• แฟนละคร/นิยายจีนคงคุ้นเคยดีกับโครงเรื่องที่มีการชิงอำนาจทางการเมืองด้วยการจัดให้มีการแต่งงานระหว่างตระกูลดังกับเชื้อพระวงศ์ จนเกิดเป็นแรงกดดันมหาศาลให้กับตัวละครเอก บางคนอาจเคยบ่นว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’

    วันนี้ Storyฯ ยกตัวอย่างมาคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจ (เรียกรวมว่า สื้อเจีย / 世家)
    เป็นหนึ่งในตระกูลที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์ตอนต้นและกลางของจีนโบราณก็ว่าได้

    ความมีอยู่ว่า
    ....ตระกูลชุยจากชิงเหอรุ่นนี้ สายหลักของตระกูลมีนางเป็นบุตรีโทนแต่เพียงผู้เดียว ... และตระกูลชุยกำลังรุ่งเรือง นางยังอยู่ในท้องของมารดาก็ได้รับการหมั้นหมายให้กับองค์ชายรัชทายาทแล้ว....
    - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ชิงเหอคือพื้นที่ทางด้านเหนือของจีน (แถบเหอหนาน เหอเป่ยและซานตง) ในสมัยจีนตอนต้นมีสถานะเป็นแคว้นบ้างหรือรองลงมาเป็นจวิ้น (郡) บ้าง ซึ่งนับเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ มีหลายตระกูลดังในประวัติศาตร์จีนที่มาจากพื้นที่แถบนี้ หนึ่งในนั้นคือตระกูลชุย

    ตระกูลชุยมีรากฐานยาวนานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและรวมถึงชาวเผ่าพันธุ์อื่นที่หันมาใช้สกุลนี้ รับราชการในตำแหน่งสำคัญมาหลายยุคสมัย แตกมาเป็นสายที่เรียกว่า ‘ตระกูลชุยจากชิงเหอ’ ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) เมื่อชุยเหลียง (ทายาทรุ่นที่ 7) ได้รับการอวยยศเป็นโหวและได้รับพระราชทานเขตการปกครองชิงเหอนี้ และต่อมาตระกูลชุยจากชิงเหอมีแตกสายย่อยไปอีกรวมเป็นหกสาย

    ตระกูลชุยจากชิงเหอที่กล่าวถึงในละครข้างต้น ‘ไม่ธรรมดา’ แค่ไหน?

    ตระกูลชุยจากชิงเหอรับราชการระดับสูงต่อเนื่อง ผ่านร้อนผ่านหนาวแต่อยู่ยงคงกระพันมากว่า 700 ปี ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ในบรรดาสี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) และในสมัยราชวงศ์ถังก็เป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) อันเป็นตระกูลชั้นสูงที่ต่อมาถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างฐานอำนาจมากเกินไป

    มีคนจากตระกูลชุยจากชิงเหอนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) หรือตำแหน่งที่สูงคล้ายกันมากมายหลายรุ่น เฉพาะในสมัยราชวงศ์ถังที่ยาวนานเกือบสามร้อยปีก็มีถึง 12 คน (ถ้ารวมตระกูลชุยสายอื่นมีอีก 10 คน) มีจอหงวน 11 คน ยังไม่รวมที่รับราชการในตำแหน่งอื่น ที่กุมอำนาจทางการทหาร ที่เป็นผู้นำทางความคิด (นักปราชญ์ กวีชื่อดัง) และที่เป็นลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังในตำแหน่งต่างๆ อีกจำนวนไม่น้อย จวบจนสมัยซ่งใต้ ฐานอำนาจของตระกูลนี้จึงเสื่อมจางลงเหมือนกับตระกูลสื้อเจียอื่นๆ

    ทำไมต้องพูดถึงตระกูลชุยจากชิงเหอ? Storyฯ เล่าเป็นตัวอย่างของเหล่าตระกูลสื้อเจียค่ะ จากที่เคยคิดว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ แต่พอมาเห็นรากฐานของตระกูลสื้อเจียเหล่านี้ เราจะได้อรรถรสเลยว่า ‘ฐานอำนาจ’ ที่เขาพูดถึงกันนั้น มันหยั่งรากลึกแค่ไหน? เหตุใดตัวละครเอกมักรู้สึกถูกกดดันมากมาย? และเพราะเหตุใดมันจึงฝังรากลึกในวัฒนธรรมจีนโบราณ? เพราะมันไม่ใช่เรื่องของหนึ่งหรือสองชั่วอายุคน แต่เรากำลังพูดถึงฐานอำนาจหลายร้อยปีที่แทรกซึมเข้าไปในสังคมโดยมีประมุขใหญ่ของตระกูลในแต่ละรุ่นเป็นแกนนำสำคัญ

    Storyฯ หวังว่าเพื่อนๆ จะดูละครได้อรรถรสยิ่งขึ้นนะคะ ใครเห็นบทบาทของคนในตระกูลชุยในละครเรื่องอื่นใดอีกหรือหากนึกถึงตระกูลอื่นที่คล้ายคลึงก็เม้นท์มาได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/484438060_121051662
    https://www.sohu.com/a/485012584_100151502
    https://www.sohu.com/a/489015136_120827444

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/FNSTJKT60543BK4H.html
    https://new.qq.com/omn/20211021/20211021A09WBQ00.html
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_16209361
    https://www.baike.com/wiki/清河崔氏
    https://zh.wikipedia.org/wiki/清河崔氏

    #กระดูกงดงาม #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #สื้อเจีย
    แฟนละคร/นิยายจีนคงคุ้นเคยดีกับโครงเรื่องที่มีการชิงอำนาจทางการเมืองด้วยการจัดให้มีการแต่งงานระหว่างตระกูลดังกับเชื้อพระวงศ์ จนเกิดเป็นแรงกดดันมหาศาลให้กับตัวละครเอก บางคนอาจเคยบ่นว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ วันนี้ Storyฯ ยกตัวอย่างมาคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจ (เรียกรวมว่า สื้อเจีย / 世家) เป็นหนึ่งในตระกูลที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์ตอนต้นและกลางของจีนโบราณก็ว่าได้ ความมีอยู่ว่า ....ตระกูลชุยจากชิงเหอรุ่นนี้ สายหลักของตระกูลมีนางเป็นบุตรีโทนแต่เพียงผู้เดียว ... และตระกูลชุยกำลังรุ่งเรือง นางยังอยู่ในท้องของมารดาก็ได้รับการหมั้นหมายให้กับองค์ชายรัชทายาทแล้ว.... - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) ชิงเหอคือพื้นที่ทางด้านเหนือของจีน (แถบเหอหนาน เหอเป่ยและซานตง) ในสมัยจีนตอนต้นมีสถานะเป็นแคว้นบ้างหรือรองลงมาเป็นจวิ้น (郡) บ้าง ซึ่งนับเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ มีหลายตระกูลดังในประวัติศาตร์จีนที่มาจากพื้นที่แถบนี้ หนึ่งในนั้นคือตระกูลชุย ตระกูลชุยมีรากฐานยาวนานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและรวมถึงชาวเผ่าพันธุ์อื่นที่หันมาใช้สกุลนี้ รับราชการในตำแหน่งสำคัญมาหลายยุคสมัย แตกมาเป็นสายที่เรียกว่า ‘ตระกูลชุยจากชิงเหอ’ ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) เมื่อชุยเหลียง (ทายาทรุ่นที่ 7) ได้รับการอวยยศเป็นโหวและได้รับพระราชทานเขตการปกครองชิงเหอนี้ และต่อมาตระกูลชุยจากชิงเหอมีแตกสายย่อยไปอีกรวมเป็นหกสาย ตระกูลชุยจากชิงเหอที่กล่าวถึงในละครข้างต้น ‘ไม่ธรรมดา’ แค่ไหน? ตระกูลชุยจากชิงเหอรับราชการระดับสูงต่อเนื่อง ผ่านร้อนผ่านหนาวแต่อยู่ยงคงกระพันมากว่า 700 ปี ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ในบรรดาสี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) และในสมัยราชวงศ์ถังก็เป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) อันเป็นตระกูลชั้นสูงที่ต่อมาถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างฐานอำนาจมากเกินไป มีคนจากตระกูลชุยจากชิงเหอนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) หรือตำแหน่งที่สูงคล้ายกันมากมายหลายรุ่น เฉพาะในสมัยราชวงศ์ถังที่ยาวนานเกือบสามร้อยปีก็มีถึง 12 คน (ถ้ารวมตระกูลชุยสายอื่นมีอีก 10 คน) มีจอหงวน 11 คน ยังไม่รวมที่รับราชการในตำแหน่งอื่น ที่กุมอำนาจทางการทหาร ที่เป็นผู้นำทางความคิด (นักปราชญ์ กวีชื่อดัง) และที่เป็นลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังในตำแหน่งต่างๆ อีกจำนวนไม่น้อย จวบจนสมัยซ่งใต้ ฐานอำนาจของตระกูลนี้จึงเสื่อมจางลงเหมือนกับตระกูลสื้อเจียอื่นๆ ทำไมต้องพูดถึงตระกูลชุยจากชิงเหอ? Storyฯ เล่าเป็นตัวอย่างของเหล่าตระกูลสื้อเจียค่ะ จากที่เคยคิดว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ แต่พอมาเห็นรากฐานของตระกูลสื้อเจียเหล่านี้ เราจะได้อรรถรสเลยว่า ‘ฐานอำนาจ’ ที่เขาพูดถึงกันนั้น มันหยั่งรากลึกแค่ไหน? เหตุใดตัวละครเอกมักรู้สึกถูกกดดันมากมาย? และเพราะเหตุใดมันจึงฝังรากลึกในวัฒนธรรมจีนโบราณ? เพราะมันไม่ใช่เรื่องของหนึ่งหรือสองชั่วอายุคน แต่เรากำลังพูดถึงฐานอำนาจหลายร้อยปีที่แทรกซึมเข้าไปในสังคมโดยมีประมุขใหญ่ของตระกูลในแต่ละรุ่นเป็นแกนนำสำคัญ Storyฯ หวังว่าเพื่อนๆ จะดูละครได้อรรถรสยิ่งขึ้นนะคะ ใครเห็นบทบาทของคนในตระกูลชุยในละครเรื่องอื่นใดอีกหรือหากนึกถึงตระกูลอื่นที่คล้ายคลึงก็เม้นท์มาได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/484438060_121051662 https://www.sohu.com/a/485012584_100151502 https://www.sohu.com/a/489015136_120827444 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/FNSTJKT60543BK4H.html https://new.qq.com/omn/20211021/20211021A09WBQ00.html https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_16209361 https://www.baike.com/wiki/清河崔氏 https://zh.wikipedia.org/wiki/清河崔氏 #กระดูกงดงาม #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #สื้อเจีย
    1 Comments 0 Shares 325 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์ที่แล้วคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจหรือที่เรียกรวมว่า ‘สื้อเจีย’ (世家) มีเพื่อนเพจสนใจไม่น้อย ให้หาเรื่องราวตระกูลสื้อเจียอื่นมาเล่าให้ฟังอีก Storyฯ เล่าแบบคร่าวๆ นะคะ

    วันนี้เริ่มต้นที่สี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) สี่ตระกูลนี้คือ ชุยแห่งชิงเหอ (ที่ Storyฯ พูดถึงเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว) หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และหวางแห่งไท่หยวน

    จะเห็นว่าคำกล่าวเรียกมีสององค์ประกอบคือ แซ่/สกุล และพื้นที่การปกครอง ดังนั้น ในบรรดาสายตระกูลที่จะเล่าถึงต่อไปนี้ อาจมีบางแซ่ที่ใช้กันแพร่หลาย แต่เขาจะมี ‘สายแข็ง’ ของเขาค่ะ

    ตระกูลหลูแห่งลั่วหยาง (范阳卢氏) มีภูมิลำเนาเดิมอยู่แถบพื้นที่เหอเป่ยและเหอหนาน แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและชนกลุ่มอื่น มีผู้รับราชการตำแหน่งสูงหลายคน ต้นตระกูลที่โด่งดังมากคือประมุขรุ่นที่ 13 หลูอ๋าว ผู้ดำรงตำแหน่งอู่จิงป๋อซื่อ (五经博士 / ราชบัณฑิตห้าวิชา) ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) และรุ่นหลานของเขา หลูจื๋อ มีผลงานช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกจนได้รับพระราชทานเขตการปกครองจัวโจวซึ่งครอบคลุมลั่วหยาง

    ตระกูลหลูสายลั่วหยางเป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) ในสมัยถังเช่นเดียวกับตระกูลชุยแห่งชิงเหอ สร้างฐานอำนาจมาจากสายบุ๋นต่อมาจึงขยายอิทธิพลไปยังด้านอื่น ในประวัติอันยาวนานหลายร้อยปีของตระกูลหลูแห่งลั่วหยางนี้ มีพระราชบุตรเขยในสมัยเว่ยเหนือถึงสามคน มีที่ดำรงตำแหน่งราชครูหลายคน เช่นในสมัยองค์โจวอู่ตี้ (ค.ศ. 543-578) ในสมัยถังมีเป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) 8 คน ยังไม่รวมข้าราชการระดับอื่น อีกทั้งยังมีกวีเอกเลื่องชื่อและลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังอีกหลายคน

    ตระกูลเจิ้งแห่งสิงหยาง (荥阳郑氏) มีรากเหง้ามาจากแคว้นเจิ้งในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) รับราชการมีชื่อเสียงมาตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในตำแหน่งระดับสูงเช่นกัน ปักหลักอยู่บริเวณไคเฟิงในพื้นที่เหอหนาน ในสมัยถังมีเป็นอัครมหาเสนาบดี 10 คน และข้าราชการระดับราชเลขาธิการและระดับสูงอื่นๆ อีกหลายคนทั้งสายบุ๋นและสายบู๊ แน่นอนว่ายังไม่รวมฝ่ายหญิงก็มีการแต่งเข้าวังหลายคนในหลายราชวงศ์

    ตระกูลหวางแห่งไท่หยวน (太原王氏) มีมาแต่ยุคสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก มีภูมิลำเนาอยู่ที่เขตการปกครองไท่หยวนจวิ้นทางด้านเหนือของจีน ในสมัยสามก๊กรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก รับราชการในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง มีผลงานโดดเด่นในการช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ลูกหลานฝ่ายหญิงได้ดิบได้ดีเป็นถึงฮองเฮาด้วยกันสองคน ตระกูลหวางอยู่ยงคงกระพันรับราชการต่อเนื่องยาวนานกว่าหนึ่งพันเจ็ดร้อยปี แต่มีการถกเถียงกันว่าเป็นตระกูลหวางสายไหน เพราะในบันทึกของสมัยเว่ยเหนือกล่าวถึงตระกูลหวางแห่งไท่หยวน แต่พอมาถึงราชวงศ์ถังนั้น หนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) มีตระกูลหวาง แต่บ้างว่าเป็นสายหลางหยา บ้างว่าเป็นสายไท่หยวน

    เรื่องห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) แปะไว้ก่อน คุยต่อคราวหน้าค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.zhlsw.cn/readnews.asp?newsid=2349
    http://www.wang-shi.com/html/80/n-980.html
    https://baike.baidu.com/item卢氏家谱/5980451
    https://page.om.qq.com/page/O5ihK_EMn_MqZEggEVq1jLwA0
    https://www.baike.com/wikiid/7851417530740071880?prd=mobile&view_id=1sf2g14c6sf400
    http://www.qulishi.com/article/201910/371662.html
    https://m.samrugs.com/shijiezhizui/zhongguo/60003.html

    #ตระกูลหลู #สกุลหลู #ตระกูลเจิ้ง #สกุลเจิ้ง #ตระกูลหวาง #สกุลหวาง #สื้อเจีย
    สัปดาห์ที่แล้วคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจหรือที่เรียกรวมว่า ‘สื้อเจีย’ (世家) มีเพื่อนเพจสนใจไม่น้อย ให้หาเรื่องราวตระกูลสื้อเจียอื่นมาเล่าให้ฟังอีก Storyฯ เล่าแบบคร่าวๆ นะคะ วันนี้เริ่มต้นที่สี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) สี่ตระกูลนี้คือ ชุยแห่งชิงเหอ (ที่ Storyฯ พูดถึงเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว) หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และหวางแห่งไท่หยวน จะเห็นว่าคำกล่าวเรียกมีสององค์ประกอบคือ แซ่/สกุล และพื้นที่การปกครอง ดังนั้น ในบรรดาสายตระกูลที่จะเล่าถึงต่อไปนี้ อาจมีบางแซ่ที่ใช้กันแพร่หลาย แต่เขาจะมี ‘สายแข็ง’ ของเขาค่ะ ตระกูลหลูแห่งลั่วหยาง (范阳卢氏) มีภูมิลำเนาเดิมอยู่แถบพื้นที่เหอเป่ยและเหอหนาน แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและชนกลุ่มอื่น มีผู้รับราชการตำแหน่งสูงหลายคน ต้นตระกูลที่โด่งดังมากคือประมุขรุ่นที่ 13 หลูอ๋าว ผู้ดำรงตำแหน่งอู่จิงป๋อซื่อ (五经博士 / ราชบัณฑิตห้าวิชา) ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) และรุ่นหลานของเขา หลูจื๋อ มีผลงานช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกจนได้รับพระราชทานเขตการปกครองจัวโจวซึ่งครอบคลุมลั่วหยาง ตระกูลหลูสายลั่วหยางเป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) ในสมัยถังเช่นเดียวกับตระกูลชุยแห่งชิงเหอ สร้างฐานอำนาจมาจากสายบุ๋นต่อมาจึงขยายอิทธิพลไปยังด้านอื่น ในประวัติอันยาวนานหลายร้อยปีของตระกูลหลูแห่งลั่วหยางนี้ มีพระราชบุตรเขยในสมัยเว่ยเหนือถึงสามคน มีที่ดำรงตำแหน่งราชครูหลายคน เช่นในสมัยองค์โจวอู่ตี้ (ค.ศ. 543-578) ในสมัยถังมีเป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) 8 คน ยังไม่รวมข้าราชการระดับอื่น อีกทั้งยังมีกวีเอกเลื่องชื่อและลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังอีกหลายคน ตระกูลเจิ้งแห่งสิงหยาง (荥阳郑氏) มีรากเหง้ามาจากแคว้นเจิ้งในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) รับราชการมีชื่อเสียงมาตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในตำแหน่งระดับสูงเช่นกัน ปักหลักอยู่บริเวณไคเฟิงในพื้นที่เหอหนาน ในสมัยถังมีเป็นอัครมหาเสนาบดี 10 คน และข้าราชการระดับราชเลขาธิการและระดับสูงอื่นๆ อีกหลายคนทั้งสายบุ๋นและสายบู๊ แน่นอนว่ายังไม่รวมฝ่ายหญิงก็มีการแต่งเข้าวังหลายคนในหลายราชวงศ์ ตระกูลหวางแห่งไท่หยวน (太原王氏) มีมาแต่ยุคสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก มีภูมิลำเนาอยู่ที่เขตการปกครองไท่หยวนจวิ้นทางด้านเหนือของจีน ในสมัยสามก๊กรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก รับราชการในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง มีผลงานโดดเด่นในการช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ลูกหลานฝ่ายหญิงได้ดิบได้ดีเป็นถึงฮองเฮาด้วยกันสองคน ตระกูลหวางอยู่ยงคงกระพันรับราชการต่อเนื่องยาวนานกว่าหนึ่งพันเจ็ดร้อยปี แต่มีการถกเถียงกันว่าเป็นตระกูลหวางสายไหน เพราะในบันทึกของสมัยเว่ยเหนือกล่าวถึงตระกูลหวางแห่งไท่หยวน แต่พอมาถึงราชวงศ์ถังนั้น หนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) มีตระกูลหวาง แต่บ้างว่าเป็นสายหลางหยา บ้างว่าเป็นสายไท่หยวน เรื่องห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) แปะไว้ก่อน คุยต่อคราวหน้าค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.zhlsw.cn/readnews.asp?newsid=2349 http://www.wang-shi.com/html/80/n-980.html https://baike.baidu.com/item卢氏家谱/5980451 https://page.om.qq.com/page/O5ihK_EMn_MqZEggEVq1jLwA0 https://www.baike.com/wikiid/7851417530740071880?prd=mobile&view_id=1sf2g14c6sf400 http://www.qulishi.com/article/201910/371662.html https://m.samrugs.com/shijiezhizui/zhongguo/60003.html #ตระกูลหลู #สกุลหลู #ตระกูลเจิ้ง #สกุลเจิ้ง #ตระกูลหวาง #สกุลหวาง #สื้อเจีย
    1 Comments 0 Shares 372 Views 0 Reviews
  • วันนี้คุยกันต่อเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจหรือที่เรียกรวมว่า ‘สื้อเจีย’ (世家) ซึ่งอยู่ยงคงกระพันคู่กับจีนโบราณเป็นร้อยเป็นพันปี ก่อนหน้านี้เล่าว่า สี่ตระกูลใหญ่ในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือคือ ชุยแห่งชิงเหอ หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และหวางแห่งไท่หยวน

    แต่อย่างที่ Storyฯ กล่าวไว้สัปดาห์ที่แล้ว พอมาถึงราชวงศ์ถังมีการพูดถึง ‘ห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย’ (五姓七族 หรือ 五姓七望) ซึ่งรวมถึงตระกูลหวาง แต่บ้างว่าเป็นสายไท่หยวน บ้างว่าเป็นสายหลางหยา

    เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนต้องเคยได้ยินชื่อตระกูลหวางสายหลางหยานี้จากละครและนิยายหลายเรื่อง (เช่นตัวอย่างจากละครเรื่อง <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์>) และคง ‘เอ๊ะ’ ว่าต่างกันอย่างไร

    หลังจากไปทำการบ้านมา Storyฯ พบว่าข้อมูลค่อนข้างสับสนและมีความขัดแย้งกันตรงที่ว่า มีหลายการวิเคราะห์บอกว่าทั้งสองสายนี้คือสายเดียวกัน แต่ก็มีบ้างที่พยายามจะจำแนกแยกจากกันให้ชัด แต่ Storyฯ คิดว่าเราคงไม่ได้ต้องการมาลำดับพงศาวลีของเขากัน เลยสรุปให้ฟังพอหอมปากหอมคอดังนี้ค่ะ

    ทั้งสองสายของตระกูลหวางนี้มีรากเหง้าเดียวกันคือสืบเชื้อสายมาจากองค์ชายรัชทายาทจิ้นหรือ ‘หวางจื่อจิ้น’ แห่งราชวงศ์โจวตะวันออก (ประมาณปี 576-546 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งภายหลังจากถูกริบฐานันดรศักดิ์ได้ใช้สกุลหวาง ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฉินมีทายาทของสายนี้คือแม่ทัพ ‘หวางหลี’ ที่โด่งดัง สายไท่หยวนมาจากลูกชายคนโตของแม่ทัพหวางหลีนี้ และสายหลางหยามาจากลูกชายคนรองซึ่งในตอนกลียุคช่วงปลายฉินได้ย้ายไปตั้งรกรากอยู่ที่เขตการปกครองหลางหยาจวิ้น และเนื่องจากต้นตอของคนที่ใช้สกุลหวางมีมากกว่าสายหวางจื่อจิ้นนี้ ดังนั้นในสมัยราชวงศ์ถังมีการกล่าวถึง ‘ชนรุ่นหลังของหวางจื่อจิ้น’ ทำให้ตีความได้ว่าในยุคนั้นมองทั้งสายไท่หยวนและสายหลางหยาเป็นก๊วนเดียวกัน

    ห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายในสมัยถังมีใครบ้าง?

    นอกจากหวางแห่งหลางหยา/ไท่หยวน ก็มีสื้อเจียจากสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือคือ ชุยแห่งชิงเหอ หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และมีเพิ่มเติมมาคือ ชุยแห่งป๋อหลิง (博陵崔氏) หลี่แห่งหลงซี (陇西李氏) หลี่แห่งเจ้าจวิ้น (赵郡李氏)

    ตระกูลชุยสายป๋อหลิงแม้ไม่เรืองอำนาจเท่าสายชิงเหอในสมัยเว่ยเหนือแต่ก็จัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่ง ‘สายแข็ง’ ของตระกูลชุย ฐานอำนาจเข้มแข็งขึ้นในสมัยราชวงศ์โจวเหนือ (ปีค.ศ. 557 – 581) พื้นเพเดิมมาจากทางเหนือแต่เป็นสายที่ปกครองพื้นที่อันผิงและแตกสกุลมาจากสกุลเจียงเหมือนกัน

    ส่วนตระกูลหลี่ทั้งสองสายนั้นมีต้นตระกูลที่มีชื่อเสียงมาแล้วหลายร้อยปีเช่นกัน มีผลงานโดดเด่นในการช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) ในรัชสมัยขององค์ถังไท่จงหรือหลี่ซื่อหมิน (ค.ศ. 626-649) ทรงเห็นว่าขุนนางใหญ่ให้ความสำคัญกับการแต่งงานในสื้อเจียด้วยกันจนถึงขนาดปฏิเสธที่จะแต่งงานกับองค์หญิงองค์ชาย และทรงมองว่าราชสกุลหลี่ไม่ควรน้อยหน้า จึงได้โปรดเกล้าให้จัดทำลำดับตระกูลขึ้นใหม่ในบันทึก ‘ซื่อจู๋จื้อ” (氏族志) โดยให้ตระกูลหลี่แห่งหลงซีขึ้นรั้งลำดับแรก

    ต่อมาในรัชสมัยองค์ถังเกาจง (ค.ศ. 649-683) ทรงบัญญัติห้ามคนในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายนี้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้ฐานอำนาจของเหล่าขุนนางมีมากเกินไป (หมายเหตุ บ้างก็เรียกเป็น ‘เจ็ดสกุลสิบเชื้อสาย’ เนื่องจากมีการระบุรายนามข้าราชการระดับสูงทั้งหมดสิบคน แต่จริงๆ แล้วล้วนเป็นเชื้อสายของห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายที่กล่าวถึงข้างต้น)

    แน่นอนว่าในยุคสมัยต่างๆ อาจมีการจัดอันดับ Top 4 หรือ Top 5 ที่แตกต่างกันไปบ้าง ตระกูลอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงและถูกเรียกรวมเป็นสื้อเจียยังมีอีก เช่น เซียว เซี่ย เป็นต้น

    จบเรื่องราวของตระกูลสื้อเจียแต่เพียงเท่านี้ เพื่อนๆ ที่ดูละครสมัยราชวงศ์ถังหรือก่อนหน้านั้น ลองสังเกตหาสกุลเหล่านี้ดูนะคะว่าเขาพยายามชิงอำนาจหรือรวมพลังกันอย่างไร

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.zhuijudashi.com/guocanju/shangyangfu/
    https://www.jiapu.tv/tuteng/056/. https://3g.jiapu.tv/tuteng/001/, https://3g.jiapu.tv/tuteng/052/, https://www.jiapu.tv/tuteng/002/, https://www.jiapu.tv/tuteng/021/

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.samrugs.com/shijiezhizui/zhongguo/60003.html
    https://kknews.cc/other/5o6qb9l.html
    https://baike.baidu.com/item/七姓十家/10749857
    https://baike.baidu.com/item/五姓七族/5225652
    https://baike.baidu.com/item/博陵崔氏/6585465
    http://www.zhuda6.com/new/a29ad5c1eb7d44dc89bd3c263112c1b2.html

    #ซ่างหยาง #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #ตระกูลหลู #สกุลหลู #ตระกูลเจิ้ง #สกุลเจิ้ง #ตระกูลหวาง #สกุลหวาง #ตระกูลหลี่ #สกุลหลี่ #สื้อเจีย #ห้าสกุลราชวงศ์ถัง #ห้าสกุลราชวงศ์เว่ย
    วันนี้คุยกันต่อเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจหรือที่เรียกรวมว่า ‘สื้อเจีย’ (世家) ซึ่งอยู่ยงคงกระพันคู่กับจีนโบราณเป็นร้อยเป็นพันปี ก่อนหน้านี้เล่าว่า สี่ตระกูลใหญ่ในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือคือ ชุยแห่งชิงเหอ หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และหวางแห่งไท่หยวน แต่อย่างที่ Storyฯ กล่าวไว้สัปดาห์ที่แล้ว พอมาถึงราชวงศ์ถังมีการพูดถึง ‘ห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย’ (五姓七族 หรือ 五姓七望) ซึ่งรวมถึงตระกูลหวาง แต่บ้างว่าเป็นสายไท่หยวน บ้างว่าเป็นสายหลางหยา เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนต้องเคยได้ยินชื่อตระกูลหวางสายหลางหยานี้จากละครและนิยายหลายเรื่อง (เช่นตัวอย่างจากละครเรื่อง <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์>) และคง ‘เอ๊ะ’ ว่าต่างกันอย่างไร หลังจากไปทำการบ้านมา Storyฯ พบว่าข้อมูลค่อนข้างสับสนและมีความขัดแย้งกันตรงที่ว่า มีหลายการวิเคราะห์บอกว่าทั้งสองสายนี้คือสายเดียวกัน แต่ก็มีบ้างที่พยายามจะจำแนกแยกจากกันให้ชัด แต่ Storyฯ คิดว่าเราคงไม่ได้ต้องการมาลำดับพงศาวลีของเขากัน เลยสรุปให้ฟังพอหอมปากหอมคอดังนี้ค่ะ ทั้งสองสายของตระกูลหวางนี้มีรากเหง้าเดียวกันคือสืบเชื้อสายมาจากองค์ชายรัชทายาทจิ้นหรือ ‘หวางจื่อจิ้น’ แห่งราชวงศ์โจวตะวันออก (ประมาณปี 576-546 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งภายหลังจากถูกริบฐานันดรศักดิ์ได้ใช้สกุลหวาง ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฉินมีทายาทของสายนี้คือแม่ทัพ ‘หวางหลี’ ที่โด่งดัง สายไท่หยวนมาจากลูกชายคนโตของแม่ทัพหวางหลีนี้ และสายหลางหยามาจากลูกชายคนรองซึ่งในตอนกลียุคช่วงปลายฉินได้ย้ายไปตั้งรกรากอยู่ที่เขตการปกครองหลางหยาจวิ้น และเนื่องจากต้นตอของคนที่ใช้สกุลหวางมีมากกว่าสายหวางจื่อจิ้นนี้ ดังนั้นในสมัยราชวงศ์ถังมีการกล่าวถึง ‘ชนรุ่นหลังของหวางจื่อจิ้น’ ทำให้ตีความได้ว่าในยุคนั้นมองทั้งสายไท่หยวนและสายหลางหยาเป็นก๊วนเดียวกัน ห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายในสมัยถังมีใครบ้าง? นอกจากหวางแห่งหลางหยา/ไท่หยวน ก็มีสื้อเจียจากสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือคือ ชุยแห่งชิงเหอ หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และมีเพิ่มเติมมาคือ ชุยแห่งป๋อหลิง (博陵崔氏) หลี่แห่งหลงซี (陇西李氏) หลี่แห่งเจ้าจวิ้น (赵郡李氏) ตระกูลชุยสายป๋อหลิงแม้ไม่เรืองอำนาจเท่าสายชิงเหอในสมัยเว่ยเหนือแต่ก็จัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่ง ‘สายแข็ง’ ของตระกูลชุย ฐานอำนาจเข้มแข็งขึ้นในสมัยราชวงศ์โจวเหนือ (ปีค.ศ. 557 – 581) พื้นเพเดิมมาจากทางเหนือแต่เป็นสายที่ปกครองพื้นที่อันผิงและแตกสกุลมาจากสกุลเจียงเหมือนกัน ส่วนตระกูลหลี่ทั้งสองสายนั้นมีต้นตระกูลที่มีชื่อเสียงมาแล้วหลายร้อยปีเช่นกัน มีผลงานโดดเด่นในการช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) ในรัชสมัยขององค์ถังไท่จงหรือหลี่ซื่อหมิน (ค.ศ. 626-649) ทรงเห็นว่าขุนนางใหญ่ให้ความสำคัญกับการแต่งงานในสื้อเจียด้วยกันจนถึงขนาดปฏิเสธที่จะแต่งงานกับองค์หญิงองค์ชาย และทรงมองว่าราชสกุลหลี่ไม่ควรน้อยหน้า จึงได้โปรดเกล้าให้จัดทำลำดับตระกูลขึ้นใหม่ในบันทึก ‘ซื่อจู๋จื้อ” (氏族志) โดยให้ตระกูลหลี่แห่งหลงซีขึ้นรั้งลำดับแรก ต่อมาในรัชสมัยองค์ถังเกาจง (ค.ศ. 649-683) ทรงบัญญัติห้ามคนในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายนี้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้ฐานอำนาจของเหล่าขุนนางมีมากเกินไป (หมายเหตุ บ้างก็เรียกเป็น ‘เจ็ดสกุลสิบเชื้อสาย’ เนื่องจากมีการระบุรายนามข้าราชการระดับสูงทั้งหมดสิบคน แต่จริงๆ แล้วล้วนเป็นเชื้อสายของห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายที่กล่าวถึงข้างต้น) แน่นอนว่าในยุคสมัยต่างๆ อาจมีการจัดอันดับ Top 4 หรือ Top 5 ที่แตกต่างกันไปบ้าง ตระกูลอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงและถูกเรียกรวมเป็นสื้อเจียยังมีอีก เช่น เซียว เซี่ย เป็นต้น จบเรื่องราวของตระกูลสื้อเจียแต่เพียงเท่านี้ เพื่อนๆ ที่ดูละครสมัยราชวงศ์ถังหรือก่อนหน้านั้น ลองสังเกตหาสกุลเหล่านี้ดูนะคะว่าเขาพยายามชิงอำนาจหรือรวมพลังกันอย่างไร (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.zhuijudashi.com/guocanju/shangyangfu/ https://www.jiapu.tv/tuteng/056/. https://3g.jiapu.tv/tuteng/001/, https://3g.jiapu.tv/tuteng/052/, https://www.jiapu.tv/tuteng/002/, https://www.jiapu.tv/tuteng/021/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.samrugs.com/shijiezhizui/zhongguo/60003.html https://kknews.cc/other/5o6qb9l.html https://baike.baidu.com/item/七姓十家/10749857 https://baike.baidu.com/item/五姓七族/5225652 https://baike.baidu.com/item/博陵崔氏/6585465 http://www.zhuda6.com/new/a29ad5c1eb7d44dc89bd3c263112c1b2.html #ซ่างหยาง #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #ตระกูลหลู #สกุลหลู #ตระกูลเจิ้ง #สกุลเจิ้ง #ตระกูลหวาง #สกุลหวาง #ตระกูลหลี่ #สกุลหลี่ #สื้อเจีย #ห้าสกุลราชวงศ์ถัง #ห้าสกุลราชวงศ์เว่ย
    1 Comments 0 Shares 385 Views 0 Reviews
  • วันนี้กลับมาคุยกันต่อกับเรื่องราวที่ Storyฯ เห็นจากละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ในตอนที่มีการรับลูกนอกสมรสกลับเข้าตระกูล

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ถึงกาลมงคล พิธีรับเข้าตระกูลของตระกูลสวี อัญเชิญหนังสือตระกูล” เสียงประกาศเริ่มพิธีดังขึ้น สวีลิ่งเซวียนคุกเข่าลงต่อหน้าป้ายบูชาบรรพบุรุษแล้วกล่าว “สวีซื่อเจี้ย เดิมเป็นบุตรที่ร่อนเร่อาศัยอยู่ข้างนอกของตระกูลเรา ตอนนี้รับกลับเข้าตระกูลเป็นบุตรของสวีลิ่งอัน ขอบรรพบุรุษปกป้องลูกหลานสกุลสวี”...
    - ถอดบทสนทนาจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> (ตามซับไทยเลยจ้า)

    ในละครข้างต้น ก่อนจะมาถึงพิธีการนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงความคิดของตัวละครต่างๆ ที่ถกกันว่าจะรับเด็กมาเป็นลูกใครดี? ความเดิมของบทสนทนาในภาษาจีนคือ “จะบันทึกชื่อเด็กคนนี้ใต้ชื่อใคร?” ซึ่งการคุยในลักษณะนี้เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญของหนังสือตระกูล วันนี้เลยมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับหนังสือตระกูลหรือที่เรียกว่า ‘เจียผู่’ (家谱) หรือ ‘จู๋ผู่’ (族谱) นี้

    การบันทึกข้อมูลในเจียผู่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ย และเนื่องจากสมัยนั้นมีการแตกสกุลมาจากเชื้อพระวงศ์เป็นจำนวนมาก ทางการจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลและปรับปรุงเจียผู่ของตระกูลเหล่านั้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือบันทึกสายสกุลเพื่อประโยชน์ในการคัดสรรและแต่งตั้งขุนนาง ต่อมาเมื่อผ่านพ้นราชวงศ์ถัง ข้อมูลเหล่านี้สูญหายไปในสงครามเสียเป็นส่วนใหญ่ และการเข้ารับราชการก็ดำเนินการผ่านการสอบราชบัณฑิต อีกทั้งอำนาจของเหล่าสื้อเจียตระกูลขุนนางก็เสื่อมลง ทางการจึงไม่ได้เข้ามายุ่งเรื่องการทำเจียผู่อีก ดังนั้นนับแต่สมัยซ่งมา เจียผู่ส่วนใหญ่ถูกจัดทำขึ้นมาใหม่และอยู่ในการดูแลของคนในตระกูลเอง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนเกี่ยวกับสื้อเจียไปแล้ว หาอ่านย้อนหลังนะคะ)

    เพื่อนเพจอาจนึกภาพว่าเจียผู่เป็นพงศาวลีหรือผังลำดับญาติ แต่คนที่เคยลองวาดผังแบบนี้จะรู้ว่า หากจะวาดให้ดีต้องรู้ว่าควรเผื่อเนื้อที่ตรงไหนอย่างไร แต่เจียผู่เป็นบันทึกจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นการบันทึกจริงๆ คือเขียนข้อมูลเติมไปแต่ละรุ่น (ดูตัวอย่างตามรูปประกอบ หน้านี้บันทึกการสืบเชื้อสายของบุตรชายคนโต) หากมีการวาดผังลำดับญาติโดยปกติจะวาดเพียง 5 รุ่นแล้วก็ขึ้นผังใหม่

    แล้วเจียผู่บันทึกอะไรบ้าง?

    ก่อนอื่นคือต้องมีการเขียน ‘ขอบเขต’ - ใครเป็นต้นตระกูล? เราเป็นสายใดของตระกูล? ตราสัญลักษณ์ของตระกูล (ถ้ามี) ภูมิลำเนาเดิม ประวัติของสกุล ที่ตั้งและแผนผังของวัดบรรพบุรุษ เป็นต้น

    จากนั้นก็เป็นบันทึกเกี่ยวกับคนในแต่ละรุ่น ซึ่งจะระบุว่าเป็นรุ่นที่เท่าไหร่ ลำดับในรุ่น ชื่อ วันเดือนปีเกิดและตาย สรุปชีวประวัติ ลักษณะเด่นหรือวีรกรรมโดยคร่าว (เช่น เคยไปรบชนะสร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูลในศึกไหน?) บรรดาศักดิ์หรือรางวัลเกียรติยศที่เคยได้รับ ชื่อคู่สมรสและบุตรชาย ฯลฯ ในบางเจียผู่จะมีการกล่าวถึงสินทรัพย์อันเป็นมรดกตกทอดของตระกูล เช่น ที่ตั้งและขนาดของที่ดินและอาคารบ้านเรือน และการบริหารสินทรัพย์ ฯลฯ

    แต่... ไม่ใช่บุตรและภรรยาทุกคนจะได้รับการบันทึกชื่อลงในเจียผู่ ใครบ้างที่ไม่มีชื่อ?
    1. ลูกสาว – ในวัฒนธรรมจีนโบราณ ลูกสาวเมื่อแต่งงานออกไปก็ถือว่าเป็นคนของครอบครัวอื่น จึงไม่มีการบันทึกชื่อลูกสาวในเจียผู่ของตัวเอง ลูกสาวที่แต่งออกไปก็จะไปมีชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามี (แต่จากตัวอย่างที่ Storyฯ เห็น จะบันทึกเพียงสกุลเดิมไม่มีชื่อ เช่น นางสกุลหลี่) ธรรมเนียมนี้มีมาจนถึงสมัยจีนยุคใหม่ (หลังราชวงศ์ชิง) จึงมีการใส่ชื่อลูกสาวเข้าไป
    2. อนุภรรยา – สตรีที่แต่งงานไปจะถูกบันทึกชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามีเฉพาะคนที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น คนที่เป็นอนุจะไม่มีการบันทึกถึง ยกเว้นในกรณีที่ต่อมาบุตรชายของนางมีคุณงามความชอบอย่างโดดเด่น สร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูล จึงจะมีการแก้ไขเอาชื่อของเขาเข้าเจียผู่และจะมีการบันทึกชื่อผู้เป็นมารดาด้วย (ป.ล. หากเพื่อนเพจได้ดูละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> ในฉากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าสตรีที่เข้าร่วมพิธีที่เกี่ยวกับหนังสือตระกูลนั้น มีเพียงสะใภ้ที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น)
    3. ลูกอนุ - สายของอนุทั้งสายจะไม่ได้ลงบันทึกไว้ เว้นแต่กรณีที่กล่าวมาข้างต้นว่ามีการแก้ไขบันทึกย้อนหลัง

    เห็นแล้วก็พอจะเข้าใจถึงหัวอกของบรรดาอนุและลูกอนุ เราจึงเห็นเรื่องราวในนิยายและละครจีนโบราณไม่น้อยที่มีปูมหลังมาจากความน้อยเนื้อต่ำใจหรือความทะเยอทะยานของเหล่าอนุและลูกอนุทั้งหลาย Storyฯ เชื่อว่าเพื่อนเพจเข้าใจในบริบทนี้แล้วจะดูละคร/อ่านนิยายจีนโบราณได้มีอรรถรสยิ่งขึ้นค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/452104168_114988
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.52lishi.com/article/65523.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/30411974
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/54546409
    https://www.163.com/dy/article/H14J0MG10552QJB7.html

    #ร้อยรักปักดวงใจ #เจียผู่ #จู๋ผู่ #หนังสือตระกูล #บันทึกตระกูลจีนโบราณ #พงศาวลีจีนโบราณ
    วันนี้กลับมาคุยกันต่อกับเรื่องราวที่ Storyฯ เห็นจากละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ในตอนที่มีการรับลูกนอกสมรสกลับเข้าตระกูล ความมีอยู่ว่า ... “ถึงกาลมงคล พิธีรับเข้าตระกูลของตระกูลสวี อัญเชิญหนังสือตระกูล” เสียงประกาศเริ่มพิธีดังขึ้น สวีลิ่งเซวียนคุกเข่าลงต่อหน้าป้ายบูชาบรรพบุรุษแล้วกล่าว “สวีซื่อเจี้ย เดิมเป็นบุตรที่ร่อนเร่อาศัยอยู่ข้างนอกของตระกูลเรา ตอนนี้รับกลับเข้าตระกูลเป็นบุตรของสวีลิ่งอัน ขอบรรพบุรุษปกป้องลูกหลานสกุลสวี”... - ถอดบทสนทนาจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> (ตามซับไทยเลยจ้า) ในละครข้างต้น ก่อนจะมาถึงพิธีการนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงความคิดของตัวละครต่างๆ ที่ถกกันว่าจะรับเด็กมาเป็นลูกใครดี? ความเดิมของบทสนทนาในภาษาจีนคือ “จะบันทึกชื่อเด็กคนนี้ใต้ชื่อใคร?” ซึ่งการคุยในลักษณะนี้เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญของหนังสือตระกูล วันนี้เลยมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับหนังสือตระกูลหรือที่เรียกว่า ‘เจียผู่’ (家谱) หรือ ‘จู๋ผู่’ (族谱) นี้ การบันทึกข้อมูลในเจียผู่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ย และเนื่องจากสมัยนั้นมีการแตกสกุลมาจากเชื้อพระวงศ์เป็นจำนวนมาก ทางการจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลและปรับปรุงเจียผู่ของตระกูลเหล่านั้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือบันทึกสายสกุลเพื่อประโยชน์ในการคัดสรรและแต่งตั้งขุนนาง ต่อมาเมื่อผ่านพ้นราชวงศ์ถัง ข้อมูลเหล่านี้สูญหายไปในสงครามเสียเป็นส่วนใหญ่ และการเข้ารับราชการก็ดำเนินการผ่านการสอบราชบัณฑิต อีกทั้งอำนาจของเหล่าสื้อเจียตระกูลขุนนางก็เสื่อมลง ทางการจึงไม่ได้เข้ามายุ่งเรื่องการทำเจียผู่อีก ดังนั้นนับแต่สมัยซ่งมา เจียผู่ส่วนใหญ่ถูกจัดทำขึ้นมาใหม่และอยู่ในการดูแลของคนในตระกูลเอง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนเกี่ยวกับสื้อเจียไปแล้ว หาอ่านย้อนหลังนะคะ) เพื่อนเพจอาจนึกภาพว่าเจียผู่เป็นพงศาวลีหรือผังลำดับญาติ แต่คนที่เคยลองวาดผังแบบนี้จะรู้ว่า หากจะวาดให้ดีต้องรู้ว่าควรเผื่อเนื้อที่ตรงไหนอย่างไร แต่เจียผู่เป็นบันทึกจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นการบันทึกจริงๆ คือเขียนข้อมูลเติมไปแต่ละรุ่น (ดูตัวอย่างตามรูปประกอบ หน้านี้บันทึกการสืบเชื้อสายของบุตรชายคนโต) หากมีการวาดผังลำดับญาติโดยปกติจะวาดเพียง 5 รุ่นแล้วก็ขึ้นผังใหม่ แล้วเจียผู่บันทึกอะไรบ้าง? ก่อนอื่นคือต้องมีการเขียน ‘ขอบเขต’ - ใครเป็นต้นตระกูล? เราเป็นสายใดของตระกูล? ตราสัญลักษณ์ของตระกูล (ถ้ามี) ภูมิลำเนาเดิม ประวัติของสกุล ที่ตั้งและแผนผังของวัดบรรพบุรุษ เป็นต้น จากนั้นก็เป็นบันทึกเกี่ยวกับคนในแต่ละรุ่น ซึ่งจะระบุว่าเป็นรุ่นที่เท่าไหร่ ลำดับในรุ่น ชื่อ วันเดือนปีเกิดและตาย สรุปชีวประวัติ ลักษณะเด่นหรือวีรกรรมโดยคร่าว (เช่น เคยไปรบชนะสร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูลในศึกไหน?) บรรดาศักดิ์หรือรางวัลเกียรติยศที่เคยได้รับ ชื่อคู่สมรสและบุตรชาย ฯลฯ ในบางเจียผู่จะมีการกล่าวถึงสินทรัพย์อันเป็นมรดกตกทอดของตระกูล เช่น ที่ตั้งและขนาดของที่ดินและอาคารบ้านเรือน และการบริหารสินทรัพย์ ฯลฯ แต่... ไม่ใช่บุตรและภรรยาทุกคนจะได้รับการบันทึกชื่อลงในเจียผู่ ใครบ้างที่ไม่มีชื่อ? 1. ลูกสาว – ในวัฒนธรรมจีนโบราณ ลูกสาวเมื่อแต่งงานออกไปก็ถือว่าเป็นคนของครอบครัวอื่น จึงไม่มีการบันทึกชื่อลูกสาวในเจียผู่ของตัวเอง ลูกสาวที่แต่งออกไปก็จะไปมีชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามี (แต่จากตัวอย่างที่ Storyฯ เห็น จะบันทึกเพียงสกุลเดิมไม่มีชื่อ เช่น นางสกุลหลี่) ธรรมเนียมนี้มีมาจนถึงสมัยจีนยุคใหม่ (หลังราชวงศ์ชิง) จึงมีการใส่ชื่อลูกสาวเข้าไป 2. อนุภรรยา – สตรีที่แต่งงานไปจะถูกบันทึกชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามีเฉพาะคนที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น คนที่เป็นอนุจะไม่มีการบันทึกถึง ยกเว้นในกรณีที่ต่อมาบุตรชายของนางมีคุณงามความชอบอย่างโดดเด่น สร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูล จึงจะมีการแก้ไขเอาชื่อของเขาเข้าเจียผู่และจะมีการบันทึกชื่อผู้เป็นมารดาด้วย (ป.ล. หากเพื่อนเพจได้ดูละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> ในฉากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าสตรีที่เข้าร่วมพิธีที่เกี่ยวกับหนังสือตระกูลนั้น มีเพียงสะใภ้ที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น) 3. ลูกอนุ - สายของอนุทั้งสายจะไม่ได้ลงบันทึกไว้ เว้นแต่กรณีที่กล่าวมาข้างต้นว่ามีการแก้ไขบันทึกย้อนหลัง เห็นแล้วก็พอจะเข้าใจถึงหัวอกของบรรดาอนุและลูกอนุ เราจึงเห็นเรื่องราวในนิยายและละครจีนโบราณไม่น้อยที่มีปูมหลังมาจากความน้อยเนื้อต่ำใจหรือความทะเยอทะยานของเหล่าอนุและลูกอนุทั้งหลาย Storyฯ เชื่อว่าเพื่อนเพจเข้าใจในบริบทนี้แล้วจะดูละคร/อ่านนิยายจีนโบราณได้มีอรรถรสยิ่งขึ้นค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/452104168_114988 https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.52lishi.com/article/65523.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/30411974 https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773 https://zhuanlan.zhihu.com/p/54546409 https://www.163.com/dy/article/H14J0MG10552QJB7.html #ร้อยรักปักดวงใจ #เจียผู่ #จู๋ผู่ #หนังสือตระกูล #บันทึกตระกูลจีนโบราณ #พงศาวลีจีนโบราณ
    WWW.SOHU.COM
    钟汉良谭松韵领衔主演《锦心似玉》定档2月26日_荻雁
    新京报讯 2月23日,钟汉良、谭松韵领衔主演的电视剧《锦心似玉》宣布定档。该剧将于2月26日起在腾讯视频全网独播,周五至周三连续六天,每日20点更新2集;3月1日起每周一、二、三20点更新2集,会员抢先看。 …
    1 Comments 0 Shares 523 Views 0 Reviews
  • แฟนละคร/นิยายจีนคงคุ้นเคยดีกับโครงเรื่องที่มีการชิงอำนาจทางการเมืองด้วยการจัดให้มีการแต่งงานระหว่างตระกูลดังกับเชื้อพระวงศ์ จนเกิดเป็นแรงกดดันมหาศาลให้กับตัวละครเอก บางคนอาจเคยบ่นว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’

    วันนี้ Storyฯ ยกตัวอย่างมาคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจ (เรียกรวมว่า สื้อเจีย / 世家)
    เป็นหนึ่งในตระกูลที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์ตอนต้นและกลางของจีนโบราณก็ว่าได้

    ความมีอยู่ว่า
    ....ตระกูลชุยจากชิงเหอรุ่นนี้ สายหลักของตระกูลมีนางเป็นบุตรีโทนแต่เพียงผู้เดียว ... และตระกูลชุยกำลังรุ่งเรือง นางยังอยู่ในท้องของมารดาก็ได้รับการหมั้นหมายให้กับองค์ชายรัชทายาทแล้ว....
    - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ชิงเหอคือพื้นที่ทางด้านเหนือของจีน (แถบเหอหนาน เหอเป่ยและซานตง) ในสมัยจีนตอนต้นมีสถานะเป็นแคว้นบ้างหรือรองลงมาเป็นจวิ้น (郡) บ้าง ซึ่งนับเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ มีหลายตระกูลดังในประวัติศาตร์จีนที่มาจากพื้นที่แถบนี้ หนึ่งในนั้นคือตระกูลชุย

    ตระกูลชุยมีรากฐานยาวนานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและรวมถึงชาวเผ่าพันธุ์อื่นที่หันมาใช้สกุลนี้ รับราชการในตำแหน่งสำคัญมาหลายยุคสมัย แตกมาเป็นสายที่เรียกว่า ‘ตระกูลชุยจากชิงเหอ’ ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) เมื่อชุยเหลียง (ทายาทรุ่นที่ 7) ได้รับการอวยยศเป็นโหวและได้รับพระราชทานเขตการปกครองชิงเหอนี้ และต่อมาตระกูลชุยจากชิงเหอมีแตกสายย่อยไปอีกรวมเป็นหกสาย

    ตระกูลชุยจากชิงเหอที่กล่าวถึงในละครข้างต้น ‘ไม่ธรรมดา’ แค่ไหน?

    ตระกูลชุยจากชิงเหอรับราชการระดับสูงต่อเนื่อง ผ่านร้อนผ่านหนาวแต่อยู่ยงคงกระพันมากว่า 700 ปี ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ในบรรดาสี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) และในสมัยราชวงศ์ถังก็เป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) อันเป็นตระกูลชั้นสูงที่ต่อมาถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างฐานอำนาจมากเกินไป

    มีคนจากตระกูลชุยจากชิงเหอนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) หรือตำแหน่งที่สูงคล้ายกันมากมายหลายรุ่น เฉพาะในสมัยราชวงศ์ถังที่ยาวนานเกือบสามร้อยปีก็มีถึง 12 คน (ถ้ารวมตระกูลชุยสายอื่นมีอีก 10 คน) มีจอหงวน 11 คน ยังไม่รวมที่รับราชการในตำแหน่งอื่น ที่กุมอำนาจทางการทหาร ที่เป็นผู้นำทางความคิด (นักปราชญ์ กวีชื่อดัง) และที่เป็นลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังในตำแหน่งต่างๆ อีกจำนวนไม่น้อย จวบจนสมัยซ่งใต้ ฐานอำนาจของตระกูลนี้จึงเสื่อมจางลงเหมือนกับตระกูลสื้อเจียอื่นๆ

    ทำไมต้องพูดถึงตระกูลชุยจากชิงเหอ? Storyฯ เล่าเป็นตัวอย่างของเหล่าตระกูลสื้อเจียค่ะ จากที่เคยคิดว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ แต่พอมาเห็นรากฐานของตระกูลสื้อเจียเหล่านี้ เราจะได้อรรถรสเลยว่า ‘ฐานอำนาจ’ ที่เขาพูดถึงกันนั้น มันหยั่งรากลึกแค่ไหน? เหตุใดตัวละครเอกมักรู้สึกถูกกดดันมากมาย? และเพราะเหตุใดมันจึงฝังรากลึกในวัฒนธรรมจีนโบราณ? เพราะมันไม่ใช่เรื่องของหนึ่งหรือสองชั่วอายุคน แต่เรากำลังพูดถึงฐานอำนาจหลายร้อยปีที่แทรกซึมเข้าไปในสังคมโดยมีประมุขใหญ่ของตระกูลในแต่ละรุ่นเป็นแกนนำสำคัญ

    Storyฯ หวังว่าเพื่อนๆ จะดูละครได้อรรถรสยิ่งขึ้นนะคะ ใครเห็นบทบาทของคนในตระกูลชุยในละครเรื่องอื่นใดอีกหรือหากนึกถึงตระกูลอื่นที่คล้ายคลึงก็เม้นท์มาได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/484438060_121051662
    https://www.sohu.com/a/485012584_100151502
    https://www.sohu.com/a/489015136_120827444

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/FNSTJKT60543BK4H.html
    https://new.qq.com/omn/20211021/20211021A09WBQ00.html
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_16209361
    https://www.baike.com/wiki/清河崔氏
    https://zh.wikipedia.org/wiki/清河崔氏

    #กระดูกงดงาม #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #สื้อเจีย
    แฟนละคร/นิยายจีนคงคุ้นเคยดีกับโครงเรื่องที่มีการชิงอำนาจทางการเมืองด้วยการจัดให้มีการแต่งงานระหว่างตระกูลดังกับเชื้อพระวงศ์ จนเกิดเป็นแรงกดดันมหาศาลให้กับตัวละครเอก บางคนอาจเคยบ่นว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ วันนี้ Storyฯ ยกตัวอย่างมาคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจ (เรียกรวมว่า สื้อเจีย / 世家) เป็นหนึ่งในตระกูลที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์ตอนต้นและกลางของจีนโบราณก็ว่าได้ ความมีอยู่ว่า ....ตระกูลชุยจากชิงเหอรุ่นนี้ สายหลักของตระกูลมีนางเป็นบุตรีโทนแต่เพียงผู้เดียว ... และตระกูลชุยกำลังรุ่งเรือง นางยังอยู่ในท้องของมารดาก็ได้รับการหมั้นหมายให้กับองค์ชายรัชทายาทแล้ว.... - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) ชิงเหอคือพื้นที่ทางด้านเหนือของจีน (แถบเหอหนาน เหอเป่ยและซานตง) ในสมัยจีนตอนต้นมีสถานะเป็นแคว้นบ้างหรือรองลงมาเป็นจวิ้น (郡) บ้าง ซึ่งนับเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ มีหลายตระกูลดังในประวัติศาตร์จีนที่มาจากพื้นที่แถบนี้ หนึ่งในนั้นคือตระกูลชุย ตระกูลชุยมีรากฐานยาวนานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและรวมถึงชาวเผ่าพันธุ์อื่นที่หันมาใช้สกุลนี้ รับราชการในตำแหน่งสำคัญมาหลายยุคสมัย แตกมาเป็นสายที่เรียกว่า ‘ตระกูลชุยจากชิงเหอ’ ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) เมื่อชุยเหลียง (ทายาทรุ่นที่ 7) ได้รับการอวยยศเป็นโหวและได้รับพระราชทานเขตการปกครองชิงเหอนี้ และต่อมาตระกูลชุยจากชิงเหอมีแตกสายย่อยไปอีกรวมเป็นหกสาย ตระกูลชุยจากชิงเหอที่กล่าวถึงในละครข้างต้น ‘ไม่ธรรมดา’ แค่ไหน? ตระกูลชุยจากชิงเหอรับราชการระดับสูงต่อเนื่อง ผ่านร้อนผ่านหนาวแต่อยู่ยงคงกระพันมากว่า 700 ปี ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ในบรรดาสี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) และในสมัยราชวงศ์ถังก็เป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) อันเป็นตระกูลชั้นสูงที่ต่อมาถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างฐานอำนาจมากเกินไป มีคนจากตระกูลชุยจากชิงเหอนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) หรือตำแหน่งที่สูงคล้ายกันมากมายหลายรุ่น เฉพาะในสมัยราชวงศ์ถังที่ยาวนานเกือบสามร้อยปีก็มีถึง 12 คน (ถ้ารวมตระกูลชุยสายอื่นมีอีก 10 คน) มีจอหงวน 11 คน ยังไม่รวมที่รับราชการในตำแหน่งอื่น ที่กุมอำนาจทางการทหาร ที่เป็นผู้นำทางความคิด (นักปราชญ์ กวีชื่อดัง) และที่เป็นลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังในตำแหน่งต่างๆ อีกจำนวนไม่น้อย จวบจนสมัยซ่งใต้ ฐานอำนาจของตระกูลนี้จึงเสื่อมจางลงเหมือนกับตระกูลสื้อเจียอื่นๆ ทำไมต้องพูดถึงตระกูลชุยจากชิงเหอ? Storyฯ เล่าเป็นตัวอย่างของเหล่าตระกูลสื้อเจียค่ะ จากที่เคยคิดว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ แต่พอมาเห็นรากฐานของตระกูลสื้อเจียเหล่านี้ เราจะได้อรรถรสเลยว่า ‘ฐานอำนาจ’ ที่เขาพูดถึงกันนั้น มันหยั่งรากลึกแค่ไหน? เหตุใดตัวละครเอกมักรู้สึกถูกกดดันมากมาย? และเพราะเหตุใดมันจึงฝังรากลึกในวัฒนธรรมจีนโบราณ? เพราะมันไม่ใช่เรื่องของหนึ่งหรือสองชั่วอายุคน แต่เรากำลังพูดถึงฐานอำนาจหลายร้อยปีที่แทรกซึมเข้าไปในสังคมโดยมีประมุขใหญ่ของตระกูลในแต่ละรุ่นเป็นแกนนำสำคัญ Storyฯ หวังว่าเพื่อนๆ จะดูละครได้อรรถรสยิ่งขึ้นนะคะ ใครเห็นบทบาทของคนในตระกูลชุยในละครเรื่องอื่นใดอีกหรือหากนึกถึงตระกูลอื่นที่คล้ายคลึงก็เม้นท์มาได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/484438060_121051662 https://www.sohu.com/a/485012584_100151502 https://www.sohu.com/a/489015136_120827444 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/FNSTJKT60543BK4H.html https://new.qq.com/omn/20211021/20211021A09WBQ00.html https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_16209361 https://www.baike.com/wiki/清河崔氏 https://zh.wikipedia.org/wiki/清河崔氏 #กระดูกงดงาม #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #สื้อเจีย
    0 Comments 0 Shares 911 Views 0 Reviews
  • หานเหมิน ตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <ทำนองรักกังวานแดนดิน> คงจำได้ว่ามีช่วงหนึ่งที่พระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่หรือที่เรียกว่า ‘หานเหมิน’ (寒门) จริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่นกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน ไว้ Storyฯ จะทยอยมาเล่าต่อ แต่ที่วันนี้จะคุยกันคือคำว่า ‘หานเหมิน’ นี้ปัจจุบันคำว่า ‘หานเหมิน’ หมายถึงคนที่มีฐานะยากจน (‘หาน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าหนาวมากแต่หมายถึงแร้นแค้นยากจน และ ‘เหมิน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าประตูแต่หมายถึงครอบครัวหรือตระกูล) และในหลายซีรีส์ที่มีการสอบราชบัณฑิตก็ดูจะสะท้อนถึงเหล่าบัณฑิตยากไร้ที่พยายามมาสอบเพื่อสร้างอนาคตให้กับตนเอง Storyฯ ไม่ได้ดูว่าละครซับไทยหรือพากย์ไทยแปลมันไว้ว่าอย่างไร แต่จริงๆ แล้ว ‘หานเหมิน’ ในบริบทจีนโบราณแรกเริ่มเลยไม่ได้หมายถึงคนจน เพราะคำว่า ‘เหมิน’ จะใช้เรียกตระกูลที่มีกำลังทรัพย์และอิทธิพลเท่านั้น ไม่ได้เรียกครอบครัวชาวบ้านธรรมดา เราลองมาดูกันสักสองตัวอย่างตัวอย่างแรกคือเผยเหวินเซวียน พระเอกจากเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> ที่ถูกองค์หญิงหลี่หรงเรียกว่ามาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งพื้นเพของเขาคือ มาจากตระกูลที่ไม่เคยมีรับตำแหน่งสูงเกินขั้นที่ห้า แต่ก็จัดเป็นตระกูลอยู่ดีกินดี (อนึ่ง ตำแหน่งขุนนางในอดีตเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดไปตามยุคสมัยแต่โดยกรอบใหญ่การแบ่งขุนนางส่วนกลางเป็นเก้าขั้น หรือ ‘จิ๋วผิ่น’ (九品) มีมายาวนานร่วมสองพันปี) จวบจนบิดาได้เป็นถึงแม่ทัพใหญ่นำพาให้คนในตระกูลมีโอกาสย้ายเข้ามารับราชการอยู่ในเมืองหลวงอีกตัวอย่างหนึ่งคือพานฉือจากเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ซึ่งไม่แน่ใจว่ามีรายละเอียดในซีรีส์มากน้อยแค่ไหน แต่ในบทนิยายเดิมพื้นเพของเขาคือมาจากครอบครัวข้าราชการมีหน้ามีตาระดับท้องถิ่น บิดาเป็นผู้บัญชาการทหารระดับสูง จัดเป็นตระกูลที่อยู่ดีกินดี แต่เขาอยากเห็นคนที่ไม่ได้มีอิทธิพลหนุนหลังสามารถฝ่าฟันอุปสรรคเข้าไปสู่ตำแหน่งขุนนางขั้นสูงของส่วนกลางได้โดยผ่านการสอบราชบัณฑิต เขาถูกเรียกว่ามาจาก ‘หานเหมิน’ เช่นกันจากสองตัวอย่างนี้ เพื่อนเพจคงพอเดาได้แล้วว่าความหมายดั้งเดิมของ ‘หานเหมิน’ หมายถึงตระกูลขุนนางที่อิทธิพลเสื่อมถอย ไม่ได้มีอำนาจผงาดอยู่ในราชสำนัก แต่ก็จัดเป็นตระกูลที่มีหน้ามีตาพอประมาณและมีอันจะกินพอที่ลูกหลานจะมีการศึกษาที่ดี ไม่ใช่คนยากจนสิ้นไร้ไม้ตอก หลายครั้งถูกมองว่าเป็นตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' หรือ Tier 2แล้วตระกูลขุนนาง 'ชั้นหนึ่ง' หรือ Tier 1 คืออะไร? คำตอบคือ ‘สื้อเจีย’ (世家) ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อนานมาแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/373292221465743 และ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/378258494302449) ซึ่งโดยสรุปคือหมายถึงตระกูลขุนนางระดับสูงอันเก่าแก่ คนในตระกูลรับตำแหน่งขุนนางระดับสูงถึงสูงที่สุดต่อเนื่องมาหลายชั่วอายุคน ตระกูลเหล่านี้มีอิทธิพลทางการเมืองสูง (และอิทธิพลทางสังคมด้านอื่นๆ ด้วย) และในสมัยโบราณตระกูลเหล่านี้สามารถยื่นฎีกาเสนอชื่อคนในตระกูลเข้ารับตำแหน่งขุนนางได้เลย ดังนั้นในสายตาของชาวสื้อเจียที่มียศอำนาจสูงมาตลอดแล้วนั้น คนจากหานเหมินจึงต่ำต้อยกว่าเพราะมีเพียงครั้งคราวที่มีโอกาสได้รับตำแหน่งใหญ่หรืออาจเป็นเพียงตระกูลที่ ‘เคยมี’ การสอบราชบัณฑิตจึงเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้มาจากตระกูลสื้อเจียสามารถเข้ามาช่วงชิงตำแหน่งทางการเมืองได้ผ่านความรู้ความสามารถของตน แต่แน่นอนว่าหนทางนี้ไม่ได้ง่าย อย่างที่เราเห็นในหลายซีรีส์ถึงความพยายามของเหล่ากลุ่มอำนาจที่จะพยายามดำรงไว้ซึ่งอำนาจ และ Storyฯ คิดว่าเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> สะท้อนประเด็นความขัดแย้งนี้ออกมาได้ดีมาก และองค์หญิงหลี่หรงเองเคยถกถึงข้อดีข้อเสียของการรับคนจากสื้อเจียบรรจุเข้าเป็นขุนนางโดยไม่ผ่านการสอบแข่งขันด้วยการสอบราชบัณฑิตได้รับการพัฒนาถึงขีดสุดในสมัยซ่งและในยุคสมัยนี้เองที่เหล่าสื้อเจียถูกริดรอนอำนาจจนเสื่อมหายไปในที่สุด เมื่อไม่มีสื้อเจียตระกูลขุนนางชั้นหนึ่งก็ไม่มีหานเหมินตระกูลขุนนางชั้นสอง และต่อมาคำว่า ‘หานเหมิน’ จึงถูกใช้เรียกคนยากจนสัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อถึงวลีจีนที่เหยียนซิ่นใช้ปลอบพานฉือที่กล่าวถึงในย่อหน้าแรกค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/249182333_100121516 https://www.163.com/dy/article/HQT63VVA05561H1M.html https://www.sohu.com/a/576151365_121252035 https://www.lishirenwu.com/jiangxianggushi/58427.html #ทำนองรักกังวานแดนดิน #องค์หญิงใหญ่ #หานเหมิน #สื้อเจีย #ตระกูลขุนนางจีน #สาระจีน
    หานเหมิน ตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <ทำนองรักกังวานแดนดิน> คงจำได้ว่ามีช่วงหนึ่งที่พระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่หรือที่เรียกว่า ‘หานเหมิน’ (寒门) จริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่นกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน ไว้ Storyฯ จะทยอยมาเล่าต่อ แต่ที่วันนี้จะคุยกันคือคำว่า ‘หานเหมิน’ นี้ปัจจุบันคำว่า ‘หานเหมิน’ หมายถึงคนที่มีฐานะยากจน (‘หาน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าหนาวมากแต่หมายถึงแร้นแค้นยากจน และ ‘เหมิน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าประตูแต่หมายถึงครอบครัวหรือตระกูล) และในหลายซีรีส์ที่มีการสอบราชบัณฑิตก็ดูจะสะท้อนถึงเหล่าบัณฑิตยากไร้ที่พยายามมาสอบเพื่อสร้างอนาคตให้กับตนเอง Storyฯ ไม่ได้ดูว่าละครซับไทยหรือพากย์ไทยแปลมันไว้ว่าอย่างไร แต่จริงๆ แล้ว ‘หานเหมิน’ ในบริบทจีนโบราณแรกเริ่มเลยไม่ได้หมายถึงคนจน เพราะคำว่า ‘เหมิน’ จะใช้เรียกตระกูลที่มีกำลังทรัพย์และอิทธิพลเท่านั้น ไม่ได้เรียกครอบครัวชาวบ้านธรรมดา เราลองมาดูกันสักสองตัวอย่างตัวอย่างแรกคือเผยเหวินเซวียน พระเอกจากเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> ที่ถูกองค์หญิงหลี่หรงเรียกว่ามาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งพื้นเพของเขาคือ มาจากตระกูลที่ไม่เคยมีรับตำแหน่งสูงเกินขั้นที่ห้า แต่ก็จัดเป็นตระกูลอยู่ดีกินดี (อนึ่ง ตำแหน่งขุนนางในอดีตเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดไปตามยุคสมัยแต่โดยกรอบใหญ่การแบ่งขุนนางส่วนกลางเป็นเก้าขั้น หรือ ‘จิ๋วผิ่น’ (九品) มีมายาวนานร่วมสองพันปี) จวบจนบิดาได้เป็นถึงแม่ทัพใหญ่นำพาให้คนในตระกูลมีโอกาสย้ายเข้ามารับราชการอยู่ในเมืองหลวงอีกตัวอย่างหนึ่งคือพานฉือจากเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ซึ่งไม่แน่ใจว่ามีรายละเอียดในซีรีส์มากน้อยแค่ไหน แต่ในบทนิยายเดิมพื้นเพของเขาคือมาจากครอบครัวข้าราชการมีหน้ามีตาระดับท้องถิ่น บิดาเป็นผู้บัญชาการทหารระดับสูง จัดเป็นตระกูลที่อยู่ดีกินดี แต่เขาอยากเห็นคนที่ไม่ได้มีอิทธิพลหนุนหลังสามารถฝ่าฟันอุปสรรคเข้าไปสู่ตำแหน่งขุนนางขั้นสูงของส่วนกลางได้โดยผ่านการสอบราชบัณฑิต เขาถูกเรียกว่ามาจาก ‘หานเหมิน’ เช่นกันจากสองตัวอย่างนี้ เพื่อนเพจคงพอเดาได้แล้วว่าความหมายดั้งเดิมของ ‘หานเหมิน’ หมายถึงตระกูลขุนนางที่อิทธิพลเสื่อมถอย ไม่ได้มีอำนาจผงาดอยู่ในราชสำนัก แต่ก็จัดเป็นตระกูลที่มีหน้ามีตาพอประมาณและมีอันจะกินพอที่ลูกหลานจะมีการศึกษาที่ดี ไม่ใช่คนยากจนสิ้นไร้ไม้ตอก หลายครั้งถูกมองว่าเป็นตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' หรือ Tier 2แล้วตระกูลขุนนาง 'ชั้นหนึ่ง' หรือ Tier 1 คืออะไร? คำตอบคือ ‘สื้อเจีย’ (世家) ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อนานมาแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/373292221465743 และ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/378258494302449) ซึ่งโดยสรุปคือหมายถึงตระกูลขุนนางระดับสูงอันเก่าแก่ คนในตระกูลรับตำแหน่งขุนนางระดับสูงถึงสูงที่สุดต่อเนื่องมาหลายชั่วอายุคน ตระกูลเหล่านี้มีอิทธิพลทางการเมืองสูง (และอิทธิพลทางสังคมด้านอื่นๆ ด้วย) และในสมัยโบราณตระกูลเหล่านี้สามารถยื่นฎีกาเสนอชื่อคนในตระกูลเข้ารับตำแหน่งขุนนางได้เลย ดังนั้นในสายตาของชาวสื้อเจียที่มียศอำนาจสูงมาตลอดแล้วนั้น คนจากหานเหมินจึงต่ำต้อยกว่าเพราะมีเพียงครั้งคราวที่มีโอกาสได้รับตำแหน่งใหญ่หรืออาจเป็นเพียงตระกูลที่ ‘เคยมี’ การสอบราชบัณฑิตจึงเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้มาจากตระกูลสื้อเจียสามารถเข้ามาช่วงชิงตำแหน่งทางการเมืองได้ผ่านความรู้ความสามารถของตน แต่แน่นอนว่าหนทางนี้ไม่ได้ง่าย อย่างที่เราเห็นในหลายซีรีส์ถึงความพยายามของเหล่ากลุ่มอำนาจที่จะพยายามดำรงไว้ซึ่งอำนาจ และ Storyฯ คิดว่าเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> สะท้อนประเด็นความขัดแย้งนี้ออกมาได้ดีมาก และองค์หญิงหลี่หรงเองเคยถกถึงข้อดีข้อเสียของการรับคนจากสื้อเจียบรรจุเข้าเป็นขุนนางโดยไม่ผ่านการสอบแข่งขันด้วยการสอบราชบัณฑิตได้รับการพัฒนาถึงขีดสุดในสมัยซ่งและในยุคสมัยนี้เองที่เหล่าสื้อเจียถูกริดรอนอำนาจจนเสื่อมหายไปในที่สุด เมื่อไม่มีสื้อเจียตระกูลขุนนางชั้นหนึ่งก็ไม่มีหานเหมินตระกูลขุนนางชั้นสอง และต่อมาคำว่า ‘หานเหมิน’ จึงถูกใช้เรียกคนยากจนสัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อถึงวลีจีนที่เหยียนซิ่นใช้ปลอบพานฉือที่กล่าวถึงในย่อหน้าแรกค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/249182333_100121516 https://www.163.com/dy/article/HQT63VVA05561H1M.html https://www.sohu.com/a/576151365_121252035 https://www.lishirenwu.com/jiangxianggushi/58427.html #ทำนองรักกังวานแดนดิน #องค์หญิงใหญ่ #หานเหมิน #สื้อเจีย #ตระกูลขุนนางจีน #สาระจีน
    0 Comments 0 Shares 1047 Views 0 Reviews