• 'พล.อ.ณัฐพล' ตอบกระทู้ฝ่ายค้าน ยันข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชาเริ่มมีสัญญาณบวก
    https://www.thai-tai.tv/news/19987/
    .
    #ข้อพิพาทชายแดน #ไทยกัมพูชา #ผู้นำฝ่ายค้าน #ณัฐพงษ์เรืองปัญญาวุฒิ #พรรคประชาชน #พลอณัฐพลนาคพานิช #รมชกลาโหม #ศบทก #จีบีซี #การเมืองไทย #ความมั่นคง

    'พล.อ.ณัฐพล' ตอบกระทู้ฝ่ายค้าน ยันข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชาเริ่มมีสัญญาณบวก https://www.thai-tai.tv/news/19987/ . #ข้อพิพาทชายแดน #ไทยกัมพูชา #ผู้นำฝ่ายค้าน #ณัฐพงษ์เรืองปัญญาวุฒิ #พรรคประชาชน #พลอณัฐพลนาคพานิช #รมชกลาโหม #ศบทก #จีบีซี #การเมืองไทย #ความมั่นคง
    0 Comments 0 Shares 34 Views 0 Reviews
  • นักวิจัยหอจดหมายเหตุอังกฤษ เปิดเอกสาร 'ฮุนเซน' โจมตีไทยมาตลอดกว่า 40 ปี
    https://www.thai-tai.tv/news/19976/
    .
    #ไทยกัมพูชา #ข้อพิพาทชายแดน #ประวัติศาสตร์ไทย #ฮุนเซน #พนมดงรัก #สหประชาชาติ #ICJ #สงครามเย็น #ภูมิรัฐศาสตร์ #ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ #เนิน537
    นักวิจัยหอจดหมายเหตุอังกฤษ เปิดเอกสาร 'ฮุนเซน' โจมตีไทยมาตลอดกว่า 40 ปี https://www.thai-tai.tv/news/19976/ . #ไทยกัมพูชา #ข้อพิพาทชายแดน #ประวัติศาสตร์ไทย #ฮุนเซน #พนมดงรัก #สหประชาชาติ #ICJ #สงครามเย็น #ภูมิรัฐศาสตร์ #ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ #เนิน537
    0 Comments 0 Shares 30 Views 0 Reviews
  • ‘ฮุน มาเนต’ ลั่นรัฐบาลเตรียมพร้อมรับมือหากข้อพิพาทชายแดนยืดเยื้อ ย้ำกัมพูชาจะอยู่รอดได้ด้วยตัวเองไม่ต้องพึ่งคนอื่น
    https://www.thai-tai.tv/news/19909/
    ‘ฮุน มาเนต’ ลั่นรัฐบาลเตรียมพร้อมรับมือหากข้อพิพาทชายแดนยืดเยื้อ ย้ำกัมพูชาจะอยู่รอดได้ด้วยตัวเองไม่ต้องพึ่งคนอื่น https://www.thai-tai.tv/news/19909/
    0 Comments 0 Shares 47 Views 0 Reviews
  • ปฐมบท ไทยเสียดินแดน?

    7 โมงเช้า 15 มิ.ย. พล.อ.ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ประกาศส่งจดหมายอย่างเป็นทางการถึงศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) หรือศาลโลก เพื่อขอแก้ไขข้อพิพาทชายแดนในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาควาย และสามเหลี่ยมมรกต อาศัยวันที่ศาลโลกตัดสินให้กัมพูชาชนะคดีปราสาทพระวิหารเมื่อ 63 ปีก่อน อ้างว่าต้องการแก้ไขข้อพิพาทชายแดนซึ่งเสี่ยงที่จะปะทะด้วยอาวุธ กลไกทวิภาคีไม่สามารถแก้ไขได้ และอ้างว่าขอความยุติธรรม ความเป็นธรรม และความชัดเจนในการกำหนดเขตแดนและขอบเขตกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อที่คนรุ่นหลังจะไม่มีปัญหากันอีกต่อไป

    ขณะที่ผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) นอกจากจะอนุมัติวาระการประชุม 4 หัวข้อแล้ว นายลัม เจีย รัฐมนตรีประจำสำนักเลขาธิการกิจการชายแดน และประธานคณะกรรมาธิการชายแดนร่วมกัมพูชา ยังกล่าวว่า กัมพูชาจะนำข้อพิพาทชายแดนทั้ง 4 พื้นที่ขึ้นสู่ศาลโลก แม้ไทยจะไม่ยอมรับเขตอำนาจศาลโลกก็ตาม โดยจะไม่นำมาเป็นหัวข้อในการหารือภายใต้กรอบ JBC อีกต่อไป อีกทั้งนโยบายรัฐบาลกัมพูชายังยึดถือ MOU 2543 โดยใช้แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ.1904 และ 1907 และไม่ยอมรับแผนที่ฝ่ายไทยวาดขึ้นเพียงฝ่ายเดียว

    ส่วนกระทรวงการต่างประเทศของไทย อ้างว่ามิได้มีการหารือในประเด็นที่กัมพูชาจะนำพื้นที่ 4 จุด เข้าสู่การพิจารณาของศาลโลก โดยมิได้มีการหารือประเด็นแผนที่ 1:200,000 คณะกรรมการปักปันสยาม-อินโดจีน ตามที่ฝ่ายกัมพูชาอ้างแต่อย่างใด

    พรมแดนระหว่างประเทศไทยและกัมพูชามีระยะทาง 798 กิโลเมตร ปักปันเขตแดนแล้ว 603 กิโลเมตร ตั้งแต่ช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ถึงบ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด รวม 73 หลัก แต่ยังไม่ปักปันเขตแดน 195 กิโลเมตร ตั้งแต่ช่องสะงำ ถึงช่องบก อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี กำหนดให้เป็นไปตามสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรัก แต่ไทยและกัมพูชาถือแผนที่คนละฉบับ กัมพูชาใช้แผนที่ 1:200,000 ที่มีมาตราส่วนหยาบ คลาดเคลื่อนจากเส้นสันปันน้ำจริงหลายจุด คลาดเคลื่อนหลักเขตแดนมากถึง 200 เมตร ขณะที่ไทยถือแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ที่จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร มีความละเอียดของเส้นแบ่งเขตแดนที่ชัดเจน เห็นแนวสันเขา ร่องน้ำที่เกี่ยวข้องกับหลักฐานทางภูมิศาสตร์

    ขณะที่ฝ่ายกัมพูชาทำสงครามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร กลับไม่มีท่าทีใดๆ ออกมาชัดเจน ท่ามกลางสังคมเคลือบแคลงสงสัยถึงความสัมพันธ์ลึกซึ้งระหว่างตระกูลชินวัตรกับตระกูลฮุนของกัมพูชา และความไม่ไว้วางใจของประชาชนชาวไทย ที่ประเทศไทยกำลังจะเสียดินแดนอีกครั้งต่อจากเขาพระวิหาร

    #Newskit
    ปฐมบท ไทยเสียดินแดน? 7 โมงเช้า 15 มิ.ย. พล.อ.ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ประกาศส่งจดหมายอย่างเป็นทางการถึงศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) หรือศาลโลก เพื่อขอแก้ไขข้อพิพาทชายแดนในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาควาย และสามเหลี่ยมมรกต อาศัยวันที่ศาลโลกตัดสินให้กัมพูชาชนะคดีปราสาทพระวิหารเมื่อ 63 ปีก่อน อ้างว่าต้องการแก้ไขข้อพิพาทชายแดนซึ่งเสี่ยงที่จะปะทะด้วยอาวุธ กลไกทวิภาคีไม่สามารถแก้ไขได้ และอ้างว่าขอความยุติธรรม ความเป็นธรรม และความชัดเจนในการกำหนดเขตแดนและขอบเขตกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อที่คนรุ่นหลังจะไม่มีปัญหากันอีกต่อไป ขณะที่ผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) นอกจากจะอนุมัติวาระการประชุม 4 หัวข้อแล้ว นายลัม เจีย รัฐมนตรีประจำสำนักเลขาธิการกิจการชายแดน และประธานคณะกรรมาธิการชายแดนร่วมกัมพูชา ยังกล่าวว่า กัมพูชาจะนำข้อพิพาทชายแดนทั้ง 4 พื้นที่ขึ้นสู่ศาลโลก แม้ไทยจะไม่ยอมรับเขตอำนาจศาลโลกก็ตาม โดยจะไม่นำมาเป็นหัวข้อในการหารือภายใต้กรอบ JBC อีกต่อไป อีกทั้งนโยบายรัฐบาลกัมพูชายังยึดถือ MOU 2543 โดยใช้แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ.1904 และ 1907 และไม่ยอมรับแผนที่ฝ่ายไทยวาดขึ้นเพียงฝ่ายเดียว ส่วนกระทรวงการต่างประเทศของไทย อ้างว่ามิได้มีการหารือในประเด็นที่กัมพูชาจะนำพื้นที่ 4 จุด เข้าสู่การพิจารณาของศาลโลก โดยมิได้มีการหารือประเด็นแผนที่ 1:200,000 คณะกรรมการปักปันสยาม-อินโดจีน ตามที่ฝ่ายกัมพูชาอ้างแต่อย่างใด พรมแดนระหว่างประเทศไทยและกัมพูชามีระยะทาง 798 กิโลเมตร ปักปันเขตแดนแล้ว 603 กิโลเมตร ตั้งแต่ช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ถึงบ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด รวม 73 หลัก แต่ยังไม่ปักปันเขตแดน 195 กิโลเมตร ตั้งแต่ช่องสะงำ ถึงช่องบก อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี กำหนดให้เป็นไปตามสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรัก แต่ไทยและกัมพูชาถือแผนที่คนละฉบับ กัมพูชาใช้แผนที่ 1:200,000 ที่มีมาตราส่วนหยาบ คลาดเคลื่อนจากเส้นสันปันน้ำจริงหลายจุด คลาดเคลื่อนหลักเขตแดนมากถึง 200 เมตร ขณะที่ไทยถือแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ที่จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร มีความละเอียดของเส้นแบ่งเขตแดนที่ชัดเจน เห็นแนวสันเขา ร่องน้ำที่เกี่ยวข้องกับหลักฐานทางภูมิศาสตร์ ขณะที่ฝ่ายกัมพูชาทำสงครามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร กลับไม่มีท่าทีใดๆ ออกมาชัดเจน ท่ามกลางสังคมเคลือบแคลงสงสัยถึงความสัมพันธ์ลึกซึ้งระหว่างตระกูลชินวัตรกับตระกูลฮุนของกัมพูชา และความไม่ไว้วางใจของประชาชนชาวไทย ที่ประเทศไทยกำลังจะเสียดินแดนอีกครั้งต่อจากเขาพระวิหาร #Newskit
    0 Comments 0 Shares 361 Views 0 Reviews
  • นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เผยกรณีนายสนธิ ลิ้มทองกุล และมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน เรียกร้องให้เปลี่ยนหัวหน้าคณะเจรจาในการประชุมเจบีซี ผู้ที่อยู่กับปัญหาในพื้นที่รู้ดีว่าใครเหมาะสม และใครรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติได้ดีที่สุด ส่วนที่กัมพูชาตั้งคณะกรรมการนำเรื่องข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา ขึ้นสู่ศาลโลก ไม่เป็นอะไรต่างคนต่างทำหน้าที่ เราไม่ได้อยู่ในอำนาจศาลโลก เชื่อไม่มีปัญหาคาใจในการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา(เจบีซี) ได้พูดคุยกันว่า เราต้องการเคลียร์เฉพาะกรณีขัดแย้งข้อพิพาทครั้งนี้ ส่วนการเปิด-ปิดด่าน ดำเนินการตามมาตรการแต่ละพื้นที่ ยังไม่ยกระดับมาตรการ มีบทเรียนจากเขาพระวิหาร เตรียมทุกอย่างไว้แล้ว แต่ไม่สามารถพูดได้

