• **เพลงฉู่รอบด้าน**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ซึ่งในช่วงต้นมีฉากที่พระนางใส่หน้ากากร่วมทายคำปริศนาในเทศกาลโคมไฟ หนึ่งในปริศนานั้นมีคำใบ้จาก ‘เพลงฉู่’ โดยในซีรีส์แปลไว้ว่า “ฟังเพลงฉู่ปวดใจหนักหนา คิดถึงบ้านแล้วน้ำตาร่วงหล่น ยุทธการที่ไกเซี่ย เพลงฉู่กังวานรอบทิศ กองทัพฉู่คะนึงหาบ้านเกิด” และนางเอกต่อคำว่า “คิดถึงบ้านเกิดย่อมต้องกลับบ้าน” ก่อนจะเฉลยคำตอบว่าคือสมุนไพรจีนตังกุย

    เชื่อว่าต้องมีเพื่อนเพจไม่น้อยที่งงกับคำเฉลยนี้

    ที่มาของคำเฉลยนี้เป็นการเล่นคำ โดย ‘ตังกุย’ ประกอบด้วยสองอักษร ... อักษรแรก ‘ตัง’ แปลว่าแน่นอนหรือย่อมต้องทำ และอักษรที่สอง ‘กุย’ แปลว่ากลับหรือหวนคืน ซึ่งโดยปกติใช้กับการกลับบ้าน

    ที่มาของชื่อสมุนไพรตังกุยนี้ก็หลากหลาย แต่มันไม่ได้เกี่ยวกับเพลงฉู่แต่อย่างใด สรุปที่มาของชื่อตังกุยคือ ก) ในตำรายาโบราณบอกว่ามันช่วยทำให้เลือดไหลเวียนกลับคืนสู่จุดเดิม ข) ชาวบ้านพูดถึงกันทั่วไปว่ายานี้มีสรรพคุณบำรุงเลือดสำหรับสตรี เป็นยาสำคัญสำหรับภรรยา เปรียบได้กับสามีที่เดินทางไปไกลแล้วได้กลับมาบ้านให้ภรรยาได้ชุ่มชื่นหัวใจ โดยแนวคิดนี้ถูกสะท้อนออกมาในบทกวีสมัยถัง และ ค) มันเป็นสมุนไพรท้องถิ่นของพื้นที่ตังโจวในสมัยถัง และชื่อนี้มีมาแต่สมัยถังโดยก่อนหน้านี้มีชื่อเรียกว่า ‘ฉี’

    แล้ว ‘เพลงฉู่’ ล่ะ?

    เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินถึง ‘เพลงฉู่’ จากสุภาษิตจีน ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ (四面楚歌 / ซื่อเมี่ยนฉู่เกอ แปลตรงตัวว่า เพลงฉู่สี่ด้าน) จากเหตุการณ์ตอนที่กองทัพฉู่ของเซี่ยงอวี่ถูกทหารฮั่นของหลิวปังล้อมไว้ในหุบเขาไกเซี่ย โดยฝ่ายฮั่นใช้อุบายให้ทหารฮั่นร้องเพลงฉู่ เมื่อได้ยินเพลงจากบ้านเกิดก็ทำให้ทหารฉู่เกิดความรู้สึกคิดถึงบ้านและครอบครัวที่ไม่ได้เจอหน้ากันมาเป็นเวลานาน ความฮึกเหิมถดถอย บ้างก็เข้าใจว่าฝั่งตรงข้ามมีเชลยศึกจำนวนมากจนมองไม่เห็นหนทางชนะและยอมแพ้ จนสุดท้ายเซี่ยงอวี่พาชายาและทหารที่เหลืออยู่น้อยนิดตีฝ่าวงล้อมออกไปแต่ก็ต้องจบชีวิตลงในที่สุด

    ฉาก ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ นี้ถูกจารึกไว้โดยนักประวัติศาสตร์สมัยฮั่นนามว่าซือหม่าเชียนในบันทึกประวัติศาสตร์ฉบับชีวประวัติเซี่ยงอวี่ (项羽本纪) เพียงแต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นอุบายของกุนซือท่านใดฝ่ายฮั่น

    แล้ว ‘เพลงฉู่’ ที่ว่านี้คือเพลงอะไร? เรื่องนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันเพราะไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด บ้างว่าเป็นเพลงใดเพลงหนึ่ง บ้างว่ามันเป็นการเรียกรวมเพลงพื้นบ้านจากชาวฉู่ ซึ่งในสมัยนั้นเพลงพื้นบ้านเหล่านี้มีเนื้อร้องลักษณะคล้ายบทกลอนสั้นไม่กี่วรรค อาจเป็นวรรคสี่อักษรหรือเจ็ดอักษร ออกเสียงเหมือนร้องเพลง ทวนซ้ำไปมา ง่ายต่อการจำและร้องติดปาก โดยเพลงฉู่มีเอกลักษณ์คือจะใช้คำว่า ‘ซี’ (兮) เป็นคำลงท้ายก่อนเว้นวรรคหรือคำเชื่อม แต่เป็นคำที่ไม่มีความหมายเฉพาะ ก็คล้ายกับ ‘นะ’ ‘แล่ะ’ ฯลฯ ทั้งนี้ เพลงฉู่โดยตัวมันเองไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจงว่าเป็นเพลงคิดถึงบ้าน เพียงแต่ส่วนใหญ่เป็นเพลงที่มีกลิ่นอายของอารมณ์เศร้าและถูกนำมาให้ในเหตุการณ์วงล้อมหุบเขาไกเซี่ยข้างต้นเพื่อกระตุ้นให้ทหารคิดถึงบ้านเกิด

    และสุภาษิตจีน ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ ได้กลายมาเป็นวลีที่สะท้อนว่ากำลังถูกรายล้อมด้วยศัตรูหรือปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ หมายถึงสถานการณ์อันคับขันมากจนยากจะเอาตัวรอดได้นั่นเอง

    หมายเหตุ มีการแก้ไขบทความเพิ่มเติมให้ถูกต้อง ณ วันที่ 23/5/2025 เวลา 10.30น.

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://yayusw.com/Article.asp?id=3224
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.cas.cn/kxcb/kpwz/201002/t20100209_2760500.shtml
    https://www.guwendianji.com/wenyanwen/17281.html
    https://baike.baidu.com/item/三国演义/5782
    https://baike.baidu.com/item/项羽本纪 /2115064
    https://www.sohu.com/a/620378890_121448078

    #จิ่วฉงจื่อ #สามก๊ก #เพลงฉู่ #เซี่ยงอวี่ #สาระจีน
    **เพลงฉู่รอบด้าน** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ซึ่งในช่วงต้นมีฉากที่พระนางใส่หน้ากากร่วมทายคำปริศนาในเทศกาลโคมไฟ หนึ่งในปริศนานั้นมีคำใบ้จาก ‘เพลงฉู่’ โดยในซีรีส์แปลไว้ว่า “ฟังเพลงฉู่ปวดใจหนักหนา คิดถึงบ้านแล้วน้ำตาร่วงหล่น ยุทธการที่ไกเซี่ย เพลงฉู่กังวานรอบทิศ กองทัพฉู่คะนึงหาบ้านเกิด” และนางเอกต่อคำว่า “คิดถึงบ้านเกิดย่อมต้องกลับบ้าน” ก่อนจะเฉลยคำตอบว่าคือสมุนไพรจีนตังกุย เชื่อว่าต้องมีเพื่อนเพจไม่น้อยที่งงกับคำเฉลยนี้ ที่มาของคำเฉลยนี้เป็นการเล่นคำ โดย ‘ตังกุย’ ประกอบด้วยสองอักษร ... อักษรแรก ‘ตัง’ แปลว่าแน่นอนหรือย่อมต้องทำ และอักษรที่สอง ‘กุย’ แปลว่ากลับหรือหวนคืน ซึ่งโดยปกติใช้กับการกลับบ้าน ที่มาของชื่อสมุนไพรตังกุยนี้ก็หลากหลาย แต่มันไม่ได้เกี่ยวกับเพลงฉู่แต่อย่างใด สรุปที่มาของชื่อตังกุยคือ ก) ในตำรายาโบราณบอกว่ามันช่วยทำให้เลือดไหลเวียนกลับคืนสู่จุดเดิม ข) ชาวบ้านพูดถึงกันทั่วไปว่ายานี้มีสรรพคุณบำรุงเลือดสำหรับสตรี เป็นยาสำคัญสำหรับภรรยา เปรียบได้กับสามีที่เดินทางไปไกลแล้วได้กลับมาบ้านให้ภรรยาได้ชุ่มชื่นหัวใจ โดยแนวคิดนี้ถูกสะท้อนออกมาในบทกวีสมัยถัง และ ค) มันเป็นสมุนไพรท้องถิ่นของพื้นที่ตังโจวในสมัยถัง และชื่อนี้มีมาแต่สมัยถังโดยก่อนหน้านี้มีชื่อเรียกว่า ‘ฉี’ แล้ว ‘เพลงฉู่’ ล่ะ? เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินถึง ‘เพลงฉู่’ จากสุภาษิตจีน ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ (四面楚歌 / ซื่อเมี่ยนฉู่เกอ แปลตรงตัวว่า เพลงฉู่สี่ด้าน) จากเหตุการณ์ตอนที่กองทัพฉู่ของเซี่ยงอวี่ถูกทหารฮั่นของหลิวปังล้อมไว้ในหุบเขาไกเซี่ย โดยฝ่ายฮั่นใช้อุบายให้ทหารฮั่นร้องเพลงฉู่ เมื่อได้ยินเพลงจากบ้านเกิดก็ทำให้ทหารฉู่เกิดความรู้สึกคิดถึงบ้านและครอบครัวที่ไม่ได้เจอหน้ากันมาเป็นเวลานาน ความฮึกเหิมถดถอย บ้างก็เข้าใจว่าฝั่งตรงข้ามมีเชลยศึกจำนวนมากจนมองไม่เห็นหนทางชนะและยอมแพ้ จนสุดท้ายเซี่ยงอวี่พาชายาและทหารที่เหลืออยู่น้อยนิดตีฝ่าวงล้อมออกไปแต่ก็ต้องจบชีวิตลงในที่สุด ฉาก ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ นี้ถูกจารึกไว้โดยนักประวัติศาสตร์สมัยฮั่นนามว่าซือหม่าเชียนในบันทึกประวัติศาสตร์ฉบับชีวประวัติเซี่ยงอวี่ (项羽本纪) เพียงแต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นอุบายของกุนซือท่านใดฝ่ายฮั่น แล้ว ‘เพลงฉู่’ ที่ว่านี้คือเพลงอะไร? เรื่องนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันเพราะไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด บ้างว่าเป็นเพลงใดเพลงหนึ่ง บ้างว่ามันเป็นการเรียกรวมเพลงพื้นบ้านจากชาวฉู่ ซึ่งในสมัยนั้นเพลงพื้นบ้านเหล่านี้มีเนื้อร้องลักษณะคล้ายบทกลอนสั้นไม่กี่วรรค อาจเป็นวรรคสี่อักษรหรือเจ็ดอักษร ออกเสียงเหมือนร้องเพลง ทวนซ้ำไปมา ง่ายต่อการจำและร้องติดปาก โดยเพลงฉู่มีเอกลักษณ์คือจะใช้คำว่า ‘ซี’ (兮) เป็นคำลงท้ายก่อนเว้นวรรคหรือคำเชื่อม แต่เป็นคำที่ไม่มีความหมายเฉพาะ ก็คล้ายกับ ‘นะ’ ‘แล่ะ’ ฯลฯ ทั้งนี้ เพลงฉู่โดยตัวมันเองไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจงว่าเป็นเพลงคิดถึงบ้าน เพียงแต่ส่วนใหญ่เป็นเพลงที่มีกลิ่นอายของอารมณ์เศร้าและถูกนำมาให้ในเหตุการณ์วงล้อมหุบเขาไกเซี่ยข้างต้นเพื่อกระตุ้นให้ทหารคิดถึงบ้านเกิด และสุภาษิตจีน ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ ได้กลายมาเป็นวลีที่สะท้อนว่ากำลังถูกรายล้อมด้วยศัตรูหรือปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ หมายถึงสถานการณ์อันคับขันมากจนยากจะเอาตัวรอดได้นั่นเอง หมายเหตุ มีการแก้ไขบทความเพิ่มเติมให้ถูกต้อง ณ วันที่ 23/5/2025 เวลา 10.30น. (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://yayusw.com/Article.asp?id=3224 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.cas.cn/kxcb/kpwz/201002/t20100209_2760500.shtml https://www.guwendianji.com/wenyanwen/17281.html https://baike.baidu.com/item/三国演义/5782 https://baike.baidu.com/item/项羽本纪 /2115064 https://www.sohu.com/a/620378890_121448078 #จิ่วฉงจื่อ #สามก๊ก #เพลงฉู่ #เซี่ยงอวี่ #สาระจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 178 มุมมอง 0 รีวิว
  • **คัมภีร์ชุนชิว**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับเกร็ดความรู้จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ซึ่งเพื่อนเพจที่ได้ดูคงจำได้ว่าพ่อของนางเอกเป็นคนชอบหนังสือมาก และหนึ่งในหนังสือที่ถูกคุณพ่อกล่าวถึงอย่างยกย่องคือคัมภีร์ชุนชิว เดือดร้อนถึงพระเอกต้องรีบให้ผู้ติดตามคนสนิทไปหาหนังสือดังกล่าวมาตั้งไว้ในบ้าน

    คัมภีร์ชุนชิว (春秋) เป็นหนึ่งใน ‘สี่หนังสือห้าคัมภีร์’ (四书五经 /ซื่อซูอู่จิง บ้างก็แปลว่า ‘สี่ตำราห้าคัมภีร์’) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นหนังสือว่าด้วยคำสอนของลัทธิหรู (หรือเรียกง่ายๆ ว่าลัทธิขงจื๊อ) ที่ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาตั้งแต่โบราณและเนื้อหาของมันยังถูกนำมาใช้ในการสอบราชบัณฑิตอีกด้วย

    ถ้าจะให้อธิบายถึงสี่หนังสือห้าคัมภีร์ทั้งหมดมันจะยาวไป Storyฯ ขอพูดถึงแต่ในส่วนห้าคัมภีร์แล้วกันนะคะ

    ห้าคัมภีร์ประกอบด้วย (1) ‘ซือจิง’ (诗经) ซึ่งเป็นการรวมเล่มบทกวีและเพลงโบราณ (2) ‘ซ่างซู’ (尚书) ซึ่งเป็นการรวบรวมเหตุการณ์ผ่านบทสนทนาของกษัตริย์และรัฐบุรุษในประวัติศาสตร์เพื่อสะท้อนปรัชญาการปกครอง (3) ‘หลี่จี้’ (礼记 ) ซึ่งเป็นบันทึกเกี่ยวกับจารีตประเพณีและแนวทางปฏิบัติในด้านพิธีการต่างๆ (4) ‘โจวอี้’ (周易) หรือคัมภีร์อี้จิง ซึ่งเป็นตำราพยากรณ์ว่าด้วยหลักการดูฟ้าดิน หยินหยาง ฤดูการต่างๆ ฯลฯ และ (5) ‘ชุนชิว’ (春秋) หรือที่บางท่านแปลว่า ‘จดหมายเหตุวสันต์สารท’ ซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์รายปีสมัยชุนชิวหรือยุควสันต์สารท (ปี 770-476 ก่อนคริสตกาล) เกี่ยวกับแคว้นหลู่

    แคว้นหลู่เป็นหนึ่งในแคว้นเล็กโดยมีขุนนางระดับบรรดาศักดิ์กงเป็นผู้ปกครองแคว้นและมีสถานะเป็นเมืองขึ้นของราชวงศ์โจว และมันเป็นบ้านเกิดของขงจื๊อ คัมภีร์ชุนชิวบันทึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละปี เป็นผลงานเขียนและเรียบเรียงของขงจื๊อ แบ่งเป็นสิบสองบทสำหรับเหตุการณ์ในช่วงการปกครองของหลู่กงสิบสองคน โดยส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์ทางการเมืองของแคว้นหลู่ และมีกล่าวถึงแคว้นอื่นๆ และราชสำนักโจวด้วย

    ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับคัมภีร์ชุนชิวคือการตีความเนื้อหาของมัน ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าเหตุการณ์ต่างๆ ถูกเขียนบรรยายในลักษณะประโยคสั้น เช่น “ในวันฤดูใบไม้ผลิปีที่สิบสี่ของหลู่ไอกง ล่าได้กิเลนทางทิศตะวันตก” เขียนเป็นภาษาจีนเพียงเก้าอักษร และตลอดช่วงเวลาประวัติศาสตร์สองร้อยสี่สิบกว่าปีที่คัมภีร์ชุนชิวกล่าวถึงนั้น บันทึกเหตุการณ์ไว้ด้วยหนึ่งหมื่นหกพันกว่าอักษรเท่านั้น ในแต่ละเหตุการณ์สั้นสุดคือหนึ่งอักษรและยาวสุดคือสี่สิบอักษร!

    แต่ชนรุ่นหลังมองว่าเหตุการณ์สำคัญเหล่านี้มักแฝงด้วยความรู้และปรัชญาทางการเมืองและการปกครอง จึงเกิดการเขียนขยายความประโยคสั้นๆ ให้เป็นข้อความที่ยาวและเข้าใจได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นคัมภีร์ชุนชิวในหลากหลายเวอร์ชั่น โดยมีสามเวอร์ชั่นที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายและสืบทอดต่อเป็นตำราสำคัญของชนรุ่นหลัง เรียกรวมว่า ‘ชุนชิวสามฉบับ’ (ชุนชิวซานจ้วน/春秋三传) โดยแบ่งเป็นฉบับจั่วจ้วน (ประพันธ์โดยจั่วชิวหมิงในปลายสมัยชุนชิว) ฉบับกงหยางจ้วน (ประพันธ์โดยกงหยางเกาในยุคสมัยจ้านกั๋วหรือรณรัฐ) และฉบับกู่เหลียงจ้วน (ประพันธ์โดยกู่เหลียงชึในยุคสมัยจ้านกั๋ว)

    จั่วชิวหมิงเป็นขุนนางนักจดหมายเหตุ ดังนั้นคัมภีร์ชุนชิวฉบับจั่วจ้วนจึงเน้นการให้ข้อมูลเพิ่มเติมของเหตุการณ์ที่ถูกกล่าวถึงในต้นฉบับคัมภีร์ชุนชิวให้ละเอียดขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้นตามข้อมูลจริงทางประวัติศาสตร์และอธิบายให้เห็นถึงบริบทชนชั้นทางสังคมและแนวความคิดในสมัยนั้น โดยขยายความจากหนึ่งหมื่นกว่าอักษรเป็นสองแสนอักษร ความยาวทั้งสิ้นสามสิบบรรพ

    ส่วนคัมภีร์ชุนชิวฉบับกงหยางจ้วนและกู่เหลียงจ้วนนั้น ล้วนยาวสิบเอ็ดบรรพ เนื้อความเน้นไปทางการอธิบายปรัชญาขงจื๊อที่สอดแทรกอยู่ในเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตามต้นฉบับคัมภีร์ชุนชิวและฉบับจั่วจ้วน โดยเรียบเรียงเป็นบทสนทนาเชิงถามตอบเพื่อเน้นให้คิด มากกว่าเป็นการลำดับเหตุการณ์อย่างเอกสารต้นฉบับ

    ดังนั้น คัมภีร์ชุนชิวที่ถูกกล่าวถึงในปัจจุบันไม่ใช่หนังสือเล่มเดียว หากแต่เป็นชุดสามฉบับที่กล่าวมาข้างต้น

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความเก่าเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนของเด็ก: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/696535652474730

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=218889
    https://www.sucaisucai.com/sucai/12330646.html
    https://www.chinasage.info/ancient-states.htm
    http://www.360doc.com/content/23/0602/14/35924208_1083211701.shtml
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.bjnews.com.cn/detail/1719635772168981.html
    https://www.sohu.com/a/445253069_120791762
    https://baike.baidu.com/item/四书五经/96723
    http://www.chinaknowledge.de/Literature/Classics/chunqiuzuozhuan.html
    https://baike.baidu.com/item/左传/371757
    https://baike.baidu.com/item/公羊传/685689
    https://baike.baidu.com/item/穀梁传/64769850

    #จิ่วฉงจื่อ #สี่ตำราห้าคัมภีร์ #ขงจื๊อ #คัมภีร์ชุนชิว #จั่วจ้วน #กงหยางจ้วน #กู่เหลียงจ้วน #สาระจีน
    **คัมภีร์ชุนชิว** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับเกร็ดความรู้จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ซึ่งเพื่อนเพจที่ได้ดูคงจำได้ว่าพ่อของนางเอกเป็นคนชอบหนังสือมาก และหนึ่งในหนังสือที่ถูกคุณพ่อกล่าวถึงอย่างยกย่องคือคัมภีร์ชุนชิว เดือดร้อนถึงพระเอกต้องรีบให้ผู้ติดตามคนสนิทไปหาหนังสือดังกล่าวมาตั้งไว้ในบ้าน คัมภีร์ชุนชิว (春秋) เป็นหนึ่งใน ‘สี่หนังสือห้าคัมภีร์’ (四书五经 /ซื่อซูอู่จิง บ้างก็แปลว่า ‘สี่ตำราห้าคัมภีร์’) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นหนังสือว่าด้วยคำสอนของลัทธิหรู (หรือเรียกง่ายๆ ว่าลัทธิขงจื๊อ) ที่ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาตั้งแต่โบราณและเนื้อหาของมันยังถูกนำมาใช้ในการสอบราชบัณฑิตอีกด้วย ถ้าจะให้อธิบายถึงสี่หนังสือห้าคัมภีร์ทั้งหมดมันจะยาวไป Storyฯ ขอพูดถึงแต่ในส่วนห้าคัมภีร์แล้วกันนะคะ ห้าคัมภีร์ประกอบด้วย (1) ‘ซือจิง’ (诗经) ซึ่งเป็นการรวมเล่มบทกวีและเพลงโบราณ (2) ‘ซ่างซู’ (尚书) ซึ่งเป็นการรวบรวมเหตุการณ์ผ่านบทสนทนาของกษัตริย์และรัฐบุรุษในประวัติศาสตร์เพื่อสะท้อนปรัชญาการปกครอง (3) ‘หลี่จี้’ (礼记 ) ซึ่งเป็นบันทึกเกี่ยวกับจารีตประเพณีและแนวทางปฏิบัติในด้านพิธีการต่างๆ (4) ‘โจวอี้’ (周易) หรือคัมภีร์อี้จิง ซึ่งเป็นตำราพยากรณ์ว่าด้วยหลักการดูฟ้าดิน หยินหยาง ฤดูการต่างๆ ฯลฯ และ (5) ‘ชุนชิว’ (春秋) หรือที่บางท่านแปลว่า ‘จดหมายเหตุวสันต์สารท’ ซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์รายปีสมัยชุนชิวหรือยุควสันต์สารท (ปี 770-476 ก่อนคริสตกาล) เกี่ยวกับแคว้นหลู่ แคว้นหลู่เป็นหนึ่งในแคว้นเล็กโดยมีขุนนางระดับบรรดาศักดิ์กงเป็นผู้ปกครองแคว้นและมีสถานะเป็นเมืองขึ้นของราชวงศ์โจว และมันเป็นบ้านเกิดของขงจื๊อ คัมภีร์ชุนชิวบันทึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละปี เป็นผลงานเขียนและเรียบเรียงของขงจื๊อ แบ่งเป็นสิบสองบทสำหรับเหตุการณ์ในช่วงการปกครองของหลู่กงสิบสองคน โดยส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์ทางการเมืองของแคว้นหลู่ และมีกล่าวถึงแคว้นอื่นๆ และราชสำนักโจวด้วย ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับคัมภีร์ชุนชิวคือการตีความเนื้อหาของมัน ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าเหตุการณ์ต่างๆ ถูกเขียนบรรยายในลักษณะประโยคสั้น เช่น “ในวันฤดูใบไม้ผลิปีที่สิบสี่ของหลู่ไอกง ล่าได้กิเลนทางทิศตะวันตก” เขียนเป็นภาษาจีนเพียงเก้าอักษร และตลอดช่วงเวลาประวัติศาสตร์สองร้อยสี่สิบกว่าปีที่คัมภีร์ชุนชิวกล่าวถึงนั้น บันทึกเหตุการณ์ไว้ด้วยหนึ่งหมื่นหกพันกว่าอักษรเท่านั้น ในแต่ละเหตุการณ์สั้นสุดคือหนึ่งอักษรและยาวสุดคือสี่สิบอักษร! แต่ชนรุ่นหลังมองว่าเหตุการณ์สำคัญเหล่านี้มักแฝงด้วยความรู้และปรัชญาทางการเมืองและการปกครอง จึงเกิดการเขียนขยายความประโยคสั้นๆ ให้เป็นข้อความที่ยาวและเข้าใจได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นคัมภีร์ชุนชิวในหลากหลายเวอร์ชั่น โดยมีสามเวอร์ชั่นที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายและสืบทอดต่อเป็นตำราสำคัญของชนรุ่นหลัง เรียกรวมว่า ‘ชุนชิวสามฉบับ’ (ชุนชิวซานจ้วน/春秋三传) โดยแบ่งเป็นฉบับจั่วจ้วน (ประพันธ์โดยจั่วชิวหมิงในปลายสมัยชุนชิว) ฉบับกงหยางจ้วน (ประพันธ์โดยกงหยางเกาในยุคสมัยจ้านกั๋วหรือรณรัฐ) และฉบับกู่เหลียงจ้วน (ประพันธ์โดยกู่เหลียงชึในยุคสมัยจ้านกั๋ว) จั่วชิวหมิงเป็นขุนนางนักจดหมายเหตุ ดังนั้นคัมภีร์ชุนชิวฉบับจั่วจ้วนจึงเน้นการให้ข้อมูลเพิ่มเติมของเหตุการณ์ที่ถูกกล่าวถึงในต้นฉบับคัมภีร์ชุนชิวให้ละเอียดขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้นตามข้อมูลจริงทางประวัติศาสตร์และอธิบายให้เห็นถึงบริบทชนชั้นทางสังคมและแนวความคิดในสมัยนั้น โดยขยายความจากหนึ่งหมื่นกว่าอักษรเป็นสองแสนอักษร ความยาวทั้งสิ้นสามสิบบรรพ ส่วนคัมภีร์ชุนชิวฉบับกงหยางจ้วนและกู่เหลียงจ้วนนั้น ล้วนยาวสิบเอ็ดบรรพ เนื้อความเน้นไปทางการอธิบายปรัชญาขงจื๊อที่สอดแทรกอยู่ในเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตามต้นฉบับคัมภีร์ชุนชิวและฉบับจั่วจ้วน โดยเรียบเรียงเป็นบทสนทนาเชิงถามตอบเพื่อเน้นให้คิด มากกว่าเป็นการลำดับเหตุการณ์อย่างเอกสารต้นฉบับ ดังนั้น คัมภีร์ชุนชิวที่ถูกกล่าวถึงในปัจจุบันไม่ใช่หนังสือเล่มเดียว หากแต่เป็นชุดสามฉบับที่กล่าวมาข้างต้น (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความเก่าเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนของเด็ก: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/696535652474730 Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=218889 https://www.sucaisucai.com/sucai/12330646.html https://www.chinasage.info/ancient-states.htm http://www.360doc.com/content/23/0602/14/35924208_1083211701.shtml Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.bjnews.com.cn/detail/1719635772168981.html https://www.sohu.com/a/445253069_120791762 https://baike.baidu.com/item/四书五经/96723 http://www.chinaknowledge.de/Literature/Classics/chunqiuzuozhuan.html https://baike.baidu.com/item/左传/371757 https://baike.baidu.com/item/公羊传/685689 https://baike.baidu.com/item/穀梁传/64769850 #จิ่วฉงจื่อ #สี่ตำราห้าคัมภีร์ #ขงจื๊อ #คัมภีร์ชุนชิว #จั่วจ้วน #กงหยางจ้วน #กู่เหลียงจ้วน #สาระจีน
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 329 มุมมอง 0 รีวิว
  • **ดินแดนเนรเทศจีนโบราณ**

    สวัสดีค่ะ สองสัปดาห์ที่แล้วเราคุยเรื่องการไถ่โทษเนรเทศ วันนี้เลยมาคุยกันต่อเกี่ยวกับเกร็ดความรู้จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ว่าด้วยดินแดนเนรเทศ

    จิ่วฉงจื่อฯ เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติแต่เสื้อผ้าและสภาพสังคมอิงตามสมัยหมิง และในเรื่องนี้ บุรุษในครอบครัวสกุลเจี่ยงของติ้งกั๋วกงเจี่ยงเหมยซุน (ลุงของพระเอก) ถูกเนรเทศไปยังพื้นที่ที่มีชื่อว่า ‘เถียหลิ่งเว่ย’ ซึ่งเป็นหนึ่งในดินแดนเนรเทศยอดนิยมทางเหนือในสมัยนั้น

    แรกเริ่มเลยในสมัยบรรพกาล หากมีการเนรเทศจะนิยมส่งไปพื้นที่โยวโจว (แถบปักกิ่งปัจจุบัน) ต่อมามีการใช้พื้นที่อื่น ซึ่งโดยหลักการคือต้องเป็นพื้นที่ทุรกันดารและด้อยพัฒนา ไม่ว่าจะด้วยสภาพดินฟ้าอากาศหรือภูมิประเทศ ในสมัยฮั่นนิยมใช้พื้นที่แถบภูเขาทางตะวันตกในมณฑลเสฉวน เนื่องจากหนาวเย็น ไกลจากเส้นทางการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจ อีกทั้งภูมิประเทศเป็นเขาสูงทำให้ง่ายต่อการกักบริเวณนักโทษ ต่อมาเมื่อมีการขยายดินแดนและพัฒนาเศรษฐกิจลงใต้ ก็ยิ่งส่งนักโทษเนรเทศลงใต้ไปไกลยิ่งขึ้นโดยมีพื้นที่ยอดฮิตคือแถบหลิ่งหนานและไห่หนาน (กวางเจา กวางซี ฯลฯ) และไกลลงไปถึงเวียดนาม ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ห่างไกลความเจริญและมีพายุฝนและสภาพอากาศร้อนชื้น ง่ายต่อการล้มป่วย นับว่าทุรกันดารไม่แพ้กัน จวบจนยุคถังและซ่งก็ยังนิยมใช้พื้นที่ติดชายแดนทางตอนใต้นี้ (ดูรูปประกอบขวาบน)

    ส่วนพื้นที่ทางเหนือที่นิยมใช้เป็นดินแดนเนรเทศนั้น คือพื้นที่ทหารทางชายแดนตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีอากาศหนาวมากและชีวิตความเป็นอยู่ลำเค็ญ อีกทั้งการเดินทางไปมาก็ยากลำบาก มักถูกเรียกรวมว่า ‘ขู่หานจือตี้’ (แปลตรงตัวว่าพื้นที่หนาวมากและยากลำบาก) (ดูรูปประกอบขวาล่าง) แต่การใช้พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินแดนเนรเทศไม่สามารถทำได้ทุกยุคสมัย เนื่องจากดินแดนดังกล่าวไม่ได้อยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรภาคกลางเสมอไป จวบจนสมัยหยวนเป็นต้นมาจึงกลายเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยม โดยมีหลักการว่า คนจากพื้นที่ทางใต้จะถูกเนรเทศไปยังแดนเหนือ และคนจากพื้นที่ทางเหนือจะถูกเนรเทศลงใต้

    ในสมัยหมิง พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือยังคงเป็นดินแดนเนรเทศยอดนิยม โดยพื้นที่เถียหลิ่งเว่ยที่ถูกกล่าวถึงในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ นี้เป็นที่นิยมในช่วงยุคกลางของสมัยหมิง ต่อมาในสมัยชิงจึงเปลี่ยนไปเป็นหนิงกู๋ถ่าและเฮยหลงเจียง

    นอกจากนี้ยังมีพื้นที่แถบตะวันตกเฉียงเหนือที่ไม่ได้มีลงไว้ในรูปประกอบ ซึ่งก็คือบริเวณซีอวี้หรือซินเกียงปัจจุบัน ซึ่งเป็นดินแดนเนรเทศในสมัยฮั่น แต่ต่อมาเนื่องจากการครอบครองพื้นที่ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จึงไม่ได้มีการส่งนักโทษเนรเทศไปยังพื้นที่นี้อีกต่อไปจวบจนสมัยชิงจึงกลับมาเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยมอีกครั้ง

    เพื่อนเพจอาจติดภาพลักษณ์จากในซีรีส์ว่านักโทษเนรเทศจะถูกตีตรวนและมีการกักบริเวณ ทั้งนี้ ในหลายกรณีนักโทษเนรเทศเหล่านี้จะถูกใช้เป็นแรงงานในค่ายทหารโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพทางชายแดน นักโทษจึงทำหน้าที่หลากหลาย เช่นเผาฟืนทำถ่าน ทำการเกษตร ฯลฯ เหมือนอย่างการถูกเนรเทศไปยังเถียหลิ่งเว่ยซึ่งเป็นพื้นที่ทหารอย่างในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ เป็นต้น

    แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่นักโทษเนรเทศทุกคนที่ต้องอยู่ภายในค่ายกักกัน การเนรเทศยังมีอีกวัตถุประสงค์หนึ่งคือเพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้น นักโทษอาจถูกลงทะเบียนเป็นทาสรับใช้ทำงานให้ผู้มีอันจะกินในพื้นที่นั้นๆ (ซึ่งก็อาจเป็นแรงงานหนักและถูกกักบริเวณโดยผู้เป็นนายได้) หรืออาจเพียงถูกปล่อยทิ้งให้ใช้ชีวิตในดินแดนเนรเทศตามบุญตามกรรม ซึ่งหากเป็นอย่างหลังก็คือต้องขึ้นทะเบียนราษฎร์ในพื้นที่นั้นๆ เดินทางออกนอกพื้นที่ไม่ได้ แต่สามารถทำมาหากินสร้างเนื้อสร้างตัวได้ ในบางรัชสมัยยังอนุญาตให้สมาชิกครอบครัวฝ่ายหญิงเดินทางย้ายรกรากไปอยู่ร่วมกับสมาชิกครอบครัวฝ่ายชายได้ด้วย อย่าลืมว่านักโทษเนรเทศจำนวนมากเป็นนักโทษทางการเมืองเช่นอดีตขุนนางที่มีการศึกษา พวกเขาจึงมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ความรู้และวัฒนธรรมไปยังพื้นที่ทุรกันดารเหล่านี้

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g63130394/blossom-highlights/
    https://news.qq.com/rain/a/20250305A08SXM00
    https://news.qq.com/rain/a/20230809A078JQ00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.xinghuozhiku.com/76834.html
    https://m.fx361.com/news/2018/0201/16397999.html
    http://www.fs7000.com/news/?12143.html
    https://news.qq.com/rain/a/20240427A081KW00
    https://www.163.com/dy/article/HDA24IDA0552XK8U.html

    #จิ่วฉงจื่อ #ดินแดนเนรเทศ #เถียหลิ่งเว่ย #โทษเนรเทศ #สาระจีน
    **ดินแดนเนรเทศจีนโบราณ** สวัสดีค่ะ สองสัปดาห์ที่แล้วเราคุยเรื่องการไถ่โทษเนรเทศ วันนี้เลยมาคุยกันต่อเกี่ยวกับเกร็ดความรู้จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ว่าด้วยดินแดนเนรเทศ จิ่วฉงจื่อฯ เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติแต่เสื้อผ้าและสภาพสังคมอิงตามสมัยหมิง และในเรื่องนี้ บุรุษในครอบครัวสกุลเจี่ยงของติ้งกั๋วกงเจี่ยงเหมยซุน (ลุงของพระเอก) ถูกเนรเทศไปยังพื้นที่ที่มีชื่อว่า ‘เถียหลิ่งเว่ย’ ซึ่งเป็นหนึ่งในดินแดนเนรเทศยอดนิยมทางเหนือในสมัยนั้น แรกเริ่มเลยในสมัยบรรพกาล หากมีการเนรเทศจะนิยมส่งไปพื้นที่โยวโจว (แถบปักกิ่งปัจจุบัน) ต่อมามีการใช้พื้นที่อื่น ซึ่งโดยหลักการคือต้องเป็นพื้นที่ทุรกันดารและด้อยพัฒนา ไม่ว่าจะด้วยสภาพดินฟ้าอากาศหรือภูมิประเทศ ในสมัยฮั่นนิยมใช้พื้นที่แถบภูเขาทางตะวันตกในมณฑลเสฉวน เนื่องจากหนาวเย็น ไกลจากเส้นทางการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจ อีกทั้งภูมิประเทศเป็นเขาสูงทำให้ง่ายต่อการกักบริเวณนักโทษ ต่อมาเมื่อมีการขยายดินแดนและพัฒนาเศรษฐกิจลงใต้ ก็ยิ่งส่งนักโทษเนรเทศลงใต้ไปไกลยิ่งขึ้นโดยมีพื้นที่ยอดฮิตคือแถบหลิ่งหนานและไห่หนาน (กวางเจา กวางซี ฯลฯ) และไกลลงไปถึงเวียดนาม ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ห่างไกลความเจริญและมีพายุฝนและสภาพอากาศร้อนชื้น ง่ายต่อการล้มป่วย นับว่าทุรกันดารไม่แพ้กัน จวบจนยุคถังและซ่งก็ยังนิยมใช้พื้นที่ติดชายแดนทางตอนใต้นี้ (ดูรูปประกอบขวาบน) ส่วนพื้นที่ทางเหนือที่นิยมใช้เป็นดินแดนเนรเทศนั้น คือพื้นที่ทหารทางชายแดนตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีอากาศหนาวมากและชีวิตความเป็นอยู่ลำเค็ญ อีกทั้งการเดินทางไปมาก็ยากลำบาก มักถูกเรียกรวมว่า ‘ขู่หานจือตี้’ (แปลตรงตัวว่าพื้นที่หนาวมากและยากลำบาก) (ดูรูปประกอบขวาล่าง) แต่การใช้พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินแดนเนรเทศไม่สามารถทำได้ทุกยุคสมัย เนื่องจากดินแดนดังกล่าวไม่ได้อยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรภาคกลางเสมอไป จวบจนสมัยหยวนเป็นต้นมาจึงกลายเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยม โดยมีหลักการว่า คนจากพื้นที่ทางใต้จะถูกเนรเทศไปยังแดนเหนือ และคนจากพื้นที่ทางเหนือจะถูกเนรเทศลงใต้ ในสมัยหมิง พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือยังคงเป็นดินแดนเนรเทศยอดนิยม โดยพื้นที่เถียหลิ่งเว่ยที่ถูกกล่าวถึงในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ นี้เป็นที่นิยมในช่วงยุคกลางของสมัยหมิง ต่อมาในสมัยชิงจึงเปลี่ยนไปเป็นหนิงกู๋ถ่าและเฮยหลงเจียง นอกจากนี้ยังมีพื้นที่แถบตะวันตกเฉียงเหนือที่ไม่ได้มีลงไว้ในรูปประกอบ ซึ่งก็คือบริเวณซีอวี้หรือซินเกียงปัจจุบัน ซึ่งเป็นดินแดนเนรเทศในสมัยฮั่น แต่ต่อมาเนื่องจากการครอบครองพื้นที่ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จึงไม่ได้มีการส่งนักโทษเนรเทศไปยังพื้นที่นี้อีกต่อไปจวบจนสมัยชิงจึงกลับมาเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยมอีกครั้ง เพื่อนเพจอาจติดภาพลักษณ์จากในซีรีส์ว่านักโทษเนรเทศจะถูกตีตรวนและมีการกักบริเวณ ทั้งนี้ ในหลายกรณีนักโทษเนรเทศเหล่านี้จะถูกใช้เป็นแรงงานในค่ายทหารโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพทางชายแดน นักโทษจึงทำหน้าที่หลากหลาย เช่นเผาฟืนทำถ่าน ทำการเกษตร ฯลฯ เหมือนอย่างการถูกเนรเทศไปยังเถียหลิ่งเว่ยซึ่งเป็นพื้นที่ทหารอย่างในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ เป็นต้น แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่นักโทษเนรเทศทุกคนที่ต้องอยู่ภายในค่ายกักกัน การเนรเทศยังมีอีกวัตถุประสงค์หนึ่งคือเพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้น นักโทษอาจถูกลงทะเบียนเป็นทาสรับใช้ทำงานให้ผู้มีอันจะกินในพื้นที่นั้นๆ (ซึ่งก็อาจเป็นแรงงานหนักและถูกกักบริเวณโดยผู้เป็นนายได้) หรืออาจเพียงถูกปล่อยทิ้งให้ใช้ชีวิตในดินแดนเนรเทศตามบุญตามกรรม ซึ่งหากเป็นอย่างหลังก็คือต้องขึ้นทะเบียนราษฎร์ในพื้นที่นั้นๆ เดินทางออกนอกพื้นที่ไม่ได้ แต่สามารถทำมาหากินสร้างเนื้อสร้างตัวได้ ในบางรัชสมัยยังอนุญาตให้สมาชิกครอบครัวฝ่ายหญิงเดินทางย้ายรกรากไปอยู่ร่วมกับสมาชิกครอบครัวฝ่ายชายได้ด้วย อย่าลืมว่านักโทษเนรเทศจำนวนมากเป็นนักโทษทางการเมืองเช่นอดีตขุนนางที่มีการศึกษา พวกเขาจึงมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ความรู้และวัฒนธรรมไปยังพื้นที่ทุรกันดารเหล่านี้ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g63130394/blossom-highlights/ https://news.qq.com/rain/a/20250305A08SXM00 https://news.qq.com/rain/a/20230809A078JQ00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.xinghuozhiku.com/76834.html https://m.fx361.com/news/2018/0201/16397999.html http://www.fs7000.com/news/?12143.html https://news.qq.com/rain/a/20240427A081KW00 https://www.163.com/dy/article/HDA24IDA0552XK8U.html #จิ่วฉงจื่อ #ดินแดนเนรเทศ #เถียหลิ่งเว่ย #โทษเนรเทศ #สาระจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 404 มุมมอง 0 รีวิว
  • **การแต่งงานภายในช่วงเวลาไว้ทุกข์**

    สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนเรื่องระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณมาแล้ว โดนอิงรายละเอียดตามสมัยหมิง (ย้อนอ่านได้ในลิ้งค์ข้างล่าง) ซึ่งระยะเวลาที่สามีจะไว้ทุกข์ให้ภรรยาโดยทั่วไปคือหนึ่งปีและในช่วงเวลาไว้ทุกข์นั้น ห้ามจัดงานรื่นเริงหรืองานมงคล

    แต่ความ ‘เอ๊ะ’ จากการดูเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ก็คือ เมื่อแม่ของนางเอกเสีย แม่เลี้ยงก็ถูกพาเข้าเรือนมาเป็นภรรยาเอกภายในช่วงเวลาไม่กี่วันหลังจากแม่ของนางเอกเสีย สาเหตุหลักมาจากว่านางตั้งครรภ์แล้ว คำถามคือ แต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ได้ด้วยหรือ?

    การแต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ในหลักการคือต้องทำภายใน 100 วันแรกของการไว้ทุกข์ เรียกว่า ‘ไป่รึฉวี่’ (百日娶) หรือ ‘เฉิงเซี่ยวฉวี่’ (乘孝娶) และจริงๆ แล้วจะจัดทำในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น กล่าวคือมีญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายชายเสียไปในขณะที่เขาได้มีการหมั้นหมายไว้และมีแผนจะเข้าพิธีแต่งงานในอนาคตอันใกล้อยู่แล้ว จึงจัดให้แต่งงานกันเลยแทนที่จะรอให้พ้นระยะเวลาไว้ทุกข์ซึ่งอาจยาวนาน 1-3 ปี (ระยะเวลาไว้ทุกข์ขึ้นอยู่กับลำดับความสนิทของญาติผู้ใหญ่คนนั้นและยุคสมัย) และต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย

    เหตุผลของการแต่งงานภายในระยะเวลาไว้ทุกข์ดังกล่าวก็คือเพื่อไม่ให้เสียโอกาสในชีวิต เช่นสตรีจะได้ไม่เลยวัยแต่งงานอันควร หรือเหตุผลการเกี่ยวดองทางสังคมหรือการเมืองที่ไม่อาจรอช้าได้ นอกจากนี้ ยังเป็นความเชื่อที่ว่า ผู้ใหญ่ที่เสียไปอาจเคยมีความหวังไว้ว่าอยากเห็นลูกหลานเป็นฝั่งเป็นฝา จึงรีบแต่งงานเพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูอย่างหนึ่ง

    พิธีแต่งงานภายในระยะไว้ทุกข์นี้จะไม่ได้จัดทำตามพิธีสมรสทั่วไปเพราะต้องลดความเอิกเกริกลง เป็นต้นว่า ไม่เลือกวันมงคล ไม่แต่งบ้านสีแดง ไม่แจกอั่งเปา ไม่จัดเลี้ยง บ่าวสาวไม่ใส่สีแดงและแต่งกายด้วยสีสุภาพหรือแต่งแดงไว้ข้างในแต่คาดผ้ากระสอบทับ เจ้าสาวไม่ต้องแต่งหน้าแต่งตัวมาก ฝ่ายชายไม่อาจเข้าบ้านฝ่ายหญิงตอนรับตัวเจ้าสาวได้เพราะตนยังไว้ทุกข์อยู่โดยให้แม่สื่อทำหน้าที่ต่างๆ แทน และญาติฝ่ายหญิงไม่สามารถตามมาส่งตัวเจ้าสาวถึงบ้านฝ่ายชายได้ นอกจากนี้ ยังไม่มีการคำนับบรรพบุรุษฝ่ายชายเนื่องจากป้ายบรรพบุรุษจะถูกตกแต่งหรือจัดวางไว้สำหรับงานศพ โดยจะส่งตัวเจ้าสาวเข้าห้องหอเลย และหลังจากนั้นเจ้าสาวสามารถร่วมพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานศพได้ในฐานะสะใภ้ และเจ้าสาวต้องรอพ้นระยะไว้ทุกข์จึงจะกลับไปเยี่ยมบ้านตนเองได้

    การแต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ไม่ได้เป็นประเพณีอย่างทางการที่มีการบันทึกไว้สืบทอดมาแต่โบราณ (กล่าวคือไม่เหมือนกับขั้นตอนการแต่งงานหรือไว้ทุกข์ที่มีการบันทึกไว้ในบันทึกโจวหลี่หรือบทกฎหมายใด) หากแต่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติท้องถิ่นทางใต้ของจีน มีต้นตอมาอย่างไรก็ไม่ทราบได้ แต่ปรากฏให้เห็นผ่านงานวรรณกรรมหรืออุปรากรในสมัยหมิง และปัจจุบันยังเป็นธรรมเนียมที่พบเห็นได้ทางใต้ของประเทศจีนและไต้หวัน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความเก่าว่าด้วยระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ:
    https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1044627014332257
    https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1050216903773268

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://cyberrevue.com/2025-blossom/#jp-carousel-115105
    https://news.qq.com/rain/a/20241218A09Z5200
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://news.qq.com/rain/a/20200317A0V53X00#
    https://www.ilifepost.com/20210128/【阴宅解码】顺孝娶-婚礼一切从简
    https://www.facebook.com/permalink.php/?story_fbid=399369496884979&id=167326656755932

    #จิ่วฉงจื่อ #การแต่งงานจีนโบราณ #การไว้ทุกข์จีนโบราณ #ไป่รึฉวี่ #สาระจีน
    **การแต่งงานภายในช่วงเวลาไว้ทุกข์** สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนเรื่องระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณมาแล้ว โดนอิงรายละเอียดตามสมัยหมิง (ย้อนอ่านได้ในลิ้งค์ข้างล่าง) ซึ่งระยะเวลาที่สามีจะไว้ทุกข์ให้ภรรยาโดยทั่วไปคือหนึ่งปีและในช่วงเวลาไว้ทุกข์นั้น ห้ามจัดงานรื่นเริงหรืองานมงคล แต่ความ ‘เอ๊ะ’ จากการดูเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ก็คือ เมื่อแม่ของนางเอกเสีย แม่เลี้ยงก็ถูกพาเข้าเรือนมาเป็นภรรยาเอกภายในช่วงเวลาไม่กี่วันหลังจากแม่ของนางเอกเสีย สาเหตุหลักมาจากว่านางตั้งครรภ์แล้ว คำถามคือ แต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ได้ด้วยหรือ? การแต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ในหลักการคือต้องทำภายใน 100 วันแรกของการไว้ทุกข์ เรียกว่า ‘ไป่รึฉวี่’ (百日娶) หรือ ‘เฉิงเซี่ยวฉวี่’ (乘孝娶) และจริงๆ แล้วจะจัดทำในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น กล่าวคือมีญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายชายเสียไปในขณะที่เขาได้มีการหมั้นหมายไว้และมีแผนจะเข้าพิธีแต่งงานในอนาคตอันใกล้อยู่แล้ว จึงจัดให้แต่งงานกันเลยแทนที่จะรอให้พ้นระยะเวลาไว้ทุกข์ซึ่งอาจยาวนาน 1-3 ปี (ระยะเวลาไว้ทุกข์ขึ้นอยู่กับลำดับความสนิทของญาติผู้ใหญ่คนนั้นและยุคสมัย) และต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย เหตุผลของการแต่งงานภายในระยะเวลาไว้ทุกข์ดังกล่าวก็คือเพื่อไม่ให้เสียโอกาสในชีวิต เช่นสตรีจะได้ไม่เลยวัยแต่งงานอันควร หรือเหตุผลการเกี่ยวดองทางสังคมหรือการเมืองที่ไม่อาจรอช้าได้ นอกจากนี้ ยังเป็นความเชื่อที่ว่า ผู้ใหญ่ที่เสียไปอาจเคยมีความหวังไว้ว่าอยากเห็นลูกหลานเป็นฝั่งเป็นฝา จึงรีบแต่งงานเพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูอย่างหนึ่ง พิธีแต่งงานภายในระยะไว้ทุกข์นี้จะไม่ได้จัดทำตามพิธีสมรสทั่วไปเพราะต้องลดความเอิกเกริกลง เป็นต้นว่า ไม่เลือกวันมงคล ไม่แต่งบ้านสีแดง ไม่แจกอั่งเปา ไม่จัดเลี้ยง บ่าวสาวไม่ใส่สีแดงและแต่งกายด้วยสีสุภาพหรือแต่งแดงไว้ข้างในแต่คาดผ้ากระสอบทับ เจ้าสาวไม่ต้องแต่งหน้าแต่งตัวมาก ฝ่ายชายไม่อาจเข้าบ้านฝ่ายหญิงตอนรับตัวเจ้าสาวได้เพราะตนยังไว้ทุกข์อยู่โดยให้แม่สื่อทำหน้าที่ต่างๆ แทน และญาติฝ่ายหญิงไม่สามารถตามมาส่งตัวเจ้าสาวถึงบ้านฝ่ายชายได้ นอกจากนี้ ยังไม่มีการคำนับบรรพบุรุษฝ่ายชายเนื่องจากป้ายบรรพบุรุษจะถูกตกแต่งหรือจัดวางไว้สำหรับงานศพ โดยจะส่งตัวเจ้าสาวเข้าห้องหอเลย และหลังจากนั้นเจ้าสาวสามารถร่วมพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานศพได้ในฐานะสะใภ้ และเจ้าสาวต้องรอพ้นระยะไว้ทุกข์จึงจะกลับไปเยี่ยมบ้านตนเองได้ การแต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ไม่ได้เป็นประเพณีอย่างทางการที่มีการบันทึกไว้สืบทอดมาแต่โบราณ (กล่าวคือไม่เหมือนกับขั้นตอนการแต่งงานหรือไว้ทุกข์ที่มีการบันทึกไว้ในบันทึกโจวหลี่หรือบทกฎหมายใด) หากแต่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติท้องถิ่นทางใต้ของจีน มีต้นตอมาอย่างไรก็ไม่ทราบได้ แต่ปรากฏให้เห็นผ่านงานวรรณกรรมหรืออุปรากรในสมัยหมิง และปัจจุบันยังเป็นธรรมเนียมที่พบเห็นได้ทางใต้ของประเทศจีนและไต้หวัน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความเก่าว่าด้วยระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1044627014332257 https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1050216903773268 Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://cyberrevue.com/2025-blossom/#jp-carousel-115105 https://news.qq.com/rain/a/20241218A09Z5200 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://news.qq.com/rain/a/20200317A0V53X00# https://www.ilifepost.com/20210128/【阴宅解码】顺孝娶-婚礼一切从简 https://www.facebook.com/permalink.php/?story_fbid=399369496884979&id=167326656755932 #จิ่วฉงจื่อ #การแต่งงานจีนโบราณ #การไว้ทุกข์จีนโบราณ #ไป่รึฉวี่ #สาระจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 421 มุมมอง 0 รีวิว