• สลามเมืองไทย EP25 | มัสยิด 300 ปี (มัสยิดวาดีลฮูเซ็น หรือ มัสยิดตะโละมาเนาะ) เก่าแก่ทรงคุณค่า จ.นราธิวาส

    มัสยิดวาดีลฮูเซ็น หรือที่รู้จักกันในชื่อ มัสยิดตะโละมาเนาะ จังหวัดนราธิวาส คือมัสยิดไม้เก่าแก่ที่มีอายุกว่า 300 ปี และได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในมัสยิดที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และศิลปกรรมของประเทศไทย

    มัสยิดแห่งนี้สร้างขึ้นด้วยงานไม้ทั้งหลัง โดดเด่นด้วยหลังคาทรงมลายูผสมไทย ที่สะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชนมุสลิมชายแดนใต้ และแฝงไว้ด้วยศรัทธาและความวิจิตรบรรจงของช่างฝีมือโบราณ

    นอกจากความงดงามแล้ว มัสยิดตะโละมาเนาะยังเป็นศูนย์กลางแห่งความศรัทธาและความรู้ของชุมชน ที่บ่มเพาะวิถีอิสลามอย่างเข้มแข็งมายาวนานหลายชั่วอายุคน

    ติดตามเรื่องราวและคุณค่าของมัสยิดเก่าแก่หลังนี้ กับการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมและศรัทธาที่ไม่มีวันเลือนหายไปจากวิถีมุสลิมชายแดนใต้

    #สลามเมืองไทย #EP25 #มัสยิดตะโละมาเนาะ #มัสยิดวาดีลฮูเซ็น #มัสยิดเก่าแก่ #ศรัทธาและมรดก #นราธิวาส #IslamicHeritage #ThaiMuslimCommunity #ThaiTimes
    สลามเมืองไทย EP25 | มัสยิด 300 ปี (มัสยิดวาดีลฮูเซ็น หรือ มัสยิดตะโละมาเนาะ) เก่าแก่ทรงคุณค่า จ.นราธิวาส มัสยิดวาดีลฮูเซ็น หรือที่รู้จักกันในชื่อ มัสยิดตะโละมาเนาะ จังหวัดนราธิวาส คือมัสยิดไม้เก่าแก่ที่มีอายุกว่า 300 ปี และได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในมัสยิดที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และศิลปกรรมของประเทศไทย มัสยิดแห่งนี้สร้างขึ้นด้วยงานไม้ทั้งหลัง โดดเด่นด้วยหลังคาทรงมลายูผสมไทย ที่สะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชนมุสลิมชายแดนใต้ และแฝงไว้ด้วยศรัทธาและความวิจิตรบรรจงของช่างฝีมือโบราณ นอกจากความงดงามแล้ว มัสยิดตะโละมาเนาะยังเป็นศูนย์กลางแห่งความศรัทธาและความรู้ของชุมชน ที่บ่มเพาะวิถีอิสลามอย่างเข้มแข็งมายาวนานหลายชั่วอายุคน ติดตามเรื่องราวและคุณค่าของมัสยิดเก่าแก่หลังนี้ กับการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมและศรัทธาที่ไม่มีวันเลือนหายไปจากวิถีมุสลิมชายแดนใต้ #สลามเมืองไทย #EP25 #มัสยิดตะโละมาเนาะ #มัสยิดวาดีลฮูเซ็น #มัสยิดเก่าแก่ #ศรัทธาและมรดก #นราธิวาส #IslamicHeritage #ThaiMuslimCommunity #ThaiTimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 83 มุมมอง 0 0 รีวิว
  • กระทรวงวัฒนธรรมแจงตรวจสอบแล้ว ยันกัมพูชาไม่ได้นำ 22 วรรณกรรมไทยไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมฯ ต่อยูเนสโก เป็นเพียงการนำไปเป็นบทละครในการแสดง The Royal Ballet of Cambodia และงานวรรณกรรมทั้ง 22 เรื่องไม่เข้าข่ายที่จะจดทะเบียนต่อยูเนสโกได้

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000066533

    #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    กระทรวงวัฒนธรรมแจงตรวจสอบแล้ว ยันกัมพูชาไม่ได้นำ 22 วรรณกรรมไทยไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมฯ ต่อยูเนสโก เป็นเพียงการนำไปเป็นบทละครในการแสดง The Royal Ballet of Cambodia และงานวรรณกรรมทั้ง 22 เรื่องไม่เข้าข่ายที่จะจดทะเบียนต่อยูเนสโกได้ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000066533 #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 337 มุมมอง 0 รีวิว
  • เวลานี้ดูเหมือนว่ากัมพูชาได้กลายเป็นเพื่อนบ้านที่น่ารำคาญในทุกบริบทจริงๆ นอกเหนือไปจากเรื่องความมั่นคงด้านชายแดน หลังจากเริ่มมีหลายฝ่ายออกมาตั้งข้อสังเกตผ่านสื่อสังคมออนไลน์ว่า วรรณกรรมไทยหลายเรื่องถูกกัมพูชานำไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้กับองค์การยูเนสโก
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000066314

    #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    เวลานี้ดูเหมือนว่ากัมพูชาได้กลายเป็นเพื่อนบ้านที่น่ารำคาญในทุกบริบทจริงๆ นอกเหนือไปจากเรื่องความมั่นคงด้านชายแดน หลังจากเริ่มมีหลายฝ่ายออกมาตั้งข้อสังเกตผ่านสื่อสังคมออนไลน์ว่า วรรณกรรมไทยหลายเรื่องถูกกัมพูชานำไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้กับองค์การยูเนสโก . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000066314 #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 646 มุมมอง 0 รีวิว
  • เด็กเต้นแข่งเรือโบราณ ปาคู จาลูร์ ซอฟต์พาวเวอร์อินโดนีเซีย

    กลายเป็นที่ถูกพูดถึงสนั่นโลกโซเชียลฯ และกลายเป็นมีมไปทั่วโลก สำหรับไวรัลสุดน่ารักจากเทศกาลแข่งเรือโบราณ “ปาคู จาลูร์” (Pacu Jalur) บนหมู่เกาะรีเยา (Riau) ทางภาคตะวันออกของเกาะสุมาตรา จรดช่องแคบมะละกา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเด็กชายรายหนึ่งนามว่า เรย์ยาน อาร์กัน ดิกา (Rayyan Arkan Dikha) หรือ ดิกา (Dikha) วัย 11 ขวบ กลายเป็นจุดสนใจจากลีลาการเต้นบนหัวเรือระหว่างแข่งขัน ในตำแหน่งที่เรียกว่า ตูกัง ตาริ (Tukang Tari) ชุดสีดำเรียบหรู และแว่นกันแดด เปรียบกับแดนเซอร์ ทำหน้าที่ปลุกพลังให้กับฝีพาย ซึ่งเขาทำหน้าที่นี้มาตั้งแต่อายุ 9 ขวบ แถมเพลงที่นำมาประกอบในครั้งนี้ก็เป็นเพลงฮิปฮอป “Young Black & Rich” ของศิลปินชาวอเมริกัน เมลลี ไมค์ (Melly Mike)

    ท่าเต้นของดิกาแพร่กระจายไวอย่างรวดเร็วใน TikTok และ IG พร้อมเกิดกระแสที่เรียกว่า ออรา ฟาร์มมิ่ง (Aura Farming) หรือการเต้นเลียนแบบเพื่อเรียกความสนใจ โดยมีคนดังและสโมสรกีฬาร่วมเทรนด์ เช่น สโมสรฟุตบอลปารีส แซงต์ แชร์กแมง (PSG) ที่โพสต์วิดีโอเลียนแบบพร้อมข้อความว่า “กลิ่นอายได้แผ่ไปถึงปารีสแล้ว” ส่วนเอซี มิลาน เขียนแคปชันสุดฮาว่า “Aura Farming แม่นยำ 1899%” แถมยังมี ทราวิส เคลซ์ นักอเมริกันฟุตบอล แฟนหนุ่มของเทย์เลอร์ สวิฟต์ รวมถึงนักเตะไทย “เจ ชนาธิป สรงกระสินธ์” ก็เข้าร่วมกระแสนี้ด้วย

    ล่าสุด เมลลี ไมค์ ประกาศว่าจะเดินทางมาร่วมงานเทศกาลปาคู จาลูร์ ในปีนี้ด้วยตนเอง ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-24 ส.ค. 2568 ขณะที่เด็กชายดิกาได้รับแต่งตั้งเป็นทูตวัฒนธรรมจังหวัดรีเยา และได้รับเชิญให้เดินทางพร้อมครอบครัวไปยังกรุงจาการ์ตา เพื่อเข้าพบรัฐมนตรีด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของอินโดนีเซีย รวมถึงออกรายการโทรทัศน์ และได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลอินโดนีเซีย ในฐานะที่ทำให้มรดกทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซียเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

    เทศกาลปาคู จาลูร์ ถือเป็นหนึ่งในมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญของอินโดนีเซีย จัดขึ้นที่ริมแม่น้ำอินดรากิรี (Indragiri River) โดยมีการแข่งขันพายเรือจาลูร์ ที่สร้างจากไม้ทั้งท่อน ไม่มีข้อต่อ พร้อมการตกแต่งที่วิจิตรงดงาม ไฮไลต์ของเทศกาลคือการมีนักเต้นแสดงอยู่บนหัวเรือ สร้างสีสันและความตื่นตาตื่นใจให้ผู้ชม มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษชาวควนซิงในศตวรรษที่ 22 ต่อมาถูกพัฒนาให้เป็นกิจกรรมประเพณี เคยใช้เฉลิมฉลองวันสำคัญทางศาสนา และในสมัยอาณานิคมเนเธอร์แลนด์ก็เคยจัดเพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดของราชินีด้วย ปัจจุบันจัดต่อเนื่องทุกปี และดึงดูดผู้เข้าชมได้มากกว่า 1 ล้านคนต่อปี

