อย่าเพิ่งเบื่อกันนะกับเรื่องภาพวาดจีนโบราณในละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจถามมาว่า ‘ภาพวาดงานเลี้ยง’ มีจริงหรือไม่
ภาพวาดงานเลี้ยงที่พูดถึงนี้ในละครเรียกว่า ‘เยี่ยเยี่ยนถู’ แปลตรงตัวว่าภาพวาดงานเลี้ยงราตรี บรรยายว่าวาดโดยหวางไอ่ มีเนื้อหาเกี่ยวกับงานเลี้ยงของจ่วนอวิ้นสื่อแห่งซีชวน (ตำแหน่งนี้มีอำนาจสูงสุดดูแลการขนส่ง) ที่มีการร้องรำทำเพลงโดยหญิงคณิกา เป็นภาพวาดที่ใช้ดำเนินเรื่องราวของละครเรื่องนี้ เพราะเป็นภาพที่พระเอกต้องสืบหาและมีความลับสำคัญซ่อนอยู่ในภาพซึ่งก็คือชื่อของคนที่มาร่วมงานเลี้ยงถูกแอบเขียนเข้าไปในภาพด้วย
ถามว่าในความเป็นจริงมีภาพที่ละครกล่าวถึงนี้หรือไม่? คำตอบคือไม่มี แต่... มีเกร็ดข้อมูลจริงคลุกอยู่ในนี้ Storyฯ สรุปเป็นประเด็นดังนี้
ประเด็นแรกคือจิตรกร ‘หวางไอ่’ เขาผู้นี้เป็นจิตรกรชาวซ่งเหนือที่มีอยู่จริงและภาพที่ขึ้นชื่อของเขาคือภาพเหมือนในท่านั่งขององค์ปฐมกษัตริย์ซ่งไท่จู่แห่งราชวงศ์ซ่ง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) แต่เขาไม่เคยวาดภาพงานเลี้ยง
ประเด็นที่สองก็คือภาพวาดงานเลี้ยงราตรี หากเพื่อนเพจลองค้นหาคำว่า 夜宴图 (เยี่ยเยี่ยนถู) จะมีภาพหนึ่งที่ปรากฏขึ้นมาทันที มันเป็นหนึ่งในสิบของภาพโบราณที่มีค่าที่สุดของจีน มีชื่อเต็มว่า ‘หานซีจ่ายเยี่ยเยี่ยนถู’ (韩熙载夜宴图 / ภาพวาดงานเลี้ยงราตรีของหานซีจ่าย)
‘หานซีจ่ายเยี่ยเยี่ยนถู’ เป็นภาพวาดสมัยปลายถัง-ห้าราชวงศ์ซึ่งมีปูมหลังเรื่องการเมือง ผู้วาดคือกู้หงจงซึ่งถูกส่งไปสอดส่องพฤติกรรมของหานซีจ่ายที่ไม่ยอมรับตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยขององค์หลี่อวี้ ภาพงานเลี้ยงนี้สะท้อนให้เห็นว่า หานซีจ่ายลุ่มหลงมัวเมาไปวันๆ กับสตรีและดนตรี ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อราชสำนักอีกต่อไป และแขกที่มาร่วมงานในภาพล้วนเป็นบุคคลจริงในแวดวงเพื่อนฝูงของเขา
ภาพนี้มีความยาว 335.5 ซม. เรื่องราวแบ่งเป็นห้าตอนโดยแต่ละตอนถูก ‘คั่น’ ด้วยการวาดฉากกั้นห้องหรือเตียง (ดูรูปประกอบ1 เรียงจากขวามาซ้าย ดูซิว่าเห็นการแบ่งฉากไหม) ฉากแรกคือการบรรเลงผีผา ต่อมาเป็นการชมฟ้อนรำตามจังหวะกลอง จากนั้นเป็นภาพการนอนพักเหนื่อยบนเตียงรายล้อมด้วยสาวงาม ตามมาด้วยฉากที่หานซีจ่ายใส่ชุดชั้นในนั่งฟังบรรเลงดนตรี แล้วสุดท้ายเป็นการส่งแขก
ปัจจุบันภาพนี้เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม มีคุณค่าทางศิลปะและประวัติศาสตร์เพราะเป็นอีกหนึ่งภาพเขียนที่มีเทคนิคการวาดที่ละเอียด ไม่ว่าจะท่วงท่าและสีหน้าสีตาของคน หรือส่วนประกอบอื่นของภาพ อีกทั้งยังใช้สีจากหินแร่ทำให้สีสดและดูมีพลัง ว่ากันว่าละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> ได้อ้างอิงรายละเอียดหลายอย่างจากภาพนี้ เช่น ท่านั่งและชุด รวมถึงการถือผีผาในแนวนอนของตัวละครซ่งอิ่นจาง ซึ่งเป็นวิธีถือในสมัยถัง-ซ่ง (ไม่ใช่แนวตั้งแบบที่เห็นในปัจจุบัน)
ประเด็นสุดท้ายคือเรื่องการเขียนชื่อบุคคลซ่อนเข้าไปในภาพ เทคนิคการลงชื่อตัวเองแบบเนียนๆ แทนการเขียนชื่อลงท้ายกำกับภาพนั้นมีอยู่จริงในสมัยซ่ง เทคนิคนี้เรียกว่า ‘อิ๋นข่วน’ (隐款 แปลตรงตัวว่าสไตล์แบบแอบซ่อน) โดยมีตัวอย่างจากนักวาดชื่อดัง ‘ฟ่านควน’ ซึ่ง Storyฯ กล่าวถึงผลงานของเขาไปในสัปดาห์ที่แล้วคือภาพ ‘ซีซันหลี่ว์สิง’ (溪山行旅图) มีการซุกชื่อเข้าไปในลายภาพวาด (ดูรูปประกอบ 2) ซึ่งกว่าจะมีคนพบเจอก็ปาเข้าไปปีค.ศ. 1958 แล้ว!
เป็นอย่างไรคะ? เรื่องภาพวาดในละครกับเกร็ดข้อเท็จจริงที่เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนต้องคาดไม่ถึง
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
https://ent.sina.cn/tv/tv/2022-06-20/detail-imizirau9589687.d.html
https://lujuba.cc/709629.html
http://www.sxsshw.com/xinshang/huihuazuopin/292.html
https://baike.baidu.com/item/韩熙载夜宴图/1161531
https://www.52lishi.com/article/47277.html
http://collection.sina.com.cn/jczs/2017-12-09/doc-ifypnqvn1974112.shtml
https://zhuanlan.zhihu.com/p/33235693
#สามบุปผาลิขิตฝัน #เยี่ยเยี่ยนถู #ภาพงานเลี้ยงกลางคืน #ภาพงานเลี้ยงราตรี #หานซีจ่าย #หวางไอ่ #อิ๋นข่วน #ภาพวาดสมัยซ่ง
ภาพวาดงานเลี้ยงที่พูดถึงนี้ในละครเรียกว่า ‘เยี่ยเยี่ยนถู’ แปลตรงตัวว่าภาพวาดงานเลี้ยงราตรี บรรยายว่าวาดโดยหวางไอ่ มีเนื้อหาเกี่ยวกับงานเลี้ยงของจ่วนอวิ้นสื่อแห่งซีชวน (ตำแหน่งนี้มีอำนาจสูงสุดดูแลการขนส่ง) ที่มีการร้องรำทำเพลงโดยหญิงคณิกา เป็นภาพวาดที่ใช้ดำเนินเรื่องราวของละครเรื่องนี้ เพราะเป็นภาพที่พระเอกต้องสืบหาและมีความลับสำคัญซ่อนอยู่ในภาพซึ่งก็คือชื่อของคนที่มาร่วมงานเลี้ยงถูกแอบเขียนเข้าไปในภาพด้วย
ถามว่าในความเป็นจริงมีภาพที่ละครกล่าวถึงนี้หรือไม่? คำตอบคือไม่มี แต่... มีเกร็ดข้อมูลจริงคลุกอยู่ในนี้ Storyฯ สรุปเป็นประเด็นดังนี้
ประเด็นแรกคือจิตรกร ‘หวางไอ่’ เขาผู้นี้เป็นจิตรกรชาวซ่งเหนือที่มีอยู่จริงและภาพที่ขึ้นชื่อของเขาคือภาพเหมือนในท่านั่งขององค์ปฐมกษัตริย์ซ่งไท่จู่แห่งราชวงศ์ซ่ง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) แต่เขาไม่เคยวาดภาพงานเลี้ยง
ประเด็นที่สองก็คือภาพวาดงานเลี้ยงราตรี หากเพื่อนเพจลองค้นหาคำว่า 夜宴图 (เยี่ยเยี่ยนถู) จะมีภาพหนึ่งที่ปรากฏขึ้นมาทันที มันเป็นหนึ่งในสิบของภาพโบราณที่มีค่าที่สุดของจีน มีชื่อเต็มว่า ‘หานซีจ่ายเยี่ยเยี่ยนถู’ (韩熙载夜宴图 / ภาพวาดงานเลี้ยงราตรีของหานซีจ่าย)
‘หานซีจ่ายเยี่ยเยี่ยนถู’ เป็นภาพวาดสมัยปลายถัง-ห้าราชวงศ์ซึ่งมีปูมหลังเรื่องการเมือง ผู้วาดคือกู้หงจงซึ่งถูกส่งไปสอดส่องพฤติกรรมของหานซีจ่ายที่ไม่ยอมรับตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยขององค์หลี่อวี้ ภาพงานเลี้ยงนี้สะท้อนให้เห็นว่า หานซีจ่ายลุ่มหลงมัวเมาไปวันๆ กับสตรีและดนตรี ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อราชสำนักอีกต่อไป และแขกที่มาร่วมงานในภาพล้วนเป็นบุคคลจริงในแวดวงเพื่อนฝูงของเขา
ภาพนี้มีความยาว 335.5 ซม. เรื่องราวแบ่งเป็นห้าตอนโดยแต่ละตอนถูก ‘คั่น’ ด้วยการวาดฉากกั้นห้องหรือเตียง (ดูรูปประกอบ1 เรียงจากขวามาซ้าย ดูซิว่าเห็นการแบ่งฉากไหม) ฉากแรกคือการบรรเลงผีผา ต่อมาเป็นการชมฟ้อนรำตามจังหวะกลอง จากนั้นเป็นภาพการนอนพักเหนื่อยบนเตียงรายล้อมด้วยสาวงาม ตามมาด้วยฉากที่หานซีจ่ายใส่ชุดชั้นในนั่งฟังบรรเลงดนตรี แล้วสุดท้ายเป็นการส่งแขก
ปัจจุบันภาพนี้เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม มีคุณค่าทางศิลปะและประวัติศาสตร์เพราะเป็นอีกหนึ่งภาพเขียนที่มีเทคนิคการวาดที่ละเอียด ไม่ว่าจะท่วงท่าและสีหน้าสีตาของคน หรือส่วนประกอบอื่นของภาพ อีกทั้งยังใช้สีจากหินแร่ทำให้สีสดและดูมีพลัง ว่ากันว่าละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> ได้อ้างอิงรายละเอียดหลายอย่างจากภาพนี้ เช่น ท่านั่งและชุด รวมถึงการถือผีผาในแนวนอนของตัวละครซ่งอิ่นจาง ซึ่งเป็นวิธีถือในสมัยถัง-ซ่ง (ไม่ใช่แนวตั้งแบบที่เห็นในปัจจุบัน)
ประเด็นสุดท้ายคือเรื่องการเขียนชื่อบุคคลซ่อนเข้าไปในภาพ เทคนิคการลงชื่อตัวเองแบบเนียนๆ แทนการเขียนชื่อลงท้ายกำกับภาพนั้นมีอยู่จริงในสมัยซ่ง เทคนิคนี้เรียกว่า ‘อิ๋นข่วน’ (隐款 แปลตรงตัวว่าสไตล์แบบแอบซ่อน) โดยมีตัวอย่างจากนักวาดชื่อดัง ‘ฟ่านควน’ ซึ่ง Storyฯ กล่าวถึงผลงานของเขาไปในสัปดาห์ที่แล้วคือภาพ ‘ซีซันหลี่ว์สิง’ (溪山行旅图) มีการซุกชื่อเข้าไปในลายภาพวาด (ดูรูปประกอบ 2) ซึ่งกว่าจะมีคนพบเจอก็ปาเข้าไปปีค.ศ. 1958 แล้ว!
เป็นอย่างไรคะ? เรื่องภาพวาดในละครกับเกร็ดข้อเท็จจริงที่เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนต้องคาดไม่ถึง
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
https://ent.sina.cn/tv/tv/2022-06-20/detail-imizirau9589687.d.html
https://lujuba.cc/709629.html
http://www.sxsshw.com/xinshang/huihuazuopin/292.html
https://baike.baidu.com/item/韩熙载夜宴图/1161531
https://www.52lishi.com/article/47277.html
http://collection.sina.com.cn/jczs/2017-12-09/doc-ifypnqvn1974112.shtml
https://zhuanlan.zhihu.com/p/33235693
#สามบุปผาลิขิตฝัน #เยี่ยเยี่ยนถู #ภาพงานเลี้ยงกลางคืน #ภาพงานเลี้ยงราตรี #หานซีจ่าย #หวางไอ่ #อิ๋นข่วน #ภาพวาดสมัยซ่ง
อย่าเพิ่งเบื่อกันนะกับเรื่องภาพวาดจีนโบราณในละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจถามมาว่า ‘ภาพวาดงานเลี้ยง’ มีจริงหรือไม่
ภาพวาดงานเลี้ยงที่พูดถึงนี้ในละครเรียกว่า ‘เยี่ยเยี่ยนถู’ แปลตรงตัวว่าภาพวาดงานเลี้ยงราตรี บรรยายว่าวาดโดยหวางไอ่ มีเนื้อหาเกี่ยวกับงานเลี้ยงของจ่วนอวิ้นสื่อแห่งซีชวน (ตำแหน่งนี้มีอำนาจสูงสุดดูแลการขนส่ง) ที่มีการร้องรำทำเพลงโดยหญิงคณิกา เป็นภาพวาดที่ใช้ดำเนินเรื่องราวของละครเรื่องนี้ เพราะเป็นภาพที่พระเอกต้องสืบหาและมีความลับสำคัญซ่อนอยู่ในภาพซึ่งก็คือชื่อของคนที่มาร่วมงานเลี้ยงถูกแอบเขียนเข้าไปในภาพด้วย
ถามว่าในความเป็นจริงมีภาพที่ละครกล่าวถึงนี้หรือไม่? คำตอบคือไม่มี แต่... มีเกร็ดข้อมูลจริงคลุกอยู่ในนี้ Storyฯ สรุปเป็นประเด็นดังนี้
ประเด็นแรกคือจิตรกร ‘หวางไอ่’ เขาผู้นี้เป็นจิตรกรชาวซ่งเหนือที่มีอยู่จริงและภาพที่ขึ้นชื่อของเขาคือภาพเหมือนในท่านั่งขององค์ปฐมกษัตริย์ซ่งไท่จู่แห่งราชวงศ์ซ่ง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) แต่เขาไม่เคยวาดภาพงานเลี้ยง
ประเด็นที่สองก็คือภาพวาดงานเลี้ยงราตรี หากเพื่อนเพจลองค้นหาคำว่า 夜宴图 (เยี่ยเยี่ยนถู) จะมีภาพหนึ่งที่ปรากฏขึ้นมาทันที มันเป็นหนึ่งในสิบของภาพโบราณที่มีค่าที่สุดของจีน มีชื่อเต็มว่า ‘หานซีจ่ายเยี่ยเยี่ยนถู’ (韩熙载夜宴图 / ภาพวาดงานเลี้ยงราตรีของหานซีจ่าย)
‘หานซีจ่ายเยี่ยเยี่ยนถู’ เป็นภาพวาดสมัยปลายถัง-ห้าราชวงศ์ซึ่งมีปูมหลังเรื่องการเมือง ผู้วาดคือกู้หงจงซึ่งถูกส่งไปสอดส่องพฤติกรรมของหานซีจ่ายที่ไม่ยอมรับตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยขององค์หลี่อวี้ ภาพงานเลี้ยงนี้สะท้อนให้เห็นว่า หานซีจ่ายลุ่มหลงมัวเมาไปวันๆ กับสตรีและดนตรี ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อราชสำนักอีกต่อไป และแขกที่มาร่วมงานในภาพล้วนเป็นบุคคลจริงในแวดวงเพื่อนฝูงของเขา
ภาพนี้มีความยาว 335.5 ซม. เรื่องราวแบ่งเป็นห้าตอนโดยแต่ละตอนถูก ‘คั่น’ ด้วยการวาดฉากกั้นห้องหรือเตียง (ดูรูปประกอบ1 เรียงจากขวามาซ้าย ดูซิว่าเห็นการแบ่งฉากไหม) ฉากแรกคือการบรรเลงผีผา ต่อมาเป็นการชมฟ้อนรำตามจังหวะกลอง จากนั้นเป็นภาพการนอนพักเหนื่อยบนเตียงรายล้อมด้วยสาวงาม ตามมาด้วยฉากที่หานซีจ่ายใส่ชุดชั้นในนั่งฟังบรรเลงดนตรี แล้วสุดท้ายเป็นการส่งแขก
ปัจจุบันภาพนี้เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม มีคุณค่าทางศิลปะและประวัติศาสตร์เพราะเป็นอีกหนึ่งภาพเขียนที่มีเทคนิคการวาดที่ละเอียด ไม่ว่าจะท่วงท่าและสีหน้าสีตาของคน หรือส่วนประกอบอื่นของภาพ อีกทั้งยังใช้สีจากหินแร่ทำให้สีสดและดูมีพลัง ว่ากันว่าละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> ได้อ้างอิงรายละเอียดหลายอย่างจากภาพนี้ เช่น ท่านั่งและชุด รวมถึงการถือผีผาในแนวนอนของตัวละครซ่งอิ่นจาง ซึ่งเป็นวิธีถือในสมัยถัง-ซ่ง (ไม่ใช่แนวตั้งแบบที่เห็นในปัจจุบัน)
ประเด็นสุดท้ายคือเรื่องการเขียนชื่อบุคคลซ่อนเข้าไปในภาพ เทคนิคการลงชื่อตัวเองแบบเนียนๆ แทนการเขียนชื่อลงท้ายกำกับภาพนั้นมีอยู่จริงในสมัยซ่ง เทคนิคนี้เรียกว่า ‘อิ๋นข่วน’ (隐款 แปลตรงตัวว่าสไตล์แบบแอบซ่อน) โดยมีตัวอย่างจากนักวาดชื่อดัง ‘ฟ่านควน’ ซึ่ง Storyฯ กล่าวถึงผลงานของเขาไปในสัปดาห์ที่แล้วคือภาพ ‘ซีซันหลี่ว์สิง’ (溪山行旅图) มีการซุกชื่อเข้าไปในลายภาพวาด (ดูรูปประกอบ 2) ซึ่งกว่าจะมีคนพบเจอก็ปาเข้าไปปีค.ศ. 1958 แล้ว!
เป็นอย่างไรคะ? เรื่องภาพวาดในละครกับเกร็ดข้อเท็จจริงที่เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนต้องคาดไม่ถึง
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
https://ent.sina.cn/tv/tv/2022-06-20/detail-imizirau9589687.d.html
https://lujuba.cc/709629.html
http://www.sxsshw.com/xinshang/huihuazuopin/292.html
https://baike.baidu.com/item/韩熙载夜宴图/1161531
https://www.52lishi.com/article/47277.html
http://collection.sina.com.cn/jczs/2017-12-09/doc-ifypnqvn1974112.shtml
https://zhuanlan.zhihu.com/p/33235693
#สามบุปผาลิขิตฝัน #เยี่ยเยี่ยนถู #ภาพงานเลี้ยงกลางคืน #ภาพงานเลี้ยงราตรี #หานซีจ่าย #หวางไอ่ #อิ๋นข่วน #ภาพวาดสมัยซ่ง
2 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
78 มุมมอง
0 รีวิว