• เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นหูคุ้นตากับ ‘คทาหรูอี้’ (หรูอี้/如意 แปลตรงตัวได้ว่า สมดังปรารถนา) บริบทที่เรามักเห็นในนิยาย/ละครจีนบ่อยๆ คือ ฮ่องเต้พระราชทานคทาหรูอี้หยกให้เป็นรางวัลต่อขุนนาง หรือบุรุษสูงศักดิ์มอบคทาหรูอี้ให้สตรีที่ถูกเลือกเป็นภรรยา อย่างเช่นตัวอย่างภาพประกอบยกมาจากละคร <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ตอนที่องค์ชายหงอี้ทรงเลือกชิงอิงเป็นพระชายา (รูปประกอบ1 ซ้าย) หรือเป็นวัตถุมงคลเหมาะกับการมอบให้เป็นของขวัญ

    เคยมีคนเขียนถึงคทาหรูอี้มาแล้วบ้าง ด้วยความหมายที่กล่าวถึงข้างต้น และเพื่อนเพจอาจเคยคุ้นกับการที่มีคทาหรูอี้ปรากฏในรูปภาพและรูปปั้นเทพเจ้าจีน และนักบวชนิยมถือคทาหรูอี้ยามสวดมนต์ ว่ากันว่าการใช้คทาหรูอี้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนานั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโบราณ

    แต่วันนี้ Storyฯ มาคุยเกี่ยวกับคทาหรูอี้ในอีกแง่มุมหนึ่ง... เพื่อนเพจเคยสงสัยเหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า เข้าใจล่ะว่าชื่อเป็นมงคล แต่คทาหรูอี้ออกจะเทอะทะ... มันไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากตั้งโชว์หรือถือไว้เท่ๆ เลยหรือ?

    จากภาพวาดโบราณ (รูปประกอบ 1 ขวา) จะเห็นว่าคทาหรูอี้เป็นของใช้ติดมือของชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้แก่ผู้เฒ่า... แสดงว่ามันต้องมีประโยชน์สิน่ะ เพื่อนเพจพอจะเดากันออกหรือไม่?

    จากข้อมูลที่ทางพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามรวบรวมได้ คทาหรูอี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 206 ก่อนคริสตศักราช - ปีค.ศ. 220) เดิมถูกใช้เป็นไม้เกาหลัง เรียกว่า ‘หรูอี้’ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘ไม่ง้อใคร’ (不求人/ปู้ฉิวเหริน) แรกเริ่มมีรูปทรงคล้ายมือ โดยในบันทึกสมัยราชวงศ์ชิง (事物异名录/ซื่ออู้อี้หมิงลู่) ได้เขียนไว้ว่า “หรูอี้นั้นไซร้ เป็นไม้กรงเล็บ”

    นอกจากนี้ ยังมีบทความสมัยราชวงศ์เหนือใต้ว่ามีการใช้คทาหรูอี้เป็นไม้ส่งสัญญาณเคลื่อนทัพในยามศึก นัยว่าเพื่อให้ชนะศึกได้ดังใจหมาย

    คทาหรูอี้กลายเป็นวัตถุประจำตัวที่คนนิยมพกพาเพราะชื่อเป็นมงคลและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวก็ได้ จึงพัฒนารูปแบบให้สวยงามมากขึ้น ว่ากันว่าในสมัยราชวงศ์เหนือใต้นั้นใช้กันแพร่หลายในหลายแคว้นทั้งในวังและนอกวัง โดยสมัยนั้นนิยมให้ด้ามจับโค้งเป็นทรงกลุ่มดาวจระเข้ ตัวด้ามกลมมนเพื่อให้จับถนัดมือ ทำจากไม้ ไม้ไผ่หรือโลหะ มีใช้กันตั้งแต่ในวังยันชาวบ้านธรรมดานอกวัง ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังจึงทำด้ามจับให้แบนลงและเป็นเส้นตรง โค้งที่ปลายหัว

    นานวันเข้า เมื่อถึงสมัยหมิงและชิง คทาหรูอี้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในฐานะวัตถุมงคลที่ใช้ประดับบ้านเรือนหรือของขวัญ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรมีในสินสอดของหมั้นของแต่งงาน จึงมีรูปแบบที่วิจิตรขึ้น รูปทรงที่เราคุ้นตาคือหัวเป็นทรงเห็ดหลินจือ โดยเฉพาะในยุคสมัยชิงนั้น คทาหรูอี้เป็นที่นิยมมากในวัง ไม่ว่าจะในงานราชประเพณี การแต่งตั้งขุนนาง การรับทูตจากต่างแดน ฯลฯ ล้วนต้องมีการถือคทาหรูอี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล

    ปัจจุบันในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามมีการเก็บรักษาคทาหรูอี้โบราณไว้กว่าสองพันชิ้นโดยส่วนใหญ่เป็นของสมัยชิง วัสดุที่ใช้ทำคทาหรูอี้นั้นหลากหลาย มีทั้งหยกชนิดต่างๆ ปะการัง ทองคำ เงิน ทองเหลือง งาช้าง ไม้ไผ่และไม้ชนิดต่างๆ และมีการแกะสลักลวดลายมากมายลงบนคทา

    Storyฯ เคยไปเที่ยวเมื่อนานมากแล้ว จำไม่ได้เลยว่าได้เคยเห็นอะไรในพิพิธภัณฑ์นี้บ้าง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาก็มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.jianshu.com/p/faa99f5d9868
    https://new.qq.com/rain/a/20211210A027EU00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.mct.gov.cn/whzx/zsdw/ggbwy/202102/t20210210_921534.htm
    https://www.sohu.com/a/508658629_322551
    https://baike.baidu.com/item/如意/254746
    https://new.qq.com/rain/a/20220728A054CG00

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #คทาหรูอี้ #วัตถุมงคลจีน #ไม้เกาหลัง
    เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นหูคุ้นตากับ ‘คทาหรูอี้’ (หรูอี้/如意 แปลตรงตัวได้ว่า สมดังปรารถนา) บริบทที่เรามักเห็นในนิยาย/ละครจีนบ่อยๆ คือ ฮ่องเต้พระราชทานคทาหรูอี้หยกให้เป็นรางวัลต่อขุนนาง หรือบุรุษสูงศักดิ์มอบคทาหรูอี้ให้สตรีที่ถูกเลือกเป็นภรรยา อย่างเช่นตัวอย่างภาพประกอบยกมาจากละคร <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ตอนที่องค์ชายหงอี้ทรงเลือกชิงอิงเป็นพระชายา (รูปประกอบ1 ซ้าย) หรือเป็นวัตถุมงคลเหมาะกับการมอบให้เป็นของขวัญ เคยมีคนเขียนถึงคทาหรูอี้มาแล้วบ้าง ด้วยความหมายที่กล่าวถึงข้างต้น และเพื่อนเพจอาจเคยคุ้นกับการที่มีคทาหรูอี้ปรากฏในรูปภาพและรูปปั้นเทพเจ้าจีน และนักบวชนิยมถือคทาหรูอี้ยามสวดมนต์ ว่ากันว่าการใช้คทาหรูอี้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนานั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโบราณ แต่วันนี้ Storyฯ มาคุยเกี่ยวกับคทาหรูอี้ในอีกแง่มุมหนึ่ง... เพื่อนเพจเคยสงสัยเหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า เข้าใจล่ะว่าชื่อเป็นมงคล แต่คทาหรูอี้ออกจะเทอะทะ... มันไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากตั้งโชว์หรือถือไว้เท่ๆ เลยหรือ? จากภาพวาดโบราณ (รูปประกอบ 1 ขวา) จะเห็นว่าคทาหรูอี้เป็นของใช้ติดมือของชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้แก่ผู้เฒ่า... แสดงว่ามันต้องมีประโยชน์สิน่ะ เพื่อนเพจพอจะเดากันออกหรือไม่? จากข้อมูลที่ทางพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามรวบรวมได้ คทาหรูอี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 206 ก่อนคริสตศักราช - ปีค.ศ. 220) เดิมถูกใช้เป็นไม้เกาหลัง เรียกว่า ‘หรูอี้’ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘ไม่ง้อใคร’ (不求人/ปู้ฉิวเหริน) แรกเริ่มมีรูปทรงคล้ายมือ โดยในบันทึกสมัยราชวงศ์ชิง (事物异名录/ซื่ออู้อี้หมิงลู่) ได้เขียนไว้ว่า “หรูอี้นั้นไซร้ เป็นไม้กรงเล็บ” นอกจากนี้ ยังมีบทความสมัยราชวงศ์เหนือใต้ว่ามีการใช้คทาหรูอี้เป็นไม้ส่งสัญญาณเคลื่อนทัพในยามศึก นัยว่าเพื่อให้ชนะศึกได้ดังใจหมาย คทาหรูอี้กลายเป็นวัตถุประจำตัวที่คนนิยมพกพาเพราะชื่อเป็นมงคลและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวก็ได้ จึงพัฒนารูปแบบให้สวยงามมากขึ้น ว่ากันว่าในสมัยราชวงศ์เหนือใต้นั้นใช้กันแพร่หลายในหลายแคว้นทั้งในวังและนอกวัง โดยสมัยนั้นนิยมให้ด้ามจับโค้งเป็นทรงกลุ่มดาวจระเข้ ตัวด้ามกลมมนเพื่อให้จับถนัดมือ ทำจากไม้ ไม้ไผ่หรือโลหะ มีใช้กันตั้งแต่ในวังยันชาวบ้านธรรมดานอกวัง ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังจึงทำด้ามจับให้แบนลงและเป็นเส้นตรง โค้งที่ปลายหัว นานวันเข้า เมื่อถึงสมัยหมิงและชิง คทาหรูอี้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในฐานะวัตถุมงคลที่ใช้ประดับบ้านเรือนหรือของขวัญ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรมีในสินสอดของหมั้นของแต่งงาน จึงมีรูปแบบที่วิจิตรขึ้น รูปทรงที่เราคุ้นตาคือหัวเป็นทรงเห็ดหลินจือ โดยเฉพาะในยุคสมัยชิงนั้น คทาหรูอี้เป็นที่นิยมมากในวัง ไม่ว่าจะในงานราชประเพณี การแต่งตั้งขุนนาง การรับทูตจากต่างแดน ฯลฯ ล้วนต้องมีการถือคทาหรูอี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล ปัจจุบันในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามมีการเก็บรักษาคทาหรูอี้โบราณไว้กว่าสองพันชิ้นโดยส่วนใหญ่เป็นของสมัยชิง วัสดุที่ใช้ทำคทาหรูอี้นั้นหลากหลาย มีทั้งหยกชนิดต่างๆ ปะการัง ทองคำ เงิน ทองเหลือง งาช้าง ไม้ไผ่และไม้ชนิดต่างๆ และมีการแกะสลักลวดลายมากมายลงบนคทา Storyฯ เคยไปเที่ยวเมื่อนานมากแล้ว จำไม่ได้เลยว่าได้เคยเห็นอะไรในพิพิธภัณฑ์นี้บ้าง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาก็มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.jianshu.com/p/faa99f5d9868 https://new.qq.com/rain/a/20211210A027EU00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.mct.gov.cn/whzx/zsdw/ggbwy/202102/t20210210_921534.htm https://www.sohu.com/a/508658629_322551 https://baike.baidu.com/item/如意/254746 https://new.qq.com/rain/a/20220728A054CG00 #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #คทาหรูอี้ #วัตถุมงคลจีน #ไม้เกาหลัง
    WWW.JIANSHU.COM
    【如懿传|如懿】年少情深,也可以走到相看两厌
    一出墙头马上,两心相许。山河依旧,唯人兰因絮果。 如懿的一生都把真心付给了自己的少年郎,年少时的扶持,无人之巅的陪伴,病榻前的守护,相比于甄嬛,她更加令人心疼。 执着勇敢是她...
    Like
    1
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 491 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมื่อสองวันก่อน อยู่ดีๆ ยูทูปก็โผล่คลิปสั้นจากเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> มาให้ดูจน Storyฯ น้ำตาร่วงเผาะ วันนี้เลยเอามาแบ่งปันเผื่อว่าเพื่อนเพจจะ ‘อิน’ ตามไปด้วย

    เป็นฉากที่หรูอี้เอ่ยกับเฉียนหลงฮ่องเต้ว่า “ทรงทราบถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ หรือไม่เพคะ? วลีนี้... ตอนหม่อมฉันเรียนเมื่อยังเด็กได้แต่รู้สึกเสียใจเสียดาย แต่วันนี้หม่อมฉันเข้าใจแล้ว... บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน...” (หมายเหตุ ถอดบทสนทนามาจากในละคร แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) เป็นประโยคที่สร้างความเจ็บปวดให้กับเฉียนหลงในภายหลังไม่น้อย

    ทั้ง ‘หลันอินซวี่กั่ว’ และ “บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน” ล้วนเป็นประโยคเด็ดที่มีมาแต่วรรณกรรมโบราณ และมีเรื่องราวให้เล่าถึง แต่อาจต้องแบ่งคุยเป็นสองตอน

    วันนี้คุยกันเรื่องวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ (兰因絮果) ซึ่งเป็นสุภาษิตจีน บางทีสลับตำแหน่งเป็น ‘ซวี่กั่วหลันอิน’ ก็ได้ ความหมายของมันเป็นดังที่ในละครมีอธิบายไว้ว่า หมายถึงชีวิตคู่ที่เริ่มต้นสวยงามแต่จบลงอย่างขมขื่น เป็นวลีที่แปลยาก เพราะ ‘หลัน’ อาจแปลว่าดอกกล้วยไม้ (หลันฮวา) หรือดอกแม็กโนเลีย (อวี้หลันหรือมู่หลัน) และ ‘ซวี่’ แปลว่าปุยฝ้ายหรือดอกของต้นหลิ่วเรียกว่า ‘หลิ่วซวี่’ ส่วน ‘อิน’ นั้นแปลว่าต้นตอหรือสาเหตุ และ ‘กั่ว’ คือผล ดังนั้น วลีนี้แปลตรงตัวไม่ได้เพราะมันเป็นวลีเชิงอุปมาอุปไมย เลยขอเล่าความเป็นมาของมันก่อน เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

