• วันนี้เรามาคุยถึงเครื่องประดับชนิดหนึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงที่ดูจะไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูละครของยุคสมัยนั้นอย่างเช่น <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> หรือ <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> จะเห็นนางในมีสร้อยประคำผูกไว้ที่คอเสื้อ จริงๆ แล้วมันก็คือสร้อยประคำมือ เรียกว่า ‘สือปาจื่อ’ (十八子)

    ความมีอยู่ว่า
    ... โจวเซิงเฉินเดินออกมาพอดี เห็นสร้อยประคำมือหยก 18 เม็ดบนข้อมือของเธอ ในแววตาปรากฏความแปลกใจแวบหนึ่ง ในระหว่างเดินทางกลับ เขาค่อยเล่าให้ฟังถึงที่มาของสร้อยประคำนี้: “ยาว 28ซม. เม็ดประคำหยกสิบแปดเม็ด” เขาชี้นิ้วไล่ตามเชือกใต้เม็ดปะการังสีแดง “พลอยทัวร์มารีนสีชมพูแกะสลักเป็นดอกไม้ แล้วยังมีเม็ดปะการังและไข่มุก...เป็นของจากสมัยปลายราชวงศ์หมิงต้นราชวงศ์ชิง”...
    - จาก <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    สร้อยประคำมือที่กล่าวถึงในบทความข้างต้นนั้นมีลูกประคำ 18 เม็ด ซึ่งมีความหมายทางศาสนาพุทธ บ้างก็ว่าหมายถึง 18 อรหันต์ แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ Storyฯ ค้นพบจะบอกว่าหมายถึง 6 ผัสสะซึ่งก็คือ:
    1. จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ
    2. โสตสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางหู คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ
    3. ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ
    4. ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ
    5. กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ กาย+โผฏฐัพพะ (เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง) +กายวิญญาณ
    6. มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ ใจ+ธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด) +มโนวิญญาณ

    สร้อยประคำมือนี้เดิมมีไว้ใช้ตอนสวดมนต์ ต่อมากลายเป็นเครื่องประดับในสมัยราชวงศ์ชิง การนำมาใช้เป็นเครื่องประดับนี้เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่แน่ชัด รู้แต่ว่าในสมัยกลางของราชวงศ์ชิงยังไม่มีการกล่าวถึงนัก ต่อมาจึงเห็นจากภาพวาดในช่วงปลายราชวงศ์ชิงว่ามันได้กลายเป็นเครื่องประดับติดกายที่นิยมอย่างมากทั้งในหญิงและชาย (ดูรูปแรก)

    แรกเริ่มใช้กันในวัง แต่มันไม่ใช่เครื่องประดับอย่างเป็นทางการ ดังนั้นจึงใช้ได้ทุกระดับยศและเลือกใช้วัสดุได้หลากหลาย แต่แน่นอนว่ายศยิ่งสูง วัสดุที่ใช้ก็ยิ่งเลอค่า ต่อมาความนิยมนี้แพร่หลายออกมานอกวัง แต่ยังอยู่เฉพาะในกลุ่มชนชั้นสูงอย่างเช่นคนในตระกูลกองธงต่างๆ รูปแบบหรือองค์ประกอบของสร้อยก็มีการแปลงง่ายลงโดยคงไว้ซึ่งส่วนสำคัญของสร้อยประคำเท่านั้น ซึ่งก็คือส่วนที่เรียกว่าเศียรพระพุทธเจ้า เม็ดคั่น และเม็ดหลัก 18 เม็ด (ดูรูปสองบน)

    ตำแหน่งที่แขวนสร้อยประคำมือเป็นเครื่องประดับนั้น หากเป็นเสื้อสาบเฉียงให้ห้อยไว้ทางด้านขวา หากเป็นสาบตรงให้ห้อยไว้ที่กระดุมเม็ดที่สองข้างหน้า

    ใครตามละครเรื่องราวในวังยุคสมัยราชวงศ์ชิงอยู่ลองสังเกตดูนะคะ Storyฯ เห็นอยู่ในหลายเรื่องเลย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/491583437_515879
    https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html
    https://m.xing73.com/zt/yiL5Lmo5Q2a5Q_o5p_I6Q2a5rWY5B2Y5.html
    https://kknews.cc/culture/6er9xv.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://new.qq.com/omn/20191012/20191012A0N7RC00.html
    https://www.sohu.com/a/249960097_105772
    https://kknews.cc/collect/q5k3bvb.html
    https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html
    https://www.baanjomyut.com/pratripidok/41.html

    #กระดูกงดงาม #สร้อยประคำมือ #สือปาจื่อ #ผัสสะ #เครื่องแต่งกายสตรีจีนโบราณ #ราชวงศ์ชิง
    วันนี้เรามาคุยถึงเครื่องประดับชนิดหนึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงที่ดูจะไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูละครของยุคสมัยนั้นอย่างเช่น <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> หรือ <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> จะเห็นนางในมีสร้อยประคำผูกไว้ที่คอเสื้อ จริงๆ แล้วมันก็คือสร้อยประคำมือ เรียกว่า ‘สือปาจื่อ’ (十八子) ความมีอยู่ว่า ... โจวเซิงเฉินเดินออกมาพอดี เห็นสร้อยประคำมือหยก 18 เม็ดบนข้อมือของเธอ ในแววตาปรากฏความแปลกใจแวบหนึ่ง ในระหว่างเดินทางกลับ เขาค่อยเล่าให้ฟังถึงที่มาของสร้อยประคำนี้: “ยาว 28ซม. เม็ดประคำหยกสิบแปดเม็ด” เขาชี้นิ้วไล่ตามเชือกใต้เม็ดปะการังสีแดง “พลอยทัวร์มารีนสีชมพูแกะสลักเป็นดอกไม้ แล้วยังมีเม็ดปะการังและไข่มุก...เป็นของจากสมัยปลายราชวงศ์หมิงต้นราชวงศ์ชิง”... - จาก <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) สร้อยประคำมือที่กล่าวถึงในบทความข้างต้นนั้นมีลูกประคำ 18 เม็ด ซึ่งมีความหมายทางศาสนาพุทธ บ้างก็ว่าหมายถึง 18 อรหันต์ แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ Storyฯ ค้นพบจะบอกว่าหมายถึง 6 ผัสสะซึ่งก็คือ: 1. จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ 2. โสตสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางหู คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ 3. ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ 4. ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ 5. กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ กาย+โผฏฐัพพะ (เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง) +กายวิญญาณ 6. มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ ใจ+ธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด) +มโนวิญญาณ สร้อยประคำมือนี้เดิมมีไว้ใช้ตอนสวดมนต์ ต่อมากลายเป็นเครื่องประดับในสมัยราชวงศ์ชิง การนำมาใช้เป็นเครื่องประดับนี้เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่แน่ชัด รู้แต่ว่าในสมัยกลางของราชวงศ์ชิงยังไม่มีการกล่าวถึงนัก ต่อมาจึงเห็นจากภาพวาดในช่วงปลายราชวงศ์ชิงว่ามันได้กลายเป็นเครื่องประดับติดกายที่นิยมอย่างมากทั้งในหญิงและชาย (ดูรูปแรก) แรกเริ่มใช้กันในวัง แต่มันไม่ใช่เครื่องประดับอย่างเป็นทางการ ดังนั้นจึงใช้ได้ทุกระดับยศและเลือกใช้วัสดุได้หลากหลาย แต่แน่นอนว่ายศยิ่งสูง วัสดุที่ใช้ก็ยิ่งเลอค่า ต่อมาความนิยมนี้แพร่หลายออกมานอกวัง แต่ยังอยู่เฉพาะในกลุ่มชนชั้นสูงอย่างเช่นคนในตระกูลกองธงต่างๆ รูปแบบหรือองค์ประกอบของสร้อยก็มีการแปลงง่ายลงโดยคงไว้ซึ่งส่วนสำคัญของสร้อยประคำเท่านั้น ซึ่งก็คือส่วนที่เรียกว่าเศียรพระพุทธเจ้า เม็ดคั่น และเม็ดหลัก 18 เม็ด (ดูรูปสองบน) ตำแหน่งที่แขวนสร้อยประคำมือเป็นเครื่องประดับนั้น หากเป็นเสื้อสาบเฉียงให้ห้อยไว้ทางด้านขวา หากเป็นสาบตรงให้ห้อยไว้ที่กระดุมเม็ดที่สองข้างหน้า ใครตามละครเรื่องราวในวังยุคสมัยราชวงศ์ชิงอยู่ลองสังเกตดูนะคะ Storyฯ เห็นอยู่ในหลายเรื่องเลย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/491583437_515879 https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html https://m.xing73.com/zt/yiL5Lmo5Q2a5Q_o5p_I6Q2a5rWY5B2Y5.html https://kknews.cc/culture/6er9xv.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://new.qq.com/omn/20191012/20191012A0N7RC00.html https://www.sohu.com/a/249960097_105772 https://kknews.cc/collect/q5k3bvb.html https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html https://www.baanjomyut.com/pratripidok/41.html #กระดูกงดงาม #สร้อยประคำมือ #สือปาจื่อ #ผัสสะ #เครื่องแต่งกายสตรีจีนโบราณ #ราชวงศ์ชิง
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 86 มุมมอง 0 รีวิว
  • ✅ศาสตร์แพทย์แผนจีน (Traditional Chinese Medicine)

    ยกตัวอย่างยาในศาสตร์แพทย์แผนจีน
    สมุนไพรฉั่งฉิก ยาเขียวธรรมดา ยาเขียวพิเศษชิงเฟ่ยซองสีส้ม ยาชะลอวัย ยาวาสคิวล่าร์
    ถ้าเกี่ยวกับลิ่มเลือดอุดตันใช้ยา 脑心通胶囊 เหน่า ซิน ทง
    ถ้าก้อนเนื้องอกกำเริบ ใช้温胆汤加减 เวิน ต่าน ทัง เจีย เจี่ยน เป็นต้น

    ศาสตร์แพทย์แผนจีน

    ตัวอย่างยา
    กลุ่ม1 เรียก ยาเขียนรุ่นธรรมดา
    สรรพคุณ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ หัด อีสุกอีใส กินป้องกันโรค เช้า8เย็น8

    กลุ่มที่2 เรียกยาเขียวรุ่นพิเศษ
    สรรพคุณรักษาโรคหวัดโควิดทุกสายพันธุ์ ซองส้มเช้า/เที่ยว/เย็น//ครั้งละซองชงน้ำเดือด//ชนิดแคปซูลครั้งละ8แคป3มื้อ

    กลุ่มที่3 เรียกยาชะลอวัย
    สรรพคุณรักษาอาการลองโควิด และโรคผู้สูงวัย กำจัดเนื้องอก (กลุ่มยานี้เป้าหมายคือรักษาผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิดไม่สบายและผู้ป่วยหลังจากเป็นโควิด) กินเช้าซอง/เย็นซอง

    สมุนไพรฉั่งฉิก ชนิดผง/แคปซูล สรรพคุณของฉั่งฉิก นอกจากละลายก้อนเลือดแล้ว ยังทำหน้าที่ห้ามเลือดในตัวกรณีเส้นเลือดแตก

    ยาวาสคูล่าร์ สรรพคุณ ละลายก้อนเลือด และละลายไขมันผนังหลอดเลือด
    ในยา วาสคูล่าร์ มียา3กลุ่ม
    กลุ่มที่ 1 ออกฤทธิ์ขจัด ละลายก้อนไขมันที่ผิวหลอดเลือดด้านใน
    กลุ่มที่2อออกฤทธิ์ละลายก้อนเลือดในเส้นเลือด
    กลุ่มที่3 ออกฤทธิ์ ห้ามเลือดไม่ให้ไหลออกนอกหลอดเลือดและประสานบาดแผลหลอดเลือด ดูดกลับเลือดที่ไหลออกนอกเส้นเลือดนำกลับเข้าสู่ระบบไหลเวียนอีกครั้ง
    ข้อที่ 3 นี้ เป็นลักษณะเด่นของยาสมุนไพรจีนที่นำเลือดกลับเข้าระบบใช้หมุนเวียนได้ต่อไป สังเกตุจากอุบัติเหตุที่กระทบของแข็งจนฟกช้ำดำเขียว อันเกิดจากเส้นเลือดฝอยแตก เลือดไหลออกมาขังตามเนื้อเยื่อขนมีสีเขียวออกดำแบบเส้นเลือดดำนั่นเอง เมื่อยาสมุนไพรจีนเข้าไปนำเลือดกลับมาใช้ใหม่อาการฟกช้ำจะหายไปในที่สุด

    ใครที่ควรทานยา "vascular"
    1. ผู้ที่เคยฉีดวัคซีน covid
    2. ผู้ที่ป่วยด้วยหลอดเลือดสมอง
    3. ผู้ที่เป็นความดันสูง
    4. ผู้ที่มึนงง เวียนศีรษะบ่อย ปวดไมเกรน
    5. ผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป
    6. ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุ เป็นรอยเขียวจ้ำ ฟกช้ำ หมายถึงว่า ย่อมมีเศษตระกรันและตะกอนจากเลือดไปเกาะ ในหลอดเลือด
    7. คนที่เป็นเส้นเลือดขอด
    8. คนที่มีอาชีพยืนนาน แม่ค้า ช่างทำผม

    โดยรวมๆ น่าจะควรต้องล้างทุกคนดีที่สุด เราเช็คร่างกายตั้งแต่ตอนนี้ เป็นการไม่ประมาท อย่ารอให้เส้นเลือดมันแตก มันอุดตันก่อน แล้วจึงค่อยคิดจะทำ มันไม่คุ้ม

    ยาจีนหลักๆๆมีอะไรบ้างคะหมอลงรูปและชื่ออีกทีนะคะและไห้ทุกคนเซฟใว้ทุกคนนะคะแล้วทะยอยชื้อเก็บใว้ค่ะ
    1.ยาระบบย่อยอาหาร
    1.1 เซียงซาหย่างเว่ยหวาน ช่วยย่อย แก้ ท้องอืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย เรอเหม็นเปรี้ยว
    1.2 หวงเหลียนซู่ แก้ท้องเดินเป็นบิด ปวดถ่วง ท้องเสีย
    1.3 หวงเหลียนซั่งชิงเพี่ยน แก้ท้องผูก เจ็บคอ เหงือบวม ร้อนใน แผลในปาก เจ็บลิ้น
    1.4 หนิวหวงเจี่ยตู๋เพี่ยน แก้ท้องผูก เจ็บคอ ตาแดง เน้นรักษาตับ
    1.5 เป่าเหอหวาน รักษา เสมหะขับออกง่าย ลดคอเลสเตอรอลไขมันเลว ช่วยย่อยเนื้อ น้ำมัน เน้นส่งเสริมประสิทธิภาพการย่อยอาหาร

    2.กลุ่มยารักษาโรคหวัดภูมิแพ้
    2.1 ยาหยินเชี่ยวเจี๋ยตู๋เพี่ยน เป็นยารักษาโรคหวัดฤดูร้อน อาการเด่นมีไข้สูง เจ็บคอ หิวน้ำ หน้าแดง ไอแห้งๆ
    2.2 ยา ฮั่วเซียงเจิ้งชี่หวาน รักษาหวัดฤดูฝน อาการเด่น.เบื่ออาหาร ศรีษะหนักๆ ไอมีเสมหะเยอะ อาคล้ายกับหวัดโควิด19 ก็รักษาได้ครับ
    2.3 ยา หมาหวงทัง รักษาหวัดฤดูหนาว อาการ ไข้ต่ำ กลัวหนาว น้ำมูกใสไหลตลอด ไอเสมหะมากไม่เหนียว จมูกไม่ได้กลิ่น ไม่มีเหงื่อ ปวดเมื่อยตามตัว หรืออาการหืดหอบก็ใช้สูตรนี้ได้
    2.4 ยาแก้ภูมิแพ้ตราปลาคู่ รักษาอาการ เป็นหวัดทั้งปี ถูกละอองฝน/ตากแดด/กระทบลมหนาว
    ถ้าเป็นยาตำรับคือ จิงฝางไป้ตู๋ทัง/ตำรับนี้ร้านเจ๊ดามีบันทึกอยู่/หรือจะกินสูตรยา ชิงเฟ่ยไผตู๋ทัง
    หมายเหตุ ยาภูมิแพ้คือ ตำรับจิงฝางไป่ตู๋ทัง

    3. ยารักษาระบบไต และ กระเพาะปัสสาวะ
    3.1 จินกุ้ยเซิ่นชี่หวาน เป็นยาบำรุงไตหยาง อาการ กลัวหนาว เป็นเบาหวานปัสสาวะกลางคืนบ่อย หมดแรง กระดูกพรุน ปวดกระดูก อวัยวะเพศไม่แข็งตัว หรือ มีอาการหลั่งเร็ว ถ้าเป็นผู้หญิงจะไม่มีอารมณ์เพศ ช่องคลอดแห้ง อาจจะมีตกขาวร่วมด้วย
    3.2 จือไป๋ตี้หวงหวาน/จือไป๋ปาเว่ยหวาน คือยาบำรุงไตอิน รักษาอาการ เบาหวาน ขี้ร้อนในง่าย นอนไม่หลับ อาการวัยทอง ท้องผูก
    3.3จี้จีตี้หวงหวาน คือยารักษาตับ ไต อาการตามัวกลางคืนขับรถไม่ได้ สายตาไม่ดี/สั่นและยาว/ ตาแห้ง
    ลักษณะไตป่วยต้องมีอาการปวดเอว เป็นหลักสำคัญ

    สำหรับการรักษาเกี่ยวกับสายตาควรใช้ยากลุ่ม 4.นี้ทุกตัวครับ
    4.กลุ่มอาการโรคนอนหลับยาก ตื่นง่ายหลับยาก สาเหตุจากจิตใจ เลือดน้อย ความเคยชิน จิตอารมณ์เคร่งเครียด เรื่องเงินไม่พอใช้จ่าย
    4.1 ยา กุยผีหวาน คือยาบำรุงเลือด ช่วยนอนหลับ
    4.2 ยาเซียวเหยาหวาน คือยาคลายเครียด ทำให้จิตคลาย เผลอหลับไม่รู้ตัว ยาตัวนี้สามารถลดอาการปวดตึงคอ บ่า ไหล่ ได้สบาย
    4.3 ยาเทียนหวังปู่ซินตัง คือยาบำรุงอินหัวใจ รักษาอาการหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น นอนไม่หลับ ร้อนฝ่าเท้า
    4.4 ยา หลงต่านเซี่ยกันหวาน เป็นยารักษา อาการร้อนชื้น ที่ตับไต หรือแพทย์แผนปัจจุบันเรียกว่า การอักเสบแบบ inflammation ทำให้ตื่นกลางดึกตอนห้าทุ่มเที่ยงคืน ตีหนึ่ง ตื่นแล้วหลับยาก หรือ อาการต่อมลูกหมากอักเสบ

    5. กลุ่มอาการเสมหะ ไอจากเสมหะ หรือ มีอาการลูกกระเดือกโตเศษอาหารตกค้าง
    5.1 ยา ชิงชี่ฮั่วถันหวาน รักษา ไอมีเสมหะมาก เอาออกยาก
    5.2 หวินหนันไป๋เย่า ใช้เป็นยาห้ามเลือดจากอุบัติเหตุ กระเพาะอาหารทะลุ ตับแตก ม้ามแตก ไตรั่ว กระเพาะปัสสาวะเลือดไหลออกมากับน้ำปัสสาวะ หรือ เลือดออกทางรูทวารหนัก ริดสีดวงทวาร และมีการยืนยันจากสมาชิกว่าใช้รักษามะเร็งมดลูก มะเร็งตับ ต่ออายุได้เป็นสิบๆปี จนแพทย์เจ้าของไข้ตายไปก่อนคนไข้ครับ
    5.3ยาวาสคูล่าร์ตราปลาคู่/ยาเหน่าซินทง ใช้รักษาอาการเส้นเลือดอุดตันที่สมอง หัวใจ ยากลุ่มที่5นี้ จัดเป็นยาฉุกเฉิน ต้องมีติดตัวตลอดครับ สำหรับคนที่ได้รับวัคซีนพิษมา

    6.กลุ่มยาบำรุงกำลัง
    6.1หยิ่นเซียมเจง คือยาสกัดรากโสมจีน สรรพคุณบำรุงพลัง แก้อ่อนเพลีย หายใจรวยริน หัวใจอ่อนล้า ไม่มีแรงลืมตาอ้าปาก
    6.2.โสมเอี่ยเซียม/โสมอเมริกา บำรุงกำลังแต่ไม่ร้อนในมีเหมาะสำหรับคนไทยที่อยู่เมืองไทย
    6.3.เซินหลิงไป๋จู๋เคอรี่ตราปลาคู่ เป็นยาเพิ่มกำลังคนไข้นอนติดเตียง เบื่ออาหาร และไม่อยากดื่มน้ำ ใช้เครื่องใส่ท่อออกซิเจน...
    ยากลุ่มที่7นี้ควรมีไว้ที่บ้านที่มีวัยชราภาพ70ขึ้นไป
    6.4ยาบำรุงกำลัง กรณี มดลูกหย่อน หรือ ไส้เลื่อน ให้กินยา ปู่จงอี้ชี่หวานนะคร้บ และควรเล่นกำลังภายในชี่กงด้วยครับมีจะได้ไม่กลับมาเป็นอีก บางคนไอฉี่เล็ดแบบนี้คือพลังถดถอย ต้องกินยาปู่จงฯ

    7..ยากลุ่มครึ่งนอกครึ่งใน
    เป็นอาการพิเศษที่หมอฝรั่ง งง
    กล่าวคือ จับไข้เป็นเวลาคล้ายไข้จับสั่น แต่ไม่รุนแรงเท่ามาลาเรีย สบัดร้อนสบัดหนาว ห่มผ้าก็ร้อน ถีบผ้าออกก็หนาว
    แพทย์แผนปัจจุบันจะใช้ยาควินินรักษา ก็ได้ผล แต่ผลข้างเคียงมหาศาล
    แพทย์บางคนจ่ายยาสเตียรอยด์เลย คราวนี้ร่างกายแย่แน่นอน
    นี่คือโรคหมอทำ
    ยาที่ใช้คือ เสี่ยวไฉหูทังหวาน กินครั้งเดียวหายเป็นปลิดทิ้ง
    อาการนี้มักเกิดกับคนแข็งแรง ส่วนคนอ่อนแอ แพ้ศัตรูง่าย พอรับเชื้อก็ล้มหมอนนอนเสื่อเลย

    อ้อ สำหรับคนนอนกรน ให้กินยาหยิ่นเซียมเจง หรือ เซินหลิงตราปลาคู่ก็ได้ครับ

    ฉั่งฉิก กับ วาสคูล่าร์ (2+2)×2/วัน กินตลอดไปก็การันตีว่า โรคอัมพาต/โรคหัวใจ/โรคอัลไซเมอร์ จะไม่มาหาแน่นอน

    คุณหมอค่ะกรดไหลย้อนทานยาตัวไหนคะ
    กรดไหลย้อน พยายามกินหนิวหวง หรือ หวงเหลียนก่อนนอนทุกคืนประมาณ3-5วัน อาการจะหายไปครับ อย่าให้ท้องผูก
    อย่านอนดึก กินอาหารมื้อเย็นก่อน18:00น. พุงจะไม่ยื่น มีเอว

    แนะนำโดยแพทย์จีน ไกร บารมีเสริมส่ง (วินิจฉัยฟรี)
    https://t.me/Covidtreatment_th/148
    https://t.me/Covidtreatment_th/374
    ท่านแนะนำให้ไปหาซื้อตามร้านขายยาจีนหรือโรงงานยาตราปลาคู่โดยตรงที่โทร. 0935245444 หรือตามร้านขายยาทั่วไป หรือ3ภาพสุดท้าย

    หาซื้อได้ที่โรงงาน034-391085
    หรือ0935245444 เป็นเบอร์ไลน์ด้วยครับ

    ไลน์​ ยาเขียวตราปลาคู่
    https://lin.ee/65cYrq8
    https://lin.ee/bHUugo0

    ตัวอย่างโปร.เมื่อวันที่ 25 / 03 - 10 / 04 / 68

    วาสคิวล่าร์ (10x10’s)
    กล่องละ 500

    ยาระบาย (10x10’s)
    กล่องละ 200

    ยาเขียว ( ชนิดผง )
    ชนิด 60 ซอง กล่องละ 800

    ยาเขียว ( ชนิดเม็ด )
    ชนิด 60 ซอง กล่องละ 800
    ชนิดขวด 80’s โหลละ 800

    ยาเขียว (สูตรเข้มข้น) แคปซูล
    ชนิดขวด (6 กระปุก) แพคละ 750
    ชนิดแผง (10x10’s) แพคละ 400

    สูตรพิเศษ
    (รักษาอาการโควิด)
    ชนิดผง (10 ซอง) แพคละ 500
    แคปซูล (10x10’s) แพคละ 400

    ยาชะลอวัย
    ชนิดผง (12 ซอง) แพคละ 500
    แคปซูล (10x10’s) แพคละ 400

    ฉั่งฉิก
    ชนิดผง 300 กรัม 900
    ชนิดผง 500 กรัม 1300
    แคปซูล (10x10’s) แพคละ 500

    ยาภูมิแพ้
    ชนิดผง (12 ซอง) แพคละ 500
    แคปซูล (6 กระปุก) แพคละ 750

    ยาต่อมลูกหมาก
    ชนิดผง (12 ซอง) แพคละ 500
    แคปซูล (6 กระปุก) แพคละ 750

    ยาบำรุงผิว
    ชนิดผง (12 ซอง) แพคละ 500

    หลงต่าน ขวดใหญ่ 360 เม็ด
    250

    หนิวหวง กล่องละ
    250

    AMK 1 g
    กล่องละ 130
    ( 3 กล่อง ) 380

    ยอดสั่งซื้อ 2,500 บาทขึ้นไป
    ส่งสินค้าภายในประเทศ ฟรี !!

    หมอเคยเน้นย้ำว่าโรงงานยาจีนที่วางใจได้มีเพียง
    1.เป่ยจิงถงหยินถัง
    北京同仁堂
    สัญญาลักษณ์ตามภาพนะครับ
    2.ฝอจือ หลันโจว
    https://www.google.com/imgres?imgurl=http%3A%2F%2Fimg.familydoctor.com.cn%2Fcms%2F20170320%2F201703200448063284.jpg&imgrefurl=https%3A%2F%2Fm.familydoctor.com.cn%2F201703%2F1771052.html&tbnid=XdVmkWCk3VyHvM&vet=1&docid=KlrmfVeK0-lJRM&w=499&h=431&itg=1&hl=th-TH&source=sh%2Fx%2Fim
    ยาสำเร็จรูปนี้ที่เมืองไทยคุ้นเคยกันมานานมากกว่า60ปีแล้วไม่มีปัญหา
    สมัยไปเรียนที่เซี่ยเหมิน อาจารย์หมอจีนตกใจว่าทำไมนักเรียนไทยรู้จักใช้ยาสำเร็จรูปของบริษัทยาที่มาตราฐานระดับประเทศ(ไม่ใช่ระดับมณฑล)
    สัญญาลักษณ์แปลว่า พุทธะเมตตา
    3.จางจ้งจิ่ง เหอหนาน
    ยาบริษัทนี้เริ่มมีขายบ้างในเมืองไทยส่วนใหญ่หมอจีนนำเข้ามาขายเองเมื่อสิบกว่าปี/คนที่นำเข้ามาแจกคนไข้แรกๆคือหมอไกรเองครับ ซื้อยาจากเมืองจีนกลับมาไทยเป็นจำนวนเงินแสนกว่าบาท สุดท้ายแจกฟรี สงสารคนไข้ ขายเก็บเงินไม่ได้ และในที่สุด สรุปว่าทำธุรกิจยารักษาโรคไม่ได้5555 ขาดทุนหมดตั้งแต่ล็อตแรก หมอจึงให้การรักษาฟรี ส่วนยากรุณาไปหาซื้อเอาเองแถวเยาวราช
    เพราะความสงสารคนป่วย
    4.บริษัทยาจิ่วจือถัง
    อยู่ที่เมืองหลันโจวเช่นกันกับโรงงานฝอจือ
    มีเพียง4บริษัทนี้เท่านั้นที่วางใจได้
    บริษัทยาจิ่วจือถังก่อตั้งมาเกือบ400ปีแล้วครับ
    ถ้าดูประวัติโรงงานยาเมืองจีนที่โด่งดังก็จะมีบริษัทยาเป่ยจิงถงหยินถัง ก่อตั้งด้วยพระราชทรัพย์ของกษัตริย์คังซีฮ่องเต้ เพราะหมอหลวงรักษาอาการป่วยของฮ่องเต้ไม่หาย แต่มาได้ยาของร้านถงหยินถังในกรุงปักกิ่งเสวยยาแล้วหาย จึงพระราชทานทรัพย์ให้ตั้งร้านใหญ่ในเมืองหลวง
    ใครได้ดูหนังทีวี องค์ชาย4 คังซีฮ่องเต้ คงจำกันได้ในราชวงศ์ชิง ยุคกรุงศรีอยุธยาโดยประมาณนะครับ
    จบ ความรู้เรื่องโรงงานผลิตยาในประเทศจีนที่วางใจได้ครับ
    หวังว่าคงไม่มีสมาชิกถูกหลอกให้กินยาผสมสารเคมีสังเคราะห์นะครับ

    แนะนำโดยแพทย์จีน ไกร บารมีเสริมส่ง (วินิจฉัยฟรี)
    https://t.me/Covidtreatment_th/148
    https://t.me/Covidtreatment_th/374
    ท่านแนะนำให้ไปหาซื้อตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ร้านเซี้ยงเฮงฮั่วกี่ เจ๊ดา02-2261418 หรือโรงงานยาตราปลาคู่โดยตรงที่โทร. 034-391085
    หรือ0935245444 เป็นเบอร์ไลน์ด้วยครับ
    ไลน์​ ยาเขียวตราปลาคู่ https://lin.ee/65cYrq8

    สนใจศาสตร์แพทย์แผนจีนสามารถติดตามไปที่กลุ่มของคุณหมอไกร
    กลุ่มไลน์ “แพทย์แผนจีน”
    https://line.me/ti/g/nvK48dxh8k

    กลุ่มไลน์ “แพทย์จีนป.1”
    https://line.me/ti/g/fpBefF5mEj

    #แพทย์แผนจีน #ยาจีน #ยาเขียว #วาสคิวล่าร์ #ยาระบาย

    เวชหนุ่ม
    ✅ศาสตร์แพทย์แผนจีน (Traditional Chinese Medicine) ยกตัวอย่างยาในศาสตร์แพทย์แผนจีน สมุนไพรฉั่งฉิก ยาเขียวธรรมดา ยาเขียวพิเศษชิงเฟ่ยซองสีส้ม ยาชะลอวัย ยาวาสคิวล่าร์ ถ้าเกี่ยวกับลิ่มเลือดอุดตันใช้ยา 脑心通胶囊 เหน่า ซิน ทง ถ้าก้อนเนื้องอกกำเริบ ใช้温胆汤加减 เวิน ต่าน ทัง เจีย เจี่ยน เป็นต้น ศาสตร์แพทย์แผนจีน ตัวอย่างยา กลุ่ม1 เรียก ยาเขียนรุ่นธรรมดา สรรพคุณ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ หัด อีสุกอีใส กินป้องกันโรค เช้า8เย็น8 กลุ่มที่2 เรียกยาเขียวรุ่นพิเศษ สรรพคุณรักษาโรคหวัดโควิดทุกสายพันธุ์ ซองส้มเช้า/เที่ยว/เย็น//ครั้งละซองชงน้ำเดือด//ชนิดแคปซูลครั้งละ8แคป3มื้อ กลุ่มที่3 เรียกยาชะลอวัย สรรพคุณรักษาอาการลองโควิด และโรคผู้สูงวัย กำจัดเนื้องอก (กลุ่มยานี้เป้าหมายคือรักษาผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิดไม่สบายและผู้ป่วยหลังจากเป็นโควิด) กินเช้าซอง/เย็นซอง สมุนไพรฉั่งฉิก ชนิดผง/แคปซูล สรรพคุณของฉั่งฉิก นอกจากละลายก้อนเลือดแล้ว ยังทำหน้าที่ห้ามเลือดในตัวกรณีเส้นเลือดแตก ยาวาสคูล่าร์ สรรพคุณ ละลายก้อนเลือด และละลายไขมันผนังหลอดเลือด ในยา วาสคูล่าร์ มียา3กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ออกฤทธิ์ขจัด ละลายก้อนไขมันที่ผิวหลอดเลือดด้านใน กลุ่มที่2อออกฤทธิ์ละลายก้อนเลือดในเส้นเลือด กลุ่มที่3 ออกฤทธิ์ ห้ามเลือดไม่ให้ไหลออกนอกหลอดเลือดและประสานบาดแผลหลอดเลือด ดูดกลับเลือดที่ไหลออกนอกเส้นเลือดนำกลับเข้าสู่ระบบไหลเวียนอีกครั้ง ข้อที่ 3 นี้ เป็นลักษณะเด่นของยาสมุนไพรจีนที่นำเลือดกลับเข้าระบบใช้หมุนเวียนได้ต่อไป สังเกตุจากอุบัติเหตุที่กระทบของแข็งจนฟกช้ำดำเขียว อันเกิดจากเส้นเลือดฝอยแตก เลือดไหลออกมาขังตามเนื้อเยื่อขนมีสีเขียวออกดำแบบเส้นเลือดดำนั่นเอง เมื่อยาสมุนไพรจีนเข้าไปนำเลือดกลับมาใช้ใหม่อาการฟกช้ำจะหายไปในที่สุด ใครที่ควรทานยา "vascular" 1. ผู้ที่เคยฉีดวัคซีน covid 2. ผู้ที่ป่วยด้วยหลอดเลือดสมอง 3. ผู้ที่เป็นความดันสูง 4. ผู้ที่มึนงง เวียนศีรษะบ่อย ปวดไมเกรน 5. ผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป 6. ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุ เป็นรอยเขียวจ้ำ ฟกช้ำ หมายถึงว่า ย่อมมีเศษตระกรันและตะกอนจากเลือดไปเกาะ ในหลอดเลือด 7. คนที่เป็นเส้นเลือดขอด 8. คนที่มีอาชีพยืนนาน แม่ค้า ช่างทำผม โดยรวมๆ น่าจะควรต้องล้างทุกคนดีที่สุด เราเช็คร่างกายตั้งแต่ตอนนี้ เป็นการไม่ประมาท อย่ารอให้เส้นเลือดมันแตก มันอุดตันก่อน แล้วจึงค่อยคิดจะทำ มันไม่คุ้ม ยาจีนหลักๆๆมีอะไรบ้างคะหมอลงรูปและชื่ออีกทีนะคะและไห้ทุกคนเซฟใว้ทุกคนนะคะแล้วทะยอยชื้อเก็บใว้ค่ะ 1.ยาระบบย่อยอาหาร 1.1 เซียงซาหย่างเว่ยหวาน ช่วยย่อย แก้ ท้องอืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย เรอเหม็นเปรี้ยว 1.2 หวงเหลียนซู่ แก้ท้องเดินเป็นบิด ปวดถ่วง ท้องเสีย 1.3 หวงเหลียนซั่งชิงเพี่ยน แก้ท้องผูก เจ็บคอ เหงือบวม ร้อนใน แผลในปาก เจ็บลิ้น 1.4 หนิวหวงเจี่ยตู๋เพี่ยน แก้ท้องผูก เจ็บคอ ตาแดง เน้นรักษาตับ 1.5 เป่าเหอหวาน รักษา เสมหะขับออกง่าย ลดคอเลสเตอรอลไขมันเลว ช่วยย่อยเนื้อ น้ำมัน เน้นส่งเสริมประสิทธิภาพการย่อยอาหาร 2.กลุ่มยารักษาโรคหวัดภูมิแพ้ 2.1 ยาหยินเชี่ยวเจี๋ยตู๋เพี่ยน เป็นยารักษาโรคหวัดฤดูร้อน อาการเด่นมีไข้สูง เจ็บคอ หิวน้ำ หน้าแดง ไอแห้งๆ 2.2 ยา ฮั่วเซียงเจิ้งชี่หวาน รักษาหวัดฤดูฝน อาการเด่น.เบื่ออาหาร ศรีษะหนักๆ ไอมีเสมหะเยอะ อาคล้ายกับหวัดโควิด19 ก็รักษาได้ครับ 2.3 ยา หมาหวงทัง รักษาหวัดฤดูหนาว อาการ ไข้ต่ำ กลัวหนาว น้ำมูกใสไหลตลอด ไอเสมหะมากไม่เหนียว จมูกไม่ได้กลิ่น ไม่มีเหงื่อ ปวดเมื่อยตามตัว หรืออาการหืดหอบก็ใช้สูตรนี้ได้ 2.4 ยาแก้ภูมิแพ้ตราปลาคู่ รักษาอาการ เป็นหวัดทั้งปี ถูกละอองฝน/ตากแดด/กระทบลมหนาว ถ้าเป็นยาตำรับคือ จิงฝางไป้ตู๋ทัง/ตำรับนี้ร้านเจ๊ดามีบันทึกอยู่/หรือจะกินสูตรยา ชิงเฟ่ยไผตู๋ทัง หมายเหตุ ยาภูมิแพ้คือ ตำรับจิงฝางไป่ตู๋ทัง 3. ยารักษาระบบไต และ กระเพาะปัสสาวะ 3.1 จินกุ้ยเซิ่นชี่หวาน เป็นยาบำรุงไตหยาง อาการ กลัวหนาว เป็นเบาหวานปัสสาวะกลางคืนบ่อย หมดแรง กระดูกพรุน ปวดกระดูก อวัยวะเพศไม่แข็งตัว หรือ มีอาการหลั่งเร็ว ถ้าเป็นผู้หญิงจะไม่มีอารมณ์เพศ ช่องคลอดแห้ง อาจจะมีตกขาวร่วมด้วย 3.2 จือไป๋ตี้หวงหวาน/จือไป๋ปาเว่ยหวาน คือยาบำรุงไตอิน รักษาอาการ เบาหวาน ขี้ร้อนในง่าย นอนไม่หลับ อาการวัยทอง ท้องผูก 3.3จี้จีตี้หวงหวาน คือยารักษาตับ ไต อาการตามัวกลางคืนขับรถไม่ได้ สายตาไม่ดี/สั่นและยาว/ ตาแห้ง ลักษณะไตป่วยต้องมีอาการปวดเอว เป็นหลักสำคัญ สำหรับการรักษาเกี่ยวกับสายตาควรใช้ยากลุ่ม 4.นี้ทุกตัวครับ 4.กลุ่มอาการโรคนอนหลับยาก ตื่นง่ายหลับยาก สาเหตุจากจิตใจ เลือดน้อย ความเคยชิน จิตอารมณ์เคร่งเครียด เรื่องเงินไม่พอใช้จ่าย 4.1 ยา กุยผีหวาน คือยาบำรุงเลือด ช่วยนอนหลับ 4.2 ยาเซียวเหยาหวาน คือยาคลายเครียด ทำให้จิตคลาย เผลอหลับไม่รู้ตัว ยาตัวนี้สามารถลดอาการปวดตึงคอ บ่า ไหล่ ได้สบาย 4.3 ยาเทียนหวังปู่ซินตัง คือยาบำรุงอินหัวใจ รักษาอาการหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น นอนไม่หลับ ร้อนฝ่าเท้า 4.4 ยา หลงต่านเซี่ยกันหวาน เป็นยารักษา อาการร้อนชื้น ที่ตับไต หรือแพทย์แผนปัจจุบันเรียกว่า การอักเสบแบบ inflammation ทำให้ตื่นกลางดึกตอนห้าทุ่มเที่ยงคืน ตีหนึ่ง ตื่นแล้วหลับยาก หรือ อาการต่อมลูกหมากอักเสบ 5. กลุ่มอาการเสมหะ ไอจากเสมหะ หรือ มีอาการลูกกระเดือกโตเศษอาหารตกค้าง 5.1 ยา ชิงชี่ฮั่วถันหวาน รักษา ไอมีเสมหะมาก เอาออกยาก 5.2 หวินหนันไป๋เย่า ใช้เป็นยาห้ามเลือดจากอุบัติเหตุ กระเพาะอาหารทะลุ ตับแตก ม้ามแตก ไตรั่ว กระเพาะปัสสาวะเลือดไหลออกมากับน้ำปัสสาวะ หรือ เลือดออกทางรูทวารหนัก ริดสีดวงทวาร และมีการยืนยันจากสมาชิกว่าใช้รักษามะเร็งมดลูก มะเร็งตับ ต่ออายุได้เป็นสิบๆปี จนแพทย์เจ้าของไข้ตายไปก่อนคนไข้ครับ 5.3ยาวาสคูล่าร์ตราปลาคู่/ยาเหน่าซินทง ใช้รักษาอาการเส้นเลือดอุดตันที่สมอง หัวใจ ยากลุ่มที่5นี้ จัดเป็นยาฉุกเฉิน ต้องมีติดตัวตลอดครับ สำหรับคนที่ได้รับวัคซีนพิษมา 6.กลุ่มยาบำรุงกำลัง 6.1หยิ่นเซียมเจง คือยาสกัดรากโสมจีน สรรพคุณบำรุงพลัง แก้อ่อนเพลีย หายใจรวยริน หัวใจอ่อนล้า ไม่มีแรงลืมตาอ้าปาก 6.2.โสมเอี่ยเซียม/โสมอเมริกา บำรุงกำลังแต่ไม่ร้อนในมีเหมาะสำหรับคนไทยที่อยู่เมืองไทย 6.3.เซินหลิงไป๋จู๋เคอรี่ตราปลาคู่ เป็นยาเพิ่มกำลังคนไข้นอนติดเตียง เบื่ออาหาร และไม่อยากดื่มน้ำ ใช้เครื่องใส่ท่อออกซิเจน... ยากลุ่มที่7นี้ควรมีไว้ที่บ้านที่มีวัยชราภาพ70ขึ้นไป 6.4ยาบำรุงกำลัง กรณี มดลูกหย่อน หรือ ไส้เลื่อน ให้กินยา ปู่จงอี้ชี่หวานนะคร้บ และควรเล่นกำลังภายในชี่กงด้วยครับมีจะได้ไม่กลับมาเป็นอีก บางคนไอฉี่เล็ดแบบนี้คือพลังถดถอย ต้องกินยาปู่จงฯ 7..ยากลุ่มครึ่งนอกครึ่งใน เป็นอาการพิเศษที่หมอฝรั่ง งง กล่าวคือ จับไข้เป็นเวลาคล้ายไข้จับสั่น แต่ไม่รุนแรงเท่ามาลาเรีย สบัดร้อนสบัดหนาว ห่มผ้าก็ร้อน ถีบผ้าออกก็หนาว แพทย์แผนปัจจุบันจะใช้ยาควินินรักษา ก็ได้ผล แต่ผลข้างเคียงมหาศาล แพทย์บางคนจ่ายยาสเตียรอยด์เลย คราวนี้ร่างกายแย่แน่นอน นี่คือโรคหมอทำ ยาที่ใช้คือ เสี่ยวไฉหูทังหวาน กินครั้งเดียวหายเป็นปลิดทิ้ง อาการนี้มักเกิดกับคนแข็งแรง ส่วนคนอ่อนแอ แพ้ศัตรูง่าย พอรับเชื้อก็ล้มหมอนนอนเสื่อเลย อ้อ สำหรับคนนอนกรน ให้กินยาหยิ่นเซียมเจง หรือ เซินหลิงตราปลาคู่ก็ได้ครับ ฉั่งฉิก กับ วาสคูล่าร์ (2+2)×2/วัน กินตลอดไปก็การันตีว่า โรคอัมพาต/โรคหัวใจ/โรคอัลไซเมอร์ จะไม่มาหาแน่นอน คุณหมอค่ะกรดไหลย้อนทานยาตัวไหนคะ กรดไหลย้อน พยายามกินหนิวหวง หรือ หวงเหลียนก่อนนอนทุกคืนประมาณ3-5วัน อาการจะหายไปครับ อย่าให้ท้องผูก อย่านอนดึก กินอาหารมื้อเย็นก่อน18:00น. พุงจะไม่ยื่น มีเอว แนะนำโดยแพทย์จีน ไกร บารมีเสริมส่ง (วินิจฉัยฟรี) https://t.me/Covidtreatment_th/148 https://t.me/Covidtreatment_th/374 ท่านแนะนำให้ไปหาซื้อตามร้านขายยาจีนหรือโรงงานยาตราปลาคู่โดยตรงที่โทร. 0935245444 หรือตามร้านขายยาทั่วไป หรือ3ภาพสุดท้าย หาซื้อได้ที่โรงงาน034-391085 หรือ0935245444 เป็นเบอร์ไลน์ด้วยครับ ไลน์​ ยาเขียวตราปลาคู่ https://lin.ee/65cYrq8 https://lin.ee/bHUugo0 ตัวอย่างโปร.เมื่อวันที่ 25 / 03 - 10 / 04 / 68 วาสคิวล่าร์ (10x10’s) กล่องละ 500 ยาระบาย (10x10’s) กล่องละ 200 ยาเขียว ( ชนิดผง ) ชนิด 60 ซอง กล่องละ 800 ยาเขียว ( ชนิดเม็ด ) ชนิด 60 ซอง กล่องละ 800 ชนิดขวด 80’s โหลละ 800 ยาเขียว (สูตรเข้มข้น) แคปซูล ชนิดขวด (6 กระปุก) แพคละ 750 ชนิดแผง (10x10’s) แพคละ 400 สูตรพิเศษ (รักษาอาการโควิด) ชนิดผง (10 ซอง) แพคละ 500 แคปซูล (10x10’s) แพคละ 400 ยาชะลอวัย ชนิดผง (12 ซอง) แพคละ 500 แคปซูล (10x10’s) แพคละ 400 ฉั่งฉิก ชนิดผง 300 กรัม 900 ชนิดผง 500 กรัม 1300 แคปซูล (10x10’s) แพคละ 500 ยาภูมิแพ้ ชนิดผง (12 ซอง) แพคละ 500 แคปซูล (6 กระปุก) แพคละ 750 ยาต่อมลูกหมาก ชนิดผง (12 ซอง) แพคละ 500 แคปซูล (6 กระปุก) แพคละ 750 ยาบำรุงผิว ชนิดผง (12 ซอง) แพคละ 500 หลงต่าน ขวดใหญ่ 360 เม็ด 250 หนิวหวง กล่องละ 250 AMK 1 g กล่องละ 130 ( 3 กล่อง ) 380 ยอดสั่งซื้อ 2,500 บาทขึ้นไป ส่งสินค้าภายในประเทศ ฟรี !! หมอเคยเน้นย้ำว่าโรงงานยาจีนที่วางใจได้มีเพียง 1.เป่ยจิงถงหยินถัง 北京同仁堂 สัญญาลักษณ์ตามภาพนะครับ 2.ฝอจือ หลันโจว https://www.google.com/imgres?imgurl=http%3A%2F%2Fimg.familydoctor.com.cn%2Fcms%2F20170320%2F201703200448063284.jpg&imgrefurl=https%3A%2F%2Fm.familydoctor.com.cn%2F201703%2F1771052.html&tbnid=XdVmkWCk3VyHvM&vet=1&docid=KlrmfVeK0-lJRM&w=499&h=431&itg=1&hl=th-TH&source=sh%2Fx%2Fim ยาสำเร็จรูปนี้ที่เมืองไทยคุ้นเคยกันมานานมากกว่า60ปีแล้วไม่มีปัญหา สมัยไปเรียนที่เซี่ยเหมิน อาจารย์หมอจีนตกใจว่าทำไมนักเรียนไทยรู้จักใช้ยาสำเร็จรูปของบริษัทยาที่มาตราฐานระดับประเทศ(ไม่ใช่ระดับมณฑล) สัญญาลักษณ์แปลว่า พุทธะเมตตา 3.จางจ้งจิ่ง เหอหนาน ยาบริษัทนี้เริ่มมีขายบ้างในเมืองไทยส่วนใหญ่หมอจีนนำเข้ามาขายเองเมื่อสิบกว่าปี/คนที่นำเข้ามาแจกคนไข้แรกๆคือหมอไกรเองครับ ซื้อยาจากเมืองจีนกลับมาไทยเป็นจำนวนเงินแสนกว่าบาท สุดท้ายแจกฟรี สงสารคนไข้ ขายเก็บเงินไม่ได้ และในที่สุด สรุปว่าทำธุรกิจยารักษาโรคไม่ได้5555 ขาดทุนหมดตั้งแต่ล็อตแรก หมอจึงให้การรักษาฟรี ส่วนยากรุณาไปหาซื้อเอาเองแถวเยาวราช เพราะความสงสารคนป่วย 4.บริษัทยาจิ่วจือถัง อยู่ที่เมืองหลันโจวเช่นกันกับโรงงานฝอจือ มีเพียง4บริษัทนี้เท่านั้นที่วางใจได้ บริษัทยาจิ่วจือถังก่อตั้งมาเกือบ400ปีแล้วครับ ถ้าดูประวัติโรงงานยาเมืองจีนที่โด่งดังก็จะมีบริษัทยาเป่ยจิงถงหยินถัง ก่อตั้งด้วยพระราชทรัพย์ของกษัตริย์คังซีฮ่องเต้ เพราะหมอหลวงรักษาอาการป่วยของฮ่องเต้ไม่หาย แต่มาได้ยาของร้านถงหยินถังในกรุงปักกิ่งเสวยยาแล้วหาย จึงพระราชทานทรัพย์ให้ตั้งร้านใหญ่ในเมืองหลวง ใครได้ดูหนังทีวี องค์ชาย4 คังซีฮ่องเต้ คงจำกันได้ในราชวงศ์ชิง ยุคกรุงศรีอยุธยาโดยประมาณนะครับ จบ ความรู้เรื่องโรงงานผลิตยาในประเทศจีนที่วางใจได้ครับ หวังว่าคงไม่มีสมาชิกถูกหลอกให้กินยาผสมสารเคมีสังเคราะห์นะครับ แนะนำโดยแพทย์จีน ไกร บารมีเสริมส่ง (วินิจฉัยฟรี) https://t.me/Covidtreatment_th/148 https://t.me/Covidtreatment_th/374 ท่านแนะนำให้ไปหาซื้อตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ร้านเซี้ยงเฮงฮั่วกี่ เจ๊ดา02-2261418 หรือโรงงานยาตราปลาคู่โดยตรงที่โทร. 034-391085 หรือ0935245444 เป็นเบอร์ไลน์ด้วยครับ ไลน์​ ยาเขียวตราปลาคู่ https://lin.ee/65cYrq8 สนใจศาสตร์แพทย์แผนจีนสามารถติดตามไปที่กลุ่มของคุณหมอไกร กลุ่มไลน์ “แพทย์แผนจีน” https://line.me/ti/g/nvK48dxh8k กลุ่มไลน์ “แพทย์จีนป.1” https://line.me/ti/g/fpBefF5mEj #แพทย์แผนจีน #ยาจีน #ยาเขียว #วาสคิวล่าร์ #ยาระบาย เวชหนุ่ม
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 256 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภาพเหตุการณ์หลังคาหอกลอง (drum towe) อายุ 650 ปี ในมณฑลอานฮุย (Anhui) ประเทศจีน พังถล่มลงมา

    "ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้"

    รายงานเพิ่มเติมระบุว่า หลังคาหอกลองหลังนี้ถูกสร้างขึ้นมาในสมัยราชวงศ์หมิงเมื่อปี ค.ศ. 1375

    ส่วนหนึ่งของอาคารถูกทำลายในปี 1853 ในช่วงราชวงศ์ชิง และได้รับการสร้างขึ้นใหม่ในปี 1995 หลังจากผ่านมา 150 ปี


    ต่อมาในปี 2023 โครงการบูรณะในส่วนของหลังคาของอาคารเริ่มขึ้นอีกครั้ง และเพิ่งเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม 2024

    ภาพเหตุการณ์หลังคาหอกลอง (drum towe) อายุ 650 ปี ในมณฑลอานฮุย (Anhui) ประเทศจีน พังถล่มลงมา "ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้" รายงานเพิ่มเติมระบุว่า หลังคาหอกลองหลังนี้ถูกสร้างขึ้นมาในสมัยราชวงศ์หมิงเมื่อปี ค.ศ. 1375 ส่วนหนึ่งของอาคารถูกทำลายในปี 1853 ในช่วงราชวงศ์ชิง และได้รับการสร้างขึ้นใหม่ในปี 1995 หลังจากผ่านมา 150 ปี ต่อมาในปี 2023 โครงการบูรณะในส่วนของหลังคาของอาคารเริ่มขึ้นอีกครั้ง และเพิ่งเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม 2024
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 135 มุมมอง 15 0 รีวิว
  • Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีสู้กับความหนาวของจีนโบราณซึ่งหนึ่งในนั้นคือใช้เสื้อผ้าและผ้าห่มที่ทำมาจากกระดาษ ซึ่งในสมัยถังมีวิวัฒนาการการผลิตกระดาษอย่างก้าวกระโดด เสื้อหรือผ้าห่มนั้นใช้กระดาษที่ทำจากเปลือกของกิ่งหม่อน วิธีทำและหน้าตาคล้ายผลิตกระดาษสาบ้านเรา

    เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า มีการนำกระดาษมาทำเสื้อเกราะให้ทหารสวมใส่ด้วย? บ้างก็ว่ามีมาแต่สมัยราชวงศ์เหนือใต้ บ้างก็ว่าเสื้อเกราะกระดาษนั้นถูกคิดค้นขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง

    เสื้อเกราะกระดาษนี้เรียกตรงตัวว่า ‘จื๋อข่าย’ (纸铠)หรือ ‘จื๋อเจี่ย’ (纸甲) ในบันทึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถังที่จัดทำขึ้นโดยสำนักราชบัณฑิตสมัยซ่ง (ซินถังซู/新唐书) มีจารึกไว้ว่า เสื้อเกราะกระดาษเหล่านี้ป้องกันได้จากคมดาบและธนู ต่อมาในยุคสมัยหมิงนิยมใช้ในพื้นที่ทางตอนใต้ โดยเฉพาะกับทหารเรือ เนื่องจากพื้นที่แถบนั้นอากาศชื้น เสื้อเกราะเหล็กขึ้นสนิมได้ง่ายและหนัก ในทางกลับกัน เสื้อเกราะกระดาษใช้ได้ในหลายสภาพอากาศทั้งร้อนทั้งหนาว มีน้ำหนักเบาและเมื่อโดนน้ำยิ่งทำให้มีความทนทานมากขึ้น ป้องกันได้แม้กระทั่งระเบิดดินปืน

    จากบันทึกทางการทหารในสมัยหมิงมีการกล่าวว่า เสื้อเกราะกระดาษประกอบขึ้นจากกระดาษเยื่อไม้และใยผ้าอัดแน่นซ้ำๆ จนเป็นชั้นหนาประมาณหนึ่งนิ้ว ตรึงด้วยหมุดเหล็ก เย็บขึ้นเป็นเกราะแบบเกล็ดปลา

    เสื้อเกราะกระดาษถูกใช้อย่างแพร่หลายในราชวงศ์หมิง แม้จะยังมีใช้บ้างในสมัยราชวงศ์ชิง (มีการค้นพบเสื้อเกราะกระดาษจากสมัยราชวงศ์ชิงจริงในกุ้ยโจวเมื่อปี 2004) แต่ในยุคสมัยที่ระเบิดมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีไฟแรง เกราะกระดาษใช้ไม่ได้ดีนักจึงค่อยๆ หายไป

    Storyฯ ก็นึกไม่ออกว่าเกราะกระดาษจะทนทานต่ออาวุธได้อย่างไร? ไปพบเจอกับวิดิโอคลิปเลยนำมาแบ่งปันให้ดู (ขออภัยไร้ความสามารถทำคำแปลบนคลิป)

    เป็นคลิปที่ตัดตอนมาจากรายการเกมการแข่งขันความรู้ของเด็กนักเรียน มีการเชิญมือธนูมาทดลองยิงเปรียบเทียบระหว่างเกราะโซ่และเกราะกระดาษ (ซึ่งใช้กระดาษเท่านั้น ยังไม่ได้รวมใยผ้าอัดผสมเข้าไป) โดยหัวธนูที่ใช้นั้นเป็นแบบที่มือธนูเรียกว่าเป็นธนูสำหรับยิงเกราะ หัวธนูเป็นเหล็กแหลมสองชั้น ยิงในระยะ 10 เมตร โดยตอนท้ายมีการสรุปว่าการที่จะเจาะให้ทะลุกระดาษที่เรียงเป็นชั้นๆ จนถึงผิวของคนใส่นั้น ต้องมีแรงอัดหลายทอด หัวธนูจึงไม่สามารถยิงทะลุได้ในคราวเดียว ใครอยากดูคลิปเต็มดูได้ตามลิ้งค์ยูทูบข้างล่างเลยค่ะ

    ดูแล้วรู้สึกอย่างไรคะ? เม้นท์บอกกันมาได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit วิดิโอและรูปภาพจาก:
    https://www.youtube.com/watch?v=9lG3aWRDQtI
    https://kknews.cc/history/g93o88.html
    https://kknews.cc/other/mo6gpg6.html

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/%E7%BA%B8%E7%94%B2/8697116
    https://www.chinanews.com.cn/hb/news/2009/11-18/1971854.shtml
    https://kknews.cc/other/mo6gpg6.html

    #เสื้อเกราะจีนโบราณ #เสื้อกระดาษ #จื๋อเจี่ย #จื๋อข่าย #อาวุธจีนโบราณ #เสื้อเกราะกระดาษ
    Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีสู้กับความหนาวของจีนโบราณซึ่งหนึ่งในนั้นคือใช้เสื้อผ้าและผ้าห่มที่ทำมาจากกระดาษ ซึ่งในสมัยถังมีวิวัฒนาการการผลิตกระดาษอย่างก้าวกระโดด เสื้อหรือผ้าห่มนั้นใช้กระดาษที่ทำจากเปลือกของกิ่งหม่อน วิธีทำและหน้าตาคล้ายผลิตกระดาษสาบ้านเรา เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า มีการนำกระดาษมาทำเสื้อเกราะให้ทหารสวมใส่ด้วย? บ้างก็ว่ามีมาแต่สมัยราชวงศ์เหนือใต้ บ้างก็ว่าเสื้อเกราะกระดาษนั้นถูกคิดค้นขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง เสื้อเกราะกระดาษนี้เรียกตรงตัวว่า ‘จื๋อข่าย’ (纸铠)หรือ ‘จื๋อเจี่ย’ (纸甲) ในบันทึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถังที่จัดทำขึ้นโดยสำนักราชบัณฑิตสมัยซ่ง (ซินถังซู/新唐书) มีจารึกไว้ว่า เสื้อเกราะกระดาษเหล่านี้ป้องกันได้จากคมดาบและธนู ต่อมาในยุคสมัยหมิงนิยมใช้ในพื้นที่ทางตอนใต้ โดยเฉพาะกับทหารเรือ เนื่องจากพื้นที่แถบนั้นอากาศชื้น เสื้อเกราะเหล็กขึ้นสนิมได้ง่ายและหนัก ในทางกลับกัน เสื้อเกราะกระดาษใช้ได้ในหลายสภาพอากาศทั้งร้อนทั้งหนาว มีน้ำหนักเบาและเมื่อโดนน้ำยิ่งทำให้มีความทนทานมากขึ้น ป้องกันได้แม้กระทั่งระเบิดดินปืน จากบันทึกทางการทหารในสมัยหมิงมีการกล่าวว่า เสื้อเกราะกระดาษประกอบขึ้นจากกระดาษเยื่อไม้และใยผ้าอัดแน่นซ้ำๆ จนเป็นชั้นหนาประมาณหนึ่งนิ้ว ตรึงด้วยหมุดเหล็ก เย็บขึ้นเป็นเกราะแบบเกล็ดปลา เสื้อเกราะกระดาษถูกใช้อย่างแพร่หลายในราชวงศ์หมิง แม้จะยังมีใช้บ้างในสมัยราชวงศ์ชิง (มีการค้นพบเสื้อเกราะกระดาษจากสมัยราชวงศ์ชิงจริงในกุ้ยโจวเมื่อปี 2004) แต่ในยุคสมัยที่ระเบิดมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีไฟแรง เกราะกระดาษใช้ไม่ได้ดีนักจึงค่อยๆ หายไป Storyฯ ก็นึกไม่ออกว่าเกราะกระดาษจะทนทานต่ออาวุธได้อย่างไร? ไปพบเจอกับวิดิโอคลิปเลยนำมาแบ่งปันให้ดู (ขออภัยไร้ความสามารถทำคำแปลบนคลิป) เป็นคลิปที่ตัดตอนมาจากรายการเกมการแข่งขันความรู้ของเด็กนักเรียน มีการเชิญมือธนูมาทดลองยิงเปรียบเทียบระหว่างเกราะโซ่และเกราะกระดาษ (ซึ่งใช้กระดาษเท่านั้น ยังไม่ได้รวมใยผ้าอัดผสมเข้าไป) โดยหัวธนูที่ใช้นั้นเป็นแบบที่มือธนูเรียกว่าเป็นธนูสำหรับยิงเกราะ หัวธนูเป็นเหล็กแหลมสองชั้น ยิงในระยะ 10 เมตร โดยตอนท้ายมีการสรุปว่าการที่จะเจาะให้ทะลุกระดาษที่เรียงเป็นชั้นๆ จนถึงผิวของคนใส่นั้น ต้องมีแรงอัดหลายทอด หัวธนูจึงไม่สามารถยิงทะลุได้ในคราวเดียว ใครอยากดูคลิปเต็มดูได้ตามลิ้งค์ยูทูบข้างล่างเลยค่ะ ดูแล้วรู้สึกอย่างไรคะ? เม้นท์บอกกันมาได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit วิดิโอและรูปภาพจาก: https://www.youtube.com/watch?v=9lG3aWRDQtI https://kknews.cc/history/g93o88.html https://kknews.cc/other/mo6gpg6.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/%E7%BA%B8%E7%94%B2/8697116 https://www.chinanews.com.cn/hb/news/2009/11-18/1971854.shtml https://kknews.cc/other/mo6gpg6.html #เสื้อเกราะจีนโบราณ #เสื้อกระดาษ #จื๋อเจี่ย #จื๋อข่าย #อาวุธจีนโบราณ #เสื้อเกราะกระดาษ
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 376 มุมมอง 0 รีวิว
  • Storyฯ เพิ่งจะได้เริ่มดูละครเรื่อง <ชิวเยียนยอดหญิงพลิกชะตา> ได้เห็นเกมการแข่งขันชนิดหนึ่ง (ดูรูปแรก) มีลานที่เป็นเนินเล็กเนินน้อย ผู้เล่นจับคู่กันใช้ไม้ปลายงอตีลูกบอลขนาดเล็กกว่าหัวทารกหน่อยเพื่อให้ลงหลุมที่มีปักธงไว้ เกมนี้เรียกว่า ‘ฉุยหวาน’ (捶丸 แปลตรงตัวว่า ตี+ลูกทรงกลมขนาดเล็ก) เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ทันทีเพราะมันเหมือนกอล์ฟมาก

    มีการบันทึกกติกาการเล่น ‘ฉุยหวาน’ และรายละเอียดของอุปกรณ์ไว้ใน ‘ตำราหวานจิง’ (丸经) ในสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368) แต่จริงๆ แล้วมีการเล่นเกมกีฬานี้มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ (ค.ศ. 960-1127) ว่ากันว่าพัฒนามาจากการเล่น ‘ปู้ต่าฉิว’ (步打球)ในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) ซึ่งเป็นการเดินใช้ไม้ตีลูกบอลเข้าโกล แต่ไม่ได้ขุดเป็นหลุม

    ในพิพิธภัณฑ์ในพระราชวังต้องห้ามมีแสดงภาพวาดการเล่นฉุยหวานขององค์เซวียนจงแห่งราชวงศ์หมิง มีการวิเคราะห์ว่าทั้งสองพระหัตถ์ทรงถือไม้ แสดงให้เห็นว่าทรงกำลังเลือกอยู่ว่าจะใช้ไม้อันไหนดี มีคนคอยแนะนำอยู่ด้านข้าง มีรูห้ารูปักธงไว้ มีลักษณะเล่นกันเป็นทีม

    จากบันทึกโบราณ ฉุยหวานเป็นการเล่นกลางแจ้ง ทั้งบนสนามเฉพาะและบนลานพื้นทั่วไปที่อาจไม่เรียบ แต่เอกลักษณ์คือให้ตีลูกหวานที่ทำจากไม้ให้ลงหลุม โดยไม้ตีมีปลายงอ กำหนดให้ตีได้เพียงสามครั้งต่อหนึ่งเกม (สรุปการเล่นในรูปสองด้านล่าง ส่วนด้านบนเป็นรูปลูกหวานโบราณ) การแข่งขันสามารถจัดได้รอบเล็กใหญ่ตามจำนวนผู้ที่เข้าร่วม เล่นได้แบบเป็นทีมและแบบเดี่ยว ลูกหวานจะใช้ลวดลายหรือสีแตกต่างกันไปสำหรับผู้แข่งเพื่อป้องกันความสับสน (ซึ่งดูจะต่างจากในละคร) ตามบันทึกนั้นขั้นตอนการทำไม้ตีก็มีความละเมียดละไม เช่นเก็บเกี่ยวไม้ในฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูหนาว ทิ้งไว้หนึ่งฤดูกาลค่อยเอามาขึ้นรูป ใช้กาวทำจากเจลาตินของวัวเพื่อช่วยประกอบ ฯลฯ

    ที่ Storyฯ คิดว่าแปลกคือ ใน ‘ตำราหวานจิง’ มีการพูดถึงว่า ไม้ที่สองต้องตีด้วยท่าคุกเข่า (ในละครไม่มี) ซึ่งคล้ายคลึงกับเกม Colf ของชาวดัตช์ในยุคศตวรรษที่ 13 เพียงแต่ Colf เป็นการตีเล่นบทถนน ไม่ได้มีสนามเฉพาะ ว่ากันว่ากอล์ฟ (Golf) พัฒนามาจากเกมคอล์ฟ (Colf) นี่เอง

    กลับมาที่ฉุยหวาน มันเป็นเกมกีฬาที่เล่นได้ทั้งชายและหญิงในกลุ่มชนชั้นสูง นิยมมากในสมัยหมิง แต่ต่อมาคลายความนิยมลงในสมัยราชวงศ์ชิง กลายเป็นเพียงเกมละเล่นของเด็กและแม่บ้าน

    ฉุยหวานเป็นต้นกำเนิดของกอล์ฟหรือไม่? ประเด็นนี้ไม่มีการยอมรับอย่างเป็นทางการ เพราะทางฝั่งฝรั่งก็มีการละเล่นที่คล้ายคลึงเหมือนกัน แต่ที่แน่ๆ คือว่า ฉุยหวานดูจะมีมาก่อนการละเล่นพวกนี้ในแถบยุโรปเป็นพันปี

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://new.qq.com/omn/20200422/20200422A0M90Z00.html?pc
    https://ancientgolf.missionhillschina.com/index_en.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://new.qq.com/omn/20200422/20200422A0M90Z00.html?pc
    https://baike.baidu.com/item/步打球/192835
    https://baike.baidu.com/item/捶丸/3805675
    https://www.chinanews.com.cn/cul/2015/07-31/7440448.shtml
    https://www.sohu.com/a/423834335_120059786
    https://www.scottishgolfhistory.org/news/chuiwan/

    #ชิวเยียนยอดหญิง #ฉุยหวาน #ฉุยหวัน #กีฬาจีนโบราณ #กีฬาซ่ง #กอล์ฟจีนโบราณ
    Storyฯ เพิ่งจะได้เริ่มดูละครเรื่อง <ชิวเยียนยอดหญิงพลิกชะตา> ได้เห็นเกมการแข่งขันชนิดหนึ่ง (ดูรูปแรก) มีลานที่เป็นเนินเล็กเนินน้อย ผู้เล่นจับคู่กันใช้ไม้ปลายงอตีลูกบอลขนาดเล็กกว่าหัวทารกหน่อยเพื่อให้ลงหลุมที่มีปักธงไว้ เกมนี้เรียกว่า ‘ฉุยหวาน’ (捶丸 แปลตรงตัวว่า ตี+ลูกทรงกลมขนาดเล็ก) เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ทันทีเพราะมันเหมือนกอล์ฟมาก มีการบันทึกกติกาการเล่น ‘ฉุยหวาน’ และรายละเอียดของอุปกรณ์ไว้ใน ‘ตำราหวานจิง’ (丸经) ในสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368) แต่จริงๆ แล้วมีการเล่นเกมกีฬานี้มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ (ค.ศ. 960-1127) ว่ากันว่าพัฒนามาจากการเล่น ‘ปู้ต่าฉิว’ (步打球)ในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) ซึ่งเป็นการเดินใช้ไม้ตีลูกบอลเข้าโกล แต่ไม่ได้ขุดเป็นหลุม ในพิพิธภัณฑ์ในพระราชวังต้องห้ามมีแสดงภาพวาดการเล่นฉุยหวานขององค์เซวียนจงแห่งราชวงศ์หมิง มีการวิเคราะห์ว่าทั้งสองพระหัตถ์ทรงถือไม้ แสดงให้เห็นว่าทรงกำลังเลือกอยู่ว่าจะใช้ไม้อันไหนดี มีคนคอยแนะนำอยู่ด้านข้าง มีรูห้ารูปักธงไว้ มีลักษณะเล่นกันเป็นทีม จากบันทึกโบราณ ฉุยหวานเป็นการเล่นกลางแจ้ง ทั้งบนสนามเฉพาะและบนลานพื้นทั่วไปที่อาจไม่เรียบ แต่เอกลักษณ์คือให้ตีลูกหวานที่ทำจากไม้ให้ลงหลุม โดยไม้ตีมีปลายงอ กำหนดให้ตีได้เพียงสามครั้งต่อหนึ่งเกม (สรุปการเล่นในรูปสองด้านล่าง ส่วนด้านบนเป็นรูปลูกหวานโบราณ) การแข่งขันสามารถจัดได้รอบเล็กใหญ่ตามจำนวนผู้ที่เข้าร่วม เล่นได้แบบเป็นทีมและแบบเดี่ยว ลูกหวานจะใช้ลวดลายหรือสีแตกต่างกันไปสำหรับผู้แข่งเพื่อป้องกันความสับสน (ซึ่งดูจะต่างจากในละคร) ตามบันทึกนั้นขั้นตอนการทำไม้ตีก็มีความละเมียดละไม เช่นเก็บเกี่ยวไม้ในฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูหนาว ทิ้งไว้หนึ่งฤดูกาลค่อยเอามาขึ้นรูป ใช้กาวทำจากเจลาตินของวัวเพื่อช่วยประกอบ ฯลฯ ที่ Storyฯ คิดว่าแปลกคือ ใน ‘ตำราหวานจิง’ มีการพูดถึงว่า ไม้ที่สองต้องตีด้วยท่าคุกเข่า (ในละครไม่มี) ซึ่งคล้ายคลึงกับเกม Colf ของชาวดัตช์ในยุคศตวรรษที่ 13 เพียงแต่ Colf เป็นการตีเล่นบทถนน ไม่ได้มีสนามเฉพาะ ว่ากันว่ากอล์ฟ (Golf) พัฒนามาจากเกมคอล์ฟ (Colf) นี่เอง กลับมาที่ฉุยหวาน มันเป็นเกมกีฬาที่เล่นได้ทั้งชายและหญิงในกลุ่มชนชั้นสูง นิยมมากในสมัยหมิง แต่ต่อมาคลายความนิยมลงในสมัยราชวงศ์ชิง กลายเป็นเพียงเกมละเล่นของเด็กและแม่บ้าน ฉุยหวานเป็นต้นกำเนิดของกอล์ฟหรือไม่? ประเด็นนี้ไม่มีการยอมรับอย่างเป็นทางการ เพราะทางฝั่งฝรั่งก็มีการละเล่นที่คล้ายคลึงเหมือนกัน แต่ที่แน่ๆ คือว่า ฉุยหวานดูจะมีมาก่อนการละเล่นพวกนี้ในแถบยุโรปเป็นพันปี (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://new.qq.com/omn/20200422/20200422A0M90Z00.html?pc https://ancientgolf.missionhillschina.com/index_en.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://new.qq.com/omn/20200422/20200422A0M90Z00.html?pc https://baike.baidu.com/item/步打球/192835 https://baike.baidu.com/item/捶丸/3805675 https://www.chinanews.com.cn/cul/2015/07-31/7440448.shtml https://www.sohu.com/a/423834335_120059786 https://www.scottishgolfhistory.org/news/chuiwan/ #ชิวเยียนยอดหญิง #ฉุยหวาน #ฉุยหวัน #กีฬาจีนโบราณ #กีฬาซ่ง #กอล์ฟจีนโบราณ
    腾讯网
    腾讯网从2003年创立至今,已经成为集新闻信息,区域垂直生活服务、社会化媒体资讯和产品为一体的互联网媒体平台。腾讯网下设新闻、科技、财经、娱乐、体育、汽车、时尚等多个频道,充分满足用户对不同类型资讯的需求。同时专注不同领域内容,打造精品栏目,并顺应技术发展趋势,推出网络直播等创新形式,改变了用户获取资讯的方式和习惯。
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 374 มุมมอง 0 รีวิว
  • กลับมาอีกครั้งกับเรื่องราวใน <ตำนานหมิงหลัน> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้จะเห็นว่ามีหลายฉากที่ดำเนินเรื่องผ่านการนั่งเรียนหนังสือของสามสาวตระกูลเสิ้ง ซึ่งพวกนางเข้าเรียนพร้อมพี่ชายในโรงเรียนส่วนบุคคลของครอบครัวสกุลเสิ้ง หรือที่เรียกว่า ‘เจียสู’ (家塾/Family School)

    เจียสูคืออะไร?

    เจียสูมีมาตั้งแต่สมัยชุนชิว (กว่าเจ็ดร้อยปีก่อนคริสตกาล) จวบจนสมัยราชวงศ์ชิงก็ยังมีอยู่ เป็นการจัดห้องเรียนขึ้นที่บ้าน เชิญอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิมาสอน โดยปกติแล้วอาจารย์จะพำนักอยู่ในเรือนตระกูลนั้นเลย มีค่าจ้าง ที่พักและอาหารครบทุกมื้อ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเป็นเฉพาะตระกูลที่มีฐานะ (ปกติเป็นตระกูลขุนนาง) จึงจะมีกำลังทรัพย์พอที่จะทำอย่างนี้ได้

    ในละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นี้ มีฉีเหิงและกู้ถิงเยี่ยซึ่งเป็นบุรุษนอกสกุลมาร่วมเรียนด้วย ในนิยายบอกว่าฉีเหิงมาร่วมเรียนเพราะเป็นศิษย์ของอาจารย์คนนี้อยู่แล้ว ในขณะที่กู้ถิงเยี่ยเป็นญาติของตระกูลเสิ้งจึงมาร่วมเรียนได้ และที่ยอมมาเรียนที่เจียสูของตระกูลเสิ้งที่เป็นขุนนางยศต่ำกว่าครอบครัวของพวกเขาก็เพราะอาจารย์ท่านนี้ดังมาก ปกติไม่รับสอนตามเจียสู แต่ที่มาสอนให้ตระกูลเสิ้งก็เพื่อทดแทนบุญคุณ

    แต่ Storyฯ เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ว่าทำไมพวกเขาทำได้ในเมื่อสตรีตระกูลสูงศักดิ์สมัยโบราณต้องเก็บตัวเงียบอยู่ในเรือนห้ามพบปะผู้ชายนอกสกุล?

    ในบทประพันธ์ <ความฝันในหอแดง> ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนคลาสสิคมีการอธิบายโดยตัวละครเอกไว้ว่า คนในเครือวงศ์ตระกูลที่ไม่มีกำลังทรัพย์จ้างอาจารย์ส่วนตัวก็มาเรียนที่เจียสูได้ หรือหากใครมีญาติที่เป็นนักเรียนอยู่แล้วก็มาเรียนด้วยกันที่เจียสูนี้ได้ ซึ่งการเรียนในเจียสูเป็นการเรียนรวมคละวัยคละเพศชายหญิง

    เนื่องจากลูกหลานฝ่ายชายมีเป้าหมายคือลงสนามสอบราชบัณฑิตด้วย ดังนั้นหลักสูตรที่สอนจะเข้มข้นมาก แล้วเขาเรียนอะไร? หลักสูตรทั่วไปคือ ‘ซื่อซู อู่จิง’ (四书五经 / Four Books and Five Classics / สี่หนังสือห้าคัมภีร์) ซึ่ง ‘สี่หนังสือ’ นี้คือหนังสือว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อ ส่วน ‘ห้าคัมภีร์’ นั้นหมายถึง
    - ซือจิง (บทกวีและบทร้อยกรอง)
    - ซูจิง (บทความและประวัติศาสตร์)
    - อี้จิง (โหราศาสตร์)
    - ชุนชิว (บันทึกเหตุการณ์สำคัญและพงศาวดาร)
    - หลี่จี้ (พิธีกรรมและประเพณี)

    เจียสูเป็นหนึ่งในรูปแบบของการเรียนเอกชน นอกจากเจียสูนี้ เอกชนยังมีการลงขันเปิดเป็นโรงเรียนกันในหมู่บ้าน (เรียกว่า ชุนสู/村塾) หรืออาจมีเจ้าภาพที่ได้รับเงินบริจาคจัดตั้งเป็นโรงเรียนขึ้น (เรียกว่า อี้สู/义塾) หรืออาจเป็นตัวอาจารย์เองเปิดสอนหนังสือโดยเรียกเก็บค่าเล่าเรียนจากนักเรียน

    สตรีจีนโบราณไม่มีโอกาสได้เรียนในสำนักศึกษาหลวง และส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องจรรยาของสตรี โคลงกลอนและการดนตรี หากไม่ได้เรียนตามโรงเรียนเอกชนที่กล่าวมาข้างต้นก็จะเรียนกันที่บ้านตามมีตามเกิดหรือไม่ได้เรียน นอกจากนี้ ยังมีที่ศึกษาเองในระหว่างที่ออกบวชเป็นชี หรืออีกสุดขั้วหนึ่งคือการเรียนในหอนางโลมสำหรับนางโลมที่ต้องมีวิชาความรู้ติดตัวเพื่อทำมาหากิน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://kknews.cc/zh-my/entertainment/4k6q6zg.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.fxjyb.com/xiandai/276.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/77983438
    https://m.lunwendata.com/show.php?id=34312
    https://kknews.cc/history/pvkjmzj.html
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e3ce1325253f66e731416fc1
    http://old-book.ru.ac.th/e-book/e/EF206(49)/EF206(49)-5.pdf
    #หมิงหลัน #การเรียนเอกชนจีนโบราณ #การเรียนสตรีจีนโบราณ #สี่หนังสือห้าคัมภีร์ #เจียสู
    กลับมาอีกครั้งกับเรื่องราวใน <ตำนานหมิงหลัน> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้จะเห็นว่ามีหลายฉากที่ดำเนินเรื่องผ่านการนั่งเรียนหนังสือของสามสาวตระกูลเสิ้ง ซึ่งพวกนางเข้าเรียนพร้อมพี่ชายในโรงเรียนส่วนบุคคลของครอบครัวสกุลเสิ้ง หรือที่เรียกว่า ‘เจียสู’ (家塾/Family School) เจียสูคืออะไร? เจียสูมีมาตั้งแต่สมัยชุนชิว (กว่าเจ็ดร้อยปีก่อนคริสตกาล) จวบจนสมัยราชวงศ์ชิงก็ยังมีอยู่ เป็นการจัดห้องเรียนขึ้นที่บ้าน เชิญอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิมาสอน โดยปกติแล้วอาจารย์จะพำนักอยู่ในเรือนตระกูลนั้นเลย มีค่าจ้าง ที่พักและอาหารครบทุกมื้อ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเป็นเฉพาะตระกูลที่มีฐานะ (ปกติเป็นตระกูลขุนนาง) จึงจะมีกำลังทรัพย์พอที่จะทำอย่างนี้ได้ ในละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นี้ มีฉีเหิงและกู้ถิงเยี่ยซึ่งเป็นบุรุษนอกสกุลมาร่วมเรียนด้วย ในนิยายบอกว่าฉีเหิงมาร่วมเรียนเพราะเป็นศิษย์ของอาจารย์คนนี้อยู่แล้ว ในขณะที่กู้ถิงเยี่ยเป็นญาติของตระกูลเสิ้งจึงมาร่วมเรียนได้ และที่ยอมมาเรียนที่เจียสูของตระกูลเสิ้งที่เป็นขุนนางยศต่ำกว่าครอบครัวของพวกเขาก็เพราะอาจารย์ท่านนี้ดังมาก ปกติไม่รับสอนตามเจียสู แต่ที่มาสอนให้ตระกูลเสิ้งก็เพื่อทดแทนบุญคุณ แต่ Storyฯ เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ว่าทำไมพวกเขาทำได้ในเมื่อสตรีตระกูลสูงศักดิ์สมัยโบราณต้องเก็บตัวเงียบอยู่ในเรือนห้ามพบปะผู้ชายนอกสกุล? ในบทประพันธ์ <ความฝันในหอแดง> ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนคลาสสิคมีการอธิบายโดยตัวละครเอกไว้ว่า คนในเครือวงศ์ตระกูลที่ไม่มีกำลังทรัพย์จ้างอาจารย์ส่วนตัวก็มาเรียนที่เจียสูได้ หรือหากใครมีญาติที่เป็นนักเรียนอยู่แล้วก็มาเรียนด้วยกันที่เจียสูนี้ได้ ซึ่งการเรียนในเจียสูเป็นการเรียนรวมคละวัยคละเพศชายหญิง เนื่องจากลูกหลานฝ่ายชายมีเป้าหมายคือลงสนามสอบราชบัณฑิตด้วย ดังนั้นหลักสูตรที่สอนจะเข้มข้นมาก แล้วเขาเรียนอะไร? หลักสูตรทั่วไปคือ ‘ซื่อซู อู่จิง’ (四书五经 / Four Books and Five Classics / สี่หนังสือห้าคัมภีร์) ซึ่ง ‘สี่หนังสือ’ นี้คือหนังสือว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อ ส่วน ‘ห้าคัมภีร์’ นั้นหมายถึง - ซือจิง (บทกวีและบทร้อยกรอง) - ซูจิง (บทความและประวัติศาสตร์) - อี้จิง (โหราศาสตร์) - ชุนชิว (บันทึกเหตุการณ์สำคัญและพงศาวดาร) - หลี่จี้ (พิธีกรรมและประเพณี) เจียสูเป็นหนึ่งในรูปแบบของการเรียนเอกชน นอกจากเจียสูนี้ เอกชนยังมีการลงขันเปิดเป็นโรงเรียนกันในหมู่บ้าน (เรียกว่า ชุนสู/村塾) หรืออาจมีเจ้าภาพที่ได้รับเงินบริจาคจัดตั้งเป็นโรงเรียนขึ้น (เรียกว่า อี้สู/义塾) หรืออาจเป็นตัวอาจารย์เองเปิดสอนหนังสือโดยเรียกเก็บค่าเล่าเรียนจากนักเรียน สตรีจีนโบราณไม่มีโอกาสได้เรียนในสำนักศึกษาหลวง และส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องจรรยาของสตรี โคลงกลอนและการดนตรี หากไม่ได้เรียนตามโรงเรียนเอกชนที่กล่าวมาข้างต้นก็จะเรียนกันที่บ้านตามมีตามเกิดหรือไม่ได้เรียน นอกจากนี้ ยังมีที่ศึกษาเองในระหว่างที่ออกบวชเป็นชี หรืออีกสุดขั้วหนึ่งคือการเรียนในหอนางโลมสำหรับนางโลมที่ต้องมีวิชาความรู้ติดตัวเพื่อทำมาหากิน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://kknews.cc/zh-my/entertainment/4k6q6zg.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.fxjyb.com/xiandai/276.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/77983438 https://m.lunwendata.com/show.php?id=34312 https://kknews.cc/history/pvkjmzj.html https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e3ce1325253f66e731416fc1 http://old-book.ru.ac.th/e-book/e/EF206(49)/EF206(49)-5.pdf #หมิงหลัน #การเรียนเอกชนจีนโบราณ #การเรียนสตรีจีนโบราณ #สี่หนังสือห้าคัมภีร์ #เจียสู
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 440 มุมมอง 0 รีวิว
  • Storyฯ เพิ่งได้มีโอกาสดูละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ซึ่งเป็นเรื่องราวสมัยราชวงศ์หมิง สิ่งที่สะดุดตามากคือท่าทำความเคารพ รู้สึกว่าทำออกมาได้ดีมากในหลายฉาก วันนี้เลยมาคุยให้ฟังกันสั้นๆ

    ฉากที่สะดุดตา Storyฯ มากคือฉากพิธีกราบไหว้ฟ้าดินของพระเอกนางเอก ลักษณะการคำนับคือยกมือขึ้นประสานทับกันระดับหน้าอกโดยฝ่ามือหันเข้าหาตัว จากนั้นดันมือออกไปให้ห่างตัวพร้อมกับค้อมตัวลง (ดูรูปประกอบ)

    การโค้งคำนับแบบนี้มีชื่อเรียกค่ะ คือ ‘จั๊วอี๊’ (作揖)

    จั๊วอี๊เป็นการคำนับอย่างเป็นทางการโดยไม่คุกเข่าลง ด้วยการยกมือขึ้นแบบที่กล่าวมาข้างต้น (อาจวางมือทาบซ้อนกันหรือกุมมือก็ได้) หากเป็นชายจะเป็นมือซ้ายทับมือขวา และหากเป็นหญิงจะเป็นขวาทับซ้าย (สังเกตเปรียบเทียบได้จากรูป) จากนั้นก้มหลังตรงจากเอวลงมาพร้อมกับดันมือออกไปข้างหน้าเล็กน้อย

    ในบันทึกทางพิธีการสมัยราชวงศ์โจว (1050-256 ปีก่อนคริสตกาล) มีการจำแนกจั๊วอี๊ออกเป็นอีกหลายลักษณะ คือ
    - ‘ถู่อี๊’ (土揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) แล้วมือโน้มลงต่ำเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่มีอาวุโสน้อยกว่าหรือศักดิ์ด้อยกว่า;
    - ‘สืออี๊’(時揖) คือการโค้งต่ำ (ประมาณ 60 องศา) โดยที่ระดับมือยังอยู่ที่หน้าอก เป็นการเคารพคนที่อาวุโสกว่า;
    - ‘เทียนอี๊’(天揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) และมือยกขึ้นสูงเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่เสมอศักดิ์;
    - ‘เท่ออี๊’ (特揖) คือคำนับอีกฝ่ายทีละคนแทนที่จะคำนับครั้งเดียวต่อคนทั้งกลุ่ม;
    - ‘หลี่ว์อี๊’(旅揖) คือคำนับในแบบที่แตกต่างกันตามศักดิ์ของฝ่ายตรงข้าม;
    - ‘ผางซานอี๊’(旁三揖) คือการคำนับสามครั้งต่อคนทั้งกลุ่ม; และ
    - ‘ฉางอี๊’ (长揖) คือการคำนับแบบโค้งตัวลงต่ำมาก มือยืดออกไปมากขึ้นและยกขึ้นสูง เป็นการเคารพแบบสูงสุดของการทำจั๊วอี๊ แต่ยังเทียบไม่ได้กับการคุกเข่าคำนับ จึงมีวลีที่ว่า ‘ฉางอี๊ปู๋ไป้’ (长揖不拜) อันหมายถึงการแสดงความทะนงตนด้วยการเคารพนอบน้อมแต่ไม่ยอมคุกเข่าให้

    แต่ในกรณีที่เป็นการทำความเคารพในงานศพจะสลับมือกัน คือเป็นขวาทับซ้ายสำหรับชาย และซ้ายทับขวาสำหรับหญิงแทน

    จริงๆ แล้วตามบันทึกและภาพวาดทางประวัติศาสตร์กลับไม่ค่อยปรากฏสตรีมีการทำจั๊วอี๊สักเท่าไหร่ โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังลงมา แล้วผู้หญิงเขาทำความเคารพอย่างไร? ในละครเรื่องเดียวกันจะเห็นผู้หญิงกำมือวางซ้อนกัน (ขวาบนซ้ายล่าง) อยู่ระดับเอวแล้วย่อตัวลงเล็กน้อย (ดูรูปประกอบ) ท่านี้เรียกว่า ‘ว่านฝู’ (万福) ซึ่งใช้ปกติทั่วไปในยุคสมัยหมิงยกเว้นกรณีที่เป็นทางการอย่างยิ่ง อย่างเช่นในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่นางเอกทำจั๊วอี๊ในพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน

    ทั้งจั๊วอี๊และว่านฝูที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการทำความเคารพแบบของชาวจีนเชื้อสายฮั่น ไม่ใช่แมนจู ดังนั้นเพื่อนเพจที่ดูละครสมัยราชวงศ์ชิงจะไม่เห็นท่าทำความเคารพแบบนี้แม้ว่าในสมัยชิงจะมีท่าทำความเคารพที่เรียกว่าว่านฝูเหมือนกัน

    เขียนเพิ่มเมื่อวันที่ 11/6: ท่าทำความเคารพของจั๊วอี๊ที่ถูกต้องคือประสานมือก่อนแล้วค่อยดันมือออกไป (เหมือนที่ Storyฯ ได้บรรยายภาพที่เห็นในละครนะคะ ไม่ใช่กางแขนออกแล้วประสานไว้ไกลๆ เป็นวงใหญ่) อันนี้เป็นนัยว่าเรากำลังยื่นมือออกไปเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายเปิดใจกับเราและเรากำลังเปิดใจให้กับเขา

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/l5nNxB
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.hk/item/%E4%BD%9C%E6%8F%96/6203317
    https://kknews.cc/history/4lyoojx.html
    https://new.qq.com/omn/20190803/20190803A08S2B00.html
    https://www.newton.com.tw/wiki/%E4%BD%9C%E6%8F%96

    #จั๊วอี๊ #จัวอี #การคำนับแบบจีน #ว่านฝู #ราชวงศ์หมิง
    Storyฯ เพิ่งได้มีโอกาสดูละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ซึ่งเป็นเรื่องราวสมัยราชวงศ์หมิง สิ่งที่สะดุดตามากคือท่าทำความเคารพ รู้สึกว่าทำออกมาได้ดีมากในหลายฉาก วันนี้เลยมาคุยให้ฟังกันสั้นๆ ฉากที่สะดุดตา Storyฯ มากคือฉากพิธีกราบไหว้ฟ้าดินของพระเอกนางเอก ลักษณะการคำนับคือยกมือขึ้นประสานทับกันระดับหน้าอกโดยฝ่ามือหันเข้าหาตัว จากนั้นดันมือออกไปให้ห่างตัวพร้อมกับค้อมตัวลง (ดูรูปประกอบ) การโค้งคำนับแบบนี้มีชื่อเรียกค่ะ คือ ‘จั๊วอี๊’ (作揖) จั๊วอี๊เป็นการคำนับอย่างเป็นทางการโดยไม่คุกเข่าลง ด้วยการยกมือขึ้นแบบที่กล่าวมาข้างต้น (อาจวางมือทาบซ้อนกันหรือกุมมือก็ได้) หากเป็นชายจะเป็นมือซ้ายทับมือขวา และหากเป็นหญิงจะเป็นขวาทับซ้าย (สังเกตเปรียบเทียบได้จากรูป) จากนั้นก้มหลังตรงจากเอวลงมาพร้อมกับดันมือออกไปข้างหน้าเล็กน้อย ในบันทึกทางพิธีการสมัยราชวงศ์โจว (1050-256 ปีก่อนคริสตกาล) มีการจำแนกจั๊วอี๊ออกเป็นอีกหลายลักษณะ คือ - ‘ถู่อี๊’ (土揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) แล้วมือโน้มลงต่ำเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่มีอาวุโสน้อยกว่าหรือศักดิ์ด้อยกว่า; - ‘สืออี๊’(時揖) คือการโค้งต่ำ (ประมาณ 60 องศา) โดยที่ระดับมือยังอยู่ที่หน้าอก เป็นการเคารพคนที่อาวุโสกว่า; - ‘เทียนอี๊’(天揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) และมือยกขึ้นสูงเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่เสมอศักดิ์; - ‘เท่ออี๊’ (特揖) คือคำนับอีกฝ่ายทีละคนแทนที่จะคำนับครั้งเดียวต่อคนทั้งกลุ่ม; - ‘หลี่ว์อี๊’(旅揖) คือคำนับในแบบที่แตกต่างกันตามศักดิ์ของฝ่ายตรงข้าม; - ‘ผางซานอี๊’(旁三揖) คือการคำนับสามครั้งต่อคนทั้งกลุ่ม; และ - ‘ฉางอี๊’ (长揖) คือการคำนับแบบโค้งตัวลงต่ำมาก มือยืดออกไปมากขึ้นและยกขึ้นสูง เป็นการเคารพแบบสูงสุดของการทำจั๊วอี๊ แต่ยังเทียบไม่ได้กับการคุกเข่าคำนับ จึงมีวลีที่ว่า ‘ฉางอี๊ปู๋ไป้’ (长揖不拜) อันหมายถึงการแสดงความทะนงตนด้วยการเคารพนอบน้อมแต่ไม่ยอมคุกเข่าให้ แต่ในกรณีที่เป็นการทำความเคารพในงานศพจะสลับมือกัน คือเป็นขวาทับซ้ายสำหรับชาย และซ้ายทับขวาสำหรับหญิงแทน จริงๆ แล้วตามบันทึกและภาพวาดทางประวัติศาสตร์กลับไม่ค่อยปรากฏสตรีมีการทำจั๊วอี๊สักเท่าไหร่ โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังลงมา แล้วผู้หญิงเขาทำความเคารพอย่างไร? ในละครเรื่องเดียวกันจะเห็นผู้หญิงกำมือวางซ้อนกัน (ขวาบนซ้ายล่าง) อยู่ระดับเอวแล้วย่อตัวลงเล็กน้อย (ดูรูปประกอบ) ท่านี้เรียกว่า ‘ว่านฝู’ (万福) ซึ่งใช้ปกติทั่วไปในยุคสมัยหมิงยกเว้นกรณีที่เป็นทางการอย่างยิ่ง อย่างเช่นในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่นางเอกทำจั๊วอี๊ในพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน ทั้งจั๊วอี๊และว่านฝูที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการทำความเคารพแบบของชาวจีนเชื้อสายฮั่น ไม่ใช่แมนจู ดังนั้นเพื่อนเพจที่ดูละครสมัยราชวงศ์ชิงจะไม่เห็นท่าทำความเคารพแบบนี้แม้ว่าในสมัยชิงจะมีท่าทำความเคารพที่เรียกว่าว่านฝูเหมือนกัน เขียนเพิ่มเมื่อวันที่ 11/6: ท่าทำความเคารพของจั๊วอี๊ที่ถูกต้องคือประสานมือก่อนแล้วค่อยดันมือออกไป (เหมือนที่ Storyฯ ได้บรรยายภาพที่เห็นในละครนะคะ ไม่ใช่กางแขนออกแล้วประสานไว้ไกลๆ เป็นวงใหญ่) อันนี้เป็นนัยว่าเรากำลังยื่นมือออกไปเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายเปิดใจกับเราและเรากำลังเปิดใจให้กับเขา (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/l5nNxB Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.hk/item/%E4%BD%9C%E6%8F%96/6203317 https://kknews.cc/history/4lyoojx.html https://new.qq.com/omn/20190803/20190803A08S2B00.html https://www.newton.com.tw/wiki/%E4%BD%9C%E6%8F%96 #จั๊วอี๊ #จัวอี #การคำนับแบบจีน #ว่านฝู #ราชวงศ์หมิง
    TODAY.LINE.ME
    鍾漢良、譚松韻《錦心似玉》開播倒數,「庶女逆襲」超勵志,老夫少妻寵溺甜炸! | Bella儂儂 | LINE TODAY
    2020年許多陸劇都已就定位,目前正被排在待播的佇列,最近由鍾漢良、譚松韻主演的《錦心似玉》就已經邁入開播倒數,不過男主角從原本的宋威龍換角成鍾漢良,與女主角譚松韻配對卻被大家吐槽沒有CP感?大家就來看看這部戲還有什麼精彩亮點吧! 延伸閱讀:2020網友熱議6部陸劇推薦!甜寵神劇、懸疑推理、都市溫馨,每部讓人想一看再看 「庶女逆襲」劇情設定 source:#锦心似玉#-weibo 《錦心似玉》改編自紅遍中國網路的吱吱小說《庶女攻略》,「庶女逆襲」的安排,與唐嫣主演的《錦繡未央》、趙麗穎的《知否知否應是綠肥紅瘦》,劇情設定相同,女主角不再是天真無害的甜白傻,而是一步一步晉級打怪的「庶女逆襲」
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 389 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้วเปรียบเทียบสิทธิของภรรยาเอกและอนุภรรยาโดยยกตัวอย่างจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> วันนี้มาคุยกันต่อว่าจีนโบราณแบ่งแยกเมียหลวงและเมียน้อยเป็นกี่ประเภท

    ก่อนอื่น พูดกันถึงภรรยาเอก ตามที่ Storyฯ เล่าไปสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนสมัยราชวงศ์ชิงนั้น กฎหมายกำหนดให้มีภรรยาเอกได้คนเดียว และจำนวนอนุภรรยานั้นเป็นไปตามบรรดาศักดิ์ของผู้ชาย ภรรยาเอกนี้มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น เจิ้งชี (ภรรยาหลัก) เจี๋ยฟ่าชี (ภรรยาผูกปมผม) หยวนเพ่ยชี (ภรรยาดั้งเดิม) เจิ้งฝาง (ห้องหลัก) ฯลฯ หากภรรยาเอกเสียชีวิตไปแล้วจึงจะสามารถแต่งภรรยาเอกเข้ามาใหม่ได้อีกคน ภรรยาทดแทนคนนี้เรียกว่า ‘จี้ซื่อ’ (继室 แปลตรงตัวว่า สืบทอด+ห้อง) ตามธรรมเนียมแล้ว คนที่กราบไหว้ฟ้าดินด้วยกันมีเพียงภรรยาเอกเท่านั้น

    ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงมีธรรมเนียมที่ว่า หากบ้านใดไม่มีบุตรชายสืบสกุล สามารถให้หลาน (ลูกของลุงหรือน้า สกุลเดียวกัน) มาเป็นทายาทสืบสกุลตามกฎหมายได้ ดังนั้นเขามีหน้าที่สืบสกุลให้กับสองบ้านและสามารถแต่งภรรยาเอกได้สองคน เรียกว่า ‘เจี๊ยนเที้ยว’ (兼祧) และภรรยาเอกทั้งสองคนจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน

    นอกจากกรณีข้างต้นแล้ว เมียอื่นๆ จัดเป็นเมียน้อยหมด และจัดกลุ่มได้ตามนี้
    1. กลุ่มที่หนึ่งเป็นญาติพี่น้องของภรรยาเอกที่ถูกเลือกให้ติดตามไปกับเจ้าสาวตอนแต่งเข้าไปเรือนฝ่ายชาย (หมายเหตุ คนที่ตามเจ้าสาวมาอยู่บ้านฝ่ายชายทั้งหมดเรียกว่า เผยเจี้ย /陪嫁 ซึ่งรวมถึงบ่าวไพร่) แต่เป็นกรณีที่เจ้าสาวมาจากตระกูลสูงศักดิ์ ดังนั้นอนุภรรยากลุ่มนี้จะมีสถานะสูงกว่าอนุภรรยาอื่นๆ สามารถเข้าร่วมรับประทานอาหารหรืองานเลี้ยงกับสามีได้ และอาจถูกบันทึกชื่อเข้าไปในหนังสือตระกูลของฝ่ายชายได้เพราะนางมาจากตระกูลที่สูงศักดิ์มากเช่นกัน และโดยปกติฝ่ายชายมักยกระดับขึ้นเป็นภรรยาเอกได้เมื่อภรรยาเอกคนเดิมเสียชีวิตไป ในกลุ่มนี้จำแนกได้เป็นอีกสี่แบบ (เรียงจากสูงศักดิ์ที่สุดไปต่ำ) คือ
    a. อิ้ง (媵) หรือ อิ้งเฉี้ย – เป็นพี่สาวหรือน้องสาวที่เกิดจากพ่อคนเดียวกันกับเจ้าสาว แต่เจ้าสาวมีแม่เป็นภรรยาเอกในขณะที่พี่หรือน้องสาวที่แต่งตามไปจะเกิดจากอนุภรรยาของพ่อ
    b. เช่อซึ (侧室 แปลตรงตัวว่าห้องข้าง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เช่อซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของพ่อ (ถือนามสกุลเดียวกันกับเจ้าสาว)
    c. ฟู่ซึ (副室 แปลตรงตัวว่าห้องรอง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า ฟู่ซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของแม่ (ถือนามสกุลเดิมของแม่เจ้าสาว)
    d. เพียนซึ (偏室 แปลตรงตัวว่าห้องเบี่ยง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เพียนซึ เป็นลูกจากอนุภรรยาในตระกูลเดิมของแม่ ใช้นามสกุลเดียวกับแม่ มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าสาวแต่จริงๆ แล้วไม่มีความเกี่ยวพันทางสายเลือดกับเจ้าสาวเลย
    2. กลุ่มที่สองคือ เฉี้ย (妾) หรือ เพียนฝาง (偏房) คืออนุภรรยาทั่วไปที่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับภรรยาเอก แบ่งเป็นระดับได้อีก คือ
    a. กุ้ยเฉี้ย (贵妾) เป็นอนุที่มาจากตระกูลใหญ่หรือตระกูลขุนนางแต่อาจเป็นลูกที่เกิดจากอนุภรรยาในตระกูลนั้นๆ หากฝ่ายชายเป็นบุตรจากภรรยาเอกในตระกูลสูงศักดิ์ โดยปกตินางผู้เป็นลูกอนุจะไม่มีคุณสมบัติพอที่จะนั่งตำแหน่งภรรยาเอกของเขาได้
    b. เหลียงเฉี้ย (良妾) เป็นอนุที่มาจากครอบครัวชาวบ้านทั่วไป เช่น ครอบครัวค้าขายหรือชาวไร่ชาวสวน ระดับความรู้การศึกษาก็จะแตกต่างกันไป
    c. เจี้ยนเฉี้ย (贱妾) เป็นอนุที่มีชาติตระกูลหรือสถานะที่ต่ำต้อยมาก เช่น นางรำ นางคณิกา นักแสดงละคร ฯลฯ พวกนี้ส่วนใหญ่อ่านเขียนได้และมีวิชาศิลปะติดตัว
    d. เผยฝาง (陪房) หมายถึงสาวใช้ของภรรยาเอกที่ติดตามมาเป็นเผยเจี้ยและช่วยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงให้ฝ่ายชายตามคำสั่งของภรรยาเอก โดยปกติชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดีเพราะภรรยาเอกจะส่งเสริมเพื่อให้ช่วยมัดใจสามีโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีพิษมีภัยเพราะเอกสารสำหรับสัญญาซื้อขายสาวใช้คนนี้จะอยู่ในมือของภรรยาเอกเอง
    e. ซื่อเฉี้ย (侍妾) หมายถึงสาวใช้ในบ้านฝ่ายชายที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแล้วถูกยกขึ้นเป็นอนุ
    f. ปี้เฉี้ย (婢妾) หมายถึงลูกของนักโทษทางการที่ถูกซื้อเข้ามาเป็นทาสในบ้านและยกขึ้นเป็นอนุ
    3. กลุ่มสุดท้ายไม่นับเป็นอนุภรรยา เป็นช่องทางที่ฝ่ายชายใช้ระบายความใคร่ได้อย่างไม่ต้องกลัวผิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องจำนวนอนุภรรยา แบ่งได้อีกเป็น
    a. ทงฝาง (通房) คือสาวใช้ในเรือนที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแต่ไม่ได้รับการยกขึ้นเป็นอนุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาวใช้ที่ถูกคัดเลือกมาเพื่อ ‘เปิดประสบการณ์’ ให้แก่คุณชายในตระกูลใหญ่ที่กำลังโตขึ้นเป็นหนุ่ม
    b. ไว่ซึ (外室) หมายถึงเมียเก็บนอกบ้าน ชีวิตความเป็นอยู่อาจจะดีเพราะฝ่ายชายอาจซื้อบ้านให้อยู่มีคนคอยรับใช้ ไม่ต้องมาคอยปรนนิบัติแม่สามีหรือเมียหลวง และไม่โดนโขกสับ แต่ก็คือไม่ได้ถูกรับรองเป็นอนุภรรยา บุตรที่เกิดมาก็ไม่ถูกยอมรับว่าเป็นลูกหลานของตระกูลฝ่ายชาย

    เป็นอย่างไรคะ? ซับซ้อนและแบ่งแยกไว้ละเอียดกว่าที่คิดใช่ไหม? ทีนี้เพื่อนเพจคงเข้าใจในบริบทแล้วว่า ทำไมเป็นอนุภรรยาเหมือนกันยังสามารถข่มกันได้ และทำไมการยกอนุภรรยาขึ้นเป็นภรรยาเอกหลังจากคนเดิมเสียไปจึงเป็นเรื่องที่ยาก เพราะไม่ใช่อนุภรรยาทุกประเภทมีความพร้อมทางชาติตระกูลและการศึกษาที่จะมาปกครองเป็นนายหญิงของบ้านได้

    Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าละครหรือนิยายแปลมีการแบ่งแยกในรายละเอียดหรือไม่ หากมีใครเคยผ่านหูผ่านตาก็บอกกล่าวกันได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802
    https://kknews.cc/zh-cn/entertainment/x48b2bg.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://new.qq.com/rain/a/20200223A0A37000
    http://m.qulishi.com//article/201905/335331.html
    https://www.sohu.com/a/251827031_100152441

    #ร้อยรักปักดวงใจ #อนุภรรยา #ภรรยาเอก #หยวนเพ่ย #ภรรยาผูกปมผม #เจิ้งฝาง #จี้ซื่อ #จี้สื้อ #เชี่ยซื่อ #เชี่ยสื้อ #เฉี้ย #อิ้งเฉี้ย #เช่อซึ #ฟู่ซึ #เพียนซึ #เพียนฝาง #กุ้ยเฉี้ย #เหลียงเฉี้ย #เจี้ยนเฉี้ย #ปี้เฉี้ย #ทงฝาง #ไว่ซึ
    สัปดาห์ที่แล้วเปรียบเทียบสิทธิของภรรยาเอกและอนุภรรยาโดยยกตัวอย่างจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> วันนี้มาคุยกันต่อว่าจีนโบราณแบ่งแยกเมียหลวงและเมียน้อยเป็นกี่ประเภท ก่อนอื่น พูดกันถึงภรรยาเอก ตามที่ Storyฯ เล่าไปสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนสมัยราชวงศ์ชิงนั้น กฎหมายกำหนดให้มีภรรยาเอกได้คนเดียว และจำนวนอนุภรรยานั้นเป็นไปตามบรรดาศักดิ์ของผู้ชาย ภรรยาเอกนี้มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น เจิ้งชี (ภรรยาหลัก) เจี๋ยฟ่าชี (ภรรยาผูกปมผม) หยวนเพ่ยชี (ภรรยาดั้งเดิม) เจิ้งฝาง (ห้องหลัก) ฯลฯ หากภรรยาเอกเสียชีวิตไปแล้วจึงจะสามารถแต่งภรรยาเอกเข้ามาใหม่ได้อีกคน ภรรยาทดแทนคนนี้เรียกว่า ‘จี้ซื่อ’ (继室 แปลตรงตัวว่า สืบทอด+ห้อง) ตามธรรมเนียมแล้ว คนที่กราบไหว้ฟ้าดินด้วยกันมีเพียงภรรยาเอกเท่านั้น ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงมีธรรมเนียมที่ว่า หากบ้านใดไม่มีบุตรชายสืบสกุล สามารถให้หลาน (ลูกของลุงหรือน้า สกุลเดียวกัน) มาเป็นทายาทสืบสกุลตามกฎหมายได้ ดังนั้นเขามีหน้าที่สืบสกุลให้กับสองบ้านและสามารถแต่งภรรยาเอกได้สองคน เรียกว่า ‘เจี๊ยนเที้ยว’ (兼祧) และภรรยาเอกทั้งสองคนจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน นอกจากกรณีข้างต้นแล้ว เมียอื่นๆ จัดเป็นเมียน้อยหมด และจัดกลุ่มได้ตามนี้ 1. กลุ่มที่หนึ่งเป็นญาติพี่น้องของภรรยาเอกที่ถูกเลือกให้ติดตามไปกับเจ้าสาวตอนแต่งเข้าไปเรือนฝ่ายชาย (หมายเหตุ คนที่ตามเจ้าสาวมาอยู่บ้านฝ่ายชายทั้งหมดเรียกว่า เผยเจี้ย /陪嫁 ซึ่งรวมถึงบ่าวไพร่) แต่เป็นกรณีที่เจ้าสาวมาจากตระกูลสูงศักดิ์ ดังนั้นอนุภรรยากลุ่มนี้จะมีสถานะสูงกว่าอนุภรรยาอื่นๆ สามารถเข้าร่วมรับประทานอาหารหรืองานเลี้ยงกับสามีได้ และอาจถูกบันทึกชื่อเข้าไปในหนังสือตระกูลของฝ่ายชายได้เพราะนางมาจากตระกูลที่สูงศักดิ์มากเช่นกัน และโดยปกติฝ่ายชายมักยกระดับขึ้นเป็นภรรยาเอกได้เมื่อภรรยาเอกคนเดิมเสียชีวิตไป ในกลุ่มนี้จำแนกได้เป็นอีกสี่แบบ (เรียงจากสูงศักดิ์ที่สุดไปต่ำ) คือ a. อิ้ง (媵) หรือ อิ้งเฉี้ย – เป็นพี่สาวหรือน้องสาวที่เกิดจากพ่อคนเดียวกันกับเจ้าสาว แต่เจ้าสาวมีแม่เป็นภรรยาเอกในขณะที่พี่หรือน้องสาวที่แต่งตามไปจะเกิดจากอนุภรรยาของพ่อ b. เช่อซึ (侧室 แปลตรงตัวว่าห้องข้าง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เช่อซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของพ่อ (ถือนามสกุลเดียวกันกับเจ้าสาว) c. ฟู่ซึ (副室 แปลตรงตัวว่าห้องรอง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า ฟู่ซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของแม่ (ถือนามสกุลเดิมของแม่เจ้าสาว) d. เพียนซึ (偏室 แปลตรงตัวว่าห้องเบี่ยง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เพียนซึ เป็นลูกจากอนุภรรยาในตระกูลเดิมของแม่ ใช้นามสกุลเดียวกับแม่ มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าสาวแต่จริงๆ แล้วไม่มีความเกี่ยวพันทางสายเลือดกับเจ้าสาวเลย 2. กลุ่มที่สองคือ เฉี้ย (妾) หรือ เพียนฝาง (偏房) คืออนุภรรยาทั่วไปที่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับภรรยาเอก แบ่งเป็นระดับได้อีก คือ a. กุ้ยเฉี้ย (贵妾) เป็นอนุที่มาจากตระกูลใหญ่หรือตระกูลขุนนางแต่อาจเป็นลูกที่เกิดจากอนุภรรยาในตระกูลนั้นๆ หากฝ่ายชายเป็นบุตรจากภรรยาเอกในตระกูลสูงศักดิ์ โดยปกตินางผู้เป็นลูกอนุจะไม่มีคุณสมบัติพอที่จะนั่งตำแหน่งภรรยาเอกของเขาได้ b. เหลียงเฉี้ย (良妾) เป็นอนุที่มาจากครอบครัวชาวบ้านทั่วไป เช่น ครอบครัวค้าขายหรือชาวไร่ชาวสวน ระดับความรู้การศึกษาก็จะแตกต่างกันไป c. เจี้ยนเฉี้ย (贱妾) เป็นอนุที่มีชาติตระกูลหรือสถานะที่ต่ำต้อยมาก เช่น นางรำ นางคณิกา นักแสดงละคร ฯลฯ พวกนี้ส่วนใหญ่อ่านเขียนได้และมีวิชาศิลปะติดตัว d. เผยฝาง (陪房) หมายถึงสาวใช้ของภรรยาเอกที่ติดตามมาเป็นเผยเจี้ยและช่วยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงให้ฝ่ายชายตามคำสั่งของภรรยาเอก โดยปกติชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดีเพราะภรรยาเอกจะส่งเสริมเพื่อให้ช่วยมัดใจสามีโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีพิษมีภัยเพราะเอกสารสำหรับสัญญาซื้อขายสาวใช้คนนี้จะอยู่ในมือของภรรยาเอกเอง e. ซื่อเฉี้ย (侍妾) หมายถึงสาวใช้ในบ้านฝ่ายชายที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแล้วถูกยกขึ้นเป็นอนุ f. ปี้เฉี้ย (婢妾) หมายถึงลูกของนักโทษทางการที่ถูกซื้อเข้ามาเป็นทาสในบ้านและยกขึ้นเป็นอนุ 3. กลุ่มสุดท้ายไม่นับเป็นอนุภรรยา เป็นช่องทางที่ฝ่ายชายใช้ระบายความใคร่ได้อย่างไม่ต้องกลัวผิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องจำนวนอนุภรรยา แบ่งได้อีกเป็น a. ทงฝาง (通房) คือสาวใช้ในเรือนที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแต่ไม่ได้รับการยกขึ้นเป็นอนุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาวใช้ที่ถูกคัดเลือกมาเพื่อ ‘เปิดประสบการณ์’ ให้แก่คุณชายในตระกูลใหญ่ที่กำลังโตขึ้นเป็นหนุ่ม b. ไว่ซึ (外室) หมายถึงเมียเก็บนอกบ้าน ชีวิตความเป็นอยู่อาจจะดีเพราะฝ่ายชายอาจซื้อบ้านให้อยู่มีคนคอยรับใช้ ไม่ต้องมาคอยปรนนิบัติแม่สามีหรือเมียหลวง และไม่โดนโขกสับ แต่ก็คือไม่ได้ถูกรับรองเป็นอนุภรรยา บุตรที่เกิดมาก็ไม่ถูกยอมรับว่าเป็นลูกหลานของตระกูลฝ่ายชาย เป็นอย่างไรคะ? ซับซ้อนและแบ่งแยกไว้ละเอียดกว่าที่คิดใช่ไหม? ทีนี้เพื่อนเพจคงเข้าใจในบริบทแล้วว่า ทำไมเป็นอนุภรรยาเหมือนกันยังสามารถข่มกันได้ และทำไมการยกอนุภรรยาขึ้นเป็นภรรยาเอกหลังจากคนเดิมเสียไปจึงเป็นเรื่องที่ยาก เพราะไม่ใช่อนุภรรยาทุกประเภทมีความพร้อมทางชาติตระกูลและการศึกษาที่จะมาปกครองเป็นนายหญิงของบ้านได้ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าละครหรือนิยายแปลมีการแบ่งแยกในรายละเอียดหรือไม่ หากมีใครเคยผ่านหูผ่านตาก็บอกกล่าวกันได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802 https://kknews.cc/zh-cn/entertainment/x48b2bg.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://new.qq.com/rain/a/20200223A0A37000 http://m.qulishi.com//article/201905/335331.html https://www.sohu.com/a/251827031_100152441 #ร้อยรักปักดวงใจ #อนุภรรยา #ภรรยาเอก #หยวนเพ่ย #ภรรยาผูกปมผม #เจิ้งฝาง #จี้ซื่อ #จี้สื้อ #เชี่ยซื่อ #เชี่ยสื้อ #เฉี้ย #อิ้งเฉี้ย #เช่อซึ #ฟู่ซึ #เพียนซึ #เพียนฝาง #กุ้ยเฉี้ย #เหลียงเฉี้ย #เจี้ยนเฉี้ย #ปี้เฉี้ย #ทงฝาง #ไว่ซึ
    WWW.POPDAILY.COM.TW
    《錦心似玉》鍾漢良、譚松韵先婚後愛!2021最甜寵的宅鬥古裝劇 | PopDaily 波波黛莉
    受封2021最甜寵宅鬥古裝劇的《錦心似玉》,改編自作者吱吱的原著小說《庶女攻略》,鍾漢良飾演的永平侯徐令宜娶了於徐家有恩的羅家嫡女羅元娘為妻,後因羅元娘死前所託續弦娶了譚松韵飾演的羅家庶女羅十一娘,自此展開一段本不相愛,因被迫成婚而先婚後愛的宅鬥古裝偶像劇。
    Like
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 639 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้กลับมาคุยกันต่อกับเรื่องราวที่ Storyฯ เห็นจากละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ในตอนที่มีการรับลูกนอกสมรสกลับเข้าตระกูล

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ถึงกาลมงคล พิธีรับเข้าตระกูลของตระกูลสวี อัญเชิญหนังสือตระกูล” เสียงประกาศเริ่มพิธีดังขึ้น สวีลิ่งเซวียนคุกเข่าลงต่อหน้าป้ายบูชาบรรพบุรุษแล้วกล่าว “สวีซื่อเจี้ย เดิมเป็นบุตรที่ร่อนเร่อาศัยอยู่ข้างนอกของตระกูลเรา ตอนนี้รับกลับเข้าตระกูลเป็นบุตรของสวีลิ่งอัน ขอบรรพบุรุษปกป้องลูกหลานสกุลสวี”...
    - ถอดบทสนทนาจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> (ตามซับไทยเลยจ้า)

    ในละครข้างต้น ก่อนจะมาถึงพิธีการนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงความคิดของตัวละครต่างๆ ที่ถกกันว่าจะรับเด็กมาเป็นลูกใครดี? ความเดิมของบทสนทนาในภาษาจีนคือ “จะบันทึกชื่อเด็กคนนี้ใต้ชื่อใคร?” ซึ่งการคุยในลักษณะนี้เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญของหนังสือตระกูล วันนี้เลยมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับหนังสือตระกูลหรือที่เรียกว่า ‘เจียผู่’ (家谱) หรือ ‘จู๋ผู่’ (族谱) นี้

    การบันทึกข้อมูลในเจียผู่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ย และเนื่องจากสมัยนั้นมีการแตกสกุลมาจากเชื้อพระวงศ์เป็นจำนวนมาก ทางการจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลและปรับปรุงเจียผู่ของตระกูลเหล่านั้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือบันทึกสายสกุลเพื่อประโยชน์ในการคัดสรรและแต่งตั้งขุนนาง ต่อมาเมื่อผ่านพ้นราชวงศ์ถัง ข้อมูลเหล่านี้สูญหายไปในสงครามเสียเป็นส่วนใหญ่ และการเข้ารับราชการก็ดำเนินการผ่านการสอบราชบัณฑิต อีกทั้งอำนาจของเหล่าสื้อเจียตระกูลขุนนางก็เสื่อมลง ทางการจึงไม่ได้เข้ามายุ่งเรื่องการทำเจียผู่อีก ดังนั้นนับแต่สมัยซ่งมา เจียผู่ส่วนใหญ่ถูกจัดทำขึ้นมาใหม่และอยู่ในการดูแลของคนในตระกูลเอง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนเกี่ยวกับสื้อเจียไปแล้ว หาอ่านย้อนหลังนะคะ)

    เพื่อนเพจอาจนึกภาพว่าเจียผู่เป็นพงศาวลีหรือผังลำดับญาติ แต่คนที่เคยลองวาดผังแบบนี้จะรู้ว่า หากจะวาดให้ดีต้องรู้ว่าควรเผื่อเนื้อที่ตรงไหนอย่างไร แต่เจียผู่เป็นบันทึกจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นการบันทึกจริงๆ คือเขียนข้อมูลเติมไปแต่ละรุ่น (ดูตัวอย่างตามรูปประกอบ หน้านี้บันทึกการสืบเชื้อสายของบุตรชายคนโต) หากมีการวาดผังลำดับญาติโดยปกติจะวาดเพียง 5 รุ่นแล้วก็ขึ้นผังใหม่

    แล้วเจียผู่บันทึกอะไรบ้าง?

    ก่อนอื่นคือต้องมีการเขียน ‘ขอบเขต’ - ใครเป็นต้นตระกูล? เราเป็นสายใดของตระกูล? ตราสัญลักษณ์ของตระกูล (ถ้ามี) ภูมิลำเนาเดิม ประวัติของสกุล ที่ตั้งและแผนผังของวัดบรรพบุรุษ เป็นต้น

    จากนั้นก็เป็นบันทึกเกี่ยวกับคนในแต่ละรุ่น ซึ่งจะระบุว่าเป็นรุ่นที่เท่าไหร่ ลำดับในรุ่น ชื่อ วันเดือนปีเกิดและตาย สรุปชีวประวัติ ลักษณะเด่นหรือวีรกรรมโดยคร่าว (เช่น เคยไปรบชนะสร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูลในศึกไหน?) บรรดาศักดิ์หรือรางวัลเกียรติยศที่เคยได้รับ ชื่อคู่สมรสและบุตรชาย ฯลฯ ในบางเจียผู่จะมีการกล่าวถึงสินทรัพย์อันเป็นมรดกตกทอดของตระกูล เช่น ที่ตั้งและขนาดของที่ดินและอาคารบ้านเรือน และการบริหารสินทรัพย์ ฯลฯ

    แต่... ไม่ใช่บุตรและภรรยาทุกคนจะได้รับการบันทึกชื่อลงในเจียผู่ ใครบ้างที่ไม่มีชื่อ?
    1. ลูกสาว – ในวัฒนธรรมจีนโบราณ ลูกสาวเมื่อแต่งงานออกไปก็ถือว่าเป็นคนของครอบครัวอื่น จึงไม่มีการบันทึกชื่อลูกสาวในเจียผู่ของตัวเอง ลูกสาวที่แต่งออกไปก็จะไปมีชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามี (แต่จากตัวอย่างที่ Storyฯ เห็น จะบันทึกเพียงสกุลเดิมไม่มีชื่อ เช่น นางสกุลหลี่) ธรรมเนียมนี้มีมาจนถึงสมัยจีนยุคใหม่ (หลังราชวงศ์ชิง) จึงมีการใส่ชื่อลูกสาวเข้าไป
    2. อนุภรรยา – สตรีที่แต่งงานไปจะถูกบันทึกชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามีเฉพาะคนที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น คนที่เป็นอนุจะไม่มีการบันทึกถึง ยกเว้นในกรณีที่ต่อมาบุตรชายของนางมีคุณงามความชอบอย่างโดดเด่น สร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูล จึงจะมีการแก้ไขเอาชื่อของเขาเข้าเจียผู่และจะมีการบันทึกชื่อผู้เป็นมารดาด้วย (ป.ล. หากเพื่อนเพจได้ดูละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> ในฉากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าสตรีที่เข้าร่วมพิธีที่เกี่ยวกับหนังสือตระกูลนั้น มีเพียงสะใภ้ที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น)
    3. ลูกอนุ - สายของอนุทั้งสายจะไม่ได้ลงบันทึกไว้ เว้นแต่กรณีที่กล่าวมาข้างต้นว่ามีการแก้ไขบันทึกย้อนหลัง

    เห็นแล้วก็พอจะเข้าใจถึงหัวอกของบรรดาอนุและลูกอนุ เราจึงเห็นเรื่องราวในนิยายและละครจีนโบราณไม่น้อยที่มีปูมหลังมาจากความน้อยเนื้อต่ำใจหรือความทะเยอทะยานของเหล่าอนุและลูกอนุทั้งหลาย Storyฯ เชื่อว่าเพื่อนเพจเข้าใจในบริบทนี้แล้วจะดูละคร/อ่านนิยายจีนโบราณได้มีอรรถรสยิ่งขึ้นค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/452104168_114988
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.52lishi.com/article/65523.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/30411974
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/54546409
    https://www.163.com/dy/article/H14J0MG10552QJB7.html

    #ร้อยรักปักดวงใจ #เจียผู่ #จู๋ผู่ #หนังสือตระกูล #บันทึกตระกูลจีนโบราณ #พงศาวลีจีนโบราณ
    วันนี้กลับมาคุยกันต่อกับเรื่องราวที่ Storyฯ เห็นจากละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ในตอนที่มีการรับลูกนอกสมรสกลับเข้าตระกูล ความมีอยู่ว่า ... “ถึงกาลมงคล พิธีรับเข้าตระกูลของตระกูลสวี อัญเชิญหนังสือตระกูล” เสียงประกาศเริ่มพิธีดังขึ้น สวีลิ่งเซวียนคุกเข่าลงต่อหน้าป้ายบูชาบรรพบุรุษแล้วกล่าว “สวีซื่อเจี้ย เดิมเป็นบุตรที่ร่อนเร่อาศัยอยู่ข้างนอกของตระกูลเรา ตอนนี้รับกลับเข้าตระกูลเป็นบุตรของสวีลิ่งอัน ขอบรรพบุรุษปกป้องลูกหลานสกุลสวี”... - ถอดบทสนทนาจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> (ตามซับไทยเลยจ้า) ในละครข้างต้น ก่อนจะมาถึงพิธีการนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงความคิดของตัวละครต่างๆ ที่ถกกันว่าจะรับเด็กมาเป็นลูกใครดี? ความเดิมของบทสนทนาในภาษาจีนคือ “จะบันทึกชื่อเด็กคนนี้ใต้ชื่อใคร?” ซึ่งการคุยในลักษณะนี้เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญของหนังสือตระกูล วันนี้เลยมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับหนังสือตระกูลหรือที่เรียกว่า ‘เจียผู่’ (家谱) หรือ ‘จู๋ผู่’ (族谱) นี้ การบันทึกข้อมูลในเจียผู่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ย และเนื่องจากสมัยนั้นมีการแตกสกุลมาจากเชื้อพระวงศ์เป็นจำนวนมาก ทางการจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลและปรับปรุงเจียผู่ของตระกูลเหล่านั้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือบันทึกสายสกุลเพื่อประโยชน์ในการคัดสรรและแต่งตั้งขุนนาง ต่อมาเมื่อผ่านพ้นราชวงศ์ถัง ข้อมูลเหล่านี้สูญหายไปในสงครามเสียเป็นส่วนใหญ่ และการเข้ารับราชการก็ดำเนินการผ่านการสอบราชบัณฑิต อีกทั้งอำนาจของเหล่าสื้อเจียตระกูลขุนนางก็เสื่อมลง ทางการจึงไม่ได้เข้ามายุ่งเรื่องการทำเจียผู่อีก ดังนั้นนับแต่สมัยซ่งมา เจียผู่ส่วนใหญ่ถูกจัดทำขึ้นมาใหม่และอยู่ในการดูแลของคนในตระกูลเอง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนเกี่ยวกับสื้อเจียไปแล้ว หาอ่านย้อนหลังนะคะ) เพื่อนเพจอาจนึกภาพว่าเจียผู่เป็นพงศาวลีหรือผังลำดับญาติ แต่คนที่เคยลองวาดผังแบบนี้จะรู้ว่า หากจะวาดให้ดีต้องรู้ว่าควรเผื่อเนื้อที่ตรงไหนอย่างไร แต่เจียผู่เป็นบันทึกจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นการบันทึกจริงๆ คือเขียนข้อมูลเติมไปแต่ละรุ่น (ดูตัวอย่างตามรูปประกอบ หน้านี้บันทึกการสืบเชื้อสายของบุตรชายคนโต) หากมีการวาดผังลำดับญาติโดยปกติจะวาดเพียง 5 รุ่นแล้วก็ขึ้นผังใหม่ แล้วเจียผู่บันทึกอะไรบ้าง? ก่อนอื่นคือต้องมีการเขียน ‘ขอบเขต’ - ใครเป็นต้นตระกูล? เราเป็นสายใดของตระกูล? ตราสัญลักษณ์ของตระกูล (ถ้ามี) ภูมิลำเนาเดิม ประวัติของสกุล ที่ตั้งและแผนผังของวัดบรรพบุรุษ เป็นต้น จากนั้นก็เป็นบันทึกเกี่ยวกับคนในแต่ละรุ่น ซึ่งจะระบุว่าเป็นรุ่นที่เท่าไหร่ ลำดับในรุ่น ชื่อ วันเดือนปีเกิดและตาย สรุปชีวประวัติ ลักษณะเด่นหรือวีรกรรมโดยคร่าว (เช่น เคยไปรบชนะสร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูลในศึกไหน?) บรรดาศักดิ์หรือรางวัลเกียรติยศที่เคยได้รับ ชื่อคู่สมรสและบุตรชาย ฯลฯ ในบางเจียผู่จะมีการกล่าวถึงสินทรัพย์อันเป็นมรดกตกทอดของตระกูล เช่น ที่ตั้งและขนาดของที่ดินและอาคารบ้านเรือน และการบริหารสินทรัพย์ ฯลฯ แต่... ไม่ใช่บุตรและภรรยาทุกคนจะได้รับการบันทึกชื่อลงในเจียผู่ ใครบ้างที่ไม่มีชื่อ? 1. ลูกสาว – ในวัฒนธรรมจีนโบราณ ลูกสาวเมื่อแต่งงานออกไปก็ถือว่าเป็นคนของครอบครัวอื่น จึงไม่มีการบันทึกชื่อลูกสาวในเจียผู่ของตัวเอง ลูกสาวที่แต่งออกไปก็จะไปมีชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามี (แต่จากตัวอย่างที่ Storyฯ เห็น จะบันทึกเพียงสกุลเดิมไม่มีชื่อ เช่น นางสกุลหลี่) ธรรมเนียมนี้มีมาจนถึงสมัยจีนยุคใหม่ (หลังราชวงศ์ชิง) จึงมีการใส่ชื่อลูกสาวเข้าไป 2. อนุภรรยา – สตรีที่แต่งงานไปจะถูกบันทึกชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามีเฉพาะคนที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น คนที่เป็นอนุจะไม่มีการบันทึกถึง ยกเว้นในกรณีที่ต่อมาบุตรชายของนางมีคุณงามความชอบอย่างโดดเด่น สร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูล จึงจะมีการแก้ไขเอาชื่อของเขาเข้าเจียผู่และจะมีการบันทึกชื่อผู้เป็นมารดาด้วย (ป.ล. หากเพื่อนเพจได้ดูละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> ในฉากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าสตรีที่เข้าร่วมพิธีที่เกี่ยวกับหนังสือตระกูลนั้น มีเพียงสะใภ้ที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น) 3. ลูกอนุ - สายของอนุทั้งสายจะไม่ได้ลงบันทึกไว้ เว้นแต่กรณีที่กล่าวมาข้างต้นว่ามีการแก้ไขบันทึกย้อนหลัง เห็นแล้วก็พอจะเข้าใจถึงหัวอกของบรรดาอนุและลูกอนุ เราจึงเห็นเรื่องราวในนิยายและละครจีนโบราณไม่น้อยที่มีปูมหลังมาจากความน้อยเนื้อต่ำใจหรือความทะเยอทะยานของเหล่าอนุและลูกอนุทั้งหลาย Storyฯ เชื่อว่าเพื่อนเพจเข้าใจในบริบทนี้แล้วจะดูละคร/อ่านนิยายจีนโบราณได้มีอรรถรสยิ่งขึ้นค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/452104168_114988 https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.52lishi.com/article/65523.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/30411974 https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773 https://zhuanlan.zhihu.com/p/54546409 https://www.163.com/dy/article/H14J0MG10552QJB7.html #ร้อยรักปักดวงใจ #เจียผู่ #จู๋ผู่ #หนังสือตระกูล #บันทึกตระกูลจีนโบราณ #พงศาวลีจีนโบราณ
    WWW.SOHU.COM
    钟汉良谭松韵领衔主演《锦心似玉》定档2月26日_荻雁
    新京报讯 2月23日,钟汉良、谭松韵领衔主演的电视剧《锦心似玉》宣布定档。该剧将于2月26日起在腾讯视频全网独播,周五至周三连续六天,每日20点更新2集;3月1日起每周一、二、三20点更新2集,会员抢先看。 …
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 483 มุมมอง 0 รีวิว
  • เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ดูละครจีนหลายคนต้องเคยเห็นเสื้อที่ทำจากผ้าต่อหรือที่เรียกว่า ‘patchwork’ หรือบางคนอาจเรียกเล่นๆ แถวบ้านว่า ‘เสื้อพรรคกระยาจก’! วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับประเพณีดั้งเดิมที่เกี่ยวกับเสื้อที่ทำจากผ้าต่อและความหมายของมัน

