• หนึ่งรำลึกกวนซาน

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ไม่รู้ภาษาจีนอาจไม่ทราบว่าชื่อจีนของซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> นั้นมีความหมายแตกต่างจากชื่อไทย (หรือแม้แต่ชื่อภาษาอังกฤษ) ชื่อจีนที่ว่านี้คือ ‘อี๋เนี่ยนกวนซาน’ (一念关山แปลตรงตัวว่า หนึ่งความคิด/รำลึก + เขากวนซาน) วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘กวนซาน’ กัน

    ภูเขาที่มีชื่อว่า ‘กวนซาน’ นี้เป็นสถานที่จริงหรือไม่?

    จากข้อมูลที่หาได้ กวนซานคือบริเวณที่ในสมัยโบราณเรียกว่าเขาหล่งซานบรรจบเขตพื้นที่ราบกวนจง (ไม่ไกลจากอดีตเมืองฉางอัน) (ดูแผนที่ภาพ 2) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมโบราณที่เชื่อมจีนและดินแดนทางตะวันตก และเป็นพื้นที่สมรภูมิอยู่หลายครั้งหลายคราเพราะเป็นเส้นทางผ่านเขตแดนที่เชื่อมขึ้นไปตะวันตกเฉียงเหนือก่อนจะเข้าสู่อาณาเขตเหลียวหรือชี่ตัน มันเป็นเทือกเขาสูงและชัน สูงกว่า 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ยากต่อการเดินทางและการป้องกัน

    แต่ในซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> ไม่ได้เอ่ยชัดเจนถึงภูเขาหรือสถานที่ที่ชื่อว่า ‘กวนซาน’ จึงเป็นไปได้ว่าชื่อของซีรีส์นี้ไม่ได้หมายถึงสถานที่จริง Storyฯ เลยวางแผนที่ลงแล้วไปหยิบบทกวีโบราณมาดูกันว่าจริงแล้ว ‘กวนซาน’ หมายถึงอะไร

    ‘กวนซาน’ ปรากฏในบทกวีโบราณกว่าหนึ่งร้อยบท มักอยู่ในบริบทของบทกวีที่รำพันถึงความยากลำบากของชีวิต เปรียบเสมือนการเดินทางข้ามเขากวนซานที่ทั้งสูงทั้งอันตราย และเมื่อข้ามผ่านแล้วจะเดินทางกลับบ้านก็ยากยิ่งนัก

    มีบทกวีที่เตะตามาก ด้วยวรรคลงท้ายสองวรรคของบทกวีที่ใกล้เคียงกับชื่อซีรีส์นี้ คือวรรคที่กล่าวว่า “หนึ่งรำลึกถึงกวนซัน พันลี้พะวงถึงถ้ำรังจิ้งจอก” (一念起关山 千里顾丘窟) ซึ่งในที่นี้ ถ้ำรังจิ้งจอกเป็นการอุปมาอุปไมยถึงบ้านเกิด เพราะว่ากันว่าเวลาจิ้งจอกบาดเจ็บใกล้ตายจะพยายามกลับรัง บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘เชวี่ยตงซีเหมินสิง’ (却东西门行 แปลได้ประมาณว่า ละทิ้ง(เมือง)ตะวันออกเดินทางออกประตูตะวันตก) ของเสิ่นเยวี้ย ประพันธ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์ใต้ บรรยายถึงการเดินทางของคนคนหนึ่งที่ขี่ม้ามุ่งหน้าไปยังทิศตะวันตกข้ามผ่านแนวเขา ย้อนมองเมืองหลวง (เมืองตะวันออก) แต่เมืองหลวงค่อยๆ เลือนหายไปในหมอกควัน วันเวลาที่ผันผ่านยิ่งทำให้รำลึกถึงอดีต ยามมองทิวเขานึกถึงถ้ำรังจิ้งจอกคือหวนคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน สะท้อนถึงชีวิตจริงของกวีที่ต้องจากลาเมืองหลวงเมื่อตระกูลตกต่ำ

    ดังนั้น ‘กวนซาน’ ในบทกวีนี้คือหมายถึงมาตุภูมิ และในอีกหลายบทกวีคำว่า ‘กวนซาน’ ก็ถูกนำมาใช้เพื่อสะท้อนถึงความหมายนี้เช่นกัน และ Storyฯ คิดว่าชื่อภาษาจีนของ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> สะท้อนได้ดีถึงการเดินเรื่องด้วยเรื่องราวความพยายามที่จะพาฮ่องเต้แคว้นอู๋กลับบ้าน และเรื่องราวความรักและความเสียสละของเหล่าตัวละครที่มีต่อแผ่นดินเกิด

    ... หนึ่งรำลึกคือกวนซาน
    ... หนึ่งรำลึกคือมาตุภูมิ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://star.tom.com/202311/1572406490.html
    https://topimage.design/images/5cffdf94ccb56d3ea8caeb7d.html
    https://collection.sina.com.cn/plfx/20141223/1032174072.shtml?from=wap
    https://www.sohu.com/a/414709176_100091417
    https://www.sohu.com/a/497600136_100185418
    https://www.sohu.com/a/730286086_121157391
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://mt.sohu.com/20170416/n488714328.shtml
    https://www.sohu.com/a/730286086_121157391
    https://www.cidianwang.com/lishi/diming/6/63246lp.htm
    https://www.gushiju.net/ju/1703370

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #กวนซาน
    หนึ่งรำลึกกวนซาน สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ไม่รู้ภาษาจีนอาจไม่ทราบว่าชื่อจีนของซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> นั้นมีความหมายแตกต่างจากชื่อไทย (หรือแม้แต่ชื่อภาษาอังกฤษ) ชื่อจีนที่ว่านี้คือ ‘อี๋เนี่ยนกวนซาน’ (一念关山แปลตรงตัวว่า หนึ่งความคิด/รำลึก + เขากวนซาน) วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘กวนซาน’ กัน ภูเขาที่มีชื่อว่า ‘กวนซาน’ นี้เป็นสถานที่จริงหรือไม่? จากข้อมูลที่หาได้ กวนซานคือบริเวณที่ในสมัยโบราณเรียกว่าเขาหล่งซานบรรจบเขตพื้นที่ราบกวนจง (ไม่ไกลจากอดีตเมืองฉางอัน) (ดูแผนที่ภาพ 2) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมโบราณที่เชื่อมจีนและดินแดนทางตะวันตก และเป็นพื้นที่สมรภูมิอยู่หลายครั้งหลายคราเพราะเป็นเส้นทางผ่านเขตแดนที่เชื่อมขึ้นไปตะวันตกเฉียงเหนือก่อนจะเข้าสู่อาณาเขตเหลียวหรือชี่ตัน มันเป็นเทือกเขาสูงและชัน สูงกว่า 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ยากต่อการเดินทางและการป้องกัน แต่ในซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> ไม่ได้เอ่ยชัดเจนถึงภูเขาหรือสถานที่ที่ชื่อว่า ‘กวนซาน’ จึงเป็นไปได้ว่าชื่อของซีรีส์นี้ไม่ได้หมายถึงสถานที่จริง Storyฯ เลยวางแผนที่ลงแล้วไปหยิบบทกวีโบราณมาดูกันว่าจริงแล้ว ‘กวนซาน’ หมายถึงอะไร ‘กวนซาน’ ปรากฏในบทกวีโบราณกว่าหนึ่งร้อยบท มักอยู่ในบริบทของบทกวีที่รำพันถึงความยากลำบากของชีวิต เปรียบเสมือนการเดินทางข้ามเขากวนซานที่ทั้งสูงทั้งอันตราย และเมื่อข้ามผ่านแล้วจะเดินทางกลับบ้านก็ยากยิ่งนัก มีบทกวีที่เตะตามาก ด้วยวรรคลงท้ายสองวรรคของบทกวีที่ใกล้เคียงกับชื่อซีรีส์นี้ คือวรรคที่กล่าวว่า “หนึ่งรำลึกถึงกวนซัน พันลี้พะวงถึงถ้ำรังจิ้งจอก” (一念起关山 千里顾丘窟) ซึ่งในที่นี้ ถ้ำรังจิ้งจอกเป็นการอุปมาอุปไมยถึงบ้านเกิด เพราะว่ากันว่าเวลาจิ้งจอกบาดเจ็บใกล้ตายจะพยายามกลับรัง บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘เชวี่ยตงซีเหมินสิง’ (却东西门行 แปลได้ประมาณว่า ละทิ้ง(เมือง)ตะวันออกเดินทางออกประตูตะวันตก) ของเสิ่นเยวี้ย ประพันธ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์ใต้ บรรยายถึงการเดินทางของคนคนหนึ่งที่ขี่ม้ามุ่งหน้าไปยังทิศตะวันตกข้ามผ่านแนวเขา ย้อนมองเมืองหลวง (เมืองตะวันออก) แต่เมืองหลวงค่อยๆ เลือนหายไปในหมอกควัน วันเวลาที่ผันผ่านยิ่งทำให้รำลึกถึงอดีต ยามมองทิวเขานึกถึงถ้ำรังจิ้งจอกคือหวนคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน สะท้อนถึงชีวิตจริงของกวีที่ต้องจากลาเมืองหลวงเมื่อตระกูลตกต่ำ ดังนั้น ‘กวนซาน’ ในบทกวีนี้คือหมายถึงมาตุภูมิ และในอีกหลายบทกวีคำว่า ‘กวนซาน’ ก็ถูกนำมาใช้เพื่อสะท้อนถึงความหมายนี้เช่นกัน และ Storyฯ คิดว่าชื่อภาษาจีนของ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> สะท้อนได้ดีถึงการเดินเรื่องด้วยเรื่องราวความพยายามที่จะพาฮ่องเต้แคว้นอู๋กลับบ้าน และเรื่องราวความรักและความเสียสละของเหล่าตัวละครที่มีต่อแผ่นดินเกิด ... หนึ่งรำลึกคือกวนซาน ... หนึ่งรำลึกคือมาตุภูมิ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://star.tom.com/202311/1572406490.html https://topimage.design/images/5cffdf94ccb56d3ea8caeb7d.html https://collection.sina.com.cn/plfx/20141223/1032174072.shtml?from=wap https://www.sohu.com/a/414709176_100091417 https://www.sohu.com/a/497600136_100185418 https://www.sohu.com/a/730286086_121157391 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://mt.sohu.com/20170416/n488714328.shtml https://www.sohu.com/a/730286086_121157391 https://www.cidianwang.com/lishi/diming/6/63246lp.htm https://www.gushiju.net/ju/1703370 #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #กวนซาน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 109 มุมมอง 0 รีวิว
  • วลีจีน วิญญาณผู้กล้าหวนคืนมาตุภูมิ

    สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนหลายบทความถึง ‘วลีเด็ด’ จากบทกวีจีนโบราณและวรรณกรรมจีนโบราณที่ถูกนำมาใช้ในหลายซีรีส์และนวนิยายจีน แต่จริงๆ แล้วก็มี ‘วลีเด็ด’ จากยุคปัจจุบันที่เคยถูกยกไปใช้ในซีรีส์หรือนิยายจีนโบราณด้วยเหมือนกัน

    วันนี้เรามาคุยกันถึงตัวอย่างหนึ่งจากซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> เพื่อนเพจที่ได้ดูอาจพอจำได้ว่าในระหว่างการเดินทางของคณะฑูตแคว้นอู๋ไปยังแคว้นอันเพื่อช่วยกษัตริย์แคว้นอู๋นั้น พวกเขาพบซากศพและป้ายห้อยคอประจำตัวของเหล่าทหารจากหน่วยหกวิถีที่พลีชีพก่อนหน้านี้ในศึกที่แคว้นอู๋พ่ายแพ้ และได้จัดพิธีเผาศพให้กับพวกเขา (รูปประกอบ1) ในฉากนี้ หลี่อ๋องเซ่นสุราและกล่าวออกมาประโยคหนึ่งว่า “ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์” (หมายเหตุ คำแปลตามซับไทย)

    ประโยคดังกล่าว ต้นฉบับภาษาจีนคือ ‘魂兮归来 维莫永伤 (หุนซีกุยหลาย เหวยม่อหย่งซัง)’ เป็นประโยคที่มาจากสุทรพจน์เมื่อปี 2021 เพื่อสดุดีทหารอาสาสมัครจีน โดยวรรคแรกถูกยกมาจากบทประพันธ์โบราณ

    ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ วรรคนี้มาจากบทประพันธ์ที่มีชื่อว่า ‘เรียกดวงวิญญาณ’ (招魂 /จาวหุน) บ้างว่าเป็นผลงานของชวีหยวน ขุนนางและกวีแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐที่เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อจากตำนานบ๊ะจ่าง บ้างว่าเป็นผลงานของซ่งอวี้ ขุนนางจากแคว้นฉู่เช่นกัน

    บทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ เป็นบทประพันธ์ที่ยาวมาก ลักษณะคล้ายเล่านิทาน ใจความของบทประพันธ์เป็นการเรียกและหว่านล้อมดวงวิญญาณให้กลับมาบ้าน อย่าได้ไปหยุดรั้งอยู่ในดินแดน ณ ทิศต่างๆ โดยบรรยายถึงภยันตรายและความยากลำบากในดินแดนนั้นๆ ที่อาจทำให้ดวงวิญญาณอาจดับสูญได้ และกล่าวถึงความคิดถึงของคนที่บ้านที่รอคอยให้ดวงวิญญาณนั้นหวนคืนมา ซึ่งสะท้อนถึงธรรมเนียมโบราณที่ต้องทำพิธีเรียกดวงวิญญาณของผู้ที่ตายในต่างแดนให้กลับบ้าน

    ว่ากันว่าบทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ นี้มีที่มาจากเรื่องราวของกษัตริย์ฉู่หวยหวางที่เสียท่าให้กับกุศโลบายของแคว้นฉิน ถูกจับเป็นตัวประกันหลังพ่ายศึกและพลีชีพที่นั่น ต่อมาสามปีให้หลังเมื่อสองแคว้นสงบศึกกันแล้วจึงมีการจัดพิธีศพให้แต่กษัตริย์ฉู่หวยหวาง และแม้ว่ากษัตริย์ฉู่หวยหวางจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าบริหารราชการแผ่นดินผิดพลาด แต่ในช่วงที่ถูกจับเป็นตัวประกันนั้นได้แสดงถึงความกล้าหาญยอมหักไม่ยอมงอ บทกวีนี้จึงถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงจิตวิญญาณอันหาญกล้าของผู้ที่พลีชีพในต่างแดนเพื่อแผ่นดินเกิด

    และวลี ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ ได้ถูกนำมาใช้ในสุนทรพจน์สดุดีทหารจีนในงานพิธีฝังศพทหารอาสาสมัครจีนชุดที่ 8 จำนวน 109 นายที่พลีชีพในสงครามเกาหลีเมื่อกว่า 70 ปีที่แล้วและเพิ่งได้รับการส่งคืนจากเกาหลีใต้ในเดือนกันยายน 2021 มันเป็นสุนทรพจน์ของนายซุนส้าวเฉิงในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงการทหารผ่านศึก (Ministry of Veteran Affairs) ในสมัยนั้น โดยประโยคเต็ม ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์’ นี้คือประโยคจบของสุนทรพจน์ (รูปประกอบ2)

    บทสุนทรพจน์ดังกล่าวยาวและใช้ทักษะภาษาชั้นสูงถ้อยคำงดงาม ใจความโดยสรุปคือยกย่องเหล่าทหารอาสาสมัครที่ออกไปร่วบรบเพื่อเสถียรภาพของสาธารณรัฐจีนที่เพิ่งถูกก่อตั้งขึ้นใหม่ สดุดีความกล้าหาญของพวกเขาที่ต้องเผชิญหน้าคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธสงครามที่ร้ายกาจ สุดท้ายพลีชีพอยู่ต่างแดนไม่มีโอกาสได้กลับบ้านเกิดจวบจนวันนี้ ขอให้เหล่าดวงวิญญาณกลับมาสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของประชาชนที่รักเขาและยังไม่ลืมความเสียสละของพวกเขา ได้กลับมาเห็นความเจริญเข้มแข็งของประเทศที่เขาพลีกายปกปักษ์รักษา ขอเหล่าวิญญาณผู้กล้าจงกลับคืนสู่มาตุภูมิ กลับมาสู่ความสงบ ไม่ต้องเจ็บช้ำหรือโศกเศร้าอีกต่อไป

    สุนทรพจน์นี้ได้รับการยกย่องด้วยภาษาที่งดงามและความหมายลึกซึ้งกินใจ ไม่เพียงสดุดีความกล้าหาญ แต่ยังกระตุ้นอารมณ์รักและเคารพในผู้ฟังอีกด้วย และประโยคนี้เป็นคำพูดในยุคจีนปัจจุบันที่สะท้อนวัฒนธรรมที่สั่งสมผ่านกาลเวลาจากวลีจีนโบราณ กลายมาเป็นอีกประโยคหนึ่งที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์จีน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/584621129_114988
    http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html
    https://mgronline.com/china/detail/9670000114488
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://m.shangshiwen.com/71990.html
    https://www.gushiwen.cn/mingju_991.aspx
    https://baike.baidu.com/item/招魂/8176058
    http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #เรียกดวงวิญญาณ #ชวีหยวน #ทหารอาสาสมัครจีน #สาระจีน
    วลีจีน วิญญาณผู้กล้าหวนคืนมาตุภูมิ สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนหลายบทความถึง ‘วลีเด็ด’ จากบทกวีจีนโบราณและวรรณกรรมจีนโบราณที่ถูกนำมาใช้ในหลายซีรีส์และนวนิยายจีน แต่จริงๆ แล้วก็มี ‘วลีเด็ด’ จากยุคปัจจุบันที่เคยถูกยกไปใช้ในซีรีส์หรือนิยายจีนโบราณด้วยเหมือนกัน วันนี้เรามาคุยกันถึงตัวอย่างหนึ่งจากซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> เพื่อนเพจที่ได้ดูอาจพอจำได้ว่าในระหว่างการเดินทางของคณะฑูตแคว้นอู๋ไปยังแคว้นอันเพื่อช่วยกษัตริย์แคว้นอู๋นั้น พวกเขาพบซากศพและป้ายห้อยคอประจำตัวของเหล่าทหารจากหน่วยหกวิถีที่พลีชีพก่อนหน้านี้ในศึกที่แคว้นอู๋พ่ายแพ้ และได้จัดพิธีเผาศพให้กับพวกเขา (รูปประกอบ1) ในฉากนี้ หลี่อ๋องเซ่นสุราและกล่าวออกมาประโยคหนึ่งว่า “ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์” (หมายเหตุ คำแปลตามซับไทย) ประโยคดังกล่าว ต้นฉบับภาษาจีนคือ ‘魂兮归来 维莫永伤 (หุนซีกุยหลาย เหวยม่อหย่งซัง)’ เป็นประโยคที่มาจากสุทรพจน์เมื่อปี 2021 เพื่อสดุดีทหารอาสาสมัครจีน โดยวรรคแรกถูกยกมาจากบทประพันธ์โบราณ ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ วรรคนี้มาจากบทประพันธ์ที่มีชื่อว่า ‘เรียกดวงวิญญาณ’ (招魂 /จาวหุน) บ้างว่าเป็นผลงานของชวีหยวน ขุนนางและกวีแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐที่เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อจากตำนานบ๊ะจ่าง บ้างว่าเป็นผลงานของซ่งอวี้ ขุนนางจากแคว้นฉู่เช่นกัน บทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ เป็นบทประพันธ์ที่ยาวมาก ลักษณะคล้ายเล่านิทาน ใจความของบทประพันธ์เป็นการเรียกและหว่านล้อมดวงวิญญาณให้กลับมาบ้าน อย่าได้ไปหยุดรั้งอยู่ในดินแดน ณ ทิศต่างๆ โดยบรรยายถึงภยันตรายและความยากลำบากในดินแดนนั้นๆ ที่อาจทำให้ดวงวิญญาณอาจดับสูญได้ และกล่าวถึงความคิดถึงของคนที่บ้านที่รอคอยให้ดวงวิญญาณนั้นหวนคืนมา ซึ่งสะท้อนถึงธรรมเนียมโบราณที่ต้องทำพิธีเรียกดวงวิญญาณของผู้ที่ตายในต่างแดนให้กลับบ้าน ว่ากันว่าบทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ นี้มีที่มาจากเรื่องราวของกษัตริย์ฉู่หวยหวางที่เสียท่าให้กับกุศโลบายของแคว้นฉิน ถูกจับเป็นตัวประกันหลังพ่ายศึกและพลีชีพที่นั่น ต่อมาสามปีให้หลังเมื่อสองแคว้นสงบศึกกันแล้วจึงมีการจัดพิธีศพให้แต่กษัตริย์ฉู่หวยหวาง และแม้ว่ากษัตริย์ฉู่หวยหวางจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าบริหารราชการแผ่นดินผิดพลาด แต่ในช่วงที่ถูกจับเป็นตัวประกันนั้นได้แสดงถึงความกล้าหาญยอมหักไม่ยอมงอ บทกวีนี้จึงถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงจิตวิญญาณอันหาญกล้าของผู้ที่พลีชีพในต่างแดนเพื่อแผ่นดินเกิด และวลี ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ ได้ถูกนำมาใช้ในสุนทรพจน์สดุดีทหารจีนในงานพิธีฝังศพทหารอาสาสมัครจีนชุดที่ 8 จำนวน 109 นายที่พลีชีพในสงครามเกาหลีเมื่อกว่า 70 ปีที่แล้วและเพิ่งได้รับการส่งคืนจากเกาหลีใต้ในเดือนกันยายน 2021 มันเป็นสุนทรพจน์ของนายซุนส้าวเฉิงในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงการทหารผ่านศึก (Ministry of Veteran Affairs) ในสมัยนั้น โดยประโยคเต็ม ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์’ นี้คือประโยคจบของสุนทรพจน์ (รูปประกอบ2) บทสุนทรพจน์ดังกล่าวยาวและใช้ทักษะภาษาชั้นสูงถ้อยคำงดงาม ใจความโดยสรุปคือยกย่องเหล่าทหารอาสาสมัครที่ออกไปร่วบรบเพื่อเสถียรภาพของสาธารณรัฐจีนที่เพิ่งถูกก่อตั้งขึ้นใหม่ สดุดีความกล้าหาญของพวกเขาที่ต้องเผชิญหน้าคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธสงครามที่ร้ายกาจ สุดท้ายพลีชีพอยู่ต่างแดนไม่มีโอกาสได้กลับบ้านเกิดจวบจนวันนี้ ขอให้เหล่าดวงวิญญาณกลับมาสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของประชาชนที่รักเขาและยังไม่ลืมความเสียสละของพวกเขา ได้กลับมาเห็นความเจริญเข้มแข็งของประเทศที่เขาพลีกายปกปักษ์รักษา ขอเหล่าวิญญาณผู้กล้าจงกลับคืนสู่มาตุภูมิ กลับมาสู่ความสงบ ไม่ต้องเจ็บช้ำหรือโศกเศร้าอีกต่อไป สุนทรพจน์นี้ได้รับการยกย่องด้วยภาษาที่งดงามและความหมายลึกซึ้งกินใจ ไม่เพียงสดุดีความกล้าหาญ แต่ยังกระตุ้นอารมณ์รักและเคารพในผู้ฟังอีกด้วย และประโยคนี้เป็นคำพูดในยุคจีนปัจจุบันที่สะท้อนวัฒนธรรมที่สั่งสมผ่านกาลเวลาจากวลีจีนโบราณ กลายมาเป็นอีกประโยคหนึ่งที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์จีน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/584621129_114988 http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html https://mgronline.com/china/detail/9670000114488 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://m.shangshiwen.com/71990.html https://www.gushiwen.cn/mingju_991.aspx https://baike.baidu.com/item/招魂/8176058 http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #เรียกดวงวิญญาณ #ชวีหยวน #ทหารอาสาสมัครจีน #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 190 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ซึ่งมีชื่อภาษาจีนคือ ‘เล่อโหยวหยวน’ (乐游原)

    เล่อโหยวหยวน (แปลตรงตัวว่า สุข+ทัศนาจร+ดินแดน/ทุ่ง) จริงแล้วมีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก แต่เดิมชื่อว่า ‘เล่อโหยวย่วน’ (乐游苑 / สุข+ทัศนาจร+สวน/อุทยาน) เป็นสถานที่เสด็จประพาสต้นที่ชื่นชอบขององค์ฮั่นเซวียนตี้ (ปี 51-48 ก่อนคริสตกาล) และฮองเฮาสวี่ ต่อมาฮั่นเซวียนตี้ทรงโปรดให้ฝังฮองเฮาสวี่ที่นั่น ครั้นกาลเวลาผ่านไปอักษรท้ายถูกเรียกเพี้ยนจาก ‘ย่วน’ เป็น ‘หยวน’ จนกลายมาเป็นชื่อของอุทยานเล่อโหยวหยวนตราบจนปัจจุบัน และบางครั้งถูกใช้เป็นคำกริยาที่บรรยายถึงการท่องเที่ยวอย่างเบิกบานใจ

    ในตอนต้นๆ เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> มีฉากหนึ่งที่พระเอกนางเอกนั่งเรือชมดาวในเทศกาลชีซี (ปัจจุบันเรามักเรียกเป็นวันวาเลนไทน์จีน) พระเอกเล่าถึงว่า ตอนเด็กตนเองอยู่แต่ในเมืองหลวง มักขี่ม้าขึ้นไปเที่ยวเล่อโหยวหยวน ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงในเมืองหลวง มีภูมิประเทศสูง มองลงมาเห็นทั้งเมืองหลวงได้

    เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> นี้เล่าถึงรัชสมัยสมมุติ แต่ฉากหลังนั้นใกล้เคียงกับสมัยถังตอนปลาย และเล่อโหยวหยวนนี้เป็นสถานที่ฮอตฮิตในสมัยถังสำหรับการท่องเที่ยวและเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจสำคัญของเหล่ากวี มีบทกวีไม่น้อยที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อบรรยายถึงความงดงามของทัศนียภาพบนนั้น

    เล่อโหยวหยวนเป็นอุทยานบนเขาตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของนครฉางอัน ซึ่งปัจจุบันก็คือเมืองซีอาน (คือจุดที่วงสีเขียวไว้ในภาพประกอบ) รูปแผนที่ที่แปะมาให้ดูอาจจะละลานตาสักนิด เพราะเป็นแผนที่ภูมิประเทศที่มีระบุเส้นชั้นความสูง เพื่อให้เห็นว่าบริเวณนั้นของนครฉางอันเป็นเนินเขา ที่นี่เป็นจุดที่สูงที่สุดของนครฉางอัน มองลงมาสามารถมองเห็นทั่วนครฉางอันได้ ในสมัยราชวงศ์สุยมีการสร้างวัดขึ้นที่นี่ชื่อวัดหลินก่าน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดชิงหลง ปัจจุบันนับเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวดังของเมืองซีอัน และเป็นวัดที่ถูกกล่าวถึงบ่อยในละครจีนโบราณ

    อนึ่ง เล่อโหยวหยวนเคยถูกกล่าวถึงในเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> แต่ Storyฯ จำเรื่องราวไม่ได้แล้ว เพื่อนเพจท่านใดจำได้มาเม้นท์บอกกันหน่อยว่าในเรื่องนี้มีเล่ารายละเอียดอะไรเกี่ยวกับเล่อโหยวหยวนหรือไม่

    ในฉากเดียวกันของเรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ที่กล่าวถึงนี้ นางเอกได้ยินพระเอกเล่าเรื่องเล่อโหยวหยวนก็เกิดแรงบันดาลใจ ร่ายกลอนออกมาบทหนึ่ง มีใจความว่า บนเขาเล่อโหยวหยวนมีลมตะวันตกพัดผ่าน มีธรรมชาติงดงามทั้งหมู่ไม้เสียงจักจั่นและแสงรุ้ง องค์สุริยเทพทรงขี่รถม้าไปเรื่อยๆ ไม่ยอมให้ตะวันตกดินและไม่ยอมให้ตะวันหันกลับไปทางทิศตะวันออก บทกวีนี้บรรยายความงามของวิวบนเล่อโหยวหยวนประหนึ่งว่าความงามนั้นสามารถสะกดให้เวลาหยุดอยู่กับที่

    กลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เล่อโหยวหยวน’ ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับชื่อภาษาจีนของซีรีส์เรื่องนี้ เป็นกลอนเจ็ด (กล่าวคือมีเจ็ดอักษรในหนึ่งวรรค) มีทั้งหมดสี่วรรค มันเป็นผลงานของหลี่ซังอิ่น (ปีค.ศ. 813-858) หนึ่งในกวีที่เลื่องชื่อของสมัยถังตอนปลาย มีผลงานที่สืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่า 600 บทกวี เขาเข้ารับราชการเมื่ออายุยี่สิบห้า ต่อมาสังกัดเจี๋ยตู้สื่อหวางเม่าหยวน และได้รับการโปรดปรานจากหวางเม่าหยวนถึงขนาดยกลูกสาวให้ จึงถูกลากเข้าไปพัวพันกับการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง

    บทกวีนี้มักถูกเข้าใจสลับกับบทกวีอีกบทที่โด่งดังมากกว่าของเขา มีชื่อว่า ‘เติงเล่อโหยวหยวน’ (登乐游原 / ขึ้นเขาเล่อโหยวหยวน) ซึ่งต่อมาถูกเรียกเป็น ‘เล่อโหยวหยวน’ เช่นกัน โดย ‘เติงเล่อโหยวหยวน’ เป็นกลอนห้า (อักษรห้าตัวในหนึ่งวรรค) มีสี่วรรคเช่นกัน กลอนบทนี้บรรยายถึงความงามของอาทิตย์อัสดงบนเล่อโหยวหยวนและพรรณนาความเสียดายที่ไม่อาจหยุดยั้งแสงอาทิตย์ไว้ได้ ถูกตีความกันต่อมาว่าความนัยแฝงคือความอาลัยและความอาดูรในสถานการณ์ของราชวงศ์ถังที่เสื่อมอำนาจลง โดยมีวรรคที่ฮอตฮิตคือ ‘ตะวันยอแสงงามไร้ขอบเขต แต่เสียดายใกล้อาทิตย์อัสดง’ (夕阳无限好,只是近黄昏 / ซีหยางอู๋เซี่ยนห่าว จื่อซื่อจิ้นหวงฮุน) เป็นการเปรียบเปรยถึงความไม่จีรังของชีวิต

    Storyฯ ยังดูซีรีส์เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ไม่จบ ไม่อาจกล่าวได้ว่ากลอนบทใดข้างต้น (หรือทั้งสองบท) มีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องมากน้อยเพียงใด เพื่อนเพจท่านใดที่ดูจบแล้วมีความเห็นความรู้สึกอย่างใดก็เชิญมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.dianyingbaodian.com/wiki/乐游原_%282023%29
    https://www.sohu.com/a/390828068_120445432
    https://www.sgss8.net/tpdq/21096094/2.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://shici.yw11.com/shici_fanyi_2987_250.html
    https://www.shicile.com/detail/6070192050078
    https://www.sohu.com/a/680570874_121124391

    #พสุธารักเคียงใจ #ทุ่งเล่อโหยว #เล่อโหยวหยวน #กวีถัง #หลีซังอิ่น #วัดชิงหลง #นครฉางอัน #ซีอัน
    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ซึ่งมีชื่อภาษาจีนคือ ‘เล่อโหยวหยวน’ (乐游原) เล่อโหยวหยวน (แปลตรงตัวว่า สุข+ทัศนาจร+ดินแดน/ทุ่ง) จริงแล้วมีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก แต่เดิมชื่อว่า ‘เล่อโหยวย่วน’ (乐游苑 / สุข+ทัศนาจร+สวน/อุทยาน) เป็นสถานที่เสด็จประพาสต้นที่ชื่นชอบขององค์ฮั่นเซวียนตี้ (ปี 51-48 ก่อนคริสตกาล) และฮองเฮาสวี่ ต่อมาฮั่นเซวียนตี้ทรงโปรดให้ฝังฮองเฮาสวี่ที่นั่น ครั้นกาลเวลาผ่านไปอักษรท้ายถูกเรียกเพี้ยนจาก ‘ย่วน’ เป็น ‘หยวน’ จนกลายมาเป็นชื่อของอุทยานเล่อโหยวหยวนตราบจนปัจจุบัน และบางครั้งถูกใช้เป็นคำกริยาที่บรรยายถึงการท่องเที่ยวอย่างเบิกบานใจ ในตอนต้นๆ เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> มีฉากหนึ่งที่พระเอกนางเอกนั่งเรือชมดาวในเทศกาลชีซี (ปัจจุบันเรามักเรียกเป็นวันวาเลนไทน์จีน) พระเอกเล่าถึงว่า ตอนเด็กตนเองอยู่แต่ในเมืองหลวง มักขี่ม้าขึ้นไปเที่ยวเล่อโหยวหยวน ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงในเมืองหลวง มีภูมิประเทศสูง มองลงมาเห็นทั้งเมืองหลวงได้ เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> นี้เล่าถึงรัชสมัยสมมุติ แต่ฉากหลังนั้นใกล้เคียงกับสมัยถังตอนปลาย และเล่อโหยวหยวนนี้เป็นสถานที่ฮอตฮิตในสมัยถังสำหรับการท่องเที่ยวและเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจสำคัญของเหล่ากวี มีบทกวีไม่น้อยที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อบรรยายถึงความงดงามของทัศนียภาพบนนั้น เล่อโหยวหยวนเป็นอุทยานบนเขาตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของนครฉางอัน ซึ่งปัจจุบันก็คือเมืองซีอาน (คือจุดที่วงสีเขียวไว้ในภาพประกอบ) รูปแผนที่ที่แปะมาให้ดูอาจจะละลานตาสักนิด เพราะเป็นแผนที่ภูมิประเทศที่มีระบุเส้นชั้นความสูง เพื่อให้เห็นว่าบริเวณนั้นของนครฉางอันเป็นเนินเขา ที่นี่เป็นจุดที่สูงที่สุดของนครฉางอัน มองลงมาสามารถมองเห็นทั่วนครฉางอันได้ ในสมัยราชวงศ์สุยมีการสร้างวัดขึ้นที่นี่ชื่อวัดหลินก่าน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดชิงหลง ปัจจุบันนับเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวดังของเมืองซีอัน และเป็นวัดที่ถูกกล่าวถึงบ่อยในละครจีนโบราณ อนึ่ง เล่อโหยวหยวนเคยถูกกล่าวถึงในเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> แต่ Storyฯ จำเรื่องราวไม่ได้แล้ว เพื่อนเพจท่านใดจำได้มาเม้นท์บอกกันหน่อยว่าในเรื่องนี้มีเล่ารายละเอียดอะไรเกี่ยวกับเล่อโหยวหยวนหรือไม่ ในฉากเดียวกันของเรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ที่กล่าวถึงนี้ นางเอกได้ยินพระเอกเล่าเรื่องเล่อโหยวหยวนก็เกิดแรงบันดาลใจ ร่ายกลอนออกมาบทหนึ่ง มีใจความว่า บนเขาเล่อโหยวหยวนมีลมตะวันตกพัดผ่าน มีธรรมชาติงดงามทั้งหมู่ไม้เสียงจักจั่นและแสงรุ้ง องค์สุริยเทพทรงขี่รถม้าไปเรื่อยๆ ไม่ยอมให้ตะวันตกดินและไม่ยอมให้ตะวันหันกลับไปทางทิศตะวันออก บทกวีนี้บรรยายความงามของวิวบนเล่อโหยวหยวนประหนึ่งว่าความงามนั้นสามารถสะกดให้เวลาหยุดอยู่กับที่ กลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เล่อโหยวหยวน’ ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับชื่อภาษาจีนของซีรีส์เรื่องนี้ เป็นกลอนเจ็ด (กล่าวคือมีเจ็ดอักษรในหนึ่งวรรค) มีทั้งหมดสี่วรรค มันเป็นผลงานของหลี่ซังอิ่น (ปีค.ศ. 813-858) หนึ่งในกวีที่เลื่องชื่อของสมัยถังตอนปลาย มีผลงานที่สืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่า 600 บทกวี เขาเข้ารับราชการเมื่ออายุยี่สิบห้า ต่อมาสังกัดเจี๋ยตู้สื่อหวางเม่าหยวน และได้รับการโปรดปรานจากหวางเม่าหยวนถึงขนาดยกลูกสาวให้ จึงถูกลากเข้าไปพัวพันกับการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง บทกวีนี้มักถูกเข้าใจสลับกับบทกวีอีกบทที่โด่งดังมากกว่าของเขา มีชื่อว่า ‘เติงเล่อโหยวหยวน’ (登乐游原 / ขึ้นเขาเล่อโหยวหยวน) ซึ่งต่อมาถูกเรียกเป็น ‘เล่อโหยวหยวน’ เช่นกัน โดย ‘เติงเล่อโหยวหยวน’ เป็นกลอนห้า (อักษรห้าตัวในหนึ่งวรรค) มีสี่วรรคเช่นกัน กลอนบทนี้บรรยายถึงความงามของอาทิตย์อัสดงบนเล่อโหยวหยวนและพรรณนาความเสียดายที่ไม่อาจหยุดยั้งแสงอาทิตย์ไว้ได้ ถูกตีความกันต่อมาว่าความนัยแฝงคือความอาลัยและความอาดูรในสถานการณ์ของราชวงศ์ถังที่เสื่อมอำนาจลง โดยมีวรรคที่ฮอตฮิตคือ ‘ตะวันยอแสงงามไร้ขอบเขต แต่เสียดายใกล้อาทิตย์อัสดง’ (夕阳无限好,只是近黄昏 / ซีหยางอู๋เซี่ยนห่าว จื่อซื่อจิ้นหวงฮุน) เป็นการเปรียบเปรยถึงความไม่จีรังของชีวิต Storyฯ ยังดูซีรีส์เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ไม่จบ ไม่อาจกล่าวได้ว่ากลอนบทใดข้างต้น (หรือทั้งสองบท) มีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องมากน้อยเพียงใด เพื่อนเพจท่านใดที่ดูจบแล้วมีความเห็นความรู้สึกอย่างใดก็เชิญมาเล่าสู่กันฟังนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.dianyingbaodian.com/wiki/乐游原_%282023%29 https://www.sohu.com/a/390828068_120445432 https://www.sgss8.net/tpdq/21096094/2.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://shici.yw11.com/shici_fanyi_2987_250.html https://www.shicile.com/detail/6070192050078 https://www.sohu.com/a/680570874_121124391 #พสุธารักเคียงใจ #ทุ่งเล่อโหยว #เล่อโหยวหยวน #กวีถัง #หลีซังอิ่น #วัดชิงหลง #นครฉางอัน #ซีอัน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 349 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงฉากหนึ่งใน <พสุธารักเคียงใจ> ที่พระนางนั่งเรือชมดาวกัน ความตอนที่แล้วเราคุยกันเรื่องบทกวีที่นางเอกกล่าวในฉากนี้ ซึ่งหลังจากนั้นพระเอกบอกว่ามีอีกบทกวีที่เขาชอบมากกว่า โดยนางเอกชิงท่องบทกวีดังกล่าวออกมาก่อน เป็นนัยว่าบทกวีบทนี้บ่งบอกความเป็นตัวตนของพระเอก เชื่อว่ามีเพื่อนเพจหลายคนที่คงงงเหมือนกับ Storyฯ ว่าเขาคุยอะไรกัน

    “หญ้าเขียวชอุ่มบนทุ่ง
    หนึ่งปีเหี่ยวเฉาสลับขึ้นใหม่
    ไฟป่าเผาไม่มอด
    ลมวสันต์โชยก็งอกงามอีก”
    - บทแปลจากซับไทย <พสุธารักเคียงใจ>

    บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘ฟู่เต๋อกู่หยวนเฉ่าซ่งเปี๋ย’ (赋得古原草送别) โดยคำว่า ‘ฟู่เต๋อ’ นั้น เป็นการเรียกนำหน้าบทกวีที่แต่งเติมจากวลีหรือวรรคจากบทประพันธ์โบราณ ต่อมาใช้เป็นกติกาในการสอบขุนนางว่า หากจะเขียนบทกวีที่มียกวรรคมาจากบทประพันธ์โบราณให้ใช้คำนำหน้าชื่อบทกวีนั้นว่า ‘ฟู่เต๋อ’ ส่วนคำว่า ‘กู่หยวนเฉ่า’ นั้นแปลตรงตัวว่าทุ่งหญ้าโบราณ แต่ในบทกวีโบราณมักถูกใช้แทนคำเรียก ‘เล่อโหยวหยวน’ ซึ่งเป็นอุทยานบนเขาในนครฉางอันที่เราคุยกันไปในสัปดาห์ที่แล้ว และคำว่า ‘ซ่งเปี๋ย’ คือการอำลาหรือส่งคนเดินทางจากไป ดังนั้น ชื่อของบทกวีนี้แปลได้ใจความว่า ‘บทอำลาบนเล่อโหยวหยวน’

    บทกวีนี้เป็นผลงานของกวีเอกและนักการเมืองชื่อดังในยุคช่วงปลายของราชวงศ์ถังคือ ไป๋จวีอี (ปีค.ศ. 772-846) จริงแล้วมีทั้งหมดแปดวรรค แต่ในซีรีส์กล่าวถึงเพียงสี่วรรค ซึ่งสี่วรรคหลังที่ไม่ได้กล่าวถึงนั้น Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงว่า

    ปลายทางอันไกลโพ้น
    ทุ่งเขียวจรดเมืองอ้างว้าง
    ส่งลาราชนัดดาอีกครา
    ทุ่งขจีแฝงความอาดูร

    (หมายเหตุ คำว่า ‘ราชนัดดา’ นั้นในบทกวีโบราณอาจแปลได้เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลอันสูงส่ง และในบริบทของบทกวีนี้มีการแปลไว้ว่าหมายถึงสหายสนิท)

    จะเห็นว่า บทกวีนี้แรกเริ่มสี่วรรคกล่าวถึงความงามของทุ่งหญ้าที่สะท้อนถึงความไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค แต่ในสี่วรรคหลัง ความงามนี้แปรเปลี่ยนเป็นความอ้างว้างเมื่อต้องอำลาจากกัน

    เมื่อมีชื่อนำหน้าว่า ‘ฟู่เต๋อ’ บทกวีนี้ต้องมีความเกี่ยวข้องกับการสอบขุนนางและมีวลีที่อ้างอิงมาจากบทกวีโบราณ...

    บทกวีนี้ไป๋จวีอีประพันธ์ขึ้นเมื่อครั้งเขาเข้าร่วมสอบขุนนางหลวง และบทกวีโบราณที่อ้างอิงนั้นคือบทกวีสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกมีชื่อว่า ‘จาวอิ่นซื่อ’ (招隐士) มีใจความชักจูงให้เหล่าเชื้อสายตระกูลสูงส่ง (คือความหมายของ ‘ราชนัดดา’ ในที่นี้) ที่หลบซ่อนกันอยู่นอกเมืองพากันกลับมารับใช้ราชสำนัก โดยวรรคที่ไป๋จวีอีอ้างอิงนั้นมาจากวรรคที่ว่า ‘ราชนัดดาเดินทางไปไม่กลับ หญ้าวสันต์งอกเงยเขียวขจี’ ที่ใช้ความงามของทุ่งหญ้าบ่งบอกความอ้างว้างหากเหล่าผู้มีการศึกษามีความสามารถต่างพากันทิ้งราชสำนักไป

    ปัจจุบันสี่วรรคแรกของบทกวีนี้ถูกนำมาใช้รวมในการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษา เนื่องจากภาษาไพเราะและมีใจความเป็นแรงบันดาลใจให้ฟันฝ่าอุปสรรค แต่สี่วรรคหลังถูกละไว้ เนื่องจากใจความหดหู่รันทดเกินไปสำหรับเด็ก และวรรคที่ว่า ‘ไฟป่าเผาไม่มอด ลมวสันต์โชยก็งอกงามอีก’ (野火烧不尽 春风吹又生) กลายเป็นอีกหนึ่งวลียอดนิยมจวบจนปัจจุบัน

    ดังนั้น สรุปสั้นๆ ได้ว่า บทกวีที่นางเอกกล่าวว่าสะท้อนถึงอุปนิสัยของพระเอกนั้น คือบ่งบอกถึงความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ล้มแล้วลุกขึ้นสู้ใหม่ เพื่อนเพจคิดว่าตรงไหมคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละคร
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.zdic.net/hans/%E8%B5%8B%E5%BE%97
    https://www.sohu.com/a/708520507_389451
    https://www.kekeshici.com/shicimingju/ticai/jingse/998.html
    https://baike.baidu.com/item/赋得古原草送别/2873148
    https://baike.baidu.com/item/招隐士/1905316

    #พสุธารักเคียงใจ #กวีถัง #ไป๋จวีอี #เล่อโหยวหยวน
    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงฉากหนึ่งใน <พสุธารักเคียงใจ> ที่พระนางนั่งเรือชมดาวกัน ความตอนที่แล้วเราคุยกันเรื่องบทกวีที่นางเอกกล่าวในฉากนี้ ซึ่งหลังจากนั้นพระเอกบอกว่ามีอีกบทกวีที่เขาชอบมากกว่า โดยนางเอกชิงท่องบทกวีดังกล่าวออกมาก่อน เป็นนัยว่าบทกวีบทนี้บ่งบอกความเป็นตัวตนของพระเอก เชื่อว่ามีเพื่อนเพจหลายคนที่คงงงเหมือนกับ Storyฯ ว่าเขาคุยอะไรกัน “หญ้าเขียวชอุ่มบนทุ่ง หนึ่งปีเหี่ยวเฉาสลับขึ้นใหม่ ไฟป่าเผาไม่มอด ลมวสันต์โชยก็งอกงามอีก” - บทแปลจากซับไทย <พสุธารักเคียงใจ> บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘ฟู่เต๋อกู่หยวนเฉ่าซ่งเปี๋ย’ (赋得古原草送别) โดยคำว่า ‘ฟู่เต๋อ’ นั้น เป็นการเรียกนำหน้าบทกวีที่แต่งเติมจากวลีหรือวรรคจากบทประพันธ์โบราณ ต่อมาใช้เป็นกติกาในการสอบขุนนางว่า หากจะเขียนบทกวีที่มียกวรรคมาจากบทประพันธ์โบราณให้ใช้คำนำหน้าชื่อบทกวีนั้นว่า ‘ฟู่เต๋อ’ ส่วนคำว่า ‘กู่หยวนเฉ่า’ นั้นแปลตรงตัวว่าทุ่งหญ้าโบราณ แต่ในบทกวีโบราณมักถูกใช้แทนคำเรียก ‘เล่อโหยวหยวน’ ซึ่งเป็นอุทยานบนเขาในนครฉางอันที่เราคุยกันไปในสัปดาห์ที่แล้ว และคำว่า ‘ซ่งเปี๋ย’ คือการอำลาหรือส่งคนเดินทางจากไป ดังนั้น ชื่อของบทกวีนี้แปลได้ใจความว่า ‘บทอำลาบนเล่อโหยวหยวน’ บทกวีนี้เป็นผลงานของกวีเอกและนักการเมืองชื่อดังในยุคช่วงปลายของราชวงศ์ถังคือ ไป๋จวีอี (ปีค.ศ. 772-846) จริงแล้วมีทั้งหมดแปดวรรค แต่ในซีรีส์กล่าวถึงเพียงสี่วรรค ซึ่งสี่วรรคหลังที่ไม่ได้กล่าวถึงนั้น Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงว่า ปลายทางอันไกลโพ้น ทุ่งเขียวจรดเมืองอ้างว้าง ส่งลาราชนัดดาอีกครา ทุ่งขจีแฝงความอาดูร (หมายเหตุ คำว่า ‘ราชนัดดา’ นั้นในบทกวีโบราณอาจแปลได้เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลอันสูงส่ง และในบริบทของบทกวีนี้มีการแปลไว้ว่าหมายถึงสหายสนิท) จะเห็นว่า บทกวีนี้แรกเริ่มสี่วรรคกล่าวถึงความงามของทุ่งหญ้าที่สะท้อนถึงความไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค แต่ในสี่วรรคหลัง ความงามนี้แปรเปลี่ยนเป็นความอ้างว้างเมื่อต้องอำลาจากกัน เมื่อมีชื่อนำหน้าว่า ‘ฟู่เต๋อ’ บทกวีนี้ต้องมีความเกี่ยวข้องกับการสอบขุนนางและมีวลีที่อ้างอิงมาจากบทกวีโบราณ... บทกวีนี้ไป๋จวีอีประพันธ์ขึ้นเมื่อครั้งเขาเข้าร่วมสอบขุนนางหลวง และบทกวีโบราณที่อ้างอิงนั้นคือบทกวีสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกมีชื่อว่า ‘จาวอิ่นซื่อ’ (招隐士) มีใจความชักจูงให้เหล่าเชื้อสายตระกูลสูงส่ง (คือความหมายของ ‘ราชนัดดา’ ในที่นี้) ที่หลบซ่อนกันอยู่นอกเมืองพากันกลับมารับใช้ราชสำนัก โดยวรรคที่ไป๋จวีอีอ้างอิงนั้นมาจากวรรคที่ว่า ‘ราชนัดดาเดินทางไปไม่กลับ หญ้าวสันต์งอกเงยเขียวขจี’ ที่ใช้ความงามของทุ่งหญ้าบ่งบอกความอ้างว้างหากเหล่าผู้มีการศึกษามีความสามารถต่างพากันทิ้งราชสำนักไป ปัจจุบันสี่วรรคแรกของบทกวีนี้ถูกนำมาใช้รวมในการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษา เนื่องจากภาษาไพเราะและมีใจความเป็นแรงบันดาลใจให้ฟันฝ่าอุปสรรค แต่สี่วรรคหลังถูกละไว้ เนื่องจากใจความหดหู่รันทดเกินไปสำหรับเด็ก และวรรคที่ว่า ‘ไฟป่าเผาไม่มอด ลมวสันต์โชยก็งอกงามอีก’ (野火烧不尽 春风吹又生) กลายเป็นอีกหนึ่งวลียอดนิยมจวบจนปัจจุบัน ดังนั้น สรุปสั้นๆ ได้ว่า บทกวีที่นางเอกกล่าวว่าสะท้อนถึงอุปนิสัยของพระเอกนั้น คือบ่งบอกถึงความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ล้มแล้วลุกขึ้นสู้ใหม่ เพื่อนเพจคิดว่าตรงไหมคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละคร Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.zdic.net/hans/%E8%B5%8B%E5%BE%97 https://www.sohu.com/a/708520507_389451 https://www.kekeshici.com/shicimingju/ticai/jingse/998.html https://baike.baidu.com/item/赋得古原草送别/2873148 https://baike.baidu.com/item/招隐士/1905316 #พสุธารักเคียงใจ #กวีถัง #ไป๋จวีอี #เล่อโหยวหยวน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 292 มุมมอง 0 รีวิว
  • ก่วนจือ ปรัชญาเศรษฐศาสตร์สมัยฉิน

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูถึงตอนจบของเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> คงได้ผ่านตาฉากที่องค์ไทฮองไทเฮาทรงสอนให้อิงหวางทุ่มเทความสามารถเพื่อรับใช้ชาติและฮ่องเต้น้อยได้ตรัสออกมาหลายวรรค ฟังดูเป็นหลักปรัชญาการปกครอง วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน

    Storyฯ ไม่ได้ดูภาคซับไทยก็ไม่ทราบว่าแปลกันไว้ว่าอย่างไร ขอแปลเองง่ายๆ อย่างนี้
    “รัฐรุ่งเรืองได้ เมื่อตามใจชน
    รัฐล่มสลายได้ เมื่อขัดใจชน
    ประชาชนชังความเหนื่อยยากวิตกกังวล ควรทำให้พวกเขาสุขใจสบายกาย
    ประชาชนชังความยากจน ควรทำให้พวกเขาร่ำรวย
    ประชาชนชังภยันตราย ควรทำให้พวกเขาปลอดภัย”

    วรรคเหล่านี้มาจากหนังสือที่ชื่อว่า ‘ก่วนจือ’ (管子) เป็นหนังสือปรัชญาการปกครองและเศรษฐศาสตร์ที่ถูกรวบรวมและเรียบเรียงขึ้นในสมัยฉินโดยอัครมหาเสนาบดีก่วนจ้งแห่งแคว้นฉี นักปราชญ์และนักการเมืองผู้เลื่องชื่อแห่งยุคสมัยชุนชิว (ไม่ทราบปีเกิด มรณะปี 645 ก่อนคริสตกาล) เรียกได้ว่าเป็นหนังสือปรัชญาการปกครองและเศรษฐศาสตร์ที่มีขึ้นก่อนฝั่งชาติตะวันตกหลายร้อยปี ปัจจุบันได้ถูกแปลไปหลากหลายภาษาทั่วโลก เป็นหนังสือที่โด่งดังเล่มหนึ่งของโลก

    ก่วนจือมีเนื้อหาครอบคลุมทั้งหลักการปกครอง เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ฯลฯ โดยมีพื้นฐานจากแนวคิดที่ว่า การที่ประเทศจะพัฒนาและรุ่งเรืองได้ ปากท้องของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ และมีการลงรายละเอียดว่าด้วยการบริหารจัดการด้านการเกษตรและการค้าขาย หนังสือเล่มนี้ยาว 86 บรรพ แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 76 บรรพ อีก 10 บรรพสูญหายไปเหลือไว้ให้เห็นแค่สารบัญ มีบทความไทยและอังกฤษหลายบทความที่คุยถึงก่วนจือนี้ในหลากหลายมุมมอง (เนื่องจากเนื้อหาของหนังสือกว้าง) รวมถึงกล่าวถึงชีวประวัติของก่วนจ้ง Storyฯ ยกตัวอย่างแปะลิ้งค์ไว้ข้างล่าง เชิญเข้าไปอ่านเพิ่มเติมกันเองได้

    และวรรคที่ซีรีส์ <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ยกมานี้ อยู่ในบรรพแรกที่เรียกว่า ‘มู่หมิน’ (牧民 / Shepherding the People / การดูแลประชาชน) ซึ่งแบ่งเป็นหลายตอนย่อย โดยมาจากตอนที่เรียกว่า ‘สี่คล้อยตาม’ (四顺 / ซื่อซุ่น) เนื้อหาของตอนนี้ก็คือว่า ผู้มีอำนาจปกครองต้องเข้าใจว่าประชาชนโดยทั่วไปมี ‘สี่ชัง’ คือชังความยากลำบาก ความจน การต้องอยู่ท่ามกลางภยันตราย และการถูกกวาดล้างฆ่า และมี ‘สี่อยาก’ คืออยากสุขสบาย ร่ำรวย ปลอดภัย และได้ตั้งรกรากสร้างครอบครัวมีลูกหลาน และเมื่อผู้มีอำนาจปกครองเข้าใจถึง ‘สี่ชัง’ และ ‘สี่อยาก’ แล้ว หากสามารถจัดการบริหารบ้านเมืองและสังคมให้สอดคล้องกัน บ้านเมืองก็จะเจริญก้าวหน้าประเทศรุ่งเรือง หรือที่เรียกว่า ‘สี่คล้อยตาม’ นั่นเอง

    คงจะกล่าวได้ว่า ความคิดที่ถูกกลั่นกรองเรียบเรียงเป็นบทหนังสือมาสองสามพันปีแล้วนี้ ยังคงสะท้อนถึงแก่นแท้ของจิตใจคนและปัญหาความยากในการบริหารบ้านเมืองที่ยังเป็นอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าในประเทศใด

    นอกจากนี้ “รัฐรุ่งเรืองได้ เมื่อตามใจชน รัฐล่มสลายได้ เมื่อขัดใจชน” ยังได้กลายมาเป็นวลีเด็ดผ่านกาลสมัย ถูกนำไปใช้ในหลายโอกาส มันเคยปรากฏในสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงในการประชุมสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของจีนอีกด้วย

    โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ ไม่ค่อยชอบพล็อตเรื่องของ <ทำนองรักกังวานแดนดิน> สักเท่าไหร่ แต่ยอมรับเลยว่ามันแฝงปรัชญาข้อคิดหลายอย่าง โดยเฉพาะผ่านคำพูดของไทฮองไทเฮา ที่เป็นประโยชน์ต่อการเป็นผู้นำและการเป็นผู้ตามที่พึงกระทำในหน้าที่ของตน ไม่ใช่แค่ในบริบทของการบริหารบ้านเมือง แต่ยังใช้ได้ในบริบทขององค์กรบริษัทต่างๆ ได้อีกด้วย

    สุดท้าย ขอต้อนรับปีใหม่พร้อมกับคำอวยพรให้เพื่อนเพจได้พบเจอกับ ‘สี่อยาก’ และห่างไกลจาก ‘สี่ชัง’ ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    ลิ้งค์ไปบทความเกี่ยวกับก่วนจ้งและหนังสือก่วนจือ:
    https://www.arsomsiam.com/guanzhong/
    https://mgronline.com/china/detail/9570000117129
    http://www.inewhorizon.net/8456123-2/

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    http://www.brtvent.com/?list_4/2430.html
    https://dzrb.dzng.com/articleContent/1158_759894.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://ctext.org/guanzi/mu-min/zhs
    https://baike.baidu.com/item/管子·牧民/19831172
    https://www.sohu.com/a/604599137_121124389
    http://www.chinaknowledge.de/Literature/Diverse/guanzi.html

    #ทำนองรักกังวานแดนดิน #ก่วนจือ #ก่วนจ้ง #ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ #สาระจีน
    ก่วนจือ ปรัชญาเศรษฐศาสตร์สมัยฉิน สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูถึงตอนจบของเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> คงได้ผ่านตาฉากที่องค์ไทฮองไทเฮาทรงสอนให้อิงหวางทุ่มเทความสามารถเพื่อรับใช้ชาติและฮ่องเต้น้อยได้ตรัสออกมาหลายวรรค ฟังดูเป็นหลักปรัชญาการปกครอง วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน Storyฯ ไม่ได้ดูภาคซับไทยก็ไม่ทราบว่าแปลกันไว้ว่าอย่างไร ขอแปลเองง่ายๆ อย่างนี้ “รัฐรุ่งเรืองได้ เมื่อตามใจชน รัฐล่มสลายได้ เมื่อขัดใจชน ประชาชนชังความเหนื่อยยากวิตกกังวล ควรทำให้พวกเขาสุขใจสบายกาย ประชาชนชังความยากจน ควรทำให้พวกเขาร่ำรวย ประชาชนชังภยันตราย ควรทำให้พวกเขาปลอดภัย” วรรคเหล่านี้มาจากหนังสือที่ชื่อว่า ‘ก่วนจือ’ (管子) เป็นหนังสือปรัชญาการปกครองและเศรษฐศาสตร์ที่ถูกรวบรวมและเรียบเรียงขึ้นในสมัยฉินโดยอัครมหาเสนาบดีก่วนจ้งแห่งแคว้นฉี นักปราชญ์และนักการเมืองผู้เลื่องชื่อแห่งยุคสมัยชุนชิว (ไม่ทราบปีเกิด มรณะปี 645 ก่อนคริสตกาล) เรียกได้ว่าเป็นหนังสือปรัชญาการปกครองและเศรษฐศาสตร์ที่มีขึ้นก่อนฝั่งชาติตะวันตกหลายร้อยปี ปัจจุบันได้ถูกแปลไปหลากหลายภาษาทั่วโลก เป็นหนังสือที่โด่งดังเล่มหนึ่งของโลก ก่วนจือมีเนื้อหาครอบคลุมทั้งหลักการปกครอง เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ฯลฯ โดยมีพื้นฐานจากแนวคิดที่ว่า การที่ประเทศจะพัฒนาและรุ่งเรืองได้ ปากท้องของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ และมีการลงรายละเอียดว่าด้วยการบริหารจัดการด้านการเกษตรและการค้าขาย หนังสือเล่มนี้ยาว 86 บรรพ แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 76 บรรพ อีก 10 บรรพสูญหายไปเหลือไว้ให้เห็นแค่สารบัญ มีบทความไทยและอังกฤษหลายบทความที่คุยถึงก่วนจือนี้ในหลากหลายมุมมอง (เนื่องจากเนื้อหาของหนังสือกว้าง) รวมถึงกล่าวถึงชีวประวัติของก่วนจ้ง Storyฯ ยกตัวอย่างแปะลิ้งค์ไว้ข้างล่าง เชิญเข้าไปอ่านเพิ่มเติมกันเองได้ และวรรคที่ซีรีส์ <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ยกมานี้ อยู่ในบรรพแรกที่เรียกว่า ‘มู่หมิน’ (牧民 / Shepherding the People / การดูแลประชาชน) ซึ่งแบ่งเป็นหลายตอนย่อย โดยมาจากตอนที่เรียกว่า ‘สี่คล้อยตาม’ (四顺 / ซื่อซุ่น) เนื้อหาของตอนนี้ก็คือว่า ผู้มีอำนาจปกครองต้องเข้าใจว่าประชาชนโดยทั่วไปมี ‘สี่ชัง’ คือชังความยากลำบาก ความจน การต้องอยู่ท่ามกลางภยันตราย และการถูกกวาดล้างฆ่า และมี ‘สี่อยาก’ คืออยากสุขสบาย ร่ำรวย ปลอดภัย และได้ตั้งรกรากสร้างครอบครัวมีลูกหลาน และเมื่อผู้มีอำนาจปกครองเข้าใจถึง ‘สี่ชัง’ และ ‘สี่อยาก’ แล้ว หากสามารถจัดการบริหารบ้านเมืองและสังคมให้สอดคล้องกัน บ้านเมืองก็จะเจริญก้าวหน้าประเทศรุ่งเรือง หรือที่เรียกว่า ‘สี่คล้อยตาม’ นั่นเอง คงจะกล่าวได้ว่า ความคิดที่ถูกกลั่นกรองเรียบเรียงเป็นบทหนังสือมาสองสามพันปีแล้วนี้ ยังคงสะท้อนถึงแก่นแท้ของจิตใจคนและปัญหาความยากในการบริหารบ้านเมืองที่ยังเป็นอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าในประเทศใด นอกจากนี้ “รัฐรุ่งเรืองได้ เมื่อตามใจชน รัฐล่มสลายได้ เมื่อขัดใจชน” ยังได้กลายมาเป็นวลีเด็ดผ่านกาลสมัย ถูกนำไปใช้ในหลายโอกาส มันเคยปรากฏในสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงในการประชุมสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของจีนอีกด้วย โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ ไม่ค่อยชอบพล็อตเรื่องของ <ทำนองรักกังวานแดนดิน> สักเท่าไหร่ แต่ยอมรับเลยว่ามันแฝงปรัชญาข้อคิดหลายอย่าง โดยเฉพาะผ่านคำพูดของไทฮองไทเฮา ที่เป็นประโยชน์ต่อการเป็นผู้นำและการเป็นผู้ตามที่พึงกระทำในหน้าที่ของตน ไม่ใช่แค่ในบริบทของการบริหารบ้านเมือง แต่ยังใช้ได้ในบริบทขององค์กรบริษัทต่างๆ ได้อีกด้วย สุดท้าย ขอต้อนรับปีใหม่พร้อมกับคำอวยพรให้เพื่อนเพจได้พบเจอกับ ‘สี่อยาก’ และห่างไกลจาก ‘สี่ชัง’ ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) ลิ้งค์ไปบทความเกี่ยวกับก่วนจ้งและหนังสือก่วนจือ: https://www.arsomsiam.com/guanzhong/ https://mgronline.com/china/detail/9570000117129 http://www.inewhorizon.net/8456123-2/ Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://www.brtvent.com/?list_4/2430.html https://dzrb.dzng.com/articleContent/1158_759894.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://ctext.org/guanzi/mu-min/zhs https://baike.baidu.com/item/管子·牧民/19831172 https://www.sohu.com/a/604599137_121124389 http://www.chinaknowledge.de/Literature/Diverse/guanzi.html #ทำนองรักกังวานแดนดิน #ก่วนจือ #ก่วนจ้ง #ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ #สาระจีน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 391 มุมมอง 0 รีวิว
  • เพลงดนตรีฉินโบราณ กว่างหลิงส่าน

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> น่าจะจำได้ว่าตระกูลเยียนถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏและ เซี่ยเวยได้บรรเลงพิณกู่ฉินส่งอำลาเยียนโหวและเยียนหลิงสองครั้ง ชื่อของเพลงพิณนี้คือ ‘กว่างหลิงส่าน’ (广陵散 / เพลงกว่างหลิน)

    มีคนเคยเขียนบทความเกี่ยวกับเพลงนี้พอสมควร และเพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับมันแล้ว (แต่อาจเจอหลายเวอร์ชั่นที่แตกต่าง) Storyฯ เชื่อว่ายังมีอีกหลายท่านที่ไม่เข้าใจถึงเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ในเพลงนี้ เพื่อให้ได้อรรถรสในการดูมากขึ้น วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเพลงพิณเพลงนี้กัน

    เพลงกว่างหลิงส่านถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสิบสุดยอดเพลงพิณโบราณของจีน เป็นหนึ่งในเพลงพิณที่มีความยาวและความซับซ้อนมากที่สุด มีทั้งหมดสี่สิบห้าท่อนด้วยกัน จึงมีความหลากหลายของท่วงทำนองและความซับซ้อนในการบรรเลง เพื่อนเพจสามารถค้นหาบนเน็ตก็จะพบหลายเวอร์ชั่นที่นักดนตรีชั้นครูหลายท่านบรรเลงไว้ แต่ทั้งหมดจะเป็นการยกบางท่อนมาเล่นเพราะเพลงเต็มนั้นยาวเกินไป

    เอกสารเกี่ยวกับโน้ตเพลงกว่างหลิงส่านนี้ปรากฏครั้งแรกในตำราดนตรีสมัยหมิงที่ชื่อว่าตำราเสินฉีมี่ผู่ (神奇秘谱) เรียกว่า ‘โน้ต’ อาจทำให้นึกภาพผิด เพราะสมัยโบราณไม่ได้เขียนโน้ตด้วยสัญลักษณ์แบบปัจจุบัน แต่เป็นการเขียนอธิบายรายละเอียดในลักษณะการบรรยาย จึงมีหน้าตาเป็นเหมือนหนังสือตำรา ในสมุดบันทึกดังกล่าวมีคำหมายเหตุที่เอ่ยถึงหลายชื่อบุคคลและเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในสมัยจ้านกั๋ว จึงถูกมองว่าเป็นเพลงเดียวกับเพลงโบราณ ‘เนี่ยเจิ้งชึหานกุยฉวี่’ (聂政刺韩傀曲 /เพลงเนี่ยเจิ้งลอบสังหารหานกุย) ซึ่งเล่าถึงเรื่องราวของเนี่ยเจิ้ง หนึ่งในมือสังหารที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์จีน

    เรื่องราวของเนี่ยเจิ้งมีสองเวอร์ชั่นว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร Storyฯ สรุปใจความหลักมาให้ฟัง... เนี่ยเจิ้งผู้นี้เป็นคนมีฝีมือดีใจกล้ามีคุณธรรม เขาพาแม่และพี่สาวหลบไปซ่อนตัวอยู่ในชนบทตั้งแต่สมัยหนุ่ม เวอร์ชั่นแรก บอกว่าเขาเป็นลูกขุนนางที่ถูกอ๋องแห่งแคว้นหานฆ่าตายเลยต้องหนี ต่อมาฝึกเพลงพิณจนชำนาญและเข้าวังไปเป็นนักดนตรี ฉวยโอกาสงานรื่นเริงลอบสังหารอ๋องแห่งแคว้นหานสำเร็จ

    เวอร์ชั่นที่สองซึ่งสอดคล้องกับชื่อเพลงมากกว่านั้น เล่าว่าเขาช่วยคนอื่นแล้วพลั้งมือฆ่าคนตายเลยต้องหนีไปซ่อนตัว ต่อมาเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณเหยียนซุ่ยที่ดูแลแม่ของตนจึงรับงานสังหาร ซึ่งเหยียนซุ่ยคือขุนนางของแคว้นหานที่มีความแค้นกับหานกุย อัครเสนาบดีแคว้นหานที่ขึ้นชื่อว่าใช้อำนาจรังแกคนมากมายและเป็นอาของอ๋องแห่งแคว้นหาน เหยียนซุ่ยกลัวว่าจะถูกหานกุยกำจัดทิ้งเลยจะชิงลงมือก่อน ในเวอร์ชั่นนี้เนี่ยเจิ้งบุกเข้าไปฆ่าหานกุยสำเร็จตามลำพัง

    แต่ไม่ว่าจะเวอร์ชั่นไหน สิ่งที่พ้องกันคือ หลังจากสังหารอีกฝ่ายเสร็จแล้ว เนี่ยเจิ้งทำลายโฉมลอกหนังหน้าและควักลูกตาของตนออกมา ตายในที่เกิดเหตุโดยไม่มีใครรู้ว่าเขาเป็นใคร ทางการป่าวประกาศหาคนมาให้เบาะแส จวบจนพี่สาวของเขามาตามหาและโศกเศร้าจนกอดศพตายไปจึงรู้ว่าที่แท้มือสังหารคนนี้คือเนี่ยเจิ้ง และเรื่องราวถูกเล่าต่อกันถึงความกล้าหาญของเขา และความกตัญญูยอมทำลายโฉมตัวเองเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อครอบครัว ต่อมากลายมาเป็นเรื่องราวที่แฝงไว้ซึ่งคำสอนว่าผู้ที่ปกครองบ้านเมืองควรมีคุณธรรม

    ชื่อเพลงแปรเปลี่ยนเป็นกว่างหลิงส่านตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่ชนรุ่นหลังรู้จักชื่อ ‘ก่วงหลิงส่าน’ นี้เพราะจีคัง เขาคือนักปรัชญา นักเขียนและนักดนตรีชื่อดังในสมัยเว่ยจิ้นแห่งราชวงศ์เหนือใต้ ได้รับการเชิญให้เข้ารับราชการหลายครั้งแต่ก็ปฏิเสธเรื่อยมา เขาเป็นคนตรงและกล้าพูด ยอมหักไม่ยอมงอ ในสมัยที่สองพี่น้องสกุลซือหม่า (ซือหม่าซือและซือหม่าจาว) กุมอำนาจทางการเมือง เขาเป็นคนที่วิพากษ์วิจารณ์การปกครองของรัฐบาลอย่างเปิดเผยและรุนแรง ต่อมาเกิดเหตุการณ์ที่เขาต่อต้านทางการเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับครอบครัวของสหายสนิท สุดท้ายถูกจับกุมและประหารชีวิตเมื่อตอนอายุสี่สิบปี ก่อนตายเขาบรรเลงเพลงพิณกว่างหลิงส่านนี้

    ตำนานเกี่ยวกับเพลงกว่างหลิงส่านและจีคังมีหลายเวอร์ชั่นเช่นกัน บ้างว่าเพลงนี้เขาได้รับการสอนจากเซียน บ้างว่าได้มาจากวิญญาณ โดยมีเงื่อนไขว่าห้ามสอนต่อ บ้างว่าได้รับการสอนมาจากครอบครัวตระกูลตู้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพิณแต่ต่อมาไร้ผู้สืบทอด บ้างว่าเขาประพันธ์ขึ้นเอง แต่ที่เล่ากันต่อมาเป็นเสียงเดียวกันคือ จีคังบรรเลงเพลงนี้ได้ไพเราะจับใจ

    เนื่องจากเพลงกว่างหลิงส่านมีหลายท่อนหลายท่วงทำนอง จึงให้ความรู้สึกตามจินตนาการที่หลากหลาย เช่น ภาพม้าศึกออกรบ ความรู้สึกฮึกเหิม แรงต่อต้าน และมีบางช่วงทอดเสียงอ้อยอิ่งคล้ายเศร้าแต่ก็ให้ความหวัง มีคนตีความว่าเป็นบทเพลงที่เกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมืองเนื่องจากโน้ตเพลงเน้นการใช้สายพิณเส้นที่หนึ่ง สอง และสาม ซึ่งหมายถึง ‘กง’ หรือราชัน ‘ซาง’ หรือข้าราชสำนัก และ ‘เจวี๋ย’ หรือประชาชน ตามลำดับ (หมายเหตุ อ่านย้อนเกี่ยวกับความหมายของสายพิณกู่ฉินได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/569581261836837) และเพลงนี้ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการยึดมั่นในความถูกต้อง

    Storyฯ คิดว่าการใช้เพลงกว่างหลิงส่านมาเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> สะท้อนได้ดีถึงความรู้สึกของตัวละครหลายคนโดยเฉพาะตระกูลเยียนที่ยึดมั่นในคุณธรรมและความถูกต้อง และไม่หวั่นเกรงต่อความลำบากหรือผลร้ายที่จะตามมา เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้แล้ว คิดเห็นเป็นอย่างไรคะ?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://big5.huaxia.com/c/2023/11/09/1824224.shtml
    https://catalog.digitalarchives.tw/item/00/07/db/5a.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.guoxue.com/?p=6176
    https://baike.baidu.com/item/聂政
    https://baike.baidu.com/item/聂政刺韩傀/6263080
    https://baike.baidu.com/item/广陵散/234828
    https://baike.baidu.com/item/嵇康/151928
    https://www.sohu.com/a/214683627_718263
    https://m.cyol.com/gb/articles/2022-05/11/content_BN2qBSlY7.html

    #เล่ห์รักวังคุนหนิง #กว่างหลิงส่าน #ตำราเพลงกู่ฉิน #พิณโบราณ #เนี่ยเจิ้ง #จีคัง
    เพลงดนตรีฉินโบราณ กว่างหลิงส่าน สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> น่าจะจำได้ว่าตระกูลเยียนถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏและ เซี่ยเวยได้บรรเลงพิณกู่ฉินส่งอำลาเยียนโหวและเยียนหลิงสองครั้ง ชื่อของเพลงพิณนี้คือ ‘กว่างหลิงส่าน’ (广陵散 / เพลงกว่างหลิน) มีคนเคยเขียนบทความเกี่ยวกับเพลงนี้พอสมควร และเพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับมันแล้ว (แต่อาจเจอหลายเวอร์ชั่นที่แตกต่าง) Storyฯ เชื่อว่ายังมีอีกหลายท่านที่ไม่เข้าใจถึงเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ในเพลงนี้ เพื่อให้ได้อรรถรสในการดูมากขึ้น วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเพลงพิณเพลงนี้กัน เพลงกว่างหลิงส่านถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสิบสุดยอดเพลงพิณโบราณของจีน เป็นหนึ่งในเพลงพิณที่มีความยาวและความซับซ้อนมากที่สุด มีทั้งหมดสี่สิบห้าท่อนด้วยกัน จึงมีความหลากหลายของท่วงทำนองและความซับซ้อนในการบรรเลง เพื่อนเพจสามารถค้นหาบนเน็ตก็จะพบหลายเวอร์ชั่นที่นักดนตรีชั้นครูหลายท่านบรรเลงไว้ แต่ทั้งหมดจะเป็นการยกบางท่อนมาเล่นเพราะเพลงเต็มนั้นยาวเกินไป เอกสารเกี่ยวกับโน้ตเพลงกว่างหลิงส่านนี้ปรากฏครั้งแรกในตำราดนตรีสมัยหมิงที่ชื่อว่าตำราเสินฉีมี่ผู่ (神奇秘谱) เรียกว่า ‘โน้ต’ อาจทำให้นึกภาพผิด เพราะสมัยโบราณไม่ได้เขียนโน้ตด้วยสัญลักษณ์แบบปัจจุบัน แต่เป็นการเขียนอธิบายรายละเอียดในลักษณะการบรรยาย จึงมีหน้าตาเป็นเหมือนหนังสือตำรา ในสมุดบันทึกดังกล่าวมีคำหมายเหตุที่เอ่ยถึงหลายชื่อบุคคลและเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในสมัยจ้านกั๋ว จึงถูกมองว่าเป็นเพลงเดียวกับเพลงโบราณ ‘เนี่ยเจิ้งชึหานกุยฉวี่’ (聂政刺韩傀曲 /เพลงเนี่ยเจิ้งลอบสังหารหานกุย) ซึ่งเล่าถึงเรื่องราวของเนี่ยเจิ้ง หนึ่งในมือสังหารที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์จีน เรื่องราวของเนี่ยเจิ้งมีสองเวอร์ชั่นว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร Storyฯ สรุปใจความหลักมาให้ฟัง... เนี่ยเจิ้งผู้นี้เป็นคนมีฝีมือดีใจกล้ามีคุณธรรม เขาพาแม่และพี่สาวหลบไปซ่อนตัวอยู่ในชนบทตั้งแต่สมัยหนุ่ม เวอร์ชั่นแรก บอกว่าเขาเป็นลูกขุนนางที่ถูกอ๋องแห่งแคว้นหานฆ่าตายเลยต้องหนี ต่อมาฝึกเพลงพิณจนชำนาญและเข้าวังไปเป็นนักดนตรี ฉวยโอกาสงานรื่นเริงลอบสังหารอ๋องแห่งแคว้นหานสำเร็จ เวอร์ชั่นที่สองซึ่งสอดคล้องกับชื่อเพลงมากกว่านั้น เล่าว่าเขาช่วยคนอื่นแล้วพลั้งมือฆ่าคนตายเลยต้องหนีไปซ่อนตัว ต่อมาเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณเหยียนซุ่ยที่ดูแลแม่ของตนจึงรับงานสังหาร ซึ่งเหยียนซุ่ยคือขุนนางของแคว้นหานที่มีความแค้นกับหานกุย อัครเสนาบดีแคว้นหานที่ขึ้นชื่อว่าใช้อำนาจรังแกคนมากมายและเป็นอาของอ๋องแห่งแคว้นหาน เหยียนซุ่ยกลัวว่าจะถูกหานกุยกำจัดทิ้งเลยจะชิงลงมือก่อน ในเวอร์ชั่นนี้เนี่ยเจิ้งบุกเข้าไปฆ่าหานกุยสำเร็จตามลำพัง แต่ไม่ว่าจะเวอร์ชั่นไหน สิ่งที่พ้องกันคือ หลังจากสังหารอีกฝ่ายเสร็จแล้ว เนี่ยเจิ้งทำลายโฉมลอกหนังหน้าและควักลูกตาของตนออกมา ตายในที่เกิดเหตุโดยไม่มีใครรู้ว่าเขาเป็นใคร ทางการป่าวประกาศหาคนมาให้เบาะแส จวบจนพี่สาวของเขามาตามหาและโศกเศร้าจนกอดศพตายไปจึงรู้ว่าที่แท้มือสังหารคนนี้คือเนี่ยเจิ้ง และเรื่องราวถูกเล่าต่อกันถึงความกล้าหาญของเขา และความกตัญญูยอมทำลายโฉมตัวเองเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อครอบครัว ต่อมากลายมาเป็นเรื่องราวที่แฝงไว้ซึ่งคำสอนว่าผู้ที่ปกครองบ้านเมืองควรมีคุณธรรม ชื่อเพลงแปรเปลี่ยนเป็นกว่างหลิงส่านตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่ชนรุ่นหลังรู้จักชื่อ ‘ก่วงหลิงส่าน’ นี้เพราะจีคัง เขาคือนักปรัชญา นักเขียนและนักดนตรีชื่อดังในสมัยเว่ยจิ้นแห่งราชวงศ์เหนือใต้ ได้รับการเชิญให้เข้ารับราชการหลายครั้งแต่ก็ปฏิเสธเรื่อยมา เขาเป็นคนตรงและกล้าพูด ยอมหักไม่ยอมงอ ในสมัยที่สองพี่น้องสกุลซือหม่า (ซือหม่าซือและซือหม่าจาว) กุมอำนาจทางการเมือง เขาเป็นคนที่วิพากษ์วิจารณ์การปกครองของรัฐบาลอย่างเปิดเผยและรุนแรง ต่อมาเกิดเหตุการณ์ที่เขาต่อต้านทางการเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับครอบครัวของสหายสนิท สุดท้ายถูกจับกุมและประหารชีวิตเมื่อตอนอายุสี่สิบปี ก่อนตายเขาบรรเลงเพลงพิณกว่างหลิงส่านนี้ ตำนานเกี่ยวกับเพลงกว่างหลิงส่านและจีคังมีหลายเวอร์ชั่นเช่นกัน บ้างว่าเพลงนี้เขาได้รับการสอนจากเซียน บ้างว่าได้มาจากวิญญาณ โดยมีเงื่อนไขว่าห้ามสอนต่อ บ้างว่าได้รับการสอนมาจากครอบครัวตระกูลตู้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพิณแต่ต่อมาไร้ผู้สืบทอด บ้างว่าเขาประพันธ์ขึ้นเอง แต่ที่เล่ากันต่อมาเป็นเสียงเดียวกันคือ จีคังบรรเลงเพลงนี้ได้ไพเราะจับใจ เนื่องจากเพลงกว่างหลิงส่านมีหลายท่อนหลายท่วงทำนอง จึงให้ความรู้สึกตามจินตนาการที่หลากหลาย เช่น ภาพม้าศึกออกรบ ความรู้สึกฮึกเหิม แรงต่อต้าน และมีบางช่วงทอดเสียงอ้อยอิ่งคล้ายเศร้าแต่ก็ให้ความหวัง มีคนตีความว่าเป็นบทเพลงที่เกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมืองเนื่องจากโน้ตเพลงเน้นการใช้สายพิณเส้นที่หนึ่ง สอง และสาม ซึ่งหมายถึง ‘กง’ หรือราชัน ‘ซาง’ หรือข้าราชสำนัก และ ‘เจวี๋ย’ หรือประชาชน ตามลำดับ (หมายเหตุ อ่านย้อนเกี่ยวกับความหมายของสายพิณกู่ฉินได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/569581261836837) และเพลงนี้ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการยึดมั่นในความถูกต้อง Storyฯ คิดว่าการใช้เพลงกว่างหลิงส่านมาเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> สะท้อนได้ดีถึงความรู้สึกของตัวละครหลายคนโดยเฉพาะตระกูลเยียนที่ยึดมั่นในคุณธรรมและความถูกต้อง และไม่หวั่นเกรงต่อความลำบากหรือผลร้ายที่จะตามมา เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้แล้ว คิดเห็นเป็นอย่างไรคะ? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://big5.huaxia.com/c/2023/11/09/1824224.shtml https://catalog.digitalarchives.tw/item/00/07/db/5a.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.guoxue.com/?p=6176 https://baike.baidu.com/item/聂政 https://baike.baidu.com/item/聂政刺韩傀/6263080 https://baike.baidu.com/item/广陵散/234828 https://baike.baidu.com/item/嵇康/151928 https://www.sohu.com/a/214683627_718263 https://m.cyol.com/gb/articles/2022-05/11/content_BN2qBSlY7.html #เล่ห์รักวังคุนหนิง #กว่างหลิงส่าน #ตำราเพลงกู่ฉิน #พิณโบราณ #เนี่ยเจิ้ง #จีคัง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 339 มุมมอง 0 รีวิว
  • กระดาษไป๋ลู่

    สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องกระดาษโบราณ

    ในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> มีตอนหนึ่งที่กล่าวถึงการสืบคดีในวังเพื่อหาคนที่เขียนข้อความที่มีความเกี่ยวพันกับก๊วนกบฏ และหนึ่งในหลักฐานที่ใช้คือกระดาษไป๋ลู่ (白鹿纸 ใช่ค่ะ... ไป๋ลู่อักษรเดียวกับชื่อนักแสดงหญิงที่หลายคนคุ้นเคย แปลว่ากวางขาว) มีการอธิบายไว้ในซีรีส์ว่า กระดาษไป๋ลู่มีใช้เพียงในวัง มีการบันทึกไว้ชัดเจนว่าแจกจ่ายไปให้ใครเมื่อไหร่เป็นจำนวนเท่าใด

    ข้อมูลเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่มีไม่มาก ส่วนใหญ่ระบุแต่เพียงว่ามันเป็นกระดาษที่ใช้ในวัง เป็นกระดาษที่ผลิตยากมาก เนื้อดีเหมาะกับการเขียนหรือวาดรูป เป็นกระดาษเซวียนจื่อชนิดหนึ่ง มีขนาดมาตรฐานคือยาวหนึ่งจ้างสองฉื่อ (คือยาวประมาณ 3.7 เมตร) จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษ ‘จ้างเอ้อร์เซวียน’ (丈二宣) ขนาดมาตรฐานปัจจุบันคือ 1.5 x 3.7 เมตร

    แล้วกระดาษเซวียนจื่อ (宣纸) คืออะไร?

    กระดาษเซวียนจื่อจัดอยู่ในกลุ่มกระดาษที่ทำจากเยื่อเปลือกไม้ ซึ่งกระดาษจีนโบราณจะจัดแบ่งเป็นกลุ่มหลักๆ ตามวัสดุที่ใช้ผลิต คือ 1. กระดาษใยปอ/ใยป่าน (麻 纸 / หมาจื่อ) ทำจากเส้นใยปอและใยป่าน 2. กระดาษเยื่อเปลือกไม้ (皮纸 / ผีจื่อ) คือทำจากเยื่อเปลือกไม้ชนิดต่างๆ 3. กระดาษเยื่อไผ่ (竹 纸 / จู๋จื่อ) และ 4. กระดาษใยฝ้าย (棉 纸 / เหมียนจื่อ)

    กระดาษเยื่อเปลือกไม้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในสมัยถัง มีการพัฒนาขึ้นหลายชนิด เป็นกลุ่มกระดาษที่มีความหลากหลายมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะเนื้อกระดาษแตกต่างกันไปตามชนิดของเปลือกไม้ที่ใช้และน้ำที่ใช้ รวมถึงอาจใช้เส้นใยปอหรือใยฝ้ายมาผสมให้หลากหลายยิ่งขึ้น และเป็นที่มาว่าทำไมในซีรีส์/นิยายจีนโบราณจึงมีการดูจากเนื้อกระดาษแล้วสามารถบอกได้ว่ามาจากพื้นที่ใดเพราะต้นไม้บางชนิดจะพบได้ในบางพื้นที่เท่านั้น กระดาษเยื่อเปลือกไม้มีทั้งเนื้อหยาบที่สามารถทำเป็นเสื้อผ้าสวมใส่ และเนื้อละเอียดที่ใช้ในงานเขียนหรืองานวาดที่ต้องใช้ความละเอียดมาก ว่ากันว่านักเขียนและนักวาดบางคนคิดค้นกระดาษเนื้อพิเศษของตนเองขึ้นเพื่อใช้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วย

    กรรมวิธีการผลิตกระดาษเยื่อเปลือกไม้ก็คล้ายกับการทำกระดาษสาบ้านเรา คือเอาไม้ไปแช่ในน้ำแล้วทุบแตกจนเปื่อย คัดเอาเยื่อออกมาต้ม อาจใส่ส่วนผสมอื่นเช่นเกลือหรือน้ำหัวไชเท้าเพื่อเสริมความเนียนและความคงทนของกระดาษ เคี่ยวและบดแล้วนำมากรอง จากนั้นเอามาปูบางๆ บนพิมพ์แล้วตากแห้ง แห้งแล้วก็นำมาเรียงและตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการ แน่นอนว่านี่เป็นการเล่าโดยคร่าว ไม่สามารถสะท้อนถึงความพิถีพิถันของแต่ละขั้นตอนและอุปกรณ์ที่ใช้ได้ ซึ่งความพิถีพิถันดังกล่าวเป็นหัวใจของการผลิตกระดาษที่มีคุณภาพแตกต่างกัน

    กระดาษเซวียนจื่อเกิดขึ้นในสมัยถัง มีที่มาจากพื้นที่เซวียนโจว (แถบหวงซาน เขตพื้นที่มณฑลอันฮุยปัจจุบัน) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อไม้สองชนิดคือ 1) เปลือกของไม้ชิงถาน (青檀 / Blue Sandalwood) อยู่ในกลุ่มไม้จันทร์ เป็นสายพันธุ์ที่มีเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น ขึ้นตามธรรมชาติ และเปลือกไม้จันทร์ชนิดอื่นไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนในการผลิตกระดาษเซวียนจื่อนี้ได้ มันเป็นส่วนผสมหลักที่ทำให้กระดาษมีความเหนียว คงสภาพได้ดีไม่ยับง่าย ไม่ถูกแมลงกัดกิน ทำให้กระดาษมีความคงทน และ 2) ต้นข้าวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ‘ซาเถียนเต้า’ (沙田稻) โดยเป็นส่วนผสมที่ให้ความนุ่มต่อกระดาษด้วยเส้นใยที่สั้นกว่าไม้ชิงถาน ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครเพาะปลูกต้นข้าวชนิดนี้แล้ว ดังนั้นกระดาษเซวียนจื่อที่มีขายปัจจุบันจะมีเนื้อกระดาษที่ไม่เหมือนของโบราณและกรรมวิธีการผลิตแบบโบราณได้สาบสูญไปตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง

    กรรมวิธีการเตรียมเยื่อไม้ทั้งสองชนิดแตกต่างกันเล็กน้อย แยกกันทำแล้วค่อยนำมาเคี่ยวผสมกัน และส่วนผสมของเยื่อไม้ทั้งสองและกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างจะทำให้ได้เนื้อกระดาษเซวียนจื่อที่หลากหลายมาก มีความละเอียดและเนียนหยาบแตกต่างกัน มีความสามารถดูดซึมน้ำหมึกได้ต่างกัน (แน่นอนว่าผงหมึกก็มีความแตกต่าง แบ่งแยกเป็นของแพงและของถูก ฯลฯ) มีสีขาวเหลืองอ่อนแก่แตกต่างกัน เป็นต้น โดยภาพรวมแล้ว กระดาษเซวียนจื่อเป็นกระดาษที่เหมาะสำหรับงานเขียนและงานวาดเพราะดูดซึมหมึกได้ดีและผิวเนียนเรียบกว่ากระดาษจากใยปอ/ใยป่านหรือกระดาษจากเปลือกไม้ชนิดอื่น และมีความคงทนกว่า จึงถูกยกย่องเป็น ‘กระดาษพันปี’

    กระดาษเซวียนจื่อแบ่งได้เป็นสามเกรดหลักตามสัดส่วนของเยื่อเปลือกไม้ชิงถาน และกระดาษไป๋ลู่คือกระดาษเซวียนจื่อเกรดดีที่สุด คือมีส่วนผสมของเปลือกไม้ชิงถานไม่ต่ำกว่า 80% มีกรรมวิธีการผลิตที่ประณีต เป็นกระดาษที่ดูดซับน้ำหมึกได้ดี ทำให้ลายเส้นอักษรคมชัดแต่ไม่กระด้าง แสดงความพลิ้วไหวของลายเส้นได้ดี มีการบรรยายว่าเนื้อกระดาษเนียนนุ่มดุจไหม สีขาวนวลดุจหยก

    ว่ากันว่า กระดาษไป๋ลู่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์หยวนโดยนักพรตคนหนึ่งสำหรับไว้ใช้เอง ต่อมาถูกนำมาใช้ในวังเรียกว่ากระดาษไป๋ลู่หรือกวางขาวเพราะมีเส้นลายที่ดูเป็นลายหนังกวางซึ่งถูกมองว่าเป็นลายมงคล ต่อมามีคนที่ผลิตได้ไม่กี่ตระกูล จึงเป็นกระดาษที่มีปริมาณการผลิตที่จำกัดและหายากมาก

    กระดาษมีหน่วยนับเป็น ‘เตา’ (刀 แปลว่ามีด) ซึ่ง Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าในละครแปลไว้อย่างไร แต่หนึ่งเตาสมัยโบราณคือกระดาษจำนวน 25 แผ่น มีที่มาของการเรียกอย่างนี้ก็คือ หนึ่งมีดสามารถตัดกระดาษโดยไม่เบี้ยวที่ 25 แผ่นนั่นเอง (หมายเหตุ ด้วยวิวัฒนาการผลิต ปัจจุบันหนึ่งเตาคือหนึ่งรีมหรือ 100 แผ่น)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://new.qq.com/rain/a/20231130A00YSS00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_1263914
    http://www.chinapaper.net/jjnews/show-353.html
    http://www.chinapaper.net/jjnews/show-222.html
    https://baike.baidu.com/item/檀皮宣纸/1802446
    https://baike.baidu.com/item/宣纸/329910
    https://www.sohu.com/a/362150345_616747

    #เล่ห์รักวังคุนหนิง #ไป๋ลู่จื่อ #กระดาษไป๋ลู่ #กระดาษจีน #เซวียนจื่อ #การผลิตกระดาษจีน #กระดาษเยื่อเปลือกไม้
    กระดาษไป๋ลู่ สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องกระดาษโบราณ ในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> มีตอนหนึ่งที่กล่าวถึงการสืบคดีในวังเพื่อหาคนที่เขียนข้อความที่มีความเกี่ยวพันกับก๊วนกบฏ และหนึ่งในหลักฐานที่ใช้คือกระดาษไป๋ลู่ (白鹿纸 ใช่ค่ะ... ไป๋ลู่อักษรเดียวกับชื่อนักแสดงหญิงที่หลายคนคุ้นเคย แปลว่ากวางขาว) มีการอธิบายไว้ในซีรีส์ว่า กระดาษไป๋ลู่มีใช้เพียงในวัง มีการบันทึกไว้ชัดเจนว่าแจกจ่ายไปให้ใครเมื่อไหร่เป็นจำนวนเท่าใด ข้อมูลเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่มีไม่มาก ส่วนใหญ่ระบุแต่เพียงว่ามันเป็นกระดาษที่ใช้ในวัง เป็นกระดาษที่ผลิตยากมาก เนื้อดีเหมาะกับการเขียนหรือวาดรูป เป็นกระดาษเซวียนจื่อชนิดหนึ่ง มีขนาดมาตรฐานคือยาวหนึ่งจ้างสองฉื่อ (คือยาวประมาณ 3.7 เมตร) จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษ ‘จ้างเอ้อร์เซวียน’ (丈二宣) ขนาดมาตรฐานปัจจุบันคือ 1.5 x 3.7 เมตร แล้วกระดาษเซวียนจื่อ (宣纸) คืออะไร? กระดาษเซวียนจื่อจัดอยู่ในกลุ่มกระดาษที่ทำจากเยื่อเปลือกไม้ ซึ่งกระดาษจีนโบราณจะจัดแบ่งเป็นกลุ่มหลักๆ ตามวัสดุที่ใช้ผลิต คือ 1. กระดาษใยปอ/ใยป่าน (麻 纸 / หมาจื่อ) ทำจากเส้นใยปอและใยป่าน 2. กระดาษเยื่อเปลือกไม้ (皮纸 / ผีจื่อ) คือทำจากเยื่อเปลือกไม้ชนิดต่างๆ 3. กระดาษเยื่อไผ่ (竹 纸 / จู๋จื่อ) และ 4. กระดาษใยฝ้าย (棉 纸 / เหมียนจื่อ) กระดาษเยื่อเปลือกไม้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในสมัยถัง มีการพัฒนาขึ้นหลายชนิด เป็นกลุ่มกระดาษที่มีความหลากหลายมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะเนื้อกระดาษแตกต่างกันไปตามชนิดของเปลือกไม้ที่ใช้และน้ำที่ใช้ รวมถึงอาจใช้เส้นใยปอหรือใยฝ้ายมาผสมให้หลากหลายยิ่งขึ้น และเป็นที่มาว่าทำไมในซีรีส์/นิยายจีนโบราณจึงมีการดูจากเนื้อกระดาษแล้วสามารถบอกได้ว่ามาจากพื้นที่ใดเพราะต้นไม้บางชนิดจะพบได้ในบางพื้นที่เท่านั้น กระดาษเยื่อเปลือกไม้มีทั้งเนื้อหยาบที่สามารถทำเป็นเสื้อผ้าสวมใส่ และเนื้อละเอียดที่ใช้ในงานเขียนหรืองานวาดที่ต้องใช้ความละเอียดมาก ว่ากันว่านักเขียนและนักวาดบางคนคิดค้นกระดาษเนื้อพิเศษของตนเองขึ้นเพื่อใช้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วย กรรมวิธีการผลิตกระดาษเยื่อเปลือกไม้ก็คล้ายกับการทำกระดาษสาบ้านเรา คือเอาไม้ไปแช่ในน้ำแล้วทุบแตกจนเปื่อย คัดเอาเยื่อออกมาต้ม อาจใส่ส่วนผสมอื่นเช่นเกลือหรือน้ำหัวไชเท้าเพื่อเสริมความเนียนและความคงทนของกระดาษ เคี่ยวและบดแล้วนำมากรอง จากนั้นเอามาปูบางๆ บนพิมพ์แล้วตากแห้ง แห้งแล้วก็นำมาเรียงและตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการ แน่นอนว่านี่เป็นการเล่าโดยคร่าว ไม่สามารถสะท้อนถึงความพิถีพิถันของแต่ละขั้นตอนและอุปกรณ์ที่ใช้ได้ ซึ่งความพิถีพิถันดังกล่าวเป็นหัวใจของการผลิตกระดาษที่มีคุณภาพแตกต่างกัน กระดาษเซวียนจื่อเกิดขึ้นในสมัยถัง มีที่มาจากพื้นที่เซวียนโจว (แถบหวงซาน เขตพื้นที่มณฑลอันฮุยปัจจุบัน) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อไม้สองชนิดคือ 1) เปลือกของไม้ชิงถาน (青檀 / Blue Sandalwood) อยู่ในกลุ่มไม้จันทร์ เป็นสายพันธุ์ที่มีเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น ขึ้นตามธรรมชาติ และเปลือกไม้จันทร์ชนิดอื่นไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนในการผลิตกระดาษเซวียนจื่อนี้ได้ มันเป็นส่วนผสมหลักที่ทำให้กระดาษมีความเหนียว คงสภาพได้ดีไม่ยับง่าย ไม่ถูกแมลงกัดกิน ทำให้กระดาษมีความคงทน และ 2) ต้นข้าวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ‘ซาเถียนเต้า’ (沙田稻) โดยเป็นส่วนผสมที่ให้ความนุ่มต่อกระดาษด้วยเส้นใยที่สั้นกว่าไม้ชิงถาน ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครเพาะปลูกต้นข้าวชนิดนี้แล้ว ดังนั้นกระดาษเซวียนจื่อที่มีขายปัจจุบันจะมีเนื้อกระดาษที่ไม่เหมือนของโบราณและกรรมวิธีการผลิตแบบโบราณได้สาบสูญไปตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง กรรมวิธีการเตรียมเยื่อไม้ทั้งสองชนิดแตกต่างกันเล็กน้อย แยกกันทำแล้วค่อยนำมาเคี่ยวผสมกัน และส่วนผสมของเยื่อไม้ทั้งสองและกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างจะทำให้ได้เนื้อกระดาษเซวียนจื่อที่หลากหลายมาก มีความละเอียดและเนียนหยาบแตกต่างกัน มีความสามารถดูดซึมน้ำหมึกได้ต่างกัน (แน่นอนว่าผงหมึกก็มีความแตกต่าง แบ่งแยกเป็นของแพงและของถูก ฯลฯ) มีสีขาวเหลืองอ่อนแก่แตกต่างกัน เป็นต้น โดยภาพรวมแล้ว กระดาษเซวียนจื่อเป็นกระดาษที่เหมาะสำหรับงานเขียนและงานวาดเพราะดูดซึมหมึกได้ดีและผิวเนียนเรียบกว่ากระดาษจากใยปอ/ใยป่านหรือกระดาษจากเปลือกไม้ชนิดอื่น และมีความคงทนกว่า จึงถูกยกย่องเป็น ‘กระดาษพันปี’ กระดาษเซวียนจื่อแบ่งได้เป็นสามเกรดหลักตามสัดส่วนของเยื่อเปลือกไม้ชิงถาน และกระดาษไป๋ลู่คือกระดาษเซวียนจื่อเกรดดีที่สุด คือมีส่วนผสมของเปลือกไม้ชิงถานไม่ต่ำกว่า 80% มีกรรมวิธีการผลิตที่ประณีต เป็นกระดาษที่ดูดซับน้ำหมึกได้ดี ทำให้ลายเส้นอักษรคมชัดแต่ไม่กระด้าง แสดงความพลิ้วไหวของลายเส้นได้ดี มีการบรรยายว่าเนื้อกระดาษเนียนนุ่มดุจไหม สีขาวนวลดุจหยก ว่ากันว่า กระดาษไป๋ลู่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์หยวนโดยนักพรตคนหนึ่งสำหรับไว้ใช้เอง ต่อมาถูกนำมาใช้ในวังเรียกว่ากระดาษไป๋ลู่หรือกวางขาวเพราะมีเส้นลายที่ดูเป็นลายหนังกวางซึ่งถูกมองว่าเป็นลายมงคล ต่อมามีคนที่ผลิตได้ไม่กี่ตระกูล จึงเป็นกระดาษที่มีปริมาณการผลิตที่จำกัดและหายากมาก กระดาษมีหน่วยนับเป็น ‘เตา’ (刀 แปลว่ามีด) ซึ่ง Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าในละครแปลไว้อย่างไร แต่หนึ่งเตาสมัยโบราณคือกระดาษจำนวน 25 แผ่น มีที่มาของการเรียกอย่างนี้ก็คือ หนึ่งมีดสามารถตัดกระดาษโดยไม่เบี้ยวที่ 25 แผ่นนั่นเอง (หมายเหตุ ด้วยวิวัฒนาการผลิต ปัจจุบันหนึ่งเตาคือหนึ่งรีมหรือ 100 แผ่น) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://new.qq.com/rain/a/20231130A00YSS00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_1263914 http://www.chinapaper.net/jjnews/show-353.html http://www.chinapaper.net/jjnews/show-222.html https://baike.baidu.com/item/檀皮宣纸/1802446 https://baike.baidu.com/item/宣纸/329910 https://www.sohu.com/a/362150345_616747 #เล่ห์รักวังคุนหนิง #ไป๋ลู่จื่อ #กระดาษไป๋ลู่ #กระดาษจีน #เซวียนจื่อ #การผลิตกระดาษจีน #กระดาษเยื่อเปลือกไม้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 295 มุมมอง 0 รีวิว
  • ‘กระดูกงดงาม’ จากวรรณกรรมโบราณ

    สวัสดีค่ะ วันนี้ Storyฯ มาเก็บตกเกร็ดหนึ่งจากนิยาย/ซีรีส์เรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> เพื่อนเพจที่ได้อ่านนิยายต้นฉบับหรือดูซีรีส์น่าจะจำได้ว่า มีหลายฉากที่เกริ่นถึงว่าพระเอกในภาคอดีตคือคนที่มีกระดูกงดงาม

    ...“กระดูกงดงาม คือความดีงามที่ฝังถึงเนื้อใน ผู้ที่มีกระดูกจะไม่มีผิวหนัง ผู้ที่มีผิวหนังจะไม่มีกระดูก”
    ...“คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก”
    - จาก <ทุกชาติภพ กระดูงดงาม> ผู้แต่ง ม่อเป่าเฟยเป่า และ ผู้แปล เสี่ยวหวา

    ประโยคแรกเป็นคำประพันธ์ของคุณม่อเป่าเฟยเป่า แต่ประโยคหลังยกมาจากบทประพันธ์โบราณซึ่งในนิยายกล่าวถึงว่าชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น)

    ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ เป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1627 มันเป็นบทประพันธ์รวบรวมเรื่องสั้นจากยุคสมัยก่อน แต่งขึ้นในลักษณะนักเขียนเล่าและชวนนักอ่านคุย (นึกภาพเหมือนฟังคนเล่านิทานในซีรีส์จีนที่พูดเองเออเองแต่เหมือนกับคุยกับคนฟังอยู่) โดยเนื้อหาของเรื่องสั้นเหล่านี้สอดแทรกคติธรรมสอนใจ และประโยคที่ว่า “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” (世人眼孔浅的多,只有皮相,没有骨相) นี้ปรากฏอยู่ในบทแรกที่มีชื่อว่า ‘สองนายอำเภอถกเรื่องการแต่งงานของสตรีกำพร้า’ (两县令竞义婚孤女)

    สตรีกำพร้าที่กล่าวถึงคือเยวี่ยเซียงผู้กำพร้าแม่แต่เด็ก พ่อคือสือปี้เป็นนายอำเภอ ต่อมาเกิดเหตุไฟไหม้คลังหลวง ซึ่งตามกฎหมายแล้วนายอำเภอต้องถูกปลดจากตำแหน่งและต้องนำเงินส่วนตัวมาชดเชยค่าเสียหาย แต่สือปี้เป็นขุนนางตงฉินฐานะไม่ดี ไม่มีปัญญาหาเงินมาชดใช้ เครียดจนล้มป่วยตายไป เยวี่ยเซียงและแม่นมจึงถูกทางการขายในฐานะครอบครัวของนักโทษทางการเพื่อเอาเงินมาชดใช้แทน ยังดีที่มีพ่อค้านามว่าเจี่ยชางที่เคยได้รับการช่วยชีวิตจากสือปี้มาซื้อตัวทั้งสองคนกลับไป เขารับเยวี่ยเซียงเป็นลูกบุญธรรมและให้ทุกคนดูแลนางดียิ่ง ทำให้ภรรยาของเจี่ยชางอิจฉาและแอบกดขี่ข่มเหงเยวี่ยเซียงในเวลาที่เขาไม่อยู่บ้าน แต่ไม่ว่านางจะกลั่นแกล้งอย่างไรเยวี่ยเซียงก็ทนและไม่เคยคิดแค้นเคืองเพราะสำนึกในบุญคุณของเจี่ยชาง ต่อมาภรรยาของเจี่ยชางฉวยโอกาสที่เจี่ยชางเดินทางไปค้าขายต่างเมืองจัดการขายเยวี่ยเซียงและแม่นมไป

    เป็นโชคดีครั้งที่สองที่เยวี่ยเซียงถูกครอบครัวของนายอำเภอคนใหม่ซื้อไปเพื่อจะให้ไปเป็นสาวใช้ที่ติดตามบุตรีของตนตอนออกเรือน ซึ่งบ้านพักของนายอำเภอจงหลีก็คือบ้านเดิมที่เยวี่ยเซียงเคยอยู่เมื่อครั้งที่พ่อของนางเป็นนายอำเภอ และต่อมานายอำเภอจงหลีทราบเรื่องราวของนางก็เห็นใจรับนางเป็นลูกบุญธรรม เขาเขียนจดหมายไปหานายอำเภอเกาซึ่งเป็นนายอำเภอของอีกอำเภอหนึ่งว่าอยากจะชะลอเรื่องงานแต่งงานของลูกสาวตนและลูกชายคนโตของนายอำเภอเกาไว้ เพราะอยากจัดการให้เยวี่ยเซียงเป็นฝั่งเป็นฝาไปก่อน คุยไปคุยมานายอำเภอเกาจึงให้ลูกชายคนโตแต่งงานกับลูกสาวของนายอำเภอจงหลี และให้ลูกชายคนรองแต่งงานกับเยวี่ยเซียง จบแบบสุขนิยมอารมณ์คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ และเป็นที่มาของชื่อนิทานเรื่องนี้

    แต่จริงๆ แล้วในบทนี้แบ่งเป็นนิทานสองเรื่อง โดยเรื่องของเยวี่ยเซียงนี้เป็นเรื่องที่สองและเป็นเรื่องหลัก แต่มันถูกเกริ่นนำด้วยนิทานเรื่องแรกซึ่งเป็นเรื่องของชายผู้มีนามว่าหวางเฟิ่งและลูกสาวหลานสาว และประโยค “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” ปรากฏอยู่ในนิทานเรื่องแรกนี้

    ในเรื่องของหวางเฟิ่งนี้ เล่าถึงว่าพี่ชายของเขาก่อนสิ้นใจได้ฝากฝังลูกสาวคนเดียวที่กำพร้าแม่แต่เด็กให้หวางเฟิ่งช่วยดูแล พอได้อายุแต่งงานก็ให้แต่งไปตระกูลพานที่หมั้นหมายกันไว้แต่เด็ก โดยฝากเงินสินสอดทองหมั้นของลูกสาวเอาไว้ด้วย หวางเฟิ่งก็รับหลานสาวคือฉยงอิงไปเลี้ยงดูอย่างดีคู่กับลูกสาวคือฉยงเจิน อยู่มาวันหนึ่งคุณชายตระกูลพานคือพานหัวเดินทางมาเยี่ยมเยียนพร้อมกันกับเซียวหย่าซึ่งหมั้นหมายไว้แต่เด็กกับฉยงเจิน พานหัวหล่อเหลาร่ำรวย แต่เซียวหย่าฐานะยากจนและหน้าตาอัปลักษณ์ หวางเฟิ่งนั่งคิดนอนคิดก็ตัดสินใจสลับตัวเจ้าสาว ให้ฉยงเจินลูกสาวของตนแต่งไปกับพานหัว อีกทั้งยึดเอาสินสอดของฉยงอิงไปด้วย และให้ฉยงอิงแต่งงานกับเซียวหย่า

    พานหัวร่ำรวยแต่เละเทะไม่เอาการเอางาน ไม่ถึงสิบปีก็ผลาญทรัพย์สินของตระกูลจนหมด ไม่รู้จะเอาอะไรกินก็เลยจะพาเมียไปรับงานเป็นคนใช้ในบ้านคนอื่น หวางเฟิ่งรู้ข่าวจึงไปรับลูกสาวตนเองกลับมาและขับไล่พานหัวไป ส่วนเซียวหย่านั้น เอาการเอางาน สอบได้เป็นราชบัณฑิต ต่อมาไต่เต้าเป็นถึงเสนาบดีและฉยงอิงได้เป็นฟูเหรินขั้นที่หนึ่ง

    “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” จึงเป็นการกล่าวถึงหวางเฟิ่งเพื่อเป็นคติสอนใจให้มองคนที่เนื้อใน ส่วนเรื่องของเยวี่ยเซียงเป็นการเล่ากลับมุมเพื่อเป็นคติสอนใจให้ดำรงตนเป็นคนที่ดีจากเนื้อในนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/489109778_100127948
    https://www.bella.tw/articles/movies&culture/31188
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/醒世恒言/768435
    https://baike.baidu.com/item/两县令竞义婚孤女/7878655
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=66907&remap=gb
    https://www.toutiao.com/article/7102754854845727236/

    #ทุกชาติภพ #กระดูกงดงาม #เฝิงเมิ่งหลง #วรรณกรรมจีนโบราณ
    ‘กระดูกงดงาม’ จากวรรณกรรมโบราณ สวัสดีค่ะ วันนี้ Storyฯ มาเก็บตกเกร็ดหนึ่งจากนิยาย/ซีรีส์เรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> เพื่อนเพจที่ได้อ่านนิยายต้นฉบับหรือดูซีรีส์น่าจะจำได้ว่า มีหลายฉากที่เกริ่นถึงว่าพระเอกในภาคอดีตคือคนที่มีกระดูกงดงาม ...“กระดูกงดงาม คือความดีงามที่ฝังถึงเนื้อใน ผู้ที่มีกระดูกจะไม่มีผิวหนัง ผู้ที่มีผิวหนังจะไม่มีกระดูก” ...“คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” - จาก <ทุกชาติภพ กระดูงดงาม> ผู้แต่ง ม่อเป่าเฟยเป่า และ ผู้แปล เสี่ยวหวา ประโยคแรกเป็นคำประพันธ์ของคุณม่อเป่าเฟยเป่า แต่ประโยคหลังยกมาจากบทประพันธ์โบราณซึ่งในนิยายกล่าวถึงว่าชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น) ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ เป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1627 มันเป็นบทประพันธ์รวบรวมเรื่องสั้นจากยุคสมัยก่อน แต่งขึ้นในลักษณะนักเขียนเล่าและชวนนักอ่านคุย (นึกภาพเหมือนฟังคนเล่านิทานในซีรีส์จีนที่พูดเองเออเองแต่เหมือนกับคุยกับคนฟังอยู่) โดยเนื้อหาของเรื่องสั้นเหล่านี้สอดแทรกคติธรรมสอนใจ และประโยคที่ว่า “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” (世人眼孔浅的多,只有皮相,没有骨相) นี้ปรากฏอยู่ในบทแรกที่มีชื่อว่า ‘สองนายอำเภอถกเรื่องการแต่งงานของสตรีกำพร้า’ (两县令竞义婚孤女) สตรีกำพร้าที่กล่าวถึงคือเยวี่ยเซียงผู้กำพร้าแม่แต่เด็ก พ่อคือสือปี้เป็นนายอำเภอ ต่อมาเกิดเหตุไฟไหม้คลังหลวง ซึ่งตามกฎหมายแล้วนายอำเภอต้องถูกปลดจากตำแหน่งและต้องนำเงินส่วนตัวมาชดเชยค่าเสียหาย แต่สือปี้เป็นขุนนางตงฉินฐานะไม่ดี ไม่มีปัญญาหาเงินมาชดใช้ เครียดจนล้มป่วยตายไป เยวี่ยเซียงและแม่นมจึงถูกทางการขายในฐานะครอบครัวของนักโทษทางการเพื่อเอาเงินมาชดใช้แทน ยังดีที่มีพ่อค้านามว่าเจี่ยชางที่เคยได้รับการช่วยชีวิตจากสือปี้มาซื้อตัวทั้งสองคนกลับไป เขารับเยวี่ยเซียงเป็นลูกบุญธรรมและให้ทุกคนดูแลนางดียิ่ง ทำให้ภรรยาของเจี่ยชางอิจฉาและแอบกดขี่ข่มเหงเยวี่ยเซียงในเวลาที่เขาไม่อยู่บ้าน แต่ไม่ว่านางจะกลั่นแกล้งอย่างไรเยวี่ยเซียงก็ทนและไม่เคยคิดแค้นเคืองเพราะสำนึกในบุญคุณของเจี่ยชาง ต่อมาภรรยาของเจี่ยชางฉวยโอกาสที่เจี่ยชางเดินทางไปค้าขายต่างเมืองจัดการขายเยวี่ยเซียงและแม่นมไป เป็นโชคดีครั้งที่สองที่เยวี่ยเซียงถูกครอบครัวของนายอำเภอคนใหม่ซื้อไปเพื่อจะให้ไปเป็นสาวใช้ที่ติดตามบุตรีของตนตอนออกเรือน ซึ่งบ้านพักของนายอำเภอจงหลีก็คือบ้านเดิมที่เยวี่ยเซียงเคยอยู่เมื่อครั้งที่พ่อของนางเป็นนายอำเภอ และต่อมานายอำเภอจงหลีทราบเรื่องราวของนางก็เห็นใจรับนางเป็นลูกบุญธรรม เขาเขียนจดหมายไปหานายอำเภอเกาซึ่งเป็นนายอำเภอของอีกอำเภอหนึ่งว่าอยากจะชะลอเรื่องงานแต่งงานของลูกสาวตนและลูกชายคนโตของนายอำเภอเกาไว้ เพราะอยากจัดการให้เยวี่ยเซียงเป็นฝั่งเป็นฝาไปก่อน คุยไปคุยมานายอำเภอเกาจึงให้ลูกชายคนโตแต่งงานกับลูกสาวของนายอำเภอจงหลี และให้ลูกชายคนรองแต่งงานกับเยวี่ยเซียง จบแบบสุขนิยมอารมณ์คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ และเป็นที่มาของชื่อนิทานเรื่องนี้ แต่จริงๆ แล้วในบทนี้แบ่งเป็นนิทานสองเรื่อง โดยเรื่องของเยวี่ยเซียงนี้เป็นเรื่องที่สองและเป็นเรื่องหลัก แต่มันถูกเกริ่นนำด้วยนิทานเรื่องแรกซึ่งเป็นเรื่องของชายผู้มีนามว่าหวางเฟิ่งและลูกสาวหลานสาว และประโยค “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” ปรากฏอยู่ในนิทานเรื่องแรกนี้ ในเรื่องของหวางเฟิ่งนี้ เล่าถึงว่าพี่ชายของเขาก่อนสิ้นใจได้ฝากฝังลูกสาวคนเดียวที่กำพร้าแม่แต่เด็กให้หวางเฟิ่งช่วยดูแล พอได้อายุแต่งงานก็ให้แต่งไปตระกูลพานที่หมั้นหมายกันไว้แต่เด็ก โดยฝากเงินสินสอดทองหมั้นของลูกสาวเอาไว้ด้วย หวางเฟิ่งก็รับหลานสาวคือฉยงอิงไปเลี้ยงดูอย่างดีคู่กับลูกสาวคือฉยงเจิน อยู่มาวันหนึ่งคุณชายตระกูลพานคือพานหัวเดินทางมาเยี่ยมเยียนพร้อมกันกับเซียวหย่าซึ่งหมั้นหมายไว้แต่เด็กกับฉยงเจิน พานหัวหล่อเหลาร่ำรวย แต่เซียวหย่าฐานะยากจนและหน้าตาอัปลักษณ์ หวางเฟิ่งนั่งคิดนอนคิดก็ตัดสินใจสลับตัวเจ้าสาว ให้ฉยงเจินลูกสาวของตนแต่งไปกับพานหัว อีกทั้งยึดเอาสินสอดของฉยงอิงไปด้วย และให้ฉยงอิงแต่งงานกับเซียวหย่า พานหัวร่ำรวยแต่เละเทะไม่เอาการเอางาน ไม่ถึงสิบปีก็ผลาญทรัพย์สินของตระกูลจนหมด ไม่รู้จะเอาอะไรกินก็เลยจะพาเมียไปรับงานเป็นคนใช้ในบ้านคนอื่น หวางเฟิ่งรู้ข่าวจึงไปรับลูกสาวตนเองกลับมาและขับไล่พานหัวไป ส่วนเซียวหย่านั้น เอาการเอางาน สอบได้เป็นราชบัณฑิต ต่อมาไต่เต้าเป็นถึงเสนาบดีและฉยงอิงได้เป็นฟูเหรินขั้นที่หนึ่ง “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” จึงเป็นการกล่าวถึงหวางเฟิ่งเพื่อเป็นคติสอนใจให้มองคนที่เนื้อใน ส่วนเรื่องของเยวี่ยเซียงเป็นการเล่ากลับมุมเพื่อเป็นคติสอนใจให้ดำรงตนเป็นคนที่ดีจากเนื้อในนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/489109778_100127948 https://www.bella.tw/articles/movies&culture/31188 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/醒世恒言/768435 https://baike.baidu.com/item/两县令竞义婚孤女/7878655 https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=66907&remap=gb https://www.toutiao.com/article/7102754854845727236/ #ทุกชาติภพ #กระดูกงดงาม #เฝิงเมิ่งหลง #วรรณกรรมจีนโบราณ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 249 มุมมอง 0 รีวิว
  • เกิงฟู คนบอกเวลา

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับนาฬิกาหยดน้ำโบราณ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกบ้านที่จะมีอุปกรณ์บอกเวลาเพราะนาฬิกาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาแดด นาฬิกาทรายหรือนาฬิกาหยดน้ำนั้น ล้วนเป็นอุปกรณ์ที่มีใช้เฉพาะในวังหรือกลุ่มคนมีอันจะกิน ส่วนชาวบ้านธรรมดานั้น กลางวันมักอาศัยการสังเกตตำแหน่งของดวงอาทิตย์ และกลางคืนสามารถจุดธูปเพื่อวัดเวลา ซึ่งธูปแต่ละชนิดออกแบบมาให้เผาไหม้หมดในเวลาที่กำหนด เช่น 30 นาทีหรือ 60 นาทีเป็นต้น แต่การจุดธูปนั้นสิ้นเปลืองและไม่สามารถทำได้ตลอดคืน ดังนั้น ชาวบ้านทั่วไปจึงต้องพึ่งพาคนบอกเวลา

    คนบอกเวลาหรือ ‘เกิงฟู’ (更夫) หรือ ‘ต่าเกิงเหริน’ (打更人) เป็นหนึ่งในตัวละครไร้นามที่เราเห็นบ่อยในซีรีส์ยามค่ำคืนที่เดินตีฆ้องหรือตีกระบอกไม้และตะโกน “ระวังฟืนระวังไฟ” วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน

    ก่อนอื่นคุยกันเล็กน้อยเกี่ยวกับการนับเวลาจีนโบราณ เพื่อนเพจหลายคนคงทราบดีอยู่แล้วว่าจีนโบราณแบ่งเวลาเป็นสิบสองชั่วยาม ชั่วยามหนึ่งเทียบเท่าสองชั่วโมง แต่เชื่อว่าหลายท่านคงงงกับคำว่า ‘เกิง’ ซึ่งเป็นคำที่ใช้สำหรับช่วงเวลากลางคืน

    จีนโบราณแบ่งช่วงเวลากลางคืนออกเป็นห้ายามหรือ ‘เกิง’ (更 ซึ่งในสมัยโบราณออกเสียงว่า ‘จิง’ ต่อมาปรับใช้เป็น ‘เกิง’ จวบจนปัจจุบัน) โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 1-3 ทุ่ม เรียกว่า ‘เกิงที่หนึ่ง’ หรือยามหนึ่ง ซึ่งก็คือช่วงเวลาที่เตรียมตัวเข้านอนสำหรับคนทั่วไป และไปสิ้นสุดที่ตี 3-5 เรียกว่า ‘เกิงที่ห้า’ หรือยามห้า ซึ่งก็คือเวลาตื่นและเตรียมพร้อมไปทำงานนั่นเอง จึงเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า ‘ยามสามกลางดึก’ (三更半夜 / ซันเกิงป้านเยี่ย) ซึ่งยามสามก็คือช่วงเวลากึ่งกลางของกลางคืนพอดี (คือระหว่าง 5 ทุ่ม - ตี 1)

    จริงๆ แล้วโดยปกติคนบอกยามหรือเกิงฟูมักออกเดินเป็นคู่ ไม่ค่อยฉายเดี่ยวเหมือนที่เห็นในซีรีส์ เพื่อว่าจะได้ช่วยเหลือกันได้หากเกิดเหตุอะไร พวกเขาไม่ใช่อาสาสมัคร ได้เงินค่าจ้างจากรัฐบาล แต่ไม่ใช่ข้าราชการและมีสถานะทางสังคมเหมือนพวกที่ใช้แรงงานหยาบทั่วไป

    เกิงฟูมีมาแต่ยุคสมัยใด Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่ได้ชัดเจน บ้างว่ามีมาแต่สมัยราชวงศ์ฉิน แต่ไม่ว่ายุคสมัยใด เกิงฟูจริงๆ แล้วทำหลายหน้าที่มากกว่าการบอกเวลา หน้าที่สำคัญอีกหน้าที่หนึ่งคือการดูแลและเตือนภัยหรือก็คือหน้าที่ รปภ. นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการคอยสอดส่องหรือเตือนภัยเพลิงไหม้ สัตว์ป่าบุกรุก ขโมยขโจร หรือแม้แต่คนแปลกหน้าเพ่นพ่านยามวิกาล ดังนั้นในช่วงสงคราม เมืองสำคัญต่างๆ จะมีเกิงฟูมากกว่าปกติ นอกจากนี้ เกิงฟูยังเตือนเรื่องสภาพอากาศเช่น หนาวจัด จะมีฝน ลมแรง ฯลฯ ดังนั้นคำตะโกนของเกิงฟูจะผันแปรไปตามสภาพความเป็นจริง ไม่ใช่แค่ “อากาศแห้ง ระวังฟืนระวังไฟ” แบบที่เรามักได้ยินในซีรีส์อย่างเดียว

    เกิงฟูบอกเวลาอย่างไร?

    เชื่อว่าเพื่อนเพจคงนึกเหมือน Storyฯ ว่าเขาก็คงตีฆ้องหรือกระบอกไม้เป็นจำนวนครั้งตามเวลา เช่น ยามที่หนึ่ง ตีหนึ่งครั้ง ฯลฯ แต่จริงๆ แล้วเขามีจังหวะยาวสั้นหรือใช้สลับฆ้องและกระบอกไม้ เพื่อว่าเวลาคนฟังจะได้ไม่หลงว่าได้ยินซ้ำของเก่าหรือไม่ Storyฯ ลองเปรียบเทียบข้อมูลดู พบว่ามีสองเวอร์ชั่นสรุปได้ดังนี้

    เวอร์ชั่นแรก ใช้จังหวะยาว(ช้า)และสั้น(เร็ว)สลับกัน คือ
    - เกิงที่หนึ่ง ตียาวหนึ่งครั้งสั้นหนึ่งครั้ง รวมสามชุด
    - เกิงที่สอง ตีสั้นติดกันสองครั้ง ตีได้ต่อเนื่องหลายๆ ชุด ประหนึ่งว่าไล่ให้ไปนอนได้แล้ว
    - เกิงที่สาม ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสองครั้ง รวมสามชุด
    - เกิงที่สี่ ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสามครั้ง รวมสามชุด
    - เกิงที่ห้า ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสี่ครั้ง รวมสามชุด

    เวอร์ชั่นที่สอง ใช้สลับฆ้องและกระบอกไม้ ดังนี้
    - เกิงที่หนึ่ง ตีฆ้องหนึ่งครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
    - เกิงที่สอง ตีฆ้องสองครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
    - เกิงที่สาม ตีตีฆ้องสามครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
    - เกิงที่สี่ ตีฆ้องสี่ครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
    - เกิงที่ห้า ตีแต่กระบอกไม้เท่านั้น ตีได้เรื่อยๆ รัวๆ ประหนึ่งว่ากำลังปลุกให้ลุกขึ้นมาทำงานได้แล้ว

    Storyฯ ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องของจังหวะการตีทั้งสองเวอร์ชั่นนี้ แต่ที่เล่ามาคือเพื่อให้เพื่อนเพจเห็นภาพว่า การตีบอกเวลาจะมีจังหวะของมันอยู่ คนที่ได้ยินก็จะรู้เวลาได้โดยง่าย

    ในเมืองใหญ่จะมีหอนาฬิกาและ/หรือหอสังเกตการณ์ ที่หอนี้มีทหารหรือเจ้าหน้าที่คอยสังเกตการณ์สภาพแวดล้อมระวังภัยและจับตาดูนาฬิกาในหอแล้วส่งสัญญาณบอกเวลาเช่นเป่าแตรหรือตีกลอง โดยทำงานเป็นกะ เฝ้าตลอดทั้งวันทั้งคืน และด้วยการสื่อสารจากหอสังเกตการณ์เหล่านี้ บรรดาเกิงฟูก็จะออกเดินทางเพื่อบอกเวลาและรายงานสภาพแวดล้อมทันทีที่ถึงต้นโมงยาม ในเมืองเล็กก็จะมีจุดศูนย์กลางสักแห่งที่มีนาฬิกาหรือเครื่องบอกเวลาสักชนิดหนึ่ง (เช่น วัดที่มีการจุดธูปต่อเนื่อง) เพื่อให้เหล่าเกิงฟูเริ่มงานได้เช่นกัน

    ทีนี้คำถามต่อมาคือ เกิงฟูเดินไปเรื่อยๆ เส้นทางใกล้ไกลไม่เหมือนกัน แล้วพวกเขาจะรู้เวลาได้อย่างไรว่ากาลเวลาล่วงเข้าอีกยามหนึ่งแล้ว?

    สำหรับประชาชนทั่วไปนั้น การบอกเวลาเหล่านี้ไม่ต้องการความ ‘เป๊ะ’ เหมือนปัจจุบัน แต่เป็นการบอกโดยประมาณเพื่อให้กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันมีหลักเกณฑ์โดยคร่าว แต่อย่างไรก็ดี เกิงฟูมีตัวช่วยค่ะ บางคนพกธูปบอกเวลาซึ่งได้รับมาจากจุดเริ่มต้น บางคนพกป้ายที่เรียกว่า ‘เกิงผาย’ ซึ่งมีการกำหนดไว้เป็นจำนวนก้าวว่าเดินกี่ก้าวเปลี่ยนป้ายครั้งหนึ่ง เมื่อครบจำนวนครั้งก็ครบยาม

    การเล่าข้างต้นเป็นการเล่าโดยคร่าวเพื่อให้เห็นภาพนะคะ จริงๆ แล้วมันมีรายละเอียดกว่านี้ เช่นมีการปรับจำนวนก้าวในช่วงฤดูต่างๆ เพราะในสมัยโบราณมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การนับเวลา เช่นหนึ่งเค่ออาจหมายถึง 13 นาทีกว่า หรือ 15 นาทีแล้วแต่ยุคสมัย

    อาชีพเกิงฟูนี้นับได้ว่าสำคัญมากสำหรับสังคมจีนโบราณ แต่ชีวิตของเกิงฟูลำเค็ญไม่น้อยเพราะต้องฟันฝ่าอุปสรรคทางสภาพอากาศ เงินเดือนก็น้อยนิด และยังต้องมีสมาธิในการทำงานดีมากด้วย เพื่อนเพจว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/602047304_120231588
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/打更/2113152
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_8909910
    https://k.sina.cn/article_7722512403_1cc4c3013001011q40.html?from=news
    https://www.163.com/dy/article/G08FUAJD05430TXY.html
    https://www.toutiao.com/article/6590549906669175300/?source=seo_tt_juhe
    https://www.toutiao.com/article/6590549906669175300/?source=seo_tt_juhe

    #เกิงฟู #ต่าเกิงเหริน #คนบอกเวลาจีนโบราณ #ตีฆ้องบอกเวลา
    เกิงฟู คนบอกเวลา สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับนาฬิกาหยดน้ำโบราณ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกบ้านที่จะมีอุปกรณ์บอกเวลาเพราะนาฬิกาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาแดด นาฬิกาทรายหรือนาฬิกาหยดน้ำนั้น ล้วนเป็นอุปกรณ์ที่มีใช้เฉพาะในวังหรือกลุ่มคนมีอันจะกิน ส่วนชาวบ้านธรรมดานั้น กลางวันมักอาศัยการสังเกตตำแหน่งของดวงอาทิตย์ และกลางคืนสามารถจุดธูปเพื่อวัดเวลา ซึ่งธูปแต่ละชนิดออกแบบมาให้เผาไหม้หมดในเวลาที่กำหนด เช่น 30 นาทีหรือ 60 นาทีเป็นต้น แต่การจุดธูปนั้นสิ้นเปลืองและไม่สามารถทำได้ตลอดคืน ดังนั้น ชาวบ้านทั่วไปจึงต้องพึ่งพาคนบอกเวลา คนบอกเวลาหรือ ‘เกิงฟู’ (更夫) หรือ ‘ต่าเกิงเหริน’ (打更人) เป็นหนึ่งในตัวละครไร้นามที่เราเห็นบ่อยในซีรีส์ยามค่ำคืนที่เดินตีฆ้องหรือตีกระบอกไม้และตะโกน “ระวังฟืนระวังไฟ” วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน ก่อนอื่นคุยกันเล็กน้อยเกี่ยวกับการนับเวลาจีนโบราณ เพื่อนเพจหลายคนคงทราบดีอยู่แล้วว่าจีนโบราณแบ่งเวลาเป็นสิบสองชั่วยาม ชั่วยามหนึ่งเทียบเท่าสองชั่วโมง แต่เชื่อว่าหลายท่านคงงงกับคำว่า ‘เกิง’ ซึ่งเป็นคำที่ใช้สำหรับช่วงเวลากลางคืน จีนโบราณแบ่งช่วงเวลากลางคืนออกเป็นห้ายามหรือ ‘เกิง’ (更 ซึ่งในสมัยโบราณออกเสียงว่า ‘จิง’ ต่อมาปรับใช้เป็น ‘เกิง’ จวบจนปัจจุบัน) โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 1-3 ทุ่ม เรียกว่า ‘เกิงที่หนึ่ง’ หรือยามหนึ่ง ซึ่งก็คือช่วงเวลาที่เตรียมตัวเข้านอนสำหรับคนทั่วไป และไปสิ้นสุดที่ตี 3-5 เรียกว่า ‘เกิงที่ห้า’ หรือยามห้า ซึ่งก็คือเวลาตื่นและเตรียมพร้อมไปทำงานนั่นเอง จึงเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า ‘ยามสามกลางดึก’ (三更半夜 / ซันเกิงป้านเยี่ย) ซึ่งยามสามก็คือช่วงเวลากึ่งกลางของกลางคืนพอดี (คือระหว่าง 5 ทุ่ม - ตี 1) จริงๆ แล้วโดยปกติคนบอกยามหรือเกิงฟูมักออกเดินเป็นคู่ ไม่ค่อยฉายเดี่ยวเหมือนที่เห็นในซีรีส์ เพื่อว่าจะได้ช่วยเหลือกันได้หากเกิดเหตุอะไร พวกเขาไม่ใช่อาสาสมัคร ได้เงินค่าจ้างจากรัฐบาล แต่ไม่ใช่ข้าราชการและมีสถานะทางสังคมเหมือนพวกที่ใช้แรงงานหยาบทั่วไป เกิงฟูมีมาแต่ยุคสมัยใด Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่ได้ชัดเจน บ้างว่ามีมาแต่สมัยราชวงศ์ฉิน แต่ไม่ว่ายุคสมัยใด เกิงฟูจริงๆ แล้วทำหลายหน้าที่มากกว่าการบอกเวลา หน้าที่สำคัญอีกหน้าที่หนึ่งคือการดูแลและเตือนภัยหรือก็คือหน้าที่ รปภ. นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการคอยสอดส่องหรือเตือนภัยเพลิงไหม้ สัตว์ป่าบุกรุก ขโมยขโจร หรือแม้แต่คนแปลกหน้าเพ่นพ่านยามวิกาล ดังนั้นในช่วงสงคราม เมืองสำคัญต่างๆ จะมีเกิงฟูมากกว่าปกติ นอกจากนี้ เกิงฟูยังเตือนเรื่องสภาพอากาศเช่น หนาวจัด จะมีฝน ลมแรง ฯลฯ ดังนั้นคำตะโกนของเกิงฟูจะผันแปรไปตามสภาพความเป็นจริง ไม่ใช่แค่ “อากาศแห้ง ระวังฟืนระวังไฟ” แบบที่เรามักได้ยินในซีรีส์อย่างเดียว เกิงฟูบอกเวลาอย่างไร? เชื่อว่าเพื่อนเพจคงนึกเหมือน Storyฯ ว่าเขาก็คงตีฆ้องหรือกระบอกไม้เป็นจำนวนครั้งตามเวลา เช่น ยามที่หนึ่ง ตีหนึ่งครั้ง ฯลฯ แต่จริงๆ แล้วเขามีจังหวะยาวสั้นหรือใช้สลับฆ้องและกระบอกไม้ เพื่อว่าเวลาคนฟังจะได้ไม่หลงว่าได้ยินซ้ำของเก่าหรือไม่ Storyฯ ลองเปรียบเทียบข้อมูลดู พบว่ามีสองเวอร์ชั่นสรุปได้ดังนี้ เวอร์ชั่นแรก ใช้จังหวะยาว(ช้า)และสั้น(เร็ว)สลับกัน คือ - เกิงที่หนึ่ง ตียาวหนึ่งครั้งสั้นหนึ่งครั้ง รวมสามชุด - เกิงที่สอง ตีสั้นติดกันสองครั้ง ตีได้ต่อเนื่องหลายๆ ชุด ประหนึ่งว่าไล่ให้ไปนอนได้แล้ว - เกิงที่สาม ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสองครั้ง รวมสามชุด - เกิงที่สี่ ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสามครั้ง รวมสามชุด - เกิงที่ห้า ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสี่ครั้ง รวมสามชุด เวอร์ชั่นที่สอง ใช้สลับฆ้องและกระบอกไม้ ดังนี้ - เกิงที่หนึ่ง ตีฆ้องหนึ่งครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง - เกิงที่สอง ตีฆ้องสองครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง - เกิงที่สาม ตีตีฆ้องสามครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง - เกิงที่สี่ ตีฆ้องสี่ครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง - เกิงที่ห้า ตีแต่กระบอกไม้เท่านั้น ตีได้เรื่อยๆ รัวๆ ประหนึ่งว่ากำลังปลุกให้ลุกขึ้นมาทำงานได้แล้ว Storyฯ ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องของจังหวะการตีทั้งสองเวอร์ชั่นนี้ แต่ที่เล่ามาคือเพื่อให้เพื่อนเพจเห็นภาพว่า การตีบอกเวลาจะมีจังหวะของมันอยู่ คนที่ได้ยินก็จะรู้เวลาได้โดยง่าย ในเมืองใหญ่จะมีหอนาฬิกาและ/หรือหอสังเกตการณ์ ที่หอนี้มีทหารหรือเจ้าหน้าที่คอยสังเกตการณ์สภาพแวดล้อมระวังภัยและจับตาดูนาฬิกาในหอแล้วส่งสัญญาณบอกเวลาเช่นเป่าแตรหรือตีกลอง โดยทำงานเป็นกะ เฝ้าตลอดทั้งวันทั้งคืน และด้วยการสื่อสารจากหอสังเกตการณ์เหล่านี้ บรรดาเกิงฟูก็จะออกเดินทางเพื่อบอกเวลาและรายงานสภาพแวดล้อมทันทีที่ถึงต้นโมงยาม ในเมืองเล็กก็จะมีจุดศูนย์กลางสักแห่งที่มีนาฬิกาหรือเครื่องบอกเวลาสักชนิดหนึ่ง (เช่น วัดที่มีการจุดธูปต่อเนื่อง) เพื่อให้เหล่าเกิงฟูเริ่มงานได้เช่นกัน ทีนี้คำถามต่อมาคือ เกิงฟูเดินไปเรื่อยๆ เส้นทางใกล้ไกลไม่เหมือนกัน แล้วพวกเขาจะรู้เวลาได้อย่างไรว่ากาลเวลาล่วงเข้าอีกยามหนึ่งแล้ว? สำหรับประชาชนทั่วไปนั้น การบอกเวลาเหล่านี้ไม่ต้องการความ ‘เป๊ะ’ เหมือนปัจจุบัน แต่เป็นการบอกโดยประมาณเพื่อให้กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันมีหลักเกณฑ์โดยคร่าว แต่อย่างไรก็ดี เกิงฟูมีตัวช่วยค่ะ บางคนพกธูปบอกเวลาซึ่งได้รับมาจากจุดเริ่มต้น บางคนพกป้ายที่เรียกว่า ‘เกิงผาย’ ซึ่งมีการกำหนดไว้เป็นจำนวนก้าวว่าเดินกี่ก้าวเปลี่ยนป้ายครั้งหนึ่ง เมื่อครบจำนวนครั้งก็ครบยาม การเล่าข้างต้นเป็นการเล่าโดยคร่าวเพื่อให้เห็นภาพนะคะ จริงๆ แล้วมันมีรายละเอียดกว่านี้ เช่นมีการปรับจำนวนก้าวในช่วงฤดูต่างๆ เพราะในสมัยโบราณมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การนับเวลา เช่นหนึ่งเค่ออาจหมายถึง 13 นาทีกว่า หรือ 15 นาทีแล้วแต่ยุคสมัย อาชีพเกิงฟูนี้นับได้ว่าสำคัญมากสำหรับสังคมจีนโบราณ แต่ชีวิตของเกิงฟูลำเค็ญไม่น้อยเพราะต้องฟันฝ่าอุปสรรคทางสภาพอากาศ เงินเดือนก็น้อยนิด และยังต้องมีสมาธิในการทำงานดีมากด้วย เพื่อนเพจว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/602047304_120231588 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/打更/2113152 https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_8909910 https://k.sina.cn/article_7722512403_1cc4c3013001011q40.html?from=news https://www.163.com/dy/article/G08FUAJD05430TXY.html https://www.toutiao.com/article/6590549906669175300/?source=seo_tt_juhe https://www.toutiao.com/article/6590549906669175300/?source=seo_tt_juhe #เกิงฟู #ต่าเกิงเหริน #คนบอกเวลาจีนโบราณ #ตีฆ้องบอกเวลา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 296 มุมมอง 0 รีวิว
  • สินเดิมเจ้าสาวจีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงเรื่องการหย่าร้างในจีนโบราณ เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายท่านต้องเคยผ่านตาพล็อตเรื่องในนิยายที่บอกว่า หากสตรีโดนสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) จะทำให้สูญเสียสินเดิมส่วนตัวไปด้วย แต่ถ้าเป็นการเลิกโดยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย (和离/เหอหลี) สตรีจะไม่สูญเสียสินเดิมนี้ วันนี้เรามาคุยกันในประเด็นนี้ว่าเป็นเช่นนี้จริงหรือไม่

    ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับธรรมเนียมเรื่องเงินๆ ทองๆ ของการแต่งงาน ไทยเราจะคุ้นเคยกับสินสอดทองหมั้น ซึ่งก็คือเงินและสินทรัพย์ที่ฝ่ายเจ้าบ่าวมอบให้พ่อแม่ของเจ้าสาวเพื่อเป็นการตอบแทนค่าเลี้ยงดูเจ้าสาวมาจนเติบใหญ่ ซึ่งในธรรมเนียมจีนมีการให้สินสอดนี้เช่นกัน เรียกว่า ‘พิ่นหลี่’ (聘礼) หรือ ‘ไฉหลี่’ (彩礼) โดยนำมามอบครอบครัวฝ่ายหญิงให้ในวันที่มาสู่ขอ

    และในธรรมเนียมจีนยังมีเงินและสินทรัพย์ที่พ่อแม่ของเจ้าสาวมอบให้ลูกสาวในวันออกเรือน เรียกว่า ‘เจี้ยจวง’ (嫁妆) หรือที่บางเพจแปลไว้ว่า ‘สินเดิม’ ซึ่งธรรมเนียมไทยเราไม่มี โดยปกติเจี้ยจวงเหล่านี้จะถูกขนไปบ้านเจ้าบ่าวพร้อมกับขบวนรับตัวเจ้าสาวแบบที่เราเห็นกันในหนัง และรายการทรัพย์สินเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้อย่างละเอียด และหมายรวมถึงบ่าวไพร่ส่วนตัวที่ติดสอยห้อยตามมาจากบ้านเจ้าสาวด้วย

    แล้วใครมีสิทธิในสินเดิมของเจ้าสาว?