    ที่มาของการเรียกชีวิตคู่ที่หวานชื่นว่า ‘หลันอิน’ นั้น เป็นเรื่องราวในยุคสมัยชุนชิวของเจิ้งเหวินกง เจ้าผู้ปกครองแคว้นเจิ้งและอนุภรรยานามว่าเยี่ยนจี๋ นางผู้นี้มาจากเมืองเล็กๆ และเป็นอนุภรรยาที่ไม่เคยอยู่ในสายตาของเจิ้งเหวินกง แต่ต่อมานางฝันว่ามีเทพธิดานำดอกหลันฮวามามอบให้และบอกว่าดอกไม้นี้จะทำให้นางได้รับความรักจากเจิ้งเหวินกงและจะได้บุตรที่โดดเด่นมาเป็นผู้สืบทอดแผ่นดินต่อไป ครั้นวันถัดไปนางได้พบกับเจิ้งเหวินกงโดยบังเอิญก็ได้เล่าเรื่องนี้ให้เจิ้งเหวินกงฟัง ก่อเกิดเป็นความสนใจในตัวนาง จนต่อมานางได้เป็นที่โปรดปรานมากมายของเจิ้งเหวินกง และภายหลังคลอดบุตรชายนามว่า ‘หลัน’ เรื่องนี้จึงเป็นการเล่าขานกันต่อในแง่ที่ว่าเป็นความรักที่งอกงามอันมีสาเหตุมาจากดอกหลันฮวาหรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘หลันอิน’ นั่นเอง และ ‘หลันอิน’ ถูกนำมาใช้ในบทประพันธ์ไม่น้อยเพื่อเรียกการครองคู่ที่เกิดขึ้นจากความรักอันสุกงอม

    มีเรื่องเล่าต่อมาว่า เจิ้งเหวินกงมีอนุภรรยามากมาย ความโปรดปรานในตัวเยี่ยนจี๋ลดเลือนไปตามกาลเวลา อีกทั้งเขาเป็นคนอำมหิต เพื่อรักษาอำนาจของตัวเองถึงกับฆ่าลูกชายไปสองคน ส่วนเจิ้งหลันนั้นถูกขับออกจากแคว้น แต่ต่อมาได้กลับมาครองแคว้นเจิ้งในที่สุด เป็นที่รู้จักกันในนามเจิ้งมู่กง ภายใต้การปกครองของเจิ้งมู่กงและลูกชายของเขา แคว้นเจิ้งกลายเป็นหนึ่งในแคว้นที่เข้มแข็งที่สุดของยุคสมัยนั้น

    ส่วนคำว่า ‘ซวี่’ นั้น ว่ากันว่าแรกเริ่มมาจากบทกวีของหลานสาวของเซี่ยไท่ฟู่ (ไท่ฟู่คือตำแหน่งราชครู) ในสมัยราชวงศ์จิ้น ผู้ซึ่งถูกยกย่องว่าเป็นสตรีที่เชี่ยวชาญด้านอักษร นางเปรียบเปรยหิมะขาวที่โปรยปรายด้วยวลีที่ว่า ‘ดุจดอกหลิ่วเริงระบำในสายลม’ (未若柳絮因风起) (ขอเรียกว่าดอก แต่จริงๆ เป็นเมล็ดของต้นหลิ่ว)

    ต่อมา ‘ซวี่กั่ว’ และ ‘หลันอินซวี่กั่ว’ ปรากฏขึ้นในบทประพันธ์ยุคสมัยชิง เป็นส่วนหนึ่งของวลีที่ว่า ‘หลันอินซวี่กั่ว เซี่ยนเยี่ยสุยเซิน’ (兰因絮果, 现业谁深) Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงประโยคนี้ว่า ‘รักแรกผลิบานงดงามดุจหลันฮวา สุดท้ายมลายหายดุจดอกหลิ่วพลิ้วสลาย ผู้ใดเล่าจะกล่าวได้ว่า สลักลึกลงบนใจผู้ใดมากกว่ากัน’

    ‘หลันอินซวี่กั่ว’ ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> จึงเป็นการสรุปเรื่องราวความรักของเฉียนหลงและหรูอี้ได้อย่างชัดเจนด้วยอักษรเพียงสี่ตัว

    เพื่อให้อินกับประโยคนี้ ขอเชิญเพื่อนเพจหลับตาและนึกภาพดอกไม้ผลิบานพร้อมกับรอยยิ้มสุขสดชื่นให้แก่กันของหรูอี้และเฉียนหลงในละคร แล้วตัดมาเป็นภาพปุยสีขาวๆ ที่ถูกสายลมพัดแตกไปพร้อมๆ กับภาพของหรูอี้ที่สิ้นลมอย่างสงบข้างๆ กระถางต้นเหมยที่แห้งกรอบ...

    “คัท!” อาทิตย์หน้ามาคุยกันต่อกับประโยคถัดไปที่ว่า ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน’ ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://okapi.books.com.tw/article/11422
    https://ent.tom.com/201807/1011240093.html
    https://www.sohu.com/a/230867588_100149137
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.xiumu.cn/ts/2018/0824/4278239.html
    https://www.163.com/dy/article/G0GD3GUH0537ML11.html
    https://baike.baidu.com/item/未若柳絮因风起/8776864

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #หลันอินซวี่กั่ว #เจิ้งเหวินกง #เยี่ยนจี๋
    เมื่อสองวันก่อน อยู่ดีๆ ยูทูปก็โผล่คลิปสั้นจากเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> มาให้ดูจน Storyฯ น้ำตาร่วงเผาะ วันนี้เลยเอามาแบ่งปันเผื่อว่าเพื่อนเพจจะ ‘อิน’ ตามไปด้วย เป็นฉากที่หรูอี้เอ่ยกับเฉียนหลงฮ่องเต้ว่า “ทรงทราบถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ หรือไม่เพคะ? วลีนี้... ตอนหม่อมฉันเรียนเมื่อยังเด็กได้แต่รู้สึกเสียใจเสียดาย แต่วันนี้หม่อมฉันเข้าใจแล้ว... บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน...” (หมายเหตุ ถอดบทสนทนามาจากในละคร แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) เป็นประโยคที่สร้างความเจ็บปวดให้กับเฉียนหลงในภายหลังไม่น้อย ทั้ง ‘หลันอินซวี่กั่ว’ และ “บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน” ล้วนเป็นประโยคเด็ดที่มีมาแต่วรรณกรรมโบราณ และมีเรื่องราวให้เล่าถึง แต่อาจต้องแบ่งคุยเป็นสองตอน วันนี้คุยกันเรื่องวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ (兰因絮果) ซึ่งเป็นสุภาษิตจีน บางทีสลับตำแหน่งเป็น ‘ซวี่กั่วหลันอิน’ ก็ได้ ความหมายของมันเป็นดังที่ในละครมีอธิบายไว้ว่า หมายถึงชีวิตคู่ที่เริ่มต้นสวยงามแต่จบลงอย่างขมขื่น เป็นวลีที่แปลยาก เพราะ ‘หลัน’ อาจแปลว่าดอกกล้วยไม้ (หลันฮวา) หรือดอกแม็กโนเลีย (อวี้หลันหรือมู่หลัน) และ ‘ซวี่’ แปลว่าปุยฝ้ายหรือดอกของต้นหลิ่วเรียกว่า ‘หลิ่วซวี่’ ส่วน ‘อิน’ นั้นแปลว่าต้นตอหรือสาเหตุ และ ‘กั่ว’ คือผล ดังนั้น วลีนี้แปลตรงตัวไม่ได้เพราะมันเป็นวลีเชิงอุปมาอุปไมย เลยขอเล่าความเป็นมาของมันก่อน เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ที่มาของการเรียกชีวิตคู่ที่หวานชื่นว่า ‘หลันอิน’ นั้น เป็นเรื่องราวในยุคสมัยชุนชิวของเจิ้งเหวินกง เจ้าผู้ปกครองแคว้นเจิ้งและอนุภรรยานามว่าเยี่ยนจี๋ นางผู้นี้มาจากเมืองเล็กๆ และเป็นอนุภรรยาที่ไม่เคยอยู่ในสายตาของเจิ้งเหวินกง แต่ต่อมานางฝันว่ามีเทพธิดานำดอกหลันฮวามามอบให้และบอกว่าดอกไม้นี้จะทำให้นางได้รับความรักจากเจิ้งเหวินกงและจะได้บุตรที่โดดเด่นมาเป็นผู้สืบทอดแผ่นดินต่อไป ครั้นวันถัดไปนางได้พบกับเจิ้งเหวินกงโดยบังเอิญก็ได้เล่าเรื่องนี้ให้เจิ้งเหวินกงฟัง ก่อเกิดเป็นความสนใจในตัวนาง จนต่อมานางได้เป็นที่โปรดปรานมากมายของเจิ้งเหวินกง และภายหลังคลอดบุตรชายนามว่า ‘หลัน’ เรื่องนี้จึงเป็นการเล่าขานกันต่อในแง่ที่ว่าเป็นความรักที่งอกงามอันมีสาเหตุมาจากดอกหลันฮวาหรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘หลันอิน’ นั่นเอง และ ‘หลันอิน’ ถูกนำมาใช้ในบทประพันธ์ไม่น้อยเพื่อเรียกการครองคู่ที่เกิดขึ้นจากความรักอันสุกงอม มีเรื่องเล่าต่อมาว่า เจิ้งเหวินกงมีอนุภรรยามากมาย ความโปรดปรานในตัวเยี่ยนจี๋ลดเลือนไปตามกาลเวลา อีกทั้งเขาเป็นคนอำมหิต เพื่อรักษาอำนาจของตัวเองถึงกับฆ่าลูกชายไปสองคน ส่วนเจิ้งหลันนั้นถูกขับออกจากแคว้น แต่ต่อมาได้กลับมาครองแคว้นเจิ้งในที่สุด เป็นที่รู้จักกันในนามเจิ้งมู่กง ภายใต้การปกครองของเจิ้งมู่กงและลูกชายของเขา แคว้นเจิ้งกลายเป็นหนึ่งในแคว้นที่เข้มแข็งที่สุดของยุคสมัยนั้น ส่วนคำว่า ‘ซวี่’ นั้น ว่ากันว่าแรกเริ่มมาจากบทกวีของหลานสาวของเซี่ยไท่ฟู่ (ไท่ฟู่คือตำแหน่งราชครู) ในสมัยราชวงศ์จิ้น ผู้ซึ่งถูกยกย่องว่าเป็นสตรีที่เชี่ยวชาญด้านอักษร นางเปรียบเปรยหิมะขาวที่โปรยปรายด้วยวลีที่ว่า ‘ดุจดอกหลิ่วเริงระบำในสายลม’ (未若柳絮因风起) (ขอเรียกว่าดอก แต่จริงๆ เป็นเมล็ดของต้นหลิ่ว) ต่อมา ‘ซวี่กั่ว’ และ ‘หลันอินซวี่กั่ว’ ปรากฏขึ้นในบทประพันธ์ยุคสมัยชิง เป็นส่วนหนึ่งของวลีที่ว่า ‘หลันอินซวี่กั่ว เซี่ยนเยี่ยสุยเซิน’ (兰因絮果, 现业谁深) Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงประโยคนี้ว่า ‘รักแรกผลิบานงดงามดุจหลันฮวา สุดท้ายมลายหายดุจดอกหลิ่วพลิ้วสลาย ผู้ใดเล่าจะกล่าวได้ว่า สลักลึกลงบนใจผู้ใดมากกว่ากัน’ ‘หลันอินซวี่กั่ว’ ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> จึงเป็นการสรุปเรื่องราวความรักของเฉียนหลงและหรูอี้ได้อย่างชัดเจนด้วยอักษรเพียงสี่ตัว เพื่อให้อินกับประโยคนี้ ขอเชิญเพื่อนเพจหลับตาและนึกภาพดอกไม้ผลิบานพร้อมกับรอยยิ้มสุขสดชื่นให้แก่กันของหรูอี้และเฉียนหลงในละคร แล้วตัดมาเป็นภาพปุยสีขาวๆ ที่ถูกสายลมพัดแตกไปพร้อมๆ กับภาพของหรูอี้ที่สิ้นลมอย่างสงบข้างๆ กระถางต้นเหมยที่แห้งกรอบ... “คัท!” อาทิตย์หน้ามาคุยกันต่อกับประโยคถัดไปที่ว่า ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน’ ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://okapi.books.com.tw/article/11422 https://ent.tom.com/201807/1011240093.html https://www.sohu.com/a/230867588_100149137 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.xiumu.cn/ts/2018/0824/4278239.html https://www.163.com/dy/article/G0GD3GUH0537ML11.html https://baike.baidu.com/item/未若柳絮因风起/8776864 #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #หลันอินซวี่กั่ว #เจิ้งเหวินกง #เยี่ยนจี๋
    OKAPI.BOOKS.COM.TW
    個人意見:演出深情演得最好也最落力的,往往都是渣男──《如懿傳》教會我的事
    《如懿傳》講的就是婚姻。該宮鬥的情節雖一樣不少,但心機只是這部小說的點綴,真正著力的...
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 551 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ จากเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid036pXf9b2bDT6Pj7hz6t8U4hTYrJTrubWu3xRGJ26wogVFFnWAsTm6iQm7PECsHvbFl) วันนี้มาคุยต่อกันเกี่ยวกับอีกหนึ่งวลีเด็ดจากเรื่องเดียวกัน คือ ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วง... ตามเวลาของมัน’ (ฮวาคายฮวาลั่วจื้อโหย่วสือ / 花开花落自有时)

    จริงๆ แล้วความหมายของมันค่อนข้างตรงตัวเพราะสะท้อนถึงวัฏจักรแห่งชีวิต และเชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนคงคิดว่ามันมาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ

    วลีนี้ผันแปรมาจากวรรคหนึ่งในบทกวีในสมัยซ่งใต้ เป็นบทกวีของนางคณิกาหลวงเหยียนหรุ่ยผู้เลื่องชื่อด้านบทกวี มีชื่อว่า ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ (不是爱风尘 / มิได้รักในชีวิตนางคณิกา) และประโยคดั้งเดิมคือ ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน’ (คือร่วงก่อนแล้วค่อยบาน ไม่ใช่บานแล้วจึงร่วงแบบที่เราคุ้นเคย)

