• วลีรักจาก <จันทราอัสดง>

    สวัสดีย้อนหลังวันวาเลนไทน์ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับวลีบอกรักจากบทกวีจีนโบราณที่กล่าวถึงสองสัตว์ที่นับเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก

    วลีบอกรักนี้ เราเห็นในเรื่อง <จันทราอัสดง> ในฉากที่เยี่ยปิงส่างป่วยเพราะโดนปีศาจจับตัวไป พอฟื้นขึ้นมาเห็นองค์ชายเซียวหลิ่นเฝ้าอยู่ก็ร่ำไห้เอ่ยปากวลีสองวรรค หลังจากนั้นจึงได้หมั้นหมายกัน วลีที่ว่านี้คือ “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” (得成比目何辞死,愿作鸳鸯不羡仙) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ‘ยวนยาง’ คือนกเป็ดน้ำแมนดารินที่เพื่อนเพจคงคุ้นเคยเพราะมีการกล่าวถึงในหลายนิยายซีรีส์และละครว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก ทั้งนี้ เพราะมันมักจะอยู่เป็นคู่ จึงถูกนำมาเปรียบเป็นคู่สามีภรรยาแต่โบราณโดยแรกปรากฏในบทประพันธ์ของซือหม่าเซียงหรู (กวีเอกสมัยราชวงศ์ฮั่น เจ้าของบทประพันธ์ซ่างหลินฟู่ที่ Storyฯ เคยเขียนถึง) ตอนจีบจั๋วเหวินจวิน (ย้อนอ่านเรื่องราวความรักของทั้งคู่ได้ในบทความเก่า https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02KgmDKe2nCXSPkUDKWTYDNCXpfyP1PzzBqQCkdVtEw46Y7ZMkeZSwoVYxGFR9QHjhl)

    แล้ว ‘ปี่มู่’ ล่ะคืออะไร?

    ปี่มู่เป็นปลาในสายพันธ์ปลาลิ้นหมา (ดูรูปประกอบ 2) เอกลักษณ์ของมันคือ ตาทั้งคู่อยู่ใกล้กันบนตัวปลาด้านเดียวกัน ในสมัยจีนโบราณถูกใช้เปรียบเปรยถึงความรักอันล้ำลึกของคู่รักที่อยู่เคียงข้างกัน ไปไหนไปด้วยกัน

    “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” วลีนี้ความหมายก็คือยอมตายก็อยากอยู่ด้วยกัน ไม่ต้องมีความสุขพ้นทุกข์อย่างเซียนก็ได้

    เชื่อว่าเพื่อนเพจคงนึกว่ามันเป็นวลีที่มาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วหลายวลีรักจีนโบราณอันกินใจที่ Storyฯ เคยเขียนถึงนั้น ถ้าไม่ใช่บทกวีที่เกี่ยวกับการจากพราก ก็มาจากเรื่องราวอื่น วลีนี้ก็เช่นกัน ที่มาของมันคือบทกวีที่ชื่อว่า ‘ฉางอันกู่อี้’ (长安古意 แปลได้ประมาณว่า หวนรำลึกฉางอัน) ของหลูจ้าวหลิน กวีชื่อดังในสมัยองค์ถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง ในสมัยถังตอนต้นนั้น เขาถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ยอดกวีแห่งยุค เป็นบทกวีในสไตล์โบราณที่ Storyฯ ขอเรียกว่ากลอนเจ็ด กล่าวคือในหนึ่งวรรคมีเจ็ดอักษร บทกวีนี้มีทั้งสิ้น 34 ประโยค รวม 68 วรรค เรียกได้ว่าเป็นบทกวีที่ยาวมากและเป็นถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของงานประพันธ์แห่งยุคสมัยนั้น

    หลูจ้าวหลินถูกเติ้งหวางหลี่หยวนอวี้รับเป็นคนสนิท เป็นขุนนางผู้ดูแลจวนอ๋อง ต่อมาติดตามเติ้งหวางออกจากเมืองฉางอัน และเมื่อเลิกทำงานกับเติ้งหวางแล้วก็ปักหลักอยู่ลั่วหยาง บทกวีนี้หลูจ้าวหลินแต่งขึ้นในช่วงเวลาที่ลั่วหยางนั่นเอง ต่อมาเขาถูกจับกุมขังด้วยบทกวีนี้ เพราะถูกเข้าใจว่าเขียนตำหนิหนึ่งในผู้มีอำนาจทางการเมืองในสมัยนั้น สุดท้ายแม้จะรอดชีวิตพ้นคุกมาได้ แต่ก็ป่วยจนสุดท้ายต้องจบชีวิตตนเอง

    เนื้อหาของ ‘ฉางอันกู่อี้’ กล่าวถึงความเรืองรองแห่งนครฉางอัน ความเจริญรุ่งเรืองถูกสะท้อนออกมาด้วยคำบรรยายความโอ่อ่าของอาคารบ้านเรือน ความตระการตาของนางรำที่เริงระบำดุจบุปผาและผีเสื้อที่ละลานตา บรรยากาศยามค่ำคืนอันคึกคักโดยมีหอนางโลมเป็นฉากหลัก สอดแทรกด้วยอารมณ์ที่ถูกเร้าขึ้นด้วยคำบรรยายแสงสีเสียง สื่อออกมาเป็นความรู้สึกต่างๆ ที่ยากจะอดกลั้นภายใต้บรรยากาศนี้ อย่างเช่นความรักความลุ่มหลง บทกวีเล่าถึงการมีชีวิตอยู่ในด้านมืดอย่างเช่นนางคณิกานางรำและคนที่มีอาชีพกลางคืน การแสดงอำนาจของชนชั้นสูง การแก่งแย่งชิงดีและการเกิดดับของอำนาจ สุดท้ายจบลงด้วยการบรรยายถึงบรรยากาศเงียบเหงาภายในเรือนเดี่ยว มีเพียงกลีบดอกไม้ที่ปลิวผ่านตามสายลมยามที่กุ้ยฮวา (หอมหมื่นลี้) บาน เป็นสไตล์การเขียนที่นิยมในสมัยนั้นคือจบลงด้วยวรรคที่ขัดแย้งกับเนื้อหาก่อนหน้าเพื่อให้ความรู้สึกที่แตกต่าง สร้างสมดุลให้แก่บทกวี

    วรรค “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” นี้ปรากฏในท่อนแรกๆ ที่กล่าวถึงความตระการตาของนางรำผู้เลอโฉม ชวนให้พร่ำเพ้อถึงความรักที่ไม่อาจเป็นไปได้ จะเห็นได้ว่า แม้วลีนี้จะกลายมาเป็นหนึ่งในวลีรักที่โด่งดังผ่านยุคสมัย แต่ต้นตอของมันจริงแล้วเป็นบทกวีที่บรรยายถึงชีวิตในนครฉางอัน สะท้อนถึงสุขและทุกข์ของความทรงจำในด้านต่างๆ ที่กวีมีต่อนครฉางอันอันเรืองรอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://new.qq.com/rain/a/20230511A04T9O00
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_ac6684b5da86.aspx
    https://baike.baidu.com/item/长安古意/4804
    https://www.baike.com/wikiid/422703280303982502
    http://m.qulishi.com/article/202106/521082.html
    https://www.621seo.cn/a/83.html

    #จันทราอัสดง #ยวนยาง #ปี่มู่ #กวีถัง #ฉางอัน #หลูจ้าวหลิน
    วลีรักจาก <จันทราอัสดง> สวัสดีย้อนหลังวันวาเลนไทน์ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับวลีบอกรักจากบทกวีจีนโบราณที่กล่าวถึงสองสัตว์ที่นับเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก วลีบอกรักนี้ เราเห็นในเรื่อง <จันทราอัสดง> ในฉากที่เยี่ยปิงส่างป่วยเพราะโดนปีศาจจับตัวไป พอฟื้นขึ้นมาเห็นองค์ชายเซียวหลิ่นเฝ้าอยู่ก็ร่ำไห้เอ่ยปากวลีสองวรรค หลังจากนั้นจึงได้หมั้นหมายกัน วลีที่ว่านี้คือ “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” (得成比目何辞死,愿作鸳鸯不羡仙) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ‘ยวนยาง’ คือนกเป็ดน้ำแมนดารินที่เพื่อนเพจคงคุ้นเคยเพราะมีการกล่าวถึงในหลายนิยายซีรีส์และละครว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก ทั้งนี้ เพราะมันมักจะอยู่เป็นคู่ จึงถูกนำมาเปรียบเป็นคู่สามีภรรยาแต่โบราณโดยแรกปรากฏในบทประพันธ์ของซือหม่าเซียงหรู (กวีเอกสมัยราชวงศ์ฮั่น เจ้าของบทประพันธ์ซ่างหลินฟู่ที่ Storyฯ เคยเขียนถึง) ตอนจีบจั๋วเหวินจวิน (ย้อนอ่านเรื่องราวความรักของทั้งคู่ได้ในบทความเก่า https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02KgmDKe2nCXSPkUDKWTYDNCXpfyP1PzzBqQCkdVtEw46Y7ZMkeZSwoVYxGFR9QHjhl) แล้ว ‘ปี่มู่’ ล่ะคืออะไร? ปี่มู่เป็นปลาในสายพันธ์ปลาลิ้นหมา (ดูรูปประกอบ 2) เอกลักษณ์ของมันคือ ตาทั้งคู่อยู่ใกล้กันบนตัวปลาด้านเดียวกัน ในสมัยจีนโบราณถูกใช้เปรียบเปรยถึงความรักอันล้ำลึกของคู่รักที่อยู่เคียงข้างกัน ไปไหนไปด้วยกัน “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” วลีนี้ความหมายก็คือยอมตายก็อยากอยู่ด้วยกัน ไม่ต้องมีความสุขพ้นทุกข์อย่างเซียนก็ได้ เชื่อว่าเพื่อนเพจคงนึกว่ามันเป็นวลีที่มาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วหลายวลีรักจีนโบราณอันกินใจที่ Storyฯ เคยเขียนถึงนั้น ถ้าไม่ใช่บทกวีที่เกี่ยวกับการจากพราก ก็มาจากเรื่องราวอื่น วลีนี้ก็เช่นกัน ที่มาของมันคือบทกวีที่ชื่อว่า ‘ฉางอันกู่อี้’ (长安古意 แปลได้ประมาณว่า หวนรำลึกฉางอัน) ของหลูจ้าวหลิน กวีชื่อดังในสมัยองค์ถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง ในสมัยถังตอนต้นนั้น เขาถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ยอดกวีแห่งยุค เป็นบทกวีในสไตล์โบราณที่ Storyฯ ขอเรียกว่ากลอนเจ็ด กล่าวคือในหนึ่งวรรคมีเจ็ดอักษร บทกวีนี้มีทั้งสิ้น 34 ประโยค รวม 68 วรรค เรียกได้ว่าเป็นบทกวีที่ยาวมากและเป็นถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของงานประพันธ์แห่งยุคสมัยนั้น หลูจ้าวหลินถูกเติ้งหวางหลี่หยวนอวี้รับเป็นคนสนิท เป็นขุนนางผู้ดูแลจวนอ๋อง ต่อมาติดตามเติ้งหวางออกจากเมืองฉางอัน และเมื่อเลิกทำงานกับเติ้งหวางแล้วก็ปักหลักอยู่ลั่วหยาง บทกวีนี้หลูจ้าวหลินแต่งขึ้นในช่วงเวลาที่ลั่วหยางนั่นเอง ต่อมาเขาถูกจับกุมขังด้วยบทกวีนี้ เพราะถูกเข้าใจว่าเขียนตำหนิหนึ่งในผู้มีอำนาจทางการเมืองในสมัยนั้น สุดท้ายแม้จะรอดชีวิตพ้นคุกมาได้ แต่ก็ป่วยจนสุดท้ายต้องจบชีวิตตนเอง เนื้อหาของ ‘ฉางอันกู่อี้’ กล่าวถึงความเรืองรองแห่งนครฉางอัน ความเจริญรุ่งเรืองถูกสะท้อนออกมาด้วยคำบรรยายความโอ่อ่าของอาคารบ้านเรือน ความตระการตาของนางรำที่เริงระบำดุจบุปผาและผีเสื้อที่ละลานตา บรรยากาศยามค่ำคืนอันคึกคักโดยมีหอนางโลมเป็นฉากหลัก สอดแทรกด้วยอารมณ์ที่ถูกเร้าขึ้นด้วยคำบรรยายแสงสีเสียง สื่อออกมาเป็นความรู้สึกต่างๆ ที่ยากจะอดกลั้นภายใต้บรรยากาศนี้ อย่างเช่นความรักความลุ่มหลง บทกวีเล่าถึงการมีชีวิตอยู่ในด้านมืดอย่างเช่นนางคณิกานางรำและคนที่มีอาชีพกลางคืน การแสดงอำนาจของชนชั้นสูง การแก่งแย่งชิงดีและการเกิดดับของอำนาจ สุดท้ายจบลงด้วยการบรรยายถึงบรรยากาศเงียบเหงาภายในเรือนเดี่ยว มีเพียงกลีบดอกไม้ที่ปลิวผ่านตามสายลมยามที่กุ้ยฮวา (หอมหมื่นลี้) บาน เป็นสไตล์การเขียนที่นิยมในสมัยนั้นคือจบลงด้วยวรรคที่ขัดแย้งกับเนื้อหาก่อนหน้าเพื่อให้ความรู้สึกที่แตกต่าง สร้างสมดุลให้แก่บทกวี วรรค “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” นี้ปรากฏในท่อนแรกๆ ที่กล่าวถึงความตระการตาของนางรำผู้เลอโฉม ชวนให้พร่ำเพ้อถึงความรักที่ไม่อาจเป็นไปได้ จะเห็นได้ว่า แม้วลีนี้จะกลายมาเป็นหนึ่งในวลีรักที่โด่งดังผ่านยุคสมัย แต่ต้นตอของมันจริงแล้วเป็นบทกวีที่บรรยายถึงชีวิตในนครฉางอัน สะท้อนถึงสุขและทุกข์ของความทรงจำในด้านต่างๆ ที่กวีมีต่อนครฉางอันอันเรืองรอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก: https://new.qq.com/rain/a/20230511A04T9O00 https://so.gushiwen.cn/shiwenv_ac6684b5da86.aspx https://baike.baidu.com/item/长安古意/4804 https://www.baike.com/wikiid/422703280303982502 http://m.qulishi.com/article/202106/521082.html https://www.621seo.cn/a/83.html #จันทราอัสดง #ยวนยาง #ปี่มู่ #กวีถัง #ฉางอัน #หลูจ้าวหลิน
    2 Comments 0 Shares 225 Views 0 Reviews
  • รหัสลับบทกวีจีนจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก>

    Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณนี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนิยาย/ซีรีส์จีนจริงๆ ไม่ทราบว่ามีใครที่ดูซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> แล้วรู้สึกสะดุดหูกับจังหวะจะโคนของรหัสลับที่องครักษ์ชุดแดงใช้ยืนยันตัวตนกันหรือไม่? สำหรับ Storyฯ แล้วมันเตะหูพอสมควร เพราะรหัสลับเหล่านี้ล้วนเป็นวลีจากบทกวีจีนโบราณ

    รหัสลับที่ยกตัวอย่างมาคุยกันวันนี้ คือตอนที่หรูอี้ให้คนปลอมตัวไปหาองครักษ์ชุดแดงเพื่อสืบหาคนที่ฆ่าหลินหลงตาย รหัสลับถามตอบนี้คือ ‘ซานสือลิ่วกงถู่ฮวาปี้’ (三十六宫土花碧) และ ‘เทียนรั่วโหย่วฉิงเทียนอี้เหล่า’ (天若有情天亦老) Storyฯ ขอแปลว่า ‘สามสิบหกพระตำหนัก ตะไคร่คลุมธรณี / หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’

    ฟังแล้วคงไม่ได้ใจความนัก เพราะจริงๆ แล้วมันไม่ใช่วรรคที่ต่อเนื่องกัน แต่ทั้งสองวรรคนี้ปรากฏอยู่ในบทกวีเดียวกันที่มีชื่อว่า ‘จินถงเซียนเหรินฉือฮั่นเกอ’ (金铜仙人辞汉歌 แปลได้ประมาณว่า ลำนำเซียนจินถงลาจากแดนฮั่น) เป็นผลงานของหลี่เฮ่อ (ค.ศ. 790-816) สี่สุดยอดกวีแห่งสมัยถัง และนี่เป็นหนึ่งในบทกวีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของเขา มันเป็นบทกวียาวที่กล่าวถึงการล่มสลายของอาณาจักรฮั่นที่ครั้งหนึ่งเคยเรืองรอง แต่กลับเหลือเพียงพระตำหนักที่ว่างร้างจนตะไคร่ปกคลุม เทพเซียนร่ำไห้ลาจาก จนถึงขนาดว่าถ้าฟ้ามีจิตใจรักได้เหมือนคน ก็คงรู้สึกอนาจใจเศร้าจนแก่ชราไปเช่นคน บทกวีนี้เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้าอาดูรและแค้นใจในเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงสภาพจิตใจของหลี่เฮ่อในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอ และเขาเองจำเป็นต้องลาออกจากราชการและเดินทางจากนครฉางอันไปด้วยอาการป่วย

    แต่ที่ Storyฯ รู้สึกว่าน่าสนใจมากก็คือ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้ตั้งเป็นโจทย์ในการดวลบทกวีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับซีรีส์และนิยายจีนโบราณคงเคยผ่านตาว่า การดวลบทกวีนี้ เป็นการต่อกลอนคู่ โดยคนหนึ่งตั้งโจทย์วรรคแรก อีกคนมาแต่งวรรคต่อให้จบ ซึ่งวรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้เป็นวรรคแรกของกลอนคู่โดยไม่มีใครสามารถต่อวรรคท้ายได้อย่างสมบูรณ์มากว่าสองร้อยปี! ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับยุคสมัยที่มีนักอักษรและนักประพันธ์มากมายอย่างสมัยถัง

    อนึ่ง การต่อวรรคคู่ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีจำนวนอักษรเท่ากันและมีเสียงสูงเสียงต่ำคล้องจองกันเท่านั้น แต่ต้องมีความลงตัวในหลายด้าน เป็นต้นว่า 1) มีบริบทใกล้เคียง เช่น กล่าวถึงวัตถุที่จับต้องได้เหมือนกัน หรือจับต้องไม่ได้เหมือนกัน เป็นวัตถุที่สื่อความหมายในเชิงเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่วรรคแรกกล่าวถึงดอกไม้ วรรคหลังพูดถึงโต๊ะ อะไรอย่างนี้; 2) คุณศัพท์ที่ขยายนามหรืออารมณ์ที่สื่อต้องเหมือนกันหรือตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงเพื่อแสดงความขัดแย้งบางอย่าง เช่น ฝนตกหนักกับแดดแรงจ้า หรือ ฝนตกหนักกับหยดน้ำเล็ก; ฯลฯ

    วรรค ‘หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ นี้มีคนต่อวรรคหลังมากมาย แต่ไม่มีความลงตัวอย่างสมบูรณ์จวบจนสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้ที่ต่อวรรคหลังนี้คือสือเหยียนเหนียน (ค.ศ. 994-1041) นักอักษรและกวีสมัยซ่งเหนือ ในค่ำคืนหนึ่งหลังจากดื่มสุราไปหลายกรึ๊บ ในยามกึ่งเมากึ่งมีสตินั้น เขาได้ยินคนรอบข้างต่อวรรค ‘หากฟ้ามีใจฯ’ นี้กันอยู่ จึงโพล่งวรรคต่อออกมาในทันใด ซึ่งก็คือ ‘หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง’ (月如无恨月长圆 / เยวี่ยหรูอู๋เฮิ่นเยวี่ยฉางเหยวียน) เป็นการต่อวรรคที่สมบูรณ์จนคนตะลึง เพราะไม่เพียงอักขระ คำบรรยายและบริบทลงตัว หากแต่ความหมายแฝงที่สื่อถึงสัจธรรมแห่งชีวิตยังสอดคล้องอีกด้วย

    ... หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน ...
    ... หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง ...

    วรรคต้นที่ไม่มีใครต่อวรรคได้มากว่าสองร้อยปี เกิดวรรคต่อที่สะเทือนวงการนักอักษรในสมัยนั้นจนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพื่อนเพจอ่านและตีความแล้วได้ความรู้สึกอย่างไรคะ? เห็นความเป็น ‘กลอนคู่’ ของมันหรือไม่?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_25539972
    https://k.sina.cn/article_6502395912_18392b008001004rs9.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_33199885635a.aspx
    https://baike.baidu.com/金铜仙人辞汉歌/1659854
    https://www.sohu.com/a/484704098_100135144
    https://www.workercn.cn/c/2024-02-06/8143503.shtml

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #หลี่เฮ่อ #กวีถัง #หากฟ้ามีใจรัก #สือเหยียนเหนียน
    รหัสลับบทกวีจีนจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณนี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนิยาย/ซีรีส์จีนจริงๆ ไม่ทราบว่ามีใครที่ดูซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> แล้วรู้สึกสะดุดหูกับจังหวะจะโคนของรหัสลับที่องครักษ์ชุดแดงใช้ยืนยันตัวตนกันหรือไม่? สำหรับ Storyฯ แล้วมันเตะหูพอสมควร เพราะรหัสลับเหล่านี้ล้วนเป็นวลีจากบทกวีจีนโบราณ รหัสลับที่ยกตัวอย่างมาคุยกันวันนี้ คือตอนที่หรูอี้ให้คนปลอมตัวไปหาองครักษ์ชุดแดงเพื่อสืบหาคนที่ฆ่าหลินหลงตาย รหัสลับถามตอบนี้คือ ‘ซานสือลิ่วกงถู่ฮวาปี้’ (三十六宫土花碧) และ ‘เทียนรั่วโหย่วฉิงเทียนอี้เหล่า’ (天若有情天亦老) Storyฯ ขอแปลว่า ‘สามสิบหกพระตำหนัก ตะไคร่คลุมธรณี / หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ ฟังแล้วคงไม่ได้ใจความนัก เพราะจริงๆ แล้วมันไม่ใช่วรรคที่ต่อเนื่องกัน แต่ทั้งสองวรรคนี้ปรากฏอยู่ในบทกวีเดียวกันที่มีชื่อว่า ‘จินถงเซียนเหรินฉือฮั่นเกอ’ (金铜仙人辞汉歌 แปลได้ประมาณว่า ลำนำเซียนจินถงลาจากแดนฮั่น) เป็นผลงานของหลี่เฮ่อ (ค.ศ. 790-816) สี่สุดยอดกวีแห่งสมัยถัง และนี่เป็นหนึ่งในบทกวีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของเขา มันเป็นบทกวียาวที่กล่าวถึงการล่มสลายของอาณาจักรฮั่นที่ครั้งหนึ่งเคยเรืองรอง แต่กลับเหลือเพียงพระตำหนักที่ว่างร้างจนตะไคร่ปกคลุม เทพเซียนร่ำไห้ลาจาก จนถึงขนาดว่าถ้าฟ้ามีจิตใจรักได้เหมือนคน ก็คงรู้สึกอนาจใจเศร้าจนแก่ชราไปเช่นคน บทกวีนี้เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้าอาดูรและแค้นใจในเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงสภาพจิตใจของหลี่เฮ่อในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอ และเขาเองจำเป็นต้องลาออกจากราชการและเดินทางจากนครฉางอันไปด้วยอาการป่วย แต่ที่ Storyฯ รู้สึกว่าน่าสนใจมากก็คือ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้ตั้งเป็นโจทย์ในการดวลบทกวีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับซีรีส์และนิยายจีนโบราณคงเคยผ่านตาว่า การดวลบทกวีนี้ เป็นการต่อกลอนคู่ โดยคนหนึ่งตั้งโจทย์วรรคแรก อีกคนมาแต่งวรรคต่อให้จบ ซึ่งวรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้เป็นวรรคแรกของกลอนคู่โดยไม่มีใครสามารถต่อวรรคท้ายได้อย่างสมบูรณ์มากว่าสองร้อยปี! ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับยุคสมัยที่มีนักอักษรและนักประพันธ์มากมายอย่างสมัยถัง อนึ่ง การต่อวรรคคู่ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีจำนวนอักษรเท่ากันและมีเสียงสูงเสียงต่ำคล้องจองกันเท่านั้น แต่ต้องมีความลงตัวในหลายด้าน เป็นต้นว่า 1) มีบริบทใกล้เคียง เช่น กล่าวถึงวัตถุที่จับต้องได้เหมือนกัน หรือจับต้องไม่ได้เหมือนกัน เป็นวัตถุที่สื่อความหมายในเชิงเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่วรรคแรกกล่าวถึงดอกไม้ วรรคหลังพูดถึงโต๊ะ อะไรอย่างนี้; 2) คุณศัพท์ที่ขยายนามหรืออารมณ์ที่สื่อต้องเหมือนกันหรือตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงเพื่อแสดงความขัดแย้งบางอย่าง เช่น ฝนตกหนักกับแดดแรงจ้า หรือ ฝนตกหนักกับหยดน้ำเล็ก; ฯลฯ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ นี้มีคนต่อวรรคหลังมากมาย แต่ไม่มีความลงตัวอย่างสมบูรณ์จวบจนสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้ที่ต่อวรรคหลังนี้คือสือเหยียนเหนียน (ค.ศ. 994-1041) นักอักษรและกวีสมัยซ่งเหนือ ในค่ำคืนหนึ่งหลังจากดื่มสุราไปหลายกรึ๊บ ในยามกึ่งเมากึ่งมีสตินั้น เขาได้ยินคนรอบข้างต่อวรรค ‘หากฟ้ามีใจฯ’ นี้กันอยู่ จึงโพล่งวรรคต่อออกมาในทันใด ซึ่งก็คือ ‘หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง’ (月如无恨月长圆 / เยวี่ยหรูอู๋เฮิ่นเยวี่ยฉางเหยวียน) เป็นการต่อวรรคที่สมบูรณ์จนคนตะลึง เพราะไม่เพียงอักขระ คำบรรยายและบริบทลงตัว หากแต่ความหมายแฝงที่สื่อถึงสัจธรรมแห่งชีวิตยังสอดคล้องอีกด้วย ... หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน ... ... หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง ... วรรคต้นที่ไม่มีใครต่อวรรคได้มากว่าสองร้อยปี เกิดวรรคต่อที่สะเทือนวงการนักอักษรในสมัยนั้นจนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพื่อนเพจอ่านและตีความแล้วได้ความรู้สึกอย่างไรคะ? เห็นความเป็น ‘กลอนคู่’ ของมันหรือไม่? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_25539972 https://k.sina.cn/article_6502395912_18392b008001004rs9.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://so.gushiwen.cn/shiwenv_33199885635a.aspx https://baike.baidu.com/金铜仙人辞汉歌/1659854 https://www.sohu.com/a/484704098_100135144 https://www.workercn.cn/c/2024-02-06/8143503.shtml #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #หลี่เฮ่อ #กวีถัง #หากฟ้ามีใจรัก #สือเหยียนเหนียน
    《一念关山》:刘诗诗更适合“独美”
    澎湃,澎湃新闻,澎湃新闻网,新闻与思想,澎湃是植根于中国上海的时政思想类互联网平台,以最活跃的原创新闻与最冷静的思想分析为两翼,是互联网技术创新与新闻价值传承的结合体,致力于问答式新闻与新闻追踪功能的实践。
    1 Comments 0 Shares 238 Views 0 Reviews
  • ความมีอยู่ว่า
    ...กว่าโจวเซิงเฉินจะกลับมาถึง สองผนังของหออักษรก็ถูกนางเขียนจนเต็ม... โจวเซิงเฉินเดินหาทั่วจวนหวาง จนกระทั่งเดินถึงชั้นบนของหออักษร จึงเห็นดรุณีที่ก่อนหน้านี้ยกน้ำชาอย่างเรียบร้อยเพื่อกราบตนเป็นอาจารย์ บัดนี้กลับเขียนบท “ซ่างหลินฟู่” ของซือหม่าเซียงหรูอยู่บนผนัง
    ชัดเจนต่อเนื่อง ไม่ตกหล่นแม้เพียงอักษรเดียว
    เพียงแต่ชะงักหยุดตรงวรรคที่เกี่ยวกับความรักหญิงชาย: คิ้วยาวเรียวงาม เบาบางดุจฝ้าย...
    ...เขายิ้มเอ่ย “วรรคต่อคือ: นัยน์ตาสื่อรัก ใจประสานใจ”...
    - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า
    (หมายเหตุ บทความ Storyฯ แปลเอง ยกเว้นวรรคสุดท้ายยกมาจากซับไทยในละครจ้า)

    เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร/อ่านนิยาย <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> จะคุ้นตากับบทประพันธ์ชื่อว่า “ซ่างหลินฟู่” ที่ดูจะมีบทบาทช่วยเดินเรื่อง เคยมีคนเขียนเกี่ยวกับบทประพันธ์นี้ไปบ้างแล้ว แต่ Storyฯ ยังหวังว่าบทความนี้จะให้ความรู้ได้ในอีกแง่มุม

    “ซ่างหลินฟู่” (上林赋) เป็นบทประพันธ์โดยซือหม่าเซียงหรู (779 – 117 ปีก่อนคริสตกาล) ศิลปินเอกในยุคสมัยองค์ฮั่นอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่น ที่เรียกเขาว่า ‘ศิลปิน’ เพราะเชี่ยวชาญทั้งด้านอักษรและการดนตรี เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ยินชื่อของเขาจากเรื่องราวเกี่ยวกับเพลงพิณ “หงส์ตามหาคู่”

    “ซ่างหลินฟู่” เป็นหนึ่งในสองวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของซือหม่าเซียงหรูและเป็นหนึ่งในบทประพันธ์ที่มีคุณค่าทางการศึกษามาตลอดทุกยุคสมัย ตั้งแต่ฮั่น ผ่านถัง ซ่ง หมิง ฯลฯ จวบจนปัจจุบัน จัดเป็นหนึ่งในวรรณกรรมที่อ่านยากที่สุดของจีน ยาวประมาณสี่พันอักษร (ภาพประกอบเป็นฉบับแปลเป็นภาษาปัจจุบันแล้ว)

    ทีแรก Storyฯ เข้าใจจากเนื้อเรื่องละครว่า “ซ่างหลินฟู่” คงเป็นกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ

    “ซ่างหลินฟู่” เป็นเรื่องราวประพาสล่าสัตว์ของฮ่องเต้และบรรยายถึงความอลังการของอุทยานซ่างหลิน (ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของนครฉางอัน) เล่าผ่านเรื่องราวและตัวละครที่ไม่มีตัวตนจริงเช่น กษัตริย์แห่งแคว้นฉู่ เป็นบทความที่องค์ฮั่นอู่ตี้ทรงขอและซือหม่าเซียงหรูใช้เวลา 10 ปีกว่าจะนำบทประพันธ์นี้ถวาย

    เพราะอะไรจึงเป็นบทประพันธ์ที่มีคุณค่าทางการศึกษา? Storyฯ สรุปสั้นๆ ได้ดังนี้ค่ะ
    1. รูปแบบ - “ฟู่” เป็นวรรณกรรมซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัวเหมือนโคลงกลอน ลักษณะเหมือนการเขียนเรื่องสั้น หากแต่ภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆ ซ่างหลินฟู่เป็นต้นแบบของวรรณกรรมจีนโบราณที่โด่งดังอีกหลายบทในรูปแบบ “ฟู่” นี้
    2. ภาษา - ดีกรีความ ‘เข้มข้น’ สูงมาก ไพเราะสละสลวย วรรคสั้นแต่มีนัยแฝงลึกซึ้ง ใช้คำที่แปลก (คำหลายคำไม่มีในพจนานุกรมจีนปัจจุบันแล้ว) Storyฯ เห็นในเพจต่างๆ ต้องมีการตีความและอธิบายความหมายจากจีนเป็นจีนเกือบทุกวรรค (วรรคละ3-4 อักษร) เพื่อนๆ ลองนึกภาพเอาแล้วกันว่ายากแค่ไหน
    3. สาระ - สอดแทรกปรัชญาและคุณธรรมการปกครองบ้านเมืองผ่านบทสนทนาโต้ตอบกันของตัวละครในเรื่อง ชนรุ่นหลังถึงกับมีคนวิเคราะห์ว่าเป็นการเสียดสีการปกครองในเวลานั้นหรือไม่

    ประโยคที่กล่าวถึงความรักลึกซึ้งในข้อความที่ยกมาจากนิยายนั้น จริงๆ แล้วเป็นวรรคที่ยกมาจากตอนที่กล่าวเตือนใจให้ผู้ที่ปกครองบ้านเมืองอย่ามัวเมาในเรื่องของหญิงชายจนลืมกิจการบ้านเมือง (ขออภัยหากข้อมูลนี้ทำให้ลดทอนความโรแมนติคของละคร/นิยายเรื่องนี้ไป)

    ทำให้ Storyฯ อดรู้สึกไม่ได้ว่า ละครเรื่องนี้ไม่เพียงเล่าถึงความรักลึกซึ้งระหว่างพระนาง แต่ยังสอดแทรกความรักอันยิ่งใหญ่ที่มีต่อประเทศชาติที่สะท้อนผ่านปรัชญาชีวิตของตัวละครเอกโจวเซิงเฉิน เพื่อนเพจที่เคยดู/อ่านเรื่องนี้ คิดเหมือนกันบ้างไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.163.com/dy/article/GIB87TR80524M8IF.html
    https://m.cngwzj.com/gushitp/LiangHan/68357/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.jianshu.com/p/4437a2086012
    https://www.liuxue86.com/a/3552681.html
    https://www.kekeshici.com/shiciwenzhang/shicirumen/2093.html

    #ทุกชาติภพกระดูกงดงาม #สืออี๋ #โจวเซินเฉิน #กวีจีน #ซ่างหลินฟู่ #ซือหม่าเซียงหรู
    ความมีอยู่ว่า ...กว่าโจวเซิงเฉินจะกลับมาถึง สองผนังของหออักษรก็ถูกนางเขียนจนเต็ม... โจวเซิงเฉินเดินหาทั่วจวนหวาง จนกระทั่งเดินถึงชั้นบนของหออักษร จึงเห็นดรุณีที่ก่อนหน้านี้ยกน้ำชาอย่างเรียบร้อยเพื่อกราบตนเป็นอาจารย์ บัดนี้กลับเขียนบท “ซ่างหลินฟู่” ของซือหม่าเซียงหรูอยู่บนผนัง ชัดเจนต่อเนื่อง ไม่ตกหล่นแม้เพียงอักษรเดียว เพียงแต่ชะงักหยุดตรงวรรคที่เกี่ยวกับความรักหญิงชาย: คิ้วยาวเรียวงาม เบาบางดุจฝ้าย... ...เขายิ้มเอ่ย “วรรคต่อคือ: นัยน์ตาสื่อรัก ใจประสานใจ”... - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (หมายเหตุ บทความ Storyฯ แปลเอง ยกเว้นวรรคสุดท้ายยกมาจากซับไทยในละครจ้า) เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร/อ่านนิยาย <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> จะคุ้นตากับบทประพันธ์ชื่อว่า “ซ่างหลินฟู่” ที่ดูจะมีบทบาทช่วยเดินเรื่อง เคยมีคนเขียนเกี่ยวกับบทประพันธ์นี้ไปบ้างแล้ว แต่ Storyฯ ยังหวังว่าบทความนี้จะให้ความรู้ได้ในอีกแง่มุม “ซ่างหลินฟู่” (上林赋) เป็นบทประพันธ์โดยซือหม่าเซียงหรู (779 – 117 ปีก่อนคริสตกาล) ศิลปินเอกในยุคสมัยองค์ฮั่นอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่น ที่เรียกเขาว่า ‘ศิลปิน’ เพราะเชี่ยวชาญทั้งด้านอักษรและการดนตรี เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ยินชื่อของเขาจากเรื่องราวเกี่ยวกับเพลงพิณ “หงส์ตามหาคู่” “ซ่างหลินฟู่” เป็นหนึ่งในสองวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของซือหม่าเซียงหรูและเป็นหนึ่งในบทประพันธ์ที่มีคุณค่าทางการศึกษามาตลอดทุกยุคสมัย ตั้งแต่ฮั่น ผ่านถัง ซ่ง หมิง ฯลฯ จวบจนปัจจุบัน จัดเป็นหนึ่งในวรรณกรรมที่อ่านยากที่สุดของจีน ยาวประมาณสี่พันอักษร (ภาพประกอบเป็นฉบับแปลเป็นภาษาปัจจุบันแล้ว) ทีแรก Storyฯ เข้าใจจากเนื้อเรื่องละครว่า “ซ่างหลินฟู่” คงเป็นกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ “ซ่างหลินฟู่” เป็นเรื่องราวประพาสล่าสัตว์ของฮ่องเต้และบรรยายถึงความอลังการของอุทยานซ่างหลิน (ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของนครฉางอัน) เล่าผ่านเรื่องราวและตัวละครที่ไม่มีตัวตนจริงเช่น กษัตริย์แห่งแคว้นฉู่ เป็นบทความที่องค์ฮั่นอู่ตี้ทรงขอและซือหม่าเซียงหรูใช้เวลา 10 ปีกว่าจะนำบทประพันธ์นี้ถวาย เพราะอะไรจึงเป็นบทประพันธ์ที่มีคุณค่าทางการศึกษา? Storyฯ สรุปสั้นๆ ได้ดังนี้ค่ะ 1. รูปแบบ - “ฟู่” เป็นวรรณกรรมซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัวเหมือนโคลงกลอน ลักษณะเหมือนการเขียนเรื่องสั้น หากแต่ภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆ ซ่างหลินฟู่เป็นต้นแบบของวรรณกรรมจีนโบราณที่โด่งดังอีกหลายบทในรูปแบบ “ฟู่” นี้ 2. ภาษา - ดีกรีความ ‘เข้มข้น’ สูงมาก ไพเราะสละสลวย วรรคสั้นแต่มีนัยแฝงลึกซึ้ง ใช้คำที่แปลก (คำหลายคำไม่มีในพจนานุกรมจีนปัจจุบันแล้ว) Storyฯ เห็นในเพจต่างๆ ต้องมีการตีความและอธิบายความหมายจากจีนเป็นจีนเกือบทุกวรรค (วรรคละ3-4 อักษร) เพื่อนๆ ลองนึกภาพเอาแล้วกันว่ายากแค่ไหน 3. สาระ - สอดแทรกปรัชญาและคุณธรรมการปกครองบ้านเมืองผ่านบทสนทนาโต้ตอบกันของตัวละครในเรื่อง ชนรุ่นหลังถึงกับมีคนวิเคราะห์ว่าเป็นการเสียดสีการปกครองในเวลานั้นหรือไม่ ประโยคที่กล่าวถึงความรักลึกซึ้งในข้อความที่ยกมาจากนิยายนั้น จริงๆ แล้วเป็นวรรคที่ยกมาจากตอนที่กล่าวเตือนใจให้ผู้ที่ปกครองบ้านเมืองอย่ามัวเมาในเรื่องของหญิงชายจนลืมกิจการบ้านเมือง (ขออภัยหากข้อมูลนี้ทำให้ลดทอนความโรแมนติคของละคร/นิยายเรื่องนี้ไป) ทำให้ Storyฯ อดรู้สึกไม่ได้ว่า ละครเรื่องนี้ไม่เพียงเล่าถึงความรักลึกซึ้งระหว่างพระนาง แต่ยังสอดแทรกความรักอันยิ่งใหญ่ที่มีต่อประเทศชาติที่สะท้อนผ่านปรัชญาชีวิตของตัวละครเอกโจวเซิงเฉิน เพื่อนเพจที่เคยดู/อ่านเรื่องนี้ คิดเหมือนกันบ้างไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.163.com/dy/article/GIB87TR80524M8IF.html https://m.cngwzj.com/gushitp/LiangHan/68357/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.jianshu.com/p/4437a2086012 https://www.liuxue86.com/a/3552681.html https://www.kekeshici.com/shiciwenzhang/shicirumen/2093.html #ทุกชาติภพกระดูกงดงาม #สืออี๋ #โจวเซินเฉิน #กวีจีน #ซ่างหลินฟู่ #ซือหม่าเซียงหรู
    1 Comments 0 Shares 430 Views 0 Reviews
  • Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ

    วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้
    ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน”
    สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น”
    - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์

    บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ

    แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร?

    ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น

    Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา)

    หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ

    อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29
    https://www.sohu.com/a/155060661_701638
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html
    https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645
    https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579
    http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf

    #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้ ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น” - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์ บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร? ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา) หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29 https://www.sohu.com/a/155060661_701638 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645 https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579 http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    2 Comments 0 Shares 829 Views 0 Reviews
  • ตามรอยเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านเส้นทางสายไหม

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> คงจำได้ว่าฉากหลังของเรื่องคือการค้าอัญมณีในสมัยถัง ซึ่งเส้นทางการเดินทางมีทั้งการเดินเรือทะเลและข้ามทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ ชวนให้ Storyฯ งงไม่น้อยเลยลองไปหาข้อมูลดู

    มีบทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยเหอหนานกล่าวไว้ว่าจริงๆ แล้วซีรีส์เรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> นี้คือการเดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งก็ตรงกับตอนจบของเรื่องที่กล่าวถึงการพัฒนาด้านการค้าผ่านเส้นทางสายไหม

    Storyฯ เลยลองเอาการเดินทางของพระเอกนางเอกจากในซีรีส์มาปักหมุดลง เราลองมาดูกันค่ะ

    มีบทความและแผนที่เกี่ยวกับเส้นทางสายไหมจำนวนไม่น้อยในหลากหลายภาษา ดังนั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด แต่จากการเปรียบเทียบดู Storyฯ พบว่ามีความแตกต่างกันบ้าง จึงขอใช้เวอร์ชั่นที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์หนิงเซี่ยกู้หยวนเป็นหลักเพราะถือว่าเป็นไปตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่จีนบันทึกเอง (ดูรูปประกอบ 2) เราจะเห็นว่าเส้นทางสายไหมมีเส้นทางบกและเส้นทางทะเล และเส้นทางบกไม่ได้จบลงที่เมืองฉางอัน (ซีอันปัจจุบัน) อย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่มีการเชื่อมต่อไปจรดทะเลเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางทะเล

    Storyฯ ลองใส่ข้อมูลอื่นเพิ่มเข้าไปในแผนที่เต็มนี้ (ดูรูปประกอบ 1) ก่อนอื่นคือใส่แผนที่ของราชวงศ์ถังซ้อนลงไปเพื่อให้เห็นภาพอาณาเขตโดยคร่าว ทั้งนี้ตลอดสามร้อยกว่าปีการปกครองของถังในเขตซีอวี้ (ซินเกียงปัจจุบัน) แตกต่างกันไป เลยลองใช้แผนที่ของช่วงประมาณปีค.ศ. 700 ก็จะเห็นเขตพื้นที่ซีอวี้ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือที่มีเมืองตุนหวงเป็นเสมือนประตูทางผ่าน จากนั้นใส่เขตพื้นที่มณฑลหยางโจวในสมัยนั้นซึ่งอยู่ทางใต้ของแผนที่ติดทะเล (คือเส้นประเล็กๆ) (หมายเหตุ เส้นขอบทั้งหมดอาจไม่เป๊ะด้วยข้อจำกัดการวาดของ Storyฯ เอง)

    เมื่อใส่เสร็จแล้วก็เห็นได้เลยว่าตวนอู่และเยี่ยจื่อจิงของเราในเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> เขาเดินทางตามเส้นทางสายใหม่จริงๆ

    เริ่มกันที่ด้านล่างของแผนที่ซึ่งเป็นแถบพื้นที่เหอผู่อันเป็นแหล่งเก็บมุกทะเล (ปัจจุบันเรียกเป๋ยไห่ คือพื้นที่สีแดง) ที่นี่เป็นฉากเริ่มต้นของเรื่อง (ย้อนอ่านเรื่องการเก็บมุกได้จากบทความสัปดาห์ที่แล้ว) จากนั้นเดินทางผ่านกวางเจาขึ้นเหนือและสู้รบปรบมือกับคนตระกูลชุยและศัตรูอื่นเป็นระยะตั้งแต่เมืองซ่าวโจวถึงเมืองอู่หลิง จากนั้นเดินทางเรื่อยขึ้นไปจนถึงเมืองเปี้ยนโจวซึ่งคือเมืองไคฟงปัจจุบัน แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านนครฉางอัน ข้ามเขตทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ซึ่งการเข้าเขตซีอวี้ในสมัยนั้นจะผ่านเมืองตุนหวง ณ จุดนี้ เรื่องราวผ่านไปแล้วประมาณ 1/3 ของเรื่อง

    หลังจากนั้นเหล่าตัวละครกลับมาจากซีอวี้แล้วเดินทางมาถึงเมืองหยางโจวข้ามผ่านระยะทางอย่างไกลได้อย่างไรไม่ทราบได้ Storyฯ ดูจากแผนที่แล้วน่าจะย้อนกลับมาทางเมืองเปี้ยนเฉิงและจากจุดนั้นมีเส้นทาง (ที่ไม่ใช่เส้นทางสายไหมและไม่ได้วาดไว้ในรูปประกอบ) เชื่อมลงมายังเมืองหยางโจว ซึ่งมีทั้งเส้นทางบกและเส้นทางคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่สามารถใช้ได้ (หมายเหตุ เส้นทางต้าอวิ้นเหอมีการเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยหมิงเป็นต้นมา) และเรื่องราวที่เหลือของเรื่องก็จะมีฉากหลังอยู่ที่การค้าอัญมณีที่เมืองหยางโจวนี้

    ในเรื่องมีกล่าวถึงอัญมณีหนึ่งที่น่าสนใจชื่อว่า ‘เซ่อเซ่อ’ (瑟瑟 ไม่แน่ใจว่าแปลซับไทยไว้ว่าอย่างไร) ซึ่งเป็นพลอยประเภท Beryl Stone มีสีเขียวฟ้าและฟ้า บอกว่าเป็นพลอยที่มีค่าหายากมาก ในความเป็นจริง Beryl Stone แบ่งเป็นประเภทย่อยอีกตามสี แต่เรามักเรียกรวมพลอยสีฟ้าเขียวว่าพลอยอะความารีน (Aquamarine) และในละครมีการกล่าวว่าพลอยเซ่อเซ่อเกรดดีส่วนใหญ่มาจากเขตซีอวี้ แต่แถวหยางโจวก็พอให้หาซื้อได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจริงตามประวัติศาสตร์ เพราะพลอยเซ่อเซ่อในจีนหาได้ในสามพื้นที่หลักคือซินเกียง (ซีอวี้) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ และที่ยูนนานและหูเป่ย (ไม่ไกลจากเมืองอู่หลิงในภาพ ซึ่งเป็นจุดที่น้องชุยสือจิ่วของเราถูกจับขังในเหมือง)

    เมืองหยางโจวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบกและทางเรือของจีนโบราณ จึงไม่แปลกที่เรามักเห็นในซีรีส์และนิยายจีนโบราณกล่าวถึงหยางโจวว่าเป็นเขตค้าขายมีตระกูลพ่อค้าร่ำรวย ที่นี่ไม่เพียงเป็นจุดเชื่อมเส้นทางสายไหมทางบกและทะเลโดยผ่านแม่น้ำแยงซีเกียง และยังมีคลองต้าอวิ้นเหอเชื่อมขึ้นเหนือ ในสมัยถังที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้าเสบียงอาหาร เกลือและเหล็กไปยังพื้นที่ต่างๆ ของจีน อีกทั้งค้าขายส่งออกผ้าไหมและงานกระเบื้องรวมถึงนำเข้าสินค้าหลากชนิดผ่านเส้นทางบกและเรือ นอกจากนี้ที่นี่ยังขึ้นชื่อเรื่องงานช่างงานฝีมือและมีการพบเจอซากเรือสมัยถังพร้อมเครื่องประดับมากมายที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยถังมีการค้าขายเครื่องประดับด้วยเช่นกัน

    หวังว่าเพื่อนเพจจะเห็นภาพแล้วว่าการเดินเรื่องของ <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านพื้นที่ไหนบ้าง และทำไมเหล่าคู่อริทางการค้าจึงพบหน้ากันบ่อย... เพราะทุกคนล้วนค้าขายและใช้เส้นทางสายไหมกันนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://m.bjnews.com.cn/detail/1730788116168379.html
    https://www.chinadiscovery.com/assets/images/silk-road/history/tang-silk-road-map-llsboc-qunar.jpg
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/JG5GE87L0512D3VJ.html
    https://www.163.com/dy/article/JGCT7TAP0530WJTO.html
    https://baike.baidu.com/item/扬州市
    https://turnstone.ca/rom186be.htm

    #ม่านมุกม่านหยก #เส้นทางสายไหม #พลอยจีน #หยางโจว #สาระจีน
    ตามรอยเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านเส้นทางสายไหม สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> คงจำได้ว่าฉากหลังของเรื่องคือการค้าอัญมณีในสมัยถัง ซึ่งเส้นทางการเดินทางมีทั้งการเดินเรือทะเลและข้ามทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ ชวนให้ Storyฯ งงไม่น้อยเลยลองไปหาข้อมูลดู มีบทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยเหอหนานกล่าวไว้ว่าจริงๆ แล้วซีรีส์เรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> นี้คือการเดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งก็ตรงกับตอนจบของเรื่องที่กล่าวถึงการพัฒนาด้านการค้าผ่านเส้นทางสายไหม Storyฯ เลยลองเอาการเดินทางของพระเอกนางเอกจากในซีรีส์มาปักหมุดลง เราลองมาดูกันค่ะ มีบทความและแผนที่เกี่ยวกับเส้นทางสายไหมจำนวนไม่น้อยในหลากหลายภาษา ดังนั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด แต่จากการเปรียบเทียบดู Storyฯ พบว่ามีความแตกต่างกันบ้าง จึงขอใช้เวอร์ชั่นที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์หนิงเซี่ยกู้หยวนเป็นหลักเพราะถือว่าเป็นไปตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่จีนบันทึกเอง (ดูรูปประกอบ 2) เราจะเห็นว่าเส้นทางสายไหมมีเส้นทางบกและเส้นทางทะเล และเส้นทางบกไม่ได้จบลงที่เมืองฉางอัน (ซีอันปัจจุบัน) อย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่มีการเชื่อมต่อไปจรดทะเลเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางทะเล Storyฯ ลองใส่ข้อมูลอื่นเพิ่มเข้าไปในแผนที่เต็มนี้ (ดูรูปประกอบ 1) ก่อนอื่นคือใส่แผนที่ของราชวงศ์ถังซ้อนลงไปเพื่อให้เห็นภาพอาณาเขตโดยคร่าว ทั้งนี้ตลอดสามร้อยกว่าปีการปกครองของถังในเขตซีอวี้ (ซินเกียงปัจจุบัน) แตกต่างกันไป เลยลองใช้แผนที่ของช่วงประมาณปีค.ศ. 700 ก็จะเห็นเขตพื้นที่ซีอวี้ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือที่มีเมืองตุนหวงเป็นเสมือนประตูทางผ่าน จากนั้นใส่เขตพื้นที่มณฑลหยางโจวในสมัยนั้นซึ่งอยู่ทางใต้ของแผนที่ติดทะเล (คือเส้นประเล็กๆ) (หมายเหตุ เส้นขอบทั้งหมดอาจไม่เป๊ะด้วยข้อจำกัดการวาดของ Storyฯ เอง) เมื่อใส่เสร็จแล้วก็เห็นได้เลยว่าตวนอู่และเยี่ยจื่อจิงของเราในเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> เขาเดินทางตามเส้นทางสายใหม่จริงๆ เริ่มกันที่ด้านล่างของแผนที่ซึ่งเป็นแถบพื้นที่เหอผู่อันเป็นแหล่งเก็บมุกทะเล (ปัจจุบันเรียกเป๋ยไห่ คือพื้นที่สีแดง) ที่นี่เป็นฉากเริ่มต้นของเรื่อง (ย้อนอ่านเรื่องการเก็บมุกได้จากบทความสัปดาห์ที่แล้ว) จากนั้นเดินทางผ่านกวางเจาขึ้นเหนือและสู้รบปรบมือกับคนตระกูลชุยและศัตรูอื่นเป็นระยะตั้งแต่เมืองซ่าวโจวถึงเมืองอู่หลิง จากนั้นเดินทางเรื่อยขึ้นไปจนถึงเมืองเปี้ยนโจวซึ่งคือเมืองไคฟงปัจจุบัน แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านนครฉางอัน ข้ามเขตทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ซึ่งการเข้าเขตซีอวี้ในสมัยนั้นจะผ่านเมืองตุนหวง ณ จุดนี้ เรื่องราวผ่านไปแล้วประมาณ 1/3 ของเรื่อง หลังจากนั้นเหล่าตัวละครกลับมาจากซีอวี้แล้วเดินทางมาถึงเมืองหยางโจวข้ามผ่านระยะทางอย่างไกลได้อย่างไรไม่ทราบได้ Storyฯ ดูจากแผนที่แล้วน่าจะย้อนกลับมาทางเมืองเปี้ยนเฉิงและจากจุดนั้นมีเส้นทาง (ที่ไม่ใช่เส้นทางสายไหมและไม่ได้วาดไว้ในรูปประกอบ) เชื่อมลงมายังเมืองหยางโจว ซึ่งมีทั้งเส้นทางบกและเส้นทางคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่สามารถใช้ได้ (หมายเหตุ เส้นทางต้าอวิ้นเหอมีการเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยหมิงเป็นต้นมา) และเรื่องราวที่เหลือของเรื่องก็จะมีฉากหลังอยู่ที่การค้าอัญมณีที่เมืองหยางโจวนี้ ในเรื่องมีกล่าวถึงอัญมณีหนึ่งที่น่าสนใจชื่อว่า ‘เซ่อเซ่อ’ (瑟瑟 ไม่แน่ใจว่าแปลซับไทยไว้ว่าอย่างไร) ซึ่งเป็นพลอยประเภท Beryl Stone มีสีเขียวฟ้าและฟ้า บอกว่าเป็นพลอยที่มีค่าหายากมาก ในความเป็นจริง Beryl Stone แบ่งเป็นประเภทย่อยอีกตามสี แต่เรามักเรียกรวมพลอยสีฟ้าเขียวว่าพลอยอะความารีน (Aquamarine) และในละครมีการกล่าวว่าพลอยเซ่อเซ่อเกรดดีส่วนใหญ่มาจากเขตซีอวี้ แต่แถวหยางโจวก็พอให้หาซื้อได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจริงตามประวัติศาสตร์ เพราะพลอยเซ่อเซ่อในจีนหาได้ในสามพื้นที่หลักคือซินเกียง (ซีอวี้) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ และที่ยูนนานและหูเป่ย (ไม่ไกลจากเมืองอู่หลิงในภาพ ซึ่งเป็นจุดที่น้องชุยสือจิ่วของเราถูกจับขังในเหมือง) เมืองหยางโจวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบกและทางเรือของจีนโบราณ จึงไม่แปลกที่เรามักเห็นในซีรีส์และนิยายจีนโบราณกล่าวถึงหยางโจวว่าเป็นเขตค้าขายมีตระกูลพ่อค้าร่ำรวย ที่นี่ไม่เพียงเป็นจุดเชื่อมเส้นทางสายไหมทางบกและทะเลโดยผ่านแม่น้ำแยงซีเกียง และยังมีคลองต้าอวิ้นเหอเชื่อมขึ้นเหนือ ในสมัยถังที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้าเสบียงอาหาร เกลือและเหล็กไปยังพื้นที่ต่างๆ ของจีน อีกทั้งค้าขายส่งออกผ้าไหมและงานกระเบื้องรวมถึงนำเข้าสินค้าหลากชนิดผ่านเส้นทางบกและเรือ นอกจากนี้ที่นี่ยังขึ้นชื่อเรื่องงานช่างงานฝีมือและมีการพบเจอซากเรือสมัยถังพร้อมเครื่องประดับมากมายที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยถังมีการค้าขายเครื่องประดับด้วยเช่นกัน หวังว่าเพื่อนเพจจะเห็นภาพแล้วว่าการเดินเรื่องของ <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านพื้นที่ไหนบ้าง และทำไมเหล่าคู่อริทางการค้าจึงพบหน้ากันบ่อย... เพราะทุกคนล้วนค้าขายและใช้เส้นทางสายไหมกันนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://m.bjnews.com.cn/detail/1730788116168379.html https://www.chinadiscovery.com/assets/images/silk-road/history/tang-silk-road-map-llsboc-qunar.jpg Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/JG5GE87L0512D3VJ.html https://www.163.com/dy/article/JGCT7TAP0530WJTO.html https://baike.baidu.com/item/扬州市 https://turnstone.ca/rom186be.htm #ม่านมุกม่านหยก #เส้นทางสายไหม #พลอยจีน #หยางโจว #สาระจีน
    M.BJNEWS.COM.CN
    赵露思、刘宇宁新剧《珠帘玉幕》今日卫视开播
    赵露思、刘宇宁新剧《珠帘玉幕》今日卫视开播
    0 Comments 0 Shares 1427 Views 0 Reviews
  • ถนนจูเชวี่ยแห่งนครฉางอัน

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเร็วหน่อยก่อนจะแยกย้ายกันไปฉลองปีใหม่ พูดถึงเทศกาลคริสมาสและปีใหม่ ก็หนีไม่พ้นเรื่องของการซื้อของให้ของขวัญ ทำให้ Storyฯ นึกถึงถนนสายหนึ่งที่มักถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เวลาที่นางเอกชวนสาวใช้ไปเดินช้อปปิ้ง

    ถนนสายนี้มีชื่อว่า ถนนจูเชวี่ย (朱雀街 / ถนนวิหคชาด) ซึ่งเป็นชื่อที่ปรากฏบ่อยมากในซีรีส์และนิยายจีน เพราะมันเป็นถนนที่โด่งดังมากแห่งนครฉางอัน และปัจจุบันยังคงมีถนนสายนี้อยู่ที่เมืองซีอัน แต่เรียกจริงๆ ว่าถนนใหญ่จูเชวี่ย (朱雀大街 / Zhuque Avenue)

    ถนนจูเชวี่ยที่เราเห็นในละครหลายเรื่องดูจะเป็นถนนเล็ก สองฟากเรียงรายด้วยแผงขายของ แต่จริงๆ แล้ว ถนนจูเชวี่ยเป็นถนนที่ใหญ่มาก เลยต้องเอารูปประกอบมาเสริมจากละครเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> ซึ่งถูกกล่าวขานยกย่องว่ามีการจำลองผังเมืองนครฉางอันมาอย่างดี

    ‘ฉางอัน’ ชื่อนี้แปลว่าสงบสุขยืนยาว และเมืองฉางอันมีอดีตยาวนานสมชื่อ มันเคยเป็นเมืองหลวงเก่าแก่หลายราชวงศ์ แต่ไม่ได้มีอาณาเขตเท่ากันในทุกยุคสมัย ในสมัยราชวงศ์สุยและถังมีการสร้างพระราชวังขึ้นเพิ่มและขยายอาณาเขตออกไป และในสมัยถังจัดได้ว่าเป็นช่วงที่เรืองรองที่สุดของนครฉางอัน ในช่วงที่เฟื่องฟูที่สุดนั้น นครฉางอันมีประชากรถึง 3 ล้านคน เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกในสมัยนั้น ใหญ่กว่ากรุงโรมโบราณถึง 7 เท่า เส้นผ่าศูนย์กลางตะวันออก-ตะวันตกของเมืองยาว 9.7 กิโลเมตร เหนือ-ใต้ยาว 8.7 กิโลเมตร

    ต่อมาในสมัยปลายถังมีการหนีข้าศึกย้ายราชธานีไปยังเมืองลั่วหยาง เมืองฉางอันก็ค่อยๆ เสื่อมโทรมลง ในสมัยหมิงมีการบูรณะฉางอันสร้างขึ้นอีกครั้งเป็นเมืองซีอัน แต่ก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่เท่าฉางอันเดิม

    นครฉางอันสมัยถังแบ่งเป็นสองเขตใหญ่ คือฝั่งตะวันออกและตะวันตก มีถนนใหญ่คั่นกลางคือถนนจูเชวี่ย (ดูรูปประกอบ2) พื้นที่ทั้งหมดถูกแบ่งซอยย่อยเป็นเขตเล็กทรงสี่เหลี่ยมเรียกว่า ‘ฟาง’ มีหลายขนาด ยาวประมาณ 500-800 เมตร กว้าง 700-1,000 เมตร แต่ละเขตฟางมีกำแพงและคูระบายน้ำล้อมรอบ และมีประตูเข้าออกของมันเองเพื่อความปลอดภัย โดยประตูจะเปิดในตอนเช้าและปิดในตอนกลางคืน มีทั้งหมดด้วยกัน 108 เขตฟาง (ไม่รวมตลาดอีก 2 ฟาง) จนบางคนเปรียบผังเมืองฉางอันเป็นกระดานหมากล้อม เพื่อนเพจที่ได้ดู <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> น่าจะคุ้นเคยกับภาพของเขตฟางเหล่านี้

    นครฉางอันมีประตูเมือง 12 ประตู (Storyฯ เคยคุยถึงประตูเมืองโบราณแล้วใน https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/581451090649854 ) และประตูเมืองที่สำคัญเพราะเป็นประตูหลักในการเข้าออกเมืองนี้ก็คือประตูทิศใต้ที่มีชื่อว่า ประตูหมิงเต๋อ มันเป็นประตูเมืองประตูเดียวที่มีถึงห้าบาน โดยหนึ่งบานนั้นเป็นประตูที่เปิดใช้เฉพาะยามที่ฮ่องเต้เสด็จเข้าออกเมือง

    ถนนจูเชวี่ยนี้ ทิศใต้จรดประตูเมืองหมิงเต๋อที่กล่าวถึงข้างต้น ส่วนทิศเหนือนั้นจรดประตูเขตพระนครชื่อว่าประตูจูเชวี่ย และเลยผ่านเขตพระนครไปจรดประตูพระราชวังเฉิงเทียน อนึ่ง เขตพระนครหรือหวงเฉิง (皇城 / Royal City) นั้นคือส่วนที่เป็นบริเวณสถานที่ราชการต่างๆ ส่วนเขตพระราชวังหรือกงเฉิง (宫城 / Palace City) นั้นคือเขตที่ประทับของฮ่องเต้และเหล่าเชื้อพระวงศ์ ถนนจูเชวี่ยส่วนที่อยู่ในเขตพระนครนั้นเรียกว่า ถนนเฉิงเทียน ตามชื่อประตู และเป็นที่มาว่าถนนจูเชวี่ยถูกเรียกว่าถนน ‘เทียนเจีย’ (ถนนสวรรค์)

    ถนนจูเชวี่ยแห่งนครฉางอันในสมัยถังนั้น จริงแท้หน้าตาเป็นอย่างไรไม่ปรากฏภาพวาดเปรียบเทียบกับถนนอื่นอย่างชัดเจน แต่มีการขุดพบซากถนนเก่าที่ยืนยันขนาดของมันว่ามีความยาว กว่า 5 กม. ถนนหน้ากว้าง 150 เมตร (รวมคูข้างถนน ถ้าไม่รวมคือประมาณ 129-130 เมตร) และทุกระยะทาง 200 เมตรจะมีการขยายถนนออกไปเล็กน้อย คล้ายเป็นไหล่ทาง มีไว้ให้คนยืนหลบเวลาที่ฮ่องเต้เสด็จผ่าน --- ลองนึกเปรียบเทียบดูว่า ถนนบ้านเราปัจจุบันตามกฎหมายกว้าง 3 เมตร ดังนั้นความกว้างของถนนจูเชวี่ยเทียบเท่าถนนห้าสิบเลนปัจจุบันของเราเลยทีเดียว! ทีนี้เพื่อนเพจคงนึกภาพตามได้ไม่ยากแล้วว่า ในละครที่เราเห็นภาพฮ่องเต้ทรงอวยพรให้แม่ทัพและเหล่ากองกำลังทหารก่อนเดินทัพออกจากพระราชวังนั้น เขามีถนนใหญ่อย่างนี้จริง

    มีคนวิเคราะห์ไว้ว่า ขนาดความกว้างของถนนจูเชวี่ยนี้ เป็นเพราะระยะทางการยิงของธนูธรรมดาในสมัยนั้น ยิงได้ไกลประมาณ 60 เมตร ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของขบวนเสด็จของฮ่องเต้ ถนนจูเชวี่ยจึงต้องมีความกว้างถึง 150 เมตร

    แต่ไม่ใช่ถนนทุกสายที่มีหน้ากว้างขนาดนี้ ถนนสายรองของเมืองมีหน้ากว้างปกติ 40-70 เมตร และถนนเล็กเลียบกำแพงเมืองจะมีหน้ากว้างไม่เกิน 25 เมตร ส่วนถนนระหว่างเขตฟางส่วนใหญ่มีความกว้างเพียงให้รถเกวียนหรือรถม้าสองคันวิ่งสวนกัน

    ถนนจูเชวี่ยใหญ่ขนาดนี้ ใช่ถนนช้อปปิ้งหรือไม่?

    จากบันทึกโบราณ สถานช้อปปิ้งหลักของนครฉางอันคือตลาดตะวันตกและตลาดตะวันออก (ดูรูปผังเมืองที่แปะมา) โดยสินค้าในตลาดตะวันตกส่วนใหญ่เป็นสินค้าพื้นบ้านหรือของนำเข้าจากเมืองอื่นสำหรับชาวบ้านทั่วไป แต่สินค้าในตลาดตะวันออกจากมีราคาสูงขึ้นมาอีก เพราะกลุ่มลูกค้าจะเป็นชนชั้นสูง ส่วนถนนจูเชวี่ยนั้น สองฝั่งฟากส่วนใหญ่เป็นวัดวาอารามและหอชมวิว

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.niusnews.com/=P0123ga33
    https://n.znds.com/article/39071.html
    http://v.xiancity.cn/folder11/folder186/2016-11-25/89648.html
    https://m.planning.org.cn/zx_news/9888.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.planning.org.cn/zx_news/9888.htm
    https://en.unesco.org/silkroad/content/did-you-know-cosmopolitan-city-changan-eastern-end-silk-roads
    https://i.ifeng.com/c/8NbyjwjSa8B
    https://kknews.cc/history/6o6lop.html
    https://kknews.cc/news/e8orjvn.html
    https://www.gugong.net/zhongguo/tangchao/29679.html

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #ฉางอัน #ถนนจูเชวี่ย #ถนนสวรรค์
    ถนนจูเชวี่ยแห่งนครฉางอัน สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเร็วหน่อยก่อนจะแยกย้ายกันไปฉลองปีใหม่ พูดถึงเทศกาลคริสมาสและปีใหม่ ก็หนีไม่พ้นเรื่องของการซื้อของให้ของขวัญ ทำให้ Storyฯ นึกถึงถนนสายหนึ่งที่มักถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เวลาที่นางเอกชวนสาวใช้ไปเดินช้อปปิ้ง ถนนสายนี้มีชื่อว่า ถนนจูเชวี่ย (朱雀街 / ถนนวิหคชาด) ซึ่งเป็นชื่อที่ปรากฏบ่อยมากในซีรีส์และนิยายจีน เพราะมันเป็นถนนที่โด่งดังมากแห่งนครฉางอัน และปัจจุบันยังคงมีถนนสายนี้อยู่ที่เมืองซีอัน แต่เรียกจริงๆ ว่าถนนใหญ่จูเชวี่ย (朱雀大街 / Zhuque Avenue) ถนนจูเชวี่ยที่เราเห็นในละครหลายเรื่องดูจะเป็นถนนเล็ก สองฟากเรียงรายด้วยแผงขายของ แต่จริงๆ แล้ว ถนนจูเชวี่ยเป็นถนนที่ใหญ่มาก เลยต้องเอารูปประกอบมาเสริมจากละครเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> ซึ่งถูกกล่าวขานยกย่องว่ามีการจำลองผังเมืองนครฉางอันมาอย่างดี ‘ฉางอัน’ ชื่อนี้แปลว่าสงบสุขยืนยาว และเมืองฉางอันมีอดีตยาวนานสมชื่อ มันเคยเป็นเมืองหลวงเก่าแก่หลายราชวงศ์ แต่ไม่ได้มีอาณาเขตเท่ากันในทุกยุคสมัย ในสมัยราชวงศ์สุยและถังมีการสร้างพระราชวังขึ้นเพิ่มและขยายอาณาเขตออกไป และในสมัยถังจัดได้ว่าเป็นช่วงที่เรืองรองที่สุดของนครฉางอัน ในช่วงที่เฟื่องฟูที่สุดนั้น นครฉางอันมีประชากรถึง 3 ล้านคน เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกในสมัยนั้น ใหญ่กว่ากรุงโรมโบราณถึง 7 เท่า เส้นผ่าศูนย์กลางตะวันออก-ตะวันตกของเมืองยาว 9.7 กิโลเมตร เหนือ-ใต้ยาว 8.7 กิโลเมตร ต่อมาในสมัยปลายถังมีการหนีข้าศึกย้ายราชธานีไปยังเมืองลั่วหยาง เมืองฉางอันก็ค่อยๆ เสื่อมโทรมลง ในสมัยหมิงมีการบูรณะฉางอันสร้างขึ้นอีกครั้งเป็นเมืองซีอัน แต่ก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่เท่าฉางอันเดิม นครฉางอันสมัยถังแบ่งเป็นสองเขตใหญ่ คือฝั่งตะวันออกและตะวันตก มีถนนใหญ่คั่นกลางคือถนนจูเชวี่ย (ดูรูปประกอบ2) พื้นที่ทั้งหมดถูกแบ่งซอยย่อยเป็นเขตเล็กทรงสี่เหลี่ยมเรียกว่า ‘ฟาง’ มีหลายขนาด ยาวประมาณ 500-800 เมตร กว้าง 700-1,000 เมตร แต่ละเขตฟางมีกำแพงและคูระบายน้ำล้อมรอบ และมีประตูเข้าออกของมันเองเพื่อความปลอดภัย โดยประตูจะเปิดในตอนเช้าและปิดในตอนกลางคืน มีทั้งหมดด้วยกัน 108 เขตฟาง (ไม่รวมตลาดอีก 2 ฟาง) จนบางคนเปรียบผังเมืองฉางอันเป็นกระดานหมากล้อม เพื่อนเพจที่ได้ดู <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> น่าจะคุ้นเคยกับภาพของเขตฟางเหล่านี้ นครฉางอันมีประตูเมือง 12 ประตู (Storyฯ เคยคุยถึงประตูเมืองโบราณแล้วใน https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/581451090649854 ) และประตูเมืองที่สำคัญเพราะเป็นประตูหลักในการเข้าออกเมืองนี้ก็คือประตูทิศใต้ที่มีชื่อว่า ประตูหมิงเต๋อ มันเป็นประตูเมืองประตูเดียวที่มีถึงห้าบาน โดยหนึ่งบานนั้นเป็นประตูที่เปิดใช้เฉพาะยามที่ฮ่องเต้เสด็จเข้าออกเมือง ถนนจูเชวี่ยนี้ ทิศใต้จรดประตูเมืองหมิงเต๋อที่กล่าวถึงข้างต้น ส่วนทิศเหนือนั้นจรดประตูเขตพระนครชื่อว่าประตูจูเชวี่ย และเลยผ่านเขตพระนครไปจรดประตูพระราชวังเฉิงเทียน อนึ่ง เขตพระนครหรือหวงเฉิง (皇城 / Royal City) นั้นคือส่วนที่เป็นบริเวณสถานที่ราชการต่างๆ ส่วนเขตพระราชวังหรือกงเฉิง (宫城 / Palace City) นั้นคือเขตที่ประทับของฮ่องเต้และเหล่าเชื้อพระวงศ์ ถนนจูเชวี่ยส่วนที่อยู่ในเขตพระนครนั้นเรียกว่า ถนนเฉิงเทียน ตามชื่อประตู และเป็นที่มาว่าถนนจูเชวี่ยถูกเรียกว่าถนน ‘เทียนเจีย’ (ถนนสวรรค์) ถนนจูเชวี่ยแห่งนครฉางอันในสมัยถังนั้น จริงแท้หน้าตาเป็นอย่างไรไม่ปรากฏภาพวาดเปรียบเทียบกับถนนอื่นอย่างชัดเจน แต่มีการขุดพบซากถนนเก่าที่ยืนยันขนาดของมันว่ามีความยาว กว่า 5 กม. ถนนหน้ากว้าง 150 เมตร (รวมคูข้างถนน ถ้าไม่รวมคือประมาณ 129-130 เมตร) และทุกระยะทาง 200 เมตรจะมีการขยายถนนออกไปเล็กน้อย คล้ายเป็นไหล่ทาง มีไว้ให้คนยืนหลบเวลาที่ฮ่องเต้เสด็จผ่าน --- ลองนึกเปรียบเทียบดูว่า ถนนบ้านเราปัจจุบันตามกฎหมายกว้าง 3 เมตร ดังนั้นความกว้างของถนนจูเชวี่ยเทียบเท่าถนนห้าสิบเลนปัจจุบันของเราเลยทีเดียว! ทีนี้เพื่อนเพจคงนึกภาพตามได้ไม่ยากแล้วว่า ในละครที่เราเห็นภาพฮ่องเต้ทรงอวยพรให้แม่ทัพและเหล่ากองกำลังทหารก่อนเดินทัพออกจากพระราชวังนั้น เขามีถนนใหญ่อย่างนี้จริง มีคนวิเคราะห์ไว้ว่า ขนาดความกว้างของถนนจูเชวี่ยนี้ เป็นเพราะระยะทางการยิงของธนูธรรมดาในสมัยนั้น ยิงได้ไกลประมาณ 60 เมตร ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของขบวนเสด็จของฮ่องเต้ ถนนจูเชวี่ยจึงต้องมีความกว้างถึง 150 เมตร แต่ไม่ใช่ถนนทุกสายที่มีหน้ากว้างขนาดนี้ ถนนสายรองของเมืองมีหน้ากว้างปกติ 40-70 เมตร และถนนเล็กเลียบกำแพงเมืองจะมีหน้ากว้างไม่เกิน 25 เมตร ส่วนถนนระหว่างเขตฟางส่วนใหญ่มีความกว้างเพียงให้รถเกวียนหรือรถม้าสองคันวิ่งสวนกัน ถนนจูเชวี่ยใหญ่ขนาดนี้ ใช่ถนนช้อปปิ้งหรือไม่? จากบันทึกโบราณ สถานช้อปปิ้งหลักของนครฉางอันคือตลาดตะวันตกและตลาดตะวันออก (ดูรูปผังเมืองที่แปะมา) โดยสินค้าในตลาดตะวันตกส่วนใหญ่เป็นสินค้าพื้นบ้านหรือของนำเข้าจากเมืองอื่นสำหรับชาวบ้านทั่วไป แต่สินค้าในตลาดตะวันออกจากมีราคาสูงขึ้นมาอีก เพราะกลุ่มลูกค้าจะเป็นชนชั้นสูง ส่วนถนนจูเชวี่ยนั้น สองฝั่งฟากส่วนใหญ่เป็นวัดวาอารามและหอชมวิว (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.niusnews.com/=P0123ga33 https://n.znds.com/article/39071.html http://v.xiancity.cn/folder11/folder186/2016-11-25/89648.html https://m.planning.org.cn/zx_news/9888.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.planning.org.cn/zx_news/9888.htm https://en.unesco.org/silkroad/content/did-you-know-cosmopolitan-city-changan-eastern-end-silk-roads https://i.ifeng.com/c/8NbyjwjSa8B https://kknews.cc/history/6o6lop.html https://kknews.cc/news/e8orjvn.html https://www.gugong.net/zhongguo/tangchao/29679.html #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #ฉางอัน #ถนนจูเชวี่ย #ถนนสวรรค์
    0 Comments 0 Shares 1410 Views 0 Reviews
  • Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ

    วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้
    ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน”
    สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น”
    - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์

    บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ

    แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร?

    ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น

    Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา)

    หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ

    อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29
    https://www.sohu.com/a/155060661_701638
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html
    https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645
    https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579
    http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf

    #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้ ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น” - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์ บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร? ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา) หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29 https://www.sohu.com/a/155060661_701638 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645 https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579 http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    0 Comments 0 Shares 1220 Views 0 Reviews
  • วันเวลาประชุมท้องพระโรงสมัยถัง

    สวัสดีค่ะ หยุดปีใหม่ไปแล้ว วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการทำงาน เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นตากับภาพที่เหล่าขุนนางระดับสูงต้องตื่นแต่เช้ามายืนเข้าแถวเพื่อร่วมประชุมท้องพระโรง ไม่ทราบว่ามีใคร ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ กันบ้างไหมว่า เขา ‘เข้างาน’ กันเมื่อไหร่?

    ความถี่และชั่วโมงการประชุมท้องพระโรงเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยค่ะ วันนี้เราคุยกันเกี่ยวกับสมัยถัง ในบันทึกรวมบทกฎหมายถังลิ่วเตี่ยน (唐六典) มีระบุไว้ดังนี้: ขุนนางติดยศระดับห้าและสูงกว่าที่ประจำอยู่ในเมืองหลวง และข้าราชสำนักที่ต้องถวายงานใกล้ชิด ให้เข้าร่วมประชุมท้องพระโรงทุกวัน ส่วนขุนนางติดยศระดับเก้าจนถึงระดับหกที่ประจำอยู่ในเมืองหลวง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบุ๋นหรือบู๊ ต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่ทุกวันที่หนึ่งและสิบห้าของเดือน และในวันสำคัญอื่นๆ ที่กำหนด เช่นวันแรกแห่งปี เป็นต้น

    ส่วนขุนนางในพื้นที่อื่นนั้น หากจะเข้าร่วมประชุมท้องพระโรงต้องเป็นขุนนางติดยศระดับห้าหรือสูงกว่า และต้องได้รับการเรียกตัวจากฮ่องเต้ ไม่อย่างนั้นก็เข้าร่วมไม่ได้

    นักการเมืองและกวีเอกสมัยถัง ไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) เคยเขียนไว้ในบทกวี “กลับค่ำออกแต่เช้า” (晚归早出) บรรยายถึงกิจวัตรประจำวันการทำงานโดยมีวรรคหนึ่งเขียนไว้ว่า “ออกจากที่ทำการก็มืดแล้ว คำนับหัวจรดพื้นในยามรุ่งสาง” ซึ่งก็คือเริ่มไปประชุมท้องพระโรงก่อนฟ้าสว่าง กว่าจะได้กลับบ้านก็ดึก

    ประชุมท้องพระโรงสมัยนั้นเริ่มตีห้า แต่เหล่าขุนนางต้องไปเตรียมตัวรอเข้าเฝ้าตั้งแต่ประมาณตีสี่ ระยะเวลาการประชุมนั้นไม่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่จะเลิกประชุมระหว่างยามเฉินและยามซื่อ (คือ07.00-10.59น.) หลังจากนั้นก็แยกย้ายกันไปเข้าออฟฟิศที่กรม/กระทรวงของตัวเอง กว่าจะเลิกงานก็ประมาณยามเซิน (คือ 15.00-17.00น.) มีปรับเวลาตามฤดู กล่าวคือถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวก็ประมาณ 15.00น. ฤดูร้อนก็ค่อนไปทาง 17.00น. ถ้าใครมีงานมากก็ต้องอยู่เย็นกว่านั้น

    ชั่วโมงทำงานไม่โหดร้าย แต่คงต้องคิดถึงเวลาเดินทางไปกลับจากที่ทำงาน

    ก่อนอื่นมาทวนความทรงจำเกี่ยวกับนครฉางอันและถนนจูเชวี่ยที่คุยกันไปก่อนปีใหม่ (ดูรูปประกอบ 2) จากในรูปจะเห็นว่าเหล่าสถานที่ราชการ (กรม กระทรวง ศาล ฯลฯ) ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าเขตพระนครหรือหวงเฉิง (皇城 / Royal City) ขึ้นเหนือไปอีกคือเขตพระราชวังหรือกงเฉิง (宫城 / Palace City) และพื้นที่รอบๆ เขตพระนครและเขตพระราชวังนี้ถูกซอยแบ่งเป็นเขตฟางสำหรับอยู่อาศัย

    สถานที่ราชการทั้งหลายอยู่ในเขตพระนคร แต่ขุนนางติดยศทั้งหลายไม่ได้พำนักอยู่ในเขตพระนคร หากแต่กระจายอยู่ตามเขตฟางใกล้ๆ และไม่ใช่ทุกคนที่ขี่ม้าหรือนั่งรถม้ามาทำงานได้ ส่วนใหญ่จะนั่งเกี้ยว (ก็ยังพอได้งีบระหว่างเดินทางบ้าง) ซึ่งขนาดของเกี้ยวและจำนวนคนที่หามเกี้ยวก็จะลดหลั่นกันไปตามยศขุนนาง แต่เมื่อถึงประตูเขตพระราชวังก็ต้องเดินเท้าทั้งหมด

    จากประตูเขตพระราชวังทางทิศใต้ที่เหล่าขุนนางเดินเข้ามา ต้องเดินขึ้นไปเรื่อยจนเหนือสุดที่เป็นติ่งออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครฉางอัน (กรุณาดูรูปประกอบ) ซึ่งก็คือบริเวณพระราชฐาน พระราชวังต้าหมิงกง (大明宫 / Daming Grand Palace) และสถานที่ประชุมท้องพระโรงก็คือพระที่นั่งจื่อเฉิน (紫宸殿)

    เพื่อนเพจลองดูระยะทางจากเขตฟางแถวๆ หน้าประตูจูเชวี่ยทางใต้ของเขตพระนคร ขึ้นไปยังพระที่นั่งจื่อเฉินในแผนที่ ก็จะเห็นได้ว่า ระยะทางนี้ไม่น้อยเลย (อย่าลืมว่าถนนจูเชวี่ยยาวกว่า 5 กิโลเมตร และเขตฟางหนึ่งมีหน้ากว้างประมาณ 0.6-1 กิโลเมตร) ลองคิดเอาว่าถ้าต้องเดินเท้าระยะทางนี้จะใช้เวลานานเท่าใด ดังนั้น จึงไม่แปลกที่เหล่าขุนนางต้องตื่นตั้งแต่ตีหนึ่งตีสองแต่งตัวออกจากบ้านเพื่อไปให้ถึงพระที่นั่งจื่อเฉินตอนตีสี่เพื่อรอเข้าประชุม เพราะว่าถ้าไปสายจะโดนหักเงินเดือน และกว่าจะเลิกงานกลับถึงบ้านก็มืดแล้วจริงๆ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/657711648
    https://baike.baidu.com/item/唐长安城/5845041
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://gushiju.net/ju/279740
    https://www.sohu.com/a/199347205_527107
    https://www.sohu.com/a/199977205_653164
    https://baike.baidu.com/item/紫宸殿/3232283
    https://kknews.cc/history/6kzmj8v.html
    http://www.shxdx.com:8080/dxb/newspaper/1206/4ban/02.html#:~:text=唐代的长安城,分隔成许多方块区域

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ฉางอัน #ประชุมท้องพระโรง #พระที่นั่งจื่อเฉิน #พระราชวังต้าหมิงกง
    วันเวลาประชุมท้องพระโรงสมัยถัง สวัสดีค่ะ หยุดปีใหม่ไปแล้ว วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการทำงาน เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นตากับภาพที่เหล่าขุนนางระดับสูงต้องตื่นแต่เช้ามายืนเข้าแถวเพื่อร่วมประชุมท้องพระโรง ไม่ทราบว่ามีใคร ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ กันบ้างไหมว่า เขา ‘เข้างาน’ กันเมื่อไหร่? ความถี่และชั่วโมงการประชุมท้องพระโรงเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยค่ะ วันนี้เราคุยกันเกี่ยวกับสมัยถัง ในบันทึกรวมบทกฎหมายถังลิ่วเตี่ยน (唐六典) มีระบุไว้ดังนี้: ขุนนางติดยศระดับห้าและสูงกว่าที่ประจำอยู่ในเมืองหลวง และข้าราชสำนักที่ต้องถวายงานใกล้ชิด ให้เข้าร่วมประชุมท้องพระโรงทุกวัน ส่วนขุนนางติดยศระดับเก้าจนถึงระดับหกที่ประจำอยู่ในเมืองหลวง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบุ๋นหรือบู๊ ต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่ทุกวันที่หนึ่งและสิบห้าของเดือน และในวันสำคัญอื่นๆ ที่กำหนด เช่นวันแรกแห่งปี เป็นต้น ส่วนขุนนางในพื้นที่อื่นนั้น หากจะเข้าร่วมประชุมท้องพระโรงต้องเป็นขุนนางติดยศระดับห้าหรือสูงกว่า และต้องได้รับการเรียกตัวจากฮ่องเต้ ไม่อย่างนั้นก็เข้าร่วมไม่ได้ นักการเมืองและกวีเอกสมัยถัง ไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) เคยเขียนไว้ในบทกวี “กลับค่ำออกแต่เช้า” (晚归早出) บรรยายถึงกิจวัตรประจำวันการทำงานโดยมีวรรคหนึ่งเขียนไว้ว่า “ออกจากที่ทำการก็มืดแล้ว คำนับหัวจรดพื้นในยามรุ่งสาง” ซึ่งก็คือเริ่มไปประชุมท้องพระโรงก่อนฟ้าสว่าง กว่าจะได้กลับบ้านก็ดึก ประชุมท้องพระโรงสมัยนั้นเริ่มตีห้า แต่เหล่าขุนนางต้องไปเตรียมตัวรอเข้าเฝ้าตั้งแต่ประมาณตีสี่ ระยะเวลาการประชุมนั้นไม่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่จะเลิกประชุมระหว่างยามเฉินและยามซื่อ (คือ07.00-10.59น.) หลังจากนั้นก็แยกย้ายกันไปเข้าออฟฟิศที่กรม/กระทรวงของตัวเอง กว่าจะเลิกงานก็ประมาณยามเซิน (คือ 15.00-17.00น.) มีปรับเวลาตามฤดู กล่าวคือถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวก็ประมาณ 15.00น. ฤดูร้อนก็ค่อนไปทาง 17.00น. ถ้าใครมีงานมากก็ต้องอยู่เย็นกว่านั้น ชั่วโมงทำงานไม่โหดร้าย แต่คงต้องคิดถึงเวลาเดินทางไปกลับจากที่ทำงาน ก่อนอื่นมาทวนความทรงจำเกี่ยวกับนครฉางอันและถนนจูเชวี่ยที่คุยกันไปก่อนปีใหม่ (ดูรูปประกอบ 2) จากในรูปจะเห็นว่าเหล่าสถานที่ราชการ (กรม กระทรวง ศาล ฯลฯ) ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าเขตพระนครหรือหวงเฉิง (皇城 / Royal City) ขึ้นเหนือไปอีกคือเขตพระราชวังหรือกงเฉิง (宫城 / Palace City) และพื้นที่รอบๆ เขตพระนครและเขตพระราชวังนี้ถูกซอยแบ่งเป็นเขตฟางสำหรับอยู่อาศัย สถานที่ราชการทั้งหลายอยู่ในเขตพระนคร แต่ขุนนางติดยศทั้งหลายไม่ได้พำนักอยู่ในเขตพระนคร หากแต่กระจายอยู่ตามเขตฟางใกล้ๆ และไม่ใช่ทุกคนที่ขี่ม้าหรือนั่งรถม้ามาทำงานได้ ส่วนใหญ่จะนั่งเกี้ยว (ก็ยังพอได้งีบระหว่างเดินทางบ้าง) ซึ่งขนาดของเกี้ยวและจำนวนคนที่หามเกี้ยวก็จะลดหลั่นกันไปตามยศขุนนาง แต่เมื่อถึงประตูเขตพระราชวังก็ต้องเดินเท้าทั้งหมด จากประตูเขตพระราชวังทางทิศใต้ที่เหล่าขุนนางเดินเข้ามา ต้องเดินขึ้นไปเรื่อยจนเหนือสุดที่เป็นติ่งออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครฉางอัน (กรุณาดูรูปประกอบ) ซึ่งก็คือบริเวณพระราชฐาน พระราชวังต้าหมิงกง (大明宫 / Daming Grand Palace) และสถานที่ประชุมท้องพระโรงก็คือพระที่นั่งจื่อเฉิน (紫宸殿) เพื่อนเพจลองดูระยะทางจากเขตฟางแถวๆ หน้าประตูจูเชวี่ยทางใต้ของเขตพระนคร ขึ้นไปยังพระที่นั่งจื่อเฉินในแผนที่ ก็จะเห็นได้ว่า ระยะทางนี้ไม่น้อยเลย (อย่าลืมว่าถนนจูเชวี่ยยาวกว่า 5 กิโลเมตร และเขตฟางหนึ่งมีหน้ากว้างประมาณ 0.6-1 กิโลเมตร) ลองคิดเอาว่าถ้าต้องเดินเท้าระยะทางนี้จะใช้เวลานานเท่าใด ดังนั้น จึงไม่แปลกที่เหล่าขุนนางต้องตื่นตั้งแต่ตีหนึ่งตีสองแต่งตัวออกจากบ้านเพื่อไปให้ถึงพระที่นั่งจื่อเฉินตอนตีสี่เพื่อรอเข้าประชุม เพราะว่าถ้าไปสายจะโดนหักเงินเดือน และกว่าจะเลิกงานกลับถึงบ้านก็มืดแล้วจริงๆ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/657711648 https://baike.baidu.com/item/唐长安城/5845041 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://gushiju.net/ju/279740 https://www.sohu.com/a/199347205_527107 https://www.sohu.com/a/199977205_653164 https://baike.baidu.com/item/紫宸殿/3232283 https://kknews.cc/history/6kzmj8v.html http://www.shxdx.com:8080/dxb/newspaper/1206/4ban/02.html#:~:text=唐代的长安城,分隔成许多方块区域 #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ฉางอัน #ประชุมท้องพระโรง #พระที่นั่งจื่อเฉิน #พระราชวังต้าหมิงกง
    0 Comments 0 Shares 1280 Views 0 Reviews
  • เมืองลั่วหยางสมัยราชวงศ์ถัง

    สืบเนื่องจาก Storyฯ ได้คุยถึงผังเมืองของนครฉางอันไปเมื่อก่อนปีใหม่ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02cQKRgfWrxcLutCyxbav8Gf7oz28wFuamLUEMyAg6ZGgK1FC6zJZJtCkiwG45Nrvnl) มีเพื่อนเพจถามถึงเมืองลั่วหยาง Storyฯ เลยไปหาข้อมูลมาสรุปให้ฟังกันในวันนี้

    เมืองลั่วหยางเป็นเมืองโบราณที่สำคัญของหลายราชวงศ์ แต่ไม่ได้ตั้งอยู่ที่เดียวกันตลอดทุกยุคทุกสมัย (ดูรูปประกอบ 2 ซ้าย) และสถานะของเมืองก็แตกต่างไปตามยุคสมัยอีกด้วย

    เมืองลั่วหยางในสมัยถังแรกเริ่มเป็นเมืองหลวงรองเรียกว่านครตะวันออก (ตงตู / 东都) โดยมีนครฉางอันเป็นเมืองหลวงหลัก และตลอดยุคสมัยราชวงศ์ถังนี้เอง สถานะของลั่วหยางผันแปรไปมา ในบางรัชสมัยก็ขึ้นเป็นเมืองหลวงหลักเทียบเท่าฉางอัน ในบางรัชสมัยเป็นเมืองหลวงรอง และในสมัยของพระนางบูเช็คเทียน ลั่วหยางมีสถานะเป็นเมืองหลวงหลักในขณะที่ฉางอันกลายเป็นเมืองหลวงรอง โดยในสมัยของพระนางบูเช็คเทียนนั้น ลั่วหยางถูกเรียกว่า ‘เสินตู’ (神都 แปลตรงตัวว่าเทพนคร ... อ๊ะ... ที่แท้ก็ความหมายเดียวกับกรุงเทพฯ ของเรา!) แต่หลังจากนั้นสถานะของเมืองลั่วหยางก็แปรเปลี่ยนไปมาระหว่างเมืองหลวงหลักและเมืองหลวงรองอีกหลายครั้ง จนในปลายสมัยถัง ฉางอันถูกโจมตีเสียหายมาก ลั่วหยางจึงถูกใช้เป็นเมืองหลวงหลักจนสิ้นราชวงศ์ถังในปีค.ศ. 907 แต่หลังจากนั้นมาลั่วหยางก็ไม่เคยเป็นเมืองหลวงหลักของจีนอีกเลย

    เมืองลั่วหยางในสมัยถังมีขนาดประมาณ 7.3 x 7 กิโลเมตร ถนนที่นี่ไม่ใหญ่เท่าที่ฉางอัน ถนนใหญ่กว้าง 40-60 เมตร (เล็กกว่าถนนจูเชวี่ยที่ฉางอัน แต่ก็เทียบเท่าประมาณ 13-20 เลนแล้ว!) ถนนเล็กกว้างประมาณ 10 เมตร พื้นที่ถูกแบ่งเป็นเขตฟางเช่นเดียวกับนครฉางอัน มีทั้งสิ้น 103 เขตฟาง กว้างยาวเขตฟางละประมาณ 500-600 เมตร มีกำแพงและประตูเข้าออกของตนเองเหมือนกับที่ฉางอัน เขตที่อยู่อาศัยของเมืองลั่วหยางแบ่งออกเป็น 3 พื้นที่ คือโซนเหนือแม่น้ำลั่ว โซนใต้แม่น้ำลั่ว และโซนตะวันตก ในแต่ละโซนมีตลาดของมันเอง (ดูรูปประกอบ 2 ขวา) แม้ว่าจำนวนเขตฟางจะน้อยกว่านครฉางอัน แต่เมืองลั่วหยางก็แออัดใช่ย่อย... มันเคยมีประชากรสูงถึงกว่าสองล้านคน และเพราะมันตั้งอยู่บนแม่น้ำลั่ว อยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำเหลือง (ฮวงโห) อีกทั้งมีคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอ และเส้นทางบกหลายสายผ่านแนวเขาที่จัดว่าไม่สูงชัน เส้นทางคมนาคมจึงเอื้อต่อการขนส่ง ที่นี่จึงเป็นเมืองที่การค้าขายเจริญคึกคักนัก ว่ากันว่าตลาดใต้ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเมืองนั้น มีกว่า 3,000 ร้านค้าเลยทีเดียว

    เมืองลั่วหยางถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในเมืองที่มีฮวงจุ้ยดีที่สุดของจีน Storyฯ ก็ไม่เชี่ยวชาญศาสตร์แขนงนี้ แต่พอจะสรุปจากข้อมูลที่หาได้ว่า เป็นเพราะมันตั้งอยู่บนหนึ่งในสามมังกรที่ใหญ่ที่สุดของแผ่นดินจีนตามแนวเทือกเขาและแม่น้ำสายหลัก หรือที่จีนเรียกว่า ‘หลงม่าย’ (龙脉 แปลว่าชีพจรหรือเส้นเอ็นมังกร ไม่ใช่หลงใหลในแม่ม่ายนะจ๊ะ) ซึ่งในหลากหลายตำราอาจพูดถึงจำนวนมังกรที่แตกต่างกันไปและอาจมีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกันทีเดียว แต่ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงมังกรสามสายหลักที่เริ่มจากเขาคุนลุ้นทางตะวันตกมุ่งหน้าสู่ทะเลทางทิศตะวันออก (ดูรูปประกอบ 3 ซ้าย) เมืองลั่วหยางตั้งอยู่บนมังกรตัวกลาง ซึ่งตามศาสตร์ฮวงจุ้ย มังกรจะช่วยเสริมดวง เสริมทรัพย์และปกปักษ์รักษาให้แคล้วคลาดปลอดภัย

    นอกจากนี้ มันตั้งอยู่บนพื้นที่ราบที่โอบล้อมด้วยแม่น้ำเหลือง แม่น้ำลั่วและแม่น้ำอื่นๆ รวม 5 สาย ด้านเหนือของเมืองคือแนวเขาหมางซาน ด้านอื่นๆ มีภูเขาเช่นกัน มีลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ขุมทรัพย์ และในความเป็นจริง เมืองลั่วหยางอุดมสมบูรณ์ไม่ค่อยประสบภัยธรรมชาติ เพียงแต่แรกเริ่มถูกมองว่าชัยภูมิไม่เหมาะต่อการใช้เป็นเมืองหลวงเนื่องจากง่ายต่อการโจมตี ภายหลังจึงมีการสร้างด่านต่างๆ นอกเมืองขึ้นมารวม 8 ด่านเพื่อแก้จุดนี้ (ดูรูปประกอบ 3 ขวา)

    อนึ่ง เขาหมางซานทางทิศเหนือของเมืองลั่วหยางนี้ ว่ากันว่าเป็นภูเขาที่มีฮวงจุ้ยที่ดีที่สุดจนถึงกับมีวลีโบราณที่ว่า “ยามเป็นควรอยู่ในซูหาง (คือซูโจวและหางโจว) ยามตายควรฝังที่หมางซาน” จริงไม่จริงไม่ทราบ... แต่ที่แน่ๆ บนหมางซานมีสุสานกษัตริย์โบราณที่ขุดพบแล้วถึง 24 หลุมจาก 6 ราชวงศ์ ไม่นับสุสานของเชื้อพระวงศ์ ขุนนางระดับสูงและคนดังในอดีตอีกหลายคน

    จริงๆ ในตำราฮวงจุ้ยมีบรรยายละเอียดกว่านี้ถึงข้อดีของที่ตั้งของเมืองลั่วหยาง แต่ Storyฯ ไม่สามารถเก็บรายละเอียดมาได้หมด เพื่อนเพจที่มีความรู้เรื่องนี้ขอเชิญเข้ามาแบ่งปันความรู้ได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://xinzhuobu.com/?p=4593
    http://www.xinhuanet.com/ent/20211209/11730dc352064a5e8c743656fad3dc44/c.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/442706959
    https://www.mdpi.com/2073-445X/12/3/663
    http://www.kaogu.cn/cn/kaoguyuandi/kaogubaike/2015/0316/49566.html
    http://www.zhlscm.com/news/?49_3719.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/420714890
    http://wwj.ly.gov.cn/bencandy.php?fid=125&id=13457#:~:text=隋朝,581年隋,为首都,两京并重。
    https://en.chinaculture.org/library/2008-02/15/content_33624.htm
    https://www.sohu.com/a/515579803_422134
    https://news.lyd.com.cn/system/2020/08/25/031785380.shtml

    #ตำนานลั่วหยาง #เมืองลั่วหยาง #มังกรจีน #ฮวงจุ้ยเมืองลั่วหยาง
    เมืองลั่วหยางสมัยราชวงศ์ถัง สืบเนื่องจาก Storyฯ ได้คุยถึงผังเมืองของนครฉางอันไปเมื่อก่อนปีใหม่ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02cQKRgfWrxcLutCyxbav8Gf7oz28wFuamLUEMyAg6ZGgK1FC6zJZJtCkiwG45Nrvnl) มีเพื่อนเพจถามถึงเมืองลั่วหยาง Storyฯ เลยไปหาข้อมูลมาสรุปให้ฟังกันในวันนี้ เมืองลั่วหยางเป็นเมืองโบราณที่สำคัญของหลายราชวงศ์ แต่ไม่ได้ตั้งอยู่ที่เดียวกันตลอดทุกยุคทุกสมัย (ดูรูปประกอบ 2 ซ้าย) และสถานะของเมืองก็แตกต่างไปตามยุคสมัยอีกด้วย เมืองลั่วหยางในสมัยถังแรกเริ่มเป็นเมืองหลวงรองเรียกว่านครตะวันออก (ตงตู / 东都) โดยมีนครฉางอันเป็นเมืองหลวงหลัก และตลอดยุคสมัยราชวงศ์ถังนี้เอง สถานะของลั่วหยางผันแปรไปมา ในบางรัชสมัยก็ขึ้นเป็นเมืองหลวงหลักเทียบเท่าฉางอัน ในบางรัชสมัยเป็นเมืองหลวงรอง และในสมัยของพระนางบูเช็คเทียน ลั่วหยางมีสถานะเป็นเมืองหลวงหลักในขณะที่ฉางอันกลายเป็นเมืองหลวงรอง โดยในสมัยของพระนางบูเช็คเทียนนั้น ลั่วหยางถูกเรียกว่า ‘เสินตู’ (神都 แปลตรงตัวว่าเทพนคร ... อ๊ะ... ที่แท้ก็ความหมายเดียวกับกรุงเทพฯ ของเรา!) แต่หลังจากนั้นสถานะของเมืองลั่วหยางก็แปรเปลี่ยนไปมาระหว่างเมืองหลวงหลักและเมืองหลวงรองอีกหลายครั้ง จนในปลายสมัยถัง ฉางอันถูกโจมตีเสียหายมาก ลั่วหยางจึงถูกใช้เป็นเมืองหลวงหลักจนสิ้นราชวงศ์ถังในปีค.ศ. 907 แต่หลังจากนั้นมาลั่วหยางก็ไม่เคยเป็นเมืองหลวงหลักของจีนอีกเลย เมืองลั่วหยางในสมัยถังมีขนาดประมาณ 7.3 x 7 กิโลเมตร ถนนที่นี่ไม่ใหญ่เท่าที่ฉางอัน ถนนใหญ่กว้าง 40-60 เมตร (เล็กกว่าถนนจูเชวี่ยที่ฉางอัน แต่ก็เทียบเท่าประมาณ 13-20 เลนแล้ว!) ถนนเล็กกว้างประมาณ 10 เมตร พื้นที่ถูกแบ่งเป็นเขตฟางเช่นเดียวกับนครฉางอัน มีทั้งสิ้น 103 เขตฟาง กว้างยาวเขตฟางละประมาณ 500-600 เมตร มีกำแพงและประตูเข้าออกของตนเองเหมือนกับที่ฉางอัน เขตที่อยู่อาศัยของเมืองลั่วหยางแบ่งออกเป็น 3 พื้นที่ คือโซนเหนือแม่น้ำลั่ว โซนใต้แม่น้ำลั่ว และโซนตะวันตก ในแต่ละโซนมีตลาดของมันเอง (ดูรูปประกอบ 2 ขวา) แม้ว่าจำนวนเขตฟางจะน้อยกว่านครฉางอัน แต่เมืองลั่วหยางก็แออัดใช่ย่อย... มันเคยมีประชากรสูงถึงกว่าสองล้านคน และเพราะมันตั้งอยู่บนแม่น้ำลั่ว อยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำเหลือง (ฮวงโห) อีกทั้งมีคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอ และเส้นทางบกหลายสายผ่านแนวเขาที่จัดว่าไม่สูงชัน เส้นทางคมนาคมจึงเอื้อต่อการขนส่ง ที่นี่จึงเป็นเมืองที่การค้าขายเจริญคึกคักนัก ว่ากันว่าตลาดใต้ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเมืองนั้น มีกว่า 3,000 ร้านค้าเลยทีเดียว เมืองลั่วหยางถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในเมืองที่มีฮวงจุ้ยดีที่สุดของจีน Storyฯ ก็ไม่เชี่ยวชาญศาสตร์แขนงนี้ แต่พอจะสรุปจากข้อมูลที่หาได้ว่า เป็นเพราะมันตั้งอยู่บนหนึ่งในสามมังกรที่ใหญ่ที่สุดของแผ่นดินจีนตามแนวเทือกเขาและแม่น้ำสายหลัก หรือที่จีนเรียกว่า ‘หลงม่าย’ (龙脉 แปลว่าชีพจรหรือเส้นเอ็นมังกร ไม่ใช่หลงใหลในแม่ม่ายนะจ๊ะ) ซึ่งในหลากหลายตำราอาจพูดถึงจำนวนมังกรที่แตกต่างกันไปและอาจมีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกันทีเดียว แต่ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงมังกรสามสายหลักที่เริ่มจากเขาคุนลุ้นทางตะวันตกมุ่งหน้าสู่ทะเลทางทิศตะวันออก (ดูรูปประกอบ 3 ซ้าย) เมืองลั่วหยางตั้งอยู่บนมังกรตัวกลาง ซึ่งตามศาสตร์ฮวงจุ้ย มังกรจะช่วยเสริมดวง เสริมทรัพย์และปกปักษ์รักษาให้แคล้วคลาดปลอดภัย นอกจากนี้ มันตั้งอยู่บนพื้นที่ราบที่โอบล้อมด้วยแม่น้ำเหลือง แม่น้ำลั่วและแม่น้ำอื่นๆ รวม 5 สาย ด้านเหนือของเมืองคือแนวเขาหมางซาน ด้านอื่นๆ มีภูเขาเช่นกัน มีลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ขุมทรัพย์ และในความเป็นจริง เมืองลั่วหยางอุดมสมบูรณ์ไม่ค่อยประสบภัยธรรมชาติ เพียงแต่แรกเริ่มถูกมองว่าชัยภูมิไม่เหมาะต่อการใช้เป็นเมืองหลวงเนื่องจากง่ายต่อการโจมตี ภายหลังจึงมีการสร้างด่านต่างๆ นอกเมืองขึ้นมารวม 8 ด่านเพื่อแก้จุดนี้ (ดูรูปประกอบ 3 ขวา) อนึ่ง เขาหมางซานทางทิศเหนือของเมืองลั่วหยางนี้ ว่ากันว่าเป็นภูเขาที่มีฮวงจุ้ยที่ดีที่สุดจนถึงกับมีวลีโบราณที่ว่า “ยามเป็นควรอยู่ในซูหาง (คือซูโจวและหางโจว) ยามตายควรฝังที่หมางซาน” จริงไม่จริงไม่ทราบ... แต่ที่แน่ๆ บนหมางซานมีสุสานกษัตริย์โบราณที่ขุดพบแล้วถึง 24 หลุมจาก 6 ราชวงศ์ ไม่นับสุสานของเชื้อพระวงศ์ ขุนนางระดับสูงและคนดังในอดีตอีกหลายคน จริงๆ ในตำราฮวงจุ้ยมีบรรยายละเอียดกว่านี้ถึงข้อดีของที่ตั้งของเมืองลั่วหยาง แต่ Storyฯ ไม่สามารถเก็บรายละเอียดมาได้หมด เพื่อนเพจที่มีความรู้เรื่องนี้ขอเชิญเข้ามาแบ่งปันความรู้ได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก: https://xinzhuobu.com/?p=4593 http://www.xinhuanet.com/ent/20211209/11730dc352064a5e8c743656fad3dc44/c.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/442706959 https://www.mdpi.com/2073-445X/12/3/663 http://www.kaogu.cn/cn/kaoguyuandi/kaogubaike/2015/0316/49566.html http://www.zhlscm.com/news/?49_3719.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/420714890 http://wwj.ly.gov.cn/bencandy.php?fid=125&id=13457#:~:text=隋朝,581年隋,为首都,两京并重。 https://en.chinaculture.org/library/2008-02/15/content_33624.htm https://www.sohu.com/a/515579803_422134 https://news.lyd.com.cn/system/2020/08/25/031785380.shtml #ตำนานลั่วหยาง #เมืองลั่วหยาง #มังกรจีน #ฮวงจุ้ยเมืองลั่วหยาง
    0 Comments 0 Shares 1128 Views 0 Reviews
  • เสบียงของทหารจีนโบราณ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูละครหรืออ่านนิยายเรื่อง <สยบรักจอมเสเพล> จะเห็นว่าหนึ่งในสาระการเดินเรื่องที่สำคัญคือการจัดหาเสบียงไว้ใช้ในยามศึก แม้ว่าฉากหน้าร้านจะมีข้าวหลายชนิด แต่เวลาขนส่งเป็นกระสอบมักเป็นภาพของข้าวสารสีขาว ละครเรื่องอื่นส่วนใหญ่ก็เช่นกัน ไม่ทราบว่ามีใคร ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ ไหมว่า ดำนาปลูกข้าวต้องใช้น้ำปริมาณมาก จีนโบราณเขาสามารถมีข้าวเป็นเสบียงได้มากมายเชียวหรือ?

    วันนี้เราเลยมาคุยกันเรื่องเสบียงของทหารจีนโบราณ

    ก่อนอื่นคุยกันเรื่องชนิดของข้าว ข้าวขาวเรียกว่า ‘หมี่’ (米) หรือ ‘ต้าหมี่’ หรือ ‘เต้าหมี่’ (大米 / 稻米) แต่จริงๆ แล้วคำว่า ‘หมี่’ ใช้หมายถึงข้าวชนิดอื่นได้ด้วยโดยเฉพาะเมื่อใช้ในบริบทของเสบียง ข้าวที่ใช้เป็นเสบียงอาหารหลักในสมัยจีนโบราณ (และเป็นอาหารของคนทั่วไปที่ไม่ได้มีเงินมากมาย) จริงๆ แล้วคือข้าวฟ่าง เรียกว่า ‘เสียวหมี่’ ( 小米 … ใช่ค่ะ คือชื่อแบรนด์มือถือและอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์จีนที่เราคุ้นหูกันดี) (ดูรูปประกอบ2) หรือที่ในละคร <สยบรักจอมเสเพล> เรียกว่า ‘หวงหมี่’ (แปลตรงตัวว่าข้าวเหลือง)

    ข้าวฟ่างถูกใช้เป็นเสบียงหลักของทหารมาหลายพันปี ต่อเนื่องตั้งแต่สมัยฉินจนสมัยถัง และยังมีใช้บ้างในสมัยซ่ง ทั้งนี้ เพราะมันทนต่อสภาวะน้ำแล้ง จึงปลูกได้หลายพื้นที่ มีผลผลิตสูงเมื่อเทียบกับข้าวชนิดอื่น โดยเฉพาะในสมัยแรกๆ ที่ยังไม่ค่อยมีวิวัฒนาการด้านการเกษตร เมื่อผลผลิตสูงก็มีราคาต่ำกว่าข้าวชนิดอื่น ในบางยุคสมัยถูกกว่าถึงสองสามเท่า ใช้เป็นเสบียงได้ทั้งคนและม้าศึก นอกจากนี้ ข้าวฟ่างหุงสุกง่ายเพราะเปลือกไม่หนา และสามารถเก็บได้นานเป็น 9-10ปี ว่ากันว่าข้าวฟ่างในคลังหลวงของนครฉางอันภายหลังจากราชวงศ์สุยถูกล้มล้างลงนั้น ถูกใช้ต่อเนื่องมาในสมัยถังได้อีก 11 ปีเลยทีเดียว

    วิธีปรุงอาหารที่ง่ายที่สุดสำหรับกองทัพก็คือข้าวต้ม จึงไม่แปลกที่เราเห็นทหารยกชามข้าวซดกันในซีรีส์ ในสมัยนั้นมีการพกเนื้อสัตว์หรือเนื้อปลาตากแห้งไปกินแกล้ม แต่ก็มีล่าสัตว์เพิ่มเติมเวลาตั้งค่าย มีผักอะไรหาได้ก็ใส่ๆ ลงไป นั่นคืออาหารของทหารสมัยนั้น บางทีก็มีข้าวหรือธัญพืชชนิดอื่นผสม เช่นข้าวบาร์เลย์ แล้วแต่ว่าช่วงนั้นมีผลผลิตอะไรราคาถูกในพื้นที่นั้นๆ

    โจ๊กจึงเป็นอาหารหลักของกองทัพมาหลายยุคสมัย ภายหลังยุคชุนชิวก็มีหมั่นโถวมาเพิ่ม จวบจนสมัยชิงที่เน้นกินเนื้อสัตว์มากกว่าเน้นข้าว ทั้งนี้ เพื่อลดการขนส่งข้าวให้น้อยลงเพราะมันมีความยุ่งยากและสูญเสียมากระหว่างเดินทางไกล โดยมีการต้อนวัวและแกะไปพร้อมกับกองทัพ เวลาจะกินค่อยฆ่า ซึ่งภาพการเดินทัพและขนเสบียงแบบนี้ Storyฯ คิดว่าไม่เคยเห็นในซีรีส์ แต่ถ้าใครเคยผ่านตาแวะมาเล่าสู่กันฟังได้ค่ะ

    แต่จะต้มโจ๊กหรือนึ่งหมั่นโถวได้ต้องตั้งครัว ในยามที่ต้องเตรียมพร้อมรบอยู่ตลอดเวลาย่อมไม่สะดวก จึงต้องมีเสบียงอย่างอื่นที่สะดวกต่อการพกพาไม่ต้องเสียเวลาตั้งครัว เสบียงที่ว่านี้คืออะไร?

    จริงแล้วในสมัยฮั่น มีการปลูกข้าวสาลีมากขึ้นกว่ายุคก่อน แต่ปริมาณยังน้อยกว่าข้าวฟ่าง ไม่เหมาะใช้กินเป็นอาหารหลัก แต่นิยมใช้บดเป็นแป้งมาทำเปี๊ยะ เรียกว่า ‘กัวคุย’ (锅盔 ดูรูปประกอบ 3 ซ้าย) ทำจากแป้งข้าวสาลีและน้ำเป็นหลัก นำมานาบและปิ้งในหม้อดินเผาด้วยไฟอ่อน พลิกไปพลิกมาจนสุก เปี๊ยะนี้ใหญ่และหนาเป็นนิ้ว เนื้อแป้งแน่นๆ แข็งๆ สามารถเก็บได้นาน 10-15 วัน แต่แน่นอนว่ารสชาติมันไม่ค่อยน่าพิสมัยเพราะแห้งมาก เวลากินจึงนิยมป้ายน้ำจิ้มลงไปให้มันนุ่มและมีรสชาติมากขึ้น ซึ่งน้ำจิ้มที่ว่านี้โดยหลักก็จะเป็นพวกถั่วหมักเค็มซึ่งพัฒนาขึ้นเป็นซีอิ๊วและเต้าเจี้ยว หรือหากมีน้ำแกงหรือน้ำเต้าหู้ก็แช่จนนิ่มกินก็จะมีรสชาติมากขึ้น

    ว่ากันว่าในสมัยฉิน ทหารได้รับการแจกจ่ายเปี๊ยะกัวคุยกันคนละสองแผ่น แผ่นหนึ่งหนาประมาณเกือบนิ้วหนักประมาณ 1-2 กิโลกรัม เวลาพกก็เจาะรูร้อยเชือกหนังแขวนพาดบ่าไว้ แผ่นหนึ่งอยู่ด้านหน้า แผ่นหนึ่งอยู่ด้านหลัง เวลาโดนข้าศึกลอบยิงธนูใส่ยังสามารถใช้เป็นเกราะกำบัง! แต่เรื่องนี้ Storyฯ อ่านเจอก็ไม่แน่ใจว่าจริงเท็จประการใด เอาเป็นว่า ให้เห็นภาพว่ากัวคุยนั้นหนาและแข็งก็แล้วกันนะคะ

    ต่อมาในสมัยถังและซ่ง เสบียงที่ใช้พกพานั้นคือ ‘ซาวปิ่ง’ (烧饼) ในยุคนั้นมีทหารม้าจำนวนมาก การพกซาวปิ่งจึงกลายเป็นเสบียงหลักเพราะสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย และมันเป็นอาหารที่ถูกปากเหล่าทหารไม่น้อย เพราะซาวปิ่งในสมัยนั้นเป็นอาหารที่นิยมแพร่หลายในหมู่ชน ทั้งเป็นอาหารหลักและของกินเล่น มันก็คือเปี๊ยะที่เอามาปิ้งหรือทอดที่เราเห็นบ่อยๆ ในซีรีส์ หน้าตาของซาวปิ่งมีส่วนคล้ายกัวคุยที่กล่าวถึงข้างต้น อ่านดูก็ไม่แน่ใจว่าต่างกันอย่างไร แต่เข้าใจว่าซาวปิ่งมีการปรุงแต่งมากกว่า เช่นเอาแป้งผสมเนื้อและต้นหอม ผสมเนยจามรี สุกแล้วกรอบนอกนุ่มใน เนื้อแป้งด้านในเป็นชั้นๆ (นึกภาพคล้ายเนื้อแป้งโรตี) ซึ่งแตกต่างจากกัวคุย (ดูรูปเปรียบเทียบในรูป 3) ปัจจุบันซาวปิ่งยังเป็นที่นิยมอยู่ในหลายพื้นที่ หน้าตาและส่วนผสมแตกต่างกันไปแล้วแต่พื้นที่ มีทั้งแบบใส่ไส้และไม่ใส่ไส้

    ต่อมาในสมัยหมิงมีการพัฒนาเสบียงพกพาแบบใหม่ขึ้นอีกและเปลี่ยนมาใช้ข้าวขาวแทนข้าวฟ่าง เนื่องจากในยุคสมัยนี้ผลผลิตข้าวขาวสูงขึ้นมาก เกิดเป็นไอเดียเอาข้าวสุกตากแห้งพกเป็นเสบียง เวลาจะกินก็เติมน้ำอุ่นน้ำร้อนแช่ทิ้งไว้ กลายเป็นข้าวต้ม นับว่าเป็นอาหารจานด่วนโดยแท้ จะเรียกว่าเป็นต้นกำเนิดของโจ๊กและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ไหมนะ?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://k.sina.cn/article_5113022164_130c286d4040011jeu.html?from=ent&subch=oent
    http://www.foodwifi.net/jkys/201710/72511.html
    https://k.sina.cn/article_5899149139_15f9ddf5300100eewv.html
    http://m.qulishi.com/article/202105/513111.html
    https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c43040013i62.html
    https://www.zhihu.com/tardis/zm/art/351540381?source_id=1003
    https://www.sohu.com/a/239218972_155326
    http://m.qulishi.com/article/202011/453756.html#:~:text=锅盔是一种烙,锅盔都同样好吃
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/566492773
    https://www.toutiao.com/article/6967140332173656583/
    https://k.sina.cn/article_5502315099_147f6aa5b00100k0jm.html
    https://www.sohu.com/a/710019104_121119015
    https://www.meishichina.com/mofang/shaobing/

    #สยบรักจอมเสเพล #เสบียงทหารโบราณ #ข้าวฟ่าง #แป้งปิ้ง
    เสบียงของทหารจีนโบราณ เพื่อนเพจที่ได้ดูละครหรืออ่านนิยายเรื่อง <สยบรักจอมเสเพล> จะเห็นว่าหนึ่งในสาระการเดินเรื่องที่สำคัญคือการจัดหาเสบียงไว้ใช้ในยามศึก แม้ว่าฉากหน้าร้านจะมีข้าวหลายชนิด แต่เวลาขนส่งเป็นกระสอบมักเป็นภาพของข้าวสารสีขาว ละครเรื่องอื่นส่วนใหญ่ก็เช่นกัน ไม่ทราบว่ามีใคร ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ ไหมว่า ดำนาปลูกข้าวต้องใช้น้ำปริมาณมาก จีนโบราณเขาสามารถมีข้าวเป็นเสบียงได้มากมายเชียวหรือ? วันนี้เราเลยมาคุยกันเรื่องเสบียงของทหารจีนโบราณ ก่อนอื่นคุยกันเรื่องชนิดของข้าว ข้าวขาวเรียกว่า ‘หมี่’ (米) หรือ ‘ต้าหมี่’ หรือ ‘เต้าหมี่’ (大米 / 稻米) แต่จริงๆ แล้วคำว่า ‘หมี่’ ใช้หมายถึงข้าวชนิดอื่นได้ด้วยโดยเฉพาะเมื่อใช้ในบริบทของเสบียง ข้าวที่ใช้เป็นเสบียงอาหารหลักในสมัยจีนโบราณ (และเป็นอาหารของคนทั่วไปที่ไม่ได้มีเงินมากมาย) จริงๆ แล้วคือข้าวฟ่าง เรียกว่า ‘เสียวหมี่’ ( 小米 … ใช่ค่ะ คือชื่อแบรนด์มือถือและอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์จีนที่เราคุ้นหูกันดี) (ดูรูปประกอบ2) หรือที่ในละคร <สยบรักจอมเสเพล> เรียกว่า ‘หวงหมี่’ (แปลตรงตัวว่าข้าวเหลือง) ข้าวฟ่างถูกใช้เป็นเสบียงหลักของทหารมาหลายพันปี ต่อเนื่องตั้งแต่สมัยฉินจนสมัยถัง และยังมีใช้บ้างในสมัยซ่ง ทั้งนี้ เพราะมันทนต่อสภาวะน้ำแล้ง จึงปลูกได้หลายพื้นที่ มีผลผลิตสูงเมื่อเทียบกับข้าวชนิดอื่น โดยเฉพาะในสมัยแรกๆ ที่ยังไม่ค่อยมีวิวัฒนาการด้านการเกษตร เมื่อผลผลิตสูงก็มีราคาต่ำกว่าข้าวชนิดอื่น ในบางยุคสมัยถูกกว่าถึงสองสามเท่า ใช้เป็นเสบียงได้ทั้งคนและม้าศึก นอกจากนี้ ข้าวฟ่างหุงสุกง่ายเพราะเปลือกไม่หนา และสามารถเก็บได้นานเป็น 9-10ปี ว่ากันว่าข้าวฟ่างในคลังหลวงของนครฉางอันภายหลังจากราชวงศ์สุยถูกล้มล้างลงนั้น ถูกใช้ต่อเนื่องมาในสมัยถังได้อีก 11 ปีเลยทีเดียว วิธีปรุงอาหารที่ง่ายที่สุดสำหรับกองทัพก็คือข้าวต้ม จึงไม่แปลกที่เราเห็นทหารยกชามข้าวซดกันในซีรีส์ ในสมัยนั้นมีการพกเนื้อสัตว์หรือเนื้อปลาตากแห้งไปกินแกล้ม แต่ก็มีล่าสัตว์เพิ่มเติมเวลาตั้งค่าย มีผักอะไรหาได้ก็ใส่ๆ ลงไป นั่นคืออาหารของทหารสมัยนั้น บางทีก็มีข้าวหรือธัญพืชชนิดอื่นผสม เช่นข้าวบาร์เลย์ แล้วแต่ว่าช่วงนั้นมีผลผลิตอะไรราคาถูกในพื้นที่นั้นๆ โจ๊กจึงเป็นอาหารหลักของกองทัพมาหลายยุคสมัย ภายหลังยุคชุนชิวก็มีหมั่นโถวมาเพิ่ม จวบจนสมัยชิงที่เน้นกินเนื้อสัตว์มากกว่าเน้นข้าว ทั้งนี้ เพื่อลดการขนส่งข้าวให้น้อยลงเพราะมันมีความยุ่งยากและสูญเสียมากระหว่างเดินทางไกล โดยมีการต้อนวัวและแกะไปพร้อมกับกองทัพ เวลาจะกินค่อยฆ่า ซึ่งภาพการเดินทัพและขนเสบียงแบบนี้ Storyฯ คิดว่าไม่เคยเห็นในซีรีส์ แต่ถ้าใครเคยผ่านตาแวะมาเล่าสู่กันฟังได้ค่ะ แต่จะต้มโจ๊กหรือนึ่งหมั่นโถวได้ต้องตั้งครัว ในยามที่ต้องเตรียมพร้อมรบอยู่ตลอดเวลาย่อมไม่สะดวก จึงต้องมีเสบียงอย่างอื่นที่สะดวกต่อการพกพาไม่ต้องเสียเวลาตั้งครัว เสบียงที่ว่านี้คืออะไร? จริงแล้วในสมัยฮั่น มีการปลูกข้าวสาลีมากขึ้นกว่ายุคก่อน แต่ปริมาณยังน้อยกว่าข้าวฟ่าง ไม่เหมาะใช้กินเป็นอาหารหลัก แต่นิยมใช้บดเป็นแป้งมาทำเปี๊ยะ เรียกว่า ‘กัวคุย’ (锅盔 ดูรูปประกอบ 3 ซ้าย) ทำจากแป้งข้าวสาลีและน้ำเป็นหลัก นำมานาบและปิ้งในหม้อดินเผาด้วยไฟอ่อน พลิกไปพลิกมาจนสุก เปี๊ยะนี้ใหญ่และหนาเป็นนิ้ว เนื้อแป้งแน่นๆ แข็งๆ สามารถเก็บได้นาน 10-15 วัน แต่แน่นอนว่ารสชาติมันไม่ค่อยน่าพิสมัยเพราะแห้งมาก เวลากินจึงนิยมป้ายน้ำจิ้มลงไปให้มันนุ่มและมีรสชาติมากขึ้น ซึ่งน้ำจิ้มที่ว่านี้โดยหลักก็จะเป็นพวกถั่วหมักเค็มซึ่งพัฒนาขึ้นเป็นซีอิ๊วและเต้าเจี้ยว หรือหากมีน้ำแกงหรือน้ำเต้าหู้ก็แช่จนนิ่มกินก็จะมีรสชาติมากขึ้น ว่ากันว่าในสมัยฉิน ทหารได้รับการแจกจ่ายเปี๊ยะกัวคุยกันคนละสองแผ่น แผ่นหนึ่งหนาประมาณเกือบนิ้วหนักประมาณ 1-2 กิโลกรัม เวลาพกก็เจาะรูร้อยเชือกหนังแขวนพาดบ่าไว้ แผ่นหนึ่งอยู่ด้านหน้า แผ่นหนึ่งอยู่ด้านหลัง เวลาโดนข้าศึกลอบยิงธนูใส่ยังสามารถใช้เป็นเกราะกำบัง! แต่เรื่องนี้ Storyฯ อ่านเจอก็ไม่แน่ใจว่าจริงเท็จประการใด เอาเป็นว่า ให้เห็นภาพว่ากัวคุยนั้นหนาและแข็งก็แล้วกันนะคะ ต่อมาในสมัยถังและซ่ง เสบียงที่ใช้พกพานั้นคือ ‘ซาวปิ่ง’ (烧饼) ในยุคนั้นมีทหารม้าจำนวนมาก การพกซาวปิ่งจึงกลายเป็นเสบียงหลักเพราะสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย และมันเป็นอาหารที่ถูกปากเหล่าทหารไม่น้อย เพราะซาวปิ่งในสมัยนั้นเป็นอาหารที่นิยมแพร่หลายในหมู่ชน ทั้งเป็นอาหารหลักและของกินเล่น มันก็คือเปี๊ยะที่เอามาปิ้งหรือทอดที่เราเห็นบ่อยๆ ในซีรีส์ หน้าตาของซาวปิ่งมีส่วนคล้ายกัวคุยที่กล่าวถึงข้างต้น อ่านดูก็ไม่แน่ใจว่าต่างกันอย่างไร แต่เข้าใจว่าซาวปิ่งมีการปรุงแต่งมากกว่า เช่นเอาแป้งผสมเนื้อและต้นหอม ผสมเนยจามรี สุกแล้วกรอบนอกนุ่มใน เนื้อแป้งด้านในเป็นชั้นๆ (นึกภาพคล้ายเนื้อแป้งโรตี) ซึ่งแตกต่างจากกัวคุย (ดูรูปเปรียบเทียบในรูป 3) ปัจจุบันซาวปิ่งยังเป็นที่นิยมอยู่ในหลายพื้นที่ หน้าตาและส่วนผสมแตกต่างกันไปแล้วแต่พื้นที่ มีทั้งแบบใส่ไส้และไม่ใส่ไส้ ต่อมาในสมัยหมิงมีการพัฒนาเสบียงพกพาแบบใหม่ขึ้นอีกและเปลี่ยนมาใช้ข้าวขาวแทนข้าวฟ่าง เนื่องจากในยุคสมัยนี้ผลผลิตข้าวขาวสูงขึ้นมาก เกิดเป็นไอเดียเอาข้าวสุกตากแห้งพกเป็นเสบียง เวลาจะกินก็เติมน้ำอุ่นน้ำร้อนแช่ทิ้งไว้ กลายเป็นข้าวต้ม นับว่าเป็นอาหารจานด่วนโดยแท้ จะเรียกว่าเป็นต้นกำเนิดของโจ๊กและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ไหมนะ? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://k.sina.cn/article_5113022164_130c286d4040011jeu.html?from=ent&subch=oent http://www.foodwifi.net/jkys/201710/72511.html https://k.sina.cn/article_5899149139_15f9ddf5300100eewv.html http://m.qulishi.com/article/202105/513111.html https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c43040013i62.html https://www.zhihu.com/tardis/zm/art/351540381?source_id=1003 https://www.sohu.com/a/239218972_155326 http://m.qulishi.com/article/202011/453756.html#:~:text=锅盔是一种烙,锅盔都同样好吃 https://zhuanlan.zhihu.com/p/566492773 https://www.toutiao.com/article/6967140332173656583/ https://k.sina.cn/article_5502315099_147f6aa5b00100k0jm.html https://www.sohu.com/a/710019104_121119015 https://www.meishichina.com/mofang/shaobing/ #สยบรักจอมเสเพล #เสบียงทหารโบราณ #ข้าวฟ่าง #แป้งปิ้ง
    0 Comments 0 Shares 1168 Views 0 Reviews
  • รหัสลับบทกวีจีนจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก>

    Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณนี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนิยาย/ซีรีส์จีนจริงๆ ไม่ทราบว่ามีใครที่ดูซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> แล้วรู้สึกสะดุดหูกับจังหวะจะโคนของรหัสลับที่องครักษ์ชุดแดงใช้ยืนยันตัวตนกันหรือไม่? สำหรับ Storyฯ แล้วมันเตะหูพอสมควร เพราะรหัสลับเหล่านี้ล้วนเป็นวลีจากบทกวีจีนโบราณ

    รหัสลับที่ยกตัวอย่างมาคุยกันวันนี้ คือตอนที่หรูอี้ให้คนปลอมตัวไปหาองครักษ์ชุดแดงเพื่อสืบหาคนที่ฆ่าหลินหลงตาย รหัสลับถามตอบนี้คือ ‘ซานสือลิ่วกงถู่ฮวาปี้’ (三十六宫土花碧) และ ‘เทียนรั่วโหย่วฉิงเทียนอี้เหล่า’ (天若有情天亦老) Storyฯ ขอแปลว่า ‘สามสิบหกพระตำหนัก ตะไคร่คลุมธรณี / หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’

    ฟังแล้วคงไม่ได้ใจความนัก เพราะจริงๆ แล้วมันไม่ใช่วรรคที่ต่อเนื่องกัน แต่ทั้งสองวรรคนี้ปรากฏอยู่ในบทกวีเดียวกันที่มีชื่อว่า ‘จินถงเซียนเหรินฉือฮั่นเกอ’ (金铜仙人辞汉歌 แปลได้ประมาณว่า ลำนำเซียนจินถงลาจากแดนฮั่น) เป็นผลงานของหลี่เฮ่อ (ค.ศ. 790-816) สี่สุดยอดกวีแห่งสมัยถัง และนี่เป็นหนึ่งในบทกวีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของเขา มันเป็นบทกวียาวที่กล่าวถึงการล่มสลายของอาณาจักรฮั่นที่ครั้งหนึ่งเคยเรืองรอง แต่กลับเหลือเพียงพระตำหนักที่ว่างร้างจนตะไคร่ปกคลุม เทพเซียนร่ำไห้ลาจาก จนถึงขนาดว่าถ้าฟ้ามีจิตใจรักได้เหมือนคน ก็คงรู้สึกอนาจใจเศร้าจนแก่ชราไปเช่นคน บทกวีนี้เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้าอาดูรและแค้นใจในเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงสภาพจิตใจของหลี่เฮ่อในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอ และเขาเองจำเป็นต้องลาออกจากราชการและเดินทางจากนครฉางอันไปด้วยอาการป่วย

    แต่ที่ Storyฯ รู้สึกว่าน่าสนใจมากก็คือ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้ตั้งเป็นโจทย์ในการดวลบทกวีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับซีรีส์และนิยายจีนโบราณคงเคยผ่านตาว่า การดวลบทกวีนี้ เป็นการต่อกลอนคู่ โดยคนหนึ่งตั้งโจทย์วรรคแรก อีกคนมาแต่งวรรคต่อให้จบ ซึ่งวรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้เป็นวรรคแรกของกลอนคู่โดยไม่มีใครสามารถต่อวรรคท้ายได้อย่างสมบูรณ์มากว่าสองร้อยปี! ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับยุคสมัยที่มีนักอักษรและนักประพันธ์มากมายอย่างสมัยถัง

    อนึ่ง การต่อวรรคคู่ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีจำนวนอักษรเท่ากันและมีเสียงสูงเสียงต่ำคล้องจองกันเท่านั้น แต่ต้องมีความลงตัวในหลายด้าน เป็นต้นว่า 1) มีบริบทใกล้เคียง เช่น กล่าวถึงวัตถุที่จับต้องได้เหมือนกัน หรือจับต้องไม่ได้เหมือนกัน เป็นวัตถุที่สื่อความหมายในเชิงเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่วรรคแรกกล่าวถึงดอกไม้ วรรคหลังพูดถึงโต๊ะ อะไรอย่างนี้; 2) คุณศัพท์ที่ขยายนามหรืออารมณ์ที่สื่อต้องเหมือนกันหรือตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงเพื่อแสดงความขัดแย้งบางอย่าง เช่น ฝนตกหนักกับแดดแรงจ้า หรือ ฝนตกหนักกับหยดน้ำเล็ก; ฯลฯ

    วรรค ‘หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ นี้มีคนต่อวรรคหลังมากมาย แต่ไม่มีความลงตัวอย่างสมบูรณ์จวบจนสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้ที่ต่อวรรคหลังนี้คือสือเหยียนเหนียน (ค.ศ. 994-1041) นักอักษรและกวีสมัยซ่งเหนือ ในค่ำคืนหนึ่งหลังจากดื่มสุราไปหลายกรึ๊บ ในยามกึ่งเมากึ่งมีสตินั้น เขาได้ยินคนรอบข้างต่อวรรค ‘หากฟ้ามีใจฯ’ นี้กันอยู่ จึงโพล่งวรรคต่อออกมาในทันใด ซึ่งก็คือ ‘หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง’ (月如无恨月长圆 / เยวี่ยหรูอู๋เฮิ่นเยวี่ยฉางเหยวียน) เป็นการต่อวรรคที่สมบูรณ์จนคนตะลึง เพราะไม่เพียงอักขระ คำบรรยายและบริบทลงตัว หากแต่ความหมายแฝงที่สื่อถึงสัจธรรมแห่งชีวิตยังสอดคล้องอีกด้วย

    ... หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน ...
    ... หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง ...

    วรรคต้นที่ไม่มีใครต่อวรรคได้มากว่าสองร้อยปี เกิดวรรคต่อที่สะเทือนวงการนักอักษรในสมัยนั้นจนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพื่อนเพจอ่านและตีความแล้วได้ความรู้สึกอย่างไรคะ? เห็นความเป็น ‘กลอนคู่’ ของมันหรือไม่?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_25539972
    https://k.sina.cn/article_6502395912_18392b008001004rs9.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_33199885635a.aspx
    https://baike.baidu.com/金铜仙人辞汉歌/1659854
    https://www.sohu.com/a/484704098_100135144
    https://www.workercn.cn/c/2024-02-06/8143503.shtml

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #หลี่เฮ่อ #กวีถัง #หากฟ้ามีใจรัก #สือเหยียนเหนียน
    รหัสลับบทกวีจีนจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณนี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนิยาย/ซีรีส์จีนจริงๆ ไม่ทราบว่ามีใครที่ดูซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> แล้วรู้สึกสะดุดหูกับจังหวะจะโคนของรหัสลับที่องครักษ์ชุดแดงใช้ยืนยันตัวตนกันหรือไม่? สำหรับ Storyฯ แล้วมันเตะหูพอสมควร เพราะรหัสลับเหล่านี้ล้วนเป็นวลีจากบทกวีจีนโบราณ รหัสลับที่ยกตัวอย่างมาคุยกันวันนี้ คือตอนที่หรูอี้ให้คนปลอมตัวไปหาองครักษ์ชุดแดงเพื่อสืบหาคนที่ฆ่าหลินหลงตาย รหัสลับถามตอบนี้คือ ‘ซานสือลิ่วกงถู่ฮวาปี้’ (三十六宫土花碧) และ ‘เทียนรั่วโหย่วฉิงเทียนอี้เหล่า’ (天若有情天亦老) Storyฯ ขอแปลว่า ‘สามสิบหกพระตำหนัก ตะไคร่คลุมธรณี / หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ ฟังแล้วคงไม่ได้ใจความนัก เพราะจริงๆ แล้วมันไม่ใช่วรรคที่ต่อเนื่องกัน แต่ทั้งสองวรรคนี้ปรากฏอยู่ในบทกวีเดียวกันที่มีชื่อว่า ‘จินถงเซียนเหรินฉือฮั่นเกอ’ (金铜仙人辞汉歌 แปลได้ประมาณว่า ลำนำเซียนจินถงลาจากแดนฮั่น) เป็นผลงานของหลี่เฮ่อ (ค.ศ. 790-816) สี่สุดยอดกวีแห่งสมัยถัง และนี่เป็นหนึ่งในบทกวีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของเขา มันเป็นบทกวียาวที่กล่าวถึงการล่มสลายของอาณาจักรฮั่นที่ครั้งหนึ่งเคยเรืองรอง แต่กลับเหลือเพียงพระตำหนักที่ว่างร้างจนตะไคร่ปกคลุม เทพเซียนร่ำไห้ลาจาก จนถึงขนาดว่าถ้าฟ้ามีจิตใจรักได้เหมือนคน ก็คงรู้สึกอนาจใจเศร้าจนแก่ชราไปเช่นคน บทกวีนี้เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้าอาดูรและแค้นใจในเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงสภาพจิตใจของหลี่เฮ่อในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอ และเขาเองจำเป็นต้องลาออกจากราชการและเดินทางจากนครฉางอันไปด้วยอาการป่วย แต่ที่ Storyฯ รู้สึกว่าน่าสนใจมากก็คือ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้ตั้งเป็นโจทย์ในการดวลบทกวีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับซีรีส์และนิยายจีนโบราณคงเคยผ่านตาว่า การดวลบทกวีนี้ เป็นการต่อกลอนคู่ โดยคนหนึ่งตั้งโจทย์วรรคแรก อีกคนมาแต่งวรรคต่อให้จบ ซึ่งวรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้เป็นวรรคแรกของกลอนคู่โดยไม่มีใครสามารถต่อวรรคท้ายได้อย่างสมบูรณ์มากว่าสองร้อยปี! ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับยุคสมัยที่มีนักอักษรและนักประพันธ์มากมายอย่างสมัยถัง อนึ่ง การต่อวรรคคู่ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีจำนวนอักษรเท่ากันและมีเสียงสูงเสียงต่ำคล้องจองกันเท่านั้น แต่ต้องมีความลงตัวในหลายด้าน เป็นต้นว่า 1) มีบริบทใกล้เคียง เช่น กล่าวถึงวัตถุที่จับต้องได้เหมือนกัน หรือจับต้องไม่ได้เหมือนกัน เป็นวัตถุที่สื่อความหมายในเชิงเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่วรรคแรกกล่าวถึงดอกไม้ วรรคหลังพูดถึงโต๊ะ อะไรอย่างนี้; 2) คุณศัพท์ที่ขยายนามหรืออารมณ์ที่สื่อต้องเหมือนกันหรือตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงเพื่อแสดงความขัดแย้งบางอย่าง เช่น ฝนตกหนักกับแดดแรงจ้า หรือ ฝนตกหนักกับหยดน้ำเล็ก; ฯลฯ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ นี้มีคนต่อวรรคหลังมากมาย แต่ไม่มีความลงตัวอย่างสมบูรณ์จวบจนสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้ที่ต่อวรรคหลังนี้คือสือเหยียนเหนียน (ค.ศ. 994-1041) นักอักษรและกวีสมัยซ่งเหนือ ในค่ำคืนหนึ่งหลังจากดื่มสุราไปหลายกรึ๊บ ในยามกึ่งเมากึ่งมีสตินั้น เขาได้ยินคนรอบข้างต่อวรรค ‘หากฟ้ามีใจฯ’ นี้กันอยู่ จึงโพล่งวรรคต่อออกมาในทันใด ซึ่งก็คือ ‘หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง’ (月如无恨月长圆 / เยวี่ยหรูอู๋เฮิ่นเยวี่ยฉางเหยวียน) เป็นการต่อวรรคที่สมบูรณ์จนคนตะลึง เพราะไม่เพียงอักขระ คำบรรยายและบริบทลงตัว หากแต่ความหมายแฝงที่สื่อถึงสัจธรรมแห่งชีวิตยังสอดคล้องอีกด้วย ... หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน ... ... หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง ... วรรคต้นที่ไม่มีใครต่อวรรคได้มากว่าสองร้อยปี เกิดวรรคต่อที่สะเทือนวงการนักอักษรในสมัยนั้นจนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพื่อนเพจอ่านและตีความแล้วได้ความรู้สึกอย่างไรคะ? เห็นความเป็น ‘กลอนคู่’ ของมันหรือไม่? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_25539972 https://k.sina.cn/article_6502395912_18392b008001004rs9.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://so.gushiwen.cn/shiwenv_33199885635a.aspx https://baike.baidu.com/金铜仙人辞汉歌/1659854 https://www.sohu.com/a/484704098_100135144 https://www.workercn.cn/c/2024-02-06/8143503.shtml #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #หลี่เฮ่อ #กวีถัง #หากฟ้ามีใจรัก #สือเหยียนเหนียน
    0 Comments 0 Shares 1350 Views 0 Reviews
  • สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ซึ่งมีชื่อภาษาจีนคือ ‘เล่อโหยวหยวน’ (乐游原)

    เล่อโหยวหยวน (แปลตรงตัวว่า สุข+ทัศนาจร+ดินแดน/ทุ่ง) จริงแล้วมีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก แต่เดิมชื่อว่า ‘เล่อโหยวย่วน’ (乐游苑 / สุข+ทัศนาจร+สวน/อุทยาน) เป็นสถานที่เสด็จประพาสต้นที่ชื่นชอบขององค์ฮั่นเซวียนตี้ (ปี 51-48 ก่อนคริสตกาล) และฮองเฮาสวี่ ต่อมาฮั่นเซวียนตี้ทรงโปรดให้ฝังฮองเฮาสวี่ที่นั่น ครั้นกาลเวลาผ่านไปอักษรท้ายถูกเรียกเพี้ยนจาก ‘ย่วน’ เป็น ‘หยวน’ จนกลายมาเป็นชื่อของอุทยานเล่อโหยวหยวนตราบจนปัจจุบัน และบางครั้งถูกใช้เป็นคำกริยาที่บรรยายถึงการท่องเที่ยวอย่างเบิกบานใจ

    ในตอนต้นๆ เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> มีฉากหนึ่งที่พระเอกนางเอกนั่งเรือชมดาวในเทศกาลชีซี (ปัจจุบันเรามักเรียกเป็นวันวาเลนไทน์จีน) พระเอกเล่าถึงว่า ตอนเด็กตนเองอยู่แต่ในเมืองหลวง มักขี่ม้าขึ้นไปเที่ยวเล่อโหยวหยวน ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงในเมืองหลวง มีภูมิประเทศสูง มองลงมาเห็นทั้งเมืองหลวงได้

    เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> นี้เล่าถึงรัชสมัยสมมุติ แต่ฉากหลังนั้นใกล้เคียงกับสมัยถังตอนปลาย และเล่อโหยวหยวนนี้เป็นสถานที่ฮอตฮิตในสมัยถังสำหรับการท่องเที่ยวและเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจสำคัญของเหล่ากวี มีบทกวีไม่น้อยที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อบรรยายถึงความงดงามของทัศนียภาพบนนั้น

    เล่อโหยวหยวนเป็นอุทยานบนเขาตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของนครฉางอัน ซึ่งปัจจุบันก็คือเมืองซีอาน (คือจุดที่วงสีเขียวไว้ในภาพประกอบ) รูปแผนที่ที่แปะมาให้ดูอาจจะละลานตาสักนิด เพราะเป็นแผนที่ภูมิประเทศที่มีระบุเส้นชั้นความสูง เพื่อให้เห็นว่าบริเวณนั้นของนครฉางอันเป็นเนินเขา ที่นี่เป็นจุดที่สูงที่สุดของนครฉางอัน มองลงมาสามารถมองเห็นทั่วนครฉางอันได้ ในสมัยราชวงศ์สุยมีการสร้างวัดขึ้นที่นี่ชื่อวัดหลินก่าน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดชิงหลง ปัจจุบันนับเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวดังของเมืองซีอัน และเป็นวัดที่ถูกกล่าวถึงบ่อยในละครจีนโบราณ

    อนึ่ง เล่อโหยวหยวนเคยถูกกล่าวถึงในเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> แต่ Storyฯ จำเรื่องราวไม่ได้แล้ว เพื่อนเพจท่านใดจำได้มาเม้นท์บอกกันหน่อยว่าในเรื่องนี้มีเล่ารายละเอียดอะไรเกี่ยวกับเล่อโหยวหยวนหรือไม่

    ในฉากเดียวกันของเรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ที่กล่าวถึงนี้ นางเอกได้ยินพระเอกเล่าเรื่องเล่อโหยวหยวนก็เกิดแรงบันดาลใจ ร่ายกลอนออกมาบทหนึ่ง มีใจความว่า บนเขาเล่อโหยวหยวนมีลมตะวันตกพัดผ่าน มีธรรมชาติงดงามทั้งหมู่ไม้เสียงจักจั่นและแสงรุ้ง องค์สุริยเทพทรงขี่รถม้าไปเรื่อยๆ ไม่ยอมให้ตะวันตกดินและไม่ยอมให้ตะวันหันกลับไปทางทิศตะวันออก บทกวีนี้บรรยายความงามของวิวบนเล่อโหยวหยวนประหนึ่งว่าความงามนั้นสามารถสะกดให้เวลาหยุดอยู่กับที่

    กลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เล่อโหยวหยวน’ ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับชื่อภาษาจีนของซีรีส์เรื่องนี้ เป็นกลอนเจ็ด (กล่าวคือมีเจ็ดอักษรในหนึ่งวรรค) มีทั้งหมดสี่วรรค มันเป็นผลงานของหลี่ซังอิ่น (ปีค.ศ. 813-858) หนึ่งในกวีที่เลื่องชื่อของสมัยถังตอนปลาย มีผลงานที่สืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่า 600 บทกวี เขาเข้ารับราชการเมื่ออายุยี่สิบห้า ต่อมาสังกัดเจี๋ยตู้สื่อหวางเม่าหยวน และได้รับการโปรดปรานจากหวางเม่าหยวนถึงขนาดยกลูกสาวให้ จึงถูกลากเข้าไปพัวพันกับการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง

    บทกวีนี้มักถูกเข้าใจสลับกับบทกวีอีกบทที่โด่งดังมากกว่าของเขา มีชื่อว่า ‘เติงเล่อโหยวหยวน’ (登乐游原 / ขึ้นเขาเล่อโหยวหยวน) ซึ่งต่อมาถูกเรียกเป็น ‘เล่อโหยวหยวน’ เช่นกัน โดย ‘เติงเล่อโหยวหยวน’ เป็นกลอนห้า (อักษรห้าตัวในหนึ่งวรรค) มีสี่วรรคเช่นกัน กลอนบทนี้บรรยายถึงความงามของอาทิตย์อัสดงบนเล่อโหยวหยวนและพรรณนาความเสียดายที่ไม่อาจหยุดยั้งแสงอาทิตย์ไว้ได้ ถูกตีความกันต่อมาว่าความนัยแฝงคือความอาลัยและความอาดูรในสถานการณ์ของราชวงศ์ถังที่เสื่อมอำนาจลง โดยมีวรรคที่ฮอตฮิตคือ ‘ตะวันยอแสงงามไร้ขอบเขต แต่เสียดายใกล้อาทิตย์อัสดง’ (夕阳无限好,只是近黄昏 / ซีหยางอู๋เซี่ยนห่าว จื่อซื่อจิ้นหวงฮุน) เป็นการเปรียบเปรยถึงความไม่จีรังของชีวิต

    Storyฯ ยังดูซีรีส์เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ไม่จบ ไม่อาจกล่าวได้ว่ากลอนบทใดข้างต้น (หรือทั้งสองบท) มีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องมากน้อยเพียงใด เพื่อนเพจท่านใดที่ดูจบแล้วมีความเห็นความรู้สึกอย่างใดก็เชิญมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.dianyingbaodian.com/wiki/乐游原_%282023%29
    https://www.sohu.com/a/390828068_120445432
    https://www.sgss8.net/tpdq/21096094/2.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://shici.yw11.com/shici_fanyi_2987_250.html
    https://www.shicile.com/detail/6070192050078
    https://www.sohu.com/a/680570874_121124391

    #พสุธารักเคียงใจ #ทุ่งเล่อโหยว #เล่อโหยวหยวน #กวีถัง #หลีซังอิ่น #วัดชิงหลง #นครฉางอัน #ซีอัน
    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ซึ่งมีชื่อภาษาจีนคือ ‘เล่อโหยวหยวน’ (乐游原) เล่อโหยวหยวน (แปลตรงตัวว่า สุข+ทัศนาจร+ดินแดน/ทุ่ง) จริงแล้วมีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก แต่เดิมชื่อว่า ‘เล่อโหยวย่วน’ (乐游苑 / สุข+ทัศนาจร+สวน/อุทยาน) เป็นสถานที่เสด็จประพาสต้นที่ชื่นชอบขององค์ฮั่นเซวียนตี้ (ปี 51-48 ก่อนคริสตกาล) และฮองเฮาสวี่ ต่อมาฮั่นเซวียนตี้ทรงโปรดให้ฝังฮองเฮาสวี่ที่นั่น ครั้นกาลเวลาผ่านไปอักษรท้ายถูกเรียกเพี้ยนจาก ‘ย่วน’ เป็น ‘หยวน’ จนกลายมาเป็นชื่อของอุทยานเล่อโหยวหยวนตราบจนปัจจุบัน และบางครั้งถูกใช้เป็นคำกริยาที่บรรยายถึงการท่องเที่ยวอย่างเบิกบานใจ ในตอนต้นๆ เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> มีฉากหนึ่งที่พระเอกนางเอกนั่งเรือชมดาวในเทศกาลชีซี (ปัจจุบันเรามักเรียกเป็นวันวาเลนไทน์จีน) พระเอกเล่าถึงว่า ตอนเด็กตนเองอยู่แต่ในเมืองหลวง มักขี่ม้าขึ้นไปเที่ยวเล่อโหยวหยวน ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงในเมืองหลวง มีภูมิประเทศสูง มองลงมาเห็นทั้งเมืองหลวงได้ เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> นี้เล่าถึงรัชสมัยสมมุติ แต่ฉากหลังนั้นใกล้เคียงกับสมัยถังตอนปลาย และเล่อโหยวหยวนนี้เป็นสถานที่ฮอตฮิตในสมัยถังสำหรับการท่องเที่ยวและเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจสำคัญของเหล่ากวี มีบทกวีไม่น้อยที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อบรรยายถึงความงดงามของทัศนียภาพบนนั้น เล่อโหยวหยวนเป็นอุทยานบนเขาตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของนครฉางอัน ซึ่งปัจจุบันก็คือเมืองซีอาน (คือจุดที่วงสีเขียวไว้ในภาพประกอบ) รูปแผนที่ที่แปะมาให้ดูอาจจะละลานตาสักนิด เพราะเป็นแผนที่ภูมิประเทศที่มีระบุเส้นชั้นความสูง เพื่อให้เห็นว่าบริเวณนั้นของนครฉางอันเป็นเนินเขา ที่นี่เป็นจุดที่สูงที่สุดของนครฉางอัน มองลงมาสามารถมองเห็นทั่วนครฉางอันได้ ในสมัยราชวงศ์สุยมีการสร้างวัดขึ้นที่นี่ชื่อวัดหลินก่าน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดชิงหลง ปัจจุบันนับเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวดังของเมืองซีอัน และเป็นวัดที่ถูกกล่าวถึงบ่อยในละครจีนโบราณ อนึ่ง เล่อโหยวหยวนเคยถูกกล่าวถึงในเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> แต่ Storyฯ จำเรื่องราวไม่ได้แล้ว เพื่อนเพจท่านใดจำได้มาเม้นท์บอกกันหน่อยว่าในเรื่องนี้มีเล่ารายละเอียดอะไรเกี่ยวกับเล่อโหยวหยวนหรือไม่ ในฉากเดียวกันของเรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ที่กล่าวถึงนี้ นางเอกได้ยินพระเอกเล่าเรื่องเล่อโหยวหยวนก็เกิดแรงบันดาลใจ ร่ายกลอนออกมาบทหนึ่ง มีใจความว่า บนเขาเล่อโหยวหยวนมีลมตะวันตกพัดผ่าน มีธรรมชาติงดงามทั้งหมู่ไม้เสียงจักจั่นและแสงรุ้ง องค์สุริยเทพทรงขี่รถม้าไปเรื่อยๆ ไม่ยอมให้ตะวันตกดินและไม่ยอมให้ตะวันหันกลับไปทางทิศตะวันออก บทกวีนี้บรรยายความงามของวิวบนเล่อโหยวหยวนประหนึ่งว่าความงามนั้นสามารถสะกดให้เวลาหยุดอยู่กับที่ กลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เล่อโหยวหยวน’ ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับชื่อภาษาจีนของซีรีส์เรื่องนี้ เป็นกลอนเจ็ด (กล่าวคือมีเจ็ดอักษรในหนึ่งวรรค) มีทั้งหมดสี่วรรค มันเป็นผลงานของหลี่ซังอิ่น (ปีค.ศ. 813-858) หนึ่งในกวีที่เลื่องชื่อของสมัยถังตอนปลาย มีผลงานที่สืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่า 600 บทกวี เขาเข้ารับราชการเมื่ออายุยี่สิบห้า ต่อมาสังกัดเจี๋ยตู้สื่อหวางเม่าหยวน และได้รับการโปรดปรานจากหวางเม่าหยวนถึงขนาดยกลูกสาวให้ จึงถูกลากเข้าไปพัวพันกับการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง บทกวีนี้มักถูกเข้าใจสลับกับบทกวีอีกบทที่โด่งดังมากกว่าของเขา มีชื่อว่า ‘เติงเล่อโหยวหยวน’ (登乐游原 / ขึ้นเขาเล่อโหยวหยวน) ซึ่งต่อมาถูกเรียกเป็น ‘เล่อโหยวหยวน’ เช่นกัน โดย ‘เติงเล่อโหยวหยวน’ เป็นกลอนห้า (อักษรห้าตัวในหนึ่งวรรค) มีสี่วรรคเช่นกัน กลอนบทนี้บรรยายถึงความงามของอาทิตย์อัสดงบนเล่อโหยวหยวนและพรรณนาความเสียดายที่ไม่อาจหยุดยั้งแสงอาทิตย์ไว้ได้ ถูกตีความกันต่อมาว่าความนัยแฝงคือความอาลัยและความอาดูรในสถานการณ์ของราชวงศ์ถังที่เสื่อมอำนาจลง โดยมีวรรคที่ฮอตฮิตคือ ‘ตะวันยอแสงงามไร้ขอบเขต แต่เสียดายใกล้อาทิตย์อัสดง’ (夕阳无限好,只是近黄昏 / ซีหยางอู๋เซี่ยนห่าว จื่อซื่อจิ้นหวงฮุน) เป็นการเปรียบเปรยถึงความไม่จีรังของชีวิต Storyฯ ยังดูซีรีส์เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ไม่จบ ไม่อาจกล่าวได้ว่ากลอนบทใดข้างต้น (หรือทั้งสองบท) มีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องมากน้อยเพียงใด เพื่อนเพจท่านใดที่ดูจบแล้วมีความเห็นความรู้สึกอย่างใดก็เชิญมาเล่าสู่กันฟังนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.dianyingbaodian.com/wiki/乐游原_%282023%29 https://www.sohu.com/a/390828068_120445432 https://www.sgss8.net/tpdq/21096094/2.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://shici.yw11.com/shici_fanyi_2987_250.html https://www.shicile.com/detail/6070192050078 https://www.sohu.com/a/680570874_121124391 #พสุธารักเคียงใจ #ทุ่งเล่อโหยว #เล่อโหยวหยวน #กวีถัง #หลีซังอิ่น #วัดชิงหลง #นครฉางอัน #ซีอัน
    0 Comments 0 Shares 1416 Views 0 Reviews
  • สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงฉากหนึ่งใน <พสุธารักเคียงใจ> ที่พระนางนั่งเรือชมดาวกัน ความตอนที่แล้วเราคุยกันเรื่องบทกวีที่นางเอกกล่าวในฉากนี้ ซึ่งหลังจากนั้นพระเอกบอกว่ามีอีกบทกวีที่เขาชอบมากกว่า โดยนางเอกชิงท่องบทกวีดังกล่าวออกมาก่อน เป็นนัยว่าบทกวีบทนี้บ่งบอกความเป็นตัวตนของพระเอก เชื่อว่ามีเพื่อนเพจหลายคนที่คงงงเหมือนกับ Storyฯ ว่าเขาคุยอะไรกัน

    “หญ้าเขียวชอุ่มบนทุ่ง
    หนึ่งปีเหี่ยวเฉาสลับขึ้นใหม่
    ไฟป่าเผาไม่มอด
    ลมวสันต์โชยก็งอกงามอีก”
    - บทแปลจากซับไทย <พสุธารักเคียงใจ>

    บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘ฟู่เต๋อกู่หยวนเฉ่าซ่งเปี๋ย’ (赋得古原草送别) โดยคำว่า ‘ฟู่เต๋อ’ นั้น เป็นการเรียกนำหน้าบทกวีที่แต่งเติมจากวลีหรือวรรคจากบทประพันธ์โบราณ ต่อมาใช้เป็นกติกาในการสอบขุนนางว่า หากจะเขียนบทกวีที่มียกวรรคมาจากบทประพันธ์โบราณให้ใช้คำนำหน้าชื่อบทกวีนั้นว่า ‘ฟู่เต๋อ’ ส่วนคำว่า ‘กู่หยวนเฉ่า’ นั้นแปลตรงตัวว่าทุ่งหญ้าโบราณ แต่ในบทกวีโบราณมักถูกใช้แทนคำเรียก ‘เล่อโหยวหยวน’ ซึ่งเป็นอุทยานบนเขาในนครฉางอันที่เราคุยกันไปในสัปดาห์ที่แล้ว และคำว่า ‘ซ่งเปี๋ย’ คือการอำลาหรือส่งคนเดินทางจากไป ดังนั้น ชื่อของบทกวีนี้แปลได้ใจความว่า ‘บทอำลาบนเล่อโหยวหยวน’

    บทกวีนี้เป็นผลงานของกวีเอกและนักการเมืองชื่อดังในยุคช่วงปลายของราชวงศ์ถังคือ ไป๋จวีอี (ปีค.ศ. 772-846) จริงแล้วมีทั้งหมดแปดวรรค แต่ในซีรีส์กล่าวถึงเพียงสี่วรรค ซึ่งสี่วรรคหลังที่ไม่ได้กล่าวถึงนั้น Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงว่า

    ปลายทางอันไกลโพ้น
    ทุ่งเขียวจรดเมืองอ้างว้าง
    ส่งลาราชนัดดาอีกครา
    ทุ่งขจีแฝงความอาดูร

    (หมายเหตุ คำว่า ‘ราชนัดดา’ นั้นในบทกวีโบราณอาจแปลได้เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลอันสูงส่ง และในบริบทของบทกวีนี้มีการแปลไว้ว่าหมายถึงสหายสนิท)

    จะเห็นว่า บทกวีนี้แรกเริ่มสี่วรรคกล่าวถึงความงามของทุ่งหญ้าที่สะท้อนถึงความไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค แต่ในสี่วรรคหลัง ความงามนี้แปรเปลี่ยนเป็นความอ้างว้างเมื่อต้องอำลาจากกัน

    เมื่อมีชื่อนำหน้าว่า ‘ฟู่เต๋อ’ บทกวีนี้ต้องมีความเกี่ยวข้องกับการสอบขุนนางและมีวลีที่อ้างอิงมาจากบทกวีโบราณ...

    บทกวีนี้ไป๋จวีอีประพันธ์ขึ้นเมื่อครั้งเขาเข้าร่วมสอบขุนนางหลวง และบทกวีโบราณที่อ้างอิงนั้นคือบทกวีสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกมีชื่อว่า ‘จาวอิ่นซื่อ’ (招隐士) มีใจความชักจูงให้เหล่าเชื้อสายตระกูลสูงส่ง (คือความหมายของ ‘ราชนัดดา’ ในที่นี้) ที่หลบซ่อนกันอยู่นอกเมืองพากันกลับมารับใช้ราชสำนัก โดยวรรคที่ไป๋จวีอีอ้างอิงนั้นมาจากวรรคที่ว่า ‘ราชนัดดาเดินทางไปไม่กลับ หญ้าวสันต์งอกเงยเขียวขจี’ ที่ใช้ความงามของทุ่งหญ้าบ่งบอกความอ้างว้างหากเหล่าผู้มีการศึกษามีความสามารถต่างพากันทิ้งราชสำนักไป

    ปัจจุบันสี่วรรคแรกของบทกวีนี้ถูกนำมาใช้รวมในการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษา เนื่องจากภาษาไพเราะและมีใจความเป็นแรงบันดาลใจให้ฟันฝ่าอุปสรรค แต่สี่วรรคหลังถูกละไว้ เนื่องจากใจความหดหู่รันทดเกินไปสำหรับเด็ก และวรรคที่ว่า ‘ไฟป่าเผาไม่มอด ลมวสันต์โชยก็งอกงามอีก’ (野火烧不尽 春风吹又生) กลายเป็นอีกหนึ่งวลียอดนิยมจวบจนปัจจุบัน

    ดังนั้น สรุปสั้นๆ ได้ว่า บทกวีที่นางเอกกล่าวว่าสะท้อนถึงอุปนิสัยของพระเอกนั้น คือบ่งบอกถึงความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ล้มแล้วลุกขึ้นสู้ใหม่ เพื่อนเพจคิดว่าตรงไหมคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละคร
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.zdic.net/hans/%E8%B5%8B%E5%BE%97
    https://www.sohu.com/a/708520507_389451
    https://www.kekeshici.com/shicimingju/ticai/jingse/998.html
    https://baike.baidu.com/item/赋得古原草送别/2873148
    https://baike.baidu.com/item/招隐士/1905316

    #พสุธารักเคียงใจ #กวีถัง #ไป๋จวีอี #เล่อโหยวหยวน
    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงฉากหนึ่งใน <พสุธารักเคียงใจ> ที่พระนางนั่งเรือชมดาวกัน ความตอนที่แล้วเราคุยกันเรื่องบทกวีที่นางเอกกล่าวในฉากนี้ ซึ่งหลังจากนั้นพระเอกบอกว่ามีอีกบทกวีที่เขาชอบมากกว่า โดยนางเอกชิงท่องบทกวีดังกล่าวออกมาก่อน เป็นนัยว่าบทกวีบทนี้บ่งบอกความเป็นตัวตนของพระเอก เชื่อว่ามีเพื่อนเพจหลายคนที่คงงงเหมือนกับ Storyฯ ว่าเขาคุยอะไรกัน “หญ้าเขียวชอุ่มบนทุ่ง หนึ่งปีเหี่ยวเฉาสลับขึ้นใหม่ ไฟป่าเผาไม่มอด ลมวสันต์โชยก็งอกงามอีก” - บทแปลจากซับไทย <พสุธารักเคียงใจ> บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘ฟู่เต๋อกู่หยวนเฉ่าซ่งเปี๋ย’ (赋得古原草送别) โดยคำว่า ‘ฟู่เต๋อ’ นั้น เป็นการเรียกนำหน้าบทกวีที่แต่งเติมจากวลีหรือวรรคจากบทประพันธ์โบราณ ต่อมาใช้เป็นกติกาในการสอบขุนนางว่า หากจะเขียนบทกวีที่มียกวรรคมาจากบทประพันธ์โบราณให้ใช้คำนำหน้าชื่อบทกวีนั้นว่า ‘ฟู่เต๋อ’ ส่วนคำว่า ‘กู่หยวนเฉ่า’ นั้นแปลตรงตัวว่าทุ่งหญ้าโบราณ แต่ในบทกวีโบราณมักถูกใช้แทนคำเรียก ‘เล่อโหยวหยวน’ ซึ่งเป็นอุทยานบนเขาในนครฉางอันที่เราคุยกันไปในสัปดาห์ที่แล้ว และคำว่า ‘ซ่งเปี๋ย’ คือการอำลาหรือส่งคนเดินทางจากไป ดังนั้น ชื่อของบทกวีนี้แปลได้ใจความว่า ‘บทอำลาบนเล่อโหยวหยวน’ บทกวีนี้เป็นผลงานของกวีเอกและนักการเมืองชื่อดังในยุคช่วงปลายของราชวงศ์ถังคือ ไป๋จวีอี (ปีค.ศ. 772-846) จริงแล้วมีทั้งหมดแปดวรรค แต่ในซีรีส์กล่าวถึงเพียงสี่วรรค ซึ่งสี่วรรคหลังที่ไม่ได้กล่าวถึงนั้น Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงว่า ปลายทางอันไกลโพ้น ทุ่งเขียวจรดเมืองอ้างว้าง ส่งลาราชนัดดาอีกครา ทุ่งขจีแฝงความอาดูร (หมายเหตุ คำว่า ‘ราชนัดดา’ นั้นในบทกวีโบราณอาจแปลได้เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลอันสูงส่ง และในบริบทของบทกวีนี้มีการแปลไว้ว่าหมายถึงสหายสนิท) จะเห็นว่า บทกวีนี้แรกเริ่มสี่วรรคกล่าวถึงความงามของทุ่งหญ้าที่สะท้อนถึงความไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค แต่ในสี่วรรคหลัง ความงามนี้แปรเปลี่ยนเป็นความอ้างว้างเมื่อต้องอำลาจากกัน เมื่อมีชื่อนำหน้าว่า ‘ฟู่เต๋อ’ บทกวีนี้ต้องมีความเกี่ยวข้องกับการสอบขุนนางและมีวลีที่อ้างอิงมาจากบทกวีโบราณ... บทกวีนี้ไป๋จวีอีประพันธ์ขึ้นเมื่อครั้งเขาเข้าร่วมสอบขุนนางหลวง และบทกวีโบราณที่อ้างอิงนั้นคือบทกวีสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกมีชื่อว่า ‘จาวอิ่นซื่อ’ (招隐士) มีใจความชักจูงให้เหล่าเชื้อสายตระกูลสูงส่ง (คือความหมายของ ‘ราชนัดดา’ ในที่นี้) ที่หลบซ่อนกันอยู่นอกเมืองพากันกลับมารับใช้ราชสำนัก โดยวรรคที่ไป๋จวีอีอ้างอิงนั้นมาจากวรรคที่ว่า ‘ราชนัดดาเดินทางไปไม่กลับ หญ้าวสันต์งอกเงยเขียวขจี’ ที่ใช้ความงามของทุ่งหญ้าบ่งบอกความอ้างว้างหากเหล่าผู้มีการศึกษามีความสามารถต่างพากันทิ้งราชสำนักไป ปัจจุบันสี่วรรคแรกของบทกวีนี้ถูกนำมาใช้รวมในการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษา เนื่องจากภาษาไพเราะและมีใจความเป็นแรงบันดาลใจให้ฟันฝ่าอุปสรรค แต่สี่วรรคหลังถูกละไว้ เนื่องจากใจความหดหู่รันทดเกินไปสำหรับเด็ก และวรรคที่ว่า ‘ไฟป่าเผาไม่มอด ลมวสันต์โชยก็งอกงามอีก’ (野火烧不尽 春风吹又生) กลายเป็นอีกหนึ่งวลียอดนิยมจวบจนปัจจุบัน ดังนั้น สรุปสั้นๆ ได้ว่า บทกวีที่นางเอกกล่าวว่าสะท้อนถึงอุปนิสัยของพระเอกนั้น คือบ่งบอกถึงความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ล้มแล้วลุกขึ้นสู้ใหม่ เพื่อนเพจคิดว่าตรงไหมคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละคร Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.zdic.net/hans/%E8%B5%8B%E5%BE%97 https://www.sohu.com/a/708520507_389451 https://www.kekeshici.com/shicimingju/ticai/jingse/998.html https://baike.baidu.com/item/赋得古原草送别/2873148 https://baike.baidu.com/item/招隐士/1905316 #พสุธารักเคียงใจ #กวีถัง #ไป๋จวีอี #เล่อโหยวหยวน
    0 Comments 0 Shares 1025 Views 0 Reviews