• สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน สัปดาห์ที่แล้วคุยกันไปประโยคหนึ่ง วันนี้มาคุยต่อ ซึ่งคือบทพูดยาวที่เหยียนซิ่งกล่าวว่า “ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน”(贵者虽自贵,视之若埃尘。贱者虽自贱,重之若千钧。) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)ทั้งนี้ ‘จวิน’ เป็นหน่วยวัดน้ำหนักในสมัยโบราณ เทียบเท่าประมาณสิบห้ากิโลกรัม และ ‘พันจวิน’ เป็นการอุปมาอุปมัยว่าน้ำหนักมากมีค่ามากยิ่งนักวลีสี่วรรคนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทกวีบทที่หกจากชุดบทกวีแปดบท ‘หยงสื่อปาโส่ว’ (咏史八首) ของจั่วซือ (ค.ศ. 250-305) นักประพันธ์เลื่องชื่อในสมัยจิ้นตะวันตกจั่วซือมาจากครอบครัวขุนนางเก่าแก่แต่บิดาไม่ได้มีตำแหน่งสูงนัก เรียกได้ว่าเป็นคนจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งก็คือครอบครัวขุนนางเก่าหรือขุนนางชั้นล่างที่ไม่มีอิทธิพลหรืออำนาจทางการเมือง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนอธิบายถึงหานเหมินไปแล้ว ลองย้อนอ่านทำความเข้าใจได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02irzPP9WVBtk8DXM6MFwphMu3ngFyjoz511zYfX8rWt8zHjHrFvk2ZwRiPXWuVWUal)ในช่วงที่จิ้นอู่ตี้ (ซือหม่าเหยียน ปฐมกษัตรย์แห่งราชวงศ์จิ้น) เกณฑ์สตรีจากครอบครัวขุนนางระดับกลางถึงระดับบนเข้าวังเป็นนางในเป็นจำนวนมากนั้น น้องสาวของจั่วซือก็ถูกเกณฑ์เข้าวังเป็นสนมเช่นกัน เขาเลยย้ายเข้าเมืองหลวงลั่วหยางพร้อมครอบครัวและพยายามหาหนทางเข้ารับราชการแต่ไม่ประสบความสำเร็จ และเขาพบว่ามีความฟอนเฟะในระบบราชการไม่น้อย ต่อมาเขาใช้เวลาสิบปีประพันธ์บทความที่เรียกว่า ‘ซานตูฟู่’ (三都赋/บทประพันธ์สามนคร) โดยยกตัวอย่างของแต่ละเมืองในบทความเพื่อสะท้อนแนวคิดและหลักการบริหารบ้านเมือง ต่อมาบทความนี้ได้รับการยอมรับอย่างมากมายจนในที่สุดจั่วซือได้เข้ารับราชการเป็นบรรณารักษ์แห่งหอพระสมุดว่ากันว่ากวีแปดบทนี้เป็นผลงานช่วงแรกที่เขาเข้ามาลั่วหยางและพบทางตันในการพยายามเป็นขุนนางจนรู้สึกท้อแท้และอัดอั้นตันใจ เป็นชุดบทกวีที่สะท้อนให้เห็นสภาวะทางสังคม อุดมการณ์อันยิ่งใหญ่และความคับแค้นใจของผู้ที่มาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ในยุคสมัยที่ไม่มีการสอบราชบัณฑิต โดยบทกวีแต่ละบทเป็นการยืมเรื่องในประวัติศาสตร์มาเล่าในเชิงยกย่องสรรเสริญและบทกวีบทที่หกนี้ เป็นการสรรเสริญ ‘จิงเคอ’ ซึ่งก็คือหนึ่งในมือสังหารที่มีชื่อที่สุดของจีน ถูกส่งไปลอบสังหารจิ๋นซีฮ่องเต้ในช่วงก่อนรวบรวมแผ่นดินเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันสำเร็จ (คือต้นแบบของนักฆ่านิรนาม ‘อู๋หมิง’ ในภาพยนต์เรื่อง <Hero> ปี 2002 ของจางอี้โหมวที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ดู) ซึ่งการลอบสังหารนั้นอยู่บนความเชื่อที่ว่ากษัตริย์แคว้นฉิ๋นโหดเหี้ยมบ้าอำนาจคิดกวาดล้างทำลายแคว้นอื่น จะทำให้ผู้คนล้มตายบ้านแตกสาแหรกขาดอีกไม่น้อย บทกวีบทที่หกนี้สรุปใจความได้ประมาณว่า จิงเคอร่ำสุราสำราญใจอย่างไม่แคร์ผู้ใด อุปนิสัยใจกล้าองอาจ เป็นคนที่มีเอกลักษณ์ไม่อาจมองข้าม แม้ไม่ใช่คนจากสังคมชั้นสูงแต่กลับมีคุณค่ามากมายเพราะสละชีพเพื่อผองชน และในสายตาของจิงเคอแล้วนั้น พวกตระกูลขุนนางชั้นสูงไม่มีคุณค่าใด บทกวีนี้จึงไม่เพียงสรรเสริญจิงเคอหากยังเสียดสีถึงคนจากสังคมชั้นสูงในสมัยนั้นอีกด้วย“ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน” วลีสี่วรรคนี้ที่เหยียนซิ่งกล่าวในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉืออย่าได้ท้อใจในอุปสรรคที่ได้พบเจอ เพราะคุณค่าของคนอยู่ที่ตนเอง ไม่ใช่จากพื้นเพชาติตระกูล(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm https://m.guoxuedashi.net/shici/81367k.html https://www.gushiwen.cn/mingju/juv_d4a0651f3a21.aspxhttps://baike.baidu.com/item/左思/582418 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #จั่วซือ #บทกวีจีนโบราณ #จิงเคอ #สาระจีน
    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน สัปดาห์ที่แล้วคุยกันไปประโยคหนึ่ง วันนี้มาคุยต่อ ซึ่งคือบทพูดยาวที่เหยียนซิ่งกล่าวว่า “ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน”(贵者虽自贵,视之若埃尘。贱者虽自贱,重之若千钧。) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)ทั้งนี้ ‘จวิน’ เป็นหน่วยวัดน้ำหนักในสมัยโบราณ เทียบเท่าประมาณสิบห้ากิโลกรัม และ ‘พันจวิน’ เป็นการอุปมาอุปมัยว่าน้ำหนักมากมีค่ามากยิ่งนักวลีสี่วรรคนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทกวีบทที่หกจากชุดบทกวีแปดบท ‘หยงสื่อปาโส่ว’ (咏史八首) ของจั่วซือ (ค.ศ. 250-305) นักประพันธ์เลื่องชื่อในสมัยจิ้นตะวันตกจั่วซือมาจากครอบครัวขุนนางเก่าแก่แต่บิดาไม่ได้มีตำแหน่งสูงนัก เรียกได้ว่าเป็นคนจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งก็คือครอบครัวขุนนางเก่าหรือขุนนางชั้นล่างที่ไม่มีอิทธิพลหรืออำนาจทางการเมือง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนอธิบายถึงหานเหมินไปแล้ว ลองย้อนอ่านทำความเข้าใจได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02irzPP9WVBtk8DXM6MFwphMu3ngFyjoz511zYfX8rWt8zHjHrFvk2ZwRiPXWuVWUal)ในช่วงที่จิ้นอู่ตี้ (ซือหม่าเหยียน ปฐมกษัตรย์แห่งราชวงศ์จิ้น) เกณฑ์สตรีจากครอบครัวขุนนางระดับกลางถึงระดับบนเข้าวังเป็นนางในเป็นจำนวนมากนั้น น้องสาวของจั่วซือก็ถูกเกณฑ์เข้าวังเป็นสนมเช่นกัน เขาเลยย้ายเข้าเมืองหลวงลั่วหยางพร้อมครอบครัวและพยายามหาหนทางเข้ารับราชการแต่ไม่ประสบความสำเร็จ และเขาพบว่ามีความฟอนเฟะในระบบราชการไม่น้อย ต่อมาเขาใช้เวลาสิบปีประพันธ์บทความที่เรียกว่า ‘ซานตูฟู่’ (三都赋/บทประพันธ์สามนคร) โดยยกตัวอย่างของแต่ละเมืองในบทความเพื่อสะท้อนแนวคิดและหลักการบริหารบ้านเมือง ต่อมาบทความนี้ได้รับการยอมรับอย่างมากมายจนในที่สุดจั่วซือได้เข้ารับราชการเป็นบรรณารักษ์แห่งหอพระสมุดว่ากันว่ากวีแปดบทนี้เป็นผลงานช่วงแรกที่เขาเข้ามาลั่วหยางและพบทางตันในการพยายามเป็นขุนนางจนรู้สึกท้อแท้และอัดอั้นตันใจ เป็นชุดบทกวีที่สะท้อนให้เห็นสภาวะทางสังคม อุดมการณ์อันยิ่งใหญ่และความคับแค้นใจของผู้ที่มาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ในยุคสมัยที่ไม่มีการสอบราชบัณฑิต โดยบทกวีแต่ละบทเป็นการยืมเรื่องในประวัติศาสตร์มาเล่าในเชิงยกย่องสรรเสริญและบทกวีบทที่หกนี้ เป็นการสรรเสริญ ‘จิงเคอ’ ซึ่งก็คือหนึ่งในมือสังหารที่มีชื่อที่สุดของจีน ถูกส่งไปลอบสังหารจิ๋นซีฮ่องเต้ในช่วงก่อนรวบรวมแผ่นดินเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันสำเร็จ (คือต้นแบบของนักฆ่านิรนาม ‘อู๋หมิง’ ในภาพยนต์เรื่อง <Hero> ปี 2002 ของจางอี้โหมวที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ดู) ซึ่งการลอบสังหารนั้นอยู่บนความเชื่อที่ว่ากษัตริย์แคว้นฉิ๋นโหดเหี้ยมบ้าอำนาจคิดกวาดล้างทำลายแคว้นอื่น จะทำให้ผู้คนล้มตายบ้านแตกสาแหรกขาดอีกไม่น้อย บทกวีบทที่หกนี้สรุปใจความได้ประมาณว่า จิงเคอร่ำสุราสำราญใจอย่างไม่แคร์ผู้ใด อุปนิสัยใจกล้าองอาจ เป็นคนที่มีเอกลักษณ์ไม่อาจมองข้าม แม้ไม่ใช่คนจากสังคมชั้นสูงแต่กลับมีคุณค่ามากมายเพราะสละชีพเพื่อผองชน และในสายตาของจิงเคอแล้วนั้น พวกตระกูลขุนนางชั้นสูงไม่มีคุณค่าใด บทกวีนี้จึงไม่เพียงสรรเสริญจิงเคอหากยังเสียดสีถึงคนจากสังคมชั้นสูงในสมัยนั้นอีกด้วย“ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน” วลีสี่วรรคนี้ที่เหยียนซิ่งกล่าวในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉืออย่าได้ท้อใจในอุปสรรคที่ได้พบเจอ เพราะคุณค่าของคนอยู่ที่ตนเอง ไม่ใช่จากพื้นเพชาติตระกูล(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm https://m.guoxuedashi.net/shici/81367k.html https://www.gushiwen.cn/mingju/juv_d4a0651f3a21.aspxhttps://baike.baidu.com/item/左思/582418 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #จั่วซือ #บทกวีจีนโบราณ #จิงเคอ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 98 มุมมอง 0 รีวิว
  • สุนัขเห่ากรรโชก วลีจาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ว่าเหล่าขุนนางจากสำนักผู้ตรวจการได้ร้องเรียนฟ่านเสียนว่ารับเงินสินบน และฟ่านเสียนมีปฏิกิริยาตอบกลับคือ ส่งภาพอักษรสี่ตัวให้กับสำนักผู้ตรวจการ ทำให้พวกเขายิ่งโกรธแค้นกระเหี้ยนกระหือรือจะเอาผิดฟ่านเสียนให้ได้ อักษรสี่ตัวนี้คือ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ (狺狺狂吠) ในซีรีส์พากย์ไทยแปลว่า ‘สุนัขเห่าโฮ่งๆ’ วลีนี้แปลว่าสุนัขเห่า แต่เพราะมีคำว่า ‘ขวาง’ ซึ่งแปลว่าบ้าคลั่ง มันจึงไม่ใช่สุนัขเห่าธรรมดา แต่เป็นการเห่าแบบกรรโชกแบบบ้าคลั่ง แต่ที่ดูแปลกตาสำหรับ Storyฯ คืออักษร ‘อิ๋น’ จึงลองไปหาข้อมูลดูพบว่ามันเป็นคำที่แทบไม่ค่อยเห็นในปัจจุบัน ‘อิ๋น’ มีที่มาจากบทกวีจีนโบราณที่มีชื่อว่า ‘จิ่วเปี้ยน’ (九辩 แปลได้ประมาณว่า คำถก 9 หัวข้อ) ซึ่งเป็นผลงานของซ่งอวี้ (宋玉) นักประพันธ์และขุนนางจากแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐ (มีชีวิตอยู่ช่วงปี 298-222 ก่อนคริสตกาล) เป็นบทร้อยกรองยาวกว่าสองร้อยห้าสิบวรรค เขียนขึ้นเมื่อปีที่เขาถูกปลดออกจากราชการตอนอายุห้าสิบปี เป็นวัยที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน บทกวีนี้จึงสะท้อนความรู้สึกหลากหลายโดยมีหัวข้อหลักคือความโศกเศร้าในสารทฤดู ถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบและเป็นหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อนี้เพราะสามารถชวนให้ผู้อ่านจินตนาการและมีอารมณ์ร่วมได้อย่างดีเลิศ(หมายเหตุ บทกวี ‘เติงเกา’ จากตู้ฝู่ซึ่งเป็นสุดยอดกลอนเจ็ดที่เอ่ยถึงในภาคแรกเป็นอีกหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อเดียวกันนี้ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/973244118137214)‘จิ่วเปี้ยน’ เปิดฉากมาด้วยการบรรยายความงามของฤดูใบไม้ร่วงที่ให้ความรู้สึกโศกเศร้า สะท้อนถึงความโดดเดี่ยวของคนที่ตกยากไร้ทรัพย์สินเงินทอง จากนั้นกล่าวถึงสตรีที่รักแล้วผิดหวังถูกทอดทิ้งสลับกับฉากเศร้าๆ ของสารทฤดูที่สะท้อนถึงอารมณ์ของนาง และวลีหมาเห่ากรรโชก ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ นี้มาจากฉากที่เล่าว่าสตรีผู้นี้พยายามจะเข้าไปหาคนรักแต่ถูกหมาเห่าขัดขวางไว้ไม่สามารถก้าวข้ามผ่านประตูไปได้ แต่จริงๆ แล้วฉากข้างต้นเป็นการอุปมาอุปไมยถึงคนที่พยายามเข้าหาแต่ไม่เป็นที่ต้องการ เพราะฉากถัดมากล่าวถึงคนที่พยายามทำตัวเป็นประโยชน์ ดุจขุนนางที่ต้องการรับใช้งานราชสำนัก แต่กลับไร้ซึ่งโอกาส ถูกกีดกันจากรอบด้าน ในขณะที่อำนาจตกไปอยู่ในมือที่ไม่สะอาดจนสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเมือง เป็นความโศกเศร้าของคนที่รู้สึกว่าตัวตนหายไปพร้อมกับโอกาสในชีวิตที่หายไปแล้ว ดังนั้น บทร้อยกรองนี้จึงเป็นการพัฒนาเนื้อหาอย่างต่อเนื่องจากความสดใสของธรรมชาติที่สูญหาย (lost nature) ไปสู่รักที่สูญหาย (lost love) ไปสู่ความเป็นตัวตนที่สูญหาย (lost man)ผลงานของซ่งอวี้ได้รับอิทธิพลจากกวีรุ่นก่อนคือชวีหยวน (屈原) บ้างว่าเขาเป็นศิษย์ของชวีหยวน ผลงานของพวกเขาถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของสไตล์ที่เรียกว่าจินตนิยมในวรรณกรรมจีนโบราณ กล่าวคือ ใช้การบรรยายธรรมชาติหรือวิถีชีวิตคนธรรมดาเร้าอารมณ์ และในขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงหลักความคิดหรืออุดมคติบางอย่าง แต่ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ เดิมเป็นเพียงการบรรยายถึงอาการเห่าอย่างบ้าคลั่งของสุนัข ไม่ได้มีความหมายอื่นแอบแฝง มันถูกใช้เปรียบเปรยถึงคนในเชิงดูแคลนตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่การใช้วลีนี้ในลักษณะด่าคนนี้มีตัวอย่างให้เห็นในซีรีส์ ‘สามก๊ก’ เวอร์ชั่นปี 1994 ในตอนที่ขงเบ้งด่าหวางหลาง (อองลอง) จนกระอักเลือดตาย โดยคำด่าเต็มๆ กล่าวไว้ประมาณว่า อองลองทำตัวเป็นบ่าวสองนายไม่มีผลงานใดๆ ในชีวิต ยังจะมีหน้ามาว่ากล่าวตักเตือนคน ช่างทำตัวเป็นเสมือนสุนัขขี้เรื้อนเห่ากรรโชกได้อย่างไร้ยางอายปัจจุบัน ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่โวยวายเสียงดังแต่ไร้สาระ ประหนึ่งสุนัขที่สักแต่จะเห่าไปอย่างนั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด จึงไม่แปลกที่ในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> นี้ คนจากสำนักผู้ตรวจการจึงโกรธฟ่านเสียนมากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://weibo.com/6356014463/OhILTDU5d Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/九辩/2482251 https://baike.baidu.com/item/宋玉/72945 https://www.ruanyifeng.com/blog/2006/02/post_174.html https://chuci.5000yan.com/jiubian/ #หาญท้าชะตาฟ้า #สุนัขเห่า #ซ่งอวี้ #จิ่วเปี้ยน #ฉู่ฉือ
    สุนัขเห่ากรรโชก วลีจาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ว่าเหล่าขุนนางจากสำนักผู้ตรวจการได้ร้องเรียนฟ่านเสียนว่ารับเงินสินบน และฟ่านเสียนมีปฏิกิริยาตอบกลับคือ ส่งภาพอักษรสี่ตัวให้กับสำนักผู้ตรวจการ ทำให้พวกเขายิ่งโกรธแค้นกระเหี้ยนกระหือรือจะเอาผิดฟ่านเสียนให้ได้ อักษรสี่ตัวนี้คือ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ (狺狺狂吠) ในซีรีส์พากย์ไทยแปลว่า ‘สุนัขเห่าโฮ่งๆ’ วลีนี้แปลว่าสุนัขเห่า แต่เพราะมีคำว่า ‘ขวาง’ ซึ่งแปลว่าบ้าคลั่ง มันจึงไม่ใช่สุนัขเห่าธรรมดา แต่เป็นการเห่าแบบกรรโชกแบบบ้าคลั่ง แต่ที่ดูแปลกตาสำหรับ Storyฯ คืออักษร ‘อิ๋น’ จึงลองไปหาข้อมูลดูพบว่ามันเป็นคำที่แทบไม่ค่อยเห็นในปัจจุบัน ‘อิ๋น’ มีที่มาจากบทกวีจีนโบราณที่มีชื่อว่า ‘จิ่วเปี้ยน’ (九辩 แปลได้ประมาณว่า คำถก 9 หัวข้อ) ซึ่งเป็นผลงานของซ่งอวี้ (宋玉) นักประพันธ์และขุนนางจากแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐ (มีชีวิตอยู่ช่วงปี 298-222 ก่อนคริสตกาล) เป็นบทร้อยกรองยาวกว่าสองร้อยห้าสิบวรรค เขียนขึ้นเมื่อปีที่เขาถูกปลดออกจากราชการตอนอายุห้าสิบปี เป็นวัยที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน บทกวีนี้จึงสะท้อนความรู้สึกหลากหลายโดยมีหัวข้อหลักคือความโศกเศร้าในสารทฤดู ถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบและเป็นหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อนี้เพราะสามารถชวนให้ผู้อ่านจินตนาการและมีอารมณ์ร่วมได้อย่างดีเลิศ(หมายเหตุ บทกวี ‘เติงเกา’ จากตู้ฝู่ซึ่งเป็นสุดยอดกลอนเจ็ดที่เอ่ยถึงในภาคแรกเป็นอีกหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อเดียวกันนี้ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/973244118137214)‘จิ่วเปี้ยน’ เปิดฉากมาด้วยการบรรยายความงามของฤดูใบไม้ร่วงที่ให้ความรู้สึกโศกเศร้า สะท้อนถึงความโดดเดี่ยวของคนที่ตกยากไร้ทรัพย์สินเงินทอง จากนั้นกล่าวถึงสตรีที่รักแล้วผิดหวังถูกทอดทิ้งสลับกับฉากเศร้าๆ ของสารทฤดูที่สะท้อนถึงอารมณ์ของนาง และวลีหมาเห่ากรรโชก ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ นี้มาจากฉากที่เล่าว่าสตรีผู้นี้พยายามจะเข้าไปหาคนรักแต่ถูกหมาเห่าขัดขวางไว้ไม่สามารถก้าวข้ามผ่านประตูไปได้ แต่จริงๆ แล้วฉากข้างต้นเป็นการอุปมาอุปไมยถึงคนที่พยายามเข้าหาแต่ไม่เป็นที่ต้องการ เพราะฉากถัดมากล่าวถึงคนที่พยายามทำตัวเป็นประโยชน์ ดุจขุนนางที่ต้องการรับใช้งานราชสำนัก แต่กลับไร้ซึ่งโอกาส ถูกกีดกันจากรอบด้าน ในขณะที่อำนาจตกไปอยู่ในมือที่ไม่สะอาดจนสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเมือง เป็นความโศกเศร้าของคนที่รู้สึกว่าตัวตนหายไปพร้อมกับโอกาสในชีวิตที่หายไปแล้ว ดังนั้น บทร้อยกรองนี้จึงเป็นการพัฒนาเนื้อหาอย่างต่อเนื่องจากความสดใสของธรรมชาติที่สูญหาย (lost nature) ไปสู่รักที่สูญหาย (lost love) ไปสู่ความเป็นตัวตนที่สูญหาย (lost man)ผลงานของซ่งอวี้ได้รับอิทธิพลจากกวีรุ่นก่อนคือชวีหยวน (屈原) บ้างว่าเขาเป็นศิษย์ของชวีหยวน ผลงานของพวกเขาถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของสไตล์ที่เรียกว่าจินตนิยมในวรรณกรรมจีนโบราณ กล่าวคือ ใช้การบรรยายธรรมชาติหรือวิถีชีวิตคนธรรมดาเร้าอารมณ์ และในขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงหลักความคิดหรืออุดมคติบางอย่าง แต่ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ เดิมเป็นเพียงการบรรยายถึงอาการเห่าอย่างบ้าคลั่งของสุนัข ไม่ได้มีความหมายอื่นแอบแฝง มันถูกใช้เปรียบเปรยถึงคนในเชิงดูแคลนตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่การใช้วลีนี้ในลักษณะด่าคนนี้มีตัวอย่างให้เห็นในซีรีส์ ‘สามก๊ก’ เวอร์ชั่นปี 1994 ในตอนที่ขงเบ้งด่าหวางหลาง (อองลอง) จนกระอักเลือดตาย โดยคำด่าเต็มๆ กล่าวไว้ประมาณว่า อองลองทำตัวเป็นบ่าวสองนายไม่มีผลงานใดๆ ในชีวิต ยังจะมีหน้ามาว่ากล่าวตักเตือนคน ช่างทำตัวเป็นเสมือนสุนัขขี้เรื้อนเห่ากรรโชกได้อย่างไร้ยางอายปัจจุบัน ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่โวยวายเสียงดังแต่ไร้สาระ ประหนึ่งสุนัขที่สักแต่จะเห่าไปอย่างนั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด จึงไม่แปลกที่ในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> นี้ คนจากสำนักผู้ตรวจการจึงโกรธฟ่านเสียนมากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://weibo.com/6356014463/OhILTDU5d Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/九辩/2482251 https://baike.baidu.com/item/宋玉/72945 https://www.ruanyifeng.com/blog/2006/02/post_174.html https://chuci.5000yan.com/jiubian/ #หาญท้าชะตาฟ้า #สุนัขเห่า #ซ่งอวี้ #จิ่วเปี้ยน #ฉู่ฉือ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 282 มุมมอง 0 รีวิว