• **<ปรปักษ์จำนน> กับพิธีแต่งงานสมัยฮั่น**

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงสินสอดในเรื่อง <ปรปักษ์จำนน> วันนี้เลยมาคุยต่อถึงพิธีแต่งงานที่คู่บ่าวสาวนั่งกินอาหารด้วยกันกลางโถง ซึ่งเป็นพิธีการที่เราไม่ค่อยเห็นกันบ่อยในซีรีส์ โดยขั้นตอนตามที่เห็นในซีรีส์คือ “...ชำระมือและหน้า ... รับประทานเนื้อสัตว์อย่างเดียวกัน ... ข้าวชามเดียวกัน ... ดื่มน้ำแกง ... จิ้มน้ำจิ้ม ... ดื่มสุราจากภาชนะน้ำเต้าอันเดียวกัน” (หมายเหตุ อิงตามซับไทย)

    ดูแล้วนึกว่ามันคือพิธีการเดียว แต่จริงๆ แล้วมันประกอบด้วยพิธีการสามส่วนค่ะ และเป็นพิธีการแต่งงานจากในสมัยฮั่น

    ส่วนแรกเรียกว่าพิธี ‘เฟิ่งอี๋ว่อก้วน’ (奉匜沃盥) ซึ่งก็คือการล้างมือก่อนการทำพิธีสักการะบูชาหรือก่อนเข้าร่วมงานพิธีการหรืองานเลี้ยงสำคัญ ปรากฏอยู่ในหนังสือบันทึกพิธีการหลี่จี้และ คัมภีร์ชุนชิวฉบับจั่วจ้วน (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงคัมภีร์ชุนชิวแล้ว ย้อนอ่านดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่าง) โดยเป็นลักษณะใช้เหยือกเทน้ำรดมือให้น้ำไหลทิ้งลงบนอ่างที่มีคนถือรองไว้

    ส่วนที่สองเรียกว่าพิธี ‘ถงเหลา’ (同牢) คือบ่าวสาวนั่งรับประทานอาหารร่วมโต๊ะเดียวกัน ซึ่งเป็นพิธีการเชิงสัญลักษณ์ว่าสองคนสามีภรรยารวมกันเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันแล้ว ทั้งนี้ เพราะว่าปกติในสมัยนั้นสตรีและบุรุษจะนั่งแยกโต๊ะกัน

    ในส่วนของพิธีถงเหลานี้ ตามที่บันทึกไว้ในบันทึกพิธีการหลี่จี้คือบ่าวสาวจะกินเนื้อสัตว์ที่ตักจากชิ้นใหญ่ชิ้นเดียวกัน (นึกภาพว่าปกติเสิร์ฟเป็นเนื้อชิ้นใหญ่ชิ้นเดียวหรือทั้งตัวแล้วแล่แต่พอคำ เพราะ ‘เหลา’ ในที่นี้หมายถึงสัตว์สี่เท้าที่ในสมัยนั้นนิยมใช้เซ่นไหว้ เช่น วัว หมู หรือแกะ) นอกจากนี้ ในเอกสารอื่นระบุว่าบ่าวสาวจะร่วมกินอาหารสามครั้งหรือ ‘ซานฟ่าน’ (三饭) กล่าวคือ กินข้าว กินน้ำแกงต้มจากเนื้อ และใช้นิ้วจิ้มน้ำจิ้มกิน (เช่น เต้าเจี้ยว) แต่จนใจ Storyฯ หาไม่พบว่าสามรายการนี้แฝงความหมายอะไรไว้หรือไม่ แน่นอนว่ากินกันเล็กน้อยพอเป็นพิธีเท่านั้น

    ส่วนที่สามเรียกว่าพิธี ‘เหอจิ่น’ (合卺) แปลตรงตัวว่านำมาประกบกัน ซึ่งก็คือการร่วมดื่มสุรามงคล ตามที่บันทึกไว้ในบันทึกพิธีการหลี่จี้นั้น จะใช้ภาชนะทำจากน้ำเต้าผ่าครึ่งใส่เหล้าดื่ม เป็นการ ‘ล้างปาก’ หลังจากร่วมกินอาหารเสร็จ แต่ในเอกสารโบราณที่กล่าวถึงการกินอาหารสามครั้งก็ระบุว่าให้ดื่มเหล้าสามครั้งเช่นกัน โดยสองครั้งแรกใช้จอกเหล้า ครั้งที่สามคือใช้น้ำเต้าผ่าครึ่ง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ว่าสามีภรรยารวมกันเป็นหนึ่งเดียว เป็นที่มาของการแลกกันดื่มหรือ ‘เจียวเปย’ (交杯) ซึ่งต่อมากลายเป็นภาพเกี่ยวแขนดื่มสุรามงคลที่เราเห็นในหลายซีรีส์

    และนี่ก็คือส่วนหนึ่งของพิธีการแต่งงานสมัยฮั่นซึ่งไม่มีการกราบไหว้ฟ้าดินหรือโค้งคารวะพ่อแม่แบบที่เราเห็นในยุคสมัยหลังจากนั้น

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊กด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความเก่า:
    คัมภีร์ชุนชิว: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1248905993904357
    ผูกปมผม: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/368606858600946
    สีชุดเจ้าสาว: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/116299537122708

    Credit รูปภาพจาก: https://tidenews.com.cn/news.html?id=3130023
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.sohu.com/a/800556927_120808812
    https://www.sxgp.gov.cn/zjgp/gpgs_427/202101/t20210120_1341716.shtml
    https://k.sina.cn/article_7142104121_1a9b3dc3900100jj2k.html
    https://liji.5000yan.com/hunyi/348.html
    https://www.jiemian.com/article/1057773.html

    #ปรปักษ์จำนน #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #สุรามงคล #บันทึกพิธีการหลี่จี้ #สาระจีน
    **<ปรปักษ์จำนน> กับพิธีแต่งงานสมัยฮั่น** สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงสินสอดในเรื่อง <ปรปักษ์จำนน> วันนี้เลยมาคุยต่อถึงพิธีแต่งงานที่คู่บ่าวสาวนั่งกินอาหารด้วยกันกลางโถง ซึ่งเป็นพิธีการที่เราไม่ค่อยเห็นกันบ่อยในซีรีส์ โดยขั้นตอนตามที่เห็นในซีรีส์คือ “...ชำระมือและหน้า ... รับประทานเนื้อสัตว์อย่างเดียวกัน ... ข้าวชามเดียวกัน ... ดื่มน้ำแกง ... จิ้มน้ำจิ้ม ... ดื่มสุราจากภาชนะน้ำเต้าอันเดียวกัน” (หมายเหตุ อิงตามซับไทย) ดูแล้วนึกว่ามันคือพิธีการเดียว แต่จริงๆ แล้วมันประกอบด้วยพิธีการสามส่วนค่ะ และเป็นพิธีการแต่งงานจากในสมัยฮั่น ส่วนแรกเรียกว่าพิธี ‘เฟิ่งอี๋ว่อก้วน’ (奉匜沃盥) ซึ่งก็คือการล้างมือก่อนการทำพิธีสักการะบูชาหรือก่อนเข้าร่วมงานพิธีการหรืองานเลี้ยงสำคัญ ปรากฏอยู่ในหนังสือบันทึกพิธีการหลี่จี้และ คัมภีร์ชุนชิวฉบับจั่วจ้วน (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงคัมภีร์ชุนชิวแล้ว ย้อนอ่านดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่าง) โดยเป็นลักษณะใช้เหยือกเทน้ำรดมือให้น้ำไหลทิ้งลงบนอ่างที่มีคนถือรองไว้ ส่วนที่สองเรียกว่าพิธี ‘ถงเหลา’ (同牢) คือบ่าวสาวนั่งรับประทานอาหารร่วมโต๊ะเดียวกัน ซึ่งเป็นพิธีการเชิงสัญลักษณ์ว่าสองคนสามีภรรยารวมกันเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันแล้ว ทั้งนี้ เพราะว่าปกติในสมัยนั้นสตรีและบุรุษจะนั่งแยกโต๊ะกัน ในส่วนของพิธีถงเหลานี้ ตามที่บันทึกไว้ในบันทึกพิธีการหลี่จี้คือบ่าวสาวจะกินเนื้อสัตว์ที่ตักจากชิ้นใหญ่ชิ้นเดียวกัน (นึกภาพว่าปกติเสิร์ฟเป็นเนื้อชิ้นใหญ่ชิ้นเดียวหรือทั้งตัวแล้วแล่แต่พอคำ เพราะ ‘เหลา’ ในที่นี้หมายถึงสัตว์สี่เท้าที่ในสมัยนั้นนิยมใช้เซ่นไหว้ เช่น วัว หมู หรือแกะ) นอกจากนี้ ในเอกสารอื่นระบุว่าบ่าวสาวจะร่วมกินอาหารสามครั้งหรือ ‘ซานฟ่าน’ (三饭) กล่าวคือ กินข้าว กินน้ำแกงต้มจากเนื้อ และใช้นิ้วจิ้มน้ำจิ้มกิน (เช่น เต้าเจี้ยว) แต่จนใจ Storyฯ หาไม่พบว่าสามรายการนี้แฝงความหมายอะไรไว้หรือไม่ แน่นอนว่ากินกันเล็กน้อยพอเป็นพิธีเท่านั้น ส่วนที่สามเรียกว่าพิธี ‘เหอจิ่น’ (合卺) แปลตรงตัวว่านำมาประกบกัน ซึ่งก็คือการร่วมดื่มสุรามงคล ตามที่บันทึกไว้ในบันทึกพิธีการหลี่จี้นั้น จะใช้ภาชนะทำจากน้ำเต้าผ่าครึ่งใส่เหล้าดื่ม เป็นการ ‘ล้างปาก’ หลังจากร่วมกินอาหารเสร็จ แต่ในเอกสารโบราณที่กล่าวถึงการกินอาหารสามครั้งก็ระบุว่าให้ดื่มเหล้าสามครั้งเช่นกัน โดยสองครั้งแรกใช้จอกเหล้า ครั้งที่สามคือใช้น้ำเต้าผ่าครึ่ง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ว่าสามีภรรยารวมกันเป็นหนึ่งเดียว เป็นที่มาของการแลกกันดื่มหรือ ‘เจียวเปย’ (交杯) ซึ่งต่อมากลายเป็นภาพเกี่ยวแขนดื่มสุรามงคลที่เราเห็นในหลายซีรีส์ และนี่ก็คือส่วนหนึ่งของพิธีการแต่งงานสมัยฮั่นซึ่งไม่มีการกราบไหว้ฟ้าดินหรือโค้งคารวะพ่อแม่แบบที่เราเห็นในยุคสมัยหลังจากนั้น (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊กด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความเก่า: คัมภีร์ชุนชิว: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1248905993904357 ผูกปมผม: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/368606858600946 สีชุดเจ้าสาว: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/116299537122708 Credit รูปภาพจาก: https://tidenews.com.cn/news.html?id=3130023 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.sohu.com/a/800556927_120808812 https://www.sxgp.gov.cn/zjgp/gpgs_427/202101/t20210120_1341716.shtml https://k.sina.cn/article_7142104121_1a9b3dc3900100jj2k.html https://liji.5000yan.com/hunyi/348.html https://www.jiemian.com/article/1057773.html #ปรปักษ์จำนน #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #สุรามงคล #บันทึกพิธีการหลี่จี้ #สาระจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 241 มุมมอง 0 รีวิว
  • **แมวป่าเซอลี่ สินสอดที่มอบให้เสี่ยวเฉียว**

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูซี่รีส์เรื่อง <ปรปักษ์จำนน> คงจำได้ว่าตั้งแต่ต้นเรื่องมีการกล่าวถึงสินสอดที่หลิวเหยี่ยนนำมามอบให้นางเอกว่าใช้เพียงพอนมาแทนแมวป่า และเชื่อว่าหลายท่านอาจเกิดความ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ ว่าจริงๆ แล้วมันมีความหมายอย่างไร

    จริงๆ แล้วรายการสินสอดผันแปรไปตามยุคสมัย นอกจากจะปฏิบัติตามธรรมเนียมโบราณแล้ว ในบางยุคสมัยยังมีกฎหมายกำหนด เช่นในสมัยถังเริ่มมีบทกฎหมายระบุเกณฑ์ขั้นสูงสุดของสินสอดสำหรับชาวบ้านทั่วไป ทั้งนี้เพื่อจำกัดพฤติกรรมการซื้อสะใภ้หรือขายลูกสาว

    <ปรปักษ์จำนน> เป็นยุคสมัยในจินตนาการแต่ดูองค์ประกอบคล้ายคลึงตอนปลายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (แถวๆ ช่วงปีค.ศ. 180-220) ซึ่งพิธีการและธรรมเนียมส่วนใหญ่สืบทอดมาจากราชวงศ์ก่อนๆ

    หากเราดูตามบันทึกพิธีการหลี่จี้จะพบว่าสินสอดสำหรับขุนนางในสมัยก่อนราชวงศ์ฮั่นนั้น ประกอบด้วยผ้าสีดำแดงห้าพับและหนังกวางเต็มตัวสองผืน ฟังดูไม่มากแต่ล้วนสะท้อนความนัย โดยสีดำแดงสะท้อนหยินหยางและฟ้าดินคู่กัน ผ้าผืนห้าพับจับปลายชนกันแสดงถึงห้าธาตุห้าวง และหนังกวางเป็นสัญลักษณ์ของการล่าสัตว์ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถในการทำมาหาเลี้ยงชีพของชาย ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติชาวบ้านทั่วไปอาจใช้ห่านป่ามาทดแทนหนังกวางที่หายากและแพง

    ต่อมาในสมัยฮั่น รายการสินสอดถูกเพิ่มขึ้นเป็นสามสิบรายการโดยให้ความสำคัญกับทองคำ ทั้งนี้ รายการอื่นประกอบด้วยสัตว์ (ซึ่งอาจแตกออกมาเป็นสัตว์สี่เท้าและสัตว์สองเท้า) ผ้าไหมหรือผ้าผืน สุรา และธัญพืชหลากชนิด ซึ่งอาจไม่ได้มีมูลค่าสูงนักแต่เน้นที่ความหมายมงคลและความตั้งใจในการคัดสรร

    แมวป่าที่พูดถึงใน ซีรีส์ <ปรปักษ์จำนน> นี้คือสัตว์สี่เท้าที่ถูกนำมาใช้เป็น ‘สัตว์หมั้นหมาย’ ((聘兽/พิ่นโซ่ว) ซึ่งในบริบทของสินสอดมันเป็นสัญลักษณ์ของการล่าสัตว์หรือความสามารถในการทำมาหาเลี้ยงชีพของฝ่ายชายนั่นเอง (อนึ่ง หากใช้สัตว์สี่เท้าชนิดอื่นก็อาจมีความหมายอื่น)

    แมวป่าดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า ‘เซอลี่’ (หรือ Lynx ในภาษาอังกฤษ) ซึ่งเป็นสัตว์นักล่าชนิดหนึ่งในตระกูลแมว มีขนาดเล็กกว่าเสือแต่ใหญ่กว่าแมว ลายจุดหางสั้น ลำตัวยาวประมาณ 0.8-1.3 เมตรเมื่อโตเต็มที่ โดยมีเอกลักษณ์คือหูที่เรียวและมีขนสีดำยาวงอนขึ้น (ดูรูปประกอบ) ปัจจุบันมีอยู่สี่สายพันธ์ด้วยกันโดยที่พบเห็นในจีนถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Eurasian Lynx และเป็นหนึ่งในสัตว์สงวน

    เท่าที่ Storyฯ ทำการบ้านมา ยังไม่เห็นความหมายเชิงมงคลเป็นพิเศษของแมวป่าเซอลี่ แต่มันถูกยกย่องให้เป็นเจ้าแห่งภูเขาด้วยความว่องไวของมันทั้งบนพื้นและบนต้นไม้ มีอีกชื่อเรียกว่า ‘โบยบินเหนือหญ้า’ (草上飞/เฉ่าซ่างเฟย) และคนที่มีฐานะอันจะกินในสมัยโบราณนิยมใช้เซอลี่เป็นตัวช่วยในการล่าสัตว์ โดยเฉพาะในสมัยถัง จัดเป็นสัตว์ที่มีค่าหายากชนิดหนึ่ง

    และด้วยความที่แมวป่าเซอลี่เป็นสัตว์ที่ว่องไวล่าได้ยาก มันจึงถูกนำมาใช้ในซีรีส์ <ปรปักษ์จำนน> เป็นสัตว์หมั้นหมายที่แสดงถึงความตั้งใจอย่างยิ่งยวดของฝ่ายชาย โดยพระเอกตั้งใจออกไปล่ามาด้วยตนเองเพื่อใช้เป็นสินสอด ในขณะที่หลิวเหยี่ยนใช้เพียงพอนมาเป็นตัวแทน นอกจากนี้ รายการสินสอดอื่นที่หลิวเหยี่ยนมอบให้นางเอกนั้นยังตกๆ หล่นๆ ไม่ว่าจะจำนวนรายการที่ไม่มากและผ้าผืนที่มีเพียงผ้าสีดำ (ไม่ใช่สีดำแดงตามพิธีการโบราณ) สะท้อนถึงความไม่ใส่ใจของหลิวเหยี่ยนซึ่งนางเอกก็รู้ดี

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=230176 https://www.sohu.com/a/571225018_121392910
    https://www.toutiao.com/article/7327926416916775465/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_10502786
    https://www.163.com/dy/article/HTQM9DMC0552XHZR.html
    https://culture.ycwb.com/2020-05/02/content_796281.htm
    https://www.napaidd.com/news/c6036/d93278

    #ปรปักษ์จำนน #สินสอดจีนโบราณ #แมวป่า #เซอลี่ #สาระจีน
    **แมวป่าเซอลี่ สินสอดที่มอบให้เสี่ยวเฉียว** สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูซี่รีส์เรื่อง <ปรปักษ์จำนน> คงจำได้ว่าตั้งแต่ต้นเรื่องมีการกล่าวถึงสินสอดที่หลิวเหยี่ยนนำมามอบให้นางเอกว่าใช้เพียงพอนมาแทนแมวป่า และเชื่อว่าหลายท่านอาจเกิดความ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ ว่าจริงๆ แล้วมันมีความหมายอย่างไร จริงๆ แล้วรายการสินสอดผันแปรไปตามยุคสมัย นอกจากจะปฏิบัติตามธรรมเนียมโบราณแล้ว ในบางยุคสมัยยังมีกฎหมายกำหนด เช่นในสมัยถังเริ่มมีบทกฎหมายระบุเกณฑ์ขั้นสูงสุดของสินสอดสำหรับชาวบ้านทั่วไป ทั้งนี้เพื่อจำกัดพฤติกรรมการซื้อสะใภ้หรือขายลูกสาว <ปรปักษ์จำนน> เป็นยุคสมัยในจินตนาการแต่ดูองค์ประกอบคล้ายคลึงตอนปลายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (แถวๆ ช่วงปีค.ศ. 180-220) ซึ่งพิธีการและธรรมเนียมส่วนใหญ่สืบทอดมาจากราชวงศ์ก่อนๆ หากเราดูตามบันทึกพิธีการหลี่จี้จะพบว่าสินสอดสำหรับขุนนางในสมัยก่อนราชวงศ์ฮั่นนั้น ประกอบด้วยผ้าสีดำแดงห้าพับและหนังกวางเต็มตัวสองผืน ฟังดูไม่มากแต่ล้วนสะท้อนความนัย โดยสีดำแดงสะท้อนหยินหยางและฟ้าดินคู่กัน ผ้าผืนห้าพับจับปลายชนกันแสดงถึงห้าธาตุห้าวง และหนังกวางเป็นสัญลักษณ์ของการล่าสัตว์ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถในการทำมาหาเลี้ยงชีพของชาย ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติชาวบ้านทั่วไปอาจใช้ห่านป่ามาทดแทนหนังกวางที่หายากและแพง ต่อมาในสมัยฮั่น รายการสินสอดถูกเพิ่มขึ้นเป็นสามสิบรายการโดยให้ความสำคัญกับทองคำ ทั้งนี้ รายการอื่นประกอบด้วยสัตว์ (ซึ่งอาจแตกออกมาเป็นสัตว์สี่เท้าและสัตว์สองเท้า) ผ้าไหมหรือผ้าผืน สุรา และธัญพืชหลากชนิด ซึ่งอาจไม่ได้มีมูลค่าสูงนักแต่เน้นที่ความหมายมงคลและความตั้งใจในการคัดสรร แมวป่าที่พูดถึงใน ซีรีส์ <ปรปักษ์จำนน> นี้คือสัตว์สี่เท้าที่ถูกนำมาใช้เป็น ‘สัตว์หมั้นหมาย’ ((聘兽/พิ่นโซ่ว) ซึ่งในบริบทของสินสอดมันเป็นสัญลักษณ์ของการล่าสัตว์หรือความสามารถในการทำมาหาเลี้ยงชีพของฝ่ายชายนั่นเอง (อนึ่ง หากใช้สัตว์สี่เท้าชนิดอื่นก็อาจมีความหมายอื่น) แมวป่าดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า ‘เซอลี่’ (หรือ Lynx ในภาษาอังกฤษ) ซึ่งเป็นสัตว์นักล่าชนิดหนึ่งในตระกูลแมว มีขนาดเล็กกว่าเสือแต่ใหญ่กว่าแมว ลายจุดหางสั้น ลำตัวยาวประมาณ 0.8-1.3 เมตรเมื่อโตเต็มที่ โดยมีเอกลักษณ์คือหูที่เรียวและมีขนสีดำยาวงอนขึ้น (ดูรูปประกอบ) ปัจจุบันมีอยู่สี่สายพันธ์ด้วยกันโดยที่พบเห็นในจีนถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Eurasian Lynx และเป็นหนึ่งในสัตว์สงวน เท่าที่ Storyฯ ทำการบ้านมา ยังไม่เห็นความหมายเชิงมงคลเป็นพิเศษของแมวป่าเซอลี่ แต่มันถูกยกย่องให้เป็นเจ้าแห่งภูเขาด้วยความว่องไวของมันทั้งบนพื้นและบนต้นไม้ มีอีกชื่อเรียกว่า ‘โบยบินเหนือหญ้า’ (草上飞/เฉ่าซ่างเฟย) และคนที่มีฐานะอันจะกินในสมัยโบราณนิยมใช้เซอลี่เป็นตัวช่วยในการล่าสัตว์ โดยเฉพาะในสมัยถัง จัดเป็นสัตว์ที่มีค่าหายากชนิดหนึ่ง และด้วยความที่แมวป่าเซอลี่เป็นสัตว์ที่ว่องไวล่าได้ยาก มันจึงถูกนำมาใช้ในซีรีส์ <ปรปักษ์จำนน> เป็นสัตว์หมั้นหมายที่แสดงถึงความตั้งใจอย่างยิ่งยวดของฝ่ายชาย โดยพระเอกตั้งใจออกไปล่ามาด้วยตนเองเพื่อใช้เป็นสินสอด ในขณะที่หลิวเหยี่ยนใช้เพียงพอนมาเป็นตัวแทน นอกจากนี้ รายการสินสอดอื่นที่หลิวเหยี่ยนมอบให้นางเอกนั้นยังตกๆ หล่นๆ ไม่ว่าจะจำนวนรายการที่ไม่มากและผ้าผืนที่มีเพียงผ้าสีดำ (ไม่ใช่สีดำแดงตามพิธีการโบราณ) สะท้อนถึงความไม่ใส่ใจของหลิวเหยี่ยนซึ่งนางเอกก็รู้ดี (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=230176 https://www.sohu.com/a/571225018_121392910 https://www.toutiao.com/article/7327926416916775465/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_10502786 https://www.163.com/dy/article/HTQM9DMC0552XHZR.html https://culture.ycwb.com/2020-05/02/content_796281.htm https://www.napaidd.com/news/c6036/d93278 #ปรปักษ์จำนน #สินสอดจีนโบราณ #แมวป่า #เซอลี่ #สาระจีน
    WWW.UPMEDIA.MG
    劉宇寧、宋祖兒新劇《折腰》首播熱度奪冠 來自台灣的「他」與她上演祖孫訣別逼哭全網--上報
    (以下內容涉及劇透,請斟酌閱讀)陸劇女星宋祖兒因逃稅慘遭冷藏2年,近期順利解禁,她主演的多部新劇傳出......
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 308 มุมมอง 0 รีวิว
  • **ชื่อเรื่อง <ปรปักษ์จำนน> กับวลีจีนโบราณ**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเรื่องชื่อนิยายและซีรีส์ <ปรปักษ์จำนน> ที่ Storyฯ รู้สึกว่าชื่อไทยแปลได้อรรถรสของชื่อจีนดีมาก

    ชื่อจีนของเรื่องนี้คือ ‘เจ๋อเยา’ (折腰) แปลตรงตัวว่าหักเอว ซึ่งมาจากการโค้งคำนับต่ำมากเพื่อแสดงถึงความเคารพอย่างยิ่งยวด แต่คำว่า ‘เจ๋อเยา’ ไม่ได้เป็นชื่อเรียกท่าโค้งคำนับ หากแต่มีความหมายว่ายอมจำนนหรือยอมสยบต่ออำนาจหรืออิทธิพลที่เหนือกว่า และมันมีที่มาจากวลีจีนโบราณ ‘ไม่ยอมสยบ (หักเอว) เพื่อข้าวสารห้าโต่ว’

    วลีนี้ปรากฏอยู่ในบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์จิ้น (晋书) ส่วนที่บันทึกเรื่องราวบุคคลสำคัญในบรรพที่ชื่อว่า ‘เถาเฉียนจ้วน’ (陶潜传 / ตำนานเถาเฉียน) และเจ้าของวลีคือเถายวนหมิง หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เถาเฉียน เขาเป็นกวีและนักประพันธ์ชื่อดังในสมัยจิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420) มีผลงานเลื่องชื่อมากมาย เช่น วรรณกรรมเรื่อง ‘บันทึกดินแดนดอกท้อ’ เกี่ยวกับดินแดนดอกท้ออันเป็นตัวแทนของดินแดนหรือสังคมในอุดมคติหรือที่ฝรั่งเรียกว่า Utopia ที่มนุษย์แสวงหา (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว ย้อนอ่านได้ที่ลิ้งค์ใต้บทความ)

    เถายวนหมิงมีพื้นเพมาจากตระกูลขุนนางเก่าซึ่งมีฐานะค่อนข้างดี ปู่ทวดเป็นมหาเสนาบดีกลาโหม ปู่เป็นผู้ว่าราชการมณฑล เขาจึงได้รับการศึกษาอย่างดีมาแต่เด็ก ต่อมาฐานะครอบครัวตกต่ำลงจนถึงขั้นยากจนหลังจากบิดาเสียชีวิตไปเมื่อเขาอายุได้แปดขวบ แต่เขาก็ยังหมั่นเพียรขยันศึกษาจนต่อมาได้รับอิทธิพลทางความคิดจากลัทธิเต๋า

    ในช่วงอายุ 29 – 40 ปี เถายวนหมิงเคยเข้ารับราชการเพื่อหาเลี้ยงชีพแต่ก็ต้องลาออกเพราะไม่ชอบการพินอบพิเทาเจ้านายและไม่ชอบการแก่งแย่งชิงดีทางการเมือง แต่แล้วก็เข้ารับราชการใหม่ เป็นเช่นนี้หลายครั้งครา ทั้งนี้เพราะเขามีใจใฝ่ความสงบของธรรมชาติ รักมัธยัสถ์ ไม่ชอบการแก่งแย่งชิงดี ต่อมาจึงตัดสินใจลาออกจากราชการอย่างถาวรและหันไปทำไร่ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่ก็สุขใจสามารถร่ำสุราแต่งกลอนตามใจอยากและได้สร้างผลงานวรรณกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยผลงานของเขาล้วนแฝงด้วยจิตวิญญาณของธรรมชาติ ความเรียบง่าย และพลังแห่งชีวิต และต่อมาเถายวนหมิงได้ถูกยกย่องเป็นต้นแบบของการละทิ้งลาภยศชื่อเสียงและการใช้ชีวิตอย่างสมถะตามหลักปรัชญาแห่งเต๋า

    วลี ‘ไม่ยอมสยบ (หักเอว) เพื่อข้าวสารห้าโต่ว’ นี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อตอนเถายวนหมิงอายุสี่สิบปี เข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ว่าการเขตเผิงเจ๋อ (ตั้งอยู่ทางเหนือของมณฑลเจียงซี) อยู่มาวันหนึ่งมีผู้ตรวจการมาตรวจงาน เสมียนหลวงบอกเขาว่าควรแต่งตัวให้เรียบร้อยอย่างเป็นทางการไปต้อนรับผู้ตรวจการ เขาถอนหายใจด้วยความเบื่อหน่ายและกล่าววลีนี้ออกมา และเมื่อกล่าวเสร็จเขาก็ยื่นใบลาออกหลังจากรับราชการมาได้เพียงแปดสิบเอ็ดวัน และหลังจากนั้นก็ไม่เข้ารับราชการอีกเลย

    แล้วทำไมต้อง ‘ข้าวสารห้าโต่ว’ ?

    ประเด็นนี้มีการตีความกันหลากหลาย แต่โดยส่วนใหญ่จะตีความว่า ข้าวสารห้าโต่วคือค่าจ้างของขุนนางระดับผู้ว่าการเขตในสมัยนั้น (หนึ่งโต่วในสมัยนั้นคือประมาณเจ็ดลิตร) ซึ่งฟังดูน้อยนิดเมื่อคำนวณเทียบกับบันทึกโบราณว่าด้วยเงินเดือนข้าราชการ บ้างก็ว่าเป็นเงินเดือนแต่ยังไม่รวมค่าตอบแทนอื่น เช่นผ้าไหม บ้างก็ว่าคิดได้เป็นค่าจ้างรายวันเท่านั้น บ้างก็ว่าเป็นปริมาณข้าวสารที่พอเพียงสำหรับหนึ่งคนในหนึ่งเดือน

    แต่ไม่ว่า ‘ข้าวสารห้าโต่ว’ จะมีความหมายที่แท้จริงอย่างไร เหตุการณ์นี้ถูกบันทึกไว้และกล่าวถึงอย่างยกย่องว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการละทิ้งยศศักดิ์ และวลีนี้ได้กลายมาเป็นสำนวนจีนที่ถูกใช้ผ่านกาลเวลาหลายยุคสมัยเพื่อแปลว่า ไม่ยอมละทิ้งจิตวิญญาณของตนเพื่อยอมสยบให้กับอำนาจหรืออิทธิพล

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความเก่า:
    ดินแดนดอกท้อ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/525898876205076

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.yangtse.com/news/wy/202506/t20250603_215987.html
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_2197713
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/陶渊明/53944
    https://baike.baidu.com/item/陶潜传/75756
    https://k.sina.cn/article_5044281310_12ca99fde020004fcq.html

    #ปรปักษ์จำนน #เจ๋อเยา #เถาเฉียน #เถายวนหมิง #สาระจีน
    **ชื่อเรื่อง <ปรปักษ์จำนน> กับวลีจีนโบราณ** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเรื่องชื่อนิยายและซีรีส์ <ปรปักษ์จำนน> ที่ Storyฯ รู้สึกว่าชื่อไทยแปลได้อรรถรสของชื่อจีนดีมาก ชื่อจีนของเรื่องนี้คือ ‘เจ๋อเยา’ (折腰) แปลตรงตัวว่าหักเอว ซึ่งมาจากการโค้งคำนับต่ำมากเพื่อแสดงถึงความเคารพอย่างยิ่งยวด แต่คำว่า ‘เจ๋อเยา’ ไม่ได้เป็นชื่อเรียกท่าโค้งคำนับ หากแต่มีความหมายว่ายอมจำนนหรือยอมสยบต่ออำนาจหรืออิทธิพลที่เหนือกว่า และมันมีที่มาจากวลีจีนโบราณ ‘ไม่ยอมสยบ (หักเอว) เพื่อข้าวสารห้าโต่ว’ วลีนี้ปรากฏอยู่ในบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์จิ้น (晋书) ส่วนที่บันทึกเรื่องราวบุคคลสำคัญในบรรพที่ชื่อว่า ‘เถาเฉียนจ้วน’ (陶潜传 / ตำนานเถาเฉียน) และเจ้าของวลีคือเถายวนหมิง หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เถาเฉียน เขาเป็นกวีและนักประพันธ์ชื่อดังในสมัยจิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420) มีผลงานเลื่องชื่อมากมาย เช่น วรรณกรรมเรื่อง ‘บันทึกดินแดนดอกท้อ’ เกี่ยวกับดินแดนดอกท้ออันเป็นตัวแทนของดินแดนหรือสังคมในอุดมคติหรือที่ฝรั่งเรียกว่า Utopia ที่มนุษย์แสวงหา (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว ย้อนอ่านได้ที่ลิ้งค์ใต้บทความ) เถายวนหมิงมีพื้นเพมาจากตระกูลขุนนางเก่าซึ่งมีฐานะค่อนข้างดี ปู่ทวดเป็นมหาเสนาบดีกลาโหม ปู่เป็นผู้ว่าราชการมณฑล เขาจึงได้รับการศึกษาอย่างดีมาแต่เด็ก ต่อมาฐานะครอบครัวตกต่ำลงจนถึงขั้นยากจนหลังจากบิดาเสียชีวิตไปเมื่อเขาอายุได้แปดขวบ แต่เขาก็ยังหมั่นเพียรขยันศึกษาจนต่อมาได้รับอิทธิพลทางความคิดจากลัทธิเต๋า ในช่วงอายุ 29 – 40 ปี เถายวนหมิงเคยเข้ารับราชการเพื่อหาเลี้ยงชีพแต่ก็ต้องลาออกเพราะไม่ชอบการพินอบพิเทาเจ้านายและไม่ชอบการแก่งแย่งชิงดีทางการเมือง แต่แล้วก็เข้ารับราชการใหม่ เป็นเช่นนี้หลายครั้งครา ทั้งนี้เพราะเขามีใจใฝ่ความสงบของธรรมชาติ รักมัธยัสถ์ ไม่ชอบการแก่งแย่งชิงดี ต่อมาจึงตัดสินใจลาออกจากราชการอย่างถาวรและหันไปทำไร่ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่ก็สุขใจสามารถร่ำสุราแต่งกลอนตามใจอยากและได้สร้างผลงานวรรณกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยผลงานของเขาล้วนแฝงด้วยจิตวิญญาณของธรรมชาติ ความเรียบง่าย และพลังแห่งชีวิต และต่อมาเถายวนหมิงได้ถูกยกย่องเป็นต้นแบบของการละทิ้งลาภยศชื่อเสียงและการใช้ชีวิตอย่างสมถะตามหลักปรัชญาแห่งเต๋า วลี ‘ไม่ยอมสยบ (หักเอว) เพื่อข้าวสารห้าโต่ว’ นี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อตอนเถายวนหมิงอายุสี่สิบปี เข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ว่าการเขตเผิงเจ๋อ (ตั้งอยู่ทางเหนือของมณฑลเจียงซี) อยู่มาวันหนึ่งมีผู้ตรวจการมาตรวจงาน เสมียนหลวงบอกเขาว่าควรแต่งตัวให้เรียบร้อยอย่างเป็นทางการไปต้อนรับผู้ตรวจการ เขาถอนหายใจด้วยความเบื่อหน่ายและกล่าววลีนี้ออกมา และเมื่อกล่าวเสร็จเขาก็ยื่นใบลาออกหลังจากรับราชการมาได้เพียงแปดสิบเอ็ดวัน และหลังจากนั้นก็ไม่เข้ารับราชการอีกเลย แล้วทำไมต้อง ‘ข้าวสารห้าโต่ว’ ? ประเด็นนี้มีการตีความกันหลากหลาย แต่โดยส่วนใหญ่จะตีความว่า ข้าวสารห้าโต่วคือค่าจ้างของขุนนางระดับผู้ว่าการเขตในสมัยนั้น (หนึ่งโต่วในสมัยนั้นคือประมาณเจ็ดลิตร) ซึ่งฟังดูน้อยนิดเมื่อคำนวณเทียบกับบันทึกโบราณว่าด้วยเงินเดือนข้าราชการ บ้างก็ว่าเป็นเงินเดือนแต่ยังไม่รวมค่าตอบแทนอื่น เช่นผ้าไหม บ้างก็ว่าคิดได้เป็นค่าจ้างรายวันเท่านั้น บ้างก็ว่าเป็นปริมาณข้าวสารที่พอเพียงสำหรับหนึ่งคนในหนึ่งเดือน แต่ไม่ว่า ‘ข้าวสารห้าโต่ว’ จะมีความหมายที่แท้จริงอย่างไร เหตุการณ์นี้ถูกบันทึกไว้และกล่าวถึงอย่างยกย่องว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการละทิ้งยศศักดิ์ และวลีนี้ได้กลายมาเป็นสำนวนจีนที่ถูกใช้ผ่านกาลเวลาหลายยุคสมัยเพื่อแปลว่า ไม่ยอมละทิ้งจิตวิญญาณของตนเพื่อยอมสยบให้กับอำนาจหรืออิทธิพล (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความเก่า: ดินแดนดอกท้อ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/525898876205076 Credit รูปภาพจาก: https://www.yangtse.com/news/wy/202506/t20250603_215987.html https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_2197713 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/陶渊明/53944 https://baike.baidu.com/item/陶潜传/75756 https://k.sina.cn/article_5044281310_12ca99fde020004fcq.html #ปรปักษ์จำนน #เจ๋อเยา #เถาเฉียน #เถายวนหมิง #สาระจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 372 มุมมอง 0 รีวิว