    ประวัติของเหยียนหรุ่ยไม่แน่ชัด บ้างว่านางถูกพ่อเลี้ยงหลอกมาขาย บ้างว่าพ่อของนางเคยเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยที่ต้องโทษ แต่ที่ชัดเจนคือนางได้รับการศึกษามาอย่างดีก่อนจะกลายมาเป็นนางคณิกาหลวง (คือถูกเรียกใช้ร้องรำทำเพลงในงานเลี้ยงต่างๆ ของขุนนาง) ชีวิตของนางผ่านร้อนผ่านหนาวไม่น้อย นางได้รับการชื่นชมจากขุนนางและผู้มีหน้ามีตาในสังคมไม่น้อยด้วยบทกวีที่โดดเด่น หนึ่งในนั้นคือถังจงโหย่วผู้ว่าราชการเขตเจ๋อตง จนต่อมานางถูกจับเข้าคุกไปทรมานด้วยข้อหาที่ว่านางค้างคืนในจวนของถังจงโหย่ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเอาผิดถังจงโหย่ว (ซึ่งเป็นการผิดกฎการใช้บริการนางคณิกาหลวง) แต่นางไม่ยอมรับผิดตามข้อกล่าวหา จนสุดท้ายเรื่องถึงในวังและได้มีการแต่งตั้งเยวี่ยหลิน (ลูกชายของเยวี่ยเฟยหรืองักฮุย) มาไต่สวนจนพบว่าจริงแล้วมันเป็นการแย่งชิงอำนาจของขุนนางโดยมีนางเป็นหมากตาหนึ่ง นางจึงได้รับการปลดปล่อย และต่อมาในบั้นปลายชีวิตนางกินดีอยู่ดีในฐานะอนุภรรยาอันเป็นที่รักของพ่อม่ายเชื้อพระวงศ์คนหนึ่ง

    เรื่องราวตอนที่นางถูกใส่ร้ายจนจำคุกและถูกทรมานเจียนตายนั้น เป็นคดีความที่โด่งดัง เกิดขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1182 และตอนที่นางถูกนำมาไต่สวนอีกครั้งโดยเยวี่ยหลินนั้น ด้วยความที่เยวี่ยหลินได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถด้านโคลงกลอนของนางและสืบรู้เรื่องราวที่แท้จริงจนตั้งใจจะปล่อยนางอยู่แล้ว จึงตั้งเงื่อนไขให้นางเล่าความจริงผ่านบทกวีเพื่อแลกกับอิสรภาพ และ ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ คือบทกวีบทนั้น

    ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ มีแปดวรรค เป็นบทกลอนที่ใช้การเปรียบเปรยและอุปมาอุไมยไม่น้อย สาระใจความสรุปได้ว่า: อย่าได้คิดดูถูกว่านางเป็นสตรีใฝ่ต่ำ นางไม่ได้ต้องการมาเป็นนางคณิกา แต่มีเหตุผิดพลาดทำให้ชีวิตผกผัน ชะตาชีวิตของนางตอนนี้ขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลินแล้ว นางอยากหลุดพ้นจากชีวิตนางคณิกานี้ แต่ยังจำต้องทนแม้ฝืนใจเต็มที และสิ่งที่โหยหาคืออิสรภาพ

    ฟังดูเหมือนไม่น่ามีอะไรเกี่ยวกับ ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ ใช่ไหม?

    ประโยค ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ นี้ ในบทกวีเดิมเขียนไว้ว่า ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน ล้วนแล้วแต่สุริยเทพจะกำหนด’ (花落花开自有时, 总赖东君主) เป็นการอุปมาอุปไมยว่า ไม่ว่านางจะตกอับจำคุก (บุปผาโรยร่วง) หรือจะพ้นคุกยืนหยัดขึ้นได้ใหม่ (บุปผาผลิบาน) อาจดูคล้ายเป็นเรื่องที่ชะตาชีวิตกำหนดไว้แล้ว แต่จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลิน (สุริยเทพ) ดังนั้นประโยคนี้ในความหมายดั้งเดิมของมันคือการรำพันถึงชะตาชีวิตที่ตกอยู่ในมือคนอื่น ตนเองไม่อาจกำหนดได้ สะท้อนถึงความท้อแท้ในใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ยอมรับในธรรมชาติของมันและอ้อนวอนขอความเห็นใจ

    ว่ากันว่าบทกวีนี้มิเพียงทำให้นางหลุดจากคุกแต่ยังได้รับการปลดชื่อออกจากทะเบียนทาสซึ่งเป็นสถานะของนางคณิกาหลวงอีกด้วย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงสถานะทาสของนางคณิกาหลวงแล้วในเรื่องของ ซ่งอิ่นจาง ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) เป็นการได้รับอิสรภาพสองแบบเลยทีเดียว

    วรรคที่ใช้ดอกไม้อุปมาอุปไมยถึงชะตาชีวิตนี้ เป็นที่นิยมแพร่หลายด้วยความไพเราะของมัน และต่อมาถูกผันเปลี่ยนมาเป็น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน’ (คือบานแล้วจึงโรย ตามวัฏจักรธรรมชาติ) และมีการแต่งวรรคต่ออีกหลากหลาย เช่น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน รักเกิดรักดับไม่มีผู้ใดบังคับได้’ เป็นต้น แต่ล้วนเป็นประโยคที่กล่าวถึงการดับการเกิดตามครรลองธรรมชาติเพื่อสะท้อนความไม่จีรัง และนิยมนำมาใช้กับความรักหรือความสัมพันธ์ระหว่างคน และนี่ก็เป็นบริบทและความหมายที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> นี่เอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.vogue.com.tw/culture/content-42286
    https://kknews.cc/history/5x9gyb8.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/严蕊/892616
    http://www.gaosan.com/gaokao/262749.html
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_753d1a95cd9e.aspx
    http://book.sina.com.cn/excerpt/rwws/2017-04-14/1446/doc-ifyeimqc3679324-p2.shtml

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #เหยียนหรุ่ย #บุปผาผลิบาน #ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน
    สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ จากเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid036pXf9b2bDT6Pj7hz6t8U4hTYrJTrubWu3xRGJ26wogVFFnWAsTm6iQm7PECsHvbFl) วันนี้มาคุยต่อกันเกี่ยวกับอีกหนึ่งวลีเด็ดจากเรื่องเดียวกัน คือ ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วง... ตามเวลาของมัน’ (ฮวาคายฮวาลั่วจื้อโหย่วสือ / 花开花落自有时) จริงๆ แล้วความหมายของมันค่อนข้างตรงตัวเพราะสะท้อนถึงวัฏจักรแห่งชีวิต และเชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนคงคิดว่ามันมาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ วลีนี้ผันแปรมาจากวรรคหนึ่งในบทกวีในสมัยซ่งใต้ เป็นบทกวีของนางคณิกาหลวงเหยียนหรุ่ยผู้เลื่องชื่อด้านบทกวี มีชื่อว่า ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ (不是爱风尘 / มิได้รักในชีวิตนางคณิกา) และประโยคดั้งเดิมคือ ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน’ (คือร่วงก่อนแล้วค่อยบาน ไม่ใช่บานแล้วจึงร่วงแบบที่เราคุ้นเคย) ประวัติของเหยียนหรุ่ยไม่แน่ชัด บ้างว่านางถูกพ่อเลี้ยงหลอกมาขาย บ้างว่าพ่อของนางเคยเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยที่ต้องโทษ แต่ที่ชัดเจนคือนางได้รับการศึกษามาอย่างดีก่อนจะกลายมาเป็นนางคณิกาหลวง (คือถูกเรียกใช้ร้องรำทำเพลงในงานเลี้ยงต่างๆ ของขุนนาง) ชีวิตของนางผ่านร้อนผ่านหนาวไม่น้อย นางได้รับการชื่นชมจากขุนนางและผู้มีหน้ามีตาในสังคมไม่น้อยด้วยบทกวีที่โดดเด่น หนึ่งในนั้นคือถังจงโหย่วผู้ว่าราชการเขตเจ๋อตง จนต่อมานางถูกจับเข้าคุกไปทรมานด้วยข้อหาที่ว่านางค้างคืนในจวนของถังจงโหย่ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเอาผิดถังจงโหย่ว (ซึ่งเป็นการผิดกฎการใช้บริการนางคณิกาหลวง) แต่นางไม่ยอมรับผิดตามข้อกล่าวหา จนสุดท้ายเรื่องถึงในวังและได้มีการแต่งตั้งเยวี่ยหลิน (ลูกชายของเยวี่ยเฟยหรืองักฮุย) มาไต่สวนจนพบว่าจริงแล้วมันเป็นการแย่งชิงอำนาจของขุนนางโดยมีนางเป็นหมากตาหนึ่ง นางจึงได้รับการปลดปล่อย และต่อมาในบั้นปลายชีวิตนางกินดีอยู่ดีในฐานะอนุภรรยาอันเป็นที่รักของพ่อม่ายเชื้อพระวงศ์คนหนึ่ง เรื่องราวตอนที่นางถูกใส่ร้ายจนจำคุกและถูกทรมานเจียนตายนั้น เป็นคดีความที่โด่งดัง เกิดขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1182 และตอนที่นางถูกนำมาไต่สวนอีกครั้งโดยเยวี่ยหลินนั้น ด้วยความที่เยวี่ยหลินได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถด้านโคลงกลอนของนางและสืบรู้เรื่องราวที่แท้จริงจนตั้งใจจะปล่อยนางอยู่แล้ว จึงตั้งเงื่อนไขให้นางเล่าความจริงผ่านบทกวีเพื่อแลกกับอิสรภาพ และ ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ คือบทกวีบทนั้น ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ มีแปดวรรค เป็นบทกลอนที่ใช้การเปรียบเปรยและอุปมาอุไมยไม่น้อย สาระใจความสรุปได้ว่า: อย่าได้คิดดูถูกว่านางเป็นสตรีใฝ่ต่ำ นางไม่ได้ต้องการมาเป็นนางคณิกา แต่มีเหตุผิดพลาดทำให้ชีวิตผกผัน ชะตาชีวิตของนางตอนนี้ขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลินแล้ว นางอยากหลุดพ้นจากชีวิตนางคณิกานี้ แต่ยังจำต้องทนแม้ฝืนใจเต็มที และสิ่งที่โหยหาคืออิสรภาพ ฟังดูเหมือนไม่น่ามีอะไรเกี่ยวกับ ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ ใช่ไหม? ประโยค ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ นี้ ในบทกวีเดิมเขียนไว้ว่า ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน ล้วนแล้วแต่สุริยเทพจะกำหนด’ (花落花开自有时, 总赖东君主) เป็นการอุปมาอุปไมยว่า ไม่ว่านางจะตกอับจำคุก (บุปผาโรยร่วง) หรือจะพ้นคุกยืนหยัดขึ้นได้ใหม่ (บุปผาผลิบาน) อาจดูคล้ายเป็นเรื่องที่ชะตาชีวิตกำหนดไว้แล้ว แต่จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลิน (สุริยเทพ) ดังนั้นประโยคนี้ในความหมายดั้งเดิมของมันคือการรำพันถึงชะตาชีวิตที่ตกอยู่ในมือคนอื่น ตนเองไม่อาจกำหนดได้ สะท้อนถึงความท้อแท้ในใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ยอมรับในธรรมชาติของมันและอ้อนวอนขอความเห็นใจ ว่ากันว่าบทกวีนี้มิเพียงทำให้นางหลุดจากคุกแต่ยังได้รับการปลดชื่อออกจากทะเบียนทาสซึ่งเป็นสถานะของนางคณิกาหลวงอีกด้วย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงสถานะทาสของนางคณิกาหลวงแล้วในเรื่องของ ซ่งอิ่นจาง ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) เป็นการได้รับอิสรภาพสองแบบเลยทีเดียว วรรคที่ใช้ดอกไม้อุปมาอุปไมยถึงชะตาชีวิตนี้ เป็นที่นิยมแพร่หลายด้วยความไพเราะของมัน และต่อมาถูกผันเปลี่ยนมาเป็น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน’ (คือบานแล้วจึงโรย ตามวัฏจักรธรรมชาติ) และมีการแต่งวรรคต่ออีกหลากหลาย เช่น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน รักเกิดรักดับไม่มีผู้ใดบังคับได้’ เป็นต้น แต่ล้วนเป็นประโยคที่กล่าวถึงการดับการเกิดตามครรลองธรรมชาติเพื่อสะท้อนความไม่จีรัง และนิยมนำมาใช้กับความรักหรือความสัมพันธ์ระหว่างคน และนี่ก็เป็นบริบทและความหมายที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> นี่เอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.vogue.com.tw/culture/content-42286 https://kknews.cc/history/5x9gyb8.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/严蕊/892616 http://www.gaosan.com/gaokao/262749.html https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_753d1a95cd9e.aspx http://book.sina.com.cn/excerpt/rwws/2017-04-14/1446/doc-ifyeimqc3679324-p2.shtml #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #เหยียนหรุ่ย #บุปผาผลิบาน #ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 757 มุมมอง 0 รีวิว
  • สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ Storyฯ คุยถึงที่มาของวลีเด็ดจากซีรีส์ <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> มีเพื่อนเพจถามถึงเรื่องละครงิ้วที่หรูอี้พูดถึงบ่อยๆ ในเรื่อง ซึ่งก็คือ ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (墙头马上) ขอใช้คำแปลตรงตัวว่า ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ ซึ่งในซีรีส์เท้าความว่า การชมงิ้วเรื่องนี้เป็นครั้งแรกที่หรูอี้และเฉียนหลงได้พบกัน และต่อมามีฉากที่เฉียนหลงบอกว่าจะไม่อ่อนแอเหมือนคุณชายสกุลเผย และหรูอี้บอกว่าไม่อยากต้องเจอสภาพแบบคุณหนูหลี่ที่ถูกบังคับให้ต้องทิ้งลูกไป ทำเอาผู้ชมงงไปตามๆ กันว่าเขาคุยอะไรกัน

    วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้

    ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ เป็นละครงิ้วสมัยราชวงศ์หยวนมีชื่อเต็มว่า ‘เผยส้าวจวิ้น เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (裴少俊墙头马上) ต่อมาตัดชื่อสั้นลงเหลือเพียง ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ เป็นผลงานของ ‘ไป๋ผ้อ’ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ยอดผู้แต่งบทละครงิ้วในสมัยนั้นและผลงานของเขายังได้รับการสืบทอดและจัดแสดงในปัจจุบันอีกหลายเรื่อง และ ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดละครงิ้วแนวรักโรแมนติกสมัยหยวน

    ละครงิ้วนี้ดัดแปลงมาจากบทกวีสมัยถังของไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) (หมายเหตุ คือเขาคือนักการเมืองผู้เคยสร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกซากุระหรืออิงฮวาที่ Storyฯ เคยเขียนถึง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/686842736777355 )
    บทกวีที่ว่านี้มีชื่อว่า ‘งมขวดเงินจากก้นบ่อ’ (井底引银瓶) เป็นหนึ่งในผลงานที่เลื่องชื่อที่สุดของเขา ยาวถึง 34 วรรค สรุปเนื้อหาเป็นเรื่องราวความรักรันทด โดยมีอารัมภบทว่า ใช้ด้ายผูกขวดเงินดึงขึ้นเกือบจะพ้นบ่อ แต่ด้ายก็ขาดเสียก่อน เอาหยกมาเจียรด้วยหิน กำลังจะได้ปิ่นปักผมก็มาหักเสียก่อน เป็นการหวนรำลึกถึงความรักในอดีตที่ขาดสะบั้นลง อดีตที่ว่านี้ก็คือเรื่องคุณหนูนางหนึ่งที่ถูกเลี้ยงมาอย่างริ้นไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม วันๆ ถูกขังอยู่แต่ในสวนหลังบ้าน จึงชอบปีนขึ้นไปเกาะสันกำแพงมองดูโลกภายนอก อยู่มาวันหนึ่งยืนมองอยู่อย่างนี้ก็สบตาเข้ากับคุณชายท่านหนึ่งที่ขี่ม้าขาวผ่านมา เกิดเป็นรักแรกพบ ต่อมาก็หนีตามคุณชายผู้นั้นกลับไปยังบ้านของเขาที่อีกเมืองหนึ่ง แต่ด้วยเป็นการหนีตาม ไม่ได้มีตบแต่งตามพิธีการ นางจึงไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัวฝ่ายชาย ถูกมองว่าเป็นเพียงอนุ ไม่ใช่ภรรยาเอก สุดท้ายถูกบีบให้ทิ้งลูกและไล่ออกไป คุณชายนั้นก็ไม่ได้ปกป้อง นางจึงต้องออกมาผจญชีวิตตามลำพังเพราะละอายเกินกว่าจะแบกหน้ากลับบ้านเกิด บทกวีจบลงด้วยการรำพันของนางว่า ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี และเตือนเหล่าหญิงสาวไร้เดียงสาที่กำลังมีความรักให้จงสังวรไว้ว่า อย่าได้เอาชีวิตทั้งชีวิตของตนมาทุ่มเทให้กับชายใดได้โดยง่าย

    วรรคที่กล่าวถึงตอนสบตากันข้ามกำแพงและตกหลุมรักนั้น ก็คือวรรคที่หรูอี้มักเอ่ยติดปากยามที่นางและเฉียนหลงพูดถึงละครงิ้ว ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ ซึ่ง Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงวรรคนี้ว่า ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ (墙头马上遥相顾,一见知君即断肠 หมายเหตุ ภาษาจีนใช้คำประมาณว่า ‘รักและคิดถึงจนทำให้ไส้ขาดจนตายได้!’) เป็นคำพูดที่หรูอี้พยายามสื่อให้เฉียนหลงเข้าใจว่านางรักเขามากมาย

    นับว่าเป็นบทกวีที่แฝงไว้ด้วยความเศร้าและความผิดหวัง แต่ทำไมหรูอี้และเฉียนหลงจึงคุยกันราวกับว่ามันเป็นเรื่องที่มีความหมายดี?

    นั่นเป็นเพราะว่าละครงิ้วและบทกวีมีความแตกต่าง ละครงิ้วที่นิยมในสมัยหยวนนั้น เป็นสไตล์แบบ ‘จ๋าจวี้’ (Mixed Play ที่ Storyฯ เคยพูดถึงตอนคุยเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) กล่าวคือมีหลากหลายอรรถรส ละครเรื่องนี้จึงถูกแต่งเติมให้มีทั้งความเศร้า ความตลกและจบแบบสุขนิยม มีการต่อเติมเรื่องราวว่า สตรีนางนี้คือคุณหนูหลี่เชียนจิน แต่นางโหยหาความรักและต่อต้านการถูกกักขัง นางหนีตามเผยส้าวจวิ้นมาถึงเรือนสกุลเผย แต่ต้องแอบอยู่ในเรือนสวนของสามีไม่ให้พ่อของสามีรู้ อยู่มาเจ็ดปีมีบุตรชายหนึ่งหญิงหนึ่ง ความลับก็ถูกเปิดเผย นางถูกกล่าวหาว่าเป็นนางโลมและถูกบีบให้ต้องทิ้งลูกกลับบ้านเกิดไปโดยที่เผยส้าวจวิ้นทำอะไรไม่ได้ ต่อมาเผยส้าวจวิ้นสอบได้เป็นราชบัณฑิตเป็นขุนนางติดยศ ทางบ้านไม่กล้าขัดเขาอีก เขาก็มาง้อนาง ง้ออยู่นานจนสุดท้ายนางใจอ่อนยอมคืนดีด้วย และได้ครองรักกันอย่างมีความสุขในที่สุด เป็นเรื่องราวความรักหลากหลายอรรถรสที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดที่จะฝ่าฟันอุปสรรคให้หลุดพ้นจากกรอบสังคม จึงเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมตลอดหลายยุคหลายสมัย

    ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ ... ไม่แน่ว่าหรูอี้อาจต้องการเพียงใช้ประโยคนี้แสดงถึงความรักอย่างยิ่งยวดที่มีต่อเฉียนหลง แต่บทสรุปเรื่องราวชีวิตของนางผ่านซีรีส์เรื่องนี้กลับกลายเป็นอย่างที่บทกวีว่าไว้... ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://kknews.cc/history/xeg9gx8.html
    https://www.sgss8.net/tpdq/21724747/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5487665ffe0a.aspx
    https://baike.baidu.com/item/井底引银瓶/10214172
    https://www.sohu.com/a/260464211_801417
    https://baike.baidu.com/item/裴少俊墙头马上/754408

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #จ๋าจวี้ #งิ้วสมัยหยวน #เฉียงโถวหม่าซ่าง #สันกำแพงหลังอาชา
    สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ Storyฯ คุยถึงที่มาของวลีเด็ดจากซีรีส์ <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> มีเพื่อนเพจถามถึงเรื่องละครงิ้วที่หรูอี้พูดถึงบ่อยๆ ในเรื่อง ซึ่งก็คือ ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (墙头马上) ขอใช้คำแปลตรงตัวว่า ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ ซึ่งในซีรีส์เท้าความว่า การชมงิ้วเรื่องนี้เป็นครั้งแรกที่หรูอี้และเฉียนหลงได้พบกัน และต่อมามีฉากที่เฉียนหลงบอกว่าจะไม่อ่อนแอเหมือนคุณชายสกุลเผย และหรูอี้บอกว่าไม่อยากต้องเจอสภาพแบบคุณหนูหลี่ที่ถูกบังคับให้ต้องทิ้งลูกไป ทำเอาผู้ชมงงไปตามๆ กันว่าเขาคุยอะไรกัน วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ เป็นละครงิ้วสมัยราชวงศ์หยวนมีชื่อเต็มว่า ‘เผยส้าวจวิ้น เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (裴少俊墙头马上) ต่อมาตัดชื่อสั้นลงเหลือเพียง ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ เป็นผลงานของ ‘ไป๋ผ้อ’ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ยอดผู้แต่งบทละครงิ้วในสมัยนั้นและผลงานของเขายังได้รับการสืบทอดและจัดแสดงในปัจจุบันอีกหลายเรื่อง และ ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดละครงิ้วแนวรักโรแมนติกสมัยหยวน ละครงิ้วนี้ดัดแปลงมาจากบทกวีสมัยถังของไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) (หมายเหตุ คือเขาคือนักการเมืองผู้เคยสร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกซากุระหรืออิงฮวาที่ Storyฯ เคยเขียนถึง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/686842736777355 ) บทกวีที่ว่านี้มีชื่อว่า ‘งมขวดเงินจากก้นบ่อ’ (井底引银瓶) เป็นหนึ่งในผลงานที่เลื่องชื่อที่สุดของเขา ยาวถึง 34 วรรค สรุปเนื้อหาเป็นเรื่องราวความรักรันทด โดยมีอารัมภบทว่า ใช้ด้ายผูกขวดเงินดึงขึ้นเกือบจะพ้นบ่อ แต่ด้ายก็ขาดเสียก่อน เอาหยกมาเจียรด้วยหิน กำลังจะได้ปิ่นปักผมก็มาหักเสียก่อน เป็นการหวนรำลึกถึงความรักในอดีตที่ขาดสะบั้นลง อดีตที่ว่านี้ก็คือเรื่องคุณหนูนางหนึ่งที่ถูกเลี้ยงมาอย่างริ้นไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม วันๆ ถูกขังอยู่แต่ในสวนหลังบ้าน จึงชอบปีนขึ้นไปเกาะสันกำแพงมองดูโลกภายนอก อยู่มาวันหนึ่งยืนมองอยู่อย่างนี้ก็สบตาเข้ากับคุณชายท่านหนึ่งที่ขี่ม้าขาวผ่านมา เกิดเป็นรักแรกพบ ต่อมาก็หนีตามคุณชายผู้นั้นกลับไปยังบ้านของเขาที่อีกเมืองหนึ่ง แต่ด้วยเป็นการหนีตาม ไม่ได้มีตบแต่งตามพิธีการ นางจึงไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัวฝ่ายชาย ถูกมองว่าเป็นเพียงอนุ ไม่ใช่ภรรยาเอก สุดท้ายถูกบีบให้ทิ้งลูกและไล่ออกไป คุณชายนั้นก็ไม่ได้ปกป้อง นางจึงต้องออกมาผจญชีวิตตามลำพังเพราะละอายเกินกว่าจะแบกหน้ากลับบ้านเกิด บทกวีจบลงด้วยการรำพันของนางว่า ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี และเตือนเหล่าหญิงสาวไร้เดียงสาที่กำลังมีความรักให้จงสังวรไว้ว่า อย่าได้เอาชีวิตทั้งชีวิตของตนมาทุ่มเทให้กับชายใดได้โดยง่าย วรรคที่กล่าวถึงตอนสบตากันข้ามกำแพงและตกหลุมรักนั้น ก็คือวรรคที่หรูอี้มักเอ่ยติดปากยามที่นางและเฉียนหลงพูดถึงละครงิ้ว ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ ซึ่ง Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงวรรคนี้ว่า ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ (墙头马上遥相顾,一见知君即断肠 หมายเหตุ ภาษาจีนใช้คำประมาณว่า ‘รักและคิดถึงจนทำให้ไส้ขาดจนตายได้!’) เป็นคำพูดที่หรูอี้พยายามสื่อให้เฉียนหลงเข้าใจว่านางรักเขามากมาย นับว่าเป็นบทกวีที่แฝงไว้ด้วยความเศร้าและความผิดหวัง แต่ทำไมหรูอี้และเฉียนหลงจึงคุยกันราวกับว่ามันเป็นเรื่องที่มีความหมายดี? นั่นเป็นเพราะว่าละครงิ้วและบทกวีมีความแตกต่าง ละครงิ้วที่นิยมในสมัยหยวนนั้น เป็นสไตล์แบบ ‘จ๋าจวี้’ (Mixed Play ที่ Storyฯ เคยพูดถึงตอนคุยเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) กล่าวคือมีหลากหลายอรรถรส ละครเรื่องนี้จึงถูกแต่งเติมให้มีทั้งความเศร้า ความตลกและจบแบบสุขนิยม มีการต่อเติมเรื่องราวว่า สตรีนางนี้คือคุณหนูหลี่เชียนจิน แต่นางโหยหาความรักและต่อต้านการถูกกักขัง นางหนีตามเผยส้าวจวิ้นมาถึงเรือนสกุลเผย แต่ต้องแอบอยู่ในเรือนสวนของสามีไม่ให้พ่อของสามีรู้ อยู่มาเจ็ดปีมีบุตรชายหนึ่งหญิงหนึ่ง ความลับก็ถูกเปิดเผย นางถูกกล่าวหาว่าเป็นนางโลมและถูกบีบให้ต้องทิ้งลูกกลับบ้านเกิดไปโดยที่เผยส้าวจวิ้นทำอะไรไม่ได้ ต่อมาเผยส้าวจวิ้นสอบได้เป็นราชบัณฑิตเป็นขุนนางติดยศ ทางบ้านไม่กล้าขัดเขาอีก เขาก็มาง้อนาง ง้ออยู่นานจนสุดท้ายนางใจอ่อนยอมคืนดีด้วย และได้ครองรักกันอย่างมีความสุขในที่สุด เป็นเรื่องราวความรักหลากหลายอรรถรสที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดที่จะฝ่าฟันอุปสรรคให้หลุดพ้นจากกรอบสังคม จึงเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมตลอดหลายยุคหลายสมัย ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ ... ไม่แน่ว่าหรูอี้อาจต้องการเพียงใช้ประโยคนี้แสดงถึงความรักอย่างยิ่งยวดที่มีต่อเฉียนหลง แต่บทสรุปเรื่องราวชีวิตของนางผ่านซีรีส์เรื่องนี้กลับกลายเป็นอย่างที่บทกวีว่าไว้... ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://kknews.cc/history/xeg9gx8.html https://www.sgss8.net/tpdq/21724747/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5487665ffe0a.aspx https://baike.baidu.com/item/井底引银瓶/10214172 https://www.sohu.com/a/260464211_801417 https://baike.baidu.com/item/裴少俊墙头马上/754408 #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #จ๋าจวี้ #งิ้วสมัยหยวน #เฉียงโถวหม่าซ่าง #สันกำแพงหลังอาชา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 798 มุมมอง 0 รีวิว
  • กลับมาคุยกันต่อถึงภาพที่ 9 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี

    ภาพที่เราจะคุยกันในวันนี้มีชื่อว่า ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ (樊姬谏猎 / ฝานจีเตือนสติให้หยุดล่าสัตว์) ถูกพระราชทานไปที่พระตำหนักหย่งเหอกง ภาพจริงหน้าตาอย่างไร Storyฯ หาไม่พบเพราะมันสูญหายไปแล้ว ภาพที่นำมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกัน แต่มีชื่อเรียกว่า ‘ฝานจีก่านจวง’ (ฝานจีดลใจจวงหวาง) ซึ่งเป็นตอนหนึ่งของภาพม้วนยาว ‘หนีว์สื่อเจิน’ (女史箴图 / ข้าราชสำนักหญิงเตือนสติ) ผลงานของกู้ข่ายจือ ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงฉบับคัดลอกที่มี 9 ตอนจากเดิม 12 ตอน

    Storyฯ เคยกล่าวถึงภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ นี้มาบ้างแล้วในบทความก่อนๆ เกี่ยวกับกงซวิ่นถู แต่ไม่ได้เล่าว่า ภาพทั้ง 12 ตอนของ ‘หนีว์สื่อเจิน’ นี้วาดขึ้นตามเนื้อหาจากบันทึก ‘เลี่ยหนี่ว์จ้วน’ (列女传 / บันทึกเรื่องราวสตรีตัวอย่าง) ที่จัดทำขึ้นในสมัยฮั่นตะวันตกโดยหลี่เซี่ยง แบ่งเป็น 7 หมวดรวมเหตุการณ์ที่ถูกยกมาเป็นตัวอย่างของจรรยาที่สตรีพึงมี จัดเป็นงานวรรณกรรมจำพวก ‘เหวินเหยียนเหวิน’ หรืองานวรรณกรรมภาษาโบราณ ปัจจุบันเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้ชนรุ่นหลังเข้าใจมากขึ้นถึงมุมมองของสังคมในสมัยนั้น

    ‘ฝานจี’ ที่กล่าวถึงในภาพ ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ นี้ก็เป็นพระธิดาของกษัตริย์ผู้ครองแคว้นฝานและเป็นพระภรรยาของฉู่จวงหวาง (จวงอ๋อง) กษัตริย์แห่งแคว้นฉู่ในสมัยชุนชิว (ประมาณ 613-691 ปีก่อนคริสตกาล) จวงหวางแห่งแคว้นฉู่นี้ต่อมาถูกยกย่องเป็นหนึ่งในห้าของผู้ครองแคว้นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุคสมัยชุนชิว หรือที่เรียกว่า ‘ชุนชิวอู่ป้า’ (霸 /ป้า แปลได้ประมาณว่า เจ้าผู้ครองโลก)

    หลี่เซี่ยงเคยเขียนถึงจวงหวางไว้ว่า “ความยิ่งใหญ่ของฉู่จวงหวาง คือผลงานของฝานจี”

    ฝานจีไม่ได้มีความสามารถพิเศษอะไรที่จะช่วยจวงหวางยึดครองอาณาจักร ที่นางได้รับการยกย่องอย่างนี้เป็นเพราะนางคอยเตือนสติให้จวงหวางใส่ใจการบริหารบ้านเมือง ไม่หลงไหลเคลิบเคลิ้มไปกับเรื่องใดหรือใครจนทำให้ละเลยการบริหารบ้านเมือง แม้แต่สนมนางในฝานจีก็เป็นคนคัดเลือกเอง เพราะต้องการให้คนใกล้ชิดจวงหวางล้วนเป็นคนที่มีจรรยาและวางตัวได้ดี ไม่ยั่วยวนฉู่จวงหวางให้ลุ่มหลงมัวเมา (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้)

    มีหลายเหตุการณ์เกี่ยวกับการเตือนสติของฝานจีได้รับการบันทึกไว้และเล่ากันต่อมา แต่ ‘ผลงานสำคัญ’ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอัครมหาเสนาบดีอวี๋ชิวจื่อ เขาเป็นขุนนางที่มีฝีมือและจงรักภักดี เป็นที่เคารพยกย่องและมีอิทธิพลมากในราชสำนัก... ว่ากันว่า มีอยู่ช่วงหนึ่งจวงหวางโปรดปรานอวี๋ชิวจื่อมากจนเสวนาด้วยจนดึกดื่นทุกวัน อยู่มาวันหนึ่งฝานจีเห็นจวงหวางกลับดึกมากจึงถามไถ่สาเหตุ จวงหวางตอบว่าอวี๋ซิวจื่อคนนี้มิเพียงฉลาดปราดเปรื่อง หากยังจงรักภักดี จึงชอบเสวนาด้วย แต่ฝานจีกลับหัวเราะขบขันแล้วยกตัวอย่างว่า ตัวนางเองก็เป็นที่โปรดปรานของจวงหวาง แต่ยังไม่คิดจะเหนี่ยวรั้งจวงหวางไว้กับตนเพียงผู้เดียว หากแต่ยังช่วยสรรหาหญิงที่งามพร้อมจรรยามาช่วยดูแลปรนนิบัติ อวี๋ซิวจื่อผู้นี้แม้ฉลาดปราดเปรื่อง แต่สิบปีที่ผ่านมาไม่เปิดโอกาสให้คนดีมีฝีมือนอกแวดวงของเขาเข้ามารับราชการ เสนอชื่อแต่เพียงคนใกล้ชิดและลูกศิษย์ให้เจริญก้าวหน้าไม่ลงโทษหนักแม้ทำผิด จะเรียกว่าจงรักภักดีทำเพื่อคุณประโยชน์ของประเทศได้อย่างไร?

    เป็นเรื่องเล่าต่อมาอีกว่า วันรุ่งขึ้นจวงหวางเล่าให้อวี๋ซิวจื่อฟังถึงคำพูดของฝานจี อวี๋ซิวจื่อได้ยินก็ฉุกใจคิดคล้อยตาม รู้สึกละอายใจจนเก็บตัวเงียบหลายวัน หลังจากนั้นเขาสรรหาและคัดเลือกคนดีมีฝีมือใหม่ๆ เข้าราชสำนัก สุดท้ายค้นพบและเสนอชื่อซุนซูเอ้าให้มารับหน้าที่อัครมหาเสนาบดีแทนตน จากนั้นก็ขอเกษียณจากราชการ

    เหตุการณ์นี้อาจเรียกได้ว่าเป็นจุดสำคัญของการเปลี่ยนโฉมแคว้นฉู่ ซุนซูเอ้าผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นหนึ่งในนักการเมืองและอัครมหาเสนาบดีที่เก่งกาจที่สุดในยุคสมัยนั้น เขาวางตนสมถะ ชี้นำให้จวงหวางยึดถือความสุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง ให้คำปรึกษาที่ดีทั้งด้านเศรษฐกิจการเมืองและการทหาร กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้แคว้นฉู่เจริญยิ่งใหญ่จนกลายเป็นหนึ่งในห้าแคว้นที่เข้มแข็งที่สุดในสมัยนั้น

    จึงเป็นที่มาของวลีที่ว่า “ความยิ่งใหญ่ของฉู่จวงหวาง คือผลงานของฝานจี”

    เหตุการณ์ที่เล่าถึงในภาพกงซวิ่นถูนี้ เป็นการกล่าวถึงสมัยที่ฉู่จวงหวางขึ้นครองราชย์แคว้นฉู่ใหม่ๆ หลงรักการล่าสัตว์จนละเลยกิจการบ้านเมือง ฝานจีทั้งเตือนทั้งหว่านล้อมให้รามือหันมาดูแลบ้านเมืองเท่าไหร่ก็ไม่ใส่ใจ สุดท้ายนางจึงงดกินเนื้อสัตว์เป็นการประท้วงจนจวงหวางได้คิด เลิกเห็นการล่าสัตว์เป็นเรื่องบันเทิงและหันกลับมาให้เวลากับการบริหารบ้านเมือง

    ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘อี๋เจาซูเจิ้น’ (仪昭淑慎) แปลได้ประมาณว่า โอบอ้อมอารีมีสติ รักษาไว้ซึ่งจรรยาและพิธีการอันดีงาม Storyฯ เหมือนผ่านตาว่าวรรคนี้มีการพูดถึงและอธิบายไว้ในละครเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> ด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/40578846
    https://kknews.cc/zh-hk/news/m6lqj5g.html#google_vignette
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/列女传/869659
    http://www.guoxue.com/?people=fanji
    https://baike.baidu.com/item/樊姬/10584406
    http://dzrb.dzng.com/articleContent/17_1032125.html
    https://hk.epochtimes.com/news/2018-05-29/28583343
    https://baike.baidu.com/item/孙叔敖/669927

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ฝานจี #ฉู่จวงหวาง #ชุนชิวอู่ป้า #ฝานจีเจี้ยนเลี่ย #หนีว์สื่อเจิน #เลี่ยหนี่ว์จ้วน #หลี่เซี่ยง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    กลับมาคุยกันต่อถึงภาพที่ 9 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี ภาพที่เราจะคุยกันในวันนี้มีชื่อว่า ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ (樊姬谏猎 / ฝานจีเตือนสติให้หยุดล่าสัตว์) ถูกพระราชทานไปที่พระตำหนักหย่งเหอกง ภาพจริงหน้าตาอย่างไร Storyฯ หาไม่พบเพราะมันสูญหายไปแล้ว ภาพที่นำมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกัน แต่มีชื่อเรียกว่า ‘ฝานจีก่านจวง’ (ฝานจีดลใจจวงหวาง) ซึ่งเป็นตอนหนึ่งของภาพม้วนยาว ‘หนีว์สื่อเจิน’ (女史箴图 / ข้าราชสำนักหญิงเตือนสติ) ผลงานของกู้ข่ายจือ ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงฉบับคัดลอกที่มี 9 ตอนจากเดิม 12 ตอน Storyฯ เคยกล่าวถึงภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ นี้มาบ้างแล้วในบทความก่อนๆ เกี่ยวกับกงซวิ่นถู แต่ไม่ได้เล่าว่า ภาพทั้ง 12 ตอนของ ‘หนีว์สื่อเจิน’ นี้วาดขึ้นตามเนื้อหาจากบันทึก ‘เลี่ยหนี่ว์จ้วน’ (列女传 / บันทึกเรื่องราวสตรีตัวอย่าง) ที่จัดทำขึ้นในสมัยฮั่นตะวันตกโดยหลี่เซี่ยง แบ่งเป็น 7 หมวดรวมเหตุการณ์ที่ถูกยกมาเป็นตัวอย่างของจรรยาที่สตรีพึงมี จัดเป็นงานวรรณกรรมจำพวก ‘เหวินเหยียนเหวิน’ หรืองานวรรณกรรมภาษาโบราณ ปัจจุบันเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้ชนรุ่นหลังเข้าใจมากขึ้นถึงมุมมองของสังคมในสมัยนั้น ‘ฝานจี’ ที่กล่าวถึงในภาพ ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ นี้ก็เป็นพระธิดาของกษัตริย์ผู้ครองแคว้นฝานและเป็นพระภรรยาของฉู่จวงหวาง (จวงอ๋อง) กษัตริย์แห่งแคว้นฉู่ในสมัยชุนชิว (ประมาณ 613-691 ปีก่อนคริสตกาล) จวงหวางแห่งแคว้นฉู่นี้ต่อมาถูกยกย่องเป็นหนึ่งในห้าของผู้ครองแคว้นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุคสมัยชุนชิว หรือที่เรียกว่า ‘ชุนชิวอู่ป้า’ (霸 /ป้า แปลได้ประมาณว่า เจ้าผู้ครองโลก) หลี่เซี่ยงเคยเขียนถึงจวงหวางไว้ว่า “ความยิ่งใหญ่ของฉู่จวงหวาง คือผลงานของฝานจี” ฝานจีไม่ได้มีความสามารถพิเศษอะไรที่จะช่วยจวงหวางยึดครองอาณาจักร ที่นางได้รับการยกย่องอย่างนี้เป็นเพราะนางคอยเตือนสติให้จวงหวางใส่ใจการบริหารบ้านเมือง ไม่หลงไหลเคลิบเคลิ้มไปกับเรื่องใดหรือใครจนทำให้ละเลยการบริหารบ้านเมือง แม้แต่สนมนางในฝานจีก็เป็นคนคัดเลือกเอง เพราะต้องการให้คนใกล้ชิดจวงหวางล้วนเป็นคนที่มีจรรยาและวางตัวได้ดี ไม่ยั่วยวนฉู่จวงหวางให้ลุ่มหลงมัวเมา (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) มีหลายเหตุการณ์เกี่ยวกับการเตือนสติของฝานจีได้รับการบันทึกไว้และเล่ากันต่อมา แต่ ‘ผลงานสำคัญ’ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอัครมหาเสนาบดีอวี๋ชิวจื่อ เขาเป็นขุนนางที่มีฝีมือและจงรักภักดี เป็นที่เคารพยกย่องและมีอิทธิพลมากในราชสำนัก... ว่ากันว่า มีอยู่ช่วงหนึ่งจวงหวางโปรดปรานอวี๋ชิวจื่อมากจนเสวนาด้วยจนดึกดื่นทุกวัน อยู่มาวันหนึ่งฝานจีเห็นจวงหวางกลับดึกมากจึงถามไถ่สาเหตุ จวงหวางตอบว่าอวี๋ซิวจื่อคนนี้มิเพียงฉลาดปราดเปรื่อง หากยังจงรักภักดี จึงชอบเสวนาด้วย แต่ฝานจีกลับหัวเราะขบขันแล้วยกตัวอย่างว่า ตัวนางเองก็เป็นที่โปรดปรานของจวงหวาง แต่ยังไม่คิดจะเหนี่ยวรั้งจวงหวางไว้กับตนเพียงผู้เดียว หากแต่ยังช่วยสรรหาหญิงที่งามพร้อมจรรยามาช่วยดูแลปรนนิบัติ อวี๋ซิวจื่อผู้นี้แม้ฉลาดปราดเปรื่อง แต่สิบปีที่ผ่านมาไม่เปิดโอกาสให้คนดีมีฝีมือนอกแวดวงของเขาเข้ามารับราชการ เสนอชื่อแต่เพียงคนใกล้ชิดและลูกศิษย์ให้เจริญก้าวหน้าไม่ลงโทษหนักแม้ทำผิด จะเรียกว่าจงรักภักดีทำเพื่อคุณประโยชน์ของประเทศได้อย่างไร? เป็นเรื่องเล่าต่อมาอีกว่า วันรุ่งขึ้นจวงหวางเล่าให้อวี๋ซิวจื่อฟังถึงคำพูดของฝานจี อวี๋ซิวจื่อได้ยินก็ฉุกใจคิดคล้อยตาม รู้สึกละอายใจจนเก็บตัวเงียบหลายวัน หลังจากนั้นเขาสรรหาและคัดเลือกคนดีมีฝีมือใหม่ๆ เข้าราชสำนัก สุดท้ายค้นพบและเสนอชื่อซุนซูเอ้าให้มารับหน้าที่อัครมหาเสนาบดีแทนตน จากนั้นก็ขอเกษียณจากราชการ เหตุการณ์นี้อาจเรียกได้ว่าเป็นจุดสำคัญของการเปลี่ยนโฉมแคว้นฉู่ ซุนซูเอ้าผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นหนึ่งในนักการเมืองและอัครมหาเสนาบดีที่เก่งกาจที่สุดในยุคสมัยนั้น เขาวางตนสมถะ ชี้นำให้จวงหวางยึดถือความสุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง ให้คำปรึกษาที่ดีทั้งด้านเศรษฐกิจการเมืองและการทหาร กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้แคว้นฉู่เจริญยิ่งใหญ่จนกลายเป็นหนึ่งในห้าแคว้นที่เข้มแข็งที่สุดในสมัยนั้น จึงเป็นที่มาของวลีที่ว่า “ความยิ่งใหญ่ของฉู่จวงหวาง คือผลงานของฝานจี” เหตุการณ์ที่เล่าถึงในภาพกงซวิ่นถูนี้ เป็นการกล่าวถึงสมัยที่ฉู่จวงหวางขึ้นครองราชย์แคว้นฉู่ใหม่ๆ หลงรักการล่าสัตว์จนละเลยกิจการบ้านเมือง ฝานจีทั้งเตือนทั้งหว่านล้อมให้รามือหันมาดูแลบ้านเมืองเท่าไหร่ก็ไม่ใส่ใจ สุดท้ายนางจึงงดกินเนื้อสัตว์เป็นการประท้วงจนจวงหวางได้คิด เลิกเห็นการล่าสัตว์เป็นเรื่องบันเทิงและหันกลับมาให้เวลากับการบริหารบ้านเมือง ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘อี๋เจาซูเจิ้น’ (仪昭淑慎) แปลได้ประมาณว่า โอบอ้อมอารีมีสติ รักษาไว้ซึ่งจรรยาและพิธีการอันดีงาม Storyฯ เหมือนผ่านตาว่าวรรคนี้มีการพูดถึงและอธิบายไว้ในละครเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> ด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/40578846 https://kknews.cc/zh-hk/news/m6lqj5g.html#google_vignette Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/列女传/869659 http://www.guoxue.com/?people=fanji https://baike.baidu.com/item/樊姬/10584406 http://dzrb.dzng.com/articleContent/17_1032125.html https://hk.epochtimes.com/news/2018-05-29/28583343 https://baike.baidu.com/item/孙叔敖/669927 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ฝานจี #ฉู่จวงหวาง #ชุนชิวอู่ป้า #ฝานจีเจี้ยนเลี่ย #หนีว์สื่อเจิน #เลี่ยหนี่ว์จ้วน #หลี่เซี่ยง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 819 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้ยังคงคุยกันเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก ภาพที่จะคุยกันคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ หรือ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ (昭容评诗图) ที่แขวนอยู่ในตำหนักอี้คุนกง ซึ่ง Storyฯ ก็จำไม่ได้แล้วว่าในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นี้ อี้คุนกงเป็นที่ประทับของพระมเหสีองค์ไหน แต่ใน <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> นั้น นี่เป็นพระตำหนักของหรูอี้

    จาวหรงเป็นหนึ่งในตำแหน่งพระสนมเอก แล้วจาวหรงที่กล่าวถึงในภาพนี้คือใคร?

    นางคือซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ (ค.ศ. 664-710) ผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ปราดเปรื่องที่สุดแห่งราชวงศ์ถัง แม้มิได้เป็นขุนนางฝ่ายนอกแต่บทบาทและอิทธิพลทางการเมืองของนางมีไม่น้อย จนได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘จิงกั๋วจ่ายเซี่ยง’ (แปลตรงตัวว่า ผ้าโพกผมสตรี + อัครมหาเสนาบดี หรือหมายความว่า อัครมหาเสนาบดีหญิงนั่นเอง) นางมีผลงานด้านวรรณกรรมมากมายที่ยังสืบทอดมาจนปัจจุบัน เพิ่งมีคนโพสต์เกี่ยวกับเรื่องราวของนางไปเมื่อไม่นานมานี้ (ดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่าง) Storyฯ ก็จะพยายามเล่าให้ไม่ซ้ำกันนะคะ

    ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นหลานปู่ของซ่างกวนอี๋ กวีและอัครเสนาบดีในสมัยถังเกาจง ชีวิตของนางผ่านร้อนผ่านหนาวไม่น้อย เนื่องจากซ่างกวนอี๋และตระกูลถูกลงโทษโดยพระนางบูเช็กเทียน (สมัยยังเป็นเพียงฮองเฮา) ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ซึ่งอายุเพียงขวบกว่าก็ต้องโทษตามมารดากลายเป็นทาสหลวงรับใช้อยู่ในส่วนของวังหลังที่เรียกว่า ‘เยี่ยถิง’ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลความเป็นอยู่ของเหล่าสนมและนางกำนัล แต่ภายใต้การดูแลสั่งสอนของมารดา ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์อ่านหนังสือนับไม่ถ้วน ทั้งบทกวี บทความ ประวัติศาสตร์และบันทึกงานราชการของฝ่ายใน โตขึ้นเป็นเด็กที่ฉลาดและทำงานคล่องแคล่ว

    ต่อมาพระนางบูเช็กเทียนผ่านตาบทประพันธ์ของนาง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์จึงถูกเรียกให้ไปเข้าเฝ้า ตอนนั้นเป็นรัชสมัยของถังจงจงและพระนางบูเช็กเทียนกุมอำนาจในฐานะไทเฮา ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์มีอายุเพียงสิบสามย่างสิบสี่ปี นางต้องแต่งบทความตอบโจทย์ต่อหน้าพระนางและทำได้อย่างดี ทั้งในแง่เนื้อหาและทักษะภาษา เป็นที่ถูกใจของพระนางบูเช็กเทียน จึงได้รับการปลดสถานะทาสและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชสำนักหญิงรับผิดชอบงานด้านประกาศและพระราชเสาวนีย์ โดยมีตำแหน่งไฉเหริน (แต่ไม่ได้เป็นสนม)

    ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นที่โปรดปรานของพระนางบูเช็กเทียน นางรับผิดชอบงานราชโองการและรับฎีกาของพระนางทั้งหมดภายหลังจากทรงยึดอำนาจตั้งตนเป็นจักรพรรดินี อีกทั้งพระนางยังหารือราชกิจกับนางบ่อยครั้ง แม้มีเหตุการณ์ขัดขืนพระราชโองการอยู่ครั้งหนึ่งแต่ก็ยังได้รับการไว้ชีวิตเพราะพระนางบูเช็กเทียนเสียดายในความรู้ความสามารถของนาง

    ต่อมาองค์ถังจงจงยึดบัลลังก์คืนมาจากบูเช็กเทียนได้ ก็รับซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นพระสนมโดยยังคงรับหน้าที่ยกร่างพระราชโองการและงานราชเลขาเหมือนเดิม เรื่องราวสมัยที่นางเป็นพระสนมก็จะดูจะอีรุงตุงนังไม่แพ้เรื่องเกมการเมืองสมัยบูเช็กเทียน ประวัติศาสตร์จีนบันทึกว่านางสนิทกับอู่ซานซือ (หลานของบูเช็กเทียน) และชักนำให้อู่ซานซือมาเป็นพวกร่วมกับเหวยฮองเฮาและกลายเป็นขุนนางมือขวาของถังจงจง เป็นหนึ่งสายของขุมอำนาจด้านการเมือง แต่บทความต่างประเทศเขียนเจาะจงว่านางเป็นชู้กับอู่ซานซือ และเขาก็เป็นชู้กับเหวยฮองเฮาอีกด้วย ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่ทราบได้ แต่เรื่องราวการชิงอำนาจและตัวละครที่เกี่ยวข้องในยุคสมัยนั้นก็มีมากจนไม่สามารถเอามาเล่าให้ฟังหมด ขอสรุปสั้นๆ เพียงว่า ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ใช้ชีวิตด้วยชั้นเชิงในการรักษาสมดุลและช่วงชิงอำนาจ และสุดท้ายก็จบชีวิตลงด้วยเกมการเมืองดังกล่าว

    ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ไม่เพียงฉลาดแต่ยังโฉมงาม นางจึงเป็นที่โปรดปรานของถังจงจง ได้รับการปรับระดับขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นถึงจาวหรง นางเป็นคนที่คอยชี้นำให้องค์ถังจงจงเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้เข้ามารับใช้ราชสำนักมากขึ้นและส่งเสริมด้านการศึกษาอย่างกว้างขวาง อีกทั้งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้ที่มีอิทธิพลต่อสไตล์ของบทกวีในสมัยนั้น

    ภายใต้บรรยากาศที่ให้ความสำคัญต่อผู้ที่มีความรู้และความสามารถด้านอักษรนี้ องค์ถังจงจงจึงมักจัดงานเลี้ยงขึ้นเพื่อให้ข้าราชสำนักสังสรรค์และแสดงความสามารถกัน และเหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ นี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับหนึ่งในงานเลี้ยงดังกล่าวที่ถูกจัดขึ้นที่สระคุนหมิง มีเหล่าข้าราชสำนักร่วมแต่งบทกวีกว่า 100 บทภายใต้หัวข้อ ‘ชุน’ (วสันต์)

    ในงานเลี้ยงนี้ องค์ถังจงจงให้ซ่างกวนจาวหรงเป็นคนตัดสินคัดเลือกบทกวีที่ดีที่สุด มีการบรรยายฉากนี้ไว้ว่า นางนั่งอ่านบทกวีอยู่บนหอ ข้าราชสำนักรอฟังผลอยู่ข้างล่าง ครั้นเห็นกระดาษโปรยปรายลงมาก็พากันไปตามหาจนได้บทกวีของตัวเองคืนมา เหลืออยู่เพียงสองคนที่หาบทความของตนเองไม่เจอ คือเสิ่นเฉวียนชีและซ่งจือเวิ่น รอกันอีกสักพัก กระดาษแผ่นสุดท้ายก็ปลิวลงมา ปรากฏเป็นผลงานของเสิ่นเฉวียนชี ถือว่าซ่งจือเวิ่นเป็นผู้ชนะ โดยซ่างกวนเจาหรงวิจารณ์ไว้ว่า บทกวีของทั้งสองคนนั้น เนื้อหาใจความสูสีกันเพราะเป็นการบรรยายถึงบรรยากาศของงานเลี้ยงได้อย่างไพเราะและวรรคแรกเปิดตัวได้อย่างงดงามไม่แพ้กัน แต่ของเสิ่นเฉวียนชีนั้น วรรคท้ายใช้ภาษาในเชิงถ่อมตน ทำให้พลังของภาษาหดหาย ในขณะที่วรรคท้ายของซ่งจือเวิ่นนั้น แม้บทกวีจบลงแต่ให้ความหวัง ทำให้พลังของบทความคงอยู่ จึงเหนือชั้นกว่าของเสิ่นเฉวียนซีอยู่หนึ่งขั้น เหตุการณ์ครั้งนี้ได้รับการจดจำในแง่ที่ว่า ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ฉลาดในการวิจารณ์ เข้าใจถึงแก่นความหมายและมีทักษะด้านภาษาอย่างยิ่งยวด

    ผลงานที่โดดเด่นของซ่างกวนหว่านเอ๋อร์คือการเป็นผู้ดูแลและปรับปรุงหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในรัชสมัยของจักรพรรดินีบูเช็กเทียน คือ ‘ซิวเหวินก่วน’ (修文馆 ต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น จาวเหวินก่วน / 昭文馆) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รวบรวมและดูแลหนังสือบันทึกต่างๆ และเป็นสำนักศึกษาหลวงเปิดการเรียนการสอนโดยแต่งตั้งขุนนางที่มีชื่อฝ่ายบุ๋นหลายคนมาเป็นอาจารย์ที่นี่ ภายใต้การดูแลของนาง หน่วยงานนี้จึงมีบทบาทและน้ำหนักในราชสำนักมากขึ้น

    ภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ หรือ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ นี้ ถูกตีความว่า หมายถึงการศึกษา ภาพนี้จริงแท้หน้าแต่เป็นอย่างไร Storyฯ ก็หาไม่พบ ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพวาดเกี่ยวกับเหตุการณ์เดียวกันแต่มีชื่อเรียกว่า ‘หว่านเอ๋อร์ตัดสินบทกวี’ ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปที่อี้คุนกงพร้อมกับภาพนี้เขียนว่า ‘อี้กงหว่านซุ่น’ (懿恭婉顺) แปลได้ประมาณว่า เคารพพระราชเสาวนีย์ คล้อยตามอย่างละมุนละม่อม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://waptv.sogou.com/teleplay/orswyzlqnrqxsxzwgmydsnjzbhi5h3h3xgs4fva.html
    https://kknews.cc/zh-sg/history/4bb8n3x.html#google_vignette

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=abb5f0b7bf81f3dcd9c7745c
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=08b8cb852955ec63d33764ec
    https://baike.baidu.com/item/上官婉儿/26942
    http://collection.sina.com.cn/plfx/20130924/1618128246.shtml
    https://www.sohu.com/a/221802957_752265
    https://www.sohu.com/a/365940296_348930

    บทความเกี่ยวกับซ่างกวนหว่านเอ๋อร์: https://www.facebook.com/groups/288237788323632/permalink/1649073795573351

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ #บูเช็กเทียน #จาวหรงตัดสินบทกวี #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    วันนี้ยังคงคุยกันเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก ภาพที่จะคุยกันคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ หรือ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ (昭容评诗图) ที่แขวนอยู่ในตำหนักอี้คุนกง ซึ่ง Storyฯ ก็จำไม่ได้แล้วว่าในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นี้ อี้คุนกงเป็นที่ประทับของพระมเหสีองค์ไหน แต่ใน <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> นั้น นี่เป็นพระตำหนักของหรูอี้ จาวหรงเป็นหนึ่งในตำแหน่งพระสนมเอก แล้วจาวหรงที่กล่าวถึงในภาพนี้คือใคร? นางคือซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ (ค.ศ. 664-710) ผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ปราดเปรื่องที่สุดแห่งราชวงศ์ถัง แม้มิได้เป็นขุนนางฝ่ายนอกแต่บทบาทและอิทธิพลทางการเมืองของนางมีไม่น้อย จนได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘จิงกั๋วจ่ายเซี่ยง’ (แปลตรงตัวว่า ผ้าโพกผมสตรี + อัครมหาเสนาบดี หรือหมายความว่า อัครมหาเสนาบดีหญิงนั่นเอง) นางมีผลงานด้านวรรณกรรมมากมายที่ยังสืบทอดมาจนปัจจุบัน เพิ่งมีคนโพสต์เกี่ยวกับเรื่องราวของนางไปเมื่อไม่นานมานี้ (ดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่าง) Storyฯ ก็จะพยายามเล่าให้ไม่ซ้ำกันนะคะ ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นหลานปู่ของซ่างกวนอี๋ กวีและอัครเสนาบดีในสมัยถังเกาจง ชีวิตของนางผ่านร้อนผ่านหนาวไม่น้อย เนื่องจากซ่างกวนอี๋และตระกูลถูกลงโทษโดยพระนางบูเช็กเทียน (สมัยยังเป็นเพียงฮองเฮา) ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ซึ่งอายุเพียงขวบกว่าก็ต้องโทษตามมารดากลายเป็นทาสหลวงรับใช้อยู่ในส่วนของวังหลังที่เรียกว่า ‘เยี่ยถิง’ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลความเป็นอยู่ของเหล่าสนมและนางกำนัล แต่ภายใต้การดูแลสั่งสอนของมารดา ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์อ่านหนังสือนับไม่ถ้วน ทั้งบทกวี บทความ ประวัติศาสตร์และบันทึกงานราชการของฝ่ายใน โตขึ้นเป็นเด็กที่ฉลาดและทำงานคล่องแคล่ว ต่อมาพระนางบูเช็กเทียนผ่านตาบทประพันธ์ของนาง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์จึงถูกเรียกให้ไปเข้าเฝ้า ตอนนั้นเป็นรัชสมัยของถังจงจงและพระนางบูเช็กเทียนกุมอำนาจในฐานะไทเฮา ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์มีอายุเพียงสิบสามย่างสิบสี่ปี นางต้องแต่งบทความตอบโจทย์ต่อหน้าพระนางและทำได้อย่างดี ทั้งในแง่เนื้อหาและทักษะภาษา เป็นที่ถูกใจของพระนางบูเช็กเทียน จึงได้รับการปลดสถานะทาสและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชสำนักหญิงรับผิดชอบงานด้านประกาศและพระราชเสาวนีย์ โดยมีตำแหน่งไฉเหริน (แต่ไม่ได้เป็นสนม) ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นที่โปรดปรานของพระนางบูเช็กเทียน นางรับผิดชอบงานราชโองการและรับฎีกาของพระนางทั้งหมดภายหลังจากทรงยึดอำนาจตั้งตนเป็นจักรพรรดินี อีกทั้งพระนางยังหารือราชกิจกับนางบ่อยครั้ง แม้มีเหตุการณ์ขัดขืนพระราชโองการอยู่ครั้งหนึ่งแต่ก็ยังได้รับการไว้ชีวิตเพราะพระนางบูเช็กเทียนเสียดายในความรู้ความสามารถของนาง ต่อมาองค์ถังจงจงยึดบัลลังก์คืนมาจากบูเช็กเทียนได้ ก็รับซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นพระสนมโดยยังคงรับหน้าที่ยกร่างพระราชโองการและงานราชเลขาเหมือนเดิม เรื่องราวสมัยที่นางเป็นพระสนมก็จะดูจะอีรุงตุงนังไม่แพ้เรื่องเกมการเมืองสมัยบูเช็กเทียน ประวัติศาสตร์จีนบันทึกว่านางสนิทกับอู่ซานซือ (หลานของบูเช็กเทียน) และชักนำให้อู่ซานซือมาเป็นพวกร่วมกับเหวยฮองเฮาและกลายเป็นขุนนางมือขวาของถังจงจง เป็นหนึ่งสายของขุมอำนาจด้านการเมือง แต่บทความต่างประเทศเขียนเจาะจงว่านางเป็นชู้กับอู่ซานซือ และเขาก็เป็นชู้กับเหวยฮองเฮาอีกด้วย ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่ทราบได้ แต่เรื่องราวการชิงอำนาจและตัวละครที่เกี่ยวข้องในยุคสมัยนั้นก็มีมากจนไม่สามารถเอามาเล่าให้ฟังหมด ขอสรุปสั้นๆ เพียงว่า ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ใช้ชีวิตด้วยชั้นเชิงในการรักษาสมดุลและช่วงชิงอำนาจ และสุดท้ายก็จบชีวิตลงด้วยเกมการเมืองดังกล่าว ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ไม่เพียงฉลาดแต่ยังโฉมงาม นางจึงเป็นที่โปรดปรานของถังจงจง ได้รับการปรับระดับขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นถึงจาวหรง นางเป็นคนที่คอยชี้นำให้องค์ถังจงจงเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้เข้ามารับใช้ราชสำนักมากขึ้นและส่งเสริมด้านการศึกษาอย่างกว้างขวาง อีกทั้งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้ที่มีอิทธิพลต่อสไตล์ของบทกวีในสมัยนั้น ภายใต้บรรยากาศที่ให้ความสำคัญต่อผู้ที่มีความรู้และความสามารถด้านอักษรนี้ องค์ถังจงจงจึงมักจัดงานเลี้ยงขึ้นเพื่อให้ข้าราชสำนักสังสรรค์และแสดงความสามารถกัน และเหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ นี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับหนึ่งในงานเลี้ยงดังกล่าวที่ถูกจัดขึ้นที่สระคุนหมิง มีเหล่าข้าราชสำนักร่วมแต่งบทกวีกว่า 100 บทภายใต้หัวข้อ ‘ชุน’ (วสันต์) ในงานเลี้ยงนี้ องค์ถังจงจงให้ซ่างกวนจาวหรงเป็นคนตัดสินคัดเลือกบทกวีที่ดีที่สุด มีการบรรยายฉากนี้ไว้ว่า นางนั่งอ่านบทกวีอยู่บนหอ ข้าราชสำนักรอฟังผลอยู่ข้างล่าง ครั้นเห็นกระดาษโปรยปรายลงมาก็พากันไปตามหาจนได้บทกวีของตัวเองคืนมา เหลืออยู่เพียงสองคนที่หาบทความของตนเองไม่เจอ คือเสิ่นเฉวียนชีและซ่งจือเวิ่น รอกันอีกสักพัก กระดาษแผ่นสุดท้ายก็ปลิวลงมา ปรากฏเป็นผลงานของเสิ่นเฉวียนชี ถือว่าซ่งจือเวิ่นเป็นผู้ชนะ โดยซ่างกวนเจาหรงวิจารณ์ไว้ว่า บทกวีของทั้งสองคนนั้น เนื้อหาใจความสูสีกันเพราะเป็นการบรรยายถึงบรรยากาศของงานเลี้ยงได้อย่างไพเราะและวรรคแรกเปิดตัวได้อย่างงดงามไม่แพ้กัน แต่ของเสิ่นเฉวียนชีนั้น วรรคท้ายใช้ภาษาในเชิงถ่อมตน ทำให้พลังของภาษาหดหาย ในขณะที่วรรคท้ายของซ่งจือเวิ่นนั้น แม้บทกวีจบลงแต่ให้ความหวัง ทำให้พลังของบทความคงอยู่ จึงเหนือชั้นกว่าของเสิ่นเฉวียนซีอยู่หนึ่งขั้น เหตุการณ์ครั้งนี้ได้รับการจดจำในแง่ที่ว่า ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ฉลาดในการวิจารณ์ เข้าใจถึงแก่นความหมายและมีทักษะด้านภาษาอย่างยิ่งยวด ผลงานที่โดดเด่นของซ่างกวนหว่านเอ๋อร์คือการเป็นผู้ดูแลและปรับปรุงหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในรัชสมัยของจักรพรรดินีบูเช็กเทียน คือ ‘ซิวเหวินก่วน’ (修文馆 ต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น จาวเหวินก่วน / 昭文馆) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รวบรวมและดูแลหนังสือบันทึกต่างๆ และเป็นสำนักศึกษาหลวงเปิดการเรียนการสอนโดยแต่งตั้งขุนนางที่มีชื่อฝ่ายบุ๋นหลายคนมาเป็นอาจารย์ที่นี่ ภายใต้การดูแลของนาง หน่วยงานนี้จึงมีบทบาทและน้ำหนักในราชสำนักมากขึ้น ภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ หรือ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ นี้ ถูกตีความว่า หมายถึงการศึกษา ภาพนี้จริงแท้หน้าแต่เป็นอย่างไร Storyฯ ก็หาไม่พบ ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพวาดเกี่ยวกับเหตุการณ์เดียวกันแต่มีชื่อเรียกว่า ‘หว่านเอ๋อร์ตัดสินบทกวี’ ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปที่อี้คุนกงพร้อมกับภาพนี้เขียนว่า ‘อี้กงหว่านซุ่น’ (懿恭婉顺) แปลได้ประมาณว่า เคารพพระราชเสาวนีย์ คล้อยตามอย่างละมุนละม่อม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://waptv.sogou.com/teleplay/orswyzlqnrqxsxzwgmydsnjzbhi5h3h3xgs4fva.html https://kknews.cc/zh-sg/history/4bb8n3x.html#google_vignette Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=abb5f0b7bf81f3dcd9c7745c https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=08b8cb852955ec63d33764ec https://baike.baidu.com/item/上官婉儿/26942 http://collection.sina.com.cn/plfx/20130924/1618128246.shtml https://www.sohu.com/a/221802957_752265 https://www.sohu.com/a/365940296_348930 บทความเกี่ยวกับซ่างกวนหว่านเอ๋อร์: https://www.facebook.com/groups/288237788323632/permalink/1649073795573351 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ #บูเช็กเทียน #จาวหรงตัดสินบทกวี #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    《延禧攻略》全集-电视剧-免费在线观看
    电视剧《延禧攻略》高清免费在线播放,延禧攻略是是由惠楷栋;温德光导演,由秦岚,聂远,张嘉倪,吴谨言主演的中国大陆电视剧,剧情:乾隆六年,少女魏璎珞为寻求长姐死亡真相,...
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 703 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มาคุยกันต่อถึงสิบสองภาพวาดที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดามเหสี เรียกรวมว่า ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) พร้อมป้ายอักษรอันเป็นตัวแทนของบทกวี ‘กงซวิ่นซือ’ (宫训诗 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+บทกวี) ภาพเหล่านี้ล้วนเป็นภาพฮองเฮา / มเหสี / พระชายาที่มีชื่อในประวัติศาสตร์ว่ามีคุณงามความดี

    สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึงภาพแรกคือภาพ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ ที่ทรงพระราชทานให้ฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุน (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0Ery63dJM9QctgcUQWchqzEPMugvq12HANhduAUpojWfR2GjQctaJRpxAjBzsD6NWl)

    แต่พอ Storyฯ จะเขียนถึงภาพถัดไปก็เริ่มเกิดความยาก... ปัญหาคือว่า ละครเรื่องนี้แม้อ้างอิงจากเรื่องจริงแต่ตัวละครและชื่อตำหนักที่ประทับได้ถูกปรับเปลี่ยนไปบ้าง และข้อมูลเกี่ยวกับภาพวาดที่ Storyฯ หาเจอจะอิงตามชื่อตำหนัก

    Storyฯ เลยคิดว่า ก่อนจะไปกันต่อ เอาภาพมาให้เพื่อนเพจดูกันก่อนว่าพระราชวังต่างๆ ตั้งอยู่ที่ไหนกันบ้าง (ดูรูปประกอบ3) ซึ่งที่บอกว่าฮองเฮากุมอำนาจหกวังหรือ ‘ลิ่วกง’ แห่งวังหลังนั้น ‘หกวัง’ นั้นจริงๆ หมายถึงสิบสองวังหรือตำหนัก แบ่งเป็นหกตำหนักฝั่งตะวันออกและหกตำหนักตะวันตก ตรงกลางของวังหลังคือพระตำหนักเฉียนชิงกง ซึ่งเป็นที่ประทับและทรงงานของฮ่องเต้ (แต่ตั้งแต่รัชสมัยของยงเจิ้งเป็นต้นมา ฮ่องเต้จะเสด็จไปบรรทมที่พระที่นั่งหยั่งซินแทน) ตำหนักไหนอยู่ตรงไหนดูจากภาพประกอบกันได้เลยนะคะ

    วันนี้คุยกันเรื่องภาพที่สอง คือภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (班姬辞辇图 ) แปลได้ว่าประมาณว่า ปันจีผู้งามมารยาท ภาพนี้ในนิยายต้นฉบับของ <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ได้ถูกพระราชทานไปให้เกากุ้ยเฟย (ในนิยายคือฮุ่ยกุ้ยเฟย) ที่พระตำหนักฉู่ซิ่วกง (ในซีรีย์บอกเป็นอีกภาพหนึ่ง) แต่ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> เกากุ้ยเฟยประทับที่พระตำหนักเสียนฝูกง ท่ามกลางความสับสนของชื่อภาพและชื่อพระตำหนักนี้ Storyฯ ยึดตามที่มีกล่าวถึงจากข้อมูลที่หาได้ว่า ภาพนี้ถูกแขวนไว้ที่พระตำหนักหย่งโซ่วกง (พระตำหนักของพระนางฮุ่ยเสียนหวงกุ้ยเฟย ผู้ซึ่งว่ากันว่าเป็นต้นแบบของเกากุ้ยเฟยในละคร)

    ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ ที่องค์เฉียนหลงทรงให้จัดวาดขึ้นนั้นหน้าตาที่แท้จริงเป็นอย่างไร Storyฯ ก็หาไม่พบ พบแต่ภาพดั้งเดิมของเรื่อง ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (ดูรูปประกอบ1) ซึ่งเป็นตอนหนึ่งของภาพม้วนยาวที่มีชื่อเรียกว่าภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ (女史箴图 / ข้าราชสำนักหญิงเตือนสติ ดูรูปประกอบ2) อันเป็นผลงานของกู้ข่ายจือ ซึ่งเดิมมี 12 ตอนแต่สูญหายไปแล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงฉบับคัดลอก 9 ตอนสองชุด ชุดหนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม เป็นภาพที่จัดทำขึ้นสมัยซ่ง และอีกชุดหนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริติช (British Museum) เป็นภาพที่จัดทำในสมัยถัง ภาพทั้งสองมีความยาวเกือบ 3.5 เมตร เป็นภาพที่ถูกยกย่องว่านำเสนอวิถีชีวิตเหล่านางในตำแหน่งต่างๆ ออกมาได้ดี ไม่ว่าจะการวางตัวหรือสีหน้าสีตา

    ทั้งนี้ ภาพเต็ม ‘หนีว์สื่อเจิน’ เป็นภาพที่วาดขึ้นในสมัยราชวงศ์จิ้น โดยมีเนื้อหาเป็นเรื่องเล่าในรัชสมัยฮั่นเฉิงตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี 52-7 ก่อนคริสตกาล) กล่าวถึงเมื่อครั้งฮั่นเฉิงตี้เสด็จประพาสทอดพระเนตรสัตว์สู้กัน โดยมีนางในและพระโอรสตามเสด็จ

    ‘ปันจี’ คือใคร? นางคือพระนางปันเจี๋ยอวี๋ (หมายเหตุ ตำแหน่งเจี๋ยอวี๋นี้ บางคนเคยแปลว่าอัครเทวี บางคนแปลว่าราชเทวี Storyฯ ก็ไม่สันทัดว่าควรเรียกว่าอย่างไรจึงจะถูกต้อง) ชื่อเดิมว่า ‘ปันเถียน’ เริ่มเข้าวังทำหน้าที่เป็นข้าราชสำนักหญิงหรือที่เรียกว่าตำแหน่ง ‘หนีว์สื่อ’ มีหน้าที่ถวายงานด้านอักษรให้แก่ฮองเฮา รวมถึงงานบันทึกผลงานและความผิดของสตรีฝ่ายในและงานด้านพิธีการฝ่ายใน ต่อมาได้เป็นสนมรับใช้ฮั่นเฉิงตี้และสุดท้ายได้รับตำแหน่งเจี๋ยอวี๋ นางถูกจารึกไว้ว่าเป็นกวีและนักอักษรศาสตร์ที่เลื่องชื่อ มีผลงานตกทอดมาจนปัจจุบันหลายชิ้น

    ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ นี้เป็นตอนที่สองของภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ เป็นเรื่องราวสมัยที่พระนางยังเป็นที่โปรดปรานของฮั่นเฉิงตี้ ใจความคือองค์ฮั่นเฉิงตี้ทรงโปรดให้ใช้พระราชรถม้าขนาดใหญ่มากในการประพาสครั้งนี้เพื่อจะได้ให้พระนางปันโดยเสด็จด้วยบนรถ แต่พระนางทรงปฏิเสธ โดยอธิบายว่าแต่ไหนแต่ไรมา คนอื่นๆ ต้องเดินตามเสด็จอยู่ด้านข้างขบวน และในประวัติศาสตร์แม้มีกษัตริย์บางพระองค์ที่ให้พระภรรยาหรือสนมประทับร่วมบนพระราชรถ แต่กษัตริย์เหล่านั้นสุดท้ายล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ทำให้ราชวงศ์ล่มสลาย พระนางทรงไม่ต้องการให้ผู้ใดไปเล่ากันต่อในทางที่ไม่ดีว่าองค์ฮั่นเฉิงตี้มัวเมาในสตรีจนอาจเป็นเหตุให้บ้านเมืองต้องอับจนในอนาคต เหตุการณ์นี้ทำให้พระนางถูกยกย่องว่าเป็นคนที่สงบเสงี่ยมแม้จะได้รับความโปรดปรานจากองค์ฮ่องเต้ วางพระองค์ได้ดี รู้ขนบทำเนียมหน้าที่และรู้ว่าอะไรควรไม่ควร

    ภาพนี้ถูกชื่นชมว่าสามารถบรรยายความรู้สึกหลากหลายออกมาได้ดี ไม่ว่าจะเป็นความไม่พอพระทัยแต่จำยอมขององค์ฮั่นเฉิงตี้หรือการเบือนพักตร์ลอบไม่พอพระทัยของฮองเฮา โดยฉพาะภาพลักษณ์ของปันเจี๋ยอวี๋ในภาพนี้ ดูสูงส่งเรียบร้อย สมกับที่พระนางถูกยกย่องให้เป็นแบบอย่างแห่งสตรีผู้มีจริยวัตรงดงาม

    ส่วนป้ายอักษรที่องค์เฉียนหลงทรงพระราชทานคู่กับป้ายนี้คือ ‘ลิ่งอี๋ซูเต๋อ’ (令仪淑德) แปลได้ประมาณว่า เคารพพิธีการและวางตนให้ดีมีจริยวัตรงดงาม

    ในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นี้ เกากุ้ยเฟยตีความจากภาพนี้ว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงตำหนิที่นางวางองค์ไม่ดีจึงทรงพระราชทานภาพนี้มาเตือนสติ แต่เจียผินปลอบพระนางว่า จริงๆ แล้วภาพทั้งสิบสองสะท้อนถึงคุณสมบัติที่เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงคาดหวังจากเหล่ามเหสีและสนมทั้งหมด เพื่อนเพจคิดว่าไงคะ?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/242329927_100034915
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/44523682
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=5c29a1b9368965f14d877c95
    http://www.obj.cc/thread-69013-1-1.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    https://baike.baidu.com/item/女史箴图
    https://baike.baidu.com/item/班姬辞辇/360901

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เกากุ้ยเฟย #ปันจีฉือเหนี่ยน #ปันเจวี๋ยอี๋ #กงซวิ่นถู #หกตำหนักวังหลัง #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    วันนี้มาคุยกันต่อถึงสิบสองภาพวาดที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดามเหสี เรียกรวมว่า ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) พร้อมป้ายอักษรอันเป็นตัวแทนของบทกวี ‘กงซวิ่นซือ’ (宫训诗 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+บทกวี) ภาพเหล่านี้ล้วนเป็นภาพฮองเฮา / มเหสี / พระชายาที่มีชื่อในประวัติศาสตร์ว่ามีคุณงามความดี สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึงภาพแรกคือภาพ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ ที่ทรงพระราชทานให้ฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุน (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0Ery63dJM9QctgcUQWchqzEPMugvq12HANhduAUpojWfR2GjQctaJRpxAjBzsD6NWl) แต่พอ Storyฯ จะเขียนถึงภาพถัดไปก็เริ่มเกิดความยาก... ปัญหาคือว่า ละครเรื่องนี้แม้อ้างอิงจากเรื่องจริงแต่ตัวละครและชื่อตำหนักที่ประทับได้ถูกปรับเปลี่ยนไปบ้าง และข้อมูลเกี่ยวกับภาพวาดที่ Storyฯ หาเจอจะอิงตามชื่อตำหนัก Storyฯ เลยคิดว่า ก่อนจะไปกันต่อ เอาภาพมาให้เพื่อนเพจดูกันก่อนว่าพระราชวังต่างๆ ตั้งอยู่ที่ไหนกันบ้าง (ดูรูปประกอบ3) ซึ่งที่บอกว่าฮองเฮากุมอำนาจหกวังหรือ ‘ลิ่วกง’ แห่งวังหลังนั้น ‘หกวัง’ นั้นจริงๆ หมายถึงสิบสองวังหรือตำหนัก แบ่งเป็นหกตำหนักฝั่งตะวันออกและหกตำหนักตะวันตก ตรงกลางของวังหลังคือพระตำหนักเฉียนชิงกง ซึ่งเป็นที่ประทับและทรงงานของฮ่องเต้ (แต่ตั้งแต่รัชสมัยของยงเจิ้งเป็นต้นมา ฮ่องเต้จะเสด็จไปบรรทมที่พระที่นั่งหยั่งซินแทน) ตำหนักไหนอยู่ตรงไหนดูจากภาพประกอบกันได้เลยนะคะ วันนี้คุยกันเรื่องภาพที่สอง คือภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (班姬辞辇图 ) แปลได้ว่าประมาณว่า ปันจีผู้งามมารยาท ภาพนี้ในนิยายต้นฉบับของ <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ได้ถูกพระราชทานไปให้เกากุ้ยเฟย (ในนิยายคือฮุ่ยกุ้ยเฟย) ที่พระตำหนักฉู่ซิ่วกง (ในซีรีย์บอกเป็นอีกภาพหนึ่ง) แต่ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> เกากุ้ยเฟยประทับที่พระตำหนักเสียนฝูกง ท่ามกลางความสับสนของชื่อภาพและชื่อพระตำหนักนี้ Storyฯ ยึดตามที่มีกล่าวถึงจากข้อมูลที่หาได้ว่า ภาพนี้ถูกแขวนไว้ที่พระตำหนักหย่งโซ่วกง (พระตำหนักของพระนางฮุ่ยเสียนหวงกุ้ยเฟย ผู้ซึ่งว่ากันว่าเป็นต้นแบบของเกากุ้ยเฟยในละคร) ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ ที่องค์เฉียนหลงทรงให้จัดวาดขึ้นนั้นหน้าตาที่แท้จริงเป็นอย่างไร Storyฯ ก็หาไม่พบ พบแต่ภาพดั้งเดิมของเรื่อง ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (ดูรูปประกอบ1) ซึ่งเป็นตอนหนึ่งของภาพม้วนยาวที่มีชื่อเรียกว่าภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ (女史箴图 / ข้าราชสำนักหญิงเตือนสติ ดูรูปประกอบ2) อันเป็นผลงานของกู้ข่ายจือ ซึ่งเดิมมี 12 ตอนแต่สูญหายไปแล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงฉบับคัดลอก 9 ตอนสองชุด ชุดหนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม เป็นภาพที่จัดทำขึ้นสมัยซ่ง และอีกชุดหนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริติช (British Museum) เป็นภาพที่จัดทำในสมัยถัง ภาพทั้งสองมีความยาวเกือบ 3.5 เมตร เป็นภาพที่ถูกยกย่องว่านำเสนอวิถีชีวิตเหล่านางในตำแหน่งต่างๆ ออกมาได้ดี ไม่ว่าจะการวางตัวหรือสีหน้าสีตา ทั้งนี้ ภาพเต็ม ‘หนีว์สื่อเจิน’ เป็นภาพที่วาดขึ้นในสมัยราชวงศ์จิ้น โดยมีเนื้อหาเป็นเรื่องเล่าในรัชสมัยฮั่นเฉิงตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี 52-7 ก่อนคริสตกาล) กล่าวถึงเมื่อครั้งฮั่นเฉิงตี้เสด็จประพาสทอดพระเนตรสัตว์สู้กัน โดยมีนางในและพระโอรสตามเสด็จ ‘ปันจี’ คือใคร? นางคือพระนางปันเจี๋ยอวี๋ (หมายเหตุ ตำแหน่งเจี๋ยอวี๋นี้ บางคนเคยแปลว่าอัครเทวี บางคนแปลว่าราชเทวี Storyฯ ก็ไม่สันทัดว่าควรเรียกว่าอย่างไรจึงจะถูกต้อง) ชื่อเดิมว่า ‘ปันเถียน’ เริ่มเข้าวังทำหน้าที่เป็นข้าราชสำนักหญิงหรือที่เรียกว่าตำแหน่ง ‘หนีว์สื่อ’ มีหน้าที่ถวายงานด้านอักษรให้แก่ฮองเฮา รวมถึงงานบันทึกผลงานและความผิดของสตรีฝ่ายในและงานด้านพิธีการฝ่ายใน ต่อมาได้เป็นสนมรับใช้ฮั่นเฉิงตี้และสุดท้ายได้รับตำแหน่งเจี๋ยอวี๋ นางถูกจารึกไว้ว่าเป็นกวีและนักอักษรศาสตร์ที่เลื่องชื่อ มีผลงานตกทอดมาจนปัจจุบันหลายชิ้น ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ นี้เป็นตอนที่สองของภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ เป็นเรื่องราวสมัยที่พระนางยังเป็นที่โปรดปรานของฮั่นเฉิงตี้ ใจความคือองค์ฮั่นเฉิงตี้ทรงโปรดให้ใช้พระราชรถม้าขนาดใหญ่มากในการประพาสครั้งนี้เพื่อจะได้ให้พระนางปันโดยเสด็จด้วยบนรถ แต่พระนางทรงปฏิเสธ โดยอธิบายว่าแต่ไหนแต่ไรมา คนอื่นๆ ต้องเดินตามเสด็จอยู่ด้านข้างขบวน และในประวัติศาสตร์แม้มีกษัตริย์บางพระองค์ที่ให้พระภรรยาหรือสนมประทับร่วมบนพระราชรถ แต่กษัตริย์เหล่านั้นสุดท้ายล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ทำให้ราชวงศ์ล่มสลาย พระนางทรงไม่ต้องการให้ผู้ใดไปเล่ากันต่อในทางที่ไม่ดีว่าองค์ฮั่นเฉิงตี้มัวเมาในสตรีจนอาจเป็นเหตุให้บ้านเมืองต้องอับจนในอนาคต เหตุการณ์นี้ทำให้พระนางถูกยกย่องว่าเป็นคนที่สงบเสงี่ยมแม้จะได้รับความโปรดปรานจากองค์ฮ่องเต้ วางพระองค์ได้ดี รู้ขนบทำเนียมหน้าที่และรู้ว่าอะไรควรไม่ควร ภาพนี้ถูกชื่นชมว่าสามารถบรรยายความรู้สึกหลากหลายออกมาได้ดี ไม่ว่าจะเป็นความไม่พอพระทัยแต่จำยอมขององค์ฮั่นเฉิงตี้หรือการเบือนพักตร์ลอบไม่พอพระทัยของฮองเฮา โดยฉพาะภาพลักษณ์ของปันเจี๋ยอวี๋ในภาพนี้ ดูสูงส่งเรียบร้อย สมกับที่พระนางถูกยกย่องให้เป็นแบบอย่างแห่งสตรีผู้มีจริยวัตรงดงาม ส่วนป้ายอักษรที่องค์เฉียนหลงทรงพระราชทานคู่กับป้ายนี้คือ ‘ลิ่งอี๋ซูเต๋อ’ (令仪淑德) แปลได้ประมาณว่า เคารพพิธีการและวางตนให้ดีมีจริยวัตรงดงาม ในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นี้ เกากุ้ยเฟยตีความจากภาพนี้ว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงตำหนิที่นางวางองค์ไม่ดีจึงทรงพระราชทานภาพนี้มาเตือนสติ แต่เจียผินปลอบพระนางว่า จริงๆ แล้วภาพทั้งสิบสองสะท้อนถึงคุณสมบัติที่เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงคาดหวังจากเหล่ามเหสีและสนมทั้งหมด เพื่อนเพจคิดว่าไงคะ? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/242329927_100034915 https://zhuanlan.zhihu.com/p/44523682 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=5c29a1b9368965f14d877c95 http://www.obj.cc/thread-69013-1-1.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html https://baike.baidu.com/item/女史箴图 https://baike.baidu.com/item/班姬辞辇/360901 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เกากุ้ยเฟย #ปันจีฉือเหนี่ยน #ปันเจวี๋ยอี๋ #กงซวิ่นถู #หกตำหนักวังหลัง #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 875 มุมมอง 0 รีวิว