## เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) ##
..
..
เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้
วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้
ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม
.
ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
.
ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ
ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ
เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้
.
ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ
ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย
.
ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก
ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
.
ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล
ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว
.
ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย
ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน
.
จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้
.
1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
.
2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน
.
3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที
.
4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป
.
5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง
.
6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป
ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้
.
https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
..
..
เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้
วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้
ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม
.
ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
.
ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ
ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ
เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้
.
ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ
ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย
.
ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก
ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
.
ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล
ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว
.
ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย
ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน
.
จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้
.
1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
.
2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน
.
3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที
.
4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป
.
5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง
.
6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป
ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้
.
https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
## เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) ##
..
..
เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้
วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้
ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม
.
ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
.
ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ
ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ
เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้
.
ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ
ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย
.
ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก
ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
.
ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล
ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว
.
ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย
ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน
.
จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้
.
1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
.
2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน
.
3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที
.
4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป
.
5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง
.
6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป
ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้
.
https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
430 มุมมอง
0 รีวิว