• วันนี้มาคุยกันถึงวลีจีนที่พบเห็นได้บ่อย

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ท่านพ่อ แต่เรื่องนี้หากลู่อี้รู้เข้า พวกเราจะมีปัญหาหรือไม่?” หยางเยวี่ยเอ่ยอย่างไม่สบายใจ
    จินเซี่ยพยักหน้าหงึกหงัก “นั่นสิ เจ้าตัวร้ายผู้นั้นมิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน ยามแกล้งคนนั้นอำมหิตนัก”...
    - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)
    (หมายเหตุ ละครเรื่องยอดองค์รักษ์เสื้อแพรดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    อะไรคือ ‘มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’?

    ก่อนอื่นก็ต้องมาทำความเข้าใจกับ ‘ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ หรือ ‘เสิ่งโหยวเติง’ (省油灯)

    ในซีรีย์จีนเรามักเห็นเขาจุดเทียนเพื่อแสงสว่างกัน หรือในบางเรื่องก็จะเห็นเป็นตะเกียงน้ำมันแบบที่ใช้จานหรือชามตื้นเป็นภาชนะ ว่ากันว่า เทียนไขแรกเริ่มปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์ฉิน (ปี 221-206 ก่อนคริสต์ศักราช) เมื่อมีการนำน้ำมันจากไขสัตว์ไปเทใส่ในหลอดหญ้าที่มีเชือกทิ้งปลายออกมาเป็นไส้เทียน

    แต่ไม่ว่าจะเป็นเทียนหรือตะเกียงน้ำมันล้วนจัดเป็นของแพง เพราะต้องใช้ไขมันสกัดมาทำเทียนไขหรือเผาเป็นน้ำมัน จึงเป็นของมีราคาสูงและหายาก ไม่สามารถใช้พร่ำเพรื่อ เดิมมีใช้กันเฉพาะในวังและจวนขุนนางระดับสูง จัดเป็นของมีค่าหนึ่งรายการที่นิยมพระราชทานเป็นรางวัลให้กับขุนนาง ส่วนชาวบ้านธรรมดาก็ใช้คบเพลิงที่ทำขึ้นเองซึ่งไม่ต้องใช้น้ำมันมากเพราะใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง แต่จะมานั่งจุดคบกันทั้งคืนในห้องก็กระไรอยู่ เราจึงมักได้ยินถึงบทกวีหรือเห็นในละครที่บัณฑิตยากจนต้องนั่งอ่านหนังสือใต้แสงจันทร์

    ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งจึงเริ่มใช้เทียนไขกันอย่างแพร่หลายเพราะมีการสกัดไขมันพืชขึ้นซึ่งขึ้นรูปและอยู่ตัวได้ดีกว่าไขสัตว์ แต่ก็ยังจัดเป็นของฟุ่มเฟือย และแน่นอนว่าเทียนนั้นมีหลายเกรด มีบันทึกว่าในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ค.ศ. 1067-1085) นั้น เทียนไขเกรดสูงหนึ่งเล่มมีราคาสูงเป็นสิบเท่าของเทียนเกรดต่ำและคิดเป็นรายได้ประมาณสามวันของชาวบ้านธรรมดาเลยทีเดียว

    ในเมื่อไขมันสำหรับทำเทียนไขหรือตะเกียงน้ำมันล้วนเป็นของหายาก จึงเกิดสิ่งประดิษฐ์ขึ้นที่ประหยัดทรัพย์กว่าซึ่งก็คือตะเกียงประหยัดน้ำมัน บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยถังแต่ใช้แพร่หลายในสมัยซ่ง บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยซ่ง

    หลักการของเทคโนโลยีตะเกียงประหยัดน้ำมันนั้นง่ายจนน่าทึ่งว่าคนโบราณช่างฉลาดคิด คือเป็นการใส่น้ำไว้ในตะเกียงเพื่อลดความร้อนและรักษาอุณหภูมิไม่ให้ไขมันนั้นถูกเผาผลาญเร็วเกินไป และต้องใช้เป็นตะเกียงกระเบื้อง จะทรงสูงหรือเตี้ยก็ได้ แต่ไม่ใช้โลหะ ว่ากันว่าสามารถประหยัดน้ำมันได้ถึงครึ่งหนึ่งทีเดียว หน้าตาเป็นอย่างไรดูได้จากรูปประกอบ

    เข้าใจแล้วว่าตะเกียงประหยัดน้ำมันเป็นอย่างไร ก็คงเข้าใจความหมายของวลี ‘คนที่มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ ได้ไม่ยาก

    วลีนี้ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่ฉลาดหรือเก่งมากจนคนอื่น ‘เอาไม่อยู่’ หรือจัดการได้ยาก กว่าจะจัดการได้ต้องสิ้นเปลืองพลังงานมาก เป็นคนที่ไม่เคยเสียเปรียบใครเพราะฉลาดทันคน ฟังดูคล้ายเป็นการเปรียบเปรยเชิงลบ แต่จริงแล้วไม่ใช่ เพราะมันแฝงไว้ด้วยอาการยอมรับหรือเลื่อมใสอย่างเสียไม่ได้จากผู้ที่พูด

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://mercury0314.pixnet.net/blog/post/469082246-錦衣之下》任嘉倫、譚松韻、韓棟、葉青、
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=936cd571088453d061412ab3
    https://www.163.com/dy/article/F2QG74VJ05238DGE.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.baike.com/wikiid/4698842907576744062?view_id=3qk0zj0se7c000
    http://www.qulishi.com/article/201906/344431.html
    https://www.sohu.com/a/410514175_189939

    #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ตะเกียงน้ำมัน #ตะเกียงประหยัดน้ำมัน #เสิ่งโหยวเติง #วลีจีน
    วันนี้มาคุยกันถึงวลีจีนที่พบเห็นได้บ่อย ความมีอยู่ว่า ... “ท่านพ่อ แต่เรื่องนี้หากลู่อี้รู้เข้า พวกเราจะมีปัญหาหรือไม่?” หยางเยวี่ยเอ่ยอย่างไม่สบายใจ จินเซี่ยพยักหน้าหงึกหงัก “นั่นสิ เจ้าตัวร้ายผู้นั้นมิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน ยามแกล้งคนนั้นอำมหิตนัก”... - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) (หมายเหตุ ละครเรื่องยอดองค์รักษ์เสื้อแพรดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) อะไรคือ ‘มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’? ก่อนอื่นก็ต้องมาทำความเข้าใจกับ ‘ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ หรือ ‘เสิ่งโหยวเติง’ (省油灯) ในซีรีย์จีนเรามักเห็นเขาจุดเทียนเพื่อแสงสว่างกัน หรือในบางเรื่องก็จะเห็นเป็นตะเกียงน้ำมันแบบที่ใช้จานหรือชามตื้นเป็นภาชนะ ว่ากันว่า เทียนไขแรกเริ่มปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์ฉิน (ปี 221-206 ก่อนคริสต์ศักราช) เมื่อมีการนำน้ำมันจากไขสัตว์ไปเทใส่ในหลอดหญ้าที่มีเชือกทิ้งปลายออกมาเป็นไส้เทียน แต่ไม่ว่าจะเป็นเทียนหรือตะเกียงน้ำมันล้วนจัดเป็นของแพง เพราะต้องใช้ไขมันสกัดมาทำเทียนไขหรือเผาเป็นน้ำมัน จึงเป็นของมีราคาสูงและหายาก ไม่สามารถใช้พร่ำเพรื่อ เดิมมีใช้กันเฉพาะในวังและจวนขุนนางระดับสูง จัดเป็นของมีค่าหนึ่งรายการที่นิยมพระราชทานเป็นรางวัลให้กับขุนนาง ส่วนชาวบ้านธรรมดาก็ใช้คบเพลิงที่ทำขึ้นเองซึ่งไม่ต้องใช้น้ำมันมากเพราะใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง แต่จะมานั่งจุดคบกันทั้งคืนในห้องก็กระไรอยู่ เราจึงมักได้ยินถึงบทกวีหรือเห็นในละครที่บัณฑิตยากจนต้องนั่งอ่านหนังสือใต้แสงจันทร์ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งจึงเริ่มใช้เทียนไขกันอย่างแพร่หลายเพราะมีการสกัดไขมันพืชขึ้นซึ่งขึ้นรูปและอยู่ตัวได้ดีกว่าไขสัตว์ แต่ก็ยังจัดเป็นของฟุ่มเฟือย และแน่นอนว่าเทียนนั้นมีหลายเกรด มีบันทึกว่าในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ค.ศ. 1067-1085) นั้น เทียนไขเกรดสูงหนึ่งเล่มมีราคาสูงเป็นสิบเท่าของเทียนเกรดต่ำและคิดเป็นรายได้ประมาณสามวันของชาวบ้านธรรมดาเลยทีเดียว ในเมื่อไขมันสำหรับทำเทียนไขหรือตะเกียงน้ำมันล้วนเป็นของหายาก จึงเกิดสิ่งประดิษฐ์ขึ้นที่ประหยัดทรัพย์กว่าซึ่งก็คือตะเกียงประหยัดน้ำมัน บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยถังแต่ใช้แพร่หลายในสมัยซ่ง บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยซ่ง หลักการของเทคโนโลยีตะเกียงประหยัดน้ำมันนั้นง่ายจนน่าทึ่งว่าคนโบราณช่างฉลาดคิด คือเป็นการใส่น้ำไว้ในตะเกียงเพื่อลดความร้อนและรักษาอุณหภูมิไม่ให้ไขมันนั้นถูกเผาผลาญเร็วเกินไป และต้องใช้เป็นตะเกียงกระเบื้อง จะทรงสูงหรือเตี้ยก็ได้ แต่ไม่ใช้โลหะ ว่ากันว่าสามารถประหยัดน้ำมันได้ถึงครึ่งหนึ่งทีเดียว หน้าตาเป็นอย่างไรดูได้จากรูปประกอบ เข้าใจแล้วว่าตะเกียงประหยัดน้ำมันเป็นอย่างไร ก็คงเข้าใจความหมายของวลี ‘คนที่มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ ได้ไม่ยาก วลีนี้ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่ฉลาดหรือเก่งมากจนคนอื่น ‘เอาไม่อยู่’ หรือจัดการได้ยาก กว่าจะจัดการได้ต้องสิ้นเปลืองพลังงานมาก เป็นคนที่ไม่เคยเสียเปรียบใครเพราะฉลาดทันคน ฟังดูคล้ายเป็นการเปรียบเปรยเชิงลบ แต่จริงแล้วไม่ใช่ เพราะมันแฝงไว้ด้วยอาการยอมรับหรือเลื่อมใสอย่างเสียไม่ได้จากผู้ที่พูด (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://mercury0314.pixnet.net/blog/post/469082246-錦衣之下》任嘉倫、譚松韻、韓棟、葉青、 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=936cd571088453d061412ab3 https://www.163.com/dy/article/F2QG74VJ05238DGE.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.baike.com/wikiid/4698842907576744062?view_id=3qk0zj0se7c000 http://www.qulishi.com/article/201906/344431.html https://www.sohu.com/a/410514175_189939 #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ตะเกียงน้ำมัน #ตะเกียงประหยัดน้ำมัน #เสิ่งโหยวเติง #วลีจีน
    MERCURY0314.PIXNET.NET
    《錦衣之下》分集劇情+心得分享(第1-55集大結局劇情)任嘉倫、譚松韻、韓棟、葉青、姚奕辰、路宏主演,劇情角色演員介紹,根據藍色獅的同名小說改編,將「懸疑推理」與「古裝言情」相結合,一下夫婦劇中高甜互動,十分引人期待!
    錦衣之下 任嘉倫譚松韻主演 2019年末古裝大劇接連播出, 真的是讓人追劇追到上頭了, 這不又有一波優質古裝劇要開播, 那就是任嘉倫、譚松韻主演的 《錦衣之下》。 其實這部早在2018年
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 352 มุมมอง 0 รีวิว
  • เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยจำได้ว่า Storyฯ เคยเขียนว่าพระเอกในเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> ‘ลู่อี้’ นั้นมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ วันนี้มาคุยกันกับเกร็ดประวัติศาสตร์จากละครเรื่องนี้ที่ Storyฯ เพิ่งได้กลับมาตั้งใจดูอีกครั้งและพบว่าตัวเองตกหล่นรายละเอียดไปไม่น้อย

    เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่าในเนื้อเรื่องมีตัวร้ายคือ ‘เหยียนซื่อฟาน’ ซึ่งเป็นลูกชายของขุนนางตัวโกงนาม ‘เหยียนซง’ ซึ่งทั้งสองคนนี้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในรัชสมัยขององค์หมิงซื่อจงแห่งราชวง์หมิง โดยเหยียนซงรับตำแหน่งหัวหน้าของคณะขุนนางสูงสุดหรือที่เรียกว่า ‘เน่ยเก๋อ’ (内阁 จึงเป็นที่มาของการเรียกขาน เหยียนซื่อฟานว่า ‘เสี่ยวเก๋อเหล่า’) ในละครมีฉากที่เหยียนซื่อฟานได้ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาและมีการถกกันว่าเป็นภาพของแท้หรือไม่

    Storyฯ เคยเขียนถึงภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาแล้วตอนที่คุยกันเกี่ยวกับละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> แต่วันนี้มีรายละเอียดเพิ่มเติม ขอถอดบทสนทนาจากในละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> มาดังนี้
    ... “ได้ยินมาว่าจางเจ๋อตวนใช้เวลาหนึ่งปีก็วาดภาพม้วนยาวนี้เสร็จ นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถหายาก... ท่านใต้เท่าสวี่... เชิญท่านลองคุยๆ ดูภาพนี้จริงปลอมหรือไม่อย่างไร” เหยียนซงกล่าว
    ใต้เท้าสวี่เอ่ย “...ตามที่ข้าน้อยทราบมา ภาพนี้ควรมีลายพระอักษรรูปแบบโซ่วจินขององค์ซ่งฮุยจงเป็นคำว่า ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ห้าอักษร... และมีตราประทับมังกรคู่ อีกทั้งมีบทกลอนนำ ภาพนี้ดูแล้วไม่คล้ายเป็นภาพวาดเลียนแบบ” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ยาว 528 ซม. สูง 24.8 ซม. เป็นหนึ่งในสิบของภาพโบราณที่มีค่าที่สุดของจีน ถูกวาดขึ้นโดยจางเจ๋อตวน เขาใช้เวลาหนึ่งปีในการวาดภาพนี้จริงหรือไม่ ไม่ปรากฏหลักฐานหรือบันทึกใดกล่าวชัด แต่ภาพนี้เคยตกอยู่ในมือของเหยียนซงจริง! ตอนที่ตระกูลเหยียนถูกลงทัณฑ์และยึดสมบัตินั้น รายชื่อของสมบัติที่ริบได้นั้นยาวถึง 140 หน้ากระดาษและหนึ่งในนั้นก็คือ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ นี้

    จากบันทึกที่พอแกะรอยกันได้ ว่ากันว่าภาพนี้แรกเริ่มถูกนำถวายองค์ซ่งฮุยจง (ค.ศ. 1522-1566) และพระองค์ทรงเขียนชื่อ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ขึ้นบนภาพด้วยอักษรในรูปแบบ ‘โซ่วจิน’ ซึ่งเป็นรูปแบบอักษรที่ทรงคิดประดิษฐ์ขึ้นเอง (ดูตัวอย่างจากรูป2 ขวา) เป็นที่ถกเถียงกันต่อมาว่าทรงโปรดภาพนี้หรือไม่เพราะมันไม่ได้ถูกเก็บไว้ในท้องพระคลังแต่ถูกพระราชทานให้ขุนนาง

    หลังจากนั้น ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ผ่านการเดินทางอย่างโชกโชน ในช่วงที่ราชวงศ์จินยึดแผ่นดินซ่งได้สำเร็จนั้น ว่ากันว่ามันถูกเก็บเข้าท้องพระคลังและถูกยักยอกออกมาขายทอดตลาด เป็นช่วงที่มีการเขียนบทนำลงไปหน้าภาพ ต่อมาในสมัยหยวนก็ถูกซื้อเก็บเข้าท้องพระคลังอีกครั้งและถูกยักยอกออกมาขายอีก มีการเสาะหามันเรื่อยมาจนตกมาอยู่ในมือของเหยียนซงในสมัยหมิง โดยที่ก่อนหน้านั้นปรากฏงานลอกเลียนแบบออกมาจำนวนไม่น้อย ต่อมามันถูกริบเป็นสมบัติหลวงอีกครั้งโดยมีการลบตราประทับที่แสดงความเป็นเจ้าของของตระกูลเหยียนออกจากภาพ หลังจากนั้นมันถูกเปลี่ยนมือไปมาในแวดวงขุนนาง โดยไม่แน่ว่าเป็นการได้รับพระราชทานหรือยักยอก และปรากฏบทความนำหน้าภาพขึ้นมาเพิ่มอีก โดยที่ลายพระหัตถ์ขององค์หมิงซื่อจงไม่ทราบว่าหายไปจากภาพตั้งแต่เมื่อใด ผู้ที่ถือครองครั้งสุดท้ายว่ากันว่าคือขันทีนามว่า ‘เฝิงเป่า’ ซึ่งต่อมาถูกลงทัณฑ์ริบสมบัติ

    ภาพนี้หายสาบสูญไปนานกว่าสองร้อยปี แน่นอนว่ามีภาพปลอมจำนวนไม่น้อยปรากฏขึ้น และภาพที่เชื่อว่าเป็นฉบับจริงนี้ปรากฏในตลาดและมาถึงมือของพิพิธภัณฑ์มณฑลเหลียวหนิงในปีค.ศ. 1950 ปัจจุบันถูกเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับลู่อี้: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0QA8xxCRgWSD6jP6PexAdnrZmEdGAHVxGTu3UXj3CpZfkovdY37ft9rQbauD6KfQzl
    บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับชิงหมิงซ่างเหอถู: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid01MbyBtawx6X9xEHogRvHY8NesM2MVWHUBgYeuujQnFrPFA39dgddSihm4jjXrfiPl

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    http://www.zgsshh.com/Works_body.asp?id=1190&amp;qx=137
    http://www.fengxuelin.com/tougao/16546.html
    http://ent.sina.com.cn/v/m/2017-10-12/doc-ifymviyp0369720.shtml
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2010/06-21/2352544.shtml
    http://collection.sina.com.cn/jczs/2016-10-26/doc-ifxwztrt0466746.shtml
    https://baike.baidu.com/item/瘦金体/884949

    #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ชิงหมิงซ่างเหอถู #เหยียนซื่อฟาน #ซ่งฮุยจง #อักษรโซ่วจิน
    เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยจำได้ว่า Storyฯ เคยเขียนว่าพระเอกในเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> ‘ลู่อี้’ นั้นมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ วันนี้มาคุยกันกับเกร็ดประวัติศาสตร์จากละครเรื่องนี้ที่ Storyฯ เพิ่งได้กลับมาตั้งใจดูอีกครั้งและพบว่าตัวเองตกหล่นรายละเอียดไปไม่น้อย เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่าในเนื้อเรื่องมีตัวร้ายคือ ‘เหยียนซื่อฟาน’ ซึ่งเป็นลูกชายของขุนนางตัวโกงนาม ‘เหยียนซง’ ซึ่งทั้งสองคนนี้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในรัชสมัยขององค์หมิงซื่อจงแห่งราชวง์หมิง โดยเหยียนซงรับตำแหน่งหัวหน้าของคณะขุนนางสูงสุดหรือที่เรียกว่า ‘เน่ยเก๋อ’ (内阁 จึงเป็นที่มาของการเรียกขาน เหยียนซื่อฟานว่า ‘เสี่ยวเก๋อเหล่า’) ในละครมีฉากที่เหยียนซื่อฟานได้ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาและมีการถกกันว่าเป็นภาพของแท้หรือไม่ Storyฯ เคยเขียนถึงภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาแล้วตอนที่คุยกันเกี่ยวกับละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> แต่วันนี้มีรายละเอียดเพิ่มเติม ขอถอดบทสนทนาจากในละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> มาดังนี้ ... “ได้ยินมาว่าจางเจ๋อตวนใช้เวลาหนึ่งปีก็วาดภาพม้วนยาวนี้เสร็จ นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถหายาก... ท่านใต้เท่าสวี่... เชิญท่านลองคุยๆ ดูภาพนี้จริงปลอมหรือไม่อย่างไร” เหยียนซงกล่าว ใต้เท้าสวี่เอ่ย “...ตามที่ข้าน้อยทราบมา ภาพนี้ควรมีลายพระอักษรรูปแบบโซ่วจินขององค์ซ่งฮุยจงเป็นคำว่า ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ห้าอักษร... และมีตราประทับมังกรคู่ อีกทั้งมีบทกลอนนำ ภาพนี้ดูแล้วไม่คล้ายเป็นภาพวาดเลียนแบบ” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ยาว 528 ซม. สูง 24.8 ซม. เป็นหนึ่งในสิบของภาพโบราณที่มีค่าที่สุดของจีน ถูกวาดขึ้นโดยจางเจ๋อตวน เขาใช้เวลาหนึ่งปีในการวาดภาพนี้จริงหรือไม่ ไม่ปรากฏหลักฐานหรือบันทึกใดกล่าวชัด แต่ภาพนี้เคยตกอยู่ในมือของเหยียนซงจริง! ตอนที่ตระกูลเหยียนถูกลงทัณฑ์และยึดสมบัตินั้น รายชื่อของสมบัติที่ริบได้นั้นยาวถึง 140 หน้ากระดาษและหนึ่งในนั้นก็คือ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ นี้ จากบันทึกที่พอแกะรอยกันได้ ว่ากันว่าภาพนี้แรกเริ่มถูกนำถวายองค์ซ่งฮุยจง (ค.ศ. 1522-1566) และพระองค์ทรงเขียนชื่อ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ขึ้นบนภาพด้วยอักษรในรูปแบบ ‘โซ่วจิน’ ซึ่งเป็นรูปแบบอักษรที่ทรงคิดประดิษฐ์ขึ้นเอง (ดูตัวอย่างจากรูป2 ขวา) เป็นที่ถกเถียงกันต่อมาว่าทรงโปรดภาพนี้หรือไม่เพราะมันไม่ได้ถูกเก็บไว้ในท้องพระคลังแต่ถูกพระราชทานให้ขุนนาง หลังจากนั้น ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ผ่านการเดินทางอย่างโชกโชน ในช่วงที่ราชวงศ์จินยึดแผ่นดินซ่งได้สำเร็จนั้น ว่ากันว่ามันถูกเก็บเข้าท้องพระคลังและถูกยักยอกออกมาขายทอดตลาด เป็นช่วงที่มีการเขียนบทนำลงไปหน้าภาพ ต่อมาในสมัยหยวนก็ถูกซื้อเก็บเข้าท้องพระคลังอีกครั้งและถูกยักยอกออกมาขายอีก มีการเสาะหามันเรื่อยมาจนตกมาอยู่ในมือของเหยียนซงในสมัยหมิง โดยที่ก่อนหน้านั้นปรากฏงานลอกเลียนแบบออกมาจำนวนไม่น้อย ต่อมามันถูกริบเป็นสมบัติหลวงอีกครั้งโดยมีการลบตราประทับที่แสดงความเป็นเจ้าของของตระกูลเหยียนออกจากภาพ หลังจากนั้นมันถูกเปลี่ยนมือไปมาในแวดวงขุนนาง โดยไม่แน่ว่าเป็นการได้รับพระราชทานหรือยักยอก และปรากฏบทความนำหน้าภาพขึ้นมาเพิ่มอีก โดยที่ลายพระหัตถ์ขององค์หมิงซื่อจงไม่ทราบว่าหายไปจากภาพตั้งแต่เมื่อใด ผู้ที่ถือครองครั้งสุดท้ายว่ากันว่าคือขันทีนามว่า ‘เฝิงเป่า’ ซึ่งต่อมาถูกลงทัณฑ์ริบสมบัติ ภาพนี้หายสาบสูญไปนานกว่าสองร้อยปี แน่นอนว่ามีภาพปลอมจำนวนไม่น้อยปรากฏขึ้น และภาพที่เชื่อว่าเป็นฉบับจริงนี้ปรากฏในตลาดและมาถึงมือของพิพิธภัณฑ์มณฑลเหลียวหนิงในปีค.ศ. 1950 ปัจจุบันถูกเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับลู่อี้: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0QA8xxCRgWSD6jP6PexAdnrZmEdGAHVxGTu3UXj3CpZfkovdY37ft9rQbauD6KfQzl บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับชิงหมิงซ่างเหอถู: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid01MbyBtawx6X9xEHogRvHY8NesM2MVWHUBgYeuujQnFrPFA39dgddSihm4jjXrfiPl Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://www.zgsshh.com/Works_body.asp?id=1190&amp;qx=137 http://www.fengxuelin.com/tougao/16546.html http://ent.sina.com.cn/v/m/2017-10-12/doc-ifymviyp0369720.shtml Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2010/06-21/2352544.shtml http://collection.sina.com.cn/jczs/2016-10-26/doc-ifxwztrt0466746.shtml https://baike.baidu.com/item/瘦金体/884949 #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ชิงหมิงซ่างเหอถู #เหยียนซื่อฟาน #ซ่งฮุยจง #อักษรโซ่วจิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 757 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มาคุยกันต่ออีกสักนิดกับเกร็ดความรู้ทางวัฒนธรรมจีนจากละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร>

    Storyฯ ขอถอดบทสนทนาจากในละครมาคุยกัน เป็นฉากที่พระเอกลู่อี้กับนางเอกจินเซี่ยไปเดินเที่ยวกันแล้วจินเซี่ยเห็นจี้หยกรูปปลา ก็ซื้อให้ลู่อี้เป็นของขวัญ เป็นฉากที่ใต้เท้าลู่สาดน้ำตาลมากมายด้วยสายตา ในฉากนี้จินเซี่ยอธิบายว่า “ทะเลเหนือมีปลา เรียกว่า ‘คุ้น’ ความใหญ่ของคุ้นนั้นมิทราบว่ากี่พันหลี่ เมื่อแปลงร่างเป็นนก เรียกว่า ‘เผิง’ ... ใต้เท้า นี่เป็นปลาที่เหินฟ้าและดำน้ำได้” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    นอกจากเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> แล้ว ยังมีในละครจีนมีอีกไม่น้อยที่มีการกล่าวถึงปลาคุนนี้ อย่างเช่นในเรื่อง <อวลกลิ่นละอองรัก> ก็เช่นกัน

    ‘คุ้น’ (鲲) แรกปรากฏอยู่ในหนังสือ ‘เลี่ยจื่อทังเวิ่น’ (列子·汤问) ซึ่งเป็นหนังสือรวมเรื่องเล่าตำนานปรัมปราในยุคสมัยชุนชิว ถูกบรรยายไว้ว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่มหาศาล และปรากฏอีกครั้งในบทประพันธ์ ‘เซียวเหยาโหยว’ (ทัศนาจรไร้กังวล / 逍遥游) ของจวงจื่อ (庄子 ปี 369-286 ก่อนคริสตกาล) ผู้นำด้านความคิดและปรัชญาเต๋าในยุคสมัยรณรัฐ

    ‘เซียวเหยาโหยว’ เป็นหนึ่งในบทความที่รวมเล่มอยู่ในหนังสือปรัชญาของจวงจื่อโดยหนังสือนี้มีชื่อว่า ‘จวงจื่อ’ ตามผู้แต่ง (ต่อมาภายหลังถูกเรียกขานว่าคัมภีร์ ‘หนานหัวเจินจิง’) โดยเป็นการเล่าถึงปลาคุ้นที่กลายร่างเป็นนกเผิงขนาดมหึมาบินจากทะเลเหนือลงใต้ กระพือปีกทีหนึ่งก็เกิดคลื่นลม ระหว่างการเดินทางนี้เล่าถึงการกระทำของนกเล็กต่างๆ รวมถึงกล่าวถึงผู้คนในเมืองที่เป็นทางผ่าน เป็นการเปรียบเทียบเชิงปรัชญาว่า สิ่งที่ใหญ่มีผลกระทบได้กว้างไกล สิ่งที่เล็กมีผลกระทบได้น้อย ไม่เพียงแต่สัตว์ มนุษย์ก็เช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกสรรพสิ่งไม่ว่าเล็กใหญ่ล้วนมีขีดจำกัดของมันและถูกจองจำด้วยวิถีชีวิตและหน้าที่ของมัน เมื่อใดที่เราสามารถปล่อยวางทุกสิ่งได้จึงจะสามารถท่องโลกกว้างนี้ได้ไร้กังวลอย่างแท้จริง และ ‘คุ้น’ จึงเป็นตัวแทนของจิตวิญญาณที่ไร้พันธนาการ

    ในเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> จินเซี่ยเปรียบใต้เท้าลู่เป็นปลายักษ์ที่เรียกว่า ‘คุ้น’ หลายครั้ง ทั้งตอนตัดกระดาษเป็นรูปปลา ทั้งตอนเลือกไม้เสียบผม ‘เน่าร้างร้าง’ (ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อนานมาแล้ว) และในฉากที่กล่าวถึงข้างต้น ปลาคุ้นยักษ์ที่บินได้นี้ ไม่เพียงสะท้อนถึงชุดมัจฉาบินอันเป็นสัญลักษณ์ขององครักษ์เสื้อแพร แต่ยังเปรียบถึงความเก่งกาจของลู่อี้ที่เป็นดังปลาที่เหินฟ้าได้และดำน้ำได้ และเป็นคนที่ไม่ยอมให้ใครหรืออะไรมาตีกรอบให้ตนเองได้

    เพื่อนเพจผ่านตาเรื่อง ‘คุ้น’ ในละครเรื่องใดกันอีกบ้าง พอจำกันได้ไหม?
    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/372005451_120549941
    https://aiko933227.pixnet.net/blog/post/355134478
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.zdic.net/hans/%E9%80%8D%E9%81%A5%E6%B8%B8
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5bfecbe60620.aspx
    https://baike.baidu.com/item/逍遥游/1506
    https://baike.baidu.com/item/列子·汤问/6023097

    #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #อวลกลิ่นละอองรัก #ปลาคุ้น #นกเผิง #เลี่ยจื่อทังเวิ่น #เซียวเหยาโหยว
    วันนี้มาคุยกันต่ออีกสักนิดกับเกร็ดความรู้ทางวัฒนธรรมจีนจากละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> Storyฯ ขอถอดบทสนทนาจากในละครมาคุยกัน เป็นฉากที่พระเอกลู่อี้กับนางเอกจินเซี่ยไปเดินเที่ยวกันแล้วจินเซี่ยเห็นจี้หยกรูปปลา ก็ซื้อให้ลู่อี้เป็นของขวัญ เป็นฉากที่ใต้เท้าลู่สาดน้ำตาลมากมายด้วยสายตา ในฉากนี้จินเซี่ยอธิบายว่า “ทะเลเหนือมีปลา เรียกว่า ‘คุ้น’ ความใหญ่ของคุ้นนั้นมิทราบว่ากี่พันหลี่ เมื่อแปลงร่างเป็นนก เรียกว่า ‘เผิง’ ... ใต้เท้า นี่เป็นปลาที่เหินฟ้าและดำน้ำได้” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) นอกจากเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> แล้ว ยังมีในละครจีนมีอีกไม่น้อยที่มีการกล่าวถึงปลาคุนนี้ อย่างเช่นในเรื่อง <อวลกลิ่นละอองรัก> ก็เช่นกัน ‘คุ้น’ (鲲) แรกปรากฏอยู่ในหนังสือ ‘เลี่ยจื่อทังเวิ่น’ (列子·汤问) ซึ่งเป็นหนังสือรวมเรื่องเล่าตำนานปรัมปราในยุคสมัยชุนชิว ถูกบรรยายไว้ว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่มหาศาล และปรากฏอีกครั้งในบทประพันธ์ ‘เซียวเหยาโหยว’ (ทัศนาจรไร้กังวล / 逍遥游) ของจวงจื่อ (庄子 ปี 369-286 ก่อนคริสตกาล) ผู้นำด้านความคิดและปรัชญาเต๋าในยุคสมัยรณรัฐ ‘เซียวเหยาโหยว’ เป็นหนึ่งในบทความที่รวมเล่มอยู่ในหนังสือปรัชญาของจวงจื่อโดยหนังสือนี้มีชื่อว่า ‘จวงจื่อ’ ตามผู้แต่ง (ต่อมาภายหลังถูกเรียกขานว่าคัมภีร์ ‘หนานหัวเจินจิง’) โดยเป็นการเล่าถึงปลาคุ้นที่กลายร่างเป็นนกเผิงขนาดมหึมาบินจากทะเลเหนือลงใต้ กระพือปีกทีหนึ่งก็เกิดคลื่นลม ระหว่างการเดินทางนี้เล่าถึงการกระทำของนกเล็กต่างๆ รวมถึงกล่าวถึงผู้คนในเมืองที่เป็นทางผ่าน เป็นการเปรียบเทียบเชิงปรัชญาว่า สิ่งที่ใหญ่มีผลกระทบได้กว้างไกล สิ่งที่เล็กมีผลกระทบได้น้อย ไม่เพียงแต่สัตว์ มนุษย์ก็เช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกสรรพสิ่งไม่ว่าเล็กใหญ่ล้วนมีขีดจำกัดของมันและถูกจองจำด้วยวิถีชีวิตและหน้าที่ของมัน เมื่อใดที่เราสามารถปล่อยวางทุกสิ่งได้จึงจะสามารถท่องโลกกว้างนี้ได้ไร้กังวลอย่างแท้จริง และ ‘คุ้น’ จึงเป็นตัวแทนของจิตวิญญาณที่ไร้พันธนาการ ในเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> จินเซี่ยเปรียบใต้เท้าลู่เป็นปลายักษ์ที่เรียกว่า ‘คุ้น’ หลายครั้ง ทั้งตอนตัดกระดาษเป็นรูปปลา ทั้งตอนเลือกไม้เสียบผม ‘เน่าร้างร้าง’ (ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อนานมาแล้ว) และในฉากที่กล่าวถึงข้างต้น ปลาคุ้นยักษ์ที่บินได้นี้ ไม่เพียงสะท้อนถึงชุดมัจฉาบินอันเป็นสัญลักษณ์ขององครักษ์เสื้อแพร แต่ยังเปรียบถึงความเก่งกาจของลู่อี้ที่เป็นดังปลาที่เหินฟ้าได้และดำน้ำได้ และเป็นคนที่ไม่ยอมให้ใครหรืออะไรมาตีกรอบให้ตนเองได้ เพื่อนเพจผ่านตาเรื่อง ‘คุ้น’ ในละครเรื่องใดกันอีกบ้าง พอจำกันได้ไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/372005451_120549941 https://aiko933227.pixnet.net/blog/post/355134478 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.zdic.net/hans/%E9%80%8D%E9%81%A5%E6%B8%B8 https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5bfecbe60620.aspx https://baike.baidu.com/item/逍遥游/1506 https://baike.baidu.com/item/列子·汤问/6023097 #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #อวลกลิ่นละอองรัก #ปลาคุ้น #นกเผิง #เลี่ยจื่อทังเวิ่น #เซียวเหยาโหยว
    WWW.SOHU.COM
    锦衣之下:袁今夏身世显贵,小蓝真实身份更是显赫_严世蕃
    陆绎替袁今夏挡毒镖之后,袁今夏身上的正义感爆棚,就算下大雨被追杀,也从没有放开过陆绎的手。 袁今夏的真实身份是前首辅夏然的后人,如果不是当年夏家被陷害,袁今夏的身份应该和现在的严世蕃一样高高在上…
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 734 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปกติจะมาโพสต์อาทิตย์ละครั้ง แต่วันนี้มีควันหลงจากละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> มาแบ่งปันต่อแฟนคลับของใต้เท้าลู่ เป็นเรื่องที่ Storyฯ อ่านเจอโดยบังเอิญ

    ความมีอยู่ว่า
    ... ชายในชุดเขียวที่ยืนอยู่เบื้องหน้าของจินเซี่ยขณะนี้ก็คือบุตรชายของลู่ปิ่ง นามว่าลู่อี้ ลู่ปิ่งเป็นจอหงวนบู๊ ส่วนฝีมือของลู่อี้ผู้เป็นลูกนั้น ได้ยินมาว่าสูงส่งไม่เป็นรองผู้เป็นบิดา นับว่าเป็นยอดฝีมือลำดับต้นๆ ของหน่วยองครักษ์เสื้อแพร...
    - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ
    (หมายเหตุ ละครเรื่อง <ยอดองค์รักษ์เสื้อแพร> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    ที่ต้องมาพูดถึงใต้เท้าลู่อี้และบิดาของเขา เป็นเพราะ Storyฯ อ่านเจอมาอย่างเซอร์ไพรส์ว่า ทั้งสองคนนี้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์! ในละครบิดาของลู่อี้ชื่อว่าลู่ถิง แต่ในหนังสือเขาชื่อลู่ปิ่ง

    ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ปรากฏมีผู้บัญชาการสูงสุดขององครักษ์เสื้อแพรที่ชื่อว่าลู่ปิ่งอยู่ในยุคสมัยขององค์หมิงสื้อจง (ค.ศ. 1521-1567) มีบุตรชายคนที่สามนามว่าลู่อี้ ลู่ปิ่งอยู่ในตำแหน่งนี้ได้หกปีก็เสียชีวิตลง ลู่อี้ซึ่งในขณะนั้นรับราชการเป็นองครักษ์เสื้อแพรด้วย จึงขึ้นสืบทอดตำแหน่งนี้แทนผู้เป็นบิดา เนื่องจากพี่ชายสองคนของเขาได้เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้

    จากเรื่องราวที่บันทึกไว้ ในชีวิตจริงลู่อี้เป็นคนที่รอบรู้และมีผลงานมากมาย ทั้งชีวิตมีภรรยาเดียว (ซึ่งต่างจากข้าราชการระดับสูงทั่วไปในสมัยนั้น) คือบุตรีของเสนาบดีกระทรวงขุนนาง มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ในระหว่างที่รับราชการนั้น เคยถูกปลดออกจากตำแหน่งเพราะถูกรื้อฟื้นเรื่องที่บิดาของเขาเคยสมคบคิดกับเหยียนซงซึ่งเป็นขุนนางที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง เพื่อให้ร้ายขุนนางน้ำดีนามว่าเซี่ยเหยียน ต่อมาเมื่อเปลี่ยนรัชสมัยจึงได้รับการอภัยโทษและคืนยศให้ (เหมือนในละครเล้ย)

    จะเห็นว่าทั้งนิยายและละครคงความเป็น “ลู่อี้” ได้ค่อนข้างครบถ้วนตามประวัติศาสตร์ทีเดียว

    ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยแชร์กันด้วยนะคะ

    Credit รูปภาพจาก: https://j.17qq.com/article/fggpidhdz.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.tspweb.com/key/%E9%94%A6%E8%A1%A3%E5%8D%AB%E9%99%86%E7%BB%8E%E7%9A%84%E5%A6%BB%E5%AD%90%E5%90%B4%E6%B0%8F.html
    https://ld.sogou.com/article/i5630311.htm?ch=lds.pc.art.media.all

    #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #องครักษ์เสื้อแพร #ลู่อี้ #ใต้เท้าลู่ #ราชวงศ์หมิง #StoryfromStory
    ปกติจะมาโพสต์อาทิตย์ละครั้ง แต่วันนี้มีควันหลงจากละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> มาแบ่งปันต่อแฟนคลับของใต้เท้าลู่ เป็นเรื่องที่ Storyฯ อ่านเจอโดยบังเอิญ ความมีอยู่ว่า ... ชายในชุดเขียวที่ยืนอยู่เบื้องหน้าของจินเซี่ยขณะนี้ก็คือบุตรชายของลู่ปิ่ง นามว่าลู่อี้ ลู่ปิ่งเป็นจอหงวนบู๊ ส่วนฝีมือของลู่อี้ผู้เป็นลูกนั้น ได้ยินมาว่าสูงส่งไม่เป็นรองผู้เป็นบิดา นับว่าเป็นยอดฝีมือลำดับต้นๆ ของหน่วยองครักษ์เสื้อแพร... - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ (หมายเหตุ ละครเรื่อง <ยอดองค์รักษ์เสื้อแพร> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) ที่ต้องมาพูดถึงใต้เท้าลู่อี้และบิดาของเขา เป็นเพราะ Storyฯ อ่านเจอมาอย่างเซอร์ไพรส์ว่า ทั้งสองคนนี้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์! ในละครบิดาของลู่อี้ชื่อว่าลู่ถิง แต่ในหนังสือเขาชื่อลู่ปิ่ง ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ปรากฏมีผู้บัญชาการสูงสุดขององครักษ์เสื้อแพรที่ชื่อว่าลู่ปิ่งอยู่ในยุคสมัยขององค์หมิงสื้อจง (ค.ศ. 1521-1567) มีบุตรชายคนที่สามนามว่าลู่อี้ ลู่ปิ่งอยู่ในตำแหน่งนี้ได้หกปีก็เสียชีวิตลง ลู่อี้ซึ่งในขณะนั้นรับราชการเป็นองครักษ์เสื้อแพรด้วย จึงขึ้นสืบทอดตำแหน่งนี้แทนผู้เป็นบิดา เนื่องจากพี่ชายสองคนของเขาได้เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ จากเรื่องราวที่บันทึกไว้ ในชีวิตจริงลู่อี้เป็นคนที่รอบรู้และมีผลงานมากมาย ทั้งชีวิตมีภรรยาเดียว (ซึ่งต่างจากข้าราชการระดับสูงทั่วไปในสมัยนั้น) คือบุตรีของเสนาบดีกระทรวงขุนนาง มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ในระหว่างที่รับราชการนั้น เคยถูกปลดออกจากตำแหน่งเพราะถูกรื้อฟื้นเรื่องที่บิดาของเขาเคยสมคบคิดกับเหยียนซงซึ่งเป็นขุนนางที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง เพื่อให้ร้ายขุนนางน้ำดีนามว่าเซี่ยเหยียน ต่อมาเมื่อเปลี่ยนรัชสมัยจึงได้รับการอภัยโทษและคืนยศให้ (เหมือนในละครเล้ย) จะเห็นว่าทั้งนิยายและละครคงความเป็น “ลู่อี้” ได้ค่อนข้างครบถ้วนตามประวัติศาสตร์ทีเดียว ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยแชร์กันด้วยนะคะ Credit รูปภาพจาก: https://j.17qq.com/article/fggpidhdz.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.tspweb.com/key/%E9%94%A6%E8%A1%A3%E5%8D%AB%E9%99%86%E7%BB%8E%E7%9A%84%E5%A6%BB%E5%AD%90%E5%90%B4%E6%B0%8F.html https://ld.sogou.com/article/i5630311.htm?ch=lds.pc.art.media.all #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #องครักษ์เสื้อแพร #ลู่อี้ #ใต้เท้าลู่ #ราชวงศ์หมิง #StoryfromStory
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 672 มุมมอง 0 รีวิว