• ควันหลงจากงานโอลิมปิกฤดูหนาวที่ประเทศจีน สืบเนื่องจาก ‘เงื่อนจีน’ หรือที่เรียกว่า ‘จงกั๋วเจี๋ย’ (中国结) ถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของงาน แม้แต่พิธีปิดยังมีให้เห็น เพื่อนเพจหลายคนคงคุ้นหน้าคุ้นตากันบ้างอยู่แล้ว วันนี้เรามาคุยกันเบาๆ เกี่ยวกับเงื่อนจีน

    คำว่าเงื่อนหรือ ‘เจี๋ย’ นั้น ในความหมายจีนแปลได้อีกว่าความผูกพันหรือความเชื่อมโยงหรือความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน จึงเป็นที่มาของการถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของงานโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ภายใต้คำขวัญ “ก้าวสู่อนาคตไปด้วยกัน”

    เงื่อนจีนถูกค้นพบขึ้นเมื่อใดไม่ชัดเจน ทราบแต่ว่ามนุษย์เรารู้จักการผูกเงื่อนมาตั้งแต่สมัยยุคหิน ในสมัยดึกดำบรรพ์ใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือล่าสัตว์หรือเครื่องมือช่วยดำรงชีพอื่นๆ และลวดลายและวิธีผูกเงื่อนพัฒนามาเรื่อยๆ หลังจากนั้น ในยุคสมัยชุนชิว เงื่อนจีนถูกนำมาใช้อย่างหลากหลาย เช่นเป็นกระดุม ใช้ผูกพวงเหรียญไว้พกพา และถูกนำมาใช้ในการสื่อสารหรือจดจำเหตุการณ์ ในบันทึกเกี่ยวกับราชวงศ์ฮั่น (ปี 202 ก่อนคริสตกาล - ปีค.ศ. 220) มีการกล่าวถึงหลักการจารึกเหตุการณ์ต่างๆ ไว้ว่า ‘เหตุการณ์ใหญ่ ใช้เงื่อนใหญ่ เรื่องเล็ก ใช้เงื่อนเล็ก’ และมีการใช้ลายเงื่อนที่แตกต่างกันสำหรับหมวดหมู่ที่แตกต่างของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

    เงื่อนจีนถูกยกระดับเป็นศิลปะอย่างหนึ่งและแพร่หลายเป็นอย่างมากในยุคสมัยราชวงศ์ถังและซ่ง มีการนำมาใช้เป็นสร้อยหรืออุบะสำหรับเครื่องประดับหลายชนิดเช่นป้ายหยก พัด ขลุ่ย กระบี่ ถุงหอม ฯลฯ และในยุคสมัยราชวงศ์หมิงและชิงก็ยิ่งพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นในเรื่องของความหลากหลายของลวดลายและความวิจิตร มีการตั้งชื่อและคิดค้นลายใหม่ๆ ขึ้นมากมาย รวมถึงการนำมาใช้ประดับบ้านเรือน

    เงื่อนจีนแตกต่างจากเงื่อนในวัฒนธรรมฟากตะวันตกอย่างไร? เอกลักษณ์ของเงื่อนจีนคือผูกขึ้นด้วยเชือกเส้นเดียวเท่านั้น เป็นการผูกสองชั้นดังนั้นลายหน้าหลังจะเหมือนกัน Storyฯ อ่านเจอว่าเงื่อนจีนที่วางขายในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้เชือกยาวมาตรฐานประมาณหนึ่งเมตร

    ลายเงื่อนจีนมีใช้เป็นสัญลักษณ์ในหลายกรณี เช่นเพื่อเป็นของมงคล หรือปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย และใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและความผูกพัน ชื่อเรียกก็มีหลากหลาย โดยลายที่เราเห็นในงานโอลิมปิกฤดูหนาวปีนี้ (ดูภาพประกอบ) มีชื่อเรียกว่า ‘เงื่อนมงคล’ (จี๋เสียงเจี๋ย/吉祥结) ว่ากันว่าลายพื้นฐานนี้เป็นหนึ่งในลายที่เก่าแก่ที่สุดของเงื่อนจีน พัฒนาขึ้นมาในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นสัญลักษณ์ของความสงบสุข โชคลาภ รวมถึงช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย

    (หมายเหตุ เพื่อนเพจที่สนใจชนิดของเงื่อนต่างๆ ดูได้ที่นี่ค่ะ https://tcm.dtam.moph.go.th/images/files/kch002.pdf)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.fudan.edu.cn/en/2022/0208/c1092a130100/page.htm
    https://www.chinadaily.com.cn/a/202202/21/WS62134c14a310cdd39bc87f6d_5.html
    https://kknews.cc/culture/25y4r.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://kknews.cc/culture/yjgakzn.html
    https://baike.baidu.com/item/中国结/187053
    https://www.aizsg.com/post/9365.html

    #สัญลักษณ์โอลิมปิก2022 #เงื่อนจีน #ผูกเชือกจีน #จงกั๋วเจี๋ย #จี๋เสียงเจี๋ยน
    ควันหลงจากงานโอลิมปิกฤดูหนาวที่ประเทศจีน สืบเนื่องจาก ‘เงื่อนจีน’ หรือที่เรียกว่า ‘จงกั๋วเจี๋ย’ (中国结) ถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของงาน แม้แต่พิธีปิดยังมีให้เห็น เพื่อนเพจหลายคนคงคุ้นหน้าคุ้นตากันบ้างอยู่แล้ว วันนี้เรามาคุยกันเบาๆ เกี่ยวกับเงื่อนจีน คำว่าเงื่อนหรือ ‘เจี๋ย’ นั้น ในความหมายจีนแปลได้อีกว่าความผูกพันหรือความเชื่อมโยงหรือความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน จึงเป็นที่มาของการถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของงานโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ภายใต้คำขวัญ “ก้าวสู่อนาคตไปด้วยกัน” เงื่อนจีนถูกค้นพบขึ้นเมื่อใดไม่ชัดเจน ทราบแต่ว่ามนุษย์เรารู้จักการผูกเงื่อนมาตั้งแต่สมัยยุคหิน ในสมัยดึกดำบรรพ์ใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือล่าสัตว์หรือเครื่องมือช่วยดำรงชีพอื่นๆ และลวดลายและวิธีผูกเงื่อนพัฒนามาเรื่อยๆ หลังจากนั้น ในยุคสมัยชุนชิว เงื่อนจีนถูกนำมาใช้อย่างหลากหลาย เช่นเป็นกระดุม ใช้ผูกพวงเหรียญไว้พกพา และถูกนำมาใช้ในการสื่อสารหรือจดจำเหตุการณ์ ในบันทึกเกี่ยวกับราชวงศ์ฮั่น (ปี 202 ก่อนคริสตกาล - ปีค.ศ. 220) มีการกล่าวถึงหลักการจารึกเหตุการณ์ต่างๆ ไว้ว่า ‘เหตุการณ์ใหญ่ ใช้เงื่อนใหญ่ เรื่องเล็ก ใช้เงื่อนเล็ก’ และมีการใช้ลายเงื่อนที่แตกต่างกันสำหรับหมวดหมู่ที่แตกต่างของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เงื่อนจีนถูกยกระดับเป็นศิลปะอย่างหนึ่งและแพร่หลายเป็นอย่างมากในยุคสมัยราชวงศ์ถังและซ่ง มีการนำมาใช้เป็นสร้อยหรืออุบะสำหรับเครื่องประดับหลายชนิดเช่นป้ายหยก พัด ขลุ่ย กระบี่ ถุงหอม ฯลฯ และในยุคสมัยราชวงศ์หมิงและชิงก็ยิ่งพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นในเรื่องของความหลากหลายของลวดลายและความวิจิตร มีการตั้งชื่อและคิดค้นลายใหม่ๆ ขึ้นมากมาย รวมถึงการนำมาใช้ประดับบ้านเรือน เงื่อนจีนแตกต่างจากเงื่อนในวัฒนธรรมฟากตะวันตกอย่างไร? เอกลักษณ์ของเงื่อนจีนคือผูกขึ้นด้วยเชือกเส้นเดียวเท่านั้น เป็นการผูกสองชั้นดังนั้นลายหน้าหลังจะเหมือนกัน Storyฯ อ่านเจอว่าเงื่อนจีนที่วางขายในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้เชือกยาวมาตรฐานประมาณหนึ่งเมตร ลายเงื่อนจีนมีใช้เป็นสัญลักษณ์ในหลายกรณี เช่นเพื่อเป็นของมงคล หรือปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย และใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและความผูกพัน ชื่อเรียกก็มีหลากหลาย โดยลายที่เราเห็นในงานโอลิมปิกฤดูหนาวปีนี้ (ดูภาพประกอบ) มีชื่อเรียกว่า ‘เงื่อนมงคล’ (จี๋เสียงเจี๋ย/吉祥结) ว่ากันว่าลายพื้นฐานนี้เป็นหนึ่งในลายที่เก่าแก่ที่สุดของเงื่อนจีน พัฒนาขึ้นมาในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นสัญลักษณ์ของความสงบสุข โชคลาภ รวมถึงช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย (หมายเหตุ เพื่อนเพจที่สนใจชนิดของเงื่อนต่างๆ ดูได้ที่นี่ค่ะ https://tcm.dtam.moph.go.th/images/files/kch002.pdf) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.fudan.edu.cn/en/2022/0208/c1092a130100/page.htm https://www.chinadaily.com.cn/a/202202/21/WS62134c14a310cdd39bc87f6d_5.html https://kknews.cc/culture/25y4r.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://kknews.cc/culture/yjgakzn.html https://baike.baidu.com/item/中国结/187053 https://www.aizsg.com/post/9365.html #สัญลักษณ์โอลิมปิก2022 #เงื่อนจีน #ผูกเชือกจีน #จงกั๋วเจี๋ย #จี๋เสียงเจี๋ยน
    1 Comments 0 Shares 264 Views 0 Reviews
  • แฟนละคร/นิยายจีนคงคุ้นเคยดีกับโครงเรื่องที่มีการชิงอำนาจทางการเมืองด้วยการจัดให้มีการแต่งงานระหว่างตระกูลดังกับเชื้อพระวงศ์ จนเกิดเป็นแรงกดดันมหาศาลให้กับตัวละครเอก บางคนอาจเคยบ่นว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’

    วันนี้ Storyฯ ยกตัวอย่างมาคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจ (เรียกรวมว่า สื้อเจีย / 世家)
    เป็นหนึ่งในตระกูลที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์ตอนต้นและกลางของจีนโบราณก็ว่าได้

    ความมีอยู่ว่า
    ....ตระกูลชุยจากชิงเหอรุ่นนี้ สายหลักของตระกูลมีนางเป็นบุตรีโทนแต่เพียงผู้เดียว ... และตระกูลชุยกำลังรุ่งเรือง นางยังอยู่ในท้องของมารดาก็ได้รับการหมั้นหมายให้กับองค์ชายรัชทายาทแล้ว....
    - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ชิงเหอคือพื้นที่ทางด้านเหนือของจีน (แถบเหอหนาน เหอเป่ยและซานตง) ในสมัยจีนตอนต้นมีสถานะเป็นแคว้นบ้างหรือรองลงมาเป็นจวิ้น (郡) บ้าง ซึ่งนับเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ มีหลายตระกูลดังในประวัติศาตร์จีนที่มาจากพื้นที่แถบนี้ หนึ่งในนั้นคือตระกูลชุย

    ตระกูลชุยมีรากฐานยาวนานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและรวมถึงชาวเผ่าพันธุ์อื่นที่หันมาใช้สกุลนี้ รับราชการในตำแหน่งสำคัญมาหลายยุคสมัย แตกมาเป็นสายที่เรียกว่า ‘ตระกูลชุยจากชิงเหอ’ ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) เมื่อชุยเหลียง (ทายาทรุ่นที่ 7) ได้รับการอวยยศเป็นโหวและได้รับพระราชทานเขตการปกครองชิงเหอนี้ และต่อมาตระกูลชุยจากชิงเหอมีแตกสายย่อยไปอีกรวมเป็นหกสาย

    ตระกูลชุยจากชิงเหอที่กล่าวถึงในละครข้างต้น ‘ไม่ธรรมดา’ แค่ไหน?

    ตระกูลชุยจากชิงเหอรับราชการระดับสูงต่อเนื่อง ผ่านร้อนผ่านหนาวแต่อยู่ยงคงกระพันมากว่า 700 ปี ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ในบรรดาสี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) และในสมัยราชวงศ์ถังก็เป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) อันเป็นตระกูลชั้นสูงที่ต่อมาถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างฐานอำนาจมากเกินไป

    มีคนจากตระกูลชุยจากชิงเหอนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) หรือตำแหน่งที่สูงคล้ายกันมากมายหลายรุ่น เฉพาะในสมัยราชวงศ์ถังที่ยาวนานเกือบสามร้อยปีก็มีถึง 12 คน (ถ้ารวมตระกูลชุยสายอื่นมีอีก 10 คน) มีจอหงวน 11 คน ยังไม่รวมที่รับราชการในตำแหน่งอื่น ที่กุมอำนาจทางการทหาร ที่เป็นผู้นำทางความคิด (นักปราชญ์ กวีชื่อดัง) และที่เป็นลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังในตำแหน่งต่างๆ อีกจำนวนไม่น้อย จวบจนสมัยซ่งใต้ ฐานอำนาจของตระกูลนี้จึงเสื่อมจางลงเหมือนกับตระกูลสื้อเจียอื่นๆ

    ทำไมต้องพูดถึงตระกูลชุยจากชิงเหอ? Storyฯ เล่าเป็นตัวอย่างของเหล่าตระกูลสื้อเจียค่ะ จากที่เคยคิดว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ แต่พอมาเห็นรากฐานของตระกูลสื้อเจียเหล่านี้ เราจะได้อรรถรสเลยว่า ‘ฐานอำนาจ’ ที่เขาพูดถึงกันนั้น มันหยั่งรากลึกแค่ไหน? เหตุใดตัวละครเอกมักรู้สึกถูกกดดันมากมาย? และเพราะเหตุใดมันจึงฝังรากลึกในวัฒนธรรมจีนโบราณ? เพราะมันไม่ใช่เรื่องของหนึ่งหรือสองชั่วอายุคน แต่เรากำลังพูดถึงฐานอำนาจหลายร้อยปีที่แทรกซึมเข้าไปในสังคมโดยมีประมุขใหญ่ของตระกูลในแต่ละรุ่นเป็นแกนนำสำคัญ

    Storyฯ หวังว่าเพื่อนๆ จะดูละครได้อรรถรสยิ่งขึ้นนะคะ ใครเห็นบทบาทของคนในตระกูลชุยในละครเรื่องอื่นใดอีกหรือหากนึกถึงตระกูลอื่นที่คล้ายคลึงก็เม้นท์มาได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/484438060_121051662
    https://www.sohu.com/a/485012584_100151502
    https://www.sohu.com/a/489015136_120827444

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/FNSTJKT60543BK4H.html
    https://new.qq.com/omn/20211021/20211021A09WBQ00.html
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_16209361
    https://www.baike.com/wiki/清河崔氏
    https://zh.wikipedia.org/wiki/清河崔氏

    #กระดูกงดงาม #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #สื้อเจีย
    แฟนละคร/นิยายจีนคงคุ้นเคยดีกับโครงเรื่องที่มีการชิงอำนาจทางการเมืองด้วยการจัดให้มีการแต่งงานระหว่างตระกูลดังกับเชื้อพระวงศ์ จนเกิดเป็นแรงกดดันมหาศาลให้กับตัวละครเอก บางคนอาจเคยบ่นว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ วันนี้ Storyฯ ยกตัวอย่างมาคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจ (เรียกรวมว่า สื้อเจีย / 世家) เป็นหนึ่งในตระกูลที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์ตอนต้นและกลางของจีนโบราณก็ว่าได้ ความมีอยู่ว่า ....ตระกูลชุยจากชิงเหอรุ่นนี้ สายหลักของตระกูลมีนางเป็นบุตรีโทนแต่เพียงผู้เดียว ... และตระกูลชุยกำลังรุ่งเรือง นางยังอยู่ในท้องของมารดาก็ได้รับการหมั้นหมายให้กับองค์ชายรัชทายาทแล้ว.... - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) ชิงเหอคือพื้นที่ทางด้านเหนือของจีน (แถบเหอหนาน เหอเป่ยและซานตง) ในสมัยจีนตอนต้นมีสถานะเป็นแคว้นบ้างหรือรองลงมาเป็นจวิ้น (郡) บ้าง ซึ่งนับเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ มีหลายตระกูลดังในประวัติศาตร์จีนที่มาจากพื้นที่แถบนี้ หนึ่งในนั้นคือตระกูลชุย ตระกูลชุยมีรากฐานยาวนานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและรวมถึงชาวเผ่าพันธุ์อื่นที่หันมาใช้สกุลนี้ รับราชการในตำแหน่งสำคัญมาหลายยุคสมัย แตกมาเป็นสายที่เรียกว่า ‘ตระกูลชุยจากชิงเหอ’ ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) เมื่อชุยเหลียง (ทายาทรุ่นที่ 7) ได้รับการอวยยศเป็นโหวและได้รับพระราชทานเขตการปกครองชิงเหอนี้ และต่อมาตระกูลชุยจากชิงเหอมีแตกสายย่อยไปอีกรวมเป็นหกสาย ตระกูลชุยจากชิงเหอที่กล่าวถึงในละครข้างต้น ‘ไม่ธรรมดา’ แค่ไหน? ตระกูลชุยจากชิงเหอรับราชการระดับสูงต่อเนื่อง ผ่านร้อนผ่านหนาวแต่อยู่ยงคงกระพันมากว่า 700 ปี ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ในบรรดาสี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) และในสมัยราชวงศ์ถังก็เป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) อันเป็นตระกูลชั้นสูงที่ต่อมาถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างฐานอำนาจมากเกินไป มีคนจากตระกูลชุยจากชิงเหอนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) หรือตำแหน่งที่สูงคล้ายกันมากมายหลายรุ่น เฉพาะในสมัยราชวงศ์ถังที่ยาวนานเกือบสามร้อยปีก็มีถึง 12 คน (ถ้ารวมตระกูลชุยสายอื่นมีอีก 10 คน) มีจอหงวน 11 คน ยังไม่รวมที่รับราชการในตำแหน่งอื่น ที่กุมอำนาจทางการทหาร ที่เป็นผู้นำทางความคิด (นักปราชญ์ กวีชื่อดัง) และที่เป็นลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังในตำแหน่งต่างๆ อีกจำนวนไม่น้อย จวบจนสมัยซ่งใต้ ฐานอำนาจของตระกูลนี้จึงเสื่อมจางลงเหมือนกับตระกูลสื้อเจียอื่นๆ ทำไมต้องพูดถึงตระกูลชุยจากชิงเหอ? Storyฯ เล่าเป็นตัวอย่างของเหล่าตระกูลสื้อเจียค่ะ จากที่เคยคิดว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ แต่พอมาเห็นรากฐานของตระกูลสื้อเจียเหล่านี้ เราจะได้อรรถรสเลยว่า ‘ฐานอำนาจ’ ที่เขาพูดถึงกันนั้น มันหยั่งรากลึกแค่ไหน? เหตุใดตัวละครเอกมักรู้สึกถูกกดดันมากมาย? และเพราะเหตุใดมันจึงฝังรากลึกในวัฒนธรรมจีนโบราณ? เพราะมันไม่ใช่เรื่องของหนึ่งหรือสองชั่วอายุคน แต่เรากำลังพูดถึงฐานอำนาจหลายร้อยปีที่แทรกซึมเข้าไปในสังคมโดยมีประมุขใหญ่ของตระกูลในแต่ละรุ่นเป็นแกนนำสำคัญ Storyฯ หวังว่าเพื่อนๆ จะดูละครได้อรรถรสยิ่งขึ้นนะคะ ใครเห็นบทบาทของคนในตระกูลชุยในละครเรื่องอื่นใดอีกหรือหากนึกถึงตระกูลอื่นที่คล้ายคลึงก็เม้นท์มาได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/484438060_121051662 https://www.sohu.com/a/485012584_100151502 https://www.sohu.com/a/489015136_120827444 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/FNSTJKT60543BK4H.html https://new.qq.com/omn/20211021/20211021A09WBQ00.html https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_16209361 https://www.baike.com/wiki/清河崔氏 https://zh.wikipedia.org/wiki/清河崔氏 #กระดูกงดงาม #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #สื้อเจีย
    1 Comments 0 Shares 255 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์ที่แล้วคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจหรือที่เรียกรวมว่า ‘สื้อเจีย’ (世家) มีเพื่อนเพจสนใจไม่น้อย ให้หาเรื่องราวตระกูลสื้อเจียอื่นมาเล่าให้ฟังอีก Storyฯ เล่าแบบคร่าวๆ นะคะ

    วันนี้เริ่มต้นที่สี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) สี่ตระกูลนี้คือ ชุยแห่งชิงเหอ (ที่ Storyฯ พูดถึงเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว) หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และหวางแห่งไท่หยวน

    จะเห็นว่าคำกล่าวเรียกมีสององค์ประกอบคือ แซ่/สกุล และพื้นที่การปกครอง ดังนั้น ในบรรดาสายตระกูลที่จะเล่าถึงต่อไปนี้ อาจมีบางแซ่ที่ใช้กันแพร่หลาย แต่เขาจะมี ‘สายแข็ง’ ของเขาค่ะ

    ตระกูลหลูแห่งลั่วหยาง (范阳卢氏) มีภูมิลำเนาเดิมอยู่แถบพื้นที่เหอเป่ยและเหอหนาน แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและชนกลุ่มอื่น มีผู้รับราชการตำแหน่งสูงหลายคน ต้นตระกูลที่โด่งดังมากคือประมุขรุ่นที่ 13 หลูอ๋าว ผู้ดำรงตำแหน่งอู่จิงป๋อซื่อ (五经博士 / ราชบัณฑิตห้าวิชา) ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) และรุ่นหลานของเขา หลูจื๋อ มีผลงานช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกจนได้รับพระราชทานเขตการปกครองจัวโจวซึ่งครอบคลุมลั่วหยาง

    ตระกูลหลูสายลั่วหยางเป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) ในสมัยถังเช่นเดียวกับตระกูลชุยแห่งชิงเหอ สร้างฐานอำนาจมาจากสายบุ๋นต่อมาจึงขยายอิทธิพลไปยังด้านอื่น ในประวัติอันยาวนานหลายร้อยปีของตระกูลหลูแห่งลั่วหยางนี้ มีพระราชบุตรเขยในสมัยเว่ยเหนือถึงสามคน มีที่ดำรงตำแหน่งราชครูหลายคน เช่นในสมัยองค์โจวอู่ตี้ (ค.ศ. 543-578) ในสมัยถังมีเป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) 8 คน ยังไม่รวมข้าราชการระดับอื่น อีกทั้งยังมีกวีเอกเลื่องชื่อและลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังอีกหลายคน

    ตระกูลเจิ้งแห่งสิงหยาง (荥阳郑氏) มีรากเหง้ามาจากแคว้นเจิ้งในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) รับราชการมีชื่อเสียงมาตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในตำแหน่งระดับสูงเช่นกัน ปักหลักอยู่บริเวณไคเฟิงในพื้นที่เหอหนาน ในสมัยถังมีเป็นอัครมหาเสนาบดี 10 คน และข้าราชการระดับราชเลขาธิการและระดับสูงอื่นๆ อีกหลายคนทั้งสายบุ๋นและสายบู๊ แน่นอนว่ายังไม่รวมฝ่ายหญิงก็มีการแต่งเข้าวังหลายคนในหลายราชวงศ์

    ตระกูลหวางแห่งไท่หยวน (太原王氏) มีมาแต่ยุคสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก มีภูมิลำเนาอยู่ที่เขตการปกครองไท่หยวนจวิ้นทางด้านเหนือของจีน ในสมัยสามก๊กรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก รับราชการในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง มีผลงานโดดเด่นในการช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ลูกหลานฝ่ายหญิงได้ดิบได้ดีเป็นถึงฮองเฮาด้วยกันสองคน ตระกูลหวางอยู่ยงคงกระพันรับราชการต่อเนื่องยาวนานกว่าหนึ่งพันเจ็ดร้อยปี แต่มีการถกเถียงกันว่าเป็นตระกูลหวางสายไหน เพราะในบันทึกของสมัยเว่ยเหนือกล่าวถึงตระกูลหวางแห่งไท่หยวน แต่พอมาถึงราชวงศ์ถังนั้น หนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) มีตระกูลหวาง แต่บ้างว่าเป็นสายหลางหยา บ้างว่าเป็นสายไท่หยวน

    เรื่องห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) แปะไว้ก่อน คุยต่อคราวหน้าค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.zhlsw.cn/readnews.asp?newsid=2349
    http://www.wang-shi.com/html/80/n-980.html
    https://baike.baidu.com/item卢氏家谱/5980451
    https://page.om.qq.com/page/O5ihK_EMn_MqZEggEVq1jLwA0
    https://www.baike.com/wikiid/7851417530740071880?prd=mobile&view_id=1sf2g14c6sf400
    http://www.qulishi.com/article/201910/371662.html
    https://m.samrugs.com/shijiezhizui/zhongguo/60003.html

    #ตระกูลหลู #สกุลหลู #ตระกูลเจิ้ง #สกุลเจิ้ง #ตระกูลหวาง #สกุลหวาง #สื้อเจีย
    สัปดาห์ที่แล้วคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจหรือที่เรียกรวมว่า ‘สื้อเจีย’ (世家) มีเพื่อนเพจสนใจไม่น้อย ให้หาเรื่องราวตระกูลสื้อเจียอื่นมาเล่าให้ฟังอีก Storyฯ เล่าแบบคร่าวๆ นะคะ วันนี้เริ่มต้นที่สี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) สี่ตระกูลนี้คือ ชุยแห่งชิงเหอ (ที่ Storyฯ พูดถึงเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว) หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และหวางแห่งไท่หยวน จะเห็นว่าคำกล่าวเรียกมีสององค์ประกอบคือ แซ่/สกุล และพื้นที่การปกครอง ดังนั้น ในบรรดาสายตระกูลที่จะเล่าถึงต่อไปนี้ อาจมีบางแซ่ที่ใช้กันแพร่หลาย แต่เขาจะมี ‘สายแข็ง’ ของเขาค่ะ ตระกูลหลูแห่งลั่วหยาง (范阳卢氏) มีภูมิลำเนาเดิมอยู่แถบพื้นที่เหอเป่ยและเหอหนาน แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและชนกลุ่มอื่น มีผู้รับราชการตำแหน่งสูงหลายคน ต้นตระกูลที่โด่งดังมากคือประมุขรุ่นที่ 13 หลูอ๋าว ผู้ดำรงตำแหน่งอู่จิงป๋อซื่อ (五经博士 / ราชบัณฑิตห้าวิชา) ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) และรุ่นหลานของเขา หลูจื๋อ มีผลงานช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกจนได้รับพระราชทานเขตการปกครองจัวโจวซึ่งครอบคลุมลั่วหยาง ตระกูลหลูสายลั่วหยางเป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) ในสมัยถังเช่นเดียวกับตระกูลชุยแห่งชิงเหอ สร้างฐานอำนาจมาจากสายบุ๋นต่อมาจึงขยายอิทธิพลไปยังด้านอื่น ในประวัติอันยาวนานหลายร้อยปีของตระกูลหลูแห่งลั่วหยางนี้ มีพระราชบุตรเขยในสมัยเว่ยเหนือถึงสามคน มีที่ดำรงตำแหน่งราชครูหลายคน เช่นในสมัยองค์โจวอู่ตี้ (ค.ศ. 543-578) ในสมัยถังมีเป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) 8 คน ยังไม่รวมข้าราชการระดับอื่น อีกทั้งยังมีกวีเอกเลื่องชื่อและลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังอีกหลายคน ตระกูลเจิ้งแห่งสิงหยาง (荥阳郑氏) มีรากเหง้ามาจากแคว้นเจิ้งในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) รับราชการมีชื่อเสียงมาตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในตำแหน่งระดับสูงเช่นกัน ปักหลักอยู่บริเวณไคเฟิงในพื้นที่เหอหนาน ในสมัยถังมีเป็นอัครมหาเสนาบดี 10 คน และข้าราชการระดับราชเลขาธิการและระดับสูงอื่นๆ อีกหลายคนทั้งสายบุ๋นและสายบู๊ แน่นอนว่ายังไม่รวมฝ่ายหญิงก็มีการแต่งเข้าวังหลายคนในหลายราชวงศ์ ตระกูลหวางแห่งไท่หยวน (太原王氏) มีมาแต่ยุคสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก มีภูมิลำเนาอยู่ที่เขตการปกครองไท่หยวนจวิ้นทางด้านเหนือของจีน ในสมัยสามก๊กรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก รับราชการในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง มีผลงานโดดเด่นในการช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ลูกหลานฝ่ายหญิงได้ดิบได้ดีเป็นถึงฮองเฮาด้วยกันสองคน ตระกูลหวางอยู่ยงคงกระพันรับราชการต่อเนื่องยาวนานกว่าหนึ่งพันเจ็ดร้อยปี แต่มีการถกเถียงกันว่าเป็นตระกูลหวางสายไหน เพราะในบันทึกของสมัยเว่ยเหนือกล่าวถึงตระกูลหวางแห่งไท่หยวน แต่พอมาถึงราชวงศ์ถังนั้น หนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) มีตระกูลหวาง แต่บ้างว่าเป็นสายหลางหยา บ้างว่าเป็นสายไท่หยวน เรื่องห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) แปะไว้ก่อน คุยต่อคราวหน้าค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.zhlsw.cn/readnews.asp?newsid=2349 http://www.wang-shi.com/html/80/n-980.html https://baike.baidu.com/item卢氏家谱/5980451 https://page.om.qq.com/page/O5ihK_EMn_MqZEggEVq1jLwA0 https://www.baike.com/wikiid/7851417530740071880?prd=mobile&view_id=1sf2g14c6sf400 http://www.qulishi.com/article/201910/371662.html https://m.samrugs.com/shijiezhizui/zhongguo/60003.html #ตระกูลหลู #สกุลหลู #ตระกูลเจิ้ง #สกุลเจิ้ง #ตระกูลหวาง #สกุลหวาง #สื้อเจีย
    1 Comments 0 Shares 317 Views 0 Reviews
  • วันนี้คุยกันต่อเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจหรือที่เรียกรวมว่า ‘สื้อเจีย’ (世家) ซึ่งอยู่ยงคงกระพันคู่กับจีนโบราณเป็นร้อยเป็นพันปี ก่อนหน้านี้เล่าว่า สี่ตระกูลใหญ่ในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือคือ ชุยแห่งชิงเหอ หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และหวางแห่งไท่หยวน

    แต่อย่างที่ Storyฯ กล่าวไว้สัปดาห์ที่แล้ว พอมาถึงราชวงศ์ถังมีการพูดถึง ‘ห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย’ (五姓七族 หรือ 五姓七望) ซึ่งรวมถึงตระกูลหวาง แต่บ้างว่าเป็นสายไท่หยวน บ้างว่าเป็นสายหลางหยา

    เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนต้องเคยได้ยินชื่อตระกูลหวางสายหลางหยานี้จากละครและนิยายหลายเรื่อง (เช่นตัวอย่างจากละครเรื่อง <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์>) และคง ‘เอ๊ะ’ ว่าต่างกันอย่างไร

    หลังจากไปทำการบ้านมา Storyฯ พบว่าข้อมูลค่อนข้างสับสนและมีความขัดแย้งกันตรงที่ว่า มีหลายการวิเคราะห์บอกว่าทั้งสองสายนี้คือสายเดียวกัน แต่ก็มีบ้างที่พยายามจะจำแนกแยกจากกันให้ชัด แต่ Storyฯ คิดว่าเราคงไม่ได้ต้องการมาลำดับพงศาวลีของเขากัน เลยสรุปให้ฟังพอหอมปากหอมคอดังนี้ค่ะ

    ทั้งสองสายของตระกูลหวางนี้มีรากเหง้าเดียวกันคือสืบเชื้อสายมาจากองค์ชายรัชทายาทจิ้นหรือ ‘หวางจื่อจิ้น’ แห่งราชวงศ์โจวตะวันออก (ประมาณปี 576-546 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งภายหลังจากถูกริบฐานันดรศักดิ์ได้ใช้สกุลหวาง ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฉินมีทายาทของสายนี้คือแม่ทัพ ‘หวางหลี’ ที่โด่งดัง สายไท่หยวนมาจากลูกชายคนโตของแม่ทัพหวางหลีนี้ และสายหลางหยามาจากลูกชายคนรองซึ่งในตอนกลียุคช่วงปลายฉินได้ย้ายไปตั้งรกรากอยู่ที่เขตการปกครองหลางหยาจวิ้น และเนื่องจากต้นตอของคนที่ใช้สกุลหวางมีมากกว่าสายหวางจื่อจิ้นนี้ ดังนั้นในสมัยราชวงศ์ถังมีการกล่าวถึง ‘ชนรุ่นหลังของหวางจื่อจิ้น’ ทำให้ตีความได้ว่าในยุคนั้นมองทั้งสายไท่หยวนและสายหลางหยาเป็นก๊วนเดียวกัน

    ห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายในสมัยถังมีใครบ้าง?

    นอกจากหวางแห่งหลางหยา/ไท่หยวน ก็มีสื้อเจียจากสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือคือ ชุยแห่งชิงเหอ หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และมีเพิ่มเติมมาคือ ชุยแห่งป๋อหลิง (博陵崔氏) หลี่แห่งหลงซี (陇西李氏) หลี่แห่งเจ้าจวิ้น (赵郡李氏)

    ตระกูลชุยสายป๋อหลิงแม้ไม่เรืองอำนาจเท่าสายชิงเหอในสมัยเว่ยเหนือแต่ก็จัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่ง ‘สายแข็ง’ ของตระกูลชุย ฐานอำนาจเข้มแข็งขึ้นในสมัยราชวงศ์โจวเหนือ (ปีค.ศ. 557 – 581) พื้นเพเดิมมาจากทางเหนือแต่เป็นสายที่ปกครองพื้นที่อันผิงและแตกสกุลมาจากสกุลเจียงเหมือนกัน

    ส่วนตระกูลหลี่ทั้งสองสายนั้นมีต้นตระกูลที่มีชื่อเสียงมาแล้วหลายร้อยปีเช่นกัน มีผลงานโดดเด่นในการช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) ในรัชสมัยขององค์ถังไท่จงหรือหลี่ซื่อหมิน (ค.ศ. 626-649) ทรงเห็นว่าขุนนางใหญ่ให้ความสำคัญกับการแต่งงานในสื้อเจียด้วยกันจนถึงขนาดปฏิเสธที่จะแต่งงานกับองค์หญิงองค์ชาย และทรงมองว่าราชสกุลหลี่ไม่ควรน้อยหน้า จึงได้โปรดเกล้าให้จัดทำลำดับตระกูลขึ้นใหม่ในบันทึก ‘ซื่อจู๋จื้อ” (氏族志) โดยให้ตระกูลหลี่แห่งหลงซีขึ้นรั้งลำดับแรก

    ต่อมาในรัชสมัยองค์ถังเกาจง (ค.ศ. 649-683) ทรงบัญญัติห้ามคนในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายนี้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้ฐานอำนาจของเหล่าขุนนางมีมากเกินไป (หมายเหตุ บ้างก็เรียกเป็น ‘เจ็ดสกุลสิบเชื้อสาย’ เนื่องจากมีการระบุรายนามข้าราชการระดับสูงทั้งหมดสิบคน แต่จริงๆ แล้วล้วนเป็นเชื้อสายของห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายที่กล่าวถึงข้างต้น)

    แน่นอนว่าในยุคสมัยต่างๆ อาจมีการจัดอันดับ Top 4 หรือ Top 5 ที่แตกต่างกันไปบ้าง ตระกูลอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงและถูกเรียกรวมเป็นสื้อเจียยังมีอีก เช่น เซียว เซี่ย เป็นต้น

    จบเรื่องราวของตระกูลสื้อเจียแต่เพียงเท่านี้ เพื่อนๆ ที่ดูละครสมัยราชวงศ์ถังหรือก่อนหน้านั้น ลองสังเกตหาสกุลเหล่านี้ดูนะคะว่าเขาพยายามชิงอำนาจหรือรวมพลังกันอย่างไร

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.zhuijudashi.com/guocanju/shangyangfu/
    https://www.jiapu.tv/tuteng/056/. https://3g.jiapu.tv/tuteng/001/, https://3g.jiapu.tv/tuteng/052/, https://www.jiapu.tv/tuteng/002/, https://www.jiapu.tv/tuteng/021/

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.samrugs.com/shijiezhizui/zhongguo/60003.html
    https://kknews.cc/other/5o6qb9l.html
    https://baike.baidu.com/item/七姓十家/10749857
    https://baike.baidu.com/item/五姓七族/5225652
    https://baike.baidu.com/item/博陵崔氏/6585465
    http://www.zhuda6.com/new/a29ad5c1eb7d44dc89bd3c263112c1b2.html

    #ซ่างหยาง #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #ตระกูลหลู #สกุลหลู #ตระกูลเจิ้ง #สกุลเจิ้ง #ตระกูลหวาง #สกุลหวาง #ตระกูลหลี่ #สกุลหลี่ #สื้อเจีย #ห้าสกุลราชวงศ์ถัง #ห้าสกุลราชวงศ์เว่ย
    วันนี้คุยกันต่อเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจหรือที่เรียกรวมว่า ‘สื้อเจีย’ (世家) ซึ่งอยู่ยงคงกระพันคู่กับจีนโบราณเป็นร้อยเป็นพันปี ก่อนหน้านี้เล่าว่า สี่ตระกูลใหญ่ในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือคือ ชุยแห่งชิงเหอ หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และหวางแห่งไท่หยวน แต่อย่างที่ Storyฯ กล่าวไว้สัปดาห์ที่แล้ว พอมาถึงราชวงศ์ถังมีการพูดถึง ‘ห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย’ (五姓七族 หรือ 五姓七望) ซึ่งรวมถึงตระกูลหวาง แต่บ้างว่าเป็นสายไท่หยวน บ้างว่าเป็นสายหลางหยา เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนต้องเคยได้ยินชื่อตระกูลหวางสายหลางหยานี้จากละครและนิยายหลายเรื่อง (เช่นตัวอย่างจากละครเรื่อง <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์>) และคง ‘เอ๊ะ’ ว่าต่างกันอย่างไร หลังจากไปทำการบ้านมา Storyฯ พบว่าข้อมูลค่อนข้างสับสนและมีความขัดแย้งกันตรงที่ว่า มีหลายการวิเคราะห์บอกว่าทั้งสองสายนี้คือสายเดียวกัน แต่ก็มีบ้างที่พยายามจะจำแนกแยกจากกันให้ชัด แต่ Storyฯ คิดว่าเราคงไม่ได้ต้องการมาลำดับพงศาวลีของเขากัน เลยสรุปให้ฟังพอหอมปากหอมคอดังนี้ค่ะ ทั้งสองสายของตระกูลหวางนี้มีรากเหง้าเดียวกันคือสืบเชื้อสายมาจากองค์ชายรัชทายาทจิ้นหรือ ‘หวางจื่อจิ้น’ แห่งราชวงศ์โจวตะวันออก (ประมาณปี 576-546 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งภายหลังจากถูกริบฐานันดรศักดิ์ได้ใช้สกุลหวาง ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฉินมีทายาทของสายนี้คือแม่ทัพ ‘หวางหลี’ ที่โด่งดัง สายไท่หยวนมาจากลูกชายคนโตของแม่ทัพหวางหลีนี้ และสายหลางหยามาจากลูกชายคนรองซึ่งในตอนกลียุคช่วงปลายฉินได้ย้ายไปตั้งรกรากอยู่ที่เขตการปกครองหลางหยาจวิ้น และเนื่องจากต้นตอของคนที่ใช้สกุลหวางมีมากกว่าสายหวางจื่อจิ้นนี้ ดังนั้นในสมัยราชวงศ์ถังมีการกล่าวถึง ‘ชนรุ่นหลังของหวางจื่อจิ้น’ ทำให้ตีความได้ว่าในยุคนั้นมองทั้งสายไท่หยวนและสายหลางหยาเป็นก๊วนเดียวกัน ห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายในสมัยถังมีใครบ้าง? นอกจากหวางแห่งหลางหยา/ไท่หยวน ก็มีสื้อเจียจากสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือคือ ชุยแห่งชิงเหอ หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และมีเพิ่มเติมมาคือ ชุยแห่งป๋อหลิง (博陵崔氏) หลี่แห่งหลงซี (陇西李氏) หลี่แห่งเจ้าจวิ้น (赵郡李氏) ตระกูลชุยสายป๋อหลิงแม้ไม่เรืองอำนาจเท่าสายชิงเหอในสมัยเว่ยเหนือแต่ก็จัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่ง ‘สายแข็ง’ ของตระกูลชุย ฐานอำนาจเข้มแข็งขึ้นในสมัยราชวงศ์โจวเหนือ (ปีค.ศ. 557 – 581) พื้นเพเดิมมาจากทางเหนือแต่เป็นสายที่ปกครองพื้นที่อันผิงและแตกสกุลมาจากสกุลเจียงเหมือนกัน ส่วนตระกูลหลี่ทั้งสองสายนั้นมีต้นตระกูลที่มีชื่อเสียงมาแล้วหลายร้อยปีเช่นกัน มีผลงานโดดเด่นในการช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) ในรัชสมัยขององค์ถังไท่จงหรือหลี่ซื่อหมิน (ค.ศ. 626-649) ทรงเห็นว่าขุนนางใหญ่ให้ความสำคัญกับการแต่งงานในสื้อเจียด้วยกันจนถึงขนาดปฏิเสธที่จะแต่งงานกับองค์หญิงองค์ชาย และทรงมองว่าราชสกุลหลี่ไม่ควรน้อยหน้า จึงได้โปรดเกล้าให้จัดทำลำดับตระกูลขึ้นใหม่ในบันทึก ‘ซื่อจู๋จื้อ” (氏族志) โดยให้ตระกูลหลี่แห่งหลงซีขึ้นรั้งลำดับแรก ต่อมาในรัชสมัยองค์ถังเกาจง (ค.ศ. 649-683) ทรงบัญญัติห้ามคนในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายนี้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้ฐานอำนาจของเหล่าขุนนางมีมากเกินไป (หมายเหตุ บ้างก็เรียกเป็น ‘เจ็ดสกุลสิบเชื้อสาย’ เนื่องจากมีการระบุรายนามข้าราชการระดับสูงทั้งหมดสิบคน แต่จริงๆ แล้วล้วนเป็นเชื้อสายของห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายที่กล่าวถึงข้างต้น) แน่นอนว่าในยุคสมัยต่างๆ อาจมีการจัดอันดับ Top 4 หรือ Top 5 ที่แตกต่างกันไปบ้าง ตระกูลอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงและถูกเรียกรวมเป็นสื้อเจียยังมีอีก เช่น เซียว เซี่ย เป็นต้น จบเรื่องราวของตระกูลสื้อเจียแต่เพียงเท่านี้ เพื่อนๆ ที่ดูละครสมัยราชวงศ์ถังหรือก่อนหน้านั้น ลองสังเกตหาสกุลเหล่านี้ดูนะคะว่าเขาพยายามชิงอำนาจหรือรวมพลังกันอย่างไร (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.zhuijudashi.com/guocanju/shangyangfu/ https://www.jiapu.tv/tuteng/056/. https://3g.jiapu.tv/tuteng/001/, https://3g.jiapu.tv/tuteng/052/, https://www.jiapu.tv/tuteng/002/, https://www.jiapu.tv/tuteng/021/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.samrugs.com/shijiezhizui/zhongguo/60003.html https://kknews.cc/other/5o6qb9l.html https://baike.baidu.com/item/七姓十家/10749857 https://baike.baidu.com/item/五姓七族/5225652 https://baike.baidu.com/item/博陵崔氏/6585465 http://www.zhuda6.com/new/a29ad5c1eb7d44dc89bd3c263112c1b2.html #ซ่างหยาง #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #ตระกูลหลู #สกุลหลู #ตระกูลเจิ้ง #สกุลเจิ้ง #ตระกูลหวาง #สกุลหวาง #ตระกูลหลี่ #สกุลหลี่ #สื้อเจีย #ห้าสกุลราชวงศ์ถัง #ห้าสกุลราชวงศ์เว่ย
    1 Comments 0 Shares 334 Views 0 Reviews
  • Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีสู้กับความหนาวของจีนโบราณซึ่งหนึ่งในนั้นคือใช้เสื้อผ้าและผ้าห่มที่ทำมาจากกระดาษ ซึ่งในสมัยถังมีวิวัฒนาการการผลิตกระดาษอย่างก้าวกระโดด เสื้อหรือผ้าห่มนั้นใช้กระดาษที่ทำจากเปลือกของกิ่งหม่อน วิธีทำและหน้าตาคล้ายผลิตกระดาษสาบ้านเรา

    เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า มีการนำกระดาษมาทำเสื้อเกราะให้ทหารสวมใส่ด้วย? บ้างก็ว่ามีมาแต่สมัยราชวงศ์เหนือใต้ บ้างก็ว่าเสื้อเกราะกระดาษนั้นถูกคิดค้นขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง

    เสื้อเกราะกระดาษนี้เรียกตรงตัวว่า ‘จื๋อข่าย’ (纸铠)หรือ ‘จื๋อเจี่ย’ (纸甲) ในบันทึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถังที่จัดทำขึ้นโดยสำนักราชบัณฑิตสมัยซ่ง (ซินถังซู/新唐书) มีจารึกไว้ว่า เสื้อเกราะกระดาษเหล่านี้ป้องกันได้จากคมดาบและธนู ต่อมาในยุคสมัยหมิงนิยมใช้ในพื้นที่ทางตอนใต้ โดยเฉพาะกับทหารเรือ เนื่องจากพื้นที่แถบนั้นอากาศชื้น เสื้อเกราะเหล็กขึ้นสนิมได้ง่ายและหนัก ในทางกลับกัน เสื้อเกราะกระดาษใช้ได้ในหลายสภาพอากาศทั้งร้อนทั้งหนาว มีน้ำหนักเบาและเมื่อโดนน้ำยิ่งทำให้มีความทนทานมากขึ้น ป้องกันได้แม้กระทั่งระเบิดดินปืน

    จากบันทึกทางการทหารในสมัยหมิงมีการกล่าวว่า เสื้อเกราะกระดาษประกอบขึ้นจากกระดาษเยื่อไม้และใยผ้าอัดแน่นซ้ำๆ จนเป็นชั้นหนาประมาณหนึ่งนิ้ว ตรึงด้วยหมุดเหล็ก เย็บขึ้นเป็นเกราะแบบเกล็ดปลา

    เสื้อเกราะกระดาษถูกใช้อย่างแพร่หลายในราชวงศ์หมิง แม้จะยังมีใช้บ้างในสมัยราชวงศ์ชิง (มีการค้นพบเสื้อเกราะกระดาษจากสมัยราชวงศ์ชิงจริงในกุ้ยโจวเมื่อปี 2004) แต่ในยุคสมัยที่ระเบิดมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีไฟแรง เกราะกระดาษใช้ไม่ได้ดีนักจึงค่อยๆ หายไป

    Storyฯ ก็นึกไม่ออกว่าเกราะกระดาษจะทนทานต่ออาวุธได้อย่างไร? ไปพบเจอกับวิดิโอคลิปเลยนำมาแบ่งปันให้ดู (ขออภัยไร้ความสามารถทำคำแปลบนคลิป)

    เป็นคลิปที่ตัดตอนมาจากรายการเกมการแข่งขันความรู้ของเด็กนักเรียน มีการเชิญมือธนูมาทดลองยิงเปรียบเทียบระหว่างเกราะโซ่และเกราะกระดาษ (ซึ่งใช้กระดาษเท่านั้น ยังไม่ได้รวมใยผ้าอัดผสมเข้าไป) โดยหัวธนูที่ใช้นั้นเป็นแบบที่มือธนูเรียกว่าเป็นธนูสำหรับยิงเกราะ หัวธนูเป็นเหล็กแหลมสองชั้น ยิงในระยะ 10 เมตร โดยตอนท้ายมีการสรุปว่าการที่จะเจาะให้ทะลุกระดาษที่เรียงเป็นชั้นๆ จนถึงผิวของคนใส่นั้น ต้องมีแรงอัดหลายทอด หัวธนูจึงไม่สามารถยิงทะลุได้ในคราวเดียว ใครอยากดูคลิปเต็มดูได้ตามลิ้งค์ยูทูบข้างล่างเลยค่ะ

    ดูแล้วรู้สึกอย่างไรคะ? เม้นท์บอกกันมาได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit วิดิโอและรูปภาพจาก:
    https://www.youtube.com/watch?v=9lG3aWRDQtI
    https://kknews.cc/history/g93o88.html
    https://kknews.cc/other/mo6gpg6.html

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/%E7%BA%B8%E7%94%B2/8697116
    https://www.chinanews.com.cn/hb/news/2009/11-18/1971854.shtml
    https://kknews.cc/other/mo6gpg6.html

    #เสื้อเกราะจีนโบราณ #เสื้อกระดาษ #จื๋อเจี่ย #จื๋อข่าย #อาวุธจีนโบราณ #เสื้อเกราะกระดาษ
    Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีสู้กับความหนาวของจีนโบราณซึ่งหนึ่งในนั้นคือใช้เสื้อผ้าและผ้าห่มที่ทำมาจากกระดาษ ซึ่งในสมัยถังมีวิวัฒนาการการผลิตกระดาษอย่างก้าวกระโดด เสื้อหรือผ้าห่มนั้นใช้กระดาษที่ทำจากเปลือกของกิ่งหม่อน วิธีทำและหน้าตาคล้ายผลิตกระดาษสาบ้านเรา เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า มีการนำกระดาษมาทำเสื้อเกราะให้ทหารสวมใส่ด้วย? บ้างก็ว่ามีมาแต่สมัยราชวงศ์เหนือใต้ บ้างก็ว่าเสื้อเกราะกระดาษนั้นถูกคิดค้นขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง เสื้อเกราะกระดาษนี้เรียกตรงตัวว่า ‘จื๋อข่าย’ (纸铠)หรือ ‘จื๋อเจี่ย’ (纸甲) ในบันทึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถังที่จัดทำขึ้นโดยสำนักราชบัณฑิตสมัยซ่ง (ซินถังซู/新唐书) มีจารึกไว้ว่า เสื้อเกราะกระดาษเหล่านี้ป้องกันได้จากคมดาบและธนู ต่อมาในยุคสมัยหมิงนิยมใช้ในพื้นที่ทางตอนใต้ โดยเฉพาะกับทหารเรือ เนื่องจากพื้นที่แถบนั้นอากาศชื้น เสื้อเกราะเหล็กขึ้นสนิมได้ง่ายและหนัก ในทางกลับกัน เสื้อเกราะกระดาษใช้ได้ในหลายสภาพอากาศทั้งร้อนทั้งหนาว มีน้ำหนักเบาและเมื่อโดนน้ำยิ่งทำให้มีความทนทานมากขึ้น ป้องกันได้แม้กระทั่งระเบิดดินปืน จากบันทึกทางการทหารในสมัยหมิงมีการกล่าวว่า เสื้อเกราะกระดาษประกอบขึ้นจากกระดาษเยื่อไม้และใยผ้าอัดแน่นซ้ำๆ จนเป็นชั้นหนาประมาณหนึ่งนิ้ว ตรึงด้วยหมุดเหล็ก เย็บขึ้นเป็นเกราะแบบเกล็ดปลา เสื้อเกราะกระดาษถูกใช้อย่างแพร่หลายในราชวงศ์หมิง แม้จะยังมีใช้บ้างในสมัยราชวงศ์ชิง (มีการค้นพบเสื้อเกราะกระดาษจากสมัยราชวงศ์ชิงจริงในกุ้ยโจวเมื่อปี 2004) แต่ในยุคสมัยที่ระเบิดมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีไฟแรง เกราะกระดาษใช้ไม่ได้ดีนักจึงค่อยๆ หายไป Storyฯ ก็นึกไม่ออกว่าเกราะกระดาษจะทนทานต่ออาวุธได้อย่างไร? ไปพบเจอกับวิดิโอคลิปเลยนำมาแบ่งปันให้ดู (ขออภัยไร้ความสามารถทำคำแปลบนคลิป) เป็นคลิปที่ตัดตอนมาจากรายการเกมการแข่งขันความรู้ของเด็กนักเรียน มีการเชิญมือธนูมาทดลองยิงเปรียบเทียบระหว่างเกราะโซ่และเกราะกระดาษ (ซึ่งใช้กระดาษเท่านั้น ยังไม่ได้รวมใยผ้าอัดผสมเข้าไป) โดยหัวธนูที่ใช้นั้นเป็นแบบที่มือธนูเรียกว่าเป็นธนูสำหรับยิงเกราะ หัวธนูเป็นเหล็กแหลมสองชั้น ยิงในระยะ 10 เมตร โดยตอนท้ายมีการสรุปว่าการที่จะเจาะให้ทะลุกระดาษที่เรียงเป็นชั้นๆ จนถึงผิวของคนใส่นั้น ต้องมีแรงอัดหลายทอด หัวธนูจึงไม่สามารถยิงทะลุได้ในคราวเดียว ใครอยากดูคลิปเต็มดูได้ตามลิ้งค์ยูทูบข้างล่างเลยค่ะ ดูแล้วรู้สึกอย่างไรคะ? เม้นท์บอกกันมาได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit วิดิโอและรูปภาพจาก: https://www.youtube.com/watch?v=9lG3aWRDQtI https://kknews.cc/history/g93o88.html https://kknews.cc/other/mo6gpg6.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/%E7%BA%B8%E7%94%B2/8697116 https://www.chinanews.com.cn/hb/news/2009/11-18/1971854.shtml https://kknews.cc/other/mo6gpg6.html #เสื้อเกราะจีนโบราณ #เสื้อกระดาษ #จื๋อเจี่ย #จื๋อข่าย #อาวุธจีนโบราณ #เสื้อเกราะกระดาษ
    1 Comments 0 Shares 390 Views 0 Reviews
  • Storyฯ เพิ่งจะได้เริ่มดูละครเรื่อง <ชิวเยียนยอดหญิงพลิกชะตา> ได้เห็นเกมการแข่งขันชนิดหนึ่ง (ดูรูปแรก) มีลานที่เป็นเนินเล็กเนินน้อย ผู้เล่นจับคู่กันใช้ไม้ปลายงอตีลูกบอลขนาดเล็กกว่าหัวทารกหน่อยเพื่อให้ลงหลุมที่มีปักธงไว้ เกมนี้เรียกว่า ‘ฉุยหวาน’ (捶丸 แปลตรงตัวว่า ตี+ลูกทรงกลมขนาดเล็ก) เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ทันทีเพราะมันเหมือนกอล์ฟมาก

    มีการบันทึกกติกาการเล่น ‘ฉุยหวาน’ และรายละเอียดของอุปกรณ์ไว้ใน ‘ตำราหวานจิง’ (丸经) ในสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368) แต่จริงๆ แล้วมีการเล่นเกมกีฬานี้มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ (ค.ศ. 960-1127) ว่ากันว่าพัฒนามาจากการเล่น ‘ปู้ต่าฉิว’ (步打球)ในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) ซึ่งเป็นการเดินใช้ไม้ตีลูกบอลเข้าโกล แต่ไม่ได้ขุดเป็นหลุม

    ในพิพิธภัณฑ์ในพระราชวังต้องห้ามมีแสดงภาพวาดการเล่นฉุยหวานขององค์เซวียนจงแห่งราชวงศ์หมิง มีการวิเคราะห์ว่าทั้งสองพระหัตถ์ทรงถือไม้ แสดงให้เห็นว่าทรงกำลังเลือกอยู่ว่าจะใช้ไม้อันไหนดี มีคนคอยแนะนำอยู่ด้านข้าง มีรูห้ารูปักธงไว้ มีลักษณะเล่นกันเป็นทีม

    จากบันทึกโบราณ ฉุยหวานเป็นการเล่นกลางแจ้ง ทั้งบนสนามเฉพาะและบนลานพื้นทั่วไปที่อาจไม่เรียบ แต่เอกลักษณ์คือให้ตีลูกหวานที่ทำจากไม้ให้ลงหลุม โดยไม้ตีมีปลายงอ กำหนดให้ตีได้เพียงสามครั้งต่อหนึ่งเกม (สรุปการเล่นในรูปสองด้านล่าง ส่วนด้านบนเป็นรูปลูกหวานโบราณ) การแข่งขันสามารถจัดได้รอบเล็กใหญ่ตามจำนวนผู้ที่เข้าร่วม เล่นได้แบบเป็นทีมและแบบเดี่ยว ลูกหวานจะใช้ลวดลายหรือสีแตกต่างกันไปสำหรับผู้แข่งเพื่อป้องกันความสับสน (ซึ่งดูจะต่างจากในละคร) ตามบันทึกนั้นขั้นตอนการทำไม้ตีก็มีความละเมียดละไม เช่นเก็บเกี่ยวไม้ในฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูหนาว ทิ้งไว้หนึ่งฤดูกาลค่อยเอามาขึ้นรูป ใช้กาวทำจากเจลาตินของวัวเพื่อช่วยประกอบ ฯลฯ

    ที่ Storyฯ คิดว่าแปลกคือ ใน ‘ตำราหวานจิง’ มีการพูดถึงว่า ไม้ที่สองต้องตีด้วยท่าคุกเข่า (ในละครไม่มี) ซึ่งคล้ายคลึงกับเกม Colf ของชาวดัตช์ในยุคศตวรรษที่ 13 เพียงแต่ Colf เป็นการตีเล่นบทถนน ไม่ได้มีสนามเฉพาะ ว่ากันว่ากอล์ฟ (Golf) พัฒนามาจากเกมคอล์ฟ (Colf) นี่เอง

    กลับมาที่ฉุยหวาน มันเป็นเกมกีฬาที่เล่นได้ทั้งชายและหญิงในกลุ่มชนชั้นสูง นิยมมากในสมัยหมิง แต่ต่อมาคลายความนิยมลงในสมัยราชวงศ์ชิง กลายเป็นเพียงเกมละเล่นของเด็กและแม่บ้าน

    ฉุยหวานเป็นต้นกำเนิดของกอล์ฟหรือไม่? ประเด็นนี้ไม่มีการยอมรับอย่างเป็นทางการ เพราะทางฝั่งฝรั่งก็มีการละเล่นที่คล้ายคลึงเหมือนกัน แต่ที่แน่ๆ คือว่า ฉุยหวานดูจะมีมาก่อนการละเล่นพวกนี้ในแถบยุโรปเป็นพันปี

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://new.qq.com/omn/20200422/20200422A0M90Z00.html?pc
    https://ancientgolf.missionhillschina.com/index_en.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://new.qq.com/omn/20200422/20200422A0M90Z00.html?pc
    https://baike.baidu.com/item/步打球/192835
    https://baike.baidu.com/item/捶丸/3805675
    https://www.chinanews.com.cn/cul/2015/07-31/7440448.shtml
    https://www.sohu.com/a/423834335_120059786
    https://www.scottishgolfhistory.org/news/chuiwan/

    #ชิวเยียนยอดหญิง #ฉุยหวาน #ฉุยหวัน #กีฬาจีนโบราณ #กีฬาซ่ง #กอล์ฟจีนโบราณ
    Storyฯ เพิ่งจะได้เริ่มดูละครเรื่อง <ชิวเยียนยอดหญิงพลิกชะตา> ได้เห็นเกมการแข่งขันชนิดหนึ่ง (ดูรูปแรก) มีลานที่เป็นเนินเล็กเนินน้อย ผู้เล่นจับคู่กันใช้ไม้ปลายงอตีลูกบอลขนาดเล็กกว่าหัวทารกหน่อยเพื่อให้ลงหลุมที่มีปักธงไว้ เกมนี้เรียกว่า ‘ฉุยหวาน’ (捶丸 แปลตรงตัวว่า ตี+ลูกทรงกลมขนาดเล็ก) เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ทันทีเพราะมันเหมือนกอล์ฟมาก มีการบันทึกกติกาการเล่น ‘ฉุยหวาน’ และรายละเอียดของอุปกรณ์ไว้ใน ‘ตำราหวานจิง’ (丸经) ในสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368) แต่จริงๆ แล้วมีการเล่นเกมกีฬานี้มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ (ค.ศ. 960-1127) ว่ากันว่าพัฒนามาจากการเล่น ‘ปู้ต่าฉิว’ (步打球)ในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) ซึ่งเป็นการเดินใช้ไม้ตีลูกบอลเข้าโกล แต่ไม่ได้ขุดเป็นหลุม ในพิพิธภัณฑ์ในพระราชวังต้องห้ามมีแสดงภาพวาดการเล่นฉุยหวานขององค์เซวียนจงแห่งราชวงศ์หมิง มีการวิเคราะห์ว่าทั้งสองพระหัตถ์ทรงถือไม้ แสดงให้เห็นว่าทรงกำลังเลือกอยู่ว่าจะใช้ไม้อันไหนดี มีคนคอยแนะนำอยู่ด้านข้าง มีรูห้ารูปักธงไว้ มีลักษณะเล่นกันเป็นทีม จากบันทึกโบราณ ฉุยหวานเป็นการเล่นกลางแจ้ง ทั้งบนสนามเฉพาะและบนลานพื้นทั่วไปที่อาจไม่เรียบ แต่เอกลักษณ์คือให้ตีลูกหวานที่ทำจากไม้ให้ลงหลุม โดยไม้ตีมีปลายงอ กำหนดให้ตีได้เพียงสามครั้งต่อหนึ่งเกม (สรุปการเล่นในรูปสองด้านล่าง ส่วนด้านบนเป็นรูปลูกหวานโบราณ) การแข่งขันสามารถจัดได้รอบเล็กใหญ่ตามจำนวนผู้ที่เข้าร่วม เล่นได้แบบเป็นทีมและแบบเดี่ยว ลูกหวานจะใช้ลวดลายหรือสีแตกต่างกันไปสำหรับผู้แข่งเพื่อป้องกันความสับสน (ซึ่งดูจะต่างจากในละคร) ตามบันทึกนั้นขั้นตอนการทำไม้ตีก็มีความละเมียดละไม เช่นเก็บเกี่ยวไม้ในฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูหนาว ทิ้งไว้หนึ่งฤดูกาลค่อยเอามาขึ้นรูป ใช้กาวทำจากเจลาตินของวัวเพื่อช่วยประกอบ ฯลฯ ที่ Storyฯ คิดว่าแปลกคือ ใน ‘ตำราหวานจิง’ มีการพูดถึงว่า ไม้ที่สองต้องตีด้วยท่าคุกเข่า (ในละครไม่มี) ซึ่งคล้ายคลึงกับเกม Colf ของชาวดัตช์ในยุคศตวรรษที่ 13 เพียงแต่ Colf เป็นการตีเล่นบทถนน ไม่ได้มีสนามเฉพาะ ว่ากันว่ากอล์ฟ (Golf) พัฒนามาจากเกมคอล์ฟ (Colf) นี่เอง กลับมาที่ฉุยหวาน มันเป็นเกมกีฬาที่เล่นได้ทั้งชายและหญิงในกลุ่มชนชั้นสูง นิยมมากในสมัยหมิง แต่ต่อมาคลายความนิยมลงในสมัยราชวงศ์ชิง กลายเป็นเพียงเกมละเล่นของเด็กและแม่บ้าน ฉุยหวานเป็นต้นกำเนิดของกอล์ฟหรือไม่? ประเด็นนี้ไม่มีการยอมรับอย่างเป็นทางการ เพราะทางฝั่งฝรั่งก็มีการละเล่นที่คล้ายคลึงเหมือนกัน แต่ที่แน่ๆ คือว่า ฉุยหวานดูจะมีมาก่อนการละเล่นพวกนี้ในแถบยุโรปเป็นพันปี (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://new.qq.com/omn/20200422/20200422A0M90Z00.html?pc https://ancientgolf.missionhillschina.com/index_en.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://new.qq.com/omn/20200422/20200422A0M90Z00.html?pc https://baike.baidu.com/item/步打球/192835 https://baike.baidu.com/item/捶丸/3805675 https://www.chinanews.com.cn/cul/2015/07-31/7440448.shtml https://www.sohu.com/a/423834335_120059786 https://www.scottishgolfhistory.org/news/chuiwan/ #ชิวเยียนยอดหญิง #ฉุยหวาน #ฉุยหวัน #กีฬาจีนโบราณ #กีฬาซ่ง #กอล์ฟจีนโบราณ
    腾讯网
    腾讯网从2003年创立至今,已经成为集新闻信息,区域垂直生活服务、社会化媒体资讯和产品为一体的互联网媒体平台。腾讯网下设新闻、科技、财经、娱乐、体育、汽车、时尚等多个频道,充分满足用户对不同类型资讯的需求。同时专注不同领域内容,打造精品栏目,并顺应技术发展趋势,推出网络直播等创新形式,改变了用户获取资讯的方式和习惯。
    2 Comments 0 Shares 380 Views 0 Reviews
  • อาทิตย์นี้มาโพสต์เร็วหน่อย เรามาคุยต่อกับ <ตำนานหมิงหลัน> เพราะละครเรื่องนี้มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยทางวัฒนธรรมให้เรียนรู้พอควร วันนี้ว่าด้วยฉากแต่งงานของพระนาง

    ความมีอยู่ว่า
    “ได้ยินมานานว่าผู้บังคับบัญชากู้เก่งด้านวรรณกรรม งั้นมาแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวกันหน่อยดีกว่า ทุกคนรู้สึกว่าดี ถึงจะอนุญาตให้เข้าประตูมารับเจ้าสาวได้” คุณชายเขยห้ากล่าว
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> (ตามที่มีแปลซับไทยจ้า)

    เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะคุ้นเคยดีกับธรรมเนียมที่ขบวนเจ้าบ่าวจะโดน ‘กั้นประตู’ ก่อนเข้าไปรับเจ้าสาวที่แต่งตัวเสร็จรออยู่แล้ว โดยปัจจุบันอาจต้องเล่นเกมต่างๆ เพื่อแลกกับการเปิดประตู และที่แน่ๆ ต้องมีแจกซองอั่งเปา

    ธรรมเนียมนี้ถูก ‘แปลงร่าง’ มาจากประเพณีเดิมตอนรับตัวเจ้าสาวในจีนโบราณ ในบันทึกประเพณีสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการระบุว่า หนึ่งในขั้นตอนการรับตัวเจ้าสาวคือมีการตะโกนเรียกเร่งให้นางแต่งหน้าแต่งตัวเสร็จออกมาไวๆ ขั้นตอนนี้เรียกว่า ‘ชุยจวง’ (催装) เนื่องจากสมัยจีนโบราณจริงๆ แล้วมักจัดพิธีกราบไหว้ฟ้าดินในตอนเย็นก่อนมืด ซึ่งโดยปกติเจ้าสาวจะใช้เวลาแต่งตัวแต่งหน้านานมาก จึงมีการเร่งให้เจ้าสาวออกมาก่อนฟ้าจะมืด และเกิดการ ‘แกล้ง’ ขบวนเจ้าบ่าวก่อนจะเปิดประตูให้รับเจ้าสาวได้ ถึงขนาดใช้ไม้พลองหวดเจ้าบ่าวก็มี (!) ซึ่งการกลั่นแกล้งเหล่านี้เจ้าบ่าวต้องยอมรับแต่โดยดีและมีชื่อเรียกวิธีปฏิบัตินี้ว่า ‘เซี่ยซวี่’ (下婿 แปลตรงตัวได้ประมาณว่าเขยยอมเป็นเบี้ยล่าง)

    ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังที่การอักษรและโคลงกลอนรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จึงเกิดเป็นธรรมเนียมการแต่ง ‘กลอนเร่งเจ้าสาว’ หรือที่เรียกว่า ‘ชุยจวงซือ’ (催妆诗) สำหรับชนชั้นสูงที่มีการศึกษา โดยเจ้าบ่าวจะแต่งกลอนเองก็ได้หรือให้เพื่อนเจ้าบ่าวแต่งก็ได้ เมื่อแต่งกลอนเสร็จแล้วก็จะมีคนนำไปเล่าให้เจ้าสาวฟังถึงในห้องเพื่อว่านางจะได้รีบออกมา

    กลอนเร่งเจ้าสาวจะมีเนื้อหาแตกต่างจากบทกวีสมัยถังทั่วไป โดยเอกลักษณ์ของมันคือมีเนื้อหาออกแนวเกี้ยวพาราสีหรือชมความงามเจ้าสาว ได้อารมณ์ประมาณว่า เจ้าอย่าเอียงอายรีบออกมาเถิดเราจะได้รีบไปกัน! จะเห็นว่าบทกลอนเร่งเจ้าสาวในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> ก็ได้อารมณ์นี้เช่นกัน

    และเนื่องจากในสมัยราชวงศ์ซ่งมีการนิยมบทกวีในลักษณะ ‘ฉือ’ (词) มากกว่า ‘ซือ’ (诗) (Storyฯ เคยเขียนถึงความแตกต่างของบทกวีสองประเภทนี้ไปแล้วในตอนชื่อนิยายหมิงหลัน) ดังนั้นในสมัยซ่งจึงมีการแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวในแบบสไตล์ ‘ฉือ’ ด้วย เรียกว่า ‘ชุยจวงฉือ’

    เมื่ออยู่ในห้องหอแล้วจะมีขั้นตอนการปลดพัดเจ้าสาวเรียกว่า ‘เชวี่ยซ่าน’ (却扇) แต่ในละครทำอย่างง่ายๆ หากทำแบบเต็มพิธีการจริงๆ ในสมัยถังเขาจะให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนอีกรอบค่ะ เรียกว่า ‘เชวี่ยซ่านซือ’ หากเจ้าสาวพอใจจึงจะวางพัดลง แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่มีว่าเขาอนุญาตให้เพื่อนเจ้าบ่าวตามเข้ามาช่วยแต่งกลอนหรือไม่ (555) ดูไปแล้ว กว่าจะรับตัวเจ้าสาวได้นี่ไม่ง่ายเลย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/295145859_100301735
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://rijifang.com/index.php/post/9230.html
    https://www.52lishi.com/article/65423.html
    https://www.zhihu.com/question/446052944/answer/1747492245
    http://travel.china.com.cn/txt/2020-11/10/content_76894055.html

    #หมิงหลัน #กู้ถิงเยี่ย #งานแต่งงานจีนโบราณ #กวีจีน #ประเพณีจีนโบราณ #เซี่ยซวี่ #กลอนเร่งเจ้าสาว #ชุยจวง #ชุยจวงซือ #ชุยจวงฉือ #เชวี่ยซ่าน
    อาทิตย์นี้มาโพสต์เร็วหน่อย เรามาคุยต่อกับ <ตำนานหมิงหลัน> เพราะละครเรื่องนี้มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยทางวัฒนธรรมให้เรียนรู้พอควร วันนี้ว่าด้วยฉากแต่งงานของพระนาง ความมีอยู่ว่า “ได้ยินมานานว่าผู้บังคับบัญชากู้เก่งด้านวรรณกรรม งั้นมาแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวกันหน่อยดีกว่า ทุกคนรู้สึกว่าดี ถึงจะอนุญาตให้เข้าประตูมารับเจ้าสาวได้” คุณชายเขยห้ากล่าว - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> (ตามที่มีแปลซับไทยจ้า) เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะคุ้นเคยดีกับธรรมเนียมที่ขบวนเจ้าบ่าวจะโดน ‘กั้นประตู’ ก่อนเข้าไปรับเจ้าสาวที่แต่งตัวเสร็จรออยู่แล้ว โดยปัจจุบันอาจต้องเล่นเกมต่างๆ เพื่อแลกกับการเปิดประตู และที่แน่ๆ ต้องมีแจกซองอั่งเปา ธรรมเนียมนี้ถูก ‘แปลงร่าง’ มาจากประเพณีเดิมตอนรับตัวเจ้าสาวในจีนโบราณ ในบันทึกประเพณีสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการระบุว่า หนึ่งในขั้นตอนการรับตัวเจ้าสาวคือมีการตะโกนเรียกเร่งให้นางแต่งหน้าแต่งตัวเสร็จออกมาไวๆ ขั้นตอนนี้เรียกว่า ‘ชุยจวง’ (催装) เนื่องจากสมัยจีนโบราณจริงๆ แล้วมักจัดพิธีกราบไหว้ฟ้าดินในตอนเย็นก่อนมืด ซึ่งโดยปกติเจ้าสาวจะใช้เวลาแต่งตัวแต่งหน้านานมาก จึงมีการเร่งให้เจ้าสาวออกมาก่อนฟ้าจะมืด และเกิดการ ‘แกล้ง’ ขบวนเจ้าบ่าวก่อนจะเปิดประตูให้รับเจ้าสาวได้ ถึงขนาดใช้ไม้พลองหวดเจ้าบ่าวก็มี (!) ซึ่งการกลั่นแกล้งเหล่านี้เจ้าบ่าวต้องยอมรับแต่โดยดีและมีชื่อเรียกวิธีปฏิบัตินี้ว่า ‘เซี่ยซวี่’ (下婿 แปลตรงตัวได้ประมาณว่าเขยยอมเป็นเบี้ยล่าง) ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังที่การอักษรและโคลงกลอนรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จึงเกิดเป็นธรรมเนียมการแต่ง ‘กลอนเร่งเจ้าสาว’ หรือที่เรียกว่า ‘ชุยจวงซือ’ (催妆诗) สำหรับชนชั้นสูงที่มีการศึกษา โดยเจ้าบ่าวจะแต่งกลอนเองก็ได้หรือให้เพื่อนเจ้าบ่าวแต่งก็ได้ เมื่อแต่งกลอนเสร็จแล้วก็จะมีคนนำไปเล่าให้เจ้าสาวฟังถึงในห้องเพื่อว่านางจะได้รีบออกมา กลอนเร่งเจ้าสาวจะมีเนื้อหาแตกต่างจากบทกวีสมัยถังทั่วไป โดยเอกลักษณ์ของมันคือมีเนื้อหาออกแนวเกี้ยวพาราสีหรือชมความงามเจ้าสาว ได้อารมณ์ประมาณว่า เจ้าอย่าเอียงอายรีบออกมาเถิดเราจะได้รีบไปกัน! จะเห็นว่าบทกลอนเร่งเจ้าสาวในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> ก็ได้อารมณ์นี้เช่นกัน และเนื่องจากในสมัยราชวงศ์ซ่งมีการนิยมบทกวีในลักษณะ ‘ฉือ’ (词) มากกว่า ‘ซือ’ (诗) (Storyฯ เคยเขียนถึงความแตกต่างของบทกวีสองประเภทนี้ไปแล้วในตอนชื่อนิยายหมิงหลัน) ดังนั้นในสมัยซ่งจึงมีการแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวในแบบสไตล์ ‘ฉือ’ ด้วย เรียกว่า ‘ชุยจวงฉือ’ เมื่ออยู่ในห้องหอแล้วจะมีขั้นตอนการปลดพัดเจ้าสาวเรียกว่า ‘เชวี่ยซ่าน’ (却扇) แต่ในละครทำอย่างง่ายๆ หากทำแบบเต็มพิธีการจริงๆ ในสมัยถังเขาจะให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนอีกรอบค่ะ เรียกว่า ‘เชวี่ยซ่านซือ’ หากเจ้าสาวพอใจจึงจะวางพัดลง แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่มีว่าเขาอนุญาตให้เพื่อนเจ้าบ่าวตามเข้ามาช่วยแต่งกลอนหรือไม่ (555) ดูไปแล้ว กว่าจะรับตัวเจ้าสาวได้นี่ไม่ง่ายเลย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/295145859_100301735 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://rijifang.com/index.php/post/9230.html https://www.52lishi.com/article/65423.html https://www.zhihu.com/question/446052944/answer/1747492245 http://travel.china.com.cn/txt/2020-11/10/content_76894055.html #หมิงหลัน #กู้ถิงเยี่ย #งานแต่งงานจีนโบราณ #กวีจีน #ประเพณีจีนโบราณ #เซี่ยซวี่ #กลอนเร่งเจ้าสาว #ชุยจวง #ชุยจวงซือ #ชุยจวงฉือ #เชวี่ยซ่าน
    WWW.SOHU.COM
    《知否?知否?应是绿肥红瘦》过百亿的播放量能说明什么?_顾廷烨
    作为近150万字的长篇小说,实在是有些长,我并没有看完,也理解作者的不易,本身作为兼职作者,平时工作也比较繁忙,可能只有夜晚的四五个小时可以利用,也会有家里的各种繁杂琐事时不时骚扰,从写法来看,看得出…
    1 Comments 0 Shares 475 Views 0 Reviews
  • Storyฯ เพิ่งได้มีโอกาสดูละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ซึ่งเป็นเรื่องราวสมัยราชวงศ์หมิง สิ่งที่สะดุดตามากคือท่าทำความเคารพ รู้สึกว่าทำออกมาได้ดีมากในหลายฉาก วันนี้เลยมาคุยให้ฟังกันสั้นๆ

    ฉากที่สะดุดตา Storyฯ มากคือฉากพิธีกราบไหว้ฟ้าดินของพระเอกนางเอก ลักษณะการคำนับคือยกมือขึ้นประสานทับกันระดับหน้าอกโดยฝ่ามือหันเข้าหาตัว จากนั้นดันมือออกไปให้ห่างตัวพร้อมกับค้อมตัวลง (ดูรูปประกอบ)

    การโค้งคำนับแบบนี้มีชื่อเรียกค่ะ คือ ‘จั๊วอี๊’ (作揖)

    จั๊วอี๊เป็นการคำนับอย่างเป็นทางการโดยไม่คุกเข่าลง ด้วยการยกมือขึ้นแบบที่กล่าวมาข้างต้น (อาจวางมือทาบซ้อนกันหรือกุมมือก็ได้) หากเป็นชายจะเป็นมือซ้ายทับมือขวา และหากเป็นหญิงจะเป็นขวาทับซ้าย (สังเกตเปรียบเทียบได้จากรูป) จากนั้นก้มหลังตรงจากเอวลงมาพร้อมกับดันมือออกไปข้างหน้าเล็กน้อย

    ในบันทึกทางพิธีการสมัยราชวงศ์โจว (1050-256 ปีก่อนคริสตกาล) มีการจำแนกจั๊วอี๊ออกเป็นอีกหลายลักษณะ คือ
    - ‘ถู่อี๊’ (土揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) แล้วมือโน้มลงต่ำเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่มีอาวุโสน้อยกว่าหรือศักดิ์ด้อยกว่า;
    - ‘สืออี๊’(時揖) คือการโค้งต่ำ (ประมาณ 60 องศา) โดยที่ระดับมือยังอยู่ที่หน้าอก เป็นการเคารพคนที่อาวุโสกว่า;
    - ‘เทียนอี๊’(天揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) และมือยกขึ้นสูงเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่เสมอศักดิ์;
    - ‘เท่ออี๊’ (特揖) คือคำนับอีกฝ่ายทีละคนแทนที่จะคำนับครั้งเดียวต่อคนทั้งกลุ่ม;
    - ‘หลี่ว์อี๊’(旅揖) คือคำนับในแบบที่แตกต่างกันตามศักดิ์ของฝ่ายตรงข้าม;
    - ‘ผางซานอี๊’(旁三揖) คือการคำนับสามครั้งต่อคนทั้งกลุ่ม; และ
    - ‘ฉางอี๊’ (长揖) คือการคำนับแบบโค้งตัวลงต่ำมาก มือยืดออกไปมากขึ้นและยกขึ้นสูง เป็นการเคารพแบบสูงสุดของการทำจั๊วอี๊ แต่ยังเทียบไม่ได้กับการคุกเข่าคำนับ จึงมีวลีที่ว่า ‘ฉางอี๊ปู๋ไป้’ (长揖不拜) อันหมายถึงการแสดงความทะนงตนด้วยการเคารพนอบน้อมแต่ไม่ยอมคุกเข่าให้

    แต่ในกรณีที่เป็นการทำความเคารพในงานศพจะสลับมือกัน คือเป็นขวาทับซ้ายสำหรับชาย และซ้ายทับขวาสำหรับหญิงแทน

    จริงๆ แล้วตามบันทึกและภาพวาดทางประวัติศาสตร์กลับไม่ค่อยปรากฏสตรีมีการทำจั๊วอี๊สักเท่าไหร่ โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังลงมา แล้วผู้หญิงเขาทำความเคารพอย่างไร? ในละครเรื่องเดียวกันจะเห็นผู้หญิงกำมือวางซ้อนกัน (ขวาบนซ้ายล่าง) อยู่ระดับเอวแล้วย่อตัวลงเล็กน้อย (ดูรูปประกอบ) ท่านี้เรียกว่า ‘ว่านฝู’ (万福) ซึ่งใช้ปกติทั่วไปในยุคสมัยหมิงยกเว้นกรณีที่เป็นทางการอย่างยิ่ง อย่างเช่นในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่นางเอกทำจั๊วอี๊ในพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน

    ทั้งจั๊วอี๊และว่านฝูที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการทำความเคารพแบบของชาวจีนเชื้อสายฮั่น ไม่ใช่แมนจู ดังนั้นเพื่อนเพจที่ดูละครสมัยราชวงศ์ชิงจะไม่เห็นท่าทำความเคารพแบบนี้แม้ว่าในสมัยชิงจะมีท่าทำความเคารพที่เรียกว่าว่านฝูเหมือนกัน

    เขียนเพิ่มเมื่อวันที่ 11/6: ท่าทำความเคารพของจั๊วอี๊ที่ถูกต้องคือประสานมือก่อนแล้วค่อยดันมือออกไป (เหมือนที่ Storyฯ ได้บรรยายภาพที่เห็นในละครนะคะ ไม่ใช่กางแขนออกแล้วประสานไว้ไกลๆ เป็นวงใหญ่) อันนี้เป็นนัยว่าเรากำลังยื่นมือออกไปเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายเปิดใจกับเราและเรากำลังเปิดใจให้กับเขา

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/l5nNxB
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.hk/item/%E4%BD%9C%E6%8F%96/6203317
    https://kknews.cc/history/4lyoojx.html
    https://new.qq.com/omn/20190803/20190803A08S2B00.html
    https://www.newton.com.tw/wiki/%E4%BD%9C%E6%8F%96

    #จั๊วอี๊ #จัวอี #การคำนับแบบจีน #ว่านฝู #ราชวงศ์หมิง
    Storyฯ เพิ่งได้มีโอกาสดูละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ซึ่งเป็นเรื่องราวสมัยราชวงศ์หมิง สิ่งที่สะดุดตามากคือท่าทำความเคารพ รู้สึกว่าทำออกมาได้ดีมากในหลายฉาก วันนี้เลยมาคุยให้ฟังกันสั้นๆ ฉากที่สะดุดตา Storyฯ มากคือฉากพิธีกราบไหว้ฟ้าดินของพระเอกนางเอก ลักษณะการคำนับคือยกมือขึ้นประสานทับกันระดับหน้าอกโดยฝ่ามือหันเข้าหาตัว จากนั้นดันมือออกไปให้ห่างตัวพร้อมกับค้อมตัวลง (ดูรูปประกอบ) การโค้งคำนับแบบนี้มีชื่อเรียกค่ะ คือ ‘จั๊วอี๊’ (作揖) จั๊วอี๊เป็นการคำนับอย่างเป็นทางการโดยไม่คุกเข่าลง ด้วยการยกมือขึ้นแบบที่กล่าวมาข้างต้น (อาจวางมือทาบซ้อนกันหรือกุมมือก็ได้) หากเป็นชายจะเป็นมือซ้ายทับมือขวา และหากเป็นหญิงจะเป็นขวาทับซ้าย (สังเกตเปรียบเทียบได้จากรูป) จากนั้นก้มหลังตรงจากเอวลงมาพร้อมกับดันมือออกไปข้างหน้าเล็กน้อย ในบันทึกทางพิธีการสมัยราชวงศ์โจว (1050-256 ปีก่อนคริสตกาล) มีการจำแนกจั๊วอี๊ออกเป็นอีกหลายลักษณะ คือ - ‘ถู่อี๊’ (土揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) แล้วมือโน้มลงต่ำเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่มีอาวุโสน้อยกว่าหรือศักดิ์ด้อยกว่า; - ‘สืออี๊’(時揖) คือการโค้งต่ำ (ประมาณ 60 องศา) โดยที่ระดับมือยังอยู่ที่หน้าอก เป็นการเคารพคนที่อาวุโสกว่า; - ‘เทียนอี๊’(天揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) และมือยกขึ้นสูงเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่เสมอศักดิ์; - ‘เท่ออี๊’ (特揖) คือคำนับอีกฝ่ายทีละคนแทนที่จะคำนับครั้งเดียวต่อคนทั้งกลุ่ม; - ‘หลี่ว์อี๊’(旅揖) คือคำนับในแบบที่แตกต่างกันตามศักดิ์ของฝ่ายตรงข้าม; - ‘ผางซานอี๊’(旁三揖) คือการคำนับสามครั้งต่อคนทั้งกลุ่ม; และ - ‘ฉางอี๊’ (长揖) คือการคำนับแบบโค้งตัวลงต่ำมาก มือยืดออกไปมากขึ้นและยกขึ้นสูง เป็นการเคารพแบบสูงสุดของการทำจั๊วอี๊ แต่ยังเทียบไม่ได้กับการคุกเข่าคำนับ จึงมีวลีที่ว่า ‘ฉางอี๊ปู๋ไป้’ (长揖不拜) อันหมายถึงการแสดงความทะนงตนด้วยการเคารพนอบน้อมแต่ไม่ยอมคุกเข่าให้ แต่ในกรณีที่เป็นการทำความเคารพในงานศพจะสลับมือกัน คือเป็นขวาทับซ้ายสำหรับชาย และซ้ายทับขวาสำหรับหญิงแทน จริงๆ แล้วตามบันทึกและภาพวาดทางประวัติศาสตร์กลับไม่ค่อยปรากฏสตรีมีการทำจั๊วอี๊สักเท่าไหร่ โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังลงมา แล้วผู้หญิงเขาทำความเคารพอย่างไร? ในละครเรื่องเดียวกันจะเห็นผู้หญิงกำมือวางซ้อนกัน (ขวาบนซ้ายล่าง) อยู่ระดับเอวแล้วย่อตัวลงเล็กน้อย (ดูรูปประกอบ) ท่านี้เรียกว่า ‘ว่านฝู’ (万福) ซึ่งใช้ปกติทั่วไปในยุคสมัยหมิงยกเว้นกรณีที่เป็นทางการอย่างยิ่ง อย่างเช่นในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่นางเอกทำจั๊วอี๊ในพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน ทั้งจั๊วอี๊และว่านฝูที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการทำความเคารพแบบของชาวจีนเชื้อสายฮั่น ไม่ใช่แมนจู ดังนั้นเพื่อนเพจที่ดูละครสมัยราชวงศ์ชิงจะไม่เห็นท่าทำความเคารพแบบนี้แม้ว่าในสมัยชิงจะมีท่าทำความเคารพที่เรียกว่าว่านฝูเหมือนกัน เขียนเพิ่มเมื่อวันที่ 11/6: ท่าทำความเคารพของจั๊วอี๊ที่ถูกต้องคือประสานมือก่อนแล้วค่อยดันมือออกไป (เหมือนที่ Storyฯ ได้บรรยายภาพที่เห็นในละครนะคะ ไม่ใช่กางแขนออกแล้วประสานไว้ไกลๆ เป็นวงใหญ่) อันนี้เป็นนัยว่าเรากำลังยื่นมือออกไปเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายเปิดใจกับเราและเรากำลังเปิดใจให้กับเขา (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/l5nNxB Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.hk/item/%E4%BD%9C%E6%8F%96/6203317 https://kknews.cc/history/4lyoojx.html https://new.qq.com/omn/20190803/20190803A08S2B00.html https://www.newton.com.tw/wiki/%E4%BD%9C%E6%8F%96 #จั๊วอี๊ #จัวอี #การคำนับแบบจีน #ว่านฝู #ราชวงศ์หมิง
    TODAY.LINE.ME
    鍾漢良、譚松韻《錦心似玉》開播倒數,「庶女逆襲」超勵志,老夫少妻寵溺甜炸! | Bella儂儂 | LINE TODAY
    2020年許多陸劇都已就定位,目前正被排在待播的佇列,最近由鍾漢良、譚松韻主演的《錦心似玉》就已經邁入開播倒數,不過男主角從原本的宋威龍換角成鍾漢良,與女主角譚松韻配對卻被大家吐槽沒有CP感?大家就來看看這部戲還有什麼精彩亮點吧! 延伸閱讀:2020網友熱議6部陸劇推薦!甜寵神劇、懸疑推理、都市溫馨,每部讓人想一看再看 「庶女逆襲」劇情設定 source:#锦心似玉#-weibo 《錦心似玉》改編自紅遍中國網路的吱吱小說《庶女攻略》,「庶女逆襲」的安排,與唐嫣主演的《錦繡未央》、趙麗穎的《知否知否應是綠肥紅瘦》,劇情設定相同,女主角不再是天真無害的甜白傻,而是一步一步晉級打怪的「庶女逆襲」
    1 Comments 0 Shares 396 Views 0 Reviews
  • ละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> เห็นมีคนถามหาหนังสือนิยายเรื่องนี้กัน วันนี้เลยมาคุยถึงบทประพันธ์ดั้งเดิมที่มีคนเขียนถึงไปแล้วบ้าง แต่หวังว่าจะให้มุมมองได้ในอีกแง่มุม

    จริงๆ แล้วไม่มีนิยายค่ะ ซีรีส์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากบทละครโบราณสมัยราชวงศ์หยวน

    เรียกว่า ‘ละคร’ เพื่อนเพจอาจนึกภาพไม่ออก จริงๆ แล้วละครในสมัยนั้นคือสิ่งที่ปัจจุบันเราเรียกว่าอุปรากรจีนหรืองิ้วนั่นเอง ในสมัยราชวงศ์หยวนเรียกบทละครเหล่านี้ว่า ‘หยวนฉวี่’ (元曲 / เพลงงิ้วสมัยหยวน)

    บทงิ้วเรื่องนี้มีชื่อว่า < จ้าวพ่านเอ๋อร์เฟิงเยวี่ยจิ้วเฟิงเฉิน> (赵盼儿风月救风尘 แปลได้ประมาณว่า จ้าวพ่านเอ๋อร์ใช้มารยาสวาทช่วยหญิงคณิกา) หรือเรียกสั้นๆ ว่า <จิ้วเฟิงเฉิน> เป็นผลงานหนึ่งในกว่าหกสิบชิ้นของนักเขียนบทละครนามว่า ‘กวนฮ่านชิง’ (关汉卿 ปีค.ศ. 1222-1300) โดยปัจจุบันยังมีการแสดงอุปรากรจีนเรื่องนี้อยู่เรื่อยๆ (ดูรูปประกอบ)

    กวนฮ่านชิงถูกยกย่องให้เป็นที่หนึ่งของสี่ยอดนักเขียนบทอุปรากรจีนสมัยหยวน (元曲四大家) เขามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและก่อตั้งโรงเรียนและโรงละครหลายแห่ง เขาไม่ได้มีฐานะดี ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมชนชั้นล่าง บทละครของเขาจึงมีความสมจริงและมีหลากหลายอรรถรส ตีแผ่ด้านมืดของสังคม แต่ในขณะเดียวกันก็ให้ความหวังว่าชีวิตจะดีขึ้น กวนฮ่านชิงเก่งเรื่องร้องรำทำเพลงและมีฝีมือด้านการดนตรี ดังนั้นละครของเขาส่วนใหญ่เป็น ‘จ๋าจวี้’ (杂剧 / Mixed Play) เรื่อง ‘จิ้วเฟิงเฉิน’ นี้ก็เช่นกัน

    อะไรคือ ‘จ๋าจวี้’? มันคือการแสดงละครที่มีการเอาบทพูดและบทกลอน การร้องเพลง ดนตรี การเต้นรำ และแม้กระทั่งบทบู๊มารวมกันในละครเรื่องเดียวกัน เป็นรูปแบบที่มีขึ้นตั้งแต่สมัยปลายราชวงศ์ถัง และนิยมเป็นอย่างมากในสมัยซ่งและหยวน

    <จิ้วเฟิงเฉิน> มีทั้งหมด 4 องค์ มีฉากหลังเป็นยุคสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ เรื่องราวโดยย่อก็คือนางคณิกา ‘จ้าวพ่านเอ๋อร์’ มีเพื่อนสนิทเป็นนางคณิกานามว่า ‘ซ่งอิ่งจาง’ ซึ่งเดิมมีคนที่ตกลงปลงใจด้วยอยู่แล้วแต่มาหลงคารมชายที่ร่ำรวยแต่เจ้าชู้นามว่า ‘โจวเส่อ’ จึงแต่งงานไปกับเขา แต่ชีวิตหลังแต่งงานขมขื่นนัก ถูกโจวเส่อด่าทอทุบตีเป็นประจำจนเจียนตาย จ้าวพ่านเอ๋อร์จึงมาช่วย นางใช้เสน่ห์และมารยาหญิงหลอกล่อจนโจวเส่อลุ่มหลงยอมเซ็นใบหย่ากับซ่งอิ่งจางเพื่อมาแต่งงานกับนาง แต่เมื่อนางได้หนังสือหย่าก็ช่วยซ่งอิ่งจางหนีไป โจวเส่อไปฟ้องร้องว่าโดนหลอกเลยถูกฟ้องกลับว่าเขาเป็นคนหลอกภรรยาคนอื่นมา สุดท้ายโจวเส่อถูกศาลตัดสินลงโทษ

    ทำไมละคร <จิ้วเฟิงเฉิน> เรื่องนี้จึงเป็นที่นิยมและโด่งดังมาก? Storyฯ จับใจความได้ดังนี้
     หลากหลายอรรถรส: เพราะเป็นละครแบบ ‘จ๋าจวี้’ จึงมีหลากหลายอรรถรส มีความรันทดของชีวิตหญิงคณิกาและชนชั้นล่าง แต่ก็มีการสอดแทรกมุขตลกไปเป็นระยะ อีกทั้งยังมีมุมมองของสังคมที่สมจริงและคนส่วนใหญ่สัมผัสได้
     ชัยชนะของชนชั้นล่าง: เป็นการชิงไหวชิงพริบและอาศัยความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญของจ้าวพ่านเอ๋อร์ซึ่งเป็นตัวแทนของชนชั้นล่างและสตรีเพศที่ต่ำต้อย เอาชนะโจวเส่อซึ่งเป็นตัวแทนของชนชั้นกดขี่ เป็นเรื่องราวที่สอดแทรกความเป็นฮีโร่เข้าไปในบุคคลธรรมดา
     เป็นบทเรียนต่อชนรุ่นหลัง: ผลงานของเขาเป็นอีกหนึ่งแหล่งความรู้ให้ชนรุ่นหลังเข้าใจถึงวัฒธรรมและสภาพสังคมในสมัยซ่งและหยวนได้ดี

    เท่าที่อ่านเรื่องย่อมา <สามบุปผาลิขิตฝัน> ดัดแปลงจาก <จิ้วเฟิงเฉิน> ไปมาก เช่น นางเอกในเรื่อง <จิ้วเฟิงเฉิน> เป็นนางคณิกาขายตัวจริงๆ และไม่ปรากฏรายละเอียดเรื่องราวความรักกับพระเอกเหมือนที่ดัดแปลงออกมาเป็นซีรีส์ <สามบุปผาลิขิตฝัน> แต่เห็นว่าซีรีส์ลงรายละเอียดวิถีชีวิตสมัยซ่งได้ดี และมีคนเอาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับซีรีส์เรื่องนี้มาเขียนเล่ากันไม่น้อย เพื่อนเพจที่เห็นอะไรน่าสนใจมาแบ่งปันกันฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://culture.qianlong.com/2020/1223/5179821.shtml
    http://www.518yp.com/jitexingzhang/3873.html
    http://www.xinhuanet.com/ent/20220606/a7a1df7f71fb4466a7aa39849e0c513e/c.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.52lishi.com/article/64952.html
    http://www.hwjyw.com/zhwh/ctwh/zgwx/zmzj/ydzj/200709/t20070929_8194.shtml
    https://www.hao86.com/shiren_view_9bb64f43ac9bb64f/
    https://www.toutiao.com/article/6808002291593904654/?&source=m_redirect&wid=1655353365341

    #สามบุปผาลิขิตฝัน #จ้าวพ่านเอ๋อร์ #เจ้าพานเอ๋อร์ #จิ้วเฟิงเฉิน #อุปรากรจีน #จ๋าจวี้ #ราชวงศ์หยวน #กวงฮั่นชิง #หยวนฉวี่
    ละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> เห็นมีคนถามหาหนังสือนิยายเรื่องนี้กัน วันนี้เลยมาคุยถึงบทประพันธ์ดั้งเดิมที่มีคนเขียนถึงไปแล้วบ้าง แต่หวังว่าจะให้มุมมองได้ในอีกแง่มุม จริงๆ แล้วไม่มีนิยายค่ะ ซีรีส์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากบทละครโบราณสมัยราชวงศ์หยวน เรียกว่า ‘ละคร’ เพื่อนเพจอาจนึกภาพไม่ออก จริงๆ แล้วละครในสมัยนั้นคือสิ่งที่ปัจจุบันเราเรียกว่าอุปรากรจีนหรืองิ้วนั่นเอง ในสมัยราชวงศ์หยวนเรียกบทละครเหล่านี้ว่า ‘หยวนฉวี่’ (元曲 / เพลงงิ้วสมัยหยวน) บทงิ้วเรื่องนี้มีชื่อว่า < จ้าวพ่านเอ๋อร์เฟิงเยวี่ยจิ้วเฟิงเฉิน> (赵盼儿风月救风尘 แปลได้ประมาณว่า จ้าวพ่านเอ๋อร์ใช้มารยาสวาทช่วยหญิงคณิกา) หรือเรียกสั้นๆ ว่า <จิ้วเฟิงเฉิน> เป็นผลงานหนึ่งในกว่าหกสิบชิ้นของนักเขียนบทละครนามว่า ‘กวนฮ่านชิง’ (关汉卿 ปีค.ศ. 1222-1300) โดยปัจจุบันยังมีการแสดงอุปรากรจีนเรื่องนี้อยู่เรื่อยๆ (ดูรูปประกอบ) กวนฮ่านชิงถูกยกย่องให้เป็นที่หนึ่งของสี่ยอดนักเขียนบทอุปรากรจีนสมัยหยวน (元曲四大家) เขามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและก่อตั้งโรงเรียนและโรงละครหลายแห่ง เขาไม่ได้มีฐานะดี ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมชนชั้นล่าง บทละครของเขาจึงมีความสมจริงและมีหลากหลายอรรถรส ตีแผ่ด้านมืดของสังคม แต่ในขณะเดียวกันก็ให้ความหวังว่าชีวิตจะดีขึ้น กวนฮ่านชิงเก่งเรื่องร้องรำทำเพลงและมีฝีมือด้านการดนตรี ดังนั้นละครของเขาส่วนใหญ่เป็น ‘จ๋าจวี้’ (杂剧 / Mixed Play) เรื่อง ‘จิ้วเฟิงเฉิน’ นี้ก็เช่นกัน อะไรคือ ‘จ๋าจวี้’? มันคือการแสดงละครที่มีการเอาบทพูดและบทกลอน การร้องเพลง ดนตรี การเต้นรำ และแม้กระทั่งบทบู๊มารวมกันในละครเรื่องเดียวกัน เป็นรูปแบบที่มีขึ้นตั้งแต่สมัยปลายราชวงศ์ถัง และนิยมเป็นอย่างมากในสมัยซ่งและหยวน <จิ้วเฟิงเฉิน> มีทั้งหมด 4 องค์ มีฉากหลังเป็นยุคสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ เรื่องราวโดยย่อก็คือนางคณิกา ‘จ้าวพ่านเอ๋อร์’ มีเพื่อนสนิทเป็นนางคณิกานามว่า ‘ซ่งอิ่งจาง’ ซึ่งเดิมมีคนที่ตกลงปลงใจด้วยอยู่แล้วแต่มาหลงคารมชายที่ร่ำรวยแต่เจ้าชู้นามว่า ‘โจวเส่อ’ จึงแต่งงานไปกับเขา แต่ชีวิตหลังแต่งงานขมขื่นนัก ถูกโจวเส่อด่าทอทุบตีเป็นประจำจนเจียนตาย จ้าวพ่านเอ๋อร์จึงมาช่วย นางใช้เสน่ห์และมารยาหญิงหลอกล่อจนโจวเส่อลุ่มหลงยอมเซ็นใบหย่ากับซ่งอิ่งจางเพื่อมาแต่งงานกับนาง แต่เมื่อนางได้หนังสือหย่าก็ช่วยซ่งอิ่งจางหนีไป โจวเส่อไปฟ้องร้องว่าโดนหลอกเลยถูกฟ้องกลับว่าเขาเป็นคนหลอกภรรยาคนอื่นมา สุดท้ายโจวเส่อถูกศาลตัดสินลงโทษ ทำไมละคร <จิ้วเฟิงเฉิน> เรื่องนี้จึงเป็นที่นิยมและโด่งดังมาก? Storyฯ จับใจความได้ดังนี้  หลากหลายอรรถรส: เพราะเป็นละครแบบ ‘จ๋าจวี้’ จึงมีหลากหลายอรรถรส มีความรันทดของชีวิตหญิงคณิกาและชนชั้นล่าง แต่ก็มีการสอดแทรกมุขตลกไปเป็นระยะ อีกทั้งยังมีมุมมองของสังคมที่สมจริงและคนส่วนใหญ่สัมผัสได้  ชัยชนะของชนชั้นล่าง: เป็นการชิงไหวชิงพริบและอาศัยความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญของจ้าวพ่านเอ๋อร์ซึ่งเป็นตัวแทนของชนชั้นล่างและสตรีเพศที่ต่ำต้อย เอาชนะโจวเส่อซึ่งเป็นตัวแทนของชนชั้นกดขี่ เป็นเรื่องราวที่สอดแทรกความเป็นฮีโร่เข้าไปในบุคคลธรรมดา  เป็นบทเรียนต่อชนรุ่นหลัง: ผลงานของเขาเป็นอีกหนึ่งแหล่งความรู้ให้ชนรุ่นหลังเข้าใจถึงวัฒธรรมและสภาพสังคมในสมัยซ่งและหยวนได้ดี เท่าที่อ่านเรื่องย่อมา <สามบุปผาลิขิตฝัน> ดัดแปลงจาก <จิ้วเฟิงเฉิน> ไปมาก เช่น นางเอกในเรื่อง <จิ้วเฟิงเฉิน> เป็นนางคณิกาขายตัวจริงๆ และไม่ปรากฏรายละเอียดเรื่องราวความรักกับพระเอกเหมือนที่ดัดแปลงออกมาเป็นซีรีส์ <สามบุปผาลิขิตฝัน> แต่เห็นว่าซีรีส์ลงรายละเอียดวิถีชีวิตสมัยซ่งได้ดี และมีคนเอาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับซีรีส์เรื่องนี้มาเขียนเล่ากันไม่น้อย เพื่อนเพจที่เห็นอะไรน่าสนใจมาแบ่งปันกันฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://culture.qianlong.com/2020/1223/5179821.shtml http://www.518yp.com/jitexingzhang/3873.html http://www.xinhuanet.com/ent/20220606/a7a1df7f71fb4466a7aa39849e0c513e/c.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.52lishi.com/article/64952.html http://www.hwjyw.com/zhwh/ctwh/zgwx/zmzj/ydzj/200709/t20070929_8194.shtml https://www.hao86.com/shiren_view_9bb64f43ac9bb64f/ https://www.toutiao.com/article/6808002291593904654/?&source=m_redirect&wid=1655353365341 #สามบุปผาลิขิตฝัน #จ้าวพ่านเอ๋อร์ #เจ้าพานเอ๋อร์ #จิ้วเฟิงเฉิน #อุปรากรจีน #จ๋าจวี้ #ราชวงศ์หยวน #กวงฮั่นชิง #หยวนฉวี่
    北昆《救风尘》亮相长安大戏院 且看赵盼儿“雪夜行路”-千龙网·中国首都网
    北昆《救风尘》亮相长安大戏院 且看赵盼儿“雪夜行路”
    1 Comments 0 Shares 541 Views 0 Reviews
  • วันนี้กลับมาคุยกันต่อกับเรื่องราวที่ Storyฯ เห็นจากละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ในตอนที่มีการรับลูกนอกสมรสกลับเข้าตระกูล

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ถึงกาลมงคล พิธีรับเข้าตระกูลของตระกูลสวี อัญเชิญหนังสือตระกูล” เสียงประกาศเริ่มพิธีดังขึ้น สวีลิ่งเซวียนคุกเข่าลงต่อหน้าป้ายบูชาบรรพบุรุษแล้วกล่าว “สวีซื่อเจี้ย เดิมเป็นบุตรที่ร่อนเร่อาศัยอยู่ข้างนอกของตระกูลเรา ตอนนี้รับกลับเข้าตระกูลเป็นบุตรของสวีลิ่งอัน ขอบรรพบุรุษปกป้องลูกหลานสกุลสวี”...
    - ถอดบทสนทนาจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> (ตามซับไทยเลยจ้า)

    ในละครข้างต้น ก่อนจะมาถึงพิธีการนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงความคิดของตัวละครต่างๆ ที่ถกกันว่าจะรับเด็กมาเป็นลูกใครดี? ความเดิมของบทสนทนาในภาษาจีนคือ “จะบันทึกชื่อเด็กคนนี้ใต้ชื่อใคร?” ซึ่งการคุยในลักษณะนี้เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญของหนังสือตระกูล วันนี้เลยมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับหนังสือตระกูลหรือที่เรียกว่า ‘เจียผู่’ (家谱) หรือ ‘จู๋ผู่’ (族谱) นี้

    การบันทึกข้อมูลในเจียผู่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ย และเนื่องจากสมัยนั้นมีการแตกสกุลมาจากเชื้อพระวงศ์เป็นจำนวนมาก ทางการจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลและปรับปรุงเจียผู่ของตระกูลเหล่านั้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือบันทึกสายสกุลเพื่อประโยชน์ในการคัดสรรและแต่งตั้งขุนนาง ต่อมาเมื่อผ่านพ้นราชวงศ์ถัง ข้อมูลเหล่านี้สูญหายไปในสงครามเสียเป็นส่วนใหญ่ และการเข้ารับราชการก็ดำเนินการผ่านการสอบราชบัณฑิต อีกทั้งอำนาจของเหล่าสื้อเจียตระกูลขุนนางก็เสื่อมลง ทางการจึงไม่ได้เข้ามายุ่งเรื่องการทำเจียผู่อีก ดังนั้นนับแต่สมัยซ่งมา เจียผู่ส่วนใหญ่ถูกจัดทำขึ้นมาใหม่และอยู่ในการดูแลของคนในตระกูลเอง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนเกี่ยวกับสื้อเจียไปแล้ว หาอ่านย้อนหลังนะคะ)

    เพื่อนเพจอาจนึกภาพว่าเจียผู่เป็นพงศาวลีหรือผังลำดับญาติ แต่คนที่เคยลองวาดผังแบบนี้จะรู้ว่า หากจะวาดให้ดีต้องรู้ว่าควรเผื่อเนื้อที่ตรงไหนอย่างไร แต่เจียผู่เป็นบันทึกจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นการบันทึกจริงๆ คือเขียนข้อมูลเติมไปแต่ละรุ่น (ดูตัวอย่างตามรูปประกอบ หน้านี้บันทึกการสืบเชื้อสายของบุตรชายคนโต) หากมีการวาดผังลำดับญาติโดยปกติจะวาดเพียง 5 รุ่นแล้วก็ขึ้นผังใหม่

    แล้วเจียผู่บันทึกอะไรบ้าง?

    ก่อนอื่นคือต้องมีการเขียน ‘ขอบเขต’ - ใครเป็นต้นตระกูล? เราเป็นสายใดของตระกูล? ตราสัญลักษณ์ของตระกูล (ถ้ามี) ภูมิลำเนาเดิม ประวัติของสกุล ที่ตั้งและแผนผังของวัดบรรพบุรุษ เป็นต้น

    จากนั้นก็เป็นบันทึกเกี่ยวกับคนในแต่ละรุ่น ซึ่งจะระบุว่าเป็นรุ่นที่เท่าไหร่ ลำดับในรุ่น ชื่อ วันเดือนปีเกิดและตาย สรุปชีวประวัติ ลักษณะเด่นหรือวีรกรรมโดยคร่าว (เช่น เคยไปรบชนะสร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูลในศึกไหน?) บรรดาศักดิ์หรือรางวัลเกียรติยศที่เคยได้รับ ชื่อคู่สมรสและบุตรชาย ฯลฯ ในบางเจียผู่จะมีการกล่าวถึงสินทรัพย์อันเป็นมรดกตกทอดของตระกูล เช่น ที่ตั้งและขนาดของที่ดินและอาคารบ้านเรือน และการบริหารสินทรัพย์ ฯลฯ

    แต่... ไม่ใช่บุตรและภรรยาทุกคนจะได้รับการบันทึกชื่อลงในเจียผู่ ใครบ้างที่ไม่มีชื่อ?
    1. ลูกสาว – ในวัฒนธรรมจีนโบราณ ลูกสาวเมื่อแต่งงานออกไปก็ถือว่าเป็นคนของครอบครัวอื่น จึงไม่มีการบันทึกชื่อลูกสาวในเจียผู่ของตัวเอง ลูกสาวที่แต่งออกไปก็จะไปมีชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามี (แต่จากตัวอย่างที่ Storyฯ เห็น จะบันทึกเพียงสกุลเดิมไม่มีชื่อ เช่น นางสกุลหลี่) ธรรมเนียมนี้มีมาจนถึงสมัยจีนยุคใหม่ (หลังราชวงศ์ชิง) จึงมีการใส่ชื่อลูกสาวเข้าไป
    2. อนุภรรยา – สตรีที่แต่งงานไปจะถูกบันทึกชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามีเฉพาะคนที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น คนที่เป็นอนุจะไม่มีการบันทึกถึง ยกเว้นในกรณีที่ต่อมาบุตรชายของนางมีคุณงามความชอบอย่างโดดเด่น สร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูล จึงจะมีการแก้ไขเอาชื่อของเขาเข้าเจียผู่และจะมีการบันทึกชื่อผู้เป็นมารดาด้วย (ป.ล. หากเพื่อนเพจได้ดูละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> ในฉากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าสตรีที่เข้าร่วมพิธีที่เกี่ยวกับหนังสือตระกูลนั้น มีเพียงสะใภ้ที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น)
    3. ลูกอนุ - สายของอนุทั้งสายจะไม่ได้ลงบันทึกไว้ เว้นแต่กรณีที่กล่าวมาข้างต้นว่ามีการแก้ไขบันทึกย้อนหลัง

    เห็นแล้วก็พอจะเข้าใจถึงหัวอกของบรรดาอนุและลูกอนุ เราจึงเห็นเรื่องราวในนิยายและละครจีนโบราณไม่น้อยที่มีปูมหลังมาจากความน้อยเนื้อต่ำใจหรือความทะเยอทะยานของเหล่าอนุและลูกอนุทั้งหลาย Storyฯ เชื่อว่าเพื่อนเพจเข้าใจในบริบทนี้แล้วจะดูละคร/อ่านนิยายจีนโบราณได้มีอรรถรสยิ่งขึ้นค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/452104168_114988
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.52lishi.com/article/65523.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/30411974
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/54546409
    https://www.163.com/dy/article/H14J0MG10552QJB7.html

    #ร้อยรักปักดวงใจ #เจียผู่ #จู๋ผู่ #หนังสือตระกูล #บันทึกตระกูลจีนโบราณ #พงศาวลีจีนโบราณ
    วันนี้กลับมาคุยกันต่อกับเรื่องราวที่ Storyฯ เห็นจากละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ในตอนที่มีการรับลูกนอกสมรสกลับเข้าตระกูล ความมีอยู่ว่า ... “ถึงกาลมงคล พิธีรับเข้าตระกูลของตระกูลสวี อัญเชิญหนังสือตระกูล” เสียงประกาศเริ่มพิธีดังขึ้น สวีลิ่งเซวียนคุกเข่าลงต่อหน้าป้ายบูชาบรรพบุรุษแล้วกล่าว “สวีซื่อเจี้ย เดิมเป็นบุตรที่ร่อนเร่อาศัยอยู่ข้างนอกของตระกูลเรา ตอนนี้รับกลับเข้าตระกูลเป็นบุตรของสวีลิ่งอัน ขอบรรพบุรุษปกป้องลูกหลานสกุลสวี”... - ถอดบทสนทนาจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> (ตามซับไทยเลยจ้า) ในละครข้างต้น ก่อนจะมาถึงพิธีการนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงความคิดของตัวละครต่างๆ ที่ถกกันว่าจะรับเด็กมาเป็นลูกใครดี? ความเดิมของบทสนทนาในภาษาจีนคือ “จะบันทึกชื่อเด็กคนนี้ใต้ชื่อใคร?” ซึ่งการคุยในลักษณะนี้เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญของหนังสือตระกูล วันนี้เลยมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับหนังสือตระกูลหรือที่เรียกว่า ‘เจียผู่’ (家谱) หรือ ‘จู๋ผู่’ (族谱) นี้ การบันทึกข้อมูลในเจียผู่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ย และเนื่องจากสมัยนั้นมีการแตกสกุลมาจากเชื้อพระวงศ์เป็นจำนวนมาก ทางการจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลและปรับปรุงเจียผู่ของตระกูลเหล่านั้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือบันทึกสายสกุลเพื่อประโยชน์ในการคัดสรรและแต่งตั้งขุนนาง ต่อมาเมื่อผ่านพ้นราชวงศ์ถัง ข้อมูลเหล่านี้สูญหายไปในสงครามเสียเป็นส่วนใหญ่ และการเข้ารับราชการก็ดำเนินการผ่านการสอบราชบัณฑิต อีกทั้งอำนาจของเหล่าสื้อเจียตระกูลขุนนางก็เสื่อมลง ทางการจึงไม่ได้เข้ามายุ่งเรื่องการทำเจียผู่อีก ดังนั้นนับแต่สมัยซ่งมา เจียผู่ส่วนใหญ่ถูกจัดทำขึ้นมาใหม่และอยู่ในการดูแลของคนในตระกูลเอง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนเกี่ยวกับสื้อเจียไปแล้ว หาอ่านย้อนหลังนะคะ) เพื่อนเพจอาจนึกภาพว่าเจียผู่เป็นพงศาวลีหรือผังลำดับญาติ แต่คนที่เคยลองวาดผังแบบนี้จะรู้ว่า หากจะวาดให้ดีต้องรู้ว่าควรเผื่อเนื้อที่ตรงไหนอย่างไร แต่เจียผู่เป็นบันทึกจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นการบันทึกจริงๆ คือเขียนข้อมูลเติมไปแต่ละรุ่น (ดูตัวอย่างตามรูปประกอบ หน้านี้บันทึกการสืบเชื้อสายของบุตรชายคนโต) หากมีการวาดผังลำดับญาติโดยปกติจะวาดเพียง 5 รุ่นแล้วก็ขึ้นผังใหม่ แล้วเจียผู่บันทึกอะไรบ้าง? ก่อนอื่นคือต้องมีการเขียน ‘ขอบเขต’ - ใครเป็นต้นตระกูล? เราเป็นสายใดของตระกูล? ตราสัญลักษณ์ของตระกูล (ถ้ามี) ภูมิลำเนาเดิม ประวัติของสกุล ที่ตั้งและแผนผังของวัดบรรพบุรุษ เป็นต้น จากนั้นก็เป็นบันทึกเกี่ยวกับคนในแต่ละรุ่น ซึ่งจะระบุว่าเป็นรุ่นที่เท่าไหร่ ลำดับในรุ่น ชื่อ วันเดือนปีเกิดและตาย สรุปชีวประวัติ ลักษณะเด่นหรือวีรกรรมโดยคร่าว (เช่น เคยไปรบชนะสร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูลในศึกไหน?) บรรดาศักดิ์หรือรางวัลเกียรติยศที่เคยได้รับ ชื่อคู่สมรสและบุตรชาย ฯลฯ ในบางเจียผู่จะมีการกล่าวถึงสินทรัพย์อันเป็นมรดกตกทอดของตระกูล เช่น ที่ตั้งและขนาดของที่ดินและอาคารบ้านเรือน และการบริหารสินทรัพย์ ฯลฯ แต่... ไม่ใช่บุตรและภรรยาทุกคนจะได้รับการบันทึกชื่อลงในเจียผู่ ใครบ้างที่ไม่มีชื่อ? 1. ลูกสาว – ในวัฒนธรรมจีนโบราณ ลูกสาวเมื่อแต่งงานออกไปก็ถือว่าเป็นคนของครอบครัวอื่น จึงไม่มีการบันทึกชื่อลูกสาวในเจียผู่ของตัวเอง ลูกสาวที่แต่งออกไปก็จะไปมีชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามี (แต่จากตัวอย่างที่ Storyฯ เห็น จะบันทึกเพียงสกุลเดิมไม่มีชื่อ เช่น นางสกุลหลี่) ธรรมเนียมนี้มีมาจนถึงสมัยจีนยุคใหม่ (หลังราชวงศ์ชิง) จึงมีการใส่ชื่อลูกสาวเข้าไป 2. อนุภรรยา – สตรีที่แต่งงานไปจะถูกบันทึกชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามีเฉพาะคนที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น คนที่เป็นอนุจะไม่มีการบันทึกถึง ยกเว้นในกรณีที่ต่อมาบุตรชายของนางมีคุณงามความชอบอย่างโดดเด่น สร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูล จึงจะมีการแก้ไขเอาชื่อของเขาเข้าเจียผู่และจะมีการบันทึกชื่อผู้เป็นมารดาด้วย (ป.ล. หากเพื่อนเพจได้ดูละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> ในฉากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าสตรีที่เข้าร่วมพิธีที่เกี่ยวกับหนังสือตระกูลนั้น มีเพียงสะใภ้ที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น) 3. ลูกอนุ - สายของอนุทั้งสายจะไม่ได้ลงบันทึกไว้ เว้นแต่กรณีที่กล่าวมาข้างต้นว่ามีการแก้ไขบันทึกย้อนหลัง เห็นแล้วก็พอจะเข้าใจถึงหัวอกของบรรดาอนุและลูกอนุ เราจึงเห็นเรื่องราวในนิยายและละครจีนโบราณไม่น้อยที่มีปูมหลังมาจากความน้อยเนื้อต่ำใจหรือความทะเยอทะยานของเหล่าอนุและลูกอนุทั้งหลาย Storyฯ เชื่อว่าเพื่อนเพจเข้าใจในบริบทนี้แล้วจะดูละคร/อ่านนิยายจีนโบราณได้มีอรรถรสยิ่งขึ้นค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/452104168_114988 https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.52lishi.com/article/65523.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/30411974 https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773 https://zhuanlan.zhihu.com/p/54546409 https://www.163.com/dy/article/H14J0MG10552QJB7.html #ร้อยรักปักดวงใจ #เจียผู่ #จู๋ผู่ #หนังสือตระกูล #บันทึกตระกูลจีนโบราณ #พงศาวลีจีนโบราณ
    WWW.SOHU.COM
    钟汉良谭松韵领衔主演《锦心似玉》定档2月26日_荻雁
    新京报讯 2月23日,钟汉良、谭松韵领衔主演的电视剧《锦心似玉》宣布定档。该剧将于2月26日起在腾讯视频全网独播,周五至周三连续六天,每日20点更新2集;3月1日起每周一、二、三20点更新2集,会员抢先看。 …
    1 Comments 0 Shares 487 Views 0 Reviews
  • เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ดูละครจีนหลายคนต้องเคยเห็นเสื้อที่ทำจากผ้าต่อหรือที่เรียกว่า ‘patchwork’ หรือบางคนอาจเรียกเล่นๆ แถวบ้านว่า ‘เสื้อพรรคกระยาจก’! วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับประเพณีดั้งเดิมที่เกี่ยวกับเสื้อที่ทำจากผ้าต่อและความหมายของมัน

    ในละครเรื่อง <นิติเวชสาวยอดนักสืบ> มีอยู่ตอนหนึ่งที่เซียวซ่ง ซื่อหลางแห่งกรมอาญา สืบเรื่องถึงหมอตำแยคนหนึ่งชื่อ เว่ยซื่อเหนียง จากบทสนทนากับลูกค้าของนางคนหนึ่งได้ความว่านางจะแนะนำให้เด็กแรกเกิดใส่เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ โดยมีการพูดถึงว่าต้องใส่เป็นเวลาสามวัน ผ่านสามวันต้องทำพิธี ‘สี่ซานหลี่’ แล้วจึงจะถอดเสื้อนั้นออกได้ และในพิธีดังกล่าวต้องมีการเลี้ยงสุราและใช้เครื่องประดับทองคำ ซึ่งองค์ประกอบนี้กลายมาเป็นเบาะแสให้สืบต่อไป

    เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ (百家衣) นั้นแปลตรงตัวว่า ‘เสื้อร้อยครอบครัว’ มีชื่อเรียกอื่นที่หลากหลาย เช่น ไป่ซุ่ยอี/百岁衣 ไป๋เป่าอี/百保衣 เป็นเสื้อที่ทำขึ้นจากผ้าที่เอาผ้าหลายชิ้นมาเย็บต่อกันขึ้นเป็นลวดลายสวยงาม มักมีสีสันฉูดฉาดเพราะเป็นเสื้อเด็ก

    ทำไมต้องใส่เสื้อไป่เจียอี? ในสมัยโบราณนั้น อัตราการตายของทารกและเด็กเล็กสูงมาก ดังนั้นจึงมีการแก้เคล็ดด้วยการเอาเสื้อผ้าเก่าของเด็กที่แข็งแรงจากหลายครอบครัวมาเย็บติดกันแล้วทำขึ้นเป็นเสื้อให้เด็กใส่ เพื่อว่าเด็กจะได้มีสุขภาพดีแคล้วคลาดจากโรคภัย

    ขออธิบายเพิ่มว่า แม้จะใช้คำว่า ‘ไป่’ ที่แปลว่าหนึ่งร้อย แต่จริงๆ แล้วไม่ได้หมายความว่าต้องนับให้ได้ถึงหนึ่งร้อยจริงๆ ค่ะ คำนี้เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของจีนที่ต้องการสื่อถึงความหมายว่ามีจำนวนมากจนนับไม่ถ้วน มักปรากฏในวลีในนิยายหรือคำคมจีนเช่น ผ้าปักร้อยอักษร รักกันร้อยปี ได้ยินร้อยครั้ง ฯลฯ

    ส่วน ‘สี่ซานหลี่’ (洗三礼)นั้นก็คือการทำพิธีอาบน้ำให้กับทารกในวันที่สามหลังจากเกิดมา พิธีนี้มีมาแต่เมื่อใดไม่แน่ชัด แต่ได้มีการกล่าวถึงไว้ในบทประพันธ์ต่างๆ สมัยถังและซ่ง สรุปพิธีโดยคร่าวคือ
    1. ญาติสนิทจะมาร่วมกันรับประทานอาหารกลางวัน อาหารจานหลักจะเป็นบะหมี่ (สัญลักษณ์ของความอายุยืน)
    2. เสร็จแล้วหมอตำแยจะเป็นคนเริ่มประกอบพิธี โดยเริ่มจากกราบไหว้เทพยดา (แน่นอนว่าจะต้องมีหลักการว่าเป็นเทพยดาองค์ใดบ้าง แต่ Storyฯ ขอไม่กล่าวถึงเพราะจะยาวมาก)
    3. จากนั้นญาติสนิทก็จะเติมน้ำคนละช้อนลงในกาละมังที่มีน้ำสมุนไพรอยู่แล้ว แล้วก็เติมของขวัญซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญทองและของมงคลอย่างเช่นเมล็ดพืชผลไม้ที่มีชื่อมงคลอย่างเช่นพุทราจีนลงไปในกาละมังเดียวกันนั้น (แต่หากเป็นตั๋วเงินให้วางแยก) ใครใส่อะไร หมอตำแยก็จะเอ่ยเป็นคำอวยพรที่พ้องเสียงกับของสิ่งนั้น
    4. เสร็จแล้วหมอตำแยก็จะใช้น้ำนั้นอาบน้ำให้ทารก ระหว่างอาบก็จะเอ่ยคำอวยพรไปตลอด
    5. เสร็จแล้วนำเครื่องประดับเงินทอง (หากไม่มีให้ใช้เครื่องประดับสีขาวสีเหลือง) มาวางทาบกับทารกเป็นนัยว่าให้อนาคตรุ่งเรืองร่ำรวย
    แน่นอนว่า Storyฯ เล่าอย่างซูเปอร์ย่อ พิธีกรรมจริงๆ ละเอียดกว่านี้มาก

    กลับมาที่ไป่เจียอีต่อ

    ว่ากันว่าไป่เจียอีนี้ เดิมเป็นชุดที่นักบวชนิยมใส่ (เรียกว่าไป่น่าอี) มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ต่อมาจึงนำมาทำเป็นเสื้อเด็ก เสื้อผู้ใหญ่ก็ยังนิยมอยู่ในกลุ่มนักบวช แต่ในสมัยหมิงและชิงกลายมาเป็นแฟชั่นที่นิยมมากในกลุ่มสตรีสามัญชน มีการปักเย็บลวดลายประณีตและสีสันสวยงาม เรียกว่าชุด ‘สุ่ยเถียนอี’ (水田衣 แปลตรงตัวว่า ‘ชุดนาข้าว’ ดูรูปขวา) ความนิยมนี้ว่ากันว่าเป็นเพราะองค์จูหยวนจาง (ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง) และพระมเหสีต่างทรงมีนิสัยมัธยัสถ์ ทรงเคยบริจาคผ้าห่มและเสื้อผ้าที่ตัดเย็บจากเส้นด้ายและผ้าที่เหลือใช้ แม้แต่องค์หญิงและสนมในวังยังเคยทรงพระราชทานให้ใส่ จึงทำให้สุ่ยเถียนอีเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ต่อมากลายเป็นการประชันความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบลายเสื้อของสตรี

    ธรรมเนียมการให้เด็กใส่เสื้อผ้าต่อไป่เจียอีนี้มีการกล่าวถึงตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง และปฏิบัติกันมาทุกระดับชนชั้น แม้แต่ในบันทึกเกี่ยวกับประวัติของฮ่องเต้สมัยราชวงศ์ชิงในยุคสมัยของคังซีและเฉียนหลงยังมีกล่าวถึงการให้องค์ชายและราชนิกูลสวมเสื้อไป่เจียอีในตอนเด็ก และธรรมเนียมนี้ยังมีอยู่ในปัจจุบัน เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นในหลายพื้นที่ของจีน

    เป็นอย่างไรบ้าง? ‘เสื้อพรรคกระยาจก’ เขาก็มีความเป็นมานะเออ! ของไทยมีอะไรคล้ายคลึงอย่างนี้บ้างไหมคะ? Storyฯ ไม่สันทัด หากเพื่อนเพจท่านใดผ่านตาก็เล่าสู่กันฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.myvideo.net.tw/details/3/12499
    https://nicecasio.pixnet.net/blog/post/467691023

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://kknews.cc/news/gpevjl.html
    https://www.lishiziliao.com/jiemi/21683.html
    https://www.hanspub.org/journal/PaperInformation.aspx?paperID=25060
    https://new.qq.com/omn/20200819/20200819A0D3IY00.html?pc
    https:// baike.baidu.com/item/洗三/912561

    #นิติเวชสาวยอดนักสืบ #นิติเวชสาวราชวงศ์ถัง #ผ้าต่อจีน #ผ้าปะจีน #ไป่ซุ่ยอี #ไป่น่าอี #สุ่ยเถียนอี #พิธีอาบน้ำทารก #สี่ซานหลี่
    เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ดูละครจีนหลายคนต้องเคยเห็นเสื้อที่ทำจากผ้าต่อหรือที่เรียกว่า ‘patchwork’ หรือบางคนอาจเรียกเล่นๆ แถวบ้านว่า ‘เสื้อพรรคกระยาจก’! วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับประเพณีดั้งเดิมที่เกี่ยวกับเสื้อที่ทำจากผ้าต่อและความหมายของมัน ในละครเรื่อง <นิติเวชสาวยอดนักสืบ> มีอยู่ตอนหนึ่งที่เซียวซ่ง ซื่อหลางแห่งกรมอาญา สืบเรื่องถึงหมอตำแยคนหนึ่งชื่อ เว่ยซื่อเหนียง จากบทสนทนากับลูกค้าของนางคนหนึ่งได้ความว่านางจะแนะนำให้เด็กแรกเกิดใส่เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ โดยมีการพูดถึงว่าต้องใส่เป็นเวลาสามวัน ผ่านสามวันต้องทำพิธี ‘สี่ซานหลี่’ แล้วจึงจะถอดเสื้อนั้นออกได้ และในพิธีดังกล่าวต้องมีการเลี้ยงสุราและใช้เครื่องประดับทองคำ ซึ่งองค์ประกอบนี้กลายมาเป็นเบาะแสให้สืบต่อไป เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ (百家衣) นั้นแปลตรงตัวว่า ‘เสื้อร้อยครอบครัว’ มีชื่อเรียกอื่นที่หลากหลาย เช่น ไป่ซุ่ยอี/百岁衣 ไป๋เป่าอี/百保衣 เป็นเสื้อที่ทำขึ้นจากผ้าที่เอาผ้าหลายชิ้นมาเย็บต่อกันขึ้นเป็นลวดลายสวยงาม มักมีสีสันฉูดฉาดเพราะเป็นเสื้อเด็ก ทำไมต้องใส่เสื้อไป่เจียอี? ในสมัยโบราณนั้น อัตราการตายของทารกและเด็กเล็กสูงมาก ดังนั้นจึงมีการแก้เคล็ดด้วยการเอาเสื้อผ้าเก่าของเด็กที่แข็งแรงจากหลายครอบครัวมาเย็บติดกันแล้วทำขึ้นเป็นเสื้อให้เด็กใส่ เพื่อว่าเด็กจะได้มีสุขภาพดีแคล้วคลาดจากโรคภัย ขออธิบายเพิ่มว่า แม้จะใช้คำว่า ‘ไป่’ ที่แปลว่าหนึ่งร้อย แต่จริงๆ แล้วไม่ได้หมายความว่าต้องนับให้ได้ถึงหนึ่งร้อยจริงๆ ค่ะ คำนี้เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของจีนที่ต้องการสื่อถึงความหมายว่ามีจำนวนมากจนนับไม่ถ้วน มักปรากฏในวลีในนิยายหรือคำคมจีนเช่น ผ้าปักร้อยอักษร รักกันร้อยปี ได้ยินร้อยครั้ง ฯลฯ ส่วน ‘สี่ซานหลี่’ (洗三礼)นั้นก็คือการทำพิธีอาบน้ำให้กับทารกในวันที่สามหลังจากเกิดมา พิธีนี้มีมาแต่เมื่อใดไม่แน่ชัด แต่ได้มีการกล่าวถึงไว้ในบทประพันธ์ต่างๆ สมัยถังและซ่ง สรุปพิธีโดยคร่าวคือ 1. ญาติสนิทจะมาร่วมกันรับประทานอาหารกลางวัน อาหารจานหลักจะเป็นบะหมี่ (สัญลักษณ์ของความอายุยืน) 2. เสร็จแล้วหมอตำแยจะเป็นคนเริ่มประกอบพิธี โดยเริ่มจากกราบไหว้เทพยดา (แน่นอนว่าจะต้องมีหลักการว่าเป็นเทพยดาองค์ใดบ้าง แต่ Storyฯ ขอไม่กล่าวถึงเพราะจะยาวมาก) 3. จากนั้นญาติสนิทก็จะเติมน้ำคนละช้อนลงในกาละมังที่มีน้ำสมุนไพรอยู่แล้ว แล้วก็เติมของขวัญซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญทองและของมงคลอย่างเช่นเมล็ดพืชผลไม้ที่มีชื่อมงคลอย่างเช่นพุทราจีนลงไปในกาละมังเดียวกันนั้น (แต่หากเป็นตั๋วเงินให้วางแยก) ใครใส่อะไร หมอตำแยก็จะเอ่ยเป็นคำอวยพรที่พ้องเสียงกับของสิ่งนั้น 4. เสร็จแล้วหมอตำแยก็จะใช้น้ำนั้นอาบน้ำให้ทารก ระหว่างอาบก็จะเอ่ยคำอวยพรไปตลอด 5. เสร็จแล้วนำเครื่องประดับเงินทอง (หากไม่มีให้ใช้เครื่องประดับสีขาวสีเหลือง) มาวางทาบกับทารกเป็นนัยว่าให้อนาคตรุ่งเรืองร่ำรวย แน่นอนว่า Storyฯ เล่าอย่างซูเปอร์ย่อ พิธีกรรมจริงๆ ละเอียดกว่านี้มาก กลับมาที่ไป่เจียอีต่อ ว่ากันว่าไป่เจียอีนี้ เดิมเป็นชุดที่นักบวชนิยมใส่ (เรียกว่าไป่น่าอี) มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ต่อมาจึงนำมาทำเป็นเสื้อเด็ก เสื้อผู้ใหญ่ก็ยังนิยมอยู่ในกลุ่มนักบวช แต่ในสมัยหมิงและชิงกลายมาเป็นแฟชั่นที่นิยมมากในกลุ่มสตรีสามัญชน มีการปักเย็บลวดลายประณีตและสีสันสวยงาม เรียกว่าชุด ‘สุ่ยเถียนอี’ (水田衣 แปลตรงตัวว่า ‘ชุดนาข้าว’ ดูรูปขวา) ความนิยมนี้ว่ากันว่าเป็นเพราะองค์จูหยวนจาง (ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง) และพระมเหสีต่างทรงมีนิสัยมัธยัสถ์ ทรงเคยบริจาคผ้าห่มและเสื้อผ้าที่ตัดเย็บจากเส้นด้ายและผ้าที่เหลือใช้ แม้แต่องค์หญิงและสนมในวังยังเคยทรงพระราชทานให้ใส่ จึงทำให้สุ่ยเถียนอีเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ต่อมากลายเป็นการประชันความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบลายเสื้อของสตรี ธรรมเนียมการให้เด็กใส่เสื้อผ้าต่อไป่เจียอีนี้มีการกล่าวถึงตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง และปฏิบัติกันมาทุกระดับชนชั้น แม้แต่ในบันทึกเกี่ยวกับประวัติของฮ่องเต้สมัยราชวงศ์ชิงในยุคสมัยของคังซีและเฉียนหลงยังมีกล่าวถึงการให้องค์ชายและราชนิกูลสวมเสื้อไป่เจียอีในตอนเด็ก และธรรมเนียมนี้ยังมีอยู่ในปัจจุบัน เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นในหลายพื้นที่ของจีน เป็นอย่างไรบ้าง? ‘เสื้อพรรคกระยาจก’ เขาก็มีความเป็นมานะเออ! ของไทยมีอะไรคล้ายคลึงอย่างนี้บ้างไหมคะ? Storyฯ ไม่สันทัด หากเพื่อนเพจท่านใดผ่านตาก็เล่าสู่กันฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.myvideo.net.tw/details/3/12499 https://nicecasio.pixnet.net/blog/post/467691023 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://kknews.cc/news/gpevjl.html https://www.lishiziliao.com/jiemi/21683.html https://www.hanspub.org/journal/PaperInformation.aspx?paperID=25060 https://new.qq.com/omn/20200819/20200819A0D3IY00.html?pc https:// baike.baidu.com/item/洗三/912561 #นิติเวชสาวยอดนักสืบ #นิติเวชสาวราชวงศ์ถัง #ผ้าต่อจีน #ผ้าปะจีน #ไป่ซุ่ยอี #ไป่น่าอี #สุ่ยเถียนอี #พิธีอาบน้ำทารก #สี่ซานหลี่
    WWW.MYVIDEO.NET.TW
    大唐女法醫線上看-陸劇、浪漫愛情劇-戲劇-MyVideo|陪你每一刻
    《大唐女法醫》描述18歲落魄貴女冉顏為了查明母親自殺真相,從小開始學習驗屍絕學,成人後巧遇刑部侍郎蕭頌、絕命殺手蘇伏和天才書生桑辰,解開一個又一個殺人情案,在探求真相的過程中遇到真愛的故事。大唐女法醫線上看-陸劇、浪漫愛情劇-戲劇-MyVideo|陪你每一刻 標籤:劇情,古裝,推理懸疑...
    1 Comments 0 Shares 643 Views 0 Reviews
  • วันนี้เปลี่ยนมาคุยเกี่ยวกับการละเล่นชนิดหนึ่งที่เห็นในละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา>
    ความมีอยู่ว่า
    ... องค์หญิงหย่งหนิง: “ดูนั่นสิ พี่รองกับพี่ห้าอยู่ที่นั่น พวกเขาต้องกำลังเล่นบทกวีล่องสายน้ำอยู่แน่เลย”...
    องค์หญิงลั่วซี: “บทกวีล่องลอยน้ำ คือการละเล่นอย่างหนึ่งของราชวงศ์หลี่ หลังเสร็จพิธีฝูซี่ในแต่ละปี ทุกคนจะนั่งอยู่สองฝั่งของคูน้ำ วางจอกสุราไว้ที่ต้นน้ำ จอกสุราจะล่องมาตามสายน้ำ หากหยุดตรงหน้าใคร คนนั้นก็ต้องหยิบขึ้นมาดื่ม รวมถึงต้องแต่งกลอนด้วย”...
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา>

    ละครเรื่องนี้เกิดในราชวงศ์สมมุติ แต่ ‘บทกวีล่องสายน้ำ’ ที่กล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ (曲水流觞 แปลตรงตัวว่าชามสุราลอยไปตามสายน้ำที่คดเคี้ยว) เป็นกิจกรรมที่นิยมจัดขึ้นในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ หรือก็คือวันซ่างซึ (上巳节)

    ในวันซ่างซึ ตามธรรมเนียมโบราณดั้งเดิมจะทำการอาบน้ำในแม่น้ำเพื่อชำระล้างเคราะห์ร้ายและสิ่งอัปมงคลออกไปจากชีวิตหรือที่เรียกว่า ‘พิธีฝูซี่’ ตามที่กล่าวถึงในละครข้างต้น มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นโจวตะวันออก (1047-772 ก่อนคริสตกาล) จัดเป็นหนึ่งในพิธีชำระที่สำคัญที่สุดของจีนโบราณ ต่อมาพิธีนี้แปรเปลี่ยนเป็นต่างคนต่างอาบน้ำแต่งตัวสวยงามแล้วออกมาริมแม่น้ำเพื่อกราบไหว้ และมีการแสดงรื่นเริง

    ในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เกิดเป็นกิจกรรมสันทนาการที่เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ขึ้น (ดูภาพประกอบ1) วิธีเล่นก็คือนั่งกันสองฝั่งฟากของลำธารแล้วปล่อยชามสุราให้ลอยไปตามสายน้ำ ชามสุราลอยไปหยุดอยู่หน้าใคร คนนั้นต้องแต่งกลอน หากแต่งไม่ออกก็ต้องถูกลงโทษด้วยการดื่มสุราสามชาม (วิธีเล่นแตกต่างจากที่บรรยายในละครตรงนี้) ต่อมาได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นกิจกรรมในช่วงเทศกาลที่หนุ่มสาวออกมาเจอะเจอกันได้ เป็นกิจกรรมกลางแจ้ง อาจเป็นลำธารจริง หรือเป็นลำธารและภูเขาจำลองอยู่ในอุทยานในบ้านคนรวย ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมและเมื่อถึงสมัยหมิงยิ่งจัดกันน้อย หากจัดขึ้นก็จะทำเป็นลำธารจำลองเล็กๆ ขึ้นในศาลาสำหรับคนกลุ่มเล็กร่วมดื่มกันเท่านั้น

    ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ไม่เพียงเป็นประเพณีโบราณ หากยังเป็นบ่อเกิดของงานศิลปะในตำนานจีนที่ชื่อดังชิ้นหนึ่ง เป็นงานอักษรพู่กันจีนที่มีชื่อว่า ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ (兰亭集序 ดูภาพประกอบ2) โดยหวังซีจือผู้เป็นนักปราชญ์ขุนนางในสมัยองค์จิ้นมู่แห่งราชวงศ์จิ้น งานอักษรของเขาโดดเด่นจนเขาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสี่ ‘ที่สุด’ ของประวัติศาสตร์จีนในด้านนี้

    ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ เป็นบทนำของคอลเล็กชั่นบทกวีที่เกิดขึ้นในงานฉลองเทศกาลซ่างซึที่องค์จิ้นมู่ทรงจัดขึ้น มีเหล่าขุนนางสี่สิบเอ็ดคนมาร่วมเล่น ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ โดยบทนำนี้บรรยายถึงวิธีเล่นนี้เอาไว้ ต้นฉบับของผลงานชิ้นนี้หายสาบสูญไปตามกาลเวลา แต่ปรากฏฉบับคัดลอกมาตลอดหลายยุคสมัย ฉบับคัดลอกที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงปักกิ่ง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันเพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/303274788_157925
    https://www.sohu.com/a/371364660_118889
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-hans/上巳节
    https://baike.baidu.com/item/上巳节
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/33299095
    http://m.xinhuanet.com/sh/2018-04/18/c_137119707.htm
    https://en.wikipedia.org/wiki/Wang_Xizhi
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_af279f0cdd95.aspx
    วันนี้เปลี่ยนมาคุยเกี่ยวกับการละเล่นชนิดหนึ่งที่เห็นในละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา> ความมีอยู่ว่า ... องค์หญิงหย่งหนิง: “ดูนั่นสิ พี่รองกับพี่ห้าอยู่ที่นั่น พวกเขาต้องกำลังเล่นบทกวีล่องสายน้ำอยู่แน่เลย”... องค์หญิงลั่วซี: “บทกวีล่องลอยน้ำ คือการละเล่นอย่างหนึ่งของราชวงศ์หลี่ หลังเสร็จพิธีฝูซี่ในแต่ละปี ทุกคนจะนั่งอยู่สองฝั่งของคูน้ำ วางจอกสุราไว้ที่ต้นน้ำ จอกสุราจะล่องมาตามสายน้ำ หากหยุดตรงหน้าใคร คนนั้นก็ต้องหยิบขึ้นมาดื่ม รวมถึงต้องแต่งกลอนด้วย”... - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา> ละครเรื่องนี้เกิดในราชวงศ์สมมุติ แต่ ‘บทกวีล่องสายน้ำ’ ที่กล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ (曲水流觞 แปลตรงตัวว่าชามสุราลอยไปตามสายน้ำที่คดเคี้ยว) เป็นกิจกรรมที่นิยมจัดขึ้นในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ หรือก็คือวันซ่างซึ (上巳节) ในวันซ่างซึ ตามธรรมเนียมโบราณดั้งเดิมจะทำการอาบน้ำในแม่น้ำเพื่อชำระล้างเคราะห์ร้ายและสิ่งอัปมงคลออกไปจากชีวิตหรือที่เรียกว่า ‘พิธีฝูซี่’ ตามที่กล่าวถึงในละครข้างต้น มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นโจวตะวันออก (1047-772 ก่อนคริสตกาล) จัดเป็นหนึ่งในพิธีชำระที่สำคัญที่สุดของจีนโบราณ ต่อมาพิธีนี้แปรเปลี่ยนเป็นต่างคนต่างอาบน้ำแต่งตัวสวยงามแล้วออกมาริมแม่น้ำเพื่อกราบไหว้ และมีการแสดงรื่นเริง ในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เกิดเป็นกิจกรรมสันทนาการที่เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ขึ้น (ดูภาพประกอบ1) วิธีเล่นก็คือนั่งกันสองฝั่งฟากของลำธารแล้วปล่อยชามสุราให้ลอยไปตามสายน้ำ ชามสุราลอยไปหยุดอยู่หน้าใคร คนนั้นต้องแต่งกลอน หากแต่งไม่ออกก็ต้องถูกลงโทษด้วยการดื่มสุราสามชาม (วิธีเล่นแตกต่างจากที่บรรยายในละครตรงนี้) ต่อมาได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นกิจกรรมในช่วงเทศกาลที่หนุ่มสาวออกมาเจอะเจอกันได้ เป็นกิจกรรมกลางแจ้ง อาจเป็นลำธารจริง หรือเป็นลำธารและภูเขาจำลองอยู่ในอุทยานในบ้านคนรวย ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมและเมื่อถึงสมัยหมิงยิ่งจัดกันน้อย หากจัดขึ้นก็จะทำเป็นลำธารจำลองเล็กๆ ขึ้นในศาลาสำหรับคนกลุ่มเล็กร่วมดื่มกันเท่านั้น ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ไม่เพียงเป็นประเพณีโบราณ หากยังเป็นบ่อเกิดของงานศิลปะในตำนานจีนที่ชื่อดังชิ้นหนึ่ง เป็นงานอักษรพู่กันจีนที่มีชื่อว่า ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ (兰亭集序 ดูภาพประกอบ2) โดยหวังซีจือผู้เป็นนักปราชญ์ขุนนางในสมัยองค์จิ้นมู่แห่งราชวงศ์จิ้น งานอักษรของเขาโดดเด่นจนเขาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสี่ ‘ที่สุด’ ของประวัติศาสตร์จีนในด้านนี้ ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ เป็นบทนำของคอลเล็กชั่นบทกวีที่เกิดขึ้นในงานฉลองเทศกาลซ่างซึที่องค์จิ้นมู่ทรงจัดขึ้น มีเหล่าขุนนางสี่สิบเอ็ดคนมาร่วมเล่น ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ โดยบทนำนี้บรรยายถึงวิธีเล่นนี้เอาไว้ ต้นฉบับของผลงานชิ้นนี้หายสาบสูญไปตามกาลเวลา แต่ปรากฏฉบับคัดลอกมาตลอดหลายยุคสมัย ฉบับคัดลอกที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงปักกิ่ง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันเพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/303274788_157925 https://www.sohu.com/a/371364660_118889 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://zh.m.wikipedia.org/zh-hans/上巳节 https://baike.baidu.com/item/上巳节 https://zhuanlan.zhihu.com/p/33299095 http://m.xinhuanet.com/sh/2018-04/18/c_137119707.htm https://en.wikipedia.org/wiki/Wang_Xizhi https://so.gushiwen.cn/shiwenv_af279f0cdd95.aspx
    看了《东宫》、《招摇》的海报,我想说你们对中国高级的古典美误解太深|意外_线条
    《招摇》的海报中,两人的头发和衣服就是在试图模仿这种线条带来的飘逸: 所以说这些所谓古典美的海报和写真误以为古风就是要“飘”,却不知这种飘逸的背后是巧用线条对于动感的表现。 让这些海报出现违和感…
    2 Comments 0 Shares 359 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์ที่แล้วคุยเรื่องการลอยสุรามาตามน้ำหรือ ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ วันนี้มาคุยต่อว่าด้วยเรื่องการลอยอาหารมาตามน้ำ เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <ตำนานหมิงหลัน> หรือ <ตำนานลั่วหยาง> ต้องเคยผ่านตาฉากงานเลี้ยงที่มีการวางจานอาหารให้ลอยมาตามน้ำผ่านหน้าแขกผู้มาร่วมงาน (ดูรูปประกอบ1)

    การจัดให้จานอาหารลอยมาตามน้ำในงานเลี้ยงนั้น ในประวัติศาสตร์มีอยู่จริง เรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ (流水席) เป็นลักษณะการจัดวางอาหารให้ลอยไปตามสายธารจำลองบนโต๊ะ นิยมใช้ในงานเลี้ยงมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย-ถัง

    แต่รู้หรือไม่... ‘หลิวสุ่ยสี’ เกิดจากงานวัด?

    วัดดังกล่าวคือวัดจิ้งเจวี๋ย (ต่อมาในสมัยชิง เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานนามใหม่ว่าวัดไท่หนิง) ตั้งอยู่มณฑลเหอเป่ย มีทิวทัศน์งดงาม ว่ากันว่าในวันสำคัญจะมีผู้คนมาไหว้พระรับประทานอาหารเจเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ (หรือก็คือวันซ่างซึ 上巳节 ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงสัปดาห์ที่แล้ว) จะมีคนจำนวนมาก แออัดชุลมุนจนดูแลไม่ไหว ทางวัดเลยคิดสร้างเป็นคลอง/ลำธารจำลองทะลุออกไปยังด้านนอกวัด คดเคี้ยวไปตามเนินหิน จัดวางโต๊ะหินตามรายทาง แล้วส่งอาหารด้วยการลอยถาดไปตามน้ำโดยอาศัยแรงดันของน้ำพุและลำธารธรรมชาติ ชาวบ้านที่มาไหว้พระเสร็จแล้วก็สามารถเรียงคิวนั่งหยิบอาหารเจทานได้จากด้านนอก ไม่ต้องเข้ามาแออัดกันอยู่ในวัด เกิดเป็นการเรียกกันอย่างง่ายว่า ‘อาหารที่ลอยมาตามน้ำ’ หรือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั่นเอง

    ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลาย และรูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ ถูกนำมาใช้กันในงานเลี้ยงของคนที่มีฐานะหรือมียศศักดิ์อย่างที่เห็นในตัวอย่างละครที่กล่าวมา

    รูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ แปรเปลี่ยนไปเมื่อใดไม่ชัดเจน แต่ปัจจุบัน ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการเสิร์ฟอาหารแบบโต๊ะจีนที่เราคุ้นเคย โดยมีสองคำอธิบาย

    คำอธิบายแรกก็คือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั้นหมายถึง ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ (หมายเหตุ เมืองลั่วหยางในสมัยราชวงศ์ถังมีศักดิ์เป็นเมืองหลวงรองทางทิศบูรพา หรือ Eastern Capital) เพราะเผยแพร่มาจากลั่วหยางและมีตำนานเกี่ยวโยงถึงจักรพรรดินีบูเช็กเทียน เพราะว่าโหรหลวงทำนายได้ว่าอีก 24 ปี นางอู่เม่ยเหนียง (ชื่อเดิมขององค์บูเช็กเทียน) จะได้ขึ้นครองราชย์ ในงานเลี้ยงที่จัดขึ้นจึงมีอาหาร 24 อย่าง และเอกลักษณ์ของ ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ ก็คือเมนูอาหารจะประกอบด้วยอาหารจานเย็น 8 อย่าง ตามด้วยจานร้อนอีก 16 อย่าง รวมเป็น 24 อย่าง โดยทุกจานต้องเป็นอาหารที่มีน้ำแกง/น้ำซุป ตามวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านของลั่วหยาง (ดูรูปประกอบ2)

    ส่วนอีกคำอธิบายนั้นก็คือว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการจัดเลี้ยงแบบโต๊ะจีนโดยจัดเสิร์ฟอาหารทีละจาน รับประทานจานหนึ่งเสร็จแล้วค่อยเสิร์ฟจานใหม่ ทำอย่างนี้ต่อเนื่องดุจสายน้ำที่ไหลไม่หยุด เป็นสัญลักษณ์ของความราบรื่น ดังนั้น หากเพื่อนเพจได้ยินคำเรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ แต่หน้าตาอาหารไม่เน้นน้ำแกงและไม่ได้มีอะไรแตกต่างจากโต๊ะจีนที่พวกเราคุ้นเคยก็อย่าได้แปลกใจนะคะ เขาเรียกชื่อเอาเคล็ดว่าอาหารการกินไม่ขาดสาย สมบูรณ์และราบรื่นค่ะ

    (ป.ล. อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/292070252_100132268
    https://www.jiuzyoung.com/entertain/watch/fengqiluoyang/
    https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html
    https://kknews.cc/food/pnborxz.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/流水席/1930803
    https://baike.baidu.com/item/洛阳水席 /81269
    https://k.sina.cn/article_6270609874_175c1e9d200101ikw3.html
    https://kknews.cc/food/pnborxz.html
    https://kknews.cc/culture/xmnqp89.html
    https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html
    #หลิวสุ่ยสี #ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี #โต๊ะจีน
    สัปดาห์ที่แล้วคุยเรื่องการลอยสุรามาตามน้ำหรือ ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ วันนี้มาคุยต่อว่าด้วยเรื่องการลอยอาหารมาตามน้ำ เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <ตำนานหมิงหลัน> หรือ <ตำนานลั่วหยาง> ต้องเคยผ่านตาฉากงานเลี้ยงที่มีการวางจานอาหารให้ลอยมาตามน้ำผ่านหน้าแขกผู้มาร่วมงาน (ดูรูปประกอบ1) การจัดให้จานอาหารลอยมาตามน้ำในงานเลี้ยงนั้น ในประวัติศาสตร์มีอยู่จริง เรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ (流水席) เป็นลักษณะการจัดวางอาหารให้ลอยไปตามสายธารจำลองบนโต๊ะ นิยมใช้ในงานเลี้ยงมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย-ถัง แต่รู้หรือไม่... ‘หลิวสุ่ยสี’ เกิดจากงานวัด? วัดดังกล่าวคือวัดจิ้งเจวี๋ย (ต่อมาในสมัยชิง เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานนามใหม่ว่าวัดไท่หนิง) ตั้งอยู่มณฑลเหอเป่ย มีทิวทัศน์งดงาม ว่ากันว่าในวันสำคัญจะมีผู้คนมาไหว้พระรับประทานอาหารเจเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ (หรือก็คือวันซ่างซึ 上巳节 ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงสัปดาห์ที่แล้ว) จะมีคนจำนวนมาก แออัดชุลมุนจนดูแลไม่ไหว ทางวัดเลยคิดสร้างเป็นคลอง/ลำธารจำลองทะลุออกไปยังด้านนอกวัด คดเคี้ยวไปตามเนินหิน จัดวางโต๊ะหินตามรายทาง แล้วส่งอาหารด้วยการลอยถาดไปตามน้ำโดยอาศัยแรงดันของน้ำพุและลำธารธรรมชาติ ชาวบ้านที่มาไหว้พระเสร็จแล้วก็สามารถเรียงคิวนั่งหยิบอาหารเจทานได้จากด้านนอก ไม่ต้องเข้ามาแออัดกันอยู่ในวัด เกิดเป็นการเรียกกันอย่างง่ายว่า ‘อาหารที่ลอยมาตามน้ำ’ หรือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั่นเอง ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลาย และรูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ ถูกนำมาใช้กันในงานเลี้ยงของคนที่มีฐานะหรือมียศศักดิ์อย่างที่เห็นในตัวอย่างละครที่กล่าวมา รูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ แปรเปลี่ยนไปเมื่อใดไม่ชัดเจน แต่ปัจจุบัน ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการเสิร์ฟอาหารแบบโต๊ะจีนที่เราคุ้นเคย โดยมีสองคำอธิบาย คำอธิบายแรกก็คือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั้นหมายถึง ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ (หมายเหตุ เมืองลั่วหยางในสมัยราชวงศ์ถังมีศักดิ์เป็นเมืองหลวงรองทางทิศบูรพา หรือ Eastern Capital) เพราะเผยแพร่มาจากลั่วหยางและมีตำนานเกี่ยวโยงถึงจักรพรรดินีบูเช็กเทียน เพราะว่าโหรหลวงทำนายได้ว่าอีก 24 ปี นางอู่เม่ยเหนียง (ชื่อเดิมขององค์บูเช็กเทียน) จะได้ขึ้นครองราชย์ ในงานเลี้ยงที่จัดขึ้นจึงมีอาหาร 24 อย่าง และเอกลักษณ์ของ ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ ก็คือเมนูอาหารจะประกอบด้วยอาหารจานเย็น 8 อย่าง ตามด้วยจานร้อนอีก 16 อย่าง รวมเป็น 24 อย่าง โดยทุกจานต้องเป็นอาหารที่มีน้ำแกง/น้ำซุป ตามวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านของลั่วหยาง (ดูรูปประกอบ2) ส่วนอีกคำอธิบายนั้นก็คือว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการจัดเลี้ยงแบบโต๊ะจีนโดยจัดเสิร์ฟอาหารทีละจาน รับประทานจานหนึ่งเสร็จแล้วค่อยเสิร์ฟจานใหม่ ทำอย่างนี้ต่อเนื่องดุจสายน้ำที่ไหลไม่หยุด เป็นสัญลักษณ์ของความราบรื่น ดังนั้น หากเพื่อนเพจได้ยินคำเรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ แต่หน้าตาอาหารไม่เน้นน้ำแกงและไม่ได้มีอะไรแตกต่างจากโต๊ะจีนที่พวกเราคุ้นเคยก็อย่าได้แปลกใจนะคะ เขาเรียกชื่อเอาเคล็ดว่าอาหารการกินไม่ขาดสาย สมบูรณ์และราบรื่นค่ะ (ป.ล. อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/292070252_100132268 https://www.jiuzyoung.com/entertain/watch/fengqiluoyang/ https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html https://kknews.cc/food/pnborxz.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/流水席/1930803 https://baike.baidu.com/item/洛阳水席 /81269 https://k.sina.cn/article_6270609874_175c1e9d200101ikw3.html https://kknews.cc/food/pnborxz.html https://kknews.cc/culture/xmnqp89.html https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html #หลิวสุ่ยสี #ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี #โต๊ะจีน
    明兰、二郎、小公爷,《知否》三大主角艰难原生家庭描绘三种人生_顾廷烨
    而元若哥哥呢,在母亲掌控一切的情况中顺从听话,老妈说要读书,那就读书;老妈说要事业,那就考公民,如果说这辈子唯一有点主见的,那就是遇到明兰,争取扑腾起的小浪花。 于是,借着嘉成县主逼迫齐衡也就从了家…
    2 Comments 0 Shares 479 Views 0 Reviews
  • ** บทกวีทับทิมจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้เราได้คุยถึงเรื่องสีแดงในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้คงจะจำได้ว่าพ่อของนางเอกทิ้งสูตรเกี่ยวกับการผสมสีแดงของตระกูลไว้ในบทกวีที่เกี่ยวกับทับทิม Storyฯ เห็นว่ามีเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ สอดแทรกอยู่ในนี้ที่เพื่อนเพจคงไม่รู้ เลยมาแบ่งปันให้ฟัง... เป็นเรื่องราวชีวิตคู่ของหลี่ไป๋

    บทกวีดังกล่าวมีชื่อว่า ‘หย่งหลินหนี่ว์ตงชวงไห่สือหลิ่ว’ (咏邻女东窗海石榴 แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมสตรีข้างบ้านผ่านหน้าต่างและต้นทับทิม) เป็นผลงานของหลี่ไป๋ เซียนกวีแห่งราชวงศ์ถัง ถูกประพันธ์ขึ้นสมัยที่เขาพำนักอยู่ในเขตซานตง ใจความบรรยายถึงความงามของสตรีข้างบ้านที่เขามองเห็นผ่านหน้าต่าง ซึ่งเขาเรียกในบทกวีว่า ‘สตรีจากแดนหลู่’ ความงามของนางถูกเสริมด้วยความงามของต้นทับทิมที่มีดอกสีแดงจัดตัดกับใบเขียว เขาถึงกับรำพันว่าจะยอมเป็นกิ่งทับทิมที่ทอดเกยอาภรณ์ของนางเพื่อขอเพียงให้ได้ใกล้ชิดอนงค์นาง แต่จนใจได้แต่ชะเง้อมองผ่านหน้าต่าง

    แน่นอนว่ามันเป็นกลอนบอกรัก และสตรีดังกล่าวเป็นหนึ่งในภรรรยาของหลี่ไป๋

    เพื่อนเพจหลายท่านอาจไม่คุ้นเคยกับชีวประวัติของหลี่ไป๋และคงไม่ทราบว่าหลี่ไป๋มีภรรยาสี่คน จริงๆ แล้วเขาแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมเนียมสองครั้ง ส่วนภรรยาอีกสองคนไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ

    เขาแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุยี่สิบเจ็ดปีกับภรรยาคนแรกคือสตรีสกุลสวี่ผู้เป็นหลานของอดีตอัครเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ถังเกาจง ถูกรับเข้าจวนสกุลสวี่เป็นเขยแต่งเข้าหรือที่เรียกว่า ‘จุ้ยซวี่’ มีลูกด้วยกันสองคน ชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แต่ลูกทั้งสองได้ใช้แซ่หลี่ตามหลี่ไป๋ผู้เป็นบิดา (อนึ่ง ปกติจุ้ยซวี่แต่งเข้าเรือนของสตรี เมื่อมีลูกก็จะใช้แซ่ของผู้เป็นมารดาไม่ใช่บิดา Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว แปะลิ้งค์ไว้ให้อ่านใหม่ที่ท้ายเรื่อง) ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันกับนางสกุลสวี่นี้ หลี่ไป๋มีชีวิตค่อนข้างสบายเพราะฝ่ายหญิงมีฐานะดีและเขามีอิสระที่จะเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ตามใจหมาย ว่ากันว่าเขารักภรรยาคนนี้มากแต่นางป่วยตายหลังจากใช้ชีวิตคู่ด้วยกันนานสิบเอ็ดปี

    เมื่อสิ้นภรรยาคนแรก หลี่ไป๋ก็พาลูกจากจวนสกุลสวี่ออกเดินทาง มาหยุดพำนักที่บริเวณพื้นที่แถบซานตง หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็อยู่กินกับนางสกุลหลิว ว่ากันว่าเป็นเพราะต้องการหาคนมาช่วยเลี้ยงลูกเพื่อว่าตนเองจะได้มีอิสระในการเดินทาง ส่วนนางสกุลหลิวเองก็คาดหวังว่าหลี่ไป๋จะมีอนาคตขุนนางสวยงาม แต่ หลี่ไป๋ก็ยังไม่ได้เข้ารับราชการเสียที สุดท้ายนางทนไม่ได้กับความเป็นกวีขี้เมาของหลี่ไป๋ ทั้งสองจึงแยกทางกันอย่างไม่แฮปปี้

    ต่อมาอีกประมาณหกปี หลี่ไป๋ยังคงอยู่ในละแวกพื้นที่ซานตงหรือที่เรียกว่าพื้นที่หลู่นี้ และได้อยู่กินกับภรรยาคนที่สาม ซึ่งก็คือ ‘สตรีจากแดนหลู่’ ในบทกวีข้างต้นนั่นเอง เขาซื้อที่ดินทำกินให้นางดูแลทรัพย์สินอย่างไว้ใจ นางเองก็ขยันขันแข็งทำมาหากิน ส่วนตัวเขายังคงออกเดินทางไปตามพื้นที่ต่างๆ และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวง พวกเขามีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน แต่ไม่มีการบันทึกถึงรายละเอียดว่าเกิดอะไรกับลูกชายคนนี้ และไม่มีหลักฐานปรากฏด้วยซ้ำว่าสตรีนางนี้มีชื่อสกุลใด บ้างว่านางเป็นแม่หม้ายบ้างว่านางได้หมั้นหมายแล้วแต่คู่หมายหายไปหลายปีกลายเป็นหม้ายขันหมาก แต่ที่แน่ๆ คือนางอยู่ข้างบ้าน มองกันไปมองกันมาก็เกิดปิ๊งกันเลยอยู่กินกัน เล่าขานกันต่อมาเพียงว่าอยู่ด้วยกันเพียงห้าปีนางก็ตายจากไป

    หลี่ไป๋แต่งงานครั้งที่สองกับภรรยาคนสุดท้ายคือสตรีสกุลจง เป็นหลานปู่ของจงฉู่เค่อ อดีตอัครเสนาบดีอีกท่านหนึ่งและเขาแต่งเข้าเรือนฝ่ายหญิงอีกครั้ง อยู่ด้วยกันสิบปีอย่างสมบูรณ์พูนสุขแต่ไม่มีบุตร แต่สุดท้ายหลี่ไป๋เข้าไปพัวพันกับคดีการเมืองและนางเสียชีวิตลง ส่วนเขาถูกเนรเทศและแม้ว่าในบั้นปลายชีวิตจะได้รับอิสรภาพแต่ก็ต้องจบชีวิตลงอย่างเดียวดาย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความในอดีตเกี่ยวกับเจ้าบ่าวจุ้ยซวี่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/134357391983589

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.gdzjdaily.com.cn/p/2903387.html
    https://www.photophoto.cn/pic/11693708.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_7753758
    https://gushici.china.com/srgushi/10.html
    https://www.163.com/dy/article/G328S2640543SC39.html
    https://baike.baidu.com/item/咏邻女东窗海石榴/9436296
    https://www.sohu.com/a/341251009_100053536

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #กวีเอก #หลี่ไป๋ #เซียนกวี #ราชวงศ์ถัง #สาระจีน
    ** บทกวีทับทิมจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้เราได้คุยถึงเรื่องสีแดงในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้คงจะจำได้ว่าพ่อของนางเอกทิ้งสูตรเกี่ยวกับการผสมสีแดงของตระกูลไว้ในบทกวีที่เกี่ยวกับทับทิม Storyฯ เห็นว่ามีเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ สอดแทรกอยู่ในนี้ที่เพื่อนเพจคงไม่รู้ เลยมาแบ่งปันให้ฟัง... เป็นเรื่องราวชีวิตคู่ของหลี่ไป๋ บทกวีดังกล่าวมีชื่อว่า ‘หย่งหลินหนี่ว์ตงชวงไห่สือหลิ่ว’ (咏邻女东窗海石榴 แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมสตรีข้างบ้านผ่านหน้าต่างและต้นทับทิม) เป็นผลงานของหลี่ไป๋ เซียนกวีแห่งราชวงศ์ถัง ถูกประพันธ์ขึ้นสมัยที่เขาพำนักอยู่ในเขตซานตง ใจความบรรยายถึงความงามของสตรีข้างบ้านที่เขามองเห็นผ่านหน้าต่าง ซึ่งเขาเรียกในบทกวีว่า ‘สตรีจากแดนหลู่’ ความงามของนางถูกเสริมด้วยความงามของต้นทับทิมที่มีดอกสีแดงจัดตัดกับใบเขียว เขาถึงกับรำพันว่าจะยอมเป็นกิ่งทับทิมที่ทอดเกยอาภรณ์ของนางเพื่อขอเพียงให้ได้ใกล้ชิดอนงค์นาง แต่จนใจได้แต่ชะเง้อมองผ่านหน้าต่าง แน่นอนว่ามันเป็นกลอนบอกรัก และสตรีดังกล่าวเป็นหนึ่งในภรรรยาของหลี่ไป๋ เพื่อนเพจหลายท่านอาจไม่คุ้นเคยกับชีวประวัติของหลี่ไป๋และคงไม่ทราบว่าหลี่ไป๋มีภรรยาสี่คน จริงๆ แล้วเขาแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมเนียมสองครั้ง ส่วนภรรยาอีกสองคนไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ เขาแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุยี่สิบเจ็ดปีกับภรรยาคนแรกคือสตรีสกุลสวี่ผู้เป็นหลานของอดีตอัครเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ถังเกาจง ถูกรับเข้าจวนสกุลสวี่เป็นเขยแต่งเข้าหรือที่เรียกว่า ‘จุ้ยซวี่’ มีลูกด้วยกันสองคน ชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แต่ลูกทั้งสองได้ใช้แซ่หลี่ตามหลี่ไป๋ผู้เป็นบิดา (อนึ่ง ปกติจุ้ยซวี่แต่งเข้าเรือนของสตรี เมื่อมีลูกก็จะใช้แซ่ของผู้เป็นมารดาไม่ใช่บิดา Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว แปะลิ้งค์ไว้ให้อ่านใหม่ที่ท้ายเรื่อง) ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันกับนางสกุลสวี่นี้ หลี่ไป๋มีชีวิตค่อนข้างสบายเพราะฝ่ายหญิงมีฐานะดีและเขามีอิสระที่จะเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ตามใจหมาย ว่ากันว่าเขารักภรรยาคนนี้มากแต่นางป่วยตายหลังจากใช้ชีวิตคู่ด้วยกันนานสิบเอ็ดปี เมื่อสิ้นภรรยาคนแรก หลี่ไป๋ก็พาลูกจากจวนสกุลสวี่ออกเดินทาง มาหยุดพำนักที่บริเวณพื้นที่แถบซานตง หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็อยู่กินกับนางสกุลหลิว ว่ากันว่าเป็นเพราะต้องการหาคนมาช่วยเลี้ยงลูกเพื่อว่าตนเองจะได้มีอิสระในการเดินทาง ส่วนนางสกุลหลิวเองก็คาดหวังว่าหลี่ไป๋จะมีอนาคตขุนนางสวยงาม แต่ หลี่ไป๋ก็ยังไม่ได้เข้ารับราชการเสียที สุดท้ายนางทนไม่ได้กับความเป็นกวีขี้เมาของหลี่ไป๋ ทั้งสองจึงแยกทางกันอย่างไม่แฮปปี้ ต่อมาอีกประมาณหกปี หลี่ไป๋ยังคงอยู่ในละแวกพื้นที่ซานตงหรือที่เรียกว่าพื้นที่หลู่นี้ และได้อยู่กินกับภรรยาคนที่สาม ซึ่งก็คือ ‘สตรีจากแดนหลู่’ ในบทกวีข้างต้นนั่นเอง เขาซื้อที่ดินทำกินให้นางดูแลทรัพย์สินอย่างไว้ใจ นางเองก็ขยันขันแข็งทำมาหากิน ส่วนตัวเขายังคงออกเดินทางไปตามพื้นที่ต่างๆ และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวง พวกเขามีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน แต่ไม่มีการบันทึกถึงรายละเอียดว่าเกิดอะไรกับลูกชายคนนี้ และไม่มีหลักฐานปรากฏด้วยซ้ำว่าสตรีนางนี้มีชื่อสกุลใด บ้างว่านางเป็นแม่หม้ายบ้างว่านางได้หมั้นหมายแล้วแต่คู่หมายหายไปหลายปีกลายเป็นหม้ายขันหมาก แต่ที่แน่ๆ คือนางอยู่ข้างบ้าน มองกันไปมองกันมาก็เกิดปิ๊งกันเลยอยู่กินกัน เล่าขานกันต่อมาเพียงว่าอยู่ด้วยกันเพียงห้าปีนางก็ตายจากไป หลี่ไป๋แต่งงานครั้งที่สองกับภรรยาคนสุดท้ายคือสตรีสกุลจง เป็นหลานปู่ของจงฉู่เค่อ อดีตอัครเสนาบดีอีกท่านหนึ่งและเขาแต่งเข้าเรือนฝ่ายหญิงอีกครั้ง อยู่ด้วยกันสิบปีอย่างสมบูรณ์พูนสุขแต่ไม่มีบุตร แต่สุดท้ายหลี่ไป๋เข้าไปพัวพันกับคดีการเมืองและนางเสียชีวิตลง ส่วนเขาถูกเนรเทศและแม้ว่าในบั้นปลายชีวิตจะได้รับอิสรภาพแต่ก็ต้องจบชีวิตลงอย่างเดียวดาย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความในอดีตเกี่ยวกับเจ้าบ่าวจุ้ยซวี่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/134357391983589 Credit รูปภาพจาก: https://www.gdzjdaily.com.cn/p/2903387.html https://www.photophoto.cn/pic/11693708.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/baijiahao_7753758 https://gushici.china.com/srgushi/10.html https://www.163.com/dy/article/G328S2640543SC39.html https://baike.baidu.com/item/咏邻女东窗海石榴/9436296 https://www.sohu.com/a/341251009_100053536 #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #กวีเอก #หลี่ไป๋ #เซียนกวี #ราชวงศ์ถัง #สาระจีน
    1 Comments 0 Shares 648 Views 0 Reviews
  • ** โฉมงามอวี๋ บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู **

    สวัสดีค่ะ ก่อนอื่น Storyฯ ขอแสดงความเสียใจกับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาและหวังเพื่อนเพจทั้งหลายแคล้วคลาดปลอดภัย

    สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงสีแดงจากเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> มีการกล่าวถึงบทกวีที่มีชื่อว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人) หรือ ‘โฉมงามอวี๋’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมากแล้วแต่บทความถูกลบไป (อาจด้วยมีลิ้งค์ที่ต้องห้าม) วันนี้เลยแก้ไขแล้วเอามาลงใหม่ให้อ่านกัน

    ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีเลื่องชื่อของจีน และถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู> โดยชื่อของนางเอกพระเอก ‘ชุนฮวา’ และ ‘ชิวเยวี่ย’ มาจากวลีหนึ่งในบทกวีนี้ ซึ่งก็คือ ‘ชุนฮวาชิวเยวี่ยเหอสือเหลี่ยว หว่างซื่อจือตัวส่าว?’ (春花秋月何时了,往事知多少?) แปลตรงตัวว่า ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดูสิ้นสุดไปเมื่อใด มีเรื่องราวมากน้อยเท่าไรให้รำลึกถึง?’ โดยในซีรีส์เรื่องนี้มีการกล่าวถึงวรรคแรกของวลีนี้อยู่บ่อยครั้ง

    ฟังดูเหงาๆ โรแมนติก เป็นวลีฮอตฮิตยามชมจันทร์ ละครเรื่องนี้ก็เป็นแนวรักตลก จะมีเพื่อนเพจกี่ท่านที่ทราบถึงความเจ็บปวดที่แฝงไว้อยู่ในบทกวีนี้?

    บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทประพันธ์ขององค์หลี่อวี้ (ค.ศ. 937-978) ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ถังปลายในช่วงยุคสมัยห้าราชวงศ์สิบแคว้น (คือคนเดียวกับที่สั่งให้จิตรกรไปวาดภาพงานเลี้ยงราตรีของหานซีจ่ายที่ Storyฯ เคยเล่าถึง)

    พระองค์ทรงมีชื่อเสียงในฐานะกวีที่มีผลงานน่ายกย่องหลายชิ้น แต่ก็ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่อ่อนแอที่สุดของจีน ภายหลังจากอาณาจักรถังปลายล่มสลาย องค์หลี่อวี้ถูกจับกุมเป็นเชลยศึกและกักบริเวณอยู่ที่เมืองตงจิง (เมืองหลวงของราชวงศ์ซ่ง คือเมืองไคเฟิงปัจจุบัน) โดยองค์เจ้าควงอิ้งปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง หลี่อวี้ได้รับการอวยบรรดาศักดิ์ให้ใหม่เป็นระดับโหว นามว่า ‘เหวยมิ่งโหว’ (ก็คือถูกถอดยศกษัตริย์เนื่องจากชาติล่มสลายไปแล้ว) เขาถูกกักบริเวณอยู่ด้วยกันกับมเหสีองค์ที่สองผู้ซึ่งมาจากสกุลโจวเช่นเดียวกับพระมเหสีองค์แรก นามจริงไม่ปรากฏ เรียกกันในประวัติศาสตร์ว่า ‘เสี่ยวโจวโฮ่ว’ (มเหสีสกุลโจวเล็ก) ว่ากันว่าเขารักนางมาก

    ต่อมาเข้าสู่รัชสมัยขององค์เจ้ากวงอี้ (ฮ่องเต้องค์ที่สองของราชวงศ์ซ่ง) หลี่อวี้ได้ประพันธ์บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้ขึ้น ความหมายของบทกวีแปลได้ประมาณว่า: วันเวลาที่สวยงามสิ้นสุดไปแล้วอย่างรวดเร็ว เมื่อคืนนี้ลมบูรพาโชยมาอีกครา ภายใต้ดวงจันทร์ที่ทอแสงสุกสกาว จะทำอย่างไรให้ลืมความทุกข์ของการที่บ้านเมืองล่มสลาย? สถานที่ที่งดงามคงยังอยู่ แต่คนที่อยู่ในห้วงคะนึงหาคงล้วนแก่ชรากันไปตามเวลาแล้ว หากจะถามว่าใจข้าทุกข์เพียงใด... คงเปรียบได้ดั่งคลื่นนทีที่ไหล่รินสู่ทิศบูรพา

    จะเห็นได้ว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีที่บรรยายถึงความทุกข์ขมขื่นในยามที่มองจันทร์ แต่ถูกองค์เจ้ากวงอี้ตีความหมายว่าหลี่อวี้คิดไม่ซื่อกับราชสำนักซ่ง หวังจะพลิกฟื้นราชวงศ์เดิมขึ้นใหม่ จึงพระราชทานยาพิษให้หลี่อวี้ฆ่าตัวตาย

    แต่มีเรื่องเล่าขานกันว่านี่เป็นเพียงข้ออ้าง ว่ากันว่าองค์เจ้ากวงอี้ทรงรอจังหวะหาข้ออ้างสังหารหลี่อวี้อยู่แล้วเพราะทรงหลงไหลในชายาเสี่ยวโจวของหลี่อวี้ผู้ซึ่งงามพิลาส ถึงกับทรงล่อลวงนางเข้าวังแล้วขืนใจและหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ในวัง จากนั้นมีการบังคับขืนใจนางอีกหลายครั้งครา มีการเล่าขานว่าทรงถึงขนาดให้จิตรกรมาวาดภาพขณะกำลังย่ำยีนางเพื่อส่งให้หลี่อวี้ดูเป็นการขยี้ใจ จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจของบทกวีนี้ขึ้น... ข้อเท็จจริงใช่อย่างนี้หรือไม่? ไม่มีใครยืนยันได้ มีการกล่าวไว้เพียงว่าบทกวีอวี๋เหม่ยเหรินนี้ทำให้หลี่อวี้ถูกพระราชทานยาพิษตาย แต่ก็มีเอกสารเรื่องเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ในสมัยหมิงที่กล่าวถึงภาพวาดที่องค์เจ้ากวงอี้ได้ทรงให้คนวาดขึ้นนี้

    นอกจากชื่อบทกวีแล้ว ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ ยังเป็นชื่อเรียกดอกป๊อปปี้ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีความหมายถึงความทุกข์และการตายจากพลัดพรากมาแต่จีนโบราณอีกด้วย

    วันนี้จบกันแบบสั้นๆ เศร้าๆ อย่างนี้แล

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://image.tmdb.org/t/p/original/enj2s0CNvp2oaf84j87H8Vsdbr0.jpg
    https://bowuguan.bucm.edu.cn/kpzl/zyyzs/57214.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.lllst.com/guoxuejingdian/scmj/271349.html
    https://baike.baidu.com/item/虞美人·春花秋月何时了/10926799
    https://www.jianshu.com/p/8ff00c387fbe
    https://baike.sogou.com/v6849891.htm
    https://www.guwenxuexi.com/classical/24854.html
    https://k.sina.cn/article_1659337544_62e77b48001003bvc.html

    #บุปผาวสันต์ #จันทราสารทฤดู #ชุนฮวาชิวเยวี่ย #อวี๋เหม่ยเหริน #หลี่อวี
    ** โฉมงามอวี๋ บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู ** สวัสดีค่ะ ก่อนอื่น Storyฯ ขอแสดงความเสียใจกับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาและหวังเพื่อนเพจทั้งหลายแคล้วคลาดปลอดภัย สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงสีแดงจากเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> มีการกล่าวถึงบทกวีที่มีชื่อว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人) หรือ ‘โฉมงามอวี๋’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมากแล้วแต่บทความถูกลบไป (อาจด้วยมีลิ้งค์ที่ต้องห้าม) วันนี้เลยแก้ไขแล้วเอามาลงใหม่ให้อ่านกัน ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีเลื่องชื่อของจีน และถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู> โดยชื่อของนางเอกพระเอก ‘ชุนฮวา’ และ ‘ชิวเยวี่ย’ มาจากวลีหนึ่งในบทกวีนี้ ซึ่งก็คือ ‘ชุนฮวาชิวเยวี่ยเหอสือเหลี่ยว หว่างซื่อจือตัวส่าว?’ (春花秋月何时了,往事知多少?) แปลตรงตัวว่า ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดูสิ้นสุดไปเมื่อใด มีเรื่องราวมากน้อยเท่าไรให้รำลึกถึง?’ โดยในซีรีส์เรื่องนี้มีการกล่าวถึงวรรคแรกของวลีนี้อยู่บ่อยครั้ง ฟังดูเหงาๆ โรแมนติก เป็นวลีฮอตฮิตยามชมจันทร์ ละครเรื่องนี้ก็เป็นแนวรักตลก จะมีเพื่อนเพจกี่ท่านที่ทราบถึงความเจ็บปวดที่แฝงไว้อยู่ในบทกวีนี้? บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทประพันธ์ขององค์หลี่อวี้ (ค.ศ. 937-978) ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ถังปลายในช่วงยุคสมัยห้าราชวงศ์สิบแคว้น (คือคนเดียวกับที่สั่งให้จิตรกรไปวาดภาพงานเลี้ยงราตรีของหานซีจ่ายที่ Storyฯ เคยเล่าถึง) พระองค์ทรงมีชื่อเสียงในฐานะกวีที่มีผลงานน่ายกย่องหลายชิ้น แต่ก็ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่อ่อนแอที่สุดของจีน ภายหลังจากอาณาจักรถังปลายล่มสลาย องค์หลี่อวี้ถูกจับกุมเป็นเชลยศึกและกักบริเวณอยู่ที่เมืองตงจิง (เมืองหลวงของราชวงศ์ซ่ง คือเมืองไคเฟิงปัจจุบัน) โดยองค์เจ้าควงอิ้งปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง หลี่อวี้ได้รับการอวยบรรดาศักดิ์ให้ใหม่เป็นระดับโหว นามว่า ‘เหวยมิ่งโหว’ (ก็คือถูกถอดยศกษัตริย์เนื่องจากชาติล่มสลายไปแล้ว) เขาถูกกักบริเวณอยู่ด้วยกันกับมเหสีองค์ที่สองผู้ซึ่งมาจากสกุลโจวเช่นเดียวกับพระมเหสีองค์แรก นามจริงไม่ปรากฏ เรียกกันในประวัติศาสตร์ว่า ‘เสี่ยวโจวโฮ่ว’ (มเหสีสกุลโจวเล็ก) ว่ากันว่าเขารักนางมาก ต่อมาเข้าสู่รัชสมัยขององค์เจ้ากวงอี้ (ฮ่องเต้องค์ที่สองของราชวงศ์ซ่ง) หลี่อวี้ได้ประพันธ์บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้ขึ้น ความหมายของบทกวีแปลได้ประมาณว่า: วันเวลาที่สวยงามสิ้นสุดไปแล้วอย่างรวดเร็ว เมื่อคืนนี้ลมบูรพาโชยมาอีกครา ภายใต้ดวงจันทร์ที่ทอแสงสุกสกาว จะทำอย่างไรให้ลืมความทุกข์ของการที่บ้านเมืองล่มสลาย? สถานที่ที่งดงามคงยังอยู่ แต่คนที่อยู่ในห้วงคะนึงหาคงล้วนแก่ชรากันไปตามเวลาแล้ว หากจะถามว่าใจข้าทุกข์เพียงใด... คงเปรียบได้ดั่งคลื่นนทีที่ไหล่รินสู่ทิศบูรพา จะเห็นได้ว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีที่บรรยายถึงความทุกข์ขมขื่นในยามที่มองจันทร์ แต่ถูกองค์เจ้ากวงอี้ตีความหมายว่าหลี่อวี้คิดไม่ซื่อกับราชสำนักซ่ง หวังจะพลิกฟื้นราชวงศ์เดิมขึ้นใหม่ จึงพระราชทานยาพิษให้หลี่อวี้ฆ่าตัวตาย แต่มีเรื่องเล่าขานกันว่านี่เป็นเพียงข้ออ้าง ว่ากันว่าองค์เจ้ากวงอี้ทรงรอจังหวะหาข้ออ้างสังหารหลี่อวี้อยู่แล้วเพราะทรงหลงไหลในชายาเสี่ยวโจวของหลี่อวี้ผู้ซึ่งงามพิลาส ถึงกับทรงล่อลวงนางเข้าวังแล้วขืนใจและหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ในวัง จากนั้นมีการบังคับขืนใจนางอีกหลายครั้งครา มีการเล่าขานว่าทรงถึงขนาดให้จิตรกรมาวาดภาพขณะกำลังย่ำยีนางเพื่อส่งให้หลี่อวี้ดูเป็นการขยี้ใจ จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจของบทกวีนี้ขึ้น... ข้อเท็จจริงใช่อย่างนี้หรือไม่? ไม่มีใครยืนยันได้ มีการกล่าวไว้เพียงว่าบทกวีอวี๋เหม่ยเหรินนี้ทำให้หลี่อวี้ถูกพระราชทานยาพิษตาย แต่ก็มีเอกสารเรื่องเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ในสมัยหมิงที่กล่าวถึงภาพวาดที่องค์เจ้ากวงอี้ได้ทรงให้คนวาดขึ้นนี้ นอกจากชื่อบทกวีแล้ว ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ ยังเป็นชื่อเรียกดอกป๊อปปี้ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีความหมายถึงความทุกข์และการตายจากพลัดพรากมาแต่จีนโบราณอีกด้วย วันนี้จบกันแบบสั้นๆ เศร้าๆ อย่างนี้แล (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://image.tmdb.org/t/p/original/enj2s0CNvp2oaf84j87H8Vsdbr0.jpg https://bowuguan.bucm.edu.cn/kpzl/zyyzs/57214.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.lllst.com/guoxuejingdian/scmj/271349.html https://baike.baidu.com/item/虞美人·春花秋月何时了/10926799 https://www.jianshu.com/p/8ff00c387fbe https://baike.sogou.com/v6849891.htm https://www.guwenxuexi.com/classical/24854.html https://k.sina.cn/article_1659337544_62e77b48001003bvc.html #บุปผาวสันต์ #จันทราสารทฤดู #ชุนฮวาชิวเยวี่ย #อวี๋เหม่ยเหริน #หลี่อวี
    0 Comments 0 Shares 784 Views 0 Reviews
  • เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องเคยเห็นอุปกรณ์จุดไฟชนิดหนึ่งในละครจีนหลายเรื่อง หน้าตาเป็นกระบอกไม้ไผ่เล็กๆ เปิดฝามาใช้มือโบกพัดหรือปากเป่าไม่กี่ทีก็มีไฟติด ใช้แทนเทียนได้ ซึ่ง Storyฯ คิดว่ามันน่าทึ่งมากเพราะไม่ต้องใช้หินเหล็กตีให้เกิดประกายไฟและไม่ต้องมีการชักสูบเหมือนตะบันไฟ Storyฯ ขอเรียกมันว่า ‘กระบอกจุดไฟ’ หรือที่ชาวจีนเรียกว่า ‘หั่วเจ๋อจื่อ’ (火折子)

    จากบันทึกโบราณ เทคโนโลยีนี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์เหนือใต้ (ประมาณช่วงปีค.ศ. 577) เป็นวิธีการเก็บไฟไว้ใช้ของนางกำนัลในวังโดยใช้กระดาษเนื้อหยาบมาม้วนอัดลงไปในถังไม้แล้วจุดไฟ จากนั้นก็ดับไฟลงจนไม่เหลือเปลวไฟแต่ยังมีสะเก็ดไฟคุกรุ่นไว้แล้วก็ปิดฝาไว้ พอจะใช้ก็เปิดฝาออกมาเป่าจนไฟติด ต่อมาจึงพัฒนามาเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พกพาได้ แต่แรกเริ่มนั้น จุดติดได้เพียงครั้งเดียว

    กระบอกจุดไฟแบบนี้เป็นที่นิยมเพราะสะดวกต่อการพกพา และเมื่อเป็นที่นิยมมากขึ้นกรรมวิธีการทำก็ซับซ้อนขึ้น วิธีทำกระบอกไฟที่ดีคือใช้วัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงได้ (เช่น กระดาษเนื้อหยาบ หญ้าบางชนิด มูลสัตว์ หรืออย่างดีคือเถามันเทศและปุยนุ่น) มาหมักน้ำแล้วบีบทุบและเค้นจนเป็นใย ทำอย่างนี้หลายครั้งก่อนจะนำไปตากแห้ง จากนั้นก็นำไปผสมกับขี้ไต้ (ส่วนผสมเท่าที่หาข้อมูลได้ก็มี ดีเกลือ ผงกำมะถัน ยางสน และการบูร) แล้วอัดเข้าไปในกระบอกไม้ไผ่ ก่อนใช้ต้องจุดไฟจนติดแรง แล้วค่อยดับไฟลงจนเหลือเพียงสะเก็ดไฟคุกรุ่นอยู่ข้างในแต่ไม่เหลือเปลวไฟ แล้วจึงปิดกระบอกด้วยฝาที่มีรูเล็ก พอจะใช้ก็เปิดออกแล้วเป่าจนไฟติด สามารถใช้ได้หลายครั้งจนเชื้อเพลิงหมดกระบอก และสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานหลายวัน

    ฟังดูเหมือนง่าย แต่ความยากของมันอยู่ที่ความพอดีของวัสดุเชื้อเพลิงและขี้ไต้ และความหนาแน่นที่พอดีในกระบอกที่ใส่ แน่นอนว่ากระบอกจุดไฟหั่วเจ๋อจื่อมีหลายเกรดแตกต่างกัน ในกลุ่มผู้มีอันจะกินจะใช้เชื้อเพลิงจากใยมันเทศและนุ่นผสมขี้ไต้ตามที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งกรรมวิธีทำจะซับซ้อน แต่จุดง่ายกว่า เพียงใช้มือโบกพัดไม่กี่ทีก็จุดติด

    ส่วนชาวบ้านธรรมดานิยมใช้เยื่อกระดาษหยาบ จะติดไฟยากกว่า เวลาเป่าให้ไฟติดจึงต้องมีเทคนิคมากหน่อย เพราะต้องเป็นลมที่เกิดอย่างกะทันหัน สั้นและแรง จึงจะก่อให้เกิดแรงกระตุ้นที่ดี เพราะฉะนั้นอย่างที่เราเห็นในละคร... ถ้าเราเป็นจอมยุทธ์ก็เพียงสะบัดมือวืดเดียวค่ะ แต่ถ้าไร้วรยุทธ์ก็ต้องใช้ปากเป่าค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากละคร <ปริศนาลับราชวงศ์ถัง> และจาก:
    https://k.sina.cn/article_5100008885_12ffbf5b500100ysyy.html?from=ent&subch=film
    https://www.163.com/dy/article/FO6T9F2R05437E9K.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/FO6T9F2R05437E9K.html
    https://kknews.cc/history/x4q6ojr.html
    http://m.qulishi.com/article/202009/438462.html

    #ปริศนาลับราชวงศ์ถัง #กระบอกไฟ #แท่งไฟโบราณ #แท่งจุดไฟ #หั่วเจ๋อจื่อ #กระบอกจุดไฟโบราณ
    เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องเคยเห็นอุปกรณ์จุดไฟชนิดหนึ่งในละครจีนหลายเรื่อง หน้าตาเป็นกระบอกไม้ไผ่เล็กๆ เปิดฝามาใช้มือโบกพัดหรือปากเป่าไม่กี่ทีก็มีไฟติด ใช้แทนเทียนได้ ซึ่ง Storyฯ คิดว่ามันน่าทึ่งมากเพราะไม่ต้องใช้หินเหล็กตีให้เกิดประกายไฟและไม่ต้องมีการชักสูบเหมือนตะบันไฟ Storyฯ ขอเรียกมันว่า ‘กระบอกจุดไฟ’ หรือที่ชาวจีนเรียกว่า ‘หั่วเจ๋อจื่อ’ (火折子) จากบันทึกโบราณ เทคโนโลยีนี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์เหนือใต้ (ประมาณช่วงปีค.ศ. 577) เป็นวิธีการเก็บไฟไว้ใช้ของนางกำนัลในวังโดยใช้กระดาษเนื้อหยาบมาม้วนอัดลงไปในถังไม้แล้วจุดไฟ จากนั้นก็ดับไฟลงจนไม่เหลือเปลวไฟแต่ยังมีสะเก็ดไฟคุกรุ่นไว้แล้วก็ปิดฝาไว้ พอจะใช้ก็เปิดฝาออกมาเป่าจนไฟติด ต่อมาจึงพัฒนามาเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พกพาได้ แต่แรกเริ่มนั้น จุดติดได้เพียงครั้งเดียว กระบอกจุดไฟแบบนี้เป็นที่นิยมเพราะสะดวกต่อการพกพา และเมื่อเป็นที่นิยมมากขึ้นกรรมวิธีการทำก็ซับซ้อนขึ้น วิธีทำกระบอกไฟที่ดีคือใช้วัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงได้ (เช่น กระดาษเนื้อหยาบ หญ้าบางชนิด มูลสัตว์ หรืออย่างดีคือเถามันเทศและปุยนุ่น) มาหมักน้ำแล้วบีบทุบและเค้นจนเป็นใย ทำอย่างนี้หลายครั้งก่อนจะนำไปตากแห้ง จากนั้นก็นำไปผสมกับขี้ไต้ (ส่วนผสมเท่าที่หาข้อมูลได้ก็มี ดีเกลือ ผงกำมะถัน ยางสน และการบูร) แล้วอัดเข้าไปในกระบอกไม้ไผ่ ก่อนใช้ต้องจุดไฟจนติดแรง แล้วค่อยดับไฟลงจนเหลือเพียงสะเก็ดไฟคุกรุ่นอยู่ข้างในแต่ไม่เหลือเปลวไฟ แล้วจึงปิดกระบอกด้วยฝาที่มีรูเล็ก พอจะใช้ก็เปิดออกแล้วเป่าจนไฟติด สามารถใช้ได้หลายครั้งจนเชื้อเพลิงหมดกระบอก และสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานหลายวัน ฟังดูเหมือนง่าย แต่ความยากของมันอยู่ที่ความพอดีของวัสดุเชื้อเพลิงและขี้ไต้ และความหนาแน่นที่พอดีในกระบอกที่ใส่ แน่นอนว่ากระบอกจุดไฟหั่วเจ๋อจื่อมีหลายเกรดแตกต่างกัน ในกลุ่มผู้มีอันจะกินจะใช้เชื้อเพลิงจากใยมันเทศและนุ่นผสมขี้ไต้ตามที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งกรรมวิธีทำจะซับซ้อน แต่จุดง่ายกว่า เพียงใช้มือโบกพัดไม่กี่ทีก็จุดติด ส่วนชาวบ้านธรรมดานิยมใช้เยื่อกระดาษหยาบ จะติดไฟยากกว่า เวลาเป่าให้ไฟติดจึงต้องมีเทคนิคมากหน่อย เพราะต้องเป็นลมที่เกิดอย่างกะทันหัน สั้นและแรง จึงจะก่อให้เกิดแรงกระตุ้นที่ดี เพราะฉะนั้นอย่างที่เราเห็นในละคร... ถ้าเราเป็นจอมยุทธ์ก็เพียงสะบัดมือวืดเดียวค่ะ แต่ถ้าไร้วรยุทธ์ก็ต้องใช้ปากเป่าค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากละคร <ปริศนาลับราชวงศ์ถัง> และจาก: https://k.sina.cn/article_5100008885_12ffbf5b500100ysyy.html?from=ent&subch=film https://www.163.com/dy/article/FO6T9F2R05437E9K.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/FO6T9F2R05437E9K.html https://kknews.cc/history/x4q6ojr.html http://m.qulishi.com/article/202009/438462.html #ปริศนาลับราชวงศ์ถัง #กระบอกไฟ #แท่งไฟโบราณ #แท่งจุดไฟ #หั่วเจ๋อจื่อ #กระบอกจุดไฟโบราณ
    该文章已不存在_手机新浪网
    手机新浪网是新浪网的手机门户网站,为亿万用户打造一个手机联通世界的超级平台,提供24小时全面及时的中文资讯,内容覆盖国内外突发新闻事件、体坛赛事、娱乐时尚、产业资讯、实用信息等。手机新浪网触屏版 - sina.cn
    1 Comments 0 Shares 574 Views 0 Reviews
  • เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นหูคุ้นตากับ ‘คทาหรูอี้’ (หรูอี้/如意 แปลตรงตัวได้ว่า สมดังปรารถนา) บริบทที่เรามักเห็นในนิยาย/ละครจีนบ่อยๆ คือ ฮ่องเต้พระราชทานคทาหรูอี้หยกให้เป็นรางวัลต่อขุนนาง หรือบุรุษสูงศักดิ์มอบคทาหรูอี้ให้สตรีที่ถูกเลือกเป็นภรรยา อย่างเช่นตัวอย่างภาพประกอบยกมาจากละคร <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ตอนที่องค์ชายหงอี้ทรงเลือกชิงอิงเป็นพระชายา (รูปประกอบ1 ซ้าย) หรือเป็นวัตถุมงคลเหมาะกับการมอบให้เป็นของขวัญ

    เคยมีคนเขียนถึงคทาหรูอี้มาแล้วบ้าง ด้วยความหมายที่กล่าวถึงข้างต้น และเพื่อนเพจอาจเคยคุ้นกับการที่มีคทาหรูอี้ปรากฏในรูปภาพและรูปปั้นเทพเจ้าจีน และนักบวชนิยมถือคทาหรูอี้ยามสวดมนต์ ว่ากันว่าการใช้คทาหรูอี้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนานั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโบราณ

    แต่วันนี้ Storyฯ มาคุยเกี่ยวกับคทาหรูอี้ในอีกแง่มุมหนึ่ง... เพื่อนเพจเคยสงสัยเหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า เข้าใจล่ะว่าชื่อเป็นมงคล แต่คทาหรูอี้ออกจะเทอะทะ... มันไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากตั้งโชว์หรือถือไว้เท่ๆ เลยหรือ?

    จากภาพวาดโบราณ (รูปประกอบ 1 ขวา) จะเห็นว่าคทาหรูอี้เป็นของใช้ติดมือของชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้แก่ผู้เฒ่า... แสดงว่ามันต้องมีประโยชน์สิน่ะ เพื่อนเพจพอจะเดากันออกหรือไม่?

    จากข้อมูลที่ทางพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามรวบรวมได้ คทาหรูอี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 206 ก่อนคริสตศักราช - ปีค.ศ. 220) เดิมถูกใช้เป็นไม้เกาหลัง เรียกว่า ‘หรูอี้’ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘ไม่ง้อใคร’ (不求人/ปู้ฉิวเหริน) แรกเริ่มมีรูปทรงคล้ายมือ โดยในบันทึกสมัยราชวงศ์ชิง (事物异名录/ซื่ออู้อี้หมิงลู่) ได้เขียนไว้ว่า “หรูอี้นั้นไซร้ เป็นไม้กรงเล็บ”

    นอกจากนี้ ยังมีบทความสมัยราชวงศ์เหนือใต้ว่ามีการใช้คทาหรูอี้เป็นไม้ส่งสัญญาณเคลื่อนทัพในยามศึก นัยว่าเพื่อให้ชนะศึกได้ดังใจหมาย

    คทาหรูอี้กลายเป็นวัตถุประจำตัวที่คนนิยมพกพาเพราะชื่อเป็นมงคลและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวก็ได้ จึงพัฒนารูปแบบให้สวยงามมากขึ้น ว่ากันว่าในสมัยราชวงศ์เหนือใต้นั้นใช้กันแพร่หลายในหลายแคว้นทั้งในวังและนอกวัง โดยสมัยนั้นนิยมให้ด้ามจับโค้งเป็นทรงกลุ่มดาวจระเข้ ตัวด้ามกลมมนเพื่อให้จับถนัดมือ ทำจากไม้ ไม้ไผ่หรือโลหะ มีใช้กันตั้งแต่ในวังยันชาวบ้านธรรมดานอกวัง ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังจึงทำด้ามจับให้แบนลงและเป็นเส้นตรง โค้งที่ปลายหัว

    นานวันเข้า เมื่อถึงสมัยหมิงและชิง คทาหรูอี้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในฐานะวัตถุมงคลที่ใช้ประดับบ้านเรือนหรือของขวัญ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรมีในสินสอดของหมั้นของแต่งงาน จึงมีรูปแบบที่วิจิตรขึ้น รูปทรงที่เราคุ้นตาคือหัวเป็นทรงเห็ดหลินจือ โดยเฉพาะในยุคสมัยชิงนั้น คทาหรูอี้เป็นที่นิยมมากในวัง ไม่ว่าจะในงานราชประเพณี การแต่งตั้งขุนนาง การรับทูตจากต่างแดน ฯลฯ ล้วนต้องมีการถือคทาหรูอี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล

    ปัจจุบันในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามมีการเก็บรักษาคทาหรูอี้โบราณไว้กว่าสองพันชิ้นโดยส่วนใหญ่เป็นของสมัยชิง วัสดุที่ใช้ทำคทาหรูอี้นั้นหลากหลาย มีทั้งหยกชนิดต่างๆ ปะการัง ทองคำ เงิน ทองเหลือง งาช้าง ไม้ไผ่และไม้ชนิดต่างๆ และมีการแกะสลักลวดลายมากมายลงบนคทา

    Storyฯ เคยไปเที่ยวเมื่อนานมากแล้ว จำไม่ได้เลยว่าได้เคยเห็นอะไรในพิพิธภัณฑ์นี้บ้าง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาก็มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.jianshu.com/p/faa99f5d9868
    https://new.qq.com/rain/a/20211210A027EU00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.mct.gov.cn/whzx/zsdw/ggbwy/202102/t20210210_921534.htm
    https://www.sohu.com/a/508658629_322551
    https://baike.baidu.com/item/如意/254746
    https://new.qq.com/rain/a/20220728A054CG00

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #คทาหรูอี้ #วัตถุมงคลจีน #ไม้เกาหลัง
    เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นหูคุ้นตากับ ‘คทาหรูอี้’ (หรูอี้/如意 แปลตรงตัวได้ว่า สมดังปรารถนา) บริบทที่เรามักเห็นในนิยาย/ละครจีนบ่อยๆ คือ ฮ่องเต้พระราชทานคทาหรูอี้หยกให้เป็นรางวัลต่อขุนนาง หรือบุรุษสูงศักดิ์มอบคทาหรูอี้ให้สตรีที่ถูกเลือกเป็นภรรยา อย่างเช่นตัวอย่างภาพประกอบยกมาจากละคร <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ตอนที่องค์ชายหงอี้ทรงเลือกชิงอิงเป็นพระชายา (รูปประกอบ1 ซ้าย) หรือเป็นวัตถุมงคลเหมาะกับการมอบให้เป็นของขวัญ เคยมีคนเขียนถึงคทาหรูอี้มาแล้วบ้าง ด้วยความหมายที่กล่าวถึงข้างต้น และเพื่อนเพจอาจเคยคุ้นกับการที่มีคทาหรูอี้ปรากฏในรูปภาพและรูปปั้นเทพเจ้าจีน และนักบวชนิยมถือคทาหรูอี้ยามสวดมนต์ ว่ากันว่าการใช้คทาหรูอี้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนานั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโบราณ แต่วันนี้ Storyฯ มาคุยเกี่ยวกับคทาหรูอี้ในอีกแง่มุมหนึ่ง... เพื่อนเพจเคยสงสัยเหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า เข้าใจล่ะว่าชื่อเป็นมงคล แต่คทาหรูอี้ออกจะเทอะทะ... มันไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากตั้งโชว์หรือถือไว้เท่ๆ เลยหรือ? จากภาพวาดโบราณ (รูปประกอบ 1 ขวา) จะเห็นว่าคทาหรูอี้เป็นของใช้ติดมือของชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้แก่ผู้เฒ่า... แสดงว่ามันต้องมีประโยชน์สิน่ะ เพื่อนเพจพอจะเดากันออกหรือไม่? จากข้อมูลที่ทางพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามรวบรวมได้ คทาหรูอี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 206 ก่อนคริสตศักราช - ปีค.ศ. 220) เดิมถูกใช้เป็นไม้เกาหลัง เรียกว่า ‘หรูอี้’ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘ไม่ง้อใคร’ (不求人/ปู้ฉิวเหริน) แรกเริ่มมีรูปทรงคล้ายมือ โดยในบันทึกสมัยราชวงศ์ชิง (事物异名录/ซื่ออู้อี้หมิงลู่) ได้เขียนไว้ว่า “หรูอี้นั้นไซร้ เป็นไม้กรงเล็บ” นอกจากนี้ ยังมีบทความสมัยราชวงศ์เหนือใต้ว่ามีการใช้คทาหรูอี้เป็นไม้ส่งสัญญาณเคลื่อนทัพในยามศึก นัยว่าเพื่อให้ชนะศึกได้ดังใจหมาย คทาหรูอี้กลายเป็นวัตถุประจำตัวที่คนนิยมพกพาเพราะชื่อเป็นมงคลและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวก็ได้ จึงพัฒนารูปแบบให้สวยงามมากขึ้น ว่ากันว่าในสมัยราชวงศ์เหนือใต้นั้นใช้กันแพร่หลายในหลายแคว้นทั้งในวังและนอกวัง โดยสมัยนั้นนิยมให้ด้ามจับโค้งเป็นทรงกลุ่มดาวจระเข้ ตัวด้ามกลมมนเพื่อให้จับถนัดมือ ทำจากไม้ ไม้ไผ่หรือโลหะ มีใช้กันตั้งแต่ในวังยันชาวบ้านธรรมดานอกวัง ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังจึงทำด้ามจับให้แบนลงและเป็นเส้นตรง โค้งที่ปลายหัว นานวันเข้า เมื่อถึงสมัยหมิงและชิง คทาหรูอี้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในฐานะวัตถุมงคลที่ใช้ประดับบ้านเรือนหรือของขวัญ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรมีในสินสอดของหมั้นของแต่งงาน จึงมีรูปแบบที่วิจิตรขึ้น รูปทรงที่เราคุ้นตาคือหัวเป็นทรงเห็ดหลินจือ โดยเฉพาะในยุคสมัยชิงนั้น คทาหรูอี้เป็นที่นิยมมากในวัง ไม่ว่าจะในงานราชประเพณี การแต่งตั้งขุนนาง การรับทูตจากต่างแดน ฯลฯ ล้วนต้องมีการถือคทาหรูอี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล ปัจจุบันในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามมีการเก็บรักษาคทาหรูอี้โบราณไว้กว่าสองพันชิ้นโดยส่วนใหญ่เป็นของสมัยชิง วัสดุที่ใช้ทำคทาหรูอี้นั้นหลากหลาย มีทั้งหยกชนิดต่างๆ ปะการัง ทองคำ เงิน ทองเหลือง งาช้าง ไม้ไผ่และไม้ชนิดต่างๆ และมีการแกะสลักลวดลายมากมายลงบนคทา Storyฯ เคยไปเที่ยวเมื่อนานมากแล้ว จำไม่ได้เลยว่าได้เคยเห็นอะไรในพิพิธภัณฑ์นี้บ้าง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาก็มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.jianshu.com/p/faa99f5d9868 https://new.qq.com/rain/a/20211210A027EU00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.mct.gov.cn/whzx/zsdw/ggbwy/202102/t20210210_921534.htm https://www.sohu.com/a/508658629_322551 https://baike.baidu.com/item/如意/254746 https://new.qq.com/rain/a/20220728A054CG00 #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #คทาหรูอี้ #วัตถุมงคลจีน #ไม้เกาหลัง
    WWW.JIANSHU.COM
    【如懿传|如懿】年少情深,也可以走到相看两厌
    一出墙头马上,两心相许。山河依旧,唯人兰因絮果。 如懿的一生都把真心付给了自己的少年郎,年少时的扶持,无人之巅的陪伴,病榻前的守护,相比于甄嬛,她更加令人心疼。 执着勇敢是她...
    Like
    1
    2 Comments 0 Shares 867 Views 0 Reviews
  • **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน

    เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’

    ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา

    ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร

    กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี

    เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น

    เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง

    บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ)

    Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน)

    เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล

    เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง

    ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน

    บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://news.agentm.tw/310261/
    https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00
    https://www.yeeyi.com/news/details/629504/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/李白/1043
    https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719
    http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259
    https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904
    https://www.sohu.com/a/538839040_355475
    http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211#

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ) Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน) เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223 Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.agentm.tw/310261/ https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00 https://www.yeeyi.com/news/details/629504/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/李白/1043 https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719 http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259 https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904 https://www.sohu.com/a/538839040_355475 http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211# #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    2 Comments 0 Shares 1279 Views 0 Reviews
  • สวัสดีค่ะ Storyฯ หายไปตามรอยซากุระมา จำได้ว่าตอนที่เคยเล่าถึงความหมายของดอกเหมยในวัฒนธรรมจีน มีเพื่อนเพจถามถึงดอกซากุระด้วย วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ

    เพื่อนเพจคงทราบดีว่าดอกซากุระเป็นดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น มีคนกล่าวถึงความหมายของมันต่อคนญี่ปุ่นว่าจริงแล้วคือ Rebirth หรือการเกิดใหม่ กล่าวคือการยอมรับความไม่จีรังในชีวิตแต่ยังเปี่ยมด้วยความหวังว่าสิ่งดีๆ จะเกิดขึ้นใหม่ เฉกเช่นดอกซากุระที่บานให้ชื่นชมเพียงไม่นานก็ร่วงโรยแต่แล้วก็จะผลิใหม่และเบ่งบานให้ชมอีกเรื่อยไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายความหมาย เช่น ความสำเร็จ หัวใจที่เข้มแข็ง ความรัก ความบริสุทธิ์ และความอ่อนโยน ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้ล้วนให้อารมณ์แห่งความหวังและความสุข

    แล้วที่จีนล่ะ?

    ดอกซากุระมีชื่อจีนว่า ‘อิงฮวา’ (樱花) หรือโบราณเคยเรียกว่า ‘อิงเถา’ แต่มีการระบุชัดว่าไม่ใช่ดอกท้อ (เถาฮวา) เฉพาะในประเทศจีนมีกว่าสี่สิบสายพันธุ์ เชื่อว่ามีการเริ่มปลูกต้นอิงฮวาในเขตพระราชฐานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น แต่แพร่สู่บ้านเรือนสามัญชนและพบเห็นได้ทั่วไปในสมัยราชวงศ์ถัง (บ้างก็ว่าในช่วงสมัยถังนี่เองที่ อิงฮวาหรือซากุระถูกเผยแพร่ในญี่ปุ่น) ต่อมาในสมัยซ่งเหนือคนหันมานิยมดอกเหมยมากกว่า ทำให้ดอกอิงฮวาถูกกล่าวขานถึงน้อยลง

    ผลงานทางศิลปะเกี่ยวกับอิงฮวามีน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นบทกวีหรือภาพวาด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับดอกบ๊วยหรือดอกท้อที่ดูจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผลงานมากกว่า แรกเริ่มเลยในงานประพันธ์ต่างๆ จะเรียกมันว่า ‘ซันอิง’ หมายถึงต้นอิงฮวาที่โตตามป่าเขา โดยบทกวีที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับอิงฮวาคือในสมัยราชวงศ์ใต้ ประพันธ์โดยเสิ่นเยวี้ย (ค.ศ. 441-513) เป็นการบรรยายถึงดอกซันอิงบานรับฤดูใบไม้ผลิ คงจะกล่าวได้ว่านี่เป็นครั้งแรกที่ดอกอิงฮวาถูกโยงเข้ากับการมาเยือนของวสันตฤดู

    ในสมัยถังมีบทกวีเกี่ยวกับดอกอิงฮวามากกว่ายุคสมัยอื่น บ่งบอกถึงความนิยมในสมัยนั้น โดยนักการเมืองไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) ได้สร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกอิงฮวาไว้หลายบท แต่ผลงานของเขามักบ่งบอกถึงอารมณ์แห่งความเสียดายยามบุปผาโรยรา ทว่าแฝงไว้ซึ่งความหวังเพราะซันอิงยังจะคงอยู่และผลิบานใหม่ท่ามกลางป่าเขา โดยผลงานเหล่านี้สะท้อนถึงชีวิตทางการเมืองที่ผ่านร้อนผ่านหนาวของเขา

    อิงฮวากลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่ในช่วงยุคสมัยถังเช่นเดียวกัน มีการกล่าวถึงธรรมเนียมการหักกิ่งอิงฮวามอบให้กันยามคู่รักต้องจากลา โดยใช้อิงฮวาเป็นตัวแทนแห่งความคนึงหา และในหลายบทกวีในยุคนั้น ใช้อิงฮวาเปรียบเปรยถึงความคิดถึงและความอ้างว้าง ดุจฉากดอกอิงฮวาร่วงโรยโปรยพลิ้วในสายลม Storyฯ ขอยกตัวอย่างจากบทกวี <หักกิ่งบุปผามอบอำลา> ของหยวนเจิ่นในสมัยถัง (ขออภัยหากแปลไม่สละสลวย) ที่กล่าวถึงความอาลัยอาวรณ์ของสตรียามต้องส่งชายคนรักจากไป:
    “ส่งท่านใต้ร่มเงาอิงเถา ใจวสันต์ฝากไว้ในกิ่ง
    ที่ใดชวนให้คำนึงถึงที่สุด นั่นคือป่าอิงเถาอันดารดาษ”

    ต่อมาอิงฮวากลายมาเป็นสัญลักษณ์ของสตรีเพศที่อ่อนหวานและอ่อนโยน ไม่ปรากฏชัดเจนว่ามุมมองในลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อใด แต่ในบทกวี <ซันอิง> ของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ (คนเดียวกับที่ฝากผลงานอันโดดเด่น <เหมยฮวา> ที่ Storyฯ เคยเขียนไปแล้ว) มีการบรรยายเปรียบเปรยอิงฮวาดุจสตรีที่เอียงอายหลบอยู่ใต้เงาไม้และเบ่งบานหลังดอกไม้อื่น แต่เมื่อลมวสันต์โชยก็พัดพากลิ่นหอมขจรขจายให้ความงามเป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน

    จะเห็นได้ว่า ในวัฒนธรรมจีนนั้น ความหมายของดอกอิงฮวาคล้ายคลึงกับซากุระในวัฒนธรรมญี่ปุ่น คือเป็นตัวแทนแห่งความไม่จีรัง ความบริสุทธิ์ และความอ่อนหวาน

    แต่ในความคล้ายคลึงก็มีความแตกต่าง เพราะซากุระในญี่ปุ่นแฝงไว้ด้วยความหวังท่ามกลางความไม่จีรังในชีวิต แต่โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ รู้สึกว่าบทกวีเกี่ยวกับอิงฮวาของจีนมักแฝงไว้ด้วยความเศร้า หากจะกล่าวว่าดอกบ๊วยเป็นตัวแทนแห่งความงามที่คงทน ดอกอิงฮวาก็คงเป็นตัวแทนแห่งความงามที่เปราะบาง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    รูปภาพจาก: พี่ชายของ Storyฯ เอง
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://news.bjd.com.cn/2022/04/08/10066983.shtml
    https://www.baike.com/wikiid/4777101092071907963?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=32kicegvg8m000
    https://www.163.com/dy/article/HV0LDNRE05418YI9.html

    #อิงฮวา #ซากุระจีน
    สวัสดีค่ะ Storyฯ หายไปตามรอยซากุระมา จำได้ว่าตอนที่เคยเล่าถึงความหมายของดอกเหมยในวัฒนธรรมจีน มีเพื่อนเพจถามถึงดอกซากุระด้วย วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เพื่อนเพจคงทราบดีว่าดอกซากุระเป็นดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น มีคนกล่าวถึงความหมายของมันต่อคนญี่ปุ่นว่าจริงแล้วคือ Rebirth หรือการเกิดใหม่ กล่าวคือการยอมรับความไม่จีรังในชีวิตแต่ยังเปี่ยมด้วยความหวังว่าสิ่งดีๆ จะเกิดขึ้นใหม่ เฉกเช่นดอกซากุระที่บานให้ชื่นชมเพียงไม่นานก็ร่วงโรยแต่แล้วก็จะผลิใหม่และเบ่งบานให้ชมอีกเรื่อยไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายความหมาย เช่น ความสำเร็จ หัวใจที่เข้มแข็ง ความรัก ความบริสุทธิ์ และความอ่อนโยน ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้ล้วนให้อารมณ์แห่งความหวังและความสุข แล้วที่จีนล่ะ? ดอกซากุระมีชื่อจีนว่า ‘อิงฮวา’ (樱花) หรือโบราณเคยเรียกว่า ‘อิงเถา’ แต่มีการระบุชัดว่าไม่ใช่ดอกท้อ (เถาฮวา) เฉพาะในประเทศจีนมีกว่าสี่สิบสายพันธุ์ เชื่อว่ามีการเริ่มปลูกต้นอิงฮวาในเขตพระราชฐานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น แต่แพร่สู่บ้านเรือนสามัญชนและพบเห็นได้ทั่วไปในสมัยราชวงศ์ถัง (บ้างก็ว่าในช่วงสมัยถังนี่เองที่ อิงฮวาหรือซากุระถูกเผยแพร่ในญี่ปุ่น) ต่อมาในสมัยซ่งเหนือคนหันมานิยมดอกเหมยมากกว่า ทำให้ดอกอิงฮวาถูกกล่าวขานถึงน้อยลง ผลงานทางศิลปะเกี่ยวกับอิงฮวามีน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นบทกวีหรือภาพวาด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับดอกบ๊วยหรือดอกท้อที่ดูจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผลงานมากกว่า แรกเริ่มเลยในงานประพันธ์ต่างๆ จะเรียกมันว่า ‘ซันอิง’ หมายถึงต้นอิงฮวาที่โตตามป่าเขา โดยบทกวีที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับอิงฮวาคือในสมัยราชวงศ์ใต้ ประพันธ์โดยเสิ่นเยวี้ย (ค.ศ. 441-513) เป็นการบรรยายถึงดอกซันอิงบานรับฤดูใบไม้ผลิ คงจะกล่าวได้ว่านี่เป็นครั้งแรกที่ดอกอิงฮวาถูกโยงเข้ากับการมาเยือนของวสันตฤดู ในสมัยถังมีบทกวีเกี่ยวกับดอกอิงฮวามากกว่ายุคสมัยอื่น บ่งบอกถึงความนิยมในสมัยนั้น โดยนักการเมืองไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) ได้สร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกอิงฮวาไว้หลายบท แต่ผลงานของเขามักบ่งบอกถึงอารมณ์แห่งความเสียดายยามบุปผาโรยรา ทว่าแฝงไว้ซึ่งความหวังเพราะซันอิงยังจะคงอยู่และผลิบานใหม่ท่ามกลางป่าเขา โดยผลงานเหล่านี้สะท้อนถึงชีวิตทางการเมืองที่ผ่านร้อนผ่านหนาวของเขา อิงฮวากลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่ในช่วงยุคสมัยถังเช่นเดียวกัน มีการกล่าวถึงธรรมเนียมการหักกิ่งอิงฮวามอบให้กันยามคู่รักต้องจากลา โดยใช้อิงฮวาเป็นตัวแทนแห่งความคนึงหา และในหลายบทกวีในยุคนั้น ใช้อิงฮวาเปรียบเปรยถึงความคิดถึงและความอ้างว้าง ดุจฉากดอกอิงฮวาร่วงโรยโปรยพลิ้วในสายลม Storyฯ ขอยกตัวอย่างจากบทกวี <หักกิ่งบุปผามอบอำลา> ของหยวนเจิ่นในสมัยถัง (ขออภัยหากแปลไม่สละสลวย) ที่กล่าวถึงความอาลัยอาวรณ์ของสตรียามต้องส่งชายคนรักจากไป: “ส่งท่านใต้ร่มเงาอิงเถา ใจวสันต์ฝากไว้ในกิ่ง ที่ใดชวนให้คำนึงถึงที่สุด นั่นคือป่าอิงเถาอันดารดาษ” ต่อมาอิงฮวากลายมาเป็นสัญลักษณ์ของสตรีเพศที่อ่อนหวานและอ่อนโยน ไม่ปรากฏชัดเจนว่ามุมมองในลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อใด แต่ในบทกวี <ซันอิง> ของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ (คนเดียวกับที่ฝากผลงานอันโดดเด่น <เหมยฮวา> ที่ Storyฯ เคยเขียนไปแล้ว) มีการบรรยายเปรียบเปรยอิงฮวาดุจสตรีที่เอียงอายหลบอยู่ใต้เงาไม้และเบ่งบานหลังดอกไม้อื่น แต่เมื่อลมวสันต์โชยก็พัดพากลิ่นหอมขจรขจายให้ความงามเป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน จะเห็นได้ว่า ในวัฒนธรรมจีนนั้น ความหมายของดอกอิงฮวาคล้ายคลึงกับซากุระในวัฒนธรรมญี่ปุ่น คือเป็นตัวแทนแห่งความไม่จีรัง ความบริสุทธิ์ และความอ่อนหวาน แต่ในความคล้ายคลึงก็มีความแตกต่าง เพราะซากุระในญี่ปุ่นแฝงไว้ด้วยความหวังท่ามกลางความไม่จีรังในชีวิต แต่โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ รู้สึกว่าบทกวีเกี่ยวกับอิงฮวาของจีนมักแฝงไว้ด้วยความเศร้า หากจะกล่าวว่าดอกบ๊วยเป็นตัวแทนแห่งความงามที่คงทน ดอกอิงฮวาก็คงเป็นตัวแทนแห่งความงามที่เปราะบาง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) รูปภาพจาก: พี่ชายของ Storyฯ เอง Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://news.bjd.com.cn/2022/04/08/10066983.shtml https://www.baike.com/wikiid/4777101092071907963?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=32kicegvg8m000 https://www.163.com/dy/article/HV0LDNRE05418YI9.html #อิงฮวา #ซากุระจีน
    樱花 花开花谢皆诗意的早春花木_北京日报网
    我国野生樱花品种最多 樱属植物广泛分布于北半球的温带与亚热带地区。亚洲、欧洲、北美洲均有分布,但主要集中在东亚地区。中国的西南、华南、长江流域、华北、东北地区,俄罗斯、日本、朝鲜一线,以及缅甸、不丹...
    0 Comments 0 Shares 959 Views 0 Reviews
  • ก่อนหน้านี้มีคุยเรื่องความหมายของดอกไม้ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เรื่องสุภาษิตจีนที่เกี่ยวกับดอกไม้

    เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <เทียบท้าปฐพี> คงเคยผ่านตาฉากที่พระเอกต้องแกล้งเป็นดื่มเหล้าเมาแล้วนางเอกเตือนไม่ให้ดื่มเยอะ ตัวร้ายถึงกับออกปากว่า “นางข้าหลวงคนนี้ มาจากในวังหรือ? ทั้งซื่อสัตย์และงดงามนัก เป็นดอกไม้งามที่เฉลียวฉลาด” (หมายเหตุ คำแปลยกมาจากซับไทยของละครเรื่องนี้)

    แต่เพื่อนเพจที่ไม่ทราบภาษาจีนคงไม่รู้ว่า ‘ดอกไม้งามที่เฉลียวฉลาด’ นี้ ในฉบับภาษาจีนใช้คำว่า ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ (解语花) แปลตรงตัวว่า เข้าใจ+ภาษา+ดอกไม้ (อุ้ย... ความหมายเพี้ยน!) เปรียบเปรยถึงหญิงงามที่ฉลาดมีความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็นวลีที่นิยมใช้ในสมัยซ่ง

    สุภาษิตนี้มีจุดกำเนิดจากบทประพันธ์เชิงประวัติศาสตร์ของนักอักษรศาสตร์ในช่วงปลายราชวงศ์ถังนามว่า หวางเหรินอี้ (ค.ศ. 880-956) เป็นเรื่องเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากสมัยองค์ถังเสวียนจง ฮ่องเต้องค์ที่เจ็ดแห่งราชวงศ์ถัง โดยฉากที่กล่าวถึงนี้บรรยายว่า วันหนึ่งในสารทฤดู เดือนแปด องค์ถังเสวียนจงทรงชื่นชมความงามของธรรมชาติอยู่ในอุทยานกับญาติๆ และนางใน ดอกบัวขาวบานสะพรั่งชูช่อเป็นที่ชื่นชมของผู้คน แต่แล้วทรงหันมาชี้นิ้วไปยังหยางกุ้ยเฟยที่ตามเสด็จมาด้วยแล้วเอ่ยว่า “ไยจะสู้เจี๋ยอวี่ฮวาของเรา” (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) เป็นเหตุการณ์ที่ถูกเล่ากันต่อๆ มาให้เป็นตัวอย่างว่าหยางกุ้ยเฟยเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังเสวียนจงเพียงใด

    ความหมายดั้งเดิมของ ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ ในตอนนั้นคือ บุปผาที่พูดได้ ย่อมงดงามกว่าบุปผาธรรมดา ใช้เปรียบเปรยสตรีที่งดงามยิ่งนัก และในเวลานั้นใช้หมายถึงหยางกุ้ยเฟยนั่นเอง

    ต่อมาคำว่า ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ ถูกนำมาใช้ในบทกวีและบทประพันธ์ของชนรุ่นหลัง ปัจจุบันเป็นสุภาษิตที่แปลว่าสตรีที่งามยิ่งนัก หรือสตรีที่ทั้งงามและมีเสน่ห์ (เพราะมีความเข้าอกเข้าใจคน)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://baike.baidu.com/item/解语花/9250245
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/解语花/9250245
    https://baike.baidu.com/item/王仁裕
    https://www.sohu.com/a/273086275_100069764
    https://cidian.qianp.com/ci/%E8%A7%A3%E8%AF%AD%E8%8A%B1

    #เทียบท้าปฐพี #หยางกุ้ยเฟย #เจี๋ยอวี่ฮวา
    ก่อนหน้านี้มีคุยเรื่องความหมายของดอกไม้ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เรื่องสุภาษิตจีนที่เกี่ยวกับดอกไม้ เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <เทียบท้าปฐพี> คงเคยผ่านตาฉากที่พระเอกต้องแกล้งเป็นดื่มเหล้าเมาแล้วนางเอกเตือนไม่ให้ดื่มเยอะ ตัวร้ายถึงกับออกปากว่า “นางข้าหลวงคนนี้ มาจากในวังหรือ? ทั้งซื่อสัตย์และงดงามนัก เป็นดอกไม้งามที่เฉลียวฉลาด” (หมายเหตุ คำแปลยกมาจากซับไทยของละครเรื่องนี้) แต่เพื่อนเพจที่ไม่ทราบภาษาจีนคงไม่รู้ว่า ‘ดอกไม้งามที่เฉลียวฉลาด’ นี้ ในฉบับภาษาจีนใช้คำว่า ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ (解语花) แปลตรงตัวว่า เข้าใจ+ภาษา+ดอกไม้ (อุ้ย... ความหมายเพี้ยน!) เปรียบเปรยถึงหญิงงามที่ฉลาดมีความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็นวลีที่นิยมใช้ในสมัยซ่ง สุภาษิตนี้มีจุดกำเนิดจากบทประพันธ์เชิงประวัติศาสตร์ของนักอักษรศาสตร์ในช่วงปลายราชวงศ์ถังนามว่า หวางเหรินอี้ (ค.ศ. 880-956) เป็นเรื่องเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากสมัยองค์ถังเสวียนจง ฮ่องเต้องค์ที่เจ็ดแห่งราชวงศ์ถัง โดยฉากที่กล่าวถึงนี้บรรยายว่า วันหนึ่งในสารทฤดู เดือนแปด องค์ถังเสวียนจงทรงชื่นชมความงามของธรรมชาติอยู่ในอุทยานกับญาติๆ และนางใน ดอกบัวขาวบานสะพรั่งชูช่อเป็นที่ชื่นชมของผู้คน แต่แล้วทรงหันมาชี้นิ้วไปยังหยางกุ้ยเฟยที่ตามเสด็จมาด้วยแล้วเอ่ยว่า “ไยจะสู้เจี๋ยอวี่ฮวาของเรา” (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) เป็นเหตุการณ์ที่ถูกเล่ากันต่อๆ มาให้เป็นตัวอย่างว่าหยางกุ้ยเฟยเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังเสวียนจงเพียงใด ความหมายดั้งเดิมของ ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ ในตอนนั้นคือ บุปผาที่พูดได้ ย่อมงดงามกว่าบุปผาธรรมดา ใช้เปรียบเปรยสตรีที่งดงามยิ่งนัก และในเวลานั้นใช้หมายถึงหยางกุ้ยเฟยนั่นเอง ต่อมาคำว่า ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ ถูกนำมาใช้ในบทกวีและบทประพันธ์ของชนรุ่นหลัง ปัจจุบันเป็นสุภาษิตที่แปลว่าสตรีที่งามยิ่งนัก หรือสตรีที่ทั้งงามและมีเสน่ห์ (เพราะมีความเข้าอกเข้าใจคน) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://baike.baidu.com/item/解语花/9250245 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/解语花/9250245 https://baike.baidu.com/item/王仁裕 https://www.sohu.com/a/273086275_100069764 https://cidian.qianp.com/ci/%E8%A7%A3%E8%AF%AD%E8%8A%B1 #เทียบท้าปฐพี #หยางกุ้ยเฟย #เจี๋ยอวี่ฮวา
    0 Comments 0 Shares 647 Views 0 Reviews
  • ตามรอยเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านเส้นทางสายไหม

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> คงจำได้ว่าฉากหลังของเรื่องคือการค้าอัญมณีในสมัยถัง ซึ่งเส้นทางการเดินทางมีทั้งการเดินเรือทะเลและข้ามทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ ชวนให้ Storyฯ งงไม่น้อยเลยลองไปหาข้อมูลดู

    มีบทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยเหอหนานกล่าวไว้ว่าจริงๆ แล้วซีรีส์เรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> นี้คือการเดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งก็ตรงกับตอนจบของเรื่องที่กล่าวถึงการพัฒนาด้านการค้าผ่านเส้นทางสายไหม

    Storyฯ เลยลองเอาการเดินทางของพระเอกนางเอกจากในซีรีส์มาปักหมุดลง เราลองมาดูกันค่ะ

    มีบทความและแผนที่เกี่ยวกับเส้นทางสายไหมจำนวนไม่น้อยในหลากหลายภาษา ดังนั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด แต่จากการเปรียบเทียบดู Storyฯ พบว่ามีความแตกต่างกันบ้าง จึงขอใช้เวอร์ชั่นที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์หนิงเซี่ยกู้หยวนเป็นหลักเพราะถือว่าเป็นไปตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่จีนบันทึกเอง (ดูรูปประกอบ 2) เราจะเห็นว่าเส้นทางสายไหมมีเส้นทางบกและเส้นทางทะเล และเส้นทางบกไม่ได้จบลงที่เมืองฉางอัน (ซีอันปัจจุบัน) อย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่มีการเชื่อมต่อไปจรดทะเลเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางทะเล

    Storyฯ ลองใส่ข้อมูลอื่นเพิ่มเข้าไปในแผนที่เต็มนี้ (ดูรูปประกอบ 1) ก่อนอื่นคือใส่แผนที่ของราชวงศ์ถังซ้อนลงไปเพื่อให้เห็นภาพอาณาเขตโดยคร่าว ทั้งนี้ตลอดสามร้อยกว่าปีการปกครองของถังในเขตซีอวี้ (ซินเกียงปัจจุบัน) แตกต่างกันไป เลยลองใช้แผนที่ของช่วงประมาณปีค.ศ. 700 ก็จะเห็นเขตพื้นที่ซีอวี้ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือที่มีเมืองตุนหวงเป็นเสมือนประตูทางผ่าน จากนั้นใส่เขตพื้นที่มณฑลหยางโจวในสมัยนั้นซึ่งอยู่ทางใต้ของแผนที่ติดทะเล (คือเส้นประเล็กๆ) (หมายเหตุ เส้นขอบทั้งหมดอาจไม่เป๊ะด้วยข้อจำกัดการวาดของ Storyฯ เอง)

    เมื่อใส่เสร็จแล้วก็เห็นได้เลยว่าตวนอู่และเยี่ยจื่อจิงของเราในเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> เขาเดินทางตามเส้นทางสายใหม่จริงๆ

    เริ่มกันที่ด้านล่างของแผนที่ซึ่งเป็นแถบพื้นที่เหอผู่อันเป็นแหล่งเก็บมุกทะเล (ปัจจุบันเรียกเป๋ยไห่ คือพื้นที่สีแดง) ที่นี่เป็นฉากเริ่มต้นของเรื่อง (ย้อนอ่านเรื่องการเก็บมุกได้จากบทความสัปดาห์ที่แล้ว) จากนั้นเดินทางผ่านกวางเจาขึ้นเหนือและสู้รบปรบมือกับคนตระกูลชุยและศัตรูอื่นเป็นระยะตั้งแต่เมืองซ่าวโจวถึงเมืองอู่หลิง จากนั้นเดินทางเรื่อยขึ้นไปจนถึงเมืองเปี้ยนโจวซึ่งคือเมืองไคฟงปัจจุบัน แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านนครฉางอัน ข้ามเขตทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ซึ่งการเข้าเขตซีอวี้ในสมัยนั้นจะผ่านเมืองตุนหวง ณ จุดนี้ เรื่องราวผ่านไปแล้วประมาณ 1/3 ของเรื่อง

    หลังจากนั้นเหล่าตัวละครกลับมาจากซีอวี้แล้วเดินทางมาถึงเมืองหยางโจวข้ามผ่านระยะทางอย่างไกลได้อย่างไรไม่ทราบได้ Storyฯ ดูจากแผนที่แล้วน่าจะย้อนกลับมาทางเมืองเปี้ยนเฉิงและจากจุดนั้นมีเส้นทาง (ที่ไม่ใช่เส้นทางสายไหมและไม่ได้วาดไว้ในรูปประกอบ) เชื่อมลงมายังเมืองหยางโจว ซึ่งมีทั้งเส้นทางบกและเส้นทางคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่สามารถใช้ได้ (หมายเหตุ เส้นทางต้าอวิ้นเหอมีการเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยหมิงเป็นต้นมา) และเรื่องราวที่เหลือของเรื่องก็จะมีฉากหลังอยู่ที่การค้าอัญมณีที่เมืองหยางโจวนี้

    ในเรื่องมีกล่าวถึงอัญมณีหนึ่งที่น่าสนใจชื่อว่า ‘เซ่อเซ่อ’ (瑟瑟 ไม่แน่ใจว่าแปลซับไทยไว้ว่าอย่างไร) ซึ่งเป็นพลอยประเภท Beryl Stone มีสีเขียวฟ้าและฟ้า บอกว่าเป็นพลอยที่มีค่าหายากมาก ในความเป็นจริง Beryl Stone แบ่งเป็นประเภทย่อยอีกตามสี แต่เรามักเรียกรวมพลอยสีฟ้าเขียวว่าพลอยอะความารีน (Aquamarine) และในละครมีการกล่าวว่าพลอยเซ่อเซ่อเกรดดีส่วนใหญ่มาจากเขตซีอวี้ แต่แถวหยางโจวก็พอให้หาซื้อได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจริงตามประวัติศาสตร์ เพราะพลอยเซ่อเซ่อในจีนหาได้ในสามพื้นที่หลักคือซินเกียง (ซีอวี้) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ และที่ยูนนานและหูเป่ย (ไม่ไกลจากเมืองอู่หลิงในภาพ ซึ่งเป็นจุดที่น้องชุยสือจิ่วของเราถูกจับขังในเหมือง)

    เมืองหยางโจวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบกและทางเรือของจีนโบราณ จึงไม่แปลกที่เรามักเห็นในซีรีส์และนิยายจีนโบราณกล่าวถึงหยางโจวว่าเป็นเขตค้าขายมีตระกูลพ่อค้าร่ำรวย ที่นี่ไม่เพียงเป็นจุดเชื่อมเส้นทางสายไหมทางบกและทะเลโดยผ่านแม่น้ำแยงซีเกียง และยังมีคลองต้าอวิ้นเหอเชื่อมขึ้นเหนือ ในสมัยถังที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้าเสบียงอาหาร เกลือและเหล็กไปยังพื้นที่ต่างๆ ของจีน อีกทั้งค้าขายส่งออกผ้าไหมและงานกระเบื้องรวมถึงนำเข้าสินค้าหลากชนิดผ่านเส้นทางบกและเรือ นอกจากนี้ที่นี่ยังขึ้นชื่อเรื่องงานช่างงานฝีมือและมีการพบเจอซากเรือสมัยถังพร้อมเครื่องประดับมากมายที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยถังมีการค้าขายเครื่องประดับด้วยเช่นกัน

    หวังว่าเพื่อนเพจจะเห็นภาพแล้วว่าการเดินเรื่องของ <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านพื้นที่ไหนบ้าง และทำไมเหล่าคู่อริทางการค้าจึงพบหน้ากันบ่อย... เพราะทุกคนล้วนค้าขายและใช้เส้นทางสายไหมกันนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://m.bjnews.com.cn/detail/1730788116168379.html
    https://www.chinadiscovery.com/assets/images/silk-road/history/tang-silk-road-map-llsboc-qunar.jpg
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/JG5GE87L0512D3VJ.html
    https://www.163.com/dy/article/JGCT7TAP0530WJTO.html
    https://baike.baidu.com/item/扬州市
    https://turnstone.ca/rom186be.htm

    #ม่านมุกม่านหยก #เส้นทางสายไหม #พลอยจีน #หยางโจว #สาระจีน
    ตามรอยเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านเส้นทางสายไหม สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> คงจำได้ว่าฉากหลังของเรื่องคือการค้าอัญมณีในสมัยถัง ซึ่งเส้นทางการเดินทางมีทั้งการเดินเรือทะเลและข้ามทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ ชวนให้ Storyฯ งงไม่น้อยเลยลองไปหาข้อมูลดู มีบทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยเหอหนานกล่าวไว้ว่าจริงๆ แล้วซีรีส์เรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> นี้คือการเดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งก็ตรงกับตอนจบของเรื่องที่กล่าวถึงการพัฒนาด้านการค้าผ่านเส้นทางสายไหม Storyฯ เลยลองเอาการเดินทางของพระเอกนางเอกจากในซีรีส์มาปักหมุดลง เราลองมาดูกันค่ะ มีบทความและแผนที่เกี่ยวกับเส้นทางสายไหมจำนวนไม่น้อยในหลากหลายภาษา ดังนั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด แต่จากการเปรียบเทียบดู Storyฯ พบว่ามีความแตกต่างกันบ้าง จึงขอใช้เวอร์ชั่นที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์หนิงเซี่ยกู้หยวนเป็นหลักเพราะถือว่าเป็นไปตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่จีนบันทึกเอง (ดูรูปประกอบ 2) เราจะเห็นว่าเส้นทางสายไหมมีเส้นทางบกและเส้นทางทะเล และเส้นทางบกไม่ได้จบลงที่เมืองฉางอัน (ซีอันปัจจุบัน) อย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่มีการเชื่อมต่อไปจรดทะเลเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางทะเล Storyฯ ลองใส่ข้อมูลอื่นเพิ่มเข้าไปในแผนที่เต็มนี้ (ดูรูปประกอบ 1) ก่อนอื่นคือใส่แผนที่ของราชวงศ์ถังซ้อนลงไปเพื่อให้เห็นภาพอาณาเขตโดยคร่าว ทั้งนี้ตลอดสามร้อยกว่าปีการปกครองของถังในเขตซีอวี้ (ซินเกียงปัจจุบัน) แตกต่างกันไป เลยลองใช้แผนที่ของช่วงประมาณปีค.ศ. 700 ก็จะเห็นเขตพื้นที่ซีอวี้ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือที่มีเมืองตุนหวงเป็นเสมือนประตูทางผ่าน จากนั้นใส่เขตพื้นที่มณฑลหยางโจวในสมัยนั้นซึ่งอยู่ทางใต้ของแผนที่ติดทะเล (คือเส้นประเล็กๆ) (หมายเหตุ เส้นขอบทั้งหมดอาจไม่เป๊ะด้วยข้อจำกัดการวาดของ Storyฯ เอง) เมื่อใส่เสร็จแล้วก็เห็นได้เลยว่าตวนอู่และเยี่ยจื่อจิงของเราในเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> เขาเดินทางตามเส้นทางสายใหม่จริงๆ เริ่มกันที่ด้านล่างของแผนที่ซึ่งเป็นแถบพื้นที่เหอผู่อันเป็นแหล่งเก็บมุกทะเล (ปัจจุบันเรียกเป๋ยไห่ คือพื้นที่สีแดง) ที่นี่เป็นฉากเริ่มต้นของเรื่อง (ย้อนอ่านเรื่องการเก็บมุกได้จากบทความสัปดาห์ที่แล้ว) จากนั้นเดินทางผ่านกวางเจาขึ้นเหนือและสู้รบปรบมือกับคนตระกูลชุยและศัตรูอื่นเป็นระยะตั้งแต่เมืองซ่าวโจวถึงเมืองอู่หลิง จากนั้นเดินทางเรื่อยขึ้นไปจนถึงเมืองเปี้ยนโจวซึ่งคือเมืองไคฟงปัจจุบัน แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านนครฉางอัน ข้ามเขตทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ซึ่งการเข้าเขตซีอวี้ในสมัยนั้นจะผ่านเมืองตุนหวง ณ จุดนี้ เรื่องราวผ่านไปแล้วประมาณ 1/3 ของเรื่อง หลังจากนั้นเหล่าตัวละครกลับมาจากซีอวี้แล้วเดินทางมาถึงเมืองหยางโจวข้ามผ่านระยะทางอย่างไกลได้อย่างไรไม่ทราบได้ Storyฯ ดูจากแผนที่แล้วน่าจะย้อนกลับมาทางเมืองเปี้ยนเฉิงและจากจุดนั้นมีเส้นทาง (ที่ไม่ใช่เส้นทางสายไหมและไม่ได้วาดไว้ในรูปประกอบ) เชื่อมลงมายังเมืองหยางโจว ซึ่งมีทั้งเส้นทางบกและเส้นทางคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่สามารถใช้ได้ (หมายเหตุ เส้นทางต้าอวิ้นเหอมีการเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยหมิงเป็นต้นมา) และเรื่องราวที่เหลือของเรื่องก็จะมีฉากหลังอยู่ที่การค้าอัญมณีที่เมืองหยางโจวนี้ ในเรื่องมีกล่าวถึงอัญมณีหนึ่งที่น่าสนใจชื่อว่า ‘เซ่อเซ่อ’ (瑟瑟 ไม่แน่ใจว่าแปลซับไทยไว้ว่าอย่างไร) ซึ่งเป็นพลอยประเภท Beryl Stone มีสีเขียวฟ้าและฟ้า บอกว่าเป็นพลอยที่มีค่าหายากมาก ในความเป็นจริง Beryl Stone แบ่งเป็นประเภทย่อยอีกตามสี แต่เรามักเรียกรวมพลอยสีฟ้าเขียวว่าพลอยอะความารีน (Aquamarine) และในละครมีการกล่าวว่าพลอยเซ่อเซ่อเกรดดีส่วนใหญ่มาจากเขตซีอวี้ แต่แถวหยางโจวก็พอให้หาซื้อได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจริงตามประวัติศาสตร์ เพราะพลอยเซ่อเซ่อในจีนหาได้ในสามพื้นที่หลักคือซินเกียง (ซีอวี้) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ และที่ยูนนานและหูเป่ย (ไม่ไกลจากเมืองอู่หลิงในภาพ ซึ่งเป็นจุดที่น้องชุยสือจิ่วของเราถูกจับขังในเหมือง) เมืองหยางโจวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบกและทางเรือของจีนโบราณ จึงไม่แปลกที่เรามักเห็นในซีรีส์และนิยายจีนโบราณกล่าวถึงหยางโจวว่าเป็นเขตค้าขายมีตระกูลพ่อค้าร่ำรวย ที่นี่ไม่เพียงเป็นจุดเชื่อมเส้นทางสายไหมทางบกและทะเลโดยผ่านแม่น้ำแยงซีเกียง และยังมีคลองต้าอวิ้นเหอเชื่อมขึ้นเหนือ ในสมัยถังที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้าเสบียงอาหาร เกลือและเหล็กไปยังพื้นที่ต่างๆ ของจีน อีกทั้งค้าขายส่งออกผ้าไหมและงานกระเบื้องรวมถึงนำเข้าสินค้าหลากชนิดผ่านเส้นทางบกและเรือ นอกจากนี้ที่นี่ยังขึ้นชื่อเรื่องงานช่างงานฝีมือและมีการพบเจอซากเรือสมัยถังพร้อมเครื่องประดับมากมายที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยถังมีการค้าขายเครื่องประดับด้วยเช่นกัน หวังว่าเพื่อนเพจจะเห็นภาพแล้วว่าการเดินเรื่องของ <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านพื้นที่ไหนบ้าง และทำไมเหล่าคู่อริทางการค้าจึงพบหน้ากันบ่อย... เพราะทุกคนล้วนค้าขายและใช้เส้นทางสายไหมกันนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://m.bjnews.com.cn/detail/1730788116168379.html https://www.chinadiscovery.com/assets/images/silk-road/history/tang-silk-road-map-llsboc-qunar.jpg Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/JG5GE87L0512D3VJ.html https://www.163.com/dy/article/JGCT7TAP0530WJTO.html https://baike.baidu.com/item/扬州市 https://turnstone.ca/rom186be.htm #ม่านมุกม่านหยก #เส้นทางสายไหม #พลอยจีน #หยางโจว #สาระจีน
    M.BJNEWS.COM.CN
    赵露思、刘宇宁新剧《珠帘玉幕》今日卫视开播
    赵露思、刘宇宁新剧《珠帘玉幕》今日卫视开播
    0 Comments 0 Shares 1258 Views 0 Reviews
  • วันนี้ยังคงคุยกันเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก ภาพที่จะคุยกันคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ หรือ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ (昭容评诗图) ที่แขวนอยู่ในตำหนักอี้คุนกง ซึ่ง Storyฯ ก็จำไม่ได้แล้วว่าในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นี้ อี้คุนกงเป็นที่ประทับของพระมเหสีองค์ไหน แต่ใน <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> นั้น นี่เป็นพระตำหนักของหรูอี้

    จาวหรงเป็นหนึ่งในตำแหน่งพระสนมเอก แล้วจาวหรงที่กล่าวถึงในภาพนี้คือใคร?

    นางคือซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ (ค.ศ. 664-710) ผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ปราดเปรื่องที่สุดแห่งราชวงศ์ถัง แม้มิได้เป็นขุนนางฝ่ายนอกแต่บทบาทและอิทธิพลทางการเมืองของนางมีไม่น้อย จนได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘จิงกั๋วจ่ายเซี่ยง’ (แปลตรงตัวว่า ผ้าโพกผมสตรี + อัครมหาเสนาบดี หรือหมายความว่า อัครมหาเสนาบดีหญิงนั่นเอง) นางมีผลงานด้านวรรณกรรมมากมายที่ยังสืบทอดมาจนปัจจุบัน เพิ่งมีคนโพสต์เกี่ยวกับเรื่องราวของนางไปเมื่อไม่นานมานี้ (ดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่าง) Storyฯ ก็จะพยายามเล่าให้ไม่ซ้ำกันนะคะ

    ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นหลานปู่ของซ่างกวนอี๋ กวีและอัครเสนาบดีในสมัยถังเกาจง ชีวิตของนางผ่านร้อนผ่านหนาวไม่น้อย เนื่องจากซ่างกวนอี๋และตระกูลถูกลงโทษโดยพระนางบูเช็กเทียน (สมัยยังเป็นเพียงฮองเฮา) ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ซึ่งอายุเพียงขวบกว่าก็ต้องโทษตามมารดากลายเป็นทาสหลวงรับใช้อยู่ในส่วนของวังหลังที่เรียกว่า ‘เยี่ยถิง’ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลความเป็นอยู่ของเหล่าสนมและนางกำนัล แต่ภายใต้การดูแลสั่งสอนของมารดา ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์อ่านหนังสือนับไม่ถ้วน ทั้งบทกวี บทความ ประวัติศาสตร์และบันทึกงานราชการของฝ่ายใน โตขึ้นเป็นเด็กที่ฉลาดและทำงานคล่องแคล่ว

    ต่อมาพระนางบูเช็กเทียนผ่านตาบทประพันธ์ของนาง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์จึงถูกเรียกให้ไปเข้าเฝ้า ตอนนั้นเป็นรัชสมัยของถังจงจงและพระนางบูเช็กเทียนกุมอำนาจในฐานะไทเฮา ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์มีอายุเพียงสิบสามย่างสิบสี่ปี นางต้องแต่งบทความตอบโจทย์ต่อหน้าพระนางและทำได้อย่างดี ทั้งในแง่เนื้อหาและทักษะภาษา เป็นที่ถูกใจของพระนางบูเช็กเทียน จึงได้รับการปลดสถานะทาสและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชสำนักหญิงรับผิดชอบงานด้านประกาศและพระราชเสาวนีย์ โดยมีตำแหน่งไฉเหริน (แต่ไม่ได้เป็นสนม)

    ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นที่โปรดปรานของพระนางบูเช็กเทียน นางรับผิดชอบงานราชโองการและรับฎีกาของพระนางทั้งหมดภายหลังจากทรงยึดอำนาจตั้งตนเป็นจักรพรรดินี อีกทั้งพระนางยังหารือราชกิจกับนางบ่อยครั้ง แม้มีเหตุการณ์ขัดขืนพระราชโองการอยู่ครั้งหนึ่งแต่ก็ยังได้รับการไว้ชีวิตเพราะพระนางบูเช็กเทียนเสียดายในความรู้ความสามารถของนาง

    ต่อมาองค์ถังจงจงยึดบัลลังก์คืนมาจากบูเช็กเทียนได้ ก็รับซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นพระสนมโดยยังคงรับหน้าที่ยกร่างพระราชโองการและงานราชเลขาเหมือนเดิม เรื่องราวสมัยที่นางเป็นพระสนมก็จะดูจะอีรุงตุงนังไม่แพ้เรื่องเกมการเมืองสมัยบูเช็กเทียน ประวัติศาสตร์จีนบันทึกว่านางสนิทกับอู่ซานซือ (หลานของบูเช็กเทียน) และชักนำให้อู่ซานซือมาเป็นพวกร่วมกับเหวยฮองเฮาและกลายเป็นขุนนางมือขวาของถังจงจง เป็นหนึ่งสายของขุมอำนาจด้านการเมือง แต่บทความต่างประเทศเขียนเจาะจงว่านางเป็นชู้กับอู่ซานซือ และเขาก็เป็นชู้กับเหวยฮองเฮาอีกด้วย ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่ทราบได้ แต่เรื่องราวการชิงอำนาจและตัวละครที่เกี่ยวข้องในยุคสมัยนั้นก็มีมากจนไม่สามารถเอามาเล่าให้ฟังหมด ขอสรุปสั้นๆ เพียงว่า ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ใช้ชีวิตด้วยชั้นเชิงในการรักษาสมดุลและช่วงชิงอำนาจ และสุดท้ายก็จบชีวิตลงด้วยเกมการเมืองดังกล่าว

    ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ไม่เพียงฉลาดแต่ยังโฉมงาม นางจึงเป็นที่โปรดปรานของถังจงจง ได้รับการปรับระดับขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นถึงจาวหรง นางเป็นคนที่คอยชี้นำให้องค์ถังจงจงเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้เข้ามารับใช้ราชสำนักมากขึ้นและส่งเสริมด้านการศึกษาอย่างกว้างขวาง อีกทั้งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้ที่มีอิทธิพลต่อสไตล์ของบทกวีในสมัยนั้น

    ภายใต้บรรยากาศที่ให้ความสำคัญต่อผู้ที่มีความรู้และความสามารถด้านอักษรนี้ องค์ถังจงจงจึงมักจัดงานเลี้ยงขึ้นเพื่อให้ข้าราชสำนักสังสรรค์และแสดงความสามารถกัน และเหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ นี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับหนึ่งในงานเลี้ยงดังกล่าวที่ถูกจัดขึ้นที่สระคุนหมิง มีเหล่าข้าราชสำนักร่วมแต่งบทกวีกว่า 100 บทภายใต้หัวข้อ ‘ชุน’ (วสันต์)

    ในงานเลี้ยงนี้ องค์ถังจงจงให้ซ่างกวนจาวหรงเป็นคนตัดสินคัดเลือกบทกวีที่ดีที่สุด มีการบรรยายฉากนี้ไว้ว่า นางนั่งอ่านบทกวีอยู่บนหอ ข้าราชสำนักรอฟังผลอยู่ข้างล่าง ครั้นเห็นกระดาษโปรยปรายลงมาก็พากันไปตามหาจนได้บทกวีของตัวเองคืนมา เหลืออยู่เพียงสองคนที่หาบทความของตนเองไม่เจอ คือเสิ่นเฉวียนชีและซ่งจือเวิ่น รอกันอีกสักพัก กระดาษแผ่นสุดท้ายก็ปลิวลงมา ปรากฏเป็นผลงานของเสิ่นเฉวียนชี ถือว่าซ่งจือเวิ่นเป็นผู้ชนะ โดยซ่างกวนเจาหรงวิจารณ์ไว้ว่า บทกวีของทั้งสองคนนั้น เนื้อหาใจความสูสีกันเพราะเป็นการบรรยายถึงบรรยากาศของงานเลี้ยงได้อย่างไพเราะและวรรคแรกเปิดตัวได้อย่างงดงามไม่แพ้กัน แต่ของเสิ่นเฉวียนชีนั้น วรรคท้ายใช้ภาษาในเชิงถ่อมตน ทำให้พลังของภาษาหดหาย ในขณะที่วรรคท้ายของซ่งจือเวิ่นนั้น แม้บทกวีจบลงแต่ให้ความหวัง ทำให้พลังของบทความคงอยู่ จึงเหนือชั้นกว่าของเสิ่นเฉวียนซีอยู่หนึ่งขั้น เหตุการณ์ครั้งนี้ได้รับการจดจำในแง่ที่ว่า ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ฉลาดในการวิจารณ์ เข้าใจถึงแก่นความหมายและมีทักษะด้านภาษาอย่างยิ่งยวด

    ผลงานที่โดดเด่นของซ่างกวนหว่านเอ๋อร์คือการเป็นผู้ดูแลและปรับปรุงหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในรัชสมัยของจักรพรรดินีบูเช็กเทียน คือ ‘ซิวเหวินก่วน’ (修文馆 ต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น จาวเหวินก่วน / 昭文馆) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รวบรวมและดูแลหนังสือบันทึกต่างๆ และเป็นสำนักศึกษาหลวงเปิดการเรียนการสอนโดยแต่งตั้งขุนนางที่มีชื่อฝ่ายบุ๋นหลายคนมาเป็นอาจารย์ที่นี่ ภายใต้การดูแลของนาง หน่วยงานนี้จึงมีบทบาทและน้ำหนักในราชสำนักมากขึ้น

    ภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ หรือ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ นี้ ถูกตีความว่า หมายถึงการศึกษา ภาพนี้จริงแท้หน้าแต่เป็นอย่างไร Storyฯ ก็หาไม่พบ ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพวาดเกี่ยวกับเหตุการณ์เดียวกันแต่มีชื่อเรียกว่า ‘หว่านเอ๋อร์ตัดสินบทกวี’ ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปที่อี้คุนกงพร้อมกับภาพนี้เขียนว่า ‘อี้กงหว่านซุ่น’ (懿恭婉顺) แปลได้ประมาณว่า เคารพพระราชเสาวนีย์ คล้อยตามอย่างละมุนละม่อม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://waptv.sogou.com/teleplay/orswyzlqnrqxsxzwgmydsnjzbhi5h3h3xgs4fva.html
    https://kknews.cc/zh-sg/history/4bb8n3x.html#google_vignette

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=abb5f0b7bf81f3dcd9c7745c
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=08b8cb852955ec63d33764ec
    https://baike.baidu.com/item/上官婉儿/26942
    http://collection.sina.com.cn/plfx/20130924/1618128246.shtml
    https://www.sohu.com/a/221802957_752265
    https://www.sohu.com/a/365940296_348930

    บทความเกี่ยวกับซ่างกวนหว่านเอ๋อร์: https://www.facebook.com/groups/288237788323632/permalink/1649073795573351

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ #บูเช็กเทียน #จาวหรงตัดสินบทกวี #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    วันนี้ยังคงคุยกันเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก ภาพที่จะคุยกันคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ หรือ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ (昭容评诗图) ที่แขวนอยู่ในตำหนักอี้คุนกง ซึ่ง Storyฯ ก็จำไม่ได้แล้วว่าในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นี้ อี้คุนกงเป็นที่ประทับของพระมเหสีองค์ไหน แต่ใน <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> นั้น นี่เป็นพระตำหนักของหรูอี้ จาวหรงเป็นหนึ่งในตำแหน่งพระสนมเอก แล้วจาวหรงที่กล่าวถึงในภาพนี้คือใคร? นางคือซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ (ค.ศ. 664-710) ผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ปราดเปรื่องที่สุดแห่งราชวงศ์ถัง แม้มิได้เป็นขุนนางฝ่ายนอกแต่บทบาทและอิทธิพลทางการเมืองของนางมีไม่น้อย จนได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘จิงกั๋วจ่ายเซี่ยง’ (แปลตรงตัวว่า ผ้าโพกผมสตรี + อัครมหาเสนาบดี หรือหมายความว่า อัครมหาเสนาบดีหญิงนั่นเอง) นางมีผลงานด้านวรรณกรรมมากมายที่ยังสืบทอดมาจนปัจจุบัน เพิ่งมีคนโพสต์เกี่ยวกับเรื่องราวของนางไปเมื่อไม่นานมานี้ (ดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่าง) Storyฯ ก็จะพยายามเล่าให้ไม่ซ้ำกันนะคะ ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นหลานปู่ของซ่างกวนอี๋ กวีและอัครเสนาบดีในสมัยถังเกาจง ชีวิตของนางผ่านร้อนผ่านหนาวไม่น้อย เนื่องจากซ่างกวนอี๋และตระกูลถูกลงโทษโดยพระนางบูเช็กเทียน (สมัยยังเป็นเพียงฮองเฮา) ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ซึ่งอายุเพียงขวบกว่าก็ต้องโทษตามมารดากลายเป็นทาสหลวงรับใช้อยู่ในส่วนของวังหลังที่เรียกว่า ‘เยี่ยถิง’ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลความเป็นอยู่ของเหล่าสนมและนางกำนัล แต่ภายใต้การดูแลสั่งสอนของมารดา ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์อ่านหนังสือนับไม่ถ้วน ทั้งบทกวี บทความ ประวัติศาสตร์และบันทึกงานราชการของฝ่ายใน โตขึ้นเป็นเด็กที่ฉลาดและทำงานคล่องแคล่ว ต่อมาพระนางบูเช็กเทียนผ่านตาบทประพันธ์ของนาง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์จึงถูกเรียกให้ไปเข้าเฝ้า ตอนนั้นเป็นรัชสมัยของถังจงจงและพระนางบูเช็กเทียนกุมอำนาจในฐานะไทเฮา ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์มีอายุเพียงสิบสามย่างสิบสี่ปี นางต้องแต่งบทความตอบโจทย์ต่อหน้าพระนางและทำได้อย่างดี ทั้งในแง่เนื้อหาและทักษะภาษา เป็นที่ถูกใจของพระนางบูเช็กเทียน จึงได้รับการปลดสถานะทาสและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชสำนักหญิงรับผิดชอบงานด้านประกาศและพระราชเสาวนีย์ โดยมีตำแหน่งไฉเหริน (แต่ไม่ได้เป็นสนม) ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นที่โปรดปรานของพระนางบูเช็กเทียน นางรับผิดชอบงานราชโองการและรับฎีกาของพระนางทั้งหมดภายหลังจากทรงยึดอำนาจตั้งตนเป็นจักรพรรดินี อีกทั้งพระนางยังหารือราชกิจกับนางบ่อยครั้ง แม้มีเหตุการณ์ขัดขืนพระราชโองการอยู่ครั้งหนึ่งแต่ก็ยังได้รับการไว้ชีวิตเพราะพระนางบูเช็กเทียนเสียดายในความรู้ความสามารถของนาง ต่อมาองค์ถังจงจงยึดบัลลังก์คืนมาจากบูเช็กเทียนได้ ก็รับซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นพระสนมโดยยังคงรับหน้าที่ยกร่างพระราชโองการและงานราชเลขาเหมือนเดิม เรื่องราวสมัยที่นางเป็นพระสนมก็จะดูจะอีรุงตุงนังไม่แพ้เรื่องเกมการเมืองสมัยบูเช็กเทียน ประวัติศาสตร์จีนบันทึกว่านางสนิทกับอู่ซานซือ (หลานของบูเช็กเทียน) และชักนำให้อู่ซานซือมาเป็นพวกร่วมกับเหวยฮองเฮาและกลายเป็นขุนนางมือขวาของถังจงจง เป็นหนึ่งสายของขุมอำนาจด้านการเมือง แต่บทความต่างประเทศเขียนเจาะจงว่านางเป็นชู้กับอู่ซานซือ และเขาก็เป็นชู้กับเหวยฮองเฮาอีกด้วย ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่ทราบได้ แต่เรื่องราวการชิงอำนาจและตัวละครที่เกี่ยวข้องในยุคสมัยนั้นก็มีมากจนไม่สามารถเอามาเล่าให้ฟังหมด ขอสรุปสั้นๆ เพียงว่า ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ใช้ชีวิตด้วยชั้นเชิงในการรักษาสมดุลและช่วงชิงอำนาจ และสุดท้ายก็จบชีวิตลงด้วยเกมการเมืองดังกล่าว ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ไม่เพียงฉลาดแต่ยังโฉมงาม นางจึงเป็นที่โปรดปรานของถังจงจง ได้รับการปรับระดับขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นถึงจาวหรง นางเป็นคนที่คอยชี้นำให้องค์ถังจงจงเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้เข้ามารับใช้ราชสำนักมากขึ้นและส่งเสริมด้านการศึกษาอย่างกว้างขวาง อีกทั้งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้ที่มีอิทธิพลต่อสไตล์ของบทกวีในสมัยนั้น ภายใต้บรรยากาศที่ให้ความสำคัญต่อผู้ที่มีความรู้และความสามารถด้านอักษรนี้ องค์ถังจงจงจึงมักจัดงานเลี้ยงขึ้นเพื่อให้ข้าราชสำนักสังสรรค์และแสดงความสามารถกัน และเหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ นี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับหนึ่งในงานเลี้ยงดังกล่าวที่ถูกจัดขึ้นที่สระคุนหมิง มีเหล่าข้าราชสำนักร่วมแต่งบทกวีกว่า 100 บทภายใต้หัวข้อ ‘ชุน’ (วสันต์) ในงานเลี้ยงนี้ องค์ถังจงจงให้ซ่างกวนจาวหรงเป็นคนตัดสินคัดเลือกบทกวีที่ดีที่สุด มีการบรรยายฉากนี้ไว้ว่า นางนั่งอ่านบทกวีอยู่บนหอ ข้าราชสำนักรอฟังผลอยู่ข้างล่าง ครั้นเห็นกระดาษโปรยปรายลงมาก็พากันไปตามหาจนได้บทกวีของตัวเองคืนมา เหลืออยู่เพียงสองคนที่หาบทความของตนเองไม่เจอ คือเสิ่นเฉวียนชีและซ่งจือเวิ่น รอกันอีกสักพัก กระดาษแผ่นสุดท้ายก็ปลิวลงมา ปรากฏเป็นผลงานของเสิ่นเฉวียนชี ถือว่าซ่งจือเวิ่นเป็นผู้ชนะ โดยซ่างกวนเจาหรงวิจารณ์ไว้ว่า บทกวีของทั้งสองคนนั้น เนื้อหาใจความสูสีกันเพราะเป็นการบรรยายถึงบรรยากาศของงานเลี้ยงได้อย่างไพเราะและวรรคแรกเปิดตัวได้อย่างงดงามไม่แพ้กัน แต่ของเสิ่นเฉวียนชีนั้น วรรคท้ายใช้ภาษาในเชิงถ่อมตน ทำให้พลังของภาษาหดหาย ในขณะที่วรรคท้ายของซ่งจือเวิ่นนั้น แม้บทกวีจบลงแต่ให้ความหวัง ทำให้พลังของบทความคงอยู่ จึงเหนือชั้นกว่าของเสิ่นเฉวียนซีอยู่หนึ่งขั้น เหตุการณ์ครั้งนี้ได้รับการจดจำในแง่ที่ว่า ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ฉลาดในการวิจารณ์ เข้าใจถึงแก่นความหมายและมีทักษะด้านภาษาอย่างยิ่งยวด ผลงานที่โดดเด่นของซ่างกวนหว่านเอ๋อร์คือการเป็นผู้ดูแลและปรับปรุงหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในรัชสมัยของจักรพรรดินีบูเช็กเทียน คือ ‘ซิวเหวินก่วน’ (修文馆 ต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น จาวเหวินก่วน / 昭文馆) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รวบรวมและดูแลหนังสือบันทึกต่างๆ และเป็นสำนักศึกษาหลวงเปิดการเรียนการสอนโดยแต่งตั้งขุนนางที่มีชื่อฝ่ายบุ๋นหลายคนมาเป็นอาจารย์ที่นี่ ภายใต้การดูแลของนาง หน่วยงานนี้จึงมีบทบาทและน้ำหนักในราชสำนักมากขึ้น ภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ หรือ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ นี้ ถูกตีความว่า หมายถึงการศึกษา ภาพนี้จริงแท้หน้าแต่เป็นอย่างไร Storyฯ ก็หาไม่พบ ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพวาดเกี่ยวกับเหตุการณ์เดียวกันแต่มีชื่อเรียกว่า ‘หว่านเอ๋อร์ตัดสินบทกวี’ ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปที่อี้คุนกงพร้อมกับภาพนี้เขียนว่า ‘อี้กงหว่านซุ่น’ (懿恭婉顺) แปลได้ประมาณว่า เคารพพระราชเสาวนีย์ คล้อยตามอย่างละมุนละม่อม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://waptv.sogou.com/teleplay/orswyzlqnrqxsxzwgmydsnjzbhi5h3h3xgs4fva.html https://kknews.cc/zh-sg/history/4bb8n3x.html#google_vignette Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=abb5f0b7bf81f3dcd9c7745c https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=08b8cb852955ec63d33764ec https://baike.baidu.com/item/上官婉儿/26942 http://collection.sina.com.cn/plfx/20130924/1618128246.shtml https://www.sohu.com/a/221802957_752265 https://www.sohu.com/a/365940296_348930 บทความเกี่ยวกับซ่างกวนหว่านเอ๋อร์: https://www.facebook.com/groups/288237788323632/permalink/1649073795573351 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ #บูเช็กเทียน #จาวหรงตัดสินบทกวี #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    《延禧攻略》全集-电视剧-免费在线观看
    电视剧《延禧攻略》高清免费在线播放,延禧攻略是是由惠楷栋;温德光导演,由秦岚,聂远,张嘉倪,吴谨言主演的中国大陆电视剧,剧情:乾隆六年,少女魏璎珞为寻求长姐死亡真相,...
    0 Comments 0 Shares 968 Views 0 Reviews
  • พรุ่งนี้เริ่มหยุดยาว เลยมาอัพบทความเร็วหน่อย วันนี้คุยกันต่อเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก แน่นอนว่าความยากในการหาข้อมูลยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องเพราะสิบสองภาพวาดนี้สูญหายไปเกือบหมดแล้ว และอย่างที่ Storyฯ ได้กล่าวไปในบทความก่อนหน้านี้ ตำหนักที่ประทับของแต่ละท่านในละครก็ใช่ว่าจะตรงกันกับในประวัติศาสตร์

    ภาพที่จะเล่าถึงกันในวันนี้เป็นอีกหนึ่งภาพที่หาข้อมูลยาก คือภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ (徐妃直谏图) ซึ่งในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ภาพนี้ถูกพระราชทานให้เสียนเฟยที่ตำหนักเฉิงเฉียนกง แต่อย่างที่เพื่อนเพจอาจพอทราบมาบ้าง เสียนเฟย (ซึ่งต่อมาคือฮองเฮาสกุลอูลาน่าลา) ถูกลบเลือนออกไปจากบันทึกต่างๆ มีบางข้อมูลบอกว่าพระนางประทับที่ตำหนักอี้คุนกง และภาพที่ได้รับพระราชทานมาที่ตำหนักอี้คุนกงคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图)

    อย่างไรก็ดี เท่าที่ Storyฯ พอจะหาข้อมูลได้ ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เคยแขวนอยู่ที่เฉิงเฉียนกง วันนี้เราคุยกันเรื่องภาพนี้

    ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ Storyฯ หาไม่พบว่าจริงแล้วหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะภาพที่ใช้ประกอบในละครนั้น จริงๆ แล้วเป็นหนึ่งในคอลเลคชั่นภาพวาดชีวิตสตรีในตระกูลขุนนางของเจียวปิ่งเจินในสมัยต้นราชวงศ์ชิง (รูปประกอบ1) ส่วนภาพที่เกี่ยวกับสวีเฟยที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนั้น มีชื่อว่า ‘สวีเฟยถวายฎีกา’ (徐惠上疏 รูปประกอบ2) เป็นผลงานของหวางเจิ้งเผิงสมัยราชวงศ์หยวนจากคอลเลคชั่นเกี่ยวกับพระภรรยาที่มีชื่อเสียงด้านคุณงามความดีในประวัติศาสตร์จีน

    ‘สวีเฟย’ คือใคร? นางคือหนึ่งในพระสนมของฮ่องเต้หลี่ซื่อหมินหรือถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง (ขออภัยไม่ใช่ราชาศัพท์) นามเดิมว่า ‘สวีฮุ่ย’ (ค.ศ. 627-650) เป็นบุตรีของอดีตขุนนางระดับสูงของราชวงศ์ใต้ พื้นเพเดิมจากหูโจว มลฑลเจ้อเจียง นางเชี่ยวชาญด้านงานอักษรและบทกวี ว่ากันว่านางสามารถเริ่มเขียนบทความยาวๆ และท่องจำหนังสือปรัชญาของขงจื๊อที่ผู้ใหญ่ใช้เรียนได้ตั้งแต่เมื่ออายุเพียงสี่ขวบ ตอนนางอายุแปดขวบได้แต่งบทกลอนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานชั้นเลิศ โด่งดังไปถึงหูขององค์ถังไท่จงในวังหลวง จนทำให้ถูกรับเข้าวังเป็นสนมเมื่อมีอายุเพียงสิบเอ็ดปี (ตอนนั้นฮ่องเต้อายุสี่สิบปี) ด้วยตำแหน่งไฉเหริน ความสามารถด้านต่างๆ ของนางเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังไท่จงมาก จึงได้รับการปรับตำแหน่งขึ้นเรื่อยมาจนเป็นถึงชงหรง

    เหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยขององค์ถังไท่จง จากที่เคยเป็นฮ่องเต้ที่ใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนและผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พอถึงช่วงปลายรัชสมัยนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ดูจะใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนน้อยลง ประหยัดน้อยลง หาความสำราญส่วนตนมากขึ้น หมดเงินไม่น้อยกับการสร้างพระราชวังใหม่ๆ ไม่หยุดหย่อนเพื่อเป็นที่ระลึกถึงรัชสมัยอันเกรียงไกรของตัวเอง และก่อสงครามใหญ่สองครั้ง ประชาชนเริ่มลำบากยากจน สร้างความกังวลให้กับเหล่าขุนนาง

    สวีเฟยเองแม้อยู่ในวังหลังแต่ใส่ใจเรื่องราวบ้านเมืองและทุกข์สุขของประชาชน ทั้งกังวลทั้งอดรนทนไม่ไหว จึงร่างบทความวิจารณ์ทางการเมืองขึ้นยื่นถวายเป็นฎีกา เนื้อความสรุปโดยคร่าวคือ
    – ขอให้ถังไท่จงอย่าได้ทำตามตัวอย่างกษัตริย์ในอดีตที่ใช้เวลาและทรัพย์สินไปกับการป่าวประกาศคุณงามความดีของตน เพราะเมื่อมีผลงานไม่ต้องโอ้อวด ประชาชนก็สำนึกได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องสร้างพระราชวังหรือวิหารอลังการ ความดีที่ทำก็จะคงอยู่ได้ยาวนานเป็นหมื่นปี
    – สงครามที่ไม่หยุดสิ้น เป็นการสิ้นเปลืองเสบียงอาหารและสร้างความลำบากให้ประชาชน ต้องอดมื้อกินมื้อ ขอองค์ถังไท่จงอย่าได้มัวแต่โหยหาอำนาจจากการขยายอาณาเขตเพิ่มจนสูญเสียไพร่พลคนม้าของตนเองไปโดยไม่รู้ตัว และหลงลืมความเมตตากรุณาอันเป็นคุณสมบัติสำคัญ พร้อมกับยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ทำให้บ้านเมืองต้องล่มจมเพราะความกระหายอำนาจของกษัตริย์
    – การก่อสร้างไม่หยุดหย่อนในสิ่งที่ไม่จำเป็น เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นไม้หรือแรงงาน ต้องเกณฑ์คนมาขนหินขนไม้ สร้างความทุกข์ยากให้ประชาชน แรงของคนควรสงวนไว้เพื่อสิ่งที่จำเป็น ให้เขาได้พักบ้าง เมื่อถึงคราวต้องใช้จึงเป็นคนที่บ้านเมืองพึ่งพาได้
    – ของฟุ่มเฟือยเงินทองมุกหยก ล้วนทำให้เมามายได้ดั่งสุรา แม้ล้วนเป็นสิ่งที่ได้รับมาเป็นเครื่องบรรณาการ แต่การนำมาใช้อย่างมากมายกลับกลายเป็นการสร้างความแตกต่างและระยะห่างระหว่างฮ่องเต้กับประชาชน ดังนั้น แทนที่จะหลงระเริงกับของเหล่านี้ มิสู้ทุ่มแรงใจให้กับการเสริมสร้างความรู้และการศึกษาให้กับคน
    ฯลฯ

    บทความของสวีเฟยนี้ยาวมากจน Storyฯ สรุปให้ไม่ได้หมด ฎีกาฉบับนี้มีชื่อเรียกว่า ‘เจี้ยนไท่จงซี่ปิงป้าอี้ซู’ (谏太宗息兵罢役疏 แปลได้ประมาณว่า ฏีกาตำหนิให้ไท่จงหยุดทหารหยุดทัพ) ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นบทวิจารณ์ทางการเมืองโดยสตรีที่หายาก และแม้ว่าเป็นการตำหนิอย่างตรงไปตรงมา แต่สามารถสื่อออกมาได้อย่างมีเหตุผลและแสดงความเคารพนบนอบ บ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาของนาง และยังเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สมัยถัง เหตุเพราะองค์ถังไท่จงได้รับฟังอย่างจริงจังและเห็นด้วย ไม่เพียงไม่โกรธแต่ยังยกย่องชื่นชมและให้รางวัลนางอีกด้วย

    ว่ากันว่า ในช่วงบั้นปลายชีวิตขององค์ถังไท่จงนั้น นางคือคนที่เขาโปรดปรานที่สุด ต่อมาเมื่อองค์ถังไท่จงเสียชีวิต นางก็ตรอมใจจนตายตามไปด้วย ขณะนั้นอายุนางเพียงยี่สิบสี่ปี ภายหลังได้รับการอวยยศย้อนหลังจากฮ่องเต้หลี่จื้อ (ถังเกาจง) ให้เป็นเสียนเฟย ผลงานที่สืบทอดมาเป็นวรรณกรรมให้ชนรุ่นหลังศึกษามีมากมายหลายชิ้น นับได้ว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ถูกยกย่องด้านความฉลาดและความเชี่ยวชาญด้านงานอักษรของประวัติศาสตร์จีน

    ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ถูกตีความว่าเป็นภาพที่สะท้อนถึงความจงรักภักดีและความตรงไปตรงมา ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปพร้อมกับภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ เขียนว่า ‘เต๋อเฉิงโหรวซุ่น’ (德成柔顺) แปลได้ประมาณว่า เปี่ยมด้วยศีลธรรมและความนอบน้อม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://inmywordz.com/archives/66897
    https://www.duitang.com/blog/?id=1246591620
    https://baike.sogou.com/v74971288.htm

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    https://baike.sogou.com/v74971288.htm
    https://baike.baidu.com/item/徐惠/11444
    https://baike.baidu.com/item/谏太宗息兵罢役疏

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เสียนเฟย #สวีเฟยวิพากษ์ #สวีเฟย #สวีเฟยถวายฎีกา #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    พรุ่งนี้เริ่มหยุดยาว เลยมาอัพบทความเร็วหน่อย วันนี้คุยกันต่อเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก แน่นอนว่าความยากในการหาข้อมูลยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องเพราะสิบสองภาพวาดนี้สูญหายไปเกือบหมดแล้ว และอย่างที่ Storyฯ ได้กล่าวไปในบทความก่อนหน้านี้ ตำหนักที่ประทับของแต่ละท่านในละครก็ใช่ว่าจะตรงกันกับในประวัติศาสตร์ ภาพที่จะเล่าถึงกันในวันนี้เป็นอีกหนึ่งภาพที่หาข้อมูลยาก คือภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ (徐妃直谏图) ซึ่งในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ภาพนี้ถูกพระราชทานให้เสียนเฟยที่ตำหนักเฉิงเฉียนกง แต่อย่างที่เพื่อนเพจอาจพอทราบมาบ้าง เสียนเฟย (ซึ่งต่อมาคือฮองเฮาสกุลอูลาน่าลา) ถูกลบเลือนออกไปจากบันทึกต่างๆ มีบางข้อมูลบอกว่าพระนางประทับที่ตำหนักอี้คุนกง และภาพที่ได้รับพระราชทานมาที่ตำหนักอี้คุนกงคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图) อย่างไรก็ดี เท่าที่ Storyฯ พอจะหาข้อมูลได้ ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เคยแขวนอยู่ที่เฉิงเฉียนกง วันนี้เราคุยกันเรื่องภาพนี้ ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ Storyฯ หาไม่พบว่าจริงแล้วหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะภาพที่ใช้ประกอบในละครนั้น จริงๆ แล้วเป็นหนึ่งในคอลเลคชั่นภาพวาดชีวิตสตรีในตระกูลขุนนางของเจียวปิ่งเจินในสมัยต้นราชวงศ์ชิง (รูปประกอบ1) ส่วนภาพที่เกี่ยวกับสวีเฟยที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนั้น มีชื่อว่า ‘สวีเฟยถวายฎีกา’ (徐惠上疏 รูปประกอบ2) เป็นผลงานของหวางเจิ้งเผิงสมัยราชวงศ์หยวนจากคอลเลคชั่นเกี่ยวกับพระภรรยาที่มีชื่อเสียงด้านคุณงามความดีในประวัติศาสตร์จีน ‘สวีเฟย’ คือใคร? นางคือหนึ่งในพระสนมของฮ่องเต้หลี่ซื่อหมินหรือถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง (ขออภัยไม่ใช่ราชาศัพท์) นามเดิมว่า ‘สวีฮุ่ย’ (ค.ศ. 627-650) เป็นบุตรีของอดีตขุนนางระดับสูงของราชวงศ์ใต้ พื้นเพเดิมจากหูโจว มลฑลเจ้อเจียง นางเชี่ยวชาญด้านงานอักษรและบทกวี ว่ากันว่านางสามารถเริ่มเขียนบทความยาวๆ และท่องจำหนังสือปรัชญาของขงจื๊อที่ผู้ใหญ่ใช้เรียนได้ตั้งแต่เมื่ออายุเพียงสี่ขวบ ตอนนางอายุแปดขวบได้แต่งบทกลอนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานชั้นเลิศ โด่งดังไปถึงหูขององค์ถังไท่จงในวังหลวง จนทำให้ถูกรับเข้าวังเป็นสนมเมื่อมีอายุเพียงสิบเอ็ดปี (ตอนนั้นฮ่องเต้อายุสี่สิบปี) ด้วยตำแหน่งไฉเหริน ความสามารถด้านต่างๆ ของนางเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังไท่จงมาก จึงได้รับการปรับตำแหน่งขึ้นเรื่อยมาจนเป็นถึงชงหรง เหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยขององค์ถังไท่จง จากที่เคยเป็นฮ่องเต้ที่ใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนและผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พอถึงช่วงปลายรัชสมัยนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ดูจะใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนน้อยลง ประหยัดน้อยลง หาความสำราญส่วนตนมากขึ้น หมดเงินไม่น้อยกับการสร้างพระราชวังใหม่ๆ ไม่หยุดหย่อนเพื่อเป็นที่ระลึกถึงรัชสมัยอันเกรียงไกรของตัวเอง และก่อสงครามใหญ่สองครั้ง ประชาชนเริ่มลำบากยากจน สร้างความกังวลให้กับเหล่าขุนนาง สวีเฟยเองแม้อยู่ในวังหลังแต่ใส่ใจเรื่องราวบ้านเมืองและทุกข์สุขของประชาชน ทั้งกังวลทั้งอดรนทนไม่ไหว จึงร่างบทความวิจารณ์ทางการเมืองขึ้นยื่นถวายเป็นฎีกา เนื้อความสรุปโดยคร่าวคือ – ขอให้ถังไท่จงอย่าได้ทำตามตัวอย่างกษัตริย์ในอดีตที่ใช้เวลาและทรัพย์สินไปกับการป่าวประกาศคุณงามความดีของตน เพราะเมื่อมีผลงานไม่ต้องโอ้อวด ประชาชนก็สำนึกได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องสร้างพระราชวังหรือวิหารอลังการ ความดีที่ทำก็จะคงอยู่ได้ยาวนานเป็นหมื่นปี – สงครามที่ไม่หยุดสิ้น เป็นการสิ้นเปลืองเสบียงอาหารและสร้างความลำบากให้ประชาชน ต้องอดมื้อกินมื้อ ขอองค์ถังไท่จงอย่าได้มัวแต่โหยหาอำนาจจากการขยายอาณาเขตเพิ่มจนสูญเสียไพร่พลคนม้าของตนเองไปโดยไม่รู้ตัว และหลงลืมความเมตตากรุณาอันเป็นคุณสมบัติสำคัญ พร้อมกับยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ทำให้บ้านเมืองต้องล่มจมเพราะความกระหายอำนาจของกษัตริย์ – การก่อสร้างไม่หยุดหย่อนในสิ่งที่ไม่จำเป็น เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นไม้หรือแรงงาน ต้องเกณฑ์คนมาขนหินขนไม้ สร้างความทุกข์ยากให้ประชาชน แรงของคนควรสงวนไว้เพื่อสิ่งที่จำเป็น ให้เขาได้พักบ้าง เมื่อถึงคราวต้องใช้จึงเป็นคนที่บ้านเมืองพึ่งพาได้ – ของฟุ่มเฟือยเงินทองมุกหยก ล้วนทำให้เมามายได้ดั่งสุรา แม้ล้วนเป็นสิ่งที่ได้รับมาเป็นเครื่องบรรณาการ แต่การนำมาใช้อย่างมากมายกลับกลายเป็นการสร้างความแตกต่างและระยะห่างระหว่างฮ่องเต้กับประชาชน ดังนั้น แทนที่จะหลงระเริงกับของเหล่านี้ มิสู้ทุ่มแรงใจให้กับการเสริมสร้างความรู้และการศึกษาให้กับคน ฯลฯ บทความของสวีเฟยนี้ยาวมากจน Storyฯ สรุปให้ไม่ได้หมด ฎีกาฉบับนี้มีชื่อเรียกว่า ‘เจี้ยนไท่จงซี่ปิงป้าอี้ซู’ (谏太宗息兵罢役疏 แปลได้ประมาณว่า ฏีกาตำหนิให้ไท่จงหยุดทหารหยุดทัพ) ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นบทวิจารณ์ทางการเมืองโดยสตรีที่หายาก และแม้ว่าเป็นการตำหนิอย่างตรงไปตรงมา แต่สามารถสื่อออกมาได้อย่างมีเหตุผลและแสดงความเคารพนบนอบ บ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาของนาง และยังเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สมัยถัง เหตุเพราะองค์ถังไท่จงได้รับฟังอย่างจริงจังและเห็นด้วย ไม่เพียงไม่โกรธแต่ยังยกย่องชื่นชมและให้รางวัลนางอีกด้วย ว่ากันว่า ในช่วงบั้นปลายชีวิตขององค์ถังไท่จงนั้น นางคือคนที่เขาโปรดปรานที่สุด ต่อมาเมื่อองค์ถังไท่จงเสียชีวิต นางก็ตรอมใจจนตายตามไปด้วย ขณะนั้นอายุนางเพียงยี่สิบสี่ปี ภายหลังได้รับการอวยยศย้อนหลังจากฮ่องเต้หลี่จื้อ (ถังเกาจง) ให้เป็นเสียนเฟย ผลงานที่สืบทอดมาเป็นวรรณกรรมให้ชนรุ่นหลังศึกษามีมากมายหลายชิ้น นับได้ว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ถูกยกย่องด้านความฉลาดและความเชี่ยวชาญด้านงานอักษรของประวัติศาสตร์จีน ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ถูกตีความว่าเป็นภาพที่สะท้อนถึงความจงรักภักดีและความตรงไปตรงมา ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปพร้อมกับภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ เขียนว่า ‘เต๋อเฉิงโหรวซุ่น’ (德成柔顺) แปลได้ประมาณว่า เปี่ยมด้วยศีลธรรมและความนอบน้อม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://inmywordz.com/archives/66897 https://www.duitang.com/blog/?id=1246591620 https://baike.sogou.com/v74971288.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html https://baike.sogou.com/v74971288.htm https://baike.baidu.com/item/徐惠/11444 https://baike.baidu.com/item/谏太宗息兵罢役疏 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เสียนเฟย #สวีเฟยวิพากษ์ #สวีเฟย #สวีเฟยถวายฎีกา #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    INMYWORDZ.COM
    《延禧攻略》最受寵的是令妃,生得最多的是純妃!乾隆為何卻選擇最心狠毒辣嫻妃為繼后?-我們用電影寫日記 - 冒牌生:寫作 • 旅行 • 生活
    而且還是在富察皇后離開後就馬上決定了😱 #延禧攻略 #繼皇后為什麼是她 #皇上考慮的真多 *正文開始 來源:美映椒房 整理:冒牌生 乾隆十三年三月,乾隆皇帝元配富察皇后忍著喪子悲痛,強顏歡笑帶病伺候皇帝和太后東巡,最終病逝於東巡途中。
    0 Comments 0 Shares 1263 Views 0 Reviews
  • แฟนละคร/นิยายจีนคงคุ้นเคยดีกับโครงเรื่องที่มีการชิงอำนาจทางการเมืองด้วยการจัดให้มีการแต่งงานระหว่างตระกูลดังกับเชื้อพระวงศ์ จนเกิดเป็นแรงกดดันมหาศาลให้กับตัวละครเอก บางคนอาจเคยบ่นว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’

    วันนี้ Storyฯ ยกตัวอย่างมาคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจ (เรียกรวมว่า สื้อเจีย / 世家)
    เป็นหนึ่งในตระกูลที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์ตอนต้นและกลางของจีนโบราณก็ว่าได้

    ความมีอยู่ว่า
    ....ตระกูลชุยจากชิงเหอรุ่นนี้ สายหลักของตระกูลมีนางเป็นบุตรีโทนแต่เพียงผู้เดียว ... และตระกูลชุยกำลังรุ่งเรือง นางยังอยู่ในท้องของมารดาก็ได้รับการหมั้นหมายให้กับองค์ชายรัชทายาทแล้ว....
    - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ชิงเหอคือพื้นที่ทางด้านเหนือของจีน (แถบเหอหนาน เหอเป่ยและซานตง) ในสมัยจีนตอนต้นมีสถานะเป็นแคว้นบ้างหรือรองลงมาเป็นจวิ้น (郡) บ้าง ซึ่งนับเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ มีหลายตระกูลดังในประวัติศาตร์จีนที่มาจากพื้นที่แถบนี้ หนึ่งในนั้นคือตระกูลชุย

    ตระกูลชุยมีรากฐานยาวนานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและรวมถึงชาวเผ่าพันธุ์อื่นที่หันมาใช้สกุลนี้ รับราชการในตำแหน่งสำคัญมาหลายยุคสมัย แตกมาเป็นสายที่เรียกว่า ‘ตระกูลชุยจากชิงเหอ’ ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) เมื่อชุยเหลียง (ทายาทรุ่นที่ 7) ได้รับการอวยยศเป็นโหวและได้รับพระราชทานเขตการปกครองชิงเหอนี้ และต่อมาตระกูลชุยจากชิงเหอมีแตกสายย่อยไปอีกรวมเป็นหกสาย

    ตระกูลชุยจากชิงเหอที่กล่าวถึงในละครข้างต้น ‘ไม่ธรรมดา’ แค่ไหน?

    ตระกูลชุยจากชิงเหอรับราชการระดับสูงต่อเนื่อง ผ่านร้อนผ่านหนาวแต่อยู่ยงคงกระพันมากว่า 700 ปี ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ในบรรดาสี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) และในสมัยราชวงศ์ถังก็เป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) อันเป็นตระกูลชั้นสูงที่ต่อมาถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างฐานอำนาจมากเกินไป

    มีคนจากตระกูลชุยจากชิงเหอนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) หรือตำแหน่งที่สูงคล้ายกันมากมายหลายรุ่น เฉพาะในสมัยราชวงศ์ถังที่ยาวนานเกือบสามร้อยปีก็มีถึง 12 คน (ถ้ารวมตระกูลชุยสายอื่นมีอีก 10 คน) มีจอหงวน 11 คน ยังไม่รวมที่รับราชการในตำแหน่งอื่น ที่กุมอำนาจทางการทหาร ที่เป็นผู้นำทางความคิด (นักปราชญ์ กวีชื่อดัง) และที่เป็นลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังในตำแหน่งต่างๆ อีกจำนวนไม่น้อย จวบจนสมัยซ่งใต้ ฐานอำนาจของตระกูลนี้จึงเสื่อมจางลงเหมือนกับตระกูลสื้อเจียอื่นๆ

    ทำไมต้องพูดถึงตระกูลชุยจากชิงเหอ? Storyฯ เล่าเป็นตัวอย่างของเหล่าตระกูลสื้อเจียค่ะ จากที่เคยคิดว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ แต่พอมาเห็นรากฐานของตระกูลสื้อเจียเหล่านี้ เราจะได้อรรถรสเลยว่า ‘ฐานอำนาจ’ ที่เขาพูดถึงกันนั้น มันหยั่งรากลึกแค่ไหน? เหตุใดตัวละครเอกมักรู้สึกถูกกดดันมากมาย? และเพราะเหตุใดมันจึงฝังรากลึกในวัฒนธรรมจีนโบราณ? เพราะมันไม่ใช่เรื่องของหนึ่งหรือสองชั่วอายุคน แต่เรากำลังพูดถึงฐานอำนาจหลายร้อยปีที่แทรกซึมเข้าไปในสังคมโดยมีประมุขใหญ่ของตระกูลในแต่ละรุ่นเป็นแกนนำสำคัญ

    Storyฯ หวังว่าเพื่อนๆ จะดูละครได้อรรถรสยิ่งขึ้นนะคะ ใครเห็นบทบาทของคนในตระกูลชุยในละครเรื่องอื่นใดอีกหรือหากนึกถึงตระกูลอื่นที่คล้ายคลึงก็เม้นท์มาได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/484438060_121051662
    https://www.sohu.com/a/485012584_100151502
    https://www.sohu.com/a/489015136_120827444

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/FNSTJKT60543BK4H.html
    https://new.qq.com/omn/20211021/20211021A09WBQ00.html
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_16209361
    https://www.baike.com/wiki/清河崔氏
    https://zh.wikipedia.org/wiki/清河崔氏

    #กระดูกงดงาม #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #สื้อเจีย
    แฟนละคร/นิยายจีนคงคุ้นเคยดีกับโครงเรื่องที่มีการชิงอำนาจทางการเมืองด้วยการจัดให้มีการแต่งงานระหว่างตระกูลดังกับเชื้อพระวงศ์ จนเกิดเป็นแรงกดดันมหาศาลให้กับตัวละครเอก บางคนอาจเคยบ่นว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ วันนี้ Storyฯ ยกตัวอย่างมาคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจ (เรียกรวมว่า สื้อเจีย / 世家) เป็นหนึ่งในตระกูลที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์ตอนต้นและกลางของจีนโบราณก็ว่าได้ ความมีอยู่ว่า ....ตระกูลชุยจากชิงเหอรุ่นนี้ สายหลักของตระกูลมีนางเป็นบุตรีโทนแต่เพียงผู้เดียว ... และตระกูลชุยกำลังรุ่งเรือง นางยังอยู่ในท้องของมารดาก็ได้รับการหมั้นหมายให้กับองค์ชายรัชทายาทแล้ว.... - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) ชิงเหอคือพื้นที่ทางด้านเหนือของจีน (แถบเหอหนาน เหอเป่ยและซานตง) ในสมัยจีนตอนต้นมีสถานะเป็นแคว้นบ้างหรือรองลงมาเป็นจวิ้น (郡) บ้าง ซึ่งนับเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ มีหลายตระกูลดังในประวัติศาตร์จีนที่มาจากพื้นที่แถบนี้ หนึ่งในนั้นคือตระกูลชุย ตระกูลชุยมีรากฐานยาวนานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและรวมถึงชาวเผ่าพันธุ์อื่นที่หันมาใช้สกุลนี้ รับราชการในตำแหน่งสำคัญมาหลายยุคสมัย แตกมาเป็นสายที่เรียกว่า ‘ตระกูลชุยจากชิงเหอ’ ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) เมื่อชุยเหลียง (ทายาทรุ่นที่ 7) ได้รับการอวยยศเป็นโหวและได้รับพระราชทานเขตการปกครองชิงเหอนี้ และต่อมาตระกูลชุยจากชิงเหอมีแตกสายย่อยไปอีกรวมเป็นหกสาย ตระกูลชุยจากชิงเหอที่กล่าวถึงในละครข้างต้น ‘ไม่ธรรมดา’ แค่ไหน? ตระกูลชุยจากชิงเหอรับราชการระดับสูงต่อเนื่อง ผ่านร้อนผ่านหนาวแต่อยู่ยงคงกระพันมากว่า 700 ปี ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ในบรรดาสี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) และในสมัยราชวงศ์ถังก็เป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) อันเป็นตระกูลชั้นสูงที่ต่อมาถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างฐานอำนาจมากเกินไป มีคนจากตระกูลชุยจากชิงเหอนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) หรือตำแหน่งที่สูงคล้ายกันมากมายหลายรุ่น เฉพาะในสมัยราชวงศ์ถังที่ยาวนานเกือบสามร้อยปีก็มีถึง 12 คน (ถ้ารวมตระกูลชุยสายอื่นมีอีก 10 คน) มีจอหงวน 11 คน ยังไม่รวมที่รับราชการในตำแหน่งอื่น ที่กุมอำนาจทางการทหาร ที่เป็นผู้นำทางความคิด (นักปราชญ์ กวีชื่อดัง) และที่เป็นลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังในตำแหน่งต่างๆ อีกจำนวนไม่น้อย จวบจนสมัยซ่งใต้ ฐานอำนาจของตระกูลนี้จึงเสื่อมจางลงเหมือนกับตระกูลสื้อเจียอื่นๆ ทำไมต้องพูดถึงตระกูลชุยจากชิงเหอ? Storyฯ เล่าเป็นตัวอย่างของเหล่าตระกูลสื้อเจียค่ะ จากที่เคยคิดว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ แต่พอมาเห็นรากฐานของตระกูลสื้อเจียเหล่านี้ เราจะได้อรรถรสเลยว่า ‘ฐานอำนาจ’ ที่เขาพูดถึงกันนั้น มันหยั่งรากลึกแค่ไหน? เหตุใดตัวละครเอกมักรู้สึกถูกกดดันมากมาย? และเพราะเหตุใดมันจึงฝังรากลึกในวัฒนธรรมจีนโบราณ? เพราะมันไม่ใช่เรื่องของหนึ่งหรือสองชั่วอายุคน แต่เรากำลังพูดถึงฐานอำนาจหลายร้อยปีที่แทรกซึมเข้าไปในสังคมโดยมีประมุขใหญ่ของตระกูลในแต่ละรุ่นเป็นแกนนำสำคัญ Storyฯ หวังว่าเพื่อนๆ จะดูละครได้อรรถรสยิ่งขึ้นนะคะ ใครเห็นบทบาทของคนในตระกูลชุยในละครเรื่องอื่นใดอีกหรือหากนึกถึงตระกูลอื่นที่คล้ายคลึงก็เม้นท์มาได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/484438060_121051662 https://www.sohu.com/a/485012584_100151502 https://www.sohu.com/a/489015136_120827444 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/FNSTJKT60543BK4H.html https://new.qq.com/omn/20211021/20211021A09WBQ00.html https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_16209361 https://www.baike.com/wiki/清河崔氏 https://zh.wikipedia.org/wiki/清河崔氏 #กระดูกงดงาม #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #สื้อเจีย
    0 Comments 0 Shares 906 Views 0 Reviews
  • บัณทิตหลวงระดับจวี่เหริน

    วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่า ในตอนแรกๆ ที่นางเอกถูกตามไปสอบปากคำเมื่อเกิดเหตุมีนางคณิกาเสียชีวิต นางได้บอกกับสาวใช้ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” (举人见官不下跪) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ไม่รู้ว่ามีใครเกิดความ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า มีกฎอย่างนี้ด้วยหรือ?

    ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘จวี่เหริน / 举人’ และระบบการสอบขุนนาง

    การสอบขุนนางหรือ ‘เคอจวี่’ ในสมัยโบราณหรือที่เรียกอย่างง่ายว่าสอบจอหงวนนั้น คือการสอบส่วนกลางเพื่อคัดเลือกคนที่จะเข้ามารับราชการ ซึ่งหนทางการสอบเคอจวี่นั้นยาวไกลและกฎกติกาเปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเนื้อหาแล้ว พอเปรียบเทียบได้กับสมัยราชวงศ์ถัง ดังนั้นเรามาคุยกันเกี่ยวกับการสอบเคอจวี่ในสมัยถัง

    การสอบเคอจวี่ในสมัยถังมีความแตกต่างจากสมัยอื่นที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยผ่านตา ความแตกต่างนี้ก็คือมีการจัดสอบทุกปีและไม่มีการสอบระดับซิ่วไฉ (秀才) ทั้งนี้ ในสมัยอื่นนั้น การสอบซิ่วไฉคือรอบคัดเลือกระดับท้องถิ่นก่อนจะไปสอบต่อในระดับภูมิภาค/มณฑล แต่ในสมัยถังตอนต้นเมื่อกล่าวถึง ‘ซิ่วไฉ’ นั้น ไม่ได้หมายถึงวุฒิหรือรอบการสอบ แต่เป็นการเรียกหนึ่งในแขนงวิชาความรู้ทั่วไปที่ต้องสอบ ต่อมาในสมัยปลายถังวิชานี้ถูกยุบไปรวมกับวิชาอื่นและคำว่า ‘ซิ่วไฉ’ กลายเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มีการศึกษาทั่วไป จวบจนสมัยซ่งคำนี้จึงกลับมาเป็นคำเรียกวุฒิการสอบคัดเลือกอีกครั้ง

    ในสมัยราชวงศ์ถัง การสอบจอหงวนมี 2 ระดับ คือ
    1) การสอบคัดเลือกระดับภูมิภาค/มณฑลหรือที่เรียกว่า ‘เซียงซื่อ’ (乡试) จัดทุกปีในฤดูใบไม้ร่วงช่วงประมาณเดือนสิบ ซึ่งคนทั่วไปสามารถสมัครชื่อเข้าสอบในแต่ละพื้นที่ได้เลย และผู้ที่สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จวี่เหริน’ (举人) จากนั้นจะได้รับการเสนอชื่อโดยฝ่ายปกครองพื้นที่ให้ไปสอบต่อในระดับต่อไปที่เมืองหลวง โดยกำหนดโควต้าจำนวนคนที่ได้รับการเสนอชื่อไว้ 1-3 คนต่อพื้นที่ ทั้งนี้ แล้วแต่ขนาดของพื้นที่ แต่สามารถเสนอเพิ่มได้หากมีคนที่มีความรู้ความสามารถโดดเด่นเกินจำนวนโควต้า ซึ่งคนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้จะเรียกรวมว่า ‘เซียงก้ง’ (乡贡)

    อนึ่ง มีกำหนดไว้ว่าฝ่ายปกครองพื้นที่ไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลต้องห้ามเข้าเป็นเซียงก้งได้ ซึ่งหมายรวมถึง คนที่มาจากครอบครัวนายช่างและพ่อค้า (Storyฯ เคยกล่าวถึงแล้วในบทความสัปดาห์ที่แล้ว); คนที่มีสถานะเป็นเจี้ยนหมินหรือชนชั้นต่ำ เช่นทาส ลูกหลานนักโทษ ฯลฯ; นักบวช นักพรต; นักโทษ ; คนที่มีชื่อเสียงไม่ดี; ผู้ป่วยเป็นโรคร้ายหรือพิการบางอย่าง เช่นตาบอด หูหนวก; ฯลฯ แต่ข้อห้ามเหล่านี้มีการผ่อนคลายไปตามยุคสมัย

    นอกจากนี้ เนื่องจากในสมัยถังมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาหลวงมากมายหลายระดับตามพื้นที่ต่างๆ นักเรียนที่เข้าเรียนในสถานการศึกษาหลวงจนถึงระดับสูงสุดและสอบผ่านสำเร็จการศึกษาก็จะได้วุฒิเทียบเท่าเป็นจวี่เหรินนี้เช่นกัน และผู้ที่จะได้เข้าสอบในรอบถัดไปก็จะผ่านการเสนอชื่อโดยสถาบันนั้นๆ คนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้เรียกว่า ‘เซิงถู’ (生徒)

    2) ลำดับถัดมาคือการสอบที่เมืองหลวงหรือเรียกว่า ‘เสิ่งซื่อ’ (省试) ซึ่งเรียกย่อมาจากหน่วยงานซ่างซูเสิ่งซึ่งเป็นผู้จัดการสอบนี้ เป็นการสอบทุกปีอีกเช่นกัน จัดขึ้นที่เมืองหลวงฉางอันในช่วงประมาณเดือนสอง ผู้มีสิทธิเข้าสอบคือเซียงก้งและเซิงถูตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน

    แต่... ในละครเราจะเห็นการสอบรอบสุดท้ายเป็นการสอบหน้าพระที่นั่งฮ่องเต้ หรือที่เรียกว่า ‘เตี้ยนซื่อ’ (殿试) ซึ่งบางข้อมูลบอกว่าริเริ่มในสมัยราชวงศ์ถัง เพราะปรากฏมีฮ่องเต้บางองค์ทรงคุมสอบด้วยองค์เอง และบางข้อมูลบอกว่าเริ่มในสมัยซ่งเพราะนั่นคือสมัยที่มีการจัดการสอบรอบดังกล่าวเข้าเป็นหลักสูตรและขั้นตอนการสอบอย่างเป็นทางการ

    Storyฯ เลยสรุปเป็นผังไว้ให้ดูในรูปประกอบว่า ในกรณีที่มีการสอบเตี้ยนซื่อนี้เพิ่มเข้ามา ผู้ที่สอบผ่านระดับเสิ่งซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘ก้งซื่อ’ (贡士) และผู้ที่สอบได้ที่หนึ่งจะเรียกว่า ‘ฮุ่ยหยวน’ (会元) และผู้ที่สอบผ่านรอบเตี้ยนซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน (หรือในสำเนียงจีนกลางคือ จ้วงหยวน)

    ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นจิ้นซื่อทุกคนจะได้รับการขึ้นบัญชีเพื่อรอการเรียกบรรจุเข้ารับราชการในราชสำนัก (คือยังไม่ถือว่าเป็นขุนนางจนกว่าจะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง) ซึ่งในการบรรจุเข้าราชสำนักจะมีการสอบเพิ่มเพื่อคัดสรรไปหน่วยงานที่เหมาะสม โดยเป็นกระบวนการที่อาจใช้เวลาอีกนานเป็นปี

    ดังนั้น บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินที่กล่าวในวลีที่ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” นี้คือบันฑิตหลวงที่สอบผ่านในระดับภูมิภาค/มณฑลแล้ว

    ในสมัยถังนั้น จวี่เหรินมีอภิสิทธิ์อย่างนี้จริงหรือไม่ Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่พบ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงมีกล่าวถึงว่า ‘จวี่เหริน’ นี้นับได้ว่าเป็นตำแหน่งทางการที่กำหนดขึ้นโดยราชสำนัก ซึ่งถือว่าไม่ด้อยไปกว่าตำแหน่งข้าราชการท้องถิ่น และบัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินสามารถเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่นได้เลยหากมีตำแหน่งว่างที่เหมาะสม ดังนั้นหนึ่งในอภิสิทธิ์ที่มีคือ เมื่อได้พบขุนนางระดับท้องถิ่นจึงไม่ต้องคุกเข่า

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    หมายเหตุ มีการลบลิ้งค์ข้อมูลบางลิ้งค์ออกไปเนื่องจากติดปัญหากับเฟสค่ะ

    Credit รูปภาพจาก: https://fashion.ettoday.net/news/2573514
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/省试/7492071
    https://baike.baidu.com/item/秀才/14691374
    https://baike.baidu.com/item/乡贡/8989904
    https://core.ac.uk/download/41444977.pdf
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=999762&remap=gb
    https://kknews.cc/history/ekkz4ry.html

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #บัณฑิตหลวง #จวี่เหริน #สอบขุนนาง #สอบเคอจวี่ #ราชวงศ์ถัง
    บัณทิตหลวงระดับจวี่เหริน วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่า ในตอนแรกๆ ที่นางเอกถูกตามไปสอบปากคำเมื่อเกิดเหตุมีนางคณิกาเสียชีวิต นางได้บอกกับสาวใช้ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” (举人见官不下跪) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ไม่รู้ว่ามีใครเกิดความ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า มีกฎอย่างนี้ด้วยหรือ? ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘จวี่เหริน / 举人’ และระบบการสอบขุนนาง การสอบขุนนางหรือ ‘เคอจวี่’ ในสมัยโบราณหรือที่เรียกอย่างง่ายว่าสอบจอหงวนนั้น คือการสอบส่วนกลางเพื่อคัดเลือกคนที่จะเข้ามารับราชการ ซึ่งหนทางการสอบเคอจวี่นั้นยาวไกลและกฎกติกาเปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเนื้อหาแล้ว พอเปรียบเทียบได้กับสมัยราชวงศ์ถัง ดังนั้นเรามาคุยกันเกี่ยวกับการสอบเคอจวี่ในสมัยถัง การสอบเคอจวี่ในสมัยถังมีความแตกต่างจากสมัยอื่นที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยผ่านตา ความแตกต่างนี้ก็คือมีการจัดสอบทุกปีและไม่มีการสอบระดับซิ่วไฉ (秀才) ทั้งนี้ ในสมัยอื่นนั้น การสอบซิ่วไฉคือรอบคัดเลือกระดับท้องถิ่นก่อนจะไปสอบต่อในระดับภูมิภาค/มณฑล แต่ในสมัยถังตอนต้นเมื่อกล่าวถึง ‘ซิ่วไฉ’ นั้น ไม่ได้หมายถึงวุฒิหรือรอบการสอบ แต่เป็นการเรียกหนึ่งในแขนงวิชาความรู้ทั่วไปที่ต้องสอบ ต่อมาในสมัยปลายถังวิชานี้ถูกยุบไปรวมกับวิชาอื่นและคำว่า ‘ซิ่วไฉ’ กลายเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มีการศึกษาทั่วไป จวบจนสมัยซ่งคำนี้จึงกลับมาเป็นคำเรียกวุฒิการสอบคัดเลือกอีกครั้ง ในสมัยราชวงศ์ถัง การสอบจอหงวนมี 2 ระดับ คือ 1) การสอบคัดเลือกระดับภูมิภาค/มณฑลหรือที่เรียกว่า ‘เซียงซื่อ’ (乡试) จัดทุกปีในฤดูใบไม้ร่วงช่วงประมาณเดือนสิบ ซึ่งคนทั่วไปสามารถสมัครชื่อเข้าสอบในแต่ละพื้นที่ได้เลย และผู้ที่สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จวี่เหริน’ (举人) จากนั้นจะได้รับการเสนอชื่อโดยฝ่ายปกครองพื้นที่ให้ไปสอบต่อในระดับต่อไปที่เมืองหลวง โดยกำหนดโควต้าจำนวนคนที่ได้รับการเสนอชื่อไว้ 1-3 คนต่อพื้นที่ ทั้งนี้ แล้วแต่ขนาดของพื้นที่ แต่สามารถเสนอเพิ่มได้หากมีคนที่มีความรู้ความสามารถโดดเด่นเกินจำนวนโควต้า ซึ่งคนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้จะเรียกรวมว่า ‘เซียงก้ง’ (乡贡) อนึ่ง มีกำหนดไว้ว่าฝ่ายปกครองพื้นที่ไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลต้องห้ามเข้าเป็นเซียงก้งได้ ซึ่งหมายรวมถึง คนที่มาจากครอบครัวนายช่างและพ่อค้า (Storyฯ เคยกล่าวถึงแล้วในบทความสัปดาห์ที่แล้ว); คนที่มีสถานะเป็นเจี้ยนหมินหรือชนชั้นต่ำ เช่นทาส ลูกหลานนักโทษ ฯลฯ; นักบวช นักพรต; นักโทษ ; คนที่มีชื่อเสียงไม่ดี; ผู้ป่วยเป็นโรคร้ายหรือพิการบางอย่าง เช่นตาบอด หูหนวก; ฯลฯ แต่ข้อห้ามเหล่านี้มีการผ่อนคลายไปตามยุคสมัย นอกจากนี้ เนื่องจากในสมัยถังมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาหลวงมากมายหลายระดับตามพื้นที่ต่างๆ นักเรียนที่เข้าเรียนในสถานการศึกษาหลวงจนถึงระดับสูงสุดและสอบผ่านสำเร็จการศึกษาก็จะได้วุฒิเทียบเท่าเป็นจวี่เหรินนี้เช่นกัน และผู้ที่จะได้เข้าสอบในรอบถัดไปก็จะผ่านการเสนอชื่อโดยสถาบันนั้นๆ คนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้เรียกว่า ‘เซิงถู’ (生徒) 2) ลำดับถัดมาคือการสอบที่เมืองหลวงหรือเรียกว่า ‘เสิ่งซื่อ’ (省试) ซึ่งเรียกย่อมาจากหน่วยงานซ่างซูเสิ่งซึ่งเป็นผู้จัดการสอบนี้ เป็นการสอบทุกปีอีกเช่นกัน จัดขึ้นที่เมืองหลวงฉางอันในช่วงประมาณเดือนสอง ผู้มีสิทธิเข้าสอบคือเซียงก้งและเซิงถูตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน แต่... ในละครเราจะเห็นการสอบรอบสุดท้ายเป็นการสอบหน้าพระที่นั่งฮ่องเต้ หรือที่เรียกว่า ‘เตี้ยนซื่อ’ (殿试) ซึ่งบางข้อมูลบอกว่าริเริ่มในสมัยราชวงศ์ถัง เพราะปรากฏมีฮ่องเต้บางองค์ทรงคุมสอบด้วยองค์เอง และบางข้อมูลบอกว่าเริ่มในสมัยซ่งเพราะนั่นคือสมัยที่มีการจัดการสอบรอบดังกล่าวเข้าเป็นหลักสูตรและขั้นตอนการสอบอย่างเป็นทางการ Storyฯ เลยสรุปเป็นผังไว้ให้ดูในรูปประกอบว่า ในกรณีที่มีการสอบเตี้ยนซื่อนี้เพิ่มเข้ามา ผู้ที่สอบผ่านระดับเสิ่งซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘ก้งซื่อ’ (贡士) และผู้ที่สอบได้ที่หนึ่งจะเรียกว่า ‘ฮุ่ยหยวน’ (会元) และผู้ที่สอบผ่านรอบเตี้ยนซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน (หรือในสำเนียงจีนกลางคือ จ้วงหยวน) ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นจิ้นซื่อทุกคนจะได้รับการขึ้นบัญชีเพื่อรอการเรียกบรรจุเข้ารับราชการในราชสำนัก (คือยังไม่ถือว่าเป็นขุนนางจนกว่าจะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง) ซึ่งในการบรรจุเข้าราชสำนักจะมีการสอบเพิ่มเพื่อคัดสรรไปหน่วยงานที่เหมาะสม โดยเป็นกระบวนการที่อาจใช้เวลาอีกนานเป็นปี ดังนั้น บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินที่กล่าวในวลีที่ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” นี้คือบันฑิตหลวงที่สอบผ่านในระดับภูมิภาค/มณฑลแล้ว ในสมัยถังนั้น จวี่เหรินมีอภิสิทธิ์อย่างนี้จริงหรือไม่ Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่พบ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงมีกล่าวถึงว่า ‘จวี่เหริน’ นี้นับได้ว่าเป็นตำแหน่งทางการที่กำหนดขึ้นโดยราชสำนัก ซึ่งถือว่าไม่ด้อยไปกว่าตำแหน่งข้าราชการท้องถิ่น และบัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินสามารถเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่นได้เลยหากมีตำแหน่งว่างที่เหมาะสม ดังนั้นหนึ่งในอภิสิทธิ์ที่มีคือ เมื่อได้พบขุนนางระดับท้องถิ่นจึงไม่ต้องคุกเข่า (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) หมายเหตุ มีการลบลิ้งค์ข้อมูลบางลิ้งค์ออกไปเนื่องจากติดปัญหากับเฟสค่ะ Credit รูปภาพจาก: https://fashion.ettoday.net/news/2573514 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/省试/7492071 https://baike.baidu.com/item/秀才/14691374 https://baike.baidu.com/item/乡贡/8989904 https://core.ac.uk/download/41444977.pdf https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=999762&remap=gb https://kknews.cc/history/ekkz4ry.html #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #บัณฑิตหลวง #จวี่เหริน #สอบขุนนาง #สอบเคอจวี่ #ราชวงศ์ถัง
    FASHION.ETTODAY.NET
    《灼灼風流》10金句:不是所有的陪伴都必須以夫妻的名義 | ET Fashion | ETtoday新聞雲
    陸劇《灼灼風流》改編自隨宇而安的小說《曾風流》,由景甜、馮紹峰出演,講述了擺脫傳統女子命運、想科舉求仕的女官慕灼華,與驍勇善戰的議政王劉衍相知相守、並肩而行,開創女子可入仕的新局面。當中以不少經典台詞道出了男女之間互相尊重,簡單又美好的愛情理念,不妨一起來看看!
    0 Comments 0 Shares 1110 Views 0 Reviews
More Results