• สัปดาห์ที่แล้วคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจหรือที่เรียกรวมว่า ‘สื้อเจีย’ (世家) มีเพื่อนเพจสนใจไม่น้อย ให้หาเรื่องราวตระกูลสื้อเจียอื่นมาเล่าให้ฟังอีก Storyฯ เล่าแบบคร่าวๆ นะคะ

    วันนี้เริ่มต้นที่สี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) สี่ตระกูลนี้คือ ชุยแห่งชิงเหอ (ที่ Storyฯ พูดถึงเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว) หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และหวางแห่งไท่หยวน

    จะเห็นว่าคำกล่าวเรียกมีสององค์ประกอบคือ แซ่/สกุล และพื้นที่การปกครอง ดังนั้น ในบรรดาสายตระกูลที่จะเล่าถึงต่อไปนี้ อาจมีบางแซ่ที่ใช้กันแพร่หลาย แต่เขาจะมี ‘สายแข็ง’ ของเขาค่ะ

    ตระกูลหลูแห่งลั่วหยาง (范阳卢氏) มีภูมิลำเนาเดิมอยู่แถบพื้นที่เหอเป่ยและเหอหนาน แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและชนกลุ่มอื่น มีผู้รับราชการตำแหน่งสูงหลายคน ต้นตระกูลที่โด่งดังมากคือประมุขรุ่นที่ 13 หลูอ๋าว ผู้ดำรงตำแหน่งอู่จิงป๋อซื่อ (五经博士 / ราชบัณฑิตห้าวิชา) ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) และรุ่นหลานของเขา หลูจื๋อ มีผลงานช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกจนได้รับพระราชทานเขตการปกครองจัวโจวซึ่งครอบคลุมลั่วหยาง

    ตระกูลหลูสายลั่วหยางเป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) ในสมัยถังเช่นเดียวกับตระกูลชุยแห่งชิงเหอ สร้างฐานอำนาจมาจากสายบุ๋นต่อมาจึงขยายอิทธิพลไปยังด้านอื่น ในประวัติอันยาวนานหลายร้อยปีของตระกูลหลูแห่งลั่วหยางนี้ มีพระราชบุตรเขยในสมัยเว่ยเหนือถึงสามคน มีที่ดำรงตำแหน่งราชครูหลายคน เช่นในสมัยองค์โจวอู่ตี้ (ค.ศ. 543-578) ในสมัยถังมีเป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) 8 คน ยังไม่รวมข้าราชการระดับอื่น อีกทั้งยังมีกวีเอกเลื่องชื่อและลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังอีกหลายคน

    ตระกูลเจิ้งแห่งสิงหยาง (荥阳郑氏) มีรากเหง้ามาจากแคว้นเจิ้งในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) รับราชการมีชื่อเสียงมาตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในตำแหน่งระดับสูงเช่นกัน ปักหลักอยู่บริเวณไคเฟิงในพื้นที่เหอหนาน ในสมัยถังมีเป็นอัครมหาเสนาบดี 10 คน และข้าราชการระดับราชเลขาธิการและระดับสูงอื่นๆ อีกหลายคนทั้งสายบุ๋นและสายบู๊ แน่นอนว่ายังไม่รวมฝ่ายหญิงก็มีการแต่งเข้าวังหลายคนในหลายราชวงศ์

    ตระกูลหวางแห่งไท่หยวน (太原王氏) มีมาแต่ยุคสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก มีภูมิลำเนาอยู่ที่เขตการปกครองไท่หยวนจวิ้นทางด้านเหนือของจีน ในสมัยสามก๊กรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก รับราชการในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง มีผลงานโดดเด่นในการช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ลูกหลานฝ่ายหญิงได้ดิบได้ดีเป็นถึงฮองเฮาด้วยกันสองคน ตระกูลหวางอยู่ยงคงกระพันรับราชการต่อเนื่องยาวนานกว่าหนึ่งพันเจ็ดร้อยปี แต่มีการถกเถียงกันว่าเป็นตระกูลหวางสายไหน เพราะในบันทึกของสมัยเว่ยเหนือกล่าวถึงตระกูลหวางแห่งไท่หยวน แต่พอมาถึงราชวงศ์ถังนั้น หนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) มีตระกูลหวาง แต่บ้างว่าเป็นสายหลางหยา บ้างว่าเป็นสายไท่หยวน

    เรื่องห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) แปะไว้ก่อน คุยต่อคราวหน้าค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.zhlsw.cn/readnews.asp?newsid=2349
    http://www.wang-shi.com/html/80/n-980.html
    https://baike.baidu.com/item卢氏家谱/5980451
    https://page.om.qq.com/page/O5ihK_EMn_MqZEggEVq1jLwA0
    https://www.baike.com/wikiid/7851417530740071880?prd=mobile&view_id=1sf2g14c6sf400
    http://www.qulishi.com/article/201910/371662.html
    https://m.samrugs.com/shijiezhizui/zhongguo/60003.html

    #ตระกูลหลู #สกุลหลู #ตระกูลเจิ้ง #สกุลเจิ้ง #ตระกูลหวาง #สกุลหวาง #สื้อเจีย
    สัปดาห์ที่แล้วคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจหรือที่เรียกรวมว่า ‘สื้อเจีย’ (世家) มีเพื่อนเพจสนใจไม่น้อย ให้หาเรื่องราวตระกูลสื้อเจียอื่นมาเล่าให้ฟังอีก Storyฯ เล่าแบบคร่าวๆ นะคะ วันนี้เริ่มต้นที่สี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) สี่ตระกูลนี้คือ ชุยแห่งชิงเหอ (ที่ Storyฯ พูดถึงเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว) หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และหวางแห่งไท่หยวน จะเห็นว่าคำกล่าวเรียกมีสององค์ประกอบคือ แซ่/สกุล และพื้นที่การปกครอง ดังนั้น ในบรรดาสายตระกูลที่จะเล่าถึงต่อไปนี้ อาจมีบางแซ่ที่ใช้กันแพร่หลาย แต่เขาจะมี ‘สายแข็ง’ ของเขาค่ะ ตระกูลหลูแห่งลั่วหยาง (范阳卢氏) มีภูมิลำเนาเดิมอยู่แถบพื้นที่เหอเป่ยและเหอหนาน แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและชนกลุ่มอื่น มีผู้รับราชการตำแหน่งสูงหลายคน ต้นตระกูลที่โด่งดังมากคือประมุขรุ่นที่ 13 หลูอ๋าว ผู้ดำรงตำแหน่งอู่จิงป๋อซื่อ (五经博士 / ราชบัณฑิตห้าวิชา) ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) และรุ่นหลานของเขา หลูจื๋อ มีผลงานช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกจนได้รับพระราชทานเขตการปกครองจัวโจวซึ่งครอบคลุมลั่วหยาง ตระกูลหลูสายลั่วหยางเป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) ในสมัยถังเช่นเดียวกับตระกูลชุยแห่งชิงเหอ สร้างฐานอำนาจมาจากสายบุ๋นต่อมาจึงขยายอิทธิพลไปยังด้านอื่น ในประวัติอันยาวนานหลายร้อยปีของตระกูลหลูแห่งลั่วหยางนี้ มีพระราชบุตรเขยในสมัยเว่ยเหนือถึงสามคน มีที่ดำรงตำแหน่งราชครูหลายคน เช่นในสมัยองค์โจวอู่ตี้ (ค.ศ. 543-578) ในสมัยถังมีเป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) 8 คน ยังไม่รวมข้าราชการระดับอื่น อีกทั้งยังมีกวีเอกเลื่องชื่อและลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังอีกหลายคน ตระกูลเจิ้งแห่งสิงหยาง (荥阳郑氏) มีรากเหง้ามาจากแคว้นเจิ้งในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) รับราชการมีชื่อเสียงมาตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในตำแหน่งระดับสูงเช่นกัน ปักหลักอยู่บริเวณไคเฟิงในพื้นที่เหอหนาน ในสมัยถังมีเป็นอัครมหาเสนาบดี 10 คน และข้าราชการระดับราชเลขาธิการและระดับสูงอื่นๆ อีกหลายคนทั้งสายบุ๋นและสายบู๊ แน่นอนว่ายังไม่รวมฝ่ายหญิงก็มีการแต่งเข้าวังหลายคนในหลายราชวงศ์ ตระกูลหวางแห่งไท่หยวน (太原王氏) มีมาแต่ยุคสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก มีภูมิลำเนาอยู่ที่เขตการปกครองไท่หยวนจวิ้นทางด้านเหนือของจีน ในสมัยสามก๊กรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก รับราชการในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง มีผลงานโดดเด่นในการช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ลูกหลานฝ่ายหญิงได้ดิบได้ดีเป็นถึงฮองเฮาด้วยกันสองคน ตระกูลหวางอยู่ยงคงกระพันรับราชการต่อเนื่องยาวนานกว่าหนึ่งพันเจ็ดร้อยปี แต่มีการถกเถียงกันว่าเป็นตระกูลหวางสายไหน เพราะในบันทึกของสมัยเว่ยเหนือกล่าวถึงตระกูลหวางแห่งไท่หยวน แต่พอมาถึงราชวงศ์ถังนั้น หนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) มีตระกูลหวาง แต่บ้างว่าเป็นสายหลางหยา บ้างว่าเป็นสายไท่หยวน เรื่องห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) แปะไว้ก่อน คุยต่อคราวหน้าค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.zhlsw.cn/readnews.asp?newsid=2349 http://www.wang-shi.com/html/80/n-980.html https://baike.baidu.com/item卢氏家谱/5980451 https://page.om.qq.com/page/O5ihK_EMn_MqZEggEVq1jLwA0 https://www.baike.com/wikiid/7851417530740071880?prd=mobile&view_id=1sf2g14c6sf400 http://www.qulishi.com/article/201910/371662.html https://m.samrugs.com/shijiezhizui/zhongguo/60003.html #ตระกูลหลู #สกุลหลู #ตระกูลเจิ้ง #สกุลเจิ้ง #ตระกูลหวาง #สกุลหวาง #สื้อเจีย
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 240 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้คุยกันต่อเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจหรือที่เรียกรวมว่า ‘สื้อเจีย’ (世家) ซึ่งอยู่ยงคงกระพันคู่กับจีนโบราณเป็นร้อยเป็นพันปี ก่อนหน้านี้เล่าว่า สี่ตระกูลใหญ่ในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือคือ ชุยแห่งชิงเหอ หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และหวางแห่งไท่หยวน

    แต่อย่างที่ Storyฯ กล่าวไว้สัปดาห์ที่แล้ว พอมาถึงราชวงศ์ถังมีการพูดถึง ‘ห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย’ (五姓七族 หรือ 五姓七望) ซึ่งรวมถึงตระกูลหวาง แต่บ้างว่าเป็นสายไท่หยวน บ้างว่าเป็นสายหลางหยา

    เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนต้องเคยได้ยินชื่อตระกูลหวางสายหลางหยานี้จากละครและนิยายหลายเรื่อง (เช่นตัวอย่างจากละครเรื่อง <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์>) และคง ‘เอ๊ะ’ ว่าต่างกันอย่างไร

    หลังจากไปทำการบ้านมา Storyฯ พบว่าข้อมูลค่อนข้างสับสนและมีความขัดแย้งกันตรงที่ว่า มีหลายการวิเคราะห์บอกว่าทั้งสองสายนี้คือสายเดียวกัน แต่ก็มีบ้างที่พยายามจะจำแนกแยกจากกันให้ชัด แต่ Storyฯ คิดว่าเราคงไม่ได้ต้องการมาลำดับพงศาวลีของเขากัน เลยสรุปให้ฟังพอหอมปากหอมคอดังนี้ค่ะ

    ทั้งสองสายของตระกูลหวางนี้มีรากเหง้าเดียวกันคือสืบเชื้อสายมาจากองค์ชายรัชทายาทจิ้นหรือ ‘หวางจื่อจิ้น’ แห่งราชวงศ์โจวตะวันออก (ประมาณปี 576-546 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งภายหลังจากถูกริบฐานันดรศักดิ์ได้ใช้สกุลหวาง ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฉินมีทายาทของสายนี้คือแม่ทัพ ‘หวางหลี’ ที่โด่งดัง สายไท่หยวนมาจากลูกชายคนโตของแม่ทัพหวางหลีนี้ และสายหลางหยามาจากลูกชายคนรองซึ่งในตอนกลียุคช่วงปลายฉินได้ย้ายไปตั้งรกรากอยู่ที่เขตการปกครองหลางหยาจวิ้น และเนื่องจากต้นตอของคนที่ใช้สกุลหวางมีมากกว่าสายหวางจื่อจิ้นนี้ ดังนั้นในสมัยราชวงศ์ถังมีการกล่าวถึง ‘ชนรุ่นหลังของหวางจื่อจิ้น’ ทำให้ตีความได้ว่าในยุคนั้นมองทั้งสายไท่หยวนและสายหลางหยาเป็นก๊วนเดียวกัน

    ห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายในสมัยถังมีใครบ้าง?

    นอกจากหวางแห่งหลางหยา/ไท่หยวน ก็มีสื้อเจียจากสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือคือ ชุยแห่งชิงเหอ หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และมีเพิ่มเติมมาคือ ชุยแห่งป๋อหลิง (博陵崔氏) หลี่แห่งหลงซี (陇西李氏) หลี่แห่งเจ้าจวิ้น (赵郡李氏)

    ตระกูลชุยสายป๋อหลิงแม้ไม่เรืองอำนาจเท่าสายชิงเหอในสมัยเว่ยเหนือแต่ก็จัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่ง ‘สายแข็ง’ ของตระกูลชุย ฐานอำนาจเข้มแข็งขึ้นในสมัยราชวงศ์โจวเหนือ (ปีค.ศ. 557 – 581) พื้นเพเดิมมาจากทางเหนือแต่เป็นสายที่ปกครองพื้นที่อันผิงและแตกสกุลมาจากสกุลเจียงเหมือนกัน

    ส่วนตระกูลหลี่ทั้งสองสายนั้นมีต้นตระกูลที่มีชื่อเสียงมาแล้วหลายร้อยปีเช่นกัน มีผลงานโดดเด่นในการช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) ในรัชสมัยขององค์ถังไท่จงหรือหลี่ซื่อหมิน (ค.ศ. 626-649) ทรงเห็นว่าขุนนางใหญ่ให้ความสำคัญกับการแต่งงานในสื้อเจียด้วยกันจนถึงขนาดปฏิเสธที่จะแต่งงานกับองค์หญิงองค์ชาย และทรงมองว่าราชสกุลหลี่ไม่ควรน้อยหน้า จึงได้โปรดเกล้าให้จัดทำลำดับตระกูลขึ้นใหม่ในบันทึก ‘ซื่อจู๋จื้อ” (氏族志) โดยให้ตระกูลหลี่แห่งหลงซีขึ้นรั้งลำดับแรก

    ต่อมาในรัชสมัยองค์ถังเกาจง (ค.ศ. 649-683) ทรงบัญญัติห้ามคนในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายนี้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้ฐานอำนาจของเหล่าขุนนางมีมากเกินไป (หมายเหตุ บ้างก็เรียกเป็น ‘เจ็ดสกุลสิบเชื้อสาย’ เนื่องจากมีการระบุรายนามข้าราชการระดับสูงทั้งหมดสิบคน แต่จริงๆ แล้วล้วนเป็นเชื้อสายของห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายที่กล่าวถึงข้างต้น)

    แน่นอนว่าในยุคสมัยต่างๆ อาจมีการจัดอันดับ Top 4 หรือ Top 5 ที่แตกต่างกันไปบ้าง ตระกูลอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงและถูกเรียกรวมเป็นสื้อเจียยังมีอีก เช่น เซียว เซี่ย เป็นต้น

    จบเรื่องราวของตระกูลสื้อเจียแต่เพียงเท่านี้ เพื่อนๆ ที่ดูละครสมัยราชวงศ์ถังหรือก่อนหน้านั้น ลองสังเกตหาสกุลเหล่านี้ดูนะคะว่าเขาพยายามชิงอำนาจหรือรวมพลังกันอย่างไร

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.zhuijudashi.com/guocanju/shangyangfu/
    https://www.jiapu.tv/tuteng/056/. https://3g.jiapu.tv/tuteng/001/, https://3g.jiapu.tv/tuteng/052/, https://www.jiapu.tv/tuteng/002/, https://www.jiapu.tv/tuteng/021/

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.samrugs.com/shijiezhizui/zhongguo/60003.html
    https://kknews.cc/other/5o6qb9l.html
    https://baike.baidu.com/item/七姓十家/10749857
    https://baike.baidu.com/item/五姓七族/5225652
    https://baike.baidu.com/item/博陵崔氏/6585465
    http://www.zhuda6.com/new/a29ad5c1eb7d44dc89bd3c263112c1b2.html

    #ซ่างหยาง #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #ตระกูลหลู #สกุลหลู #ตระกูลเจิ้ง #สกุลเจิ้ง #ตระกูลหวาง #สกุลหวาง #ตระกูลหลี่ #สกุลหลี่ #สื้อเจีย #ห้าสกุลราชวงศ์ถัง #ห้าสกุลราชวงศ์เว่ย
    วันนี้คุยกันต่อเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจหรือที่เรียกรวมว่า ‘สื้อเจีย’ (世家) ซึ่งอยู่ยงคงกระพันคู่กับจีนโบราณเป็นร้อยเป็นพันปี ก่อนหน้านี้เล่าว่า สี่ตระกูลใหญ่ในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือคือ ชุยแห่งชิงเหอ หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และหวางแห่งไท่หยวน แต่อย่างที่ Storyฯ กล่าวไว้สัปดาห์ที่แล้ว พอมาถึงราชวงศ์ถังมีการพูดถึง ‘ห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย’ (五姓七族 หรือ 五姓七望) ซึ่งรวมถึงตระกูลหวาง แต่บ้างว่าเป็นสายไท่หยวน บ้างว่าเป็นสายหลางหยา เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนต้องเคยได้ยินชื่อตระกูลหวางสายหลางหยานี้จากละครและนิยายหลายเรื่อง (เช่นตัวอย่างจากละครเรื่อง <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์>) และคง ‘เอ๊ะ’ ว่าต่างกันอย่างไร หลังจากไปทำการบ้านมา Storyฯ พบว่าข้อมูลค่อนข้างสับสนและมีความขัดแย้งกันตรงที่ว่า มีหลายการวิเคราะห์บอกว่าทั้งสองสายนี้คือสายเดียวกัน แต่ก็มีบ้างที่พยายามจะจำแนกแยกจากกันให้ชัด แต่ Storyฯ คิดว่าเราคงไม่ได้ต้องการมาลำดับพงศาวลีของเขากัน เลยสรุปให้ฟังพอหอมปากหอมคอดังนี้ค่ะ ทั้งสองสายของตระกูลหวางนี้มีรากเหง้าเดียวกันคือสืบเชื้อสายมาจากองค์ชายรัชทายาทจิ้นหรือ ‘หวางจื่อจิ้น’ แห่งราชวงศ์โจวตะวันออก (ประมาณปี 576-546 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งภายหลังจากถูกริบฐานันดรศักดิ์ได้ใช้สกุลหวาง ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฉินมีทายาทของสายนี้คือแม่ทัพ ‘หวางหลี’ ที่โด่งดัง สายไท่หยวนมาจากลูกชายคนโตของแม่ทัพหวางหลีนี้ และสายหลางหยามาจากลูกชายคนรองซึ่งในตอนกลียุคช่วงปลายฉินได้ย้ายไปตั้งรกรากอยู่ที่เขตการปกครองหลางหยาจวิ้น และเนื่องจากต้นตอของคนที่ใช้สกุลหวางมีมากกว่าสายหวางจื่อจิ้นนี้ ดังนั้นในสมัยราชวงศ์ถังมีการกล่าวถึง ‘ชนรุ่นหลังของหวางจื่อจิ้น’ ทำให้ตีความได้ว่าในยุคนั้นมองทั้งสายไท่หยวนและสายหลางหยาเป็นก๊วนเดียวกัน ห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายในสมัยถังมีใครบ้าง? นอกจากหวางแห่งหลางหยา/ไท่หยวน ก็มีสื้อเจียจากสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือคือ ชุยแห่งชิงเหอ หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และมีเพิ่มเติมมาคือ ชุยแห่งป๋อหลิง (博陵崔氏) หลี่แห่งหลงซี (陇西李氏) หลี่แห่งเจ้าจวิ้น (赵郡李氏) ตระกูลชุยสายป๋อหลิงแม้ไม่เรืองอำนาจเท่าสายชิงเหอในสมัยเว่ยเหนือแต่ก็จัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่ง ‘สายแข็ง’ ของตระกูลชุย ฐานอำนาจเข้มแข็งขึ้นในสมัยราชวงศ์โจวเหนือ (ปีค.ศ. 557 – 581) พื้นเพเดิมมาจากทางเหนือแต่เป็นสายที่ปกครองพื้นที่อันผิงและแตกสกุลมาจากสกุลเจียงเหมือนกัน ส่วนตระกูลหลี่ทั้งสองสายนั้นมีต้นตระกูลที่มีชื่อเสียงมาแล้วหลายร้อยปีเช่นกัน มีผลงานโดดเด่นในการช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) ในรัชสมัยขององค์ถังไท่จงหรือหลี่ซื่อหมิน (ค.ศ. 626-649) ทรงเห็นว่าขุนนางใหญ่ให้ความสำคัญกับการแต่งงานในสื้อเจียด้วยกันจนถึงขนาดปฏิเสธที่จะแต่งงานกับองค์หญิงองค์ชาย และทรงมองว่าราชสกุลหลี่ไม่ควรน้อยหน้า จึงได้โปรดเกล้าให้จัดทำลำดับตระกูลขึ้นใหม่ในบันทึก ‘ซื่อจู๋จื้อ” (氏族志) โดยให้ตระกูลหลี่แห่งหลงซีขึ้นรั้งลำดับแรก ต่อมาในรัชสมัยองค์ถังเกาจง (ค.ศ. 649-683) ทรงบัญญัติห้ามคนในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายนี้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้ฐานอำนาจของเหล่าขุนนางมีมากเกินไป (หมายเหตุ บ้างก็เรียกเป็น ‘เจ็ดสกุลสิบเชื้อสาย’ เนื่องจากมีการระบุรายนามข้าราชการระดับสูงทั้งหมดสิบคน แต่จริงๆ แล้วล้วนเป็นเชื้อสายของห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายที่กล่าวถึงข้างต้น) แน่นอนว่าในยุคสมัยต่างๆ อาจมีการจัดอันดับ Top 4 หรือ Top 5 ที่แตกต่างกันไปบ้าง ตระกูลอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงและถูกเรียกรวมเป็นสื้อเจียยังมีอีก เช่น เซียว เซี่ย เป็นต้น จบเรื่องราวของตระกูลสื้อเจียแต่เพียงเท่านี้ เพื่อนๆ ที่ดูละครสมัยราชวงศ์ถังหรือก่อนหน้านั้น ลองสังเกตหาสกุลเหล่านี้ดูนะคะว่าเขาพยายามชิงอำนาจหรือรวมพลังกันอย่างไร (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.zhuijudashi.com/guocanju/shangyangfu/ https://www.jiapu.tv/tuteng/056/. https://3g.jiapu.tv/tuteng/001/, https://3g.jiapu.tv/tuteng/052/, https://www.jiapu.tv/tuteng/002/, https://www.jiapu.tv/tuteng/021/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.samrugs.com/shijiezhizui/zhongguo/60003.html https://kknews.cc/other/5o6qb9l.html https://baike.baidu.com/item/七姓十家/10749857 https://baike.baidu.com/item/五姓七族/5225652 https://baike.baidu.com/item/博陵崔氏/6585465 http://www.zhuda6.com/new/a29ad5c1eb7d44dc89bd3c263112c1b2.html #ซ่างหยาง #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #ตระกูลหลู #สกุลหลู #ตระกูลเจิ้ง #สกุลเจิ้ง #ตระกูลหวาง #สกุลหวาง #ตระกูลหลี่ #สกุลหลี่ #สื้อเจีย #ห้าสกุลราชวงศ์ถัง #ห้าสกุลราชวงศ์เว่ย
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 230 มุมมอง 0 รีวิว