• วันนี้คุยกันต่อเกี่ยวกับวัฒนธรรมในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ศิลปะชั้นสูงหลายแขนงถูกเผยแพร่สู่ประชาชนในวงกว้าง

    จาก ‘บันทึกเมิ่งเหลียง’ มีศิลปะสี่แขนงที่ถูกยกย่องว่าเป็นสิ่งที่ ‘ต้องมี’ ในผู้ที่มีการศึกษาในสมัยซ่ง ซึ่งก็คือ การเผาผงหอม การเตี่ยนฉา (การชงชาแบบซ่งที่ Storyฯ เขียนถึงไปแล้วเมื่อก่อนปีใหม่) การเขียนภาพ และการจัดดอกไม้ ทั้งหมดล้วนเป็นศิลปะที่ชาวซ่งมองว่าฝึกให้คนใจเย็น ใครที่ได้ดูละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> จะเห็นการผสมดินและถ่านเพื่อเผาผงหอมในตอนที่มีครูแม่บ้านมาจากในวังมาสอนให้กับพี่น้องตระกูลเสิ้ง

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ที่วางอยู่ข้างๆ พวกเจ้าล้วนเป็นผงไม้กฤษณาอย่างดี หากบังคับแรงไฟได้ดี ก้อนเล็กเพียงเท่าเล็บยังสามารถเผาได้นานถึงสองชั่วยาม (สี่ชั่วโมง) กลิ่นกรุ่นมิจาง...
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)

    สมัยซ่งนั้นเป็นการเผาผงหอม เรียกว่าเฝินเซียง (焚香) ส่วนผสมที่ใช้หลากหลาย เช่นไม้กฤษณา ไม้จันทน์ พิมเสน กำยาน ตะไคร้ ลูกกระวาน เม็ดพริกไทย ฯลฯ มีการค้นคว้าสูตรผสมจัดเป็นตำราสูตรเครื่องหอม (ตัวอย่างสูตรรูปสองซ้ายบน) ทั้งเพื่อความจรรโลงใจและทั้งเพื่อสรรพคุณทางยา โดยเครื่องหอมที่ปรุงเสร็จก็จัดทำขึ้นหลากหลายรูปแบบ ทั้งอัดเม็ด อัดแผ่นบาง อัดแผ่นหนาห้อยติดกาย หรือเป็นแบบผง

    ในสมัยนั้น เครื่องหอมที่มีชื่อที่สุด แพงที่สุด (มีค่าเทียบเท่าทองคำ) และใช้ในวังเป็นหลักคือ ‘หลงเสียนเซียง’ (龙涎香) แปลตรงตัวว่าเครื่องหอมจากน้ำลายมังกร แต่จริงๆ แล้วมันเกิดจากการสำรอกหรือขับถ่ายจากปลาวาฬหัวทุย หลังถูกน้ำทะเลและแสงแดดหล่อหลอมนานปีจนเป็นก้อนไขมันหน้าตาคล้ายหินอ่อนก็จะมีกลิ่นหอม หรือที่เราเรียกกันว่า ‘อำพันขี้ปลา’ จัดเป็นยาหายากชนิดหนึ่งในจีนโบราณ มีสรรพคุณกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด

    ยุคสมัยนั้นจริงจังกับเฝินเซียงแค่ไหน ดูได้จากชุดอุปกรณ์ (รูปแรกขวาล่าง) ในสมัยนั้นจึงเกิดการสรรค์สร้างเครื่องปั้นดินเผาเป็นเตาเผาผงหอมหน้าตาหลากหลาย ยกตัวอย่างมาให้ชมกัน (รูปสอง)

    การเผานั้นเป็นไปตามกรรมวิธีที่แสดงในละคร เริ่มจากการวางถ่านไม้ก้อนเล็กลงไปกลางรูที่ขุดไว้ในผงหอม ปิดด้วยแผ่นแร่กลีบหินหรือแผ่นตะแกรง แล้วก็วางชิ้นเครื่องหอมลงบนแผ่นแร่กลีบหินอีกที (ตามรูปแรกขวาบน) ผลลัพธ์ที่ดีคือมีกลิ่นแต่ไม่มีควัน

    Storyฯ เล่าแบบง่ายๆ (อีกแล้ว) แต่แน่นอนว่าทุกขั้นตอนแฝงไว้ด้วยความละเมียดละไม ไม่ว่าการผสมการจัดเก็บเครื่องหอม การเผาถ่าน ตำแหน่งการวางถ่าน ฯลฯ ศิลปะจากราชวงศ์ซ่งนี้อยู่คู่กับเรามาจวบจนปัจจุบัน แม้แต่สูตรเครื่องหอมบางสูตรหรือการใช้อำพันขี้ปลามาเป็นหัวเชื้อน้ำหอม ปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://kknews.cc/culture/jv6zbal.html
    https://kknews.cc/culture/omg5ve5.html
    https://www.sohu.com/a/385169870_100171032
    http://collection.sina.com.cn/jczs/2018-03-16/doc-ifyshfuq0777119.shtml
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://kknews.cc/culture/omg5ve5.html
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=6255613423f1ab4117010e5a
    https://www.163.com/dy/article/FKVSEA9K05362446.html
    https://th.wikipedia.org/wiki/อำพันขี้ปลา

    #หมิงหลัน #เครื่องหอมจีนโบราณ #เฝินเซียง #ซาวเซียง #ราชวงศ์ซ่ง #หลงเสียนเซียง #อำพันขี้ปลา
    วันนี้คุยกันต่อเกี่ยวกับวัฒนธรรมในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ศิลปะชั้นสูงหลายแขนงถูกเผยแพร่สู่ประชาชนในวงกว้าง จาก ‘บันทึกเมิ่งเหลียง’ มีศิลปะสี่แขนงที่ถูกยกย่องว่าเป็นสิ่งที่ ‘ต้องมี’ ในผู้ที่มีการศึกษาในสมัยซ่ง ซึ่งก็คือ การเผาผงหอม การเตี่ยนฉา (การชงชาแบบซ่งที่ Storyฯ เขียนถึงไปแล้วเมื่อก่อนปีใหม่) การเขียนภาพ และการจัดดอกไม้ ทั้งหมดล้วนเป็นศิลปะที่ชาวซ่งมองว่าฝึกให้คนใจเย็น ใครที่ได้ดูละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> จะเห็นการผสมดินและถ่านเพื่อเผาผงหอมในตอนที่มีครูแม่บ้านมาจากในวังมาสอนให้กับพี่น้องตระกูลเสิ้ง ความมีอยู่ว่า ... “ที่วางอยู่ข้างๆ พวกเจ้าล้วนเป็นผงไม้กฤษณาอย่างดี หากบังคับแรงไฟได้ดี ก้อนเล็กเพียงเท่าเล็บยังสามารถเผาได้นานถึงสองชั่วยาม (สี่ชั่วโมง) กลิ่นกรุ่นมิจาง... - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) สมัยซ่งนั้นเป็นการเผาผงหอม เรียกว่าเฝินเซียง (焚香) ส่วนผสมที่ใช้หลากหลาย เช่นไม้กฤษณา ไม้จันทน์ พิมเสน กำยาน ตะไคร้ ลูกกระวาน เม็ดพริกไทย ฯลฯ มีการค้นคว้าสูตรผสมจัดเป็นตำราสูตรเครื่องหอม (ตัวอย่างสูตรรูปสองซ้ายบน) ทั้งเพื่อความจรรโลงใจและทั้งเพื่อสรรพคุณทางยา โดยเครื่องหอมที่ปรุงเสร็จก็จัดทำขึ้นหลากหลายรูปแบบ ทั้งอัดเม็ด อัดแผ่นบาง อัดแผ่นหนาห้อยติดกาย หรือเป็นแบบผง ในสมัยนั้น เครื่องหอมที่มีชื่อที่สุด แพงที่สุด (มีค่าเทียบเท่าทองคำ) และใช้ในวังเป็นหลักคือ ‘หลงเสียนเซียง’ (龙涎香) แปลตรงตัวว่าเครื่องหอมจากน้ำลายมังกร แต่จริงๆ แล้วมันเกิดจากการสำรอกหรือขับถ่ายจากปลาวาฬหัวทุย หลังถูกน้ำทะเลและแสงแดดหล่อหลอมนานปีจนเป็นก้อนไขมันหน้าตาคล้ายหินอ่อนก็จะมีกลิ่นหอม หรือที่เราเรียกกันว่า ‘อำพันขี้ปลา’ จัดเป็นยาหายากชนิดหนึ่งในจีนโบราณ มีสรรพคุณกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ยุคสมัยนั้นจริงจังกับเฝินเซียงแค่ไหน ดูได้จากชุดอุปกรณ์ (รูปแรกขวาล่าง) ในสมัยนั้นจึงเกิดการสรรค์สร้างเครื่องปั้นดินเผาเป็นเตาเผาผงหอมหน้าตาหลากหลาย ยกตัวอย่างมาให้ชมกัน (รูปสอง) การเผานั้นเป็นไปตามกรรมวิธีที่แสดงในละคร เริ่มจากการวางถ่านไม้ก้อนเล็กลงไปกลางรูที่ขุดไว้ในผงหอม ปิดด้วยแผ่นแร่กลีบหินหรือแผ่นตะแกรง แล้วก็วางชิ้นเครื่องหอมลงบนแผ่นแร่กลีบหินอีกที (ตามรูปแรกขวาบน) ผลลัพธ์ที่ดีคือมีกลิ่นแต่ไม่มีควัน Storyฯ เล่าแบบง่ายๆ (อีกแล้ว) แต่แน่นอนว่าทุกขั้นตอนแฝงไว้ด้วยความละเมียดละไม ไม่ว่าการผสมการจัดเก็บเครื่องหอม การเผาถ่าน ตำแหน่งการวางถ่าน ฯลฯ ศิลปะจากราชวงศ์ซ่งนี้อยู่คู่กับเรามาจวบจนปัจจุบัน แม้แต่สูตรเครื่องหอมบางสูตรหรือการใช้อำพันขี้ปลามาเป็นหัวเชื้อน้ำหอม ปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://kknews.cc/culture/jv6zbal.html https://kknews.cc/culture/omg5ve5.html https://www.sohu.com/a/385169870_100171032 http://collection.sina.com.cn/jczs/2018-03-16/doc-ifyshfuq0777119.shtml Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://kknews.cc/culture/omg5ve5.html https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=6255613423f1ab4117010e5a https://www.163.com/dy/article/FKVSEA9K05362446.html https://th.wikipedia.org/wiki/อำพันขี้ปลา #หมิงหลัน #เครื่องหอมจีนโบราณ #เฝินเซียง #ซาวเซียง #ราชวงศ์ซ่ง #หลงเสียนเซียง #อำพันขี้ปลา
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 52 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตอนนี้ประเทศอื่นเขาเจอหิมะตก Storyฯ เลยอยากชวนคุยเกี่ยวกับหนึ่งในวิธีที่ทำให้อุ่นในสมัยโบราณ ซึ่งก็คือวางเตาถ่านไว้ในห้องใกล้ตัว แต่เกิดความเอ๊ะเกี่ยวกับถ่านที่มีชื่อว่า ‘ถ่านหงหลัว’ (红箩炭)

    ความมีอยู่ว่า
    ฮ่องเต้ตรัสด้วยสุรเสียงเอื่อย ราวกับว่ากำลังรับสั่งถึงเรื่องที่ไม่สำคัญ “อันใด? เราจำได้ว่าก่อนหน้านี้เมื่อเริ่มหนาวก็ได้สั่งเจ้าไว้แล้วว่า ในวังนี้มีแต่เพียงไห่ฉางจ้ายและหว่านตาอิ้งไม่สามารถใช้ถ่านหงหลัวได้ ยังกังวลว่าถ่านดำจะมีควันรบกวนพวกนาง...ของไห่ฉางจ้ายให้เจ้าเจียดจากตำหนักเจ้าให้นาง...”
    - จากเรื่อง <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ผู้แต่ง หลิวเลี่ยนจื่อ
    (หมายเหตุ ชื่อเรื่องใช้ตามชื่อละครที่สร้างมาจากนิยายเรื่องนี้ แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    บทความข้างต้นเป็นเรื่องราวในสมัยขององค์เฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง กล่าวถึงเรื่องที่พระสนมไห่หลันถูกกล่าวหาว่าขโมยถ่านหงหลัว และจากบทความจะเห็นว่าพระสนมระดับล่างอย่างฉางจ้ายและตาอิ้งจะไม่มีสิทธิ์ใช้ถ่านชนิดนี้

    ถ่านหงหลัวคืออะไร Storyฯ หาชื่อแปลเป็นไทยไม่มี ขออธิบายลักษณะของมันว่าเป็นถ่านที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง โดยไม้เนื้อแข็งดังกล่าวต้องเป็นไม้จากแถบดินแดนตอนเหนือ (มณฑลเหอเป่ย) ไม่ไกลจากนครปักกิ่ง เช่นจัวโจว ทงโจว จี้โจว ฯลฯ ไม้เหล่านี้จะถูกตัดเป็นท่อนสม่ำเสมอ เผาจนกลายเป็นถ่าน บรรจุไว้ในตะกร้าเคลือบด้วยดินแดง (เป็นที่มาของชื่อว่า ‘หงหลัว’ ซึ่งแปลตรงตัวว่าเคลือบด้วยสีแดง) ก่อนจะลำเลียงส่งไปเมืองหลวง ในนครปักกิ่งมีถนนสายหนึ่งเรียกว่า ‘ถนนต้าหงหลัวฉ่าง’ (大红罗厂街) มีมาแต่ยุคสมัยราชวงศ์หมิง เป็นเส้นทางที่ใช้ลำเลียงถ่านนี้เข้าวัง (ดูรูปแรกขวาล่าง)

    คุณสมบัติเด่นของถ่านหงหลัวก็คือ เผาได้นาน ไม่มีควัน เถ้าไม่กระจายและไม่แตก และในตอนเผายังมีกลิ่นหอมจาง

    ถ่าน เป็นหนึ่งในสินค้าที่มีการกำกับดูแลมาหลายยุคสมัยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ในวังยังมีกองกรมรับผิดชอบการเก็บและจัดสรรถ่าน ถ่านหงหลัวเป็นถ่านที่ผลิตได้ในปริมาณที่น้อยและด้วยคุณสมบัติโดดเด่นของมัน จึงมีการจำกัดการใช้งาน จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ ในยุคสมัยขององค์เฉียนหลงฮ่องเต้นั้น ทุกตำหนักในวังจะได้รับการจัดสรรถ่านในปริมาณที่ต่างกันไปตามยศศักดิ์และฤดูกาล รายละเอียด Storyฯ รวบรวมเป็นตารางให้ดูในรูปที่สองสำหรับวังหลัง จะเห็นว่า ฉางจ้าย และ ตาอิ้ง ซึ่งเป็นสนมระดับล่างสุดจะไม่สามารถใช้ถ่านหงหลัวได้เลย

    ใครได้ติดตามนิยาย/ละครเรื่องนี้คงจะเห็นภาพชัดขึ้นแล้วนะคะว่า ทำไมแค่เรื่องถ่าน ในวังหลังยังเอามาเป็นเหตุการต่อสู้ทางอำนาจกันได้

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.uni-hankyu.com.tw/huaxu/153491887715333.html
    http://www.manyanu.com/new/085fdf5f6b084823bf3569b010c4d570
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.manyanu.com/new/085fdf5f6b084823bf3569b010c4d570
    https://www.xuehua.us/a/5eb6fd5186ec4d0bd8cbf5f9
    https://www.gushiciku.cn/dl/0f0zv/zh-hk

    #หรูอี้ #ไห่หลัน #ถ่านหงหลัว #ราชวงศ์ชิง #จีนโบราณ #สู้ความหนาว #ถ่านจีน #ถ่านในวัง #ถ่าน
    ตอนนี้ประเทศอื่นเขาเจอหิมะตก Storyฯ เลยอยากชวนคุยเกี่ยวกับหนึ่งในวิธีที่ทำให้อุ่นในสมัยโบราณ ซึ่งก็คือวางเตาถ่านไว้ในห้องใกล้ตัว แต่เกิดความเอ๊ะเกี่ยวกับถ่านที่มีชื่อว่า ‘ถ่านหงหลัว’ (红箩炭) ความมีอยู่ว่า ฮ่องเต้ตรัสด้วยสุรเสียงเอื่อย ราวกับว่ากำลังรับสั่งถึงเรื่องที่ไม่สำคัญ “อันใด? เราจำได้ว่าก่อนหน้านี้เมื่อเริ่มหนาวก็ได้สั่งเจ้าไว้แล้วว่า ในวังนี้มีแต่เพียงไห่ฉางจ้ายและหว่านตาอิ้งไม่สามารถใช้ถ่านหงหลัวได้ ยังกังวลว่าถ่านดำจะมีควันรบกวนพวกนาง...ของไห่ฉางจ้ายให้เจ้าเจียดจากตำหนักเจ้าให้นาง...” - จากเรื่อง <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ผู้แต่ง หลิวเลี่ยนจื่อ (หมายเหตุ ชื่อเรื่องใช้ตามชื่อละครที่สร้างมาจากนิยายเรื่องนี้ แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) บทความข้างต้นเป็นเรื่องราวในสมัยขององค์เฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง กล่าวถึงเรื่องที่พระสนมไห่หลันถูกกล่าวหาว่าขโมยถ่านหงหลัว และจากบทความจะเห็นว่าพระสนมระดับล่างอย่างฉางจ้ายและตาอิ้งจะไม่มีสิทธิ์ใช้ถ่านชนิดนี้ ถ่านหงหลัวคืออะไร Storyฯ หาชื่อแปลเป็นไทยไม่มี ขออธิบายลักษณะของมันว่าเป็นถ่านที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง โดยไม้เนื้อแข็งดังกล่าวต้องเป็นไม้จากแถบดินแดนตอนเหนือ (มณฑลเหอเป่ย) ไม่ไกลจากนครปักกิ่ง เช่นจัวโจว ทงโจว จี้โจว ฯลฯ ไม้เหล่านี้จะถูกตัดเป็นท่อนสม่ำเสมอ เผาจนกลายเป็นถ่าน บรรจุไว้ในตะกร้าเคลือบด้วยดินแดง (เป็นที่มาของชื่อว่า ‘หงหลัว’ ซึ่งแปลตรงตัวว่าเคลือบด้วยสีแดง) ก่อนจะลำเลียงส่งไปเมืองหลวง ในนครปักกิ่งมีถนนสายหนึ่งเรียกว่า ‘ถนนต้าหงหลัวฉ่าง’ (大红罗厂街) มีมาแต่ยุคสมัยราชวงศ์หมิง เป็นเส้นทางที่ใช้ลำเลียงถ่านนี้เข้าวัง (ดูรูปแรกขวาล่าง) คุณสมบัติเด่นของถ่านหงหลัวก็คือ เผาได้นาน ไม่มีควัน เถ้าไม่กระจายและไม่แตก และในตอนเผายังมีกลิ่นหอมจาง ถ่าน เป็นหนึ่งในสินค้าที่มีการกำกับดูแลมาหลายยุคสมัยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ในวังยังมีกองกรมรับผิดชอบการเก็บและจัดสรรถ่าน ถ่านหงหลัวเป็นถ่านที่ผลิตได้ในปริมาณที่น้อยและด้วยคุณสมบัติโดดเด่นของมัน จึงมีการจำกัดการใช้งาน จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ ในยุคสมัยขององค์เฉียนหลงฮ่องเต้นั้น ทุกตำหนักในวังจะได้รับการจัดสรรถ่านในปริมาณที่ต่างกันไปตามยศศักดิ์และฤดูกาล รายละเอียด Storyฯ รวบรวมเป็นตารางให้ดูในรูปที่สองสำหรับวังหลัง จะเห็นว่า ฉางจ้าย และ ตาอิ้ง ซึ่งเป็นสนมระดับล่างสุดจะไม่สามารถใช้ถ่านหงหลัวได้เลย ใครได้ติดตามนิยาย/ละครเรื่องนี้คงจะเห็นภาพชัดขึ้นแล้วนะคะว่า ทำไมแค่เรื่องถ่าน ในวังหลังยังเอามาเป็นเหตุการต่อสู้ทางอำนาจกันได้ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.uni-hankyu.com.tw/huaxu/153491887715333.html http://www.manyanu.com/new/085fdf5f6b084823bf3569b010c4d570 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.manyanu.com/new/085fdf5f6b084823bf3569b010c4d570 https://www.xuehua.us/a/5eb6fd5186ec4d0bd8cbf5f9 https://www.gushiciku.cn/dl/0f0zv/zh-hk #หรูอี้ #ไห่หลัน #ถ่านหงหลัว #ราชวงศ์ชิง #จีนโบราณ #สู้ความหนาว #ถ่านจีน #ถ่านในวัง #ถ่าน
    係?如懿傳海蘭是好人還是壞人?海蘭和如懿是什麼關係?由周迅、霍建華領銜主演的古裝清宮劇《如懿傳》正在騰訊視頻熱播中,雖然目前該劇收視並不理想,但依然還是值得追的,畢竟都是實力派演員出演,如懿傳劇情中出現了很多的人物,雖然是後宮嬪妃都是爭寵,但是也有著關係非常好的人,那么海蘭是好人還是壞人?海蘭和如懿是什麼關係?下面就來看看吧。如懿傳海蘭是好人還是壞人?海蘭和
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 80 มุมมอง 0 รีวิว
  • ความมีอยู่ว่า...

    ... เว่ยอู๋เซี่ยนเอ่ย “หลานจ้าน! อย่า! เจ้าอย่ายอมถอย!”
    หากแต่หลานว่างจีถอยไปห้าก้าวแล้วอย่างไม่ลังเล จินกวงเหยาจึงกล่าว “ดีมาก ขั้นต่อมาก็คือขอให้ท่านนำกระบี่ปี้เฉินเก็บเข้าฝักด้วย”
    ในความเงียบ หลานว่างจีทำตามอย่างไม่ชักช้า เว่ยอู๋เซี่ยนกล่าว “เจ้าอย่าได้คืบเอาศอก!”
    จินกวงเหยากล่าว “เพียงเท่านี้ก็เรียกได้คืบเอาศอก? ข้าพเจ้ากำลังจะขอให้ท่านหานกวงจวินจี้สกัดจุดพลังของตนเองอยู่เชียว เช่นนั้นจะเรียกว่าอย่างไร?” ...

    - จากเรื่อง <ปรมาจารย์ลัทธิมาร>

    เพียงคนเดียวแต่กลับเรียกขานด้วยถึงสามชื่อ คือ หลานจ้าน หลานว่างจี และหานกวงจวิน ลูกเพจเคยสงสัยไหมคะว่าทำไม?

    ชื่อจีนในสมัยโบราณ มีคำว่า หมิง (名) จึ้อ (字) และอาจมี ฮ่าว (号)

    หมิง (名) คือชื่อที่ครอบครัวตั้งให้ มีทั้งที่มีความหมายดี หรือบางครั้งก็เป็นชื่อเรียกเล่นๆ ในที่นี่หลานจ้านของเรามีชื่อ (หรือหมิง) ว่า “จ้าน” ซึ่งแปลว่าความกระจ่างหรือความลึกซึ้ง

    ส่วน จึ้อ (字) คือชื่อรอง หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นชื่อที่ครูบาอาจารย์หรือผู้ใหญ่ที่นับถือตั้งให้สำหรับผู้ที่ได้ผ่านการเล่าเรียนมา โดยทั่วไปจะได้รับการตั้งชื่อเมื่อสตรีอายุครบสิบห้าปี (หรือวัยปักปิ่น) หรือเมื่อบุรุษอายุครบยี่สิบปี (หรือวัยครอบมงกฎผม) ซึ่งชื่อนี้มักเป็นชื่อที่บ่งบอกคุณธรรมประจำตัวของลูกศิษย์ที่อาจารย์ได้สังเกตเห็น เมื่อมีชื่อเป็นทางการนี้แล้ว คนทั่วไปจะต้องเรียกขานเขาผู้นั้นด้วยชื่อทางการนี้เพื่อแสดงการให้เกียรติ ในขณะที่ชื่อที่ครอบครัวตั้งให้จะมีเฉพาะคนในครอบครัวหรือคนที่สนิทจริงๆ จึงจะเรียกได้ โดยสังเกตได้จากในเนื้อเรื่องที่มีเพียงพระเอก(เว่ยอู๋เซี่ยน)และพี่ชายของหลานจ้านที่เรียกเขาด้วยนามนี้ ซึ่ง “ว่างจี” เป็นชื่อทางการ มีความหมายว่าลืมหรือปล่อยวางเล่ห์กลหรือความคิดไม่สุจริต

    ส่วนฮ่าว (号) ก็คือฉายา ซึ่งลูกเพจที่คุ้นเคยกับนิยายกำลังภายในจะคุ้นกับการมีฉายาบ้าง ในจีนโบราณไม่ใช่ทุกคนที่จะมีฉายา คนที่ได้รับการตั้งฉายาจะเป็นผู้ที่มีสถานะหรือตำแหน่งสูงส่ง เพราะเป็นการเรียกอย่างยกย่องยิ่ง หลานจ้านมีฉายาว่า “หานกวงจวิน” แปลได้ว่าผู้ซึ่งมีแสงสว่างอยู่ภายใน

    Credit รูปภาพจาก: https://filmdaily.co/obsessions/the-untamed-supporting-characters/
    Credit เนื้อหารวบรวมจาก:
    http://m.tianya999.com/question/2019/0902/18259581.html
    https://www.sohu.com/a/205641364_786465
    https://www.xingming.com/xmzs/1584.html

    #ปรมาจารย์ลัทธิมาร #ชื่อแซ่จีน StoryfromStory
    ความมีอยู่ว่า... ... เว่ยอู๋เซี่ยนเอ่ย “หลานจ้าน! อย่า! เจ้าอย่ายอมถอย!” หากแต่หลานว่างจีถอยไปห้าก้าวแล้วอย่างไม่ลังเล จินกวงเหยาจึงกล่าว “ดีมาก ขั้นต่อมาก็คือขอให้ท่านนำกระบี่ปี้เฉินเก็บเข้าฝักด้วย” ในความเงียบ หลานว่างจีทำตามอย่างไม่ชักช้า เว่ยอู๋เซี่ยนกล่าว “เจ้าอย่าได้คืบเอาศอก!” จินกวงเหยากล่าว “เพียงเท่านี้ก็เรียกได้คืบเอาศอก? ข้าพเจ้ากำลังจะขอให้ท่านหานกวงจวินจี้สกัดจุดพลังของตนเองอยู่เชียว เช่นนั้นจะเรียกว่าอย่างไร?” ... - จากเรื่อง <ปรมาจารย์ลัทธิมาร> เพียงคนเดียวแต่กลับเรียกขานด้วยถึงสามชื่อ คือ หลานจ้าน หลานว่างจี และหานกวงจวิน ลูกเพจเคยสงสัยไหมคะว่าทำไม? ชื่อจีนในสมัยโบราณ มีคำว่า หมิง (名) จึ้อ (字) และอาจมี ฮ่าว (号) หมิง (名) คือชื่อที่ครอบครัวตั้งให้ มีทั้งที่มีความหมายดี หรือบางครั้งก็เป็นชื่อเรียกเล่นๆ ในที่นี่หลานจ้านของเรามีชื่อ (หรือหมิง) ว่า “จ้าน” ซึ่งแปลว่าความกระจ่างหรือความลึกซึ้ง ส่วน จึ้อ (字) คือชื่อรอง หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นชื่อที่ครูบาอาจารย์หรือผู้ใหญ่ที่นับถือตั้งให้สำหรับผู้ที่ได้ผ่านการเล่าเรียนมา โดยทั่วไปจะได้รับการตั้งชื่อเมื่อสตรีอายุครบสิบห้าปี (หรือวัยปักปิ่น) หรือเมื่อบุรุษอายุครบยี่สิบปี (หรือวัยครอบมงกฎผม) ซึ่งชื่อนี้มักเป็นชื่อที่บ่งบอกคุณธรรมประจำตัวของลูกศิษย์ที่อาจารย์ได้สังเกตเห็น เมื่อมีชื่อเป็นทางการนี้แล้ว คนทั่วไปจะต้องเรียกขานเขาผู้นั้นด้วยชื่อทางการนี้เพื่อแสดงการให้เกียรติ ในขณะที่ชื่อที่ครอบครัวตั้งให้จะมีเฉพาะคนในครอบครัวหรือคนที่สนิทจริงๆ จึงจะเรียกได้ โดยสังเกตได้จากในเนื้อเรื่องที่มีเพียงพระเอก(เว่ยอู๋เซี่ยน)และพี่ชายของหลานจ้านที่เรียกเขาด้วยนามนี้ ซึ่ง “ว่างจี” เป็นชื่อทางการ มีความหมายว่าลืมหรือปล่อยวางเล่ห์กลหรือความคิดไม่สุจริต ส่วนฮ่าว (号) ก็คือฉายา ซึ่งลูกเพจที่คุ้นเคยกับนิยายกำลังภายในจะคุ้นกับการมีฉายาบ้าง ในจีนโบราณไม่ใช่ทุกคนที่จะมีฉายา คนที่ได้รับการตั้งฉายาจะเป็นผู้ที่มีสถานะหรือตำแหน่งสูงส่ง เพราะเป็นการเรียกอย่างยกย่องยิ่ง หลานจ้านมีฉายาว่า “หานกวงจวิน” แปลได้ว่าผู้ซึ่งมีแสงสว่างอยู่ภายใน Credit รูปภาพจาก: https://filmdaily.co/obsessions/the-untamed-supporting-characters/ Credit เนื้อหารวบรวมจาก: http://m.tianya999.com/question/2019/0902/18259581.html https://www.sohu.com/a/205641364_786465 https://www.xingming.com/xmzs/1584.html #ปรมาจารย์ลัทธิมาร #ชื่อแซ่จีน StoryfromStory
    FILMDAILY.CO
    'The Untamed': Don't overlook these amazing supporting characters – Film Daily
    Here are some of the best supporting characters in 'The Untamed' that cannot go overlooked in this C-drama fantasy.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 114 มุมมอง 0 รีวิว
  • เขียนเล่าเรื่องพันธุกรรมมนุษย์มาหลายต่อหลายครั้ง ทั้งที่ความรู้นี้โลกเขารับรู้มาตั้งแต่ปี 2004 แล้ว ปัจจุบันนักวิชาการไทยหลายคนก็ทำวิจัยเรื่องนี้ตีพิมพ์ออกมาพอสมควร แต่ก็ยังมีบางพวกบางกลุ่มที่ยังตะแบงติดกับดักวังวนของสำนักคิดเก่าๆ อยู่อย่างนั้น ไอ้ที่แย่กว่าคือ จำต้องยอมรับวิทยาศาสตร์นี้โดยปริยายทั้งที่ไปกันไม่ได้กับเรื่องที่ตนเขียน แต่ความที่เคยพูดเคยเขียนหนังสือขายหาเงินรับประทานมาไม่น้อยกับความรู้ผิดๆ ครึ่งๆกลางๆ งูๆปลาๆ ก็เลยยังต้องยืนยันความคิดเดิมตะแบงต่อไป ถ้าไอ้ส่วนที่ความรู้ใหม่มันไปกันได้กับที่เคยเขียนก็จะหยิบมาอ้าง แต่ส่วนที่มันฟ้องว่าเอ็งเข้าใจผิดแล้วก็จะเลี่ยงเสีย เช่นกรณีเฒ่าเจ๊กปนลาวชังชาตินั่น
    .
    ความแบ่งแยกอันเป็นความคิดของปีศาจ นำมาซึ่งชื่อสมมุติ ที่โดยมากมักอุปโลกน์ขึ้นมาเพื่อปฏิเสธความเกี่ยวเนื่อง เพื่อสร้างอัตลักษณ์ใหม่ เพื่อให้ดูแตกต่างกับผู้คนหรือบรรพบุรุษที่เคยเกี่ยวข้อง ไม่ว่าเครื่องแต่งกายก็ตาม ความเชื่อ ภาษาพูดก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เครื่องพิสูจน์องค์ประกอบของตัวมนุษย์แต่ละผู้ว่าเป็นใครหรือเผ่าพันธุ์ไหน เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าความเป็นเจ๊กปนลาวที่พูดไทยหากินกับภาษาไทยของเฒ่าผู้นั้น อาจเป็นเรื่องเลื่อนลอยไปได้ ลาวที่เขาคิดว่าเป็นพ่ออาจเป็นกัมมุ และเจ๊กที่เขาคิดว่าเป็นแม่อาจเป็นชนเผ่าฮักกา ที่ซึ่งไม่ใช่เจ๊ก แต่เป็นเยว่ ก็เป็นได้... อยากจะแน่ใจก็ไปตรวจซะ
    .
    อย่างที่ทราบ (เอ๊ะ หรือใครยังไม่ทราบ?) มนุษย์ที่เป็นชนชาติต่างๆในโลกนี้ อพยพออกมาจากแอฟริกาเมื่อแสนกว่าปีก่อน เป็นหน่อเนื้อลูกหลานของบรรพบุรุษที่อาศัยในบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่าซาฮาร่า ดังนั้นนักวิชาการเลย "นิยามชื่อ" พวกเขาว่าพวก "ซาฮารันโบราณ" ผู้ชายทุกคนในโลกนี้ไม่ว่าคนออสตราอะบอริจิ้น คนเอเชีย คนตะวันออกกลาง คนยุโรป คนเมโสอเมริกา ล้วนมียีนของอาดัมทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่าวายโครโมโซม M168 นี้ทุกคน ยกเว้นพวกแอฟริกาบางเผ่าที่บรรพบุรุษไม่ได้อพยพออกมาและยังคงอยู่รอดในแอฟริกาจนถึงปัจจุบันนี้
    .
    ด้วยภาพใหญ่นี้ สาแหรกพันธุกรรมแสดงให้เห็น "DEEP ANCESTOR" โคตรเหง้าที่ลึกที่สุดของมนุษย์โลก "การที่พวกอาหรับพูดภาษาสกุลเซมิติคส่วนคนไทยอย่างเราพูดภาษาสกุลจ้วง-ไท ความแตกต่างนี้ไม่อาจลบล้างข้อเท็จจริงทางพันธุกรรมที่ทั้งคู่มี Deep Ancestor ร่วมกันไปได้". ทุกวันนี้มนุษย์ที่มียีนของ M168 เก่าแก่กว่าใครในโลกคือพวก San Bushman พวกเขาพูดภาษาสกุลกอยซานที่ในทาง Linguistic ถือว่าเป็นภาษาลูกของภาษาซาฮารันโบราณที่ยอมรับกันว่าคือ Global Early Language * หมายถึงภาษาแรกของโลก เมื่อพิจารณาจากวิทยาศาสตร์ข้อนี้ มนุษย์ทุกชนชาติที่มีชื่อสมมุติกันไปต่างๆ จะว่าไปก็ถือเป็นคนกอยซานทั้งสิ้น ดังนั้นคุณจงอย่าได้ยึดติดว่าภาษาพูดของชาติพันธ์หนึ่ง จะบ่งบอกว่าเขาคือชาติพันธ์นั้นเสมอไป... คนจีนอพยพตั้งแต่รุ่นที่สองที่อยู่ในเมืองไทยพูดภาษาไทยชัดทุกคน คนอเมริกันที่เกิดที่นี่ คนอินเดียที่เกิดที่นี่พูดไทยสำเนียงไทยชัดทุกคน และเป็นไปได้ว่าวันหนึ่งเขาอาจย้ายไปอยู่ที่ภูฏานเป็นการถาวรจนลูกหลานเขาเกิดที่นั่น แล้วพูดภาษาภูฏานชัดเจน
    .
    [* ภาษากอยซาน : นักภาษาศาสตร์ลงความเห็นว่าคือภาษาที่เก่าที่สุดในโลก มีลักษณะพิเศษคือมีเสียงคลิ๊กอยู่ในคำ ซึ่งได้หายไปจากภาษาอื่นๆ ที่เกิดภายหลัง นักวิชาการเชื่อว่า เมื่อบรรพบุรุษของเราอพยพออกจากแอฟริกาเมื่อแสนปีก่อน พวกเขามีภาษาพูดแล้ว ไม่เช่นนั้นพวกเขาจะไม่สามารถล่าสัตว์ใหญ่อย่างแมมมอธได้ เพราะการล่าเช่นนี้ต้องทำงานเป็นทีม ไม่มีภาษาก็ทำงานเป็นทีมไม่ได้]
    .
    เมื่อมนุษย์มาจากแอฟริกาและเรามีเชื้อสายซาฮารันมาก่อน ทำไมเราจึงพูดกันไม่รู้เรื่อง พูดกันคนละภาษา ผมเคยเขียนบทความหนึ่งชื่อ บาเบล สืบเนื่องจากคัมภีร์ปฐมกาลบทที่ชื่อบาเบล เล่าว่า “พระเจ้าทรงเห็นว่ามนุษย์สร้างหอคอยใหญ่เทียมฟ้าขึ้นมาได้ พวกเขาอยากจะทำอะไรก็จะสำเร็จได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะบันดาลให้เขาพูดกันไม่รู้เรื่อง ผู้คนก็แยกย้ายกันไป เป็นชนชาติต่างๆ ภาษาต่างๆ” นี่...ใครสักคนป้ายสีพระผู้เป็นเจ้าว่าเป็นมูลเหตุให้มนุษย์พูดกันไม่รู้เรื่อง. ใครสักคนในที่นี้มีอย่างน้อยสามคน นักภาษาศาสตร์ยุคใหม่วิเคราะห์ลักษณะการเขียน สำนวน คำศัพท์ที่ใช้ซึ่งบ่งบอกรากฐานและยุคสมัยได้ ทำการวิเคราะห์พระคัมภีร์ไบเบิ้ลฉบับคิงเจมส์ พวกเขาลงความเห็นว่า คัมภีร์ไบเบิ้ลมีผู้เขียนราวสามคน มีลักษณะการเขียนที่แตกต่างกันสามสำนวน คละเคล้ากันไปในแต่ละบท บางบทมีการปนกันมากกว่าหนึ่งสำนวน และยังลงความเห็นว่ารูปแบบการเขียนของบทปฐมกาล (genesis) เขียนทีหลังบทอพยพ (exodus)
    .
    นอกจากนี้นักภาษาศาสตร์ยุคหลังมานี่เชื่อว่าภาษาอินโดยูโรเปี้ยนนี้ คือผลของการทุบทำลายภาษาแม่ครั้งสำคัญในโลก เมื่อคุณพิจารณาพันธุกรรม คุณจะต้องทราบว่าผู้ชายชาวยุโรปและตะวันออกกลางแชร์สาแหรกพันธุกรรมในเครือเดียวกันคือ R / J / E อย่างที่ผมเขียนเรื่องยิวและปาเลสไตน์ไปก่อนนี้.. พวกคนยุโรป เปอร์เซีย อารยัน (ที่ภายหลังไปบุกอินเดียโบราณ) ล้วนเป็นสาแหรกเดียวกัน อย่าว่าแต่ยิวซึ่งเป็น semitic speaker ฆ่าปาเลสไตน์ที่เป็นพี่น้องใกล้ชิดเลย หากคนกรีก คนโรมัน ไปฆ่าคนเปอร์เซียหรือกลับกัน ก็คือพี่น้องฆ่ากันอยู่ดีนั่นแหละ อยู่มาวันหนึ่ง ไม่แน่ชัดว่าอะไรเป็นเหตุ หลังสงครามเทวีที่เกิดการต่อต้านปฏิเสธความเชื่อที่นับถือแม่เป็นใหญ่ เทวรูปของเทพีมากมาย เช่น Artemis เทวีผู้มอบความอุดมสมบูรณ์ ต่างพากันถูกทุบจมูกทุบใบหน้าทิ้งให้ดูน่าเกลียด ชนชาติที่เคยเกี่ยวดองกัน พลันแยกออกจากกันเป็นชนชาติใหม่ พูดภาษาใหม่ เด็กที่เกิดใหม่นับแต่นั้นจะถูกฝึกให้พูดภาษาที่สร้างขึ้นมา จากนั้นก็ตามมาด้วยชื่อสมมุติอย่างเช่น อัสซีเรีย อัคเคเดียน ฮิตไทท์... จากนั้นก็ตามมาด้วยสงครามพี่น้องฆ่ากัน ทั้งที่ชีววิทยาพันธุกรรมบอกว่าพวกเขาคือพี่น้องคลานตามกันมาทั้งนั้น และถ้าอ้างไบเบิ้ล อย่างเช่นกรณีของบุตรหลานของ Sam ลูกหลานของโนอาห์ ก็อย่างที่เคยเล่าไปแล้ว ความแบ่งแยกทำให้พวกเขาปฏิเสธสายใยที่มี
    .
    อย่างที่ชี้ให้เห็นนี่ ดีเอ็นเอบอกเราถึงความเป็นพี่น้องร่วมสาแหรก แต่พวกเขาปฏิเสธกันเองแล้วแบ่งแยก ทุบทำลายภาษาแม่ทิ้งไปพร้อมๆ กันในเวลาไล่เลี่ยกัน ไม่ใช่เพราะฝีมือพระเจ้าหรอก มนุษย์นี่แหละ นักภาษาศาสตร์โบราณคดีทำการค้นคว้าเรื่องนี้แล้วทำการโยงภาษาในสกุลอินโดยูโรเปี้ยนทั้งหมด ย้อนกลับไปสู่ภาษาซาฮารันโบราณ ด้วยพจนานุกรมคำศัพท์ของพวก Basque (กลุ่มคนที่ isolated อยู่ในสเปนซึ่งเชื่อว่าเป็นภาษาลูกที่เหลืออยู่ของภาษาซาฮารัน).. เรื่องนี้ยาวนะ ผมเคยเล่าไว้ในบทความชื่อบาเบลที่ผมเกริ่นไปข้างบน ใครอยากลงลึกให้ไปอ่าน Linguistic Archaeology เขียนโดย Edo Nyland
    .
    เวลาเจอบทความอะไรจากเฒ่าเจ๊กปนลาวผู้นี้ รวมทั้งจากพวกสาวกกระดูกอ่อนของเขาก็เลยออกจะรำคาญ ด้วยการอ้างชื่อต่างๆ พวกเขาเชื่อมโยงยกแม่น้ำเป็นตุเป็นตะ ไอ้นั่นมาจากไหน ไอ้นี่มาจากไหน โดยไม่มีหลักฐานอะไรที่หนักแน่นพอมารองรับ… ยกตัวอย่างเช่นใช้กลองสำริดบ้าง ใช้ภาพเขียนสีผนังถ้ำโบราณบ้าง มาอ้างอิงทั้งที่ไม่เข้าใจว่าดูอะไรอยู่
    .
    ภาพเขียนสีผนังถ้ำโบราณแต่ละแห่งที่พบในโลกที่รังสรรค์โดยบรรพบุรุษยุคแรก ถ้าคุณทาบข้อมูลทางโบราณคดีของมันกับข้อมูลอื่น เช่น พันธุกรรมและการอพยพย้ายถิ่น ธรณีวิทยา ภาษาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา วิทยาศาสตร์.. ก็จะรู้อะไรที่ต่างไปจากที่เคยมีคนสันนิษฐานกันออกมาก่อนหน้านี้ได้ เช่น ภูมิศาสตร์บอกว่าลักษณะภูมิประเทศแบบใดที่มนุษย์โบราณในยุคนั้นชอบใช้เป็นที่อาศัยและหลบภัย ลักษณะทางภูมิศาสตร์แบบไหนที่พบภาพเขียนสี ทำไมมันจึงถูกเลือกเป็นที่จัดทำนิทรรศการ.. ธรณีวิทยาบอกว่า พบดินแบบเดียวกันถูกใช้เป็นสีเขียนผนังถ้ำทุกแห่ง.. วิทยาศาสตร์บอกองค์ประกอบธาตุของสีที่ใช้เขียนว่าเป็นแบบเดียวกัน ซึ่งแปลได้ว่าพวกเขาเรียนหนังสือมาจากที่เดียวกัน คือเรียนรู้เทคนิคในการทำแบบนี้ซ้ำต่อๆ กันมาเหมือนๆ กัน.. มานุษยวิทยาเห็นการสะท้อนธรรมเนียมนิยมทางวัฒนธรรมบรรพกาลของพวกเขา เช่น เอาสีใส่ปากพ่นผ่านมือให้เป็นรูปมือ เขียนรูปคนและสัตว์ที่มีลักษณะทาง figure ที่คล้ายคลึงกัน มีจินตนาการในการสร้างลักษณะของบุคคลที่พิเศษออกไปจากคนปกติเพื่อแสดงว่าเป็นผีสางเทวดาที่เขานับถือ... มีการวิเคราะห์คุณสมบัติทางวิทยาศาสตร์ของสภาวะแวดล้อมของพื้นที่ศักดิ์สิทธ์ที่พวกเขาไปเขียนรูปไว้ เช่น คุณสมบัติการก้องสะท้อนเสียงของสถานที่
    .
    และเมื่อทาบพันธุกรรมลงไปดูความสอดคล้องกัน เริ่มจากพวกเผ่า San Bushman ที่มียีนของอดัมที่เก่าที่สุดในโลก พบว่าพวกเขาทำภาพเขียนสีผนังถ้ำด้วยคุณสมบัติเดียวกันทุกด้านดังที่ได้กล่าวไปนั่น พวกอัสเลียนโบราณก็ทำภาพเขียนสีผนังถ้ำด้วยคุณสมบัติเดียวกันกับที่กล่าวไปเช่นกัน เอาภาพเขียนสีเช่นที่ถ้ำเขาจันทร์งาม สีคิ้ว ไปเปรียบกับภาพเขียนสีในแอฟริกาที่พวกกอยซานทำ ทุกองค์ประกอบที่ว่านั่นก็จะเห็นว่าเหมือนกัน... พวกปาปัว-ออสตราอะบอริจิ้น ก็ทำภาพเขียนสีผนังถ้ำด้วยคุณสมบัติเดียวกับที่กล่าวไป นี่เป็นนวัตกรรมที่เป็นมรดกโคตรยาวนานของมนุษย์ จากแอฟริกาไปสู่จุดต่างๆในโลก ในวันนี้ พวกเขาเหล่านี้พูดกันคนละภาษา มันดูไม่มีความกี่ยวข้องกันใช่ไหมล่ะ? แต่วิทยาศาสตร์ไม่ได้บอกเช่นนั้น ในพันธุกรรมมี mutation ในวัฒนธรรมมี cultural transmission ถ้าเราขยับไปดูสิ่งที่คุ้นเคยกว่านั้นอีกสักอย่าง เช่น "กลอง".. มนุษย์ทุกแห่ง ตั้งแต่พวกที่อยู่ในแอฟริกา แม้แต่พวกชนเผ่าที่ไม่ได้อพยพไปไหนเลยจนกระทั่งยุคล่าอาณานิคม กับมนุษย์ทุกชนชาติที่กระจายอยู่ในทุกมุมโลก พวกเขาต่างทำกลองเหมือนกัน วิธีการคือ ด้วยการขึงหนังสัตว์ (membrane) ลงบนปากทรงกลมของวัตถุทรงกระบอก (cylinder) ขึงให้ตึงและตีให้สั่น นี่คือนวัตกรรมที่เรียก Membranophones คนทั้งโลกไม่ได้ต่างคนต่างทำเหมือนกันโดยบังเอิญ มันคือมรดกที่ส่งต่อกันมาตั้งแต่ก่อนอพยพเมื่อแสนปีที่แล้วและเก่าพอๆ กับภาษาแรก
    .
    ซากบรรพชีวินที่นักวิชาการไทยอย่างที่อาจารย์รัศมีท่านสำรวจและค้นคว้าอยู่ กรอบเวลาเท่าไหร่? โนนนกทา? บ้านเชียง? พวกนั้นเป็นใคร? โฮโมเซเปี้ยนส์แน่นอน ชีววิทยาบอกชัดว่าเซเปี้ยนส์ เราไม่ได้วิวัฒน์มาจากโฮโมอีเร็คตัส พวกนั้นสูญพันธ์ไปแล้วก็จบ ยีนพ่อไม่เคยหายไปจากมนุษย์และเราไม่มียีนของอีเร็คตัสอยู่ในตัวเรา เมื่อราวเจ็ดหมื่นปีก่อน เกิด super eruption ขึ้นที่ภูเขาโทบาในสุมาตราโบราณ [https://geographical.co.uk/.../explainer-the-toba...] ทิ้งบาดแผลไว้เป็นทะเลสาปโทบาให้ดูในทุกวันนี้ ภัยพิบัตินี้รุนแรง มันตามมาด้วยฤดูหนาวนิวเคลียร์ (นักวิชาการว่าเช่นนี้) เถ้าภูเขาไฟปกคลุมโลกนานหลายปีและลอยไปไกลถึงกรีนแลนด์ โฮโมอีเร็คตัสในเอเชียถ้ายังมีชีวิตอยู่จะต้องตายหมด ดังนั้นไม่ว่าจะมนุษย์ปักกิ่ง มนุษย์ชวาอะไร ไม่เกี่ยวกับเราทั้งนั้น กรอบเวลาของบรรพบุรุษเราที่มาถึงที่นี่คือห้าหมื่นและสามหมื่นปีมาแล้ว มากันสองระลอก และคนพื้นเมืองที่บุกเบิกดินแดนนี้ไม่ได้แปะยี่ห้ออะไรเมื่อมาถึง นอกจากเรียกตัวเองว่า กอย หมายถึง คน… (ข่า ก็เรียกตัวเองว่า ข้อย.. ลาว ก็เรียกตัวเองว่า ข้อย)
    .
    ในความเป็นจริง มนุษย์โบราณที่เป็นบรรพบุรุษของชายชาวเอเชียราว 75 เปอร์เซ็นต์ล้วนเป็น Y DNA Hg O คือครอบครัวที่ใหญ่ที่สุดในโลก พวกเขามิวเททมาจากสาแหรกของพ่อ Y DNA Hg K ซึ่งมาถึงเอเชียกลางเมื่อราวสี่หมื่นปีและกระจายออกไป ทั้งที่ข้ามโกบีและไซบีเรีย ข้ามเบริงเจียไปอเมริกา (Hg Q) กลายเป็นพวกนาวาโฮ... ทั้งที่ย้อนกลับเข้าไปในยุโรปเผชิญความทารุณของยุคน้ำแข็งกลายเป็นพวกยุโรป (Hg R)… บรรพบุรุษพวกนี้ เมื่อตั้งถิ่นฐานตรงจุดใด ก็มักอยู่ตรงนั้น ลองนึกถึงความเป็นจริงว่า การย้ายถิ่นฐานใช้เวลายาวนานหลายชั่วคน เมื่อผู้อาวุโสหรือพ่อของเขาแก่เฒ่าไร้เรี่ยวแรงที่จะเดินทางบุกเบิกต่อไป บางส่วนของพวกเขาจะหยุดการเดินทางและตั้งหลักแหล่งโดยเฉพาะเมื่อพบสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์พอจะดำรงชีพ คนหนุ่มจะเดินทางผจญภัยต่อไปเพื่อหาที่ของตนที่จะได้ขึ้นมาเป็นผู้นำ ได้มองโลกด้วยทัศนะของพวกเขาเอง พวกเขาจะพบปัญหาใหม่ จะได้หาทางแก้ไขสถานะการณ์ที่ไม่เคยพบ ดังนั้นพวกเขาจะมีเทคโนโลยีที่ดีขึ้นไปเองโดยธรรมชาติ จนเมื่อพวกเขาพบว่าได้เจอสถานที่ที่พึงพอใจหรือไปต่อไม่ได้แล้ว การเดินทางก็จะหยุด
    .
    คุณคิดว่ามีมนุษย์จำนวนเท่าไหร่ เมื่อพวกเขามาถึงแผ่นดินซุนดาเมื่อสามหมื่นปีก่อน?
    .
    บรรพบุรุษของเรา เดินทางมาตามซุปเปอร์ไฮเวย์โบราณสายเอเชียกลางที่เป็นทุ่งหญ้าอันอุดมสมบูรณ์ อุดมด้วยกวางแอนทีโลฟและช้างแมมมอธ ท้องอิ่ม อบอุ่น และอันตรายน้อย เมื่อมาถึงซุนดา คุณคิดว่าพวกเขาจะอยู่อาศัยกันที่ไหน? บนภูเขา ในป่า หรือที่ราบลุ่มปากแม่น้ำ? ไปคิดดูเป็นการบ้าน
    .
    หากพิจารณาดูปัจจัยต่างๆ เราจะรู้ได้ว่าชุมชนบรรพกาล มักจะตั้งอยู่บนที่ที่เหมาะสมในการผดุงชีพ อ.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ให้ความเห็นว่า เนื่องเพราะบรรพบุรุษพวกนี้ต้องเผชิญกับน้ำท่วมซุนดาถึงสามครั้ง พวกเขานิยมสร้างบ้านที่มีเสาสูงและมีไต้ถุนสูง ทำแพและมีทักษะในการเดินทางด้วยแพ ซึ่งพร้อมที่จะอพยพหนีโดยล่องด้วยแพขึ้นไปเรื่อยๆ สู่ทิศทางต้นน้ำ ไม่เดินเท้าเพราะไม่รู้ว่าน้ำจะมาทางไหน เมื่อเห็นและแน่ใจว่าน้ำหยุดท่วมแล้วก็ปักหลักตั้งถิ่นฐานใหม่ เพราะพวกเขารู้ดีว่าไม่มีจุดไหนที่มีทรัพยากรอุดมไปกว่าริมแม่น้ำ ทั้งสัตว์น้ำและดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ในป่านั้นมีโรคมากมายและสัตว์ร้าย พวกเขาจะเข้าไปต่อเมื่อต้องการล่าหรือหาของป่า
    .
    ชุมชนบรรพกาลเหล่านี้ เมื่อพบพื้นที่ที่พวกเขาพึงพอใจแล้วก็มักจะปักหลักอยู่เช่นนั้น สืบต่อกันไปหลายชั่วคน หลักฐานทางโบราณคดีก็ชี้ชัดเช่นนั้น ทำให้เกิดชุมชนโบราณขึ้นตรงนั้นตรงนี้มากมายและขยายตัวออกไป เกษตรกรรมเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เลิกเร่ร่อนแล้วหยุดตั้งหลักแหล่ง ผลที่เก็บเกี่ยวแน่นอนตามฤดูกาลทำให้ปัจจัยทางอาหารมั่นคง ดังนั้นพวกเขาจะไม่ย้ายไปไหนโดยง่ายถ้าไม่ใช่เพราะภัยธรรมชาติ โรคระบาด หรือสงครามจากคนกลุ่มอื่นมาบีบบังคับให้ย้ายไปที่อื่น ชุมชนบรรพกาลซึ่งประชากรมีอยู่น้อย ย่อมต้องการปริมาณแรงงานไว้เพื่อสร้างชุมชนของตนให้เติบโตรุ่งเรืองขึ้น ถ้าไม่เกิดปัญหาที่ว่านี้ พวกเขาก็จะไม่ย้ายไปไหน พวกเขาจำฤดูกาลประจำถิ่น ทิศทางลม เวลาน้ำขึ้นลง ยาอยู่ที่ไหน อะไรเป็นยา จำต้นไม้ได้ทุกต้นและรู้ว่าอะไรใช้ทำอะไรได้บ้าง สัตว์อยู่ที่ไหน หาเจอยังไง จับยังไง... ความรู้ในภูมิลำเนาพวกนี้ใช้เวลาสั่งสมยาวนาน
    .
    เราต่างได้เรียนรู้กันมามากพอสมควรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ แต่บางครั้งนิยามหรือความสมมุติในความเป็นชนชาติบ้านเมืองต่างๆ มักพาให้ไขว้เขว บางถิ่นฐาน ผู้ปกครองเป็นผู้มีศักดิ์ฐานะ มีทรัพยากรมาก แต่เป็นคนต่างถิ่นมาจากที่อื่น ไม่ต่างกับทุกวันนี้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหัวเมืองเช่นเชียงราย อาจเป็นลูกเศรษฐีตระกูลใหญ่จากกรุงเทพ สมัยโบราณก็เช่นกัน ประชากรเป็นคนพื้นเมืองท้องถิ่น อาจอยู่ที่นั่นมาแปดชั่วคนแล้ว เขาไม่ย้ายไปที่อื่นเพียงเพราะผู้ปกครองไม่ใช่คนพื้นเมืองเหมือนตน ถ้าปกครองดี ทุกคนยังกินอิ่ม ไม่รีดภาษี ไม่ก่อกรรมทำเข็ญ ข่มเหงรังแก พวกเขาก็จะอยู่อย่างนั้นต่อไปในรุ่นลูกรุ่นหลาน จักรวรรดิจีนโบราณดินแดนกว้างใหญ่ ประชากรไม่ได้มีแต่จีนฮั่นเท่านั้น ยังมีประชากรที่เป็นชนเผ่าอื่นๆในปกครองหลายสิบเผ่า แล้วก็มีผู้ปกครองที่มาจากถิ่นอื่นมาปกครอง เคยมีกษัตริย์ที่เป็นมองโกล กษัตริย์ที่เป็นแมนจูมานั่งบัลลังก์ฮ่องเต้ ยิ่งรูปงามผิวพรรณผุดผ่องมาพร้อมโปรโมชั่นว่าเป็นเทพลงมาเกิดก็จะทำให้รู้สึกนับถืออยากพึ่งพาบารมี ดังนั้นผู้ปกครองก็อาจเป็นชาติพันธุ์หนึ่งขณะที่ประชากรในดินแดนเป็นอีกชาติพันธุ์หนึ่งได้ เช่น ผู้ปกครองมีชื่อสมมุติว่าเป็นชาติพันธุ์ลาว ผู้ใต้ปกครองอาจเป็นชาวพื้นเมืองมีชื่อสมมุติว่าชาติพันธุ์ข่า เป็นต้น.. ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งที่พูดนี่ เป็นคนละเรื่องกับแนวความคิดเรื่องชาติ ประเทศ รัฐ ชนชาติและสัญชาติ ซึ่งเป็นความคิดใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลังตามคติของอาณานิคมตะวันตก
    .
    สำหรับผมมันเป็นเรื่องตลก ที่พูดว่าคนโคราชไม่ใช่คนอีสาน
    ความยึดมั่นของผู้พูดผูกโยงกับภูมิลำเนา ผูกกับสำเนียงภาษาที่ใช้ แล้วเอามามัดให้ประชากรนั้นเป็นเผ่าพันธ์ตามที่ตนผูกไว้
    .
    คนอีสานคือใครในทัศนะวิทยาศาสตร์ คนอีสานอาจประกอบด้วยพลเมืองจากทางเหนือที่มาไกลจากจีน มาจากหยุนหนาน หรืออาจมาจากเวียตนาม ได้มากพอกับมีพลเมืองที่มีชื่อสมมุติว่า "ลาว" ที่เฒ่างี่เง่านี้นิยามให้สาวกเชื่อว่าเป็นคนท้องถิ่นโดยแท้แล้วก็ปฏิเสธในเชิงที่รู้สึกได้ว่าพยายามจะบอกใครๆ ว่าคนโคราชเป็น "สิ่งแปลกปลอมในท่ามกลางคนอีสาน" ผมรู้สึกอย่างนั้น แล้วเขาก็โยงเรื่องโยงชื่อ ทั้งคนทั้งสถานที่ มั่วไปหมดชนแพะชนแกะชนควาย อนุมานเอาตามความเชื่อตน ทั้งที่ความเป็นจริงทุกมนุษย์ที่อ้างอิงมานั่นไม่ว่าจะด้วยคำ สยาม ทวารวดี มอญ อยุธยา สุพรรณ โคราช ศรีโคตรบูรณ์ เวียงจันทร์ ชัยวรมัน.... บลาๆๆ... ล้วนคือ Y Chromosome DNA Haplogroup O (O2 เป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์สูงสุด) ทั้งนั้น ต่อให้หมู่บ้านนึงมันดันพูดได้สามภาษา ทั้งลาวทั้งอังกฤษทั้งเกาหลีสำเนียงเป๊ะทั้งหมู่บ้านก็ตามที
    .
    เขย่าไว้ไม่ให้นอนก้น
    ข้าว่าพวกเอ็งมันนอนก้นถอยหลังไปสองร้อยปี
    ฟังวนอยู่ห้าคำสิบคำ เต็มไปด้วยคำว่า “สันนิษฐานว่า…“
    แปลเป็นไทยคือ คาดว่า เดาว่า... คือเอ็งไม่รู้ไง เชื่อเองเออเองแล้วมาชวนคนอื่นให้เชื่อตาม
    .
    นี่รู้ไหม...
    มีไม่น้อยนะที่สันนิษฐานว่ามนุษย์เซเปี้ยนส์นี่น่ะ มาจากเชื้อพันธุ์มนุษย์ต่างดาวชื่อ อนูนากิ แกเชื่อไหมเล่า?
    .
    - พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา [2568] -
    .
    เขียนเล่าเรื่องพันธุกรรมมนุษย์มาหลายต่อหลายครั้ง ทั้งที่ความรู้นี้โลกเขารับรู้มาตั้งแต่ปี 2004 แล้ว ปัจจุบันนักวิชาการไทยหลายคนก็ทำวิจัยเรื่องนี้ตีพิมพ์ออกมาพอสมควร แต่ก็ยังมีบางพวกบางกลุ่มที่ยังตะแบงติดกับดักวังวนของสำนักคิดเก่าๆ อยู่อย่างนั้น ไอ้ที่แย่กว่าคือ จำต้องยอมรับวิทยาศาสตร์นี้โดยปริยายทั้งที่ไปกันไม่ได้กับเรื่องที่ตนเขียน แต่ความที่เคยพูดเคยเขียนหนังสือขายหาเงินรับประทานมาไม่น้อยกับความรู้ผิดๆ ครึ่งๆกลางๆ งูๆปลาๆ ก็เลยยังต้องยืนยันความคิดเดิมตะแบงต่อไป ถ้าไอ้ส่วนที่ความรู้ใหม่มันไปกันได้กับที่เคยเขียนก็จะหยิบมาอ้าง แต่ส่วนที่มันฟ้องว่าเอ็งเข้าใจผิดแล้วก็จะเลี่ยงเสีย เช่นกรณีเฒ่าเจ๊กปนลาวชังชาตินั่น . ความแบ่งแยกอันเป็นความคิดของปีศาจ นำมาซึ่งชื่อสมมุติ ที่โดยมากมักอุปโลกน์ขึ้นมาเพื่อปฏิเสธความเกี่ยวเนื่อง เพื่อสร้างอัตลักษณ์ใหม่ เพื่อให้ดูแตกต่างกับผู้คนหรือบรรพบุรุษที่เคยเกี่ยวข้อง ไม่ว่าเครื่องแต่งกายก็ตาม ความเชื่อ ภาษาพูดก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เครื่องพิสูจน์องค์ประกอบของตัวมนุษย์แต่ละผู้ว่าเป็นใครหรือเผ่าพันธุ์ไหน เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าความเป็นเจ๊กปนลาวที่พูดไทยหากินกับภาษาไทยของเฒ่าผู้นั้น อาจเป็นเรื่องเลื่อนลอยไปได้ ลาวที่เขาคิดว่าเป็นพ่ออาจเป็นกัมมุ และเจ๊กที่เขาคิดว่าเป็นแม่อาจเป็นชนเผ่าฮักกา ที่ซึ่งไม่ใช่เจ๊ก แต่เป็นเยว่ ก็เป็นได้... อยากจะแน่ใจก็ไปตรวจซะ . อย่างที่ทราบ (เอ๊ะ หรือใครยังไม่ทราบ?) มนุษย์ที่เป็นชนชาติต่างๆในโลกนี้ อพยพออกมาจากแอฟริกาเมื่อแสนกว่าปีก่อน เป็นหน่อเนื้อลูกหลานของบรรพบุรุษที่อาศัยในบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่าซาฮาร่า ดังนั้นนักวิชาการเลย "นิยามชื่อ" พวกเขาว่าพวก "ซาฮารันโบราณ" ผู้ชายทุกคนในโลกนี้ไม่ว่าคนออสตราอะบอริจิ้น คนเอเชีย คนตะวันออกกลาง คนยุโรป คนเมโสอเมริกา ล้วนมียีนของอาดัมทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่าวายโครโมโซม M168 นี้ทุกคน ยกเว้นพวกแอฟริกาบางเผ่าที่บรรพบุรุษไม่ได้อพยพออกมาและยังคงอยู่รอดในแอฟริกาจนถึงปัจจุบันนี้ . ด้วยภาพใหญ่นี้ สาแหรกพันธุกรรมแสดงให้เห็น "DEEP ANCESTOR" โคตรเหง้าที่ลึกที่สุดของมนุษย์โลก "การที่พวกอาหรับพูดภาษาสกุลเซมิติคส่วนคนไทยอย่างเราพูดภาษาสกุลจ้วง-ไท ความแตกต่างนี้ไม่อาจลบล้างข้อเท็จจริงทางพันธุกรรมที่ทั้งคู่มี Deep Ancestor ร่วมกันไปได้". ทุกวันนี้มนุษย์ที่มียีนของ M168 เก่าแก่กว่าใครในโลกคือพวก San Bushman พวกเขาพูดภาษาสกุลกอยซานที่ในทาง Linguistic ถือว่าเป็นภาษาลูกของภาษาซาฮารันโบราณที่ยอมรับกันว่าคือ Global Early Language * หมายถึงภาษาแรกของโลก เมื่อพิจารณาจากวิทยาศาสตร์ข้อนี้ มนุษย์ทุกชนชาติที่มีชื่อสมมุติกันไปต่างๆ จะว่าไปก็ถือเป็นคนกอยซานทั้งสิ้น ดังนั้นคุณจงอย่าได้ยึดติดว่าภาษาพูดของชาติพันธ์หนึ่ง จะบ่งบอกว่าเขาคือชาติพันธ์นั้นเสมอไป... คนจีนอพยพตั้งแต่รุ่นที่สองที่อยู่ในเมืองไทยพูดภาษาไทยชัดทุกคน คนอเมริกันที่เกิดที่นี่ คนอินเดียที่เกิดที่นี่พูดไทยสำเนียงไทยชัดทุกคน และเป็นไปได้ว่าวันหนึ่งเขาอาจย้ายไปอยู่ที่ภูฏานเป็นการถาวรจนลูกหลานเขาเกิดที่นั่น แล้วพูดภาษาภูฏานชัดเจน . [* ภาษากอยซาน : นักภาษาศาสตร์ลงความเห็นว่าคือภาษาที่เก่าที่สุดในโลก มีลักษณะพิเศษคือมีเสียงคลิ๊กอยู่ในคำ ซึ่งได้หายไปจากภาษาอื่นๆ ที่เกิดภายหลัง นักวิชาการเชื่อว่า เมื่อบรรพบุรุษของเราอพยพออกจากแอฟริกาเมื่อแสนปีก่อน พวกเขามีภาษาพูดแล้ว ไม่เช่นนั้นพวกเขาจะไม่สามารถล่าสัตว์ใหญ่อย่างแมมมอธได้ เพราะการล่าเช่นนี้ต้องทำงานเป็นทีม ไม่มีภาษาก็ทำงานเป็นทีมไม่ได้] . เมื่อมนุษย์มาจากแอฟริกาและเรามีเชื้อสายซาฮารันมาก่อน ทำไมเราจึงพูดกันไม่รู้เรื่อง พูดกันคนละภาษา ผมเคยเขียนบทความหนึ่งชื่อ บาเบล สืบเนื่องจากคัมภีร์ปฐมกาลบทที่ชื่อบาเบล เล่าว่า “พระเจ้าทรงเห็นว่ามนุษย์สร้างหอคอยใหญ่เทียมฟ้าขึ้นมาได้ พวกเขาอยากจะทำอะไรก็จะสำเร็จได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะบันดาลให้เขาพูดกันไม่รู้เรื่อง ผู้คนก็แยกย้ายกันไป เป็นชนชาติต่างๆ ภาษาต่างๆ” นี่...ใครสักคนป้ายสีพระผู้เป็นเจ้าว่าเป็นมูลเหตุให้มนุษย์พูดกันไม่รู้เรื่อง. ใครสักคนในที่นี้มีอย่างน้อยสามคน นักภาษาศาสตร์ยุคใหม่วิเคราะห์ลักษณะการเขียน สำนวน คำศัพท์ที่ใช้ซึ่งบ่งบอกรากฐานและยุคสมัยได้ ทำการวิเคราะห์พระคัมภีร์ไบเบิ้ลฉบับคิงเจมส์ พวกเขาลงความเห็นว่า คัมภีร์ไบเบิ้ลมีผู้เขียนราวสามคน มีลักษณะการเขียนที่แตกต่างกันสามสำนวน คละเคล้ากันไปในแต่ละบท บางบทมีการปนกันมากกว่าหนึ่งสำนวน และยังลงความเห็นว่ารูปแบบการเขียนของบทปฐมกาล (genesis) เขียนทีหลังบทอพยพ (exodus) . นอกจากนี้นักภาษาศาสตร์ยุคหลังมานี่เชื่อว่าภาษาอินโดยูโรเปี้ยนนี้ คือผลของการทุบทำลายภาษาแม่ครั้งสำคัญในโลก เมื่อคุณพิจารณาพันธุกรรม คุณจะต้องทราบว่าผู้ชายชาวยุโรปและตะวันออกกลางแชร์สาแหรกพันธุกรรมในเครือเดียวกันคือ R / J / E อย่างที่ผมเขียนเรื่องยิวและปาเลสไตน์ไปก่อนนี้.. พวกคนยุโรป เปอร์เซีย อารยัน (ที่ภายหลังไปบุกอินเดียโบราณ) ล้วนเป็นสาแหรกเดียวกัน อย่าว่าแต่ยิวซึ่งเป็น semitic speaker ฆ่าปาเลสไตน์ที่เป็นพี่น้องใกล้ชิดเลย หากคนกรีก คนโรมัน ไปฆ่าคนเปอร์เซียหรือกลับกัน ก็คือพี่น้องฆ่ากันอยู่ดีนั่นแหละ อยู่มาวันหนึ่ง ไม่แน่ชัดว่าอะไรเป็นเหตุ หลังสงครามเทวีที่เกิดการต่อต้านปฏิเสธความเชื่อที่นับถือแม่เป็นใหญ่ เทวรูปของเทพีมากมาย เช่น Artemis เทวีผู้มอบความอุดมสมบูรณ์ ต่างพากันถูกทุบจมูกทุบใบหน้าทิ้งให้ดูน่าเกลียด ชนชาติที่เคยเกี่ยวดองกัน พลันแยกออกจากกันเป็นชนชาติใหม่ พูดภาษาใหม่ เด็กที่เกิดใหม่นับแต่นั้นจะถูกฝึกให้พูดภาษาที่สร้างขึ้นมา จากนั้นก็ตามมาด้วยชื่อสมมุติอย่างเช่น อัสซีเรีย อัคเคเดียน ฮิตไทท์... จากนั้นก็ตามมาด้วยสงครามพี่น้องฆ่ากัน ทั้งที่ชีววิทยาพันธุกรรมบอกว่าพวกเขาคือพี่น้องคลานตามกันมาทั้งนั้น และถ้าอ้างไบเบิ้ล อย่างเช่นกรณีของบุตรหลานของ Sam ลูกหลานของโนอาห์ ก็อย่างที่เคยเล่าไปแล้ว ความแบ่งแยกทำให้พวกเขาปฏิเสธสายใยที่มี . อย่างที่ชี้ให้เห็นนี่ ดีเอ็นเอบอกเราถึงความเป็นพี่น้องร่วมสาแหรก แต่พวกเขาปฏิเสธกันเองแล้วแบ่งแยก ทุบทำลายภาษาแม่ทิ้งไปพร้อมๆ กันในเวลาไล่เลี่ยกัน ไม่ใช่เพราะฝีมือพระเจ้าหรอก มนุษย์นี่แหละ นักภาษาศาสตร์โบราณคดีทำการค้นคว้าเรื่องนี้แล้วทำการโยงภาษาในสกุลอินโดยูโรเปี้ยนทั้งหมด ย้อนกลับไปสู่ภาษาซาฮารันโบราณ ด้วยพจนานุกรมคำศัพท์ของพวก Basque (กลุ่มคนที่ isolated อยู่ในสเปนซึ่งเชื่อว่าเป็นภาษาลูกที่เหลืออยู่ของภาษาซาฮารัน).. เรื่องนี้ยาวนะ ผมเคยเล่าไว้ในบทความชื่อบาเบลที่ผมเกริ่นไปข้างบน ใครอยากลงลึกให้ไปอ่าน Linguistic Archaeology เขียนโดย Edo Nyland . เวลาเจอบทความอะไรจากเฒ่าเจ๊กปนลาวผู้นี้ รวมทั้งจากพวกสาวกกระดูกอ่อนของเขาก็เลยออกจะรำคาญ ด้วยการอ้างชื่อต่างๆ พวกเขาเชื่อมโยงยกแม่น้ำเป็นตุเป็นตะ ไอ้นั่นมาจากไหน ไอ้นี่มาจากไหน โดยไม่มีหลักฐานอะไรที่หนักแน่นพอมารองรับ… ยกตัวอย่างเช่นใช้กลองสำริดบ้าง ใช้ภาพเขียนสีผนังถ้ำโบราณบ้าง มาอ้างอิงทั้งที่ไม่เข้าใจว่าดูอะไรอยู่ . ภาพเขียนสีผนังถ้ำโบราณแต่ละแห่งที่พบในโลกที่รังสรรค์โดยบรรพบุรุษยุคแรก ถ้าคุณทาบข้อมูลทางโบราณคดีของมันกับข้อมูลอื่น เช่น พันธุกรรมและการอพยพย้ายถิ่น ธรณีวิทยา ภาษาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา วิทยาศาสตร์.. ก็จะรู้อะไรที่ต่างไปจากที่เคยมีคนสันนิษฐานกันออกมาก่อนหน้านี้ได้ เช่น ภูมิศาสตร์บอกว่าลักษณะภูมิประเทศแบบใดที่มนุษย์โบราณในยุคนั้นชอบใช้เป็นที่อาศัยและหลบภัย ลักษณะทางภูมิศาสตร์แบบไหนที่พบภาพเขียนสี ทำไมมันจึงถูกเลือกเป็นที่จัดทำนิทรรศการ.. ธรณีวิทยาบอกว่า พบดินแบบเดียวกันถูกใช้เป็นสีเขียนผนังถ้ำทุกแห่ง.. วิทยาศาสตร์บอกองค์ประกอบธาตุของสีที่ใช้เขียนว่าเป็นแบบเดียวกัน ซึ่งแปลได้ว่าพวกเขาเรียนหนังสือมาจากที่เดียวกัน คือเรียนรู้เทคนิคในการทำแบบนี้ซ้ำต่อๆ กันมาเหมือนๆ กัน.. มานุษยวิทยาเห็นการสะท้อนธรรมเนียมนิยมทางวัฒนธรรมบรรพกาลของพวกเขา เช่น เอาสีใส่ปากพ่นผ่านมือให้เป็นรูปมือ เขียนรูปคนและสัตว์ที่มีลักษณะทาง figure ที่คล้ายคลึงกัน มีจินตนาการในการสร้างลักษณะของบุคคลที่พิเศษออกไปจากคนปกติเพื่อแสดงว่าเป็นผีสางเทวดาที่เขานับถือ... มีการวิเคราะห์คุณสมบัติทางวิทยาศาสตร์ของสภาวะแวดล้อมของพื้นที่ศักดิ์สิทธ์ที่พวกเขาไปเขียนรูปไว้ เช่น คุณสมบัติการก้องสะท้อนเสียงของสถานที่ . และเมื่อทาบพันธุกรรมลงไปดูความสอดคล้องกัน เริ่มจากพวกเผ่า San Bushman ที่มียีนของอดัมที่เก่าที่สุดในโลก พบว่าพวกเขาทำภาพเขียนสีผนังถ้ำด้วยคุณสมบัติเดียวกันทุกด้านดังที่ได้กล่าวไปนั่น พวกอัสเลียนโบราณก็ทำภาพเขียนสีผนังถ้ำด้วยคุณสมบัติเดียวกันกับที่กล่าวไปเช่นกัน เอาภาพเขียนสีเช่นที่ถ้ำเขาจันทร์งาม สีคิ้ว ไปเปรียบกับภาพเขียนสีในแอฟริกาที่พวกกอยซานทำ ทุกองค์ประกอบที่ว่านั่นก็จะเห็นว่าเหมือนกัน... พวกปาปัว-ออสตราอะบอริจิ้น ก็ทำภาพเขียนสีผนังถ้ำด้วยคุณสมบัติเดียวกับที่กล่าวไป นี่เป็นนวัตกรรมที่เป็นมรดกโคตรยาวนานของมนุษย์ จากแอฟริกาไปสู่จุดต่างๆในโลก ในวันนี้ พวกเขาเหล่านี้พูดกันคนละภาษา มันดูไม่มีความกี่ยวข้องกันใช่ไหมล่ะ? แต่วิทยาศาสตร์ไม่ได้บอกเช่นนั้น ในพันธุกรรมมี mutation ในวัฒนธรรมมี cultural transmission ถ้าเราขยับไปดูสิ่งที่คุ้นเคยกว่านั้นอีกสักอย่าง เช่น "กลอง".. มนุษย์ทุกแห่ง ตั้งแต่พวกที่อยู่ในแอฟริกา แม้แต่พวกชนเผ่าที่ไม่ได้อพยพไปไหนเลยจนกระทั่งยุคล่าอาณานิคม กับมนุษย์ทุกชนชาติที่กระจายอยู่ในทุกมุมโลก พวกเขาต่างทำกลองเหมือนกัน วิธีการคือ ด้วยการขึงหนังสัตว์ (membrane) ลงบนปากทรงกลมของวัตถุทรงกระบอก (cylinder) ขึงให้ตึงและตีให้สั่น นี่คือนวัตกรรมที่เรียก Membranophones คนทั้งโลกไม่ได้ต่างคนต่างทำเหมือนกันโดยบังเอิญ มันคือมรดกที่ส่งต่อกันมาตั้งแต่ก่อนอพยพเมื่อแสนปีที่แล้วและเก่าพอๆ กับภาษาแรก . ซากบรรพชีวินที่นักวิชาการไทยอย่างที่อาจารย์รัศมีท่านสำรวจและค้นคว้าอยู่ กรอบเวลาเท่าไหร่? โนนนกทา? บ้านเชียง? พวกนั้นเป็นใคร? โฮโมเซเปี้ยนส์แน่นอน ชีววิทยาบอกชัดว่าเซเปี้ยนส์ เราไม่ได้วิวัฒน์มาจากโฮโมอีเร็คตัส พวกนั้นสูญพันธ์ไปแล้วก็จบ ยีนพ่อไม่เคยหายไปจากมนุษย์และเราไม่มียีนของอีเร็คตัสอยู่ในตัวเรา เมื่อราวเจ็ดหมื่นปีก่อน เกิด super eruption ขึ้นที่ภูเขาโทบาในสุมาตราโบราณ [https://geographical.co.uk/.../explainer-the-toba...] ทิ้งบาดแผลไว้เป็นทะเลสาปโทบาให้ดูในทุกวันนี้ ภัยพิบัตินี้รุนแรง มันตามมาด้วยฤดูหนาวนิวเคลียร์ (นักวิชาการว่าเช่นนี้) เถ้าภูเขาไฟปกคลุมโลกนานหลายปีและลอยไปไกลถึงกรีนแลนด์ โฮโมอีเร็คตัสในเอเชียถ้ายังมีชีวิตอยู่จะต้องตายหมด ดังนั้นไม่ว่าจะมนุษย์ปักกิ่ง มนุษย์ชวาอะไร ไม่เกี่ยวกับเราทั้งนั้น กรอบเวลาของบรรพบุรุษเราที่มาถึงที่นี่คือห้าหมื่นและสามหมื่นปีมาแล้ว มากันสองระลอก และคนพื้นเมืองที่บุกเบิกดินแดนนี้ไม่ได้แปะยี่ห้ออะไรเมื่อมาถึง นอกจากเรียกตัวเองว่า กอย หมายถึง คน… (ข่า ก็เรียกตัวเองว่า ข้อย.. ลาว ก็เรียกตัวเองว่า ข้อย) . ในความเป็นจริง มนุษย์โบราณที่เป็นบรรพบุรุษของชายชาวเอเชียราว 75 เปอร์เซ็นต์ล้วนเป็น Y DNA Hg O คือครอบครัวที่ใหญ่ที่สุดในโลก พวกเขามิวเททมาจากสาแหรกของพ่อ Y DNA Hg K ซึ่งมาถึงเอเชียกลางเมื่อราวสี่หมื่นปีและกระจายออกไป ทั้งที่ข้ามโกบีและไซบีเรีย ข้ามเบริงเจียไปอเมริกา (Hg Q) กลายเป็นพวกนาวาโฮ... ทั้งที่ย้อนกลับเข้าไปในยุโรปเผชิญความทารุณของยุคน้ำแข็งกลายเป็นพวกยุโรป (Hg R)… บรรพบุรุษพวกนี้ เมื่อตั้งถิ่นฐานตรงจุดใด ก็มักอยู่ตรงนั้น ลองนึกถึงความเป็นจริงว่า การย้ายถิ่นฐานใช้เวลายาวนานหลายชั่วคน เมื่อผู้อาวุโสหรือพ่อของเขาแก่เฒ่าไร้เรี่ยวแรงที่จะเดินทางบุกเบิกต่อไป บางส่วนของพวกเขาจะหยุดการเดินทางและตั้งหลักแหล่งโดยเฉพาะเมื่อพบสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์พอจะดำรงชีพ คนหนุ่มจะเดินทางผจญภัยต่อไปเพื่อหาที่ของตนที่จะได้ขึ้นมาเป็นผู้นำ ได้มองโลกด้วยทัศนะของพวกเขาเอง พวกเขาจะพบปัญหาใหม่ จะได้หาทางแก้ไขสถานะการณ์ที่ไม่เคยพบ ดังนั้นพวกเขาจะมีเทคโนโลยีที่ดีขึ้นไปเองโดยธรรมชาติ จนเมื่อพวกเขาพบว่าได้เจอสถานที่ที่พึงพอใจหรือไปต่อไม่ได้แล้ว การเดินทางก็จะหยุด . คุณคิดว่ามีมนุษย์จำนวนเท่าไหร่ เมื่อพวกเขามาถึงแผ่นดินซุนดาเมื่อสามหมื่นปีก่อน? . บรรพบุรุษของเรา เดินทางมาตามซุปเปอร์ไฮเวย์โบราณสายเอเชียกลางที่เป็นทุ่งหญ้าอันอุดมสมบูรณ์ อุดมด้วยกวางแอนทีโลฟและช้างแมมมอธ ท้องอิ่ม อบอุ่น และอันตรายน้อย เมื่อมาถึงซุนดา คุณคิดว่าพวกเขาจะอยู่อาศัยกันที่ไหน? บนภูเขา ในป่า หรือที่ราบลุ่มปากแม่น้ำ? ไปคิดดูเป็นการบ้าน . หากพิจารณาดูปัจจัยต่างๆ เราจะรู้ได้ว่าชุมชนบรรพกาล มักจะตั้งอยู่บนที่ที่เหมาะสมในการผดุงชีพ อ.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ให้ความเห็นว่า เนื่องเพราะบรรพบุรุษพวกนี้ต้องเผชิญกับน้ำท่วมซุนดาถึงสามครั้ง พวกเขานิยมสร้างบ้านที่มีเสาสูงและมีไต้ถุนสูง ทำแพและมีทักษะในการเดินทางด้วยแพ ซึ่งพร้อมที่จะอพยพหนีโดยล่องด้วยแพขึ้นไปเรื่อยๆ สู่ทิศทางต้นน้ำ ไม่เดินเท้าเพราะไม่รู้ว่าน้ำจะมาทางไหน เมื่อเห็นและแน่ใจว่าน้ำหยุดท่วมแล้วก็ปักหลักตั้งถิ่นฐานใหม่ เพราะพวกเขารู้ดีว่าไม่มีจุดไหนที่มีทรัพยากรอุดมไปกว่าริมแม่น้ำ ทั้งสัตว์น้ำและดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ในป่านั้นมีโรคมากมายและสัตว์ร้าย พวกเขาจะเข้าไปต่อเมื่อต้องการล่าหรือหาของป่า . ชุมชนบรรพกาลเหล่านี้ เมื่อพบพื้นที่ที่พวกเขาพึงพอใจแล้วก็มักจะปักหลักอยู่เช่นนั้น สืบต่อกันไปหลายชั่วคน หลักฐานทางโบราณคดีก็ชี้ชัดเช่นนั้น ทำให้เกิดชุมชนโบราณขึ้นตรงนั้นตรงนี้มากมายและขยายตัวออกไป เกษตรกรรมเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เลิกเร่ร่อนแล้วหยุดตั้งหลักแหล่ง ผลที่เก็บเกี่ยวแน่นอนตามฤดูกาลทำให้ปัจจัยทางอาหารมั่นคง ดังนั้นพวกเขาจะไม่ย้ายไปไหนโดยง่ายถ้าไม่ใช่เพราะภัยธรรมชาติ โรคระบาด หรือสงครามจากคนกลุ่มอื่นมาบีบบังคับให้ย้ายไปที่อื่น ชุมชนบรรพกาลซึ่งประชากรมีอยู่น้อย ย่อมต้องการปริมาณแรงงานไว้เพื่อสร้างชุมชนของตนให้เติบโตรุ่งเรืองขึ้น ถ้าไม่เกิดปัญหาที่ว่านี้ พวกเขาก็จะไม่ย้ายไปไหน พวกเขาจำฤดูกาลประจำถิ่น ทิศทางลม เวลาน้ำขึ้นลง ยาอยู่ที่ไหน อะไรเป็นยา จำต้นไม้ได้ทุกต้นและรู้ว่าอะไรใช้ทำอะไรได้บ้าง สัตว์อยู่ที่ไหน หาเจอยังไง จับยังไง... ความรู้ในภูมิลำเนาพวกนี้ใช้เวลาสั่งสมยาวนาน . เราต่างได้เรียนรู้กันมามากพอสมควรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ แต่บางครั้งนิยามหรือความสมมุติในความเป็นชนชาติบ้านเมืองต่างๆ มักพาให้ไขว้เขว บางถิ่นฐาน ผู้ปกครองเป็นผู้มีศักดิ์ฐานะ มีทรัพยากรมาก แต่เป็นคนต่างถิ่นมาจากที่อื่น ไม่ต่างกับทุกวันนี้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหัวเมืองเช่นเชียงราย อาจเป็นลูกเศรษฐีตระกูลใหญ่จากกรุงเทพ สมัยโบราณก็เช่นกัน ประชากรเป็นคนพื้นเมืองท้องถิ่น อาจอยู่ที่นั่นมาแปดชั่วคนแล้ว เขาไม่ย้ายไปที่อื่นเพียงเพราะผู้ปกครองไม่ใช่คนพื้นเมืองเหมือนตน ถ้าปกครองดี ทุกคนยังกินอิ่ม ไม่รีดภาษี ไม่ก่อกรรมทำเข็ญ ข่มเหงรังแก พวกเขาก็จะอยู่อย่างนั้นต่อไปในรุ่นลูกรุ่นหลาน จักรวรรดิจีนโบราณดินแดนกว้างใหญ่ ประชากรไม่ได้มีแต่จีนฮั่นเท่านั้น ยังมีประชากรที่เป็นชนเผ่าอื่นๆในปกครองหลายสิบเผ่า แล้วก็มีผู้ปกครองที่มาจากถิ่นอื่นมาปกครอง เคยมีกษัตริย์ที่เป็นมองโกล กษัตริย์ที่เป็นแมนจูมานั่งบัลลังก์ฮ่องเต้ ยิ่งรูปงามผิวพรรณผุดผ่องมาพร้อมโปรโมชั่นว่าเป็นเทพลงมาเกิดก็จะทำให้รู้สึกนับถืออยากพึ่งพาบารมี ดังนั้นผู้ปกครองก็อาจเป็นชาติพันธุ์หนึ่งขณะที่ประชากรในดินแดนเป็นอีกชาติพันธุ์หนึ่งได้ เช่น ผู้ปกครองมีชื่อสมมุติว่าเป็นชาติพันธุ์ลาว ผู้ใต้ปกครองอาจเป็นชาวพื้นเมืองมีชื่อสมมุติว่าชาติพันธุ์ข่า เป็นต้น.. ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งที่พูดนี่ เป็นคนละเรื่องกับแนวความคิดเรื่องชาติ ประเทศ รัฐ ชนชาติและสัญชาติ ซึ่งเป็นความคิดใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลังตามคติของอาณานิคมตะวันตก . สำหรับผมมันเป็นเรื่องตลก ที่พูดว่าคนโคราชไม่ใช่คนอีสาน ความยึดมั่นของผู้พูดผูกโยงกับภูมิลำเนา ผูกกับสำเนียงภาษาที่ใช้ แล้วเอามามัดให้ประชากรนั้นเป็นเผ่าพันธ์ตามที่ตนผูกไว้ . คนอีสานคือใครในทัศนะวิทยาศาสตร์ คนอีสานอาจประกอบด้วยพลเมืองจากทางเหนือที่มาไกลจากจีน มาจากหยุนหนาน หรืออาจมาจากเวียตนาม ได้มากพอกับมีพลเมืองที่มีชื่อสมมุติว่า "ลาว" ที่เฒ่างี่เง่านี้นิยามให้สาวกเชื่อว่าเป็นคนท้องถิ่นโดยแท้แล้วก็ปฏิเสธในเชิงที่รู้สึกได้ว่าพยายามจะบอกใครๆ ว่าคนโคราชเป็น "สิ่งแปลกปลอมในท่ามกลางคนอีสาน" ผมรู้สึกอย่างนั้น แล้วเขาก็โยงเรื่องโยงชื่อ ทั้งคนทั้งสถานที่ มั่วไปหมดชนแพะชนแกะชนควาย อนุมานเอาตามความเชื่อตน ทั้งที่ความเป็นจริงทุกมนุษย์ที่อ้างอิงมานั่นไม่ว่าจะด้วยคำ สยาม ทวารวดี มอญ อยุธยา สุพรรณ โคราช ศรีโคตรบูรณ์ เวียงจันทร์ ชัยวรมัน.... บลาๆๆ... ล้วนคือ Y Chromosome DNA Haplogroup O (O2 เป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์สูงสุด) ทั้งนั้น ต่อให้หมู่บ้านนึงมันดันพูดได้สามภาษา ทั้งลาวทั้งอังกฤษทั้งเกาหลีสำเนียงเป๊ะทั้งหมู่บ้านก็ตามที . เขย่าไว้ไม่ให้นอนก้น ข้าว่าพวกเอ็งมันนอนก้นถอยหลังไปสองร้อยปี ฟังวนอยู่ห้าคำสิบคำ เต็มไปด้วยคำว่า “สันนิษฐานว่า…“ แปลเป็นไทยคือ คาดว่า เดาว่า... คือเอ็งไม่รู้ไง เชื่อเองเออเองแล้วมาชวนคนอื่นให้เชื่อตาม . นี่รู้ไหม... มีไม่น้อยนะที่สันนิษฐานว่ามนุษย์เซเปี้ยนส์นี่น่ะ มาจากเชื้อพันธุ์มนุษย์ต่างดาวชื่อ อนูนากิ แกเชื่อไหมเล่า? . - พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา [2568] - .
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 309 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้เรามาคุยถึงเครื่องประดับชนิดหนึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงที่ดูจะไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูละครของยุคสมัยนั้นอย่างเช่น <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> หรือ <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> จะเห็นนางในมีสร้อยประคำผูกไว้ที่คอเสื้อ จริงๆ แล้วมันก็คือสร้อยประคำมือ เรียกว่า ‘สือปาจื่อ’ (十八子)

    ความมีอยู่ว่า
    ... โจวเซิงเฉินเดินออกมาพอดี เห็นสร้อยประคำมือหยก 18 เม็ดบนข้อมือของเธอ ในแววตาปรากฏความแปลกใจแวบหนึ่ง ในระหว่างเดินทางกลับ เขาค่อยเล่าให้ฟังถึงที่มาของสร้อยประคำนี้: “ยาว 28ซม. เม็ดประคำหยกสิบแปดเม็ด” เขาชี้นิ้วไล่ตามเชือกใต้เม็ดปะการังสีแดง “พลอยทัวร์มารีนสีชมพูแกะสลักเป็นดอกไม้ แล้วยังมีเม็ดปะการังและไข่มุก...เป็นของจากสมัยปลายราชวงศ์หมิงต้นราชวงศ์ชิง”...
    - จาก <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    สร้อยประคำมือที่กล่าวถึงในบทความข้างต้นนั้นมีลูกประคำ 18 เม็ด ซึ่งมีความหมายทางศาสนาพุทธ บ้างก็ว่าหมายถึง 18 อรหันต์ แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ Storyฯ ค้นพบจะบอกว่าหมายถึง 6 ผัสสะซึ่งก็คือ:
    1. จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ
    2. โสตสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางหู คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ
    3. ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ
    4. ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ
    5. กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ กาย+โผฏฐัพพะ (เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง) +กายวิญญาณ
    6. มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ ใจ+ธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด) +มโนวิญญาณ

    สร้อยประคำมือนี้เดิมมีไว้ใช้ตอนสวดมนต์ ต่อมากลายเป็นเครื่องประดับในสมัยราชวงศ์ชิง การนำมาใช้เป็นเครื่องประดับนี้เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่แน่ชัด รู้แต่ว่าในสมัยกลางของราชวงศ์ชิงยังไม่มีการกล่าวถึงนัก ต่อมาจึงเห็นจากภาพวาดในช่วงปลายราชวงศ์ชิงว่ามันได้กลายเป็นเครื่องประดับติดกายที่นิยมอย่างมากทั้งในหญิงและชาย (ดูรูปแรก)

    แรกเริ่มใช้กันในวัง แต่มันไม่ใช่เครื่องประดับอย่างเป็นทางการ ดังนั้นจึงใช้ได้ทุกระดับยศและเลือกใช้วัสดุได้หลากหลาย แต่แน่นอนว่ายศยิ่งสูง วัสดุที่ใช้ก็ยิ่งเลอค่า ต่อมาความนิยมนี้แพร่หลายออกมานอกวัง แต่ยังอยู่เฉพาะในกลุ่มชนชั้นสูงอย่างเช่นคนในตระกูลกองธงต่างๆ รูปแบบหรือองค์ประกอบของสร้อยก็มีการแปลงง่ายลงโดยคงไว้ซึ่งส่วนสำคัญของสร้อยประคำเท่านั้น ซึ่งก็คือส่วนที่เรียกว่าเศียรพระพุทธเจ้า เม็ดคั่น และเม็ดหลัก 18 เม็ด (ดูรูปสองบน)

    ตำแหน่งที่แขวนสร้อยประคำมือเป็นเครื่องประดับนั้น หากเป็นเสื้อสาบเฉียงให้ห้อยไว้ทางด้านขวา หากเป็นสาบตรงให้ห้อยไว้ที่กระดุมเม็ดที่สองข้างหน้า

    ใครตามละครเรื่องราวในวังยุคสมัยราชวงศ์ชิงอยู่ลองสังเกตดูนะคะ Storyฯ เห็นอยู่ในหลายเรื่องเลย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/491583437_515879
    https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html
    https://m.xing73.com/zt/yiL5Lmo5Q2a5Q_o5p_I6Q2a5rWY5B2Y5.html
    https://kknews.cc/culture/6er9xv.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://new.qq.com/omn/20191012/20191012A0N7RC00.html
    https://www.sohu.com/a/249960097_105772
    https://kknews.cc/collect/q5k3bvb.html
    https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html
    https://www.baanjomyut.com/pratripidok/41.html

    #กระดูกงดงาม #สร้อยประคำมือ #สือปาจื่อ #ผัสสะ #เครื่องแต่งกายสตรีจีนโบราณ #ราชวงศ์ชิง
    วันนี้เรามาคุยถึงเครื่องประดับชนิดหนึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงที่ดูจะไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูละครของยุคสมัยนั้นอย่างเช่น <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> หรือ <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> จะเห็นนางในมีสร้อยประคำผูกไว้ที่คอเสื้อ จริงๆ แล้วมันก็คือสร้อยประคำมือ เรียกว่า ‘สือปาจื่อ’ (十八子) ความมีอยู่ว่า ... โจวเซิงเฉินเดินออกมาพอดี เห็นสร้อยประคำมือหยก 18 เม็ดบนข้อมือของเธอ ในแววตาปรากฏความแปลกใจแวบหนึ่ง ในระหว่างเดินทางกลับ เขาค่อยเล่าให้ฟังถึงที่มาของสร้อยประคำนี้: “ยาว 28ซม. เม็ดประคำหยกสิบแปดเม็ด” เขาชี้นิ้วไล่ตามเชือกใต้เม็ดปะการังสีแดง “พลอยทัวร์มารีนสีชมพูแกะสลักเป็นดอกไม้ แล้วยังมีเม็ดปะการังและไข่มุก...เป็นของจากสมัยปลายราชวงศ์หมิงต้นราชวงศ์ชิง”... - จาก <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) สร้อยประคำมือที่กล่าวถึงในบทความข้างต้นนั้นมีลูกประคำ 18 เม็ด ซึ่งมีความหมายทางศาสนาพุทธ บ้างก็ว่าหมายถึง 18 อรหันต์ แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ Storyฯ ค้นพบจะบอกว่าหมายถึง 6 ผัสสะซึ่งก็คือ: 1. จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ 2. โสตสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางหู คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ 3. ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ 4. ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ 5. กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ กาย+โผฏฐัพพะ (เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง) +กายวิญญาณ 6. มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ ใจ+ธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด) +มโนวิญญาณ สร้อยประคำมือนี้เดิมมีไว้ใช้ตอนสวดมนต์ ต่อมากลายเป็นเครื่องประดับในสมัยราชวงศ์ชิง การนำมาใช้เป็นเครื่องประดับนี้เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่แน่ชัด รู้แต่ว่าในสมัยกลางของราชวงศ์ชิงยังไม่มีการกล่าวถึงนัก ต่อมาจึงเห็นจากภาพวาดในช่วงปลายราชวงศ์ชิงว่ามันได้กลายเป็นเครื่องประดับติดกายที่นิยมอย่างมากทั้งในหญิงและชาย (ดูรูปแรก) แรกเริ่มใช้กันในวัง แต่มันไม่ใช่เครื่องประดับอย่างเป็นทางการ ดังนั้นจึงใช้ได้ทุกระดับยศและเลือกใช้วัสดุได้หลากหลาย แต่แน่นอนว่ายศยิ่งสูง วัสดุที่ใช้ก็ยิ่งเลอค่า ต่อมาความนิยมนี้แพร่หลายออกมานอกวัง แต่ยังอยู่เฉพาะในกลุ่มชนชั้นสูงอย่างเช่นคนในตระกูลกองธงต่างๆ รูปแบบหรือองค์ประกอบของสร้อยก็มีการแปลงง่ายลงโดยคงไว้ซึ่งส่วนสำคัญของสร้อยประคำเท่านั้น ซึ่งก็คือส่วนที่เรียกว่าเศียรพระพุทธเจ้า เม็ดคั่น และเม็ดหลัก 18 เม็ด (ดูรูปสองบน) ตำแหน่งที่แขวนสร้อยประคำมือเป็นเครื่องประดับนั้น หากเป็นเสื้อสาบเฉียงให้ห้อยไว้ทางด้านขวา หากเป็นสาบตรงให้ห้อยไว้ที่กระดุมเม็ดที่สองข้างหน้า ใครตามละครเรื่องราวในวังยุคสมัยราชวงศ์ชิงอยู่ลองสังเกตดูนะคะ Storyฯ เห็นอยู่ในหลายเรื่องเลย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/491583437_515879 https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html https://m.xing73.com/zt/yiL5Lmo5Q2a5Q_o5p_I6Q2a5rWY5B2Y5.html https://kknews.cc/culture/6er9xv.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://new.qq.com/omn/20191012/20191012A0N7RC00.html https://www.sohu.com/a/249960097_105772 https://kknews.cc/collect/q5k3bvb.html https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html https://www.baanjomyut.com/pratripidok/41.html #กระดูกงดงาม #สร้อยประคำมือ #สือปาจื่อ #ผัสสะ #เครื่องแต่งกายสตรีจีนโบราณ #ราชวงศ์ชิง
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 242 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับวลีรักคลาสสิกที่ได้ยินกันบ่อยในหลายละครและนิยายจีน

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ความหมายของโคมไฟใบเดียวนี้คือ ขอเพียงคนใจเดียว อีกทั้งยามนี้หิมะตกปกคลุมดูเหมือนศีรษะขาว รวมกันหมายถึง ปรารถนาคนใจเดียว เคียงข้างจนผมขาวมิร้างลา” จื่อจ๊านกล่าวต่อตี้ซวี่...
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ไข่มุกเคียงบัลลังก์> (Storyฯ แปลเองจ้า)

    วลี ‘ขอเพียงคนใจเดียว ผมขาวไม่ร้างลา’ (愿得一心人,白头不相离) นี้ยกมาจากบทกวีที่ชื่อว่า ‘ป๋ายโถวอิ๋น’ (白头吟 /ลำนำผมขาว) ซึ่งกล่าวขานว่าเป็นบทประพันธ์ของจั๋วเหวินจวิน แต่มีคนเคยตั้งข้อสังเกตว่าดูจากสไตล์ภาษาแล้วไม่น่าจะใช่ อีกทั้งบทกวีนี้เมื่อแรกปรากฏในบันทึกที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งนั้น ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง

    จั๋วเหวินจวินคือใคร เพื่อนเพจคุ้นชื่อนี้บ้างหรือไม่? เธอถูกยกย่องเป็น “ไฉหนี่ว์” (คือหญิงที่มากด้วยพรสวรรค์) ที่เลื่องชื่อด้านโคลงกลอนและพิณ เป็นผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจของการวาดคิ้วแบบ ‘หย่วนซานเหมย’ ยอดนิยม (ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเกี่ยวกับการเขียนคิ้ว) และเพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นชื่อของเธอจากเรื่องราวของเพลงหงษ์วอนหาคู่ เพราะเธอคือภรรยาของซือหม่าเซียงหรู (กวีเอกสมัยราชวงศ์ฮั่น เจ้าของบทประพันธ์ซ่างหลินฟู่ที่ Storyฯ เคยเขียนถึง)

    ‘ลำนำผมขาว’ เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวความรักระหว่างจั๋วเหวินจวินและซือหม่าเซียงหรูนั่นเอง

    ตำนานรักของเขามีอยู่ว่า ซือหม่าเซียงหรูสมัยที่ยังเป็นบัณฑิตไส้แห้ง ได้บรรเลงเพลงพิณหงส์วอนหาคู่ เป็นที่ต้องตาต้องใจของจั๋วเหวินจวินซึ่งเป็นลูกสาวของมหาเศรษฐี จนเธอหนีตามเขาไป ทั้งสองคนเปิดร้านเหล้าช่วยกันทำมาหากินอย่างยากลำบาก จนในที่สุดจั๋วหวางซุนผู้เป็นพ่อก็ใจอ่อน ยกที่และเงินจำนวนไม่น้อยรับขวัญลูกเขยคนนี้

    ต่อมาซือหม่าเซียงหรูเข้ารับราชการจนเติบใหญ่ได้ดีอยู่ในเมืองหลวง ในขณะที่จั๋วเหวินจวินยังอยู่ที่บ้านเกิด อยู่มาวันหนึ่งเธอได้ยินข่าวว่าเขาอยากจะแต่งอนุภรรยา เธอเสียใจมากและยอมรับไม่ได้ เลยแต่งบทกวีนี้ส่งให้เขาเพื่อกล่าวตัดสัมพันธ์

    มีคน ‘ถอดรหัส’บทกวีนี้ Storyฯ เลยเอามาแปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายๆ... รักของเรานั้นเคยบริสุทธิ์ดุจหิมะขาวบนยอดเขา ดุจดวงจันทร์กลางกลีบเมฆ ครั้นได้ยินว่าท่านมีรักใหม่ ข้าจึงจะจบเรื่องราวของเรา วันนี้เราร่วมดื่มสุราเป็นครั้งสุดท้าย วันพรุ่งก็ทางใครทางมัน แรกเริ่มที่ข้าติดตามท่านนั้น ชีวิตยากลำบาก ทว่าตั้งแต่แต่งงานมาก็ไม่เคยบ่น ขอเพียงมีคนใจเดียวอยู่ด้วยกันจนผมขาวไม่ร้างลา มีรักหวานชื่น อันชายนั้นควรหนักแน่นกับความสัมพันธ์ ความรักเมื่อสูญหายแล้ว เงินทองก็ชดเชยให้ไม่ได้ (บทกวีฉบับจีนดูได้จากในรูป)

    ว่ากันว่า ซือหม่าเซียงหรูเมื่ออ่านบทกวีนี้ก็รำลึกถึงความรักที่เคยมีและวันเวลาที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา และเปลี่ยนใจไม่แต่งงานใหม่ จวบจนบั้นปลายชีวิตก็มีจั๋วเหวินจวินเพียงคนเดียว

    บทกวีลำนำผมขาวนี้โด่งดังมาตลอด เพราะมุมมองที่ให้ความสำคัญของผัวเดียวเมียเดียวในยุคสมัยที่มีค่านิยมว่าชายมีเมียได้หลายคน และเป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดอันเด็ดเดี่ยวของสตรี

    วลี ‘ขอเพียงคนใจเดียว ผมขาวไม่ร้างลา’ นี้จึงกลายมาเป็นคำบอกรักยอดนิยมเพื่อสะท้อนถึงรักที่มั่นคงไม่ผันแปร แม้ที่มาจะเศร้าไปหน่อย แต่ก็จบลงด้วยดี

    แต่ปัจจุบันมีคนนำไปเขียนเพี้ยนไปก็มี จุดที่เพี้ยนหลักคือการสลับอักษรจาก ‘คนใจเดียว’( 一心人) ไปเป็น ‘ใจรักจากคนคนหนึ่ง’ (一人心) .... สลับอักษรแล้วความหมายแตกต่างมากเลย เพื่อนเพจว่าไหม?

    สุขสันต์วันวาเลนไทน์ย้อนหลังค่ะ

    หมายเหตุ 1: ‘ลำนำผมขาว’ เป็นชื่อที่แปลโดยคุณกนกพร นุ่มทอง จากหนังสือ < 100 ยอดหญิงแห่งประวัติศาสตร์จีน> แต่ Storyฯ แปลฉบับ ‘ถอดรหัส’ ให้ตามข้างต้นเพื่อความง่ายในการเข้าใจ
    หมายเหตุ 2: คำว่า ‘อิ๋น’ ในชื่อของบทกวีนี้ จริงๆ แล้วมีความหมายหลากหลาย รวมถึงเสียงร้องเพรียกของนก หรือการอ่านแบบมีจังหวะจะโคน หรือเสียงถอนหายใจ โดยส่วนตัว Storyฯ คิดว่าจริงๆ แล้วน่าจะหมายถึงเสียงถอนหายใจในบริบทนี้ แต่... ขอใช้ตามที่มีคนเคยแปลไว้ว่า ‘ลำนำผมขาว’ เผื่อเพื่อนเพจที่เคยผ่านตาบทกวีนี้จะได้ไม่สับสน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก: https://www.hk01.com/即時娛樂/705041/斛珠夫人-陳小紜曬素顏樣盡現氣質-曾承認整容將近十次非常痛
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.chinatoday.com.cn/zw2018/bktg/202104/t20210407_800242850.html
    http://www.exam58.com/gushi/4582.html
    https://www.sohu.com/a/402043209_99929216
    https://baike.baidu.com/item/白头吟/6866957

    #ไข่มุกเคียงบัลลังก์ #ป๋ายโถวอิ๋น #ลำนำผมขาว #กวีจีนโบราณ #จั๋วเหวินจวิน #ซือหม่าเซียงหรู
    วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับวลีรักคลาสสิกที่ได้ยินกันบ่อยในหลายละครและนิยายจีน ความมีอยู่ว่า ... “ความหมายของโคมไฟใบเดียวนี้คือ ขอเพียงคนใจเดียว อีกทั้งยามนี้หิมะตกปกคลุมดูเหมือนศีรษะขาว รวมกันหมายถึง ปรารถนาคนใจเดียว เคียงข้างจนผมขาวมิร้างลา” จื่อจ๊านกล่าวต่อตี้ซวี่... - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ไข่มุกเคียงบัลลังก์> (Storyฯ แปลเองจ้า) วลี ‘ขอเพียงคนใจเดียว ผมขาวไม่ร้างลา’ (愿得一心人,白头不相离) นี้ยกมาจากบทกวีที่ชื่อว่า ‘ป๋ายโถวอิ๋น’ (白头吟 /ลำนำผมขาว) ซึ่งกล่าวขานว่าเป็นบทประพันธ์ของจั๋วเหวินจวิน แต่มีคนเคยตั้งข้อสังเกตว่าดูจากสไตล์ภาษาแล้วไม่น่าจะใช่ อีกทั้งบทกวีนี้เมื่อแรกปรากฏในบันทึกที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งนั้น ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง จั๋วเหวินจวินคือใคร เพื่อนเพจคุ้นชื่อนี้บ้างหรือไม่? เธอถูกยกย่องเป็น “ไฉหนี่ว์” (คือหญิงที่มากด้วยพรสวรรค์) ที่เลื่องชื่อด้านโคลงกลอนและพิณ เป็นผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจของการวาดคิ้วแบบ ‘หย่วนซานเหมย’ ยอดนิยม (ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเกี่ยวกับการเขียนคิ้ว) และเพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นชื่อของเธอจากเรื่องราวของเพลงหงษ์วอนหาคู่ เพราะเธอคือภรรยาของซือหม่าเซียงหรู (กวีเอกสมัยราชวงศ์ฮั่น เจ้าของบทประพันธ์ซ่างหลินฟู่ที่ Storyฯ เคยเขียนถึง) ‘ลำนำผมขาว’ เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวความรักระหว่างจั๋วเหวินจวินและซือหม่าเซียงหรูนั่นเอง ตำนานรักของเขามีอยู่ว่า ซือหม่าเซียงหรูสมัยที่ยังเป็นบัณฑิตไส้แห้ง ได้บรรเลงเพลงพิณหงส์วอนหาคู่ เป็นที่ต้องตาต้องใจของจั๋วเหวินจวินซึ่งเป็นลูกสาวของมหาเศรษฐี จนเธอหนีตามเขาไป ทั้งสองคนเปิดร้านเหล้าช่วยกันทำมาหากินอย่างยากลำบาก จนในที่สุดจั๋วหวางซุนผู้เป็นพ่อก็ใจอ่อน ยกที่และเงินจำนวนไม่น้อยรับขวัญลูกเขยคนนี้ ต่อมาซือหม่าเซียงหรูเข้ารับราชการจนเติบใหญ่ได้ดีอยู่ในเมืองหลวง ในขณะที่จั๋วเหวินจวินยังอยู่ที่บ้านเกิด อยู่มาวันหนึ่งเธอได้ยินข่าวว่าเขาอยากจะแต่งอนุภรรยา เธอเสียใจมากและยอมรับไม่ได้ เลยแต่งบทกวีนี้ส่งให้เขาเพื่อกล่าวตัดสัมพันธ์ มีคน ‘ถอดรหัส’บทกวีนี้ Storyฯ เลยเอามาแปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายๆ... รักของเรานั้นเคยบริสุทธิ์ดุจหิมะขาวบนยอดเขา ดุจดวงจันทร์กลางกลีบเมฆ ครั้นได้ยินว่าท่านมีรักใหม่ ข้าจึงจะจบเรื่องราวของเรา วันนี้เราร่วมดื่มสุราเป็นครั้งสุดท้าย วันพรุ่งก็ทางใครทางมัน แรกเริ่มที่ข้าติดตามท่านนั้น ชีวิตยากลำบาก ทว่าตั้งแต่แต่งงานมาก็ไม่เคยบ่น ขอเพียงมีคนใจเดียวอยู่ด้วยกันจนผมขาวไม่ร้างลา มีรักหวานชื่น อันชายนั้นควรหนักแน่นกับความสัมพันธ์ ความรักเมื่อสูญหายแล้ว เงินทองก็ชดเชยให้ไม่ได้ (บทกวีฉบับจีนดูได้จากในรูป) ว่ากันว่า ซือหม่าเซียงหรูเมื่ออ่านบทกวีนี้ก็รำลึกถึงความรักที่เคยมีและวันเวลาที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา และเปลี่ยนใจไม่แต่งงานใหม่ จวบจนบั้นปลายชีวิตก็มีจั๋วเหวินจวินเพียงคนเดียว บทกวีลำนำผมขาวนี้โด่งดังมาตลอด เพราะมุมมองที่ให้ความสำคัญของผัวเดียวเมียเดียวในยุคสมัยที่มีค่านิยมว่าชายมีเมียได้หลายคน และเป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดอันเด็ดเดี่ยวของสตรี วลี ‘ขอเพียงคนใจเดียว ผมขาวไม่ร้างลา’ นี้จึงกลายมาเป็นคำบอกรักยอดนิยมเพื่อสะท้อนถึงรักที่มั่นคงไม่ผันแปร แม้ที่มาจะเศร้าไปหน่อย แต่ก็จบลงด้วยดี แต่ปัจจุบันมีคนนำไปเขียนเพี้ยนไปก็มี จุดที่เพี้ยนหลักคือการสลับอักษรจาก ‘คนใจเดียว’( 一心人) ไปเป็น ‘ใจรักจากคนคนหนึ่ง’ (一人心) .... สลับอักษรแล้วความหมายแตกต่างมากเลย เพื่อนเพจว่าไหม? สุขสันต์วันวาเลนไทน์ย้อนหลังค่ะ หมายเหตุ 1: ‘ลำนำผมขาว’ เป็นชื่อที่แปลโดยคุณกนกพร นุ่มทอง จากหนังสือ < 100 ยอดหญิงแห่งประวัติศาสตร์จีน> แต่ Storyฯ แปลฉบับ ‘ถอดรหัส’ ให้ตามข้างต้นเพื่อความง่ายในการเข้าใจ หมายเหตุ 2: คำว่า ‘อิ๋น’ ในชื่อของบทกวีนี้ จริงๆ แล้วมีความหมายหลากหลาย รวมถึงเสียงร้องเพรียกของนก หรือการอ่านแบบมีจังหวะจะโคน หรือเสียงถอนหายใจ โดยส่วนตัว Storyฯ คิดว่าจริงๆ แล้วน่าจะหมายถึงเสียงถอนหายใจในบริบทนี้ แต่... ขอใช้ตามที่มีคนเคยแปลไว้ว่า ‘ลำนำผมขาว’ เผื่อเพื่อนเพจที่เคยผ่านตาบทกวีนี้จะได้ไม่สับสน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.hk01.com/即時娛樂/705041/斛珠夫人-陳小紜曬素顏樣盡現氣質-曾承認整容將近十次非常痛 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.chinatoday.com.cn/zw2018/bktg/202104/t20210407_800242850.html http://www.exam58.com/gushi/4582.html https://www.sohu.com/a/402043209_99929216 https://baike.baidu.com/item/白头吟/6866957 #ไข่มุกเคียงบัลลังก์ #ป๋ายโถวอิ๋น #ลำนำผมขาว #กวีจีนโบราณ #จั๋วเหวินจวิน #ซือหม่าเซียงหรู
    WWW.HK01.COM
    香港01|hk01.com 倡議型媒體
    香港01是一家互聯網企業,核心業務為倡議型媒體,主要傳播平台是手機應用程式和網站。企業研發各種互動數碼平台,開發由知識與科技帶動的多元化生活。
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 360 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึงเงื่อนจีนหรือ ‘จงกั๋วเจี๋ย’ ซึ่งคำว่าเงื่อนหรือ ‘เจี๋ย’ นั้น ในความหมายจีนแปลได้อีกว่าความผูกพันหรือความเชื่อมโยงหรือความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน และถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของงานโอลิมปิกฤดูหนาว 2022

    เพื่อนเพจแฟนละครหรือนิยายจีนต้องเคยได้ยินคำว่า ‘เจี๋ย’ นี้ถูกนำมาใช้สื่อความหมายเกี่ยวกับความรักรวมถึงเงื่อนจีนที่ถูกใช้เป็นตัวแทนแห่งความรัก วันนี้เรามาคุยกันถึงวลีจีนเกี่ยวกับ ‘เจี๋ย’ และความหมายของมัน

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ตราบแต่นี้ไป ข้าก็เป็นภรรยาผูกปมผมของท่านแล้ว สองเราจะไม่ทอดทิ้งกัน ติดตามกันไปตราบจนชีวิตจะหาไม่” เล่อเยียนยิ้มกล่าว...
    - ถอดบทสนทนาจากละคร <สตรีหาญฉางเกอ> (Storyฯ แปลเองจ้า)

    คำแปลข้างบนอาจฟังดูงง คำว่า ‘ผูกปมผม’ (เจี๋ยฟ่า / 结发) หมายถึงอะไร? ในเรื่อง <สตรีหาญฉางเกอ> มีฉากที่ฮ่าวตู (เจ้าบ่าว) คลายเชือกหลากสีที่มัดอยู่ที่มวยผมของเล่อเยียน (เจ้าสาว) แล้วต่างคนต่างตัดปอยผมมารวมกันเอาเชือกนั้นผูกไว้ (ดูภาพประกอบที่ดึงมาจากในละคร) นี่คือการ ‘ผูกปมผม’ ซึ่งเป็นหนึ่งในพิธีการเข้าหอของคู่บ่าวสาวหลังจากเกี่ยวก้อยกันดื่มสุรามงคลแล้ว

    เริ่มกันที่การปลดเชือก เชือกหลากสีที่เห็นนี้ มีชื่อเรียกว่า ‘อิง’ สตรีที่ได้รับการหมั้นหมายแล้วจะต้องผูกเชือกนี้ไว้ที่มวยผม ตราบจนวันแต่งงานเข้าหอแล้วมีเพียงเจ้าบ่าวที่สามารถปลดเชือกนี้ได้ การทำอย่างนี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (1047 – 772 ปีก่อนคริสตกาล) ปรากฏในบันทึกพิธีการการแต่งงาน (仪礼·土昏礼 ซึ่งเป็นบันทึกเดียวกับที่กล่าวถึง ‘หกพิธีการ’/六礼 ของงานแต่งงานที่เพื่อนเพจอาจเคยผ่านหู) บันทึกนี้เป็นหนึ่งในสามบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดของจีนเกี่ยวกับเรื่องประเพณีและพิธีการ แต่... บันทึกนี้ไม่ได้กล่าวถึงการผูกปมผม

    พิธีการผูกปมผมเริ่มแต่เมื่อใดไม่ปรากฏบันทึกที่ชัดเจน แต่บทกวีในสมัยราชวงศ์ฮั่นที่ประพันธ์โดยซูอู่ (140 - 60 ปีก่อนคริสตกาล) มีวรรคนี้ปรากฏ “ผูกปมผมเป็นสามีภรรยา รักกันไม่เคลือบแคลงใจ” (结发为夫妻,恩爱两不疑) ดังนั้นการเอาปอยผมมามัดเข้ากันนี้มีแล้วในสมัยราชวงศ์ฮั่น และวลีนี้เป็นอีกหนึ่งวลีคลาสสิกที่ใช้กล่าวถึงความรักที่มั่นคง

    แต่มันมีความหมายมากกว่านั้นค่ะ

    ในธรรมเนียมจีนโบราณ จะมีเพียงภรรยาเอกคนเดียวที่มีการกราบไหว้ฟ้าดินแล้วส่งตัวเข้าห้องหอ ส่วนอนุทั้งหลายจะเพียงแต่รับตัวเข้ามาเข้าห้องเลย ดังนั้นคำว่า ‘ภรรยาผูกปมผม’ ในบางบริบทไม่ใช่หมายถึงรักเดียว แต่อาจหมายถึงภรรยาที่แต่งเข้ามาเป็นคนแรกก็ได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/366760262
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.epochtimes.com/gb/20/10/19/n12485542.htm
    https://baike.sogou.com/v168462018.htm
    https://www.pinshiwen.com/gsdq/aqsc/20190711144812.html

    #สตรีหาญฉางเกอ #ฮ่าวตูเล่อเยียน #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #ผูกปมผม #เจี๋ยฟ่า #เจี๋ยฝ้า
    สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึงเงื่อนจีนหรือ ‘จงกั๋วเจี๋ย’ ซึ่งคำว่าเงื่อนหรือ ‘เจี๋ย’ นั้น ในความหมายจีนแปลได้อีกว่าความผูกพันหรือความเชื่อมโยงหรือความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน และถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของงานโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 เพื่อนเพจแฟนละครหรือนิยายจีนต้องเคยได้ยินคำว่า ‘เจี๋ย’ นี้ถูกนำมาใช้สื่อความหมายเกี่ยวกับความรักรวมถึงเงื่อนจีนที่ถูกใช้เป็นตัวแทนแห่งความรัก วันนี้เรามาคุยกันถึงวลีจีนเกี่ยวกับ ‘เจี๋ย’ และความหมายของมัน ความมีอยู่ว่า ... “ตราบแต่นี้ไป ข้าก็เป็นภรรยาผูกปมผมของท่านแล้ว สองเราจะไม่ทอดทิ้งกัน ติดตามกันไปตราบจนชีวิตจะหาไม่” เล่อเยียนยิ้มกล่าว... - ถอดบทสนทนาจากละคร <สตรีหาญฉางเกอ> (Storyฯ แปลเองจ้า) คำแปลข้างบนอาจฟังดูงง คำว่า ‘ผูกปมผม’ (เจี๋ยฟ่า / 结发) หมายถึงอะไร? ในเรื่อง <สตรีหาญฉางเกอ> มีฉากที่ฮ่าวตู (เจ้าบ่าว) คลายเชือกหลากสีที่มัดอยู่ที่มวยผมของเล่อเยียน (เจ้าสาว) แล้วต่างคนต่างตัดปอยผมมารวมกันเอาเชือกนั้นผูกไว้ (ดูภาพประกอบที่ดึงมาจากในละคร) นี่คือการ ‘ผูกปมผม’ ซึ่งเป็นหนึ่งในพิธีการเข้าหอของคู่บ่าวสาวหลังจากเกี่ยวก้อยกันดื่มสุรามงคลแล้ว เริ่มกันที่การปลดเชือก เชือกหลากสีที่เห็นนี้ มีชื่อเรียกว่า ‘อิง’ สตรีที่ได้รับการหมั้นหมายแล้วจะต้องผูกเชือกนี้ไว้ที่มวยผม ตราบจนวันแต่งงานเข้าหอแล้วมีเพียงเจ้าบ่าวที่สามารถปลดเชือกนี้ได้ การทำอย่างนี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (1047 – 772 ปีก่อนคริสตกาล) ปรากฏในบันทึกพิธีการการแต่งงาน (仪礼·土昏礼 ซึ่งเป็นบันทึกเดียวกับที่กล่าวถึง ‘หกพิธีการ’/六礼 ของงานแต่งงานที่เพื่อนเพจอาจเคยผ่านหู) บันทึกนี้เป็นหนึ่งในสามบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดของจีนเกี่ยวกับเรื่องประเพณีและพิธีการ แต่... บันทึกนี้ไม่ได้กล่าวถึงการผูกปมผม พิธีการผูกปมผมเริ่มแต่เมื่อใดไม่ปรากฏบันทึกที่ชัดเจน แต่บทกวีในสมัยราชวงศ์ฮั่นที่ประพันธ์โดยซูอู่ (140 - 60 ปีก่อนคริสตกาล) มีวรรคนี้ปรากฏ “ผูกปมผมเป็นสามีภรรยา รักกันไม่เคลือบแคลงใจ” (结发为夫妻,恩爱两不疑) ดังนั้นการเอาปอยผมมามัดเข้ากันนี้มีแล้วในสมัยราชวงศ์ฮั่น และวลีนี้เป็นอีกหนึ่งวลีคลาสสิกที่ใช้กล่าวถึงความรักที่มั่นคง แต่มันมีความหมายมากกว่านั้นค่ะ ในธรรมเนียมจีนโบราณ จะมีเพียงภรรยาเอกคนเดียวที่มีการกราบไหว้ฟ้าดินแล้วส่งตัวเข้าห้องหอ ส่วนอนุทั้งหลายจะเพียงแต่รับตัวเข้ามาเข้าห้องเลย ดังนั้นคำว่า ‘ภรรยาผูกปมผม’ ในบางบริบทไม่ใช่หมายถึงรักเดียว แต่อาจหมายถึงภรรยาที่แต่งเข้ามาเป็นคนแรกก็ได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/366760262 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.epochtimes.com/gb/20/10/19/n12485542.htm https://baike.sogou.com/v168462018.htm https://www.pinshiwen.com/gsdq/aqsc/20190711144812.html #สตรีหาญฉางเกอ #ฮ่าวตูเล่อเยียน #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #ผูกปมผม #เจี๋ยฟ่า #เจี๋ยฝ้า
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 399 มุมมอง 0 รีวิว
  • แฟนละคร/นิยายจีนคงคุ้นเคยดีกับโครงเรื่องที่มีการชิงอำนาจทางการเมืองด้วยการจัดให้มีการแต่งงานระหว่างตระกูลดังกับเชื้อพระวงศ์ จนเกิดเป็นแรงกดดันมหาศาลให้กับตัวละครเอก บางคนอาจเคยบ่นว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’

    วันนี้ Storyฯ ยกตัวอย่างมาคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจ (เรียกรวมว่า สื้อเจีย / 世家)
    เป็นหนึ่งในตระกูลที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์ตอนต้นและกลางของจีนโบราณก็ว่าได้

    ความมีอยู่ว่า
    ....ตระกูลชุยจากชิงเหอรุ่นนี้ สายหลักของตระกูลมีนางเป็นบุตรีโทนแต่เพียงผู้เดียว ... และตระกูลชุยกำลังรุ่งเรือง นางยังอยู่ในท้องของมารดาก็ได้รับการหมั้นหมายให้กับองค์ชายรัชทายาทแล้ว....
    - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ชิงเหอคือพื้นที่ทางด้านเหนือของจีน (แถบเหอหนาน เหอเป่ยและซานตง) ในสมัยจีนตอนต้นมีสถานะเป็นแคว้นบ้างหรือรองลงมาเป็นจวิ้น (郡) บ้าง ซึ่งนับเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ มีหลายตระกูลดังในประวัติศาตร์จีนที่มาจากพื้นที่แถบนี้ หนึ่งในนั้นคือตระกูลชุย

    ตระกูลชุยมีรากฐานยาวนานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและรวมถึงชาวเผ่าพันธุ์อื่นที่หันมาใช้สกุลนี้ รับราชการในตำแหน่งสำคัญมาหลายยุคสมัย แตกมาเป็นสายที่เรียกว่า ‘ตระกูลชุยจากชิงเหอ’ ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) เมื่อชุยเหลียง (ทายาทรุ่นที่ 7) ได้รับการอวยยศเป็นโหวและได้รับพระราชทานเขตการปกครองชิงเหอนี้ และต่อมาตระกูลชุยจากชิงเหอมีแตกสายย่อยไปอีกรวมเป็นหกสาย

    ตระกูลชุยจากชิงเหอที่กล่าวถึงในละครข้างต้น ‘ไม่ธรรมดา’ แค่ไหน?

    ตระกูลชุยจากชิงเหอรับราชการระดับสูงต่อเนื่อง ผ่านร้อนผ่านหนาวแต่อยู่ยงคงกระพันมากว่า 700 ปี ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ในบรรดาสี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) และในสมัยราชวงศ์ถังก็เป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) อันเป็นตระกูลชั้นสูงที่ต่อมาถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างฐานอำนาจมากเกินไป

    มีคนจากตระกูลชุยจากชิงเหอนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) หรือตำแหน่งที่สูงคล้ายกันมากมายหลายรุ่น เฉพาะในสมัยราชวงศ์ถังที่ยาวนานเกือบสามร้อยปีก็มีถึง 12 คน (ถ้ารวมตระกูลชุยสายอื่นมีอีก 10 คน) มีจอหงวน 11 คน ยังไม่รวมที่รับราชการในตำแหน่งอื่น ที่กุมอำนาจทางการทหาร ที่เป็นผู้นำทางความคิด (นักปราชญ์ กวีชื่อดัง) และที่เป็นลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังในตำแหน่งต่างๆ อีกจำนวนไม่น้อย จวบจนสมัยซ่งใต้ ฐานอำนาจของตระกูลนี้จึงเสื่อมจางลงเหมือนกับตระกูลสื้อเจียอื่นๆ

    ทำไมต้องพูดถึงตระกูลชุยจากชิงเหอ? Storyฯ เล่าเป็นตัวอย่างของเหล่าตระกูลสื้อเจียค่ะ จากที่เคยคิดว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ แต่พอมาเห็นรากฐานของตระกูลสื้อเจียเหล่านี้ เราจะได้อรรถรสเลยว่า ‘ฐานอำนาจ’ ที่เขาพูดถึงกันนั้น มันหยั่งรากลึกแค่ไหน? เหตุใดตัวละครเอกมักรู้สึกถูกกดดันมากมาย? และเพราะเหตุใดมันจึงฝังรากลึกในวัฒนธรรมจีนโบราณ? เพราะมันไม่ใช่เรื่องของหนึ่งหรือสองชั่วอายุคน แต่เรากำลังพูดถึงฐานอำนาจหลายร้อยปีที่แทรกซึมเข้าไปในสังคมโดยมีประมุขใหญ่ของตระกูลในแต่ละรุ่นเป็นแกนนำสำคัญ

    Storyฯ หวังว่าเพื่อนๆ จะดูละครได้อรรถรสยิ่งขึ้นนะคะ ใครเห็นบทบาทของคนในตระกูลชุยในละครเรื่องอื่นใดอีกหรือหากนึกถึงตระกูลอื่นที่คล้ายคลึงก็เม้นท์มาได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/484438060_121051662
    https://www.sohu.com/a/485012584_100151502
    https://www.sohu.com/a/489015136_120827444

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/FNSTJKT60543BK4H.html
    https://new.qq.com/omn/20211021/20211021A09WBQ00.html
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_16209361
    https://www.baike.com/wiki/清河崔氏
    https://zh.wikipedia.org/wiki/清河崔氏

    #กระดูกงดงาม #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #สื้อเจีย
    แฟนละคร/นิยายจีนคงคุ้นเคยดีกับโครงเรื่องที่มีการชิงอำนาจทางการเมืองด้วยการจัดให้มีการแต่งงานระหว่างตระกูลดังกับเชื้อพระวงศ์ จนเกิดเป็นแรงกดดันมหาศาลให้กับตัวละครเอก บางคนอาจเคยบ่นว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ วันนี้ Storyฯ ยกตัวอย่างมาคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจ (เรียกรวมว่า สื้อเจีย / 世家) เป็นหนึ่งในตระกูลที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์ตอนต้นและกลางของจีนโบราณก็ว่าได้ ความมีอยู่ว่า ....ตระกูลชุยจากชิงเหอรุ่นนี้ สายหลักของตระกูลมีนางเป็นบุตรีโทนแต่เพียงผู้เดียว ... และตระกูลชุยกำลังรุ่งเรือง นางยังอยู่ในท้องของมารดาก็ได้รับการหมั้นหมายให้กับองค์ชายรัชทายาทแล้ว.... - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) ชิงเหอคือพื้นที่ทางด้านเหนือของจีน (แถบเหอหนาน เหอเป่ยและซานตง) ในสมัยจีนตอนต้นมีสถานะเป็นแคว้นบ้างหรือรองลงมาเป็นจวิ้น (郡) บ้าง ซึ่งนับเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ มีหลายตระกูลดังในประวัติศาตร์จีนที่มาจากพื้นที่แถบนี้ หนึ่งในนั้นคือตระกูลชุย ตระกูลชุยมีรากฐานยาวนานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและรวมถึงชาวเผ่าพันธุ์อื่นที่หันมาใช้สกุลนี้ รับราชการในตำแหน่งสำคัญมาหลายยุคสมัย แตกมาเป็นสายที่เรียกว่า ‘ตระกูลชุยจากชิงเหอ’ ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) เมื่อชุยเหลียง (ทายาทรุ่นที่ 7) ได้รับการอวยยศเป็นโหวและได้รับพระราชทานเขตการปกครองชิงเหอนี้ และต่อมาตระกูลชุยจากชิงเหอมีแตกสายย่อยไปอีกรวมเป็นหกสาย ตระกูลชุยจากชิงเหอที่กล่าวถึงในละครข้างต้น ‘ไม่ธรรมดา’ แค่ไหน? ตระกูลชุยจากชิงเหอรับราชการระดับสูงต่อเนื่อง ผ่านร้อนผ่านหนาวแต่อยู่ยงคงกระพันมากว่า 700 ปี ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ในบรรดาสี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) และในสมัยราชวงศ์ถังก็เป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) อันเป็นตระกูลชั้นสูงที่ต่อมาถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างฐานอำนาจมากเกินไป มีคนจากตระกูลชุยจากชิงเหอนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) หรือตำแหน่งที่สูงคล้ายกันมากมายหลายรุ่น เฉพาะในสมัยราชวงศ์ถังที่ยาวนานเกือบสามร้อยปีก็มีถึง 12 คน (ถ้ารวมตระกูลชุยสายอื่นมีอีก 10 คน) มีจอหงวน 11 คน ยังไม่รวมที่รับราชการในตำแหน่งอื่น ที่กุมอำนาจทางการทหาร ที่เป็นผู้นำทางความคิด (นักปราชญ์ กวีชื่อดัง) และที่เป็นลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังในตำแหน่งต่างๆ อีกจำนวนไม่น้อย จวบจนสมัยซ่งใต้ ฐานอำนาจของตระกูลนี้จึงเสื่อมจางลงเหมือนกับตระกูลสื้อเจียอื่นๆ ทำไมต้องพูดถึงตระกูลชุยจากชิงเหอ? Storyฯ เล่าเป็นตัวอย่างของเหล่าตระกูลสื้อเจียค่ะ จากที่เคยคิดว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ แต่พอมาเห็นรากฐานของตระกูลสื้อเจียเหล่านี้ เราจะได้อรรถรสเลยว่า ‘ฐานอำนาจ’ ที่เขาพูดถึงกันนั้น มันหยั่งรากลึกแค่ไหน? เหตุใดตัวละครเอกมักรู้สึกถูกกดดันมากมาย? และเพราะเหตุใดมันจึงฝังรากลึกในวัฒนธรรมจีนโบราณ? เพราะมันไม่ใช่เรื่องของหนึ่งหรือสองชั่วอายุคน แต่เรากำลังพูดถึงฐานอำนาจหลายร้อยปีที่แทรกซึมเข้าไปในสังคมโดยมีประมุขใหญ่ของตระกูลในแต่ละรุ่นเป็นแกนนำสำคัญ Storyฯ หวังว่าเพื่อนๆ จะดูละครได้อรรถรสยิ่งขึ้นนะคะ ใครเห็นบทบาทของคนในตระกูลชุยในละครเรื่องอื่นใดอีกหรือหากนึกถึงตระกูลอื่นที่คล้ายคลึงก็เม้นท์มาได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/484438060_121051662 https://www.sohu.com/a/485012584_100151502 https://www.sohu.com/a/489015136_120827444 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/FNSTJKT60543BK4H.html https://new.qq.com/omn/20211021/20211021A09WBQ00.html https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_16209361 https://www.baike.com/wiki/清河崔氏 https://zh.wikipedia.org/wiki/清河崔氏 #กระดูกงดงาม #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #สื้อเจีย
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 320 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้คุยกันต่อเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจหรือที่เรียกรวมว่า ‘สื้อเจีย’ (世家) ซึ่งอยู่ยงคงกระพันคู่กับจีนโบราณเป็นร้อยเป็นพันปี ก่อนหน้านี้เล่าว่า สี่ตระกูลใหญ่ในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือคือ ชุยแห่งชิงเหอ หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และหวางแห่งไท่หยวน

    แต่อย่างที่ Storyฯ กล่าวไว้สัปดาห์ที่แล้ว พอมาถึงราชวงศ์ถังมีการพูดถึง ‘ห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย’ (五姓七族 หรือ 五姓七望) ซึ่งรวมถึงตระกูลหวาง แต่บ้างว่าเป็นสายไท่หยวน บ้างว่าเป็นสายหลางหยา

    เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนต้องเคยได้ยินชื่อตระกูลหวางสายหลางหยานี้จากละครและนิยายหลายเรื่อง (เช่นตัวอย่างจากละครเรื่อง <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์>) และคง ‘เอ๊ะ’ ว่าต่างกันอย่างไร

    หลังจากไปทำการบ้านมา Storyฯ พบว่าข้อมูลค่อนข้างสับสนและมีความขัดแย้งกันตรงที่ว่า มีหลายการวิเคราะห์บอกว่าทั้งสองสายนี้คือสายเดียวกัน แต่ก็มีบ้างที่พยายามจะจำแนกแยกจากกันให้ชัด แต่ Storyฯ คิดว่าเราคงไม่ได้ต้องการมาลำดับพงศาวลีของเขากัน เลยสรุปให้ฟังพอหอมปากหอมคอดังนี้ค่ะ

    ทั้งสองสายของตระกูลหวางนี้มีรากเหง้าเดียวกันคือสืบเชื้อสายมาจากองค์ชายรัชทายาทจิ้นหรือ ‘หวางจื่อจิ้น’ แห่งราชวงศ์โจวตะวันออก (ประมาณปี 576-546 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งภายหลังจากถูกริบฐานันดรศักดิ์ได้ใช้สกุลหวาง ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฉินมีทายาทของสายนี้คือแม่ทัพ ‘หวางหลี’ ที่โด่งดัง สายไท่หยวนมาจากลูกชายคนโตของแม่ทัพหวางหลีนี้ และสายหลางหยามาจากลูกชายคนรองซึ่งในตอนกลียุคช่วงปลายฉินได้ย้ายไปตั้งรกรากอยู่ที่เขตการปกครองหลางหยาจวิ้น และเนื่องจากต้นตอของคนที่ใช้สกุลหวางมีมากกว่าสายหวางจื่อจิ้นนี้ ดังนั้นในสมัยราชวงศ์ถังมีการกล่าวถึง ‘ชนรุ่นหลังของหวางจื่อจิ้น’ ทำให้ตีความได้ว่าในยุคนั้นมองทั้งสายไท่หยวนและสายหลางหยาเป็นก๊วนเดียวกัน

    ห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายในสมัยถังมีใครบ้าง?

    นอกจากหวางแห่งหลางหยา/ไท่หยวน ก็มีสื้อเจียจากสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือคือ ชุยแห่งชิงเหอ หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และมีเพิ่มเติมมาคือ ชุยแห่งป๋อหลิง (博陵崔氏) หลี่แห่งหลงซี (陇西李氏) หลี่แห่งเจ้าจวิ้น (赵郡李氏)

    ตระกูลชุยสายป๋อหลิงแม้ไม่เรืองอำนาจเท่าสายชิงเหอในสมัยเว่ยเหนือแต่ก็จัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่ง ‘สายแข็ง’ ของตระกูลชุย ฐานอำนาจเข้มแข็งขึ้นในสมัยราชวงศ์โจวเหนือ (ปีค.ศ. 557 – 581) พื้นเพเดิมมาจากทางเหนือแต่เป็นสายที่ปกครองพื้นที่อันผิงและแตกสกุลมาจากสกุลเจียงเหมือนกัน

    ส่วนตระกูลหลี่ทั้งสองสายนั้นมีต้นตระกูลที่มีชื่อเสียงมาแล้วหลายร้อยปีเช่นกัน มีผลงานโดดเด่นในการช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) ในรัชสมัยขององค์ถังไท่จงหรือหลี่ซื่อหมิน (ค.ศ. 626-649) ทรงเห็นว่าขุนนางใหญ่ให้ความสำคัญกับการแต่งงานในสื้อเจียด้วยกันจนถึงขนาดปฏิเสธที่จะแต่งงานกับองค์หญิงองค์ชาย และทรงมองว่าราชสกุลหลี่ไม่ควรน้อยหน้า จึงได้โปรดเกล้าให้จัดทำลำดับตระกูลขึ้นใหม่ในบันทึก ‘ซื่อจู๋จื้อ” (氏族志) โดยให้ตระกูลหลี่แห่งหลงซีขึ้นรั้งลำดับแรก

    ต่อมาในรัชสมัยองค์ถังเกาจง (ค.ศ. 649-683) ทรงบัญญัติห้ามคนในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายนี้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้ฐานอำนาจของเหล่าขุนนางมีมากเกินไป (หมายเหตุ บ้างก็เรียกเป็น ‘เจ็ดสกุลสิบเชื้อสาย’ เนื่องจากมีการระบุรายนามข้าราชการระดับสูงทั้งหมดสิบคน แต่จริงๆ แล้วล้วนเป็นเชื้อสายของห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายที่กล่าวถึงข้างต้น)

    แน่นอนว่าในยุคสมัยต่างๆ อาจมีการจัดอันดับ Top 4 หรือ Top 5 ที่แตกต่างกันไปบ้าง ตระกูลอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงและถูกเรียกรวมเป็นสื้อเจียยังมีอีก เช่น เซียว เซี่ย เป็นต้น

    จบเรื่องราวของตระกูลสื้อเจียแต่เพียงเท่านี้ เพื่อนๆ ที่ดูละครสมัยราชวงศ์ถังหรือก่อนหน้านั้น ลองสังเกตหาสกุลเหล่านี้ดูนะคะว่าเขาพยายามชิงอำนาจหรือรวมพลังกันอย่างไร

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.zhuijudashi.com/guocanju/shangyangfu/
    https://www.jiapu.tv/tuteng/056/. https://3g.jiapu.tv/tuteng/001/, https://3g.jiapu.tv/tuteng/052/, https://www.jiapu.tv/tuteng/002/, https://www.jiapu.tv/tuteng/021/

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.samrugs.com/shijiezhizui/zhongguo/60003.html
    https://kknews.cc/other/5o6qb9l.html
    https://baike.baidu.com/item/七姓十家/10749857
    https://baike.baidu.com/item/五姓七族/5225652
    https://baike.baidu.com/item/博陵崔氏/6585465
    http://www.zhuda6.com/new/a29ad5c1eb7d44dc89bd3c263112c1b2.html

    #ซ่างหยาง #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #ตระกูลหลู #สกุลหลู #ตระกูลเจิ้ง #สกุลเจิ้ง #ตระกูลหวาง #สกุลหวาง #ตระกูลหลี่ #สกุลหลี่ #สื้อเจีย #ห้าสกุลราชวงศ์ถัง #ห้าสกุลราชวงศ์เว่ย
    วันนี้คุยกันต่อเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจหรือที่เรียกรวมว่า ‘สื้อเจีย’ (世家) ซึ่งอยู่ยงคงกระพันคู่กับจีนโบราณเป็นร้อยเป็นพันปี ก่อนหน้านี้เล่าว่า สี่ตระกูลใหญ่ในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือคือ ชุยแห่งชิงเหอ หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และหวางแห่งไท่หยวน แต่อย่างที่ Storyฯ กล่าวไว้สัปดาห์ที่แล้ว พอมาถึงราชวงศ์ถังมีการพูดถึง ‘ห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย’ (五姓七族 หรือ 五姓七望) ซึ่งรวมถึงตระกูลหวาง แต่บ้างว่าเป็นสายไท่หยวน บ้างว่าเป็นสายหลางหยา เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนต้องเคยได้ยินชื่อตระกูลหวางสายหลางหยานี้จากละครและนิยายหลายเรื่อง (เช่นตัวอย่างจากละครเรื่อง <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์>) และคง ‘เอ๊ะ’ ว่าต่างกันอย่างไร หลังจากไปทำการบ้านมา Storyฯ พบว่าข้อมูลค่อนข้างสับสนและมีความขัดแย้งกันตรงที่ว่า มีหลายการวิเคราะห์บอกว่าทั้งสองสายนี้คือสายเดียวกัน แต่ก็มีบ้างที่พยายามจะจำแนกแยกจากกันให้ชัด แต่ Storyฯ คิดว่าเราคงไม่ได้ต้องการมาลำดับพงศาวลีของเขากัน เลยสรุปให้ฟังพอหอมปากหอมคอดังนี้ค่ะ ทั้งสองสายของตระกูลหวางนี้มีรากเหง้าเดียวกันคือสืบเชื้อสายมาจากองค์ชายรัชทายาทจิ้นหรือ ‘หวางจื่อจิ้น’ แห่งราชวงศ์โจวตะวันออก (ประมาณปี 576-546 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งภายหลังจากถูกริบฐานันดรศักดิ์ได้ใช้สกุลหวาง ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฉินมีทายาทของสายนี้คือแม่ทัพ ‘หวางหลี’ ที่โด่งดัง สายไท่หยวนมาจากลูกชายคนโตของแม่ทัพหวางหลีนี้ และสายหลางหยามาจากลูกชายคนรองซึ่งในตอนกลียุคช่วงปลายฉินได้ย้ายไปตั้งรกรากอยู่ที่เขตการปกครองหลางหยาจวิ้น และเนื่องจากต้นตอของคนที่ใช้สกุลหวางมีมากกว่าสายหวางจื่อจิ้นนี้ ดังนั้นในสมัยราชวงศ์ถังมีการกล่าวถึง ‘ชนรุ่นหลังของหวางจื่อจิ้น’ ทำให้ตีความได้ว่าในยุคนั้นมองทั้งสายไท่หยวนและสายหลางหยาเป็นก๊วนเดียวกัน ห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายในสมัยถังมีใครบ้าง? นอกจากหวางแห่งหลางหยา/ไท่หยวน ก็มีสื้อเจียจากสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือคือ ชุยแห่งชิงเหอ หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และมีเพิ่มเติมมาคือ ชุยแห่งป๋อหลิง (博陵崔氏) หลี่แห่งหลงซี (陇西李氏) หลี่แห่งเจ้าจวิ้น (赵郡李氏) ตระกูลชุยสายป๋อหลิงแม้ไม่เรืองอำนาจเท่าสายชิงเหอในสมัยเว่ยเหนือแต่ก็จัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่ง ‘สายแข็ง’ ของตระกูลชุย ฐานอำนาจเข้มแข็งขึ้นในสมัยราชวงศ์โจวเหนือ (ปีค.ศ. 557 – 581) พื้นเพเดิมมาจากทางเหนือแต่เป็นสายที่ปกครองพื้นที่อันผิงและแตกสกุลมาจากสกุลเจียงเหมือนกัน ส่วนตระกูลหลี่ทั้งสองสายนั้นมีต้นตระกูลที่มีชื่อเสียงมาแล้วหลายร้อยปีเช่นกัน มีผลงานโดดเด่นในการช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) ในรัชสมัยขององค์ถังไท่จงหรือหลี่ซื่อหมิน (ค.ศ. 626-649) ทรงเห็นว่าขุนนางใหญ่ให้ความสำคัญกับการแต่งงานในสื้อเจียด้วยกันจนถึงขนาดปฏิเสธที่จะแต่งงานกับองค์หญิงองค์ชาย และทรงมองว่าราชสกุลหลี่ไม่ควรน้อยหน้า จึงได้โปรดเกล้าให้จัดทำลำดับตระกูลขึ้นใหม่ในบันทึก ‘ซื่อจู๋จื้อ” (氏族志) โดยให้ตระกูลหลี่แห่งหลงซีขึ้นรั้งลำดับแรก ต่อมาในรัชสมัยองค์ถังเกาจง (ค.ศ. 649-683) ทรงบัญญัติห้ามคนในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายนี้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้ฐานอำนาจของเหล่าขุนนางมีมากเกินไป (หมายเหตุ บ้างก็เรียกเป็น ‘เจ็ดสกุลสิบเชื้อสาย’ เนื่องจากมีการระบุรายนามข้าราชการระดับสูงทั้งหมดสิบคน แต่จริงๆ แล้วล้วนเป็นเชื้อสายของห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสายที่กล่าวถึงข้างต้น) แน่นอนว่าในยุคสมัยต่างๆ อาจมีการจัดอันดับ Top 4 หรือ Top 5 ที่แตกต่างกันไปบ้าง ตระกูลอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงและถูกเรียกรวมเป็นสื้อเจียยังมีอีก เช่น เซียว เซี่ย เป็นต้น จบเรื่องราวของตระกูลสื้อเจียแต่เพียงเท่านี้ เพื่อนๆ ที่ดูละครสมัยราชวงศ์ถังหรือก่อนหน้านั้น ลองสังเกตหาสกุลเหล่านี้ดูนะคะว่าเขาพยายามชิงอำนาจหรือรวมพลังกันอย่างไร (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.zhuijudashi.com/guocanju/shangyangfu/ https://www.jiapu.tv/tuteng/056/. https://3g.jiapu.tv/tuteng/001/, https://3g.jiapu.tv/tuteng/052/, https://www.jiapu.tv/tuteng/002/, https://www.jiapu.tv/tuteng/021/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.samrugs.com/shijiezhizui/zhongguo/60003.html https://kknews.cc/other/5o6qb9l.html https://baike.baidu.com/item/七姓十家/10749857 https://baike.baidu.com/item/五姓七族/5225652 https://baike.baidu.com/item/博陵崔氏/6585465 http://www.zhuda6.com/new/a29ad5c1eb7d44dc89bd3c263112c1b2.html #ซ่างหยาง #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #ตระกูลหลู #สกุลหลู #ตระกูลเจิ้ง #สกุลเจิ้ง #ตระกูลหวาง #สกุลหวาง #ตระกูลหลี่ #สกุลหลี่ #สื้อเจีย #ห้าสกุลราชวงศ์ถัง #ห้าสกุลราชวงศ์เว่ย
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 378 มุมมอง 0 รีวิว
  • Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีสู้กับความหนาวของจีนโบราณซึ่งหนึ่งในนั้นคือใช้เสื้อผ้าและผ้าห่มที่ทำมาจากกระดาษ ซึ่งในสมัยถังมีวิวัฒนาการการผลิตกระดาษอย่างก้าวกระโดด เสื้อหรือผ้าห่มนั้นใช้กระดาษที่ทำจากเปลือกของกิ่งหม่อน วิธีทำและหน้าตาคล้ายผลิตกระดาษสาบ้านเรา

    เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า มีการนำกระดาษมาทำเสื้อเกราะให้ทหารสวมใส่ด้วย? บ้างก็ว่ามีมาแต่สมัยราชวงศ์เหนือใต้ บ้างก็ว่าเสื้อเกราะกระดาษนั้นถูกคิดค้นขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง

    เสื้อเกราะกระดาษนี้เรียกตรงตัวว่า ‘จื๋อข่าย’ (纸铠)หรือ ‘จื๋อเจี่ย’ (纸甲) ในบันทึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถังที่จัดทำขึ้นโดยสำนักราชบัณฑิตสมัยซ่ง (ซินถังซู/新唐书) มีจารึกไว้ว่า เสื้อเกราะกระดาษเหล่านี้ป้องกันได้จากคมดาบและธนู ต่อมาในยุคสมัยหมิงนิยมใช้ในพื้นที่ทางตอนใต้ โดยเฉพาะกับทหารเรือ เนื่องจากพื้นที่แถบนั้นอากาศชื้น เสื้อเกราะเหล็กขึ้นสนิมได้ง่ายและหนัก ในทางกลับกัน เสื้อเกราะกระดาษใช้ได้ในหลายสภาพอากาศทั้งร้อนทั้งหนาว มีน้ำหนักเบาและเมื่อโดนน้ำยิ่งทำให้มีความทนทานมากขึ้น ป้องกันได้แม้กระทั่งระเบิดดินปืน

    จากบันทึกทางการทหารในสมัยหมิงมีการกล่าวว่า เสื้อเกราะกระดาษประกอบขึ้นจากกระดาษเยื่อไม้และใยผ้าอัดแน่นซ้ำๆ จนเป็นชั้นหนาประมาณหนึ่งนิ้ว ตรึงด้วยหมุดเหล็ก เย็บขึ้นเป็นเกราะแบบเกล็ดปลา

    เสื้อเกราะกระดาษถูกใช้อย่างแพร่หลายในราชวงศ์หมิง แม้จะยังมีใช้บ้างในสมัยราชวงศ์ชิง (มีการค้นพบเสื้อเกราะกระดาษจากสมัยราชวงศ์ชิงจริงในกุ้ยโจวเมื่อปี 2004) แต่ในยุคสมัยที่ระเบิดมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีไฟแรง เกราะกระดาษใช้ไม่ได้ดีนักจึงค่อยๆ หายไป

    Storyฯ ก็นึกไม่ออกว่าเกราะกระดาษจะทนทานต่ออาวุธได้อย่างไร? ไปพบเจอกับวิดิโอคลิปเลยนำมาแบ่งปันให้ดู (ขออภัยไร้ความสามารถทำคำแปลบนคลิป)

    เป็นคลิปที่ตัดตอนมาจากรายการเกมการแข่งขันความรู้ของเด็กนักเรียน มีการเชิญมือธนูมาทดลองยิงเปรียบเทียบระหว่างเกราะโซ่และเกราะกระดาษ (ซึ่งใช้กระดาษเท่านั้น ยังไม่ได้รวมใยผ้าอัดผสมเข้าไป) โดยหัวธนูที่ใช้นั้นเป็นแบบที่มือธนูเรียกว่าเป็นธนูสำหรับยิงเกราะ หัวธนูเป็นเหล็กแหลมสองชั้น ยิงในระยะ 10 เมตร โดยตอนท้ายมีการสรุปว่าการที่จะเจาะให้ทะลุกระดาษที่เรียงเป็นชั้นๆ จนถึงผิวของคนใส่นั้น ต้องมีแรงอัดหลายทอด หัวธนูจึงไม่สามารถยิงทะลุได้ในคราวเดียว ใครอยากดูคลิปเต็มดูได้ตามลิ้งค์ยูทูบข้างล่างเลยค่ะ

    ดูแล้วรู้สึกอย่างไรคะ? เม้นท์บอกกันมาได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit วิดิโอและรูปภาพจาก:
    https://www.youtube.com/watch?v=9lG3aWRDQtI
    https://kknews.cc/history/g93o88.html
    https://kknews.cc/other/mo6gpg6.html

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/%E7%BA%B8%E7%94%B2/8697116
    https://www.chinanews.com.cn/hb/news/2009/11-18/1971854.shtml
    https://kknews.cc/other/mo6gpg6.html

    #เสื้อเกราะจีนโบราณ #เสื้อกระดาษ #จื๋อเจี่ย #จื๋อข่าย #อาวุธจีนโบราณ #เสื้อเกราะกระดาษ
    Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีสู้กับความหนาวของจีนโบราณซึ่งหนึ่งในนั้นคือใช้เสื้อผ้าและผ้าห่มที่ทำมาจากกระดาษ ซึ่งในสมัยถังมีวิวัฒนาการการผลิตกระดาษอย่างก้าวกระโดด เสื้อหรือผ้าห่มนั้นใช้กระดาษที่ทำจากเปลือกของกิ่งหม่อน วิธีทำและหน้าตาคล้ายผลิตกระดาษสาบ้านเรา เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า มีการนำกระดาษมาทำเสื้อเกราะให้ทหารสวมใส่ด้วย? บ้างก็ว่ามีมาแต่สมัยราชวงศ์เหนือใต้ บ้างก็ว่าเสื้อเกราะกระดาษนั้นถูกคิดค้นขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง เสื้อเกราะกระดาษนี้เรียกตรงตัวว่า ‘จื๋อข่าย’ (纸铠)หรือ ‘จื๋อเจี่ย’ (纸甲) ในบันทึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถังที่จัดทำขึ้นโดยสำนักราชบัณฑิตสมัยซ่ง (ซินถังซู/新唐书) มีจารึกไว้ว่า เสื้อเกราะกระดาษเหล่านี้ป้องกันได้จากคมดาบและธนู ต่อมาในยุคสมัยหมิงนิยมใช้ในพื้นที่ทางตอนใต้ โดยเฉพาะกับทหารเรือ เนื่องจากพื้นที่แถบนั้นอากาศชื้น เสื้อเกราะเหล็กขึ้นสนิมได้ง่ายและหนัก ในทางกลับกัน เสื้อเกราะกระดาษใช้ได้ในหลายสภาพอากาศทั้งร้อนทั้งหนาว มีน้ำหนักเบาและเมื่อโดนน้ำยิ่งทำให้มีความทนทานมากขึ้น ป้องกันได้แม้กระทั่งระเบิดดินปืน จากบันทึกทางการทหารในสมัยหมิงมีการกล่าวว่า เสื้อเกราะกระดาษประกอบขึ้นจากกระดาษเยื่อไม้และใยผ้าอัดแน่นซ้ำๆ จนเป็นชั้นหนาประมาณหนึ่งนิ้ว ตรึงด้วยหมุดเหล็ก เย็บขึ้นเป็นเกราะแบบเกล็ดปลา เสื้อเกราะกระดาษถูกใช้อย่างแพร่หลายในราชวงศ์หมิง แม้จะยังมีใช้บ้างในสมัยราชวงศ์ชิง (มีการค้นพบเสื้อเกราะกระดาษจากสมัยราชวงศ์ชิงจริงในกุ้ยโจวเมื่อปี 2004) แต่ในยุคสมัยที่ระเบิดมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีไฟแรง เกราะกระดาษใช้ไม่ได้ดีนักจึงค่อยๆ หายไป Storyฯ ก็นึกไม่ออกว่าเกราะกระดาษจะทนทานต่ออาวุธได้อย่างไร? ไปพบเจอกับวิดิโอคลิปเลยนำมาแบ่งปันให้ดู (ขออภัยไร้ความสามารถทำคำแปลบนคลิป) เป็นคลิปที่ตัดตอนมาจากรายการเกมการแข่งขันความรู้ของเด็กนักเรียน มีการเชิญมือธนูมาทดลองยิงเปรียบเทียบระหว่างเกราะโซ่และเกราะกระดาษ (ซึ่งใช้กระดาษเท่านั้น ยังไม่ได้รวมใยผ้าอัดผสมเข้าไป) โดยหัวธนูที่ใช้นั้นเป็นแบบที่มือธนูเรียกว่าเป็นธนูสำหรับยิงเกราะ หัวธนูเป็นเหล็กแหลมสองชั้น ยิงในระยะ 10 เมตร โดยตอนท้ายมีการสรุปว่าการที่จะเจาะให้ทะลุกระดาษที่เรียงเป็นชั้นๆ จนถึงผิวของคนใส่นั้น ต้องมีแรงอัดหลายทอด หัวธนูจึงไม่สามารถยิงทะลุได้ในคราวเดียว ใครอยากดูคลิปเต็มดูได้ตามลิ้งค์ยูทูบข้างล่างเลยค่ะ ดูแล้วรู้สึกอย่างไรคะ? เม้นท์บอกกันมาได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit วิดิโอและรูปภาพจาก: https://www.youtube.com/watch?v=9lG3aWRDQtI https://kknews.cc/history/g93o88.html https://kknews.cc/other/mo6gpg6.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/%E7%BA%B8%E7%94%B2/8697116 https://www.chinanews.com.cn/hb/news/2009/11-18/1971854.shtml https://kknews.cc/other/mo6gpg6.html #เสื้อเกราะจีนโบราณ #เสื้อกระดาษ #จื๋อเจี่ย #จื๋อข่าย #อาวุธจีนโบราณ #เสื้อเกราะกระดาษ
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 437 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติ วันนี้เราคุยกันเบาๆ ว่าด้วยวลีจีนคลาสสิกอีกประโยคหนึ่ง

    ความมีอยู่ว่า
    ... ตี้จวิน: “แต่ข้าต้องออกไปนานนัก”
    เฟิ่งจิ่ว: “นานนัก คือนานเท่าใด? สองสามเดือน?”
    ตี้จวินส่ายศีรษะ
    เฟิ่งจิ่ว: “สองสามปี?”
    ตี้จวินส่ายศีรษะอีกแล้วเอ่ย: “อย่างไรก็ต้องมีหลายวัน”
    เฟิ่งจิ่ว: “ไม่กี่วัน? ท่านพูดราวกับว่านานนัก”
    ตี้จวิน: “หนึ่งวันมิเห็นหน้า ดุจห่างกันสามสารทฤดู”...
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนย> (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ‘หนึ่งวันมิเห็นหน้า ดุจห่างกันสามสารทฤดู’ (一日不见,如隔三秋) นี้เป็นหนึ่งวลีคลาสสิกที่ใช้กันบ่อยในละครหรือนิยายจีนเวลาที่พระนางเขาต้องห่างกันไป ความหมายคือคิดถึงนัก แม้จากกันประเดี๋ยวเดียวก็เหมือนนานมาก

    เชื่อว่าเพื่อนเพจไม่น้อย (รวมถึงนักแปลมืออาชีพหลายคน) คงเข้าใจว่า ‘สามสารทฤดู’ นี้แปลว่าสามปี แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ

    วลีนี้ยกมาจากบทกวีที่ชื่อว่า ‘หวางเฟิง-ฉ่ายเก๋อ’ (王风·采葛) เป็นหนึ่งในบทกวีที่ปรากฏอยู่ในบันทึกบทกวีจีนโบราณ ‘ซือจิง’ (诗经) เป็นบทกวีจากยุคสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่เป็นคำบรรยายถึงความโหยหาคิดถึง โดยมีฉากหลังเป็นฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งโดยปกติคือ ‘ชิว’ หรือสารทฤดู มีทั้งหมดสามวรรคแปลใจความได้ดังนี้
    นางผู้เก็บต้นเก๋อนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามเดือน
    นางผู้เก็บต้นเซียวนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามสารทฤดู
    นางผู้เก็บต้นอ๋ายนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามปี

    ในบริบทของบทกวี ‘หวางเฟิง-ฉ่ายเก๋อ’ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จะเห็นว่ามี ‘เดือน’ ‘สารทฤดู’ และ ‘ปี’ ดังนั้น เมื่อเรียงประโยคตามนี้ผู้อ่านคงตีความได้ไม่ยากแล้วว่า ‘สามสารทฤดู’ นี้จริงๆ แล้วหมายถึงช่วงเวลาสามฤดูกาล หรือประมาณ 9 เดือนนั่นเอง

    หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนเพจที่แต่งนิยายหรือแปลนิยายจีนนะคะ

    (หมายเหตุ ‘ต้นเก๋อ’ คือต้นมันชนิดหนึ่ง เรียกว่ามันเท้ายายม่อม ใช้ประโยชน์ได้หลายส่วนของต้น; ‘ต้นเซียว’ เป็นไม้พุ่มเตี้ยชนิดหนึ่ง ใบมีสรรพคุณเป็นยา ภาษาอังกฤษเรียกว่า Wormwood; ‘ต้นอ๋าย’ หรืออ๋ายเถียวเป็นสมุนไพรจีนชนิดหนึ่งนิยมนำมาใช้เป็นโกฐรมยา)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://mydramalist.com/photos/eVR3n
    https://www.sohu.com/a/474755225_419393
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.gushiji.cc/gushi/170.html
    https://baike.baidu.com/item/王风·采葛
    https://www.sohu.com/a/462824147_120340030
    https://kknews.cc/zh-hk/culture/yjyjpxk.html

    #สารทฤดู #วลีจีน #ลิขิตเหนือเขนย #บทกวีจีนโบราณ
    สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติ วันนี้เราคุยกันเบาๆ ว่าด้วยวลีจีนคลาสสิกอีกประโยคหนึ่ง ความมีอยู่ว่า ... ตี้จวิน: “แต่ข้าต้องออกไปนานนัก” เฟิ่งจิ่ว: “นานนัก คือนานเท่าใด? สองสามเดือน?” ตี้จวินส่ายศีรษะ เฟิ่งจิ่ว: “สองสามปี?” ตี้จวินส่ายศีรษะอีกแล้วเอ่ย: “อย่างไรก็ต้องมีหลายวัน” เฟิ่งจิ่ว: “ไม่กี่วัน? ท่านพูดราวกับว่านานนัก” ตี้จวิน: “หนึ่งวันมิเห็นหน้า ดุจห่างกันสามสารทฤดู”... - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนย> (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) ‘หนึ่งวันมิเห็นหน้า ดุจห่างกันสามสารทฤดู’ (一日不见,如隔三秋) นี้เป็นหนึ่งวลีคลาสสิกที่ใช้กันบ่อยในละครหรือนิยายจีนเวลาที่พระนางเขาต้องห่างกันไป ความหมายคือคิดถึงนัก แม้จากกันประเดี๋ยวเดียวก็เหมือนนานมาก เชื่อว่าเพื่อนเพจไม่น้อย (รวมถึงนักแปลมืออาชีพหลายคน) คงเข้าใจว่า ‘สามสารทฤดู’ นี้แปลว่าสามปี แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ วลีนี้ยกมาจากบทกวีที่ชื่อว่า ‘หวางเฟิง-ฉ่ายเก๋อ’ (王风·采葛) เป็นหนึ่งในบทกวีที่ปรากฏอยู่ในบันทึกบทกวีจีนโบราณ ‘ซือจิง’ (诗经) เป็นบทกวีจากยุคสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่เป็นคำบรรยายถึงความโหยหาคิดถึง โดยมีฉากหลังเป็นฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งโดยปกติคือ ‘ชิว’ หรือสารทฤดู มีทั้งหมดสามวรรคแปลใจความได้ดังนี้ นางผู้เก็บต้นเก๋อนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามเดือน นางผู้เก็บต้นเซียวนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามสารทฤดู นางผู้เก็บต้นอ๋ายนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามปี ในบริบทของบทกวี ‘หวางเฟิง-ฉ่ายเก๋อ’ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จะเห็นว่ามี ‘เดือน’ ‘สารทฤดู’ และ ‘ปี’ ดังนั้น เมื่อเรียงประโยคตามนี้ผู้อ่านคงตีความได้ไม่ยากแล้วว่า ‘สามสารทฤดู’ นี้จริงๆ แล้วหมายถึงช่วงเวลาสามฤดูกาล หรือประมาณ 9 เดือนนั่นเอง หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนเพจที่แต่งนิยายหรือแปลนิยายจีนนะคะ (หมายเหตุ ‘ต้นเก๋อ’ คือต้นมันชนิดหนึ่ง เรียกว่ามันเท้ายายม่อม ใช้ประโยชน์ได้หลายส่วนของต้น; ‘ต้นเซียว’ เป็นไม้พุ่มเตี้ยชนิดหนึ่ง ใบมีสรรพคุณเป็นยา ภาษาอังกฤษเรียกว่า Wormwood; ‘ต้นอ๋าย’ หรืออ๋ายเถียวเป็นสมุนไพรจีนชนิดหนึ่งนิยมนำมาใช้เป็นโกฐรมยา) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://mydramalist.com/photos/eVR3n https://www.sohu.com/a/474755225_419393 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.gushiji.cc/gushi/170.html https://baike.baidu.com/item/王风·采葛 https://www.sohu.com/a/462824147_120340030 https://kknews.cc/zh-hk/culture/yjyjpxk.html #สารทฤดู #วลีจีน #ลิขิตเหนือเขนย #บทกวีจีนโบราณ
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 359 มุมมอง 0 รีวิว
  • พวกกบฏแบ่งแยกดินแดนยังคงตะแบงอย่างข้างๆ คูๆ และดูเหมือนคำอธิบายที่ผมพยายามเขียนอยู่หลายครั้งก็ดูจะไม่ค่อยไปถึงไหนไกล นี่คือวิทยาศาสตร์ที่ไม่อาจโต้แย้ง และมีแต่ประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องเท่านั้นที่จะพ้องกับวิทยาศาสตร์นี้อย่างลงตัว
    .
    หนึ่งในเรื่องราวที่มีคนรู้น้อยมาก อันที่จริงต้องพูดว่าคนส่วนใหญ่ไม่แยแสสนใจ เป็นเรื่องของชาวเล หรือที่มีชื่อว่าโอรังลาโว้ย (บ้างเรียก อูรักลาโว้ย) เป็นหนึ่งในชนพื้นเมืองเก่าแก่ที่เรียกว่า "โอรังอัสลิ" ที่ซึ่งอันที่จริงเป็นญาติข้างพี่จากสายพันธุ์ที่เป็นบรรพบุรุษของผู้คนในอุษาคเนย์และเกาะแก่งในอุษาสมุทรแทบทั้งหมด.
    .
    Orang หรือ โอรัง มาจากภาษามาเลย์ แปลว่า คน / Asli หรือ อัสลิ แปลว่า เก่าแก่ ดั้งเดิม. โอรังอัสลิ หมายถึง คนดั้งเดิม มีความหมายตามคำเช่นนั้นตามความเป็นจริง ในอุษาคเนย์ตอนกลางจนจรดคาบสมุทรมาเลย์และเกาะในอุษาสมุทร นอกจากพวกปาปัวและออสโตรอะบอริจิ้นแล้ว ไม่มีใครมีดีเอ็นเอเก่าแก่ไปกว่าพวกโอรังอัสลิ พวกที่มี time stamp ในดีเอ็นเอเก่าที่สุดเป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในซาบาห์ เกาะบอร์เนียว
    .
    โอรังอัสลิประกอบด้วยชนเผ่ามากมาย ในประเทศไทยมีพวก โอรังลาโว้ย เซมัง มานิ.. อาศัยอยู่ในภาคใต้ ในประเทศมาเลเซีย มีพวกโอรังกัวลา โอรังคานาค จาคุน เตมูน เซเมไล...ฯ ชนพื้นเมืองหลายเผ่าปรับตัวเป็นคนเมืองเรียกรวมๆ ว่าเซนอย ซึ่งท้ายที่สุดกลายเป็นประชากรชาวมาเลย์ทั่วไป มีพวก เตมีอาร์ เชไม เซมัคบารี จาห์ฮัท มะห์เมรี...ฯ ในประเทศอินโดนีเซียมีพวก ดยัค...ฯ ในประเทศฟิลิปปินส์มีพวก บอนทอค อิฟูเกา...ฯ ในฟอร์โมซาหรือไต้หวันมีพวก อตายาล พูยูมะ...ฯ และที่คาดไม่ถึงคือบางส่วนบนเกาะโอกินาวา
    .
    ชนพื้นเมืองเก่าแก่ในประเทศไทยหลายพวกก็เป็นเชื้อสายอัสเลียน เช่น พวกมอญ พวกลั๊วะ (ข่าว้า, ละว้า) พวกข่าหลายเผ่าที่มีชื่อเรียกต่างกันไปเช่น กัมมุ มลาบรี..
    .
    ชนเผ่าพวกนี้ถือเป็นบรรพบุรุษของคนเอเชียที่อาศัยในเมนแลนด์อุษาคเนย์อย่างเรา
    .
    ไม่เพียงเท่านั้น ตอนที่บรรพบุรุษพวกนี้มาถึงแผ่นดินซุนดาเมื่อสามหมื่นกว่าปีก่อน มีมนุษย์ที่เดินทางมาถึงก่อนแล้ว คือพวกอะบอริจิ้นิสท์ พวกนี้มาถึงซุนดาตั้งแต่เมื่อห้าหมื่นปีก่อน ด้วยเหตุผลใดไม่ทราบผู้หญิงอะบอริจิ้นเลือกบรรพบุรุษอัสเลียนเป็นพ่อพันธุ์ บีบให้ผู้ชายอะบอริจิ้นกระจายออกจากเมนแลนด์ซุนดาไปสู่เกาะแก่งโดยรอบในอุษาสมุทร ด้วยเหตุที่คนเอเชียมีแม่พันธ์ใหญ่ถึงสี่สาแหรก ทำให้ประชากรชาวเอเชียขยายตัวไปมากกว่าสาแหรกครอบครัวใดในโลก เฉพาะมนุษย์ผู้ชาย มีจำนวนมากกว่า 75% ของชายชาวเอเชียในปัจจุบัน ใน 75% นี้ รวมถึงผู้ชายชาวจีนที่เป็นส่วนหนึ่งของประชากรโลกจำนวน 1400 ล้านคน ลองคิดดูว่าคนเอเชียจะมีจำนวนเท่าไหร่ในโลกนี้?
    .
    ที่อธิบายนี่ ต้องการให้เห็นภาพว่า
    ผู้คนในอุษาคเนย์ส่วนใหญ่ มีเชื้อทางพ่อเป็นโอรังอัสลิ และมีเชื้อทางแม่เป็นอะบอริจินิสท์ ดังนั้นหากมีคนใดก็ตามที่ดูถูกเหยียดหยามข่มเหงรังแกคนพื้นเมืองพวกนี้ ให้รู้ไว้เถอะว่า พวกแกกำลังรังแกโคตรพ่อโคตรแม่ของพวกแก
    .
    ผมยกเอาภาพจากหนังสือของอาจารย์ประทีป ชุมพล เรื่อง "เสียงเพรียกจากท้องน้ำ" มาโพสตรงนี้ ก็เพราะโศกนาฏกรรมที่มีต่อชนเผ่าพื้นเมืองที่เป็นบรรพบุรุษเราพวกนี้ถูกรังแกและเหยียดหยามเรื่อยมาจนทุกวันนี้ และคนที่เรียกตนเองว่ามาเลย์นี่แหละ มีไม่น้อยที่มีส่วนในการข่มเหงนี้ อ.ประทีป เขียนหนังสือเล่มนี้ในลักษณะนิยายที่สะท้อนความจริงที่น่าเศร้าซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้ว และยังคงดำเนินต่อไป
    .
    ตั้งแต่ราวรัชกาลที่หกมาถึงรัชกาลที่เจ็ดได้มีการจัดสรรที่ทำกินให้ชนเผ่าพวกนี้ เพื่อที่พวกเขาจะได้มีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าที่จะต้องร่อนเร่อยู่กลางทะเล แต่ "คนเมือง" ที่ซึ่งผมได้เกริ่นไปแต่ต้นว่าที่จริงเป็นพี่น้องลูกหลานมาแต่ชนเผ่าเหล่านี้ทั้งนั้น กลับใช้เล่ห์กลเอาเปรียบและแย่งชิงที่ดินของพวกเขาไป ซึ่งมันได้นำพาไปสู่โศกนาฏกรรมในที่สุด เมื่อชนพื้นเมืองพวกนี้กลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งต้องคับแค้นใจจนพากันออกไปฆ่าตัวตายกลางทะเล อ.ประทีปได้กลั่นกรองความรู้สึกจากเรื่องราวเหล่านี้ถ่ายทอดออกมาเป็นหนังสือชื่อ เสียงเพรียกจากท้องน้ำ
    .
    นี่คือเหตุที่ทำไมผมตั้งคำถามกับพวกโจรแยกดินแดนที่ซึ่งล้วนเป็นเซนอยที่มาจากโอรังอัสลิทั้งสิ้นว่า.. แทนที่จะมาทำตัวเป็นอาหรับพลัดถิ่นหรือคนมาเลเซียพลัดถิ่น ถามว่าพวกแกปฏิบัติเช่นไรกับโคตรพ่อโคตรแม่ของพวกแกเหล่านี้? พวกแกได้ดูถูกกดขี่เหยียดหยามแย่งที่ทำกินพวกเขาหรือไม่ เคยเป็นห่วงต่อสู้สิทธิในความเป็นมนุษย์และสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของแผ่นดินแต่ดั้งเดิมของพวกเขาหรือไม่? ทำไมไม่เรียกร้อง..."คืนแผ่นดินให้เซมัง....คืนแผ่นดินให้มอเกน????"
    .
    ยังมีไอ้พวกโง่ตอแหลจากสำนักอีซิ่มพร พวกไอ้เฒ่าจิตตก ออกมาตีสำนวนอีกว่า ชาวมลายูอยู่มาก่อนสยาม โพสนี้ตอบคำถามทุกอย่างตามที่เล่า จงถอยกลับไปก่อนการมีประเทศมาเลเซียหรือแม้แต่เมืองท่ามะละกา เมืองท่าปัตตานี... บรรพบุรุษมนุษย์พวกหนึ่งที่จะพัฒนาเป็นคนในเมนแลนด์อุษาคเนย์และเกาะในอุษาสมุทร คนพวกนี้พูดภาษาอัสเลียน ผสมพันธุ์กับพวกออสโตรอะบอริจิ้น ทำให้แตกเป็นภาษาออสโตรนีเชียน และเป็นมาลาโยโพลีนีเชียนตามเกาะแก่ง.. ผสมพันธุ์กับชนเผ่าอื่นๆ ในเมนแลนด์ตอนบนแตกแขนงเป็นออสโตเอเชียติกหรือมอญ-เขมร.. เป็นกรอบเวลาที่ยังไม่มีมนุษย์ที่เรียกว่าคนมาเลย์หรือคนมาลายูเลย ฝรั่งเป็นคนตั้งชื่อดินแดนแถบนี้ว่ามาลายาเมื่อเดินทางมาถึง ในห้วงเวลานั้นดินแดนแถบนั้นไม่มีชื่อหรอก เมื่อเขียนบนแผนที่ก็เลยเป็นที่มาให้เรียกพวกชนชาติแถบนี้รวมๆ ว่าคนมาลายา [แม้แต่จักรวรรดิจีนอันยิ่งใหญ่ในอดีตก็ไม่ได้เรียกอาณาจักรของตนว่า "จีน" พวกเขาเรียกดินแดนพวกเขาว่า จงกั๋ว (จงหยวน) แต่ฝรั่งเอาแซ่ราชวงศ์จิ๋น (ฉิน) ของจิ๋นซีหวงตี้มาเรียกเป็นชื่อว่าอาณาจักรจิ๋น แล้วเขียนบนแผนที่ทำให้ชาวโลกเรียกอาณาจักรจีนว่า China มาจนทุกวันนี้.. ที่จริงจีนใช้ตัวละตินเขียนว่า Qin แต่ออกเสียง ฉิน] โดยข้อเท็จจริงแล้วประวัติศาสตร์ไม่เคยมีประชาชนมาลายา-มาลายู หรือประเทศมาลายา-มาลายู ไปค้นประวัติศาสตร์ของทุกชาติในเอเชียได้ เช่น บันทึกจีนโบราณ เป็นต้น จะไม่มีบันทึกของชาติใดปรากฏชื่อที่มีสถานะเป็นอาณาจักรหรือประชาชนในชื่อมาลายา-มาลายูอยู่เลย (ใครเจอลองเอามาให้ดูหน่อย) นอกจากหัวเมืองชายแดนอันแยกกันเป็นเอกเทศหลายเมืองที่ล้วนเคยเป็นหัวเมืองประเทศราชของสยามมาก่อน ประเทศมาเลเซียเองเพิ่งปรากฏขึ้นในโลกหลังจากได้เอกราชจากการเป็นอิสระจากอาณานิคมอังกฤษ คนในพื้นที่คาบสมุทรนี้ในยุคก่อนมีราชอาณาจักรสยาม เรียกตัวเองว่า โอรังทั้งนั้น เช่นโอรังบูกิต โอรังเชไม โอรังจาฮัท ฯ... ฝรั่งมันไม่จำหรอก เยอะ.. มันเรียกง่ายๆ ว่าคนมาลายู (ดูแผนที่โบราณที่ผมโพสในคอมเม้นท์ข้างล่างแล้วอ่านคำอธิบาย) เพราะฉนั้น ไม่ใช่แค่คนในอินโด-มาเลเซียที่เป็นพวกอัสเลียน พวกที่เคยเป็นอาณาจักรศรีโพธิ์ อาณาจักรศรีวิชัย พวกศรีธรรมโศกราช พวกพริบพรี พวกละโว้ พวกทวารวดี (ซึ่งต่อมาเป็นพวกสยาม..) พวกมอญ พวกขอม พวกเขมร พวกจาม... ล้วนสืบเชื้อโอรังอัสลิและแม่อะบอริจิ้นมาทั้งนั้น คลานออกมาจากมดลูกเดียวกันทั้งคาบสมุทร!! (เบื่ออธิบายกับพวกแกจริงๆ)
    .
    จะบอกอะไรให้อย่างหนึ่ง ในอุษาคเนย์ มีชนพื้นเมืองพวกหนึ่งคือพวกข่าว้าหรือพวกลั๊วะ (บางทีเรียก ว้า ละว้า ล้า) จากผลตรวจดีเอ็นเอทุกชนเผ่าในมณฑลหยุนหนานโดยโปรเฟสเซอร์จินลี (นักวิทยาศาสตร์จีน) พวกข่าว้านี้มียีนเก่าที่สุด พอๆ กับพวกปู้ยี (จ้วงเหนือ). มีคำปรำปราอันหนึ่งของชนเผ่าไทกล่าวว่า "สางสร้างฟ้า ล้าสร้างเมือง" แปลว่า "เทวดาสร้างสวรรค์ พวกละว้าสร้างเมือง" ชนเผ่าไทยกย่องอย่างนี้ว่า ล้าสร้างเมือง... ตำนานน้ำเต้าปุงเล่าว่า สางบันดาลน้ำเต้าลูกมหึมาลงมา ปู่ลางเซิงเอาเหล็กแหลมแทงน้ำเต้าแล้วผู้คนก็ไหลกรูกันออกมา ข่าออกมาก่อน แล้วก็ลาว แล้วก็ไท นี่..ไทก็นับว่าข่าเป็นพี่ลาวเป็นพี่... มีตำนานไทอีกอันเรื่องข้าสี่แสนหมอนม้า ชนเผ่าไทโบราณรบกับพวกละว้าแล้วก็ยึดเมืองจากพวกละว้าได้ ทำให้มีประเพณีที่เมื่อจ้าวไททำพิธีขึ้นกินเมืองจะให้พวกละว้าขึ้นนั่งพระแท่นก่อน แล้วเจ้าไทจึงมาไล่ลง เสร็จแล้วค่อยนั่งครองพระแท่นแทน ธรรมเนียมนี้แสดงว่าคนไทยอมรับว่าล้าสร้างเมืองและเป็นใหญ่มาก่อน แต่เกือบพันปีที่ผ่านมาไม่เคยมีพวกละว้าขอแบ่งแยกดินแดนจากไท-ไทยเลยสักสมัย มีแต่พวกละว้าในพม่าที่เจรจาขอแยกจากการเป็นส่วนหนึ่งของพม่าตอนที่ทำสนธิสัญญาปางโหลงกับนายพลอองซาน. เรื่องของเรื่องก็คือ... ถอยไปอีก พวกนี้ก็มาจากโอรังอัสลิเช่นเดียวกับพวกเซนอยมาลายู แต่เก่ากว่าเป็นพันปี
    .
    เดินไปโรงพยาบาลแล้วขอตรวจดีเอ็นเอ ไอ้พวกโง่ แล้วแกจะได้เห็นว่าแกมีเชื้อเดียวกับเซมัง มอเกน. ในดีเอ็นเอมนุษย์มี time stamp อยู่ในสิ่งที่เรียกว่า genetic marker มันบอกอายุของดีเอ็นเอได้ว่าใครเก่ากว่ากัน และจะโยงพวกแกไปยังบรรพบุรุษเดียวกันในแอฟริกา ถึงตอนนั้นพวกแกจะแปลกใจว่าแกไม่ใช่คนมาลายูแล้ว แต่พวกแกเป็นคน "กอยซาน!!" เข้าใจไหม? คนอย่างไอ้เฒ่าจิตตกนั่นมันไม่รู้สี่รู้แปดอะไรหรอก เคยไปเล่าให้มันฟังแม่งนั่งอ้าปากหวอ
    .
    อย่างที่กล่าว
    คำว่า โอรังอัสลิ เป็นคำในภาษามาเลย์ของพวกแก แปลว่า คนดั้งเดิม
    พวกแกทำไมไม่สู้เพื่อพวกเขาบ้าง? นี่ต่างหาก คนดั้งเดิม
    แต่ไปที่ไหนก็ยังเห็นพวกแกดูถูกพวกเขาอยู่เสมอ
    หรือว่าลืมกำพืด อยากเป็นสุลต่านกัน?
    ถ้าพวกแกมีจิตวิญญาณของนักรบจริง
    ที่กาซ่า พี่น้องมุสลิมชาวปาเลสไตน์กำลังถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยพวกยิว
    ในฐานะมุสลิมด้วยกัน ไปสิ จับอาวุธแล้วไปต่อสู้เพื่อพวกเขา กล้าพอไหม?
    ไปชวนพี่น้องแกในมาเลเซียด้วย ถ้าที่นั่นยังมีนักรบนะ
    จิตสำนึกมุสลิมอันยิ่งใหญ่มีอยู่ไหมในมาเลเซีย
    พระเจ้าจะสรรเสริญพวกแกและรับพวกแกไปสู่ญันนะฮฺเมื่อได้สละชีพ
    คงไม่หรอก เพราะพวกแกฆ่าได้แม้กระทั่งเด็กน้อยที่บริสุทธิ์
    ไม่ต่างอะไรกับพวกยิวอิสราเอล

