**ดินแดนเนรเทศจีนโบราณ**
สวัสดีค่ะ สองสัปดาห์ที่แล้วเราคุยเรื่องการไถ่โทษเนรเทศ วันนี้เลยมาคุยกันต่อเกี่ยวกับเกร็ดความรู้จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ว่าด้วยดินแดนเนรเทศ
จิ่วฉงจื่อฯ เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติแต่เสื้อผ้าและสภาพสังคมอิงตามสมัยหมิง และในเรื่องนี้ บุรุษในครอบครัวสกุลเจี่ยงของติ้งกั๋วกงเจี่ยงเหมยซุน (ลุงของพระเอก) ถูกเนรเทศไปยังพื้นที่ที่มีชื่อว่า ‘เถียหลิ่งเว่ย’ ซึ่งเป็นหนึ่งในดินแดนเนรเทศยอดนิยมทางเหนือในสมัยนั้น
แรกเริ่มเลยในสมัยบรรพกาล หากมีการเนรเทศจะนิยมส่งไปพื้นที่โยวโจว (แถบปักกิ่งปัจจุบัน) ต่อมามีการใช้พื้นที่อื่น ซึ่งโดยหลักการคือต้องเป็นพื้นที่ทุรกันดารและด้อยพัฒนา ไม่ว่าจะด้วยสภาพดินฟ้าอากาศหรือภูมิประเทศ ในสมัยฮั่นนิยมใช้พื้นที่แถบภูเขาทางตะวันตกในมณฑลเสฉวน เนื่องจากหนาวเย็น ไกลจากเส้นทางการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจ อีกทั้งภูมิประเทศเป็นเขาสูงทำให้ง่ายต่อการกักบริเวณนักโทษ ต่อมาเมื่อมีการขยายดินแดนและพัฒนาเศรษฐกิจลงใต้ ก็ยิ่งส่งนักโทษเนรเทศลงใต้ไปไกลยิ่งขึ้นโดยมีพื้นที่ยอดฮิตคือแถบหลิ่งหนานและไห่หนาน (กวางเจา กวางซี ฯลฯ) และไกลลงไปถึงเวียดนาม ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ห่างไกลความเจริญและมีพายุฝนและสภาพอากาศร้อนชื้น ง่ายต่อการล้มป่วย นับว่าทุรกันดารไม่แพ้กัน จวบจนยุคถังและซ่งก็ยังนิยมใช้พื้นที่ติดชายแดนทางตอนใต้นี้ (ดูรูปประกอบขวาบน)
ส่วนพื้นที่ทางเหนือที่นิยมใช้เป็นดินแดนเนรเทศนั้น คือพื้นที่ทหารทางชายแดนตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีอากาศหนาวมากและชีวิตความเป็นอยู่ลำเค็ญ อีกทั้งการเดินทางไปมาก็ยากลำบาก มักถูกเรียกรวมว่า ‘ขู่หานจือตี้’ (แปลตรงตัวว่าพื้นที่หนาวมากและยากลำบาก) (ดูรูปประกอบขวาล่าง) แต่การใช้พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินแดนเนรเทศไม่สามารถทำได้ทุกยุคสมัย เนื่องจากดินแดนดังกล่าวไม่ได้อยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรภาคกลางเสมอไป จวบจนสมัยหยวนเป็นต้นมาจึงกลายเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยม โดยมีหลักการว่า คนจากพื้นที่ทางใต้จะถูกเนรเทศไปยังแดนเหนือ และคนจากพื้นที่ทางเหนือจะถูกเนรเทศลงใต้
ในสมัยหมิง พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือยังคงเป็นดินแดนเนรเทศยอดนิยม โดยพื้นที่เถียหลิ่งเว่ยที่ถูกกล่าวถึงในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ นี้เป็นที่นิยมในช่วงยุคกลางของสมัยหมิง ต่อมาในสมัยชิงจึงเปลี่ยนไปเป็นหนิงกู๋ถ่าและเฮยหลงเจียง
นอกจากนี้ยังมีพื้นที่แถบตะวันตกเฉียงเหนือที่ไม่ได้มีลงไว้ในรูปประกอบ ซึ่งก็คือบริเวณซีอวี้หรือซินเกียงปัจจุบัน ซึ่งเป็นดินแดนเนรเทศในสมัยฮั่น แต่ต่อมาเนื่องจากการครอบครองพื้นที่ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จึงไม่ได้มีการส่งนักโทษเนรเทศไปยังพื้นที่นี้อีกต่อไปจวบจนสมัยชิงจึงกลับมาเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยมอีกครั้ง
เพื่อนเพจอาจติดภาพลักษณ์จากในซีรีส์ว่านักโทษเนรเทศจะถูกตีตรวนและมีการกักบริเวณ ทั้งนี้ ในหลายกรณีนักโทษเนรเทศเหล่านี้จะถูกใช้เป็นแรงงานในค่ายทหารโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพทางชายแดน นักโทษจึงทำหน้าที่หลากหลาย เช่นเผาฟืนทำถ่าน ทำการเกษตร ฯลฯ เหมือนอย่างการถูกเนรเทศไปยังเถียหลิ่งเว่ยซึ่งเป็นพื้นที่ทหารอย่างในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ เป็นต้น
แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่นักโทษเนรเทศทุกคนที่ต้องอยู่ภายในค่ายกักกัน การเนรเทศยังมีอีกวัตถุประสงค์หนึ่งคือเพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้น นักโทษอาจถูกลงทะเบียนเป็นทาสรับใช้ทำงานให้ผู้มีอันจะกินในพื้นที่นั้นๆ (ซึ่งก็อาจเป็นแรงงานหนักและถูกกักบริเวณโดยผู้เป็นนายได้) หรืออาจเพียงถูกปล่อยทิ้งให้ใช้ชีวิตในดินแดนเนรเทศตามบุญตามกรรม ซึ่งหากเป็นอย่างหลังก็คือต้องขึ้นทะเบียนราษฎร์ในพื้นที่นั้นๆ เดินทางออกนอกพื้นที่ไม่ได้ แต่สามารถทำมาหากินสร้างเนื้อสร้างตัวได้ ในบางรัชสมัยยังอนุญาตให้สมาชิกครอบครัวฝ่ายหญิงเดินทางย้ายรกรากไปอยู่ร่วมกับสมาชิกครอบครัวฝ่ายชายได้ด้วย อย่าลืมว่านักโทษเนรเทศจำนวนมากเป็นนักโทษทางการเมืองเช่นอดีตขุนนางที่มีการศึกษา พวกเขาจึงมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ความรู้และวัฒนธรรมไปยังพื้นที่ทุรกันดารเหล่านี้
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g63130394/blossom-highlights/
https://news.qq.com/rain/a/20250305A08SXM00
https://news.qq.com/rain/a/20230809A078JQ00
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://www.xinghuozhiku.com/76834.html
https://m.fx361.com/news/2018/0201/16397999.html
http://www.fs7000.com/news/?12143.html
https://news.qq.com/rain/a/20240427A081KW00
https://www.163.com/dy/article/HDA24IDA0552XK8U.html
#จิ่วฉงจื่อ #ดินแดนเนรเทศ #เถียหลิ่งเว่ย #โทษเนรเทศ #สาระจีน
สวัสดีค่ะ สองสัปดาห์ที่แล้วเราคุยเรื่องการไถ่โทษเนรเทศ วันนี้เลยมาคุยกันต่อเกี่ยวกับเกร็ดความรู้จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ว่าด้วยดินแดนเนรเทศ
จิ่วฉงจื่อฯ เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติแต่เสื้อผ้าและสภาพสังคมอิงตามสมัยหมิง และในเรื่องนี้ บุรุษในครอบครัวสกุลเจี่ยงของติ้งกั๋วกงเจี่ยงเหมยซุน (ลุงของพระเอก) ถูกเนรเทศไปยังพื้นที่ที่มีชื่อว่า ‘เถียหลิ่งเว่ย’ ซึ่งเป็นหนึ่งในดินแดนเนรเทศยอดนิยมทางเหนือในสมัยนั้น
แรกเริ่มเลยในสมัยบรรพกาล หากมีการเนรเทศจะนิยมส่งไปพื้นที่โยวโจว (แถบปักกิ่งปัจจุบัน) ต่อมามีการใช้พื้นที่อื่น ซึ่งโดยหลักการคือต้องเป็นพื้นที่ทุรกันดารและด้อยพัฒนา ไม่ว่าจะด้วยสภาพดินฟ้าอากาศหรือภูมิประเทศ ในสมัยฮั่นนิยมใช้พื้นที่แถบภูเขาทางตะวันตกในมณฑลเสฉวน เนื่องจากหนาวเย็น ไกลจากเส้นทางการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจ อีกทั้งภูมิประเทศเป็นเขาสูงทำให้ง่ายต่อการกักบริเวณนักโทษ ต่อมาเมื่อมีการขยายดินแดนและพัฒนาเศรษฐกิจลงใต้ ก็ยิ่งส่งนักโทษเนรเทศลงใต้ไปไกลยิ่งขึ้นโดยมีพื้นที่ยอดฮิตคือแถบหลิ่งหนานและไห่หนาน (กวางเจา กวางซี ฯลฯ) และไกลลงไปถึงเวียดนาม ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ห่างไกลความเจริญและมีพายุฝนและสภาพอากาศร้อนชื้น ง่ายต่อการล้มป่วย นับว่าทุรกันดารไม่แพ้กัน จวบจนยุคถังและซ่งก็ยังนิยมใช้พื้นที่ติดชายแดนทางตอนใต้นี้ (ดูรูปประกอบขวาบน)
ส่วนพื้นที่ทางเหนือที่นิยมใช้เป็นดินแดนเนรเทศนั้น คือพื้นที่ทหารทางชายแดนตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีอากาศหนาวมากและชีวิตความเป็นอยู่ลำเค็ญ อีกทั้งการเดินทางไปมาก็ยากลำบาก มักถูกเรียกรวมว่า ‘ขู่หานจือตี้’ (แปลตรงตัวว่าพื้นที่หนาวมากและยากลำบาก) (ดูรูปประกอบขวาล่าง) แต่การใช้พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินแดนเนรเทศไม่สามารถทำได้ทุกยุคสมัย เนื่องจากดินแดนดังกล่าวไม่ได้อยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรภาคกลางเสมอไป จวบจนสมัยหยวนเป็นต้นมาจึงกลายเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยม โดยมีหลักการว่า คนจากพื้นที่ทางใต้จะถูกเนรเทศไปยังแดนเหนือ และคนจากพื้นที่ทางเหนือจะถูกเนรเทศลงใต้
ในสมัยหมิง พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือยังคงเป็นดินแดนเนรเทศยอดนิยม โดยพื้นที่เถียหลิ่งเว่ยที่ถูกกล่าวถึงในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ นี้เป็นที่นิยมในช่วงยุคกลางของสมัยหมิง ต่อมาในสมัยชิงจึงเปลี่ยนไปเป็นหนิงกู๋ถ่าและเฮยหลงเจียง
นอกจากนี้ยังมีพื้นที่แถบตะวันตกเฉียงเหนือที่ไม่ได้มีลงไว้ในรูปประกอบ ซึ่งก็คือบริเวณซีอวี้หรือซินเกียงปัจจุบัน ซึ่งเป็นดินแดนเนรเทศในสมัยฮั่น แต่ต่อมาเนื่องจากการครอบครองพื้นที่ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จึงไม่ได้มีการส่งนักโทษเนรเทศไปยังพื้นที่นี้อีกต่อไปจวบจนสมัยชิงจึงกลับมาเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยมอีกครั้ง
เพื่อนเพจอาจติดภาพลักษณ์จากในซีรีส์ว่านักโทษเนรเทศจะถูกตีตรวนและมีการกักบริเวณ ทั้งนี้ ในหลายกรณีนักโทษเนรเทศเหล่านี้จะถูกใช้เป็นแรงงานในค่ายทหารโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพทางชายแดน นักโทษจึงทำหน้าที่หลากหลาย เช่นเผาฟืนทำถ่าน ทำการเกษตร ฯลฯ เหมือนอย่างการถูกเนรเทศไปยังเถียหลิ่งเว่ยซึ่งเป็นพื้นที่ทหารอย่างในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ เป็นต้น
แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่นักโทษเนรเทศทุกคนที่ต้องอยู่ภายในค่ายกักกัน การเนรเทศยังมีอีกวัตถุประสงค์หนึ่งคือเพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้น นักโทษอาจถูกลงทะเบียนเป็นทาสรับใช้ทำงานให้ผู้มีอันจะกินในพื้นที่นั้นๆ (ซึ่งก็อาจเป็นแรงงานหนักและถูกกักบริเวณโดยผู้เป็นนายได้) หรืออาจเพียงถูกปล่อยทิ้งให้ใช้ชีวิตในดินแดนเนรเทศตามบุญตามกรรม ซึ่งหากเป็นอย่างหลังก็คือต้องขึ้นทะเบียนราษฎร์ในพื้นที่นั้นๆ เดินทางออกนอกพื้นที่ไม่ได้ แต่สามารถทำมาหากินสร้างเนื้อสร้างตัวได้ ในบางรัชสมัยยังอนุญาตให้สมาชิกครอบครัวฝ่ายหญิงเดินทางย้ายรกรากไปอยู่ร่วมกับสมาชิกครอบครัวฝ่ายชายได้ด้วย อย่าลืมว่านักโทษเนรเทศจำนวนมากเป็นนักโทษทางการเมืองเช่นอดีตขุนนางที่มีการศึกษา พวกเขาจึงมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ความรู้และวัฒนธรรมไปยังพื้นที่ทุรกันดารเหล่านี้
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g63130394/blossom-highlights/
https://news.qq.com/rain/a/20250305A08SXM00
https://news.qq.com/rain/a/20230809A078JQ00
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://www.xinghuozhiku.com/76834.html
https://m.fx361.com/news/2018/0201/16397999.html
http://www.fs7000.com/news/?12143.html
https://news.qq.com/rain/a/20240427A081KW00
https://www.163.com/dy/article/HDA24IDA0552XK8U.html
#จิ่วฉงจื่อ #ดินแดนเนรเทศ #เถียหลิ่งเว่ย #โทษเนรเทศ #สาระจีน
**ดินแดนเนรเทศจีนโบราณ**
สวัสดีค่ะ สองสัปดาห์ที่แล้วเราคุยเรื่องการไถ่โทษเนรเทศ วันนี้เลยมาคุยกันต่อเกี่ยวกับเกร็ดความรู้จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ว่าด้วยดินแดนเนรเทศ
จิ่วฉงจื่อฯ เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติแต่เสื้อผ้าและสภาพสังคมอิงตามสมัยหมิง และในเรื่องนี้ บุรุษในครอบครัวสกุลเจี่ยงของติ้งกั๋วกงเจี่ยงเหมยซุน (ลุงของพระเอก) ถูกเนรเทศไปยังพื้นที่ที่มีชื่อว่า ‘เถียหลิ่งเว่ย’ ซึ่งเป็นหนึ่งในดินแดนเนรเทศยอดนิยมทางเหนือในสมัยนั้น
แรกเริ่มเลยในสมัยบรรพกาล หากมีการเนรเทศจะนิยมส่งไปพื้นที่โยวโจว (แถบปักกิ่งปัจจุบัน) ต่อมามีการใช้พื้นที่อื่น ซึ่งโดยหลักการคือต้องเป็นพื้นที่ทุรกันดารและด้อยพัฒนา ไม่ว่าจะด้วยสภาพดินฟ้าอากาศหรือภูมิประเทศ ในสมัยฮั่นนิยมใช้พื้นที่แถบภูเขาทางตะวันตกในมณฑลเสฉวน เนื่องจากหนาวเย็น ไกลจากเส้นทางการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจ อีกทั้งภูมิประเทศเป็นเขาสูงทำให้ง่ายต่อการกักบริเวณนักโทษ ต่อมาเมื่อมีการขยายดินแดนและพัฒนาเศรษฐกิจลงใต้ ก็ยิ่งส่งนักโทษเนรเทศลงใต้ไปไกลยิ่งขึ้นโดยมีพื้นที่ยอดฮิตคือแถบหลิ่งหนานและไห่หนาน (กวางเจา กวางซี ฯลฯ) และไกลลงไปถึงเวียดนาม ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ห่างไกลความเจริญและมีพายุฝนและสภาพอากาศร้อนชื้น ง่ายต่อการล้มป่วย นับว่าทุรกันดารไม่แพ้กัน จวบจนยุคถังและซ่งก็ยังนิยมใช้พื้นที่ติดชายแดนทางตอนใต้นี้ (ดูรูปประกอบขวาบน)
ส่วนพื้นที่ทางเหนือที่นิยมใช้เป็นดินแดนเนรเทศนั้น คือพื้นที่ทหารทางชายแดนตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีอากาศหนาวมากและชีวิตความเป็นอยู่ลำเค็ญ อีกทั้งการเดินทางไปมาก็ยากลำบาก มักถูกเรียกรวมว่า ‘ขู่หานจือตี้’ (แปลตรงตัวว่าพื้นที่หนาวมากและยากลำบาก) (ดูรูปประกอบขวาล่าง) แต่การใช้พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินแดนเนรเทศไม่สามารถทำได้ทุกยุคสมัย เนื่องจากดินแดนดังกล่าวไม่ได้อยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรภาคกลางเสมอไป จวบจนสมัยหยวนเป็นต้นมาจึงกลายเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยม โดยมีหลักการว่า คนจากพื้นที่ทางใต้จะถูกเนรเทศไปยังแดนเหนือ และคนจากพื้นที่ทางเหนือจะถูกเนรเทศลงใต้
ในสมัยหมิง พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือยังคงเป็นดินแดนเนรเทศยอดนิยม โดยพื้นที่เถียหลิ่งเว่ยที่ถูกกล่าวถึงในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ นี้เป็นที่นิยมในช่วงยุคกลางของสมัยหมิง ต่อมาในสมัยชิงจึงเปลี่ยนไปเป็นหนิงกู๋ถ่าและเฮยหลงเจียง
นอกจากนี้ยังมีพื้นที่แถบตะวันตกเฉียงเหนือที่ไม่ได้มีลงไว้ในรูปประกอบ ซึ่งก็คือบริเวณซีอวี้หรือซินเกียงปัจจุบัน ซึ่งเป็นดินแดนเนรเทศในสมัยฮั่น แต่ต่อมาเนื่องจากการครอบครองพื้นที่ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จึงไม่ได้มีการส่งนักโทษเนรเทศไปยังพื้นที่นี้อีกต่อไปจวบจนสมัยชิงจึงกลับมาเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยมอีกครั้ง
เพื่อนเพจอาจติดภาพลักษณ์จากในซีรีส์ว่านักโทษเนรเทศจะถูกตีตรวนและมีการกักบริเวณ ทั้งนี้ ในหลายกรณีนักโทษเนรเทศเหล่านี้จะถูกใช้เป็นแรงงานในค่ายทหารโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพทางชายแดน นักโทษจึงทำหน้าที่หลากหลาย เช่นเผาฟืนทำถ่าน ทำการเกษตร ฯลฯ เหมือนอย่างการถูกเนรเทศไปยังเถียหลิ่งเว่ยซึ่งเป็นพื้นที่ทหารอย่างในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ เป็นต้น
แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่นักโทษเนรเทศทุกคนที่ต้องอยู่ภายในค่ายกักกัน การเนรเทศยังมีอีกวัตถุประสงค์หนึ่งคือเพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้น นักโทษอาจถูกลงทะเบียนเป็นทาสรับใช้ทำงานให้ผู้มีอันจะกินในพื้นที่นั้นๆ (ซึ่งก็อาจเป็นแรงงานหนักและถูกกักบริเวณโดยผู้เป็นนายได้) หรืออาจเพียงถูกปล่อยทิ้งให้ใช้ชีวิตในดินแดนเนรเทศตามบุญตามกรรม ซึ่งหากเป็นอย่างหลังก็คือต้องขึ้นทะเบียนราษฎร์ในพื้นที่นั้นๆ เดินทางออกนอกพื้นที่ไม่ได้ แต่สามารถทำมาหากินสร้างเนื้อสร้างตัวได้ ในบางรัชสมัยยังอนุญาตให้สมาชิกครอบครัวฝ่ายหญิงเดินทางย้ายรกรากไปอยู่ร่วมกับสมาชิกครอบครัวฝ่ายชายได้ด้วย อย่าลืมว่านักโทษเนรเทศจำนวนมากเป็นนักโทษทางการเมืองเช่นอดีตขุนนางที่มีการศึกษา พวกเขาจึงมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ความรู้และวัฒนธรรมไปยังพื้นที่ทุรกันดารเหล่านี้
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g63130394/blossom-highlights/
https://news.qq.com/rain/a/20250305A08SXM00
https://news.qq.com/rain/a/20230809A078JQ00
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://www.xinghuozhiku.com/76834.html
https://m.fx361.com/news/2018/0201/16397999.html
http://www.fs7000.com/news/?12143.html
https://news.qq.com/rain/a/20240427A081KW00
https://www.163.com/dy/article/HDA24IDA0552XK8U.html
#จิ่วฉงจื่อ #ดินแดนเนรเทศ #เถียหลิ่งเว่ย #โทษเนรเทศ #สาระจีน
1 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
55 มุมมอง
0 รีวิว