• **ชื่อเรื่อง <ปรปักษ์จำนน> กับวลีจีนโบราณ**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเรื่องชื่อนิยายและซีรีส์ <ปรปักษ์จำนน> ที่ Storyฯ รู้สึกว่าชื่อไทยแปลได้อรรถรสของชื่อจีนดีมาก

    ชื่อจีนของเรื่องนี้คือ ‘เจ๋อเยา’ (折腰) แปลตรงตัวว่าหักเอว ซึ่งมาจากการโค้งคำนับต่ำมากเพื่อแสดงถึงความเคารพอย่างยิ่งยวด แต่คำว่า ‘เจ๋อเยา’ ไม่ได้เป็นชื่อเรียกท่าโค้งคำนับ หากแต่มีความหมายว่ายอมจำนนหรือยอมสยบต่ออำนาจหรืออิทธิพลที่เหนือกว่า และมันมีที่มาจากวลีจีนโบราณ ‘ไม่ยอมสยบ (หักเอว) เพื่อข้าวสารห้าโต่ว’

    วลีนี้ปรากฏอยู่ในบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์จิ้น (晋书) ส่วนที่บันทึกเรื่องราวบุคคลสำคัญในบรรพที่ชื่อว่า ‘เถาเฉียนจ้วน’ (陶潜传 / ตำนานเถาเฉียน) และเจ้าของวลีคือเถายวนหมิง หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เถาเฉียน เขาเป็นกวีและนักประพันธ์ชื่อดังในสมัยจิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420) มีผลงานเลื่องชื่อมากมาย เช่น วรรณกรรมเรื่อง ‘บันทึกดินแดนดอกท้อ’ เกี่ยวกับดินแดนดอกท้ออันเป็นตัวแทนของดินแดนหรือสังคมในอุดมคติหรือที่ฝรั่งเรียกว่า Utopia ที่มนุษย์แสวงหา (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว ย้อนอ่านได้ที่ลิ้งค์ใต้บทความ)

    เถายวนหมิงมีพื้นเพมาจากตระกูลขุนนางเก่าซึ่งมีฐานะค่อนข้างดี ปู่ทวดเป็นมหาเสนาบดีกลาโหม ปู่เป็นผู้ว่าราชการมณฑล เขาจึงได้รับการศึกษาอย่างดีมาแต่เด็ก ต่อมาฐานะครอบครัวตกต่ำลงจนถึงขั้นยากจนหลังจากบิดาเสียชีวิตไปเมื่อเขาอายุได้แปดขวบ แต่เขาก็ยังหมั่นเพียรขยันศึกษาจนต่อมาได้รับอิทธิพลทางความคิดจากลัทธิเต๋า

    ในช่วงอายุ 29 – 40 ปี เถายวนหมิงเคยเข้ารับราชการเพื่อหาเลี้ยงชีพแต่ก็ต้องลาออกเพราะไม่ชอบการพินอบพิเทาเจ้านายและไม่ชอบการแก่งแย่งชิงดีทางการเมือง แต่แล้วก็เข้ารับราชการใหม่ เป็นเช่นนี้หลายครั้งครา ทั้งนี้เพราะเขามีใจใฝ่ความสงบของธรรมชาติ รักมัธยัสถ์ ไม่ชอบการแก่งแย่งชิงดี ต่อมาจึงตัดสินใจลาออกจากราชการอย่างถาวรและหันไปทำไร่ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่ก็สุขใจสามารถร่ำสุราแต่งกลอนตามใจอยากและได้สร้างผลงานวรรณกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยผลงานของเขาล้วนแฝงด้วยจิตวิญญาณของธรรมชาติ ความเรียบง่าย และพลังแห่งชีวิต และต่อมาเถายวนหมิงได้ถูกยกย่องเป็นต้นแบบของการละทิ้งลาภยศชื่อเสียงและการใช้ชีวิตอย่างสมถะตามหลักปรัชญาแห่งเต๋า

    วลี ‘ไม่ยอมสยบ (หักเอว) เพื่อข้าวสารห้าโต่ว’ นี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อตอนเถายวนหมิงอายุสี่สิบปี เข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ว่าการเขตเผิงเจ๋อ (ตั้งอยู่ทางเหนือของมณฑลเจียงซี) อยู่มาวันหนึ่งมีผู้ตรวจการมาตรวจงาน เสมียนหลวงบอกเขาว่าควรแต่งตัวให้เรียบร้อยอย่างเป็นทางการไปต้อนรับผู้ตรวจการ เขาถอนหายใจด้วยความเบื่อหน่ายและกล่าววลีนี้ออกมา และเมื่อกล่าวเสร็จเขาก็ยื่นใบลาออกหลังจากรับราชการมาได้เพียงแปดสิบเอ็ดวัน และหลังจากนั้นก็ไม่เข้ารับราชการอีกเลย

    แล้วทำไมต้อง ‘ข้าวสารห้าโต่ว’ ?

    ประเด็นนี้มีการตีความกันหลากหลาย แต่โดยส่วนใหญ่จะตีความว่า ข้าวสารห้าโต่วคือค่าจ้างของขุนนางระดับผู้ว่าการเขตในสมัยนั้น (หนึ่งโต่วในสมัยนั้นคือประมาณเจ็ดลิตร) ซึ่งฟังดูน้อยนิดเมื่อคำนวณเทียบกับบันทึกโบราณว่าด้วยเงินเดือนข้าราชการ บ้างก็ว่าเป็นเงินเดือนแต่ยังไม่รวมค่าตอบแทนอื่น เช่นผ้าไหม บ้างก็ว่าคิดได้เป็นค่าจ้างรายวันเท่านั้น บ้างก็ว่าเป็นปริมาณข้าวสารที่พอเพียงสำหรับหนึ่งคนในหนึ่งเดือน

    แต่ไม่ว่า ‘ข้าวสารห้าโต่ว’ จะมีความหมายที่แท้จริงอย่างไร เหตุการณ์นี้ถูกบันทึกไว้และกล่าวถึงอย่างยกย่องว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการละทิ้งยศศักดิ์ และวลีนี้ได้กลายมาเป็นสำนวนจีนที่ถูกใช้ผ่านกาลเวลาหลายยุคสมัยเพื่อแปลว่า ไม่ยอมละทิ้งจิตวิญญาณของตนเพื่อยอมสยบให้กับอำนาจหรืออิทธิพล

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความเก่า:
    ดินแดนดอกท้อ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/525898876205076

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.yangtse.com/news/wy/202506/t20250603_215987.html
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_2197713
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/陶渊明/53944
    https://baike.baidu.com/item/陶潜传/75756
    https://k.sina.cn/article_5044281310_12ca99fde020004fcq.html

    #ปรปักษ์จำนน #เจ๋อเยา #เถาเฉียน #เถายวนหมิง #สาระจีน
    **ชื่อเรื่อง <ปรปักษ์จำนน> กับวลีจีนโบราณ** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเรื่องชื่อนิยายและซีรีส์ <ปรปักษ์จำนน> ที่ Storyฯ รู้สึกว่าชื่อไทยแปลได้อรรถรสของชื่อจีนดีมาก ชื่อจีนของเรื่องนี้คือ ‘เจ๋อเยา’ (折腰) แปลตรงตัวว่าหักเอว ซึ่งมาจากการโค้งคำนับต่ำมากเพื่อแสดงถึงความเคารพอย่างยิ่งยวด แต่คำว่า ‘เจ๋อเยา’ ไม่ได้เป็นชื่อเรียกท่าโค้งคำนับ หากแต่มีความหมายว่ายอมจำนนหรือยอมสยบต่ออำนาจหรืออิทธิพลที่เหนือกว่า และมันมีที่มาจากวลีจีนโบราณ ‘ไม่ยอมสยบ (หักเอว) เพื่อข้าวสารห้าโต่ว’ วลีนี้ปรากฏอยู่ในบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์จิ้น (晋书) ส่วนที่บันทึกเรื่องราวบุคคลสำคัญในบรรพที่ชื่อว่า ‘เถาเฉียนจ้วน’ (陶潜传 / ตำนานเถาเฉียน) และเจ้าของวลีคือเถายวนหมิง หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เถาเฉียน เขาเป็นกวีและนักประพันธ์ชื่อดังในสมัยจิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420) มีผลงานเลื่องชื่อมากมาย เช่น วรรณกรรมเรื่อง ‘บันทึกดินแดนดอกท้อ’ เกี่ยวกับดินแดนดอกท้ออันเป็นตัวแทนของดินแดนหรือสังคมในอุดมคติหรือที่ฝรั่งเรียกว่า Utopia ที่มนุษย์แสวงหา (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว ย้อนอ่านได้ที่ลิ้งค์ใต้บทความ) เถายวนหมิงมีพื้นเพมาจากตระกูลขุนนางเก่าซึ่งมีฐานะค่อนข้างดี ปู่ทวดเป็นมหาเสนาบดีกลาโหม ปู่เป็นผู้ว่าราชการมณฑล เขาจึงได้รับการศึกษาอย่างดีมาแต่เด็ก ต่อมาฐานะครอบครัวตกต่ำลงจนถึงขั้นยากจนหลังจากบิดาเสียชีวิตไปเมื่อเขาอายุได้แปดขวบ แต่เขาก็ยังหมั่นเพียรขยันศึกษาจนต่อมาได้รับอิทธิพลทางความคิดจากลัทธิเต๋า ในช่วงอายุ 29 – 40 ปี เถายวนหมิงเคยเข้ารับราชการเพื่อหาเลี้ยงชีพแต่ก็ต้องลาออกเพราะไม่ชอบการพินอบพิเทาเจ้านายและไม่ชอบการแก่งแย่งชิงดีทางการเมือง แต่แล้วก็เข้ารับราชการใหม่ เป็นเช่นนี้หลายครั้งครา ทั้งนี้เพราะเขามีใจใฝ่ความสงบของธรรมชาติ รักมัธยัสถ์ ไม่ชอบการแก่งแย่งชิงดี ต่อมาจึงตัดสินใจลาออกจากราชการอย่างถาวรและหันไปทำไร่ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่ก็สุขใจสามารถร่ำสุราแต่งกลอนตามใจอยากและได้สร้างผลงานวรรณกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยผลงานของเขาล้วนแฝงด้วยจิตวิญญาณของธรรมชาติ ความเรียบง่าย และพลังแห่งชีวิต และต่อมาเถายวนหมิงได้ถูกยกย่องเป็นต้นแบบของการละทิ้งลาภยศชื่อเสียงและการใช้ชีวิตอย่างสมถะตามหลักปรัชญาแห่งเต๋า วลี ‘ไม่ยอมสยบ (หักเอว) เพื่อข้าวสารห้าโต่ว’ นี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อตอนเถายวนหมิงอายุสี่สิบปี เข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ว่าการเขตเผิงเจ๋อ (ตั้งอยู่ทางเหนือของมณฑลเจียงซี) อยู่มาวันหนึ่งมีผู้ตรวจการมาตรวจงาน เสมียนหลวงบอกเขาว่าควรแต่งตัวให้เรียบร้อยอย่างเป็นทางการไปต้อนรับผู้ตรวจการ เขาถอนหายใจด้วยความเบื่อหน่ายและกล่าววลีนี้ออกมา และเมื่อกล่าวเสร็จเขาก็ยื่นใบลาออกหลังจากรับราชการมาได้เพียงแปดสิบเอ็ดวัน และหลังจากนั้นก็ไม่เข้ารับราชการอีกเลย แล้วทำไมต้อง ‘ข้าวสารห้าโต่ว’ ? ประเด็นนี้มีการตีความกันหลากหลาย แต่โดยส่วนใหญ่จะตีความว่า ข้าวสารห้าโต่วคือค่าจ้างของขุนนางระดับผู้ว่าการเขตในสมัยนั้น (หนึ่งโต่วในสมัยนั้นคือประมาณเจ็ดลิตร) ซึ่งฟังดูน้อยนิดเมื่อคำนวณเทียบกับบันทึกโบราณว่าด้วยเงินเดือนข้าราชการ บ้างก็ว่าเป็นเงินเดือนแต่ยังไม่รวมค่าตอบแทนอื่น เช่นผ้าไหม บ้างก็ว่าคิดได้เป็นค่าจ้างรายวันเท่านั้น บ้างก็ว่าเป็นปริมาณข้าวสารที่พอเพียงสำหรับหนึ่งคนในหนึ่งเดือน แต่ไม่ว่า ‘ข้าวสารห้าโต่ว’ จะมีความหมายที่แท้จริงอย่างไร เหตุการณ์นี้ถูกบันทึกไว้และกล่าวถึงอย่างยกย่องว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการละทิ้งยศศักดิ์ และวลีนี้ได้กลายมาเป็นสำนวนจีนที่ถูกใช้ผ่านกาลเวลาหลายยุคสมัยเพื่อแปลว่า ไม่ยอมละทิ้งจิตวิญญาณของตนเพื่อยอมสยบให้กับอำนาจหรืออิทธิพล (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความเก่า: ดินแดนดอกท้อ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/525898876205076 Credit รูปภาพจาก: https://www.yangtse.com/news/wy/202506/t20250603_215987.html https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_2197713 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/陶渊明/53944 https://baike.baidu.com/item/陶潜传/75756 https://k.sina.cn/article_5044281310_12ca99fde020004fcq.html #ปรปักษ์จำนน #เจ๋อเยา #เถาเฉียน #เถายวนหมิง #สาระจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 285 มุมมอง 0 รีวิว
  • **วลีจีน ‘นักล่ากวางไม่ยี่หระกระต่าย’**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันสั้นๆ เรื่อง ‘วลีเด็ด’

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> คงจำได้ว่าตอนท้ายเรื่องพระเอกขอลาออกจากราชการ เหตุผลของเขานั้นหากอ่านจากซับไทยอาจไม่ค่อยเข้าใจความหมาย Storyฯ จึงขอแปลใหม่โดยมีความแตกต่างจากซับไทยเล็กน้อยว่า “จนเมื่อมาพบกับโต้วเจา นางทำให้กระหม่อมรู้ว่า นักล่ากวางเมื่อเจอกระต่ายต้องยับยั้งชั่งใจ นักล่าสัตว์เจอภูเขาต้องมองให้กว้าง” (หมายเหตุ ในซับไทยใช้คำว่า ‘นายพราน’ ซึ่งไม่ผิดแต่ทำให้บริบทที่มาของวลีนี้ขาดหายไป)

    ยังฟังดูงงๆ ใช่ไหม? จะเข้าใจความหมายของมันก็ต้องเข้าใจบริบทและที่มาของมันค่ะ สองประโยค “นักล่ากวาง.... ต้องมองให้กว้าง” นี้ไม่ใช่วลีจีนโบราณ แต่มันมีรากฐานมาจากวรรณกรรมโบราณที่ชื่อว่า ‘หวยหนานจื่อ’ (淮南子 / บุรุษเมืองหวยหนาน) ถูกยกมาจากบรรพที่มีชื่อว่า ‘ซัวหลินซุ่น’ (说林训/ คำสอนจากป่าไม้)

    หวยหนานจื่อเป็นผลงานในยุคสมัยฮั่นตะวันตกของอ๋องหวยหนาน (หลิวอัน) และบัณฑิตในสังกัด ต่อมาถูกนำถวายให้แก่องค์ฮั่นอู่ตี้ (ปี 138 ก่อนคริสตกาล) เดิมมีทั้งหมด 3 บทรวม 62 บรรพ: บทใน 21 บรรพยาวกว่าสองแสนอักษร (ปัจจุบันเหลือเพียงหนึ่งแสนสามหมื่นอักษร); บทกลาง 8 บรรพ (สูญหายไปแล้ว); และบทนอก 33 บรรพ (สูญหายไปแล้ว) โดยเนื้อหาของหวยหนานจื่อครอบคลุมเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ตำนานเล่าขาน (เช่นเรื่องหนี่ว์วาซ่อมแซมฟ้า โฮ่วอี้ยิงตะวัน) ข้อมูลทางธรรมชาติ (เช่นฤดูกาล) หลักหยินหยาง คำสอนขงจื๊อ คำสอนลัทธิเต๋า กลยุทธ์การศึกการทหาร ฯลฯ เรียบเรียงเป็นคำกล่าวสอนชี้ชวนให้คิดและสะท้อนปรัชญาชีวิต จัดเป็นหนึ่งในวรรณกรรมที่อ่านยากมากที่สุดของจีน ทั้งด้วยภาษาที่ใช้และเนื้อหาที่ลึกซึ้งแอบแฝง โดยมีหลายวรรคหลายประโยคที่ถูกยกย่องเป็น ‘วลีเด็ด’ ข้ามกาลเวลาจวบจนปัจจุบัน

    ประโยค “นักล่ากวางเมื่อเจอกระต่ายต้องยับยั้งชั่งใจ” แปลงมาจากหนึ่งในวรรคเด็ดของ ‘หวยหนานจื่อ-ซัวหลินซุ่น’ ที่อ่านเต็มๆ ว่า “นักล่ากวางไม่ยี่หระกระต่าย คนเจรจาสินค้าพันตำลึงทองไม่ถกเถียงเงินจำนวนเล็กน้อย” (逐鹿者不顾兔,决千金之货者不争铢两之价。) ความหมายก็คือว่า คนเราเมื่อมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ ก็ไม่ควรวอกแวกไปกับเรื่องเล็กน้อยที่ผ่านเข้ามา เหมือนกับนักล่ากวางที่มีเป้าหมายคือกวาง ก็ไม่ควรเสียสมาธิและพลังงานไปกับการล่ากระต่ายที่ผ่านเข้ามา

    ส่วนประโยคหลัง “นักล่าสัตว์เจอภูเขาต้องมองให้กว้าง” แปลงมาจากอีกหนึ่งในวรรคเด็ดของ ‘หวยหนานจื่อ-ซัวหลินซุ่น’ ที่อ่านเต็มๆ ว่า “นักล่าสัตว์มองไม่เห็นภูเขาไท่ซาน ความกระหายภายนอกบดบังความกระจ่างภายในใจ” (逐兽者目不见太山,嗜欲在外,则明所蔽矣。) ความหมายก็คือว่า เมื่อเราใจจดจ่ออยู่กับบางอย่างเราจะมองไม่เห็นภาพใหญ่ เหมือนกับนายพรานที่มัวแต่มองเหยื่อจนไม่เห็นความสวยงามของภูเขา และความต้องการบางอย่างอาจรุนแรงจนบดบังสติความคิดที่ควรมี

    เมื่อเข้าใจบริบทที่มาของประโยคทั้งสองแล้ว เพื่อนเพจคงเข้าใจได้ไม่ยากถึงความนัยที่แท้จริง... พระเอกบอกว่า นางเอกสอนให้เขามองข้ามความสะใจชั่ววูบของการแก้แค้น แต่ให้มองการพลิกคดีของติ้งกั๋วกงและตระกูลเจี่ยงเป็นเป้าหมายใหญ่ และไม่ให้ความแค้นมาบดบังความรู้สึกผิดชอบชั่วดีและภาระหน้าที่ในการผดุงธรรมเพื่อบ้านเมือง มองข้ามความรู้สึกส่วนตัวไปยังภาพที่ใหญ่กว่าซึ่งก็คือความเดือดร้อนหรือความสุขสงบของประชาชน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g63261255/blossom-ending/
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_27370559
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.ihchina.cn/details/7011.html
    https://paper.people.com.cn/fcyym/html/2024-08/02/content_26075300.htm
    https://ctext.org/huainanzi/shuo-lin-xun/zhs
    https://www.xinfajia.net/4835.html
    https://www.gushiwen.cn/mingju/juv_2e11ccdf0840.aspx
    https://www.shidianguji.com/zh/mingju/7474306868938162226

    #จิ่วฉงจื่อ #วลีจีน #หวยหนานจื่อ #นายพรานกับกระต่าย #สาระจีน
    **วลีจีน ‘นักล่ากวางไม่ยี่หระกระต่าย’** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันสั้นๆ เรื่อง ‘วลีเด็ด’ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> คงจำได้ว่าตอนท้ายเรื่องพระเอกขอลาออกจากราชการ เหตุผลของเขานั้นหากอ่านจากซับไทยอาจไม่ค่อยเข้าใจความหมาย Storyฯ จึงขอแปลใหม่โดยมีความแตกต่างจากซับไทยเล็กน้อยว่า “จนเมื่อมาพบกับโต้วเจา นางทำให้กระหม่อมรู้ว่า นักล่ากวางเมื่อเจอกระต่ายต้องยับยั้งชั่งใจ นักล่าสัตว์เจอภูเขาต้องมองให้กว้าง” (หมายเหตุ ในซับไทยใช้คำว่า ‘นายพราน’ ซึ่งไม่ผิดแต่ทำให้บริบทที่มาของวลีนี้ขาดหายไป) ยังฟังดูงงๆ ใช่ไหม? จะเข้าใจความหมายของมันก็ต้องเข้าใจบริบทและที่มาของมันค่ะ สองประโยค “นักล่ากวาง.... ต้องมองให้กว้าง” นี้ไม่ใช่วลีจีนโบราณ แต่มันมีรากฐานมาจากวรรณกรรมโบราณที่ชื่อว่า ‘หวยหนานจื่อ’ (淮南子 / บุรุษเมืองหวยหนาน) ถูกยกมาจากบรรพที่มีชื่อว่า ‘ซัวหลินซุ่น’ (说林训/ คำสอนจากป่าไม้) หวยหนานจื่อเป็นผลงานในยุคสมัยฮั่นตะวันตกของอ๋องหวยหนาน (หลิวอัน) และบัณฑิตในสังกัด ต่อมาถูกนำถวายให้แก่องค์ฮั่นอู่ตี้ (ปี 138 ก่อนคริสตกาล) เดิมมีทั้งหมด 3 บทรวม 62 บรรพ: บทใน 21 บรรพยาวกว่าสองแสนอักษร (ปัจจุบันเหลือเพียงหนึ่งแสนสามหมื่นอักษร); บทกลาง 8 บรรพ (สูญหายไปแล้ว); และบทนอก 33 บรรพ (สูญหายไปแล้ว) โดยเนื้อหาของหวยหนานจื่อครอบคลุมเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ตำนานเล่าขาน (เช่นเรื่องหนี่ว์วาซ่อมแซมฟ้า โฮ่วอี้ยิงตะวัน) ข้อมูลทางธรรมชาติ (เช่นฤดูกาล) หลักหยินหยาง คำสอนขงจื๊อ คำสอนลัทธิเต๋า กลยุทธ์การศึกการทหาร ฯลฯ เรียบเรียงเป็นคำกล่าวสอนชี้ชวนให้คิดและสะท้อนปรัชญาชีวิต จัดเป็นหนึ่งในวรรณกรรมที่อ่านยากมากที่สุดของจีน ทั้งด้วยภาษาที่ใช้และเนื้อหาที่ลึกซึ้งแอบแฝง โดยมีหลายวรรคหลายประโยคที่ถูกยกย่องเป็น ‘วลีเด็ด’ ข้ามกาลเวลาจวบจนปัจจุบัน ประโยค “นักล่ากวางเมื่อเจอกระต่ายต้องยับยั้งชั่งใจ” แปลงมาจากหนึ่งในวรรคเด็ดของ ‘หวยหนานจื่อ-ซัวหลินซุ่น’ ที่อ่านเต็มๆ ว่า “นักล่ากวางไม่ยี่หระกระต่าย คนเจรจาสินค้าพันตำลึงทองไม่ถกเถียงเงินจำนวนเล็กน้อย” (逐鹿者不顾兔,决千金之货者不争铢两之价。) ความหมายก็คือว่า คนเราเมื่อมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ ก็ไม่ควรวอกแวกไปกับเรื่องเล็กน้อยที่ผ่านเข้ามา เหมือนกับนักล่ากวางที่มีเป้าหมายคือกวาง ก็ไม่ควรเสียสมาธิและพลังงานไปกับการล่ากระต่ายที่ผ่านเข้ามา ส่วนประโยคหลัง “นักล่าสัตว์เจอภูเขาต้องมองให้กว้าง” แปลงมาจากอีกหนึ่งในวรรคเด็ดของ ‘หวยหนานจื่อ-ซัวหลินซุ่น’ ที่อ่านเต็มๆ ว่า “นักล่าสัตว์มองไม่เห็นภูเขาไท่ซาน ความกระหายภายนอกบดบังความกระจ่างภายในใจ” (逐兽者目不见太山,嗜欲在外,则明所蔽矣。) ความหมายก็คือว่า เมื่อเราใจจดจ่ออยู่กับบางอย่างเราจะมองไม่เห็นภาพใหญ่ เหมือนกับนายพรานที่มัวแต่มองเหยื่อจนไม่เห็นความสวยงามของภูเขา และความต้องการบางอย่างอาจรุนแรงจนบดบังสติความคิดที่ควรมี เมื่อเข้าใจบริบทที่มาของประโยคทั้งสองแล้ว เพื่อนเพจคงเข้าใจได้ไม่ยากถึงความนัยที่แท้จริง... พระเอกบอกว่า นางเอกสอนให้เขามองข้ามความสะใจชั่ววูบของการแก้แค้น แต่ให้มองการพลิกคดีของติ้งกั๋วกงและตระกูลเจี่ยงเป็นเป้าหมายใหญ่ และไม่ให้ความแค้นมาบดบังความรู้สึกผิดชอบชั่วดีและภาระหน้าที่ในการผดุงธรรมเพื่อบ้านเมือง มองข้ามความรู้สึกส่วนตัวไปยังภาพที่ใหญ่กว่าซึ่งก็คือความเดือดร้อนหรือความสุขสงบของประชาชน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g63261255/blossom-ending/ https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_27370559 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.ihchina.cn/details/7011.html https://paper.people.com.cn/fcyym/html/2024-08/02/content_26075300.htm https://ctext.org/huainanzi/shuo-lin-xun/zhs https://www.xinfajia.net/4835.html https://www.gushiwen.cn/mingju/juv_2e11ccdf0840.aspx https://www.shidianguji.com/zh/mingju/7474306868938162226 #จิ่วฉงจื่อ #วลีจีน #หวยหนานจื่อ #นายพรานกับกระต่าย #สาระจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 365 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้พักเรื่องมือปราบ เรามาคุยกันเรื่องบทกวีที่มีคติสอนใจ เป็นบทกวีอีกหนึ่งบทที่ปรากฎในนิยาย/ละคร <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ในตอนที่พระเอกวาดภาพดอกบัว

    ความมีอยู่ว่า
    ...โจวเซิงเฉินมองเธอเช่นกัน ยิ้มเล็กน้อย เปลี่ยนพู่กันแล้วเขียนลงตรงข้างๆ ภาพวาด: “ยามมองปทุมสะอาดหมดจด พึงหยั่งรู้ถึงใจที่ไม่แปดเปื้อน”
    นี่เป็นวลีของเมิ่งฮ่าวหรัน
    เธอจำวลีนี้ได้ ย่อมเข้าใจถึงความหมายของมัน: เจ้าเห็นดอกบัวนี้โผล่พ้นโคลนตมออกมาแต่ไม่เปรอะเปื้อน ควรเป็นคติเตือนใจ อย่าให้โลกแห่งกิเลสมาครอบงำ รักษาจิตใจของตนให้ดี...
    - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)

    วลี “ยามมองปทุมสะอาดหมดจด พึงหยั่งรู้ถึงใจที่ไม่แปดเปื้อน” (看取莲花净,应知不染心) นี้ ในละครตีความหมายผ่านบทสนทนาของตัวละครว่า โจวเซิงเฉินใช้วลีนี้สื่อถึงความรักที่มั่นคงต่อสืออี๋ ไม่ยอมให้ประเพณีนิยมมากวนใจ

    ขออภัยหากทำลายความโรแมนติกลง แต่จริงๆ แล้ววลีนี้ไม่ได้หมายถึงการยึดมั่นในความคิดของตน หากแต่เป็นบทกวีที่มีพื้นฐานจากคำสอนของศาสนาพุทธจึงมีการเปรียบเปรยถึงดอกบัวอันบริสุทธิ์ และความหมายเป็นไปตามที่บรรยายในนิยายข้างต้น ซึ่งก็คือการดำรงให้ ‘ใจไร้รอยแปดเปื้อน’ (ปู้หร่านซิน / 不染心)

    บทกวีนี้มีชื่อเต็มว่า “เรื่องกุฏิของอี้กง” (ถีอี้กงฉานฝาง / 题义公禅房) มีทั้งหมดแปดวรรค เป็นหนึ่งในบทกวีเลื่องชื่อของเมิ่งฮ่าวหรัน (ค.ศ. 689 – 740) กวีเอกสมัยราชวงศ์ถัง สรุปใจความเป็นการบรรยายถึง นักบวชขั้นสูงนามว่าอี้กงผู้บำเพ็ญศีลในกุฏิที่สร้างอยู่ในป่าเงียบสงบและศึกษาจบบทที่เรียกว่า ‘คัมภีร์ดอกบัว’ ด้วยใจสงบนิ่งไม่ถูกสิ่งแวดล้อมทำให้ไขว้เขว สะท้อนถึงใจที่บริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลส

    บทกวีนี้จัดอยู่ในประเภทที่เรียกว่า ‘กลอนทิวทัศน์ภูผาวารี’ หรือ ‘ซานสุ่ยซือ’ มีลักษณะเป็นโคลงห้า (五言律诗) ซึ่งเป็นสไตล์ที่เมิ่งฮ่าวหรันชอบใช้ โคลงห้าของจีนในแต่ละวรรคมีห้าอักษร นอกจากคำคล้องจองแล้ว อักษรที่ใช้ต้องมีจังหวะเสียงประมาณนี้ (อาจสลับเรียงวรรคก่อนหลังได้ แต่จังหวะในแต่ละวรรคไม่เปลี่ยน)
    เข้ม เข้ม - เบา เบา เข้ม / เข้ม เข้ม - เข้ม เบา เบา
    เบา เบา - เบา เข้ม เข้ม / เบา เบา - เข้ม เข้ม เบา

    สำหรับท่านที่ต้องการสำนวนที่สื่อถึงการยึดมั่นในเจตนารมณ์ Storyฯ อยากแนะนำอีกวลีหนึ่งแทน เป็นวลีสั้นๆ ว่า “ไม่ลืมใจเดิม” (ปู้ว่างชูซิน / 不忘初心) เป็นวลีที่ยกมาจากงานเขียนสมัยราชวงศ์ถังเช่นกัน มาจากวรรคเต็มที่เขียนไว้ว่า หากคนเราไม่ลืมความคิดและใจที่ตั้งต้น ย่อมสามารถเดินถึงจุดหมายปลายทางตามเจตนารมณ์เดิมได้

    มันเป็นวลีที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อ Storyฯ เพราะเพจนี้เกิดจากความ ‘ไม่ลืมใจเดิม’ ที่อยากจะเป็นนักเขียน หลังจากเส้นทางชีวิตนำพาให้ Storyฯ ไปทำอะไรอย่างอื่นมากมาย ตอนนี้จึงอยากกลับมาตามฝันตั้งต้นของตัวเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://3g.163.com/dy/article/GHPHHJRU05527S2X.html
    http://huamenglianyuan.blog.epochtimes.com/article/show?articleid=75762
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.xiaogushi.cn/shici/mingju/414146.html
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_44e80087e9b5.aspx
    https://baike.baidu.com/item/五言律诗/10294694
    https://www.chinacourt.org/article/detail/2019/09/id/4425543.shtml

    #กระดูกงดงาม #โจวเซิงเฉิน #สืออี๋ #เมิ่งฮ่าวหรัน #บทกวีจีนโบราณ #วลีจีนโบราณ #วัฒนธรรมจีนโบราณ #ราชวงศ์ถัง
    วันนี้พักเรื่องมือปราบ เรามาคุยกันเรื่องบทกวีที่มีคติสอนใจ เป็นบทกวีอีกหนึ่งบทที่ปรากฎในนิยาย/ละคร <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ในตอนที่พระเอกวาดภาพดอกบัว ความมีอยู่ว่า ...โจวเซิงเฉินมองเธอเช่นกัน ยิ้มเล็กน้อย เปลี่ยนพู่กันแล้วเขียนลงตรงข้างๆ ภาพวาด: “ยามมองปทุมสะอาดหมดจด พึงหยั่งรู้ถึงใจที่ไม่แปดเปื้อน” นี่เป็นวลีของเมิ่งฮ่าวหรัน เธอจำวลีนี้ได้ ย่อมเข้าใจถึงความหมายของมัน: เจ้าเห็นดอกบัวนี้โผล่พ้นโคลนตมออกมาแต่ไม่เปรอะเปื้อน ควรเป็นคติเตือนใจ อย่าให้โลกแห่งกิเลสมาครอบงำ รักษาจิตใจของตนให้ดี... - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) วลี “ยามมองปทุมสะอาดหมดจด พึงหยั่งรู้ถึงใจที่ไม่แปดเปื้อน” (看取莲花净,应知不染心) นี้ ในละครตีความหมายผ่านบทสนทนาของตัวละครว่า โจวเซิงเฉินใช้วลีนี้สื่อถึงความรักที่มั่นคงต่อสืออี๋ ไม่ยอมให้ประเพณีนิยมมากวนใจ ขออภัยหากทำลายความโรแมนติกลง แต่จริงๆ แล้ววลีนี้ไม่ได้หมายถึงการยึดมั่นในความคิดของตน หากแต่เป็นบทกวีที่มีพื้นฐานจากคำสอนของศาสนาพุทธจึงมีการเปรียบเปรยถึงดอกบัวอันบริสุทธิ์ และความหมายเป็นไปตามที่บรรยายในนิยายข้างต้น ซึ่งก็คือการดำรงให้ ‘ใจไร้รอยแปดเปื้อน’ (ปู้หร่านซิน / 不染心) บทกวีนี้มีชื่อเต็มว่า “เรื่องกุฏิของอี้กง” (ถีอี้กงฉานฝาง / 题义公禅房) มีทั้งหมดแปดวรรค เป็นหนึ่งในบทกวีเลื่องชื่อของเมิ่งฮ่าวหรัน (ค.ศ. 689 – 740) กวีเอกสมัยราชวงศ์ถัง สรุปใจความเป็นการบรรยายถึง นักบวชขั้นสูงนามว่าอี้กงผู้บำเพ็ญศีลในกุฏิที่สร้างอยู่ในป่าเงียบสงบและศึกษาจบบทที่เรียกว่า ‘คัมภีร์ดอกบัว’ ด้วยใจสงบนิ่งไม่ถูกสิ่งแวดล้อมทำให้ไขว้เขว สะท้อนถึงใจที่บริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลส บทกวีนี้จัดอยู่ในประเภทที่เรียกว่า ‘กลอนทิวทัศน์ภูผาวารี’ หรือ ‘ซานสุ่ยซือ’ มีลักษณะเป็นโคลงห้า (五言律诗) ซึ่งเป็นสไตล์ที่เมิ่งฮ่าวหรันชอบใช้ โคลงห้าของจีนในแต่ละวรรคมีห้าอักษร นอกจากคำคล้องจองแล้ว อักษรที่ใช้ต้องมีจังหวะเสียงประมาณนี้ (อาจสลับเรียงวรรคก่อนหลังได้ แต่จังหวะในแต่ละวรรคไม่เปลี่ยน) เข้ม เข้ม - เบา เบา เข้ม / เข้ม เข้ม - เข้ม เบา เบา เบา เบา - เบา เข้ม เข้ม / เบา เบา - เข้ม เข้ม เบา สำหรับท่านที่ต้องการสำนวนที่สื่อถึงการยึดมั่นในเจตนารมณ์ Storyฯ อยากแนะนำอีกวลีหนึ่งแทน เป็นวลีสั้นๆ ว่า “ไม่ลืมใจเดิม” (ปู้ว่างชูซิน / 不忘初心) เป็นวลีที่ยกมาจากงานเขียนสมัยราชวงศ์ถังเช่นกัน มาจากวรรคเต็มที่เขียนไว้ว่า หากคนเราไม่ลืมความคิดและใจที่ตั้งต้น ย่อมสามารถเดินถึงจุดหมายปลายทางตามเจตนารมณ์เดิมได้ มันเป็นวลีที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อ Storyฯ เพราะเพจนี้เกิดจากความ ‘ไม่ลืมใจเดิม’ ที่อยากจะเป็นนักเขียน หลังจากเส้นทางชีวิตนำพาให้ Storyฯ ไปทำอะไรอย่างอื่นมากมาย ตอนนี้จึงอยากกลับมาตามฝันตั้งต้นของตัวเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://3g.163.com/dy/article/GHPHHJRU05527S2X.html http://huamenglianyuan.blog.epochtimes.com/article/show?articleid=75762 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.xiaogushi.cn/shici/mingju/414146.html https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_44e80087e9b5.aspx https://baike.baidu.com/item/五言律诗/10294694 https://www.chinacourt.org/article/detail/2019/09/id/4425543.shtml #กระดูกงดงาม #โจวเซิงเฉิน #สืออี๋ #เมิ่งฮ่าวหรัน #บทกวีจีนโบราณ #วลีจีนโบราณ #วัฒนธรรมจีนโบราณ #ราชวงศ์ถัง
    3G.163.COM
    任嘉伦白鹿新戏《周生如故》,朝堂线太过儿戏,剧情偏平淡_手机网易网
    任嘉伦,白鹿的新戏《周生如故》开播了。任嘉伦出演周生辰,坐拥数十万兵马的小南辰王,驻守西州的不败将军。白鹿出演漼时宜,世家大族漼家的嫡女,指腹为婚的未来太子妃。无论是周生辰还是漼时宜他们的事业线、感情线都和朝堂线有密切的联系,甚至是决定性作用。
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 409 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้กลับมาคุยกันต่อกับเรื่องราวที่ Storyฯ เห็นจากละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ในตอนที่มีการรับลูกนอกสมรสกลับเข้าตระกูล

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ถึงกาลมงคล พิธีรับเข้าตระกูลของตระกูลสวี อัญเชิญหนังสือตระกูล” เสียงประกาศเริ่มพิธีดังขึ้น สวีลิ่งเซวียนคุกเข่าลงต่อหน้าป้ายบูชาบรรพบุรุษแล้วกล่าว “สวีซื่อเจี้ย เดิมเป็นบุตรที่ร่อนเร่อาศัยอยู่ข้างนอกของตระกูลเรา ตอนนี้รับกลับเข้าตระกูลเป็นบุตรของสวีลิ่งอัน ขอบรรพบุรุษปกป้องลูกหลานสกุลสวี”...
    - ถอดบทสนทนาจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> (ตามซับไทยเลยจ้า)

    ในละครข้างต้น ก่อนจะมาถึงพิธีการนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงความคิดของตัวละครต่างๆ ที่ถกกันว่าจะรับเด็กมาเป็นลูกใครดี? ความเดิมของบทสนทนาในภาษาจีนคือ “จะบันทึกชื่อเด็กคนนี้ใต้ชื่อใคร?” ซึ่งการคุยในลักษณะนี้เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญของหนังสือตระกูล วันนี้เลยมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับหนังสือตระกูลหรือที่เรียกว่า ‘เจียผู่’ (家谱) หรือ ‘จู๋ผู่’ (族谱) นี้

    การบันทึกข้อมูลในเจียผู่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ย และเนื่องจากสมัยนั้นมีการแตกสกุลมาจากเชื้อพระวงศ์เป็นจำนวนมาก ทางการจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลและปรับปรุงเจียผู่ของตระกูลเหล่านั้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือบันทึกสายสกุลเพื่อประโยชน์ในการคัดสรรและแต่งตั้งขุนนาง ต่อมาเมื่อผ่านพ้นราชวงศ์ถัง ข้อมูลเหล่านี้สูญหายไปในสงครามเสียเป็นส่วนใหญ่ และการเข้ารับราชการก็ดำเนินการผ่านการสอบราชบัณฑิต อีกทั้งอำนาจของเหล่าสื้อเจียตระกูลขุนนางก็เสื่อมลง ทางการจึงไม่ได้เข้ามายุ่งเรื่องการทำเจียผู่อีก ดังนั้นนับแต่สมัยซ่งมา เจียผู่ส่วนใหญ่ถูกจัดทำขึ้นมาใหม่และอยู่ในการดูแลของคนในตระกูลเอง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนเกี่ยวกับสื้อเจียไปแล้ว หาอ่านย้อนหลังนะคะ)

    เพื่อนเพจอาจนึกภาพว่าเจียผู่เป็นพงศาวลีหรือผังลำดับญาติ แต่คนที่เคยลองวาดผังแบบนี้จะรู้ว่า หากจะวาดให้ดีต้องรู้ว่าควรเผื่อเนื้อที่ตรงไหนอย่างไร แต่เจียผู่เป็นบันทึกจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นการบันทึกจริงๆ คือเขียนข้อมูลเติมไปแต่ละรุ่น (ดูตัวอย่างตามรูปประกอบ หน้านี้บันทึกการสืบเชื้อสายของบุตรชายคนโต) หากมีการวาดผังลำดับญาติโดยปกติจะวาดเพียง 5 รุ่นแล้วก็ขึ้นผังใหม่

    แล้วเจียผู่บันทึกอะไรบ้าง?

    ก่อนอื่นคือต้องมีการเขียน ‘ขอบเขต’ - ใครเป็นต้นตระกูล? เราเป็นสายใดของตระกูล? ตราสัญลักษณ์ของตระกูล (ถ้ามี) ภูมิลำเนาเดิม ประวัติของสกุล ที่ตั้งและแผนผังของวัดบรรพบุรุษ เป็นต้น

    จากนั้นก็เป็นบันทึกเกี่ยวกับคนในแต่ละรุ่น ซึ่งจะระบุว่าเป็นรุ่นที่เท่าไหร่ ลำดับในรุ่น ชื่อ วันเดือนปีเกิดและตาย สรุปชีวประวัติ ลักษณะเด่นหรือวีรกรรมโดยคร่าว (เช่น เคยไปรบชนะสร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูลในศึกไหน?) บรรดาศักดิ์หรือรางวัลเกียรติยศที่เคยได้รับ ชื่อคู่สมรสและบุตรชาย ฯลฯ ในบางเจียผู่จะมีการกล่าวถึงสินทรัพย์อันเป็นมรดกตกทอดของตระกูล เช่น ที่ตั้งและขนาดของที่ดินและอาคารบ้านเรือน และการบริหารสินทรัพย์ ฯลฯ

    แต่... ไม่ใช่บุตรและภรรยาทุกคนจะได้รับการบันทึกชื่อลงในเจียผู่ ใครบ้างที่ไม่มีชื่อ?
    1. ลูกสาว – ในวัฒนธรรมจีนโบราณ ลูกสาวเมื่อแต่งงานออกไปก็ถือว่าเป็นคนของครอบครัวอื่น จึงไม่มีการบันทึกชื่อลูกสาวในเจียผู่ของตัวเอง ลูกสาวที่แต่งออกไปก็จะไปมีชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามี (แต่จากตัวอย่างที่ Storyฯ เห็น จะบันทึกเพียงสกุลเดิมไม่มีชื่อ เช่น นางสกุลหลี่) ธรรมเนียมนี้มีมาจนถึงสมัยจีนยุคใหม่ (หลังราชวงศ์ชิง) จึงมีการใส่ชื่อลูกสาวเข้าไป
    2. อนุภรรยา – สตรีที่แต่งงานไปจะถูกบันทึกชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามีเฉพาะคนที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น คนที่เป็นอนุจะไม่มีการบันทึกถึง ยกเว้นในกรณีที่ต่อมาบุตรชายของนางมีคุณงามความชอบอย่างโดดเด่น สร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูล จึงจะมีการแก้ไขเอาชื่อของเขาเข้าเจียผู่และจะมีการบันทึกชื่อผู้เป็นมารดาด้วย (ป.ล. หากเพื่อนเพจได้ดูละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> ในฉากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าสตรีที่เข้าร่วมพิธีที่เกี่ยวกับหนังสือตระกูลนั้น มีเพียงสะใภ้ที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น)
    3. ลูกอนุ - สายของอนุทั้งสายจะไม่ได้ลงบันทึกไว้ เว้นแต่กรณีที่กล่าวมาข้างต้นว่ามีการแก้ไขบันทึกย้อนหลัง

    เห็นแล้วก็พอจะเข้าใจถึงหัวอกของบรรดาอนุและลูกอนุ เราจึงเห็นเรื่องราวในนิยายและละครจีนโบราณไม่น้อยที่มีปูมหลังมาจากความน้อยเนื้อต่ำใจหรือความทะเยอทะยานของเหล่าอนุและลูกอนุทั้งหลาย Storyฯ เชื่อว่าเพื่อนเพจเข้าใจในบริบทนี้แล้วจะดูละคร/อ่านนิยายจีนโบราณได้มีอรรถรสยิ่งขึ้นค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/452104168_114988
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.52lishi.com/article/65523.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/30411974
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/54546409
    https://www.163.com/dy/article/H14J0MG10552QJB7.html

    #ร้อยรักปักดวงใจ #เจียผู่ #จู๋ผู่ #หนังสือตระกูล #บันทึกตระกูลจีนโบราณ #พงศาวลีจีนโบราณ
    วันนี้กลับมาคุยกันต่อกับเรื่องราวที่ Storyฯ เห็นจากละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ในตอนที่มีการรับลูกนอกสมรสกลับเข้าตระกูล ความมีอยู่ว่า ... “ถึงกาลมงคล พิธีรับเข้าตระกูลของตระกูลสวี อัญเชิญหนังสือตระกูล” เสียงประกาศเริ่มพิธีดังขึ้น สวีลิ่งเซวียนคุกเข่าลงต่อหน้าป้ายบูชาบรรพบุรุษแล้วกล่าว “สวีซื่อเจี้ย เดิมเป็นบุตรที่ร่อนเร่อาศัยอยู่ข้างนอกของตระกูลเรา ตอนนี้รับกลับเข้าตระกูลเป็นบุตรของสวีลิ่งอัน ขอบรรพบุรุษปกป้องลูกหลานสกุลสวี”... - ถอดบทสนทนาจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> (ตามซับไทยเลยจ้า) ในละครข้างต้น ก่อนจะมาถึงพิธีการนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงความคิดของตัวละครต่างๆ ที่ถกกันว่าจะรับเด็กมาเป็นลูกใครดี? ความเดิมของบทสนทนาในภาษาจีนคือ “จะบันทึกชื่อเด็กคนนี้ใต้ชื่อใคร?” ซึ่งการคุยในลักษณะนี้เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญของหนังสือตระกูล วันนี้เลยมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับหนังสือตระกูลหรือที่เรียกว่า ‘เจียผู่’ (家谱) หรือ ‘จู๋ผู่’ (族谱) นี้ การบันทึกข้อมูลในเจียผู่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ย และเนื่องจากสมัยนั้นมีการแตกสกุลมาจากเชื้อพระวงศ์เป็นจำนวนมาก ทางการจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลและปรับปรุงเจียผู่ของตระกูลเหล่านั้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือบันทึกสายสกุลเพื่อประโยชน์ในการคัดสรรและแต่งตั้งขุนนาง ต่อมาเมื่อผ่านพ้นราชวงศ์ถัง ข้อมูลเหล่านี้สูญหายไปในสงครามเสียเป็นส่วนใหญ่ และการเข้ารับราชการก็ดำเนินการผ่านการสอบราชบัณฑิต อีกทั้งอำนาจของเหล่าสื้อเจียตระกูลขุนนางก็เสื่อมลง ทางการจึงไม่ได้เข้ามายุ่งเรื่องการทำเจียผู่อีก ดังนั้นนับแต่สมัยซ่งมา เจียผู่ส่วนใหญ่ถูกจัดทำขึ้นมาใหม่และอยู่ในการดูแลของคนในตระกูลเอง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนเกี่ยวกับสื้อเจียไปแล้ว หาอ่านย้อนหลังนะคะ) เพื่อนเพจอาจนึกภาพว่าเจียผู่เป็นพงศาวลีหรือผังลำดับญาติ แต่คนที่เคยลองวาดผังแบบนี้จะรู้ว่า หากจะวาดให้ดีต้องรู้ว่าควรเผื่อเนื้อที่ตรงไหนอย่างไร แต่เจียผู่เป็นบันทึกจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นการบันทึกจริงๆ คือเขียนข้อมูลเติมไปแต่ละรุ่น (ดูตัวอย่างตามรูปประกอบ หน้านี้บันทึกการสืบเชื้อสายของบุตรชายคนโต) หากมีการวาดผังลำดับญาติโดยปกติจะวาดเพียง 5 รุ่นแล้วก็ขึ้นผังใหม่ แล้วเจียผู่บันทึกอะไรบ้าง? ก่อนอื่นคือต้องมีการเขียน ‘ขอบเขต’ - ใครเป็นต้นตระกูล? เราเป็นสายใดของตระกูล? ตราสัญลักษณ์ของตระกูล (ถ้ามี) ภูมิลำเนาเดิม ประวัติของสกุล ที่ตั้งและแผนผังของวัดบรรพบุรุษ เป็นต้น จากนั้นก็เป็นบันทึกเกี่ยวกับคนในแต่ละรุ่น ซึ่งจะระบุว่าเป็นรุ่นที่เท่าไหร่ ลำดับในรุ่น ชื่อ วันเดือนปีเกิดและตาย สรุปชีวประวัติ ลักษณะเด่นหรือวีรกรรมโดยคร่าว (เช่น เคยไปรบชนะสร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูลในศึกไหน?) บรรดาศักดิ์หรือรางวัลเกียรติยศที่เคยได้รับ ชื่อคู่สมรสและบุตรชาย ฯลฯ ในบางเจียผู่จะมีการกล่าวถึงสินทรัพย์อันเป็นมรดกตกทอดของตระกูล เช่น ที่ตั้งและขนาดของที่ดินและอาคารบ้านเรือน และการบริหารสินทรัพย์ ฯลฯ แต่... ไม่ใช่บุตรและภรรยาทุกคนจะได้รับการบันทึกชื่อลงในเจียผู่ ใครบ้างที่ไม่มีชื่อ? 1. ลูกสาว – ในวัฒนธรรมจีนโบราณ ลูกสาวเมื่อแต่งงานออกไปก็ถือว่าเป็นคนของครอบครัวอื่น จึงไม่มีการบันทึกชื่อลูกสาวในเจียผู่ของตัวเอง ลูกสาวที่แต่งออกไปก็จะไปมีชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามี (แต่จากตัวอย่างที่ Storyฯ เห็น จะบันทึกเพียงสกุลเดิมไม่มีชื่อ เช่น นางสกุลหลี่) ธรรมเนียมนี้มีมาจนถึงสมัยจีนยุคใหม่ (หลังราชวงศ์ชิง) จึงมีการใส่ชื่อลูกสาวเข้าไป 2. อนุภรรยา – สตรีที่แต่งงานไปจะถูกบันทึกชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามีเฉพาะคนที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น คนที่เป็นอนุจะไม่มีการบันทึกถึง ยกเว้นในกรณีที่ต่อมาบุตรชายของนางมีคุณงามความชอบอย่างโดดเด่น สร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูล จึงจะมีการแก้ไขเอาชื่อของเขาเข้าเจียผู่และจะมีการบันทึกชื่อผู้เป็นมารดาด้วย (ป.ล. หากเพื่อนเพจได้ดูละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> ในฉากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าสตรีที่เข้าร่วมพิธีที่เกี่ยวกับหนังสือตระกูลนั้น มีเพียงสะใภ้ที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น) 3. ลูกอนุ - สายของอนุทั้งสายจะไม่ได้ลงบันทึกไว้ เว้นแต่กรณีที่กล่าวมาข้างต้นว่ามีการแก้ไขบันทึกย้อนหลัง เห็นแล้วก็พอจะเข้าใจถึงหัวอกของบรรดาอนุและลูกอนุ เราจึงเห็นเรื่องราวในนิยายและละครจีนโบราณไม่น้อยที่มีปูมหลังมาจากความน้อยเนื้อต่ำใจหรือความทะเยอทะยานของเหล่าอนุและลูกอนุทั้งหลาย Storyฯ เชื่อว่าเพื่อนเพจเข้าใจในบริบทนี้แล้วจะดูละคร/อ่านนิยายจีนโบราณได้มีอรรถรสยิ่งขึ้นค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/452104168_114988 https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.52lishi.com/article/65523.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/30411974 https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773 https://zhuanlan.zhihu.com/p/54546409 https://www.163.com/dy/article/H14J0MG10552QJB7.html #ร้อยรักปักดวงใจ #เจียผู่ #จู๋ผู่ #หนังสือตระกูล #บันทึกตระกูลจีนโบราณ #พงศาวลีจีนโบราณ
    WWW.SOHU.COM
    钟汉良谭松韵领衔主演《锦心似玉》定档2月26日_荻雁
    新京报讯 2月23日,钟汉良、谭松韵领衔主演的电视剧《锦心似玉》宣布定档。该剧将于2月26日起在腾讯视频全网独播,周五至周三连续六天,每日20点更新2集;3月1日起每周一、二、三20点更新2集,会员抢先看。 …
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 718 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผ่านกันมานานเป็นเดือนกับบทความชุดเรื่องราวสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) จากละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ยังคุยกันไม่ครบสิบสองภาพ แต่ขอคั่นเปลี่ยนเรื่องคุยกันบ้าง เรื่องที่จะคุยในวันนี้ไม่เกี่ยวกับละครหรือนวนิยาย แต่เป็นเรื่องเล่าจากเพลงที่ Storyฯ ชอบมากเพลงหนึ่ง

    เพลงนี้โด่งดังในประเทศจีนมาตั้งแต่ปี 2018 เป็นเพลงที่มีเอกลักษณ์เพราะมีกลิ่นอายของงิ้วแฝงอยู่ มีชื่อว่า ‘ชึหลิง’ (赤伶) หรือ ‘นักแสดงสีชาด’ ร้องโดย HITA แต่งเนื้อร้องโดย ชิงเยี่ยน (清彦) ดนตรีโดย หลี่เจี้ยนเหิง (李建衡) ต่อมามีหลายคนนำมาขับร้อง ทั้งที่เปลี่ยนเนื้อร้องและทั้งที่ใช้เนื้อร้องเดิม เชื่อว่าคงมีเพื่อนเพจบางท่านเคยได้ยิน แต่ Storyฯ มั่นใจว่าน้อยคนนักจะทราบถึงเรื่องราวที่แฝงไว้ในเพลงนี้

    ‘หลิง’ หมายถึงนักแสดงละครงิ้ว ส่วน ‘ชึ’ แปลตรงตัวว่าสีแดงชาด และอาจย่อมาจากคำว่า ‘ชึซิน’ ที่แปลว่าใจที่จงรักภักดีหรือปณิธานแรงกล้า ชื่อเพลงที่สั้นเพียงสองอักษรแต่มีความหมายสองชั้น เนื้อเพลงก็แฝงความหมายสองสามชั้นเช่นกัน เนื้อเพลงค่อนข้างยาว Storyฯ ขอแปลไว้ในรูปภาพที่สองแทน บางคำแปลอย่างตรงตัวเพื่อให้เพื่อนเพจได้ตีความและเห็นถึงเสน่ห์ของความหมายหลายชั้นของเพลงนี้

    เรื่องราวเบื้องหลังของเนื้อเพลง ‘นักแสดงสีชาด’ เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นอิงประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่สองที่ญี่ปุ่นเข้าบุกและยึดครองหลายพื้นที่ของจีน กล่าวถึงนักแสดงงิ้วนามว่า เผยเยี่ยนจือ ที่โด่งดังในเมืองอันหย่วน เขาถูกทหารญี่ปุ่นเชิญแกมบังคับให้ขึ้นแสดงงิ้ว โดยขู่ว่าหากเขาไม่ยอมแสดง ทหารก็จะเผาโรงละครทิ้ง แต่เผยเยี่ยนจือรับคำอย่างไม่อิดออดและรับจัดแสดงเรื่อง ‘พัดดอกท้อ’ (桃花扇 / เถาฮวาซ่าน) ในคืนที่แสดงนั้น เผยเยี่ยนจืออยู่บนเวทีร้องออกมาว่า “จุดไฟ” กว่าทหารญี่ปุ่นจะรู้ตัวก็ถูกกักอยู่ในโรงละครที่ลุกเป็นไฟ เพราะก่อนหน้านี้คณะละครได้ราดน้ำมันเตรียมวางเพลิงไว้แล้ว ไฟลามไปเรื่อยๆ ทหารญี่ปุ่นพยายามหนีตายแต่หนีไม่พ้น ละครงิ้วก็แสดงไปเรื่อยๆ จวบจนลมหายใจเฮือกสุดท้ายของคณะละคร

    มันเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นโดยใช้เผยเยี่ยนจือเป็นตัวแทนความรักชาติของประชาชนคนธรรมดา แต่เสน่ห์ของเพลงนี้คือความหมายหลายชั้นของคำที่ใช้ ยังมีอีกสองประเด็นที่จะทำให้เราเข้าใจเพลงนี้ได้ดียิ่งขึ้น

    ประเด็นแรกคือปูมหลังทางวัฒนธรรม มีวลีจีนโบราณกล่าวไว้ว่า ‘นางคณิกาไร้ใจ นักแสดงไร้คุณธรรม’ ซึ่งมีบริบททางสังคมที่ดูถูกนักแสดงว่าเป็นชนชั้นต่ำ ทำทุกอย่างได้เพื่อความอยู่รอด เราจะเห็นในเนื้อเพลงนี้ว่า นักแสดงละครรำพันว่าแม้ตัวเองด้อยค่า แต่มิใช่ไร้ใจภักดีต่อชาติบ้านเมือง

    ประเด็นที่สองคือเรื่องราวของ ‘พัดดอกท้อ’ มันเป็นละครงิ้วในสมัยชิงที่นิยมแสดงกันมาจวบปัจจุบัน เป็นเรื่องราวรักรันทดของหลี่เซียงจวินและโหวฟางอวี้

    หลี่เซียงจวินเป็นคณิกาชื่อดังสมัยปลายราชวงศ์หมิง อันเป็นช่วงเวลาที่ราชสำนักวุ่นวาย ขุนนางทุจริตมากมาย ชาวบ้านเดือดร้อน ทั้งยังถูกรุกรานจากแมนจู นางเป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาแห่งแม่น้ำฉินหวย เช่นเดียวกับหลิ่วหรูซื่อที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0yKKz9BJs6VheqVhGF7RAW67QKyFaA3PEVX5j9zxCpdd4VCaNpFdXo3pbB2xkAS2wl)

    หลี่เซียงจวินเป็นลูกขุนนางที่ได้รับโทษเพราะไปมีส่วนพัวพันกับขบวนการต่อต้านขุนนางทุจริต ถูกเชื่อมโยงกลายเป็นต่อต้านราชสำนัก จึงถูกขายไปอยู่หอนางโลมเมื่ออายุเพียงแปดขวบ แต่ยังโชคดีที่แม่เล้ารับเป็นบุตรบุญธรรม จึงโตมาอย่างเพียบพร้อมด้านการศึกษาและความสามารถทางดนตรี เน้นขายศิลปะไม่ขายตัว นางพบรักกับโหวฟางอวี้ซึ่งเป็นราชบัณฑิตมาจากตระกูลขุนนาง แต่เพราะพ่อของเขามีส่วนพัวพันกับขบวนการต่อต้านขุนนางทุจริตและถูกกวาดล้างเช่นกัน ทางบ้านจึงตกอับยากจน ถึงขนาดต้องยืมเงินเพื่อนมาประมูลซื้อ ‘คืนแรก’ ของหลี่เซียงจวินเมื่อนางอายุครบสิบหกปี (เป็นธรรมเนียมของนางคณิกาสมัยนั้น เมื่ออายุสิบหกหากยังเป็นสาวพรหมจรรย์จะต้องเปิดประมูลซื้อตัว เป็นโอกาสที่จะได้แต่งงานเป็นฝั่งฝาไปกับผู้ชนะการประมูล แม้ว่าส่วนใหญ่เป็นได้เพียงอนุภรรยา) ต่อมาทั้งสองใช้ชีวิตคู่ด้วยกันในหอนางโลมนั้นเอง

    พวกเขามารู้ความจริงทีหลังว่า เงินก้อนที่ยืมเพื่อนมานั้น จริงๆ แล้วเป็นเงินของหร่วนต้าเฉิง ขุนนางใจโหดที่กวาดล้างขบวนการต่อต้านราชสำนัก หร่วนต้าเฉิงประสงค์ใช้เงินก้อนนี้มาดึงโหวฟางอวี้เข้าเป็นพวกเพราะชื่นชมในความรู้ความสามารถของเขา แต่ทั้งคู่ไม่ต้องการมีส่วนเกี่ยวข้องกับหร่วนต้าเฉิง หลี่เซียงจวินจึงขายเครื่องประดับเอาเงินมาใช้หนี้ สร้างความโกรธแค้นให้หร่วนต้าเฉิงไม่น้อย เขาแก้แค้นด้วยการยัดเยียดข้อหาจับกลุ่มเพื่อนของโหวฟางอวี้ขังคุก โหวฟางอวี้ตัดสินใจหนีไปเข้าร่วมกับกองกำลังรักชาติ ก่อนไปเขามอบพัดเป็นของแทนใจให้นาง หร่วนต้าเฉิงจึงเอาความแค้นมาลงที่หลี่เซียงจวินแทน เขาวางแผนบีบให้นางแต่งไปเป็นอนุของขุนนางใกล้ชิดของฮ่องเต้ แต่นางเอาหัวชนเสาจนเลือดสาดไปบนพัดสลบไป เกิดเป็นคดีความใหญ่โตแต่ก็นับว่าหนีรอดจากการแต่งงานครั้งนี้ได้ ต่อมาเพื่อนของโหวฟางอวี้ได้วาดลายดอกท้อทับไปบนรอยเลือดบนพัด เกิดเป็นชื่อ ‘พัดดอกท้อ’ นี้ขึ้นมา

    แต่เรื่องยังไม่จบ สุดท้ายหร่วนต้าเฉิงวางแผนทำให้หลี่เซียงจวินถูกรับเข้าวังเป็นสนม เมื่อพระราชวังถูกตีแตก นางหนีรอดออกมาได้แต่ได้รับบาดเจ็บ ทำให้คลาดกันกับโหวฟางอวี้ที่ย้อนกลับมาหานาง เรื่องเล่าบั้นปลายชีวิตของนางมีหลายเวอร์ชั่น เวอร์ชั่นหนึ่งคือต่อมานางป่วยหนักจนตาย ทิ้งไว้เพียงพัดที่เปื้อนเลือดให้โหวฟางอวี้ดูต่างหน้า

    ส่วนโหวฟางอวี้นั้นอยู่กับกองกำลังรักชาติ แต่สุดท้ายชาติล่มสลาย บั้นปลายชีวิตไม่เหลือใคร จึงปลงผมออกบวช วรรคที่ถูกพูดเป็นงิ้วในเพลงนักแสดงสีชาดนี้ สื่อถึงการปล่อยวางความรักหญิงชาย เป็นวรรคที่ยกมาจากบทละครงิ้วเรื่องพัดดอกท้อในตอนที่เขาออกบวชนี้เอง

    เพลงหนึ่งเพลงกับเรื่องราวซ้อนกันสองชั้น บนเวทีแสดงเรื่องราวรักรันทดพลัดพรากให้คนชม นักแสดงอยู่บนเวทีก็มองดูเรื่องราวบ้านเมืองที่เกิดขึ้นข้างล่างเวที ส่วนคนฟังอย่างเราก็ดูทั้งเรื่องราวบนและล่างเวที คงจะกล่าวได้ว่า ‘นักแสดงสีชาด’ เป็นเพลงที่สะท้อนถึงสัจธรรมชีวิต... แท้จริงแล้วโลกเรานี้คือละคร เรามองคนอื่น คนอื่นก็มองเรา

    เข้าใจความหมายและเรื่องราวแล้ว ลองอ่านคำแปลเนื้อเพลงอีกครั้งและเชิญเพื่อนเพจอินกับเพลงกันได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wIyq_jTZsBY&list=WL&index=245 หรือหาฟังเวอร์ชั่นอื่นได้ด้วยชื่อเพลง 赤伶 ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.jitapuji.com/5258.html
    https://www.art-mate.net/doc/63311?name=千珊粵劇工作坊《桃花扇》
    https://ppfocus.com/0/en57cfaab.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://kknews.cc/news/8yly6nl.html
    https://www.sohu.com/a/475761718_120934298#google_vignette
    https://baike.baidu.com/item/侯方域/380394
    https://baike.baidu.com/item/桃花扇/5499
    https://shidian.baike.com/wikiid/7245205732429414461?prd=mobile&anchor=lj2jc6p91rp7
    https://so.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4F8F70CCD565152E14.aspx

    #ชึหลิง #HITA #หลี่เซียงจวิน #โหวเซียงอวี้ #พัดดอกท้อ #เถาฮวาซ่าน
    ผ่านกันมานานเป็นเดือนกับบทความชุดเรื่องราวสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) จากละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ยังคุยกันไม่ครบสิบสองภาพ แต่ขอคั่นเปลี่ยนเรื่องคุยกันบ้าง เรื่องที่จะคุยในวันนี้ไม่เกี่ยวกับละครหรือนวนิยาย แต่เป็นเรื่องเล่าจากเพลงที่ Storyฯ ชอบมากเพลงหนึ่ง เพลงนี้โด่งดังในประเทศจีนมาตั้งแต่ปี 2018 เป็นเพลงที่มีเอกลักษณ์เพราะมีกลิ่นอายของงิ้วแฝงอยู่ มีชื่อว่า ‘ชึหลิง’ (赤伶) หรือ ‘นักแสดงสีชาด’ ร้องโดย HITA แต่งเนื้อร้องโดย ชิงเยี่ยน (清彦) ดนตรีโดย หลี่เจี้ยนเหิง (李建衡) ต่อมามีหลายคนนำมาขับร้อง ทั้งที่เปลี่ยนเนื้อร้องและทั้งที่ใช้เนื้อร้องเดิม เชื่อว่าคงมีเพื่อนเพจบางท่านเคยได้ยิน แต่ Storyฯ มั่นใจว่าน้อยคนนักจะทราบถึงเรื่องราวที่แฝงไว้ในเพลงนี้ ‘หลิง’ หมายถึงนักแสดงละครงิ้ว ส่วน ‘ชึ’ แปลตรงตัวว่าสีแดงชาด และอาจย่อมาจากคำว่า ‘ชึซิน’ ที่แปลว่าใจที่จงรักภักดีหรือปณิธานแรงกล้า ชื่อเพลงที่สั้นเพียงสองอักษรแต่มีความหมายสองชั้น เนื้อเพลงก็แฝงความหมายสองสามชั้นเช่นกัน เนื้อเพลงค่อนข้างยาว Storyฯ ขอแปลไว้ในรูปภาพที่สองแทน บางคำแปลอย่างตรงตัวเพื่อให้เพื่อนเพจได้ตีความและเห็นถึงเสน่ห์ของความหมายหลายชั้นของเพลงนี้ เรื่องราวเบื้องหลังของเนื้อเพลง ‘นักแสดงสีชาด’ เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นอิงประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่สองที่ญี่ปุ่นเข้าบุกและยึดครองหลายพื้นที่ของจีน กล่าวถึงนักแสดงงิ้วนามว่า เผยเยี่ยนจือ ที่โด่งดังในเมืองอันหย่วน เขาถูกทหารญี่ปุ่นเชิญแกมบังคับให้ขึ้นแสดงงิ้ว โดยขู่ว่าหากเขาไม่ยอมแสดง ทหารก็จะเผาโรงละครทิ้ง แต่เผยเยี่ยนจือรับคำอย่างไม่อิดออดและรับจัดแสดงเรื่อง ‘พัดดอกท้อ’ (桃花扇 / เถาฮวาซ่าน) ในคืนที่แสดงนั้น เผยเยี่ยนจืออยู่บนเวทีร้องออกมาว่า “จุดไฟ” กว่าทหารญี่ปุ่นจะรู้ตัวก็ถูกกักอยู่ในโรงละครที่ลุกเป็นไฟ เพราะก่อนหน้านี้คณะละครได้ราดน้ำมันเตรียมวางเพลิงไว้แล้ว ไฟลามไปเรื่อยๆ ทหารญี่ปุ่นพยายามหนีตายแต่หนีไม่พ้น ละครงิ้วก็แสดงไปเรื่อยๆ จวบจนลมหายใจเฮือกสุดท้ายของคณะละคร มันเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นโดยใช้เผยเยี่ยนจือเป็นตัวแทนความรักชาติของประชาชนคนธรรมดา แต่เสน่ห์ของเพลงนี้คือความหมายหลายชั้นของคำที่ใช้ ยังมีอีกสองประเด็นที่จะทำให้เราเข้าใจเพลงนี้ได้ดียิ่งขึ้น ประเด็นแรกคือปูมหลังทางวัฒนธรรม มีวลีจีนโบราณกล่าวไว้ว่า ‘นางคณิกาไร้ใจ นักแสดงไร้คุณธรรม’ ซึ่งมีบริบททางสังคมที่ดูถูกนักแสดงว่าเป็นชนชั้นต่ำ ทำทุกอย่างได้เพื่อความอยู่รอด เราจะเห็นในเนื้อเพลงนี้ว่า นักแสดงละครรำพันว่าแม้ตัวเองด้อยค่า แต่มิใช่ไร้ใจภักดีต่อชาติบ้านเมือง ประเด็นที่สองคือเรื่องราวของ ‘พัดดอกท้อ’ มันเป็นละครงิ้วในสมัยชิงที่นิยมแสดงกันมาจวบปัจจุบัน เป็นเรื่องราวรักรันทดของหลี่เซียงจวินและโหวฟางอวี้ หลี่เซียงจวินเป็นคณิกาชื่อดังสมัยปลายราชวงศ์หมิง อันเป็นช่วงเวลาที่ราชสำนักวุ่นวาย ขุนนางทุจริตมากมาย ชาวบ้านเดือดร้อน ทั้งยังถูกรุกรานจากแมนจู นางเป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาแห่งแม่น้ำฉินหวย เช่นเดียวกับหลิ่วหรูซื่อที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0yKKz9BJs6VheqVhGF7RAW67QKyFaA3PEVX5j9zxCpdd4VCaNpFdXo3pbB2xkAS2wl) หลี่เซียงจวินเป็นลูกขุนนางที่ได้รับโทษเพราะไปมีส่วนพัวพันกับขบวนการต่อต้านขุนนางทุจริต ถูกเชื่อมโยงกลายเป็นต่อต้านราชสำนัก จึงถูกขายไปอยู่หอนางโลมเมื่ออายุเพียงแปดขวบ แต่ยังโชคดีที่แม่เล้ารับเป็นบุตรบุญธรรม จึงโตมาอย่างเพียบพร้อมด้านการศึกษาและความสามารถทางดนตรี เน้นขายศิลปะไม่ขายตัว นางพบรักกับโหวฟางอวี้ซึ่งเป็นราชบัณฑิตมาจากตระกูลขุนนาง แต่เพราะพ่อของเขามีส่วนพัวพันกับขบวนการต่อต้านขุนนางทุจริตและถูกกวาดล้างเช่นกัน ทางบ้านจึงตกอับยากจน ถึงขนาดต้องยืมเงินเพื่อนมาประมูลซื้อ ‘คืนแรก’ ของหลี่เซียงจวินเมื่อนางอายุครบสิบหกปี (เป็นธรรมเนียมของนางคณิกาสมัยนั้น เมื่ออายุสิบหกหากยังเป็นสาวพรหมจรรย์จะต้องเปิดประมูลซื้อตัว เป็นโอกาสที่จะได้แต่งงานเป็นฝั่งฝาไปกับผู้ชนะการประมูล แม้ว่าส่วนใหญ่เป็นได้เพียงอนุภรรยา) ต่อมาทั้งสองใช้ชีวิตคู่ด้วยกันในหอนางโลมนั้นเอง พวกเขามารู้ความจริงทีหลังว่า เงินก้อนที่ยืมเพื่อนมานั้น จริงๆ แล้วเป็นเงินของหร่วนต้าเฉิง ขุนนางใจโหดที่กวาดล้างขบวนการต่อต้านราชสำนัก หร่วนต้าเฉิงประสงค์ใช้เงินก้อนนี้มาดึงโหวฟางอวี้เข้าเป็นพวกเพราะชื่นชมในความรู้ความสามารถของเขา แต่ทั้งคู่ไม่ต้องการมีส่วนเกี่ยวข้องกับหร่วนต้าเฉิง หลี่เซียงจวินจึงขายเครื่องประดับเอาเงินมาใช้หนี้ สร้างความโกรธแค้นให้หร่วนต้าเฉิงไม่น้อย เขาแก้แค้นด้วยการยัดเยียดข้อหาจับกลุ่มเพื่อนของโหวฟางอวี้ขังคุก โหวฟางอวี้ตัดสินใจหนีไปเข้าร่วมกับกองกำลังรักชาติ ก่อนไปเขามอบพัดเป็นของแทนใจให้นาง หร่วนต้าเฉิงจึงเอาความแค้นมาลงที่หลี่เซียงจวินแทน เขาวางแผนบีบให้นางแต่งไปเป็นอนุของขุนนางใกล้ชิดของฮ่องเต้ แต่นางเอาหัวชนเสาจนเลือดสาดไปบนพัดสลบไป เกิดเป็นคดีความใหญ่โตแต่ก็นับว่าหนีรอดจากการแต่งงานครั้งนี้ได้ ต่อมาเพื่อนของโหวฟางอวี้ได้วาดลายดอกท้อทับไปบนรอยเลือดบนพัด เกิดเป็นชื่อ ‘พัดดอกท้อ’ นี้ขึ้นมา แต่เรื่องยังไม่จบ สุดท้ายหร่วนต้าเฉิงวางแผนทำให้หลี่เซียงจวินถูกรับเข้าวังเป็นสนม เมื่อพระราชวังถูกตีแตก นางหนีรอดออกมาได้แต่ได้รับบาดเจ็บ ทำให้คลาดกันกับโหวฟางอวี้ที่ย้อนกลับมาหานาง เรื่องเล่าบั้นปลายชีวิตของนางมีหลายเวอร์ชั่น เวอร์ชั่นหนึ่งคือต่อมานางป่วยหนักจนตาย ทิ้งไว้เพียงพัดที่เปื้อนเลือดให้โหวฟางอวี้ดูต่างหน้า ส่วนโหวฟางอวี้นั้นอยู่กับกองกำลังรักชาติ แต่สุดท้ายชาติล่มสลาย บั้นปลายชีวิตไม่เหลือใคร จึงปลงผมออกบวช วรรคที่ถูกพูดเป็นงิ้วในเพลงนักแสดงสีชาดนี้ สื่อถึงการปล่อยวางความรักหญิงชาย เป็นวรรคที่ยกมาจากบทละครงิ้วเรื่องพัดดอกท้อในตอนที่เขาออกบวชนี้เอง เพลงหนึ่งเพลงกับเรื่องราวซ้อนกันสองชั้น บนเวทีแสดงเรื่องราวรักรันทดพลัดพรากให้คนชม นักแสดงอยู่บนเวทีก็มองดูเรื่องราวบ้านเมืองที่เกิดขึ้นข้างล่างเวที ส่วนคนฟังอย่างเราก็ดูทั้งเรื่องราวบนและล่างเวที คงจะกล่าวได้ว่า ‘นักแสดงสีชาด’ เป็นเพลงที่สะท้อนถึงสัจธรรมชีวิต... แท้จริงแล้วโลกเรานี้คือละคร เรามองคนอื่น คนอื่นก็มองเรา เข้าใจความหมายและเรื่องราวแล้ว ลองอ่านคำแปลเนื้อเพลงอีกครั้งและเชิญเพื่อนเพจอินกับเพลงกันได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wIyq_jTZsBY&list=WL&index=245 หรือหาฟังเวอร์ชั่นอื่นได้ด้วยชื่อเพลง 赤伶 ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.jitapuji.com/5258.html https://www.art-mate.net/doc/63311?name=千珊粵劇工作坊《桃花扇》 https://ppfocus.com/0/en57cfaab.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://kknews.cc/news/8yly6nl.html https://www.sohu.com/a/475761718_120934298#google_vignette https://baike.baidu.com/item/侯方域/380394 https://baike.baidu.com/item/桃花扇/5499 https://shidian.baike.com/wikiid/7245205732429414461?prd=mobile&anchor=lj2jc6p91rp7 https://so.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4F8F70CCD565152E14.aspx #ชึหลิง #HITA #หลี่เซียงจวิน #โหวเซียงอวี้ #พัดดอกท้อ #เถาฮวาซ่าน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1493 มุมมอง 0 รีวิว
  • วลีจีน วิญญาณผู้กล้าหวนคืนมาตุภูมิ

    สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนหลายบทความถึง ‘วลีเด็ด’ จากบทกวีจีนโบราณและวรรณกรรมจีนโบราณที่ถูกนำมาใช้ในหลายซีรีส์และนวนิยายจีน แต่จริงๆ แล้วก็มี ‘วลีเด็ด’ จากยุคปัจจุบันที่เคยถูกยกไปใช้ในซีรีส์หรือนิยายจีนโบราณด้วยเหมือนกัน

    วันนี้เรามาคุยกันถึงตัวอย่างหนึ่งจากซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> เพื่อนเพจที่ได้ดูอาจพอจำได้ว่าในระหว่างการเดินทางของคณะฑูตแคว้นอู๋ไปยังแคว้นอันเพื่อช่วยกษัตริย์แคว้นอู๋นั้น พวกเขาพบซากศพและป้ายห้อยคอประจำตัวของเหล่าทหารจากหน่วยหกวิถีที่พลีชีพก่อนหน้านี้ในศึกที่แคว้นอู๋พ่ายแพ้ และได้จัดพิธีเผาศพให้กับพวกเขา (รูปประกอบ1) ในฉากนี้ หลี่อ๋องเซ่นสุราและกล่าวออกมาประโยคหนึ่งว่า “ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์” (หมายเหตุ คำแปลตามซับไทย)

    ประโยคดังกล่าว ต้นฉบับภาษาจีนคือ ‘魂兮归来 维莫永伤 (หุนซีกุยหลาย เหวยม่อหย่งซัง)’ เป็นประโยคที่มาจากสุทรพจน์เมื่อปี 2021 เพื่อสดุดีทหารอาสาสมัครจีน โดยวรรคแรกถูกยกมาจากบทประพันธ์โบราณ

    ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ วรรคนี้มาจากบทประพันธ์ที่มีชื่อว่า ‘เรียกดวงวิญญาณ’ (招魂 /จาวหุน) บ้างว่าเป็นผลงานของชวีหยวน ขุนนางและกวีแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐที่เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อจากตำนานบ๊ะจ่าง บ้างว่าเป็นผลงานของซ่งอวี้ ขุนนางจากแคว้นฉู่เช่นกัน

    บทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ เป็นบทประพันธ์ที่ยาวมาก ลักษณะคล้ายเล่านิทาน ใจความของบทประพันธ์เป็นการเรียกและหว่านล้อมดวงวิญญาณให้กลับมาบ้าน อย่าได้ไปหยุดรั้งอยู่ในดินแดน ณ ทิศต่างๆ โดยบรรยายถึงภยันตรายและความยากลำบากในดินแดนนั้นๆ ที่อาจทำให้ดวงวิญญาณอาจดับสูญได้ และกล่าวถึงความคิดถึงของคนที่บ้านที่รอคอยให้ดวงวิญญาณนั้นหวนคืนมา ซึ่งสะท้อนถึงธรรมเนียมโบราณที่ต้องทำพิธีเรียกดวงวิญญาณของผู้ที่ตายในต่างแดนให้กลับบ้าน

    ว่ากันว่าบทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ นี้มีที่มาจากเรื่องราวของกษัตริย์ฉู่หวยหวางที่เสียท่าให้กับกุศโลบายของแคว้นฉิน ถูกจับเป็นตัวประกันหลังพ่ายศึกและพลีชีพที่นั่น ต่อมาสามปีให้หลังเมื่อสองแคว้นสงบศึกกันแล้วจึงมีการจัดพิธีศพให้แต่กษัตริย์ฉู่หวยหวาง และแม้ว่ากษัตริย์ฉู่หวยหวางจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าบริหารราชการแผ่นดินผิดพลาด แต่ในช่วงที่ถูกจับเป็นตัวประกันนั้นได้แสดงถึงความกล้าหาญยอมหักไม่ยอมงอ บทกวีนี้จึงถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงจิตวิญญาณอันหาญกล้าของผู้ที่พลีชีพในต่างแดนเพื่อแผ่นดินเกิด

    และวลี ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ ได้ถูกนำมาใช้ในสุนทรพจน์สดุดีทหารจีนในงานพิธีฝังศพทหารอาสาสมัครจีนชุดที่ 8 จำนวน 109 นายที่พลีชีพในสงครามเกาหลีเมื่อกว่า 70 ปีที่แล้วและเพิ่งได้รับการส่งคืนจากเกาหลีใต้ในเดือนกันยายน 2021 มันเป็นสุนทรพจน์ของนายซุนส้าวเฉิงในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงการทหารผ่านศึก (Ministry of Veteran Affairs) ในสมัยนั้น โดยประโยคเต็ม ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์’ นี้คือประโยคจบของสุนทรพจน์ (รูปประกอบ2)

    บทสุนทรพจน์ดังกล่าวยาวและใช้ทักษะภาษาชั้นสูงถ้อยคำงดงาม ใจความโดยสรุปคือยกย่องเหล่าทหารอาสาสมัครที่ออกไปร่วบรบเพื่อเสถียรภาพของสาธารณรัฐจีนที่เพิ่งถูกก่อตั้งขึ้นใหม่ สดุดีความกล้าหาญของพวกเขาที่ต้องเผชิญหน้าคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธสงครามที่ร้ายกาจ สุดท้ายพลีชีพอยู่ต่างแดนไม่มีโอกาสได้กลับบ้านเกิดจวบจนวันนี้ ขอให้เหล่าดวงวิญญาณกลับมาสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของประชาชนที่รักเขาและยังไม่ลืมความเสียสละของพวกเขา ได้กลับมาเห็นความเจริญเข้มแข็งของประเทศที่เขาพลีกายปกปักษ์รักษา ขอเหล่าวิญญาณผู้กล้าจงกลับคืนสู่มาตุภูมิ กลับมาสู่ความสงบ ไม่ต้องเจ็บช้ำหรือโศกเศร้าอีกต่อไป

    สุนทรพจน์นี้ได้รับการยกย่องด้วยภาษาที่งดงามและความหมายลึกซึ้งกินใจ ไม่เพียงสดุดีความกล้าหาญ แต่ยังกระตุ้นอารมณ์รักและเคารพในผู้ฟังอีกด้วย และประโยคนี้เป็นคำพูดในยุคจีนปัจจุบันที่สะท้อนวัฒนธรรมที่สั่งสมผ่านกาลเวลาจากวลีจีนโบราณ กลายมาเป็นอีกประโยคหนึ่งที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์จีน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/584621129_114988
    http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html
    https://mgronline.com/china/detail/9670000114488
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://m.shangshiwen.com/71990.html
    https://www.gushiwen.cn/mingju_991.aspx
    https://baike.baidu.com/item/招魂/8176058
    http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #เรียกดวงวิญญาณ #ชวีหยวน #ทหารอาสาสมัครจีน #สาระจีน
    วลีจีน วิญญาณผู้กล้าหวนคืนมาตุภูมิ สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนหลายบทความถึง ‘วลีเด็ด’ จากบทกวีจีนโบราณและวรรณกรรมจีนโบราณที่ถูกนำมาใช้ในหลายซีรีส์และนวนิยายจีน แต่จริงๆ แล้วก็มี ‘วลีเด็ด’ จากยุคปัจจุบันที่เคยถูกยกไปใช้ในซีรีส์หรือนิยายจีนโบราณด้วยเหมือนกัน วันนี้เรามาคุยกันถึงตัวอย่างหนึ่งจากซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> เพื่อนเพจที่ได้ดูอาจพอจำได้ว่าในระหว่างการเดินทางของคณะฑูตแคว้นอู๋ไปยังแคว้นอันเพื่อช่วยกษัตริย์แคว้นอู๋นั้น พวกเขาพบซากศพและป้ายห้อยคอประจำตัวของเหล่าทหารจากหน่วยหกวิถีที่พลีชีพก่อนหน้านี้ในศึกที่แคว้นอู๋พ่ายแพ้ และได้จัดพิธีเผาศพให้กับพวกเขา (รูปประกอบ1) ในฉากนี้ หลี่อ๋องเซ่นสุราและกล่าวออกมาประโยคหนึ่งว่า “ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์” (หมายเหตุ คำแปลตามซับไทย) ประโยคดังกล่าว ต้นฉบับภาษาจีนคือ ‘魂兮归来 维莫永伤 (หุนซีกุยหลาย เหวยม่อหย่งซัง)’ เป็นประโยคที่มาจากสุทรพจน์เมื่อปี 2021 เพื่อสดุดีทหารอาสาสมัครจีน โดยวรรคแรกถูกยกมาจากบทประพันธ์โบราณ ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ วรรคนี้มาจากบทประพันธ์ที่มีชื่อว่า ‘เรียกดวงวิญญาณ’ (招魂 /จาวหุน) บ้างว่าเป็นผลงานของชวีหยวน ขุนนางและกวีแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐที่เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อจากตำนานบ๊ะจ่าง บ้างว่าเป็นผลงานของซ่งอวี้ ขุนนางจากแคว้นฉู่เช่นกัน บทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ เป็นบทประพันธ์ที่ยาวมาก ลักษณะคล้ายเล่านิทาน ใจความของบทประพันธ์เป็นการเรียกและหว่านล้อมดวงวิญญาณให้กลับมาบ้าน อย่าได้ไปหยุดรั้งอยู่ในดินแดน ณ ทิศต่างๆ โดยบรรยายถึงภยันตรายและความยากลำบากในดินแดนนั้นๆ ที่อาจทำให้ดวงวิญญาณอาจดับสูญได้ และกล่าวถึงความคิดถึงของคนที่บ้านที่รอคอยให้ดวงวิญญาณนั้นหวนคืนมา ซึ่งสะท้อนถึงธรรมเนียมโบราณที่ต้องทำพิธีเรียกดวงวิญญาณของผู้ที่ตายในต่างแดนให้กลับบ้าน ว่ากันว่าบทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ นี้มีที่มาจากเรื่องราวของกษัตริย์ฉู่หวยหวางที่เสียท่าให้กับกุศโลบายของแคว้นฉิน ถูกจับเป็นตัวประกันหลังพ่ายศึกและพลีชีพที่นั่น ต่อมาสามปีให้หลังเมื่อสองแคว้นสงบศึกกันแล้วจึงมีการจัดพิธีศพให้แต่กษัตริย์ฉู่หวยหวาง และแม้ว่ากษัตริย์ฉู่หวยหวางจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าบริหารราชการแผ่นดินผิดพลาด แต่ในช่วงที่ถูกจับเป็นตัวประกันนั้นได้แสดงถึงความกล้าหาญยอมหักไม่ยอมงอ บทกวีนี้จึงถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงจิตวิญญาณอันหาญกล้าของผู้ที่พลีชีพในต่างแดนเพื่อแผ่นดินเกิด และวลี ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ ได้ถูกนำมาใช้ในสุนทรพจน์สดุดีทหารจีนในงานพิธีฝังศพทหารอาสาสมัครจีนชุดที่ 8 จำนวน 109 นายที่พลีชีพในสงครามเกาหลีเมื่อกว่า 70 ปีที่แล้วและเพิ่งได้รับการส่งคืนจากเกาหลีใต้ในเดือนกันยายน 2021 มันเป็นสุนทรพจน์ของนายซุนส้าวเฉิงในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงการทหารผ่านศึก (Ministry of Veteran Affairs) ในสมัยนั้น โดยประโยคเต็ม ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์’ นี้คือประโยคจบของสุนทรพจน์ (รูปประกอบ2) บทสุนทรพจน์ดังกล่าวยาวและใช้ทักษะภาษาชั้นสูงถ้อยคำงดงาม ใจความโดยสรุปคือยกย่องเหล่าทหารอาสาสมัครที่ออกไปร่วบรบเพื่อเสถียรภาพของสาธารณรัฐจีนที่เพิ่งถูกก่อตั้งขึ้นใหม่ สดุดีความกล้าหาญของพวกเขาที่ต้องเผชิญหน้าคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธสงครามที่ร้ายกาจ สุดท้ายพลีชีพอยู่ต่างแดนไม่มีโอกาสได้กลับบ้านเกิดจวบจนวันนี้ ขอให้เหล่าดวงวิญญาณกลับมาสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของประชาชนที่รักเขาและยังไม่ลืมความเสียสละของพวกเขา ได้กลับมาเห็นความเจริญเข้มแข็งของประเทศที่เขาพลีกายปกปักษ์รักษา ขอเหล่าวิญญาณผู้กล้าจงกลับคืนสู่มาตุภูมิ กลับมาสู่ความสงบ ไม่ต้องเจ็บช้ำหรือโศกเศร้าอีกต่อไป สุนทรพจน์นี้ได้รับการยกย่องด้วยภาษาที่งดงามและความหมายลึกซึ้งกินใจ ไม่เพียงสดุดีความกล้าหาญ แต่ยังกระตุ้นอารมณ์รักและเคารพในผู้ฟังอีกด้วย และประโยคนี้เป็นคำพูดในยุคจีนปัจจุบันที่สะท้อนวัฒนธรรมที่สั่งสมผ่านกาลเวลาจากวลีจีนโบราณ กลายมาเป็นอีกประโยคหนึ่งที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์จีน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/584621129_114988 http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html https://mgronline.com/china/detail/9670000114488 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://m.shangshiwen.com/71990.html https://www.gushiwen.cn/mingju_991.aspx https://baike.baidu.com/item/招魂/8176058 http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #เรียกดวงวิญญาณ #ชวีหยวน #ทหารอาสาสมัครจีน #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1364 มุมมอง 0 รีวิว