    อัลลาฮฺอักบัร
    .
    #ปาตานี #แบ่งแยกดินแดน #คนมลายูอยู่มาก่อนสยาม #โอรังอัสลิ #โอรังลาโว้ย #เสียงเพรียกจากท้องน้ำ
    พวกกบฏแบ่งแยกดินแดนยังคงตะแบงอย่างข้างๆ คูๆ และดูเหมือนคำอธิบายที่ผมพยายามเขียนอยู่หลายครั้งก็ดูจะไม่ค่อยไปถึงไหนไกล นี่คือวิทยาศาสตร์ที่ไม่อาจโต้แย้ง และมีแต่ประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องเท่านั้นที่จะพ้องกับวิทยาศาสตร์นี้อย่างลงตัว . หนึ่งในเรื่องราวที่มีคนรู้น้อยมาก อันที่จริงต้องพูดว่าคนส่วนใหญ่ไม่แยแสสนใจ เป็นเรื่องของชาวเล หรือที่มีชื่อว่าโอรังลาโว้ย (บ้างเรียก อูรักลาโว้ย) เป็นหนึ่งในชนพื้นเมืองเก่าแก่ที่เรียกว่า "โอรังอัสลิ" ที่ซึ่งอันที่จริงเป็นญาติข้างพี่จากสายพันธุ์ที่เป็นบรรพบุรุษของผู้คนในอุษาคเนย์และเกาะแก่งในอุษาสมุทรแทบทั้งหมด. . Orang หรือ โอรัง มาจากภาษามาเลย์ แปลว่า คน / Asli หรือ อัสลิ แปลว่า เก่าแก่ ดั้งเดิม. โอรังอัสลิ หมายถึง คนดั้งเดิม มีความหมายตามคำเช่นนั้นตามความเป็นจริง ในอุษาคเนย์ตอนกลางจนจรดคาบสมุทรมาเลย์และเกาะในอุษาสมุทร นอกจากพวกปาปัวและออสโตรอะบอริจิ้นแล้ว ไม่มีใครมีดีเอ็นเอเก่าแก่ไปกว่าพวกโอรังอัสลิ พวกที่มี time stamp ในดีเอ็นเอเก่าที่สุดเป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในซาบาห์ เกาะบอร์เนียว . โอรังอัสลิประกอบด้วยชนเผ่ามากมาย ในประเทศไทยมีพวก โอรังลาโว้ย เซมัง มานิ.. อาศัยอยู่ในภาคใต้ ในประเทศมาเลเซีย มีพวกโอรังกัวลา โอรังคานาค จาคุน เตมูน เซเมไล...ฯ ชนพื้นเมืองหลายเผ่าปรับตัวเป็นคนเมืองเรียกรวมๆ ว่าเซนอย ซึ่งท้ายที่สุดกลายเป็นประชากรชาวมาเลย์ทั่วไป มีพวก เตมีอาร์ เชไม เซมัคบารี จาห์ฮัท มะห์เมรี...ฯ ในประเทศอินโดนีเซียมีพวก ดยัค...ฯ ในประเทศฟิลิปปินส์มีพวก บอนทอค อิฟูเกา...ฯ ในฟอร์โมซาหรือไต้หวันมีพวก อตายาล พูยูมะ...ฯ และที่คาดไม่ถึงคือบางส่วนบนเกาะโอกินาวา . ชนพื้นเมืองเก่าแก่ในประเทศไทยหลายพวกก็เป็นเชื้อสายอัสเลียน เช่น พวกมอญ พวกลั๊วะ (ข่าว้า, ละว้า) พวกข่าหลายเผ่าที่มีชื่อเรียกต่างกันไปเช่น กัมมุ มลาบรี.. . ชนเผ่าพวกนี้ถือเป็นบรรพบุรุษของคนเอเชียที่อาศัยในเมนแลนด์อุษาคเนย์อย่างเรา . ไม่เพียงเท่านั้น ตอนที่บรรพบุรุษพวกนี้มาถึงแผ่นดินซุนดาเมื่อสามหมื่นกว่าปีก่อน มีมนุษย์ที่เดินทางมาถึงก่อนแล้ว คือพวกอะบอริจิ้นิสท์ พวกนี้มาถึงซุนดาตั้งแต่เมื่อห้าหมื่นปีก่อน ด้วยเหตุผลใดไม่ทราบผู้หญิงอะบอริจิ้นเลือกบรรพบุรุษอัสเลียนเป็นพ่อพันธุ์ บีบให้ผู้ชายอะบอริจิ้นกระจายออกจากเมนแลนด์ซุนดาไปสู่เกาะแก่งโดยรอบในอุษาสมุทร ด้วยเหตุที่คนเอเชียมีแม่พันธ์ใหญ่ถึงสี่สาแหรก ทำให้ประชากรชาวเอเชียขยายตัวไปมากกว่าสาแหรกครอบครัวใดในโลก เฉพาะมนุษย์ผู้ชาย มีจำนวนมากกว่า 75% ของชายชาวเอเชียในปัจจุบัน ใน 75% นี้ รวมถึงผู้ชายชาวจีนที่เป็นส่วนหนึ่งของประชากรโลกจำนวน 1400 ล้านคน ลองคิดดูว่าคนเอเชียจะมีจำนวนเท่าไหร่ในโลกนี้? . ที่อธิบายนี่ ต้องการให้เห็นภาพว่า ผู้คนในอุษาคเนย์ส่วนใหญ่ มีเชื้อทางพ่อเป็นโอรังอัสลิ และมีเชื้อทางแม่เป็นอะบอริจินิสท์ ดังนั้นหากมีคนใดก็ตามที่ดูถูกเหยียดหยามข่มเหงรังแกคนพื้นเมืองพวกนี้ ให้รู้ไว้เถอะว่า พวกแกกำลังรังแกโคตรพ่อโคตรแม่ของพวกแก . ผมยกเอาภาพจากหนังสือของอาจารย์ประทีป ชุมพล เรื่อง "เสียงเพรียกจากท้องน้ำ" มาโพสตรงนี้ ก็เพราะโศกนาฏกรรมที่มีต่อชนเผ่าพื้นเมืองที่เป็นบรรพบุรุษเราพวกนี้ถูกรังแกและเหยียดหยามเรื่อยมาจนทุกวันนี้ และคนที่เรียกตนเองว่ามาเลย์นี่แหละ มีไม่น้อยที่มีส่วนในการข่มเหงนี้ อ.ประทีป เขียนหนังสือเล่มนี้ในลักษณะนิยายที่สะท้อนความจริงที่น่าเศร้าซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้ว และยังคงดำเนินต่อไป . ตั้งแต่ราวรัชกาลที่หกมาถึงรัชกาลที่เจ็ดได้มีการจัดสรรที่ทำกินให้ชนเผ่าพวกนี้ เพื่อที่พวกเขาจะได้มีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าที่จะต้องร่อนเร่อยู่กลางทะเล แต่ "คนเมือง" ที่ซึ่งผมได้เกริ่นไปแต่ต้นว่าที่จริงเป็นพี่น้องลูกหลานมาแต่ชนเผ่าเหล่านี้ทั้งนั้น กลับใช้เล่ห์กลเอาเปรียบและแย่งชิงที่ดินของพวกเขาไป ซึ่งมันได้นำพาไปสู่โศกนาฏกรรมในที่สุด เมื่อชนพื้นเมืองพวกนี้กลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งต้องคับแค้นใจจนพากันออกไปฆ่าตัวตายกลางทะเล อ.ประทีปได้กลั่นกรองความรู้สึกจากเรื่องราวเหล่านี้ถ่ายทอดออกมาเป็นหนังสือชื่อ เสียงเพรียกจากท้องน้ำ . นี่คือเหตุที่ทำไมผมตั้งคำถามกับพวกโจรแยกดินแดนที่ซึ่งล้วนเป็นเซนอยที่มาจากโอรังอัสลิทั้งสิ้นว่า.. แทนที่จะมาทำตัวเป็นอาหรับพลัดถิ่นหรือคนมาเลเซียพลัดถิ่น ถามว่าพวกแกปฏิบัติเช่นไรกับโคตรพ่อโคตรแม่ของพวกแกเหล่านี้? พวกแกได้ดูถูกกดขี่เหยียดหยามแย่งที่ทำกินพวกเขาหรือไม่ เคยเป็นห่วงต่อสู้สิทธิในความเป็นมนุษย์และสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของแผ่นดินแต่ดั้งเดิมของพวกเขาหรือไม่? ทำไมไม่เรียกร้อง..."คืนแผ่นดินให้เซมัง....คืนแผ่นดินให้มอเกน????" . ยังมีไอ้พวกโง่ตอแหลจากสำนักอีซิ่มพร พวกไอ้เฒ่าจิตตก ออกมาตีสำนวนอีกว่า ชาวมลายูอยู่มาก่อนสยาม โพสนี้ตอบคำถามทุกอย่างตามที่เล่า จงถอยกลับไปก่อนการมีประเทศมาเลเซียหรือแม้แต่เมืองท่ามะละกา เมืองท่าปัตตานี... บรรพบุรุษมนุษย์พวกหนึ่งที่จะพัฒนาเป็นคนในเมนแลนด์อุษาคเนย์และเกาะในอุษาสมุทร คนพวกนี้พูดภาษาอัสเลียน ผสมพันธุ์กับพวกออสโตรอะบอริจิ้น ทำให้แตกเป็นภาษาออสโตรนีเชียน และเป็นมาลาโยโพลีนีเชียนตามเกาะแก่ง.. ผสมพันธุ์กับชนเผ่าอื่นๆ ในเมนแลนด์ตอนบนแตกแขนงเป็นออสโตเอเชียติกหรือมอญ-เขมร.. เป็นกรอบเวลาที่ยังไม่มีมนุษย์ที่เรียกว่าคนมาเลย์หรือคนมาลายูเลย ฝรั่งเป็นคนตั้งชื่อดินแดนแถบนี้ว่ามาลายาเมื่อเดินทางมาถึง ในห้วงเวลานั้นดินแดนแถบนั้นไม่มีชื่อหรอก เมื่อเขียนบนแผนที่ก็เลยเป็นที่มาให้เรียกพวกชนชาติแถบนี้รวมๆ ว่าคนมาลายา [แม้แต่จักรวรรดิจีนอันยิ่งใหญ่ในอดีตก็ไม่ได้เรียกอาณาจักรของตนว่า "จีน" พวกเขาเรียกดินแดนพวกเขาว่า จงกั๋ว (จงหยวน) แต่ฝรั่งเอาแซ่ราชวงศ์จิ๋น (ฉิน) ของจิ๋นซีหวงตี้มาเรียกเป็นชื่อว่าอาณาจักรจิ๋น แล้วเขียนบนแผนที่ทำให้ชาวโลกเรียกอาณาจักรจีนว่า China มาจนทุกวันนี้.. ที่จริงจีนใช้ตัวละตินเขียนว่า Qin แต่ออกเสียง ฉิน] โดยข้อเท็จจริงแล้วประวัติศาสตร์ไม่เคยมีประชาชนมาลายา-มาลายู หรือประเทศมาลายา-มาลายู ไปค้นประวัติศาสตร์ของทุกชาติในเอเชียได้ เช่น บันทึกจีนโบราณ เป็นต้น จะไม่มีบันทึกของชาติใดปรากฏชื่อที่มีสถานะเป็นอาณาจักรหรือประชาชนในชื่อมาลายา-มาลายูอยู่เลย (ใครเจอลองเอามาให้ดูหน่อย) นอกจากหัวเมืองชายแดนอันแยกกันเป็นเอกเทศหลายเมืองที่ล้วนเคยเป็นหัวเมืองประเทศราชของสยามมาก่อน ประเทศมาเลเซียเองเพิ่งปรากฏขึ้นในโลกหลังจากได้เอกราชจากการเป็นอิสระจากอาณานิคมอังกฤษ คนในพื้นที่คาบสมุทรนี้ในยุคก่อนมีราชอาณาจักรสยาม เรียกตัวเองว่า โอรังทั้งนั้น เช่นโอรังบูกิต โอรังเชไม โอรังจาฮัท ฯ... ฝรั่งมันไม่จำหรอก เยอะ.. มันเรียกง่ายๆ ว่าคนมาลายู (ดูแผนที่โบราณที่ผมโพสในคอมเม้นท์ข้างล่างแล้วอ่านคำอธิบาย) เพราะฉนั้น ไม่ใช่แค่คนในอินโด-มาเลเซียที่เป็นพวกอัสเลียน พวกที่เคยเป็นอาณาจักรศรีโพธิ์ อาณาจักรศรีวิชัย พวกศรีธรรมโศกราช พวกพริบพรี พวกละโว้ พวกทวารวดี (ซึ่งต่อมาเป็นพวกสยาม..) พวกมอญ พวกขอม พวกเขมร พวกจาม... ล้วนสืบเชื้อโอรังอัสลิและแม่อะบอริจิ้นมาทั้งนั้น คลานออกมาจากมดลูกเดียวกันทั้งคาบสมุทร!! (เบื่ออธิบายกับพวกแกจริงๆ) . จะบอกอะไรให้อย่างหนึ่ง ในอุษาคเนย์ มีชนพื้นเมืองพวกหนึ่งคือพวกข่าว้าหรือพวกลั๊วะ (บางทีเรียก ว้า ละว้า ล้า) จากผลตรวจดีเอ็นเอทุกชนเผ่าในมณฑลหยุนหนานโดยโปรเฟสเซอร์จินลี (นักวิทยาศาสตร์จีน) พวกข่าว้านี้มียีนเก่าที่สุด พอๆ กับพวกปู้ยี (จ้วงเหนือ). มีคำปรำปราอันหนึ่งของชนเผ่าไทกล่าวว่า "สางสร้างฟ้า ล้าสร้างเมือง" แปลว่า "เทวดาสร้างสวรรค์ พวกละว้าสร้างเมือง" ชนเผ่าไทยกย่องอย่างนี้ว่า ล้าสร้างเมือง... ตำนานน้ำเต้าปุงเล่าว่า สางบันดาลน้ำเต้าลูกมหึมาลงมา ปู่ลางเซิงเอาเหล็กแหลมแทงน้ำเต้าแล้วผู้คนก็ไหลกรูกันออกมา ข่าออกมาก่อน แล้วก็ลาว แล้วก็ไท นี่..ไทก็นับว่าข่าเป็นพี่ลาวเป็นพี่... มีตำนานไทอีกอันเรื่องข้าสี่แสนหมอนม้า ชนเผ่าไทโบราณรบกับพวกละว้าแล้วก็ยึดเมืองจากพวกละว้าได้ ทำให้มีประเพณีที่เมื่อจ้าวไททำพิธีขึ้นกินเมืองจะให้พวกละว้าขึ้นนั่งพระแท่นก่อน แล้วเจ้าไทจึงมาไล่ลง เสร็จแล้วค่อยนั่งครองพระแท่นแทน ธรรมเนียมนี้แสดงว่าคนไทยอมรับว่าล้าสร้างเมืองและเป็นใหญ่มาก่อน แต่เกือบพันปีที่ผ่านมาไม่เคยมีพวกละว้าขอแบ่งแยกดินแดนจากไท-ไทยเลยสักสมัย มีแต่พวกละว้าในพม่าที่เจรจาขอแยกจากการเป็นส่วนหนึ่งของพม่าตอนที่ทำสนธิสัญญาปางโหลงกับนายพลอองซาน. เรื่องของเรื่องก็คือ... ถอยไปอีก พวกนี้ก็มาจากโอรังอัสลิเช่นเดียวกับพวกเซนอยมาลายู แต่เก่ากว่าเป็นพันปี . เดินไปโรงพยาบาลแล้วขอตรวจดีเอ็นเอ ไอ้พวกโง่ แล้วแกจะได้เห็นว่าแกมีเชื้อเดียวกับเซมัง มอเกน. ในดีเอ็นเอมนุษย์มี time stamp อยู่ในสิ่งที่เรียกว่า genetic marker มันบอกอายุของดีเอ็นเอได้ว่าใครเก่ากว่ากัน และจะโยงพวกแกไปยังบรรพบุรุษเดียวกันในแอฟริกา ถึงตอนนั้นพวกแกจะแปลกใจว่าแกไม่ใช่คนมาลายูแล้ว แต่พวกแกเป็นคน "กอยซาน!!" เข้าใจไหม? คนอย่างไอ้เฒ่าจิตตกนั่นมันไม่รู้สี่รู้แปดอะไรหรอก เคยไปเล่าให้มันฟังแม่งนั่งอ้าปากหวอ . อย่างที่กล่าว คำว่า โอรังอัสลิ เป็นคำในภาษามาเลย์ของพวกแก แปลว่า คนดั้งเดิม พวกแกทำไมไม่สู้เพื่อพวกเขาบ้าง? นี่ต่างหาก คนดั้งเดิม แต่ไปที่ไหนก็ยังเห็นพวกแกดูถูกพวกเขาอยู่เสมอ หรือว่าลืมกำพืด อยากเป็นสุลต่านกัน? ถ้าพวกแกมีจิตวิญญาณของนักรบจริง ที่กาซ่า พี่น้องมุสลิมชาวปาเลสไตน์กำลังถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยพวกยิว ในฐานะมุสลิมด้วยกัน ไปสิ จับอาวุธแล้วไปต่อสู้เพื่อพวกเขา กล้าพอไหม? ไปชวนพี่น้องแกในมาเลเซียด้วย ถ้าที่นั่นยังมีนักรบนะ จิตสำนึกมุสลิมอันยิ่งใหญ่มีอยู่ไหมในมาเลเซีย พระเจ้าจะสรรเสริญพวกแกและรับพวกแกไปสู่ญันนะฮฺเมื่อได้สละชีพ คงไม่หรอก เพราะพวกแกฆ่าได้แม้กระทั่งเด็กน้อยที่บริสุทธิ์ ไม่ต่างอะไรกับพวกยิวอิสราเอล อัลลาฮฺอักบัร . #ปาตานี #แบ่งแยกดินแดน #คนมลายูอยู่มาก่อนสยาม #โอรังอัสลิ #โอรังลาโว้ย #เสียงเพรียกจากท้องน้ำ
    4 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 554 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไหนๆ คราวที่แล้วคุยกันเรื่องบทกวีแล้ว วันนี้ต่ออีกสักเรื่อง สืบเนื่องจาก Storyฯ เกิดความ ‘เอ๊ะ’ เกี่ยวกับชื่อภาษาจีนของละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> ซึ่งชื่อจีนนั้นยาวมาก อ่านว่า ‘จือโฝ่ว จือโฝ่ว อิ้งซื่อลวี่เฝยหงโซ่ว’ (知否 知否 应是绿肥红瘦) แปลได้ตรงตัวว่า ‘รู้หรือไม่ รู้หรือไม่ ควรเป็นสีเขียวอ้วนหนาสีแดงผอมบาง’

    เป็นชื่อเรื่องที่แปลกประหลาดใช่ไหม?

    Storyฯ ไปทำการบ้านมา พบว่าประโยค ‘จือโฝ่วฯ’ นี้เป็นวรรคสุดท้ายของบทกวีในสมัยซ่งเหนือที่มีชื่อว่า ‘หรูเมิ่งลิ่ง:จั่วเยี่ยอวี่ซูเฟิงโจ้ว’ (如梦令·昨夜雨疏风骤) มีทั้งหมด 33 อักษร ประพันธ์โดยนักกวีหญิงซึ่งเป็นหนึ่งในกวีเอกของจีนโบราณ เธอคือหลี่ชิงเจ้า (ค.ศ. 1084-1155)

    บทกวีนี้เป็นผลงานยุคแรกๆ ของเธอ เป็นกลอนสั้นในรูปแบบที่เรียกว่า ‘ซ่งฉือ’ (宋词) ซึ่งจริงๆ แล้วสไตล์นี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฉิน แต่มานิยมอย่างแพร่หลายในสมัยราชวงศ์ซ่ง เรียกได้ว่า บทกวีในสมัยถังส่วนใหญ่คือ ‘ซือ’ (诗) และของสมัยซ่งส่วนใหญ่คือ ‘ฉือ’ (词)

    ‘ซือ’ (诗) แตกต่างจาก ‘ฉือ’ (词) อย่างไร?

    ‘ซือ’ (诗) ซึ่งนิยมในสมัยถังหรือที่เรียกกันว่า ‘ถังซือ’ เป็นสไตล์ที่โดยปกติมีความยาวจำนวนอักษรเท่ากันทุกวรรค มีความคล้องจองแบบโคลงกลอนที่เราคุ้นเคย (เช่นโคลงห้าที่ Storyฯ เคยเขียนถึงไปแล้วในเรื่องที่เกี่ยวกับละคร <ทุกชาติภพฯ>) แต่ ‘ฉือ’เป็นบทกวีที่มีความยาวสั้นไม่เท่ากันทุกวรรค แม้ว่าจะมีการกำหนดรูปแบบจำนวนอักษรและจุดที่คล้องจอง เดิมประพันธ์ขึ้นเพื่ออ่านเล่นยามบรรเลงดนตรี ความคล้องจองของวลีและความยาวสั้นจึงเน้นให้เข้ากับท่วงทำนองดนตรีเป็นหลัก ดังนั้น แรกเริ่มเลย ‘ฉือ’ จึงถูกมองว่าฉาบฉวยกว่า ในขณะที่ ‘ซือ’ ถูกมองว่าเป็นศิลปะอักษรขั้นสูงของผู้ที่มีการศึกษาซึ่งเน้นเนื้อหาเชิงปรัชญา แต่ ‘ฉือ’ เน้นบรรยายอารมณ์

    ‘หรูเมิ่งลิ่ง:จั่วเยี่ยอวี่ซูเฟิงโจ้ว’ โดยสรุปเป็นการบรรยายโดยกวีหญิงของเราว่า เมื่อคืนที่ฝนพรำแต่ลมแรงผ่านพ้นไป นางตื่นขึ้นมาแต่ยังรู้สึกไม่สร่างเมานัก ลองถามสาวใช้ว่านอกห้องเป็นอย่างไรบ้าง สาวใช้บอกว่าดอกไห่ถัง (ดอกแอปเปิ้ลชนิดหนึ่ง) ยังคงเดิม แต่นางไม่เชื่อ กลับพึมพำกึ่งบ่นด้วยอารมณ์เสียดายว่า จริงแล้วคงจะเป็นภาพของดอกไม้ที่ร่วงเกือบหมด (คือ ‘สีแดงผอมบาง’ ในบทกวี) เหลือแต่ใบสีเขียว (คือ ‘สีเขียวอ้วนหนา’ ในบทกวี)

    บทกวีนี้โด่งดังมาก เพราะเลือกใช้คำที่สะท้อนความรู้สึกได้ดี มีการใช้คำที่แปลก (เช่น ใช้คำว่า ‘อ้วนหนา’ และ ‘ผอมบาง’ ที่ปกติใช้บรรยายรูปร่างของคนมาบรรยายต้นไม้ดอกไม้) และสามารถสะท้อนถึงความรู้สึกเสียดายบุปผา (ซึ่งอาจหมายถึงช่วงเวลาที่เบ่งบานของสตรี) ที่ถูกซัดร่วงด้วยลมแรง

    เมื่อถูกนำมาใช้เป็นชื่อนิยายเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นี้ เราจะรู้สึกได้ทันทีว่านี่เป็นเรื่องราวของบุปผาที่ต้องเผชิญกับลมแรง เป็นการสะท้อนถึงเรื่องราวของหมิงหลันและพี่สาวตระกูลเสิ้งที่ต้องเผชิญกับมรสุมชีวิต เฉกเช่นดอกไห่ถังที่บ้างก็ร่วงโรย บ้างก็คงอยู่ได้ภายหลังมรสุมผ่านพ้นไป

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://k.sina.cn/article_5039775130_p12c64dd9a02700mi8d.html
    https://m.baobeibaobei.com/zaojiao/13829.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.yiyiwenku.com/p/25984.html
    http://www.360doc.com/content/16/0329/06/6956316_546147932.shtml
    http://www.guoxuemeng.com/mingju/440922.html
    https://m.baobeibaobei.com/zaojiao/13829.html
    https://k.sina.cn/article_6401504340_17d8f345400100fpi0.html

    #หมิงหลัน #จือโฝ่ว #ซ่งฉือ #กวีซ่ง #หลี่ชิงเจ้า #ถังซือ #กวีถัง
    ไหนๆ คราวที่แล้วคุยกันเรื่องบทกวีแล้ว วันนี้ต่ออีกสักเรื่อง สืบเนื่องจาก Storyฯ เกิดความ ‘เอ๊ะ’ เกี่ยวกับชื่อภาษาจีนของละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> ซึ่งชื่อจีนนั้นยาวมาก อ่านว่า ‘จือโฝ่ว จือโฝ่ว อิ้งซื่อลวี่เฝยหงโซ่ว’ (知否 知否 应是绿肥红瘦) แปลได้ตรงตัวว่า ‘รู้หรือไม่ รู้หรือไม่ ควรเป็นสีเขียวอ้วนหนาสีแดงผอมบาง’ เป็นชื่อเรื่องที่แปลกประหลาดใช่ไหม? Storyฯ ไปทำการบ้านมา พบว่าประโยค ‘จือโฝ่วฯ’ นี้เป็นวรรคสุดท้ายของบทกวีในสมัยซ่งเหนือที่มีชื่อว่า ‘หรูเมิ่งลิ่ง:จั่วเยี่ยอวี่ซูเฟิงโจ้ว’ (如梦令·昨夜雨疏风骤) มีทั้งหมด 33 อักษร ประพันธ์โดยนักกวีหญิงซึ่งเป็นหนึ่งในกวีเอกของจีนโบราณ เธอคือหลี่ชิงเจ้า (ค.ศ. 1084-1155) บทกวีนี้เป็นผลงานยุคแรกๆ ของเธอ เป็นกลอนสั้นในรูปแบบที่เรียกว่า ‘ซ่งฉือ’ (宋词) ซึ่งจริงๆ แล้วสไตล์นี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฉิน แต่มานิยมอย่างแพร่หลายในสมัยราชวงศ์ซ่ง เรียกได้ว่า บทกวีในสมัยถังส่วนใหญ่คือ ‘ซือ’ (诗) และของสมัยซ่งส่วนใหญ่คือ ‘ฉือ’ (词) ‘ซือ’ (诗) แตกต่างจาก ‘ฉือ’ (词) อย่างไร? ‘ซือ’ (诗) ซึ่งนิยมในสมัยถังหรือที่เรียกกันว่า ‘ถังซือ’ เป็นสไตล์ที่โดยปกติมีความยาวจำนวนอักษรเท่ากันทุกวรรค มีความคล้องจองแบบโคลงกลอนที่เราคุ้นเคย (เช่นโคลงห้าที่ Storyฯ เคยเขียนถึงไปแล้วในเรื่องที่เกี่ยวกับละคร <ทุกชาติภพฯ>) แต่ ‘ฉือ’เป็นบทกวีที่มีความยาวสั้นไม่เท่ากันทุกวรรค แม้ว่าจะมีการกำหนดรูปแบบจำนวนอักษรและจุดที่คล้องจอง เดิมประพันธ์ขึ้นเพื่ออ่านเล่นยามบรรเลงดนตรี ความคล้องจองของวลีและความยาวสั้นจึงเน้นให้เข้ากับท่วงทำนองดนตรีเป็นหลัก ดังนั้น แรกเริ่มเลย ‘ฉือ’ จึงถูกมองว่าฉาบฉวยกว่า ในขณะที่ ‘ซือ’ ถูกมองว่าเป็นศิลปะอักษรขั้นสูงของผู้ที่มีการศึกษาซึ่งเน้นเนื้อหาเชิงปรัชญา แต่ ‘ฉือ’ เน้นบรรยายอารมณ์ ‘หรูเมิ่งลิ่ง:จั่วเยี่ยอวี่ซูเฟิงโจ้ว’ โดยสรุปเป็นการบรรยายโดยกวีหญิงของเราว่า เมื่อคืนที่ฝนพรำแต่ลมแรงผ่านพ้นไป นางตื่นขึ้นมาแต่ยังรู้สึกไม่สร่างเมานัก ลองถามสาวใช้ว่านอกห้องเป็นอย่างไรบ้าง สาวใช้บอกว่าดอกไห่ถัง (ดอกแอปเปิ้ลชนิดหนึ่ง) ยังคงเดิม แต่นางไม่เชื่อ กลับพึมพำกึ่งบ่นด้วยอารมณ์เสียดายว่า จริงแล้วคงจะเป็นภาพของดอกไม้ที่ร่วงเกือบหมด (คือ ‘สีแดงผอมบาง’ ในบทกวี) เหลือแต่ใบสีเขียว (คือ ‘สีเขียวอ้วนหนา’ ในบทกวี) บทกวีนี้โด่งดังมาก เพราะเลือกใช้คำที่สะท้อนความรู้สึกได้ดี มีการใช้คำที่แปลก (เช่น ใช้คำว่า ‘อ้วนหนา’ และ ‘ผอมบาง’ ที่ปกติใช้บรรยายรูปร่างของคนมาบรรยายต้นไม้ดอกไม้) และสามารถสะท้อนถึงความรู้สึกเสียดายบุปผา (ซึ่งอาจหมายถึงช่วงเวลาที่เบ่งบานของสตรี) ที่ถูกซัดร่วงด้วยลมแรง เมื่อถูกนำมาใช้เป็นชื่อนิยายเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นี้ เราจะรู้สึกได้ทันทีว่านี่เป็นเรื่องราวของบุปผาที่ต้องเผชิญกับลมแรง เป็นการสะท้อนถึงเรื่องราวของหมิงหลันและพี่สาวตระกูลเสิ้งที่ต้องเผชิญกับมรสุมชีวิต เฉกเช่นดอกไห่ถังที่บ้างก็ร่วงโรย บ้างก็คงอยู่ได้ภายหลังมรสุมผ่านพ้นไป (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://k.sina.cn/article_5039775130_p12c64dd9a02700mi8d.html https://m.baobeibaobei.com/zaojiao/13829.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.yiyiwenku.com/p/25984.html http://www.360doc.com/content/16/0329/06/6956316_546147932.shtml http://www.guoxuemeng.com/mingju/440922.html https://m.baobeibaobei.com/zaojiao/13829.html https://k.sina.cn/article_6401504340_17d8f345400100fpi0.html #หมิงหลัน #จือโฝ่ว #ซ่งฉือ #กวีซ่ง #หลี่ชิงเจ้า #ถังซือ #กวีถัง
    赵丽颖主演的《知否知否应是绿肥红瘦》竟然已经重播39次了
    赵丽颖主演的《知否知否应是绿肥红瘦》竟然已经重播39次了,小赵也太能打了吧!这个成绩是真的亮眼 ​
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 367 มุมมอง 0 รีวิว
  • Storyฯ เพิ่งจะได้เริ่มดูละครเรื่อง <ชิวเยียนยอดหญิงพลิกชะตา> ได้เห็นเกมการแข่งขันชนิดหนึ่ง (ดูรูปแรก) มีลานที่เป็นเนินเล็กเนินน้อย ผู้เล่นจับคู่กันใช้ไม้ปลายงอตีลูกบอลขนาดเล็กกว่าหัวทารกหน่อยเพื่อให้ลงหลุมที่มีปักธงไว้ เกมนี้เรียกว่า ‘ฉุยหวาน’ (捶丸 แปลตรงตัวว่า ตี+ลูกทรงกลมขนาดเล็ก) เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ทันทีเพราะมันเหมือนกอล์ฟมาก

    มีการบันทึกกติกาการเล่น ‘ฉุยหวาน’ และรายละเอียดของอุปกรณ์ไว้ใน ‘ตำราหวานจิง’ (丸经) ในสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368) แต่จริงๆ แล้วมีการเล่นเกมกีฬานี้มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ (ค.ศ. 960-1127) ว่ากันว่าพัฒนามาจากการเล่น ‘ปู้ต่าฉิว’ (步打球)ในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) ซึ่งเป็นการเดินใช้ไม้ตีลูกบอลเข้าโกล แต่ไม่ได้ขุดเป็นหลุม

    ในพิพิธภัณฑ์ในพระราชวังต้องห้ามมีแสดงภาพวาดการเล่นฉุยหวานขององค์เซวียนจงแห่งราชวงศ์หมิง มีการวิเคราะห์ว่าทั้งสองพระหัตถ์ทรงถือไม้ แสดงให้เห็นว่าทรงกำลังเลือกอยู่ว่าจะใช้ไม้อันไหนดี มีคนคอยแนะนำอยู่ด้านข้าง มีรูห้ารูปักธงไว้ มีลักษณะเล่นกันเป็นทีม

    จากบันทึกโบราณ ฉุยหวานเป็นการเล่นกลางแจ้ง ทั้งบนสนามเฉพาะและบนลานพื้นทั่วไปที่อาจไม่เรียบ แต่เอกลักษณ์คือให้ตีลูกหวานที่ทำจากไม้ให้ลงหลุม โดยไม้ตีมีปลายงอ กำหนดให้ตีได้เพียงสามครั้งต่อหนึ่งเกม (สรุปการเล่นในรูปสองด้านล่าง ส่วนด้านบนเป็นรูปลูกหวานโบราณ) การแข่งขันสามารถจัดได้รอบเล็กใหญ่ตามจำนวนผู้ที่เข้าร่วม เล่นได้แบบเป็นทีมและแบบเดี่ยว ลูกหวานจะใช้ลวดลายหรือสีแตกต่างกันไปสำหรับผู้แข่งเพื่อป้องกันความสับสน (ซึ่งดูจะต่างจากในละคร) ตามบันทึกนั้นขั้นตอนการทำไม้ตีก็มีความละเมียดละไม เช่นเก็บเกี่ยวไม้ในฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูหนาว ทิ้งไว้หนึ่งฤดูกาลค่อยเอามาขึ้นรูป ใช้กาวทำจากเจลาตินของวัวเพื่อช่วยประกอบ ฯลฯ

    ที่ Storyฯ คิดว่าแปลกคือ ใน ‘ตำราหวานจิง’ มีการพูดถึงว่า ไม้ที่สองต้องตีด้วยท่าคุกเข่า (ในละครไม่มี) ซึ่งคล้ายคลึงกับเกม Colf ของชาวดัตช์ในยุคศตวรรษที่ 13 เพียงแต่ Colf เป็นการตีเล่นบทถนน ไม่ได้มีสนามเฉพาะ ว่ากันว่ากอล์ฟ (Golf) พัฒนามาจากเกมคอล์ฟ (Colf) นี่เอง

    กลับมาที่ฉุยหวาน มันเป็นเกมกีฬาที่เล่นได้ทั้งชายและหญิงในกลุ่มชนชั้นสูง นิยมมากในสมัยหมิง แต่ต่อมาคลายความนิยมลงในสมัยราชวงศ์ชิง กลายเป็นเพียงเกมละเล่นของเด็กและแม่บ้าน

    ฉุยหวานเป็นต้นกำเนิดของกอล์ฟหรือไม่? ประเด็นนี้ไม่มีการยอมรับอย่างเป็นทางการ เพราะทางฝั่งฝรั่งก็มีการละเล่นที่คล้ายคลึงเหมือนกัน แต่ที่แน่ๆ คือว่า ฉุยหวานดูจะมีมาก่อนการละเล่นพวกนี้ในแถบยุโรปเป็นพันปี

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://new.qq.com/omn/20200422/20200422A0M90Z00.html?pc
    https://ancientgolf.missionhillschina.com/index_en.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://new.qq.com/omn/20200422/20200422A0M90Z00.html?pc
    https://baike.baidu.com/item/步打球/192835
    https://baike.baidu.com/item/捶丸/3805675
    https://www.chinanews.com.cn/cul/2015/07-31/7440448.shtml
    https://www.sohu.com/a/423834335_120059786
    https://www.scottishgolfhistory.org/news/chuiwan/

    #ชิวเยียนยอดหญิง #ฉุยหวาน #ฉุยหวัน #กีฬาจีนโบราณ #กีฬาซ่ง #กอล์ฟจีนโบราณ
    Storyฯ เพิ่งจะได้เริ่มดูละครเรื่อง <ชิวเยียนยอดหญิงพลิกชะตา> ได้เห็นเกมการแข่งขันชนิดหนึ่ง (ดูรูปแรก) มีลานที่เป็นเนินเล็กเนินน้อย ผู้เล่นจับคู่กันใช้ไม้ปลายงอตีลูกบอลขนาดเล็กกว่าหัวทารกหน่อยเพื่อให้ลงหลุมที่มีปักธงไว้ เกมนี้เรียกว่า ‘ฉุยหวาน’ (捶丸 แปลตรงตัวว่า ตี+ลูกทรงกลมขนาดเล็ก) เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ทันทีเพราะมันเหมือนกอล์ฟมาก มีการบันทึกกติกาการเล่น ‘ฉุยหวาน’ และรายละเอียดของอุปกรณ์ไว้ใน ‘ตำราหวานจิง’ (丸经) ในสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368) แต่จริงๆ แล้วมีการเล่นเกมกีฬานี้มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ (ค.ศ. 960-1127) ว่ากันว่าพัฒนามาจากการเล่น ‘ปู้ต่าฉิว’ (步打球)ในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) ซึ่งเป็นการเดินใช้ไม้ตีลูกบอลเข้าโกล แต่ไม่ได้ขุดเป็นหลุม ในพิพิธภัณฑ์ในพระราชวังต้องห้ามมีแสดงภาพวาดการเล่นฉุยหวานขององค์เซวียนจงแห่งราชวงศ์หมิง มีการวิเคราะห์ว่าทั้งสองพระหัตถ์ทรงถือไม้ แสดงให้เห็นว่าทรงกำลังเลือกอยู่ว่าจะใช้ไม้อันไหนดี มีคนคอยแนะนำอยู่ด้านข้าง มีรูห้ารูปักธงไว้ มีลักษณะเล่นกันเป็นทีม จากบันทึกโบราณ ฉุยหวานเป็นการเล่นกลางแจ้ง ทั้งบนสนามเฉพาะและบนลานพื้นทั่วไปที่อาจไม่เรียบ แต่เอกลักษณ์คือให้ตีลูกหวานที่ทำจากไม้ให้ลงหลุม โดยไม้ตีมีปลายงอ กำหนดให้ตีได้เพียงสามครั้งต่อหนึ่งเกม (สรุปการเล่นในรูปสองด้านล่าง ส่วนด้านบนเป็นรูปลูกหวานโบราณ) การแข่งขันสามารถจัดได้รอบเล็กใหญ่ตามจำนวนผู้ที่เข้าร่วม เล่นได้แบบเป็นทีมและแบบเดี่ยว ลูกหวานจะใช้ลวดลายหรือสีแตกต่างกันไปสำหรับผู้แข่งเพื่อป้องกันความสับสน (ซึ่งดูจะต่างจากในละคร) ตามบันทึกนั้นขั้นตอนการทำไม้ตีก็มีความละเมียดละไม เช่นเก็บเกี่ยวไม้ในฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูหนาว ทิ้งไว้หนึ่งฤดูกาลค่อยเอามาขึ้นรูป ใช้กาวทำจากเจลาตินของวัวเพื่อช่วยประกอบ ฯลฯ ที่ Storyฯ คิดว่าแปลกคือ ใน ‘ตำราหวานจิง’ มีการพูดถึงว่า ไม้ที่สองต้องตีด้วยท่าคุกเข่า (ในละครไม่มี) ซึ่งคล้ายคลึงกับเกม Colf ของชาวดัตช์ในยุคศตวรรษที่ 13 เพียงแต่ Colf เป็นการตีเล่นบทถนน ไม่ได้มีสนามเฉพาะ ว่ากันว่ากอล์ฟ (Golf) พัฒนามาจากเกมคอล์ฟ (Colf) นี่เอง กลับมาที่ฉุยหวาน มันเป็นเกมกีฬาที่เล่นได้ทั้งชายและหญิงในกลุ่มชนชั้นสูง นิยมมากในสมัยหมิง แต่ต่อมาคลายความนิยมลงในสมัยราชวงศ์ชิง กลายเป็นเพียงเกมละเล่นของเด็กและแม่บ้าน ฉุยหวานเป็นต้นกำเนิดของกอล์ฟหรือไม่? ประเด็นนี้ไม่มีการยอมรับอย่างเป็นทางการ เพราะทางฝั่งฝรั่งก็มีการละเล่นที่คล้ายคลึงเหมือนกัน แต่ที่แน่ๆ คือว่า ฉุยหวานดูจะมีมาก่อนการละเล่นพวกนี้ในแถบยุโรปเป็นพันปี (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://new.qq.com/omn/20200422/20200422A0M90Z00.html?pc https://ancientgolf.missionhillschina.com/index_en.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://new.qq.com/omn/20200422/20200422A0M90Z00.html?pc https://baike.baidu.com/item/步打球/192835 https://baike.baidu.com/item/捶丸/3805675 https://www.chinanews.com.cn/cul/2015/07-31/7440448.shtml https://www.sohu.com/a/423834335_120059786 https://www.scottishgolfhistory.org/news/chuiwan/ #ชิวเยียนยอดหญิง #ฉุยหวาน #ฉุยหวัน #กีฬาจีนโบราณ #กีฬาซ่ง #กอล์ฟจีนโบราณ
    腾讯网
    腾讯网从2003年创立至今,已经成为集新闻信息,区域垂直生活服务、社会化媒体资讯和产品为一体的互联网媒体平台。腾讯网下设新闻、科技、财经、娱乐、体育、汽车、时尚等多个频道,充分满足用户对不同类型资讯的需求。同时专注不同领域内容,打造精品栏目,并顺应技术发展趋势,推出网络直播等创新形式,改变了用户获取资讯的方式和习惯。
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 413 มุมมอง 0 รีวิว
  • กลับมาอีกครั้งกับเรื่องราวใน <ตำนานหมิงหลัน> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้จะเห็นว่ามีหลายฉากที่ดำเนินเรื่องผ่านการนั่งเรียนหนังสือของสามสาวตระกูลเสิ้ง ซึ่งพวกนางเข้าเรียนพร้อมพี่ชายในโรงเรียนส่วนบุคคลของครอบครัวสกุลเสิ้ง หรือที่เรียกว่า ‘เจียสู’ (家塾/Family School)

    เจียสูคืออะไร?

    เจียสูมีมาตั้งแต่สมัยชุนชิว (กว่าเจ็ดร้อยปีก่อนคริสตกาล) จวบจนสมัยราชวงศ์ชิงก็ยังมีอยู่ เป็นการจัดห้องเรียนขึ้นที่บ้าน เชิญอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิมาสอน โดยปกติแล้วอาจารย์จะพำนักอยู่ในเรือนตระกูลนั้นเลย มีค่าจ้าง ที่พักและอาหารครบทุกมื้อ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเป็นเฉพาะตระกูลที่มีฐานะ (ปกติเป็นตระกูลขุนนาง) จึงจะมีกำลังทรัพย์พอที่จะทำอย่างนี้ได้

    ในละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นี้ มีฉีเหิงและกู้ถิงเยี่ยซึ่งเป็นบุรุษนอกสกุลมาร่วมเรียนด้วย ในนิยายบอกว่าฉีเหิงมาร่วมเรียนเพราะเป็นศิษย์ของอาจารย์คนนี้อยู่แล้ว ในขณะที่กู้ถิงเยี่ยเป็นญาติของตระกูลเสิ้งจึงมาร่วมเรียนได้ และที่ยอมมาเรียนที่เจียสูของตระกูลเสิ้งที่เป็นขุนนางยศต่ำกว่าครอบครัวของพวกเขาก็เพราะอาจารย์ท่านนี้ดังมาก ปกติไม่รับสอนตามเจียสู แต่ที่มาสอนให้ตระกูลเสิ้งก็เพื่อทดแทนบุญคุณ

    แต่ Storyฯ เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ว่าทำไมพวกเขาทำได้ในเมื่อสตรีตระกูลสูงศักดิ์สมัยโบราณต้องเก็บตัวเงียบอยู่ในเรือนห้ามพบปะผู้ชายนอกสกุล?

    ในบทประพันธ์ <ความฝันในหอแดง> ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนคลาสสิคมีการอธิบายโดยตัวละครเอกไว้ว่า คนในเครือวงศ์ตระกูลที่ไม่มีกำลังทรัพย์จ้างอาจารย์ส่วนตัวก็มาเรียนที่เจียสูได้ หรือหากใครมีญาติที่เป็นนักเรียนอยู่แล้วก็มาเรียนด้วยกันที่เจียสูนี้ได้ ซึ่งการเรียนในเจียสูเป็นการเรียนรวมคละวัยคละเพศชายหญิง

    เนื่องจากลูกหลานฝ่ายชายมีเป้าหมายคือลงสนามสอบราชบัณฑิตด้วย ดังนั้นหลักสูตรที่สอนจะเข้มข้นมาก แล้วเขาเรียนอะไร? หลักสูตรทั่วไปคือ ‘ซื่อซู อู่จิง’ (四书五经 / Four Books and Five Classics / สี่หนังสือห้าคัมภีร์) ซึ่ง ‘สี่หนังสือ’ นี้คือหนังสือว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อ ส่วน ‘ห้าคัมภีร์’ นั้นหมายถึง
    - ซือจิง (บทกวีและบทร้อยกรอง)
    - ซูจิง (บทความและประวัติศาสตร์)
    - อี้จิง (โหราศาสตร์)
    - ชุนชิว (บันทึกเหตุการณ์สำคัญและพงศาวดาร)
    - หลี่จี้ (พิธีกรรมและประเพณี)

    เจียสูเป็นหนึ่งในรูปแบบของการเรียนเอกชน นอกจากเจียสูนี้ เอกชนยังมีการลงขันเปิดเป็นโรงเรียนกันในหมู่บ้าน (เรียกว่า ชุนสู/村塾) หรืออาจมีเจ้าภาพที่ได้รับเงินบริจาคจัดตั้งเป็นโรงเรียนขึ้น (เรียกว่า อี้สู/义塾) หรืออาจเป็นตัวอาจารย์เองเปิดสอนหนังสือโดยเรียกเก็บค่าเล่าเรียนจากนักเรียน

    สตรีจีนโบราณไม่มีโอกาสได้เรียนในสำนักศึกษาหลวง และส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องจรรยาของสตรี โคลงกลอนและการดนตรี หากไม่ได้เรียนตามโรงเรียนเอกชนที่กล่าวมาข้างต้นก็จะเรียนกันที่บ้านตามมีตามเกิดหรือไม่ได้เรียน นอกจากนี้ ยังมีที่ศึกษาเองในระหว่างที่ออกบวชเป็นชี หรืออีกสุดขั้วหนึ่งคือการเรียนในหอนางโลมสำหรับนางโลมที่ต้องมีวิชาความรู้ติดตัวเพื่อทำมาหากิน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://kknews.cc/zh-my/entertainment/4k6q6zg.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.fxjyb.com/xiandai/276.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/77983438
    https://m.lunwendata.com/show.php?id=34312
    https://kknews.cc/history/pvkjmzj.html
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e3ce1325253f66e731416fc1
    http://old-book.ru.ac.th/e-book/e/EF206(49)/EF206(49)-5.pdf
    #หมิงหลัน #การเรียนเอกชนจีนโบราณ #การเรียนสตรีจีนโบราณ #สี่หนังสือห้าคัมภีร์ #เจียสู
    กลับมาอีกครั้งกับเรื่องราวใน <ตำนานหมิงหลัน> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้จะเห็นว่ามีหลายฉากที่ดำเนินเรื่องผ่านการนั่งเรียนหนังสือของสามสาวตระกูลเสิ้ง ซึ่งพวกนางเข้าเรียนพร้อมพี่ชายในโรงเรียนส่วนบุคคลของครอบครัวสกุลเสิ้ง หรือที่เรียกว่า ‘เจียสู’ (家塾/Family School) เจียสูคืออะไร? เจียสูมีมาตั้งแต่สมัยชุนชิว (กว่าเจ็ดร้อยปีก่อนคริสตกาล) จวบจนสมัยราชวงศ์ชิงก็ยังมีอยู่ เป็นการจัดห้องเรียนขึ้นที่บ้าน เชิญอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิมาสอน โดยปกติแล้วอาจารย์จะพำนักอยู่ในเรือนตระกูลนั้นเลย มีค่าจ้าง ที่พักและอาหารครบทุกมื้อ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเป็นเฉพาะตระกูลที่มีฐานะ (ปกติเป็นตระกูลขุนนาง) จึงจะมีกำลังทรัพย์พอที่จะทำอย่างนี้ได้ ในละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นี้ มีฉีเหิงและกู้ถิงเยี่ยซึ่งเป็นบุรุษนอกสกุลมาร่วมเรียนด้วย ในนิยายบอกว่าฉีเหิงมาร่วมเรียนเพราะเป็นศิษย์ของอาจารย์คนนี้อยู่แล้ว ในขณะที่กู้ถิงเยี่ยเป็นญาติของตระกูลเสิ้งจึงมาร่วมเรียนได้ และที่ยอมมาเรียนที่เจียสูของตระกูลเสิ้งที่เป็นขุนนางยศต่ำกว่าครอบครัวของพวกเขาก็เพราะอาจารย์ท่านนี้ดังมาก ปกติไม่รับสอนตามเจียสู แต่ที่มาสอนให้ตระกูลเสิ้งก็เพื่อทดแทนบุญคุณ แต่ Storyฯ เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ว่าทำไมพวกเขาทำได้ในเมื่อสตรีตระกูลสูงศักดิ์สมัยโบราณต้องเก็บตัวเงียบอยู่ในเรือนห้ามพบปะผู้ชายนอกสกุล? ในบทประพันธ์ <ความฝันในหอแดง> ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนคลาสสิคมีการอธิบายโดยตัวละครเอกไว้ว่า คนในเครือวงศ์ตระกูลที่ไม่มีกำลังทรัพย์จ้างอาจารย์ส่วนตัวก็มาเรียนที่เจียสูได้ หรือหากใครมีญาติที่เป็นนักเรียนอยู่แล้วก็มาเรียนด้วยกันที่เจียสูนี้ได้ ซึ่งการเรียนในเจียสูเป็นการเรียนรวมคละวัยคละเพศชายหญิง เนื่องจากลูกหลานฝ่ายชายมีเป้าหมายคือลงสนามสอบราชบัณฑิตด้วย ดังนั้นหลักสูตรที่สอนจะเข้มข้นมาก แล้วเขาเรียนอะไร? หลักสูตรทั่วไปคือ ‘ซื่อซู อู่จิง’ (四书五经 / Four Books and Five Classics / สี่หนังสือห้าคัมภีร์) ซึ่ง ‘สี่หนังสือ’ นี้คือหนังสือว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อ ส่วน ‘ห้าคัมภีร์’ นั้นหมายถึง - ซือจิง (บทกวีและบทร้อยกรอง) - ซูจิง (บทความและประวัติศาสตร์) - อี้จิง (โหราศาสตร์) - ชุนชิว (บันทึกเหตุการณ์สำคัญและพงศาวดาร) - หลี่จี้ (พิธีกรรมและประเพณี) เจียสูเป็นหนึ่งในรูปแบบของการเรียนเอกชน นอกจากเจียสูนี้ เอกชนยังมีการลงขันเปิดเป็นโรงเรียนกันในหมู่บ้าน (เรียกว่า ชุนสู/村塾) หรืออาจมีเจ้าภาพที่ได้รับเงินบริจาคจัดตั้งเป็นโรงเรียนขึ้น (เรียกว่า อี้สู/义塾) หรืออาจเป็นตัวอาจารย์เองเปิดสอนหนังสือโดยเรียกเก็บค่าเล่าเรียนจากนักเรียน สตรีจีนโบราณไม่มีโอกาสได้เรียนในสำนักศึกษาหลวง และส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องจรรยาของสตรี โคลงกลอนและการดนตรี หากไม่ได้เรียนตามโรงเรียนเอกชนที่กล่าวมาข้างต้นก็จะเรียนกันที่บ้านตามมีตามเกิดหรือไม่ได้เรียน นอกจากนี้ ยังมีที่ศึกษาเองในระหว่างที่ออกบวชเป็นชี หรืออีกสุดขั้วหนึ่งคือการเรียนในหอนางโลมสำหรับนางโลมที่ต้องมีวิชาความรู้ติดตัวเพื่อทำมาหากิน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://kknews.cc/zh-my/entertainment/4k6q6zg.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.fxjyb.com/xiandai/276.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/77983438 https://m.lunwendata.com/show.php?id=34312 https://kknews.cc/history/pvkjmzj.html https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e3ce1325253f66e731416fc1 http://old-book.ru.ac.th/e-book/e/EF206(49)/EF206(49)-5.pdf #หมิงหลัน #การเรียนเอกชนจีนโบราณ #การเรียนสตรีจีนโบราณ #สี่หนังสือห้าคัมภีร์ #เจียสู
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 502 มุมมอง 0 รีวิว
  • **ดินแดนเนรเทศจีนโบราณ**

    สวัสดีค่ะ สองสัปดาห์ที่แล้วเราคุยเรื่องการไถ่โทษเนรเทศ วันนี้เลยมาคุยกันต่อเกี่ยวกับเกร็ดความรู้จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ว่าด้วยดินแดนเนรเทศ

    จิ่วฉงจื่อฯ เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติแต่เสื้อผ้าและสภาพสังคมอิงตามสมัยหมิง และในเรื่องนี้ บุรุษในครอบครัวสกุลเจี่ยงของติ้งกั๋วกงเจี่ยงเหมยซุน (ลุงของพระเอก) ถูกเนรเทศไปยังพื้นที่ที่มีชื่อว่า ‘เถียหลิ่งเว่ย’ ซึ่งเป็นหนึ่งในดินแดนเนรเทศยอดนิยมทางเหนือในสมัยนั้น

    แรกเริ่มเลยในสมัยบรรพกาล หากมีการเนรเทศจะนิยมส่งไปพื้นที่โยวโจว (แถบปักกิ่งปัจจุบัน) ต่อมามีการใช้พื้นที่อื่น ซึ่งโดยหลักการคือต้องเป็นพื้นที่ทุรกันดารและด้อยพัฒนา ไม่ว่าจะด้วยสภาพดินฟ้าอากาศหรือภูมิประเทศ ในสมัยฮั่นนิยมใช้พื้นที่แถบภูเขาทางตะวันตกในมณฑลเสฉวน เนื่องจากหนาวเย็น ไกลจากเส้นทางการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจ อีกทั้งภูมิประเทศเป็นเขาสูงทำให้ง่ายต่อการกักบริเวณนักโทษ ต่อมาเมื่อมีการขยายดินแดนและพัฒนาเศรษฐกิจลงใต้ ก็ยิ่งส่งนักโทษเนรเทศลงใต้ไปไกลยิ่งขึ้นโดยมีพื้นที่ยอดฮิตคือแถบหลิ่งหนานและไห่หนาน (กวางเจา กวางซี ฯลฯ) และไกลลงไปถึงเวียดนาม ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ห่างไกลความเจริญและมีพายุฝนและสภาพอากาศร้อนชื้น ง่ายต่อการล้มป่วย นับว่าทุรกันดารไม่แพ้กัน จวบจนยุคถังและซ่งก็ยังนิยมใช้พื้นที่ติดชายแดนทางตอนใต้นี้ (ดูรูปประกอบขวาบน)

    ส่วนพื้นที่ทางเหนือที่นิยมใช้เป็นดินแดนเนรเทศนั้น คือพื้นที่ทหารทางชายแดนตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีอากาศหนาวมากและชีวิตความเป็นอยู่ลำเค็ญ อีกทั้งการเดินทางไปมาก็ยากลำบาก มักถูกเรียกรวมว่า ‘ขู่หานจือตี้’ (แปลตรงตัวว่าพื้นที่หนาวมากและยากลำบาก) (ดูรูปประกอบขวาล่าง) แต่การใช้พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินแดนเนรเทศไม่สามารถทำได้ทุกยุคสมัย เนื่องจากดินแดนดังกล่าวไม่ได้อยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรภาคกลางเสมอไป จวบจนสมัยหยวนเป็นต้นมาจึงกลายเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยม โดยมีหลักการว่า คนจากพื้นที่ทางใต้จะถูกเนรเทศไปยังแดนเหนือ และคนจากพื้นที่ทางเหนือจะถูกเนรเทศลงใต้

    ในสมัยหมิง พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือยังคงเป็นดินแดนเนรเทศยอดนิยม โดยพื้นที่เถียหลิ่งเว่ยที่ถูกกล่าวถึงในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ นี้เป็นที่นิยมในช่วงยุคกลางของสมัยหมิง ต่อมาในสมัยชิงจึงเปลี่ยนไปเป็นหนิงกู๋ถ่าและเฮยหลงเจียง

    นอกจากนี้ยังมีพื้นที่แถบตะวันตกเฉียงเหนือที่ไม่ได้มีลงไว้ในรูปประกอบ ซึ่งก็คือบริเวณซีอวี้หรือซินเกียงปัจจุบัน ซึ่งเป็นดินแดนเนรเทศในสมัยฮั่น แต่ต่อมาเนื่องจากการครอบครองพื้นที่ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จึงไม่ได้มีการส่งนักโทษเนรเทศไปยังพื้นที่นี้อีกต่อไปจวบจนสมัยชิงจึงกลับมาเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยมอีกครั้ง

    เพื่อนเพจอาจติดภาพลักษณ์จากในซีรีส์ว่านักโทษเนรเทศจะถูกตีตรวนและมีการกักบริเวณ ทั้งนี้ ในหลายกรณีนักโทษเนรเทศเหล่านี้จะถูกใช้เป็นแรงงานในค่ายทหารโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพทางชายแดน นักโทษจึงทำหน้าที่หลากหลาย เช่นเผาฟืนทำถ่าน ทำการเกษตร ฯลฯ เหมือนอย่างการถูกเนรเทศไปยังเถียหลิ่งเว่ยซึ่งเป็นพื้นที่ทหารอย่างในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ เป็นต้น

    แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่นักโทษเนรเทศทุกคนที่ต้องอยู่ภายในค่ายกักกัน การเนรเทศยังมีอีกวัตถุประสงค์หนึ่งคือเพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้น นักโทษอาจถูกลงทะเบียนเป็นทาสรับใช้ทำงานให้ผู้มีอันจะกินในพื้นที่นั้นๆ (ซึ่งก็อาจเป็นแรงงานหนักและถูกกักบริเวณโดยผู้เป็นนายได้) หรืออาจเพียงถูกปล่อยทิ้งให้ใช้ชีวิตในดินแดนเนรเทศตามบุญตามกรรม ซึ่งหากเป็นอย่างหลังก็คือต้องขึ้นทะเบียนราษฎร์ในพื้นที่นั้นๆ เดินทางออกนอกพื้นที่ไม่ได้ แต่สามารถทำมาหากินสร้างเนื้อสร้างตัวได้ ในบางรัชสมัยยังอนุญาตให้สมาชิกครอบครัวฝ่ายหญิงเดินทางย้ายรกรากไปอยู่ร่วมกับสมาชิกครอบครัวฝ่ายชายได้ด้วย อย่าลืมว่านักโทษเนรเทศจำนวนมากเป็นนักโทษทางการเมืองเช่นอดีตขุนนางที่มีการศึกษา พวกเขาจึงมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ความรู้และวัฒนธรรมไปยังพื้นที่ทุรกันดารเหล่านี้

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g63130394/blossom-highlights/
    https://news.qq.com/rain/a/20250305A08SXM00
    https://news.qq.com/rain/a/20230809A078JQ00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.xinghuozhiku.com/76834.html
    https://m.fx361.com/news/2018/0201/16397999.html
    http://www.fs7000.com/news/?12143.html
    https://news.qq.com/rain/a/20240427A081KW00
    https://www.163.com/dy/article/HDA24IDA0552XK8U.html

    #จิ่วฉงจื่อ #ดินแดนเนรเทศ #เถียหลิ่งเว่ย #โทษเนรเทศ #สาระจีน
    **ดินแดนเนรเทศจีนโบราณ** สวัสดีค่ะ สองสัปดาห์ที่แล้วเราคุยเรื่องการไถ่โทษเนรเทศ วันนี้เลยมาคุยกันต่อเกี่ยวกับเกร็ดความรู้จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ว่าด้วยดินแดนเนรเทศ จิ่วฉงจื่อฯ เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติแต่เสื้อผ้าและสภาพสังคมอิงตามสมัยหมิง และในเรื่องนี้ บุรุษในครอบครัวสกุลเจี่ยงของติ้งกั๋วกงเจี่ยงเหมยซุน (ลุงของพระเอก) ถูกเนรเทศไปยังพื้นที่ที่มีชื่อว่า ‘เถียหลิ่งเว่ย’ ซึ่งเป็นหนึ่งในดินแดนเนรเทศยอดนิยมทางเหนือในสมัยนั้น แรกเริ่มเลยในสมัยบรรพกาล หากมีการเนรเทศจะนิยมส่งไปพื้นที่โยวโจว (แถบปักกิ่งปัจจุบัน) ต่อมามีการใช้พื้นที่อื่น ซึ่งโดยหลักการคือต้องเป็นพื้นที่ทุรกันดารและด้อยพัฒนา ไม่ว่าจะด้วยสภาพดินฟ้าอากาศหรือภูมิประเทศ ในสมัยฮั่นนิยมใช้พื้นที่แถบภูเขาทางตะวันตกในมณฑลเสฉวน เนื่องจากหนาวเย็น ไกลจากเส้นทางการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจ อีกทั้งภูมิประเทศเป็นเขาสูงทำให้ง่ายต่อการกักบริเวณนักโทษ ต่อมาเมื่อมีการขยายดินแดนและพัฒนาเศรษฐกิจลงใต้ ก็ยิ่งส่งนักโทษเนรเทศลงใต้ไปไกลยิ่งขึ้นโดยมีพื้นที่ยอดฮิตคือแถบหลิ่งหนานและไห่หนาน (กวางเจา กวางซี ฯลฯ) และไกลลงไปถึงเวียดนาม ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ห่างไกลความเจริญและมีพายุฝนและสภาพอากาศร้อนชื้น ง่ายต่อการล้มป่วย นับว่าทุรกันดารไม่แพ้กัน จวบจนยุคถังและซ่งก็ยังนิยมใช้พื้นที่ติดชายแดนทางตอนใต้นี้ (ดูรูปประกอบขวาบน) ส่วนพื้นที่ทางเหนือที่นิยมใช้เป็นดินแดนเนรเทศนั้น คือพื้นที่ทหารทางชายแดนตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีอากาศหนาวมากและชีวิตความเป็นอยู่ลำเค็ญ อีกทั้งการเดินทางไปมาก็ยากลำบาก มักถูกเรียกรวมว่า ‘ขู่หานจือตี้’ (แปลตรงตัวว่าพื้นที่หนาวมากและยากลำบาก) (ดูรูปประกอบขวาล่าง) แต่การใช้พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินแดนเนรเทศไม่สามารถทำได้ทุกยุคสมัย เนื่องจากดินแดนดังกล่าวไม่ได้อยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรภาคกลางเสมอไป จวบจนสมัยหยวนเป็นต้นมาจึงกลายเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยม โดยมีหลักการว่า คนจากพื้นที่ทางใต้จะถูกเนรเทศไปยังแดนเหนือ และคนจากพื้นที่ทางเหนือจะถูกเนรเทศลงใต้ ในสมัยหมิง พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือยังคงเป็นดินแดนเนรเทศยอดนิยม โดยพื้นที่เถียหลิ่งเว่ยที่ถูกกล่าวถึงในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ นี้เป็นที่นิยมในช่วงยุคกลางของสมัยหมิง ต่อมาในสมัยชิงจึงเปลี่ยนไปเป็นหนิงกู๋ถ่าและเฮยหลงเจียง นอกจากนี้ยังมีพื้นที่แถบตะวันตกเฉียงเหนือที่ไม่ได้มีลงไว้ในรูปประกอบ ซึ่งก็คือบริเวณซีอวี้หรือซินเกียงปัจจุบัน ซึ่งเป็นดินแดนเนรเทศในสมัยฮั่น แต่ต่อมาเนื่องจากการครอบครองพื้นที่ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จึงไม่ได้มีการส่งนักโทษเนรเทศไปยังพื้นที่นี้อีกต่อไปจวบจนสมัยชิงจึงกลับมาเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยมอีกครั้ง เพื่อนเพจอาจติดภาพลักษณ์จากในซีรีส์ว่านักโทษเนรเทศจะถูกตีตรวนและมีการกักบริเวณ ทั้งนี้ ในหลายกรณีนักโทษเนรเทศเหล่านี้จะถูกใช้เป็นแรงงานในค่ายทหารโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพทางชายแดน นักโทษจึงทำหน้าที่หลากหลาย เช่นเผาฟืนทำถ่าน ทำการเกษตร ฯลฯ เหมือนอย่างการถูกเนรเทศไปยังเถียหลิ่งเว่ยซึ่งเป็นพื้นที่ทหารอย่างในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ เป็นต้น แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่นักโทษเนรเทศทุกคนที่ต้องอยู่ภายในค่ายกักกัน การเนรเทศยังมีอีกวัตถุประสงค์หนึ่งคือเพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้น นักโทษอาจถูกลงทะเบียนเป็นทาสรับใช้ทำงานให้ผู้มีอันจะกินในพื้นที่นั้นๆ (ซึ่งก็อาจเป็นแรงงานหนักและถูกกักบริเวณโดยผู้เป็นนายได้) หรืออาจเพียงถูกปล่อยทิ้งให้ใช้ชีวิตในดินแดนเนรเทศตามบุญตามกรรม ซึ่งหากเป็นอย่างหลังก็คือต้องขึ้นทะเบียนราษฎร์ในพื้นที่นั้นๆ เดินทางออกนอกพื้นที่ไม่ได้ แต่สามารถทำมาหากินสร้างเนื้อสร้างตัวได้ ในบางรัชสมัยยังอนุญาตให้สมาชิกครอบครัวฝ่ายหญิงเดินทางย้ายรกรากไปอยู่ร่วมกับสมาชิกครอบครัวฝ่ายชายได้ด้วย อย่าลืมว่านักโทษเนรเทศจำนวนมากเป็นนักโทษทางการเมืองเช่นอดีตขุนนางที่มีการศึกษา พวกเขาจึงมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ความรู้และวัฒนธรรมไปยังพื้นที่ทุรกันดารเหล่านี้ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g63130394/blossom-highlights/ https://news.qq.com/rain/a/20250305A08SXM00 https://news.qq.com/rain/a/20230809A078JQ00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.xinghuozhiku.com/76834.html https://m.fx361.com/news/2018/0201/16397999.html http://www.fs7000.com/news/?12143.html https://news.qq.com/rain/a/20240427A081KW00 https://www.163.com/dy/article/HDA24IDA0552XK8U.html #จิ่วฉงจื่อ #ดินแดนเนรเทศ #เถียหลิ่งเว่ย #โทษเนรเทศ #สาระจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 476 มุมมอง 0 รีวิว
  • อาทิตย์นี้มาโพสต์เร็วหน่อย เรามาคุยต่อกับ <ตำนานหมิงหลัน> เพราะละครเรื่องนี้มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยทางวัฒนธรรมให้เรียนรู้พอควร วันนี้ว่าด้วยฉากแต่งงานของพระนาง

    ความมีอยู่ว่า
    “ได้ยินมานานว่าผู้บังคับบัญชากู้เก่งด้านวรรณกรรม งั้นมาแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวกันหน่อยดีกว่า ทุกคนรู้สึกว่าดี ถึงจะอนุญาตให้เข้าประตูมารับเจ้าสาวได้” คุณชายเขยห้ากล่าว
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> (ตามที่มีแปลซับไทยจ้า)

    เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะคุ้นเคยดีกับธรรมเนียมที่ขบวนเจ้าบ่าวจะโดน ‘กั้นประตู’ ก่อนเข้าไปรับเจ้าสาวที่แต่งตัวเสร็จรออยู่แล้ว โดยปัจจุบันอาจต้องเล่นเกมต่างๆ เพื่อแลกกับการเปิดประตู และที่แน่ๆ ต้องมีแจกซองอั่งเปา

    ธรรมเนียมนี้ถูก ‘แปลงร่าง’ มาจากประเพณีเดิมตอนรับตัวเจ้าสาวในจีนโบราณ ในบันทึกประเพณีสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการระบุว่า หนึ่งในขั้นตอนการรับตัวเจ้าสาวคือมีการตะโกนเรียกเร่งให้นางแต่งหน้าแต่งตัวเสร็จออกมาไวๆ ขั้นตอนนี้เรียกว่า ‘ชุยจวง’ (催装) เนื่องจากสมัยจีนโบราณจริงๆ แล้วมักจัดพิธีกราบไหว้ฟ้าดินในตอนเย็นก่อนมืด ซึ่งโดยปกติเจ้าสาวจะใช้เวลาแต่งตัวแต่งหน้านานมาก จึงมีการเร่งให้เจ้าสาวออกมาก่อนฟ้าจะมืด และเกิดการ ‘แกล้ง’ ขบวนเจ้าบ่าวก่อนจะเปิดประตูให้รับเจ้าสาวได้ ถึงขนาดใช้ไม้พลองหวดเจ้าบ่าวก็มี (!) ซึ่งการกลั่นแกล้งเหล่านี้เจ้าบ่าวต้องยอมรับแต่โดยดีและมีชื่อเรียกวิธีปฏิบัตินี้ว่า ‘เซี่ยซวี่’ (下婿 แปลตรงตัวได้ประมาณว่าเขยยอมเป็นเบี้ยล่าง)

    ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังที่การอักษรและโคลงกลอนรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จึงเกิดเป็นธรรมเนียมการแต่ง ‘กลอนเร่งเจ้าสาว’ หรือที่เรียกว่า ‘ชุยจวงซือ’ (催妆诗) สำหรับชนชั้นสูงที่มีการศึกษา โดยเจ้าบ่าวจะแต่งกลอนเองก็ได้หรือให้เพื่อนเจ้าบ่าวแต่งก็ได้ เมื่อแต่งกลอนเสร็จแล้วก็จะมีคนนำไปเล่าให้เจ้าสาวฟังถึงในห้องเพื่อว่านางจะได้รีบออกมา

    กลอนเร่งเจ้าสาวจะมีเนื้อหาแตกต่างจากบทกวีสมัยถังทั่วไป โดยเอกลักษณ์ของมันคือมีเนื้อหาออกแนวเกี้ยวพาราสีหรือชมความงามเจ้าสาว ได้อารมณ์ประมาณว่า เจ้าอย่าเอียงอายรีบออกมาเถิดเราจะได้รีบไปกัน! จะเห็นว่าบทกลอนเร่งเจ้าสาวในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> ก็ได้อารมณ์นี้เช่นกัน

    และเนื่องจากในสมัยราชวงศ์ซ่งมีการนิยมบทกวีในลักษณะ ‘ฉือ’ (词) มากกว่า ‘ซือ’ (诗) (Storyฯ เคยเขียนถึงความแตกต่างของบทกวีสองประเภทนี้ไปแล้วในตอนชื่อนิยายหมิงหลัน) ดังนั้นในสมัยซ่งจึงมีการแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวในแบบสไตล์ ‘ฉือ’ ด้วย เรียกว่า ‘ชุยจวงฉือ’

    เมื่ออยู่ในห้องหอแล้วจะมีขั้นตอนการปลดพัดเจ้าสาวเรียกว่า ‘เชวี่ยซ่าน’ (却扇) แต่ในละครทำอย่างง่ายๆ หากทำแบบเต็มพิธีการจริงๆ ในสมัยถังเขาจะให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนอีกรอบค่ะ เรียกว่า ‘เชวี่ยซ่านซือ’ หากเจ้าสาวพอใจจึงจะวางพัดลง แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่มีว่าเขาอนุญาตให้เพื่อนเจ้าบ่าวตามเข้ามาช่วยแต่งกลอนหรือไม่ (555) ดูไปแล้ว กว่าจะรับตัวเจ้าสาวได้นี่ไม่ง่ายเลย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/295145859_100301735
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://rijifang.com/index.php/post/9230.html
    https://www.52lishi.com/article/65423.html
    https://www.zhihu.com/question/446052944/answer/1747492245
    http://travel.china.com.cn/txt/2020-11/10/content_76894055.html

    #หมิงหลัน #กู้ถิงเยี่ย #งานแต่งงานจีนโบราณ #กวีจีน #ประเพณีจีนโบราณ #เซี่ยซวี่ #กลอนเร่งเจ้าสาว #ชุยจวง #ชุยจวงซือ #ชุยจวงฉือ #เชวี่ยซ่าน
    อาทิตย์นี้มาโพสต์เร็วหน่อย เรามาคุยต่อกับ <ตำนานหมิงหลัน> เพราะละครเรื่องนี้มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยทางวัฒนธรรมให้เรียนรู้พอควร วันนี้ว่าด้วยฉากแต่งงานของพระนาง ความมีอยู่ว่า “ได้ยินมานานว่าผู้บังคับบัญชากู้เก่งด้านวรรณกรรม งั้นมาแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวกันหน่อยดีกว่า ทุกคนรู้สึกว่าดี ถึงจะอนุญาตให้เข้าประตูมารับเจ้าสาวได้” คุณชายเขยห้ากล่าว - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> (ตามที่มีแปลซับไทยจ้า) เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะคุ้นเคยดีกับธรรมเนียมที่ขบวนเจ้าบ่าวจะโดน ‘กั้นประตู’ ก่อนเข้าไปรับเจ้าสาวที่แต่งตัวเสร็จรออยู่แล้ว โดยปัจจุบันอาจต้องเล่นเกมต่างๆ เพื่อแลกกับการเปิดประตู และที่แน่ๆ ต้องมีแจกซองอั่งเปา ธรรมเนียมนี้ถูก ‘แปลงร่าง’ มาจากประเพณีเดิมตอนรับตัวเจ้าสาวในจีนโบราณ ในบันทึกประเพณีสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการระบุว่า หนึ่งในขั้นตอนการรับตัวเจ้าสาวคือมีการตะโกนเรียกเร่งให้นางแต่งหน้าแต่งตัวเสร็จออกมาไวๆ ขั้นตอนนี้เรียกว่า ‘ชุยจวง’ (催装) เนื่องจากสมัยจีนโบราณจริงๆ แล้วมักจัดพิธีกราบไหว้ฟ้าดินในตอนเย็นก่อนมืด ซึ่งโดยปกติเจ้าสาวจะใช้เวลาแต่งตัวแต่งหน้านานมาก จึงมีการเร่งให้เจ้าสาวออกมาก่อนฟ้าจะมืด และเกิดการ ‘แกล้ง’ ขบวนเจ้าบ่าวก่อนจะเปิดประตูให้รับเจ้าสาวได้ ถึงขนาดใช้ไม้พลองหวดเจ้าบ่าวก็มี (!) ซึ่งการกลั่นแกล้งเหล่านี้เจ้าบ่าวต้องยอมรับแต่โดยดีและมีชื่อเรียกวิธีปฏิบัตินี้ว่า ‘เซี่ยซวี่’ (下婿 แปลตรงตัวได้ประมาณว่าเขยยอมเป็นเบี้ยล่าง) ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังที่การอักษรและโคลงกลอนรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จึงเกิดเป็นธรรมเนียมการแต่ง ‘กลอนเร่งเจ้าสาว’ หรือที่เรียกว่า ‘ชุยจวงซือ’ (催妆诗) สำหรับชนชั้นสูงที่มีการศึกษา โดยเจ้าบ่าวจะแต่งกลอนเองก็ได้หรือให้เพื่อนเจ้าบ่าวแต่งก็ได้ เมื่อแต่งกลอนเสร็จแล้วก็จะมีคนนำไปเล่าให้เจ้าสาวฟังถึงในห้องเพื่อว่านางจะได้รีบออกมา กลอนเร่งเจ้าสาวจะมีเนื้อหาแตกต่างจากบทกวีสมัยถังทั่วไป โดยเอกลักษณ์ของมันคือมีเนื้อหาออกแนวเกี้ยวพาราสีหรือชมความงามเจ้าสาว ได้อารมณ์ประมาณว่า เจ้าอย่าเอียงอายรีบออกมาเถิดเราจะได้รีบไปกัน! จะเห็นว่าบทกลอนเร่งเจ้าสาวในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> ก็ได้อารมณ์นี้เช่นกัน และเนื่องจากในสมัยราชวงศ์ซ่งมีการนิยมบทกวีในลักษณะ ‘ฉือ’ (词) มากกว่า ‘ซือ’ (诗) (Storyฯ เคยเขียนถึงความแตกต่างของบทกวีสองประเภทนี้ไปแล้วในตอนชื่อนิยายหมิงหลัน) ดังนั้นในสมัยซ่งจึงมีการแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวในแบบสไตล์ ‘ฉือ’ ด้วย เรียกว่า ‘ชุยจวงฉือ’ เมื่ออยู่ในห้องหอแล้วจะมีขั้นตอนการปลดพัดเจ้าสาวเรียกว่า ‘เชวี่ยซ่าน’ (却扇) แต่ในละครทำอย่างง่ายๆ หากทำแบบเต็มพิธีการจริงๆ ในสมัยถังเขาจะให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนอีกรอบค่ะ เรียกว่า ‘เชวี่ยซ่านซือ’ หากเจ้าสาวพอใจจึงจะวางพัดลง แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่มีว่าเขาอนุญาตให้เพื่อนเจ้าบ่าวตามเข้ามาช่วยแต่งกลอนหรือไม่ (555) ดูไปแล้ว กว่าจะรับตัวเจ้าสาวได้นี่ไม่ง่ายเลย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/295145859_100301735 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://rijifang.com/index.php/post/9230.html https://www.52lishi.com/article/65423.html https://www.zhihu.com/question/446052944/answer/1747492245 http://travel.china.com.cn/txt/2020-11/10/content_76894055.html #หมิงหลัน #กู้ถิงเยี่ย #งานแต่งงานจีนโบราณ #กวีจีน #ประเพณีจีนโบราณ #เซี่ยซวี่ #กลอนเร่งเจ้าสาว #ชุยจวง #ชุยจวงซือ #ชุยจวงฉือ #เชวี่ยซ่าน
    WWW.SOHU.COM
    《知否?知否?应是绿肥红瘦》过百亿的播放量能说明什么?_顾廷烨
    作为近150万字的长篇小说,实在是有些长,我并没有看完,也理解作者的不易,本身作为兼职作者,平时工作也比较繁忙,可能只有夜晚的四五个小时可以利用,也会有家里的各种繁杂琐事时不时骚扰,从写法来看,看得出…
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 516 มุมมอง 0 รีวิว
  • Storyฯ นึกถึงภาพยนตร์จีนโบราณที่เคยผ่านตาเมื่อนานมาแล้วเรื่องหนึ่งชื่อว่า <หลิ่วหรูซื่อ> (Threads of Time)

    เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวประวัติของนางคณิกานามว่า ‘หลิ่วหรูซื่อ’ นางถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นกวีหญิงที่โดดเด่นในสมัยปลายราชวงศ์หมิง และเป็นสตรีที่รักชาติและต่อต้านการรุกรานจากชาวแมนจูในช่วงผลัดแผ่นดิน ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจคุ้นเคยกับเรื่องของนางกันบ้างหรือไม่? วันนี้เลยมาคุยให้ฟังอย่างย่อ

    หลิ่วหรูซื่อ (ค.ศ. 1618-1664) ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาจากแม่น้ำฉินหวย (ฉินหวยปาเยี่ยน / 秦淮八艳)

    อะไรคือ ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ? ในสมัยปลายราชวงศ์หมิงนั้น สถานสอบราชบันฑิตที่ใหญ่ที่สุดคือเจียงหนานก้งเยวี่ยน (江南贡院) ตั้งอยู่ที่เมืองเจียงหนานริมฝั่งแม่น้ำฉินหวย ในแต่ละปีจะมีบัณฑิตและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการสอบมาที่นี่ถึงสองสามหมื่นคน จากเมืองเจียงหนานข้ามแม่น้ำฉินหวยมาก็เป็นเมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งนับว่าเป็นเมืองทางผ่านสำหรับเขาเหล่านี้ ที่นี่จึงกลายเป็นทำเลทองของกิจการหอนางโลม

    เพื่อนเพจอย่าได้คิดว่านางคณิกาเหล่านี้เน้นขายบริการทางเพศแต่อย่างเดียว ในยุคนั้นรายได้เป็นกอบเป็นกำมาจากการขายความบันเทิงทางศิลปะเคล้าสุรา เช่น เล่นดนตรี / เล่นหมากล้อม / โชว์เต้นรำ / แต่งกลอนวาดภาพ หรืออาจทำทั้งหมด มีนางคณิกาจำนวนไม่น้อยที่ขายศิลปะไม่ขายตัวและคนที่ชื่อดังจะต้องมีฝีมือดีเยี่ยม ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่มีการศึกษา ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ทั้งแปดคนนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของนางคณิกาในย่านเมืองหนานจิงนี้นี่เอง

    หลิ่วหรูซื่อมีนามเดิมว่า ‘หยางอ้าย’ ต่อมาเปลี่ยนชื่อตนเองใหม่เป็น ‘อิ่ง’ และมีนามรองว่า ‘หรูซื่อ’ ตามบทกวีจากสมัยซ่ง บ่อยครั้งที่นางแต่งตัวเป็นชายออกไปโต้กลอนกับคนอื่นโดยใช้นามว่า ‘เหอตงจวิน’ นางโด่งดังที่สุดด้านงานอักษรและงานพู่กันจีน (บทกวี คัดพู่กัน และภาพวาด) ผลงานของนางมีมากมายทั้งในนาม ‘หลิ่วหรูซื่อ’ และ ‘เหอตงจวิน’ มีการรวมเล่มผลงานของนางออกจำหน่ายในหลายยุคสมัยจวบจนปัจจุบัน

    นางเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ถูกขายให้กับหอนางโลมเมื่ออายุแปดขวบ แต่แม่เล้ารับเป็นลูกบุญธรรมและได้ฝึกเรียนศิลปะแขนงต่างๆ ในชีวิตนางมีชายสามคนที่มีบทบาทมาก คนแรกคืออดีตเสนาบดีอดีตจอหงวน ที่รับนางเป็นอนุเมื่ออายุเพียง 14 ปี เขาโปรดปรานนางที่สุด ใช้เวลาทั้งวันกับการสอนศิลปะขั้นสูงเหล่านี้ให้กับนาง

    เมื่อเขาตายลงนางถูกขับออกจากเรือนจึงกลับไปอยู่หอนางโลมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีวิชาความรู้ติดตัวจนเป็นที่เลื่องลือ ทำให้นางใช้ชีวิตอยู่กับการคบหาสมาคมกับเหล่าบัณฑิตจนได้มาพบรักกับเฉินจื่อหลง เขาเป็นบัณฑิตที่ต่อมารับราชการไปได้ไกล ทั้งสองอยู่ด้วยกันนานหลายปี แต่สุดท้ายไปไม่รอดแยกย้ายกันไปและนางออกเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่นางมีผลงานด้านโคลงกลอนและภาพวาดมากมาย

    ต่อมาในวัย 23 ปี นางได้พบและแต่งงานกับอดีตขุนนางอายุกว่า 50 ปีนามว่าเฉียนเชียนอี้เป็นภรรยารอง (แต่ภรรยาคนแรกเสียไปแล้ว) และอยู่ด้วยกันนานกว่า 20 ปี มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ช่วงเวลาที่อยู่กับเฉียนเชียนอี้นี้ เป็นช่วงเวลาที่นางได้รับการยกย่องเรื่องรักชาติ และนางเป็นผู้ผลักดันให้เฉียนเชียนอี้ทำงานต่อต้านแมนจูอย่างลับๆ เพื่อกอบกู้ราชวงศ์หมิง แม้ว่าฉากหน้าจะสวามิภักดิ์รับราชการกับทางการแมนจูไปแล้ว (เรื่องราวของเฉียนเชียนอี้ที่กลับไปกลับมากับการสนับสนุนฝ่ายใดเป็นเรื่องที่ยาว Storyฯ ขอไม่ลงในรายละเอียด) ต่อมาเฉียนเชียนอี้ลาออกไปใช้ชีวิตบั้นปลายในชนบทโดยนางติดตามไปด้วย เมื่อเขาตายลงมีการแย่งทรัพย์สมบัติ นางจึงฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้ทางการเอาผิดคนโกงและคืนทรัพย์สินกลับมาให้ลูก

    หลิ่วหรูซื่อไม่เพียงฝากผลงานเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังมากมาย หากแต่ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและรักชาติของหลิ่วหรูซื่อถูกสะท้อนออกมาในบทประพันธ์ต่างๆ ของนางด้วยอารมณ์ประมาณว่า “ถ้าฉันเป็นชาย ฉันจะไปสู้เพื่อชาติ” แต่เมื่อเป็นหญิง นางจึงพยายามสนับสนุนกองกำลังกู้ชาติทางการเงินและผลักดันให้สามีของนางสนับสนุนด้วย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมเรื่องราวของนางคณิกาธรรมดาคนนี้ยังไม่ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html
    https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2008/03-10/1186637.shtml
    https://new.qq.com/omn/20191102/20191102A03LG800.html
    https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html
    http://www.360doc.com/content/20/0325/10/60244337_901533310.shtml
    https://kknews.cc/history/ogan4p.html
    https://baike.baidu.com/item/%E7%A7%A6%E6%B7%AE%E5%85%AB%E8%89%B3/384726

    #หลิ่วหรูซือ #เหอตงจวิน #นางคณิกาจีนโบราณ #ฉินหวยปาเยี่ยน #เฉียนเชียนอี้ #เฉินจื่อหลง #กอบกู้หมิง
    Storyฯ นึกถึงภาพยนตร์จีนโบราณที่เคยผ่านตาเมื่อนานมาแล้วเรื่องหนึ่งชื่อว่า <หลิ่วหรูซื่อ> (Threads of Time) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวประวัติของนางคณิกานามว่า ‘หลิ่วหรูซื่อ’ นางถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นกวีหญิงที่โดดเด่นในสมัยปลายราชวงศ์หมิง และเป็นสตรีที่รักชาติและต่อต้านการรุกรานจากชาวแมนจูในช่วงผลัดแผ่นดิน ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจคุ้นเคยกับเรื่องของนางกันบ้างหรือไม่? วันนี้เลยมาคุยให้ฟังอย่างย่อ หลิ่วหรูซื่อ (ค.ศ. 1618-1664) ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาจากแม่น้ำฉินหวย (ฉินหวยปาเยี่ยน / 秦淮八艳) อะไรคือ ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ? ในสมัยปลายราชวงศ์หมิงนั้น สถานสอบราชบันฑิตที่ใหญ่ที่สุดคือเจียงหนานก้งเยวี่ยน (江南贡院) ตั้งอยู่ที่เมืองเจียงหนานริมฝั่งแม่น้ำฉินหวย ในแต่ละปีจะมีบัณฑิตและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการสอบมาที่นี่ถึงสองสามหมื่นคน จากเมืองเจียงหนานข้ามแม่น้ำฉินหวยมาก็เป็นเมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งนับว่าเป็นเมืองทางผ่านสำหรับเขาเหล่านี้ ที่นี่จึงกลายเป็นทำเลทองของกิจการหอนางโลม เพื่อนเพจอย่าได้คิดว่านางคณิกาเหล่านี้เน้นขายบริการทางเพศแต่อย่างเดียว ในยุคนั้นรายได้เป็นกอบเป็นกำมาจากการขายความบันเทิงทางศิลปะเคล้าสุรา เช่น เล่นดนตรี / เล่นหมากล้อม / โชว์เต้นรำ / แต่งกลอนวาดภาพ หรืออาจทำทั้งหมด มีนางคณิกาจำนวนไม่น้อยที่ขายศิลปะไม่ขายตัวและคนที่ชื่อดังจะต้องมีฝีมือดีเยี่ยม ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่มีการศึกษา ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ทั้งแปดคนนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของนางคณิกาในย่านเมืองหนานจิงนี้นี่เอง หลิ่วหรูซื่อมีนามเดิมว่า ‘หยางอ้าย’ ต่อมาเปลี่ยนชื่อตนเองใหม่เป็น ‘อิ่ง’ และมีนามรองว่า ‘หรูซื่อ’ ตามบทกวีจากสมัยซ่ง บ่อยครั้งที่นางแต่งตัวเป็นชายออกไปโต้กลอนกับคนอื่นโดยใช้นามว่า ‘เหอตงจวิน’ นางโด่งดังที่สุดด้านงานอักษรและงานพู่กันจีน (บทกวี คัดพู่กัน และภาพวาด) ผลงานของนางมีมากมายทั้งในนาม ‘หลิ่วหรูซื่อ’ และ ‘เหอตงจวิน’ มีการรวมเล่มผลงานของนางออกจำหน่ายในหลายยุคสมัยจวบจนปัจจุบัน นางเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ถูกขายให้กับหอนางโลมเมื่ออายุแปดขวบ แต่แม่เล้ารับเป็นลูกบุญธรรมและได้ฝึกเรียนศิลปะแขนงต่างๆ ในชีวิตนางมีชายสามคนที่มีบทบาทมาก คนแรกคืออดีตเสนาบดีอดีตจอหงวน ที่รับนางเป็นอนุเมื่ออายุเพียง 14 ปี เขาโปรดปรานนางที่สุด ใช้เวลาทั้งวันกับการสอนศิลปะขั้นสูงเหล่านี้ให้กับนาง เมื่อเขาตายลงนางถูกขับออกจากเรือนจึงกลับไปอยู่หอนางโลมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีวิชาความรู้ติดตัวจนเป็นที่เลื่องลือ ทำให้นางใช้ชีวิตอยู่กับการคบหาสมาคมกับเหล่าบัณฑิตจนได้มาพบรักกับเฉินจื่อหลง เขาเป็นบัณฑิตที่ต่อมารับราชการไปได้ไกล ทั้งสองอยู่ด้วยกันนานหลายปี แต่สุดท้ายไปไม่รอดแยกย้ายกันไปและนางออกเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่นางมีผลงานด้านโคลงกลอนและภาพวาดมากมาย ต่อมาในวัย 23 ปี นางได้พบและแต่งงานกับอดีตขุนนางอายุกว่า 50 ปีนามว่าเฉียนเชียนอี้เป็นภรรยารอง (แต่ภรรยาคนแรกเสียไปแล้ว) และอยู่ด้วยกันนานกว่า 20 ปี มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ช่วงเวลาที่อยู่กับเฉียนเชียนอี้นี้ เป็นช่วงเวลาที่นางได้รับการยกย่องเรื่องรักชาติ และนางเป็นผู้ผลักดันให้เฉียนเชียนอี้ทำงานต่อต้านแมนจูอย่างลับๆ เพื่อกอบกู้ราชวงศ์หมิง แม้ว่าฉากหน้าจะสวามิภักดิ์รับราชการกับทางการแมนจูไปแล้ว (เรื่องราวของเฉียนเชียนอี้ที่กลับไปกลับมากับการสนับสนุนฝ่ายใดเป็นเรื่องที่ยาว Storyฯ ขอไม่ลงในรายละเอียด) ต่อมาเฉียนเชียนอี้ลาออกไปใช้ชีวิตบั้นปลายในชนบทโดยนางติดตามไปด้วย เมื่อเขาตายลงมีการแย่งทรัพย์สมบัติ นางจึงฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้ทางการเอาผิดคนโกงและคืนทรัพย์สินกลับมาให้ลูก หลิ่วหรูซื่อไม่เพียงฝากผลงานเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังมากมาย หากแต่ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและรักชาติของหลิ่วหรูซื่อถูกสะท้อนออกมาในบทประพันธ์ต่างๆ ของนางด้วยอารมณ์ประมาณว่า “ถ้าฉันเป็นชาย ฉันจะไปสู้เพื่อชาติ” แต่เมื่อเป็นหญิง นางจึงพยายามสนับสนุนกองกำลังกู้ชาติทางการเงินและผลักดันให้สามีของนางสนับสนุนด้วย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมเรื่องราวของนางคณิกาธรรมดาคนนี้ยังไม่ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2008/03-10/1186637.shtml https://new.qq.com/omn/20191102/20191102A03LG800.html https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html http://www.360doc.com/content/20/0325/10/60244337_901533310.shtml https://kknews.cc/history/ogan4p.html https://baike.baidu.com/item/%E7%A7%A6%E6%B7%AE%E5%85%AB%E8%89%B3/384726 #หลิ่วหรูซือ #เหอตงจวิน #นางคณิกาจีนโบราณ #ฉินหวยปาเยี่ยน #เฉียนเชียนอี้ #เฉินจื่อหลง #กอบกู้หมิง
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 435 มุมมอง 0 รีวิว
  • **การแต่งงานภายในช่วงเวลาไว้ทุกข์**

    สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนเรื่องระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณมาแล้ว โดนอิงรายละเอียดตามสมัยหมิง (ย้อนอ่านได้ในลิ้งค์ข้างล่าง) ซึ่งระยะเวลาที่สามีจะไว้ทุกข์ให้ภรรยาโดยทั่วไปคือหนึ่งปีและในช่วงเวลาไว้ทุกข์นั้น ห้ามจัดงานรื่นเริงหรืองานมงคล

    แต่ความ ‘เอ๊ะ’ จากการดูเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ก็คือ เมื่อแม่ของนางเอกเสีย แม่เลี้ยงก็ถูกพาเข้าเรือนมาเป็นภรรยาเอกภายในช่วงเวลาไม่กี่วันหลังจากแม่ของนางเอกเสีย สาเหตุหลักมาจากว่านางตั้งครรภ์แล้ว คำถามคือ แต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ได้ด้วยหรือ?

    การแต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ในหลักการคือต้องทำภายใน 100 วันแรกของการไว้ทุกข์ เรียกว่า ‘ไป่รึฉวี่’ (百日娶) หรือ ‘เฉิงเซี่ยวฉวี่’ (乘孝娶) และจริงๆ แล้วจะจัดทำในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น กล่าวคือมีญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายชายเสียไปในขณะที่เขาได้มีการหมั้นหมายไว้และมีแผนจะเข้าพิธีแต่งงานในอนาคตอันใกล้อยู่แล้ว จึงจัดให้แต่งงานกันเลยแทนที่จะรอให้พ้นระยะเวลาไว้ทุกข์ซึ่งอาจยาวนาน 1-3 ปี (ระยะเวลาไว้ทุกข์ขึ้นอยู่กับลำดับความสนิทของญาติผู้ใหญ่คนนั้นและยุคสมัย) และต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย

    เหตุผลของการแต่งงานภายในระยะเวลาไว้ทุกข์ดังกล่าวก็คือเพื่อไม่ให้เสียโอกาสในชีวิต เช่นสตรีจะได้ไม่เลยวัยแต่งงานอันควร หรือเหตุผลการเกี่ยวดองทางสังคมหรือการเมืองที่ไม่อาจรอช้าได้ นอกจากนี้ ยังเป็นความเชื่อที่ว่า ผู้ใหญ่ที่เสียไปอาจเคยมีความหวังไว้ว่าอยากเห็นลูกหลานเป็นฝั่งเป็นฝา จึงรีบแต่งงานเพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูอย่างหนึ่ง

    พิธีแต่งงานภายในระยะไว้ทุกข์นี้จะไม่ได้จัดทำตามพิธีสมรสทั่วไปเพราะต้องลดความเอิกเกริกลง เป็นต้นว่า ไม่เลือกวันมงคล ไม่แต่งบ้านสีแดง ไม่แจกอั่งเปา ไม่จัดเลี้ยง บ่าวสาวไม่ใส่สีแดงและแต่งกายด้วยสีสุภาพหรือแต่งแดงไว้ข้างในแต่คาดผ้ากระสอบทับ เจ้าสาวไม่ต้องแต่งหน้าแต่งตัวมาก ฝ่ายชายไม่อาจเข้าบ้านฝ่ายหญิงตอนรับตัวเจ้าสาวได้เพราะตนยังไว้ทุกข์อยู่โดยให้แม่สื่อทำหน้าที่ต่างๆ แทน และญาติฝ่ายหญิงไม่สามารถตามมาส่งตัวเจ้าสาวถึงบ้านฝ่ายชายได้ นอกจากนี้ ยังไม่มีการคำนับบรรพบุรุษฝ่ายชายเนื่องจากป้ายบรรพบุรุษจะถูกตกแต่งหรือจัดวางไว้สำหรับงานศพ โดยจะส่งตัวเจ้าสาวเข้าห้องหอเลย และหลังจากนั้นเจ้าสาวสามารถร่วมพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานศพได้ในฐานะสะใภ้ และเจ้าสาวต้องรอพ้นระยะไว้ทุกข์จึงจะกลับไปเยี่ยมบ้านตนเองได้

    การแต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ไม่ได้เป็นประเพณีอย่างทางการที่มีการบันทึกไว้สืบทอดมาแต่โบราณ (กล่าวคือไม่เหมือนกับขั้นตอนการแต่งงานหรือไว้ทุกข์ที่มีการบันทึกไว้ในบันทึกโจวหลี่หรือบทกฎหมายใด) หากแต่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติท้องถิ่นทางใต้ของจีน มีต้นตอมาอย่างไรก็ไม่ทราบได้ แต่ปรากฏให้เห็นผ่านงานวรรณกรรมหรืออุปรากรในสมัยหมิง และปัจจุบันยังเป็นธรรมเนียมที่พบเห็นได้ทางใต้ของประเทศจีนและไต้หวัน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความเก่าว่าด้วยระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ:
    https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1044627014332257
    https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1050216903773268

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://cyberrevue.com/2025-blossom/#jp-carousel-115105
    https://news.qq.com/rain/a/20241218A09Z5200
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://news.qq.com/rain/a/20200317A0V53X00#
    https://www.ilifepost.com/20210128/【阴宅解码】顺孝娶-婚礼一切从简
    https://www.facebook.com/permalink.php/?story_fbid=399369496884979&id=167326656755932

    #จิ่วฉงจื่อ #การแต่งงานจีนโบราณ #การไว้ทุกข์จีนโบราณ #ไป่รึฉวี่ #สาระจีน
    **การแต่งงานภายในช่วงเวลาไว้ทุกข์** สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนเรื่องระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณมาแล้ว โดนอิงรายละเอียดตามสมัยหมิง (ย้อนอ่านได้ในลิ้งค์ข้างล่าง) ซึ่งระยะเวลาที่สามีจะไว้ทุกข์ให้ภรรยาโดยทั่วไปคือหนึ่งปีและในช่วงเวลาไว้ทุกข์นั้น ห้ามจัดงานรื่นเริงหรืองานมงคล แต่ความ ‘เอ๊ะ’ จากการดูเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ก็คือ เมื่อแม่ของนางเอกเสีย แม่เลี้ยงก็ถูกพาเข้าเรือนมาเป็นภรรยาเอกภายในช่วงเวลาไม่กี่วันหลังจากแม่ของนางเอกเสีย สาเหตุหลักมาจากว่านางตั้งครรภ์แล้ว คำถามคือ แต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ได้ด้วยหรือ? การแต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ในหลักการคือต้องทำภายใน 100 วันแรกของการไว้ทุกข์ เรียกว่า ‘ไป่รึฉวี่’ (百日娶) หรือ ‘เฉิงเซี่ยวฉวี่’ (乘孝娶) และจริงๆ แล้วจะจัดทำในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น กล่าวคือมีญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายชายเสียไปในขณะที่เขาได้มีการหมั้นหมายไว้และมีแผนจะเข้าพิธีแต่งงานในอนาคตอันใกล้อยู่แล้ว จึงจัดให้แต่งงานกันเลยแทนที่จะรอให้พ้นระยะเวลาไว้ทุกข์ซึ่งอาจยาวนาน 1-3 ปี (ระยะเวลาไว้ทุกข์ขึ้นอยู่กับลำดับความสนิทของญาติผู้ใหญ่คนนั้นและยุคสมัย) และต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย เหตุผลของการแต่งงานภายในระยะเวลาไว้ทุกข์ดังกล่าวก็คือเพื่อไม่ให้เสียโอกาสในชีวิต เช่นสตรีจะได้ไม่เลยวัยแต่งงานอันควร หรือเหตุผลการเกี่ยวดองทางสังคมหรือการเมืองที่ไม่อาจรอช้าได้ นอกจากนี้ ยังเป็นความเชื่อที่ว่า ผู้ใหญ่ที่เสียไปอาจเคยมีความหวังไว้ว่าอยากเห็นลูกหลานเป็นฝั่งเป็นฝา จึงรีบแต่งงานเพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูอย่างหนึ่ง พิธีแต่งงานภายในระยะไว้ทุกข์นี้จะไม่ได้จัดทำตามพิธีสมรสทั่วไปเพราะต้องลดความเอิกเกริกลง เป็นต้นว่า ไม่เลือกวันมงคล ไม่แต่งบ้านสีแดง ไม่แจกอั่งเปา ไม่จัดเลี้ยง บ่าวสาวไม่ใส่สีแดงและแต่งกายด้วยสีสุภาพหรือแต่งแดงไว้ข้างในแต่คาดผ้ากระสอบทับ เจ้าสาวไม่ต้องแต่งหน้าแต่งตัวมาก ฝ่ายชายไม่อาจเข้าบ้านฝ่ายหญิงตอนรับตัวเจ้าสาวได้เพราะตนยังไว้ทุกข์อยู่โดยให้แม่สื่อทำหน้าที่ต่างๆ แทน และญาติฝ่ายหญิงไม่สามารถตามมาส่งตัวเจ้าสาวถึงบ้านฝ่ายชายได้ นอกจากนี้ ยังไม่มีการคำนับบรรพบุรุษฝ่ายชายเนื่องจากป้ายบรรพบุรุษจะถูกตกแต่งหรือจัดวางไว้สำหรับงานศพ โดยจะส่งตัวเจ้าสาวเข้าห้องหอเลย และหลังจากนั้นเจ้าสาวสามารถร่วมพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานศพได้ในฐานะสะใภ้ และเจ้าสาวต้องรอพ้นระยะไว้ทุกข์จึงจะกลับไปเยี่ยมบ้านตนเองได้ การแต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ไม่ได้เป็นประเพณีอย่างทางการที่มีการบันทึกไว้สืบทอดมาแต่โบราณ (กล่าวคือไม่เหมือนกับขั้นตอนการแต่งงานหรือไว้ทุกข์ที่มีการบันทึกไว้ในบันทึกโจวหลี่หรือบทกฎหมายใด) หากแต่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติท้องถิ่นทางใต้ของจีน มีต้นตอมาอย่างไรก็ไม่ทราบได้ แต่ปรากฏให้เห็นผ่านงานวรรณกรรมหรืออุปรากรในสมัยหมิง และปัจจุบันยังเป็นธรรมเนียมที่พบเห็นได้ทางใต้ของประเทศจีนและไต้หวัน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความเก่าว่าด้วยระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1044627014332257 https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1050216903773268 Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://cyberrevue.com/2025-blossom/#jp-carousel-115105 https://news.qq.com/rain/a/20241218A09Z5200 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://news.qq.com/rain/a/20200317A0V53X00# https://www.ilifepost.com/20210128/【阴宅解码】顺孝娶-婚礼一切从简 https://www.facebook.com/permalink.php/?story_fbid=399369496884979&id=167326656755932 #จิ่วฉงจื่อ #การแต่งงานจีนโบราณ #การไว้ทุกข์จีนโบราณ #ไป่รึฉวี่ #สาระจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 480 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้วเปรียบเทียบสิทธิของภรรยาเอกและอนุภรรยาโดยยกตัวอย่างจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> วันนี้มาคุยกันต่อว่าจีนโบราณแบ่งแยกเมียหลวงและเมียน้อยเป็นกี่ประเภท

    ก่อนอื่น พูดกันถึงภรรยาเอก ตามที่ Storyฯ เล่าไปสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนสมัยราชวงศ์ชิงนั้น กฎหมายกำหนดให้มีภรรยาเอกได้คนเดียว และจำนวนอนุภรรยานั้นเป็นไปตามบรรดาศักดิ์ของผู้ชาย ภรรยาเอกนี้มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น เจิ้งชี (ภรรยาหลัก) เจี๋ยฟ่าชี (ภรรยาผูกปมผม) หยวนเพ่ยชี (ภรรยาดั้งเดิม) เจิ้งฝาง (ห้องหลัก) ฯลฯ หากภรรยาเอกเสียชีวิตไปแล้วจึงจะสามารถแต่งภรรยาเอกเข้ามาใหม่ได้อีกคน ภรรยาทดแทนคนนี้เรียกว่า ‘จี้ซื่อ’ (继室 แปลตรงตัวว่า สืบทอด+ห้อง) ตามธรรมเนียมแล้ว คนที่กราบไหว้ฟ้าดินด้วยกันมีเพียงภรรยาเอกเท่านั้น

    ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงมีธรรมเนียมที่ว่า หากบ้านใดไม่มีบุตรชายสืบสกุล สามารถให้หลาน (ลูกของลุงหรือน้า สกุลเดียวกัน) มาเป็นทายาทสืบสกุลตามกฎหมายได้ ดังนั้นเขามีหน้าที่สืบสกุลให้กับสองบ้านและสามารถแต่งภรรยาเอกได้สองคน เรียกว่า ‘เจี๊ยนเที้ยว’ (兼祧) และภรรยาเอกทั้งสองคนจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน

    นอกจากกรณีข้างต้นแล้ว เมียอื่นๆ จัดเป็นเมียน้อยหมด และจัดกลุ่มได้ตามนี้
    1. กลุ่มที่หนึ่งเป็นญาติพี่น้องของภรรยาเอกที่ถูกเลือกให้ติดตามไปกับเจ้าสาวตอนแต่งเข้าไปเรือนฝ่ายชาย (หมายเหตุ คนที่ตามเจ้าสาวมาอยู่บ้านฝ่ายชายทั้งหมดเรียกว่า เผยเจี้ย /陪嫁 ซึ่งรวมถึงบ่าวไพร่) แต่เป็นกรณีที่เจ้าสาวมาจากตระกูลสูงศักดิ์ ดังนั้นอนุภรรยากลุ่มนี้จะมีสถานะสูงกว่าอนุภรรยาอื่นๆ สามารถเข้าร่วมรับประทานอาหารหรืองานเลี้ยงกับสามีได้ และอาจถูกบันทึกชื่อเข้าไปในหนังสือตระกูลของฝ่ายชายได้เพราะนางมาจากตระกูลที่สูงศักดิ์มากเช่นกัน และโดยปกติฝ่ายชายมักยกระดับขึ้นเป็นภรรยาเอกได้เมื่อภรรยาเอกคนเดิมเสียชีวิตไป ในกลุ่มนี้จำแนกได้เป็นอีกสี่แบบ (เรียงจากสูงศักดิ์ที่สุดไปต่ำ) คือ
    a. อิ้ง (媵) หรือ อิ้งเฉี้ย – เป็นพี่สาวหรือน้องสาวที่เกิดจากพ่อคนเดียวกันกับเจ้าสาว แต่เจ้าสาวมีแม่เป็นภรรยาเอกในขณะที่พี่หรือน้องสาวที่แต่งตามไปจะเกิดจากอนุภรรยาของพ่อ
    b. เช่อซึ (侧室 แปลตรงตัวว่าห้องข้าง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เช่อซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของพ่อ (ถือนามสกุลเดียวกันกับเจ้าสาว)
    c. ฟู่ซึ (副室 แปลตรงตัวว่าห้องรอง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า ฟู่ซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของแม่ (ถือนามสกุลเดิมของแม่เจ้าสาว)
    d. เพียนซึ (偏室 แปลตรงตัวว่าห้องเบี่ยง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เพียนซึ เป็นลูกจากอนุภรรยาในตระกูลเดิมของแม่ ใช้นามสกุลเดียวกับแม่ มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าสาวแต่จริงๆ แล้วไม่มีความเกี่ยวพันทางสายเลือดกับเจ้าสาวเลย
    2. กลุ่มที่สองคือ เฉี้ย (妾) หรือ เพียนฝาง (偏房) คืออนุภรรยาทั่วไปที่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับภรรยาเอก แบ่งเป็นระดับได้อีก คือ
    a. กุ้ยเฉี้ย (贵妾) เป็นอนุที่มาจากตระกูลใหญ่หรือตระกูลขุนนางแต่อาจเป็นลูกที่เกิดจากอนุภรรยาในตระกูลนั้นๆ หากฝ่ายชายเป็นบุตรจากภรรยาเอกในตระกูลสูงศักดิ์ โดยปกตินางผู้เป็นลูกอนุจะไม่มีคุณสมบัติพอที่จะนั่งตำแหน่งภรรยาเอกของเขาได้
    b. เหลียงเฉี้ย (良妾) เป็นอนุที่มาจากครอบครัวชาวบ้านทั่วไป เช่น ครอบครัวค้าขายหรือชาวไร่ชาวสวน ระดับความรู้การศึกษาก็จะแตกต่างกันไป
    c. เจี้ยนเฉี้ย (贱妾) เป็นอนุที่มีชาติตระกูลหรือสถานะที่ต่ำต้อยมาก เช่น นางรำ นางคณิกา นักแสดงละคร ฯลฯ พวกนี้ส่วนใหญ่อ่านเขียนได้และมีวิชาศิลปะติดตัว
    d. เผยฝาง (陪房) หมายถึงสาวใช้ของภรรยาเอกที่ติดตามมาเป็นเผยเจี้ยและช่วยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงให้ฝ่ายชายตามคำสั่งของภรรยาเอก โดยปกติชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดีเพราะภรรยาเอกจะส่งเสริมเพื่อให้ช่วยมัดใจสามีโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีพิษมีภัยเพราะเอกสารสำหรับสัญญาซื้อขายสาวใช้คนนี้จะอยู่ในมือของภรรยาเอกเอง
    e. ซื่อเฉี้ย (侍妾) หมายถึงสาวใช้ในบ้านฝ่ายชายที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแล้วถูกยกขึ้นเป็นอนุ
    f. ปี้เฉี้ย (婢妾) หมายถึงลูกของนักโทษทางการที่ถูกซื้อเข้ามาเป็นทาสในบ้านและยกขึ้นเป็นอนุ
    3. กลุ่มสุดท้ายไม่นับเป็นอนุภรรยา เป็นช่องทางที่ฝ่ายชายใช้ระบายความใคร่ได้อย่างไม่ต้องกลัวผิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องจำนวนอนุภรรยา แบ่งได้อีกเป็น
    a. ทงฝาง (通房) คือสาวใช้ในเรือนที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแต่ไม่ได้รับการยกขึ้นเป็นอนุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาวใช้ที่ถูกคัดเลือกมาเพื่อ ‘เปิดประสบการณ์’ ให้แก่คุณชายในตระกูลใหญ่ที่กำลังโตขึ้นเป็นหนุ่ม
    b. ไว่ซึ (外室) หมายถึงเมียเก็บนอกบ้าน ชีวิตความเป็นอยู่อาจจะดีเพราะฝ่ายชายอาจซื้อบ้านให้อยู่มีคนคอยรับใช้ ไม่ต้องมาคอยปรนนิบัติแม่สามีหรือเมียหลวง และไม่โดนโขกสับ แต่ก็คือไม่ได้ถูกรับรองเป็นอนุภรรยา บุตรที่เกิดมาก็ไม่ถูกยอมรับว่าเป็นลูกหลานของตระกูลฝ่ายชาย

    เป็นอย่างไรคะ? ซับซ้อนและแบ่งแยกไว้ละเอียดกว่าที่คิดใช่ไหม? ทีนี้เพื่อนเพจคงเข้าใจในบริบทแล้วว่า ทำไมเป็นอนุภรรยาเหมือนกันยังสามารถข่มกันได้ และทำไมการยกอนุภรรยาขึ้นเป็นภรรยาเอกหลังจากคนเดิมเสียไปจึงเป็นเรื่องที่ยาก เพราะไม่ใช่อนุภรรยาทุกประเภทมีความพร้อมทางชาติตระกูลและการศึกษาที่จะมาปกครองเป็นนายหญิงของบ้านได้

    Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าละครหรือนิยายแปลมีการแบ่งแยกในรายละเอียดหรือไม่ หากมีใครเคยผ่านหูผ่านตาก็บอกกล่าวกันได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802
    https://kknews.cc/zh-cn/entertainment/x48b2bg.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://new.qq.com/rain/a/20200223A0A37000
    http://m.qulishi.com//article/201905/335331.html
    https://www.sohu.com/a/251827031_100152441

    #ร้อยรักปักดวงใจ #อนุภรรยา #ภรรยาเอก #หยวนเพ่ย #ภรรยาผูกปมผม #เจิ้งฝาง #จี้ซื่อ #จี้สื้อ #เชี่ยซื่อ #เชี่ยสื้อ #เฉี้ย #อิ้งเฉี้ย #เช่อซึ #ฟู่ซึ #เพียนซึ #เพียนฝาง #กุ้ยเฉี้ย #เหลียงเฉี้ย #เจี้ยนเฉี้ย #ปี้เฉี้ย #ทงฝาง #ไว่ซึ
    สัปดาห์ที่แล้วเปรียบเทียบสิทธิของภรรยาเอกและอนุภรรยาโดยยกตัวอย่างจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> วันนี้มาคุยกันต่อว่าจีนโบราณแบ่งแยกเมียหลวงและเมียน้อยเป็นกี่ประเภท ก่อนอื่น พูดกันถึงภรรยาเอก ตามที่ Storyฯ เล่าไปสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนสมัยราชวงศ์ชิงนั้น กฎหมายกำหนดให้มีภรรยาเอกได้คนเดียว และจำนวนอนุภรรยานั้นเป็นไปตามบรรดาศักดิ์ของผู้ชาย ภรรยาเอกนี้มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น เจิ้งชี (ภรรยาหลัก) เจี๋ยฟ่าชี (ภรรยาผูกปมผม) หยวนเพ่ยชี (ภรรยาดั้งเดิม) เจิ้งฝาง (ห้องหลัก) ฯลฯ หากภรรยาเอกเสียชีวิตไปแล้วจึงจะสามารถแต่งภรรยาเอกเข้ามาใหม่ได้อีกคน ภรรยาทดแทนคนนี้เรียกว่า ‘จี้ซื่อ’ (继室 แปลตรงตัวว่า สืบทอด+ห้อง) ตามธรรมเนียมแล้ว คนที่กราบไหว้ฟ้าดินด้วยกันมีเพียงภรรยาเอกเท่านั้น ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงมีธรรมเนียมที่ว่า หากบ้านใดไม่มีบุตรชายสืบสกุล สามารถให้หลาน (ลูกของลุงหรือน้า สกุลเดียวกัน) มาเป็นทายาทสืบสกุลตามกฎหมายได้ ดังนั้นเขามีหน้าที่สืบสกุลให้กับสองบ้านและสามารถแต่งภรรยาเอกได้สองคน เรียกว่า ‘เจี๊ยนเที้ยว’ (兼祧) และภรรยาเอกทั้งสองคนจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน นอกจากกรณีข้างต้นแล้ว เมียอื่นๆ จัดเป็นเมียน้อยหมด และจัดกลุ่มได้ตามนี้ 1. กลุ่มที่หนึ่งเป็นญาติพี่น้องของภรรยาเอกที่ถูกเลือกให้ติดตามไปกับเจ้าสาวตอนแต่งเข้าไปเรือนฝ่ายชาย (หมายเหตุ คนที่ตามเจ้าสาวมาอยู่บ้านฝ่ายชายทั้งหมดเรียกว่า เผยเจี้ย /陪嫁 ซึ่งรวมถึงบ่าวไพร่) แต่เป็นกรณีที่เจ้าสาวมาจากตระกูลสูงศักดิ์ ดังนั้นอนุภรรยากลุ่มนี้จะมีสถานะสูงกว่าอนุภรรยาอื่นๆ สามารถเข้าร่วมรับประทานอาหารหรืองานเลี้ยงกับสามีได้ และอาจถูกบันทึกชื่อเข้าไปในหนังสือตระกูลของฝ่ายชายได้เพราะนางมาจากตระกูลที่สูงศักดิ์มากเช่นกัน และโดยปกติฝ่ายชายมักยกระดับขึ้นเป็นภรรยาเอกได้เมื่อภรรยาเอกคนเดิมเสียชีวิตไป ในกลุ่มนี้จำแนกได้เป็นอีกสี่แบบ (เรียงจากสูงศักดิ์ที่สุดไปต่ำ) คือ a. อิ้ง (媵) หรือ อิ้งเฉี้ย – เป็นพี่สาวหรือน้องสาวที่เกิดจากพ่อคนเดียวกันกับเจ้าสาว แต่เจ้าสาวมีแม่เป็นภรรยาเอกในขณะที่พี่หรือน้องสาวที่แต่งตามไปจะเกิดจากอนุภรรยาของพ่อ b. เช่อซึ (侧室 แปลตรงตัวว่าห้องข้าง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เช่อซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของพ่อ (ถือนามสกุลเดียวกันกับเจ้าสาว) c. ฟู่ซึ (副室 แปลตรงตัวว่าห้องรอง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า ฟู่ซึ เป็นลูกพี่ลูกน้องของเจ้าสาว ไม่ใช่เป็นพี่น้องแท้ๆ แต่เป็นลูกของพี่น้องของแม่ (ถือนามสกุลเดิมของแม่เจ้าสาว) d. เพียนซึ (偏室 แปลตรงตัวว่าห้องเบี่ยง) แตกต่างจากอิ้งเฉี้ยตรงที่ว่า เพียนซึ เป็นลูกจากอนุภรรยาในตระกูลเดิมของแม่ ใช้นามสกุลเดียวกับแม่ มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าสาวแต่จริงๆ แล้วไม่มีความเกี่ยวพันทางสายเลือดกับเจ้าสาวเลย 2. กลุ่มที่สองคือ เฉี้ย (妾) หรือ เพียนฝาง (偏房) คืออนุภรรยาทั่วไปที่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับภรรยาเอก แบ่งเป็นระดับได้อีก คือ a. กุ้ยเฉี้ย (贵妾) เป็นอนุที่มาจากตระกูลใหญ่หรือตระกูลขุนนางแต่อาจเป็นลูกที่เกิดจากอนุภรรยาในตระกูลนั้นๆ หากฝ่ายชายเป็นบุตรจากภรรยาเอกในตระกูลสูงศักดิ์ โดยปกตินางผู้เป็นลูกอนุจะไม่มีคุณสมบัติพอที่จะนั่งตำแหน่งภรรยาเอกของเขาได้ b. เหลียงเฉี้ย (良妾) เป็นอนุที่มาจากครอบครัวชาวบ้านทั่วไป เช่น ครอบครัวค้าขายหรือชาวไร่ชาวสวน ระดับความรู้การศึกษาก็จะแตกต่างกันไป c. เจี้ยนเฉี้ย (贱妾) เป็นอนุที่มีชาติตระกูลหรือสถานะที่ต่ำต้อยมาก เช่น นางรำ นางคณิกา นักแสดงละคร ฯลฯ พวกนี้ส่วนใหญ่อ่านเขียนได้และมีวิชาศิลปะติดตัว d. เผยฝาง (陪房) หมายถึงสาวใช้ของภรรยาเอกที่ติดตามมาเป็นเผยเจี้ยและช่วยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงให้ฝ่ายชายตามคำสั่งของภรรยาเอก โดยปกติชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดีเพราะภรรยาเอกจะส่งเสริมเพื่อให้ช่วยมัดใจสามีโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีพิษมีภัยเพราะเอกสารสำหรับสัญญาซื้อขายสาวใช้คนนี้จะอยู่ในมือของภรรยาเอกเอง e. ซื่อเฉี้ย (侍妾) หมายถึงสาวใช้ในบ้านฝ่ายชายที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแล้วถูกยกขึ้นเป็นอนุ f. ปี้เฉี้ย (婢妾) หมายถึงลูกของนักโทษทางการที่ถูกซื้อเข้ามาเป็นทาสในบ้านและยกขึ้นเป็นอนุ 3. กลุ่มสุดท้ายไม่นับเป็นอนุภรรยา เป็นช่องทางที่ฝ่ายชายใช้ระบายความใคร่ได้อย่างไม่ต้องกลัวผิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องจำนวนอนุภรรยา แบ่งได้อีกเป็น a. ทงฝาง (通房) คือสาวใช้ในเรือนที่ได้เคยปรนนิบัติเรื่องบนเตียงแต่ไม่ได้รับการยกขึ้นเป็นอนุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาวใช้ที่ถูกคัดเลือกมาเพื่อ ‘เปิดประสบการณ์’ ให้แก่คุณชายในตระกูลใหญ่ที่กำลังโตขึ้นเป็นหนุ่ม b. ไว่ซึ (外室) หมายถึงเมียเก็บนอกบ้าน ชีวิตความเป็นอยู่อาจจะดีเพราะฝ่ายชายอาจซื้อบ้านให้อยู่มีคนคอยรับใช้ ไม่ต้องมาคอยปรนนิบัติแม่สามีหรือเมียหลวง และไม่โดนโขกสับ แต่ก็คือไม่ได้ถูกรับรองเป็นอนุภรรยา บุตรที่เกิดมาก็ไม่ถูกยอมรับว่าเป็นลูกหลานของตระกูลฝ่ายชาย เป็นอย่างไรคะ? ซับซ้อนและแบ่งแยกไว้ละเอียดกว่าที่คิดใช่ไหม? ทีนี้เพื่อนเพจคงเข้าใจในบริบทแล้วว่า ทำไมเป็นอนุภรรยาเหมือนกันยังสามารถข่มกันได้ และทำไมการยกอนุภรรยาขึ้นเป็นภรรยาเอกหลังจากคนเดิมเสียไปจึงเป็นเรื่องที่ยาก เพราะไม่ใช่อนุภรรยาทุกประเภทมีความพร้อมทางชาติตระกูลและการศึกษาที่จะมาปกครองเป็นนายหญิงของบ้านได้ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าละครหรือนิยายแปลมีการแบ่งแยกในรายละเอียดหรือไม่ หากมีใครเคยผ่านหูผ่านตาก็บอกกล่าวกันได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802 https://kknews.cc/zh-cn/entertainment/x48b2bg.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://new.qq.com/rain/a/20200223A0A37000 http://m.qulishi.com//article/201905/335331.html https://www.sohu.com/a/251827031_100152441 #ร้อยรักปักดวงใจ #อนุภรรยา #ภรรยาเอก #หยวนเพ่ย #ภรรยาผูกปมผม #เจิ้งฝาง #จี้ซื่อ #จี้สื้อ #เชี่ยซื่อ #เชี่ยสื้อ #เฉี้ย #อิ้งเฉี้ย #เช่อซึ #ฟู่ซึ #เพียนซึ #เพียนฝาง #กุ้ยเฉี้ย #เหลียงเฉี้ย #เจี้ยนเฉี้ย #ปี้เฉี้ย #ทงฝาง #ไว่ซึ
    WWW.POPDAILY.COM.TW
    《錦心似玉》鍾漢良、譚松韵先婚後愛!2021最甜寵的宅鬥古裝劇 | PopDaily 波波黛莉
    受封2021最甜寵宅鬥古裝劇的《錦心似玉》,改編自作者吱吱的原著小說《庶女攻略》,鍾漢良飾演的永平侯徐令宜娶了於徐家有恩的羅家嫡女羅元娘為妻,後因羅元娘死前所託續弦娶了譚松韵飾演的羅家庶女羅十一娘,自此展開一段本不相愛,因被迫成婚而先婚後愛的宅鬥古裝偶像劇。
    Like
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 684 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้กลับมาคุยกันต่อกับเรื่องราวที่ Storyฯ เห็นจากละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ในตอนที่มีการรับลูกนอกสมรสกลับเข้าตระกูล

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ถึงกาลมงคล พิธีรับเข้าตระกูลของตระกูลสวี อัญเชิญหนังสือตระกูล” เสียงประกาศเริ่มพิธีดังขึ้น สวีลิ่งเซวียนคุกเข่าลงต่อหน้าป้ายบูชาบรรพบุรุษแล้วกล่าว “สวีซื่อเจี้ย เดิมเป็นบุตรที่ร่อนเร่อาศัยอยู่ข้างนอกของตระกูลเรา ตอนนี้รับกลับเข้าตระกูลเป็นบุตรของสวีลิ่งอัน ขอบรรพบุรุษปกป้องลูกหลานสกุลสวี”...
    - ถอดบทสนทนาจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> (ตามซับไทยเลยจ้า)

    ในละครข้างต้น ก่อนจะมาถึงพิธีการนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงความคิดของตัวละครต่างๆ ที่ถกกันว่าจะรับเด็กมาเป็นลูกใครดี? ความเดิมของบทสนทนาในภาษาจีนคือ “จะบันทึกชื่อเด็กคนนี้ใต้ชื่อใคร?” ซึ่งการคุยในลักษณะนี้เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญของหนังสือตระกูล วันนี้เลยมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับหนังสือตระกูลหรือที่เรียกว่า ‘เจียผู่’ (家谱) หรือ ‘จู๋ผู่’ (族谱) นี้

    การบันทึกข้อมูลในเจียผู่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ย และเนื่องจากสมัยนั้นมีการแตกสกุลมาจากเชื้อพระวงศ์เป็นจำนวนมาก ทางการจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลและปรับปรุงเจียผู่ของตระกูลเหล่านั้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือบันทึกสายสกุลเพื่อประโยชน์ในการคัดสรรและแต่งตั้งขุนนาง ต่อมาเมื่อผ่านพ้นราชวงศ์ถัง ข้อมูลเหล่านี้สูญหายไปในสงครามเสียเป็นส่วนใหญ่ และการเข้ารับราชการก็ดำเนินการผ่านการสอบราชบัณฑิต อีกทั้งอำนาจของเหล่าสื้อเจียตระกูลขุนนางก็เสื่อมลง ทางการจึงไม่ได้เข้ามายุ่งเรื่องการทำเจียผู่อีก ดังนั้นนับแต่สมัยซ่งมา เจียผู่ส่วนใหญ่ถูกจัดทำขึ้นมาใหม่และอยู่ในการดูแลของคนในตระกูลเอง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนเกี่ยวกับสื้อเจียไปแล้ว หาอ่านย้อนหลังนะคะ)

    เพื่อนเพจอาจนึกภาพว่าเจียผู่เป็นพงศาวลีหรือผังลำดับญาติ แต่คนที่เคยลองวาดผังแบบนี้จะรู้ว่า หากจะวาดให้ดีต้องรู้ว่าควรเผื่อเนื้อที่ตรงไหนอย่างไร แต่เจียผู่เป็นบันทึกจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นการบันทึกจริงๆ คือเขียนข้อมูลเติมไปแต่ละรุ่น (ดูตัวอย่างตามรูปประกอบ หน้านี้บันทึกการสืบเชื้อสายของบุตรชายคนโต) หากมีการวาดผังลำดับญาติโดยปกติจะวาดเพียง 5 รุ่นแล้วก็ขึ้นผังใหม่

    แล้วเจียผู่บันทึกอะไรบ้าง?

    ก่อนอื่นคือต้องมีการเขียน ‘ขอบเขต’ - ใครเป็นต้นตระกูล? เราเป็นสายใดของตระกูล? ตราสัญลักษณ์ของตระกูล (ถ้ามี) ภูมิลำเนาเดิม ประวัติของสกุล ที่ตั้งและแผนผังของวัดบรรพบุรุษ เป็นต้น

    จากนั้นก็เป็นบันทึกเกี่ยวกับคนในแต่ละรุ่น ซึ่งจะระบุว่าเป็นรุ่นที่เท่าไหร่ ลำดับในรุ่น ชื่อ วันเดือนปีเกิดและตาย สรุปชีวประวัติ ลักษณะเด่นหรือวีรกรรมโดยคร่าว (เช่น เคยไปรบชนะสร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูลในศึกไหน?) บรรดาศักดิ์หรือรางวัลเกียรติยศที่เคยได้รับ ชื่อคู่สมรสและบุตรชาย ฯลฯ ในบางเจียผู่จะมีการกล่าวถึงสินทรัพย์อันเป็นมรดกตกทอดของตระกูล เช่น ที่ตั้งและขนาดของที่ดินและอาคารบ้านเรือน และการบริหารสินทรัพย์ ฯลฯ

    แต่... ไม่ใช่บุตรและภรรยาทุกคนจะได้รับการบันทึกชื่อลงในเจียผู่ ใครบ้างที่ไม่มีชื่อ?
    1. ลูกสาว – ในวัฒนธรรมจีนโบราณ ลูกสาวเมื่อแต่งงานออกไปก็ถือว่าเป็นคนของครอบครัวอื่น จึงไม่มีการบันทึกชื่อลูกสาวในเจียผู่ของตัวเอง ลูกสาวที่แต่งออกไปก็จะไปมีชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามี (แต่จากตัวอย่างที่ Storyฯ เห็น จะบันทึกเพียงสกุลเดิมไม่มีชื่อ เช่น นางสกุลหลี่) ธรรมเนียมนี้มีมาจนถึงสมัยจีนยุคใหม่ (หลังราชวงศ์ชิง) จึงมีการใส่ชื่อลูกสาวเข้าไป
    2. อนุภรรยา – สตรีที่แต่งงานไปจะถูกบันทึกชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามีเฉพาะคนที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น คนที่เป็นอนุจะไม่มีการบันทึกถึง ยกเว้นในกรณีที่ต่อมาบุตรชายของนางมีคุณงามความชอบอย่างโดดเด่น สร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูล จึงจะมีการแก้ไขเอาชื่อของเขาเข้าเจียผู่และจะมีการบันทึกชื่อผู้เป็นมารดาด้วย (ป.ล. หากเพื่อนเพจได้ดูละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> ในฉากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าสตรีที่เข้าร่วมพิธีที่เกี่ยวกับหนังสือตระกูลนั้น มีเพียงสะใภ้ที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น)
    3. ลูกอนุ - สายของอนุทั้งสายจะไม่ได้ลงบันทึกไว้ เว้นแต่กรณีที่กล่าวมาข้างต้นว่ามีการแก้ไขบันทึกย้อนหลัง

    เห็นแล้วก็พอจะเข้าใจถึงหัวอกของบรรดาอนุและลูกอนุ เราจึงเห็นเรื่องราวในนิยายและละครจีนโบราณไม่น้อยที่มีปูมหลังมาจากความน้อยเนื้อต่ำใจหรือความทะเยอทะยานของเหล่าอนุและลูกอนุทั้งหลาย Storyฯ เชื่อว่าเพื่อนเพจเข้าใจในบริบทนี้แล้วจะดูละคร/อ่านนิยายจีนโบราณได้มีอรรถรสยิ่งขึ้นค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/452104168_114988
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.52lishi.com/article/65523.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/30411974
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/54546409
    https://www.163.com/dy/article/H14J0MG10552QJB7.html

    #ร้อยรักปักดวงใจ #เจียผู่ #จู๋ผู่ #หนังสือตระกูล #บันทึกตระกูลจีนโบราณ #พงศาวลีจีนโบราณ
    วันนี้กลับมาคุยกันต่อกับเรื่องราวที่ Storyฯ เห็นจากละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ในตอนที่มีการรับลูกนอกสมรสกลับเข้าตระกูล ความมีอยู่ว่า ... “ถึงกาลมงคล พิธีรับเข้าตระกูลของตระกูลสวี อัญเชิญหนังสือตระกูล” เสียงประกาศเริ่มพิธีดังขึ้น สวีลิ่งเซวียนคุกเข่าลงต่อหน้าป้ายบูชาบรรพบุรุษแล้วกล่าว “สวีซื่อเจี้ย เดิมเป็นบุตรที่ร่อนเร่อาศัยอยู่ข้างนอกของตระกูลเรา ตอนนี้รับกลับเข้าตระกูลเป็นบุตรของสวีลิ่งอัน ขอบรรพบุรุษปกป้องลูกหลานสกุลสวี”... - ถอดบทสนทนาจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> (ตามซับไทยเลยจ้า) ในละครข้างต้น ก่อนจะมาถึงพิธีการนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงความคิดของตัวละครต่างๆ ที่ถกกันว่าจะรับเด็กมาเป็นลูกใครดี? ความเดิมของบทสนทนาในภาษาจีนคือ “จะบันทึกชื่อเด็กคนนี้ใต้ชื่อใคร?” ซึ่งการคุยในลักษณะนี้เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญของหนังสือตระกูล วันนี้เลยมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับหนังสือตระกูลหรือที่เรียกว่า ‘เจียผู่’ (家谱) หรือ ‘จู๋ผู่’ (族谱) นี้ การบันทึกข้อมูลในเจียผู่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ย และเนื่องจากสมัยนั้นมีการแตกสกุลมาจากเชื้อพระวงศ์เป็นจำนวนมาก ทางการจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลและปรับปรุงเจียผู่ของตระกูลเหล่านั้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือบันทึกสายสกุลเพื่อประโยชน์ในการคัดสรรและแต่งตั้งขุนนาง ต่อมาเมื่อผ่านพ้นราชวงศ์ถัง ข้อมูลเหล่านี้สูญหายไปในสงครามเสียเป็นส่วนใหญ่ และการเข้ารับราชการก็ดำเนินการผ่านการสอบราชบัณฑิต อีกทั้งอำนาจของเหล่าสื้อเจียตระกูลขุนนางก็เสื่อมลง ทางการจึงไม่ได้เข้ามายุ่งเรื่องการทำเจียผู่อีก ดังนั้นนับแต่สมัยซ่งมา เจียผู่ส่วนใหญ่ถูกจัดทำขึ้นมาใหม่และอยู่ในการดูแลของคนในตระกูลเอง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนเกี่ยวกับสื้อเจียไปแล้ว หาอ่านย้อนหลังนะคะ) เพื่อนเพจอาจนึกภาพว่าเจียผู่เป็นพงศาวลีหรือผังลำดับญาติ แต่คนที่เคยลองวาดผังแบบนี้จะรู้ว่า หากจะวาดให้ดีต้องรู้ว่าควรเผื่อเนื้อที่ตรงไหนอย่างไร แต่เจียผู่เป็นบันทึกจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นการบันทึกจริงๆ คือเขียนข้อมูลเติมไปแต่ละรุ่น (ดูตัวอย่างตามรูปประกอบ หน้านี้บันทึกการสืบเชื้อสายของบุตรชายคนโต) หากมีการวาดผังลำดับญาติโดยปกติจะวาดเพียง 5 รุ่นแล้วก็ขึ้นผังใหม่ แล้วเจียผู่บันทึกอะไรบ้าง? ก่อนอื่นคือต้องมีการเขียน ‘ขอบเขต’ - ใครเป็นต้นตระกูล? เราเป็นสายใดของตระกูล? ตราสัญลักษณ์ของตระกูล (ถ้ามี) ภูมิลำเนาเดิม ประวัติของสกุล ที่ตั้งและแผนผังของวัดบรรพบุรุษ เป็นต้น จากนั้นก็เป็นบันทึกเกี่ยวกับคนในแต่ละรุ่น ซึ่งจะระบุว่าเป็นรุ่นที่เท่าไหร่ ลำดับในรุ่น ชื่อ วันเดือนปีเกิดและตาย สรุปชีวประวัติ ลักษณะเด่นหรือวีรกรรมโดยคร่าว (เช่น เคยไปรบชนะสร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูลในศึกไหน?) บรรดาศักดิ์หรือรางวัลเกียรติยศที่เคยได้รับ ชื่อคู่สมรสและบุตรชาย ฯลฯ ในบางเจียผู่จะมีการกล่าวถึงสินทรัพย์อันเป็นมรดกตกทอดของตระกูล เช่น ที่ตั้งและขนาดของที่ดินและอาคารบ้านเรือน และการบริหารสินทรัพย์ ฯลฯ แต่... ไม่ใช่บุตรและภรรยาทุกคนจะได้รับการบันทึกชื่อลงในเจียผู่ ใครบ้างที่ไม่มีชื่อ? 1. ลูกสาว – ในวัฒนธรรมจีนโบราณ ลูกสาวเมื่อแต่งงานออกไปก็ถือว่าเป็นคนของครอบครัวอื่น จึงไม่มีการบันทึกชื่อลูกสาวในเจียผู่ของตัวเอง ลูกสาวที่แต่งออกไปก็จะไปมีชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามี (แต่จากตัวอย่างที่ Storyฯ เห็น จะบันทึกเพียงสกุลเดิมไม่มีชื่อ เช่น นางสกุลหลี่) ธรรมเนียมนี้มีมาจนถึงสมัยจีนยุคใหม่ (หลังราชวงศ์ชิง) จึงมีการใส่ชื่อลูกสาวเข้าไป 2. อนุภรรยา – สตรีที่แต่งงานไปจะถูกบันทึกชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามีเฉพาะคนที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น คนที่เป็นอนุจะไม่มีการบันทึกถึง ยกเว้นในกรณีที่ต่อมาบุตรชายของนางมีคุณงามความชอบอย่างโดดเด่น สร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูล จึงจะมีการแก้ไขเอาชื่อของเขาเข้าเจียผู่และจะมีการบันทึกชื่อผู้เป็นมารดาด้วย (ป.ล. หากเพื่อนเพจได้ดูละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> ในฉากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าสตรีที่เข้าร่วมพิธีที่เกี่ยวกับหนังสือตระกูลนั้น มีเพียงสะใภ้ที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น) 3. ลูกอนุ - สายของอนุทั้งสายจะไม่ได้ลงบันทึกไว้ เว้นแต่กรณีที่กล่าวมาข้างต้นว่ามีการแก้ไขบันทึกย้อนหลัง เห็นแล้วก็พอจะเข้าใจถึงหัวอกของบรรดาอนุและลูกอนุ เราจึงเห็นเรื่องราวในนิยายและละครจีนโบราณไม่น้อยที่มีปูมหลังมาจากความน้อยเนื้อต่ำใจหรือความทะเยอทะยานของเหล่าอนุและลูกอนุทั้งหลาย Storyฯ เชื่อว่าเพื่อนเพจเข้าใจในบริบทนี้แล้วจะดูละคร/อ่านนิยายจีนโบราณได้มีอรรถรสยิ่งขึ้นค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/452104168_114988 https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.52lishi.com/article/65523.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/30411974 https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773 https://zhuanlan.zhihu.com/p/54546409 https://www.163.com/dy/article/H14J0MG10552QJB7.html #ร้อยรักปักดวงใจ #เจียผู่ #จู๋ผู่ #หนังสือตระกูล #บันทึกตระกูลจีนโบราณ #พงศาวลีจีนโบราณ
    WWW.SOHU.COM
    钟汉良谭松韵领衔主演《锦心似玉》定档2月26日_荻雁
    新京报讯 2月23日,钟汉良、谭松韵领衔主演的电视剧《锦心似玉》宣布定档。该剧将于2月26日起在腾讯视频全网独播,周五至周三连续六天,每日20点更新2集;3月1日起每周一、二、三20点更新2集,会员抢先看。 …
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 520 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่วงนี้มีกระแสดังในจีนที่มีแบรนด์ดังนานาชาติระดับโอตกูตูร์แบรนด์หนึ่งวางขายกระโปรงจีบยาวในราคาสูงลิ่วพร้อมคำบรรยายว่ากระโปรงนี้มีโครงเส้นที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ ก่อเกิดเป็นกระแสต่อต้านอย่างแรงเนื่องจากมันเหมือนมากกับกระโปรงจีนโบราณ ถึงขนาดมีคนลงทุนไปซื้อมาเปรียบเทียบแจกแจงให้ฟังเพื่อพิสูจน์ว่าแบรนด์ดังฉกฉวยมรดกทางวัฒนธรรมจีนมาเป็นของตน (cultural appropriation)

    เพื่อนเพจอาจเคยผ่านตาข่าวนี้มาบ้างแล้ว กระโปรงที่ว่านี้มีชื่อเรียกทางภาษาจีนว่า ‘หม่าเมี่ยนฉวิน’ (马面裙 แปลตรงตัวว่า หน้าม้า+กระโปรง) กระโปรงนี้เคยสร้างกระแสความขัดแย้งทางชาตินิยมกันมาแล้วเมื่อครั้งซีรีส์ <คีตาแห่งวสันต์> ออนแอร์ เพราะมีคนเกาหลีท้วงติงว่าเอาชุดเกาหลีมาแอบอ้างว่าเป็นชุดของจีน

    Storyฯ ไปเห็นรูปส่วนประกอบของกระโปรงหม่าเมี่ยนเลยเอามาฝาก พร้อมรูปตัวอย่างจากในละคร (ดูรูปประกอบที่ 1)

    จะเห็นจากรูปว่า กระโปรงหม่าเมี่ยนทำจากผ้าหกชิ้น ต่อเป็นสองชิ้นใหญ่ (บางบันทึกบอกว่าเจ็ดชิ้นแบ่งเป็นสองชิ้นใหญ่เท่าๆ กัน และในช่วงปลายหมิงมีการพูดถึงผ้าต่อสิบชิ้น) แน่นอนว่าเขามีเกณฑ์ความยาวและหน้ากว้าง แต่เกณฑ์นี้เปลี่ยนแปลงไปบ้างตามยุคสมัย แต่ละชิ้นจะมีส่วนที่จับจีบและส่วนที่แบนเรียบ ส่วนที่แบนเรียบนี้เรียกว่า ‘หม่าเมี่ยน’ ตอนนำมาประกอบให้เอาหม่าเมี่ยนซ้อนกันแล้วเย็บส่วนคาดเอวเพื่อตรึงผ้าไว้ด้วยกัน สุดท้ายก็จะเป็นกระโปรงยาวที่มีรอยแยกเปิดสี่จุดคือหน้าและหลังตรงแนวติดกับส่วนจีบสองข้าง (ดูรูปประกอบที่ 1) ตามบันทึกโบราณระบุว่ารอยแยกสี่จุดนี้เป็นเอกลักษณ์ของกระโปรงหม่าเมี่ยน

    ทำไมต้องมีรอยแยกสี่จุด? คำตอบคือไว้สำหรับขี่ม้าค่ะ กระโปรงหม่าเมี่ยนมีใส่กันตั้งแต่ยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง และแท้จริงแล้วเป็นอิทธิพลที่ได้รับมาจากชนเผ่าคีตัน (ชี่ตัน) แห่งจักรวรรดิเหลียว ซึ่งนิยมสวมกระโปรงผ่าสี่แฉก เพื่อสะดวกต่อการขี่ม้า

    ต่อมาในสมัยหยวน หมิง และชิงกระโปรงนี้เป็นที่นิยมอย่างมากและกลายมาเป็นแบบกระโปรงพื้นฐานที่ใส่กันในแทบจะทุกสถานการณ์ ไม่ใช่แค่เพียงขี่ม้า ในสมัยหมิงนั้นนิยมใส่คู่กับเสื้อสาบไขว้ปิดสูงแขนยาว (ดูภาพจากในละคร) เรียกว่า ‘เสื้ออ่าว’ (袄 และปัจจุบันเรียกรวมท่อนบนและล่างแบบนี้ว่า ‘อ่าวฉวิน’) ตัวกระโปรงเน้นลายปักที่ชายกระโปรง เช่นลายเมฆ ลายเส้น ลายงูใหญ่ (หม่าง หรือที่เรามักเรียกว่าเป็นมังกรสี่เล็บ) ฯลฯ ต่อมาเมื่อถึงยุคสมัยชิงลวดลายและสีสันมีมากขึ้น

    คำว่า ‘หม่าเมี่ยน’ หากแปลตรงตัวว่า ‘ใบหน้าของม้า’ ก็จะฟังดูตลก แต่จริงๆ แล้วเป็นคำที่ใช้มาแต่โบราณเพื่อเรียกแนวกำแพงเมืองส่วนที่แบนราบ (ดูรูปประกอบ 2) ถามว่านี่คือที่มาของชื่อกระโปรงนี้หรือไม่? ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดค่ะ แต่จะเห็นว่ามีส่วนคล้ายคลึงอย่างมาก

    Storyฯ ยังไม่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้ แต่ดูจากภาพตัวอย่างแล้วเสื้อผ้าและเครื่องประดับดูเนี๊ยบมาก อ่านเจอว่าใช้ช่างฝีมือระดับอาจารย์มาจากซูโจวเลยทีเดียว เพื่อนเพจท่านใดได้เคยดูแล้วมาบอกกันหน่อยว่าสวยงามละมุนตาไหม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://m.juqingke.com/drama/l0fgpncm
    https://sunnews.cc/entertainment/376897.html
    https://m.aihanfu.com/wen/3546/
    https://www.aihanfu.com/wen/2902/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.52shijing.com/ctwh/87725.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/98833845
    https://baike.baidu.com/item/%E9%A9%AC%E9%9D%A2/2872717

    #คีตาแห่งวสันต์ #กระโปรงจีนโบราณ #ชุดราชวงศ์หมิง #หม่าเมี่ยนฉวิน #หม่าเมี่ยน #กระโปรงจีบ #อ่าวฉวิน
    ช่วงนี้มีกระแสดังในจีนที่มีแบรนด์ดังนานาชาติระดับโอตกูตูร์แบรนด์หนึ่งวางขายกระโปรงจีบยาวในราคาสูงลิ่วพร้อมคำบรรยายว่ากระโปรงนี้มีโครงเส้นที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ ก่อเกิดเป็นกระแสต่อต้านอย่างแรงเนื่องจากมันเหมือนมากกับกระโปรงจีนโบราณ ถึงขนาดมีคนลงทุนไปซื้อมาเปรียบเทียบแจกแจงให้ฟังเพื่อพิสูจน์ว่าแบรนด์ดังฉกฉวยมรดกทางวัฒนธรรมจีนมาเป็นของตน (cultural appropriation) เพื่อนเพจอาจเคยผ่านตาข่าวนี้มาบ้างแล้ว กระโปรงที่ว่านี้มีชื่อเรียกทางภาษาจีนว่า ‘หม่าเมี่ยนฉวิน’ (马面裙 แปลตรงตัวว่า หน้าม้า+กระโปรง) กระโปรงนี้เคยสร้างกระแสความขัดแย้งทางชาตินิยมกันมาแล้วเมื่อครั้งซีรีส์ <คีตาแห่งวสันต์> ออนแอร์ เพราะมีคนเกาหลีท้วงติงว่าเอาชุดเกาหลีมาแอบอ้างว่าเป็นชุดของจีน Storyฯ ไปเห็นรูปส่วนประกอบของกระโปรงหม่าเมี่ยนเลยเอามาฝาก พร้อมรูปตัวอย่างจากในละคร (ดูรูปประกอบที่ 1) จะเห็นจากรูปว่า กระโปรงหม่าเมี่ยนทำจากผ้าหกชิ้น ต่อเป็นสองชิ้นใหญ่ (บางบันทึกบอกว่าเจ็ดชิ้นแบ่งเป็นสองชิ้นใหญ่เท่าๆ กัน และในช่วงปลายหมิงมีการพูดถึงผ้าต่อสิบชิ้น) แน่นอนว่าเขามีเกณฑ์ความยาวและหน้ากว้าง แต่เกณฑ์นี้เปลี่ยนแปลงไปบ้างตามยุคสมัย แต่ละชิ้นจะมีส่วนที่จับจีบและส่วนที่แบนเรียบ ส่วนที่แบนเรียบนี้เรียกว่า ‘หม่าเมี่ยน’ ตอนนำมาประกอบให้เอาหม่าเมี่ยนซ้อนกันแล้วเย็บส่วนคาดเอวเพื่อตรึงผ้าไว้ด้วยกัน สุดท้ายก็จะเป็นกระโปรงยาวที่มีรอยแยกเปิดสี่จุดคือหน้าและหลังตรงแนวติดกับส่วนจีบสองข้าง (ดูรูปประกอบที่ 1) ตามบันทึกโบราณระบุว่ารอยแยกสี่จุดนี้เป็นเอกลักษณ์ของกระโปรงหม่าเมี่ยน ทำไมต้องมีรอยแยกสี่จุด? คำตอบคือไว้สำหรับขี่ม้าค่ะ กระโปรงหม่าเมี่ยนมีใส่กันตั้งแต่ยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง และแท้จริงแล้วเป็นอิทธิพลที่ได้รับมาจากชนเผ่าคีตัน (ชี่ตัน) แห่งจักรวรรดิเหลียว ซึ่งนิยมสวมกระโปรงผ่าสี่แฉก เพื่อสะดวกต่อการขี่ม้า ต่อมาในสมัยหยวน หมิง และชิงกระโปรงนี้เป็นที่นิยมอย่างมากและกลายมาเป็นแบบกระโปรงพื้นฐานที่ใส่กันในแทบจะทุกสถานการณ์ ไม่ใช่แค่เพียงขี่ม้า ในสมัยหมิงนั้นนิยมใส่คู่กับเสื้อสาบไขว้ปิดสูงแขนยาว (ดูภาพจากในละคร) เรียกว่า ‘เสื้ออ่าว’ (袄 และปัจจุบันเรียกรวมท่อนบนและล่างแบบนี้ว่า ‘อ่าวฉวิน’) ตัวกระโปรงเน้นลายปักที่ชายกระโปรง เช่นลายเมฆ ลายเส้น ลายงูใหญ่ (หม่าง หรือที่เรามักเรียกว่าเป็นมังกรสี่เล็บ) ฯลฯ ต่อมาเมื่อถึงยุคสมัยชิงลวดลายและสีสันมีมากขึ้น คำว่า ‘หม่าเมี่ยน’ หากแปลตรงตัวว่า ‘ใบหน้าของม้า’ ก็จะฟังดูตลก แต่จริงๆ แล้วเป็นคำที่ใช้มาแต่โบราณเพื่อเรียกแนวกำแพงเมืองส่วนที่แบนราบ (ดูรูปประกอบ 2) ถามว่านี่คือที่มาของชื่อกระโปรงนี้หรือไม่? ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดค่ะ แต่จะเห็นว่ามีส่วนคล้ายคลึงอย่างมาก Storyฯ ยังไม่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้ แต่ดูจากภาพตัวอย่างแล้วเสื้อผ้าและเครื่องประดับดูเนี๊ยบมาก อ่านเจอว่าใช้ช่างฝีมือระดับอาจารย์มาจากซูโจวเลยทีเดียว เพื่อนเพจท่านใดได้เคยดูแล้วมาบอกกันหน่อยว่าสวยงามละมุนตาไหม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://m.juqingke.com/drama/l0fgpncm https://sunnews.cc/entertainment/376897.html https://m.aihanfu.com/wen/3546/ https://www.aihanfu.com/wen/2902/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.52shijing.com/ctwh/87725.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/98833845 https://baike.baidu.com/item/%E9%A9%AC%E9%9D%A2/2872717 #คีตาแห่งวสันต์ #กระโปรงจีนโบราณ #ชุดราชวงศ์หมิง #หม่าเมี่ยนฉวิน #หม่าเมี่ยน #กระโปรงจีบ #อ่าวฉวิน
    玉楼春剧情介绍(1-43全集)大结局_电视剧_剧情客
    电视剧玉楼春剧情介绍,父亲遭人陷害,家道中落流离市井的官家千金林少春(白鹿饰)与当朝首辅之子孙玉楼(王一哲饰)相爱,嫁入了钟鸣鼎食的孙家。因出身问题,林少春屡遭排挤,但她凭着自身的智慧和善良,拯救濒临危机的家族财政、帮助不睦的兄嫂们重归于好,并使各怀心思的家人团...
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 466 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้วพูดถึงภาพวาดโบราณที่ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสิบที่ล้ำค่าที่สุดของจีน วันนี้มาคุยกันสั้นๆ ถึงภาพวาดที่ปรากฏในละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>

    ละครเปิดฉากมาที่ร้านชาในเจียงหนานของนางเอกจ้าวพ่านเอ๋อร์ เพื่อนเพจที่ได้ดูละครอาจมัวแต่เพลินกับความสวยของนางเอกและวิวทิวทัศน์จนไม่ทันสังเกตว่าผนังร้านมีภาพวาดแขวนเต็มไปหมด

    Storyฯ จะบอกว่ามันคือแกลเลอรี่ดีๆ นี่เอง เพราะภาพที่โชว์อยู่ตามผนังเป็นภาพเหมือนของภาพวาดโบราณที่มีชื่อเสียงจัดเป็นสมบัติชาติของจีน ซึ่งในหลายฉากอื่นในละครก็มีภาพวาดโบราณเหล่านี้ให้ดูอีก วันนี้ยกตัวอย่างมาให้ดูกันสามภาพ

    ภาพแรกคือภาพ ‘เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว’ (莲池水禽图 แปลได้ว่าภาพสัตว์น้ำในสระปทุม ดูรูปประกอบ1) ภาพนี้เป็นภาพวาดสมัยปลายถัง-ห้าราชวงศ์ เป็นภาพคู่ วาดขึ้นบนผ้าไหมหรือที่เรียกว่า ‘เจวี้ยนเปิ่น’ (绢本/silk scroll) ขนาดประมาณของภาพแต่ละผืนคือ 106 x 91ซม. วาดโดยกู้เต๋อเชียนซึ่งมีพื้นเพอยู่เจียงหนาน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว

    ภาพต่อมาคือภาพ ‘ซีซันหลี่ว์สิง’ (溪山行旅图 แปลได้ว่าภาพการท่องไปตามภูเขาลำธาร ดูรูปประกอบ2) ภาพนี้วาดโดยฟ่านควน จิตรกรสมัยซ่งเหนือ วาดขึ้นบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 206 x 103ซม. เป็นสมบัติในวังหลวงสืบทอดกันมา (มีตราประทับห้องทรงพระอักษรสมัยหมิงและชิงอยู่ที่ขอบรูปจริง) ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม

    ภาพที่สามคือภาพ ‘ชิวซานเวิ่นเต้า’ (秋山问道图 แปลได้ประมาณว่าภาพการแสวงหาทางธรรมกลางภูผาในสารทฤดู) เป็นภาพสมัยปลายห้าราชวงศ์-ต้นซ่ง ผู้วาดเป็นนักบวชนามว่าจวี้หรัน เป็นภาพวาดบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 165 x 77ซม. ปัจจุบันภาพที่จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามเช่นกัน

    พูดถึงภาพจริงกันไปแล้วพอหอมปากหอมคอ แน่นอนว่าในละครยังมีอีกหลายภาพ ใครที่ยังดูละครเรื่องนี้อยู่อย่ามัวแต่เพลินตากับพระนางนะคะ ดูอาร์ตแกเลอรี่ที่เขาใส่มาให้ในละครด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจากในละครและจาก:
    https://www.163.com/dy/article/HBHTPUAG055226SD.html
    https://news.yangtse.com/content/1470761.html
    http://www.chinashj.com/sh-gdhh-wd/502.html
    https://baike.baidu.com/item/秋山问道图/2237166
    https://baike.baidu.com/item/溪山行旅图/1775752

    #สามบุปผาลิขิตฝัน #ซีซันหลี่ว์สิง #เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว #ชิวซานเวิ่นเต้า #ภาพวาดจีนโบราณ
    สัปดาห์ที่แล้วพูดถึงภาพวาดโบราณที่ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสิบที่ล้ำค่าที่สุดของจีน วันนี้มาคุยกันสั้นๆ ถึงภาพวาดที่ปรากฏในละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> ละครเปิดฉากมาที่ร้านชาในเจียงหนานของนางเอกจ้าวพ่านเอ๋อร์ เพื่อนเพจที่ได้ดูละครอาจมัวแต่เพลินกับความสวยของนางเอกและวิวทิวทัศน์จนไม่ทันสังเกตว่าผนังร้านมีภาพวาดแขวนเต็มไปหมด Storyฯ จะบอกว่ามันคือแกลเลอรี่ดีๆ นี่เอง เพราะภาพที่โชว์อยู่ตามผนังเป็นภาพเหมือนของภาพวาดโบราณที่มีชื่อเสียงจัดเป็นสมบัติชาติของจีน ซึ่งในหลายฉากอื่นในละครก็มีภาพวาดโบราณเหล่านี้ให้ดูอีก วันนี้ยกตัวอย่างมาให้ดูกันสามภาพ ภาพแรกคือภาพ ‘เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว’ (莲池水禽图 แปลได้ว่าภาพสัตว์น้ำในสระปทุม ดูรูปประกอบ1) ภาพนี้เป็นภาพวาดสมัยปลายถัง-ห้าราชวงศ์ เป็นภาพคู่ วาดขึ้นบนผ้าไหมหรือที่เรียกว่า ‘เจวี้ยนเปิ่น’ (绢本/silk scroll) ขนาดประมาณของภาพแต่ละผืนคือ 106 x 91ซม. วาดโดยกู้เต๋อเชียนซึ่งมีพื้นเพอยู่เจียงหนาน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว ภาพต่อมาคือภาพ ‘ซีซันหลี่ว์สิง’ (溪山行旅图 แปลได้ว่าภาพการท่องไปตามภูเขาลำธาร ดูรูปประกอบ2) ภาพนี้วาดโดยฟ่านควน จิตรกรสมัยซ่งเหนือ วาดขึ้นบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 206 x 103ซม. เป็นสมบัติในวังหลวงสืบทอดกันมา (มีตราประทับห้องทรงพระอักษรสมัยหมิงและชิงอยู่ที่ขอบรูปจริง) ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม ภาพที่สามคือภาพ ‘ชิวซานเวิ่นเต้า’ (秋山问道图 แปลได้ประมาณว่าภาพการแสวงหาทางธรรมกลางภูผาในสารทฤดู) เป็นภาพสมัยปลายห้าราชวงศ์-ต้นซ่ง ผู้วาดเป็นนักบวชนามว่าจวี้หรัน เป็นภาพวาดบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 165 x 77ซม. ปัจจุบันภาพที่จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามเช่นกัน พูดถึงภาพจริงกันไปแล้วพอหอมปากหอมคอ แน่นอนว่าในละครยังมีอีกหลายภาพ ใครที่ยังดูละครเรื่องนี้อยู่อย่ามัวแต่เพลินตากับพระนางนะคะ ดูอาร์ตแกเลอรี่ที่เขาใส่มาให้ในละครด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจากในละครและจาก: https://www.163.com/dy/article/HBHTPUAG055226SD.html https://news.yangtse.com/content/1470761.html http://www.chinashj.com/sh-gdhh-wd/502.html https://baike.baidu.com/item/秋山问道图/2237166 https://baike.baidu.com/item/溪山行旅图/1775752 #สามบุปผาลิขิตฝัน #ซีซันหลี่ว์สิง #เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว #ชิวซานเวิ่นเต้า #ภาพวาดจีนโบราณ
    《梦华录》中的挂画,惊现国宝《溪山行旅图》!
    《梦华录》中的挂画,惊现国宝《溪山行旅图》!,溪山行旅图,梦华录,范宽,董其昌,挂画,画家
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 385 มุมมอง 0 รีวิว
  • อย่าเพิ่งเบื่อกันนะกับเรื่องภาพวาดจีนโบราณในละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจถามมาว่า ‘ภาพวาดงานเลี้ยง’ มีจริงหรือไม่

    ภาพวาดงานเลี้ยงที่พูดถึงนี้ในละครเรียกว่า ‘เยี่ยเยี่ยนถู’ แปลตรงตัวว่าภาพวาดงานเลี้ยงราตรี บรรยายว่าวาดโดยหวางไอ่ มีเนื้อหาเกี่ยวกับงานเลี้ยงของจ่วนอวิ้นสื่อแห่งซีชวน (ตำแหน่งนี้มีอำนาจสูงสุดดูแลการขนส่ง) ที่มีการร้องรำทำเพลงโดยหญิงคณิกา เป็นภาพวาดที่ใช้ดำเนินเรื่องราวของละครเรื่องนี้ เพราะเป็นภาพที่พระเอกต้องสืบหาและมีความลับสำคัญซ่อนอยู่ในภาพซึ่งก็คือชื่อของคนที่มาร่วมงานเลี้ยงถูกแอบเขียนเข้าไปในภาพด้วย

    ถามว่าในความเป็นจริงมีภาพที่ละครกล่าวถึงนี้หรือไม่? คำตอบคือไม่มี แต่... มีเกร็ดข้อมูลจริงคลุกอยู่ในนี้ Storyฯ สรุปเป็นประเด็นดังนี้

    ประเด็นแรกคือจิตรกร ‘หวางไอ่’ เขาผู้นี้เป็นจิตรกรชาวซ่งเหนือที่มีอยู่จริงและภาพที่ขึ้นชื่อของเขาคือภาพเหมือนในท่านั่งขององค์ปฐมกษัตริย์ซ่งไท่จู่แห่งราชวงศ์ซ่ง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) แต่เขาไม่เคยวาดภาพงานเลี้ยง

    ประเด็นที่สองก็คือภาพวาดงานเลี้ยงราตรี หากเพื่อนเพจลองค้นหาคำว่า 夜宴图 (เยี่ยเยี่ยนถู) จะมีภาพหนึ่งที่ปรากฏขึ้นมาทันที มันเป็นหนึ่งในสิบของภาพโบราณที่มีค่าที่สุดของจีน มีชื่อเต็มว่า ‘หานซีจ่ายเยี่ยเยี่ยนถู’ (韩熙载夜宴图 / ภาพวาดงานเลี้ยงราตรีของหานซีจ่าย)

    ‘หานซีจ่ายเยี่ยเยี่ยนถู’ เป็นภาพวาดสมัยปลายถัง-ห้าราชวงศ์ซึ่งมีปูมหลังเรื่องการเมือง ผู้วาดคือกู้หงจงซึ่งถูกส่งไปสอดส่องพฤติกรรมของหานซีจ่ายที่ไม่ยอมรับตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยขององค์หลี่อวี้ ภาพงานเลี้ยงนี้สะท้อนให้เห็นว่า หานซีจ่ายลุ่มหลงมัวเมาไปวันๆ กับสตรีและดนตรี ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อราชสำนักอีกต่อไป และแขกที่มาร่วมงานในภาพล้วนเป็นบุคคลจริงในแวดวงเพื่อนฝูงของเขา

    ภาพนี้มีความยาว 335.5 ซม. เรื่องราวแบ่งเป็นห้าตอนโดยแต่ละตอนถูก ‘คั่น’ ด้วยการวาดฉากกั้นห้องหรือเตียง (ดูรูปประกอบ1 เรียงจากขวามาซ้าย ดูซิว่าเห็นการแบ่งฉากไหม) ฉากแรกคือการบรรเลงผีผา ต่อมาเป็นการชมฟ้อนรำตามจังหวะกลอง จากนั้นเป็นภาพการนอนพักเหนื่อยบนเตียงรายล้อมด้วยสาวงาม ตามมาด้วยฉากที่หานซีจ่ายใส่ชุดชั้นในนั่งฟังบรรเลงดนตรี แล้วสุดท้ายเป็นการส่งแขก

    ปัจจุบันภาพนี้เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม มีคุณค่าทางศิลปะและประวัติศาสตร์เพราะเป็นอีกหนึ่งภาพเขียนที่มีเทคนิคการวาดที่ละเอียด ไม่ว่าจะท่วงท่าและสีหน้าสีตาของคน หรือส่วนประกอบอื่นของภาพ อีกทั้งยังใช้สีจากหินแร่ทำให้สีสดและดูมีพลัง ว่ากันว่าละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> ได้อ้างอิงรายละเอียดหลายอย่างจากภาพนี้ เช่น ท่านั่งและชุด รวมถึงการถือผีผาในแนวนอนของตัวละครซ่งอิ่นจาง ซึ่งเป็นวิธีถือในสมัยถัง-ซ่ง (ไม่ใช่แนวตั้งแบบที่เห็นในปัจจุบัน)

    ประเด็นสุดท้ายคือเรื่องการเขียนชื่อบุคคลซ่อนเข้าไปในภาพ เทคนิคการลงชื่อตัวเองแบบเนียนๆ แทนการเขียนชื่อลงท้ายกำกับภาพนั้นมีอยู่จริงในสมัยซ่ง เทคนิคนี้เรียกว่า ‘อิ๋นข่วน’ (隐款 แปลตรงตัวว่าสไตล์แบบแอบซ่อน) โดยมีตัวอย่างจากนักวาดชื่อดัง ‘ฟ่านควน’ ซึ่ง Storyฯ กล่าวถึงผลงานของเขาไปในสัปดาห์ที่แล้วคือภาพ ‘ซีซันหลี่ว์สิง’ (溪山行旅图) มีการซุกชื่อเข้าไปในลายภาพวาด (ดูรูปประกอบ 2) ซึ่งกว่าจะมีคนพบเจอก็ปาเข้าไปปีค.ศ. 1958 แล้ว!

    เป็นอย่างไรคะ? เรื่องภาพวาดในละครกับเกร็ดข้อเท็จจริงที่เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนต้องคาดไม่ถึง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://ent.sina.cn/tv/tv/2022-06-20/detail-imizirau9589687.d.html
    https://lujuba.cc/709629.html
    http://www.sxsshw.com/xinshang/huihuazuopin/292.html
    https://baike.baidu.com/item/韩熙载夜宴图/1161531
    https://www.52lishi.com/article/47277.html
    http://collection.sina.com.cn/jczs/2017-12-09/doc-ifypnqvn1974112.shtml
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/33235693

    #สามบุปผาลิขิตฝัน #เยี่ยเยี่ยนถู #ภาพงานเลี้ยงกลางคืน #ภาพงานเลี้ยงราตรี #หานซีจ่าย #หวางไอ่ #อิ๋นข่วน #ภาพวาดสมัยซ่ง
    อย่าเพิ่งเบื่อกันนะกับเรื่องภาพวาดจีนโบราณในละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจถามมาว่า ‘ภาพวาดงานเลี้ยง’ มีจริงหรือไม่ ภาพวาดงานเลี้ยงที่พูดถึงนี้ในละครเรียกว่า ‘เยี่ยเยี่ยนถู’ แปลตรงตัวว่าภาพวาดงานเลี้ยงราตรี บรรยายว่าวาดโดยหวางไอ่ มีเนื้อหาเกี่ยวกับงานเลี้ยงของจ่วนอวิ้นสื่อแห่งซีชวน (ตำแหน่งนี้มีอำนาจสูงสุดดูแลการขนส่ง) ที่มีการร้องรำทำเพลงโดยหญิงคณิกา เป็นภาพวาดที่ใช้ดำเนินเรื่องราวของละครเรื่องนี้ เพราะเป็นภาพที่พระเอกต้องสืบหาและมีความลับสำคัญซ่อนอยู่ในภาพซึ่งก็คือชื่อของคนที่มาร่วมงานเลี้ยงถูกแอบเขียนเข้าไปในภาพด้วย ถามว่าในความเป็นจริงมีภาพที่ละครกล่าวถึงนี้หรือไม่? คำตอบคือไม่มี แต่... มีเกร็ดข้อมูลจริงคลุกอยู่ในนี้ Storyฯ สรุปเป็นประเด็นดังนี้ ประเด็นแรกคือจิตรกร ‘หวางไอ่’ เขาผู้นี้เป็นจิตรกรชาวซ่งเหนือที่มีอยู่จริงและภาพที่ขึ้นชื่อของเขาคือภาพเหมือนในท่านั่งขององค์ปฐมกษัตริย์ซ่งไท่จู่แห่งราชวงศ์ซ่ง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) แต่เขาไม่เคยวาดภาพงานเลี้ยง ประเด็นที่สองก็คือภาพวาดงานเลี้ยงราตรี หากเพื่อนเพจลองค้นหาคำว่า 夜宴图 (เยี่ยเยี่ยนถู) จะมีภาพหนึ่งที่ปรากฏขึ้นมาทันที มันเป็นหนึ่งในสิบของภาพโบราณที่มีค่าที่สุดของจีน มีชื่อเต็มว่า ‘หานซีจ่ายเยี่ยเยี่ยนถู’ (韩熙载夜宴图 / ภาพวาดงานเลี้ยงราตรีของหานซีจ่าย) ‘หานซีจ่ายเยี่ยเยี่ยนถู’ เป็นภาพวาดสมัยปลายถัง-ห้าราชวงศ์ซึ่งมีปูมหลังเรื่องการเมือง ผู้วาดคือกู้หงจงซึ่งถูกส่งไปสอดส่องพฤติกรรมของหานซีจ่ายที่ไม่ยอมรับตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยขององค์หลี่อวี้ ภาพงานเลี้ยงนี้สะท้อนให้เห็นว่า หานซีจ่ายลุ่มหลงมัวเมาไปวันๆ กับสตรีและดนตรี ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อราชสำนักอีกต่อไป และแขกที่มาร่วมงานในภาพล้วนเป็นบุคคลจริงในแวดวงเพื่อนฝูงของเขา ภาพนี้มีความยาว 335.5 ซม. เรื่องราวแบ่งเป็นห้าตอนโดยแต่ละตอนถูก ‘คั่น’ ด้วยการวาดฉากกั้นห้องหรือเตียง (ดูรูปประกอบ1 เรียงจากขวามาซ้าย ดูซิว่าเห็นการแบ่งฉากไหม) ฉากแรกคือการบรรเลงผีผา ต่อมาเป็นการชมฟ้อนรำตามจังหวะกลอง จากนั้นเป็นภาพการนอนพักเหนื่อยบนเตียงรายล้อมด้วยสาวงาม ตามมาด้วยฉากที่หานซีจ่ายใส่ชุดชั้นในนั่งฟังบรรเลงดนตรี แล้วสุดท้ายเป็นการส่งแขก ปัจจุบันภาพนี้เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม มีคุณค่าทางศิลปะและประวัติศาสตร์เพราะเป็นอีกหนึ่งภาพเขียนที่มีเทคนิคการวาดที่ละเอียด ไม่ว่าจะท่วงท่าและสีหน้าสีตาของคน หรือส่วนประกอบอื่นของภาพ อีกทั้งยังใช้สีจากหินแร่ทำให้สีสดและดูมีพลัง ว่ากันว่าละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> ได้อ้างอิงรายละเอียดหลายอย่างจากภาพนี้ เช่น ท่านั่งและชุด รวมถึงการถือผีผาในแนวนอนของตัวละครซ่งอิ่นจาง ซึ่งเป็นวิธีถือในสมัยถัง-ซ่ง (ไม่ใช่แนวตั้งแบบที่เห็นในปัจจุบัน) ประเด็นสุดท้ายคือเรื่องการเขียนชื่อบุคคลซ่อนเข้าไปในภาพ เทคนิคการลงชื่อตัวเองแบบเนียนๆ แทนการเขียนชื่อลงท้ายกำกับภาพนั้นมีอยู่จริงในสมัยซ่ง เทคนิคนี้เรียกว่า ‘อิ๋นข่วน’ (隐款 แปลตรงตัวว่าสไตล์แบบแอบซ่อน) โดยมีตัวอย่างจากนักวาดชื่อดัง ‘ฟ่านควน’ ซึ่ง Storyฯ กล่าวถึงผลงานของเขาไปในสัปดาห์ที่แล้วคือภาพ ‘ซีซันหลี่ว์สิง’ (溪山行旅图) มีการซุกชื่อเข้าไปในลายภาพวาด (ดูรูปประกอบ 2) ซึ่งกว่าจะมีคนพบเจอก็ปาเข้าไปปีค.ศ. 1958 แล้ว! เป็นอย่างไรคะ? เรื่องภาพวาดในละครกับเกร็ดข้อเท็จจริงที่เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนต้องคาดไม่ถึง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://ent.sina.cn/tv/tv/2022-06-20/detail-imizirau9589687.d.html https://lujuba.cc/709629.html http://www.sxsshw.com/xinshang/huihuazuopin/292.html https://baike.baidu.com/item/韩熙载夜宴图/1161531 https://www.52lishi.com/article/47277.html http://collection.sina.com.cn/jczs/2017-12-09/doc-ifypnqvn1974112.shtml https://zhuanlan.zhihu.com/p/33235693 #สามบุปผาลิขิตฝัน #เยี่ยเยี่ยนถู #ภาพงานเลี้ยงกลางคืน #ภาพงานเลี้ยงราตรี #หานซีจ่าย #หวางไอ่ #อิ๋นข่วน #ภาพวาดสมัยซ่ง
    ENT.SINA.CN
    《梦华录》导演杨阳专访:不走套路,不做行活
    《梦华录》导演杨阳专访:不走套路,不做行活
    Like
    1
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 452 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้เปลี่ยนมาคุยเกี่ยวกับการละเล่นชนิดหนึ่งที่เห็นในละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา>
    ความมีอยู่ว่า
    ... องค์หญิงหย่งหนิง: “ดูนั่นสิ พี่รองกับพี่ห้าอยู่ที่นั่น พวกเขาต้องกำลังเล่นบทกวีล่องสายน้ำอยู่แน่เลย”...
    องค์หญิงลั่วซี: “บทกวีล่องลอยน้ำ คือการละเล่นอย่างหนึ่งของราชวงศ์หลี่ หลังเสร็จพิธีฝูซี่ในแต่ละปี ทุกคนจะนั่งอยู่สองฝั่งของคูน้ำ วางจอกสุราไว้ที่ต้นน้ำ จอกสุราจะล่องมาตามสายน้ำ หากหยุดตรงหน้าใคร คนนั้นก็ต้องหยิบขึ้นมาดื่ม รวมถึงต้องแต่งกลอนด้วย”...
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา>

    ละครเรื่องนี้เกิดในราชวงศ์สมมุติ แต่ ‘บทกวีล่องสายน้ำ’ ที่กล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ (曲水流觞 แปลตรงตัวว่าชามสุราลอยไปตามสายน้ำที่คดเคี้ยว) เป็นกิจกรรมที่นิยมจัดขึ้นในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ หรือก็คือวันซ่างซึ (上巳节)

    ในวันซ่างซึ ตามธรรมเนียมโบราณดั้งเดิมจะทำการอาบน้ำในแม่น้ำเพื่อชำระล้างเคราะห์ร้ายและสิ่งอัปมงคลออกไปจากชีวิตหรือที่เรียกว่า ‘พิธีฝูซี่’ ตามที่กล่าวถึงในละครข้างต้น มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นโจวตะวันออก (1047-772 ก่อนคริสตกาล) จัดเป็นหนึ่งในพิธีชำระที่สำคัญที่สุดของจีนโบราณ ต่อมาพิธีนี้แปรเปลี่ยนเป็นต่างคนต่างอาบน้ำแต่งตัวสวยงามแล้วออกมาริมแม่น้ำเพื่อกราบไหว้ และมีการแสดงรื่นเริง

    ในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เกิดเป็นกิจกรรมสันทนาการที่เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ขึ้น (ดูภาพประกอบ1) วิธีเล่นก็คือนั่งกันสองฝั่งฟากของลำธารแล้วปล่อยชามสุราให้ลอยไปตามสายน้ำ ชามสุราลอยไปหยุดอยู่หน้าใคร คนนั้นต้องแต่งกลอน หากแต่งไม่ออกก็ต้องถูกลงโทษด้วยการดื่มสุราสามชาม (วิธีเล่นแตกต่างจากที่บรรยายในละครตรงนี้) ต่อมาได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นกิจกรรมในช่วงเทศกาลที่หนุ่มสาวออกมาเจอะเจอกันได้ เป็นกิจกรรมกลางแจ้ง อาจเป็นลำธารจริง หรือเป็นลำธารและภูเขาจำลองอยู่ในอุทยานในบ้านคนรวย ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมและเมื่อถึงสมัยหมิงยิ่งจัดกันน้อย หากจัดขึ้นก็จะทำเป็นลำธารจำลองเล็กๆ ขึ้นในศาลาสำหรับคนกลุ่มเล็กร่วมดื่มกันเท่านั้น

    ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ไม่เพียงเป็นประเพณีโบราณ หากยังเป็นบ่อเกิดของงานศิลปะในตำนานจีนที่ชื่อดังชิ้นหนึ่ง เป็นงานอักษรพู่กันจีนที่มีชื่อว่า ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ (兰亭集序 ดูภาพประกอบ2) โดยหวังซีจือผู้เป็นนักปราชญ์ขุนนางในสมัยองค์จิ้นมู่แห่งราชวงศ์จิ้น งานอักษรของเขาโดดเด่นจนเขาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสี่ ‘ที่สุด’ ของประวัติศาสตร์จีนในด้านนี้

    ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ เป็นบทนำของคอลเล็กชั่นบทกวีที่เกิดขึ้นในงานฉลองเทศกาลซ่างซึที่องค์จิ้นมู่ทรงจัดขึ้น มีเหล่าขุนนางสี่สิบเอ็ดคนมาร่วมเล่น ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ โดยบทนำนี้บรรยายถึงวิธีเล่นนี้เอาไว้ ต้นฉบับของผลงานชิ้นนี้หายสาบสูญไปตามกาลเวลา แต่ปรากฏฉบับคัดลอกมาตลอดหลายยุคสมัย ฉบับคัดลอกที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงปักกิ่ง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันเพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/303274788_157925
    https://www.sohu.com/a/371364660_118889
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-hans/上巳节
    https://baike.baidu.com/item/上巳节
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/33299095
    http://m.xinhuanet.com/sh/2018-04/18/c_137119707.htm
    https://en.wikipedia.org/wiki/Wang_Xizhi
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_af279f0cdd95.aspx
    วันนี้เปลี่ยนมาคุยเกี่ยวกับการละเล่นชนิดหนึ่งที่เห็นในละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา> ความมีอยู่ว่า ... องค์หญิงหย่งหนิง: “ดูนั่นสิ พี่รองกับพี่ห้าอยู่ที่นั่น พวกเขาต้องกำลังเล่นบทกวีล่องสายน้ำอยู่แน่เลย”... องค์หญิงลั่วซี: “บทกวีล่องลอยน้ำ คือการละเล่นอย่างหนึ่งของราชวงศ์หลี่ หลังเสร็จพิธีฝูซี่ในแต่ละปี ทุกคนจะนั่งอยู่สองฝั่งของคูน้ำ วางจอกสุราไว้ที่ต้นน้ำ จอกสุราจะล่องมาตามสายน้ำ หากหยุดตรงหน้าใคร คนนั้นก็ต้องหยิบขึ้นมาดื่ม รวมถึงต้องแต่งกลอนด้วย”... - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา> ละครเรื่องนี้เกิดในราชวงศ์สมมุติ แต่ ‘บทกวีล่องสายน้ำ’ ที่กล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ (曲水流觞 แปลตรงตัวว่าชามสุราลอยไปตามสายน้ำที่คดเคี้ยว) เป็นกิจกรรมที่นิยมจัดขึ้นในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ หรือก็คือวันซ่างซึ (上巳节) ในวันซ่างซึ ตามธรรมเนียมโบราณดั้งเดิมจะทำการอาบน้ำในแม่น้ำเพื่อชำระล้างเคราะห์ร้ายและสิ่งอัปมงคลออกไปจากชีวิตหรือที่เรียกว่า ‘พิธีฝูซี่’ ตามที่กล่าวถึงในละครข้างต้น มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นโจวตะวันออก (1047-772 ก่อนคริสตกาล) จัดเป็นหนึ่งในพิธีชำระที่สำคัญที่สุดของจีนโบราณ ต่อมาพิธีนี้แปรเปลี่ยนเป็นต่างคนต่างอาบน้ำแต่งตัวสวยงามแล้วออกมาริมแม่น้ำเพื่อกราบไหว้ และมีการแสดงรื่นเริง ในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เกิดเป็นกิจกรรมสันทนาการที่เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ขึ้น (ดูภาพประกอบ1) วิธีเล่นก็คือนั่งกันสองฝั่งฟากของลำธารแล้วปล่อยชามสุราให้ลอยไปตามสายน้ำ ชามสุราลอยไปหยุดอยู่หน้าใคร คนนั้นต้องแต่งกลอน หากแต่งไม่ออกก็ต้องถูกลงโทษด้วยการดื่มสุราสามชาม (วิธีเล่นแตกต่างจากที่บรรยายในละครตรงนี้) ต่อมาได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นกิจกรรมในช่วงเทศกาลที่หนุ่มสาวออกมาเจอะเจอกันได้ เป็นกิจกรรมกลางแจ้ง อาจเป็นลำธารจริง หรือเป็นลำธารและภูเขาจำลองอยู่ในอุทยานในบ้านคนรวย ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมและเมื่อถึงสมัยหมิงยิ่งจัดกันน้อย หากจัดขึ้นก็จะทำเป็นลำธารจำลองเล็กๆ ขึ้นในศาลาสำหรับคนกลุ่มเล็กร่วมดื่มกันเท่านั้น ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ไม่เพียงเป็นประเพณีโบราณ หากยังเป็นบ่อเกิดของงานศิลปะในตำนานจีนที่ชื่อดังชิ้นหนึ่ง เป็นงานอักษรพู่กันจีนที่มีชื่อว่า ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ (兰亭集序 ดูภาพประกอบ2) โดยหวังซีจือผู้เป็นนักปราชญ์ขุนนางในสมัยองค์จิ้นมู่แห่งราชวงศ์จิ้น งานอักษรของเขาโดดเด่นจนเขาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสี่ ‘ที่สุด’ ของประวัติศาสตร์จีนในด้านนี้ ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ เป็นบทนำของคอลเล็กชั่นบทกวีที่เกิดขึ้นในงานฉลองเทศกาลซ่างซึที่องค์จิ้นมู่ทรงจัดขึ้น มีเหล่าขุนนางสี่สิบเอ็ดคนมาร่วมเล่น ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ โดยบทนำนี้บรรยายถึงวิธีเล่นนี้เอาไว้ ต้นฉบับของผลงานชิ้นนี้หายสาบสูญไปตามกาลเวลา แต่ปรากฏฉบับคัดลอกมาตลอดหลายยุคสมัย ฉบับคัดลอกที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงปักกิ่ง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันเพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/303274788_157925 https://www.sohu.com/a/371364660_118889 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://zh.m.wikipedia.org/zh-hans/上巳节 https://baike.baidu.com/item/上巳节 https://zhuanlan.zhihu.com/p/33299095 http://m.xinhuanet.com/sh/2018-04/18/c_137119707.htm https://en.wikipedia.org/wiki/Wang_Xizhi https://so.gushiwen.cn/shiwenv_af279f0cdd95.aspx
    看了《东宫》、《招摇》的海报,我想说你们对中国高级的古典美误解太深|意外_线条
    《招摇》的海报中,两人的头发和衣服就是在试图模仿这种线条带来的飘逸: 所以说这些所谓古典美的海报和写真误以为古风就是要“飘”,却不知这种飘逸的背后是巧用线条对于动感的表现。 让这些海报出现违和感…
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 382 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts