• สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน สัปดาห์ที่แล้วคุยกันไปประโยคหนึ่ง วันนี้มาคุยต่อ ซึ่งคือบทพูดยาวที่เหยียนซิ่งกล่าวว่า “ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน”(贵者虽自贵,视之若埃尘。贱者虽自贱,重之若千钧。) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)ทั้งนี้ ‘จวิน’ เป็นหน่วยวัดน้ำหนักในสมัยโบราณ เทียบเท่าประมาณสิบห้ากิโลกรัม และ ‘พันจวิน’ เป็นการอุปมาอุปมัยว่าน้ำหนักมากมีค่ามากยิ่งนักวลีสี่วรรคนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทกวีบทที่หกจากชุดบทกวีแปดบท ‘หยงสื่อปาโส่ว’ (咏史八首) ของจั่วซือ (ค.ศ. 250-305) นักประพันธ์เลื่องชื่อในสมัยจิ้นตะวันตกจั่วซือมาจากครอบครัวขุนนางเก่าแก่แต่บิดาไม่ได้มีตำแหน่งสูงนัก เรียกได้ว่าเป็นคนจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งก็คือครอบครัวขุนนางเก่าหรือขุนนางชั้นล่างที่ไม่มีอิทธิพลหรืออำนาจทางการเมือง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนอธิบายถึงหานเหมินไปแล้ว ลองย้อนอ่านทำความเข้าใจได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02irzPP9WVBtk8DXM6MFwphMu3ngFyjoz511zYfX8rWt8zHjHrFvk2ZwRiPXWuVWUal)ในช่วงที่จิ้นอู่ตี้ (ซือหม่าเหยียน ปฐมกษัตรย์แห่งราชวงศ์จิ้น) เกณฑ์สตรีจากครอบครัวขุนนางระดับกลางถึงระดับบนเข้าวังเป็นนางในเป็นจำนวนมากนั้น น้องสาวของจั่วซือก็ถูกเกณฑ์เข้าวังเป็นสนมเช่นกัน เขาเลยย้ายเข้าเมืองหลวงลั่วหยางพร้อมครอบครัวและพยายามหาหนทางเข้ารับราชการแต่ไม่ประสบความสำเร็จ และเขาพบว่ามีความฟอนเฟะในระบบราชการไม่น้อย ต่อมาเขาใช้เวลาสิบปีประพันธ์บทความที่เรียกว่า ‘ซานตูฟู่’ (三都赋/บทประพันธ์สามนคร) โดยยกตัวอย่างของแต่ละเมืองในบทความเพื่อสะท้อนแนวคิดและหลักการบริหารบ้านเมือง ต่อมาบทความนี้ได้รับการยอมรับอย่างมากมายจนในที่สุดจั่วซือได้เข้ารับราชการเป็นบรรณารักษ์แห่งหอพระสมุดว่ากันว่ากวีแปดบทนี้เป็นผลงานช่วงแรกที่เขาเข้ามาลั่วหยางและพบทางตันในการพยายามเป็นขุนนางจนรู้สึกท้อแท้และอัดอั้นตันใจ เป็นชุดบทกวีที่สะท้อนให้เห็นสภาวะทางสังคม อุดมการณ์อันยิ่งใหญ่และความคับแค้นใจของผู้ที่มาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ในยุคสมัยที่ไม่มีการสอบราชบัณฑิต โดยบทกวีแต่ละบทเป็นการยืมเรื่องในประวัติศาสตร์มาเล่าในเชิงยกย่องสรรเสริญและบทกวีบทที่หกนี้ เป็นการสรรเสริญ ‘จิงเคอ’ ซึ่งก็คือหนึ่งในมือสังหารที่มีชื่อที่สุดของจีน ถูกส่งไปลอบสังหารจิ๋นซีฮ่องเต้ในช่วงก่อนรวบรวมแผ่นดินเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันสำเร็จ (คือต้นแบบของนักฆ่านิรนาม ‘อู๋หมิง’ ในภาพยนต์เรื่อง <Hero> ปี 2002 ของจางอี้โหมวที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ดู) ซึ่งการลอบสังหารนั้นอยู่บนความเชื่อที่ว่ากษัตริย์แคว้นฉิ๋นโหดเหี้ยมบ้าอำนาจคิดกวาดล้างทำลายแคว้นอื่น จะทำให้ผู้คนล้มตายบ้านแตกสาแหรกขาดอีกไม่น้อย บทกวีบทที่หกนี้สรุปใจความได้ประมาณว่า จิงเคอร่ำสุราสำราญใจอย่างไม่แคร์ผู้ใด อุปนิสัยใจกล้าองอาจ เป็นคนที่มีเอกลักษณ์ไม่อาจมองข้าม แม้ไม่ใช่คนจากสังคมชั้นสูงแต่กลับมีคุณค่ามากมายเพราะสละชีพเพื่อผองชน และในสายตาของจิงเคอแล้วนั้น พวกตระกูลขุนนางชั้นสูงไม่มีคุณค่าใด