    -เรื่องตลกของนายกอิ๊งค์
    -อายัดทรัพย์หมอแอร์ 400 ล้าน
    -ปล่อยแบงก์รีดค่าธรรมเนียม
    -ปูดแจกกล้วยล้มสอบฮั้ว สว.
    นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เผยกรณีนายสนธิ ลิ้มทองกุล และมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน เรียกร้องให้เปลี่ยนหัวหน้าคณะเจรจาในการประชุมเจบีซี ผู้ที่อยู่กับปัญหาในพื้นที่รู้ดีว่าใครเหมาะสม และใครรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติได้ดีที่สุด ส่วนที่กัมพูชาตั้งคณะกรรมการนำเรื่องข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา ขึ้นสู่ศาลโลก ไม่เป็นอะไรต่างคนต่างทำหน้าที่ เราไม่ได้อยู่ในอำนาจศาลโลก เชื่อไม่มีปัญหาคาใจในการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา(เจบีซี) ได้พูดคุยกันว่า เราต้องการเคลียร์เฉพาะกรณีขัดแย้งข้อพิพาทครั้งนี้ ส่วนการเปิด-ปิดด่าน ดำเนินการตามมาตรการแต่ละพื้นที่ ยังไม่ยกระดับมาตรการ มีบทเรียนจากเขาพระวิหาร เตรียมทุกอย่างไว้แล้ว แต่ไม่สามารถพูดได้ -เรื่องตลกของนายกอิ๊งค์ -อายัดทรัพย์หมอแอร์ 400 ล้าน -ปล่อยแบงก์รีดค่าธรรมเนียม -ปูดแจกกล้วยล้มสอบฮั้ว สว.
    Like
    Haha
    3
    0 Comments 0 Shares 505 Views 41 0 Reviews
  • เมินเปลี่ยนหัวหน้าเจบีซี รู้ดีใครรักษาประโยชน์ชาติ : [THE MESSAGE]

    นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เผยกรณีกัมพูชาตั้งคณะกรรมการนำเรื่องข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชาขึ้นสู่ศาลโลก ไม่เป็นอะไรต่างคนต่างทำหน้าที่ เราไม่ได้อยู่ในอำนาจศาลโลก เชื่อไม่มีปัญหาคาใจในการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา(เจบีซี) ได้พูดคุยกันแล้วว่าเฉพาะกรณีขัดแย้งข้อพิพาทครั้งนี้ เราต้องการเคลียร์ในเรื่องที่เกิดขึ้น ส่วนการเปิด-ปิดด่าน ดำเนินการตามมาตรการแต่ละพื้นที่ ยังไม่ยกระดับมาตรการ มีบทเรียนจากเขาพระวิหาร เตรียมทุกอย่างไว้แล้ว แต่ไม่สามารถพูดได้ ส่วนที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เรียกร้องให้เปลี่ยนหัวหน้าคณะเจรจาในการประชุมเจบีซี ผู้ที่อยู่กับปัญหาในพื้นที่รู้ดีว่าใครเหมาะสม และใครจะรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติได้ดีที่สุด
    เมินเปลี่ยนหัวหน้าเจบีซี รู้ดีใครรักษาประโยชน์ชาติ : [THE MESSAGE] นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เผยกรณีกัมพูชาตั้งคณะกรรมการนำเรื่องข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชาขึ้นสู่ศาลโลก ไม่เป็นอะไรต่างคนต่างทำหน้าที่ เราไม่ได้อยู่ในอำนาจศาลโลก เชื่อไม่มีปัญหาคาใจในการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา(เจบีซี) ได้พูดคุยกันแล้วว่าเฉพาะกรณีขัดแย้งข้อพิพาทครั้งนี้ เราต้องการเคลียร์ในเรื่องที่เกิดขึ้น ส่วนการเปิด-ปิดด่าน ดำเนินการตามมาตรการแต่ละพื้นที่ ยังไม่ยกระดับมาตรการ มีบทเรียนจากเขาพระวิหาร เตรียมทุกอย่างไว้แล้ว แต่ไม่สามารถพูดได้ ส่วนที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เรียกร้องให้เปลี่ยนหัวหน้าคณะเจรจาในการประชุมเจบีซี ผู้ที่อยู่กับปัญหาในพื้นที่รู้ดีว่าใครเหมาะสม และใครจะรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติได้ดีที่สุด
    Like
    Haha
    2
    0 Comments 0 Shares 441 Views 24 0 Reviews
  • "กัณวีร์" เชื่อมีประเด็นการเมืองภายในกัมพูชาจึงเร่งฟ้องไทยต่อศาลโลก ติงไทยยังตั้งการ์ดหลวม ตอบโต้เบา เอาความสัมพันธ์ส่วยตัวมาก่อนความสัมพันธ์ทางการทูต อ้างคุยกันประจำแต่สถานการณ์กลับคลุมเครือมากขึ้น ชี้เป็นไปได้ "ทักษิณ" กลัวเข้ากัมพูชาไม่ได้หากเกิดอะไรขึ้นวันที่ 13 มิ.ย.จึงต้องยอมอ่อนข้อให้
    .
    วันนี้(6 มิ.ย.) นายกัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม กล่าวถึงสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา ว่า ตอนนี้ต้องดูการตอบสนองของทางกัมพูชา เพราะตอนแรกเรารับทราบว่าเขาจะไม่เข้าร่วมการเจรจาในกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย – กัมพูชา (JBC) ในวันที่ 14 มิ.ย.นี้ แต่เขาก็เปลี่ยนใจเข้าร่วม แต่จะไม่พูดหรือหารือเรื่องข้อพิพาทตรงช่องบก เพราะสภาของเขาได้มีการตัดสินใจยื่นฟ้องศาลโลก จึงต้องรู้ว่าทางการไทยจะมีการเตรียมความพร้อมในการประชุม JBC จะไปพูดอะไรกับเขา และมีการเตรียมความพร้อมในเรื่อง 30 จุดที่เป็นกรณีข้อพิพาทชายแดนไทยมากน้อยแค่ไหน
    .
    ส่วนทางกัมพูชาจะยอมอ่อนข้อให้ไทยหรือไม่หลังการพูดคุย นายกัณวีร์ กล่าวว่า ถ้าดูการจัดการในฝ่ายบริหารและทางสภานิติบัญญัติค่อนข้างจะแรงพอสมควร ซึ่งครั้งนี้น่าแปลกใจ สำหรับตนที่ติดตามงานชายแดนมาโดยตลอด แสดงให้เห็นว่าครั้งนี้กัมพูชาให้ความสำคัญมากๆ เร่งรัดกระบวนการค่อนข้างจะรวดเร็ว แล้วไปถึงศาลโลกโดยทันทีทั้งที่ยังไม่ได้มีการพูดคุยกับไทย และใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือนที่ทำให้สถานการณ์ขึ้นจากระดับ 0 ไปถึง 80,90 ดังนั้นจึงมองว่าน่าจะมีประเด็นบางอย่างที่เกิดขึ้นภายในรัฐบาลกัมพูชาด้วย รวมไปถึงการเมืองภายใน หรืออาจจะใช้ประเด็นนี้เรียกร้องความนิยม และอย่าลืมว่านายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต คือ ผบ.ทบ.ในสมัยที่มีข้อพิพาทเขาพระวิหาร และเป็นคนนำยิงต่อสู้กับฝั่งไทย ตอนนี้เขาขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว อาจจะใช้ประเด็นนี้ดึงความสนใจการเมืองภายในกัมพูชา ดังนั้นประเทศไทยต้องวางจุดยืนให้ชัดเจนว่าเราจะยอมหรือไม่หรือไม่ ยอมได้แค่ไหน
    .
    คลิกรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ >> https://mgronline.com/politics/detail/9680000052994
    .
    #MGROnline #กัมพูชา #ทักษิณ
    "กัณวีร์" เชื่อมีประเด็นการเมืองภายในกัมพูชาจึงเร่งฟ้องไทยต่อศาลโลก ติงไทยยังตั้งการ์ดหลวม ตอบโต้เบา เอาความสัมพันธ์ส่วยตัวมาก่อนความสัมพันธ์ทางการทูต อ้างคุยกันประจำแต่สถานการณ์กลับคลุมเครือมากขึ้น ชี้เป็นไปได้ "ทักษิณ" กลัวเข้ากัมพูชาไม่ได้หากเกิดอะไรขึ้นวันที่ 13 มิ.ย.จึงต้องยอมอ่อนข้อให้ . วันนี้(6 มิ.ย.) นายกัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม กล่าวถึงสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา ว่า ตอนนี้ต้องดูการตอบสนองของทางกัมพูชา เพราะตอนแรกเรารับทราบว่าเขาจะไม่เข้าร่วมการเจรจาในกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย – กัมพูชา (JBC) ในวันที่ 14 มิ.ย.นี้ แต่เขาก็เปลี่ยนใจเข้าร่วม แต่จะไม่พูดหรือหารือเรื่องข้อพิพาทตรงช่องบก เพราะสภาของเขาได้มีการตัดสินใจยื่นฟ้องศาลโลก จึงต้องรู้ว่าทางการไทยจะมีการเตรียมความพร้อมในการประชุม JBC จะไปพูดอะไรกับเขา และมีการเตรียมความพร้อมในเรื่อง 30 จุดที่เป็นกรณีข้อพิพาทชายแดนไทยมากน้อยแค่ไหน . ส่วนทางกัมพูชาจะยอมอ่อนข้อให้ไทยหรือไม่หลังการพูดคุย นายกัณวีร์ กล่าวว่า ถ้าดูการจัดการในฝ่ายบริหารและทางสภานิติบัญญัติค่อนข้างจะแรงพอสมควร ซึ่งครั้งนี้น่าแปลกใจ สำหรับตนที่ติดตามงานชายแดนมาโดยตลอด แสดงให้เห็นว่าครั้งนี้กัมพูชาให้ความสำคัญมากๆ เร่งรัดกระบวนการค่อนข้างจะรวดเร็ว แล้วไปถึงศาลโลกโดยทันทีทั้งที่ยังไม่ได้มีการพูดคุยกับไทย และใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือนที่ทำให้สถานการณ์ขึ้นจากระดับ 0 ไปถึง 80,90 ดังนั้นจึงมองว่าน่าจะมีประเด็นบางอย่างที่เกิดขึ้นภายในรัฐบาลกัมพูชาด้วย รวมไปถึงการเมืองภายใน หรืออาจจะใช้ประเด็นนี้เรียกร้องความนิยม และอย่าลืมว่านายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต คือ ผบ.ทบ.ในสมัยที่มีข้อพิพาทเขาพระวิหาร และเป็นคนนำยิงต่อสู้กับฝั่งไทย ตอนนี้เขาขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว อาจจะใช้ประเด็นนี้ดึงความสนใจการเมืองภายในกัมพูชา ดังนั้นประเทศไทยต้องวางจุดยืนให้ชัดเจนว่าเราจะยอมหรือไม่หรือไม่ ยอมได้แค่ไหน . คลิกรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ >> https://mgronline.com/politics/detail/9680000052994 . #MGROnline #กัมพูชา #ทักษิณ
    0 Comments 0 Shares 209 Views 0 Reviews
  • ตามหลังความขัดแย้งระหว่างอาร์เซอร์ไบจานกับอาร์เมเนีย และเหตุปะทะช่วงสั้นๆแต่หนักหน่วงระหว่างอินเดียกับปากีสถาน อีกหนึ่งความขัดแย้งในเอเชียที่ถูกแช่แข็งมานาน ได้โหมกระพือความร้อนแรงขึ้นมาอีกครั้ง และมันเป็นเหตุปะทะที่น่าสนใจอย่างยิ่ง นั่นเพราะมันเป็นศึกระหว่าง กัมพูชา พันธมิตรของจีน และไทย คู่หูตามสนธิสัญญาของสหรัฐฯ ตามรายงานข่าวของยูเรเซียไทม์ส

    ยูเรเซียไทม์ส รายงานว่าการปะทะเมื่อเร็วๆนี้ระหว่างไทยกับกัมพูชา ถือเป็นการดวลปืนครั้งร้ายแรงที่สุดตามแนวชายแดนที่เป็นข้อพิพาทนับตั้งแต่ปี 2008 ซึ่งคราวนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิต 28 ราย เวลานี้กัมพูชาตัดสินใจจะยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(ICJ) เกี่ยวกับแนวชายแดนที่เป็นข้อพิพาทกับไทย อ้างอิงคำพูดของนายกรัฐมนตรีฮุน มาเน็ต

    รายงานข่าวระบุว่าข้อพิพาทชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา หลักๆมีแก่นกลางอยู่ที่ประสาทเขาพระวิหารและคำกล่าวอ้างทางทะเลในอ่าวไทย ซึ่งมีต้นตอจากสนธิสัญญาต่างๆในอดีตและความคลุมเครือในยุคล่าอาณานิคม ประสาทพระวิหารที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 11 ตั้งอยู่บนเขาแดงเกร็ก ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยกให้เป็นของกัมพูชาในปี 1962 อย่างไรก็ตามข้อพิพาทเกี่ยวกับดินแดนที่อยู่ใกล้เคียงยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง และโหมกระพือหนักหน่วงขึ้นโดยกระแสชาตินิยมในทั้ง 2 ประเทศ หนังสือพิมพ์ยูเรเซียไทม์สรายงาน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/around/detail/9680000052095

    #MGROnline #ไทย #กัมพูชา
    ตามหลังความขัดแย้งระหว่างอาร์เซอร์ไบจานกับอาร์เมเนีย และเหตุปะทะช่วงสั้นๆแต่หนักหน่วงระหว่างอินเดียกับปากีสถาน อีกหนึ่งความขัดแย้งในเอเชียที่ถูกแช่แข็งมานาน ได้โหมกระพือความร้อนแรงขึ้นมาอีกครั้ง และมันเป็นเหตุปะทะที่น่าสนใจอย่างยิ่ง นั่นเพราะมันเป็นศึกระหว่าง กัมพูชา พันธมิตรของจีน และไทย คู่หูตามสนธิสัญญาของสหรัฐฯ ตามรายงานข่าวของยูเรเซียไทม์ส • ยูเรเซียไทม์ส รายงานว่าการปะทะเมื่อเร็วๆนี้ระหว่างไทยกับกัมพูชา ถือเป็นการดวลปืนครั้งร้ายแรงที่สุดตามแนวชายแดนที่เป็นข้อพิพาทนับตั้งแต่ปี 2008 ซึ่งคราวนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิต 28 ราย เวลานี้กัมพูชาตัดสินใจจะยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(ICJ) เกี่ยวกับแนวชายแดนที่เป็นข้อพิพาทกับไทย อ้างอิงคำพูดของนายกรัฐมนตรีฮุน มาเน็ต • รายงานข่าวระบุว่าข้อพิพาทชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา หลักๆมีแก่นกลางอยู่ที่ประสาทเขาพระวิหารและคำกล่าวอ้างทางทะเลในอ่าวไทย ซึ่งมีต้นตอจากสนธิสัญญาต่างๆในอดีตและความคลุมเครือในยุคล่าอาณานิคม ประสาทพระวิหารที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 11 ตั้งอยู่บนเขาแดงเกร็ก ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยกให้เป็นของกัมพูชาในปี 1962 อย่างไรก็ตามข้อพิพาทเกี่ยวกับดินแดนที่อยู่ใกล้เคียงยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง และโหมกระพือหนักหน่วงขึ้นโดยกระแสชาตินิยมในทั้ง 2 ประเทศ หนังสือพิมพ์ยูเรเซียไทม์สรายงาน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/around/detail/9680000052095 • #MGROnline #ไทย #กัมพูชา
    0 Comments 0 Shares 194 Views 0 Reviews
  • 'กัมพูชา' จะไปศาลโลก อ้างสารพัดเหตุผล 'ภูมิธรรม' ยันไม่ปิดด่าน
    .
    สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาบริเวณช่องบก จังหวัดอุบลราชธานี ในเวลานี้ดูเหมือนว่าฝั่งกัมพูชาจะเล่นไม่เลิกและเริ่มจะไปกันใหญ่แล้ว ภายหลังสมเด็จ ฮุน เซน ประธานวุฒิสภาและอดีตนายกฯกัมพูชา โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กแจ้งผลประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติและวุฒิสภาช่วงเช้าวันเดียวกันนี้ว่า มีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ด้วยคะแนนเสียง 182 เสียง ต่อแผนการดำเนินการของ ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในการยื่นข้อพิพาทชายแดนระหว่างกัมพูชากับไทยต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก (ICJ)
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000051854

    #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    'กัมพูชา' จะไปศาลโลก อ้างสารพัดเหตุผล 'ภูมิธรรม' ยันไม่ปิดด่าน . สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาบริเวณช่องบก จังหวัดอุบลราชธานี ในเวลานี้ดูเหมือนว่าฝั่งกัมพูชาจะเล่นไม่เลิกและเริ่มจะไปกันใหญ่แล้ว ภายหลังสมเด็จ ฮุน เซน ประธานวุฒิสภาและอดีตนายกฯกัมพูชา โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กแจ้งผลประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติและวุฒิสภาช่วงเช้าวันเดียวกันนี้ว่า มีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ด้วยคะแนนเสียง 182 เสียง ต่อแผนการดำเนินการของ ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในการยื่นข้อพิพาทชายแดนระหว่างกัมพูชากับไทยต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก (ICJ) . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000051854 #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    Like
    Haha
    Love
    14
    2 Comments 0 Shares 1154 Views 0 Reviews
  • ชนวนปะทุเดือดชายแดนไทย-สปป.ลาว ความสุ่มเสี่ยงความมั่นคงลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนที่จะลุกลามรอบไทย

    เสียงปืนลั่นแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย และนับเป็นปัญหาเฉพาะในแผ่นดินลาวที่ไม่ได้มีชายแดนติดกับเมียนมาร์ การปะทะเริ่มเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ในฝั่ง สปป.ลาว บริเวณค่ายภูผาหม่น เมืองปากทา แขวงบ่อแก้ว ตรงข้ามอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันกรมทหารพรานที่ 31 และกองกำลังผาเมือง ตรึงกำลังเฝ้าระวัง

    ทั้งแถบชายแดนทยอดปิดแหล่งท่องเที่ยวจุดชมวิวภูชี้ฟ้า ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 68 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ เพราะฝั่งตรงข้ามมีการใช้อาวุธปืนขนาด 7.62 ใช้สำหรับปืนอาก้า และอาวุธหนักกระทั่งมีเจ้าหน้าทีทหารของสปป.ลาวเสียชีวิต

    ความสุ่มเสี่ยงของสถานการณ์นี้คือจุดเริ่มที่ต้องสืบสาวหาต้นตอต้นเหตุ เพราะพื้นที่สถานการณ์ติดกับชายแดนไทยอย่างมาก

    The Analyzt ขอนำเสนอข้อมูลประกอบความเป็นไปได้ในการวิเคราะห์สถานการณ์นี้ที่จะส่งผลต่อความมั่นคงชายแดนฝั่งตะวันออกของไทยที่ติดกับจังหวัดเชียงราย ที่จะไม่เป็นผลดีต่อภาคเศรษฐกิจ ความมั่นคงในอนาคต

    1. การวิเคราะห์สถานการณ์
    บริบททางประวัติศาสตร์และสาเหตุที่อาจเป็นไปได้:

    สงครามกลางเมืองลาว (พ.ศ. 2502-2518): ในอดีต ลาวตอนเหนือเป็นพื้นที่ที่มีการสู้รบอย่างหนักระหว่างฝ่ายปะเทดลาว (คอมมิวนิสต์) และรัฐบาลราชอาณาจักรลาว โดยมีมหาอำนาจในสงครามเย็น (สหรัฐฯ และสหภาพโซเวีย ศูนย์กลางของการสู้รบอยู่ในพื้นที่เช่น แขวงเชียงขวาง ซึ่งกองพันปะเทดลาวเคยตั้งมั่น. สาเหตุหลักมาจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ระหว่างคอมมิวนิสต์และฝ่ายโลกเสรี รวมถึงการแทรกแซงจากต่างชาติ เช่น เวียดนามเหนือและสหรัฐฯ

    ความขัดแย้งชาติพันธุ์: ลาวตอนเหนือเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย เช่น ชาวม้ง ลาวสูง และอื่นๆ ซึ่งบางครั้งเกิดความขัดแย้งกับรัฐบาลกลางเนื่องจากความต้องการปกครองตนเองหรือความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม.
    ยาเสพติดและการค้ามนุษย์: พื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน โดยเฉพาะบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ (รอยต่อระหว่างลาว เมียนมา และไทย) เป็นแหล่งผลิตและลักลอบขนส่งยาเสพติด เช่น ไอซ์และยาบ้า ซึ่งอาจนำไปสู่การปะทะระหว่างกลุ่มค้ายาและกองกำลังรัฐบาล

    ข้อพิพาทชายแดน: ความไม่ชัดเจนของเขตแดนในลุ่มแม่น้ำโขงระหว่างลาวและไทยอาจก่อให้เกิดความตึงเครียด โดยเฉพาะในพื้นที่เกาะกลางน้ำ ซึ่งเคยเกิดข้อพิพาทในอดีต.

    อิทธิพลจากเพื่อนบ้าน: สถานการณ์ในเมียนมา เช่น การสู้รบระหว่างกองทัพเมียนมากับกลุ่มชาติพันธุ์ (เช่น KIA, MNDAA) อาจส่งผลกระทบข้ามพรมแดนมายังลาวตอนเหนือ

    กลุ่มกองกำลังที่อาจเกี่ยวข้อง:

    กองทัพประชาชนลาว (LPAF): เป็นกองทัพอย่างเป็นทางการของลาว มีบทบาทในการรักษาความมั่นคงภายในและปกป้องพรมแดน อาจเกี่ยวข้องหากมีการปะทะกับกลุ่มค้ายาหรือกลุ่มกบฏ.

    กลุ่มชาติพันธุ์: เช่น ชาวม้งหรือกลุ่มลาวสูง ซึ่งในอดีตเคยต่อสู้เพื่อปกครองตนเอง อาจยังคงมีความเคลื่อนไหวในระดับเล็กน้อย.

    กลุ่มค้ายาเสพติด: กลุ่มอาชญากรข้ามชาติที่ใช้ลาวตอนเหนือเป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติด มักปะทะกับกองกำลังรัฐบาลหรือทหารไทยบริเวณชายแดน.

    กลุ่มกบฏหรือกลุ่มต่อต้านรัฐบาล: แม้ว่าปะเทดลาวจะสิ้นสุดบทบาทในฐานะกองกำลังติดอาวุธหลังสงครามกลางเมือง แต่กลุ่มเล็กๆ ที่ไม่พอใจรัฐบาลอาจยังคงเคลื่อนไหวในพื้นที่ห่างไกล.

    แนวโน้มในอนาคต:
    การปะทะจากยาเสพติด: พื้นที่สามเหลี่ยมทองคำและลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนจะยังคงเป็นจุดร้อนของการค้ายา ซึ่งอาจนำไปสู่การปะทะเป็นระยะๆ ระหว่างกองกำลังรัฐบาลและกลุ่มค้ายา.

    ผลกระทบจากเมียนมา: หากสถานการณ์ในเมียนมา (เช่น ปฏิบัติการ 1027 ของกลุ่มพันธมิตร 3 พี่น้อง) ทวีความรุนแรง อาจส่งผลให้กลุ่มชาติพันธุ์หรือผู้ลี้ภัยเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนเข้าสู่ลาว สร้างความตึงเครียดในพื้นที่.

    ความร่วมมือในภูมิภาค: ลาวอาจเพิ่มความร่วมมือกับจีนและไทยในการควบคุมยาเสพติดและความมั่นคงชายแดน ซึ่งอาจลดการปะทะในระยะยาว.

    ข้อพิพาทแม่น้ำโขง: ความขัดแย้งเรื่องเขตแดนในแม่น้ำโขงอาจทวีความรุนแรงหากมีการอ้างสิทธิ์ในเกาะกลางน้ำหรือทรัพยากรในแม่น้ำ.

    ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
    ความเชื่อมโยงด้านพลังงานระหว่างลาวและไทยเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ แต่ปัญหาหนี้สินของลาวและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากเขื่อนอาจเป็นความเสี่ยงในระยะยาว

    รายงานระบุว่าลาวมีหนี้สูงและต้องชำระหนี้ต่อจีน ซึ่งอาจกระทบต่อความสามารถในการผลิตไฟฟ้า Opportunities for Development Cooperation in Lao Strategic Sectors | CSIS. นอกจากนี้ การอพยพแรงงานจากลาวอาจช่วยลดต้นทุนแรงงานในไทย แต่ก็อาจสร้างความตึงเครียดทางสังคม

    ความเชื่อมโยงทางพลังงาน: ลาวถูกเรียกว่า "แบตเตอรี่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" เนื่องจากส่งออกไฟฟ้าจากเขื่อนไฮโดรพาวเวอร์ไปยังไทยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย Energy in Laos - Wikipedia.

    การค้าข้ามพรมแดน: ลาวและไทยมีความเชื่อมโยงผ่านการค้าข้ามพรมแดน โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค หากลาวประสบปัญหาเศรษฐกิจ เช่น การลดลงของการลงทุนหรือการชะลอตัวของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาจส่งผลให้การค้าข้ามพรมแดนลดลง ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจของชุมชนในพื้นที่ชายแดนของไทย เช่น จังหวัดเชียงรายและหนองคาย Laos - The World Factbook

    การปรับตัวของระบบการค้าในภูมิภาคอาจเกิดการปรับเปลี่ยนเส้นทางการค้าและการลงทุนไทยอาจลดการพึ่งพาเส้นทางผ่านลาวไปยังจีน โดยหันไปใช้เส้นทางอื่นมากขึ้นอาจมีการพัฒนาเส้นทางการค้าทางทะเลเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยง

    แรงงานข้ามชาติ: ปัญหาเศรษฐกิจในลาวอาจทำให้มีแรงงานชาวลาวเข้ามาทำงานในไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งอาจช่วยลดต้นทุนแรงงานให้กับนายจ้างไทย แต่ในทางกลับกันอาจสร้างความตึงเครียดทางสังคมและแรงกดดันต่อระบบสวัสดิการของไทย BTI 2024 Laos Country Report: BTI 2024.
    ท่าทีของไทยและการประเมินสถานการณ์

    ท่าทีของไทย
    ไทยมีแนวโน้มร่วมมือกับลาวในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ:

    การปราบปรามยาเสพติด: ไทยและลาวมีความร่วมมือกันในการปราบปรามยาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำ เช่น การจัดตั้งจุดตรวจชายแดนร่วมและการลาดตระเวนร่วม Fighting drug trafficking in the Golden Triangle: a UN Resident Coordinator blog | UN News. นอกจากนี้ ไทยยังทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น UNODC เพื่อลดการลักลอบขนยา Thai authorities and UNODC meet about precursor chemical trafficking in the Golden Triangle - UNODC.

    ความร่วมมือด้านพลังงาน: ไทยยังคงเป็นตลาดหลักในการซื้อไฟฟ้าจากลาว และอาจผลักดันการพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนร่วมกันเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม Alternative Development Pathways for Thailand’s Sustainable Electricity Trade with Laos • Stimson Center

    การเตรียมพร้อมรับมือ: ไทยควรเพิ่มความเข้มงวดในการป้องกันชายแดน เช่น การติดตั้งกล้องวงจรปิดและเพิ่มกำลังทหารในพื้นที่ชายแดน เพื่อป้องกันผลกระทบจากความไม่สงบในลาว Guide to Investigating Organized Crime in the Golden Triangle — Introduction.

    มิติความมั่นคง: ดูเหมือนว่าปัญหายาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำจะยังคงเป็นความท้าทายหลัก โดยเฉพาะยาเสพติดสังเคราะห์ที่มีการผลิตและลักลอบขนส่งเพิ่มขึ้น รายงานระบุว่ากลุ่มเครือข่ายค้ายาเสพติดสามารถปรับตัวได้รวดเร็ว เช่น การเปลี่ยนเส้นทางผ่านลาวและกลับเข้ามาในไทย Asia's infamous Golden Triangle and the soldiers tracking down the drug smugglers who rule its narcotics trade - ABC News.

    นอกจากนี้ หากสถานการณ์ในเมียนมาทวีความรุนแรง อาจส่งผลให้มีกลุ่มชาติพันธุ์หรือผู้ลี้ภัยเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนมายังไทยเพิ่มขึ้น.

    การค้ายาเสพติด: ดูเหมือนว่าการค้ายาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำจะยังคงเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อ โดยเฉพาะยาเสพติดสังเคราะห์ที่มีตลาดเพิ่มขึ้นในภูมิภาค Q&A: The opium surge in Southeast Asia’s ‘Golden Triangle’ | Drugs News | Al Jazeera.

    ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ: ไทยและลาวจะยังคงมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านพลังงาน แต่ไทยควรพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมจากโครงการเขื่อนในลาวด้วย Locked In – Why Thailand Buys Electricity from Laos | Earth Journalism Network.

    ความมั่นคงชายแดน: ไทยควรเสริมสร้างความร่วมมือกับลาวและประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เช่น เมียนมาและจีน เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางความมั่นคงข้ามพรมแดน Lao delegation explores renewable energy in Thailand | Partnerships for Infrastructure.

    ข้อสรุป
    สถานการณ์ในลาวตอนเหนือกำลังส่งผลกระทบและจะยังคงส่งผลต่อไทยในหลายมิติ หากประเมินแล้วสถานการณ์ในลาวตอนเหนือมีผลกระทบต่อไทยทั้งด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะจากการค้ายาเสพติดและความเชื่อมโยงด้านพลังงาน ไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการป้องกันภัยคุกคามข้ามพรมแดนและพิจารณาผลกระทบจากโครงการพัฒนาในลาวอย่างรอบคอบ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ


    การอ้างอิง:
    Laotian Civil War - Wikipedia
    Insurgency in Laos - Wikipedia
    Unprecedented Protests Are Putting Laos in Uncharted Waters | Council on Foreign Relations
    Assessment for Hmong in Laos | Refworld
    Laos | History, Flag, Map, Capital, Population, & Facts | Britannica
    From jungles to suburbs, warlord led Hmong struggle | Reuters
    Apocalypse Laos: The devastating legacy of the ‘Secret War’ | CEPR
    Laos country profile - BBC News
    Violence Flares in Laos | Council on Foreign Relations
    Laos: Latest News and Updates | South China Morning Post
    Collateral Damage: The Legacy of the Secret War in Laos | The Economic Journal | Oxford Academic
    Laos | AP News






    ชนวนปะทุเดือดชายแดนไทย-สปป.ลาว ความสุ่มเสี่ยงความมั่นคงลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนที่จะลุกลามรอบไทย เสียงปืนลั่นแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย และนับเป็นปัญหาเฉพาะในแผ่นดินลาวที่ไม่ได้มีชายแดนติดกับเมียนมาร์ การปะทะเริ่มเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ในฝั่ง สปป.ลาว บริเวณค่ายภูผาหม่น เมืองปากทา แขวงบ่อแก้ว ตรงข้ามอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันกรมทหารพรานที่ 31 และกองกำลังผาเมือง ตรึงกำลังเฝ้าระวัง ทั้งแถบชายแดนทยอดปิดแหล่งท่องเที่ยวจุดชมวิวภูชี้ฟ้า ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 68 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ เพราะฝั่งตรงข้ามมีการใช้อาวุธปืนขนาด 7.62 ใช้สำหรับปืนอาก้า และอาวุธหนักกระทั่งมีเจ้าหน้าทีทหารของสปป.ลาวเสียชีวิต ความสุ่มเสี่ยงของสถานการณ์นี้คือจุดเริ่มที่ต้องสืบสาวหาต้นตอต้นเหตุ เพราะพื้นที่สถานการณ์ติดกับชายแดนไทยอย่างมาก The Analyzt ขอนำเสนอข้อมูลประกอบความเป็นไปได้ในการวิเคราะห์สถานการณ์นี้ที่จะส่งผลต่อความมั่นคงชายแดนฝั่งตะวันออกของไทยที่ติดกับจังหวัดเชียงราย ที่จะไม่เป็นผลดีต่อภาคเศรษฐกิจ ความมั่นคงในอนาคต 1. การวิเคราะห์สถานการณ์ บริบททางประวัติศาสตร์และสาเหตุที่อาจเป็นไปได้: สงครามกลางเมืองลาว (พ.ศ. 2502-2518): ในอดีต ลาวตอนเหนือเป็นพื้นที่ที่มีการสู้รบอย่างหนักระหว่างฝ่ายปะเทดลาว (คอมมิวนิสต์) และรัฐบาลราชอาณาจักรลาว โดยมีมหาอำนาจในสงครามเย็น (สหรัฐฯ และสหภาพโซเวีย ศูนย์กลางของการสู้รบอยู่ในพื้นที่เช่น แขวงเชียงขวาง ซึ่งกองพันปะเทดลาวเคยตั้งมั่น. สาเหตุหลักมาจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ระหว่างคอมมิวนิสต์และฝ่ายโลกเสรี รวมถึงการแทรกแซงจากต่างชาติ เช่น เวียดนามเหนือและสหรัฐฯ ความขัดแย้งชาติพันธุ์: ลาวตอนเหนือเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย เช่น ชาวม้ง ลาวสูง และอื่นๆ ซึ่งบางครั้งเกิดความขัดแย้งกับรัฐบาลกลางเนื่องจากความต้องการปกครองตนเองหรือความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม. ยาเสพติดและการค้ามนุษย์: พื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน โดยเฉพาะบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ (รอยต่อระหว่างลาว เมียนมา และไทย) เป็นแหล่งผลิตและลักลอบขนส่งยาเสพติด เช่น ไอซ์และยาบ้า ซึ่งอาจนำไปสู่การปะทะระหว่างกลุ่มค้ายาและกองกำลังรัฐบาล ข้อพิพาทชายแดน: ความไม่ชัดเจนของเขตแดนในลุ่มแม่น้ำโขงระหว่างลาวและไทยอาจก่อให้เกิดความตึงเครียด โดยเฉพาะในพื้นที่เกาะกลางน้ำ ซึ่งเคยเกิดข้อพิพาทในอดีต. อิทธิพลจากเพื่อนบ้าน: สถานการณ์ในเมียนมา เช่น การสู้รบระหว่างกองทัพเมียนมากับกลุ่มชาติพันธุ์ (เช่น KIA, MNDAA) อาจส่งผลกระทบข้ามพรมแดนมายังลาวตอนเหนือ กลุ่มกองกำลังที่อาจเกี่ยวข้อง: กองทัพประชาชนลาว (LPAF): เป็นกองทัพอย่างเป็นทางการของลาว มีบทบาทในการรักษาความมั่นคงภายในและปกป้องพรมแดน อาจเกี่ยวข้องหากมีการปะทะกับกลุ่มค้ายาหรือกลุ่มกบฏ. กลุ่มชาติพันธุ์: เช่น ชาวม้งหรือกลุ่มลาวสูง ซึ่งในอดีตเคยต่อสู้เพื่อปกครองตนเอง อาจยังคงมีความเคลื่อนไหวในระดับเล็กน้อย. กลุ่มค้ายาเสพติด: กลุ่มอาชญากรข้ามชาติที่ใช้ลาวตอนเหนือเป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติด มักปะทะกับกองกำลังรัฐบาลหรือทหารไทยบริเวณชายแดน. กลุ่มกบฏหรือกลุ่มต่อต้านรัฐบาล: แม้ว่าปะเทดลาวจะสิ้นสุดบทบาทในฐานะกองกำลังติดอาวุธหลังสงครามกลางเมือง แต่กลุ่มเล็กๆ ที่ไม่พอใจรัฐบาลอาจยังคงเคลื่อนไหวในพื้นที่ห่างไกล. แนวโน้มในอนาคต: การปะทะจากยาเสพติด: พื้นที่สามเหลี่ยมทองคำและลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนจะยังคงเป็นจุดร้อนของการค้ายา ซึ่งอาจนำไปสู่การปะทะเป็นระยะๆ ระหว่างกองกำลังรัฐบาลและกลุ่มค้ายา. ผลกระทบจากเมียนมา: หากสถานการณ์ในเมียนมา (เช่น ปฏิบัติการ 1027 ของกลุ่มพันธมิตร 3 พี่น้อง) ทวีความรุนแรง อาจส่งผลให้กลุ่มชาติพันธุ์หรือผู้ลี้ภัยเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนเข้าสู่ลาว สร้างความตึงเครียดในพื้นที่. ความร่วมมือในภูมิภาค: ลาวอาจเพิ่มความร่วมมือกับจีนและไทยในการควบคุมยาเสพติดและความมั่นคงชายแดน ซึ่งอาจลดการปะทะในระยะยาว. ข้อพิพาทแม่น้ำโขง: ความขัดแย้งเรื่องเขตแดนในแม่น้ำโขงอาจทวีความรุนแรงหากมีการอ้างสิทธิ์ในเกาะกลางน้ำหรือทรัพยากรในแม่น้ำ. ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ความเชื่อมโยงด้านพลังงานระหว่างลาวและไทยเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ แต่ปัญหาหนี้สินของลาวและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากเขื่อนอาจเป็นความเสี่ยงในระยะยาว รายงานระบุว่าลาวมีหนี้สูงและต้องชำระหนี้ต่อจีน ซึ่งอาจกระทบต่อความสามารถในการผลิตไฟฟ้า Opportunities for Development Cooperation in Lao Strategic Sectors | CSIS. นอกจากนี้ การอพยพแรงงานจากลาวอาจช่วยลดต้นทุนแรงงานในไทย แต่ก็อาจสร้างความตึงเครียดทางสังคม ความเชื่อมโยงทางพลังงาน: ลาวถูกเรียกว่า "แบตเตอรี่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" เนื่องจากส่งออกไฟฟ้าจากเขื่อนไฮโดรพาวเวอร์ไปยังไทยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย Energy in Laos - Wikipedia. การค้าข้ามพรมแดน: ลาวและไทยมีความเชื่อมโยงผ่านการค้าข้ามพรมแดน โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค หากลาวประสบปัญหาเศรษฐกิจ เช่น การลดลงของการลงทุนหรือการชะลอตัวของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาจส่งผลให้การค้าข้ามพรมแดนลดลง ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจของชุมชนในพื้นที่ชายแดนของไทย เช่น จังหวัดเชียงรายและหนองคาย Laos - The World Factbook การปรับตัวของระบบการค้าในภูมิภาคอาจเกิดการปรับเปลี่ยนเส้นทางการค้าและการลงทุนไทยอาจลดการพึ่งพาเส้นทางผ่านลาวไปยังจีน โดยหันไปใช้เส้นทางอื่นมากขึ้นอาจมีการพัฒนาเส้นทางการค้าทางทะเลเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยง แรงงานข้ามชาติ: ปัญหาเศรษฐกิจในลาวอาจทำให้มีแรงงานชาวลาวเข้ามาทำงานในไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งอาจช่วยลดต้นทุนแรงงานให้กับนายจ้างไทย แต่ในทางกลับกันอาจสร้างความตึงเครียดทางสังคมและแรงกดดันต่อระบบสวัสดิการของไทย BTI 2024 Laos Country Report: BTI 2024. ท่าทีของไทยและการประเมินสถานการณ์ ท่าทีของไทย ไทยมีแนวโน้มร่วมมือกับลาวในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ: การปราบปรามยาเสพติด: ไทยและลาวมีความร่วมมือกันในการปราบปรามยาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำ เช่น การจัดตั้งจุดตรวจชายแดนร่วมและการลาดตระเวนร่วม Fighting drug trafficking in the Golden Triangle: a UN Resident Coordinator blog | UN News. นอกจากนี้ ไทยยังทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น UNODC เพื่อลดการลักลอบขนยา Thai authorities and UNODC meet about precursor chemical trafficking in the Golden Triangle - UNODC. ความร่วมมือด้านพลังงาน: ไทยยังคงเป็นตลาดหลักในการซื้อไฟฟ้าจากลาว และอาจผลักดันการพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนร่วมกันเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม Alternative Development Pathways for Thailand’s Sustainable Electricity Trade with Laos • Stimson Center การเตรียมพร้อมรับมือ: ไทยควรเพิ่มความเข้มงวดในการป้องกันชายแดน เช่น การติดตั้งกล้องวงจรปิดและเพิ่มกำลังทหารในพื้นที่ชายแดน เพื่อป้องกันผลกระทบจากความไม่สงบในลาว Guide to Investigating Organized Crime in the Golden Triangle — Introduction. มิติความมั่นคง: ดูเหมือนว่าปัญหายาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำจะยังคงเป็นความท้าทายหลัก โดยเฉพาะยาเสพติดสังเคราะห์ที่มีการผลิตและลักลอบขนส่งเพิ่มขึ้น รายงานระบุว่ากลุ่มเครือข่ายค้ายาเสพติดสามารถปรับตัวได้รวดเร็ว เช่น การเปลี่ยนเส้นทางผ่านลาวและกลับเข้ามาในไทย Asia's infamous Golden Triangle and the soldiers tracking down the drug smugglers who rule its narcotics trade - ABC News. นอกจากนี้ หากสถานการณ์ในเมียนมาทวีความรุนแรง อาจส่งผลให้มีกลุ่มชาติพันธุ์หรือผู้ลี้ภัยเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนมายังไทยเพิ่มขึ้น. การค้ายาเสพติด: ดูเหมือนว่าการค้ายาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำจะยังคงเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อ โดยเฉพาะยาเสพติดสังเคราะห์ที่มีตลาดเพิ่มขึ้นในภูมิภาค Q&A: The opium surge in Southeast Asia’s ‘Golden Triangle’ | Drugs News | Al Jazeera. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ: ไทยและลาวจะยังคงมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านพลังงาน แต่ไทยควรพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมจากโครงการเขื่อนในลาวด้วย Locked In – Why Thailand Buys Electricity from Laos | Earth Journalism Network. ความมั่นคงชายแดน: ไทยควรเสริมสร้างความร่วมมือกับลาวและประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เช่น เมียนมาและจีน เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางความมั่นคงข้ามพรมแดน Lao delegation explores renewable energy in Thailand | Partnerships for Infrastructure. ข้อสรุป สถานการณ์ในลาวตอนเหนือกำลังส่งผลกระทบและจะยังคงส่งผลต่อไทยในหลายมิติ หากประเมินแล้วสถานการณ์ในลาวตอนเหนือมีผลกระทบต่อไทยทั้งด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะจากการค้ายาเสพติดและความเชื่อมโยงด้านพลังงาน ไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการป้องกันภัยคุกคามข้ามพรมแดนและพิจารณาผลกระทบจากโครงการพัฒนาในลาวอย่างรอบคอบ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ การอ้างอิง: Laotian Civil War - Wikipedia Insurgency in Laos - Wikipedia Unprecedented Protests Are Putting Laos in Uncharted Waters | Council on Foreign Relations Assessment for Hmong in Laos | Refworld Laos | History, Flag, Map, Capital, Population, & Facts | Britannica From jungles to suburbs, warlord led Hmong struggle | Reuters Apocalypse Laos: The devastating legacy of the ‘Secret War’ | CEPR Laos country profile - BBC News Violence Flares in Laos | Council on Foreign Relations Laos: Latest News and Updates | South China Morning Post Collateral Damage: The Legacy of the Secret War in Laos | The Economic Journal | Oxford Academic Laos | AP News
    0 Comments 0 Shares 1081 Views 0 Reviews
  • เขมรไม่ยอมหยุด! ยั่วยุเยาะเย้ย “ผู้การเนี๊ยะ” จากร้องเพลงปลุกใจ ในปราสาทตาเมือนธม สู่ยกพล 3 กองร้อย ประชิดพรมแดน

    สถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา เริ่มตึงเครียดขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากประเทศไทย เริ่มปราบปราม "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" อย่างจริงจัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ ที่มีเครือข่ายอยู่ในกัมพูชา

    แม้ว่าทางการกัมพูชา จะออกมาสนับสนุนไทยอย่างเป็นทางการ แต่กลับมีเหตุการณ์ไม่สงบ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามแนวชายแดน โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดสุรินทร์ และอุบลราชธานี

    และล่าสุด...

    เมื่อวันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2568 กองกำลังติดอาวุธทหารกัมพูชา จำนวน 3 กองร้อย รวม 528 นาย ได้เคลื่อนกำลังเข้าใกล้ชายแดน ด้านอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ อ้างว่า “พากำลังทหารมากราบไหว้ สักการะปราสาทตาเมือนธม” แต่กลับไม่มีการเตรียมดอกไม้ ธูปเทียน หรือสิ่งของบูชาใด ๆ

    นี่คือการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ หรือเป็นมากกว่านั้น?

    พล.ต.เนี๊ยะ วงษ์ (Neak Vong) หรือผู้การเยี๊ยะ ผู้บังคับการกองพลน้อยทหารราบที่ 42 ของกัมพูชา เป็นตัวละครสำคัญในเหตุการณ์ครั้งนี้

    ย้อนรอยเหตุการณ์ที่ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด

    5 ตุลาคม 2567 ผู้การเนี๊ยะนำพระสงฆ์ และเด็กนักเรียนกัมพูชา เข้ามาในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม พร้อมร้องเพลงชาติกัมพูชา

    ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผู้การเนี๊ยะนำคณะแม่บ้าน 25 คน มาร้องเพลงปลุกใจ ในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม สร้างความไม่พอใจให้กับฝ่ายไทย ทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ 2 กรมทหารราบที่ 23 กองทัพภาคที่ 2 ที่ประจำการรักษาอธิปไตยไทยในบริเวณนั้น ต้องกล่าวแจ้งเตือนไม่ให้ผู้การเนี้ยะ ทำกิจกรรมในเชิงสัญลักษณ์ สร้างความไม่พอใจให้ผู้การเนี๊ยะเป็นอย่างมาก ถึงขั้นโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง หลุดปากกล่าวท้าทายทหารไทย "ให้มายิงกัน!"

    บ่ายวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 15.00 น. นายเนียม จันญาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา ได้นำคณะทหารกัมพูชา รวมถึงผู้การเนี๊ยะ เดินทางมาเจรจากับ พันโท จักรกฤษ ปิยะศุภฤกษ์ ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 23 (ผบ.ร.23 พัน.4) ที่ปราสาทตาเมือนธม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาระดับสูง ในกองทัพภูมิภาคที่ 4 กัมพูชา เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาจจะด้วยความเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม

    วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม 2568 กองกำลังติดอาวุธ ทหารกัมพูชา 3 กองร้อย 528 นาย เคลื่อนพลมาประชิดพรมแดน ด้านอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ แล้วปลดอาวุธเดินข้ามพรมแดน อ้างว่ามากราบไหว้สักการะปราสาทตาเหมือนธม โดยที่ไม่มีการเตรียมธูปเทียนดอกไม้ หรือสิ่งของเซ่นไหว้มาด้วย จนคล้ายกับเป็นการยั่วยุเยาะเย้ยทหารไทย

    ฝ่ายไทยพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง โดยการเจรจาผ่านทางการทูต แต่กัมพูชากลับใช้วิธี ปลุกกระแสรักชาติในประเทศตนเอง

    แล้วอะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของ “ผู้การเนี้ยะ” และรัฐบาลกัมพูชา?

    ปราสาทตาเมือนธม จุดยุทธศาสตร์และประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ในเขต อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์

    เป็นหนึ่งในปราสาทสำคัญ ของกลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วย 3 ปราสาทหลัก ได้แก่
    1️⃣ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทหลักและใหญ่ที่สุด
    2️⃣ ปราสาทตาเมือนโต๊ด เชื่อว่าเคยเป็นโรงพยาบาลโบราณ
    3️⃣ ปราสาทตาเมือน หรือบายกรีม เป็นธรรมศาลา หรือสถานที่พักของนักเดินทาง

    ปราสาทแห่งนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะเป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางโบราณ จากกัมพูชาสู่ภาคอีสานของไทย มีความสำคัญทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่พิพาททางพรมแดน ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ

    นี่อาจเป็นเหตุผลที่กัมพูชา พยายามเข้ามาสร้างอิทธิพล ในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม

    เบื้องหลังความขัดแย้ง การเมืองหรือศักดิ์ศรีชาติ? การเคลื่อนไหวของกัมพูชา ไม่ใช่แค่เรื่องประวัติศาสตร์หรือพรมแดน แต่นี่คือ "เกมการเมือง"

    เชื่อมโยงกับปัญหาการเมืองภายในของกัมพูชา ปัจจุบันรัฐบาล "ฮุน มาเนต" ลูกชายของฮุน เซน กำลังเผชิญแรงกดดันจากฝ่ายค้าน ที่ผ่านมา "ฮุน เซน" เคยใช้ประเด็นความขัดแย้งชายแดน ปลุกกระแสรักชาติ เพื่อรักษาอำนาจของตระกูลตนเอง การกระทำของผู้การเนี๊ยะ อาจเป็นแผนสร้างแรงสนับสนุนให้รัฐบาลกัมพูชา

    เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ไทย-กัมพูชา? ไทยและกัมพูชามีแผนขุดเจาะทรัพยากรน้ำมัน ในเขตทับซ้อนทางทะเล ข้อพิพาทชายแดน อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือเจรจาต่อรอง ทางเศรษฐกิจและการเมือง

    หรือแท้จริงแล้ว นี่คือแผนของกัมพูชา ในการกดดันไทย?

    กัมพูชากำลังเล่นเกมอะไร? การกระทำของผู้การเนี๊ยะ และทหารกัมพูชา อาจเป็นเพียงแค่ หมากตัวหนึ่งของรัฐบาลกัมพูชา

    วิเคราะห์แนวทางที่เป็นไปได้ของกัมพูชา
    - สร้างกระแสรักชาติเพื่อดึงความสนใจ จากปัญหาการเมืองภายใน
    - กดดันไทยในประเด็นพรมแดน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเจรจาทางเศรษฐกิจ
    - ทดสอบปฏิกิริยาของรัฐบาลไทย ก่อนเดินเกมต่อไป

    ทางออกของไทยควรเป็นอย่างไร?
    รักษาความสัมพันธ์ทางการทูต หลีกเลี่ยงการใช้กำลัง
    เฝ้าระวังการเคลื่อนไหวของทหารกัมพูชา อย่างใกล้ชิด
    ใช้การเจรจาในระดับสูง เพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์ลุกลาม

    นี่คือเกมการเมือง หรือสงครามชายแดนรอบใหม่? ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด!

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 090905 มี.ค. 2568

    #เขมรไม่หยุด #ตาเมือนธม #ชายแดนไทยกัมพูชา #สงครามชายแดน #ผู้การเนี้ยะ #กัมพูชา #ข่าวด่วน #ความขัดแย้งชายแดน #ไทยกัมพูชา #ปราสาทตาเมือน
    เขมรไม่ยอมหยุด! ยั่วยุเยาะเย้ย “ผู้การเนี๊ยะ” จากร้องเพลงปลุกใจ ในปราสาทตาเมือนธม สู่ยกพล 3 กองร้อย ประชิดพรมแดน 🔥 สถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา เริ่มตึงเครียดขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากประเทศไทย เริ่มปราบปราม "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" อย่างจริงจัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ ที่มีเครือข่ายอยู่ในกัมพูชา 🇰🇭 แม้ว่าทางการกัมพูชา จะออกมาสนับสนุนไทยอย่างเป็นทางการ แต่กลับมีเหตุการณ์ไม่สงบ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามแนวชายแดน โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดสุรินทร์ และอุบลราชธานี และล่าสุด... 💥 เมื่อวันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2568 กองกำลังติดอาวุธทหารกัมพูชา จำนวน 3 กองร้อย รวม 528 นาย ได้เคลื่อนกำลังเข้าใกล้ชายแดน ด้านอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ อ้างว่า “พากำลังทหารมากราบไหว้ สักการะปราสาทตาเมือนธม” แต่กลับไม่มีการเตรียมดอกไม้ ธูปเทียน หรือสิ่งของบูชาใด ๆ 🔴 นี่คือการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ หรือเป็นมากกว่านั้น? 👤 พล.ต.เนี๊ยะ วงษ์ (Neak Vong) หรือผู้การเยี๊ยะ ผู้บังคับการกองพลน้อยทหารราบที่ 42 ของกัมพูชา เป็นตัวละครสำคัญในเหตุการณ์ครั้งนี้ 📌 ย้อนรอยเหตุการณ์ที่ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด 5 ตุลาคม 2567 ผู้การเนี๊ยะนำพระสงฆ์ และเด็กนักเรียนกัมพูชา เข้ามาในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม พร้อมร้องเพลงชาติกัมพูชา ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผู้การเนี๊ยะนำคณะแม่บ้าน 25 คน มาร้องเพลงปลุกใจ ในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม สร้างความไม่พอใจให้กับฝ่ายไทย ทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ 2 กรมทหารราบที่ 23 กองทัพภาคที่ 2 ที่ประจำการรักษาอธิปไตยไทยในบริเวณนั้น ต้องกล่าวแจ้งเตือนไม่ให้ผู้การเนี้ยะ ทำกิจกรรมในเชิงสัญลักษณ์ สร้างความไม่พอใจให้ผู้การเนี๊ยะเป็นอย่างมาก ถึงขั้นโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง หลุดปากกล่าวท้าทายทหารไทย "ให้มายิงกัน!" บ่ายวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 15.00 น. นายเนียม จันญาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา ได้นำคณะทหารกัมพูชา รวมถึงผู้การเนี๊ยะ เดินทางมาเจรจากับ พันโท จักรกฤษ ปิยะศุภฤกษ์ ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 23 (ผบ.ร.23 พัน.4) ที่ปราสาทตาเมือนธม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาระดับสูง ในกองทัพภูมิภาคที่ 4 กัมพูชา เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาจจะด้วยความเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม 2568 กองกำลังติดอาวุธ ทหารกัมพูชา 3 กองร้อย 528 นาย เคลื่อนพลมาประชิดพรมแดน ด้านอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ แล้วปลดอาวุธเดินข้ามพรมแดน อ้างว่ามากราบไหว้สักการะปราสาทตาเหมือนธม โดยที่ไม่มีการเตรียมธูปเทียนดอกไม้ หรือสิ่งของเซ่นไหว้มาด้วย จนคล้ายกับเป็นการยั่วยุเยาะเย้ยทหารไทย 🇹🇭 ฝ่ายไทยพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง โดยการเจรจาผ่านทางการทูต แต่กัมพูชากลับใช้วิธี ปลุกกระแสรักชาติในประเทศตนเอง 🔴 แล้วอะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของ “ผู้การเนี้ยะ” และรัฐบาลกัมพูชา? 📍 ปราสาทตาเมือนธม จุดยุทธศาสตร์และประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ในเขต อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ 🏛️ เป็นหนึ่งในปราสาทสำคัญ ของกลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วย 3 ปราสาทหลัก ได้แก่ 1️⃣ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทหลักและใหญ่ที่สุด 2️⃣ ปราสาทตาเมือนโต๊ด เชื่อว่าเคยเป็นโรงพยาบาลโบราณ 3️⃣ ปราสาทตาเมือน หรือบายกรีม เป็นธรรมศาลา หรือสถานที่พักของนักเดินทาง 🔎 ปราสาทแห่งนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะเป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางโบราณ จากกัมพูชาสู่ภาคอีสานของไทย มีความสำคัญทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่พิพาททางพรมแดน ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ 👉 นี่อาจเป็นเหตุผลที่กัมพูชา พยายามเข้ามาสร้างอิทธิพล ในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม 🎭 เบื้องหลังความขัดแย้ง การเมืองหรือศักดิ์ศรีชาติ? การเคลื่อนไหวของกัมพูชา ไม่ใช่แค่เรื่องประวัติศาสตร์หรือพรมแดน แต่นี่คือ "เกมการเมือง" 📌 เชื่อมโยงกับปัญหาการเมืองภายในของกัมพูชา ปัจจุบันรัฐบาล "ฮุน มาเนต" ลูกชายของฮุน เซน กำลังเผชิญแรงกดดันจากฝ่ายค้าน ที่ผ่านมา "ฮุน เซน" เคยใช้ประเด็นความขัดแย้งชายแดน ปลุกกระแสรักชาติ เพื่อรักษาอำนาจของตระกูลตนเอง การกระทำของผู้การเนี๊ยะ อาจเป็นแผนสร้างแรงสนับสนุนให้รัฐบาลกัมพูชา 📌 เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ไทย-กัมพูชา? ไทยและกัมพูชามีแผนขุดเจาะทรัพยากรน้ำมัน ในเขตทับซ้อนทางทะเล ข้อพิพาทชายแดน อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือเจรจาต่อรอง ทางเศรษฐกิจและการเมือง 🇰🇭 หรือแท้จริงแล้ว นี่คือแผนของกัมพูชา ในการกดดันไทย? 🔴 กัมพูชากำลังเล่นเกมอะไร? การกระทำของผู้การเนี๊ยะ และทหารกัมพูชา อาจเป็นเพียงแค่ หมากตัวหนึ่งของรัฐบาลกัมพูชา 📌 วิเคราะห์แนวทางที่เป็นไปได้ของกัมพูชา - สร้างกระแสรักชาติเพื่อดึงความสนใจ จากปัญหาการเมืองภายใน - กดดันไทยในประเด็นพรมแดน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเจรจาทางเศรษฐกิจ - ทดสอบปฏิกิริยาของรัฐบาลไทย ก่อนเดินเกมต่อไป 🇹🇭 ทางออกของไทยควรเป็นอย่างไร? ✅ รักษาความสัมพันธ์ทางการทูต หลีกเลี่ยงการใช้กำลัง ✅ เฝ้าระวังการเคลื่อนไหวของทหารกัมพูชา อย่างใกล้ชิด ✅ ใช้การเจรจาในระดับสูง เพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์ลุกลาม 🔥 นี่คือเกมการเมือง หรือสงครามชายแดนรอบใหม่? ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด! ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 090905 มี.ค. 2568 #เขมรไม่หยุด #ตาเมือนธม #ชายแดนไทยกัมพูชา #สงครามชายแดน #ผู้การเนี้ยะ #กัมพูชา #ข่าวด่วน #ความขัดแย้งชายแดน #ไทยกัมพูชา #ปราสาทตาเมือน
    0 Comments 0 Shares 1431 Views 0 Reviews
  • สำนักข่าวกัมพูชาหลายแห่งรายงานข่าวเมื่อช่วงปลายเดือน พ.ย. ว่า นายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับข้อพิพาทชายแดนเกาะกูดกับไทย โดยระบุอย่างชัดเจนว่ารัฐบาลกัมพูชาจะ "ไม่ประนีประนอม" บูรณภาพแห่งดินแดนของราชอาณาจักร

    ผู้นำเขมรได้แสดงความคิดเห็นดังกล่าวโดยระบุว่า การเจรจาประเด็นเรื่องชายแดนต้องผ่านการไตร่ตรองอย่างรอบคอบและมีวุฒิภาวะ ไม่ตอบสนองอย่างหุนหันพลันแล่น และต้องใช้ระยะเวลา

    “สิ่งนี้คือความรับผิดชอบของเรา เราจะไม่สูญเสียดินแดนหรืออธิปไตย โปรดไว้ใจเราในเรื่องนี้”

    “ปัญหาเกาะกูดต้องได้รับการแก้ไขอย่างมีวุฒิภาวะทางการเมืองและความรับผิดชอบ โดยให้ความสำคัญกับบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตยของชาติเป็นอย่างแรก” ฮุน มาเนต ผู้นำกัมพูชากล่าว
    สำนักข่าวกัมพูชาหลายแห่งรายงานข่าวเมื่อช่วงปลายเดือน พ.ย. ว่า นายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับข้อพิพาทชายแดนเกาะกูดกับไทย โดยระบุอย่างชัดเจนว่ารัฐบาลกัมพูชาจะ "ไม่ประนีประนอม" บูรณภาพแห่งดินแดนของราชอาณาจักร ผู้นำเขมรได้แสดงความคิดเห็นดังกล่าวโดยระบุว่า การเจรจาประเด็นเรื่องชายแดนต้องผ่านการไตร่ตรองอย่างรอบคอบและมีวุฒิภาวะ ไม่ตอบสนองอย่างหุนหันพลันแล่น และต้องใช้ระยะเวลา “สิ่งนี้คือความรับผิดชอบของเรา เราจะไม่สูญเสียดินแดนหรืออธิปไตย โปรดไว้ใจเราในเรื่องนี้” “ปัญหาเกาะกูดต้องได้รับการแก้ไขอย่างมีวุฒิภาวะทางการเมืองและความรับผิดชอบ โดยให้ความสำคัญกับบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตยของชาติเป็นอย่างแรก” ฮุน มาเนต ผู้นำกัมพูชากล่าว
    Haha
    1
    0 Comments 0 Shares 403 Views 0 Reviews
  • สำนักข่าวกัมพูชาหลายแห่งรายงานว่า นายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาทชายแดนเกาะกูดกับไทย โดยระบุอย่างชัดเจนว่ารัฐบาลกัมพูชาจะไม่ประนีประนอมบูรณภาพแห่งดินแดนของราชอาณาจักร
    .
    ผู้นำเขมรได้แสดงความคิดเห็นดังกล่าวตั้งแต่ปลายเดือน พ.ย. โดยระบุว่าการเจรจาประเด็นเรื่องชายแดนต้องใช้เวลาและการเตรียมการอย่างรอบคอบ
    .
    “สิ่งนี้คือความรับผิดชอบของเรา และเราจะไม่สูญเสียดินแดนหรืออธิปไตย โปรดไว้ใจเราในเรื่องนี้” ผู้นำกัมพูชา กล่าว
    .
    ฮุน มาเนต กล่าวเสริมว่ารัฐบาลกัมพูชาใช้วิถีทางที่ผ่านการไตร่ตรองอย่างรอบคอบและมีวุฒิภาวะ ไม่ตอบสนองอย่างหุนหันพลันแล่น
    .
    “ปัญหาเกาะกูดต้องได้รับการแก้ไขอย่างมีวุฒิภาวะทางการเมืองและความรับผิดชอบ โดยให้ความสำคัญกับบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตยของชาติเป็นอย่างแรก” ฮุน มาเนต กล่าว
    .
    นายกรัฐมนตรีกัมพูชาชี้แจงว่า การเจรจาระหว่างกัมพูชาและไทยยังคงดำเนินต่อไป และยังไม่มีการบรรลุข้อตกลงใดๆ ดังนั้นการอ้างว่าเสียเกาะกูดให้ไทยนั้นไม่มีมูลความจริง และย้ำว่าการตอบสนองอย่างใจเย็นของรัฐบาลนั้นเป็นความตั้งใจ ด้วยมีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาผ่านช่องทางทางการทูต มากกว่าที่จะเพิ่มความตึงเครียด
    .
    “การคิดถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นสิ่งสำคัญ แต่เราต้องเข้าใจว่าเมื่อใดควรดำเนินการและดำเนินการอย่างไร” ฮุน มาเนต ระบุ
    .
    รัฐบาลกัมพูชาดำเนินการแก้ไขปัญหาชายแดนด้วยการใช้กลไกอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่ผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก หรือกลไกสื่อ ฮุน มาเนต กล่าวเสริม และว่ากลไกการแก้ไขอย่างเป็นทางการคือกลไกที่ตกลงกันโดยรัฐบาลกัมพูชาและไทย คือคณะกรรมการเขตแดนร่วม (JBC) และคณะกรรมการเทคนิคร่วม (JTC) ซึ่งคณะกรรมการเหล่านี้ทำหน้าที่เจรจาเรื่องการกำหนดเขตแดนทางบกและกำหนดเขตแดนทางทะเล
    .
    “ขณะนี้ชายแดนกัมพูชา-ไทย บรรลุข้อตกลงเพียงพรมแดนทางบก ที่ครอบคลุมระยะทาง 805 กิโลเมตร และหลักเขต 73 หลัก รัฐบาลของทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลงไปแล้ว 42 หลัก” ฮุน มาเนต กล่าว และว่าประเด็นเรื่องเกาะกูดยังอยู่ระหว่างเจรจา ยังไม่มีข้อตกลงใดๆ ดังนั้น เกาะนี้จึงยังไม่ถูกยกให้ใคร
    .
    เขายอมรับว่ามีความคิดเห็นและคำวิจารณ์มากมายเกี่ยวกับปัญหาเกาะกูดจากไทย แต่เน้นย้ำว่ารัฐบาลจะไม่นำไฟเข้ามาในบ้านของตัวเอง
    .
    ฮุน มาเนต เสริมว่ากัมพูชาและไทยได้เจรจากันมาตั้งแต่ปี 2549 เกี่ยวกับการกำหนดเขตแดน แต่การหารือเกี่ยวกับดินแดนทางบกและทางทะเลยังไม่เสร็จสิ้นและยังคงดำเนินต่อไป
    .
    ขณะเดียวกัน ฮุนเซน ประธานสภาสูงของกัมพูชา ได้วิพากษ์วิจารณ์นักการเมืองฝ่ายค้านในต่างประเทศที่พยายามเปลี่ยนประเด็นเกาะกูดให้กลายเป็นความขัดแย้งชายแดนระหว่างกัมพูชาและไทยผ่านการยุยงปลุกปั่นประชาชน แม้ว่าสองรัฐบาลจะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาโดยสันติ
    .
    ทั้งนี้ อดีตผู้นำเขมรยังได้กล่าวย้อนถึงเรื่องการเจรจาร่วมกันกับ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย เรื่องการเจาะน้ำมันที่เกาะกูด แต่ไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในแผนนี้ และในปี 2544 ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ แต่ไม่มีการหารืออย่างละเอียดในช่วง 23 ปีที่ผ่านมา
    .
    “รัฐบาลทั้งสองประเทศกำลังเจรจากันอย่างสันติเกี่ยวกับปัญหาเกาะกูด แต่ในไทย กลุ่มหัวรุนแรงเรียกร้องให้รัฐบาลอ้างสิทธิเกาะกูดจากกัมพูชา ขณะที่กลุ่มฝ่ายค้านหัวรุนแรงของกัมพูชาในต่างประเทศเรียกร้องให้ชาวกัมพูชาเข้าร่วมการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลฟ้องศาลระหว่างประเทศเพื่อเรียกร้องเกาะกูดคืน” ฮุนเซน กล่าว
    .
    ฮุนเซนกล่าวว่า ความพยายามของฝ่ายค้านในต่างประเทศครั้งนี้อาจส่งผลร้ายแรงต่อประเทศ
    .
    “ครั้งแล้วครั้งเล่าที่กลุ่มฝ่ายค้านกดดันประชาชนและขัดขวางไม่ให้พวกเขาอยู่กันอย่างสันติ ด้วยการปลุกระดมให้เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล บางทีอาจถึงเวลาที่ต้องตราพวกเขาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย เพราะพวกเขากำลังยุยงให้เกิดความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างกัมพูชาและไทย” อดีตผู้นำเขมร กล่าว
    .
    นอกจากนี้ ฮุนเซนยังเรียกร้องให้ชาวกัมพูชาและชาวไทยเชื่อมั่นในรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายในการแก้ไขปัญหาเกาะกูดด้วยสันติวิธี และขอให้กองทัพบกและกองทัพเรือกัมพูชาไม่ระดมกำลังเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว
    .
    อดีตผู้นำเขมรเตือนว่าบาดแผลจากสงครามที่ปราสาทพระวิหาร ปราสาทตาเมือน และปราสาทตากระบัย และความทุกข์ทรมานของประชาชนกัมพูชาและไทยจากการสูญเสียคนรักหรือได้รับบาดเจ็บจากสงครามเหล่านั้นยังคงไม่สิ้นสุด
    .
    “การยุติข้อพิพาทจะดำเนินต่อไป แต่ด้วยการเจรจา เรายังไม่ได้ใช้ความเป็นไปได้ทั้งหมดของการเจรจาทวิภาคี” ฮุนเซน กล่าว.
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000119176
    ..............
    Sondhi X
    สำนักข่าวกัมพูชาหลายแห่งรายงานว่า นายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาทชายแดนเกาะกูดกับไทย โดยระบุอย่างชัดเจนว่ารัฐบาลกัมพูชาจะไม่ประนีประนอมบูรณภาพแห่งดินแดนของราชอาณาจักร . ผู้นำเขมรได้แสดงความคิดเห็นดังกล่าวตั้งแต่ปลายเดือน พ.ย. โดยระบุว่าการเจรจาประเด็นเรื่องชายแดนต้องใช้เวลาและการเตรียมการอย่างรอบคอบ . “สิ่งนี้คือความรับผิดชอบของเรา และเราจะไม่สูญเสียดินแดนหรืออธิปไตย โปรดไว้ใจเราในเรื่องนี้” ผู้นำกัมพูชา กล่าว . ฮุน มาเนต กล่าวเสริมว่ารัฐบาลกัมพูชาใช้วิถีทางที่ผ่านการไตร่ตรองอย่างรอบคอบและมีวุฒิภาวะ ไม่ตอบสนองอย่างหุนหันพลันแล่น . “ปัญหาเกาะกูดต้องได้รับการแก้ไขอย่างมีวุฒิภาวะทางการเมืองและความรับผิดชอบ โดยให้ความสำคัญกับบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตยของชาติเป็นอย่างแรก” ฮุน มาเนต กล่าว . นายกรัฐมนตรีกัมพูชาชี้แจงว่า การเจรจาระหว่างกัมพูชาและไทยยังคงดำเนินต่อไป และยังไม่มีการบรรลุข้อตกลงใดๆ ดังนั้นการอ้างว่าเสียเกาะกูดให้ไทยนั้นไม่มีมูลความจริง และย้ำว่าการตอบสนองอย่างใจเย็นของรัฐบาลนั้นเป็นความตั้งใจ ด้วยมีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาผ่านช่องทางทางการทูต มากกว่าที่จะเพิ่มความตึงเครียด . “การคิดถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นสิ่งสำคัญ แต่เราต้องเข้าใจว่าเมื่อใดควรดำเนินการและดำเนินการอย่างไร” ฮุน มาเนต ระบุ . รัฐบาลกัมพูชาดำเนินการแก้ไขปัญหาชายแดนด้วยการใช้กลไกอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่ผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก หรือกลไกสื่อ ฮุน มาเนต กล่าวเสริม และว่ากลไกการแก้ไขอย่างเป็นทางการคือกลไกที่ตกลงกันโดยรัฐบาลกัมพูชาและไทย คือคณะกรรมการเขตแดนร่วม (JBC) และคณะกรรมการเทคนิคร่วม (JTC) ซึ่งคณะกรรมการเหล่านี้ทำหน้าที่เจรจาเรื่องการกำหนดเขตแดนทางบกและกำหนดเขตแดนทางทะเล . “ขณะนี้ชายแดนกัมพูชา-ไทย บรรลุข้อตกลงเพียงพรมแดนทางบก ที่ครอบคลุมระยะทาง 805 กิโลเมตร และหลักเขต 73 หลัก รัฐบาลของทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลงไปแล้ว 42 หลัก” ฮุน มาเนต กล่าว และว่าประเด็นเรื่องเกาะกูดยังอยู่ระหว่างเจรจา ยังไม่มีข้อตกลงใดๆ ดังนั้น เกาะนี้จึงยังไม่ถูกยกให้ใคร . เขายอมรับว่ามีความคิดเห็นและคำวิจารณ์มากมายเกี่ยวกับปัญหาเกาะกูดจากไทย แต่เน้นย้ำว่ารัฐบาลจะไม่นำไฟเข้ามาในบ้านของตัวเอง . ฮุน มาเนต เสริมว่ากัมพูชาและไทยได้เจรจากันมาตั้งแต่ปี 2549 เกี่ยวกับการกำหนดเขตแดน แต่การหารือเกี่ยวกับดินแดนทางบกและทางทะเลยังไม่เสร็จสิ้นและยังคงดำเนินต่อไป . ขณะเดียวกัน ฮุนเซน ประธานสภาสูงของกัมพูชา ได้วิพากษ์วิจารณ์นักการเมืองฝ่ายค้านในต่างประเทศที่พยายามเปลี่ยนประเด็นเกาะกูดให้กลายเป็นความขัดแย้งชายแดนระหว่างกัมพูชาและไทยผ่านการยุยงปลุกปั่นประชาชน แม้ว่าสองรัฐบาลจะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาโดยสันติ . ทั้งนี้ อดีตผู้นำเขมรยังได้กล่าวย้อนถึงเรื่องการเจรจาร่วมกันกับ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย เรื่องการเจาะน้ำมันที่เกาะกูด แต่ไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในแผนนี้ และในปี 2544 ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ แต่ไม่มีการหารืออย่างละเอียดในช่วง 23 ปีที่ผ่านมา . “รัฐบาลทั้งสองประเทศกำลังเจรจากันอย่างสันติเกี่ยวกับปัญหาเกาะกูด แต่ในไทย กลุ่มหัวรุนแรงเรียกร้องให้รัฐบาลอ้างสิทธิเกาะกูดจากกัมพูชา ขณะที่กลุ่มฝ่ายค้านหัวรุนแรงของกัมพูชาในต่างประเทศเรียกร้องให้ชาวกัมพูชาเข้าร่วมการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลฟ้องศาลระหว่างประเทศเพื่อเรียกร้องเกาะกูดคืน” ฮุนเซน กล่าว . ฮุนเซนกล่าวว่า ความพยายามของฝ่ายค้านในต่างประเทศครั้งนี้อาจส่งผลร้ายแรงต่อประเทศ . “ครั้งแล้วครั้งเล่าที่กลุ่มฝ่ายค้านกดดันประชาชนและขัดขวางไม่ให้พวกเขาอยู่กันอย่างสันติ ด้วยการปลุกระดมให้เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล บางทีอาจถึงเวลาที่ต้องตราพวกเขาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย เพราะพวกเขากำลังยุยงให้เกิดความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างกัมพูชาและไทย” อดีตผู้นำเขมร กล่าว . นอกจากนี้ ฮุนเซนยังเรียกร้องให้ชาวกัมพูชาและชาวไทยเชื่อมั่นในรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายในการแก้ไขปัญหาเกาะกูดด้วยสันติวิธี และขอให้กองทัพบกและกองทัพเรือกัมพูชาไม่ระดมกำลังเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว . อดีตผู้นำเขมรเตือนว่าบาดแผลจากสงครามที่ปราสาทพระวิหาร ปราสาทตาเมือน และปราสาทตากระบัย และความทุกข์ทรมานของประชาชนกัมพูชาและไทยจากการสูญเสียคนรักหรือได้รับบาดเจ็บจากสงครามเหล่านั้นยังคงไม่สิ้นสุด . “การยุติข้อพิพาทจะดำเนินต่อไป แต่ด้วยการเจรจา เรายังไม่ได้ใช้ความเป็นไปได้ทั้งหมดของการเจรจาทวิภาคี” ฮุนเซน กล่าว. . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000119176 .............. Sondhi X
    Angry
    Like
    Yay
    Haha
    Sad
    10
    0 Comments 0 Shares 1577 Views 0 Reviews