• ตามรอยเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านเส้นทางสายไหม

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> คงจำได้ว่าฉากหลังของเรื่องคือการค้าอัญมณีในสมัยถัง ซึ่งเส้นทางการเดินทางมีทั้งการเดินเรือทะเลและข้ามทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ ชวนให้ Storyฯ งงไม่น้อยเลยลองไปหาข้อมูลดู

    มีบทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยเหอหนานกล่าวไว้ว่าจริงๆ แล้วซีรีส์เรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> นี้คือการเดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งก็ตรงกับตอนจบของเรื่องที่กล่าวถึงการพัฒนาด้านการค้าผ่านเส้นทางสายไหม

    Storyฯ เลยลองเอาการเดินทางของพระเอกนางเอกจากในซีรีส์มาปักหมุดลง เราลองมาดูกันค่ะ

    มีบทความและแผนที่เกี่ยวกับเส้นทางสายไหมจำนวนไม่น้อยในหลากหลายภาษา ดังนั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด แต่จากการเปรียบเทียบดู Storyฯ พบว่ามีความแตกต่างกันบ้าง จึงขอใช้เวอร์ชั่นที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์หนิงเซี่ยกู้หยวนเป็นหลักเพราะถือว่าเป็นไปตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่จีนบันทึกเอง (ดูรูปประกอบ 2) เราจะเห็นว่าเส้นทางสายไหมมีเส้นทางบกและเส้นทางทะเล และเส้นทางบกไม่ได้จบลงที่เมืองฉางอัน (ซีอันปัจจุบัน) อย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่มีการเชื่อมต่อไปจรดทะเลเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางทะเล

    Storyฯ ลองใส่ข้อมูลอื่นเพิ่มเข้าไปในแผนที่เต็มนี้ (ดูรูปประกอบ 1) ก่อนอื่นคือใส่แผนที่ของราชวงศ์ถังซ้อนลงไปเพื่อให้เห็นภาพอาณาเขตโดยคร่าว ทั้งนี้ตลอดสามร้อยกว่าปีการปกครองของถังในเขตซีอวี้ (ซินเกียงปัจจุบัน) แตกต่างกันไป เลยลองใช้แผนที่ของช่วงประมาณปีค.ศ. 700 ก็จะเห็นเขตพื้นที่ซีอวี้ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือที่มีเมืองตุนหวงเป็นเสมือนประตูทางผ่าน จากนั้นใส่เขตพื้นที่มณฑลหยางโจวในสมัยนั้นซึ่งอยู่ทางใต้ของแผนที่ติดทะเล (คือเส้นประเล็กๆ) (หมายเหตุ เส้นขอบทั้งหมดอาจไม่เป๊ะด้วยข้อจำกัดการวาดของ Storyฯ เอง)

    เมื่อใส่เสร็จแล้วก็เห็นได้เลยว่าตวนอู่และเยี่ยจื่อจิงของเราในเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> เขาเดินทางตามเส้นทางสายใหม่จริงๆ

    เริ่มกันที่ด้านล่างของแผนที่ซึ่งเป็นแถบพื้นที่เหอผู่อันเป็นแหล่งเก็บมุกทะเล (ปัจจุบันเรียกเป๋ยไห่ คือพื้นที่สีแดง) ที่นี่เป็นฉากเริ่มต้นของเรื่อง (ย้อนอ่านเรื่องการเก็บมุกได้จากบทความสัปดาห์ที่แล้ว) จากนั้นเดินทางผ่านกวางเจาขึ้นเหนือและสู้รบปรบมือกับคนตระกูลชุยและศัตรูอื่นเป็นระยะตั้งแต่เมืองซ่าวโจวถึงเมืองอู่หลิง จากนั้นเดินทางเรื่อยขึ้นไปจนถึงเมืองเปี้ยนโจวซึ่งคือเมืองไคฟงปัจจุบัน แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านนครฉางอัน ข้ามเขตทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ซึ่งการเข้าเขตซีอวี้ในสมัยนั้นจะผ่านเมืองตุนหวง ณ จุดนี้ เรื่องราวผ่านไปแล้วประมาณ 1/3 ของเรื่อง

    หลังจากนั้นเหล่าตัวละครกลับมาจากซีอวี้แล้วเดินทางมาถึงเมืองหยางโจวข้ามผ่านระยะทางอย่างไกลได้อย่างไรไม่ทราบได้ Storyฯ ดูจากแผนที่แล้วน่าจะย้อนกลับมาทางเมืองเปี้ยนเฉิงและจากจุดนั้นมีเส้นทาง (ที่ไม่ใช่เส้นทางสายไหมและไม่ได้วาดไว้ในรูปประกอบ) เชื่อมลงมายังเมืองหยางโจว ซึ่งมีทั้งเส้นทางบกและเส้นทางคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่สามารถใช้ได้ (หมายเหตุ เส้นทางต้าอวิ้นเหอมีการเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยหมิงเป็นต้นมา) และเรื่องราวที่เหลือของเรื่องก็จะมีฉากหลังอยู่ที่การค้าอัญมณีที่เมืองหยางโจวนี้

    ในเรื่องมีกล่าวถึงอัญมณีหนึ่งที่น่าสนใจชื่อว่า ‘เซ่อเซ่อ’ (瑟瑟 ไม่แน่ใจว่าแปลซับไทยไว้ว่าอย่างไร) ซึ่งเป็นพลอยประเภท Beryl Stone มีสีเขียวฟ้าและฟ้า บอกว่าเป็นพลอยที่มีค่าหายากมาก ในความเป็นจริง Beryl Stone แบ่งเป็นประเภทย่อยอีกตามสี แต่เรามักเรียกรวมพลอยสีฟ้าเขียวว่าพลอยอะความารีน (Aquamarine) และในละครมีการกล่าวว่าพลอยเซ่อเซ่อเกรดดีส่วนใหญ่มาจากเขตซีอวี้ แต่แถวหยางโจวก็พอให้หาซื้อได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจริงตามประวัติศาสตร์ เพราะพลอยเซ่อเซ่อในจีนหาได้ในสามพื้นที่หลักคือซินเกียง (ซีอวี้) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ และที่ยูนนานและหูเป่ย (ไม่ไกลจากเมืองอู่หลิงในภาพ ซึ่งเป็นจุดที่น้องชุยสือจิ่วของเราถูกจับขังในเหมือง)

    เมืองหยางโจวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบกและทางเรือของจีนโบราณ จึงไม่แปลกที่เรามักเห็นในซีรีส์และนิยายจีนโบราณกล่าวถึงหยางโจวว่าเป็นเขตค้าขายมีตระกูลพ่อค้าร่ำรวย ที่นี่ไม่เพียงเป็นจุดเชื่อมเส้นทางสายไหมทางบกและทะเลโดยผ่านแม่น้ำแยงซีเกียง และยังมีคลองต้าอวิ้นเหอเชื่อมขึ้นเหนือ ในสมัยถังที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้าเสบียงอาหาร เกลือและเหล็กไปยังพื้นที่ต่างๆ ของจีน อีกทั้งค้าขายส่งออกผ้าไหมและงานกระเบื้องรวมถึงนำเข้าสินค้าหลากชนิดผ่านเส้นทางบกและเรือ นอกจากนี้ที่นี่ยังขึ้นชื่อเรื่องงานช่างงานฝีมือและมีการพบเจอซากเรือสมัยถังพร้อมเครื่องประดับมากมายที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยถังมีการค้าขายเครื่องประดับด้วยเช่นกัน

    หวังว่าเพื่อนเพจจะเห็นภาพแล้วว่าการเดินเรื่องของ <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านพื้นที่ไหนบ้าง และทำไมเหล่าคู่อริทางการค้าจึงพบหน้ากันบ่อย... เพราะทุกคนล้วนค้าขายและใช้เส้นทางสายไหมกันนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://m.bjnews.com.cn/detail/1730788116168379.html
    https://www.chinadiscovery.com/assets/images/silk-road/history/tang-silk-road-map-llsboc-qunar.jpg
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/JG5GE87L0512D3VJ.html
    https://www.163.com/dy/article/JGCT7TAP0530WJTO.html
    https://baike.baidu.com/item/扬州市
    https://turnstone.ca/rom186be.htm

    #ม่านมุกม่านหยก #เส้นทางสายไหม #พลอยจีน #หยางโจว #สาระจีน
    ตามรอยเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านเส้นทางสายไหม สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> คงจำได้ว่าฉากหลังของเรื่องคือการค้าอัญมณีในสมัยถัง ซึ่งเส้นทางการเดินทางมีทั้งการเดินเรือทะเลและข้ามทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ ชวนให้ Storyฯ งงไม่น้อยเลยลองไปหาข้อมูลดู มีบทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยเหอหนานกล่าวไว้ว่าจริงๆ แล้วซีรีส์เรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> นี้คือการเดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งก็ตรงกับตอนจบของเรื่องที่กล่าวถึงการพัฒนาด้านการค้าผ่านเส้นทางสายไหม Storyฯ เลยลองเอาการเดินทางของพระเอกนางเอกจากในซีรีส์มาปักหมุดลง เราลองมาดูกันค่ะ มีบทความและแผนที่เกี่ยวกับเส้นทางสายไหมจำนวนไม่น้อยในหลากหลายภาษา ดังนั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด แต่จากการเปรียบเทียบดู Storyฯ พบว่ามีความแตกต่างกันบ้าง จึงขอใช้เวอร์ชั่นที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์หนิงเซี่ยกู้หยวนเป็นหลักเพราะถือว่าเป็นไปตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่จีนบันทึกเอง (ดูรูปประกอบ 2) เราจะเห็นว่าเส้นทางสายไหมมีเส้นทางบกและเส้นทางทะเล และเส้นทางบกไม่ได้จบลงที่เมืองฉางอัน (ซีอันปัจจุบัน) อย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่มีการเชื่อมต่อไปจรดทะเลเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางทะเล Storyฯ ลองใส่ข้อมูลอื่นเพิ่มเข้าไปในแผนที่เต็มนี้ (ดูรูปประกอบ 1) ก่อนอื่นคือใส่แผนที่ของราชวงศ์ถังซ้อนลงไปเพื่อให้เห็นภาพอาณาเขตโดยคร่าว ทั้งนี้ตลอดสามร้อยกว่าปีการปกครองของถังในเขตซีอวี้ (ซินเกียงปัจจุบัน) แตกต่างกันไป เลยลองใช้แผนที่ของช่วงประมาณปีค.ศ. 700 ก็จะเห็นเขตพื้นที่ซีอวี้ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือที่มีเมืองตุนหวงเป็นเสมือนประตูทางผ่าน จากนั้นใส่เขตพื้นที่มณฑลหยางโจวในสมัยนั้นซึ่งอยู่ทางใต้ของแผนที่ติดทะเล (คือเส้นประเล็กๆ) (หมายเหตุ เส้นขอบทั้งหมดอาจไม่เป๊ะด้วยข้อจำกัดการวาดของ Storyฯ เอง) เมื่อใส่เสร็จแล้วก็เห็นได้เลยว่าตวนอู่และเยี่ยจื่อจิงของเราในเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> เขาเดินทางตามเส้นทางสายใหม่จริงๆ เริ่มกันที่ด้านล่างของแผนที่ซึ่งเป็นแถบพื้นที่เหอผู่อันเป็นแหล่งเก็บมุกทะเล (ปัจจุบันเรียกเป๋ยไห่ คือพื้นที่สีแดง) ที่นี่เป็นฉากเริ่มต้นของเรื่อง (ย้อนอ่านเรื่องการเก็บมุกได้จากบทความสัปดาห์ที่แล้ว) จากนั้นเดินทางผ่านกวางเจาขึ้นเหนือและสู้รบปรบมือกับคนตระกูลชุยและศัตรูอื่นเป็นระยะตั้งแต่เมืองซ่าวโจวถึงเมืองอู่หลิง จากนั้นเดินทางเรื่อยขึ้นไปจนถึงเมืองเปี้ยนโจวซึ่งคือเมืองไคฟงปัจจุบัน แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านนครฉางอัน ข้ามเขตทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ซึ่งการเข้าเขตซีอวี้ในสมัยนั้นจะผ่านเมืองตุนหวง ณ จุดนี้ เรื่องราวผ่านไปแล้วประมาณ 1/3 ของเรื่อง หลังจากนั้นเหล่าตัวละครกลับมาจากซีอวี้แล้วเดินทางมาถึงเมืองหยางโจวข้ามผ่านระยะทางอย่างไกลได้อย่างไรไม่ทราบได้ Storyฯ ดูจากแผนที่แล้วน่าจะย้อนกลับมาทางเมืองเปี้ยนเฉิงและจากจุดนั้นมีเส้นทาง (ที่ไม่ใช่เส้นทางสายไหมและไม่ได้วาดไว้ในรูปประกอบ) เชื่อมลงมายังเมืองหยางโจว ซึ่งมีทั้งเส้นทางบกและเส้นทางคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่สามารถใช้ได้ (หมายเหตุ เส้นทางต้าอวิ้นเหอมีการเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยหมิงเป็นต้นมา) และเรื่องราวที่เหลือของเรื่องก็จะมีฉากหลังอยู่ที่การค้าอัญมณีที่เมืองหยางโจวนี้ ในเรื่องมีกล่าวถึงอัญมณีหนึ่งที่น่าสนใจชื่อว่า ‘เซ่อเซ่อ’ (瑟瑟 ไม่แน่ใจว่าแปลซับไทยไว้ว่าอย่างไร) ซึ่งเป็นพลอยประเภท Beryl Stone มีสีเขียวฟ้าและฟ้า บอกว่าเป็นพลอยที่มีค่าหายากมาก ในความเป็นจริง Beryl Stone แบ่งเป็นประเภทย่อยอีกตามสี แต่เรามักเรียกรวมพลอยสีฟ้าเขียวว่าพลอยอะความารีน (Aquamarine) และในละครมีการกล่าวว่าพลอยเซ่อเซ่อเกรดดีส่วนใหญ่มาจากเขตซีอวี้ แต่แถวหยางโจวก็พอให้หาซื้อได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจริงตามประวัติศาสตร์ เพราะพลอยเซ่อเซ่อในจีนหาได้ในสามพื้นที่หลักคือซินเกียง (ซีอวี้) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ และที่ยูนนานและหูเป่ย (ไม่ไกลจากเมืองอู่หลิงในภาพ ซึ่งเป็นจุดที่น้องชุยสือจิ่วของเราถูกจับขังในเหมือง) เมืองหยางโจวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบกและทางเรือของจีนโบราณ จึงไม่แปลกที่เรามักเห็นในซีรีส์และนิยายจีนโบราณกล่าวถึงหยางโจวว่าเป็นเขตค้าขายมีตระกูลพ่อค้าร่ำรวย ที่นี่ไม่เพียงเป็นจุดเชื่อมเส้นทางสายไหมทางบกและทะเลโดยผ่านแม่น้ำแยงซีเกียง และยังมีคลองต้าอวิ้นเหอเชื่อมขึ้นเหนือ ในสมัยถังที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้าเสบียงอาหาร เกลือและเหล็กไปยังพื้นที่ต่างๆ ของจีน อีกทั้งค้าขายส่งออกผ้าไหมและงานกระเบื้องรวมถึงนำเข้าสินค้าหลากชนิดผ่านเส้นทางบกและเรือ นอกจากนี้ที่นี่ยังขึ้นชื่อเรื่องงานช่างงานฝีมือและมีการพบเจอซากเรือสมัยถังพร้อมเครื่องประดับมากมายที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยถังมีการค้าขายเครื่องประดับด้วยเช่นกัน หวังว่าเพื่อนเพจจะเห็นภาพแล้วว่าการเดินเรื่องของ <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านพื้นที่ไหนบ้าง และทำไมเหล่าคู่อริทางการค้าจึงพบหน้ากันบ่อย... เพราะทุกคนล้วนค้าขายและใช้เส้นทางสายไหมกันนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://m.bjnews.com.cn/detail/1730788116168379.html https://www.chinadiscovery.com/assets/images/silk-road/history/tang-silk-road-map-llsboc-qunar.jpg Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/JG5GE87L0512D3VJ.html https://www.163.com/dy/article/JGCT7TAP0530WJTO.html https://baike.baidu.com/item/扬州市 https://turnstone.ca/rom186be.htm #ม่านมุกม่านหยก #เส้นทางสายไหม #พลอยจีน #หยางโจว #สาระจีน
    M.BJNEWS.COM.CN
    赵露思、刘宇宁新剧《珠帘玉幕》今日卫视开播
    赵露思、刘宇宁新剧《珠帘玉幕》今日卫视开播
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 889 มุมมอง 0 รีวิว
  • 憶江南
    คิดถึงเจียงหนัน
    白居易、辛曉娟作詞,劉卓作曲,沈忱編曲
    ป๋ายจวีอี้
    ปรับเนื้อร้อง : ซินเสี่ยวเจวียน
    ทำนอง : หลิวจั๋ว
    แต่งทำนอง : เสิ่นเฉิน

    江南好 風景舊曾諳
    เจียงหนันงาม งดงามภาพทรงจำ
    日出江花紅勝火 春來江水綠如藍
    จาวน้ำยามเช้าแดงยิ่งไฟ วสันต์ธารใสดุจครามไหล
    能不憶江南
    ไม่คิดถึงได้ไย
    最悠閒系舟古渡口
    สุดสำราญผูกเรือเทียบท่าเก่า
    最灑脫騎鶴下揚州
    สุดเริงเร้าลอยล่องลงหยางโจว
    人若問江南何所有
    หากใครถามเจียงหนันไยเฉิดโฉม
    小橋流水船家櫓聲幽幽
    สะพานธารใสชาวเรือเสียงพายเบาเบา
    江南憶 最憶是杭州
    คิดเจียงหนัน มากสุดคือหังโจว
    山寺月中尋桂子 郡亭枕上看潮頭
    วัดดอยจันทร์ลอยหมื่นลี้หอม ขึ้นจวนหนุนหมอนชมคลื่นโหม
    何日更重遊
    วันใดได้เยือนโฉม
    最得意是畫舫載酒
    สุดวิลาสเรือศิลป์ปิ่นสุรา
    最傷懷是獨上層樓
    ทุกข์อุราเอกาขึ้นหอคอย
    你問我為何事勾留
    หากเธอถามเรื่องใดเหนี่ยวใจลอย
    湖光山色微雨一船菱藕
    ผิวธารบรรพตฝนโปรยดารณีน้อย
    江南憶 其次憶吳宮
    คิดเจียงหนัน ยิ่งนึกถึงวังอู๋
    吳酒一杯春竹葉 吳娃雙舞醉芙蓉
    หนึ่งจอกไผ่เขียวสุราอู๋ รำร่ายพริ้มพรายสุดาคู่
    早晚復相逢
    เช้าค่ำพบโฉมตรู
    最流連是秉燭夜遊
    สุดคะนึงถือเทียนท่องราตรี
    最銷魂她眼波含秋
    หลุดฤดีแววตาเธอหยาดเยิ้ม
    別夢中似風景依舊
    แม้หลับฝันยังซึ้งทรวงดังเดิม
    花橋水閣月照半城煙柳
    เรือนน้ำสะพานจันทร์ฉายเมืองหมอกหลิวพราย

    https://youtu.be/WUUYAumzvvE?si=YmOgjxHlcZek-85P
    憶江南 คิดถึงเจียงหนัน 白居易、辛曉娟作詞,劉卓作曲,沈忱編曲 ป๋ายจวีอี้ ปรับเนื้อร้อง : ซินเสี่ยวเจวียน ทำนอง : หลิวจั๋ว แต่งทำนอง : เสิ่นเฉิน 江南好 風景舊曾諳 เจียงหนันงาม งดงามภาพทรงจำ 日出江花紅勝火 春來江水綠如藍 จาวน้ำยามเช้าแดงยิ่งไฟ วสันต์ธารใสดุจครามไหล 能不憶江南 ไม่คิดถึงได้ไย 最悠閒系舟古渡口 สุดสำราญผูกเรือเทียบท่าเก่า 最灑脫騎鶴下揚州 สุดเริงเร้าลอยล่องลงหยางโจว 人若問江南何所有 หากใครถามเจียงหนันไยเฉิดโฉม 小橋流水船家櫓聲幽幽 สะพานธารใสชาวเรือเสียงพายเบาเบา 江南憶 最憶是杭州 คิดเจียงหนัน มากสุดคือหังโจว 山寺月中尋桂子 郡亭枕上看潮頭 วัดดอยจันทร์ลอยหมื่นลี้หอม ขึ้นจวนหนุนหมอนชมคลื่นโหม 何日更重遊 วันใดได้เยือนโฉม 最得意是畫舫載酒 สุดวิลาสเรือศิลป์ปิ่นสุรา 最傷懷是獨上層樓 ทุกข์อุราเอกาขึ้นหอคอย 你問我為何事勾留 หากเธอถามเรื่องใดเหนี่ยวใจลอย 湖光山色微雨一船菱藕 ผิวธารบรรพตฝนโปรยดารณีน้อย 江南憶 其次憶吳宮 คิดเจียงหนัน ยิ่งนึกถึงวังอู๋ 吳酒一杯春竹葉 吳娃雙舞醉芙蓉 หนึ่งจอกไผ่เขียวสุราอู๋ รำร่ายพริ้มพรายสุดาคู่ 早晚復相逢 เช้าค่ำพบโฉมตรู 最流連是秉燭夜遊 สุดคะนึงถือเทียนท่องราตรี 最銷魂她眼波含秋 หลุดฤดีแววตาเธอหยาดเยิ้ม 別夢中似風景依舊 แม้หลับฝันยังซึ้งทรวงดังเดิม 花橋水閣月照半城煙柳 เรือนน้ำสะพานจันทร์ฉายเมืองหมอกหลิวพราย https://youtu.be/WUUYAumzvvE?si=YmOgjxHlcZek-85P
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 328 มุมมอง 0 รีวิว
  • โยวโจวคือสถานที่ใด?

    สวัสดีค่ะ Storyฯ เพิ่งอ่านนวนิยายเรื่อง <สยบรักจอมเสเพล> จบไป (ชอบมาก คุณธรรมน้ำมิตรดี แนะนำ!) แต่ยังไม่มีเวลาดูซีรีส์ ก็ไม่แน่ใจว่ามีการดัดแปลงเนื้อหาไปจากนิยายต้นฉบับมากน้อยแค่ไหน

    เนื่องจากมีหลายเหตุการณ์ในเรื่องนี้เกิดขึ้นที่ ‘โยวโจว’ (幽州) จึงเกิดความ ‘เอ๊ะ’ ว่ามันคือสถานที่ใด เพราะชื่อนี้ปรากฏบ่อยมากในนิยายและซีรีส์จีนโบราณหลายเรื่องที่มีฉากสู้รบ (ใครคุ้นหูคุ้นตาจากเรื่องอะไรมาเม้นท์บอกกันได้) Storyฯ เลยไปทำการบ้านมาเล่าสู่กันฟัง

    ‘โจว’ ปัจจุบันใช้เรียกทวีป เช่น ย่าโจว คือทวีปเอเชีย แต่ในสมัยจีนโบราณ โจวเป็นการเรียกเขตพื้นที่ แต่ขนาดและอำนาจการปกครองของมันแตกต่างกันไป แรกเริ่มเลยมันเป็นเพียงการแบ่งพื้นที่ ไม่ได้มีอำนาจการปกครอง ในสมัยฉินมีการกล่าวถึงเก้าโจว แต่จากบันทึกโบราณพบว่าชื่อเรียกของเก้าโจวนี้แตกต่างกันไป ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่นเพิ่มเป็นสิบสามโจว มีอำนาจการปกครองท้องถิ่น นับเป็นเขตการปกครองท้องถิ่นที่ใหญ่ที่สุด หากต้องใช้คำไทย Storyฯ คิดว่า ‘มณฑล’ น่าจะเป็นคำที่ใกล้เคียงที่สุด ถัดจากโจวคือจวิ้น (郡) แล้วก็เป็นเซี่ยน (县)

    สิบสามมณฑลนี้หน้าตาเป็นอย่างไร ดูได้ในรูปประกอบ 2 (ขวา) โยวโจวคือเขตพื้นที่สีเหลืองและหยางโจว (บ้านเดิมของพระเอกและนางเอกในเรื่อง) คือพื้นที่สีม่วง เห็นแล้วเพื่อนเพจคงได้อรรถรสของความยากลำบากและระยะทางของการเดินทางที่ถูกกล่าวถึงในนิยาย/ละครเรื่องนี้กัน

    <สยบรักจอมเสเพล> ไม่ได้เป็นเรื่องราวที่เกิดในสมัยฮั่น มันเป็นยุคสมัยสมมุติและราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากเหตุการณ์ต่างๆ และสไตล์การแต่งกายในละครแล้ว เทียบใกล้เคียงกับช่วงปลายสมัยห้าราชวงศ์สิบรัฐที่แม่ทัพใหญ่ระดับเจี๋ยตู้สื่อมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการปกครองและการทหารในพื้นที่ของตนและช่วงชิงดินแดนกัน (เริ่มมีตำแหน่งนี้ในสมัยถัง) และเลียนแบบเหตุการณ์สวมอาภรณ์สีเหลืองตั้งตนเป็นฮ่องเต้อันเป็นตำนานของจ้าวควงอิ้นเมื่อครั้งสถาปนาตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง มีการกล่าวถึงแม่น้ำฮวงโห เขตเปี้ยนเหลียงและเมืองหลวงที่ชื่อว่าตงตู ซึ่งอาจเป็นชื่อสมมุติของเมืองตงจิง (เปี้ยนเหลียงหรือไคเฟิงซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ซ่งเหนือ) หรืออาจหมายถึงเมืองลั่วหยางซึ่งเป็นตงตูหรือนครตะวันออกสมัยถัง (หมายเหตุ ‘จิง’ ‘ตู’ และ ‘เฉิง’ ล้วนแปลว่านครหรือเมือง)

    แต่... แม้ว่าเหตุการณ์ในละคร/นิยายจะใกล้เคียงกับช่วงต้นราชวงศ์ซ่ง ทว่าการเรียกเขตพื้นที่การปกครองต่างๆ ยังอิงตามสิบสามมณฑลสมัยฮั่น เพราะในสมัยซ่งเหนือ โยวโจวไม่ได้อยู่ในอาณาเขตของซ่ง แต่อยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์เหลียว และมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไป (ดูแผนที่โดยคร่าวในรูปประกอบ 1)

    หน้าตาแผนที่ของจีนเปลี่ยนไปในแต่ละสมัย การแบ่งเขตปกครองและชื่อเรียกก็ย่อมแตกต่างกันไป โยวโจวในสมัยฮั่นนั้น ต่อมาถูกเรียกเป็นเยียนเป่ยในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นจัวจวิ้นในสมัยสุย กลับมาเป็นโยวโจวในสมัยถัง ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่ออีกเป็นฟ่านหยางจวิ้นในสมัยถังกลาง หลังจากนั้นกลับมาเป็นโยวโจวแล้วจัวโจว ในสมัยเหลียว/ซ่งกลายเป็นเขตปกครองสิบหกเขตย่อยเรียกว่าโยวอวิ๋นหรือเยียนอวิ๋น หลังจากนั้นเขตการปกครองก็เปลี่ยนไปอีก และชื่อ ‘โยวโจว’ ก็หายไปจากแผนที่จีน

    แต่มันไม่ได้หายไปไหน ศูนย์การปกครองของโยวโจวในสมัยโบราณคือเมืองโยวตู (หรือในสมัยสุยคือจัวตู) ซึ่งก็คือกรุงปักกิ่งในปัจจุบันนั่นเอง

    โยวตูในสมัยก่อนเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาก เพราะมันเป็นศูนย์กลางการปกครองของมณฑลโยวโจว ซึ่งเป็นฐานกำลังทหารรักษาชายแดนที่สำคัญ ในสมัยถังนั้น เจี๋ยตู้สื่อแห่งโยวโจวมีอำนาจการปกครองและจำนวนกองทัพในมือมากที่สุดในบรรดาเจี๋ยตู้สื่อทั้งหมด จึงไม่แปลกที่จะมีนิยายเกี่ยวกับการรบและการแย่งชิงกำลังทหารกันที่โยวโจว นอกจากนี้ โยวตูยังเป็นเมืองปลายทางเมืองหนึ่งของคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยสุย จึงเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมและการค้าขายในภาคเหนือของจีน พัฒนาขึ้นเป็นศูนย์การเกษตรธัญพืชที่สำคัญ ไม่เพียงมีปริมาณผลผลิตเพียงพอสำหรับประชากรในโยวโจวเอง หากแต่ยังส่งออกโดยผ่านต้าอวิ้นเหอไปขายเป็นเสบียงยังพื้นที่อื่นๆ อีกด้วย ดังเช่นที่ถูกกล่าวถึงในนิยาย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g44250708/destined/
    https://kknews.cc/history/l8r6qvg.html
    https://www.artsmia.org/art-of-asia/history/maps.cfm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/幽州/1049370
    https://zh.wikipedia.org/wiki/北京历史
    https://www.sohu.com/a/674479826_121180648
    https://www.sohu.com/a/277568460_628936

    #สยบรักจอมเสเพล #โยวโจว #โยวตู #สิบสามมณฑล #ปักกิ่ง
    โยวโจวคือสถานที่ใด? สวัสดีค่ะ Storyฯ เพิ่งอ่านนวนิยายเรื่อง <สยบรักจอมเสเพล> จบไป (ชอบมาก คุณธรรมน้ำมิตรดี แนะนำ!) แต่ยังไม่มีเวลาดูซีรีส์ ก็ไม่แน่ใจว่ามีการดัดแปลงเนื้อหาไปจากนิยายต้นฉบับมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากมีหลายเหตุการณ์ในเรื่องนี้เกิดขึ้นที่ ‘โยวโจว’ (幽州) จึงเกิดความ ‘เอ๊ะ’ ว่ามันคือสถานที่ใด เพราะชื่อนี้ปรากฏบ่อยมากในนิยายและซีรีส์จีนโบราณหลายเรื่องที่มีฉากสู้รบ (ใครคุ้นหูคุ้นตาจากเรื่องอะไรมาเม้นท์บอกกันได้) Storyฯ เลยไปทำการบ้านมาเล่าสู่กันฟัง ‘โจว’ ปัจจุบันใช้เรียกทวีป เช่น ย่าโจว คือทวีปเอเชีย แต่ในสมัยจีนโบราณ โจวเป็นการเรียกเขตพื้นที่ แต่ขนาดและอำนาจการปกครองของมันแตกต่างกันไป แรกเริ่มเลยมันเป็นเพียงการแบ่งพื้นที่ ไม่ได้มีอำนาจการปกครอง ในสมัยฉินมีการกล่าวถึงเก้าโจว แต่จากบันทึกโบราณพบว่าชื่อเรียกของเก้าโจวนี้แตกต่างกันไป ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่นเพิ่มเป็นสิบสามโจว มีอำนาจการปกครองท้องถิ่น นับเป็นเขตการปกครองท้องถิ่นที่ใหญ่ที่สุด หากต้องใช้คำไทย Storyฯ คิดว่า ‘มณฑล’ น่าจะเป็นคำที่ใกล้เคียงที่สุด ถัดจากโจวคือจวิ้น (郡) แล้วก็เป็นเซี่ยน (县) สิบสามมณฑลนี้หน้าตาเป็นอย่างไร ดูได้ในรูปประกอบ 2 (ขวา) โยวโจวคือเขตพื้นที่สีเหลืองและหยางโจว (บ้านเดิมของพระเอกและนางเอกในเรื่อง) คือพื้นที่สีม่วง เห็นแล้วเพื่อนเพจคงได้อรรถรสของความยากลำบากและระยะทางของการเดินทางที่ถูกกล่าวถึงในนิยาย/ละครเรื่องนี้กัน <สยบรักจอมเสเพล> ไม่ได้เป็นเรื่องราวที่เกิดในสมัยฮั่น มันเป็นยุคสมัยสมมุติและราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากเหตุการณ์ต่างๆ และสไตล์การแต่งกายในละครแล้ว เทียบใกล้เคียงกับช่วงปลายสมัยห้าราชวงศ์สิบรัฐที่แม่ทัพใหญ่ระดับเจี๋ยตู้สื่อมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการปกครองและการทหารในพื้นที่ของตนและช่วงชิงดินแดนกัน (เริ่มมีตำแหน่งนี้ในสมัยถัง) และเลียนแบบเหตุการณ์สวมอาภรณ์สีเหลืองตั้งตนเป็นฮ่องเต้อันเป็นตำนานของจ้าวควงอิ้นเมื่อครั้งสถาปนาตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง มีการกล่าวถึงแม่น้ำฮวงโห เขตเปี้ยนเหลียงและเมืองหลวงที่ชื่อว่าตงตู ซึ่งอาจเป็นชื่อสมมุติของเมืองตงจิง (เปี้ยนเหลียงหรือไคเฟิงซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ซ่งเหนือ) หรืออาจหมายถึงเมืองลั่วหยางซึ่งเป็นตงตูหรือนครตะวันออกสมัยถัง (หมายเหตุ ‘จิง’ ‘ตู’ และ ‘เฉิง’ ล้วนแปลว่านครหรือเมือง) แต่... แม้ว่าเหตุการณ์ในละคร/นิยายจะใกล้เคียงกับช่วงต้นราชวงศ์ซ่ง ทว่าการเรียกเขตพื้นที่การปกครองต่างๆ ยังอิงตามสิบสามมณฑลสมัยฮั่น เพราะในสมัยซ่งเหนือ โยวโจวไม่ได้อยู่ในอาณาเขตของซ่ง แต่อยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์เหลียว และมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไป (ดูแผนที่โดยคร่าวในรูปประกอบ 1) หน้าตาแผนที่ของจีนเปลี่ยนไปในแต่ละสมัย การแบ่งเขตปกครองและชื่อเรียกก็ย่อมแตกต่างกันไป โยวโจวในสมัยฮั่นนั้น ต่อมาถูกเรียกเป็นเยียนเป่ยในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นจัวจวิ้นในสมัยสุย กลับมาเป็นโยวโจวในสมัยถัง ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่ออีกเป็นฟ่านหยางจวิ้นในสมัยถังกลาง หลังจากนั้นกลับมาเป็นโยวโจวแล้วจัวโจว ในสมัยเหลียว/ซ่งกลายเป็นเขตปกครองสิบหกเขตย่อยเรียกว่าโยวอวิ๋นหรือเยียนอวิ๋น หลังจากนั้นเขตการปกครองก็เปลี่ยนไปอีก และชื่อ ‘โยวโจว’ ก็หายไปจากแผนที่จีน แต่มันไม่ได้หายไปไหน ศูนย์การปกครองของโยวโจวในสมัยโบราณคือเมืองโยวตู (หรือในสมัยสุยคือจัวตู) ซึ่งก็คือกรุงปักกิ่งในปัจจุบันนั่นเอง โยวตูในสมัยก่อนเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาก เพราะมันเป็นศูนย์กลางการปกครองของมณฑลโยวโจว ซึ่งเป็นฐานกำลังทหารรักษาชายแดนที่สำคัญ ในสมัยถังนั้น เจี๋ยตู้สื่อแห่งโยวโจวมีอำนาจการปกครองและจำนวนกองทัพในมือมากที่สุดในบรรดาเจี๋ยตู้สื่อทั้งหมด จึงไม่แปลกที่จะมีนิยายเกี่ยวกับการรบและการแย่งชิงกำลังทหารกันที่โยวโจว นอกจากนี้ โยวตูยังเป็นเมืองปลายทางเมืองหนึ่งของคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยสุย จึงเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมและการค้าขายในภาคเหนือของจีน พัฒนาขึ้นเป็นศูนย์การเกษตรธัญพืชที่สำคัญ ไม่เพียงมีปริมาณผลผลิตเพียงพอสำหรับประชากรในโยวโจวเอง หากแต่ยังส่งออกโดยผ่านต้าอวิ้นเหอไปขายเป็นเสบียงยังพื้นที่อื่นๆ อีกด้วย ดังเช่นที่ถูกกล่าวถึงในนิยาย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g44250708/destined/ https://kknews.cc/history/l8r6qvg.html https://www.artsmia.org/art-of-asia/history/maps.cfm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/幽州/1049370 https://zh.wikipedia.org/wiki/北京历史 https://www.sohu.com/a/674479826_121180648 https://www.sohu.com/a/277568460_628936 #สยบรักจอมเสเพล #โยวโจว #โยวตู #สิบสามมณฑล #ปักกิ่ง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 866 มุมมอง 0 รีวิว