    #Newskit
    เด็กเต้นแข่งเรือโบราณ ปาคู จาลูร์ ซอฟต์พาวเวอร์อินโดนีเซีย กลายเป็นที่ถูกพูดถึงสนั่นโลกโซเชียลฯ และกลายเป็นมีมไปทั่วโลก สำหรับไวรัลสุดน่ารักจากเทศกาลแข่งเรือโบราณ “ปาคู จาลูร์” (Pacu Jalur) บนหมู่เกาะรีเยา (Riau) ทางภาคตะวันออกของเกาะสุมาตรา จรดช่องแคบมะละกา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเด็กชายรายหนึ่งนามว่า เรย์ยาน อาร์กัน ดิกา (Rayyan Arkan Dikha) หรือ ดิกา (Dikha) วัย 11 ขวบ กลายเป็นจุดสนใจจากลีลาการเต้นบนหัวเรือระหว่างแข่งขัน ในตำแหน่งที่เรียกว่า ตูกัง ตาริ (Tukang Tari) ชุดสีดำเรียบหรู และแว่นกันแดด เปรียบกับแดนเซอร์ ทำหน้าที่ปลุกพลังให้กับฝีพาย ซึ่งเขาทำหน้าที่นี้มาตั้งแต่อายุ 9 ขวบ แถมเพลงที่นำมาประกอบในครั้งนี้ก็เป็นเพลงฮิปฮอป “Young Black & Rich” ของศิลปินชาวอเมริกัน เมลลี ไมค์ (Melly Mike) ท่าเต้นของดิกาแพร่กระจายไวอย่างรวดเร็วใน TikTok และ IG พร้อมเกิดกระแสที่เรียกว่า ออรา ฟาร์มมิ่ง (Aura Farming) หรือการเต้นเลียนแบบเพื่อเรียกความสนใจ โดยมีคนดังและสโมสรกีฬาร่วมเทรนด์ เช่น สโมสรฟุตบอลปารีส แซงต์ แชร์กแมง (PSG) ที่โพสต์วิดีโอเลียนแบบพร้อมข้อความว่า “กลิ่นอายได้แผ่ไปถึงปารีสแล้ว” ส่วนเอซี มิลาน เขียนแคปชันสุดฮาว่า “Aura Farming แม่นยำ 1899%” แถมยังมี ทราวิส เคลซ์ นักอเมริกันฟุตบอล แฟนหนุ่มของเทย์เลอร์ สวิฟต์ รวมถึงนักเตะไทย “เจ ชนาธิป สรงกระสินธ์” ก็เข้าร่วมกระแสนี้ด้วย ล่าสุด เมลลี ไมค์ ประกาศว่าจะเดินทางมาร่วมงานเทศกาลปาคู จาลูร์ ในปีนี้ด้วยตนเอง ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-24 ส.ค. 2568 ขณะที่เด็กชายดิกาได้รับแต่งตั้งเป็นทูตวัฒนธรรมจังหวัดรีเยา และได้รับเชิญให้เดินทางพร้อมครอบครัวไปยังกรุงจาการ์ตา เพื่อเข้าพบรัฐมนตรีด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของอินโดนีเซีย รวมถึงออกรายการโทรทัศน์ และได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลอินโดนีเซีย ในฐานะที่ทำให้มรดกทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซียเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เทศกาลปาคู จาลูร์ ถือเป็นหนึ่งในมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญของอินโดนีเซีย จัดขึ้นที่ริมแม่น้ำอินดรากิรี (Indragiri River) โดยมีการแข่งขันพายเรือจาลูร์ ที่สร้างจากไม้ทั้งท่อน ไม่มีข้อต่อ พร้อมการตกแต่งที่วิจิตรงดงาม ไฮไลต์ของเทศกาลคือการมีนักเต้นแสดงอยู่บนหัวเรือ สร้างสีสันและความตื่นตาตื่นใจให้ผู้ชม มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษชาวควนซิงในศตวรรษที่ 22 ต่อมาถูกพัฒนาให้เป็นกิจกรรมประเพณี เคยใช้เฉลิมฉลองวันสำคัญทางศาสนา และในสมัยอาณานิคมเนเธอร์แลนด์ก็เคยจัดเพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดของราชินีด้วย ปัจจุบันจัดต่อเนื่องทุกปี และดึงดูดผู้เข้าชมได้มากกว่า 1 ล้านคนต่อปี #Newskit
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 219 มุมมอง 0 รีวิว
  • เตรียมเสนอ 'ชุดไทย 'ให้ยูเนสโก พิจารณาเป็น'มรดกทางวัฒนธรรม' ในปี 2569 ประสพ ยันตรวจสอบแล้วกัมพูชา ไม่ได้นำชุดไทย สอดแทรกเสนอประเพณีแต่งงานเขมร
    https://www.thai-tai.tv/news/20118/
    เตรียมเสนอ 'ชุดไทย 'ให้ยูเนสโก พิจารณาเป็น'มรดกทางวัฒนธรรม' ในปี 2569 ประสพ ยันตรวจสอบแล้วกัมพูชา ไม่ได้นำชุดไทย สอดแทรกเสนอประเพณีแต่งงานเขมร https://www.thai-tai.tv/news/20118/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 63 มุมมอง 0 รีวิว
  • “อิ๊งค์” เสียเหลี่ยม วธ.กัมพูชา จี้ส่งคืนวัตถุโบราณ 20 ชิ้น ภายใน ส.ค. 68 ตามที่ตกลงตอนเยือนพนมเปญ ชี้ข้ออ้างขาดงบฟังไม่ขึ้น เขมรจะออกค่าใช้จ่ายเอง
    https://www.thai-tai.tv/news/20085/
    .
    #โบราณวัตถุ #กัมพูชา #แพทองธารชินวัตร #รมววัฒนธรรมกัมพูชา #การส่งคืนโบราณวัตถุ #พนมเปญ #ข้อตกลงไทยกัมพูชา #ขาดงบประมาณ #PhoeurngSackona #มรดกทางวัฒนธรรม
    “อิ๊งค์” เสียเหลี่ยม วธ.กัมพูชา จี้ส่งคืนวัตถุโบราณ 20 ชิ้น ภายใน ส.ค. 68 ตามที่ตกลงตอนเยือนพนมเปญ ชี้ข้ออ้างขาดงบฟังไม่ขึ้น เขมรจะออกค่าใช้จ่ายเอง https://www.thai-tai.tv/news/20085/ . #โบราณวัตถุ #กัมพูชา #แพทองธารชินวัตร #รมววัฒนธรรมกัมพูชา #การส่งคืนโบราณวัตถุ #พนมเปญ #ข้อตกลงไทยกัมพูชา #ขาดงบประมาณ #PhoeurngSackona #มรดกทางวัฒนธรรม
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 146 มุมมอง 0 รีวิว
  • “อุปกิต” มอบพระพุทธรูปโบราณกว่า 300 ปีคืน สปป.ลาว พร้อมรูปหล่อครูบาเจ้าศรีวิชัย หนุนโครงการเสนอชื่อบุคคลสำคัญยูเนสโก
    https://www.thai-tai.tv/news/20083/
    .
    #อุปกิตปาจรียางกูร #พระพุทธรูปโบราณ #คืนสมบัติชาติ #สปปลาว #วัดองค์ตื้อมหาวิหาร #ครูบาเจ้าศรีวิชัย #ยูเนสโก #ความสัมพันธ์ไทยลาว #มรดกทางวัฒนธรรม #ศาสนาและวัฒนธรรม
    “อุปกิต” มอบพระพุทธรูปโบราณกว่า 300 ปีคืน สปป.ลาว พร้อมรูปหล่อครูบาเจ้าศรีวิชัย หนุนโครงการเสนอชื่อบุคคลสำคัญยูเนสโก https://www.thai-tai.tv/news/20083/ . #อุปกิตปาจรียางกูร #พระพุทธรูปโบราณ #คืนสมบัติชาติ #สปปลาว #วัดองค์ตื้อมหาวิหาร #ครูบาเจ้าศรีวิชัย #ยูเนสโก #ความสัมพันธ์ไทยลาว #มรดกทางวัฒนธรรม #ศาสนาและวัฒนธรรม
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 112 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ฮุน มาเนต” โพสต์กัมพูชามีมรดกทางวัฒนธรรมเพียบ ยินดีครบรอบ 74 ปี กัมพูชาเป็นสมาชิกยูเนสโก (UNESCO)
    https://www.thai-tai.tv/news/19979/
    “ฮุน มาเนต” โพสต์กัมพูชามีมรดกทางวัฒนธรรมเพียบ ยินดีครบรอบ 74 ปี กัมพูชาเป็นสมาชิกยูเนสโก (UNESCO) https://www.thai-tai.tv/news/19979/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 104 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตั้งแต่ปี 2004... ผมได้พบกุญแจไขสิ่งที่ผมอยากรู้จากคำเพียงคำเดียว "Cultural Transmission" มันนำพาผมไปพบกับงานของศาสตราจารย์ Luigi Luca Cavalli-Sforza และลูกศิษย์ของเขาที่ Standford ชื่อ Spencer Wells… มันได้เปิดโลกทัศน์ของผมในการมองสิ่งต่างๆ ผ่านการพิจารณาหลายๆ ศาสตร์ควบคู่กับความรู้เกี่ยวกับพันธุกรรมมนุษย์และการอพยพย้ายถิ่น เมื่อเรารู้ว่าที่แท้แล้วเราเป็นใคร สิ่งต่างๆ ก็เชื่อมโยงกัน
    .
    ในปีเดียวกันนั้น Bill Clinton ประกาศที่ทำเนียบขาวถึงความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์ แผนที่ดีเอ็นเออันแรกของมนุษย์ถูกทำสำเร็จ ความลับของสายพันธุ์มนุษย์ถูกไข ทั้งหมดนั้นเป็นเพราะวิสัยทัศน์ของศาสตราจารย์ลูกา ที่มุ่งมั่นเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอมาก่อนหน้านั้นกว่าสามสิบปีเพราะเชื่อมั่นว่ามันซ่อนความลับของมนุษย์ไว้ ทันทีที่แผนที่ดีเอ็นเอสำเร็จ เสปนเซอร์ซึ่งเป็นทายาทรับช่วงงานวิจัยต่อจาก ศจ.ลูกา ก็นำเสนออีกแผนที่หนึ่ง คือแผนที่การอพยพย้ายถิ่นของมนุษย์ย้อนหลังกว่าแสนปีจากแอฟริกา และสาแหรกพันธุกรรมมนุษย์ย้อนถอยไปถึงบรรพบุรุษคนแรกที่เป็นรากลึกที่สุด
    .
    ในเวลานั้น ไม่มีใครหรือสาขาวิชาใดมองความรู้ของมนุษย์ผ่านวิสัยทัศน์นี้ มันเป็นเรื่องใหม่ แต่ความฉงนสนเท่ห์ของผมที่มีกับตัวอย่างดนตรีของไท-ไทยและชาติพันธ์อื่นๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะในจีนตอนใต้และประเทศไทย ทำให้ผมเอามานั่งคิด ผลจากการคิดวิเคราะห์ ผมรู้สึกว่ามันเป็นดนตรีชนิดเดียวหรือพูดให้ชัดกว่านั้น มันน่าจะเป็นวัฒนธรรมที่มีรากเหง้าร่วมกัน อาจจัดเป็นสกุลเดียวกันคล้ายๆ กับภาษา และถ้าสิ่งที่นักมานุษยวิทยาเชื่อกันมาเนิ่นนานจนบัดนี้ว่า ดนตรีเกิดมาจากภาษา ว่ามันเริ่มมาจากจุดนั้น มันก็จะต้องมีส่วนสัมพันธ์กับการส่งต่อทางวัฒนธรรม ซึ่งผมแบ่งได้ง่ายๆ ออกเป็นสามลักษณะหลักๆ
    .
    หนึ่งคือ สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษรุ่นสู่รุ่น เป็นเหมือนมรดกทางวัฒนธรรม จารีต ประเพณี / สองคือ รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากดินแดนอื่น-ชนชาติอื่นที่รุ่งเรืองกว่าหรือต่างดินแดนที่คบค้าไปมาหาสู่กันยาวนาน จึงรับเอาธรรมเนียมเขามานิยม / สามคือ เกิดจากการถูกพิชิตให้อยู่ในอาณัตหรือถูกบังคับให้รับวัฒนธรรมผู้อื่นมาเป็นของตน อาจจะยังดำเนินขนบทางวัฒนธรรมเดิมอยู่ได้ขณะที่ต้องยอมรับวัฒนธรรมอื่นเป็นหลัก หรืออาจถูกบังคับให้เลิกวัฒนธรรมของตนแล้วรับเอาวัฒนธรรมของชาติที่พิชิตเป็นของตนแทน
    .
    ในกรณีแรก วัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจะมีอัตลักษณ์ที่จำแนกได้ชัดเจนเหมือนภาษาที่จัดเป็นสกุลหรือ phyla ได้ | กรณีที่สอง ย่อมมีการแทรกของวัฒนธรรมสกุลอื่นเข้ามาผสมผสาน แต่เนื่องจากการเชื่อมโยงกันเป็นไปอย่างละมุนละม่อมจึงไม่มีอะไรถูกทำลาย จะนำไปสู่ความหลากหลายมากขึ้นได้หลายปัจจัย แต่จะยังคงแยกแยะลักษณะของอัตลักษณ์แต่ละสกุลได้ | กรณีที่สาม ไม่ต่างอะไรกับขุดรากถอนโคน วัฒนธรรมสกุลเดิมถูกทำลายไป อาจมีบางคนที่ต่อต้านและต้องการรักษาขนบเก่าไว้อย่างหลบซ่อน ซึ่งจะทำให้กลายเป็นสิ่งต้องห้ามหรือตาบู แต่ก็อาจมีโอกาสที่วันหนึ่งจะถูกฟื้นฟูขึ้น
    .
    ตั้งแต่ปี 2004 ผมหมกมุ่นเรื่องนี้นานนับสิบปี อ่านหนังสือมากมาย ไปเก็บตัวอย่างจากภาคสนาม เสาะหาข้อมูลเสียงจากทุกที่ที่ได้เบาะแส ผมนึกอยู่เวียนวนจนได้สมมุติฐานอันนึงขึ้นมา "เป็นไปได้ไหมว่า ถ้าเรามีสายเลือดที่เชื่อมโยงกันทั้งโลกอย่างที่ ศจ.ลูกา และ เสปนเซอร์ นำเสนอ เราก็น่าจะมีวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกันโดยที่สอดคล้องกับสาแหรกพันธุกรรมด้วย และเมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็น่าจะแยกแยะดนตรีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมมนุษย์ออกเป็นวงศ์ตระกูลได้ในลักษณะเดียวกัน ในเวลาต่อมา ผมพบบทความหนึ่งที่เขียนโดย ศจ. Victor Grauer หัวข้อเรื่อง Music Family ผมจำชื่อเขาได้ทันที เพราะผมเรียนหนังสือเล่มหนึ่งของ Alan Lomax นักมานุษยวิทยาดนตรีที่เป็นตำนานของโลก มันเกี่ยวกับระบบวิเคราะห์ดนตรีพื้นเมืองที่เขาคิดค้นขึ้นเรียกว่า Cantomatrics และอาจารย์วิคเตอร์ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของอลันมีส่วนในการคิดค้นนี้
    .
    ผมเขียนอีเมล์ไปหาอาจารย์วิคเตอร์ตามอีเมล์ที่ปรากฏบนบทความของแก บอกว่าผมอ่าน Music Family แล้วคิดว่าน่าจะเดินไปในทิศทางเดียวกับที่ผมคิด แล้วเล่า Hypothesis ของผมให้แกฟัง บอกว่าผมจะเทรซจากดีเอ็นเอและการอพยพย้ายถิ่นของมนุษย์เป็นวิธีวิจัย แกตอบมาว่าเห็นด้วย นี่เป็นเรื่องใหม่และตื่นเต้นมาก อยากให้ผมแชร์ข้อมูลกับแก จากจุดนี้ไปคือการผจญภัยอันน่าตื่นเต้นของผมกับโครงการ Genomusicology ตั้งแต่วันนั้นมาจนบัดนี้ ยี่สิบปีแล้ว
    .
    ผมเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความสนใจของผมในเรื่องนี้มาเรื่อย และบางครั้งมันไม่ได้เกี่ยวกับดนตรีแต่เป็นเรื่องอื่น ผมรู้แต่ตอนนั้นว่าความรู้อะไรก็ตามหากมันขัดกับวิทยาศาสตร์นี้ ไม่ว่าจะสาขาวิชาอะไร มันมีแนวโน้มจะผิดพลาด ตัวอย่างเช่นประวัติศาสตร์ ยิ่งถ้าคุณเปิดหน้าต่างหลายๆ ศาสตร์พร้อมกันโดยไม่ยึดติดกับทัศนะของสำนักคิดเดิม คุณจะพบกับหนทางที่กว้างไกลกว่า ยกตัวอย่างเช่นเมื่อคุณหาคำตอบทางประวัติศาสตร์ คุณลองทาบมันกับชีววิทยาพันธุกรรม ขณะเดียวกันก็ทาบมันกับโบราณคดี ภาษาศาสตร์ ธรณีวิทยา นิรุกติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ปรัมปราคติ ศาสนาเทววิทยา...ฯลฯ มันจะนำคุณไปสู่คำตอบที่หนักแน่นกว่าที่คุณจะจมอยู่กับข้อมูลทางประวัติศาสตร์เพียงอย่างเดียว
    .
    หลายปีที่ผ่านมา เริ่มมีหลายสาขาวิชาที่หันมาใช้แผนที่แผ่นเดียวกับผม ที่ผมเห็นคือนักภาษาศาสตร์ในต่างประเทศมาก่อนเป็นพวกแรก ในไทยที่เริ่มก่อนคือนักโบราณคดีอย่างเช่น อาจารย์รัศมี ชูทรงเดช ท่านล้ำมาก ศึกษาซากบรรพชีวินแล้วเริ่มใช้ข้อมูลดีเอ็นเอมาก่อนที่จะมีนักชีววิทยารุ่นใหม่ที่สนใจด้านนี้เริ่มเอามาใช้ผนวกกับสาขามานุษยวิทยา ช่วงสี่ห้าปีหลังเริ่มมีงานวิจัยเกี่ยวกับดีเอ็นเอของคนไทยออกมาให้เห็นจากนักวิชาการไทยหลายคน
    .
    ถ้าจำเรื่องเก่าๆ ที่ผมเคยเขียนได้บ้างจะเห็นว่าผมพูดอยู่หลายครั้ง "ความแบ่งแยกเป็นความคิดของปีศาจ" และมันเป็นต้นตอความขัดแย้งที่ลุกลามกลายเป็นสงครามและการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ได้ ผมชี้ให้เห็นเสมอๆ ว่าคนเอเชียนั้นเป็นพี่น้องครอบครัวที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นลูกหลานของทายาทแห่งอาดัม (ในทางวิทยาศาสตร์) สองคนคือ Hg O และ Hg C และทายาทแห่งอีฟ (ในทางวิทยาศาสตร์) สี่คนคือ Hg B-M-F-D ดังนั้นพวกเขาไม่ว่าจะเรียกชื่อสมมุติตัวเองว่าอะไร ข้อเท็จจริงก็คือพวกเขาคือพี่น้องกันทั้งสิ้น เก่าใหม่ อ่อนแก่ ตามกาลเวลา
    .
    ด้วยเหตุนี้ ในปี 2008 ผมเขียนบทความหนึ่ง เรื่อง "ชื่อและชนเผ่า" และผมพยายามอธิบายความสมมุติที่ว่านี้ด้วยความพยายามยิ่งที่จะบอกความเป็นมาเป็นไปและความเกี่ยวโยงของแต่ละชาติพันธ์ ผมแบ่งกลุ่มพวกเขาออกเป็นสองกลุ่มง่ายๆ คือพวกเท้าเปียกและพวกเท้าแห้ง พวกเขาเป็นครอบครัวเดียวกันและทั้งหมดอยู่บนดินแดนเอเชียนี้มาตั้งแต่สามหมื่นกว่าปีที่แล้ว แต่พวกเท้าเปียกคือพวกที่อยู่บนซุนดาตอนล่าง ต้องผจญชะตากรรมน้ำท่วมโลกซึ่งหนักกว่าโนอาห์แน่นอน เพราะธรณีวิทยาบอกว่ามีที่เดียวบนโลกในประวัติศาสตร์มนุษย์แสนกว่าปี ที่คุณจะเรียกว่าน้ำท่วมโลกได้จริงๆ คือดินแดนซุนดาแห่งนี้ ไม่ใช่ในดินแดนเสี้ยวจันทร์หรือแถวเทือกเขาอารารัต มันท่วมที่นี่สามครั้งหลังยุคน้ำแข็งสิ้นสุด ทั้งสามครั้งรวมแล้วประมาณร้อยยี่สิบเมตร!.. ส่วนพวกเท้าแห้งก็คือพวกที่อยู่เหนือขึ้นไปในเมนแลนด์เอเชีย ซึ่งก็ได้เป็นสักขีพยานภัยพิบัตินี้เช่นกัน แต่มีเพียงส่วนน้อยที่ได้รับผลจากภัยพิบัติ
    .
    ดังนั้น สำหรับผม ไม่ว่าจะเอ่ยชื่อไหนมันก็คือสิ่งสมมุติ บรรดาพี่น้องในสาแหรกเท้าเปียกในอุษาคเนย์นับจากโบราณจนกระทั่งบัดนี้ อย่างที่บอก พวกเขาล้วนมาจากอัสเลียน แม้ต่อมาพวกเขาทั้งหลายจะกลายเป็นมอญ เป็นข่า เป็นละว้า เป็นขอมทวารวดี เป็นขอมละโว้ เป็นพนม เป็นสยาม เป็นศรีโพธิ์ เป็นมลายู เป็นนุสันทารา เป็นลาว เป็นจามปา เป็นเจนละ เป็นเขมร เป็นญวน... แต่หากคุณแล่เนื้อเถือหนังออกมา โครงสร้างทางโปรตีนของพวกเขาก็มีดีเอ็นเอที่มาจากบรรพบุรุษจากสาแหรกเดียวกันทั้งสิ้น..
    .
    การที่คุณแครี่วายโครโมโซมแฮพโพลกรุ๊พโอ หมายถึงคุณคลานตามกันมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน การย่อยออกเป็น sub group ต่างๆ เช่น O1 O1a O1b O1c O2 O2a O2b O2c... คือซับมิวเทชั่นในสกุลเดียวกัน แม้แตกแขนงออกไปแต่คุณยังคงมีสายเลือดที่โยงใยกันอยู่ จีนที่ซึ่งในการวิจัยช่วงแรกถูกจัดเป็น O3 (ปัจจุบันปรับเป็น O2) ยอมรับกันว่าเป็นชนชาติที่มีระบบบันทึกประวัติศาสตร์ดีที่สุดและเก่ากว่าทุกชนชาติในเอเชีย ถอยหลังไปถึงสี่พันกว่าปี แต่พันธุกรรมบอกว่าพวกเขาเป็นน้องเล็กที่สุด มียีนอายุน้อยที่สุดในสาแหรกวงศ์ตระกูล (เรียงจากหลักน้อยไปหามาก O > O1 > O2 หลักน้อยคือเก่ากว่า) ข้อนี้ยิ่งยืนยันว่าสาแหรก Y DNA Hg O มีรากเหง้าที่เก่าแก่ยาวไกลเพียงใด ในโลกนี้พวกเขาเก่ารองจากพวกออสตราอะบอริจิ้น และพวกซาฮารันโบราณ มียีนเป็นพี่ของชาวยุโรปเกือบทั้งหมด ยกเว้นพวกบาสก์ในอุสกาดี สเปน และพวกซามิแถวแลปแลนด์ ฟินด์แลนด์
    .
    Cultural Transmission ที่ส่งผ่านกันไปมานานนับหมื่นปี ทำให้ลักษณะที่ร่วมกันแต่โบราณจากวัฒนธรรมที่พื้นฐานที่สุดไปสู่วัฒนธรรมที่ซับซ้อนที่สุด ยังคงทิ้งเบาะแสความเกี่ยวโยงของพวกเขาเอาไว้ในทุกมิติทุกบริบท มันไม่ได้หายไปไหนและเรามองเห็นมันได้ แบบเดียวกับที่ผมเห็นผ่านดนตรี ตัวอย่างเช่น เราเป็นมนุษย์ที่ยุคบรรพกาลนับถือแม่เป็นใหญ่ เราจึงมีเทวี เจ้าแม่ พระแม่เต็มไปหมด ในดนตรีพื้นเมืองของเราผู้หญิงร้องเสียงสูงและดังทะลุทะลวง เพราะนางมีสถานะที่ได้รับการเคารพไม่ใช่ถูกกดไว้ นอกจากนั้นพวกนางยังมีการประสานเสียง มีพลังแข็งแรงและมั่นใจขณะขับร้อง นางสามารถยืนหยัดเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญได้ภายในสังคม แม้ทุกวันนี้ ผู้หญิงก็ยังคงเป็นใหญ่ในบ้าน ทุกบาททุกสตางค์ที่ผมหาได้ก็ต้องส่งมอบให้ภรรยาด้วยความเคารพ
    .
    เวลาที่มองภาพต่อทางประวัติศาสตร์ มุมมองของผมจึงเปลี่ยนไป ผมหยิบความรู้อื่นๆ เท่าที่อ้างอิงเชื่อถือได้มาประกบเข้าด้วยกันเสมอ... ทำไมกษัตริย์เขมรโบราณจะขึ้นครองราชย์ต้องแต่งกับนาค? สำหรับผม นี่คือปรัมปราคติที่สะท้อนการเมืองโบราณ เศรษฐีจากต่างถิ่น (ตัวขาวใส่เสื้อผ้าสวยงาม) จะมาปกครองคนท้องถิ่นที่เป็นคนพื้นเมือง (แก้ผ้า อยู่กับป่าฝนและมรสุม) ก็ต้องดองกับคนท้องถิ่น หลักฐานเจเนติคก็พบว่าพ้องกันว่า ผู้ชายบรรพบุรุษของพวกเรา (Y DNA Hg O) ซึ่งอพยพมาด้วยเส้นทางสายเอเชียกลาง อากาศดี อาหารสมบูรณ์ตลอดทาง พวกเขาคงหล่อเร้าใจไม่น้อยเมื่อเดินทางมาถึงซุนดา พวกผู้หญิงอะบอริจิ้น (mt DNA Hg B / M) พากันเลือกบรรพบุรุษของเราเป็นพ่อพันธ์ อุปมาดังหงส์ทองครองคู่กับนาคยังไงยังงั้น ทำให้ผู้ชายอะบอริจิ้นต้องถอยห่างออกไปจากแผ่นดินใหญ่ การได้แม่สายงูมาเป็นแม่พันธ์อีกสองแม่ ทำให้ลูกหลานพวก Hg O ออกลูกมาเต็มดินแดน มันคือการผสมกันของนกกับงู แต่พวก Hg C ที่ผู้หญิงไม่เลือกลูกหลานก็เลยน้อยกว่า แรงงานที่จะพัฒนาชุมชนและเป็นกำลังรบจึงน้อย ถ้าผู้หญิงของเขาไม่เลือกพวก Hg O และมีจำนวนประชากรพอๆ กัน พวกอัสเลียนกับอะบอริจิ้นคงรบกันแหลกราญตายไปข้างหนึ่ง นี่ไม่ใช่ครั้งเดียว...
    .
    พระนางจามเทวีแห่งละโว้ หรือจะเรียกละโว้ ละว้า ว้า ลั๊วะ ก็คือกัน เป็นข่า เป็นอัสเลียนที่ยังมีความเป็นชนพื้นเมือง เมื่อเทียบชายหนุ่มในเผ่าของนางกับหนุ่มเท้าแห้งพี่น้องสาแหรกเดียวกันแต่ขาวผ่องกว่าเพราะอาศัยอยู่ดินแดนทางเหนือขึ้นไป อากาศแสนดี แต่งตัวหล่อ เหตุฉะนี้ พระนางทำเหมือนบรรพบุรุษอะบอริจิ้นข้างแม่ ไม่เลือกพวกเดียวกันเอง แต่ไปเลือกหนุ่มทางเหนือแถวหริภุญชัยสายไป่เยว่ ทำเอานักรบหนุ่มละว้าถึงกับไม่พอใจทำไมไม่เลือกฉันไปเลือกไอ้ละอ่อนสำอางทางเหนือ เลยท้าพระนางจามพุ่งหอกแข่งกัน ถ้าแพ้ต้องแต่งกับเขา และพระนางจามเทวีชนะนักรบนะ! แปลว่าพระนางจามของเรานี้ก็ยังคงมีทักษะแบบที่ชนเผ่าในสมัยบรรพกาลมี คือโตมานี่ยังรบและล่าสัตว์อยู่ แม่หญิงธรรมดาที่ไหนจะพุ่งหอกชนะ พระนางคงเห็นว่าการแต่งกับหนุ่มทางเหนือเป็นการปรับปรุงสายพันธุ์และทำให้การเมืองมีหนทางที่ก้าวหน้าขึ้นกว่าที่เคยเป็น เพราะการดองลักษณะนี้ พวกเท้าเปียกและเท้าแห้งก็จะมี Cultural Transmission ที่ถ่ายเทต่อกันอย่างละมุนละม่อม ต่างกับพวกยุโรปที่ไปปล้นพวกเมาริ ยึดแผ่นดินพวกเขา แล้วบังคับให้ดีดอะคูเลเล่และเข้าโบสถ์ไปร้องประสานเสียง
    .
    หันมองเครือญาติข้างบ้าน ยุคสมัยแห่งเขมรพระนครนั้นล่มสลายไปนานแล้ว กัมพูชาอยู่ในปกครองของอยุธยายาวนานมาจนรัตนโกสินทร์ ตอนที่พวกอาณานิคมฝรั่งเศสบุกมายึดครอง แล้วฝรั่งพวกนี้ไปเจอนครวัดอยู่ในป่าดงดิบ คนเขมรส่วนใหญ่ในตอนนั้นไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีปราสาทโบราณอยู่ตรงนั้น มันถูกต้นไม้กลืนจนหายไป รากและกิ่งใบเลื้อยพันฝังรากลงไปในตัวปราสาทจนมองไม่เห็น หลังเป็นอิสระจากอาณานิคมฝรั่งเศสพวกกษัตริย์เขมรนั้นมาโตมาเรียนอยู่ที่สยามทั้งนั้น ประวัติศาสตร์บอกชัดไม่ต้องบรรยายอีก Cultural Transmission ถูกส่งผ่านอย่างละมุนละม่อม ไม่ใช่เพราะถูกพิชิตถูกบังคับให้ทำตาม แต่เพราะรากเหง้าเดิมของเขมรเสื่อมสลายไปหมดนานแล้ว และเจ้านายเขมรนิยมชมชอบในขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมแบบไทยจึงรับและเรียนไป จนกระทั่งมันวินาศย่อยยับไปอีกครั้งในยุคเขมรแดง เพราะศิลปิน ปราชญ์ราชบัณฑิต ครู กวี ปัญญาชน...ถูกเขมรแดงฆ่าจนสิ้น
    .
    ผมก็รำคาญนะ พวกเขมรเคลมโบเดียน่ะ แต่ก็คิดว่ามันน่าสงสาร ยังไงก็พี่น้องสาแหรกเดียวกัน แล้วคนฉลาดๆ ของเขาก็ตายไปหมดแล้วตอนยุคเขมรแดงทุ่งสังหาร ที่พอจะรอดมาได้ก็หนีไปอเมริกา-ยุโรปไม่กลับมาอีก อย่างไรก็ตามประวัติศาสตร์ที่บันทึกอยู่ในโลกก็บอกเรื่องราวของสยามและเขมรชัดแจ้งอยู่ มันจะเคลมยังไงก็ไม่มีใครเขาเชื่อ แล้วก็ไม่มีพิษสงอะไรหรอก นอกจากสร้างความรำคาญ ส่งพวกทหารพรานไปเป่าข้าวหลามสักสิบบ้องก็คงหยุดแล้ว
    .
    แต่ไอ้ที่เลวแท้ก็คือไอ้พวกตัวเป็นไทยใจเป็นเขมรนี่แหละ ไอ้ที่ส่งลูกไปปี้กับเขมรก็พอเข้าใจที่มันเกี่ยวดองเป็นเครือญาติกัน แต่ไอ้พวกที่ไม่ได้ดองอะไรแต่เสือกไปรับใช้เขมร อันนี้เรียกขายชาติ ในดีเอ็นเอมีพันธุกรรมสุนัขแทรกอยู่เลยเลือกกินอาจม ไม่กินผัดไทย
    .
    เรื่องที่ผมเขียนให้อ่านนี่มันยาก ผมเข้าใจนะ แต่หากคนเราในทุกวันนี้เข้าใจในข้อนี้ตรงกัน บางทีความขัดแย้งในโลกอาจลดลงจนหมดไปได้ และเราอาจก้าวไปสู่สังคมอุดมคติแบบที่เราไฝ่ฝันถึง "We're All Connected"
    .
    - พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (2568) -
    .
    https://youtu.be/RdW1HNA5uSc?si=3E1WAUxHdLhSdVsw
    ตั้งแต่ปี 2004... ผมได้พบกุญแจไขสิ่งที่ผมอยากรู้จากคำเพียงคำเดียว "Cultural Transmission" มันนำพาผมไปพบกับงานของศาสตราจารย์ Luigi Luca Cavalli-Sforza และลูกศิษย์ของเขาที่ Standford ชื่อ Spencer Wells… มันได้เปิดโลกทัศน์ของผมในการมองสิ่งต่างๆ ผ่านการพิจารณาหลายๆ ศาสตร์ควบคู่กับความรู้เกี่ยวกับพันธุกรรมมนุษย์และการอพยพย้ายถิ่น เมื่อเรารู้ว่าที่แท้แล้วเราเป็นใคร สิ่งต่างๆ ก็เชื่อมโยงกัน . ในปีเดียวกันนั้น Bill Clinton ประกาศที่ทำเนียบขาวถึงความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์ แผนที่ดีเอ็นเออันแรกของมนุษย์ถูกทำสำเร็จ ความลับของสายพันธุ์มนุษย์ถูกไข ทั้งหมดนั้นเป็นเพราะวิสัยทัศน์ของศาสตราจารย์ลูกา ที่มุ่งมั่นเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอมาก่อนหน้านั้นกว่าสามสิบปีเพราะเชื่อมั่นว่ามันซ่อนความลับของมนุษย์ไว้ ทันทีที่แผนที่ดีเอ็นเอสำเร็จ เสปนเซอร์ซึ่งเป็นทายาทรับช่วงงานวิจัยต่อจาก ศจ.ลูกา ก็นำเสนออีกแผนที่หนึ่ง คือแผนที่การอพยพย้ายถิ่นของมนุษย์ย้อนหลังกว่าแสนปีจากแอฟริกา และสาแหรกพันธุกรรมมนุษย์ย้อนถอยไปถึงบรรพบุรุษคนแรกที่เป็นรากลึกที่สุด . ในเวลานั้น ไม่มีใครหรือสาขาวิชาใดมองความรู้ของมนุษย์ผ่านวิสัยทัศน์นี้ มันเป็นเรื่องใหม่ แต่ความฉงนสนเท่ห์ของผมที่มีกับตัวอย่างดนตรีของไท-ไทยและชาติพันธ์อื่นๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะในจีนตอนใต้และประเทศไทย ทำให้ผมเอามานั่งคิด ผลจากการคิดวิเคราะห์ ผมรู้สึกว่ามันเป็นดนตรีชนิดเดียวหรือพูดให้ชัดกว่านั้น มันน่าจะเป็นวัฒนธรรมที่มีรากเหง้าร่วมกัน อาจจัดเป็นสกุลเดียวกันคล้ายๆ กับภาษา และถ้าสิ่งที่นักมานุษยวิทยาเชื่อกันมาเนิ่นนานจนบัดนี้ว่า ดนตรีเกิดมาจากภาษา ว่ามันเริ่มมาจากจุดนั้น มันก็จะต้องมีส่วนสัมพันธ์กับการส่งต่อทางวัฒนธรรม ซึ่งผมแบ่งได้ง่ายๆ ออกเป็นสามลักษณะหลักๆ . หนึ่งคือ สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษรุ่นสู่รุ่น เป็นเหมือนมรดกทางวัฒนธรรม จารีต ประเพณี / สองคือ รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากดินแดนอื่น-ชนชาติอื่นที่รุ่งเรืองกว่าหรือต่างดินแดนที่คบค้าไปมาหาสู่กันยาวนาน จึงรับเอาธรรมเนียมเขามานิยม / สามคือ เกิดจากการถูกพิชิตให้อยู่ในอาณัตหรือถูกบังคับให้รับวัฒนธรรมผู้อื่นมาเป็นของตน อาจจะยังดำเนินขนบทางวัฒนธรรมเดิมอยู่ได้ขณะที่ต้องยอมรับวัฒนธรรมอื่นเป็นหลัก หรืออาจถูกบังคับให้เลิกวัฒนธรรมของตนแล้วรับเอาวัฒนธรรมของชาติที่พิชิตเป็นของตนแทน . ในกรณีแรก วัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจะมีอัตลักษณ์ที่จำแนกได้ชัดเจนเหมือนภาษาที่จัดเป็นสกุลหรือ phyla ได้ | กรณีที่สอง ย่อมมีการแทรกของวัฒนธรรมสกุลอื่นเข้ามาผสมผสาน แต่เนื่องจากการเชื่อมโยงกันเป็นไปอย่างละมุนละม่อมจึงไม่มีอะไรถูกทำลาย จะนำไปสู่ความหลากหลายมากขึ้นได้หลายปัจจัย แต่จะยังคงแยกแยะลักษณะของอัตลักษณ์แต่ละสกุลได้ | กรณีที่สาม ไม่ต่างอะไรกับขุดรากถอนโคน วัฒนธรรมสกุลเดิมถูกทำลายไป อาจมีบางคนที่ต่อต้านและต้องการรักษาขนบเก่าไว้อย่างหลบซ่อน ซึ่งจะทำให้กลายเป็นสิ่งต้องห้ามหรือตาบู แต่ก็อาจมีโอกาสที่วันหนึ่งจะถูกฟื้นฟูขึ้น . ตั้งแต่ปี 2004 ผมหมกมุ่นเรื่องนี้นานนับสิบปี อ่านหนังสือมากมาย ไปเก็บตัวอย่างจากภาคสนาม เสาะหาข้อมูลเสียงจากทุกที่ที่ได้เบาะแส ผมนึกอยู่เวียนวนจนได้สมมุติฐานอันนึงขึ้นมา "เป็นไปได้ไหมว่า ถ้าเรามีสายเลือดที่เชื่อมโยงกันทั้งโลกอย่างที่ ศจ.ลูกา และ เสปนเซอร์ นำเสนอ เราก็น่าจะมีวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกันโดยที่สอดคล้องกับสาแหรกพันธุกรรมด้วย และเมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็น่าจะแยกแยะดนตรีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมมนุษย์ออกเป็นวงศ์ตระกูลได้ในลักษณะเดียวกัน ในเวลาต่อมา ผมพบบทความหนึ่งที่เขียนโดย ศจ. Victor Grauer หัวข้อเรื่อง Music Family ผมจำชื่อเขาได้ทันที เพราะผมเรียนหนังสือเล่มหนึ่งของ Alan Lomax นักมานุษยวิทยาดนตรีที่เป็นตำนานของโลก มันเกี่ยวกับระบบวิเคราะห์ดนตรีพื้นเมืองที่เขาคิดค้นขึ้นเรียกว่า Cantomatrics และอาจารย์วิคเตอร์ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของอลันมีส่วนในการคิดค้นนี้ . ผมเขียนอีเมล์ไปหาอาจารย์วิคเตอร์ตามอีเมล์ที่ปรากฏบนบทความของแก บอกว่าผมอ่าน Music Family แล้วคิดว่าน่าจะเดินไปในทิศทางเดียวกับที่ผมคิด แล้วเล่า Hypothesis ของผมให้แกฟัง บอกว่าผมจะเทรซจากดีเอ็นเอและการอพยพย้ายถิ่นของมนุษย์เป็นวิธีวิจัย แกตอบมาว่าเห็นด้วย นี่เป็นเรื่องใหม่และตื่นเต้นมาก อยากให้ผมแชร์ข้อมูลกับแก จากจุดนี้ไปคือการผจญภัยอันน่าตื่นเต้นของผมกับโครงการ Genomusicology ตั้งแต่วันนั้นมาจนบัดนี้ ยี่สิบปีแล้ว . ผมเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความสนใจของผมในเรื่องนี้มาเรื่อย และบางครั้งมันไม่ได้เกี่ยวกับดนตรีแต่เป็นเรื่องอื่น ผมรู้แต่ตอนนั้นว่าความรู้อะไรก็ตามหากมันขัดกับวิทยาศาสตร์นี้ ไม่ว่าจะสาขาวิชาอะไร มันมีแนวโน้มจะผิดพลาด ตัวอย่างเช่นประวัติศาสตร์ ยิ่งถ้าคุณเปิดหน้าต่างหลายๆ ศาสตร์พร้อมกันโดยไม่ยึดติดกับทัศนะของสำนักคิดเดิม คุณจะพบกับหนทางที่กว้างไกลกว่า ยกตัวอย่างเช่นเมื่อคุณหาคำตอบทางประวัติศาสตร์ คุณลองทาบมันกับชีววิทยาพันธุกรรม ขณะเดียวกันก็ทาบมันกับโบราณคดี ภาษาศาสตร์ ธรณีวิทยา นิรุกติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ปรัมปราคติ ศาสนาเทววิทยา...ฯลฯ มันจะนำคุณไปสู่คำตอบที่หนักแน่นกว่าที่คุณจะจมอยู่กับข้อมูลทางประวัติศาสตร์เพียงอย่างเดียว . หลายปีที่ผ่านมา เริ่มมีหลายสาขาวิชาที่หันมาใช้แผนที่แผ่นเดียวกับผม ที่ผมเห็นคือนักภาษาศาสตร์ในต่างประเทศมาก่อนเป็นพวกแรก ในไทยที่เริ่มก่อนคือนักโบราณคดีอย่างเช่น อาจารย์รัศมี ชูทรงเดช ท่านล้ำมาก ศึกษาซากบรรพชีวินแล้วเริ่มใช้ข้อมูลดีเอ็นเอมาก่อนที่จะมีนักชีววิทยารุ่นใหม่ที่สนใจด้านนี้เริ่มเอามาใช้ผนวกกับสาขามานุษยวิทยา ช่วงสี่ห้าปีหลังเริ่มมีงานวิจัยเกี่ยวกับดีเอ็นเอของคนไทยออกมาให้เห็นจากนักวิชาการไทยหลายคน . ถ้าจำเรื่องเก่าๆ ที่ผมเคยเขียนได้บ้างจะเห็นว่าผมพูดอยู่หลายครั้ง "ความแบ่งแยกเป็นความคิดของปีศาจ" และมันเป็นต้นตอความขัดแย้งที่ลุกลามกลายเป็นสงครามและการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ได้ ผมชี้ให้เห็นเสมอๆ ว่าคนเอเชียนั้นเป็นพี่น้องครอบครัวที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นลูกหลานของทายาทแห่งอาดัม (ในทางวิทยาศาสตร์) สองคนคือ Hg O และ Hg C และทายาทแห่งอีฟ (ในทางวิทยาศาสตร์) สี่คนคือ Hg B-M-F-D ดังนั้นพวกเขาไม่ว่าจะเรียกชื่อสมมุติตัวเองว่าอะไร ข้อเท็จจริงก็คือพวกเขาคือพี่น้องกันทั้งสิ้น เก่าใหม่ อ่อนแก่ ตามกาลเวลา . ด้วยเหตุนี้ ในปี 2008 ผมเขียนบทความหนึ่ง เรื่อง "ชื่อและชนเผ่า" และผมพยายามอธิบายความสมมุติที่ว่านี้ด้วยความพยายามยิ่งที่จะบอกความเป็นมาเป็นไปและความเกี่ยวโยงของแต่ละชาติพันธ์ ผมแบ่งกลุ่มพวกเขาออกเป็นสองกลุ่มง่ายๆ คือพวกเท้าเปียกและพวกเท้าแห้ง พวกเขาเป็นครอบครัวเดียวกันและทั้งหมดอยู่บนดินแดนเอเชียนี้มาตั้งแต่สามหมื่นกว่าปีที่แล้ว แต่พวกเท้าเปียกคือพวกที่อยู่บนซุนดาตอนล่าง ต้องผจญชะตากรรมน้ำท่วมโลกซึ่งหนักกว่าโนอาห์แน่นอน เพราะธรณีวิทยาบอกว่ามีที่เดียวบนโลกในประวัติศาสตร์มนุษย์แสนกว่าปี ที่คุณจะเรียกว่าน้ำท่วมโลกได้จริงๆ คือดินแดนซุนดาแห่งนี้ ไม่ใช่ในดินแดนเสี้ยวจันทร์หรือแถวเทือกเขาอารารัต มันท่วมที่นี่สามครั้งหลังยุคน้ำแข็งสิ้นสุด ทั้งสามครั้งรวมแล้วประมาณร้อยยี่สิบเมตร!.. ส่วนพวกเท้าแห้งก็คือพวกที่อยู่เหนือขึ้นไปในเมนแลนด์เอเชีย ซึ่งก็ได้เป็นสักขีพยานภัยพิบัตินี้เช่นกัน แต่มีเพียงส่วนน้อยที่ได้รับผลจากภัยพิบัติ . ดังนั้น สำหรับผม ไม่ว่าจะเอ่ยชื่อไหนมันก็คือสิ่งสมมุติ บรรดาพี่น้องในสาแหรกเท้าเปียกในอุษาคเนย์นับจากโบราณจนกระทั่งบัดนี้ อย่างที่บอก พวกเขาล้วนมาจากอัสเลียน แม้ต่อมาพวกเขาทั้งหลายจะกลายเป็นมอญ เป็นข่า เป็นละว้า เป็นขอมทวารวดี เป็นขอมละโว้ เป็นพนม เป็นสยาม เป็นศรีโพธิ์ เป็นมลายู เป็นนุสันทารา เป็นลาว เป็นจามปา เป็นเจนละ เป็นเขมร เป็นญวน... แต่หากคุณแล่เนื้อเถือหนังออกมา โครงสร้างทางโปรตีนของพวกเขาก็มีดีเอ็นเอที่มาจากบรรพบุรุษจากสาแหรกเดียวกันทั้งสิ้น.. . การที่คุณแครี่วายโครโมโซมแฮพโพลกรุ๊พโอ หมายถึงคุณคลานตามกันมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน การย่อยออกเป็น sub group ต่างๆ เช่น O1 O1a O1b O1c O2 O2a O2b O2c... คือซับมิวเทชั่นในสกุลเดียวกัน แม้แตกแขนงออกไปแต่คุณยังคงมีสายเลือดที่โยงใยกันอยู่ จีนที่ซึ่งในการวิจัยช่วงแรกถูกจัดเป็น O3 (ปัจจุบันปรับเป็น O2) ยอมรับกันว่าเป็นชนชาติที่มีระบบบันทึกประวัติศาสตร์ดีที่สุดและเก่ากว่าทุกชนชาติในเอเชีย ถอยหลังไปถึงสี่พันกว่าปี แต่พันธุกรรมบอกว่าพวกเขาเป็นน้องเล็กที่สุด มียีนอายุน้อยที่สุดในสาแหรกวงศ์ตระกูล (เรียงจากหลักน้อยไปหามาก O > O1 > O2 หลักน้อยคือเก่ากว่า) ข้อนี้ยิ่งยืนยันว่าสาแหรก Y DNA Hg O มีรากเหง้าที่เก่าแก่ยาวไกลเพียงใด ในโลกนี้พวกเขาเก่ารองจากพวกออสตราอะบอริจิ้น และพวกซาฮารันโบราณ มียีนเป็นพี่ของชาวยุโรปเกือบทั้งหมด ยกเว้นพวกบาสก์ในอุสกาดี สเปน และพวกซามิแถวแลปแลนด์ ฟินด์แลนด์ . Cultural Transmission ที่ส่งผ่านกันไปมานานนับหมื่นปี ทำให้ลักษณะที่ร่วมกันแต่โบราณจากวัฒนธรรมที่พื้นฐานที่สุดไปสู่วัฒนธรรมที่ซับซ้อนที่สุด ยังคงทิ้งเบาะแสความเกี่ยวโยงของพวกเขาเอาไว้ในทุกมิติทุกบริบท มันไม่ได้หายไปไหนและเรามองเห็นมันได้ แบบเดียวกับที่ผมเห็นผ่านดนตรี ตัวอย่างเช่น เราเป็นมนุษย์ที่ยุคบรรพกาลนับถือแม่เป็นใหญ่ เราจึงมีเทวี เจ้าแม่ พระแม่เต็มไปหมด ในดนตรีพื้นเมืองของเราผู้หญิงร้องเสียงสูงและดังทะลุทะลวง เพราะนางมีสถานะที่ได้รับการเคารพไม่ใช่ถูกกดไว้ นอกจากนั้นพวกนางยังมีการประสานเสียง มีพลังแข็งแรงและมั่นใจขณะขับร้อง นางสามารถยืนหยัดเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญได้ภายในสังคม แม้ทุกวันนี้ ผู้หญิงก็ยังคงเป็นใหญ่ในบ้าน ทุกบาททุกสตางค์ที่ผมหาได้ก็ต้องส่งมอบให้ภรรยาด้วยความเคารพ . เวลาที่มองภาพต่อทางประวัติศาสตร์ มุมมองของผมจึงเปลี่ยนไป ผมหยิบความรู้อื่นๆ เท่าที่อ้างอิงเชื่อถือได้มาประกบเข้าด้วยกันเสมอ... ทำไมกษัตริย์เขมรโบราณจะขึ้นครองราชย์ต้องแต่งกับนาค? สำหรับผม นี่คือปรัมปราคติที่สะท้อนการเมืองโบราณ เศรษฐีจากต่างถิ่น (ตัวขาวใส่เสื้อผ้าสวยงาม) จะมาปกครองคนท้องถิ่นที่เป็นคนพื้นเมือง (แก้ผ้า อยู่กับป่าฝนและมรสุม) ก็ต้องดองกับคนท้องถิ่น หลักฐานเจเนติคก็พบว่าพ้องกันว่า ผู้ชายบรรพบุรุษของพวกเรา (Y DNA Hg O) ซึ่งอพยพมาด้วยเส้นทางสายเอเชียกลาง อากาศดี อาหารสมบูรณ์ตลอดทาง พวกเขาคงหล่อเร้าใจไม่น้อยเมื่อเดินทางมาถึงซุนดา พวกผู้หญิงอะบอริจิ้น (mt DNA Hg B / M) พากันเลือกบรรพบุรุษของเราเป็นพ่อพันธ์ อุปมาดังหงส์ทองครองคู่กับนาคยังไงยังงั้น ทำให้ผู้ชายอะบอริจิ้นต้องถอยห่างออกไปจากแผ่นดินใหญ่ การได้แม่สายงูมาเป็นแม่พันธ์อีกสองแม่ ทำให้ลูกหลานพวก Hg O ออกลูกมาเต็มดินแดน มันคือการผสมกันของนกกับงู แต่พวก Hg C ที่ผู้หญิงไม่เลือกลูกหลานก็เลยน้อยกว่า แรงงานที่จะพัฒนาชุมชนและเป็นกำลังรบจึงน้อย ถ้าผู้หญิงของเขาไม่เลือกพวก Hg O และมีจำนวนประชากรพอๆ กัน พวกอัสเลียนกับอะบอริจิ้นคงรบกันแหลกราญตายไปข้างหนึ่ง นี่ไม่ใช่ครั้งเดียว... . พระนางจามเทวีแห่งละโว้ หรือจะเรียกละโว้ ละว้า ว้า ลั๊วะ ก็คือกัน เป็นข่า เป็นอัสเลียนที่ยังมีความเป็นชนพื้นเมือง เมื่อเทียบชายหนุ่มในเผ่าของนางกับหนุ่มเท้าแห้งพี่น้องสาแหรกเดียวกันแต่ขาวผ่องกว่าเพราะอาศัยอยู่ดินแดนทางเหนือขึ้นไป อากาศแสนดี แต่งตัวหล่อ เหตุฉะนี้ พระนางทำเหมือนบรรพบุรุษอะบอริจิ้นข้างแม่ ไม่เลือกพวกเดียวกันเอง แต่ไปเลือกหนุ่มทางเหนือแถวหริภุญชัยสายไป่เยว่ ทำเอานักรบหนุ่มละว้าถึงกับไม่พอใจทำไมไม่เลือกฉันไปเลือกไอ้ละอ่อนสำอางทางเหนือ เลยท้าพระนางจามพุ่งหอกแข่งกัน ถ้าแพ้ต้องแต่งกับเขา และพระนางจามเทวีชนะนักรบนะ! แปลว่าพระนางจามของเรานี้ก็ยังคงมีทักษะแบบที่ชนเผ่าในสมัยบรรพกาลมี คือโตมานี่ยังรบและล่าสัตว์อยู่ แม่หญิงธรรมดาที่ไหนจะพุ่งหอกชนะ พระนางคงเห็นว่าการแต่งกับหนุ่มทางเหนือเป็นการปรับปรุงสายพันธุ์และทำให้การเมืองมีหนทางที่ก้าวหน้าขึ้นกว่าที่เคยเป็น เพราะการดองลักษณะนี้ พวกเท้าเปียกและเท้าแห้งก็จะมี Cultural Transmission ที่ถ่ายเทต่อกันอย่างละมุนละม่อม ต่างกับพวกยุโรปที่ไปปล้นพวกเมาริ ยึดแผ่นดินพวกเขา แล้วบังคับให้ดีดอะคูเลเล่และเข้าโบสถ์ไปร้องประสานเสียง . หันมองเครือญาติข้างบ้าน ยุคสมัยแห่งเขมรพระนครนั้นล่มสลายไปนานแล้ว กัมพูชาอยู่ในปกครองของอยุธยายาวนานมาจนรัตนโกสินทร์ ตอนที่พวกอาณานิคมฝรั่งเศสบุกมายึดครอง แล้วฝรั่งพวกนี้ไปเจอนครวัดอยู่ในป่าดงดิบ คนเขมรส่วนใหญ่ในตอนนั้นไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีปราสาทโบราณอยู่ตรงนั้น มันถูกต้นไม้กลืนจนหายไป รากและกิ่งใบเลื้อยพันฝังรากลงไปในตัวปราสาทจนมองไม่เห็น หลังเป็นอิสระจากอาณานิคมฝรั่งเศสพวกกษัตริย์เขมรนั้นมาโตมาเรียนอยู่ที่สยามทั้งนั้น ประวัติศาสตร์บอกชัดไม่ต้องบรรยายอีก Cultural Transmission ถูกส่งผ่านอย่างละมุนละม่อม ไม่ใช่เพราะถูกพิชิตถูกบังคับให้ทำตาม แต่เพราะรากเหง้าเดิมของเขมรเสื่อมสลายไปหมดนานแล้ว และเจ้านายเขมรนิยมชมชอบในขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมแบบไทยจึงรับและเรียนไป จนกระทั่งมันวินาศย่อยยับไปอีกครั้งในยุคเขมรแดง เพราะศิลปิน ปราชญ์ราชบัณฑิต ครู กวี ปัญญาชน...ถูกเขมรแดงฆ่าจนสิ้น . ผมก็รำคาญนะ พวกเขมรเคลมโบเดียน่ะ แต่ก็คิดว่ามันน่าสงสาร ยังไงก็พี่น้องสาแหรกเดียวกัน แล้วคนฉลาดๆ ของเขาก็ตายไปหมดแล้วตอนยุคเขมรแดงทุ่งสังหาร ที่พอจะรอดมาได้ก็หนีไปอเมริกา-ยุโรปไม่กลับมาอีก อย่างไรก็ตามประวัติศาสตร์ที่บันทึกอยู่ในโลกก็บอกเรื่องราวของสยามและเขมรชัดแจ้งอยู่ มันจะเคลมยังไงก็ไม่มีใครเขาเชื่อ แล้วก็ไม่มีพิษสงอะไรหรอก นอกจากสร้างความรำคาญ ส่งพวกทหารพรานไปเป่าข้าวหลามสักสิบบ้องก็คงหยุดแล้ว . แต่ไอ้ที่เลวแท้ก็คือไอ้พวกตัวเป็นไทยใจเป็นเขมรนี่แหละ ไอ้ที่ส่งลูกไปปี้กับเขมรก็พอเข้าใจที่มันเกี่ยวดองเป็นเครือญาติกัน แต่ไอ้พวกที่ไม่ได้ดองอะไรแต่เสือกไปรับใช้เขมร อันนี้เรียกขายชาติ ในดีเอ็นเอมีพันธุกรรมสุนัขแทรกอยู่เลยเลือกกินอาจม ไม่กินผัดไทย . เรื่องที่ผมเขียนให้อ่านนี่มันยาก ผมเข้าใจนะ แต่หากคนเราในทุกวันนี้เข้าใจในข้อนี้ตรงกัน บางทีความขัดแย้งในโลกอาจลดลงจนหมดไปได้ และเราอาจก้าวไปสู่สังคมอุดมคติแบบที่เราไฝ่ฝันถึง "We're All Connected" . - พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (2568) - . https://youtu.be/RdW1HNA5uSc?si=3E1WAUxHdLhSdVsw
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 750 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่วงนี้มีกระแสดังในจีนที่มีแบรนด์ดังนานาชาติระดับโอตกูตูร์แบรนด์หนึ่งวางขายกระโปรงจีบยาวในราคาสูงลิ่วพร้อมคำบรรยายว่ากระโปรงนี้มีโครงเส้นที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ ก่อเกิดเป็นกระแสต่อต้านอย่างแรงเนื่องจากมันเหมือนมากกับกระโปรงจีนโบราณ ถึงขนาดมีคนลงทุนไปซื้อมาเปรียบเทียบแจกแจงให้ฟังเพื่อพิสูจน์ว่าแบรนด์ดังฉกฉวยมรดกทางวัฒนธรรมจีนมาเป็นของตน (cultural appropriation)

    เพื่อนเพจอาจเคยผ่านตาข่าวนี้มาบ้างแล้ว กระโปรงที่ว่านี้มีชื่อเรียกทางภาษาจีนว่า ‘หม่าเมี่ยนฉวิน’ (马面裙 แปลตรงตัวว่า หน้าม้า+กระโปรง) กระโปรงนี้เคยสร้างกระแสความขัดแย้งทางชาตินิยมกันมาแล้วเมื่อครั้งซีรีส์ <คีตาแห่งวสันต์> ออนแอร์ เพราะมีคนเกาหลีท้วงติงว่าเอาชุดเกาหลีมาแอบอ้างว่าเป็นชุดของจีน

    Storyฯ ไปเห็นรูปส่วนประกอบของกระโปรงหม่าเมี่ยนเลยเอามาฝาก พร้อมรูปตัวอย่างจากในละคร (ดูรูปประกอบที่ 1)

    จะเห็นจากรูปว่า กระโปรงหม่าเมี่ยนทำจากผ้าหกชิ้น ต่อเป็นสองชิ้นใหญ่ (บางบันทึกบอกว่าเจ็ดชิ้นแบ่งเป็นสองชิ้นใหญ่เท่าๆ กัน และในช่วงปลายหมิงมีการพูดถึงผ้าต่อสิบชิ้น) แน่นอนว่าเขามีเกณฑ์ความยาวและหน้ากว้าง แต่เกณฑ์นี้เปลี่ยนแปลงไปบ้างตามยุคสมัย แต่ละชิ้นจะมีส่วนที่จับจีบและส่วนที่แบนเรียบ ส่วนที่แบนเรียบนี้เรียกว่า ‘หม่าเมี่ยน’ ตอนนำมาประกอบให้เอาหม่าเมี่ยนซ้อนกันแล้วเย็บส่วนคาดเอวเพื่อตรึงผ้าไว้ด้วยกัน สุดท้ายก็จะเป็นกระโปรงยาวที่มีรอยแยกเปิดสี่จุดคือหน้าและหลังตรงแนวติดกับส่วนจีบสองข้าง (ดูรูปประกอบที่ 1) ตามบันทึกโบราณระบุว่ารอยแยกสี่จุดนี้เป็นเอกลักษณ์ของกระโปรงหม่าเมี่ยน

    ทำไมต้องมีรอยแยกสี่จุด? คำตอบคือไว้สำหรับขี่ม้าค่ะ กระโปรงหม่าเมี่ยนมีใส่กันตั้งแต่ยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง และแท้จริงแล้วเป็นอิทธิพลที่ได้รับมาจากชนเผ่าคีตัน (ชี่ตัน) แห่งจักรวรรดิเหลียว ซึ่งนิยมสวมกระโปรงผ่าสี่แฉก เพื่อสะดวกต่อการขี่ม้า

    ต่อมาในสมัยหยวน หมิง และชิงกระโปรงนี้เป็นที่นิยมอย่างมากและกลายมาเป็นแบบกระโปรงพื้นฐานที่ใส่กันในแทบจะทุกสถานการณ์ ไม่ใช่แค่เพียงขี่ม้า ในสมัยหมิงนั้นนิยมใส่คู่กับเสื้อสาบไขว้ปิดสูงแขนยาว (ดูภาพจากในละคร) เรียกว่า ‘เสื้ออ่าว’ (袄 และปัจจุบันเรียกรวมท่อนบนและล่างแบบนี้ว่า ‘อ่าวฉวิน’) ตัวกระโปรงเน้นลายปักที่ชายกระโปรง เช่นลายเมฆ ลายเส้น ลายงูใหญ่ (หม่าง หรือที่เรามักเรียกว่าเป็นมังกรสี่เล็บ) ฯลฯ ต่อมาเมื่อถึงยุคสมัยชิงลวดลายและสีสันมีมากขึ้น

    คำว่า ‘หม่าเมี่ยน’ หากแปลตรงตัวว่า ‘ใบหน้าของม้า’ ก็จะฟังดูตลก แต่จริงๆ แล้วเป็นคำที่ใช้มาแต่โบราณเพื่อเรียกแนวกำแพงเมืองส่วนที่แบนราบ (ดูรูปประกอบ 2) ถามว่านี่คือที่มาของชื่อกระโปรงนี้หรือไม่? ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดค่ะ แต่จะเห็นว่ามีส่วนคล้ายคลึงอย่างมาก

    Storyฯ ยังไม่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้ แต่ดูจากภาพตัวอย่างแล้วเสื้อผ้าและเครื่องประดับดูเนี๊ยบมาก อ่านเจอว่าใช้ช่างฝีมือระดับอาจารย์มาจากซูโจวเลยทีเดียว เพื่อนเพจท่านใดได้เคยดูแล้วมาบอกกันหน่อยว่าสวยงามละมุนตาไหม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://m.juqingke.com/drama/l0fgpncm
    https://sunnews.cc/entertainment/376897.html
    https://m.aihanfu.com/wen/3546/
    https://www.aihanfu.com/wen/2902/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.52shijing.com/ctwh/87725.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/98833845
    https://baike.baidu.com/item/%E9%A9%AC%E9%9D%A2/2872717

    #คีตาแห่งวสันต์ #กระโปรงจีนโบราณ #ชุดราชวงศ์หมิง #หม่าเมี่ยนฉวิน #หม่าเมี่ยน #กระโปรงจีบ #อ่าวฉวิน
    ช่วงนี้มีกระแสดังในจีนที่มีแบรนด์ดังนานาชาติระดับโอตกูตูร์แบรนด์หนึ่งวางขายกระโปรงจีบยาวในราคาสูงลิ่วพร้อมคำบรรยายว่ากระโปรงนี้มีโครงเส้นที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ ก่อเกิดเป็นกระแสต่อต้านอย่างแรงเนื่องจากมันเหมือนมากกับกระโปรงจีนโบราณ ถึงขนาดมีคนลงทุนไปซื้อมาเปรียบเทียบแจกแจงให้ฟังเพื่อพิสูจน์ว่าแบรนด์ดังฉกฉวยมรดกทางวัฒนธรรมจีนมาเป็นของตน (cultural appropriation) เพื่อนเพจอาจเคยผ่านตาข่าวนี้มาบ้างแล้ว กระโปรงที่ว่านี้มีชื่อเรียกทางภาษาจีนว่า ‘หม่าเมี่ยนฉวิน’ (马面裙 แปลตรงตัวว่า หน้าม้า+กระโปรง) กระโปรงนี้เคยสร้างกระแสความขัดแย้งทางชาตินิยมกันมาแล้วเมื่อครั้งซีรีส์ <คีตาแห่งวสันต์> ออนแอร์ เพราะมีคนเกาหลีท้วงติงว่าเอาชุดเกาหลีมาแอบอ้างว่าเป็นชุดของจีน Storyฯ ไปเห็นรูปส่วนประกอบของกระโปรงหม่าเมี่ยนเลยเอามาฝาก พร้อมรูปตัวอย่างจากในละคร (ดูรูปประกอบที่ 1) จะเห็นจากรูปว่า กระโปรงหม่าเมี่ยนทำจากผ้าหกชิ้น ต่อเป็นสองชิ้นใหญ่ (บางบันทึกบอกว่าเจ็ดชิ้นแบ่งเป็นสองชิ้นใหญ่เท่าๆ กัน และในช่วงปลายหมิงมีการพูดถึงผ้าต่อสิบชิ้น) แน่นอนว่าเขามีเกณฑ์ความยาวและหน้ากว้าง แต่เกณฑ์นี้เปลี่ยนแปลงไปบ้างตามยุคสมัย แต่ละชิ้นจะมีส่วนที่จับจีบและส่วนที่แบนเรียบ ส่วนที่แบนเรียบนี้เรียกว่า ‘หม่าเมี่ยน’ ตอนนำมาประกอบให้เอาหม่าเมี่ยนซ้อนกันแล้วเย็บส่วนคาดเอวเพื่อตรึงผ้าไว้ด้วยกัน สุดท้ายก็จะเป็นกระโปรงยาวที่มีรอยแยกเปิดสี่จุดคือหน้าและหลังตรงแนวติดกับส่วนจีบสองข้าง (ดูรูปประกอบที่ 1) ตามบันทึกโบราณระบุว่ารอยแยกสี่จุดนี้เป็นเอกลักษณ์ของกระโปรงหม่าเมี่ยน ทำไมต้องมีรอยแยกสี่จุด? คำตอบคือไว้สำหรับขี่ม้าค่ะ กระโปรงหม่าเมี่ยนมีใส่กันตั้งแต่ยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง และแท้จริงแล้วเป็นอิทธิพลที่ได้รับมาจากชนเผ่าคีตัน (ชี่ตัน) แห่งจักรวรรดิเหลียว ซึ่งนิยมสวมกระโปรงผ่าสี่แฉก เพื่อสะดวกต่อการขี่ม้า ต่อมาในสมัยหยวน หมิง และชิงกระโปรงนี้เป็นที่นิยมอย่างมากและกลายมาเป็นแบบกระโปรงพื้นฐานที่ใส่กันในแทบจะทุกสถานการณ์ ไม่ใช่แค่เพียงขี่ม้า ในสมัยหมิงนั้นนิยมใส่คู่กับเสื้อสาบไขว้ปิดสูงแขนยาว (ดูภาพจากในละคร) เรียกว่า ‘เสื้ออ่าว’ (袄 และปัจจุบันเรียกรวมท่อนบนและล่างแบบนี้ว่า ‘อ่าวฉวิน’) ตัวกระโปรงเน้นลายปักที่ชายกระโปรง เช่นลายเมฆ ลายเส้น ลายงูใหญ่ (หม่าง หรือที่เรามักเรียกว่าเป็นมังกรสี่เล็บ) ฯลฯ ต่อมาเมื่อถึงยุคสมัยชิงลวดลายและสีสันมีมากขึ้น คำว่า ‘หม่าเมี่ยน’ หากแปลตรงตัวว่า ‘ใบหน้าของม้า’ ก็จะฟังดูตลก แต่จริงๆ แล้วเป็นคำที่ใช้มาแต่โบราณเพื่อเรียกแนวกำแพงเมืองส่วนที่แบนราบ (ดูรูปประกอบ 2) ถามว่านี่คือที่มาของชื่อกระโปรงนี้หรือไม่? ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดค่ะ แต่จะเห็นว่ามีส่วนคล้ายคลึงอย่างมาก Storyฯ ยังไม่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้ แต่ดูจากภาพตัวอย่างแล้วเสื้อผ้าและเครื่องประดับดูเนี๊ยบมาก อ่านเจอว่าใช้ช่างฝีมือระดับอาจารย์มาจากซูโจวเลยทีเดียว เพื่อนเพจท่านใดได้เคยดูแล้วมาบอกกันหน่อยว่าสวยงามละมุนตาไหม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://m.juqingke.com/drama/l0fgpncm https://sunnews.cc/entertainment/376897.html https://m.aihanfu.com/wen/3546/ https://www.aihanfu.com/wen/2902/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.52shijing.com/ctwh/87725.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/98833845 https://baike.baidu.com/item/%E9%A9%AC%E9%9D%A2/2872717 #คีตาแห่งวสันต์ #กระโปรงจีนโบราณ #ชุดราชวงศ์หมิง #หม่าเมี่ยนฉวิน #หม่าเมี่ยน #กระโปรงจีบ #อ่าวฉวิน
    玉楼春剧情介绍(1-43全集)大结局_电视剧_剧情客
    电视剧玉楼春剧情介绍,父亲遭人陷害,家道中落流离市井的官家千金林少春(白鹿饰)与当朝首辅之子孙玉楼(王一哲饰)相爱,嫁入了钟鸣鼎食的孙家。因出身问题,林少春屡遭排挤,但她凭着自身的智慧和善良,拯救濒临危机的家族财政、帮助不睦的兄嫂们重归于好,并使各怀心思的家人团...
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 689 มุมมอง 0 รีวิว
  • สายสัมพันธ์ไทย-ภูฏาน สองราชวงศ์เชื่อมใจประชาชน

    การเสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรภูฏานอย่างเป็นทางการ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ระหว่างวันที่ 25-28 เม.ย. 2568 ตามคำทูลเชิญของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งภูฏาน นับเป็นการกระชับมิตรภาพและความร่วมมืออันใกล้ชิดระหว่างราชอาณาจักรทั้งสองให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จากการมีมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกันในความเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนาและสายสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ทั้งสอง รวมทั้งระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ

    พระราชกรณียกิจที่น่าสนใจ อาทิ ทอดพระเนตรโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งภูฏาน เพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชน ได้แก่ โครงการฝึกอบรมเกียลซุง (Gyalsung National Service) ให้เยาวชนทุกคนที่มีอายุ 18 ปี เข้าร่วมการฝึกอบรมระยะเวลา 1 ปี เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และมีทักษะประจำตัวในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ โครงการจิตอาสาเดซุง (De-suung) เพื่อส่งเสริมให้ชาวภูฏานมีบทบาทในการสร้างชาติและพัฒนาประเทศ มีจิตอาสาทำงานเพื่อสังคมและส่วนรวม ความสมานฉันท์ สามารถทำงานเป็นทีมและมีระเบียบวินัย

    การเสด็จพระราชดำเนินไปยังสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดอร์เดนมา เพื่อร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคล โดยคณะสงฆ์ฝ่ายภูฏานและคณะสงฆ์ไทย ฝ่ายละ 74 รูป การเสด็จพระราชดำเนินไปยังโครงการหลวงเดเชนโชลิง ทอดพระเนตรนิทรรศการความร่วมมือระหว่างมูลนิธิโครงการหลวงของไทย กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภูฏาน ทอดพระเนตรโครงการเดชุง และโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

    การเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชวังลิงคานา เพื่อทอดพระเนตรการแสดงศิลปวัฒนธรรมของภูฏาน การยิงธนู และกีฬาพื้นบ้าน ทอดพระเนตรงานหัตถกรรมผ้าและสิ่งทอของราชอาณาจักรภูฏาน การเสด็จพระราชดำเนินไปยังตลาดกลางประจำกรุงทิมพู ทอดพระเนตรโครงการพัฒนาทักษะอาสาสมัครในโครงการเดซุง ทอดพระเนตรร้านค้าจำหน่ายพืชผลทางการเกษตร การเสด็จพระราชดำเนินไปยังป้อมดุงการ์ ทรงสักการะพระศากยมุนี ทอดพระเนตรกิจกรรมของราชวิทยาลัย และโครงการพัฒนาเมืองเกเลฟู ให้เป็นเมืองแห่งสติปัญญาในเขตปกครองพิเศษ

    นับเป็นพระราชไมตรีส่วนพระองค์ ที่มีค่านิยมร่วมกันในการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล บนพื้นฐานของวัฒนธรรมและศรัทธา​ของประชาชนทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะการน้อมนำหลักการของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ ตามนโยบายความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness) ที่มุ่งเน้นความสุขของประชาชนมากกว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจ

    #Newskit
    สายสัมพันธ์ไทย-ภูฏาน สองราชวงศ์เชื่อมใจประชาชน การเสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรภูฏานอย่างเป็นทางการ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ระหว่างวันที่ 25-28 เม.ย. 2568 ตามคำทูลเชิญของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งภูฏาน นับเป็นการกระชับมิตรภาพและความร่วมมืออันใกล้ชิดระหว่างราชอาณาจักรทั้งสองให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จากการมีมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกันในความเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนาและสายสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ทั้งสอง รวมทั้งระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ พระราชกรณียกิจที่น่าสนใจ อาทิ ทอดพระเนตรโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งภูฏาน เพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชน ได้แก่ โครงการฝึกอบรมเกียลซุง (Gyalsung National Service) ให้เยาวชนทุกคนที่มีอายุ 18 ปี เข้าร่วมการฝึกอบรมระยะเวลา 1 ปี เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และมีทักษะประจำตัวในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ โครงการจิตอาสาเดซุง (De-suung) เพื่อส่งเสริมให้ชาวภูฏานมีบทบาทในการสร้างชาติและพัฒนาประเทศ มีจิตอาสาทำงานเพื่อสังคมและส่วนรวม ความสมานฉันท์ สามารถทำงานเป็นทีมและมีระเบียบวินัย การเสด็จพระราชดำเนินไปยังสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดอร์เดนมา เพื่อร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคล โดยคณะสงฆ์ฝ่ายภูฏานและคณะสงฆ์ไทย ฝ่ายละ 74 รูป การเสด็จพระราชดำเนินไปยังโครงการหลวงเดเชนโชลิง ทอดพระเนตรนิทรรศการความร่วมมือระหว่างมูลนิธิโครงการหลวงของไทย กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภูฏาน ทอดพระเนตรโครงการเดชุง และโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชวังลิงคานา เพื่อทอดพระเนตรการแสดงศิลปวัฒนธรรมของภูฏาน การยิงธนู และกีฬาพื้นบ้าน ทอดพระเนตรงานหัตถกรรมผ้าและสิ่งทอของราชอาณาจักรภูฏาน การเสด็จพระราชดำเนินไปยังตลาดกลางประจำกรุงทิมพู ทอดพระเนตรโครงการพัฒนาทักษะอาสาสมัครในโครงการเดซุง ทอดพระเนตรร้านค้าจำหน่ายพืชผลทางการเกษตร การเสด็จพระราชดำเนินไปยังป้อมดุงการ์ ทรงสักการะพระศากยมุนี ทอดพระเนตรกิจกรรมของราชวิทยาลัย และโครงการพัฒนาเมืองเกเลฟู ให้เป็นเมืองแห่งสติปัญญาในเขตปกครองพิเศษ นับเป็นพระราชไมตรีส่วนพระองค์ ที่มีค่านิยมร่วมกันในการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล บนพื้นฐานของวัฒนธรรมและศรัทธา​ของประชาชนทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะการน้อมนำหลักการของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ ตามนโยบายความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness) ที่มุ่งเน้นความสุขของประชาชนมากกว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจ #Newskit
    Like
    Love
    6
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 708 มุมมอง 0 รีวิว
  • **การลื้อล้างแล้วสร้างใหม่ (Demolition and Rebuilding)**
    หมายถึงกระบวนการทำลายโครงสร้างหรือระบบเดิมเพื่อสร้างสิ่งใหม่ขึ้นแทนที่ อาจเกิดขึ้นได้ในหลายบริบท ทั้งทางกายภาพ สังคม เศรษฐกิจ หรือการเมือง

    ---

    ### **บริบทการนำไปใช้**
    1. **การพัฒนาเมือง**
    - **ตัวอย่าง**: การรื้ออาคารเก่าเพื่อสร้างตึกระฟ้า ถนนหนทางใหม่ หรือระบบขนส่งมวลชน
    - **ประโยชน์**: ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่
    - **ข้อโต้แย้ง**: อาจทำลายมรดกทางวัฒนธรรม หรือกระทบชุมชนเดิม

    2. **การปฏิรูปเศรษฐกิจ/องค์กร**
    - **ตัวอย่าง**: การยกเลิกนโยบายเก่า ปรับโครงสร้างบริษัท หรือเปลี่ยนระบบการทำงาน
    - **ประโยชน์**: สร้างนวัตกรรม เพิ่มความคล่องตัว
    - **ความเสี่ยง**: การต่อต้านจากผู้เสียประโยชน์ หรือความไม่แน่นอนชั่วคราว

    3. **การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง**
    - **ตัวอย่าง**: การปฏิวัติที่ล้มล้างระบอบเดิมเพื่อสร้างระบบการปกครองใหม่
    - **ประโยชน์**: ขจัดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม
    - **ความท้าทาย**: อาจเกิดความวุ่นวายหรือสูญเสียเสถียรภาพ

    4. **สิ่งแวดล้อม**
    - **ตัวอย่าง**: ทดแทนอุตสาหกรรมเก่าด้วยเทคโนโลยีสะอาด
    - **ประโยชน์**: ลดมลภาวะ สร้างความยั่งยืน
    - **ข้อจำกัด**: ต้นทุนสูงและต้องใช้เวลาปรับตัว

    ---

    ### **ประเด็นสำคัญ**
    - **ความสมดุล**: ระหว่างความก้าวหน้า vs. การอนุรักษ์
    - **ผลกระทบทางสังคม**: การโยกย้ายชุมชน การสูญเสียอัตลักษณ์ท้องถิ่น
    - **การมีส่วนร่วม**: ควรรับฟังความเห็นผู้เกี่ยวข้องเพื่อลดความขัดแย้ง

    ---

    ### **ตัวอย่างในประวัติศาสตร์**
    - **ปารีสสมัยพระเจ้านโปเลียนที่ 3**: ปรับผังเมืองให้เป็นถนนกว้างแบบปัจจุบัน
    - **จีนสมัยเติ้งเสี่ยวผิง**: เปลี่ยนจากระบบวางแผนสู่เศรษฐกิจตลาด
    - **การปฏิวัติอุตสาหกรรมสีเขียว**: แทนที่พลังงานฟอสซิลด้วยพลังงานหมุนเวียน

    ---

    ### **สรุป**
    การลื้อล้างแล้วสร้างใหม่เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการพัฒนา แต่ต้องคำนึงถึงบริบททางวัฒนธรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้ความก้าวหน้าสร้างบาดแผลให้สังคมในระยะยาว
    **การลื้อล้างแล้วสร้างใหม่ (Demolition and Rebuilding)** หมายถึงกระบวนการทำลายโครงสร้างหรือระบบเดิมเพื่อสร้างสิ่งใหม่ขึ้นแทนที่ อาจเกิดขึ้นได้ในหลายบริบท ทั้งทางกายภาพ สังคม เศรษฐกิจ หรือการเมือง --- ### **บริบทการนำไปใช้** 1. **การพัฒนาเมือง** - **ตัวอย่าง**: การรื้ออาคารเก่าเพื่อสร้างตึกระฟ้า ถนนหนทางใหม่ หรือระบบขนส่งมวลชน - **ประโยชน์**: ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ - **ข้อโต้แย้ง**: อาจทำลายมรดกทางวัฒนธรรม หรือกระทบชุมชนเดิม 2. **การปฏิรูปเศรษฐกิจ/องค์กร** - **ตัวอย่าง**: การยกเลิกนโยบายเก่า ปรับโครงสร้างบริษัท หรือเปลี่ยนระบบการทำงาน - **ประโยชน์**: สร้างนวัตกรรม เพิ่มความคล่องตัว - **ความเสี่ยง**: การต่อต้านจากผู้เสียประโยชน์ หรือความไม่แน่นอนชั่วคราว 3. **การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง** - **ตัวอย่าง**: การปฏิวัติที่ล้มล้างระบอบเดิมเพื่อสร้างระบบการปกครองใหม่ - **ประโยชน์**: ขจัดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม - **ความท้าทาย**: อาจเกิดความวุ่นวายหรือสูญเสียเสถียรภาพ 4. **สิ่งแวดล้อม** - **ตัวอย่าง**: ทดแทนอุตสาหกรรมเก่าด้วยเทคโนโลยีสะอาด - **ประโยชน์**: ลดมลภาวะ สร้างความยั่งยืน - **ข้อจำกัด**: ต้นทุนสูงและต้องใช้เวลาปรับตัว --- ### **ประเด็นสำคัญ** - **ความสมดุล**: ระหว่างความก้าวหน้า vs. การอนุรักษ์ - **ผลกระทบทางสังคม**: การโยกย้ายชุมชน การสูญเสียอัตลักษณ์ท้องถิ่น - **การมีส่วนร่วม**: ควรรับฟังความเห็นผู้เกี่ยวข้องเพื่อลดความขัดแย้ง --- ### **ตัวอย่างในประวัติศาสตร์** - **ปารีสสมัยพระเจ้านโปเลียนที่ 3**: ปรับผังเมืองให้เป็นถนนกว้างแบบปัจจุบัน - **จีนสมัยเติ้งเสี่ยวผิง**: เปลี่ยนจากระบบวางแผนสู่เศรษฐกิจตลาด - **การปฏิวัติอุตสาหกรรมสีเขียว**: แทนที่พลังงานฟอสซิลด้วยพลังงานหมุนเวียน --- ### **สรุป** การลื้อล้างแล้วสร้างใหม่เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการพัฒนา แต่ต้องคำนึงถึงบริบททางวัฒนธรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้ความก้าวหน้าสร้างบาดแผลให้สังคมในระยะยาว
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 437 มุมมอง 0 รีวิว
  • Exciting News! Telvada is thrilled to announce our exclusive partnership with OleOilO, Calabria's finest citrus essential oil producer!

