• เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยจำได้ว่า Storyฯ เคยเขียนว่าพระเอกในเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> ‘ลู่อี้’ นั้นมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ วันนี้มาคุยกันกับเกร็ดประวัติศาสตร์จากละครเรื่องนี้ที่ Storyฯ เพิ่งได้กลับมาตั้งใจดูอีกครั้งและพบว่าตัวเองตกหล่นรายละเอียดไปไม่น้อย

    เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่าในเนื้อเรื่องมีตัวร้ายคือ ‘เหยียนซื่อฟาน’ ซึ่งเป็นลูกชายของขุนนางตัวโกงนาม ‘เหยียนซง’ ซึ่งทั้งสองคนนี้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในรัชสมัยขององค์หมิงซื่อจงแห่งราชวง์หมิง โดยเหยียนซงรับตำแหน่งหัวหน้าของคณะขุนนางสูงสุดหรือที่เรียกว่า ‘เน่ยเก๋อ’ (内阁 จึงเป็นที่มาของการเรียกขาน เหยียนซื่อฟานว่า ‘เสี่ยวเก๋อเหล่า’) ในละครมีฉากที่เหยียนซื่อฟานได้ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาและมีการถกกันว่าเป็นภาพของแท้หรือไม่

    Storyฯ เคยเขียนถึงภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาแล้วตอนที่คุยกันเกี่ยวกับละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> แต่วันนี้มีรายละเอียดเพิ่มเติม ขอถอดบทสนทนาจากในละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> มาดังนี้
    ... “ได้ยินมาว่าจางเจ๋อตวนใช้เวลาหนึ่งปีก็วาดภาพม้วนยาวนี้เสร็จ นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถหายาก... ท่านใต้เท่าสวี่... เชิญท่านลองคุยๆ ดูภาพนี้จริงปลอมหรือไม่อย่างไร” เหยียนซงกล่าว
    ใต้เท้าสวี่เอ่ย “...ตามที่ข้าน้อยทราบมา ภาพนี้ควรมีลายพระอักษรรูปแบบโซ่วจินขององค์ซ่งฮุยจงเป็นคำว่า ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ห้าอักษร... และมีตราประทับมังกรคู่ อีกทั้งมีบทกลอนนำ ภาพนี้ดูแล้วไม่คล้ายเป็นภาพวาดเลียนแบบ” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ยาว 528 ซม. สูง 24.8 ซม. เป็นหนึ่งในสิบของภาพโบราณที่มีค่าที่สุดของจีน ถูกวาดขึ้นโดยจางเจ๋อตวน เขาใช้เวลาหนึ่งปีในการวาดภาพนี้จริงหรือไม่ ไม่ปรากฏหลักฐานหรือบันทึกใดกล่าวชัด แต่ภาพนี้เคยตกอยู่ในมือของเหยียนซงจริง! ตอนที่ตระกูลเหยียนถูกลงทัณฑ์และยึดสมบัตินั้น รายชื่อของสมบัติที่ริบได้นั้นยาวถึง 140 หน้ากระดาษและหนึ่งในนั้นก็คือ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ นี้

    จากบันทึกที่พอแกะรอยกันได้ ว่ากันว่าภาพนี้แรกเริ่มถูกนำถวายองค์ซ่งฮุยจง (ค.ศ. 1522-1566) และพระองค์ทรงเขียนชื่อ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ขึ้นบนภาพด้วยอักษรในรูปแบบ ‘โซ่วจิน’ ซึ่งเป็นรูปแบบอักษรที่ทรงคิดประดิษฐ์ขึ้นเอง (ดูตัวอย่างจากรูป2 ขวา) เป็นที่ถกเถียงกันต่อมาว่าทรงโปรดภาพนี้หรือไม่เพราะมันไม่ได้ถูกเก็บไว้ในท้องพระคลังแต่ถูกพระราชทานให้ขุนนาง

    หลังจากนั้น ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ผ่านการเดินทางอย่างโชกโชน ในช่วงที่ราชวงศ์จินยึดแผ่นดินซ่งได้สำเร็จนั้น ว่ากันว่ามันถูกเก็บเข้าท้องพระคลังและถูกยักยอกออกมาขายทอดตลาด เป็นช่วงที่มีการเขียนบทนำลงไปหน้าภาพ ต่อมาในสมัยหยวนก็ถูกซื้อเก็บเข้าท้องพระคลังอีกครั้งและถูกยักยอกออกมาขายอีก มีการเสาะหามันเรื่อยมาจนตกมาอยู่ในมือของเหยียนซงในสมัยหมิง โดยที่ก่อนหน้านั้นปรากฏงานลอกเลียนแบบออกมาจำนวนไม่น้อย ต่อมามันถูกริบเป็นสมบัติหลวงอีกครั้งโดยมีการลบตราประทับที่แสดงความเป็นเจ้าของของตระกูลเหยียนออกจากภาพ หลังจากนั้นมันถูกเปลี่ยนมือไปมาในแวดวงขุนนาง โดยไม่แน่ว่าเป็นการได้รับพระราชทานหรือยักยอก และปรากฏบทความนำหน้าภาพขึ้นมาเพิ่มอีก โดยที่ลายพระหัตถ์ขององค์หมิงซื่อจงไม่ทราบว่าหายไปจากภาพตั้งแต่เมื่อใด ผู้ที่ถือครองครั้งสุดท้ายว่ากันว่าคือขันทีนามว่า ‘เฝิงเป่า’ ซึ่งต่อมาถูกลงทัณฑ์ริบสมบัติ

    ภาพนี้หายสาบสูญไปนานกว่าสองร้อยปี แน่นอนว่ามีภาพปลอมจำนวนไม่น้อยปรากฏขึ้น และภาพที่เชื่อว่าเป็นฉบับจริงนี้ปรากฏในตลาดและมาถึงมือของพิพิธภัณฑ์มณฑลเหลียวหนิงในปีค.ศ. 1950 ปัจจุบันถูกเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับลู่อี้: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0QA8xxCRgWSD6jP6PexAdnrZmEdGAHVxGTu3UXj3CpZfkovdY37ft9rQbauD6KfQzl
    บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับชิงหมิงซ่างเหอถู: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid01MbyBtawx6X9xEHogRvHY8NesM2MVWHUBgYeuujQnFrPFA39dgddSihm4jjXrfiPl

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    http://www.zgsshh.com/Works_body.asp?id=1190&amp;qx=137
    http://www.fengxuelin.com/tougao/16546.html
    http://ent.sina.com.cn/v/m/2017-10-12/doc-ifymviyp0369720.shtml
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2010/06-21/2352544.shtml
    http://collection.sina.com.cn/jczs/2016-10-26/doc-ifxwztrt0466746.shtml
    https://baike.baidu.com/item/瘦金体/884949

    #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ชิงหมิงซ่างเหอถู #เหยียนซื่อฟาน #ซ่งฮุยจง #อักษรโซ่วจิน
    เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยจำได้ว่า Storyฯ เคยเขียนว่าพระเอกในเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> ‘ลู่อี้’ นั้นมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ วันนี้มาคุยกันกับเกร็ดประวัติศาสตร์จากละครเรื่องนี้ที่ Storyฯ เพิ่งได้กลับมาตั้งใจดูอีกครั้งและพบว่าตัวเองตกหล่นรายละเอียดไปไม่น้อย เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่าในเนื้อเรื่องมีตัวร้ายคือ ‘เหยียนซื่อฟาน’ ซึ่งเป็นลูกชายของขุนนางตัวโกงนาม ‘เหยียนซง’ ซึ่งทั้งสองคนนี้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในรัชสมัยขององค์หมิงซื่อจงแห่งราชวง์หมิง โดยเหยียนซงรับตำแหน่งหัวหน้าของคณะขุนนางสูงสุดหรือที่เรียกว่า ‘เน่ยเก๋อ’ (内阁 จึงเป็นที่มาของการเรียกขาน เหยียนซื่อฟานว่า ‘เสี่ยวเก๋อเหล่า’) ในละครมีฉากที่เหยียนซื่อฟานได้ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาและมีการถกกันว่าเป็นภาพของแท้หรือไม่ Storyฯ เคยเขียนถึงภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาแล้วตอนที่คุยกันเกี่ยวกับละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> แต่วันนี้มีรายละเอียดเพิ่มเติม ขอถอดบทสนทนาจากในละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> มาดังนี้ ... “ได้ยินมาว่าจางเจ๋อตวนใช้เวลาหนึ่งปีก็วาดภาพม้วนยาวนี้เสร็จ นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถหายาก... ท่านใต้เท่าสวี่... เชิญท่านลองคุยๆ ดูภาพนี้จริงปลอมหรือไม่อย่างไร” เหยียนซงกล่าว ใต้เท้าสวี่เอ่ย “...ตามที่ข้าน้อยทราบมา ภาพนี้ควรมีลายพระอักษรรูปแบบโซ่วจินขององค์ซ่งฮุยจงเป็นคำว่า ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ห้าอักษร... และมีตราประทับมังกรคู่ อีกทั้งมีบทกลอนนำ ภาพนี้ดูแล้วไม่คล้ายเป็นภาพวาดเลียนแบบ” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ยาว 528 ซม. สูง 24.8 ซม. เป็นหนึ่งในสิบของภาพโบราณที่มีค่าที่สุดของจีน ถูกวาดขึ้นโดยจางเจ๋อตวน เขาใช้เวลาหนึ่งปีในการวาดภาพนี้จริงหรือไม่ ไม่ปรากฏหลักฐานหรือบันทึกใดกล่าวชัด แต่ภาพนี้เคยตกอยู่ในมือของเหยียนซงจริง! ตอนที่ตระกูลเหยียนถูกลงทัณฑ์และยึดสมบัตินั้น รายชื่อของสมบัติที่ริบได้นั้นยาวถึง 140 หน้ากระดาษและหนึ่งในนั้นก็คือ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ นี้ จากบันทึกที่พอแกะรอยกันได้ ว่ากันว่าภาพนี้แรกเริ่มถูกนำถวายองค์ซ่งฮุยจง (ค.ศ. 1522-1566) และพระองค์ทรงเขียนชื่อ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ขึ้นบนภาพด้วยอักษรในรูปแบบ ‘โซ่วจิน’ ซึ่งเป็นรูปแบบอักษรที่ทรงคิดประดิษฐ์ขึ้นเอง (ดูตัวอย่างจากรูป2 ขวา) เป็นที่ถกเถียงกันต่อมาว่าทรงโปรดภาพนี้หรือไม่เพราะมันไม่ได้ถูกเก็บไว้ในท้องพระคลังแต่ถูกพระราชทานให้ขุนนาง หลังจากนั้น ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ผ่านการเดินทางอย่างโชกโชน ในช่วงที่ราชวงศ์จินยึดแผ่นดินซ่งได้สำเร็จนั้น ว่ากันว่ามันถูกเก็บเข้าท้องพระคลังและถูกยักยอกออกมาขายทอดตลาด เป็นช่วงที่มีการเขียนบทนำลงไปหน้าภาพ ต่อมาในสมัยหยวนก็ถูกซื้อเก็บเข้าท้องพระคลังอีกครั้งและถูกยักยอกออกมาขายอีก มีการเสาะหามันเรื่อยมาจนตกมาอยู่ในมือของเหยียนซงในสมัยหมิง โดยที่ก่อนหน้านั้นปรากฏงานลอกเลียนแบบออกมาจำนวนไม่น้อย ต่อมามันถูกริบเป็นสมบัติหลวงอีกครั้งโดยมีการลบตราประทับที่แสดงความเป็นเจ้าของของตระกูลเหยียนออกจากภาพ หลังจากนั้นมันถูกเปลี่ยนมือไปมาในแวดวงขุนนาง โดยไม่แน่ว่าเป็นการได้รับพระราชทานหรือยักยอก และปรากฏบทความนำหน้าภาพขึ้นมาเพิ่มอีก โดยที่ลายพระหัตถ์ขององค์หมิงซื่อจงไม่ทราบว่าหายไปจากภาพตั้งแต่เมื่อใด ผู้ที่ถือครองครั้งสุดท้ายว่ากันว่าคือขันทีนามว่า ‘เฝิงเป่า’ ซึ่งต่อมาถูกลงทัณฑ์ริบสมบัติ ภาพนี้หายสาบสูญไปนานกว่าสองร้อยปี แน่นอนว่ามีภาพปลอมจำนวนไม่น้อยปรากฏขึ้น และภาพที่เชื่อว่าเป็นฉบับจริงนี้ปรากฏในตลาดและมาถึงมือของพิพิธภัณฑ์มณฑลเหลียวหนิงในปีค.ศ. 1950 ปัจจุบันถูกเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับลู่อี้: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0QA8xxCRgWSD6jP6PexAdnrZmEdGAHVxGTu3UXj3CpZfkovdY37ft9rQbauD6KfQzl บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับชิงหมิงซ่างเหอถู: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid01MbyBtawx6X9xEHogRvHY8NesM2MVWHUBgYeuujQnFrPFA39dgddSihm4jjXrfiPl Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://www.zgsshh.com/Works_body.asp?id=1190&amp;qx=137 http://www.fengxuelin.com/tougao/16546.html http://ent.sina.com.cn/v/m/2017-10-12/doc-ifymviyp0369720.shtml Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2010/06-21/2352544.shtml http://collection.sina.com.cn/jczs/2016-10-26/doc-ifxwztrt0466746.shtml https://baike.baidu.com/item/瘦金体/884949 #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ชิงหมิงซ่างเหอถู #เหยียนซื่อฟาน #ซ่งฮุยจง #อักษรโซ่วจิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 730 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ จากเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid036pXf9b2bDT6Pj7hz6t8U4hTYrJTrubWu3xRGJ26wogVFFnWAsTm6iQm7PECsHvbFl) วันนี้มาคุยต่อกันเกี่ยวกับอีกหนึ่งวลีเด็ดจากเรื่องเดียวกัน คือ ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วง... ตามเวลาของมัน’ (ฮวาคายฮวาลั่วจื้อโหย่วสือ / 花开花落自有时)

    จริงๆ แล้วความหมายของมันค่อนข้างตรงตัวเพราะสะท้อนถึงวัฏจักรแห่งชีวิต และเชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนคงคิดว่ามันมาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ

    วลีนี้ผันแปรมาจากวรรคหนึ่งในบทกวีในสมัยซ่งใต้ เป็นบทกวีของนางคณิกาหลวงเหยียนหรุ่ยผู้เลื่องชื่อด้านบทกวี มีชื่อว่า ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ (不是爱风尘 / มิได้รักในชีวิตนางคณิกา) และประโยคดั้งเดิมคือ ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน’ (คือร่วงก่อนแล้วค่อยบาน ไม่ใช่บานแล้วจึงร่วงแบบที่เราคุ้นเคย)

    ประวัติของเหยียนหรุ่ยไม่แน่ชัด บ้างว่านางถูกพ่อเลี้ยงหลอกมาขาย บ้างว่าพ่อของนางเคยเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยที่ต้องโทษ แต่ที่ชัดเจนคือนางได้รับการศึกษามาอย่างดีก่อนจะกลายมาเป็นนางคณิกาหลวง (คือถูกเรียกใช้ร้องรำทำเพลงในงานเลี้ยงต่างๆ ของขุนนาง) ชีวิตของนางผ่านร้อนผ่านหนาวไม่น้อย นางได้รับการชื่นชมจากขุนนางและผู้มีหน้ามีตาในสังคมไม่น้อยด้วยบทกวีที่โดดเด่น หนึ่งในนั้นคือถังจงโหย่วผู้ว่าราชการเขตเจ๋อตง จนต่อมานางถูกจับเข้าคุกไปทรมานด้วยข้อหาที่ว่านางค้างคืนในจวนของถังจงโหย่ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเอาผิดถังจงโหย่ว (ซึ่งเป็นการผิดกฎการใช้บริการนางคณิกาหลวง) แต่นางไม่ยอมรับผิดตามข้อกล่าวหา จนสุดท้ายเรื่องถึงในวังและได้มีการแต่งตั้งเยวี่ยหลิน (ลูกชายของเยวี่ยเฟยหรืองักฮุย) มาไต่สวนจนพบว่าจริงแล้วมันเป็นการแย่งชิงอำนาจของขุนนางโดยมีนางเป็นหมากตาหนึ่ง นางจึงได้รับการปลดปล่อย และต่อมาในบั้นปลายชีวิตนางกินดีอยู่ดีในฐานะอนุภรรยาอันเป็นที่รักของพ่อม่ายเชื้อพระวงศ์คนหนึ่ง

    เรื่องราวตอนที่นางถูกใส่ร้ายจนจำคุกและถูกทรมานเจียนตายนั้น เป็นคดีความที่โด่งดัง เกิดขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1182 และตอนที่นางถูกนำมาไต่สวนอีกครั้งโดยเยวี่ยหลินนั้น ด้วยความที่เยวี่ยหลินได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถด้านโคลงกลอนของนางและสืบรู้เรื่องราวที่แท้จริงจนตั้งใจจะปล่อยนางอยู่แล้ว จึงตั้งเงื่อนไขให้นางเล่าความจริงผ่านบทกวีเพื่อแลกกับอิสรภาพ และ ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ คือบทกวีบทนั้น

    ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ มีแปดวรรค เป็นบทกลอนที่ใช้การเปรียบเปรยและอุปมาอุไมยไม่น้อย สาระใจความสรุปได้ว่า: อย่าได้คิดดูถูกว่านางเป็นสตรีใฝ่ต่ำ นางไม่ได้ต้องการมาเป็นนางคณิกา แต่มีเหตุผิดพลาดทำให้ชีวิตผกผัน ชะตาชีวิตของนางตอนนี้ขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลินแล้ว นางอยากหลุดพ้นจากชีวิตนางคณิกานี้ แต่ยังจำต้องทนแม้ฝืนใจเต็มที และสิ่งที่โหยหาคืออิสรภาพ

    ฟังดูเหมือนไม่น่ามีอะไรเกี่ยวกับ ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ ใช่ไหม?

    ประโยค ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ นี้ ในบทกวีเดิมเขียนไว้ว่า ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน ล้วนแล้วแต่สุริยเทพจะกำหนด’ (花落花开自有时, 总赖东君主) เป็นการอุปมาอุปไมยว่า ไม่ว่านางจะตกอับจำคุก (บุปผาโรยร่วง) หรือจะพ้นคุกยืนหยัดขึ้นได้ใหม่ (บุปผาผลิบาน) อาจดูคล้ายเป็นเรื่องที่ชะตาชีวิตกำหนดไว้แล้ว แต่จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลิน (สุริยเทพ) ดังนั้นประโยคนี้ในความหมายดั้งเดิมของมันคือการรำพันถึงชะตาชีวิตที่ตกอยู่ในมือคนอื่น ตนเองไม่อาจกำหนดได้ สะท้อนถึงความท้อแท้ในใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ยอมรับในธรรมชาติของมันและอ้อนวอนขอความเห็นใจ

    ว่ากันว่าบทกวีนี้มิเพียงทำให้นางหลุดจากคุกแต่ยังได้รับการปลดชื่อออกจากทะเบียนทาสซึ่งเป็นสถานะของนางคณิกาหลวงอีกด้วย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงสถานะทาสของนางคณิกาหลวงแล้วในเรื่องของ ซ่งอิ่นจาง ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) เป็นการได้รับอิสรภาพสองแบบเลยทีเดียว

    วรรคที่ใช้ดอกไม้อุปมาอุปไมยถึงชะตาชีวิตนี้ เป็นที่นิยมแพร่หลายด้วยความไพเราะของมัน และต่อมาถูกผันเปลี่ยนมาเป็น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน’ (คือบานแล้วจึงโรย ตามวัฏจักรธรรมชาติ) และมีการแต่งวรรคต่ออีกหลากหลาย เช่น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน รักเกิดรักดับไม่มีผู้ใดบังคับได้’ เป็นต้น แต่ล้วนเป็นประโยคที่กล่าวถึงการดับการเกิดตามครรลองธรรมชาติเพื่อสะท้อนความไม่จีรัง และนิยมนำมาใช้กับความรักหรือความสัมพันธ์ระหว่างคน และนี่ก็เป็นบริบทและความหมายที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> นี่เอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.vogue.com.tw/culture/content-42286
    https://kknews.cc/history/5x9gyb8.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/严蕊/892616
    http://www.gaosan.com/gaokao/262749.html
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_753d1a95cd9e.aspx
    http://book.sina.com.cn/excerpt/rwws/2017-04-14/1446/doc-ifyeimqc3679324-p2.shtml

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #เหยียนหรุ่ย #บุปผาผลิบาน #ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน
    สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ จากเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid036pXf9b2bDT6Pj7hz6t8U4hTYrJTrubWu3xRGJ26wogVFFnWAsTm6iQm7PECsHvbFl) วันนี้มาคุยต่อกันเกี่ยวกับอีกหนึ่งวลีเด็ดจากเรื่องเดียวกัน คือ ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วง... ตามเวลาของมัน’ (ฮวาคายฮวาลั่วจื้อโหย่วสือ / 花开花落自有时) จริงๆ แล้วความหมายของมันค่อนข้างตรงตัวเพราะสะท้อนถึงวัฏจักรแห่งชีวิต และเชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนคงคิดว่ามันมาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ วลีนี้ผันแปรมาจากวรรคหนึ่งในบทกวีในสมัยซ่งใต้ เป็นบทกวีของนางคณิกาหลวงเหยียนหรุ่ยผู้เลื่องชื่อด้านบทกวี มีชื่อว่า ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ (不是爱风尘 / มิได้รักในชีวิตนางคณิกา) และประโยคดั้งเดิมคือ ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน’ (คือร่วงก่อนแล้วค่อยบาน ไม่ใช่บานแล้วจึงร่วงแบบที่เราคุ้นเคย) ประวัติของเหยียนหรุ่ยไม่แน่ชัด บ้างว่านางถูกพ่อเลี้ยงหลอกมาขาย บ้างว่าพ่อของนางเคยเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยที่ต้องโทษ แต่ที่ชัดเจนคือนางได้รับการศึกษามาอย่างดีก่อนจะกลายมาเป็นนางคณิกาหลวง (คือถูกเรียกใช้ร้องรำทำเพลงในงานเลี้ยงต่างๆ ของขุนนาง) ชีวิตของนางผ่านร้อนผ่านหนาวไม่น้อย นางได้รับการชื่นชมจากขุนนางและผู้มีหน้ามีตาในสังคมไม่น้อยด้วยบทกวีที่โดดเด่น หนึ่งในนั้นคือถังจงโหย่วผู้ว่าราชการเขตเจ๋อตง จนต่อมานางถูกจับเข้าคุกไปทรมานด้วยข้อหาที่ว่านางค้างคืนในจวนของถังจงโหย่ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเอาผิดถังจงโหย่ว (ซึ่งเป็นการผิดกฎการใช้บริการนางคณิกาหลวง) แต่นางไม่ยอมรับผิดตามข้อกล่าวหา จนสุดท้ายเรื่องถึงในวังและได้มีการแต่งตั้งเยวี่ยหลิน (ลูกชายของเยวี่ยเฟยหรืองักฮุย) มาไต่สวนจนพบว่าจริงแล้วมันเป็นการแย่งชิงอำนาจของขุนนางโดยมีนางเป็นหมากตาหนึ่ง นางจึงได้รับการปลดปล่อย และต่อมาในบั้นปลายชีวิตนางกินดีอยู่ดีในฐานะอนุภรรยาอันเป็นที่รักของพ่อม่ายเชื้อพระวงศ์คนหนึ่ง เรื่องราวตอนที่นางถูกใส่ร้ายจนจำคุกและถูกทรมานเจียนตายนั้น เป็นคดีความที่โด่งดัง เกิดขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1182 และตอนที่นางถูกนำมาไต่สวนอีกครั้งโดยเยวี่ยหลินนั้น ด้วยความที่เยวี่ยหลินได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถด้านโคลงกลอนของนางและสืบรู้เรื่องราวที่แท้จริงจนตั้งใจจะปล่อยนางอยู่แล้ว จึงตั้งเงื่อนไขให้นางเล่าความจริงผ่านบทกวีเพื่อแลกกับอิสรภาพ และ ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ คือบทกวีบทนั้น ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ มีแปดวรรค เป็นบทกลอนที่ใช้การเปรียบเปรยและอุปมาอุไมยไม่น้อย สาระใจความสรุปได้ว่า: อย่าได้คิดดูถูกว่านางเป็นสตรีใฝ่ต่ำ นางไม่ได้ต้องการมาเป็นนางคณิกา แต่มีเหตุผิดพลาดทำให้ชีวิตผกผัน ชะตาชีวิตของนางตอนนี้ขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลินแล้ว นางอยากหลุดพ้นจากชีวิตนางคณิกานี้ แต่ยังจำต้องทนแม้ฝืนใจเต็มที และสิ่งที่โหยหาคืออิสรภาพ ฟังดูเหมือนไม่น่ามีอะไรเกี่ยวกับ ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ ใช่ไหม? ประโยค ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ นี้ ในบทกวีเดิมเขียนไว้ว่า ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน ล้วนแล้วแต่สุริยเทพจะกำหนด’ (花落花开自有时, 总赖东君主) เป็นการอุปมาอุปไมยว่า ไม่ว่านางจะตกอับจำคุก (บุปผาโรยร่วง) หรือจะพ้นคุกยืนหยัดขึ้นได้ใหม่ (บุปผาผลิบาน) อาจดูคล้ายเป็นเรื่องที่ชะตาชีวิตกำหนดไว้แล้ว แต่จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลิน (สุริยเทพ) ดังนั้นประโยคนี้ในความหมายดั้งเดิมของมันคือการรำพันถึงชะตาชีวิตที่ตกอยู่ในมือคนอื่น ตนเองไม่อาจกำหนดได้ สะท้อนถึงความท้อแท้ในใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ยอมรับในธรรมชาติของมันและอ้อนวอนขอความเห็นใจ ว่ากันว่าบทกวีนี้มิเพียงทำให้นางหลุดจากคุกแต่ยังได้รับการปลดชื่อออกจากทะเบียนทาสซึ่งเป็นสถานะของนางคณิกาหลวงอีกด้วย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงสถานะทาสของนางคณิกาหลวงแล้วในเรื่องของ ซ่งอิ่นจาง ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) เป็นการได้รับอิสรภาพสองแบบเลยทีเดียว วรรคที่ใช้ดอกไม้อุปมาอุปไมยถึงชะตาชีวิตนี้ เป็นที่นิยมแพร่หลายด้วยความไพเราะของมัน และต่อมาถูกผันเปลี่ยนมาเป็น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน’ (คือบานแล้วจึงโรย ตามวัฏจักรธรรมชาติ) และมีการแต่งวรรคต่ออีกหลากหลาย เช่น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน รักเกิดรักดับไม่มีผู้ใดบังคับได้’ เป็นต้น แต่ล้วนเป็นประโยคที่กล่าวถึงการดับการเกิดตามครรลองธรรมชาติเพื่อสะท้อนความไม่จีรัง และนิยมนำมาใช้กับความรักหรือความสัมพันธ์ระหว่างคน และนี่ก็เป็นบริบทและความหมายที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> นี่เอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.vogue.com.tw/culture/content-42286 https://kknews.cc/history/5x9gyb8.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/严蕊/892616 http://www.gaosan.com/gaokao/262749.html https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_753d1a95cd9e.aspx http://book.sina.com.cn/excerpt/rwws/2017-04-14/1446/doc-ifyeimqc3679324-p2.shtml #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #เหยียนหรุ่ย #บุปผาผลิบาน #ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 761 มุมมอง 0 รีวิว
  • สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ Storyฯ คุยถึงที่มาของวลีเด็ดจากซีรีส์ <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> มีเพื่อนเพจถามถึงเรื่องละครงิ้วที่หรูอี้พูดถึงบ่อยๆ ในเรื่อง ซึ่งก็คือ ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (墙头马上) ขอใช้คำแปลตรงตัวว่า ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ ซึ่งในซีรีส์เท้าความว่า การชมงิ้วเรื่องนี้เป็นครั้งแรกที่หรูอี้และเฉียนหลงได้พบกัน และต่อมามีฉากที่เฉียนหลงบอกว่าจะไม่อ่อนแอเหมือนคุณชายสกุลเผย และหรูอี้บอกว่าไม่อยากต้องเจอสภาพแบบคุณหนูหลี่ที่ถูกบังคับให้ต้องทิ้งลูกไป ทำเอาผู้ชมงงไปตามๆ กันว่าเขาคุยอะไรกัน

    วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้

    ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ เป็นละครงิ้วสมัยราชวงศ์หยวนมีชื่อเต็มว่า ‘เผยส้าวจวิ้น เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (裴少俊墙头马上) ต่อมาตัดชื่อสั้นลงเหลือเพียง ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ เป็นผลงานของ ‘ไป๋ผ้อ’ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ยอดผู้แต่งบทละครงิ้วในสมัยนั้นและผลงานของเขายังได้รับการสืบทอดและจัดแสดงในปัจจุบันอีกหลายเรื่อง และ ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดละครงิ้วแนวรักโรแมนติกสมัยหยวน

    ละครงิ้วนี้ดัดแปลงมาจากบทกวีสมัยถังของไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) (หมายเหตุ คือเขาคือนักการเมืองผู้เคยสร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกซากุระหรืออิงฮวาที่ Storyฯ เคยเขียนถึง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/686842736777355 )
    บทกวีที่ว่านี้มีชื่อว่า ‘งมขวดเงินจากก้นบ่อ’ (井底引银瓶) เป็นหนึ่งในผลงานที่เลื่องชื่อที่สุดของเขา ยาวถึง 34 วรรค สรุปเนื้อหาเป็นเรื่องราวความรักรันทด โดยมีอารัมภบทว่า ใช้ด้ายผูกขวดเงินดึงขึ้นเกือบจะพ้นบ่อ แต่ด้ายก็ขาดเสียก่อน เอาหยกมาเจียรด้วยหิน กำลังจะได้ปิ่นปักผมก็มาหักเสียก่อน เป็นการหวนรำลึกถึงความรักในอดีตที่ขาดสะบั้นลง อดีตที่ว่านี้ก็คือเรื่องคุณหนูนางหนึ่งที่ถูกเลี้ยงมาอย่างริ้นไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม วันๆ ถูกขังอยู่แต่ในสวนหลังบ้าน จึงชอบปีนขึ้นไปเกาะสันกำแพงมองดูโลกภายนอก อยู่มาวันหนึ่งยืนมองอยู่อย่างนี้ก็สบตาเข้ากับคุณชายท่านหนึ่งที่ขี่ม้าขาวผ่านมา เกิดเป็นรักแรกพบ ต่อมาก็หนีตามคุณชายผู้นั้นกลับไปยังบ้านของเขาที่อีกเมืองหนึ่ง แต่ด้วยเป็นการหนีตาม ไม่ได้มีตบแต่งตามพิธีการ นางจึงไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัวฝ่ายชาย ถูกมองว่าเป็นเพียงอนุ ไม่ใช่ภรรยาเอก สุดท้ายถูกบีบให้ทิ้งลูกและไล่ออกไป คุณชายนั้นก็ไม่ได้ปกป้อง นางจึงต้องออกมาผจญชีวิตตามลำพังเพราะละอายเกินกว่าจะแบกหน้ากลับบ้านเกิด บทกวีจบลงด้วยการรำพันของนางว่า ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี และเตือนเหล่าหญิงสาวไร้เดียงสาที่กำลังมีความรักให้จงสังวรไว้ว่า อย่าได้เอาชีวิตทั้งชีวิตของตนมาทุ่มเทให้กับชายใดได้โดยง่าย

    วรรคที่กล่าวถึงตอนสบตากันข้ามกำแพงและตกหลุมรักนั้น ก็คือวรรคที่หรูอี้มักเอ่ยติดปากยามที่นางและเฉียนหลงพูดถึงละครงิ้ว ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ ซึ่ง Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงวรรคนี้ว่า ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ (墙头马上遥相顾,一见知君即断肠 หมายเหตุ ภาษาจีนใช้คำประมาณว่า ‘รักและคิดถึงจนทำให้ไส้ขาดจนตายได้!’) เป็นคำพูดที่หรูอี้พยายามสื่อให้เฉียนหลงเข้าใจว่านางรักเขามากมาย

    นับว่าเป็นบทกวีที่แฝงไว้ด้วยความเศร้าและความผิดหวัง แต่ทำไมหรูอี้และเฉียนหลงจึงคุยกันราวกับว่ามันเป็นเรื่องที่มีความหมายดี?

    นั่นเป็นเพราะว่าละครงิ้วและบทกวีมีความแตกต่าง ละครงิ้วที่นิยมในสมัยหยวนนั้น เป็นสไตล์แบบ ‘จ๋าจวี้’ (Mixed Play ที่ Storyฯ เคยพูดถึงตอนคุยเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) กล่าวคือมีหลากหลายอรรถรส ละครเรื่องนี้จึงถูกแต่งเติมให้มีทั้งความเศร้า ความตลกและจบแบบสุขนิยม มีการต่อเติมเรื่องราวว่า สตรีนางนี้คือคุณหนูหลี่เชียนจิน แต่นางโหยหาความรักและต่อต้านการถูกกักขัง นางหนีตามเผยส้าวจวิ้นมาถึงเรือนสกุลเผย แต่ต้องแอบอยู่ในเรือนสวนของสามีไม่ให้พ่อของสามีรู้ อยู่มาเจ็ดปีมีบุตรชายหนึ่งหญิงหนึ่ง ความลับก็ถูกเปิดเผย นางถูกกล่าวหาว่าเป็นนางโลมและถูกบีบให้ต้องทิ้งลูกกลับบ้านเกิดไปโดยที่เผยส้าวจวิ้นทำอะไรไม่ได้ ต่อมาเผยส้าวจวิ้นสอบได้เป็นราชบัณฑิตเป็นขุนนางติดยศ ทางบ้านไม่กล้าขัดเขาอีก เขาก็มาง้อนาง ง้ออยู่นานจนสุดท้ายนางใจอ่อนยอมคืนดีด้วย และได้ครองรักกันอย่างมีความสุขในที่สุด เป็นเรื่องราวความรักหลากหลายอรรถรสที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดที่จะฝ่าฟันอุปสรรคให้หลุดพ้นจากกรอบสังคม จึงเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมตลอดหลายยุคหลายสมัย

    ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ ... ไม่แน่ว่าหรูอี้อาจต้องการเพียงใช้ประโยคนี้แสดงถึงความรักอย่างยิ่งยวดที่มีต่อเฉียนหลง แต่บทสรุปเรื่องราวชีวิตของนางผ่านซีรีส์เรื่องนี้กลับกลายเป็นอย่างที่บทกวีว่าไว้... ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://kknews.cc/history/xeg9gx8.html
    https://www.sgss8.net/tpdq/21724747/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5487665ffe0a.aspx
    https://baike.baidu.com/item/井底引银瓶/10214172
    https://www.sohu.com/a/260464211_801417
    https://baike.baidu.com/item/裴少俊墙头马上/754408

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #จ๋าจวี้ #งิ้วสมัยหยวน #เฉียงโถวหม่าซ่าง #สันกำแพงหลังอาชา
    สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ Storyฯ คุยถึงที่มาของวลีเด็ดจากซีรีส์ <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> มีเพื่อนเพจถามถึงเรื่องละครงิ้วที่หรูอี้พูดถึงบ่อยๆ ในเรื่อง ซึ่งก็คือ ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (墙头马上) ขอใช้คำแปลตรงตัวว่า ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ ซึ่งในซีรีส์เท้าความว่า การชมงิ้วเรื่องนี้เป็นครั้งแรกที่หรูอี้และเฉียนหลงได้พบกัน และต่อมามีฉากที่เฉียนหลงบอกว่าจะไม่อ่อนแอเหมือนคุณชายสกุลเผย และหรูอี้บอกว่าไม่อยากต้องเจอสภาพแบบคุณหนูหลี่ที่ถูกบังคับให้ต้องทิ้งลูกไป ทำเอาผู้ชมงงไปตามๆ กันว่าเขาคุยอะไรกัน วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ เป็นละครงิ้วสมัยราชวงศ์หยวนมีชื่อเต็มว่า ‘เผยส้าวจวิ้น เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (裴少俊墙头马上) ต่อมาตัดชื่อสั้นลงเหลือเพียง ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ เป็นผลงานของ ‘ไป๋ผ้อ’ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ยอดผู้แต่งบทละครงิ้วในสมัยนั้นและผลงานของเขายังได้รับการสืบทอดและจัดแสดงในปัจจุบันอีกหลายเรื่อง และ ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดละครงิ้วแนวรักโรแมนติกสมัยหยวน ละครงิ้วนี้ดัดแปลงมาจากบทกวีสมัยถังของไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) (หมายเหตุ คือเขาคือนักการเมืองผู้เคยสร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกซากุระหรืออิงฮวาที่ Storyฯ เคยเขียนถึง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/686842736777355 ) บทกวีที่ว่านี้มีชื่อว่า ‘งมขวดเงินจากก้นบ่อ’ (井底引银瓶) เป็นหนึ่งในผลงานที่เลื่องชื่อที่สุดของเขา ยาวถึง 34 วรรค สรุปเนื้อหาเป็นเรื่องราวความรักรันทด โดยมีอารัมภบทว่า ใช้ด้ายผูกขวดเงินดึงขึ้นเกือบจะพ้นบ่อ แต่ด้ายก็ขาดเสียก่อน เอาหยกมาเจียรด้วยหิน กำลังจะได้ปิ่นปักผมก็มาหักเสียก่อน เป็นการหวนรำลึกถึงความรักในอดีตที่ขาดสะบั้นลง อดีตที่ว่านี้ก็คือเรื่องคุณหนูนางหนึ่งที่ถูกเลี้ยงมาอย่างริ้นไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม วันๆ ถูกขังอยู่แต่ในสวนหลังบ้าน จึงชอบปีนขึ้นไปเกาะสันกำแพงมองดูโลกภายนอก อยู่มาวันหนึ่งยืนมองอยู่อย่างนี้ก็สบตาเข้ากับคุณชายท่านหนึ่งที่ขี่ม้าขาวผ่านมา เกิดเป็นรักแรกพบ ต่อมาก็หนีตามคุณชายผู้นั้นกลับไปยังบ้านของเขาที่อีกเมืองหนึ่ง แต่ด้วยเป็นการหนีตาม ไม่ได้มีตบแต่งตามพิธีการ นางจึงไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัวฝ่ายชาย ถูกมองว่าเป็นเพียงอนุ ไม่ใช่ภรรยาเอก สุดท้ายถูกบีบให้ทิ้งลูกและไล่ออกไป คุณชายนั้นก็ไม่ได้ปกป้อง นางจึงต้องออกมาผจญชีวิตตามลำพังเพราะละอายเกินกว่าจะแบกหน้ากลับบ้านเกิด บทกวีจบลงด้วยการรำพันของนางว่า ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี และเตือนเหล่าหญิงสาวไร้เดียงสาที่กำลังมีความรักให้จงสังวรไว้ว่า อย่าได้เอาชีวิตทั้งชีวิตของตนมาทุ่มเทให้กับชายใดได้โดยง่าย วรรคที่กล่าวถึงตอนสบตากันข้ามกำแพงและตกหลุมรักนั้น ก็คือวรรคที่หรูอี้มักเอ่ยติดปากยามที่นางและเฉียนหลงพูดถึงละครงิ้ว ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ ซึ่ง Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงวรรคนี้ว่า ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ (墙头马上遥相顾,一见知君即断肠 หมายเหตุ ภาษาจีนใช้คำประมาณว่า ‘รักและคิดถึงจนทำให้ไส้ขาดจนตายได้!’) เป็นคำพูดที่หรูอี้พยายามสื่อให้เฉียนหลงเข้าใจว่านางรักเขามากมาย นับว่าเป็นบทกวีที่แฝงไว้ด้วยความเศร้าและความผิดหวัง แต่ทำไมหรูอี้และเฉียนหลงจึงคุยกันราวกับว่ามันเป็นเรื่องที่มีความหมายดี? นั่นเป็นเพราะว่าละครงิ้วและบทกวีมีความแตกต่าง ละครงิ้วที่นิยมในสมัยหยวนนั้น เป็นสไตล์แบบ ‘จ๋าจวี้’ (Mixed Play ที่ Storyฯ เคยพูดถึงตอนคุยเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) กล่าวคือมีหลากหลายอรรถรส ละครเรื่องนี้จึงถูกแต่งเติมให้มีทั้งความเศร้า ความตลกและจบแบบสุขนิยม มีการต่อเติมเรื่องราวว่า สตรีนางนี้คือคุณหนูหลี่เชียนจิน แต่นางโหยหาความรักและต่อต้านการถูกกักขัง นางหนีตามเผยส้าวจวิ้นมาถึงเรือนสกุลเผย แต่ต้องแอบอยู่ในเรือนสวนของสามีไม่ให้พ่อของสามีรู้ อยู่มาเจ็ดปีมีบุตรชายหนึ่งหญิงหนึ่ง ความลับก็ถูกเปิดเผย นางถูกกล่าวหาว่าเป็นนางโลมและถูกบีบให้ต้องทิ้งลูกกลับบ้านเกิดไปโดยที่เผยส้าวจวิ้นทำอะไรไม่ได้ ต่อมาเผยส้าวจวิ้นสอบได้เป็นราชบัณฑิตเป็นขุนนางติดยศ ทางบ้านไม่กล้าขัดเขาอีก เขาก็มาง้อนาง ง้ออยู่นานจนสุดท้ายนางใจอ่อนยอมคืนดีด้วย และได้ครองรักกันอย่างมีความสุขในที่สุด เป็นเรื่องราวความรักหลากหลายอรรถรสที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดที่จะฝ่าฟันอุปสรรคให้หลุดพ้นจากกรอบสังคม จึงเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมตลอดหลายยุคหลายสมัย ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ ... ไม่แน่ว่าหรูอี้อาจต้องการเพียงใช้ประโยคนี้แสดงถึงความรักอย่างยิ่งยวดที่มีต่อเฉียนหลง แต่บทสรุปเรื่องราวชีวิตของนางผ่านซีรีส์เรื่องนี้กลับกลายเป็นอย่างที่บทกวีว่าไว้... ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://kknews.cc/history/xeg9gx8.html https://www.sgss8.net/tpdq/21724747/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5487665ffe0a.aspx https://baike.baidu.com/item/井底引银瓶/10214172 https://www.sohu.com/a/260464211_801417 https://baike.baidu.com/item/裴少俊墙头马上/754408 #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #จ๋าจวี้ #งิ้วสมัยหยวน #เฉียงโถวหม่าซ่าง #สันกำแพงหลังอาชา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 799 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้วพูดถึงภาพวาดโบราณที่ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสิบที่ล้ำค่าที่สุดของจีน วันนี้มาคุยกันสั้นๆ ถึงภาพวาดที่ปรากฏในละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>

    ละครเปิดฉากมาที่ร้านชาในเจียงหนานของนางเอกจ้าวพ่านเอ๋อร์ เพื่อนเพจที่ได้ดูละครอาจมัวแต่เพลินกับความสวยของนางเอกและวิวทิวทัศน์จนไม่ทันสังเกตว่าผนังร้านมีภาพวาดแขวนเต็มไปหมด

    Storyฯ จะบอกว่ามันคือแกลเลอรี่ดีๆ นี่เอง เพราะภาพที่โชว์อยู่ตามผนังเป็นภาพเหมือนของภาพวาดโบราณที่มีชื่อเสียงจัดเป็นสมบัติชาติของจีน ซึ่งในหลายฉากอื่นในละครก็มีภาพวาดโบราณเหล่านี้ให้ดูอีก วันนี้ยกตัวอย่างมาให้ดูกันสามภาพ

    ภาพแรกคือภาพ ‘เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว’ (莲池水禽图 แปลได้ว่าภาพสัตว์น้ำในสระปทุม ดูรูปประกอบ1) ภาพนี้เป็นภาพวาดสมัยปลายถัง-ห้าราชวงศ์ เป็นภาพคู่ วาดขึ้นบนผ้าไหมหรือที่เรียกว่า ‘เจวี้ยนเปิ่น’ (绢本/silk scroll) ขนาดประมาณของภาพแต่ละผืนคือ 106 x 91ซม. วาดโดยกู้เต๋อเชียนซึ่งมีพื้นเพอยู่เจียงหนาน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว

    ภาพต่อมาคือภาพ ‘ซีซันหลี่ว์สิง’ (溪山行旅图 แปลได้ว่าภาพการท่องไปตามภูเขาลำธาร ดูรูปประกอบ2) ภาพนี้วาดโดยฟ่านควน จิตรกรสมัยซ่งเหนือ วาดขึ้นบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 206 x 103ซม. เป็นสมบัติในวังหลวงสืบทอดกันมา (มีตราประทับห้องทรงพระอักษรสมัยหมิงและชิงอยู่ที่ขอบรูปจริง) ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม

    ภาพที่สามคือภาพ ‘ชิวซานเวิ่นเต้า’ (秋山问道图 แปลได้ประมาณว่าภาพการแสวงหาทางธรรมกลางภูผาในสารทฤดู) เป็นภาพสมัยปลายห้าราชวงศ์-ต้นซ่ง ผู้วาดเป็นนักบวชนามว่าจวี้หรัน เป็นภาพวาดบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 165 x 77ซม. ปัจจุบันภาพที่จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามเช่นกัน

    พูดถึงภาพจริงกันไปแล้วพอหอมปากหอมคอ แน่นอนว่าในละครยังมีอีกหลายภาพ ใครที่ยังดูละครเรื่องนี้อยู่อย่ามัวแต่เพลินตากับพระนางนะคะ ดูอาร์ตแกเลอรี่ที่เขาใส่มาให้ในละครด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจากในละครและจาก:
    https://www.163.com/dy/article/HBHTPUAG055226SD.html
    https://news.yangtse.com/content/1470761.html
    http://www.chinashj.com/sh-gdhh-wd/502.html
    https://baike.baidu.com/item/秋山问道图/2237166
    https://baike.baidu.com/item/溪山行旅图/1775752

    #สามบุปผาลิขิตฝัน #ซีซันหลี่ว์สิง #เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว #ชิวซานเวิ่นเต้า #ภาพวาดจีนโบราณ
    สัปดาห์ที่แล้วพูดถึงภาพวาดโบราณที่ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสิบที่ล้ำค่าที่สุดของจีน วันนี้มาคุยกันสั้นๆ ถึงภาพวาดที่ปรากฏในละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> ละครเปิดฉากมาที่ร้านชาในเจียงหนานของนางเอกจ้าวพ่านเอ๋อร์ เพื่อนเพจที่ได้ดูละครอาจมัวแต่เพลินกับความสวยของนางเอกและวิวทิวทัศน์จนไม่ทันสังเกตว่าผนังร้านมีภาพวาดแขวนเต็มไปหมด Storyฯ จะบอกว่ามันคือแกลเลอรี่ดีๆ นี่เอง เพราะภาพที่โชว์อยู่ตามผนังเป็นภาพเหมือนของภาพวาดโบราณที่มีชื่อเสียงจัดเป็นสมบัติชาติของจีน ซึ่งในหลายฉากอื่นในละครก็มีภาพวาดโบราณเหล่านี้ให้ดูอีก วันนี้ยกตัวอย่างมาให้ดูกันสามภาพ ภาพแรกคือภาพ ‘เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว’ (莲池水禽图 แปลได้ว่าภาพสัตว์น้ำในสระปทุม ดูรูปประกอบ1) ภาพนี้เป็นภาพวาดสมัยปลายถัง-ห้าราชวงศ์ เป็นภาพคู่ วาดขึ้นบนผ้าไหมหรือที่เรียกว่า ‘เจวี้ยนเปิ่น’ (绢本/silk scroll) ขนาดประมาณของภาพแต่ละผืนคือ 106 x 91ซม. วาดโดยกู้เต๋อเชียนซึ่งมีพื้นเพอยู่เจียงหนาน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว ภาพต่อมาคือภาพ ‘ซีซันหลี่ว์สิง’ (溪山行旅图 แปลได้ว่าภาพการท่องไปตามภูเขาลำธาร ดูรูปประกอบ2) ภาพนี้วาดโดยฟ่านควน จิตรกรสมัยซ่งเหนือ วาดขึ้นบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 206 x 103ซม. เป็นสมบัติในวังหลวงสืบทอดกันมา (มีตราประทับห้องทรงพระอักษรสมัยหมิงและชิงอยู่ที่ขอบรูปจริง) ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม ภาพที่สามคือภาพ ‘ชิวซานเวิ่นเต้า’ (秋山问道图 แปลได้ประมาณว่าภาพการแสวงหาทางธรรมกลางภูผาในสารทฤดู) เป็นภาพสมัยปลายห้าราชวงศ์-ต้นซ่ง ผู้วาดเป็นนักบวชนามว่าจวี้หรัน เป็นภาพวาดบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 165 x 77ซม. ปัจจุบันภาพที่จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามเช่นกัน พูดถึงภาพจริงกันไปแล้วพอหอมปากหอมคอ แน่นอนว่าในละครยังมีอีกหลายภาพ ใครที่ยังดูละครเรื่องนี้อยู่อย่ามัวแต่เพลินตากับพระนางนะคะ ดูอาร์ตแกเลอรี่ที่เขาใส่มาให้ในละครด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจากในละครและจาก: https://www.163.com/dy/article/HBHTPUAG055226SD.html https://news.yangtse.com/content/1470761.html http://www.chinashj.com/sh-gdhh-wd/502.html https://baike.baidu.com/item/秋山问道图/2237166 https://baike.baidu.com/item/溪山行旅图/1775752 #สามบุปผาลิขิตฝัน #ซีซันหลี่ว์สิง #เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว #ชิวซานเวิ่นเต้า #ภาพวาดจีนโบราณ
    《梦华录》中的挂画,惊现国宝《溪山行旅图》!
    《梦华录》中的挂画,惊现国宝《溪山行旅图》!,溪山行旅图,梦华录,范宽,董其昌,挂画,画家
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 575 มุมมอง 0 รีวิว
  • ว่าด้วยเรื่องตีกลองร้องฎีกา

    สวัสดีค่ะ ขออภัยที่หายเงียบไปสองสัปดาห์เพราะ Storyฯ งานเข้าและไม่สบายไปหลายวัน วันนี้ยังคงมีเกร็ดเรื่องเล่าจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> มาคุยกัน เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้คงจำได้ว่ามีฉากหนึ่งที่มู่ปา น้องสาวของนางเอกเข้าเมืองหลวงมาตีกลองร้องฎีกาและต้องถูกโบยสามสิบพลองเพราะตีกลองนั้น

    และหากเพื่อนเพจได้ดูละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> ก็จะเคยเห็นฉากที่นางเอกตีกลองร้องฎีกาแล้วต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเช่นกัน แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกก็เคยตีกลองร้องฎีกาแต่ไม่ต้องถูกโบย ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นราชวงศ์สมมุติที่อิงจากสมัยถัง

    เรื่องการถูกโบยก่อนได้ร้องทุกข์จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ในวันนี้

    ในสมัยโบราณ ชาวบ้านต้องการร้องทุกข์ก็จะไปดักรอขบวนเสด็จ แต่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน และเพื่อแสดงความห่วงใยในประชาชนของกษัตริย์ จึงมีการกำหนดจุดร้องฎีกาขึ้นเพื่อให้มีขั้นตอนที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ไม่เพียงเพื่อให้ประชาชนร้องทุกข์ แต่เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนออกความเห็นในเรื่องต่างๆ ได้อีกด้วย

    จากบันทึกโจวหลี่ การตีกลองร้องทุกข์มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว (1046 - 256 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีการวางกลองไว้ข้างถนน มีทหารเวรยามดูแล เมื่อมีคนมาตีกลอง ทหารต้องรายงานเบื้องบนจนถึงพระกรรณ

    นอกจากนี้ ยังมีการร้องทุกข์ด้วยการไปยืนอย่างเงียบๆ ข้างหินสีแดงสูงประมาณ 8-9 ฟุต เรียกว่า ‘หินเฟ่ยสือ’ (肺石 แปลตรงตัวว่า ปอดที่ทำจากหิน) สำหรับคนที่ต้องการร้องทุกข์แบบไม่โพนทะนา ยืนสามวัน ทหารที่เฝ้าอยู่ก็จะพาตัวไปรับเรื่องอย่างเงียบๆ

    มีการใช้ระบบร้องทุกข์ทั้งสองแบบนี้ต่อเนื่องกันมาโดยกำหนดสถานที่และหน่วยงานผู้ดูแลแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย และในสมัยถังได้มีการพัฒนาระบบการร้องทุกข์อย่างเข้มข้น มีการแยกกลองร้องทุกข์ออกมาเป็นสองแบบ กลองร้องฎีกาต่อฮ่องเต้เรียกว่ากลอง ‘เติงเหวินกู่’ (登闻鼓 แปลตรงตัวได้ประมาณว่ากลองที่เสียงดังไปถึงราชบัลลังก์ในท้องพระโรง) แตกต่างจากกลองร้องทุกข์ทั่วไปที่ชาวบ้านในตีหน้าศาลหรือหน้าสถานที่ว่าการท้องถิ่นที่เรียกว่า ‘หมิงเยวียนกู่’ (鸣冤鼓)

    มีการบันทึกว่าในสมัยถังนั้น มีการตั้งกลองเติงเหวินกู่และหินเฟ่ยสือที่หน้าประตูอาคารนอกท้องพระโรง และมีทหารยามเฝ้าเพื่อคอยรับเรื่อง (แต่ไม่ได้บอกว่ายังต้องยืนข้างหินเฟ่ยสือนานถึงสามวันหรือไม่) ต่อมาในสมัยจักรพรรดินีบูเช็กเทียนยกเลิกการเฝ้าโดยทหาร ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความกลัว และให้มีเจ้าหน้าที่หน่วยตรวจสอบขุนนางหรือที่เรียกว่า ‘อวี้สื่อไถ’ (御史台) มารับคำร้องโดยตรง

    ในยุคสมัยต่อมายังคงมีการใช้กลองเติงเหวินกู่ แต่นานวันเข้า เรื่องที่ได้รับการร้องทุกข์ผ่านการตีกลองเติงเหวินกู่ดูจะพร่ำเพรื่อขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้เป็นเรื่องร้องเรียนขุนนางระดับสูงหรือเรื่องระดับชาติบ้านเมือง จนทำให้ฮ่องเต้ต้องทรงหมดเวลาไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง ในสมัยซ่งมีคดีร้องทุกข์ที่โด่งดังจนถูกจารึกไว้ในสมัยองค์ซ่งไท่จงว่า มีชาวบ้านมาตีกลองร้องฎีกาตามหาหมูที่หายไป จึงทรงพระราชทานเงินให้เป็นการชดเชย เป็นเรื่องเล่าที่แสดงถึงความ ‘เข้าถึง’ และความใส่พระทัยองค์ฮ่องเต้ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความยิบย่อยของเรื่องที่มีการร้องฏีกา

    ในรัชสมัยต่อมาในราชวงศ์ซ่งจึงมีการพัฒนาระบบการร้องฎีกายิ่งขึ้น โดยกำหนดที่ตั้งกลองเติงเหวินกู่ไว้สามจุด ต่อมายุบเหลือสองจุด โดยมีหน่วยงานที่ดูแลแต่ละจุดและกลั่นกรองเรื่องต่างกัน

    ต่อมาในยุคหมิงและชิงยิ่งมีข้อกำหนดที่เข้มข้นมากขึ้นเกี่ยวกับการตีกลองเติงเหวินกู่ โดยกำหนดให้ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทหารและการบริหารบ้านเมืองที่สำคัญ การทุจริตในระดับสูง หรือเรื่องที่ได้รับความไม่เป็นธรรมอย่างผิดแปลกมากเท่านั้น และในสมัยชิงนี่เองที่มีการกำหนดไว้ว่า ผู้ที่ตีกลองเติงเหวินกู่นั้น ต้องถูกโบยสามสิบพลองก่อน จึงจะยื่นฎีกาได้

    เมื่อกลองเติงเหวินกู่ดัง องค์ราชันมิอาจเพิกเฉย

    เนื่องด้วยเป็นเรื่องที่รู้ถึงพระเนตรพระกรรณ องค์ฮ่องเต้จึงทรงสามารถเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนของหน่วยงานต่างๆ หรือทรงไต่สวนด้วยองค์เองก็ย่อมได้ และท้ายสุดจะทรงเป็นผู้ตัดสินคดีเอง แต่ในความเป็นจริงนั้นกระบวนการร้องฎีกานี้มีการรับเรื่องและตรวจสอบผ่านหน่วยงานต่างๆ ตามขั้นตอน ดังนั้น หนทางสู่การได้รับความยุติธรรมของผู้ที่ร้องทุกข์ก็ไม่ได้ง่ายหรือตรงไปตรงมาอย่างที่เราเห็นในละคร

    แต่ทั้งนี้ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ชาวบ้านยังสามารถตีกลองร้องทุกข์ปกติหน้าที่ว่าการอำเภอหรือหน้าศาลได้ โดยมีบทกำหนดขั้นตอนและเนื้อหาของเรื่องที่ร้องเรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุและชนชั้นของผู้ที่ต้องการร้องทุกข์อีกด้วย อีกทั้งยังมีบทลงโทษรุนแรงสำหรับผู้ที่ร้องเรียนด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จ

    สรุปได้ว่า ในบริบทของสมัยถังนั้น Stoyฯ ไม่พบข้อมูลว่ามีการโบยผู้ตีกลองร้องฏีกาแต่อย่างใด

    ส่วนในสมัยซ่งซึ่งเป็นฉากหลังของละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> และ <ตำนานหมิงหลัน> นั้น Storyฯ อ่านพบบทวิเคราะห์ว่า ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> นั้น นางเอกตีกลองร้องทุกข์ว่าถูกผู้ชายหลอกว่าจะแต่งงานด้วยและพยายามหลอกเงิน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างชัดเจน (คือยังไม่ได้แต่งงานและเงินก็ไม่ได้ถูกเอาไป) อีกทั้งนางเป็นบุตรีของขุนนางที่เคยต้องโทษ จึงต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้กล่าวหาเท็จ แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกไม่ต้องถูกโบยเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับราชสำนักโดยตรงและเป็นการร้องเรียนโดยตัวนางเอกซึ่งมียศสูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Storyฯ หาไม่พบข้อมูลอื่นที่มายืนยันว่าในสมัยซ่งมีการโบยผู้ตีกลองร้องฎีกาจริงๆ หากท่านใดเคยผ่านตาผ่านหูมาก็บอกกล่าวกันได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.wpzysq.com/thread-137854.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/登闻鼓/9859346
    https://baike.baidu.com/item/肺石/5742166
    https://www.bj148.org/wh/bl/zh/201907/t20190718_1521655.html
    https://www.163.com/dy/article/GB17LQI20543L1MM.html
    https://www.gugong.net/wenhua/39062.html
    https://www.youtube.com/watch?v=O06IQj2yGKk

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ตำนานหมิงหลัน #สามบุปผาลิขิตฝัน #กระบวนการร้องทุกข์ #ตีกลองร้องทุกข์
    ว่าด้วยเรื่องตีกลองร้องฎีกา สวัสดีค่ะ ขออภัยที่หายเงียบไปสองสัปดาห์เพราะ Storyฯ งานเข้าและไม่สบายไปหลายวัน วันนี้ยังคงมีเกร็ดเรื่องเล่าจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> มาคุยกัน เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้คงจำได้ว่ามีฉากหนึ่งที่มู่ปา น้องสาวของนางเอกเข้าเมืองหลวงมาตีกลองร้องฎีกาและต้องถูกโบยสามสิบพลองเพราะตีกลองนั้น และหากเพื่อนเพจได้ดูละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> ก็จะเคยเห็นฉากที่นางเอกตีกลองร้องฎีกาแล้วต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเช่นกัน แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกก็เคยตีกลองร้องฎีกาแต่ไม่ต้องถูกโบย ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นราชวงศ์สมมุติที่อิงจากสมัยถัง เรื่องการถูกโบยก่อนได้ร้องทุกข์จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ในวันนี้ ในสมัยโบราณ ชาวบ้านต้องการร้องทุกข์ก็จะไปดักรอขบวนเสด็จ แต่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน และเพื่อแสดงความห่วงใยในประชาชนของกษัตริย์ จึงมีการกำหนดจุดร้องฎีกาขึ้นเพื่อให้มีขั้นตอนที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ไม่เพียงเพื่อให้ประชาชนร้องทุกข์ แต่เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนออกความเห็นในเรื่องต่างๆ ได้อีกด้วย จากบันทึกโจวหลี่ การตีกลองร้องทุกข์มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว (1046 - 256 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีการวางกลองไว้ข้างถนน มีทหารเวรยามดูแล เมื่อมีคนมาตีกลอง ทหารต้องรายงานเบื้องบนจนถึงพระกรรณ นอกจากนี้ ยังมีการร้องทุกข์ด้วยการไปยืนอย่างเงียบๆ ข้างหินสีแดงสูงประมาณ 8-9 ฟุต เรียกว่า ‘หินเฟ่ยสือ’ (肺石 แปลตรงตัวว่า ปอดที่ทำจากหิน) สำหรับคนที่ต้องการร้องทุกข์แบบไม่โพนทะนา ยืนสามวัน ทหารที่เฝ้าอยู่ก็จะพาตัวไปรับเรื่องอย่างเงียบๆ มีการใช้ระบบร้องทุกข์ทั้งสองแบบนี้ต่อเนื่องกันมาโดยกำหนดสถานที่และหน่วยงานผู้ดูแลแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย และในสมัยถังได้มีการพัฒนาระบบการร้องทุกข์อย่างเข้มข้น มีการแยกกลองร้องทุกข์ออกมาเป็นสองแบบ กลองร้องฎีกาต่อฮ่องเต้เรียกว่ากลอง ‘เติงเหวินกู่’ (登闻鼓 แปลตรงตัวได้ประมาณว่ากลองที่เสียงดังไปถึงราชบัลลังก์ในท้องพระโรง) แตกต่างจากกลองร้องทุกข์ทั่วไปที่ชาวบ้านในตีหน้าศาลหรือหน้าสถานที่ว่าการท้องถิ่นที่เรียกว่า ‘หมิงเยวียนกู่’ (鸣冤鼓) มีการบันทึกว่าในสมัยถังนั้น มีการตั้งกลองเติงเหวินกู่และหินเฟ่ยสือที่หน้าประตูอาคารนอกท้องพระโรง และมีทหารยามเฝ้าเพื่อคอยรับเรื่อง (แต่ไม่ได้บอกว่ายังต้องยืนข้างหินเฟ่ยสือนานถึงสามวันหรือไม่) ต่อมาในสมัยจักรพรรดินีบูเช็กเทียนยกเลิกการเฝ้าโดยทหาร ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความกลัว และให้มีเจ้าหน้าที่หน่วยตรวจสอบขุนนางหรือที่เรียกว่า ‘อวี้สื่อไถ’ (御史台) มารับคำร้องโดยตรง ในยุคสมัยต่อมายังคงมีการใช้กลองเติงเหวินกู่ แต่นานวันเข้า เรื่องที่ได้รับการร้องทุกข์ผ่านการตีกลองเติงเหวินกู่ดูจะพร่ำเพรื่อขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้เป็นเรื่องร้องเรียนขุนนางระดับสูงหรือเรื่องระดับชาติบ้านเมือง จนทำให้ฮ่องเต้ต้องทรงหมดเวลาไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง ในสมัยซ่งมีคดีร้องทุกข์ที่โด่งดังจนถูกจารึกไว้ในสมัยองค์ซ่งไท่จงว่า มีชาวบ้านมาตีกลองร้องฎีกาตามหาหมูที่หายไป จึงทรงพระราชทานเงินให้เป็นการชดเชย เป็นเรื่องเล่าที่แสดงถึงความ ‘เข้าถึง’ และความใส่พระทัยองค์ฮ่องเต้ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความยิบย่อยของเรื่องที่มีการร้องฏีกา ในรัชสมัยต่อมาในราชวงศ์ซ่งจึงมีการพัฒนาระบบการร้องฎีกายิ่งขึ้น โดยกำหนดที่ตั้งกลองเติงเหวินกู่ไว้สามจุด ต่อมายุบเหลือสองจุด โดยมีหน่วยงานที่ดูแลแต่ละจุดและกลั่นกรองเรื่องต่างกัน ต่อมาในยุคหมิงและชิงยิ่งมีข้อกำหนดที่เข้มข้นมากขึ้นเกี่ยวกับการตีกลองเติงเหวินกู่ โดยกำหนดให้ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทหารและการบริหารบ้านเมืองที่สำคัญ การทุจริตในระดับสูง หรือเรื่องที่ได้รับความไม่เป็นธรรมอย่างผิดแปลกมากเท่านั้น และในสมัยชิงนี่เองที่มีการกำหนดไว้ว่า ผู้ที่ตีกลองเติงเหวินกู่นั้น ต้องถูกโบยสามสิบพลองก่อน จึงจะยื่นฎีกาได้ เมื่อกลองเติงเหวินกู่ดัง องค์ราชันมิอาจเพิกเฉย เนื่องด้วยเป็นเรื่องที่รู้ถึงพระเนตรพระกรรณ องค์ฮ่องเต้จึงทรงสามารถเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนของหน่วยงานต่างๆ หรือทรงไต่สวนด้วยองค์เองก็ย่อมได้ และท้ายสุดจะทรงเป็นผู้ตัดสินคดีเอง แต่ในความเป็นจริงนั้นกระบวนการร้องฎีกานี้มีการรับเรื่องและตรวจสอบผ่านหน่วยงานต่างๆ ตามขั้นตอน ดังนั้น หนทางสู่การได้รับความยุติธรรมของผู้ที่ร้องทุกข์ก็ไม่ได้ง่ายหรือตรงไปตรงมาอย่างที่เราเห็นในละคร แต่ทั้งนี้ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ชาวบ้านยังสามารถตีกลองร้องทุกข์ปกติหน้าที่ว่าการอำเภอหรือหน้าศาลได้ โดยมีบทกำหนดขั้นตอนและเนื้อหาของเรื่องที่ร้องเรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุและชนชั้นของผู้ที่ต้องการร้องทุกข์อีกด้วย อีกทั้งยังมีบทลงโทษรุนแรงสำหรับผู้ที่ร้องเรียนด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จ สรุปได้ว่า ในบริบทของสมัยถังนั้น Stoyฯ ไม่พบข้อมูลว่ามีการโบยผู้ตีกลองร้องฏีกาแต่อย่างใด ส่วนในสมัยซ่งซึ่งเป็นฉากหลังของละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> และ <ตำนานหมิงหลัน> นั้น Storyฯ อ่านพบบทวิเคราะห์ว่า ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> นั้น นางเอกตีกลองร้องทุกข์ว่าถูกผู้ชายหลอกว่าจะแต่งงานด้วยและพยายามหลอกเงิน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างชัดเจน (คือยังไม่ได้แต่งงานและเงินก็ไม่ได้ถูกเอาไป) อีกทั้งนางเป็นบุตรีของขุนนางที่เคยต้องโทษ จึงต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้กล่าวหาเท็จ แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกไม่ต้องถูกโบยเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับราชสำนักโดยตรงและเป็นการร้องเรียนโดยตัวนางเอกซึ่งมียศสูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Storyฯ หาไม่พบข้อมูลอื่นที่มายืนยันว่าในสมัยซ่งมีการโบยผู้ตีกลองร้องฎีกาจริงๆ หากท่านใดเคยผ่านตาผ่านหูมาก็บอกกล่าวกันได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.wpzysq.com/thread-137854.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/登闻鼓/9859346 https://baike.baidu.com/item/肺石/5742166 https://www.bj148.org/wh/bl/zh/201907/t20190718_1521655.html https://www.163.com/dy/article/GB17LQI20543L1MM.html https://www.gugong.net/wenhua/39062.html https://www.youtube.com/watch?v=O06IQj2yGKk #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ตำนานหมิงหลัน #สามบุปผาลิขิตฝัน #กระบวนการร้องทุกข์ #ตีกลองร้องทุกข์
    WWW.WPZYSQ.COM
    灼灼风流4K[全40集]古装/爱情/2023-4K专区-网盘资源社
    灼灼风流4K[全40集]古装/爱情/2023的网盘资源剧集简介该剧改编自随宇而安的小说《曾风流》。反抗传统婚姻制度、一心考取功名的事业脑女官慕灼华(景甜饰)与沙场沐血折戟、背负国仇家恨的美强惨战神刘衍(冯绍峰饰)彼此救赎、相知相爱,携手攘外安内、守卫国家,终成一代风流人物的故事。[ttreply]2023.灼灼风流4K
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 785 มุมมอง 0 รีวิว