    ในละครเรื่อง <นิติเวชสาวยอดนักสืบ> มีอยู่ตอนหนึ่งที่เซียวซ่ง ซื่อหลางแห่งกรมอาญา สืบเรื่องถึงหมอตำแยคนหนึ่งชื่อ เว่ยซื่อเหนียง จากบทสนทนากับลูกค้าของนางคนหนึ่งได้ความว่านางจะแนะนำให้เด็กแรกเกิดใส่เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ โดยมีการพูดถึงว่าต้องใส่เป็นเวลาสามวัน ผ่านสามวันต้องทำพิธี ‘สี่ซานหลี่’ แล้วจึงจะถอดเสื้อนั้นออกได้ และในพิธีดังกล่าวต้องมีการเลี้ยงสุราและใช้เครื่องประดับทองคำ ซึ่งองค์ประกอบนี้กลายมาเป็นเบาะแสให้สืบต่อไป

    เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ (百家衣) นั้นแปลตรงตัวว่า ‘เสื้อร้อยครอบครัว’ มีชื่อเรียกอื่นที่หลากหลาย เช่น ไป่ซุ่ยอี/百岁衣 ไป๋เป่าอี/百保衣 เป็นเสื้อที่ทำขึ้นจากผ้าที่เอาผ้าหลายชิ้นมาเย็บต่อกันขึ้นเป็นลวดลายสวยงาม มักมีสีสันฉูดฉาดเพราะเป็นเสื้อเด็ก

    ทำไมต้องใส่เสื้อไป่เจียอี? ในสมัยโบราณนั้น อัตราการตายของทารกและเด็กเล็กสูงมาก ดังนั้นจึงมีการแก้เคล็ดด้วยการเอาเสื้อผ้าเก่าของเด็กที่แข็งแรงจากหลายครอบครัวมาเย็บติดกันแล้วทำขึ้นเป็นเสื้อให้เด็กใส่ เพื่อว่าเด็กจะได้มีสุขภาพดีแคล้วคลาดจากโรคภัย

    ขออธิบายเพิ่มว่า แม้จะใช้คำว่า ‘ไป่’ ที่แปลว่าหนึ่งร้อย แต่จริงๆ แล้วไม่ได้หมายความว่าต้องนับให้ได้ถึงหนึ่งร้อยจริงๆ ค่ะ คำนี้เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของจีนที่ต้องการสื่อถึงความหมายว่ามีจำนวนมากจนนับไม่ถ้วน มักปรากฏในวลีในนิยายหรือคำคมจีนเช่น ผ้าปักร้อยอักษร รักกันร้อยปี ได้ยินร้อยครั้ง ฯลฯ

    ส่วน ‘สี่ซานหลี่’ (洗三礼)นั้นก็คือการทำพิธีอาบน้ำให้กับทารกในวันที่สามหลังจากเกิดมา พิธีนี้มีมาแต่เมื่อใดไม่แน่ชัด แต่ได้มีการกล่าวถึงไว้ในบทประพันธ์ต่างๆ สมัยถังและซ่ง สรุปพิธีโดยคร่าวคือ
    1. ญาติสนิทจะมาร่วมกันรับประทานอาหารกลางวัน อาหารจานหลักจะเป็นบะหมี่ (สัญลักษณ์ของความอายุยืน)
    2. เสร็จแล้วหมอตำแยจะเป็นคนเริ่มประกอบพิธี โดยเริ่มจากกราบไหว้เทพยดา (แน่นอนว่าจะต้องมีหลักการว่าเป็นเทพยดาองค์ใดบ้าง แต่ Storyฯ ขอไม่กล่าวถึงเพราะจะยาวมาก)
    3. จากนั้นญาติสนิทก็จะเติมน้ำคนละช้อนลงในกาละมังที่มีน้ำสมุนไพรอยู่แล้ว แล้วก็เติมของขวัญซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญทองและของมงคลอย่างเช่นเมล็ดพืชผลไม้ที่มีชื่อมงคลอย่างเช่นพุทราจีนลงไปในกาละมังเดียวกันนั้น (แต่หากเป็นตั๋วเงินให้วางแยก) ใครใส่อะไร หมอตำแยก็จะเอ่ยเป็นคำอวยพรที่พ้องเสียงกับของสิ่งนั้น
    4. เสร็จแล้วหมอตำแยก็จะใช้น้ำนั้นอาบน้ำให้ทารก ระหว่างอาบก็จะเอ่ยคำอวยพรไปตลอด
    5. เสร็จแล้วนำเครื่องประดับเงินทอง (หากไม่มีให้ใช้เครื่องประดับสีขาวสีเหลือง) มาวางทาบกับทารกเป็นนัยว่าให้อนาคตรุ่งเรืองร่ำรวย
    แน่นอนว่า Storyฯ เล่าอย่างซูเปอร์ย่อ พิธีกรรมจริงๆ ละเอียดกว่านี้มาก

    กลับมาที่ไป่เจียอีต่อ

    ว่ากันว่าไป่เจียอีนี้ เดิมเป็นชุดที่นักบวชนิยมใส่ (เรียกว่าไป่น่าอี) มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ต่อมาจึงนำมาทำเป็นเสื้อเด็ก เสื้อผู้ใหญ่ก็ยังนิยมอยู่ในกลุ่มนักบวช แต่ในสมัยหมิงและชิงกลายมาเป็นแฟชั่นที่นิยมมากในกลุ่มสตรีสามัญชน มีการปักเย็บลวดลายประณีตและสีสันสวยงาม เรียกว่าชุด ‘สุ่ยเถียนอี’ (水田衣 แปลตรงตัวว่า ‘ชุดนาข้าว’ ดูรูปขวา) ความนิยมนี้ว่ากันว่าเป็นเพราะองค์จูหยวนจาง (ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง) และพระมเหสีต่างทรงมีนิสัยมัธยัสถ์ ทรงเคยบริจาคผ้าห่มและเสื้อผ้าที่ตัดเย็บจากเส้นด้ายและผ้าที่เหลือใช้ แม้แต่องค์หญิงและสนมในวังยังเคยทรงพระราชทานให้ใส่ จึงทำให้สุ่ยเถียนอีเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ต่อมากลายเป็นการประชันความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบลายเสื้อของสตรี

    ธรรมเนียมการให้เด็กใส่เสื้อผ้าต่อไป่เจียอีนี้มีการกล่าวถึงตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง และปฏิบัติกันมาทุกระดับชนชั้น แม้แต่ในบันทึกเกี่ยวกับประวัติของฮ่องเต้สมัยราชวงศ์ชิงในยุคสมัยของคังซีและเฉียนหลงยังมีกล่าวถึงการให้องค์ชายและราชนิกูลสวมเสื้อไป่เจียอีในตอนเด็ก และธรรมเนียมนี้ยังมีอยู่ในปัจจุบัน เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นในหลายพื้นที่ของจีน

    เป็นอย่างไรบ้าง? ‘เสื้อพรรคกระยาจก’ เขาก็มีความเป็นมานะเออ! ของไทยมีอะไรคล้ายคลึงอย่างนี้บ้างไหมคะ? Storyฯ ไม่สันทัด หากเพื่อนเพจท่านใดผ่านตาก็เล่าสู่กันฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.myvideo.net.tw/details/3/12499
    https://nicecasio.pixnet.net/blog/post/467691023

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://kknews.cc/news/gpevjl.html
    https://www.lishiziliao.com/jiemi/21683.html
    https://www.hanspub.org/journal/PaperInformation.aspx?paperID=25060
    https://new.qq.com/omn/20200819/20200819A0D3IY00.html?pc
    https:// baike.baidu.com/item/洗三/912561

    #นิติเวชสาวยอดนักสืบ #นิติเวชสาวราชวงศ์ถัง #ผ้าต่อจีน #ผ้าปะจีน #ไป่ซุ่ยอี #ไป่น่าอี #สุ่ยเถียนอี #พิธีอาบน้ำทารก #สี่ซานหลี่
    เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ดูละครจีนหลายคนต้องเคยเห็นเสื้อที่ทำจากผ้าต่อหรือที่เรียกว่า ‘patchwork’ หรือบางคนอาจเรียกเล่นๆ แถวบ้านว่า ‘เสื้อพรรคกระยาจก’! วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับประเพณีดั้งเดิมที่เกี่ยวกับเสื้อที่ทำจากผ้าต่อและความหมายของมัน ในละครเรื่อง <นิติเวชสาวยอดนักสืบ> มีอยู่ตอนหนึ่งที่เซียวซ่ง ซื่อหลางแห่งกรมอาญา สืบเรื่องถึงหมอตำแยคนหนึ่งชื่อ เว่ยซื่อเหนียง จากบทสนทนากับลูกค้าของนางคนหนึ่งได้ความว่านางจะแนะนำให้เด็กแรกเกิดใส่เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ โดยมีการพูดถึงว่าต้องใส่เป็นเวลาสามวัน ผ่านสามวันต้องทำพิธี ‘สี่ซานหลี่’ แล้วจึงจะถอดเสื้อนั้นออกได้ และในพิธีดังกล่าวต้องมีการเลี้ยงสุราและใช้เครื่องประดับทองคำ ซึ่งองค์ประกอบนี้กลายมาเป็นเบาะแสให้สืบต่อไป เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ (百家衣) นั้นแปลตรงตัวว่า ‘เสื้อร้อยครอบครัว’ มีชื่อเรียกอื่นที่หลากหลาย เช่น ไป่ซุ่ยอี/百岁衣 ไป๋เป่าอี/百保衣 เป็นเสื้อที่ทำขึ้นจากผ้าที่เอาผ้าหลายชิ้นมาเย็บต่อกันขึ้นเป็นลวดลายสวยงาม มักมีสีสันฉูดฉาดเพราะเป็นเสื้อเด็ก ทำไมต้องใส่เสื้อไป่เจียอี? ในสมัยโบราณนั้น อัตราการตายของทารกและเด็กเล็กสูงมาก ดังนั้นจึงมีการแก้เคล็ดด้วยการเอาเสื้อผ้าเก่าของเด็กที่แข็งแรงจากหลายครอบครัวมาเย็บติดกันแล้วทำขึ้นเป็นเสื้อให้เด็กใส่ เพื่อว่าเด็กจะได้มีสุขภาพดีแคล้วคลาดจากโรคภัย ขออธิบายเพิ่มว่า แม้จะใช้คำว่า ‘ไป่’ ที่แปลว่าหนึ่งร้อย แต่จริงๆ แล้วไม่ได้หมายความว่าต้องนับให้ได้ถึงหนึ่งร้อยจริงๆ ค่ะ คำนี้เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของจีนที่ต้องการสื่อถึงความหมายว่ามีจำนวนมากจนนับไม่ถ้วน มักปรากฏในวลีในนิยายหรือคำคมจีนเช่น ผ้าปักร้อยอักษร รักกันร้อยปี ได้ยินร้อยครั้ง ฯลฯ ส่วน ‘สี่ซานหลี่’ (洗三礼)นั้นก็คือการทำพิธีอาบน้ำให้กับทารกในวันที่สามหลังจากเกิดมา พิธีนี้มีมาแต่เมื่อใดไม่แน่ชัด แต่ได้มีการกล่าวถึงไว้ในบทประพันธ์ต่างๆ สมัยถังและซ่ง สรุปพิธีโดยคร่าวคือ 1. ญาติสนิทจะมาร่วมกันรับประทานอาหารกลางวัน อาหารจานหลักจะเป็นบะหมี่ (สัญลักษณ์ของความอายุยืน) 2. เสร็จแล้วหมอตำแยจะเป็นคนเริ่มประกอบพิธี โดยเริ่มจากกราบไหว้เทพยดา (แน่นอนว่าจะต้องมีหลักการว่าเป็นเทพยดาองค์ใดบ้าง แต่ Storyฯ ขอไม่กล่าวถึงเพราะจะยาวมาก) 3. จากนั้นญาติสนิทก็จะเติมน้ำคนละช้อนลงในกาละมังที่มีน้ำสมุนไพรอยู่แล้ว แล้วก็เติมของขวัญซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญทองและของมงคลอย่างเช่นเมล็ดพืชผลไม้ที่มีชื่อมงคลอย่างเช่นพุทราจีนลงไปในกาละมังเดียวกันนั้น (แต่หากเป็นตั๋วเงินให้วางแยก) ใครใส่อะไร หมอตำแยก็จะเอ่ยเป็นคำอวยพรที่พ้องเสียงกับของสิ่งนั้น 4. เสร็จแล้วหมอตำแยก็จะใช้น้ำนั้นอาบน้ำให้ทารก ระหว่างอาบก็จะเอ่ยคำอวยพรไปตลอด 5. เสร็จแล้วนำเครื่องประดับเงินทอง (หากไม่มีให้ใช้เครื่องประดับสีขาวสีเหลือง) มาวางทาบกับทารกเป็นนัยว่าให้อนาคตรุ่งเรืองร่ำรวย แน่นอนว่า Storyฯ เล่าอย่างซูเปอร์ย่อ พิธีกรรมจริงๆ ละเอียดกว่านี้มาก กลับมาที่ไป่เจียอีต่อ ว่ากันว่าไป่เจียอีนี้ เดิมเป็นชุดที่นักบวชนิยมใส่ (เรียกว่าไป่น่าอี) มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ต่อมาจึงนำมาทำเป็นเสื้อเด็ก เสื้อผู้ใหญ่ก็ยังนิยมอยู่ในกลุ่มนักบวช แต่ในสมัยหมิงและชิงกลายมาเป็นแฟชั่นที่นิยมมากในกลุ่มสตรีสามัญชน มีการปักเย็บลวดลายประณีตและสีสันสวยงาม เรียกว่าชุด ‘สุ่ยเถียนอี’ (水田衣 แปลตรงตัวว่า ‘ชุดนาข้าว’ ดูรูปขวา) ความนิยมนี้ว่ากันว่าเป็นเพราะองค์จูหยวนจาง (ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง) และพระมเหสีต่างทรงมีนิสัยมัธยัสถ์ ทรงเคยบริจาคผ้าห่มและเสื้อผ้าที่ตัดเย็บจากเส้นด้ายและผ้าที่เหลือใช้ แม้แต่องค์หญิงและสนมในวังยังเคยทรงพระราชทานให้ใส่ จึงทำให้สุ่ยเถียนอีเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ต่อมากลายเป็นการประชันความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบลายเสื้อของสตรี ธรรมเนียมการให้เด็กใส่เสื้อผ้าต่อไป่เจียอีนี้มีการกล่าวถึงตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง และปฏิบัติกันมาทุกระดับชนชั้น แม้แต่ในบันทึกเกี่ยวกับประวัติของฮ่องเต้สมัยราชวงศ์ชิงในยุคสมัยของคังซีและเฉียนหลงยังมีกล่าวถึงการให้องค์ชายและราชนิกูลสวมเสื้อไป่เจียอีในตอนเด็ก และธรรมเนียมนี้ยังมีอยู่ในปัจจุบัน เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นในหลายพื้นที่ของจีน เป็นอย่างไรบ้าง? ‘เสื้อพรรคกระยาจก’ เขาก็มีความเป็นมานะเออ! ของไทยมีอะไรคล้ายคลึงอย่างนี้บ้างไหมคะ? Storyฯ ไม่สันทัด หากเพื่อนเพจท่านใดผ่านตาก็เล่าสู่กันฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.myvideo.net.tw/details/3/12499 https://nicecasio.pixnet.net/blog/post/467691023 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://kknews.cc/news/gpevjl.html https://www.lishiziliao.com/jiemi/21683.html https://www.hanspub.org/journal/PaperInformation.aspx?paperID=25060 https://new.qq.com/omn/20200819/20200819A0D3IY00.html?pc https:// baike.baidu.com/item/洗三/912561 #นิติเวชสาวยอดนักสืบ #นิติเวชสาวราชวงศ์ถัง #ผ้าต่อจีน #ผ้าปะจีน #ไป่ซุ่ยอี #ไป่น่าอี #สุ่ยเถียนอี #พิธีอาบน้ำทารก #สี่ซานหลี่
    WWW.MYVIDEO.NET.TW
    大唐女法醫線上看-陸劇、浪漫愛情劇-戲劇-MyVideo|陪你每一刻
    《大唐女法醫》描述18歲落魄貴女冉顏為了查明母親自殺真相,從小開始學習驗屍絕學,成人後巧遇刑部侍郎蕭頌、絕命殺手蘇伏和天才書生桑辰,解開一個又一個殺人情案,在探求真相的過程中遇到真愛的故事。大唐女法醫線上看-陸劇、浪漫愛情劇-戲劇-MyVideo|陪你每一刻 標籤:劇情,古裝,推理懸疑...
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 636 มุมมอง 0 รีวิว
  • เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> จะเห็นว่าส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่องกล่าวถึงความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจเกี่ยวกับสถานะ ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’ ของตัวละคร ซ่งอิ่นจาง และความพยายามที่จะหลุดพ้นจากสถานะนี้

    วันนี้เรามาคุยกันเรื่องสถานะ ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’ ซึ่งในภาษาจีนอาจเรียกอย่างสุภาพว่า ‘เยวี่ยกง’ (乐工 แปลตรงตัวว่า เพลง/ดนตรี + แรงงาน) หรือเรียกอย่างไม่อ้อมค้อมว่า ‘เยวี่ยจี้’ หรือ ‘นางดนตรี’ (乐妓) ซึ่งเป็นคำเรียกรวมของสตรีที่อาศัยร้องรำทำเพลงยังชีพ ในสมัยโบราณจัดเป็นนางคณิกาประเภทหนึ่ง

    แล้วทำไมในละครจึงเรียกเป็น ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’? Storyฯ ไม่อาจคาดเดาความคิดของผู้แปลซับไทยในละคร แต่ในภาษาจีนสถานะนี้ผูกติดกับสิ่งที่เรียกว่า ‘เยวี่ยจี๋’ (乐籍 แปลตรงตัวว่า เพลง/ดนตรี + ทะเบียน) ซึ่ง Storyฯ ไม่เห็นมีแปลไว้ในซับไทยของละคร

    ‘เยวี่ยจี๋’ หรือทะเบียนนักดนตรีนี้คืออะไร?

    เพื่อนเพจที่เป็นแฟนนิยายและละครจีนโบราณอาจเคยเห็นฉากที่ขุนนางใหญ่ถูกลงทัณฑ์ทั้งบ้าน ทรัพย์สินถูกยึด คนในบ้านถูกจับไปเป็นทาส เยวี่ยจี๋นี้เป็นทะเบียนชื่อของลูกเมียของขุนนางที่ถูกลงทัณฑ์สถานหนัก พวกเขาเหล่านี้ถูกขึ้นชื่อเป็นทาสรับใช้ของหลวง มีหน้าที่ร้องรำทำเพลงปรนนิบัติขุนนางและแขกเหรื่อในงานรื่นเริง โดยได้รับเงินหลวง เขาเหล่านี้เมื่อโดนเรียกตัวต้องไปปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สามารถปฏิเสธได้ โดยมีหน้าที่แตกต่างกันไปและบางคนอาจถูกบังคับให้เป็นนางบำเรอกาม

    การลงทัณฑ์โดยขึ้นทะเบียนเยวี่ยจี๋นี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ค.ศ. 386-535) ในสมัยถัง-ซ่ง ‘เยวี่ยจี๋’ อยู่ภายใต้การบริหารงานของ ‘เจียวฟาง’/教坊 หรือที่ในละครแปลว่าสำนักการสังคีต

    คนที่มีชื่ออยู่ในเยวี่ยจี๋ถือว่ามีโทษติดตัวไม่มีอิสระ มีสถานะในสังคมต่ำต้อยเยี่ยงทาส จัดเป็น ‘ชนชั้นต่ำ’ หรือ ‘เจี้ยนหมิน’(贱民) ประเภทหนึ่ง (หมายเหตุ บ่าว ทาสและนักโทษจัดอยู่ในกลุ่มชนชั้นต่ำนี้) เมื่อมีลูก ลูกก็จะถูกบันทึกชื่อเข้าเยวี่ยจี๋ด้วย เรียกได้ว่าเป็นทาสที่มีโทษติดตัวไปทุกรุ่นเว้นแต่จะได้รับการเปลี่ยนสถานะ

    การเปลี่ยนสถานะทำได้สองแบบ แบบแรกคือการได้รับการอนุมัติจากทางการให้เปลี่ยนสถานะเป็นคนธรรมดาหรือที่เรียกว่า ‘เหลียงหมิน’/良民 (ตัวอย่างเช่นนางเอกในละครนี้) ซึ่งทำได้ไม่ง่าย และแบบที่สองคือมีพ่อค้ารับเป็นภรรยาหรือมีขุนนางรับเป็นอนุภรรยา ซึ่งจะมีการถอดถอนชื่อออกจากเยวี่ยจี๋ เมื่อคนเป็นแม่ได้ปรับสถานะแล้วบุตรจึงจะเป็นไทได้ (แต่อย่างที่ Storyฯ เคยเล่าเกี่ยวกับเรื่องประเภทของอนุภรรยา คนที่เคยมีโทษติดตัวหรือเป็นลูกนักโทษจะมีสถานะเป็นอนุชั้นต่ำ สามารถยกให้กันฟรีๆ หรือขายออกไปเมื่อไหร่ก็ได้ แต่อย่างน้อยลูกก็จะได้รับการยกย่องในระดับหนึ่งตามสถานะของบิดา)

    สรุปสั้นๆ ได้ว่า นางดนตรีที่มีชื่ออยู่ในเยวี่ยจี๋จัดเป็นชนชั้นต่ำที่เรียกว่า ‘เจี้ยนหมิน’ ไม่มีอิสระและไม่มีสิทธิใดๆ ทางสังคม แต่หากโชคดีก็จะได้เปลี่ยนสถานะกลับมาเป็นชนชั้นธรรมดาหรือที่เรียกว่า ‘เหลียงหมิน’

    ต่อมาในรัชสมัยขององค์ยงเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1723) ทรงมีพระราชโองการให้ทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนเจี้ยนหมินทุกชนิด (รวมถึงเยวี่ยจี๋ด้วย) ได้รับการปรับสถานะเป็นเหลียงหมิน ถือว่าได้เป็นไทแก่ตัว

    ขออภัยที่มีศัพท์จีนหลายคำไปหน่อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้ความเข้าใจมากขึ้นถึงบริบทของชนชั้นทางสังคมที่เพื่อนเพจมักเห็นในละครและนิยายจีนโบราณหลายเรื่องค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://read01.com/zh-sg/DR3eMEa.html#.YxlwKnZBy5d
    https://min.news/zh-sg/culture/5b42ca6d45e1a79dcddf84da55d9dce2.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/%E4%B9%90%E7%B1%8D/10852116
    https://www.sohu.com/a/222355523_99902358
    https://www.163.com/dy/article/HACKL2VE0514R9P4.html

    #สามบุปผา #นางรับใช้ในวงดนตรี #เยวี่ยจี๋ #เจี้ยนหมิน #เหลียงหมิน
    เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> จะเห็นว่าส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่องกล่าวถึงความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจเกี่ยวกับสถานะ ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’ ของตัวละคร ซ่งอิ่นจาง และความพยายามที่จะหลุดพ้นจากสถานะนี้ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องสถานะ ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’ ซึ่งในภาษาจีนอาจเรียกอย่างสุภาพว่า ‘เยวี่ยกง’ (乐工 แปลตรงตัวว่า เพลง/ดนตรี + แรงงาน) หรือเรียกอย่างไม่อ้อมค้อมว่า ‘เยวี่ยจี้’ หรือ ‘นางดนตรี’ (乐妓) ซึ่งเป็นคำเรียกรวมของสตรีที่อาศัยร้องรำทำเพลงยังชีพ ในสมัยโบราณจัดเป็นนางคณิกาประเภทหนึ่ง แล้วทำไมในละครจึงเรียกเป็น ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’? Storyฯ ไม่อาจคาดเดาความคิดของผู้แปลซับไทยในละคร แต่ในภาษาจีนสถานะนี้ผูกติดกับสิ่งที่เรียกว่า ‘เยวี่ยจี๋’ (乐籍 แปลตรงตัวว่า เพลง/ดนตรี + ทะเบียน) ซึ่ง Storyฯ ไม่เห็นมีแปลไว้ในซับไทยของละคร ‘เยวี่ยจี๋’ หรือทะเบียนนักดนตรีนี้คืออะไร? เพื่อนเพจที่เป็นแฟนนิยายและละครจีนโบราณอาจเคยเห็นฉากที่ขุนนางใหญ่ถูกลงทัณฑ์ทั้งบ้าน ทรัพย์สินถูกยึด คนในบ้านถูกจับไปเป็นทาส เยวี่ยจี๋นี้เป็นทะเบียนชื่อของลูกเมียของขุนนางที่ถูกลงทัณฑ์สถานหนัก พวกเขาเหล่านี้ถูกขึ้นชื่อเป็นทาสรับใช้ของหลวง มีหน้าที่ร้องรำทำเพลงปรนนิบัติขุนนางและแขกเหรื่อในงานรื่นเริง โดยได้รับเงินหลวง เขาเหล่านี้เมื่อโดนเรียกตัวต้องไปปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สามารถปฏิเสธได้ โดยมีหน้าที่แตกต่างกันไปและบางคนอาจถูกบังคับให้เป็นนางบำเรอกาม การลงทัณฑ์โดยขึ้นทะเบียนเยวี่ยจี๋นี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ค.ศ. 386-535) ในสมัยถัง-ซ่ง ‘เยวี่ยจี๋’ อยู่ภายใต้การบริหารงานของ ‘เจียวฟาง’/教坊 หรือที่ในละครแปลว่าสำนักการสังคีต คนที่มีชื่ออยู่ในเยวี่ยจี๋ถือว่ามีโทษติดตัวไม่มีอิสระ มีสถานะในสังคมต่ำต้อยเยี่ยงทาส จัดเป็น ‘ชนชั้นต่ำ’ หรือ ‘เจี้ยนหมิน’(贱民) ประเภทหนึ่ง (หมายเหตุ บ่าว ทาสและนักโทษจัดอยู่ในกลุ่มชนชั้นต่ำนี้) เมื่อมีลูก ลูกก็จะถูกบันทึกชื่อเข้าเยวี่ยจี๋ด้วย เรียกได้ว่าเป็นทาสที่มีโทษติดตัวไปทุกรุ่นเว้นแต่จะได้รับการเปลี่ยนสถานะ การเปลี่ยนสถานะทำได้สองแบบ แบบแรกคือการได้รับการอนุมัติจากทางการให้เปลี่ยนสถานะเป็นคนธรรมดาหรือที่เรียกว่า ‘เหลียงหมิน’/良民 (ตัวอย่างเช่นนางเอกในละครนี้) ซึ่งทำได้ไม่ง่าย และแบบที่สองคือมีพ่อค้ารับเป็นภรรยาหรือมีขุนนางรับเป็นอนุภรรยา ซึ่งจะมีการถอดถอนชื่อออกจากเยวี่ยจี๋ เมื่อคนเป็นแม่ได้ปรับสถานะแล้วบุตรจึงจะเป็นไทได้ (แต่อย่างที่ Storyฯ เคยเล่าเกี่ยวกับเรื่องประเภทของอนุภรรยา คนที่เคยมีโทษติดตัวหรือเป็นลูกนักโทษจะมีสถานะเป็นอนุชั้นต่ำ สามารถยกให้กันฟรีๆ หรือขายออกไปเมื่อไหร่ก็ได้ แต่อย่างน้อยลูกก็จะได้รับการยกย่องในระดับหนึ่งตามสถานะของบิดา) สรุปสั้นๆ ได้ว่า นางดนตรีที่มีชื่ออยู่ในเยวี่ยจี๋จัดเป็นชนชั้นต่ำที่เรียกว่า ‘เจี้ยนหมิน’ ไม่มีอิสระและไม่มีสิทธิใดๆ ทางสังคม แต่หากโชคดีก็จะได้เปลี่ยนสถานะกลับมาเป็นชนชั้นธรรมดาหรือที่เรียกว่า ‘เหลียงหมิน’ ต่อมาในรัชสมัยขององค์ยงเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1723) ทรงมีพระราชโองการให้ทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนเจี้ยนหมินทุกชนิด (รวมถึงเยวี่ยจี๋ด้วย) ได้รับการปรับสถานะเป็นเหลียงหมิน ถือว่าได้เป็นไทแก่ตัว ขออภัยที่มีศัพท์จีนหลายคำไปหน่อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้ความเข้าใจมากขึ้นถึงบริบทของชนชั้นทางสังคมที่เพื่อนเพจมักเห็นในละครและนิยายจีนโบราณหลายเรื่องค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://read01.com/zh-sg/DR3eMEa.html#.YxlwKnZBy5d https://min.news/zh-sg/culture/5b42ca6d45e1a79dcddf84da55d9dce2.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/%E4%B9%90%E7%B1%8D/10852116 https://www.sohu.com/a/222355523_99902358 https://www.163.com/dy/article/HACKL2VE0514R9P4.html #สามบุปผา #นางรับใช้ในวงดนตรี #เยวี่ยจี๋ #เจี้ยนหมิน #เหลียงหมิน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 505 มุมมอง 0 รีวิว
  • ย้อนปม “กระทรวงรถไฟจีน” ที่เคยยิ่งใหญ่และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศจีน แต่หลังจากเกิดเหตุรถไฟความเร็วสูงชนกัน และตรวจสอบพบการทุจริต จนรัฐมนตรีถูกตัดสินประหารชีวิต ก็ถูกรัฐบาลสั่งยุบในปี 56 ส่วนหน่วยงานย่อยกลายมาเป็นรัฐวิสาหกิจ ไชน่าเรลเวย์ เอนจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น บริษัทแม่ของ “ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์เท็น” รับงานก่อสร้างทั้งในจีนและต่างประเทศ รวมถึงตึก สตง.ในไทย

    ในรายการ “คุยทุกเรื่องกับสนธิ” หรือ “สนธิทอล์ก”เมื่อวันศุกร์ที่ 4 เมษายน 2568 นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เครือผู้จัดการได้กล่าวถึงความเป็นมาของ บริษัท China Railway No.10 ซึ่งเป็นพันธมิตรในกิจการร่วมค้า “ไอทีดี-ซีอาร์อีซีนัมเบอร์เทน (ไทย)” คู่สัญญารับเหมาก่อสร้างตึกของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ที่ถล่มลงมาระหว่างเกิดแผ่นดินไหววันศุกร์ที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งในอดีตก็คือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการรถไฟแห่งประเทศจีน ที่ถูกสั่งยุบไปเมื่อปี 2556 หรือ 12 ปีที่แล้ว เนื่องจากมีการคอร์รับชั่นกันอย่างมโหฬาร ถึงขนาดที่อดีตรัฐมนตรีถูกดำเนินคดีและถูกตัดสินโทษประหารชีวิต

    ทั้งนี้ ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาประเทศจีนให้ความสำคัญกับการสร้างทางรถไฟอย่างมาก มีการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบโดยเฉพาะตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง จนถึงเมื่อมีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยพรรคก๊กมินตั๋ง เมื่อร้อยกว่าปีก่อน ก็ยังเน้นการสร้างชาติด้วยการสร้างทางรถไฟ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/onlinesection/detail/9680000032804

    #MGROnline #กระทรวงรถไฟจีน
    ย้อนปม “กระทรวงรถไฟจีน” ที่เคยยิ่งใหญ่และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศจีน แต่หลังจากเกิดเหตุรถไฟความเร็วสูงชนกัน และตรวจสอบพบการทุจริต จนรัฐมนตรีถูกตัดสินประหารชีวิต ก็ถูกรัฐบาลสั่งยุบในปี 56 ส่วนหน่วยงานย่อยกลายมาเป็นรัฐวิสาหกิจ ไชน่าเรลเวย์ เอนจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น บริษัทแม่ของ “ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์เท็น” รับงานก่อสร้างทั้งในจีนและต่างประเทศ รวมถึงตึก สตง.ในไทย • ในรายการ “คุยทุกเรื่องกับสนธิ” หรือ “สนธิทอล์ก”เมื่อวันศุกร์ที่ 4 เมษายน 2568 นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เครือผู้จัดการได้กล่าวถึงความเป็นมาของ บริษัท China Railway No.10 ซึ่งเป็นพันธมิตรในกิจการร่วมค้า “ไอทีดี-ซีอาร์อีซีนัมเบอร์เทน (ไทย)” คู่สัญญารับเหมาก่อสร้างตึกของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ที่ถล่มลงมาระหว่างเกิดแผ่นดินไหววันศุกร์ที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งในอดีตก็คือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการรถไฟแห่งประเทศจีน ที่ถูกสั่งยุบไปเมื่อปี 2556 หรือ 12 ปีที่แล้ว เนื่องจากมีการคอร์รับชั่นกันอย่างมโหฬาร ถึงขนาดที่อดีตรัฐมนตรีถูกดำเนินคดีและถูกตัดสินโทษประหารชีวิต • ทั้งนี้ ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาประเทศจีนให้ความสำคัญกับการสร้างทางรถไฟอย่างมาก มีการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบโดยเฉพาะตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง จนถึงเมื่อมีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยพรรคก๊กมินตั๋ง เมื่อร้อยกว่าปีก่อน ก็ยังเน้นการสร้างชาติด้วยการสร้างทางรถไฟ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/onlinesection/detail/9680000032804 • #MGROnline #กระทรวงรถไฟจีน
    Love
    Angry
    2
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 446 มุมมอง 0 รีวิว
  • เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นหูคุ้นตากับ ‘คทาหรูอี้’ (หรูอี้/如意 แปลตรงตัวได้ว่า สมดังปรารถนา) บริบทที่เรามักเห็นในนิยาย/ละครจีนบ่อยๆ คือ ฮ่องเต้พระราชทานคทาหรูอี้หยกให้เป็นรางวัลต่อขุนนาง หรือบุรุษสูงศักดิ์มอบคทาหรูอี้ให้สตรีที่ถูกเลือกเป็นภรรยา อย่างเช่นตัวอย่างภาพประกอบยกมาจากละคร <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ตอนที่องค์ชายหงอี้ทรงเลือกชิงอิงเป็นพระชายา (รูปประกอบ1 ซ้าย) หรือเป็นวัตถุมงคลเหมาะกับการมอบให้เป็นของขวัญ

    เคยมีคนเขียนถึงคทาหรูอี้มาแล้วบ้าง ด้วยความหมายที่กล่าวถึงข้างต้น และเพื่อนเพจอาจเคยคุ้นกับการที่มีคทาหรูอี้ปรากฏในรูปภาพและรูปปั้นเทพเจ้าจีน และนักบวชนิยมถือคทาหรูอี้ยามสวดมนต์ ว่ากันว่าการใช้คทาหรูอี้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนานั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโบราณ

    แต่วันนี้ Storyฯ มาคุยเกี่ยวกับคทาหรูอี้ในอีกแง่มุมหนึ่ง... เพื่อนเพจเคยสงสัยเหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า เข้าใจล่ะว่าชื่อเป็นมงคล แต่คทาหรูอี้ออกจะเทอะทะ... มันไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากตั้งโชว์หรือถือไว้เท่ๆ เลยหรือ?

    จากภาพวาดโบราณ (รูปประกอบ 1 ขวา) จะเห็นว่าคทาหรูอี้เป็นของใช้ติดมือของชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้แก่ผู้เฒ่า... แสดงว่ามันต้องมีประโยชน์สิน่ะ เพื่อนเพจพอจะเดากันออกหรือไม่?