    Since 1954, this family-owned estate in the south of Italy has masterfully cultivated the world's most exquisite Bergamot, lemon, and mandarin orchards. Now, their legendary citrus essential oils are available in Thailand exclusively through Telvada.

    Experience the Mediterranean in every drop - from the sun-kissed groves of Calabria to your home. Discover why OleOilO's Bergamot is considered the finest in the world.

    Pure, authentic Italian craftsmanship
    Family traditions since 1954
    Premium citrus essential oils
    Exclusive Thai distribution

    Ready to explore these extraordinary Italian essential oils? Contact us to learn more!

    การแจ้งเตือนความร่วมมืออันทรงเกียรติ

    นำน้ำมันหอมระเหยส้มชั้นดีจากอิตาลีมาสู่ประเทศไทย! เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวของ @OleOilO แหล่งปลูกส้มในตำนานของแคว้นคาลาเบรียในประเทศอิตาลี

    ความเชี่ยวชาญในครอบครัวกว่า 70 ปี
    เบอร์กาม็อตบริสุทธิ์จากแคว้นคาลาเบรีย
    น้ำมันหอมระเหยส้มคุณภาพเยี่ยม
    มรดกทางวัฒนธรรมอิตาลีแท้ๆ

    สัมผัสกับแก่นแท้ของความเป็นเลิศของอิตาลี - มีจำหน่ายแล้วที่ Telvada Thailand

    #น้ำมันหอมระเหย #ซิตรัสอิตาลี #น้ำมันเบอร์กาม็อต #น้ำมันหอมระเหยระดับพรีเมียม #TelvadaThailand #น้ำมันซิตรัส #ความเป็นเลิศของอิตาลี #ซิตรัสคาลาเบรีย #น้ำมันหอมระเหยสุดหรู #ความงามออร์แกนิก #telvada #น้ำมันหอมระเหย #น้ำมันหอมระเหยเทลวาดา

    #ItalianEssentials #PremiumCitrus #BergamotOil #TelvadaThailand"
    #telvada #telvadaessentialoils
    🍊 Exciting News! Telvada is thrilled to announce our exclusive partnership with OleOilO, Calabria's finest citrus essential oil producer! Since 1954, this family-owned estate in the south of Italy has masterfully cultivated the world's most exquisite Bergamot, lemon, and mandarin orchards. Now, their legendary citrus essential oils are available in Thailand exclusively through Telvada. Experience the Mediterranean in every drop - from the sun-kissed groves of Calabria to your home. Discover why OleOilO's Bergamot is considered the finest in the world. ✨ Pure, authentic Italian craftsmanship 🌿 Family traditions since 1954 🍋 Premium citrus essential oils 🤝 Exclusive Thai distribution Ready to explore these extraordinary Italian essential oils? Contact us to learn more! ✨ การแจ้งเตือนความร่วมมืออันทรงเกียรติ ✨ นำน้ำมันหอมระเหยส้มชั้นดีจากอิตาลีมาสู่ประเทศไทย! เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวของ @OleOilO แหล่งปลูกส้มในตำนานของแคว้นคาลาเบรียในประเทศอิตาลี 🍊 ความเชี่ยวชาญในครอบครัวกว่า 70 ปี 🌿 เบอร์กาม็อตบริสุทธิ์จากแคว้นคาลาเบรีย 🍋 น้ำมันหอมระเหยส้มคุณภาพเยี่ยม 🇮🇹 มรดกทางวัฒนธรรมอิตาลีแท้ๆ สัมผัสกับแก่นแท้ของความเป็นเลิศของอิตาลี - มีจำหน่ายแล้วที่ Telvada Thailand #น้ำมันหอมระเหย #ซิตรัสอิตาลี #น้ำมันเบอร์กาม็อต #น้ำมันหอมระเหยระดับพรีเมียม #TelvadaThailand #น้ำมันซิตรัส #ความเป็นเลิศของอิตาลี #ซิตรัสคาลาเบรีย #น้ำมันหอมระเหยสุดหรู #ความงามออร์แกนิก #telvada #น้ำมันหอมระเหย #น้ำมันหอมระเหยเทลวาดา #ItalianEssentials #PremiumCitrus #BergamotOil #TelvadaThailand" #telvada #telvadaessentialoils
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1559 มุมมอง 0 รีวิว
  • 54 ปี ลอบสังหาร “ครูโกมล คีมทอง” คอมมิวนิสต์เข้าใจผิด! คิดว่าเป็น… สายลับรัฐบาลไทย

    ย้อนรอยโศกนาฏกรรม ครูหนุ่มผู้มุ่งมั่นเพื่อการศึกษาในชนบท แต่ต้องจบชีวิตอย่างน่าเศร้า ท่ามกลางความเข้าใจผิด ในยุคสมัย ที่ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ร้อนระอุ

    เหตุการณ์สะเทือนขวัญ ที่ยังเป็นปริศนา ย้อนไปเมื่อ 54 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 เสียงปืนดังขึ้นที่บ้านเหนือคลอง หมู่ที่ 4 ตำบลสินเจริญ กิ่งอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้ครูหนุ่มวัยเพียง 24 ปี ต้องจบชีวิตลงอย่างโหดร้าย

    "โกมล คีมทอง ครูหนุ่มที่มีอุดมการณ์แรงกล้า มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเยาวชน ในพื้นที่ห่างไกล ผ่านระบบการศึกษา ที่เหมาะสมกับชุมชน ทว่า… ด้วยความเข้าใจผิด ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ทำให้ถูกตราหน้าว่า เป็นสายลับของรัฐบาลไทย และนำไปสู่การสังหารอันน่าเศร้า

    เรื่องราวของครูโกมล เต็มไปด้วยความซับซ้อน เป็นเหยื่อของสงครามอุดมการณ์ ที่ทั้งฝ่ายรัฐ และฝ่ายคอมมิวนิสต์ ต่างก็เพ่งเล็งและไม่ไว้ใจ จนกระทั่งความเข้าใจผิดครั้งใหญ่ ได้คร่าชีวิตพร้อมเพื่อนร่วมอุดมการณ์ อีกสองคน

    ครูโกมล คีมทอง จากเด็กหนุ่มหัวใจนักสู้ สู่ครูผู้เสียสละ
    👦🏻 "ครูโกมล คีมทอง" เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2489 ที่ จังหวัดสุโขทัย เติบโตขึ้นมาในครอบครัว ที่ให้ความสำคัญ กับการศึกษา

    จบชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ และเข้าศึกษาต่อ ที่คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นครู

    เส้นทางสู่อาชีพครู และอุดมการณ์ที่แรงกล้า
    ระหว่างเรียนมหาวิทยาลัย โกมลเป็นนิสิตที่กระตือรือร้น เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา และค่ายพัฒนาชนบทเป็นประจำ ทำให้เห็นถึงความลำบากของเด็ก ในพื้นที่ห่างไกล และตัดสินใจแน่วแน่ว่า "ชีวิตนี้จะอุทิศให้กับการศึกษาในชนบท"

    ในปีสุดท้ายของการเรียน ครูโกมลได้รับโอกาสเข้าร่วม “ค่ายพัฒนากำลังคน เหมืองห้วยในเขา” ซึ่งจัดขึ้นที่เหมืองแร่แห่งหนึ่ง ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่นี่เอง ที่โกมลได้เห็นปัญหาการศึกษาของเด็กๆ ในพื้นที่ห่างไกล และตัดสินใจที่จะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ นั่นคือ "สร้างโรงเรียนชุมชน"

    โรงเรียนชุมชนที่เหมืองห้วยในเขา อุดมการณ์ที่เป็นภัย
    จุดมุ่งหมายของครูโกมล โรงเรียนที่ครูโกมลตั้งใจสร้าง ไม่ใช่แค่สถานศึกษาแบบทั่วไป แต่เป็นโรงเรียนที่ออกแบบมา ให้เหมาะกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน

    หลักสูตรพิเศษ เน้นวิชาที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต เช่น การเกษตร ปศุสัตว์ และงานช่าง
    วัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม เช่น หนังตะลุง มโนราห์ และนิทานพื้นบ้าน
    ชุมชนเป็นศูนย์กลาง โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้าน ไม่ใช่รัฐ

    แนวคิดเช่นนี้ ทำให้ทั้งรัฐบาล และพรรคคอมมิวนิสต์จับตามอง ด้วยความสงสัยว่า "แท้จริงแล้ว ครูโกมลทำงานให้ฝ่ายใด?"

    สงครามอุดมการณ์ จุดเริ่มต้นของความหวาดระแวง
    ฝ่ายรัฐบาลมองว่า ครูโกมลเป็น "แนวร่วมคอมมิวนิสต์"
    รัฐบาลไทยในขณะนั้น มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ อย่างรุนแรง เจ้าหน้าที่รัฐบางคนเห็นว่า แนวคิดของครูโกมล อาจสนับสนุนอุดมการณ์ ของพรรคคอมมิวนิสต์ โรงเรียนของครูโกมล ไม่ได้ใช้หลักสูตร จากกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า อาจเป็นศูนย์กลาง ของขบวนการล้มล้างอำนาจรัฐ

    ฝ่ายคอมมิวนิสต์มองว่า "สายลับรัฐบาล"
    ขณะนั้น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) กำลังทำสงครามกองโจร กับรัฐบาลไทย การที่ครูโกมล เดินทางไปพบปะชาวบ้าน ถ่ายภาพ และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรม ทำให้พคท.เข้าใจว่ากำลังสอดแนม อีกทั้งการที่ครูโกมล ได้รับเงินสนับสนุนจาก "มูลนิธิเอเชีย" ซึ่งเป็นองค์กรต่างชาติ ยิ่งทำให้พคท.เชื่อว่า กำลังทำงานให้รัฐบาลไทย สุดท้าย... ความเข้าใจผิดนี้ นำไปสู่โศกนาฏกรรม ที่ไม่มีวันย้อนคืน

    โศกนาฏกรรม คืนสังหารที่ไม่มีวันลืม
    22 กุมภาพันธ์ 2514 บ้านเหนือคลอง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    ครูโกมล คีมทอง, รัตนา สกุลไทย บัณฑิตอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และเสรี ปรีชา หมอเร่ขายยา ถูกกลุ่มกองกำลัง พรรคคอมมิวนิสต จับตัวไป และถูกยิงเสียชีวิตในที่สุด

    หลังจากเหตุการณ์นี้ รัฐบาลไทยได้โปรยใบปลิวปฏิเสธว่า "ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหาร" ขณะที่ พคท. ออกมายอมรับในเวลาต่อมาว่า "เป็นผู้ลงมือสังหาร เนื่องจากเข้าใจผิดคิดว่า ครูโกมลเป็นสายลับรัฐบาลไทย"

    แม้ว่า "ครูโกมล คีมทอง" จะจากไป แต่สิ่งที่ได้ทำไว้ ยังคงเป็นที่จดจำ
    การเสียสละทำให้เกิด “มูลนิธิโกมล คีมทอง” ในปี พ.ศ. 2514
    สร้างแรงบันดาลใจ ให้คนรุ่นหลังอุทิศตน เพื่อพัฒนาสังคม
    หลักสูตรการศึกษา ที่เน้นชุมชนเป็นศูนย์กลาง ยังคงเป็นแนวคิด ที่นำมาใช้ในการศึกษายุคใหม่

    ครูโกมลถูกฆ่าโดยใคร?
    ฝ่ายรัฐบาล หรือ พรรคคอมมิวนิสต์?
    เป็นเพียงครูธรรมดา หรือมีบทบาทที่ลึกซึ้งกว่านั้น?
    ถ้าไม่มีการสังหารในวันนั้น ครูโกมลจะสามารถเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย ได้มากแค่ไหน?

    แม้ข้อเท็จจริง จะได้รับการเปิดเผยไปแล้ว แต่คำถามเหล่านี้ ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันมา จนถึงทุกวันนี้...

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 221245 ก.พ. 2568

    #️⃣ #ครูโกมลคีมทอง #54ปีลอบสังหาร #โกมลคีมทอง #ประวัติศาสตร์ไทย #คอมมิวนิสต์ไทย #การศึกษาชนบท #ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ #มูลนิธิโกมลคีมทอง #ครูผู้เสียสละ #ประวัติศาสตร์ต้องรู้
    54 ปี ลอบสังหาร “ครูโกมล คีมทอง” คอมมิวนิสต์เข้าใจผิด! คิดว่าเป็น… สายลับรัฐบาลไทย ย้อนรอยโศกนาฏกรรม ครูหนุ่มผู้มุ่งมั่นเพื่อการศึกษาในชนบท แต่ต้องจบชีวิตอย่างน่าเศร้า ท่ามกลางความเข้าใจผิด ในยุคสมัย ที่ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ร้อนระอุ 📌 เหตุการณ์สะเทือนขวัญ ที่ยังเป็นปริศนา ย้อนไปเมื่อ 54 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 เสียงปืนดังขึ้นที่บ้านเหนือคลอง หมู่ที่ 4 ตำบลสินเจริญ กิ่งอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้ครูหนุ่มวัยเพียง 24 ปี ต้องจบชีวิตลงอย่างโหดร้าย "โกมล คีมทอง ครูหนุ่มที่มีอุดมการณ์แรงกล้า มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเยาวชน ในพื้นที่ห่างไกล ผ่านระบบการศึกษา ที่เหมาะสมกับชุมชน ทว่า… ด้วยความเข้าใจผิด ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ทำให้ถูกตราหน้าว่า เป็นสายลับของรัฐบาลไทย และนำไปสู่การสังหารอันน่าเศร้า เรื่องราวของครูโกมล เต็มไปด้วยความซับซ้อน เป็นเหยื่อของสงครามอุดมการณ์ ที่ทั้งฝ่ายรัฐ และฝ่ายคอมมิวนิสต์ ต่างก็เพ่งเล็งและไม่ไว้ใจ จนกระทั่งความเข้าใจผิดครั้งใหญ่ ได้คร่าชีวิตพร้อมเพื่อนร่วมอุดมการณ์ อีกสองคน 📖 ครูโกมล คีมทอง จากเด็กหนุ่มหัวใจนักสู้ สู่ครูผู้เสียสละ 👦🏻 "ครูโกมล คีมทอง" เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2489 ที่ จังหวัดสุโขทัย เติบโตขึ้นมาในครอบครัว ที่ให้ความสำคัญ กับการศึกษา จบชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ และเข้าศึกษาต่อ ที่คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นครู 🎓 เส้นทางสู่อาชีพครู และอุดมการณ์ที่แรงกล้า ระหว่างเรียนมหาวิทยาลัย โกมลเป็นนิสิตที่กระตือรือร้น เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา และค่ายพัฒนาชนบทเป็นประจำ ทำให้เห็นถึงความลำบากของเด็ก ในพื้นที่ห่างไกล และตัดสินใจแน่วแน่ว่า "ชีวิตนี้จะอุทิศให้กับการศึกษาในชนบท" ในปีสุดท้ายของการเรียน ครูโกมลได้รับโอกาสเข้าร่วม “ค่ายพัฒนากำลังคน เหมืองห้วยในเขา” ซึ่งจัดขึ้นที่เหมืองแร่แห่งหนึ่ง ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่นี่เอง ที่โกมลได้เห็นปัญหาการศึกษาของเด็กๆ ในพื้นที่ห่างไกล และตัดสินใจที่จะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ นั่นคือ "สร้างโรงเรียนชุมชน" 🏫 โรงเรียนชุมชนที่เหมืองห้วยในเขา อุดมการณ์ที่เป็นภัย 🎯 จุดมุ่งหมายของครูโกมล โรงเรียนที่ครูโกมลตั้งใจสร้าง ไม่ใช่แค่สถานศึกษาแบบทั่วไป แต่เป็นโรงเรียนที่ออกแบบมา ให้เหมาะกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน ✔️ หลักสูตรพิเศษ เน้นวิชาที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต เช่น การเกษตร ปศุสัตว์ และงานช่าง ✔️ วัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม เช่น หนังตะลุง มโนราห์ และนิทานพื้นบ้าน ✔️ ชุมชนเป็นศูนย์กลาง โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้าน ไม่ใช่รัฐ แนวคิดเช่นนี้ ทำให้ทั้งรัฐบาล และพรรคคอมมิวนิสต์จับตามอง ด้วยความสงสัยว่า "แท้จริงแล้ว ครูโกมลทำงานให้ฝ่ายใด?" 🔥 สงครามอุดมการณ์ จุดเริ่มต้นของความหวาดระแวง 🏴 ฝ่ายรัฐบาลมองว่า ครูโกมลเป็น "แนวร่วมคอมมิวนิสต์" รัฐบาลไทยในขณะนั้น มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ อย่างรุนแรง เจ้าหน้าที่รัฐบางคนเห็นว่า แนวคิดของครูโกมล อาจสนับสนุนอุดมการณ์ ของพรรคคอมมิวนิสต์ โรงเรียนของครูโกมล ไม่ได้ใช้หลักสูตร จากกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า อาจเป็นศูนย์กลาง ของขบวนการล้มล้างอำนาจรัฐ 🚩 ฝ่ายคอมมิวนิสต์มองว่า "สายลับรัฐบาล" ขณะนั้น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) กำลังทำสงครามกองโจร กับรัฐบาลไทย การที่ครูโกมล เดินทางไปพบปะชาวบ้าน ถ่ายภาพ และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรม ทำให้พคท.เข้าใจว่ากำลังสอดแนม อีกทั้งการที่ครูโกมล ได้รับเงินสนับสนุนจาก "มูลนิธิเอเชีย" ซึ่งเป็นองค์กรต่างชาติ ยิ่งทำให้พคท.เชื่อว่า กำลังทำงานให้รัฐบาลไทย สุดท้าย... ความเข้าใจผิดนี้ นำไปสู่โศกนาฏกรรม ที่ไม่มีวันย้อนคืน ☠️ โศกนาฏกรรม คืนสังหารที่ไม่มีวันลืม 22 กุมภาพันธ์ 2514 📍 บ้านเหนือคลอง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ครูโกมล คีมทอง, รัตนา สกุลไทย บัณฑิตอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และเสรี ปรีชา หมอเร่ขายยา ถูกกลุ่มกองกำลัง พรรคคอมมิวนิสต จับตัวไป และถูกยิงเสียชีวิตในที่สุด หลังจากเหตุการณ์นี้ รัฐบาลไทยได้โปรยใบปลิวปฏิเสธว่า "ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหาร" ขณะที่ พคท. ออกมายอมรับในเวลาต่อมาว่า "เป็นผู้ลงมือสังหาร เนื่องจากเข้าใจผิดคิดว่า ครูโกมลเป็นสายลับรัฐบาลไทย" 🏛️ แม้ว่า "ครูโกมล คีมทอง" จะจากไป แต่สิ่งที่ได้ทำไว้ ยังคงเป็นที่จดจำ ✔️ การเสียสละทำให้เกิด “มูลนิธิโกมล คีมทอง” ในปี พ.ศ. 2514 ✔️ สร้างแรงบันดาลใจ ให้คนรุ่นหลังอุทิศตน เพื่อพัฒนาสังคม ✔️ หลักสูตรการศึกษา ที่เน้นชุมชนเป็นศูนย์กลาง ยังคงเป็นแนวคิด ที่นำมาใช้ในการศึกษายุคใหม่ 🎭 ครูโกมลถูกฆ่าโดยใคร? 👉 ฝ่ายรัฐบาล หรือ พรรคคอมมิวนิสต์? 👉 เป็นเพียงครูธรรมดา หรือมีบทบาทที่ลึกซึ้งกว่านั้น? 👉 ถ้าไม่มีการสังหารในวันนั้น ครูโกมลจะสามารถเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย ได้มากแค่ไหน? แม้ข้อเท็จจริง จะได้รับการเปิดเผยไปแล้ว แต่คำถามเหล่านี้ ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันมา จนถึงทุกวันนี้... ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 221245 ก.พ. 2568 #️⃣ #ครูโกมลคีมทอง #54ปีลอบสังหาร #โกมลคีมทอง #ประวัติศาสตร์ไทย #คอมมิวนิสต์ไทย #การศึกษาชนบท #ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ #มูลนิธิโกมลคีมทอง #ครูผู้เสียสละ #ประวัติศาสตร์ต้องรู้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1741 มุมมอง 0 รีวิว
  • 763 ปีพญามังรายสร้าง “เมืองเชียงราย” หลังเสด็จตามรอยเท้าช้าง สร้างเวียงรอบดอยจอมทอง

    "เชียงราย" เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ ยาวนานกว่า 763 ปี โดยถือกำเนิดขึ้นในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 1805 ตามบันทึกตำนานพื้นเมือง พญามังรายทรงเสด็จตามรอยเท้าช้าง มาทางทิศตะวันออก ก่อนจะเลือกชัยภูมิริมฝั่งแม่น้ำกก และดอยจอมทองในการก่อตั้งเมืองเชียงรายแห่งนี้ โดยสร้างเป็นเวียงล้อมรอบดอยจอมทองให้มีความมั่นคง และเป็นศูนย์กลางการปกครอง ในยุคนั้น

    เมืองเชียงราย ไม่ได้เป็นเพียงแค่เมืองประวัติศาสตร์ แต่ยังสะท้อนถึงภูมิปัญญา และความเฉลียวฉลาดของพญามังราย ในการเลือกพื้นที่ ที่เหมาะสมสำหรับการตั้งถิ่นฐาน ซึ่งยังคงมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเมือง มาจนถึงปัจจุบัน

    พญามังราย ราชาผู้ก่อตั้งล้านนา
    "พญามังราย" หรือที่รู้จักกันในนาม "ปฐมกษัตริย์แห่งล้านนา" เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้าง และขยายอาณาจักรล้านนา พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ ในปี พ.ศ. 1802 เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 25 แห่งหิรัญนครเงินยางเชียงลาว โดยตลอดรัชสมัย พระองค์ได้สร้างเมืองสำคัญหลายแห่ง เช่น

    - เมืองเชียงราย ศูนย์กลางการปกครองแห่งแรก ของพระองค์
    - เวียงกุมกาม เมืองต้นแบบก่อนการสร้างเชียงใหม่
    - เมืองเชียงใหม่ เมืองที่เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา

    พระนามของพญามังราย ได้รับการบันทึกไว้ในเอกสาร และหลักฐานประวัติศาสตร์มากมาย เช่น จารึกวัดพระยืน (พ.ศ. 1912) และมังรายศาสตร์ ซึ่งสะท้อนถึงความสำคัญ และบทบาทของพระองค์ ในฐานะผู้วางรากฐานอาณาจักรล้านนา

    เหตุผลที่เลือกดอยจอมทอง เป็นที่ตั้งเมือง
    ชัยภูมิของดอยจอมทอง ที่ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำกก มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง ต่อการตั้งเมืองในยุคนั้น เนื่องจาก

    - ความปลอดภัย ดอยจอมทองเป็นที่สูง ช่วยให้การป้องกันเมืองจากศัตรูง่ายขึ้น
    - ทรัพยากรธรรมชาติ แม่น้ำกกที่ไหลผ่าน เป็นแหล่งน้ำสำคัญ สำหรับการดำรงชีวิตและการเกษตร
    - การคมนาคม แม่น้ำกกยังเป็นเส้นทางการค้า และการเดินทางระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ

    พญามังรายทรงมองเห็นถึง ความสำคัญของพื้นที่แห่งนี้ จึงได้วางรากฐานให้เชียงราย กลายเป็นเมืองที่รุ่งเรือง และมั่นคง

    บทบาทของเชียงราย ในยุคอาณาจักรล้านนา
    หลังจากการสร้างเมืองเชียงราย พญามังรายได้ครองราชย์ และพัฒนาเมือง ให้เป็นศูนย์กลางการปกครอง แห่งแรกของอาณาจักรล้านนา ก่อนจะย้ายไปสร้างเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839 เมืองเชียงราย จึงกลายเป็นที่ตั้งของพระราชโอรส พญาไชยสงคราม ผู้สืบทอดราชสมบัติ ต่อจากพญามังราย

    ในยุคต่อมา เมื่ออาณาจักรล้านนา ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพม่า ในปี พ.ศ. 2101 เมืองเชียงรายยังคงมีบทบาทสำคัญ ในฐานะเมืองยุทธศาสตร์ แต่ในช่วงสงคราม ระหว่างสยามและพม่า เมืองเชียงรายเริ่มร้างผู้คน เนื่องจากประชาชน ต้องอพยพหนีภัยสงคราม

    ฟื้นฟูเมืองเชียงราย ในสมัยรัตนโกสินทร์
    ในปี พ.ศ. 2386 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชานุญาต ให้เจ้าหลวงเชียงใหม่ฟื้นฟูเมืองเชียงรายขึ้นใหม่ โดยเมืองเชียงราย กลับมาเป็นศูนย์กลางการปกครอง ที่สำคัญอีกครั้ง และได้รับการยกฐานะ เป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ ในปี พ.ศ. 2453

    ข้อถกเถียงเกี่ยวกับพระนาม "พญามังราย"
    พระนาม "พญามังราย" ได้รับการบันทึกไว้ ในเอกสารประวัติศาสตร์ และหลักฐานต่าง ๆ แต่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 มีการเปลี่ยนแปลงพระนามเป็น "เม็งราย" ในพงศาวดารโยนก โดยไม่ปรากฏเหตุผลที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ชื่อนี้ได้รับการใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เช่น ตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย และโรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม

    วัฒนธรรมและมรดกทางประวัติศาสตร์ ของเชียงราย
    เมืองเชียงราย ไม่ได้เป็นเพียงแค่ ศูนย์กลางทางการปกครองในอดีต แต่ยังเป็นแหล่งรวบรวม มรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญ เช่น

    - วัดพระธาตุดอยจอมทอง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อตั้งเมือง
    - พิพิธภัณฑ์อูบคำ รวบรวมศิลปวัตถุ ที่สะท้อนถึงความรุ่งเรืองในอดีต

    คำถามที่พบบ่อย (FAQs)
    1. ทำไมพญามังราย ถึงเลือกเชียงรายเป็นที่ตั้งเมือง?
    พญามังรายทรงเลือกพื้นที่ ดอยจอมทองและแม่น้ำกก เพราะเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม ต่อการตั้งเมือง มีทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ และสามารถป้องกันศัตรูได้ง่าย

    2. เมืองเชียงรายมีความสำคัญอย่างไร ในยุคล้านนา?
    เมืองเชียงรายเป็นเมืองแรก ที่พญามังรายสร้างขึ้น และเป็นศูนย์กลางการปกครอง ของอาณาจักรล้านนา ก่อนจะย้ายไปยังเชียงใหม่

    3. ชื่อนาม "พญามังราย" มีที่มาอย่างไร?
    ชื่อนี้มีที่มาจาก การผสมชื่อของพระบิดา พระมารดา และฤๅษีปัทมังกร ผู้ตั้งถวาย

    เมืองเชียงราย ที่ก่อตั้งโดยพญามังราย เมื่อ 763 ปี ที่ผ่านมา เป็นมรดกสำคัญ ที่สะท้อนถึงภูมิปัญญา และประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ ของอาณาจักรล้านนา แม้ว่าเมืองนี้ จะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงมากมาย แต่ความงดงาม และคุณค่าทางวัฒนธรรมของเชียงราย ยังคงสืบทอดมา จนถึงปัจจุบัน

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 261148 ม.ค. 2568

    #เมืองเชียงราย #พญามังราย #ประวัติศาสตร์ล้านนา #วัฒนธรรมเชียงราย #763ปีเชียงราย #เชียงราย
    763 ปีพญามังรายสร้าง “เมืองเชียงราย” หลังเสด็จตามรอยเท้าช้าง สร้างเวียงรอบดอยจอมทอง "เชียงราย" เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ ยาวนานกว่า 763 ปี โดยถือกำเนิดขึ้นในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 1805 ตามบันทึกตำนานพื้นเมือง พญามังรายทรงเสด็จตามรอยเท้าช้าง มาทางทิศตะวันออก ก่อนจะเลือกชัยภูมิริมฝั่งแม่น้ำกก และดอยจอมทองในการก่อตั้งเมืองเชียงรายแห่งนี้ โดยสร้างเป็นเวียงล้อมรอบดอยจอมทองให้มีความมั่นคง และเป็นศูนย์กลางการปกครอง ในยุคนั้น เมืองเชียงราย ไม่ได้เป็นเพียงแค่เมืองประวัติศาสตร์ แต่ยังสะท้อนถึงภูมิปัญญา และความเฉลียวฉลาดของพญามังราย ในการเลือกพื้นที่ ที่เหมาะสมสำหรับการตั้งถิ่นฐาน ซึ่งยังคงมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเมือง มาจนถึงปัจจุบัน 🌄 พญามังราย ราชาผู้ก่อตั้งล้านนา "พญามังราย" หรือที่รู้จักกันในนาม "ปฐมกษัตริย์แห่งล้านนา" เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้าง และขยายอาณาจักรล้านนา พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ ในปี พ.ศ. 1802 เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 25 แห่งหิรัญนครเงินยางเชียงลาว โดยตลอดรัชสมัย พระองค์ได้สร้างเมืองสำคัญหลายแห่ง เช่น - เมืองเชียงราย ศูนย์กลางการปกครองแห่งแรก ของพระองค์ - เวียงกุมกาม เมืองต้นแบบก่อนการสร้างเชียงใหม่ - เมืองเชียงใหม่ เมืองที่เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา พระนามของพญามังราย ได้รับการบันทึกไว้ในเอกสาร และหลักฐานประวัติศาสตร์มากมาย เช่น จารึกวัดพระยืน (พ.ศ. 1912) และมังรายศาสตร์ ซึ่งสะท้อนถึงความสำคัญ และบทบาทของพระองค์ ในฐานะผู้วางรากฐานอาณาจักรล้านนา เหตุผลที่เลือกดอยจอมทอง เป็นที่ตั้งเมือง ชัยภูมิของดอยจอมทอง ที่ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำกก มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง ต่อการตั้งเมืองในยุคนั้น เนื่องจาก - ความปลอดภัย ดอยจอมทองเป็นที่สูง ช่วยให้การป้องกันเมืองจากศัตรูง่ายขึ้น - ทรัพยากรธรรมชาติ แม่น้ำกกที่ไหลผ่าน เป็นแหล่งน้ำสำคัญ สำหรับการดำรงชีวิตและการเกษตร 🌾 - การคมนาคม แม่น้ำกกยังเป็นเส้นทางการค้า และการเดินทางระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ พญามังรายทรงมองเห็นถึง ความสำคัญของพื้นที่แห่งนี้ จึงได้วางรากฐานให้เชียงราย กลายเป็นเมืองที่รุ่งเรือง และมั่นคง บทบาทของเชียงราย ในยุคอาณาจักรล้านนา หลังจากการสร้างเมืองเชียงราย พญามังรายได้ครองราชย์ และพัฒนาเมือง ให้เป็นศูนย์กลางการปกครอง แห่งแรกของอาณาจักรล้านนา ก่อนจะย้ายไปสร้างเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839 เมืองเชียงราย จึงกลายเป็นที่ตั้งของพระราชโอรส พญาไชยสงคราม ผู้สืบทอดราชสมบัติ ต่อจากพญามังราย ในยุคต่อมา เมื่ออาณาจักรล้านนา ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพม่า ในปี พ.ศ. 2101 เมืองเชียงรายยังคงมีบทบาทสำคัญ ในฐานะเมืองยุทธศาสตร์ แต่ในช่วงสงคราม ระหว่างสยามและพม่า เมืองเชียงรายเริ่มร้างผู้คน เนื่องจากประชาชน ต้องอพยพหนีภัยสงคราม ฟื้นฟูเมืองเชียงราย ในสมัยรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. 2386 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชานุญาต ให้เจ้าหลวงเชียงใหม่ฟื้นฟูเมืองเชียงรายขึ้นใหม่ โดยเมืองเชียงราย กลับมาเป็นศูนย์กลางการปกครอง ที่สำคัญอีกครั้ง และได้รับการยกฐานะ เป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ ในปี พ.ศ. 2453 ข้อถกเถียงเกี่ยวกับพระนาม "พญามังราย" พระนาม "พญามังราย" ได้รับการบันทึกไว้ ในเอกสารประวัติศาสตร์ และหลักฐานต่าง ๆ แต่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 มีการเปลี่ยนแปลงพระนามเป็น "เม็งราย" ในพงศาวดารโยนก โดยไม่ปรากฏเหตุผลที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ชื่อนี้ได้รับการใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เช่น ตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย และโรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม วัฒนธรรมและมรดกทางประวัติศาสตร์ ของเชียงราย เมืองเชียงราย ไม่ได้เป็นเพียงแค่ ศูนย์กลางทางการปกครองในอดีต แต่ยังเป็นแหล่งรวบรวม มรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญ เช่น - วัดพระธาตุดอยจอมทอง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อตั้งเมือง - พิพิธภัณฑ์อูบคำ รวบรวมศิลปวัตถุ ที่สะท้อนถึงความรุ่งเรืองในอดีต คำถามที่พบบ่อย (FAQs) 1. ทำไมพญามังราย ถึงเลือกเชียงรายเป็นที่ตั้งเมือง? พญามังรายทรงเลือกพื้นที่ ดอยจอมทองและแม่น้ำกก เพราะเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม ต่อการตั้งเมือง มีทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ และสามารถป้องกันศัตรูได้ง่าย 2. เมืองเชียงรายมีความสำคัญอย่างไร ในยุคล้านนา? เมืองเชียงรายเป็นเมืองแรก ที่พญามังรายสร้างขึ้น และเป็นศูนย์กลางการปกครอง ของอาณาจักรล้านนา ก่อนจะย้ายไปยังเชียงใหม่ 3. ชื่อนาม "พญามังราย" มีที่มาอย่างไร? ชื่อนี้มีที่มาจาก การผสมชื่อของพระบิดา พระมารดา และฤๅษีปัทมังกร ผู้ตั้งถวาย เมืองเชียงราย ที่ก่อตั้งโดยพญามังราย เมื่อ 763 ปี ที่ผ่านมา เป็นมรดกสำคัญ ที่สะท้อนถึงภูมิปัญญา และประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ ของอาณาจักรล้านนา แม้ว่าเมืองนี้ จะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงมากมาย แต่ความงดงาม และคุณค่าทางวัฒนธรรมของเชียงราย ยังคงสืบทอดมา จนถึงปัจจุบัน ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 261148 ม.ค. 2568 #เมืองเชียงราย #พญามังราย #ประวัติศาสตร์ล้านนา #วัฒนธรรมเชียงราย #763ปีเชียงราย #เชียงราย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1163 มุมมอง 0 รีวิว
  • 82 ปี “สวัสดี” คำทักทายอย่างเป็นทางการของไทย

    ย้อนไปเมื่อ 82 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2486 ถือเป็นวันสำคัญ ในประวัติศาสตร์ภาษา และวัฒนธรรมของไทย เนื่องจากรัฐบาลไทยในยุคนั้น ได้กำหนดให้คำว่า “สวัสดี” เป็นคำทักทาย ที่ใช้อย่างเป็นทางการ ทั้งในยามพบปะและลาจาก คำนี้ไม่ได้เป็นเพียงคำพูดธรรมดา แต่ยังสื่อถึงความหวังดี และความปรารถนาดีระหว่างผู้คน ซึ่งสะท้อนถึงจิตวิญญาณอันงดงาม ของวัฒนธรรมไทย

    ความหมายของ “สวัสดี”
    คำว่า “สวัสดี” มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต โดยคำนี้ประกอบด้วยสองส่วนสำคัญ ได้แก่
    “สุ” ซึ่งเป็นคำอุปสรรค หมายถึง "ดี" หรือ "งดงาม"
    “อสฺติ” ซึ่งเป็นคำกริยา หมายถึง "มี"

    เมื่อรวมกันจึงแปลว่า “ขอความดีงามจงมีแก่ท่าน” หรือกล่าวในความหมายกว้างว่า “ขอให้คุณมีความสุข ปลอดภัย และรุ่งเรือง”

    ตามที่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ระบุไว้ คำว่า “สวัสดี” หมายถึง ความดี ความงาม ความเจริญรุ่งเรือง และความปลอดภัย คำนี้ถูกนำมาใช้ เพื่อเป็นทั้งคำอวยพร และคำทักทาย ทำให้ทุกครั้ง ที่มีการกล่าวคำว่า "สวัสดี" ผู้พูดและผู้ฟัง ต่างได้รับความรู้สึกดี ๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ของภาษาไทย

    จุดเริ่มต้นของคำว่า “สวัสดี”
    คำว่า “สวัสดี” ได้ถูกนำมาใช้ อย่างเป็นทางการครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2486 โดยพระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์ ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะนั้น พระยาอุปกิตฯ ได้แรงบันดาลใจจากคำว่า “โสตฺถิ” ในภาษาบาลี หรือ “สฺวสฺติ” ในภาษาสันสกฤต และได้นำมาปรับเปลี่ยนเสียง ให้เหมาะสม กับการออกเสียงของคนไทย

    หลังจากนั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในยุคนั้น ได้เห็นความเหมาะสมของคำนี้ และสนับสนุนให้ใช้คำว่า “สวัสดี” เป็นคำทักทายอย่างเป็นทางการ ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2486 เป็นต้นมา

    ความแตกต่างของ “สวัสดี” กับคำทักทายอื่นในยุคนั้น
    ก่อนที่คำว่า “สวัสดี” จะถูกกำหนดให้เป็นคำทักทาย อย่างเป็นทางการ คนไทยนิยมใช้คำทักทาย ตามโอกาส เช่น

    “ไปไหนมา?” หรือ “กินข้าวหรือยัง?” ในชีวิตประจำวัน
    “กราบเรียน” หรือ “คารวะ” เมื่อพูดกับผู้ใหญ่

    คำว่า “สวัสดี” จึงเข้ามาเติมเต็มบทบาท ของคำทักทาย ที่เหมาะสมกับทุกสถานการณ์ ทั้งในเชิงความหมาย และความสะดวกในการใช้งาน โดยสามารถใช้ได้ทั้งในชีวิตประจำวัน และในพิธีการ อย่างเป็นทางการ

    การพัฒนาคำว่า “สวัสดี” ในยุคปัจจุบัน
    แม้คำว่า “สวัสดี” จะถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ในประเทศไทย แต่ในช่วงยุคแรก ๆ มีการกำหนดคำทักทายเพิ่มเติม ในช่วงเวลาต่าง ๆ ของวัน เช่น

    “อรุณสวัสดิ์” (Good morning) สำหรับทักทายในตอนเช้า
    “ทิวาสวัสดิ์” (Good afternoon) สำหรับทักทายในตอนกลางวัน
    “สายัณห์สวัสดิ์” (Good evening) สำหรับทักทายในตอนเย็น
    “ราตรีสวัสดิ์” (Good night) สำหรับกล่าวลาก่อนเข้านอน

    อย่างไรก็ตาม คำว่า “สวัสดี” ยังคงได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะสามารถใช้ได้ทุกช่วงเวลา ไม่ต้องระบุเวลาเฉพาะเจาะจง

    การทักทายด้วย “สวัสดี” สะท้อนถึงวัฒนธรรมไทย
    การกล่าวคำว่า “สวัสดี” มักจะมาพร้อมกับการ ไหว้ ซึ่งเป็นการยกมือขึ้นประนมไว้ที่อก ในลักษณะคล้ายดอกบัวตูม ท่าทางนี้ไม่ได้เป็นเพียง การแสดงความเคารพเท่านั้น แต่ยังแฝงไปด้วยความหมายลึกซึ้ง เช่น

    ความบริสุทธิ์ใจ การประนมมือไว้ที่อก แสดงถึงการพูดจากใจ
    ความเคารพผู้อื่น แสดงความนอบน้อมและให้เกียรติผู้ฟัง
    ความปรารถนาดี การกล่าวคำ “สวัสดี” พร้อมกับการไหว้ เป็นการส่งต่อความหวังดีไปยังผู้อื่น

    นอกจากนี้ การไหว้ยังแบ่งระดับ ตามสถานะของผู้พูดและผู้ฟัง เช่น
    ไหว้แบบสูงสุด สำหรับการแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์
    ไหว้แบบกลาง สำหรับผู้ใหญ่ และผู้มีตำแหน่งสูงกว่า
    ไหว้แบบต่ำ สำหรับเพื่อนร่วมงานหรือเพื่อน

    “สวัสดี” ในยุคดิจิทัล
    แม้ในยุคปัจจุบัน ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ ในชีวิตประจำวัน คนไทยยังคงใช้คำว่า “สวัสดี” ในการสื่อสาร ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น

    - ส่งข้อความทักทาย ในแอปพลิเคชันแชต
    - ใช้คำว่า “สวัสดีค่ะ/ครับ” เป็นคำเปิดหัวข้อในอีเมล
    - ใช้คำว่า “สวัสดี” ในโพสต์ หรือแคปชันบนโซเชียลมีเดีย

    การใช้งานคำนี้ในยุคดิจิทัล ช่วยสะท้อนถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ในโลกออนไลน์ และยังสร้างความประทับใจ แก่ชาวต่างชาติที่พบเห็น

    “สวัสดี” คำทักทายที่ไม่เคยล้าสมัย
    การเดินทางของคำว่า “สวัสดี” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2486 จนถึงปัจจุบัน เป็นเครื่องยืนยันถึงความงดงาม ของภาษาไทย และวัฒนธรรมอันลึกซึ้ง คำนี้ไม่ได้เป็นเพียงคำพูด ที่ใช้ในการทักทาย หรืออำลาเท่านั้น แต่ยังเป็นการสื่อสาร ถึงความปรารถนาดี ความเคารพ และความจริงใจ ที่คนไทยมีต่อกัน

    “สวัสดี” จึงไม่ใช่เพียงคำพูดธรรมดา แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ ของความงดงามทางวัฒนธรรม ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และส่งต่อให้คนรุ่นหลัง

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 221015 ม.ค. 2568

    #สวัสดี #ภาษาไทย #วัฒนธรรมไทย #คำทักทายไทย #คำทักทาย #วันสวัสดี #รากศัพท์สันสกฤต #ประวัติศาสตร์ไทย #ความงดงามของไทย #มรดกทางวัฒนธรรม
    82 ปี “สวัสดี” คำทักทายอย่างเป็นทางการของไทย ย้อนไปเมื่อ 82 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2486 ถือเป็นวันสำคัญ ในประวัติศาสตร์ภาษา และวัฒนธรรมของไทย เนื่องจากรัฐบาลไทยในยุคนั้น ได้กำหนดให้คำว่า “สวัสดี” เป็นคำทักทาย ที่ใช้อย่างเป็นทางการ ทั้งในยามพบปะและลาจาก คำนี้ไม่ได้เป็นเพียงคำพูดธรรมดา แต่ยังสื่อถึงความหวังดี และความปรารถนาดีระหว่างผู้คน ซึ่งสะท้อนถึงจิตวิญญาณอันงดงาม ของวัฒนธรรมไทย ความหมายของ “สวัสดี” คำว่า “สวัสดี” มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต โดยคำนี้ประกอบด้วยสองส่วนสำคัญ ได้แก่ “สุ” ซึ่งเป็นคำอุปสรรค หมายถึง "ดี" หรือ "งดงาม" “อสฺติ” ซึ่งเป็นคำกริยา หมายถึง "มี" เมื่อรวมกันจึงแปลว่า “ขอความดีงามจงมีแก่ท่าน” หรือกล่าวในความหมายกว้างว่า “ขอให้คุณมีความสุข ปลอดภัย และรุ่งเรือง” ตามที่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ระบุไว้ คำว่า “สวัสดี” หมายถึง ความดี ความงาม ความเจริญรุ่งเรือง และความปลอดภัย คำนี้ถูกนำมาใช้ เพื่อเป็นทั้งคำอวยพร และคำทักทาย ทำให้ทุกครั้ง ที่มีการกล่าวคำว่า "สวัสดี" ผู้พูดและผู้ฟัง ต่างได้รับความรู้สึกดี ๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ของภาษาไทย จุดเริ่มต้นของคำว่า “สวัสดี” คำว่า “สวัสดี” ได้ถูกนำมาใช้ อย่างเป็นทางการครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2486 โดยพระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์ ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะนั้น พระยาอุปกิตฯ ได้แรงบันดาลใจจากคำว่า “โสตฺถิ” ในภาษาบาลี หรือ “สฺวสฺติ” ในภาษาสันสกฤต และได้นำมาปรับเปลี่ยนเสียง ให้เหมาะสม กับการออกเสียงของคนไทย หลังจากนั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในยุคนั้น ได้เห็นความเหมาะสมของคำนี้ และสนับสนุนให้ใช้คำว่า “สวัสดี” เป็นคำทักทายอย่างเป็นทางการ ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2486 เป็นต้นมา ความแตกต่างของ “สวัสดี” กับคำทักทายอื่นในยุคนั้น ก่อนที่คำว่า “สวัสดี” จะถูกกำหนดให้เป็นคำทักทาย อย่างเป็นทางการ คนไทยนิยมใช้คำทักทาย ตามโอกาส เช่น “ไปไหนมา?” หรือ “กินข้าวหรือยัง?” ในชีวิตประจำวัน “กราบเรียน” หรือ “คารวะ” เมื่อพูดกับผู้ใหญ่ คำว่า “สวัสดี” จึงเข้ามาเติมเต็มบทบาท ของคำทักทาย ที่เหมาะสมกับทุกสถานการณ์ ทั้งในเชิงความหมาย และความสะดวกในการใช้งาน โดยสามารถใช้ได้ทั้งในชีวิตประจำวัน และในพิธีการ อย่างเป็นทางการ การพัฒนาคำว่า “สวัสดี” ในยุคปัจจุบัน แม้คำว่า “สวัสดี” จะถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ในประเทศไทย แต่ในช่วงยุคแรก ๆ มีการกำหนดคำทักทายเพิ่มเติม ในช่วงเวลาต่าง ๆ ของวัน เช่น “อรุณสวัสดิ์” (Good morning) สำหรับทักทายในตอนเช้า “ทิวาสวัสดิ์” (Good afternoon) สำหรับทักทายในตอนกลางวัน “สายัณห์สวัสดิ์” (Good evening) สำหรับทักทายในตอนเย็น “ราตรีสวัสดิ์” (Good night) สำหรับกล่าวลาก่อนเข้านอน อย่างไรก็ตาม คำว่า “สวัสดี” ยังคงได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะสามารถใช้ได้ทุกช่วงเวลา ไม่ต้องระบุเวลาเฉพาะเจาะจง การทักทายด้วย “สวัสดี” สะท้อนถึงวัฒนธรรมไทย การกล่าวคำว่า “สวัสดี” มักจะมาพร้อมกับการ ไหว้ ซึ่งเป็นการยกมือขึ้นประนมไว้ที่อก ในลักษณะคล้ายดอกบัวตูม ท่าทางนี้ไม่ได้เป็นเพียง การแสดงความเคารพเท่านั้น แต่ยังแฝงไปด้วยความหมายลึกซึ้ง เช่น ความบริสุทธิ์ใจ การประนมมือไว้ที่อก แสดงถึงการพูดจากใจ ความเคารพผู้อื่น แสดงความนอบน้อมและให้เกียรติผู้ฟัง ความปรารถนาดี การกล่าวคำ “สวัสดี” พร้อมกับการไหว้ เป็นการส่งต่อความหวังดีไปยังผู้อื่น นอกจากนี้ การไหว้ยังแบ่งระดับ ตามสถานะของผู้พูดและผู้ฟัง เช่น ไหว้แบบสูงสุด สำหรับการแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์ ไหว้แบบกลาง สำหรับผู้ใหญ่ และผู้มีตำแหน่งสูงกว่า ไหว้แบบต่ำ สำหรับเพื่อนร่วมงานหรือเพื่อน “สวัสดี” ในยุคดิจิทัล แม้ในยุคปัจจุบัน ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ ในชีวิตประจำวัน คนไทยยังคงใช้คำว่า “สวัสดี” ในการสื่อสาร ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น - ส่งข้อความทักทาย ในแอปพลิเคชันแชต - ใช้คำว่า “สวัสดีค่ะ/ครับ” เป็นคำเปิดหัวข้อในอีเมล - ใช้คำว่า “สวัสดี” ในโพสต์ หรือแคปชันบนโซเชียลมีเดีย การใช้งานคำนี้ในยุคดิจิทัล ช่วยสะท้อนถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ในโลกออนไลน์ และยังสร้างความประทับใจ แก่ชาวต่างชาติที่พบเห็น “สวัสดี” คำทักทายที่ไม่เคยล้าสมัย การเดินทางของคำว่า “สวัสดี” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2486 จนถึงปัจจุบัน เป็นเครื่องยืนยันถึงความงดงาม ของภาษาไทย และวัฒนธรรมอันลึกซึ้ง คำนี้ไม่ได้เป็นเพียงคำพูด ที่ใช้ในการทักทาย หรืออำลาเท่านั้น แต่ยังเป็นการสื่อสาร ถึงความปรารถนาดี ความเคารพ และความจริงใจ ที่คนไทยมีต่อกัน “สวัสดี” จึงไม่ใช่เพียงคำพูดธรรมดา แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ ของความงดงามทางวัฒนธรรม ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และส่งต่อให้คนรุ่นหลัง ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 221015 ม.ค. 2568 #สวัสดี #ภาษาไทย #วัฒนธรรมไทย #คำทักทายไทย #คำทักทาย #วันสวัสดี #รากศัพท์สันสกฤต #ประวัติศาสตร์ไทย #ความงดงามของไทย #มรดกทางวัฒนธรรม ✨ 😊
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1093 มุมมอง 0 รีวิว
  • 433 ปี ยุทธหัตถีหนองสาหร่าย ศึกแห่งเกียรติยศขององค์ดำ-องค์ขาว

    ย้อนไปเมื่อ 433 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 เป็นวันที่ประวัติศาสตร์ไทย ต้องจารึกไว้ด้วยความภาคภูมิใจ นั่นคือเหตุการณ์ “ยุทธหัตถีหนองสาหร่าย” ที่แสดงถึงความกล้าหาญ และพระปรีชาสามารถ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระองค์ดำ) และสมเด็จพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว) ในการต่อสู้กับทัพพม่า ณ ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

    สงครามครั้งนี้ ไม่ได้เป็นเพียงการต่อสู้ เพื่ออาณาจักรเท่านั้น แต่ยังเป็นการแสดงถึง ศักดิ์ศรีของพระมหากษัตริย์ไทย ผู้ยอมเสี่ยงชีวิต เพื่อปกป้องผืนแผ่นดิน และประชาชนชาวไทย การยุทธหัตถีครั้งนี้ ไม่เพียงเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ แต่ยังกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่ยังคงมีการเล่าขาน และรำลึกถึงจนถึงทุกวันนี้

    สงครามบนหลังช้างที่สะท้อนศักดิ์ศรี
    ยุทธหัตถี หมายถึง การทำสงครามบนหลังช้าง โดยผู้บัญชาการสูงสุด ของกองทัพทั้งสองฝ่าย จะเผชิญหน้ากันบนหลังช้างศึก เป็นการต่อสู้ ที่ต้องอาศัยทั้งความสามารถ การฝึกฝน ความกล้าหาญของกษัตริย์ และช้างศึก การชนช้างนี้ถือว่า เป็นการทำศึกที่มีเกียรติยศ และเป็นที่ยอมรับ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย พม่า และกัมพูชา

    ในยุคโบราณ ช้างถือว่าเป็นสัตว์คู่บารมี ของพระมหากษัตริย์ และเป็นสัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่ การทำยุทธหัตถี จึงไม่เพียงแต่เป็นการต่อสู้ เพื่อชัยชนะทางการทหารเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงความกล้าหาญและความสามารถของผู้ปกครอง ที่นำทัพด้วยตัวเอง

    สงครามยุทธหัตถีในปี พ.ศ. 2135 มีต้นเหตุจากการที่กรุงหงสาวดี (พม่า) มีความต้องการ จะยึดครองกรุงศรีอยุธยา พระเจ้านันทบุเรง ผู้ปกครองหงสาวดีในเวลานั้น จึงส่งกองทัพใหญ่กว่า 240,000 นาย นำโดย พระมหาอุปราชา (มังสามเกียด) และมางจาชโร เจ้าเมืองจาปะโร เข้ารุกรานกรุงศรีอยุธยา

    พระองค์ดำทรงทราบถึง การเคลื่อนทัพของพม่า จึงทรงระดมกำลังพลหนึ่งแสนนาย และเตรียมการป้องกันเมือง พร้อมกับทรงออกคำประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง ในปี พ.ศ. 2127 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้น ของการต่อต้านการปกครองของพม่า อย่างเต็มตัว

    เมื่อกองทัพของมังสามเกียด เคลื่อนมาถึงสุพรรณบุรี พระองค์ดำทรงนำทัพหลวงไปตั้งค่าย ที่ตำบลหนองสาหร่าย พร้อมกับพระองค์ขาว

    เช้าวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง องค์ดำและองค์ขาว ทรงเครื่องพิชัยยุทธเต็มยศ พร้อมด้วยช้างศึกทรง 2 เชือก คือ

    เจ้าพระยาไชยานุภาพ (พลายภูเขาทอง) ช้างทรงของพระองค์ดำ
    เจ้าพระยาปราบไตรจักร (พลายบุญเรือง) ช้างทรงของพระองค์ขาว

    ทั้งสองพระองค์ทรงนำช้างศึกเข้าสู่สนามรบ แต่ระหว่างที่เคลื่อนทัพเกิดความวุ่นวาย ทำให้ช้างทรงของทั้งสองพระองค์ หลุดเข้าไปในวงล้อมของทัพพม่า และเผชิญหน้ากับมังสามเกียด และมางจาชโร โดยตรง

    เผชิญหน้าบนหลังช้าง
    พระองค์ดำทรงเรียกท้ามังสามเกียด ซึ่งสนิทสนมกันตั้งแต่วัยพระเยาว์ เมื่อครั้งองค์ดำ ทรงเป็นองค์ประกัน อยู่ที่กรุงหงสาวดี ให้มาทำยุทธหัตถี ด้วยพระดำรัส ที่แสดงถึงความองอาจว่า

    “พระเจ้าพี่เรา จะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด”

    มังสามเกียดจึงไสช้าง เข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพ เกิดการต่อสู้ที่ดุเดือด เมื่อถึงจังหวะสำคัญ พระองค์ดำทรงใช้พระแสงของ้าวแสนพลพ่าย ฟันเข้าที่พระอังสะขวา ของมังสามเกียด จนสิ้นพระชนม์บนหลังช้าง

    ในขณะเดียวกัน พระองค์ขาวทรงฟันมางจาชโร จนสิ้นพระชนม์บนหลังช้างเช่นกัน เป็นการปิดฉาก ศึกยุทธหัตถีอันยิ่งใหญ่

    ชัยชนะของพระองค์ดำ ในยุทธหัตถีครั้งนี้ ทำให้กรุงศรีอยุธยา สามารถรักษาเอกราชไว้ได้ และสร้างความเกรงขามให้แก่กรุงหงสาวดี จนไม่มีการรุกรานอีก เป็นเวลาหลายปี

    หลังสงคราม พระเจ้านันทบุเรงทรงเสียพระทัยอย่างยิ่ง ที่ต้องสูญเสียพระราชโอรสไป ในศึกครั้งนี้ และกรุงศรีอยุธยาก็ได้สร้าง พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์อันสำคัญนี้

    ความสำคัญของยุทธหัตถี ในประวัติศาสตร์ไทย
    สัญลักษณ์ของเอกราช ยุทธหัตถีครั้งนี้ เป็นเหตุการณ์ที่สะท้อนถึง ความสามัคคีและการต่อสู้ เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ

    พระปรีชาสามารถของกษัตริย์ไทย สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้ทรงแสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญ และพระปรีชาสามารถในการนำทัพ

    มรดกทางวัฒนธรรม การยุทธหัตถีได้กลายเป็นตำนาน ที่มีการเล่าขาน และเป็นแรงบันดาลใจในงานศิลปะ วรรณกรรม และภาพยนตร์

    คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยุทธหัตถี
    1. ยุทธหัตถีเกิดขึ้นที่ไหน?
    ยุทธหัตถีเกิดขึ้นที่ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

    2. ช้างศึกคืออะไร?
    ช้างศึกคือช้างที่ได้รับการฝึกฝน เพื่อใช้ในการทำสงคราม มีลักษณะเด่นตามตำราคชลักษณ์

    3. ทำไมยุทธหัตถีถึงมีเกียรติ?
    เพราะเป็นการต่อสู้ ระหว่างกษัตริย์ทั้งสองฝ่าย อย่างตรงไปตรงมา และแสดงถึงความกล้าหาญ

    ยุทธหัตถีหนองสาหร่ายในปี พ.ศ. 2135 เป็นสงครามที่แสดงถึงความกล้าหาญ และพระปรีชาสามารถ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งทำให้กรุงศรีอยุธยา สามารถรักษาเอกราช และศักดิ์ศรีของชาติไว้ได้

    เหตุการณ์นี้ ยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนไทย ในการต่อสู้เพื่อสิ่งที่ถูกต้อง และรักษาเกียรติภูมิของตน

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 180833 ม.ค. 2568

    #สมเด็จพระนเรศวร #ยุทธหัตถี #ประวัติศาสตร์ไทย #สงครามชนช้าง #กรุงศรีอยุธยา #ดอนเจดีย์ #หงสาวดี #ชาติไทย #วีรกรรมไทย #สงครามไทย

    433 ปี ยุทธหัตถีหนองสาหร่าย ศึกแห่งเกียรติยศขององค์ดำ-องค์ขาว 🇹🇭🐘 ย้อนไปเมื่อ 433 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 เป็นวันที่ประวัติศาสตร์ไทย ต้องจารึกไว้ด้วยความภาคภูมิใจ นั่นคือเหตุการณ์ “ยุทธหัตถีหนองสาหร่าย” ที่แสดงถึงความกล้าหาญ และพระปรีชาสามารถ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระองค์ดำ) และสมเด็จพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว) ในการต่อสู้กับทัพพม่า ณ ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี สงครามครั้งนี้ ไม่ได้เป็นเพียงการต่อสู้ เพื่ออาณาจักรเท่านั้น แต่ยังเป็นการแสดงถึง ศักดิ์ศรีของพระมหากษัตริย์ไทย ผู้ยอมเสี่ยงชีวิต เพื่อปกป้องผืนแผ่นดิน และประชาชนชาวไทย การยุทธหัตถีครั้งนี้ ไม่เพียงเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ แต่ยังกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่ยังคงมีการเล่าขาน และรำลึกถึงจนถึงทุกวันนี้ สงครามบนหลังช้างที่สะท้อนศักดิ์ศรี ยุทธหัตถี หมายถึง การทำสงครามบนหลังช้าง โดยผู้บัญชาการสูงสุด ของกองทัพทั้งสองฝ่าย จะเผชิญหน้ากันบนหลังช้างศึก เป็นการต่อสู้ ที่ต้องอาศัยทั้งความสามารถ การฝึกฝน ความกล้าหาญของกษัตริย์ และช้างศึก การชนช้างนี้ถือว่า เป็นการทำศึกที่มีเกียรติยศ และเป็นที่ยอมรับ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย พม่า และกัมพูชา ในยุคโบราณ ช้างถือว่าเป็นสัตว์คู่บารมี ของพระมหากษัตริย์ และเป็นสัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่ การทำยุทธหัตถี จึงไม่เพียงแต่เป็นการต่อสู้ เพื่อชัยชนะทางการทหารเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงความกล้าหาญและความสามารถของผู้ปกครอง ที่นำทัพด้วยตัวเอง สงครามยุทธหัตถีในปี พ.ศ. 2135 มีต้นเหตุจากการที่กรุงหงสาวดี (พม่า) มีความต้องการ จะยึดครองกรุงศรีอยุธยา พระเจ้านันทบุเรง ผู้ปกครองหงสาวดีในเวลานั้น จึงส่งกองทัพใหญ่กว่า 240,000 นาย นำโดย พระมหาอุปราชา (มังสามเกียด) และมางจาชโร เจ้าเมืองจาปะโร เข้ารุกรานกรุงศรีอยุธยา พระองค์ดำทรงทราบถึง การเคลื่อนทัพของพม่า จึงทรงระดมกำลังพลหนึ่งแสนนาย และเตรียมการป้องกันเมือง พร้อมกับทรงออกคำประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง ในปี พ.ศ. 2127 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้น ของการต่อต้านการปกครองของพม่า อย่างเต็มตัว เมื่อกองทัพของมังสามเกียด เคลื่อนมาถึงสุพรรณบุรี พระองค์ดำทรงนำทัพหลวงไปตั้งค่าย ที่ตำบลหนองสาหร่าย พร้อมกับพระองค์ขาว เช้าวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง องค์ดำและองค์ขาว ทรงเครื่องพิชัยยุทธเต็มยศ พร้อมด้วยช้างศึกทรง 2 เชือก คือ เจ้าพระยาไชยานุภาพ (พลายภูเขาทอง) ช้างทรงของพระองค์ดำ เจ้าพระยาปราบไตรจักร (พลายบุญเรือง) ช้างทรงของพระองค์ขาว ทั้งสองพระองค์ทรงนำช้างศึกเข้าสู่สนามรบ แต่ระหว่างที่เคลื่อนทัพเกิดความวุ่นวาย ทำให้ช้างทรงของทั้งสองพระองค์ หลุดเข้าไปในวงล้อมของทัพพม่า และเผชิญหน้ากับมังสามเกียด และมางจาชโร โดยตรง เผชิญหน้าบนหลังช้าง พระองค์ดำทรงเรียกท้ามังสามเกียด ซึ่งสนิทสนมกันตั้งแต่วัยพระเยาว์ เมื่อครั้งองค์ดำ ทรงเป็นองค์ประกัน อยู่ที่กรุงหงสาวดี ให้มาทำยุทธหัตถี ด้วยพระดำรัส ที่แสดงถึงความองอาจว่า “พระเจ้าพี่เรา จะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด” มังสามเกียดจึงไสช้าง เข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพ เกิดการต่อสู้ที่ดุเดือด เมื่อถึงจังหวะสำคัญ พระองค์ดำทรงใช้พระแสงของ้าวแสนพลพ่าย ฟันเข้าที่พระอังสะขวา ของมังสามเกียด จนสิ้นพระชนม์บนหลังช้าง ในขณะเดียวกัน พระองค์ขาวทรงฟันมางจาชโร จนสิ้นพระชนม์บนหลังช้างเช่นกัน เป็นการปิดฉาก ศึกยุทธหัตถีอันยิ่งใหญ่ ชัยชนะของพระองค์ดำ ในยุทธหัตถีครั้งนี้ ทำให้กรุงศรีอยุธยา สามารถรักษาเอกราชไว้ได้ และสร้างความเกรงขามให้แก่กรุงหงสาวดี จนไม่มีการรุกรานอีก เป็นเวลาหลายปี หลังสงคราม พระเจ้านันทบุเรงทรงเสียพระทัยอย่างยิ่ง ที่ต้องสูญเสียพระราชโอรสไป ในศึกครั้งนี้ และกรุงศรีอยุธยาก็ได้สร้าง พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์อันสำคัญนี้ ความสำคัญของยุทธหัตถี ในประวัติศาสตร์ไทย สัญลักษณ์ของเอกราช ยุทธหัตถีครั้งนี้ เป็นเหตุการณ์ที่สะท้อนถึง ความสามัคคีและการต่อสู้ เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ พระปรีชาสามารถของกษัตริย์ไทย สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้ทรงแสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญ และพระปรีชาสามารถในการนำทัพ มรดกทางวัฒนธรรม การยุทธหัตถีได้กลายเป็นตำนาน ที่มีการเล่าขาน และเป็นแรงบันดาลใจในงานศิลปะ วรรณกรรม และภาพยนตร์ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยุทธหัตถี 1. ยุทธหัตถีเกิดขึ้นที่ไหน? ยุทธหัตถีเกิดขึ้นที่ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี 2. ช้างศึกคืออะไร? ช้างศึกคือช้างที่ได้รับการฝึกฝน เพื่อใช้ในการทำสงคราม มีลักษณะเด่นตามตำราคชลักษณ์ 3. ทำไมยุทธหัตถีถึงมีเกียรติ? เพราะเป็นการต่อสู้ ระหว่างกษัตริย์ทั้งสองฝ่าย อย่างตรงไปตรงมา และแสดงถึงความกล้าหาญ ยุทธหัตถีหนองสาหร่ายในปี พ.ศ. 2135 เป็นสงครามที่แสดงถึงความกล้าหาญ และพระปรีชาสามารถ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งทำให้กรุงศรีอยุธยา สามารถรักษาเอกราช และศักดิ์ศรีของชาติไว้ได้ เหตุการณ์นี้ ยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนไทย ในการต่อสู้เพื่อสิ่งที่ถูกต้อง และรักษาเกียรติภูมิของตน ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 180833 ม.ค. 2568 #สมเด็จพระนเรศวร #ยุทธหัตถี #ประวัติศาสตร์ไทย #สงครามชนช้าง #กรุงศรีอยุธยา #ดอนเจดีย์ #หงสาวดี #ชาติไทย #วีรกรรมไทย #สงครามไทย 🎉
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1501 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมื่อวันพุธ (4 ธ.ค.) องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก (UNESCO) ได้ขึ้นทะเบียนเทศกาลฤดูใบไม้ผลิหรือเทศกาลตรุษจีนของประชาชนชาวจีนเข้าสู่รายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ.มติข้างต้นมีขึ้นที่การประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ สมัยที่ 19 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-7 ธ.ค. ในปารากวัย โดยคณะกรรมการฯ ให้การรับรองเทศกาลตรุษจีน เนื่องด้วยมีพิธีกรรมและองค์ประกอบทางวัฒนธรรมเฉพาะตัวอันเกี่ยวพันกับทั้งสังคมจีน.ยูเนสโกเน้นย้ำว่าเทศกาลตรุษจีนที่เป็นหมุดหมายการเริ่มต้นปีใหม่ตามปฏิทินจันทรคติจีนมีความเกี่ยวข้องกับพิธีปฏิบัติทางสังคมที่หลากหลาย ทั้งการกราบไหว้ขอพรและการกลับมารวมตัวกันของสมาชิกครอบครัว รวมถึงมีกิจกรรมต่างๆ ที่จัดแจงโดยผู้สูงอายุและงานสาธารณะตามเทศกาลที่จัดโดยชุมชน.เอกสารของยูเนสโกระบุว่าองค์ความรู้และขนบธรรมเนียมตามประเพณีดั้งเดิมที่เกี่ยวพันกับเทศกาลตรุษจีนถูกส่งต่อภายในครอบครัวและชุมชนอย่างไม่เป็นทางการ รวมถึงส่งต่ออย่างเป็นทางการผ่านระบบการศึกษา ขณะทักษะงานฝีมือและศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้ถูกส่งต่อผ่านการฝึกฝน ส่งเสริมคุณค่าของครอบครัว ความสมานฉันท์ในสังคม และสันติภาพ.คณะกรรมการฯ สำทับว่าเทศกาลตรุษจีนที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมนั้นประกอบด้วยความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และมีส่วนส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านต่างๆ เช่น ความมั่นคงทางอาหารและการศึกษา ตลอดจนมีบทบาทหลักในการเพิ่มความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม.เหราเฉวียน ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของจีน ซึ่งนำคณะผู้แทนของจีนเข้าร่วมการประชุมของยูเนสโก กล่าวว่าเทศกาลตรุษจีนเป็นวันหยุดตามประเพณีที่สำคัญที่สุดของจีน เป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังมีชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนชาวจีน สัมพันธ์กับครอบครัวและประเทศ และคุณค่าของความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ.เหราเสริมว่าเทศกาลตรุษจีนถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นและมอบความแข็งแกร่งทางจิตวิญญาณแก่ประชาชนชาวจีนเสมอมา มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความปรองดองของครอบครัวและสังคม ขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ปกป้องสิ่งแวดล้อม และบ่มเพาะการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมทั่วโลก.เหรากล่าวว่าการขึ้นทะเบียนเทศกาลตรุษจีนเข้าสู่รายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติจะช่วยส่งเสริมคุณค่าสากลของสันติภาพและความสามัคคีปรองดอง และเน้นย้ำบทบาทสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในการพัฒนาที่ยั่งยืน.ปัจจุบันจีนมีองค์ประกอบหรือพิธีปฏิบัติทางวัฒนธรรมที่ยูเนสโกให้การรับรองเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ จำนวน 44 รายการแล้ว
    เมื่อวันพุธ (4 ธ.ค.) องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก (UNESCO) ได้ขึ้นทะเบียนเทศกาลฤดูใบไม้ผลิหรือเทศกาลตรุษจีนของประชาชนชาวจีนเข้าสู่รายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ.มติข้างต้นมีขึ้นที่การประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ สมัยที่ 19 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-7 ธ.ค. ในปารากวัย โดยคณะกรรมการฯ ให้การรับรองเทศกาลตรุษจีน เนื่องด้วยมีพิธีกรรมและองค์ประกอบทางวัฒนธรรมเฉพาะตัวอันเกี่ยวพันกับทั้งสังคมจีน.ยูเนสโกเน้นย้ำว่าเทศกาลตรุษจีนที่เป็นหมุดหมายการเริ่มต้นปีใหม่ตามปฏิทินจันทรคติจีนมีความเกี่ยวข้องกับพิธีปฏิบัติทางสังคมที่หลากหลาย ทั้งการกราบไหว้ขอพรและการกลับมารวมตัวกันของสมาชิกครอบครัว รวมถึงมีกิจกรรมต่างๆ ที่จัดแจงโดยผู้สูงอายุและงานสาธารณะตามเทศกาลที่จัดโดยชุมชน.เอกสารของยูเนสโกระบุว่าองค์ความรู้และขนบธรรมเนียมตามประเพณีดั้งเดิมที่เกี่ยวพันกับเทศกาลตรุษจีนถูกส่งต่อภายในครอบครัวและชุมชนอย่างไม่เป็นทางการ รวมถึงส่งต่ออย่างเป็นทางการผ่านระบบการศึกษา ขณะทักษะงานฝีมือและศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้ถูกส่งต่อผ่านการฝึกฝน ส่งเสริมคุณค่าของครอบครัว ความสมานฉันท์ในสังคม และสันติภาพ.คณะกรรมการฯ สำทับว่าเทศกาลตรุษจีนที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมนั้นประกอบด้วยความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และมีส่วนส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านต่างๆ เช่น ความมั่นคงทางอาหารและการศึกษา ตลอดจนมีบทบาทหลักในการเพิ่มความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม.เหราเฉวียน ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของจีน ซึ่งนำคณะผู้แทนของจีนเข้าร่วมการประชุมของยูเนสโก กล่าวว่าเทศกาลตรุษจีนเป็นวันหยุดตามประเพณีที่สำคัญที่สุดของจีน เป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังมีชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนชาวจีน สัมพันธ์กับครอบครัวและประเทศ และคุณค่าของความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ.เหราเสริมว่าเทศกาลตรุษจีนถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นและมอบความแข็งแกร่งทางจิตวิญญาณแก่ประชาชนชาวจีนเสมอมา มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความปรองดองของครอบครัวและสังคม ขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ปกป้องสิ่งแวดล้อม และบ่มเพาะการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมทั่วโลก.เหรากล่าวว่าการขึ้นทะเบียนเทศกาลตรุษจีนเข้าสู่รายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติจะช่วยส่งเสริมคุณค่าสากลของสันติภาพและความสามัคคีปรองดอง และเน้นย้ำบทบาทสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในการพัฒนาที่ยั่งยืน.ปัจจุบันจีนมีองค์ประกอบหรือพิธีปฏิบัติทางวัฒนธรรมที่ยูเนสโกให้การรับรองเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ จำนวน 44 รายการแล้ว
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 986 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยูเนสโก ประกาศขึ้นทะเบียน "ต้มยำกุ้ง" เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ประจำปี 2567

    วันนี้ (4 ธ.ค.2567) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า เมื่อคืนเวลา 02.00 น เวลาในประเทศไทยที่ กรุงอะซุนซิออง สาธารณรัฐปารากวัย ได้มีการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนการรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 (The 19th Session of the Intergovernmental Committee for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) โดยที่ประชุมได้ประกาศขึ้นทะเบียน "ต้มยำกุ้ง" เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (The Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ในการประชุมฯ

    ทั้งนี้การขึ้นทะเบียน "ต้มยำกุ้ง" ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 ในการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดยต้มยำกุ้งของไทย เป็นเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ มีต้นกำเนิดจากภูมิปัญญาและวิถีปฏิบัติอันประณีตของชุมชนริมน้ำในภาคกลางของไทย สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นในทุกระดับของสังคม ไม่ว่าจะเป็นในครอบครัว ชุมชน โรงเรียน และร้านอาหาร จนกลายมาเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ต้มยำกุ้งจึงเป็นเครื่องยืนยันอย่างดีถึงมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Soft Power ไทย
    ยูเนสโก ประกาศขึ้นทะเบียน "ต้มยำกุ้ง" เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ประจำปี 2567 วันนี้ (4 ธ.ค.2567) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า เมื่อคืนเวลา 02.00 น เวลาในประเทศไทยที่ กรุงอะซุนซิออง สาธารณรัฐปารากวัย ได้มีการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนการรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 (The 19th Session of the Intergovernmental Committee for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) โดยที่ประชุมได้ประกาศขึ้นทะเบียน "ต้มยำกุ้ง" เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (The Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ในการประชุมฯ ทั้งนี้การขึ้นทะเบียน "ต้มยำกุ้ง" ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 ในการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดยต้มยำกุ้งของไทย เป็นเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ มีต้นกำเนิดจากภูมิปัญญาและวิถีปฏิบัติอันประณีตของชุมชนริมน้ำในภาคกลางของไทย สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นในทุกระดับของสังคม ไม่ว่าจะเป็นในครอบครัว ชุมชน โรงเรียน และร้านอาหาร จนกลายมาเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ต้มยำกุ้งจึงเป็นเครื่องยืนยันอย่างดีถึงมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Soft Power ไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 854 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำไม กวนอู ถึงหน้าแดง ...เปาบุ้นจิ้น ถึงหน้าดำ ...ที่มามาจาก "งิ้วปักกิ่ง" ของจีนมีประวัติกว่า ๒๐๐ ปีและถูกขนานนามว่าเป็น "อุปรากรแห่งบูรพา" เป็นมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติของจีน (เพราะเกิดขึ้นในปักกิ่ง) จึงมีชื่อเรียกกันว่า "จิงจวี้" (แปลเป็นไทยว่า "งิ้วปักกิ่ง")"รูปแบบการแต่งหน้า" เป็นศิลปะที่มีเอกลักษณ์ที่สุดของงิ้วปักกิ่ง เช่น- "สีแดง" ใช้กับบุคคลที่มีความซื่อสัตย์- "สีม่วง" เป็นสัญลักษณ์แห่งความชาญฉลาด ความกล้าหาญ และความมีน้ำใจ- "สีดำ" สะท้อนถึงอุปนิสัยใจคอสูงส่งที่ซื่อตรง- "สีขาว" บ่งบอกถึงความคดโกง และความโหดเหี้ยมของคนร้าย- "สีน้ำเงิน" หมายถึงมีใจนักสู้ และกล้าหาญ- "สีเหลือง" ใช้กับตัวละครที่โหดร้าย- "สีทองและสีเงิน" มักใช้กับตัวละครที่เป็นเทวดา และภูตผีปีศาจ...ด้วยความที่ได้รับความนิยมมาก..และมีคนดูมาก และคนที่่อยู่ไกลออกจากเวที มองไม่เห็นว่า ตัวละครตัวไหนคือใคร...จึงใช้สี ทาหน้า แยกตามความหมายข้างต้น..
    ทำไม กวนอู ถึงหน้าแดง ...เปาบุ้นจิ้น ถึงหน้าดำ ...ที่มามาจาก "งิ้วปักกิ่ง" ของจีนมีประวัติกว่า ๒๐๐ ปีและถูกขนานนามว่าเป็น "อุปรากรแห่งบูรพา" เป็นมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติของจีน (เพราะเกิดขึ้นในปักกิ่ง) จึงมีชื่อเรียกกันว่า "จิงจวี้" (แปลเป็นไทยว่า "งิ้วปักกิ่ง")"รูปแบบการแต่งหน้า" เป็นศิลปะที่มีเอกลักษณ์ที่สุดของงิ้วปักกิ่ง เช่น- "สีแดง" ใช้กับบุคคลที่มีความซื่อสัตย์- "สีม่วง" เป็นสัญลักษณ์แห่งความชาญฉลาด ความกล้าหาญ และความมีน้ำใจ- "สีดำ" สะท้อนถึงอุปนิสัยใจคอสูงส่งที่ซื่อตรง- "สีขาว" บ่งบอกถึงความคดโกง และความโหดเหี้ยมของคนร้าย- "สีน้ำเงิน" หมายถึงมีใจนักสู้ และกล้าหาญ- "สีเหลือง" ใช้กับตัวละครที่โหดร้าย- "สีทองและสีเงิน" มักใช้กับตัวละครที่เป็นเทวดา และภูตผีปีศาจ...ด้วยความที่ได้รับความนิยมมาก..และมีคนดูมาก และคนที่่อยู่ไกลออกจากเวที มองไม่เห็นว่า ตัวละครตัวไหนคือใคร...จึงใช้สี ทาหน้า แยกตามความหมายข้างต้น..
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 624 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทางผ่านแวะหน่อยแล้วกัน @Taman Sari (สวนน้ำของบรรดานางสนมขององค์สุลต่าน) มีคู่บ่าวสาวมาถ่ายพรีเวดดิ้งเยอะมาก และชื่นชมอีกอย่าง มีไกค์ชาวบ้านคอยแนะนำเยอะเลย ส่งเสริมให้ชาวบ้านและชุมชนรอบข้าง (ราคาคนท้องถิ่น 15,000 รูเปีย ประมาณ 40฿ ต่อคน)https://maps.app.goo.gl/3GmqVW2PBQhHV8qB9?g_st=com.google.maps.preview.copyTaman Sari หรือที่รู้จักกันในชื่อ “Water Castle” เป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองยอกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย สร้างขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดย สุลต่านฮาเมงกูบูโวที่ 1 (Sultan Hamengkubuwono I) แห่งราชอาณาจักรยอกยาการ์ตา จุดประสงค์ดั้งเดิมของ Taman Sari คือการเป็นสถานที่พักผ่อนส่วนตัวของราชวงศ์และใช้สำหรับพิธีกรรมทางศาสนา การป้องกัน รวมถึงเป็นสวนน้ำเพื่อความเพลิดเพลิน  ประวัติที่สำคัญ: 1. การก่อสร้างTaman Sari ถูกสร้างขึ้นในปี 1758-1765 โดยได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมยุโรป ผสมผสานกับสไตล์ชวา มีสระน้ำ พื้นที่พักผ่อน และอาคารหลากหลายที่ออกแบบอย่างประณีต เช่น สระว่ายน้ำส่วนตัวของสุลต่าน และหอคอยชมวิว  2. หน้าที่การใช้งาน ใช้เป็น ที่พักผ่อนส่วนตัวของราชวงศ์ เป็น ป้อมปราการทางยุทธศาสตร์ ซึ่งมีอุโมงค์ใต้ดินและพื้นที่ลับเพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน ใช้สำหรับ พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะพิธีทางน้ำที่เกี่ยวข้องกับสุลต่านและครอบครัว  3. สถานะในปัจจุบันTaman Sari ในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซีย และเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมส่วนต่าง ๆ เช่น สระน้ำกลางแจ้งที่ยังคงสภาพดี และโครงสร้างบางส่วนที่ได้รับการบูรณะ  ด้วยความผสมผสานของวัฒนธรรมท้องถิ่นและตะวันตก Taman Sari จึงเป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงถึงประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของอินโดนีเซียในยุคโบราณ.
    ทางผ่านแวะหน่อยแล้วกัน 😍 @Taman Sari (สวนน้ำของบรรดานางสนมขององค์สุลต่าน) มีคู่บ่าวสาวมาถ่ายพรีเวดดิ้งเยอะมาก และชื่นชมอีกอย่าง มีไกค์ชาวบ้านคอยแนะนำเยอะเลย ส่งเสริมให้ชาวบ้านและชุมชนรอบข้าง (ราคาคนท้องถิ่น 15,000 รูเปีย ประมาณ 40฿ ต่อคน)https://maps.app.goo.gl/3GmqVW2PBQhHV8qB9?g_st=com.google.maps.preview.copyTaman Sari หรือที่รู้จักกันในชื่อ “Water Castle” เป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองยอกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย สร้างขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดย สุลต่านฮาเมงกูบูโวที่ 1 (Sultan Hamengkubuwono I) แห่งราชอาณาจักรยอกยาการ์ตา จุดประสงค์ดั้งเดิมของ Taman Sari คือการเป็นสถานที่พักผ่อนส่วนตัวของราชวงศ์และใช้สำหรับพิธีกรรมทางศาสนา การป้องกัน รวมถึงเป็นสวนน้ำเพื่อความเพลิดเพลิน  ประวัติที่สำคัญ: 1. การก่อสร้างTaman Sari ถูกสร้างขึ้นในปี 1758-1765 โดยได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมยุโรป ผสมผสานกับสไตล์ชวา มีสระน้ำ พื้นที่พักผ่อน และอาคารหลากหลายที่ออกแบบอย่างประณีต เช่น สระว่ายน้ำส่วนตัวของสุลต่าน และหอคอยชมวิว  2. หน้าที่การใช้งาน ใช้เป็น ที่พักผ่อนส่วนตัวของราชวงศ์ เป็น ป้อมปราการทางยุทธศาสตร์ ซึ่งมีอุโมงค์ใต้ดินและพื้นที่ลับเพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน ใช้สำหรับ พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะพิธีทางน้ำที่เกี่ยวข้องกับสุลต่านและครอบครัว  3. สถานะในปัจจุบันTaman Sari ในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซีย และเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมส่วนต่าง ๆ เช่น สระน้ำกลางแจ้งที่ยังคงสภาพดี และโครงสร้างบางส่วนที่ได้รับการบูรณะ  ด้วยความผสมผสานของวัฒนธรรมท้องถิ่นและตะวันตก Taman Sari จึงเป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงถึงประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของอินโดนีเซียในยุคโบราณ.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1104 มุมมอง 0 รีวิว
  • ## Li Ziqi (หลีจื่อชี) กลับมาแล้ว ##
    ..
    ..
    หลีจื่อชี กลับมาอัปเดตวิดีโออีกครั้งหลังจากผ่านไป 3 ปี...!!!
    .
    หลังจากเรื่องราวการฟ้องร้อง ระหว่าง บริษัท WeiNian และ นาย หลิวถงหมิง กับ บริษัท Ziqi Culture ของ หลีจื่อชี ซึ่งจบลงด้วยการไกล่เกลี่ย
    .
    หลังจากนั้น เธอก็เงียบหายไป...
    .
    โดยตัวเธอระบุว่า ได้ใช้เวลาไปกับ “การพักผ่อน และ ดูแลคุณยาย”
    .
    เธอเดินทางไปหลายสถานที่ในกว่า 20 มณฑล และ พบปะกับผู้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ และ ผู้ทำงานด้านวัฒนธรรมกว่า 100 คน ซึ่งทำให้เธอค้นพบแนวทางในอนาคต...
    .
    หลี่จื่อฉี วัย 34 ปี เจ้าของรางวัล Guinness World Record สำหรับ "ผู้ติดตามช่องภาษาจีนบน YouTube มากที่สุด"
    .
    ผู้ผลิตคอนเทนต์ที่จะนำพาเรา เขาไปสู่อีกโลกหนึ่ง พื่นที่ป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์ รอบล้อมไปด้วยธรรมชาติ ด้วยชีวิตที่ สงบ และ สุข กับการใช้ชีวิต และ กินอยู่ กับธรรมชาติ ที่น่าตื่นตาตื่นใจ และ ยังสวยงามชวนฝันอีกด้วย...
    .
    เธอเป็นแรงบันดาลใจ ให้ผู้ทำคอนเทนต์ รุ่นน้องหลายราย ที่ผลิตคอนเทนต์ ในลักษณะเดียวกันออกมาอีกมากมายในภายหลัง...
    ...
    และที่สำคัญ เป็น คอนเทนต์ที่ผมชอบมาก...
    .

    .
    https://youtu.be/IrXjnw8BpM0?si=j4ldHD-aOzecMHvA
    ## Li Ziqi (หลีจื่อชี) กลับมาแล้ว ## .. .. หลีจื่อชี กลับมาอัปเดตวิดีโออีกครั้งหลังจากผ่านไป 3 ปี...!!! . หลังจากเรื่องราวการฟ้องร้อง ระหว่าง บริษัท WeiNian และ นาย หลิวถงหมิง กับ บริษัท Ziqi Culture ของ หลีจื่อชี ซึ่งจบลงด้วยการไกล่เกลี่ย . หลังจากนั้น เธอก็เงียบหายไป... . โดยตัวเธอระบุว่า ได้ใช้เวลาไปกับ “การพักผ่อน และ ดูแลคุณยาย” . เธอเดินทางไปหลายสถานที่ในกว่า 20 มณฑล และ พบปะกับผู้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ และ ผู้ทำงานด้านวัฒนธรรมกว่า 100 คน ซึ่งทำให้เธอค้นพบแนวทางในอนาคต... . หลี่จื่อฉี วัย 34 ปี เจ้าของรางวัล Guinness World Record สำหรับ "ผู้ติดตามช่องภาษาจีนบน YouTube มากที่สุด" . ผู้ผลิตคอนเทนต์ที่จะนำพาเรา เขาไปสู่อีกโลกหนึ่ง พื่นที่ป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์ รอบล้อมไปด้วยธรรมชาติ ด้วยชีวิตที่ สงบ และ สุข กับการใช้ชีวิต และ กินอยู่ กับธรรมชาติ ที่น่าตื่นตาตื่นใจ และ ยังสวยงามชวนฝันอีกด้วย... . เธอเป็นแรงบันดาลใจ ให้ผู้ทำคอนเทนต์ รุ่นน้องหลายราย ที่ผลิตคอนเทนต์ ในลักษณะเดียวกันออกมาอีกมากมายในภายหลัง... ... และที่สำคัญ เป็น คอนเทนต์ที่ผมชอบมาก... . 😊😊😊😊😊😊😊😊 . https://youtu.be/IrXjnw8BpM0?si=j4ldHD-aOzecMHvA
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 507 มุมมอง 0 รีวิว
  • หนังสือพิมพ์ U.S.News จัดสหรัฐอเมริกา
    ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับ
    ประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมมากที่สุดในโลก
    ประจำปี 2567 พบว่า ประเทศไทย อยู่อันดับที่ 8 ของโลก
    จากจำนวน 89 ประเทศทั่วโลก
    ส่วอันดับ 1 คือ กรีซ ,อันดับ 2 คือ อิตาลี, อันดับ 3 คือ สเปน

    ที่มา : U.S.News

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    💥💥หนังสือพิมพ์ U.S.News จัดสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับ ประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมมากที่สุดในโลก ประจำปี 2567 พบว่า ประเทศไทย อยู่อันดับที่ 8 ของโลก จากจำนวน 89 ประเทศทั่วโลก ส่วอันดับ 1 คือ กรีซ ,อันดับ 2 คือ อิตาลี, อันดับ 3 คือ สเปน ที่มา : U.S.News #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 936 มุมมอง 0 รีวิว
  • “มรดกทางวัฒนธรรมของแผ่นดิน”
    ภาพแห่งประวัติศาสตร์ชาติไทย
    #ขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค
    27 ตุลาคม 2567
    “มรดกทางวัฒนธรรมของแผ่นดิน” ภาพแห่งประวัติศาสตร์ชาติไทย #ขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค 27 ตุลาคม 2567
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 521 มุมมอง 31 0 รีวิว
  • Skagway Cruise Port! ท่าเรือสำราญที่นำคุณสู่เมืองแห่งประวัติศาสตร์ จุดเริ่มต้นแห่งการเดินทางสุดพิเศษสู่หมู่เกาะกรีซและเอเธนส์อันงดงาม! 🏔⛷

    รถไฟสายไวท์พาส (White Pass Scenic Railway) :
    หนึ่งในเส้นทางรถไฟที่มีชื่อเสียงที่สุดในอลาสก้า รถไฟสายนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนานและให้บริการมาตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 19

    นั่งเลื่อนสุนัขธารน้ำแข็ง (Dog Sledding on a Glacier) :
    แคมป์สุนัขที่เดนเวอร์กลาเซีย กิจกรรมที่จะได้นั่งเลื่อนสุนัขที่ลากโดยสุนัขพันธุ์ฮัสกี้ ผ่านธารน้ำแข็งที่สวยงาม โอกาสที่ดีในการสัมผัสกับธรรมชาติอลาสก้า

    พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ (Skagway Museum and Archives) :
    พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นมีความสำคัญในด้านการบอกเล่าเรื่องราวและประวัติศาสตร์ของเมือง ศูนย์กลางที่ช่วยรักษามรดกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของชุมชนนี้ด้วย

    การผจญภัยซิปไลน์ (Grizzly Falls Ziplining Expedition) :
    กิจกรรมที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการประสบการณ์การผจญภัย วิวทิวทัศน์ที่สวยงามจากมุมสูง ทั้งหมดนี้ทำให้การซิปไลน์ที่ Grizzly Falls เป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำสำหรับนักท่องเที่ยวทุกคนที่มาเยือน Skagway

    ดูแพ็คเกจเรือทั้งหมด
    https://cruisedomain.com/
    LINE ID: @CruiseDomain 78s.me/c54029
    Facebook: CruiseDomain 78s.me/b8a121
    Youtube : CruiseDomain 78s.me/8af620
    : 0 2116 9696 (Auto)

    #PiraeusCruisePort #Alaska #WhitePassScenicRailway #DogSleddingonaGlacier #SkagwayMuseumandArchives #GrizzlyFallsZipliningExpedition #cruisedomain #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    🐑 Skagway Cruise Port! ท่าเรือสำราญที่นำคุณสู่เมืองแห่งประวัติศาสตร์ จุดเริ่มต้นแห่งการเดินทางสุดพิเศษสู่หมู่เกาะกรีซและเอเธนส์อันงดงาม! 🏔⛷ ✅ รถไฟสายไวท์พาส (White Pass Scenic Railway) : หนึ่งในเส้นทางรถไฟที่มีชื่อเสียงที่สุดในอลาสก้า รถไฟสายนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนานและให้บริการมาตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ✅ นั่งเลื่อนสุนัขธารน้ำแข็ง (Dog Sledding on a Glacier) : แคมป์สุนัขที่เดนเวอร์กลาเซีย กิจกรรมที่จะได้นั่งเลื่อนสุนัขที่ลากโดยสุนัขพันธุ์ฮัสกี้ ผ่านธารน้ำแข็งที่สวยงาม โอกาสที่ดีในการสัมผัสกับธรรมชาติอลาสก้า ✅ พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ (Skagway Museum and Archives) : พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นมีความสำคัญในด้านการบอกเล่าเรื่องราวและประวัติศาสตร์ของเมือง ศูนย์กลางที่ช่วยรักษามรดกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของชุมชนนี้ด้วย ✅ การผจญภัยซิปไลน์ (Grizzly Falls Ziplining Expedition) : กิจกรรมที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการประสบการณ์การผจญภัย วิวทิวทัศน์ที่สวยงามจากมุมสูง ทั้งหมดนี้ทำให้การซิปไลน์ที่ Grizzly Falls เป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำสำหรับนักท่องเที่ยวทุกคนที่มาเยือน Skagway ✅ ดูแพ็คเกจเรือทั้งหมด https://cruisedomain.com/ LINE ID: @CruiseDomain 78s.me/c54029 Facebook: CruiseDomain 78s.me/b8a121 Youtube : CruiseDomain 78s.me/8af620 ☎️: 0 2116 9696 (Auto) #PiraeusCruisePort #Alaska #WhitePassScenicRailway #DogSleddingonaGlacier #SkagwayMuseumandArchives #GrizzlyFallsZipliningExpedition #cruisedomain #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1366 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts