• สัปดาห์ที่แล้วเปรียบเทียบสิทธิของภรรยาเอกและอนุภรรยาโดยยกตัวอย่างจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> วันนี้มาคุยกันต่อว่าจีนโบราณแบ่งแยกเมียหลวงและเมียน้อยเป็นกี่ประเภท

    ก่อนอื่น พูดกันถึงภรรยาเอก ตามที่ Storyฯ เล่าไปสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนสมัยราชวงศ์ชิงนั้น กฎหมายกำหนดให้มีภรรยาเอกได้คนเดียว และจำนวนอนุภรรยานั้นเป็นไปตามบรรดาศักดิ์ของผู้ชาย ภรรยาเอกนี้มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น เจิ้งชี (ภรรยาหลัก) เจี๋ยฟ่าชี (ภรรยาผูกปมผม) หยวนเพ่ยชี (ภรรยาดั้งเดิม) เจิ้งฝาง (ห้องหลัก) ฯลฯ หากภรรยาเอกเสียชีวิตไปแล้วจึงจะสามารถแต่งภรรยาเอกเข้ามาใหม่ได้อีกคน ภรรยาทดแทนคนนี้เรียกว่า ‘จี้ซื่อ’ (继室 แปลตรงตัวว่า สืบทอด+ห้อง) ตามธรรมเนียมแล้ว คนที่กราบไหว้ฟ้าดินด้วยกันมีเพียงภรรยาเอกเท่านั้น

    ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงมีธรรมเนียมที่ว่า หากบ้านใดไม่มีบุตรชายสืบสกุล สามารถให้หลาน (ลูกของลุงหรือน้า สกุลเดียวกัน) มาเป็นทายาทสืบสกุลตามกฎหมายได้ ดังนั้นเขามีหน้าที่สืบสกุลให้กับสองบ้านและสามารถแต่งภรรยาเอกได้สองคน เรียกว่า ‘เจี๊ยนเที้ยว’ (兼祧) และภรรยาเอกทั้งสองคนจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน

    นอกจากกรณีข้างต้นแล้ว เมียอื่นๆ จัดเป็นเมียน้อยหมด และจัดกลุ่มได้ตามนี้
    1. กลุ่มที่หนึ่งเป็นญาติพี่น้องของภรรยาเอกที่ถูกเลือกให้ติดตามไปกับเจ้าสาวตอนแต่งเข้าไปเรือนฝ่ายชาย (หมายเหตุ คนที่ตามเจ้าสาวมาอยู่บ้านฝ่ายชายทั้งหมดเรียกว่า เผยเจี้ย /陪嫁 ซึ่งรวมถึงบ่าวไพร่) แต่เป็นกรณีที่เจ้าสาวมาจากตระกูลสูงศักดิ์ ดังนั้นอนุภรรยากลุ่มนี้จะมีสถานะสูงกว่าอนุภรรยาอื่นๆ สามารถเข้าร่วมรับประทานอาหารหรืองานเลี้ยงกับสามีได้ และอาจถูกบันทึกชื่อเข้าไปในหนังสือตระกูลของฝ่ายชายได้เพราะนางมาจากตระกูลที่สูงศักดิ์มากเช่นกัน และโดยปกติฝ่ายชายมักยกระดับขึ้นเป็นภรรยาเอกได้เมื่อภรรยาเอกคนเดิมเสียชีวิตไป ในกลุ่มนี้จำแนกได้เป็นอีกสี่แบบ (เรียงจากสูงศักดิ์ที่สุดไปต่ำ) คือ
    a. อิ้ง (媵) หรือ อิ้งเฉี้ย – เป็นพี่สาวหรือน้องสาวที่เกิดจากพ่อคนเดียวกันกับเจ้าสาว แต่เจ้าสาวมีแม่เป็นภรรยาเอกในขณะที่พี่หรือน้องสาวที่แต่งตามไปจะเกิดจากอนุภรรยาของพ่อ
    b. เช่อซึ (侧室 แปลตรงตัวว่าห้องข้าง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เช่อซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของพ่อ (ถือนามสกุลเดียวกันกับเจ้าสาว)
    c. ฟู่ซึ (副室 แปลตรงตัวว่าห้องรอง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า ฟู่ซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของแม่ (ถือนามสกุลเดิมของแม่เจ้าสาว)
    d. เพียนซึ (偏室 แปลตรงตัวว่าห้องเบี่ยง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เพียนซึ เป็นลูกจากอนุภรรยาในตระกูลเดิมของแม่ ใช้นามสกุลเดียวกับแม่ มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าสาวแต่จริงๆ แล้วไม่มีความเกี่ยวพันทางสายเลือดกับเจ้าสาวเลย
    2. กลุ่มที่สองคือ เฉี้ย (妾) หรือ เพียนฝาง (偏房) คืออนุภรรยาทั่วไปที่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับภรรยาเอก แบ่งเป็นระดับได้อีก คือ
    a. กุ้ยเฉี้ย (贵妾) เป็นอนุที่มาจากตระกูลใหญ่หรือตระกูลขุนนางแต่อาจเป็นลูกที่เกิดจากอนุภรรยาในตระกูลนั้นๆ หากฝ่ายชายเป็นบุตรจากภรรยาเอกในตระกูลสูงศักดิ์ โดยปกตินางผู้เป็นลูกอนุจะไม่มีคุณสมบัติพอที่จะนั่งตำแหน่งภรรยาเอกของเขาได้
    b. เหลียงเฉี้ย (良妾) เป็นอนุที่มาจากครอบครัวชาวบ้านทั่วไป เช่น ครอบครัวค้าขายหรือชาวไร่ชาวสวน ระดับความรู้การศึกษาก็จะแตกต่างกันไป
    c. เจี้ยนเฉี้ย (贱妾) เป็นอนุที่มีชาติตระกูลหรือสถานะที่ต่ำต้อยมาก เช่น นางรำ นางคณิกา นักแสดงละคร ฯลฯ พวกนี้ส่วนใหญ่อ่านเขียนได้และมีวิชาศิลปะติดตัว
    d. เผยฝาง (陪房) หมายถึงสาวใช้ของภรรยาเอกที่ติดตามมาเป็นเผยเจี้ยและช่วยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงให้ฝ่ายชายตามคำสั่งของภรรยาเอก โดยปกติชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดีเพราะภรรยาเอกจะส่งเสริมเพื่อให้ช่วยมัดใจสามีโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีพิษมีภัยเพราะเอกสารสำหรับสัญญาซื้อขายสาวใช้คนนี้จะอยู่ในมือของภรรยาเอกเอง
    e. ซื่อเฉี้ย (侍妾) หมายถึงสาวใช้ในบ้านฝ่ายชายที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแล้วถูกยกขึ้นเป็นอนุ
    f. ปี้เฉี้ย (婢妾) หมายถึงลูกของนักโทษทางการที่ถูกซื้อเข้ามาเป็นทาสในบ้านและยกขึ้นเป็นอนุ
    3. กลุ่มสุดท้ายไม่นับเป็นอนุภรรยา เป็นช่องทางที่ฝ่ายชายใช้ระบายความใคร่ได้อย่างไม่ต้องกลัวผิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องจำนวนอนุภรรยา แบ่งได้อีกเป็น
    a. ทงฝาง (通房) คือสาวใช้ในเรือนที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแต่ไม่ได้รับการยกขึ้นเป็นอนุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาวใช้ที่ถูกคัดเลือกมาเพื่อ ‘เปิดประสบการณ์’ ให้แก่คุณชายในตระกูลใหญ่ที่กำลังโตขึ้นเป็นหนุ่ม
    b. ไว่ซึ (外室) หมายถึงเมียเก็บนอกบ้าน ชีวิตความเป็นอยู่อาจจะดีเพราะฝ่ายชายอาจซื้อบ้านให้อยู่มีคนคอยรับใช้ ไม่ต้องมาคอยปรนนิบัติแม่สามีหรือเมียหลวง และไม่โดนโขกสับ แต่ก็คือไม่ได้ถูกรับรองเป็นอนุภรรยา บุตรที่เกิดมาก็ไม่ถูกยอมรับว่าเป็นลูกหลานของตระกูลฝ่ายชาย

    เป็นอย่างไรคะ? ซับซ้อนและแบ่งแยกไว้ละเอียดกว่าที่คิดใช่ไหม? ทีนี้เพื่อนเพจคงเข้าใจในบริบทแล้วว่า ทำไมเป็นอนุภรรยาเหมือนกันยังสามารถข่มกันได้ และทำไมการยกอนุภรรยาขึ้นเป็นภรรยาเอกหลังจากคนเดิมเสียไปจึงเป็นเรื่องที่ยาก เพราะไม่ใช่อนุภรรยาทุกประเภทมีความพร้อมทางชาติตระกูลและการศึกษาที่จะมาปกครองเป็นนายหญิงของบ้านได้

    Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าละครหรือนิยายแปลมีการแบ่งแยกในรายละเอียดหรือไม่ หากมีใครเคยผ่านหูผ่านตาก็บอกกล่าวกันได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802
    https://kknews.cc/zh-cn/entertainment/x48b2bg.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://new.qq.com/rain/a/20200223A0A37000
    http://m.qulishi.com//article/201905/335331.html
    https://www.sohu.com/a/251827031_100152441

    #ร้อยรักปักดวงใจ #อนุภรรยา #ภรรยาเอก #หยวนเพ่ย #ภรรยาผูกปมผม #เจิ้งฝาง #จี้ซื่อ #จี้สื้อ #เชี่ยซื่อ #เชี่ยสื้อ #เฉี้ย #อิ้งเฉี้ย #เช่อซึ #ฟู่ซึ #เพียนซึ #เพียนฝาง #กุ้ยเฉี้ย #เหลียงเฉี้ย #เจี้ยนเฉี้ย #ปี้เฉี้ย #ทงฝาง #ไว่ซึ
    สัปดาห์ที่แล้วเปรียบเทียบสิทธิของภรรยาเอกและอนุภรรยาโดยยกตัวอย่างจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> วันนี้มาคุยกันต่อว่าจีนโบราณแบ่งแยกเมียหลวงและเมียน้อยเป็นกี่ประเภท ก่อนอื่น พูดกันถึงภรรยาเอก ตามที่ Storyฯ เล่าไปสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนสมัยราชวงศ์ชิงนั้น กฎหมายกำหนดให้มีภรรยาเอกได้คนเดียว และจำนวนอนุภรรยานั้นเป็นไปตามบรรดาศักดิ์ของผู้ชาย ภรรยาเอกนี้มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น เจิ้งชี (ภรรยาหลัก) เจี๋ยฟ่าชี (ภรรยาผูกปมผม) หยวนเพ่ยชี (ภรรยาดั้งเดิม) เจิ้งฝาง (ห้องหลัก) ฯลฯ หากภรรยาเอกเสียชีวิตไปแล้วจึงจะสามารถแต่งภรรยาเอกเข้ามาใหม่ได้อีกคน ภรรยาทดแทนคนนี้เรียกว่า ‘จี้ซื่อ’ (继室 แปลตรงตัวว่า สืบทอด+ห้อง) ตามธรรมเนียมแล้ว คนที่กราบไหว้ฟ้าดินด้วยกันมีเพียงภรรยาเอกเท่านั้น ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงมีธรรมเนียมที่ว่า หากบ้านใดไม่มีบุตรชายสืบสกุล สามารถให้หลาน (ลูกของลุงหรือน้า สกุลเดียวกัน) มาเป็นทายาทสืบสกุลตามกฎหมายได้ ดังนั้นเขามีหน้าที่สืบสกุลให้กับสองบ้านและสามารถแต่งภรรยาเอกได้สองคน เรียกว่า ‘เจี๊ยนเที้ยว’ (兼祧) และภรรยาเอกทั้งสองคนจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน นอกจากกรณีข้างต้นแล้ว เมียอื่นๆ จัดเป็นเมียน้อยหมด และจัดกลุ่มได้ตามนี้ 1. กลุ่มที่หนึ่งเป็นญาติพี่น้องของภรรยาเอกที่ถูกเลือกให้ติดตามไปกับเจ้าสาวตอนแต่งเข้าไปเรือนฝ่ายชาย (หมายเหตุ คนที่ตามเจ้าสาวมาอยู่บ้านฝ่ายชายทั้งหมดเรียกว่า เผยเจี้ย /陪嫁 ซึ่งรวมถึงบ่าวไพร่) แต่เป็นกรณีที่เจ้าสาวมาจากตระกูลสูงศักดิ์ ดังนั้นอนุภรรยากลุ่มนี้จะมีสถานะสูงกว่าอนุภรรยาอื่นๆ สามารถเข้าร่วมรับประทานอาหารหรืองานเลี้ยงกับสามีได้ และอาจถูกบันทึกชื่อเข้าไปในหนังสือตระกูลของฝ่ายชายได้เพราะนางมาจากตระกูลที่สูงศักดิ์มากเช่นกัน และโดยปกติฝ่ายชายมักยกระดับขึ้นเป็นภรรยาเอกได้เมื่อภรรยาเอกคนเดิมเสียชีวิตไป ในกลุ่มนี้จำแนกได้เป็นอีกสี่แบบ (เรียงจากสูงศักดิ์ที่สุดไปต่ำ) คือ a. อิ้ง (媵) หรือ อิ้งเฉี้ย – เป็นพี่สาวหรือน้องสาวที่เกิดจากพ่อคนเดียวกันกับเจ้าสาว แต่เจ้าสาวมีแม่เป็นภรรยาเอกในขณะที่พี่หรือน้องสาวที่แต่งตามไปจะเกิดจากอนุภรรยาของพ่อ b. เช่อซึ (侧室 แปลตรงตัวว่าห้องข้าง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เช่อซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของพ่อ (ถือนามสกุลเดียวกันกับเจ้าสาว) c. ฟู่ซึ (副室 แปลตรงตัวว่าห้องรอง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า ฟู่ซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของแม่ (ถือนามสกุลเดิมของแม่เจ้าสาว) d. เพียนซึ (偏室 แปลตรงตัวว่าห้องเบี่ยง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เพียนซึ เป็นลูกจากอนุภรรยาในตระกูลเดิมของแม่ ใช้นามสกุลเดียวกับแม่ มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าสาวแต่จริงๆ แล้วไม่มีความเกี่ยวพันทางสายเลือดกับเจ้าสาวเลย 2. กลุ่มที่สองคือ เฉี้ย (妾) หรือ เพียนฝาง (偏房) คืออนุภรรยาทั่วไปที่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับภรรยาเอก แบ่งเป็นระดับได้อีก คือ a. กุ้ยเฉี้ย (贵妾) เป็นอนุที่มาจากตระกูลใหญ่หรือตระกูลขุนนางแต่อาจเป็นลูกที่เกิดจากอนุภรรยาในตระกูลนั้นๆ หากฝ่ายชายเป็นบุตรจากภรรยาเอกในตระกูลสูงศักดิ์ โดยปกตินางผู้เป็นลูกอนุจะไม่มีคุณสมบัติพอที่จะนั่งตำแหน่งภรรยาเอกของเขาได้ b. เหลียงเฉี้ย (良妾) เป็นอนุที่มาจากครอบครัวชาวบ้านทั่วไป เช่น ครอบครัวค้าขายหรือชาวไร่ชาวสวน ระดับความรู้การศึกษาก็จะแตกต่างกันไป c. เจี้ยนเฉี้ย (贱妾) เป็นอนุที่มีชาติตระกูลหรือสถานะที่ต่ำต้อยมาก เช่น นางรำ นางคณิกา นักแสดงละคร ฯลฯ พวกนี้ส่วนใหญ่อ่านเขียนได้และมีวิชาศิลปะติดตัว d. เผยฝาง (陪房) หมายถึงสาวใช้ของภรรยาเอกที่ติดตามมาเป็นเผยเจี้ยและช่วยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงให้ฝ่ายชายตามคำสั่งของภรรยาเอก โดยปกติชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดีเพราะภรรยาเอกจะส่งเสริมเพื่อให้ช่วยมัดใจสามีโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีพิษมีภัยเพราะเอกสารสำหรับสัญญาซื้อขายสาวใช้คนนี้จะอยู่ในมือของภรรยาเอกเอง e. ซื่อเฉี้ย (侍妾) หมายถึงสาวใช้ในบ้านฝ่ายชายที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแล้วถูกยกขึ้นเป็นอนุ f. ปี้เฉี้ย (婢妾) หมายถึงลูกของนักโทษทางการที่ถูกซื้อเข้ามาเป็นทาสในบ้านและยกขึ้นเป็นอนุ 3. กลุ่มสุดท้ายไม่นับเป็นอนุภรรยา เป็นช่องทางที่ฝ่ายชายใช้ระบายความใคร่ได้อย่างไม่ต้องกลัวผิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องจำนวนอนุภรรยา แบ่งได้อีกเป็น a. ทงฝาง (通房) คือสาวใช้ในเรือนที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแต่ไม่ได้รับการยกขึ้นเป็นอนุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาวใช้ที่ถูกคัดเลือกมาเพื่อ ‘เปิดประสบการณ์’ ให้แก่คุณชายในตระกูลใหญ่ที่กำลังโตขึ้นเป็นหนุ่ม b. ไว่ซึ (外室) หมายถึงเมียเก็บนอกบ้าน ชีวิตความเป็นอยู่อาจจะดีเพราะฝ่ายชายอาจซื้อบ้านให้อยู่มีคนคอยรับใช้ ไม่ต้องมาคอยปรนนิบัติแม่สามีหรือเมียหลวง และไม่โดนโขกสับ แต่ก็คือไม่ได้ถูกรับรองเป็นอนุภรรยา บุตรที่เกิดมาก็ไม่ถูกยอมรับว่าเป็นลูกหลานของตระกูลฝ่ายชาย เป็นอย่างไรคะ? ซับซ้อนและแบ่งแยกไว้ละเอียดกว่าที่คิดใช่ไหม? ทีนี้เพื่อนเพจคงเข้าใจในบริบทแล้วว่า ทำไมเป็นอนุภรรยาเหมือนกันยังสามารถข่มกันได้ และทำไมการยกอนุภรรยาขึ้นเป็นภรรยาเอกหลังจากคนเดิมเสียไปจึงเป็นเรื่องที่ยาก เพราะไม่ใช่อนุภรรยาทุกประเภทมีความพร้อมทางชาติตระกูลและการศึกษาที่จะมาปกครองเป็นนายหญิงของบ้านได้ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าละครหรือนิยายแปลมีการแบ่งแยกในรายละเอียดหรือไม่ หากมีใครเคยผ่านหูผ่านตาก็บอกกล่าวกันได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802 https://kknews.cc/zh-cn/entertainment/x48b2bg.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://new.qq.com/rain/a/20200223A0A37000 http://m.qulishi.com//article/201905/335331.html https://www.sohu.com/a/251827031_100152441 #ร้อยรักปักดวงใจ #อนุภรรยา #ภรรยาเอก #หยวนเพ่ย #ภรรยาผูกปมผม #เจิ้งฝาง #จี้ซื่อ #จี้สื้อ #เชี่ยซื่อ #เชี่ยสื้อ #เฉี้ย #อิ้งเฉี้ย #เช่อซึ #ฟู่ซึ #เพียนซึ #เพียนฝาง #กุ้ยเฉี้ย #เหลียงเฉี้ย #เจี้ยนเฉี้ย #ปี้เฉี้ย #ทงฝาง #ไว่ซึ
    WWW.POPDAILY.COM.TW
    《錦心似玉》鍾漢良、譚松韵先婚後愛!2021最甜寵的宅鬥古裝劇 | PopDaily 波波黛莉
    受封2021最甜寵宅鬥古裝劇的《錦心似玉》,改編自作者吱吱的原著小說《庶女攻略》,鍾漢良飾演的永平侯徐令宜娶了於徐家有恩的羅家嫡女羅元娘為妻,後因羅元娘死前所託續弦娶了譚松韵飾演的羅家庶女羅十一娘,自此展開一段本不相愛,因被迫成婚而先婚後愛的宅鬥古裝偶像劇。
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 95 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้กลับมาคุยกันต่อกับเรื่องราวที่ Storyฯ เห็นจากละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ในตอนที่มีการรับลูกนอกสมรสกลับเข้าตระกูล

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ถึงกาลมงคล พิธีรับเข้าตระกูลของตระกูลสวี อัญเชิญหนังสือตระกูล” เสียงประกาศเริ่มพิธีดังขึ้น สวีลิ่งเซวียนคุกเข่าลงต่อหน้าป้ายบูชาบรรพบุรุษแล้วกล่าว “สวีซื่อเจี้ย เดิมเป็นบุตรที่ร่อนเร่อาศัยอยู่ข้างนอกของตระกูลเรา ตอนนี้รับกลับเข้าตระกูลเป็นบุตรของสวีลิ่งอัน ขอบรรพบุรุษปกป้องลูกหลานสกุลสวี”...
    - ถอดบทสนทนาจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> (ตามซับไทยเลยจ้า)

    ในละครข้างต้น ก่อนจะมาถึงพิธีการนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงความคิดของตัวละครต่างๆ ที่ถกกันว่าจะรับเด็กมาเป็นลูกใครดี? ความเดิมของบทสนทนาในภาษาจีนคือ “จะบันทึกชื่อเด็กคนนี้ใต้ชื่อใคร?” ซึ่งการคุยในลักษณะนี้เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญของหนังสือตระกูล วันนี้เลยมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับหนังสือตระกูลหรือที่เรียกว่า ‘เจียผู่’ (家谱) หรือ ‘จู๋ผู่’ (族谱) นี้

    การบันทึกข้อมูลในเจียผู่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ย และเนื่องจากสมัยนั้นมีการแตกสกุลมาจากเชื้อพระวงศ์เป็นจำนวนมาก ทางการจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลและปรับปรุงเจียผู่ของตระกูลเหล่านั้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือบันทึกสายสกุลเพื่อประโยชน์ในการคัดสรรและแต่งตั้งขุนนาง ต่อมาเมื่อผ่านพ้นราชวงศ์ถัง ข้อมูลเหล่านี้สูญหายไปในสงครามเสียเป็นส่วนใหญ่ และการเข้ารับราชการก็ดำเนินการผ่านการสอบราชบัณฑิต อีกทั้งอำนาจของเหล่าสื้อเจียตระกูลขุนนางก็เสื่อมลง ทางการจึงไม่ได้เข้ามายุ่งเรื่องการทำเจียผู่อีก ดังนั้นนับแต่สมัยซ่งมา เจียผู่ส่วนใหญ่ถูกจัดทำขึ้นมาใหม่และอยู่ในการดูแลของคนในตระกูลเอง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนเกี่ยวกับสื้อเจียไปแล้ว หาอ่านย้อนหลังนะคะ)

    เพื่อนเพจอาจนึกภาพว่าเจียผู่เป็นพงศาวลีหรือผังลำดับญาติ แต่คนที่เคยลองวาดผังแบบนี้จะรู้ว่า หากจะวาดให้ดีต้องรู้ว่าควรเผื่อเนื้อที่ตรงไหนอย่างไร แต่เจียผู่เป็นบันทึกจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นการบันทึกจริงๆ คือเขียนข้อมูลเติมไปแต่ละรุ่น (ดูตัวอย่างตามรูปประกอบ หน้านี้บันทึกการสืบเชื้อสายของบุตรชายคนโต) หากมีการวาดผังลำดับญาติโดยปกติจะวาดเพียง 5 รุ่นแล้วก็ขึ้นผังใหม่

    แล้วเจียผู่บันทึกอะไรบ้าง?

    ก่อนอื่นคือต้องมีการเขียน ‘ขอบเขต’ - ใครเป็นต้นตระกูล? เราเป็นสายใดของตระกูล? ตราสัญลักษณ์ของตระกูล (ถ้ามี) ภูมิลำเนาเดิม ประวัติของสกุล ที่ตั้งและแผนผังของวัดบรรพบุรุษ เป็นต้น

    จากนั้นก็เป็นบันทึกเกี่ยวกับคนในแต่ละรุ่น ซึ่งจะระบุว่าเป็นรุ่นที่เท่าไหร่ ลำดับในรุ่น ชื่อ วันเดือนปีเกิดและตาย สรุปชีวประวัติ ลักษณะเด่นหรือวีรกรรมโดยคร่าว (เช่น เคยไปรบชนะสร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูลในศึกไหน?) บรรดาศักดิ์หรือรางวัลเกียรติยศที่เคยได้รับ ชื่อคู่สมรสและบุตรชาย ฯลฯ ในบางเจียผู่จะมีการกล่าวถึงสินทรัพย์อันเป็นมรดกตกทอดของตระกูล เช่น ที่ตั้งและขนาดของที่ดินและอาคารบ้านเรือน และการบริหารสินทรัพย์ ฯลฯ

    แต่... ไม่ใช่บุตรและภรรยาทุกคนจะได้รับการบันทึกชื่อลงในเจียผู่ ใครบ้างที่ไม่มีชื่อ?
    1. ลูกสาว – ในวัฒนธรรมจีนโบราณ ลูกสาวเมื่อแต่งงานออกไปก็ถือว่าเป็นคนของครอบครัวอื่น จึงไม่มีการบันทึกชื่อลูกสาวในเจียผู่ของตัวเอง ลูกสาวที่แต่งออกไปก็จะไปมีชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามี (แต่จากตัวอย่างที่ Storyฯ เห็น จะบันทึกเพียงสกุลเดิมไม่มีชื่อ เช่น นางสกุลหลี่) ธรรมเนียมนี้มีมาจนถึงสมัยจีนยุคใหม่ (หลังราชวงศ์ชิง) จึงมีการใส่ชื่อลูกสาวเข้าไป
    2. อนุภรรยา – สตรีที่แต่งงานไปจะถูกบันทึกชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามีเฉพาะคนที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น คนที่เป็นอนุจะไม่มีการบันทึกถึง ยกเว้นในกรณีที่ต่อมาบุตรชายของนางมีคุณงามความชอบอย่างโดดเด่น สร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูล จึงจะมีการแก้ไขเอาชื่อของเขาเข้าเจียผู่และจะมีการบันทึกชื่อผู้เป็นมารดาด้วย (ป.ล. หากเพื่อนเพจได้ดูละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> ในฉากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าสตรีที่เข้าร่วมพิธีที่เกี่ยวกับหนังสือตระกูลนั้น มีเพียงสะใภ้ที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น)
    3. ลูกอนุ - สายของอนุทั้งสายจะไม่ได้ลงบันทึกไว้ เว้นแต่กรณีที่กล่าวมาข้างต้นว่ามีการแก้ไขบันทึกย้อนหลัง

    เห็นแล้วก็พอจะเข้าใจถึงหัวอกของบรรดาอนุและลูกอนุ เราจึงเห็นเรื่องราวในนิยายและละครจีนโบราณไม่น้อยที่มีปูมหลังมาจากความน้อยเนื้อต่ำใจหรือความทะเยอทะยานของเหล่าอนุและลูกอนุทั้งหลาย Storyฯ เชื่อว่าเพื่อนเพจเข้าใจในบริบทนี้แล้วจะดูละคร/อ่านนิยายจีนโบราณได้มีอรรถรสยิ่งขึ้นค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/452104168_114988
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.52lishi.com/article/65523.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/30411974
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/54546409
    https://www.163.com/dy/article/H14J0MG10552QJB7.html

    #ร้อยรักปักดวงใจ #เจียผู่ #จู๋ผู่ #หนังสือตระกูล #บันทึกตระกูลจีนโบราณ #พงศาวลีจีนโบราณ
    วันนี้กลับมาคุยกันต่อกับเรื่องราวที่ Storyฯ เห็นจากละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ในตอนที่มีการรับลูกนอกสมรสกลับเข้าตระกูล ความมีอยู่ว่า ... “ถึงกาลมงคล พิธีรับเข้าตระกูลของตระกูลสวี อัญเชิญหนังสือตระกูล” เสียงประกาศเริ่มพิธีดังขึ้น สวีลิ่งเซวียนคุกเข่าลงต่อหน้าป้ายบูชาบรรพบุรุษแล้วกล่าว “สวีซื่อเจี้ย เดิมเป็นบุตรที่ร่อนเร่อาศัยอยู่ข้างนอกของตระกูลเรา ตอนนี้รับกลับเข้าตระกูลเป็นบุตรของสวีลิ่งอัน ขอบรรพบุรุษปกป้องลูกหลานสกุลสวี”... - ถอดบทสนทนาจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> (ตามซับไทยเลยจ้า) ในละครข้างต้น ก่อนจะมาถึงพิธีการนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงความคิดของตัวละครต่างๆ ที่ถกกันว่าจะรับเด็กมาเป็นลูกใครดี? ความเดิมของบทสนทนาในภาษาจีนคือ “จะบันทึกชื่อเด็กคนนี้ใต้ชื่อใคร?” ซึ่งการคุยในลักษณะนี้เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญของหนังสือตระกูล วันนี้เลยมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับหนังสือตระกูลหรือที่เรียกว่า ‘เจียผู่’ (家谱) หรือ ‘จู๋ผู่’ (族谱) นี้ การบันทึกข้อมูลในเจียผู่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ย และเนื่องจากสมัยนั้นมีการแตกสกุลมาจากเชื้อพระวงศ์เป็นจำนวนมาก ทางการจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลและปรับปรุงเจียผู่ของตระกูลเหล่านั้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือบันทึกสายสกุลเพื่อประโยชน์ในการคัดสรรและแต่งตั้งขุนนาง ต่อมาเมื่อผ่านพ้นราชวงศ์ถัง ข้อมูลเหล่านี้สูญหายไปในสงครามเสียเป็นส่วนใหญ่ และการเข้ารับราชการก็ดำเนินการผ่านการสอบราชบัณฑิต อีกทั้งอำนาจของเหล่าสื้อเจียตระกูลขุนนางก็เสื่อมลง ทางการจึงไม่ได้เข้ามายุ่งเรื่องการทำเจียผู่อีก ดังนั้นนับแต่สมัยซ่งมา เจียผู่ส่วนใหญ่ถูกจัดทำขึ้นมาใหม่และอยู่ในการดูแลของคนในตระกูลเอง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนเกี่ยวกับสื้อเจียไปแล้ว หาอ่านย้อนหลังนะคะ) เพื่อนเพจอาจนึกภาพว่าเจียผู่เป็นพงศาวลีหรือผังลำดับญาติ แต่คนที่เคยลองวาดผังแบบนี้จะรู้ว่า หากจะวาดให้ดีต้องรู้ว่าควรเผื่อเนื้อที่ตรงไหนอย่างไร แต่เจียผู่เป็นบันทึกจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นการบันทึกจริงๆ คือเขียนข้อมูลเติมไปแต่ละรุ่น (ดูตัวอย่างตามรูปประกอบ หน้านี้บันทึกการสืบเชื้อสายของบุตรชายคนโต) หากมีการวาดผังลำดับญาติโดยปกติจะวาดเพียง 5 รุ่นแล้วก็ขึ้นผังใหม่ แล้วเจียผู่บันทึกอะไรบ้าง? ก่อนอื่นคือต้องมีการเขียน ‘ขอบเขต’ - ใครเป็นต้นตระกูล? เราเป็นสายใดของตระกูล? ตราสัญลักษณ์ของตระกูล (ถ้ามี) ภูมิลำเนาเดิม ประวัติของสกุล ที่ตั้งและแผนผังของวัดบรรพบุรุษ เป็นต้น จากนั้นก็เป็นบันทึกเกี่ยวกับคนในแต่ละรุ่น ซึ่งจะระบุว่าเป็นรุ่นที่เท่าไหร่ ลำดับในรุ่น ชื่อ วันเดือนปีเกิดและตาย สรุปชีวประวัติ ลักษณะเด่นหรือวีรกรรมโดยคร่าว (เช่น เคยไปรบชนะสร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูลในศึกไหน?) บรรดาศักดิ์หรือรางวัลเกียรติยศที่เคยได้รับ ชื่อคู่สมรสและบุตรชาย ฯลฯ ในบางเจียผู่จะมีการกล่าวถึงสินทรัพย์อันเป็นมรดกตกทอดของตระกูล เช่น ที่ตั้งและขนาดของที่ดินและอาคารบ้านเรือน และการบริหารสินทรัพย์ ฯลฯ แต่... ไม่ใช่บุตรและภรรยาทุกคนจะได้รับการบันทึกชื่อลงในเจียผู่ ใครบ้างที่ไม่มีชื่อ? 1. ลูกสาว – ในวัฒนธรรมจีนโบราณ ลูกสาวเมื่อแต่งงานออกไปก็ถือว่าเป็นคนของครอบครัวอื่น จึงไม่มีการบันทึกชื่อลูกสาวในเจียผู่ของตัวเอง ลูกสาวที่แต่งออกไปก็จะไปมีชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามี (แต่จากตัวอย่างที่ Storyฯ เห็น จะบันทึกเพียงสกุลเดิมไม่มีชื่อ เช่น นางสกุลหลี่) ธรรมเนียมนี้มีมาจนถึงสมัยจีนยุคใหม่ (หลังราชวงศ์ชิง) จึงมีการใส่ชื่อลูกสาวเข้าไป 2. อนุภรรยา – สตรีที่แต่งงานไปจะถูกบันทึกชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามีเฉพาะคนที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น คนที่เป็นอนุจะไม่มีการบันทึกถึง ยกเว้นในกรณีที่ต่อมาบุตรชายของนางมีคุณงามความชอบอย่างโดดเด่น สร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูล จึงจะมีการแก้ไขเอาชื่อของเขาเข้าเจียผู่และจะมีการบันทึกชื่อผู้เป็นมารดาด้วย (ป.ล. หากเพื่อนเพจได้ดูละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> ในฉากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าสตรีที่เข้าร่วมพิธีที่เกี่ยวกับหนังสือตระกูลนั้น มีเพียงสะใภ้ที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น) 3. ลูกอนุ - สายของอนุทั้งสายจะไม่ได้ลงบันทึกไว้ เว้นแต่กรณีที่กล่าวมาข้างต้นว่ามีการแก้ไขบันทึกย้อนหลัง เห็นแล้วก็พอจะเข้าใจถึงหัวอกของบรรดาอนุและลูกอนุ เราจึงเห็นเรื่องราวในนิยายและละครจีนโบราณไม่น้อยที่มีปูมหลังมาจากความน้อยเนื้อต่ำใจหรือความทะเยอทะยานของเหล่าอนุและลูกอนุทั้งหลาย Storyฯ เชื่อว่าเพื่อนเพจเข้าใจในบริบทนี้แล้วจะดูละคร/อ่านนิยายจีนโบราณได้มีอรรถรสยิ่งขึ้นค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/452104168_114988 https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.52lishi.com/article/65523.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/30411974 https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773 https://zhuanlan.zhihu.com/p/54546409 https://www.163.com/dy/article/H14J0MG10552QJB7.html #ร้อยรักปักดวงใจ #เจียผู่ #จู๋ผู่ #หนังสือตระกูล #บันทึกตระกูลจีนโบราณ #พงศาวลีจีนโบราณ
    WWW.SOHU.COM
    钟汉良谭松韵领衔主演《锦心似玉》定档2月26日_荻雁
    新京报讯 2月23日,钟汉良、谭松韵领衔主演的电视剧《锦心似玉》宣布定档。该剧将于2月26日起在腾讯视频全网独播,周五至周三连续六天,每日20点更新2集;3月1日起每周一、二、三20点更新2集,会员抢先看。 …
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 129 มุมมอง 0 รีวิว
  • สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ Storyฯ คุยถึงที่มาของวลีเด็ดจากซีรีส์ <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> มีเพื่อนเพจถามถึงเรื่องละครงิ้วที่หรูอี้พูดถึงบ่อยๆ ในเรื่อง ซึ่งก็คือ ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (墙头马上) ขอใช้คำแปลตรงตัวว่า ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ ซึ่งในซีรีส์เท้าความว่า การชมงิ้วเรื่องนี้เป็นครั้งแรกที่หรูอี้และเฉียนหลงได้พบกัน และต่อมามีฉากที่เฉียนหลงบอกว่าจะไม่อ่อนแอเหมือนคุณชายสกุลเผย และหรูอี้บอกว่าไม่อยากต้องเจอสภาพแบบคุณหนูหลี่ที่ถูกบังคับให้ต้องทิ้งลูกไป ทำเอาผู้ชมงงไปตามๆ กันว่าเขาคุยอะไรกัน

    วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้

    ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ เป็นละครงิ้วสมัยราชวงศ์หยวนมีชื่อเต็มว่า ‘เผยส้าวจวิ้น เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (裴少俊墙头马上) ต่อมาตัดชื่อสั้นลงเหลือเพียง ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ เป็นผลงานของ ‘ไป๋ผ้อ’ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ยอดผู้แต่งบทละครงิ้วในสมัยนั้นและผลงานของเขายังได้รับการสืบทอดและจัดแสดงในปัจจุบันอีกหลายเรื่อง และ ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดละครงิ้วแนวรักโรแมนติกสมัยหยวน

    ละครงิ้วนี้ดัดแปลงมาจากบทกวีสมัยถังของไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) (หมายเหตุ คือเขาคือนักการเมืองผู้เคยสร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกซากุระหรืออิงฮวาที่ Storyฯ เคยเขียนถึง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/686842736777355 )
    บทกวีที่ว่านี้มีชื่อว่า ‘งมขวดเงินจากก้นบ่อ’ (井底引银瓶) เป็นหนึ่งในผลงานที่เลื่องชื่อที่สุดของเขา ยาวถึง 34 วรรค สรุปเนื้อหาเป็นเรื่องราวความรักรันทด โดยมีอารัมภบทว่า ใช้ด้ายผูกขวดเงินดึงขึ้นเกือบจะพ้นบ่อ แต่ด้ายก็ขาดเสียก่อน เอาหยกมาเจียรด้วยหิน กำลังจะได้ปิ่นปักผมก็มาหักเสียก่อน เป็นการหวนรำลึกถึงความรักในอดีตที่ขาดสะบั้นลง อดีตที่ว่านี้ก็คือเรื่องคุณหนูนางหนึ่งที่ถูกเลี้ยงมาอย่างริ้นไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม วันๆ ถูกขังอยู่แต่ในสวนหลังบ้าน จึงชอบปีนขึ้นไปเกาะสันกำแพงมองดูโลกภายนอก อยู่มาวันหนึ่งยืนมองอยู่อย่างนี้ก็สบตาเข้ากับคุณชายท่านหนึ่งที่ขี่ม้าขาวผ่านมา เกิดเป็นรักแรกพบ ต่อมาก็หนีตามคุณชายผู้นั้นกลับไปยังบ้านของเขาที่อีกเมืองหนึ่ง แต่ด้วยเป็นการหนีตาม ไม่ได้มีตบแต่งตามพิธีการ นางจึงไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัวฝ่ายชาย ถูกมองว่าเป็นเพียงอนุ ไม่ใช่ภรรยาเอก สุดท้ายถูกบีบให้ทิ้งลูกและไล่ออกไป คุณชายนั้นก็ไม่ได้ปกป้อง นางจึงต้องออกมาผจญชีวิตตามลำพังเพราะละอายเกินกว่าจะแบกหน้ากลับบ้านเกิด บทกวีจบลงด้วยการรำพันของนางว่า ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี และเตือนเหล่าหญิงสาวไร้เดียงสาที่กำลังมีความรักให้จงสังวรไว้ว่า อย่าได้เอาชีวิตทั้งชีวิตของตนมาทุ่มเทให้กับชายใดได้โดยง่าย

    วรรคที่กล่าวถึงตอนสบตากันข้ามกำแพงและตกหลุมรักนั้น ก็คือวรรคที่หรูอี้มักเอ่ยติดปากยามที่นางและเฉียนหลงพูดถึงละครงิ้ว ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ ซึ่ง Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงวรรคนี้ว่า ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ (墙头马上遥相顾,一见知君即断肠 หมายเหตุ ภาษาจีนใช้คำประมาณว่า ‘รักและคิดถึงจนทำให้ไส้ขาดจนตายได้!’) เป็นคำพูดที่หรูอี้พยายามสื่อให้เฉียนหลงเข้าใจว่านางรักเขามากมาย

    นับว่าเป็นบทกวีที่แฝงไว้ด้วยความเศร้าและความผิดหวัง แต่ทำไมหรูอี้และเฉียนหลงจึงคุยกันราวกับว่ามันเป็นเรื่องที่มีความหมายดี?

    นั่นเป็นเพราะว่าละครงิ้วและบทกวีมีความแตกต่าง ละครงิ้วที่นิยมในสมัยหยวนนั้น เป็นสไตล์แบบ ‘จ๋าจวี้’ (Mixed Play ที่ Storyฯ เคยพูดถึงตอนคุยเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) กล่าวคือมีหลากหลายอรรถรส ละครเรื่องนี้จึงถูกแต่งเติมให้มีทั้งความเศร้า ความตลกและจบแบบสุขนิยม มีการต่อเติมเรื่องราวว่า สตรีนางนี้คือคุณหนูหลี่เชียนจิน แต่นางโหยหาความรักและต่อต้านการถูกกักขัง นางหนีตามเผยส้าวจวิ้นมาถึงเรือนสกุลเผย แต่ต้องแอบอยู่ในเรือนสวนของสามีไม่ให้พ่อของสามีรู้ อยู่มาเจ็ดปีมีบุตรชายหนึ่งหญิงหนึ่ง ความลับก็ถูกเปิดเผย นางถูกกล่าวหาว่าเป็นนางโลมและถูกบีบให้ต้องทิ้งลูกกลับบ้านเกิดไปโดยที่เผยส้าวจวิ้นทำอะไรไม่ได้ ต่อมาเผยส้าวจวิ้นสอบได้เป็นราชบัณฑิตเป็นขุนนางติดยศ ทางบ้านไม่กล้าขัดเขาอีก เขาก็มาง้อนาง ง้ออยู่นานจนสุดท้ายนางใจอ่อนยอมคืนดีด้วย และได้ครองรักกันอย่างมีความสุขในที่สุด เป็นเรื่องราวความรักหลากหลายอรรถรสที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดที่จะฝ่าฟันอุปสรรคให้หลุดพ้นจากกรอบสังคม จึงเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมตลอดหลายยุคหลายสมัย

    ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ ... ไม่แน่ว่าหรูอี้อาจต้องการเพียงใช้ประโยคนี้แสดงถึงความรักอย่างยิ่งยวดที่มีต่อเฉียนหลง แต่บทสรุปเรื่องราวชีวิตของนางผ่านซีรีส์เรื่องนี้กลับกลายเป็นอย่างที่บทกวีว่าไว้... ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://kknews.cc/history/xeg9gx8.html
    https://www.sgss8.net/tpdq/21724747/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5487665ffe0a.aspx
    https://baike.baidu.com/item/井底引银瓶/10214172
    https://www.sohu.com/a/260464211_801417
    https://baike.baidu.com/item/裴少俊墙头马上/754408

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #จ๋าจวี้ #งิ้วสมัยหยวน #เฉียงโถวหม่าซ่าง #สันกำแพงหลังอาชา
    สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ Storyฯ คุยถึงที่มาของวลีเด็ดจากซีรีส์ <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> มีเพื่อนเพจถามถึงเรื่องละครงิ้วที่หรูอี้พูดถึงบ่อยๆ ในเรื่อง ซึ่งก็คือ ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (墙头马上) ขอใช้คำแปลตรงตัวว่า ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ ซึ่งในซีรีส์เท้าความว่า การชมงิ้วเรื่องนี้เป็นครั้งแรกที่หรูอี้และเฉียนหลงได้พบกัน และต่อมามีฉากที่เฉียนหลงบอกว่าจะไม่อ่อนแอเหมือนคุณชายสกุลเผย และหรูอี้บอกว่าไม่อยากต้องเจอสภาพแบบคุณหนูหลี่ที่ถูกบังคับให้ต้องทิ้งลูกไป ทำเอาผู้ชมงงไปตามๆ กันว่าเขาคุยอะไรกัน วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ เป็นละครงิ้วสมัยราชวงศ์หยวนมีชื่อเต็มว่า ‘เผยส้าวจวิ้น เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (裴少俊墙头马上) ต่อมาตัดชื่อสั้นลงเหลือเพียง ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ เป็นผลงานของ ‘ไป๋ผ้อ’ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ยอดผู้แต่งบทละครงิ้วในสมัยนั้นและผลงานของเขายังได้รับการสืบทอดและจัดแสดงในปัจจุบันอีกหลายเรื่อง และ ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดละครงิ้วแนวรักโรแมนติกสมัยหยวน ละครงิ้วนี้ดัดแปลงมาจากบทกวีสมัยถังของไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) (หมายเหตุ คือเขาคือนักการเมืองผู้เคยสร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกซากุระหรืออิงฮวาที่ Storyฯ เคยเขียนถึง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/686842736777355 ) บทกวีที่ว่านี้มีชื่อว่า ‘งมขวดเงินจากก้นบ่อ’ (井底引银瓶) เป็นหนึ่งในผลงานที่เลื่องชื่อที่สุดของเขา ยาวถึง 34 วรรค สรุปเนื้อหาเป็นเรื่องราวความรักรันทด โดยมีอารัมภบทว่า ใช้ด้ายผูกขวดเงินดึงขึ้นเกือบจะพ้นบ่อ แต่ด้ายก็ขาดเสียก่อน เอาหยกมาเจียรด้วยหิน กำลังจะได้ปิ่นปักผมก็มาหักเสียก่อน เป็นการหวนรำลึกถึงความรักในอดีตที่ขาดสะบั้นลง อดีตที่ว่านี้ก็คือเรื่องคุณหนูนางหนึ่งที่ถูกเลี้ยงมาอย่างริ้นไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม วันๆ ถูกขังอยู่แต่ในสวนหลังบ้าน จึงชอบปีนขึ้นไปเกาะสันกำแพงมองดูโลกภายนอก อยู่มาวันหนึ่งยืนมองอยู่อย่างนี้ก็สบตาเข้ากับคุณชายท่านหนึ่งที่ขี่ม้าขาวผ่านมา เกิดเป็นรักแรกพบ ต่อมาก็หนีตามคุณชายผู้นั้นกลับไปยังบ้านของเขาที่อีกเมืองหนึ่ง แต่ด้วยเป็นการหนีตาม ไม่ได้มีตบแต่งตามพิธีการ นางจึงไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัวฝ่ายชาย ถูกมองว่าเป็นเพียงอนุ ไม่ใช่ภรรยาเอก สุดท้ายถูกบีบให้ทิ้งลูกและไล่ออกไป คุณชายนั้นก็ไม่ได้ปกป้อง นางจึงต้องออกมาผจญชีวิตตามลำพังเพราะละอายเกินกว่าจะแบกหน้ากลับบ้านเกิด บทกวีจบลงด้วยการรำพันของนางว่า ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี และเตือนเหล่าหญิงสาวไร้เดียงสาที่กำลังมีความรักให้จงสังวรไว้ว่า อย่าได้เอาชีวิตทั้งชีวิตของตนมาทุ่มเทให้กับชายใดได้โดยง่าย วรรคที่กล่าวถึงตอนสบตากันข้ามกำแพงและตกหลุมรักนั้น ก็คือวรรคที่หรูอี้มักเอ่ยติดปากยามที่นางและเฉียนหลงพูดถึงละครงิ้ว ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ ซึ่ง Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงวรรคนี้ว่า ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ (墙头马上遥相顾,一见知君即断肠 หมายเหตุ ภาษาจีนใช้คำประมาณว่า ‘รักและคิดถึงจนทำให้ไส้ขาดจนตายได้!’) เป็นคำพูดที่หรูอี้พยายามสื่อให้เฉียนหลงเข้าใจว่านางรักเขามากมาย นับว่าเป็นบทกวีที่แฝงไว้ด้วยความเศร้าและความผิดหวัง แต่ทำไมหรูอี้และเฉียนหลงจึงคุยกันราวกับว่ามันเป็นเรื่องที่มีความหมายดี? นั่นเป็นเพราะว่าละครงิ้วและบทกวีมีความแตกต่าง ละครงิ้วที่นิยมในสมัยหยวนนั้น เป็นสไตล์แบบ ‘จ๋าจวี้’ (Mixed Play ที่ Storyฯ เคยพูดถึงตอนคุยเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) กล่าวคือมีหลากหลายอรรถรส ละครเรื่องนี้จึงถูกแต่งเติมให้มีทั้งความเศร้า ความตลกและจบแบบสุขนิยม มีการต่อเติมเรื่องราวว่า สตรีนางนี้คือคุณหนูหลี่เชียนจิน แต่นางโหยหาความรักและต่อต้านการถูกกักขัง นางหนีตามเผยส้าวจวิ้นมาถึงเรือนสกุลเผย แต่ต้องแอบอยู่ในเรือนสวนของสามีไม่ให้พ่อของสามีรู้ อยู่มาเจ็ดปีมีบุตรชายหนึ่งหญิงหนึ่ง ความลับก็ถูกเปิดเผย นางถูกกล่าวหาว่าเป็นนางโลมและถูกบีบให้ต้องทิ้งลูกกลับบ้านเกิดไปโดยที่เผยส้าวจวิ้นทำอะไรไม่ได้ ต่อมาเผยส้าวจวิ้นสอบได้เป็นราชบัณฑิตเป็นขุนนางติดยศ ทางบ้านไม่กล้าขัดเขาอีก เขาก็มาง้อนาง ง้ออยู่นานจนสุดท้ายนางใจอ่อนยอมคืนดีด้วย และได้ครองรักกันอย่างมีความสุขในที่สุด เป็นเรื่องราวความรักหลากหลายอรรถรสที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดที่จะฝ่าฟันอุปสรรคให้หลุดพ้นจากกรอบสังคม จึงเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมตลอดหลายยุคหลายสมัย ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ ... ไม่แน่ว่าหรูอี้อาจต้องการเพียงใช้ประโยคนี้แสดงถึงความรักอย่างยิ่งยวดที่มีต่อเฉียนหลง แต่บทสรุปเรื่องราวชีวิตของนางผ่านซีรีส์เรื่องนี้กลับกลายเป็นอย่างที่บทกวีว่าไว้... ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://kknews.cc/history/xeg9gx8.html https://www.sgss8.net/tpdq/21724747/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5487665ffe0a.aspx https://baike.baidu.com/item/井底引银瓶/10214172 https://www.sohu.com/a/260464211_801417 https://baike.baidu.com/item/裴少俊墙头马上/754408 #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #จ๋าจวี้ #งิ้วสมัยหยวน #เฉียงโถวหม่าซ่าง #สันกำแพงหลังอาชา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1008 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🪭สามหนังสือหกพิธีการ 🪭

    สวัสดีค่ะ Storyฯ ขอต้อนรับวันแห่งความรักด้วยบทความเกี่ยวกับการแต่งงาน

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> คงได้ผ่านตาฉากที่ว่าหลิ่วเหมียนถางได้รับการสู่ขอจากบุตรชายตระกูลซู ที่หอบสินสอดมาไว้ให้ที่เรือนสกุลเฉียวพร้อมเจรจาสู่ขอ และหลิ่วเหมียนถางบอกให้ตาของนางรีบคืนสินสอดนั้นไป โดยบอกว่า “ตามกฎหมายของต้าฉี ต้องมีการเขียนหนังสือก่อนแล้วจึงให้สินสอด การหมั้นหมายจำเป็นต้องให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในหนังสือสมรส ไม่เช่นนั้นก็ถือเป็นการบังคับแต่งงาน”
    (หมายเหตุ คำแปลจากซับไทย)

    เพื่อนเพจหลายท่านน่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ (三书六礼) มาบ้าง เพราะมีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึง แต่อาจไม่ค่อยกระจ่างว่าสามหนังสือที่ว่านี้มันอยู่ในขั้นตอนใดของหกพิธีการ จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ ว่าต้องมีการเขียนหนังสือก่อนให้สินสอดตามที่กล่าวมาในเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> นี้อย่างไร วันนี้เลยมาลงรายละเอียดให้ฟัง

    ก่อนอื่นขออธิบายโดยย่อว่า ขั้นตอนการแต่งงานในจีนโบราณแบ่งได้เป็นสามช่วง ช่วงแรกคือก่อนพิธีมงคลสมรส ช่วงสองคือพิธีมงคลสมรสและเข้าหอและช่วงสามคือหลังเข้าหอ เรื่อง ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ เป็นขั้นตอนปฏิบัติในช่วงแรก ครอบคลุมขั้นตอนการทาบทามสู่ขอ การหมั้นหมายและการรับตัวเจ้าสาว โดยถูกกำหนดไว้แต่โบราณในบันทึกหลี่จี้ ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก

    ขั้นตอนตามสามหนังสือหกพิธีการก็คือ เริ่มจากให้แม่สื่อไปทาบทาม (พิธีการสู่ขอ ‘น่าไฉ่’/纳采) ถ้าฝ่ายหญิงเห็นดีเห็นงามด้วย ก็แลกเปลี่ยนเวลาตกฟากวันเดือนปีเกิดของว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวโดยบันทึกอย่างละเอียดลงในเอกสารเรียกว่า ‘เกิงเถี่ย’ (庚帖) หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ‘เฉาเถี่ยจือ’ (草帖子) นี่คือพิธีการที่สอง (พิธีการสอบถาม ‘เวิ่นหมิง’/问名) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้ ในทางปฏิบัติจะมีโอกาสให้ผู้ใหญ่ฝ่ายชายฝ่ายหญิงได้เจอหน้าค่าตาพูดคุยกัน สอบถามประวัติตระกูลเพราะในสมัยโบราณการแต่งงานถือเป็นการผูกสัมพันธ์ระหว่างสองครอบครัวไม่ใช่เรื่องระหว่างเจ้าบ่าวเจ้าสาวเพียงสองคน รวมถึงสอบถามชัดเจนว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวเป็นลูกภรรยาเอกหรืออนุภรรยา และอาจเปิดโอกาสให้ผู้ใหญ่ได้พบเห็นว่าที่คู่สมรสของอีกฝ่ายได้ (เช่น บุรุษมาเยือนทำความเคารพผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง หรือสตรีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงมาเจอหน้าว่าที่เจ้าสาว) อันนี้แล้วแต่จะจัดนัดหมายกัน ถ้าไม่แฮปปี้กันก็จะไม่มีการแลกเปลี่ยนวันเวลาเกิดกัน

    จากนั้นฝ่ายชายก็นำวันเวลาเกิดดังกล่าวไปดูดวงสมพงษ์ นับเป็นพิธีการที่สาม (พีธีการดูดวงสมพงษ์ ‘น่าจี๋’/纳吉) แล้วแจ้งผลไปยังฝ่ายหญิง ถ้าคู่บ่าวสาวดวงสมพงษ์กันก็จะเริ่มเจรจาเตรียมการหมั้นหมายอย่างเป็นทางการ จนนำมาถึงพิธีการที่สี่ซึ่งก็คือฝ่ายชายนำสินสอดมามอบให้ฝ่ายหญิง (พิธีการมอบสินสอดและหมั้นหมาย ‘น่าเจิง’/纳征) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้มีสอง ‘หนังสือ’ ที่เกี่ยวข้อง คือ ‘หนังสือหมั้น’ (พิ่นซู/聘书หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ซี่เถี่ยจือ/细帖子) และ ‘หนังสือสินสอด’ (หลี่ซู/礼书) โดยหนังสือหมั้นคือเอกสารที่บุรุษระบุคำมั่นสัญญาที่จะแต่งสตรี และหนังสือสินสอดคือเอกสารแจกแจงรายการสินทรัพย์ที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิงเป็นสินสอดทั้งหมด

    คำถาม ณ จุดนี้คือ หนังสือฉบับไหนให้เมื่อไหร่และใครเป็นคนให้?

    ธรรมเนียมปฏิบัติจริงแตกต่างไปตามยุคสมัย และ ‘น่าเจิง’ จริงแล้วหมายรวมว่าได้ดำเนินการสองเรื่องแล้วเสร็จ คือการส่งมอบสินสอด (น่า) และการยืนยันความประสงค์ที่จะแต่งงาน (เจิง) ดังนั้น ขั้นตอนที่รวบยอดที่สุดคือคุยกันนอกรอบแล้วฝ่ายชายเดินทางมาหาฝ่ายหญิงเพื่อทำการส่งมอบสินสอดและหลักฐานการหมั้นพร้อมด้วยสองหนังสือดังกล่าวในคราวเดียวกัน

    แต่ในหลายครั้งก็จัดทำสองเรื่องนี้แยกกัน โดยส่งมอบหนังสือหมั้นทันทีที่ตกลงหมั้นซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อตรวจดวงสมพงษ์แล้วเสร็จได้ผลเป็นที่พอใจ ในบางยุคสมัยแบ่งออกเป็นหนังสือแสดงเจตจำนงจากฝ่ายชายที่จะแต่งงาน ตามด้วยหนังสือตอบรับยินดีที่จะแต่งงานจากฝ่ายหญิง ใช้รวมกันเป็นหนังสือหมั้น ตัวอย่างเอกสารโบราณจากสมัยถังเป็นเช่นนี้ จากนั้นค่อยมีการนำส่งสินสอดและหนังสือสินสอดในภายหลัง

    เมื่อได้รับสินสอดจากฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงก็ต้องมีของขวัญตอบแทน ซึ่งแน่นอนว่ามีรายละเอียดเพิ่มเติมว่าแต่ละขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น (ไม่ว่าจะเป็นของขวัญ ของตอบแทนหรือสินสอด) ควรประกอบด้วยของอะไรบ้างแต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด

    เมื่อผ่านทั้งสี่ขั้นตอนข้างต้นแล้ว ก็เป็นขั้นตอนที่ห้า คือฝ่ายชายหาฤกษ์แต่งและหารือ/แจ้งกับฝ่ายหญิง (พิธีการแจ้งฤกษ์ ‘ฉิ่งชี’/请期) เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วต่างฝ่ายต่างเตรียมการงานแต่ง และสุดท้ายคือฝ่ายชายมารับตัวเจ้าสาวไปบ้านฝ่ายชายเพื่อกราบไหว้ฟ้าดิน (พิธีการรับตัวเจ้าสาว ‘ชินอิ๋ง’/ 亲迎) โดยฝ่ายเจ้าบ่าวจะมอบ ‘หนังสือรับตัวเจ้าสาว’ (อิ๋งซู/迎书) ให้แก่ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวเมื่อมาถึงบ้านเจ้าสาวเพื่อรับตัวเจ้าสาว

    และนี่คือสามหนังสือหกพิธีการ แน่นอนว่าพิธีการเหล่านี้ถูกย่อลงไปตามการเวลา ในสมัยซ่งลดเหลือเพียงสามพิธีการคือ สู่ขอ (‘น่าไฉ่’ มอบหนังสือ เฉ๋าเถี่ยจือ) หมั้นหมาย (‘น่าเจิง’ มอบหนังสือซี่เถี่ยจือ) และรับตัว (‘อิ๋งชิน’ มอบหนังสืออิ๋งซู) แต่ในทางปฏิบัติยังคงรวมกิจกรรมทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว

    นอกจากนี้ ในหลายนิยายและซีรีส์มักกล่าวถึงหนังสือที่เป็นหลักฐานการสมรสหรือที่เรียกว่า ‘หนังสือสมรส’ (ฮุนซู/婚书) แต่... ในสมัยโบราณไม่มีทะเบียนสมรสที่ออกโดยทางการแม้ว่าจะมีการไปรายงานและลงทะเบียนกับที่ว่าการท้องถิ่นเพื่อยืนยันการแต่งงานระหว่างชายหญิง จึงเป็นที่ข้องใจอีกว่า แล้วหนังสือฮุนซูที่ว่านี้คืออะไร? เรามาทำความเข้าใจมันจากกฎหมายที่เกี่ยวกับการยกเลิกการแต่งงานในสมัยถังกันค่ะ

    กฎหมายสมัยถังระบุว่า ผู้ที่ได้รายงานและขึ้นทะเบียนหนังสือสมรส (ฮุนซู) ต่อทางการแล้วและฝ่ายหนึ่งยกเลิกการแต่งงานโดยอีกฝ่ายไม่ยินยอมหรือรับรู้ก็จะมีบทลงโทษ ทั้งนี้ หากไม่มีหนังสือยืนยันความประสงค์แต่งงานแต่มีการรับสินสอดให้ถือเสมือนว่ามีการให้คำมั่นที่จะแต่งงานแล้วด้วยเช่นกัน สรุปบทลงโทษได้ดังนี้
    - ฝ่ายหญิงยกเลิกการแต่งงาน ให้โบยหกสิบครั้งและยังต้องแต่งงานตามเดิม
    - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นแต่ยังแต่งไม่สำเร็จ ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง และยังต้องแต่งงานกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะไปแต่งงานกับผู้อื่นได้
    - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นและได้แต่งไปเรียบร้อยแล้ว ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง ทำงานหนักหนึ่งปีครึ่ง การแต่งงานเป็นโมฆะและฝ่ายหญิงต้องกลับมาแต่งกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะอยู่กับสามีที่แต่งงานกันไปแล้วได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
    - ฝ่ายชายยกเลิกการแต่งงาน ไม่มีการลงทัณฑ์แต่ให้สละสิทธิ์ในสินสอดที่มอบให้ฝ่ายหญิงไปแล้ว

    ฟังดูเหมือนบทลงทัณฑ์เอนเอียงและให้โทษกับฝ่ายหญิงมากกว่า แต่นั่นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโกหกปอกลอกทรัพย์สินสอด ทั้งนี้ บทลงทัณฑ์ข้างต้นไม่เพียงใช้กับคู่บ่าวสาว หากแต่หมายรวมถึงผู้ใหญ่ฝ่ายนั้นด้วยเพราะถือว่าพิธีการต่างๆ ของการแต่งงานต้องดำเนินการผ่านผู้ใหญ่ และมีเหตุการณ์ที่อนุโลมให้ยกเลิกการแต่งงานได้เช่นในกรณีอีกฝ่ายถูกพิพากษาเป็นนักโทษ ฯลฯ

    กฎหมายว่าด้วยเรื่องยกเลิกการแต่งงานและบทลงโทษเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยแต่ยังอยู่ภายใต้กรอบแนวทางคล้ายคลึงกัน และจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เราจะเห็นได้ว่าหนังสือสมรสก็คือหนังสือที่แสดงเจตนารมณ์ที่จะแต่งงานโดยยังไม่ได้มีการรับส่งตัวเจ้าสาว เปรียบได้เป็นหนังสือหมั้นนั่นเอง ซึ่งในบางยุคสมัยจะหมายรวมการตอบรับโดยฝ่ายเจ้าสาวด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะเคยผ่านตาว่าบุรุษอาจเรียกคู่หมั้นว่า ‘ภรรยาที่ยังไม่แต่งข้ามเรือนมา’ ทั้งนี้ เป็นเพราะการหมั้นในสมัยโบราณมีความหนักแน่นเสมือนแต่งงานกันแล้ว และเมื่อผ่านการหมั้นแล้ว ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายสามารถเรียกซึ่งกันและกันว่า ‘ชิ่นเจีย’ (亲家) ได้เลย ซึ่งเป็นศัพท์ที่ใช้เรียกพ่อแม่ของเขย-สะใภ้

    และบทความที่กล่าวมาข้างต้นจึงอธิบายบริบทของสังคมใน <ซ่อนรักชายาลับ> ที่ระบุว่าต้องมีการทำหนังสือสมรสร่วมกันก่อนแล้วค่อยมอบสินสอดได้จึงจะถูกต้อง และหากรับสินสอดโดยไม่มีการทำหนังสือหมั้นก็ถือได้ว่าต้องแต่งงานเหมือนกัน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/12/id/5676081.shtml
    https://www.gmw.cn/guoxue/2018-04/11/content_28279045.htm
    https://www.gz.gov.cn/zlgz/whgz/content/post_8071815.html
    https://www.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4F126BD3881FD42A2C.aspx
    https://newspaper.jcrb.com/2023/20230607/20230607_007/20230607_007_3.htm

    #ซ่อนรักชายาลับ #สามหนังสือหกพิธีการ #ซานซูลิ่วหลี่ #หนังสือแต่งงาน #การถอนหมั้น #สาระจีน
    🪭สามหนังสือหกพิธีการ 🪭 สวัสดีค่ะ Storyฯ ขอต้อนรับวันแห่งความรักด้วยบทความเกี่ยวกับการแต่งงาน เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> คงได้ผ่านตาฉากที่ว่าหลิ่วเหมียนถางได้รับการสู่ขอจากบุตรชายตระกูลซู ที่หอบสินสอดมาไว้ให้ที่เรือนสกุลเฉียวพร้อมเจรจาสู่ขอ และหลิ่วเหมียนถางบอกให้ตาของนางรีบคืนสินสอดนั้นไป โดยบอกว่า “ตามกฎหมายของต้าฉี ต้องมีการเขียนหนังสือก่อนแล้วจึงให้สินสอด การหมั้นหมายจำเป็นต้องให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในหนังสือสมรส ไม่เช่นนั้นก็ถือเป็นการบังคับแต่งงาน” (หมายเหตุ คำแปลจากซับไทย) เพื่อนเพจหลายท่านน่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ (三书六礼) มาบ้าง เพราะมีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึง แต่อาจไม่ค่อยกระจ่างว่าสามหนังสือที่ว่านี้มันอยู่ในขั้นตอนใดของหกพิธีการ จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ ว่าต้องมีการเขียนหนังสือก่อนให้สินสอดตามที่กล่าวมาในเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> นี้อย่างไร วันนี้เลยมาลงรายละเอียดให้ฟัง ก่อนอื่นขออธิบายโดยย่อว่า ขั้นตอนการแต่งงานในจีนโบราณแบ่งได้เป็นสามช่วง ช่วงแรกคือก่อนพิธีมงคลสมรส ช่วงสองคือพิธีมงคลสมรสและเข้าหอและช่วงสามคือหลังเข้าหอ เรื่อง ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ เป็นขั้นตอนปฏิบัติในช่วงแรก ครอบคลุมขั้นตอนการทาบทามสู่ขอ การหมั้นหมายและการรับตัวเจ้าสาว โดยถูกกำหนดไว้แต่โบราณในบันทึกหลี่จี้ ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก ขั้นตอนตามสามหนังสือหกพิธีการก็คือ เริ่มจากให้แม่สื่อไปทาบทาม (พิธีการสู่ขอ ‘น่าไฉ่’/纳采) ถ้าฝ่ายหญิงเห็นดีเห็นงามด้วย ก็แลกเปลี่ยนเวลาตกฟากวันเดือนปีเกิดของว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวโดยบันทึกอย่างละเอียดลงในเอกสารเรียกว่า ‘เกิงเถี่ย’ (庚帖) หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ‘เฉาเถี่ยจือ’ (草帖子) นี่คือพิธีการที่สอง (พิธีการสอบถาม ‘เวิ่นหมิง’/问名) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้ ในทางปฏิบัติจะมีโอกาสให้ผู้ใหญ่ฝ่ายชายฝ่ายหญิงได้เจอหน้าค่าตาพูดคุยกัน สอบถามประวัติตระกูลเพราะในสมัยโบราณการแต่งงานถือเป็นการผูกสัมพันธ์ระหว่างสองครอบครัวไม่ใช่เรื่องระหว่างเจ้าบ่าวเจ้าสาวเพียงสองคน รวมถึงสอบถามชัดเจนว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวเป็นลูกภรรยาเอกหรืออนุภรรยา และอาจเปิดโอกาสให้ผู้ใหญ่ได้พบเห็นว่าที่คู่สมรสของอีกฝ่ายได้ (เช่น บุรุษมาเยือนทำความเคารพผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง หรือสตรีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงมาเจอหน้าว่าที่เจ้าสาว) อันนี้แล้วแต่จะจัดนัดหมายกัน ถ้าไม่แฮปปี้กันก็จะไม่มีการแลกเปลี่ยนวันเวลาเกิดกัน จากนั้นฝ่ายชายก็นำวันเวลาเกิดดังกล่าวไปดูดวงสมพงษ์ นับเป็นพิธีการที่สาม (พีธีการดูดวงสมพงษ์ ‘น่าจี๋’/纳吉) แล้วแจ้งผลไปยังฝ่ายหญิง ถ้าคู่บ่าวสาวดวงสมพงษ์กันก็จะเริ่มเจรจาเตรียมการหมั้นหมายอย่างเป็นทางการ จนนำมาถึงพิธีการที่สี่ซึ่งก็คือฝ่ายชายนำสินสอดมามอบให้ฝ่ายหญิง (พิธีการมอบสินสอดและหมั้นหมาย ‘น่าเจิง’/纳征) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้มีสอง ‘หนังสือ’ ที่เกี่ยวข้อง คือ ‘หนังสือหมั้น’ (พิ่นซู/聘书หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ซี่เถี่ยจือ/细帖子) และ ‘หนังสือสินสอด’ (หลี่ซู/礼书) โดยหนังสือหมั้นคือเอกสารที่บุรุษระบุคำมั่นสัญญาที่จะแต่งสตรี และหนังสือสินสอดคือเอกสารแจกแจงรายการสินทรัพย์ที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิงเป็นสินสอดทั้งหมด คำถาม ณ จุดนี้คือ หนังสือฉบับไหนให้เมื่อไหร่และใครเป็นคนให้? ธรรมเนียมปฏิบัติจริงแตกต่างไปตามยุคสมัย และ ‘น่าเจิง’ จริงแล้วหมายรวมว่าได้ดำเนินการสองเรื่องแล้วเสร็จ คือการส่งมอบสินสอด (น่า) และการยืนยันความประสงค์ที่จะแต่งงาน (เจิง) ดังนั้น ขั้นตอนที่รวบยอดที่สุดคือคุยกันนอกรอบแล้วฝ่ายชายเดินทางมาหาฝ่ายหญิงเพื่อทำการส่งมอบสินสอดและหลักฐานการหมั้นพร้อมด้วยสองหนังสือดังกล่าวในคราวเดียวกัน แต่ในหลายครั้งก็จัดทำสองเรื่องนี้แยกกัน โดยส่งมอบหนังสือหมั้นทันทีที่ตกลงหมั้นซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อตรวจดวงสมพงษ์แล้วเสร็จได้ผลเป็นที่พอใจ ในบางยุคสมัยแบ่งออกเป็นหนังสือแสดงเจตจำนงจากฝ่ายชายที่จะแต่งงาน ตามด้วยหนังสือตอบรับยินดีที่จะแต่งงานจากฝ่ายหญิง ใช้รวมกันเป็นหนังสือหมั้น ตัวอย่างเอกสารโบราณจากสมัยถังเป็นเช่นนี้ จากนั้นค่อยมีการนำส่งสินสอดและหนังสือสินสอดในภายหลัง เมื่อได้รับสินสอดจากฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงก็ต้องมีของขวัญตอบแทน ซึ่งแน่นอนว่ามีรายละเอียดเพิ่มเติมว่าแต่ละขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น (ไม่ว่าจะเป็นของขวัญ ของตอบแทนหรือสินสอด) ควรประกอบด้วยของอะไรบ้างแต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด เมื่อผ่านทั้งสี่ขั้นตอนข้างต้นแล้ว ก็เป็นขั้นตอนที่ห้า คือฝ่ายชายหาฤกษ์แต่งและหารือ/แจ้งกับฝ่ายหญิง (พิธีการแจ้งฤกษ์ ‘ฉิ่งชี’/请期) เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วต่างฝ่ายต่างเตรียมการงานแต่ง และสุดท้ายคือฝ่ายชายมารับตัวเจ้าสาวไปบ้านฝ่ายชายเพื่อกราบไหว้ฟ้าดิน (พิธีการรับตัวเจ้าสาว ‘ชินอิ๋ง’/ 亲迎) โดยฝ่ายเจ้าบ่าวจะมอบ ‘หนังสือรับตัวเจ้าสาว’ (อิ๋งซู/迎书) ให้แก่ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวเมื่อมาถึงบ้านเจ้าสาวเพื่อรับตัวเจ้าสาว และนี่คือสามหนังสือหกพิธีการ แน่นอนว่าพิธีการเหล่านี้ถูกย่อลงไปตามการเวลา ในสมัยซ่งลดเหลือเพียงสามพิธีการคือ สู่ขอ (‘น่าไฉ่’ มอบหนังสือ เฉ๋าเถี่ยจือ) หมั้นหมาย (‘น่าเจิง’ มอบหนังสือซี่เถี่ยจือ) และรับตัว (‘อิ๋งชิน’ มอบหนังสืออิ๋งซู) แต่ในทางปฏิบัติยังคงรวมกิจกรรมทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว นอกจากนี้ ในหลายนิยายและซีรีส์มักกล่าวถึงหนังสือที่เป็นหลักฐานการสมรสหรือที่เรียกว่า ‘หนังสือสมรส’ (ฮุนซู/婚书) แต่... ในสมัยโบราณไม่มีทะเบียนสมรสที่ออกโดยทางการแม้ว่าจะมีการไปรายงานและลงทะเบียนกับที่ว่าการท้องถิ่นเพื่อยืนยันการแต่งงานระหว่างชายหญิง จึงเป็นที่ข้องใจอีกว่า แล้วหนังสือฮุนซูที่ว่านี้คืออะไร? เรามาทำความเข้าใจมันจากกฎหมายที่เกี่ยวกับการยกเลิกการแต่งงานในสมัยถังกันค่ะ กฎหมายสมัยถังระบุว่า ผู้ที่ได้รายงานและขึ้นทะเบียนหนังสือสมรส (ฮุนซู) ต่อทางการแล้วและฝ่ายหนึ่งยกเลิกการแต่งงานโดยอีกฝ่ายไม่ยินยอมหรือรับรู้ก็จะมีบทลงโทษ ทั้งนี้ หากไม่มีหนังสือยืนยันความประสงค์แต่งงานแต่มีการรับสินสอดให้ถือเสมือนว่ามีการให้คำมั่นที่จะแต่งงานแล้วด้วยเช่นกัน สรุปบทลงโทษได้ดังนี้ - ฝ่ายหญิงยกเลิกการแต่งงาน ให้โบยหกสิบครั้งและยังต้องแต่งงานตามเดิม - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นแต่ยังแต่งไม่สำเร็จ ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง และยังต้องแต่งงานกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะไปแต่งงานกับผู้อื่นได้ - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นและได้แต่งไปเรียบร้อยแล้ว ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง ทำงานหนักหนึ่งปีครึ่ง การแต่งงานเป็นโมฆะและฝ่ายหญิงต้องกลับมาแต่งกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะอยู่กับสามีที่แต่งงานกันไปแล้วได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย - ฝ่ายชายยกเลิกการแต่งงาน ไม่มีการลงทัณฑ์แต่ให้สละสิทธิ์ในสินสอดที่มอบให้ฝ่ายหญิงไปแล้ว ฟังดูเหมือนบทลงทัณฑ์เอนเอียงและให้โทษกับฝ่ายหญิงมากกว่า แต่นั่นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโกหกปอกลอกทรัพย์สินสอด ทั้งนี้ บทลงทัณฑ์ข้างต้นไม่เพียงใช้กับคู่บ่าวสาว หากแต่หมายรวมถึงผู้ใหญ่ฝ่ายนั้นด้วยเพราะถือว่าพิธีการต่างๆ ของการแต่งงานต้องดำเนินการผ่านผู้ใหญ่ และมีเหตุการณ์ที่อนุโลมให้ยกเลิกการแต่งงานได้เช่นในกรณีอีกฝ่ายถูกพิพากษาเป็นนักโทษ ฯลฯ กฎหมายว่าด้วยเรื่องยกเลิกการแต่งงานและบทลงโทษเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยแต่ยังอยู่ภายใต้กรอบแนวทางคล้ายคลึงกัน และจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เราจะเห็นได้ว่าหนังสือสมรสก็คือหนังสือที่แสดงเจตนารมณ์ที่จะแต่งงานโดยยังไม่ได้มีการรับส่งตัวเจ้าสาว เปรียบได้เป็นหนังสือหมั้นนั่นเอง ซึ่งในบางยุคสมัยจะหมายรวมการตอบรับโดยฝ่ายเจ้าสาวด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะเคยผ่านตาว่าบุรุษอาจเรียกคู่หมั้นว่า ‘ภรรยาที่ยังไม่แต่งข้ามเรือนมา’ ทั้งนี้ เป็นเพราะการหมั้นในสมัยโบราณมีความหนักแน่นเสมือนแต่งงานกันแล้ว และเมื่อผ่านการหมั้นแล้ว ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายสามารถเรียกซึ่งกันและกันว่า ‘ชิ่นเจีย’ (亲家) ได้เลย ซึ่งเป็นศัพท์ที่ใช้เรียกพ่อแม่ของเขย-สะใภ้ และบทความที่กล่าวมาข้างต้นจึงอธิบายบริบทของสังคมใน <ซ่อนรักชายาลับ> ที่ระบุว่าต้องมีการทำหนังสือสมรสร่วมกันก่อนแล้วค่อยมอบสินสอดได้จึงจะถูกต้อง และหากรับสินสอดโดยไม่มีการทำหนังสือหมั้นก็ถือได้ว่าต้องแต่งงานเหมือนกัน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/12/id/5676081.shtml https://www.gmw.cn/guoxue/2018-04/11/content_28279045.htm https://www.gz.gov.cn/zlgz/whgz/content/post_8071815.html https://www.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4F126BD3881FD42A2C.aspx https://newspaper.jcrb.com/2023/20230607/20230607_007/20230607_007_3.htm #ซ่อนรักชายาลับ #สามหนังสือหกพิธีการ #ซานซูลิ่วหลี่ #หนังสือแต่งงาน #การถอนหมั้น #สาระจีน
    WWW.COSMOPOLITAN.COM
    陸劇《柳舟記》結局!崔眠夫婦歸隱江湖,張晚意願當王楚然的小嬌夫!帝后CP先婚後愛好嗑,敲碗番外篇
    《柳舟記》劇情從頭到尾都在線!而且除了崔眠夫婦好嗑,帝后CP也很讓人愛啊~
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 977 มุมมอง 0 รีวิว
  • ว่าด้วยชื่อของป๋ออี้เข่าจากเรื่องเฟิงเสิน

    Storyฯ ไม่มีโอกาสได้ไปชมภาพยนต์ที่อัดแน่นด้วยนักแสดงคุณภาพอย่างเรื่อง <Creation of the Gods 1: Kingdom of Storms> (ซึ่งก็คือเวอร์ชั่นใหม่ของ เฟิงเสิน / สงครามกำเนิดเทพเจ้า ที่เพิ่งออกฉายในปีนี้) แต่ขอคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้สักหน่อยก็ยังดี

    ก่อนอื่นขอเท้าความให้ฟังว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นอิงนิยายเรื่อง ‘เฟิงเสินเหยี่ยนอี้’ (封神演义หรือ ‘ฮ่องสิน’ ตามสำเนียงจีนแต้จิ๋ว แปลตรงตัวว่า ตำนานการแต่งตั้งเทพเจ้า) ซึ่งเป็นบทประพันธ์จีนเรื่องยาวแนวแฟนตาซีที่ถูกแต่งขึ้นในสมัยหมิง เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับโจ้วหวาง กษัตริย์ผู้โหดเหี้ยมแห่งราชวงศ์ซาง ซึ่งต่อมาถูกโค่นล้มโดยเจ้าผู้ครองแคว้นโจวตะวันออกภายใต้ความช่วยเหลือของเจียงจื่อหยา นักการเมืองและกุนซือทหารผู้ชำนาญกลยุทธ์ โดยในบทประพันธ์นี้มีเทพเซียนและปีศาจมาร่วมรบในอภิมหาสงครามนี้ด้วย ต่อมาเกิดการสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น (256 ปีก่อนคริสตศักราช) และบุคคลต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญในสงครามนี้ได้ถูกเจียงจื่อหยานำชื่อเขียนขึ้นกระดานแต่งตั้งให้เป็นเทพเจ้า จึงเป็นที่มาของชื่อวรรณกรรมชิ้นนี้

    หนึ่งในกลุ่มตัวละครที่เดินเรื่องสำคัญคือครอบครัวตระกูลจี มีเจ้าผู้ครองแคว้นโจวคือจีชางที่ถูกโจ้วหวางจับตัวไปจองจำ (ต่อมาคือโจวเหวินหวางแห่งราชวงศ์โจว) บุตรชายคนโตคือป๋ออี้เข่า ที่ถูกโจ้วหวางฆ่าเอาเนื้อมาทำอาหารให้จีชางกิน และบุตรชายคนเล็กจีฟาที่แค้นจนลุกขึ้นสู้กับโจ้วหวางและสามารถโค่นราชวงศ์ซางได้สำเร็จ ขึ้นครองราชย์เป็นโจวอู่หวาง (หมายเหตุ เรื่องป๋ออี้เข่า Storyฯ ได้เคยเอ่ยถึงในเรื่องหนึ่งในสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถูขององค์เฉียนหลง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/746257530835875)

    กล่าวถึงครอบครัวตระกูลจีนี้ ก็เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ขึ้น ทำไมบุตรชายคนโตของจีชางมีชื่อว่า ‘ป๋ออี้เข่า’? ทำไมไม่ใช่ แซ่จี+ชื่อ?

    จริงๆ แล้วเขาก็แซ่จี และชื่อเข่า นั่นแล่ะค่ะ แต่ที่ถูกเรียกว่า ‘ป๋ออี้เข่า’ (伯邑考) นั้น เป็นไปตามลำดับความเป็นของบุตรและตำแหน่งของเขา

    ในบันทึกสมัยชุนชิวมีกล่าวถึงการเรียกบุตรชายที่มีมาแต่โบราณตามลำดับว่า ‘ป๋อจ้งซูจี้’ (伯仲叔季) โดยคำว่า ‘ป๋อ’ แปลว่า บุรุษที่ไม่มีพี่ชาย จึงหมายถึงบุตรชายคนโต ส่วนบุตรคนรองจะเรียกว่า ‘จ้ง’ เป็นต้น อนึ่ง ในสมัยโบราณนั้น บุตรชายคนโตอาจเรียกว่า ‘ป๋อ’ (伯)หรือ ‘เมิ่ง’ (孟) ก็ได้ แต่ ‘เมิ่ง’ นั้นใช้กับบุตรชายที่ไม่ได้เกิดจากภรรยาเอก ดังนั้น ‘ป๋อ’ จึงบ่งบอกว่า จีเข่านี้เป็นบุตรชายคนโตที่เกิดจากภรรยาเอก

    แต่ ‘ป๋ออี้เข่า’ มีคำว่า ‘อี้’ เพิ่มมาด้วย ซึ่ง ‘อี้’ นี้ แปลว่าแคว้น/ประเทศ หรืออาจหมายถึงตำแหน่งขุนนางระดับสูงที่ดูแลเรื่องต่างๆ ของแคว้น แต่ก็มีบางข้อมูลที่บอกว่าหมายถึงตำแหน่งทายาทของผู้ปกครองแคว้น

    ดังนั้น การเรียก ป๋ออี้เข่า จึงเป็นการเรียกอย่างยกย่องให้เกียรติตามศักดิ์และตำแหน่งของจีเข่าค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    (ป.ล.2 ถ้าไม่เห็น Storyฯ ตอบเม้นท์ โปรดทราบว่าเม้นท์ของ Storyฯ ถูกปิดกั้นนะคะ)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.fapot.or.th/main/cinema/view/2328 https://www.sohu.com/a/713169120_121284943#google_vignette
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/封神演义/69344
    https://baike.baidu.com/item/伯仲叔季/1416767
    https://www.sohu.com/a/365640681_100296378
    http://www.guoxuedashi.net/guanzhi/10648wj/

    #เฟิงเสิน #ฮ่องสิน #สงครามเทพยดา #ป๋ออี้เข่า #จีชาง #จีฟา #ราชวงศ์โจว #โจวเหวินหวาง #โจวอู่หวาง
    ว่าด้วยชื่อของป๋ออี้เข่าจากเรื่องเฟิงเสิน Storyฯ ไม่มีโอกาสได้ไปชมภาพยนต์ที่อัดแน่นด้วยนักแสดงคุณภาพอย่างเรื่อง <Creation of the Gods 1: Kingdom of Storms> (ซึ่งก็คือเวอร์ชั่นใหม่ของ เฟิงเสิน / สงครามกำเนิดเทพเจ้า ที่เพิ่งออกฉายในปีนี้) แต่ขอคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้สักหน่อยก็ยังดี ก่อนอื่นขอเท้าความให้ฟังว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นอิงนิยายเรื่อง ‘เฟิงเสินเหยี่ยนอี้’ (封神演义หรือ ‘ฮ่องสิน’ ตามสำเนียงจีนแต้จิ๋ว แปลตรงตัวว่า ตำนานการแต่งตั้งเทพเจ้า) ซึ่งเป็นบทประพันธ์จีนเรื่องยาวแนวแฟนตาซีที่ถูกแต่งขึ้นในสมัยหมิง เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับโจ้วหวาง กษัตริย์ผู้โหดเหี้ยมแห่งราชวงศ์ซาง ซึ่งต่อมาถูกโค่นล้มโดยเจ้าผู้ครองแคว้นโจวตะวันออกภายใต้ความช่วยเหลือของเจียงจื่อหยา นักการเมืองและกุนซือทหารผู้ชำนาญกลยุทธ์ โดยในบทประพันธ์นี้มีเทพเซียนและปีศาจมาร่วมรบในอภิมหาสงครามนี้ด้วย ต่อมาเกิดการสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น (256 ปีก่อนคริสตศักราช) และบุคคลต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญในสงครามนี้ได้ถูกเจียงจื่อหยานำชื่อเขียนขึ้นกระดานแต่งตั้งให้เป็นเทพเจ้า จึงเป็นที่มาของชื่อวรรณกรรมชิ้นนี้ หนึ่งในกลุ่มตัวละครที่เดินเรื่องสำคัญคือครอบครัวตระกูลจี มีเจ้าผู้ครองแคว้นโจวคือจีชางที่ถูกโจ้วหวางจับตัวไปจองจำ (ต่อมาคือโจวเหวินหวางแห่งราชวงศ์โจว) บุตรชายคนโตคือป๋ออี้เข่า ที่ถูกโจ้วหวางฆ่าเอาเนื้อมาทำอาหารให้จีชางกิน และบุตรชายคนเล็กจีฟาที่แค้นจนลุกขึ้นสู้กับโจ้วหวางและสามารถโค่นราชวงศ์ซางได้สำเร็จ ขึ้นครองราชย์เป็นโจวอู่หวาง (หมายเหตุ เรื่องป๋ออี้เข่า Storyฯ ได้เคยเอ่ยถึงในเรื่องหนึ่งในสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถูขององค์เฉียนหลง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/746257530835875) กล่าวถึงครอบครัวตระกูลจีนี้ ก็เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ขึ้น ทำไมบุตรชายคนโตของจีชางมีชื่อว่า ‘ป๋ออี้เข่า’? ทำไมไม่ใช่ แซ่จี+ชื่อ? จริงๆ แล้วเขาก็แซ่จี และชื่อเข่า นั่นแล่ะค่ะ แต่ที่ถูกเรียกว่า ‘ป๋ออี้เข่า’ (伯邑考) นั้น เป็นไปตามลำดับความเป็นของบุตรและตำแหน่งของเขา ในบันทึกสมัยชุนชิวมีกล่าวถึงการเรียกบุตรชายที่มีมาแต่โบราณตามลำดับว่า ‘ป๋อจ้งซูจี้’ (伯仲叔季) โดยคำว่า ‘ป๋อ’ แปลว่า บุรุษที่ไม่มีพี่ชาย จึงหมายถึงบุตรชายคนโต ส่วนบุตรคนรองจะเรียกว่า ‘จ้ง’ เป็นต้น อนึ่ง ในสมัยโบราณนั้น บุตรชายคนโตอาจเรียกว่า ‘ป๋อ’ (伯)หรือ ‘เมิ่ง’ (孟) ก็ได้ แต่ ‘เมิ่ง’ นั้นใช้กับบุตรชายที่ไม่ได้เกิดจากภรรยาเอก ดังนั้น ‘ป๋อ’ จึงบ่งบอกว่า จีเข่านี้เป็นบุตรชายคนโตที่เกิดจากภรรยาเอก แต่ ‘ป๋ออี้เข่า’ มีคำว่า ‘อี้’ เพิ่มมาด้วย ซึ่ง ‘อี้’ นี้ แปลว่าแคว้น/ประเทศ หรืออาจหมายถึงตำแหน่งขุนนางระดับสูงที่ดูแลเรื่องต่างๆ ของแคว้น แต่ก็มีบางข้อมูลที่บอกว่าหมายถึงตำแหน่งทายาทของผู้ปกครองแคว้น ดังนั้น การเรียก ป๋ออี้เข่า จึงเป็นการเรียกอย่างยกย่องให้เกียรติตามศักดิ์และตำแหน่งของจีเข่าค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) (ป.ล.2 ถ้าไม่เห็น Storyฯ ตอบเม้นท์ โปรดทราบว่าเม้นท์ของ Storyฯ ถูกปิดกั้นนะคะ) Credit รูปภาพจาก: https://www.fapot.or.th/main/cinema/view/2328 https://www.sohu.com/a/713169120_121284943#google_vignette Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/封神演义/69344 https://baike.baidu.com/item/伯仲叔季/1416767 https://www.sohu.com/a/365640681_100296378 http://www.guoxuedashi.net/guanzhi/10648wj/ #เฟิงเสิน #ฮ่องสิน #สงครามเทพยดา #ป๋ออี้เข่า #จีชาง #จีฟา #ราชวงศ์โจว #โจวเหวินหวาง #โจวอู่หวาง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1056 มุมมอง 0 รีวิว
  • ระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ ตอนที่ 2

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องการแบ่งการไว้ทุกข์ออกเป็นห้าระดับตามชื่อของชุดไว้ทุกข์ที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว หรือที่เรียกว่า ‘อู่ฝู’ (五服 แปลตรงตัวว่า ห้าชุด) โดยแต่ละระดับมีระยะเวลาไว้ทุกข์ที่ต่างกัน วันนี้เรามาคุยกันต่อค่ะ

    Storyฯ ขออิงตามประมวลกฏหมายต้าหมิงหุ้ยเตี่ยนที่ถูกจัดทำขึ้นในรัชสมัยว่านลี่ขององค์จูอี้จวิน (ซึ่งค่อนข้างนิ่งแล้ว แต่อาจมีบางรายการแตกต่างกับปัจจุบัน) โดยยกมาเฉพาะสำหรับชาวบ้านไม่รวมราชนิกูล เพื่อนเพจดูชุดไว้ทุกข์สมัยหมิงได้ตามรูปประกอบ 1 ส่วนการจัดลำดับเครือญาตินั้น เนื่องจากภาษาไทยเราไม่มีคำระบุเครือญาติได้ชัดเจนเหมือนจีน พอกล่าวถึงญาติห่างๆ จะสับสน Storyฯ จึงจัดทำเป็นผังตารางในรูปประกอบ 2 ในรูปแบบของพงศาวลีให้ง่ายสำหรับความเข้าใจ ซึ่งแตกต่างจากหน้าตาผังอู่ฝูในภาษาจีนที่บางท่านอาจเคยเห็น และนอกจากนี้ยังมีบางข้อมูลที่ไม่สามารถเขียนรวมอยู่ในผังได้

    สรุปหลักสำคัญของ ‘อู่ฝู’ มีดังนี้:

    1. ระดับที่หนึ่ง เป็นการไว้ทุกข์ขั้นสูงสุด ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จ่านชุย’ (斩衰) เป็นชุดเนื้อหยาบที่สุด ใช้สำหรับไว้ทุกข์ให้กับพ่อแม่โดยลูกชายและภรรยา รวมถึงลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน (กล่าวคือ ยังไม่ออกเรือน หรือเป็นหม้ายไร้บุตรหวนกลับเข้าเรือน) รายละเอียดคุยไปแล้วในสัปดาห์ที่แล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02iGKyX4S6jcPqcr2kS6aigeGEv2v7oL2HB7WYx7UFHUkXV9i8hBPR33HyxRCnZ19kl)

    2. ระดับที่สอง ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จือชุย’ (齐衰) ดูจากรูปหน้าตาคล้ายกับชุดจ่านชุย ทำจากผ้ากระสอบดิบเนื้อหยาบเช่นกัน แต่มีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม้เท้าทำจากไม้คนละชนิด สตรีแต่งกายเหมือนกับบุรุษและใช้เนื้อผ้าเดียวกัน มีการคลุมหัวเหมือนแบบจ่านชุย ส่วนระยะเวลาไว้ทุกข์ในระดับนี้แบ่งย่อยออกเป็นสี่แบบ
    2.1 แบบที่หนึ่ง คือสามปี ถือไม้เท้า: ในสมัยหมิงไม่มีอีกต่อไป
    2.2 แบบที่สอง คือหนึ่งปี ถือไม้เท้า:
    - สามี: ไว้ทุกข์ให้กับภรรยา
    - ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับแม่เล็ก (คืออนุภรรยาของพ่อ)
    - ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อเลี้ยง กรณีแม่แต่งงานใหม่
    2.3 แบบที่สาม คือหนึ่งปี ไม่ถือไม้เท้า เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
    - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติสนิทและญาติผู้ใหญ่สายตรง (ดูตามผังในรูปประกอบ 2)
    - สะใภ้: ไว้ทุกข์ให้กับพี่น้องชายของสามี; ลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือนของพี่น้องชายสามี
    - ลูกสาวที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อแม่ของตน
    - พ่อแม่: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชาย ลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน และลูกสะใภ้ใหญ่ (คือภรรยาของลูกชายคนโตอันเกิดจากแม่ใหญ่);
    - หลาน: ไว้ทุกข์ให้กับปู่ย่า ทั้งนี้หมายรวมถึงหลานสาวที่ออกเรือนไปแล้วด้วย (แต่หลานสะใภ้ไว้ทุกข์ในระดับ 3)
    - ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานชายคนโต (ลูกของลูกชาย) ในสายภรรยาเอก
    - อนุภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับภรรยาเอก; บุตรชายทุกคนของสามีไม่ว่าจะเกิดจากแม่ใด รวมบุตรชายของตน; พ่อแม่ของตน
    2.4 แบบที่สี่ คือ สามถึงห้าเดือน ไม่ถือไม้เท้า:
    - เหลนไว้ทุกข์ให้กับปู่ทวดย่าทวด ระยะเวลาห้าเดือน โดยหมายรวมถึงเหลนสาวที่ออกเรือนไปแล้ว (หมายเหตุ สะใภ้ไว้ทุกข์ให้ปู่ทวดย่าทวดของสามีด้วยชุดซือหมาแบบ 5 ระยะเวลาสามเดือน)
    - ลื่อ (ลูกของเหลน) ไว้ทุกข์ให้กับปู่เทียดย่าเทียด ระยะสามเดือน หมายรวมถึงลื่อสาวที่ออกเรือนไปแล้ว (หมายเหตุ สะใภ้ไม่ต้องไว้ทุกข์ให้)

    สำหรับการไว้ทุกข์ในระดับ 2.2-2.4 นี้ ชีวิตความเป็นอยู่จะสบายขึ้นกว่าระดับแรกหน่อย ก็คืองดอาหารเพียงสามมื้อ (คือวันเดียว) จากนั้นในสามเดือนแรกกินข้าวต้ม งดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุรา โดยมีข้อยกเว้นคือผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามที่ได้กล่าวไปในสัปดาห์ที่แล้ว และพอพ้นสามเดือนก็กินดื่มได้ปกติแต่กินกันเองไม่ร่วมกินดื่มกับผู้อื่นเพราะจะกลายเป็นการสังสรรค์ ในส่วนของที่พักนั้น หากเคร่งครัดมาก สามเดือนแรกบุรุษอาจย้ายออกมาอยู่กระท่อมแบบสมถะ พ้นสามเดือนจึงกลับไปนอนบ้านได้ปกติ ซึ่งสาเหตุที่ยึดเกณฑ์สามเดือนก็คือ สามเดือนจึงทำพิธีฝังศพ

    3. ระดับที่สาม ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘ต้ากง’ (大功) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อละเอียดขึ้น เป็นผ้าต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า สวมรองเท้าเชือกสาน สตรีแต่งกายแบบบุรุษ ผมเปลี่ยนจากผ้าคลุมหัวเป็นผ้าโพกมวย ระยะเวลาไว้ทุกข์เก้าเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
    - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2)
    - พ่อแม่: ไว้ทุกข์ให้กับลูกสะใภ้ (ยกเว้นลูกสะใภ้คนโตที่ไว้ทุกข์ในระดับ 2.3)
    - ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานชายทุกคน (ยกเว้นหลานชายคนโตสายภรรยาเอกที่ไว้ทุกข์ในระดับ 2.3) และหลานสาวที่ยังอยู่ในเรือน
    - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้แก่ลุงและอา (พี่น้องชายของพ่อ) ของตน; ป้าและอาหญิง (พี่น้องสาวของพ่อ) ของตนที่ยังอยู่ในเรือน; พี่น้องชายของตน รวมลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน; พี่น้องสาวของตนที่ยังอยู่ในเรือน

    สำหรับการไว้ทุกข์ในระดับต้ากงนี้ งดอาหารเพียงสามมื้อ (คือวันเดียว) จากนั้นในสามเดือนแรกกินข้าวต้ม งดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุรา โดยมีข้อยกเว้นคือผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามที่ได้กล่าวไปในสัปดาห์ที่แล้ว และบุรุษอาจย้ายออกมาอยู่กระท่อมแบบสมถะไม่นอนเตียง พอพ้นสามเดือนก็กินอยู่ได้ปกติ

    4. ระดับที่สี่ ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘เสี่ยวกง’ (小功) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อบางละเอียดต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า สวมรองเท้าปกติได้ ระยะเวลาไว้ทุกข์ห้าเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
    - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2) และลูกชายของพี่น้องหญิงที่ออกเรือนไปแล้ว
    - ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานสะใภ้คนโตในสายภรรยาเอก (ภรรยาของลูกชายของลูกชาย); หลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) ที่ออกเรือนไปแล้ว
    - บุตรของแม่เล็ก: ไว้ทุกข์ให้พ่อแม่พี่น้องชายหญิงของแม่ใหญ่ เฉพาะในกรณีที่แม่ใหญ่ยังมีชีวิตอยู่
    - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือนของลุงอาชายของตน (คือลูกพี่ลูกน้อง)

    5. ระดับที่ห้า ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘ซือหมา’ (缌麻) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อละเอียดที่สุดต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า ระยะเวลาไว้ทุกข์สามเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
    - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2)
    - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายของป้าอาหญิง (พี่น้องสาวของพ่อ) ที่ออกเรือนไปแล้ว; ลูกชายของพี่น้องชายหญิงของแม่ รวมภรรยา
    - บุรุษ: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อตาแม่ยาย (พ่อแม่ของภรรยา)
    - บุรุษและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้หลานชายหญิง (ลูกของลูกชาย) ของลูกสาวที่ออกเรือนไปแล้ว รวมภรรยาของหลานชาย
    - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับญาติผู้ใหญ่ของตนคือ พี่น้องชายของปู่และภรรยา รวมลูกชายและภรรยา; พี่น้องสาวของปู่ที่ยังอยู่ในเรือน
    - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายหญิงของลูกชายของลุงอาชายของตน (คือลูกของลูกพี่ลูกน้องสาวของตน); ลูกสาวของลุงอาชายที่ออกเรือนไปแล้ว (คือลูกพี่ลูกน้องสาวของตน)

    การไว้ทุกข์ระดับ 4 และ 5 นี้ นับเป็นการไว้ทุกข์แบบเบา มีการอดอาหารเพียงหนึ่งหรือสองมื้อ แรกงดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุราสามเดือน หลังจากนั้นกินดื่มปกติ และในช่วงเวลาไว้ทุกข์สามารถหลับนอนในห้องนอนเดิมนอนเตียงได้

    การนับลำดับญาติเพื่อการไว้ทุกข์อาจฟังดูซับซ้อน แต่จากผังลำดับญาติจะเห็นได้ว่าหลักการในการนับความอาวุโสคือ ญาติในรุ่นเดียวกัน ถ้าเป็นพ่อคนเดียวกัน (คือพี่น้อง) ห่างออกไปหนึ่งขั้น หากเป็นปู่คนเดียวกัน ห่างออกไปสองขั้น หากเป็นปู่ทวดคนเดียวกัน ห่างออกไปสามขั้น และหากเป็นปู่เทียดคนเดียวกัน ห่างออกไปสี่ขั้น และจบอู่ฝูที่ลำดับญาติขึ้นสี่รุ่นลงสี่รุ่นรวมตนเองเป็นเก้ารุ่น เกณฑ์นี้ใช้สำหรับบุรุษหรือสตรีที่ยังอยู่ในเรือน และมีการกล่าวไว้ว่า พอพ้นเกณฑ์อู่ฝูนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นญาติครอบครัวเดียวกันแล้ว

    ส่วนสตรีที่ออกเรือนไปแล้ว ให้ด้อยศักดิ์ลงหนึ่งขั้น (ยกเว้นกรณีที่กล่าวไว้แล้วในรายละเอียดข้างต้น) และสำหรับสตรีที่แต่งเข้ามาเป็นสะใภ้นั้น ไว้ทุกข์เทียบเท่าสามีให้รุ่นลูกลงไป แต่สำหรับการไว้ทุกข์ให้รุ่นเดียวกันและรุ่นอาวุโสกว่าให้ด้อยศักดิ์จากสามีหนึ่งขั้น (ยกเว้นกรณีที่กล่าวไว้แล้วในรายละเอียดข้างต้น) เช่น ไว้ทุกข์ให้พี่น้องสาวที่ออกเรือนไปแล้วของสามีในระดับ 4 ในขณะที่สามีไว้ทุกข์ในระดับ 3

    ทั้งนี้ เนื่องจากการลำดับญาติมีความซับซ้อนและสรรพนามของไทยไม่ระบุเจาะจงเท่าของจีน อีกทั้งปัจจุบันมีเปลี่ยนแปลงไปบ้าง และข้อมูลก็ไม่สมบูรณ์โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสะใภ้และเขย หากมีตกหล่นผิดเพี้ยนไปแต่ประการใด Storyฯ ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

    โดยทั่วไปแล้ว ในช่วงเวลาไว้ทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นการไว้ทุกข์ระดับใด ห้ามสังสรรค์รื่นเริง ห้ามจัดงานมงคล กินอยู่อย่างสมถะ ไม่แต่งหน้าแต่งตาใส่เครื่องประดับ ทั้งนี้ ในช่วงเวลาไว้ทุกข์ไม่ได้จำเป็นต้องสวมชุดไว้ทุกข์เต็มยศตามที่กล่าวมาข้างต้นตลอดเวลา แต่จะใส่เฉพาะวันพิธีการสำคัญที่เกี่ยวข้อง นอกนั้นใส่ชุดไว้ทุกข์แบบเรียบง่ายหรือเปลี่ยนเป็นชุดขาวเรียบง่ายได้ ทั้งนี้มีตามหลักเกณฑ์เหมือนกัน แต่ Storyฯ ไม่ได้หาข้อมูลลงลึกเพิ่มเติม

    แน่นอนว่าพิธีการไว้ทุกข์มีความซับซ้อนมากกว่าที่เขียน ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของชุดและกิจกรรมประจำวันต่างๆ และพิธีการเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามการเวลา ปัจจุบันยังมีธรรมเนียมการไว้ทุกข์นับตามอู่ฝูอยู่บ้างในประเทศจีนแต่ก็คลายความเคร่งครัดไป และสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีนนั้น ปัจจุบันโดยส่วนใหญ่จะไม่นับถึงรุ่นทวดเดียวกันแล้ว เพื่อนเพจท่านใดมีประสบการณ์ที่แตกต่างอย่างไร เม้นท์เข้ามาเล่าสู่กันฟังหน่อยค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://historyindrama.wixsite.com/historyindrama/single-post/2018/03/17/-風起長林-披麻戴孝
    https://kknews.cc/news/j5bqeq.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_12081296
    https://ctext.org/yili/sang-fu/zhs
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=880555&remap=gb
    https://baike.baidu.com/item/丧服制度/5983791
    https://baike.baidu.com/item/齐衰
    https://www.sohu.com/a/124382586_555629
    https://k.sina.cn/article_6093535129_16b33f79900100pcu5.html

    #หลางหยาป่าง2 #ไว้ทุกข์จีน #อู่ฝู #ติงโยว #การลำดับญาติจีน #สาระจีน
    ระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ ตอนที่ 2 สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องการแบ่งการไว้ทุกข์ออกเป็นห้าระดับตามชื่อของชุดไว้ทุกข์ที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว หรือที่เรียกว่า ‘อู่ฝู’ (五服 แปลตรงตัวว่า ห้าชุด) โดยแต่ละระดับมีระยะเวลาไว้ทุกข์ที่ต่างกัน วันนี้เรามาคุยกันต่อค่ะ Storyฯ ขออิงตามประมวลกฏหมายต้าหมิงหุ้ยเตี่ยนที่ถูกจัดทำขึ้นในรัชสมัยว่านลี่ขององค์จูอี้จวิน (ซึ่งค่อนข้างนิ่งแล้ว แต่อาจมีบางรายการแตกต่างกับปัจจุบัน) โดยยกมาเฉพาะสำหรับชาวบ้านไม่รวมราชนิกูล เพื่อนเพจดูชุดไว้ทุกข์สมัยหมิงได้ตามรูปประกอบ 1 ส่วนการจัดลำดับเครือญาตินั้น เนื่องจากภาษาไทยเราไม่มีคำระบุเครือญาติได้ชัดเจนเหมือนจีน พอกล่าวถึงญาติห่างๆ จะสับสน Storyฯ จึงจัดทำเป็นผังตารางในรูปประกอบ 2 ในรูปแบบของพงศาวลีให้ง่ายสำหรับความเข้าใจ ซึ่งแตกต่างจากหน้าตาผังอู่ฝูในภาษาจีนที่บางท่านอาจเคยเห็น และนอกจากนี้ยังมีบางข้อมูลที่ไม่สามารถเขียนรวมอยู่ในผังได้ สรุปหลักสำคัญของ ‘อู่ฝู’ มีดังนี้: 1. ระดับที่หนึ่ง เป็นการไว้ทุกข์ขั้นสูงสุด ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จ่านชุย’ (斩衰) เป็นชุดเนื้อหยาบที่สุด ใช้สำหรับไว้ทุกข์ให้กับพ่อแม่โดยลูกชายและภรรยา รวมถึงลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน (กล่าวคือ ยังไม่ออกเรือน หรือเป็นหม้ายไร้บุตรหวนกลับเข้าเรือน) รายละเอียดคุยไปแล้วในสัปดาห์ที่แล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02iGKyX4S6jcPqcr2kS6aigeGEv2v7oL2HB7WYx7UFHUkXV9i8hBPR33HyxRCnZ19kl) 2. ระดับที่สอง ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จือชุย’ (齐衰) ดูจากรูปหน้าตาคล้ายกับชุดจ่านชุย ทำจากผ้ากระสอบดิบเนื้อหยาบเช่นกัน แต่มีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม้เท้าทำจากไม้คนละชนิด สตรีแต่งกายเหมือนกับบุรุษและใช้เนื้อผ้าเดียวกัน มีการคลุมหัวเหมือนแบบจ่านชุย ส่วนระยะเวลาไว้ทุกข์ในระดับนี้แบ่งย่อยออกเป็นสี่แบบ 2.1 แบบที่หนึ่ง คือสามปี ถือไม้เท้า: ในสมัยหมิงไม่มีอีกต่อไป 2.2 แบบที่สอง คือหนึ่งปี ถือไม้เท้า: - สามี: ไว้ทุกข์ให้กับภรรยา - ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับแม่เล็ก (คืออนุภรรยาของพ่อ) - ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อเลี้ยง กรณีแม่แต่งงานใหม่ 2.3 แบบที่สาม คือหนึ่งปี ไม่ถือไม้เท้า เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ: - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติสนิทและญาติผู้ใหญ่สายตรง (ดูตามผังในรูปประกอบ 2) - สะใภ้: ไว้ทุกข์ให้กับพี่น้องชายของสามี; ลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือนของพี่น้องชายสามี - ลูกสาวที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อแม่ของตน - พ่อแม่: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชาย ลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน และลูกสะใภ้ใหญ่ (คือภรรยาของลูกชายคนโตอันเกิดจากแม่ใหญ่); - หลาน: ไว้ทุกข์ให้กับปู่ย่า ทั้งนี้หมายรวมถึงหลานสาวที่ออกเรือนไปแล้วด้วย (แต่หลานสะใภ้ไว้ทุกข์ในระดับ 3) - ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานชายคนโต (ลูกของลูกชาย) ในสายภรรยาเอก - อนุภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับภรรยาเอก; บุตรชายทุกคนของสามีไม่ว่าจะเกิดจากแม่ใด รวมบุตรชายของตน; พ่อแม่ของตน 2.4 แบบที่สี่ คือ สามถึงห้าเดือน ไม่ถือไม้เท้า: - เหลนไว้ทุกข์ให้กับปู่ทวดย่าทวด ระยะเวลาห้าเดือน โดยหมายรวมถึงเหลนสาวที่ออกเรือนไปแล้ว (หมายเหตุ สะใภ้ไว้ทุกข์ให้ปู่ทวดย่าทวดของสามีด้วยชุดซือหมาแบบ 5 ระยะเวลาสามเดือน) - ลื่อ (ลูกของเหลน) ไว้ทุกข์ให้กับปู่เทียดย่าเทียด ระยะสามเดือน หมายรวมถึงลื่อสาวที่ออกเรือนไปแล้ว (หมายเหตุ สะใภ้ไม่ต้องไว้ทุกข์ให้) สำหรับการไว้ทุกข์ในระดับ 2.2-2.4 นี้ ชีวิตความเป็นอยู่จะสบายขึ้นกว่าระดับแรกหน่อย ก็คืองดอาหารเพียงสามมื้อ (คือวันเดียว) จากนั้นในสามเดือนแรกกินข้าวต้ม งดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุรา โดยมีข้อยกเว้นคือผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามที่ได้กล่าวไปในสัปดาห์ที่แล้ว และพอพ้นสามเดือนก็กินดื่มได้ปกติแต่กินกันเองไม่ร่วมกินดื่มกับผู้อื่นเพราะจะกลายเป็นการสังสรรค์ ในส่วนของที่พักนั้น หากเคร่งครัดมาก สามเดือนแรกบุรุษอาจย้ายออกมาอยู่กระท่อมแบบสมถะ พ้นสามเดือนจึงกลับไปนอนบ้านได้ปกติ ซึ่งสาเหตุที่ยึดเกณฑ์สามเดือนก็คือ สามเดือนจึงทำพิธีฝังศพ 3. ระดับที่สาม ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘ต้ากง’ (大功) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อละเอียดขึ้น เป็นผ้าต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า สวมรองเท้าเชือกสาน สตรีแต่งกายแบบบุรุษ ผมเปลี่ยนจากผ้าคลุมหัวเป็นผ้าโพกมวย ระยะเวลาไว้ทุกข์เก้าเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ: - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2) - พ่อแม่: ไว้ทุกข์ให้กับลูกสะใภ้ (ยกเว้นลูกสะใภ้คนโตที่ไว้ทุกข์ในระดับ 2.3) - ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานชายทุกคน (ยกเว้นหลานชายคนโตสายภรรยาเอกที่ไว้ทุกข์ในระดับ 2.3) และหลานสาวที่ยังอยู่ในเรือน - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้แก่ลุงและอา (พี่น้องชายของพ่อ) ของตน; ป้าและอาหญิง (พี่น้องสาวของพ่อ) ของตนที่ยังอยู่ในเรือน; พี่น้องชายของตน รวมลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน; พี่น้องสาวของตนที่ยังอยู่ในเรือน สำหรับการไว้ทุกข์ในระดับต้ากงนี้ งดอาหารเพียงสามมื้อ (คือวันเดียว) จากนั้นในสามเดือนแรกกินข้าวต้ม งดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุรา โดยมีข้อยกเว้นคือผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามที่ได้กล่าวไปในสัปดาห์ที่แล้ว และบุรุษอาจย้ายออกมาอยู่กระท่อมแบบสมถะไม่นอนเตียง พอพ้นสามเดือนก็กินอยู่ได้ปกติ 4. ระดับที่สี่ ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘เสี่ยวกง’ (小功) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อบางละเอียดต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า สวมรองเท้าปกติได้ ระยะเวลาไว้ทุกข์ห้าเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ: - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2) และลูกชายของพี่น้องหญิงที่ออกเรือนไปแล้ว - ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานสะใภ้คนโตในสายภรรยาเอก (ภรรยาของลูกชายของลูกชาย); หลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) ที่ออกเรือนไปแล้ว - บุตรของแม่เล็ก: ไว้ทุกข์ให้พ่อแม่พี่น้องชายหญิงของแม่ใหญ่ เฉพาะในกรณีที่แม่ใหญ่ยังมีชีวิตอยู่ - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือนของลุงอาชายของตน (คือลูกพี่ลูกน้อง) 5. ระดับที่ห้า ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘ซือหมา’ (缌麻) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อละเอียดที่สุดต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า ระยะเวลาไว้ทุกข์สามเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ: - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2) - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายของป้าอาหญิง (พี่น้องสาวของพ่อ) ที่ออกเรือนไปแล้ว; ลูกชายของพี่น้องชายหญิงของแม่ รวมภรรยา - บุรุษ: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อตาแม่ยาย (พ่อแม่ของภรรยา) - บุรุษและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้หลานชายหญิง (ลูกของลูกชาย) ของลูกสาวที่ออกเรือนไปแล้ว รวมภรรยาของหลานชาย - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับญาติผู้ใหญ่ของตนคือ พี่น้องชายของปู่และภรรยา รวมลูกชายและภรรยา; พี่น้องสาวของปู่ที่ยังอยู่ในเรือน - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายหญิงของลูกชายของลุงอาชายของตน (คือลูกของลูกพี่ลูกน้องสาวของตน); ลูกสาวของลุงอาชายที่ออกเรือนไปแล้ว (คือลูกพี่ลูกน้องสาวของตน) การไว้ทุกข์ระดับ 4 และ 5 นี้ นับเป็นการไว้ทุกข์แบบเบา มีการอดอาหารเพียงหนึ่งหรือสองมื้อ แรกงดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุราสามเดือน หลังจากนั้นกินดื่มปกติ และในช่วงเวลาไว้ทุกข์สามารถหลับนอนในห้องนอนเดิมนอนเตียงได้ การนับลำดับญาติเพื่อการไว้ทุกข์อาจฟังดูซับซ้อน แต่จากผังลำดับญาติจะเห็นได้ว่าหลักการในการนับความอาวุโสคือ ญาติในรุ่นเดียวกัน ถ้าเป็นพ่อคนเดียวกัน (คือพี่น้อง) ห่างออกไปหนึ่งขั้น หากเป็นปู่คนเดียวกัน ห่างออกไปสองขั้น หากเป็นปู่ทวดคนเดียวกัน ห่างออกไปสามขั้น และหากเป็นปู่เทียดคนเดียวกัน ห่างออกไปสี่ขั้น และจบอู่ฝูที่ลำดับญาติขึ้นสี่รุ่นลงสี่รุ่นรวมตนเองเป็นเก้ารุ่น เกณฑ์นี้ใช้สำหรับบุรุษหรือสตรีที่ยังอยู่ในเรือน และมีการกล่าวไว้ว่า พอพ้นเกณฑ์อู่ฝูนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นญาติครอบครัวเดียวกันแล้ว ส่วนสตรีที่ออกเรือนไปแล้ว ให้ด้อยศักดิ์ลงหนึ่งขั้น (ยกเว้นกรณีที่กล่าวไว้แล้วในรายละเอียดข้างต้น) และสำหรับสตรีที่แต่งเข้ามาเป็นสะใภ้นั้น ไว้ทุกข์เทียบเท่าสามีให้รุ่นลูกลงไป แต่สำหรับการไว้ทุกข์ให้รุ่นเดียวกันและรุ่นอาวุโสกว่าให้ด้อยศักดิ์จากสามีหนึ่งขั้น (ยกเว้นกรณีที่กล่าวไว้แล้วในรายละเอียดข้างต้น) เช่น ไว้ทุกข์ให้พี่น้องสาวที่ออกเรือนไปแล้วของสามีในระดับ 4 ในขณะที่สามีไว้ทุกข์ในระดับ 3 ทั้งนี้ เนื่องจากการลำดับญาติมีความซับซ้อนและสรรพนามของไทยไม่ระบุเจาะจงเท่าของจีน อีกทั้งปัจจุบันมีเปลี่ยนแปลงไปบ้าง และข้อมูลก็ไม่สมบูรณ์โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสะใภ้และเขย หากมีตกหล่นผิดเพี้ยนไปแต่ประการใด Storyฯ ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย โดยทั่วไปแล้ว ในช่วงเวลาไว้ทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นการไว้ทุกข์ระดับใด ห้ามสังสรรค์รื่นเริง ห้ามจัดงานมงคล กินอยู่อย่างสมถะ ไม่แต่งหน้าแต่งตาใส่เครื่องประดับ ทั้งนี้ ในช่วงเวลาไว้ทุกข์ไม่ได้จำเป็นต้องสวมชุดไว้ทุกข์เต็มยศตามที่กล่าวมาข้างต้นตลอดเวลา แต่จะใส่เฉพาะวันพิธีการสำคัญที่เกี่ยวข้อง นอกนั้นใส่ชุดไว้ทุกข์แบบเรียบง่ายหรือเปลี่ยนเป็นชุดขาวเรียบง่ายได้ ทั้งนี้มีตามหลักเกณฑ์เหมือนกัน แต่ Storyฯ ไม่ได้หาข้อมูลลงลึกเพิ่มเติม แน่นอนว่าพิธีการไว้ทุกข์มีความซับซ้อนมากกว่าที่เขียน ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของชุดและกิจกรรมประจำวันต่างๆ และพิธีการเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามการเวลา ปัจจุบันยังมีธรรมเนียมการไว้ทุกข์นับตามอู่ฝูอยู่บ้างในประเทศจีนแต่ก็คลายความเคร่งครัดไป และสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีนนั้น ปัจจุบันโดยส่วนใหญ่จะไม่นับถึงรุ่นทวดเดียวกันแล้ว เพื่อนเพจท่านใดมีประสบการณ์ที่แตกต่างอย่างไร เม้นท์เข้ามาเล่าสู่กันฟังหน่อยค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://historyindrama.wixsite.com/historyindrama/single-post/2018/03/17/-風起長林-披麻戴孝 https://kknews.cc/news/j5bqeq.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/baijiahao_12081296 https://ctext.org/yili/sang-fu/zhs https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=880555&remap=gb https://baike.baidu.com/item/丧服制度/5983791 https://baike.baidu.com/item/齐衰 https://www.sohu.com/a/124382586_555629 https://k.sina.cn/article_6093535129_16b33f79900100pcu5.html #หลางหยาป่าง2 #ไว้ทุกข์จีน #อู่ฝู #ติงโยว #การลำดับญาติจีน #สาระจีน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1273 มุมมอง 0 รีวิว
  • ระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ (ตอน 1)

    สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจถามเข้ามาถึงระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ และ Storyฯ ได้ดู <องค์หญิงใหญ่> ซึ่งในเรื่องนี้ พระเอกจำเป็นต้องกลับบ้านนอกไว้ทุกข์ให้กับพ่อที่ตายไปเป็นเวลาสามปีจึงจะกลับมาเมืองหลวงอีกครั้ง ทำให้พลาดโอกาสก้าวหน้าทางราชการไป

    วันนี้เราจึงมาคุยกันเรื่องระยะเวลาไว้ทุกข์นี้ บทความยาวมากจึงขอแบ่งเป็นสองตอนนะคะ

    การไว้ทุกข์เรียกว่า ‘โส่วเซี่ยว’ (守孝 แปลได้ว่า รักษาความกตัญญู) หรือมีอีกวิธีเรียกคือ ‘ฝูซาง’ (服丧 แปลได้ว่า สวมใส่ความทุกข์) ซึ่งสะท้อนถึงการแบ่งการไว้ทุกข์ออกเป็นห้าระดับตามชื่อของชุดไว้ทุกข์ หรือที่เรียกว่า ‘อู่ฝู’ (五服 แปลตรงตัวว่า ห้าชุด) โดยแต่ละระดับมีระยะเวลาไว้ทุกข์ที่ต่างกัน

    ‘อู่ฝู’ แรกปรากฏในบันทึกอี้หลี่ (仪礼) เป็นพิธีการสมัยราชวงศ์โจว โดยการแบ่งแยกระดับขั้นการไว้ทุกข์นี้เป็นไปตามลำดับความสนิทของญาติ และในรายละเอียดมีการจำแนกตามอายุ (เช่น ถึงวัยเติบใหญ่แล้วหรือไม่) และบรรดาศักดิ์ของผู้ตาย รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ

    ‘อู่ฝู’ มีอะไรบ้าง?

    รายละเอียดและระยะเวลาไว้ทุกข์เหล่านี้ต่อมาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และเนื่องจากหลายแหล่งข้อมูลมีความแตกต่าง Storyฯ ขออิงตามประมวลกฏหมายต้าหมิงหุ้ยเตี่ยนที่ถูกจัดทำขึ้นในรัชสมัยว่านลี่ขององค์จูอี้จวิน ซึ่งมีการแก้ไขไปจากเดิม ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนการไว้ทุกข์ให้แม่มาเป็นแบบเดียวกับไว้ทุกข์ให้พ่อ เพื่อนเพจสามารถดูชุดไว้ทุกข์สมัยหมิงได้ตามรูปประกอบ 1

    1. ระดับที่หนึ่ง เป็นการไว้ทุกข์ขั้นสูงสุด ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จ่านชุย’ (斩衰) สรุปโดยคร่าวคือทำจากชุดผ้ากระสอบดิบเนื้อหยาบ ไม่มีการเนาหรือเย็บ ไม่เย็บเก็บชายผ้า เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์สนิทสุดที่ถูกสะบั้นลง ใช้เชือกถักหยาบแทนเข็มขัด ถือไม้เท้ายาวถึงหน้าอกทำจากไม้ไผ่ เป็นสัญลักษณ์ว่าโศกเศร้าจนไม่สามารถยืนได้ (เด็กไม่ต้องถือไม้เท้า) รองเท้าทำจากหญ้า

    ชุดจ่านชุยเป็นชุดไว้ทุกข์สำหรับ:
    - ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อและแม่ ทั้งนี้ ‘แม่’ หมายรวมถึงภรรยาเอกของพ่อ (ขอเรียกว่า แม่ใหญ่) แม่ผู้เลี้ยงดู และแม่แท้ๆ ดังนั้น ลูกทุกคนรวมทั้งลูกของอนุภรรยาต้องไว้ทุกข์ให้แม่ใหญ่ด้วยจ่านชุย แต่ลูกของแม่ใหญ่ไม่ต้องไว้ทุกข์ให้อนุภรรยาของพ่อ (ขอเรียกว่าแม่เล็ก) ด้วยจ่านชุย
    อนึ่ง ในกรณีที่ลูกชายเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ ให้หลานชายคนโตสายภรรยาเอกทำหน้าที่ไว้ทุกข์แทน และในกรณีที่ทั้งลูกชายและหลานชายคนโตสายภรรยาเอกเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ ให้เหลนชายคนโตสายภรรยาเอกทำหน้าที่ไว้ทุกข์แทน
    - ลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน (คือยังไม่แต่งงานหรือเป็นหม้ายไร้บุตรแล้วกลับมาอยู่บ้าน) ไว้ทุกข์ตามเกณฑ์เดียวกับลูกชาย
    - ภรรยาและอนุภรรยา: ไว้ทุกข์ให้แก่สามี

    สำหรับชุดจ่านชุยของสตรีนั้น แต่งกายเหมือนชายแต่ใช้ผ้ากระสอบกว้างหนึ่งนิ้วคาดหน้าผาก ปักปิ่นที่ทำจากไม้ไผ่ และมีผ้าคลุมหัว

    ระยะเวลาสวมชุดจ่านชุยไว้ทุกข์คือสามปี แต่จริงๆ แล้ววิธีนับคือสองปีเต็มกับอีกหนึ่งเดือน แรกเริ่มนับเป็นยี่สิบห้าเดือน ต่อมาเนื่องจากมีการปรับปรุงปฏิทินจีนและในบางปีอาจมีสิบสามเดือนในหนึ่งปี ระยะเวลาจ่านชุยจึงเปลี่ยนเป็นยี่สิบเจ็ดเดือน เพื่อว่าจะอย่างไรเสียก็ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งเดือนในปีที่สาม และสาเหตุที่ระบุเป็น ‘สามปี’ นี้ เป็นไปตามแนวคิดและคำสอนของขงจื๊อที่ว่า พ่อแม่เลี้ยงดูเราจนสามปี ลูกจึงออกจากอ้อมอกพ่อแม่เดินเหินได้คล่อง ในระหว่างนั้นคอยอุ้มคอยดูแลสารพัด ผู้เป็นลูกก็ควรไว้ทุกข์เพื่อแสดงความกตัญญูให้บุพการีได้ในระยะเวลาเดียวกัน

    ในช่วงเวลาไว้ทุกข์นี้ มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติที่สืบทอดมาตามคำสอนของขงจื๊ออีกเช่นกัน กล่าวคือ สามวันแรกห้ามกินข้าวกินน้ำ พ้นสามวันกินข้าวต้มได้ พ้นสามเดือนจึงจะอาบน้ำสระผมได้ พ้นหนึ่งปีเปลี่ยนหมวกเป็นมัดมวยผมด้วยผ้ากระสอบ และพ้นสามปีจึงจะใช้ชีวิตปกติได้
    จริงแล้วในช่วงเวลาสามปีนี้ไม่ได้จำเป็นต้องสวมชุดไว้ทุกข์เต็มยศตลอดเวลา แต่จะใส่เฉพาะวันพิธีการสำคัญที่เกี่ยวข้อง นอกนั้นใส่ชุดกระสอบปกติไม่ต้องถือไม้เท้า หรือค่อยๆ เปลี่ยนเป็นชุดสีขาวเรียบง่ายได้ ทั้งนี้มีตามหลักเกณฑ์เหมือนกัน แต่ Storyฯ ไม่ได้หาข้อมูลลงลึกเพิ่มเติม

    ในเรื่องอาหารการกินมีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า ในระยะเวลาไว้ทุกข์ห้ามดื่มสุรา ส่วนอาหารที่กินเน้นข้าวต้มจืด พ้นหนึ่งปีจึงจะกินผักผลไม้ได้ พ้นสองปีจึงจะกินอาหารปรุงรสด้วยซีอิ๊วและน้ำส้มสายชูได้ พ้นสามปีจึงจะกินเนื้อสัตว์ได้ แต่ทั้งนี้ หลักการมีอีกว่า การไว้ทุกข์ไม่ควรทำให้ป่วย ดังนั้นในช่วงไว้ทุกข์นี้ ผู้ที่แก่ชรา (พ้นวัยเจ็ดสิบในสมัยโบราณถือว่าแก่มาก) ให้กินผักผลไม้กินเนื้อสัตว์ได้ และดื่มสุราได้ (เพราะสุราสมัยโบราณมักเป็นเหล้ายา) และผู้ป่วยหรือเด็กก็อนุโลมให้กินได้ตามความเหมาะสม เมื่อหายป่วยค่อยกลับมากินแบบไว้ทุกข์ตามเดิม

    นอกจากนี้ยังมีธรรมเนียมนอนเฝ้าโลงและเฝ้าหลุมศพ (ฝ่ายหญิงไม่ต้อง) โดยมีหลายระดับที่แตกต่างสำหรับบ้านนอก เช่นเป็นเพิงธรรมดา ต่อมาล้อมผนังได้ เสริมผนังด้วยดิน ปรับปรุงเป็นกระท่อมหลังเล็กผนังฉาบขี้เถ้า (เรียกว่า เอ้อซึ / 垩室) ปูพื้นนอนได้ ห้ามนอนเตียงจนพ้นสองปี ฯลฯ ซึ่งธรรมเนียมเหล่านี้ผ่อนคลายไปตามยุคสมัย Storyฯ ของไม่ลงรายละเอียด แต่ไม่เปลี่ยนคือในช่วงเวลาไว้ทุกข์นี้ ห้ามจัดงานสังสรรค์รื่นเริง ห้ามจัดงานมงคล สามีภรรยาห้ามมีเพศสัมพันธ์กันและอาจถึงขนาดต้องแยกห้องนอน กินอยู่อย่างสมถะ ไม่แต่งหน้าแต่งตาใส่เครื่องประดับ ฯลฯ

    ในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> พระเอกต้องลาราชการไปไว้ทุกข์ให้พ่อที่บ้านเกิดถึงสามปี (ซึ่งก็คือยี่สิบเจ็ดเดือนตามที่อธิบายมาข้างต้น) เกณฑ์ปฏิบัตินี้เรียกว่า ‘ติงโยว’ (丁忧) ใช้สำหรับการไว้ทุกข์ให้พ่อของขุนนาง เป็นกฎเกณฑ์ที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นอันสืบเนื่องมาจากแนวคิดของขงจื๊อ ต่อมามีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ตามยุคสมัยจนหมายรวมถึงการไว้ทุกข์ให้แม่ด้วย

    ในช่วงติงโยวนี้ ผู้ที่ไว้ทุกข์อยู่ห้ามรับราชการ ห้ามสอบราชบัณฑิต เว้นแต่จะมีคำสั่งหรือพระราชโองการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ (เช่น ในระหว่างทำศึก) และต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ หากไม่แจ้งหรือโกหกจะมีโทษ ทั้งนี้ เพราะการไว้ทุกข์เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูอันเป็นหนึ่งในจรรยาหลักที่พึงมีของข้าราชสำนัก

    แน่นอนว่าพิธีการ ธรรมเนียมปฏิบัติ และรายละเอียดขององค์ประกอบของชุดไว้ทุกข์มีรายละเอียดมากกว่าที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่ง Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าในเชิงลึกเพราะรายละเอียดเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเช่นกัน หากเพื่อนเพจท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมก็เม้นท์เข้ามาเล่าสู่กันฟังได้ค่ะ

    สัปดาห์หน้าเรามาคุยต่อถึงการไว้ทุกข์ระดับอื่น ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการนับลำดับญาติด้วย ติดตามต่อในตอนต่อไปนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/790545230_121948376
    https://kknews.cc/news/j5bqeq.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_12081296
    https://ctext.org/yili/sang-fu/zhs
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=880555&remap=gb
    https://baike.baidu.com/item/斩衰/1296602
    https://baike.baidu.com/item/丧服制度/5983791

    #องค์หญิงใหญ่ #ไว้ทุกข์จีน #อู่ฝู #ติงโยว #การลำดับญาติจีน #สาระจีน
    ระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ (ตอน 1) สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจถามเข้ามาถึงระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ และ Storyฯ ได้ดู <องค์หญิงใหญ่> ซึ่งในเรื่องนี้ พระเอกจำเป็นต้องกลับบ้านนอกไว้ทุกข์ให้กับพ่อที่ตายไปเป็นเวลาสามปีจึงจะกลับมาเมืองหลวงอีกครั้ง ทำให้พลาดโอกาสก้าวหน้าทางราชการไป วันนี้เราจึงมาคุยกันเรื่องระยะเวลาไว้ทุกข์นี้ บทความยาวมากจึงขอแบ่งเป็นสองตอนนะคะ การไว้ทุกข์เรียกว่า ‘โส่วเซี่ยว’ (守孝 แปลได้ว่า รักษาความกตัญญู) หรือมีอีกวิธีเรียกคือ ‘ฝูซาง’ (服丧 แปลได้ว่า สวมใส่ความทุกข์) ซึ่งสะท้อนถึงการแบ่งการไว้ทุกข์ออกเป็นห้าระดับตามชื่อของชุดไว้ทุกข์ หรือที่เรียกว่า ‘อู่ฝู’ (五服 แปลตรงตัวว่า ห้าชุด) โดยแต่ละระดับมีระยะเวลาไว้ทุกข์ที่ต่างกัน ‘อู่ฝู’ แรกปรากฏในบันทึกอี้หลี่ (仪礼) เป็นพิธีการสมัยราชวงศ์โจว โดยการแบ่งแยกระดับขั้นการไว้ทุกข์นี้เป็นไปตามลำดับความสนิทของญาติ และในรายละเอียดมีการจำแนกตามอายุ (เช่น ถึงวัยเติบใหญ่แล้วหรือไม่) และบรรดาศักดิ์ของผู้ตาย รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ ‘อู่ฝู’ มีอะไรบ้าง? รายละเอียดและระยะเวลาไว้ทุกข์เหล่านี้ต่อมาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และเนื่องจากหลายแหล่งข้อมูลมีความแตกต่าง Storyฯ ขออิงตามประมวลกฏหมายต้าหมิงหุ้ยเตี่ยนที่ถูกจัดทำขึ้นในรัชสมัยว่านลี่ขององค์จูอี้จวิน ซึ่งมีการแก้ไขไปจากเดิม ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนการไว้ทุกข์ให้แม่มาเป็นแบบเดียวกับไว้ทุกข์ให้พ่อ เพื่อนเพจสามารถดูชุดไว้ทุกข์สมัยหมิงได้ตามรูปประกอบ 1 1. ระดับที่หนึ่ง เป็นการไว้ทุกข์ขั้นสูงสุด ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จ่านชุย’ (斩衰) สรุปโดยคร่าวคือทำจากชุดผ้ากระสอบดิบเนื้อหยาบ ไม่มีการเนาหรือเย็บ ไม่เย็บเก็บชายผ้า เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์สนิทสุดที่ถูกสะบั้นลง ใช้เชือกถักหยาบแทนเข็มขัด ถือไม้เท้ายาวถึงหน้าอกทำจากไม้ไผ่ เป็นสัญลักษณ์ว่าโศกเศร้าจนไม่สามารถยืนได้ (เด็กไม่ต้องถือไม้เท้า) รองเท้าทำจากหญ้า ชุดจ่านชุยเป็นชุดไว้ทุกข์สำหรับ: - ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อและแม่ ทั้งนี้ ‘แม่’ หมายรวมถึงภรรยาเอกของพ่อ (ขอเรียกว่า แม่ใหญ่) แม่ผู้เลี้ยงดู และแม่แท้ๆ ดังนั้น ลูกทุกคนรวมทั้งลูกของอนุภรรยาต้องไว้ทุกข์ให้แม่ใหญ่ด้วยจ่านชุย แต่ลูกของแม่ใหญ่ไม่ต้องไว้ทุกข์ให้อนุภรรยาของพ่อ (ขอเรียกว่าแม่เล็ก) ด้วยจ่านชุย อนึ่ง ในกรณีที่ลูกชายเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ ให้หลานชายคนโตสายภรรยาเอกทำหน้าที่ไว้ทุกข์แทน และในกรณีที่ทั้งลูกชายและหลานชายคนโตสายภรรยาเอกเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ ให้เหลนชายคนโตสายภรรยาเอกทำหน้าที่ไว้ทุกข์แทน - ลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน (คือยังไม่แต่งงานหรือเป็นหม้ายไร้บุตรแล้วกลับมาอยู่บ้าน) ไว้ทุกข์ตามเกณฑ์เดียวกับลูกชาย - ภรรยาและอนุภรรยา: ไว้ทุกข์ให้แก่สามี สำหรับชุดจ่านชุยของสตรีนั้น แต่งกายเหมือนชายแต่ใช้ผ้ากระสอบกว้างหนึ่งนิ้วคาดหน้าผาก ปักปิ่นที่ทำจากไม้ไผ่ และมีผ้าคลุมหัว ระยะเวลาสวมชุดจ่านชุยไว้ทุกข์คือสามปี แต่จริงๆ แล้ววิธีนับคือสองปีเต็มกับอีกหนึ่งเดือน แรกเริ่มนับเป็นยี่สิบห้าเดือน ต่อมาเนื่องจากมีการปรับปรุงปฏิทินจีนและในบางปีอาจมีสิบสามเดือนในหนึ่งปี ระยะเวลาจ่านชุยจึงเปลี่ยนเป็นยี่สิบเจ็ดเดือน เพื่อว่าจะอย่างไรเสียก็ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งเดือนในปีที่สาม และสาเหตุที่ระบุเป็น ‘สามปี’ นี้ เป็นไปตามแนวคิดและคำสอนของขงจื๊อที่ว่า พ่อแม่เลี้ยงดูเราจนสามปี ลูกจึงออกจากอ้อมอกพ่อแม่เดินเหินได้คล่อง ในระหว่างนั้นคอยอุ้มคอยดูแลสารพัด ผู้เป็นลูกก็ควรไว้ทุกข์เพื่อแสดงความกตัญญูให้บุพการีได้ในระยะเวลาเดียวกัน ในช่วงเวลาไว้ทุกข์นี้ มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติที่สืบทอดมาตามคำสอนของขงจื๊ออีกเช่นกัน กล่าวคือ สามวันแรกห้ามกินข้าวกินน้ำ พ้นสามวันกินข้าวต้มได้ พ้นสามเดือนจึงจะอาบน้ำสระผมได้ พ้นหนึ่งปีเปลี่ยนหมวกเป็นมัดมวยผมด้วยผ้ากระสอบ และพ้นสามปีจึงจะใช้ชีวิตปกติได้ จริงแล้วในช่วงเวลาสามปีนี้ไม่ได้จำเป็นต้องสวมชุดไว้ทุกข์เต็มยศตลอดเวลา แต่จะใส่เฉพาะวันพิธีการสำคัญที่เกี่ยวข้อง นอกนั้นใส่ชุดกระสอบปกติไม่ต้องถือไม้เท้า หรือค่อยๆ เปลี่ยนเป็นชุดสีขาวเรียบง่ายได้ ทั้งนี้มีตามหลักเกณฑ์เหมือนกัน แต่ Storyฯ ไม่ได้หาข้อมูลลงลึกเพิ่มเติม ในเรื่องอาหารการกินมีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า ในระยะเวลาไว้ทุกข์ห้ามดื่มสุรา ส่วนอาหารที่กินเน้นข้าวต้มจืด พ้นหนึ่งปีจึงจะกินผักผลไม้ได้ พ้นสองปีจึงจะกินอาหารปรุงรสด้วยซีอิ๊วและน้ำส้มสายชูได้ พ้นสามปีจึงจะกินเนื้อสัตว์ได้ แต่ทั้งนี้ หลักการมีอีกว่า การไว้ทุกข์ไม่ควรทำให้ป่วย ดังนั้นในช่วงไว้ทุกข์นี้ ผู้ที่แก่ชรา (พ้นวัยเจ็ดสิบในสมัยโบราณถือว่าแก่มาก) ให้กินผักผลไม้กินเนื้อสัตว์ได้ และดื่มสุราได้ (เพราะสุราสมัยโบราณมักเป็นเหล้ายา) และผู้ป่วยหรือเด็กก็อนุโลมให้กินได้ตามความเหมาะสม เมื่อหายป่วยค่อยกลับมากินแบบไว้ทุกข์ตามเดิม นอกจากนี้ยังมีธรรมเนียมนอนเฝ้าโลงและเฝ้าหลุมศพ (ฝ่ายหญิงไม่ต้อง) โดยมีหลายระดับที่แตกต่างสำหรับบ้านนอก เช่นเป็นเพิงธรรมดา ต่อมาล้อมผนังได้ เสริมผนังด้วยดิน ปรับปรุงเป็นกระท่อมหลังเล็กผนังฉาบขี้เถ้า (เรียกว่า เอ้อซึ / 垩室) ปูพื้นนอนได้ ห้ามนอนเตียงจนพ้นสองปี ฯลฯ ซึ่งธรรมเนียมเหล่านี้ผ่อนคลายไปตามยุคสมัย Storyฯ ของไม่ลงรายละเอียด แต่ไม่เปลี่ยนคือในช่วงเวลาไว้ทุกข์นี้ ห้ามจัดงานสังสรรค์รื่นเริง ห้ามจัดงานมงคล สามีภรรยาห้ามมีเพศสัมพันธ์กันและอาจถึงขนาดต้องแยกห้องนอน กินอยู่อย่างสมถะ ไม่แต่งหน้าแต่งตาใส่เครื่องประดับ ฯลฯ ในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> พระเอกต้องลาราชการไปไว้ทุกข์ให้พ่อที่บ้านเกิดถึงสามปี (ซึ่งก็คือยี่สิบเจ็ดเดือนตามที่อธิบายมาข้างต้น) เกณฑ์ปฏิบัตินี้เรียกว่า ‘ติงโยว’ (丁忧) ใช้สำหรับการไว้ทุกข์ให้พ่อของขุนนาง เป็นกฎเกณฑ์ที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นอันสืบเนื่องมาจากแนวคิดของขงจื๊อ ต่อมามีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ตามยุคสมัยจนหมายรวมถึงการไว้ทุกข์ให้แม่ด้วย ในช่วงติงโยวนี้ ผู้ที่ไว้ทุกข์อยู่ห้ามรับราชการ ห้ามสอบราชบัณฑิต เว้นแต่จะมีคำสั่งหรือพระราชโองการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ (เช่น ในระหว่างทำศึก) และต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ หากไม่แจ้งหรือโกหกจะมีโทษ ทั้งนี้ เพราะการไว้ทุกข์เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูอันเป็นหนึ่งในจรรยาหลักที่พึงมีของข้าราชสำนัก แน่นอนว่าพิธีการ ธรรมเนียมปฏิบัติ และรายละเอียดขององค์ประกอบของชุดไว้ทุกข์มีรายละเอียดมากกว่าที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่ง Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าในเชิงลึกเพราะรายละเอียดเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเช่นกัน หากเพื่อนเพจท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมก็เม้นท์เข้ามาเล่าสู่กันฟังได้ค่ะ สัปดาห์หน้าเรามาคุยต่อถึงการไว้ทุกข์ระดับอื่น ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการนับลำดับญาติด้วย ติดตามต่อในตอนต่อไปนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/790545230_121948376 https://kknews.cc/news/j5bqeq.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/baijiahao_12081296 https://ctext.org/yili/sang-fu/zhs https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=880555&remap=gb https://baike.baidu.com/item/斩衰/1296602 https://baike.baidu.com/item/丧服制度/5983791 #องค์หญิงใหญ่ #ไว้ทุกข์จีน #อู่ฝู #ติงโยว #การลำดับญาติจีน #สาระจีน
    WWW.SOHU.COM
    度华年:了解裴文宣父亲对老婆好的方式 才懂前世驸马公主注定分离_李蓉跟_裴礼_事情
    裴礼之的家庭观就是, 身为丈夫就应当保护妻儿给她最好的生活,不管家里家外发生的事情都揽在了自己身上,所有的责任义务也都是自己一个人扛。 而这在李蓉看来,是你站在了我的对立面,是你不再要我,是你放弃了我们…
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1290 มุมมอง 0 รีวิว