บทกวีนี้จึงไม่เพียงสรรเสริญจิงเคอหากยังเสียดสีถึงคนจากสังคมชั้นสูงในสมัยนั้นอีกด้วย“ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน” วลีสี่วรรคนี้ที่เหยียนซิ่งกล่าวในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉืออย่าได้ท้อใจในอุปสรรคที่ได้พบเจอ เพราะคุณค่าของคนอยู่ที่ตนเอง ไม่ใช่จากพื้นเพชาติตระกูล(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm https://m.guoxuedashi.net/shici/81367k.html https://www.gushiwen.cn/mingju/juv_d4a0651f3a21.aspxhttps://baike.baidu.com/item/左思/582418 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #จั่วซือ #บทกวีจีนโบราณ #จิงเคอ #สาระจีน
    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน สัปดาห์ที่แล้วคุยกันไปประโยคหนึ่ง วันนี้มาคุยต่อ ซึ่งคือบทพูดยาวที่เหยียนซิ่งกล่าวว่า “ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน”(贵者虽自贵,视之若埃尘。贱者虽自贱,重之若千钧。) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)ทั้งนี้ ‘จวิน’ เป็นหน่วยวัดน้ำหนักในสมัยโบราณ เทียบเท่าประมาณสิบห้ากิโลกรัม และ ‘พันจวิน’ เป็นการอุปมาอุปมัยว่าน้ำหนักมากมีค่ามากยิ่งนักวลีสี่วรรคนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทกวีบทที่หกจากชุดบทกวีแปดบท ‘หยงสื่อปาโส่ว’ (咏史八首) ของจั่วซือ (ค.ศ. 250-305) นักประพันธ์เลื่องชื่อในสมัยจิ้นตะวันตกจั่วซือมาจากครอบครัวขุนนางเก่าแก่แต่บิดาไม่ได้มีตำแหน่งสูงนัก เรียกได้ว่าเป็นคนจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งก็คือครอบครัวขุนนางเก่าหรือขุนนางชั้นล่างที่ไม่มีอิทธิพลหรืออำนาจทางการเมือง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนอธิบายถึงหานเหมินไปแล้ว ลองย้อนอ่านทำความเข้าใจได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02irzPP9WVBtk8DXM6MFwphMu3ngFyjoz511zYfX8rWt8zHjHrFvk2ZwRiPXWuVWUal)ในช่วงที่จิ้นอู่ตี้ (ซือหม่าเหยียน ปฐมกษัตรย์แห่งราชวงศ์จิ้น) เกณฑ์สตรีจากครอบครัวขุนนางระดับกลางถึงระดับบนเข้าวังเป็นนางในเป็นจำนวนมากนั้น น้องสาวของจั่วซือก็ถูกเกณฑ์เข้าวังเป็นสนมเช่นกัน เขาเลยย้ายเข้าเมืองหลวงลั่วหยางพร้อมครอบครัวและพยายามหาหนทางเข้ารับราชการแต่ไม่ประสบความสำเร็จ และเขาพบว่ามีความฟอนเฟะในระบบราชการไม่น้อย ต่อมาเขาใช้เวลาสิบปีประพันธ์บทความที่เรียกว่า ‘ซานตูฟู่’ (三都赋/บทประพันธ์สามนคร) โดยยกตัวอย่างของแต่ละเมืองในบทความเพื่อสะท้อนแนวคิดและหลักการบริหารบ้านเมือง ต่อมาบทความนี้ได้รับการยอมรับอย่างมากมายจนในที่สุดจั่วซือได้เข้ารับราชการเป็นบรรณารักษ์แห่งหอพระสมุดว่ากันว่ากวีแปดบทนี้เป็นผลงานช่วงแรกที่เขาเข้ามาลั่วหยางและพบทางตันในการพยายามเป็นขุนนางจนรู้สึกท้อแท้และอัดอั้นตันใจ เป็นชุดบทกวีที่สะท้อนให้เห็นสภาวะทางสังคม อุดมการณ์อันยิ่งใหญ่และความคับแค้นใจของผู้ที่มาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ในยุคสมัยที่ไม่มีการสอบราชบัณฑิต โดยบทกวีแต่ละบทเป็นการยืมเรื่องในประวัติศาสตร์มาเล่าในเชิงยกย่องสรรเสริญและบทกวีบทที่หกนี้ เป็นการสรรเสริญ ‘จิงเคอ’ ซึ่งก็คือหนึ่งในมือสังหารที่มีชื่อที่สุดของจีน ถูกส่งไปลอบสังหารจิ๋นซีฮ่องเต้ในช่วงก่อนรวบรวมแผ่นดินเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันสำเร็จ (คือต้นแบบของนักฆ่านิรนาม ‘อู๋หมิง’ ในภาพยนต์เรื่อง <Hero> ปี 2002 ของจางอี้โหมวที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ดู) ซึ่งการลอบสังหารนั้นอยู่บนความเชื่อที่ว่ากษัตริย์แคว้นฉิ๋นโหดเหี้ยมบ้าอำนาจคิดกวาดล้างทำลายแคว้นอื่น จะทำให้ผู้คนล้มตายบ้านแตกสาแหรกขาดอีกไม่น้อย บทกวีบทที่หกนี้สรุปใจความได้ประมาณว่า จิงเคอร่ำสุราสำราญใจอย่างไม่แคร์ผู้ใด อุปนิสัยใจกล้าองอาจ เป็นคนที่มีเอกลักษณ์ไม่อาจมองข้าม แม้ไม่ใช่คนจากสังคมชั้นสูงแต่กลับมีคุณค่ามากมายเพราะสละชีพเพื่อผองชน และในสายตาของจิงเคอแล้วนั้น พวกตระกูลขุนนางชั้นสูงไม่มีคุณค่าใด บทกวีนี้จึงไม่เพียงสรรเสริญจิงเคอหากยังเสียดสีถึงคนจากสังคมชั้นสูงในสมัยนั้นอีกด้วย“ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน” วลีสี่วรรคนี้ที่เหยียนซิ่งกล่าวในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉืออย่าได้ท้อใจในอุปสรรคที่ได้พบเจอ เพราะคุณค่าของคนอยู่ที่ตนเอง ไม่ใช่จากพื้นเพชาติตระกูล(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm https://m.guoxuedashi.net/shici/81367k.html https://www.gushiwen.cn/mingju/juv_d4a0651f3a21.aspxhttps://baike.baidu.com/item/左思/582418 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #จั่วซือ #บทกวีจีนโบราณ #จิงเคอ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 86 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ Storyฯ เคยเกริ่นไว้ว่าจริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน วันนี้มาเล่าให้ฟังค่ะเราคุยกันวันนี้ถึงประโยคแรกที่เหยียนซิ่งกล่าว ซึ่งก็คือ “แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป เดินขึ้นสูงสู่เสินโจว” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ซึ่งวรรคแรกของประโยคนี้ยกมาจากบทกวีโบราณ ความเดิมคือ ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป ข้าพเจ้าหาใช่ชาวป่าเขา’ (仰天大笑出门去,我辈岂是蓬蒿人)/ หยางเทียนต้าเซี่ยวชูเหมินชวี่ อั่วเป้ยฉี่ซื่อเผิงฮาวเหริน) โดยคำว่า ‘ชาวป่าเขา’ ในที่นี่เป็นการอุปมาอุปมัยถึงคนที่ไม่ได้รับราชการหรือชาวบ้านธรรมดา และบทกวีนี้คือ ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ (南陵别儿童入京 แปลได้ประมาณว่า อำลาเด็กๆ จากหนานหลิงเข้าเมืองหลวง) เป็นบทประพันธ์ของหลี่ไป๋ กวีเอกสมัยถังที่ได้รับการยกย่องเป็น ‘เซียนกวี’ตอนที่หลี่ไป๋แต่งกลอนบทนี้ เขามีอายุประมาณสี่สิบสองปี (ค.ศ. 742) ชีวิตผ่านอะไรมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการมีชื่อเสียงตั้งแต่วัยเยาว์ การเดินทางเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปทั่ว การใช้ชีวิตในแวดวงขุนนางและบัณฑิตแต่ไม่ได้เข้ารับราชการตามที่หวัง ชีวิตตกต่ำออกเร่ร่อนและหลบไปใช้ชีวิตทำนาอยู่ตามป่าเขา แต่ตลอดเวลาเขาไม่เคยลืมอุดมการณ์ที่จะเข้ารับราชการเพราะเขามีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมในความรู้ของตัวเอง และเชื่อว่าด้วยสติปัญญาความรู้ที่มีจะสามารถทำให้บ้านเมืองเจริญยิ่งขึ้นได้ แม้ตัวไม่อยู่ในเมืองหลวงแต่เขาไม่เคยขาดความพยายามที่จะส่งบทความให้ถึงมือของบุคคลสำคัญหลายคนโดยหวังที่จะกรุยทางให้เข้ารับราชการได้เรามักได้ยินเกี่ยวกับบทกวีของหลี่ไป๋ที่บรรยายธรรมชาติสวยงาม แต่จริงๆ แล้วหลี่ไป๋ประพันธ์บทกลอนและบทความไม่น้อยเกี่ยวกับหลักการปกครองและการบริหารบ้านเมือง โดยสอดแทรกปัญหาสังคมที่ตนได้ซึมซับมาจากการที่ได้เคยเดินทางไปหลากหลายพื้นที่และจากการได้คลุกคลีอยู่ในหลายแวดวงสังคมและหลังจากชีวิตผ่านไปอย่างขึ้นๆ ลงๆ ในที่สุดหลี่ไป๋ในวัยสี่สิบสองปีก็ได้รับพระราชโองการให้เดินทางไปเมืองหลวงเข้าเฝ้าฮ่องเต้ถังเสวียนจง และเมื่อเขาได้เข้าเฝ้าก็สามารถโต้ตอบคำถามจากฮ่องเต้ได้อย่างฉะฉาน ทั้งด้วยสำนวนคมคายและความรู้จากตำราและสิ่งที่ได้พบเห็นมา จึงได้รับการบรรจุเข้าเป็นขุนนางสังกัดสำนักหลวงฮั่นหลิน ต่อมาติดสอยห้อยตามใกล้ชิดและเป็นที่โปรดปรานขององค์ฮ่องเต้ ทว่าชีวิตทางการเมืองของหลี่ไป๋ไม่ได้สวยงามตลอดรอดฝั่ง และคงจะกล่าวได้ว่า จุดนี้เป็นจุดที่รุ่งเรืองที่สุดของเขาแล้วดังนั้น บทกวี ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ จึงสะท้อนถึงอารมณ์ดีใจและภาคภูมิใจของหลี่ไป๋ พร้อมกับความคาดหวังว่าในที่สุดตนจะได้เข้าเฝ้าองค์ฮ่องเต้ ได้เปล่งประกายความรู้ความสามารถของตนให้เป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน ความหมายเต็มๆ ของบทกลอนนี้คือกล่าวถึงบรรยากาศรื่นเริงของร่ำสุรากินมื้อใหญ่ มีเด็กๆ วิ่งเล่นห้อมล้อม ร้องรำทำเพลงกัน จากนั้นกล่าวถึงสภาพจิตใจของหลี่ไป๋ที่นึกย้อนถึงวันเวลาที่เสียไปโดยไม่ได้มีผลงานจริงจัง พร้อมกับความหวังว่าวันนี้อำลาบ้านนอกเดินทางเข้าเมืองหลวงเพื่ออุดมการณ์ และประโยคสุดท้ายแฝงไว้ด้วยความเชื่อมั่นในตัวเองว่า ‘ฉันก็มีดีนะ’ และวลีนี้ถูกยกย่องให้เป็นอีกหนึ่ง ‘วลีเด็ด’ จากวรรณกรรมจีนโบราณดังนั้น การที่เหยียนซิ่งยกวลี ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป’ นี้ขึ้นมาในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉือรู้ว่า ตราบใดที่มีความรู้ความสามารถ ขอเพียงกล้าที่จะแสดงออกไป ย่อมมีคนเห็นคุณค่า สัปดาห์มาคุยกันต่อกับประโยคที่เหลือของเหยียนซิ่งค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545 https://www.sohu.com/a/327753644_100030261 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ww.gushiju.net/ju/96744https://dugushici.com/mingju/9382https://baike.baidu.com/item/李白/1043 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #หลี่ไป๋ #สาระจีน
    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ Storyฯ เคยเกริ่นไว้ว่าจริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน วันนี้มาเล่าให้ฟังค่ะเราคุยกันวันนี้ถึงประโยคแรกที่เหยียนซิ่งกล่าว ซึ่งก็คือ “แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป เดินขึ้นสูงสู่เสินโจว” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ซึ่งวรรคแรกของประโยคนี้ยกมาจากบทกวีโบราณ ความเดิมคือ ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป ข้าพเจ้าหาใช่ชาวป่าเขา’ (仰天大笑出门去,我辈岂是蓬蒿人)/ หยางเทียนต้าเซี่ยวชูเหมินชวี่ อั่วเป้ยฉี่ซื่อเผิงฮาวเหริน) โดยคำว่า ‘ชาวป่าเขา’ ในที่นี่เป็นการอุปมาอุปมัยถึงคนที่ไม่ได้รับราชการหรือชาวบ้านธรรมดา และบทกวีนี้คือ ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ (南陵别儿童入京 แปลได้ประมาณว่า อำลาเด็กๆ จากหนานหลิงเข้าเมืองหลวง) เป็นบทประพันธ์ของหลี่ไป๋ กวีเอกสมัยถังที่ได้รับการยกย่องเป็น ‘เซียนกวี’ตอนที่หลี่ไป๋แต่งกลอนบทนี้ เขามีอายุประมาณสี่สิบสองปี (ค.ศ. 742) ชีวิตผ่านอะไรมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการมีชื่อเสียงตั้งแต่วัยเยาว์ การเดินทางเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปทั่ว การใช้ชีวิตในแวดวงขุนนางและบัณฑิตแต่ไม่ได้เข้ารับราชการตามที่หวัง ชีวิตตกต่ำออกเร่ร่อนและหลบไปใช้ชีวิตทำนาอยู่ตามป่าเขา แต่ตลอดเวลาเขาไม่เคยลืมอุดมการณ์ที่จะเข้ารับราชการเพราะเขามีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมในความรู้ของตัวเอง และเชื่อว่าด้วยสติปัญญาความรู้ที่มีจะสามารถทำให้บ้านเมืองเจริญยิ่งขึ้นได้ แม้ตัวไม่อยู่ในเมืองหลวงแต่เขาไม่เคยขาดความพยายามที่จะส่งบทความให้ถึงมือของบุคคลสำคัญหลายคนโดยหวังที่จะกรุยทางให้เข้ารับราชการได้เรามักได้ยินเกี่ยวกับบทกวีของหลี่ไป๋ที่บรรยายธรรมชาติสวยงาม แต่จริงๆ แล้วหลี่ไป๋ประพันธ์บทกลอนและบทความไม่น้อยเกี่ยวกับหลักการปกครองและการบริหารบ้านเมือง โดยสอดแทรกปัญหาสังคมที่ตนได้ซึมซับมาจากการที่ได้เคยเดินทางไปหลากหลายพื้นที่และจากการได้คลุกคลีอยู่ในหลายแวดวงสังคมและหลังจากชีวิตผ่านไปอย่างขึ้นๆ ลงๆ ในที่สุดหลี่ไป๋ในวัยสี่สิบสองปีก็ได้รับพระราชโองการให้เดินทางไปเมืองหลวงเข้าเฝ้าฮ่องเต้ถังเสวียนจง และเมื่อเขาได้เข้าเฝ้าก็สามารถโต้ตอบคำถามจากฮ่องเต้ได้อย่างฉะฉาน ทั้งด้วยสำนวนคมคายและความรู้จากตำราและสิ่งที่ได้พบเห็นมา จึงได้รับการบรรจุเข้าเป็นขุนนางสังกัดสำนักหลวงฮั่นหลิน ต่อมาติดสอยห้อยตามใกล้ชิดและเป็นที่โปรดปรานขององค์ฮ่องเต้ ทว่าชีวิตทางการเมืองของหลี่ไป๋ไม่ได้สวยงามตลอดรอดฝั่ง และคงจะกล่าวได้ว่า จุดนี้เป็นจุดที่รุ่งเรืองที่สุดของเขาแล้วดังนั้น บทกวี ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ จึงสะท้อนถึงอารมณ์ดีใจและภาคภูมิใจของหลี่ไป๋ พร้อมกับความคาดหวังว่าในที่สุดตนจะได้เข้าเฝ้าองค์ฮ่องเต้ ได้เปล่งประกายความรู้ความสามารถของตนให้เป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน ความหมายเต็มๆ ของบทกลอนนี้คือกล่าวถึงบรรยากาศรื่นเริงของร่ำสุรากินมื้อใหญ่ มีเด็กๆ วิ่งเล่นห้อมล้อม ร้องรำทำเพลงกัน จากนั้นกล่าวถึงสภาพจิตใจของหลี่ไป๋ที่นึกย้อนถึงวันเวลาที่เสียไปโดยไม่ได้มีผลงานจริงจัง พร้อมกับความหวังว่าวันนี้อำลาบ้านนอกเดินทางเข้าเมืองหลวงเพื่ออุดมการณ์ และประโยคสุดท้ายแฝงไว้ด้วยความเชื่อมั่นในตัวเองว่า ‘ฉันก็มีดีนะ’ และวลีนี้ถูกยกย่องให้เป็นอีกหนึ่ง ‘วลีเด็ด’ จากวรรณกรรมจีนโบราณดังนั้น การที่เหยียนซิ่งยกวลี ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป’ นี้ขึ้นมาในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉือรู้ว่า ตราบใดที่มีความรู้ความสามารถ ขอเพียงกล้าที่จะแสดงออกไป ย่อมมีคนเห็นคุณค่า สัปดาห์มาคุยกันต่อกับประโยคที่เหลือของเหยียนซิ่งค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545 https://www.sohu.com/a/327753644_100030261 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ww.gushiju.net/ju/96744https://dugushici.com/mingju/9382https://baike.baidu.com/item/李白/1043 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #หลี่ไป๋ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 90 มุมมอง 0 รีวิว
  • หานเหมิน ตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <ทำนองรักกังวานแดนดิน> คงจำได้ว่ามีช่วงหนึ่งที่พระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่หรือที่เรียกว่า ‘หานเหมิน’ (寒门) จริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่นกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน ไว้ Storyฯ จะทยอยมาเล่าต่อ แต่ที่วันนี้จะคุยกันคือคำว่า ‘หานเหมิน’ นี้ปัจจุบันคำว่า ‘หานเหมิน’ หมายถึงคนที่มีฐานะยากจน (‘หาน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าหนาวมากแต่หมายถึงแร้นแค้นยากจน และ ‘เหมิน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าประตูแต่หมายถึงครอบครัวหรือตระกูล) และในหลายซีรีส์ที่มีการสอบราชบัณฑิตก็ดูจะสะท้อนถึงเหล่าบัณฑิตยากไร้ที่พยายามมาสอบเพื่อสร้างอนาคตให้กับตนเอง Storyฯ ไม่ได้ดูว่าละครซับไทยหรือพากย์ไทยแปลมันไว้ว่าอย่างไร แต่จริงๆ แล้ว ‘หานเหมิน’ ในบริบทจีนโบราณแรกเริ่มเลยไม่ได้หมายถึงคนจน เพราะคำว่า ‘เหมิน’ จะใช้เรียกตระกูลที่มีกำลังทรัพย์และอิทธิพลเท่านั้น ไม่ได้เรียกครอบครัวชาวบ้านธรรมดา เราลองมาดูกันสักสองตัวอย่างตัวอย่างแรกคือเผยเหวินเซวียน พระเอกจากเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> ที่ถูกองค์หญิงหลี่หรงเรียกว่ามาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งพื้นเพของเขาคือ มาจากตระกูลที่ไม่เคยมีรับตำแหน่งสูงเกินขั้นที่ห้า แต่ก็จัดเป็นตระกูลอยู่ดีกินดี (อนึ่ง ตำแหน่งขุนนางในอดีตเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดไปตามยุคสมัยแต่โดยกรอบใหญ่การแบ่งขุนนางส่วนกลางเป็นเก้าขั้น หรือ ‘จิ๋วผิ่น’ (九品) มีมายาวนานร่วมสองพันปี) จวบจนบิดาได้เป็นถึงแม่ทัพใหญ่นำพาให้คนในตระกูลมีโอกาสย้ายเข้ามารับราชการอยู่ในเมืองหลวงอีกตัวอย่างหนึ่งคือพานฉือจากเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ซึ่งไม่แน่ใจว่ามีรายละเอียดในซีรีส์มากน้อยแค่ไหน แต่ในบทนิยายเดิมพื้นเพของเขาคือมาจากครอบครัวข้าราชการมีหน้ามีตาระดับท้องถิ่น บิดาเป็นผู้บัญชาการทหารระดับสูง จัดเป็นตระกูลที่อยู่ดีกินดี แต่เขาอยากเห็นคนที่ไม่ได้มีอิทธิพลหนุนหลังสามารถฝ่าฟันอุปสรรคเข้าไปสู่ตำแหน่งขุนนางขั้นสูงของส่วนกลางได้โดยผ่านการสอบราชบัณฑิต เขาถูกเรียกว่ามาจาก ‘หานเหมิน’ เช่นกันจากสองตัวอย่างนี้ เพื่อนเพจคงพอเดาได้แล้วว่าความหมายดั้งเดิมของ ‘หานเหมิน’ หมายถึงตระกูลขุนนางที่อิทธิพลเสื่อมถอย ไม่ได้มีอำนาจผงาดอยู่ในราชสำนัก แต่ก็จัดเป็นตระกูลที่มีหน้ามีตาพอประมาณและมีอันจะกินพอที่ลูกหลานจะมีการศึกษาที่ดี ไม่ใช่คนยากจนสิ้นไร้ไม้ตอก หลายครั้งถูกมองว่าเป็นตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' หรือ Tier 2แล้วตระกูลขุนนาง 'ชั้นหนึ่ง' หรือ Tier 1 คืออะไร? คำตอบคือ ‘สื้อเจีย’ (世家) ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อนานมาแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/373292221465743 และ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/378258494302449) ซึ่งโดยสรุปคือหมายถึงตระกูลขุนนางระดับสูงอันเก่าแก่ คนในตระกูลรับตำแหน่งขุนนางระดับสูงถึงสูงที่สุดต่อเนื่องมาหลายชั่วอายุคน ตระกูลเหล่านี้มีอิทธิพลทางการเมืองสูง (และอิทธิพลทางสังคมด้านอื่นๆ ด้วย) และในสมัยโบราณตระกูลเหล่านี้สามารถยื่นฎีกาเสนอชื่อคนในตระกูลเข้ารับตำแหน่งขุนนางได้เลย ดังนั้นในสายตาของชาวสื้อเจียที่มียศอำนาจสูงมาตลอดแล้วนั้น คนจากหานเหมินจึงต่ำต้อยกว่าเพราะมีเพียงครั้งคราวที่มีโอกาสได้รับตำแหน่งใหญ่หรืออาจเป็นเพียงตระกูลที่ ‘เคยมี’ การสอบราชบัณฑิตจึงเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้มาจากตระกูลสื้อเจียสามารถเข้ามาช่วงชิงตำแหน่งทางการเมืองได้ผ่านความรู้ความสามารถของตน แต่แน่นอนว่าหนทางนี้ไม่ได้ง่าย อย่างที่เราเห็นในหลายซีรีส์ถึงความพยายามของเหล่ากลุ่มอำนาจที่จะพยายามดำรงไว้ซึ่งอำนาจ และ Storyฯ คิดว่าเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> สะท้อนประเด็นความขัดแย้งนี้ออกมาได้ดีมาก และองค์หญิงหลี่หรงเองเคยถกถึงข้อดีข้อเสียของการรับคนจากสื้อเจียบรรจุเข้าเป็นขุนนางโดยไม่ผ่านการสอบแข่งขันด้วยการสอบราชบัณฑิตได้รับการพัฒนาถึงขีดสุดในสมัยซ่งและในยุคสมัยนี้เองที่เหล่าสื้อเจียถูกริดรอนอำนาจจนเสื่อมหายไปในที่สุด เมื่อไม่มีสื้อเจียตระกูลขุนนางชั้นหนึ่งก็ไม่มีหานเหมินตระกูลขุนนางชั้นสอง และต่อมาคำว่า ‘หานเหมิน’ จึงถูกใช้เรียกคนยากจนสัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อถึงวลีจีนที่เหยียนซิ่นใช้ปลอบพานฉือที่กล่าวถึงในย่อหน้าแรกค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/249182333_100121516 https://www.163.com/dy/article/HQT63VVA05561H1M.html https://www.sohu.com/a/576151365_121252035 https://www.lishirenwu.com/jiangxianggushi/58427.html #ทำนองรักกังวานแดนดิน #องค์หญิงใหญ่ #หานเหมิน #สื้อเจีย #ตระกูลขุนนางจีน #สาระจีน
    หานเหมิน ตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <ทำนองรักกังวานแดนดิน> คงจำได้ว่ามีช่วงหนึ่งที่พระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่หรือที่เรียกว่า ‘หานเหมิน’ (寒门) จริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่นกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน ไว้ Storyฯ จะทยอยมาเล่าต่อ แต่ที่วันนี้จะคุยกันคือคำว่า ‘หานเหมิน’ นี้ปัจจุบันคำว่า ‘หานเหมิน’ หมายถึงคนที่มีฐานะยากจน (‘หาน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าหนาวมากแต่หมายถึงแร้นแค้นยากจน และ ‘เหมิน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าประตูแต่หมายถึงครอบครัวหรือตระกูล) และในหลายซีรีส์ที่มีการสอบราชบัณฑิตก็ดูจะสะท้อนถึงเหล่าบัณฑิตยากไร้ที่พยายามมาสอบเพื่อสร้างอนาคตให้กับตนเอง Storyฯ ไม่ได้ดูว่าละครซับไทยหรือพากย์ไทยแปลมันไว้ว่าอย่างไร แต่จริงๆ แล้ว ‘หานเหมิน’ ในบริบทจีนโบราณแรกเริ่มเลยไม่ได้หมายถึงคนจน เพราะคำว่า ‘เหมิน’ จะใช้เรียกตระกูลที่มีกำลังทรัพย์และอิทธิพลเท่านั้น ไม่ได้เรียกครอบครัวชาวบ้านธรรมดา เราลองมาดูกันสักสองตัวอย่างตัวอย่างแรกคือเผยเหวินเซวียน พระเอกจากเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> ที่ถูกองค์หญิงหลี่หรงเรียกว่ามาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งพื้นเพของเขาคือ มาจากตระกูลที่ไม่เคยมีรับตำแหน่งสูงเกินขั้นที่ห้า แต่ก็จัดเป็นตระกูลอยู่ดีกินดี (อนึ่ง ตำแหน่งขุนนางในอดีตเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดไปตามยุคสมัยแต่โดยกรอบใหญ่การแบ่งขุนนางส่วนกลางเป็นเก้าขั้น หรือ ‘จิ๋วผิ่น’ (九品) มีมายาวนานร่วมสองพันปี) จวบจนบิดาได้เป็นถึงแม่ทัพใหญ่นำพาให้คนในตระกูลมีโอกาสย้ายเข้ามารับราชการอยู่ในเมืองหลวงอีกตัวอย่างหนึ่งคือพานฉือจากเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ซึ่งไม่แน่ใจว่ามีรายละเอียดในซีรีส์มากน้อยแค่ไหน แต่ในบทนิยายเดิมพื้นเพของเขาคือมาจากครอบครัวข้าราชการมีหน้ามีตาระดับท้องถิ่น บิดาเป็นผู้บัญชาการทหารระดับสูง จัดเป็นตระกูลที่อยู่ดีกินดี แต่เขาอยากเห็นคนที่ไม่ได้มีอิทธิพลหนุนหลังสามารถฝ่าฟันอุปสรรคเข้าไปสู่ตำแหน่งขุนนางขั้นสูงของส่วนกลางได้โดยผ่านการสอบราชบัณฑิต เขาถูกเรียกว่ามาจาก ‘หานเหมิน’ เช่นกันจากสองตัวอย่างนี้ เพื่อนเพจคงพอเดาได้แล้วว่าความหมายดั้งเดิมของ ‘หานเหมิน’ หมายถึงตระกูลขุนนางที่อิทธิพลเสื่อมถอย ไม่ได้มีอำนาจผงาดอยู่ในราชสำนัก แต่ก็จัดเป็นตระกูลที่มีหน้ามีตาพอประมาณและมีอันจะกินพอที่ลูกหลานจะมีการศึกษาที่ดี ไม่ใช่คนยากจนสิ้นไร้ไม้ตอก หลายครั้งถูกมองว่าเป็นตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' หรือ Tier 2แล้วตระกูลขุนนาง 'ชั้นหนึ่ง' หรือ Tier 1 คืออะไร? คำตอบคือ ‘สื้อเจีย’ (世家) ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อนานมาแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/373292221465743 และ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/378258494302449) ซึ่งโดยสรุปคือหมายถึงตระกูลขุนนางระดับสูงอันเก่าแก่ คนในตระกูลรับตำแหน่งขุนนางระดับสูงถึงสูงที่สุดต่อเนื่องมาหลายชั่วอายุคน ตระกูลเหล่านี้มีอิทธิพลทางการเมืองสูง (และอิทธิพลทางสังคมด้านอื่นๆ ด้วย) และในสมัยโบราณตระกูลเหล่านี้สามารถยื่นฎีกาเสนอชื่อคนในตระกูลเข้ารับตำแหน่งขุนนางได้เลย ดังนั้นในสายตาของชาวสื้อเจียที่มียศอำนาจสูงมาตลอดแล้วนั้น คนจากหานเหมินจึงต่ำต้อยกว่าเพราะมีเพียงครั้งคราวที่มีโอกาสได้รับตำแหน่งใหญ่หรืออาจเป็นเพียงตระกูลที่ ‘เคยมี’ การสอบราชบัณฑิตจึงเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้มาจากตระกูลสื้อเจียสามารถเข้ามาช่วงชิงตำแหน่งทางการเมืองได้ผ่านความรู้ความสามารถของตน แต่แน่นอนว่าหนทางนี้ไม่ได้ง่าย อย่างที่เราเห็นในหลายซีรีส์ถึงความพยายามของเหล่ากลุ่มอำนาจที่จะพยายามดำรงไว้ซึ่งอำนาจ และ Storyฯ คิดว่าเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> สะท้อนประเด็นความขัดแย้งนี้ออกมาได้ดีมาก และองค์หญิงหลี่หรงเองเคยถกถึงข้อดีข้อเสียของการรับคนจากสื้อเจียบรรจุเข้าเป็นขุนนางโดยไม่ผ่านการสอบแข่งขันด้วยการสอบราชบัณฑิตได้รับการพัฒนาถึงขีดสุดในสมัยซ่งและในยุคสมัยนี้เองที่เหล่าสื้อเจียถูกริดรอนอำนาจจนเสื่อมหายไปในที่สุด เมื่อไม่มีสื้อเจียตระกูลขุนนางชั้นหนึ่งก็ไม่มีหานเหมินตระกูลขุนนางชั้นสอง และต่อมาคำว่า ‘หานเหมิน’ จึงถูกใช้เรียกคนยากจนสัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อถึงวลีจีนที่เหยียนซิ่นใช้ปลอบพานฉือที่กล่าวถึงในย่อหน้าแรกค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/249182333_100121516 https://www.163.com/dy/article/HQT63VVA05561H1M.html https://www.sohu.com/a/576151365_121252035 https://www.lishirenwu.com/jiangxianggushi/58427.html #ทำนองรักกังวานแดนดิน #องค์หญิงใหญ่ #หานเหมิน #สื้อเจีย #ตระกูลขุนนางจีน #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 205 มุมมอง 0 รีวิว