• สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึงเงื่อนจีนหรือ ‘จงกั๋วเจี๋ย’ ซึ่งคำว่าเงื่อนหรือ ‘เจี๋ย’ นั้น ในความหมายจีนแปลได้อีกว่าความผูกพันหรือความเชื่อมโยงหรือความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน และถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของงานโอลิมปิกฤดูหนาว 2022

    เพื่อนเพจแฟนละครหรือนิยายจีนต้องเคยได้ยินคำว่า ‘เจี๋ย’ นี้ถูกนำมาใช้สื่อความหมายเกี่ยวกับความรักรวมถึงเงื่อนจีนที่ถูกใช้เป็นตัวแทนแห่งความรัก วันนี้เรามาคุยกันถึงวลีจีนเกี่ยวกับ ‘เจี๋ย’ และความหมายของมัน

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ตราบแต่นี้ไป ข้าก็เป็นภรรยาผูกปมผมของท่านแล้ว สองเราจะไม่ทอดทิ้งกัน ติดตามกันไปตราบจนชีวิตจะหาไม่” เล่อเยียนยิ้มกล่าว...
    - ถอดบทสนทนาจากละคร <สตรีหาญฉางเกอ> (Storyฯ แปลเองจ้า)

    คำแปลข้างบนอาจฟังดูงง คำว่า ‘ผูกปมผม’ (เจี๋ยฟ่า / 结发) หมายถึงอะไร? ในเรื่อง <สตรีหาญฉางเกอ> มีฉากที่ฮ่าวตู (เจ้าบ่าว) คลายเชือกหลากสีที่มัดอยู่ที่มวยผมของเล่อเยียน (เจ้าสาว) แล้วต่างคนต่างตัดปอยผมมารวมกันเอาเชือกนั้นผูกไว้ (ดูภาพประกอบที่ดึงมาจากในละคร) นี่คือการ ‘ผูกปมผม’ ซึ่งเป็นหนึ่งในพิธีการเข้าหอของคู่บ่าวสาวหลังจากเกี่ยวก้อยกันดื่มสุรามงคลแล้ว

    เริ่มกันที่การปลดเชือก เชือกหลากสีที่เห็นนี้ มีชื่อเรียกว่า ‘อิง’ สตรีที่ได้รับการหมั้นหมายแล้วจะต้องผูกเชือกนี้ไว้ที่มวยผม ตราบจนวันแต่งงานเข้าหอแล้วมีเพียงเจ้าบ่าวที่สามารถปลดเชือกนี้ได้ การทำอย่างนี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (1047 – 772 ปีก่อนคริสตกาล) ปรากฏในบันทึกพิธีการการแต่งงาน (仪礼·土昏礼 ซึ่งเป็นบันทึกเดียวกับที่กล่าวถึง ‘หกพิธีการ’/六礼 ของงานแต่งงานที่เพื่อนเพจอาจเคยผ่านหู) บันทึกนี้เป็นหนึ่งในสามบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดของจีนเกี่ยวกับเรื่องประเพณีและพิธีการ แต่... บันทึกนี้ไม่ได้กล่าวถึงการผูกปมผม

    พิธีการผูกปมผมเริ่มแต่เมื่อใดไม่ปรากฏบันทึกที่ชัดเจน แต่บทกวีในสมัยราชวงศ์ฮั่นที่ประพันธ์โดยซูอู่ (140 - 60 ปีก่อนคริสตกาล) มีวรรคนี้ปรากฏ “ผูกปมผมเป็นสามีภรรยา รักกันไม่เคลือบแคลงใจ” (结发为夫妻,恩爱两不疑) ดังนั้นการเอาปอยผมมามัดเข้ากันนี้มีแล้วในสมัยราชวงศ์ฮั่น และวลีนี้เป็นอีกหนึ่งวลีคลาสสิกที่ใช้กล่าวถึงความรักที่มั่นคง

    แต่มันมีความหมายมากกว่านั้นค่ะ

    ในธรรมเนียมจีนโบราณ จะมีเพียงภรรยาเอกคนเดียวที่มีการกราบไหว้ฟ้าดินแล้วส่งตัวเข้าห้องหอ ส่วนอนุทั้งหลายจะเพียงแต่รับตัวเข้ามาเข้าห้องเลย ดังนั้นคำว่า ‘ภรรยาผูกปมผม’ ในบางบริบทไม่ใช่หมายถึงรักเดียว แต่อาจหมายถึงภรรยาที่แต่งเข้ามาเป็นคนแรกก็ได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/366760262
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.epochtimes.com/gb/20/10/19/n12485542.htm
    https://baike.sogou.com/v168462018.htm
    https://www.pinshiwen.com/gsdq/aqsc/20190711144812.html

    #สตรีหาญฉางเกอ #ฮ่าวตูเล่อเยียน #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #ผูกปมผม #เจี๋ยฟ่า #เจี๋ยฝ้า
    สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึงเงื่อนจีนหรือ ‘จงกั๋วเจี๋ย’ ซึ่งคำว่าเงื่อนหรือ ‘เจี๋ย’ นั้น ในความหมายจีนแปลได้อีกว่าความผูกพันหรือความเชื่อมโยงหรือความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน และถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของงานโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 เพื่อนเพจแฟนละครหรือนิยายจีนต้องเคยได้ยินคำว่า ‘เจี๋ย’ นี้ถูกนำมาใช้สื่อความหมายเกี่ยวกับความรักรวมถึงเงื่อนจีนที่ถูกใช้เป็นตัวแทนแห่งความรัก วันนี้เรามาคุยกันถึงวลีจีนเกี่ยวกับ ‘เจี๋ย’ และความหมายของมัน ความมีอยู่ว่า ... “ตราบแต่นี้ไป ข้าก็เป็นภรรยาผูกปมผมของท่านแล้ว สองเราจะไม่ทอดทิ้งกัน ติดตามกันไปตราบจนชีวิตจะหาไม่” เล่อเยียนยิ้มกล่าว... - ถอดบทสนทนาจากละคร <สตรีหาญฉางเกอ> (Storyฯ แปลเองจ้า) คำแปลข้างบนอาจฟังดูงง คำว่า ‘ผูกปมผม’ (เจี๋ยฟ่า / 结发) หมายถึงอะไร? ในเรื่อง <สตรีหาญฉางเกอ> มีฉากที่ฮ่าวตู (เจ้าบ่าว) คลายเชือกหลากสีที่มัดอยู่ที่มวยผมของเล่อเยียน (เจ้าสาว) แล้วต่างคนต่างตัดปอยผมมารวมกันเอาเชือกนั้นผูกไว้ (ดูภาพประกอบที่ดึงมาจากในละคร) นี่คือการ ‘ผูกปมผม’ ซึ่งเป็นหนึ่งในพิธีการเข้าหอของคู่บ่าวสาวหลังจากเกี่ยวก้อยกันดื่มสุรามงคลแล้ว เริ่มกันที่การปลดเชือก เชือกหลากสีที่เห็นนี้ มีชื่อเรียกว่า ‘อิง’ สตรีที่ได้รับการหมั้นหมายแล้วจะต้องผูกเชือกนี้ไว้ที่มวยผม ตราบจนวันแต่งงานเข้าหอแล้วมีเพียงเจ้าบ่าวที่สามารถปลดเชือกนี้ได้ การทำอย่างนี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (1047 – 772 ปีก่อนคริสตกาล) ปรากฏในบันทึกพิธีการการแต่งงาน (仪礼·土昏礼 ซึ่งเป็นบันทึกเดียวกับที่กล่าวถึง ‘หกพิธีการ’/六礼 ของงานแต่งงานที่เพื่อนเพจอาจเคยผ่านหู) บันทึกนี้เป็นหนึ่งในสามบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดของจีนเกี่ยวกับเรื่องประเพณีและพิธีการ แต่... บันทึกนี้ไม่ได้กล่าวถึงการผูกปมผม พิธีการผูกปมผมเริ่มแต่เมื่อใดไม่ปรากฏบันทึกที่ชัดเจน แต่บทกวีในสมัยราชวงศ์ฮั่นที่ประพันธ์โดยซูอู่ (140 - 60 ปีก่อนคริสตกาล) มีวรรคนี้ปรากฏ “ผูกปมผมเป็นสามีภรรยา รักกันไม่เคลือบแคลงใจ” (结发为夫妻,恩爱两不疑) ดังนั้นการเอาปอยผมมามัดเข้ากันนี้มีแล้วในสมัยราชวงศ์ฮั่น และวลีนี้เป็นอีกหนึ่งวลีคลาสสิกที่ใช้กล่าวถึงความรักที่มั่นคง แต่มันมีความหมายมากกว่านั้นค่ะ ในธรรมเนียมจีนโบราณ จะมีเพียงภรรยาเอกคนเดียวที่มีการกราบไหว้ฟ้าดินแล้วส่งตัวเข้าห้องหอ ส่วนอนุทั้งหลายจะเพียงแต่รับตัวเข้ามาเข้าห้องเลย ดังนั้นคำว่า ‘ภรรยาผูกปมผม’ ในบางบริบทไม่ใช่หมายถึงรักเดียว แต่อาจหมายถึงภรรยาที่แต่งเข้ามาเป็นคนแรกก็ได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/366760262 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.epochtimes.com/gb/20/10/19/n12485542.htm https://baike.sogou.com/v168462018.htm https://www.pinshiwen.com/gsdq/aqsc/20190711144812.html #สตรีหาญฉางเกอ #ฮ่าวตูเล่อเยียน #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #ผูกปมผม #เจี๋ยฟ่า #เจี๋ยฝ้า
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 62 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้วเปรียบเทียบสิทธิของภรรยาเอกและอนุภรรยาโดยยกตัวอย่างจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> วันนี้มาคุยกันต่อว่าจีนโบราณแบ่งแยกเมียหลวงและเมียน้อยเป็นกี่ประเภท

    ก่อนอื่น พูดกันถึงภรรยาเอก ตามที่ Storyฯ เล่าไปสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนสมัยราชวงศ์ชิงนั้น กฎหมายกำหนดให้มีภรรยาเอกได้คนเดียว และจำนวนอนุภรรยานั้นเป็นไปตามบรรดาศักดิ์ของผู้ชาย ภรรยาเอกนี้มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น เจิ้งชี (ภรรยาหลัก) เจี๋ยฟ่าชี (ภรรยาผูกปมผม) หยวนเพ่ยชี (ภรรยาดั้งเดิม) เจิ้งฝาง (ห้องหลัก) ฯลฯ หากภรรยาเอกเสียชีวิตไปแล้วจึงจะสามารถแต่งภรรยาเอกเข้ามาใหม่ได้อีกคน ภรรยาทดแทนคนนี้เรียกว่า ‘จี้ซื่อ’ (继室 แปลตรงตัวว่า สืบทอด+ห้อง) ตามธรรมเนียมแล้ว คนที่กราบไหว้ฟ้าดินด้วยกันมีเพียงภรรยาเอกเท่านั้น

    ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงมีธรรมเนียมที่ว่า หากบ้านใดไม่มีบุตรชายสืบสกุล สามารถให้หลาน (ลูกของลุงหรือน้า สกุลเดียวกัน) มาเป็นทายาทสืบสกุลตามกฎหมายได้ ดังนั้นเขามีหน้าที่สืบสกุลให้กับสองบ้านและสามารถแต่งภรรยาเอกได้สองคน เรียกว่า ‘เจี๊ยนเที้ยว’ (兼祧) และภรรยาเอกทั้งสองคนจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน

    นอกจากกรณีข้างต้นแล้ว เมียอื่นๆ จัดเป็นเมียน้อยหมด และจัดกลุ่มได้ตามนี้
    1. กลุ่มที่หนึ่งเป็นญาติพี่น้องของภรรยาเอกที่ถูกเลือกให้ติดตามไปกับเจ้าสาวตอนแต่งเข้าไปเรือนฝ่ายชาย (หมายเหตุ คนที่ตามเจ้าสาวมาอยู่บ้านฝ่ายชายทั้งหมดเรียกว่า เผยเจี้ย /陪嫁 ซึ่งรวมถึงบ่าวไพร่) แต่เป็นกรณีที่เจ้าสาวมาจากตระกูลสูงศักดิ์ ดังนั้นอนุภรรยากลุ่มนี้จะมีสถานะสูงกว่าอนุภรรยาอื่นๆ สามารถเข้าร่วมรับประทานอาหารหรืองานเลี้ยงกับสามีได้ และอาจถูกบันทึกชื่อเข้าไปในหนังสือตระกูลของฝ่ายชายได้เพราะนางมาจากตระกูลที่สูงศักดิ์มากเช่นกัน และโดยปกติฝ่ายชายมักยกระดับขึ้นเป็นภรรยาเอกได้เมื่อภรรยาเอกคนเดิมเสียชีวิตไป ในกลุ่มนี้จำแนกได้เป็นอีกสี่แบบ (เรียงจากสูงศักดิ์ที่สุดไปต่ำ) คือ
    a. อิ้ง (媵) หรือ อิ้งเฉี้ย – เป็นพี่สาวหรือน้องสาวที่เกิดจากพ่อคนเดียวกันกับเจ้าสาว แต่เจ้าสาวมีแม่เป็นภรรยาเอกในขณะที่พี่หรือน้องสาวที่แต่งตามไปจะเกิดจากอนุภรรยาของพ่อ
    b. เช่อซึ (侧室 แปลตรงตัวว่าห้องข้าง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เช่อซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของพ่อ (ถือนามสกุลเดียวกันกับเจ้าสาว)
    c. ฟู่ซึ (副室 แปลตรงตัวว่าห้องรอง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า ฟู่ซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของแม่ (ถือนามสกุลเดิมของแม่เจ้าสาว)
    d. เพียนซึ (偏室 แปลตรงตัวว่าห้องเบี่ยง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เพียนซึ เป็นลูกจากอนุภรรยาในตระกูลเดิมของแม่ ใช้นามสกุลเดียวกับแม่ มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าสาวแต่จริงๆ แล้วไม่มีความเกี่ยวพันทางสายเลือดกับเจ้าสาวเลย
    2. กลุ่มที่สองคือ เฉี้ย (妾) หรือ เพียนฝาง (偏房) คืออนุภรรยาทั่วไปที่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับภรรยาเอก แบ่งเป็นระดับได้อีก คือ
    a. กุ้ยเฉี้ย (贵妾) เป็นอนุที่มาจากตระกูลใหญ่หรือตระกูลขุนนางแต่อาจเป็นลูกที่เกิดจากอนุภรรยาในตระกูลนั้นๆ หากฝ่ายชายเป็นบุตรจากภรรยาเอกในตระกูลสูงศักดิ์ โดยปกตินางผู้เป็นลูกอนุจะไม่มีคุณสมบัติพอที่จะนั่งตำแหน่งภรรยาเอกของเขาได้
    b. เหลียงเฉี้ย (良妾) เป็นอนุที่มาจากครอบครัวชาวบ้านทั่วไป เช่น ครอบครัวค้าขายหรือชาวไร่ชาวสวน ระดับความรู้การศึกษาก็จะแตกต่างกันไป
    c. เจี้ยนเฉี้ย (贱妾) เป็นอนุที่มีชาติตระกูลหรือสถานะที่ต่ำต้อยมาก เช่น นางรำ นางคณิกา นักแสดงละคร ฯลฯ พวกนี้ส่วนใหญ่อ่านเขียนได้และมีวิชาศิลปะติดตัว
    d. เผยฝาง (陪房) หมายถึงสาวใช้ของภรรยาเอกที่ติดตามมาเป็นเผยเจี้ยและช่วยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงให้ฝ่ายชายตามคำสั่งของภรรยาเอก โดยปกติชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดีเพราะภรรยาเอกจะส่งเสริมเพื่อให้ช่วยมัดใจสามีโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีพิษมีภัยเพราะเอกสารสำหรับสัญญาซื้อขายสาวใช้คนนี้จะอยู่ในมือของภรรยาเอกเอง
    e. ซื่อเฉี้ย (侍妾) หมายถึงสาวใช้ในบ้านฝ่ายชายที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแล้วถูกยกขึ้นเป็นอนุ
    f. ปี้เฉี้ย (婢妾) หมายถึงลูกของนักโทษทางการที่ถูกซื้อเข้ามาเป็นทาสในบ้านและยกขึ้นเป็นอนุ
    3. กลุ่มสุดท้ายไม่นับเป็นอนุภรรยา เป็นช่องทางที่ฝ่ายชายใช้ระบายความใคร่ได้อย่างไม่ต้องกลัวผิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องจำนวนอนุภรรยา แบ่งได้อีกเป็น
    a. ทงฝาง (通房) คือสาวใช้ในเรือนที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแต่ไม่ได้รับการยกขึ้นเป็นอนุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาวใช้ที่ถูกคัดเลือกมาเพื่อ ‘เปิดประสบการณ์’ ให้แก่คุณชายในตระกูลใหญ่ที่กำลังโตขึ้นเป็นหนุ่ม
    b. ไว่ซึ (外室) หมายถึงเมียเก็บนอกบ้าน ชีวิตความเป็นอยู่อาจจะดีเพราะฝ่ายชายอาจซื้อบ้านให้อยู่มีคนคอยรับใช้ ไม่ต้องมาคอยปรนนิบัติแม่สามีหรือเมียหลวง และไม่โดนโขกสับ แต่ก็คือไม่ได้ถูกรับรองเป็นอนุภรรยา บุตรที่เกิดมาก็ไม่ถูกยอมรับว่าเป็นลูกหลานของตระกูลฝ่ายชาย

    เป็นอย่างไรคะ? ซับซ้อนและแบ่งแยกไว้ละเอียดกว่าที่คิดใช่ไหม? ทีนี้เพื่อนเพจคงเข้าใจในบริบทแล้วว่า ทำไมเป็นอนุภรรยาเหมือนกันยังสามารถข่มกันได้ และทำไมการยกอนุภรรยาขึ้นเป็นภรรยาเอกหลังจากคนเดิมเสียไปจึงเป็นเรื่องที่ยาก เพราะไม่ใช่อนุภรรยาทุกประเภทมีความพร้อมทางชาติตระกูลและการศึกษาที่จะมาปกครองเป็นนายหญิงของบ้านได้

    Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าละครหรือนิยายแปลมีการแบ่งแยกในรายละเอียดหรือไม่ หากมีใครเคยผ่านหูผ่านตาก็บอกกล่าวกันได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802
    https://kknews.cc/zh-cn/entertainment/x48b2bg.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://new.qq.com/rain/a/20200223A0A37000
    http://m.qulishi.com//article/201905/335331.html
    https://www.sohu.com/a/251827031_100152441

    #ร้อยรักปักดวงใจ #อนุภรรยา #ภรรยาเอก #หยวนเพ่ย #ภรรยาผูกปมผม #เจิ้งฝาง #จี้ซื่อ #จี้สื้อ #เชี่ยซื่อ #เชี่ยสื้อ #เฉี้ย #อิ้งเฉี้ย #เช่อซึ #ฟู่ซึ #เพียนซึ #เพียนฝาง #กุ้ยเฉี้ย #เหลียงเฉี้ย #เจี้ยนเฉี้ย #ปี้เฉี้ย #ทงฝาง #ไว่ซึ
    สัปดาห์ที่แล้วเปรียบเทียบสิทธิของภรรยาเอกและอนุภรรยาโดยยกตัวอย่างจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> วันนี้มาคุยกันต่อว่าจีนโบราณแบ่งแยกเมียหลวงและเมียน้อยเป็นกี่ประเภท ก่อนอื่น พูดกันถึงภรรยาเอก ตามที่ Storyฯ เล่าไปสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนสมัยราชวงศ์ชิงนั้น กฎหมายกำหนดให้มีภรรยาเอกได้คนเดียว และจำนวนอนุภรรยานั้นเป็นไปตามบรรดาศักดิ์ของผู้ชาย ภรรยาเอกนี้มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น เจิ้งชี (ภรรยาหลัก) เจี๋ยฟ่าชี (ภรรยาผูกปมผม) หยวนเพ่ยชี (ภรรยาดั้งเดิม) เจิ้งฝาง (ห้องหลัก) ฯลฯ หากภรรยาเอกเสียชีวิตไปแล้วจึงจะสามารถแต่งภรรยาเอกเข้ามาใหม่ได้อีกคน ภรรยาทดแทนคนนี้เรียกว่า ‘จี้ซื่อ’ (继室 แปลตรงตัวว่า สืบทอด+ห้อง) ตามธรรมเนียมแล้ว คนที่กราบไหว้ฟ้าดินด้วยกันมีเพียงภรรยาเอกเท่านั้น ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงมีธรรมเนียมที่ว่า หากบ้านใดไม่มีบุตรชายสืบสกุล สามารถให้หลาน (ลูกของลุงหรือน้า สกุลเดียวกัน) มาเป็นทายาทสืบสกุลตามกฎหมายได้ ดังนั้นเขามีหน้าที่สืบสกุลให้กับสองบ้านและสามารถแต่งภรรยาเอกได้สองคน เรียกว่า ‘เจี๊ยนเที้ยว’ (兼祧) และภรรยาเอกทั้งสองคนจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน นอกจากกรณีข้างต้นแล้ว เมียอื่นๆ จัดเป็นเมียน้อยหมด และจัดกลุ่มได้ตามนี้ 1. กลุ่มที่หนึ่งเป็นญาติพี่น้องของภรรยาเอกที่ถูกเลือกให้ติดตามไปกับเจ้าสาวตอนแต่งเข้าไปเรือนฝ่ายชาย (หมายเหตุ คนที่ตามเจ้าสาวมาอยู่บ้านฝ่ายชายทั้งหมดเรียกว่า เผยเจี้ย /陪嫁 ซึ่งรวมถึงบ่าวไพร่) แต่เป็นกรณีที่เจ้าสาวมาจากตระกูลสูงศักดิ์ ดังนั้นอนุภรรยากลุ่มนี้จะมีสถานะสูงกว่าอนุภรรยาอื่นๆ สามารถเข้าร่วมรับประทานอาหารหรืองานเลี้ยงกับสามีได้ และอาจถูกบันทึกชื่อเข้าไปในหนังสือตระกูลของฝ่ายชายได้เพราะนางมาจากตระกูลที่สูงศักดิ์มากเช่นกัน และโดยปกติฝ่ายชายมักยกระดับขึ้นเป็นภรรยาเอกได้เมื่อภรรยาเอกคนเดิมเสียชีวิตไป ในกลุ่มนี้จำแนกได้เป็นอีกสี่แบบ (เรียงจากสูงศักดิ์ที่สุดไปต่ำ) คือ a. อิ้ง (媵) หรือ อิ้งเฉี้ย – เป็นพี่สาวหรือน้องสาวที่เกิดจากพ่อคนเดียวกันกับเจ้าสาว แต่เจ้าสาวมีแม่เป็นภรรยาเอกในขณะที่พี่หรือน้องสาวที่แต่งตามไปจะเกิดจากอนุภรรยาของพ่อ b. เช่อซึ (侧室 แปลตรงตัวว่าห้องข้าง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เช่อซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของพ่อ (ถือนามสกุลเดียวกันกับเจ้าสาว) c. ฟู่ซึ (副室 แปลตรงตัวว่าห้องรอง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า ฟู่ซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของแม่ (ถือนามสกุลเดิมของแม่เจ้าสาว) d. เพียนซึ (偏室 แปลตรงตัวว่าห้องเบี่ยง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เพียนซึ เป็นลูกจากอนุภรรยาในตระกูลเดิมของแม่ ใช้นามสกุลเดียวกับแม่ มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าสาวแต่จริงๆ แล้วไม่มีความเกี่ยวพันทางสายเลือดกับเจ้าสาวเลย 2. กลุ่มที่สองคือ เฉี้ย (妾) หรือ เพียนฝาง (偏房) คืออนุภรรยาทั่วไปที่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับภรรยาเอก แบ่งเป็นระดับได้อีก คือ a. กุ้ยเฉี้ย (贵妾) เป็นอนุที่มาจากตระกูลใหญ่หรือตระกูลขุนนางแต่อาจเป็นลูกที่เกิดจากอนุภรรยาในตระกูลนั้นๆ หากฝ่ายชายเป็นบุตรจากภรรยาเอกในตระกูลสูงศักดิ์ โดยปกตินางผู้เป็นลูกอนุจะไม่มีคุณสมบัติพอที่จะนั่งตำแหน่งภรรยาเอกของเขาได้ b. เหลียงเฉี้ย (良妾) เป็นอนุที่มาจากครอบครัวชาวบ้านทั่วไป เช่น ครอบครัวค้าขายหรือชาวไร่ชาวสวน ระดับความรู้การศึกษาก็จะแตกต่างกันไป c. เจี้ยนเฉี้ย (贱妾) เป็นอนุที่มีชาติตระกูลหรือสถานะที่ต่ำต้อยมาก เช่น นางรำ นางคณิกา นักแสดงละคร ฯลฯ พวกนี้ส่วนใหญ่อ่านเขียนได้และมีวิชาศิลปะติดตัว d. เผยฝาง (陪房) หมายถึงสาวใช้ของภรรยาเอกที่ติดตามมาเป็นเผยเจี้ยและช่วยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงให้ฝ่ายชายตามคำสั่งของภรรยาเอก โดยปกติชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดีเพราะภรรยาเอกจะส่งเสริมเพื่อให้ช่วยมัดใจสามีโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีพิษมีภัยเพราะเอกสารสำหรับสัญญาซื้อขายสาวใช้คนนี้จะอยู่ในมือของภรรยาเอกเอง e. ซื่อเฉี้ย (侍妾) หมายถึงสาวใช้ในบ้านฝ่ายชายที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแล้วถูกยกขึ้นเป็นอนุ f. ปี้เฉี้ย (婢妾) หมายถึงลูกของนักโทษทางการที่ถูกซื้อเข้ามาเป็นทาสในบ้านและยกขึ้นเป็นอนุ 3. กลุ่มสุดท้ายไม่นับเป็นอนุภรรยา เป็นช่องทางที่ฝ่ายชายใช้ระบายความใคร่ได้อย่างไม่ต้องกลัวผิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องจำนวนอนุภรรยา แบ่งได้อีกเป็น a. ทงฝาง (通房) คือสาวใช้ในเรือนที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแต่ไม่ได้รับการยกขึ้นเป็นอนุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาวใช้ที่ถูกคัดเลือกมาเพื่อ ‘เปิดประสบการณ์’ ให้แก่คุณชายในตระกูลใหญ่ที่กำลังโตขึ้นเป็นหนุ่ม b. ไว่ซึ (外室) หมายถึงเมียเก็บนอกบ้าน ชีวิตความเป็นอยู่อาจจะดีเพราะฝ่ายชายอาจซื้อบ้านให้อยู่มีคนคอยรับใช้ ไม่ต้องมาคอยปรนนิบัติแม่สามีหรือเมียหลวง และไม่โดนโขกสับ แต่ก็คือไม่ได้ถูกรับรองเป็นอนุภรรยา บุตรที่เกิดมาก็ไม่ถูกยอมรับว่าเป็นลูกหลานของตระกูลฝ่ายชาย เป็นอย่างไรคะ? ซับซ้อนและแบ่งแยกไว้ละเอียดกว่าที่คิดใช่ไหม? ทีนี้เพื่อนเพจคงเข้าใจในบริบทแล้วว่า ทำไมเป็นอนุภรรยาเหมือนกันยังสามารถข่มกันได้ และทำไมการยกอนุภรรยาขึ้นเป็นภรรยาเอกหลังจากคนเดิมเสียไปจึงเป็นเรื่องที่ยาก เพราะไม่ใช่อนุภรรยาทุกประเภทมีความพร้อมทางชาติตระกูลและการศึกษาที่จะมาปกครองเป็นนายหญิงของบ้านได้ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าละครหรือนิยายแปลมีการแบ่งแยกในรายละเอียดหรือไม่ หากมีใครเคยผ่านหูผ่านตาก็บอกกล่าวกันได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802 https://kknews.cc/zh-cn/entertainment/x48b2bg.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://new.qq.com/rain/a/20200223A0A37000 http://m.qulishi.com//article/201905/335331.html https://www.sohu.com/a/251827031_100152441 #ร้อยรักปักดวงใจ #อนุภรรยา #ภรรยาเอก #หยวนเพ่ย #ภรรยาผูกปมผม #เจิ้งฝาง #จี้ซื่อ #จี้สื้อ #เชี่ยซื่อ #เชี่ยสื้อ #เฉี้ย #อิ้งเฉี้ย #เช่อซึ #ฟู่ซึ #เพียนซึ #เพียนฝาง #กุ้ยเฉี้ย #เหลียงเฉี้ย #เจี้ยนเฉี้ย #ปี้เฉี้ย #ทงฝาง #ไว่ซึ
    WWW.POPDAILY.COM.TW
    《錦心似玉》鍾漢良、譚松韵先婚後愛!2021最甜寵的宅鬥古裝劇 | PopDaily 波波黛莉
    受封2021最甜寵宅鬥古裝劇的《錦心似玉》,改編自作者吱吱的原著小說《庶女攻略》,鍾漢良飾演的永平侯徐令宜娶了於徐家有恩的羅家嫡女羅元娘為妻,後因羅元娘死前所託續弦娶了譚松韵飾演的羅家庶女羅十一娘,自此展開一段本不相愛,因被迫成婚而先婚後愛的宅鬥古裝偶像劇。
    Like
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 532 มุมมอง 0 รีวิว