• อาทิตย์นี้มาโพสต์เร็วหน่อย เรามาคุยต่อกับ <ตำนานหมิงหลัน> เพราะละครเรื่องนี้มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยทางวัฒนธรรมให้เรียนรู้พอควร วันนี้ว่าด้วยฉากแต่งงานของพระนาง

    ความมีอยู่ว่า
    “ได้ยินมานานว่าผู้บังคับบัญชากู้เก่งด้านวรรณกรรม งั้นมาแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวกันหน่อยดีกว่า ทุกคนรู้สึกว่าดี ถึงจะอนุญาตให้เข้าประตูมารับเจ้าสาวได้” คุณชายเขยห้ากล่าว
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> (ตามที่มีแปลซับไทยจ้า)

    เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะคุ้นเคยดีกับธรรมเนียมที่ขบวนเจ้าบ่าวจะโดน ‘กั้นประตู’ ก่อนเข้าไปรับเจ้าสาวที่แต่งตัวเสร็จรออยู่แล้ว โดยปัจจุบันอาจต้องเล่นเกมต่างๆ เพื่อแลกกับการเปิดประตู และที่แน่ๆ ต้องมีแจกซองอั่งเปา

    ธรรมเนียมนี้ถูก ‘แปลงร่าง’ มาจากประเพณีเดิมตอนรับตัวเจ้าสาวในจีนโบราณ ในบันทึกประเพณีสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการระบุว่า หนึ่งในขั้นตอนการรับตัวเจ้าสาวคือมีการตะโกนเรียกเร่งให้นางแต่งหน้าแต่งตัวเสร็จออกมาไวๆ ขั้นตอนนี้เรียกว่า ‘ชุยจวง’ (催装) เนื่องจากสมัยจีนโบราณจริงๆ แล้วมักจัดพิธีกราบไหว้ฟ้าดินในตอนเย็นก่อนมืด ซึ่งโดยปกติเจ้าสาวจะใช้เวลาแต่งตัวแต่งหน้านานมาก จึงมีการเร่งให้เจ้าสาวออกมาก่อนฟ้าจะมืด และเกิดการ ‘แกล้ง’ ขบวนเจ้าบ่าวก่อนจะเปิดประตูให้รับเจ้าสาวได้ ถึงขนาดใช้ไม้พลองหวดเจ้าบ่าวก็มี (!) ซึ่งการกลั่นแกล้งเหล่านี้เจ้าบ่าวต้องยอมรับแต่โดยดีและมีชื่อเรียกวิธีปฏิบัตินี้ว่า ‘เซี่ยซวี่’ (下婿 แปลตรงตัวได้ประมาณว่าเขยยอมเป็นเบี้ยล่าง)

    ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังที่การอักษรและโคลงกลอนรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จึงเกิดเป็นธรรมเนียมการแต่ง ‘กลอนเร่งเจ้าสาว’ หรือที่เรียกว่า ‘ชุยจวงซือ’ (催妆诗) สำหรับชนชั้นสูงที่มีการศึกษา โดยเจ้าบ่าวจะแต่งกลอนเองก็ได้หรือให้เพื่อนเจ้าบ่าวแต่งก็ได้ เมื่อแต่งกลอนเสร็จแล้วก็จะมีคนนำไปเล่าให้เจ้าสาวฟังถึงในห้องเพื่อว่านางจะได้รีบออกมา

    กลอนเร่งเจ้าสาวจะมีเนื้อหาแตกต่างจากบทกวีสมัยถังทั่วไป โดยเอกลักษณ์ของมันคือมีเนื้อหาออกแนวเกี้ยวพาราสีหรือชมความงามเจ้าสาว ได้อารมณ์ประมาณว่า เจ้าอย่าเอียงอายรีบออกมาเถิดเราจะได้รีบไปกัน! จะเห็นว่าบทกลอนเร่งเจ้าสาวในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> ก็ได้อารมณ์นี้เช่นกัน

    และเนื่องจากในสมัยราชวงศ์ซ่งมีการนิยมบทกวีในลักษณะ ‘ฉือ’ (词) มากกว่า ‘ซือ’ (诗) (Storyฯ เคยเขียนถึงความแตกต่างของบทกวีสองประเภทนี้ไปแล้วในตอนชื่อนิยายหมิงหลัน) ดังนั้นในสมัยซ่งจึงมีการแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวในแบบสไตล์ ‘ฉือ’ ด้วย เรียกว่า ‘ชุยจวงฉือ’

    เมื่ออยู่ในห้องหอแล้วจะมีขั้นตอนการปลดพัดเจ้าสาวเรียกว่า ‘เชวี่ยซ่าน’ (却扇) แต่ในละครทำอย่างง่ายๆ หากทำแบบเต็มพิธีการจริงๆ ในสมัยถังเขาจะให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนอีกรอบค่ะ เรียกว่า ‘เชวี่ยซ่านซือ’ หากเจ้าสาวพอใจจึงจะวางพัดลง แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่มีว่าเขาอนุญาตให้เพื่อนเจ้าบ่าวตามเข้ามาช่วยแต่งกลอนหรือไม่ (555) ดูไปแล้ว กว่าจะรับตัวเจ้าสาวได้นี่ไม่ง่ายเลย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/295145859_100301735
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://rijifang.com/index.php/post/9230.html
    https://www.52lishi.com/article/65423.html
    https://www.zhihu.com/question/446052944/answer/1747492245
    http://travel.china.com.cn/txt/2020-11/10/content_76894055.html

    #หมิงหลัน #กู้ถิงเยี่ย #งานแต่งงานจีนโบราณ #กวีจีน #ประเพณีจีนโบราณ #เซี่ยซวี่ #กลอนเร่งเจ้าสาว #ชุยจวง #ชุยจวงซือ #ชุยจวงฉือ #เชวี่ยซ่าน
    อาทิตย์นี้มาโพสต์เร็วหน่อย เรามาคุยต่อกับ <ตำนานหมิงหลัน> เพราะละครเรื่องนี้มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยทางวัฒนธรรมให้เรียนรู้พอควร วันนี้ว่าด้วยฉากแต่งงานของพระนาง ความมีอยู่ว่า “ได้ยินมานานว่าผู้บังคับบัญชากู้เก่งด้านวรรณกรรม งั้นมาแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวกันหน่อยดีกว่า ทุกคนรู้สึกว่าดี ถึงจะอนุญาตให้เข้าประตูมารับเจ้าสาวได้” คุณชายเขยห้ากล่าว - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> (ตามที่มีแปลซับไทยจ้า) เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะคุ้นเคยดีกับธรรมเนียมที่ขบวนเจ้าบ่าวจะโดน ‘กั้นประตู’ ก่อนเข้าไปรับเจ้าสาวที่แต่งตัวเสร็จรออยู่แล้ว โดยปัจจุบันอาจต้องเล่นเกมต่างๆ เพื่อแลกกับการเปิดประตู และที่แน่ๆ ต้องมีแจกซองอั่งเปา ธรรมเนียมนี้ถูก ‘แปลงร่าง’ มาจากประเพณีเดิมตอนรับตัวเจ้าสาวในจีนโบราณ ในบันทึกประเพณีสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการระบุว่า หนึ่งในขั้นตอนการรับตัวเจ้าสาวคือมีการตะโกนเรียกเร่งให้นางแต่งหน้าแต่งตัวเสร็จออกมาไวๆ ขั้นตอนนี้เรียกว่า ‘ชุยจวง’ (催装) เนื่องจากสมัยจีนโบราณจริงๆ แล้วมักจัดพิธีกราบไหว้ฟ้าดินในตอนเย็นก่อนมืด ซึ่งโดยปกติเจ้าสาวจะใช้เวลาแต่งตัวแต่งหน้านานมาก จึงมีการเร่งให้เจ้าสาวออกมาก่อนฟ้าจะมืด และเกิดการ ‘แกล้ง’ ขบวนเจ้าบ่าวก่อนจะเปิดประตูให้รับเจ้าสาวได้ ถึงขนาดใช้ไม้พลองหวดเจ้าบ่าวก็มี (!) ซึ่งการกลั่นแกล้งเหล่านี้เจ้าบ่าวต้องยอมรับแต่โดยดีและมีชื่อเรียกวิธีปฏิบัตินี้ว่า ‘เซี่ยซวี่’ (下婿 แปลตรงตัวได้ประมาณว่าเขยยอมเป็นเบี้ยล่าง) ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังที่การอักษรและโคลงกลอนรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จึงเกิดเป็นธรรมเนียมการแต่ง ‘กลอนเร่งเจ้าสาว’ หรือที่เรียกว่า ‘ชุยจวงซือ’ (催妆诗) สำหรับชนชั้นสูงที่มีการศึกษา โดยเจ้าบ่าวจะแต่งกลอนเองก็ได้หรือให้เพื่อนเจ้าบ่าวแต่งก็ได้ เมื่อแต่งกลอนเสร็จแล้วก็จะมีคนนำไปเล่าให้เจ้าสาวฟังถึงในห้องเพื่อว่านางจะได้รีบออกมา กลอนเร่งเจ้าสาวจะมีเนื้อหาแตกต่างจากบทกวีสมัยถังทั่วไป โดยเอกลักษณ์ของมันคือมีเนื้อหาออกแนวเกี้ยวพาราสีหรือชมความงามเจ้าสาว ได้อารมณ์ประมาณว่า เจ้าอย่าเอียงอายรีบออกมาเถิดเราจะได้รีบไปกัน! จะเห็นว่าบทกลอนเร่งเจ้าสาวในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> ก็ได้อารมณ์นี้เช่นกัน และเนื่องจากในสมัยราชวงศ์ซ่งมีการนิยมบทกวีในลักษณะ ‘ฉือ’ (词) มากกว่า ‘ซือ’ (诗) (Storyฯ เคยเขียนถึงความแตกต่างของบทกวีสองประเภทนี้ไปแล้วในตอนชื่อนิยายหมิงหลัน) ดังนั้นในสมัยซ่งจึงมีการแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวในแบบสไตล์ ‘ฉือ’ ด้วย เรียกว่า ‘ชุยจวงฉือ’ เมื่ออยู่ในห้องหอแล้วจะมีขั้นตอนการปลดพัดเจ้าสาวเรียกว่า ‘เชวี่ยซ่าน’ (却扇) แต่ในละครทำอย่างง่ายๆ หากทำแบบเต็มพิธีการจริงๆ ในสมัยถังเขาจะให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนอีกรอบค่ะ เรียกว่า ‘เชวี่ยซ่านซือ’ หากเจ้าสาวพอใจจึงจะวางพัดลง แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่มีว่าเขาอนุญาตให้เพื่อนเจ้าบ่าวตามเข้ามาช่วยแต่งกลอนหรือไม่ (555) ดูไปแล้ว กว่าจะรับตัวเจ้าสาวได้นี่ไม่ง่ายเลย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/295145859_100301735 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://rijifang.com/index.php/post/9230.html https://www.52lishi.com/article/65423.html https://www.zhihu.com/question/446052944/answer/1747492245 http://travel.china.com.cn/txt/2020-11/10/content_76894055.html #หมิงหลัน #กู้ถิงเยี่ย #งานแต่งงานจีนโบราณ #กวีจีน #ประเพณีจีนโบราณ #เซี่ยซวี่ #กลอนเร่งเจ้าสาว #ชุยจวง #ชุยจวงซือ #ชุยจวงฉือ #เชวี่ยซ่าน
    WWW.SOHU.COM
    《知否?知否?应是绿肥红瘦》过百亿的播放量能说明什么?_顾廷烨
    作为近150万字的长篇小说,实在是有些长,我并没有看完,也理解作者的不易,本身作为兼职作者,平时工作也比较繁忙,可能只有夜晚的四五个小时可以利用,也会有家里的各种繁杂琐事时不时骚扰,从写法来看,看得出…
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 196 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้วคุยเรื่องการลอยสุรามาตามน้ำหรือ ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ วันนี้มาคุยต่อว่าด้วยเรื่องการลอยอาหารมาตามน้ำ เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <ตำนานหมิงหลัน> หรือ <ตำนานลั่วหยาง> ต้องเคยผ่านตาฉากงานเลี้ยงที่มีการวางจานอาหารให้ลอยมาตามน้ำผ่านหน้าแขกผู้มาร่วมงาน (ดูรูปประกอบ1)

    การจัดให้จานอาหารลอยมาตามน้ำในงานเลี้ยงนั้น ในประวัติศาสตร์มีอยู่จริง เรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ (流水席) เป็นลักษณะการจัดวางอาหารให้ลอยไปตามสายธารจำลองบนโต๊ะ นิยมใช้ในงานเลี้ยงมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย-ถัง

    แต่รู้หรือไม่... ‘หลิวสุ่ยสี’ เกิดจากงานวัด?

    วัดดังกล่าวคือวัดจิ้งเจวี๋ย (ต่อมาในสมัยชิง เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานนามใหม่ว่าวัดไท่หนิง) ตั้งอยู่มณฑลเหอเป่ย มีทิวทัศน์งดงาม ว่ากันว่าในวันสำคัญจะมีผู้คนมาไหว้พระรับประทานอาหารเจเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ (หรือก็คือวันซ่างซึ 上巳节 ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงสัปดาห์ที่แล้ว) จะมีคนจำนวนมาก แออัดชุลมุนจนดูแลไม่ไหว ทางวัดเลยคิดสร้างเป็นคลอง/ลำธารจำลองทะลุออกไปยังด้านนอกวัด คดเคี้ยวไปตามเนินหิน จัดวางโต๊ะหินตามรายทาง แล้วส่งอาหารด้วยการลอยถาดไปตามน้ำโดยอาศัยแรงดันของน้ำพุและลำธารธรรมชาติ ชาวบ้านที่มาไหว้พระเสร็จแล้วก็สามารถเรียงคิวนั่งหยิบอาหารเจทานได้จากด้านนอก ไม่ต้องเข้ามาแออัดกันอยู่ในวัด เกิดเป็นการเรียกกันอย่างง่ายว่า ‘อาหารที่ลอยมาตามน้ำ’ หรือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั่นเอง

    ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลาย และรูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ ถูกนำมาใช้กันในงานเลี้ยงของคนที่มีฐานะหรือมียศศักดิ์อย่างที่เห็นในตัวอย่างละครที่กล่าวมา

    รูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ แปรเปลี่ยนไปเมื่อใดไม่ชัดเจน แต่ปัจจุบัน ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการเสิร์ฟอาหารแบบโต๊ะจีนที่เราคุ้นเคย โดยมีสองคำอธิบาย

    คำอธิบายแรกก็คือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั้นหมายถึง ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ (หมายเหตุ เมืองลั่วหยางในสมัยราชวงศ์ถังมีศักดิ์เป็นเมืองหลวงรองทางทิศบูรพา หรือ Eastern Capital) เพราะเผยแพร่มาจากลั่วหยางและมีตำนานเกี่ยวโยงถึงจักรพรรดินีบูเช็กเทียน เพราะว่าโหรหลวงทำนายได้ว่าอีก 24 ปี นางอู่เม่ยเหนียง (ชื่อเดิมขององค์บูเช็กเทียน) จะได้ขึ้นครองราชย์ ในงานเลี้ยงที่จัดขึ้นจึงมีอาหาร 24 อย่าง และเอกลักษณ์ของ ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ ก็คือเมนูอาหารจะประกอบด้วยอาหารจานเย็น 8 อย่าง ตามด้วยจานร้อนอีก 16 อย่าง รวมเป็น 24 อย่าง โดยทุกจานต้องเป็นอาหารที่มีน้ำแกง/น้ำซุป ตามวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านของลั่วหยาง (ดูรูปประกอบ2)

    ส่วนอีกคำอธิบายนั้นก็คือว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการจัดเลี้ยงแบบโต๊ะจีนโดยจัดเสิร์ฟอาหารทีละจาน รับประทานจานหนึ่งเสร็จแล้วค่อยเสิร์ฟจานใหม่ ทำอย่างนี้ต่อเนื่องดุจสายน้ำที่ไหลไม่หยุด เป็นสัญลักษณ์ของความราบรื่น ดังนั้น หากเพื่อนเพจได้ยินคำเรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ แต่หน้าตาอาหารไม่เน้นน้ำแกงและไม่ได้มีอะไรแตกต่างจากโต๊ะจีนที่พวกเราคุ้นเคยก็อย่าได้แปลกใจนะคะ เขาเรียกชื่อเอาเคล็ดว่าอาหารการกินไม่ขาดสาย สมบูรณ์และราบรื่นค่ะ

    (ป.ล. อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/292070252_100132268
    https://www.jiuzyoung.com/entertain/watch/fengqiluoyang/
    https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html
    https://kknews.cc/food/pnborxz.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/流水席/1930803
    https://baike.baidu.com/item/洛阳水席 /81269
    https://k.sina.cn/article_6270609874_175c1e9d200101ikw3.html
    https://kknews.cc/food/pnborxz.html
    https://kknews.cc/culture/xmnqp89.html
    https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html
    #หลิวสุ่ยสี #ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี #โต๊ะจีน
    สัปดาห์ที่แล้วคุยเรื่องการลอยสุรามาตามน้ำหรือ ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ วันนี้มาคุยต่อว่าด้วยเรื่องการลอยอาหารมาตามน้ำ เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <ตำนานหมิงหลัน> หรือ <ตำนานลั่วหยาง> ต้องเคยผ่านตาฉากงานเลี้ยงที่มีการวางจานอาหารให้ลอยมาตามน้ำผ่านหน้าแขกผู้มาร่วมงาน (ดูรูปประกอบ1) การจัดให้จานอาหารลอยมาตามน้ำในงานเลี้ยงนั้น ในประวัติศาสตร์มีอยู่จริง เรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ (流水席) เป็นลักษณะการจัดวางอาหารให้ลอยไปตามสายธารจำลองบนโต๊ะ นิยมใช้ในงานเลี้ยงมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย-ถัง แต่รู้หรือไม่... ‘หลิวสุ่ยสี’ เกิดจากงานวัด? วัดดังกล่าวคือวัดจิ้งเจวี๋ย (ต่อมาในสมัยชิง เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานนามใหม่ว่าวัดไท่หนิง) ตั้งอยู่มณฑลเหอเป่ย มีทิวทัศน์งดงาม ว่ากันว่าในวันสำคัญจะมีผู้คนมาไหว้พระรับประทานอาหารเจเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ (หรือก็คือวันซ่างซึ 上巳节 ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงสัปดาห์ที่แล้ว) จะมีคนจำนวนมาก แออัดชุลมุนจนดูแลไม่ไหว ทางวัดเลยคิดสร้างเป็นคลอง/ลำธารจำลองทะลุออกไปยังด้านนอกวัด คดเคี้ยวไปตามเนินหิน จัดวางโต๊ะหินตามรายทาง แล้วส่งอาหารด้วยการลอยถาดไปตามน้ำโดยอาศัยแรงดันของน้ำพุและลำธารธรรมชาติ ชาวบ้านที่มาไหว้พระเสร็จแล้วก็สามารถเรียงคิวนั่งหยิบอาหารเจทานได้จากด้านนอก ไม่ต้องเข้ามาแออัดกันอยู่ในวัด เกิดเป็นการเรียกกันอย่างง่ายว่า ‘อาหารที่ลอยมาตามน้ำ’ หรือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั่นเอง ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลาย และรูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ ถูกนำมาใช้กันในงานเลี้ยงของคนที่มีฐานะหรือมียศศักดิ์อย่างที่เห็นในตัวอย่างละครที่กล่าวมา รูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ แปรเปลี่ยนไปเมื่อใดไม่ชัดเจน แต่ปัจจุบัน ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการเสิร์ฟอาหารแบบโต๊ะจีนที่เราคุ้นเคย โดยมีสองคำอธิบาย คำอธิบายแรกก็คือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั้นหมายถึง ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ (หมายเหตุ เมืองลั่วหยางในสมัยราชวงศ์ถังมีศักดิ์เป็นเมืองหลวงรองทางทิศบูรพา หรือ Eastern Capital) เพราะเผยแพร่มาจากลั่วหยางและมีตำนานเกี่ยวโยงถึงจักรพรรดินีบูเช็กเทียน เพราะว่าโหรหลวงทำนายได้ว่าอีก 24 ปี นางอู่เม่ยเหนียง (ชื่อเดิมขององค์บูเช็กเทียน) จะได้ขึ้นครองราชย์ ในงานเลี้ยงที่จัดขึ้นจึงมีอาหาร 24 อย่าง และเอกลักษณ์ของ ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ ก็คือเมนูอาหารจะประกอบด้วยอาหารจานเย็น 8 อย่าง ตามด้วยจานร้อนอีก 16 อย่าง รวมเป็น 24 อย่าง โดยทุกจานต้องเป็นอาหารที่มีน้ำแกง/น้ำซุป ตามวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านของลั่วหยาง (ดูรูปประกอบ2) ส่วนอีกคำอธิบายนั้นก็คือว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการจัดเลี้ยงแบบโต๊ะจีนโดยจัดเสิร์ฟอาหารทีละจาน รับประทานจานหนึ่งเสร็จแล้วค่อยเสิร์ฟจานใหม่ ทำอย่างนี้ต่อเนื่องดุจสายน้ำที่ไหลไม่หยุด เป็นสัญลักษณ์ของความราบรื่น ดังนั้น หากเพื่อนเพจได้ยินคำเรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ แต่หน้าตาอาหารไม่เน้นน้ำแกงและไม่ได้มีอะไรแตกต่างจากโต๊ะจีนที่พวกเราคุ้นเคยก็อย่าได้แปลกใจนะคะ เขาเรียกชื่อเอาเคล็ดว่าอาหารการกินไม่ขาดสาย สมบูรณ์และราบรื่นค่ะ (ป.ล. อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/292070252_100132268 https://www.jiuzyoung.com/entertain/watch/fengqiluoyang/ https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html https://kknews.cc/food/pnborxz.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/流水席/1930803 https://baike.baidu.com/item/洛阳水席 /81269 https://k.sina.cn/article_6270609874_175c1e9d200101ikw3.html https://kknews.cc/food/pnborxz.html https://kknews.cc/culture/xmnqp89.html https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html #หลิวสุ่ยสี #ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี #โต๊ะจีน
    明兰、二郎、小公爷,《知否》三大主角艰难原生家庭描绘三种人生_顾廷烨
    而元若哥哥呢,在母亲掌控一切的情况中顺从听话,老妈说要读书,那就读书;老妈说要事业,那就考公民,如果说这辈子唯一有点主见的,那就是遇到明兰,争取扑腾起的小浪花。 于是,借着嘉成县主逼迫齐衡也就从了家…
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 348 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผ่านวีคเอนด์แห่งความรักมาแล้ว วันนี้คุยกันเรื่องประเพณีงานแต่งงาน
    ความมีอยู่ว่า

    ... ครั้นกู้ถิงเยี่ยยกน้ำชาให้เสิ้งหงและฮูหยินจนเสร็จสิ้นพิธีการแล้ว เจ้าสาวที่แต่งกายแต่งหน้าอย่างเต็มที่พร้อมผ้าคลุมหน้าก็ถูกแม่เฒ่าป๋าวพาก้าวเนิบๆ เข้าโถงใหญ่มา กู้ถิงเยี่ยไม่กระพริบตา เขาพาหมิงหลันค้อมกายลงคำนับอำลาเสิ้งหงและฮูหยิน ...

    - จากเรื่อง <หมิงหลัน บุปผาเคียงใจ> ผู้แต่ง กวนซินเจ๋อล่วน
    (หมายเหตุ ชื่อตามหนังสือฉบับแปลอย่างเป็นทางการ ละครเรื่องตำนานหมิงหลันดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    ในหนังสือ (ตามความข้างบน) หมิงหลันมีผ้าคลุมหน้าตอนแต่งงาน แต่ในละครกลับใช้เป็นพัดกลมบังหน้า (ดูจากรูปของละคร เปรียบเทียบกับรูปเจ้าสาวคลุมหน้าทั่วไป) มีเพื่อนเพจสงสัยกันบ้างไหมว่า ต่างกันอย่างไร? และประเพณีที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร?

    ไม่ว่าจะเป็นพัดหรือผ้าคลุมหน้า ล้วนเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นกุลสตรีของเจ้าสาว เพราะสมัยโบราณถือว่าการเผยหน้าต่อสาธารณะชนเป็นการประพฤติตนไม่งาม

    แต่ประเพณีแต่โบราณดั้งเดิมคือการถือพัด ว่ากันว่า เป็นไปตามตำนานปรำปราเรื่องของหนี่ว์วาและพี่ชายฝูซี สองพี่น้องเทพยดาผู้ซึ่งอาศัยอยู่บนเขาคุนลุ้น ต่อมาแต่งงานกันและสร้างเผ่าพันธุ์มนุษย์จากดินเหนียว โดยตามตำนานนางรู้สึกเขินอายเมื่อต้องแต่งงานกับพี่ชาย จึงใช้พัดที่ถักจากหญ้ามาบังใบหน้าไว้ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมปฏิบัติขึ้น ต่อมาเพิ่มเติมเป็นเคล็ดใช้บังเจ้าสาวจากสิ่งอัปมงคล

    ประวัติศาสตร์มีจารึกไว้เรื่องประเพณีเจ้าสาวถือพัดมาแต่ราชวงศ์เหนือใต้ (ปีค.ศ. 420-589) โดยในสมัยราชวงศ์ซ่ง เจ้าสาวต้องถือพัดไว้ตลอดจนกว่าจะถูกส่งเข้าห้องหอ โดยพัดที่ใช้เป็นพัดรูปทรงกลมหรือทรงผีเสื้อ พออยู่ในห้องหอจึงวางพัดลงได้ ขั้นตอนวางพัดนี้มีชื่อเรียกว่า “เชวี่ยซ่าน” (却扇)

    และในยุคสมัยราชวงศ์ซ่งนี้เอง ได้เริ่มมีการใช้ผ้าคลุมหน้า ซึ่งเดิมเพียงพาดไว้บนศีรษะเพื่อบังความหนาว ต่อมากลายเป็นการคลุมทั้งหน้าลงมาและทดแทนการถือพัด และภายหลังจากราชวงศ์ซ่งเป็นต้นมา ก็เลิกใช้พัดปิดหน้า เปลี่ยนมาใช้ผ้าคลุมหน้าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติแทน

    เนื่องจากเรื่อง หมิงหลันฯ นี้เป็นเรื่องราวในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการถือพัดแบบในละคร หรือการคลุมผ้าปิดหน้าแบบในหนังสือ ล้วนถูกต้องตามประเพณีของสมัยนั้นทั้งคู่ค่ะ

    Credit รูปภาพจาก:
    https://dramapanda.com/2019/01/the-story-of-minglan-wedding-between.html
    http://www.bgushi.com/archives/2236
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100heft.html
    http://www.3yan.cn/question/982793

    #หมิงหลัน #ราชวงศ์ซ่ง #ประเพณีจินโบราณ #ชุดเจ้าสาวจีน #พัดบังหน้า #StoryfromStory
    ผ่านวีคเอนด์แห่งความรักมาแล้ว วันนี้คุยกันเรื่องประเพณีงานแต่งงาน ความมีอยู่ว่า ... ครั้นกู้ถิงเยี่ยยกน้ำชาให้เสิ้งหงและฮูหยินจนเสร็จสิ้นพิธีการแล้ว เจ้าสาวที่แต่งกายแต่งหน้าอย่างเต็มที่พร้อมผ้าคลุมหน้าก็ถูกแม่เฒ่าป๋าวพาก้าวเนิบๆ เข้าโถงใหญ่มา กู้ถิงเยี่ยไม่กระพริบตา เขาพาหมิงหลันค้อมกายลงคำนับอำลาเสิ้งหงและฮูหยิน ... - จากเรื่อง <หมิงหลัน บุปผาเคียงใจ> ผู้แต่ง กวนซินเจ๋อล่วน (หมายเหตุ ชื่อตามหนังสือฉบับแปลอย่างเป็นทางการ ละครเรื่องตำนานหมิงหลันดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) ในหนังสือ (ตามความข้างบน) หมิงหลันมีผ้าคลุมหน้าตอนแต่งงาน แต่ในละครกลับใช้เป็นพัดกลมบังหน้า (ดูจากรูปของละคร เปรียบเทียบกับรูปเจ้าสาวคลุมหน้าทั่วไป) มีเพื่อนเพจสงสัยกันบ้างไหมว่า ต่างกันอย่างไร? และประเพณีที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร? ไม่ว่าจะเป็นพัดหรือผ้าคลุมหน้า ล้วนเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นกุลสตรีของเจ้าสาว เพราะสมัยโบราณถือว่าการเผยหน้าต่อสาธารณะชนเป็นการประพฤติตนไม่งาม แต่ประเพณีแต่โบราณดั้งเดิมคือการถือพัด ว่ากันว่า เป็นไปตามตำนานปรำปราเรื่องของหนี่ว์วาและพี่ชายฝูซี สองพี่น้องเทพยดาผู้ซึ่งอาศัยอยู่บนเขาคุนลุ้น ต่อมาแต่งงานกันและสร้างเผ่าพันธุ์มนุษย์จากดินเหนียว โดยตามตำนานนางรู้สึกเขินอายเมื่อต้องแต่งงานกับพี่ชาย จึงใช้พัดที่ถักจากหญ้ามาบังใบหน้าไว้ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมปฏิบัติขึ้น ต่อมาเพิ่มเติมเป็นเคล็ดใช้บังเจ้าสาวจากสิ่งอัปมงคล ประวัติศาสตร์มีจารึกไว้เรื่องประเพณีเจ้าสาวถือพัดมาแต่ราชวงศ์เหนือใต้ (ปีค.ศ. 420-589) โดยในสมัยราชวงศ์ซ่ง เจ้าสาวต้องถือพัดไว้ตลอดจนกว่าจะถูกส่งเข้าห้องหอ โดยพัดที่ใช้เป็นพัดรูปทรงกลมหรือทรงผีเสื้อ พออยู่ในห้องหอจึงวางพัดลงได้ ขั้นตอนวางพัดนี้มีชื่อเรียกว่า “เชวี่ยซ่าน” (却扇) และในยุคสมัยราชวงศ์ซ่งนี้เอง ได้เริ่มมีการใช้ผ้าคลุมหน้า ซึ่งเดิมเพียงพาดไว้บนศีรษะเพื่อบังความหนาว ต่อมากลายเป็นการคลุมทั้งหน้าลงมาและทดแทนการถือพัด และภายหลังจากราชวงศ์ซ่งเป็นต้นมา ก็เลิกใช้พัดปิดหน้า เปลี่ยนมาใช้ผ้าคลุมหน้าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติแทน เนื่องจากเรื่อง หมิงหลันฯ นี้เป็นเรื่องราวในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการถือพัดแบบในละคร หรือการคลุมผ้าปิดหน้าแบบในหนังสือ ล้วนถูกต้องตามประเพณีของสมัยนั้นทั้งคู่ค่ะ Credit รูปภาพจาก: https://dramapanda.com/2019/01/the-story-of-minglan-wedding-between.html http://www.bgushi.com/archives/2236 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100heft.html http://www.3yan.cn/question/982793 #หมิงหลัน #ราชวงศ์ซ่ง #ประเพณีจินโบราณ #ชุดเจ้าสาวจีน #พัดบังหน้า #StoryfromStory
    DRAMAPANDA.COM
    The Story of Minglan wedding between Minglan and Gu Tingye - DramaPanda
    The latest developments in The Story of Minglan 知否知否应是绿肥红瘦 have been pure bliss and a stark contrast to the tragedy dealt in past episodes. With their separate storylines finally converging, Gu Tingye succeeds in pursuing Minglan and they get married (this happens on episode 40)! Truth be told, I started the show mainly for Zhao Liying, more so because it’s her drama with real-life hubby Feng Shaofeng though it didn’t take long before I was completely hooked to everything else about it. Despite complaints about the slow pace, I wouldn’t have it any other way because even as the characters go about dealing with the most
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 740 มุมมอง 0 รีวิว
  • ว่าด้วยเรื่องตีกลองร้องฎีกา

    สวัสดีค่ะ ขออภัยที่หายเงียบไปสองสัปดาห์เพราะ Storyฯ งานเข้าและไม่สบายไปหลายวัน วันนี้ยังคงมีเกร็ดเรื่องเล่าจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> มาคุยกัน เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้คงจำได้ว่ามีฉากหนึ่งที่มู่ปา น้องสาวของนางเอกเข้าเมืองหลวงมาตีกลองร้องฎีกาและต้องถูกโบยสามสิบพลองเพราะตีกลองนั้น

    และหากเพื่อนเพจได้ดูละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> ก็จะเคยเห็นฉากที่นางเอกตีกลองร้องฎีกาแล้วต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเช่นกัน แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกก็เคยตีกลองร้องฎีกาแต่ไม่ต้องถูกโบย ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นราชวงศ์สมมุติที่อิงจากสมัยถัง

    เรื่องการถูกโบยก่อนได้ร้องทุกข์จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ในวันนี้

    ในสมัยโบราณ ชาวบ้านต้องการร้องทุกข์ก็จะไปดักรอขบวนเสด็จ แต่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน และเพื่อแสดงความห่วงใยในประชาชนของกษัตริย์ จึงมีการกำหนดจุดร้องฎีกาขึ้นเพื่อให้มีขั้นตอนที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ไม่เพียงเพื่อให้ประชาชนร้องทุกข์ แต่เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนออกความเห็นในเรื่องต่างๆ ได้อีกด้วย

    จากบันทึกโจวหลี่ การตีกลองร้องทุกข์มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว (1046 - 256 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีการวางกลองไว้ข้างถนน มีทหารเวรยามดูแล เมื่อมีคนมาตีกลอง ทหารต้องรายงานเบื้องบนจนถึงพระกรรณ

    นอกจากนี้ ยังมีการร้องทุกข์ด้วยการไปยืนอย่างเงียบๆ ข้างหินสีแดงสูงประมาณ 8-9 ฟุต เรียกว่า ‘หินเฟ่ยสือ’ (肺石 แปลตรงตัวว่า ปอดที่ทำจากหิน) สำหรับคนที่ต้องการร้องทุกข์แบบไม่โพนทะนา ยืนสามวัน ทหารที่เฝ้าอยู่ก็จะพาตัวไปรับเรื่องอย่างเงียบๆ

    มีการใช้ระบบร้องทุกข์ทั้งสองแบบนี้ต่อเนื่องกันมาโดยกำหนดสถานที่และหน่วยงานผู้ดูแลแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย และในสมัยถังได้มีการพัฒนาระบบการร้องทุกข์อย่างเข้มข้น มีการแยกกลองร้องทุกข์ออกมาเป็นสองแบบ กลองร้องฎีกาต่อฮ่องเต้เรียกว่ากลอง ‘เติงเหวินกู่’ (登闻鼓 แปลตรงตัวได้ประมาณว่ากลองที่เสียงดังไปถึงราชบัลลังก์ในท้องพระโรง) แตกต่างจากกลองร้องทุกข์ทั่วไปที่ชาวบ้านในตีหน้าศาลหรือหน้าสถานที่ว่าการท้องถิ่นที่เรียกว่า ‘หมิงเยวียนกู่’ (鸣冤鼓)

    มีการบันทึกว่าในสมัยถังนั้น มีการตั้งกลองเติงเหวินกู่และหินเฟ่ยสือที่หน้าประตูอาคารนอกท้องพระโรง และมีทหารยามเฝ้าเพื่อคอยรับเรื่อง (แต่ไม่ได้บอกว่ายังต้องยืนข้างหินเฟ่ยสือนานถึงสามวันหรือไม่) ต่อมาในสมัยจักรพรรดินีบูเช็กเทียนยกเลิกการเฝ้าโดยทหาร ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความกลัว และให้มีเจ้าหน้าที่หน่วยตรวจสอบขุนนางหรือที่เรียกว่า ‘อวี้สื่อไถ’ (御史台) มารับคำร้องโดยตรง

    ในยุคสมัยต่อมายังคงมีการใช้กลองเติงเหวินกู่ แต่นานวันเข้า เรื่องที่ได้รับการร้องทุกข์ผ่านการตีกลองเติงเหวินกู่ดูจะพร่ำเพรื่อขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้เป็นเรื่องร้องเรียนขุนนางระดับสูงหรือเรื่องระดับชาติบ้านเมือง จนทำให้ฮ่องเต้ต้องทรงหมดเวลาไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง ในสมัยซ่งมีคดีร้องทุกข์ที่โด่งดังจนถูกจารึกไว้ในสมัยองค์ซ่งไท่จงว่า มีชาวบ้านมาตีกลองร้องฎีกาตามหาหมูที่หายไป จึงทรงพระราชทานเงินให้เป็นการชดเชย เป็นเรื่องเล่าที่แสดงถึงความ ‘เข้าถึง’ และความใส่พระทัยองค์ฮ่องเต้ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความยิบย่อยของเรื่องที่มีการร้องฏีกา

    ในรัชสมัยต่อมาในราชวงศ์ซ่งจึงมีการพัฒนาระบบการร้องฎีกายิ่งขึ้น โดยกำหนดที่ตั้งกลองเติงเหวินกู่ไว้สามจุด ต่อมายุบเหลือสองจุด โดยมีหน่วยงานที่ดูแลแต่ละจุดและกลั่นกรองเรื่องต่างกัน

    ต่อมาในยุคหมิงและชิงยิ่งมีข้อกำหนดที่เข้มข้นมากขึ้นเกี่ยวกับการตีกลองเติงเหวินกู่ โดยกำหนดให้ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทหารและการบริหารบ้านเมืองที่สำคัญ การทุจริตในระดับสูง หรือเรื่องที่ได้รับความไม่เป็นธรรมอย่างผิดแปลกมากเท่านั้น และในสมัยชิงนี่เองที่มีการกำหนดไว้ว่า ผู้ที่ตีกลองเติงเหวินกู่นั้น ต้องถูกโบยสามสิบพลองก่อน จึงจะยื่นฎีกาได้

    เมื่อกลองเติงเหวินกู่ดัง องค์ราชันมิอาจเพิกเฉย

    เนื่องด้วยเป็นเรื่องที่รู้ถึงพระเนตรพระกรรณ องค์ฮ่องเต้จึงทรงสามารถเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนของหน่วยงานต่างๆ หรือทรงไต่สวนด้วยองค์เองก็ย่อมได้ และท้ายสุดจะทรงเป็นผู้ตัดสินคดีเอง แต่ในความเป็นจริงนั้นกระบวนการร้องฎีกานี้มีการรับเรื่องและตรวจสอบผ่านหน่วยงานต่างๆ ตามขั้นตอน ดังนั้น หนทางสู่การได้รับความยุติธรรมของผู้ที่ร้องทุกข์ก็ไม่ได้ง่ายหรือตรงไปตรงมาอย่างที่เราเห็นในละคร

    แต่ทั้งนี้ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ชาวบ้านยังสามารถตีกลองร้องทุกข์ปกติหน้าที่ว่าการอำเภอหรือหน้าศาลได้ โดยมีบทกำหนดขั้นตอนและเนื้อหาของเรื่องที่ร้องเรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุและชนชั้นของผู้ที่ต้องการร้องทุกข์อีกด้วย อีกทั้งยังมีบทลงโทษรุนแรงสำหรับผู้ที่ร้องเรียนด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จ

    สรุปได้ว่า ในบริบทของสมัยถังนั้น Stoyฯ ไม่พบข้อมูลว่ามีการโบยผู้ตีกลองร้องฏีกาแต่อย่างใด

    ส่วนในสมัยซ่งซึ่งเป็นฉากหลังของละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> และ <ตำนานหมิงหลัน> นั้น Storyฯ อ่านพบบทวิเคราะห์ว่า ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> นั้น นางเอกตีกลองร้องทุกข์ว่าถูกผู้ชายหลอกว่าจะแต่งงานด้วยและพยายามหลอกเงิน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างชัดเจน (คือยังไม่ได้แต่งงานและเงินก็ไม่ได้ถูกเอาไป) อีกทั้งนางเป็นบุตรีของขุนนางที่เคยต้องโทษ จึงต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้กล่าวหาเท็จ แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกไม่ต้องถูกโบยเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับราชสำนักโดยตรงและเป็นการร้องเรียนโดยตัวนางเอกซึ่งมียศสูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Storyฯ หาไม่พบข้อมูลอื่นที่มายืนยันว่าในสมัยซ่งมีการโบยผู้ตีกลองร้องฎีกาจริงๆ หากท่านใดเคยผ่านตาผ่านหูมาก็บอกกล่าวกันได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.wpzysq.com/thread-137854.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/登闻鼓/9859346
    https://baike.baidu.com/item/肺石/5742166
    https://www.bj148.org/wh/bl/zh/201907/t20190718_1521655.html
    https://www.163.com/dy/article/GB17LQI20543L1MM.html
    https://www.gugong.net/wenhua/39062.html
    https://www.youtube.com/watch?v=O06IQj2yGKk

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ตำนานหมิงหลัน #สามบุปผาลิขิตฝัน #กระบวนการร้องทุกข์ #ตีกลองร้องทุกข์
    ว่าด้วยเรื่องตีกลองร้องฎีกา สวัสดีค่ะ ขออภัยที่หายเงียบไปสองสัปดาห์เพราะ Storyฯ งานเข้าและไม่สบายไปหลายวัน วันนี้ยังคงมีเกร็ดเรื่องเล่าจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> มาคุยกัน เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้คงจำได้ว่ามีฉากหนึ่งที่มู่ปา น้องสาวของนางเอกเข้าเมืองหลวงมาตีกลองร้องฎีกาและต้องถูกโบยสามสิบพลองเพราะตีกลองนั้น และหากเพื่อนเพจได้ดูละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> ก็จะเคยเห็นฉากที่นางเอกตีกลองร้องฎีกาแล้วต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเช่นกัน แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกก็เคยตีกลองร้องฎีกาแต่ไม่ต้องถูกโบย ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นราชวงศ์สมมุติที่อิงจากสมัยถัง เรื่องการถูกโบยก่อนได้ร้องทุกข์จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ในวันนี้ ในสมัยโบราณ ชาวบ้านต้องการร้องทุกข์ก็จะไปดักรอขบวนเสด็จ แต่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน และเพื่อแสดงความห่วงใยในประชาชนของกษัตริย์ จึงมีการกำหนดจุดร้องฎีกาขึ้นเพื่อให้มีขั้นตอนที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ไม่เพียงเพื่อให้ประชาชนร้องทุกข์ แต่เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนออกความเห็นในเรื่องต่างๆ ได้อีกด้วย จากบันทึกโจวหลี่ การตีกลองร้องทุกข์มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว (1046 - 256 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีการวางกลองไว้ข้างถนน มีทหารเวรยามดูแล เมื่อมีคนมาตีกลอง ทหารต้องรายงานเบื้องบนจนถึงพระกรรณ นอกจากนี้ ยังมีการร้องทุกข์ด้วยการไปยืนอย่างเงียบๆ ข้างหินสีแดงสูงประมาณ 8-9 ฟุต เรียกว่า ‘หินเฟ่ยสือ’ (肺石 แปลตรงตัวว่า ปอดที่ทำจากหิน) สำหรับคนที่ต้องการร้องทุกข์แบบไม่โพนทะนา ยืนสามวัน ทหารที่เฝ้าอยู่ก็จะพาตัวไปรับเรื่องอย่างเงียบๆ มีการใช้ระบบร้องทุกข์ทั้งสองแบบนี้ต่อเนื่องกันมาโดยกำหนดสถานที่และหน่วยงานผู้ดูแลแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย และในสมัยถังได้มีการพัฒนาระบบการร้องทุกข์อย่างเข้มข้น มีการแยกกลองร้องทุกข์ออกมาเป็นสองแบบ กลองร้องฎีกาต่อฮ่องเต้เรียกว่ากลอง ‘เติงเหวินกู่’ (登闻鼓 แปลตรงตัวได้ประมาณว่ากลองที่เสียงดังไปถึงราชบัลลังก์ในท้องพระโรง) แตกต่างจากกลองร้องทุกข์ทั่วไปที่ชาวบ้านในตีหน้าศาลหรือหน้าสถานที่ว่าการท้องถิ่นที่เรียกว่า ‘หมิงเยวียนกู่’ (鸣冤鼓) มีการบันทึกว่าในสมัยถังนั้น มีการตั้งกลองเติงเหวินกู่และหินเฟ่ยสือที่หน้าประตูอาคารนอกท้องพระโรง และมีทหารยามเฝ้าเพื่อคอยรับเรื่อง (แต่ไม่ได้บอกว่ายังต้องยืนข้างหินเฟ่ยสือนานถึงสามวันหรือไม่) ต่อมาในสมัยจักรพรรดินีบูเช็กเทียนยกเลิกการเฝ้าโดยทหาร ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความกลัว และให้มีเจ้าหน้าที่หน่วยตรวจสอบขุนนางหรือที่เรียกว่า ‘อวี้สื่อไถ’ (御史台) มารับคำร้องโดยตรง ในยุคสมัยต่อมายังคงมีการใช้กลองเติงเหวินกู่ แต่นานวันเข้า เรื่องที่ได้รับการร้องทุกข์ผ่านการตีกลองเติงเหวินกู่ดูจะพร่ำเพรื่อขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้เป็นเรื่องร้องเรียนขุนนางระดับสูงหรือเรื่องระดับชาติบ้านเมือง จนทำให้ฮ่องเต้ต้องทรงหมดเวลาไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง ในสมัยซ่งมีคดีร้องทุกข์ที่โด่งดังจนถูกจารึกไว้ในสมัยองค์ซ่งไท่จงว่า มีชาวบ้านมาตีกลองร้องฎีกาตามหาหมูที่หายไป จึงทรงพระราชทานเงินให้เป็นการชดเชย เป็นเรื่องเล่าที่แสดงถึงความ ‘เข้าถึง’ และความใส่พระทัยองค์ฮ่องเต้ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความยิบย่อยของเรื่องที่มีการร้องฏีกา ในรัชสมัยต่อมาในราชวงศ์ซ่งจึงมีการพัฒนาระบบการร้องฎีกายิ่งขึ้น โดยกำหนดที่ตั้งกลองเติงเหวินกู่ไว้สามจุด ต่อมายุบเหลือสองจุด โดยมีหน่วยงานที่ดูแลแต่ละจุดและกลั่นกรองเรื่องต่างกัน ต่อมาในยุคหมิงและชิงยิ่งมีข้อกำหนดที่เข้มข้นมากขึ้นเกี่ยวกับการตีกลองเติงเหวินกู่ โดยกำหนดให้ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทหารและการบริหารบ้านเมืองที่สำคัญ การทุจริตในระดับสูง หรือเรื่องที่ได้รับความไม่เป็นธรรมอย่างผิดแปลกมากเท่านั้น และในสมัยชิงนี่เองที่มีการกำหนดไว้ว่า ผู้ที่ตีกลองเติงเหวินกู่นั้น ต้องถูกโบยสามสิบพลองก่อน จึงจะยื่นฎีกาได้ เมื่อกลองเติงเหวินกู่ดัง องค์ราชันมิอาจเพิกเฉย เนื่องด้วยเป็นเรื่องที่รู้ถึงพระเนตรพระกรรณ องค์ฮ่องเต้จึงทรงสามารถเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนของหน่วยงานต่างๆ หรือทรงไต่สวนด้วยองค์เองก็ย่อมได้ และท้ายสุดจะทรงเป็นผู้ตัดสินคดีเอง แต่ในความเป็นจริงนั้นกระบวนการร้องฎีกานี้มีการรับเรื่องและตรวจสอบผ่านหน่วยงานต่างๆ ตามขั้นตอน ดังนั้น หนทางสู่การได้รับความยุติธรรมของผู้ที่ร้องทุกข์ก็ไม่ได้ง่ายหรือตรงไปตรงมาอย่างที่เราเห็นในละคร แต่ทั้งนี้ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ชาวบ้านยังสามารถตีกลองร้องทุกข์ปกติหน้าที่ว่าการอำเภอหรือหน้าศาลได้ โดยมีบทกำหนดขั้นตอนและเนื้อหาของเรื่องที่ร้องเรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุและชนชั้นของผู้ที่ต้องการร้องทุกข์อีกด้วย อีกทั้งยังมีบทลงโทษรุนแรงสำหรับผู้ที่ร้องเรียนด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จ สรุปได้ว่า ในบริบทของสมัยถังนั้น Stoyฯ ไม่พบข้อมูลว่ามีการโบยผู้ตีกลองร้องฏีกาแต่อย่างใด ส่วนในสมัยซ่งซึ่งเป็นฉากหลังของละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> และ <ตำนานหมิงหลัน> นั้น Storyฯ อ่านพบบทวิเคราะห์ว่า ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> นั้น นางเอกตีกลองร้องทุกข์ว่าถูกผู้ชายหลอกว่าจะแต่งงานด้วยและพยายามหลอกเงิน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างชัดเจน (คือยังไม่ได้แต่งงานและเงินก็ไม่ได้ถูกเอาไป) อีกทั้งนางเป็นบุตรีของขุนนางที่เคยต้องโทษ จึงต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้กล่าวหาเท็จ แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกไม่ต้องถูกโบยเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับราชสำนักโดยตรงและเป็นการร้องเรียนโดยตัวนางเอกซึ่งมียศสูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Storyฯ หาไม่พบข้อมูลอื่นที่มายืนยันว่าในสมัยซ่งมีการโบยผู้ตีกลองร้องฎีกาจริงๆ หากท่านใดเคยผ่านตาผ่านหูมาก็บอกกล่าวกันได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.wpzysq.com/thread-137854.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/登闻鼓/9859346 https://baike.baidu.com/item/肺石/5742166 https://www.bj148.org/wh/bl/zh/201907/t20190718_1521655.html https://www.163.com/dy/article/GB17LQI20543L1MM.html https://www.gugong.net/wenhua/39062.html https://www.youtube.com/watch?v=O06IQj2yGKk #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ตำนานหมิงหลัน #สามบุปผาลิขิตฝัน #กระบวนการร้องทุกข์ #ตีกลองร้องทุกข์
    WWW.WPZYSQ.COM
    灼灼风流4K[全40集]古装/爱情/2023-4K专区-网盘资源社
    灼灼风流4K[全40集]古装/爱情/2023的网盘资源剧集简介该剧改编自随宇而安的小说《曾风流》。反抗传统婚姻制度、一心考取功名的事业脑女官慕灼华(景甜饰)与沙场沐血折戟、背负国仇家恨的美强惨战神刘衍(冯绍峰饰)彼此救赎、相知相爱,携手攘外安内、守卫国家,终成一代风流人物的故事。[ttreply]2023.灼灼风流4K
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 947 มุมมอง 0 รีวิว