    เดิมในสมัยฉินและฮั่นไม่มีบทกฎหมายแบ่งแยกสิทธิของสามีภรรยาในเรื่องนี้ และด้วยบริบทของสังคมจีนโบราณที่มองว่าสามีภรรยาเป็นคนเดียวกัน จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่สามีสามารถใช้จ่ายสินเดิมของเจ้าสาวได้ แต่อย่างไรก็ดี ในสมัยฉินปรากฎกรณีศึกษาที่ตระกูลของฝ่ายชายถูกยึดทรัพย์ทั้งตระกูล แต่ทางการไม่อาจยึดเอาสินเดิมของสะใภ้ไปได้ จึงเห็นได้ว่า แม้ไม่มีการกำหนดแบ่งแยกอย่างชัดเจนว่าสินเดิมเจ้าสาวเป็นสิทธิส่วนตัวของภรรยาหรือหรือของสามี แต่ที่แน่ๆ มันไม่ใช่ทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย

    ตราบใดที่พันธะสมรสยังอยู่ สามีภรรยาใช้ทรัพย์สินส่วนนี้ร่วมกันได้ แต่ทันทีที่พันธะสมรสสิ้นสุดลง ความชัดเจนปรากฏทันที กล่าวคือสินเดิมนี้นับเป็นสินส่วนตัวของภรรยา เป็นต้นว่าในกรณีที่บุรุษตายไป สินเดิมจะอยู่ในความครอบครองของภรรยา ไม่ถูกนับรวมเป็นมรดกเข้าทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย ในกรณีที่ทั้งบุรุษและสตรีตายไป สินเดิมจะของนางจะตกเป็นของบุตร คนอื่นในตระกูลฝ่ายชายไม่มีเอี่ยว แต่ถ้านางไม่มีบุตร สินเดิมนี้ต้องถูกนำส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของสตรี (แต่ในขณะเดียวกันฝ่ายชายก็สามารถเรียกร้องสินสอดคืนได้เช่นกัน) และในกรณีเลิกรากันไม่ว่าด้วยวิธีใด ซึ่งหมายรวมถึงการที่ภรรยาถูกสามีทิ้ง นางจะสามารถนำสินเดิมของนางติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้

    ต่อมาในสมัยถังและซ่ง มีบัญญัติกฎหมายขึ้นเกี่ยวกับการแต่งงานหย่าร้างและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ในยุคสมัยนี้สินเดิมเป็นสิทธิของสตรี และไม่นับเป็นสมบัติกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย คนในตระกูลฝ่ายชายจับต้องไม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สามีมักใช้เงินส่วนนี้ได้ด้วยความเชื่อของฝ่ายหญิงว่าสามีภรรยาคือคนเดียวกัน แต่ด้วยสภาพสังคมที่เน้นความเป็นสุภาพบุรุษแล้ว สามีจะเอาไปใช้ก็ต่อเมื่อภรรยาอนุญาต และโดยหลักการคือใช้ประโยชน์ได้แต่เอาไปขายไม่ได้ (เช่น โฉนดที่ดิน ร้านค้า) และชายใดเอาสินเดิมของภรรยาไปใช้มักถูกสังคมดูแคลน

    อย่างไรก็ดี มีสารพัดวิธีที่สินเดิมของเจ้าสาวจะหมดไปกับครอบครัวฝ่ายชาย ในกรณีที่ฐานะครอบครัวเจ้าบ่าวยากจน เจ้าสาวมักเอาสินเดิมมาแปลงเป็นเงินนำออกมาช่วยจุนเจือดำรงชีพซึ่งรวมถึงการดูแลพ่อแม่สามี หรือส่งสามีเรียนหนังสือเพื่อไปสอบราชบัณฑิต หรือช่วยจัดงานแต่งน้องสามี เป็นต้น ถือว่าเป็นวิธีแสดงจรรยาและความกตัญญูต่อครอบครัวฝ่ายสามี แต่ในทางกลับกัน หากฝ่ายชายมีฐานะมีอันจะกิน สินเดิมนี้จะถูกเก็บไว้เพื่อให้ลูกสำหรับแต่งงานในอนาคต

    เรียกได้ว่าในยุคสมัยถังซ่งนี้ โดยหลักการแล้วสตรีมีสิทธิทางกฎหมายชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับสินเดิมของตน แต่ก็มีข้อจำกัดเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ในกรณีที่สตรีตายไปโดยไม่มีบุตรหรือแต่งตั้งทายาทไว้ สินเดิมนี้จะไม่ต้องถูกส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของนาง และในกรณีที่สตรีถูกสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) หรือกรณีถูกศาลบังคับหย่าด้วยความผิดของฝ่ายหญิง สตรีไม่สามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้

    และนับจากสมัยหยวนเป็นต้นมา มีกฎหมายกำหนดเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ในกรณีที่สตรีไปแต่งงานใหม่หลังจากหย่าร้าง (แม้ว่าจะเป็นการหย่าร้างด้วยความสมัครใจ) หรือแต่งงานใหม่หลังจากสามีเสียไป สตรีไม่อาจนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้

    ดังนั้น สตรีเมื่อหย่าร้างแล้วสามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้หรือไม่นั้น ขึ้นกับยุคสมัยค่ะ

    (หมายเหตุ บทความข้างต้น เป็นข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบริบทการหย่าร้างเท่านั้น Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าลงลึกถึงสิทธิตามกฎหมายในการครอบครองสินทรัพย์ต่างๆ ของสตรีในแต่ละยุคสมัย เช่นการครอบครองที่ดินซึ่งมีลักษณะเฉพาะ หรือการสืบทอดสินทรัพย์ฝั่งสามี ฯลฯ)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.spp.gov.cn/spp/llyj/202104/t20210414_515602.shtml
    https://www.chinacourt.org/article/detail/2021/07/id/6125052.shtml
    http://www.xnwbw.com/page/1/2024-11/21/A18/20241121A18_pdf.pdf
    http://m.dyzxw.org/?act=a&aid=193698&cid=1
    http://www.guoxue.com/?p=792

    #สินเดิมเจ้าสาว #การแต่งงานจีนโบราณ #เจี้ยจวง #ซ่อนรักชายาลับ #สาระจีน
    สินเดิมเจ้าสาวจีนโบราณ สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงเรื่องการหย่าร้างในจีนโบราณ เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายท่านต้องเคยผ่านตาพล็อตเรื่องในนิยายที่บอกว่า หากสตรีโดนสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) จะทำให้สูญเสียสินเดิมส่วนตัวไปด้วย แต่ถ้าเป็นการเลิกโดยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย (和离/เหอหลี) สตรีจะไม่สูญเสียสินเดิมนี้ วันนี้เรามาคุยกันในประเด็นนี้ว่าเป็นเช่นนี้จริงหรือไม่ ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับธรรมเนียมเรื่องเงินๆ ทองๆ ของการแต่งงาน ไทยเราจะคุ้นเคยกับสินสอดทองหมั้น ซึ่งก็คือเงินและสินทรัพย์ที่ฝ่ายเจ้าบ่าวมอบให้พ่อแม่ของเจ้าสาวเพื่อเป็นการตอบแทนค่าเลี้ยงดูเจ้าสาวมาจนเติบใหญ่ ซึ่งในธรรมเนียมจีนมีการให้สินสอดนี้เช่นกัน เรียกว่า ‘พิ่นหลี่’ (聘礼) หรือ ‘ไฉหลี่’ (彩礼) โดยนำมามอบครอบครัวฝ่ายหญิงให้ในวันที่มาสู่ขอ และในธรรมเนียมจีนยังมีเงินและสินทรัพย์ที่พ่อแม่ของเจ้าสาวมอบให้ลูกสาวในวันออกเรือน เรียกว่า ‘เจี้ยจวง’ (嫁妆) หรือที่บางเพจแปลไว้ว่า ‘สินเดิม’ ซึ่งธรรมเนียมไทยเราไม่มี โดยปกติเจี้ยจวงเหล่านี้จะถูกขนไปบ้านเจ้าบ่าวพร้อมกับขบวนรับตัวเจ้าสาวแบบที่เราเห็นกันในหนัง และรายการทรัพย์สินเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้อย่างละเอียด และหมายรวมถึงบ่าวไพร่ส่วนตัวที่ติดสอยห้อยตามมาจากบ้านเจ้าสาวด้วย แล้วใครมีสิทธิในสินเดิมของเจ้าสาว? เดิมในสมัยฉินและฮั่นไม่มีบทกฎหมายแบ่งแยกสิทธิของสามีภรรยาในเรื่องนี้ และด้วยบริบทของสังคมจีนโบราณที่มองว่าสามีภรรยาเป็นคนเดียวกัน จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่สามีสามารถใช้จ่ายสินเดิมของเจ้าสาวได้ แต่อย่างไรก็ดี ในสมัยฉินปรากฎกรณีศึกษาที่ตระกูลของฝ่ายชายถูกยึดทรัพย์ทั้งตระกูล แต่ทางการไม่อาจยึดเอาสินเดิมของสะใภ้ไปได้ จึงเห็นได้ว่า แม้ไม่มีการกำหนดแบ่งแยกอย่างชัดเจนว่าสินเดิมเจ้าสาวเป็นสิทธิส่วนตัวของภรรยาหรือหรือของสามี แต่ที่แน่ๆ มันไม่ใช่ทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย ตราบใดที่พันธะสมรสยังอยู่ สามีภรรยาใช้ทรัพย์สินส่วนนี้ร่วมกันได้ แต่ทันทีที่พันธะสมรสสิ้นสุดลง ความชัดเจนปรากฏทันที กล่าวคือสินเดิมนี้นับเป็นสินส่วนตัวของภรรยา เป็นต้นว่าในกรณีที่บุรุษตายไป สินเดิมจะอยู่ในความครอบครองของภรรยา ไม่ถูกนับรวมเป็นมรดกเข้าทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย ในกรณีที่ทั้งบุรุษและสตรีตายไป สินเดิมจะของนางจะตกเป็นของบุตร คนอื่นในตระกูลฝ่ายชายไม่มีเอี่ยว แต่ถ้านางไม่มีบุตร สินเดิมนี้ต้องถูกนำส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของสตรี (แต่ในขณะเดียวกันฝ่ายชายก็สามารถเรียกร้องสินสอดคืนได้เช่นกัน) และในกรณีเลิกรากันไม่ว่าด้วยวิธีใด ซึ่งหมายรวมถึงการที่ภรรยาถูกสามีทิ้ง นางจะสามารถนำสินเดิมของนางติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้ ต่อมาในสมัยถังและซ่ง มีบัญญัติกฎหมายขึ้นเกี่ยวกับการแต่งงานหย่าร้างและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ในยุคสมัยนี้สินเดิมเป็นสิทธิของสตรี และไม่นับเป็นสมบัติกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย คนในตระกูลฝ่ายชายจับต้องไม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สามีมักใช้เงินส่วนนี้ได้ด้วยความเชื่อของฝ่ายหญิงว่าสามีภรรยาคือคนเดียวกัน แต่ด้วยสภาพสังคมที่เน้นความเป็นสุภาพบุรุษแล้ว สามีจะเอาไปใช้ก็ต่อเมื่อภรรยาอนุญาต และโดยหลักการคือใช้ประโยชน์ได้แต่เอาไปขายไม่ได้ (เช่น โฉนดที่ดิน ร้านค้า) และชายใดเอาสินเดิมของภรรยาไปใช้มักถูกสังคมดูแคลน อย่างไรก็ดี มีสารพัดวิธีที่สินเดิมของเจ้าสาวจะหมดไปกับครอบครัวฝ่ายชาย ในกรณีที่ฐานะครอบครัวเจ้าบ่าวยากจน เจ้าสาวมักเอาสินเดิมมาแปลงเป็นเงินนำออกมาช่วยจุนเจือดำรงชีพซึ่งรวมถึงการดูแลพ่อแม่สามี หรือส่งสามีเรียนหนังสือเพื่อไปสอบราชบัณฑิต หรือช่วยจัดงานแต่งน้องสามี เป็นต้น ถือว่าเป็นวิธีแสดงจรรยาและความกตัญญูต่อครอบครัวฝ่ายสามี แต่ในทางกลับกัน หากฝ่ายชายมีฐานะมีอันจะกิน สินเดิมนี้จะถูกเก็บไว้เพื่อให้ลูกสำหรับแต่งงานในอนาคต เรียกได้ว่าในยุคสมัยถังซ่งนี้ โดยหลักการแล้วสตรีมีสิทธิทางกฎหมายชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับสินเดิมของตน แต่ก็มีข้อจำกัดเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ในกรณีที่สตรีตายไปโดยไม่มีบุตรหรือแต่งตั้งทายาทไว้ สินเดิมนี้จะไม่ต้องถูกส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของนาง และในกรณีที่สตรีถูกสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) หรือกรณีถูกศาลบังคับหย่าด้วยความผิดของฝ่ายหญิง สตรีไม่สามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้ และนับจากสมัยหยวนเป็นต้นมา มีกฎหมายกำหนดเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ในกรณีที่สตรีไปแต่งงานใหม่หลังจากหย่าร้าง (แม้ว่าจะเป็นการหย่าร้างด้วยความสมัครใจ) หรือแต่งงานใหม่หลังจากสามีเสียไป สตรีไม่อาจนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้ ดังนั้น สตรีเมื่อหย่าร้างแล้วสามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้หรือไม่นั้น ขึ้นกับยุคสมัยค่ะ (หมายเหตุ บทความข้างต้น เป็นข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบริบทการหย่าร้างเท่านั้น Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าลงลึกถึงสิทธิตามกฎหมายในการครอบครองสินทรัพย์ต่างๆ ของสตรีในแต่ละยุคสมัย เช่นการครอบครองที่ดินซึ่งมีลักษณะเฉพาะ หรือการสืบทอดสินทรัพย์ฝั่งสามี ฯลฯ) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.spp.gov.cn/spp/llyj/202104/t20210414_515602.shtml https://www.chinacourt.org/article/detail/2021/07/id/6125052.shtml http://www.xnwbw.com/page/1/2024-11/21/A18/20241121A18_pdf.pdf http://m.dyzxw.org/?act=a&aid=193698&cid=1 http://www.guoxue.com/?p=792 #สินเดิมเจ้าสาว #การแต่งงานจีนโบราณ #เจี้ยจวง #ซ่อนรักชายาลับ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 296 มุมมอง 0 รีวิว
  • โล่วหู นาฬิกาหยดน้ำโบราณ

    สวัสดีค่ะ วันนี้เราอยู่กันกับซีรีส์เรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ

    หลายท่านคงทราบว่านาฬิกาโบราณนั้น มีนาฬิกาแดด นาฬิกาทรายและนาฬิกาหยดน้ำ ก่อนจะพัฒนามาเป็นนาฬิกากลไกที่ใช้เฟือง มีบทความเกี่ยวกับนาฬิกาโบราณไม่น้อยให้เพื่อนเพจได้ค้นหาอ่านกัน วันนี้ Storyฯ มาขยายความเรื่องนาฬิกาน้ำแบบหยดน้ำ เพราะที่เห็นในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> มันสวยเตะตาเหลือเกิน (แต่จนใจหาฉากที่เห็นรูปนาฬิกาแบบเต็มเรือนมาให้ดูไม่ได้)

    นาฬิกาหยดน้ำที่เห็นในซีรีส์เรื่องนี้มีองค์ประกอบและหลักการทำงานโดยสรุปดังนี้ (ดูรูปประกอบ): เป็นโถใส่น้ำอยู่ด้านบน ปล่อยให้น้ำค่อยๆ หยดลงบนถาด เมื่อน้ำปริ่มจนได้ระดับก็จะหยดลงในอ่างด้านล่าง ในอ่างด้านล่างมีไม้บรรทัดตั้งอยู่โดยเสียบผ่านถาดไม้บนอ่าง บนไม้บรรทัดมีขีดบอกเวลาสิบสองชั่วยาม เมื่อระดับน้ำในอ่างรับน้ำมีมากขึ้นไม้ก็จะค่อยๆ ลอยขึ้น ระดับความสูงของขอบถาดอยู่ตรงขีดไม้บรรทัดขีดไหนก็คือเวลานั้นๆ

    ดูจากหลักการทำงานตามที่กล่าวมาข้างต้น Storyฯ คิดว่านาฬิการุ่นนี้เป็นแบบขั้นบันได พูดแล้วเพื่อนเพจคงงงว่าเป็นแบบขั้นบันไดอย่างไร ก่อนอื่นมาดูรูปแบบของนาฬิกาหยดน้ำโบราณกันค่ะ

    นาฬิกาหยดน้ำเรียกว่า ‘โล่วหู’ (漏壶 แปลตรงตัวว่าโถที่มีรู) มีดีไซน์หลากหลาย แต่สามารถจัดหมวดหมู่ได้เป็นสามกลุ่มตามหลักการที่ใช้ สรุปดังนี้

    1. แบบระบายน้ำ (泄水型 /เซี่ยสุ่ยสิง หรือ 沉箭漏 / เฉินเจี้ยนโล่ว): นี่เป็นแบบแรกเริ่มของนาฬิกาหยดน้ำในจีน โดยหลักการคือใช้โถปล่อยน้ำที่มีท่อเล็กระบายน้ำที่ส่วนล่าง ฝาโถมีรูให้เสียบก้านไม้ที่มีเส้นขีดบอกเวลาเพื่อว่าก้านไม้จะได้ไม่เอียง ด้านล่างของก้านไม้ยึดอยู่บนถาดที่ลอยอยู่ในโถ (ดูรูปประกอบ) เมื่อน้ำค่อยๆ หยดระบายออก ก้านไม้ในโถก็จะค่อยๆ ลดระดับ เมื่อมองจากด้านนอกก็จะเห็นว่าขีดบอกเวลาอยู่ที่ระดับใด โบราณวัตถุที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยค้นพบเจอนั้นเป็นของสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี 202 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 008)

    ข้อเสียของนาฬิกาหยดน้ำแบบระบายน้ำนี้ก็คือ ความช้าเร็วในการหยดของน้ำจะแตกต่างกันเมื่อระดับปริมาณน้ำในโถที่ลดลง เป็นเรื่องของแรงดันน้ำอันเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก คือน้ำในโถปล่อยยิ่งมาก แรงดันยิ่งสูง ก็จะยิ่งหยดเร็ว

    2. แบบสะสมน้ำ (受水型 /โซ่วสุ่ยสิง หรือ 浮箭漏/ฝูเจี้ยนโล่ว): ว่ากันว่านาฬิกาแบบนี้มีมาแต่สมัยฮั่นตะวันตกในช่วงปลายราชวงศ์ โดยหลักการคือเอาก้านไม้ที่บอกเวลาไปลอยไว้ในโถหรืออ่างรับน้ำที่วางอยู่ข้างล่าง เมื่อโถรับน้ำมีปริมาณน้ำสะสมมากขึ้นก็จะดันให้ก้านไม้ค่อยๆ ลอยสูงขึ้นพ้นขอบ ก็จะเห็นว่าขีดบอกเวลาอยู่ที่ขีดเวลาใด (ดูรูปประกอบเพื่อเปรียบเทียบ) เป็นหลักการที่พยายามแก้ไขปัญหาความเพี้ยนของการบอกเวลา

    แต่... มันยังไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ดี ดังนั้น จึงเกิดเป็นแบบที่สามขึ้นมา

    3. แบบขั้นบันได (阶梯式 /เจี้ยทีซึ): คือมีโถปล่อยน้ำเรียงหลายขั้นลดหลั่นกันลงมา แรกเริ่มคือเป็นโถปล่อยน้ำ 2 ขั้น มีใช้ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25-220 ) ต่อมาเพิ่มโถปล่อยน้ำอีกหลาย ในราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เป็นโถปล่อยน้ำ 3 ขั้น หลักการทำงานคือมีก้านไม้บอกเวลาลอยอยู่ในโถรับน้ำ (เหมือนแบบสะสมน้ำ) แต่ที่เพิ่มเติมคือมีการรักษาให้ปริมาตรของน้ำจากโถปล่อยน้ำมีความคงที่ด้วยการแบ่งเป็นหลายโถ โถขั้นกลางและล่างจะได้มีปริมาตรและแรงดันที่ค่อนข้างคงที่ ยิ่งจำนวนโถปล่อยน้ำขั้นกลางมีมากเท่าไหร่ น้ำที่หยดลงสู่อ่างรับน้ำก็จะยิ่งมีระยะห่างที่สม่ำเสมอ เป็นการสร้างเสถียรภาพในการบอกเวลาได้ดี

    แต่มันก็ยังไม่แม่นยำนัก ต่อมาในยุคหลังจึงเกิดนาฬิกากลไกขึ้นมา

    Storyฯ เล่าหลักการแบบง่ายๆ นะคะ แต่ในความเป็นจริงต้องมีการคำนวณอย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นความกว้างความสูงของทุกชิ้นส่วนของภาชนะ การตีเส้นบนก้านไม้ ตำแหน่งความสูงของหลอดปล่อยน้ำ ฯลฯ

    กลับมาที่นาฬิกาเรือนสวยลายนกเป็ดน้ำในซีรีส์ <เล่ห์รักวังคุนหนิง>... ที่ Storyฯ บอกว่ามันเป็นนาฬิกาหยดน้ำแบบขั้นบันไดก็เพราะว่ามีการรักษาปริมาตรของน้ำเพื่อให้น้ำหยดลงในระยะห่างที่คงที่ด้วยการใช้ถาดใบบัวมาขั้นนั่นเอง (ดูรูปประกอบ) แน่นอนว่ามันมีหน้าตาสวยงามกว่าต้นแบบที่ต้องใช้โถหลายใบวางเรียงกันแต่ก็คงแม่นยำไม่เท่าด้วย

    นาฬิกาหยดน้ำเป็นสิ่งประดิษฐ์ของจีนหรือว่าได้รับอิทธิพลมาจากทางตะวันตก? เรื่องนี้คำตอบไม่แน่ชัด บ้างบอกว่าได้รับอิทธิพลมาจากฝั่งตะวันตกเพราะดูจากหลักฐานโบราณวัตถุที่ค้นพบในจีนนั้นเป็นของยุคสมัยฮั่นตะวันตก แต่นาฬิกาหยดน้ำที่ใช้ในโลกตะวันตกมีต้นแบบมาจากสมัยบาบีโลนของอียิปต์ (ประมาณพันห้าร้อยปีก่อนคริสตกาล) เป็นแบบระบายน้ำเรียกว่า clepsydra โดยของฝั่งโลกตะวันตกไม่ได้ใช้ก้านไม้ขีดเส้นลอยอยู่ในน้ำ แต่เป็นการบากเส้นขึ้นในภาชนะและจะใช้เป็นภาชนะปากกว้างเช่นอ่างเพื่อให้เห็นเส้นขีดบอกเวลาภายใน

    แต่มีบางบทความอ้างอิงว่าในบันทึกโจวหลี่มีการเขียนไว้ว่า ในสมัยราชวงศ์ซางมีตำแหน่งข้าราชการที่เรียกว่า ‘เชี่ยหูซึ’ (挈壶氏) มีหน้าที่คอยดูเวลาที่นาฬิกาหยดน้ำ บ่งบอกว่านาฬิกาหยดน้ำมีใช้ในจีนโบราณมาตั้งแต่สี่พันปีที่แล้ว

    จริงๆ ในซีรีส์เรื่องนี้มีนาฬิกาโบราณแบบอื่นให้เห็นด้วย มีเพื่อนเพจท่านใดจำได้บ้างไหม?

    หมายเหตุ: แก้ไขรูปประกอบที่ผิดพลาดเมื่อวันที่ 17/5 เวลา 16.30น. นะคะ ขออภัยที่สร้างความสับสนมาก่อนหน้านี้

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/582597735
    http://www.chinajl.com.cn/jiliangqiwu/57554.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://art.people.com.cn/n/2014/0521/c206244-25043967.html
    https://www.cctv.com/geography/news/20030514/7.html#:~:text=中国最早的漏壶,或“浮箭漏”。
    https://zh.wikipedia.org/wiki/水鐘
    http://m.cnwest.com/sxxw/a/2021/12/21/20176664.html

    #เล่ห์รักวังคุนหนิง #นาฬิกาโบราณ #นาฬิกาหยดน้ำ #โล่วหู
    โล่วหู นาฬิกาหยดน้ำโบราณ สวัสดีค่ะ วันนี้เราอยู่กันกับซีรีส์เรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ หลายท่านคงทราบว่านาฬิกาโบราณนั้น มีนาฬิกาแดด นาฬิกาทรายและนาฬิกาหยดน้ำ ก่อนจะพัฒนามาเป็นนาฬิกากลไกที่ใช้เฟือง มีบทความเกี่ยวกับนาฬิกาโบราณไม่น้อยให้เพื่อนเพจได้ค้นหาอ่านกัน วันนี้ Storyฯ มาขยายความเรื่องนาฬิกาน้ำแบบหยดน้ำ เพราะที่เห็นในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> มันสวยเตะตาเหลือเกิน (แต่จนใจหาฉากที่เห็นรูปนาฬิกาแบบเต็มเรือนมาให้ดูไม่ได้) นาฬิกาหยดน้ำที่เห็นในซีรีส์เรื่องนี้มีองค์ประกอบและหลักการทำงานโดยสรุปดังนี้ (ดูรูปประกอบ): เป็นโถใส่น้ำอยู่ด้านบน ปล่อยให้น้ำค่อยๆ หยดลงบนถาด เมื่อน้ำปริ่มจนได้ระดับก็จะหยดลงในอ่างด้านล่าง ในอ่างด้านล่างมีไม้บรรทัดตั้งอยู่โดยเสียบผ่านถาดไม้บนอ่าง บนไม้บรรทัดมีขีดบอกเวลาสิบสองชั่วยาม เมื่อระดับน้ำในอ่างรับน้ำมีมากขึ้นไม้ก็จะค่อยๆ ลอยขึ้น ระดับความสูงของขอบถาดอยู่ตรงขีดไม้บรรทัดขีดไหนก็คือเวลานั้นๆ ดูจากหลักการทำงานตามที่กล่าวมาข้างต้น Storyฯ คิดว่านาฬิการุ่นนี้เป็นแบบขั้นบันได พูดแล้วเพื่อนเพจคงงงว่าเป็นแบบขั้นบันไดอย่างไร ก่อนอื่นมาดูรูปแบบของนาฬิกาหยดน้ำโบราณกันค่ะ นาฬิกาหยดน้ำเรียกว่า ‘โล่วหู’ (漏壶 แปลตรงตัวว่าโถที่มีรู) มีดีไซน์หลากหลาย แต่สามารถจัดหมวดหมู่ได้เป็นสามกลุ่มตามหลักการที่ใช้ สรุปดังนี้ 1. แบบระบายน้ำ (泄水型 /เซี่ยสุ่ยสิง หรือ 沉箭漏 / เฉินเจี้ยนโล่ว): นี่เป็นแบบแรกเริ่มของนาฬิกาหยดน้ำในจีน โดยหลักการคือใช้โถปล่อยน้ำที่มีท่อเล็กระบายน้ำที่ส่วนล่าง ฝาโถมีรูให้เสียบก้านไม้ที่มีเส้นขีดบอกเวลาเพื่อว่าก้านไม้จะได้ไม่เอียง ด้านล่างของก้านไม้ยึดอยู่บนถาดที่ลอยอยู่ในโถ (ดูรูปประกอบ) เมื่อน้ำค่อยๆ หยดระบายออก ก้านไม้ในโถก็จะค่อยๆ ลดระดับ เมื่อมองจากด้านนอกก็จะเห็นว่าขีดบอกเวลาอยู่ที่ระดับใด โบราณวัตถุที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยค้นพบเจอนั้นเป็นของสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี 202 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 008) ข้อเสียของนาฬิกาหยดน้ำแบบระบายน้ำนี้ก็คือ ความช้าเร็วในการหยดของน้ำจะแตกต่างกันเมื่อระดับปริมาณน้ำในโถที่ลดลง เป็นเรื่องของแรงดันน้ำอันเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก คือน้ำในโถปล่อยยิ่งมาก แรงดันยิ่งสูง ก็จะยิ่งหยดเร็ว 2. แบบสะสมน้ำ (受水型 /โซ่วสุ่ยสิง หรือ 浮箭漏/ฝูเจี้ยนโล่ว): ว่ากันว่านาฬิกาแบบนี้มีมาแต่สมัยฮั่นตะวันตกในช่วงปลายราชวงศ์ โดยหลักการคือเอาก้านไม้ที่บอกเวลาไปลอยไว้ในโถหรืออ่างรับน้ำที่วางอยู่ข้างล่าง เมื่อโถรับน้ำมีปริมาณน้ำสะสมมากขึ้นก็จะดันให้ก้านไม้ค่อยๆ ลอยสูงขึ้นพ้นขอบ ก็จะเห็นว่าขีดบอกเวลาอยู่ที่ขีดเวลาใด (ดูรูปประกอบเพื่อเปรียบเทียบ) เป็นหลักการที่พยายามแก้ไขปัญหาความเพี้ยนของการบอกเวลา แต่... มันยังไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ดี ดังนั้น จึงเกิดเป็นแบบที่สามขึ้นมา 3. แบบขั้นบันได (阶梯式 /เจี้ยทีซึ): คือมีโถปล่อยน้ำเรียงหลายขั้นลดหลั่นกันลงมา แรกเริ่มคือเป็นโถปล่อยน้ำ 2 ขั้น มีใช้ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25-220 ) ต่อมาเพิ่มโถปล่อยน้ำอีกหลาย ในราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เป็นโถปล่อยน้ำ 3 ขั้น หลักการทำงานคือมีก้านไม้บอกเวลาลอยอยู่ในโถรับน้ำ (เหมือนแบบสะสมน้ำ) แต่ที่เพิ่มเติมคือมีการรักษาให้ปริมาตรของน้ำจากโถปล่อยน้ำมีความคงที่ด้วยการแบ่งเป็นหลายโถ โถขั้นกลางและล่างจะได้มีปริมาตรและแรงดันที่ค่อนข้างคงที่ ยิ่งจำนวนโถปล่อยน้ำขั้นกลางมีมากเท่าไหร่ น้ำที่หยดลงสู่อ่างรับน้ำก็จะยิ่งมีระยะห่างที่สม่ำเสมอ เป็นการสร้างเสถียรภาพในการบอกเวลาได้ดี แต่มันก็ยังไม่แม่นยำนัก ต่อมาในยุคหลังจึงเกิดนาฬิกากลไกขึ้นมา Storyฯ เล่าหลักการแบบง่ายๆ นะคะ แต่ในความเป็นจริงต้องมีการคำนวณอย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นความกว้างความสูงของทุกชิ้นส่วนของภาชนะ การตีเส้นบนก้านไม้ ตำแหน่งความสูงของหลอดปล่อยน้ำ ฯลฯ กลับมาที่นาฬิกาเรือนสวยลายนกเป็ดน้ำในซีรีส์ <เล่ห์รักวังคุนหนิง>... ที่ Storyฯ บอกว่ามันเป็นนาฬิกาหยดน้ำแบบขั้นบันไดก็เพราะว่ามีการรักษาปริมาตรของน้ำเพื่อให้น้ำหยดลงในระยะห่างที่คงที่ด้วยการใช้ถาดใบบัวมาขั้นนั่นเอง (ดูรูปประกอบ) แน่นอนว่ามันมีหน้าตาสวยงามกว่าต้นแบบที่ต้องใช้โถหลายใบวางเรียงกันแต่ก็คงแม่นยำไม่เท่าด้วย นาฬิกาหยดน้ำเป็นสิ่งประดิษฐ์ของจีนหรือว่าได้รับอิทธิพลมาจากทางตะวันตก? เรื่องนี้คำตอบไม่แน่ชัด บ้างบอกว่าได้รับอิทธิพลมาจากฝั่งตะวันตกเพราะดูจากหลักฐานโบราณวัตถุที่ค้นพบในจีนนั้นเป็นของยุคสมัยฮั่นตะวันตก แต่นาฬิกาหยดน้ำที่ใช้ในโลกตะวันตกมีต้นแบบมาจากสมัยบาบีโลนของอียิปต์ (ประมาณพันห้าร้อยปีก่อนคริสตกาล) เป็นแบบระบายน้ำเรียกว่า clepsydra โดยของฝั่งโลกตะวันตกไม่ได้ใช้ก้านไม้ขีดเส้นลอยอยู่ในน้ำ แต่เป็นการบากเส้นขึ้นในภาชนะและจะใช้เป็นภาชนะปากกว้างเช่นอ่างเพื่อให้เห็นเส้นขีดบอกเวลาภายใน แต่มีบางบทความอ้างอิงว่าในบันทึกโจวหลี่มีการเขียนไว้ว่า ในสมัยราชวงศ์ซางมีตำแหน่งข้าราชการที่เรียกว่า ‘เชี่ยหูซึ’ (挈壶氏) มีหน้าที่คอยดูเวลาที่นาฬิกาหยดน้ำ บ่งบอกว่านาฬิกาหยดน้ำมีใช้ในจีนโบราณมาตั้งแต่สี่พันปีที่แล้ว จริงๆ ในซีรีส์เรื่องนี้มีนาฬิกาโบราณแบบอื่นให้เห็นด้วย มีเพื่อนเพจท่านใดจำได้บ้างไหม? หมายเหตุ: แก้ไขรูปประกอบที่ผิดพลาดเมื่อวันที่ 17/5 เวลา 16.30น. นะคะ ขออภัยที่สร้างความสับสนมาก่อนหน้านี้ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/582597735 http://www.chinajl.com.cn/jiliangqiwu/57554.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://art.people.com.cn/n/2014/0521/c206244-25043967.html https://www.cctv.com/geography/news/20030514/7.html#:~:text=中国最早的漏壶,或“浮箭漏”。 https://zh.wikipedia.org/wiki/水鐘 http://m.cnwest.com/sxxw/a/2021/12/21/20176664.html #เล่ห์รักวังคุนหนิง #นาฬิกาโบราณ #นาฬิกาหยดน้ำ #โล่วหู
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 248 มุมมอง 0 รีวิว
  • ‘กระดูกงดงาม’ จากวรรณกรรมโบราณ

    สวัสดีค่ะ วันนี้ Storyฯ มาเก็บตกเกร็ดหนึ่งจากนิยาย/ซีรีส์เรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> เพื่อนเพจที่ได้อ่านนิยายต้นฉบับหรือดูซีรีส์น่าจะจำได้ว่า มีหลายฉากที่เกริ่นถึงว่าพระเอกในภาคอดีตคือคนที่มีกระดูกงดงาม

    ...“กระดูกงดงาม คือความดีงามที่ฝังถึงเนื้อใน ผู้ที่มีกระดูกจะไม่มีผิวหนัง ผู้ที่มีผิวหนังจะไม่มีกระดูก”
    ...“คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก”
    - จาก <ทุกชาติภพ กระดูงดงาม> ผู้แต่ง ม่อเป่าเฟยเป่า และ ผู้แปล เสี่ยวหวา

    ประโยคแรกเป็นคำประพันธ์ของคุณม่อเป่าเฟยเป่า แต่ประโยคหลังยกมาจากบทประพันธ์โบราณซึ่งในนิยายกล่าวถึงว่าชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น)

    ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ เป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1627 มันเป็นบทประพันธ์รวบรวมเรื่องสั้นจากยุคสมัยก่อน แต่งขึ้นในลักษณะนักเขียนเล่าและชวนนักอ่านคุย (นึกภาพเหมือนฟังคนเล่านิทานในซีรีส์จีนที่พูดเองเออเองแต่เหมือนกับคุยกับคนฟังอยู่) โดยเนื้อหาของเรื่องสั้นเหล่านี้สอดแทรกคติธรรมสอนใจ และประโยคที่ว่า “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” (世人眼孔浅的多,只有皮相,没有骨相) นี้ปรากฏอยู่ในบทแรกที่มีชื่อว่า ‘สองนายอำเภอถกเรื่องการแต่งงานของสตรีกำพร้า’ (两县令竞义婚孤女)

    สตรีกำพร้าที่กล่าวถึงคือเยวี่ยเซียงผู้กำพร้าแม่แต่เด็ก พ่อคือสือปี้เป็นนายอำเภอ ต่อมาเกิดเหตุไฟไหม้คลังหลวง ซึ่งตามกฎหมายแล้วนายอำเภอต้องถูกปลดจากตำแหน่งและต้องนำเงินส่วนตัวมาชดเชยค่าเสียหาย แต่สือปี้เป็นขุนนางตงฉินฐานะไม่ดี ไม่มีปัญญาหาเงินมาชดใช้ เครียดจนล้มป่วยตายไป เยวี่ยเซียงและแม่นมจึงถูกทางการขายในฐานะครอบครัวของนักโทษทางการเพื่อเอาเงินมาชดใช้แทน ยังดีที่มีพ่อค้านามว่าเจี่ยชางที่เคยได้รับการช่วยชีวิตจากสือปี้มาซื้อตัวทั้งสองคนกลับไป เขารับเยวี่ยเซียงเป็นลูกบุญธรรมและให้ทุกคนดูแลนางดียิ่ง ทำให้ภรรยาของเจี่ยชางอิจฉาและแอบกดขี่ข่มเหงเยวี่ยเซียงในเวลาที่เขาไม่อยู่บ้าน แต่ไม่ว่านางจะกลั่นแกล้งอย่างไรเยวี่ยเซียงก็ทนและไม่เคยคิดแค้นเคืองเพราะสำนึกในบุญคุณของเจี่ยชาง ต่อมาภรรยาของเจี่ยชางฉวยโอกาสที่เจี่ยชางเดินทางไปค้าขายต่างเมืองจัดการขายเยวี่ยเซียงและแม่นมไป

    เป็นโชคดีครั้งที่สองที่เยวี่ยเซียงถูกครอบครัวของนายอำเภอคนใหม่ซื้อไปเพื่อจะให้ไปเป็นสาวใช้ที่ติดตามบุตรีของตนตอนออกเรือน ซึ่งบ้านพักของนายอำเภอจงหลีก็คือบ้านเดิมที่เยวี่ยเซียงเคยอยู่เมื่อครั้งที่พ่อของนางเป็นนายอำเภอ และต่อมานายอำเภอจงหลีทราบเรื่องราวของนางก็เห็นใจรับนางเป็นลูกบุญธรรม เขาเขียนจดหมายไปหานายอำเภอเกาซึ่งเป็นนายอำเภอของอีกอำเภอหนึ่งว่าอยากจะชะลอเรื่องงานแต่งงานของลูกสาวตนและลูกชายคนโตของนายอำเภอเกาไว้ เพราะอยากจัดการให้เยวี่ยเซียงเป็นฝั่งเป็นฝาไปก่อน คุยไปคุยมานายอำเภอเกาจึงให้ลูกชายคนโตแต่งงานกับลูกสาวของนายอำเภอจงหลี และให้ลูกชายคนรองแต่งงานกับเยวี่ยเซียง จบแบบสุขนิยมอารมณ์คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ และเป็นที่มาของชื่อนิทานเรื่องนี้

    แต่จริงๆ แล้วในบทนี้แบ่งเป็นนิทานสองเรื่อง โดยเรื่องของเยวี่ยเซียงนี้เป็นเรื่องที่สองและเป็นเรื่องหลัก แต่มันถูกเกริ่นนำด้วยนิทานเรื่องแรกซึ่งเป็นเรื่องของชายผู้มีนามว่าหวางเฟิ่งและลูกสาวหลานสาว และประโยค “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” ปรากฏอยู่ในนิทานเรื่องแรกนี้

    ในเรื่องของหวางเฟิ่งนี้ เล่าถึงว่าพี่ชายของเขาก่อนสิ้นใจได้ฝากฝังลูกสาวคนเดียวที่กำพร้าแม่แต่เด็กให้หวางเฟิ่งช่วยดูแล พอได้อายุแต่งงานก็ให้แต่งไปตระกูลพานที่หมั้นหมายกันไว้แต่เด็ก โดยฝากเงินสินสอดทองหมั้นของลูกสาวเอาไว้ด้วย หวางเฟิ่งก็รับหลานสาวคือฉยงอิงไปเลี้ยงดูอย่างดีคู่กับลูกสาวคือฉยงเจิน อยู่มาวันหนึ่งคุณชายตระกูลพานคือพานหัวเดินทางมาเยี่ยมเยียนพร้อมกันกับเซียวหย่าซึ่งหมั้นหมายไว้แต่เด็กกับฉยงเจิน พานหัวหล่อเหลาร่ำรวย แต่เซียวหย่าฐานะยากจนและหน้าตาอัปลักษณ์ หวางเฟิ่งนั่งคิดนอนคิดก็ตัดสินใจสลับตัวเจ้าสาว ให้ฉยงเจินลูกสาวของตนแต่งไปกับพานหัว อีกทั้งยึดเอาสินสอดของฉยงอิงไปด้วย และให้ฉยงอิงแต่งงานกับเซียวหย่า

    พานหัวร่ำรวยแต่เละเทะไม่เอาการเอางาน ไม่ถึงสิบปีก็ผลาญทรัพย์สินของตระกูลจนหมด ไม่รู้จะเอาอะไรกินก็เลยจะพาเมียไปรับงานเป็นคนใช้ในบ้านคนอื่น หวางเฟิ่งรู้ข่าวจึงไปรับลูกสาวตนเองกลับมาและขับไล่พานหัวไป ส่วนเซียวหย่านั้น เอาการเอางาน สอบได้เป็นราชบัณฑิต ต่อมาไต่เต้าเป็นถึงเสนาบดีและฉยงอิงได้เป็นฟูเหรินขั้นที่หนึ่ง

    “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” จึงเป็นการกล่าวถึงหวางเฟิ่งเพื่อเป็นคติสอนใจให้มองคนที่เนื้อใน ส่วนเรื่องของเยวี่ยเซียงเป็นการเล่ากลับมุมเพื่อเป็นคติสอนใจให้ดำรงตนเป็นคนที่ดีจากเนื้อในนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/489109778_100127948
    https://www.bella.tw/articles/movies&culture/31188
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/醒世恒言/768435
    https://baike.baidu.com/item/两县令竞义婚孤女/7878655
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=66907&remap=gb
    https://www.toutiao.com/article/7102754854845727236/

    #ทุกชาติภพ #กระดูกงดงาม #เฝิงเมิ่งหลง #วรรณกรรมจีนโบราณ
    ‘กระดูกงดงาม’ จากวรรณกรรมโบราณ สวัสดีค่ะ วันนี้ Storyฯ มาเก็บตกเกร็ดหนึ่งจากนิยาย/ซีรีส์เรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> เพื่อนเพจที่ได้อ่านนิยายต้นฉบับหรือดูซีรีส์น่าจะจำได้ว่า มีหลายฉากที่เกริ่นถึงว่าพระเอกในภาคอดีตคือคนที่มีกระดูกงดงาม ...“กระดูกงดงาม คือความดีงามที่ฝังถึงเนื้อใน ผู้ที่มีกระดูกจะไม่มีผิวหนัง ผู้ที่มีผิวหนังจะไม่มีกระดูก” ...“คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” - จาก <ทุกชาติภพ กระดูงดงาม> ผู้แต่ง ม่อเป่าเฟยเป่า และ ผู้แปล เสี่ยวหวา ประโยคแรกเป็นคำประพันธ์ของคุณม่อเป่าเฟยเป่า แต่ประโยคหลังยกมาจากบทประพันธ์โบราณซึ่งในนิยายกล่าวถึงว่าชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น) ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ เป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1627 มันเป็นบทประพันธ์รวบรวมเรื่องสั้นจากยุคสมัยก่อน แต่งขึ้นในลักษณะนักเขียนเล่าและชวนนักอ่านคุย (นึกภาพเหมือนฟังคนเล่านิทานในซีรีส์จีนที่พูดเองเออเองแต่เหมือนกับคุยกับคนฟังอยู่) โดยเนื้อหาของเรื่องสั้นเหล่านี้สอดแทรกคติธรรมสอนใจ และประโยคที่ว่า “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” (世人眼孔浅的多,只有皮相,没有骨相) นี้ปรากฏอยู่ในบทแรกที่มีชื่อว่า ‘สองนายอำเภอถกเรื่องการแต่งงานของสตรีกำพร้า’ (两县令竞义婚孤女) สตรีกำพร้าที่กล่าวถึงคือเยวี่ยเซียงผู้กำพร้าแม่แต่เด็ก พ่อคือสือปี้เป็นนายอำเภอ ต่อมาเกิดเหตุไฟไหม้คลังหลวง ซึ่งตามกฎหมายแล้วนายอำเภอต้องถูกปลดจากตำแหน่งและต้องนำเงินส่วนตัวมาชดเชยค่าเสียหาย แต่สือปี้เป็นขุนนางตงฉินฐานะไม่ดี ไม่มีปัญญาหาเงินมาชดใช้ เครียดจนล้มป่วยตายไป เยวี่ยเซียงและแม่นมจึงถูกทางการขายในฐานะครอบครัวของนักโทษทางการเพื่อเอาเงินมาชดใช้แทน ยังดีที่มีพ่อค้านามว่าเจี่ยชางที่เคยได้รับการช่วยชีวิตจากสือปี้มาซื้อตัวทั้งสองคนกลับไป เขารับเยวี่ยเซียงเป็นลูกบุญธรรมและให้ทุกคนดูแลนางดียิ่ง ทำให้ภรรยาของเจี่ยชางอิจฉาและแอบกดขี่ข่มเหงเยวี่ยเซียงในเวลาที่เขาไม่อยู่บ้าน แต่ไม่ว่านางจะกลั่นแกล้งอย่างไรเยวี่ยเซียงก็ทนและไม่เคยคิดแค้นเคืองเพราะสำนึกในบุญคุณของเจี่ยชาง ต่อมาภรรยาของเจี่ยชางฉวยโอกาสที่เจี่ยชางเดินทางไปค้าขายต่างเมืองจัดการขายเยวี่ยเซียงและแม่นมไป เป็นโชคดีครั้งที่สองที่เยวี่ยเซียงถูกครอบครัวของนายอำเภอคนใหม่ซื้อไปเพื่อจะให้ไปเป็นสาวใช้ที่ติดตามบุตรีของตนตอนออกเรือน ซึ่งบ้านพักของนายอำเภอจงหลีก็คือบ้านเดิมที่เยวี่ยเซียงเคยอยู่เมื่อครั้งที่พ่อของนางเป็นนายอำเภอ และต่อมานายอำเภอจงหลีทราบเรื่องราวของนางก็เห็นใจรับนางเป็นลูกบุญธรรม เขาเขียนจดหมายไปหานายอำเภอเกาซึ่งเป็นนายอำเภอของอีกอำเภอหนึ่งว่าอยากจะชะลอเรื่องงานแต่งงานของลูกสาวตนและลูกชายคนโตของนายอำเภอเกาไว้ เพราะอยากจัดการให้เยวี่ยเซียงเป็นฝั่งเป็นฝาไปก่อน คุยไปคุยมานายอำเภอเกาจึงให้ลูกชายคนโตแต่งงานกับลูกสาวของนายอำเภอจงหลี และให้ลูกชายคนรองแต่งงานกับเยวี่ยเซียง จบแบบสุขนิยมอารมณ์คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ และเป็นที่มาของชื่อนิทานเรื่องนี้ แต่จริงๆ แล้วในบทนี้แบ่งเป็นนิทานสองเรื่อง โดยเรื่องของเยวี่ยเซียงนี้เป็นเรื่องที่สองและเป็นเรื่องหลัก แต่มันถูกเกริ่นนำด้วยนิทานเรื่องแรกซึ่งเป็นเรื่องของชายผู้มีนามว่าหวางเฟิ่งและลูกสาวหลานสาว และประโยค “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” ปรากฏอยู่ในนิทานเรื่องแรกนี้ ในเรื่องของหวางเฟิ่งนี้ เล่าถึงว่าพี่ชายของเขาก่อนสิ้นใจได้ฝากฝังลูกสาวคนเดียวที่กำพร้าแม่แต่เด็กให้หวางเฟิ่งช่วยดูแล พอได้อายุแต่งงานก็ให้แต่งไปตระกูลพานที่หมั้นหมายกันไว้แต่เด็ก โดยฝากเงินสินสอดทองหมั้นของลูกสาวเอาไว้ด้วย หวางเฟิ่งก็รับหลานสาวคือฉยงอิงไปเลี้ยงดูอย่างดีคู่กับลูกสาวคือฉยงเจิน อยู่มาวันหนึ่งคุณชายตระกูลพานคือพานหัวเดินทางมาเยี่ยมเยียนพร้อมกันกับเซียวหย่าซึ่งหมั้นหมายไว้แต่เด็กกับฉยงเจิน พานหัวหล่อเหลาร่ำรวย แต่เซียวหย่าฐานะยากจนและหน้าตาอัปลักษณ์ หวางเฟิ่งนั่งคิดนอนคิดก็ตัดสินใจสลับตัวเจ้าสาว ให้ฉยงเจินลูกสาวของตนแต่งไปกับพานหัว อีกทั้งยึดเอาสินสอดของฉยงอิงไปด้วย และให้ฉยงอิงแต่งงานกับเซียวหย่า พานหัวร่ำรวยแต่เละเทะไม่เอาการเอางาน ไม่ถึงสิบปีก็ผลาญทรัพย์สินของตระกูลจนหมด ไม่รู้จะเอาอะไรกินก็เลยจะพาเมียไปรับงานเป็นคนใช้ในบ้านคนอื่น หวางเฟิ่งรู้ข่าวจึงไปรับลูกสาวตนเองกลับมาและขับไล่พานหัวไป ส่วนเซียวหย่านั้น เอาการเอางาน สอบได้เป็นราชบัณฑิต ต่อมาไต่เต้าเป็นถึงเสนาบดีและฉยงอิงได้เป็นฟูเหรินขั้นที่หนึ่ง “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” จึงเป็นการกล่าวถึงหวางเฟิ่งเพื่อเป็นคติสอนใจให้มองคนที่เนื้อใน ส่วนเรื่องของเยวี่ยเซียงเป็นการเล่ากลับมุมเพื่อเป็นคติสอนใจให้ดำรงตนเป็นคนที่ดีจากเนื้อในนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/489109778_100127948 https://www.bella.tw/articles/movies&culture/31188 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/醒世恒言/768435 https://baike.baidu.com/item/两县令竞义婚孤女/7878655 https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=66907&remap=gb https://www.toutiao.com/article/7102754854845727236/ #ทุกชาติภพ #กระดูกงดงาม #เฝิงเมิ่งหลง #วรรณกรรมจีนโบราณ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 367 มุมมอง 0 รีวิว
  • การหย่าร้างในสมัยจีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ ในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> พูดถึงการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) บ่อยครั้ง ชวนให้ Storyฯ คิดถึงนิยายและซีรีส์ไม่น้อยที่กล่าวถึงการเลิกรากันด้วยวิธีต่างๆ

    วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการหย่าร้างหรือเลิกราของสามีภรรยาในจีนโบราณว่ามีกี่วิธี

    วิธีแรกคือบุรุษเป็นฝ่ายทิ้งสตรี หรือที่เรียกว่า ‘ซิว’ (休) หรือ ‘ชู’ (出) หรือ ‘ชวี่’ (去) โดยมีหลักการว่า ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ (七出,三不去) ซึ่งเป็นหลักการที่เริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) และพัฒนาขึ้นมาเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ผ่านหลายยุคหลายสมัย

    มีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึงหลักการ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ นี้โดยละเอียด เพื่อนเพจสามารถหาอ่านดูได้ Storyฯ ขอพูดแบบสรุปว่า หากภรรยาเข้าข่ายประการใดประการหนึ่งในเจ็ดประการนี้สามีและ/หรือพ่อแม่สามีสามารถขับภรรยาได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายหญิง ขอเพียงสองฝ่ายรับทราบและมีพยานลงนามรับรู้ถือว่าจบ แต่หากฝ่ายชายทิ้งเมียโดยไม่เข้าข่ายเจ็ดข้อนี้ ก็จะมีบทลงโทษตามกฎหมาย อย่างในสมัยถังคือให้ไปเป็นแรงงานหนักหนึ่งปีครึ่ง และเจ็ดประการนี้คือ (1) ไม่เชื่อฟังพ่อแม่สามี (2) ไม่มีบุตรชาย (3) คบชู้สู่ชาย (4) หึงหวงสามี (5) มีโรคร้ายหรือพิการ (6) ปากไม่ดี และ (7) ลักขโมย

    และแม้ว่าภรรยาจะเข้าข่ายเจ็ดประการนี้ แต่หากมีความจำเป็นหนึ่งในสามลักษณะนี้ กฎหมายก็ห้ามไม่ให้บุรุษทิ้งเมีย กล่าวคือ (ก) ภรรยาเมื่อถูกทิ้งและขับออกจากเรือนของสามีแล้วจะไม่มีที่ไป เช่น ตอนแต่งงานพ่อแม่ของสตรียังมีชีวิตอยู่แต่ตอนนี้เสียไปแล้ว (ข) ได้เคยร่วมไว้ทุกข์ให้พ่อแม่สามีนานสามปีแล้ว ถือว่ามีความกตัญญูอย่างยิ่งยวดจนไม่อาจขับไล่ และ (ค) สามีแต่งภรรยามาตอนยากจน พอรวยแล้วจะทิ้งเมีย ทำไม่ได้ หากใครฝ่าฝืนก็มีบทลงโทษทางกฎหมายเช่นกัน อย่างในสมัยถังคือโบยหนึ่งร้อยครั้ง

    การเลิกราแบบที่สองคือ ‘อี้เจวี๋ย’ (义绝 /ตัดสัมพันธ์) หรือการบังคับหย่าโดยอำนาจศาลหรือที่ว่าการท้องถิ่น ปรากฏครั้งแรกในประมวลกฎหมายถัง ซึ่งถูกประกาศใช้ในยุคถังเกาจง (ฮ่องเต้องค์ที่สามแห่งราชวงศ์ถัง) เมื่อปีค.ศ. 653 เป็นกรณีที่ฝ่ายหญิงถูกสามีหรือคนในบ้านสามีกระทำรุนแรง เช่น ตบตีทำร้ายร่างกายฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด บังคับให้ภรรยาไปหลับนอนกับชายอื่น เอาเมียไปขาย หรือมีการประทุษร้ายรุนแรงต่อครอบครัวจนไม่อาจอยู่ร่วมกันได้แล้ว เช่น ฆ่าพ่อแม่ของอีกฝ่าย เป็นต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงลักษณะนี้ ไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงอาจฟ้องหย่าได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีกฎหมายนี้ แม้ว่าสตรีจะร้องทุกข์เพื่อขอหย่ายังมักถูกตัดสินให้รับโทษด้วยเพราะถูกมองว่าการร้องเรียนสามีหรือครอบครัวสามีเป็นการกระทำที่ไม่ถูกจรรยาของสตรี แต่เมื่อมีกฎหมายรองรับแล้ว การบังคับหย่าจึงเป็นเส้นทางสู่อิสรภาพของสตรีวิธีหนึ่ง และเป็นการตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูลอีกด้วย

    และการเลิกราแบบสุดท้ายคือการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) ซึ่งว่ากันว่ามีปฏิบัติกันมาตั้งแต่ก่อนยุคสมัยราชวงศ์ฉิน แต่... มันไม่ได้เป็นกฎหมายบังคับใช้จวบจนสมัยถัง โดยประมวลกฎหมายแห่งถังบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อสามีภรรยาไม่พอใจซึ่งกันและกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมครองเรือนกันต่อไปได้แล้วนั้น ให้เลิกรากันได้โดยไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมาย

    แม้ว่าบทกฎหมายดังกล่าวจะถูกใช้ต่อมาอีกหลายยุคสมัย แต่ไม่มีการอธิบายหลักการนี้เพิ่มเติม และในปัจจุบันยังมีบทความวิเคราะห์ที่ให้ความคิดเห็นแตกต่างกันไปเกี่ยวกับเลิกโดยสมัครใจนี้ในบริบทของสังคมจีนโบราณ ทั้งนี้ ในบริบทของสังคมจีนโบราณ การแต่งงานถูกมองว่าเป็นการเกี่ยวดองของสองตระกูลที่ได้รับการยินยอมจากพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายและไม่ใช่เรื่องของคนสองคนเท่านั้น อย่างที่กล่าวในตอนต้น การเลิกหรือขับเมียยังสามารถทำได้โดยพ่อแม่ของฝ่ายชาย และการถูกบังคับหย่าโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นการกระทำที่ตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูล จึงเป็นที่กังขาว่า การเลิกราโดยสมัครใจเป็นการตัดสินใจร่วมของคนสองคนเท่านั้นจริงหรือ

    จะเห็นได้ว่า นับแต่สมัยถังมามีบทกฎหมายที่คุ้มครองสตรีในการสมรสมากขึ้น แต่กระนั้น บุรุษก็ยังมีทางเลือกมากกว่าสตรี โดยอาจใช้ข้ออ้างของ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ มาใช้เป็นเหตุผลในการทิ้งเมีย และหากบุรุษไม่ยินยอมเลิกรา สตรีก็หย่าขาดจากสามีไม่ได้ยกเว้นเกิดกรณีร้ายแรงพอที่จะฟ้องหย่าได้

    อย่างไรก็ดี ในยุคสมัยต่อๆ มามีการเพิ่มเติมข้ออนุโลมให้สตรีใช้เป็นเหตุผลการหย่าร้างได้อีกแต่ไม่มาก ตัวอย่างเช่น ในสมัยหมิงมีการกำหนดไว้ว่า หากสามีหายตัวไปไม่กลับบ้านนานเกินสามปี ภรรยาสามารถยกเลิกพันธะสมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยมีเอกสารราชการยืนยัน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.manmankan.com/dy2013/202401/20764.shtml
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.chinacourt.org/article/detail/2022/11/id/7011234.shtml
    https://www.legal-theory.org/?mod=info&act=view&id=21560
    http://www.legaldaily.com.cn/fxjy/content/2021-05/12/content_8503165.html
    http://law.newdu.com/uploads/202401/31/201005130115.pdf
    https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/11/id/5563896.shtml

    #ทำนองรักกังวานแดนดิน #การหย่าร้าง #เหอหลี #สาระจีน
    การหย่าร้างในสมัยจีนโบราณ สวัสดีค่ะ ในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> พูดถึงการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) บ่อยครั้ง ชวนให้ Storyฯ คิดถึงนิยายและซีรีส์ไม่น้อยที่กล่าวถึงการเลิกรากันด้วยวิธีต่างๆ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการหย่าร้างหรือเลิกราของสามีภรรยาในจีนโบราณว่ามีกี่วิธี วิธีแรกคือบุรุษเป็นฝ่ายทิ้งสตรี หรือที่เรียกว่า ‘ซิว’ (休) หรือ ‘ชู’ (出) หรือ ‘ชวี่’ (去) โดยมีหลักการว่า ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ (七出,三不去) ซึ่งเป็นหลักการที่เริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) และพัฒนาขึ้นมาเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ผ่านหลายยุคหลายสมัย มีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึงหลักการ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ นี้โดยละเอียด เพื่อนเพจสามารถหาอ่านดูได้ Storyฯ ขอพูดแบบสรุปว่า หากภรรยาเข้าข่ายประการใดประการหนึ่งในเจ็ดประการนี้สามีและ/หรือพ่อแม่สามีสามารถขับภรรยาได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายหญิง ขอเพียงสองฝ่ายรับทราบและมีพยานลงนามรับรู้ถือว่าจบ แต่หากฝ่ายชายทิ้งเมียโดยไม่เข้าข่ายเจ็ดข้อนี้ ก็จะมีบทลงโทษตามกฎหมาย อย่างในสมัยถังคือให้ไปเป็นแรงงานหนักหนึ่งปีครึ่ง และเจ็ดประการนี้คือ (1) ไม่เชื่อฟังพ่อแม่สามี (2) ไม่มีบุตรชาย (3) คบชู้สู่ชาย (4) หึงหวงสามี (5) มีโรคร้ายหรือพิการ (6) ปากไม่ดี และ (7) ลักขโมย และแม้ว่าภรรยาจะเข้าข่ายเจ็ดประการนี้ แต่หากมีความจำเป็นหนึ่งในสามลักษณะนี้ กฎหมายก็ห้ามไม่ให้บุรุษทิ้งเมีย กล่าวคือ (ก) ภรรยาเมื่อถูกทิ้งและขับออกจากเรือนของสามีแล้วจะไม่มีที่ไป เช่น ตอนแต่งงานพ่อแม่ของสตรียังมีชีวิตอยู่แต่ตอนนี้เสียไปแล้ว (ข) ได้เคยร่วมไว้ทุกข์ให้พ่อแม่สามีนานสามปีแล้ว ถือว่ามีความกตัญญูอย่างยิ่งยวดจนไม่อาจขับไล่ และ (ค) สามีแต่งภรรยามาตอนยากจน พอรวยแล้วจะทิ้งเมีย ทำไม่ได้ หากใครฝ่าฝืนก็มีบทลงโทษทางกฎหมายเช่นกัน อย่างในสมัยถังคือโบยหนึ่งร้อยครั้ง การเลิกราแบบที่สองคือ ‘อี้เจวี๋ย’ (义绝 /ตัดสัมพันธ์) หรือการบังคับหย่าโดยอำนาจศาลหรือที่ว่าการท้องถิ่น ปรากฏครั้งแรกในประมวลกฎหมายถัง ซึ่งถูกประกาศใช้ในยุคถังเกาจง (ฮ่องเต้องค์ที่สามแห่งราชวงศ์ถัง) เมื่อปีค.ศ. 653 เป็นกรณีที่ฝ่ายหญิงถูกสามีหรือคนในบ้านสามีกระทำรุนแรง เช่น ตบตีทำร้ายร่างกายฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด บังคับให้ภรรยาไปหลับนอนกับชายอื่น เอาเมียไปขาย หรือมีการประทุษร้ายรุนแรงต่อครอบครัวจนไม่อาจอยู่ร่วมกันได้แล้ว เช่น ฆ่าพ่อแม่ของอีกฝ่าย เป็นต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงลักษณะนี้ ไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงอาจฟ้องหย่าได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีกฎหมายนี้ แม้ว่าสตรีจะร้องทุกข์เพื่อขอหย่ายังมักถูกตัดสินให้รับโทษด้วยเพราะถูกมองว่าการร้องเรียนสามีหรือครอบครัวสามีเป็นการกระทำที่ไม่ถูกจรรยาของสตรี แต่เมื่อมีกฎหมายรองรับแล้ว การบังคับหย่าจึงเป็นเส้นทางสู่อิสรภาพของสตรีวิธีหนึ่ง และเป็นการตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูลอีกด้วย และการเลิกราแบบสุดท้ายคือการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) ซึ่งว่ากันว่ามีปฏิบัติกันมาตั้งแต่ก่อนยุคสมัยราชวงศ์ฉิน แต่... มันไม่ได้เป็นกฎหมายบังคับใช้จวบจนสมัยถัง โดยประมวลกฎหมายแห่งถังบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อสามีภรรยาไม่พอใจซึ่งกันและกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมครองเรือนกันต่อไปได้แล้วนั้น ให้เลิกรากันได้โดยไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมาย แม้ว่าบทกฎหมายดังกล่าวจะถูกใช้ต่อมาอีกหลายยุคสมัย แต่ไม่มีการอธิบายหลักการนี้เพิ่มเติม และในปัจจุบันยังมีบทความวิเคราะห์ที่ให้ความคิดเห็นแตกต่างกันไปเกี่ยวกับเลิกโดยสมัครใจนี้ในบริบทของสังคมจีนโบราณ ทั้งนี้ ในบริบทของสังคมจีนโบราณ การแต่งงานถูกมองว่าเป็นการเกี่ยวดองของสองตระกูลที่ได้รับการยินยอมจากพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายและไม่ใช่เรื่องของคนสองคนเท่านั้น อย่างที่กล่าวในตอนต้น การเลิกหรือขับเมียยังสามารถทำได้โดยพ่อแม่ของฝ่ายชาย และการถูกบังคับหย่าโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นการกระทำที่ตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูล จึงเป็นที่กังขาว่า การเลิกราโดยสมัครใจเป็นการตัดสินใจร่วมของคนสองคนเท่านั้นจริงหรือ จะเห็นได้ว่า นับแต่สมัยถังมามีบทกฎหมายที่คุ้มครองสตรีในการสมรสมากขึ้น แต่กระนั้น บุรุษก็ยังมีทางเลือกมากกว่าสตรี โดยอาจใช้ข้ออ้างของ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ มาใช้เป็นเหตุผลในการทิ้งเมีย และหากบุรุษไม่ยินยอมเลิกรา สตรีก็หย่าขาดจากสามีไม่ได้ยกเว้นเกิดกรณีร้ายแรงพอที่จะฟ้องหย่าได้ อย่างไรก็ดี ในยุคสมัยต่อๆ มามีการเพิ่มเติมข้ออนุโลมให้สตรีใช้เป็นเหตุผลการหย่าร้างได้อีกแต่ไม่มาก ตัวอย่างเช่น ในสมัยหมิงมีการกำหนดไว้ว่า หากสามีหายตัวไปไม่กลับบ้านนานเกินสามปี ภรรยาสามารถยกเลิกพันธะสมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยมีเอกสารราชการยืนยัน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.manmankan.com/dy2013/202401/20764.shtml Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.chinacourt.org/article/detail/2022/11/id/7011234.shtml https://www.legal-theory.org/?mod=info&act=view&id=21560 http://www.legaldaily.com.cn/fxjy/content/2021-05/12/content_8503165.html http://law.newdu.com/uploads/202401/31/201005130115.pdf https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/11/id/5563896.shtml #ทำนองรักกังวานแดนดิน #การหย่าร้าง #เหอหลี #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 379 มุมมอง 0 รีวิว
  • เวลาประหารยามอู่สามเค่อสวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับอีกเกร็ดเล็กๆ จาก เรื่อง <ดรุณควบม้าขาวเมามายลมวสันต์>ในฉากที่เริ่มการสอบชิงเข้าเป็นศิษย์ของหลี่ฉางเซิงนั้น มีการโยนป้ายคำสั่งให้เริ่มแข่ง ทำให้เยี่ยติ่งจือถึงกับหลุดปากออกมาว่าได้อารมณ์เหมือนตอนลงทัณฑ์นักโทษยามอู่สามเค่อ เลยเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ ว่า ในหลายซีรีส์เรามักเห็นเขานั่งรอเวลาประหารนักโทษกัน มันมีความนัยอย่างไรหรือไม่? Storyฯ ไปทำการบ้านมาพบว่าในสมัยจีนโบราณมีหลักเกณฑ์การเลือกเวลาประหารนักโทษค่ะยามอู่สามเค่อคือกี่โมง? ยามอู่คือช่วงเวลาระหว่าง 11.00 – 12.59น. และหนึ่งเค่อคือระยะเวลาประมาณ 15 นาที ส่วนยามอู่ที่ถูกกล่าวถึงใน ‘ยามอู่สามเค่อ’นั้น เป็นที่ถกเถียงกันไม่น้อยว่าหมายถึง ‘เข้ายามอู่’ (คือ 11.00น.) หรือ ‘ยามอู่หลัก’ (12.00น.) แต่ด้วยความนัยของเวลาประหารนักโทษ หลายข้อมูลที่หาพบจึงกล่าวว่า ‘ยามอู่สามเค่อ’ ก็คือเวลา 11.45น. นั่นเอง ถามว่าทำไมต้องเลือกเวลานี้เพื่อทำการประหารนักโทษ? เรื่องนี้เกี่ยวพันกับความเชื่อเรื่องพลังแห่งหยางและดวงวิญญาณในวัฒนธรรมจีนโบราณมีความเชื่อเรื่องตายแล้วเกิดใหม่ และก่อนจะได้ไปเกิดใหม่วิญญาณอาจวนเวียนอยู่ใกล้สถานที่ตายหรือผู้ที่สังหารตนได้ และในส่วนนักโทษที่มีโทษหนักนั้น ก็จะมีความเชื่อว่าวิญญาณเหล่านั้นจะมีแรงอาฆาตสูง ดังนั้น การเลือกเวลาประหารควรเลือกเวลาที่มีพลังหยางสูงสุดเพื่อลดทอนพลังหยินและแรงอาฆาตของวิญญาณเหล่านี้ และเวลา 11.45น. นี้เป็นเวลาที่คนโบราณเชื่อว่าแสงแดดแรงสุด พลังหยางสูงสุด คนที่ถูกฆ่าในเวลานี้ดวงวิญญาณจะถูกทำลายสิ้นไม่สามารถไปเกิดใหม่ได้และแน่นอนว่าไม่สามารถมาวนเวียนก่อกวนความสงบสุขของใครได้ นับว่าเป็นการลงทัณฑ์ที่ร้ายแรงที่สุดแล้วแต่เวลาประหารนักโทษนี้ เดิมไม่ได้เลือกเวลา 11.45น. เสมอไป ในสมัยถังและซ่งนั้น เวลาประหารนักโทษคือเวลาตะวันคล้อยก่อนเลิกงานซึ่งก็คือช่วงยามเซิน (15.00-16.59น.) เป็นนัยว่าเพื่อส่งให้เขาเหล่านั้นไปยังปรโลกได้โดยเร็ว เว้นแต่นักโทษประหารที่ก่อคดีร้ายแรงมาก จึงจะเลือกเวลา 11.45น. เพื่อไม่ให้ได้ไปผุดไปเกิด แต่ต่อมาในช่วงปลายหมิงและชิงได้เปลี่ยนแนวปฏิบัติมาใช้เวลา 11.45น. สำหรับโทษประหารทุกคน บางคนวิเคราะห์เหตุผลว่า นอกจากความเชื่อเรื่องแรงอาฆาตของดวงวิญญาณแล้ว เวลาใกล้เที่ยงนี้ยังเป็นเวลาที่เรียกคนมาชมการประหารได้มาก ยิ่งส่งเสริมการ ‘เชือดไก่ให้ลิงดู’ เพื่อให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวต่อการถูกประหารจนไม่กล้าทำความผิดทั้งนี้ ไม่ใช่ทุกวันที่จะทำการประหารนักโทษได้ ในแต่ละยุคสมัยยังมีการระบุว่าวันใดที่ห้ามทำการประหารนักโทษ อย่างเช่นในสมัยถัง ห้ามประหารนักโทษในวันขึ้น 1, 8, 14, 15 ค่ำของทุกเดือน ฯลฯ (ซึ่ง Storyฯ ก็ไม่ทราบความนัย) อีกทั้งไม่ให้ทำการประหารในยามฝนตกอีกด้วย ดังนั้น เอาจริงๆ แล้วในหนึ่งปีก็มีไม่กี่วันหรอกค่ะ ที่สามารถทำการประหารนักโทษได้ในไทยโบราณมีเลือกเวลาอย่างนี้ไหมคะ มีใครทราบบ้าง? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.qq.com/rain/a/20240724A06SDS00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/565335367_121249220 https://www.163.com/dy/article/J5AAPH670543LPNW.html https://www.sohu.com/a/820535074_121629584 https://www.zxls.com/Item/5992.aspx #ดรุณควบม้าขาวเมามายลมวสันต์ #ยามอู่สามเค่อ #เวลาประหารนักโทษ #สาระจีน
    เวลาประหารยามอู่สามเค่อสวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับอีกเกร็ดเล็กๆ จาก เรื่อง <ดรุณควบม้าขาวเมามายลมวสันต์>ในฉากที่เริ่มการสอบชิงเข้าเป็นศิษย์ของหลี่ฉางเซิงนั้น มีการโยนป้ายคำสั่งให้เริ่มแข่ง ทำให้เยี่ยติ่งจือถึงกับหลุดปากออกมาว่าได้อารมณ์เหมือนตอนลงทัณฑ์นักโทษยามอู่สามเค่อ เลยเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ ว่า ในหลายซีรีส์เรามักเห็นเขานั่งรอเวลาประหารนักโทษกัน มันมีความนัยอย่างไรหรือไม่? Storyฯ ไปทำการบ้านมาพบว่าในสมัยจีนโบราณมีหลักเกณฑ์การเลือกเวลาประหารนักโทษค่ะยามอู่สามเค่อคือกี่โมง? ยามอู่คือช่วงเวลาระหว่าง 11.00 – 12.59น. และหนึ่งเค่อคือระยะเวลาประมาณ 15 นาที ส่วนยามอู่ที่ถูกกล่าวถึงใน ‘ยามอู่สามเค่อ’นั้น เป็นที่ถกเถียงกันไม่น้อยว่าหมายถึง ‘เข้ายามอู่’ (คือ 11.00น.) หรือ ‘ยามอู่หลัก’ (12.00น.) แต่ด้วยความนัยของเวลาประหารนักโทษ หลายข้อมูลที่หาพบจึงกล่าวว่า ‘ยามอู่สามเค่อ’ ก็คือเวลา 11.45น. นั่นเอง ถามว่าทำไมต้องเลือกเวลานี้เพื่อทำการประหารนักโทษ? เรื่องนี้เกี่ยวพันกับความเชื่อเรื่องพลังแห่งหยางและดวงวิญญาณในวัฒนธรรมจีนโบราณมีความเชื่อเรื่องตายแล้วเกิดใหม่ และก่อนจะได้ไปเกิดใหม่วิญญาณอาจวนเวียนอยู่ใกล้สถานที่ตายหรือผู้ที่สังหารตนได้ และในส่วนนักโทษที่มีโทษหนักนั้น ก็จะมีความเชื่อว่าวิญญาณเหล่านั้นจะมีแรงอาฆาตสูง ดังนั้น การเลือกเวลาประหารควรเลือกเวลาที่มีพลังหยางสูงสุดเพื่อลดทอนพลังหยินและแรงอาฆาตของวิญญาณเหล่านี้ และเวลา 11.45น. นี้เป็นเวลาที่คนโบราณเชื่อว่าแสงแดดแรงสุด พลังหยางสูงสุด คนที่ถูกฆ่าในเวลานี้ดวงวิญญาณจะถูกทำลายสิ้นไม่สามารถไปเกิดใหม่ได้และแน่นอนว่าไม่สามารถมาวนเวียนก่อกวนความสงบสุขของใครได้ นับว่าเป็นการลงทัณฑ์ที่ร้ายแรงที่สุดแล้วแต่เวลาประหารนักโทษนี้ เดิมไม่ได้เลือกเวลา 11.45น. เสมอไป ในสมัยถังและซ่งนั้น เวลาประหารนักโทษคือเวลาตะวันคล้อยก่อนเลิกงานซึ่งก็คือช่วงยามเซิน (15.00-16.59น.) เป็นนัยว่าเพื่อส่งให้เขาเหล่านั้นไปยังปรโลกได้โดยเร็ว เว้นแต่นักโทษประหารที่ก่อคดีร้ายแรงมาก จึงจะเลือกเวลา 11.45น. เพื่อไม่ให้ได้ไปผุดไปเกิด แต่ต่อมาในช่วงปลายหมิงและชิงได้เปลี่ยนแนวปฏิบัติมาใช้เวลา 11.45น. สำหรับโทษประหารทุกคน บางคนวิเคราะห์เหตุผลว่า นอกจากความเชื่อเรื่องแรงอาฆาตของดวงวิญญาณแล้ว เวลาใกล้เที่ยงนี้ยังเป็นเวลาที่เรียกคนมาชมการประหารได้มาก ยิ่งส่งเสริมการ ‘เชือดไก่ให้ลิงดู’ เพื่อให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวต่อการถูกประหารจนไม่กล้าทำความผิดทั้งนี้ ไม่ใช่ทุกวันที่จะทำการประหารนักโทษได้ ในแต่ละยุคสมัยยังมีการระบุว่าวันใดที่ห้ามทำการประหารนักโทษ อย่างเช่นในสมัยถัง ห้ามประหารนักโทษในวันขึ้น 1, 8, 14, 15 ค่ำของทุกเดือน ฯลฯ (ซึ่ง Storyฯ ก็ไม่ทราบความนัย) อีกทั้งไม่ให้ทำการประหารในยามฝนตกอีกด้วย ดังนั้น เอาจริงๆ แล้วในหนึ่งปีก็มีไม่กี่วันหรอกค่ะ ที่สามารถทำการประหารนักโทษได้ในไทยโบราณมีเลือกเวลาอย่างนี้ไหมคะ มีใครทราบบ้าง? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.qq.com/rain/a/20240724A06SDS00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/565335367_121249220 https://www.163.com/dy/article/J5AAPH670543LPNW.html https://www.sohu.com/a/820535074_121629584 https://www.zxls.com/Item/5992.aspx #ดรุณควบม้าขาวเมามายลมวสันต์ #ยามอู่สามเค่อ #เวลาประหารนักโทษ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 313 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน สัปดาห์ที่แล้วคุยกันไปประโยคหนึ่ง วันนี้มาคุยต่อ ซึ่งคือบทพูดยาวที่เหยียนซิ่งกล่าวว่า “ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน”(贵者虽自贵,视之若埃尘。贱者虽自贱,重之若千钧。) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)ทั้งนี้ ‘จวิน’ เป็นหน่วยวัดน้ำหนักในสมัยโบราณ เทียบเท่าประมาณสิบห้ากิโลกรัม และ ‘พันจวิน’ เป็นการอุปมาอุปมัยว่าน้ำหนักมากมีค่ามากยิ่งนักวลีสี่วรรคนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทกวีบทที่หกจากชุดบทกวีแปดบท ‘หยงสื่อปาโส่ว’ (咏史八首) ของจั่วซือ (ค.ศ. 250-305) นักประพันธ์เลื่องชื่อในสมัยจิ้นตะวันตกจั่วซือมาจากครอบครัวขุนนางเก่าแก่แต่บิดาไม่ได้มีตำแหน่งสูงนัก เรียกได้ว่าเป็นคนจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งก็คือครอบครัวขุนนางเก่าหรือขุนนางชั้นล่างที่ไม่มีอิทธิพลหรืออำนาจทางการเมือง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนอธิบายถึงหานเหมินไปแล้ว ลองย้อนอ่านทำความเข้าใจได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02irzPP9WVBtk8DXM6MFwphMu3ngFyjoz511zYfX8rWt8zHjHrFvk2ZwRiPXWuVWUal)ในช่วงที่จิ้นอู่ตี้ (ซือหม่าเหยียน ปฐมกษัตรย์แห่งราชวงศ์จิ้น) เกณฑ์สตรีจากครอบครัวขุนนางระดับกลางถึงระดับบนเข้าวังเป็นนางในเป็นจำนวนมากนั้น น้องสาวของจั่วซือก็ถูกเกณฑ์เข้าวังเป็นสนมเช่นกัน เขาเลยย้ายเข้าเมืองหลวงลั่วหยางพร้อมครอบครัวและพยายามหาหนทางเข้ารับราชการแต่ไม่ประสบความสำเร็จ และเขาพบว่ามีความฟอนเฟะในระบบราชการไม่น้อย ต่อมาเขาใช้เวลาสิบปีประพันธ์บทความที่เรียกว่า ‘ซานตูฟู่’ (三都赋/บทประพันธ์สามนคร) โดยยกตัวอย่างของแต่ละเมืองในบทความเพื่อสะท้อนแนวคิดและหลักการบริหารบ้านเมือง ต่อมาบทความนี้ได้รับการยอมรับอย่างมากมายจนในที่สุดจั่วซือได้เข้ารับราชการเป็นบรรณารักษ์แห่งหอพระสมุดว่ากันว่ากวีแปดบทนี้เป็นผลงานช่วงแรกที่เขาเข้ามาลั่วหยางและพบทางตันในการพยายามเป็นขุนนางจนรู้สึกท้อแท้และอัดอั้นตันใจ เป็นชุดบทกวีที่สะท้อนให้เห็นสภาวะทางสังคม อุดมการณ์อันยิ่งใหญ่และความคับแค้นใจของผู้ที่มาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ในยุคสมัยที่ไม่มีการสอบราชบัณฑิต โดยบทกวีแต่ละบทเป็นการยืมเรื่องในประวัติศาสตร์มาเล่าในเชิงยกย่องสรรเสริญและบทกวีบทที่หกนี้ เป็นการสรรเสริญ ‘จิงเคอ’ ซึ่งก็คือหนึ่งในมือสังหารที่มีชื่อที่สุดของจีน ถูกส่งไปลอบสังหารจิ๋นซีฮ่องเต้ในช่วงก่อนรวบรวมแผ่นดินเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันสำเร็จ (คือต้นแบบของนักฆ่านิรนาม ‘อู๋หมิง’ ในภาพยนต์เรื่อง <Hero> ปี 2002 ของจางอี้โหมวที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ดู) ซึ่งการลอบสังหารนั้นอยู่บนความเชื่อที่ว่ากษัตริย์แคว้นฉิ๋นโหดเหี้ยมบ้าอำนาจคิดกวาดล้างทำลายแคว้นอื่น จะทำให้ผู้คนล้มตายบ้านแตกสาแหรกขาดอีกไม่น้อย บทกวีบทที่หกนี้สรุปใจความได้ประมาณว่า จิงเคอร่ำสุราสำราญใจอย่างไม่แคร์ผู้ใด อุปนิสัยใจกล้าองอาจ เป็นคนที่มีเอกลักษณ์ไม่อาจมองข้าม แม้ไม่ใช่คนจากสังคมชั้นสูงแต่กลับมีคุณค่ามากมายเพราะสละชีพเพื่อผองชน และในสายตาของจิงเคอแล้วนั้น พวกตระกูลขุนนางชั้นสูงไม่มีคุณค่าใด บทกวีนี้จึงไม่เพียงสรรเสริญจิงเคอหากยังเสียดสีถึงคนจากสังคมชั้นสูงในสมัยนั้นอีกด้วย“ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน” วลีสี่วรรคนี้ที่เหยียนซิ่งกล่าวในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉืออย่าได้ท้อใจในอุปสรรคที่ได้พบเจอ เพราะคุณค่าของคนอยู่ที่ตนเอง ไม่ใช่จากพื้นเพชาติตระกูล(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm https://m.guoxuedashi.net/shici/81367k.html https://www.gushiwen.cn/mingju/juv_d4a0651f3a21.aspxhttps://baike.baidu.com/item/左思/582418 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #จั่วซือ #บทกวีจีนโบราณ #จิงเคอ #สาระจีน
    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน สัปดาห์ที่แล้วคุยกันไปประโยคหนึ่ง วันนี้มาคุยต่อ ซึ่งคือบทพูดยาวที่เหยียนซิ่งกล่าวว่า “ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน”(贵者虽自贵,视之若埃尘。贱者虽自贱,重之若千钧。) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)ทั้งนี้ ‘จวิน’ เป็นหน่วยวัดน้ำหนักในสมัยโบราณ เทียบเท่าประมาณสิบห้ากิโลกรัม และ ‘พันจวิน’ เป็นการอุปมาอุปมัยว่าน้ำหนักมากมีค่ามากยิ่งนักวลีสี่วรรคนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทกวีบทที่หกจากชุดบทกวีแปดบท ‘หยงสื่อปาโส่ว’ (咏史八首) ของจั่วซือ (ค.ศ. 250-305) นักประพันธ์เลื่องชื่อในสมัยจิ้นตะวันตกจั่วซือมาจากครอบครัวขุนนางเก่าแก่แต่บิดาไม่ได้มีตำแหน่งสูงนัก เรียกได้ว่าเป็นคนจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งก็คือครอบครัวขุนนางเก่าหรือขุนนางชั้นล่างที่ไม่มีอิทธิพลหรืออำนาจทางการเมือง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนอธิบายถึงหานเหมินไปแล้ว ลองย้อนอ่านทำความเข้าใจได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02irzPP9WVBtk8DXM6MFwphMu3ngFyjoz511zYfX8rWt8zHjHrFvk2ZwRiPXWuVWUal)ในช่วงที่จิ้นอู่ตี้ (ซือหม่าเหยียน ปฐมกษัตรย์แห่งราชวงศ์จิ้น) เกณฑ์สตรีจากครอบครัวขุนนางระดับกลางถึงระดับบนเข้าวังเป็นนางในเป็นจำนวนมากนั้น น้องสาวของจั่วซือก็ถูกเกณฑ์เข้าวังเป็นสนมเช่นกัน เขาเลยย้ายเข้าเมืองหลวงลั่วหยางพร้อมครอบครัวและพยายามหาหนทางเข้ารับราชการแต่ไม่ประสบความสำเร็จ และเขาพบว่ามีความฟอนเฟะในระบบราชการไม่น้อย ต่อมาเขาใช้เวลาสิบปีประพันธ์บทความที่เรียกว่า ‘ซานตูฟู่’ (三都赋/บทประพันธ์สามนคร) โดยยกตัวอย่างของแต่ละเมืองในบทความเพื่อสะท้อนแนวคิดและหลักการบริหารบ้านเมือง ต่อมาบทความนี้ได้รับการยอมรับอย่างมากมายจนในที่สุดจั่วซือได้เข้ารับราชการเป็นบรรณารักษ์แห่งหอพระสมุดว่ากันว่ากวีแปดบทนี้เป็นผลงานช่วงแรกที่เขาเข้ามาลั่วหยางและพบทางตันในการพยายามเป็นขุนนางจนรู้สึกท้อแท้และอัดอั้นตันใจ เป็นชุดบทกวีที่สะท้อนให้เห็นสภาวะทางสังคม อุดมการณ์อันยิ่งใหญ่และความคับแค้นใจของผู้ที่มาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ในยุคสมัยที่ไม่มีการสอบราชบัณฑิต โดยบทกวีแต่ละบทเป็นการยืมเรื่องในประวัติศาสตร์มาเล่าในเชิงยกย่องสรรเสริญและบทกวีบทที่หกนี้ เป็นการสรรเสริญ ‘จิงเคอ’ ซึ่งก็คือหนึ่งในมือสังหารที่มีชื่อที่สุดของจีน ถูกส่งไปลอบสังหารจิ๋นซีฮ่องเต้ในช่วงก่อนรวบรวมแผ่นดินเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันสำเร็จ (คือต้นแบบของนักฆ่านิรนาม ‘อู๋หมิง’ ในภาพยนต์เรื่อง <Hero> ปี 2002 ของจางอี้โหมวที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ดู) ซึ่งการลอบสังหารนั้นอยู่บนความเชื่อที่ว่ากษัตริย์แคว้นฉิ๋นโหดเหี้ยมบ้าอำนาจคิดกวาดล้างทำลายแคว้นอื่น จะทำให้ผู้คนล้มตายบ้านแตกสาแหรกขาดอีกไม่น้อย บทกวีบทที่หกนี้สรุปใจความได้ประมาณว่า จิงเคอร่ำสุราสำราญใจอย่างไม่แคร์ผู้ใด อุปนิสัยใจกล้าองอาจ เป็นคนที่มีเอกลักษณ์ไม่อาจมองข้าม แม้ไม่ใช่คนจากสังคมชั้นสูงแต่กลับมีคุณค่ามากมายเพราะสละชีพเพื่อผองชน และในสายตาของจิงเคอแล้วนั้น พวกตระกูลขุนนางชั้นสูงไม่มีคุณค่าใด บทกวีนี้จึงไม่เพียงสรรเสริญจิงเคอหากยังเสียดสีถึงคนจากสังคมชั้นสูงในสมัยนั้นอีกด้วย“ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน” วลีสี่วรรคนี้ที่เหยียนซิ่งกล่าวในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉืออย่าได้ท้อใจในอุปสรรคที่ได้พบเจอ เพราะคุณค่าของคนอยู่ที่ตนเอง ไม่ใช่จากพื้นเพชาติตระกูล(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm https://m.guoxuedashi.net/shici/81367k.html https://www.gushiwen.cn/mingju/juv_d4a0651f3a21.aspxhttps://baike.baidu.com/item/左思/582418 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #จั่วซือ #บทกวีจีนโบราณ #จิงเคอ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 434 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ Storyฯ เคยเกริ่นไว้ว่าจริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน วันนี้มาเล่าให้ฟังค่ะเราคุยกันวันนี้ถึงประโยคแรกที่เหยียนซิ่งกล่าว ซึ่งก็คือ “แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป เดินขึ้นสูงสู่เสินโจว” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ซึ่งวรรคแรกของประโยคนี้ยกมาจากบทกวีโบราณ ความเดิมคือ ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป ข้าพเจ้าหาใช่ชาวป่าเขา’ (仰天大笑出门去,我辈岂是蓬蒿人)/ หยางเทียนต้าเซี่ยวชูเหมินชวี่ อั่วเป้ยฉี่ซื่อเผิงฮาวเหริน) โดยคำว่า ‘ชาวป่าเขา’ ในที่นี่เป็นการอุปมาอุปมัยถึงคนที่ไม่ได้รับราชการหรือชาวบ้านธรรมดา และบทกวีนี้คือ ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ (南陵别儿童入京 แปลได้ประมาณว่า อำลาเด็กๆ จากหนานหลิงเข้าเมืองหลวง) เป็นบทประพันธ์ของหลี่ไป๋ กวีเอกสมัยถังที่ได้รับการยกย่องเป็น ‘เซียนกวี’ตอนที่หลี่ไป๋แต่งกลอนบทนี้ เขามีอายุประมาณสี่สิบสองปี (ค.ศ. 742) ชีวิตผ่านอะไรมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการมีชื่อเสียงตั้งแต่วัยเยาว์ การเดินทางเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปทั่ว การใช้ชีวิตในแวดวงขุนนางและบัณฑิตแต่ไม่ได้เข้ารับราชการตามที่หวัง ชีวิตตกต่ำออกเร่ร่อนและหลบไปใช้ชีวิตทำนาอยู่ตามป่าเขา แต่ตลอดเวลาเขาไม่เคยลืมอุดมการณ์ที่จะเข้ารับราชการเพราะเขามีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมในความรู้ของตัวเอง และเชื่อว่าด้วยสติปัญญาความรู้ที่มีจะสามารถทำให้บ้านเมืองเจริญยิ่งขึ้นได้ แม้ตัวไม่อยู่ในเมืองหลวงแต่เขาไม่เคยขาดความพยายามที่จะส่งบทความให้ถึงมือของบุคคลสำคัญหลายคนโดยหวังที่จะกรุยทางให้เข้ารับราชการได้เรามักได้ยินเกี่ยวกับบทกวีของหลี่ไป๋ที่บรรยายธรรมชาติสวยงาม แต่จริงๆ แล้วหลี่ไป๋ประพันธ์บทกลอนและบทความไม่น้อยเกี่ยวกับหลักการปกครองและการบริหารบ้านเมือง โดยสอดแทรกปัญหาสังคมที่ตนได้ซึมซับมาจากการที่ได้เคยเดินทางไปหลากหลายพื้นที่และจากการได้คลุกคลีอยู่ในหลายแวดวงสังคมและหลังจากชีวิตผ่านไปอย่างขึ้นๆ ลงๆ ในที่สุดหลี่ไป๋ในวัยสี่สิบสองปีก็ได้รับพระราชโองการให้เดินทางไปเมืองหลวงเข้าเฝ้าฮ่องเต้ถังเสวียนจง และเมื่อเขาได้เข้าเฝ้าก็สามารถโต้ตอบคำถามจากฮ่องเต้ได้อย่างฉะฉาน ทั้งด้วยสำนวนคมคายและความรู้จากตำราและสิ่งที่ได้พบเห็นมา จึงได้รับการบรรจุเข้าเป็นขุนนางสังกัดสำนักหลวงฮั่นหลิน ต่อมาติดสอยห้อยตามใกล้ชิดและเป็นที่โปรดปรานขององค์ฮ่องเต้ ทว่าชีวิตทางการเมืองของหลี่ไป๋ไม่ได้สวยงามตลอดรอดฝั่ง และคงจะกล่าวได้ว่า จุดนี้เป็นจุดที่รุ่งเรืองที่สุดของเขาแล้วดังนั้น บทกวี ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ จึงสะท้อนถึงอารมณ์ดีใจและภาคภูมิใจของหลี่ไป๋ พร้อมกับความคาดหวังว่าในที่สุดตนจะได้เข้าเฝ้าองค์ฮ่องเต้ ได้เปล่งประกายความรู้ความสามารถของตนให้เป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน ความหมายเต็มๆ ของบทกลอนนี้คือกล่าวถึงบรรยากาศรื่นเริงของร่ำสุรากินมื้อใหญ่ มีเด็กๆ วิ่งเล่นห้อมล้อม ร้องรำทำเพลงกัน จากนั้นกล่าวถึงสภาพจิตใจของหลี่ไป๋ที่นึกย้อนถึงวันเวลาที่เสียไปโดยไม่ได้มีผลงานจริงจัง พร้อมกับความหวังว่าวันนี้อำลาบ้านนอกเดินทางเข้าเมืองหลวงเพื่ออุดมการณ์ และประโยคสุดท้ายแฝงไว้ด้วยความเชื่อมั่นในตัวเองว่า ‘ฉันก็มีดีนะ’ และวลีนี้ถูกยกย่องให้เป็นอีกหนึ่ง ‘วลีเด็ด’ จากวรรณกรรมจีนโบราณดังนั้น การที่เหยียนซิ่งยกวลี ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป’ นี้ขึ้นมาในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉือรู้ว่า ตราบใดที่มีความรู้ความสามารถ ขอเพียงกล้าที่จะแสดงออกไป ย่อมมีคนเห็นคุณค่า สัปดาห์มาคุยกันต่อกับประโยคที่เหลือของเหยียนซิ่งค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545 https://www.sohu.com/a/327753644_100030261 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ww.gushiju.net/ju/96744https://dugushici.com/mingju/9382https://baike.baidu.com/item/李白/1043 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #หลี่ไป๋ #สาระจีน
    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ Storyฯ เคยเกริ่นไว้ว่าจริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน วันนี้มาเล่าให้ฟังค่ะเราคุยกันวันนี้ถึงประโยคแรกที่เหยียนซิ่งกล่าว ซึ่งก็คือ “แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป เดินขึ้นสูงสู่เสินโจว” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ซึ่งวรรคแรกของประโยคนี้ยกมาจากบทกวีโบราณ ความเดิมคือ ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป ข้าพเจ้าหาใช่ชาวป่าเขา’ (仰天大笑出门去,我辈岂是蓬蒿人)/ หยางเทียนต้าเซี่ยวชูเหมินชวี่ อั่วเป้ยฉี่ซื่อเผิงฮาวเหริน) โดยคำว่า ‘ชาวป่าเขา’ ในที่นี่เป็นการอุปมาอุปมัยถึงคนที่ไม่ได้รับราชการหรือชาวบ้านธรรมดา และบทกวีนี้คือ ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ (南陵别儿童入京 แปลได้ประมาณว่า อำลาเด็กๆ จากหนานหลิงเข้าเมืองหลวง) เป็นบทประพันธ์ของหลี่ไป๋ กวีเอกสมัยถังที่ได้รับการยกย่องเป็น ‘เซียนกวี’ตอนที่หลี่ไป๋แต่งกลอนบทนี้ เขามีอายุประมาณสี่สิบสองปี (ค.ศ. 742) ชีวิตผ่านอะไรมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการมีชื่อเสียงตั้งแต่วัยเยาว์ การเดินทางเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปทั่ว การใช้ชีวิตในแวดวงขุนนางและบัณฑิตแต่ไม่ได้เข้ารับราชการตามที่หวัง ชีวิตตกต่ำออกเร่ร่อนและหลบไปใช้ชีวิตทำนาอยู่ตามป่าเขา แต่ตลอดเวลาเขาไม่เคยลืมอุดมการณ์ที่จะเข้ารับราชการเพราะเขามีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมในความรู้ของตัวเอง และเชื่อว่าด้วยสติปัญญาความรู้ที่มีจะสามารถทำให้บ้านเมืองเจริญยิ่งขึ้นได้ แม้ตัวไม่อยู่ในเมืองหลวงแต่เขาไม่เคยขาดความพยายามที่จะส่งบทความให้ถึงมือของบุคคลสำคัญหลายคนโดยหวังที่จะกรุยทางให้เข้ารับราชการได้เรามักได้ยินเกี่ยวกับบทกวีของหลี่ไป๋ที่บรรยายธรรมชาติสวยงาม แต่จริงๆ แล้วหลี่ไป๋ประพันธ์บทกลอนและบทความไม่น้อยเกี่ยวกับหลักการปกครองและการบริหารบ้านเมือง โดยสอดแทรกปัญหาสังคมที่ตนได้ซึมซับมาจากการที่ได้เคยเดินทางไปหลากหลายพื้นที่และจากการได้คลุกคลีอยู่ในหลายแวดวงสังคมและหลังจากชีวิตผ่านไปอย่างขึ้นๆ ลงๆ ในที่สุดหลี่ไป๋ในวัยสี่สิบสองปีก็ได้รับพระราชโองการให้เดินทางไปเมืองหลวงเข้าเฝ้าฮ่องเต้ถังเสวียนจง และเมื่อเขาได้เข้าเฝ้าก็สามารถโต้ตอบคำถามจากฮ่องเต้ได้อย่างฉะฉาน ทั้งด้วยสำนวนคมคายและความรู้จากตำราและสิ่งที่ได้พบเห็นมา จึงได้รับการบรรจุเข้าเป็นขุนนางสังกัดสำนักหลวงฮั่นหลิน ต่อมาติดสอยห้อยตามใกล้ชิดและเป็นที่โปรดปรานขององค์ฮ่องเต้ ทว่าชีวิตทางการเมืองของหลี่ไป๋ไม่ได้สวยงามตลอดรอดฝั่ง และคงจะกล่าวได้ว่า จุดนี้เป็นจุดที่รุ่งเรืองที่สุดของเขาแล้วดังนั้น บทกวี ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ จึงสะท้อนถึงอารมณ์ดีใจและภาคภูมิใจของหลี่ไป๋ พร้อมกับความคาดหวังว่าในที่สุดตนจะได้เข้าเฝ้าองค์ฮ่องเต้ ได้เปล่งประกายความรู้ความสามารถของตนให้เป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน ความหมายเต็มๆ ของบทกลอนนี้คือกล่าวถึงบรรยากาศรื่นเริงของร่ำสุรากินมื้อใหญ่ มีเด็กๆ วิ่งเล่นห้อมล้อม ร้องรำทำเพลงกัน จากนั้นกล่าวถึงสภาพจิตใจของหลี่ไป๋ที่นึกย้อนถึงวันเวลาที่เสียไปโดยไม่ได้มีผลงานจริงจัง พร้อมกับความหวังว่าวันนี้อำลาบ้านนอกเดินทางเข้าเมืองหลวงเพื่ออุดมการณ์ และประโยคสุดท้ายแฝงไว้ด้วยความเชื่อมั่นในตัวเองว่า ‘ฉันก็มีดีนะ’ และวลีนี้ถูกยกย่องให้เป็นอีกหนึ่ง ‘วลีเด็ด’ จากวรรณกรรมจีนโบราณดังนั้น การที่เหยียนซิ่งยกวลี ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป’ นี้ขึ้นมาในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉือรู้ว่า ตราบใดที่มีความรู้ความสามารถ ขอเพียงกล้าที่จะแสดงออกไป ย่อมมีคนเห็นคุณค่า สัปดาห์มาคุยกันต่อกับประโยคที่เหลือของเหยียนซิ่งค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545 https://www.sohu.com/a/327753644_100030261 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ww.gushiju.net/ju/96744https://dugushici.com/mingju/9382https://baike.baidu.com/item/李白/1043 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #หลี่ไป๋ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 404 มุมมอง 0 รีวิว
  • หานเหมิน ตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <ทำนองรักกังวานแดนดิน> คงจำได้ว่ามีช่วงหนึ่งที่พระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่หรือที่เรียกว่า ‘หานเหมิน’ (寒门) จริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่นกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน ไว้ Storyฯ จะทยอยมาเล่าต่อ แต่ที่วันนี้จะคุยกันคือคำว่า ‘หานเหมิน’ นี้ปัจจุบันคำว่า ‘หานเหมิน’ หมายถึงคนที่มีฐานะยากจน (‘หาน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าหนาวมากแต่หมายถึงแร้นแค้นยากจน และ ‘เหมิน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าประตูแต่หมายถึงครอบครัวหรือตระกูล) และในหลายซีรีส์ที่มีการสอบราชบัณฑิตก็ดูจะสะท้อนถึงเหล่าบัณฑิตยากไร้ที่พยายามมาสอบเพื่อสร้างอนาคตให้กับตนเอง Storyฯ ไม่ได้ดูว่าละครซับไทยหรือพากย์ไทยแปลมันไว้ว่าอย่างไร แต่จริงๆ แล้ว ‘หานเหมิน’ ในบริบทจีนโบราณแรกเริ่มเลยไม่ได้หมายถึงคนจน เพราะคำว่า ‘เหมิน’ จะใช้เรียกตระกูลที่มีกำลังทรัพย์และอิทธิพลเท่านั้น ไม่ได้เรียกครอบครัวชาวบ้านธรรมดา เราลองมาดูกันสักสองตัวอย่างตัวอย่างแรกคือเผยเหวินเซวียน พระเอกจากเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> ที่ถูกองค์หญิงหลี่หรงเรียกว่ามาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งพื้นเพของเขาคือ มาจากตระกูลที่ไม่เคยมีรับตำแหน่งสูงเกินขั้นที่ห้า แต่ก็จัดเป็นตระกูลอยู่ดีกินดี (อนึ่ง ตำแหน่งขุนนางในอดีตเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดไปตามยุคสมัยแต่โดยกรอบใหญ่การแบ่งขุนนางส่วนกลางเป็นเก้าขั้น หรือ ‘จิ๋วผิ่น’ (九品) มีมายาวนานร่วมสองพันปี) จวบจนบิดาได้เป็นถึงแม่ทัพใหญ่นำพาให้คนในตระกูลมีโอกาสย้ายเข้ามารับราชการอยู่ในเมืองหลวงอีกตัวอย่างหนึ่งคือพานฉือจากเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ซึ่งไม่แน่ใจว่ามีรายละเอียดในซีรีส์มากน้อยแค่ไหน แต่ในบทนิยายเดิมพื้นเพของเขาคือมาจากครอบครัวข้าราชการมีหน้ามีตาระดับท้องถิ่น บิดาเป็นผู้บัญชาการทหารระดับสูง จัดเป็นตระกูลที่อยู่ดีกินดี แต่เขาอยากเห็นคนที่ไม่ได้มีอิทธิพลหนุนหลังสามารถฝ่าฟันอุปสรรคเข้าไปสู่ตำแหน่งขุนนางขั้นสูงของส่วนกลางได้โดยผ่านการสอบราชบัณฑิต เขาถูกเรียกว่ามาจาก ‘หานเหมิน’ เช่นกันจากสองตัวอย่างนี้ เพื่อนเพจคงพอเดาได้แล้วว่าความหมายดั้งเดิมของ ‘หานเหมิน’ หมายถึงตระกูลขุนนางที่อิทธิพลเสื่อมถอย ไม่ได้มีอำนาจผงาดอยู่ในราชสำนัก แต่ก็จัดเป็นตระกูลที่มีหน้ามีตาพอประมาณและมีอันจะกินพอที่ลูกหลานจะมีการศึกษาที่ดี ไม่ใช่คนยากจนสิ้นไร้ไม้ตอก หลายครั้งถูกมองว่าเป็นตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' หรือ Tier 2แล้วตระกูลขุนนาง 'ชั้นหนึ่ง' หรือ Tier 1 คืออะไร? คำตอบคือ ‘สื้อเจีย’ (世家) ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อนานมาแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/373292221465743 และ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/378258494302449) ซึ่งโดยสรุปคือหมายถึงตระกูลขุนนางระดับสูงอันเก่าแก่ คนในตระกูลรับตำแหน่งขุนนางระดับสูงถึงสูงที่สุดต่อเนื่องมาหลายชั่วอายุคน ตระกูลเหล่านี้มีอิทธิพลทางการเมืองสูง (และอิทธิพลทางสังคมด้านอื่นๆ ด้วย) และในสมัยโบราณตระกูลเหล่านี้สามารถยื่นฎีกาเสนอชื่อคนในตระกูลเข้ารับตำแหน่งขุนนางได้เลย ดังนั้นในสายตาของชาวสื้อเจียที่มียศอำนาจสูงมาตลอดแล้วนั้น คนจากหานเหมินจึงต่ำต้อยกว่าเพราะมีเพียงครั้งคราวที่มีโอกาสได้รับตำแหน่งใหญ่หรืออาจเป็นเพียงตระกูลที่ ‘เคยมี’ การสอบราชบัณฑิตจึงเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้มาจากตระกูลสื้อเจียสามารถเข้ามาช่วงชิงตำแหน่งทางการเมืองได้ผ่านความรู้ความสามารถของตน แต่แน่นอนว่าหนทางนี้ไม่ได้ง่าย อย่างที่เราเห็นในหลายซีรีส์ถึงความพยายามของเหล่ากลุ่มอำนาจที่จะพยายามดำรงไว้ซึ่งอำนาจ และ Storyฯ คิดว่าเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> สะท้อนประเด็นความขัดแย้งนี้ออกมาได้ดีมาก และองค์หญิงหลี่หรงเองเคยถกถึงข้อดีข้อเสียของการรับคนจากสื้อเจียบรรจุเข้าเป็นขุนนางโดยไม่ผ่านการสอบแข่งขันด้วยการสอบราชบัณฑิตได้รับการพัฒนาถึงขีดสุดในสมัยซ่งและในยุคสมัยนี้เองที่เหล่าสื้อเจียถูกริดรอนอำนาจจนเสื่อมหายไปในที่สุด เมื่อไม่มีสื้อเจียตระกูลขุนนางชั้นหนึ่งก็ไม่มีหานเหมินตระกูลขุนนางชั้นสอง และต่อมาคำว่า ‘หานเหมิน’ จึงถูกใช้เรียกคนยากจนสัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อถึงวลีจีนที่เหยียนซิ่นใช้ปลอบพานฉือที่กล่าวถึงในย่อหน้าแรกค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/249182333_100121516 https://www.163.com/dy/article/HQT63VVA05561H1M.html https://www.sohu.com/a/576151365_121252035 https://www.lishirenwu.com/jiangxianggushi/58427.html #ทำนองรักกังวานแดนดิน #องค์หญิงใหญ่ #หานเหมิน #สื้อเจีย #ตระกูลขุนนางจีน #สาระจีน
    หานเหมิน ตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <ทำนองรักกังวานแดนดิน> คงจำได้ว่ามีช่วงหนึ่งที่พระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่หรือที่เรียกว่า ‘หานเหมิน’ (寒门) จริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่นกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน ไว้ Storyฯ จะทยอยมาเล่าต่อ แต่ที่วันนี้จะคุยกันคือคำว่า ‘หานเหมิน’ นี้ปัจจุบันคำว่า ‘หานเหมิน’ หมายถึงคนที่มีฐานะยากจน (‘หาน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าหนาวมากแต่หมายถึงแร้นแค้นยากจน และ ‘เหมิน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าประตูแต่หมายถึงครอบครัวหรือตระกูล) และในหลายซีรีส์ที่มีการสอบราชบัณฑิตก็ดูจะสะท้อนถึงเหล่าบัณฑิตยากไร้ที่พยายามมาสอบเพื่อสร้างอนาคตให้กับตนเอง Storyฯ ไม่ได้ดูว่าละครซับไทยหรือพากย์ไทยแปลมันไว้ว่าอย่างไร แต่จริงๆ แล้ว ‘หานเหมิน’ ในบริบทจีนโบราณแรกเริ่มเลยไม่ได้หมายถึงคนจน เพราะคำว่า ‘เหมิน’ จะใช้เรียกตระกูลที่มีกำลังทรัพย์และอิทธิพลเท่านั้น ไม่ได้เรียกครอบครัวชาวบ้านธรรมดา เราลองมาดูกันสักสองตัวอย่างตัวอย่างแรกคือเผยเหวินเซวียน พระเอกจากเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> ที่ถูกองค์หญิงหลี่หรงเรียกว่ามาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งพื้นเพของเขาคือ มาจากตระกูลที่ไม่เคยมีรับตำแหน่งสูงเกินขั้นที่ห้า แต่ก็จัดเป็นตระกูลอยู่ดีกินดี (อนึ่ง ตำแหน่งขุนนางในอดีตเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดไปตามยุคสมัยแต่โดยกรอบใหญ่การแบ่งขุนนางส่วนกลางเป็นเก้าขั้น หรือ ‘จิ๋วผิ่น’ (九品) มีมายาวนานร่วมสองพันปี) จวบจนบิดาได้เป็นถึงแม่ทัพใหญ่นำพาให้คนในตระกูลมีโอกาสย้ายเข้ามารับราชการอยู่ในเมืองหลวงอีกตัวอย่างหนึ่งคือพานฉือจากเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ซึ่งไม่แน่ใจว่ามีรายละเอียดในซีรีส์มากน้อยแค่ไหน แต่ในบทนิยายเดิมพื้นเพของเขาคือมาจากครอบครัวข้าราชการมีหน้ามีตาระดับท้องถิ่น บิดาเป็นผู้บัญชาการทหารระดับสูง จัดเป็นตระกูลที่อยู่ดีกินดี แต่เขาอยากเห็นคนที่ไม่ได้มีอิทธิพลหนุนหลังสามารถฝ่าฟันอุปสรรคเข้าไปสู่ตำแหน่งขุนนางขั้นสูงของส่วนกลางได้โดยผ่านการสอบราชบัณฑิต เขาถูกเรียกว่ามาจาก ‘หานเหมิน’ เช่นกันจากสองตัวอย่างนี้ เพื่อนเพจคงพอเดาได้แล้วว่าความหมายดั้งเดิมของ ‘หานเหมิน’ หมายถึงตระกูลขุนนางที่อิทธิพลเสื่อมถอย ไม่ได้มีอำนาจผงาดอยู่ในราชสำนัก แต่ก็จัดเป็นตระกูลที่มีหน้ามีตาพอประมาณและมีอันจะกินพอที่ลูกหลานจะมีการศึกษาที่ดี ไม่ใช่คนยากจนสิ้นไร้ไม้ตอก หลายครั้งถูกมองว่าเป็นตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' หรือ Tier 2แล้วตระกูลขุนนาง 'ชั้นหนึ่ง' หรือ Tier 1 คืออะไร? คำตอบคือ ‘สื้อเจีย’ (世家) ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อนานมาแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/373292221465743 และ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/378258494302449) ซึ่งโดยสรุปคือหมายถึงตระกูลขุนนางระดับสูงอันเก่าแก่ คนในตระกูลรับตำแหน่งขุนนางระดับสูงถึงสูงที่สุดต่อเนื่องมาหลายชั่วอายุคน ตระกูลเหล่านี้มีอิทธิพลทางการเมืองสูง (และอิทธิพลทางสังคมด้านอื่นๆ ด้วย) และในสมัยโบราณตระกูลเหล่านี้สามารถยื่นฎีกาเสนอชื่อคนในตระกูลเข้ารับตำแหน่งขุนนางได้เลย ดังนั้นในสายตาของชาวสื้อเจียที่มียศอำนาจสูงมาตลอดแล้วนั้น คนจากหานเหมินจึงต่ำต้อยกว่าเพราะมีเพียงครั้งคราวที่มีโอกาสได้รับตำแหน่งใหญ่หรืออาจเป็นเพียงตระกูลที่ ‘เคยมี’ การสอบราชบัณฑิตจึงเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้มาจากตระกูลสื้อเจียสามารถเข้ามาช่วงชิงตำแหน่งทางการเมืองได้ผ่านความรู้ความสามารถของตน แต่แน่นอนว่าหนทางนี้ไม่ได้ง่าย อย่างที่เราเห็นในหลายซีรีส์ถึงความพยายามของเหล่ากลุ่มอำนาจที่จะพยายามดำรงไว้ซึ่งอำนาจ และ Storyฯ คิดว่าเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> สะท้อนประเด็นความขัดแย้งนี้ออกมาได้ดีมาก และองค์หญิงหลี่หรงเองเคยถกถึงข้อดีข้อเสียของการรับคนจากสื้อเจียบรรจุเข้าเป็นขุนนางโดยไม่ผ่านการสอบแข่งขันด้วยการสอบราชบัณฑิตได้รับการพัฒนาถึงขีดสุดในสมัยซ่งและในยุคสมัยนี้เองที่เหล่าสื้อเจียถูกริดรอนอำนาจจนเสื่อมหายไปในที่สุด เมื่อไม่มีสื้อเจียตระกูลขุนนางชั้นหนึ่งก็ไม่มีหานเหมินตระกูลขุนนางชั้นสอง และต่อมาคำว่า ‘หานเหมิน’ จึงถูกใช้เรียกคนยากจนสัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อถึงวลีจีนที่เหยียนซิ่นใช้ปลอบพานฉือที่กล่าวถึงในย่อหน้าแรกค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/249182333_100121516 https://www.163.com/dy/article/HQT63VVA05561H1M.html https://www.sohu.com/a/576151365_121252035 https://www.lishirenwu.com/jiangxianggushi/58427.html #ทำนองรักกังวานแดนดิน #องค์หญิงใหญ่ #หานเหมิน #สื้อเจีย #ตระกูลขุนนางจีน #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 506 มุมมอง 0 รีวิว
  • ลี่ เสมียนหลวงโบราณวันนี้เรามาคุยกันสั้นๆ ถึงอีกเกร็ดหนึ่งจากซีรีส์เรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ เพื่อนเพจที่ได้ดูแล้วคงจำได้ว่าในตอนปลายของเรื่องนั้น ไต้เท้าฟ่านเสียนได้เดินทางไปซูโจว และเอาเงินและของที่ได้รับกำนัลจากเหล่าขุนนางท้องถิ่นไปบริจาคให้ชาวบ้านที่หนีภัยธรรมชาติมายังซูโจว ในเหตุการณ์นี้ ฟ่านเสียนมอบหมายให้เสมียนหลวงเป็นคนเอาของไปแจกจ่าย คำกล่าวของเขาคือ เสมียนไม่ใช่ขุนนาง จึงมีสถานะห่างจากชาวบ้านธรรมดาน้อยหน่อยเสมียนหลวงหรือที่เรียกว่า ‘ลี่’ (吏) นี้หากดูจากขอบเขตหน้าที่การทำงานแล้ว คงเปรียบได้กับข้าราชการพลเรือนสามัญในระบบราชการไทย แต่ ‘ลี่’ นี้ ในระบบข้าราชการของจีนโบราณมีสถานะแตกต่างกันไปตามยุคสมัย บางสมัยนับเป็นข้าราชการ บางสมัยไม่ใช่ ในเรื่อง <หาญท้าฯ> นี้ ขุนนางเรียกว่า ‘กวน’ (官) ในขณะที่ ‘ลี่’ คือเสมียน แต่จริงๆ แล้วในยุคแรกๆ ทั้งกวนและลี่ล้วนใช้กับข้าราชการเหมือนกันและมักเรียกรวมเป็นกวนลี่ และในเอกสารต่างๆ เรียกขุนนางว่าลี่ โดยหมายรวมถึงขุนนางระดับสูงด้วย ตัวอย่างเช่น เอกสารบันทึกสมัยชุนชิวที่เรียกว่าจั่วจ้วน (左传) มีการกล่าวถึงว่า ข้าหลวงตัวแทนพระองค์มีอำนาจและยศต่ำกว่า ‘ซานลี่’ (ลี่สามตำแหน่ง) ซึ่งหมายถึง ‘ซานกง’ (บางคนแปลว่าสามพระยา บางคนแปลว่าสามมหาเสนา) ซึ่งเป็นขุนนางสูงสุดสามตำแหน่งในสมัยนั้นต่อมาคำว่า ‘ลี่’ ถูกใช้เรียกข้าราชการท้องถิ่นเป็นหลัก ในสมัยฮั่นมีการวางระบบข้าราชการเพิ่มเติมและแยกข้าราชการท้องถิ่นออกเป็นสามระดับคือ กวน จ่างลี่ (长吏) และส้าวลี่ (少吏) และกำหนดเกณฑ์ว่าผู้ที่ได้รับเงินเดือนสูงกว่าข้าวสองร้อยต้านคือกวน ต่ำกว่านั้นคือลี่ เห็นได้ว่า แม้ว่าลี่ยังเป็นข้าราชการแต่จัดเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยต่อมาการแบ่งแยกระหว่างกวนและลี่มีมากขึ้นภายใต้ระบบขุนนางเก้าขั้นและเมื่อขุนนางท้องถิ่นถูกลดทอนอำนาจ ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการยกเลิกการให้เงินเดือนหลวงกับลี่และจำนวนขุนนางที่ไปประจำการท้องถิ่นมีน้อยลง จึงต้องว่าจ้างคนในพื้นที่ทำงาน กลายเป็นว่าลี่คือเสมียนรับจ้างจากข้าราชการอีกที ทำให้ในสมัยถังและซ่ง ลี่ถูกมองว่าเป็นคนชั้นล่าง การแบ่งแยกนี้ยิ่งชัดเจนขึ้นในสมัยหมิง เมื่อมีการกำหนดว่าผู้ที่ทำหน้าที่เสมียนหลวงห้ามสอบขุนนาง นั่นแปลว่า ‘ลี่’ เข้ารับราชการไม่ได้เลย ดังนั้น จากเดิมที่ลี่เป็นข้าราชการเช่นเดียวกับกวน ผ่านไปกว่าพันปีกลับกลายเป็นว่า ลี่แม้ทำงานในที่ว่าการท้องถิ่น แต่ไม่ใช่ข้าราชการ ไม่มียศขั้น ไม่มีเงินเดือนหลวงประจำตำแหน่งหากแต่ได้รับค่าจ้างตามแต่ข้าราชการท้องถิ่นจะมีงบประมาณว่าจ้าง ในยุคสมัยที่ขุนนางได้รับการยกย่องว่าเป็นชนชั้นสูงมีหน้ามีตาในสังคม จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นภาพเช่นในเรื่อง <หาญท้าฯ> ที่มีการดูถูกเสมียนหลวงว่าเป็นคนที่ต่ำต้อย และไม่แปลกว่าทำไมฟ่านเสียนจึงบอกว่า เสมียนหลวงไม่ใช่ข้าราชการและนับว่ามีสถานะใกล้ชิดกับชาวบ้านมากกว่าขุนนางในความเป็นจริง เสมียนหลวงมีความสำคัญไม่น้อยแม้ไม่ได้รับการยกย่องชูเกียรติเหมือนขุนนาง เนื่องเพราะพวกเขาเป็นเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ของที่ว่าการท้องถิ่น ดูแลงานต่างๆ ประจำวัน อาจกล่าวได้ว่างานหลายเรื่องจะถูกดองหรือไม่ขึ้นอยู่กับพวกเขา นอกจากนี้ ขุนนางที่ไปประจำการท้องถิ่นโดยปกติจะมีการโยกย้ายทุกสามปี แต่เสมียนหลวงเป็นชาวบ้านในพื้นที่ ไม่ต้องถูกโยกย้ายไปประจำการในพื้นที่อื่นและรู้ตื้นลึกหนาบางในพื้นที่ของตนเป็นอย่างดี และนี่ก็เป็นสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าฯ> จึงมีคนท้วงฟ่านเสียนว่าเหตุใดจึงไม่กลัวว่าเสมียนหลวงจะยักยอกเงิน(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ejdz.cn/download/news/n134541.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ctext.org/chun-qiu-zuo-zhuan/cheng-gong-er-nian/zhs https://web.stanford.edu/~xgzhou/zhou_16_GuanLi_EN.pdfhttps://www.sohu.com/a/574234_109477https://www.sohu.com/a/460112987_120129611 https://www.163.com/dy/article/DAJGGOVH0523F8UN.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ขุนนางจีน #เสมียนหลวง #ลี่ #กวน #สาระจีน
    ลี่ เสมียนหลวงโบราณวันนี้เรามาคุยกันสั้นๆ ถึงอีกเกร็ดหนึ่งจากซีรีส์เรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ เพื่อนเพจที่ได้ดูแล้วคงจำได้ว่าในตอนปลายของเรื่องนั้น ไต้เท้าฟ่านเสียนได้เดินทางไปซูโจว และเอาเงินและของที่ได้รับกำนัลจากเหล่าขุนนางท้องถิ่นไปบริจาคให้ชาวบ้านที่หนีภัยธรรมชาติมายังซูโจว ในเหตุการณ์นี้ ฟ่านเสียนมอบหมายให้เสมียนหลวงเป็นคนเอาของไปแจกจ่าย คำกล่าวของเขาคือ เสมียนไม่ใช่ขุนนาง จึงมีสถานะห่างจากชาวบ้านธรรมดาน้อยหน่อยเสมียนหลวงหรือที่เรียกว่า ‘ลี่’ (吏) นี้หากดูจากขอบเขตหน้าที่การทำงานแล้ว คงเปรียบได้กับข้าราชการพลเรือนสามัญในระบบราชการไทย แต่ ‘ลี่’ นี้ ในระบบข้าราชการของจีนโบราณมีสถานะแตกต่างกันไปตามยุคสมัย บางสมัยนับเป็นข้าราชการ บางสมัยไม่ใช่ ในเรื่อง <หาญท้าฯ> นี้ ขุนนางเรียกว่า ‘กวน’ (官) ในขณะที่ ‘ลี่’ คือเสมียน แต่จริงๆ แล้วในยุคแรกๆ ทั้งกวนและลี่ล้วนใช้กับข้าราชการเหมือนกันและมักเรียกรวมเป็นกวนลี่ และในเอกสารต่างๆ เรียกขุนนางว่าลี่ โดยหมายรวมถึงขุนนางระดับสูงด้วย ตัวอย่างเช่น เอกสารบันทึกสมัยชุนชิวที่เรียกว่าจั่วจ้วน (左传) มีการกล่าวถึงว่า ข้าหลวงตัวแทนพระองค์มีอำนาจและยศต่ำกว่า ‘ซานลี่’ (ลี่สามตำแหน่ง) ซึ่งหมายถึง ‘ซานกง’ (บางคนแปลว่าสามพระยา บางคนแปลว่าสามมหาเสนา) ซึ่งเป็นขุนนางสูงสุดสามตำแหน่งในสมัยนั้นต่อมาคำว่า ‘ลี่’ ถูกใช้เรียกข้าราชการท้องถิ่นเป็นหลัก ในสมัยฮั่นมีการวางระบบข้าราชการเพิ่มเติมและแยกข้าราชการท้องถิ่นออกเป็นสามระดับคือ กวน จ่างลี่ (长吏) และส้าวลี่ (少吏) และกำหนดเกณฑ์ว่าผู้ที่ได้รับเงินเดือนสูงกว่าข้าวสองร้อยต้านคือกวน ต่ำกว่านั้นคือลี่ เห็นได้ว่า แม้ว่าลี่ยังเป็นข้าราชการแต่จัดเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยต่อมาการแบ่งแยกระหว่างกวนและลี่มีมากขึ้นภายใต้ระบบขุนนางเก้าขั้นและเมื่อขุนนางท้องถิ่นถูกลดทอนอำนาจ ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการยกเลิกการให้เงินเดือนหลวงกับลี่และจำนวนขุนนางที่ไปประจำการท้องถิ่นมีน้อยลง จึงต้องว่าจ้างคนในพื้นที่ทำงาน กลายเป็นว่าลี่คือเสมียนรับจ้างจากข้าราชการอีกที ทำให้ในสมัยถังและซ่ง ลี่ถูกมองว่าเป็นคนชั้นล่าง การแบ่งแยกนี้ยิ่งชัดเจนขึ้นในสมัยหมิง เมื่อมีการกำหนดว่าผู้ที่ทำหน้าที่เสมียนหลวงห้ามสอบขุนนาง นั่นแปลว่า ‘ลี่’ เข้ารับราชการไม่ได้เลย ดังนั้น จากเดิมที่ลี่เป็นข้าราชการเช่นเดียวกับกวน ผ่านไปกว่าพันปีกลับกลายเป็นว่า ลี่แม้ทำงานในที่ว่าการท้องถิ่น แต่ไม่ใช่ข้าราชการ ไม่มียศขั้น ไม่มีเงินเดือนหลวงประจำตำแหน่งหากแต่ได้รับค่าจ้างตามแต่ข้าราชการท้องถิ่นจะมีงบประมาณว่าจ้าง ในยุคสมัยที่ขุนนางได้รับการยกย่องว่าเป็นชนชั้นสูงมีหน้ามีตาในสังคม จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นภาพเช่นในเรื่อง <หาญท้าฯ> ที่มีการดูถูกเสมียนหลวงว่าเป็นคนที่ต่ำต้อย และไม่แปลกว่าทำไมฟ่านเสียนจึงบอกว่า เสมียนหลวงไม่ใช่ข้าราชการและนับว่ามีสถานะใกล้ชิดกับชาวบ้านมากกว่าขุนนางในความเป็นจริง เสมียนหลวงมีความสำคัญไม่น้อยแม้ไม่ได้รับการยกย่องชูเกียรติเหมือนขุนนาง เนื่องเพราะพวกเขาเป็นเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ของที่ว่าการท้องถิ่น ดูแลงานต่างๆ ประจำวัน อาจกล่าวได้ว่างานหลายเรื่องจะถูกดองหรือไม่ขึ้นอยู่กับพวกเขา นอกจากนี้ ขุนนางที่ไปประจำการท้องถิ่นโดยปกติจะมีการโยกย้ายทุกสามปี แต่เสมียนหลวงเป็นชาวบ้านในพื้นที่ ไม่ต้องถูกโยกย้ายไปประจำการในพื้นที่อื่นและรู้ตื้นลึกหนาบางในพื้นที่ของตนเป็นอย่างดี และนี่ก็เป็นสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าฯ> จึงมีคนท้วงฟ่านเสียนว่าเหตุใดจึงไม่กลัวว่าเสมียนหลวงจะยักยอกเงิน(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ejdz.cn/download/news/n134541.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ctext.org/chun-qiu-zuo-zhuan/cheng-gong-er-nian/zhs https://web.stanford.edu/~xgzhou/zhou_16_GuanLi_EN.pdfhttps://www.sohu.com/a/574234_109477https://www.sohu.com/a/460112987_120129611 https://www.163.com/dy/article/DAJGGOVH0523F8UN.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ขุนนางจีน #เสมียนหลวง #ลี่ #กวน #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 387 มุมมอง 0 รีวิว
  • สำนวนจีนจาก <หาญท้าฯ 2>สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ เกี่ยวกับสำนวนจีนจากซีรีส์เรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> เพื่อนเพจที่ได้ดูแล้วอาจจำได้ว่าฮ่องเต้จัดงานชมบุปผาบนเขาและต่อมามีคนลอบปลงพระชนม์จนทำให้ฟ่านเสียนได้รับบาดเจ็บสาหัส ในช่วงตอนเตรียมงานนั้น แม่ทัพเย่มาขอให้ฟ่านเสียนช่วยสอดส่องดูแลความปลอดภัยของฮ่องเต้ โดยให้เหตุผลว่า ถ้ามีอะไรผิดพลาดเขาจะต้องรับความผิดและลูกน้องจะซวยหนักกว่า ในเวอร์ชั่นซับไทยตอนที่แม่ทัพเย่ให้เหตุผลนี้ เขาอ้ำอึ้งใช้ประโยคว่า “หญ้า... อะไรแหลกๆ… ลมพัดแรงมักพัดถึงพวกตำแหน่งล่าง” ซึ่งฟ่านเสียนเลยต่อให้จบว่า “ช้างสารชนกันหญ้าแพรกก็แหลกลาญ... ประโยคนี้ไม่ได้ใช้อย่างนี้” เพื่อนเพจที่ดูซับหรือพากย์ไทยอาจไม่สะดุดตาสะดุดหู แต่จริงๆ แล้วในเวอร์ชั่นภาษาจีนใช้อีกประโยคหนึ่ง ซึ่งสะดุดหู Storyฯ ไม่น้อยประโยคที่กล่าวถึงนี้ ในภาษาจีนก็คือ ‘เฟิงฉี่ชิงผิงจือม่อ’ (风起青萍之末) Storyฯ ขอแปลว่า ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน’ ซึ่งเป็นสำนวนจีน เป็นวรรคต้นของประโยคที่ว่า ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน สิ้นสุดกลางทุ่งหญ้า’ (风起于青萍之末,止于草莽之间) ฟังดูไพเราะ แต่มันแปลว่าอะไร?ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงที่มาว่า สำนวนนี้ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์โบราณสมัยจ้านกั๋วชื่อว่า ‘เฟิงฟู่’ (风赋 / บทประพันธ์แห่งสายลม)ของกวีนามว่าซ่งอวี้ (宋玉 ประมาณปี 290 – 222 ก่อนคริสตกาล) จากแคว้นฉู่ ซึ่งเป็นหนึ่งในแปดบทประพันธ์ชนิด ‘ฟู่’ ของจีนที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด โดย ‘ฟู่’ เป็นวรรณกรรมร้อยแก้วที่มีภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆเฟิงฟู่ ใช้สายลมเป็นตัวดำเนินเรื่อง กล่าวถึงอ๋องฉู่เซียงไปชมวิวบนหอสูง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) รู้สึกชื่นมื่นกับลมเย็นสบายและคิดว่านี่เป็นความเย็นสบายที่ชาวบ้านสามารถร่วมสัมผัสได้เหมือนกัน ไม่แบ่งแยกชนชั้นหรือความร่ำรวยแต่ซ่งอวี้ที่ติดตามไปด้วยกลับบอกว่า ลมที่อ๋องฉู่เซียงสัมผัส ย่อมไม่เหมือนกับลมที่ชาวประชาสัมผัส นั่นเป็นเพราะว่า แม้ลมเป็นอากาศที่ไหลเวียนไปได้หลายพื้นที่ แต่เพราะภูมิประเทศและสิ่งปลูกสร้างที่แตกต่าง แรงลมที่สัมผัสได้ในแต่ละพื้นที่ย่อมแตกต่างกันซ่งอวี้บอกว่า ลมที่อ๋องฉู่เซียงสัมผัส สร้างตัวจากคลื่นอากาศแผ่วเบาเหนือจอกแหน ค่อยๆ ขยายไปยังหุบเขา ก่อเกิดเป็นลมแรงพัดผ่านภูเขา โถมกระหน่ำเข้าใส่หินผาและป่าไม้ จนผ่านพ้นถึงทุ่งหญ้าแล้วจึงสงบลงกลายเป็นสายลมที่สร้างความเย็นใจ และสำนวน ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน สิ้นสุดกลางทุ่งหญ้า’ นี้จึงเป็นการนำข้อความท่อนนี้มากลั่นย่อลงเป็นสำนวนสั้นๆ ซ่งอวี้ยังบอกต่ออีกว่า ลมที่ชาวบ้านทั่วไปสัมผัสนั้นเกิดจากตรอกเล็กซอกซอย เมื่อก่อตัวแรงขึ้นก็พัดพาเอาฝุ่นทรายและของสกปรกคลุ้งกระจายเข้าสู่บ้านเรือน ลมนั้นเมื่อชาวบ้านได้สัมผัสย่อมไม่ทำให้รู้สึกสบายตัวและอาจทำให้ล้มป่วยลงได้บทประพันธ์เฟิงฟู่นี้ไพเราะสวยงามด้วยคำบรรยายถึงลักษณะของสายลมภายใต้สภาวะต่างๆ และแฝงไว้ซึ่งข้อคิดเตือนสติ เฟิงฟู่ใช้สายลมเป็นตัวเปรียบเทียบระหว่างความเกรียงไกรของกษัตริย์และความแร้นแค้นของชาวบ้านธรรมดา สะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างทางสังคมและความไม่เท่าเทียมกัน เพื่อเป็นการเตือนใจต่ออ๋องฉู่เซียงว่าอย่าได้นิ่งนอนใจกับความสบายที่ได้รับเพราะในขณะเดียวกันยังมีชาวบ้านที่ลำบากอยู่ต่อมาสำนวน ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน’ ถูกใช้เป็นการอุปมาอุปไมยว่า คลื่นอากาศแผ่วเบาเหนือจอกแหนสามารถก่อตัวขึ้นเป็นคลื่นลมแรงที่กวาดไปทั่วพื้นที่อันกว้างใหญ่ ก่อเกิดผลกระทบได้มากมาย และแน่นอนว่าสำนวนนี้ไม่ได้แปลว่า ถ้าผู้มีอำนาจล้มแล้วคนที่อยู่เบื้องล่างจะซวยได้อย่างที่แม่ทัพเย่ในซีรีส์ต้องการหมายถึง และ Storyฯ คิดว่าความหมายก็เปรียบไม่ได้กับ ‘ช้างสารชนกันหญ้าแพรกก็แหลกลาญ’ เพราะจริงๆ แล้วความหมายของสำนวนนี้พูดสั้นๆ ก็คือ Butterfly Effect --- สิ่งเล็กๆ ที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์หรือการเปลี่ยนแปลงตามมาได้มากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://m.mp.oeeee.com/a/BAAFRD000020240519954909.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/风起于青萍之末/5876137 https://www.sohu.com/a/395149302_120482984 https://baike.baidu.com/item/风赋/2482215 https://zhsc.org/work/work-58b83fd9570c350062072623.htm #หาญท้าชะตาฟ้า #บทประพันธ์จีน #ButterflyEffect #เฟิงฟู่
    สำนวนจีนจาก <หาญท้าฯ 2>สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ เกี่ยวกับสำนวนจีนจากซีรีส์เรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> เพื่อนเพจที่ได้ดูแล้วอาจจำได้ว่าฮ่องเต้จัดงานชมบุปผาบนเขาและต่อมามีคนลอบปลงพระชนม์จนทำให้ฟ่านเสียนได้รับบาดเจ็บสาหัส ในช่วงตอนเตรียมงานนั้น แม่ทัพเย่มาขอให้ฟ่านเสียนช่วยสอดส่องดูแลความปลอดภัยของฮ่องเต้ โดยให้เหตุผลว่า ถ้ามีอะไรผิดพลาดเขาจะต้องรับความผิดและลูกน้องจะซวยหนักกว่า ในเวอร์ชั่นซับไทยตอนที่แม่ทัพเย่ให้เหตุผลนี้ เขาอ้ำอึ้งใช้ประโยคว่า “หญ้า... อะไรแหลกๆ… ลมพัดแรงมักพัดถึงพวกตำแหน่งล่าง” ซึ่งฟ่านเสียนเลยต่อให้จบว่า “ช้างสารชนกันหญ้าแพรกก็แหลกลาญ... ประโยคนี้ไม่ได้ใช้อย่างนี้” เพื่อนเพจที่ดูซับหรือพากย์ไทยอาจไม่สะดุดตาสะดุดหู แต่จริงๆ แล้วในเวอร์ชั่นภาษาจีนใช้อีกประโยคหนึ่ง ซึ่งสะดุดหู Storyฯ ไม่น้อยประโยคที่กล่าวถึงนี้ ในภาษาจีนก็คือ ‘เฟิงฉี่ชิงผิงจือม่อ’ (风起青萍之末) Storyฯ ขอแปลว่า ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน’ ซึ่งเป็นสำนวนจีน เป็นวรรคต้นของประโยคที่ว่า ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน สิ้นสุดกลางทุ่งหญ้า’ (风起于青萍之末,止于草莽之间) ฟังดูไพเราะ แต่มันแปลว่าอะไร?ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงที่มาว่า สำนวนนี้ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์โบราณสมัยจ้านกั๋วชื่อว่า ‘เฟิงฟู่’ (风赋 / บทประพันธ์แห่งสายลม)ของกวีนามว่าซ่งอวี้ (宋玉 ประมาณปี 290 – 222 ก่อนคริสตกาล) จากแคว้นฉู่ ซึ่งเป็นหนึ่งในแปดบทประพันธ์ชนิด ‘ฟู่’ ของจีนที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด โดย ‘ฟู่’ เป็นวรรณกรรมร้อยแก้วที่มีภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆเฟิงฟู่ ใช้สายลมเป็นตัวดำเนินเรื่อง กล่าวถึงอ๋องฉู่เซียงไปชมวิวบนหอสูง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) รู้สึกชื่นมื่นกับลมเย็นสบายและคิดว่านี่เป็นความเย็นสบายที่ชาวบ้านสามารถร่วมสัมผัสได้เหมือนกัน ไม่แบ่งแยกชนชั้นหรือความร่ำรวยแต่ซ่งอวี้ที่ติดตามไปด้วยกลับบอกว่า ลมที่อ๋องฉู่เซียงสัมผัส ย่อมไม่เหมือนกับลมที่ชาวประชาสัมผัส นั่นเป็นเพราะว่า แม้ลมเป็นอากาศที่ไหลเวียนไปได้หลายพื้นที่ แต่เพราะภูมิประเทศและสิ่งปลูกสร้างที่แตกต่าง แรงลมที่สัมผัสได้ในแต่ละพื้นที่ย่อมแตกต่างกันซ่งอวี้บอกว่า ลมที่อ๋องฉู่เซียงสัมผัส สร้างตัวจากคลื่นอากาศแผ่วเบาเหนือจอกแหน ค่อยๆ ขยายไปยังหุบเขา ก่อเกิดเป็นลมแรงพัดผ่านภูเขา โถมกระหน่ำเข้าใส่หินผาและป่าไม้ จนผ่านพ้นถึงทุ่งหญ้าแล้วจึงสงบลงกลายเป็นสายลมที่สร้างความเย็นใจ และสำนวน ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน สิ้นสุดกลางทุ่งหญ้า’ นี้จึงเป็นการนำข้อความท่อนนี้มากลั่นย่อลงเป็นสำนวนสั้นๆ ซ่งอวี้ยังบอกต่ออีกว่า ลมที่ชาวบ้านทั่วไปสัมผัสนั้นเกิดจากตรอกเล็กซอกซอย เมื่อก่อตัวแรงขึ้นก็พัดพาเอาฝุ่นทรายและของสกปรกคลุ้งกระจายเข้าสู่บ้านเรือน ลมนั้นเมื่อชาวบ้านได้สัมผัสย่อมไม่ทำให้รู้สึกสบายตัวและอาจทำให้ล้มป่วยลงได้บทประพันธ์เฟิงฟู่นี้ไพเราะสวยงามด้วยคำบรรยายถึงลักษณะของสายลมภายใต้สภาวะต่างๆ และแฝงไว้ซึ่งข้อคิดเตือนสติ เฟิงฟู่ใช้สายลมเป็นตัวเปรียบเทียบระหว่างความเกรียงไกรของกษัตริย์และความแร้นแค้นของชาวบ้านธรรมดา สะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างทางสังคมและความไม่เท่าเทียมกัน เพื่อเป็นการเตือนใจต่ออ๋องฉู่เซียงว่าอย่าได้นิ่งนอนใจกับความสบายที่ได้รับเพราะในขณะเดียวกันยังมีชาวบ้านที่ลำบากอยู่ต่อมาสำนวน ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน’ ถูกใช้เป็นการอุปมาอุปไมยว่า คลื่นอากาศแผ่วเบาเหนือจอกแหนสามารถก่อตัวขึ้นเป็นคลื่นลมแรงที่กวาดไปทั่วพื้นที่อันกว้างใหญ่ ก่อเกิดผลกระทบได้มากมาย และแน่นอนว่าสำนวนนี้ไม่ได้แปลว่า ถ้าผู้มีอำนาจล้มแล้วคนที่อยู่เบื้องล่างจะซวยได้อย่างที่แม่ทัพเย่ในซีรีส์ต้องการหมายถึง และ Storyฯ คิดว่าความหมายก็เปรียบไม่ได้กับ ‘ช้างสารชนกันหญ้าแพรกก็แหลกลาญ’ เพราะจริงๆ แล้วความหมายของสำนวนนี้พูดสั้นๆ ก็คือ Butterfly Effect --- สิ่งเล็กๆ ที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์หรือการเปลี่ยนแปลงตามมาได้มากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://m.mp.oeeee.com/a/BAAFRD000020240519954909.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/风起于青萍之末/5876137 https://www.sohu.com/a/395149302_120482984 https://baike.baidu.com/item/风赋/2482215 https://zhsc.org/work/work-58b83fd9570c350062072623.htm #หาญท้าชะตาฟ้า #บทประพันธ์จีน #ButterflyEffect #เฟิงฟู่
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 364 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถิงจ้าง - การโบยพระราชทานสวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ถึงเรื่องราวตอนที่ผู้ตรวจการล่ายหมิงเฉิงร้องเรียนฮ่องเต้ว่าประพฤติตนไม่ถูกต้อง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) ฮ่องเต้เลย ‘ตกรางวัล’ ให้เป็นการลงทัณฑ์ด้วยการโบยพร้อมกับคำพูดที่ว่า ยอมเสื่อมเสียชื่อเสียงของตนเองเพื่อให้ผู้ตรวจการล่ายมีชื่อจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตีเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยจากหลายซีรีส์และนิยายจีน การลงทัณฑ์นี้ทั่วไปเรียกว่า ‘จ้างสิง’ (杖刑) เป็นวิธีการลงทัณฑ์ที่ถูกบัญญัติเข้าไปในกฎหมาย เพียงแต่รูปแบบและรายละเอียดอาจแตกต่างกันไปตามยุคสมัย แต่ที่วันนี้จะคุยถึงคือการโบยที่เรียกว่า ‘ถิงจ้าง’ (廷杖) ซึ่งเป็นกรณีที่เราเห็นในเรื่อง <หาญชะตาฯ 2> ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ‘จ้าง’ แปลว่าตีด้วยไม้ ส่วน ‘ถิง’ หมายถึงส่วนของพระราชวังที่ฮ่องเต้ใช้ทรงงานและประชุมกับขุนนางหรือหมายถึงราชสำนัก ดังนั้น ‘ถิงจ้าง’ จึงเป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้หมายถึงการโบยขุนนางระดับสูงหน้าพระที่นั่งและเป็นคำสั่งของฮ่องเต้เท่านั้น การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตามคำสั่งของฮ่องเต้มีมาตั้งแต่สมัยฮั่น แต่จากสมัยฮั่นจนถึงสมัยหยวนเกิดกรณีอย่างนี้น้อยมาก มันไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัวและไม่ใช่บทลงโทษตามกฎหมาย หากแต่เป็นอำนาจของฮ่องเต้ที่จะเลือกใช้ได้ตามความต้องการและสั่งลงทัณฑ์ได้เลยโดยไม่ผ่านขั้นตอนพิจารณาความผิดตามกฎหมาย ต่อมาในสมัยหมิงมีการถิงจ้างหน้าพระที่นั่งบ่อยมากโดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของราชวงศ์และมีการกำหนดกฎเกณฑ์อย่างชัดเจน จริงๆ แล้วแรกเริ่มเลย การถิงจ้างในสมัยหมิงไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อลงโทษสถานหนัก หากแต่เป็นการสร้างความอัปยศอดสูให้แก่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เพราะว่าหลักปฏิบัติแต่ไหนแต่ไรมาคือไม่ลงทัณฑ์ขุนนาง หากจะลงทัณฑ์จะปลดออกจากตำแหน่งก่อน ดังนั้น การที่ขุนนางถูกถกชุดชั้นนอกออกแล้วโบยก้นอีกทั้งทำต่อหน้าขุนนางด้วยกันนั้นจึงเป็นเรื่องอัปยศมาก ซึ่งเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นในรัชสมัยขององค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง) เป็นช่วงตอนที่เพิ่งครองราชย์ได้สักแปดปี (ค.ศ. 1376) เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องของขุนนางจากกระทรวงราชทัณฑ์นามว่าหรูไท่ซู่ เขาถวายฎีกาฉบับหนึ่งยาวถึงหมื่นกว่าอักษรร้องเรียนการขาดแคลนข้าราชการที่มีคุณภาพ ซึ่งยาวจนองค์หมิงไท่จู่ต้องให้คนอ่านให้ฟัง ฟังๆ ไปก็รู้สึกว่าน้ำเยอะเนื้อน้อย ถ้อยคำที่ใช้ก็ยิ่งฟังไม่เข้าหู อุตส่าห์เรียกให้หรู่ไท่ซู่มานั่งคุยให้ฟัง แต่ก็ทนไม่ได้กับการพูดวกไปวนมา ว่ากันว่า ยังมีถ้อยคำที่ฟังดูเหมือนยกให้บัณฑิตสูงส่งกว่าซึ่งไม่เข้าหูฮ่องเต้ที่มีพื้นเพเป็นลูกชาวนา สุดท้ายฮ่องเต้โกรธจัดเลยสั่งให้โบยก้นต่อหน้าข้าราชสำนักในท้องพระโรง ในบันทึกไม่ได้เขียนไว้ว่าโบยไปกี่ครั้ง ต่อมาภายหลังองค์หมิงไท่จู่ไตร่ตรองทบทวนเห็นว่าบางข้อเสนอของฎีกานั้นน่าสนใจจึงเอาไปใช้ จึงกลายเป็นว่าความผิดที่ทำให้หรูไท่ซู่ถูกถิงจ้างไม่ใช่เป็นเพราะสาระ แต่เป็นเพราะเขียนยาวเกินไปทำให้สิ้นเปลืองเวลาของฮ่องเต้ เนื้อหาที่เขียนได้ภายในห้าร้อยอักษรกลับเขียนยาวถึงหมื่นอักษร และเพราะเหตุการณ์นี้องค์หมิงไท่จู่จึงให้มีการกำหนดรูปแบบของการเขียนฎีกาขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้อีก การโบยเพื่อสร้างความอัปยศเป็นการแสดงอำนาจของฮ่องเต้เมื่อถูกหมิ่นหรือขัดใจโดยขุนนาง แต่กลับกลายเป็นวัฒนธรรมที่ขุนนางมองว่าการถูกถิงจ้างนี้เป็นการแสดงความกล้าหาญและเป็นสิ่งที่ควรทำ ต่อมาการถิงจ้างจึงเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นจนถึงขั้นตายได้ แน่นอนว่าการสั่งโบยได้เลยโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการไต่สวนพิพากษาตามกฎหมายก็กลายเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จที่ฮ่องเต้ใช้ควบคุมขุนนางไม่ให้กระด้างกระเดื่อง จะตีเมื่อไหร่ ตีกี่ครั้ง ตีหนักตีเบา ล้วนแล้วแต่ฮ่องเต้จะกำหนดเอง ถิงจ้างกลายเป็นภาพที่เห็นบ่อยในราชสำนักเมื่อเข้าสู่ช่วงกลางราชวงศ์หมิง สถานที่ลงทัณฑ์เปลี่ยนจากในท้องพระโรงมาเป็นริมทางเดินเข้าวังด้านประตูอู่เหมิน ซึ่งก็คือประตูด้านหน้าของวัง และถิงจ้างทวีความรุนแรงมากขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงอู่จง (ฮ่องเต้องค์ที่สิบเอ็ด) เมื่อมีการเปลี่ยนกฎไม่ให้วางเบาะรองและผู้ถูกโบยห้ามใส่กางเกง ตลอดการครองราชย์สิบหกปีขององค์หมิงอู่จงนั้น มีคนถูกถิงจ้างทั้งสิ้นกว่าหนึ่งร้อยคน ตายสิบเอ็ดคน และนี่เป็นรัชสมัยที่เริ่มใช้ถิงจ้างกับคนจากสำนักผู้ตรวจการ ในรายละเอียดมีเรื่องการใช้อำนาจเกินควรของกลุ่มขันที แต่ Storyฯ ขอไม่เล่าเพราะเรื่องยาวและออกนอกประเด็นเหตุการณ์ถิงจ้างที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์จีนเกิดขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงซื่อจง (ฮ่องเต้องค์ที่ สิบสอง) เมื่อปีค.ศ. 1525 เพราะเป็นการโบยพร้อมกันถึงหนึ่งร้อยสามสิบสี่คน มีคนตายในระหว่างโบยสิบเจ็ดคน (หมายเหตุ เรื่องจำนวนคนแตกต่างกันในหลายบทความ แต่ตัวเลขนี้ Storyฯ ใช้ตามเอกสารของพิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม)เรื่องมีอยู่ว่าฮ่องเต้หมิงซื่อจงไม่ใช่ลูกของฮ่องเต้องค์ก่อนคือฮ่องเต้หมิงอู่จง หากแต่มีศักดิ์เป็นหลานลุง ตามธรรมเนียมเมื่อหมิงซื่อจงขึ้นครองราชย์แล้วก็ต้องรับฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นพ่อ ส่วนพ่อแม่ตัวเองก็ต้องกลายเป็นน้าและน้าสะใภ้ นี่คือธรรมเนียมปฏิบัติ แต่องค์หมิงซื่อจงไม่ยอม ยืนยันจะคงไว้ว่าฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นลุง ขุนนางสองร้อยสามสิบคนคุกเข่าอ้อนวอนอยู่หน้าประตูพระที่นั่งเพื่อหวังจะบีบให้ฮ่องเต้เปลี่ยนใจ สุดท้ายขุนนางขั้นที่ห้าขึ้นไปโดนปลด ที่เหลือโดนโบยหมู่และเนรเทศ ในการถิงจ้างสมัยหมิงนั้น ผู้ที่มีหน้าที่โบยคือขันทีหรือองครักษ์เสื้อแพร ว่ากันว่าจริงจังถึงขนาดฝึกซ้อมโบยโดยใช้หุ่นฟางยัดไส้แผ่นกระเบื้องแล้วห่อด้วยกระดาษ ต้องฝึกจนสามารถตีให้กระเบื้องข้างในแตกละเอียดได้โดยที่กระดาษหุ้มข้างนอกไม่ขาด! ที่ต้องฝึกเพราะคำสั่งโบยมีสองแบบคือ ‘ตีอย่างใส่ใจ’ (用心打) และ ‘ตีอย่างจริงจัง’ (着实打) ซึ่งแบบแรกคือไม่ให้เจ็บมากและแบบหลังคือจัดเต็ม และเนื่องจากมันต้องใช้แรงมาก จะมีการเปลี่ยนคนโบยทุกๆ ห้าครั้งจากที่ Storyฯ อ่านเจอมา ไม้ที่ใช้โบยนั้นทำจากไม้เนื้อแข็งอย่างไม้เกาลัด หน้าตาของมันมีสองแบบ แบบแรกคือไม้พลองที่มีปลายแบนหน้าตาเหมือนไม้พาย แบบที่สองฟังดูโหดร้ายคือเป็นไม้พลองที่มีปลายหุ้มด้วยแผ่นเหล็กบากเป็นรอยตะปุ่มตะป่ำ เป็นที่มาว่าทำไมคนจึงถูกโบยจนเนื้อก้นเละเหวอะหวะได้ ว่ากันว่าถูกโบยสิบพลองก็ทำต้องพักติดเตียงเป็นแรมเดือนแล้ว(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://reading.udn.com/read/story/7046/7952824https://www.163.com/dy/article/J2USN6TV0517QCSB.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.dpm.org.cn/Uploads/pdf/1942/T00017_00.pdf https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_1800722 https://www.hunantoday.cn/news/xhn/202310/18872283.html https://www.sohu.com/a/771696490_121165427 https://www.sohu.com/a/773532850_121921623 https://www.163.com/dy/article/G86EPNJQ0528NB1M.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ถิงจ้าง #โบยตี #ลงทัณฑ์พระราชทาน #จูหยวนจาง
    ถิงจ้าง - การโบยพระราชทานสวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ถึงเรื่องราวตอนที่ผู้ตรวจการล่ายหมิงเฉิงร้องเรียนฮ่องเต้ว่าประพฤติตนไม่ถูกต้อง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) ฮ่องเต้เลย ‘ตกรางวัล’ ให้เป็นการลงทัณฑ์ด้วยการโบยพร้อมกับคำพูดที่ว่า ยอมเสื่อมเสียชื่อเสียงของตนเองเพื่อให้ผู้ตรวจการล่ายมีชื่อจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตีเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยจากหลายซีรีส์และนิยายจีน การลงทัณฑ์นี้ทั่วไปเรียกว่า ‘จ้างสิง’ (杖刑) เป็นวิธีการลงทัณฑ์ที่ถูกบัญญัติเข้าไปในกฎหมาย เพียงแต่รูปแบบและรายละเอียดอาจแตกต่างกันไปตามยุคสมัย แต่ที่วันนี้จะคุยถึงคือการโบยที่เรียกว่า ‘ถิงจ้าง’ (廷杖) ซึ่งเป็นกรณีที่เราเห็นในเรื่อง <หาญชะตาฯ 2> ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ‘จ้าง’ แปลว่าตีด้วยไม้ ส่วน ‘ถิง’ หมายถึงส่วนของพระราชวังที่ฮ่องเต้ใช้ทรงงานและประชุมกับขุนนางหรือหมายถึงราชสำนัก ดังนั้น ‘ถิงจ้าง’ จึงเป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้หมายถึงการโบยขุนนางระดับสูงหน้าพระที่นั่งและเป็นคำสั่งของฮ่องเต้เท่านั้น การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตามคำสั่งของฮ่องเต้มีมาตั้งแต่สมัยฮั่น แต่จากสมัยฮั่นจนถึงสมัยหยวนเกิดกรณีอย่างนี้น้อยมาก มันไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัวและไม่ใช่บทลงโทษตามกฎหมาย หากแต่เป็นอำนาจของฮ่องเต้ที่จะเลือกใช้ได้ตามความต้องการและสั่งลงทัณฑ์ได้เลยโดยไม่ผ่านขั้นตอนพิจารณาความผิดตามกฎหมาย ต่อมาในสมัยหมิงมีการถิงจ้างหน้าพระที่นั่งบ่อยมากโดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของราชวงศ์และมีการกำหนดกฎเกณฑ์อย่างชัดเจน จริงๆ แล้วแรกเริ่มเลย การถิงจ้างในสมัยหมิงไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อลงโทษสถานหนัก หากแต่เป็นการสร้างความอัปยศอดสูให้แก่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เพราะว่าหลักปฏิบัติแต่ไหนแต่ไรมาคือไม่ลงทัณฑ์ขุนนาง หากจะลงทัณฑ์จะปลดออกจากตำแหน่งก่อน ดังนั้น การที่ขุนนางถูกถกชุดชั้นนอกออกแล้วโบยก้นอีกทั้งทำต่อหน้าขุนนางด้วยกันนั้นจึงเป็นเรื่องอัปยศมาก ซึ่งเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นในรัชสมัยขององค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง) เป็นช่วงตอนที่เพิ่งครองราชย์ได้สักแปดปี (ค.ศ. 1376) เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องของขุนนางจากกระทรวงราชทัณฑ์นามว่าหรูไท่ซู่ เขาถวายฎีกาฉบับหนึ่งยาวถึงหมื่นกว่าอักษรร้องเรียนการขาดแคลนข้าราชการที่มีคุณภาพ ซึ่งยาวจนองค์หมิงไท่จู่ต้องให้คนอ่านให้ฟัง ฟังๆ ไปก็รู้สึกว่าน้ำเยอะเนื้อน้อย ถ้อยคำที่ใช้ก็ยิ่งฟังไม่เข้าหู อุตส่าห์เรียกให้หรู่ไท่ซู่มานั่งคุยให้ฟัง แต่ก็ทนไม่ได้กับการพูดวกไปวนมา ว่ากันว่า ยังมีถ้อยคำที่ฟังดูเหมือนยกให้บัณฑิตสูงส่งกว่าซึ่งไม่เข้าหูฮ่องเต้ที่มีพื้นเพเป็นลูกชาวนา สุดท้ายฮ่องเต้โกรธจัดเลยสั่งให้โบยก้นต่อหน้าข้าราชสำนักในท้องพระโรง ในบันทึกไม่ได้เขียนไว้ว่าโบยไปกี่ครั้ง ต่อมาภายหลังองค์หมิงไท่จู่ไตร่ตรองทบทวนเห็นว่าบางข้อเสนอของฎีกานั้นน่าสนใจจึงเอาไปใช้ จึงกลายเป็นว่าความผิดที่ทำให้หรูไท่ซู่ถูกถิงจ้างไม่ใช่เป็นเพราะสาระ แต่เป็นเพราะเขียนยาวเกินไปทำให้สิ้นเปลืองเวลาของฮ่องเต้ เนื้อหาที่เขียนได้ภายในห้าร้อยอักษรกลับเขียนยาวถึงหมื่นอักษร และเพราะเหตุการณ์นี้องค์หมิงไท่จู่จึงให้มีการกำหนดรูปแบบของการเขียนฎีกาขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้อีก การโบยเพื่อสร้างความอัปยศเป็นการแสดงอำนาจของฮ่องเต้เมื่อถูกหมิ่นหรือขัดใจโดยขุนนาง แต่กลับกลายเป็นวัฒนธรรมที่ขุนนางมองว่าการถูกถิงจ้างนี้เป็นการแสดงความกล้าหาญและเป็นสิ่งที่ควรทำ ต่อมาการถิงจ้างจึงเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นจนถึงขั้นตายได้ แน่นอนว่าการสั่งโบยได้เลยโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการไต่สวนพิพากษาตามกฎหมายก็กลายเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จที่ฮ่องเต้ใช้ควบคุมขุนนางไม่ให้กระด้างกระเดื่อง จะตีเมื่อไหร่ ตีกี่ครั้ง ตีหนักตีเบา ล้วนแล้วแต่ฮ่องเต้จะกำหนดเอง ถิงจ้างกลายเป็นภาพที่เห็นบ่อยในราชสำนักเมื่อเข้าสู่ช่วงกลางราชวงศ์หมิง สถานที่ลงทัณฑ์เปลี่ยนจากในท้องพระโรงมาเป็นริมทางเดินเข้าวังด้านประตูอู่เหมิน ซึ่งก็คือประตูด้านหน้าของวัง และถิงจ้างทวีความรุนแรงมากขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงอู่จง (ฮ่องเต้องค์ที่สิบเอ็ด) เมื่อมีการเปลี่ยนกฎไม่ให้วางเบาะรองและผู้ถูกโบยห้ามใส่กางเกง ตลอดการครองราชย์สิบหกปีขององค์หมิงอู่จงนั้น มีคนถูกถิงจ้างทั้งสิ้นกว่าหนึ่งร้อยคน ตายสิบเอ็ดคน และนี่เป็นรัชสมัยที่เริ่มใช้ถิงจ้างกับคนจากสำนักผู้ตรวจการ ในรายละเอียดมีเรื่องการใช้อำนาจเกินควรของกลุ่มขันที แต่ Storyฯ ขอไม่เล่าเพราะเรื่องยาวและออกนอกประเด็นเหตุการณ์ถิงจ้างที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์จีนเกิดขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงซื่อจง (ฮ่องเต้องค์ที่ สิบสอง) เมื่อปีค.ศ. 1525 เพราะเป็นการโบยพร้อมกันถึงหนึ่งร้อยสามสิบสี่คน มีคนตายในระหว่างโบยสิบเจ็ดคน (หมายเหตุ เรื่องจำนวนคนแตกต่างกันในหลายบทความ แต่ตัวเลขนี้ Storyฯ ใช้ตามเอกสารของพิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม)เรื่องมีอยู่ว่าฮ่องเต้หมิงซื่อจงไม่ใช่ลูกของฮ่องเต้องค์ก่อนคือฮ่องเต้หมิงอู่จง หากแต่มีศักดิ์เป็นหลานลุง ตามธรรมเนียมเมื่อหมิงซื่อจงขึ้นครองราชย์แล้วก็ต้องรับฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นพ่อ ส่วนพ่อแม่ตัวเองก็ต้องกลายเป็นน้าและน้าสะใภ้ นี่คือธรรมเนียมปฏิบัติ แต่องค์หมิงซื่อจงไม่ยอม ยืนยันจะคงไว้ว่าฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นลุง ขุนนางสองร้อยสามสิบคนคุกเข่าอ้อนวอนอยู่หน้าประตูพระที่นั่งเพื่อหวังจะบีบให้ฮ่องเต้เปลี่ยนใจ สุดท้ายขุนนางขั้นที่ห้าขึ้นไปโดนปลด ที่เหลือโดนโบยหมู่และเนรเทศ ในการถิงจ้างสมัยหมิงนั้น ผู้ที่มีหน้าที่โบยคือขันทีหรือองครักษ์เสื้อแพร ว่ากันว่าจริงจังถึงขนาดฝึกซ้อมโบยโดยใช้หุ่นฟางยัดไส้แผ่นกระเบื้องแล้วห่อด้วยกระดาษ ต้องฝึกจนสามารถตีให้กระเบื้องข้างในแตกละเอียดได้โดยที่กระดาษหุ้มข้างนอกไม่ขาด! ที่ต้องฝึกเพราะคำสั่งโบยมีสองแบบคือ ‘ตีอย่างใส่ใจ’ (用心打) และ ‘ตีอย่างจริงจัง’ (着实打) ซึ่งแบบแรกคือไม่ให้เจ็บมากและแบบหลังคือจัดเต็ม และเนื่องจากมันต้องใช้แรงมาก จะมีการเปลี่ยนคนโบยทุกๆ ห้าครั้งจากที่ Storyฯ อ่านเจอมา ไม้ที่ใช้โบยนั้นทำจากไม้เนื้อแข็งอย่างไม้เกาลัด หน้าตาของมันมีสองแบบ แบบแรกคือไม้พลองที่มีปลายแบนหน้าตาเหมือนไม้พาย แบบที่สองฟังดูโหดร้ายคือเป็นไม้พลองที่มีปลายหุ้มด้วยแผ่นเหล็กบากเป็นรอยตะปุ่มตะป่ำ เป็นที่มาว่าทำไมคนจึงถูกโบยจนเนื้อก้นเละเหวอะหวะได้ ว่ากันว่าถูกโบยสิบพลองก็ทำต้องพักติดเตียงเป็นแรมเดือนแล้ว(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://reading.udn.com/read/story/7046/7952824https://www.163.com/dy/article/J2USN6TV0517QCSB.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.dpm.org.cn/Uploads/pdf/1942/T00017_00.pdf https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_1800722 https://www.hunantoday.cn/news/xhn/202310/18872283.html https://www.sohu.com/a/771696490_121165427 https://www.sohu.com/a/773532850_121921623 https://www.163.com/dy/article/G86EPNJQ0528NB1M.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ถิงจ้าง #โบยตี #ลงทัณฑ์พระราชทาน #จูหยวนจาง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 532 มุมมอง 0 รีวิว
  • สุนัขเห่ากรรโชก วลีจาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ว่าเหล่าขุนนางจากสำนักผู้ตรวจการได้ร้องเรียนฟ่านเสียนว่ารับเงินสินบน และฟ่านเสียนมีปฏิกิริยาตอบกลับคือ ส่งภาพอักษรสี่ตัวให้กับสำนักผู้ตรวจการ ทำให้พวกเขายิ่งโกรธแค้นกระเหี้ยนกระหือรือจะเอาผิดฟ่านเสียนให้ได้ อักษรสี่ตัวนี้คือ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ (狺狺狂吠) ในซีรีส์พากย์ไทยแปลว่า ‘สุนัขเห่าโฮ่งๆ’ วลีนี้แปลว่าสุนัขเห่า แต่เพราะมีคำว่า ‘ขวาง’ ซึ่งแปลว่าบ้าคลั่ง มันจึงไม่ใช่สุนัขเห่าธรรมดา แต่เป็นการเห่าแบบกรรโชกแบบบ้าคลั่ง แต่ที่ดูแปลกตาสำหรับ Storyฯ คืออักษร ‘อิ๋น’ จึงลองไปหาข้อมูลดูพบว่ามันเป็นคำที่แทบไม่ค่อยเห็นในปัจจุบัน ‘อิ๋น’ มีที่มาจากบทกวีจีนโบราณที่มีชื่อว่า ‘จิ่วเปี้ยน’ (九辩 แปลได้ประมาณว่า คำถก 9 หัวข้อ) ซึ่งเป็นผลงานของซ่งอวี้ (宋玉) นักประพันธ์และขุนนางจากแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐ (มีชีวิตอยู่ช่วงปี 298-222 ก่อนคริสตกาล) เป็นบทร้อยกรองยาวกว่าสองร้อยห้าสิบวรรค เขียนขึ้นเมื่อปีที่เขาถูกปลดออกจากราชการตอนอายุห้าสิบปี เป็นวัยที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน บทกวีนี้จึงสะท้อนความรู้สึกหลากหลายโดยมีหัวข้อหลักคือความโศกเศร้าในสารทฤดู ถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบและเป็นหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อนี้เพราะสามารถชวนให้ผู้อ่านจินตนาการและมีอารมณ์ร่วมได้อย่างดีเลิศ(หมายเหตุ บทกวี ‘เติงเกา’ จากตู้ฝู่ซึ่งเป็นสุดยอดกลอนเจ็ดที่เอ่ยถึงในภาคแรกเป็นอีกหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อเดียวกันนี้ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/973244118137214)‘จิ่วเปี้ยน’ เปิดฉากมาด้วยการบรรยายความงามของฤดูใบไม้ร่วงที่ให้ความรู้สึกโศกเศร้า สะท้อนถึงความโดดเดี่ยวของคนที่ตกยากไร้ทรัพย์สินเงินทอง จากนั้นกล่าวถึงสตรีที่รักแล้วผิดหวังถูกทอดทิ้งสลับกับฉากเศร้าๆ ของสารทฤดูที่สะท้อนถึงอารมณ์ของนาง และวลีหมาเห่ากรรโชก ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ นี้มาจากฉากที่เล่าว่าสตรีผู้นี้พยายามจะเข้าไปหาคนรักแต่ถูกหมาเห่าขัดขวางไว้ไม่สามารถก้าวข้ามผ่านประตูไปได้ แต่จริงๆ แล้วฉากข้างต้นเป็นการอุปมาอุปไมยถึงคนที่พยายามเข้าหาแต่ไม่เป็นที่ต้องการ เพราะฉากถัดมากล่าวถึงคนที่พยายามทำตัวเป็นประโยชน์ ดุจขุนนางที่ต้องการรับใช้งานราชสำนัก แต่กลับไร้ซึ่งโอกาส ถูกกีดกันจากรอบด้าน ในขณะที่อำนาจตกไปอยู่ในมือที่ไม่สะอาดจนสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเมือง เป็นความโศกเศร้าของคนที่รู้สึกว่าตัวตนหายไปพร้อมกับโอกาสในชีวิตที่หายไปแล้ว ดังนั้น บทร้อยกรองนี้จึงเป็นการพัฒนาเนื้อหาอย่างต่อเนื่องจากความสดใสของธรรมชาติที่สูญหาย (lost nature) ไปสู่รักที่สูญหาย (lost love) ไปสู่ความเป็นตัวตนที่สูญหาย (lost man)ผลงานของซ่งอวี้ได้รับอิทธิพลจากกวีรุ่นก่อนคือชวีหยวน (屈原) บ้างว่าเขาเป็นศิษย์ของชวีหยวน ผลงานของพวกเขาถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของสไตล์ที่เรียกว่าจินตนิยมในวรรณกรรมจีนโบราณ กล่าวคือ ใช้การบรรยายธรรมชาติหรือวิถีชีวิตคนธรรมดาเร้าอารมณ์ และในขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงหลักความคิดหรืออุดมคติบางอย่าง แต่ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ เดิมเป็นเพียงการบรรยายถึงอาการเห่าอย่างบ้าคลั่งของสุนัข ไม่ได้มีความหมายอื่นแอบแฝง มันถูกใช้เปรียบเปรยถึงคนในเชิงดูแคลนตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่การใช้วลีนี้ในลักษณะด่าคนนี้มีตัวอย่างให้เห็นในซีรีส์ ‘สามก๊ก’ เวอร์ชั่นปี 1994 ในตอนที่ขงเบ้งด่าหวางหลาง (อองลอง) จนกระอักเลือดตาย โดยคำด่าเต็มๆ กล่าวไว้ประมาณว่า อองลองทำตัวเป็นบ่าวสองนายไม่มีผลงานใดๆ ในชีวิต ยังจะมีหน้ามาว่ากล่าวตักเตือนคน ช่างทำตัวเป็นเสมือนสุนัขขี้เรื้อนเห่ากรรโชกได้อย่างไร้ยางอายปัจจุบัน ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่โวยวายเสียงดังแต่ไร้สาระ ประหนึ่งสุนัขที่สักแต่จะเห่าไปอย่างนั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด จึงไม่แปลกที่ในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> นี้ คนจากสำนักผู้ตรวจการจึงโกรธฟ่านเสียนมากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://weibo.com/6356014463/OhILTDU5d Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/九辩/2482251 https://baike.baidu.com/item/宋玉/72945 https://www.ruanyifeng.com/blog/2006/02/post_174.html https://chuci.5000yan.com/jiubian/ #หาญท้าชะตาฟ้า #สุนัขเห่า #ซ่งอวี้ #จิ่วเปี้ยน #ฉู่ฉือ
    สุนัขเห่ากรรโชก วลีจาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ว่าเหล่าขุนนางจากสำนักผู้ตรวจการได้ร้องเรียนฟ่านเสียนว่ารับเงินสินบน และฟ่านเสียนมีปฏิกิริยาตอบกลับคือ ส่งภาพอักษรสี่ตัวให้กับสำนักผู้ตรวจการ ทำให้พวกเขายิ่งโกรธแค้นกระเหี้ยนกระหือรือจะเอาผิดฟ่านเสียนให้ได้ อักษรสี่ตัวนี้คือ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ (狺狺狂吠) ในซีรีส์พากย์ไทยแปลว่า ‘สุนัขเห่าโฮ่งๆ’ วลีนี้แปลว่าสุนัขเห่า แต่เพราะมีคำว่า ‘ขวาง’ ซึ่งแปลว่าบ้าคลั่ง มันจึงไม่ใช่สุนัขเห่าธรรมดา แต่เป็นการเห่าแบบกรรโชกแบบบ้าคลั่ง แต่ที่ดูแปลกตาสำหรับ Storyฯ คืออักษร ‘อิ๋น’ จึงลองไปหาข้อมูลดูพบว่ามันเป็นคำที่แทบไม่ค่อยเห็นในปัจจุบัน ‘อิ๋น’ มีที่มาจากบทกวีจีนโบราณที่มีชื่อว่า ‘จิ่วเปี้ยน’ (九辩 แปลได้ประมาณว่า คำถก 9 หัวข้อ) ซึ่งเป็นผลงานของซ่งอวี้ (宋玉) นักประพันธ์และขุนนางจากแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐ (มีชีวิตอยู่ช่วงปี 298-222 ก่อนคริสตกาล) เป็นบทร้อยกรองยาวกว่าสองร้อยห้าสิบวรรค เขียนขึ้นเมื่อปีที่เขาถูกปลดออกจากราชการตอนอายุห้าสิบปี เป็นวัยที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน บทกวีนี้จึงสะท้อนความรู้สึกหลากหลายโดยมีหัวข้อหลักคือความโศกเศร้าในสารทฤดู ถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบและเป็นหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อนี้เพราะสามารถชวนให้ผู้อ่านจินตนาการและมีอารมณ์ร่วมได้อย่างดีเลิศ(หมายเหตุ บทกวี ‘เติงเกา’ จากตู้ฝู่ซึ่งเป็นสุดยอดกลอนเจ็ดที่เอ่ยถึงในภาคแรกเป็นอีกหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อเดียวกันนี้ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/973244118137214)‘จิ่วเปี้ยน’ เปิดฉากมาด้วยการบรรยายความงามของฤดูใบไม้ร่วงที่ให้ความรู้สึกโศกเศร้า สะท้อนถึงความโดดเดี่ยวของคนที่ตกยากไร้ทรัพย์สินเงินทอง จากนั้นกล่าวถึงสตรีที่รักแล้วผิดหวังถูกทอดทิ้งสลับกับฉากเศร้าๆ ของสารทฤดูที่สะท้อนถึงอารมณ์ของนาง และวลีหมาเห่ากรรโชก ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ นี้มาจากฉากที่เล่าว่าสตรีผู้นี้พยายามจะเข้าไปหาคนรักแต่ถูกหมาเห่าขัดขวางไว้ไม่สามารถก้าวข้ามผ่านประตูไปได้ แต่จริงๆ แล้วฉากข้างต้นเป็นการอุปมาอุปไมยถึงคนที่พยายามเข้าหาแต่ไม่เป็นที่ต้องการ เพราะฉากถัดมากล่าวถึงคนที่พยายามทำตัวเป็นประโยชน์ ดุจขุนนางที่ต้องการรับใช้งานราชสำนัก แต่กลับไร้ซึ่งโอกาส ถูกกีดกันจากรอบด้าน ในขณะที่อำนาจตกไปอยู่ในมือที่ไม่สะอาดจนสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเมือง เป็นความโศกเศร้าของคนที่รู้สึกว่าตัวตนหายไปพร้อมกับโอกาสในชีวิตที่หายไปแล้ว ดังนั้น บทร้อยกรองนี้จึงเป็นการพัฒนาเนื้อหาอย่างต่อเนื่องจากความสดใสของธรรมชาติที่สูญหาย (lost nature) ไปสู่รักที่สูญหาย (lost love) ไปสู่ความเป็นตัวตนที่สูญหาย (lost man)ผลงานของซ่งอวี้ได้รับอิทธิพลจากกวีรุ่นก่อนคือชวีหยวน (屈原) บ้างว่าเขาเป็นศิษย์ของชวีหยวน ผลงานของพวกเขาถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของสไตล์ที่เรียกว่าจินตนิยมในวรรณกรรมจีนโบราณ กล่าวคือ ใช้การบรรยายธรรมชาติหรือวิถีชีวิตคนธรรมดาเร้าอารมณ์ และในขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงหลักความคิดหรืออุดมคติบางอย่าง แต่ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ เดิมเป็นเพียงการบรรยายถึงอาการเห่าอย่างบ้าคลั่งของสุนัข ไม่ได้มีความหมายอื่นแอบแฝง มันถูกใช้เปรียบเปรยถึงคนในเชิงดูแคลนตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่การใช้วลีนี้ในลักษณะด่าคนนี้มีตัวอย่างให้เห็นในซีรีส์ ‘สามก๊ก’ เวอร์ชั่นปี 1994 ในตอนที่ขงเบ้งด่าหวางหลาง (อองลอง) จนกระอักเลือดตาย โดยคำด่าเต็มๆ กล่าวไว้ประมาณว่า อองลองทำตัวเป็นบ่าวสองนายไม่มีผลงานใดๆ ในชีวิต ยังจะมีหน้ามาว่ากล่าวตักเตือนคน ช่างทำตัวเป็นเสมือนสุนัขขี้เรื้อนเห่ากรรโชกได้อย่างไร้ยางอายปัจจุบัน ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่โวยวายเสียงดังแต่ไร้สาระ ประหนึ่งสุนัขที่สักแต่จะเห่าไปอย่างนั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด จึงไม่แปลกที่ในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> นี้ คนจากสำนักผู้ตรวจการจึงโกรธฟ่านเสียนมากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://weibo.com/6356014463/OhILTDU5d Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/九辩/2482251 https://baike.baidu.com/item/宋玉/72945 https://www.ruanyifeng.com/blog/2006/02/post_174.html https://chuci.5000yan.com/jiubian/ #หาญท้าชะตาฟ้า #สุนัขเห่า #ซ่งอวี้ #จิ่วเปี้ยน #ฉู่ฉือ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 472 มุมมอง 0 รีวิว
  • กลอนเจ็ด ‘ชีเจวี๋ย’สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ เล่าถึงกลอนจากเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาคแรก> ที่มีชื่อว่า ‘เกาเติง’ ของตู้ฝู่ ซึ่งเป็นกลอนเจ็ดอักษรที่มีลักษณะจังหวะเฉพาะเรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ โดยคุยกันว่ากลอนบทนั้นเป็น ‘ที่สุด’ ได้อย่างไร วันนี้เรามาคุยกันถึงกลอนเจ็ดอีกประเภทหนึ่งจากเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ> เช่นกัน ซึ่งในฉากที่นางเอกและพระเอกร่ำลากันกลางทุ่งดอกคาโนลาสีเหลืองก่อนพระเอกต้องเดินทางไปยังแคว้นเป่ยฉีนั้น นางเอกบอกพระเอกว่า นางจะถือกิ่งดอกอิงฮวา (ดอกซากุระ) รอพระเอกกลับมา เชื่อว่าเพื่อนเพจคงเข้าใจจากบริบทของฉากนี้อยู่แล้วว่าดอกอิงฮวาหรือซากุระนี้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก การถือกิ่งซากุระนี้ไม่ได้ถอดวรรคมาจากบทกวี หากแต่เป็นสัญลักษณ์ที่ถูกกล่าวถึงในบทกวีที่มีชื่อว่า ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ (折枝花赠行) เป็นผลงานของกวีสมัยถังที่มีชื่อว่า หยวนเจิ่น ซึ่งเรื่องนี้ Storyฯ เคยแปลและเขียนถึงไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/686842736777355) แต่ที่จะยกมาคุยกันอีกในวันนี้คือประเด็นต่อเนื่องเรื่องกลอนเจ็ดที่มีเอกลักษณ์พิเศษ ซึ่งหากใครพลาดยังไม่ได้อ่านของสัปดาห์ที่แล้ว ควรกลับไปอ่านมาก่อนเพื่อทำความเข้าใจนะคะ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02zNLqAnmVP4BKMdSasLRsryL1cWdbRnP5fovkVQsUJovx28SGUp66Az77AR4uDcBhl) Storyฯ พูดไปในบทความที่แล้วว่า บ่อยครั้งที่เราเห็นคำแปลบทกวีจีนที่ได้ใจความและ/หรือได้ความไพเราะ เราไม่รู้เลยว่าคำแปลนั้นตกหล่นเอกลักษณ์เฉพาะทางเทคนิคการใช้คำของกลอนจีนไป บทกวี ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ ที่ Storyฯ เคยแปลไว้ก็เช่นกัน ครั้นวันนี้จะมาแปลใหม่ให้สะท้อนเอกลักษณ์เหล่านี้ก็รู้สึกว่าตัวเองความสามารถไม่ถึงกลอนเจ็ดอักษรของจีน เรียกได้ทั่วไปว่า ‘ชีเหยียน’ (七言) ไม่ได้มีข้อจำกัดว่าต้องมีเสียงพ้องเสียงคล้องจองอย่างไรหรือไม่ ยกเว้นกลอนเจ็ดสองประเภทที่มีเอกลักษณ์ทางเทคนิคเฉพาะตัวคือ (1) ‘ชีเหยียนลวี่ซือ’ (七言律诗) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ (七律) และ (2) ‘ชีเหยียนลวี่เจวี๋ย’ (七言律绝) หรือ ‘ชีเหยียนเจวี๋ยจวี้’ (七言绝句) เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีเจวี๋ย’ (七绝) (อนึ่ง คำว่า ‘ลวี่’ แปลว่ากฎกติกา)‘ชีลวี่’ และ ‘ชีเจวี๋ย’ ต่างกันอย่างไร? สัปดาห์ที่แล้วที่คุยกัน เราเห็นแล้วว่า กลอนเจ็ดชีลวี่หมายถึงกลอนเจ็ดสี่วรรคคู่ รวมแปดวรรค แต่ละวรรคมีเจ็ดอักษร มีแบบแผนจังหวะเสียงเข้มเบาที่ตายตัว โดยวรรคแรกและวรรคสุดท้ายต้องมีจังหวะเดียวกัน และวรรคหลังของประโยคกลางจะมีจังหวะเสียงเดียวกับวรรคแรกของประโยคกลางอีกประโยคหนึ่งทีนี้มาดูกลอนเจ็ดชีเจวี๋ย กันบ้างโดยใช้บทกวี ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ นี้เป็นตัวอย่าง (ดูรูปประกอบ) เราจะเห็นว่า เอกลักษณ์ทางเทคนิคเฉพาะของกลอนประเภทนี้คือ- มีเจ็ดอักษรในแต่ละวรรค แต่จะมีทั้งหมดเพียงสองวรรคคู่ รวมสี่วรรค ซึ่งเท่ากับว่ามีความยาวเพียงครึ่งเดียวของกลอนเจ็ดชีลวี่- ยังคงมีแบบแผนของจังหวะเสียงหนักเบาเหมือนกับกลอนเจ็ดชีลวี่ และมาตรฐานแบบแผนจังหวะนี้มีสี่แบบเช่นกัน- วรรคแรกและวรรคสุดท้ายของกลอนมีจังหวะเหมือนกัน เช่นเดียวกับกลอนเจ็ดชีลวี่- เนื่องจากจำนวนวรรคตรงกลางสั้นกว่าชีลวี่ ดังนั้นแบบแผนจังหวะของกลอนเจ็ดชีเจวี๋ยในวรรคที่เหลือจึงตายตัว กล่าวคือ วรรคหลังของประโยคแรกมีจังหวะเหมือนกันกับวรรคแรกของประโยคสองและสัปดาห์ที่แล้วเราคุยถึงว่ากลอนที่ดีมีหัวข้อที่ชัดเจนและทุกวรรคช่วยเสริมหัวข้อนี้ อีกทั้งมีการใช้คำที่มีความเป็นคู่ ไม่ว่าจะคู่เหมือนหรือคู่ขัดแย้ง ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะปรากฏอยู่ในกลอนเจ็ดชีเจวี๋ยนี้เช่นกันเพื่อนเพจบางท่านอาจคิดว่ากลอนเจ็ดชีลวี่ยาวกว่าจึงแต่งยากกว่า แต่จริงๆ แล้วกลับกันค่ะ จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่ากลอนเจ็ดชีเจวี๋ยมีข้อจำกัดของจังหวะเสียงมากกว่า ดังนั้น เมื่อจำนวนอักษรน้อยลง การสื่อความหมายและการสร้างลูกเล่นความเป็นคู่ภายใต้แบบแผนที่ตายตัวเช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่ยากกว่ามาก และนี่คือสาเหตุที่ว่ามันถูกเรียกว่า ‘เจวี๋ย’ ซึ่งแปลว่า ‘ที่สุด’ หรือ Ultimate นั่นเองเมื่อเอ่ยถึง สุดยอดแห่ง ‘ชีลวี่’ จะนึกถึงบทกวี ‘เกาเติง’ ที่คุยไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่หากพูดถึงสุดยอดแห่ง ‘ชีเจวี๋ย’ จะมีคำตอบที่หลากหลาย โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่ากลอนเจ็ดชีเจวี๋ยที่ดังๆ ล้วนมีคุณสมบัติครบถ้วนด้านแบบแผนจังหวะ ดังนั้นความแตกต่างจึงวัดกันที่ความกินใจของเนื้อหา ความไพเราะของภาษาที่ใช้ และลูกเล่นด้านความเป็นคู่ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่วัดกันยากมากในบริบทของอักษรเพียงสี่วรรค จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นคำตอบที่หลากหลายว่ากลอนใดเป็น ‘ที่สุด’ ของกลอนเจ็ดชีเจวี๋ย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://sail957.pixnet.net/blog/post/556471418 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/七言绝句/10272877 https://www.163.com/dy/article/FMOMPMIE0544516W.html https://m.gushici.com/t_467188 https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=35fbbd5372f3870ada7ea3d1 #หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร #กลอนเจ็ดจีนโบราณ #ชีเจวี๋ย #กวีสมัยถัง #หยวนเจิ่น #อิงฮวา
    กลอนเจ็ด ‘ชีเจวี๋ย’สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ เล่าถึงกลอนจากเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาคแรก> ที่มีชื่อว่า ‘เกาเติง’ ของตู้ฝู่ ซึ่งเป็นกลอนเจ็ดอักษรที่มีลักษณะจังหวะเฉพาะเรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ โดยคุยกันว่ากลอนบทนั้นเป็น ‘ที่สุด’ ได้อย่างไร วันนี้เรามาคุยกันถึงกลอนเจ็ดอีกประเภทหนึ่งจากเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ> เช่นกัน ซึ่งในฉากที่นางเอกและพระเอกร่ำลากันกลางทุ่งดอกคาโนลาสีเหลืองก่อนพระเอกต้องเดินทางไปยังแคว้นเป่ยฉีนั้น นางเอกบอกพระเอกว่า นางจะถือกิ่งดอกอิงฮวา (ดอกซากุระ) รอพระเอกกลับมา เชื่อว่าเพื่อนเพจคงเข้าใจจากบริบทของฉากนี้อยู่แล้วว่าดอกอิงฮวาหรือซากุระนี้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก การถือกิ่งซากุระนี้ไม่ได้ถอดวรรคมาจากบทกวี หากแต่เป็นสัญลักษณ์ที่ถูกกล่าวถึงในบทกวีที่มีชื่อว่า ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ (折枝花赠行) เป็นผลงานของกวีสมัยถังที่มีชื่อว่า หยวนเจิ่น ซึ่งเรื่องนี้ Storyฯ เคยแปลและเขียนถึงไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/686842736777355) แต่ที่จะยกมาคุยกันอีกในวันนี้คือประเด็นต่อเนื่องเรื่องกลอนเจ็ดที่มีเอกลักษณ์พิเศษ ซึ่งหากใครพลาดยังไม่ได้อ่านของสัปดาห์ที่แล้ว ควรกลับไปอ่านมาก่อนเพื่อทำความเข้าใจนะคะ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02zNLqAnmVP4BKMdSasLRsryL1cWdbRnP5fovkVQsUJovx28SGUp66Az77AR4uDcBhl) Storyฯ พูดไปในบทความที่แล้วว่า บ่อยครั้งที่เราเห็นคำแปลบทกวีจีนที่ได้ใจความและ/หรือได้ความไพเราะ เราไม่รู้เลยว่าคำแปลนั้นตกหล่นเอกลักษณ์เฉพาะทางเทคนิคการใช้คำของกลอนจีนไป บทกวี ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ ที่ Storyฯ เคยแปลไว้ก็เช่นกัน ครั้นวันนี้จะมาแปลใหม่ให้สะท้อนเอกลักษณ์เหล่านี้ก็รู้สึกว่าตัวเองความสามารถไม่ถึงกลอนเจ็ดอักษรของจีน เรียกได้ทั่วไปว่า ‘ชีเหยียน’ (七言) ไม่ได้มีข้อจำกัดว่าต้องมีเสียงพ้องเสียงคล้องจองอย่างไรหรือไม่ ยกเว้นกลอนเจ็ดสองประเภทที่มีเอกลักษณ์ทางเทคนิคเฉพาะตัวคือ (1) ‘ชีเหยียนลวี่ซือ’ (七言律诗) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ (七律) และ (2) ‘ชีเหยียนลวี่เจวี๋ย’ (七言律绝) หรือ ‘ชีเหยียนเจวี๋ยจวี้’ (七言绝句) เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีเจวี๋ย’ (七绝) (อนึ่ง คำว่า ‘ลวี่’ แปลว่ากฎกติกา)‘ชีลวี่’ และ ‘ชีเจวี๋ย’ ต่างกันอย่างไร? สัปดาห์ที่แล้วที่คุยกัน เราเห็นแล้วว่า กลอนเจ็ดชีลวี่หมายถึงกลอนเจ็ดสี่วรรคคู่ รวมแปดวรรค แต่ละวรรคมีเจ็ดอักษร มีแบบแผนจังหวะเสียงเข้มเบาที่ตายตัว โดยวรรคแรกและวรรคสุดท้ายต้องมีจังหวะเดียวกัน และวรรคหลังของประโยคกลางจะมีจังหวะเสียงเดียวกับวรรคแรกของประโยคกลางอีกประโยคหนึ่งทีนี้มาดูกลอนเจ็ดชีเจวี๋ย กันบ้างโดยใช้บทกวี ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ นี้เป็นตัวอย่าง (ดูรูปประกอบ) เราจะเห็นว่า เอกลักษณ์ทางเทคนิคเฉพาะของกลอนประเภทนี้คือ- มีเจ็ดอักษรในแต่ละวรรค แต่จะมีทั้งหมดเพียงสองวรรคคู่ รวมสี่วรรค ซึ่งเท่ากับว่ามีความยาวเพียงครึ่งเดียวของกลอนเจ็ดชีลวี่- ยังคงมีแบบแผนของจังหวะเสียงหนักเบาเหมือนกับกลอนเจ็ดชีลวี่ และมาตรฐานแบบแผนจังหวะนี้มีสี่แบบเช่นกัน- วรรคแรกและวรรคสุดท้ายของกลอนมีจังหวะเหมือนกัน เช่นเดียวกับกลอนเจ็ดชีลวี่- เนื่องจากจำนวนวรรคตรงกลางสั้นกว่าชีลวี่ ดังนั้นแบบแผนจังหวะของกลอนเจ็ดชีเจวี๋ยในวรรคที่เหลือจึงตายตัว กล่าวคือ วรรคหลังของประโยคแรกมีจังหวะเหมือนกันกับวรรคแรกของประโยคสองและสัปดาห์ที่แล้วเราคุยถึงว่ากลอนที่ดีมีหัวข้อที่ชัดเจนและทุกวรรคช่วยเสริมหัวข้อนี้ อีกทั้งมีการใช้คำที่มีความเป็นคู่ ไม่ว่าจะคู่เหมือนหรือคู่ขัดแย้ง ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะปรากฏอยู่ในกลอนเจ็ดชีเจวี๋ยนี้เช่นกันเพื่อนเพจบางท่านอาจคิดว่ากลอนเจ็ดชีลวี่ยาวกว่าจึงแต่งยากกว่า แต่จริงๆ แล้วกลับกันค่ะ จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่ากลอนเจ็ดชีเจวี๋ยมีข้อจำกัดของจังหวะเสียงมากกว่า ดังนั้น เมื่อจำนวนอักษรน้อยลง การสื่อความหมายและการสร้างลูกเล่นความเป็นคู่ภายใต้แบบแผนที่ตายตัวเช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่ยากกว่ามาก และนี่คือสาเหตุที่ว่ามันถูกเรียกว่า ‘เจวี๋ย’ ซึ่งแปลว่า ‘ที่สุด’ หรือ Ultimate นั่นเองเมื่อเอ่ยถึง สุดยอดแห่ง ‘ชีลวี่’ จะนึกถึงบทกวี ‘เกาเติง’ ที่คุยไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่หากพูดถึงสุดยอดแห่ง ‘ชีเจวี๋ย’ จะมีคำตอบที่หลากหลาย โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่ากลอนเจ็ดชีเจวี๋ยที่ดังๆ ล้วนมีคุณสมบัติครบถ้วนด้านแบบแผนจังหวะ ดังนั้นความแตกต่างจึงวัดกันที่ความกินใจของเนื้อหา ความไพเราะของภาษาที่ใช้ และลูกเล่นด้านความเป็นคู่ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่วัดกันยากมากในบริบทของอักษรเพียงสี่วรรค จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นคำตอบที่หลากหลายว่ากลอนใดเป็น ‘ที่สุด’ ของกลอนเจ็ดชีเจวี๋ย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://sail957.pixnet.net/blog/post/556471418 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/七言绝句/10272877 https://www.163.com/dy/article/FMOMPMIE0544516W.html https://m.gushici.com/t_467188 https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=35fbbd5372f3870ada7ea3d1 #หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร #กลอนเจ็ดจีนโบราณ #ชีเจวี๋ย #กวีสมัยถัง #หยวนเจิ่น #อิงฮวา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 488 มุมมอง 0 รีวิว
  • สุดยอดกลอนเจ็ด ‘ชีลวี่’ จาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค1>สวัสดีค่ะ Storyฯ ย้อนกลับไปดูภาคแรกของ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร> เพื่อทวนความทรงจำรอดูภาคสอง เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูภาคแรกนี้ต้องจำได้ว่าในงานสังสรรค์ชมบทกวี พระเอกได้ยืมกลอนจากกวีเอกตู้ฝู่มาใช้โดยมั่นใจว่าจะไม่มีใครสามารถแต่งกลอนที่ดีกว่าได้เพราะกลอนบทนี้ของตู้ฝู่ถูกยกย่องให้เป็น ‘ที่สุด’ Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจทั้งหลายที่เคยได้ยินคำแปลของกลอนบทนี้คง ‘เอ๊ะ’ เหมือนกันว่ามันเป็น ‘ที่สุด’ อย่างไร วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กันก่อนอื่นขอแนะนำเกี่ยวกับกวีตู้ฝู่และกลอนบทนี้ กวีตู้ฝู่เป็นกวีเอกสมัยถัง (ค.ศ. 712–770) ถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดกวีและถูกขนานนามว่า ‘ราชันกวี’ และกลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เติงเกา’ (登高 แปลว่าปีนขึ้นที่สูง) เบื้องหลังของกลอนนี้คือ เป็นช่วงปี ค.ศ. 766 ซึ่งผ่านเหตุการณ์กบฏอันลู่ซานไปได้หลายปีแล้วแต่บ้านเมืองยังไม่สงบ สหายต่างสิ้นชีพกันไปเกือบหมด ตัวตู้ฝู่เองก็มีโรครุมเร้า เดิมอาศัยใต้ร่มบารมีของเหยียนอู่ เมื่อสิ้นเหยียนอู่ก็ไร้ที่พึ่งพาจำต้องเดินทางจากเมืองหลวงไป ตอนที่ตู้ฝู่แต่งกลอนบทนี้คือช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่เขาแวะพักฟื้นที่เขตขุยโจว (ปัจจุบันใกล้ฉงชิ่ง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแยงซีเกียง หรือฉางเจียงที่กล่าวถึงในบทกลอน) วันหนึ่งเขาปีนขึ้นหอสูงนอกเมืองไป๋ตี้ มองทิวทัศน์ก็รำลึกถึงอดีตและรู้สึกสะท้อนใจกับชีวิตที่ต้องระหกระเหินแม้ร่างกายเจ็บป่วย กลอนบทนี้สี่วรรคแรกจึงบรรยายถึงความงามแบบเศร้าๆ ของทิวทัศน์ในฤดูใบไม้เปลี่ยนสี สี่วรรคสุดท้ายบรรยายถึงสภาพตนเองที่มีแต่ความโศกเศร้าเป็นเพื่อน แม้แต่จะกินเหล้าดับทุกข์ก็ยังทำไม่ได้เพราะว่าร่างกายไม่เอื้ออำนวย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาคแรก> จึงมีฉากที่มีคนถามว่า พระเอกอายุยังน้อยจะสามารถแต่งกลอนที่แฝงด้วยความทุกข์ความเศร้าของคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวในชีวิตมาได้อย่างไรกลอนบทนี้ถูกยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดอักษรที่มีลักษณะเฉพาะ หรือที่เรียกว่า ‘ชีเหยียนลวี่ซือ’ (七言律诗) เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ (七律) ที่บอกว่ามีลักษณะเฉพาะเพราะว่ากลอนเจ็ดชีลวี่นี้หมายถึงกลอนเจ็ดสี่วรรคคู่ รวมแปดวรรค แต่ละวรรคมีเจ็ดอักษร มีแบบแผนจังหวะเสียงที่ตายตัว ทีนี้เรามาดูกันว่ามันเป็น ‘สุดยอด’ อย่างไรประเด็นแรกคือ หัวข้อ --- กลอนที่ดีจะพัฒนาถ้อยคำขึ้นรอบๆ หัวข้อของกลอน ในที่นี้หัวข้อคือ ความเศร้าของสารทฤดู ภาพทิวทัศน์คือใบไม้เปลี่ยนสีและธรรมชาติที่แฝงด้วยความเศร้า ความในใจคือความโศกเศร้าเชื่อมโยงกับสารทฤดู ทุกวรรคทุกประโยคล้วนส่งเสริมหัวข้อนี้แต่บรรยายให้เห็นราวภาพวาด แต่ข้อจำกัดของกลอนเจ็ดชีลวี่คือพอเข้าประโยคที่สามต้องเปลี่ยนเรื่อง... ใช่ค่ะ เปลี่ยนเรื่องโดยไม่หลุดจากหัวข้อ ดังนั้นเราจึงเห็นสองประโยคแรกเป็นการบรรยายทิวทัศน์ และประโยคสามเปลี่ยนมาพูดถึงตัวกวีเองแต่คุณสมบัติตามประเด็นแรกนี้หาไม่ยากในกลอนที่โด่งดังทั้งหลาย เรามาดูประเด็นที่เข้มข้นมากขึ้นกันประเด็นที่สองคือ แบบแผนจังหวะและเสียง --- กลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเฉพาะเจาะจงอยู่สี่แบบ และจังหวะที่ว่านี้คือจังหวะความเข้มเบาของเสียงอักษร โดย ‘เบา’ หมายถึงเสียงกลาง ซึ่งท่านที่เรียนภาษาจีนจะทราบว่าจริงๆ แล้วภาษาจีนไม่มีเสียงกลางเหมือนไทยแต่ผันเป็นสี่เสียง และอักษรที่อยู่ในกลุ่มเสียงเบานี้ส่วนใหญ่เป็นอักษรในเสียงสองหรืออาจเป็นอักษรเสียงแรก ส่วน ‘เข้ม’ คือหมายถึงเสียงอื่น แต่ในประเด็นนี้มีความละเอียดอ่อนของการผันเสียง เช่น หากเป็นอักษรแรกตอนเริ่มวรรคหรือหลังกลางวรรค เสียงเบาอาจผันเป็นเสียงเข้มได้ ฟังแล้วอาจงงแต่เราไม่ได้อยากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญก็อย่าไปเครียดกับมันค่ะ สรุปได้สั้นๆ ว่ากลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเบาเข้มที่ชัดเจน ซึ่งกวีต้องรู้ว่าอักษรใดคือเสียงเบา อักษรใดคือเสียงเข้ม และต้องเลือกใช้อักษรที่ให้เสียงเบาเข้มตามแบบแผนจังหวะที่เลือก ดังที่กล่าวมาข้างต้น ชีลวี่มีสี่แบบแผนจังหวะมาตรฐาน ซึ่งทั้งสี่แบบนี้ล้วนให้อิสระกับจังหวะของประโยคแรกและประโยคสุดท้าย แต่เข้มงวดเรื่องการเชื่อมโยงทางจังหวะของวรรคอื่นๆ อย่าเพิ่งงงค่ะ เรามาดูกลอน ‘เติงเกา’ เป็นตัวอย่าง เอกลักษณ์ของแบบแผนชีลวี่สรุปได้ดังนี้ (ดูรูปประกอบขวาล่าง) - จังหวะของวรรคท้ายในประโยคแรกและประโยคสามเหมือนกัน และต่อเนื่องมาถึงจังหวะของวรรคแรกในประโยคสองและวรรคแรกในประโยคสุดท้ายก็เหมือนกัน - ลงท้ายทุกประโยคด้วยเสียงเบาซึ่งทำให้จำนวนอักษรที่สามารถนำมาใช้ได้นั้นมีจำนวนจำกัดยิ่งขึ้น และ - จังหวะเข้มเบาของวรรคแรกและวรรคจบต้องเหมือนกันเชื่อว่าเพื่อนเพจคงรู้สึกเหมือน Storyฯ แล้วว่า การที่จะใช้อักษรให้สื่อความหมายได้ตามต้องการและยังอยู่ในกรอบแบบแผนจังหวะเสียงที่ว่ามานี้ยากมากและกวีผู้นั้นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาสูงมาก เท่านี้ยังไม่พอ ดีกรีความเข้มข้นของภาษาของกลอนบทนี้คือประเด็นสุดท้ายจะกล่าวถึงประเด็นสุดท้ายคือ ความเป็นคู่ --- หลายคนมักเข้าใจว่ากลอนจีนต้องมีความคล้องจองของคำ แต่ถ้าเพื่อนเพจดูจากคำออกเสียงที่ Storyฯ ใส่มาให้จะเห็นว่าเสียงไม่คล้องจองกันเลย ดังนั้นจะเห็นว่ากลอนจีนโบราณจริงแล้วให้ความสำคัญกับความคล้องจองของอักษรน้อยกว่าความเป็นคู่ ซึ่งความเป็นคู่อาจหมายถึง ‘คู่เหมือน’ หรือ ‘คู่ขัดแย้ง’ ซึ่ง Storyฯ เคยเกริ่นถึงแล้วในบทความเกี่ยวกับรหัสลับจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02a8RcKiQmJ1GyrL2pkPs4dKmeZDnuti8guSaVo2VgSTcG9obtJoguAX62Mx4DgbQLl) เพื่ออธิบายประเด็นความเป็นคู่นี้ Storyฯ เลยแปลและเรียบเรียงบทกวีนี้โดยไม่เน้นความไพเราะหรือความพลิ้วพราย แต่พยายามคงเอกลักษณ์ความเป็นคู่ของวรรคแรกและวรรคหลังของแต่ละประโยคไว้ (ดูรูปประกอบขวาบนนะคะ) จะเห็นว่าความเป็นคู่นี้มีลูกเล่นได้หลากหลาย อาทิ - คุณศัพท์ขยายนาม เช่นในประโยคแรก ลมแรง <-> น้ำใส และ ฟ้าสูง <-> ทรายขาว ; ประโยคสาม หมื่นลี้ <-> ร้อยปี- นามและกิริยา เช่นในประโยคแรก ลิงหวนไห้ <-> นกบินกลับ; - คำซ้ำๆ เหมือนกัน เช่นในประโยคที่สอง โปรยโปรย <-> ม้วนม้วน- คำที่ความหมายคล้ายคลึงด้วยจำนวนอักษรเท่ากัน เช่นในประโยคที่สอง ไร้ขอบเขต <-> ไม่สิ้นสุด- อารมณ์ที่ขัดแย้งกัน เช่นในประโยคสาม วรรคแรก ‘หมั่นมาเยือน’ ให้อารมณ์ความคึกคักขัดแย้งกับวรรคหลัง ‘ปีนหอเดียวดาย’ - อารมณ์สอดคล้องกัน เช่นในประโยคสุดท้ายที่ล้วนบรรยายถึงความยากลำบากทางกายและความระทมทางใจและหากเพื่อนเพจสังเกตดีๆ นอกจากความเป็นคู่ของคำที่ใช้แล้ว จะเห็นว่าตำแหน่งของคำเหล่านี้ล้วนเป็นตำแหน่งเดียวกันในวรรคแรกและวรรคหลัง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นคู่Storyฯ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมจีน แต่ที่พยายามแปลและยกมาเล่าให้ฟังนี้ เพื่อที่เพื่อนเพจจะได้อรรถรสถึงความซับซ้อนของกวีจีนโบราณ บ่อยครั้งที่เราได้ยินคำแปลกลอนจีนที่ไพเราะสละสลวยได้อารมณ์และความหมาย แต่ไม่เคยรู้เลยว่าคำแปลนั้นไม่สามารถสะท้อนถึงเอกลักษณ์ทางเทคนิคของบทกลอน Storyฯ เองเวลาแปลบทกวีจีนก็มักจะมองข้ามเอกลักษณ์ทางเทคนิคเช่นกัน และเอกลักษณ์ทางเทคนิคเหล่านี้นี่เองที่ช่วยเสริมให้บทกวี ‘เติงเกา’ ของตู้ฝู่บทนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดชีลวี่ยาวนานกว่าหนึ่งพันปี ทีนี้เข้าใจกันแล้วนะคะว่าบทกวีนี้เป็น ‘ที่สุด’ ได้อย่างไร(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_5325467 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/604660125_121119376 https://www.toutiao.com/article/6824075960027972109/?&source=m_redirect https://www.sohu.com/a/138168554_146329https://baike.baidu.com/item/登高/7605079 https://baike.baidu.com/item/七言律诗/10294898 #หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร #กลอนเจ็ดจีนโบราณ #ชีลวี่ #เกาเติง #กวีสมัยถัง #ตู้ฝู่
    สุดยอดกลอนเจ็ด ‘ชีลวี่’ จาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค1>สวัสดีค่ะ Storyฯ ย้อนกลับไปดูภาคแรกของ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร> เพื่อทวนความทรงจำรอดูภาคสอง เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูภาคแรกนี้ต้องจำได้ว่าในงานสังสรรค์ชมบทกวี พระเอกได้ยืมกลอนจากกวีเอกตู้ฝู่มาใช้โดยมั่นใจว่าจะไม่มีใครสามารถแต่งกลอนที่ดีกว่าได้เพราะกลอนบทนี้ของตู้ฝู่ถูกยกย่องให้เป็น ‘ที่สุด’ Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจทั้งหลายที่เคยได้ยินคำแปลของกลอนบทนี้คง ‘เอ๊ะ’ เหมือนกันว่ามันเป็น ‘ที่สุด’ อย่างไร วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กันก่อนอื่นขอแนะนำเกี่ยวกับกวีตู้ฝู่และกลอนบทนี้ กวีตู้ฝู่เป็นกวีเอกสมัยถัง (ค.ศ. 712–770) ถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดกวีและถูกขนานนามว่า ‘ราชันกวี’ และกลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เติงเกา’ (登高 แปลว่าปีนขึ้นที่สูง) เบื้องหลังของกลอนนี้คือ เป็นช่วงปี ค.ศ. 766 ซึ่งผ่านเหตุการณ์กบฏอันลู่ซานไปได้หลายปีแล้วแต่บ้านเมืองยังไม่สงบ สหายต่างสิ้นชีพกันไปเกือบหมด ตัวตู้ฝู่เองก็มีโรครุมเร้า เดิมอาศัยใต้ร่มบารมีของเหยียนอู่ เมื่อสิ้นเหยียนอู่ก็ไร้ที่พึ่งพาจำต้องเดินทางจากเมืองหลวงไป ตอนที่ตู้ฝู่แต่งกลอนบทนี้คือช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่เขาแวะพักฟื้นที่เขตขุยโจว (ปัจจุบันใกล้ฉงชิ่ง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแยงซีเกียง หรือฉางเจียงที่กล่าวถึงในบทกลอน) วันหนึ่งเขาปีนขึ้นหอสูงนอกเมืองไป๋ตี้ มองทิวทัศน์ก็รำลึกถึงอดีตและรู้สึกสะท้อนใจกับชีวิตที่ต้องระหกระเหินแม้ร่างกายเจ็บป่วย กลอนบทนี้สี่วรรคแรกจึงบรรยายถึงความงามแบบเศร้าๆ ของทิวทัศน์ในฤดูใบไม้เปลี่ยนสี สี่วรรคสุดท้ายบรรยายถึงสภาพตนเองที่มีแต่ความโศกเศร้าเป็นเพื่อน แม้แต่จะกินเหล้าดับทุกข์ก็ยังทำไม่ได้เพราะว่าร่างกายไม่เอื้ออำนวย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาคแรก> จึงมีฉากที่มีคนถามว่า พระเอกอายุยังน้อยจะสามารถแต่งกลอนที่แฝงด้วยความทุกข์ความเศร้าของคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวในชีวิตมาได้อย่างไรกลอนบทนี้ถูกยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดอักษรที่มีลักษณะเฉพาะ หรือที่เรียกว่า ‘ชีเหยียนลวี่ซือ’ (七言律诗) เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ (七律) ที่บอกว่ามีลักษณะเฉพาะเพราะว่ากลอนเจ็ดชีลวี่นี้หมายถึงกลอนเจ็ดสี่วรรคคู่ รวมแปดวรรค แต่ละวรรคมีเจ็ดอักษร มีแบบแผนจังหวะเสียงที่ตายตัว ทีนี้เรามาดูกันว่ามันเป็น ‘สุดยอด’ อย่างไรประเด็นแรกคือ หัวข้อ --- กลอนที่ดีจะพัฒนาถ้อยคำขึ้นรอบๆ หัวข้อของกลอน ในที่นี้หัวข้อคือ ความเศร้าของสารทฤดู ภาพทิวทัศน์คือใบไม้เปลี่ยนสีและธรรมชาติที่แฝงด้วยความเศร้า ความในใจคือความโศกเศร้าเชื่อมโยงกับสารทฤดู ทุกวรรคทุกประโยคล้วนส่งเสริมหัวข้อนี้แต่บรรยายให้เห็นราวภาพวาด แต่ข้อจำกัดของกลอนเจ็ดชีลวี่คือพอเข้าประโยคที่สามต้องเปลี่ยนเรื่อง... ใช่ค่ะ เปลี่ยนเรื่องโดยไม่หลุดจากหัวข้อ ดังนั้นเราจึงเห็นสองประโยคแรกเป็นการบรรยายทิวทัศน์ และประโยคสามเปลี่ยนมาพูดถึงตัวกวีเองแต่คุณสมบัติตามประเด็นแรกนี้หาไม่ยากในกลอนที่โด่งดังทั้งหลาย เรามาดูประเด็นที่เข้มข้นมากขึ้นกันประเด็นที่สองคือ แบบแผนจังหวะและเสียง --- กลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเฉพาะเจาะจงอยู่สี่แบบ และจังหวะที่ว่านี้คือจังหวะความเข้มเบาของเสียงอักษร โดย ‘เบา’ หมายถึงเสียงกลาง ซึ่งท่านที่เรียนภาษาจีนจะทราบว่าจริงๆ แล้วภาษาจีนไม่มีเสียงกลางเหมือนไทยแต่ผันเป็นสี่เสียง และอักษรที่อยู่ในกลุ่มเสียงเบานี้ส่วนใหญ่เป็นอักษรในเสียงสองหรืออาจเป็นอักษรเสียงแรก ส่วน ‘เข้ม’ คือหมายถึงเสียงอื่น แต่ในประเด็นนี้มีความละเอียดอ่อนของการผันเสียง เช่น หากเป็นอักษรแรกตอนเริ่มวรรคหรือหลังกลางวรรค เสียงเบาอาจผันเป็นเสียงเข้มได้ ฟังแล้วอาจงงแต่เราไม่ได้อยากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญก็อย่าไปเครียดกับมันค่ะ สรุปได้สั้นๆ ว่ากลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเบาเข้มที่ชัดเจน ซึ่งกวีต้องรู้ว่าอักษรใดคือเสียงเบา อักษรใดคือเสียงเข้ม และต้องเลือกใช้อักษรที่ให้เสียงเบาเข้มตามแบบแผนจังหวะที่เลือก ดังที่กล่าวมาข้างต้น ชีลวี่มีสี่แบบแผนจังหวะมาตรฐาน ซึ่งทั้งสี่แบบนี้ล้วนให้อิสระกับจังหวะของประโยคแรกและประโยคสุดท้าย แต่เข้มงวดเรื่องการเชื่อมโยงทางจังหวะของวรรคอื่นๆ อย่าเพิ่งงงค่ะ เรามาดูกลอน ‘เติงเกา’ เป็นตัวอย่าง เอกลักษณ์ของแบบแผนชีลวี่สรุปได้ดังนี้ (ดูรูปประกอบขวาล่าง) - จังหวะของวรรคท้ายในประโยคแรกและประโยคสามเหมือนกัน และต่อเนื่องมาถึงจังหวะของวรรคแรกในประโยคสองและวรรคแรกในประโยคสุดท้ายก็เหมือนกัน - ลงท้ายทุกประโยคด้วยเสียงเบาซึ่งทำให้จำนวนอักษรที่สามารถนำมาใช้ได้นั้นมีจำนวนจำกัดยิ่งขึ้น และ - จังหวะเข้มเบาของวรรคแรกและวรรคจบต้องเหมือนกันเชื่อว่าเพื่อนเพจคงรู้สึกเหมือน Storyฯ แล้วว่า การที่จะใช้อักษรให้สื่อความหมายได้ตามต้องการและยังอยู่ในกรอบแบบแผนจังหวะเสียงที่ว่ามานี้ยากมากและกวีผู้นั้นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาสูงมาก เท่านี้ยังไม่พอ ดีกรีความเข้มข้นของภาษาของกลอนบทนี้คือประเด็นสุดท้ายจะกล่าวถึงประเด็นสุดท้ายคือ ความเป็นคู่ --- หลายคนมักเข้าใจว่ากลอนจีนต้องมีความคล้องจองของคำ แต่ถ้าเพื่อนเพจดูจากคำออกเสียงที่ Storyฯ ใส่มาให้จะเห็นว่าเสียงไม่คล้องจองกันเลย ดังนั้นจะเห็นว่ากลอนจีนโบราณจริงแล้วให้ความสำคัญกับความคล้องจองของอักษรน้อยกว่าความเป็นคู่ ซึ่งความเป็นคู่อาจหมายถึง ‘คู่เหมือน’ หรือ ‘คู่ขัดแย้ง’ ซึ่ง Storyฯ เคยเกริ่นถึงแล้วในบทความเกี่ยวกับรหัสลับจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02a8RcKiQmJ1GyrL2pkPs4dKmeZDnuti8guSaVo2VgSTcG9obtJoguAX62Mx4DgbQLl) เพื่ออธิบายประเด็นความเป็นคู่นี้ Storyฯ เลยแปลและเรียบเรียงบทกวีนี้โดยไม่เน้นความไพเราะหรือความพลิ้วพราย แต่พยายามคงเอกลักษณ์ความเป็นคู่ของวรรคแรกและวรรคหลังของแต่ละประโยคไว้ (ดูรูปประกอบขวาบนนะคะ) จะเห็นว่าความเป็นคู่นี้มีลูกเล่นได้หลากหลาย อาทิ - คุณศัพท์ขยายนาม เช่นในประโยคแรก ลมแรง <-> น้ำใส และ ฟ้าสูง <-> ทรายขาว ; ประโยคสาม หมื่นลี้ <-> ร้อยปี- นามและกิริยา เช่นในประโยคแรก ลิงหวนไห้ <-> นกบินกลับ; - คำซ้ำๆ เหมือนกัน เช่นในประโยคที่สอง โปรยโปรย <-> ม้วนม้วน- คำที่ความหมายคล้ายคลึงด้วยจำนวนอักษรเท่ากัน เช่นในประโยคที่สอง ไร้ขอบเขต <-> ไม่สิ้นสุด- อารมณ์ที่ขัดแย้งกัน เช่นในประโยคสาม วรรคแรก ‘หมั่นมาเยือน’ ให้อารมณ์ความคึกคักขัดแย้งกับวรรคหลัง ‘ปีนหอเดียวดาย’ - อารมณ์สอดคล้องกัน เช่นในประโยคสุดท้ายที่ล้วนบรรยายถึงความยากลำบากทางกายและความระทมทางใจและหากเพื่อนเพจสังเกตดีๆ นอกจากความเป็นคู่ของคำที่ใช้แล้ว จะเห็นว่าตำแหน่งของคำเหล่านี้ล้วนเป็นตำแหน่งเดียวกันในวรรคแรกและวรรคหลัง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นคู่Storyฯ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมจีน แต่ที่พยายามแปลและยกมาเล่าให้ฟังนี้ เพื่อที่เพื่อนเพจจะได้อรรถรสถึงความซับซ้อนของกวีจีนโบราณ บ่อยครั้งที่เราได้ยินคำแปลกลอนจีนที่ไพเราะสละสลวยได้อารมณ์และความหมาย แต่ไม่เคยรู้เลยว่าคำแปลนั้นไม่สามารถสะท้อนถึงเอกลักษณ์ทางเทคนิคของบทกลอน Storyฯ เองเวลาแปลบทกวีจีนก็มักจะมองข้ามเอกลักษณ์ทางเทคนิคเช่นกัน และเอกลักษณ์ทางเทคนิคเหล่านี้นี่เองที่ช่วยเสริมให้บทกวี ‘เติงเกา’ ของตู้ฝู่บทนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดชีลวี่ยาวนานกว่าหนึ่งพันปี ทีนี้เข้าใจกันแล้วนะคะว่าบทกวีนี้เป็น ‘ที่สุด’ ได้อย่างไร(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_5325467 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/604660125_121119376 https://www.toutiao.com/article/6824075960027972109/?&source=m_redirect https://www.sohu.com/a/138168554_146329https://baike.baidu.com/item/登高/7605079 https://baike.baidu.com/item/七言律诗/10294898 #หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร #กลอนเจ็ดจีนโบราณ #ชีลวี่ #เกาเติง #กวีสมัยถัง #ตู้ฝู่
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 554 มุมมอง 0 รีวิว
  • จ้างเชอ ธรรมเนียมกีดขวางรถเจ้าสาว

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ ว่าด้วยการแต่งงานจีนโบราณ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจำได้ว่าในฉากที่องค์หญิงหลี่หรงแต่งงานนั้น องค์ชายรัชทายาทหลี่ชวนได้นั่งรถม้านำขบวนรถเจ้าสาวพร้อมโปรยเงินให้ชาวบ้านที่มาอออยู่เต็มถนน จริงๆ แล้วพวกชาวบ้านไม่ได้มารอรับขบวนเสด็จขององค์หญิง หากแต่มันเป็นประเพณีการกีดขวางรถเจ้าสาวหรือที่เรียกว่า ‘จ้างเชอ’ (障车 แปลตรงตัวว่า ขวางรถ)

    พวกเราส่วนใหญ่คุ้นเคยกับประเพณีการกั้นประตูตอนเจ้าบ่าวมารับตัวเจ้าสาว ซึ่งเป็นการกั้นก่อนที่เจ้าบ่าวจะเข้าถึงตัวเจ้าสาว แต่การกีดขวางรถเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้เป็นการกีดขวางขบวนรถเจ้าสาวหลังจากที่เจ้าบ่าวรับตัวเจ้าสาวแล้วและกำลังจะพาเจ้าสาวเดินทางกลับบ้านเจ้าบ่าวเพื่อเข้าพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน ทั้งนี้ ตามประเพณีดั้งเดิม การกีดขวางรถนี้เป็นการกระทำโดยครอบครัวฝ่ายหญิงเพื่อแสดงออกถึงความอาลัยอาวรณ์ในตัวเจ้าสาว

    แต่เดิมในสมัยโบราณนั้น พิธีการแต่งงานจะเน้นเรียบขรึมสุขุมเพราะมองว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ครึกครื้นเอิกเกริกและไม่มีการกีดขวางขบวนเจ้าสาว ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเกิดประเพณีกีดขวางขบวนเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้ขึ้น และเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยสุยและถัง โดยในสมัยถังนั้น เป็นยุคสมัยที่เน้นความครึกครื้นและนิยมการแต่งกลอน มีการให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวหรือ ‘ชุยจวงซือ’ ก่อนจะเข้าถึงตัวเจ้าสาวได้ (Storyฯ เคยเขียนถึงธรรมเนียมคล้ายคลึงกันในสมัยซ่ง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid05s41d5RQU7QjyxytQ3KKM5YDxA5cE2wNCLQDJZtP6YXRh844ki7rSrhXaGPr3zLil) และเมื่อรับตัวเจ้าสาวแล้วก็จะถูกกั้นขบวนหรือจ้างเชอ และเจ้าบ่าวต้องแต่งกลอนเพื่อขอให้เปิดทาง ต่อมาพัฒนามาเป็นการกีดขวางเพื่อให้ฝ่ายชายต้องจ่ายเงินก่อนจะพาขบวนรถเจ้าสาวออกไปได้และอาจแห่กันมายืนออกันทั้งหมู่บ้าน ไม่ใช่แค่ครอบครัวของเจ้าสาว

    และเมื่อมาถึงบ้านเจ้าบ่าวแล้ว ในสมัยถังจะมีการเดินบนพรมที่มีคนนำมาสลับวางอย่างที่เห็นในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> เรียกว่า ‘จ่วนสี’ (转席) เป็นเคล็ดว่าให้สืบทอดรุ่นต่อรุ่น

    แน่นอนว่าธรรมเนียมปฏิบัติเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและตามพื้นที่ จากเดิมใช้รถม้ารับเจ้าสาวก็เปลี่ยนมาเป็นใช้เกี้ยวในสมัยซ่ง และในบางพื้นที่ก็เปลี่ยนจากการให้บ่าวสาวเดินบนพรมที่สลับวางมาเป็นให้เจ้าสาวก้าวข้ามอานม้า (ซึ่งออกเสียงใกล้กับคำว่า ‘อัน’ ที่แปลว่าปลอดภัยสุขสงบ) หรือก้าวข้ามเตาเป็นเคล็ดว่าให้แคล้วคลาดจากสิ่งอัปมงคลแทน
    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/x2wrzLn
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://paper.people.com.cn/rmlt/html/2023-07/01/content_26011443.htm
    https://baike.baidu.com/item/障车/1624835
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_15953346#:~:text=新娘上了车,女方,之为“转席”。
    https://zqb.cyol.com/html/2020-11/10/nw.D110000zgqnb_20201110_1-10.htm

    #องค์หญิงใหญ่ #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #รับตัวเจ้าสาวจีนโบราณ #สาระจีน

    จ้างเชอ ธรรมเนียมกีดขวางรถเจ้าสาว สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ ว่าด้วยการแต่งงานจีนโบราณ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจำได้ว่าในฉากที่องค์หญิงหลี่หรงแต่งงานนั้น องค์ชายรัชทายาทหลี่ชวนได้นั่งรถม้านำขบวนรถเจ้าสาวพร้อมโปรยเงินให้ชาวบ้านที่มาอออยู่เต็มถนน จริงๆ แล้วพวกชาวบ้านไม่ได้มารอรับขบวนเสด็จขององค์หญิง หากแต่มันเป็นประเพณีการกีดขวางรถเจ้าสาวหรือที่เรียกว่า ‘จ้างเชอ’ (障车 แปลตรงตัวว่า ขวางรถ) พวกเราส่วนใหญ่คุ้นเคยกับประเพณีการกั้นประตูตอนเจ้าบ่าวมารับตัวเจ้าสาว ซึ่งเป็นการกั้นก่อนที่เจ้าบ่าวจะเข้าถึงตัวเจ้าสาว แต่การกีดขวางรถเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้เป็นการกีดขวางขบวนรถเจ้าสาวหลังจากที่เจ้าบ่าวรับตัวเจ้าสาวแล้วและกำลังจะพาเจ้าสาวเดินทางกลับบ้านเจ้าบ่าวเพื่อเข้าพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน ทั้งนี้ ตามประเพณีดั้งเดิม การกีดขวางรถนี้เป็นการกระทำโดยครอบครัวฝ่ายหญิงเพื่อแสดงออกถึงความอาลัยอาวรณ์ในตัวเจ้าสาว แต่เดิมในสมัยโบราณนั้น พิธีการแต่งงานจะเน้นเรียบขรึมสุขุมเพราะมองว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ครึกครื้นเอิกเกริกและไม่มีการกีดขวางขบวนเจ้าสาว ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเกิดประเพณีกีดขวางขบวนเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้ขึ้น และเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยสุยและถัง โดยในสมัยถังนั้น เป็นยุคสมัยที่เน้นความครึกครื้นและนิยมการแต่งกลอน มีการให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวหรือ ‘ชุยจวงซือ’ ก่อนจะเข้าถึงตัวเจ้าสาวได้ (Storyฯ เคยเขียนถึงธรรมเนียมคล้ายคลึงกันในสมัยซ่ง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid05s41d5RQU7QjyxytQ3KKM5YDxA5cE2wNCLQDJZtP6YXRh844ki7rSrhXaGPr3zLil) และเมื่อรับตัวเจ้าสาวแล้วก็จะถูกกั้นขบวนหรือจ้างเชอ และเจ้าบ่าวต้องแต่งกลอนเพื่อขอให้เปิดทาง ต่อมาพัฒนามาเป็นการกีดขวางเพื่อให้ฝ่ายชายต้องจ่ายเงินก่อนจะพาขบวนรถเจ้าสาวออกไปได้และอาจแห่กันมายืนออกันทั้งหมู่บ้าน ไม่ใช่แค่ครอบครัวของเจ้าสาว และเมื่อมาถึงบ้านเจ้าบ่าวแล้ว ในสมัยถังจะมีการเดินบนพรมที่มีคนนำมาสลับวางอย่างที่เห็นในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> เรียกว่า ‘จ่วนสี’ (转席) เป็นเคล็ดว่าให้สืบทอดรุ่นต่อรุ่น แน่นอนว่าธรรมเนียมปฏิบัติเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและตามพื้นที่ จากเดิมใช้รถม้ารับเจ้าสาวก็เปลี่ยนมาเป็นใช้เกี้ยวในสมัยซ่ง และในบางพื้นที่ก็เปลี่ยนจากการให้บ่าวสาวเดินบนพรมที่สลับวางมาเป็นให้เจ้าสาวก้าวข้ามอานม้า (ซึ่งออกเสียงใกล้กับคำว่า ‘อัน’ ที่แปลว่าปลอดภัยสุขสงบ) หรือก้าวข้ามเตาเป็นเคล็ดว่าให้แคล้วคลาดจากสิ่งอัปมงคลแทน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/x2wrzLn Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://paper.people.com.cn/rmlt/html/2023-07/01/content_26011443.htm https://baike.baidu.com/item/障车/1624835 https://m.thepaper.cn/baijiahao_15953346#:~:text=新娘上了车,女方,之为“转席”。 https://zqb.cyol.com/html/2020-11/10/nw.D110000zgqnb_20201110_1-10.htm #องค์หญิงใหญ่ #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #รับตัวเจ้าสาวจีนโบราณ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 361 มุมมอง 0 รีวิว
  • เจ่าโต้ว สบู่จีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจะฟินจิกหมอนไม่น้อยกับฉากอาบน้ำของพระเอกนางเอก ในซีรีส์ไม่ได้พูดถึง แต่ในนิยายตอนที่องค์หญิงหลี่หรงสั่งให้สาวใช้เตรียมของใช้สำหรับอาบน้ำจังหวะนี้ นอกจากกลีบดอกไม้แล้ว ยังมีสิ่งที่เรียกว่า ‘เจ่าโต้ว’ (澡豆) แปลตรงตัวว่าถั่วอาบน้ำ ซึ่งก็คือสบู่โบราณนั่นเอง วันนี้เรามาคุยกันเรื่องนี้

    แต่ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงวัฒนธรรมการอาบน้ำ ปัจจุบันการอาบน้ำทั่วไปเรียกว่า ‘สีเจ่า’ (洗澡) แต่ถ้าอาบแบบแช่น้ำในอ่างทั้งตัวเรียกเป็น ‘มู่อวี้’ (沐浴) ซึ่งคำว่า ‘มู่อวี้’ นี้เป็นศัพท์ที่มีมาแต่โบราณและคำว่าห้องอาบน้ำ (浴室/อวี้ซึ) ปรากฏเป็นอักขระบนกระดูกโบราณมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง ดังนั้น วัฒนธรรมการอาบน้ำมีมาอย่างน้อยสามพันกว่าปีในประเทศจีน

    ในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นระบุจำแนกไว้ว่า ‘มู่’ คือการสระผม ‘อวี้’ คือการอาบชำระร่างกาย ‘สี่’ คือการล้างเท้า และ ‘เจ่า’ คือการล้างมือ ต่อมาคำว่า ‘เจ่า’ จึงค่อยๆ ถูกใช้สำหรับการชำระล้างส่วนอื่นๆ ด้วย

    การอาบน้ำแบบโบราณหรือมู่อวี้ โดยทั่วไปคือการอาบน้ำอุ่นในถังอาบน้ำ อาจแช่ทั้งตัวหรือนั่งราดอาบก็ได้ ดังที่เราเห็นในซีรีส์จีนว่าต้องมีการต้มน้ำไปใส่อ่าง หรืออย่างในวังจะมีสระน้ำร้อนให้ใช้ และชาวจีนโบราณก็ไม่ได้อาบน้ำทุกวัน (จะว่าไปแล้ว ชาติอื่นก็เหมือนกัน) โดยหลักปฏิบัติคือสามวันให้สระผมหนึ่งครั้ง ห้าวันอาบน้ำหนึ่งครั้ง ในสมัยฮั่นถึงกับกำหนดเป็นกฎที่ต้องปฏิบัติของข้าราชการโดยจะหยุดพักงานทุกห้าวัน เป็นนัยว่าหยุดเพื่อให้อยู่บ้านอาบน้ำ และวันหยุดนี้เรียกว่า ‘ซิวมู่’ (休沐 แปลตรงตัวว่าพักอาบน้ำ)

    นอกจากนี้ ก่อนเข้าร่วมพิธีสำคัญก็ต้องอาบน้ำโดยเฉพาะพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ต่างๆ เพื่อเป็นการชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากกาย โดยในเอกสารโบราณมีระบุรายละเอียดเพิ่มเติมถึงขั้นตอนการอาบน้ำ เป็นต้นว่า การอาบน้ำนั้น ท่อนบนของร่างกายใช้ผ้าใยเนื้อละเอียดเช็ดถู ท่อนล่างใช้ผ้าใยเนื้อหยาบ สุดท้ายคือยืนล้าง (ขัด) เท้าบนเสื่อหญ้าหยาบ เมื่อเช็ดแห้งเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วให้ดื่มชาหรือน้ำเพื่อปรับอุณภูมิในร่างกายและชดเชยการเสียเหงื่อด้วย

    ในช่วงสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ปรากฏว่าตามวัดพุทธมีการขุดบ่อเป็นสระอาบน้ำรวมให้พระภิกษุใช้อาบทุกวันก่อนไหว้พระ และเนื่องจากในสมัยโบราณชาวบ้านนิยมเที่ยววัด จึงค่อยๆ กลายเป็นว่าชาวบ้านหรือข้าราชการก็ไปใช้บริการอาบน้ำที่วัด เสร็จแล้วก็นั่งดื่มชาสนทนากัน ต่อมาวัฒนธรรมการอาบน้ำรวมนี้เป็นที่นิยมมาก ในสมัยซ่งมีสระอาบน้ำสาธารณะในเมืองที่ชาวบ้านสามารถมาจ่ายเงินใช้บริการได้โดยแบ่งเป็นสระน้ำอุ่นและสระน้ำเย็นให้เลือกใช้ได้ตามใจชอบ และในสมัยหมิงถึงกับมีคนรับจ้างช่วยถูหลังสระผมตัดเล็บเลยทีเดียว

    ว่ากันว่า แรกเริ่มเลยในสมัยซางและฮั่น คนโบราณใช้น้ำซาวข้าวอาบน้ำสระผม ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการพัฒนาใช้เครื่องหอมต่างๆ จึงสันนิษฐานว่าสบู่โบราณเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นในสมัยนั้นเช่นกัน แต่ว่าแรกเริ่มมันเป็นของหรูที่มีใช้ในวังเท่านั้นและใช้สำหรับล้างมือ ต่อมาจึงแพร่สู่ชาวบ้านธรรมดา ใช้ได้ทั้งอาบน้ำสระผมล้างหน้าล้างมือล้างเท้า และใช้ซักเสื้อผ้าอีกด้วย

    สบู่เจ่าโต้วนี้ถูกเรียกว่า ‘ถั่วอาบน้ำ’ เพราะว่าส่วนผสมหลักของมันก็คือถั่วหรือธัญพืชบดละเอียด ผสมด้วย เครื่องหอม เครื่องเทศและยาสมุนไพรหลากหลาย และสูตรโบราณนี้นอกจากจะเป็นสครับขัดผิวให้ขาวเนียนและบำรุงผิวพรรณได้ดีแล้ว ยังล้างคราบได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคราบดินโคลน คราบมัน คราบเลือด และคราบเครื่องสำอาง ต่อมาภายหลังจึงใช้หันไปใช้ขี้เถ้าไม้และไขมันสัตว์เป็นส่วนผสมหลักเรียกว่า ‘อี๋จื่อ’ (胰子) ซึ่งเป็นพัฒนากลายมาเป็นสบู่ปัจจุบัน

    สูตรการทำเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นอย่างหลากหลาย แต่สามารถสรุปรวมได้ดังนี้ คือ (1) ธัญพืชและถั่วสารพัดชนิด บ้างต้มสุกบ้างใช้ถั่วดิบ บดละเอียด (2) สมุนไพรหรือเครื่องเทศบดละเอียด เช่น กานพลู การบูร อบเชย (3) เครื่องหอมที่ต้องการ เช่นไม้หอมอบแห้ง กลีบดอกไม้แห้ง บดละเอียดหรือหากเป็นดอกไม้อาจบดหยาบ (4) น้ำหรือน้ำแร่ ต้มเคี่ยวกับน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง (5) เอาส่วนผสมทั้งหมดผสมแล้วคลุกให้สม่ำเสมอ ปั้นเป็นลูกกลอนแล้วเอาไปตากแห้งหลายๆ วัน เป็นอันจบขั้นตอน เวลาจะใช้ก็ชุบน้ำให้เปียกแล้วบี้แตกถูตามร่างกาย

    Storyฯ ผ่านตาคลิปของพ่อหนุ่มที่ทำสบู่โบราณนี้ เป็นคนเดียวกับที่เคยทำกระบอกจุดไฟและกระโปรงหม่าเมี่ยนที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (ค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญ) เข้าไปดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่างค่ะ

    จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วเจ่าโต้วทำไม่ยาก แต่สาเหตุที่เดิมเป็นของฟุ่มเฟือยเพราะส่วนผสมหลายอย่างมีราคาสูงเกินกว่าที่ชาวบ้านธรรมดาจะนำมาใช้ในกิจวัตรประจำวัน สู้ใช้พวกดินโคลนหินทรายจะง่ายกว่าและประหยัดทรัพย์ โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่าส่วนผสมของเจ่าโต้วนี้ดูน่าใช้กว่าสบู่รุ่นหลังที่ทำจากไขมันสัตว์และขี้เถ้าไม้เสียอีก แต่ยังไม่ได้ทดลองทำดูนะ ใครลองทำแล้วได้ผลอย่างไรอย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ หรือถ้าใครรู้ว่าภูมิปัญญาไทยโบราณใช้อะไรทำสบู่ แตกต่างมากน้อยอย่างไรกับเจ่าโต้วนี้ ก็มาเล่าให้ฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    คลิปสาธิตการทำเจ่าโต้ว: https://www.youtube.com/watch?v=kuCYk0hoAdY
    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c4304001633w.html
    https://kknews.cc/zh-my/history/p6b6orj.html
    https://baike.sogou.com/v8330278.htm
    https://zabar.pixnet.net/blog/post/64707721
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_23937607
    https://baike.baidu.com/item/澡豆/687918
    https://kknews.cc/zh-cn/history/qxyaj9b.html
    https://k.sina.cn/article_6395568294_17d34a0a600100cs21.html
    https://baike.baidu.com/item/胰子/5249378

    #องค์หญิงใหญ่ #เจ่าโต้ว #สบู่จีนโบราณ #อาบน้ำจีนโบราณ #สาระจีน

    เจ่าโต้ว สบู่จีนโบราณ สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจะฟินจิกหมอนไม่น้อยกับฉากอาบน้ำของพระเอกนางเอก ในซีรีส์ไม่ได้พูดถึง แต่ในนิยายตอนที่องค์หญิงหลี่หรงสั่งให้สาวใช้เตรียมของใช้สำหรับอาบน้ำจังหวะนี้ นอกจากกลีบดอกไม้แล้ว ยังมีสิ่งที่เรียกว่า ‘เจ่าโต้ว’ (澡豆) แปลตรงตัวว่าถั่วอาบน้ำ ซึ่งก็คือสบู่โบราณนั่นเอง วันนี้เรามาคุยกันเรื่องนี้ แต่ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงวัฒนธรรมการอาบน้ำ ปัจจุบันการอาบน้ำทั่วไปเรียกว่า ‘สีเจ่า’ (洗澡) แต่ถ้าอาบแบบแช่น้ำในอ่างทั้งตัวเรียกเป็น ‘มู่อวี้’ (沐浴) ซึ่งคำว่า ‘มู่อวี้’ นี้เป็นศัพท์ที่มีมาแต่โบราณและคำว่าห้องอาบน้ำ (浴室/อวี้ซึ) ปรากฏเป็นอักขระบนกระดูกโบราณมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง ดังนั้น วัฒนธรรมการอาบน้ำมีมาอย่างน้อยสามพันกว่าปีในประเทศจีน ในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นระบุจำแนกไว้ว่า ‘มู่’ คือการสระผม ‘อวี้’ คือการอาบชำระร่างกาย ‘สี่’ คือการล้างเท้า และ ‘เจ่า’ คือการล้างมือ ต่อมาคำว่า ‘เจ่า’ จึงค่อยๆ ถูกใช้สำหรับการชำระล้างส่วนอื่นๆ ด้วย การอาบน้ำแบบโบราณหรือมู่อวี้ โดยทั่วไปคือการอาบน้ำอุ่นในถังอาบน้ำ อาจแช่ทั้งตัวหรือนั่งราดอาบก็ได้ ดังที่เราเห็นในซีรีส์จีนว่าต้องมีการต้มน้ำไปใส่อ่าง หรืออย่างในวังจะมีสระน้ำร้อนให้ใช้ และชาวจีนโบราณก็ไม่ได้อาบน้ำทุกวัน (จะว่าไปแล้ว ชาติอื่นก็เหมือนกัน) โดยหลักปฏิบัติคือสามวันให้สระผมหนึ่งครั้ง ห้าวันอาบน้ำหนึ่งครั้ง ในสมัยฮั่นถึงกับกำหนดเป็นกฎที่ต้องปฏิบัติของข้าราชการโดยจะหยุดพักงานทุกห้าวัน เป็นนัยว่าหยุดเพื่อให้อยู่บ้านอาบน้ำ และวันหยุดนี้เรียกว่า ‘ซิวมู่’ (休沐 แปลตรงตัวว่าพักอาบน้ำ) นอกจากนี้ ก่อนเข้าร่วมพิธีสำคัญก็ต้องอาบน้ำโดยเฉพาะพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ต่างๆ เพื่อเป็นการชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากกาย โดยในเอกสารโบราณมีระบุรายละเอียดเพิ่มเติมถึงขั้นตอนการอาบน้ำ เป็นต้นว่า การอาบน้ำนั้น ท่อนบนของร่างกายใช้ผ้าใยเนื้อละเอียดเช็ดถู ท่อนล่างใช้ผ้าใยเนื้อหยาบ สุดท้ายคือยืนล้าง (ขัด) เท้าบนเสื่อหญ้าหยาบ เมื่อเช็ดแห้งเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วให้ดื่มชาหรือน้ำเพื่อปรับอุณภูมิในร่างกายและชดเชยการเสียเหงื่อด้วย ในช่วงสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ปรากฏว่าตามวัดพุทธมีการขุดบ่อเป็นสระอาบน้ำรวมให้พระภิกษุใช้อาบทุกวันก่อนไหว้พระ และเนื่องจากในสมัยโบราณชาวบ้านนิยมเที่ยววัด จึงค่อยๆ กลายเป็นว่าชาวบ้านหรือข้าราชการก็ไปใช้บริการอาบน้ำที่วัด เสร็จแล้วก็นั่งดื่มชาสนทนากัน ต่อมาวัฒนธรรมการอาบน้ำรวมนี้เป็นที่นิยมมาก ในสมัยซ่งมีสระอาบน้ำสาธารณะในเมืองที่ชาวบ้านสามารถมาจ่ายเงินใช้บริการได้โดยแบ่งเป็นสระน้ำอุ่นและสระน้ำเย็นให้เลือกใช้ได้ตามใจชอบ และในสมัยหมิงถึงกับมีคนรับจ้างช่วยถูหลังสระผมตัดเล็บเลยทีเดียว ว่ากันว่า แรกเริ่มเลยในสมัยซางและฮั่น คนโบราณใช้น้ำซาวข้าวอาบน้ำสระผม ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการพัฒนาใช้เครื่องหอมต่างๆ จึงสันนิษฐานว่าสบู่โบราณเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นในสมัยนั้นเช่นกัน แต่ว่าแรกเริ่มมันเป็นของหรูที่มีใช้ในวังเท่านั้นและใช้สำหรับล้างมือ ต่อมาจึงแพร่สู่ชาวบ้านธรรมดา ใช้ได้ทั้งอาบน้ำสระผมล้างหน้าล้างมือล้างเท้า และใช้ซักเสื้อผ้าอีกด้วย สบู่เจ่าโต้วนี้ถูกเรียกว่า ‘ถั่วอาบน้ำ’ เพราะว่าส่วนผสมหลักของมันก็คือถั่วหรือธัญพืชบดละเอียด ผสมด้วย เครื่องหอม เครื่องเทศและยาสมุนไพรหลากหลาย และสูตรโบราณนี้นอกจากจะเป็นสครับขัดผิวให้ขาวเนียนและบำรุงผิวพรรณได้ดีแล้ว ยังล้างคราบได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคราบดินโคลน คราบมัน คราบเลือด และคราบเครื่องสำอาง ต่อมาภายหลังจึงใช้หันไปใช้ขี้เถ้าไม้และไขมันสัตว์เป็นส่วนผสมหลักเรียกว่า ‘อี๋จื่อ’ (胰子) ซึ่งเป็นพัฒนากลายมาเป็นสบู่ปัจจุบัน สูตรการทำเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นอย่างหลากหลาย แต่สามารถสรุปรวมได้ดังนี้ คือ (1) ธัญพืชและถั่วสารพัดชนิด บ้างต้มสุกบ้างใช้ถั่วดิบ บดละเอียด (2) สมุนไพรหรือเครื่องเทศบดละเอียด เช่น กานพลู การบูร อบเชย (3) เครื่องหอมที่ต้องการ เช่นไม้หอมอบแห้ง กลีบดอกไม้แห้ง บดละเอียดหรือหากเป็นดอกไม้อาจบดหยาบ (4) น้ำหรือน้ำแร่ ต้มเคี่ยวกับน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง (5) เอาส่วนผสมทั้งหมดผสมแล้วคลุกให้สม่ำเสมอ ปั้นเป็นลูกกลอนแล้วเอาไปตากแห้งหลายๆ วัน เป็นอันจบขั้นตอน เวลาจะใช้ก็ชุบน้ำให้เปียกแล้วบี้แตกถูตามร่างกาย Storyฯ ผ่านตาคลิปของพ่อหนุ่มที่ทำสบู่โบราณนี้ เป็นคนเดียวกับที่เคยทำกระบอกจุดไฟและกระโปรงหม่าเมี่ยนที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (ค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญ) เข้าไปดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่างค่ะ จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วเจ่าโต้วทำไม่ยาก แต่สาเหตุที่เดิมเป็นของฟุ่มเฟือยเพราะส่วนผสมหลายอย่างมีราคาสูงเกินกว่าที่ชาวบ้านธรรมดาจะนำมาใช้ในกิจวัตรประจำวัน สู้ใช้พวกดินโคลนหินทรายจะง่ายกว่าและประหยัดทรัพย์ โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่าส่วนผสมของเจ่าโต้วนี้ดูน่าใช้กว่าสบู่รุ่นหลังที่ทำจากไขมันสัตว์และขี้เถ้าไม้เสียอีก แต่ยังไม่ได้ทดลองทำดูนะ ใครลองทำแล้วได้ผลอย่างไรอย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ หรือถ้าใครรู้ว่าภูมิปัญญาไทยโบราณใช้อะไรทำสบู่ แตกต่างมากน้อยอย่างไรกับเจ่าโต้วนี้ ก็มาเล่าให้ฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) คลิปสาธิตการทำเจ่าโต้ว: https://www.youtube.com/watch?v=kuCYk0hoAdY Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c4304001633w.html https://kknews.cc/zh-my/history/p6b6orj.html https://baike.sogou.com/v8330278.htm https://zabar.pixnet.net/blog/post/64707721 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_23937607 https://baike.baidu.com/item/澡豆/687918 https://kknews.cc/zh-cn/history/qxyaj9b.html https://k.sina.cn/article_6395568294_17d34a0a600100cs21.html https://baike.baidu.com/item/胰子/5249378 #องค์หญิงใหญ่ #เจ่าโต้ว #สบู่จีนโบราณ #อาบน้ำจีนโบราณ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 783 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts