• Storyฯ เพิ่งได้มีโอกาสดูละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ซึ่งเป็นเรื่องราวสมัยราชวงศ์หมิง สิ่งที่สะดุดตามากคือท่าทำความเคารพ รู้สึกว่าทำออกมาได้ดีมากในหลายฉาก วันนี้เลยมาคุยให้ฟังกันสั้นๆ

    ฉากที่สะดุดตา Storyฯ มากคือฉากพิธีกราบไหว้ฟ้าดินของพระเอกนางเอก ลักษณะการคำนับคือยกมือขึ้นประสานทับกันระดับหน้าอกโดยฝ่ามือหันเข้าหาตัว จากนั้นดันมือออกไปให้ห่างตัวพร้อมกับค้อมตัวลง (ดูรูปประกอบ)

    การโค้งคำนับแบบนี้มีชื่อเรียกค่ะ คือ ‘จั๊วอี๊’ (作揖)

    จั๊วอี๊เป็นการคำนับอย่างเป็นทางการโดยไม่คุกเข่าลง ด้วยการยกมือขึ้นแบบที่กล่าวมาข้างต้น (อาจวางมือทาบซ้อนกันหรือกุมมือก็ได้) หากเป็นชายจะเป็นมือซ้ายทับมือขวา และหากเป็นหญิงจะเป็นขวาทับซ้าย (สังเกตเปรียบเทียบได้จากรูป) จากนั้นก้มหลังตรงจากเอวลงมาพร้อมกับดันมือออกไปข้างหน้าเล็กน้อย

    ในบันทึกทางพิธีการสมัยราชวงศ์โจว (1050-256 ปีก่อนคริสตกาล) มีการจำแนกจั๊วอี๊ออกเป็นอีกหลายลักษณะ คือ
    - ‘ถู่อี๊’ (土揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) แล้วมือโน้มลงต่ำเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่มีอาวุโสน้อยกว่าหรือศักดิ์ด้อยกว่า;
    - ‘สืออี๊’(時揖) คือการโค้งต่ำ (ประมาณ 60 องศา) โดยที่ระดับมือยังอยู่ที่หน้าอก เป็นการเคารพคนที่อาวุโสกว่า;
    - ‘เทียนอี๊’(天揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) และมือยกขึ้นสูงเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่เสมอศักดิ์;
    - ‘เท่ออี๊’ (特揖) คือคำนับอีกฝ่ายทีละคนแทนที่จะคำนับครั้งเดียวต่อคนทั้งกลุ่ม;
    - ‘หลี่ว์อี๊’(旅揖) คือคำนับในแบบที่แตกต่างกันตามศักดิ์ของฝ่ายตรงข้าม;
    - ‘ผางซานอี๊’(旁三揖) คือการคำนับสามครั้งต่อคนทั้งกลุ่ม; และ
    - ‘ฉางอี๊’ (长揖) คือการคำนับแบบโค้งตัวลงต่ำมาก มือยืดออกไปมากขึ้นและยกขึ้นสูง เป็นการเคารพแบบสูงสุดของการทำจั๊วอี๊ แต่ยังเทียบไม่ได้กับการคุกเข่าคำนับ จึงมีวลีที่ว่า ‘ฉางอี๊ปู๋ไป้’ (长揖不拜) อันหมายถึงการแสดงความทะนงตนด้วยการเคารพนอบน้อมแต่ไม่ยอมคุกเข่าให้

    แต่ในกรณีที่เป็นการทำความเคารพในงานศพจะสลับมือกัน คือเป็นขวาทับซ้ายสำหรับชาย และซ้ายทับขวาสำหรับหญิงแทน

    จริงๆ แล้วตามบันทึกและภาพวาดทางประวัติศาสตร์กลับไม่ค่อยปรากฏสตรีมีการทำจั๊วอี๊สักเท่าไหร่ โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังลงมา แล้วผู้หญิงเขาทำความเคารพอย่างไร? ในละครเรื่องเดียวกันจะเห็นผู้หญิงกำมือวางซ้อนกัน (ขวาบนซ้ายล่าง) อยู่ระดับเอวแล้วย่อตัวลงเล็กน้อย (ดูรูปประกอบ) ท่านี้เรียกว่า ‘ว่านฝู’ (万福) ซึ่งใช้ปกติทั่วไปในยุคสมัยหมิงยกเว้นกรณีที่เป็นทางการอย่างยิ่ง อย่างเช่นในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่นางเอกทำจั๊วอี๊ในพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน

    ทั้งจั๊วอี๊และว่านฝูที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการทำความเคารพแบบของชาวจีนเชื้อสายฮั่น ไม่ใช่แมนจู ดังนั้นเพื่อนเพจที่ดูละครสมัยราชวงศ์ชิงจะไม่เห็นท่าทำความเคารพแบบนี้แม้ว่าในสมัยชิงจะมีท่าทำความเคารพที่เรียกว่าว่านฝูเหมือนกัน

    เขียนเพิ่มเมื่อวันที่ 11/6: ท่าทำความเคารพของจั๊วอี๊ที่ถูกต้องคือประสานมือก่อนแล้วค่อยดันมือออกไป (เหมือนที่ Storyฯ ได้บรรยายภาพที่เห็นในละครนะคะ ไม่ใช่กางแขนออกแล้วประสานไว้ไกลๆ เป็นวงใหญ่) อันนี้เป็นนัยว่าเรากำลังยื่นมือออกไปเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายเปิดใจกับเราและเรากำลังเปิดใจให้กับเขา

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/l5nNxB
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.hk/item/%E4%BD%9C%E6%8F%96/6203317
    https://kknews.cc/history/4lyoojx.html
    https://new.qq.com/omn/20190803/20190803A08S2B00.html
    https://www.newton.com.tw/wiki/%E4%BD%9C%E6%8F%96

    #จั๊วอี๊ #จัวอี #การคำนับแบบจีน #ว่านฝู #ราชวงศ์หมิง
    Storyฯ เพิ่งได้มีโอกาสดูละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ซึ่งเป็นเรื่องราวสมัยราชวงศ์หมิง สิ่งที่สะดุดตามากคือท่าทำความเคารพ รู้สึกว่าทำออกมาได้ดีมากในหลายฉาก วันนี้เลยมาคุยให้ฟังกันสั้นๆ ฉากที่สะดุดตา Storyฯ มากคือฉากพิธีกราบไหว้ฟ้าดินของพระเอกนางเอก ลักษณะการคำนับคือยกมือขึ้นประสานทับกันระดับหน้าอกโดยฝ่ามือหันเข้าหาตัว จากนั้นดันมือออกไปให้ห่างตัวพร้อมกับค้อมตัวลง (ดูรูปประกอบ) การโค้งคำนับแบบนี้มีชื่อเรียกค่ะ คือ ‘จั๊วอี๊’ (作揖) จั๊วอี๊เป็นการคำนับอย่างเป็นทางการโดยไม่คุกเข่าลง ด้วยการยกมือขึ้นแบบที่กล่าวมาข้างต้น (อาจวางมือทาบซ้อนกันหรือกุมมือก็ได้) หากเป็นชายจะเป็นมือซ้ายทับมือขวา และหากเป็นหญิงจะเป็นขวาทับซ้าย (สังเกตเปรียบเทียบได้จากรูป) จากนั้นก้มหลังตรงจากเอวลงมาพร้อมกับดันมือออกไปข้างหน้าเล็กน้อย ในบันทึกทางพิธีการสมัยราชวงศ์โจว (1050-256 ปีก่อนคริสตกาล) มีการจำแนกจั๊วอี๊ออกเป็นอีกหลายลักษณะ คือ - ‘ถู่อี๊’ (土揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) แล้วมือโน้มลงต่ำเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่มีอาวุโสน้อยกว่าหรือศักดิ์ด้อยกว่า; - ‘สืออี๊’(時揖) คือการโค้งต่ำ (ประมาณ 60 องศา) โดยที่ระดับมือยังอยู่ที่หน้าอก เป็นการเคารพคนที่อาวุโสกว่า; - ‘เทียนอี๊’(天揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) และมือยกขึ้นสูงเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่เสมอศักดิ์; - ‘เท่ออี๊’ (特揖) คือคำนับอีกฝ่ายทีละคนแทนที่จะคำนับครั้งเดียวต่อคนทั้งกลุ่ม; - ‘หลี่ว์อี๊’(旅揖) คือคำนับในแบบที่แตกต่างกันตามศักดิ์ของฝ่ายตรงข้าม; - ‘ผางซานอี๊’(旁三揖) คือการคำนับสามครั้งต่อคนทั้งกลุ่ม; และ - ‘ฉางอี๊’ (长揖) คือการคำนับแบบโค้งตัวลงต่ำมาก มือยืดออกไปมากขึ้นและยกขึ้นสูง เป็นการเคารพแบบสูงสุดของการทำจั๊วอี๊ แต่ยังเทียบไม่ได้กับการคุกเข่าคำนับ จึงมีวลีที่ว่า ‘ฉางอี๊ปู๋ไป้’ (长揖不拜) อันหมายถึงการแสดงความทะนงตนด้วยการเคารพนอบน้อมแต่ไม่ยอมคุกเข่าให้ แต่ในกรณีที่เป็นการทำความเคารพในงานศพจะสลับมือกัน คือเป็นขวาทับซ้ายสำหรับชาย และซ้ายทับขวาสำหรับหญิงแทน จริงๆ แล้วตามบันทึกและภาพวาดทางประวัติศาสตร์กลับไม่ค่อยปรากฏสตรีมีการทำจั๊วอี๊สักเท่าไหร่ โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังลงมา แล้วผู้หญิงเขาทำความเคารพอย่างไร? ในละครเรื่องเดียวกันจะเห็นผู้หญิงกำมือวางซ้อนกัน (ขวาบนซ้ายล่าง) อยู่ระดับเอวแล้วย่อตัวลงเล็กน้อย (ดูรูปประกอบ) ท่านี้เรียกว่า ‘ว่านฝู’ (万福) ซึ่งใช้ปกติทั่วไปในยุคสมัยหมิงยกเว้นกรณีที่เป็นทางการอย่างยิ่ง อย่างเช่นในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่นางเอกทำจั๊วอี๊ในพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน ทั้งจั๊วอี๊และว่านฝูที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการทำความเคารพแบบของชาวจีนเชื้อสายฮั่น ไม่ใช่แมนจู ดังนั้นเพื่อนเพจที่ดูละครสมัยราชวงศ์ชิงจะไม่เห็นท่าทำความเคารพแบบนี้แม้ว่าในสมัยชิงจะมีท่าทำความเคารพที่เรียกว่าว่านฝูเหมือนกัน เขียนเพิ่มเมื่อวันที่ 11/6: ท่าทำความเคารพของจั๊วอี๊ที่ถูกต้องคือประสานมือก่อนแล้วค่อยดันมือออกไป (เหมือนที่ Storyฯ ได้บรรยายภาพที่เห็นในละครนะคะ ไม่ใช่กางแขนออกแล้วประสานไว้ไกลๆ เป็นวงใหญ่) อันนี้เป็นนัยว่าเรากำลังยื่นมือออกไปเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายเปิดใจกับเราและเรากำลังเปิดใจให้กับเขา (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/l5nNxB Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.hk/item/%E4%BD%9C%E6%8F%96/6203317 https://kknews.cc/history/4lyoojx.html https://new.qq.com/omn/20190803/20190803A08S2B00.html https://www.newton.com.tw/wiki/%E4%BD%9C%E6%8F%96 #จั๊วอี๊ #จัวอี #การคำนับแบบจีน #ว่านฝู #ราชวงศ์หมิง
    TODAY.LINE.ME
    鍾漢良、譚松韻《錦心似玉》開播倒數,「庶女逆襲」超勵志,老夫少妻寵溺甜炸! | Bella儂儂 | LINE TODAY
    2020年許多陸劇都已就定位,目前正被排在待播的佇列,最近由鍾漢良、譚松韻主演的《錦心似玉》就已經邁入開播倒數,不過男主角從原本的宋威龍換角成鍾漢良,與女主角譚松韻配對卻被大家吐槽沒有CP感?大家就來看看這部戲還有什麼精彩亮點吧! 延伸閱讀:2020網友熱議6部陸劇推薦!甜寵神劇、懸疑推理、都市溫馨,每部讓人想一看再看 「庶女逆襲」劇情設定 source:#锦心似玉#-weibo 《錦心似玉》改編自紅遍中國網路的吱吱小說《庶女攻略》,「庶女逆襲」的安排,與唐嫣主演的《錦繡未央》、趙麗穎的《知否知否應是綠肥紅瘦》,劇情設定相同,女主角不再是天真無害的甜白傻,而是一步一步晉級打怪的「庶女逆襲」
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 95 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้วเปรียบเทียบสิทธิของภรรยาเอกและอนุภรรยาโดยยกตัวอย่างจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> วันนี้มาคุยกันต่อว่าจีนโบราณแบ่งแยกเมียหลวงและเมียน้อยเป็นกี่ประเภท

    ก่อนอื่น พูดกันถึงภรรยาเอก ตามที่ Storyฯ เล่าไปสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนสมัยราชวงศ์ชิงนั้น กฎหมายกำหนดให้มีภรรยาเอกได้คนเดียว และจำนวนอนุภรรยานั้นเป็นไปตามบรรดาศักดิ์ของผู้ชาย ภรรยาเอกนี้มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น เจิ้งชี (ภรรยาหลัก) เจี๋ยฟ่าชี (ภรรยาผูกปมผม) หยวนเพ่ยชี (ภรรยาดั้งเดิม) เจิ้งฝาง (ห้องหลัก) ฯลฯ หากภรรยาเอกเสียชีวิตไปแล้วจึงจะสามารถแต่งภรรยาเอกเข้ามาใหม่ได้อีกคน ภรรยาทดแทนคนนี้เรียกว่า ‘จี้ซื่อ’ (继室 แปลตรงตัวว่า สืบทอด+ห้อง) ตามธรรมเนียมแล้ว คนที่กราบไหว้ฟ้าดินด้วยกันมีเพียงภรรยาเอกเท่านั้น

    ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงมีธรรมเนียมที่ว่า หากบ้านใดไม่มีบุตรชายสืบสกุล สามารถให้หลาน (ลูกของลุงหรือน้า สกุลเดียวกัน) มาเป็นทายาทสืบสกุลตามกฎหมายได้ ดังนั้นเขามีหน้าที่สืบสกุลให้กับสองบ้านและสามารถแต่งภรรยาเอกได้สองคน เรียกว่า ‘เจี๊ยนเที้ยว’ (兼祧) และภรรยาเอกทั้งสองคนจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน

    นอกจากกรณีข้างต้นแล้ว เมียอื่นๆ จัดเป็นเมียน้อยหมด และจัดกลุ่มได้ตามนี้
    1. กลุ่มที่หนึ่งเป็นญาติพี่น้องของภรรยาเอกที่ถูกเลือกให้ติดตามไปกับเจ้าสาวตอนแต่งเข้าไปเรือนฝ่ายชาย (หมายเหตุ คนที่ตามเจ้าสาวมาอยู่บ้านฝ่ายชายทั้งหมดเรียกว่า เผยเจี้ย /陪嫁 ซึ่งรวมถึงบ่าวไพร่) แต่เป็นกรณีที่เจ้าสาวมาจากตระกูลสูงศักดิ์ ดังนั้นอนุภรรยากลุ่มนี้จะมีสถานะสูงกว่าอนุภรรยาอื่นๆ สามารถเข้าร่วมรับประทานอาหารหรืองานเลี้ยงกับสามีได้ และอาจถูกบันทึกชื่อเข้าไปในหนังสือตระกูลของฝ่ายชายได้เพราะนางมาจากตระกูลที่สูงศักดิ์มากเช่นกัน และโดยปกติฝ่ายชายมักยกระดับขึ้นเป็นภรรยาเอกได้เมื่อภรรยาเอกคนเดิมเสียชีวิตไป ในกลุ่มนี้จำแนกได้เป็นอีกสี่แบบ (เรียงจากสูงศักดิ์ที่สุดไปต่ำ) คือ
    a. อิ้ง (媵) หรือ อิ้งเฉี้ย – เป็นพี่สาวหรือน้องสาวที่เกิดจากพ่อคนเดียวกันกับเจ้าสาว แต่เจ้าสาวมีแม่เป็นภรรยาเอกในขณะที่พี่หรือน้องสาวที่แต่งตามไปจะเกิดจากอนุภรรยาของพ่อ
    b. เช่อซึ (侧室 แปลตรงตัวว่าห้องข้าง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เช่อซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของพ่อ (ถือนามสกุลเดียวกันกับเจ้าสาว)
    c. ฟู่ซึ (副室 แปลตรงตัวว่าห้องรอง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า ฟู่ซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของแม่ (ถือนามสกุลเดิมของแม่เจ้าสาว)
    d. เพียนซึ (偏室 แปลตรงตัวว่าห้องเบี่ยง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เพียนซึ เป็นลูกจากอนุภรรยาในตระกูลเดิมของแม่ ใช้นามสกุลเดียวกับแม่ มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าสาวแต่จริงๆ แล้วไม่มีความเกี่ยวพันทางสายเลือดกับเจ้าสาวเลย
    2. กลุ่มที่สองคือ เฉี้ย (妾) หรือ เพียนฝาง (偏房) คืออนุภรรยาทั่วไปที่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับภรรยาเอก แบ่งเป็นระดับได้อีก คือ
    a. กุ้ยเฉี้ย (贵妾) เป็นอนุที่มาจากตระกูลใหญ่หรือตระกูลขุนนางแต่อาจเป็นลูกที่เกิดจากอนุภรรยาในตระกูลนั้นๆ หากฝ่ายชายเป็นบุตรจากภรรยาเอกในตระกูลสูงศักดิ์ โดยปกตินางผู้เป็นลูกอนุจะไม่มีคุณสมบัติพอที่จะนั่งตำแหน่งภรรยาเอกของเขาได้
    b. เหลียงเฉี้ย (良妾) เป็นอนุที่มาจากครอบครัวชาวบ้านทั่วไป เช่น ครอบครัวค้าขายหรือชาวไร่ชาวสวน ระดับความรู้การศึกษาก็จะแตกต่างกันไป
    c. เจี้ยนเฉี้ย (贱妾) เป็นอนุที่มีชาติตระกูลหรือสถานะที่ต่ำต้อยมาก เช่น นางรำ นางคณิกา นักแสดงละคร ฯลฯ พวกนี้ส่วนใหญ่อ่านเขียนได้และมีวิชาศิลปะติดตัว
    d. เผยฝาง (陪房) หมายถึงสาวใช้ของภรรยาเอกที่ติดตามมาเป็นเผยเจี้ยและช่วยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงให้ฝ่ายชายตามคำสั่งของภรรยาเอก โดยปกติชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดีเพราะภรรยาเอกจะส่งเสริมเพื่อให้ช่วยมัดใจสามีโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีพิษมีภัยเพราะเอกสารสำหรับสัญญาซื้อขายสาวใช้คนนี้จะอยู่ในมือของภรรยาเอกเอง
    e. ซื่อเฉี้ย (侍妾) หมายถึงสาวใช้ในบ้านฝ่ายชายที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแล้วถูกยกขึ้นเป็นอนุ
    f. ปี้เฉี้ย (婢妾) หมายถึงลูกของนักโทษทางการที่ถูกซื้อเข้ามาเป็นทาสในบ้านและยกขึ้นเป็นอนุ
    3. กลุ่มสุดท้ายไม่นับเป็นอนุภรรยา เป็นช่องทางที่ฝ่ายชายใช้ระบายความใคร่ได้อย่างไม่ต้องกลัวผิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องจำนวนอนุภรรยา แบ่งได้อีกเป็น
    a. ทงฝาง (通房) คือสาวใช้ในเรือนที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแต่ไม่ได้รับการยกขึ้นเป็นอนุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาวใช้ที่ถูกคัดเลือกมาเพื่อ ‘เปิดประสบการณ์’ ให้แก่คุณชายในตระกูลใหญ่ที่กำลังโตขึ้นเป็นหนุ่ม
    b. ไว่ซึ (外室) หมายถึงเมียเก็บนอกบ้าน ชีวิตความเป็นอยู่อาจจะดีเพราะฝ่ายชายอาจซื้อบ้านให้อยู่มีคนคอยรับใช้ ไม่ต้องมาคอยปรนนิบัติแม่สามีหรือเมียหลวง และไม่โดนโขกสับ แต่ก็คือไม่ได้ถูกรับรองเป็นอนุภรรยา บุตรที่เกิดมาก็ไม่ถูกยอมรับว่าเป็นลูกหลานของตระกูลฝ่ายชาย

    เป็นอย่างไรคะ? ซับซ้อนและแบ่งแยกไว้ละเอียดกว่าที่คิดใช่ไหม? ทีนี้เพื่อนเพจคงเข้าใจในบริบทแล้วว่า ทำไมเป็นอนุภรรยาเหมือนกันยังสามารถข่มกันได้ และทำไมการยกอนุภรรยาขึ้นเป็นภรรยาเอกหลังจากคนเดิมเสียไปจึงเป็นเรื่องที่ยาก เพราะไม่ใช่อนุภรรยาทุกประเภทมีความพร้อมทางชาติตระกูลและการศึกษาที่จะมาปกครองเป็นนายหญิงของบ้านได้

    Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าละครหรือนิยายแปลมีการแบ่งแยกในรายละเอียดหรือไม่ หากมีใครเคยผ่านหูผ่านตาก็บอกกล่าวกันได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802
    https://kknews.cc/zh-cn/entertainment/x48b2bg.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://new.qq.com/rain/a/20200223A0A37000
    http://m.qulishi.com//article/201905/335331.html
    https://www.sohu.com/a/251827031_100152441

    #ร้อยรักปักดวงใจ #อนุภรรยา #ภรรยาเอก #หยวนเพ่ย #ภรรยาผูกปมผม #เจิ้งฝาง #จี้ซื่อ #จี้สื้อ #เชี่ยซื่อ #เชี่ยสื้อ #เฉี้ย #อิ้งเฉี้ย #เช่อซึ #ฟู่ซึ #เพียนซึ #เพียนฝาง #กุ้ยเฉี้ย #เหลียงเฉี้ย #เจี้ยนเฉี้ย #ปี้เฉี้ย #ทงฝาง #ไว่ซึ
    สัปดาห์ที่แล้วเปรียบเทียบสิทธิของภรรยาเอกและอนุภรรยาโดยยกตัวอย่างจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> วันนี้มาคุยกันต่อว่าจีนโบราณแบ่งแยกเมียหลวงและเมียน้อยเป็นกี่ประเภท ก่อนอื่น พูดกันถึงภรรยาเอก ตามที่ Storyฯ เล่าไปสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนสมัยราชวงศ์ชิงนั้น กฎหมายกำหนดให้มีภรรยาเอกได้คนเดียว และจำนวนอนุภรรยานั้นเป็นไปตามบรรดาศักดิ์ของผู้ชาย ภรรยาเอกนี้มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น เจิ้งชี (ภรรยาหลัก) เจี๋ยฟ่าชี (ภรรยาผูกปมผม) หยวนเพ่ยชี (ภรรยาดั้งเดิม) เจิ้งฝาง (ห้องหลัก) ฯลฯ หากภรรยาเอกเสียชีวิตไปแล้วจึงจะสามารถแต่งภรรยาเอกเข้ามาใหม่ได้อีกคน ภรรยาทดแทนคนนี้เรียกว่า ‘จี้ซื่อ’ (继室 แปลตรงตัวว่า สืบทอด+ห้อง) ตามธรรมเนียมแล้ว คนที่กราบไหว้ฟ้าดินด้วยกันมีเพียงภรรยาเอกเท่านั้น ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงมีธรรมเนียมที่ว่า หากบ้านใดไม่มีบุตรชายสืบสกุล สามารถให้หลาน (ลูกของลุงหรือน้า สกุลเดียวกัน) มาเป็นทายาทสืบสกุลตามกฎหมายได้ ดังนั้นเขามีหน้าที่สืบสกุลให้กับสองบ้านและสามารถแต่งภรรยาเอกได้สองคน เรียกว่า ‘เจี๊ยนเที้ยว’ (兼祧) และภรรยาเอกทั้งสองคนจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน นอกจากกรณีข้างต้นแล้ว เมียอื่นๆ จัดเป็นเมียน้อยหมด และจัดกลุ่มได้ตามนี้ 1. กลุ่มที่หนึ่งเป็นญาติพี่น้องของภรรยาเอกที่ถูกเลือกให้ติดตามไปกับเจ้าสาวตอนแต่งเข้าไปเรือนฝ่ายชาย (หมายเหตุ คนที่ตามเจ้าสาวมาอยู่บ้านฝ่ายชายทั้งหมดเรียกว่า เผยเจี้ย /陪嫁 ซึ่งรวมถึงบ่าวไพร่) แต่เป็นกรณีที่เจ้าสาวมาจากตระกูลสูงศักดิ์ ดังนั้นอนุภรรยากลุ่มนี้จะมีสถานะสูงกว่าอนุภรรยาอื่นๆ สามารถเข้าร่วมรับประทานอาหารหรืองานเลี้ยงกับสามีได้ และอาจถูกบันทึกชื่อเข้าไปในหนังสือตระกูลของฝ่ายชายได้เพราะนางมาจากตระกูลที่สูงศักดิ์มากเช่นกัน และโดยปกติฝ่ายชายมักยกระดับขึ้นเป็นภรรยาเอกได้เมื่อภรรยาเอกคนเดิมเสียชีวิตไป ในกลุ่มนี้จำแนกได้เป็นอีกสี่แบบ (เรียงจากสูงศักดิ์ที่สุดไปต่ำ) คือ a. อิ้ง (媵) หรือ อิ้งเฉี้ย – เป็นพี่สาวหรือน้องสาวที่เกิดจากพ่อคนเดียวกันกับเจ้าสาว แต่เจ้าสาวมีแม่เป็นภรรยาเอกในขณะที่พี่หรือน้องสาวที่แต่งตามไปจะเกิดจากอนุภรรยาของพ่อ b. เช่อซึ (侧室 แปลตรงตัวว่าห้องข้าง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เช่อซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของพ่อ (ถือนามสกุลเดียวกันกับเจ้าสาว) c. ฟู่ซึ (副室 แปลตรงตัวว่าห้องรอง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า ฟู่ซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของแม่ (ถือนามสกุลเดิมของแม่เจ้าสาว) d. เพียนซึ (偏室 แปลตรงตัวว่าห้องเบี่ยง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เพียนซึ เป็นลูกจากอนุภรรยาในตระกูลเดิมของแม่ ใช้นามสกุลเดียวกับแม่ มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าสาวแต่จริงๆ แล้วไม่มีความเกี่ยวพันทางสายเลือดกับเจ้าสาวเลย 2. กลุ่มที่สองคือ เฉี้ย (妾) หรือ เพียนฝาง (偏房) คืออนุภรรยาทั่วไปที่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับภรรยาเอก แบ่งเป็นระดับได้อีก คือ a. กุ้ยเฉี้ย (贵妾) เป็นอนุที่มาจากตระกูลใหญ่หรือตระกูลขุนนางแต่อาจเป็นลูกที่เกิดจากอนุภรรยาในตระกูลนั้นๆ หากฝ่ายชายเป็นบุตรจากภรรยาเอกในตระกูลสูงศักดิ์ โดยปกตินางผู้เป็นลูกอนุจะไม่มีคุณสมบัติพอที่จะนั่งตำแหน่งภรรยาเอกของเขาได้ b. เหลียงเฉี้ย (良妾) เป็นอนุที่มาจากครอบครัวชาวบ้านทั่วไป เช่น ครอบครัวค้าขายหรือชาวไร่ชาวสวน ระดับความรู้การศึกษาก็จะแตกต่างกันไป c. เจี้ยนเฉี้ย (贱妾) เป็นอนุที่มีชาติตระกูลหรือสถานะที่ต่ำต้อยมาก เช่น นางรำ นางคณิกา นักแสดงละคร ฯลฯ พวกนี้ส่วนใหญ่อ่านเขียนได้และมีวิชาศิลปะติดตัว d. เผยฝาง (陪房) หมายถึงสาวใช้ของภรรยาเอกที่ติดตามมาเป็นเผยเจี้ยและช่วยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงให้ฝ่ายชายตามคำสั่งของภรรยาเอก โดยปกติชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดีเพราะภรรยาเอกจะส่งเสริมเพื่อให้ช่วยมัดใจสามีโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีพิษมีภัยเพราะเอกสารสำหรับสัญญาซื้อขายสาวใช้คนนี้จะอยู่ในมือของภรรยาเอกเอง e. ซื่อเฉี้ย (侍妾) หมายถึงสาวใช้ในบ้านฝ่ายชายที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแล้วถูกยกขึ้นเป็นอนุ f. ปี้เฉี้ย (婢妾) หมายถึงลูกของนักโทษทางการที่ถูกซื้อเข้ามาเป็นทาสในบ้านและยกขึ้นเป็นอนุ 3. กลุ่มสุดท้ายไม่นับเป็นอนุภรรยา เป็นช่องทางที่ฝ่ายชายใช้ระบายความใคร่ได้อย่างไม่ต้องกลัวผิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องจำนวนอนุภรรยา แบ่งได้อีกเป็น a. ทงฝาง (通房) คือสาวใช้ในเรือนที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแต่ไม่ได้รับการยกขึ้นเป็นอนุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาวใช้ที่ถูกคัดเลือกมาเพื่อ ‘เปิดประสบการณ์’ ให้แก่คุณชายในตระกูลใหญ่ที่กำลังโตขึ้นเป็นหนุ่ม b. ไว่ซึ (外室) หมายถึงเมียเก็บนอกบ้าน ชีวิตความเป็นอยู่อาจจะดีเพราะฝ่ายชายอาจซื้อบ้านให้อยู่มีคนคอยรับใช้ ไม่ต้องมาคอยปรนนิบัติแม่สามีหรือเมียหลวง และไม่โดนโขกสับ แต่ก็คือไม่ได้ถูกรับรองเป็นอนุภรรยา บุตรที่เกิดมาก็ไม่ถูกยอมรับว่าเป็นลูกหลานของตระกูลฝ่ายชาย เป็นอย่างไรคะ? ซับซ้อนและแบ่งแยกไว้ละเอียดกว่าที่คิดใช่ไหม? ทีนี้เพื่อนเพจคงเข้าใจในบริบทแล้วว่า ทำไมเป็นอนุภรรยาเหมือนกันยังสามารถข่มกันได้ และทำไมการยกอนุภรรยาขึ้นเป็นภรรยาเอกหลังจากคนเดิมเสียไปจึงเป็นเรื่องที่ยาก เพราะไม่ใช่อนุภรรยาทุกประเภทมีความพร้อมทางชาติตระกูลและการศึกษาที่จะมาปกครองเป็นนายหญิงของบ้านได้ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าละครหรือนิยายแปลมีการแบ่งแยกในรายละเอียดหรือไม่ หากมีใครเคยผ่านหูผ่านตาก็บอกกล่าวกันได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802 https://kknews.cc/zh-cn/entertainment/x48b2bg.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://new.qq.com/rain/a/20200223A0A37000 http://m.qulishi.com//article/201905/335331.html https://www.sohu.com/a/251827031_100152441 #ร้อยรักปักดวงใจ #อนุภรรยา #ภรรยาเอก #หยวนเพ่ย #ภรรยาผูกปมผม #เจิ้งฝาง #จี้ซื่อ #จี้สื้อ #เชี่ยซื่อ #เชี่ยสื้อ #เฉี้ย #อิ้งเฉี้ย #เช่อซึ #ฟู่ซึ #เพียนซึ #เพียนฝาง #กุ้ยเฉี้ย #เหลียงเฉี้ย #เจี้ยนเฉี้ย #ปี้เฉี้ย #ทงฝาง #ไว่ซึ
    WWW.POPDAILY.COM.TW
    《錦心似玉》鍾漢良、譚松韵先婚後愛!2021最甜寵的宅鬥古裝劇 | PopDaily 波波黛莉
    受封2021最甜寵宅鬥古裝劇的《錦心似玉》,改編自作者吱吱的原著小說《庶女攻略》,鍾漢良飾演的永平侯徐令宜娶了於徐家有恩的羅家嫡女羅元娘為妻,後因羅元娘死前所託續弦娶了譚松韵飾演的羅家庶女羅十一娘,自此展開一段本不相愛,因被迫成婚而先婚後愛的宅鬥古裝偶像劇。
    Like
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 299 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้กลับมาคุยกันต่อกับเรื่องราวที่ Storyฯ เห็นจากละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ในตอนที่มีการรับลูกนอกสมรสกลับเข้าตระกูล

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ถึงกาลมงคล พิธีรับเข้าตระกูลของตระกูลสวี อัญเชิญหนังสือตระกูล” เสียงประกาศเริ่มพิธีดังขึ้น สวีลิ่งเซวียนคุกเข่าลงต่อหน้าป้ายบูชาบรรพบุรุษแล้วกล่าว “สวีซื่อเจี้ย เดิมเป็นบุตรที่ร่อนเร่อาศัยอยู่ข้างนอกของตระกูลเรา ตอนนี้รับกลับเข้าตระกูลเป็นบุตรของสวีลิ่งอัน ขอบรรพบุรุษปกป้องลูกหลานสกุลสวี”...
    - ถอดบทสนทนาจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> (ตามซับไทยเลยจ้า)

    ในละครข้างต้น ก่อนจะมาถึงพิธีการนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงความคิดของตัวละครต่างๆ ที่ถกกันว่าจะรับเด็กมาเป็นลูกใครดี? ความเดิมของบทสนทนาในภาษาจีนคือ “จะบันทึกชื่อเด็กคนนี้ใต้ชื่อใคร?” ซึ่งการคุยในลักษณะนี้เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญของหนังสือตระกูล วันนี้เลยมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับหนังสือตระกูลหรือที่เรียกว่า ‘เจียผู่’ (家谱) หรือ ‘จู๋ผู่’ (族谱) นี้

    การบันทึกข้อมูลในเจียผู่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ย และเนื่องจากสมัยนั้นมีการแตกสกุลมาจากเชื้อพระวงศ์เป็นจำนวนมาก ทางการจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลและปรับปรุงเจียผู่ของตระกูลเหล่านั้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือบันทึกสายสกุลเพื่อประโยชน์ในการคัดสรรและแต่งตั้งขุนนาง ต่อมาเมื่อผ่านพ้นราชวงศ์ถัง ข้อมูลเหล่านี้สูญหายไปในสงครามเสียเป็นส่วนใหญ่ และการเข้ารับราชการก็ดำเนินการผ่านการสอบราชบัณฑิต อีกทั้งอำนาจของเหล่าสื้อเจียตระกูลขุนนางก็เสื่อมลง ทางการจึงไม่ได้เข้ามายุ่งเรื่องการทำเจียผู่อีก ดังนั้นนับแต่สมัยซ่งมา เจียผู่ส่วนใหญ่ถูกจัดทำขึ้นมาใหม่และอยู่ในการดูแลของคนในตระกูลเอง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนเกี่ยวกับสื้อเจียไปแล้ว หาอ่านย้อนหลังนะคะ)

    เพื่อนเพจอาจนึกภาพว่าเจียผู่เป็นพงศาวลีหรือผังลำดับญาติ แต่คนที่เคยลองวาดผังแบบนี้จะรู้ว่า หากจะวาดให้ดีต้องรู้ว่าควรเผื่อเนื้อที่ตรงไหนอย่างไร แต่เจียผู่เป็นบันทึกจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นการบันทึกจริงๆ คือเขียนข้อมูลเติมไปแต่ละรุ่น (ดูตัวอย่างตามรูปประกอบ หน้านี้บันทึกการสืบเชื้อสายของบุตรชายคนโต) หากมีการวาดผังลำดับญาติโดยปกติจะวาดเพียง 5 รุ่นแล้วก็ขึ้นผังใหม่

    แล้วเจียผู่บันทึกอะไรบ้าง?

    ก่อนอื่นคือต้องมีการเขียน ‘ขอบเขต’ - ใครเป็นต้นตระกูล? เราเป็นสายใดของตระกูล? ตราสัญลักษณ์ของตระกูล (ถ้ามี) ภูมิลำเนาเดิม ประวัติของสกุล ที่ตั้งและแผนผังของวัดบรรพบุรุษ เป็นต้น

    จากนั้นก็เป็นบันทึกเกี่ยวกับคนในแต่ละรุ่น ซึ่งจะระบุว่าเป็นรุ่นที่เท่าไหร่ ลำดับในรุ่น ชื่อ วันเดือนปีเกิดและตาย สรุปชีวประวัติ ลักษณะเด่นหรือวีรกรรมโดยคร่าว (เช่น เคยไปรบชนะสร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูลในศึกไหน?) บรรดาศักดิ์หรือรางวัลเกียรติยศที่เคยได้รับ ชื่อคู่สมรสและบุตรชาย ฯลฯ ในบางเจียผู่จะมีการกล่าวถึงสินทรัพย์อันเป็นมรดกตกทอดของตระกูล เช่น ที่ตั้งและขนาดของที่ดินและอาคารบ้านเรือน และการบริหารสินทรัพย์ ฯลฯ

    แต่... ไม่ใช่บุตรและภรรยาทุกคนจะได้รับการบันทึกชื่อลงในเจียผู่ ใครบ้างที่ไม่มีชื่อ?
    1. ลูกสาว – ในวัฒนธรรมจีนโบราณ ลูกสาวเมื่อแต่งงานออกไปก็ถือว่าเป็นคนของครอบครัวอื่น จึงไม่มีการบันทึกชื่อลูกสาวในเจียผู่ของตัวเอง ลูกสาวที่แต่งออกไปก็จะไปมีชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามี (แต่จากตัวอย่างที่ Storyฯ เห็น จะบันทึกเพียงสกุลเดิมไม่มีชื่อ เช่น นางสกุลหลี่) ธรรมเนียมนี้มีมาจนถึงสมัยจีนยุคใหม่ (หลังราชวงศ์ชิง) จึงมีการใส่ชื่อลูกสาวเข้าไป
    2. อนุภรรยา – สตรีที่แต่งงานไปจะถูกบันทึกชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามีเฉพาะคนที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น คนที่เป็นอนุจะไม่มีการบันทึกถึง ยกเว้นในกรณีที่ต่อมาบุตรชายของนางมีคุณงามความชอบอย่างโดดเด่น สร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูล จึงจะมีการแก้ไขเอาชื่อของเขาเข้าเจียผู่และจะมีการบันทึกชื่อผู้เป็นมารดาด้วย (ป.ล. หากเพื่อนเพจได้ดูละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> ในฉากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าสตรีที่เข้าร่วมพิธีที่เกี่ยวกับหนังสือตระกูลนั้น มีเพียงสะใภ้ที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น)
    3. ลูกอนุ - สายของอนุทั้งสายจะไม่ได้ลงบันทึกไว้ เว้นแต่กรณีที่กล่าวมาข้างต้นว่ามีการแก้ไขบันทึกย้อนหลัง

    เห็นแล้วก็พอจะเข้าใจถึงหัวอกของบรรดาอนุและลูกอนุ เราจึงเห็นเรื่องราวในนิยายและละครจีนโบราณไม่น้อยที่มีปูมหลังมาจากความน้อยเนื้อต่ำใจหรือความทะเยอทะยานของเหล่าอนุและลูกอนุทั้งหลาย Storyฯ เชื่อว่าเพื่อนเพจเข้าใจในบริบทนี้แล้วจะดูละคร/อ่านนิยายจีนโบราณได้มีอรรถรสยิ่งขึ้นค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/452104168_114988
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.52lishi.com/article/65523.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/30411974
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/54546409
    https://www.163.com/dy/article/H14J0MG10552QJB7.html

    #ร้อยรักปักดวงใจ #เจียผู่ #จู๋ผู่ #หนังสือตระกูล #บันทึกตระกูลจีนโบราณ #พงศาวลีจีนโบราณ
    วันนี้กลับมาคุยกันต่อกับเรื่องราวที่ Storyฯ เห็นจากละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ในตอนที่มีการรับลูกนอกสมรสกลับเข้าตระกูล ความมีอยู่ว่า ... “ถึงกาลมงคล พิธีรับเข้าตระกูลของตระกูลสวี อัญเชิญหนังสือตระกูล” เสียงประกาศเริ่มพิธีดังขึ้น สวีลิ่งเซวียนคุกเข่าลงต่อหน้าป้ายบูชาบรรพบุรุษแล้วกล่าว “สวีซื่อเจี้ย เดิมเป็นบุตรที่ร่อนเร่อาศัยอยู่ข้างนอกของตระกูลเรา ตอนนี้รับกลับเข้าตระกูลเป็นบุตรของสวีลิ่งอัน ขอบรรพบุรุษปกป้องลูกหลานสกุลสวี”... - ถอดบทสนทนาจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> (ตามซับไทยเลยจ้า) ในละครข้างต้น ก่อนจะมาถึงพิธีการนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงความคิดของตัวละครต่างๆ ที่ถกกันว่าจะรับเด็กมาเป็นลูกใครดี? ความเดิมของบทสนทนาในภาษาจีนคือ “จะบันทึกชื่อเด็กคนนี้ใต้ชื่อใคร?” ซึ่งการคุยในลักษณะนี้เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญของหนังสือตระกูล วันนี้เลยมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับหนังสือตระกูลหรือที่เรียกว่า ‘เจียผู่’ (家谱) หรือ ‘จู๋ผู่’ (族谱) นี้ การบันทึกข้อมูลในเจียผู่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ย และเนื่องจากสมัยนั้นมีการแตกสกุลมาจากเชื้อพระวงศ์เป็นจำนวนมาก ทางการจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลและปรับปรุงเจียผู่ของตระกูลเหล่านั้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือบันทึกสายสกุลเพื่อประโยชน์ในการคัดสรรและแต่งตั้งขุนนาง ต่อมาเมื่อผ่านพ้นราชวงศ์ถัง ข้อมูลเหล่านี้สูญหายไปในสงครามเสียเป็นส่วนใหญ่ และการเข้ารับราชการก็ดำเนินการผ่านการสอบราชบัณฑิต อีกทั้งอำนาจของเหล่าสื้อเจียตระกูลขุนนางก็เสื่อมลง ทางการจึงไม่ได้เข้ามายุ่งเรื่องการทำเจียผู่อีก ดังนั้นนับแต่สมัยซ่งมา เจียผู่ส่วนใหญ่ถูกจัดทำขึ้นมาใหม่และอยู่ในการดูแลของคนในตระกูลเอง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนเกี่ยวกับสื้อเจียไปแล้ว หาอ่านย้อนหลังนะคะ) เพื่อนเพจอาจนึกภาพว่าเจียผู่เป็นพงศาวลีหรือผังลำดับญาติ แต่คนที่เคยลองวาดผังแบบนี้จะรู้ว่า หากจะวาดให้ดีต้องรู้ว่าควรเผื่อเนื้อที่ตรงไหนอย่างไร แต่เจียผู่เป็นบันทึกจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นการบันทึกจริงๆ คือเขียนข้อมูลเติมไปแต่ละรุ่น (ดูตัวอย่างตามรูปประกอบ หน้านี้บันทึกการสืบเชื้อสายของบุตรชายคนโต) หากมีการวาดผังลำดับญาติโดยปกติจะวาดเพียง 5 รุ่นแล้วก็ขึ้นผังใหม่ แล้วเจียผู่บันทึกอะไรบ้าง? ก่อนอื่นคือต้องมีการเขียน ‘ขอบเขต’ - ใครเป็นต้นตระกูล? เราเป็นสายใดของตระกูล? ตราสัญลักษณ์ของตระกูล (ถ้ามี) ภูมิลำเนาเดิม ประวัติของสกุล ที่ตั้งและแผนผังของวัดบรรพบุรุษ เป็นต้น จากนั้นก็เป็นบันทึกเกี่ยวกับคนในแต่ละรุ่น ซึ่งจะระบุว่าเป็นรุ่นที่เท่าไหร่ ลำดับในรุ่น ชื่อ วันเดือนปีเกิดและตาย สรุปชีวประวัติ ลักษณะเด่นหรือวีรกรรมโดยคร่าว (เช่น เคยไปรบชนะสร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูลในศึกไหน?) บรรดาศักดิ์หรือรางวัลเกียรติยศที่เคยได้รับ ชื่อคู่สมรสและบุตรชาย ฯลฯ ในบางเจียผู่จะมีการกล่าวถึงสินทรัพย์อันเป็นมรดกตกทอดของตระกูล เช่น ที่ตั้งและขนาดของที่ดินและอาคารบ้านเรือน และการบริหารสินทรัพย์ ฯลฯ แต่... ไม่ใช่บุตรและภรรยาทุกคนจะได้รับการบันทึกชื่อลงในเจียผู่ ใครบ้างที่ไม่มีชื่อ? 1. ลูกสาว – ในวัฒนธรรมจีนโบราณ ลูกสาวเมื่อแต่งงานออกไปก็ถือว่าเป็นคนของครอบครัวอื่น จึงไม่มีการบันทึกชื่อลูกสาวในเจียผู่ของตัวเอง ลูกสาวที่แต่งออกไปก็จะไปมีชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามี (แต่จากตัวอย่างที่ Storyฯ เห็น จะบันทึกเพียงสกุลเดิมไม่มีชื่อ เช่น นางสกุลหลี่) ธรรมเนียมนี้มีมาจนถึงสมัยจีนยุคใหม่ (หลังราชวงศ์ชิง) จึงมีการใส่ชื่อลูกสาวเข้าไป 2. อนุภรรยา – สตรีที่แต่งงานไปจะถูกบันทึกชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามีเฉพาะคนที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น คนที่เป็นอนุจะไม่มีการบันทึกถึง ยกเว้นในกรณีที่ต่อมาบุตรชายของนางมีคุณงามความชอบอย่างโดดเด่น สร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูล จึงจะมีการแก้ไขเอาชื่อของเขาเข้าเจียผู่และจะมีการบันทึกชื่อผู้เป็นมารดาด้วย (ป.ล. หากเพื่อนเพจได้ดูละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> ในฉากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าสตรีที่เข้าร่วมพิธีที่เกี่ยวกับหนังสือตระกูลนั้น มีเพียงสะใภ้ที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น) 3. ลูกอนุ - สายของอนุทั้งสายจะไม่ได้ลงบันทึกไว้ เว้นแต่กรณีที่กล่าวมาข้างต้นว่ามีการแก้ไขบันทึกย้อนหลัง เห็นแล้วก็พอจะเข้าใจถึงหัวอกของบรรดาอนุและลูกอนุ เราจึงเห็นเรื่องราวในนิยายและละครจีนโบราณไม่น้อยที่มีปูมหลังมาจากความน้อยเนื้อต่ำใจหรือความทะเยอทะยานของเหล่าอนุและลูกอนุทั้งหลาย Storyฯ เชื่อว่าเพื่อนเพจเข้าใจในบริบทนี้แล้วจะดูละคร/อ่านนิยายจีนโบราณได้มีอรรถรสยิ่งขึ้นค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/452104168_114988 https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.52lishi.com/article/65523.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/30411974 https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773 https://zhuanlan.zhihu.com/p/54546409 https://www.163.com/dy/article/H14J0MG10552QJB7.html #ร้อยรักปักดวงใจ #เจียผู่ #จู๋ผู่ #หนังสือตระกูล #บันทึกตระกูลจีนโบราณ #พงศาวลีจีนโบราณ
    WWW.SOHU.COM
    钟汉良谭松韵领衔主演《锦心似玉》定档2月26日_荻雁
    新京报讯 2月23日,钟汉良、谭松韵领衔主演的电视剧《锦心似玉》宣布定档。该剧将于2月26日起在腾讯视频全网独播,周五至周三连续六天,每日20点更新2集;3月1日起每周一、二、三20点更新2集,会员抢先看。 …
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 232 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มาคุยในเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งเคยถามมา สืบเนื่องจากเราเห็นละครจีนโบราณหลายเรื่องมีการกินน้ำแกงคุมกำเนิดหรือแม้แต่น้ำแกงที่ทำให้แท้งลูก อย่างตัวอย่างในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่หนึ่งในตัวละครหลักคืออนุฉินถูกบังคับให้กินน้ำแกงคุมกำเนิดมาตลอดจนภายหลังเมื่อตั้งครรภ์ก็แท้งลูกและไม่สามารถมีลูกได้อีก คำถามคือ มียาอย่างนี้จริงๆ หรือ?

    คำตอบคือ ‘น่าจะมี’ เพราะมีสูตรยาจีนโบราณหลายฉบับที่สืบทอดกันมาจวบจนปัจจุบัน เพียงแต่ว่าไม่มีใครออกมายืนยันว่าได้ทดลองและได้ผลจริง สาเหตุก็เพราะว่าปัจจุบันมีวิธีและยาคุมกำเนิดหลากหลาย และยาสูตรโบราณเหล่านี้อาจมีผลร้ายในระยะยาวต่อร่างกายได้ ดังเช่นที่ตำรายาจีนโบราณเคยกล่าวไว้ว่า ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ (是药三分毒) อันหมายความว่า ยาอาจให้คุณและให้โทษได้

    จีนโบราณมีวิธีคุมกำเนิดหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการกินน้ำแกงป้องกันการมีบุตร (ปี้จื่อทั้ง / 避子汤) หรือสูตรยาที่หยุดครรภ์ (ต้วนฉ่านฟ้าง / 断产方) อย่างเช่นใน ‘ตำราครรภ์’ ของเต๋อเจิ๊นฉางในสมัยสุย-ถัง หรือ ‘สูตรยาสำคัญของสตรี’ ของซุ้นซื้อเหมี่ยว แพทย์สมัยถังที่เลื่องชื่อในประวัติศาสตร์จีน

    เท่าที่ Storyฯ หาข้อมูลได้ พบว่ามีสูตรหลากหลาย แต่พอจะสรุปจากตัวยาหลักได้ว่าสรรพคุณโดยรวมของยาคุมกำเนิดและยาหยุดครรภ์เหล่านี้ก็คือ การเพิ่มฤทธิ์ธาตุหยิน (หรือฤทธิ์เย็น) ภายในร่างกาย และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ขับลม ขับเลือดเสีย ซึ่งมียาสมุนไพรจีนหลายตัวที่ให้สรรพคุณเหล่านี้ และหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายจะใช้เป็นยารักษาหรือยาบำรุงได้ เช่นว่า โบราณใช้เป็นยาก่อนตั้งครรภ์เพื่อล้างมดลูกให้สะอาดและบำรุงชี่ปรับสภาพร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น และยาหลังคลอดบุตรหรือหลังประจำเดือนหมดเพื่อขับเลือดเสียที่เกาะอยู่บนผนังมดลูกออกมา ตัวอย่างของยาที่อยู่ในกลุ่มประเภทนี้ก็มีหลายชนิด (ดูรูปตัวอย่าง) เช่น ต่อมหางกวางชะมด ดอกคำฝอย ชวนเกียง น้ำมันที่สกัดจากผักกาดก้านขาว (canola oil) เป็นต้น แน่นอนว่าสูตรยาแต่ละขนานจะประกอบด้วยตัวยาหลากชนิด จึงอาจมีสรรพคุณในด้านอื่นด้วย เช่น ขับลม ลดสภาวะอักเสบในร่างกาย ลดการจับตัวของไขมัน ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น เป็นต้น

    แต่ ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ หากรับประทานต่อเนื่องระยะยาวอาจทำให้มีภาวะโลหิตจาง ร่างกายอ่อนเพลียง่าย มดลูกทำงานไม่ปกติและประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ และหากรับประทานในช่วงตั้งครรภ์จะขับลิ่มเลือดและทำให้มดลูกบีบตัว ทำให้แท้งลูกได้ ยกตัวอย่างคือดอกคำฝอย เพื่อนเพจที่ดื่มชาดอกคำฝอยจะทราบดีถึงคำเตือนว่าห้ามดื่มในระหว่างตั้งครรภ์

    เพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับยาสมุนไพรและยาจีนจะทราบว่า ยาเหล่านี้ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ผลดังที่ต้องการ เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อาหารอย่างอื่นที่เรารับประทานว่ามีฤทธิค้านกัน หรือมีฤทธิเสริมกันแรงเกินไปหรือไม่ และขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน

    ดังนั้นยาสูตร ‘ปี้จื่อทั้ง’ หรือ ‘ต้วนฉ่านฟ้าง’ ที่สืบทอดมาแต่โบราณเหล่านี้ จะออกฤทธิ์ทันควันเหมือนที่เราเห็นในละครหรือไม่? หรือว่าออกฤทธิ์ได้จริงแบบที่เห็นในละครหรือไม่? Storyฯ ก็ไม่ทราบได้ และไม่มีความรู้ลึกซึ้งถึงการรักษาแบบแผนจีนพอที่จะให้ความเห็น แต่ด้วยหลักการ ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ เราจึงมักเห็นพล็อตละคร/นิยายที่มีการปรับสัดส่วนของสมุนไพรในสูตรยาหรือเพิ่มยาตัวอื่นเข้าไปให้กลายเป็นพิษนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://inf.news/entertainment/b6ddc93cc4f9a720bf5c3fd752c4e1b9.html
    https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802
    https://www.sohu.com/a/251057863_100011360
    https://www.sohu.com/a/249476484_242776
    https://www.sohu.com/a/525891685_121119111
    https://www.huachiewtcm.com/content/8036/ชวนซฺยง-川芎-ข้อมูลสมุนไพรจีน
    https://baike.baidu.com/item/红花/16556131
    https://zh.wikipedia.org/zh-hant/麝香

    #ร้อยรักปักดวงใจ #ปี้จื่อทัง #น้ำแกงห้ามลูก #สมุนไพรในละครจีน
    วันนี้มาคุยในเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งเคยถามมา สืบเนื่องจากเราเห็นละครจีนโบราณหลายเรื่องมีการกินน้ำแกงคุมกำเนิดหรือแม้แต่น้ำแกงที่ทำให้แท้งลูก อย่างตัวอย่างในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่หนึ่งในตัวละครหลักคืออนุฉินถูกบังคับให้กินน้ำแกงคุมกำเนิดมาตลอดจนภายหลังเมื่อตั้งครรภ์ก็แท้งลูกและไม่สามารถมีลูกได้อีก คำถามคือ มียาอย่างนี้จริงๆ หรือ? คำตอบคือ ‘น่าจะมี’ เพราะมีสูตรยาจีนโบราณหลายฉบับที่สืบทอดกันมาจวบจนปัจจุบัน เพียงแต่ว่าไม่มีใครออกมายืนยันว่าได้ทดลองและได้ผลจริง สาเหตุก็เพราะว่าปัจจุบันมีวิธีและยาคุมกำเนิดหลากหลาย และยาสูตรโบราณเหล่านี้อาจมีผลร้ายในระยะยาวต่อร่างกายได้ ดังเช่นที่ตำรายาจีนโบราณเคยกล่าวไว้ว่า ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ (是药三分毒) อันหมายความว่า ยาอาจให้คุณและให้โทษได้ จีนโบราณมีวิธีคุมกำเนิดหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการกินน้ำแกงป้องกันการมีบุตร (ปี้จื่อทั้ง / 避子汤) หรือสูตรยาที่หยุดครรภ์ (ต้วนฉ่านฟ้าง / 断产方) อย่างเช่นใน ‘ตำราครรภ์’ ของเต๋อเจิ๊นฉางในสมัยสุย-ถัง หรือ ‘สูตรยาสำคัญของสตรี’ ของซุ้นซื้อเหมี่ยว แพทย์สมัยถังที่เลื่องชื่อในประวัติศาสตร์จีน เท่าที่ Storyฯ หาข้อมูลได้ พบว่ามีสูตรหลากหลาย แต่พอจะสรุปจากตัวยาหลักได้ว่าสรรพคุณโดยรวมของยาคุมกำเนิดและยาหยุดครรภ์เหล่านี้ก็คือ การเพิ่มฤทธิ์ธาตุหยิน (หรือฤทธิ์เย็น) ภายในร่างกาย และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ขับลม ขับเลือดเสีย ซึ่งมียาสมุนไพรจีนหลายตัวที่ให้สรรพคุณเหล่านี้ และหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายจะใช้เป็นยารักษาหรือยาบำรุงได้ เช่นว่า โบราณใช้เป็นยาก่อนตั้งครรภ์เพื่อล้างมดลูกให้สะอาดและบำรุงชี่ปรับสภาพร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น และยาหลังคลอดบุตรหรือหลังประจำเดือนหมดเพื่อขับเลือดเสียที่เกาะอยู่บนผนังมดลูกออกมา ตัวอย่างของยาที่อยู่ในกลุ่มประเภทนี้ก็มีหลายชนิด (ดูรูปตัวอย่าง) เช่น ต่อมหางกวางชะมด ดอกคำฝอย ชวนเกียง น้ำมันที่สกัดจากผักกาดก้านขาว (canola oil) เป็นต้น แน่นอนว่าสูตรยาแต่ละขนานจะประกอบด้วยตัวยาหลากชนิด จึงอาจมีสรรพคุณในด้านอื่นด้วย เช่น ขับลม ลดสภาวะอักเสบในร่างกาย ลดการจับตัวของไขมัน ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น เป็นต้น แต่ ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ หากรับประทานต่อเนื่องระยะยาวอาจทำให้มีภาวะโลหิตจาง ร่างกายอ่อนเพลียง่าย มดลูกทำงานไม่ปกติและประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ และหากรับประทานในช่วงตั้งครรภ์จะขับลิ่มเลือดและทำให้มดลูกบีบตัว ทำให้แท้งลูกได้ ยกตัวอย่างคือดอกคำฝอย เพื่อนเพจที่ดื่มชาดอกคำฝอยจะทราบดีถึงคำเตือนว่าห้ามดื่มในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับยาสมุนไพรและยาจีนจะทราบว่า ยาเหล่านี้ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ผลดังที่ต้องการ เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อาหารอย่างอื่นที่เรารับประทานว่ามีฤทธิค้านกัน หรือมีฤทธิเสริมกันแรงเกินไปหรือไม่ และขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน ดังนั้นยาสูตร ‘ปี้จื่อทั้ง’ หรือ ‘ต้วนฉ่านฟ้าง’ ที่สืบทอดมาแต่โบราณเหล่านี้ จะออกฤทธิ์ทันควันเหมือนที่เราเห็นในละครหรือไม่? หรือว่าออกฤทธิ์ได้จริงแบบที่เห็นในละครหรือไม่? Storyฯ ก็ไม่ทราบได้ และไม่มีความรู้ลึกซึ้งถึงการรักษาแบบแผนจีนพอที่จะให้ความเห็น แต่ด้วยหลักการ ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ เราจึงมักเห็นพล็อตละคร/นิยายที่มีการปรับสัดส่วนของสมุนไพรในสูตรยาหรือเพิ่มยาตัวอื่นเข้าไปให้กลายเป็นพิษนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://inf.news/entertainment/b6ddc93cc4f9a720bf5c3fd752c4e1b9.html https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802 https://www.sohu.com/a/251057863_100011360 https://www.sohu.com/a/249476484_242776 https://www.sohu.com/a/525891685_121119111 https://www.huachiewtcm.com/content/8036/ชวนซฺยง-川芎-ข้อมูลสมุนไพรจีน https://baike.baidu.com/item/红花/16556131 https://zh.wikipedia.org/zh-hant/麝香 #ร้อยรักปักดวงใจ #ปี้จื่อทัง #น้ำแกงห้ามลูก #สมุนไพรในละครจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 667 มุมมอง 0 รีวิว