• ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน
    ______________________________
    23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
    China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90
    ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน)
    ______________________________
    ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ
    สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม
    หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ)
    บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง
    นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก
    ______________________________
    การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น
    • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV
    • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน
    • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ
    • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม
    • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry)
    สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน
    ______________________________
    ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย
    ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล
    หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้:
    • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง
    • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย
    • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF
    • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่
    • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง
    • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง
    • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง
    ______________________________
    สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
    การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง
    การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED
    สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง
    ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน
    ______________________________
    ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน
    สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ
    KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่
    รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
    ______________________________
    สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต
    อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ
    https://shorturl.asia/6GnqX
    ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942
    ______________________________

    10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน)
    1. แร่ดีบุก (Tin)
    o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563
    o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region)
    2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน
    o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region)
    3. ทองแดง (Copper)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร
    o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State)
    4. ตะกั่ว (Lead)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State)
    5. สังกะสี (Zinc)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ
    o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region)
    6. นิกเกิล (Nickel)
    o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน
    7. พลวง (Antimony)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน
    o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    8. ทังสเตน (Tungsten)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง
    o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น
    9. ทองคำ (Gold)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก
    o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ
    o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย
    10. อิตเทรียม (Yttrium)
    o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ
    o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร
    ______________________________
    ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน ______________________________ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90 ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน) ______________________________ ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ) บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก ______________________________ การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry) สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน ______________________________ ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้: • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่ • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง ______________________________ สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน ______________________________ ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่ รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ______________________________ สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ https://shorturl.asia/6GnqX ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942 ______________________________ 10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน) 1. แร่ดีบุก (Tin) o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563 o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region) 2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์ o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region) 3. ทองแดง (Copper) o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State) 4. ตะกั่ว (Lead) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์ o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State) 5. สังกะสี (Zinc) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region) 6. นิกเกิล (Nickel) o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน 7. พลวง (Antimony) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ 8. ทังสเตน (Tungsten) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น 9. ทองคำ (Gold) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย 10. อิตเทรียม (Yttrium) o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร ______________________________
    0 Comments 0 Shares 41 Views 0 Reviews
  • เซเลนสกี และ Mark Rutte เลขาธิการ NATO เดินทางมาภูมิภาคโอเดสซาของยูเครน เพื่อเยี่ยมชมผลงานของพวกเขา ทหารยูเครนที่ได้รับบาดเจ็บเหล่านี้ เป็นผลมาจากการไม่ยอมเข้าสู่การเจรจายุติสงครามของเซเลนสกี โดยมีรุตเต้ เลขธิการนาโต้ให้การสนับสนุนอย่างภาคภูมิใจ

    Rutte ยิ้มกว้าง และถ่ายเซลฟี่ โดยไม่สนใจการนองเลือดและความน่ากลัวที่เขากำลังช่วยยุยงให้เกิดขึ้น พร้อมประกาศว่าจะสนับสนุนยูเครนอย่าง "ไม่เปลี่ยนแปลง"
    เซเลนสกี และ Mark Rutte เลขาธิการ NATO เดินทางมาภูมิภาคโอเดสซาของยูเครน เพื่อเยี่ยมชมผลงานของพวกเขา ทหารยูเครนที่ได้รับบาดเจ็บเหล่านี้ เป็นผลมาจากการไม่ยอมเข้าสู่การเจรจายุติสงครามของเซเลนสกี โดยมีรุตเต้ เลขธิการนาโต้ให้การสนับสนุนอย่างภาคภูมิใจ Rutte ยิ้มกว้าง และถ่ายเซลฟี่ โดยไม่สนใจการนองเลือดและความน่ากลัวที่เขากำลังช่วยยุยงให้เกิดขึ้น พร้อมประกาศว่าจะสนับสนุนยูเครนอย่าง "ไม่เปลี่ยนแปลง"
    Sad
    1
    0 Comments 0 Shares 53 Views 0 Reviews
  • ผลกระทบจากการโจมตีภูมิภาคซูมีของยูเครนยังไม่จบ

    ล่าสุดเซเลนสกีมีคำสั่งปลดผู้ว่าการภูมิภาค Sumy ออกจากตำแหน่ง หลังพบว่าปล่อยให้มีการชุมนุมทางทหารจนเป็นเหตุให้รัสเซียโจมตีตำแหน่งดังกล่าว

    เซเลนสกีมีคำสั่งปลด Artem Artyukh หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาค Sumy ตามคำกล่าวของ Melnychuk ตัวแทนรัฐบาลในสภา Verkhovna Rada (สภาผู้แทนราษฎรของยูเครน) โดยการตัดสินใจดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว

    Artyukh ปล่อยให้มีการจัดพิธีมอบรางวัลทางทหารกลางใจเมืองซูมี (Sumy) จนทำให้รัสเซียทราบข้อมูลและโจมตีตำแหน่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 เมษายน และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 60 ราย อย่างไรก็ตาม Artyukh แก้ตัวว่าเขาไม่ใช่ผู้ริเริ่มให้มีการจัดงานครั้งนี้

    ในวันเกิดเหตุ มีรายงานจากนักการเมืองหลายรายยืนยันว่า Artyukh จะต้องรับผิดชอบในการปล่อยให้มีการจัดงานชุมนุมทางทหารเกิดขึ้น ซึ่ง Marianna Bezuglaya ส.ส.ฝ่ายค้าน, Igor Mosiychuk อดีตรองประธานสภา และ Artem Semenikhin นายกเทศมนตรีเมือง Konotop ระบุตรงกันว่า Artyukh เป็นผู้จัดพิธีดังกล่าวให้กับทหารจากกองพลที่ 117 ซึ่งเป็นเป้าหมายการโจมตีด้วยขีปนาวุธ "Iskander" ของรัสเซีย
    ผลกระทบจากการโจมตีภูมิภาคซูมีของยูเครนยังไม่จบ ล่าสุดเซเลนสกีมีคำสั่งปลดผู้ว่าการภูมิภาค Sumy ออกจากตำแหน่ง หลังพบว่าปล่อยให้มีการชุมนุมทางทหารจนเป็นเหตุให้รัสเซียโจมตีตำแหน่งดังกล่าว เซเลนสกีมีคำสั่งปลด Artem Artyukh หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาค Sumy ตามคำกล่าวของ Melnychuk ตัวแทนรัฐบาลในสภา Verkhovna Rada (สภาผู้แทนราษฎรของยูเครน) โดยการตัดสินใจดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว Artyukh ปล่อยให้มีการจัดพิธีมอบรางวัลทางทหารกลางใจเมืองซูมี (Sumy) จนทำให้รัสเซียทราบข้อมูลและโจมตีตำแหน่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 เมษายน และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 60 ราย อย่างไรก็ตาม Artyukh แก้ตัวว่าเขาไม่ใช่ผู้ริเริ่มให้มีการจัดงานครั้งนี้ ในวันเกิดเหตุ มีรายงานจากนักการเมืองหลายรายยืนยันว่า Artyukh จะต้องรับผิดชอบในการปล่อยให้มีการจัดงานชุมนุมทางทหารเกิดขึ้น ซึ่ง Marianna Bezuglaya ส.ส.ฝ่ายค้าน, Igor Mosiychuk อดีตรองประธานสภา และ Artem Semenikhin นายกเทศมนตรีเมือง Konotop ระบุตรงกันว่า Artyukh เป็นผู้จัดพิธีดังกล่าวให้กับทหารจากกองพลที่ 117 ซึ่งเป็นเป้าหมายการโจมตีด้วยขีปนาวุธ "Iskander" ของรัสเซีย
    0 Comments 0 Shares 110 Views 0 Reviews
  • ทหารอิสราเอลโพสต์คลิปวิดีโอสภาพความเสียหายในเมืองราฟาห์ ทางตอนใต้ของกาซา พร้อมคำพูดล้อเลียนชาวปาเลสไตน์ว่า “สวัสดีชาวเมืองราฟาห์ทั้งหลาย”
    ทหารอิสราเอลโพสต์คลิปวิดีโอสภาพความเสียหายในเมืองราฟาห์ ทางตอนใต้ของกาซา พร้อมคำพูดล้อเลียนชาวปาเลสไตน์ว่า “สวัสดีชาวเมืองราฟาห์ทั้งหลาย”
    0 Comments 0 Shares 143 Views 18 0 Reviews
  • Blood Gold เจาะขุมทรัพย์ใต้ภิภพเมียนมาร์ความมั่งคั่งที่มืดมนอนธการ
    .
    ใต้ภิภพเมียนมาร์ นับเป็นรัฐที่มีทรัพยากรมูลค่าสูงฝังอยู่มหาศาล ที่สามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ในการพัฒนาประเทศได้อันดับต้น ๆ ของอาเซียน
    ทว่า รัฐสภาพแห่งนี้เหมือนถูกครอบงำ และตกอยู่ภายใต้ความลำบาก ความขัดแย้งไม่ลงรอย ในประวัติศาสตร์การเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยตรง
    รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) “ยักษ์หลับแห่งเมียนมา” ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตื่นขึ้น 28 มีนาคม 2568 ที่ ขนาด 8.2 แมกนิจูด ได้ส่งพลังพาดผ่านเมืองหลวงสำคัญของพม่า ตั้งแต่มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ย่างกุ้ง ดูเหมือนว่าเมืองแห่งอารยธรรมและศูนย์กลางอำนาจ ตั้งอยู่บนหลังมังกรที่หลับ ขยับทีก็ทำให้เมืองศูนย์กลางสำคัญได้ได้ผลกระทบสูงการฟื้นตัวครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนสถานการณ์เริ่มต้นใหม่หลายรอบ หมุนวน
    โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเมียนมาร์ค่อนข้างซับซ้อน ภูมิสัณฐานและธรณีโครงสร้างได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือพื้นที่ราบสูงตะวันออก (Sino Burman Ranges) พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง (Inner Burman Tertiary Zone) ดินแดนเทือกเขาตะวันตก (Indo Burman Ranges) และ ที่ราบฝั่งยะไข่ - คะฉิ่น Rakhine (Arakan) Coastal Plain
    ชั้นหินที่มีอายุอ่อนที่สุดจะอยู่ใน พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง ไล่ถัดไปทางด้านตะวันตกของประเทศ จะเป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงที่ราบแถบยะไข่ ด้านตะวันออกของประเทศ ส่วนของ Sino Burman เป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ที่สุด มีรอยเลื่อนรัฐฉาน แนวรอยต่อเชื่อมรอยเลื่อนสะกาย
    อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในเมียนมาร์ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหารปี 2021 ซึ่งมีการขยายตัวของการทำเหมืองแร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023
    นับว่าแร่หายากกลุ่มหนัก heavy rare earth elements: HREE คิดเป็นสัดส่วนหลักของมูลค่าการส่งออกของเมียนมาร์ โดยส่วนใหญ่ส่งไปจีนเพื่อผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับรถไฟฟ้าและกังหันลมการส่งออก อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2021 จาก 19,500 ตัน เป็น 41,700 ตัน
    แน่นอนแร่หายากกลุ่ม China Rare Earths Group (REGCC) เป็นผู้ลงทุนหลัก ควบคุมทั้งเทคโนโลยี การประมวลผล และห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้การดูแลพื้นที่ของกองทัพเมียนมาร์ (SAC) และมิลิเชียพันธมิตรควบคุมพื้นที่พิเศษ Kachin 1 และกองกำลัง Kachin Independence Army (KIA) ควบคุมพื้นที่ Momauk และแนวชายแดน
    แร่หายากเป็นแหล่งเงินสำคัญสำหรับทั้งรัฐบาลทหารและกลุ่มกบฎ แต่ 70% ของประชากรในพื้นที่ยังพึ่งพาการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่ค่าแรงงานในเหมืองสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (สูงกว่าเฉลี่ยประเทศ 2 เท่า) แต่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคปอด ปัญหาหายใจลำบาก โรคผิวหนัง และไตวายจากสารเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและออกซาลิกแอซิด
    ไม่รวมถึงมลพิษน้ำ 96% ของครัวเรือนในเขต Chipwi ไม่มีน้ำดื่มสะอาดเนื่องจากสารเคมีปนเปื้อน ดวงตาสวรรค์ได้ส่องพื้นที่การขยายตัวของเหมืองกว่า 40% ใน Kachin Special Region 1 และ Momauk ระหว่างปี 2021-2023 ที่สลายระบบนิเวศในพื้นที่ยากจะทวงคืนสภาพเดิมกลับมาในอนาคต
    อีกแร่ธาตุหนึ่งคือเหล็กที่เมียนมาร์ เป็นเบอร์หนึ่งของโลก ที่แหล่ง Pong Pet ซึ่งอยู่ห่างจาก Taunggyi ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ปรากฏเป็นแหล่งเฮมาไทต์ (Hematite) และยังพบแหล่งแร่เหล็ก 393 แหล่ง ปริมาณสารองทรัพยากรแร่ประมาณ 495 ล้านตัน และพบแหล่งแร่เหล็กที่มีศักยภาพ 14 แหล่ง ในรัฐ Kachin, Mandalay, Bago, Tanintharyi และรัฐShan ได้แก่ แหล่งแร่เหล็กสำคัญพบที่รัฐ Tanintharyi บริเวณตอนเหนือของรัฐ Shan
    โดยในรัฐคะฉิ่น คือศูนย์รวมแร่ธาตุความมั่งคั่งสมบูรณ์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากหยกแล้วยังมีแหล่งแร่เหล็กในรัฐ Kachin มีปริมาณสารองประมาณ 223 ล้านตันที่ 50.56%Fe องค์ประกอบหลักของแร่ คือ Goethite/Limonite 75%, Hematite 15% และ Magnetite 2%
    แน่นอนเมียนมาร์เป็นผู้ผลิตหยกรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในประเทศเดียวที่ผลิตหยกเจไดต์คุณภาพสูง อุตสาหกรรมหยกมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศ โดยเมืองผะกัน (Hpakan) เป็นที่ตั้งของเหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองที่มีข่าวของเหมืองถล่ม ดินโคลนโถมทับหมู่บ้านถี่มากและต้นปี 2568 ก็ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่ซ้ำซาก สูญเสียชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก
    Global Witness ประเมินไว้ว่ารายได้จากหยกได้เข้าพกเข้าห่อของผู้นำของเมียนมาไปแล้วราว 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา
    หากประมวลประเทศที่มีบริษัทลงทุนในเหมืองแร่ในภาพรวมในเมียนมาร์ ได้แก่
    1.) จีน: เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมียนมาร์ โดยเฉพาะในเหมืองทองแดง (เช่น โครงการ Letpadaung, S&K, Tagaung Taung) และแร่หายาก มีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น China Nonferrous Metal Mining (CNMC), Wanbao Mining Co., Ltd. รวมถึงนักลงทุนรายย่อยจากมณฑลยูนนานและเสฉวน
    2.) ไทย: มีบริษัท Myanmar-Pongpipat Co., Ltd. ร่วมลงทุนในเหมืองดีบุกและโลหะอื่น
    3.) เวียดนาม: บริษัท Simco Songda มีการลงทุนในเหมืองแร่ร่วมกับเมียนมาร์
    4.) ออสเตรเลีย: บริษัท PanAust ได้รับอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่เหมือง Wuntho
    5.) ญี่ปุ่น: มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งยื่นขออนุญาตลงทุนในเหมืองแร่เมียนมาร์
    6.) สิงคโปร์: แม้จะเน้นลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน แต่ก็มีการลงทุนในเหมืองแร่บางส่วน
    7.) มาเลเซีย, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร: มีการลงทุนในเมียนมาร์ในหลายภาคส่วน รวมถึงเหมืองแร่ในบางโครงการ
    ในส่วนแร่ทองคำ Blood Gold บริบทไม่แตกต่างจากพื้นที่คะฉิ่น แต่รายงานจาก EarthRights International (2567) ระบุว่าในรัฐกะฉิ่นมีการขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจุดขุดนับร้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นการขุดขนาดเล็กและใช้เครื่องจักรหนัก
    ผู้สัมปทาน ก่อนการรัฐประหาร (2564): เหมืองทองคำขนาดใหญ่บางแห่ง เช่น ในเขตเบ็งเมาก์ (Bemauk), กานิ (Kani), และเคาก์ปาดอง (Kyaukpadaung) ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างกองทัพเมียนมาร์และบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัทจากจีนและไทย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเฉพาะเจาะจงในปัจจุบันหายาก
    พื้นที่การขุดทองคำในรัฐกะฉิ่นส่วนใหญ่ควบคุมโดย Kachin Independence Army (KIA) และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทหรือนักขุดท้องถิ่น บริษัทจีน มีรายงานว่าได้รับสัมปทานในพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำกก โดยได้รับการอนุมัติจาก United Wa State Army (UWSA) บริษัทท้องถิ่นและกองทัพเมียนมาร์: Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ยังคงมีส่วนในเหมืองบางแห่ง
    ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ไม่มีการออกใบอนุญาตขุดอย่างเป็นทางการในหลายพื้นที่ เช่น Hpakant แต่การขุดยังดำเนินต่อไปโดยผิดกฎหมาย
    ปัจจุบันหลังจาก การรัฐประหารในปี 2564 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและกฎหมาย ส่งผลให้การขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีการควบคุม โดยเฉพาะในรัฐกะฉิ่นและสะกาย เพิ่มขึ้น 10 เท่าหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นแหล่งทองคำสำคัญ เรียกว่าเกิดการขุดแบบทำลายล้าง ใช้เครื่องจักรกลหนักและการขุดในแม่น้ำในพื้นที่ และลุกลามขยายยังพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก และแม่น้ำสายใกล้ชายแดนไทย
    แน่นอนความระส่ำระสายในพื้นที่คือการกอบโกยความมั่งคั่งในพื้นที่ที่ไม่ได้มองไกลถึงอนาคตว่าผลกระทบของผู้คน ประชาชนจะเป็นอย่างไร ระยะเวลาการฟื้นตัวความอ่อนเปียกของรัฐชาติที่ถูกสูบทรัพยากรที่มีความมั่งคั่งออกไปอย่างไร้ข้อจำกัด โดยมีอำนาจภายในควบคุม กองทัพเมียนมาร์ ควบคุมเหมืองขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อหารายได้ กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น KIA เก็บส่วนแบ่งจากเหมืองในพื้นที่ของตน บริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทในพื้นที่รัฐที่อุดมด้วยแร่ธาตุโดยเฉพาะฉาน และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงที่สัญญาณได้ส่งผลแล้วกรณีที่แม่สาย ลุ่มแม่น้ำกก เชียงราย ที่ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด


    อ้างอิง :
    • โครงการ การส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบและการลงทุนด้านเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    https://www.bbc.com/thai/international-53264790
    • EarthRights International, Global Witness
    Blood Gold เจาะขุมทรัพย์ใต้ภิภพเมียนมาร์ความมั่งคั่งที่มืดมนอนธการ . ใต้ภิภพเมียนมาร์ นับเป็นรัฐที่มีทรัพยากรมูลค่าสูงฝังอยู่มหาศาล ที่สามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ในการพัฒนาประเทศได้อันดับต้น ๆ ของอาเซียน ทว่า รัฐสภาพแห่งนี้เหมือนถูกครอบงำ และตกอยู่ภายใต้ความลำบาก ความขัดแย้งไม่ลงรอย ในประวัติศาสตร์การเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยตรง รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) “ยักษ์หลับแห่งเมียนมา” ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตื่นขึ้น 28 มีนาคม 2568 ที่ ขนาด 8.2 แมกนิจูด ได้ส่งพลังพาดผ่านเมืองหลวงสำคัญของพม่า ตั้งแต่มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ย่างกุ้ง ดูเหมือนว่าเมืองแห่งอารยธรรมและศูนย์กลางอำนาจ ตั้งอยู่บนหลังมังกรที่หลับ ขยับทีก็ทำให้เมืองศูนย์กลางสำคัญได้ได้ผลกระทบสูงการฟื้นตัวครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนสถานการณ์เริ่มต้นใหม่หลายรอบ หมุนวน โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเมียนมาร์ค่อนข้างซับซ้อน ภูมิสัณฐานและธรณีโครงสร้างได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือพื้นที่ราบสูงตะวันออก (Sino Burman Ranges) พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง (Inner Burman Tertiary Zone) ดินแดนเทือกเขาตะวันตก (Indo Burman Ranges) และ ที่ราบฝั่งยะไข่ - คะฉิ่น Rakhine (Arakan) Coastal Plain ชั้นหินที่มีอายุอ่อนที่สุดจะอยู่ใน พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง ไล่ถัดไปทางด้านตะวันตกของประเทศ จะเป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงที่ราบแถบยะไข่ ด้านตะวันออกของประเทศ ส่วนของ Sino Burman เป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ที่สุด มีรอยเลื่อนรัฐฉาน แนวรอยต่อเชื่อมรอยเลื่อนสะกาย อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในเมียนมาร์ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหารปี 2021 ซึ่งมีการขยายตัวของการทำเหมืองแร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 นับว่าแร่หายากกลุ่มหนัก heavy rare earth elements: HREE คิดเป็นสัดส่วนหลักของมูลค่าการส่งออกของเมียนมาร์ โดยส่วนใหญ่ส่งไปจีนเพื่อผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับรถไฟฟ้าและกังหันลมการส่งออก อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2021 จาก 19,500 ตัน เป็น 41,700 ตัน แน่นอนแร่หายากกลุ่ม China Rare Earths Group (REGCC) เป็นผู้ลงทุนหลัก ควบคุมทั้งเทคโนโลยี การประมวลผล และห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้การดูแลพื้นที่ของกองทัพเมียนมาร์ (SAC) และมิลิเชียพันธมิตรควบคุมพื้นที่พิเศษ Kachin 1 และกองกำลัง Kachin Independence Army (KIA) ควบคุมพื้นที่ Momauk และแนวชายแดน แร่หายากเป็นแหล่งเงินสำคัญสำหรับทั้งรัฐบาลทหารและกลุ่มกบฎ แต่ 70% ของประชากรในพื้นที่ยังพึ่งพาการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่ค่าแรงงานในเหมืองสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (สูงกว่าเฉลี่ยประเทศ 2 เท่า) แต่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคปอด ปัญหาหายใจลำบาก โรคผิวหนัง และไตวายจากสารเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและออกซาลิกแอซิด ไม่รวมถึงมลพิษน้ำ 96% ของครัวเรือนในเขต Chipwi ไม่มีน้ำดื่มสะอาดเนื่องจากสารเคมีปนเปื้อน ดวงตาสวรรค์ได้ส่องพื้นที่การขยายตัวของเหมืองกว่า 40% ใน Kachin Special Region 1 และ Momauk ระหว่างปี 2021-2023 ที่สลายระบบนิเวศในพื้นที่ยากจะทวงคืนสภาพเดิมกลับมาในอนาคต อีกแร่ธาตุหนึ่งคือเหล็กที่เมียนมาร์ เป็นเบอร์หนึ่งของโลก ที่แหล่ง Pong Pet ซึ่งอยู่ห่างจาก Taunggyi ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ปรากฏเป็นแหล่งเฮมาไทต์ (Hematite) และยังพบแหล่งแร่เหล็ก 393 แหล่ง ปริมาณสารองทรัพยากรแร่ประมาณ 495 ล้านตัน และพบแหล่งแร่เหล็กที่มีศักยภาพ 14 แหล่ง ในรัฐ Kachin, Mandalay, Bago, Tanintharyi และรัฐShan ได้แก่ แหล่งแร่เหล็กสำคัญพบที่รัฐ Tanintharyi บริเวณตอนเหนือของรัฐ Shan โดยในรัฐคะฉิ่น คือศูนย์รวมแร่ธาตุความมั่งคั่งสมบูรณ์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากหยกแล้วยังมีแหล่งแร่เหล็กในรัฐ Kachin มีปริมาณสารองประมาณ 223 ล้านตันที่ 50.56%Fe องค์ประกอบหลักของแร่ คือ Goethite/Limonite 75%, Hematite 15% และ Magnetite 2% แน่นอนเมียนมาร์เป็นผู้ผลิตหยกรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในประเทศเดียวที่ผลิตหยกเจไดต์คุณภาพสูง อุตสาหกรรมหยกมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศ โดยเมืองผะกัน (Hpakan) เป็นที่ตั้งของเหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองที่มีข่าวของเหมืองถล่ม ดินโคลนโถมทับหมู่บ้านถี่มากและต้นปี 2568 ก็ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่ซ้ำซาก สูญเสียชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก Global Witness ประเมินไว้ว่ารายได้จากหยกได้เข้าพกเข้าห่อของผู้นำของเมียนมาไปแล้วราว 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา หากประมวลประเทศที่มีบริษัทลงทุนในเหมืองแร่ในภาพรวมในเมียนมาร์ ได้แก่ 1.) จีน: เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมียนมาร์ โดยเฉพาะในเหมืองทองแดง (เช่น โครงการ Letpadaung, S&K, Tagaung Taung) และแร่หายาก มีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น China Nonferrous Metal Mining (CNMC), Wanbao Mining Co., Ltd. รวมถึงนักลงทุนรายย่อยจากมณฑลยูนนานและเสฉวน 2.) ไทย: มีบริษัท Myanmar-Pongpipat Co., Ltd. ร่วมลงทุนในเหมืองดีบุกและโลหะอื่น 3.) เวียดนาม: บริษัท Simco Songda มีการลงทุนในเหมืองแร่ร่วมกับเมียนมาร์ 4.) ออสเตรเลีย: บริษัท PanAust ได้รับอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่เหมือง Wuntho 5.) ญี่ปุ่น: มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งยื่นขออนุญาตลงทุนในเหมืองแร่เมียนมาร์ 6.) สิงคโปร์: แม้จะเน้นลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน แต่ก็มีการลงทุนในเหมืองแร่บางส่วน 7.) มาเลเซีย, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร: มีการลงทุนในเมียนมาร์ในหลายภาคส่วน รวมถึงเหมืองแร่ในบางโครงการ ในส่วนแร่ทองคำ Blood Gold บริบทไม่แตกต่างจากพื้นที่คะฉิ่น แต่รายงานจาก EarthRights International (2567) ระบุว่าในรัฐกะฉิ่นมีการขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจุดขุดนับร้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นการขุดขนาดเล็กและใช้เครื่องจักรหนัก ผู้สัมปทาน ก่อนการรัฐประหาร (2564): เหมืองทองคำขนาดใหญ่บางแห่ง เช่น ในเขตเบ็งเมาก์ (Bemauk), กานิ (Kani), และเคาก์ปาดอง (Kyaukpadaung) ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างกองทัพเมียนมาร์และบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัทจากจีนและไทย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเฉพาะเจาะจงในปัจจุบันหายาก พื้นที่การขุดทองคำในรัฐกะฉิ่นส่วนใหญ่ควบคุมโดย Kachin Independence Army (KIA) และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทหรือนักขุดท้องถิ่น บริษัทจีน มีรายงานว่าได้รับสัมปทานในพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำกก โดยได้รับการอนุมัติจาก United Wa State Army (UWSA) บริษัทท้องถิ่นและกองทัพเมียนมาร์: Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ยังคงมีส่วนในเหมืองบางแห่ง ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ไม่มีการออกใบอนุญาตขุดอย่างเป็นทางการในหลายพื้นที่ เช่น Hpakant แต่การขุดยังดำเนินต่อไปโดยผิดกฎหมาย ปัจจุบันหลังจาก การรัฐประหารในปี 2564 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและกฎหมาย ส่งผลให้การขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีการควบคุม โดยเฉพาะในรัฐกะฉิ่นและสะกาย เพิ่มขึ้น 10 เท่าหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นแหล่งทองคำสำคัญ เรียกว่าเกิดการขุดแบบทำลายล้าง ใช้เครื่องจักรกลหนักและการขุดในแม่น้ำในพื้นที่ และลุกลามขยายยังพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก และแม่น้ำสายใกล้ชายแดนไทย แน่นอนความระส่ำระสายในพื้นที่คือการกอบโกยความมั่งคั่งในพื้นที่ที่ไม่ได้มองไกลถึงอนาคตว่าผลกระทบของผู้คน ประชาชนจะเป็นอย่างไร ระยะเวลาการฟื้นตัวความอ่อนเปียกของรัฐชาติที่ถูกสูบทรัพยากรที่มีความมั่งคั่งออกไปอย่างไร้ข้อจำกัด โดยมีอำนาจภายในควบคุม กองทัพเมียนมาร์ ควบคุมเหมืองขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อหารายได้ กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น KIA เก็บส่วนแบ่งจากเหมืองในพื้นที่ของตน บริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทในพื้นที่รัฐที่อุดมด้วยแร่ธาตุโดยเฉพาะฉาน และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงที่สัญญาณได้ส่งผลแล้วกรณีที่แม่สาย ลุ่มแม่น้ำกก เชียงราย ที่ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด อ้างอิง : • โครงการ การส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบและการลงทุนด้านเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • https://www.bbc.com/thai/international-53264790 • EarthRights International, Global Witness
    0 Comments 0 Shares 174 Views 0 Reviews
  • กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้ชัดเจนถึงการห้ามมิให้มีสิ่งที่เกี่ยวข้องทางด้านการทหารใกล้กับพื้นที่ของพลเรือน

    รัสเซียมีหลักฐานว่าสถานที่ใจกลางเมืองซูมี เป็นสถานที่จัดการชุมนุมทางทหารระหว่างผู้บัญชาการทหารยูเครนและพันธมิตรฝ่ายตะวันตก

    เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าว
    กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้ชัดเจนถึงการห้ามมิให้มีสิ่งที่เกี่ยวข้องทางด้านการทหารใกล้กับพื้นที่ของพลเรือน รัสเซียมีหลักฐานว่าสถานที่ใจกลางเมืองซูมี เป็นสถานที่จัดการชุมนุมทางทหารระหว่างผู้บัญชาการทหารยูเครนและพันธมิตรฝ่ายตะวันตก เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าว
    0 Comments 0 Shares 234 Views 24 0 Reviews
  • กระทรวงกลาโหมของรัสเซียยืนยันรายงานการโจมตีเมื่อวานนี้ที่เมืองซูมี ดินแดนยูเครน ด้วยขีปนาวุธ Iskander-M จำนวน 2 ลูก โดยโจมตีเป้าหมายการประชุมของผู้นำทหารระดับสูงของยูเครน

    รายงานระบุว่าการโจมตีดังกล่าวได้เข้าเป้าตามที่ตั้งใจไว้ ส่งผลให้มีเจ้าหน้าที่กองทัพยูเครนกว่า 60 นาย รวมถึงเจ้าหน้าที่บังคับบัญชาถูกกำจัด
    กระทรวงกลาโหมของรัสเซียยืนยันรายงานการโจมตีเมื่อวานนี้ที่เมืองซูมี ดินแดนยูเครน ด้วยขีปนาวุธ Iskander-M จำนวน 2 ลูก โดยโจมตีเป้าหมายการประชุมของผู้นำทหารระดับสูงของยูเครน รายงานระบุว่าการโจมตีดังกล่าวได้เข้าเป้าตามที่ตั้งใจไว้ ส่งผลให้มีเจ้าหน้าที่กองทัพยูเครนกว่า 60 นาย รวมถึงเจ้าหน้าที่บังคับบัญชาถูกกำจัด
    Like
    3
    0 Comments 0 Shares 113 Views 0 Reviews
  • อันเดรย์ เยอร์มัค หัวหน้าสำนักงานประธานาธิบดียูเครน ออกมาตอบโต้นักการเมืองฝ่ายตรงข้ามบางคนที่พยายามใช้เหตุการณ์ในเมืองซูมีเพื่อสร้างความแตกแยกในยูเครน

    "บางคนพยายามใช้โศกนาฏกรรมและอาชญากรรมสงครามของรัสเซียเพื่อโปรโมตตัวเองบนโซเชียลมีเดีย" เยอร์มัค กล่าวพาดพิงไปถึง ส.ส. มารีอานา เบซูห์ลา ซึ่งกล่าวว่าการโจมตีซูมีของรัสเซียมาจากการปล่อยให้กองทหารยูเครนที่รวมตัวกันในพื้นที่ดังกล่าว

    ขณะเดียวกัน นายกเทศมนตรีเมืองโคโนท็อปได้เรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารภูมิภาคซูมีและผู้บัญชาการทหารของภูมิภาคลาออกทันที

    รวมถึงอดีต ส.ส. ยูเครน อิกอร์ โมซิชุก ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการโจมตีด้วยขีปนาวุธของรัสเซีย โดยกล่าวว่าหัวหน้าฝ่ายบริหารระดับภูมิภาค นายอาร์ตุค และ ส.ส. นายอานันเชนโก ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง ควรจะถูกจับกุมตัว เนื่องจากปล่อยให้มีการจัดพิธีทหารเนื่องในโอกาสครบรอบ 7 ปีของกองพลป้องกันดินแดนที่ 117

    อันเดรย์ เยอร์มัค หัวหน้าสำนักงานประธานาธิบดียูเครน ออกมาตอบโต้นักการเมืองฝ่ายตรงข้ามบางคนที่พยายามใช้เหตุการณ์ในเมืองซูมีเพื่อสร้างความแตกแยกในยูเครน "บางคนพยายามใช้โศกนาฏกรรมและอาชญากรรมสงครามของรัสเซียเพื่อโปรโมตตัวเองบนโซเชียลมีเดีย" เยอร์มัค กล่าวพาดพิงไปถึง ส.ส. มารีอานา เบซูห์ลา ซึ่งกล่าวว่าการโจมตีซูมีของรัสเซียมาจากการปล่อยให้กองทหารยูเครนที่รวมตัวกันในพื้นที่ดังกล่าว ขณะเดียวกัน นายกเทศมนตรีเมืองโคโนท็อปได้เรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารภูมิภาคซูมีและผู้บัญชาการทหารของภูมิภาคลาออกทันที รวมถึงอดีต ส.ส. ยูเครน อิกอร์ โมซิชุก ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการโจมตีด้วยขีปนาวุธของรัสเซีย โดยกล่าวว่าหัวหน้าฝ่ายบริหารระดับภูมิภาค นายอาร์ตุค และ ส.ส. นายอานันเชนโก ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง ควรจะถูกจับกุมตัว เนื่องจากปล่อยให้มีการจัดพิธีทหารเนื่องในโอกาสครบรอบ 7 ปีของกองพลป้องกันดินแดนที่ 117
    0 Comments 0 Shares 213 Views 0 Reviews
  • 3/
    นักการเมืองยูเครนเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน

    บ่งชี้ว่ามีการรวมกลุ่มของกองกำลังทหารยูเครนใจกลางเมืองซูมี เป็นเหตุให้รัสเซียโจมตีมาที่ตำแหน่งดังกล่าวจนทำให้มีพลเรือนโดนผลกระทบจากการโจมตีในครั้งนี้ไปด้วย


    นายกเทศมนตรีเมืองโคโนท็อปเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน และยังเรียกร้องให้คุกเข่าขอโทษต่อหน้าประชาชนอีกด้วย! เพราะถือว่ามีส่วนร่วมทำให้ชาวยูเครนเสียชีวิตจำนวนมากจากการอนุญาตให้มีการจัดพิธีทางทหารดังกล่าว


    มีข้อมูลเปิดเผยออกมาอีกว่า การโจมตีด้วยขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซีย เป็นสถานที่จัดพิธีมอบของกองกำลังจากกองพลป้องกันดินแดนที่ 117 เนื่องในโอกาสครบรอบ 7 ปี ของการก่อตั้งกองพลนี้ขึ้นมา

    3/ นักการเมืองยูเครนเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน บ่งชี้ว่ามีการรวมกลุ่มของกองกำลังทหารยูเครนใจกลางเมืองซูมี เป็นเหตุให้รัสเซียโจมตีมาที่ตำแหน่งดังกล่าวจนทำให้มีพลเรือนโดนผลกระทบจากการโจมตีในครั้งนี้ไปด้วย นายกเทศมนตรีเมืองโคโนท็อปเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน และยังเรียกร้องให้คุกเข่าขอโทษต่อหน้าประชาชนอีกด้วย! เพราะถือว่ามีส่วนร่วมทำให้ชาวยูเครนเสียชีวิตจำนวนมากจากการอนุญาตให้มีการจัดพิธีทางทหารดังกล่าว มีข้อมูลเปิดเผยออกมาอีกว่า การโจมตีด้วยขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซีย เป็นสถานที่จัดพิธีมอบของกองกำลังจากกองพลป้องกันดินแดนที่ 117 เนื่องในโอกาสครบรอบ 7 ปี ของการก่อตั้งกองพลนี้ขึ้นมา
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 272 Views 13 0 Reviews
  • 2/
    นักการเมืองยูเครนเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน

    บ่งชี้ว่ามีการรวมกลุ่มของกองกำลังทหารยูเครนใจกลางเมืองซูมี เป็นเหตุให้รัสเซียโจมตีมาที่ตำแหน่งดังกล่าวจนทำให้มีพลเรือนโดนผลกระทบจากการโจมตีในครั้งนี้ไปด้วย


    นายกเทศมนตรีเมืองโคโนท็อปเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน และยังเรียกร้องให้คุกเข่าขอโทษต่อหน้าประชาชนอีกด้วย! เพราะถือว่ามีส่วนร่วมทำให้ชาวยูเครนเสียชีวิตจำนวนมากจากการอนุญาตให้มีการจัดพิธีทางทหารดังกล่าว


    มีข้อมูลเปิดเผยออกมาอีกว่า การโจมตีด้วยขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซีย เป็นสถานที่จัดพิธีมอบของกองกำลังจากกองพลป้องกันดินแดนที่ 117 เนื่องในโอกาสครบรอบ 7 ปี ของการก่อตั้งกองพลนี้ขึ้นมา

    2/ นักการเมืองยูเครนเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน บ่งชี้ว่ามีการรวมกลุ่มของกองกำลังทหารยูเครนใจกลางเมืองซูมี เป็นเหตุให้รัสเซียโจมตีมาที่ตำแหน่งดังกล่าวจนทำให้มีพลเรือนโดนผลกระทบจากการโจมตีในครั้งนี้ไปด้วย นายกเทศมนตรีเมืองโคโนท็อปเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน และยังเรียกร้องให้คุกเข่าขอโทษต่อหน้าประชาชนอีกด้วย! เพราะถือว่ามีส่วนร่วมทำให้ชาวยูเครนเสียชีวิตจำนวนมากจากการอนุญาตให้มีการจัดพิธีทางทหารดังกล่าว มีข้อมูลเปิดเผยออกมาอีกว่า การโจมตีด้วยขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซีย เป็นสถานที่จัดพิธีมอบของกองกำลังจากกองพลป้องกันดินแดนที่ 117 เนื่องในโอกาสครบรอบ 7 ปี ของการก่อตั้งกองพลนี้ขึ้นมา
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 261 Views 14 0 Reviews
  • 1/
    นักการเมืองยูเครนเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน

    บ่งชี้ว่ามีการรวมกลุ่มของกองกำลังทหารยูเครนใจกลางเมืองซูมี เป็นเหตุให้รัสเซียโจมตีมาที่ตำแหน่งดังกล่าวจนทำให้มีพลเรือนโดนผลกระทบจากการโจมตีในครั้งนี้ไปด้วย


    นายกเทศมนตรีเมืองโคโนท็อปเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน และยังเรียกร้องให้คุกเข่าขอโทษต่อหน้าประชาชนอีกด้วย! เพราะถือว่ามีส่วนร่วมทำให้ชาวยูเครนเสียชีวิตจำนวนมากจากการอนุญาตให้มีการจัดพิธีทางทหารดังกล่าว


    มีข้อมูลเปิดเผยออกมาอีกว่า การโจมตีด้วยขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซีย เป็นสถานที่จัดพิธีมอบของกองกำลังจากกองพลป้องกันดินแดนที่ 117 เนื่องในโอกาสครบรอบ 7 ปี ของการก่อตั้งกองพลนี้ขึ้นมา

    1/ นักการเมืองยูเครนเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน บ่งชี้ว่ามีการรวมกลุ่มของกองกำลังทหารยูเครนใจกลางเมืองซูมี เป็นเหตุให้รัสเซียโจมตีมาที่ตำแหน่งดังกล่าวจนทำให้มีพลเรือนโดนผลกระทบจากการโจมตีในครั้งนี้ไปด้วย นายกเทศมนตรีเมืองโคโนท็อปเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน และยังเรียกร้องให้คุกเข่าขอโทษต่อหน้าประชาชนอีกด้วย! เพราะถือว่ามีส่วนร่วมทำให้ชาวยูเครนเสียชีวิตจำนวนมากจากการอนุญาตให้มีการจัดพิธีทางทหารดังกล่าว มีข้อมูลเปิดเผยออกมาอีกว่า การโจมตีด้วยขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซีย เป็นสถานที่จัดพิธีมอบของกองกำลังจากกองพลป้องกันดินแดนที่ 117 เนื่องในโอกาสครบรอบ 7 ปี ของการก่อตั้งกองพลนี้ขึ้นมา
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 196 Views 0 Reviews
  • เมียวดี – ชาวต่างชาติที่เกี่ยวข้องกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์พื้นที่จีนเทาชายแดนเมียวดี 275 ลุกฮือ..ทั้งแบกทั้งลากกระเป๋าเสื้อหาประท้วงริมเมย หลังถูกควบคุมตัวในพื้นที่ของ DKBA นานกว่า 2 เดือน บอกอยากกลับบ้าน จนทหารกะเหรี่ยงต้องถืออาวุธขู่ ก่อนเจรจาให้สลายตัว

    วันนี้(13 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวต่างชาติที่เกี่ยวข้องกับแก็งคอลเซ็นเตอร์เมียวดี จำนว 275 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเอธิโอเปีย และชาติอื่น ๆ จากทวีปแอฟริกา ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในพื้นที่จีนเทา ไท่ซาง 1 เขตอิทธิพลของกลุ่มกะเหรี่ยง DKBA จ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง สหภาพเมียนมา ด้านตรงข้ามบ้านช่องแคบ อ.พบพระ จ.ตาก ได้รวมตัวประท้วงพยายามออกจากพื้นที่ควบคุม บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมยฝั่งประเทศเมียนมา ขอข้ามแดนเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อเดินทางกลับประเทศตัว หลังรอการประสานจากสถานทูตนานกว่า 2 เดือน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/local/detail/9680000035278

    #MGROnline #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #ชายแดนเมียวดี
    เมียวดี – ชาวต่างชาติที่เกี่ยวข้องกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์พื้นที่จีนเทาชายแดนเมียวดี 275 ลุกฮือ..ทั้งแบกทั้งลากกระเป๋าเสื้อหาประท้วงริมเมย หลังถูกควบคุมตัวในพื้นที่ของ DKBA นานกว่า 2 เดือน บอกอยากกลับบ้าน จนทหารกะเหรี่ยงต้องถืออาวุธขู่ ก่อนเจรจาให้สลายตัว • วันนี้(13 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวต่างชาติที่เกี่ยวข้องกับแก็งคอลเซ็นเตอร์เมียวดี จำนว 275 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเอธิโอเปีย และชาติอื่น ๆ จากทวีปแอฟริกา ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในพื้นที่จีนเทา ไท่ซาง 1 เขตอิทธิพลของกลุ่มกะเหรี่ยง DKBA จ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง สหภาพเมียนมา ด้านตรงข้ามบ้านช่องแคบ อ.พบพระ จ.ตาก ได้รวมตัวประท้วงพยายามออกจากพื้นที่ควบคุม บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมยฝั่งประเทศเมียนมา ขอข้ามแดนเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อเดินทางกลับประเทศตัว หลังรอการประสานจากสถานทูตนานกว่า 2 เดือน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/local/detail/9680000035278 • #MGROnline #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #ชายแดนเมียวดี
    0 Comments 0 Shares 184 Views 0 Reviews
  • ช่วงนี้ Storyฯ กลับไปดูซีรีส์เก่าๆ ค่ะ มาลงเอยที่ละครเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> และสะดุดกับเนื้อเรื่องตอนที่กล่าวถึงว่า พระรองพยายามจีบนางเอกด้วยการล่าสัตว์เอาสัตว์ป่ามาให้ ทำเอาพระเอกหึงจนร่ายยาวออกมาเป็นบทกวี แต่นางเอกฟังไม่เข้าใจ วันนี้มาคุยเรื่องบทกวีนี้กันค่ะ

    ความมีอยู่ว่า
    ... “กวางสิ้นใจในป่าทึบ หญ้าคาขาวห่อหุ้มตัวมันไว้ หญิงสาวความรักผลิบาน ชายหนุ่มไล่ตามพูดหยอกเย้า ป่ามีต้นอ่อนถือกำเนิด พณาร้างมีกวางหนึ่งสิ้นใจ ห่อคาขาวนี้คิดมอบให้ผู้ใด มอบให้หญิงงามดุจยอดหยก อย่าได้รีบร้อนถอดนักซิ อย่าแตะต้องผ้าคาดเอวข้า อย่าทำสุนัขเห่าหอนมา ชาตินี้ข้าติดตามท่านแน่แล้ว” ... กล่าวคือบุรุษในกลอนนี้นำผ้าขาวห่อสัตว์ที่ล่ามาได้หลอกล่อหญิงสาวที่กำลังตกหลุมรักชายผู้นั้น ...
    - ถอดบทสนทนาจาก <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> (ตามซับไทย)

    กลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ (野有死麕 แปลได้ตามซับไทยของละครว่า ‘กวางสิ้นใจในป่าทึบ’) (หมายเหตุ ‘จวิน’ เป็นกวางขนาดเล็กไม่มีเขา ไม่แน่ใจว่าใช่กระจงหรือไม่)

    บทกวีนี้มีทั้งหมดสามท่อน ท่อนละสี่วรรค เป็นหนึ่งในบทกวีที่ถูกรวบรวมไว้ใน ‘ซือจิง’ (诗经 แปลตรงตัวว่าคัมภีร์บทกวี) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นบทกวีจีนที่เก่าแก่ที่สุด โดยรวบรวมไว้ถึง 311 บท เป็นบทกวีตั้งแต่สมัยโจวตะวันตกตอนปลายจนถึงยุคชุนชิว (ประมาณปี1066 - 479 ก่อนคริสตกาล) จัดอยู่ในหมวด ‘กั๋วเฟิง’ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบทเพลงพื้นบ้าน

    ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ เป็นบทกวีที่สะท้อนถึงการเกี้ยวพาราสีของชายหญิง โดยเฉพาะท่อนหลังดูจะบรรยายถึงความสัมพันธ์ที่ดูจะถึงเนื้อถึงตัว เป็นเนื้อหาที่ดูจะสะท้อนถึงอิสระของสตรีในแบบที่เราไม่ค่อยเห็นในกลอนจีนโบราณ

    แต่จริงๆ แล้วมันสะท้อนถึงสถานะสตรีในยุคสมัยนั้นได้ดี

    เราอาจคุ้นเคยว่าคติสอนหญิงของจีนโบราณคือบุรุษเป็นใหญ่ แต่จริงๆ แล้วก่อนยุคสมัยชุนชิวสถานะทางสังคมของสตรีนั้นสูงไม่เบา ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณปี 1600-1050 ก่อนคริสตกาล) จนถึงราชวงศ์ฮั่น ปรากฏสตรีมีอำนาจทางการทหาร มีที่ได้รับการอวยยศเป็นโหวหลายสิบคน และสตรีสามารถถือครองทรัพย์สินได้ ในยุคสมัยนั้นสตรีมีอิสระด้านการครองเรือนและการออกมาปรากฏกายในสาธารณะ สามารถเลือกคู่ครองเองได้ ขอหย่าได้ หย่าร้างแล้วก็สามารถแต่งงานใหม่ได้โดยไม่ถูกมองอย่างหยามเหยียด และมีตัวอย่างฮองเฮาหลายคนในประวัติศาสตร์ที่เคยมีสามีอื่นมาก่อน

    ต่อมาจึงเกิดแนวคิดแยกบทบาทให้บุรุษเน้นเรื่องนอกบ้าน สตรีเน้นเรื่องในบ้าน จนกลายเป็นแนวคิดเรื่องบุรุษเป็นใหญ่ที่แพร่หลายในสมัยฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 25 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 220) ในช่วงเวลานั้นมีนักประพันธ์และนักวิชาการหลายคนมีผลงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยที่โด่งดังมากและเป็นมรดกตกทอดไปอีกหลายพันปีคือวรรณกรรมเรื่อง ‘เตือนหญิง’ (女诫 หรือ ‘หนี่ว์เจี้ย’) ซึ่งเป็นผลงานของนักวิชาการสตรีนาม ‘ปันเจา’ ที่กลายเป็นหนึ่งในหนังสือที่สตรีต้องเล่าเรียนไปอีกหลายยุคหลายสมัย

    บทกวี ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ ในบริบทของละครเป็นการเปรียบเปรยถึงการที่ผู้ชายพยายามจีบหญิง แต่พอเข้าใจถึงยุคสมัยที่เกี่ยวข้องก็ทำให้ Storyฯ อดคิดเปรียบเทียบไม่ได้ว่า วัฒนธรรมจีนโบราณแต่บรรพกาลก็คล้ายๆ วัฒนธรรมโบราณอื่นๆ ที่สตรีเคยเป็นใหญ่และมีบทบาททางสังคมไม่น้อยไปกว่าชาย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://m.qulishi.com/article/202101/478420.html
    https://view.inews.qq.com/a/20200704A03V3J00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/召南·野有死麕/19680551
    https://shijing.5000yan.com/guofeng-zhaonan/yeyousijun.html
    https://baike.baidu.com/item/女诫/3423545
    https://new.qq.com/rain/a/20200617A0R16W00
    https://www.sohu.com/a/249005081_100234890

    #ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้ #ซือจิง #คัมภีร์บทกวี #หนี่ว์เจี้ย #วรรณกรรมจีนเตือนหญิง #กวางสิ้นใจในป่าทึบ
    ช่วงนี้ Storyฯ กลับไปดูซีรีส์เก่าๆ ค่ะ มาลงเอยที่ละครเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> และสะดุดกับเนื้อเรื่องตอนที่กล่าวถึงว่า พระรองพยายามจีบนางเอกด้วยการล่าสัตว์เอาสัตว์ป่ามาให้ ทำเอาพระเอกหึงจนร่ายยาวออกมาเป็นบทกวี แต่นางเอกฟังไม่เข้าใจ วันนี้มาคุยเรื่องบทกวีนี้กันค่ะ ความมีอยู่ว่า ... “กวางสิ้นใจในป่าทึบ หญ้าคาขาวห่อหุ้มตัวมันไว้ หญิงสาวความรักผลิบาน ชายหนุ่มไล่ตามพูดหยอกเย้า ป่ามีต้นอ่อนถือกำเนิด พณาร้างมีกวางหนึ่งสิ้นใจ ห่อคาขาวนี้คิดมอบให้ผู้ใด มอบให้หญิงงามดุจยอดหยก อย่าได้รีบร้อนถอดนักซิ อย่าแตะต้องผ้าคาดเอวข้า อย่าทำสุนัขเห่าหอนมา ชาตินี้ข้าติดตามท่านแน่แล้ว” ... กล่าวคือบุรุษในกลอนนี้นำผ้าขาวห่อสัตว์ที่ล่ามาได้หลอกล่อหญิงสาวที่กำลังตกหลุมรักชายผู้นั้น ... - ถอดบทสนทนาจาก <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> (ตามซับไทย) กลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ (野有死麕 แปลได้ตามซับไทยของละครว่า ‘กวางสิ้นใจในป่าทึบ’) (หมายเหตุ ‘จวิน’ เป็นกวางขนาดเล็กไม่มีเขา ไม่แน่ใจว่าใช่กระจงหรือไม่) บทกวีนี้มีทั้งหมดสามท่อน ท่อนละสี่วรรค เป็นหนึ่งในบทกวีที่ถูกรวบรวมไว้ใน ‘ซือจิง’ (诗经 แปลตรงตัวว่าคัมภีร์บทกวี) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นบทกวีจีนที่เก่าแก่ที่สุด โดยรวบรวมไว้ถึง 311 บท เป็นบทกวีตั้งแต่สมัยโจวตะวันตกตอนปลายจนถึงยุคชุนชิว (ประมาณปี1066 - 479 ก่อนคริสตกาล) จัดอยู่ในหมวด ‘กั๋วเฟิง’ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบทเพลงพื้นบ้าน ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ เป็นบทกวีที่สะท้อนถึงการเกี้ยวพาราสีของชายหญิง โดยเฉพาะท่อนหลังดูจะบรรยายถึงความสัมพันธ์ที่ดูจะถึงเนื้อถึงตัว เป็นเนื้อหาที่ดูจะสะท้อนถึงอิสระของสตรีในแบบที่เราไม่ค่อยเห็นในกลอนจีนโบราณ แต่จริงๆ แล้วมันสะท้อนถึงสถานะสตรีในยุคสมัยนั้นได้ดี เราอาจคุ้นเคยว่าคติสอนหญิงของจีนโบราณคือบุรุษเป็นใหญ่ แต่จริงๆ แล้วก่อนยุคสมัยชุนชิวสถานะทางสังคมของสตรีนั้นสูงไม่เบา ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณปี 1600-1050 ก่อนคริสตกาล) จนถึงราชวงศ์ฮั่น ปรากฏสตรีมีอำนาจทางการทหาร มีที่ได้รับการอวยยศเป็นโหวหลายสิบคน และสตรีสามารถถือครองทรัพย์สินได้ ในยุคสมัยนั้นสตรีมีอิสระด้านการครองเรือนและการออกมาปรากฏกายในสาธารณะ สามารถเลือกคู่ครองเองได้ ขอหย่าได้ หย่าร้างแล้วก็สามารถแต่งงานใหม่ได้โดยไม่ถูกมองอย่างหยามเหยียด และมีตัวอย่างฮองเฮาหลายคนในประวัติศาสตร์ที่เคยมีสามีอื่นมาก่อน ต่อมาจึงเกิดแนวคิดแยกบทบาทให้บุรุษเน้นเรื่องนอกบ้าน สตรีเน้นเรื่องในบ้าน จนกลายเป็นแนวคิดเรื่องบุรุษเป็นใหญ่ที่แพร่หลายในสมัยฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 25 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 220) ในช่วงเวลานั้นมีนักประพันธ์และนักวิชาการหลายคนมีผลงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยที่โด่งดังมากและเป็นมรดกตกทอดไปอีกหลายพันปีคือวรรณกรรมเรื่อง ‘เตือนหญิง’ (女诫 หรือ ‘หนี่ว์เจี้ย’) ซึ่งเป็นผลงานของนักวิชาการสตรีนาม ‘ปันเจา’ ที่กลายเป็นหนึ่งในหนังสือที่สตรีต้องเล่าเรียนไปอีกหลายยุคหลายสมัย บทกวี ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ ในบริบทของละครเป็นการเปรียบเปรยถึงการที่ผู้ชายพยายามจีบหญิง แต่พอเข้าใจถึงยุคสมัยที่เกี่ยวข้องก็ทำให้ Storyฯ อดคิดเปรียบเทียบไม่ได้ว่า วัฒนธรรมจีนโบราณแต่บรรพกาลก็คล้ายๆ วัฒนธรรมโบราณอื่นๆ ที่สตรีเคยเป็นใหญ่และมีบทบาททางสังคมไม่น้อยไปกว่าชาย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://m.qulishi.com/article/202101/478420.html https://view.inews.qq.com/a/20200704A03V3J00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/召南·野有死麕/19680551 https://shijing.5000yan.com/guofeng-zhaonan/yeyousijun.html https://baike.baidu.com/item/女诫/3423545 https://new.qq.com/rain/a/20200617A0R16W00 https://www.sohu.com/a/249005081_100234890 #ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้ #ซือจิง #คัมภีร์บทกวี #หนี่ว์เจี้ย #วรรณกรรมจีนเตือนหญิง #กวางสิ้นใจในป่าทึบ
    《我就是这般女子》在哪儿可以看?一周更新几集?-趣历史网
    关晓彤和侯明昊主演的《我就是这般女子》追剧日历出炉,自1月18日正式开播到2月15日大结局,见证班婳
    1 Comments 0 Shares 153 Views 0 Reviews
  • เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.5 แมกนิจูดในเช้าวันอาทิตย์ (13) ใกล้กับเมืองเมกติลา เมืองเล็กๆ ในภาคกลางของพม่า ตามการรายงานของสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ

    แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่พม่ากำลังให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหวขนาด 7.7 แมกนิจูด ที่บริเวณภาคกลางของประเทศเมื่อวันที่ 28 มี.ค. โดยศูนย์กลางของแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดอยู่บริเวณระหว่างเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ ที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักและมีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวเมื่อเดือนก่อน และกรุงเนปีดอ เมืองหลวง ที่อาคารสำนักงานของรัฐบาลได้รับความเสียหายหลายแห่ง

    ขณะนี้ยังไม่มีรายงานความเสียหายหรือผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งใหม่ ที่เป็นหนึ่งในอาฟเตอร์ช็อกรุนแรงที่สุดจากหลายร้อยครั้งที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค. ซอ มิน ตุน โฆษกรัฐบาลทหารพม่าเปิดเผยว่า นับจนถึงวันศุกร์ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งดังกล่าวแล้ว 3,649 คน ได้รับบาดเจ็บ 5,018 คน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/indochina/detail/9680000035283

    #MGROnline #แผ่นดินไหว
    เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.5 แมกนิจูดในเช้าวันอาทิตย์ (13) ใกล้กับเมืองเมกติลา เมืองเล็กๆ ในภาคกลางของพม่า ตามการรายงานของสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ • แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่พม่ากำลังให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหวขนาด 7.7 แมกนิจูด ที่บริเวณภาคกลางของประเทศเมื่อวันที่ 28 มี.ค. โดยศูนย์กลางของแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดอยู่บริเวณระหว่างเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ ที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักและมีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวเมื่อเดือนก่อน และกรุงเนปีดอ เมืองหลวง ที่อาคารสำนักงานของรัฐบาลได้รับความเสียหายหลายแห่ง • ขณะนี้ยังไม่มีรายงานความเสียหายหรือผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งใหม่ ที่เป็นหนึ่งในอาฟเตอร์ช็อกรุนแรงที่สุดจากหลายร้อยครั้งที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค. ซอ มิน ตุน โฆษกรัฐบาลทหารพม่าเปิดเผยว่า นับจนถึงวันศุกร์ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งดังกล่าวแล้ว 3,649 คน ได้รับบาดเจ็บ 5,018 คน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/indochina/detail/9680000035283 • #MGROnline #แผ่นดินไหว
    0 Comments 0 Shares 173 Views 0 Reviews
  • 2/
    มีรายงานขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซียโจมตำแหน่งทางทหารในภูมิภาคซูมี (Sumy) ของยูเครน

    การโจมตีเกิดขึ้นช่วงเช้าของวันที่ 13 เมษายน ตามเวลาท้องถิ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย อาร์เทม โคบซาร์ (Artem Kobzar) นายกเทศมนตรีเมืองซูมี รายงาน

    ทางด้าน ส.ส.ยูเครน มาริอานา เบซูกลา ซึ่งเป็นรองประธานสภา Verkhovna Rada (สภาผู้แทนราษฎรยูเครน) กล่าวถึงการโจมตีในเมืองซูมีครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของกำลังทหารที่กำลังจัดพิธีมอบรางวัล และเรียกร้องให้ซีร์สกี (Syrsky) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพยูเครน เลิกซะทีกับการรวมตัวของกำลังทหารในเขตชุมชนที่มีพลเรือนอยู่

    "ขอวิงวอนต่อซีร์สกีผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันประเทศว่า อย่าระดมกำลังทหารเพื่อเข้าร่วมพิธีมอบรางวัล โดยเฉพาะในสถานที่พลเรือน เพราะรัสเซียมีข้อมูลเกี่ยวกับการชุมนุมดังกล่าวทั้งหมดอยู่แล้ว" เบซุกลยา กล่าว


    ภาพความเสียหายในพื้นที่แสดงให้เห็นสัญลักษณ์ของกองกำลังของยูเครนอยู่ในพื้นที่การโจมตีจากรัสเซีย

    พิกัดตำแหน่งการโจมต่ 50.905332960810995, 34.7958318981476
    2/ มีรายงานขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซียโจมตำแหน่งทางทหารในภูมิภาคซูมี (Sumy) ของยูเครน การโจมตีเกิดขึ้นช่วงเช้าของวันที่ 13 เมษายน ตามเวลาท้องถิ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย อาร์เทม โคบซาร์ (Artem Kobzar) นายกเทศมนตรีเมืองซูมี รายงาน ทางด้าน ส.ส.ยูเครน มาริอานา เบซูกลา ซึ่งเป็นรองประธานสภา Verkhovna Rada (สภาผู้แทนราษฎรยูเครน) กล่าวถึงการโจมตีในเมืองซูมีครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของกำลังทหารที่กำลังจัดพิธีมอบรางวัล และเรียกร้องให้ซีร์สกี (Syrsky) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพยูเครน เลิกซะทีกับการรวมตัวของกำลังทหารในเขตชุมชนที่มีพลเรือนอยู่ "ขอวิงวอนต่อซีร์สกีผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันประเทศว่า อย่าระดมกำลังทหารเพื่อเข้าร่วมพิธีมอบรางวัล โดยเฉพาะในสถานที่พลเรือน เพราะรัสเซียมีข้อมูลเกี่ยวกับการชุมนุมดังกล่าวทั้งหมดอยู่แล้ว" เบซุกลยา กล่าว ภาพความเสียหายในพื้นที่แสดงให้เห็นสัญลักษณ์ของกองกำลังของยูเครนอยู่ในพื้นที่การโจมตีจากรัสเซีย พิกัดตำแหน่งการโจมต่ 50.905332960810995, 34.7958318981476
    Love
    1
    0 Comments 0 Shares 268 Views 24 0 Reviews
  • 1/
    มีรายงานขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซียโจมตำแหน่งทางทหารในภูมิภาคซูมี (Sumy) ของยูเครน

    การโจมตีเกิดขึ้นช่วงเช้าของวันที่ 13 เมษายน ตามเวลาท้องถิ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย อาร์เทม โคบซาร์ (Artem Kobzar) นายกเทศมนตรีเมืองซูมี รายงาน

    ทางด้าน ส.ส.ยูเครน มาริอานา เบซูกลา ซึ่งเป็นรองประธานสภา Verkhovna Rada (สภาผู้แทนราษฎรยูเครน) กล่าวถึงการโจมตีในเมืองซูมีครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของกำลังทหารที่กำลังจัดพิธีมอบรางวัล และเรียกร้องให้ซีร์สกี (Syrsky) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพยูเครน เลิกซะทีกับการรวมตัวของกำลังทหารในเขตชุมชนที่มีพลเรือนอยู่

    "ขอวิงวอนต่อซีร์สกีผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันประเทศว่า อย่าระดมกำลังทหารเพื่อเข้าร่วมพิธีมอบรางวัล โดยเฉพาะในสถานที่พลเรือน เพราะรัสเซียมีข้อมูลเกี่ยวกับการชุมนุมดังกล่าวทั้งหมดอยู่แล้ว" เบซุกลยา กล่าว


    ภาพความเสียหายในพื้นที่แสดงให้เห็นสัญลักษณ์ของกองกำลังของยูเครนอยู่ในพื้นที่การโจมตีจากรัสเซีย

    พิกัดตำแหน่งการโจมต่ 50.905332960810995, 34.7958318981476
    1/ มีรายงานขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซียโจมตำแหน่งทางทหารในภูมิภาคซูมี (Sumy) ของยูเครน การโจมตีเกิดขึ้นช่วงเช้าของวันที่ 13 เมษายน ตามเวลาท้องถิ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย อาร์เทม โคบซาร์ (Artem Kobzar) นายกเทศมนตรีเมืองซูมี รายงาน ทางด้าน ส.ส.ยูเครน มาริอานา เบซูกลา ซึ่งเป็นรองประธานสภา Verkhovna Rada (สภาผู้แทนราษฎรยูเครน) กล่าวถึงการโจมตีในเมืองซูมีครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของกำลังทหารที่กำลังจัดพิธีมอบรางวัล และเรียกร้องให้ซีร์สกี (Syrsky) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพยูเครน เลิกซะทีกับการรวมตัวของกำลังทหารในเขตชุมชนที่มีพลเรือนอยู่ "ขอวิงวอนต่อซีร์สกีผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันประเทศว่า อย่าระดมกำลังทหารเพื่อเข้าร่วมพิธีมอบรางวัล โดยเฉพาะในสถานที่พลเรือน เพราะรัสเซียมีข้อมูลเกี่ยวกับการชุมนุมดังกล่าวทั้งหมดอยู่แล้ว" เบซุกลยา กล่าว ภาพความเสียหายในพื้นที่แสดงให้เห็นสัญลักษณ์ของกองกำลังของยูเครนอยู่ในพื้นที่การโจมตีจากรัสเซีย พิกัดตำแหน่งการโจมต่ 50.905332960810995, 34.7958318981476
    0 Comments 0 Shares 198 Views 0 Reviews
  • ชาวต่างชาติที่เกี่ยวข้องกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์พื้นที่จีนเทาชายแดนเมียวดี 275 ลุกฮือ..ทั้งแบกทั้งลากกระเป๋าเสื้อหาประท้วงริมเมย หลังถูกควบคุมตัวในพื้นที่ของ DKBA นานกว่า 2 เดือน บอกอยากกลับบ้าน จนทหารกะเหรี่ยงต้องถืออาวุธขู่ ก่อนเจรจาให้สลายตัว

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000035278

    #News1live #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ชาวต่างชาติที่เกี่ยวข้องกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์พื้นที่จีนเทาชายแดนเมียวดี 275 ลุกฮือ..ทั้งแบกทั้งลากกระเป๋าเสื้อหาประท้วงริมเมย หลังถูกควบคุมตัวในพื้นที่ของ DKBA นานกว่า 2 เดือน บอกอยากกลับบ้าน จนทหารกะเหรี่ยงต้องถืออาวุธขู่ ก่อนเจรจาให้สลายตัว อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000035278 #News1live #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 612 Views 0 Reviews
  • นราธิวาส - โจรใต้ลอบวางระเบิดแสวงเครื่องข้างกำแพงวัดที่มีอาคารน๊อกดาวน์ซึ่งเป็นโรงนอนทหารพรานตั้งอยู่ ทำให้มีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย ด้านแม่ทัพภาคที่ 4 คาดคนร้ายหวังก่อกวนสร้างสถานการณ์ป่วนช่วงสงกรานต์

    วันนี้ (13 เม.ย.) ร.ต.อ.ปัญญรัตน์ พงศ์ชินฤทธิ์ รองสารวัตรสอบสวน สภ.ระแงะ จ.นราธิวาส รับแจ้งมีเหตุระเบิดขึ้นที่บริเวณข้างกำแพงรั้ววัดชัยรัตนา หรือ วัดบ้านไทย ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงนอนฐานปฏิบัติการกองร้อยทหารพรานที่ 4503 กรมทหารพรานที่ 45 ซึ่งตั้งอยู่บ้านไทย ม.3 ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส จึงพร้อมด้วย พล.ต.ต.ไมตรี สันตยากุล ผบก.ภ.จว.นราธิวาส พ.ต.อ.ดิเรก โฉมยงค์ รอง ผบก.ภ.จว.นราธิวาส พ.ต.อ.นิยม สุวรรณคง ผกก.สส.ภ.จว.นราธิวาส พ.ต.อ.ศุภชัช ณ พัทลุง ผกก.สภ.ระแงะ เจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด นปพ.กองกำกับการตำรวจภูธร จ.นราธิวาส เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน จ.นราธิวาส และกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารจำนวนหนึ่ง เดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/south/detail/9680000035237

    #MGROnline #นราธิวาส
    นราธิวาส - โจรใต้ลอบวางระเบิดแสวงเครื่องข้างกำแพงวัดที่มีอาคารน๊อกดาวน์ซึ่งเป็นโรงนอนทหารพรานตั้งอยู่ ทำให้มีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย ด้านแม่ทัพภาคที่ 4 คาดคนร้ายหวังก่อกวนสร้างสถานการณ์ป่วนช่วงสงกรานต์ • วันนี้ (13 เม.ย.) ร.ต.อ.ปัญญรัตน์ พงศ์ชินฤทธิ์ รองสารวัตรสอบสวน สภ.ระแงะ จ.นราธิวาส รับแจ้งมีเหตุระเบิดขึ้นที่บริเวณข้างกำแพงรั้ววัดชัยรัตนา หรือ วัดบ้านไทย ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงนอนฐานปฏิบัติการกองร้อยทหารพรานที่ 4503 กรมทหารพรานที่ 45 ซึ่งตั้งอยู่บ้านไทย ม.3 ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส จึงพร้อมด้วย พล.ต.ต.ไมตรี สันตยากุล ผบก.ภ.จว.นราธิวาส พ.ต.อ.ดิเรก โฉมยงค์ รอง ผบก.ภ.จว.นราธิวาส พ.ต.อ.นิยม สุวรรณคง ผกก.สส.ภ.จว.นราธิวาส พ.ต.อ.ศุภชัช ณ พัทลุง ผกก.สภ.ระแงะ เจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด นปพ.กองกำกับการตำรวจภูธร จ.นราธิวาส เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน จ.นราธิวาส และกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารจำนวนหนึ่ง เดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/south/detail/9680000035237 • #MGROnline #นราธิวาส
    0 Comments 0 Shares 154 Views 0 Reviews
  • โจรใต้ลอบวางระเบิดแสวงเครื่องข้างกำแพงวัดที่มีอาคารน๊อกดาวน์ซึ่งเป็นโรงนอนทหารพรานตั้งอยู่ ทำให้มีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย ด้านแม่ทัพภาคที่ 4 คาดคนร้ายหวังก่อกวนสร้างสถานการณ์ป่วนช่วงสงกรานต์

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000035237

    โจรใต้ลอบวางระเบิดแสวงเครื่องข้างกำแพงวัดที่มีอาคารน๊อกดาวน์ซึ่งเป็นโรงนอนทหารพรานตั้งอยู่ ทำให้มีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย ด้านแม่ทัพภาคที่ 4 คาดคนร้ายหวังก่อกวนสร้างสถานการณ์ป่วนช่วงสงกรานต์ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000035237
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 491 Views 0 Reviews
  • “จิลล์ จักรพงศ์” เตือนคนแช่ว่าน ข้อห้ามเยอะ ต้องรักษาศีลห้ามผิดลูกผิดเมีย ห้ามหญิงค่อม ห้ามเลียX ห้ามกินของดิบ จะนอนยังมีข้อห้าม ถ้าผิดครูจะเน่าใน วิชานี้สำหรับอาชีพที่ต้องการความหนังเหนียว เช่น ทหาร ตำรวจ ไม่ใช่ด้านเสน่ห์เมตตา หากผิดครูแล้วต้องล้างอาคม

    กำลังเป็นข่าวฮือฮากับเรื่องราวของ “โตโน่ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์” เจอแฉแอบนอกใจแฟนสาว “ณิชา ณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์” โดยแฟนหนุ่มของผู้หญิงที่มีข่าวกับโตโน่จับได้ให้สัมภาษณ์ถึงความสัมพันธ์ของทั้งคู่ ทั้งยังมีคลิปเสียงในรถถูกปล่อยออกมา ซึ่งก็เริ่มมีการทยอยแฉถ้อยคำในคลิป อาทิ , ตอนนี้พี่กลายเป็นชู้รึเปล่า , ระหว่างพากันหนีออกจากคอนโด เรียกกัน ที่รัก….นี่มันขับตามมามั้ย“

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/entertainment/detail/9680000035190

    #MGROnline #จิลล์จักรพงศ์ #โตโน่ภาคิน
    “จิลล์ จักรพงศ์” เตือนคนแช่ว่าน ข้อห้ามเยอะ ต้องรักษาศีลห้ามผิดลูกผิดเมีย ห้ามหญิงค่อม ห้ามเลียX ห้ามกินของดิบ จะนอนยังมีข้อห้าม ถ้าผิดครูจะเน่าใน วิชานี้สำหรับอาชีพที่ต้องการความหนังเหนียว เช่น ทหาร ตำรวจ ไม่ใช่ด้านเสน่ห์เมตตา หากผิดครูแล้วต้องล้างอาคม • กำลังเป็นข่าวฮือฮากับเรื่องราวของ “โตโน่ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์” เจอแฉแอบนอกใจแฟนสาว “ณิชา ณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์” โดยแฟนหนุ่มของผู้หญิงที่มีข่าวกับโตโน่จับได้ให้สัมภาษณ์ถึงความสัมพันธ์ของทั้งคู่ ทั้งยังมีคลิปเสียงในรถถูกปล่อยออกมา ซึ่งก็เริ่มมีการทยอยแฉถ้อยคำในคลิป อาทิ , ตอนนี้พี่กลายเป็นชู้รึเปล่า , ระหว่างพากันหนีออกจากคอนโด เรียกกัน ที่รัก….นี่มันขับตามมามั้ย“ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/entertainment/detail/9680000035190 • #MGROnline #จิลล์จักรพงศ์ #โตโน่ภาคิน
    0 Comments 0 Shares 115 Views 0 Reviews
  • สำนักข่าวบีบีซีรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวทางทหารในยูเครนว่า เครื่องบินขับไล่เอฟ-16 ที่ตกนั้นถูกยิงตกด้วยขีปนาวุธของรัสเซีย

    แหล่งข่าวบอกกับสำนักข่าวว่า “รัสเซียยิงขีปนาวุธใส่เครื่องบินทั้งหมด 3 ลูก โดยเป็นขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานนำวิถีจากระบบ S-400 ที่ติดตั้งภาคพื้นดิน หรือขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ R-37”

    นอกจากนี้ แหล่งข่าวรายเดิมยังปฏิเสธแนวคิดเรื่อง "การยิงพวกเดียวกัน" อย่างเด็ดขาด โดยอ้างว่าไม่มีระบบป้องกันภัยทางอากาศของยูเครนในพื้นที่ดังกล่าว


    หลังเหตุการณ์นี้ นักวิเคราะห์ต่างพากันยกย่องระบบ S-400 แม้แต่สื่อตะวันตกยังต้องยอมรับถึงประสิทธิภาพของระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซีย
    สำนักข่าวบีบีซีรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวทางทหารในยูเครนว่า เครื่องบินขับไล่เอฟ-16 ที่ตกนั้นถูกยิงตกด้วยขีปนาวุธของรัสเซีย แหล่งข่าวบอกกับสำนักข่าวว่า “รัสเซียยิงขีปนาวุธใส่เครื่องบินทั้งหมด 3 ลูก โดยเป็นขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานนำวิถีจากระบบ S-400 ที่ติดตั้งภาคพื้นดิน หรือขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ R-37” นอกจากนี้ แหล่งข่าวรายเดิมยังปฏิเสธแนวคิดเรื่อง "การยิงพวกเดียวกัน" อย่างเด็ดขาด โดยอ้างว่าไม่มีระบบป้องกันภัยทางอากาศของยูเครนในพื้นที่ดังกล่าว หลังเหตุการณ์นี้ นักวิเคราะห์ต่างพากันยกย่องระบบ S-400 แม้แต่สื่อตะวันตกยังต้องยอมรับถึงประสิทธิภาพของระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซีย
    Like
    Love
    2
    0 Comments 0 Shares 178 Views 0 Reviews
  • มีรายงานว่า หลังการโจมตีอย่างหนักหลายระลอกจากสหรัฐ รัฐบาลเยเมนที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ กำลังระดมกำลังทหารประมาณ 80,000 นาย ที่ได้รับการสนับสนุนจาก UAE และซาอุดีอาระเบีย เพื่อพยายามยึดท่าเรือโฮเดดาห์ (Port of Hodeidah) จากกลุ่มฮูตี
    มีรายงานว่า หลังการโจมตีอย่างหนักหลายระลอกจากสหรัฐ รัฐบาลเยเมนที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ กำลังระดมกำลังทหารประมาณ 80,000 นาย ที่ได้รับการสนับสนุนจาก UAE และซาอุดีอาระเบีย เพื่อพยายามยึดท่าเรือโฮเดดาห์ (Port of Hodeidah) จากกลุ่มฮูตี
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 157 Views 0 Reviews
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ ได้กำหนดเส้นตาย 60 วันให้อิหร่านบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ โดยระบุว่าหากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงใดๆ ได้ภายในระยะเวลาดังกล่าว เขาจะเปิดใช้ปฏิบัติการทางทหาร

    — Politico รายงาน
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ ได้กำหนดเส้นตาย 60 วันให้อิหร่านบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ โดยระบุว่าหากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงใดๆ ได้ภายในระยะเวลาดังกล่าว เขาจะเปิดใช้ปฏิบัติการทางทหาร — Politico รายงาน
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 110 Views 0 Reviews
  • เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งให้นายทหารสัญญาบัตรและนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร เป็นนายทหารราชองครักษ์ในพระองค์ และนายตำรวจราชองครักษ์ในพระองค์

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000034934

    #News1live #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งให้นายทหารสัญญาบัตรและนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร เป็นนายทหารราชองครักษ์ในพระองค์ และนายตำรวจราชองครักษ์ในพระองค์ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000034934 #News1live #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    4
    0 Comments 0 Shares 564 Views 0 Reviews
  • ..โดรนอันตรายมากในอนาคต สามารถติดระเบิดนิวเคลียร์ก้อนขนาดเท่าถ่านนาฬิการะเบิด,การทำลายล้างขนาดกว้างได้สบาย...อนาคตAIควบคุมเน็ตดาวเทียมทั่วโลกแบบskynetของหนังคนเหล็กคงสบายมากๆ...นี้คือสถานะการทำงานของตย.เคสหนึ่งของทหารรัสเชีย...ทีมงานโดรน FPV ของกลุ่มกองกำลัง "ตะวันออก" ยังคงทำลายฐานที่มั่นและยิงตำแหน่งของกองกำลังติดอาวุธยูเครนในทิศทางโดเนตสค์ใต้..
    ..โดรนอันตรายมากในอนาคต สามารถติดระเบิดนิวเคลียร์ก้อนขนาดเท่าถ่านนาฬิการะเบิด,การทำลายล้างขนาดกว้างได้สบาย...อนาคตAIควบคุมเน็ตดาวเทียมทั่วโลกแบบskynetของหนังคนเหล็กคงสบายมากๆ...นี้คือสถานะการทำงานของตย.เคสหนึ่งของทหารรัสเชีย...ทีมงานโดรน FPV ของกลุ่มกองกำลัง "ตะวันออก" ยังคงทำลายฐานที่มั่นและยิงตำแหน่งของกองกำลังติดอาวุธยูเครนในทิศทางโดเนตสค์ใต้..
    0 Comments 0 Shares 113 Views 0 0 Reviews
More Results