• สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึงเงื่อนจีนหรือ ‘จงกั๋วเจี๋ย’ ซึ่งคำว่าเงื่อนหรือ ‘เจี๋ย’ นั้น ในความหมายจีนแปลได้อีกว่าความผูกพันหรือความเชื่อมโยงหรือความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน และถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของงานโอลิมปิกฤดูหนาว 2022

    เพื่อนเพจแฟนละครหรือนิยายจีนต้องเคยได้ยินคำว่า ‘เจี๋ย’ นี้ถูกนำมาใช้สื่อความหมายเกี่ยวกับความรักรวมถึงเงื่อนจีนที่ถูกใช้เป็นตัวแทนแห่งความรัก วันนี้เรามาคุยกันถึงวลีจีนเกี่ยวกับ ‘เจี๋ย’ และความหมายของมัน

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ตราบแต่นี้ไป ข้าก็เป็นภรรยาผูกปมผมของท่านแล้ว สองเราจะไม่ทอดทิ้งกัน ติดตามกันไปตราบจนชีวิตจะหาไม่” เล่อเยียนยิ้มกล่าว...
    - ถอดบทสนทนาจากละคร <สตรีหาญฉางเกอ> (Storyฯ แปลเองจ้า)

    คำแปลข้างบนอาจฟังดูงง คำว่า ‘ผูกปมผม’ (เจี๋ยฟ่า / 结发) หมายถึงอะไร? ในเรื่อง <สตรีหาญฉางเกอ> มีฉากที่ฮ่าวตู (เจ้าบ่าว) คลายเชือกหลากสีที่มัดอยู่ที่มวยผมของเล่อเยียน (เจ้าสาว) แล้วต่างคนต่างตัดปอยผมมารวมกันเอาเชือกนั้นผูกไว้ (ดูภาพประกอบที่ดึงมาจากในละคร) นี่คือการ ‘ผูกปมผม’ ซึ่งเป็นหนึ่งในพิธีการเข้าหอของคู่บ่าวสาวหลังจากเกี่ยวก้อยกันดื่มสุรามงคลแล้ว

    เริ่มกันที่การปลดเชือก เชือกหลากสีที่เห็นนี้ มีชื่อเรียกว่า ‘อิง’ สตรีที่ได้รับการหมั้นหมายแล้วจะต้องผูกเชือกนี้ไว้ที่มวยผม ตราบจนวันแต่งงานเข้าหอแล้วมีเพียงเจ้าบ่าวที่สามารถปลดเชือกนี้ได้ การทำอย่างนี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (1047 – 772 ปีก่อนคริสตกาล) ปรากฏในบันทึกพิธีการการแต่งงาน (仪礼·土昏礼 ซึ่งเป็นบันทึกเดียวกับที่กล่าวถึง ‘หกพิธีการ’/六礼 ของงานแต่งงานที่เพื่อนเพจอาจเคยผ่านหู) บันทึกนี้เป็นหนึ่งในสามบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดของจีนเกี่ยวกับเรื่องประเพณีและพิธีการ แต่... บันทึกนี้ไม่ได้กล่าวถึงการผูกปมผม

    พิธีการผูกปมผมเริ่มแต่เมื่อใดไม่ปรากฏบันทึกที่ชัดเจน แต่บทกวีในสมัยราชวงศ์ฮั่นที่ประพันธ์โดยซูอู่ (140 - 60 ปีก่อนคริสตกาล) มีวรรคนี้ปรากฏ “ผูกปมผมเป็นสามีภรรยา รักกันไม่เคลือบแคลงใจ” (结发为夫妻,恩爱两不疑) ดังนั้นการเอาปอยผมมามัดเข้ากันนี้มีแล้วในสมัยราชวงศ์ฮั่น และวลีนี้เป็นอีกหนึ่งวลีคลาสสิกที่ใช้กล่าวถึงความรักที่มั่นคง

    แต่มันมีความหมายมากกว่านั้นค่ะ

    ในธรรมเนียมจีนโบราณ จะมีเพียงภรรยาเอกคนเดียวที่มีการกราบไหว้ฟ้าดินแล้วส่งตัวเข้าห้องหอ ส่วนอนุทั้งหลายจะเพียงแต่รับตัวเข้ามาเข้าห้องเลย ดังนั้นคำว่า ‘ภรรยาผูกปมผม’ ในบางบริบทไม่ใช่หมายถึงรักเดียว แต่อาจหมายถึงภรรยาที่แต่งเข้ามาเป็นคนแรกก็ได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/366760262
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.epochtimes.com/gb/20/10/19/n12485542.htm
    https://baike.sogou.com/v168462018.htm
    https://www.pinshiwen.com/gsdq/aqsc/20190711144812.html

    #สตรีหาญฉางเกอ #ฮ่าวตูเล่อเยียน #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #ผูกปมผม #เจี๋ยฟ่า #เจี๋ยฝ้า
    สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึงเงื่อนจีนหรือ ‘จงกั๋วเจี๋ย’ ซึ่งคำว่าเงื่อนหรือ ‘เจี๋ย’ นั้น ในความหมายจีนแปลได้อีกว่าความผูกพันหรือความเชื่อมโยงหรือความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน และถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของงานโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 เพื่อนเพจแฟนละครหรือนิยายจีนต้องเคยได้ยินคำว่า ‘เจี๋ย’ นี้ถูกนำมาใช้สื่อความหมายเกี่ยวกับความรักรวมถึงเงื่อนจีนที่ถูกใช้เป็นตัวแทนแห่งความรัก วันนี้เรามาคุยกันถึงวลีจีนเกี่ยวกับ ‘เจี๋ย’ และความหมายของมัน ความมีอยู่ว่า ... “ตราบแต่นี้ไป ข้าก็เป็นภรรยาผูกปมผมของท่านแล้ว สองเราจะไม่ทอดทิ้งกัน ติดตามกันไปตราบจนชีวิตจะหาไม่” เล่อเยียนยิ้มกล่าว... - ถอดบทสนทนาจากละคร <สตรีหาญฉางเกอ> (Storyฯ แปลเองจ้า) คำแปลข้างบนอาจฟังดูงง คำว่า ‘ผูกปมผม’ (เจี๋ยฟ่า / 结发) หมายถึงอะไร? ในเรื่อง <สตรีหาญฉางเกอ> มีฉากที่ฮ่าวตู (เจ้าบ่าว) คลายเชือกหลากสีที่มัดอยู่ที่มวยผมของเล่อเยียน (เจ้าสาว) แล้วต่างคนต่างตัดปอยผมมารวมกันเอาเชือกนั้นผูกไว้ (ดูภาพประกอบที่ดึงมาจากในละคร) นี่คือการ ‘ผูกปมผม’ ซึ่งเป็นหนึ่งในพิธีการเข้าหอของคู่บ่าวสาวหลังจากเกี่ยวก้อยกันดื่มสุรามงคลแล้ว เริ่มกันที่การปลดเชือก เชือกหลากสีที่เห็นนี้ มีชื่อเรียกว่า ‘อิง’ สตรีที่ได้รับการหมั้นหมายแล้วจะต้องผูกเชือกนี้ไว้ที่มวยผม ตราบจนวันแต่งงานเข้าหอแล้วมีเพียงเจ้าบ่าวที่สามารถปลดเชือกนี้ได้ การทำอย่างนี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (1047 – 772 ปีก่อนคริสตกาล) ปรากฏในบันทึกพิธีการการแต่งงาน (仪礼·土昏礼 ซึ่งเป็นบันทึกเดียวกับที่กล่าวถึง ‘หกพิธีการ’/六礼 ของงานแต่งงานที่เพื่อนเพจอาจเคยผ่านหู) บันทึกนี้เป็นหนึ่งในสามบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดของจีนเกี่ยวกับเรื่องประเพณีและพิธีการ แต่... บันทึกนี้ไม่ได้กล่าวถึงการผูกปมผม พิธีการผูกปมผมเริ่มแต่เมื่อใดไม่ปรากฏบันทึกที่ชัดเจน แต่บทกวีในสมัยราชวงศ์ฮั่นที่ประพันธ์โดยซูอู่ (140 - 60 ปีก่อนคริสตกาล) มีวรรคนี้ปรากฏ “ผูกปมผมเป็นสามีภรรยา รักกันไม่เคลือบแคลงใจ” (结发为夫妻,恩爱两不疑) ดังนั้นการเอาปอยผมมามัดเข้ากันนี้มีแล้วในสมัยราชวงศ์ฮั่น และวลีนี้เป็นอีกหนึ่งวลีคลาสสิกที่ใช้กล่าวถึงความรักที่มั่นคง แต่มันมีความหมายมากกว่านั้นค่ะ ในธรรมเนียมจีนโบราณ จะมีเพียงภรรยาเอกคนเดียวที่มีการกราบไหว้ฟ้าดินแล้วส่งตัวเข้าห้องหอ ส่วนอนุทั้งหลายจะเพียงแต่รับตัวเข้ามาเข้าห้องเลย ดังนั้นคำว่า ‘ภรรยาผูกปมผม’ ในบางบริบทไม่ใช่หมายถึงรักเดียว แต่อาจหมายถึงภรรยาที่แต่งเข้ามาเป็นคนแรกก็ได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/366760262 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.epochtimes.com/gb/20/10/19/n12485542.htm https://baike.sogou.com/v168462018.htm https://www.pinshiwen.com/gsdq/aqsc/20190711144812.html #สตรีหาญฉางเกอ #ฮ่าวตูเล่อเยียน #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #ผูกปมผม #เจี๋ยฟ่า #เจี๋ยฝ้า
    1 Comments 0 Shares 263 Views 0 Reviews
  • กินเกี๊ยวรับตรุษจีน

    สวัสดีค่ะ ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้! สัปดาห์นี้มาคุยกันเร็วหน่อยต้อนรับตรุษจีน

    วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับธรรมเนียมโบราณในการฉลองตรุษจีน เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <องค์หญิงใหญ่> คงจะจำได้ว่ามีฉากที่องค์หญิงหลี่หรงและเผยเหวินเซวียนร่วมสังสรรค์ฉลองตรุษจีนกับทุกคนในจวนองค์หญิง โดยพระเอกนางเอกห่อเกี๊ยวออกมาให้ทุกคนร่วมกิน

    ธรรมเนียมการกินเกี๊ยวตอนตรุษจีนในประเทศจีนยังมีอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในภาคพื้นที่ตอนเหนือของจีน และปัจจุบันมีเกี๊ยวหลากหลายชนิด บ้างเรียก ‘หุนถุน’ (馄饨) คือเกี๊ยวที่มีขนาดเล็กพอคำทรงกลม หรือบ้างเรียกว่า ‘เจี่ยวจือ’ (饺子) ซึ่งเป็นเกี๊ยวขนาดใหญ่ทรงจันทร์เสี้ยวหน้าตาประมาณเกี๊ยวซ่าที่มีขายในบ้านเรา ซึ่งจำแนกออกจากกันด้วยรายละเอียดเช่น แป้งที่ใช้ห่อ รูปทรงของแผ่นแป้ง ฯลฯ แต่ในหลายยุคสมัยโบราณไม่ได้แบ่งประเภทอย่างนี้ เรียกรวมเป็นเกี๊ยวทั้งหมด เพียงแต่ชื่อเรียกเปลี่ยนไปตามยุคสมัย

    ว่ากันว่าเกี๊ยวมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเมื่อคุณหมอชื่อดังจางจ้งจิ่งได้คิดค้นมันขึ้นเพื่อรวบรวมสารอาหารที่จำเป็น (เช่น เนื้อแกะและพริกไทย) เข้าด้วยกันในรูปแบบที่สะดวกต่อการกิน ทั้งนี้เพื่อปรับสภาพร่างกายของชาวบ้านให้รับมือกับอากาศหนาวเย็นได้ดีขึ้น แต่คำว่าเกี๊ยวปรากฎบนเอกสารโบราณครั้งแรกในสารานุกรม ‘ก๋วงหย่า’ (广雅) ของแคว้นเว่ยสมัยสามก๊ก (วุยก๊ก จัดทำขึ้นในช่วงปีค.ศ. 227-232) โดยกล่าวถึงอาหารชนิดหนึ่งรูปทรงเหมือนจันทร์เสี้ยวมีชื่อเรียกว่า ‘หุนถุน’ (แต่รูปลักษณ์เหมือนกับ ‘เจี่ยวจือ’ปัจจุบัน) และยังมีวัตถุโบราณที่แสดงให้เห็นว่าชาวจีนนิยมกินเกี๊ยวกันมาแต่โบราณ
    มีคนไปค้นคว้าเพิ่มเติมมาว่าสมัยสามก๊กนั้นเขากินเป็นเกี๊ยวต้มพร้อมน้ำแกง ภายในเกี๊ยวสอดไส้เนื้อสับ และกรรมวิธีการกินเป็นเช่นนี้เรื่อยมาจวบจนในสมัยถังจึงเปลี่ยนเป็นการนึ่งหรือต้มสุกแล้วกินแห้ง

    แล้วทำไมตรุษจีนต้องกินเกี๊ยว?

    จริงๆ มีหลายตำนาน แต่ที่นิยมกล่าวถึงคือเนื่องจากในสมัยซ่งเรียกเกี๊ยวว่า ‘เจี่ยวจือ’ (角子 ตัวเขียนแตกต่างแต่ออกเสียงเหมือนกัน) และชื่อนี้พ้องเสียงกับคำเรียกการผลัดเปลี่ยนจากปีเก่าเข้าสู่ปีใหม่ในยามจื่อ (子时คือช่วงเวลาระหว่างห้าทุ่มกับตีหนึ่ง) การกินเกี๊ยวจึงมีความหมายอำลาปีเก่าต้อนรับปีใหม่นั่นเอง

    นอกจากนี้ เกี๊ยวยังถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของทรัพย์เนื่องจากมีรูปทรงคล้ายเงินหยวนเป่าของจีน และการห่อเกี๊ยวถือเป็นเคล็ดของการห่อทรัพย์หรือสิ่งดีๆ ดังนั้นชาวบ้านจึงไม่เพียงกินเกี๊ยว หากแต่ยังนิยมห่อเกี๊ยวกินเองอีกด้วย และบางครั้งจะมีการยัดไส้สิ่งของอื่นๆ ที่เป็นเคล็ดที่ดีเช่น ห่อเศษเงินอยู่ข้างในเกี๊ยวดังที่เราเห็นในซีรีส์ <องค์หญิงใหญ่>

    ธรรมเนียมการกินเกี๊ยวตอนตรุษจีนนี้กลายเป็นกิจกรรมร่วมของครอบครัวที่เสริมสร้างความสัมพันธ์และถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในยุคสมัยหมิงต่อเนื่องมายังสมัยชิง แต่มีความแตกต่างว่ากินกันวันไหน บ้างกินในวันสิ้นปี บ้างกินในวันแรกของปีใหม่ บ้างกินในวันที่ห้าของปีใหม่ (เพราะห้าวันแรกมีเคล็ดเยอะข้อห้ามเยอะ พอพ้นห้าวันเลยฉลองด้วยเกี๊ยว) ทั้งนี้แล้วแต่ธรรมเนียมท้องถิ่นซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามพื้นที่

    อนึ่ง เนื่องจากยังมีอีกหลายเคล็ดที่เกี่ยวกับเกี๊ยวอันสืบเนื่องมาจากชื่อมงคลของส่วนประกอบในไส้ของมัน มันจึงกลายเป็นอาหารมงคลสำหรับหลากหลายโอกาสอีกด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g61433159/the-princess-royal/
    https://www.shuge.org/meet/topic/19030/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/饺子/28977
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_1304595
    https://www.sohu.com/a/449146748_401284
    https://www.sohu.com/a/367953600_120207616

    #องค์หญิงใหญ่ #ตรุษจีน #กินเกี๊ยว #ธรรมเนียมจีนโบราณ #สาระจีน
    กินเกี๊ยวรับตรุษจีน สวัสดีค่ะ ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้! สัปดาห์นี้มาคุยกันเร็วหน่อยต้อนรับตรุษจีน วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับธรรมเนียมโบราณในการฉลองตรุษจีน เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <องค์หญิงใหญ่> คงจะจำได้ว่ามีฉากที่องค์หญิงหลี่หรงและเผยเหวินเซวียนร่วมสังสรรค์ฉลองตรุษจีนกับทุกคนในจวนองค์หญิง โดยพระเอกนางเอกห่อเกี๊ยวออกมาให้ทุกคนร่วมกิน ธรรมเนียมการกินเกี๊ยวตอนตรุษจีนในประเทศจีนยังมีอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในภาคพื้นที่ตอนเหนือของจีน และปัจจุบันมีเกี๊ยวหลากหลายชนิด บ้างเรียก ‘หุนถุน’ (馄饨) คือเกี๊ยวที่มีขนาดเล็กพอคำทรงกลม หรือบ้างเรียกว่า ‘เจี่ยวจือ’ (饺子) ซึ่งเป็นเกี๊ยวขนาดใหญ่ทรงจันทร์เสี้ยวหน้าตาประมาณเกี๊ยวซ่าที่มีขายในบ้านเรา ซึ่งจำแนกออกจากกันด้วยรายละเอียดเช่น แป้งที่ใช้ห่อ รูปทรงของแผ่นแป้ง ฯลฯ แต่ในหลายยุคสมัยโบราณไม่ได้แบ่งประเภทอย่างนี้ เรียกรวมเป็นเกี๊ยวทั้งหมด เพียงแต่ชื่อเรียกเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ว่ากันว่าเกี๊ยวมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเมื่อคุณหมอชื่อดังจางจ้งจิ่งได้คิดค้นมันขึ้นเพื่อรวบรวมสารอาหารที่จำเป็น (เช่น เนื้อแกะและพริกไทย) เข้าด้วยกันในรูปแบบที่สะดวกต่อการกิน ทั้งนี้เพื่อปรับสภาพร่างกายของชาวบ้านให้รับมือกับอากาศหนาวเย็นได้ดีขึ้น แต่คำว่าเกี๊ยวปรากฎบนเอกสารโบราณครั้งแรกในสารานุกรม ‘ก๋วงหย่า’ (广雅) ของแคว้นเว่ยสมัยสามก๊ก (วุยก๊ก จัดทำขึ้นในช่วงปีค.ศ. 227-232) โดยกล่าวถึงอาหารชนิดหนึ่งรูปทรงเหมือนจันทร์เสี้ยวมีชื่อเรียกว่า ‘หุนถุน’ (แต่รูปลักษณ์เหมือนกับ ‘เจี่ยวจือ’ปัจจุบัน) และยังมีวัตถุโบราณที่แสดงให้เห็นว่าชาวจีนนิยมกินเกี๊ยวกันมาแต่โบราณ มีคนไปค้นคว้าเพิ่มเติมมาว่าสมัยสามก๊กนั้นเขากินเป็นเกี๊ยวต้มพร้อมน้ำแกง ภายในเกี๊ยวสอดไส้เนื้อสับ และกรรมวิธีการกินเป็นเช่นนี้เรื่อยมาจวบจนในสมัยถังจึงเปลี่ยนเป็นการนึ่งหรือต้มสุกแล้วกินแห้ง แล้วทำไมตรุษจีนต้องกินเกี๊ยว? จริงๆ มีหลายตำนาน แต่ที่นิยมกล่าวถึงคือเนื่องจากในสมัยซ่งเรียกเกี๊ยวว่า ‘เจี่ยวจือ’ (角子 ตัวเขียนแตกต่างแต่ออกเสียงเหมือนกัน) และชื่อนี้พ้องเสียงกับคำเรียกการผลัดเปลี่ยนจากปีเก่าเข้าสู่ปีใหม่ในยามจื่อ (子时คือช่วงเวลาระหว่างห้าทุ่มกับตีหนึ่ง) การกินเกี๊ยวจึงมีความหมายอำลาปีเก่าต้อนรับปีใหม่นั่นเอง นอกจากนี้ เกี๊ยวยังถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของทรัพย์เนื่องจากมีรูปทรงคล้ายเงินหยวนเป่าของจีน และการห่อเกี๊ยวถือเป็นเคล็ดของการห่อทรัพย์หรือสิ่งดีๆ ดังนั้นชาวบ้านจึงไม่เพียงกินเกี๊ยว หากแต่ยังนิยมห่อเกี๊ยวกินเองอีกด้วย และบางครั้งจะมีการยัดไส้สิ่งของอื่นๆ ที่เป็นเคล็ดที่ดีเช่น ห่อเศษเงินอยู่ข้างในเกี๊ยวดังที่เราเห็นในซีรีส์ <องค์หญิงใหญ่> ธรรมเนียมการกินเกี๊ยวตอนตรุษจีนนี้กลายเป็นกิจกรรมร่วมของครอบครัวที่เสริมสร้างความสัมพันธ์และถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในยุคสมัยหมิงต่อเนื่องมายังสมัยชิง แต่มีความแตกต่างว่ากินกันวันไหน บ้างกินในวันสิ้นปี บ้างกินในวันแรกของปีใหม่ บ้างกินในวันที่ห้าของปีใหม่ (เพราะห้าวันแรกมีเคล็ดเยอะข้อห้ามเยอะ พอพ้นห้าวันเลยฉลองด้วยเกี๊ยว) ทั้งนี้แล้วแต่ธรรมเนียมท้องถิ่นซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามพื้นที่ อนึ่ง เนื่องจากยังมีอีกหลายเคล็ดที่เกี่ยวกับเกี๊ยวอันสืบเนื่องมาจากชื่อมงคลของส่วนประกอบในไส้ของมัน มันจึงกลายเป็นอาหารมงคลสำหรับหลากหลายโอกาสอีกด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g61433159/the-princess-royal/ https://www.shuge.org/meet/topic/19030/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/饺子/28977 https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_1304595 https://www.sohu.com/a/449146748_401284 https://www.sohu.com/a/367953600_120207616 #องค์หญิงใหญ่ #ตรุษจีน #กินเกี๊ยว #ธรรมเนียมจีนโบราณ #สาระจีน
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 1023 Views 0 Reviews