ในขณะที่หลาย ๆ ประเทศมีการป้องกันพรมแดนที่แน่นหนาและมีการตรวจตราที่เข้มงวด แต่สำหรับประเทศในยุโรปกลับมีการแบ่งพรมแดนที่ชิลกว่านั้นมาก
และเหนือไปกว่านั้นก็คือ พรมแดนระหว่างเมือง Baarle-Nassau ของเนเธอร์แลนด์และเมือง Baarle-Hertog ของเบลเยียมที่ได้ชื่อว่ามี "พรมแดนสลับซับซ้อนที่สุดในโลก"
• ความซับซ้อนในมุมนักท่องเที่ยว
เมื่อคุณก้าวเข้าไปในพื้นที่แห่งนี้ คุณจะเห็นเส้นแบ่งเขตแดนที่เป็นรูปเครื่องหมายบวกหรือกากบาทบนพื้น พาดไปพาดมาตามท้องถนนทั่วทั้งเมือง
ดังนั้น คุณสามารถก้าวข้ามประเทศกลับไปกลับมาได้ตลอดเวลา และอาจเดินข้ามประเทศไปมาแบบไม่รู้ตัว
• ความซับซ้อนในมุมผู้อยู่อาศัย
แน่นอนว่าย่อมปวดหัวกว่านักท่องเที่ยวมากนัก เพราะทั้งสองประเทศมีกฎหมายควบคุมที่แตกต่างกัน การจัดการบริหารต่าง ๆ ก็ไม่เหมือนกัน ทั้งระบบไปรษณีย์ ระบบขนส่งสาธารณะ
ส่วนบ้านบางหลังที่ถูกผ่ากลางด้วยเส้นแบ่งพรมแดนจะต้องดูว่า ประตูบ้านหลังนั้นอยู่บนพื้นที่ประเทศไหน แล้วจึงใช้กฎหมายของประเทศนั้น
เคยมีอยู่กรณีหนึ่งที่เจ้าของบ้านขออนุมัติซ่อมแซมบ้าน แต่ทางการเนเธอร์แลนด์ไม่อนุมัติสักที เขาจึงสร้างประตูหน้าบ้านเพิ่มอีกบานให้ตรงกับเส้นแบ่งพรมแดน (ภาพที่ 2) เพื่อให้สามารถใช้กฎหมายฝั่งเบลเยียมได้ จากนั้นเขาจึงขอขออนุมัติกับทางการเบลเยียมแทน ซึ่งก็ได้ผล
ยังมีบ้านอีกหลัง (ภาพที่ 1) ที่ถูกเส้นแบ่งพรมแดนผ่ากลางประตูเป๊ะ ๆ บ้านหลังนี้จึงเป็นของทั้งสองประเทศ และมีบ้านเลขที่ที่แตกต่างกันสำหรับสองประเทศ
สิ่งที่พีกไปกว่านั้นก็คือ...
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับอดีตเจ้าของบ้านหลังนี้ที่ถูกใช้เป็นที่ทำการทางทหารของเนเธอร์แลนด์ แต่ตอนย้ายเข้ามาเขาไม่รู้ว่าห้องทำงานดันไปอยู่ฝั่งเบลเยียม และปัญหาคือเขาไม่มีใบอนุญาตทำงานในเบลเยียม
ดังนั้นเขาจึงต้องย้ายห้องทำงานไปยังฝั่งเนเธอร์แลนด์ และย้ายห้องนอนไปฝั่งเบลเยียมแทน
ข้อมูลและรูปอ้างอิงจากเฟซบุ๊คเพจ เพชร
มายา
และเหนือไปกว่านั้นก็คือ พรมแดนระหว่างเมือง Baarle-Nassau ของเนเธอร์แลนด์และเมือง Baarle-Hertog ของเบลเยียมที่ได้ชื่อว่ามี "พรมแดนสลับซับซ้อนที่สุดในโลก"
• ความซับซ้อนในมุมนักท่องเที่ยว
เมื่อคุณก้าวเข้าไปในพื้นที่แห่งนี้ คุณจะเห็นเส้นแบ่งเขตแดนที่เป็นรูปเครื่องหมายบวกหรือกากบาทบนพื้น พาดไปพาดมาตามท้องถนนทั่วทั้งเมือง
ดังนั้น คุณสามารถก้าวข้ามประเทศกลับไปกลับมาได้ตลอดเวลา และอาจเดินข้ามประเทศไปมาแบบไม่รู้ตัว
• ความซับซ้อนในมุมผู้อยู่อาศัย
แน่นอนว่าย่อมปวดหัวกว่านักท่องเที่ยวมากนัก เพราะทั้งสองประเทศมีกฎหมายควบคุมที่แตกต่างกัน การจัดการบริหารต่าง ๆ ก็ไม่เหมือนกัน ทั้งระบบไปรษณีย์ ระบบขนส่งสาธารณะ
ส่วนบ้านบางหลังที่ถูกผ่ากลางด้วยเส้นแบ่งพรมแดนจะต้องดูว่า ประตูบ้านหลังนั้นอยู่บนพื้นที่ประเทศไหน แล้วจึงใช้กฎหมายของประเทศนั้น
เคยมีอยู่กรณีหนึ่งที่เจ้าของบ้านขออนุมัติซ่อมแซมบ้าน แต่ทางการเนเธอร์แลนด์ไม่อนุมัติสักที เขาจึงสร้างประตูหน้าบ้านเพิ่มอีกบานให้ตรงกับเส้นแบ่งพรมแดน (ภาพที่ 2) เพื่อให้สามารถใช้กฎหมายฝั่งเบลเยียมได้ จากนั้นเขาจึงขอขออนุมัติกับทางการเบลเยียมแทน ซึ่งก็ได้ผล
ยังมีบ้านอีกหลัง (ภาพที่ 1) ที่ถูกเส้นแบ่งพรมแดนผ่ากลางประตูเป๊ะ ๆ บ้านหลังนี้จึงเป็นของทั้งสองประเทศ และมีบ้านเลขที่ที่แตกต่างกันสำหรับสองประเทศ
สิ่งที่พีกไปกว่านั้นก็คือ...
