• วลีรักจาก <จันทราอัสดง>

    สวัสดีย้อนหลังวันวาเลนไทน์ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับวลีบอกรักจากบทกวีจีนโบราณที่กล่าวถึงสองสัตว์ที่นับเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก

    วลีบอกรักนี้ เราเห็นในเรื่อง <จันทราอัสดง> ในฉากที่เยี่ยปิงส่างป่วยเพราะโดนปีศาจจับตัวไป พอฟื้นขึ้นมาเห็นองค์ชายเซียวหลิ่นเฝ้าอยู่ก็ร่ำไห้เอ่ยปากวลีสองวรรค หลังจากนั้นจึงได้หมั้นหมายกัน วลีที่ว่านี้คือ “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” (得成比目何辞死,愿作鸳鸯不羡仙) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ‘ยวนยาง’ คือนกเป็ดน้ำแมนดารินที่เพื่อนเพจคงคุ้นเคยเพราะมีการกล่าวถึงในหลายนิยายซีรีส์และละครว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก ทั้งนี้ เพราะมันมักจะอยู่เป็นคู่ จึงถูกนำมาเปรียบเป็นคู่สามีภรรยาแต่โบราณโดยแรกปรากฏในบทประพันธ์ของซือหม่าเซียงหรู (กวีเอกสมัยราชวงศ์ฮั่น เจ้าของบทประพันธ์ซ่างหลินฟู่ที่ Storyฯ เคยเขียนถึง) ตอนจีบจั๋วเหวินจวิน (ย้อนอ่านเรื่องราวความรักของทั้งคู่ได้ในบทความเก่า https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02KgmDKe2nCXSPkUDKWTYDNCXpfyP1PzzBqQCkdVtEw46Y7ZMkeZSwoVYxGFR9QHjhl)

    แล้ว ‘ปี่มู่’ ล่ะคืออะไร?

    ปี่มู่เป็นปลาในสายพันธ์ปลาลิ้นหมา (ดูรูปประกอบ 2) เอกลักษณ์ของมันคือ ตาทั้งคู่อยู่ใกล้กันบนตัวปลาด้านเดียวกัน ในสมัยจีนโบราณถูกใช้เปรียบเปรยถึงความรักอันล้ำลึกของคู่รักที่อยู่เคียงข้างกัน ไปไหนไปด้วยกัน

    “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” วลีนี้ความหมายก็คือยอมตายก็อยากอยู่ด้วยกัน ไม่ต้องมีความสุขพ้นทุกข์อย่างเซียนก็ได้

    เชื่อว่าเพื่อนเพจคงนึกว่ามันเป็นวลีที่มาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วหลายวลีรักจีนโบราณอันกินใจที่ Storyฯ เคยเขียนถึงนั้น ถ้าไม่ใช่บทกวีที่เกี่ยวกับการจากพราก ก็มาจากเรื่องราวอื่น วลีนี้ก็เช่นกัน ที่มาของมันคือบทกวีที่ชื่อว่า ‘ฉางอันกู่อี้’ (长安古意 แปลได้ประมาณว่า หวนรำลึกฉางอัน) ของหลูจ้าวหลิน กวีชื่อดังในสมัยองค์ถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง ในสมัยถังตอนต้นนั้น เขาถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ยอดกวีแห่งยุค เป็นบทกวีในสไตล์โบราณที่ Storyฯ ขอเรียกว่ากลอนเจ็ด กล่าวคือในหนึ่งวรรคมีเจ็ดอักษร บทกวีนี้มีทั้งสิ้น 34 ประโยค รวม 68 วรรค เรียกได้ว่าเป็นบทกวีที่ยาวมากและเป็นถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของงานประพันธ์แห่งยุคสมัยนั้น

    หลูจ้าวหลินถูกเติ้งหวางหลี่หยวนอวี้รับเป็นคนสนิท เป็นขุนนางผู้ดูแลจวนอ๋อง ต่อมาติดตามเติ้งหวางออกจากเมืองฉางอัน และเมื่อเลิกทำงานกับเติ้งหวางแล้วก็ปักหลักอยู่ลั่วหยาง บทกวีนี้หลูจ้าวหลินแต่งขึ้นในช่วงเวลาที่ลั่วหยางนั่นเอง ต่อมาเขาถูกจับกุมขังด้วยบทกวีนี้ เพราะถูกเข้าใจว่าเขียนตำหนิหนึ่งในผู้มีอำนาจทางการเมืองในสมัยนั้น สุดท้ายแม้จะรอดชีวิตพ้นคุกมาได้ แต่ก็ป่วยจนสุดท้ายต้องจบชีวิตตนเอง

    เนื้อหาของ ‘ฉางอันกู่อี้’ กล่าวถึงความเรืองรองแห่งนครฉางอัน ความเจริญรุ่งเรืองถูกสะท้อนออกมาด้วยคำบรรยายความโอ่อ่าของอาคารบ้านเรือน ความตระการตาของนางรำที่เริงระบำดุจบุปผาและผีเสื้อที่ละลานตา บรรยากาศยามค่ำคืนอันคึกคักโดยมีหอนางโลมเป็นฉากหลัก สอดแทรกด้วยอารมณ์ที่ถูกเร้าขึ้นด้วยคำบรรยายแสงสีเสียง สื่อออกมาเป็นความรู้สึกต่างๆ ที่ยากจะอดกลั้นภายใต้บรรยากาศนี้ อย่างเช่นความรักความลุ่มหลง บทกวีเล่าถึงการมีชีวิตอยู่ในด้านมืดอย่างเช่นนางคณิกานางรำและคนที่มีอาชีพกลางคืน การแสดงอำนาจของชนชั้นสูง การแก่งแย่งชิงดีและการเกิดดับของอำนาจ สุดท้ายจบลงด้วยการบรรยายถึงบรรยากาศเงียบเหงาภายในเรือนเดี่ยว มีเพียงกลีบดอกไม้ที่ปลิวผ่านตามสายลมยามที่กุ้ยฮวา (หอมหมื่นลี้) บาน เป็นสไตล์การเขียนที่นิยมในสมัยนั้นคือจบลงด้วยวรรคที่ขัดแย้งกับเนื้อหาก่อนหน้าเพื่อให้ความรู้สึกที่แตกต่าง สร้างสมดุลให้แก่บทกวี

    วรรค “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” นี้ปรากฏในท่อนแรกๆ ที่กล่าวถึงความตระการตาของนางรำผู้เลอโฉม ชวนให้พร่ำเพ้อถึงความรักที่ไม่อาจเป็นไปได้ จะเห็นได้ว่า แม้วลีนี้จะกลายมาเป็นหนึ่งในวลีรักที่โด่งดังผ่านยุคสมัย แต่ต้นตอของมันจริงแล้วเป็นบทกวีที่บรรยายถึงชีวิตในนครฉางอัน สะท้อนถึงสุขและทุกข์ของความทรงจำในด้านต่างๆ ที่กวีมีต่อนครฉางอันอันเรืองรอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://new.qq.com/rain/a/20230511A04T9O00
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_ac6684b5da86.aspx
    https://baike.baidu.com/item/长安古意/4804
    https://www.baike.com/wikiid/422703280303982502
    http://m.qulishi.com/article/202106/521082.html
    https://www.621seo.cn/a/83.html

    #จันทราอัสดง #ยวนยาง #ปี่มู่ #กวีถัง #ฉางอัน #หลูจ้าวหลิน
    วลีรักจาก <จันทราอัสดง> สวัสดีย้อนหลังวันวาเลนไทน์ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับวลีบอกรักจากบทกวีจีนโบราณที่กล่าวถึงสองสัตว์ที่นับเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก วลีบอกรักนี้ เราเห็นในเรื่อง <จันทราอัสดง> ในฉากที่เยี่ยปิงส่างป่วยเพราะโดนปีศาจจับตัวไป พอฟื้นขึ้นมาเห็นองค์ชายเซียวหลิ่นเฝ้าอยู่ก็ร่ำไห้เอ่ยปากวลีสองวรรค หลังจากนั้นจึงได้หมั้นหมายกัน วลีที่ว่านี้คือ “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” (得成比目何辞死,愿作鸳鸯不羡仙) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ‘ยวนยาง’ คือนกเป็ดน้ำแมนดารินที่เพื่อนเพจคงคุ้นเคยเพราะมีการกล่าวถึงในหลายนิยายซีรีส์และละครว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก ทั้งนี้ เพราะมันมักจะอยู่เป็นคู่ จึงถูกนำมาเปรียบเป็นคู่สามีภรรยาแต่โบราณโดยแรกปรากฏในบทประพันธ์ของซือหม่าเซียงหรู (กวีเอกสมัยราชวงศ์ฮั่น เจ้าของบทประพันธ์ซ่างหลินฟู่ที่ Storyฯ เคยเขียนถึง) ตอนจีบจั๋วเหวินจวิน (ย้อนอ่านเรื่องราวความรักของทั้งคู่ได้ในบทความเก่า https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02KgmDKe2nCXSPkUDKWTYDNCXpfyP1PzzBqQCkdVtEw46Y7ZMkeZSwoVYxGFR9QHjhl) แล้ว ‘ปี่มู่’ ล่ะคืออะไร? ปี่มู่เป็นปลาในสายพันธ์ปลาลิ้นหมา (ดูรูปประกอบ 2) เอกลักษณ์ของมันคือ ตาทั้งคู่อยู่ใกล้กันบนตัวปลาด้านเดียวกัน ในสมัยจีนโบราณถูกใช้เปรียบเปรยถึงความรักอันล้ำลึกของคู่รักที่อยู่เคียงข้างกัน ไปไหนไปด้วยกัน “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” วลีนี้ความหมายก็คือยอมตายก็อยากอยู่ด้วยกัน ไม่ต้องมีความสุขพ้นทุกข์อย่างเซียนก็ได้ เชื่อว่าเพื่อนเพจคงนึกว่ามันเป็นวลีที่มาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วหลายวลีรักจีนโบราณอันกินใจที่ Storyฯ เคยเขียนถึงนั้น ถ้าไม่ใช่บทกวีที่เกี่ยวกับการจากพราก ก็มาจากเรื่องราวอื่น วลีนี้ก็เช่นกัน ที่มาของมันคือบทกวีที่ชื่อว่า ‘ฉางอันกู่อี้’ (长安古意 แปลได้ประมาณว่า หวนรำลึกฉางอัน) ของหลูจ้าวหลิน กวีชื่อดังในสมัยองค์ถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง ในสมัยถังตอนต้นนั้น เขาถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ยอดกวีแห่งยุค เป็นบทกวีในสไตล์โบราณที่ Storyฯ ขอเรียกว่ากลอนเจ็ด กล่าวคือในหนึ่งวรรคมีเจ็ดอักษร บทกวีนี้มีทั้งสิ้น 34 ประโยค รวม 68 วรรค เรียกได้ว่าเป็นบทกวีที่ยาวมากและเป็นถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของงานประพันธ์แห่งยุคสมัยนั้น หลูจ้าวหลินถูกเติ้งหวางหลี่หยวนอวี้รับเป็นคนสนิท เป็นขุนนางผู้ดูแลจวนอ๋อง ต่อมาติดตามเติ้งหวางออกจากเมืองฉางอัน และเมื่อเลิกทำงานกับเติ้งหวางแล้วก็ปักหลักอยู่ลั่วหยาง บทกวีนี้หลูจ้าวหลินแต่งขึ้นในช่วงเวลาที่ลั่วหยางนั่นเอง ต่อมาเขาถูกจับกุมขังด้วยบทกวีนี้ เพราะถูกเข้าใจว่าเขียนตำหนิหนึ่งในผู้มีอำนาจทางการเมืองในสมัยนั้น สุดท้ายแม้จะรอดชีวิตพ้นคุกมาได้ แต่ก็ป่วยจนสุดท้ายต้องจบชีวิตตนเอง เนื้อหาของ ‘ฉางอันกู่อี้’ กล่าวถึงความเรืองรองแห่งนครฉางอัน ความเจริญรุ่งเรืองถูกสะท้อนออกมาด้วยคำบรรยายความโอ่อ่าของอาคารบ้านเรือน ความตระการตาของนางรำที่เริงระบำดุจบุปผาและผีเสื้อที่ละลานตา บรรยากาศยามค่ำคืนอันคึกคักโดยมีหอนางโลมเป็นฉากหลัก สอดแทรกด้วยอารมณ์ที่ถูกเร้าขึ้นด้วยคำบรรยายแสงสีเสียง สื่อออกมาเป็นความรู้สึกต่างๆ ที่ยากจะอดกลั้นภายใต้บรรยากาศนี้ อย่างเช่นความรักความลุ่มหลง บทกวีเล่าถึงการมีชีวิตอยู่ในด้านมืดอย่างเช่นนางคณิกานางรำและคนที่มีอาชีพกลางคืน การแสดงอำนาจของชนชั้นสูง การแก่งแย่งชิงดีและการเกิดดับของอำนาจ สุดท้ายจบลงด้วยการบรรยายถึงบรรยากาศเงียบเหงาภายในเรือนเดี่ยว มีเพียงกลีบดอกไม้ที่ปลิวผ่านตามสายลมยามที่กุ้ยฮวา (หอมหมื่นลี้) บาน เป็นสไตล์การเขียนที่นิยมในสมัยนั้นคือจบลงด้วยวรรคที่ขัดแย้งกับเนื้อหาก่อนหน้าเพื่อให้ความรู้สึกที่แตกต่าง สร้างสมดุลให้แก่บทกวี วรรค “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” นี้ปรากฏในท่อนแรกๆ ที่กล่าวถึงความตระการตาของนางรำผู้เลอโฉม ชวนให้พร่ำเพ้อถึงความรักที่ไม่อาจเป็นไปได้ จะเห็นได้ว่า แม้วลีนี้จะกลายมาเป็นหนึ่งในวลีรักที่โด่งดังผ่านยุคสมัย แต่ต้นตอของมันจริงแล้วเป็นบทกวีที่บรรยายถึงชีวิตในนครฉางอัน สะท้อนถึงสุขและทุกข์ของความทรงจำในด้านต่างๆ ที่กวีมีต่อนครฉางอันอันเรืองรอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก: https://new.qq.com/rain/a/20230511A04T9O00 https://so.gushiwen.cn/shiwenv_ac6684b5da86.aspx https://baike.baidu.com/item/长安古意/4804 https://www.baike.com/wikiid/422703280303982502 http://m.qulishi.com/article/202106/521082.html https://www.621seo.cn/a/83.html #จันทราอัสดง #ยวนยาง #ปี่มู่ #กวีถัง #ฉางอัน #หลูจ้าวหลิน
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 227 มุมมอง 0 รีวิว
  • รหัสลับบทกวีจีนจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก>

    Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณนี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนิยาย/ซีรีส์จีนจริงๆ ไม่ทราบว่ามีใครที่ดูซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> แล้วรู้สึกสะดุดหูกับจังหวะจะโคนของรหัสลับที่องครักษ์ชุดแดงใช้ยืนยันตัวตนกันหรือไม่? สำหรับ Storyฯ แล้วมันเตะหูพอสมควร เพราะรหัสลับเหล่านี้ล้วนเป็นวลีจากบทกวีจีนโบราณ

    รหัสลับที่ยกตัวอย่างมาคุยกันวันนี้ คือตอนที่หรูอี้ให้คนปลอมตัวไปหาองครักษ์ชุดแดงเพื่อสืบหาคนที่ฆ่าหลินหลงตาย รหัสลับถามตอบนี้คือ ‘ซานสือลิ่วกงถู่ฮวาปี้’ (三十六宫土花碧) และ ‘เทียนรั่วโหย่วฉิงเทียนอี้เหล่า’ (天若有情天亦老) Storyฯ ขอแปลว่า ‘สามสิบหกพระตำหนัก ตะไคร่คลุมธรณี / หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’

    ฟังแล้วคงไม่ได้ใจความนัก เพราะจริงๆ แล้วมันไม่ใช่วรรคที่ต่อเนื่องกัน แต่ทั้งสองวรรคนี้ปรากฏอยู่ในบทกวีเดียวกันที่มีชื่อว่า ‘จินถงเซียนเหรินฉือฮั่นเกอ’ (金铜仙人辞汉歌 แปลได้ประมาณว่า ลำนำเซียนจินถงลาจากแดนฮั่น) เป็นผลงานของหลี่เฮ่อ (ค.ศ. 790-816) สี่สุดยอดกวีแห่งสมัยถัง และนี่เป็นหนึ่งในบทกวีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของเขา มันเป็นบทกวียาวที่กล่าวถึงการล่มสลายของอาณาจักรฮั่นที่ครั้งหนึ่งเคยเรืองรอง แต่กลับเหลือเพียงพระตำหนักที่ว่างร้างจนตะไคร่ปกคลุม เทพเซียนร่ำไห้ลาจาก จนถึงขนาดว่าถ้าฟ้ามีจิตใจรักได้เหมือนคน ก็คงรู้สึกอนาจใจเศร้าจนแก่ชราไปเช่นคน บทกวีนี้เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้าอาดูรและแค้นใจในเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงสภาพจิตใจของหลี่เฮ่อในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอ และเขาเองจำเป็นต้องลาออกจากราชการและเดินทางจากนครฉางอันไปด้วยอาการป่วย

    แต่ที่ Storyฯ รู้สึกว่าน่าสนใจมากก็คือ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้ตั้งเป็นโจทย์ในการดวลบทกวีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับซีรีส์และนิยายจีนโบราณคงเคยผ่านตาว่า การดวลบทกวีนี้ เป็นการต่อกลอนคู่ โดยคนหนึ่งตั้งโจทย์วรรคแรก อีกคนมาแต่งวรรคต่อให้จบ ซึ่งวรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้เป็นวรรคแรกของกลอนคู่โดยไม่มีใครสามารถต่อวรรคท้ายได้อย่างสมบูรณ์มากว่าสองร้อยปี! ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับยุคสมัยที่มีนักอักษรและนักประพันธ์มากมายอย่างสมัยถัง

    อนึ่ง การต่อวรรคคู่ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีจำนวนอักษรเท่ากันและมีเสียงสูงเสียงต่ำคล้องจองกันเท่านั้น แต่ต้องมีความลงตัวในหลายด้าน เป็นต้นว่า 1) มีบริบทใกล้เคียง เช่น กล่าวถึงวัตถุที่จับต้องได้เหมือนกัน หรือจับต้องไม่ได้เหมือนกัน เป็นวัตถุที่สื่อความหมายในเชิงเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่วรรคแรกกล่าวถึงดอกไม้ วรรคหลังพูดถึงโต๊ะ อะไรอย่างนี้; 2) คุณศัพท์ที่ขยายนามหรืออารมณ์ที่สื่อต้องเหมือนกันหรือตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงเพื่อแสดงความขัดแย้งบางอย่าง เช่น ฝนตกหนักกับแดดแรงจ้า หรือ ฝนตกหนักกับหยดน้ำเล็ก; ฯลฯ

    วรรค ‘หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ นี้มีคนต่อวรรคหลังมากมาย แต่ไม่มีความลงตัวอย่างสมบูรณ์จวบจนสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้ที่ต่อวรรคหลังนี้คือสือเหยียนเหนียน (ค.ศ. 994-1041) นักอักษรและกวีสมัยซ่งเหนือ ในค่ำคืนหนึ่งหลังจากดื่มสุราไปหลายกรึ๊บ ในยามกึ่งเมากึ่งมีสตินั้น เขาได้ยินคนรอบข้างต่อวรรค ‘หากฟ้ามีใจฯ’ นี้กันอยู่ จึงโพล่งวรรคต่อออกมาในทันใด ซึ่งก็คือ ‘หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง’ (月如无恨月长圆 / เยวี่ยหรูอู๋เฮิ่นเยวี่ยฉางเหยวียน) เป็นการต่อวรรคที่สมบูรณ์จนคนตะลึง เพราะไม่เพียงอักขระ คำบรรยายและบริบทลงตัว หากแต่ความหมายแฝงที่สื่อถึงสัจธรรมแห่งชีวิตยังสอดคล้องอีกด้วย

    ... หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน ...
    ... หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง ...

    วรรคต้นที่ไม่มีใครต่อวรรคได้มากว่าสองร้อยปี เกิดวรรคต่อที่สะเทือนวงการนักอักษรในสมัยนั้นจนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพื่อนเพจอ่านและตีความแล้วได้ความรู้สึกอย่างไรคะ? เห็นความเป็น ‘กลอนคู่’ ของมันหรือไม่?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_25539972
    https://k.sina.cn/article_6502395912_18392b008001004rs9.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_33199885635a.aspx
    https://baike.baidu.com/金铜仙人辞汉歌/1659854
    https://www.sohu.com/a/484704098_100135144
    https://www.workercn.cn/c/2024-02-06/8143503.shtml

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #หลี่เฮ่อ #กวีถัง #หากฟ้ามีใจรัก #สือเหยียนเหนียน
    รหัสลับบทกวีจีนจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณนี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนิยาย/ซีรีส์จีนจริงๆ ไม่ทราบว่ามีใครที่ดูซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> แล้วรู้สึกสะดุดหูกับจังหวะจะโคนของรหัสลับที่องครักษ์ชุดแดงใช้ยืนยันตัวตนกันหรือไม่? สำหรับ Storyฯ แล้วมันเตะหูพอสมควร เพราะรหัสลับเหล่านี้ล้วนเป็นวลีจากบทกวีจีนโบราณ รหัสลับที่ยกตัวอย่างมาคุยกันวันนี้ คือตอนที่หรูอี้ให้คนปลอมตัวไปหาองครักษ์ชุดแดงเพื่อสืบหาคนที่ฆ่าหลินหลงตาย รหัสลับถามตอบนี้คือ ‘ซานสือลิ่วกงถู่ฮวาปี้’ (三十六宫土花碧) และ ‘เทียนรั่วโหย่วฉิงเทียนอี้เหล่า’ (天若有情天亦老) Storyฯ ขอแปลว่า ‘สามสิบหกพระตำหนัก ตะไคร่คลุมธรณี / หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ ฟังแล้วคงไม่ได้ใจความนัก เพราะจริงๆ แล้วมันไม่ใช่วรรคที่ต่อเนื่องกัน แต่ทั้งสองวรรคนี้ปรากฏอยู่ในบทกวีเดียวกันที่มีชื่อว่า ‘จินถงเซียนเหรินฉือฮั่นเกอ’ (金铜仙人辞汉歌 แปลได้ประมาณว่า ลำนำเซียนจินถงลาจากแดนฮั่น) เป็นผลงานของหลี่เฮ่อ (ค.ศ. 790-816) สี่สุดยอดกวีแห่งสมัยถัง และนี่เป็นหนึ่งในบทกวีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของเขา มันเป็นบทกวียาวที่กล่าวถึงการล่มสลายของอาณาจักรฮั่นที่ครั้งหนึ่งเคยเรืองรอง แต่กลับเหลือเพียงพระตำหนักที่ว่างร้างจนตะไคร่ปกคลุม เทพเซียนร่ำไห้ลาจาก จนถึงขนาดว่าถ้าฟ้ามีจิตใจรักได้เหมือนคน ก็คงรู้สึกอนาจใจเศร้าจนแก่ชราไปเช่นคน บทกวีนี้เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้าอาดูรและแค้นใจในเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงสภาพจิตใจของหลี่เฮ่อในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอ และเขาเองจำเป็นต้องลาออกจากราชการและเดินทางจากนครฉางอันไปด้วยอาการป่วย แต่ที่ Storyฯ รู้สึกว่าน่าสนใจมากก็คือ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้ตั้งเป็นโจทย์ในการดวลบทกวีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับซีรีส์และนิยายจีนโบราณคงเคยผ่านตาว่า การดวลบทกวีนี้ เป็นการต่อกลอนคู่ โดยคนหนึ่งตั้งโจทย์วรรคแรก อีกคนมาแต่งวรรคต่อให้จบ ซึ่งวรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้เป็นวรรคแรกของกลอนคู่โดยไม่มีใครสามารถต่อวรรคท้ายได้อย่างสมบูรณ์มากว่าสองร้อยปี! ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับยุคสมัยที่มีนักอักษรและนักประพันธ์มากมายอย่างสมัยถัง อนึ่ง การต่อวรรคคู่ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีจำนวนอักษรเท่ากันและมีเสียงสูงเสียงต่ำคล้องจองกันเท่านั้น แต่ต้องมีความลงตัวในหลายด้าน เป็นต้นว่า 1) มีบริบทใกล้เคียง เช่น กล่าวถึงวัตถุที่จับต้องได้เหมือนกัน หรือจับต้องไม่ได้เหมือนกัน เป็นวัตถุที่สื่อความหมายในเชิงเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่วรรคแรกกล่าวถึงดอกไม้ วรรคหลังพูดถึงโต๊ะ อะไรอย่างนี้; 2) คุณศัพท์ที่ขยายนามหรืออารมณ์ที่สื่อต้องเหมือนกันหรือตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงเพื่อแสดงความขัดแย้งบางอย่าง เช่น ฝนตกหนักกับแดดแรงจ้า หรือ ฝนตกหนักกับหยดน้ำเล็ก; ฯลฯ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ นี้มีคนต่อวรรคหลังมากมาย แต่ไม่มีความลงตัวอย่างสมบูรณ์จวบจนสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้ที่ต่อวรรคหลังนี้คือสือเหยียนเหนียน (ค.ศ. 994-1041) นักอักษรและกวีสมัยซ่งเหนือ ในค่ำคืนหนึ่งหลังจากดื่มสุราไปหลายกรึ๊บ ในยามกึ่งเมากึ่งมีสตินั้น เขาได้ยินคนรอบข้างต่อวรรค ‘หากฟ้ามีใจฯ’ นี้กันอยู่ จึงโพล่งวรรคต่อออกมาในทันใด ซึ่งก็คือ ‘หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง’ (月如无恨月长圆 / เยวี่ยหรูอู๋เฮิ่นเยวี่ยฉางเหยวียน) เป็นการต่อวรรคที่สมบูรณ์จนคนตะลึง เพราะไม่เพียงอักขระ คำบรรยายและบริบทลงตัว หากแต่ความหมายแฝงที่สื่อถึงสัจธรรมแห่งชีวิตยังสอดคล้องอีกด้วย ... หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน ... ... หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง ... วรรคต้นที่ไม่มีใครต่อวรรคได้มากว่าสองร้อยปี เกิดวรรคต่อที่สะเทือนวงการนักอักษรในสมัยนั้นจนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพื่อนเพจอ่านและตีความแล้วได้ความรู้สึกอย่างไรคะ? เห็นความเป็น ‘กลอนคู่’ ของมันหรือไม่? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_25539972 https://k.sina.cn/article_6502395912_18392b008001004rs9.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://so.gushiwen.cn/shiwenv_33199885635a.aspx https://baike.baidu.com/金铜仙人辞汉歌/1659854 https://www.sohu.com/a/484704098_100135144 https://www.workercn.cn/c/2024-02-06/8143503.shtml #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #หลี่เฮ่อ #กวีถัง #หากฟ้ามีใจรัก #สือเหยียนเหนียน
    《一念关山》:刘诗诗更适合“独美”
    澎湃,澎湃新闻,澎湃新闻网,新闻与思想,澎湃是植根于中国上海的时政思想类互联网平台,以最活跃的原创新闻与最冷静的思想分析为两翼,是互联网技术创新与新闻价值传承的结合体,致力于问答式新闻与新闻追踪功能的实践。
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 241 มุมมอง 0 รีวิว
  • เพื่อนเพจเคยสงสัยหรือไม่ ทำไมในนิยาย/หนังจีนโบราณหลายเรื่องยกให้ฉากพระเอกวาดคิ้วให้นางเอกเป็นหนึ่งในฉากโรแมนติกสุดซึ้ง?

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ชู่ว์.. ใกล้เสร็จแล้ว อย่าขยับ” เขามองเทียบซ้ายขวาอยู่พักใหญ่ วาดเติมอีกหลายครา
    เสวียนจีเพิ่งนึกอะไรขึ้นได้ ยิ้มกล่าว “มีอยู่ครั้งหนึ่งข้าไปหาท่านพ่อท่านแม่แต่เช้า เห็นท่านพ่อกำลังวาดคิ้วให้ท่านแม่อยู่! แต่พ่อไม่ช่ำชองเท่าท่าน”
    การวาดคิ้วแต่ไหนแต่ไรเป็นเรื่องในห้องหอของสามีภรรยา มิพึงเล่าให้ใครฟัง แต่เสวียนจีไม่รู้เรื่องพวกนี้ จึงเล่าอย่างไร้เดียงสา...
    - จากเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ผู้แต่ง สือซื่อหลาง
    (หมายเหตุ ชื่อตามชื่อไทยของละครที่ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    ในสมัยโบราณเป็นหน้าที่ของภรรยาที่ต้องปรนนิบัติสามี การที่สามี ‘ปรนนิบัติ’ ภรรยาด้วยการวาดคิ้วจึงเป็นการทำด้วยใจรักและไม่ใช่หน้าที่ ก็พอจะนึกออกว่ามันเป็นเรื่องน่าประทับใจ

    แต่ก่อนจะไปคุยกันลงลึกเรื่องวัฒนธรรมการเขียนคิ้ว มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ทำให้ Storyฯ รู้สึกว่า ‘อย่างนี้ก็มีด้วย’ มาเล่าสู่กันฟัง เป็นเหตุการณ์เรื่องราวของสามีที่วาดคิ้วให้ภรรยาที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์จริง

    เป็นเรื่องราวของจางฉ่าง ผู้ว่าราชการเมืองฉางอันผู้มีผลงานมากมายในยุคสมัยของจักรพรรดิเซวียนแห่งราชวงศ์ฮั่น (ปี 91-48 ก่อนคริสตกาล) เขาไม่ค่อยวางตนอยู่ในกรอบเหมือนขุนนางอื่น หนึ่งในตัวอย่างก็คือเขาวาดคิ้วให้ภรรยาทุกวัน จนเป็นที่กล่าวขานกันไปทั่วเมืองว่าภรรยาของเขาคิ้วงามสะดุดตาสะดุดใจ อาจจะฟังดูไร้สาระ แต่ถึงกับมีขุนนางเข้าชื่อกันเอาเรื่องนี้กราบบังคมทูลร้องเรียนฮ่องเต้! ประมาณว่าเป็นข้าราชการที่วางตนไม่เหมาะสม (Storyฯ แอบคิดว่าพวกขุนนางเหล่านี้คงว่างมากเกินไป)

    เมื่อโดนฮ่องเต้ทรงซักถาม เขาก็ทูลตอบว่า “พฤติกรรมอันแนบชิดระหว่างสามีภรรยาในห้องหอ เกรงว่ามีมากกว่าการวาดคิ้วเสียอีกพ่ะย่ะค่ะ” เป็นคำตอบที่ฟังดูช่างมันฉันไม่แคร์ ว่ากันว่าองค์ฮ่องเต้ทรงเห็นแก่ความสามารถของจางฉ่างจึงมิได้ทำโทษวาจาสามหาวนั้น

    จึงเป็นที่เล่าขานกันต่อมาว่าการวาดคิ้วให้สตรีนั้นเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรักความใกล้ชิดอย่างลึกซึ้งของบุรุษต่อสตรี

    สัปดาห์นี้พอหอมปากหอมคอ สัปดาห์หน้าเรามาคุยเรื่องวัฒนธรรมการวาดคิ้วกันต่อ อย่าลืมติดตามนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://daydaynews.cc/zh-hans/entertainment/805334.html
    https://xw.qq.com/cmsid/20200806A07DNK00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://zhidao.baidu.com

    #ปลดผนึกหัวใจ #วาดคิ้ว #ประเพณีจีน #จางฉ่าง #StoryfromStory
    เพื่อนเพจเคยสงสัยหรือไม่ ทำไมในนิยาย/หนังจีนโบราณหลายเรื่องยกให้ฉากพระเอกวาดคิ้วให้นางเอกเป็นหนึ่งในฉากโรแมนติกสุดซึ้ง? ความมีอยู่ว่า ... “ชู่ว์.. ใกล้เสร็จแล้ว อย่าขยับ” เขามองเทียบซ้ายขวาอยู่พักใหญ่ วาดเติมอีกหลายครา เสวียนจีเพิ่งนึกอะไรขึ้นได้ ยิ้มกล่าว “มีอยู่ครั้งหนึ่งข้าไปหาท่านพ่อท่านแม่แต่เช้า เห็นท่านพ่อกำลังวาดคิ้วให้ท่านแม่อยู่! แต่พ่อไม่ช่ำชองเท่าท่าน” การวาดคิ้วแต่ไหนแต่ไรเป็นเรื่องในห้องหอของสามีภรรยา มิพึงเล่าให้ใครฟัง แต่เสวียนจีไม่รู้เรื่องพวกนี้ จึงเล่าอย่างไร้เดียงสา... - จากเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ผู้แต่ง สือซื่อหลาง (หมายเหตุ ชื่อตามชื่อไทยของละครที่ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) ในสมัยโบราณเป็นหน้าที่ของภรรยาที่ต้องปรนนิบัติสามี การที่สามี ‘ปรนนิบัติ’ ภรรยาด้วยการวาดคิ้วจึงเป็นการทำด้วยใจรักและไม่ใช่หน้าที่ ก็พอจะนึกออกว่ามันเป็นเรื่องน่าประทับใจ แต่ก่อนจะไปคุยกันลงลึกเรื่องวัฒนธรรมการเขียนคิ้ว มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ทำให้ Storyฯ รู้สึกว่า ‘อย่างนี้ก็มีด้วย’ มาเล่าสู่กันฟัง เป็นเหตุการณ์เรื่องราวของสามีที่วาดคิ้วให้ภรรยาที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์จริง เป็นเรื่องราวของจางฉ่าง ผู้ว่าราชการเมืองฉางอันผู้มีผลงานมากมายในยุคสมัยของจักรพรรดิเซวียนแห่งราชวงศ์ฮั่น (ปี 91-48 ก่อนคริสตกาล) เขาไม่ค่อยวางตนอยู่ในกรอบเหมือนขุนนางอื่น หนึ่งในตัวอย่างก็คือเขาวาดคิ้วให้ภรรยาทุกวัน จนเป็นที่กล่าวขานกันไปทั่วเมืองว่าภรรยาของเขาคิ้วงามสะดุดตาสะดุดใจ อาจจะฟังดูไร้สาระ แต่ถึงกับมีขุนนางเข้าชื่อกันเอาเรื่องนี้กราบบังคมทูลร้องเรียนฮ่องเต้! ประมาณว่าเป็นข้าราชการที่วางตนไม่เหมาะสม (Storyฯ แอบคิดว่าพวกขุนนางเหล่านี้คงว่างมากเกินไป) เมื่อโดนฮ่องเต้ทรงซักถาม เขาก็ทูลตอบว่า “พฤติกรรมอันแนบชิดระหว่างสามีภรรยาในห้องหอ เกรงว่ามีมากกว่าการวาดคิ้วเสียอีกพ่ะย่ะค่ะ” เป็นคำตอบที่ฟังดูช่างมันฉันไม่แคร์ ว่ากันว่าองค์ฮ่องเต้ทรงเห็นแก่ความสามารถของจางฉ่างจึงมิได้ทำโทษวาจาสามหาวนั้น จึงเป็นที่เล่าขานกันต่อมาว่าการวาดคิ้วให้สตรีนั้นเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรักความใกล้ชิดอย่างลึกซึ้งของบุรุษต่อสตรี สัปดาห์นี้พอหอมปากหอมคอ สัปดาห์หน้าเรามาคุยเรื่องวัฒนธรรมการวาดคิ้วกันต่อ อย่าลืมติดตามนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ) Credit รูปภาพจาก: https://daydaynews.cc/zh-hans/entertainment/805334.html https://xw.qq.com/cmsid/20200806A07DNK00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://zhidao.baidu.com #ปลดผนึกหัวใจ #วาดคิ้ว #ประเพณีจีน #จางฉ่าง #StoryfromStory
    DAYDAYNEWS.CC
    琉璃:司凤给璇玑画眉只画左边,不是编剧要求,而是暗示了他们的结局 - 天天要闻
    相信大多数小伙伴们最喜欢的就是司凤与璇玑之间的爱情了,不知道大家有没有发现司凤每次给璇玑画眉都是只画左边
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 283 มุมมอง 0 รีวิว
  • เพื่อนเพจที่ได้อ่านนิยาย/ดูละครเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> คงจำได้ว่า เป็นเรื่องราวแนวสืบสวนที่พูดถึงการใช้ข้อมูลจากบันทึกและทะเบียนต่างๆ มาใช้ในการแกะรอยคนร้าย มีหลายประเด็นที่ทำให้ Storyฯ สงสัยเลยต้องไปหาข้อมูลมาเพิ่ม

    เรื่องที่จะเล่าวันนี้มีความ ‘เอ๊ะ’ ตรงไหน เรามาดูจากคำพูดข้างล่างจากในละครเรื่องนี้
    ... สวีปินกล่าว “จากบันทึกทะเบียนบ้านของคนผู้นี้ เขาย้ายมาฉางอันเมื่อปีที่ยี่สิบหกในรัชศกก่อน จดทะเบียนในนามหลงปอ ต่อมาย้ายบ้านหลายครา เมื่อปีที่แล้วย้ายเข้าหวยหย่วนฟาง ที่ดูน่าสงสัยคือ เมื่อปลายปีรัชศกเทียนเป่าปีที่สอง มีการจัดทำสมุดทะเบียนใหม่ กำหนดให้ใส่รายละเอียดใบหน้าให้ชัดเจน แต่ทะเบียนของหลงปอยังคงเป็นทะเบียนเก่าสมัยรัชศกก่อน ไม่เคยระบุรายละเอียดหน้าตา”...

    เพื่อนเพจสงสัยเหมือนกันไหมว่า ทะเบียนราษฎร์ในสมัยราชวงศ์ถัง (รัชศกเทียนเป่าคือช่วงปีค.ศ. 742-756) ถึงขนาดมีรายละเอียดใบหน้าชัดเจนเชียวหรือ?

    ไปค้นข้อมูลมาจึงพบว่า การนับจำนวนประชากรในจีนโบราณมีมาตั้งแต่กว่าสองพันปีก่อนคริสตกาล เดิมเป็นการจัดเก็บข้อมูลเพื่อไว้เพื่อช่วยเหลือคนในยามเกิดอุทกภัยน้ำท่วม ไม่ปรากฏข้อมูลเพิ่มเติมว่าเป็นเพียงการนับจำนวนประชากรหรือมีการบันทึกรายละเอียดมากกว่านั้น แต่ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก (ปี 1045-771 ก่อนคริสตกาล) มีการจัดทำทะเบียนราษฎร์ทุกสามปี รายละเอียดที่บันทึกไว้รวมถึงวันเกิด วันตาย เพศ และที่อยู่ของประชาชน

    ในสมัยฉิน มีการจัดทำทะเบียนราษฎร์อย่างเข้มงวด นอกจากรายละเอียดข้างต้นยังมีการระบุเจ้าบ้าน ชื่อสามี-ภรรยา โดยวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อใช้ในการเก็บภาษีและเกณฑ์ทหาร

    ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น (ปี 202 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 221) ประชาชนมีหน้าที่รายงานข้อมูลและการเปลี่ยนแปลงของสมาชิกในครอบครัวทุกปี โดยข้อมูลจะถูกตรวจสอบโดยทางการท้องถิ่นอีกครั้งก่อนจะรวบรวมส่งทางการส่วนกลาง รายละเอียดที่บันทึกรวมถึงชื่อแซ่ อายุ ภูมิลำเนาเดิม สถานะสมรส รายละเอียดหน้าตา รายได้ และจำนวนพื้นที่ของที่ดินที่ถือครอง หากจะย้ายบ้าน ต้องทำการรายงานกับที่ว่าการท้องถิ่นก่อนจึงจะย้ายออกได้ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นคนพเนจร ซึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย (คือโดนฆ่าตายก็ไม่มีการสืบสวนเอาผิดคนฆ่า) ว่ากันว่าทะเบียนราษฏร์สมัยราชวงศ์ฮั่นนี้ละเอียดถูกต้องเชื่อถือได้มากกว่าครั้งใดที่จีนเคยทำมาในอดีต

    การจัดทำทะเบียนราษฎร์มีต่อมาเรื่อยๆ และมีการลงรายละเอียดมากขึ้นในยุคสมัยราชวงศ์ถัง (ซึ่งเรื่องราวของ <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> เกิดขึ้นในสมัยนี้) ในสมัยนั้น ทะเบียนราษฎร์คือการสรุปรวมข้อมูลของทะเบียนบ้านหรือที่เรียกว่า ‘โส่วสือ’ (手实) มีการจัดแยกหมวดหมู่ตามสถานะ กล่าวคือเป็นเจ้าบ้าน เป็นสมาชิกของตระกูล หรือเป็นผู้อยู่อาศัยในเรือนเช่นทาส บ่าว นักดนตรี ฯลฯ และมีการบันทึกรายละเอียดเพิ่มเติมของรูปพรรณสัณฐาน เช่นส่วนสูง สีผิว เป็นต้น โดยมีเพียงสมาชิกของตระกูลเท่านั้นที่จะมีสิทธิแยกออกมาจัดตั้งครัวเรือนใหม่ได้ (Storyฯ เพิ่งเข้าใจบริบทที่ว่าบางนิยายจีนโบราณกล่าวถึงการ ‘แยกบ้าน’ ของคนในตระกูลเดียวกันที่ฟังดูเป็นเรื่องราวใหญ่โต) สำหรับชาวไร่ชาวนา ข้อมูลจากโส่วสือยังถูกใช้ในการจัดสรรที่ดินทำกิน โดยอิงตามจำนวนสมาชิกในบ้าน

    ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิง มีการลงรายละเอียดเพิ่มเติมอีกคืออาชีพของคนในบ้าน เช่น นายช่าง ทหาร หรือข้าราชการ ฯลฯ และมีรายละเอียดรายรับและสินทรัพย์ของแต่ละคนเพิ่มเติม เช่นจำนวนที่ดิน บ้าน ร้านค้า รถม้า เรือ ฯลฯ ทะเบียนราษฎร์นี้เรียกว่า ‘หวงเช่อ’ (黄册) แปลตรงตัวว่าสมุดเหลือง เพราะมักใช้ปกสีเหลือง (โนว์... ไม่ใช่สมุดโทรศัพท์ Yellow Pages จ้า) อีกทั้งการนำข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์มาใช้เพิ่มดีกรีความเข้มข้น ใครจะเดินทางต้องพกเอกสารใบอนุญาตที่มีข้อมูลประจำตัวและบ้าน (Storyฯ นึกถึงในละครที่จะผ่านประตูเมืองแต่ละครั้งต้องควักเอกสารออกมาฉบับหนึ่ง)

    Storyฯ รู้สึกทึ่งว่า แบบแผนการบริหารงานบ้านเมืองในโลกปัจจุบัน จริงๆ แล้วไม่ได้หนีจากของโบราณที่มีมาหลายพันปีแล้วเลย คนโบราณช่างคิดช่างทำ เก่งจริง เพื่อนๆ ว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://luvasianseries.blogspot.com/2020/10/longest-day-in-changan.html
    https://daydaynews.cc/zh-hans/history/160001.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/113664748
    http://www.naradafoundation.org/content/6526
    https://daydaynews.cc/zh-hans/history/160001.html

    #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #ประวัติศาสตร์จีน #ทะเบียนราษฎร์จีน #ราชวงศ์ถัง
    เพื่อนเพจที่ได้อ่านนิยาย/ดูละครเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> คงจำได้ว่า เป็นเรื่องราวแนวสืบสวนที่พูดถึงการใช้ข้อมูลจากบันทึกและทะเบียนต่างๆ มาใช้ในการแกะรอยคนร้าย มีหลายประเด็นที่ทำให้ Storyฯ สงสัยเลยต้องไปหาข้อมูลมาเพิ่ม เรื่องที่จะเล่าวันนี้มีความ ‘เอ๊ะ’ ตรงไหน เรามาดูจากคำพูดข้างล่างจากในละครเรื่องนี้ ... สวีปินกล่าว “จากบันทึกทะเบียนบ้านของคนผู้นี้ เขาย้ายมาฉางอันเมื่อปีที่ยี่สิบหกในรัชศกก่อน จดทะเบียนในนามหลงปอ ต่อมาย้ายบ้านหลายครา เมื่อปีที่แล้วย้ายเข้าหวยหย่วนฟาง ที่ดูน่าสงสัยคือ เมื่อปลายปีรัชศกเทียนเป่าปีที่สอง มีการจัดทำสมุดทะเบียนใหม่ กำหนดให้ใส่รายละเอียดใบหน้าให้ชัดเจน แต่ทะเบียนของหลงปอยังคงเป็นทะเบียนเก่าสมัยรัชศกก่อน ไม่เคยระบุรายละเอียดหน้าตา”... เพื่อนเพจสงสัยเหมือนกันไหมว่า ทะเบียนราษฎร์ในสมัยราชวงศ์ถัง (รัชศกเทียนเป่าคือช่วงปีค.ศ. 742-756) ถึงขนาดมีรายละเอียดใบหน้าชัดเจนเชียวหรือ? ไปค้นข้อมูลมาจึงพบว่า การนับจำนวนประชากรในจีนโบราณมีมาตั้งแต่กว่าสองพันปีก่อนคริสตกาล เดิมเป็นการจัดเก็บข้อมูลเพื่อไว้เพื่อช่วยเหลือคนในยามเกิดอุทกภัยน้ำท่วม ไม่ปรากฏข้อมูลเพิ่มเติมว่าเป็นเพียงการนับจำนวนประชากรหรือมีการบันทึกรายละเอียดมากกว่านั้น แต่ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก (ปี 1045-771 ก่อนคริสตกาล) มีการจัดทำทะเบียนราษฎร์ทุกสามปี รายละเอียดที่บันทึกไว้รวมถึงวันเกิด วันตาย เพศ และที่อยู่ของประชาชน ในสมัยฉิน มีการจัดทำทะเบียนราษฎร์อย่างเข้มงวด นอกจากรายละเอียดข้างต้นยังมีการระบุเจ้าบ้าน ชื่อสามี-ภรรยา โดยวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อใช้ในการเก็บภาษีและเกณฑ์ทหาร ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น (ปี 202 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 221) ประชาชนมีหน้าที่รายงานข้อมูลและการเปลี่ยนแปลงของสมาชิกในครอบครัวทุกปี โดยข้อมูลจะถูกตรวจสอบโดยทางการท้องถิ่นอีกครั้งก่อนจะรวบรวมส่งทางการส่วนกลาง รายละเอียดที่บันทึกรวมถึงชื่อแซ่ อายุ ภูมิลำเนาเดิม สถานะสมรส รายละเอียดหน้าตา รายได้ และจำนวนพื้นที่ของที่ดินที่ถือครอง หากจะย้ายบ้าน ต้องทำการรายงานกับที่ว่าการท้องถิ่นก่อนจึงจะย้ายออกได้ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นคนพเนจร ซึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย (คือโดนฆ่าตายก็ไม่มีการสืบสวนเอาผิดคนฆ่า) ว่ากันว่าทะเบียนราษฏร์สมัยราชวงศ์ฮั่นนี้ละเอียดถูกต้องเชื่อถือได้มากกว่าครั้งใดที่จีนเคยทำมาในอดีต การจัดทำทะเบียนราษฎร์มีต่อมาเรื่อยๆ และมีการลงรายละเอียดมากขึ้นในยุคสมัยราชวงศ์ถัง (ซึ่งเรื่องราวของ <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> เกิดขึ้นในสมัยนี้) ในสมัยนั้น ทะเบียนราษฎร์คือการสรุปรวมข้อมูลของทะเบียนบ้านหรือที่เรียกว่า ‘โส่วสือ’ (手实) มีการจัดแยกหมวดหมู่ตามสถานะ กล่าวคือเป็นเจ้าบ้าน เป็นสมาชิกของตระกูล หรือเป็นผู้อยู่อาศัยในเรือนเช่นทาส บ่าว นักดนตรี ฯลฯ และมีการบันทึกรายละเอียดเพิ่มเติมของรูปพรรณสัณฐาน เช่นส่วนสูง สีผิว เป็นต้น โดยมีเพียงสมาชิกของตระกูลเท่านั้นที่จะมีสิทธิแยกออกมาจัดตั้งครัวเรือนใหม่ได้ (Storyฯ เพิ่งเข้าใจบริบทที่ว่าบางนิยายจีนโบราณกล่าวถึงการ ‘แยกบ้าน’ ของคนในตระกูลเดียวกันที่ฟังดูเป็นเรื่องราวใหญ่โต) สำหรับชาวไร่ชาวนา ข้อมูลจากโส่วสือยังถูกใช้ในการจัดสรรที่ดินทำกิน โดยอิงตามจำนวนสมาชิกในบ้าน ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิง มีการลงรายละเอียดเพิ่มเติมอีกคืออาชีพของคนในบ้าน เช่น นายช่าง ทหาร หรือข้าราชการ ฯลฯ และมีรายละเอียดรายรับและสินทรัพย์ของแต่ละคนเพิ่มเติม เช่นจำนวนที่ดิน บ้าน ร้านค้า รถม้า เรือ ฯลฯ ทะเบียนราษฎร์นี้เรียกว่า ‘หวงเช่อ’ (黄册) แปลตรงตัวว่าสมุดเหลือง เพราะมักใช้ปกสีเหลือง (โนว์... ไม่ใช่สมุดโทรศัพท์ Yellow Pages จ้า) อีกทั้งการนำข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์มาใช้เพิ่มดีกรีความเข้มข้น ใครจะเดินทางต้องพกเอกสารใบอนุญาตที่มีข้อมูลประจำตัวและบ้าน (Storyฯ นึกถึงในละครที่จะผ่านประตูเมืองแต่ละครั้งต้องควักเอกสารออกมาฉบับหนึ่ง) Storyฯ รู้สึกทึ่งว่า แบบแผนการบริหารงานบ้านเมืองในโลกปัจจุบัน จริงๆ แล้วไม่ได้หนีจากของโบราณที่มีมาหลายพันปีแล้วเลย คนโบราณช่างคิดช่างทำ เก่งจริง เพื่อนๆ ว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://luvasianseries.blogspot.com/2020/10/longest-day-in-changan.html https://daydaynews.cc/zh-hans/history/160001.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/113664748 http://www.naradafoundation.org/content/6526 https://daydaynews.cc/zh-hans/history/160001.html #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #ประวัติศาสตร์จีน #ทะเบียนราษฎร์จีน #ราชวงศ์ถัง
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 385 มุมมอง 0 รีวิว
  • เรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> เป็นเรื่องที่ใส่รายละเอียดทางประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ถังไว้มากพอสมควร แต่ Storyฯ รู้สึกสะดุดตาอย่างมากกับลักษณะการเสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมของตัวละครเอกคนหนึ่งคือ หลี่ปี้

    ความ ‘เอ๊ะ’ คือว่า ทำไมเขาถึงเสียบปิ่นของมงกฎครอบมวยผมในแนวตรง คือจากหลังมาหน้า (ดูรูปกลางสี่เหลี่ยม) ในขณะที่ตัวละครอื่นเสียบปิ่นในแนวขวางจากขวาไปซ้ายเหมือนกับที่เราเห็นในละครจีนโบราณเรื่องอื่นๆ (ดูเปรียบเทียบตัวละครจากเรื่องเดียวกันในรูปวงกลม)

    ไปทำการบ้านมาค่ะ เลยพบว่ามีคนเขียนชมละครเรื่องนี้ว่ามีความพยายามทำให้ใกล้เคียงประวัติศาสตร์จริงมากในเรื่องการแต่งกาย ซึ่งสาเหตุที่หลี่ปี้เสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมในแนวตรงนั้น เป็นเพราะว่าเขาเป็นนักพรต

    แต่มันแตกต่างจากเรื่องอื่นที่เราเห็นนักพรตปักปิ่นในแนวขวาง Storyฯ เลยเอารูปวาดโบราณมาเปรียบเทียบให้ดู (ดูภาพเปรียบเทียบในรูปสี่เหลี่ยมที่แปะมา) ก็จะเห็นว่านักพรตในลัทธิเต๋าในช่วงยุคสมัยรัชวงศ์ถังนั้นปักปิ่นในแนวตรงจริงๆ โดยวิธีเสียบปิ่นคือจากข้างหลังมาข้างหน้า หรือที่เรียกว่า ‘จื๋ออู่จ๊าน’ (子午簪)

    ดูภาพจากละครจะเห็นว่ามงกฎครอบผมของหลี่ปี้มีสองแบบ มันคือแบบลายดอกพุดตานที่มีกลีบใหญ่ชูเด่น และแบบลายดอกบัว เดิมเรียกแยกสองแบบอย่างนี้ ต่อมาการเวลาผ่านไปถูกเรียกรวมเป็นลายดอกบัว มีเฉพาะนักพรตที่มีระดับสูงจึงจะใช้ได้

    จากข้อมูลที่หาได้ ในสมัยราชวงศ์ถังนั้น นักพรตเต๋ามีเจ็ดระดับ สูงสุดคือระดับเจ็ด มีระเบียบกำหนดเรื่องการแต่งกายไว้อย่างเคร่งครัด แตกต่างกันไปทั้งเนื้อผ้าสีผ้าของชุดและมงกุฎครอบผมตามแต่ละระดับ ตัวอย่างเช่น นักพรตระดับที่ห้า มงกฎครอบผมสีน้ำตาลเข้มรูปทรงดอกบัวกลีบสองชั้นทั้งสี่ด้าน ชุดสีเหลือง ฯลฯ นักพรตระดับที่หก มงกฎครอบผมรูปทรงดอกบัวกลีบสามชั้นทั้งสี่ด้าน ชุดสีเขียวฟ้ากระจ่าง ผ้าพาดบ่าสีม่วง ฯลฯ

    ในเนื้อเรื่องของละคร <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> Storyฯ ไม่เห็นมีข้อมูลว่าหลี่ปี้เป็นนักพรตระดับใด Storyฯ เองก็ไม่แน่ใจว่ารายละเอียดการแต่งกายในละครถูกต้องหรือไม่ มีบางเพจเขียนว่าปิ่นของหลี่ปี้สั้นไป แต่ที่ดูจะถูกต้องแน่นอนคือวิธีการเสียบปิ่นของหลี่ปี้

    แล้วที่เราเห็นในละครเรื่องอื่นที่นักพรตเสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมแนวขวางล่ะ?

    จากข้อมูลที่ Storyฯ หาเจอ วิธีเสียบปิ่นตามแนวตรงข้างต้นเป็นไปจนสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่จากสมัยราชวงศ์หมิงจนถึงราชวงศ์ชิง มีนักพรตเสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมแนวขวาง แต่มีจุดสังเกตคือจะต้องเป็นการเสียบจากซ้ายไปขวา ไม่ใช่ขวาไปซ้ายแบบคนทั่วไป และแบบแนวตรงก็ยังคงมีใช้อยู่ ซึ่งที่มาคือแนวคิดที่ว่า แนวตรงคือการแบ่งแยกหยินหยาง แนวขวางจากซ้ายคือการเกิดไปสู่ขวาคือความตาย

    แต่คนธรรมดาทั่วไปจะปักปิ่นจากขวาไปซ้ายเป็นส่วนใหญ่เพราะหลายคนถนัดขวา มีเพจหนึ่งที่อ่านเจอเขียนว่า หากคนธรรมดาปักปิ่นจากซ้ายไปขวาแสดงว่าอยู่ในระหว่างไว้ทุกข์ แต่ข้อมูลนี้ Storyฯ ไม่ได้ไปค้นหาต่อว่าใช่หรือไม่

    ต่อมามงกฎทรงดอกบัวถูกนำมาใช้สำหรับสตรีสูงศักดิ์ในวังด้วย แต่ความแตกต่างอยู่ที่ขนาดใหญ่ขึ้นเป็นมงกุฎ เป็นทองคำลวดลายวิจิตรและมีการประดับหินและพลอยให้ดูอลังการ และไม่มีปิ่นปักกลางไว้ยึดผมเหมือนมงกุฎครอบมวยผมนักพรต

    ท่านใดที่ชอบละครเรื่องนี้ ลองดูลิ้งค์ที่แปะมาบางลิ้งค์ด้านล่างจะเห็นการเปรียบเทียบว่ามีการอิงประวัติศาสตร์จริงอย่างไร (อ่านไม่ออกก็ดูรูปได้) อย่างเช่นการวาดคิ้วสมัยราชวงศ์ถังแบบต่างๆ ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อหลายเดือนก่อน ก็มีปรากฎให้เห็นในบรรดาชาวบ้านที่แต่งตัวกันออกมาเที่ยวเทศกาลในเรื่องนี้ด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจากในละครและจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/72817310
    https://new.qq.com/omn/20190716/20190716A0SOED00.html?pc
    https://www.behance.net/gallery/84983593/The-Longest-Day-In-Changan-Posters
    http://www.xinhuanet.com/ent/2019-07/02/c_1124697419.htm

    #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #หลี่ปี้ #ปิ่นปักผมจีน #วัฒนธรรมจีนโบราณ StoryfromStory
    เรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> เป็นเรื่องที่ใส่รายละเอียดทางประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ถังไว้มากพอสมควร แต่ Storyฯ รู้สึกสะดุดตาอย่างมากกับลักษณะการเสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมของตัวละครเอกคนหนึ่งคือ หลี่ปี้ ความ ‘เอ๊ะ’ คือว่า ทำไมเขาถึงเสียบปิ่นของมงกฎครอบมวยผมในแนวตรง คือจากหลังมาหน้า (ดูรูปกลางสี่เหลี่ยม) ในขณะที่ตัวละครอื่นเสียบปิ่นในแนวขวางจากขวาไปซ้ายเหมือนกับที่เราเห็นในละครจีนโบราณเรื่องอื่นๆ (ดูเปรียบเทียบตัวละครจากเรื่องเดียวกันในรูปวงกลม) ไปทำการบ้านมาค่ะ เลยพบว่ามีคนเขียนชมละครเรื่องนี้ว่ามีความพยายามทำให้ใกล้เคียงประวัติศาสตร์จริงมากในเรื่องการแต่งกาย ซึ่งสาเหตุที่หลี่ปี้เสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมในแนวตรงนั้น เป็นเพราะว่าเขาเป็นนักพรต แต่มันแตกต่างจากเรื่องอื่นที่เราเห็นนักพรตปักปิ่นในแนวขวาง Storyฯ เลยเอารูปวาดโบราณมาเปรียบเทียบให้ดู (ดูภาพเปรียบเทียบในรูปสี่เหลี่ยมที่แปะมา) ก็จะเห็นว่านักพรตในลัทธิเต๋าในช่วงยุคสมัยรัชวงศ์ถังนั้นปักปิ่นในแนวตรงจริงๆ โดยวิธีเสียบปิ่นคือจากข้างหลังมาข้างหน้า หรือที่เรียกว่า ‘จื๋ออู่จ๊าน’ (子午簪) ดูภาพจากละครจะเห็นว่ามงกฎครอบผมของหลี่ปี้มีสองแบบ มันคือแบบลายดอกพุดตานที่มีกลีบใหญ่ชูเด่น และแบบลายดอกบัว เดิมเรียกแยกสองแบบอย่างนี้ ต่อมาการเวลาผ่านไปถูกเรียกรวมเป็นลายดอกบัว มีเฉพาะนักพรตที่มีระดับสูงจึงจะใช้ได้ จากข้อมูลที่หาได้ ในสมัยราชวงศ์ถังนั้น นักพรตเต๋ามีเจ็ดระดับ สูงสุดคือระดับเจ็ด มีระเบียบกำหนดเรื่องการแต่งกายไว้อย่างเคร่งครัด แตกต่างกันไปทั้งเนื้อผ้าสีผ้าของชุดและมงกุฎครอบผมตามแต่ละระดับ ตัวอย่างเช่น นักพรตระดับที่ห้า มงกฎครอบผมสีน้ำตาลเข้มรูปทรงดอกบัวกลีบสองชั้นทั้งสี่ด้าน ชุดสีเหลือง ฯลฯ นักพรตระดับที่หก มงกฎครอบผมรูปทรงดอกบัวกลีบสามชั้นทั้งสี่ด้าน ชุดสีเขียวฟ้ากระจ่าง ผ้าพาดบ่าสีม่วง ฯลฯ ในเนื้อเรื่องของละคร <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> Storyฯ ไม่เห็นมีข้อมูลว่าหลี่ปี้เป็นนักพรตระดับใด Storyฯ เองก็ไม่แน่ใจว่ารายละเอียดการแต่งกายในละครถูกต้องหรือไม่ มีบางเพจเขียนว่าปิ่นของหลี่ปี้สั้นไป แต่ที่ดูจะถูกต้องแน่นอนคือวิธีการเสียบปิ่นของหลี่ปี้ แล้วที่เราเห็นในละครเรื่องอื่นที่นักพรตเสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมแนวขวางล่ะ? จากข้อมูลที่ Storyฯ หาเจอ วิธีเสียบปิ่นตามแนวตรงข้างต้นเป็นไปจนสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่จากสมัยราชวงศ์หมิงจนถึงราชวงศ์ชิง มีนักพรตเสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมแนวขวาง แต่มีจุดสังเกตคือจะต้องเป็นการเสียบจากซ้ายไปขวา ไม่ใช่ขวาไปซ้ายแบบคนทั่วไป และแบบแนวตรงก็ยังคงมีใช้อยู่ ซึ่งที่มาคือแนวคิดที่ว่า แนวตรงคือการแบ่งแยกหยินหยาง แนวขวางจากซ้ายคือการเกิดไปสู่ขวาคือความตาย แต่คนธรรมดาทั่วไปจะปักปิ่นจากขวาไปซ้ายเป็นส่วนใหญ่เพราะหลายคนถนัดขวา มีเพจหนึ่งที่อ่านเจอเขียนว่า หากคนธรรมดาปักปิ่นจากซ้ายไปขวาแสดงว่าอยู่ในระหว่างไว้ทุกข์ แต่ข้อมูลนี้ Storyฯ ไม่ได้ไปค้นหาต่อว่าใช่หรือไม่ ต่อมามงกฎทรงดอกบัวถูกนำมาใช้สำหรับสตรีสูงศักดิ์ในวังด้วย แต่ความแตกต่างอยู่ที่ขนาดใหญ่ขึ้นเป็นมงกุฎ เป็นทองคำลวดลายวิจิตรและมีการประดับหินและพลอยให้ดูอลังการ และไม่มีปิ่นปักกลางไว้ยึดผมเหมือนมงกุฎครอบมวยผมนักพรต ท่านใดที่ชอบละครเรื่องนี้ ลองดูลิ้งค์ที่แปะมาบางลิ้งค์ด้านล่างจะเห็นการเปรียบเทียบว่ามีการอิงประวัติศาสตร์จริงอย่างไร (อ่านไม่ออกก็ดูรูปได้) อย่างเช่นการวาดคิ้วสมัยราชวงศ์ถังแบบต่างๆ ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อหลายเดือนก่อน ก็มีปรากฎให้เห็นในบรรดาชาวบ้านที่แต่งตัวกันออกมาเที่ยวเทศกาลในเรื่องนี้ด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/72817310 https://new.qq.com/omn/20190716/20190716A0SOED00.html?pc https://www.behance.net/gallery/84983593/The-Longest-Day-In-Changan-Posters http://www.xinhuanet.com/ent/2019-07/02/c_1124697419.htm #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #หลี่ปี้ #ปิ่นปักผมจีน #วัฒนธรรมจีนโบราณ StoryfromStory
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 378 มุมมอง 0 รีวิว
  • ความมีอยู่ว่า
    ...กว่าโจวเซิงเฉินจะกลับมาถึง สองผนังของหออักษรก็ถูกนางเขียนจนเต็ม... โจวเซิงเฉินเดินหาทั่วจวนหวาง จนกระทั่งเดินถึงชั้นบนของหออักษร จึงเห็นดรุณีที่ก่อนหน้านี้ยกน้ำชาอย่างเรียบร้อยเพื่อกราบตนเป็นอาจารย์ บัดนี้กลับเขียนบท “ซ่างหลินฟู่” ของซือหม่าเซียงหรูอยู่บนผนัง
    ชัดเจนต่อเนื่อง ไม่ตกหล่นแม้เพียงอักษรเดียว
    เพียงแต่ชะงักหยุดตรงวรรคที่เกี่ยวกับความรักหญิงชาย: คิ้วยาวเรียวงาม เบาบางดุจฝ้าย...
    ...เขายิ้มเอ่ย “วรรคต่อคือ: นัยน์ตาสื่อรัก ใจประสานใจ”...
    - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า
    (หมายเหตุ บทความ Storyฯ แปลเอง ยกเว้นวรรคสุดท้ายยกมาจากซับไทยในละครจ้า)

    เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร/อ่านนิยาย <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> จะคุ้นตากับบทประพันธ์ชื่อว่า “ซ่างหลินฟู่” ที่ดูจะมีบทบาทช่วยเดินเรื่อง เคยมีคนเขียนเกี่ยวกับบทประพันธ์นี้ไปบ้างแล้ว แต่ Storyฯ ยังหวังว่าบทความนี้จะให้ความรู้ได้ในอีกแง่มุม

    “ซ่างหลินฟู่” (上林赋) เป็นบทประพันธ์โดยซือหม่าเซียงหรู (779 – 117 ปีก่อนคริสตกาล) ศิลปินเอกในยุคสมัยองค์ฮั่นอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่น ที่เรียกเขาว่า ‘ศิลปิน’ เพราะเชี่ยวชาญทั้งด้านอักษรและการดนตรี เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ยินชื่อของเขาจากเรื่องราวเกี่ยวกับเพลงพิณ “หงส์ตามหาคู่”

    “ซ่างหลินฟู่” เป็นหนึ่งในสองวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของซือหม่าเซียงหรูและเป็นหนึ่งในบทประพันธ์ที่มีคุณค่าทางการศึกษามาตลอดทุกยุคสมัย ตั้งแต่ฮั่น ผ่านถัง ซ่ง หมิง ฯลฯ จวบจนปัจจุบัน จัดเป็นหนึ่งในวรรณกรรมที่อ่านยากที่สุดของจีน ยาวประมาณสี่พันอักษร (ภาพประกอบเป็นฉบับแปลเป็นภาษาปัจจุบันแล้ว)

    ทีแรก Storyฯ เข้าใจจากเนื้อเรื่องละครว่า “ซ่างหลินฟู่” คงเป็นกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ

    “ซ่างหลินฟู่” เป็นเรื่องราวประพาสล่าสัตว์ของฮ่องเต้และบรรยายถึงความอลังการของอุทยานซ่างหลิน (ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของนครฉางอัน) เล่าผ่านเรื่องราวและตัวละครที่ไม่มีตัวตนจริงเช่น กษัตริย์แห่งแคว้นฉู่ เป็นบทความที่องค์ฮั่นอู่ตี้ทรงขอและซือหม่าเซียงหรูใช้เวลา 10 ปีกว่าจะนำบทประพันธ์นี้ถวาย

    เพราะอะไรจึงเป็นบทประพันธ์ที่มีคุณค่าทางการศึกษา? Storyฯ สรุปสั้นๆ ได้ดังนี้ค่ะ
    1. รูปแบบ - “ฟู่” เป็นวรรณกรรมซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัวเหมือนโคลงกลอน ลักษณะเหมือนการเขียนเรื่องสั้น หากแต่ภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆ ซ่างหลินฟู่เป็นต้นแบบของวรรณกรรมจีนโบราณที่โด่งดังอีกหลายบทในรูปแบบ “ฟู่” นี้
    2. ภาษา - ดีกรีความ ‘เข้มข้น’ สูงมาก ไพเราะสละสลวย วรรคสั้นแต่มีนัยแฝงลึกซึ้ง ใช้คำที่แปลก (คำหลายคำไม่มีในพจนานุกรมจีนปัจจุบันแล้ว) Storyฯ เห็นในเพจต่างๆ ต้องมีการตีความและอธิบายความหมายจากจีนเป็นจีนเกือบทุกวรรค (วรรคละ3-4 อักษร) เพื่อนๆ ลองนึกภาพเอาแล้วกันว่ายากแค่ไหน
    3. สาระ - สอดแทรกปรัชญาและคุณธรรมการปกครองบ้านเมืองผ่านบทสนทนาโต้ตอบกันของตัวละครในเรื่อง ชนรุ่นหลังถึงกับมีคนวิเคราะห์ว่าเป็นการเสียดสีการปกครองในเวลานั้นหรือไม่

    ประโยคที่กล่าวถึงความรักลึกซึ้งในข้อความที่ยกมาจากนิยายนั้น จริงๆ แล้วเป็นวรรคที่ยกมาจากตอนที่กล่าวเตือนใจให้ผู้ที่ปกครองบ้านเมืองอย่ามัวเมาในเรื่องของหญิงชายจนลืมกิจการบ้านเมือง (ขออภัยหากข้อมูลนี้ทำให้ลดทอนความโรแมนติคของละคร/นิยายเรื่องนี้ไป)

    ทำให้ Storyฯ อดรู้สึกไม่ได้ว่า ละครเรื่องนี้ไม่เพียงเล่าถึงความรักลึกซึ้งระหว่างพระนาง แต่ยังสอดแทรกความรักอันยิ่งใหญ่ที่มีต่อประเทศชาติที่สะท้อนผ่านปรัชญาชีวิตของตัวละครเอกโจวเซิงเฉิน เพื่อนเพจที่เคยดู/อ่านเรื่องนี้ คิดเหมือนกันบ้างไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.163.com/dy/article/GIB87TR80524M8IF.html
    https://m.cngwzj.com/gushitp/LiangHan/68357/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.jianshu.com/p/4437a2086012
    https://www.liuxue86.com/a/3552681.html
    https://www.kekeshici.com/shiciwenzhang/shicirumen/2093.html

    #ทุกชาติภพกระดูกงดงาม #สืออี๋ #โจวเซินเฉิน #กวีจีน #ซ่างหลินฟู่ #ซือหม่าเซียงหรู
    ความมีอยู่ว่า ...กว่าโจวเซิงเฉินจะกลับมาถึง สองผนังของหออักษรก็ถูกนางเขียนจนเต็ม... โจวเซิงเฉินเดินหาทั่วจวนหวาง จนกระทั่งเดินถึงชั้นบนของหออักษร จึงเห็นดรุณีที่ก่อนหน้านี้ยกน้ำชาอย่างเรียบร้อยเพื่อกราบตนเป็นอาจารย์ บัดนี้กลับเขียนบท “ซ่างหลินฟู่” ของซือหม่าเซียงหรูอยู่บนผนัง ชัดเจนต่อเนื่อง ไม่ตกหล่นแม้เพียงอักษรเดียว เพียงแต่ชะงักหยุดตรงวรรคที่เกี่ยวกับความรักหญิงชาย: คิ้วยาวเรียวงาม เบาบางดุจฝ้าย... ...เขายิ้มเอ่ย “วรรคต่อคือ: นัยน์ตาสื่อรัก ใจประสานใจ”... - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (หมายเหตุ บทความ Storyฯ แปลเอง ยกเว้นวรรคสุดท้ายยกมาจากซับไทยในละครจ้า) เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร/อ่านนิยาย <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> จะคุ้นตากับบทประพันธ์ชื่อว่า “ซ่างหลินฟู่” ที่ดูจะมีบทบาทช่วยเดินเรื่อง เคยมีคนเขียนเกี่ยวกับบทประพันธ์นี้ไปบ้างแล้ว แต่ Storyฯ ยังหวังว่าบทความนี้จะให้ความรู้ได้ในอีกแง่มุม “ซ่างหลินฟู่” (上林赋) เป็นบทประพันธ์โดยซือหม่าเซียงหรู (779 – 117 ปีก่อนคริสตกาล) ศิลปินเอกในยุคสมัยองค์ฮั่นอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่น ที่เรียกเขาว่า ‘ศิลปิน’ เพราะเชี่ยวชาญทั้งด้านอักษรและการดนตรี เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ยินชื่อของเขาจากเรื่องราวเกี่ยวกับเพลงพิณ “หงส์ตามหาคู่” “ซ่างหลินฟู่” เป็นหนึ่งในสองวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของซือหม่าเซียงหรูและเป็นหนึ่งในบทประพันธ์ที่มีคุณค่าทางการศึกษามาตลอดทุกยุคสมัย ตั้งแต่ฮั่น ผ่านถัง ซ่ง หมิง ฯลฯ จวบจนปัจจุบัน จัดเป็นหนึ่งในวรรณกรรมที่อ่านยากที่สุดของจีน ยาวประมาณสี่พันอักษร (ภาพประกอบเป็นฉบับแปลเป็นภาษาปัจจุบันแล้ว) ทีแรก Storyฯ เข้าใจจากเนื้อเรื่องละครว่า “ซ่างหลินฟู่” คงเป็นกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ “ซ่างหลินฟู่” เป็นเรื่องราวประพาสล่าสัตว์ของฮ่องเต้และบรรยายถึงความอลังการของอุทยานซ่างหลิน (ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของนครฉางอัน) เล่าผ่านเรื่องราวและตัวละครที่ไม่มีตัวตนจริงเช่น กษัตริย์แห่งแคว้นฉู่ เป็นบทความที่องค์ฮั่นอู่ตี้ทรงขอและซือหม่าเซียงหรูใช้เวลา 10 ปีกว่าจะนำบทประพันธ์นี้ถวาย เพราะอะไรจึงเป็นบทประพันธ์ที่มีคุณค่าทางการศึกษา? Storyฯ สรุปสั้นๆ ได้ดังนี้ค่ะ 1. รูปแบบ - “ฟู่” เป็นวรรณกรรมซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัวเหมือนโคลงกลอน ลักษณะเหมือนการเขียนเรื่องสั้น หากแต่ภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆ ซ่างหลินฟู่เป็นต้นแบบของวรรณกรรมจีนโบราณที่โด่งดังอีกหลายบทในรูปแบบ “ฟู่” นี้ 2. ภาษา - ดีกรีความ ‘เข้มข้น’ สูงมาก ไพเราะสละสลวย วรรคสั้นแต่มีนัยแฝงลึกซึ้ง ใช้คำที่แปลก (คำหลายคำไม่มีในพจนานุกรมจีนปัจจุบันแล้ว) Storyฯ เห็นในเพจต่างๆ ต้องมีการตีความและอธิบายความหมายจากจีนเป็นจีนเกือบทุกวรรค (วรรคละ3-4 อักษร) เพื่อนๆ ลองนึกภาพเอาแล้วกันว่ายากแค่ไหน 3. สาระ - สอดแทรกปรัชญาและคุณธรรมการปกครองบ้านเมืองผ่านบทสนทนาโต้ตอบกันของตัวละครในเรื่อง ชนรุ่นหลังถึงกับมีคนวิเคราะห์ว่าเป็นการเสียดสีการปกครองในเวลานั้นหรือไม่ ประโยคที่กล่าวถึงความรักลึกซึ้งในข้อความที่ยกมาจากนิยายนั้น จริงๆ แล้วเป็นวรรคที่ยกมาจากตอนที่กล่าวเตือนใจให้ผู้ที่ปกครองบ้านเมืองอย่ามัวเมาในเรื่องของหญิงชายจนลืมกิจการบ้านเมือง (ขออภัยหากข้อมูลนี้ทำให้ลดทอนความโรแมนติคของละคร/นิยายเรื่องนี้ไป) ทำให้ Storyฯ อดรู้สึกไม่ได้ว่า ละครเรื่องนี้ไม่เพียงเล่าถึงความรักลึกซึ้งระหว่างพระนาง แต่ยังสอดแทรกความรักอันยิ่งใหญ่ที่มีต่อประเทศชาติที่สะท้อนผ่านปรัชญาชีวิตของตัวละครเอกโจวเซิงเฉิน เพื่อนเพจที่เคยดู/อ่านเรื่องนี้ คิดเหมือนกันบ้างไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.163.com/dy/article/GIB87TR80524M8IF.html https://m.cngwzj.com/gushitp/LiangHan/68357/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.jianshu.com/p/4437a2086012 https://www.liuxue86.com/a/3552681.html https://www.kekeshici.com/shiciwenzhang/shicirumen/2093.html #ทุกชาติภพกระดูกงดงาม #สืออี๋ #โจวเซินเฉิน #กวีจีน #ซ่างหลินฟู่ #ซือหม่าเซียงหรู
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 431 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้เรามาคุยกันถึงบทประพันธ์โบราณบทหนึ่งชื่อว่า ‘ฉางเหมินฟู่’ (长门赋) ซึ่งในละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> กล่าวถึงบ่อยครั้ง โดยหนึ่งในตัวละครเอกหยวนเซิ่นมักกล่าวอ้างอิงเพื่อเป็นคติสอนใจเกี่ยวกับความรักให้กับนางเอก

    ความมีอยู่ว่า...
    หยวนเซิ่นกล่าวอธิบาย “เรื่องเก็บหญิงงามในห้องทองคำกับบทกวีฉางเหมิน...วันนี้ห้องทองคำยังคงอยู่ ทว่าตำหนักฉางเหมินมิมีคนรักแล้ว เห็นได้ว่าสามีภรรยาในโลกหล้า เมื่อคราแรกพบต่างมีใจตรงกัน ยากจะพรากจากจึงมีบุพเพสันนิวาสนี้ แต่สุดท้ายเป็นเพียงรักที่จางหายรักสายเกินไป”
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> ตามซับไทย

    ‘ฉางเหมินฟู่’ เป็นบทประพันธ์ของซือหม่าเซียงหรู (779 – 117 ปีก่อนคริสตกาล) ศิลปินเอกในยุคสมัยองค์ฮั่นอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่น ที่เรียกเขาว่า ‘ศิลปิน’ เพราะเชี่ยวชาญทั้งด้านอักษรและการดนตรี เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ยินชื่อของเขาจากเรื่องราวเกี่ยวกับเพลงพิณ “หงส์ตามหาคู่” และบทประพันธ์ ‘ซ่างหลินฟู่’ (Storyฯ เคยกล่าวถึงในหลายบทความแล้ว)

    Storyฯ ไม่อยากใช้คำว่า ‘บทกวี’ เพราะ ‘ฟู่’ เป็นวรรณกรรมซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัวเหมือนโคลงกลอน ลักษณะเหมือนการเขียนเรื่องสั้น หากแต่ภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆ และซือหม่าเซียงหรูนี้เรียกได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญของบทประพันธ์ในรูปแบบ “ฟู่” นี้

    ‘ฉางเหมิน’ ในชื่อของบทประพันธ์นี้เป็นชื่อพระตำหนักของฮองเฮาเฉินอาเจียวในองค์ฮั่นอู่ตี้ (156-87 ปีก่อนคริสตกาล) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองฉางอัน โดยมีที่มาที่ไปสรุปเป็นเรื่องราวของฮองเฮาเฉินที่ไม่เป็นที่ทรงโปรดของฮั่นอู่ตี้ แต่องค์ฮั่นอู่ตี้ทรงจำใจอภิเษกด้วย เมื่ออำนาจทางการเมืองของพระนางอ่อนลงและทรงใช้เล่ห์กลให้ร้ายพระชายาและสนมรายอื่น ฮองเฮาเฉินก็ถูกกักบริเวณไว้ภายในพระตำหนักฉางเหมิน จึงทรงหาทางจ้างซือหม่าเซียงหรูแต่งบทประพันธ์นี้ขึ้น

    เนื้อหาของบทประพันธ์เป็นเรื่องราวความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยวของฮองเฮาเฉินในพระตำหนักที่แสนจะเดียวดาย ทรงคอยชะเง้อหาแต่กลับเห็นพระสวามีมีความสุขกับสตรีอื่นทว่าไม่เคยย่างกรายมาเยี่ยมเยียนพระนาง ในยามที่ฝนตกฟ้าร้องก็ไร้ซึ่งผู้ใดเคียงข้าง ในพระตำหนักที่หรูหรากลับไร้ซึ่งเงาของคนรัก

    บทประพันธ์นี้ถูกองค์ฮองเฮาเฉินให้คนขับขานทั้งวัน แต่องค์ฮั่นอู่ตี้ก็ยังไม่เคยทรงเหลียวแลพระนางอีกเลย ด้วยเนื้อหาของบทประพันธ์ทำให้มันถูกเรียกขานว่าเป็นจดหมายรักฉบับแรกในประวัติศาสตร์จีน และในเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> นี้ มันถูกใช้เป็นตัวอย่างของความรักที่ไม่ได้รับรักตอบแทน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://m.cyol.com/gb/articles/2022-08/04/content_449M3uWlp.html
    https://k.sina.cn/article_7069952700_1a566eabc00100yzo0.html
    https://baike.sogou.com/PicBooklet.v?imageGroupId=4666607&relateImageGroupIds=4666607&lemmaId=225502&category=#4666607_0
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5452fb360959.aspx
    https://baike.baidu.com/item/长门赋/3075468
    http://m.qulishi.com/news/201708/242962.html

    #ดาราจักรรักลำนำใจ #ฉางเหมินฟู่ #ซือหม่าเซียงหรู #เฉินอาเจียว #ฮ่านอู่ตี้



    วันนี้เรามาคุยกันถึงบทประพันธ์โบราณบทหนึ่งชื่อว่า ‘ฉางเหมินฟู่’ (长门赋) ซึ่งในละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> กล่าวถึงบ่อยครั้ง โดยหนึ่งในตัวละครเอกหยวนเซิ่นมักกล่าวอ้างอิงเพื่อเป็นคติสอนใจเกี่ยวกับความรักให้กับนางเอก ความมีอยู่ว่า... หยวนเซิ่นกล่าวอธิบาย “เรื่องเก็บหญิงงามในห้องทองคำกับบทกวีฉางเหมิน...วันนี้ห้องทองคำยังคงอยู่ ทว่าตำหนักฉางเหมินมิมีคนรักแล้ว เห็นได้ว่าสามีภรรยาในโลกหล้า เมื่อคราแรกพบต่างมีใจตรงกัน ยากจะพรากจากจึงมีบุพเพสันนิวาสนี้ แต่สุดท้ายเป็นเพียงรักที่จางหายรักสายเกินไป” - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> ตามซับไทย ‘ฉางเหมินฟู่’ เป็นบทประพันธ์ของซือหม่าเซียงหรู (779 – 117 ปีก่อนคริสตกาล) ศิลปินเอกในยุคสมัยองค์ฮั่นอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่น ที่เรียกเขาว่า ‘ศิลปิน’ เพราะเชี่ยวชาญทั้งด้านอักษรและการดนตรี เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ยินชื่อของเขาจากเรื่องราวเกี่ยวกับเพลงพิณ “หงส์ตามหาคู่” และบทประพันธ์ ‘ซ่างหลินฟู่’ (Storyฯ เคยกล่าวถึงในหลายบทความแล้ว) Storyฯ ไม่อยากใช้คำว่า ‘บทกวี’ เพราะ ‘ฟู่’ เป็นวรรณกรรมซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัวเหมือนโคลงกลอน ลักษณะเหมือนการเขียนเรื่องสั้น หากแต่ภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆ และซือหม่าเซียงหรูนี้เรียกได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญของบทประพันธ์ในรูปแบบ “ฟู่” นี้ ‘ฉางเหมิน’ ในชื่อของบทประพันธ์นี้เป็นชื่อพระตำหนักของฮองเฮาเฉินอาเจียวในองค์ฮั่นอู่ตี้ (156-87 ปีก่อนคริสตกาล) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองฉางอัน โดยมีที่มาที่ไปสรุปเป็นเรื่องราวของฮองเฮาเฉินที่ไม่เป็นที่ทรงโปรดของฮั่นอู่ตี้ แต่องค์ฮั่นอู่ตี้ทรงจำใจอภิเษกด้วย เมื่ออำนาจทางการเมืองของพระนางอ่อนลงและทรงใช้เล่ห์กลให้ร้ายพระชายาและสนมรายอื่น ฮองเฮาเฉินก็ถูกกักบริเวณไว้ภายในพระตำหนักฉางเหมิน จึงทรงหาทางจ้างซือหม่าเซียงหรูแต่งบทประพันธ์นี้ขึ้น เนื้อหาของบทประพันธ์เป็นเรื่องราวความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยวของฮองเฮาเฉินในพระตำหนักที่แสนจะเดียวดาย ทรงคอยชะเง้อหาแต่กลับเห็นพระสวามีมีความสุขกับสตรีอื่นทว่าไม่เคยย่างกรายมาเยี่ยมเยียนพระนาง ในยามที่ฝนตกฟ้าร้องก็ไร้ซึ่งผู้ใดเคียงข้าง ในพระตำหนักที่หรูหรากลับไร้ซึ่งเงาของคนรัก บทประพันธ์นี้ถูกองค์ฮองเฮาเฉินให้คนขับขานทั้งวัน แต่องค์ฮั่นอู่ตี้ก็ยังไม่เคยทรงเหลียวแลพระนางอีกเลย ด้วยเนื้อหาของบทประพันธ์ทำให้มันถูกเรียกขานว่าเป็นจดหมายรักฉบับแรกในประวัติศาสตร์จีน และในเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> นี้ มันถูกใช้เป็นตัวอย่างของความรักที่ไม่ได้รับรักตอบแทน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://m.cyol.com/gb/articles/2022-08/04/content_449M3uWlp.html https://k.sina.cn/article_7069952700_1a566eabc00100yzo0.html https://baike.sogou.com/PicBooklet.v?imageGroupId=4666607&relateImageGroupIds=4666607&lemmaId=225502&category=#4666607_0 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5452fb360959.aspx https://baike.baidu.com/item/长门赋/3075468 http://m.qulishi.com/news/201708/242962.html #ดาราจักรรักลำนำใจ #ฉางเหมินฟู่ #ซือหม่าเซียงหรู #เฉินอาเจียว #ฮ่านอู่ตี้ 
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 751 มุมมอง 0 รีวิว
  • Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ

    วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้
    ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน”
    สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น”
    - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์

    บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ

    แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร?

    ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น

    Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา)

    หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ

    อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29
    https://www.sohu.com/a/155060661_701638
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html
    https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645
    https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579
    http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf

    #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้ ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น” - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์ บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร? ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา) หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29 https://www.sohu.com/a/155060661_701638 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645 https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579 http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 830 มุมมอง 0 รีวิว
  • **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน

    เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’

    ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา

    ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร

    กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี

    เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น

    เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง

    บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ)

    Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน)

    เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล

    เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง

    ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน

    บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://news.agentm.tw/310261/
    https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00
    https://www.yeeyi.com/news/details/629504/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/李白/1043
    https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719
    http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259
    https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904
    https://www.sohu.com/a/538839040_355475
    http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211#

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ) Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน) เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223 Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.agentm.tw/310261/ https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00 https://www.yeeyi.com/news/details/629504/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/李白/1043 https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719 http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259 https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904 https://www.sohu.com/a/538839040_355475 http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211# #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1450 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตามรอยเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านเส้นทางสายไหม

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> คงจำได้ว่าฉากหลังของเรื่องคือการค้าอัญมณีในสมัยถัง ซึ่งเส้นทางการเดินทางมีทั้งการเดินเรือทะเลและข้ามทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ ชวนให้ Storyฯ งงไม่น้อยเลยลองไปหาข้อมูลดู

    มีบทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยเหอหนานกล่าวไว้ว่าจริงๆ แล้วซีรีส์เรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> นี้คือการเดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งก็ตรงกับตอนจบของเรื่องที่กล่าวถึงการพัฒนาด้านการค้าผ่านเส้นทางสายไหม

    Storyฯ เลยลองเอาการเดินทางของพระเอกนางเอกจากในซีรีส์มาปักหมุดลง เราลองมาดูกันค่ะ

    มีบทความและแผนที่เกี่ยวกับเส้นทางสายไหมจำนวนไม่น้อยในหลากหลายภาษา ดังนั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด แต่จากการเปรียบเทียบดู Storyฯ พบว่ามีความแตกต่างกันบ้าง จึงขอใช้เวอร์ชั่นที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์หนิงเซี่ยกู้หยวนเป็นหลักเพราะถือว่าเป็นไปตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่จีนบันทึกเอง (ดูรูปประกอบ 2) เราจะเห็นว่าเส้นทางสายไหมมีเส้นทางบกและเส้นทางทะเล และเส้นทางบกไม่ได้จบลงที่เมืองฉางอัน (ซีอันปัจจุบัน) อย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่มีการเชื่อมต่อไปจรดทะเลเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางทะเล

    Storyฯ ลองใส่ข้อมูลอื่นเพิ่มเข้าไปในแผนที่เต็มนี้ (ดูรูปประกอบ 1) ก่อนอื่นคือใส่แผนที่ของราชวงศ์ถังซ้อนลงไปเพื่อให้เห็นภาพอาณาเขตโดยคร่าว ทั้งนี้ตลอดสามร้อยกว่าปีการปกครองของถังในเขตซีอวี้ (ซินเกียงปัจจุบัน) แตกต่างกันไป เลยลองใช้แผนที่ของช่วงประมาณปีค.ศ. 700 ก็จะเห็นเขตพื้นที่ซีอวี้ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือที่มีเมืองตุนหวงเป็นเสมือนประตูทางผ่าน จากนั้นใส่เขตพื้นที่มณฑลหยางโจวในสมัยนั้นซึ่งอยู่ทางใต้ของแผนที่ติดทะเล (คือเส้นประเล็กๆ) (หมายเหตุ เส้นขอบทั้งหมดอาจไม่เป๊ะด้วยข้อจำกัดการวาดของ Storyฯ เอง)

    เมื่อใส่เสร็จแล้วก็เห็นได้เลยว่าตวนอู่และเยี่ยจื่อจิงของเราในเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> เขาเดินทางตามเส้นทางสายใหม่จริงๆ

    เริ่มกันที่ด้านล่างของแผนที่ซึ่งเป็นแถบพื้นที่เหอผู่อันเป็นแหล่งเก็บมุกทะเล (ปัจจุบันเรียกเป๋ยไห่ คือพื้นที่สีแดง) ที่นี่เป็นฉากเริ่มต้นของเรื่อง (ย้อนอ่านเรื่องการเก็บมุกได้จากบทความสัปดาห์ที่แล้ว) จากนั้นเดินทางผ่านกวางเจาขึ้นเหนือและสู้รบปรบมือกับคนตระกูลชุยและศัตรูอื่นเป็นระยะตั้งแต่เมืองซ่าวโจวถึงเมืองอู่หลิง จากนั้นเดินทางเรื่อยขึ้นไปจนถึงเมืองเปี้ยนโจวซึ่งคือเมืองไคฟงปัจจุบัน แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านนครฉางอัน ข้ามเขตทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ซึ่งการเข้าเขตซีอวี้ในสมัยนั้นจะผ่านเมืองตุนหวง ณ จุดนี้ เรื่องราวผ่านไปแล้วประมาณ 1/3 ของเรื่อง

    หลังจากนั้นเหล่าตัวละครกลับมาจากซีอวี้แล้วเดินทางมาถึงเมืองหยางโจวข้ามผ่านระยะทางอย่างไกลได้อย่างไรไม่ทราบได้ Storyฯ ดูจากแผนที่แล้วน่าจะย้อนกลับมาทางเมืองเปี้ยนเฉิงและจากจุดนั้นมีเส้นทาง (ที่ไม่ใช่เส้นทางสายไหมและไม่ได้วาดไว้ในรูปประกอบ) เชื่อมลงมายังเมืองหยางโจว ซึ่งมีทั้งเส้นทางบกและเส้นทางคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่สามารถใช้ได้ (หมายเหตุ เส้นทางต้าอวิ้นเหอมีการเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยหมิงเป็นต้นมา) และเรื่องราวที่เหลือของเรื่องก็จะมีฉากหลังอยู่ที่การค้าอัญมณีที่เมืองหยางโจวนี้

    ในเรื่องมีกล่าวถึงอัญมณีหนึ่งที่น่าสนใจชื่อว่า ‘เซ่อเซ่อ’ (瑟瑟 ไม่แน่ใจว่าแปลซับไทยไว้ว่าอย่างไร) ซึ่งเป็นพลอยประเภท Beryl Stone มีสีเขียวฟ้าและฟ้า บอกว่าเป็นพลอยที่มีค่าหายากมาก ในความเป็นจริง Beryl Stone แบ่งเป็นประเภทย่อยอีกตามสี แต่เรามักเรียกรวมพลอยสีฟ้าเขียวว่าพลอยอะความารีน (Aquamarine) และในละครมีการกล่าวว่าพลอยเซ่อเซ่อเกรดดีส่วนใหญ่มาจากเขตซีอวี้ แต่แถวหยางโจวก็พอให้หาซื้อได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจริงตามประวัติศาสตร์ เพราะพลอยเซ่อเซ่อในจีนหาได้ในสามพื้นที่หลักคือซินเกียง (ซีอวี้) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ และที่ยูนนานและหูเป่ย (ไม่ไกลจากเมืองอู่หลิงในภาพ ซึ่งเป็นจุดที่น้องชุยสือจิ่วของเราถูกจับขังในเหมือง)

    เมืองหยางโจวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบกและทางเรือของจีนโบราณ จึงไม่แปลกที่เรามักเห็นในซีรีส์และนิยายจีนโบราณกล่าวถึงหยางโจวว่าเป็นเขตค้าขายมีตระกูลพ่อค้าร่ำรวย ที่นี่ไม่เพียงเป็นจุดเชื่อมเส้นทางสายไหมทางบกและทะเลโดยผ่านแม่น้ำแยงซีเกียง และยังมีคลองต้าอวิ้นเหอเชื่อมขึ้นเหนือ ในสมัยถังที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้าเสบียงอาหาร เกลือและเหล็กไปยังพื้นที่ต่างๆ ของจีน อีกทั้งค้าขายส่งออกผ้าไหมและงานกระเบื้องรวมถึงนำเข้าสินค้าหลากชนิดผ่านเส้นทางบกและเรือ นอกจากนี้ที่นี่ยังขึ้นชื่อเรื่องงานช่างงานฝีมือและมีการพบเจอซากเรือสมัยถังพร้อมเครื่องประดับมากมายที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยถังมีการค้าขายเครื่องประดับด้วยเช่นกัน

    หวังว่าเพื่อนเพจจะเห็นภาพแล้วว่าการเดินเรื่องของ <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านพื้นที่ไหนบ้าง และทำไมเหล่าคู่อริทางการค้าจึงพบหน้ากันบ่อย... เพราะทุกคนล้วนค้าขายและใช้เส้นทางสายไหมกันนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://m.bjnews.com.cn/detail/1730788116168379.html
    https://www.chinadiscovery.com/assets/images/silk-road/history/tang-silk-road-map-llsboc-qunar.jpg
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/JG5GE87L0512D3VJ.html
    https://www.163.com/dy/article/JGCT7TAP0530WJTO.html
    https://baike.baidu.com/item/扬州市
    https://turnstone.ca/rom186be.htm

    #ม่านมุกม่านหยก #เส้นทางสายไหม #พลอยจีน #หยางโจว #สาระจีน
    ตามรอยเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านเส้นทางสายไหม สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> คงจำได้ว่าฉากหลังของเรื่องคือการค้าอัญมณีในสมัยถัง ซึ่งเส้นทางการเดินทางมีทั้งการเดินเรือทะเลและข้ามทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ ชวนให้ Storyฯ งงไม่น้อยเลยลองไปหาข้อมูลดู มีบทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยเหอหนานกล่าวไว้ว่าจริงๆ แล้วซีรีส์เรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> นี้คือการเดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งก็ตรงกับตอนจบของเรื่องที่กล่าวถึงการพัฒนาด้านการค้าผ่านเส้นทางสายไหม Storyฯ เลยลองเอาการเดินทางของพระเอกนางเอกจากในซีรีส์มาปักหมุดลง เราลองมาดูกันค่ะ มีบทความและแผนที่เกี่ยวกับเส้นทางสายไหมจำนวนไม่น้อยในหลากหลายภาษา ดังนั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด แต่จากการเปรียบเทียบดู Storyฯ พบว่ามีความแตกต่างกันบ้าง จึงขอใช้เวอร์ชั่นที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์หนิงเซี่ยกู้หยวนเป็นหลักเพราะถือว่าเป็นไปตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่จีนบันทึกเอง (ดูรูปประกอบ 2) เราจะเห็นว่าเส้นทางสายไหมมีเส้นทางบกและเส้นทางทะเล และเส้นทางบกไม่ได้จบลงที่เมืองฉางอัน (ซีอันปัจจุบัน) อย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่มีการเชื่อมต่อไปจรดทะเลเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางทะเล Storyฯ ลองใส่ข้อมูลอื่นเพิ่มเข้าไปในแผนที่เต็มนี้ (ดูรูปประกอบ 1) ก่อนอื่นคือใส่แผนที่ของราชวงศ์ถังซ้อนลงไปเพื่อให้เห็นภาพอาณาเขตโดยคร่าว ทั้งนี้ตลอดสามร้อยกว่าปีการปกครองของถังในเขตซีอวี้ (ซินเกียงปัจจุบัน) แตกต่างกันไป เลยลองใช้แผนที่ของช่วงประมาณปีค.ศ. 700 ก็จะเห็นเขตพื้นที่ซีอวี้ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือที่มีเมืองตุนหวงเป็นเสมือนประตูทางผ่าน จากนั้นใส่เขตพื้นที่มณฑลหยางโจวในสมัยนั้นซึ่งอยู่ทางใต้ของแผนที่ติดทะเล (คือเส้นประเล็กๆ) (หมายเหตุ เส้นขอบทั้งหมดอาจไม่เป๊ะด้วยข้อจำกัดการวาดของ Storyฯ เอง) เมื่อใส่เสร็จแล้วก็เห็นได้เลยว่าตวนอู่และเยี่ยจื่อจิงของเราในเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> เขาเดินทางตามเส้นทางสายใหม่จริงๆ เริ่มกันที่ด้านล่างของแผนที่ซึ่งเป็นแถบพื้นที่เหอผู่อันเป็นแหล่งเก็บมุกทะเล (ปัจจุบันเรียกเป๋ยไห่ คือพื้นที่สีแดง) ที่นี่เป็นฉากเริ่มต้นของเรื่อง (ย้อนอ่านเรื่องการเก็บมุกได้จากบทความสัปดาห์ที่แล้ว) จากนั้นเดินทางผ่านกวางเจาขึ้นเหนือและสู้รบปรบมือกับคนตระกูลชุยและศัตรูอื่นเป็นระยะตั้งแต่เมืองซ่าวโจวถึงเมืองอู่หลิง จากนั้นเดินทางเรื่อยขึ้นไปจนถึงเมืองเปี้ยนโจวซึ่งคือเมืองไคฟงปัจจุบัน แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านนครฉางอัน ข้ามเขตทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ซึ่งการเข้าเขตซีอวี้ในสมัยนั้นจะผ่านเมืองตุนหวง ณ จุดนี้ เรื่องราวผ่านไปแล้วประมาณ 1/3 ของเรื่อง หลังจากนั้นเหล่าตัวละครกลับมาจากซีอวี้แล้วเดินทางมาถึงเมืองหยางโจวข้ามผ่านระยะทางอย่างไกลได้อย่างไรไม่ทราบได้ Storyฯ ดูจากแผนที่แล้วน่าจะย้อนกลับมาทางเมืองเปี้ยนเฉิงและจากจุดนั้นมีเส้นทาง (ที่ไม่ใช่เส้นทางสายไหมและไม่ได้วาดไว้ในรูปประกอบ) เชื่อมลงมายังเมืองหยางโจว ซึ่งมีทั้งเส้นทางบกและเส้นทางคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่สามารถใช้ได้ (หมายเหตุ เส้นทางต้าอวิ้นเหอมีการเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยหมิงเป็นต้นมา) และเรื่องราวที่เหลือของเรื่องก็จะมีฉากหลังอยู่ที่การค้าอัญมณีที่เมืองหยางโจวนี้ ในเรื่องมีกล่าวถึงอัญมณีหนึ่งที่น่าสนใจชื่อว่า ‘เซ่อเซ่อ’ (瑟瑟 ไม่แน่ใจว่าแปลซับไทยไว้ว่าอย่างไร) ซึ่งเป็นพลอยประเภท Beryl Stone มีสีเขียวฟ้าและฟ้า บอกว่าเป็นพลอยที่มีค่าหายากมาก ในความเป็นจริง Beryl Stone แบ่งเป็นประเภทย่อยอีกตามสี แต่เรามักเรียกรวมพลอยสีฟ้าเขียวว่าพลอยอะความารีน (Aquamarine) และในละครมีการกล่าวว่าพลอยเซ่อเซ่อเกรดดีส่วนใหญ่มาจากเขตซีอวี้ แต่แถวหยางโจวก็พอให้หาซื้อได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจริงตามประวัติศาสตร์ เพราะพลอยเซ่อเซ่อในจีนหาได้ในสามพื้นที่หลักคือซินเกียง (ซีอวี้) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ และที่ยูนนานและหูเป่ย (ไม่ไกลจากเมืองอู่หลิงในภาพ ซึ่งเป็นจุดที่น้องชุยสือจิ่วของเราถูกจับขังในเหมือง) เมืองหยางโจวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบกและทางเรือของจีนโบราณ จึงไม่แปลกที่เรามักเห็นในซีรีส์และนิยายจีนโบราณกล่าวถึงหยางโจวว่าเป็นเขตค้าขายมีตระกูลพ่อค้าร่ำรวย ที่นี่ไม่เพียงเป็นจุดเชื่อมเส้นทางสายไหมทางบกและทะเลโดยผ่านแม่น้ำแยงซีเกียง และยังมีคลองต้าอวิ้นเหอเชื่อมขึ้นเหนือ ในสมัยถังที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้าเสบียงอาหาร เกลือและเหล็กไปยังพื้นที่ต่างๆ ของจีน อีกทั้งค้าขายส่งออกผ้าไหมและงานกระเบื้องรวมถึงนำเข้าสินค้าหลากชนิดผ่านเส้นทางบกและเรือ นอกจากนี้ที่นี่ยังขึ้นชื่อเรื่องงานช่างงานฝีมือและมีการพบเจอซากเรือสมัยถังพร้อมเครื่องประดับมากมายที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยถังมีการค้าขายเครื่องประดับด้วยเช่นกัน หวังว่าเพื่อนเพจจะเห็นภาพแล้วว่าการเดินเรื่องของ <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านพื้นที่ไหนบ้าง และทำไมเหล่าคู่อริทางการค้าจึงพบหน้ากันบ่อย... เพราะทุกคนล้วนค้าขายและใช้เส้นทางสายไหมกันนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://m.bjnews.com.cn/detail/1730788116168379.html https://www.chinadiscovery.com/assets/images/silk-road/history/tang-silk-road-map-llsboc-qunar.jpg Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/JG5GE87L0512D3VJ.html https://www.163.com/dy/article/JGCT7TAP0530WJTO.html https://baike.baidu.com/item/扬州市 https://turnstone.ca/rom186be.htm #ม่านมุกม่านหยก #เส้นทางสายไหม #พลอยจีน #หยางโจว #สาระจีน
    M.BJNEWS.COM.CN
    赵露思、刘宇宁新剧《珠帘玉幕》今日卫视开播
    赵露思、刘宇宁新剧《珠帘玉幕》今日卫视开播
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1427 มุมมอง 0 รีวิว
  • บัณทิตหลวงระดับจวี่เหริน

    วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่า ในตอนแรกๆ ที่นางเอกถูกตามไปสอบปากคำเมื่อเกิดเหตุมีนางคณิกาเสียชีวิต นางได้บอกกับสาวใช้ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” (举人见官不下跪) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ไม่รู้ว่ามีใครเกิดความ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า มีกฎอย่างนี้ด้วยหรือ?

    ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘จวี่เหริน / 举人’ และระบบการสอบขุนนาง

    การสอบขุนนางหรือ ‘เคอจวี่’ ในสมัยโบราณหรือที่เรียกอย่างง่ายว่าสอบจอหงวนนั้น คือการสอบส่วนกลางเพื่อคัดเลือกคนที่จะเข้ามารับราชการ ซึ่งหนทางการสอบเคอจวี่นั้นยาวไกลและกฎกติกาเปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเนื้อหาแล้ว พอเปรียบเทียบได้กับสมัยราชวงศ์ถัง ดังนั้นเรามาคุยกันเกี่ยวกับการสอบเคอจวี่ในสมัยถัง

    การสอบเคอจวี่ในสมัยถังมีความแตกต่างจากสมัยอื่นที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยผ่านตา ความแตกต่างนี้ก็คือมีการจัดสอบทุกปีและไม่มีการสอบระดับซิ่วไฉ (秀才) ทั้งนี้ ในสมัยอื่นนั้น การสอบซิ่วไฉคือรอบคัดเลือกระดับท้องถิ่นก่อนจะไปสอบต่อในระดับภูมิภาค/มณฑล แต่ในสมัยถังตอนต้นเมื่อกล่าวถึง ‘ซิ่วไฉ’ นั้น ไม่ได้หมายถึงวุฒิหรือรอบการสอบ แต่เป็นการเรียกหนึ่งในแขนงวิชาความรู้ทั่วไปที่ต้องสอบ ต่อมาในสมัยปลายถังวิชานี้ถูกยุบไปรวมกับวิชาอื่นและคำว่า ‘ซิ่วไฉ’ กลายเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มีการศึกษาทั่วไป จวบจนสมัยซ่งคำนี้จึงกลับมาเป็นคำเรียกวุฒิการสอบคัดเลือกอีกครั้ง

    ในสมัยราชวงศ์ถัง การสอบจอหงวนมี 2 ระดับ คือ
    1) การสอบคัดเลือกระดับภูมิภาค/มณฑลหรือที่เรียกว่า ‘เซียงซื่อ’ (乡试) จัดทุกปีในฤดูใบไม้ร่วงช่วงประมาณเดือนสิบ ซึ่งคนทั่วไปสามารถสมัครชื่อเข้าสอบในแต่ละพื้นที่ได้เลย และผู้ที่สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จวี่เหริน’ (举人) จากนั้นจะได้รับการเสนอชื่อโดยฝ่ายปกครองพื้นที่ให้ไปสอบต่อในระดับต่อไปที่เมืองหลวง โดยกำหนดโควต้าจำนวนคนที่ได้รับการเสนอชื่อไว้ 1-3 คนต่อพื้นที่ ทั้งนี้ แล้วแต่ขนาดของพื้นที่ แต่สามารถเสนอเพิ่มได้หากมีคนที่มีความรู้ความสามารถโดดเด่นเกินจำนวนโควต้า ซึ่งคนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้จะเรียกรวมว่า ‘เซียงก้ง’ (乡贡)

    อนึ่ง มีกำหนดไว้ว่าฝ่ายปกครองพื้นที่ไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลต้องห้ามเข้าเป็นเซียงก้งได้ ซึ่งหมายรวมถึง คนที่มาจากครอบครัวนายช่างและพ่อค้า (Storyฯ เคยกล่าวถึงแล้วในบทความสัปดาห์ที่แล้ว); คนที่มีสถานะเป็นเจี้ยนหมินหรือชนชั้นต่ำ เช่นทาส ลูกหลานนักโทษ ฯลฯ; นักบวช นักพรต; นักโทษ ; คนที่มีชื่อเสียงไม่ดี; ผู้ป่วยเป็นโรคร้ายหรือพิการบางอย่าง เช่นตาบอด หูหนวก; ฯลฯ แต่ข้อห้ามเหล่านี้มีการผ่อนคลายไปตามยุคสมัย

    นอกจากนี้ เนื่องจากในสมัยถังมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาหลวงมากมายหลายระดับตามพื้นที่ต่างๆ นักเรียนที่เข้าเรียนในสถานการศึกษาหลวงจนถึงระดับสูงสุดและสอบผ่านสำเร็จการศึกษาก็จะได้วุฒิเทียบเท่าเป็นจวี่เหรินนี้เช่นกัน และผู้ที่จะได้เข้าสอบในรอบถัดไปก็จะผ่านการเสนอชื่อโดยสถาบันนั้นๆ คนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้เรียกว่า ‘เซิงถู’ (生徒)

    2) ลำดับถัดมาคือการสอบที่เมืองหลวงหรือเรียกว่า ‘เสิ่งซื่อ’ (省试) ซึ่งเรียกย่อมาจากหน่วยงานซ่างซูเสิ่งซึ่งเป็นผู้จัดการสอบนี้ เป็นการสอบทุกปีอีกเช่นกัน จัดขึ้นที่เมืองหลวงฉางอันในช่วงประมาณเดือนสอง ผู้มีสิทธิเข้าสอบคือเซียงก้งและเซิงถูตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน

    แต่... ในละครเราจะเห็นการสอบรอบสุดท้ายเป็นการสอบหน้าพระที่นั่งฮ่องเต้ หรือที่เรียกว่า ‘เตี้ยนซื่อ’ (殿试) ซึ่งบางข้อมูลบอกว่าริเริ่มในสมัยราชวงศ์ถัง เพราะปรากฏมีฮ่องเต้บางองค์ทรงคุมสอบด้วยองค์เอง และบางข้อมูลบอกว่าเริ่มในสมัยซ่งเพราะนั่นคือสมัยที่มีการจัดการสอบรอบดังกล่าวเข้าเป็นหลักสูตรและขั้นตอนการสอบอย่างเป็นทางการ

    Storyฯ เลยสรุปเป็นผังไว้ให้ดูในรูปประกอบว่า ในกรณีที่มีการสอบเตี้ยนซื่อนี้เพิ่มเข้ามา ผู้ที่สอบผ่านระดับเสิ่งซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘ก้งซื่อ’ (贡士) และผู้ที่สอบได้ที่หนึ่งจะเรียกว่า ‘ฮุ่ยหยวน’ (会元) และผู้ที่สอบผ่านรอบเตี้ยนซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน (หรือในสำเนียงจีนกลางคือ จ้วงหยวน)

    ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นจิ้นซื่อทุกคนจะได้รับการขึ้นบัญชีเพื่อรอการเรียกบรรจุเข้ารับราชการในราชสำนัก (คือยังไม่ถือว่าเป็นขุนนางจนกว่าจะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง) ซึ่งในการบรรจุเข้าราชสำนักจะมีการสอบเพิ่มเพื่อคัดสรรไปหน่วยงานที่เหมาะสม โดยเป็นกระบวนการที่อาจใช้เวลาอีกนานเป็นปี

    ดังนั้น บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินที่กล่าวในวลีที่ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” นี้คือบันฑิตหลวงที่สอบผ่านในระดับภูมิภาค/มณฑลแล้ว

    ในสมัยถังนั้น จวี่เหรินมีอภิสิทธิ์อย่างนี้จริงหรือไม่ Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่พบ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงมีกล่าวถึงว่า ‘จวี่เหริน’ นี้นับได้ว่าเป็นตำแหน่งทางการที่กำหนดขึ้นโดยราชสำนัก ซึ่งถือว่าไม่ด้อยไปกว่าตำแหน่งข้าราชการท้องถิ่น และบัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินสามารถเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่นได้เลยหากมีตำแหน่งว่างที่เหมาะสม ดังนั้นหนึ่งในอภิสิทธิ์ที่มีคือ เมื่อได้พบขุนนางระดับท้องถิ่นจึงไม่ต้องคุกเข่า

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    หมายเหตุ มีการลบลิ้งค์ข้อมูลบางลิ้งค์ออกไปเนื่องจากติดปัญหากับเฟสค่ะ

    Credit รูปภาพจาก: https://fashion.ettoday.net/news/2573514
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/省试/7492071
    https://baike.baidu.com/item/秀才/14691374
    https://baike.baidu.com/item/乡贡/8989904
    https://core.ac.uk/download/41444977.pdf
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=999762&remap=gb
    https://kknews.cc/history/ekkz4ry.html

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #บัณฑิตหลวง #จวี่เหริน #สอบขุนนาง #สอบเคอจวี่ #ราชวงศ์ถัง
    บัณทิตหลวงระดับจวี่เหริน วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่า ในตอนแรกๆ ที่นางเอกถูกตามไปสอบปากคำเมื่อเกิดเหตุมีนางคณิกาเสียชีวิต นางได้บอกกับสาวใช้ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” (举人见官不下跪) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ไม่รู้ว่ามีใครเกิดความ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า มีกฎอย่างนี้ด้วยหรือ? ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘จวี่เหริน / 举人’ และระบบการสอบขุนนาง การสอบขุนนางหรือ ‘เคอจวี่’ ในสมัยโบราณหรือที่เรียกอย่างง่ายว่าสอบจอหงวนนั้น คือการสอบส่วนกลางเพื่อคัดเลือกคนที่จะเข้ามารับราชการ ซึ่งหนทางการสอบเคอจวี่นั้นยาวไกลและกฎกติกาเปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเนื้อหาแล้ว พอเปรียบเทียบได้กับสมัยราชวงศ์ถัง ดังนั้นเรามาคุยกันเกี่ยวกับการสอบเคอจวี่ในสมัยถัง การสอบเคอจวี่ในสมัยถังมีความแตกต่างจากสมัยอื่นที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยผ่านตา ความแตกต่างนี้ก็คือมีการจัดสอบทุกปีและไม่มีการสอบระดับซิ่วไฉ (秀才) ทั้งนี้ ในสมัยอื่นนั้น การสอบซิ่วไฉคือรอบคัดเลือกระดับท้องถิ่นก่อนจะไปสอบต่อในระดับภูมิภาค/มณฑล แต่ในสมัยถังตอนต้นเมื่อกล่าวถึง ‘ซิ่วไฉ’ นั้น ไม่ได้หมายถึงวุฒิหรือรอบการสอบ แต่เป็นการเรียกหนึ่งในแขนงวิชาความรู้ทั่วไปที่ต้องสอบ ต่อมาในสมัยปลายถังวิชานี้ถูกยุบไปรวมกับวิชาอื่นและคำว่า ‘ซิ่วไฉ’ กลายเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มีการศึกษาทั่วไป จวบจนสมัยซ่งคำนี้จึงกลับมาเป็นคำเรียกวุฒิการสอบคัดเลือกอีกครั้ง ในสมัยราชวงศ์ถัง การสอบจอหงวนมี 2 ระดับ คือ 1) การสอบคัดเลือกระดับภูมิภาค/มณฑลหรือที่เรียกว่า ‘เซียงซื่อ’ (乡试) จัดทุกปีในฤดูใบไม้ร่วงช่วงประมาณเดือนสิบ ซึ่งคนทั่วไปสามารถสมัครชื่อเข้าสอบในแต่ละพื้นที่ได้เลย และผู้ที่สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จวี่เหริน’ (举人) จากนั้นจะได้รับการเสนอชื่อโดยฝ่ายปกครองพื้นที่ให้ไปสอบต่อในระดับต่อไปที่เมืองหลวง โดยกำหนดโควต้าจำนวนคนที่ได้รับการเสนอชื่อไว้ 1-3 คนต่อพื้นที่ ทั้งนี้ แล้วแต่ขนาดของพื้นที่ แต่สามารถเสนอเพิ่มได้หากมีคนที่มีความรู้ความสามารถโดดเด่นเกินจำนวนโควต้า ซึ่งคนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้จะเรียกรวมว่า ‘เซียงก้ง’ (乡贡) อนึ่ง มีกำหนดไว้ว่าฝ่ายปกครองพื้นที่ไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลต้องห้ามเข้าเป็นเซียงก้งได้ ซึ่งหมายรวมถึง คนที่มาจากครอบครัวนายช่างและพ่อค้า (Storyฯ เคยกล่าวถึงแล้วในบทความสัปดาห์ที่แล้ว); คนที่มีสถานะเป็นเจี้ยนหมินหรือชนชั้นต่ำ เช่นทาส ลูกหลานนักโทษ ฯลฯ; นักบวช นักพรต; นักโทษ ; คนที่มีชื่อเสียงไม่ดี; ผู้ป่วยเป็นโรคร้ายหรือพิการบางอย่าง เช่นตาบอด หูหนวก; ฯลฯ แต่ข้อห้ามเหล่านี้มีการผ่อนคลายไปตามยุคสมัย นอกจากนี้ เนื่องจากในสมัยถังมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาหลวงมากมายหลายระดับตามพื้นที่ต่างๆ นักเรียนที่เข้าเรียนในสถานการศึกษาหลวงจนถึงระดับสูงสุดและสอบผ่านสำเร็จการศึกษาก็จะได้วุฒิเทียบเท่าเป็นจวี่เหรินนี้เช่นกัน และผู้ที่จะได้เข้าสอบในรอบถัดไปก็จะผ่านการเสนอชื่อโดยสถาบันนั้นๆ คนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้เรียกว่า ‘เซิงถู’ (生徒) 2) ลำดับถัดมาคือการสอบที่เมืองหลวงหรือเรียกว่า ‘เสิ่งซื่อ’ (省试) ซึ่งเรียกย่อมาจากหน่วยงานซ่างซูเสิ่งซึ่งเป็นผู้จัดการสอบนี้ เป็นการสอบทุกปีอีกเช่นกัน จัดขึ้นที่เมืองหลวงฉางอันในช่วงประมาณเดือนสอง ผู้มีสิทธิเข้าสอบคือเซียงก้งและเซิงถูตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน แต่... ในละครเราจะเห็นการสอบรอบสุดท้ายเป็นการสอบหน้าพระที่นั่งฮ่องเต้ หรือที่เรียกว่า ‘เตี้ยนซื่อ’ (殿试) ซึ่งบางข้อมูลบอกว่าริเริ่มในสมัยราชวงศ์ถัง เพราะปรากฏมีฮ่องเต้บางองค์ทรงคุมสอบด้วยองค์เอง และบางข้อมูลบอกว่าเริ่มในสมัยซ่งเพราะนั่นคือสมัยที่มีการจัดการสอบรอบดังกล่าวเข้าเป็นหลักสูตรและขั้นตอนการสอบอย่างเป็นทางการ Storyฯ เลยสรุปเป็นผังไว้ให้ดูในรูปประกอบว่า ในกรณีที่มีการสอบเตี้ยนซื่อนี้เพิ่มเข้ามา ผู้ที่สอบผ่านระดับเสิ่งซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘ก้งซื่อ’ (贡士) และผู้ที่สอบได้ที่หนึ่งจะเรียกว่า ‘ฮุ่ยหยวน’ (会元) และผู้ที่สอบผ่านรอบเตี้ยนซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน (หรือในสำเนียงจีนกลางคือ จ้วงหยวน) ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นจิ้นซื่อทุกคนจะได้รับการขึ้นบัญชีเพื่อรอการเรียกบรรจุเข้ารับราชการในราชสำนัก (คือยังไม่ถือว่าเป็นขุนนางจนกว่าจะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง) ซึ่งในการบรรจุเข้าราชสำนักจะมีการสอบเพิ่มเพื่อคัดสรรไปหน่วยงานที่เหมาะสม โดยเป็นกระบวนการที่อาจใช้เวลาอีกนานเป็นปี ดังนั้น บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินที่กล่าวในวลีที่ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” นี้คือบันฑิตหลวงที่สอบผ่านในระดับภูมิภาค/มณฑลแล้ว ในสมัยถังนั้น จวี่เหรินมีอภิสิทธิ์อย่างนี้จริงหรือไม่ Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่พบ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงมีกล่าวถึงว่า ‘จวี่เหริน’ นี้นับได้ว่าเป็นตำแหน่งทางการที่กำหนดขึ้นโดยราชสำนัก ซึ่งถือว่าไม่ด้อยไปกว่าตำแหน่งข้าราชการท้องถิ่น และบัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินสามารถเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่นได้เลยหากมีตำแหน่งว่างที่เหมาะสม ดังนั้นหนึ่งในอภิสิทธิ์ที่มีคือ เมื่อได้พบขุนนางระดับท้องถิ่นจึงไม่ต้องคุกเข่า (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) หมายเหตุ มีการลบลิ้งค์ข้อมูลบางลิ้งค์ออกไปเนื่องจากติดปัญหากับเฟสค่ะ Credit รูปภาพจาก: https://fashion.ettoday.net/news/2573514 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/省试/7492071 https://baike.baidu.com/item/秀才/14691374 https://baike.baidu.com/item/乡贡/8989904 https://core.ac.uk/download/41444977.pdf https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=999762&remap=gb https://kknews.cc/history/ekkz4ry.html #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #บัณฑิตหลวง #จวี่เหริน #สอบขุนนาง #สอบเคอจวี่ #ราชวงศ์ถัง
    FASHION.ETTODAY.NET
    《灼灼風流》10金句:不是所有的陪伴都必須以夫妻的名義 | ET Fashion | ETtoday新聞雲
    陸劇《灼灼風流》改編自隨宇而安的小說《曾風流》,由景甜、馮紹峰出演,講述了擺脫傳統女子命運、想科舉求仕的女官慕灼華,與驍勇善戰的議政王劉衍相知相守、並肩而行,開創女子可入仕的新局面。當中以不少經典台詞道出了男女之間互相尊重,簡單又美好的愛情理念,不妨一起來看看!
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1226 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถนนจูเชวี่ยแห่งนครฉางอัน

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเร็วหน่อยก่อนจะแยกย้ายกันไปฉลองปีใหม่ พูดถึงเทศกาลคริสมาสและปีใหม่ ก็หนีไม่พ้นเรื่องของการซื้อของให้ของขวัญ ทำให้ Storyฯ นึกถึงถนนสายหนึ่งที่มักถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เวลาที่นางเอกชวนสาวใช้ไปเดินช้อปปิ้ง

    ถนนสายนี้มีชื่อว่า ถนนจูเชวี่ย (朱雀街 / ถนนวิหคชาด) ซึ่งเป็นชื่อที่ปรากฏบ่อยมากในซีรีส์และนิยายจีน เพราะมันเป็นถนนที่โด่งดังมากแห่งนครฉางอัน และปัจจุบันยังคงมีถนนสายนี้อยู่ที่เมืองซีอัน แต่เรียกจริงๆ ว่าถนนใหญ่จูเชวี่ย (朱雀大街 / Zhuque Avenue)

    ถนนจูเชวี่ยที่เราเห็นในละครหลายเรื่องดูจะเป็นถนนเล็ก สองฟากเรียงรายด้วยแผงขายของ แต่จริงๆ แล้ว ถนนจูเชวี่ยเป็นถนนที่ใหญ่มาก เลยต้องเอารูปประกอบมาเสริมจากละครเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> ซึ่งถูกกล่าวขานยกย่องว่ามีการจำลองผังเมืองนครฉางอันมาอย่างดี

    ‘ฉางอัน’ ชื่อนี้แปลว่าสงบสุขยืนยาว และเมืองฉางอันมีอดีตยาวนานสมชื่อ มันเคยเป็นเมืองหลวงเก่าแก่หลายราชวงศ์ แต่ไม่ได้มีอาณาเขตเท่ากันในทุกยุคสมัย ในสมัยราชวงศ์สุยและถังมีการสร้างพระราชวังขึ้นเพิ่มและขยายอาณาเขตออกไป และในสมัยถังจัดได้ว่าเป็นช่วงที่เรืองรองที่สุดของนครฉางอัน ในช่วงที่เฟื่องฟูที่สุดนั้น นครฉางอันมีประชากรถึง 3 ล้านคน เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกในสมัยนั้น ใหญ่กว่ากรุงโรมโบราณถึง 7 เท่า เส้นผ่าศูนย์กลางตะวันออก-ตะวันตกของเมืองยาว 9.7 กิโลเมตร เหนือ-ใต้ยาว 8.7 กิโลเมตร

    ต่อมาในสมัยปลายถังมีการหนีข้าศึกย้ายราชธานีไปยังเมืองลั่วหยาง เมืองฉางอันก็ค่อยๆ เสื่อมโทรมลง ในสมัยหมิงมีการบูรณะฉางอันสร้างขึ้นอีกครั้งเป็นเมืองซีอัน แต่ก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่เท่าฉางอันเดิม

    นครฉางอันสมัยถังแบ่งเป็นสองเขตใหญ่ คือฝั่งตะวันออกและตะวันตก มีถนนใหญ่คั่นกลางคือถนนจูเชวี่ย (ดูรูปประกอบ2) พื้นที่ทั้งหมดถูกแบ่งซอยย่อยเป็นเขตเล็กทรงสี่เหลี่ยมเรียกว่า ‘ฟาง’ มีหลายขนาด ยาวประมาณ 500-800 เมตร กว้าง 700-1,000 เมตร แต่ละเขตฟางมีกำแพงและคูระบายน้ำล้อมรอบ และมีประตูเข้าออกของมันเองเพื่อความปลอดภัย โดยประตูจะเปิดในตอนเช้าและปิดในตอนกลางคืน มีทั้งหมดด้วยกัน 108 เขตฟาง (ไม่รวมตลาดอีก 2 ฟาง) จนบางคนเปรียบผังเมืองฉางอันเป็นกระดานหมากล้อม เพื่อนเพจที่ได้ดู <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> น่าจะคุ้นเคยกับภาพของเขตฟางเหล่านี้

    นครฉางอันมีประตูเมือง 12 ประตู (Storyฯ เคยคุยถึงประตูเมืองโบราณแล้วใน https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/581451090649854 ) และประตูเมืองที่สำคัญเพราะเป็นประตูหลักในการเข้าออกเมืองนี้ก็คือประตูทิศใต้ที่มีชื่อว่า ประตูหมิงเต๋อ มันเป็นประตูเมืองประตูเดียวที่มีถึงห้าบาน โดยหนึ่งบานนั้นเป็นประตูที่เปิดใช้เฉพาะยามที่ฮ่องเต้เสด็จเข้าออกเมือง

    ถนนจูเชวี่ยนี้ ทิศใต้จรดประตูเมืองหมิงเต๋อที่กล่าวถึงข้างต้น ส่วนทิศเหนือนั้นจรดประตูเขตพระนครชื่อว่าประตูจูเชวี่ย และเลยผ่านเขตพระนครไปจรดประตูพระราชวังเฉิงเทียน อนึ่ง เขตพระนครหรือหวงเฉิง (皇城 / Royal City) นั้นคือส่วนที่เป็นบริเวณสถานที่ราชการต่างๆ ส่วนเขตพระราชวังหรือกงเฉิง (宫城 / Palace City) นั้นคือเขตที่ประทับของฮ่องเต้และเหล่าเชื้อพระวงศ์ ถนนจูเชวี่ยส่วนที่อยู่ในเขตพระนครนั้นเรียกว่า ถนนเฉิงเทียน ตามชื่อประตู และเป็นที่มาว่าถนนจูเชวี่ยถูกเรียกว่าถนน ‘เทียนเจีย’ (ถนนสวรรค์)

    ถนนจูเชวี่ยแห่งนครฉางอันในสมัยถังนั้น จริงแท้หน้าตาเป็นอย่างไรไม่ปรากฏภาพวาดเปรียบเทียบกับถนนอื่นอย่างชัดเจน แต่มีการขุดพบซากถนนเก่าที่ยืนยันขนาดของมันว่ามีความยาว กว่า 5 กม. ถนนหน้ากว้าง 150 เมตร (รวมคูข้างถนน ถ้าไม่รวมคือประมาณ 129-130 เมตร) และทุกระยะทาง 200 เมตรจะมีการขยายถนนออกไปเล็กน้อย คล้ายเป็นไหล่ทาง มีไว้ให้คนยืนหลบเวลาที่ฮ่องเต้เสด็จผ่าน --- ลองนึกเปรียบเทียบดูว่า ถนนบ้านเราปัจจุบันตามกฎหมายกว้าง 3 เมตร ดังนั้นความกว้างของถนนจูเชวี่ยเทียบเท่าถนนห้าสิบเลนปัจจุบันของเราเลยทีเดียว! ทีนี้เพื่อนเพจคงนึกภาพตามได้ไม่ยากแล้วว่า ในละครที่เราเห็นภาพฮ่องเต้ทรงอวยพรให้แม่ทัพและเหล่ากองกำลังทหารก่อนเดินทัพออกจากพระราชวังนั้น เขามีถนนใหญ่อย่างนี้จริง

    มีคนวิเคราะห์ไว้ว่า ขนาดความกว้างของถนนจูเชวี่ยนี้ เป็นเพราะระยะทางการยิงของธนูธรรมดาในสมัยนั้น ยิงได้ไกลประมาณ 60 เมตร ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของขบวนเสด็จของฮ่องเต้ ถนนจูเชวี่ยจึงต้องมีความกว้างถึง 150 เมตร

    แต่ไม่ใช่ถนนทุกสายที่มีหน้ากว้างขนาดนี้ ถนนสายรองของเมืองมีหน้ากว้างปกติ 40-70 เมตร และถนนเล็กเลียบกำแพงเมืองจะมีหน้ากว้างไม่เกิน 25 เมตร ส่วนถนนระหว่างเขตฟางส่วนใหญ่มีความกว้างเพียงให้รถเกวียนหรือรถม้าสองคันวิ่งสวนกัน

    ถนนจูเชวี่ยใหญ่ขนาดนี้ ใช่ถนนช้อปปิ้งหรือไม่?

    จากบันทึกโบราณ สถานช้อปปิ้งหลักของนครฉางอันคือตลาดตะวันตกและตลาดตะวันออก (ดูรูปผังเมืองที่แปะมา) โดยสินค้าในตลาดตะวันตกส่วนใหญ่เป็นสินค้าพื้นบ้านหรือของนำเข้าจากเมืองอื่นสำหรับชาวบ้านทั่วไป แต่สินค้าในตลาดตะวันออกจากมีราคาสูงขึ้นมาอีก เพราะกลุ่มลูกค้าจะเป็นชนชั้นสูง ส่วนถนนจูเชวี่ยนั้น สองฝั่งฟากส่วนใหญ่เป็นวัดวาอารามและหอชมวิว

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.niusnews.com/=P0123ga33
    https://n.znds.com/article/39071.html
    http://v.xiancity.cn/folder11/folder186/2016-11-25/89648.html
    https://m.planning.org.cn/zx_news/9888.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.planning.org.cn/zx_news/9888.htm
    https://en.unesco.org/silkroad/content/did-you-know-cosmopolitan-city-changan-eastern-end-silk-roads
    https://i.ifeng.com/c/8NbyjwjSa8B
    https://kknews.cc/history/6o6lop.html
    https://kknews.cc/news/e8orjvn.html
    https://www.gugong.net/zhongguo/tangchao/29679.html

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #ฉางอัน #ถนนจูเชวี่ย #ถนนสวรรค์
    ถนนจูเชวี่ยแห่งนครฉางอัน สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเร็วหน่อยก่อนจะแยกย้ายกันไปฉลองปีใหม่ พูดถึงเทศกาลคริสมาสและปีใหม่ ก็หนีไม่พ้นเรื่องของการซื้อของให้ของขวัญ ทำให้ Storyฯ นึกถึงถนนสายหนึ่งที่มักถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เวลาที่นางเอกชวนสาวใช้ไปเดินช้อปปิ้ง ถนนสายนี้มีชื่อว่า ถนนจูเชวี่ย (朱雀街 / ถนนวิหคชาด) ซึ่งเป็นชื่อที่ปรากฏบ่อยมากในซีรีส์และนิยายจีน เพราะมันเป็นถนนที่โด่งดังมากแห่งนครฉางอัน และปัจจุบันยังคงมีถนนสายนี้อยู่ที่เมืองซีอัน แต่เรียกจริงๆ ว่าถนนใหญ่จูเชวี่ย (朱雀大街 / Zhuque Avenue) ถนนจูเชวี่ยที่เราเห็นในละครหลายเรื่องดูจะเป็นถนนเล็ก สองฟากเรียงรายด้วยแผงขายของ แต่จริงๆ แล้ว ถนนจูเชวี่ยเป็นถนนที่ใหญ่มาก เลยต้องเอารูปประกอบมาเสริมจากละครเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> ซึ่งถูกกล่าวขานยกย่องว่ามีการจำลองผังเมืองนครฉางอันมาอย่างดี ‘ฉางอัน’ ชื่อนี้แปลว่าสงบสุขยืนยาว และเมืองฉางอันมีอดีตยาวนานสมชื่อ มันเคยเป็นเมืองหลวงเก่าแก่หลายราชวงศ์ แต่ไม่ได้มีอาณาเขตเท่ากันในทุกยุคสมัย ในสมัยราชวงศ์สุยและถังมีการสร้างพระราชวังขึ้นเพิ่มและขยายอาณาเขตออกไป และในสมัยถังจัดได้ว่าเป็นช่วงที่เรืองรองที่สุดของนครฉางอัน ในช่วงที่เฟื่องฟูที่สุดนั้น นครฉางอันมีประชากรถึง 3 ล้านคน เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกในสมัยนั้น ใหญ่กว่ากรุงโรมโบราณถึง 7 เท่า เส้นผ่าศูนย์กลางตะวันออก-ตะวันตกของเมืองยาว 9.7 กิโลเมตร เหนือ-ใต้ยาว 8.7 กิโลเมตร ต่อมาในสมัยปลายถังมีการหนีข้าศึกย้ายราชธานีไปยังเมืองลั่วหยาง เมืองฉางอันก็ค่อยๆ เสื่อมโทรมลง ในสมัยหมิงมีการบูรณะฉางอันสร้างขึ้นอีกครั้งเป็นเมืองซีอัน แต่ก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่เท่าฉางอันเดิม นครฉางอันสมัยถังแบ่งเป็นสองเขตใหญ่ คือฝั่งตะวันออกและตะวันตก มีถนนใหญ่คั่นกลางคือถนนจูเชวี่ย (ดูรูปประกอบ2) พื้นที่ทั้งหมดถูกแบ่งซอยย่อยเป็นเขตเล็กทรงสี่เหลี่ยมเรียกว่า ‘ฟาง’ มีหลายขนาด ยาวประมาณ 500-800 เมตร กว้าง 700-1,000 เมตร แต่ละเขตฟางมีกำแพงและคูระบายน้ำล้อมรอบ และมีประตูเข้าออกของมันเองเพื่อความปลอดภัย โดยประตูจะเปิดในตอนเช้าและปิดในตอนกลางคืน มีทั้งหมดด้วยกัน 108 เขตฟาง (ไม่รวมตลาดอีก 2 ฟาง) จนบางคนเปรียบผังเมืองฉางอันเป็นกระดานหมากล้อม เพื่อนเพจที่ได้ดู <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> น่าจะคุ้นเคยกับภาพของเขตฟางเหล่านี้ นครฉางอันมีประตูเมือง 12 ประตู (Storyฯ เคยคุยถึงประตูเมืองโบราณแล้วใน https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/581451090649854 ) และประตูเมืองที่สำคัญเพราะเป็นประตูหลักในการเข้าออกเมืองนี้ก็คือประตูทิศใต้ที่มีชื่อว่า ประตูหมิงเต๋อ มันเป็นประตูเมืองประตูเดียวที่มีถึงห้าบาน โดยหนึ่งบานนั้นเป็นประตูที่เปิดใช้เฉพาะยามที่ฮ่องเต้เสด็จเข้าออกเมือง ถนนจูเชวี่ยนี้ ทิศใต้จรดประตูเมืองหมิงเต๋อที่กล่าวถึงข้างต้น ส่วนทิศเหนือนั้นจรดประตูเขตพระนครชื่อว่าประตูจูเชวี่ย และเลยผ่านเขตพระนครไปจรดประตูพระราชวังเฉิงเทียน อนึ่ง เขตพระนครหรือหวงเฉิง (皇城 / Royal City) นั้นคือส่วนที่เป็นบริเวณสถานที่ราชการต่างๆ ส่วนเขตพระราชวังหรือกงเฉิง (宫城 / Palace City) นั้นคือเขตที่ประทับของฮ่องเต้และเหล่าเชื้อพระวงศ์ ถนนจูเชวี่ยส่วนที่อยู่ในเขตพระนครนั้นเรียกว่า ถนนเฉิงเทียน ตามชื่อประตู และเป็นที่มาว่าถนนจูเชวี่ยถูกเรียกว่าถนน ‘เทียนเจีย’ (ถนนสวรรค์) ถนนจูเชวี่ยแห่งนครฉางอันในสมัยถังนั้น จริงแท้หน้าตาเป็นอย่างไรไม่ปรากฏภาพวาดเปรียบเทียบกับถนนอื่นอย่างชัดเจน แต่มีการขุดพบซากถนนเก่าที่ยืนยันขนาดของมันว่ามีความยาว กว่า 5 กม. ถนนหน้ากว้าง 150 เมตร (รวมคูข้างถนน ถ้าไม่รวมคือประมาณ 129-130 เมตร) และทุกระยะทาง 200 เมตรจะมีการขยายถนนออกไปเล็กน้อย คล้ายเป็นไหล่ทาง มีไว้ให้คนยืนหลบเวลาที่ฮ่องเต้เสด็จผ่าน --- ลองนึกเปรียบเทียบดูว่า ถนนบ้านเราปัจจุบันตามกฎหมายกว้าง 3 เมตร ดังนั้นความกว้างของถนนจูเชวี่ยเทียบเท่าถนนห้าสิบเลนปัจจุบันของเราเลยทีเดียว! ทีนี้เพื่อนเพจคงนึกภาพตามได้ไม่ยากแล้วว่า ในละครที่เราเห็นภาพฮ่องเต้ทรงอวยพรให้แม่ทัพและเหล่ากองกำลังทหารก่อนเดินทัพออกจากพระราชวังนั้น เขามีถนนใหญ่อย่างนี้จริง มีคนวิเคราะห์ไว้ว่า ขนาดความกว้างของถนนจูเชวี่ยนี้ เป็นเพราะระยะทางการยิงของธนูธรรมดาในสมัยนั้น ยิงได้ไกลประมาณ 60 เมตร ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของขบวนเสด็จของฮ่องเต้ ถนนจูเชวี่ยจึงต้องมีความกว้างถึง 150 เมตร แต่ไม่ใช่ถนนทุกสายที่มีหน้ากว้างขนาดนี้ ถนนสายรองของเมืองมีหน้ากว้างปกติ 40-70 เมตร และถนนเล็กเลียบกำแพงเมืองจะมีหน้ากว้างไม่เกิน 25 เมตร ส่วนถนนระหว่างเขตฟางส่วนใหญ่มีความกว้างเพียงให้รถเกวียนหรือรถม้าสองคันวิ่งสวนกัน ถนนจูเชวี่ยใหญ่ขนาดนี้ ใช่ถนนช้อปปิ้งหรือไม่? จากบันทึกโบราณ สถานช้อปปิ้งหลักของนครฉางอันคือตลาดตะวันตกและตลาดตะวันออก (ดูรูปผังเมืองที่แปะมา) โดยสินค้าในตลาดตะวันตกส่วนใหญ่เป็นสินค้าพื้นบ้านหรือของนำเข้าจากเมืองอื่นสำหรับชาวบ้านทั่วไป แต่สินค้าในตลาดตะวันออกจากมีราคาสูงขึ้นมาอีก เพราะกลุ่มลูกค้าจะเป็นชนชั้นสูง ส่วนถนนจูเชวี่ยนั้น สองฝั่งฟากส่วนใหญ่เป็นวัดวาอารามและหอชมวิว (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.niusnews.com/=P0123ga33 https://n.znds.com/article/39071.html http://v.xiancity.cn/folder11/folder186/2016-11-25/89648.html https://m.planning.org.cn/zx_news/9888.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.planning.org.cn/zx_news/9888.htm https://en.unesco.org/silkroad/content/did-you-know-cosmopolitan-city-changan-eastern-end-silk-roads https://i.ifeng.com/c/8NbyjwjSa8B https://kknews.cc/history/6o6lop.html https://kknews.cc/news/e8orjvn.html https://www.gugong.net/zhongguo/tangchao/29679.html #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #ฉางอัน #ถนนจูเชวี่ย #ถนนสวรรค์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1410 มุมมอง 0 รีวิว
  • Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ

    วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้
    ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน”
    สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น”
    - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์

    บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ

    แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร?

    ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น

    Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา)

    หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ

    อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29
    https://www.sohu.com/a/155060661_701638
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html
    https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645
    https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579
    http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf

    #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้ ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น” - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์ บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร? ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา) หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29 https://www.sohu.com/a/155060661_701638 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645 https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579 http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1221 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันเวลาประชุมท้องพระโรงสมัยถัง

    สวัสดีค่ะ หยุดปีใหม่ไปแล้ว วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการทำงาน เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นตากับภาพที่เหล่าขุนนางระดับสูงต้องตื่นแต่เช้ามายืนเข้าแถวเพื่อร่วมประชุมท้องพระโรง ไม่ทราบว่ามีใคร ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ กันบ้างไหมว่า เขา ‘เข้างาน’ กันเมื่อไหร่?

    ความถี่และชั่วโมงการประชุมท้องพระโรงเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยค่ะ วันนี้เราคุยกันเกี่ยวกับสมัยถัง ในบันทึกรวมบทกฎหมายถังลิ่วเตี่ยน (唐六典) มีระบุไว้ดังนี้: ขุนนางติดยศระดับห้าและสูงกว่าที่ประจำอยู่ในเมืองหลวง และข้าราชสำนักที่ต้องถวายงานใกล้ชิด ให้เข้าร่วมประชุมท้องพระโรงทุกวัน ส่วนขุนนางติดยศระดับเก้าจนถึงระดับหกที่ประจำอยู่ในเมืองหลวง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบุ๋นหรือบู๊ ต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่ทุกวันที่หนึ่งและสิบห้าของเดือน และในวันสำคัญอื่นๆ ที่กำหนด เช่นวันแรกแห่งปี เป็นต้น

    ส่วนขุนนางในพื้นที่อื่นนั้น หากจะเข้าร่วมประชุมท้องพระโรงต้องเป็นขุนนางติดยศระดับห้าหรือสูงกว่า และต้องได้รับการเรียกตัวจากฮ่องเต้ ไม่อย่างนั้นก็เข้าร่วมไม่ได้

    นักการเมืองและกวีเอกสมัยถัง ไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) เคยเขียนไว้ในบทกวี “กลับค่ำออกแต่เช้า” (晚归早出) บรรยายถึงกิจวัตรประจำวันการทำงานโดยมีวรรคหนึ่งเขียนไว้ว่า “ออกจากที่ทำการก็มืดแล้ว คำนับหัวจรดพื้นในยามรุ่งสาง” ซึ่งก็คือเริ่มไปประชุมท้องพระโรงก่อนฟ้าสว่าง กว่าจะได้กลับบ้านก็ดึก

    ประชุมท้องพระโรงสมัยนั้นเริ่มตีห้า แต่เหล่าขุนนางต้องไปเตรียมตัวรอเข้าเฝ้าตั้งแต่ประมาณตีสี่ ระยะเวลาการประชุมนั้นไม่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่จะเลิกประชุมระหว่างยามเฉินและยามซื่อ (คือ07.00-10.59น.) หลังจากนั้นก็แยกย้ายกันไปเข้าออฟฟิศที่กรม/กระทรวงของตัวเอง กว่าจะเลิกงานก็ประมาณยามเซิน (คือ 15.00-17.00น.) มีปรับเวลาตามฤดู กล่าวคือถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวก็ประมาณ 15.00น. ฤดูร้อนก็ค่อนไปทาง 17.00น. ถ้าใครมีงานมากก็ต้องอยู่เย็นกว่านั้น

    ชั่วโมงทำงานไม่โหดร้าย แต่คงต้องคิดถึงเวลาเดินทางไปกลับจากที่ทำงาน

    ก่อนอื่นมาทวนความทรงจำเกี่ยวกับนครฉางอันและถนนจูเชวี่ยที่คุยกันไปก่อนปีใหม่ (ดูรูปประกอบ 2) จากในรูปจะเห็นว่าเหล่าสถานที่ราชการ (กรม กระทรวง ศาล ฯลฯ) ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าเขตพระนครหรือหวงเฉิง (皇城 / Royal City) ขึ้นเหนือไปอีกคือเขตพระราชวังหรือกงเฉิง (宫城 / Palace City) และพื้นที่รอบๆ เขตพระนครและเขตพระราชวังนี้ถูกซอยแบ่งเป็นเขตฟางสำหรับอยู่อาศัย

    สถานที่ราชการทั้งหลายอยู่ในเขตพระนคร แต่ขุนนางติดยศทั้งหลายไม่ได้พำนักอยู่ในเขตพระนคร หากแต่กระจายอยู่ตามเขตฟางใกล้ๆ และไม่ใช่ทุกคนที่ขี่ม้าหรือนั่งรถม้ามาทำงานได้ ส่วนใหญ่จะนั่งเกี้ยว (ก็ยังพอได้งีบระหว่างเดินทางบ้าง) ซึ่งขนาดของเกี้ยวและจำนวนคนที่หามเกี้ยวก็จะลดหลั่นกันไปตามยศขุนนาง แต่เมื่อถึงประตูเขตพระราชวังก็ต้องเดินเท้าทั้งหมด

    จากประตูเขตพระราชวังทางทิศใต้ที่เหล่าขุนนางเดินเข้ามา ต้องเดินขึ้นไปเรื่อยจนเหนือสุดที่เป็นติ่งออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครฉางอัน (กรุณาดูรูปประกอบ) ซึ่งก็คือบริเวณพระราชฐาน พระราชวังต้าหมิงกง (大明宫 / Daming Grand Palace) และสถานที่ประชุมท้องพระโรงก็คือพระที่นั่งจื่อเฉิน (紫宸殿)

    เพื่อนเพจลองดูระยะทางจากเขตฟางแถวๆ หน้าประตูจูเชวี่ยทางใต้ของเขตพระนคร ขึ้นไปยังพระที่นั่งจื่อเฉินในแผนที่ ก็จะเห็นได้ว่า ระยะทางนี้ไม่น้อยเลย (อย่าลืมว่าถนนจูเชวี่ยยาวกว่า 5 กิโลเมตร และเขตฟางหนึ่งมีหน้ากว้างประมาณ 0.6-1 กิโลเมตร) ลองคิดเอาว่าถ้าต้องเดินเท้าระยะทางนี้จะใช้เวลานานเท่าใด ดังนั้น จึงไม่แปลกที่เหล่าขุนนางต้องตื่นตั้งแต่ตีหนึ่งตีสองแต่งตัวออกจากบ้านเพื่อไปให้ถึงพระที่นั่งจื่อเฉินตอนตีสี่เพื่อรอเข้าประชุม เพราะว่าถ้าไปสายจะโดนหักเงินเดือน และกว่าจะเลิกงานกลับถึงบ้านก็มืดแล้วจริงๆ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/657711648
    https://baike.baidu.com/item/唐长安城/5845041
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://gushiju.net/ju/279740
    https://www.sohu.com/a/199347205_527107
    https://www.sohu.com/a/199977205_653164
    https://baike.baidu.com/item/紫宸殿/3232283
    https://kknews.cc/history/6kzmj8v.html
    http://www.shxdx.com:8080/dxb/newspaper/1206/4ban/02.html#:~:text=唐代的长安城,分隔成许多方块区域

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ฉางอัน #ประชุมท้องพระโรง #พระที่นั่งจื่อเฉิน #พระราชวังต้าหมิงกง
    วันเวลาประชุมท้องพระโรงสมัยถัง สวัสดีค่ะ หยุดปีใหม่ไปแล้ว วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการทำงาน เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นตากับภาพที่เหล่าขุนนางระดับสูงต้องตื่นแต่เช้ามายืนเข้าแถวเพื่อร่วมประชุมท้องพระโรง ไม่ทราบว่ามีใคร ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ กันบ้างไหมว่า เขา ‘เข้างาน’ กันเมื่อไหร่? ความถี่และชั่วโมงการประชุมท้องพระโรงเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยค่ะ วันนี้เราคุยกันเกี่ยวกับสมัยถัง ในบันทึกรวมบทกฎหมายถังลิ่วเตี่ยน (唐六典) มีระบุไว้ดังนี้: ขุนนางติดยศระดับห้าและสูงกว่าที่ประจำอยู่ในเมืองหลวง และข้าราชสำนักที่ต้องถวายงานใกล้ชิด ให้เข้าร่วมประชุมท้องพระโรงทุกวัน ส่วนขุนนางติดยศระดับเก้าจนถึงระดับหกที่ประจำอยู่ในเมืองหลวง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบุ๋นหรือบู๊ ต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่ทุกวันที่หนึ่งและสิบห้าของเดือน และในวันสำคัญอื่นๆ ที่กำหนด เช่นวันแรกแห่งปี เป็นต้น ส่วนขุนนางในพื้นที่อื่นนั้น หากจะเข้าร่วมประชุมท้องพระโรงต้องเป็นขุนนางติดยศระดับห้าหรือสูงกว่า และต้องได้รับการเรียกตัวจากฮ่องเต้ ไม่อย่างนั้นก็เข้าร่วมไม่ได้ นักการเมืองและกวีเอกสมัยถัง ไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) เคยเขียนไว้ในบทกวี “กลับค่ำออกแต่เช้า” (晚归早出) บรรยายถึงกิจวัตรประจำวันการทำงานโดยมีวรรคหนึ่งเขียนไว้ว่า “ออกจากที่ทำการก็มืดแล้ว คำนับหัวจรดพื้นในยามรุ่งสาง” ซึ่งก็คือเริ่มไปประชุมท้องพระโรงก่อนฟ้าสว่าง กว่าจะได้กลับบ้านก็ดึก ประชุมท้องพระโรงสมัยนั้นเริ่มตีห้า แต่เหล่าขุนนางต้องไปเตรียมตัวรอเข้าเฝ้าตั้งแต่ประมาณตีสี่ ระยะเวลาการประชุมนั้นไม่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่จะเลิกประชุมระหว่างยามเฉินและยามซื่อ (คือ07.00-10.59น.) หลังจากนั้นก็แยกย้ายกันไปเข้าออฟฟิศที่กรม/กระทรวงของตัวเอง กว่าจะเลิกงานก็ประมาณยามเซิน (คือ 15.00-17.00น.) มีปรับเวลาตามฤดู กล่าวคือถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวก็ประมาณ 15.00น. ฤดูร้อนก็ค่อนไปทาง 17.00น. ถ้าใครมีงานมากก็ต้องอยู่เย็นกว่านั้น ชั่วโมงทำงานไม่โหดร้าย แต่คงต้องคิดถึงเวลาเดินทางไปกลับจากที่ทำงาน ก่อนอื่นมาทวนความทรงจำเกี่ยวกับนครฉางอันและถนนจูเชวี่ยที่คุยกันไปก่อนปีใหม่ (ดูรูปประกอบ 2) จากในรูปจะเห็นว่าเหล่าสถานที่ราชการ (กรม กระทรวง ศาล ฯลฯ) ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าเขตพระนครหรือหวงเฉิง (皇城 / Royal City) ขึ้นเหนือไปอีกคือเขตพระราชวังหรือกงเฉิง (宫城 / Palace City) และพื้นที่รอบๆ เขตพระนครและเขตพระราชวังนี้ถูกซอยแบ่งเป็นเขตฟางสำหรับอยู่อาศัย สถานที่ราชการทั้งหลายอยู่ในเขตพระนคร แต่ขุนนางติดยศทั้งหลายไม่ได้พำนักอยู่ในเขตพระนคร หากแต่กระจายอยู่ตามเขตฟางใกล้ๆ และไม่ใช่ทุกคนที่ขี่ม้าหรือนั่งรถม้ามาทำงานได้ ส่วนใหญ่จะนั่งเกี้ยว (ก็ยังพอได้งีบระหว่างเดินทางบ้าง) ซึ่งขนาดของเกี้ยวและจำนวนคนที่หามเกี้ยวก็จะลดหลั่นกันไปตามยศขุนนาง แต่เมื่อถึงประตูเขตพระราชวังก็ต้องเดินเท้าทั้งหมด จากประตูเขตพระราชวังทางทิศใต้ที่เหล่าขุนนางเดินเข้ามา ต้องเดินขึ้นไปเรื่อยจนเหนือสุดที่เป็นติ่งออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครฉางอัน (กรุณาดูรูปประกอบ) ซึ่งก็คือบริเวณพระราชฐาน พระราชวังต้าหมิงกง (大明宫 / Daming Grand Palace) และสถานที่ประชุมท้องพระโรงก็คือพระที่นั่งจื่อเฉิน (紫宸殿) เพื่อนเพจลองดูระยะทางจากเขตฟางแถวๆ หน้าประตูจูเชวี่ยทางใต้ของเขตพระนคร ขึ้นไปยังพระที่นั่งจื่อเฉินในแผนที่ ก็จะเห็นได้ว่า ระยะทางนี้ไม่น้อยเลย (อย่าลืมว่าถนนจูเชวี่ยยาวกว่า 5 กิโลเมตร และเขตฟางหนึ่งมีหน้ากว้างประมาณ 0.6-1 กิโลเมตร) ลองคิดเอาว่าถ้าต้องเดินเท้าระยะทางนี้จะใช้เวลานานเท่าใด ดังนั้น จึงไม่แปลกที่เหล่าขุนนางต้องตื่นตั้งแต่ตีหนึ่งตีสองแต่งตัวออกจากบ้านเพื่อไปให้ถึงพระที่นั่งจื่อเฉินตอนตีสี่เพื่อรอเข้าประชุม เพราะว่าถ้าไปสายจะโดนหักเงินเดือน และกว่าจะเลิกงานกลับถึงบ้านก็มืดแล้วจริงๆ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/657711648 https://baike.baidu.com/item/唐长安城/5845041 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://gushiju.net/ju/279740 https://www.sohu.com/a/199347205_527107 https://www.sohu.com/a/199977205_653164 https://baike.baidu.com/item/紫宸殿/3232283 https://kknews.cc/history/6kzmj8v.html http://www.shxdx.com:8080/dxb/newspaper/1206/4ban/02.html#:~:text=唐代的长安城,分隔成许多方块区域 #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ฉางอัน #ประชุมท้องพระโรง #พระที่นั่งจื่อเฉิน #พระราชวังต้าหมิงกง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1280 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมืองลั่วหยางสมัยราชวงศ์ถัง

    สืบเนื่องจาก Storyฯ ได้คุยถึงผังเมืองของนครฉางอันไปเมื่อก่อนปีใหม่ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02cQKRgfWrxcLutCyxbav8Gf7oz28wFuamLUEMyAg6ZGgK1FC6zJZJtCkiwG45Nrvnl) มีเพื่อนเพจถามถึงเมืองลั่วหยาง Storyฯ เลยไปหาข้อมูลมาสรุปให้ฟังกันในวันนี้

    เมืองลั่วหยางเป็นเมืองโบราณที่สำคัญของหลายราชวงศ์ แต่ไม่ได้ตั้งอยู่ที่เดียวกันตลอดทุกยุคทุกสมัย (ดูรูปประกอบ 2 ซ้าย) และสถานะของเมืองก็แตกต่างไปตามยุคสมัยอีกด้วย

    เมืองลั่วหยางในสมัยถังแรกเริ่มเป็นเมืองหลวงรองเรียกว่านครตะวันออก (ตงตู / 东都) โดยมีนครฉางอันเป็นเมืองหลวงหลัก และตลอดยุคสมัยราชวงศ์ถังนี้เอง สถานะของลั่วหยางผันแปรไปมา ในบางรัชสมัยก็ขึ้นเป็นเมืองหลวงหลักเทียบเท่าฉางอัน ในบางรัชสมัยเป็นเมืองหลวงรอง และในสมัยของพระนางบูเช็คเทียน ลั่วหยางมีสถานะเป็นเมืองหลวงหลักในขณะที่ฉางอันกลายเป็นเมืองหลวงรอง โดยในสมัยของพระนางบูเช็คเทียนนั้น ลั่วหยางถูกเรียกว่า ‘เสินตู’ (神都 แปลตรงตัวว่าเทพนคร ... อ๊ะ... ที่แท้ก็ความหมายเดียวกับกรุงเทพฯ ของเรา!) แต่หลังจากนั้นสถานะของเมืองลั่วหยางก็แปรเปลี่ยนไปมาระหว่างเมืองหลวงหลักและเมืองหลวงรองอีกหลายครั้ง จนในปลายสมัยถัง ฉางอันถูกโจมตีเสียหายมาก ลั่วหยางจึงถูกใช้เป็นเมืองหลวงหลักจนสิ้นราชวงศ์ถังในปีค.ศ. 907 แต่หลังจากนั้นมาลั่วหยางก็ไม่เคยเป็นเมืองหลวงหลักของจีนอีกเลย

    เมืองลั่วหยางในสมัยถังมีขนาดประมาณ 7.3 x 7 กิโลเมตร ถนนที่นี่ไม่ใหญ่เท่าที่ฉางอัน ถนนใหญ่กว้าง 40-60 เมตร (เล็กกว่าถนนจูเชวี่ยที่ฉางอัน แต่ก็เทียบเท่าประมาณ 13-20 เลนแล้ว!) ถนนเล็กกว้างประมาณ 10 เมตร พื้นที่ถูกแบ่งเป็นเขตฟางเช่นเดียวกับนครฉางอัน มีทั้งสิ้น 103 เขตฟาง กว้างยาวเขตฟางละประมาณ 500-600 เมตร มีกำแพงและประตูเข้าออกของตนเองเหมือนกับที่ฉางอัน เขตที่อยู่อาศัยของเมืองลั่วหยางแบ่งออกเป็น 3 พื้นที่ คือโซนเหนือแม่น้ำลั่ว โซนใต้แม่น้ำลั่ว และโซนตะวันตก ในแต่ละโซนมีตลาดของมันเอง (ดูรูปประกอบ 2 ขวา) แม้ว่าจำนวนเขตฟางจะน้อยกว่านครฉางอัน แต่เมืองลั่วหยางก็แออัดใช่ย่อย... มันเคยมีประชากรสูงถึงกว่าสองล้านคน และเพราะมันตั้งอยู่บนแม่น้ำลั่ว อยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำเหลือง (ฮวงโห) อีกทั้งมีคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอ และเส้นทางบกหลายสายผ่านแนวเขาที่จัดว่าไม่สูงชัน เส้นทางคมนาคมจึงเอื้อต่อการขนส่ง ที่นี่จึงเป็นเมืองที่การค้าขายเจริญคึกคักนัก ว่ากันว่าตลาดใต้ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเมืองนั้น มีกว่า 3,000 ร้านค้าเลยทีเดียว

    เมืองลั่วหยางถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในเมืองที่มีฮวงจุ้ยดีที่สุดของจีน Storyฯ ก็ไม่เชี่ยวชาญศาสตร์แขนงนี้ แต่พอจะสรุปจากข้อมูลที่หาได้ว่า เป็นเพราะมันตั้งอยู่บนหนึ่งในสามมังกรที่ใหญ่ที่สุดของแผ่นดินจีนตามแนวเทือกเขาและแม่น้ำสายหลัก หรือที่จีนเรียกว่า ‘หลงม่าย’ (龙脉 แปลว่าชีพจรหรือเส้นเอ็นมังกร ไม่ใช่หลงใหลในแม่ม่ายนะจ๊ะ) ซึ่งในหลากหลายตำราอาจพูดถึงจำนวนมังกรที่แตกต่างกันไปและอาจมีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกันทีเดียว แต่ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงมังกรสามสายหลักที่เริ่มจากเขาคุนลุ้นทางตะวันตกมุ่งหน้าสู่ทะเลทางทิศตะวันออก (ดูรูปประกอบ 3 ซ้าย) เมืองลั่วหยางตั้งอยู่บนมังกรตัวกลาง ซึ่งตามศาสตร์ฮวงจุ้ย มังกรจะช่วยเสริมดวง เสริมทรัพย์และปกปักษ์รักษาให้แคล้วคลาดปลอดภัย

    นอกจากนี้ มันตั้งอยู่บนพื้นที่ราบที่โอบล้อมด้วยแม่น้ำเหลือง แม่น้ำลั่วและแม่น้ำอื่นๆ รวม 5 สาย ด้านเหนือของเมืองคือแนวเขาหมางซาน ด้านอื่นๆ มีภูเขาเช่นกัน มีลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ขุมทรัพย์ และในความเป็นจริง เมืองลั่วหยางอุดมสมบูรณ์ไม่ค่อยประสบภัยธรรมชาติ เพียงแต่แรกเริ่มถูกมองว่าชัยภูมิไม่เหมาะต่อการใช้เป็นเมืองหลวงเนื่องจากง่ายต่อการโจมตี ภายหลังจึงมีการสร้างด่านต่างๆ นอกเมืองขึ้นมารวม 8 ด่านเพื่อแก้จุดนี้ (ดูรูปประกอบ 3 ขวา)

    อนึ่ง เขาหมางซานทางทิศเหนือของเมืองลั่วหยางนี้ ว่ากันว่าเป็นภูเขาที่มีฮวงจุ้ยที่ดีที่สุดจนถึงกับมีวลีโบราณที่ว่า “ยามเป็นควรอยู่ในซูหาง (คือซูโจวและหางโจว) ยามตายควรฝังที่หมางซาน” จริงไม่จริงไม่ทราบ... แต่ที่แน่ๆ บนหมางซานมีสุสานกษัตริย์โบราณที่ขุดพบแล้วถึง 24 หลุมจาก 6 ราชวงศ์ ไม่นับสุสานของเชื้อพระวงศ์ ขุนนางระดับสูงและคนดังในอดีตอีกหลายคน

    จริงๆ ในตำราฮวงจุ้ยมีบรรยายละเอียดกว่านี้ถึงข้อดีของที่ตั้งของเมืองลั่วหยาง แต่ Storyฯ ไม่สามารถเก็บรายละเอียดมาได้หมด เพื่อนเพจที่มีความรู้เรื่องนี้ขอเชิญเข้ามาแบ่งปันความรู้ได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://xinzhuobu.com/?p=4593
    http://www.xinhuanet.com/ent/20211209/11730dc352064a5e8c743656fad3dc44/c.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/442706959
    https://www.mdpi.com/2073-445X/12/3/663
    http://www.kaogu.cn/cn/kaoguyuandi/kaogubaike/2015/0316/49566.html
    http://www.zhlscm.com/news/?49_3719.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/420714890
    http://wwj.ly.gov.cn/bencandy.php?fid=125&id=13457#:~:text=隋朝,581年隋,为首都,两京并重。
    https://en.chinaculture.org/library/2008-02/15/content_33624.htm
    https://www.sohu.com/a/515579803_422134
    https://news.lyd.com.cn/system/2020/08/25/031785380.shtml

    #ตำนานลั่วหยาง #เมืองลั่วหยาง #มังกรจีน #ฮวงจุ้ยเมืองลั่วหยาง
    เมืองลั่วหยางสมัยราชวงศ์ถัง สืบเนื่องจาก Storyฯ ได้คุยถึงผังเมืองของนครฉางอันไปเมื่อก่อนปีใหม่ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02cQKRgfWrxcLutCyxbav8Gf7oz28wFuamLUEMyAg6ZGgK1FC6zJZJtCkiwG45Nrvnl) มีเพื่อนเพจถามถึงเมืองลั่วหยาง Storyฯ เลยไปหาข้อมูลมาสรุปให้ฟังกันในวันนี้ เมืองลั่วหยางเป็นเมืองโบราณที่สำคัญของหลายราชวงศ์ แต่ไม่ได้ตั้งอยู่ที่เดียวกันตลอดทุกยุคทุกสมัย (ดูรูปประกอบ 2 ซ้าย) และสถานะของเมืองก็แตกต่างไปตามยุคสมัยอีกด้วย เมืองลั่วหยางในสมัยถังแรกเริ่มเป็นเมืองหลวงรองเรียกว่านครตะวันออก (ตงตู / 东都) โดยมีนครฉางอันเป็นเมืองหลวงหลัก และตลอดยุคสมัยราชวงศ์ถังนี้เอง สถานะของลั่วหยางผันแปรไปมา ในบางรัชสมัยก็ขึ้นเป็นเมืองหลวงหลักเทียบเท่าฉางอัน ในบางรัชสมัยเป็นเมืองหลวงรอง และในสมัยของพระนางบูเช็คเทียน ลั่วหยางมีสถานะเป็นเมืองหลวงหลักในขณะที่ฉางอันกลายเป็นเมืองหลวงรอง โดยในสมัยของพระนางบูเช็คเทียนนั้น ลั่วหยางถูกเรียกว่า ‘เสินตู’ (神都 แปลตรงตัวว่าเทพนคร ... อ๊ะ... ที่แท้ก็ความหมายเดียวกับกรุงเทพฯ ของเรา!) แต่หลังจากนั้นสถานะของเมืองลั่วหยางก็แปรเปลี่ยนไปมาระหว่างเมืองหลวงหลักและเมืองหลวงรองอีกหลายครั้ง จนในปลายสมัยถัง ฉางอันถูกโจมตีเสียหายมาก ลั่วหยางจึงถูกใช้เป็นเมืองหลวงหลักจนสิ้นราชวงศ์ถังในปีค.ศ. 907 แต่หลังจากนั้นมาลั่วหยางก็ไม่เคยเป็นเมืองหลวงหลักของจีนอีกเลย เมืองลั่วหยางในสมัยถังมีขนาดประมาณ 7.3 x 7 กิโลเมตร ถนนที่นี่ไม่ใหญ่เท่าที่ฉางอัน ถนนใหญ่กว้าง 40-60 เมตร (เล็กกว่าถนนจูเชวี่ยที่ฉางอัน แต่ก็เทียบเท่าประมาณ 13-20 เลนแล้ว!) ถนนเล็กกว้างประมาณ 10 เมตร พื้นที่ถูกแบ่งเป็นเขตฟางเช่นเดียวกับนครฉางอัน มีทั้งสิ้น 103 เขตฟาง กว้างยาวเขตฟางละประมาณ 500-600 เมตร มีกำแพงและประตูเข้าออกของตนเองเหมือนกับที่ฉางอัน เขตที่อยู่อาศัยของเมืองลั่วหยางแบ่งออกเป็น 3 พื้นที่ คือโซนเหนือแม่น้ำลั่ว โซนใต้แม่น้ำลั่ว และโซนตะวันตก ในแต่ละโซนมีตลาดของมันเอง (ดูรูปประกอบ 2 ขวา) แม้ว่าจำนวนเขตฟางจะน้อยกว่านครฉางอัน แต่เมืองลั่วหยางก็แออัดใช่ย่อย... มันเคยมีประชากรสูงถึงกว่าสองล้านคน และเพราะมันตั้งอยู่บนแม่น้ำลั่ว อยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำเหลือง (ฮวงโห) อีกทั้งมีคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอ และเส้นทางบกหลายสายผ่านแนวเขาที่จัดว่าไม่สูงชัน เส้นทางคมนาคมจึงเอื้อต่อการขนส่ง ที่นี่จึงเป็นเมืองที่การค้าขายเจริญคึกคักนัก ว่ากันว่าตลาดใต้ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเมืองนั้น มีกว่า 3,000 ร้านค้าเลยทีเดียว เมืองลั่วหยางถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในเมืองที่มีฮวงจุ้ยดีที่สุดของจีน Storyฯ ก็ไม่เชี่ยวชาญศาสตร์แขนงนี้ แต่พอจะสรุปจากข้อมูลที่หาได้ว่า เป็นเพราะมันตั้งอยู่บนหนึ่งในสามมังกรที่ใหญ่ที่สุดของแผ่นดินจีนตามแนวเทือกเขาและแม่น้ำสายหลัก หรือที่จีนเรียกว่า ‘หลงม่าย’ (龙脉 แปลว่าชีพจรหรือเส้นเอ็นมังกร ไม่ใช่หลงใหลในแม่ม่ายนะจ๊ะ) ซึ่งในหลากหลายตำราอาจพูดถึงจำนวนมังกรที่แตกต่างกันไปและอาจมีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกันทีเดียว แต่ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงมังกรสามสายหลักที่เริ่มจากเขาคุนลุ้นทางตะวันตกมุ่งหน้าสู่ทะเลทางทิศตะวันออก (ดูรูปประกอบ 3 ซ้าย) เมืองลั่วหยางตั้งอยู่บนมังกรตัวกลาง ซึ่งตามศาสตร์ฮวงจุ้ย มังกรจะช่วยเสริมดวง เสริมทรัพย์และปกปักษ์รักษาให้แคล้วคลาดปลอดภัย นอกจากนี้ มันตั้งอยู่บนพื้นที่ราบที่โอบล้อมด้วยแม่น้ำเหลือง แม่น้ำลั่วและแม่น้ำอื่นๆ รวม 5 สาย ด้านเหนือของเมืองคือแนวเขาหมางซาน ด้านอื่นๆ มีภูเขาเช่นกัน มีลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ขุมทรัพย์ และในความเป็นจริง เมืองลั่วหยางอุดมสมบูรณ์ไม่ค่อยประสบภัยธรรมชาติ เพียงแต่แรกเริ่มถูกมองว่าชัยภูมิไม่เหมาะต่อการใช้เป็นเมืองหลวงเนื่องจากง่ายต่อการโจมตี ภายหลังจึงมีการสร้างด่านต่างๆ นอกเมืองขึ้นมารวม 8 ด่านเพื่อแก้จุดนี้ (ดูรูปประกอบ 3 ขวา) อนึ่ง เขาหมางซานทางทิศเหนือของเมืองลั่วหยางนี้ ว่ากันว่าเป็นภูเขาที่มีฮวงจุ้ยที่ดีที่สุดจนถึงกับมีวลีโบราณที่ว่า “ยามเป็นควรอยู่ในซูหาง (คือซูโจวและหางโจว) ยามตายควรฝังที่หมางซาน” จริงไม่จริงไม่ทราบ... แต่ที่แน่ๆ บนหมางซานมีสุสานกษัตริย์โบราณที่ขุดพบแล้วถึง 24 หลุมจาก 6 ราชวงศ์ ไม่นับสุสานของเชื้อพระวงศ์ ขุนนางระดับสูงและคนดังในอดีตอีกหลายคน จริงๆ ในตำราฮวงจุ้ยมีบรรยายละเอียดกว่านี้ถึงข้อดีของที่ตั้งของเมืองลั่วหยาง แต่ Storyฯ ไม่สามารถเก็บรายละเอียดมาได้หมด เพื่อนเพจที่มีความรู้เรื่องนี้ขอเชิญเข้ามาแบ่งปันความรู้ได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก: https://xinzhuobu.com/?p=4593 http://www.xinhuanet.com/ent/20211209/11730dc352064a5e8c743656fad3dc44/c.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/442706959 https://www.mdpi.com/2073-445X/12/3/663 http://www.kaogu.cn/cn/kaoguyuandi/kaogubaike/2015/0316/49566.html http://www.zhlscm.com/news/?49_3719.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/420714890 http://wwj.ly.gov.cn/bencandy.php?fid=125&id=13457#:~:text=隋朝,581年隋,为首都,两京并重。 https://en.chinaculture.org/library/2008-02/15/content_33624.htm https://www.sohu.com/a/515579803_422134 https://news.lyd.com.cn/system/2020/08/25/031785380.shtml #ตำนานลั่วหยาง #เมืองลั่วหยาง #มังกรจีน #ฮวงจุ้ยเมืองลั่วหยาง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1129 มุมมอง 0 รีวิว
  • เสบียงของทหารจีนโบราณ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูละครหรืออ่านนิยายเรื่อง <สยบรักจอมเสเพล> จะเห็นว่าหนึ่งในสาระการเดินเรื่องที่สำคัญคือการจัดหาเสบียงไว้ใช้ในยามศึก แม้ว่าฉากหน้าร้านจะมีข้าวหลายชนิด แต่เวลาขนส่งเป็นกระสอบมักเป็นภาพของข้าวสารสีขาว ละครเรื่องอื่นส่วนใหญ่ก็เช่นกัน ไม่ทราบว่ามีใคร ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ ไหมว่า ดำนาปลูกข้าวต้องใช้น้ำปริมาณมาก จีนโบราณเขาสามารถมีข้าวเป็นเสบียงได้มากมายเชียวหรือ?

    วันนี้เราเลยมาคุยกันเรื่องเสบียงของทหารจีนโบราณ

    ก่อนอื่นคุยกันเรื่องชนิดของข้าว ข้าวขาวเรียกว่า ‘หมี่’ (米) หรือ ‘ต้าหมี่’ หรือ ‘เต้าหมี่’ (大米 / 稻米) แต่จริงๆ แล้วคำว่า ‘หมี่’ ใช้หมายถึงข้าวชนิดอื่นได้ด้วยโดยเฉพาะเมื่อใช้ในบริบทของเสบียง ข้าวที่ใช้เป็นเสบียงอาหารหลักในสมัยจีนโบราณ (และเป็นอาหารของคนทั่วไปที่ไม่ได้มีเงินมากมาย) จริงๆ แล้วคือข้าวฟ่าง เรียกว่า ‘เสียวหมี่’ ( 小米 … ใช่ค่ะ คือชื่อแบรนด์มือถือและอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์จีนที่เราคุ้นหูกันดี) (ดูรูปประกอบ2) หรือที่ในละคร <สยบรักจอมเสเพล> เรียกว่า ‘หวงหมี่’ (แปลตรงตัวว่าข้าวเหลือง)

    ข้าวฟ่างถูกใช้เป็นเสบียงหลักของทหารมาหลายพันปี ต่อเนื่องตั้งแต่สมัยฉินจนสมัยถัง และยังมีใช้บ้างในสมัยซ่ง ทั้งนี้ เพราะมันทนต่อสภาวะน้ำแล้ง จึงปลูกได้หลายพื้นที่ มีผลผลิตสูงเมื่อเทียบกับข้าวชนิดอื่น โดยเฉพาะในสมัยแรกๆ ที่ยังไม่ค่อยมีวิวัฒนาการด้านการเกษตร เมื่อผลผลิตสูงก็มีราคาต่ำกว่าข้าวชนิดอื่น ในบางยุคสมัยถูกกว่าถึงสองสามเท่า ใช้เป็นเสบียงได้ทั้งคนและม้าศึก นอกจากนี้ ข้าวฟ่างหุงสุกง่ายเพราะเปลือกไม่หนา และสามารถเก็บได้นานเป็น 9-10ปี ว่ากันว่าข้าวฟ่างในคลังหลวงของนครฉางอันภายหลังจากราชวงศ์สุยถูกล้มล้างลงนั้น ถูกใช้ต่อเนื่องมาในสมัยถังได้อีก 11 ปีเลยทีเดียว

    วิธีปรุงอาหารที่ง่ายที่สุดสำหรับกองทัพก็คือข้าวต้ม จึงไม่แปลกที่เราเห็นทหารยกชามข้าวซดกันในซีรีส์ ในสมัยนั้นมีการพกเนื้อสัตว์หรือเนื้อปลาตากแห้งไปกินแกล้ม แต่ก็มีล่าสัตว์เพิ่มเติมเวลาตั้งค่าย มีผักอะไรหาได้ก็ใส่ๆ ลงไป นั่นคืออาหารของทหารสมัยนั้น บางทีก็มีข้าวหรือธัญพืชชนิดอื่นผสม เช่นข้าวบาร์เลย์ แล้วแต่ว่าช่วงนั้นมีผลผลิตอะไรราคาถูกในพื้นที่นั้นๆ

    โจ๊กจึงเป็นอาหารหลักของกองทัพมาหลายยุคสมัย ภายหลังยุคชุนชิวก็มีหมั่นโถวมาเพิ่ม จวบจนสมัยชิงที่เน้นกินเนื้อสัตว์มากกว่าเน้นข้าว ทั้งนี้ เพื่อลดการขนส่งข้าวให้น้อยลงเพราะมันมีความยุ่งยากและสูญเสียมากระหว่างเดินทางไกล โดยมีการต้อนวัวและแกะไปพร้อมกับกองทัพ เวลาจะกินค่อยฆ่า ซึ่งภาพการเดินทัพและขนเสบียงแบบนี้ Storyฯ คิดว่าไม่เคยเห็นในซีรีส์ แต่ถ้าใครเคยผ่านตาแวะมาเล่าสู่กันฟังได้ค่ะ

    แต่จะต้มโจ๊กหรือนึ่งหมั่นโถวได้ต้องตั้งครัว ในยามที่ต้องเตรียมพร้อมรบอยู่ตลอดเวลาย่อมไม่สะดวก จึงต้องมีเสบียงอย่างอื่นที่สะดวกต่อการพกพาไม่ต้องเสียเวลาตั้งครัว เสบียงที่ว่านี้คืออะไร?

    จริงแล้วในสมัยฮั่น มีการปลูกข้าวสาลีมากขึ้นกว่ายุคก่อน แต่ปริมาณยังน้อยกว่าข้าวฟ่าง ไม่เหมาะใช้กินเป็นอาหารหลัก แต่นิยมใช้บดเป็นแป้งมาทำเปี๊ยะ เรียกว่า ‘กัวคุย’ (锅盔 ดูรูปประกอบ 3 ซ้าย) ทำจากแป้งข้าวสาลีและน้ำเป็นหลัก นำมานาบและปิ้งในหม้อดินเผาด้วยไฟอ่อน พลิกไปพลิกมาจนสุก เปี๊ยะนี้ใหญ่และหนาเป็นนิ้ว เนื้อแป้งแน่นๆ แข็งๆ สามารถเก็บได้นาน 10-15 วัน แต่แน่นอนว่ารสชาติมันไม่ค่อยน่าพิสมัยเพราะแห้งมาก เวลากินจึงนิยมป้ายน้ำจิ้มลงไปให้มันนุ่มและมีรสชาติมากขึ้น ซึ่งน้ำจิ้มที่ว่านี้โดยหลักก็จะเป็นพวกถั่วหมักเค็มซึ่งพัฒนาขึ้นเป็นซีอิ๊วและเต้าเจี้ยว หรือหากมีน้ำแกงหรือน้ำเต้าหู้ก็แช่จนนิ่มกินก็จะมีรสชาติมากขึ้น

    ว่ากันว่าในสมัยฉิน ทหารได้รับการแจกจ่ายเปี๊ยะกัวคุยกันคนละสองแผ่น แผ่นหนึ่งหนาประมาณเกือบนิ้วหนักประมาณ 1-2 กิโลกรัม เวลาพกก็เจาะรูร้อยเชือกหนังแขวนพาดบ่าไว้ แผ่นหนึ่งอยู่ด้านหน้า แผ่นหนึ่งอยู่ด้านหลัง เวลาโดนข้าศึกลอบยิงธนูใส่ยังสามารถใช้เป็นเกราะกำบัง! แต่เรื่องนี้ Storyฯ อ่านเจอก็ไม่แน่ใจว่าจริงเท็จประการใด เอาเป็นว่า ให้เห็นภาพว่ากัวคุยนั้นหนาและแข็งก็แล้วกันนะคะ

    ต่อมาในสมัยถังและซ่ง เสบียงที่ใช้พกพานั้นคือ ‘ซาวปิ่ง’ (烧饼) ในยุคนั้นมีทหารม้าจำนวนมาก การพกซาวปิ่งจึงกลายเป็นเสบียงหลักเพราะสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย และมันเป็นอาหารที่ถูกปากเหล่าทหารไม่น้อย เพราะซาวปิ่งในสมัยนั้นเป็นอาหารที่นิยมแพร่หลายในหมู่ชน ทั้งเป็นอาหารหลักและของกินเล่น มันก็คือเปี๊ยะที่เอามาปิ้งหรือทอดที่เราเห็นบ่อยๆ ในซีรีส์ หน้าตาของซาวปิ่งมีส่วนคล้ายกัวคุยที่กล่าวถึงข้างต้น อ่านดูก็ไม่แน่ใจว่าต่างกันอย่างไร แต่เข้าใจว่าซาวปิ่งมีการปรุงแต่งมากกว่า เช่นเอาแป้งผสมเนื้อและต้นหอม ผสมเนยจามรี สุกแล้วกรอบนอกนุ่มใน เนื้อแป้งด้านในเป็นชั้นๆ (นึกภาพคล้ายเนื้อแป้งโรตี) ซึ่งแตกต่างจากกัวคุย (ดูรูปเปรียบเทียบในรูป 3) ปัจจุบันซาวปิ่งยังเป็นที่นิยมอยู่ในหลายพื้นที่ หน้าตาและส่วนผสมแตกต่างกันไปแล้วแต่พื้นที่ มีทั้งแบบใส่ไส้และไม่ใส่ไส้

    ต่อมาในสมัยหมิงมีการพัฒนาเสบียงพกพาแบบใหม่ขึ้นอีกและเปลี่ยนมาใช้ข้าวขาวแทนข้าวฟ่าง เนื่องจากในยุคสมัยนี้ผลผลิตข้าวขาวสูงขึ้นมาก เกิดเป็นไอเดียเอาข้าวสุกตากแห้งพกเป็นเสบียง เวลาจะกินก็เติมน้ำอุ่นน้ำร้อนแช่ทิ้งไว้ กลายเป็นข้าวต้ม นับว่าเป็นอาหารจานด่วนโดยแท้ จะเรียกว่าเป็นต้นกำเนิดของโจ๊กและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ไหมนะ?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://k.sina.cn/article_5113022164_130c286d4040011jeu.html?from=ent&subch=oent
    http://www.foodwifi.net/jkys/201710/72511.html
    https://k.sina.cn/article_5899149139_15f9ddf5300100eewv.html
    http://m.qulishi.com/article/202105/513111.html
    https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c43040013i62.html
    https://www.zhihu.com/tardis/zm/art/351540381?source_id=1003
    https://www.sohu.com/a/239218972_155326
    http://m.qulishi.com/article/202011/453756.html#:~:text=锅盔是一种烙,锅盔都同样好吃
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/566492773
    https://www.toutiao.com/article/6967140332173656583/
    https://k.sina.cn/article_5502315099_147f6aa5b00100k0jm.html
    https://www.sohu.com/a/710019104_121119015
    https://www.meishichina.com/mofang/shaobing/

    #สยบรักจอมเสเพล #เสบียงทหารโบราณ #ข้าวฟ่าง #แป้งปิ้ง
    เสบียงของทหารจีนโบราณ เพื่อนเพจที่ได้ดูละครหรืออ่านนิยายเรื่อง <สยบรักจอมเสเพล> จะเห็นว่าหนึ่งในสาระการเดินเรื่องที่สำคัญคือการจัดหาเสบียงไว้ใช้ในยามศึก แม้ว่าฉากหน้าร้านจะมีข้าวหลายชนิด แต่เวลาขนส่งเป็นกระสอบมักเป็นภาพของข้าวสารสีขาว ละครเรื่องอื่นส่วนใหญ่ก็เช่นกัน ไม่ทราบว่ามีใคร ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ ไหมว่า ดำนาปลูกข้าวต้องใช้น้ำปริมาณมาก จีนโบราณเขาสามารถมีข้าวเป็นเสบียงได้มากมายเชียวหรือ? วันนี้เราเลยมาคุยกันเรื่องเสบียงของทหารจีนโบราณ ก่อนอื่นคุยกันเรื่องชนิดของข้าว ข้าวขาวเรียกว่า ‘หมี่’ (米) หรือ ‘ต้าหมี่’ หรือ ‘เต้าหมี่’ (大米 / 稻米) แต่จริงๆ แล้วคำว่า ‘หมี่’ ใช้หมายถึงข้าวชนิดอื่นได้ด้วยโดยเฉพาะเมื่อใช้ในบริบทของเสบียง ข้าวที่ใช้เป็นเสบียงอาหารหลักในสมัยจีนโบราณ (และเป็นอาหารของคนทั่วไปที่ไม่ได้มีเงินมากมาย) จริงๆ แล้วคือข้าวฟ่าง เรียกว่า ‘เสียวหมี่’ ( 小米 … ใช่ค่ะ คือชื่อแบรนด์มือถือและอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์จีนที่เราคุ้นหูกันดี) (ดูรูปประกอบ2) หรือที่ในละคร <สยบรักจอมเสเพล> เรียกว่า ‘หวงหมี่’ (แปลตรงตัวว่าข้าวเหลือง) ข้าวฟ่างถูกใช้เป็นเสบียงหลักของทหารมาหลายพันปี ต่อเนื่องตั้งแต่สมัยฉินจนสมัยถัง และยังมีใช้บ้างในสมัยซ่ง ทั้งนี้ เพราะมันทนต่อสภาวะน้ำแล้ง จึงปลูกได้หลายพื้นที่ มีผลผลิตสูงเมื่อเทียบกับข้าวชนิดอื่น โดยเฉพาะในสมัยแรกๆ ที่ยังไม่ค่อยมีวิวัฒนาการด้านการเกษตร เมื่อผลผลิตสูงก็มีราคาต่ำกว่าข้าวชนิดอื่น ในบางยุคสมัยถูกกว่าถึงสองสามเท่า ใช้เป็นเสบียงได้ทั้งคนและม้าศึก นอกจากนี้ ข้าวฟ่างหุงสุกง่ายเพราะเปลือกไม่หนา และสามารถเก็บได้นานเป็น 9-10ปี ว่ากันว่าข้าวฟ่างในคลังหลวงของนครฉางอันภายหลังจากราชวงศ์สุยถูกล้มล้างลงนั้น ถูกใช้ต่อเนื่องมาในสมัยถังได้อีก 11 ปีเลยทีเดียว วิธีปรุงอาหารที่ง่ายที่สุดสำหรับกองทัพก็คือข้าวต้ม จึงไม่แปลกที่เราเห็นทหารยกชามข้าวซดกันในซีรีส์ ในสมัยนั้นมีการพกเนื้อสัตว์หรือเนื้อปลาตากแห้งไปกินแกล้ม แต่ก็มีล่าสัตว์เพิ่มเติมเวลาตั้งค่าย มีผักอะไรหาได้ก็ใส่ๆ ลงไป นั่นคืออาหารของทหารสมัยนั้น บางทีก็มีข้าวหรือธัญพืชชนิดอื่นผสม เช่นข้าวบาร์เลย์ แล้วแต่ว่าช่วงนั้นมีผลผลิตอะไรราคาถูกในพื้นที่นั้นๆ โจ๊กจึงเป็นอาหารหลักของกองทัพมาหลายยุคสมัย ภายหลังยุคชุนชิวก็มีหมั่นโถวมาเพิ่ม จวบจนสมัยชิงที่เน้นกินเนื้อสัตว์มากกว่าเน้นข้าว ทั้งนี้ เพื่อลดการขนส่งข้าวให้น้อยลงเพราะมันมีความยุ่งยากและสูญเสียมากระหว่างเดินทางไกล โดยมีการต้อนวัวและแกะไปพร้อมกับกองทัพ เวลาจะกินค่อยฆ่า ซึ่งภาพการเดินทัพและขนเสบียงแบบนี้ Storyฯ คิดว่าไม่เคยเห็นในซีรีส์ แต่ถ้าใครเคยผ่านตาแวะมาเล่าสู่กันฟังได้ค่ะ แต่จะต้มโจ๊กหรือนึ่งหมั่นโถวได้ต้องตั้งครัว ในยามที่ต้องเตรียมพร้อมรบอยู่ตลอดเวลาย่อมไม่สะดวก จึงต้องมีเสบียงอย่างอื่นที่สะดวกต่อการพกพาไม่ต้องเสียเวลาตั้งครัว เสบียงที่ว่านี้คืออะไร? จริงแล้วในสมัยฮั่น มีการปลูกข้าวสาลีมากขึ้นกว่ายุคก่อน แต่ปริมาณยังน้อยกว่าข้าวฟ่าง ไม่เหมาะใช้กินเป็นอาหารหลัก แต่นิยมใช้บดเป็นแป้งมาทำเปี๊ยะ เรียกว่า ‘กัวคุย’ (锅盔 ดูรูปประกอบ 3 ซ้าย) ทำจากแป้งข้าวสาลีและน้ำเป็นหลัก นำมานาบและปิ้งในหม้อดินเผาด้วยไฟอ่อน พลิกไปพลิกมาจนสุก เปี๊ยะนี้ใหญ่และหนาเป็นนิ้ว เนื้อแป้งแน่นๆ แข็งๆ สามารถเก็บได้นาน 10-15 วัน แต่แน่นอนว่ารสชาติมันไม่ค่อยน่าพิสมัยเพราะแห้งมาก เวลากินจึงนิยมป้ายน้ำจิ้มลงไปให้มันนุ่มและมีรสชาติมากขึ้น ซึ่งน้ำจิ้มที่ว่านี้โดยหลักก็จะเป็นพวกถั่วหมักเค็มซึ่งพัฒนาขึ้นเป็นซีอิ๊วและเต้าเจี้ยว หรือหากมีน้ำแกงหรือน้ำเต้าหู้ก็แช่จนนิ่มกินก็จะมีรสชาติมากขึ้น ว่ากันว่าในสมัยฉิน ทหารได้รับการแจกจ่ายเปี๊ยะกัวคุยกันคนละสองแผ่น แผ่นหนึ่งหนาประมาณเกือบนิ้วหนักประมาณ 1-2 กิโลกรัม เวลาพกก็เจาะรูร้อยเชือกหนังแขวนพาดบ่าไว้ แผ่นหนึ่งอยู่ด้านหน้า แผ่นหนึ่งอยู่ด้านหลัง เวลาโดนข้าศึกลอบยิงธนูใส่ยังสามารถใช้เป็นเกราะกำบัง! แต่เรื่องนี้ Storyฯ อ่านเจอก็ไม่แน่ใจว่าจริงเท็จประการใด เอาเป็นว่า ให้เห็นภาพว่ากัวคุยนั้นหนาและแข็งก็แล้วกันนะคะ ต่อมาในสมัยถังและซ่ง เสบียงที่ใช้พกพานั้นคือ ‘ซาวปิ่ง’ (烧饼) ในยุคนั้นมีทหารม้าจำนวนมาก การพกซาวปิ่งจึงกลายเป็นเสบียงหลักเพราะสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย และมันเป็นอาหารที่ถูกปากเหล่าทหารไม่น้อย เพราะซาวปิ่งในสมัยนั้นเป็นอาหารที่นิยมแพร่หลายในหมู่ชน ทั้งเป็นอาหารหลักและของกินเล่น มันก็คือเปี๊ยะที่เอามาปิ้งหรือทอดที่เราเห็นบ่อยๆ ในซีรีส์ หน้าตาของซาวปิ่งมีส่วนคล้ายกัวคุยที่กล่าวถึงข้างต้น อ่านดูก็ไม่แน่ใจว่าต่างกันอย่างไร แต่เข้าใจว่าซาวปิ่งมีการปรุงแต่งมากกว่า เช่นเอาแป้งผสมเนื้อและต้นหอม ผสมเนยจามรี สุกแล้วกรอบนอกนุ่มใน เนื้อแป้งด้านในเป็นชั้นๆ (นึกภาพคล้ายเนื้อแป้งโรตี) ซึ่งแตกต่างจากกัวคุย (ดูรูปเปรียบเทียบในรูป 3) ปัจจุบันซาวปิ่งยังเป็นที่นิยมอยู่ในหลายพื้นที่ หน้าตาและส่วนผสมแตกต่างกันไปแล้วแต่พื้นที่ มีทั้งแบบใส่ไส้และไม่ใส่ไส้ ต่อมาในสมัยหมิงมีการพัฒนาเสบียงพกพาแบบใหม่ขึ้นอีกและเปลี่ยนมาใช้ข้าวขาวแทนข้าวฟ่าง เนื่องจากในยุคสมัยนี้ผลผลิตข้าวขาวสูงขึ้นมาก เกิดเป็นไอเดียเอาข้าวสุกตากแห้งพกเป็นเสบียง เวลาจะกินก็เติมน้ำอุ่นน้ำร้อนแช่ทิ้งไว้ กลายเป็นข้าวต้ม นับว่าเป็นอาหารจานด่วนโดยแท้ จะเรียกว่าเป็นต้นกำเนิดของโจ๊กและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ไหมนะ? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://k.sina.cn/article_5113022164_130c286d4040011jeu.html?from=ent&subch=oent http://www.foodwifi.net/jkys/201710/72511.html https://k.sina.cn/article_5899149139_15f9ddf5300100eewv.html http://m.qulishi.com/article/202105/513111.html https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c43040013i62.html https://www.zhihu.com/tardis/zm/art/351540381?source_id=1003 https://www.sohu.com/a/239218972_155326 http://m.qulishi.com/article/202011/453756.html#:~:text=锅盔是一种烙,锅盔都同样好吃 https://zhuanlan.zhihu.com/p/566492773 https://www.toutiao.com/article/6967140332173656583/ https://k.sina.cn/article_5502315099_147f6aa5b00100k0jm.html https://www.sohu.com/a/710019104_121119015 https://www.meishichina.com/mofang/shaobing/ #สยบรักจอมเสเพล #เสบียงทหารโบราณ #ข้าวฟ่าง #แป้งปิ้ง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1168 มุมมอง 0 รีวิว
  • รหัสลับบทกวีจีนจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก>

    Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณนี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนิยาย/ซีรีส์จีนจริงๆ ไม่ทราบว่ามีใครที่ดูซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> แล้วรู้สึกสะดุดหูกับจังหวะจะโคนของรหัสลับที่องครักษ์ชุดแดงใช้ยืนยันตัวตนกันหรือไม่? สำหรับ Storyฯ แล้วมันเตะหูพอสมควร เพราะรหัสลับเหล่านี้ล้วนเป็นวลีจากบทกวีจีนโบราณ

    รหัสลับที่ยกตัวอย่างมาคุยกันวันนี้ คือตอนที่หรูอี้ให้คนปลอมตัวไปหาองครักษ์ชุดแดงเพื่อสืบหาคนที่ฆ่าหลินหลงตาย รหัสลับถามตอบนี้คือ ‘ซานสือลิ่วกงถู่ฮวาปี้’ (三十六宫土花碧) และ ‘เทียนรั่วโหย่วฉิงเทียนอี้เหล่า’ (天若有情天亦老) Storyฯ ขอแปลว่า ‘สามสิบหกพระตำหนัก ตะไคร่คลุมธรณี / หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’

    ฟังแล้วคงไม่ได้ใจความนัก เพราะจริงๆ แล้วมันไม่ใช่วรรคที่ต่อเนื่องกัน แต่ทั้งสองวรรคนี้ปรากฏอยู่ในบทกวีเดียวกันที่มีชื่อว่า ‘จินถงเซียนเหรินฉือฮั่นเกอ’ (金铜仙人辞汉歌 แปลได้ประมาณว่า ลำนำเซียนจินถงลาจากแดนฮั่น) เป็นผลงานของหลี่เฮ่อ (ค.ศ. 790-816) สี่สุดยอดกวีแห่งสมัยถัง และนี่เป็นหนึ่งในบทกวีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของเขา มันเป็นบทกวียาวที่กล่าวถึงการล่มสลายของอาณาจักรฮั่นที่ครั้งหนึ่งเคยเรืองรอง แต่กลับเหลือเพียงพระตำหนักที่ว่างร้างจนตะไคร่ปกคลุม เทพเซียนร่ำไห้ลาจาก จนถึงขนาดว่าถ้าฟ้ามีจิตใจรักได้เหมือนคน ก็คงรู้สึกอนาจใจเศร้าจนแก่ชราไปเช่นคน บทกวีนี้เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้าอาดูรและแค้นใจในเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงสภาพจิตใจของหลี่เฮ่อในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอ และเขาเองจำเป็นต้องลาออกจากราชการและเดินทางจากนครฉางอันไปด้วยอาการป่วย

    แต่ที่ Storyฯ รู้สึกว่าน่าสนใจมากก็คือ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้ตั้งเป็นโจทย์ในการดวลบทกวีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับซีรีส์และนิยายจีนโบราณคงเคยผ่านตาว่า การดวลบทกวีนี้ เป็นการต่อกลอนคู่ โดยคนหนึ่งตั้งโจทย์วรรคแรก อีกคนมาแต่งวรรคต่อให้จบ ซึ่งวรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้เป็นวรรคแรกของกลอนคู่โดยไม่มีใครสามารถต่อวรรคท้ายได้อย่างสมบูรณ์มากว่าสองร้อยปี! ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับยุคสมัยที่มีนักอักษรและนักประพันธ์มากมายอย่างสมัยถัง

    อนึ่ง การต่อวรรคคู่ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีจำนวนอักษรเท่ากันและมีเสียงสูงเสียงต่ำคล้องจองกันเท่านั้น แต่ต้องมีความลงตัวในหลายด้าน เป็นต้นว่า 1) มีบริบทใกล้เคียง เช่น กล่าวถึงวัตถุที่จับต้องได้เหมือนกัน หรือจับต้องไม่ได้เหมือนกัน เป็นวัตถุที่สื่อความหมายในเชิงเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่วรรคแรกกล่าวถึงดอกไม้ วรรคหลังพูดถึงโต๊ะ อะไรอย่างนี้; 2) คุณศัพท์ที่ขยายนามหรืออารมณ์ที่สื่อต้องเหมือนกันหรือตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงเพื่อแสดงความขัดแย้งบางอย่าง เช่น ฝนตกหนักกับแดดแรงจ้า หรือ ฝนตกหนักกับหยดน้ำเล็ก; ฯลฯ

    วรรค ‘หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ นี้มีคนต่อวรรคหลังมากมาย แต่ไม่มีความลงตัวอย่างสมบูรณ์จวบจนสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้ที่ต่อวรรคหลังนี้คือสือเหยียนเหนียน (ค.ศ. 994-1041) นักอักษรและกวีสมัยซ่งเหนือ ในค่ำคืนหนึ่งหลังจากดื่มสุราไปหลายกรึ๊บ ในยามกึ่งเมากึ่งมีสตินั้น เขาได้ยินคนรอบข้างต่อวรรค ‘หากฟ้ามีใจฯ’ นี้กันอยู่ จึงโพล่งวรรคต่อออกมาในทันใด ซึ่งก็คือ ‘หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง’ (月如无恨月长圆 / เยวี่ยหรูอู๋เฮิ่นเยวี่ยฉางเหยวียน) เป็นการต่อวรรคที่สมบูรณ์จนคนตะลึง เพราะไม่เพียงอักขระ คำบรรยายและบริบทลงตัว หากแต่ความหมายแฝงที่สื่อถึงสัจธรรมแห่งชีวิตยังสอดคล้องอีกด้วย

    ... หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน ...
    ... หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง ...

    วรรคต้นที่ไม่มีใครต่อวรรคได้มากว่าสองร้อยปี เกิดวรรคต่อที่สะเทือนวงการนักอักษรในสมัยนั้นจนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพื่อนเพจอ่านและตีความแล้วได้ความรู้สึกอย่างไรคะ? เห็นความเป็น ‘กลอนคู่’ ของมันหรือไม่?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_25539972
    https://k.sina.cn/article_6502395912_18392b008001004rs9.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_33199885635a.aspx
    https://baike.baidu.com/金铜仙人辞汉歌/1659854
    https://www.sohu.com/a/484704098_100135144
    https://www.workercn.cn/c/2024-02-06/8143503.shtml

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #หลี่เฮ่อ #กวีถัง #หากฟ้ามีใจรัก #สือเหยียนเหนียน
    รหัสลับบทกวีจีนจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณนี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนิยาย/ซีรีส์จีนจริงๆ ไม่ทราบว่ามีใครที่ดูซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> แล้วรู้สึกสะดุดหูกับจังหวะจะโคนของรหัสลับที่องครักษ์ชุดแดงใช้ยืนยันตัวตนกันหรือไม่? สำหรับ Storyฯ แล้วมันเตะหูพอสมควร เพราะรหัสลับเหล่านี้ล้วนเป็นวลีจากบทกวีจีนโบราณ รหัสลับที่ยกตัวอย่างมาคุยกันวันนี้ คือตอนที่หรูอี้ให้คนปลอมตัวไปหาองครักษ์ชุดแดงเพื่อสืบหาคนที่ฆ่าหลินหลงตาย รหัสลับถามตอบนี้คือ ‘ซานสือลิ่วกงถู่ฮวาปี้’ (三十六宫土花碧) และ ‘เทียนรั่วโหย่วฉิงเทียนอี้เหล่า’ (天若有情天亦老) Storyฯ ขอแปลว่า ‘สามสิบหกพระตำหนัก ตะไคร่คลุมธรณี / หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ ฟังแล้วคงไม่ได้ใจความนัก เพราะจริงๆ แล้วมันไม่ใช่วรรคที่ต่อเนื่องกัน แต่ทั้งสองวรรคนี้ปรากฏอยู่ในบทกวีเดียวกันที่มีชื่อว่า ‘จินถงเซียนเหรินฉือฮั่นเกอ’ (金铜仙人辞汉歌 แปลได้ประมาณว่า ลำนำเซียนจินถงลาจากแดนฮั่น) เป็นผลงานของหลี่เฮ่อ (ค.ศ. 790-816) สี่สุดยอดกวีแห่งสมัยถัง และนี่เป็นหนึ่งในบทกวีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของเขา มันเป็นบทกวียาวที่กล่าวถึงการล่มสลายของอาณาจักรฮั่นที่ครั้งหนึ่งเคยเรืองรอง แต่กลับเหลือเพียงพระตำหนักที่ว่างร้างจนตะไคร่ปกคลุม เทพเซียนร่ำไห้ลาจาก จนถึงขนาดว่าถ้าฟ้ามีจิตใจรักได้เหมือนคน ก็คงรู้สึกอนาจใจเศร้าจนแก่ชราไปเช่นคน บทกวีนี้เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้าอาดูรและแค้นใจในเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงสภาพจิตใจของหลี่เฮ่อในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอ และเขาเองจำเป็นต้องลาออกจากราชการและเดินทางจากนครฉางอันไปด้วยอาการป่วย แต่ที่ Storyฯ รู้สึกว่าน่าสนใจมากก็คือ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้ตั้งเป็นโจทย์ในการดวลบทกวีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับซีรีส์และนิยายจีนโบราณคงเคยผ่านตาว่า การดวลบทกวีนี้ เป็นการต่อกลอนคู่ โดยคนหนึ่งตั้งโจทย์วรรคแรก อีกคนมาแต่งวรรคต่อให้จบ ซึ่งวรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้เป็นวรรคแรกของกลอนคู่โดยไม่มีใครสามารถต่อวรรคท้ายได้อย่างสมบูรณ์มากว่าสองร้อยปี! ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับยุคสมัยที่มีนักอักษรและนักประพันธ์มากมายอย่างสมัยถัง อนึ่ง การต่อวรรคคู่ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีจำนวนอักษรเท่ากันและมีเสียงสูงเสียงต่ำคล้องจองกันเท่านั้น แต่ต้องมีความลงตัวในหลายด้าน เป็นต้นว่า 1) มีบริบทใกล้เคียง เช่น กล่าวถึงวัตถุที่จับต้องได้เหมือนกัน หรือจับต้องไม่ได้เหมือนกัน เป็นวัตถุที่สื่อความหมายในเชิงเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่วรรคแรกกล่าวถึงดอกไม้ วรรคหลังพูดถึงโต๊ะ อะไรอย่างนี้; 2) คุณศัพท์ที่ขยายนามหรืออารมณ์ที่สื่อต้องเหมือนกันหรือตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงเพื่อแสดงความขัดแย้งบางอย่าง เช่น ฝนตกหนักกับแดดแรงจ้า หรือ ฝนตกหนักกับหยดน้ำเล็ก; ฯลฯ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ นี้มีคนต่อวรรคหลังมากมาย แต่ไม่มีความลงตัวอย่างสมบูรณ์จวบจนสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้ที่ต่อวรรคหลังนี้คือสือเหยียนเหนียน (ค.ศ. 994-1041) นักอักษรและกวีสมัยซ่งเหนือ ในค่ำคืนหนึ่งหลังจากดื่มสุราไปหลายกรึ๊บ ในยามกึ่งเมากึ่งมีสตินั้น เขาได้ยินคนรอบข้างต่อวรรค ‘หากฟ้ามีใจฯ’ นี้กันอยู่ จึงโพล่งวรรคต่อออกมาในทันใด ซึ่งก็คือ ‘หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง’ (月如无恨月长圆 / เยวี่ยหรูอู๋เฮิ่นเยวี่ยฉางเหยวียน) เป็นการต่อวรรคที่สมบูรณ์จนคนตะลึง เพราะไม่เพียงอักขระ คำบรรยายและบริบทลงตัว หากแต่ความหมายแฝงที่สื่อถึงสัจธรรมแห่งชีวิตยังสอดคล้องอีกด้วย ... หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน ... ... หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง ... วรรคต้นที่ไม่มีใครต่อวรรคได้มากว่าสองร้อยปี เกิดวรรคต่อที่สะเทือนวงการนักอักษรในสมัยนั้นจนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพื่อนเพจอ่านและตีความแล้วได้ความรู้สึกอย่างไรคะ? เห็นความเป็น ‘กลอนคู่’ ของมันหรือไม่? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_25539972 https://k.sina.cn/article_6502395912_18392b008001004rs9.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://so.gushiwen.cn/shiwenv_33199885635a.aspx https://baike.baidu.com/金铜仙人辞汉歌/1659854 https://www.sohu.com/a/484704098_100135144 https://www.workercn.cn/c/2024-02-06/8143503.shtml #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #หลี่เฮ่อ #กวีถัง #หากฟ้ามีใจรัก #สือเหยียนเหนียน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1350 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปู้เหลียงเหรินแห่งสมัยถัง

    ในซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> มีกล่าวไว้ แคว้นอู๋มีลิ่วเต้าเหมิน แคว้นอันมีองครักษ์เสื้อแดง และแคว้นฉู่มีปู้เหลียงเหริน โดยที่เหรินหรูอี้ถูกเข้าใจว่าเป็นปู้เหลียงเหรินจากแคว้นฉู่

    ซีรีส์เรื่องนี้เป็นอาณาจักรและยุคสมัยสมมุติ ลิ่วเต้าเหมินและองครักษ์เสื้อแดงไม่มีจริงในประวัติศาสตร์ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงมีมือปราบลิ่วซ่านเหมินและมีองค์รักษ์เสื้อแพร (Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว ลองค้นอ่านย้อนหลังจากสารบัญบนเพจนะคะ) ส่วนปู้เหลียงเหรินนั้น มีอยู่จริงในสมัยถัง เพื่อนเพจบางท่านอาจพอจำได้ว่าในเรื่อง <ตำนานลั่วหยาง> และ <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> มีปู้เหลียงเหรินปรากฏด้วย (แต่จำไม่ได้แล้วว่าซับไทยแปลไว้แตกต่างกันไหม)

    ในบันทึกเกร็ดประวัติของสมัยชิงมีเขียนถึงโดยคร่าวว่า ผู้มีหน้าที่การสืบตามและจับกุมคนร้ายนั้น ในสมัยถังเรียกว่าปู้เหลียงเหริน มีหัวหน้าเรียกว่าปู้เหลียงซ่วย สถานะเปรียบได้เป็นต้าสุยเหอของราชวงศ์ฮั่น (แต่... ต้าสุยหรือต้าสุยเหอนี้ ในสมัยฮั่นคือราชองครักษ์รักษาพระราชวังที่ประจำการอยู่หน้าประตูวัง) และตามพจนานุกรมฉบับสุยถังและห้าราชวงศ์ที่จัดทำขึ้นเมื่อปี 1997 นั้น อธิบายถึงปู้เหลียงเหรินไว้ว่าเป็นคนที่ปฏิบัติภารกิจของทางการในสมัยถัง มีหน้าที่ตามสืบและจับกุมผู้กระทำความผิด

    คำว่า ‘ปู้เหลียงเหริน’ แปลตรงตัวว่าคนไม่ดี แล้วทำไมจึงใช้ชื่อนี้? คำตอบยังเป็นที่ถกกันจวบจนปัจจุบันเพราะไม่มีเอกสารยืนยันชัดเจน บ้างก็ว่าเป็นเพราะวิธีการสืบหาและจับคนร้ายของพวกเขานั้นโหดร้ายและสกปรก บ้างก็ว่าจริงแล้วพวกเขาเป็นอดีตอาชญากรที่ทางการให้ปฏิบัติภารกิจเพื่อสร้างผลงานไถ่โทษ และบ้างก็ว่าเป็นการเรียกย่อที่หมายถึงมือปราบที่มีหน้าที่จับกุมคนไม่ดี

    จากการพยายามไปหาข้อมูลมา Storyฯ รู้สึกว่า ปู้เหลียงเหรินเป็นกลุ่มคนที่เป็นปริศนาทางประวัติศาสตร์มิใช่น้อย เนื่องเพราะข้อมูลเกี่ยวกับพวกเขาแทบไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่ามีอยู่ในสมัยถัง มีหน้าที่สืบหาและจับกุมคนร้าย แต่ตัวตนและสถานะของพวกเขาแท้จริงแล้วเป็นอย่างไรไม่มีการระบุชัด และในพงศาวดารถังลิ่วเตี่ยน ไม่ปรากฏตำแหน่งหัวหน้าปู้เหลียงซ่วยและไม่มีการกล่าวถึงปู้เหลียงเหริน

    และเนื่องด้วยมีเอกสารในสมัยชิงที่นิยามปู้เหลียงเหรินโดยเปรียบเทียบถึงราชองรักษ์ต้าสุยของสมัยฮั่นตามที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้มีคนสันนิษฐานว่าปู้เหลียงเหรินเป็นหน่วยงานลับที่ขึ้นตรงต่อฮ่องเต้เท่านั้น

    แต่... ถ้าเป็นองค์กรลับก็ไม่ควรมีการกล่าวถึงอย่างเปิดเผย ทว่าในบันทึกในเกร็ดประวัติและรวมเรื่องสั้น ‘ฉาวเหยี่ยเชียนจ้าย’ ของสมัยถังนั้น มีการกล่าวถึงปู้เหลียงเหรินในคดีดังที่เกี่ยวข้องกับคดีคนหายจากตระกูลขุนนางระดับสูงในรัชสมัยขององค์ถังไท่จงหลี่ซื่อหมินแห่งราชวงศ์ถัง

    ในเมื่อองค์กรนี้มีตัวตนจริง แต่ไม่ปรากฏชื่อในหน่วยงานราชการอย่างเป็นทางการ แต่ก็อาจไม่เป็นความลับ จึงเป็นที่สันนิษฐานไปอีกว่า ปู้เหลียงเหรินจัดเป็นเจ้าหน้าที่หลวงที่ระดับต่ำมากหรือเสมียน เรียกว่า ‘ลี่’ (吏) (หมายเหตุ ถ้ามีตำแหน่งเป็นขุนนางจะเรียกว่า ‘กวน’/官) หรือเป็นเพียงคนที่ช่วยงานราชการโดยไม่มียศตำแหน่งอย่างแท้จริง และที่บอกว่าพวกเขามีสถานะที่ต่ำมากนั้น เป็นเพราะว่า พวกเขาเป็นอาชญกรมาก่อนและเข้ามาทำงานให้ทางการเพื่อไถ่โทษ ซึ่งสอดคล้องกับหนึ่งในที่มาของชื่อที่กล่าวไปแล้วข้างต้นนั่นเอง

    นอกจากตัวตนที่เป็นปริศนาแล้ว ที่เป็นปริศนายิ่งกว่าก็คือการหายตัวไปของปู้เหลียงเหริน เพราะไม่มีบันทึกว่าเกิดอะไรขึ้น มีแต่ข้อสันนิษฐานว่าเมื่อสิ้นราชวงศ์ถังกลุ่มปู้เหลียงเหรินก็หอบสมบัติหนีหายกันไป บ้างก็ว่าสลายตัวไป บ้างก็ว่าไปปักหลักที่ที่มั่นอื่นรอวันกลับมาทำงานอีกครั้ง เรื่องนี้ไม่มีการยืนยัน แต่ข้อเท็จจริงคือหลังจากราชวงศ์ถังล่มสลายก็ไม่มีการเรียกมือปราบว่าปู้เหลียงเหรินอีกเลย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.ejdz.cn/download/news/n143411.html
    https://item.btime.com/f12taep1nci9228p25pl8r5dejl
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_13674760
    https://item.btime.com/f12taep1nci9228p25pl8r5dejl?page=1
    http://www.qulishi.com/article/201906/344565.html
    https://www.163.com/dy/article/GQNDI8640552B97M.html

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #ปู้เหลียงเหริน #มือปราบสมัยถัง
    ปู้เหลียงเหรินแห่งสมัยถัง ในซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> มีกล่าวไว้ แคว้นอู๋มีลิ่วเต้าเหมิน แคว้นอันมีองครักษ์เสื้อแดง และแคว้นฉู่มีปู้เหลียงเหริน โดยที่เหรินหรูอี้ถูกเข้าใจว่าเป็นปู้เหลียงเหรินจากแคว้นฉู่ ซีรีส์เรื่องนี้เป็นอาณาจักรและยุคสมัยสมมุติ ลิ่วเต้าเหมินและองครักษ์เสื้อแดงไม่มีจริงในประวัติศาสตร์ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงมีมือปราบลิ่วซ่านเหมินและมีองค์รักษ์เสื้อแพร (Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว ลองค้นอ่านย้อนหลังจากสารบัญบนเพจนะคะ) ส่วนปู้เหลียงเหรินนั้น มีอยู่จริงในสมัยถัง เพื่อนเพจบางท่านอาจพอจำได้ว่าในเรื่อง <ตำนานลั่วหยาง> และ <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> มีปู้เหลียงเหรินปรากฏด้วย (แต่จำไม่ได้แล้วว่าซับไทยแปลไว้แตกต่างกันไหม) ในบันทึกเกร็ดประวัติของสมัยชิงมีเขียนถึงโดยคร่าวว่า ผู้มีหน้าที่การสืบตามและจับกุมคนร้ายนั้น ในสมัยถังเรียกว่าปู้เหลียงเหริน มีหัวหน้าเรียกว่าปู้เหลียงซ่วย สถานะเปรียบได้เป็นต้าสุยเหอของราชวงศ์ฮั่น (แต่... ต้าสุยหรือต้าสุยเหอนี้ ในสมัยฮั่นคือราชองครักษ์รักษาพระราชวังที่ประจำการอยู่หน้าประตูวัง) และตามพจนานุกรมฉบับสุยถังและห้าราชวงศ์ที่จัดทำขึ้นเมื่อปี 1997 นั้น อธิบายถึงปู้เหลียงเหรินไว้ว่าเป็นคนที่ปฏิบัติภารกิจของทางการในสมัยถัง มีหน้าที่ตามสืบและจับกุมผู้กระทำความผิด คำว่า ‘ปู้เหลียงเหริน’ แปลตรงตัวว่าคนไม่ดี แล้วทำไมจึงใช้ชื่อนี้? คำตอบยังเป็นที่ถกกันจวบจนปัจจุบันเพราะไม่มีเอกสารยืนยันชัดเจน บ้างก็ว่าเป็นเพราะวิธีการสืบหาและจับคนร้ายของพวกเขานั้นโหดร้ายและสกปรก บ้างก็ว่าจริงแล้วพวกเขาเป็นอดีตอาชญากรที่ทางการให้ปฏิบัติภารกิจเพื่อสร้างผลงานไถ่โทษ และบ้างก็ว่าเป็นการเรียกย่อที่หมายถึงมือปราบที่มีหน้าที่จับกุมคนไม่ดี จากการพยายามไปหาข้อมูลมา Storyฯ รู้สึกว่า ปู้เหลียงเหรินเป็นกลุ่มคนที่เป็นปริศนาทางประวัติศาสตร์มิใช่น้อย เนื่องเพราะข้อมูลเกี่ยวกับพวกเขาแทบไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่ามีอยู่ในสมัยถัง มีหน้าที่สืบหาและจับกุมคนร้าย แต่ตัวตนและสถานะของพวกเขาแท้จริงแล้วเป็นอย่างไรไม่มีการระบุชัด และในพงศาวดารถังลิ่วเตี่ยน ไม่ปรากฏตำแหน่งหัวหน้าปู้เหลียงซ่วยและไม่มีการกล่าวถึงปู้เหลียงเหริน และเนื่องด้วยมีเอกสารในสมัยชิงที่นิยามปู้เหลียงเหรินโดยเปรียบเทียบถึงราชองรักษ์ต้าสุยของสมัยฮั่นตามที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้มีคนสันนิษฐานว่าปู้เหลียงเหรินเป็นหน่วยงานลับที่ขึ้นตรงต่อฮ่องเต้เท่านั้น แต่... ถ้าเป็นองค์กรลับก็ไม่ควรมีการกล่าวถึงอย่างเปิดเผย ทว่าในบันทึกในเกร็ดประวัติและรวมเรื่องสั้น ‘ฉาวเหยี่ยเชียนจ้าย’ ของสมัยถังนั้น มีการกล่าวถึงปู้เหลียงเหรินในคดีดังที่เกี่ยวข้องกับคดีคนหายจากตระกูลขุนนางระดับสูงในรัชสมัยขององค์ถังไท่จงหลี่ซื่อหมินแห่งราชวงศ์ถัง ในเมื่อองค์กรนี้มีตัวตนจริง แต่ไม่ปรากฏชื่อในหน่วยงานราชการอย่างเป็นทางการ แต่ก็อาจไม่เป็นความลับ จึงเป็นที่สันนิษฐานไปอีกว่า ปู้เหลียงเหรินจัดเป็นเจ้าหน้าที่หลวงที่ระดับต่ำมากหรือเสมียน เรียกว่า ‘ลี่’ (吏) (หมายเหตุ ถ้ามีตำแหน่งเป็นขุนนางจะเรียกว่า ‘กวน’/官) หรือเป็นเพียงคนที่ช่วยงานราชการโดยไม่มียศตำแหน่งอย่างแท้จริง และที่บอกว่าพวกเขามีสถานะที่ต่ำมากนั้น เป็นเพราะว่า พวกเขาเป็นอาชญกรมาก่อนและเข้ามาทำงานให้ทางการเพื่อไถ่โทษ ซึ่งสอดคล้องกับหนึ่งในที่มาของชื่อที่กล่าวไปแล้วข้างต้นนั่นเอง นอกจากตัวตนที่เป็นปริศนาแล้ว ที่เป็นปริศนายิ่งกว่าก็คือการหายตัวไปของปู้เหลียงเหริน เพราะไม่มีบันทึกว่าเกิดอะไรขึ้น มีแต่ข้อสันนิษฐานว่าเมื่อสิ้นราชวงศ์ถังกลุ่มปู้เหลียงเหรินก็หอบสมบัติหนีหายกันไป บ้างก็ว่าสลายตัวไป บ้างก็ว่าไปปักหลักที่ที่มั่นอื่นรอวันกลับมาทำงานอีกครั้ง เรื่องนี้ไม่มีการยืนยัน แต่ข้อเท็จจริงคือหลังจากราชวงศ์ถังล่มสลายก็ไม่มีการเรียกมือปราบว่าปู้เหลียงเหรินอีกเลย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.ejdz.cn/download/news/n143411.html https://item.btime.com/f12taep1nci9228p25pl8r5dejl Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_13674760 https://item.btime.com/f12taep1nci9228p25pl8r5dejl?page=1 http://www.qulishi.com/article/201906/344565.html https://www.163.com/dy/article/GQNDI8640552B97M.html #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #ปู้เหลียงเหริน #มือปราบสมัยถัง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1194 มุมมอง 0 รีวิว
  • หนึ่งรำลึกกวนซาน

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ไม่รู้ภาษาจีนอาจไม่ทราบว่าชื่อจีนของซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> นั้นมีความหมายแตกต่างจากชื่อไทย (หรือแม้แต่ชื่อภาษาอังกฤษ) ชื่อจีนที่ว่านี้คือ ‘อี๋เนี่ยนกวนซาน’ (一念关山แปลตรงตัวว่า หนึ่งความคิด/รำลึก + เขากวนซาน) วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘กวนซาน’ กัน

    ภูเขาที่มีชื่อว่า ‘กวนซาน’ นี้เป็นสถานที่จริงหรือไม่?

    จากข้อมูลที่หาได้ กวนซานคือบริเวณที่ในสมัยโบราณเรียกว่าเขาหล่งซานบรรจบเขตพื้นที่ราบกวนจง (ไม่ไกลจากอดีตเมืองฉางอัน) (ดูแผนที่ภาพ 2) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมโบราณที่เชื่อมจีนและดินแดนทางตะวันตก และเป็นพื้นที่สมรภูมิอยู่หลายครั้งหลายคราเพราะเป็นเส้นทางผ่านเขตแดนที่เชื่อมขึ้นไปตะวันตกเฉียงเหนือก่อนจะเข้าสู่อาณาเขตเหลียวหรือชี่ตัน มันเป็นเทือกเขาสูงและชัน สูงกว่า 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ยากต่อการเดินทางและการป้องกัน

    แต่ในซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> ไม่ได้เอ่ยชัดเจนถึงภูเขาหรือสถานที่ที่ชื่อว่า ‘กวนซาน’ จึงเป็นไปได้ว่าชื่อของซีรีส์นี้ไม่ได้หมายถึงสถานที่จริง Storyฯ เลยวางแผนที่ลงแล้วไปหยิบบทกวีโบราณมาดูกันว่าจริงแล้ว ‘กวนซาน’ หมายถึงอะไร

    ‘กวนซาน’ ปรากฏในบทกวีโบราณกว่าหนึ่งร้อยบท มักอยู่ในบริบทของบทกวีที่รำพันถึงความยากลำบากของชีวิต เปรียบเสมือนการเดินทางข้ามเขากวนซานที่ทั้งสูงทั้งอันตราย และเมื่อข้ามผ่านแล้วจะเดินทางกลับบ้านก็ยากยิ่งนัก

    มีบทกวีที่เตะตามาก ด้วยวรรคลงท้ายสองวรรคของบทกวีที่ใกล้เคียงกับชื่อซีรีส์นี้ คือวรรคที่กล่าวว่า “หนึ่งรำลึกถึงกวนซัน พันลี้พะวงถึงถ้ำรังจิ้งจอก” (一念起关山 千里顾丘窟) ซึ่งในที่นี้ ถ้ำรังจิ้งจอกเป็นการอุปมาอุปไมยถึงบ้านเกิด เพราะว่ากันว่าเวลาจิ้งจอกบาดเจ็บใกล้ตายจะพยายามกลับรัง บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘เชวี่ยตงซีเหมินสิง’ (却东西门行 แปลได้ประมาณว่า ละทิ้ง(เมือง)ตะวันออกเดินทางออกประตูตะวันตก) ของเสิ่นเยวี้ย ประพันธ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์ใต้ บรรยายถึงการเดินทางของคนคนหนึ่งที่ขี่ม้ามุ่งหน้าไปยังทิศตะวันตกข้ามผ่านแนวเขา ย้อนมองเมืองหลวง (เมืองตะวันออก) แต่เมืองหลวงค่อยๆ เลือนหายไปในหมอกควัน วันเวลาที่ผันผ่านยิ่งทำให้รำลึกถึงอดีต ยามมองทิวเขานึกถึงถ้ำรังจิ้งจอกคือหวนคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน สะท้อนถึงชีวิตจริงของกวีที่ต้องจากลาเมืองหลวงเมื่อตระกูลตกต่ำ

    ดังนั้น ‘กวนซาน’ ในบทกวีนี้คือหมายถึงมาตุภูมิ และในอีกหลายบทกวีคำว่า ‘กวนซาน’ ก็ถูกนำมาใช้เพื่อสะท้อนถึงความหมายนี้เช่นกัน และ Storyฯ คิดว่าชื่อภาษาจีนของ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> สะท้อนได้ดีถึงการเดินเรื่องด้วยเรื่องราวความพยายามที่จะพาฮ่องเต้แคว้นอู๋กลับบ้าน และเรื่องราวความรักและความเสียสละของเหล่าตัวละครที่มีต่อแผ่นดินเกิด

    ... หนึ่งรำลึกคือกวนซาน
    ... หนึ่งรำลึกคือมาตุภูมิ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://star.tom.com/202311/1572406490.html
    https://topimage.design/images/5cffdf94ccb56d3ea8caeb7d.html
    https://collection.sina.com.cn/plfx/20141223/1032174072.shtml?from=wap
    https://www.sohu.com/a/414709176_100091417
    https://www.sohu.com/a/497600136_100185418
    https://www.sohu.com/a/730286086_121157391
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://mt.sohu.com/20170416/n488714328.shtml
    https://www.sohu.com/a/730286086_121157391
    https://www.cidianwang.com/lishi/diming/6/63246lp.htm
    https://www.gushiju.net/ju/1703370

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #กวนซาน
    หนึ่งรำลึกกวนซาน สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ไม่รู้ภาษาจีนอาจไม่ทราบว่าชื่อจีนของซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> นั้นมีความหมายแตกต่างจากชื่อไทย (หรือแม้แต่ชื่อภาษาอังกฤษ) ชื่อจีนที่ว่านี้คือ ‘อี๋เนี่ยนกวนซาน’ (一念关山แปลตรงตัวว่า หนึ่งความคิด/รำลึก + เขากวนซาน) วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘กวนซาน’ กัน ภูเขาที่มีชื่อว่า ‘กวนซาน’ นี้เป็นสถานที่จริงหรือไม่? จากข้อมูลที่หาได้ กวนซานคือบริเวณที่ในสมัยโบราณเรียกว่าเขาหล่งซานบรรจบเขตพื้นที่ราบกวนจง (ไม่ไกลจากอดีตเมืองฉางอัน) (ดูแผนที่ภาพ 2) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมโบราณที่เชื่อมจีนและดินแดนทางตะวันตก และเป็นพื้นที่สมรภูมิอยู่หลายครั้งหลายคราเพราะเป็นเส้นทางผ่านเขตแดนที่เชื่อมขึ้นไปตะวันตกเฉียงเหนือก่อนจะเข้าสู่อาณาเขตเหลียวหรือชี่ตัน มันเป็นเทือกเขาสูงและชัน สูงกว่า 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ยากต่อการเดินทางและการป้องกัน แต่ในซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> ไม่ได้เอ่ยชัดเจนถึงภูเขาหรือสถานที่ที่ชื่อว่า ‘กวนซาน’ จึงเป็นไปได้ว่าชื่อของซีรีส์นี้ไม่ได้หมายถึงสถานที่จริง Storyฯ เลยวางแผนที่ลงแล้วไปหยิบบทกวีโบราณมาดูกันว่าจริงแล้ว ‘กวนซาน’ หมายถึงอะไร ‘กวนซาน’ ปรากฏในบทกวีโบราณกว่าหนึ่งร้อยบท มักอยู่ในบริบทของบทกวีที่รำพันถึงความยากลำบากของชีวิต เปรียบเสมือนการเดินทางข้ามเขากวนซานที่ทั้งสูงทั้งอันตราย และเมื่อข้ามผ่านแล้วจะเดินทางกลับบ้านก็ยากยิ่งนัก มีบทกวีที่เตะตามาก ด้วยวรรคลงท้ายสองวรรคของบทกวีที่ใกล้เคียงกับชื่อซีรีส์นี้ คือวรรคที่กล่าวว่า “หนึ่งรำลึกถึงกวนซัน พันลี้พะวงถึงถ้ำรังจิ้งจอก” (一念起关山 千里顾丘窟) ซึ่งในที่นี้ ถ้ำรังจิ้งจอกเป็นการอุปมาอุปไมยถึงบ้านเกิด เพราะว่ากันว่าเวลาจิ้งจอกบาดเจ็บใกล้ตายจะพยายามกลับรัง บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘เชวี่ยตงซีเหมินสิง’ (却东西门行 แปลได้ประมาณว่า ละทิ้ง(เมือง)ตะวันออกเดินทางออกประตูตะวันตก) ของเสิ่นเยวี้ย ประพันธ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์ใต้ บรรยายถึงการเดินทางของคนคนหนึ่งที่ขี่ม้ามุ่งหน้าไปยังทิศตะวันตกข้ามผ่านแนวเขา ย้อนมองเมืองหลวง (เมืองตะวันออก) แต่เมืองหลวงค่อยๆ เลือนหายไปในหมอกควัน วันเวลาที่ผันผ่านยิ่งทำให้รำลึกถึงอดีต ยามมองทิวเขานึกถึงถ้ำรังจิ้งจอกคือหวนคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน สะท้อนถึงชีวิตจริงของกวีที่ต้องจากลาเมืองหลวงเมื่อตระกูลตกต่ำ ดังนั้น ‘กวนซาน’ ในบทกวีนี้คือหมายถึงมาตุภูมิ และในอีกหลายบทกวีคำว่า ‘กวนซาน’ ก็ถูกนำมาใช้เพื่อสะท้อนถึงความหมายนี้เช่นกัน และ Storyฯ คิดว่าชื่อภาษาจีนของ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> สะท้อนได้ดีถึงการเดินเรื่องด้วยเรื่องราวความพยายามที่จะพาฮ่องเต้แคว้นอู๋กลับบ้าน และเรื่องราวความรักและความเสียสละของเหล่าตัวละครที่มีต่อแผ่นดินเกิด ... หนึ่งรำลึกคือกวนซาน ... หนึ่งรำลึกคือมาตุภูมิ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://star.tom.com/202311/1572406490.html https://topimage.design/images/5cffdf94ccb56d3ea8caeb7d.html https://collection.sina.com.cn/plfx/20141223/1032174072.shtml?from=wap https://www.sohu.com/a/414709176_100091417 https://www.sohu.com/a/497600136_100185418 https://www.sohu.com/a/730286086_121157391 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://mt.sohu.com/20170416/n488714328.shtml https://www.sohu.com/a/730286086_121157391 https://www.cidianwang.com/lishi/diming/6/63246lp.htm https://www.gushiju.net/ju/1703370 #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #กวนซาน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 955 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ซึ่งมีชื่อภาษาจีนคือ ‘เล่อโหยวหยวน’ (乐游原)

    เล่อโหยวหยวน (แปลตรงตัวว่า สุข+ทัศนาจร+ดินแดน/ทุ่ง) จริงแล้วมีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก แต่เดิมชื่อว่า ‘เล่อโหยวย่วน’ (乐游苑 / สุข+ทัศนาจร+สวน/อุทยาน) เป็นสถานที่เสด็จประพาสต้นที่ชื่นชอบขององค์ฮั่นเซวียนตี้ (ปี 51-48 ก่อนคริสตกาล) และฮองเฮาสวี่ ต่อมาฮั่นเซวียนตี้ทรงโปรดให้ฝังฮองเฮาสวี่ที่นั่น ครั้นกาลเวลาผ่านไปอักษรท้ายถูกเรียกเพี้ยนจาก ‘ย่วน’ เป็น ‘หยวน’ จนกลายมาเป็นชื่อของอุทยานเล่อโหยวหยวนตราบจนปัจจุบัน และบางครั้งถูกใช้เป็นคำกริยาที่บรรยายถึงการท่องเที่ยวอย่างเบิกบานใจ

    ในตอนต้นๆ เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> มีฉากหนึ่งที่พระเอกนางเอกนั่งเรือชมดาวในเทศกาลชีซี (ปัจจุบันเรามักเรียกเป็นวันวาเลนไทน์จีน) พระเอกเล่าถึงว่า ตอนเด็กตนเองอยู่แต่ในเมืองหลวง มักขี่ม้าขึ้นไปเที่ยวเล่อโหยวหยวน ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงในเมืองหลวง มีภูมิประเทศสูง มองลงมาเห็นทั้งเมืองหลวงได้

    เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> นี้เล่าถึงรัชสมัยสมมุติ แต่ฉากหลังนั้นใกล้เคียงกับสมัยถังตอนปลาย และเล่อโหยวหยวนนี้เป็นสถานที่ฮอตฮิตในสมัยถังสำหรับการท่องเที่ยวและเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจสำคัญของเหล่ากวี มีบทกวีไม่น้อยที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อบรรยายถึงความงดงามของทัศนียภาพบนนั้น

    เล่อโหยวหยวนเป็นอุทยานบนเขาตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของนครฉางอัน ซึ่งปัจจุบันก็คือเมืองซีอาน (คือจุดที่วงสีเขียวไว้ในภาพประกอบ) รูปแผนที่ที่แปะมาให้ดูอาจจะละลานตาสักนิด เพราะเป็นแผนที่ภูมิประเทศที่มีระบุเส้นชั้นความสูง เพื่อให้เห็นว่าบริเวณนั้นของนครฉางอันเป็นเนินเขา ที่นี่เป็นจุดที่สูงที่สุดของนครฉางอัน มองลงมาสามารถมองเห็นทั่วนครฉางอันได้ ในสมัยราชวงศ์สุยมีการสร้างวัดขึ้นที่นี่ชื่อวัดหลินก่าน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดชิงหลง ปัจจุบันนับเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวดังของเมืองซีอัน และเป็นวัดที่ถูกกล่าวถึงบ่อยในละครจีนโบราณ

    อนึ่ง เล่อโหยวหยวนเคยถูกกล่าวถึงในเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> แต่ Storyฯ จำเรื่องราวไม่ได้แล้ว เพื่อนเพจท่านใดจำได้มาเม้นท์บอกกันหน่อยว่าในเรื่องนี้มีเล่ารายละเอียดอะไรเกี่ยวกับเล่อโหยวหยวนหรือไม่

    ในฉากเดียวกันของเรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ที่กล่าวถึงนี้ นางเอกได้ยินพระเอกเล่าเรื่องเล่อโหยวหยวนก็เกิดแรงบันดาลใจ ร่ายกลอนออกมาบทหนึ่ง มีใจความว่า บนเขาเล่อโหยวหยวนมีลมตะวันตกพัดผ่าน มีธรรมชาติงดงามทั้งหมู่ไม้เสียงจักจั่นและแสงรุ้ง องค์สุริยเทพทรงขี่รถม้าไปเรื่อยๆ ไม่ยอมให้ตะวันตกดินและไม่ยอมให้ตะวันหันกลับไปทางทิศตะวันออก บทกวีนี้บรรยายความงามของวิวบนเล่อโหยวหยวนประหนึ่งว่าความงามนั้นสามารถสะกดให้เวลาหยุดอยู่กับที่

    กลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เล่อโหยวหยวน’ ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับชื่อภาษาจีนของซีรีส์เรื่องนี้ เป็นกลอนเจ็ด (กล่าวคือมีเจ็ดอักษรในหนึ่งวรรค) มีทั้งหมดสี่วรรค มันเป็นผลงานของหลี่ซังอิ่น (ปีค.ศ. 813-858) หนึ่งในกวีที่เลื่องชื่อของสมัยถังตอนปลาย มีผลงานที่สืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่า 600 บทกวี เขาเข้ารับราชการเมื่ออายุยี่สิบห้า ต่อมาสังกัดเจี๋ยตู้สื่อหวางเม่าหยวน และได้รับการโปรดปรานจากหวางเม่าหยวนถึงขนาดยกลูกสาวให้ จึงถูกลากเข้าไปพัวพันกับการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง

    บทกวีนี้มักถูกเข้าใจสลับกับบทกวีอีกบทที่โด่งดังมากกว่าของเขา มีชื่อว่า ‘เติงเล่อโหยวหยวน’ (登乐游原 / ขึ้นเขาเล่อโหยวหยวน) ซึ่งต่อมาถูกเรียกเป็น ‘เล่อโหยวหยวน’ เช่นกัน โดย ‘เติงเล่อโหยวหยวน’ เป็นกลอนห้า (อักษรห้าตัวในหนึ่งวรรค) มีสี่วรรคเช่นกัน กลอนบทนี้บรรยายถึงความงามของอาทิตย์อัสดงบนเล่อโหยวหยวนและพรรณนาความเสียดายที่ไม่อาจหยุดยั้งแสงอาทิตย์ไว้ได้ ถูกตีความกันต่อมาว่าความนัยแฝงคือความอาลัยและความอาดูรในสถานการณ์ของราชวงศ์ถังที่เสื่อมอำนาจลง โดยมีวรรคที่ฮอตฮิตคือ ‘ตะวันยอแสงงามไร้ขอบเขต แต่เสียดายใกล้อาทิตย์อัสดง’ (夕阳无限好,只是近黄昏 / ซีหยางอู๋เซี่ยนห่าว จื่อซื่อจิ้นหวงฮุน) เป็นการเปรียบเปรยถึงความไม่จีรังของชีวิต

    Storyฯ ยังดูซีรีส์เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ไม่จบ ไม่อาจกล่าวได้ว่ากลอนบทใดข้างต้น (หรือทั้งสองบท) มีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องมากน้อยเพียงใด เพื่อนเพจท่านใดที่ดูจบแล้วมีความเห็นความรู้สึกอย่างใดก็เชิญมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.dianyingbaodian.com/wiki/乐游原_%282023%29
    https://www.sohu.com/a/390828068_120445432
    https://www.sgss8.net/tpdq/21096094/2.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://shici.yw11.com/shici_fanyi_2987_250.html
    https://www.shicile.com/detail/6070192050078
    https://www.sohu.com/a/680570874_121124391

    #พสุธารักเคียงใจ #ทุ่งเล่อโหยว #เล่อโหยวหยวน #กวีถัง #หลีซังอิ่น #วัดชิงหลง #นครฉางอัน #ซีอัน
    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ซึ่งมีชื่อภาษาจีนคือ ‘เล่อโหยวหยวน’ (乐游原) เล่อโหยวหยวน (แปลตรงตัวว่า สุข+ทัศนาจร+ดินแดน/ทุ่ง) จริงแล้วมีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก แต่เดิมชื่อว่า ‘เล่อโหยวย่วน’ (乐游苑 / สุข+ทัศนาจร+สวน/อุทยาน) เป็นสถานที่เสด็จประพาสต้นที่ชื่นชอบขององค์ฮั่นเซวียนตี้ (ปี 51-48 ก่อนคริสตกาล) และฮองเฮาสวี่ ต่อมาฮั่นเซวียนตี้ทรงโปรดให้ฝังฮองเฮาสวี่ที่นั่น ครั้นกาลเวลาผ่านไปอักษรท้ายถูกเรียกเพี้ยนจาก ‘ย่วน’ เป็น ‘หยวน’ จนกลายมาเป็นชื่อของอุทยานเล่อโหยวหยวนตราบจนปัจจุบัน และบางครั้งถูกใช้เป็นคำกริยาที่บรรยายถึงการท่องเที่ยวอย่างเบิกบานใจ ในตอนต้นๆ เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> มีฉากหนึ่งที่พระเอกนางเอกนั่งเรือชมดาวในเทศกาลชีซี (ปัจจุบันเรามักเรียกเป็นวันวาเลนไทน์จีน) พระเอกเล่าถึงว่า ตอนเด็กตนเองอยู่แต่ในเมืองหลวง มักขี่ม้าขึ้นไปเที่ยวเล่อโหยวหยวน ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงในเมืองหลวง มีภูมิประเทศสูง มองลงมาเห็นทั้งเมืองหลวงได้ เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> นี้เล่าถึงรัชสมัยสมมุติ แต่ฉากหลังนั้นใกล้เคียงกับสมัยถังตอนปลาย และเล่อโหยวหยวนนี้เป็นสถานที่ฮอตฮิตในสมัยถังสำหรับการท่องเที่ยวและเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจสำคัญของเหล่ากวี มีบทกวีไม่น้อยที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อบรรยายถึงความงดงามของทัศนียภาพบนนั้น เล่อโหยวหยวนเป็นอุทยานบนเขาตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของนครฉางอัน ซึ่งปัจจุบันก็คือเมืองซีอาน (คือจุดที่วงสีเขียวไว้ในภาพประกอบ) รูปแผนที่ที่แปะมาให้ดูอาจจะละลานตาสักนิด เพราะเป็นแผนที่ภูมิประเทศที่มีระบุเส้นชั้นความสูง เพื่อให้เห็นว่าบริเวณนั้นของนครฉางอันเป็นเนินเขา ที่นี่เป็นจุดที่สูงที่สุดของนครฉางอัน มองลงมาสามารถมองเห็นทั่วนครฉางอันได้ ในสมัยราชวงศ์สุยมีการสร้างวัดขึ้นที่นี่ชื่อวัดหลินก่าน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดชิงหลง ปัจจุบันนับเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวดังของเมืองซีอัน และเป็นวัดที่ถูกกล่าวถึงบ่อยในละครจีนโบราณ อนึ่ง เล่อโหยวหยวนเคยถูกกล่าวถึงในเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> แต่ Storyฯ จำเรื่องราวไม่ได้แล้ว เพื่อนเพจท่านใดจำได้มาเม้นท์บอกกันหน่อยว่าในเรื่องนี้มีเล่ารายละเอียดอะไรเกี่ยวกับเล่อโหยวหยวนหรือไม่ ในฉากเดียวกันของเรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ที่กล่าวถึงนี้ นางเอกได้ยินพระเอกเล่าเรื่องเล่อโหยวหยวนก็เกิดแรงบันดาลใจ ร่ายกลอนออกมาบทหนึ่ง มีใจความว่า บนเขาเล่อโหยวหยวนมีลมตะวันตกพัดผ่าน มีธรรมชาติงดงามทั้งหมู่ไม้เสียงจักจั่นและแสงรุ้ง องค์สุริยเทพทรงขี่รถม้าไปเรื่อยๆ ไม่ยอมให้ตะวันตกดินและไม่ยอมให้ตะวันหันกลับไปทางทิศตะวันออก บทกวีนี้บรรยายความงามของวิวบนเล่อโหยวหยวนประหนึ่งว่าความงามนั้นสามารถสะกดให้เวลาหยุดอยู่กับที่ กลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เล่อโหยวหยวน’ ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับชื่อภาษาจีนของซีรีส์เรื่องนี้ เป็นกลอนเจ็ด (กล่าวคือมีเจ็ดอักษรในหนึ่งวรรค) มีทั้งหมดสี่วรรค มันเป็นผลงานของหลี่ซังอิ่น (ปีค.ศ. 813-858) หนึ่งในกวีที่เลื่องชื่อของสมัยถังตอนปลาย มีผลงานที่สืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่า 600 บทกวี เขาเข้ารับราชการเมื่ออายุยี่สิบห้า ต่อมาสังกัดเจี๋ยตู้สื่อหวางเม่าหยวน และได้รับการโปรดปรานจากหวางเม่าหยวนถึงขนาดยกลูกสาวให้ จึงถูกลากเข้าไปพัวพันกับการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง บทกวีนี้มักถูกเข้าใจสลับกับบทกวีอีกบทที่โด่งดังมากกว่าของเขา มีชื่อว่า ‘เติงเล่อโหยวหยวน’ (登乐游原 / ขึ้นเขาเล่อโหยวหยวน) ซึ่งต่อมาถูกเรียกเป็น ‘เล่อโหยวหยวน’ เช่นกัน โดย ‘เติงเล่อโหยวหยวน’ เป็นกลอนห้า (อักษรห้าตัวในหนึ่งวรรค) มีสี่วรรคเช่นกัน กลอนบทนี้บรรยายถึงความงามของอาทิตย์อัสดงบนเล่อโหยวหยวนและพรรณนาความเสียดายที่ไม่อาจหยุดยั้งแสงอาทิตย์ไว้ได้ ถูกตีความกันต่อมาว่าความนัยแฝงคือความอาลัยและความอาดูรในสถานการณ์ของราชวงศ์ถังที่เสื่อมอำนาจลง โดยมีวรรคที่ฮอตฮิตคือ ‘ตะวันยอแสงงามไร้ขอบเขต แต่เสียดายใกล้อาทิตย์อัสดง’ (夕阳无限好,只是近黄昏 / ซีหยางอู๋เซี่ยนห่าว จื่อซื่อจิ้นหวงฮุน) เป็นการเปรียบเปรยถึงความไม่จีรังของชีวิต Storyฯ ยังดูซีรีส์เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ไม่จบ ไม่อาจกล่าวได้ว่ากลอนบทใดข้างต้น (หรือทั้งสองบท) มีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องมากน้อยเพียงใด เพื่อนเพจท่านใดที่ดูจบแล้วมีความเห็นความรู้สึกอย่างใดก็เชิญมาเล่าสู่กันฟังนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.dianyingbaodian.com/wiki/乐游原_%282023%29 https://www.sohu.com/a/390828068_120445432 https://www.sgss8.net/tpdq/21096094/2.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://shici.yw11.com/shici_fanyi_2987_250.html https://www.shicile.com/detail/6070192050078 https://www.sohu.com/a/680570874_121124391 #พสุธารักเคียงใจ #ทุ่งเล่อโหยว #เล่อโหยวหยวน #กวีถัง #หลีซังอิ่น #วัดชิงหลง #นครฉางอัน #ซีอัน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1416 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงฉากหนึ่งใน <พสุธารักเคียงใจ> ที่พระนางนั่งเรือชมดาวกัน ความตอนที่แล้วเราคุยกันเรื่องบทกวีที่นางเอกกล่าวในฉากนี้ ซึ่งหลังจากนั้นพระเอกบอกว่ามีอีกบทกวีที่เขาชอบมากกว่า โดยนางเอกชิงท่องบทกวีดังกล่าวออกมาก่อน เป็นนัยว่าบทกวีบทนี้บ่งบอกความเป็นตัวตนของพระเอก เชื่อว่ามีเพื่อนเพจหลายคนที่คงงงเหมือนกับ Storyฯ ว่าเขาคุยอะไรกัน

    “หญ้าเขียวชอุ่มบนทุ่ง
    หนึ่งปีเหี่ยวเฉาสลับขึ้นใหม่
    ไฟป่าเผาไม่มอด
    ลมวสันต์โชยก็งอกงามอีก”
    - บทแปลจากซับไทย <พสุธารักเคียงใจ>

    บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘ฟู่เต๋อกู่หยวนเฉ่าซ่งเปี๋ย’ (赋得古原草送别) โดยคำว่า ‘ฟู่เต๋อ’ นั้น เป็นการเรียกนำหน้าบทกวีที่แต่งเติมจากวลีหรือวรรคจากบทประพันธ์โบราณ ต่อมาใช้เป็นกติกาในการสอบขุนนางว่า หากจะเขียนบทกวีที่มียกวรรคมาจากบทประพันธ์โบราณให้ใช้คำนำหน้าชื่อบทกวีนั้นว่า ‘ฟู่เต๋อ’ ส่วนคำว่า ‘กู่หยวนเฉ่า’ นั้นแปลตรงตัวว่าทุ่งหญ้าโบราณ แต่ในบทกวีโบราณมักถูกใช้แทนคำเรียก ‘เล่อโหยวหยวน’ ซึ่งเป็นอุทยานบนเขาในนครฉางอันที่เราคุยกันไปในสัปดาห์ที่แล้ว และคำว่า ‘ซ่งเปี๋ย’ คือการอำลาหรือส่งคนเดินทางจากไป ดังนั้น ชื่อของบทกวีนี้แปลได้ใจความว่า ‘บทอำลาบนเล่อโหยวหยวน’

    บทกวีนี้เป็นผลงานของกวีเอกและนักการเมืองชื่อดังในยุคช่วงปลายของราชวงศ์ถังคือ ไป๋จวีอี (ปีค.ศ. 772-846) จริงแล้วมีทั้งหมดแปดวรรค แต่ในซีรีส์กล่าวถึงเพียงสี่วรรค ซึ่งสี่วรรคหลังที่ไม่ได้กล่าวถึงนั้น Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงว่า

    ปลายทางอันไกลโพ้น
    ทุ่งเขียวจรดเมืองอ้างว้าง
    ส่งลาราชนัดดาอีกครา
    ทุ่งขจีแฝงความอาดูร

    (หมายเหตุ คำว่า ‘ราชนัดดา’ นั้นในบทกวีโบราณอาจแปลได้เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลอันสูงส่ง และในบริบทของบทกวีนี้มีการแปลไว้ว่าหมายถึงสหายสนิท)

    จะเห็นว่า บทกวีนี้แรกเริ่มสี่วรรคกล่าวถึงความงามของทุ่งหญ้าที่สะท้อนถึงความไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค แต่ในสี่วรรคหลัง ความงามนี้แปรเปลี่ยนเป็นความอ้างว้างเมื่อต้องอำลาจากกัน

    เมื่อมีชื่อนำหน้าว่า ‘ฟู่เต๋อ’ บทกวีนี้ต้องมีความเกี่ยวข้องกับการสอบขุนนางและมีวลีที่อ้างอิงมาจากบทกวีโบราณ...

    บทกวีนี้ไป๋จวีอีประพันธ์ขึ้นเมื่อครั้งเขาเข้าร่วมสอบขุนนางหลวง และบทกวีโบราณที่อ้างอิงนั้นคือบทกวีสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกมีชื่อว่า ‘จาวอิ่นซื่อ’ (招隐士) มีใจความชักจูงให้เหล่าเชื้อสายตระกูลสูงส่ง (คือความหมายของ ‘ราชนัดดา’ ในที่นี้) ที่หลบซ่อนกันอยู่นอกเมืองพากันกลับมารับใช้ราชสำนัก โดยวรรคที่ไป๋จวีอีอ้างอิงนั้นมาจากวรรคที่ว่า ‘ราชนัดดาเดินทางไปไม่กลับ หญ้าวสันต์งอกเงยเขียวขจี’ ที่ใช้ความงามของทุ่งหญ้าบ่งบอกความอ้างว้างหากเหล่าผู้มีการศึกษามีความสามารถต่างพากันทิ้งราชสำนักไป

    ปัจจุบันสี่วรรคแรกของบทกวีนี้ถูกนำมาใช้รวมในการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษา เนื่องจากภาษาไพเราะและมีใจความเป็นแรงบันดาลใจให้ฟันฝ่าอุปสรรค แต่สี่วรรคหลังถูกละไว้ เนื่องจากใจความหดหู่รันทดเกินไปสำหรับเด็ก และวรรคที่ว่า ‘ไฟป่าเผาไม่มอด ลมวสันต์โชยก็งอกงามอีก’ (野火烧不尽 春风吹又生) กลายเป็นอีกหนึ่งวลียอดนิยมจวบจนปัจจุบัน

    ดังนั้น สรุปสั้นๆ ได้ว่า บทกวีที่นางเอกกล่าวว่าสะท้อนถึงอุปนิสัยของพระเอกนั้น คือบ่งบอกถึงความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ล้มแล้วลุกขึ้นสู้ใหม่ เพื่อนเพจคิดว่าตรงไหมคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละคร
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.zdic.net/hans/%E8%B5%8B%E5%BE%97
    https://www.sohu.com/a/708520507_389451
    https://www.kekeshici.com/shicimingju/ticai/jingse/998.html
    https://baike.baidu.com/item/赋得古原草送别/2873148
    https://baike.baidu.com/item/招隐士/1905316

    #พสุธารักเคียงใจ #กวีถัง #ไป๋จวีอี #เล่อโหยวหยวน
    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงฉากหนึ่งใน <พสุธารักเคียงใจ> ที่พระนางนั่งเรือชมดาวกัน ความตอนที่แล้วเราคุยกันเรื่องบทกวีที่นางเอกกล่าวในฉากนี้ ซึ่งหลังจากนั้นพระเอกบอกว่ามีอีกบทกวีที่เขาชอบมากกว่า โดยนางเอกชิงท่องบทกวีดังกล่าวออกมาก่อน เป็นนัยว่าบทกวีบทนี้บ่งบอกความเป็นตัวตนของพระเอก เชื่อว่ามีเพื่อนเพจหลายคนที่คงงงเหมือนกับ Storyฯ ว่าเขาคุยอะไรกัน “หญ้าเขียวชอุ่มบนทุ่ง หนึ่งปีเหี่ยวเฉาสลับขึ้นใหม่ ไฟป่าเผาไม่มอด ลมวสันต์โชยก็งอกงามอีก” - บทแปลจากซับไทย <พสุธารักเคียงใจ> บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘ฟู่เต๋อกู่หยวนเฉ่าซ่งเปี๋ย’ (赋得古原草送别) โดยคำว่า ‘ฟู่เต๋อ’ นั้น เป็นการเรียกนำหน้าบทกวีที่แต่งเติมจากวลีหรือวรรคจากบทประพันธ์โบราณ ต่อมาใช้เป็นกติกาในการสอบขุนนางว่า หากจะเขียนบทกวีที่มียกวรรคมาจากบทประพันธ์โบราณให้ใช้คำนำหน้าชื่อบทกวีนั้นว่า ‘ฟู่เต๋อ’ ส่วนคำว่า ‘กู่หยวนเฉ่า’ นั้นแปลตรงตัวว่าทุ่งหญ้าโบราณ แต่ในบทกวีโบราณมักถูกใช้แทนคำเรียก ‘เล่อโหยวหยวน’ ซึ่งเป็นอุทยานบนเขาในนครฉางอันที่เราคุยกันไปในสัปดาห์ที่แล้ว และคำว่า ‘ซ่งเปี๋ย’ คือการอำลาหรือส่งคนเดินทางจากไป ดังนั้น ชื่อของบทกวีนี้แปลได้ใจความว่า ‘บทอำลาบนเล่อโหยวหยวน’ บทกวีนี้เป็นผลงานของกวีเอกและนักการเมืองชื่อดังในยุคช่วงปลายของราชวงศ์ถังคือ ไป๋จวีอี (ปีค.ศ. 772-846) จริงแล้วมีทั้งหมดแปดวรรค แต่ในซีรีส์กล่าวถึงเพียงสี่วรรค ซึ่งสี่วรรคหลังที่ไม่ได้กล่าวถึงนั้น Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงว่า ปลายทางอันไกลโพ้น ทุ่งเขียวจรดเมืองอ้างว้าง ส่งลาราชนัดดาอีกครา ทุ่งขจีแฝงความอาดูร (หมายเหตุ คำว่า ‘ราชนัดดา’ นั้นในบทกวีโบราณอาจแปลได้เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลอันสูงส่ง และในบริบทของบทกวีนี้มีการแปลไว้ว่าหมายถึงสหายสนิท) จะเห็นว่า บทกวีนี้แรกเริ่มสี่วรรคกล่าวถึงความงามของทุ่งหญ้าที่สะท้อนถึงความไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค แต่ในสี่วรรคหลัง ความงามนี้แปรเปลี่ยนเป็นความอ้างว้างเมื่อต้องอำลาจากกัน เมื่อมีชื่อนำหน้าว่า ‘ฟู่เต๋อ’ บทกวีนี้ต้องมีความเกี่ยวข้องกับการสอบขุนนางและมีวลีที่อ้างอิงมาจากบทกวีโบราณ... บทกวีนี้ไป๋จวีอีประพันธ์ขึ้นเมื่อครั้งเขาเข้าร่วมสอบขุนนางหลวง และบทกวีโบราณที่อ้างอิงนั้นคือบทกวีสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกมีชื่อว่า ‘จาวอิ่นซื่อ’ (招隐士) มีใจความชักจูงให้เหล่าเชื้อสายตระกูลสูงส่ง (คือความหมายของ ‘ราชนัดดา’ ในที่นี้) ที่หลบซ่อนกันอยู่นอกเมืองพากันกลับมารับใช้ราชสำนัก โดยวรรคที่ไป๋จวีอีอ้างอิงนั้นมาจากวรรคที่ว่า ‘ราชนัดดาเดินทางไปไม่กลับ หญ้าวสันต์งอกเงยเขียวขจี’ ที่ใช้ความงามของทุ่งหญ้าบ่งบอกความอ้างว้างหากเหล่าผู้มีการศึกษามีความสามารถต่างพากันทิ้งราชสำนักไป ปัจจุบันสี่วรรคแรกของบทกวีนี้ถูกนำมาใช้รวมในการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษา เนื่องจากภาษาไพเราะและมีใจความเป็นแรงบันดาลใจให้ฟันฝ่าอุปสรรค แต่สี่วรรคหลังถูกละไว้ เนื่องจากใจความหดหู่รันทดเกินไปสำหรับเด็ก และวรรคที่ว่า ‘ไฟป่าเผาไม่มอด ลมวสันต์โชยก็งอกงามอีก’ (野火烧不尽 春风吹又生) กลายเป็นอีกหนึ่งวลียอดนิยมจวบจนปัจจุบัน ดังนั้น สรุปสั้นๆ ได้ว่า บทกวีที่นางเอกกล่าวว่าสะท้อนถึงอุปนิสัยของพระเอกนั้น คือบ่งบอกถึงความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ล้มแล้วลุกขึ้นสู้ใหม่ เพื่อนเพจคิดว่าตรงไหมคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละคร Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.zdic.net/hans/%E8%B5%8B%E5%BE%97 https://www.sohu.com/a/708520507_389451 https://www.kekeshici.com/shicimingju/ticai/jingse/998.html https://baike.baidu.com/item/赋得古原草送别/2873148 https://baike.baidu.com/item/招隐士/1905316 #พสุธารักเคียงใจ #กวีถัง #ไป๋จวีอี #เล่อโหยวหยวน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1025 มุมมอง 0 รีวิว
  • #โลกของภูมิภาคตะวันตกในสายตาของพระภิกษุถังซัมจั๋ง ตอน 01.

    #ออกจากประตูหยก

    การเดินทางของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไปทางทิศตะวันตกเพื่อแสวงหาธรรมะนั้นเป็นการกระทำส่วนตัวโดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางการ แต่ด้วยเหตุนี้ มุมมองของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ที่มีต่อภูมิภาคตะวันตกจึงมีความเป็นพลเรือนมากกว่า เป็นกลางมากกว่า และเป็นจริงมากกว่า

    ต่อไปนี้เชิญท่านมาเผชิญหน้ากับท่ามกลางท้องฟ้าอันเต็มไปด้วยลมและทราย เดินย่ำเหยียบฝ่าหมอกควันทะเลทราย เริ่มต้นเข้าร่วมกับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ในการเดินทางอันน่ามหัศจรรย์ของเขาเพื่อร่างขอบเขตดินแดนของภูมิภาคตะวันตก

    ออกจากประตูหยก(玉门)ไปทางทิศตะวันตก

    ในปีคริสตศักราช 629 ภัยพิบัติน้ำแข็งเกิดขึ้นในพื้นที่กวนจง(关中) ราชวงศ์ถัง(唐)ออกคำสั่งให้พระภิกษุและฆราวาสในพื้นที่ คยองกี(Gyeonggi京畿) ย้ายไปยังสถานที่อื่นเพื่อหาอาหารและหลีกเลี่ยงหลบหนีจากความอดอยาก พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ซึ่งแต่เดิมต้องการออกจากด่านทางผ่าน แต่ไม่ได้รับอนุญาตจากราชสำนักจึงใช้โอกาสนี้ออกจากฉางอาน(长安) เขาเดินทางผ่านหลานโจว(兰州)และเหลียงโจว(凉州) เขาหลีกเลี่ยงการติดตามจัยกุมของทางการโดยการเดินทางเวลากลางคืนและพักเวลากลางวัน ต่อมา พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) เสี่ยงภัยเดินทางผ่าน กวัวโจว(瓜州) และ อวี้เหมินกวน(Yumen Pass玉门关) ผ่านหอคอยสัญญาณไฟ 5 แห่งที่มีกองทหารคุ้มกันตามลำดับรายทาง ด้วยความช่วยเหลือจากทหารรักษาชายแดนผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ข้ามทะเลทรายโกบีด้วยพลังแห่งความศรัทธาและความอุตสาหะอย่างแรงกล้าก่อนจะไปถึงอีหวู(伊吾) และเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)ทางตะวันออกของภูมิภาคตะวันตก

    สถานีแรกของการเดินทาง อีหวู(伊吾) ได้มีการส่งมอบการมาถึงอย่างกะทันหันของพระภิกษุให้กับเกาชาง(Gaochang高昌) (ปัจจุบันคือเมืองถูหลู่ฟาน(Turfan 吐鲁番) เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์(Xinjiang Uygur Autonomous Region 新疆维吾尔自治区)) เจ้าเหนือหัวองค์น้อยทางตะวันออกของภูมิภาคตะวันตกในขณะนั้น ซึ่งตั้งอยู่ริมแอ่งถูหลู่ฟาน(Turfan Depression吐鲁番盆地)

    หลังจากได้ยินข่าวว่า พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)มาถึงแล้ว กษัตริย์เกาชาง(Gaochang高昌) เสนาบดี และสาวใช้ออกมาจากพระราชวังในเวลากลางคืน ทรงจุดเทียน และเข้าแถวเพื่อต้อนรับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)เข้าสู่พระราชวังด้วยความเคารพ หลังจากเห็น พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) แล้ว ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ก็ดีใจมากและบอกกับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ว่า: นับตั้งแต่ฉันรู้ชื่ออาจารย์ ฉันมีความสุขมากจนลืมกินลืมนอน ฉันรู้ว่าพระภิกษุผู้แสวงธรรมจากตะวันออกจะมาคืนนี้ ฉันก็เลยพร้อมกับพระราชินีและเจ้าชายทรงพากันสวดมนต์ตลอดทั้งคืนรอการมาถึงของพระอาจารย์

    พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ถูกจัดให้อยู่ที่สนามหลวงทางพิธีกรรมของศาสนาถัดจากพระราชวังกษัตริย์เกาชาง(Gaochang高昌) และจัดขันทีให้ดูแลอาหารและชีวิตประจำวันของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)

    รัฐเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)เป็นนครรัฐที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคตะวันตก และถูกปกครองโดยผู้รอดชีวิตจากราชวงศ์ฮั่น(汉)และเว่ย(魏) ซึ่งเป็นโครงสร้างทางการเมืองที่รวมหู(胡)และฮั่น(汉)เข้าด้วยกัน ในบรรดาพลเมืองนั้น ไม่เพียงแต่สืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพชาวฮั่น(汉)เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้คนจากภูมิภาคตะวันตกด้วย เช่น ชาวซ็อกเดียน(Sogdians粟特) ชาวซานซาน(Shanshan鄯善人)และชาวเติร์ก(Turks突厥人) ก่อนที่ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)จะมาถึง ประเทศนี้ก็ก่อตั้งขึ้นที่นั่นมานานกว่า 100 ปีแล้ว เขารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่พบว่าข้อมูลจำเพาะของเมืองที่นี่มีความคล้ายคลึงกับเมืองฉางอัน(长安)ในราชวงศ์ซุย(隋)และราชวงศ์ถัง(唐)มาก นอกจากนี้ยังมีรูปของ ดยุคไอแห่งหลู่(鲁哀公)สอดถามขงจื๊อ(孔子)เกี่ยวกับปัญหาการเมืองที่แขวนอยู่ในพระราชวังของอาณาจักร เกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)

    การต้อนรับด้วยมารยาทอันสูงส่ง

    ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)และบิดาของเขาเดินทางไปยังราชวงศ์สุย(隋)ในยุครุ่งเรืองเพื่อเข้าเฝ้าจักรพรรดิสุยหยางตี้(隋炀帝) เขาไม่เพียงแต่เดินทางไปยังฉางอาน(长安) ล่อหยาง(洛阳) เฝินหยาง(汾阳) เอี้ยนตี้(燕地) ไต้ตี้(代地) และเมืองสำคัญอื่นๆ และได้เห็นวัฒนธรรมฮั่น(汉)ของที่ราบตอนกลางดั้งเดิม แต่เขายังไปเยี่ยมคารวะพระภิกษุผู้มีชื่อเสียงและผู้มีคุณธรรมอีกมากมาย และเขาก็ชื่นชมที่ราบภาคกลางที่เป็นบ้านเกิดทางวัฒนธรรมของเขาเป็นอย่างมาก แต่ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)รู้สึกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับพระภิกษุผู้มีชื่อเสียงในอดีตของราชวงศ์ซุย ความฉลาดสามารถของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)นั้นเหนือกว่ามาก

    เมื่อใดก็ตามที่พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)บรรยายธรรมแก่ขุนนางของเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)ในเต็นท์ใหญ่ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ก็ถือกระถางธูปเพื่อเคลียร์นำทางให้พระภิกษุผู้มีชื่อเสียงด้วยตนเอง เมื่อพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไปที่แท่นธรรมาสน์เพื่อขึ้นเทศนาธรรม กษัตริย์แห่งเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)ถึงกับคุกเข่าโน้มตัวลง และทำหน้าที่เป็นบันไดให้ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ก้าวขึ้นแท่นธรรมาสน์ การปฏิบัตินี้ไม่สอดคล้องกับประเพณีตะวันออก แต่ก็มีบันทึกไว้ในหนังสือดั้งเดิมของอินเดียบางเรื่อง สิ่งนี้พิสูจน์ได้จากสิ่งแวดล้อมข้วงเคียงว่า เกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)คือจุดทางสี่แยกของอารยธรรมตะวันออกและตะวันตก นอกจากนี้ยังอธิบายถึงการบูชาสักการะอย่างสูงสุดต่อ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ของ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)

    พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ยังคัดเลือกพระภิกษุในท้องถิ่นหลายแห่งใน เกาชาง(Gaochang高昌)ให้เป็นนักเรียนและคนรับใช้ นิสัยปกิบัติในการรับลูกศิษย์ไปตลอดทางนี้ กลายเป็นต้นแบบทางประวัติศาสตร์สำหรับทีมอาจารย์และลูกศิษย์ของภิกษุราชวงศ์ถัง(唐)ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องใน "บันทึกการเดินทางสู่ตะวันตก(Journey to the West西游记)" แม้ว่ากษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)แห่งเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)จะชื่นชมพรสวรรค์และการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) เขาถึงกับมีความคิดหน่วงรั้งพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไว้ที่เกาชาง(Gaochang高昌)ด้วยซ้ำ และขอให้ประทับอยู่ที่นี่ตลอดไป แสดงธรรมสั่งสอนให้ความรู้ความกระจ่างแก่คนทั่วไป จนกระทั่งเป็นพระอาจารย์ระดับชาติของ เกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国) พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไม่เห็นด้วยเพราะมีตวามเห็นว่าเรื่องธรรมะเป็นเรื่องใหญ่กว่า กษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)เห็นว่าพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) มีความมุ่งมั่นดังนั้นเขาจึงจำต้องโยนไพ่ตายทางเลือกสุดท้ายของเขาออกไป: ถ้าพระคุณท่านไม่ปรารถนาอยู่ในเกาชาง(Gaochang高昌) ข้าพระเจ้าจะไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากส่งท่านอาจารย์กลับไปทางทิศตะวันออก

    เมื่อต้องเผชิญกับกลยุทธ์ไม้แข็งและไม้อ่อนร่วมกันของ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰) พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) กล่าวด้วยท่าทีที่ไม่ถ่อมตัวหรือหยิ่งผยองว่า: พระองค์สามารถจะเพียงได้รับกระดูกของอาตมาเอาไว้ได้ แต่พระองค์ไม่สามารถหยุดยั้งความตั้งใจของอาตมาที่จะไปทางตะวันตกได้

    หนทางเบื้องหน้าอันยาวไกล

    ด้วยเหตุนี้ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) จึงอดอาหารเป็นเวลาสามวันเพื่อแสดงความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะเดินทางไปดินแดนทางทิศตะวันตก ในฐานะเป็นอาณาจักรในภูมิภาคตะวันตกที่นับถือศาสนาพุทธ หากมีพระภิกษุที่แสวงหาธรรมะมาอดอยากจนตายภายในดินแดนของตน ชื่อเสียงสู่ภายนอกของเกาชาง(Gaochang高昌)ในภูมิภาคตะวันตกจะเสียหายอย่างมาก และเขาจะพลอยได้รับชื่อเสียงเสื่อมเสียงจากการทำร้ายพระภิกษุที่มีชื่อเสียงด้วย ยิ่งไปกว่านั้นความจริงแล้ว การขัดขวางการเดินทางไปดินแดนทางทิศตะวันตกของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ด้วยเพื่อความปรารถนาอันเห็นแก่ตัวของเขาเองก็เป็นการขัดแย้งกับความตั้งใจเดิมของเขา

    เมื่อเขาคิดมาถึง ณ จุดนี้ กษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ก็ก้มหัวให้ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) เพื่อขอโทษ ความคิดที่เห็นแก่ตัวของเขาที่มีต่อเกาชาง(Gaochang高昌) ก็ถูกขจัดออกไปในที่สุดด้วยความมุ่งมั่นมีเมตตาที่จะช่วยสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในเวลาเดียวกันกับขณะที่รู้สึกประทับใจกับความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ที่จะแสวงหาธรรมะโดยปราศจากสิ่งภายนอกมาบั่นทอนความตั้งใจ กษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)และพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ได้สาบานต่อฟ้าดินสัญญาเป็นพี่น้องกัน ภายใต้การอุปถัมภ์จากแม่ของแผ่นดินเจ้าจอมมารดา จาง(张太妃) เพื่อให้พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)เดินทางไปถึงอินเดียได้อย่างราบรื่น กษัตริย์เกาชาง(Gaochang高昌) ทรงสั่งการให้จัดทีมงานเล็กๆ ประกอบด้วยม้า 30 ตัว พนักงานข้าราชการเกาชาง(Gaochang高昌)1 คน ผู้ติดตามกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ 25 คน และพระภิกษุหนุ่ม 4 รูป เพื่อดูแลเรื่องอาหาร เสื้อผ้า และชีวิตประจำวันของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมหน้ากากและหมวกพิเศษสำหรับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)สำหรับการเดินทางผ่านภูเขาและทะเลทรายที่เต็มไปด้วยหิมะ รวมถึงเสื้อคลุมสำหรับพระสงฆ์ซึ่งสามารถปรับให้เข้ากับเขตภูมิอากาศต่างๆ จัดทหารม้าขนนำทองคำ เงิน และผ้าไหมจำนวนมากไว้สำหรับการครั้งนี้ ทำให้มั่นใจได้ว่าพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไม่เพียงแต่จะไม่ต้องทนทุกข์จากความหิวโหยระหว่างทางไปอินเดียเท่านั้น แต่ยังมีเงินเพียงพอที่จะทำทานอีกด้วย ในสิ่งแต่งเคิมเหล่านี้เป็นรายละเอียดด้านที่อ่อนโยนของประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ที่มีต่ออัครสาวก

    นอกจากทรัพย์สินแล้ว เนื่องจากเจ้าผู้ครองแคว้นตะวันตกในขณะนั้น คือ ข่านเตอร์กตะวันตก(西突厥)ได้สมรสกับราชวงศ์เกาชาง(Gaochang高昌) ยังมีจดหมายแสดงความเคารพที่กษัตริย์แห่งเกาชาง(Gaochang高昌)มอบให้กับข่านแห่งเติร์กตะวันตก(西突厥) อธิบายถึงความตั้งใจของ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ที่จะไปทางดินแดนแคว้นตะวันตกเพื่อแสวงหาธรรมะ ภายใต้การคุ้มครองของเตอร์กข่านตะวันตก (西突厥) ทุกประเทศในภูมิภาคตะวันตกตลอดเส้นทางให้ความเคารพแก่พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) และให้การสนับสนุนทางทหารที่เข้มแข็งและมีควาทปลอดภัยที่สุดสำหรับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)และคณะเดินทางของเขา และจดหมายแสดงความเคารพของกษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ถึงพระมหากษัตริย์ของยี่สิบสี่ประเทศในภูมิภาคตะวันตกจะช่วยให้การเดินทางของ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ง่ายและสะดวกขึ้นอย่างมาก

    ในช่วงเวลาอันศักดิ์สิทธิ์ของการอำลาอาณาจักรเกาชาง(Gaochang高昌) บรรดาราชวงศ์และชาวเกาชาง(Gaochang高昌)ก็ออกจากเมืองเพื่อส่งอำลา พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)สัญญาว่า เมื่อเดินทางผ่านเกาชาง(Gaochang高昌)หลังจากกลับจากการศึกษาในอินเดียจะแสดงเทศนาธรรมอีก จากนั้นเขาก็กล่าวคำอำลากษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ด้วยน้ำตา พวกบรรดาราชวงศ์ เกาชาง(Gaochang高昌)เจ้าหน้าที่และประชาชนชาวพุทธต่างพากันออกจากเมืองส่งเสียงอำลาดังลั่นสั่นสะเทือนไปทั่วทั้งถิ่น ราวกับว่ามือแห่งโชคชะตาได้ฉีกหัวใจและจิตวิญญาณออกจากร่างกายของชาวเกาชาง(Gaochang高昌) ทำให้พวกเขาสูญเสียสมบัติของชาติไปตลอดกาล

    บรรดาพวกราชวงศ์เกาชาง(Gaochang高昌) ส่งพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ออกไปนอกเมืองหลายสิบลี้ แม้ว่าพระภิกษุสมณเพศจะมองเห็นบรรลุแล้วการจากแยกอำลาในทางโลกแล้วก็ตาม แต่พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ผู้ที่มีจิตใจละเอียดอ่อนและยังคงเห็นคุณค่าของความสัมพันธ์ของมนุษย์ก็ยังมีอารมณ์อ่อนไหวมาก เขาขอบคุณต่ออาณาจักรเกาชาง(Gaochang高昌)อย่างสุดซึ้งอีกครั้งสำหรับการสนับสนุนอย่างมีน้ำใจ ราชาแห่งเกาชาง(Gaochang高昌)ยังจับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไว้แน่นด้วยมือทั้งสองข้าง ร่ำไห้ราวกับสายฝนกล่าวว่า ในเมื่อพระคุณท่านถือเป็นพี่น้องกัน สัตว์พาหนะต่าง ๆ ในประเทศก็มีเจ้าของคนเดียวกัน แล้วเหตุใดจึงต้องขอบคุณพวกเขาด้วย?

    พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ตอบว่า: ฉันจะไม่มีวันลืมความเมตตาของเสด็จพี่ตลอดชีวิตของอาตมา ในวันที่อาตมากลับจากนำพระคัมภีร์ทางพุทธศาสนากลับมา อาตมาจะอยู่สอนธรรมะในเกาชาง(Gaochang高昌)เป็นเวลาสามปีเป็นการตอบแทน!

    หลายปีต่อมาในฉางอาน(长安) พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)เล่าถึงเหตุการณ์อันน่าประทับใจนี้ในช่วงเวลาที่ยากลำบากให้เหล่าสาวกฟัง มิตรภาพฉันท์พี่น้องที่มีต่อราชาแห่งเกาชาง(Gaochang高昌)ยังคงเกินคำบรรยาย ดูเหมือนราวกับว่าพิธีอำลาที่หรูหราและยิ่งใหญ่นั้นได่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้เอง ตอนนั้นเขาไม่รู้ นี่ยังจะเป็นครั้งสุดท้ายที่เขาจะได้พบกับพี่ชายร่วมสาบานของเขา

    โปรดติดตามบทความ#โลกของภูมิภาคตะวันตกในสายตาของพระภิกษุถังซัมจั๋ง ตอน 02.
    #อาณาจักรคาราซาห์และคูชาที่น่าสนใจต่อไป.ในโอกาสหน้า

    กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ
    🤠#โลกของภูมิภาคตะวันตกในสายตาของพระภิกษุถังซัมจั๋ง ตอน 01.🤠 😎#ออกจากประตูหยก😎 🥸การเดินทางของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไปทางทิศตะวันตกเพื่อแสวงหาธรรมะนั้นเป็นการกระทำส่วนตัวโดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางการ แต่ด้วยเหตุนี้ มุมมองของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ที่มีต่อภูมิภาคตะวันตกจึงมีความเป็นพลเรือนมากกว่า เป็นกลางมากกว่า และเป็นจริงมากกว่า🥸 🥸ต่อไปนี้เชิญท่านมาเผชิญหน้ากับท่ามกลางท้องฟ้าอันเต็มไปด้วยลมและทราย เดินย่ำเหยียบฝ่าหมอกควันทะเลทราย เริ่มต้นเข้าร่วมกับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ในการเดินทางอันน่ามหัศจรรย์ของเขาเพื่อร่างขอบเขตดินแดนของภูมิภาคตะวันตก🥸 😎ออกจากประตูหยก(玉门)ไปทางทิศตะวันตก 😎 🥸ในปีคริสตศักราช 629 ภัยพิบัติน้ำแข็งเกิดขึ้นในพื้นที่กวนจง(关中) ราชวงศ์ถัง(唐)ออกคำสั่งให้พระภิกษุและฆราวาสในพื้นที่ คยองกี(Gyeonggi京畿) ย้ายไปยังสถานที่อื่นเพื่อหาอาหารและหลีกเลี่ยงหลบหนีจากความอดอยาก พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ซึ่งแต่เดิมต้องการออกจากด่านทางผ่าน แต่ไม่ได้รับอนุญาตจากราชสำนักจึงใช้โอกาสนี้ออกจากฉางอาน(长安)🥸 เขาเดินทางผ่านหลานโจว(兰州)และเหลียงโจว(凉州) เขาหลีกเลี่ยงการติดตามจัยกุมของทางการโดยการเดินทางเวลากลางคืนและพักเวลากลางวัน ต่อมา พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) เสี่ยงภัยเดินทางผ่าน กวัวโจว(瓜州) และ อวี้เหมินกวน(Yumen Pass玉门关) ผ่านหอคอยสัญญาณไฟ 5 แห่งที่มีกองทหารคุ้มกันตามลำดับรายทาง ด้วยความช่วยเหลือจากทหารรักษาชายแดนผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ข้ามทะเลทรายโกบีด้วยพลังแห่งความศรัทธาและความอุตสาหะอย่างแรงกล้าก่อนจะไปถึงอีหวู(伊吾) และเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)ทางตะวันออกของภูมิภาคตะวันตก 🥸สถานีแรกของการเดินทาง อีหวู(伊吾) ได้มีการส่งมอบการมาถึงอย่างกะทันหันของพระภิกษุให้กับเกาชาง(Gaochang高昌) (ปัจจุบันคือเมืองถูหลู่ฟาน(Turfan 吐鲁番) เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์(Xinjiang Uygur Autonomous Region 新疆维吾尔自治区)) เจ้าเหนือหัวองค์น้อยทางตะวันออกของภูมิภาคตะวันตกในขณะนั้น ซึ่งตั้งอยู่ริมแอ่งถูหลู่ฟาน(Turfan Depression吐鲁番盆地)🥸 🥸หลังจากได้ยินข่าวว่า พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)มาถึงแล้ว กษัตริย์เกาชาง(Gaochang高昌) เสนาบดี และสาวใช้ออกมาจากพระราชวังในเวลากลางคืน ทรงจุดเทียน และเข้าแถวเพื่อต้อนรับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)เข้าสู่พระราชวังด้วยความเคารพ🥸 หลังจากเห็น พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) แล้ว ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ก็ดีใจมากและบอกกับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ว่า: นับตั้งแต่ฉันรู้ชื่ออาจารย์ ฉันมีความสุขมากจนลืมกินลืมนอน ฉันรู้ว่าพระภิกษุผู้แสวงธรรมจากตะวันออกจะมาคืนนี้ ฉันก็เลยพร้อมกับพระราชินีและเจ้าชายทรงพากันสวดมนต์ตลอดทั้งคืนรอการมาถึงของพระอาจารย์ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ถูกจัดให้อยู่ที่สนามหลวงทางพิธีกรรมของศาสนาถัดจากพระราชวังกษัตริย์เกาชาง(Gaochang高昌) และจัดขันทีให้ดูแลอาหารและชีวิตประจำวันของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) รัฐเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)เป็นนครรัฐที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคตะวันตก และถูกปกครองโดยผู้รอดชีวิตจากราชวงศ์ฮั่น(汉)และเว่ย(魏) ซึ่งเป็นโครงสร้างทางการเมืองที่รวมหู(胡)และฮั่น(汉)เข้าด้วยกัน ในบรรดาพลเมืองนั้น ไม่เพียงแต่สืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพชาวฮั่น(汉)เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้คนจากภูมิภาคตะวันตกด้วย เช่น ชาวซ็อกเดียน(Sogdians粟特) ชาวซานซาน(Shanshan鄯善人)และชาวเติร์ก(Turks突厥人) 🥸ก่อนที่ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)จะมาถึง ประเทศนี้ก็ก่อตั้งขึ้นที่นั่นมานานกว่า 100 ปีแล้ว เขารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่พบว่าข้อมูลจำเพาะของเมืองที่นี่มีความคล้ายคลึงกับเมืองฉางอัน(长安)ในราชวงศ์ซุย(隋)และราชวงศ์ถัง(唐)มาก นอกจากนี้ยังมีรูปของ ดยุคไอแห่งหลู่(鲁哀公)สอดถามขงจื๊อ(孔子)เกี่ยวกับปัญหาการเมืองที่แขวนอยู่ในพระราชวังของอาณาจักร เกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)🥸 😎การต้อนรับด้วยมารยาทอันสูงส่ง😎 🥸ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)และบิดาของเขาเดินทางไปยังราชวงศ์สุย(隋)ในยุครุ่งเรืองเพื่อเข้าเฝ้าจักรพรรดิสุยหยางตี้(隋炀帝)🥸 เขาไม่เพียงแต่เดินทางไปยังฉางอาน(长安) ล่อหยาง(洛阳) เฝินหยาง(汾阳) เอี้ยนตี้(燕地) ไต้ตี้(代地) และเมืองสำคัญอื่นๆ และได้เห็นวัฒนธรรมฮั่น(汉)ของที่ราบตอนกลางดั้งเดิม แต่เขายังไปเยี่ยมคารวะพระภิกษุผู้มีชื่อเสียงและผู้มีคุณธรรมอีกมากมาย และเขาก็ชื่นชมที่ราบภาคกลางที่เป็นบ้านเกิดทางวัฒนธรรมของเขาเป็นอย่างมาก แต่ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)รู้สึกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับพระภิกษุผู้มีชื่อเสียงในอดีตของราชวงศ์ซุย ความฉลาดสามารถของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)นั้นเหนือกว่ามาก เมื่อใดก็ตามที่พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)บรรยายธรรมแก่ขุนนางของเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)ในเต็นท์ใหญ่ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ก็ถือกระถางธูปเพื่อเคลียร์นำทางให้พระภิกษุผู้มีชื่อเสียงด้วยตนเอง เมื่อพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไปที่แท่นธรรมาสน์เพื่อขึ้นเทศนาธรรม กษัตริย์แห่งเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)ถึงกับคุกเข่าโน้มตัวลง และทำหน้าที่เป็นบันไดให้ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ก้าวขึ้นแท่นธรรมาสน์ การปฏิบัตินี้ไม่สอดคล้องกับประเพณีตะวันออก แต่ก็มีบันทึกไว้ในหนังสือดั้งเดิมของอินเดียบางเรื่อง สิ่งนี้พิสูจน์ได้จากสิ่งแวดล้อมข้วงเคียงว่า เกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)คือจุดทางสี่แยกของอารยธรรมตะวันออกและตะวันตก นอกจากนี้ยังอธิบายถึงการบูชาสักการะอย่างสูงสุดต่อ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ของ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰) พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ยังคัดเลือกพระภิกษุในท้องถิ่นหลายแห่งใน เกาชาง(Gaochang高昌)ให้เป็นนักเรียนและคนรับใช้ นิสัยปกิบัติในการรับลูกศิษย์ไปตลอดทางนี้ กลายเป็นต้นแบบทางประวัติศาสตร์สำหรับทีมอาจารย์และลูกศิษย์ของภิกษุราชวงศ์ถัง(唐)ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องใน "บันทึกการเดินทางสู่ตะวันตก(Journey to the West西游记)" แม้ว่ากษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)แห่งเกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国)จะชื่นชมพรสวรรค์และการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) เขาถึงกับมีความคิดหน่วงรั้งพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไว้ที่เกาชาง(Gaochang高昌)ด้วยซ้ำ และขอให้ประทับอยู่ที่นี่ตลอดไป แสดงธรรมสั่งสอนให้ความรู้ความกระจ่างแก่คนทั่วไป จนกระทั่งเป็นพระอาจารย์ระดับชาติของ เกาชางเกว๋าะ(Gaochang高昌国) พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไม่เห็นด้วยเพราะมีตวามเห็นว่าเรื่องธรรมะเป็นเรื่องใหญ่กว่า กษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)เห็นว่าพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) มีความมุ่งมั่นดังนั้นเขาจึงจำต้องโยนไพ่ตายทางเลือกสุดท้ายของเขาออกไป: 🥸ถ้าพระคุณท่านไม่ปรารถนาอยู่ในเกาชาง(Gaochang高昌) ข้าพระเจ้าจะไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากส่งท่านอาจารย์กลับไปทางทิศตะวันออก🥸 เมื่อต้องเผชิญกับกลยุทธ์ไม้แข็งและไม้อ่อนร่วมกันของ ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰) พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) กล่าวด้วยท่าทีที่ไม่ถ่อมตัวหรือหยิ่งผยองว่า: 🥸พระองค์สามารถจะเพียงได้รับกระดูกของอาตมาเอาไว้ได้ แต่พระองค์ไม่สามารถหยุดยั้งความตั้งใจของอาตมาที่จะไปทางตะวันตกได้🥸 😎หนทางเบื้องหน้าอันยาวไกล😎 🥸ด้วยเหตุนี้ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) จึงอดอาหารเป็นเวลาสามวันเพื่อแสดงความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะเดินทางไปดินแดนทางทิศตะวันตก🥸 ในฐานะเป็นอาณาจักรในภูมิภาคตะวันตกที่นับถือศาสนาพุทธ หากมีพระภิกษุที่แสวงหาธรรมะมาอดอยากจนตายภายในดินแดนของตน ชื่อเสียงสู่ภายนอกของเกาชาง(Gaochang高昌)ในภูมิภาคตะวันตกจะเสียหายอย่างมาก และเขาจะพลอยได้รับชื่อเสียงเสื่อมเสียงจากการทำร้ายพระภิกษุที่มีชื่อเสียงด้วย ยิ่งไปกว่านั้นความจริงแล้ว การขัดขวางการเดินทางไปดินแดนทางทิศตะวันตกของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ด้วยเพื่อความปรารถนาอันเห็นแก่ตัวของเขาเองก็เป็นการขัดแย้งกับความตั้งใจเดิมของเขา 🥸เมื่อเขาคิดมาถึง ณ จุดนี้ กษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ก็ก้มหัวให้ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) เพื่อขอโทษ🥸 ความคิดที่เห็นแก่ตัวของเขาที่มีต่อเกาชาง(Gaochang高昌) ก็ถูกขจัดออกไปในที่สุดด้วยความมุ่งมั่นมีเมตตาที่จะช่วยสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในเวลาเดียวกันกับขณะที่รู้สึกประทับใจกับความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ที่จะแสวงหาธรรมะโดยปราศจากสิ่งภายนอกมาบั่นทอนความตั้งใจ กษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)และพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ได้สาบานต่อฟ้าดินสัญญาเป็นพี่น้องกัน ภายใต้การอุปถัมภ์จากแม่ของแผ่นดินเจ้าจอมมารดา จาง(张太妃) เพื่อให้พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)เดินทางไปถึงอินเดียได้อย่างราบรื่น กษัตริย์เกาชาง(Gaochang高昌) ทรงสั่งการให้จัดทีมงานเล็กๆ ประกอบด้วยม้า 30 ตัว พนักงานข้าราชการเกาชาง(Gaochang高昌)1 คน ผู้ติดตามกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ 25 คน และพระภิกษุหนุ่ม 4 รูป เพื่อดูแลเรื่องอาหาร เสื้อผ้า และชีวิตประจำวันของพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมหน้ากากและหมวกพิเศษสำหรับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)สำหรับการเดินทางผ่านภูเขาและทะเลทรายที่เต็มไปด้วยหิมะ รวมถึงเสื้อคลุมสำหรับพระสงฆ์ซึ่งสามารถปรับให้เข้ากับเขตภูมิอากาศต่างๆ จัดทหารม้าขนนำทองคำ เงิน และผ้าไหมจำนวนมากไว้สำหรับการครั้งนี้ ทำให้มั่นใจได้ว่าพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไม่เพียงแต่จะไม่ต้องทนทุกข์จากความหิวโหยระหว่างทางไปอินเดียเท่านั้น แต่ยังมีเงินเพียงพอที่จะทำทานอีกด้วย ในสิ่งแต่งเคิมเหล่านี้เป็นรายละเอียดด้านที่อ่อนโยนของประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ที่มีต่ออัครสาวก 🥸นอกจากทรัพย์สินแล้ว เนื่องจากเจ้าผู้ครองแคว้นตะวันตกในขณะนั้น คือ ข่านเตอร์กตะวันตก(西突厥)ได้สมรสกับราชวงศ์เกาชาง(Gaochang高昌) ยังมีจดหมายแสดงความเคารพที่กษัตริย์แห่งเกาชาง(Gaochang高昌)มอบให้กับข่านแห่งเติร์กตะวันตก(西突厥) อธิบายถึงความตั้งใจของ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ที่จะไปทางดินแดนแคว้นตะวันตกเพื่อแสวงหาธรรมะ🥸 ภายใต้การคุ้มครองของเตอร์กข่านตะวันตก (西突厥) ทุกประเทศในภูมิภาคตะวันตกตลอดเส้นทางให้ความเคารพแก่พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) และให้การสนับสนุนทางทหารที่เข้มแข็งและมีควาทปลอดภัยที่สุดสำหรับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)และคณะเดินทางของเขา และจดหมายแสดงความเคารพของกษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ถึงพระมหากษัตริย์ของยี่สิบสี่ประเทศในภูมิภาคตะวันตกจะช่วยให้การเดินทางของ พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ง่ายและสะดวกขึ้นอย่างมาก 🥸ในช่วงเวลาอันศักดิ์สิทธิ์ของการอำลาอาณาจักรเกาชาง(Gaochang高昌) บรรดาราชวงศ์และชาวเกาชาง(Gaochang高昌)ก็ออกจากเมืองเพื่อส่งอำลา🥸 พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)สัญญาว่า เมื่อเดินทางผ่านเกาชาง(Gaochang高昌)หลังจากกลับจากการศึกษาในอินเดียจะแสดงเทศนาธรรมอีก จากนั้นเขาก็กล่าวคำอำลากษัตริย์ชวีเหวินไท่(Qu Wentai麹文泰)ด้วยน้ำตา พวกบรรดาราชวงศ์ เกาชาง(Gaochang高昌)เจ้าหน้าที่และประชาชนชาวพุทธต่างพากันออกจากเมืองส่งเสียงอำลาดังลั่นสั่นสะเทือนไปทั่วทั้งถิ่น ราวกับว่ามือแห่งโชคชะตาได้ฉีกหัวใจและจิตวิญญาณออกจากร่างกายของชาวเกาชาง(Gaochang高昌) ทำให้พวกเขาสูญเสียสมบัติของชาติไปตลอดกาล บรรดาพวกราชวงศ์เกาชาง(Gaochang高昌) ส่งพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ออกไปนอกเมืองหลายสิบลี้ แม้ว่าพระภิกษุสมณเพศจะมองเห็นบรรลุแล้วการจากแยกอำลาในทางโลกแล้วก็ตาม แต่พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ผู้ที่มีจิตใจละเอียดอ่อนและยังคงเห็นคุณค่าของความสัมพันธ์ของมนุษย์ก็ยังมีอารมณ์อ่อนไหวมาก เขาขอบคุณต่ออาณาจักรเกาชาง(Gaochang高昌)อย่างสุดซึ้งอีกครั้งสำหรับการสนับสนุนอย่างมีน้ำใจ ราชาแห่งเกาชาง(Gaochang高昌)ยังจับพระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)ไว้แน่นด้วยมือทั้งสองข้าง ร่ำไห้ราวกับสายฝนกล่าวว่า 🥸ในเมื่อพระคุณท่านถือเป็นพี่น้องกัน สัตว์พาหนะต่าง ๆ ในประเทศก็มีเจ้าของคนเดียวกัน แล้วเหตุใดจึงต้องขอบคุณพวกเขาด้วย?🥸 พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘) ตอบว่า: 🥸ฉันจะไม่มีวันลืมความเมตตาของเสด็จพี่ตลอดชีวิตของอาตมา ในวันที่อาตมากลับจากนำพระคัมภีร์ทางพุทธศาสนากลับมา อาตมาจะอยู่สอนธรรมะในเกาชาง(Gaochang高昌)เป็นเวลาสามปีเป็นการตอบแทน!🥸 หลายปีต่อมาในฉางอาน(长安) พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang 玄奘)เล่าถึงเหตุการณ์อันน่าประทับใจนี้ในช่วงเวลาที่ยากลำบากให้เหล่าสาวกฟัง มิตรภาพฉันท์พี่น้องที่มีต่อราชาแห่งเกาชาง(Gaochang高昌)ยังคงเกินคำบรรยาย ดูเหมือนราวกับว่าพิธีอำลาที่หรูหราและยิ่งใหญ่นั้นได่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้เอง ตอนนั้นเขาไม่รู้ 🥸นี่ยังจะเป็นครั้งสุดท้ายที่เขาจะได้พบกับพี่ชายร่วมสาบานของเขา🥸 🥳โปรดติดตามบทความ#โลกของภูมิภาคตะวันตกในสายตาของพระภิกษุถังซัมจั๋ง ตอน 02. #อาณาจักรคาราซาห์และคูชาที่น่าสนใจต่อไป.ในโอกาสหน้า🥳 🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1340 มุมมอง 0 รีวิว