    จากข้อมูลที่ทางพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามรวบรวมได้ คทาหรูอี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 206 ก่อนคริสตศักราช - ปีค.ศ. 220) เดิมถูกใช้เป็นไม้เกาหลัง เรียกว่า ‘หรูอี้’ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘ไม่ง้อใคร’ (不求人/ปู้ฉิวเหริน) แรกเริ่มมีรูปทรงคล้ายมือ โดยในบันทึกสมัยราชวงศ์ชิง (事物异名录/ซื่ออู้อี้หมิงลู่) ได้เขียนไว้ว่า “หรูอี้นั้นไซร้ เป็นไม้กรงเล็บ”

    นอกจากนี้ ยังมีบทความสมัยราชวงศ์เหนือใต้ว่ามีการใช้คทาหรูอี้เป็นไม้ส่งสัญญาณเคลื่อนทัพในยามศึก นัยว่าเพื่อให้ชนะศึกได้ดังใจหมาย

    คทาหรูอี้กลายเป็นวัตถุประจำตัวที่คนนิยมพกพาเพราะชื่อเป็นมงคลและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวก็ได้ จึงพัฒนารูปแบบให้สวยงามมากขึ้น ว่ากันว่าในสมัยราชวงศ์เหนือใต้นั้นใช้กันแพร่หลายในหลายแคว้นทั้งในวังและนอกวัง โดยสมัยนั้นนิยมให้ด้ามจับโค้งเป็นทรงกลุ่มดาวจระเข้ ตัวด้ามกลมมนเพื่อให้จับถนัดมือ ทำจากไม้ ไม้ไผ่หรือโลหะ มีใช้กันตั้งแต่ในวังยันชาวบ้านธรรมดานอกวัง ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังจึงทำด้ามจับให้แบนลงและเป็นเส้นตรง โค้งที่ปลายหัว

    นานวันเข้า เมื่อถึงสมัยหมิงและชิง คทาหรูอี้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในฐานะวัตถุมงคลที่ใช้ประดับบ้านเรือนหรือของขวัญ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรมีในสินสอดของหมั้นของแต่งงาน จึงมีรูปแบบที่วิจิตรขึ้น รูปทรงที่เราคุ้นตาคือหัวเป็นทรงเห็ดหลินจือ โดยเฉพาะในยุคสมัยชิงนั้น คทาหรูอี้เป็นที่นิยมมากในวัง ไม่ว่าจะในงานราชประเพณี การแต่งตั้งขุนนาง การรับทูตจากต่างแดน ฯลฯ ล้วนต้องมีการถือคทาหรูอี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล

    ปัจจุบันในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามมีการเก็บรักษาคทาหรูอี้โบราณไว้กว่าสองพันชิ้นโดยส่วนใหญ่เป็นของสมัยชิง วัสดุที่ใช้ทำคทาหรูอี้นั้นหลากหลาย มีทั้งหยกชนิดต่างๆ ปะการัง ทองคำ เงิน ทองเหลือง งาช้าง ไม้ไผ่และไม้ชนิดต่างๆ และมีการแกะสลักลวดลายมากมายลงบนคทา

    Storyฯ เคยไปเที่ยวเมื่อนานมากแล้ว จำไม่ได้เลยว่าได้เคยเห็นอะไรในพิพิธภัณฑ์นี้บ้าง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาก็มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.jianshu.com/p/faa99f5d9868
    https://new.qq.com/rain/a/20211210A027EU00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.mct.gov.cn/whzx/zsdw/ggbwy/202102/t20210210_921534.htm
    https://www.sohu.com/a/508658629_322551
    https://baike.baidu.com/item/如意/254746
    https://new.qq.com/rain/a/20220728A054CG00

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #คทาหรูอี้ #วัตถุมงคลจีน #ไม้เกาหลัง
    เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นหูคุ้นตากับ ‘คทาหรูอี้’ (หรูอี้/如意 แปลตรงตัวได้ว่า สมดังปรารถนา) บริบทที่เรามักเห็นในนิยาย/ละครจีนบ่อยๆ คือ ฮ่องเต้พระราชทานคทาหรูอี้หยกให้เป็นรางวัลต่อขุนนาง หรือบุรุษสูงศักดิ์มอบคทาหรูอี้ให้สตรีที่ถูกเลือกเป็นภรรยา อย่างเช่นตัวอย่างภาพประกอบยกมาจากละคร <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ตอนที่องค์ชายหงอี้ทรงเลือกชิงอิงเป็นพระชายา (รูปประกอบ1 ซ้าย) หรือเป็นวัตถุมงคลเหมาะกับการมอบให้เป็นของขวัญ เคยมีคนเขียนถึงคทาหรูอี้มาแล้วบ้าง ด้วยความหมายที่กล่าวถึงข้างต้น และเพื่อนเพจอาจเคยคุ้นกับการที่มีคทาหรูอี้ปรากฏในรูปภาพและรูปปั้นเทพเจ้าจีน และนักบวชนิยมถือคทาหรูอี้ยามสวดมนต์ ว่ากันว่าการใช้คทาหรูอี้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนานั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโบราณ แต่วันนี้ Storyฯ มาคุยเกี่ยวกับคทาหรูอี้ในอีกแง่มุมหนึ่ง... เพื่อนเพจเคยสงสัยเหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า เข้าใจล่ะว่าชื่อเป็นมงคล แต่คทาหรูอี้ออกจะเทอะทะ... มันไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากตั้งโชว์หรือถือไว้เท่ๆ เลยหรือ? จากภาพวาดโบราณ (รูปประกอบ 1 ขวา) จะเห็นว่าคทาหรูอี้เป็นของใช้ติดมือของชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้แก่ผู้เฒ่า... แสดงว่ามันต้องมีประโยชน์สิน่ะ เพื่อนเพจพอจะเดากันออกหรือไม่? จากข้อมูลที่ทางพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามรวบรวมได้ คทาหรูอี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 206 ก่อนคริสตศักราช - ปีค.ศ. 220) เดิมถูกใช้เป็นไม้เกาหลัง เรียกว่า ‘หรูอี้’ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘ไม่ง้อใคร’ (不求人/ปู้ฉิวเหริน) แรกเริ่มมีรูปทรงคล้ายมือ โดยในบันทึกสมัยราชวงศ์ชิง (事物异名录/ซื่ออู้อี้หมิงลู่) ได้เขียนไว้ว่า “หรูอี้นั้นไซร้ เป็นไม้กรงเล็บ” นอกจากนี้ ยังมีบทความสมัยราชวงศ์เหนือใต้ว่ามีการใช้คทาหรูอี้เป็นไม้ส่งสัญญาณเคลื่อนทัพในยามศึก นัยว่าเพื่อให้ชนะศึกได้ดังใจหมาย คทาหรูอี้กลายเป็นวัตถุประจำตัวที่คนนิยมพกพาเพราะชื่อเป็นมงคลและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวก็ได้ จึงพัฒนารูปแบบให้สวยงามมากขึ้น ว่ากันว่าในสมัยราชวงศ์เหนือใต้นั้นใช้กันแพร่หลายในหลายแคว้นทั้งในวังและนอกวัง โดยสมัยนั้นนิยมให้ด้ามจับโค้งเป็นทรงกลุ่มดาวจระเข้ ตัวด้ามกลมมนเพื่อให้จับถนัดมือ ทำจากไม้ ไม้ไผ่หรือโลหะ มีใช้กันตั้งแต่ในวังยันชาวบ้านธรรมดานอกวัง ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังจึงทำด้ามจับให้แบนลงและเป็นเส้นตรง โค้งที่ปลายหัว นานวันเข้า เมื่อถึงสมัยหมิงและชิง คทาหรูอี้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในฐานะวัตถุมงคลที่ใช้ประดับบ้านเรือนหรือของขวัญ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรมีในสินสอดของหมั้นของแต่งงาน จึงมีรูปแบบที่วิจิตรขึ้น รูปทรงที่เราคุ้นตาคือหัวเป็นทรงเห็ดหลินจือ โดยเฉพาะในยุคสมัยชิงนั้น คทาหรูอี้เป็นที่นิยมมากในวัง ไม่ว่าจะในงานราชประเพณี การแต่งตั้งขุนนาง การรับทูตจากต่างแดน ฯลฯ ล้วนต้องมีการถือคทาหรูอี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล ปัจจุบันในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามมีการเก็บรักษาคทาหรูอี้โบราณไว้กว่าสองพันชิ้นโดยส่วนใหญ่เป็นของสมัยชิง วัสดุที่ใช้ทำคทาหรูอี้นั้นหลากหลาย มีทั้งหยกชนิดต่างๆ ปะการัง ทองคำ เงิน ทองเหลือง งาช้าง ไม้ไผ่และไม้ชนิดต่างๆ และมีการแกะสลักลวดลายมากมายลงบนคทา Storyฯ เคยไปเที่ยวเมื่อนานมากแล้ว จำไม่ได้เลยว่าได้เคยเห็นอะไรในพิพิธภัณฑ์นี้บ้าง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาก็มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.jianshu.com/p/faa99f5d9868 https://new.qq.com/rain/a/20211210A027EU00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.mct.gov.cn/whzx/zsdw/ggbwy/202102/t20210210_921534.htm https://www.sohu.com/a/508658629_322551 https://baike.baidu.com/item/如意/254746 https://new.qq.com/rain/a/20220728A054CG00 #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #คทาหรูอี้ #วัตถุมงคลจีน #ไม้เกาหลัง
    WWW.JIANSHU.COM
    【如懿传|如懿】年少情深,也可以走到相看两厌
    一出墙头马上,两心相许。山河依旧,唯人兰因絮果。 如懿的一生都把真心付给了自己的少年郎,年少时的扶持,无人之巅的陪伴,病榻前的守护,相比于甄嬛,她更加令人心疼。 执着勇敢是她...
    Like
    1
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 865 มุมมอง 0 รีวิว
  • สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจเคยขอให้เขียนเกี่ยวกับวลีจีนที่มาจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ วันนี้ Storyฯ จะมาคุยเกี่ยวกับคำพังเพยที่หลายท่านต้องร้อง “อ๋อ!” ซึ่งก็คือ ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ (หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ / 狸猫换太子) หรือที่แฟนคลับเปาบุ้นจิ้นต้องเคยได้ยินชื่อตอน ‘คดีสับเปลี่ยนพระโอรส’

    เป็นคำพังเพยที่ไม่ได้มาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ แต่เป็นการอ้างอิงเรื่องเล่าที่มีตัวละครจากประวัติศาสตร์ แรกเริ่มเป็นละครงิ้วในสมัยราชวงศ์หยวน ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของนวนิยาย <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> (ซ้านเสียอู่อี้ / 三俠五義) ที่ประพันธ์ขึ้นโดยสืออวี้คุ้น ในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนอิงประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ซ่งเดินเรื่องโดยเปาบุ้นจิ้น และต่อมาถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์หลายครั้ง

    ในเนื้อความเดิมจาก <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> นั้น กล่าวถึงพระนางหลิวเอ๋อ ซึ่งก็คือพระอัครมเหสีในองค์ซ่งเจินจง และต่อมาเป็นไทเฮาและผู้สำเร็จราชการแทนองค์ซ่งเหรินจงเป็นเวลาเก้าปี (ค.ศ. 1022–1031) โดยเล่าว่าพระนางหลิวเอ๋อริษยาพระชายาหลี่เฉินที่ได้ความรักจากองค์ซ่งเจินจง และต้องการรักษาราชอำนาจแต่แท้งลูก จึงเอาศพแมวป่าถลกหนังออกสลับไปเป็นลูกของพระชายาหลี่ที่เพิ่งคลอดออกมา แล้วสลับเอาลูกของพระชายาหลี่มาเป็นลูกของตนเพื่อว่าเด็กจะได้เป็นองค์ชายรัชทายาทและขึ้นครองราชย์ต่อไป ส่วนพระชายาหลี่เฉินนั้นก็ถูกจองจำในตำหนักเย็นเพราะคลอดลูกออกมาเป็นสัตว์ประหลาด ต่อมาเปาบุ้นจิ้นสืบสวนจนปรากฏข้อเท็จจริง (ขออภัยที่ไม่ใช้ราชาศัพท์)

    แต่ในละครเรื่อง <จอมนางแห่งวังหลัง> ได้มีการนำเสนออีกในแง่มุม ว่าเรื่องราวการสลับองค์ชายเป็นแผนขององค์ฮ่องเต้ซ่งเจินจงเพื่อไม่ให้ราชอำนาจในราชสำนักสั่นคลอน เรียกได้ว่าลบภาพลักษณ์ตัวร้ายของพระนางหลิวเอ๋อออกไปได้ รายละเอียดความเป็นมาเป็นอย่างไร ติดตามดูกันได้ในละครเรื่องนี้

    มีคนเคยวิเคราะห์แล้วว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ เป็นเรื่องที่มีความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์หลายประเด็น เช่นว่า
    – ตอนที่องค์ซ่งเหรินจงสืบหาความจริงเกี่ยวกับแม่แท้ๆ นั้น เปาบุ้นจิ้นยังไม่เข้ารับราชการ
    – พระนางหลิวเอ๋อไม่จำเป็นต้องสลับลูกเพราะนางเองในตอนนั้นมีฐานอำนาจที่มั่นคงมากแล้ว อีกทั้งนางพบรักกับองค์ซ่งเจินจงมานานก่อนหน้านั้น และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าฮ่องเต้ทรงโปรดปรานพระชายาหลี่เฉินมากกว่า
    – พระนางหลิวเอ๋อจัดงานศพพระชายาหลี่เฉินให้ตามพิธีการของอัครมเหสี ไม่ใช่ชายาทั่วไป

    เรื่องราวที่แท้จริงตามประวัติศาสตร์เป็นอย่างไรไม่ทราบได้ แต่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่าพระนางหลิวเอ๋อใช้พระราชอำนาจในการบริหารบ้านเมืองได้ดี เป็นอีกหนึ่งสตรีเหล็กแห่งประวัติศาสตร์จีน และเรื่องสับเปลี่ยนพระโอรสนี้กลายเป็นนิทานปรำปราและเป็นที่มาของคำพังเพยที่ว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ หรือ ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’

    ในวลี ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ นี้ Storyฯ แปลคำว่า ‘หลีเม้า’ เป็นแมวป่า แต่จริงๆ แล้วมันหน้าตาเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ เพราะบ้างบรรยายว่ามันเป็นแมวลายดาว (Leopard Cat) และบ้างว่ามันเป็นแมวชะมด (Civet Cat) หน้าตาต่างกันค่อนข้างมาก เลยแปะรูปมาให้ดูเป็นการเปรียบเทียบ

    เล่ามาเสียยืดยาว สรุป ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ หมายถึงอะไร? เป็นคำพังเพยที่หมายความว่า เอาของปลอมมาสลับเปลี่ยนแทนของจริง หรือที่บ้านเราอาจเรียกว่า ‘ย้อมแมวขาย’ นั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=efb5598dede9bd9a810a7272
    https://www.163.com/dy/article/G72T9QTQ05179OJ2.html
    http://www.china.org.cn/english/scitech/67652.htm
    https://felids.wordpress.com/2011/12/14/cats-in-china-leopard-cat/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.baike.com/wikiid/8060072274706103379?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=4mgrmib6ruo000
    http://k.sina.com.cn/article_5863047530_15d77016a00100jl1w.html?from=history#/
    https://new.qq.com/rain/a/20211209A08QHG00

    #จอมนางแห่งวังหลัง #หลิวเอ๋อ #สับเปลี่ยนพระโอรส #เปาบุ้นจิ้น #หลีเม้า #แมวป่าจีน #หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ
    สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจเคยขอให้เขียนเกี่ยวกับวลีจีนที่มาจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ วันนี้ Storyฯ จะมาคุยเกี่ยวกับคำพังเพยที่หลายท่านต้องร้อง “อ๋อ!” ซึ่งก็คือ ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ (หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ / 狸猫换太子) หรือที่แฟนคลับเปาบุ้นจิ้นต้องเคยได้ยินชื่อตอน ‘คดีสับเปลี่ยนพระโอรส’ เป็นคำพังเพยที่ไม่ได้มาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ แต่เป็นการอ้างอิงเรื่องเล่าที่มีตัวละครจากประวัติศาสตร์ แรกเริ่มเป็นละครงิ้วในสมัยราชวงศ์หยวน ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของนวนิยาย <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> (ซ้านเสียอู่อี้ / 三俠五義) ที่ประพันธ์ขึ้นโดยสืออวี้คุ้น ในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนอิงประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ซ่งเดินเรื่องโดยเปาบุ้นจิ้น และต่อมาถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์หลายครั้ง ในเนื้อความเดิมจาก <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> นั้น กล่าวถึงพระนางหลิวเอ๋อ ซึ่งก็คือพระอัครมเหสีในองค์ซ่งเจินจง และต่อมาเป็นไทเฮาและผู้สำเร็จราชการแทนองค์ซ่งเหรินจงเป็นเวลาเก้าปี (ค.ศ. 1022–1031) โดยเล่าว่าพระนางหลิวเอ๋อริษยาพระชายาหลี่เฉินที่ได้ความรักจากองค์ซ่งเจินจง และต้องการรักษาราชอำนาจแต่แท้งลูก จึงเอาศพแมวป่าถลกหนังออกสลับไปเป็นลูกของพระชายาหลี่ที่เพิ่งคลอดออกมา แล้วสลับเอาลูกของพระชายาหลี่มาเป็นลูกของตนเพื่อว่าเด็กจะได้เป็นองค์ชายรัชทายาทและขึ้นครองราชย์ต่อไป ส่วนพระชายาหลี่เฉินนั้นก็ถูกจองจำในตำหนักเย็นเพราะคลอดลูกออกมาเป็นสัตว์ประหลาด ต่อมาเปาบุ้นจิ้นสืบสวนจนปรากฏข้อเท็จจริง (ขออภัยที่ไม่ใช้ราชาศัพท์) แต่ในละครเรื่อง <จอมนางแห่งวังหลัง> ได้มีการนำเสนออีกในแง่มุม ว่าเรื่องราวการสลับองค์ชายเป็นแผนขององค์ฮ่องเต้ซ่งเจินจงเพื่อไม่ให้ราชอำนาจในราชสำนักสั่นคลอน เรียกได้ว่าลบภาพลักษณ์ตัวร้ายของพระนางหลิวเอ๋อออกไปได้ รายละเอียดความเป็นมาเป็นอย่างไร ติดตามดูกันได้ในละครเรื่องนี้ มีคนเคยวิเคราะห์แล้วว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ เป็นเรื่องที่มีความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์หลายประเด็น เช่นว่า – ตอนที่องค์ซ่งเหรินจงสืบหาความจริงเกี่ยวกับแม่แท้ๆ นั้น เปาบุ้นจิ้นยังไม่เข้ารับราชการ – พระนางหลิวเอ๋อไม่จำเป็นต้องสลับลูกเพราะนางเองในตอนนั้นมีฐานอำนาจที่มั่นคงมากแล้ว อีกทั้งนางพบรักกับองค์ซ่งเจินจงมานานก่อนหน้านั้น และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าฮ่องเต้ทรงโปรดปรานพระชายาหลี่เฉินมากกว่า – พระนางหลิวเอ๋อจัดงานศพพระชายาหลี่เฉินให้ตามพิธีการของอัครมเหสี ไม่ใช่ชายาทั่วไป เรื่องราวที่แท้จริงตามประวัติศาสตร์เป็นอย่างไรไม่ทราบได้ แต่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่าพระนางหลิวเอ๋อใช้พระราชอำนาจในการบริหารบ้านเมืองได้ดี เป็นอีกหนึ่งสตรีเหล็กแห่งประวัติศาสตร์จีน และเรื่องสับเปลี่ยนพระโอรสนี้กลายเป็นนิทานปรำปราและเป็นที่มาของคำพังเพยที่ว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ หรือ ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ ในวลี ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ นี้ Storyฯ แปลคำว่า ‘หลีเม้า’ เป็นแมวป่า แต่จริงๆ แล้วมันหน้าตาเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ เพราะบ้างบรรยายว่ามันเป็นแมวลายดาว (Leopard Cat) และบ้างว่ามันเป็นแมวชะมด (Civet Cat) หน้าตาต่างกันค่อนข้างมาก เลยแปะรูปมาให้ดูเป็นการเปรียบเทียบ เล่ามาเสียยืดยาว สรุป ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ หมายถึงอะไร? เป็นคำพังเพยที่หมายความว่า เอาของปลอมมาสลับเปลี่ยนแทนของจริง หรือที่บ้านเราอาจเรียกว่า ‘ย้อมแมวขาย’ นั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=efb5598dede9bd9a810a7272 https://www.163.com/dy/article/G72T9QTQ05179OJ2.html http://www.china.org.cn/english/scitech/67652.htm https://felids.wordpress.com/2011/12/14/cats-in-china-leopard-cat/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.baike.com/wikiid/8060072274706103379?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=4mgrmib6ruo000 http://k.sina.com.cn/article_5863047530_15d77016a00100jl1w.html?from=history#/ https://new.qq.com/rain/a/20211209A08QHG00 #จอมนางแห่งวังหลัง #หลิวเอ๋อ #สับเปลี่ยนพระโอรส #เปาบุ้นจิ้น #หลีเม้า #แมวป่าจีน #หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ
    《大宋宫词》评分下滑惨烈,古装剧只有唯美画风是不够的_百科TA说
    百度百科是一部内容开放、自由的网络百科全书,旨在创造一个涵盖所有领域知识,服务所有互联网用户的中文知识性百科全书。在这里你可以参与词条编辑,分享贡献你的知识。
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 921 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มาคุยต่อกับสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี

    ภาพที่สิบเอ็ดที่จะคุยกันวันนี้คือภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปที่ตำหนักจิ่งหยางกง ซึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงภายหลังจากการซ่อมแซมปรับปรุงสถานที่โดยองค์คังซีแล้ว ถูกใช้เป็นที่เก็บงานศิลปะ ไม่เคยเป็นที่ประทับของพระสนมหรือมเหสี

    หม่าฮองเฮาที่กล่าวถึงนี้คือ ฮองเฮาหมิงเต๋อ พระมเหสีในองค์หมิงตี้ (ค.ศ. 26-75) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก บิดาของพระนางคือแม่ทัพหม่าหยวน หนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ พระราชบิดาขององค์หมิงตี้

    ไม่ปรากฏนามเดิมของหม่าฮองเฮาในบันทึกประวัติศาสตร์ มีเพียงกล่าวถึงว่า นางเสียบิดาและพี่ชายไปเมื่อยังเยาว์วัยในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ มารดาตรอมใจจนป่วยหนัก นางดูแลเรือนตระกูลหม่าแทนแม่ตั้งแต่อายุได้เพียงสิบขวบ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้)

    พ่อของหม่าฮองเฮาถูกใส่ร้ายป้ายสีหลังจากเสียชีวิตกลางสนามรบ ตระกูลของนางตกต่ำ แต่สุดท้ายพี่ชายของนาง (ลูกของน้าชายของนาง) อาศัยผลงานความดีความชอบและความสัมพันธ์ด้านฝ่ายในของตระกูลหม่าที่มีมาหลายชั่วอายุคน ขอให้กวงอู่ตี้รับหนึ่งในลูกสาวสามคนของแม่ทัพหม่าหยวนเข้าวัง สุดท้ายเป็นลูกสาวคนเล็กที่ได้รับเลือกเข้าไปรับใช้ในพระตำหนักขององค์ชายรัชทายาทโดยไม่ได้มีการแต่งตั้งยศศักดิ์อะไร นางปรนนิบัติหลิวจวงอีกทั้งฮองเฮาและเหล่าพระภรรยาอย่างใกล้ชิดจนได้รับความเอ็นดูเป็นอย่างดี

    เมื่อองค์หลิวจวงขึ้นครองราชย์ นางได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหริน นางไม่มีบุตร แต่เพราะเป็นคนที่นิสัยอ่อนโยนมีการศึกษาดี ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น นางจึงได้รับมอบหมายให้เลี้ยงดูลูกชายจากภรรยาอื่นของฮั่นหมิงตี้คือเด็กชายหลิวต๋า (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮั่นจางตี้) จวบจนสามปีให้หลังจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นฮองเฮาภายใต้การเสนอชื่อของไทเฮา

    เป็นที่กล่าวขานว่านางมีความรู้ความรอบคอบ หลายครั้งที่ฮั่นหมิงตี้ให้นางช่วยดูและให้ความเห็นต่อฎีกา นางก็ได้ให้ข้อเสนอแนะที่ดี จึงเป็นที่ชื่นชมและโปรดปรานของฮั่นหมิงตี้ ต่อมาในรัชสมัยของฮั่นจางตี้ นางยังคงช่วยให้คำปรึกษาที่ดีต่อฮั่นจางตี้ในเรื่องการบริหารบ้านเมือง

    นางขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในฮองเฮาที่วางตัวได้ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีน และไม่เคยใช้อิทธิพลเกื้อหนุนตระกูลหม่า มีตัวอย่างว่า นางได้เสนอให้ลบชื่อพี่ชายของตนออกจากบันทึกคุณงามความดีของข้าราชสำนักเดิมตอนสมัยผัดเปลี่ยนรัชสมัยมาเป็นฮั่นจางตี้ อีกทั้งคัดค้านไม่ให้คนในตระกูลหม่ารับอิสริยยศ โดยให้เหตุผลต่อฮั่นจางตี้ว่า ไม่ต้องการให้ชนรุ่นหลังมองว่าเหล่าขุนนางสูงศักดิ์ที่ล้อมรอบฮั่นจางตี้ล้วนเป็นคนที่เกี่ยวดองกันในวังหลัง นางเตือนสติฮั่นจางตี้ว่า การให้อิสริยยศกับคนต่างสกุลต้องทำด้วยความรอบคอบ ผลงานของเหล่าข้าราชสำนักล้วนเป็นหน้าที่ที่พึงปฏิบัติ ไม่ควรนำมาเป็นเหตุผลให้มีอภิสิทธิ์เหนือผู้อื่น

    เพราะนาง คนในตระกูลหม่าปฏิเสธที่จะรับยศโหว แม้ที่ได้รับการแต่งตั้งก็ปฏิเสธไม่รับพื้นที่การปกครอง และสุดท้ายก็ลาออกจากตำแหน่งในที่สุด

    หม่าฮองเฮาริเริ่มให้มีการจัดทำบันทึกที่เรียกว่า ‘ฉี่จวีจู้’ (起居注) ซึ่งจริงๆ ก็คือไดอารี่บันทึกกิจวัตรประจำวันของฮ่องเต้ ซึ่งต่อมากลายเป็นต้นแบบหนึ่งของวิธีบันทึกประวัติศาสตร์ในวัง และเป็นเอกสารสำคัญให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา นางจึงถูกยกย่องให้เป็นนักประวัติศาสตร์หญิงคนแรกของจีน

    นอกจากนี้นางยังขึ้นชื่อว่าเป็นคนประหยัด ในบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นเขียนไว้ว่า เสื้อผ้าของนางล้วนตัดเย็บจากผ้าเนื้อหยาบต้มจนนิ่ม กระโปรงไม่เย็บแถบชาย เป็นการแต่งกายที่ไม่แตกต่างจากชาวบ้านธรรมดา เมื่อสนมนางในถาม นางให้เหตุผลว่าผ้าเนื้อหยาบที่หาได้ง่ายกว่าผ้าไหมและย้อมสีได้ดีกว่า ว่ากันว่า นางคือฮองเฮาคนแรกที่แต่งกายอย่างนี้ และนี่คือเรื่องราวหลังภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (หมายเหตุ ‘เลี่ยนอี’ คือการทำเสื้อผ้าจากผ้าเนื้อหยาบ)

    ภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึง มัธยัสถ์ และป้ายอักษรที่ถูกพระราชทานไปคู่กันเขียนว่า ‘โหรวเจียซู่จิ้ง’ (柔嘉肃静) แปลได้ประมาณว่า อ่อนโยนอ่อนหวาน สุขุมเงียบสงบ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/43223996
    https://www.sohu.com/a/279050528_100018792
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/明德皇后/29800
    https://www.gugong.net/wenhua/40018.html
    http://www.qulishi.com/renwu/mingdemahuanghou/
    https://www.163.com/dy/article/G087N9E10541M2R8.html
    https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100loe0.html

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #หม่าโฮ่ว #ฮั่นหมิงตี้ #หมิงเต๋อหวงโฮ่ว #กงซวิ่นถู
    วันนี้มาคุยต่อกับสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี ภาพที่สิบเอ็ดที่จะคุยกันวันนี้คือภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปที่ตำหนักจิ่งหยางกง ซึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงภายหลังจากการซ่อมแซมปรับปรุงสถานที่โดยองค์คังซีแล้ว ถูกใช้เป็นที่เก็บงานศิลปะ ไม่เคยเป็นที่ประทับของพระสนมหรือมเหสี หม่าฮองเฮาที่กล่าวถึงนี้คือ ฮองเฮาหมิงเต๋อ พระมเหสีในองค์หมิงตี้ (ค.ศ. 26-75) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก บิดาของพระนางคือแม่ทัพหม่าหยวน หนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ พระราชบิดาขององค์หมิงตี้ ไม่ปรากฏนามเดิมของหม่าฮองเฮาในบันทึกประวัติศาสตร์ มีเพียงกล่าวถึงว่า นางเสียบิดาและพี่ชายไปเมื่อยังเยาว์วัยในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ มารดาตรอมใจจนป่วยหนัก นางดูแลเรือนตระกูลหม่าแทนแม่ตั้งแต่อายุได้เพียงสิบขวบ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) พ่อของหม่าฮองเฮาถูกใส่ร้ายป้ายสีหลังจากเสียชีวิตกลางสนามรบ ตระกูลของนางตกต่ำ แต่สุดท้ายพี่ชายของนาง (ลูกของน้าชายของนาง) อาศัยผลงานความดีความชอบและความสัมพันธ์ด้านฝ่ายในของตระกูลหม่าที่มีมาหลายชั่วอายุคน ขอให้กวงอู่ตี้รับหนึ่งในลูกสาวสามคนของแม่ทัพหม่าหยวนเข้าวัง สุดท้ายเป็นลูกสาวคนเล็กที่ได้รับเลือกเข้าไปรับใช้ในพระตำหนักขององค์ชายรัชทายาทโดยไม่ได้มีการแต่งตั้งยศศักดิ์อะไร นางปรนนิบัติหลิวจวงอีกทั้งฮองเฮาและเหล่าพระภรรยาอย่างใกล้ชิดจนได้รับความเอ็นดูเป็นอย่างดี เมื่อองค์หลิวจวงขึ้นครองราชย์ นางได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหริน นางไม่มีบุตร แต่เพราะเป็นคนที่นิสัยอ่อนโยนมีการศึกษาดี ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น นางจึงได้รับมอบหมายให้เลี้ยงดูลูกชายจากภรรยาอื่นของฮั่นหมิงตี้คือเด็กชายหลิวต๋า (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮั่นจางตี้) จวบจนสามปีให้หลังจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นฮองเฮาภายใต้การเสนอชื่อของไทเฮา เป็นที่กล่าวขานว่านางมีความรู้ความรอบคอบ หลายครั้งที่ฮั่นหมิงตี้ให้นางช่วยดูและให้ความเห็นต่อฎีกา นางก็ได้ให้ข้อเสนอแนะที่ดี จึงเป็นที่ชื่นชมและโปรดปรานของฮั่นหมิงตี้ ต่อมาในรัชสมัยของฮั่นจางตี้ นางยังคงช่วยให้คำปรึกษาที่ดีต่อฮั่นจางตี้ในเรื่องการบริหารบ้านเมือง นางขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในฮองเฮาที่วางตัวได้ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีน และไม่เคยใช้อิทธิพลเกื้อหนุนตระกูลหม่า มีตัวอย่างว่า นางได้เสนอให้ลบชื่อพี่ชายของตนออกจากบันทึกคุณงามความดีของข้าราชสำนักเดิมตอนสมัยผัดเปลี่ยนรัชสมัยมาเป็นฮั่นจางตี้ อีกทั้งคัดค้านไม่ให้คนในตระกูลหม่ารับอิสริยยศ โดยให้เหตุผลต่อฮั่นจางตี้ว่า ไม่ต้องการให้ชนรุ่นหลังมองว่าเหล่าขุนนางสูงศักดิ์ที่ล้อมรอบฮั่นจางตี้ล้วนเป็นคนที่เกี่ยวดองกันในวังหลัง นางเตือนสติฮั่นจางตี้ว่า การให้อิสริยยศกับคนต่างสกุลต้องทำด้วยความรอบคอบ ผลงานของเหล่าข้าราชสำนักล้วนเป็นหน้าที่ที่พึงปฏิบัติ ไม่ควรนำมาเป็นเหตุผลให้มีอภิสิทธิ์เหนือผู้อื่น เพราะนาง คนในตระกูลหม่าปฏิเสธที่จะรับยศโหว แม้ที่ได้รับการแต่งตั้งก็ปฏิเสธไม่รับพื้นที่การปกครอง และสุดท้ายก็ลาออกจากตำแหน่งในที่สุด หม่าฮองเฮาริเริ่มให้มีการจัดทำบันทึกที่เรียกว่า ‘ฉี่จวีจู้’ (起居注) ซึ่งจริงๆ ก็คือไดอารี่บันทึกกิจวัตรประจำวันของฮ่องเต้ ซึ่งต่อมากลายเป็นต้นแบบหนึ่งของวิธีบันทึกประวัติศาสตร์ในวัง และเป็นเอกสารสำคัญให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา นางจึงถูกยกย่องให้เป็นนักประวัติศาสตร์หญิงคนแรกของจีน นอกจากนี้นางยังขึ้นชื่อว่าเป็นคนประหยัด ในบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นเขียนไว้ว่า เสื้อผ้าของนางล้วนตัดเย็บจากผ้าเนื้อหยาบต้มจนนิ่ม กระโปรงไม่เย็บแถบชาย เป็นการแต่งกายที่ไม่แตกต่างจากชาวบ้านธรรมดา เมื่อสนมนางในถาม นางให้เหตุผลว่าผ้าเนื้อหยาบที่หาได้ง่ายกว่าผ้าไหมและย้อมสีได้ดีกว่า ว่ากันว่า นางคือฮองเฮาคนแรกที่แต่งกายอย่างนี้ และนี่คือเรื่องราวหลังภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (หมายเหตุ ‘เลี่ยนอี’ คือการทำเสื้อผ้าจากผ้าเนื้อหยาบ) ภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึง มัธยัสถ์ และป้ายอักษรที่ถูกพระราชทานไปคู่กันเขียนว่า ‘โหรวเจียซู่จิ้ง’ (柔嘉肃静) แปลได้ประมาณว่า อ่อนโยนอ่อนหวาน สุขุมเงียบสงบ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/43223996 https://www.sohu.com/a/279050528_100018792 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/明德皇后/29800 https://www.gugong.net/wenhua/40018.html http://www.qulishi.com/renwu/mingdemahuanghou/ https://www.163.com/dy/article/G087N9E10541M2R8.html https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100loe0.html #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #หม่าโฮ่ว #ฮั่นหมิงตี้ #หมิงเต๋อหวงโฮ่ว #กงซวิ่นถู
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 818 มุมมอง 0 รีวิว
  • พรุ่งนี้เริ่มหยุดยาว เลยมาอัพบทความเร็วหน่อย วันนี้คุยกันต่อเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก แน่นอนว่าความยากในการหาข้อมูลยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องเพราะสิบสองภาพวาดนี้สูญหายไปเกือบหมดแล้ว และอย่างที่ Storyฯ ได้กล่าวไปในบทความก่อนหน้านี้ ตำหนักที่ประทับของแต่ละท่านในละครก็ใช่ว่าจะตรงกันกับในประวัติศาสตร์

    ภาพที่จะเล่าถึงกันในวันนี้เป็นอีกหนึ่งภาพที่หาข้อมูลยาก คือภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ (徐妃直谏图) ซึ่งในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ภาพนี้ถูกพระราชทานให้เสียนเฟยที่ตำหนักเฉิงเฉียนกง แต่อย่างที่เพื่อนเพจอาจพอทราบมาบ้าง เสียนเฟย (ซึ่งต่อมาคือฮองเฮาสกุลอูลาน่าลา) ถูกลบเลือนออกไปจากบันทึกต่างๆ มีบางข้อมูลบอกว่าพระนางประทับที่ตำหนักอี้คุนกง และภาพที่ได้รับพระราชทานมาที่ตำหนักอี้คุนกงคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图)

    อย่างไรก็ดี เท่าที่ Storyฯ พอจะหาข้อมูลได้ ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เคยแขวนอยู่ที่เฉิงเฉียนกง วันนี้เราคุยกันเรื่องภาพนี้

    ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ Storyฯ หาไม่พบว่าจริงแล้วหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะภาพที่ใช้ประกอบในละครนั้น จริงๆ แล้วเป็นหนึ่งในคอลเลคชั่นภาพวาดชีวิตสตรีในตระกูลขุนนางของเจียวปิ่งเจินในสมัยต้นราชวงศ์ชิง (รูปประกอบ1) ส่วนภาพที่เกี่ยวกับสวีเฟยที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนั้น มีชื่อว่า ‘สวีเฟยถวายฎีกา’ (徐惠上疏 รูปประกอบ2) เป็นผลงานของหวางเจิ้งเผิงสมัยราชวงศ์หยวนจากคอลเลคชั่นเกี่ยวกับพระภรรยาที่มีชื่อเสียงด้านคุณงามความดีในประวัติศาสตร์จีน

    ‘สวีเฟย’ คือใคร? นางคือหนึ่งในพระสนมของฮ่องเต้หลี่ซื่อหมินหรือถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง (ขออภัยไม่ใช่ราชาศัพท์) นามเดิมว่า ‘สวีฮุ่ย’ (ค.ศ. 627-650) เป็นบุตรีของอดีตขุนนางระดับสูงของราชวงศ์ใต้ พื้นเพเดิมจากหูโจว มลฑลเจ้อเจียง นางเชี่ยวชาญด้านงานอักษรและบทกวี ว่ากันว่านางสามารถเริ่มเขียนบทความยาวๆ และท่องจำหนังสือปรัชญาของขงจื๊อที่ผู้ใหญ่ใช้เรียนได้ตั้งแต่เมื่ออายุเพียงสี่ขวบ ตอนนางอายุแปดขวบได้แต่งบทกลอนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานชั้นเลิศ โด่งดังไปถึงหูขององค์ถังไท่จงในวังหลวง จนทำให้ถูกรับเข้าวังเป็นสนมเมื่อมีอายุเพียงสิบเอ็ดปี (ตอนนั้นฮ่องเต้อายุสี่สิบปี) ด้วยตำแหน่งไฉเหริน ความสามารถด้านต่างๆ ของนางเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังไท่จงมาก จึงได้รับการปรับตำแหน่งขึ้นเรื่อยมาจนเป็นถึงชงหรง

    เหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยขององค์ถังไท่จง จากที่เคยเป็นฮ่องเต้ที่ใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนและผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พอถึงช่วงปลายรัชสมัยนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ดูจะใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนน้อยลง ประหยัดน้อยลง หาความสำราญส่วนตนมากขึ้น หมดเงินไม่น้อยกับการสร้างพระราชวังใหม่ๆ ไม่หยุดหย่อนเพื่อเป็นที่ระลึกถึงรัชสมัยอันเกรียงไกรของตัวเอง และก่อสงครามใหญ่สองครั้ง ประชาชนเริ่มลำบากยากจน สร้างความกังวลให้กับเหล่าขุนนาง

    สวีเฟยเองแม้อยู่ในวังหลังแต่ใส่ใจเรื่องราวบ้านเมืองและทุกข์สุขของประชาชน ทั้งกังวลทั้งอดรนทนไม่ไหว จึงร่างบทความวิจารณ์ทางการเมืองขึ้นยื่นถวายเป็นฎีกา เนื้อความสรุปโดยคร่าวคือ
    – ขอให้ถังไท่จงอย่าได้ทำตามตัวอย่างกษัตริย์ในอดีตที่ใช้เวลาและทรัพย์สินไปกับการป่าวประกาศคุณงามความดีของตน เพราะเมื่อมีผลงานไม่ต้องโอ้อวด ประชาชนก็สำนึกได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องสร้างพระราชวังหรือวิหารอลังการ ความดีที่ทำก็จะคงอยู่ได้ยาวนานเป็นหมื่นปี
    – สงครามที่ไม่หยุดสิ้น เป็นการสิ้นเปลืองเสบียงอาหารและสร้างความลำบากให้ประชาชน ต้องอดมื้อกินมื้อ ขอองค์ถังไท่จงอย่าได้มัวแต่โหยหาอำนาจจากการขยายอาณาเขตเพิ่มจนสูญเสียไพร่พลคนม้าของตนเองไปโดยไม่รู้ตัว และหลงลืมความเมตตากรุณาอันเป็นคุณสมบัติสำคัญ พร้อมกับยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ทำให้บ้านเมืองต้องล่มจมเพราะความกระหายอำนาจของกษัตริย์
    – การก่อสร้างไม่หยุดหย่อนในสิ่งที่ไม่จำเป็น เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นไม้หรือแรงงาน ต้องเกณฑ์คนมาขนหินขนไม้ สร้างความทุกข์ยากให้ประชาชน แรงของคนควรสงวนไว้เพื่อสิ่งที่จำเป็น ให้เขาได้พักบ้าง เมื่อถึงคราวต้องใช้จึงเป็นคนที่บ้านเมืองพึ่งพาได้
    – ของฟุ่มเฟือยเงินทองมุกหยก ล้วนทำให้เมามายได้ดั่งสุรา แม้ล้วนเป็นสิ่งที่ได้รับมาเป็นเครื่องบรรณาการ แต่การนำมาใช้อย่างมากมายกลับกลายเป็นการสร้างความแตกต่างและระยะห่างระหว่างฮ่องเต้กับประชาชน ดังนั้น แทนที่จะหลงระเริงกับของเหล่านี้ มิสู้ทุ่มแรงใจให้กับการเสริมสร้างความรู้และการศึกษาให้กับคน
    ฯลฯ

    บทความของสวีเฟยนี้ยาวมากจน Storyฯ สรุปให้ไม่ได้หมด ฎีกาฉบับนี้มีชื่อเรียกว่า ‘เจี้ยนไท่จงซี่ปิงป้าอี้ซู’ (谏太宗息兵罢役疏 แปลได้ประมาณว่า ฏีกาตำหนิให้ไท่จงหยุดทหารหยุดทัพ) ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นบทวิจารณ์ทางการเมืองโดยสตรีที่หายาก และแม้ว่าเป็นการตำหนิอย่างตรงไปตรงมา แต่สามารถสื่อออกมาได้อย่างมีเหตุผลและแสดงความเคารพนบนอบ บ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาของนาง และยังเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สมัยถัง เหตุเพราะองค์ถังไท่จงได้รับฟังอย่างจริงจังและเห็นด้วย ไม่เพียงไม่โกรธแต่ยังยกย่องชื่นชมและให้รางวัลนางอีกด้วย

    ว่ากันว่า ในช่วงบั้นปลายชีวิตขององค์ถังไท่จงนั้น นางคือคนที่เขาโปรดปรานที่สุด ต่อมาเมื่อองค์ถังไท่จงเสียชีวิต นางก็ตรอมใจจนตายตามไปด้วย ขณะนั้นอายุนางเพียงยี่สิบสี่ปี ภายหลังได้รับการอวยยศย้อนหลังจากฮ่องเต้หลี่จื้อ (ถังเกาจง) ให้เป็นเสียนเฟย ผลงานที่สืบทอดมาเป็นวรรณกรรมให้ชนรุ่นหลังศึกษามีมากมายหลายชิ้น นับได้ว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ถูกยกย่องด้านความฉลาดและความเชี่ยวชาญด้านงานอักษรของประวัติศาสตร์จีน

    ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ถูกตีความว่าเป็นภาพที่สะท้อนถึงความจงรักภักดีและความตรงไปตรงมา ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปพร้อมกับภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ เขียนว่า ‘เต๋อเฉิงโหรวซุ่น’ (德成柔顺) แปลได้ประมาณว่า เปี่ยมด้วยศีลธรรมและความนอบน้อม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://inmywordz.com/archives/66897
    https://www.duitang.com/blog/?id=1246591620
    https://baike.sogou.com/v74971288.htm

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    https://baike.sogou.com/v74971288.htm
    https://baike.baidu.com/item/徐惠/11444
    https://baike.baidu.com/item/谏太宗息兵罢役疏

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เสียนเฟย #สวีเฟยวิพากษ์ #สวีเฟย #สวีเฟยถวายฎีกา #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    พรุ่งนี้เริ่มหยุดยาว เลยมาอัพบทความเร็วหน่อย วันนี้คุยกันต่อเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก แน่นอนว่าความยากในการหาข้อมูลยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องเพราะสิบสองภาพวาดนี้สูญหายไปเกือบหมดแล้ว และอย่างที่ Storyฯ ได้กล่าวไปในบทความก่อนหน้านี้ ตำหนักที่ประทับของแต่ละท่านในละครก็ใช่ว่าจะตรงกันกับในประวัติศาสตร์ ภาพที่จะเล่าถึงกันในวันนี้เป็นอีกหนึ่งภาพที่หาข้อมูลยาก คือภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ (徐妃直谏图) ซึ่งในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ภาพนี้ถูกพระราชทานให้เสียนเฟยที่ตำหนักเฉิงเฉียนกง แต่อย่างที่เพื่อนเพจอาจพอทราบมาบ้าง เสียนเฟย (ซึ่งต่อมาคือฮองเฮาสกุลอูลาน่าลา) ถูกลบเลือนออกไปจากบันทึกต่างๆ มีบางข้อมูลบอกว่าพระนางประทับที่ตำหนักอี้คุนกง และภาพที่ได้รับพระราชทานมาที่ตำหนักอี้คุนกงคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图) อย่างไรก็ดี เท่าที่ Storyฯ พอจะหาข้อมูลได้ ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เคยแขวนอยู่ที่เฉิงเฉียนกง วันนี้เราคุยกันเรื่องภาพนี้ ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ Storyฯ หาไม่พบว่าจริงแล้วหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะภาพที่ใช้ประกอบในละครนั้น จริงๆ แล้วเป็นหนึ่งในคอลเลคชั่นภาพวาดชีวิตสตรีในตระกูลขุนนางของเจียวปิ่งเจินในสมัยต้นราชวงศ์ชิง (รูปประกอบ1) ส่วนภาพที่เกี่ยวกับสวีเฟยที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนั้น มีชื่อว่า ‘สวีเฟยถวายฎีกา’ (徐惠上疏 รูปประกอบ2) เป็นผลงานของหวางเจิ้งเผิงสมัยราชวงศ์หยวนจากคอลเลคชั่นเกี่ยวกับพระภรรยาที่มีชื่อเสียงด้านคุณงามความดีในประวัติศาสตร์จีน ‘สวีเฟย’ คือใคร? นางคือหนึ่งในพระสนมของฮ่องเต้หลี่ซื่อหมินหรือถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง (ขออภัยไม่ใช่ราชาศัพท์) นามเดิมว่า ‘สวีฮุ่ย’ (ค.ศ. 627-650) เป็นบุตรีของอดีตขุนนางระดับสูงของราชวงศ์ใต้ พื้นเพเดิมจากหูโจว มลฑลเจ้อเจียง นางเชี่ยวชาญด้านงานอักษรและบทกวี ว่ากันว่านางสามารถเริ่มเขียนบทความยาวๆ และท่องจำหนังสือปรัชญาของขงจื๊อที่ผู้ใหญ่ใช้เรียนได้ตั้งแต่เมื่ออายุเพียงสี่ขวบ ตอนนางอายุแปดขวบได้แต่งบทกลอนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานชั้นเลิศ โด่งดังไปถึงหูขององค์ถังไท่จงในวังหลวง จนทำให้ถูกรับเข้าวังเป็นสนมเมื่อมีอายุเพียงสิบเอ็ดปี (ตอนนั้นฮ่องเต้อายุสี่สิบปี) ด้วยตำแหน่งไฉเหริน ความสามารถด้านต่างๆ ของนางเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังไท่จงมาก จึงได้รับการปรับตำแหน่งขึ้นเรื่อยมาจนเป็นถึงชงหรง เหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยขององค์ถังไท่จง จากที่เคยเป็นฮ่องเต้ที่ใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนและผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พอถึงช่วงปลายรัชสมัยนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ดูจะใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนน้อยลง ประหยัดน้อยลง หาความสำราญส่วนตนมากขึ้น หมดเงินไม่น้อยกับการสร้างพระราชวังใหม่ๆ ไม่หยุดหย่อนเพื่อเป็นที่ระลึกถึงรัชสมัยอันเกรียงไกรของตัวเอง และก่อสงครามใหญ่สองครั้ง ประชาชนเริ่มลำบากยากจน สร้างความกังวลให้กับเหล่าขุนนาง สวีเฟยเองแม้อยู่ในวังหลังแต่ใส่ใจเรื่องราวบ้านเมืองและทุกข์สุขของประชาชน ทั้งกังวลทั้งอดรนทนไม่ไหว จึงร่างบทความวิจารณ์ทางการเมืองขึ้นยื่นถวายเป็นฎีกา เนื้อความสรุปโดยคร่าวคือ – ขอให้ถังไท่จงอย่าได้ทำตามตัวอย่างกษัตริย์ในอดีตที่ใช้เวลาและทรัพย์สินไปกับการป่าวประกาศคุณงามความดีของตน เพราะเมื่อมีผลงานไม่ต้องโอ้อวด ประชาชนก็สำนึกได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องสร้างพระราชวังหรือวิหารอลังการ ความดีที่ทำก็จะคงอยู่ได้ยาวนานเป็นหมื่นปี – สงครามที่ไม่หยุดสิ้น เป็นการสิ้นเปลืองเสบียงอาหารและสร้างความลำบากให้ประชาชน ต้องอดมื้อกินมื้อ ขอองค์ถังไท่จงอย่าได้มัวแต่โหยหาอำนาจจากการขยายอาณาเขตเพิ่มจนสูญเสียไพร่พลคนม้าของตนเองไปโดยไม่รู้ตัว และหลงลืมความเมตตากรุณาอันเป็นคุณสมบัติสำคัญ พร้อมกับยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ทำให้บ้านเมืองต้องล่มจมเพราะความกระหายอำนาจของกษัตริย์ – การก่อสร้างไม่หยุดหย่อนในสิ่งที่ไม่จำเป็น เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นไม้หรือแรงงาน ต้องเกณฑ์คนมาขนหินขนไม้ สร้างความทุกข์ยากให้ประชาชน แรงของคนควรสงวนไว้เพื่อสิ่งที่จำเป็น ให้เขาได้พักบ้าง เมื่อถึงคราวต้องใช้จึงเป็นคนที่บ้านเมืองพึ่งพาได้ – ของฟุ่มเฟือยเงินทองมุกหยก ล้วนทำให้เมามายได้ดั่งสุรา แม้ล้วนเป็นสิ่งที่ได้รับมาเป็นเครื่องบรรณาการ แต่การนำมาใช้อย่างมากมายกลับกลายเป็นการสร้างความแตกต่างและระยะห่างระหว่างฮ่องเต้กับประชาชน ดังนั้น แทนที่จะหลงระเริงกับของเหล่านี้ มิสู้ทุ่มแรงใจให้กับการเสริมสร้างความรู้และการศึกษาให้กับคน ฯลฯ บทความของสวีเฟยนี้ยาวมากจน Storyฯ สรุปให้ไม่ได้หมด ฎีกาฉบับนี้มีชื่อเรียกว่า ‘เจี้ยนไท่จงซี่ปิงป้าอี้ซู’ (谏太宗息兵罢役疏 แปลได้ประมาณว่า ฏีกาตำหนิให้ไท่จงหยุดทหารหยุดทัพ) ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นบทวิจารณ์ทางการเมืองโดยสตรีที่หายาก และแม้ว่าเป็นการตำหนิอย่างตรงไปตรงมา แต่สามารถสื่อออกมาได้อย่างมีเหตุผลและแสดงความเคารพนบนอบ บ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาของนาง และยังเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สมัยถัง เหตุเพราะองค์ถังไท่จงได้รับฟังอย่างจริงจังและเห็นด้วย ไม่เพียงไม่โกรธแต่ยังยกย่องชื่นชมและให้รางวัลนางอีกด้วย ว่ากันว่า ในช่วงบั้นปลายชีวิตขององค์ถังไท่จงนั้น นางคือคนที่เขาโปรดปรานที่สุด ต่อมาเมื่อองค์ถังไท่จงเสียชีวิต นางก็ตรอมใจจนตายตามไปด้วย ขณะนั้นอายุนางเพียงยี่สิบสี่ปี ภายหลังได้รับการอวยยศย้อนหลังจากฮ่องเต้หลี่จื้อ (ถังเกาจง) ให้เป็นเสียนเฟย ผลงานที่สืบทอดมาเป็นวรรณกรรมให้ชนรุ่นหลังศึกษามีมากมายหลายชิ้น นับได้ว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ถูกยกย่องด้านความฉลาดและความเชี่ยวชาญด้านงานอักษรของประวัติศาสตร์จีน ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ถูกตีความว่าเป็นภาพที่สะท้อนถึงความจงรักภักดีและความตรงไปตรงมา ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปพร้อมกับภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ เขียนว่า ‘เต๋อเฉิงโหรวซุ่น’ (德成柔顺) แปลได้ประมาณว่า เปี่ยมด้วยศีลธรรมและความนอบน้อม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://inmywordz.com/archives/66897 https://www.duitang.com/blog/?id=1246591620 https://baike.sogou.com/v74971288.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html https://baike.sogou.com/v74971288.htm https://baike.baidu.com/item/徐惠/11444 https://baike.baidu.com/item/谏太宗息兵罢役疏 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เสียนเฟย #สวีเฟยวิพากษ์ #สวีเฟย #สวีเฟยถวายฎีกา #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    INMYWORDZ.COM
    《延禧攻略》最受寵的是令妃,生得最多的是純妃!乾隆為何卻選擇最心狠毒辣嫻妃為繼后?-我們用電影寫日記 - 冒牌生:寫作 • 旅行 • 生活
    而且還是在富察皇后離開後就馬上決定了😱 #延禧攻略 #繼皇后為什麼是她 #皇上考慮的真多 *正文開始 來源:美映椒房 整理:冒牌生 乾隆十三年三月,乾隆皇帝元配富察皇后忍著喪子悲痛,強顏歡笑帶病伺候皇帝和太后東巡,最終病逝於東巡途中。
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1259 มุมมอง 0 รีวิว
  • จักรพรรดิถงจื้อ (同治帝)​ เป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์ชิง
    ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุ 4 พรรษา ถึงแม้ว่าพระองค์จะครองราชย์ได้เพียง 12 ปี พระองค์ก็จัดได้ว่าเป็นจักรพรรดิที่พยายามจะบริหารประเทศให้ดีองค์หนึ่ง

    ช่วงเวลานั้น ซูสีไทเฮา มีอำนาจครอบงำมาก
    ทำให้พระองค์ไม่สามารถใช้ความสามารถได้อย่างเต็มที่
    เพราะพระนางซูสีไทเฮาเห็นว่าพระองค์นั้นไร้ซึ่งความสามารถ
    🔸พระราชสมภพ 27 เมษายน ค.ศ. 1856
    🔸สวรรคต 12 มกราคม ค.ศ. 1875 (18 ปี)
    🔸ครองราชย์ (11 พย. 1861 – 12 มค. 1875) ( 13ปี 62วัน)
    จักรพรรดิถงจื้อ (同治帝)​ เป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์ชิง ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุ 4 พรรษา ถึงแม้ว่าพระองค์จะครองราชย์ได้เพียง 12 ปี พระองค์ก็จัดได้ว่าเป็นจักรพรรดิที่พยายามจะบริหารประเทศให้ดีองค์หนึ่ง ช่วงเวลานั้น ซูสีไทเฮา มีอำนาจครอบงำมาก ทำให้พระองค์ไม่สามารถใช้ความสามารถได้อย่างเต็มที่ เพราะพระนางซูสีไทเฮาเห็นว่าพระองค์นั้นไร้ซึ่งความสามารถ 🔸พระราชสมภพ 27 เมษายน ค.ศ. 1856 🔸สวรรคต 12 มกราคม ค.ศ. 1875 (18 ปี) 🔸ครองราชย์ (11 พย. 1861 – 12 มค. 1875) ( 13ปี 62วัน)
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 216 มุมมอง 0 รีวิว
  • วางแผนการเดิน "พระราชวังต้องห้าม" (ปักกิ่ง) ในวันเดียว

    ประวัติ "พระราชวังต้องห้าม" “จื่อจิ้นเฉิง”(紫禁城)
    ‘จื่อ’ (紫)แปลว่า สีม่วง ในวัฒนธรรมจีน หมายถึง ความศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงฐานะอันสูงส่งของฮ่องเต้ อย่างเช่นเวลาที่ฮ่องเต้เสด็จ ราชรถก็จะชูธงสีม่วงขึ้น ดังนั้น สีม่วงจึงใช้เป็นสัญลักษณ์ของราชสำนักอีกด้วย

    ‘จื่อ’ (紫) จากคำว่า จื่อจิ้นเฉิง(紫禁城) มาจาก จื่อเวยซิง(紫薇星)ที่เป็นชื่อดาวเหนือ เป็นเหมือนดาวพระราชา ดังนั้นเลยสื่อได้ว่า คนจีนในสมัยก่อนมองว่า จื่อจิ้นเฉิง หรือ พระราชวังต้องห้าม ถือเป็นศูนย์กลางของโลก และภายหลังจึงเปลี่ยนมาเรียก กู้กง(故宫) ที่มาจากคำว่า 故宫博物馆 หรือแปลว่า พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามนั่นเอง

    พระราชวังต้องห้ามสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1368 ตรงกับสมัยจักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์หมิง หรือจักรพรรดิหย่งเล่อ(永乐)ในตอนนั้นเมืองหลวงของจีนอยู่ที่เมืองหนานจิง(南京)หรือที่เรารู้จักกันว่านานกิง แต่ตอนนั้นฮ่องเต้ต้องการจะย้ายเมืองหลวงมาไว้ที่ปักกิ่ง(北京)

    สาเหตุก็เพราะต้องการถอนรากถอนโคนอำนาจเดิม เลยสร้างพระราชวังนี้ขึ้นมาในเมืองหลวงใหม่อย่างปักกิ่ง เพื่อใช้เป็นที่ประทับของราชวงศ์เท่านั้น ไม่อนุญาตให้ประชาชนคนนอกเข้ามาได้ และนี่ก็เลยเป็นที่มาของคำว่า ‘ต้องห้าม’ ในพระราชวังต้องห้ามนั่นเอง

    ในส่วนของตัวพระราชวังต้องห้าม พระราชวังต้องห้ามถือว่าเป็นหนึ่งในพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในโลก โครงสร้างจะแบ่งเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นป้อมปราการที่มีกำแพงสูงกั้นไว้ ชั้นพระราชฐานชั้นนอกที่ฮ่องเต้ใช้ประกอบพิธีต่าง ๆ และสุดท้ายจะเป็นพระราชฐานชั้นใน เป็นที่ประทับของฮ่องเต้และเหล่าสนม

    นางกำนัล รวมแล้ว 9,000 คนและขันทีอีก 70,000 คน เรียกได้ว่าแม้จะพูดว่าห้ามคนนอกเข้า แต่ข้างในก็คนเยอะมาก

    ต่อมาสมัยราชวงศ์ชิง จริง ๆ ราชวงศ์หมิงสร้างพระราชวังต้องห้ามได้อย่างอลังการมากจนภายหลังราชวงศ์ชิงสามารถเข้าไปใช้ต่อได้เลย แต่กับฮ่องเต้บางพระองค์ก็จะไม่ค่อยประทับที่พระราชวังต้องห้าม เพราะราชวงศ์ชิงเป็นชาวแมนจู ซึ่งเป็นชนเผ่าที่อาศัยตามทุ่งหญ้าและป่าเขา ชอบขี่ม้า เลี้ยงสัตว์ พอมาอยู่ในพระราชวังต้องห้ามก็รู้สึกอึดอัด จนต้องไปสร้างพระราชวัง หรือ อุทยานอื่นในการประทับอยู่แทน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่จะอยู่ที่พระราชวังต้องห้ามแห่งนี้กัน

    สมัยชิงสามารถยกให้เป็นสมัยแห่งการต่อเติมพระราชวังต้องห้ามให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิมได้เลย ที่เด่น ๆ จะเป็นสมัยของฮ่องเต้เฉียนหลง (ในเรื่องหรูอี้แหละ ยุคนั้น) ที่มีการสร้างอุทยานหนิงโซ่วกง (寧壽宮) หรือที่เราเรียกกันว่า สวนเฉียนหลง ไว้ทางตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวังต้องห้าม เพื่อใช้ประทับยามชรา
    เป็นอุทยานที่มีเอกลักษณ์มาก ๆ เพราะทุกอาคารเชื่อมถึงกัน มีภูเขาจำลองที่ประกอบไปด้วยทิวทัศน์ของต้นสน ต้นไผ่ ต้นเหมย อันเป็นสัญลักษณ์ของความสันโดษ ที่พระองค์ตั้งให้เป็นเหมือนแนวคิดหลักของอุทยานแห่งนี้ค่ะ (และนี่จะโยงกับเรื่องที่ว่าทำไมฝรั่งไม่เผาพระราชวังต้องห้าม)

    ไฮไลท์ อื่น ๆ ของพระราชวังต้องห้ามที่ไม่ควรพลาด ได้แก่ ประตูอู่เหมิน(午门)เป็นประตูที่ใหญ่ที่สุดในพระราชวังต้องห้าม ในอดีตที่ประตูนี้เป็นที่รวมตัวกันของข้าราชการฝ่ายพลเรือนและทหารเพื่อฟังพระราชโองการหรือประกาศกำหนดการณ์ต่างๆ

    พระที่นั่งไท่เหอ(太和殿)โด่งดังมาก เพราะถือเป็นพระที่นั่งที่ใหญ่ที่สุดในพระราชวังต้องห้าม เป็นจุดศูนย์กลางและเป็นจุดสูงสุดของพระราชวังแห่งนี้เลย และยังมีอาคารไม้ที่ใหญ่ที่สุดในจีนอีกด้วย พระที่นั่งไท่เหอจะใช้ในงานพระราชพิธีสำคัญของราชสำนัก

    จัตุรัสเทียนอันเหมิน(天安门)อยู่ทางทิศเหนือของเขตพระราชวังต้องห้าม (ถ้าเข้าทางประตูอู่เหมินจะเจอเทียนอันเหมินก่อน) จะเห็นได้จากอนุสรณ์สถานประธานเหมาที่ตั้งอยู่อย่างเป็นเอกลักษณ์ในจัตุรัสแห่งนี้ ซึ่งเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นสถานที่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองของจีนมากทีเดียว เพราะเป็นอนุสรณ์ถึงความเสียสละเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย


    วางแผนการเดิน "พระราชวังต้องห้าม" (ปักกิ่ง) ในวันเดียว ประวัติ "พระราชวังต้องห้าม" “จื่อจิ้นเฉิง”(紫禁城) ‘จื่อ’ (紫)แปลว่า สีม่วง ในวัฒนธรรมจีน หมายถึง ความศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงฐานะอันสูงส่งของฮ่องเต้ อย่างเช่นเวลาที่ฮ่องเต้เสด็จ ราชรถก็จะชูธงสีม่วงขึ้น ดังนั้น สีม่วงจึงใช้เป็นสัญลักษณ์ของราชสำนักอีกด้วย ‘จื่อ’ (紫) จากคำว่า จื่อจิ้นเฉิง(紫禁城) มาจาก จื่อเวยซิง(紫薇星)ที่เป็นชื่อดาวเหนือ เป็นเหมือนดาวพระราชา ดังนั้นเลยสื่อได้ว่า คนจีนในสมัยก่อนมองว่า จื่อจิ้นเฉิง หรือ พระราชวังต้องห้าม ถือเป็นศูนย์กลางของโลก และภายหลังจึงเปลี่ยนมาเรียก กู้กง(故宫) ที่มาจากคำว่า 故宫博物馆 หรือแปลว่า พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามนั่นเอง พระราชวังต้องห้ามสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1368 ตรงกับสมัยจักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์หมิง หรือจักรพรรดิหย่งเล่อ(永乐)ในตอนนั้นเมืองหลวงของจีนอยู่ที่เมืองหนานจิง(南京)หรือที่เรารู้จักกันว่านานกิง แต่ตอนนั้นฮ่องเต้ต้องการจะย้ายเมืองหลวงมาไว้ที่ปักกิ่ง(北京) สาเหตุก็เพราะต้องการถอนรากถอนโคนอำนาจเดิม เลยสร้างพระราชวังนี้ขึ้นมาในเมืองหลวงใหม่อย่างปักกิ่ง เพื่อใช้เป็นที่ประทับของราชวงศ์เท่านั้น ไม่อนุญาตให้ประชาชนคนนอกเข้ามาได้ และนี่ก็เลยเป็นที่มาของคำว่า ‘ต้องห้าม’ ในพระราชวังต้องห้ามนั่นเอง ในส่วนของตัวพระราชวังต้องห้าม พระราชวังต้องห้ามถือว่าเป็นหนึ่งในพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในโลก โครงสร้างจะแบ่งเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นป้อมปราการที่มีกำแพงสูงกั้นไว้ ชั้นพระราชฐานชั้นนอกที่ฮ่องเต้ใช้ประกอบพิธีต่าง ๆ และสุดท้ายจะเป็นพระราชฐานชั้นใน เป็นที่ประทับของฮ่องเต้และเหล่าสนม นางกำนัล รวมแล้ว 9,000 คนและขันทีอีก 70,000 คน เรียกได้ว่าแม้จะพูดว่าห้ามคนนอกเข้า แต่ข้างในก็คนเยอะมาก ต่อมาสมัยราชวงศ์ชิง จริง ๆ ราชวงศ์หมิงสร้างพระราชวังต้องห้ามได้อย่างอลังการมากจนภายหลังราชวงศ์ชิงสามารถเข้าไปใช้ต่อได้เลย แต่กับฮ่องเต้บางพระองค์ก็จะไม่ค่อยประทับที่พระราชวังต้องห้าม เพราะราชวงศ์ชิงเป็นชาวแมนจู ซึ่งเป็นชนเผ่าที่อาศัยตามทุ่งหญ้าและป่าเขา ชอบขี่ม้า เลี้ยงสัตว์ พอมาอยู่ในพระราชวังต้องห้ามก็รู้สึกอึดอัด จนต้องไปสร้างพระราชวัง หรือ อุทยานอื่นในการประทับอยู่แทน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่จะอยู่ที่พระราชวังต้องห้ามแห่งนี้กัน สมัยชิงสามารถยกให้เป็นสมัยแห่งการต่อเติมพระราชวังต้องห้ามให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิมได้เลย ที่เด่น ๆ จะเป็นสมัยของฮ่องเต้เฉียนหลง (ในเรื่องหรูอี้แหละ ยุคนั้น) ที่มีการสร้างอุทยานหนิงโซ่วกง (寧壽宮) หรือที่เราเรียกกันว่า สวนเฉียนหลง ไว้ทางตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวังต้องห้าม เพื่อใช้ประทับยามชรา เป็นอุทยานที่มีเอกลักษณ์มาก ๆ เพราะทุกอาคารเชื่อมถึงกัน มีภูเขาจำลองที่ประกอบไปด้วยทิวทัศน์ของต้นสน ต้นไผ่ ต้นเหมย อันเป็นสัญลักษณ์ของความสันโดษ ที่พระองค์ตั้งให้เป็นเหมือนแนวคิดหลักของอุทยานแห่งนี้ค่ะ (และนี่จะโยงกับเรื่องที่ว่าทำไมฝรั่งไม่เผาพระราชวังต้องห้าม) ไฮไลท์ อื่น ๆ ของพระราชวังต้องห้ามที่ไม่ควรพลาด ได้แก่ ประตูอู่เหมิน(午门)เป็นประตูที่ใหญ่ที่สุดในพระราชวังต้องห้าม ในอดีตที่ประตูนี้เป็นที่รวมตัวกันของข้าราชการฝ่ายพลเรือนและทหารเพื่อฟังพระราชโองการหรือประกาศกำหนดการณ์ต่างๆ พระที่นั่งไท่เหอ(太和殿)โด่งดังมาก เพราะถือเป็นพระที่นั่งที่ใหญ่ที่สุดในพระราชวังต้องห้าม เป็นจุดศูนย์กลางและเป็นจุดสูงสุดของพระราชวังแห่งนี้เลย และยังมีอาคารไม้ที่ใหญ่ที่สุดในจีนอีกด้วย พระที่นั่งไท่เหอจะใช้ในงานพระราชพิธีสำคัญของราชสำนัก จัตุรัสเทียนอันเหมิน(天安门)อยู่ทางทิศเหนือของเขตพระราชวังต้องห้าม (ถ้าเข้าทางประตูอู่เหมินจะเจอเทียนอันเหมินก่อน) จะเห็นได้จากอนุสรณ์สถานประธานเหมาที่ตั้งอยู่อย่างเป็นเอกลักษณ์ในจัตุรัสแห่งนี้ ซึ่งเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นสถานที่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองของจีนมากทีเดียว เพราะเป็นอนุสรณ์ถึงความเสียสละเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 694 มุมมอง 0 รีวิว
  • สกุลถานไถ

    วันนี้มีเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <จันทราอัสดง> มาฝาก สืบเนื่องจากความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ เกี่ยวกับแซ่ ‘ถานไถ’ (澹台) ของพระเอกในเรื่อง เพราะ Storyฯ หูตาคับแคบไม่เคยผ่านตาผ่านหูแซ่นี้มาก่อน จึงไปทำการบ้านมา และพบว่าก็มีเรื่องราวให้อ่านเพลินได้เหมือนกัน

    แซ่ถานไถปรากฏเป็นลำดับที่ 421 ในบันทึก ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) ซึ่งจริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ เป็นหนึ่งในหนังสือเรียนของเด็กที่ Storyฯ เคยเล่าถึง (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0s5Bpm8cCd2bAxRL1yW3RDTbdyco8ee6z5Jifnvg5R5k9waJpeWmyfo13f7ysJnyEl)

    จีนมีศาสตร์แขนงหนึ่งที่เรียกว่า ‘ซิ่งซื่อเสวีย’ (姓氏学) ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับที่มาของชื่อสกุล โดยศึกษาผ่านเอกสารจารึกทางประวัติศาสตร์ วรรณกรรมโบราณ ชื่อสถานที่โบราณ ฯลฯ เป็นองค์ประกอบ ภาษาอังกฤษเรียกศาสตร์นี้ว่า Anthroponymy ซึ่งเคยมีคนแปลไว้ว่า ‘มานุษยวิทยา’ แต่ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าคำแปลนี้ถูกต้องหรือไม่ หนึ่งในบันทึกที่รวบรวมการศึกษาดังกล่าวคือ ‘ซิ่งซื่อข่าวเลวี่ย’ (姓氏考略 / บทวิเคราะห์ชื่อสกุล) ที่จัดทำในสมัยราชวงศ์ชิงของเฉินถิงเหว่ย โดยมีกล่าวถึงที่มาของแซ่ถานไถนี้ว่า มีมาแต่ยุคสมัยชุนชิว (ประมาณปี 770-403 ก่อนคริสตศักราช) ต้นตระกูลคือถานไถเมี่ยหมิง (澹台灭冥)

    เลยต้องมาคุยกันสักหน่อยเกี่ยวกับถานไถเมี่ยหมิง เขาเป็นหนึ่งใน 72 ศิษย์เอกของขงจื๊อ

    ไม่ปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับบุพการีและสกุลเดิมของเขา ทราบแต่ว่าชื่อเมี่ยหมิง นามรองคือจื๋ออวี่ เกิดเมื่อประมาณปี 512 ก่อนคริสตศักราชที่แคว้นหลู่ ด้วยภูมิลำเนาใกล้กับเขาถานไถ (ปัจจุบันคือมณฑลซานตง) จึงใช้ถานไถนี้เป็นแซ่ของตัวเอง

    เมี่ยหมิงเดิมเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย อายุอ่อนกว่าขงจื๊อ 39 ปี ดังนั้นในสมัยที่เขากราบเรียนกับขงจื๊อนั้น เป็นช่วงบั้นปลายชีวิตของขงจื๊อ เขาเป็นคนตรงไม่เห็นแก่สมบัติลาภยศ ไม่ใช้ทางลัดใฝ่หาความสำเร็จ เป็นคนใฝ่รู้ขยันศึกษา และในใจมีประชาชนเป็นที่ตั้ง

    ด้วยอุปนิสัยใจคออย่างนี้ เขาควรเป็นศิษย์รักของขงจื๊อ แต่... เขาหน้าตาอัปลักษณ์มาก จนบางข้อมูลบอกว่าขงจื๊อไม่รับเขาเป็นศิษย์ เพราะมีอคติว่าหน้าตาอย่างนี้จะมีพรสวรรค์อะไรได้ เขาจึงต้องอาศัยการศึกษาอ่านตำราเอง บางข้อมูลบอกว่าขงจื๊อรับเขาเป็นศิษย์ แต่ไม่ค่อยดูดำดูดีเพราะไม่ปลื้มหน้าตาของเขา

    ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมี่ยหมิงศึกษาตำราและคำสอนของขงจื๊อด้วยตนเองจนแตกฉานแล้วออกเดินทางลงใต้ไปยังแคว้นอู๋จนสุดท้ายปักหลักอยู่แถบพื้นที่เจียงซู รับศิษย์กว่าสามร้อยคน ถ่ายทอดความรู้และเผยแพร่ปรัชญาของขงจื๊อ ตลอดชีวิตที่เหลือของเขานั้น เขายกย่องนับถือขงจื๊อเป็นอาจารย์ และเขาได้รับการยกย่องนับถือมากมาย ทั้งด้วยการวางตนที่ดีและความรู้ที่ลึกล้ำ ชื่อเสียงของเขาร่ำลือไปไกลจนถึงหูของขงจื๊อ ขงจื๊อก็คิดได้ถึงความอคติของตนที่เคยมี จนถึงกับปรารภขึ้นอย่างละอายใจว่า “ข้าพเจ้ามองคนที่ภายนอก จึงมองจื๋ออวี่ผิดไป”... และว่ากันว่า นี่เป็นที่มาของคติสอนใจว่า ‘อย่ามองคนที่ภายนอก’ (人不可貌相 / เหรินปู้เข่อเม่าเซี่ยง)

    นับได้ว่าเมี่ยหมิงเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ลัทธิหรู และต่อมาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งใน 72 ศิษย์ของขงจื๊อที่สามารถศึกษาปรัชญาของขงจื๊อสำเร็จจนแตกฉาน

    ปัจจุบันยังมีคนใช้แซ่ถานไถนี้อยู่ และที่เพิ่มเติมคือได้มีการแตกสกุลออกมาเป็นแซ่ถาน และแซ่ไถด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://m.cyol.com/gb/articles/2023-04/03/content_mObpd4cVLq.html
    https://www.newton.com.tw/wiki/澹臺滅明/14241

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.guoxue.com/rw/kongzi/kz04.htm
    http://www.kongjia.org/web/xdrw/20160924/1107.html
    https://so.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4FD56C8A9082CD0AF3.aspx
    http://www.qulishi.com/baijiaxing/421.htm
    https://baijiaxing.bmcx.com/dantai__baijiaxing/

    #จันทราอัสดง #แซ่ถานไถ #ถานไถ #ถานไถเมี่ยหมิง #ขงจื๊อ #อย่ามองคนที่ภายนอก
    สกุลถานไถ วันนี้มีเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <จันทราอัสดง> มาฝาก สืบเนื่องจากความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ เกี่ยวกับแซ่ ‘ถานไถ’ (澹台) ของพระเอกในเรื่อง เพราะ Storyฯ หูตาคับแคบไม่เคยผ่านตาผ่านหูแซ่นี้มาก่อน จึงไปทำการบ้านมา และพบว่าก็มีเรื่องราวให้อ่านเพลินได้เหมือนกัน แซ่ถานไถปรากฏเป็นลำดับที่ 421 ในบันทึก ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) ซึ่งจริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ เป็นหนึ่งในหนังสือเรียนของเด็กที่ Storyฯ เคยเล่าถึง (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0s5Bpm8cCd2bAxRL1yW3RDTbdyco8ee6z5Jifnvg5R5k9waJpeWmyfo13f7ysJnyEl) จีนมีศาสตร์แขนงหนึ่งที่เรียกว่า ‘ซิ่งซื่อเสวีย’ (姓氏学) ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับที่มาของชื่อสกุล โดยศึกษาผ่านเอกสารจารึกทางประวัติศาสตร์ วรรณกรรมโบราณ ชื่อสถานที่โบราณ ฯลฯ เป็นองค์ประกอบ ภาษาอังกฤษเรียกศาสตร์นี้ว่า Anthroponymy ซึ่งเคยมีคนแปลไว้ว่า ‘มานุษยวิทยา’ แต่ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าคำแปลนี้ถูกต้องหรือไม่ หนึ่งในบันทึกที่รวบรวมการศึกษาดังกล่าวคือ ‘ซิ่งซื่อข่าวเลวี่ย’ (姓氏考略 / บทวิเคราะห์ชื่อสกุล) ที่จัดทำในสมัยราชวงศ์ชิงของเฉินถิงเหว่ย โดยมีกล่าวถึงที่มาของแซ่ถานไถนี้ว่า มีมาแต่ยุคสมัยชุนชิว (ประมาณปี 770-403 ก่อนคริสตศักราช) ต้นตระกูลคือถานไถเมี่ยหมิง (澹台灭冥) เลยต้องมาคุยกันสักหน่อยเกี่ยวกับถานไถเมี่ยหมิง เขาเป็นหนึ่งใน 72 ศิษย์เอกของขงจื๊อ ไม่ปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับบุพการีและสกุลเดิมของเขา ทราบแต่ว่าชื่อเมี่ยหมิง นามรองคือจื๋ออวี่ เกิดเมื่อประมาณปี 512 ก่อนคริสตศักราชที่แคว้นหลู่ ด้วยภูมิลำเนาใกล้กับเขาถานไถ (ปัจจุบันคือมณฑลซานตง) จึงใช้ถานไถนี้เป็นแซ่ของตัวเอง เมี่ยหมิงเดิมเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย อายุอ่อนกว่าขงจื๊อ 39 ปี ดังนั้นในสมัยที่เขากราบเรียนกับขงจื๊อนั้น เป็นช่วงบั้นปลายชีวิตของขงจื๊อ เขาเป็นคนตรงไม่เห็นแก่สมบัติลาภยศ ไม่ใช้ทางลัดใฝ่หาความสำเร็จ เป็นคนใฝ่รู้ขยันศึกษา และในใจมีประชาชนเป็นที่ตั้ง ด้วยอุปนิสัยใจคออย่างนี้ เขาควรเป็นศิษย์รักของขงจื๊อ แต่... เขาหน้าตาอัปลักษณ์มาก จนบางข้อมูลบอกว่าขงจื๊อไม่รับเขาเป็นศิษย์ เพราะมีอคติว่าหน้าตาอย่างนี้จะมีพรสวรรค์อะไรได้ เขาจึงต้องอาศัยการศึกษาอ่านตำราเอง บางข้อมูลบอกว่าขงจื๊อรับเขาเป็นศิษย์ แต่ไม่ค่อยดูดำดูดีเพราะไม่ปลื้มหน้าตาของเขา ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมี่ยหมิงศึกษาตำราและคำสอนของขงจื๊อด้วยตนเองจนแตกฉานแล้วออกเดินทางลงใต้ไปยังแคว้นอู๋จนสุดท้ายปักหลักอยู่แถบพื้นที่เจียงซู รับศิษย์กว่าสามร้อยคน ถ่ายทอดความรู้และเผยแพร่ปรัชญาของขงจื๊อ ตลอดชีวิตที่เหลือของเขานั้น เขายกย่องนับถือขงจื๊อเป็นอาจารย์ และเขาได้รับการยกย่องนับถือมากมาย ทั้งด้วยการวางตนที่ดีและความรู้ที่ลึกล้ำ ชื่อเสียงของเขาร่ำลือไปไกลจนถึงหูของขงจื๊อ ขงจื๊อก็คิดได้ถึงความอคติของตนที่เคยมี จนถึงกับปรารภขึ้นอย่างละอายใจว่า “ข้าพเจ้ามองคนที่ภายนอก จึงมองจื๋ออวี่ผิดไป”... และว่ากันว่า นี่เป็นที่มาของคติสอนใจว่า ‘อย่ามองคนที่ภายนอก’ (人不可貌相 / เหรินปู้เข่อเม่าเซี่ยง) นับได้ว่าเมี่ยหมิงเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ลัทธิหรู และต่อมาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งใน 72 ศิษย์ของขงจื๊อที่สามารถศึกษาปรัชญาของขงจื๊อสำเร็จจนแตกฉาน ปัจจุบันยังมีคนใช้แซ่ถานไถนี้อยู่ และที่เพิ่มเติมคือได้มีการแตกสกุลออกมาเป็นแซ่ถาน และแซ่ไถด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://m.cyol.com/gb/articles/2023-04/03/content_mObpd4cVLq.html https://www.newton.com.tw/wiki/澹臺滅明/14241 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.guoxue.com/rw/kongzi/kz04.htm http://www.kongjia.org/web/xdrw/20160924/1107.html https://so.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4FD56C8A9082CD0AF3.aspx http://www.qulishi.com/baijiaxing/421.htm https://baijiaxing.bmcx.com/dantai__baijiaxing/ #จันทราอัสดง #แซ่ถานไถ #ถานไถ #ถานไถเมี่ยหมิง #ขงจื๊อ #อย่ามองคนที่ภายนอก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 967 มุมมอง 0 รีวิว
  • สี่อาชีพในสังคมจีนโบราณ

    ไม่ทราบว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ยอดบุรุษพลิกคดี> จะยังจำได้ไหมว่าในตอนต้นเรื่องนั้น จางผิงผู้เป็นบัณฑิตตกยากออกมาขายของกินยามค่ำคืนกับเพื่อนซี้ เขาโดนคนที่เดินผ่านมาถากถางว่าเป็นบัณฑิตแต่กลับไม่รักดีมาขายของโดยสาธยายว่า “ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด” (士农工商 商为最贱)

    ‘บัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้า’ หรือที่เรียกว่า ‘ซื่อหนงกงซัง” (士农工商) นั้น เป็นสี่หมวดอาชีพในสังคมจีนโบราณโดยในประโยคที่ยกมาจากในละครข้างต้นได้จัดเรียงลำดับชนชั้นจากความสูงส่งไปจนต่ำต้อย

    แล้วในสมัยจีนโบราณอาชีพพ่อค้าต่ำต้อยที่สุดจริงหรือ?

    จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ แรกเริ่มเลยในสมัยราชวงศ์ซาง (1600-1050 ก่อนคริสตกาล) การเป็นพ่อค้าเป็นอาชีพที่คนชอบ ทำให้มีเกษตรกรน้อย ต่อมาในราชวงศ์ถัดๆ ไปจึงถูกมองว่านั่นทำให้รากฐานสังคมไม่แข็งแรงและเป็นหนึ่งในสาเหตุของการล่มสลายของราชวงศ์ซาง ในสมัยราชวงศ์โจวจึงมีการสนับสนุนให้ประชาชนทำการเกษตรมากกว่าการค้า

    ในยุคสมัยชุนชิว (770-476 ปีก่อนคริสตกาล) สี่หมวดอาชีพ ‘ซื่อหนงกงซัง’ นี้ถูกรวมกันเป็น ‘ซื่อหมิน’ (四民 แปลตรงตัวว่า ‘สี่ประชาชน’ หมายถึงสี่อาชีพ) ในบันทึกสั้นโบราณว่าด้วยปรัชญาการปกครองที่มีชื่อเรียกว่า ‘เสี่ยวควง’ ของก่วนจ้ง อัครมหาเสนาบดีของแคว้นฉีในยุคสมัยชุนชิว ซึ่งต่อมาถูกผนวกรวมเข้าไปไว้ในหมวดที่สามของประมวลสาส์นสี่พระคลัง (四库全书 / ซื่อคู่เฉวียนซู) ที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง

    ก่วนจ้งเองมาจากครอบครัวพ่อค้า เขามองอาชีพพ่อค้าเป็นอาชีพเท่าเทียมกับอาชีพอื่น ข้อความเดิมของเขาระบุไว้ว่า ‘ซื่อหนงกงซังสี่ประชาชนนั้น ล้วนเป็นศิลารากฐานแห่งประเทศชาติ’ โดยมีนัยว่าสังคมจะขาดหนึ่งกลุ่มอาชีพใดไม่ได้ และก่วนจ้งไม่ได้มีการจัดแบ่งชนชั้นต่ำสูง แต่ให้แง่คิดสำหรับระบบการปกครองว่าควรจัดสรรที่ดินทำกินและเขตพำนักให้เหมาะสมกับกลุ่มอาชีพ เพราะแต่ละกลุ่มจะมีความสันทัดและมีรูปแบบชีวิตของตน และหากคนในวิชาชีพเดียวกันได้อยู่ด้วยกันจะสืบทอดและพัฒนาความรู้ในวิชาชีพนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า อีกทั้งยังเอื้อต่อการปกครอง (หมายเหตุ ‘ซื่อ’ ไม่เพียงหมายถึงบัณฑิต หากแต่หมายรวมถึงผู้มีการศึกษาสามารถดูแลปกครองผู้อื่นได้ และหมายรวมถึงผู้ที่เข้ารับราชการด้วย)

    จะเห็นได้ว่า แรกเริ่มเลย ‘สี่ประชาชน’ นั้นเป็นการวางระบบการปกครองตามหมวดหมู่วิชาชีพโดยมองทุกกลุ่มชนเท่าเทียมกัน แต่ผลที่ตามมาก็คือ เกษตรกรเกิดในครอบครัวเกษตรกร คนมีการศึกษาเกิดในตระกูลคนมีการศึกษาด้วยกัน พอผ่านไปหลายชั่วคน ประชาชนจะถูกจำกัดให้อยู่ภายในกลุ่มหมวดอาชีพของตนโดยปริยาย

    ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น ปรัชญาขงจื๊อได้รับการยกย่องและยอมรับอย่างแพร่หลายและมีอิทธิพลอย่างมากต่อการปกครองบ้านเมือง ผลที่ตามมาคือการยกระดับกลุ่มคนมีการศึกษาขึ้นสูงเหนือกลุ่มอื่น และเริ่มมีการมองอย่างดูแคลนว่าพ่อค้าเอาผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งมากกว่าความเจริญของส่วนรวม นี่ไม่ใช่คำสอนของขงจื๊อ แต่เป็นวิวัฒนาการทางความคิดของสังคมที่ไปในทิศทางนั้น

    ในตำราประวัติศาสตร์สมัยถังต้น (旧唐书¬) มีการบันทึกไว้ว่า ‘ผู้ที่รับเบี้ยหวัดราชการ ห้ามแก่งแย่งผลประโยชน์จากผู้ที่ต่ำกว่า ช่างและพ่อค้าหลากประเภท ห้ามมิให้เข้ารับราชการ’ (食禄之家,不得与下人争利。工商杂类,不得预于士伍。) เป็นที่สังเกตได้ว่ามีการใช้คำ ‘ผู้ที่ต่ำกว่า’ และ ‘หลากประเภท’ ซึ่งสะท้อนถึงการแบ่งแยกต่ำและสูง (หมายเหตุ ‘หลากประเภท’ ในที่นี้เป็นคำเรียกที่สะท้อนความหมายถึงชนชั้นต่ำ) และในสมัยถังไท่จงมีกฎว่า ห้ามไม่ให้ขุนนางขั้นที่ห้าขึ้นไปทำการค้า วัตถุประสงค์ของกฎเกณฑ์ต่างๆ เหล่านี้เป็นการจัดระเบียบสังคมและป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ แต่อย่างไรก็ดี มันเสริมสร้างการแบ่งแยกทางชนชั้นด้วยอาชีพ สุดท้ายกลายเป็นการตอกย้ำความเชื่อของสังคมที่ว่า ‘ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด’

    แต่ความคิดนี้เริ่มเปลี่ยนไปในช่วงกลางและปลายของสมัยถัง และได้มีการผ่อนคลายกฏเกณฑ์บางอย่าง การเปลี่ยนแปลงนี้ค่อยๆ มีอย่างต่อเนื่อง ต่อมาในสมัยซ่ง การค้าเจริญรุ่งเรือง เกิดการคบค้าสมาคมกันอย่างกว้างขวางข้ามกลุ่มอาชีพ และพ่อค้ากลับกลายมาเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของสังคม โดยมีบทบาทเข้ามาช่วยเหลือจุนเจือสังคมมากขึ้น จะเห็นได้ว่า บทบาทและสถานะทางสังคมของอาชีพต่างๆ แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย

    Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าอย่างลึกซึ้งในรายละเอียดของวิวัฒนาการต่างๆ ทางด้านการปกครองและเศรษฐกิจเพราะเป็นสองศาสตร์วิชาที่ทั้งกว้างทั้งลึก วันนี้จึงเพียงคุยโดยคร่าวให้เพื่อนเพจฟังในแง่ที่ว่า สี่หมวดหมู่อาชีพนี้ เป็นการจัดหมวดหมู่เพื่อการปกครองมาแต่โบราณกาลและเดิมไม่ได้เป็นการตั้งใจแบ่งชนชั้นวรรณะตามอาชีพ เพียงแต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไป มุมมองก็เปลี่ยนไปจนเกิดเป็นการแบ่งแยกให้ชนชั้นที่มีการศึกษาเป็นชั้นสูงและให้พ่อค้าเป็นชนชั้นล่างสุด แต่นี่ไม่ใช่สถานะที่ถาวร หากแต่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยเช่นกัน

    ละครเรื่อง <ยอดบุรุษพลิกคดี> เป็นเรื่องราวในรัชสมัยสมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเครื่องแบบข้าราชการแล้วเป็นการอิงตามสมัยถัง จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นวลีที่ว่า ‘ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด’ นี้ในละครเรื่องนี้

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.themoviedb.org/tv/128712/images/posters?language=zh-HK
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/531009133
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://ctext.org/guanzi/xiao-kuang/zhs
    http://www.qulishi.com/article/201909/363094.html
    https://www.163.com/dy/article/FLEULDGE0543KAMS.html
    https://www.sxlib.org.cn/dfzy/sczl/wwgjp/qb/201808/t20180806_929973.html
    http://www.rmlt.com.cn/2018/1116/533321.shtml
    http://www.jjckb.cn/2016-12/05/c_135881236.htm#
    http://economy.guoxue.com/?p=888

    #ยอดบุรุษพลิกคดี #สี่อาชีพจีนโบราณ #ซี่อหนงกงซัง #ซื่อหมิน #สี่ประชาชน
    สี่อาชีพในสังคมจีนโบราณ ไม่ทราบว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ยอดบุรุษพลิกคดี> จะยังจำได้ไหมว่าในตอนต้นเรื่องนั้น จางผิงผู้เป็นบัณฑิตตกยากออกมาขายของกินยามค่ำคืนกับเพื่อนซี้ เขาโดนคนที่เดินผ่านมาถากถางว่าเป็นบัณฑิตแต่กลับไม่รักดีมาขายของโดยสาธยายว่า “ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด” (士农工商 商为最贱) ‘บัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้า’ หรือที่เรียกว่า ‘ซื่อหนงกงซัง” (士农工商) นั้น เป็นสี่หมวดอาชีพในสังคมจีนโบราณโดยในประโยคที่ยกมาจากในละครข้างต้นได้จัดเรียงลำดับชนชั้นจากความสูงส่งไปจนต่ำต้อย แล้วในสมัยจีนโบราณอาชีพพ่อค้าต่ำต้อยที่สุดจริงหรือ? จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ แรกเริ่มเลยในสมัยราชวงศ์ซาง (1600-1050 ก่อนคริสตกาล) การเป็นพ่อค้าเป็นอาชีพที่คนชอบ ทำให้มีเกษตรกรน้อย ต่อมาในราชวงศ์ถัดๆ ไปจึงถูกมองว่านั่นทำให้รากฐานสังคมไม่แข็งแรงและเป็นหนึ่งในสาเหตุของการล่มสลายของราชวงศ์ซาง ในสมัยราชวงศ์โจวจึงมีการสนับสนุนให้ประชาชนทำการเกษตรมากกว่าการค้า ในยุคสมัยชุนชิว (770-476 ปีก่อนคริสตกาล) สี่หมวดอาชีพ ‘ซื่อหนงกงซัง’ นี้ถูกรวมกันเป็น ‘ซื่อหมิน’ (四民 แปลตรงตัวว่า ‘สี่ประชาชน’ หมายถึงสี่อาชีพ) ในบันทึกสั้นโบราณว่าด้วยปรัชญาการปกครองที่มีชื่อเรียกว่า ‘เสี่ยวควง’ ของก่วนจ้ง อัครมหาเสนาบดีของแคว้นฉีในยุคสมัยชุนชิว ซึ่งต่อมาถูกผนวกรวมเข้าไปไว้ในหมวดที่สามของประมวลสาส์นสี่พระคลัง (四库全书 / ซื่อคู่เฉวียนซู) ที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง ก่วนจ้งเองมาจากครอบครัวพ่อค้า เขามองอาชีพพ่อค้าเป็นอาชีพเท่าเทียมกับอาชีพอื่น ข้อความเดิมของเขาระบุไว้ว่า ‘ซื่อหนงกงซังสี่ประชาชนนั้น ล้วนเป็นศิลารากฐานแห่งประเทศชาติ’ โดยมีนัยว่าสังคมจะขาดหนึ่งกลุ่มอาชีพใดไม่ได้ และก่วนจ้งไม่ได้มีการจัดแบ่งชนชั้นต่ำสูง แต่ให้แง่คิดสำหรับระบบการปกครองว่าควรจัดสรรที่ดินทำกินและเขตพำนักให้เหมาะสมกับกลุ่มอาชีพ เพราะแต่ละกลุ่มจะมีความสันทัดและมีรูปแบบชีวิตของตน และหากคนในวิชาชีพเดียวกันได้อยู่ด้วยกันจะสืบทอดและพัฒนาความรู้ในวิชาชีพนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า อีกทั้งยังเอื้อต่อการปกครอง (หมายเหตุ ‘ซื่อ’ ไม่เพียงหมายถึงบัณฑิต หากแต่หมายรวมถึงผู้มีการศึกษาสามารถดูแลปกครองผู้อื่นได้ และหมายรวมถึงผู้ที่เข้ารับราชการด้วย) จะเห็นได้ว่า แรกเริ่มเลย ‘สี่ประชาชน’ นั้นเป็นการวางระบบการปกครองตามหมวดหมู่วิชาชีพโดยมองทุกกลุ่มชนเท่าเทียมกัน แต่ผลที่ตามมาก็คือ เกษตรกรเกิดในครอบครัวเกษตรกร คนมีการศึกษาเกิดในตระกูลคนมีการศึกษาด้วยกัน พอผ่านไปหลายชั่วคน ประชาชนจะถูกจำกัดให้อยู่ภายในกลุ่มหมวดอาชีพของตนโดยปริยาย ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น ปรัชญาขงจื๊อได้รับการยกย่องและยอมรับอย่างแพร่หลายและมีอิทธิพลอย่างมากต่อการปกครองบ้านเมือง ผลที่ตามมาคือการยกระดับกลุ่มคนมีการศึกษาขึ้นสูงเหนือกลุ่มอื่น และเริ่มมีการมองอย่างดูแคลนว่าพ่อค้าเอาผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งมากกว่าความเจริญของส่วนรวม นี่ไม่ใช่คำสอนของขงจื๊อ แต่เป็นวิวัฒนาการทางความคิดของสังคมที่ไปในทิศทางนั้น ในตำราประวัติศาสตร์สมัยถังต้น (旧唐书¬) มีการบันทึกไว้ว่า ‘ผู้ที่รับเบี้ยหวัดราชการ ห้ามแก่งแย่งผลประโยชน์จากผู้ที่ต่ำกว่า ช่างและพ่อค้าหลากประเภท ห้ามมิให้เข้ารับราชการ’ (食禄之家,不得与下人争利。工商杂类,不得预于士伍。) เป็นที่สังเกตได้ว่ามีการใช้คำ ‘ผู้ที่ต่ำกว่า’ และ ‘หลากประเภท’ ซึ่งสะท้อนถึงการแบ่งแยกต่ำและสูง (หมายเหตุ ‘หลากประเภท’ ในที่นี้เป็นคำเรียกที่สะท้อนความหมายถึงชนชั้นต่ำ) และในสมัยถังไท่จงมีกฎว่า ห้ามไม่ให้ขุนนางขั้นที่ห้าขึ้นไปทำการค้า วัตถุประสงค์ของกฎเกณฑ์ต่างๆ เหล่านี้เป็นการจัดระเบียบสังคมและป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ แต่อย่างไรก็ดี มันเสริมสร้างการแบ่งแยกทางชนชั้นด้วยอาชีพ สุดท้ายกลายเป็นการตอกย้ำความเชื่อของสังคมที่ว่า ‘ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด’ แต่ความคิดนี้เริ่มเปลี่ยนไปในช่วงกลางและปลายของสมัยถัง และได้มีการผ่อนคลายกฏเกณฑ์บางอย่าง การเปลี่ยนแปลงนี้ค่อยๆ มีอย่างต่อเนื่อง ต่อมาในสมัยซ่ง การค้าเจริญรุ่งเรือง เกิดการคบค้าสมาคมกันอย่างกว้างขวางข้ามกลุ่มอาชีพ และพ่อค้ากลับกลายมาเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของสังคม โดยมีบทบาทเข้ามาช่วยเหลือจุนเจือสังคมมากขึ้น จะเห็นได้ว่า บทบาทและสถานะทางสังคมของอาชีพต่างๆ แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าอย่างลึกซึ้งในรายละเอียดของวิวัฒนาการต่างๆ ทางด้านการปกครองและเศรษฐกิจเพราะเป็นสองศาสตร์วิชาที่ทั้งกว้างทั้งลึก วันนี้จึงเพียงคุยโดยคร่าวให้เพื่อนเพจฟังในแง่ที่ว่า สี่หมวดหมู่อาชีพนี้ เป็นการจัดหมวดหมู่เพื่อการปกครองมาแต่โบราณกาลและเดิมไม่ได้เป็นการตั้งใจแบ่งชนชั้นวรรณะตามอาชีพ เพียงแต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไป มุมมองก็เปลี่ยนไปจนเกิดเป็นการแบ่งแยกให้ชนชั้นที่มีการศึกษาเป็นชั้นสูงและให้พ่อค้าเป็นชนชั้นล่างสุด แต่นี่ไม่ใช่สถานะที่ถาวร หากแต่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยเช่นกัน ละครเรื่อง <ยอดบุรุษพลิกคดี> เป็นเรื่องราวในรัชสมัยสมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเครื่องแบบข้าราชการแล้วเป็นการอิงตามสมัยถัง จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นวลีที่ว่า ‘ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด’ นี้ในละครเรื่องนี้ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.themoviedb.org/tv/128712/images/posters?language=zh-HK https://zhuanlan.zhihu.com/p/531009133 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://ctext.org/guanzi/xiao-kuang/zhs http://www.qulishi.com/article/201909/363094.html https://www.163.com/dy/article/FLEULDGE0543KAMS.html https://www.sxlib.org.cn/dfzy/sczl/wwgjp/qb/201808/t20180806_929973.html http://www.rmlt.com.cn/2018/1116/533321.shtml http://www.jjckb.cn/2016-12/05/c_135881236.htm# http://economy.guoxue.com/?p=888 #ยอดบุรุษพลิกคดี #สี่อาชีพจีนโบราณ #ซี่อหนงกงซัง #ซื่อหมิน #สี่ประชาชน
    WWW.THEMOVIEDB.ORG
    神探同盟
    故事改編自內地網絡作家大風颳過撰寫嘅原創長篇網絡小說《張公案》.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1018 มุมมอง 0 รีวิว
  • ระฆังจิ่งหยางจง

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับเกร็ดเล็กน้อยจากเรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก>

    ในซีรีส์นี้มีเหตุการณ์สำคัญที่มีการตีระฆังเรียกให้เหล่าขุนนางมาชุมนุมกัน ครั้งแรกที่แคว้นอู๋ตอนที่ประกาศเรื่องฮ่องเต้ถูกแคว้นอันจับตัวไป เหล่าขุนนางเรียกระฆังนี้ว่า ‘จิ่งหยางจง’ และอีกเหตุการณ์หนึ่งคือที่หรูอี้ให้ตีระฆังเพื่อประกาศโทษของฮ่องเต้แคว้นอันต่อหน้าเหล่าขุนนาง ระฆังนี้มีชื่อว่า ‘อันหยางจง’

    ละครเรื่องนี้เป็นเรื่องราวในรัชสมัยสมมุติและดินแดนสมมุติ แต่ ‘จิ่งหยางจง’ (景阳钟) มีจริงในประวัติศาสตร์ แต่ไม่ปรากฏข้อมูลที่กล่าวถึง ‘อันหยางจง’ จึงสันนิษฐานว่าเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับแคว้นอันในเรื่องนี้

    ข้อมูลเกี่ยวกับระฆังจิ่งหยางจงมีไม่มาก เพียงกล่าวไว้ว่ามีที่มาแต่สมัยราชวงศ์ฉีใต้ในรัชสมัยฮ่องเต้ฉีอู่ตี้ (ค.ศ. 440–493) ในตำราประวัติศาสตร์ฉีใต้ ‘หนานฉีซู’ บรรพที่ยี่สิบบันทึกไว้ว่า “เนื่องด้วยในพระราชฐานชั้นในไม่สามารถได้ยินเสียงกลองจากประตูตวนเหมิน จึงทรงให้จัดวางระฆังไว้บนหอจิ่งหยาง ข้าราชสำนักเมื่อได้ยินเสียงระฆังแต่เช้าก็ให้ตื่นขึ้นแต่งตัว... ระฆังดังเมื่อห้ากู่และสามกู่”

    อนึ่ง ประตูตวนเหมินเป็นชื่อประตูพระราชวังประตูบานหลักหน้าพระราชวัง (คือด้านทิศใต้) เป็นชื่อที่ถูกใช้มาหลายยุคสมัยหลายพระราชวังรวมถึงในสมัยราชวงศ์ฉีใต้ และในหลายยุคสมัยมีการจัดวางหอกลองหรือหอระฆังไว้ตีบอกเวลาหน้าประตูพระราชวัง ส่วนหอจิ่งหยางนั้น เป็นหอสูงในเขตพระราชวัง ณ เมืองเจี้ยนคัง (คือนานกิงปัจจุบัน)

    ในยุคสมัยต่อมามีการตั้งวางหอระฆังในพระราชวังเพื่อบอกเวลาเช่นกัน และมีการเรียกขานระฆังนี้กันต่อมาว่า ‘จิ่งหยางจง’ ลักษณะหน้าตาของจิ่งหยางจงนี้เป็นอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐาน ทราบแต่เพียงว่าเป็นระฆังยักษ์ และการบอกเวลาโดยการตีระฆังจิ่งหยางจงนี้ถูกใช้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติต่อเนื่องกันมาหลายรัชสมัย จวบจนสมัยราชวงศ์ชิงยังคงมีการเอ่ยถึงชื่อ ‘จิ่งหยางจง’ นี้ในหลายบทกวีที่กล่าวถึงเวลารุ่งสางหรือเวลาที่ขุนนางต้องตื่นขึ้นมาเข้าเฝ้าที่ท้องพระโรงเมื่อได้ยินเสียงระฆังนี้ ซึ่งก็สอดคล้องตามวัตถุประสงค์เดิมที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฉีใต้

    ส่วนเวลาที่ตีระฆังนั้น เดิมระบุว่าคือห้ากู่และสามกู่ ซึ่งในสมัยโบราณแบ่งช่วงเวลากลางคืนออกเป็นห้าช่วงเวลาเรียกว่า ‘กู่’ หรือ ‘เกิง’ เวลาห้ากู่ก็คือช่วงเวลาประมาณตีสามถึงตีห้า (ซึ่งก็คือช่วงเวลาที่ขุนนางต้องตื่นมาเตรียมประชุมท้องพระโรงดังที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องนี้ไว้แล้ว) และเวลาสามกู่คือช่วงเวลาประมาณห้าทุ่มถึงตีหนึ่ง ซึ่งเป็นการเตือนว่าได้เวลาเข้านอนแล้ว

    ดังที่กล่าวไปข้างต้น ระฆังจิ่งหยางจงมีไว้บอกเวลายามเช้าและกลางคืน แต่ในซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> มีการกล่าวไว้ว่าเมื่อได้ยินเสียงของระฆังนี้ ให้เหล่าขุนนางมารวมตัวกัน Storyฯ ก็หาไม่พบข้อมูลว่านอกเหนือจากเวลาห้ากู่และสามกู่แล้ว ได้เคยปรากฏเหตุการณ์พิเศษที่ต้องมีตีระฆังจิ่งหยางจงนี้เพื่อเรียกชุมนุมเหล่าขุนนางหรือไม่

    นอกเหนือจากหอระฆังในพระราชวังแล้ว ยังมีหอระฆังในเมืองสำหรับบอกเวลาชาวบ้าน และมีหอระฆังตามวัดที่นอกจากจะใช้บอกเวลาแล้ว ยังใช้บอกเวลามีคนตายในละแวกนั้น ทั้งนี้แล้วแต่หลักปฏิบัติของแต่ละวัด

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/642825978
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=262732&remap=gb
    https://www.arsomsiam.com/หน่วยเวลาและนาฬิกาจีน/
    https://baike.baidu.com/item/景阳钟
    https://www.zdic.net/hans/景阳钟

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #จิ่งหยางจง #หอระฆังพระราชวัง #ประชุมท้องพระโรง #ราชวงศ์ฉีใต้
    ระฆังจิ่งหยางจง สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับเกร็ดเล็กน้อยจากเรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> ในซีรีส์นี้มีเหตุการณ์สำคัญที่มีการตีระฆังเรียกให้เหล่าขุนนางมาชุมนุมกัน ครั้งแรกที่แคว้นอู๋ตอนที่ประกาศเรื่องฮ่องเต้ถูกแคว้นอันจับตัวไป เหล่าขุนนางเรียกระฆังนี้ว่า ‘จิ่งหยางจง’ และอีกเหตุการณ์หนึ่งคือที่หรูอี้ให้ตีระฆังเพื่อประกาศโทษของฮ่องเต้แคว้นอันต่อหน้าเหล่าขุนนาง ระฆังนี้มีชื่อว่า ‘อันหยางจง’ ละครเรื่องนี้เป็นเรื่องราวในรัชสมัยสมมุติและดินแดนสมมุติ แต่ ‘จิ่งหยางจง’ (景阳钟) มีจริงในประวัติศาสตร์ แต่ไม่ปรากฏข้อมูลที่กล่าวถึง ‘อันหยางจง’ จึงสันนิษฐานว่าเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับแคว้นอันในเรื่องนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับระฆังจิ่งหยางจงมีไม่มาก เพียงกล่าวไว้ว่ามีที่มาแต่สมัยราชวงศ์ฉีใต้ในรัชสมัยฮ่องเต้ฉีอู่ตี้ (ค.ศ. 440–493) ในตำราประวัติศาสตร์ฉีใต้ ‘หนานฉีซู’ บรรพที่ยี่สิบบันทึกไว้ว่า “เนื่องด้วยในพระราชฐานชั้นในไม่สามารถได้ยินเสียงกลองจากประตูตวนเหมิน จึงทรงให้จัดวางระฆังไว้บนหอจิ่งหยาง ข้าราชสำนักเมื่อได้ยินเสียงระฆังแต่เช้าก็ให้ตื่นขึ้นแต่งตัว... ระฆังดังเมื่อห้ากู่และสามกู่” อนึ่ง ประตูตวนเหมินเป็นชื่อประตูพระราชวังประตูบานหลักหน้าพระราชวัง (คือด้านทิศใต้) เป็นชื่อที่ถูกใช้มาหลายยุคสมัยหลายพระราชวังรวมถึงในสมัยราชวงศ์ฉีใต้ และในหลายยุคสมัยมีการจัดวางหอกลองหรือหอระฆังไว้ตีบอกเวลาหน้าประตูพระราชวัง ส่วนหอจิ่งหยางนั้น เป็นหอสูงในเขตพระราชวัง ณ เมืองเจี้ยนคัง (คือนานกิงปัจจุบัน) ในยุคสมัยต่อมามีการตั้งวางหอระฆังในพระราชวังเพื่อบอกเวลาเช่นกัน และมีการเรียกขานระฆังนี้กันต่อมาว่า ‘จิ่งหยางจง’ ลักษณะหน้าตาของจิ่งหยางจงนี้เป็นอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐาน ทราบแต่เพียงว่าเป็นระฆังยักษ์ และการบอกเวลาโดยการตีระฆังจิ่งหยางจงนี้ถูกใช้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติต่อเนื่องกันมาหลายรัชสมัย จวบจนสมัยราชวงศ์ชิงยังคงมีการเอ่ยถึงชื่อ ‘จิ่งหยางจง’ นี้ในหลายบทกวีที่กล่าวถึงเวลารุ่งสางหรือเวลาที่ขุนนางต้องตื่นขึ้นมาเข้าเฝ้าที่ท้องพระโรงเมื่อได้ยินเสียงระฆังนี้ ซึ่งก็สอดคล้องตามวัตถุประสงค์เดิมที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฉีใต้ ส่วนเวลาที่ตีระฆังนั้น เดิมระบุว่าคือห้ากู่และสามกู่ ซึ่งในสมัยโบราณแบ่งช่วงเวลากลางคืนออกเป็นห้าช่วงเวลาเรียกว่า ‘กู่’ หรือ ‘เกิง’ เวลาห้ากู่ก็คือช่วงเวลาประมาณตีสามถึงตีห้า (ซึ่งก็คือช่วงเวลาที่ขุนนางต้องตื่นมาเตรียมประชุมท้องพระโรงดังที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องนี้ไว้แล้ว) และเวลาสามกู่คือช่วงเวลาประมาณห้าทุ่มถึงตีหนึ่ง ซึ่งเป็นการเตือนว่าได้เวลาเข้านอนแล้ว ดังที่กล่าวไปข้างต้น ระฆังจิ่งหยางจงมีไว้บอกเวลายามเช้าและกลางคืน แต่ในซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> มีการกล่าวไว้ว่าเมื่อได้ยินเสียงของระฆังนี้ ให้เหล่าขุนนางมารวมตัวกัน Storyฯ ก็หาไม่พบข้อมูลว่านอกเหนือจากเวลาห้ากู่และสามกู่แล้ว ได้เคยปรากฏเหตุการณ์พิเศษที่ต้องมีตีระฆังจิ่งหยางจงนี้เพื่อเรียกชุมนุมเหล่าขุนนางหรือไม่ นอกเหนือจากหอระฆังในพระราชวังแล้ว ยังมีหอระฆังในเมืองสำหรับบอกเวลาชาวบ้าน และมีหอระฆังตามวัดที่นอกจากจะใช้บอกเวลาแล้ว ยังใช้บอกเวลามีคนตายในละแวกนั้น ทั้งนี้แล้วแต่หลักปฏิบัติของแต่ละวัด (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/642825978 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=262732&remap=gb https://www.arsomsiam.com/หน่วยเวลาและนาฬิกาจีน/ https://baike.baidu.com/item/景阳钟 https://www.zdic.net/hans/景阳钟 #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #จิ่งหยางจง #หอระฆังพระราชวัง #ประชุมท้องพระโรง #ราชวงศ์ฉีใต้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 755 มุมมอง 0 รีวิว
  • กระดาษไป๋ลู่

    สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องกระดาษโบราณ

    ในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> มีตอนหนึ่งที่กล่าวถึงการสืบคดีในวังเพื่อหาคนที่เขียนข้อความที่มีความเกี่ยวพันกับก๊วนกบฏ และหนึ่งในหลักฐานที่ใช้คือกระดาษไป๋ลู่ (白鹿纸 ใช่ค่ะ... ไป๋ลู่อักษรเดียวกับชื่อนักแสดงหญิงที่หลายคนคุ้นเคย แปลว่ากวางขาว) มีการอธิบายไว้ในซีรีส์ว่า กระดาษไป๋ลู่มีใช้เพียงในวัง มีการบันทึกไว้ชัดเจนว่าแจกจ่ายไปให้ใครเมื่อไหร่เป็นจำนวนเท่าใด

    ข้อมูลเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่มีไม่มาก ส่วนใหญ่ระบุแต่เพียงว่ามันเป็นกระดาษที่ใช้ในวัง เป็นกระดาษที่ผลิตยากมาก เนื้อดีเหมาะกับการเขียนหรือวาดรูป เป็นกระดาษเซวียนจื่อชนิดหนึ่ง มีขนาดมาตรฐานคือยาวหนึ่งจ้างสองฉื่อ (คือยาวประมาณ 3.7 เมตร) จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษ ‘จ้างเอ้อร์เซวียน’ (丈二宣) ขนาดมาตรฐานปัจจุบันคือ 1.5 x 3.7 เมตร

    แล้วกระดาษเซวียนจื่อ (宣纸) คืออะไร?

    กระดาษเซวียนจื่อจัดอยู่ในกลุ่มกระดาษที่ทำจากเยื่อเปลือกไม้ ซึ่งกระดาษจีนโบราณจะจัดแบ่งเป็นกลุ่มหลักๆ ตามวัสดุที่ใช้ผลิต คือ 1. กระดาษใยปอ/ใยป่าน (麻 纸 / หมาจื่อ) ทำจากเส้นใยปอและใยป่าน 2. กระดาษเยื่อเปลือกไม้ (皮纸 / ผีจื่อ) คือทำจากเยื่อเปลือกไม้ชนิดต่างๆ 3. กระดาษเยื่อไผ่ (竹 纸 / จู๋จื่อ) และ 4. กระดาษใยฝ้าย (棉 纸 / เหมียนจื่อ)

    กระดาษเยื่อเปลือกไม้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในสมัยถัง มีการพัฒนาขึ้นหลายชนิด เป็นกลุ่มกระดาษที่มีความหลากหลายมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะเนื้อกระดาษแตกต่างกันไปตามชนิดของเปลือกไม้ที่ใช้และน้ำที่ใช้ รวมถึงอาจใช้เส้นใยปอหรือใยฝ้ายมาผสมให้หลากหลายยิ่งขึ้น และเป็นที่มาว่าทำไมในซีรีส์/นิยายจีนโบราณจึงมีการดูจากเนื้อกระดาษแล้วสามารถบอกได้ว่ามาจากพื้นที่ใดเพราะต้นไม้บางชนิดจะพบได้ในบางพื้นที่เท่านั้น กระดาษเยื่อเปลือกไม้มีทั้งเนื้อหยาบที่สามารถทำเป็นเสื้อผ้าสวมใส่ และเนื้อละเอียดที่ใช้ในงานเขียนหรืองานวาดที่ต้องใช้ความละเอียดมาก ว่ากันว่านักเขียนและนักวาดบางคนคิดค้นกระดาษเนื้อพิเศษของตนเองขึ้นเพื่อใช้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วย

    กรรมวิธีการผลิตกระดาษเยื่อเปลือกไม้ก็คล้ายกับการทำกระดาษสาบ้านเรา คือเอาไม้ไปแช่ในน้ำแล้วทุบแตกจนเปื่อย คัดเอาเยื่อออกมาต้ม อาจใส่ส่วนผสมอื่นเช่นเกลือหรือน้ำหัวไชเท้าเพื่อเสริมความเนียนและความคงทนของกระดาษ เคี่ยวและบดแล้วนำมากรอง จากนั้นเอามาปูบางๆ บนพิมพ์แล้วตากแห้ง แห้งแล้วก็นำมาเรียงและตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการ แน่นอนว่านี่เป็นการเล่าโดยคร่าว ไม่สามารถสะท้อนถึงความพิถีพิถันของแต่ละขั้นตอนและอุปกรณ์ที่ใช้ได้ ซึ่งความพิถีพิถันดังกล่าวเป็นหัวใจของการผลิตกระดาษที่มีคุณภาพแตกต่างกัน

    กระดาษเซวียนจื่อเกิดขึ้นในสมัยถัง มีที่มาจากพื้นที่เซวียนโจว (แถบหวงซาน เขตพื้นที่มณฑลอันฮุยปัจจุบัน) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อไม้สองชนิดคือ 1) เปลือกของไม้ชิงถาน (青檀 / Blue Sandalwood) อยู่ในกลุ่มไม้จันทร์ เป็นสายพันธุ์ที่มีเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น ขึ้นตามธรรมชาติ และเปลือกไม้จันทร์ชนิดอื่นไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนในการผลิตกระดาษเซวียนจื่อนี้ได้ มันเป็นส่วนผสมหลักที่ทำให้กระดาษมีความเหนียว คงสภาพได้ดีไม่ยับง่าย ไม่ถูกแมลงกัดกิน ทำให้กระดาษมีความคงทน และ 2) ต้นข้าวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ‘ซาเถียนเต้า’ (沙田稻) โดยเป็นส่วนผสมที่ให้ความนุ่มต่อกระดาษด้วยเส้นใยที่สั้นกว่าไม้ชิงถาน ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครเพาะปลูกต้นข้าวชนิดนี้แล้ว ดังนั้นกระดาษเซวียนจื่อที่มีขายปัจจุบันจะมีเนื้อกระดาษที่ไม่เหมือนของโบราณและกรรมวิธีการผลิตแบบโบราณได้สาบสูญไปตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง

    กรรมวิธีการเตรียมเยื่อไม้ทั้งสองชนิดแตกต่างกันเล็กน้อย แยกกันทำแล้วค่อยนำมาเคี่ยวผสมกัน และส่วนผสมของเยื่อไม้ทั้งสองและกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างจะทำให้ได้เนื้อกระดาษเซวียนจื่อที่หลากหลายมาก มีความละเอียดและเนียนหยาบแตกต่างกัน มีความสามารถดูดซึมน้ำหมึกได้ต่างกัน (แน่นอนว่าผงหมึกก็มีความแตกต่าง แบ่งแยกเป็นของแพงและของถูก ฯลฯ) มีสีขาวเหลืองอ่อนแก่แตกต่างกัน เป็นต้น โดยภาพรวมแล้ว กระดาษเซวียนจื่อเป็นกระดาษที่เหมาะสำหรับงานเขียนและงานวาดเพราะดูดซึมหมึกได้ดีและผิวเนียนเรียบกว่ากระดาษจากใยปอ/ใยป่านหรือกระดาษจากเปลือกไม้ชนิดอื่น และมีความคงทนกว่า จึงถูกยกย่องเป็น ‘กระดาษพันปี’

    กระดาษเซวียนจื่อแบ่งได้เป็นสามเกรดหลักตามสัดส่วนของเยื่อเปลือกไม้ชิงถาน และกระดาษไป๋ลู่คือกระดาษเซวียนจื่อเกรดดีที่สุด คือมีส่วนผสมของเปลือกไม้ชิงถานไม่ต่ำกว่า 80% มีกรรมวิธีการผลิตที่ประณีต เป็นกระดาษที่ดูดซับน้ำหมึกได้ดี ทำให้ลายเส้นอักษรคมชัดแต่ไม่กระด้าง แสดงความพลิ้วไหวของลายเส้นได้ดี มีการบรรยายว่าเนื้อกระดาษเนียนนุ่มดุจไหม สีขาวนวลดุจหยก

    ว่ากันว่า กระดาษไป๋ลู่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์หยวนโดยนักพรตคนหนึ่งสำหรับไว้ใช้เอง ต่อมาถูกนำมาใช้ในวังเรียกว่ากระดาษไป๋ลู่หรือกวางขาวเพราะมีเส้นลายที่ดูเป็นลายหนังกวางซึ่งถูกมองว่าเป็นลายมงคล ต่อมามีคนที่ผลิตได้ไม่กี่ตระกูล จึงเป็นกระดาษที่มีปริมาณการผลิตที่จำกัดและหายากมาก

    กระดาษมีหน่วยนับเป็น ‘เตา’ (刀 แปลว่ามีด) ซึ่ง Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าในละครแปลไว้อย่างไร แต่หนึ่งเตาสมัยโบราณคือกระดาษจำนวน 25 แผ่น มีที่มาของการเรียกอย่างนี้ก็คือ หนึ่งมีดสามารถตัดกระดาษโดยไม่เบี้ยวที่ 25 แผ่นนั่นเอง (หมายเหตุ ด้วยวิวัฒนาการผลิต ปัจจุบันหนึ่งเตาคือหนึ่งรีมหรือ 100 แผ่น)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://new.qq.com/rain/a/20231130A00YSS00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_1263914
    http://www.chinapaper.net/jjnews/show-353.html
    http://www.chinapaper.net/jjnews/show-222.html
    https://baike.baidu.com/item/檀皮宣纸/1802446
    https://baike.baidu.com/item/宣纸/329910
    https://www.sohu.com/a/362150345_616747

    #เล่ห์รักวังคุนหนิง #ไป๋ลู่จื่อ #กระดาษไป๋ลู่ #กระดาษจีน #เซวียนจื่อ #การผลิตกระดาษจีน #กระดาษเยื่อเปลือกไม้
    กระดาษไป๋ลู่ สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องกระดาษโบราณ ในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> มีตอนหนึ่งที่กล่าวถึงการสืบคดีในวังเพื่อหาคนที่เขียนข้อความที่มีความเกี่ยวพันกับก๊วนกบฏ และหนึ่งในหลักฐานที่ใช้คือกระดาษไป๋ลู่ (白鹿纸 ใช่ค่ะ... ไป๋ลู่อักษรเดียวกับชื่อนักแสดงหญิงที่หลายคนคุ้นเคย แปลว่ากวางขาว) มีการอธิบายไว้ในซีรีส์ว่า กระดาษไป๋ลู่มีใช้เพียงในวัง มีการบันทึกไว้ชัดเจนว่าแจกจ่ายไปให้ใครเมื่อไหร่เป็นจำนวนเท่าใด ข้อมูลเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่มีไม่มาก ส่วนใหญ่ระบุแต่เพียงว่ามันเป็นกระดาษที่ใช้ในวัง เป็นกระดาษที่ผลิตยากมาก เนื้อดีเหมาะกับการเขียนหรือวาดรูป เป็นกระดาษเซวียนจื่อชนิดหนึ่ง มีขนาดมาตรฐานคือยาวหนึ่งจ้างสองฉื่อ (คือยาวประมาณ 3.7 เมตร) จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษ ‘จ้างเอ้อร์เซวียน’ (丈二宣) ขนาดมาตรฐานปัจจุบันคือ 1.5 x 3.7 เมตร แล้วกระดาษเซวียนจื่อ (宣纸) คืออะไร? กระดาษเซวียนจื่อจัดอยู่ในกลุ่มกระดาษที่ทำจากเยื่อเปลือกไม้ ซึ่งกระดาษจีนโบราณจะจัดแบ่งเป็นกลุ่มหลักๆ ตามวัสดุที่ใช้ผลิต คือ 1. กระดาษใยปอ/ใยป่าน (麻 纸 / หมาจื่อ) ทำจากเส้นใยปอและใยป่าน 2. กระดาษเยื่อเปลือกไม้ (皮纸 / ผีจื่อ) คือทำจากเยื่อเปลือกไม้ชนิดต่างๆ 3. กระดาษเยื่อไผ่ (竹 纸 / จู๋จื่อ) และ 4. กระดาษใยฝ้าย (棉 纸 / เหมียนจื่อ) กระดาษเยื่อเปลือกไม้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในสมัยถัง มีการพัฒนาขึ้นหลายชนิด เป็นกลุ่มกระดาษที่มีความหลากหลายมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะเนื้อกระดาษแตกต่างกันไปตามชนิดของเปลือกไม้ที่ใช้และน้ำที่ใช้ รวมถึงอาจใช้เส้นใยปอหรือใยฝ้ายมาผสมให้หลากหลายยิ่งขึ้น และเป็นที่มาว่าทำไมในซีรีส์/นิยายจีนโบราณจึงมีการดูจากเนื้อกระดาษแล้วสามารถบอกได้ว่ามาจากพื้นที่ใดเพราะต้นไม้บางชนิดจะพบได้ในบางพื้นที่เท่านั้น กระดาษเยื่อเปลือกไม้มีทั้งเนื้อหยาบที่สามารถทำเป็นเสื้อผ้าสวมใส่ และเนื้อละเอียดที่ใช้ในงานเขียนหรืองานวาดที่ต้องใช้ความละเอียดมาก ว่ากันว่านักเขียนและนักวาดบางคนคิดค้นกระดาษเนื้อพิเศษของตนเองขึ้นเพื่อใช้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วย กรรมวิธีการผลิตกระดาษเยื่อเปลือกไม้ก็คล้ายกับการทำกระดาษสาบ้านเรา คือเอาไม้ไปแช่ในน้ำแล้วทุบแตกจนเปื่อย คัดเอาเยื่อออกมาต้ม อาจใส่ส่วนผสมอื่นเช่นเกลือหรือน้ำหัวไชเท้าเพื่อเสริมความเนียนและความคงทนของกระดาษ เคี่ยวและบดแล้วนำมากรอง จากนั้นเอามาปูบางๆ บนพิมพ์แล้วตากแห้ง แห้งแล้วก็นำมาเรียงและตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการ แน่นอนว่านี่เป็นการเล่าโดยคร่าว ไม่สามารถสะท้อนถึงความพิถีพิถันของแต่ละขั้นตอนและอุปกรณ์ที่ใช้ได้ ซึ่งความพิถีพิถันดังกล่าวเป็นหัวใจของการผลิตกระดาษที่มีคุณภาพแตกต่างกัน กระดาษเซวียนจื่อเกิดขึ้นในสมัยถัง มีที่มาจากพื้นที่เซวียนโจว (แถบหวงซาน เขตพื้นที่มณฑลอันฮุยปัจจุบัน) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อไม้สองชนิดคือ 1) เปลือกของไม้ชิงถาน (青檀 / Blue Sandalwood) อยู่ในกลุ่มไม้จันทร์ เป็นสายพันธุ์ที่มีเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น ขึ้นตามธรรมชาติ และเปลือกไม้จันทร์ชนิดอื่นไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนในการผลิตกระดาษเซวียนจื่อนี้ได้ มันเป็นส่วนผสมหลักที่ทำให้กระดาษมีความเหนียว คงสภาพได้ดีไม่ยับง่าย ไม่ถูกแมลงกัดกิน ทำให้กระดาษมีความคงทน และ 2) ต้นข้าวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ‘ซาเถียนเต้า’ (沙田稻) โดยเป็นส่วนผสมที่ให้ความนุ่มต่อกระดาษด้วยเส้นใยที่สั้นกว่าไม้ชิงถาน ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครเพาะปลูกต้นข้าวชนิดนี้แล้ว ดังนั้นกระดาษเซวียนจื่อที่มีขายปัจจุบันจะมีเนื้อกระดาษที่ไม่เหมือนของโบราณและกรรมวิธีการผลิตแบบโบราณได้สาบสูญไปตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง กรรมวิธีการเตรียมเยื่อไม้ทั้งสองชนิดแตกต่างกันเล็กน้อย แยกกันทำแล้วค่อยนำมาเคี่ยวผสมกัน และส่วนผสมของเยื่อไม้ทั้งสองและกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างจะทำให้ได้เนื้อกระดาษเซวียนจื่อที่หลากหลายมาก มีความละเอียดและเนียนหยาบแตกต่างกัน มีความสามารถดูดซึมน้ำหมึกได้ต่างกัน (แน่นอนว่าผงหมึกก็มีความแตกต่าง แบ่งแยกเป็นของแพงและของถูก ฯลฯ) มีสีขาวเหลืองอ่อนแก่แตกต่างกัน เป็นต้น โดยภาพรวมแล้ว กระดาษเซวียนจื่อเป็นกระดาษที่เหมาะสำหรับงานเขียนและงานวาดเพราะดูดซึมหมึกได้ดีและผิวเนียนเรียบกว่ากระดาษจากใยปอ/ใยป่านหรือกระดาษจากเปลือกไม้ชนิดอื่น และมีความคงทนกว่า จึงถูกยกย่องเป็น ‘กระดาษพันปี’ กระดาษเซวียนจื่อแบ่งได้เป็นสามเกรดหลักตามสัดส่วนของเยื่อเปลือกไม้ชิงถาน และกระดาษไป๋ลู่คือกระดาษเซวียนจื่อเกรดดีที่สุด คือมีส่วนผสมของเปลือกไม้ชิงถานไม่ต่ำกว่า 80% มีกรรมวิธีการผลิตที่ประณีต เป็นกระดาษที่ดูดซับน้ำหมึกได้ดี ทำให้ลายเส้นอักษรคมชัดแต่ไม่กระด้าง แสดงความพลิ้วไหวของลายเส้นได้ดี มีการบรรยายว่าเนื้อกระดาษเนียนนุ่มดุจไหม สีขาวนวลดุจหยก ว่ากันว่า กระดาษไป๋ลู่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์หยวนโดยนักพรตคนหนึ่งสำหรับไว้ใช้เอง ต่อมาถูกนำมาใช้ในวังเรียกว่ากระดาษไป๋ลู่หรือกวางขาวเพราะมีเส้นลายที่ดูเป็นลายหนังกวางซึ่งถูกมองว่าเป็นลายมงคล ต่อมามีคนที่ผลิตได้ไม่กี่ตระกูล จึงเป็นกระดาษที่มีปริมาณการผลิตที่จำกัดและหายากมาก กระดาษมีหน่วยนับเป็น ‘เตา’ (刀 แปลว่ามีด) ซึ่ง Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าในละครแปลไว้อย่างไร แต่หนึ่งเตาสมัยโบราณคือกระดาษจำนวน 25 แผ่น มีที่มาของการเรียกอย่างนี้ก็คือ หนึ่งมีดสามารถตัดกระดาษโดยไม่เบี้ยวที่ 25 แผ่นนั่นเอง (หมายเหตุ ด้วยวิวัฒนาการผลิต ปัจจุบันหนึ่งเตาคือหนึ่งรีมหรือ 100 แผ่น) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://new.qq.com/rain/a/20231130A00YSS00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_1263914 http://www.chinapaper.net/jjnews/show-353.html http://www.chinapaper.net/jjnews/show-222.html https://baike.baidu.com/item/檀皮宣纸/1802446 https://baike.baidu.com/item/宣纸/329910 https://www.sohu.com/a/362150345_616747 #เล่ห์รักวังคุนหนิง #ไป๋ลู่จื่อ #กระดาษไป๋ลู่ #กระดาษจีน #เซวียนจื่อ #การผลิตกระดาษจีน #กระดาษเยื่อเปลือกไม้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 995 มุมมอง 0 รีวิว
  • 30/11/67

    สงคราม 16 วัน จีนบุกโจมตีเวียดนาม เมื่อ พ.ศ.2521
    ความจริง ที่ต้องบอกต่อ...ให้ลูกหลาน ทั้งประเทศ ได้รับรู้ไว้
    หลังจากที่สหรัฐอเมริกาพ่ายแพ้สงครามเวียดนาม ทหารเวียดนามได้ยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ อันทันสมัยไว้มากมาย ทั้งเครื่องบินรบ รถถัง ปืนใหญ่ และอาวุธประจำกาย ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดของโลกในขณะนั้น
    ทำให้กองทัพเวียดนามแข็งแกร่งขึ้นเป็นอันดับ 3 ของโลก
    ทหารเวียดนาม จึงมีความกระหายสงครามเป็นอย่างยิ่ง ประกาศยึดลาว กัมพูชา และ ไทยต่อทันที ในเวลาเพียงไม่นาน ทั้งลาวและกัมพูชา ก็ตกเป็นของเวียดนาม
    นายพลโว เหงียนเกี๊ยบ ผู้บัญชาการกองทัพเวียดนามเจ็บแค้นมาก ที่ไทยยอมให้สหรัฐอเมริกา มาตั้งฐานทัพ และใช้เครื่องบินรบ บินขึ้นจากสนามบินอู่ตะเภา และสนามบินใน จ.อุบลราชธานี ขนระเบิดไปถล่มเวียดนามนับหมื่นเที่ยวบิน
    กองทัพเวียดนามขนอาวุธทุกชนิดที่มี รถถังจำนวนมาก มาประชิดชายแดนไทยเป็นแนวยาวหลายร้อยกิโลเมตร นายพลเวียดนามประกาศว่า จะนำทหารเข้าไปกินข้าวที่กรุงเทพฯ ให้ได้ภายใน 3 วัน
    นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น คือหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เรียกประชุมด่วน และขอให้ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งไปยังสหรัฐอเมริกาว่า เรากำลังจะถูกเวียดนามบุก
    สหรัฐอเมริกา ตอบกลับมาว่า ขอให้เราช่วยตัวเอง เพราะสหรัฐเพิ่งถอนทัพจากเวียดนาม ไม่อาจช่วยอะไรได้อีกต่อไป รัฐบาลไทย จึงได้ขอใช้อาวุธ ที่ยังตกค้างอยู่ที่ไทย สหรัฐฯ ไม่อนุญาตให้ไทยใช้อาวุธของอเมริกัน ที่ตกค้างจากสงครามและฝากเก็บไว้ในดินแดนไทย
    หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ เรียกประชุมผู้นำเหล่าทัพทันที และถามในที่ประชุมว่า ด้วยศักยภาพที่มีอยู่ตอนนี้ เราจะสู้เวียดนามได้กี่วัน .... ผู้บัญชาการทหารของกองทัพไทยตอบว่าประมาณ 4 วัน (มากกว่าที่นายพลเวียดนามบอกไว้ 1 วัน)
    หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ หันไปบอกกับพลเอกชาติชายที่นั่งอยู่ข้างๆ ว่า.....เราต้องรีบไปจีนด่วนที่สุด....
    หลังจากนั้นไม่นาน ผู้นำไทยก็ได้เข้าพบ “โจวเอินไหล” นายกรัฐมนตรีของจีน ประโยคแรก ที่โจวเอินไหล ทักทายพลเอกชาติชายคือ “เป็นไงบ้างหลานรัก” (พ่อของพลเอกชาติชาย คือ พลเอกผิน เป็นเพื่อนร่วมรบกับโจวเอินไหลในครั้งสงครามเชียงตุง)
    การเชื่อมความสัมพันธ์เป็นไปอย่างชี่นมื่น ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเราไปให้ความสำคัญกับไต้หวันมากกว่าจีนแผ่นดินใหญ่ รับรองไต้หวันเป็นประเทศ แต่โจว เอิน ไหลไม่คิดมาก และ ยังเปิดโอกาสให้ได้พบกับ “เหมาเจ๋อตุง” ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ และ “เติ้ง เสี่ยวผิง” รองนายกรัฐมนตรี ผู้ซึ่งได้รับการวางตัวให้เป็นผู้นำจีนรุ่นต่อไป
    เวียดนามวุ่นวายกับลาวและกัมพูชาอยู่ 2 ปี ในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2521 เวียดนามยกกำลังพล 400,000 นาย พร้อมอาวุธทันสมัยที่สุดในยุคนั้น เตรียมบุกไทย
    ทางรัฐบาลได้มอบหมายให้ พันเอกชวลิต ยงใจยุทธ เดินทางไปจีน เพื่อขอความช่วยเหลือตามที่ มรว.คึกฤทธิ์ได้กรุยทางไว้
    เสนาธิการทหารของจีนประชุมกันและแนะนำว่า ควรปล่อยให้เวียดนามบุกเข้ายึดกรุงเทพฯ ก่อน แล้วค่อยส่งกองทัพจีนตามไปปลดแอกให้ แต่
    เติ้งเสี่ยวผิง ลุกขึ้นตบโต๊ะในที่ประชุม แล้วกล่าวด้วยเสียงอันดังว่า "ช่วยเหลือมิตร ต้องช่วยให้ทันการณ์"
    เดือนพฤศจิกายน 2521 เติ้งเสี่ยวผิง เดินทางมาดูสถานการณ์ที่ประเทศไทย และรีบกลับไปทันที หลังจากนั้น 2 เดือน ในเดือนมกราคม 2522 กองทัพจีนพร้อมกำลังพล 500,000 นาย รถถัง 5,000 คัน เครื่องบิน 1,200 ลำ ได้เปิดสงครามสั่งสอนเวียดนาม
    กองทัพจีน เข้าตีทางภาคเหนือของเวียดนามอย่างรุนแรง เวียดนามรีบถอนทัพที่ประชิดชายแดนไทย กลับไปรับศึกจีน จีนรุกไปถึงฮานอย จนทหารเวียดนามเสียชีวิตประมาณ 50,000 นาย แต่ทหารจีนก็เสียชีวิตไปไม่น้อยกว่ากัน
    เวียตนามเสียหายหนัก
    ทัพเวียตนามต้องถอยร่นถึงชานเมืองฮานอยโดยใช้เวลาทั้งหมดเพียง 16 วัน จีนจึงหยุดตีเวีนตนาม และถอนทัพกลับ

    ย้อนไปนานกว่านั้น เมื่อครั้งปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาอยุธยาแตกเสียกรุงให้พม่า
    ราชสำนักชิง รีบส่งข้าหลวง ลงเรือสำเภามาดูสถานการณ์ในไทย และ ให้รายงานต่อราชสำนักทางปักกิ่ง อยู่ตลอดเวลา ในบันทึกภาษาจีนเขียนไว้ว่า จักรพรรดิเฉียนหลง ทรงประสงค์จะรู้ข่าวคราว ของสยามถึงขนาดกระวนกระวาย เรียกประชุมกลางดึกหลายครั้ง จะเห็นได้ว่า จักรพรรดิจีนทรงให้ความสำคัญกับสยามเพียงใด
    ในจดหมายเหตุของราชวงศ์ชิงได้บันทึกถึง ครั้งที่จีนยกทัพตีภาคเหนือของพม่าไว้ว่า ขณะที่กองทัพจีนบุกพม่า จักรพรรดิเฉียนหลง ได้ทรงติดต่อกับ “เจิ้งเจา” (สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ) หลายครั้ง ดังนั้น
    ข้อสงสัยที่ว่า จีนยกทัพตีพม่า ก็เพื่อดึงทัพของเนเมียวสีหบดีกลับไป ย่อมจะเป็นจริงเพราะถ้าทัพใหญ่ของพม่า ยังคงอยู่ที่อยุธยา กองทัพพระเจ้าตากฯ ซึ่งมีทหารเพียงหลักพันนายเท่านั้น ย่อมไม่มีทางจะเอาชนะทหารพม่าที่มีเป็นหมื่นเป็นแสนได้เลย และ ชาติไทยก็อาจจะหายไปจากแผนที่โลกในปัจจุบันก็ได้
    ........ ตลอดระยะเวลาเป็นร้อยๆปี ที่ผ่านมา เห็นได้ว่าจีนให้ความสำคัญกับไทยมากๆ ในฐานะมิตรประเทศที่มีความผูกพันอย่างแนบแน่น
    (ประเทศไทยมีคนจีนย้ายถิ่นฐานมาอาศัยมากที่สุดในโลก)
    นี่คือคุณูปการที่ผู้นำทั้ง 2 ฝ่ายทำเพื่อความอยู่รอดของเมืองไทย ที่คนรุ่นหลังไม่สนใจที่จะเรียนรู้
    ไม่ต้องรบ สยบด้วยการฑูตประเสริฐที่สุด

    ประเทศจีนช่วยเหลือประเทศไทย
    ด้วยความจริงใจ ไม่เคยคาดหวังค่าตอบแทนจากไทย ยกเว้นมิตรภาพ
    ประเทศไทยมีชาวจีนอพยพ
    มาอาศัยมากทีีสุดในโลก
    มากกว่า มาเลเซีย
    มากกว่า สิงคโปร์
    มากกว่า อินโดนีเซีย
    ดังนั้น ไทยจึงเปรียบเสมือนน้องของจีน

    ขอขอบพระคุณ
    ทันตแพทย์ สม สุจีรา ครับ
    ที่ท่านนำสาระดีๆมาให้อ่าน

    ถ่ายทอดโดย
    นายบัวสอน ประชามอญ

    โปรดแชร์ต่อถ้าเห็นว่ามีสาระดี
    30/11/67 สงคราม 16 วัน จีนบุกโจมตีเวียดนาม เมื่อ พ.ศ.2521 ความจริง ที่ต้องบอกต่อ...ให้ลูกหลาน ทั้งประเทศ ได้รับรู้ไว้ หลังจากที่สหรัฐอเมริกาพ่ายแพ้สงครามเวียดนาม ทหารเวียดนามได้ยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ อันทันสมัยไว้มากมาย ทั้งเครื่องบินรบ รถถัง ปืนใหญ่ และอาวุธประจำกาย ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดของโลกในขณะนั้น ทำให้กองทัพเวียดนามแข็งแกร่งขึ้นเป็นอันดับ 3 ของโลก ทหารเวียดนาม จึงมีความกระหายสงครามเป็นอย่างยิ่ง ประกาศยึดลาว กัมพูชา และ ไทยต่อทันที ในเวลาเพียงไม่นาน ทั้งลาวและกัมพูชา ก็ตกเป็นของเวียดนาม นายพลโว เหงียนเกี๊ยบ ผู้บัญชาการกองทัพเวียดนามเจ็บแค้นมาก ที่ไทยยอมให้สหรัฐอเมริกา มาตั้งฐานทัพ และใช้เครื่องบินรบ บินขึ้นจากสนามบินอู่ตะเภา และสนามบินใน จ.อุบลราชธานี ขนระเบิดไปถล่มเวียดนามนับหมื่นเที่ยวบิน กองทัพเวียดนามขนอาวุธทุกชนิดที่มี รถถังจำนวนมาก มาประชิดชายแดนไทยเป็นแนวยาวหลายร้อยกิโลเมตร นายพลเวียดนามประกาศว่า จะนำทหารเข้าไปกินข้าวที่กรุงเทพฯ ให้ได้ภายใน 3 วัน นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น คือหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เรียกประชุมด่วน และขอให้ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งไปยังสหรัฐอเมริกาว่า เรากำลังจะถูกเวียดนามบุก สหรัฐอเมริกา ตอบกลับมาว่า ขอให้เราช่วยตัวเอง เพราะสหรัฐเพิ่งถอนทัพจากเวียดนาม ไม่อาจช่วยอะไรได้อีกต่อไป รัฐบาลไทย จึงได้ขอใช้อาวุธ ที่ยังตกค้างอยู่ที่ไทย สหรัฐฯ ไม่อนุญาตให้ไทยใช้อาวุธของอเมริกัน ที่ตกค้างจากสงครามและฝากเก็บไว้ในดินแดนไทย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ เรียกประชุมผู้นำเหล่าทัพทันที และถามในที่ประชุมว่า ด้วยศักยภาพที่มีอยู่ตอนนี้ เราจะสู้เวียดนามได้กี่วัน .... ผู้บัญชาการทหารของกองทัพไทยตอบว่าประมาณ 4 วัน (มากกว่าที่นายพลเวียดนามบอกไว้ 1 วัน) หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ หันไปบอกกับพลเอกชาติชายที่นั่งอยู่ข้างๆ ว่า.....เราต้องรีบไปจีนด่วนที่สุด.... หลังจากนั้นไม่นาน ผู้นำไทยก็ได้เข้าพบ “โจวเอินไหล” นายกรัฐมนตรีของจีน ประโยคแรก ที่โจวเอินไหล ทักทายพลเอกชาติชายคือ “เป็นไงบ้างหลานรัก” (พ่อของพลเอกชาติชาย คือ พลเอกผิน เป็นเพื่อนร่วมรบกับโจวเอินไหลในครั้งสงครามเชียงตุง) การเชื่อมความสัมพันธ์เป็นไปอย่างชี่นมื่น ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเราไปให้ความสำคัญกับไต้หวันมากกว่าจีนแผ่นดินใหญ่ รับรองไต้หวันเป็นประเทศ แต่โจว เอิน ไหลไม่คิดมาก และ ยังเปิดโอกาสให้ได้พบกับ “เหมาเจ๋อตุง” ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ และ “เติ้ง เสี่ยวผิง” รองนายกรัฐมนตรี ผู้ซึ่งได้รับการวางตัวให้เป็นผู้นำจีนรุ่นต่อไป เวียดนามวุ่นวายกับลาวและกัมพูชาอยู่ 2 ปี ในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2521 เวียดนามยกกำลังพล 400,000 นาย พร้อมอาวุธทันสมัยที่สุดในยุคนั้น เตรียมบุกไทย ทางรัฐบาลได้มอบหมายให้ พันเอกชวลิต ยงใจยุทธ เดินทางไปจีน เพื่อขอความช่วยเหลือตามที่ มรว.คึกฤทธิ์ได้กรุยทางไว้ เสนาธิการทหารของจีนประชุมกันและแนะนำว่า ควรปล่อยให้เวียดนามบุกเข้ายึดกรุงเทพฯ ก่อน แล้วค่อยส่งกองทัพจีนตามไปปลดแอกให้ แต่ เติ้งเสี่ยวผิง ลุกขึ้นตบโต๊ะในที่ประชุม แล้วกล่าวด้วยเสียงอันดังว่า "ช่วยเหลือมิตร ต้องช่วยให้ทันการณ์" เดือนพฤศจิกายน 2521 เติ้งเสี่ยวผิง เดินทางมาดูสถานการณ์ที่ประเทศไทย และรีบกลับไปทันที หลังจากนั้น 2 เดือน ในเดือนมกราคม 2522 กองทัพจีนพร้อมกำลังพล 500,000 นาย รถถัง 5,000 คัน เครื่องบิน 1,200 ลำ ได้เปิดสงครามสั่งสอนเวียดนาม กองทัพจีน เข้าตีทางภาคเหนือของเวียดนามอย่างรุนแรง เวียดนามรีบถอนทัพที่ประชิดชายแดนไทย กลับไปรับศึกจีน จีนรุกไปถึงฮานอย จนทหารเวียดนามเสียชีวิตประมาณ 50,000 นาย แต่ทหารจีนก็เสียชีวิตไปไม่น้อยกว่ากัน เวียตนามเสียหายหนัก ทัพเวียตนามต้องถอยร่นถึงชานเมืองฮานอยโดยใช้เวลาทั้งหมดเพียง 16 วัน จีนจึงหยุดตีเวีนตนาม และถอนทัพกลับ ย้อนไปนานกว่านั้น เมื่อครั้งปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาอยุธยาแตกเสียกรุงให้พม่า ราชสำนักชิง รีบส่งข้าหลวง ลงเรือสำเภามาดูสถานการณ์ในไทย และ ให้รายงานต่อราชสำนักทางปักกิ่ง อยู่ตลอดเวลา ในบันทึกภาษาจีนเขียนไว้ว่า จักรพรรดิเฉียนหลง ทรงประสงค์จะรู้ข่าวคราว ของสยามถึงขนาดกระวนกระวาย เรียกประชุมกลางดึกหลายครั้ง จะเห็นได้ว่า จักรพรรดิจีนทรงให้ความสำคัญกับสยามเพียงใด ในจดหมายเหตุของราชวงศ์ชิงได้บันทึกถึง ครั้งที่จีนยกทัพตีภาคเหนือของพม่าไว้ว่า ขณะที่กองทัพจีนบุกพม่า จักรพรรดิเฉียนหลง ได้ทรงติดต่อกับ “เจิ้งเจา” (สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ) หลายครั้ง ดังนั้น ข้อสงสัยที่ว่า จีนยกทัพตีพม่า ก็เพื่อดึงทัพของเนเมียวสีหบดีกลับไป ย่อมจะเป็นจริงเพราะถ้าทัพใหญ่ของพม่า ยังคงอยู่ที่อยุธยา กองทัพพระเจ้าตากฯ ซึ่งมีทหารเพียงหลักพันนายเท่านั้น ย่อมไม่มีทางจะเอาชนะทหารพม่าที่มีเป็นหมื่นเป็นแสนได้เลย และ ชาติไทยก็อาจจะหายไปจากแผนที่โลกในปัจจุบันก็ได้ ........ ตลอดระยะเวลาเป็นร้อยๆปี ที่ผ่านมา เห็นได้ว่าจีนให้ความสำคัญกับไทยมากๆ ในฐานะมิตรประเทศที่มีความผูกพันอย่างแนบแน่น (ประเทศไทยมีคนจีนย้ายถิ่นฐานมาอาศัยมากที่สุดในโลก) นี่คือคุณูปการที่ผู้นำทั้ง 2 ฝ่ายทำเพื่อความอยู่รอดของเมืองไทย ที่คนรุ่นหลังไม่สนใจที่จะเรียนรู้ ไม่ต้องรบ สยบด้วยการฑูตประเสริฐที่สุด ประเทศจีนช่วยเหลือประเทศไทย ด้วยความจริงใจ ไม่เคยคาดหวังค่าตอบแทนจากไทย ยกเว้นมิตรภาพ ประเทศไทยมีชาวจีนอพยพ มาอาศัยมากทีีสุดในโลก มากกว่า มาเลเซีย มากกว่า สิงคโปร์ มากกว่า อินโดนีเซีย ดังนั้น ไทยจึงเปรียบเสมือนน้องของจีน ขอขอบพระคุณ ทันตแพทย์ สม สุจีรา ครับ ที่ท่านนำสาระดีๆมาให้อ่าน ถ่ายทอดโดย นายบัวสอน ประชามอญ โปรดแชร์ต่อถ้าเห็นว่ามีสาระดี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1389 มุมมอง 0 รีวิว
  • กวนอู..
    ก่อนอื่น ทำความเข้าใจก่อน เทพเจ้าของคนจีน ไม่ได้เหมือน เทวดา ของเรา...
    ผู้ที่ได้รับการยกย่องเป็นเทพเจ้า ของชาวจีน เป็นใครก็ได้ ที่ทำคุณงามความดี...ความซื่อสัตย์ และทำสิ่งดีดีอื่น จนเป็นที่ประจักษ์ ...
    ...ท่่านมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคปลายราชวงศ์ฮั่น....
    ...แต่เพิ่งมาถูกยกย่องเป็นเทพเจ้า ในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นแมนจู....เนื่องจาก อ้างอิงความ จงรักภักดี แบบกวนอู เป็นแบบอย่าง...ชาวฮั่น จะได้ถูกปกครองได้โดยง่าย... (นัยยะทางการเมือง)
    ข้ามมาปัจจุบันเลย เดี๋ยวยาว...

    กวนอูเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นคนฉลาด กล้าหาญ ซื่อสัตย์ และแข็งแกร่งมากพอที่จะต่อสู้กับคนนับหมื่นคนได้ในคราวเดียว นักธุรกิจระดับมหาเศรษฐีชาวจีนกลุ่มนึง....ในเมืองอะไร...จำไม่ได้แล้ว...ยกย่องนับถือท่านมาก...ทีนี้ คนก็ เอ้า พวก เศรษฐีบูชาแล้วรวยนี่....ฉันเอาด้วย...ทีนี้ความเชื่อ จากความภักดี กล้าหาญ ซื่อสัตย์ ก็เลยได้ เรื่องความมั่งคั่งเข้าไปด้วย......ชาวจีนก็เลยต่างบูชาท่านเพื่อทำตามตัวอย่างและสร้างความมั่งคั่งบนพื้นฐานของความแข็งแกร่ง ความกล้าหาญ
    กวนอู.. ก่อนอื่น ทำความเข้าใจก่อน เทพเจ้าของคนจีน ไม่ได้เหมือน เทวดา ของเรา... ผู้ที่ได้รับการยกย่องเป็นเทพเจ้า ของชาวจีน เป็นใครก็ได้ ที่ทำคุณงามความดี...ความซื่อสัตย์ และทำสิ่งดีดีอื่น จนเป็นที่ประจักษ์ ... ...ท่่านมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคปลายราชวงศ์ฮั่น.... ...แต่เพิ่งมาถูกยกย่องเป็นเทพเจ้า ในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นแมนจู....เนื่องจาก อ้างอิงความ จงรักภักดี แบบกวนอู เป็นแบบอย่าง...ชาวฮั่น จะได้ถูกปกครองได้โดยง่าย... (นัยยะทางการเมือง) ข้ามมาปัจจุบันเลย เดี๋ยวยาว... กวนอูเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นคนฉลาด กล้าหาญ ซื่อสัตย์ และแข็งแกร่งมากพอที่จะต่อสู้กับคนนับหมื่นคนได้ในคราวเดียว นักธุรกิจระดับมหาเศรษฐีชาวจีนกลุ่มนึง....ในเมืองอะไร...จำไม่ได้แล้ว...ยกย่องนับถือท่านมาก...ทีนี้ คนก็ เอ้า พวก เศรษฐีบูชาแล้วรวยนี่....ฉันเอาด้วย...ทีนี้ความเชื่อ จากความภักดี กล้าหาญ ซื่อสัตย์ ก็เลยได้ เรื่องความมั่งคั่งเข้าไปด้วย......ชาวจีนก็เลยต่างบูชาท่านเพื่อทำตามตัวอย่างและสร้างความมั่งคั่งบนพื้นฐานของความแข็งแกร่ง ความกล้าหาญ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 329 มุมมอง 0 รีวิว
  • เรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกทำเป็น 'วัฒนธรรมป๊อป' มากที่สุดตอนหนึ่ง มีทั้งนิยาย ภาพยนต์ และล่าสุดคือละครหรือซีรีส์

    อาจเป็นเพราะเรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์ให้อารมณ์หวาบหวิวจากการแอบลอบคบชู้กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) ทำให้มีการขยายความตอนนี้เป็นพิเศษ ทั้งๆ ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้บอกอะไรมากนักเรื่องนี้เพียง

    ในเวลาต่อมาคอนเทนท์บันเทิงบางยุคเริ่มมีการใช้คำว่า 'แม่หยัว' เรียกท้าวศรีสุดาจันทร์ ทำให้คนเข้าใจผิดไม่น้อยว่า 'แม่หยัว' น่าจะหมายถึงอาการยั่วยวนเรื่องกามราคะ แต่ความจริง 'แม่หยัว' หมายถึง 'แม่อยู่หัว' ที่หมายถึงมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน

    คำว่าแม่อยู่หัวนั้นในบันทึกโบราณเรียกเพี้ยนเป็น แม่อยัว แม่หญัว แม่อยั่ว ฯลฯ แต่พอตอนนี้ของประวัติศาสตร์ถูกวัฒนธรรมป๊อปปั้นภาพลักษณ์ยั่วยวนของท้าวศรีสุดาจันทร์ขึ้นมา ทำให้คนเข้าใจคำว่า 'แม่หยัว' ผิดไป

    แต่นั้นมาคำว่า 'แม่หยัว' ก็กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ เพียงแต่มันเกิดจากภาพจำผิดๆ ที่ 'นิยายอิงประวัติศาสตร์' สร้างขึ้นมา

    ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีเนื้อหาไม่มากนักในทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นถ้าจะทำเป็นคอนเทนต์บันเทิง จึงหลีกกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง "มโนเอาเอง" กันบ้าง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการสร้างคอนเทนต์บันเทิงกับบุคคลทางประวัติศาสตร์บางคนด้วย

    ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อจะเท้าความ 'กรณีพิพาท' ระหว่างที่คนคิดว่าการทำละครอิงประวัติศาสตร์แบบเรื่อง 'แม่หยัว' ไม่เห็นจะต้องทำให้ตรงประวัติศาสตร์เป๊ะๆ กับฝ่ายที่ย้ำว่าไม่ควรที่จะมโนกันเกินไป

    ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการทำ Historical fiction เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า มันมี "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" (Historically Accurate) แค่ไหน? เพราะนิยายอิงประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยการมโนในสัดส่วนที่มากพอสมควร เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้เสพ

    ในกรณีของแม่หยัว อย่าไปถามเรื่อง "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" เพราะเนื้อหาในประวัติศาสตร์มีนิดเดียว ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้จินตนาการได้มากมาย

    แต่การมโนก็ต้องดูสภาพแวดล้อมของทางประวัติศาสตร์ด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะไม่เนียน เช่น ท้างศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ถ้าไปจับแม่อยู่หัวไปสวมมงกุฏสมัยละโว้มันก็หาได้เนียนไม่ เพราะเมื่อถึงยุค 'แม่หยัว' เขาเลิกใส่เครื่องหัวแบบนั้นกันแล้ว แล้วยังมีกฎมณเฑียรบาลที่ตราไว้ในสมัยอยุธยาตอนนั้นระบุการแต่งกายของแม่อยู่หัวเอาไว้แล้ว และยังมีภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา (ที่ผมเชื่อว่าคัดมาจากต้นฉบับสมัยอยุธยาตอนต้น) ชี้ทางเอาไว้แล้วว่าสตรีชั้นสูงยุคนั้นแต่งตัวอย่างไร

    ความไม่เนียนแบบนี้เองที่จะทำให้ Historical fiction กลายเป็น Historical fantasy ซึ่งมีความเป็นประวัติศาสตร์อย่างเดียวคือฉากย้อนยุค ส่วนเรื่องอื่นๆ มโนตามใจฉัน

    แต่ในเมืองไทยเรื่องความเนียนไม่เนียนทางประวัติศาสตร์ยังไม่เรื่องใหญ่ระดับชาติ เพราะประวัติศาสร์บ้านเรากระท่อนกระแท่นและคนไทยแคร์ประวัติศาสตร์มากเท่ากับคนในประเทศเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ประเทศพวกนี้นอกจากต้องทำละครให้เนียนแบบ Historically Accurate แล้ว ยังต้องทำให้ถูกต้องในแบบ Politically correct ด้วย

    ผมจะยกตัวอย่างการสังเกตส่วนตัวจากกรณีของเกาหลีใต้ที่สร้างซีรีส์ย้อนยุคอยู่บ่อยๆ และมักเกิดกรณี "ซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์"

    ตัวอย่างเช่นซีรีส์เรื่อง Queen Seondeok ในปี 2009 ซึ่งสร้างจากยุคที่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่ละเอียดมากนัก แต่สามารถยืดออกได้มากถึง 62 ตอน ในแง่ของความถูกต้องทางประวัติศาสตร์มีน้อย แถมคอสตูมยังไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ถูกตำหนิในเกาหลีว่า "มโนประวัติศาสตร์" มากเกินไป และยังอ้างบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกปลอมขึ้นมา

    Queen Seondeok ถูกผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ตำหนิอย่างมาก เพราะแม้ว่าบันทึกสมัยชิลลาจะมีไม่มาก แต่มันก็เป็นบันทึกที่เที่ยงแท้ในทางประวัติศาสร์ การจะบิดเบือนความสัมพันธ์ของ 'ตัวละคร' หรือพฤติกรรมที่ถูกบันทึกไว้จริงๆ จึงไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้น ความจริงแล้ว Queen Seondeok ควรจะเดินตามเส้นตรงของประวัติศาสตร์ เพราะโอกาสที่จะออกนอกประวัติศาสตร์มีแต่บทสนทนาเท่านั้น

    โปรดสังเกตว่าเรื่องนี้สร้างก่อนยุคโซเชียลจะแพร่หลาย

    พอโซเชียลมีเดียทรงพลังขึ้นมา การโจมตีซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เริ่มจะสะเปะสะปะขึ้นทุกวัน เพราะแทนที่จะโจมตีความถูกต้อง กลับไปโจมตีเรื่องการเมือง

    ตัวอย่างเช่น Joseon Exorcist เมื่อปี 2021 ที่ฉายได้แค่ 2 ตอนก็แท้งซะก่อน เพราะถูกตำหนิว่าใช้ฉากประกอบที่อ้างว่าไม่ตรงกับความจริงทางประวัติศาสตร์ เช่น ใช้ อุปกรณ์ของจีนในเกาหลีโบราณ

    ในปี 2022 เกิดกรณี Under the Queen's Umbrella ถูกตำหนิว่า บิดเบือนประวัติศาสตร์ เพราะใช้ตัวอักษรจีนแบบตัวย่อ (ที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นในยุคสมัยใหม่ ส่วนเกาหลีใช้อักษรจีนตัวเต็ม)

    ในปี 2024 มีกรณี Queen Woo ถูกตำหนิว่าเครื่องแต่งกายของตัวละครมีความเป็นจีนมากเกินไป ไม่น่าจะสอดคล้องกับคนเกาหลีในยุคโคกูรยอ (ทั้งที่โคกูรยอก็รับวัฒนธรรมจากจีน)

    กรณีเหล่านี้มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ 'กระแสต่อต้านจีน' ในเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่เกาหลีเป็นเขตอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ แค่เรื่องนี้เป็น 'อคติ' ของผู้ชมเกาหลีใต้เองที่เกลียด เหยียด และกลัวจีนมากขึ้น

    แต่ในแง่เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ กรณีพวกนี้เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ เกิดขึ้นในยุคโชซอน ซึ่งมีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการอย่างละเอียด กระทั่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ตรัสถ้อยคำไว้อย่างไร

    ในยุคสมัยที่บันทึกละเอียดแบบนี้การมโนจึงทำไม่ได้ เพราะไม่มีพื้นที่ว่างให้จินตนาการได้อีก ตรงกันข้ามกับเรื่อง Queen Woo ซึ่งเกิดในยุคโคกูรยอ ซึ่งมีประวัติศาสตร์บันทึกกระท่อนกระแท่นเหมือนประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้มโนได้มากตามใจปรารถนา

    แต่ถึงจะมโนได้มาก แต่อารมณ์ชาตินิยมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้มโนได้ตามใจชอบอีก ไม่ใช่เพราะผู้สร้างบิดเบือนประวัติศาสตร์ แต่ทำงานออกมาไม่ถูกใจพวกชาตินิยมสุดโต่งต่างหาก

    ดังนั้น ในโลกของนิยายอิงประวัติศาสตร์ จึงไม่มีคำว่าถูกต้องเป๊ะๆ ยิ่งในปัจจุบันมีแต่คำว่า "ถูกใจคนดูหรือไม่" โดยที่ความถูกใจของคนดูไม่ใช่ถูกใจเพราะดาราแสดงดี หรือเครื่องแต่งกายสวย แต่ยังต้องคล้องจองกับ 'วาระทางการเมือง' ของคนดูด้วย

    ยกตัวอย่างจีน ซึ่งบางคนยังเชื่อว่าจีนทำซีรีส์พีเรียดมากมายเพราะอนุญาตให้มโนได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด

    สังคมจีนและสถาบันรัฐจีน (ที่ชาตินิยมขึ้นทุกวัน) ไม่ได้อนุญาตให้มโนประวัติศาสตร์ได้ สิ่งที่คนไทยเห็นว่าจีนจินตนาการประวัติศาสตร์นั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า Historical fantasy คือใช้ฉากย้อนยุคที่กำกวม ใช้คอสตูมที่อาจจะอยู่ในยุคที่คาดเดาได้ แต่ไม่มีเหตุการณ์นั้นจริงๆ เช่นเรื่อง Nirvana In Fire เมื่อปี 2015 ที่ทำให้เชื่อว่าอยู่ในยุคหนานเป่ยเฉา แต่เอาจริงๆ มันไม่มีสถานการณ์จริงและตัวบุคคลจริงอยู่เลย

    หากมีซีรีส์ที่ทำเนื้อหาจริงๆ ทางประวัติศาสตร์ หากเลินเล่อเกินไปก็จะถูกโจมตีอย่างหนัก เช่น Legend of Miyue ที่อิงประวัติศาสตร์ยุคจ้านกั๋ว แต่ถูกวิจารณ์เรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เรื่องนี้มีความเห็นที่น่าสนใจจาก หลีเสี่ยวเหว่ย บรรณาธิการบริหารของ "จงกั๋วชิงเหนียนหว่าง" (中国青年网) ของทางการจีน ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ถูกตำหนิ เขากล่าวว่า

    "จักรพรรดินีองค์แรกของจีนในเรื่อง "Legend of Miyue" ซีรีส์ทางทีวีใช้ตัวละครและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้ติดตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พื้นฐาน และถึงกับแต่งเรื่องขึ้นมาด้วยซ้ำ ปรากฏการณ์นี้ช่างน่าเป็นห่วง ประการแรก มันจะนำพาผู้คนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และก่อให้เกิดข่าวลือ ประการที่สอง นี่คือทิศทางที่ผิดปกติของการพัฒนาละครประวัติศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด"

    ในเรื่องนี้ทางเกาหลีก็เห็นด้วยกับจีน

    จากกรณีของ Queen Seondeok อีจองโฮ ผู้สื่อข่าวของ "ยอนเซ ชุนชู" (연세춘추) สื่อของมหาวิทยาลัยยอนเซ ถึงกับบอกว่า "Queen Seondeok คือเรื่องโกหก" และได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งชี้แนะว่า"ตามที่ศาสตราจารย์ ชาฮเยวอน (ภาควิชาศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงของจีน) กล่าวไว้ ละครประวัติศาสตร์จีนมักจะมีความเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างจากละครประวัติศาสตร์เกาหลี ความจริงของละครประวัติศาสตร์เกาหลีคือความจริงทางประวัติศาสตร์ถูกละเลยเพื่อความบันเทิงและเรตติ้งผู้ชม เพื่อแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีการไตร่ตรองภายในอุตสาหกรรมการออกอากาศ"

    แม้ว่าประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์ที่เบาบางต่างจากจีนและเกาหลี แต่เราสามารถใช้มาตรฐานแบบนี้ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต้องเป๊ะคือแกนหลักในประวัติศาสตร์ อย่าตีความมากเกินไปเพราะต้องเคารพ "ผู้ที่ตายไปแล้วซึ่งไม่มีโอกาสร้องอุทรณ์แก้ต่างให้ตัวเอง" ด้วย ส่วนสิ่งที่จินตนาการได้ก็ควรทำให้ตรงกับบริบทแวดล้อมของยุคนั้น

    หากทำเอาสนุกอย่างเดียว ก็ "จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด"

    บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better
    ภาพโปสเตอร์โปรโมทซีรีส์เรื่อง แม่หยัว และ Queen Seondeok

    ที่มา https://www.thebetter.co.th/news/world/23351?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3w6ch-KVjjFiWzTmp8gh2-HSMqAh7UX0lxC3jm2_5RD0J97vIDxYCrljo_aem_wMoYw4S-NqnmnAfELQfeSA

    #Thaitimes
    เรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกทำเป็น 'วัฒนธรรมป๊อป' มากที่สุดตอนหนึ่ง มีทั้งนิยาย ภาพยนต์ และล่าสุดคือละครหรือซีรีส์ อาจเป็นเพราะเรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์ให้อารมณ์หวาบหวิวจากการแอบลอบคบชู้กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) ทำให้มีการขยายความตอนนี้เป็นพิเศษ ทั้งๆ ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้บอกอะไรมากนักเรื่องนี้เพียง ในเวลาต่อมาคอนเทนท์บันเทิงบางยุคเริ่มมีการใช้คำว่า 'แม่หยัว' เรียกท้าวศรีสุดาจันทร์ ทำให้คนเข้าใจผิดไม่น้อยว่า 'แม่หยัว' น่าจะหมายถึงอาการยั่วยวนเรื่องกามราคะ แต่ความจริง 'แม่หยัว' หมายถึง 'แม่อยู่หัว' ที่หมายถึงมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน คำว่าแม่อยู่หัวนั้นในบันทึกโบราณเรียกเพี้ยนเป็น แม่อยัว แม่หญัว แม่อยั่ว ฯลฯ แต่พอตอนนี้ของประวัติศาสตร์ถูกวัฒนธรรมป๊อปปั้นภาพลักษณ์ยั่วยวนของท้าวศรีสุดาจันทร์ขึ้นมา ทำให้คนเข้าใจคำว่า 'แม่หยัว' ผิดไป แต่นั้นมาคำว่า 'แม่หยัว' ก็กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ เพียงแต่มันเกิดจากภาพจำผิดๆ ที่ 'นิยายอิงประวัติศาสตร์' สร้างขึ้นมา ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีเนื้อหาไม่มากนักในทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นถ้าจะทำเป็นคอนเทนต์บันเทิง จึงหลีกกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง "มโนเอาเอง" กันบ้าง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการสร้างคอนเทนต์บันเทิงกับบุคคลทางประวัติศาสตร์บางคนด้วย ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อจะเท้าความ 'กรณีพิพาท' ระหว่างที่คนคิดว่าการทำละครอิงประวัติศาสตร์แบบเรื่อง 'แม่หยัว' ไม่เห็นจะต้องทำให้ตรงประวัติศาสตร์เป๊ะๆ กับฝ่ายที่ย้ำว่าไม่ควรที่จะมโนกันเกินไป ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการทำ Historical fiction เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า มันมี "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" (Historically Accurate) แค่ไหน? เพราะนิยายอิงประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยการมโนในสัดส่วนที่มากพอสมควร เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้เสพ ในกรณีของแม่หยัว อย่าไปถามเรื่อง "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" เพราะเนื้อหาในประวัติศาสตร์มีนิดเดียว ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้จินตนาการได้มากมาย แต่การมโนก็ต้องดูสภาพแวดล้อมของทางประวัติศาสตร์ด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะไม่เนียน เช่น ท้างศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ถ้าไปจับแม่อยู่หัวไปสวมมงกุฏสมัยละโว้มันก็หาได้เนียนไม่ เพราะเมื่อถึงยุค 'แม่หยัว' เขาเลิกใส่เครื่องหัวแบบนั้นกันแล้ว แล้วยังมีกฎมณเฑียรบาลที่ตราไว้ในสมัยอยุธยาตอนนั้นระบุการแต่งกายของแม่อยู่หัวเอาไว้แล้ว และยังมีภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา (ที่ผมเชื่อว่าคัดมาจากต้นฉบับสมัยอยุธยาตอนต้น) ชี้ทางเอาไว้แล้วว่าสตรีชั้นสูงยุคนั้นแต่งตัวอย่างไร ความไม่เนียนแบบนี้เองที่จะทำให้ Historical fiction กลายเป็น Historical fantasy ซึ่งมีความเป็นประวัติศาสตร์อย่างเดียวคือฉากย้อนยุค ส่วนเรื่องอื่นๆ มโนตามใจฉัน แต่ในเมืองไทยเรื่องความเนียนไม่เนียนทางประวัติศาสตร์ยังไม่เรื่องใหญ่ระดับชาติ เพราะประวัติศาสร์บ้านเรากระท่อนกระแท่นและคนไทยแคร์ประวัติศาสตร์มากเท่ากับคนในประเทศเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ประเทศพวกนี้นอกจากต้องทำละครให้เนียนแบบ Historically Accurate แล้ว ยังต้องทำให้ถูกต้องในแบบ Politically correct ด้วย ผมจะยกตัวอย่างการสังเกตส่วนตัวจากกรณีของเกาหลีใต้ที่สร้างซีรีส์ย้อนยุคอยู่บ่อยๆ และมักเกิดกรณี "ซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์" ตัวอย่างเช่นซีรีส์เรื่อง Queen Seondeok ในปี 2009 ซึ่งสร้างจากยุคที่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่ละเอียดมากนัก แต่สามารถยืดออกได้มากถึง 62 ตอน ในแง่ของความถูกต้องทางประวัติศาสตร์มีน้อย แถมคอสตูมยังไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ถูกตำหนิในเกาหลีว่า "มโนประวัติศาสตร์" มากเกินไป และยังอ้างบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกปลอมขึ้นมา Queen Seondeok ถูกผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ตำหนิอย่างมาก เพราะแม้ว่าบันทึกสมัยชิลลาจะมีไม่มาก แต่มันก็เป็นบันทึกที่เที่ยงแท้ในทางประวัติศาสร์ การจะบิดเบือนความสัมพันธ์ของ 'ตัวละคร' หรือพฤติกรรมที่ถูกบันทึกไว้จริงๆ จึงไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้น ความจริงแล้ว Queen Seondeok ควรจะเดินตามเส้นตรงของประวัติศาสตร์ เพราะโอกาสที่จะออกนอกประวัติศาสตร์มีแต่บทสนทนาเท่านั้น โปรดสังเกตว่าเรื่องนี้สร้างก่อนยุคโซเชียลจะแพร่หลาย พอโซเชียลมีเดียทรงพลังขึ้นมา การโจมตีซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เริ่มจะสะเปะสะปะขึ้นทุกวัน เพราะแทนที่จะโจมตีความถูกต้อง กลับไปโจมตีเรื่องการเมือง ตัวอย่างเช่น Joseon Exorcist เมื่อปี 2021 ที่ฉายได้แค่ 2 ตอนก็แท้งซะก่อน เพราะถูกตำหนิว่าใช้ฉากประกอบที่อ้างว่าไม่ตรงกับความจริงทางประวัติศาสตร์ เช่น ใช้ อุปกรณ์ของจีนในเกาหลีโบราณ ในปี 2022 เกิดกรณี Under the Queen's Umbrella ถูกตำหนิว่า บิดเบือนประวัติศาสตร์ เพราะใช้ตัวอักษรจีนแบบตัวย่อ (ที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นในยุคสมัยใหม่ ส่วนเกาหลีใช้อักษรจีนตัวเต็ม) ในปี 2024 มีกรณี Queen Woo ถูกตำหนิว่าเครื่องแต่งกายของตัวละครมีความเป็นจีนมากเกินไป ไม่น่าจะสอดคล้องกับคนเกาหลีในยุคโคกูรยอ (ทั้งที่โคกูรยอก็รับวัฒนธรรมจากจีน) กรณีเหล่านี้มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ 'กระแสต่อต้านจีน' ในเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่เกาหลีเป็นเขตอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ แค่เรื่องนี้เป็น 'อคติ' ของผู้ชมเกาหลีใต้เองที่เกลียด เหยียด และกลัวจีนมากขึ้น แต่ในแง่เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ กรณีพวกนี้เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ เกิดขึ้นในยุคโชซอน ซึ่งมีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการอย่างละเอียด กระทั่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ตรัสถ้อยคำไว้อย่างไร ในยุคสมัยที่บันทึกละเอียดแบบนี้การมโนจึงทำไม่ได้ เพราะไม่มีพื้นที่ว่างให้จินตนาการได้อีก ตรงกันข้ามกับเรื่อง Queen Woo ซึ่งเกิดในยุคโคกูรยอ ซึ่งมีประวัติศาสตร์บันทึกกระท่อนกระแท่นเหมือนประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้มโนได้มากตามใจปรารถนา แต่ถึงจะมโนได้มาก แต่อารมณ์ชาตินิยมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้มโนได้ตามใจชอบอีก ไม่ใช่เพราะผู้สร้างบิดเบือนประวัติศาสตร์ แต่ทำงานออกมาไม่ถูกใจพวกชาตินิยมสุดโต่งต่างหาก ดังนั้น ในโลกของนิยายอิงประวัติศาสตร์ จึงไม่มีคำว่าถูกต้องเป๊ะๆ ยิ่งในปัจจุบันมีแต่คำว่า "ถูกใจคนดูหรือไม่" โดยที่ความถูกใจของคนดูไม่ใช่ถูกใจเพราะดาราแสดงดี หรือเครื่องแต่งกายสวย แต่ยังต้องคล้องจองกับ 'วาระทางการเมือง' ของคนดูด้วย ยกตัวอย่างจีน ซึ่งบางคนยังเชื่อว่าจีนทำซีรีส์พีเรียดมากมายเพราะอนุญาตให้มโนได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด สังคมจีนและสถาบันรัฐจีน (ที่ชาตินิยมขึ้นทุกวัน) ไม่ได้อนุญาตให้มโนประวัติศาสตร์ได้ สิ่งที่คนไทยเห็นว่าจีนจินตนาการประวัติศาสตร์นั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า Historical fantasy คือใช้ฉากย้อนยุคที่กำกวม ใช้คอสตูมที่อาจจะอยู่ในยุคที่คาดเดาได้ แต่ไม่มีเหตุการณ์นั้นจริงๆ เช่นเรื่อง Nirvana In Fire เมื่อปี 2015 ที่ทำให้เชื่อว่าอยู่ในยุคหนานเป่ยเฉา แต่เอาจริงๆ มันไม่มีสถานการณ์จริงและตัวบุคคลจริงอยู่เลย หากมีซีรีส์ที่ทำเนื้อหาจริงๆ ทางประวัติศาสตร์ หากเลินเล่อเกินไปก็จะถูกโจมตีอย่างหนัก เช่น Legend of Miyue ที่อิงประวัติศาสตร์ยุคจ้านกั๋ว แต่ถูกวิจารณ์เรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เรื่องนี้มีความเห็นที่น่าสนใจจาก หลีเสี่ยวเหว่ย บรรณาธิการบริหารของ "จงกั๋วชิงเหนียนหว่าง" (中国青年网) ของทางการจีน ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ถูกตำหนิ เขากล่าวว่า "จักรพรรดินีองค์แรกของจีนในเรื่อง "Legend of Miyue" ซีรีส์ทางทีวีใช้ตัวละครและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้ติดตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พื้นฐาน และถึงกับแต่งเรื่องขึ้นมาด้วยซ้ำ ปรากฏการณ์นี้ช่างน่าเป็นห่วง ประการแรก มันจะนำพาผู้คนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และก่อให้เกิดข่าวลือ ประการที่สอง นี่คือทิศทางที่ผิดปกติของการพัฒนาละครประวัติศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด" ในเรื่องนี้ทางเกาหลีก็เห็นด้วยกับจีน จากกรณีของ Queen Seondeok อีจองโฮ ผู้สื่อข่าวของ "ยอนเซ ชุนชู" (연세춘추) สื่อของมหาวิทยาลัยยอนเซ ถึงกับบอกว่า "Queen Seondeok คือเรื่องโกหก" และได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งชี้แนะว่า"ตามที่ศาสตราจารย์ ชาฮเยวอน (ภาควิชาศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงของจีน) กล่าวไว้ ละครประวัติศาสตร์จีนมักจะมีความเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างจากละครประวัติศาสตร์เกาหลี ความจริงของละครประวัติศาสตร์เกาหลีคือความจริงทางประวัติศาสตร์ถูกละเลยเพื่อความบันเทิงและเรตติ้งผู้ชม เพื่อแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีการไตร่ตรองภายในอุตสาหกรรมการออกอากาศ" แม้ว่าประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์ที่เบาบางต่างจากจีนและเกาหลี แต่เราสามารถใช้มาตรฐานแบบนี้ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต้องเป๊ะคือแกนหลักในประวัติศาสตร์ อย่าตีความมากเกินไปเพราะต้องเคารพ "ผู้ที่ตายไปแล้วซึ่งไม่มีโอกาสร้องอุทรณ์แก้ต่างให้ตัวเอง" ด้วย ส่วนสิ่งที่จินตนาการได้ก็ควรทำให้ตรงกับบริบทแวดล้อมของยุคนั้น หากทำเอาสนุกอย่างเดียว ก็ "จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด" บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better ภาพโปสเตอร์โปรโมทซีรีส์เรื่อง แม่หยัว และ Queen Seondeok ที่มา https://www.thebetter.co.th/news/world/23351?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3w6ch-KVjjFiWzTmp8gh2-HSMqAh7UX0lxC3jm2_5RD0J97vIDxYCrljo_aem_wMoYw4S-NqnmnAfELQfeSA #Thaitimes
    WWW.THEBETTER.CO.TH
    ความไม่เนียนของ'ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์' ต้องเป๊ะประวัติศาสตร์แค่ไหน?
    ความไม่เนียนของ'ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์' ต้องเป๊ะประวัติศาสตร์แค่ไหน?
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1656 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts