• สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึงเงื่อนจีนหรือ ‘จงกั๋วเจี๋ย’ ซึ่งคำว่าเงื่อนหรือ ‘เจี๋ย’ นั้น ในความหมายจีนแปลได้อีกว่าความผูกพันหรือความเชื่อมโยงหรือความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน และถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของงานโอลิมปิกฤดูหนาว 2022

    เพื่อนเพจแฟนละครหรือนิยายจีนต้องเคยได้ยินคำว่า ‘เจี๋ย’ นี้ถูกนำมาใช้สื่อความหมายเกี่ยวกับความรักรวมถึงเงื่อนจีนที่ถูกใช้เป็นตัวแทนแห่งความรัก วันนี้เรามาคุยกันถึงวลีจีนเกี่ยวกับ ‘เจี๋ย’ และความหมายของมัน

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ตราบแต่นี้ไป ข้าก็เป็นภรรยาผูกปมผมของท่านแล้ว สองเราจะไม่ทอดทิ้งกัน ติดตามกันไปตราบจนชีวิตจะหาไม่” เล่อเยียนยิ้มกล่าว...
    - ถอดบทสนทนาจากละคร <สตรีหาญฉางเกอ> (Storyฯ แปลเองจ้า)

    คำแปลข้างบนอาจฟังดูงง คำว่า ‘ผูกปมผม’ (เจี๋ยฟ่า / 结发) หมายถึงอะไร? ในเรื่อง <สตรีหาญฉางเกอ> มีฉากที่ฮ่าวตู (เจ้าบ่าว) คลายเชือกหลากสีที่มัดอยู่ที่มวยผมของเล่อเยียน (เจ้าสาว) แล้วต่างคนต่างตัดปอยผมมารวมกันเอาเชือกนั้นผูกไว้ (ดูภาพประกอบที่ดึงมาจากในละคร) นี่คือการ ‘ผูกปมผม’ ซึ่งเป็นหนึ่งในพิธีการเข้าหอของคู่บ่าวสาวหลังจากเกี่ยวก้อยกันดื่มสุรามงคลแล้ว

    เริ่มกันที่การปลดเชือก เชือกหลากสีที่เห็นนี้ มีชื่อเรียกว่า ‘อิง’ สตรีที่ได้รับการหมั้นหมายแล้วจะต้องผูกเชือกนี้ไว้ที่มวยผม ตราบจนวันแต่งงานเข้าหอแล้วมีเพียงเจ้าบ่าวที่สามารถปลดเชือกนี้ได้ การทำอย่างนี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (1047 – 772 ปีก่อนคริสตกาล) ปรากฏในบันทึกพิธีการการแต่งงาน (仪礼·土昏礼 ซึ่งเป็นบันทึกเดียวกับที่กล่าวถึง ‘หกพิธีการ’/六礼 ของงานแต่งงานที่เพื่อนเพจอาจเคยผ่านหู) บันทึกนี้เป็นหนึ่งในสามบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดของจีนเกี่ยวกับเรื่องประเพณีและพิธีการ แต่... บันทึกนี้ไม่ได้กล่าวถึงการผูกปมผม

    พิธีการผูกปมผมเริ่มแต่เมื่อใดไม่ปรากฏบันทึกที่ชัดเจน แต่บทกวีในสมัยราชวงศ์ฮั่นที่ประพันธ์โดยซูอู่ (140 - 60 ปีก่อนคริสตกาล) มีวรรคนี้ปรากฏ “ผูกปมผมเป็นสามีภรรยา รักกันไม่เคลือบแคลงใจ” (结发为夫妻,恩爱两不疑) ดังนั้นการเอาปอยผมมามัดเข้ากันนี้มีแล้วในสมัยราชวงศ์ฮั่น และวลีนี้เป็นอีกหนึ่งวลีคลาสสิกที่ใช้กล่าวถึงความรักที่มั่นคง

    แต่มันมีความหมายมากกว่านั้นค่ะ

    ในธรรมเนียมจีนโบราณ จะมีเพียงภรรยาเอกคนเดียวที่มีการกราบไหว้ฟ้าดินแล้วส่งตัวเข้าห้องหอ ส่วนอนุทั้งหลายจะเพียงแต่รับตัวเข้ามาเข้าห้องเลย ดังนั้นคำว่า ‘ภรรยาผูกปมผม’ ในบางบริบทไม่ใช่หมายถึงรักเดียว แต่อาจหมายถึงภรรยาที่แต่งเข้ามาเป็นคนแรกก็ได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/366760262
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.epochtimes.com/gb/20/10/19/n12485542.htm
    https://baike.sogou.com/v168462018.htm
    https://www.pinshiwen.com/gsdq/aqsc/20190711144812.html

    #สตรีหาญฉางเกอ #ฮ่าวตูเล่อเยียน #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #ผูกปมผม #เจี๋ยฟ่า #เจี๋ยฝ้า
    สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึงเงื่อนจีนหรือ ‘จงกั๋วเจี๋ย’ ซึ่งคำว่าเงื่อนหรือ ‘เจี๋ย’ นั้น ในความหมายจีนแปลได้อีกว่าความผูกพันหรือความเชื่อมโยงหรือความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน และถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของงานโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 เพื่อนเพจแฟนละครหรือนิยายจีนต้องเคยได้ยินคำว่า ‘เจี๋ย’ นี้ถูกนำมาใช้สื่อความหมายเกี่ยวกับความรักรวมถึงเงื่อนจีนที่ถูกใช้เป็นตัวแทนแห่งความรัก วันนี้เรามาคุยกันถึงวลีจีนเกี่ยวกับ ‘เจี๋ย’ และความหมายของมัน ความมีอยู่ว่า ... “ตราบแต่นี้ไป ข้าก็เป็นภรรยาผูกปมผมของท่านแล้ว สองเราจะไม่ทอดทิ้งกัน ติดตามกันไปตราบจนชีวิตจะหาไม่” เล่อเยียนยิ้มกล่าว... - ถอดบทสนทนาจากละคร <สตรีหาญฉางเกอ> (Storyฯ แปลเองจ้า) คำแปลข้างบนอาจฟังดูงง คำว่า ‘ผูกปมผม’ (เจี๋ยฟ่า / 结发) หมายถึงอะไร? ในเรื่อง <สตรีหาญฉางเกอ> มีฉากที่ฮ่าวตู (เจ้าบ่าว) คลายเชือกหลากสีที่มัดอยู่ที่มวยผมของเล่อเยียน (เจ้าสาว) แล้วต่างคนต่างตัดปอยผมมารวมกันเอาเชือกนั้นผูกไว้ (ดูภาพประกอบที่ดึงมาจากในละคร) นี่คือการ ‘ผูกปมผม’ ซึ่งเป็นหนึ่งในพิธีการเข้าหอของคู่บ่าวสาวหลังจากเกี่ยวก้อยกันดื่มสุรามงคลแล้ว เริ่มกันที่การปลดเชือก เชือกหลากสีที่เห็นนี้ มีชื่อเรียกว่า ‘อิง’ สตรีที่ได้รับการหมั้นหมายแล้วจะต้องผูกเชือกนี้ไว้ที่มวยผม ตราบจนวันแต่งงานเข้าหอแล้วมีเพียงเจ้าบ่าวที่สามารถปลดเชือกนี้ได้ การทำอย่างนี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (1047 – 772 ปีก่อนคริสตกาล) ปรากฏในบันทึกพิธีการการแต่งงาน (仪礼·土昏礼 ซึ่งเป็นบันทึกเดียวกับที่กล่าวถึง ‘หกพิธีการ’/六礼 ของงานแต่งงานที่เพื่อนเพจอาจเคยผ่านหู) บันทึกนี้เป็นหนึ่งในสามบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดของจีนเกี่ยวกับเรื่องประเพณีและพิธีการ แต่... บันทึกนี้ไม่ได้กล่าวถึงการผูกปมผม พิธีการผูกปมผมเริ่มแต่เมื่อใดไม่ปรากฏบันทึกที่ชัดเจน แต่บทกวีในสมัยราชวงศ์ฮั่นที่ประพันธ์โดยซูอู่ (140 - 60 ปีก่อนคริสตกาล) มีวรรคนี้ปรากฏ “ผูกปมผมเป็นสามีภรรยา รักกันไม่เคลือบแคลงใจ” (结发为夫妻,恩爱两不疑) ดังนั้นการเอาปอยผมมามัดเข้ากันนี้มีแล้วในสมัยราชวงศ์ฮั่น และวลีนี้เป็นอีกหนึ่งวลีคลาสสิกที่ใช้กล่าวถึงความรักที่มั่นคง แต่มันมีความหมายมากกว่านั้นค่ะ ในธรรมเนียมจีนโบราณ จะมีเพียงภรรยาเอกคนเดียวที่มีการกราบไหว้ฟ้าดินแล้วส่งตัวเข้าห้องหอ ส่วนอนุทั้งหลายจะเพียงแต่รับตัวเข้ามาเข้าห้องเลย ดังนั้นคำว่า ‘ภรรยาผูกปมผม’ ในบางบริบทไม่ใช่หมายถึงรักเดียว แต่อาจหมายถึงภรรยาที่แต่งเข้ามาเป็นคนแรกก็ได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/366760262 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.epochtimes.com/gb/20/10/19/n12485542.htm https://baike.sogou.com/v168462018.htm https://www.pinshiwen.com/gsdq/aqsc/20190711144812.html #สตรีหาญฉางเกอ #ฮ่าวตูเล่อเยียน #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #ผูกปมผม #เจี๋ยฟ่า #เจี๋ยฝ้า
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 58 มุมมอง 0 รีวิว