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับอดีตเจ้าของบ้านหลังนี้ที่ถูกใช้เป็นที่ทำการทางทหารของเนเธอร์แลนด์ แต่ตอนย้ายเข้ามาเขาไม่รู้ว่าห้องทำงานดันไปอยู่ฝั่งเบลเยียม และปัญหาคือเขาไม่มีใบอนุญาตทำงานในเบลเยียม
ดังนั้นเขาจึงต้องย้ายห้องทำงานไปยังฝั่งเนเธอร์แลนด์ และย้ายห้องนอนไปฝั่งเบลเยียมแทน
ข้อมูลและรูปอ้างอิงจากเฟซบุ๊คเพจ เพชร
มายา
ในขณะที่หลาย ๆ ประเทศมีการป้องกันพรมแดนที่แน่นหนาและมีการตรวจตราที่เข้มงวด แต่สำหรับประเทศในยุโรปกลับมีการแบ่งพรมแดนที่ชิลกว่านั้นมาก
และเหนือไปกว่านั้นก็คือ พรมแดนระหว่างเมือง Baarle-Nassau ของเนเธอร์แลนด์และเมือง Baarle-Hertog ของเบลเยียมที่ได้ชื่อว่ามี "พรมแดนสลับซับซ้อนที่สุดในโลก"
• ความซับซ้อนในมุมนักท่องเที่ยว
เมื่อคุณก้าวเข้าไปในพื้นที่แห่งนี้ คุณจะเห็นเส้นแบ่งเขตแดนที่เป็นรูปเครื่องหมายบวกหรือกากบาทบนพื้น พาดไปพาดมาตามท้องถนนทั่วทั้งเมือง
ดังนั้น คุณสามารถก้าวข้ามประเทศกลับไปกลับมาได้ตลอดเวลา และอาจเดินข้ามประเทศไปมาแบบไม่รู้ตัว
• ความซับซ้อนในมุมผู้อยู่อาศัย
แน่นอนว่าย่อมปวดหัวกว่านักท่องเที่ยวมากนัก เพราะทั้งสองประเทศมีกฎหมายควบคุมที่แตกต่างกัน การจัดการบริหารต่าง ๆ ก็ไม่เหมือนกัน ทั้งระบบไปรษณีย์ ระบบขนส่งสาธารณะ
ส่วนบ้านบางหลังที่ถูกผ่ากลางด้วยเส้นแบ่งพรมแดนจะต้องดูว่า ประตูบ้านหลังนั้นอยู่บนพื้นที่ประเทศไหน แล้วจึงใช้กฎหมายของประเทศนั้น
เคยมีอยู่กรณีหนึ่งที่เจ้าของบ้านขออนุมัติซ่อมแซมบ้าน แต่ทางการเนเธอร์แลนด์ไม่อนุมัติสักที เขาจึงสร้างประตูหน้าบ้านเพิ่มอีกบานให้ตรงกับเส้นแบ่งพรมแดน (ภาพที่ 2) เพื่อให้สามารถใช้กฎหมายฝั่งเบลเยียมได้ จากนั้นเขาจึงขอขออนุมัติกับทางการเบลเยียมแทน ซึ่งก็ได้ผล
ยังมีบ้านอีกหลัง (ภาพที่ 1) ที่ถูกเส้นแบ่งพรมแดนผ่ากลางประตูเป๊ะ ๆ บ้านหลังนี้จึงเป็นของทั้งสองประเทศ และมีบ้านเลขที่ที่แตกต่างกันสำหรับสองประเทศ
สิ่งที่พีกไปกว่านั้นก็คือ...
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับอดีตเจ้าของบ้านหลังนี้ที่ถูกใช้เป็นที่ทำการทางทหารของเนเธอร์แลนด์ แต่ตอนย้ายเข้ามาเขาไม่รู้ว่าห้องทำงานดันไปอยู่ฝั่งเบลเยียม และปัญหาคือเขาไม่มีใบอนุญาตทำงานในเบลเยียม
ดังนั้นเขาจึงต้องย้ายห้องทำงานไปยังฝั่งเนเธอร์แลนด์ และย้ายห้องนอนไปฝั่งเบลเยียมแทน
ข้อมูลและรูปอ้างอิงจากเฟซบุ๊คเพจ เพชร
มายา
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
24 มุมมอง
0 รีวิว