะพูดกรณีที่นายกฯ อุ๊งอิ๊งค์เมินเปิดเวทีสาธารณะ เรื่อง MOU 44 แล้วที่สำคัญคือ ที่อ้างกันนักกันหนา ไม่ว่าจะจากคุณภูมิธรรม เวชยชัย และนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ว่า เกาะกูดยังเป็นของไทยจริงหรือเปล่า เพราะเท่าที่ทราบนั้น ฮุน มาแณต พูดออกมาแล้วว่าเกาะกูดเป็นของเขมร เหตุผลที่อ้างว่าเกาะกูดเป็นของเขมรได้ ก็เพราะว่า MOU 2544 นั่นเอง . ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คุณภูมิธรรมเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า การที่ผมเสนอให้เปิดเวทีสาธารณะนั้น ไม่ได้เปิดเพื่อผม เปิดเพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้รับทราบความจริง เพราะพวกคุณหมกเม็ดไว้หลายเรื่อง จนวันนี้คุณภูมิธรรม แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศ ท่านอธิบดีกรมสนธิสัญญา ก็ยังไม่ยอมพูดถึงพระบรมราชโองการในปี 2516 ไม่เคยพูดถึงเลย หรือ ไม่กล้าพูด . ผมมั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า ถ้าคุณยังรักษา MOU 2544 โดยไม่คำนึงถึงพระบรมราชโองการ 2516 ประเทศไทยจะสูญเสียดินแดนให้กับเขมร ถ้าเรื่องนี้ขึ้นไปสู่ศาลโลกแล้ว ไทยจะแพ้อย่างแน่นอน เหมือนกับคุณนพดล ปัทมะ เคยพูดเรื่องเขาพระวิหาร แล้วเราก็แพ้คดีที่ศาลโลก เราเสียพื้นที่เขาพระวิหารไปเรียบร้อยแล้ว เรากำลังจะเสียพื้นที่ทางทะเล . คุณลืมไปแล้วหรือว่า ความจริงนั้นมีหนึ่งเดียว นี่คือธรรมขั้นสูงของพระพุทธเจ้า คุณหลีกเลี่ยงความจริงไม่ได้ แล้วถ้าวันหนึ่งประเทศไทยต้องเสียดินแดน นอกจากผมจะลงถนนไปประท้วงคุณแล้ว พวกคุณจะต้องรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นภูมิธรรม เวชยชัย ไม่ว่าจะเป็นอุ๊งอิ๊งค์ ไม่ว่าจะเป็นอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ คุณต้องรับผิดชอบ และผมจะตามล้างตามเช็ดคุณ ให้คุณรับผิดชอบ เพราะ MOU 2544 นั้นคือสารตั้งต้นของการที่ทำให้เขมรนั้นลากเส้นตามใจชอบได้ . ส่วนทักษิณ ชินวัตร ก็บอกว่า ชี้แจงได้ เดี๋ยวจะพูดในที่ประชุมพรรคเพื่อไทย ถ้าคุณจะพูดทั้งที คุณอธิบายเรื่องพระบรมราชโองการ 2516 หน่อยได้ไหม คุณไม่ควรจะละเลยพระบรมราชโองการ 2516 เพราะว่า 2566 คุณก็ยอมรับพระบรมราชโองการในการลดโทษให้คุณไม่ใช่หรือ ถ้าคุณยอมรับพระบรมราชโองการอันนี้ แล้วทำไม 2516 คุณถึงไม่ยอมรับ . รัฐบาลชุดนี้โกหกพกลมไปวันๆ ภูมิธรรมบอกเกาะกูดเป็นของไทย เขมรก็ยอมรับ อุ๊งอิ๊งค์ก็บอกว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่วันนี้ฮุน มาแฌต บอกว่าไม่ใช่ เป็นของมัน ส่วนนายฮุน เซน ทะลึ่ง พูดบอกว่ารัฐบาลสองประเทศกำลังเจรจากันอย่างสันติเกี่ยวกับปัญหาเกาะกูด แสดงว่าเขมรไม่ยอมใช่ไหม . มีใครเชื่อถือคุณได้บ้างเนี่ย คุณสะกดคำว่า รักชาติ รักแผ่นดิน ไม่เป็นเลยใช่ไหม คุณนึกว่าสนุกเหรอที่ผมจะต้องลงถนนในที่สุด แต่ผมยอมไม่ได้ ไม่ได้คลั่งชาติ ก็ในเมื่อมันเป็นของคนไทย พื้นที่อาณาเขตทะเลไทยรอบเกาะกูดก็เป็นของคนไทย แล้วจะมายกให้เขมรได้อย่างไร
    Like
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1092 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิดช่องยื่นผู้ตรวจฯ ส่งศาลฉีก MOU2544 ก่อนตัดสินใจลงถนน
    .
    ปมประเด็นปัญหาในเรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาผ่านกรณีMOU 2544 นั้น ถือเป็นประเด็นหนึ่งที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ และมีนักวิชาการ รวมไปถึงผู้ทรงคุณวุฒิออกมาให้ความเห็นเป็นอย่างมาก โดยนายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า "MOU 2544 มีความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่? กรณีที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุลและคณะทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2567 ขอให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU 2544 และ JC 2544 ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯและฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตยและบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องและเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยนั้น ผมเห็นด้วยกับเหตุผลตามหนังสือดังกล่าวทุกประการ เพราะหากรัฐบาลยังดำเนินการใดๆต่อไปตาม MOU 2544 เท่ากับเป็นการเปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ”เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย กลายเป็น “การรับรู้” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลโดยปริยาย"
    .
    "ดังนั้นการที่รัฐบาลไทย “รับรู้” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล แม้ว่ารัฐบาลไทยจะอ้างว่ายังคงปฏิเสธการลากเส้นของกัมพูชาดังกล่าว ประเทศไทยก็จะตกอยู่ในสภาวะสุ่มเสี่ยงที่จะถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดของเราคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว และกลายเป็นการยอมรับความไม่ชัดเจนของพื้นที่อาณาเขตทางทะเลว่ามีความเหลื่อมซ้อนกันอยู่ระหว่างสองประเทศ ตลอดทั้งการให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีไทยในทำนองว่าหากตกลงกันไม่ได้ ก็แบ่งครึ่งกัน จึงอาจเข้าทำนองรอยเดิมกรณีปราสาทพระวิหารที่ฝ่ายไทยต้องพ่ายแพ้ด้วยเหตุผลของ “กฎหมายปิดปาก” นั่นเอง"
    .
    นายธีรภัทร์ ให้ความเห็นอีกว่า ข้อเรียกร้องของคุณสนธิและคณะให้นายกรัฐมนตรีเสนอเรื่องดังกล่าวนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและมีมติให้ส่ง MOU 2544และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อนนั้น จึงเป็นข้อเรียกร้องที่มีเหตุมีผลที่รัฐบาลควรสนองตอบ และเป็นทางออกที่เป็นไปตามกติกาของบ้านเมือง อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลไม่สนองตอบข้อเรียกร้องของคุณสนธิและคณะ ผมก็ขอเสนอต่อไปว่าคุณสนธิและคณะควรจะเสนอเรื่องดังกล่าวนี้ผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินตามมาตรา 231 ของรัฐธรรมนูญฯเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองแล้วแต่กรณีเพื่อพิจารณาให้ได้ข้อยุติต่อไปได้ หากกระบวนการโดยสันติตามรัฐธรรมนูญฯไม่บังเกิดผลแล้ว จึงค่อยใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฯกันต่อไป
    ..............
    Sondhi X
    เปิดช่องยื่นผู้ตรวจฯ ส่งศาลฉีก MOU2544 ก่อนตัดสินใจลงถนน . ปมประเด็นปัญหาในเรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาผ่านกรณีMOU 2544 นั้น ถือเป็นประเด็นหนึ่งที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ และมีนักวิชาการ รวมไปถึงผู้ทรงคุณวุฒิออกมาให้ความเห็นเป็นอย่างมาก โดยนายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า "MOU 2544 มีความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่? กรณีที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุลและคณะทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2567 ขอให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU 2544 และ JC 2544 ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯและฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตยและบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องและเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยนั้น ผมเห็นด้วยกับเหตุผลตามหนังสือดังกล่าวทุกประการ เพราะหากรัฐบาลยังดำเนินการใดๆต่อไปตาม MOU 2544 เท่ากับเป็นการเปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ”เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย กลายเป็น “การรับรู้” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลโดยปริยาย" . "ดังนั้นการที่รัฐบาลไทย “รับรู้” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล แม้ว่ารัฐบาลไทยจะอ้างว่ายังคงปฏิเสธการลากเส้นของกัมพูชาดังกล่าว ประเทศไทยก็จะตกอยู่ในสภาวะสุ่มเสี่ยงที่จะถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดของเราคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว และกลายเป็นการยอมรับความไม่ชัดเจนของพื้นที่อาณาเขตทางทะเลว่ามีความเหลื่อมซ้อนกันอยู่ระหว่างสองประเทศ ตลอดทั้งการให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีไทยในทำนองว่าหากตกลงกันไม่ได้ ก็แบ่งครึ่งกัน จึงอาจเข้าทำนองรอยเดิมกรณีปราสาทพระวิหารที่ฝ่ายไทยต้องพ่ายแพ้ด้วยเหตุผลของ “กฎหมายปิดปาก” นั่นเอง" . นายธีรภัทร์ ให้ความเห็นอีกว่า ข้อเรียกร้องของคุณสนธิและคณะให้นายกรัฐมนตรีเสนอเรื่องดังกล่าวนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและมีมติให้ส่ง MOU 2544และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อนนั้น จึงเป็นข้อเรียกร้องที่มีเหตุมีผลที่รัฐบาลควรสนองตอบ และเป็นทางออกที่เป็นไปตามกติกาของบ้านเมือง อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลไม่สนองตอบข้อเรียกร้องของคุณสนธิและคณะ ผมก็ขอเสนอต่อไปว่าคุณสนธิและคณะควรจะเสนอเรื่องดังกล่าวนี้ผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินตามมาตรา 231 ของรัฐธรรมนูญฯเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองแล้วแต่กรณีเพื่อพิจารณาให้ได้ข้อยุติต่อไปได้ หากกระบวนการโดยสันติตามรัฐธรรมนูญฯไม่บังเกิดผลแล้ว จึงค่อยใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฯกันต่อไป .............. Sondhi X
    Like
    7
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1095 มุมมอง 0 รีวิว
  • เรื่องราวเขมรนั้นเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับผมเสมอมาโดยเฉพาะในเรื่อง “ความกตัญญูกตเวทีอันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของมนุษยชาติ” (แต่จะไม่สามารถเปรียบเทียบกับการตอบแทนบุญคุณชาติบ้านเมือง บุพกษัตริย์และวีรชนของชาติซึ่งยิ่งใหญ่มหาศาลมากกว่ามากมายนัก)ไม่ต้องพูดถึงอดีตกาลโบราณ เอาแค่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ฝรั่งเศสให้เอกราชกัมพูชา ซึ่งมีไทยส่งเสริมสนับสนุนและเป็นชาติแรกๆ ที่รับรองกัมพูชาเป็นสมาชิก UNช่วงสงครามกลางเมืองกัมพูชา ๒๕๑๕ เป็นต้นไป “รัฐบาลไทยสนับสนุนรัฐบาลเจ้านโรดมสีหนุซึ่งวางตัวเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในยุคสงครามเย็น”แต่ CIA เห็นว่าเจ้าสีหนุที่เป็นทั้งพระมหากษัตริย์ ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีและไว้ใจไม่ได้ จึงสนับสนุนนายพลลอนนนอลรัฐประหารล้มระบอบกษัตริย์ในกัมพูชาฝ่ายพรรคคคอมมิวนิสต์กัมพูชาเห็นความอ่อนแอของรัฐ จึงยึดประเทศเกิดสงครามกลางเมือง (นี่ คือจุดอ่อนของระบอบกษัตริย์ในกัมพูชาจึงง่ายกับการถูกรัฐประหารและล้มล้างระบอบการปกครอง)สงครามกลางเมืองขยายขอบเขตสร้างความเดือนร้อนต่อประชาชนอย่างมหาศาลและกลายเป็นผู้ลี้ภัยทะลักเข้าสู่ประเทศไทยเป็นจำนวนนับหมิ่นๆ คนตลอดแนวชายแดนไทย/กัมพูชาโดยเฉพาะที่บริเวณเขาอีด่าง จังหวัดสระแก้วในปัจจุบัน (ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๙ เสด็จไปเยี่ยมผู้อพยพเขมรจนพระองค์ติดเชื้อโรคร้ายเกือบสิ้นพระชนม์ชีพในช่วงนั้นเลย) จิตอาสาแพทย์ไทยหลายสิบๆ คนเสียสละไปช่วยรักษาโรคให้ผู้อพยพเขมรจำนวนมากกองทัพไทยส่งหน่วยทหารไปวางแผนช่วยรัฐบาลนายพลลอนนอลรบกับคอมมิวนิสต์ โดยกองทัพอากาศส่งเครื่องบินไปโจมตีที่ตั้งเขมรแดงในเขตยึดครองเขมรแดงสนับสนุนนายพลลอนนอล (มีตำนานเล่าขานว่า มีนักบิน T-28 ทอ.ไทยถูกยิงตกที่บริเวณทะเลสาปเขมรแต่ก่อนตายถูกทรมานอย่างโหดเหี้ยมมากๆ) ขณะเดียวกันรัฐบาลลอนนอลฉวยโอกาสประกาศอ้างสิทธิ์เขตไหล่ทวีปทับทะเลอาณาเขตของไทย (ที่เป็นช่องทางให้สมเด็จฮุนเซนและลูกใช้อ้างเป็นพื้นที่ทับซ้อนและหวังนำสู่ศาลโลกเพื่อพลิกผันให้มีการตกลงแบ่งกันคนละครึ่งโดยมีคนไทยในระบอบทักษิณสมรู้ร่วมคิดนายพลลอนนอลคงไม่รู้คำว่า “กตัญญูกตเวทิตา” เป็นแน่แท้ (นายพลลอนนอลหนีไปสหรัฐฯ และเป็นโรคร้ายตายในสหรัฐฯ ไปแล้วและเรื่องที่ต้องเล่าแม้เป็นตำนานแต่ก็เป็นที่รู้กัน คือ เรื่องนี้เพราะ รร.นายร้อย West Piont นั้นไม่ใช่จะสมัครสอบเข้าเรียนได้เหมือนอย่างแหล่งอุดมศึกษาอื่นๆ ในสหรัฐฯ แต่มีเงื่อนไขทางกฎหมายสหรัฐฯ กำกับไว้สำหรับผู้ที่มีสิทธิ์อย่างชัดเจนคือ นายพล ฮุน มาเน็ต ที่เรียนจบจาก รร.นายร้อย West Point นั้นได้เข้าเรียนเพราะกองทัพบกไทย (โดยนายพลท่านหนึ่งสั่งการและอนุมัติให้กองทับบกดำเนินการเอาโคว้ต้าของนักเรียนนายร้อย จปร.ที่สามารถเข้าเรียนได้ตามสิทธิ์ในข้อตกลงระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพบกสหรัฐฯ ไปให้ ฮุน มาเน็ต บุตรชายสมเด็จฮุนเซนได้เข้าเรียนที่ West Point เป็นกรณีพิเศษเพื่อสัมพันธไมตรีระหว่างสมเด็จฮุนเซนกับนายพลท่านผู้นั้น)ผมไม่ได้ตำหนิ “นายพลคนใดคนหนึ่งในกองทัพบก” เพราะท่านก็ทำเพื่อสัมพันธไมตรีอันดีเพื่อชาติ (สัมพันธไมตรีนั้นเป็น “นามธรรม” มูลค่าวัดไม่ได้) แต่เรื่องที่ผมอยากพูด คือ คนเนรคุณไม่รู้จักบุญคุณคนไทยทั้งชาติ สำหรับนายกรัฐมนตรี ฮุน มาเน็ต ไม่รู้บุญคุณนักเรียนนายร้อย จปร.ที่สละสิทธิ์ให้เขาไปเรียน :Vachara Riddhagni
    เรื่องราวเขมรนั้นเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับผมเสมอมาโดยเฉพาะในเรื่อง “ความกตัญญูกตเวทีอันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของมนุษยชาติ” (แต่จะไม่สามารถเปรียบเทียบกับการตอบแทนบุญคุณชาติบ้านเมือง บุพกษัตริย์และวีรชนของชาติซึ่งยิ่งใหญ่มหาศาลมากกว่ามากมายนัก)ไม่ต้องพูดถึงอดีตกาลโบราณ เอาแค่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ฝรั่งเศสให้เอกราชกัมพูชา ซึ่งมีไทยส่งเสริมสนับสนุนและเป็นชาติแรกๆ ที่รับรองกัมพูชาเป็นสมาชิก UNช่วงสงครามกลางเมืองกัมพูชา ๒๕๑๕ เป็นต้นไป “รัฐบาลไทยสนับสนุนรัฐบาลเจ้านโรดมสีหนุซึ่งวางตัวเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในยุคสงครามเย็น”แต่ CIA เห็นว่าเจ้าสีหนุที่เป็นทั้งพระมหากษัตริย์ ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีและไว้ใจไม่ได้ จึงสนับสนุนนายพลลอนนนอลรัฐประหารล้มระบอบกษัตริย์ในกัมพูชาฝ่ายพรรคคคอมมิวนิสต์กัมพูชาเห็นความอ่อนแอของรัฐ จึงยึดประเทศเกิดสงครามกลางเมือง (นี่ คือจุดอ่อนของระบอบกษัตริย์ในกัมพูชาจึงง่ายกับการถูกรัฐประหารและล้มล้างระบอบการปกครอง)สงครามกลางเมืองขยายขอบเขตสร้างความเดือนร้อนต่อประชาชนอย่างมหาศาลและกลายเป็นผู้ลี้ภัยทะลักเข้าสู่ประเทศไทยเป็นจำนวนนับหมิ่นๆ คนตลอดแนวชายแดนไทย/กัมพูชาโดยเฉพาะที่บริเวณเขาอีด่าง จังหวัดสระแก้วในปัจจุบัน (ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๙ เสด็จไปเยี่ยมผู้อพยพเขมรจนพระองค์ติดเชื้อโรคร้ายเกือบสิ้นพระชนม์ชีพในช่วงนั้นเลย) จิตอาสาแพทย์ไทยหลายสิบๆ คนเสียสละไปช่วยรักษาโรคให้ผู้อพยพเขมรจำนวนมากกองทัพไทยส่งหน่วยทหารไปวางแผนช่วยรัฐบาลนายพลลอนนอลรบกับคอมมิวนิสต์ โดยกองทัพอากาศส่งเครื่องบินไปโจมตีที่ตั้งเขมรแดงในเขตยึดครองเขมรแดงสนับสนุนนายพลลอนนอล (มีตำนานเล่าขานว่า มีนักบิน T-28 ทอ.ไทยถูกยิงตกที่บริเวณทะเลสาปเขมรแต่ก่อนตายถูกทรมานอย่างโหดเหี้ยมมากๆ) ขณะเดียวกันรัฐบาลลอนนอลฉวยโอกาสประกาศอ้างสิทธิ์เขตไหล่ทวีปทับทะเลอาณาเขตของไทย (ที่เป็นช่องทางให้สมเด็จฮุนเซนและลูกใช้อ้างเป็นพื้นที่ทับซ้อนและหวังนำสู่ศาลโลกเพื่อพลิกผันให้มีการตกลงแบ่งกันคนละครึ่งโดยมีคนไทยในระบอบทักษิณสมรู้ร่วมคิดนายพลลอนนอลคงไม่รู้คำว่า “กตัญญูกตเวทิตา” เป็นแน่แท้ (นายพลลอนนอลหนีไปสหรัฐฯ และเป็นโรคร้ายตายในสหรัฐฯ ไปแล้วและเรื่องที่ต้องเล่าแม้เป็นตำนานแต่ก็เป็นที่รู้กัน คือ เรื่องนี้เพราะ รร.นายร้อย West Piont นั้นไม่ใช่จะสมัครสอบเข้าเรียนได้เหมือนอย่างแหล่งอุดมศึกษาอื่นๆ ในสหรัฐฯ แต่มีเงื่อนไขทางกฎหมายสหรัฐฯ กำกับไว้สำหรับผู้ที่มีสิทธิ์อย่างชัดเจนคือ นายพล ฮุน มาเน็ต ที่เรียนจบจาก รร.นายร้อย West Point นั้นได้เข้าเรียนเพราะกองทัพบกไทย (โดยนายพลท่านหนึ่งสั่งการและอนุมัติให้กองทับบกดำเนินการเอาโคว้ต้าของนักเรียนนายร้อย จปร.ที่สามารถเข้าเรียนได้ตามสิทธิ์ในข้อตกลงระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพบกสหรัฐฯ ไปให้ ฮุน มาเน็ต บุตรชายสมเด็จฮุนเซนได้เข้าเรียนที่ West Point เป็นกรณีพิเศษเพื่อสัมพันธไมตรีระหว่างสมเด็จฮุนเซนกับนายพลท่านผู้นั้น)ผมไม่ได้ตำหนิ “นายพลคนใดคนหนึ่งในกองทัพบก” เพราะท่านก็ทำเพื่อสัมพันธไมตรีอันดีเพื่อชาติ (สัมพันธไมตรีนั้นเป็น “นามธรรม” มูลค่าวัดไม่ได้) แต่เรื่องที่ผมอยากพูด คือ คนเนรคุณไม่รู้จักบุญคุณคนไทยทั้งชาติ สำหรับนายกรัฐมนตรี ฮุน มาเน็ต ไม่รู้บุญคุณนักเรียนนายร้อย จปร.ที่สละสิทธิ์ให้เขาไปเรียน :Vachara Riddhagni
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 876 มุมมอง 0 รีวิว
  • #ยกเลิก #MOU2544 #JC2544 เร็วที่สุด
    ถ้าโดน #กฎหมายปิดปาก แบบเดิม #ไทย ก็ #เสียดินแดน เสีย #พื้นที่ #ทะเล เสีย #ทรัพยากร ทางทะเลทั้งหมด ทั้ง #อาหารทะเล #น้ำมัน #แร่ธาตุ #พืชน้ำสัตว์น้ำ ฯลฯ

    #ประเทศไทย เคยเสีย #ดินแดน #อาณาเขต #อธิปไตย #เขาพระวิหาร เพราะ กฎหมายปิดปาก คือ การ #เงียบเฉย #ปล่อย และ #ไม่ปฏิเสธ #เส้นแบ่งเขต #พื้นที่ของไทย ที่ #เพื่อนบ้าน #รุกล้ำ เข้ามา #ศาลโลก ตัดสินว่า นั่นคือการ #ยอมรับ แล้ว ทำให้พื้นที่ที่โดนรุกตกเป็นของเพื่อนบ้านไปเลย … ในครั้งนี้ #เขมร กำลังทำแบบเดิม

    ขอถาม #ประชาชน #คนไทย #ทหาร #กองทัพ #กระทรวงการต่างประเทศ จะยังเฉย ยังปล่อย ไม่ยุ่ง ไม่เกี่ยว ไม่สนใจ เอาตัวรอด ก้มหน้าทำมาหากินแต่ตัวเอง แบบเดิมๆ อีกไหม?
    #ยกเลิก #MOU2544 #JC2544 เร็วที่สุด ถ้าโดน #กฎหมายปิดปาก แบบเดิม #ไทย ก็ #เสียดินแดน เสีย #พื้นที่ #ทะเล เสีย #ทรัพยากร ทางทะเลทั้งหมด ทั้ง #อาหารทะเล #น้ำมัน #แร่ธาตุ #พืชน้ำสัตว์น้ำ ฯลฯ #ประเทศไทย เคยเสีย #ดินแดน #อาณาเขต #อธิปไตย #เขาพระวิหาร เพราะ กฎหมายปิดปาก คือ การ #เงียบเฉย #ปล่อย และ #ไม่ปฏิเสธ #เส้นแบ่งเขต #พื้นที่ของไทย ที่ #เพื่อนบ้าน #รุกล้ำ เข้ามา #ศาลโลก ตัดสินว่า นั่นคือการ #ยอมรับ แล้ว ทำให้พื้นที่ที่โดนรุกตกเป็นของเพื่อนบ้านไปเลย … ในครั้งนี้ #เขมร กำลังทำแบบเดิม ขอถาม #ประชาชน #คนไทย #ทหาร #กองทัพ #กระทรวงการต่างประเทศ จะยังเฉย ยังปล่อย ไม่ยุ่ง ไม่เกี่ยว ไม่สนใจ เอาตัวรอด ก้มหน้าทำมาหากินแต่ตัวเอง แบบเดิมๆ อีกไหม?
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 718 มุมมอง 0 รีวิว
  • #ทหารเรือ #ราชนาวี ซ้อม #รบ หนักเพื่อ #ความชำนาญ #ความพร้อม ของ #กำลังพลในการ #ปกป้อง #รักษา #อาณาเขต #อธิปไตย #ชาติไทย #ประเทศไทย ส่งภาพขึ้นเพจทุกวันเลย
    #ทหารเรือ #ราชนาวี ซ้อม #รบ หนักเพื่อ #ความชำนาญ #ความพร้อม ของ #กำลังพลในการ #ปกป้อง #รักษา #อาณาเขต #อธิปไตย #ชาติไทย #ประเทศไทย ส่งภาพขึ้นเพจทุกวันเลย
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 380 มุมมอง 0 รีวิว
  • #ทหารเรือ #ราชนาวี #ชาติไทย ออกฝึกทาง #ทะเล พื้นที่ #อ่าวไทย เพื่อเสริมความ #ชำนาญ #แข็งแกร่ง พร้อมดูแล #ปกป้อง #รักษา #อาณาเขต #อธิปไตย ของ #ประเทศไทย ตามแผนที่ใน #พระบรมราชโองการ และ #สคส #พระราชทาน ปี 2547
    #ทหารเรือ #ราชนาวี #ชาติไทย ออกฝึกทาง #ทะเล พื้นที่ #อ่าวไทย เพื่อเสริมความ #ชำนาญ #แข็งแกร่ง พร้อมดูแล #ปกป้อง #รักษา #อาณาเขต #อธิปไตย ของ #ประเทศไทย ตามแผนที่ใน #พระบรมราชโองการ และ #สคส #พระราชทาน ปี 2547
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 481 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts