• คิสซิงเจอร์เคยพูดไว้ว่า
    “การเป็นศัตรูของสหรัฐฯ เป็นเรื่องอันตราย
    แต่การเป็นเพื่อนกับสหรัฐฯ น่ากลัวยิ่งกว่า”
    .
    ความห่วงใยของปราชญ์ สามสี ในบทความเรื่องไต้หวันและยูเครน เป็นสิ่งพึงสังวร
    [https://www.facebook.com/siamgreatwarriors/posts/1239830264171665]
    แต่เด็กรุ่นหลังไม่เข้าใจภัยที่ต้องสังวรนี้
    ขณะที่คนรุ่นเก่าพยายามใช้เวลาที่เหลือในชีวิตเพื่อป้องกันภัยนี้ให้พวกเขา
    พวกเขากลับเรียกร้องที่จะเป็นผู้จงรักต่อภัยคุกคามจากต่างชาติเหล่านี้
    .
    .
    เหล่าหมู่เกาะในอุษาสมุทร มีเกาะหนึ่งชื่อฟอโมซา พวกปอร์ตุเกสเป็นคนเรียกชื่อนี้และเขียนลงบนแผนที่ เกาะแห่งนี้เป็นบ้านของชนเผ่าหลายเผ่าที่พูดภาษาออสโตรนีเชียน (มาลาโย-โพลีนีเชียน) ในเลือดพวกเขามียีนที่เกี่ยวพันกับบรรพบุรุษอัสเลียนเช่นเดียวกับเราและกลุ่มที่กระจายอยู่ตามเกาะแก่งต่างๆ ในอุษาสมุทร พวกเขาประกอบด้วยชนเผ่าหลายเผ่า เช่น อตายาล พูยูมะ อาหมี ไพวัน ตาว เถา บูนัน ฮลาวาลัว กาวาลัน กานากานาวู รูไก ไซซิแยต ซากิซายะ ซีดิก ทาโรโก มากาเตา สิรายา บาบูจา บาเซ เกตากาลัน ปาโปรา.... พวกเขาคือเจ้าของแท้จริงของดินแดนที่ซึ่งวันนี้รู้จักกันว่า ไต้หวัน
    .
    อย่างที่รู้ ไต้หวันทุกวันนี้ถูกปกครองโดยคนจีนพลัดถิ่นที่แรกเริ่มนำมาโดยเจียงไคเช็คซึ่งหนีกองทัพรัฐบาลกลางมาตั้งมั่นที่เกาะแห่งนี้ ประวัติศาสตร์เหล่านี้หาอ่านได้ จึงไม่ขอกล่าวถึง
    .
    ย้อนหลังไปในประวัติศาสตร์จีน บันทึกจีนสมัยสามก๊กเขียนถึงเกาะแห่งหนึ่ง จีนเรียกชื่อว่าหยี่โจว.. ในยุคต่อๆมาพ่อค้าจีนเรียกว่า เสี่ยวตงเต้า บ้าง.. ต้าฮุยกัว บ้าง.. มีการติดต่อค้าขายระหว่างคนจีนและคนพื้นเมืองมาตั้งแต่ราชวงศ์สุย เรื่อยมาจนถึงราชวงศ์หยวน มีชาวจีนมาตั้งรกรากอยู่บนเกาะแห่งนี้ตั้งแต่ศตวรรษที่สิบหก ทะเลในแถบนี้คนจีนถือเป็นบริเวณที่สำคัญของปลากระบอก ขุนนางคนหนึ่งชื่อเฉินตี้เดินทางมากับกองทหารปราบโจรสลัดในทะเลตะวันออกและมาเยือนเกาะแห่งนี้ เฉินตี้เขียนบันทึกเล่มหนึ่งชื่อตงฟานจี (แปลว่าบันทึกของชาวป่าเถื่อนตะวันออก) บรรยายถึงชาวพื้นเมืองและวิถีชีวิตของพวกเขา รวมทั้งบันทึกถึงถิ่นฐานต่างๆ ที่ชาวจีนมาตั้งรกรากอยู่บนเกาะแห่งนี้ พ่อค้าจีนค้าขายเหล็กและสิ่งทอ แลกกับถ่านหิน กำมะถัน ทองคำและเนื้อกวางกับคนพื้นเมือง คนจีนจึงรับรู้ตัวตนของพวกเขาและยอมรับสถานะพวกเขามาแต่โบราณ ถือเป็นดินแดนหนึ่งในอาณัตของจีน เมื่อโชกุนโทกูกาวายกทัพมาเพื่อพยายามจะยึดเกาะแห่งนี้ จีนจึงส่งกองกำลังมาขับไล่
    .
    ผมเคยเขียนถึงเพื่อนศิลปินคนหนึ่งจากเผ่าพูยูมะ เธอชื่อซามิงัน เธอเล่าให้ฟังถึงความรู้สึกในฐานะชนเผ่าที่เป็นเจ้าของแผ่นดินแต่ไม่เคยมีศักดิ์ฐานะเช่นเจ้าของแผ่นดินเลยเมื่อเทียบกับคนจีนที่มาปกครอง ศิลปะวัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆ ถูกละเลยและเสื่อมลงเรื่อยๆ
    .
    อย่างที่ทราบ รัฐบาลไต้หวันทุกวันนี้เป็นชาวจีนอพยพ แต่พวกเขาไม่ยอมรับจีนแผ่นดินใหญ่ คณะปกครองปัจจุบันพยายามที่จะแยกว่าไต้หวันเป็นอิสระจากจีนและอาศัยอเมริกาเป็นโล่ห์กำบังทั้งที่อเมริกาและสหประชาชาติตกลงยอมรับความเป็นจีนเดียว ไต้หวันทำทุกอย่างที่อเมริกาสั่งเพื่อเป็นฐานในการต่อต้านจีนในแปซิฟิค และอย่างที่ทุกคนรู้ ชะตากรรมของไต้หวันนั้นล่อแหลมอย่างมากและโดยแท้แล้วอเมริกาไม่แยแสพวกเขา แต่จะใช้ประโยชน์เท่าที่ใช้ได้ และในที่สุดแล้วไม่มีทางเลยที่ไต้หวันจะแยกตัวออกไปจากจีนแผ่นดินใหญ่ได้ พวกเขาจะถูกบดขยี้ถ้าเลือกหนทางที่ต่อต้านขัดขืนด้วยการใช้กำลังทหาร
    .
    เอาจริงๆ ประชาชนจีนพลัดถิ่นในไต้หวัน ไม่ได้รู้สึกว่ามันจะเลวร้ายหรอกถ้าเป็นส่วนหนึ่งของจีน ทุกวันนี้จากข่าวก็เห็นกันไปทั้งโลกว่าจีนก้าวหน้าเพียงใด และไต้หวันจะก้าวหน้าไปไกลกว่านี้ถ้ากลับไปสู่จีน แต่ชนชั้นปกครองไม่ต้องบอกก็รู้ว่าล้วนรับใช้อเมริกัน คนพวกนี้จะลงเอยในฐานกบฏ
    .
    ในความรู้สึกของผม คนจีนพลัดถิ่นในไต้หวันควรที่จะคืนศักดิ์ฐานะให้ชาวพื้นเมืองเจ้าของแผ่นดินตัวจริง ให้พวกเขามีส่วนในการปกครองและตัดสินใจในอนาคตของประชากรบนเกาะแห่งนี้
    .
    คงไม่ต้องบอก ผู้ชายชาวไต้หวันไม่ว่าจะชนพื้นเมืองหรือคนจีนอพยพล้วนอยู่ในสาแหรก Hg O พวกชนพื้นเมืองมียีนที่เก่ากว่ามากเมื่อเทียบกับคนจีนแม้ในแผ่นดินใหญ่ ยีนแม่ของพวกเขามีสายใยเชื่อมโยงกับคนไทยอย่างเราทาง mt Hg F และ D พวกเขามีความเกี่ยวพันใกล้ชิดกับชนเผ่าไทอย่างหลี ก้ำ สุ่ย ในไห่หนานและชนเผ่าฮักกา เกี่ยวพันกับชนเผ่าในฟิลิปปินส์ และยังเกี่ยวพันกับชนพื้นเมืองบนเกาะโอกินาวา
    .
    บทความของ ปราชญ์ สามสี ที่ผมเอาลิ๊งก์มาแนบนี้ น่าจะทำให้คนไทยคิดให้มากขึ้น ยูเครนนั้นเดินไปสู่หนทางสิ้นชาติแล้วอย่างแน่นอน แต่ไต้หวันจะไม่แย่ขนาดนั้น สำหรับจีน ชนพื้นเมืองต่างๆ ถือเป็นทรัพยากรอันมีคุณต่อเศรษฐกิจ เป็นซอฟพาวเวอร์สำหรับโลกยุคปัจจุบัน ไทยควรจะต้องรู้ว่าการสังเวยตัวเองไปอยู่ระหว่างคมหอกของมหาอำนาจอย่างที่ไต้หวันกำลังทำนั้นเป็นความโง่เขลาสิ้นคิด อย่าได้ถลำไปในทางนั้นอย่างเด็ดขาด
    .
    กรณีของไต้หวัน หากจะยึดถือจุดยืนตรงข้ออ้างที่ไม่เกี่ยวข้องกับจีน มีทางเดียว คนจีนทั้งหมดต้องยุติบทบาทการปกครองแล้วมอบสิทธิ์คืนแก่คนพื้นเมือง คนจีนอพยพทั้งหมดต้องถอยไปในจุดที่เป็นแค่ผู้อาศัยเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าคงยอมไม่ได้
    .
    คิสซิงเจอร์เคยพูดไว้ว่า “การเป็นศัตรูของสหรัฐฯ เป็นเรื่องอันตราย แต่การเป็นเพื่อนกับสหรัฐฯ น่ากลัวยิ่งกว่า” . ความห่วงใยของปราชญ์ สามสี ในบทความเรื่องไต้หวันและยูเครน เป็นสิ่งพึงสังวร [https://www.facebook.com/siamgreatwarriors/posts/1239830264171665] แต่เด็กรุ่นหลังไม่เข้าใจภัยที่ต้องสังวรนี้ ขณะที่คนรุ่นเก่าพยายามใช้เวลาที่เหลือในชีวิตเพื่อป้องกันภัยนี้ให้พวกเขา พวกเขากลับเรียกร้องที่จะเป็นผู้จงรักต่อภัยคุกคามจากต่างชาติเหล่านี้ . . เหล่าหมู่เกาะในอุษาสมุทร มีเกาะหนึ่งชื่อฟอโมซา พวกปอร์ตุเกสเป็นคนเรียกชื่อนี้และเขียนลงบนแผนที่ เกาะแห่งนี้เป็นบ้านของชนเผ่าหลายเผ่าที่พูดภาษาออสโตรนีเชียน (มาลาโย-โพลีนีเชียน) ในเลือดพวกเขามียีนที่เกี่ยวพันกับบรรพบุรุษอัสเลียนเช่นเดียวกับเราและกลุ่มที่กระจายอยู่ตามเกาะแก่งต่างๆ ในอุษาสมุทร พวกเขาประกอบด้วยชนเผ่าหลายเผ่า เช่น อตายาล พูยูมะ อาหมี ไพวัน ตาว เถา บูนัน ฮลาวาลัว กาวาลัน กานากานาวู รูไก ไซซิแยต ซากิซายะ ซีดิก ทาโรโก มากาเตา สิรายา บาบูจา บาเซ เกตากาลัน ปาโปรา.... พวกเขาคือเจ้าของแท้จริงของดินแดนที่ซึ่งวันนี้รู้จักกันว่า ไต้หวัน . อย่างที่รู้ ไต้หวันทุกวันนี้ถูกปกครองโดยคนจีนพลัดถิ่นที่แรกเริ่มนำมาโดยเจียงไคเช็คซึ่งหนีกองทัพรัฐบาลกลางมาตั้งมั่นที่เกาะแห่งนี้ ประวัติศาสตร์เหล่านี้หาอ่านได้ จึงไม่ขอกล่าวถึง . ย้อนหลังไปในประวัติศาสตร์จีน บันทึกจีนสมัยสามก๊กเขียนถึงเกาะแห่งหนึ่ง จีนเรียกชื่อว่าหยี่โจว.. ในยุคต่อๆมาพ่อค้าจีนเรียกว่า เสี่ยวตงเต้า บ้าง.. ต้าฮุยกัว บ้าง.. มีการติดต่อค้าขายระหว่างคนจีนและคนพื้นเมืองมาตั้งแต่ราชวงศ์สุย เรื่อยมาจนถึงราชวงศ์หยวน มีชาวจีนมาตั้งรกรากอยู่บนเกาะแห่งนี้ตั้งแต่ศตวรรษที่สิบหก ทะเลในแถบนี้คนจีนถือเป็นบริเวณที่สำคัญของปลากระบอก ขุนนางคนหนึ่งชื่อเฉินตี้เดินทางมากับกองทหารปราบโจรสลัดในทะเลตะวันออกและมาเยือนเกาะแห่งนี้ เฉินตี้เขียนบันทึกเล่มหนึ่งชื่อตงฟานจี (แปลว่าบันทึกของชาวป่าเถื่อนตะวันออก) บรรยายถึงชาวพื้นเมืองและวิถีชีวิตของพวกเขา รวมทั้งบันทึกถึงถิ่นฐานต่างๆ ที่ชาวจีนมาตั้งรกรากอยู่บนเกาะแห่งนี้ พ่อค้าจีนค้าขายเหล็กและสิ่งทอ แลกกับถ่านหิน กำมะถัน ทองคำและเนื้อกวางกับคนพื้นเมือง คนจีนจึงรับรู้ตัวตนของพวกเขาและยอมรับสถานะพวกเขามาแต่โบราณ ถือเป็นดินแดนหนึ่งในอาณัตของจีน เมื่อโชกุนโทกูกาวายกทัพมาเพื่อพยายามจะยึดเกาะแห่งนี้ จีนจึงส่งกองกำลังมาขับไล่ . ผมเคยเขียนถึงเพื่อนศิลปินคนหนึ่งจากเผ่าพูยูมะ เธอชื่อซามิงัน เธอเล่าให้ฟังถึงความรู้สึกในฐานะชนเผ่าที่เป็นเจ้าของแผ่นดินแต่ไม่เคยมีศักดิ์ฐานะเช่นเจ้าของแผ่นดินเลยเมื่อเทียบกับคนจีนที่มาปกครอง ศิลปะวัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆ ถูกละเลยและเสื่อมลงเรื่อยๆ . อย่างที่ทราบ รัฐบาลไต้หวันทุกวันนี้เป็นชาวจีนอพยพ แต่พวกเขาไม่ยอมรับจีนแผ่นดินใหญ่ คณะปกครองปัจจุบันพยายามที่จะแยกว่าไต้หวันเป็นอิสระจากจีนและอาศัยอเมริกาเป็นโล่ห์กำบังทั้งที่อเมริกาและสหประชาชาติตกลงยอมรับความเป็นจีนเดียว ไต้หวันทำทุกอย่างที่อเมริกาสั่งเพื่อเป็นฐานในการต่อต้านจีนในแปซิฟิค และอย่างที่ทุกคนรู้ ชะตากรรมของไต้หวันนั้นล่อแหลมอย่างมากและโดยแท้แล้วอเมริกาไม่แยแสพวกเขา แต่จะใช้ประโยชน์เท่าที่ใช้ได้ และในที่สุดแล้วไม่มีทางเลยที่ไต้หวันจะแยกตัวออกไปจากจีนแผ่นดินใหญ่ได้ พวกเขาจะถูกบดขยี้ถ้าเลือกหนทางที่ต่อต้านขัดขืนด้วยการใช้กำลังทหาร . เอาจริงๆ ประชาชนจีนพลัดถิ่นในไต้หวัน ไม่ได้รู้สึกว่ามันจะเลวร้ายหรอกถ้าเป็นส่วนหนึ่งของจีน ทุกวันนี้จากข่าวก็เห็นกันไปทั้งโลกว่าจีนก้าวหน้าเพียงใด และไต้หวันจะก้าวหน้าไปไกลกว่านี้ถ้ากลับไปสู่จีน แต่ชนชั้นปกครองไม่ต้องบอกก็รู้ว่าล้วนรับใช้อเมริกัน คนพวกนี้จะลงเอยในฐานกบฏ . ในความรู้สึกของผม คนจีนพลัดถิ่นในไต้หวันควรที่จะคืนศักดิ์ฐานะให้ชาวพื้นเมืองเจ้าของแผ่นดินตัวจริง ให้พวกเขามีส่วนในการปกครองและตัดสินใจในอนาคตของประชากรบนเกาะแห่งนี้ . คงไม่ต้องบอก ผู้ชายชาวไต้หวันไม่ว่าจะชนพื้นเมืองหรือคนจีนอพยพล้วนอยู่ในสาแหรก Hg O พวกชนพื้นเมืองมียีนที่เก่ากว่ามากเมื่อเทียบกับคนจีนแม้ในแผ่นดินใหญ่ ยีนแม่ของพวกเขามีสายใยเชื่อมโยงกับคนไทยอย่างเราทาง mt Hg F และ D พวกเขามีความเกี่ยวพันใกล้ชิดกับชนเผ่าไทอย่างหลี ก้ำ สุ่ย ในไห่หนานและชนเผ่าฮักกา เกี่ยวพันกับชนเผ่าในฟิลิปปินส์ และยังเกี่ยวพันกับชนพื้นเมืองบนเกาะโอกินาวา . บทความของ ปราชญ์ สามสี ที่ผมเอาลิ๊งก์มาแนบนี้ น่าจะทำให้คนไทยคิดให้มากขึ้น ยูเครนนั้นเดินไปสู่หนทางสิ้นชาติแล้วอย่างแน่นอน แต่ไต้หวันจะไม่แย่ขนาดนั้น สำหรับจีน ชนพื้นเมืองต่างๆ ถือเป็นทรัพยากรอันมีคุณต่อเศรษฐกิจ เป็นซอฟพาวเวอร์สำหรับโลกยุคปัจจุบัน ไทยควรจะต้องรู้ว่าการสังเวยตัวเองไปอยู่ระหว่างคมหอกของมหาอำนาจอย่างที่ไต้หวันกำลังทำนั้นเป็นความโง่เขลาสิ้นคิด อย่าได้ถลำไปในทางนั้นอย่างเด็ดขาด . กรณีของไต้หวัน หากจะยึดถือจุดยืนตรงข้ออ้างที่ไม่เกี่ยวข้องกับจีน มีทางเดียว คนจีนทั้งหมดต้องยุติบทบาทการปกครองแล้วมอบสิทธิ์คืนแก่คนพื้นเมือง คนจีนอพยพทั้งหมดต้องถอยไปในจุดที่เป็นแค่ผู้อาศัยเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าคงยอมไม่ได้ .
    0 Comments 0 Shares 64 Views 0 Reviews
  • **เพลงฉู่รอบด้าน**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ซึ่งในช่วงต้นมีฉากที่พระนางใส่หน้ากากร่วมทายคำปริศนาในเทศกาลโคมไฟ หนึ่งในปริศนานั้นมีคำใบ้จาก ‘เพลงฉู่’ โดยในซีรีส์แปลไว้ว่า “ฟังเพลงฉู่ปวดใจหนักหนา คิดถึงบ้านแล้วน้ำตาร่วงหล่น ยุทธการที่ไกเซี่ย เพลงฉู่กังวานรอบทิศ กองทัพฉู่คะนึงหาบ้านเกิด” และนางเอกต่อคำว่า “คิดถึงบ้านเกิดย่อมต้องกลับบ้าน” ก่อนจะเฉลยคำตอบว่าคือสมุนไพรจีนตังกุย

    เชื่อว่าต้องมีเพื่อนเพจไม่น้อยที่งงกับคำเฉลยนี้

    ที่มาของคำเฉลยนี้เป็นการเล่นคำ โดย ‘ตังกุย’ ประกอบด้วยสองอักษร ... อักษรแรก ‘ตัง’ แปลว่าแน่นอนหรือย่อมต้องทำ และอักษรที่สอง ‘กุย’ แปลว่ากลับหรือหวนคืน ซึ่งโดยปกติใช้กับการกลับบ้าน

    ที่มาของชื่อสมุนไพรตังกุยนี้ก็หลากหลาย แต่มันไม่ได้เกี่ยวกับเพลงฉู่แต่อย่างใด สรุปที่มาของชื่อตังกุยคือ ก) ในตำรายาโบราณบอกว่ามันช่วยทำให้เลือดไหลเวียนกลับคืนสู่จุดเดิม ข) ชาวบ้านพูดถึงกันทั่วไปว่ายานี้มีสรรพคุณบำรุงเลือดสำหรับสตรี เป็นยาสำคัญสำหรับภรรยา เปรียบได้กับสามีที่เดินทางไปไกลแล้วได้กลับมาบ้านให้ภรรยาได้ชุ่มชื่นหัวใจ โดยแนวคิดนี้ถูกสะท้อนออกมาในบทกวีสมัยถัง และ ค) มันเป็นสมุนไพรท้องถิ่นของพื้นที่ตังโจวในสมัยถัง และชื่อนี้มีมาแต่สมัยถังโดยก่อนหน้านี้มีชื่อเรียกว่า ‘ฉี’

    แล้ว ‘เพลงฉู่’ ล่ะ?

    เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินถึง ‘เพลงฉู่’ จากสุภาษิตจีน ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ (四面楚歌 / ซื่อเมี่ยนฉู่เกอ แปลตรงตัวว่า เพลงฉู่สี่ด้าน) จากเหตุการณ์ตอนที่กองทัพฉู่ของเซี่ยงอวี่ถูกทหารฮั่นของหลิวปังล้อมไว้ในหุบเขาไกเซี่ย โดยฝ่ายฮั่นใช้อุบายให้ทหารฮั่นร้องเพลงฉู่ เมื่อได้ยินเพลงจากบ้านเกิดก็ทำให้ทหารฉู่เกิดความรู้สึกคิดถึงบ้านและครอบครัวที่ไม่ได้เจอหน้ากันมาเป็นเวลานาน ความฮึกเหิมถดถอย บ้างก็เข้าใจว่าฝั่งตรงข้ามมีเชลยศึกจำนวนมากจนมองไม่เห็นหนทางชนะและยอมแพ้ จนสุดท้ายเซี่ยงอวี่พาชายาและทหารที่เหลืออยู่น้อยนิดตีฝ่าวงล้อมออกไปแต่ก็ต้องจบชีวิตลงในที่สุด

    ฉาก ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ นี้ถูกจารึกไว้โดยนักประวัติศาสตร์สมัยฮั่นนามว่าซือหม่าเชียนในบันทึกประวัติศาสตร์ฉบับชีวประวัติเซี่ยงอวี่ (项羽本纪) เพียงแต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นอุบายของกุนซือท่านใดฝ่ายฮั่น

    แล้ว ‘เพลงฉู่’ ที่ว่านี้คือเพลงอะไร? เรื่องนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันเพราะไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด บ้างว่าเป็นเพลงใดเพลงหนึ่ง บ้างว่ามันเป็นการเรียกรวมเพลงพื้นบ้านจากชาวฉู่ ซึ่งในสมัยนั้นเพลงพื้นบ้านเหล่านี้มีเนื้อร้องลักษณะคล้ายบทกลอนสั้นไม่กี่วรรค อาจเป็นวรรคสี่อักษรหรือเจ็ดอักษร ออกเสียงเหมือนร้องเพลง ทวนซ้ำไปมา ง่ายต่อการจำและร้องติดปาก โดยเพลงฉู่มีเอกลักษณ์คือจะใช้คำว่า ‘ซี’ (兮) เป็นคำลงท้ายก่อนเว้นวรรคหรือคำเชื่อม แต่เป็นคำที่ไม่มีความหมายเฉพาะ ก็คล้ายกับ ‘นะ’ ‘แล่ะ’ ฯลฯ ทั้งนี้ เพลงฉู่โดยตัวมันเองไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจงว่าเป็นเพลงคิดถึงบ้าน เพียงแต่ส่วนใหญ่เป็นเพลงที่มีกลิ่นอายของอารมณ์เศร้าและถูกนำมาให้ในเหตุการณ์วงล้อมหุบเขาไกเซี่ยข้างต้นเพื่อกระตุ้นให้ทหารคิดถึงบ้านเกิด

    และสุภาษิตจีน ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ ได้กลายมาเป็นวลีที่สะท้อนว่ากำลังถูกรายล้อมด้วยศัตรูหรือปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ หมายถึงสถานการณ์อันคับขันมากจนยากจะเอาตัวรอดได้นั่นเอง

    หมายเหตุ มีการแก้ไขบทความเพิ่มเติมให้ถูกต้อง ณ วันที่ 23/5/2025 เวลา 10.30น.

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://yayusw.com/Article.asp?id=3224
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.cas.cn/kxcb/kpwz/201002/t20100209_2760500.shtml
    https://www.guwendianji.com/wenyanwen/17281.html
    https://baike.baidu.com/item/三国演义/5782
    https://baike.baidu.com/item/项羽本纪 /2115064
    https://www.sohu.com/a/620378890_121448078

    #จิ่วฉงจื่อ #สามก๊ก #เพลงฉู่ #เซี่ยงอวี่ #สาระจีน
    **เพลงฉู่รอบด้าน** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ซึ่งในช่วงต้นมีฉากที่พระนางใส่หน้ากากร่วมทายคำปริศนาในเทศกาลโคมไฟ หนึ่งในปริศนานั้นมีคำใบ้จาก ‘เพลงฉู่’ โดยในซีรีส์แปลไว้ว่า “ฟังเพลงฉู่ปวดใจหนักหนา คิดถึงบ้านแล้วน้ำตาร่วงหล่น ยุทธการที่ไกเซี่ย เพลงฉู่กังวานรอบทิศ กองทัพฉู่คะนึงหาบ้านเกิด” และนางเอกต่อคำว่า “คิดถึงบ้านเกิดย่อมต้องกลับบ้าน” ก่อนจะเฉลยคำตอบว่าคือสมุนไพรจีนตังกุย เชื่อว่าต้องมีเพื่อนเพจไม่น้อยที่งงกับคำเฉลยนี้ ที่มาของคำเฉลยนี้เป็นการเล่นคำ โดย ‘ตังกุย’ ประกอบด้วยสองอักษร ... อักษรแรก ‘ตัง’ แปลว่าแน่นอนหรือย่อมต้องทำ และอักษรที่สอง ‘กุย’ แปลว่ากลับหรือหวนคืน ซึ่งโดยปกติใช้กับการกลับบ้าน ที่มาของชื่อสมุนไพรตังกุยนี้ก็หลากหลาย แต่มันไม่ได้เกี่ยวกับเพลงฉู่แต่อย่างใด สรุปที่มาของชื่อตังกุยคือ ก) ในตำรายาโบราณบอกว่ามันช่วยทำให้เลือดไหลเวียนกลับคืนสู่จุดเดิม ข) ชาวบ้านพูดถึงกันทั่วไปว่ายานี้มีสรรพคุณบำรุงเลือดสำหรับสตรี เป็นยาสำคัญสำหรับภรรยา เปรียบได้กับสามีที่เดินทางไปไกลแล้วได้กลับมาบ้านให้ภรรยาได้ชุ่มชื่นหัวใจ โดยแนวคิดนี้ถูกสะท้อนออกมาในบทกวีสมัยถัง และ ค) มันเป็นสมุนไพรท้องถิ่นของพื้นที่ตังโจวในสมัยถัง และชื่อนี้มีมาแต่สมัยถังโดยก่อนหน้านี้มีชื่อเรียกว่า ‘ฉี’ แล้ว ‘เพลงฉู่’ ล่ะ? เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินถึง ‘เพลงฉู่’ จากสุภาษิตจีน ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ (四面楚歌 / ซื่อเมี่ยนฉู่เกอ แปลตรงตัวว่า เพลงฉู่สี่ด้าน) จากเหตุการณ์ตอนที่กองทัพฉู่ของเซี่ยงอวี่ถูกทหารฮั่นของหลิวปังล้อมไว้ในหุบเขาไกเซี่ย โดยฝ่ายฮั่นใช้อุบายให้ทหารฮั่นร้องเพลงฉู่ เมื่อได้ยินเพลงจากบ้านเกิดก็ทำให้ทหารฉู่เกิดความรู้สึกคิดถึงบ้านและครอบครัวที่ไม่ได้เจอหน้ากันมาเป็นเวลานาน ความฮึกเหิมถดถอย บ้างก็เข้าใจว่าฝั่งตรงข้ามมีเชลยศึกจำนวนมากจนมองไม่เห็นหนทางชนะและยอมแพ้ จนสุดท้ายเซี่ยงอวี่พาชายาและทหารที่เหลืออยู่น้อยนิดตีฝ่าวงล้อมออกไปแต่ก็ต้องจบชีวิตลงในที่สุด ฉาก ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ นี้ถูกจารึกไว้โดยนักประวัติศาสตร์สมัยฮั่นนามว่าซือหม่าเชียนในบันทึกประวัติศาสตร์ฉบับชีวประวัติเซี่ยงอวี่ (项羽本纪) เพียงแต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นอุบายของกุนซือท่านใดฝ่ายฮั่น แล้ว ‘เพลงฉู่’ ที่ว่านี้คือเพลงอะไร? เรื่องนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันเพราะไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด บ้างว่าเป็นเพลงใดเพลงหนึ่ง บ้างว่ามันเป็นการเรียกรวมเพลงพื้นบ้านจากชาวฉู่ ซึ่งในสมัยนั้นเพลงพื้นบ้านเหล่านี้มีเนื้อร้องลักษณะคล้ายบทกลอนสั้นไม่กี่วรรค อาจเป็นวรรคสี่อักษรหรือเจ็ดอักษร ออกเสียงเหมือนร้องเพลง ทวนซ้ำไปมา ง่ายต่อการจำและร้องติดปาก โดยเพลงฉู่มีเอกลักษณ์คือจะใช้คำว่า ‘ซี’ (兮) เป็นคำลงท้ายก่อนเว้นวรรคหรือคำเชื่อม แต่เป็นคำที่ไม่มีความหมายเฉพาะ ก็คล้ายกับ ‘นะ’ ‘แล่ะ’ ฯลฯ ทั้งนี้ เพลงฉู่โดยตัวมันเองไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจงว่าเป็นเพลงคิดถึงบ้าน เพียงแต่ส่วนใหญ่เป็นเพลงที่มีกลิ่นอายของอารมณ์เศร้าและถูกนำมาให้ในเหตุการณ์วงล้อมหุบเขาไกเซี่ยข้างต้นเพื่อกระตุ้นให้ทหารคิดถึงบ้านเกิด และสุภาษิตจีน ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ ได้กลายมาเป็นวลีที่สะท้อนว่ากำลังถูกรายล้อมด้วยศัตรูหรือปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ หมายถึงสถานการณ์อันคับขันมากจนยากจะเอาตัวรอดได้นั่นเอง หมายเหตุ มีการแก้ไขบทความเพิ่มเติมให้ถูกต้อง ณ วันที่ 23/5/2025 เวลา 10.30น. (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://yayusw.com/Article.asp?id=3224 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.cas.cn/kxcb/kpwz/201002/t20100209_2760500.shtml https://www.guwendianji.com/wenyanwen/17281.html https://baike.baidu.com/item/三国演义/5782 https://baike.baidu.com/item/项羽本纪 /2115064 https://www.sohu.com/a/620378890_121448078 #จิ่วฉงจื่อ #สามก๊ก #เพลงฉู่ #เซี่ยงอวี่ #สาระจีน
    1 Comments 0 Shares 250 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์ที่แล้วคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจหรือที่เรียกรวมว่า ‘สื้อเจีย’ (世家) มีเพื่อนเพจสนใจไม่น้อย ให้หาเรื่องราวตระกูลสื้อเจียอื่นมาเล่าให้ฟังอีก Storyฯ เล่าแบบคร่าวๆ นะคะ

    วันนี้เริ่มต้นที่สี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) สี่ตระกูลนี้คือ ชุยแห่งชิงเหอ (ที่ Storyฯ พูดถึงเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว) หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และหวางแห่งไท่หยวน

    จะเห็นว่าคำกล่าวเรียกมีสององค์ประกอบคือ แซ่/สกุล และพื้นที่การปกครอง ดังนั้น ในบรรดาสายตระกูลที่จะเล่าถึงต่อไปนี้ อาจมีบางแซ่ที่ใช้กันแพร่หลาย แต่เขาจะมี ‘สายแข็ง’ ของเขาค่ะ

    ตระกูลหลูแห่งลั่วหยาง (范阳卢氏) มีภูมิลำเนาเดิมอยู่แถบพื้นที่เหอเป่ยและเหอหนาน แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและชนกลุ่มอื่น มีผู้รับราชการตำแหน่งสูงหลายคน ต้นตระกูลที่โด่งดังมากคือประมุขรุ่นที่ 13 หลูอ๋าว ผู้ดำรงตำแหน่งอู่จิงป๋อซื่อ (五经博士 / ราชบัณฑิตห้าวิชา) ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) และรุ่นหลานของเขา หลูจื๋อ มีผลงานช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกจนได้รับพระราชทานเขตการปกครองจัวโจวซึ่งครอบคลุมลั่วหยาง

    ตระกูลหลูสายลั่วหยางเป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) ในสมัยถังเช่นเดียวกับตระกูลชุยแห่งชิงเหอ สร้างฐานอำนาจมาจากสายบุ๋นต่อมาจึงขยายอิทธิพลไปยังด้านอื่น ในประวัติอันยาวนานหลายร้อยปีของตระกูลหลูแห่งลั่วหยางนี้ มีพระราชบุตรเขยในสมัยเว่ยเหนือถึงสามคน มีที่ดำรงตำแหน่งราชครูหลายคน เช่นในสมัยองค์โจวอู่ตี้ (ค.ศ. 543-578) ในสมัยถังมีเป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) 8 คน ยังไม่รวมข้าราชการระดับอื่น อีกทั้งยังมีกวีเอกเลื่องชื่อและลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังอีกหลายคน

    ตระกูลเจิ้งแห่งสิงหยาง (荥阳郑氏) มีรากเหง้ามาจากแคว้นเจิ้งในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) รับราชการมีชื่อเสียงมาตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในตำแหน่งระดับสูงเช่นกัน ปักหลักอยู่บริเวณไคเฟิงในพื้นที่เหอหนาน ในสมัยถังมีเป็นอัครมหาเสนาบดี 10 คน และข้าราชการระดับราชเลขาธิการและระดับสูงอื่นๆ อีกหลายคนทั้งสายบุ๋นและสายบู๊ แน่นอนว่ายังไม่รวมฝ่ายหญิงก็มีการแต่งเข้าวังหลายคนในหลายราชวงศ์

    ตระกูลหวางแห่งไท่หยวน (太原王氏) มีมาแต่ยุคสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก มีภูมิลำเนาอยู่ที่เขตการปกครองไท่หยวนจวิ้นทางด้านเหนือของจีน ในสมัยสามก๊กรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก รับราชการในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง มีผลงานโดดเด่นในการช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ลูกหลานฝ่ายหญิงได้ดิบได้ดีเป็นถึงฮองเฮาด้วยกันสองคน ตระกูลหวางอยู่ยงคงกระพันรับราชการต่อเนื่องยาวนานกว่าหนึ่งพันเจ็ดร้อยปี แต่มีการถกเถียงกันว่าเป็นตระกูลหวางสายไหน เพราะในบันทึกของสมัยเว่ยเหนือกล่าวถึงตระกูลหวางแห่งไท่หยวน แต่พอมาถึงราชวงศ์ถังนั้น หนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) มีตระกูลหวาง แต่บ้างว่าเป็นสายหลางหยา บ้างว่าเป็นสายไท่หยวน

    เรื่องห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) แปะไว้ก่อน คุยต่อคราวหน้าค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.zhlsw.cn/readnews.asp?newsid=2349
    http://www.wang-shi.com/html/80/n-980.html
    https://baike.baidu.com/item卢氏家谱/5980451
    https://page.om.qq.com/page/O5ihK_EMn_MqZEggEVq1jLwA0
    https://www.baike.com/wikiid/7851417530740071880?prd=mobile&view_id=1sf2g14c6sf400
    http://www.qulishi.com/article/201910/371662.html
    https://m.samrugs.com/shijiezhizui/zhongguo/60003.html

    #ตระกูลหลู #สกุลหลู #ตระกูลเจิ้ง #สกุลเจิ้ง #ตระกูลหวาง #สกุลหวาง #สื้อเจีย
    สัปดาห์ที่แล้วคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจหรือที่เรียกรวมว่า ‘สื้อเจีย’ (世家) มีเพื่อนเพจสนใจไม่น้อย ให้หาเรื่องราวตระกูลสื้อเจียอื่นมาเล่าให้ฟังอีก Storyฯ เล่าแบบคร่าวๆ นะคะ วันนี้เริ่มต้นที่สี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) สี่ตระกูลนี้คือ ชุยแห่งชิงเหอ (ที่ Storyฯ พูดถึงเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว) หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และหวางแห่งไท่หยวน จะเห็นว่าคำกล่าวเรียกมีสององค์ประกอบคือ แซ่/สกุล และพื้นที่การปกครอง ดังนั้น ในบรรดาสายตระกูลที่จะเล่าถึงต่อไปนี้ อาจมีบางแซ่ที่ใช้กันแพร่หลาย แต่เขาจะมี ‘สายแข็ง’ ของเขาค่ะ ตระกูลหลูแห่งลั่วหยาง (范阳卢氏) มีภูมิลำเนาเดิมอยู่แถบพื้นที่เหอเป่ยและเหอหนาน แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและชนกลุ่มอื่น มีผู้รับราชการตำแหน่งสูงหลายคน ต้นตระกูลที่โด่งดังมากคือประมุขรุ่นที่ 13 หลูอ๋าว ผู้ดำรงตำแหน่งอู่จิงป๋อซื่อ (五经博士 / ราชบัณฑิตห้าวิชา) ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) และรุ่นหลานของเขา หลูจื๋อ มีผลงานช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกจนได้รับพระราชทานเขตการปกครองจัวโจวซึ่งครอบคลุมลั่วหยาง ตระกูลหลูสายลั่วหยางเป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) ในสมัยถังเช่นเดียวกับตระกูลชุยแห่งชิงเหอ สร้างฐานอำนาจมาจากสายบุ๋นต่อมาจึงขยายอิทธิพลไปยังด้านอื่น ในประวัติอันยาวนานหลายร้อยปีของตระกูลหลูแห่งลั่วหยางนี้ มีพระราชบุตรเขยในสมัยเว่ยเหนือถึงสามคน มีที่ดำรงตำแหน่งราชครูหลายคน เช่นในสมัยองค์โจวอู่ตี้ (ค.ศ. 543-578) ในสมัยถังมีเป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) 8 คน ยังไม่รวมข้าราชการระดับอื่น อีกทั้งยังมีกวีเอกเลื่องชื่อและลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังอีกหลายคน ตระกูลเจิ้งแห่งสิงหยาง (荥阳郑氏) มีรากเหง้ามาจากแคว้นเจิ้งในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) รับราชการมีชื่อเสียงมาตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในตำแหน่งระดับสูงเช่นกัน ปักหลักอยู่บริเวณไคเฟิงในพื้นที่เหอหนาน ในสมัยถังมีเป็นอัครมหาเสนาบดี 10 คน และข้าราชการระดับราชเลขาธิการและระดับสูงอื่นๆ อีกหลายคนทั้งสายบุ๋นและสายบู๊ แน่นอนว่ายังไม่รวมฝ่ายหญิงก็มีการแต่งเข้าวังหลายคนในหลายราชวงศ์ ตระกูลหวางแห่งไท่หยวน (太原王氏) มีมาแต่ยุคสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก มีภูมิลำเนาอยู่ที่เขตการปกครองไท่หยวนจวิ้นทางด้านเหนือของจีน ในสมัยสามก๊กรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก รับราชการในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง มีผลงานโดดเด่นในการช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ลูกหลานฝ่ายหญิงได้ดิบได้ดีเป็นถึงฮองเฮาด้วยกันสองคน ตระกูลหวางอยู่ยงคงกระพันรับราชการต่อเนื่องยาวนานกว่าหนึ่งพันเจ็ดร้อยปี แต่มีการถกเถียงกันว่าเป็นตระกูลหวางสายไหน เพราะในบันทึกของสมัยเว่ยเหนือกล่าวถึงตระกูลหวางแห่งไท่หยวน แต่พอมาถึงราชวงศ์ถังนั้น หนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) มีตระกูลหวาง แต่บ้างว่าเป็นสายหลางหยา บ้างว่าเป็นสายไท่หยวน เรื่องห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) แปะไว้ก่อน คุยต่อคราวหน้าค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.zhlsw.cn/readnews.asp?newsid=2349 http://www.wang-shi.com/html/80/n-980.html https://baike.baidu.com/item卢氏家谱/5980451 https://page.om.qq.com/page/O5ihK_EMn_MqZEggEVq1jLwA0 https://www.baike.com/wikiid/7851417530740071880?prd=mobile&view_id=1sf2g14c6sf400 http://www.qulishi.com/article/201910/371662.html https://m.samrugs.com/shijiezhizui/zhongguo/60003.html #ตระกูลหลู #สกุลหลู #ตระกูลเจิ้ง #สกุลเจิ้ง #ตระกูลหวาง #สกุลหวาง #สื้อเจีย
    1 Comments 0 Shares 313 Views 0 Reviews
  • ในเรื่องสามก๊ก คนที่อายุยืน+ฉลาดที่สุด เก่งที่สุด คือ สุมาอี้
    “สู้รบกันมาจนโจโฉตาย เขาก็ยังไม่ตาย ลูกของโจโฉตาย เขาก็ยังไม่ตาย หลานของโจโฉตายแล้ว เขาก็ยังไม่ตาย

    สุมาอี้ กล่าวว่า..
    "ศัตรูที่ร้ายกาจของคนเราไม่ใช่ใครที่ไหน แต่มันคือสุขภาพของเราเอง"
    แปลว่า
    1. ชีวิตยังอยู่คือชัยชนะ
    2. หาเงินได้แค่เป็นเรื่องสนุก
    3. ยศตำแหน่งแค่ชั่วพูดชั่วคราว
    4. สุขภาพดีนั่นแหละคือจุดหมาย
    5. ความผาสุขถึงจะเป็นจุดหมายที่แท้จริงของการชีวิต การมีสุขภาพดีนั่นแหละคือการมีทุกสิ่งแล้ว.

    ตอนจบ..ของสามก๊ก คือ หลาน เหลน ของสุมาอี้ ได้เป็นฮ่องเต้ ปกครองแผ่นดินจีนอันกว้างใหญ่.
    ในเรื่องสามก๊ก คนที่อายุยืน+ฉลาดที่สุด เก่งที่สุด คือ สุมาอี้ “สู้รบกันมาจนโจโฉตาย เขาก็ยังไม่ตาย ลูกของโจโฉตาย เขาก็ยังไม่ตาย หลานของโจโฉตายแล้ว เขาก็ยังไม่ตาย สุมาอี้ กล่าวว่า.. "ศัตรูที่ร้ายกาจของคนเราไม่ใช่ใครที่ไหน แต่มันคือสุขภาพของเราเอง" แปลว่า 1. ชีวิตยังอยู่คือชัยชนะ 2. หาเงินได้แค่เป็นเรื่องสนุก 3. ยศตำแหน่งแค่ชั่วพูดชั่วคราว 4. สุขภาพดีนั่นแหละคือจุดหมาย 5. ความผาสุขถึงจะเป็นจุดหมายที่แท้จริงของการชีวิต การมีสุขภาพดีนั่นแหละคือการมีทุกสิ่งแล้ว. ตอนจบ..ของสามก๊ก คือ หลาน เหลน ของสุมาอี้ ได้เป็นฮ่องเต้ ปกครองแผ่นดินจีนอันกว้างใหญ่.
    0 Comments 0 Shares 196 Views 0 Reviews
  • **ผ้าไหมทอลายสูจิ่น เทคนิคการทออันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาวัฒนธรรม**

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราตามรอย <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ไปยังแหล่งผลิตของผ้าไหมสูจิ่น (蜀锦) หรือเมืองอี้โจวในเรื่องซึ่งก็คือเมืองเฉิงตูนั่นเอง Storyฯ ได้กล่าวไว้ว่าผ้าไหมสูจิ่นเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดผ้าไหมทอลายของจีน และเทคนิคการทอผ้าสูจิ่นได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจีนเมื่อปี 2006 วันนี้มาคุยกันต่อค่ะ

    ประวัติการทอผ้าไหมจีนมีมายาวนานหลายพันปี แต่เทคนิคการทอผ้าสูจิ่นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนี้มีมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (ปี 206 ก่อนคริสตกาล - ปีค.ศ. 220) โดยมีหลักฐานจากการขุดพบเครื่องทอโบราณจากหลุมฝังศพสมัยราชวงศ์ฮั่น และใช้เวลานานมากในการทำความเข้าใจวิธีการทำงานของมัน เนื่องจากเอกสารข้อมูลที่หลงเหลือเกี่ยวกับมันมีน้อยมากอันสืบเนื่องจากเมืองเฉิงตูและเขตพื้นที่ทอผ้าได้รับความเสียหายจากไฟสงครามเมื่อแมนจูเข้ายึด ปัจจุบันมีการจำลองขึ้นใหม่จนใช้การได้จริง จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าทอและงานปักสูจิ่นเมืองเฉิงตู (Chengdu Shu Brocade And Embroidery Museum) (ดูรูปประกอบ 2)

    นอกจากนี้ยังมีการขุดพบผ้าไหมทอลายสูจิ่นในพื้นที่แถบซินเกียงที่สะท้อนถึงความสามารถในการทอผ้าลายซับซ้อนในสมัยฮั่น โดยผลงานที่โด่งดังมากที่สุดคือผ้าหุ้มข้อมือที่มีชื่อเรียกว่า ‘อู่ซิงชูตงฟางลี่จงกั๋ว’ (五星出东方利中国/ Five Stars Rising in the East) ผ้าผืนนี้มีสีสันสดใสโดยเน้นสีที่เป็นตัวแทนของห้าดาว (ห้าธาตุ) มีลายสัตว์มงคลและตัวอักษร ‘อู่ซิงชูตงฟางลี่ตงกั๋ว’ และเนื่องด้วยมีการค้นพบเศษผ้าอื่นที่มีลายต่อเนื่องกัน ผู้เชี่ยวชาญจึงวิเคราะห์ไว้ว่าผ้าผืนเต็มประกอบด้วยตัวอักษรยี่สิบอักษร เป็นผ้าทอเนื้อละเอียดมาก ภายในผ้าหนึ่งตารางเซ็นติเมตรมีด้ายยืนทับซ้อนกันทั้งสิ้นกว่า 200 เส้น!

    ต่อมาในสมัยถังและซ่ง เครื่องทอผ้าถูกพัฒนาให้ทอลายที่หลากหลายได้มากยิ่งขึ้นและมีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น โดยมีการบรรยายลักษณะไว้ในบันทึก ‘เทียนกงคายอู้’ (天工开物 /The Exploitation of the Works of Nature) ซึ่งเป็นหนังสือสมัยหมิงจัดทำขึ้นโดยซ่งอิงซิงเมื่อปีค.ศ. 1637 เพื่อบันทึกถึงกว่า 300 อาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้อง (ดูรูปประกอบ 3) ปัจจุบันมีเครื่องโบราณจริงจากสมัยชิงแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าทอและงานปักสูจิ่นเมืองเฉิงตู

    เครื่องทอที่ว่านี้ต้องใช้ช่างทอสองคนพร้อมกัน คนหนึ่งนั่งข้างบนบังคับกลุ่มเส้นไหมเพื่อจัดลายทอ อีกคนหนึ่งนั่งข้างล่างทำหน้าที่ทอและดูแลเรื่องเฉดสี รวมแล้วมีเส้นไหมกว่าหมื่นเส้นที่ต้องบังคับ มีขนาดเล็กคือ ‘เสี่ยวฮวาโหลว’ และขนาดใหญ่คือ ‘ต้าฮวาโหลว’ โดยต้าฮวาโหลวมีความสูงถึงห้าเมตร

    แม้แต่อาจารย์ผู้มีประสบการณ์มาหลายสิบปียังสามารถทอได้เพียงไม่เกินสิบเซ็นติเมตรต่อวันด้วยมันต้องใช้แรงและโฟกัสมาก และความยากที่สุดของการทอผ้าไหมสูจิ่นด้วยเครื่องอย่างนี้คือการเอาลายที่ดีไซน์บนภาพวาดแปลงออกมาเป็นการเรียงเส้นไหมนั่งเอง เล่าอย่างนี้อาจนึกภาพไม่ออก เพื่อนเพจลองดูคลิปสั้นนี้ก็จะพอเห็นภาพค่ะ https://www.youtube.com/shorts/fPzQzevjD2M และหากใครพอมีเวลาก็ลองดูสาระคดียาวประมาณ 15 นาทีมีซับภาษาอังกฤษ ก็จะเห็นความซับซ้อนของการทอผ้าสูจิ่นอย่างเต็มรูปแบบ... https://www.youtube.com/watch?v=uYHbELbospQ&t=609s

    เอกลักษณ์ของผ้าสูจิ่นคือลายทอพื้นเมือง เทคนิคการทอลายทับซ้อนได้หลายชั้นและมีสีสันที่สดใส โดยมีชื่อเรียกจำแนกชนิดย่อยไปได้อีกตามลายทอ อธิบายเช่นนี้ก็คงจะยังไม่ค่อยเห็นความแตกต่าง แต่ในรูปประกอบ 1 ก็พอจะเห็นบางส่วนของลายทอต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในซีรีส์ <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://m.bjnews.com.cn/detail/1732938607168793.html
    https://www.facebook.com/permalink.php/?story_fbid=1083381463798209&id=100063790956424
    https://j.021east.com/p/1652758642049238
    https://sichuan.scol.com.cn/ggxw/202102/58058065.html
    https://www.ccmapp.cn/news/detail?id=bd8d36d9-2b59-4fa0-b8e9-7d8b65852db3&categoryid=&categoryname=最新资讯
    https://www.chinasilkmuseum.com/cs/info_164.aspx?itemid=26725
    https://www.researchgate.net/figure/Traditional-Chinese-drawbar-silk-loom-Roads-to-Zanadu_fig4_284551990
    https://news.qq.com/rain/a/20241229A059DQ00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.youtube.com/shorts/fPzQzevjD2M https://www.youtube.com/watch?v=uYHbELbospQ&t=609s
    https://www.youtube.com/watch?v=1zNDpGNh_Z4&t=1197s
    https://sichuan.scol.com.cn/ggxw/202102/58058065.html

    #ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ #ผ้าไหมจีน #ผ้าไหมจิ่น #สูจิ่น #เฉิงตู #สามก๊ก #สี่สุดยอดผ้าไหมจีน #เครื่องทอผ้าจีนโบราณ #สาระจีน
    **ผ้าไหมทอลายสูจิ่น เทคนิคการทออันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาวัฒนธรรม** สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราตามรอย <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ไปยังแหล่งผลิตของผ้าไหมสูจิ่น (蜀锦) หรือเมืองอี้โจวในเรื่องซึ่งก็คือเมืองเฉิงตูนั่นเอง Storyฯ ได้กล่าวไว้ว่าผ้าไหมสูจิ่นเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดผ้าไหมทอลายของจีน และเทคนิคการทอผ้าสูจิ่นได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจีนเมื่อปี 2006 วันนี้มาคุยกันต่อค่ะ ประวัติการทอผ้าไหมจีนมีมายาวนานหลายพันปี แต่เทคนิคการทอผ้าสูจิ่นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนี้มีมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (ปี 206 ก่อนคริสตกาล - ปีค.ศ. 220) โดยมีหลักฐานจากการขุดพบเครื่องทอโบราณจากหลุมฝังศพสมัยราชวงศ์ฮั่น และใช้เวลานานมากในการทำความเข้าใจวิธีการทำงานของมัน เนื่องจากเอกสารข้อมูลที่หลงเหลือเกี่ยวกับมันมีน้อยมากอันสืบเนื่องจากเมืองเฉิงตูและเขตพื้นที่ทอผ้าได้รับความเสียหายจากไฟสงครามเมื่อแมนจูเข้ายึด ปัจจุบันมีการจำลองขึ้นใหม่จนใช้การได้จริง จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าทอและงานปักสูจิ่นเมืองเฉิงตู (Chengdu Shu Brocade And Embroidery Museum) (ดูรูปประกอบ 2) นอกจากนี้ยังมีการขุดพบผ้าไหมทอลายสูจิ่นในพื้นที่แถบซินเกียงที่สะท้อนถึงความสามารถในการทอผ้าลายซับซ้อนในสมัยฮั่น โดยผลงานที่โด่งดังมากที่สุดคือผ้าหุ้มข้อมือที่มีชื่อเรียกว่า ‘อู่ซิงชูตงฟางลี่จงกั๋ว’ (五星出东方利中国/ Five Stars Rising in the East) ผ้าผืนนี้มีสีสันสดใสโดยเน้นสีที่เป็นตัวแทนของห้าดาว (ห้าธาตุ) มีลายสัตว์มงคลและตัวอักษร ‘อู่ซิงชูตงฟางลี่ตงกั๋ว’ และเนื่องด้วยมีการค้นพบเศษผ้าอื่นที่มีลายต่อเนื่องกัน ผู้เชี่ยวชาญจึงวิเคราะห์ไว้ว่าผ้าผืนเต็มประกอบด้วยตัวอักษรยี่สิบอักษร เป็นผ้าทอเนื้อละเอียดมาก ภายในผ้าหนึ่งตารางเซ็นติเมตรมีด้ายยืนทับซ้อนกันทั้งสิ้นกว่า 200 เส้น! ต่อมาในสมัยถังและซ่ง เครื่องทอผ้าถูกพัฒนาให้ทอลายที่หลากหลายได้มากยิ่งขึ้นและมีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น โดยมีการบรรยายลักษณะไว้ในบันทึก ‘เทียนกงคายอู้’ (天工开物 /The Exploitation of the Works of Nature) ซึ่งเป็นหนังสือสมัยหมิงจัดทำขึ้นโดยซ่งอิงซิงเมื่อปีค.ศ. 1637 เพื่อบันทึกถึงกว่า 300 อาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้อง (ดูรูปประกอบ 3) ปัจจุบันมีเครื่องโบราณจริงจากสมัยชิงแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าทอและงานปักสูจิ่นเมืองเฉิงตู เครื่องทอที่ว่านี้ต้องใช้ช่างทอสองคนพร้อมกัน คนหนึ่งนั่งข้างบนบังคับกลุ่มเส้นไหมเพื่อจัดลายทอ อีกคนหนึ่งนั่งข้างล่างทำหน้าที่ทอและดูแลเรื่องเฉดสี รวมแล้วมีเส้นไหมกว่าหมื่นเส้นที่ต้องบังคับ มีขนาดเล็กคือ ‘เสี่ยวฮวาโหลว’ และขนาดใหญ่คือ ‘ต้าฮวาโหลว’ โดยต้าฮวาโหลวมีความสูงถึงห้าเมตร แม้แต่อาจารย์ผู้มีประสบการณ์มาหลายสิบปียังสามารถทอได้เพียงไม่เกินสิบเซ็นติเมตรต่อวันด้วยมันต้องใช้แรงและโฟกัสมาก และความยากที่สุดของการทอผ้าไหมสูจิ่นด้วยเครื่องอย่างนี้คือการเอาลายที่ดีไซน์บนภาพวาดแปลงออกมาเป็นการเรียงเส้นไหมนั่งเอง เล่าอย่างนี้อาจนึกภาพไม่ออก เพื่อนเพจลองดูคลิปสั้นนี้ก็จะพอเห็นภาพค่ะ https://www.youtube.com/shorts/fPzQzevjD2M และหากใครพอมีเวลาก็ลองดูสาระคดียาวประมาณ 15 นาทีมีซับภาษาอังกฤษ ก็จะเห็นความซับซ้อนของการทอผ้าสูจิ่นอย่างเต็มรูปแบบ... https://www.youtube.com/watch?v=uYHbELbospQ&t=609s เอกลักษณ์ของผ้าสูจิ่นคือลายทอพื้นเมือง เทคนิคการทอลายทับซ้อนได้หลายชั้นและมีสีสันที่สดใส โดยมีชื่อเรียกจำแนกชนิดย่อยไปได้อีกตามลายทอ อธิบายเช่นนี้ก็คงจะยังไม่ค่อยเห็นความแตกต่าง แต่ในรูปประกอบ 1 ก็พอจะเห็นบางส่วนของลายทอต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในซีรีส์ <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://m.bjnews.com.cn/detail/1732938607168793.html https://www.facebook.com/permalink.php/?story_fbid=1083381463798209&id=100063790956424 https://j.021east.com/p/1652758642049238 https://sichuan.scol.com.cn/ggxw/202102/58058065.html https://www.ccmapp.cn/news/detail?id=bd8d36d9-2b59-4fa0-b8e9-7d8b65852db3&categoryid=&categoryname=最新资讯 https://www.chinasilkmuseum.com/cs/info_164.aspx?itemid=26725 https://www.researchgate.net/figure/Traditional-Chinese-drawbar-silk-loom-Roads-to-Zanadu_fig4_284551990 https://news.qq.com/rain/a/20241229A059DQ00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.youtube.com/shorts/fPzQzevjD2M https://www.youtube.com/watch?v=uYHbELbospQ&t=609s https://www.youtube.com/watch?v=1zNDpGNh_Z4&t=1197s https://sichuan.scol.com.cn/ggxw/202102/58058065.html #ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ #ผ้าไหมจีน #ผ้าไหมจิ่น #สูจิ่น #เฉิงตู #สามก๊ก #สี่สุดยอดผ้าไหมจีน #เครื่องทอผ้าจีนโบราณ #สาระจีน
    3 Comments 0 Shares 1181 Views 0 Reviews
  • สามก๊กในการเมืองไทย ในวันที่คลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงอ่อนแรง

    บทความโดย : สุรวิชช์ วีรวรรณ

    คลิก>> https://mgronline.com/daily/detail/9680000017185
    สามก๊กในการเมืองไทย ในวันที่คลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงอ่อนแรง บทความโดย : สุรวิชช์ วีรวรรณ คลิก>> https://mgronline.com/daily/detail/9680000017185
    MGRONLINE.COM
    สามก๊กในการเมืองไทย ในวันที่คลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงอ่อนแรง
    สถานการณ์การเมืองไทยที่ทำให้พรรคการเมืองหลายพรรคต้องจับมือกันตั้งรัฐบาล
    Like
    5
    0 Comments 0 Shares 456 Views 0 Reviews
  • จาก 'อัลไพน์' ถึง 'ปากช่อง' ศึกสามก๊กชำระแค้น 'เพื่อไทย-กล้าธรรม-ภูมิใจไทยมา : ข่าวลึกปมลับ 17/02/67
    จาก 'อัลไพน์' ถึง 'ปากช่อง' ศึกสามก๊กชำระแค้น 'เพื่อไทย-กล้าธรรม-ภูมิใจไทยมา : ข่าวลึกปมลับ 17/02/67
    Like
    3
    0 Comments 1 Shares 623 Views 4 0 Reviews
  • เหรียญเทพเจ้ากวนอู ศาลเจ้าแม่เขาสามมุข
    เหรียญเทพเจ้ากวนอู เนื้อกะไหล่ทอง ศาลเจ้าแม่เขาสามมุข //เทพเจ้ากวนอู หรือ กวนกง หนึ่งในเทพจีนที่ผู้คนนิยมบูชา // พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณ การค้าขาย ปกป้องไม่ให้ผี...วิญญาณชั่วร้ายเข้าบ้าน การเดินทางปลอดภัย มีความซื่อสัตย์ต่อกันก็จักช่วยบรรเทาการทรยศ หักหลัง หรือโดนโกงได้ ส่งผลดีในด้านการงาน การแข่งขันด้านธุรกิจ ทำให้มีอำนาจเหนือศัตรูของผู้บูชาในทุก ๆด้าน ความเชื่อด้านสุขภาพ โชคลาภเงินทอง ครอบครัว ความปลอดภัยและความสำเร็จ >>

    ** “เทพเจ้ากวนอู” ถือเป็นเทพเจ้าศาสนาเต๋า ทั้งยังเป็นเทพที่มีลักษณ์พิเศษเพราะเทพเจ้ากวนอูยังเป็นเทพเจ้าในศาสนาพุทธอีก เนื่องจากในสมัยสามก๊ก กวนอูเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดี มีความกล้าหาญและเก่งในการทำสงคราม คนจีนจึงยกกวนอูเป็นเทพเจ้าหลังจากเสียชีวิตไป ผู้ศรัทธาคิดว่าเทพเจ้ากวนอูสามารถคุ้มครองชีวิตประชาชนในหลายๆด้าน เช่น การค้าขาย ปกป้องไม่ให้ผี...วิญญาณชั่วร้ายเข้าบ้าน การเดินทางปลอดภัย รวมถึงให้สุขภาพแข็งแรง >>

    ** พระสถาพสวยมาก พระดูง่าย พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    เหรียญเทพเจ้ากวนอู ศาลเจ้าแม่เขาสามมุข เหรียญเทพเจ้ากวนอู เนื้อกะไหล่ทอง ศาลเจ้าแม่เขาสามมุข //เทพเจ้ากวนอู หรือ กวนกง หนึ่งในเทพจีนที่ผู้คนนิยมบูชา // พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณ การค้าขาย ปกป้องไม่ให้ผี...วิญญาณชั่วร้ายเข้าบ้าน การเดินทางปลอดภัย มีความซื่อสัตย์ต่อกันก็จักช่วยบรรเทาการทรยศ หักหลัง หรือโดนโกงได้ ส่งผลดีในด้านการงาน การแข่งขันด้านธุรกิจ ทำให้มีอำนาจเหนือศัตรูของผู้บูชาในทุก ๆด้าน ความเชื่อด้านสุขภาพ โชคลาภเงินทอง ครอบครัว ความปลอดภัยและความสำเร็จ >> ** “เทพเจ้ากวนอู” ถือเป็นเทพเจ้าศาสนาเต๋า ทั้งยังเป็นเทพที่มีลักษณ์พิเศษเพราะเทพเจ้ากวนอูยังเป็นเทพเจ้าในศาสนาพุทธอีก เนื่องจากในสมัยสามก๊ก กวนอูเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดี มีความกล้าหาญและเก่งในการทำสงคราม คนจีนจึงยกกวนอูเป็นเทพเจ้าหลังจากเสียชีวิตไป ผู้ศรัทธาคิดว่าเทพเจ้ากวนอูสามารถคุ้มครองชีวิตประชาชนในหลายๆด้าน เช่น การค้าขาย ปกป้องไม่ให้ผี...วิญญาณชั่วร้ายเข้าบ้าน การเดินทางปลอดภัย รวมถึงให้สุขภาพแข็งแรง >> ** พระสถาพสวยมาก พระดูง่าย พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 Comments 0 Shares 642 Views 0 Reviews
  • กินเกี๊ยวรับตรุษจีน

    สวัสดีค่ะ ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้! สัปดาห์นี้มาคุยกันเร็วหน่อยต้อนรับตรุษจีน

    วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับธรรมเนียมโบราณในการฉลองตรุษจีน เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <องค์หญิงใหญ่> คงจะจำได้ว่ามีฉากที่องค์หญิงหลี่หรงและเผยเหวินเซวียนร่วมสังสรรค์ฉลองตรุษจีนกับทุกคนในจวนองค์หญิง โดยพระเอกนางเอกห่อเกี๊ยวออกมาให้ทุกคนร่วมกิน

    ธรรมเนียมการกินเกี๊ยวตอนตรุษจีนในประเทศจีนยังมีอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในภาคพื้นที่ตอนเหนือของจีน และปัจจุบันมีเกี๊ยวหลากหลายชนิด บ้างเรียก ‘หุนถุน’ (馄饨) คือเกี๊ยวที่มีขนาดเล็กพอคำทรงกลม หรือบ้างเรียกว่า ‘เจี่ยวจือ’ (饺子) ซึ่งเป็นเกี๊ยวขนาดใหญ่ทรงจันทร์เสี้ยวหน้าตาประมาณเกี๊ยวซ่าที่มีขายในบ้านเรา ซึ่งจำแนกออกจากกันด้วยรายละเอียดเช่น แป้งที่ใช้ห่อ รูปทรงของแผ่นแป้ง ฯลฯ แต่ในหลายยุคสมัยโบราณไม่ได้แบ่งประเภทอย่างนี้ เรียกรวมเป็นเกี๊ยวทั้งหมด เพียงแต่ชื่อเรียกเปลี่ยนไปตามยุคสมัย

    ว่ากันว่าเกี๊ยวมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเมื่อคุณหมอชื่อดังจางจ้งจิ่งได้คิดค้นมันขึ้นเพื่อรวบรวมสารอาหารที่จำเป็น (เช่น เนื้อแกะและพริกไทย) เข้าด้วยกันในรูปแบบที่สะดวกต่อการกิน ทั้งนี้เพื่อปรับสภาพร่างกายของชาวบ้านให้รับมือกับอากาศหนาวเย็นได้ดีขึ้น แต่คำว่าเกี๊ยวปรากฎบนเอกสารโบราณครั้งแรกในสารานุกรม ‘ก๋วงหย่า’ (广雅) ของแคว้นเว่ยสมัยสามก๊ก (วุยก๊ก จัดทำขึ้นในช่วงปีค.ศ. 227-232) โดยกล่าวถึงอาหารชนิดหนึ่งรูปทรงเหมือนจันทร์เสี้ยวมีชื่อเรียกว่า ‘หุนถุน’ (แต่รูปลักษณ์เหมือนกับ ‘เจี่ยวจือ’ปัจจุบัน) และยังมีวัตถุโบราณที่แสดงให้เห็นว่าชาวจีนนิยมกินเกี๊ยวกันมาแต่โบราณ
    มีคนไปค้นคว้าเพิ่มเติมมาว่าสมัยสามก๊กนั้นเขากินเป็นเกี๊ยวต้มพร้อมน้ำแกง ภายในเกี๊ยวสอดไส้เนื้อสับ และกรรมวิธีการกินเป็นเช่นนี้เรื่อยมาจวบจนในสมัยถังจึงเปลี่ยนเป็นการนึ่งหรือต้มสุกแล้วกินแห้ง

    แล้วทำไมตรุษจีนต้องกินเกี๊ยว?

    จริงๆ มีหลายตำนาน แต่ที่นิยมกล่าวถึงคือเนื่องจากในสมัยซ่งเรียกเกี๊ยวว่า ‘เจี่ยวจือ’ (角子 ตัวเขียนแตกต่างแต่ออกเสียงเหมือนกัน) และชื่อนี้พ้องเสียงกับคำเรียกการผลัดเปลี่ยนจากปีเก่าเข้าสู่ปีใหม่ในยามจื่อ (子时คือช่วงเวลาระหว่างห้าทุ่มกับตีหนึ่ง) การกินเกี๊ยวจึงมีความหมายอำลาปีเก่าต้อนรับปีใหม่นั่นเอง

    นอกจากนี้ เกี๊ยวยังถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของทรัพย์เนื่องจากมีรูปทรงคล้ายเงินหยวนเป่าของจีน และการห่อเกี๊ยวถือเป็นเคล็ดของการห่อทรัพย์หรือสิ่งดีๆ ดังนั้นชาวบ้านจึงไม่เพียงกินเกี๊ยว หากแต่ยังนิยมห่อเกี๊ยวกินเองอีกด้วย และบางครั้งจะมีการยัดไส้สิ่งของอื่นๆ ที่เป็นเคล็ดที่ดีเช่น ห่อเศษเงินอยู่ข้างในเกี๊ยวดังที่เราเห็นในซีรีส์ <องค์หญิงใหญ่>

    ธรรมเนียมการกินเกี๊ยวตอนตรุษจีนนี้กลายเป็นกิจกรรมร่วมของครอบครัวที่เสริมสร้างความสัมพันธ์และถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในยุคสมัยหมิงต่อเนื่องมายังสมัยชิง แต่มีความแตกต่างว่ากินกันวันไหน บ้างกินในวันสิ้นปี บ้างกินในวันแรกของปีใหม่ บ้างกินในวันที่ห้าของปีใหม่ (เพราะห้าวันแรกมีเคล็ดเยอะข้อห้ามเยอะ พอพ้นห้าวันเลยฉลองด้วยเกี๊ยว) ทั้งนี้แล้วแต่ธรรมเนียมท้องถิ่นซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามพื้นที่

    อนึ่ง เนื่องจากยังมีอีกหลายเคล็ดที่เกี่ยวกับเกี๊ยวอันสืบเนื่องมาจากชื่อมงคลของส่วนประกอบในไส้ของมัน มันจึงกลายเป็นอาหารมงคลสำหรับหลากหลายโอกาสอีกด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g61433159/the-princess-royal/
    https://www.shuge.org/meet/topic/19030/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/饺子/28977
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_1304595
    https://www.sohu.com/a/449146748_401284
    https://www.sohu.com/a/367953600_120207616

    #องค์หญิงใหญ่ #ตรุษจีน #กินเกี๊ยว #ธรรมเนียมจีนโบราณ #สาระจีน
    กินเกี๊ยวรับตรุษจีน สวัสดีค่ะ ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้! สัปดาห์นี้มาคุยกันเร็วหน่อยต้อนรับตรุษจีน วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับธรรมเนียมโบราณในการฉลองตรุษจีน เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <องค์หญิงใหญ่> คงจะจำได้ว่ามีฉากที่องค์หญิงหลี่หรงและเผยเหวินเซวียนร่วมสังสรรค์ฉลองตรุษจีนกับทุกคนในจวนองค์หญิง โดยพระเอกนางเอกห่อเกี๊ยวออกมาให้ทุกคนร่วมกิน ธรรมเนียมการกินเกี๊ยวตอนตรุษจีนในประเทศจีนยังมีอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในภาคพื้นที่ตอนเหนือของจีน และปัจจุบันมีเกี๊ยวหลากหลายชนิด บ้างเรียก ‘หุนถุน’ (馄饨) คือเกี๊ยวที่มีขนาดเล็กพอคำทรงกลม หรือบ้างเรียกว่า ‘เจี่ยวจือ’ (饺子) ซึ่งเป็นเกี๊ยวขนาดใหญ่ทรงจันทร์เสี้ยวหน้าตาประมาณเกี๊ยวซ่าที่มีขายในบ้านเรา ซึ่งจำแนกออกจากกันด้วยรายละเอียดเช่น แป้งที่ใช้ห่อ รูปทรงของแผ่นแป้ง ฯลฯ แต่ในหลายยุคสมัยโบราณไม่ได้แบ่งประเภทอย่างนี้ เรียกรวมเป็นเกี๊ยวทั้งหมด เพียงแต่ชื่อเรียกเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ว่ากันว่าเกี๊ยวมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเมื่อคุณหมอชื่อดังจางจ้งจิ่งได้คิดค้นมันขึ้นเพื่อรวบรวมสารอาหารที่จำเป็น (เช่น เนื้อแกะและพริกไทย) เข้าด้วยกันในรูปแบบที่สะดวกต่อการกิน ทั้งนี้เพื่อปรับสภาพร่างกายของชาวบ้านให้รับมือกับอากาศหนาวเย็นได้ดีขึ้น แต่คำว่าเกี๊ยวปรากฎบนเอกสารโบราณครั้งแรกในสารานุกรม ‘ก๋วงหย่า’ (广雅) ของแคว้นเว่ยสมัยสามก๊ก (วุยก๊ก จัดทำขึ้นในช่วงปีค.ศ. 227-232) โดยกล่าวถึงอาหารชนิดหนึ่งรูปทรงเหมือนจันทร์เสี้ยวมีชื่อเรียกว่า ‘หุนถุน’ (แต่รูปลักษณ์เหมือนกับ ‘เจี่ยวจือ’ปัจจุบัน) และยังมีวัตถุโบราณที่แสดงให้เห็นว่าชาวจีนนิยมกินเกี๊ยวกันมาแต่โบราณ มีคนไปค้นคว้าเพิ่มเติมมาว่าสมัยสามก๊กนั้นเขากินเป็นเกี๊ยวต้มพร้อมน้ำแกง ภายในเกี๊ยวสอดไส้เนื้อสับ และกรรมวิธีการกินเป็นเช่นนี้เรื่อยมาจวบจนในสมัยถังจึงเปลี่ยนเป็นการนึ่งหรือต้มสุกแล้วกินแห้ง แล้วทำไมตรุษจีนต้องกินเกี๊ยว? จริงๆ มีหลายตำนาน แต่ที่นิยมกล่าวถึงคือเนื่องจากในสมัยซ่งเรียกเกี๊ยวว่า ‘เจี่ยวจือ’ (角子 ตัวเขียนแตกต่างแต่ออกเสียงเหมือนกัน) และชื่อนี้พ้องเสียงกับคำเรียกการผลัดเปลี่ยนจากปีเก่าเข้าสู่ปีใหม่ในยามจื่อ (子时คือช่วงเวลาระหว่างห้าทุ่มกับตีหนึ่ง) การกินเกี๊ยวจึงมีความหมายอำลาปีเก่าต้อนรับปีใหม่นั่นเอง นอกจากนี้ เกี๊ยวยังถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของทรัพย์เนื่องจากมีรูปทรงคล้ายเงินหยวนเป่าของจีน และการห่อเกี๊ยวถือเป็นเคล็ดของการห่อทรัพย์หรือสิ่งดีๆ ดังนั้นชาวบ้านจึงไม่เพียงกินเกี๊ยว หากแต่ยังนิยมห่อเกี๊ยวกินเองอีกด้วย และบางครั้งจะมีการยัดไส้สิ่งของอื่นๆ ที่เป็นเคล็ดที่ดีเช่น ห่อเศษเงินอยู่ข้างในเกี๊ยวดังที่เราเห็นในซีรีส์ <องค์หญิงใหญ่> ธรรมเนียมการกินเกี๊ยวตอนตรุษจีนนี้กลายเป็นกิจกรรมร่วมของครอบครัวที่เสริมสร้างความสัมพันธ์และถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในยุคสมัยหมิงต่อเนื่องมายังสมัยชิง แต่มีความแตกต่างว่ากินกันวันไหน บ้างกินในวันสิ้นปี บ้างกินในวันแรกของปีใหม่ บ้างกินในวันที่ห้าของปีใหม่ (เพราะห้าวันแรกมีเคล็ดเยอะข้อห้ามเยอะ พอพ้นห้าวันเลยฉลองด้วยเกี๊ยว) ทั้งนี้แล้วแต่ธรรมเนียมท้องถิ่นซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามพื้นที่ อนึ่ง เนื่องจากยังมีอีกหลายเคล็ดที่เกี่ยวกับเกี๊ยวอันสืบเนื่องมาจากชื่อมงคลของส่วนประกอบในไส้ของมัน มันจึงกลายเป็นอาหารมงคลสำหรับหลากหลายโอกาสอีกด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g61433159/the-princess-royal/ https://www.shuge.org/meet/topic/19030/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/饺子/28977 https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_1304595 https://www.sohu.com/a/449146748_401284 https://www.sohu.com/a/367953600_120207616 #องค์หญิงใหญ่ #ตรุษจีน #กินเกี๊ยว #ธรรมเนียมจีนโบราณ #สาระจีน
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 1044 Views 0 Reviews
  • คำคมใหม่ แต่เป็นสัจธรรมเก่า 13
    รู้อะไร ไม่เท่า รู้ใจตน
    รู้อะไร ไม่เท่า รู้ใจคน
    รู้อะไร ไม่เท่า รู้คุณคน
    จากปรัชญาสามก๊ก
    คำคมใหม่ แต่เป็นสัจธรรมเก่า 13 รู้อะไร ไม่เท่า รู้ใจตน รู้อะไร ไม่เท่า รู้ใจคน รู้อะไร ไม่เท่า รู้คุณคน จากปรัชญาสามก๊ก
    0 Comments 0 Shares 135 Views 0 Reviews
  • "ศึกนี้ช่างใหญ่หลวงนัก"
    โอย ตั๊กจายยยย
    จูล่งสู้ๆ กับวันแดงเดือด
    จู่ล่งสามก๊กปะทะ ป้าแก่บางระจันทร์ศรีธัญญา
    หันมาอีกช่อง
    ป้าดา vs ตาแนน
    อ้า ป้าดาสู้ๆ ตาแนนสู้ๆ
    ตัดไปอีกภาพ
    มีคนมาฟ๊อง ว่าพิธีกรดัง
    พูดให้ชาลีเฉียหาย
    โอย คืองี้ โลกมันหมุนวนตลอดเวลา
    เดี๋ยวอะไรอะไรมันก็เข้ารูปเข้ารอย
    อย่าไปเดือดกับอะไรง่ายๆ
    ไม่ชอบแบบสาวกอิป้า
    เราก็ต้องกำหนดจิตให้ไม่เหมือน
    อย่าไปเดือดไปร้อนรนอะไรกับมันง่ายๆ
    นั่งนิ่งๆ ดูโลกหมุนต่อไป
    อะไรไม่ไหว ก็ช่วยๆกัน
    บางครั้ง คนอาจมองว่าเราเป็นเสือหมอบ
    แต่บางเรื่อง ที่หมอบเพื่อดูจังหวะ
    แล้วตะปบทีเดียว
    ทางพี่คิงส์เองและโอม ก็เดินงานหลังบ้าน
    กันตลอดทุกวัน เป้าหมายคือ ช่วย ผสห
    ที่เป็นพี่น้องคนไทยที่ต้องหมดเนื้อหมดตัว
    เพราะอิแฝดสันdานหม๋า รับรอง มีข่าวดี
    ส่วนเรื่องแน๊ก ถูกคนที่ไม่น่าเชื่อให้ร้าย
    ด้วยการถูกปั่นข้อมูลใดๆ
    พวกนาย ฟังพี่คิงส์นะ
    "แน๊ก ชาลี เฉลียวฉลาดและอดทน รู้จังหวะจะโคนมากกว่าที่หลายคนคิด"
    คนดี ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ อันนี้ของแทร่
    แต่ก็ไม่ต้องกังวล ถ้ามันมีอะไรที่น้องมันโดนแบบเลยเถิด
    ทุกคนรู้นิสัยพี่ดี ไม่นั่งนิ่งๆแล้วปล่อยให้น้องมันถูกรังแกหรอก
    ตามนี้นะ
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    "ศึกนี้ช่างใหญ่หลวงนัก" โอย ตั๊กจายยยย จูล่งสู้ๆ กับวันแดงเดือด จู่ล่งสามก๊กปะทะ ป้าแก่บางระจันทร์ศรีธัญญา หันมาอีกช่อง ป้าดา vs ตาแนน อ้า ป้าดาสู้ๆ ตาแนนสู้ๆ ตัดไปอีกภาพ มีคนมาฟ๊อง ว่าพิธีกรดัง พูดให้ชาลีเฉียหาย โอย คืองี้ โลกมันหมุนวนตลอดเวลา เดี๋ยวอะไรอะไรมันก็เข้ารูปเข้ารอย อย่าไปเดือดกับอะไรง่ายๆ ไม่ชอบแบบสาวกอิป้า เราก็ต้องกำหนดจิตให้ไม่เหมือน อย่าไปเดือดไปร้อนรนอะไรกับมันง่ายๆ นั่งนิ่งๆ ดูโลกหมุนต่อไป อะไรไม่ไหว ก็ช่วยๆกัน บางครั้ง คนอาจมองว่าเราเป็นเสือหมอบ แต่บางเรื่อง ที่หมอบเพื่อดูจังหวะ แล้วตะปบทีเดียว ทางพี่คิงส์เองและโอม ก็เดินงานหลังบ้าน กันตลอดทุกวัน เป้าหมายคือ ช่วย ผสห ที่เป็นพี่น้องคนไทยที่ต้องหมดเนื้อหมดตัว เพราะอิแฝดสันdานหม๋า รับรอง มีข่าวดี ส่วนเรื่องแน๊ก ถูกคนที่ไม่น่าเชื่อให้ร้าย ด้วยการถูกปั่นข้อมูลใดๆ พวกนาย ฟังพี่คิงส์นะ "แน๊ก ชาลี เฉลียวฉลาดและอดทน รู้จังหวะจะโคนมากกว่าที่หลายคนคิด" คนดี ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ อันนี้ของแทร่ แต่ก็ไม่ต้องกังวล ถ้ามันมีอะไรที่น้องมันโดนแบบเลยเถิด ทุกคนรู้นิสัยพี่ดี ไม่นั่งนิ่งๆแล้วปล่อยให้น้องมันถูกรังแกหรอก ตามนี้นะ #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    0 Comments 0 Shares 423 Views 0 Reviews
  • สุนัขเห่ากรรโชก วลีจาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ว่าเหล่าขุนนางจากสำนักผู้ตรวจการได้ร้องเรียนฟ่านเสียนว่ารับเงินสินบน และฟ่านเสียนมีปฏิกิริยาตอบกลับคือ ส่งภาพอักษรสี่ตัวให้กับสำนักผู้ตรวจการ ทำให้พวกเขายิ่งโกรธแค้นกระเหี้ยนกระหือรือจะเอาผิดฟ่านเสียนให้ได้ อักษรสี่ตัวนี้คือ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ (狺狺狂吠) ในซีรีส์พากย์ไทยแปลว่า ‘สุนัขเห่าโฮ่งๆ’ วลีนี้แปลว่าสุนัขเห่า แต่เพราะมีคำว่า ‘ขวาง’ ซึ่งแปลว่าบ้าคลั่ง มันจึงไม่ใช่สุนัขเห่าธรรมดา แต่เป็นการเห่าแบบกรรโชกแบบบ้าคลั่ง แต่ที่ดูแปลกตาสำหรับ Storyฯ คืออักษร ‘อิ๋น’ จึงลองไปหาข้อมูลดูพบว่ามันเป็นคำที่แทบไม่ค่อยเห็นในปัจจุบัน ‘อิ๋น’ มีที่มาจากบทกวีจีนโบราณที่มีชื่อว่า ‘จิ่วเปี้ยน’ (九辩 แปลได้ประมาณว่า คำถก 9 หัวข้อ) ซึ่งเป็นผลงานของซ่งอวี้ (宋玉) นักประพันธ์และขุนนางจากแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐ (มีชีวิตอยู่ช่วงปี 298-222 ก่อนคริสตกาล) เป็นบทร้อยกรองยาวกว่าสองร้อยห้าสิบวรรค เขียนขึ้นเมื่อปีที่เขาถูกปลดออกจากราชการตอนอายุห้าสิบปี เป็นวัยที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน บทกวีนี้จึงสะท้อนความรู้สึกหลากหลายโดยมีหัวข้อหลักคือความโศกเศร้าในสารทฤดู ถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบและเป็นหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อนี้เพราะสามารถชวนให้ผู้อ่านจินตนาการและมีอารมณ์ร่วมได้อย่างดีเลิศ(หมายเหตุ บทกวี ‘เติงเกา’ จากตู้ฝู่ซึ่งเป็นสุดยอดกลอนเจ็ดที่เอ่ยถึงในภาคแรกเป็นอีกหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อเดียวกันนี้ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/973244118137214)‘จิ่วเปี้ยน’ เปิดฉากมาด้วยการบรรยายความงามของฤดูใบไม้ร่วงที่ให้ความรู้สึกโศกเศร้า สะท้อนถึงความโดดเดี่ยวของคนที่ตกยากไร้ทรัพย์สินเงินทอง จากนั้นกล่าวถึงสตรีที่รักแล้วผิดหวังถูกทอดทิ้งสลับกับฉากเศร้าๆ ของสารทฤดูที่สะท้อนถึงอารมณ์ของนาง และวลีหมาเห่ากรรโชก ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ นี้มาจากฉากที่เล่าว่าสตรีผู้นี้พยายามจะเข้าไปหาคนรักแต่ถูกหมาเห่าขัดขวางไว้ไม่สามารถก้าวข้ามผ่านประตูไปได้ แต่จริงๆ แล้วฉากข้างต้นเป็นการอุปมาอุปไมยถึงคนที่พยายามเข้าหาแต่ไม่เป็นที่ต้องการ เพราะฉากถัดมากล่าวถึงคนที่พยายามทำตัวเป็นประโยชน์ ดุจขุนนางที่ต้องการรับใช้งานราชสำนัก แต่กลับไร้ซึ่งโอกาส ถูกกีดกันจากรอบด้าน ในขณะที่อำนาจตกไปอยู่ในมือที่ไม่สะอาดจนสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเมือง เป็นความโศกเศร้าของคนที่รู้สึกว่าตัวตนหายไปพร้อมกับโอกาสในชีวิตที่หายไปแล้ว ดังนั้น บทร้อยกรองนี้จึงเป็นการพัฒนาเนื้อหาอย่างต่อเนื่องจากความสดใสของธรรมชาติที่สูญหาย (lost nature) ไปสู่รักที่สูญหาย (lost love) ไปสู่ความเป็นตัวตนที่สูญหาย (lost man)ผลงานของซ่งอวี้ได้รับอิทธิพลจากกวีรุ่นก่อนคือชวีหยวน (屈原) บ้างว่าเขาเป็นศิษย์ของชวีหยวน ผลงานของพวกเขาถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของสไตล์ที่เรียกว่าจินตนิยมในวรรณกรรมจีนโบราณ กล่าวคือ ใช้การบรรยายธรรมชาติหรือวิถีชีวิตคนธรรมดาเร้าอารมณ์ และในขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงหลักความคิดหรืออุดมคติบางอย่าง แต่ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ เดิมเป็นเพียงการบรรยายถึงอาการเห่าอย่างบ้าคลั่งของสุนัข ไม่ได้มีความหมายอื่นแอบแฝง มันถูกใช้เปรียบเปรยถึงคนในเชิงดูแคลนตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่การใช้วลีนี้ในลักษณะด่าคนนี้มีตัวอย่างให้เห็นในซีรีส์ ‘สามก๊ก’ เวอร์ชั่นปี 1994 ในตอนที่ขงเบ้งด่าหวางหลาง (อองลอง) จนกระอักเลือดตาย โดยคำด่าเต็มๆ กล่าวไว้ประมาณว่า อองลองทำตัวเป็นบ่าวสองนายไม่มีผลงานใดๆ ในชีวิต ยังจะมีหน้ามาว่ากล่าวตักเตือนคน ช่างทำตัวเป็นเสมือนสุนัขขี้เรื้อนเห่ากรรโชกได้อย่างไร้ยางอายปัจจุบัน ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่โวยวายเสียงดังแต่ไร้สาระ ประหนึ่งสุนัขที่สักแต่จะเห่าไปอย่างนั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด จึงไม่แปลกที่ในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> นี้ คนจากสำนักผู้ตรวจการจึงโกรธฟ่านเสียนมากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://weibo.com/6356014463/OhILTDU5d Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/九辩/2482251 https://baike.baidu.com/item/宋玉/72945 https://www.ruanyifeng.com/blog/2006/02/post_174.html https://chuci.5000yan.com/jiubian/ #หาญท้าชะตาฟ้า #สุนัขเห่า #ซ่งอวี้ #จิ่วเปี้ยน #ฉู่ฉือ
    สุนัขเห่ากรรโชก วลีจาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ว่าเหล่าขุนนางจากสำนักผู้ตรวจการได้ร้องเรียนฟ่านเสียนว่ารับเงินสินบน และฟ่านเสียนมีปฏิกิริยาตอบกลับคือ ส่งภาพอักษรสี่ตัวให้กับสำนักผู้ตรวจการ ทำให้พวกเขายิ่งโกรธแค้นกระเหี้ยนกระหือรือจะเอาผิดฟ่านเสียนให้ได้ อักษรสี่ตัวนี้คือ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ (狺狺狂吠) ในซีรีส์พากย์ไทยแปลว่า ‘สุนัขเห่าโฮ่งๆ’ วลีนี้แปลว่าสุนัขเห่า แต่เพราะมีคำว่า ‘ขวาง’ ซึ่งแปลว่าบ้าคลั่ง มันจึงไม่ใช่สุนัขเห่าธรรมดา แต่เป็นการเห่าแบบกรรโชกแบบบ้าคลั่ง แต่ที่ดูแปลกตาสำหรับ Storyฯ คืออักษร ‘อิ๋น’ จึงลองไปหาข้อมูลดูพบว่ามันเป็นคำที่แทบไม่ค่อยเห็นในปัจจุบัน ‘อิ๋น’ มีที่มาจากบทกวีจีนโบราณที่มีชื่อว่า ‘จิ่วเปี้ยน’ (九辩 แปลได้ประมาณว่า คำถก 9 หัวข้อ) ซึ่งเป็นผลงานของซ่งอวี้ (宋玉) นักประพันธ์และขุนนางจากแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐ (มีชีวิตอยู่ช่วงปี 298-222 ก่อนคริสตกาล) เป็นบทร้อยกรองยาวกว่าสองร้อยห้าสิบวรรค เขียนขึ้นเมื่อปีที่เขาถูกปลดออกจากราชการตอนอายุห้าสิบปี เป็นวัยที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน บทกวีนี้จึงสะท้อนความรู้สึกหลากหลายโดยมีหัวข้อหลักคือความโศกเศร้าในสารทฤดู ถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบและเป็นหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อนี้เพราะสามารถชวนให้ผู้อ่านจินตนาการและมีอารมณ์ร่วมได้อย่างดีเลิศ(หมายเหตุ บทกวี ‘เติงเกา’ จากตู้ฝู่ซึ่งเป็นสุดยอดกลอนเจ็ดที่เอ่ยถึงในภาคแรกเป็นอีกหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อเดียวกันนี้ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/973244118137214)‘จิ่วเปี้ยน’ เปิดฉากมาด้วยการบรรยายความงามของฤดูใบไม้ร่วงที่ให้ความรู้สึกโศกเศร้า สะท้อนถึงความโดดเดี่ยวของคนที่ตกยากไร้ทรัพย์สินเงินทอง จากนั้นกล่าวถึงสตรีที่รักแล้วผิดหวังถูกทอดทิ้งสลับกับฉากเศร้าๆ ของสารทฤดูที่สะท้อนถึงอารมณ์ของนาง และวลีหมาเห่ากรรโชก ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ นี้มาจากฉากที่เล่าว่าสตรีผู้นี้พยายามจะเข้าไปหาคนรักแต่ถูกหมาเห่าขัดขวางไว้ไม่สามารถก้าวข้ามผ่านประตูไปได้ แต่จริงๆ แล้วฉากข้างต้นเป็นการอุปมาอุปไมยถึงคนที่พยายามเข้าหาแต่ไม่เป็นที่ต้องการ เพราะฉากถัดมากล่าวถึงคนที่พยายามทำตัวเป็นประโยชน์ ดุจขุนนางที่ต้องการรับใช้งานราชสำนัก แต่กลับไร้ซึ่งโอกาส ถูกกีดกันจากรอบด้าน ในขณะที่อำนาจตกไปอยู่ในมือที่ไม่สะอาดจนสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเมือง เป็นความโศกเศร้าของคนที่รู้สึกว่าตัวตนหายไปพร้อมกับโอกาสในชีวิตที่หายไปแล้ว ดังนั้น บทร้อยกรองนี้จึงเป็นการพัฒนาเนื้อหาอย่างต่อเนื่องจากความสดใสของธรรมชาติที่สูญหาย (lost nature) ไปสู่รักที่สูญหาย (lost love) ไปสู่ความเป็นตัวตนที่สูญหาย (lost man)ผลงานของซ่งอวี้ได้รับอิทธิพลจากกวีรุ่นก่อนคือชวีหยวน (屈原) บ้างว่าเขาเป็นศิษย์ของชวีหยวน ผลงานของพวกเขาถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของสไตล์ที่เรียกว่าจินตนิยมในวรรณกรรมจีนโบราณ กล่าวคือ ใช้การบรรยายธรรมชาติหรือวิถีชีวิตคนธรรมดาเร้าอารมณ์ และในขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงหลักความคิดหรืออุดมคติบางอย่าง แต่ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ เดิมเป็นเพียงการบรรยายถึงอาการเห่าอย่างบ้าคลั่งของสุนัข ไม่ได้มีความหมายอื่นแอบแฝง มันถูกใช้เปรียบเปรยถึงคนในเชิงดูแคลนตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่การใช้วลีนี้ในลักษณะด่าคนนี้มีตัวอย่างให้เห็นในซีรีส์ ‘สามก๊ก’ เวอร์ชั่นปี 1994 ในตอนที่ขงเบ้งด่าหวางหลาง (อองลอง) จนกระอักเลือดตาย โดยคำด่าเต็มๆ กล่าวไว้ประมาณว่า อองลองทำตัวเป็นบ่าวสองนายไม่มีผลงานใดๆ ในชีวิต ยังจะมีหน้ามาว่ากล่าวตักเตือนคน ช่างทำตัวเป็นเสมือนสุนัขขี้เรื้อนเห่ากรรโชกได้อย่างไร้ยางอายปัจจุบัน ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่โวยวายเสียงดังแต่ไร้สาระ ประหนึ่งสุนัขที่สักแต่จะเห่าไปอย่างนั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด จึงไม่แปลกที่ในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> นี้ คนจากสำนักผู้ตรวจการจึงโกรธฟ่านเสียนมากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://weibo.com/6356014463/OhILTDU5d Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/九辩/2482251 https://baike.baidu.com/item/宋玉/72945 https://www.ruanyifeng.com/blog/2006/02/post_174.html https://chuci.5000yan.com/jiubian/ #หาญท้าชะตาฟ้า #สุนัขเห่า #ซ่งอวี้ #จิ่วเปี้ยน #ฉู่ฉือ
    0 Comments 0 Shares 1210 Views 0 Reviews
  • ขงเบ้ง ปรมาจารย์ The Icon กับกลยุทธ์บีบน้ำตาลดแรงเสียดทาน มีบทความน่าคิดพิจารณาในเพจเฟซบุ๊กชื่อสามก๊ก เซ็นโกคุประวัติศาสตร์ History teller เขียนไว้ว่า

    “ ขงเบ้ง ร้องไห้ในงานศพของจิวยี่ ช่วยลดความตึงเครียดจากเหล่าขุนพลของง่อก๊กที่กำลังไม่พอใจขงเบ้งให้เบาลง
    .
    ต้องยอมรับว่าในบางครั้งการร้องไห้ต่อหน้าผู้คนจำนวนมากที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องราว ก็อาจช่วยลดความตึงเครียดของสถานการณ์ลงได้ ในยุคสามก๊กมีหลายคนที่ทำแบบนี้ได้ดี ก็คือ เล่าปี่ และ โจโฉ ต่อมายังเพิ่มขงเบ้งเข้าไปอีกคน
    .
    กรณีขงเบ้ง เดิมเขาไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในด้านการแสดงอารมณ์ละเอียดอ่อนต่อหน้าผู้คน แต่คาดว่าเขาเองได้ศึกษาและเรียนรู้เรื่องนี้จากเล่าปี่ ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกบรรยายไว้ในประวัติศาสตร์และวรรณกรรมว่า ไม่ว่าจะดีใจหรือเสียใจ มักไม่ค่อยแสดงอารมณ์ออกทางสีหน้า แต่เล่าปี่จะร้องไห้หรือแสดงอารมณ์ออกมาต่อหน้าผู้คนเฉพาะกรณีที่หวังผลบางอย่างเป็นหลักมากกว่า และได้ผลดีเลิศเสมอ
    .
    ส่วนฉากที่ขงเบ้งใช้กลยุทธ์นี้แล้วได้ผลดีก็คือเหตุการณ์ที่เขาเดินทางไปคารวะศพของจิวยี่ที่ง่อก๊ก เขาร้องไห้เสียใจต่อหน้าเหล่าขุนพลและขุนนางง่อทั้งหมดที่อยู่ในงาน เรื่องนี้ทำให้พวกคนของง่อที่เคยแสดงความไม่พอใจต่อขงเบ้งลดความรู้สึกด้านนี้ลงไปพอสมควร แต่ก็มีบางคนที่มองออกว่าขงเบ้งใช้อุบาย นั่นคือบังทอง ที่เข้ามาทักขงเบ้งในระหว่างที่เขากำลังจะขึ้นเรือกลับเกงจิ๋ว
    .
    แน่นอนว่าการร้องไห้ของขงเบ้งไม่ได้แก้ปัญหาได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยเขาลดความร้อนระอุด้านอารมณ์ของขุนพลง่อที่มีต่อขงเบ้งและฝ่ายเล่าปี่ลงมาบ้างในระยะเวลาหนึ่ง
    .
    เพิ่มเติม ส่วนคู่ปรับขงเบ้งอย่างสุมาอึ้จะชอบใช้แผนแกล้งป่วย (ไม่ได้พาดพิงนักการเมืองท่านใด)
    .
    ปล.แนวกลยุทธ์การร้องไห้ออกสื่อ เพื่อขอความเห็นใจ ยังคงใช้งานกันในปัจจุบัน แม้แต่ในระดับประเทศหรือในระดับโลก
    ………
    ศิลปะและศาสตร์แห่งการร้องไห้ ฉบับ เล่าปี่ และ โจโฉ แล้วตอนหลังขงเบ้งก็ขอยืมเทคนิคนี้มาใช้ด้วย เรื่องนี้อาจจะตอบคำถามว่า อ่านสามก๊กแล้วได้อะไร วันนี้เราเพิ่งเห็นกันสดๆร้อนๆหนึ่งเรื่องในระดับประเทศ
    .
    ในสามก๊ก มีตัวอย่างของผู้นำหรือผู้ที่อยู่ในสถานการณ์ที่ยากจะแก้ไขได้โดยง่าย เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องอาศัยกลยุทธ์ในด้านอารมณ์เข้ามาช่วย นอกเหนือจากหลักเหตุผลเท่านั้น
    .
    สำหรับตัวอย่างโดดเด่นที่ เล่าปี่ โจโฉ ขงเบ้ง เคยนำมาใช้ แล้วได้ผลลัพธ์ระดับสุดยอด เช่น
    .
    เล่าปี่ ตอนที่ต้องพาประชาชนอพยพหนีการตามล่าจากทัพโจโฉ แล้วเห็นประชาชนที่ทุกข์ยากเพราะติดตามตนมา เขาก็ร้องไห้เสียใจหนัก จะกระโดดน้ำ แต่คนอื่นห้ามไว้ และที่เด็ดสุดจากนั้นคือตอนที่ “จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า” ช่วยพาทั้งอาเต๊าและนางกำฮูหยินที่พลัดหลงอยู่ในทุ่งเต็งหยาง เตียงปัน ซึ่งมีทหารโจโฉกระจัดกระจายอยู่มากกว่าหลายแสนคน เมื่อจูล่งพาอาเต๊ามาให้เล่าปี่ เขาก็ปล่อยอาเต๊าลงพื้นแล้วร้องไห้ว่า เด็กนี่เกือบทำให้ข้าสูญเสียจูล่ง จากนั้นจูล่งก็เข้าไปอุ้มอาเต๊าแล้วประกาศว่า ข้าจะขอติดตามเป็นดั่งม้าใช้ของนายท่านตราบจนสิ้นไป
    .
    โจโฉ หลายครั้งที่เขาผ่านการเสี่ยงตาย แต่ครั้งที่เสียหายรุนแรงที่สุดคือศึกเมืองอ้วนเสีย เพราะความประมาทและลุ่มหลงในหญิงงามของตนทำให้เสียท่าต่อกลยุทธ์ของกาเซี่ยง ทำให้ทหารตนล้มตายไปมากมาย รวมถึง บุตรชายโจงั่น หลานชายโจอั๋นปิน และองครักษ์เตียนอุย ต่อมาโจโฉเดินทัพผ่านบริเวณที่เคยเกิดเหตุ เขาก็ร้องไห้เสียใจออกมาให้พวกทหารเห็น โจโฉยังบอกว่า เขาร้องไห้ครั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อบุตรชายและหลานชาย แต่เพื่อเตียนอุย เรื่องนี้ทำให้ได้ใจเหล่าทหารในกองทัพมาก
    .
    ขงเบ้ง เหตุการณ์สำคัญที่ขงเบ้งพ่ายแพ้ในการบุกภาคเหนือครั้งแรก สาเหตุหนึ่งที่ขงเบ้งยอมรับว่าตนผิดพลาดก็คือ การเลือกม้าเจ๊ก มาคุมทัพที่เกเต๋ง แต่หลังจากนั้นเขากลับผิดพลาด จึงทำให้ส่งผลเสียหายต่อทั้งกองทัพ หนึ่งในความรับผิดชอบที่เขาต้องทำก็คือ การสั่งประหารม้าเจ๊ก ซึ่งเป็นคนที่ทำให้การบุกครั้งนี้ล้มเหลว ขงเบ้งต้องประหารทั้งน้ำตา ซึ่งเรื่องนี้เจ้าตัวก็น่าจะเสียใจมากจริงๆ แต่เรื่องนี้ทำให้ขงเบ้งแสดงตนชัดเจนว่า เขาไม่อิงระบบเส้นสาย ต่อให้ม้าเจ๊กเป็นคนโปรดขนาดไหน หากทำผิดพลาดครั้งใหญ่ก็ต้องโทษประหาร พวกทหารจึงให้ความเคารพเชื่อฟังขงเบ้งต่อไป แม้ว่าจะรบแพ้ใหญ่ก็ตามทึ
    .
    ทั้งนี้ ไม่ได้แปลว่า “ร้องไห้แล้วจบ” เพราะหลังจากนั้นทุกคนต้องรับผลลัพธ์ของการกระทำ และหาทางแก้ปัญหากับเดินหน้าต่อไป หากทำผิดก็ต้องรับผล

    ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/SUbTfaxKA3edYxLC/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes

    ขงเบ้ง ปรมาจารย์ The Icon กับกลยุทธ์บีบน้ำตาลดแรงเสียดทาน มีบทความน่าคิดพิจารณาในเพจเฟซบุ๊กชื่อสามก๊ก เซ็นโกคุประวัติศาสตร์ History teller เขียนไว้ว่า “ ขงเบ้ง ร้องไห้ในงานศพของจิวยี่ ช่วยลดความตึงเครียดจากเหล่าขุนพลของง่อก๊กที่กำลังไม่พอใจขงเบ้งให้เบาลง . ต้องยอมรับว่าในบางครั้งการร้องไห้ต่อหน้าผู้คนจำนวนมากที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องราว ก็อาจช่วยลดความตึงเครียดของสถานการณ์ลงได้ ในยุคสามก๊กมีหลายคนที่ทำแบบนี้ได้ดี ก็คือ เล่าปี่ และ โจโฉ ต่อมายังเพิ่มขงเบ้งเข้าไปอีกคน . กรณีขงเบ้ง เดิมเขาไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในด้านการแสดงอารมณ์ละเอียดอ่อนต่อหน้าผู้คน แต่คาดว่าเขาเองได้ศึกษาและเรียนรู้เรื่องนี้จากเล่าปี่ ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกบรรยายไว้ในประวัติศาสตร์และวรรณกรรมว่า ไม่ว่าจะดีใจหรือเสียใจ มักไม่ค่อยแสดงอารมณ์ออกทางสีหน้า แต่เล่าปี่จะร้องไห้หรือแสดงอารมณ์ออกมาต่อหน้าผู้คนเฉพาะกรณีที่หวังผลบางอย่างเป็นหลักมากกว่า และได้ผลดีเลิศเสมอ . ส่วนฉากที่ขงเบ้งใช้กลยุทธ์นี้แล้วได้ผลดีก็คือเหตุการณ์ที่เขาเดินทางไปคารวะศพของจิวยี่ที่ง่อก๊ก เขาร้องไห้เสียใจต่อหน้าเหล่าขุนพลและขุนนางง่อทั้งหมดที่อยู่ในงาน เรื่องนี้ทำให้พวกคนของง่อที่เคยแสดงความไม่พอใจต่อขงเบ้งลดความรู้สึกด้านนี้ลงไปพอสมควร แต่ก็มีบางคนที่มองออกว่าขงเบ้งใช้อุบาย นั่นคือบังทอง ที่เข้ามาทักขงเบ้งในระหว่างที่เขากำลังจะขึ้นเรือกลับเกงจิ๋ว . แน่นอนว่าการร้องไห้ของขงเบ้งไม่ได้แก้ปัญหาได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยเขาลดความร้อนระอุด้านอารมณ์ของขุนพลง่อที่มีต่อขงเบ้งและฝ่ายเล่าปี่ลงมาบ้างในระยะเวลาหนึ่ง . เพิ่มเติม ส่วนคู่ปรับขงเบ้งอย่างสุมาอึ้จะชอบใช้แผนแกล้งป่วย (ไม่ได้พาดพิงนักการเมืองท่านใด) . ปล.แนวกลยุทธ์การร้องไห้ออกสื่อ เพื่อขอความเห็นใจ ยังคงใช้งานกันในปัจจุบัน แม้แต่ในระดับประเทศหรือในระดับโลก ……… ศิลปะและศาสตร์แห่งการร้องไห้ ฉบับ เล่าปี่ และ โจโฉ แล้วตอนหลังขงเบ้งก็ขอยืมเทคนิคนี้มาใช้ด้วย เรื่องนี้อาจจะตอบคำถามว่า อ่านสามก๊กแล้วได้อะไร วันนี้เราเพิ่งเห็นกันสดๆร้อนๆหนึ่งเรื่องในระดับประเทศ . ในสามก๊ก มีตัวอย่างของผู้นำหรือผู้ที่อยู่ในสถานการณ์ที่ยากจะแก้ไขได้โดยง่าย เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องอาศัยกลยุทธ์ในด้านอารมณ์เข้ามาช่วย นอกเหนือจากหลักเหตุผลเท่านั้น . สำหรับตัวอย่างโดดเด่นที่ เล่าปี่ โจโฉ ขงเบ้ง เคยนำมาใช้ แล้วได้ผลลัพธ์ระดับสุดยอด เช่น . เล่าปี่ ตอนที่ต้องพาประชาชนอพยพหนีการตามล่าจากทัพโจโฉ แล้วเห็นประชาชนที่ทุกข์ยากเพราะติดตามตนมา เขาก็ร้องไห้เสียใจหนัก จะกระโดดน้ำ แต่คนอื่นห้ามไว้ และที่เด็ดสุดจากนั้นคือตอนที่ “จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า” ช่วยพาทั้งอาเต๊าและนางกำฮูหยินที่พลัดหลงอยู่ในทุ่งเต็งหยาง เตียงปัน ซึ่งมีทหารโจโฉกระจัดกระจายอยู่มากกว่าหลายแสนคน เมื่อจูล่งพาอาเต๊ามาให้เล่าปี่ เขาก็ปล่อยอาเต๊าลงพื้นแล้วร้องไห้ว่า เด็กนี่เกือบทำให้ข้าสูญเสียจูล่ง จากนั้นจูล่งก็เข้าไปอุ้มอาเต๊าแล้วประกาศว่า ข้าจะขอติดตามเป็นดั่งม้าใช้ของนายท่านตราบจนสิ้นไป . โจโฉ หลายครั้งที่เขาผ่านการเสี่ยงตาย แต่ครั้งที่เสียหายรุนแรงที่สุดคือศึกเมืองอ้วนเสีย เพราะความประมาทและลุ่มหลงในหญิงงามของตนทำให้เสียท่าต่อกลยุทธ์ของกาเซี่ยง ทำให้ทหารตนล้มตายไปมากมาย รวมถึง บุตรชายโจงั่น หลานชายโจอั๋นปิน และองครักษ์เตียนอุย ต่อมาโจโฉเดินทัพผ่านบริเวณที่เคยเกิดเหตุ เขาก็ร้องไห้เสียใจออกมาให้พวกทหารเห็น โจโฉยังบอกว่า เขาร้องไห้ครั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อบุตรชายและหลานชาย แต่เพื่อเตียนอุย เรื่องนี้ทำให้ได้ใจเหล่าทหารในกองทัพมาก . ขงเบ้ง เหตุการณ์สำคัญที่ขงเบ้งพ่ายแพ้ในการบุกภาคเหนือครั้งแรก สาเหตุหนึ่งที่ขงเบ้งยอมรับว่าตนผิดพลาดก็คือ การเลือกม้าเจ๊ก มาคุมทัพที่เกเต๋ง แต่หลังจากนั้นเขากลับผิดพลาด จึงทำให้ส่งผลเสียหายต่อทั้งกองทัพ หนึ่งในความรับผิดชอบที่เขาต้องทำก็คือ การสั่งประหารม้าเจ๊ก ซึ่งเป็นคนที่ทำให้การบุกครั้งนี้ล้มเหลว ขงเบ้งต้องประหารทั้งน้ำตา ซึ่งเรื่องนี้เจ้าตัวก็น่าจะเสียใจมากจริงๆ แต่เรื่องนี้ทำให้ขงเบ้งแสดงตนชัดเจนว่า เขาไม่อิงระบบเส้นสาย ต่อให้ม้าเจ๊กเป็นคนโปรดขนาดไหน หากทำผิดพลาดครั้งใหญ่ก็ต้องโทษประหาร พวกทหารจึงให้ความเคารพเชื่อฟังขงเบ้งต่อไป แม้ว่าจะรบแพ้ใหญ่ก็ตามทึ . ทั้งนี้ ไม่ได้แปลว่า “ร้องไห้แล้วจบ” เพราะหลังจากนั้นทุกคนต้องรับผลลัพธ์ของการกระทำ และหาทางแก้ปัญหากับเดินหน้าต่อไป หากทำผิดก็ต้องรับผล ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/SUbTfaxKA3edYxLC/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    0 Comments 0 Shares 751 Views 0 Reviews
  • จีนใหญ่ - จีนไต้หวัน (เบื้องหลัง) ก็คือ พี่น้องกัน..นั่นเอง

    สรุป..ความสำเร็จของการรวมชาติของจีน และ กำเนิดประเทศไต้หวัน (เบื้องหลัง)เกิดจากอิทธิพลของ..
    #สามสาวพี่น้องตระกูลซ่ง宋 ( เก่ง สวย และ รวยมาก )

    สาว สาว สาว จบการศึกษาจากสหรัฐฯ ในช่วงที่สังคมจีนสิ้นสุดราชวงศ์ชิง清朝 ได้นำพาประเทศจีน เปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ สู่สังคม จีนยุคใหม่
    ----------------------------------------

    (พี่ใหญ่ ) #ซ่งอ่ายหลิง 宋蔼龄 ได้แต่งงานกับ อภิมหาเศรษฐี "ขงเสียงซี" 孔祥熙 (ทายาทเจ้าลัทธิรุ่น75 ของ ขงจื๊อ)

    พี่ใหญ่..เปรียบเสมือนตู้ATM(เคลื่อนที่) ชนิดไม่ฝากก็ถอนได้ ออกทุนให้น้องเขย คือ ดร.ซุนยัดเซ็น孫文 / 孫逸仙 หัวหน้าพรรค"ก๊กมินตั๋ง"国民党 ไปก่อตั้งโรงเรียนทหารฮ๋วงผู่黄蒲 ฝึกทหาร ติดอาวุธส่งเข้าไปในการต่อสู้ปฎิวัติประเทศจีน โดยมี(เขยเล็ก) เจียงไคเช็ค(蒋介石) เรียนจบการทหารจากญี่ปุ่นเป็นผู้ดูแล

    รบกันไป-รบกันมา หลายฝ่าย วุ่นวาย เหมือน..สามก๊ก (ไปหาอ่านกันเอง นะคะ)

    (น้องกลาง) #ซ่งชิ่งหลิง 宋庆 龄 หลังจากการอสัญกรรมของ ดร.ซุนยัดเซ็น ไปท่องยุโรปและรัสเซีย เปลี่ยนอุดมการณ์จากทุนนิยมเสรี เป็น คอมมิวนิสต์ ได้รับการสนับสนุนจากพี่สาว ให้เจรจากับ โจเซฟ สตาลิน ช่วยสนับสนุนกำลังอาวุธที่ยึดจากญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่2ให้กองทัพคอมมิวนิสต์จีน และเข้าร่วมปฎิวัติวัฒนธรรมจีน กับภริยาท่านประธานเหมา ก่อตั้ง "สาธารณรัฐประชาชนจีน" ( PRC=People Republic of China)

    (น้องเล็ก) #ซ่งเหม่ยหลิง 宋美龄 ยึดมั่นในประชาธิปไตยแบบตะวันตก หลังปราบญี่ปุ่นและสงครามโลกครั้งที่2 จบลง นางได้จิกให้สามี คือ จอมพลเจียงไคเชค แยกประชาชนจีนร่วมอุดมการณ์ ออกมาตั้งเป็น "ประเทศไต้หวัน"Republic of China(TAIWAN)

    ส่วนมาก..พวกผู้ชาย เค้าก็เล่า ตัวเอกเป็น ดร.ซุนยัดเซ็น เหมาเจ๋อตุง毛泽东 โจวเอินไล周恩來 เจียงไคเช็ค 蒋介石

    แต่ #กองทัพต้องเดินด้วยท้อง ผู้หญิงมีส่วนสำคัญในการเจรจาต่อรอง และให้ทุนสนับสนุน(อยู่เบื้องหลัง) จ๊ะ
    .
    .

    Pachäree Wõng
    October5, 2024
    Sausalito, CA94965
    จีนใหญ่ - จีนไต้หวัน (เบื้องหลัง) ก็คือ พี่น้องกัน..นั่นเอง สรุป..ความสำเร็จของการรวมชาติของจีน และ กำเนิดประเทศไต้หวัน (เบื้องหลัง)เกิดจากอิทธิพลของ.. #สามสาวพี่น้องตระกูลซ่ง宋 ( เก่ง สวย และ รวยมาก ) สาว สาว สาว จบการศึกษาจากสหรัฐฯ ในช่วงที่สังคมจีนสิ้นสุดราชวงศ์ชิง清朝 ได้นำพาประเทศจีน เปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ สู่สังคม จีนยุคใหม่ ---------------------------------------- (พี่ใหญ่ ) #ซ่งอ่ายหลิง 宋蔼龄 ได้แต่งงานกับ อภิมหาเศรษฐี "ขงเสียงซี" 孔祥熙 (ทายาทเจ้าลัทธิรุ่น75 ของ ขงจื๊อ) พี่ใหญ่..เปรียบเสมือนตู้ATM(เคลื่อนที่) ชนิดไม่ฝากก็ถอนได้ ออกทุนให้น้องเขย คือ ดร.ซุนยัดเซ็น孫文 / 孫逸仙 หัวหน้าพรรค"ก๊กมินตั๋ง"国民党 ไปก่อตั้งโรงเรียนทหารฮ๋วงผู่黄蒲 ฝึกทหาร ติดอาวุธส่งเข้าไปในการต่อสู้ปฎิวัติประเทศจีน โดยมี(เขยเล็ก) เจียงไคเช็ค(蒋介石) เรียนจบการทหารจากญี่ปุ่นเป็นผู้ดูแล รบกันไป-รบกันมา หลายฝ่าย วุ่นวาย เหมือน..สามก๊ก (ไปหาอ่านกันเอง นะคะ) (น้องกลาง) #ซ่งชิ่งหลิง 宋庆 龄 หลังจากการอสัญกรรมของ ดร.ซุนยัดเซ็น ไปท่องยุโรปและรัสเซีย เปลี่ยนอุดมการณ์จากทุนนิยมเสรี เป็น คอมมิวนิสต์ ได้รับการสนับสนุนจากพี่สาว ให้เจรจากับ โจเซฟ สตาลิน ช่วยสนับสนุนกำลังอาวุธที่ยึดจากญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่2ให้กองทัพคอมมิวนิสต์จีน และเข้าร่วมปฎิวัติวัฒนธรรมจีน กับภริยาท่านประธานเหมา ก่อตั้ง "สาธารณรัฐประชาชนจีน" ( PRC=People Republic of China) (น้องเล็ก) #ซ่งเหม่ยหลิง 宋美龄 ยึดมั่นในประชาธิปไตยแบบตะวันตก หลังปราบญี่ปุ่นและสงครามโลกครั้งที่2 จบลง นางได้จิกให้สามี คือ จอมพลเจียงไคเชค แยกประชาชนจีนร่วมอุดมการณ์ ออกมาตั้งเป็น "ประเทศไต้หวัน"Republic of China(TAIWAN) ส่วนมาก..พวกผู้ชาย เค้าก็เล่า ตัวเอกเป็น ดร.ซุนยัดเซ็น เหมาเจ๋อตุง毛泽东 โจวเอินไล周恩來 เจียงไคเช็ค 蒋介石 แต่ #กองทัพต้องเดินด้วยท้อง ผู้หญิงมีส่วนสำคัญในการเจรจาต่อรอง และให้ทุนสนับสนุน(อยู่เบื้องหลัง) จ๊ะ . . Pachäree Wõng October5, 2024 Sausalito, CA94965
    0 Comments 0 Shares 867 Views 0 Reviews
  • ทักษิณผู้สร้าง ศ-รั-ต-รู มอบให้ลูก ครบ 10 ทิศ
    ไม่เคยมีบุคคลที่เป็นนักการเมืองคนไหนในประวัติศาสตร์
    ที่จะสร้าง ศ-รั-ต-รู ในระยะเวลาอันรวดเร็ว และมากมายได้ขนาดนี้
    เป็นพ่อที่ส่งลูกขึ้นสู่อำนาจ แต่กลับวางอำนาจบาดใหญ่
    ซึ่งรู้ทั้งรู้ ว่าแต่ละคนไม่ใช่คนที่จะด้อยค่าได้
    สุภาษิตถึงกับสอนกันมารุ่นสู่รุ่น ว่าขนาดตีหมา ต้องให้ทางหนี
    เพราะเวลาหมาจนตรอก อาจสร้างความเสียหายได้อย่างไม่คาดคิด
    แต่บุคคลที่โทนี่ ข้ามหัวในเวลานี้ คือคนการเมืองระดับเทพ
    ที่ต่างมีเหลี่ยม มีคม มีบารมีเป็นของตัวเอง
    และแม้กระทั่ง พรรคที่ตัวเองดึงเอาไปร่วมรัฐบาล
    ก็ใช่ว่า จะเป็นแมวเชื่อง เพียงแค่รอโอกาสที่พอเหมาะพอดีเท่านั้น
    เรียกได้ว่า เมิงอย่าพลาดเด็ดขาด
    แต่ลูกศรทุกดอก พุ่งยังไงก็ไม่พ้นลูกสาว
    ที่คนเป็นแม่ ยืนยันว่าลูกยังไม่พร้อม
    แต่คนเป็นพ่อ รอเวลาไม่ได้ คล้ายกับมีอาการวิปลาศที่อยากจะโชว์บารมี
    โดยไม่สนใจว่า อนาคตอันใกล้ลูกสาวจะต้องพบเจอกับอะไร
    แม้ว่า สายข่าวของพี่คิงส์ จะยืนยันว่า ทักษิณได้คุมทุกอย่างไว้
    อย่างเบร็ดเสร็จเด็ดขาดแล้วก็ตาม แต่ในประสบการณ์ของพี่คิงส์โพธิ์แดง
    ก็ยังเชื่อว่า สิ่งที่ทักษิณทำในเวลานี้ คือการนับถอยหลัง
    ทั้งชีวิต และอนาคตของตัวเอง และพ่วงด้วยลูกสาวที่กำลังจะดิ่งลงเหว
    ทักษิณ กับอายุตอนนี้ จะอยู่ได้อีกกี่ปี ต่อให้อายุยืนหน่อย
    แต่เรี่ยวแรงก็ต้องถดต้องถอย ซึ่งสังขาลมันคือจุดเปลี่ยน
    ของคนในอดีตที่ยิ่งใหญ่ มาไม่รู้กี่ยุคกี่สมัย
    แล้วในเวลานั้น ชินวัตรในวันที่ไม่มีทักษิณ
    แต่ศัตรูที่พ่อสร้าง มีอยู่มากมายแทบทั้งแผ่นดิน
    นอกจากนักการเมืองตัวเป้งๆที่ทักษิณเหยียบหัว
    ก็ยังมีการย่ำหัวใจของทั้งมวลชน คนเสื้อแดง
    ที่ยอมสู้ถวายจิตวิญญาณ เพื่อทักษิณ และคู่ตรงข้ามตลอดการคือพรรคประชาธิปปัตย์ ซึ่งกลุ่มมวลชนเหล่านี้ มีพลังอย่างประเมินไม่ได้
    ดังนั้น บทวิเคราะห์ของพี่คิงส์โพธิ์แดงในวันนี้ ขอสรุปว่า
    ถ้าเปรียบเทียบกับสามก๊ก ทักษิณ ไม่ใช่โจโฉ ไม่ใช่แม้กระทั่งสุมาอี้
    แต่เวลานี้ ทักษิณ จะนำพาตัวเองไปมีจุดจบเหมือนกับเตียวหุย
    ที่ไม่ได้เฝ้ารากมะม่วงอย่างไม่สมัครใจโดยนายทัพที่ไหน
    แต่จะจบด้วยน้ำมือพลทหาร เบี้ยตัวเล็กๆนอกสายตา
    รวมกับข้าเก่าเต่าเลี้ยง เมื่อทักษิณไม่ยอมเปิดทางให้ใครเดิน
    ผลักให้เกิดกลุ่มก้อนใหม่ นั่นคือ "พรรคฝ่ายแค้น"
    นับถอยหลังสู่จุดจบที่จะสะเทือนทั้งตระกูล
    ฟันธง!!
    #คิงส์โพธิ์แดง
    ทักษิณผู้สร้าง ศ-รั-ต-รู มอบให้ลูก ครบ 10 ทิศ ไม่เคยมีบุคคลที่เป็นนักการเมืองคนไหนในประวัติศาสตร์ ที่จะสร้าง ศ-รั-ต-รู ในระยะเวลาอันรวดเร็ว และมากมายได้ขนาดนี้ เป็นพ่อที่ส่งลูกขึ้นสู่อำนาจ แต่กลับวางอำนาจบาดใหญ่ ซึ่งรู้ทั้งรู้ ว่าแต่ละคนไม่ใช่คนที่จะด้อยค่าได้ สุภาษิตถึงกับสอนกันมารุ่นสู่รุ่น ว่าขนาดตีหมา ต้องให้ทางหนี เพราะเวลาหมาจนตรอก อาจสร้างความเสียหายได้อย่างไม่คาดคิด แต่บุคคลที่โทนี่ ข้ามหัวในเวลานี้ คือคนการเมืองระดับเทพ ที่ต่างมีเหลี่ยม มีคม มีบารมีเป็นของตัวเอง และแม้กระทั่ง พรรคที่ตัวเองดึงเอาไปร่วมรัฐบาล ก็ใช่ว่า จะเป็นแมวเชื่อง เพียงแค่รอโอกาสที่พอเหมาะพอดีเท่านั้น เรียกได้ว่า เมิงอย่าพลาดเด็ดขาด แต่ลูกศรทุกดอก พุ่งยังไงก็ไม่พ้นลูกสาว ที่คนเป็นแม่ ยืนยันว่าลูกยังไม่พร้อม แต่คนเป็นพ่อ รอเวลาไม่ได้ คล้ายกับมีอาการวิปลาศที่อยากจะโชว์บารมี โดยไม่สนใจว่า อนาคตอันใกล้ลูกสาวจะต้องพบเจอกับอะไร แม้ว่า สายข่าวของพี่คิงส์ จะยืนยันว่า ทักษิณได้คุมทุกอย่างไว้ อย่างเบร็ดเสร็จเด็ดขาดแล้วก็ตาม แต่ในประสบการณ์ของพี่คิงส์โพธิ์แดง ก็ยังเชื่อว่า สิ่งที่ทักษิณทำในเวลานี้ คือการนับถอยหลัง ทั้งชีวิต และอนาคตของตัวเอง และพ่วงด้วยลูกสาวที่กำลังจะดิ่งลงเหว ทักษิณ กับอายุตอนนี้ จะอยู่ได้อีกกี่ปี ต่อให้อายุยืนหน่อย แต่เรี่ยวแรงก็ต้องถดต้องถอย ซึ่งสังขาลมันคือจุดเปลี่ยน ของคนในอดีตที่ยิ่งใหญ่ มาไม่รู้กี่ยุคกี่สมัย แล้วในเวลานั้น ชินวัตรในวันที่ไม่มีทักษิณ แต่ศัตรูที่พ่อสร้าง มีอยู่มากมายแทบทั้งแผ่นดิน นอกจากนักการเมืองตัวเป้งๆที่ทักษิณเหยียบหัว ก็ยังมีการย่ำหัวใจของทั้งมวลชน คนเสื้อแดง ที่ยอมสู้ถวายจิตวิญญาณ เพื่อทักษิณ และคู่ตรงข้ามตลอดการคือพรรคประชาธิปปัตย์ ซึ่งกลุ่มมวลชนเหล่านี้ มีพลังอย่างประเมินไม่ได้ ดังนั้น บทวิเคราะห์ของพี่คิงส์โพธิ์แดงในวันนี้ ขอสรุปว่า ถ้าเปรียบเทียบกับสามก๊ก ทักษิณ ไม่ใช่โจโฉ ไม่ใช่แม้กระทั่งสุมาอี้ แต่เวลานี้ ทักษิณ จะนำพาตัวเองไปมีจุดจบเหมือนกับเตียวหุย ที่ไม่ได้เฝ้ารากมะม่วงอย่างไม่สมัครใจโดยนายทัพที่ไหน แต่จะจบด้วยน้ำมือพลทหาร เบี้ยตัวเล็กๆนอกสายตา รวมกับข้าเก่าเต่าเลี้ยง เมื่อทักษิณไม่ยอมเปิดทางให้ใครเดิน ผลักให้เกิดกลุ่มก้อนใหม่ นั่นคือ "พรรคฝ่ายแค้น" นับถอยหลังสู่จุดจบที่จะสะเทือนทั้งตระกูล ฟันธง!! #คิงส์โพธิ์แดง
    Haha
    2
    0 Comments 0 Shares 693 Views 0 Reviews
  • ประเมินจอมยุทธธรรมนัสต่ำไม่ได้จริงๆ
    ร้อยเอกชนะนายพล เอาสิฟร๊ะ
    ปั่นซะลุงหัวหมุนเลยน้าาาาา
    ยิ่งกว่าตำราสามก๊ก ก็การเมืองไทยยุคนี้แหละ
    ได้เห็นอะไรที่ไม่เคยเห็น
    #คิงส์โพธิ์แดง
    ประเมินจอมยุทธธรรมนัสต่ำไม่ได้จริงๆ ร้อยเอกชนะนายพล เอาสิฟร๊ะ ปั่นซะลุงหัวหมุนเลยน้าาาาา ยิ่งกว่าตำราสามก๊ก ก็การเมืองไทยยุคนี้แหละ ได้เห็นอะไรที่ไม่เคยเห็น #คิงส์โพธิ์แดง
    0 Comments 0 Shares 490 Views 0 Reviews
  • สิ้นแล้ว “อาจารย์ทองแถม นาถจำนง” เจ้าของนามปากกา “โชติช่วง นาดอน” มีผลงานด้านจีนศึกษา ประวัติศาสตร์และวรรณกรรมจีนจำนวนมาก นักแปลบทภาพยนตร์โทรทัศน์ “สามก๊ก” สิริอายุ 69 ปี

    2 สิงหาคม 2567 - เพจเฟซบุ๊ก “สามก๊ก 1994 三国演义” โพสต์อาลัย “อาจารย์ทองแถม” นักแปลชื่อดัง อดีตบรรณาธิการสยามรัฐ เสียชีวิตแล้ว สิริอายุ 69 ปี โดยระบุข้อความว่า

    “อำลาอาลัย อาจารย์ทองแถม นาถจำนง

    ทองแถม นาถจำนง (๒๔๙๘-๒๕๖๗)

    滚滚长江东逝水,
    น้ำแยงซี รี่ไหล ไปบูรพา

    浪花淘尽英雄。
    คลื่นซัดกวาดพา วีรชน หล่นลับหาย

    是非成败转头空。
    ถูกผิดแพ้ชนะ วัฏจักร เวียนว่างดาย

    青山依旧在,几度夕阳红。
    สิงขรยังคง ตาวันยังฉาย นานเท่านาน

    บทกวีนำวรรณกรรมสามก๊กและบทเพลงเปิดภาพยนตร์โทรทัศน์ สามก๊ก 1994 แปลโดย อ.ทองเเถม นาถจำนง

    อาจารย์ทองแถม นาถจำนง นามปากกา “โชติช่วง นาดอน” มีผลงานด้านจีนศึกษา ประวัติศาสตร์และวรรณกรรมจีนจำนวนมาก ผลงานหนึ่งที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งสำหรับวงการสามก๊กในประเทศไทย คือการแปลบทภาพยนตร์โทรทัศน์ สามก๊ก 1994 三国演义 เป็นภาษาไทย ซึ่งนับเป็นงานใหญ่และยากยิ่ง แต่ท่านสามารถแปลและใช้คำได้อย่างไพเราะสละสลวยอย่างที่สุด ไม่สามารถพบได้ในสื่อหรือบทแปลภาพยนตร์และภาพยนตร์โทรทัศน์ใดในสมัยนี้ ทางผมเองได้เคยพูดคุยกับอาจารย์ทาง Messenger หลายครั้ง และเคยร่วมงานพิธีลงนามและแถลงข่าวการลงนามความร่วมมือทางวัฒนธรรมไทย-จีน

    ในการเผยแพร่ภาพยนตร์โทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์จีนชุด “สามก๊ก” 《三国演义》1994 ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๒ วันนั้นได้มีโอกาสเดินทางร่วมกับอาจารย์ทองแถมอย่างใกล้ชิด ได้สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับการทำงานแปลสามก๊ก 1994 ได้รับความรู้และเรื่องราวต่าง ๆ จากท่าน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่มีการจดบันทึก เป็นข้อมูลที่เกิดจากประสบการณ์และได้รับการถ่ายทอดด้วยการพูดคุยกับท่านโดยตรง นับเป็นเกียรติอย่างยิ่ง และประทับใจจนทุกวันนี้“

    กราบคารวะอาจารย์ทองแถมสู่สุคติในสัมปรายภพ

    บทสัมภาษณ์พิเศษ อ.ทองแถมที่ผู้จัดการออนไลน์บันทึกไว้เมื่อสิบปีที่แล้ว 10 ก.ค.2558 https://mgronline.com/china/detail/9580000078184#lzcmbn1540ec6hyp8mj บ่งบอกความลึกซึ้งในวิถีศรัทธาของอาจารย์ทองแถมในปรัชญาเต๋า เถายวนหมิง และแปลปรัชญาเต๋าของเล่าจื๊อ ที่ถือเป็นสุดยอดมรดกทางปัญญาของจีน

    หลักคิดของอาจารย์บนเส้นทางที่ยากลำบากของนักแปลปรัชญาวรรณกรรมจีนที่ให้ไว้กับคนรุ่นหลัง

    หนึ่ง-การเป็นนักเขียนอาชีพที่จะพึ่งรายได้ จากการแปลภาษาจีน มันยากมาก เราต้องมีความสามารถในเชิงวรรณศิลป์มาก ๆ สำนักพิมพ์จึงจะกล้าพิมพ์หนังสือให้เรา

    สอง-ต้องเข้าใจตลาดด้วย ต้องวิเคราะห์ให้เป็นว่า แนวเรื่องแบบใดจะขายได้ในตลาด เพื่อให้มีรายได้พอเลี้ยงชีพ

    สาม-เราควรมี “กล่อง” ไว้บ้าง คือมีงานมาสเตอร์พีซที่จะทำให้เราได้รับการยอมรับ แล้วสร้างแนวเรื่องของตนเองได้สำเร็จ เช่นว่าถ้าเรื่องกลยุทธ์บริหารโดยพิชัยสงครามจีนแล้ว อ่านงานของเราแล้วไม่ผิดหวัง

    สี่-ควรมีทั้งงานแปลและงานค้นคว้าเขียนเอง

    “ “ผมปรารถนาชีวิตสมถะ สงบสุข แบบเถายวนหมิง แม้จะรู้ว่าบางช่วงก็ต้องมีปัญหาด้านเศรษฐกิจบ้าง”อาจารยทองแถมกล่าว

    พิธีศพจัดที่ ศาลา 4 วัดภคินีนาถวรวิหาร ซอยราชวิถี 21 พิธีสวดอภิธรรมบำเพ็ญกุศล2-6 ส.ค.และพิธีฌาปนกิจในวันที่ 7 ส.ค.2567

    #Thaitimes
    สิ้นแล้ว “อาจารย์ทองแถม นาถจำนง” เจ้าของนามปากกา “โชติช่วง นาดอน” มีผลงานด้านจีนศึกษา ประวัติศาสตร์และวรรณกรรมจีนจำนวนมาก นักแปลบทภาพยนตร์โทรทัศน์ “สามก๊ก” สิริอายุ 69 ปี 2 สิงหาคม 2567 - เพจเฟซบุ๊ก “สามก๊ก 1994 三国演义” โพสต์อาลัย “อาจารย์ทองแถม” นักแปลชื่อดัง อดีตบรรณาธิการสยามรัฐ เสียชีวิตแล้ว สิริอายุ 69 ปี โดยระบุข้อความว่า “อำลาอาลัย อาจารย์ทองแถม นาถจำนง ทองแถม นาถจำนง (๒๔๙๘-๒๕๖๗) 滚滚长江东逝水, น้ำแยงซี รี่ไหล ไปบูรพา 浪花淘尽英雄。 คลื่นซัดกวาดพา วีรชน หล่นลับหาย 是非成败转头空。 ถูกผิดแพ้ชนะ วัฏจักร เวียนว่างดาย 青山依旧在,几度夕阳红。 สิงขรยังคง ตาวันยังฉาย นานเท่านาน บทกวีนำวรรณกรรมสามก๊กและบทเพลงเปิดภาพยนตร์โทรทัศน์ สามก๊ก 1994 แปลโดย อ.ทองเเถม นาถจำนง อาจารย์ทองแถม นาถจำนง นามปากกา “โชติช่วง นาดอน” มีผลงานด้านจีนศึกษา ประวัติศาสตร์และวรรณกรรมจีนจำนวนมาก ผลงานหนึ่งที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งสำหรับวงการสามก๊กในประเทศไทย คือการแปลบทภาพยนตร์โทรทัศน์ สามก๊ก 1994 三国演义 เป็นภาษาไทย ซึ่งนับเป็นงานใหญ่และยากยิ่ง แต่ท่านสามารถแปลและใช้คำได้อย่างไพเราะสละสลวยอย่างที่สุด ไม่สามารถพบได้ในสื่อหรือบทแปลภาพยนตร์และภาพยนตร์โทรทัศน์ใดในสมัยนี้ ทางผมเองได้เคยพูดคุยกับอาจารย์ทาง Messenger หลายครั้ง และเคยร่วมงานพิธีลงนามและแถลงข่าวการลงนามความร่วมมือทางวัฒนธรรมไทย-จีน ในการเผยแพร่ภาพยนตร์โทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์จีนชุด “สามก๊ก” 《三国演义》1994 ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๒ วันนั้นได้มีโอกาสเดินทางร่วมกับอาจารย์ทองแถมอย่างใกล้ชิด ได้สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับการทำงานแปลสามก๊ก 1994 ได้รับความรู้และเรื่องราวต่าง ๆ จากท่าน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่มีการจดบันทึก เป็นข้อมูลที่เกิดจากประสบการณ์และได้รับการถ่ายทอดด้วยการพูดคุยกับท่านโดยตรง นับเป็นเกียรติอย่างยิ่ง และประทับใจจนทุกวันนี้“ กราบคารวะอาจารย์ทองแถมสู่สุคติในสัมปรายภพ บทสัมภาษณ์พิเศษ อ.ทองแถมที่ผู้จัดการออนไลน์บันทึกไว้เมื่อสิบปีที่แล้ว 10 ก.ค.2558 https://mgronline.com/china/detail/9580000078184#lzcmbn1540ec6hyp8mj บ่งบอกความลึกซึ้งในวิถีศรัทธาของอาจารย์ทองแถมในปรัชญาเต๋า เถายวนหมิง และแปลปรัชญาเต๋าของเล่าจื๊อ ที่ถือเป็นสุดยอดมรดกทางปัญญาของจีน หลักคิดของอาจารย์บนเส้นทางที่ยากลำบากของนักแปลปรัชญาวรรณกรรมจีนที่ให้ไว้กับคนรุ่นหลัง หนึ่ง-การเป็นนักเขียนอาชีพที่จะพึ่งรายได้ จากการแปลภาษาจีน มันยากมาก เราต้องมีความสามารถในเชิงวรรณศิลป์มาก ๆ สำนักพิมพ์จึงจะกล้าพิมพ์หนังสือให้เรา สอง-ต้องเข้าใจตลาดด้วย ต้องวิเคราะห์ให้เป็นว่า แนวเรื่องแบบใดจะขายได้ในตลาด เพื่อให้มีรายได้พอเลี้ยงชีพ สาม-เราควรมี “กล่อง” ไว้บ้าง คือมีงานมาสเตอร์พีซที่จะทำให้เราได้รับการยอมรับ แล้วสร้างแนวเรื่องของตนเองได้สำเร็จ เช่นว่าถ้าเรื่องกลยุทธ์บริหารโดยพิชัยสงครามจีนแล้ว อ่านงานของเราแล้วไม่ผิดหวัง สี่-ควรมีทั้งงานแปลและงานค้นคว้าเขียนเอง “ “ผมปรารถนาชีวิตสมถะ สงบสุข แบบเถายวนหมิง แม้จะรู้ว่าบางช่วงก็ต้องมีปัญหาด้านเศรษฐกิจบ้าง”อาจารยทองแถมกล่าว พิธีศพจัดที่ ศาลา 4 วัดภคินีนาถวรวิหาร ซอยราชวิถี 21 พิธีสวดอภิธรรมบำเพ็ญกุศล2-6 ส.ค.และพิธีฌาปนกิจในวันที่ 7 ส.ค.2567 #Thaitimes
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 1086 Views 0 Reviews