• วันนี้คุยกันเรื่องสำนวนจีน พร้อมกับลงรูปรวมฮิตนางร้าย/นางรองในหลายละครจีนที่มีฝีไม้ลายมือประทับใจ Storyฯ เพราะเราจะคุยกันเรื่องวลีที่บรรยายถึงความอกหักรักคุด เป็นวลียอดนิยมในนิยายจีนที่อาจไม่มีการแปลตรงตัวออกมาเป็นบทพูดในละครนัก

    “ลั่วฮวาโหย่วอี้ หลิวสุ่ยอู๋ฉิง / 落花有意 流水无情” เพื่อนเพจแฟนนิยายจีนอาจเคยอ่านคำแปลหลากหลาย แต่ Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงเองว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจ สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรี” วลีนี้มีความหมายว่าหลงรักเขาข้างเดียว ทอดสะพานให้ก็แล้ว ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเขาก็แล้ว แต่เขายังไม่เหลียวแลไม่เห็นคุณค่า

    เป็นประโยคที่นิยมใช้ในนิยายจีนมากมาย เพียงหลับตาก็เห็นภาพทิวทัศน์ แต่เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า จริงๆ แล้วมันเป็นเพียงวรรคย่อของบทประพันธ์โดยกวีเอกสมัยราชวงศ์หมิงนามว่าเฝิงเมิ่งหลง (ค.ศ. 1574-1646) โดยมีวรรคเต็มแปลได้ว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจติดตามวารี สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรีเมินรักบุษบา” (落花有意随流水,流水无情恋落花)

    ด้วยคำบรรยายกล่าวถึงดอกไม้พยายามเข้าหาสายน้ำ ฟังดูได้อารมณ์ฝ่ายหญิงอกหักจากการหลงรักชายฝ่ายเดียว แล้วถ้าเป็นฝ่ายชายหลงรักฝ่ายหญิงแต่ข้างเดียวล่ะ? จริงๆ แล้วใช้วลีนี้ก็ไม่ผิดและใช้กันค่อนข้างแพร่หลาย แต่แฟนนิยายจีนทั้งหลายทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกวลีที่มีใจความคล้ายคลึงแต่ฟังดู “แมน” มากกว่า?

    เป็นวลีจากบทกวีจากสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368) โดยกวีเอกเกาหมิง ใจความว่า “อั๋วเปิ่นเจียงซินเซี่ยงหมิงเยวี่ย ไน่เหอหมิงเยวี่ยเจ้าโกวฉวี / 我本将心向明月,奈何明月照沟渠" แปลได้ว่า “เดิมข้าฝากใจใฝ่จันทรา แต่จนใจจันทิราทอแสงส่องคูน้ำ” ความเดิมหมายถึงความรักความใส่ใจของพ่อแม่ที่มีต่อลูกแต่ลูกไม่ใยดี แต่กาลเวลาผ่านไปวลีนี้กลับถูกนำมาใช้ในบทประพันธ์หลากหลายจนกลายเป็นคำบรรยายถึงชายที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อหญิงที่ตนรัก แต่หญิงกลับเพิกเฉยไม่ใส่ใจ

    แต่ไม่ว่าจะเป็นวลีใด Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณมีความโรแมนติกเพราะมักอาศัยคำบรรยายถึงทิวทัศน์ธรรมชาติอันงดงามมาเปรียบเปรย ทีแรกที่อ่านถึงสองวลีนี้ ก็นึกถึงบทกลอนของบ้านเราที่ว่า “รักเขาข้างเดียวเหมือนเกลียวเชือก ต้องนอนกลิ้งนอนเกลือกจนเหงือกแห้ง...” แต่ก็รู้สึกว่าเปรียบเทียบกันตรงๆ ไม่ได้เพราะมันคนละอรรถรสกันเลย เพื่อนเพจว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://kknews.cc/culture/5ab4ezk.html
    http://en.linkeddb.com/movie/59f3095d198c38001385e9ef/
    https://dramapearls.com/2019/03/23/princess-agents-chinese-drama-review-episode-guide/
    https://dramapanda.com/2016/12/character-posters-for-three-lives-three.html
    Credit ข้อมูลจาก:
    https://zhidao.baidu.com/question/539564315.html
    https://www.guwenxuexi.com/classical/21912.html
    https://www.163.com/dy/article/EEQV7LO70544511W.html
    วันนี้คุยกันเรื่องสำนวนจีน พร้อมกับลงรูปรวมฮิตนางร้าย/นางรองในหลายละครจีนที่มีฝีไม้ลายมือประทับใจ Storyฯ เพราะเราจะคุยกันเรื่องวลีที่บรรยายถึงความอกหักรักคุด เป็นวลียอดนิยมในนิยายจีนที่อาจไม่มีการแปลตรงตัวออกมาเป็นบทพูดในละครนัก “ลั่วฮวาโหย่วอี้ หลิวสุ่ยอู๋ฉิง / 落花有意 流水无情” เพื่อนเพจแฟนนิยายจีนอาจเคยอ่านคำแปลหลากหลาย แต่ Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงเองว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจ สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรี” วลีนี้มีความหมายว่าหลงรักเขาข้างเดียว ทอดสะพานให้ก็แล้ว ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเขาก็แล้ว แต่เขายังไม่เหลียวแลไม่เห็นคุณค่า เป็นประโยคที่นิยมใช้ในนิยายจีนมากมาย เพียงหลับตาก็เห็นภาพทิวทัศน์ แต่เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า จริงๆ แล้วมันเป็นเพียงวรรคย่อของบทประพันธ์โดยกวีเอกสมัยราชวงศ์หมิงนามว่าเฝิงเมิ่งหลง (ค.ศ. 1574-1646) โดยมีวรรคเต็มแปลได้ว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจติดตามวารี สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรีเมินรักบุษบา” (落花有意随流水,流水无情恋落花) ด้วยคำบรรยายกล่าวถึงดอกไม้พยายามเข้าหาสายน้ำ ฟังดูได้อารมณ์ฝ่ายหญิงอกหักจากการหลงรักชายฝ่ายเดียว แล้วถ้าเป็นฝ่ายชายหลงรักฝ่ายหญิงแต่ข้างเดียวล่ะ? จริงๆ แล้วใช้วลีนี้ก็ไม่ผิดและใช้กันค่อนข้างแพร่หลาย แต่แฟนนิยายจีนทั้งหลายทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกวลีที่มีใจความคล้ายคลึงแต่ฟังดู “แมน” มากกว่า? เป็นวลีจากบทกวีจากสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368) โดยกวีเอกเกาหมิง ใจความว่า “อั๋วเปิ่นเจียงซินเซี่ยงหมิงเยวี่ย ไน่เหอหมิงเยวี่ยเจ้าโกวฉวี / 我本将心向明月,奈何明月照沟渠" แปลได้ว่า “เดิมข้าฝากใจใฝ่จันทรา แต่จนใจจันทิราทอแสงส่องคูน้ำ” ความเดิมหมายถึงความรักความใส่ใจของพ่อแม่ที่มีต่อลูกแต่ลูกไม่ใยดี แต่กาลเวลาผ่านไปวลีนี้กลับถูกนำมาใช้ในบทประพันธ์หลากหลายจนกลายเป็นคำบรรยายถึงชายที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อหญิงที่ตนรัก แต่หญิงกลับเพิกเฉยไม่ใส่ใจ แต่ไม่ว่าจะเป็นวลีใด Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณมีความโรแมนติกเพราะมักอาศัยคำบรรยายถึงทิวทัศน์ธรรมชาติอันงดงามมาเปรียบเปรย ทีแรกที่อ่านถึงสองวลีนี้ ก็นึกถึงบทกลอนของบ้านเราที่ว่า “รักเขาข้างเดียวเหมือนเกลียวเชือก ต้องนอนกลิ้งนอนเกลือกจนเหงือกแห้ง...” แต่ก็รู้สึกว่าเปรียบเทียบกันตรงๆ ไม่ได้เพราะมันคนละอรรถรสกันเลย เพื่อนเพจว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ) Credit รูปภาพจาก: https://kknews.cc/culture/5ab4ezk.html http://en.linkeddb.com/movie/59f3095d198c38001385e9ef/ https://dramapearls.com/2019/03/23/princess-agents-chinese-drama-review-episode-guide/ https://dramapanda.com/2016/12/character-posters-for-three-lives-three.html Credit ข้อมูลจาก: https://zhidao.baidu.com/question/539564315.html https://www.guwenxuexi.com/classical/21912.html https://www.163.com/dy/article/EEQV7LO70544511W.html
    1 Comments 0 Shares 301 Views 0 Reviews
  • วันนี้ Storyฯ ขอกล่าวถึงสำนวนจีนที่เตะตาเมื่ออ่านถึงบทความด้านล่างในนิยายจีน

    ความมีอยู่ว่า
    ... “เขาไม่กลัวทำให้ท่านอัครมหาเสนาบดีฝ่ายซ้ายขุ่นเคือง?” ปันฮว่านึกถึงประเด็นสำคัญ “เขารับราชการมีตำแหน่ง ท่านอัครมหาเสนาบดีฝ่ายซ้ายจะให้เขาใส่รองเท้าเล็กหรือไม่?” ...
    - จากเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> ผู้แต่ง เยวี่ยเซี่ยเตี๋ยอิ่ง
    (หมายเหตุ ละครเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    การ ‘ให้ (ใคร) ใส่รองเท้าเล็ก’ (ชวนเสี่ยวเสีย หรือ 穿小鞋) เพื่อนเพจบางคนอาจเคยอ่านเจอ ความหมายของสำนวนนี้แปลว่า ใช้อำนาจที่มี กลั่นแกล้งหรือสร้างความลำบากให้คนอื่น หรือบีบบังคับคนอื่นให้ฝืนทำในสิ่งที่ไม่ต้องการ

    แล้วสำนวนนี้มีที่มาอย่างไร?

    เบื้องหลังของสำนวนนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมจีนโบราณ นับแต่สมัยองค์หลี่อวี้แห่งถังใต้ (สมัยห้าราชวงศ์สิบแคว้น ค.ศ. 907-960) พระองค์ทรงมีความนิยมชมชอบสตรีเท้าเล็ก เกิดเป็นต้นฉบับของธรรมเนียมการรัดเท้าสตรี หลายคนเข้าใจว่าสำนวนนี้มาจากการบีบบังคับให้สตรีรัดเท้า

    แต่จริงๆ แล้วเรื่องราวที่กล่าวขานมีที่มาจากประเพณีการแต่งงาน ซึ่งแม่สื่อจะส่งมอบแบบขนาดเท้าของฝ่ายหญิงให้กับฝ่ายชาย หากเล็กสวยงามเป็นที่พอใจก็จะหมั้นหมายกันและฝ่ายเจ้าบ่าวจะตัดเย็บรองเท้าตามแบบขนาดนั้นให้เจ้าสาวไว้ก่อนงานวันแต่งงาน เมื่อถึงวันแต่งงาน เจ้าสาวก็จะต้องสวมใส่รองเท้าที่ฝ่ายเจ้าบ่าวส่งมาให้ ทั้งนี้เพื่อว่าฝ่ายเจ้าบ่าวจะได้ไม่โดนหลอกลวงตบแต่งเจ้าสาวเท้าใหญ่เข้าบ้าน

    มีเรื่องเล่าต่อมาว่า ในสมัยราชวงศ์ซ่ง มีสตรีนามว่าเฉี่ยวอวี้ ถูกแม่เลี้ยงใจร้ายกลั่นแกล้ง ส่งแบบขนาดรองเท้าที่เล็กเกินไปให้กับว่าที่เจ้าบ่าว พอถึงวันแต่งงาน นางพยายามบีบเท้าอย่างไรก็ใส่รองเท้าคู่นั้นไม่ลง จึงรู้สึกอับอายจนแขวนคอตาย แต่ก็มีที่เล่าว่าเฉี่ยวอวี้ไม่ได้ฆ่าตัวตาย แต่ทนบีบเท้าใส่รองเท้าที่เล็กไปจนเท้าบาดเจ็บ ต่อมาบิดานางทราบความจริงก็ทำโทษแม่เลี้ยงใจร้าย จบแบบสวยๆ

    แต่ไม่ว่าเรื่องราวที่แท้จริงจบลงอย่างไร เรื่องของเฉี่ยวอวี้นี้กลายเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า ‘ให้ (ใคร) ใส่รองเท้าเล็ก’ สำนวนนี้ยังคงมีการใช้อยู่ในปัจจุบัน มักใช้ในสถานการณ์ที่ผู้ใหญ่ใช้อำนาจกลั่นแกล้งผู้น้อย

    มีเพื่อนเพจท่านใดพอจะทราบไหมคะว่ามีสำนวนไทยที่มีความหมายคล้ายคลึงกันหรือเปล่า Storyฯ นึกไม่ออกจริงๆ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)

    Credit รูปภาพจากภาพโฆษณาละครและหน้าปกหนังสือ:
    http://www.peoplezzs.com/yule/2021/0112/53833.html
    https://readmoo.com/book/210027627000101
    Credit ข้อมูลจาก:
    https://zhidao.baidu.com/question/4655693
    https://kknews.cc/history/8mmrpll.html
    http://xh.5156edu.com/page/z4417m6469j20897.html

    #ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้ #เท้าบัวทอง #ใส่รองเท้าเล็ก #สำนวนจีน #วลีจีน #วัฒนธรรมจีนโบราณ
    วันนี้ Storyฯ ขอกล่าวถึงสำนวนจีนที่เตะตาเมื่ออ่านถึงบทความด้านล่างในนิยายจีน ความมีอยู่ว่า ... “เขาไม่กลัวทำให้ท่านอัครมหาเสนาบดีฝ่ายซ้ายขุ่นเคือง?” ปันฮว่านึกถึงประเด็นสำคัญ “เขารับราชการมีตำแหน่ง ท่านอัครมหาเสนาบดีฝ่ายซ้ายจะให้เขาใส่รองเท้าเล็กหรือไม่?” ... - จากเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> ผู้แต่ง เยวี่ยเซี่ยเตี๋ยอิ่ง (หมายเหตุ ละครเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) การ ‘ให้ (ใคร) ใส่รองเท้าเล็ก’ (ชวนเสี่ยวเสีย หรือ 穿小鞋) เพื่อนเพจบางคนอาจเคยอ่านเจอ ความหมายของสำนวนนี้แปลว่า ใช้อำนาจที่มี กลั่นแกล้งหรือสร้างความลำบากให้คนอื่น หรือบีบบังคับคนอื่นให้ฝืนทำในสิ่งที่ไม่ต้องการ แล้วสำนวนนี้มีที่มาอย่างไร? เบื้องหลังของสำนวนนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมจีนโบราณ นับแต่สมัยองค์หลี่อวี้แห่งถังใต้ (สมัยห้าราชวงศ์สิบแคว้น ค.ศ. 907-960) พระองค์ทรงมีความนิยมชมชอบสตรีเท้าเล็ก เกิดเป็นต้นฉบับของธรรมเนียมการรัดเท้าสตรี หลายคนเข้าใจว่าสำนวนนี้มาจากการบีบบังคับให้สตรีรัดเท้า แต่จริงๆ แล้วเรื่องราวที่กล่าวขานมีที่มาจากประเพณีการแต่งงาน ซึ่งแม่สื่อจะส่งมอบแบบขนาดเท้าของฝ่ายหญิงให้กับฝ่ายชาย หากเล็กสวยงามเป็นที่พอใจก็จะหมั้นหมายกันและฝ่ายเจ้าบ่าวจะตัดเย็บรองเท้าตามแบบขนาดนั้นให้เจ้าสาวไว้ก่อนงานวันแต่งงาน เมื่อถึงวันแต่งงาน เจ้าสาวก็จะต้องสวมใส่รองเท้าที่ฝ่ายเจ้าบ่าวส่งมาให้ ทั้งนี้เพื่อว่าฝ่ายเจ้าบ่าวจะได้ไม่โดนหลอกลวงตบแต่งเจ้าสาวเท้าใหญ่เข้าบ้าน มีเรื่องเล่าต่อมาว่า ในสมัยราชวงศ์ซ่ง มีสตรีนามว่าเฉี่ยวอวี้ ถูกแม่เลี้ยงใจร้ายกลั่นแกล้ง ส่งแบบขนาดรองเท้าที่เล็กเกินไปให้กับว่าที่เจ้าบ่าว พอถึงวันแต่งงาน นางพยายามบีบเท้าอย่างไรก็ใส่รองเท้าคู่นั้นไม่ลง จึงรู้สึกอับอายจนแขวนคอตาย แต่ก็มีที่เล่าว่าเฉี่ยวอวี้ไม่ได้ฆ่าตัวตาย แต่ทนบีบเท้าใส่รองเท้าที่เล็กไปจนเท้าบาดเจ็บ ต่อมาบิดานางทราบความจริงก็ทำโทษแม่เลี้ยงใจร้าย จบแบบสวยๆ แต่ไม่ว่าเรื่องราวที่แท้จริงจบลงอย่างไร เรื่องของเฉี่ยวอวี้นี้กลายเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า ‘ให้ (ใคร) ใส่รองเท้าเล็ก’ สำนวนนี้ยังคงมีการใช้อยู่ในปัจจุบัน มักใช้ในสถานการณ์ที่ผู้ใหญ่ใช้อำนาจกลั่นแกล้งผู้น้อย มีเพื่อนเพจท่านใดพอจะทราบไหมคะว่ามีสำนวนไทยที่มีความหมายคล้ายคลึงกันหรือเปล่า Storyฯ นึกไม่ออกจริงๆ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ) Credit รูปภาพจากภาพโฆษณาละครและหน้าปกหนังสือ: http://www.peoplezzs.com/yule/2021/0112/53833.html https://readmoo.com/book/210027627000101 Credit ข้อมูลจาก: https://zhidao.baidu.com/question/4655693 https://kknews.cc/history/8mmrpll.html http://xh.5156edu.com/page/z4417m6469j20897.html #ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้ #เท้าบัวทอง #ใส่รองเท้าเล็ก #สำนวนจีน #วลีจีน #วัฒนธรรมจีนโบราณ
    《我就是这般女子》“关”方定档1月18日 关晓彤侯明昊甜辣互撩_人民在线
    由企鹅影视、谷元(上海)文化科技共同出品,陈伟祥、杨小波执导,关晓彤、侯明昊等主演,改编自月下蝶影同名小说的古装甜爽轻喜剧《我就是这般女子》正式定档1月18日,关晓彤下场 关方
    1 Comments 0 Shares 298 Views 0 Reviews
  • **ชื่อเรื่อง <ปรปักษ์จำนน> กับวลีจีนโบราณ**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเรื่องชื่อนิยายและซีรีส์ <ปรปักษ์จำนน> ที่ Storyฯ รู้สึกว่าชื่อไทยแปลได้อรรถรสของชื่อจีนดีมาก

    ชื่อจีนของเรื่องนี้คือ ‘เจ๋อเยา’ (折腰) แปลตรงตัวว่าหักเอว ซึ่งมาจากการโค้งคำนับต่ำมากเพื่อแสดงถึงความเคารพอย่างยิ่งยวด แต่คำว่า ‘เจ๋อเยา’ ไม่ได้เป็นชื่อเรียกท่าโค้งคำนับ หากแต่มีความหมายว่ายอมจำนนหรือยอมสยบต่ออำนาจหรืออิทธิพลที่เหนือกว่า และมันมีที่มาจากวลีจีนโบราณ ‘ไม่ยอมสยบ (หักเอว) เพื่อข้าวสารห้าโต่ว’

    วลีนี้ปรากฏอยู่ในบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์จิ้น (晋书) ส่วนที่บันทึกเรื่องราวบุคคลสำคัญในบรรพที่ชื่อว่า ‘เถาเฉียนจ้วน’ (陶潜传 / ตำนานเถาเฉียน) และเจ้าของวลีคือเถายวนหมิง หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เถาเฉียน เขาเป็นกวีและนักประพันธ์ชื่อดังในสมัยจิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420) มีผลงานเลื่องชื่อมากมาย เช่น วรรณกรรมเรื่อง ‘บันทึกดินแดนดอกท้อ’ เกี่ยวกับดินแดนดอกท้ออันเป็นตัวแทนของดินแดนหรือสังคมในอุดมคติหรือที่ฝรั่งเรียกว่า Utopia ที่มนุษย์แสวงหา (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว ย้อนอ่านได้ที่ลิ้งค์ใต้บทความ)

    เถายวนหมิงมีพื้นเพมาจากตระกูลขุนนางเก่าซึ่งมีฐานะค่อนข้างดี ปู่ทวดเป็นมหาเสนาบดีกลาโหม ปู่เป็นผู้ว่าราชการมณฑล เขาจึงได้รับการศึกษาอย่างดีมาแต่เด็ก ต่อมาฐานะครอบครัวตกต่ำลงจนถึงขั้นยากจนหลังจากบิดาเสียชีวิตไปเมื่อเขาอายุได้แปดขวบ แต่เขาก็ยังหมั่นเพียรขยันศึกษาจนต่อมาได้รับอิทธิพลทางความคิดจากลัทธิเต๋า

    ในช่วงอายุ 29 – 40 ปี เถายวนหมิงเคยเข้ารับราชการเพื่อหาเลี้ยงชีพแต่ก็ต้องลาออกเพราะไม่ชอบการพินอบพิเทาเจ้านายและไม่ชอบการแก่งแย่งชิงดีทางการเมือง แต่แล้วก็เข้ารับราชการใหม่ เป็นเช่นนี้หลายครั้งครา ทั้งนี้เพราะเขามีใจใฝ่ความสงบของธรรมชาติ รักมัธยัสถ์ ไม่ชอบการแก่งแย่งชิงดี ต่อมาจึงตัดสินใจลาออกจากราชการอย่างถาวรและหันไปทำไร่ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่ก็สุขใจสามารถร่ำสุราแต่งกลอนตามใจอยากและได้สร้างผลงานวรรณกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยผลงานของเขาล้วนแฝงด้วยจิตวิญญาณของธรรมชาติ ความเรียบง่าย และพลังแห่งชีวิต และต่อมาเถายวนหมิงได้ถูกยกย่องเป็นต้นแบบของการละทิ้งลาภยศชื่อเสียงและการใช้ชีวิตอย่างสมถะตามหลักปรัชญาแห่งเต๋า

    วลี ‘ไม่ยอมสยบ (หักเอว) เพื่อข้าวสารห้าโต่ว’ นี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อตอนเถายวนหมิงอายุสี่สิบปี เข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ว่าการเขตเผิงเจ๋อ (ตั้งอยู่ทางเหนือของมณฑลเจียงซี) อยู่มาวันหนึ่งมีผู้ตรวจการมาตรวจงาน เสมียนหลวงบอกเขาว่าควรแต่งตัวให้เรียบร้อยอย่างเป็นทางการไปต้อนรับผู้ตรวจการ เขาถอนหายใจด้วยความเบื่อหน่ายและกล่าววลีนี้ออกมา และเมื่อกล่าวเสร็จเขาก็ยื่นใบลาออกหลังจากรับราชการมาได้เพียงแปดสิบเอ็ดวัน และหลังจากนั้นก็ไม่เข้ารับราชการอีกเลย

    แล้วทำไมต้อง ‘ข้าวสารห้าโต่ว’ ?

    ประเด็นนี้มีการตีความกันหลากหลาย แต่โดยส่วนใหญ่จะตีความว่า ข้าวสารห้าโต่วคือค่าจ้างของขุนนางระดับผู้ว่าการเขตในสมัยนั้น (หนึ่งโต่วในสมัยนั้นคือประมาณเจ็ดลิตร) ซึ่งฟังดูน้อยนิดเมื่อคำนวณเทียบกับบันทึกโบราณว่าด้วยเงินเดือนข้าราชการ บ้างก็ว่าเป็นเงินเดือนแต่ยังไม่รวมค่าตอบแทนอื่น เช่นผ้าไหม บ้างก็ว่าคิดได้เป็นค่าจ้างรายวันเท่านั้น บ้างก็ว่าเป็นปริมาณข้าวสารที่พอเพียงสำหรับหนึ่งคนในหนึ่งเดือน

    แต่ไม่ว่า ‘ข้าวสารห้าโต่ว’ จะมีความหมายที่แท้จริงอย่างไร เหตุการณ์นี้ถูกบันทึกไว้และกล่าวถึงอย่างยกย่องว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการละทิ้งยศศักดิ์ และวลีนี้ได้กลายมาเป็นสำนวนจีนที่ถูกใช้ผ่านกาลเวลาหลายยุคสมัยเพื่อแปลว่า ไม่ยอมละทิ้งจิตวิญญาณของตนเพื่อยอมสยบให้กับอำนาจหรืออิทธิพล

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความเก่า:
    ดินแดนดอกท้อ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/525898876205076

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.yangtse.com/news/wy/202506/t20250603_215987.html
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_2197713
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/陶渊明/53944
    https://baike.baidu.com/item/陶潜传/75756
    https://k.sina.cn/article_5044281310_12ca99fde020004fcq.html

    #ปรปักษ์จำนน #เจ๋อเยา #เถาเฉียน #เถายวนหมิง #สาระจีน
    **ชื่อเรื่อง <ปรปักษ์จำนน> กับวลีจีนโบราณ** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเรื่องชื่อนิยายและซีรีส์ <ปรปักษ์จำนน> ที่ Storyฯ รู้สึกว่าชื่อไทยแปลได้อรรถรสของชื่อจีนดีมาก ชื่อจีนของเรื่องนี้คือ ‘เจ๋อเยา’ (折腰) แปลตรงตัวว่าหักเอว ซึ่งมาจากการโค้งคำนับต่ำมากเพื่อแสดงถึงความเคารพอย่างยิ่งยวด แต่คำว่า ‘เจ๋อเยา’ ไม่ได้เป็นชื่อเรียกท่าโค้งคำนับ หากแต่มีความหมายว่ายอมจำนนหรือยอมสยบต่ออำนาจหรืออิทธิพลที่เหนือกว่า และมันมีที่มาจากวลีจีนโบราณ ‘ไม่ยอมสยบ (หักเอว) เพื่อข้าวสารห้าโต่ว’ วลีนี้ปรากฏอยู่ในบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์จิ้น (晋书) ส่วนที่บันทึกเรื่องราวบุคคลสำคัญในบรรพที่ชื่อว่า ‘เถาเฉียนจ้วน’ (陶潜传 / ตำนานเถาเฉียน) และเจ้าของวลีคือเถายวนหมิง หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เถาเฉียน เขาเป็นกวีและนักประพันธ์ชื่อดังในสมัยจิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420) มีผลงานเลื่องชื่อมากมาย เช่น วรรณกรรมเรื่อง ‘บันทึกดินแดนดอกท้อ’ เกี่ยวกับดินแดนดอกท้ออันเป็นตัวแทนของดินแดนหรือสังคมในอุดมคติหรือที่ฝรั่งเรียกว่า Utopia ที่มนุษย์แสวงหา (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว ย้อนอ่านได้ที่ลิ้งค์ใต้บทความ) เถายวนหมิงมีพื้นเพมาจากตระกูลขุนนางเก่าซึ่งมีฐานะค่อนข้างดี ปู่ทวดเป็นมหาเสนาบดีกลาโหม ปู่เป็นผู้ว่าราชการมณฑล เขาจึงได้รับการศึกษาอย่างดีมาแต่เด็ก ต่อมาฐานะครอบครัวตกต่ำลงจนถึงขั้นยากจนหลังจากบิดาเสียชีวิตไปเมื่อเขาอายุได้แปดขวบ แต่เขาก็ยังหมั่นเพียรขยันศึกษาจนต่อมาได้รับอิทธิพลทางความคิดจากลัทธิเต๋า ในช่วงอายุ 29 – 40 ปี เถายวนหมิงเคยเข้ารับราชการเพื่อหาเลี้ยงชีพแต่ก็ต้องลาออกเพราะไม่ชอบการพินอบพิเทาเจ้านายและไม่ชอบการแก่งแย่งชิงดีทางการเมือง แต่แล้วก็เข้ารับราชการใหม่ เป็นเช่นนี้หลายครั้งครา ทั้งนี้เพราะเขามีใจใฝ่ความสงบของธรรมชาติ รักมัธยัสถ์ ไม่ชอบการแก่งแย่งชิงดี ต่อมาจึงตัดสินใจลาออกจากราชการอย่างถาวรและหันไปทำไร่ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่ก็สุขใจสามารถร่ำสุราแต่งกลอนตามใจอยากและได้สร้างผลงานวรรณกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยผลงานของเขาล้วนแฝงด้วยจิตวิญญาณของธรรมชาติ ความเรียบง่าย และพลังแห่งชีวิต และต่อมาเถายวนหมิงได้ถูกยกย่องเป็นต้นแบบของการละทิ้งลาภยศชื่อเสียงและการใช้ชีวิตอย่างสมถะตามหลักปรัชญาแห่งเต๋า วลี ‘ไม่ยอมสยบ (หักเอว) เพื่อข้าวสารห้าโต่ว’ นี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อตอนเถายวนหมิงอายุสี่สิบปี เข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ว่าการเขตเผิงเจ๋อ (ตั้งอยู่ทางเหนือของมณฑลเจียงซี) อยู่มาวันหนึ่งมีผู้ตรวจการมาตรวจงาน เสมียนหลวงบอกเขาว่าควรแต่งตัวให้เรียบร้อยอย่างเป็นทางการไปต้อนรับผู้ตรวจการ เขาถอนหายใจด้วยความเบื่อหน่ายและกล่าววลีนี้ออกมา และเมื่อกล่าวเสร็จเขาก็ยื่นใบลาออกหลังจากรับราชการมาได้เพียงแปดสิบเอ็ดวัน และหลังจากนั้นก็ไม่เข้ารับราชการอีกเลย แล้วทำไมต้อง ‘ข้าวสารห้าโต่ว’ ? ประเด็นนี้มีการตีความกันหลากหลาย แต่โดยส่วนใหญ่จะตีความว่า ข้าวสารห้าโต่วคือค่าจ้างของขุนนางระดับผู้ว่าการเขตในสมัยนั้น (หนึ่งโต่วในสมัยนั้นคือประมาณเจ็ดลิตร) ซึ่งฟังดูน้อยนิดเมื่อคำนวณเทียบกับบันทึกโบราณว่าด้วยเงินเดือนข้าราชการ บ้างก็ว่าเป็นเงินเดือนแต่ยังไม่รวมค่าตอบแทนอื่น เช่นผ้าไหม บ้างก็ว่าคิดได้เป็นค่าจ้างรายวันเท่านั้น บ้างก็ว่าเป็นปริมาณข้าวสารที่พอเพียงสำหรับหนึ่งคนในหนึ่งเดือน แต่ไม่ว่า ‘ข้าวสารห้าโต่ว’ จะมีความหมายที่แท้จริงอย่างไร เหตุการณ์นี้ถูกบันทึกไว้และกล่าวถึงอย่างยกย่องว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการละทิ้งยศศักดิ์ และวลีนี้ได้กลายมาเป็นสำนวนจีนที่ถูกใช้ผ่านกาลเวลาหลายยุคสมัยเพื่อแปลว่า ไม่ยอมละทิ้งจิตวิญญาณของตนเพื่อยอมสยบให้กับอำนาจหรืออิทธิพล (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความเก่า: ดินแดนดอกท้อ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/525898876205076 Credit รูปภาพจาก: https://www.yangtse.com/news/wy/202506/t20250603_215987.html https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_2197713 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/陶渊明/53944 https://baike.baidu.com/item/陶潜传/75756 https://k.sina.cn/article_5044281310_12ca99fde020004fcq.html #ปรปักษ์จำนน #เจ๋อเยา #เถาเฉียน #เถายวนหมิง #สาระจีน
    1 Comments 0 Shares 368 Views 0 Reviews
  • ขออภัยที่หายไปหนึ่งอาทิตย์ค่ะ วันนี้ Storyฯ เห็นว่าเรากำลังอยู่ในบรรยากาศการเลือกคนดีคนเก่งมาบริหารบ้านเมือง เลยลองมาคุยกันเรื่องปรัชญาจีนโบราณ (แม้ว่า Storyฯ จะไม่สันทัดเรื่องปรัชญาก็ตาม)

    เพื่อนเพจที่เคยอ่านนิยายของกิมย้งหรือดูหนังเรื่อง <กระบี่เย้ยยุทธจักร> ต้องคุ้นหูกับคำว่า ‘วิญญูชนจอมปลอม’ ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า ‘เหว่ยจวินจื่อ’ (伪君子) โดยคำว่า ‘จวินจื่อ’ นี้ปัจจุบันมักใช้คำแปลว่า ‘สุภาพชน’ (gentleman)

    แน่นอนว่าคำว่า ‘วิญญูชน’ และ ‘สุภาพชน’ มีนัยแตกต่าง คำถามที่ตามมาก็คือ: ‘จวินจื่อ’ (君子) คืออะไร? นี่เป็นคำถามในข้อสอบยอดฮิตในสมัยจีนโบราณ

    Storyฯ ขอยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีฉากที่นางเอกต้องร่วมสอบและได้ต่อว่าคนที่กลั่นแกล้งนางและดูถูกพ่อของนางไว้ว่า “วิญญูชนไม่คิดอกุศล ข้าเดินได้อย่างผึ่งผาย นั่งได้อย่างหลังตรง มิเคยต้องกังวลลมปากของผู้ใด... วิญญูชนไม่แบ่งแยกสูงต่ำด้วยชาติกำเนิด” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ประโยคที่ว่า ‘วิญญูชนไม่คิดอกุศล’ หรือ ‘จวินจื่อซืออู๋เสีย’ (君子思无邪) นี้ เป็นการรวมสองปรัชญาจากคัมภีร์หลุนอวี่ (论语) เข้ามาด้วยกันในประโยคเดียว

    ปรัชญาแรกว่าด้วยเรื่องของ ‘จวินจื่อ’ ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก ‘จวิน’ ที่หมายถึงผู้เป็นประมุขหรือผู้มียศศักดิ์ และ ‘จื่อ’ ที่แปลว่าบุตรชาย ดังนั้นความหมายดั้งเดิมคือหมายถึง ‘Nobleman’ หรืออาจแปลเป็นไทยได้ว่าราชนิกุลหรือลูกหลานชนชั้นศักดินา ต่อมาหมายถึงผู้ที่มีศีลธรรมและคุณสมบัติสูงส่งอันเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้ (‘A man of noble character’) เป็นส่วนประกอบสำคัญของปรัชญาขงจื๊อในการสร้างมาตรฐานสังคม โดยขงจื๊อมักใช้การเปรียบเทียบระหว่าง ‘จวินจื่อ’ กับ ‘เสี่ยวเหริน’ (小人 / ทุรชน) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ‘จวินจื่อ’ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร Storyฯ สรุปมาไม่ได้หมด เลยยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพดังนี้:

    – จวินจื่อคำนึงถึงความเที่ยงธรรม (义) แต่เสี่ยวเหรินคำนึงถึงผลประโยชน์
    – จวินจื่ออยู่ร่วมได้ด้วยความต่าง แต่เสี่ยวเหรินแม้ไม่ต่างแต่ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ --- ประเด็นนี้ Storyฯ อาจแปลได้ไม่ดี ขอขยายความว่า จวินจื่อเมื่อเรียนรู้และตระหนักถึงสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าอาจมีแก่นความคิดที่แตกต่างกันไป แต่เพราะมีความเข้าใจในเนื้อแท้ของคนและเคารพยอมรับซึ่งกันและกันได้ ก็สามารถส่งเสริมเกื้อกูลหล่อหลอมเข้าด้วยกันได้ แต่ในทางกลับกัน เสี่ยวเหรินมีความเสแสร้งพยายามให้ดูกลมกลืน แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง สุดท้ายแม้อยู่ร่วมกันแต่ไม่สามารถหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันได้
    – จวินจื่อเปิดเผยผึ่งผาย จึงไม่ต้องกังวลถึงความเห็นคนอื่น แต่เสี่ยวเหรินทำอะไรก็พะวงหน้าพะวงหลังกลัวคนมากลั่นแกล้ง
    – จวินจื่อพึ่งพาตนเอง แต่เสี่ยวเหรินพึ่งพาผู้อื่น
    – จวินจื่อส่งเสริมผู้อื่นในเรื่องที่ดีและไม่สนับสนุนในเรื่องที่ไม่ดี แต่เสี่ยวเหรินขัดผู้อื่นในเรื่องที่ดีและส่งเสริมในเรื่องที่ไม่ดี
    – จวินจื่อเปรียบเสมือนลม เสี่ยวเหรินเป็นเหมือนหญ้าที่ต้องเอนไหวศิโรราบให้เมื่อลมพัดผ่าน เป็นการอุปมาอุปไมยว่าคุณธรรมของจวินจื่อ สามารถเอาชนะความไม่ดีของเสี่ยวเหรินได้

    ปรัชญาที่สอง ‘ไม่คิดอกุศล’ (ซืออู๋เสีย/思无邪) โดยปรัชญานี้ขงจื๊อเคยใช้ในสองบริบท บริบทแรกในการวิจารณ์งานประพันธ์โดยหมายถึงว่า สิ่งที่นักประพันธ์สื่อผ่านตัวอักษรออกมานั้น ควรบ่งบอกจิตวิญญาณและความคิดที่แท้จริง พูดง่ายๆ คือซื่อตรงต่อตัวเอง ส่วนอีกบริบทหนึ่งนั้นคือเป็นการกล่าวถึงคุณสมบัติของคน โดยหมายถึงว่า อันความคิดที่ดี ย่อมไม่กลัวที่จะเปิดเผยให้ผู้ใดรับรู้

    คำว่า ‘จวินจื่อ’ ปรากฏอยู่บนงานประพันธ์และสำนวนจีนมากมาย และปรัชญาของขงจื๊อถูกศึกษามาหลายพันปีโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงวิชาจำนวนนับไม่ถ้วน Storyฯ ไม่หาญกล้ามาเสวนามากมายในปรัชญาเหล่านี้ เพียงแต่เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามา คำว่า ‘จวินจื่อ’ หรือ ‘วิญญูชน’ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในสังคมทุกวันนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นวิญญูชน และใครเป็นวิญญูชนจอมปลอม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/467496758_120871225
    https://www.sohu.com/a/433221328_99929216
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/思无邪/5080
    https://guoxue.ifeng.com/c/7jUG4KBpiZC
    https://baike.baidu.com/item/君子/1389

    #ดุจฝันบันดาลใจ #จวินจื่อ #วิญญูชน #ขงจื๊อ
    ขออภัยที่หายไปหนึ่งอาทิตย์ค่ะ วันนี้ Storyฯ เห็นว่าเรากำลังอยู่ในบรรยากาศการเลือกคนดีคนเก่งมาบริหารบ้านเมือง เลยลองมาคุยกันเรื่องปรัชญาจีนโบราณ (แม้ว่า Storyฯ จะไม่สันทัดเรื่องปรัชญาก็ตาม) เพื่อนเพจที่เคยอ่านนิยายของกิมย้งหรือดูหนังเรื่อง <กระบี่เย้ยยุทธจักร> ต้องคุ้นหูกับคำว่า ‘วิญญูชนจอมปลอม’ ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า ‘เหว่ยจวินจื่อ’ (伪君子) โดยคำว่า ‘จวินจื่อ’ นี้ปัจจุบันมักใช้คำแปลว่า ‘สุภาพชน’ (gentleman) แน่นอนว่าคำว่า ‘วิญญูชน’ และ ‘สุภาพชน’ มีนัยแตกต่าง คำถามที่ตามมาก็คือ: ‘จวินจื่อ’ (君子) คืออะไร? นี่เป็นคำถามในข้อสอบยอดฮิตในสมัยจีนโบราณ Storyฯ ขอยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีฉากที่นางเอกต้องร่วมสอบและได้ต่อว่าคนที่กลั่นแกล้งนางและดูถูกพ่อของนางไว้ว่า “วิญญูชนไม่คิดอกุศล ข้าเดินได้อย่างผึ่งผาย นั่งได้อย่างหลังตรง มิเคยต้องกังวลลมปากของผู้ใด... วิญญูชนไม่แบ่งแยกสูงต่ำด้วยชาติกำเนิด” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ประโยคที่ว่า ‘วิญญูชนไม่คิดอกุศล’ หรือ ‘จวินจื่อซืออู๋เสีย’ (君子思无邪) นี้ เป็นการรวมสองปรัชญาจากคัมภีร์หลุนอวี่ (论语) เข้ามาด้วยกันในประโยคเดียว ปรัชญาแรกว่าด้วยเรื่องของ ‘จวินจื่อ’ ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก ‘จวิน’ ที่หมายถึงผู้เป็นประมุขหรือผู้มียศศักดิ์ และ ‘จื่อ’ ที่แปลว่าบุตรชาย ดังนั้นความหมายดั้งเดิมคือหมายถึง ‘Nobleman’ หรืออาจแปลเป็นไทยได้ว่าราชนิกุลหรือลูกหลานชนชั้นศักดินา ต่อมาหมายถึงผู้ที่มีศีลธรรมและคุณสมบัติสูงส่งอันเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้ (‘A man of noble character’) เป็นส่วนประกอบสำคัญของปรัชญาขงจื๊อในการสร้างมาตรฐานสังคม โดยขงจื๊อมักใช้การเปรียบเทียบระหว่าง ‘จวินจื่อ’ กับ ‘เสี่ยวเหริน’ (小人 / ทุรชน) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ‘จวินจื่อ’ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร Storyฯ สรุปมาไม่ได้หมด เลยยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพดังนี้: – จวินจื่อคำนึงถึงความเที่ยงธรรม (义) แต่เสี่ยวเหรินคำนึงถึงผลประโยชน์ – จวินจื่ออยู่ร่วมได้ด้วยความต่าง แต่เสี่ยวเหรินแม้ไม่ต่างแต่ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ --- ประเด็นนี้ Storyฯ อาจแปลได้ไม่ดี ขอขยายความว่า จวินจื่อเมื่อเรียนรู้และตระหนักถึงสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าอาจมีแก่นความคิดที่แตกต่างกันไป แต่เพราะมีความเข้าใจในเนื้อแท้ของคนและเคารพยอมรับซึ่งกันและกันได้ ก็สามารถส่งเสริมเกื้อกูลหล่อหลอมเข้าด้วยกันได้ แต่ในทางกลับกัน เสี่ยวเหรินมีความเสแสร้งพยายามให้ดูกลมกลืน แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง สุดท้ายแม้อยู่ร่วมกันแต่ไม่สามารถหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ – จวินจื่อเปิดเผยผึ่งผาย จึงไม่ต้องกังวลถึงความเห็นคนอื่น แต่เสี่ยวเหรินทำอะไรก็พะวงหน้าพะวงหลังกลัวคนมากลั่นแกล้ง – จวินจื่อพึ่งพาตนเอง แต่เสี่ยวเหรินพึ่งพาผู้อื่น – จวินจื่อส่งเสริมผู้อื่นในเรื่องที่ดีและไม่สนับสนุนในเรื่องที่ไม่ดี แต่เสี่ยวเหรินขัดผู้อื่นในเรื่องที่ดีและส่งเสริมในเรื่องที่ไม่ดี – จวินจื่อเปรียบเสมือนลม เสี่ยวเหรินเป็นเหมือนหญ้าที่ต้องเอนไหวศิโรราบให้เมื่อลมพัดผ่าน เป็นการอุปมาอุปไมยว่าคุณธรรมของจวินจื่อ สามารถเอาชนะความไม่ดีของเสี่ยวเหรินได้ ปรัชญาที่สอง ‘ไม่คิดอกุศล’ (ซืออู๋เสีย/思无邪) โดยปรัชญานี้ขงจื๊อเคยใช้ในสองบริบท บริบทแรกในการวิจารณ์งานประพันธ์โดยหมายถึงว่า สิ่งที่นักประพันธ์สื่อผ่านตัวอักษรออกมานั้น ควรบ่งบอกจิตวิญญาณและความคิดที่แท้จริง พูดง่ายๆ คือซื่อตรงต่อตัวเอง ส่วนอีกบริบทหนึ่งนั้นคือเป็นการกล่าวถึงคุณสมบัติของคน โดยหมายถึงว่า อันความคิดที่ดี ย่อมไม่กลัวที่จะเปิดเผยให้ผู้ใดรับรู้ คำว่า ‘จวินจื่อ’ ปรากฏอยู่บนงานประพันธ์และสำนวนจีนมากมาย และปรัชญาของขงจื๊อถูกศึกษามาหลายพันปีโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงวิชาจำนวนนับไม่ถ้วน Storyฯ ไม่หาญกล้ามาเสวนามากมายในปรัชญาเหล่านี้ เพียงแต่เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามา คำว่า ‘จวินจื่อ’ หรือ ‘วิญญูชน’ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในสังคมทุกวันนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นวิญญูชน และใครเป็นวิญญูชนจอมปลอม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/467496758_120871225 https://www.sohu.com/a/433221328_99929216 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/思无邪/5080 https://guoxue.ifeng.com/c/7jUG4KBpiZC https://baike.baidu.com/item/君子/1389 #ดุจฝันบันดาลใจ #จวินจื่อ #วิญญูชน #ขงจื๊อ
    WWW.SOHU.COM
    《雁归西窗月》是根据小说改编的吗 《雁归西窗月》结局是什么_赵孝
    《雁归西窗月》讲述了霸道郡王赵孝谦与率真少女谢小满的乌龙甜怼恋,两人从开始的欢喜冤家到逐渐相知相守,携手历经坎坷,冲破重重阻碍,最终收获了一段浪漫的爱情故事。 这部剧是先婚后爱的戏码,女主谢小满…
    1 Comments 0 Shares 649 Views 0 Reviews
  • สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง

    เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ

    แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’?

    สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才)

    เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ

    Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html
    https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子
    https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/
    https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D
    http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html
    https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593

    #สำนวนจีน #เสาหลัก
    สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’? สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才) เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子 https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/ https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593 #สำนวนจีน #เสาหลัก
    1 Comments 0 Shares 571 Views 0 Reviews
  • ขออภัยที่หายไปหนึ่งอาทิตย์ค่ะ วันนี้ Storyฯ เห็นว่าเรากำลังอยู่ในบรรยากาศการเลือกคนดีคนเก่งมาบริหารบ้านเมือง เลยลองมาคุยกันเรื่องปรัชญาจีนโบราณ (แม้ว่า Storyฯ จะไม่สันทัดเรื่องปรัชญาก็ตาม)

    เพื่อนเพจที่เคยอ่านนิยายของกิมย้งหรือดูหนังเรื่อง <กระบี่เย้ยยุทธจักร> ต้องคุ้นหูกับคำว่า ‘วิญญูชนจอมปลอม’ ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า ‘เหว่ยจวินจื่อ’ (伪君子) โดยคำว่า ‘จวินจื่อ’ นี้ปัจจุบันมักใช้คำแปลว่า ‘สุภาพชน’ (gentleman)

    แน่นอนว่าคำว่า ‘วิญญูชน’ และ ‘สุภาพชน’ มีนัยแตกต่าง คำถามที่ตามมาก็คือ: ‘จวินจื่อ’ (君子) คืออะไร? นี่เป็นคำถามในข้อสอบยอดฮิตในสมัยจีนโบราณ

    Storyฯ ขอยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีฉากที่นางเอกต้องร่วมสอบและได้ต่อว่าคนที่กลั่นแกล้งนางและดูถูกพ่อของนางไว้ว่า “วิญญูชนไม่คิดอกุศล ข้าเดินได้อย่างผึ่งผาย นั่งได้อย่างหลังตรง มิเคยต้องกังวลลมปากของผู้ใด... วิญญูชนไม่แบ่งแยกสูงต่ำด้วยชาติกำเนิด” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ประโยคที่ว่า ‘วิญญูชนไม่คิดอกุศล’ หรือ ‘จวินจื่อซืออู๋เสีย’ (君子思无邪) นี้ เป็นการรวมสองปรัชญาจากคัมภีร์หลุนอวี่ (论语) เข้ามาด้วยกันในประโยคเดียว

    ปรัชญาแรกว่าด้วยเรื่องของ ‘จวินจื่อ’ ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก ‘จวิน’ ที่หมายถึงผู้เป็นประมุขหรือผู้มียศศักดิ์ และ ‘จื่อ’ ที่แปลว่าบุตรชาย ดังนั้นความหมายดั้งเดิมคือหมายถึง ‘Nobleman’ หรืออาจแปลเป็นไทยได้ว่าราชนิกุลหรือลูกหลานชนชั้นศักดินา ต่อมาหมายถึงผู้ที่มีศีลธรรมและคุณสมบัติสูงส่งอันเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้ (‘A man of noble character’) เป็นส่วนประกอบสำคัญของปรัชญาขงจื๊อในการสร้างมาตรฐานสังคม โดยขงจื๊อมักใช้การเปรียบเทียบระหว่าง ‘จวินจื่อ’ กับ ‘เสี่ยวเหริน’ (小人 / ทุรชน) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ‘จวินจื่อ’ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร Storyฯ สรุปมาไม่ได้หมด เลยยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพดังนี้:

    – จวินจื่อคำนึงถึงความเที่ยงธรรม (义) แต่เสี่ยวเหรินคำนึงถึงผลประโยชน์
    – จวินจื่ออยู่ร่วมได้ด้วยความต่าง แต่เสี่ยวเหรินแม้ไม่ต่างแต่ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ --- ประเด็นนี้ Storyฯ อาจแปลได้ไม่ดี ขอขยายความว่า จวินจื่อเมื่อเรียนรู้และตระหนักถึงสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าอาจมีแก่นความคิดที่แตกต่างกันไป แต่เพราะมีความเข้าใจในเนื้อแท้ของคนและเคารพยอมรับซึ่งกันและกันได้ ก็สามารถส่งเสริมเกื้อกูลหล่อหลอมเข้าด้วยกันได้ แต่ในทางกลับกัน เสี่ยวเหรินมีความเสแสร้งพยายามให้ดูกลมกลืน แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง สุดท้ายแม้อยู่ร่วมกันแต่ไม่สามารถหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันได้
    – จวินจื่อเปิดเผยผึ่งผาย จึงไม่ต้องกังวลถึงความเห็นคนอื่น แต่เสี่ยวเหรินทำอะไรก็พะวงหน้าพะวงหลังกลัวคนมากลั่นแกล้ง
    – จวินจื่อพึ่งพาตนเอง แต่เสี่ยวเหรินพึ่งพาผู้อื่น
    – จวินจื่อส่งเสริมผู้อื่นในเรื่องที่ดีและไม่สนับสนุนในเรื่องที่ไม่ดี แต่เสี่ยวเหรินขัดผู้อื่นในเรื่องที่ดีและส่งเสริมในเรื่องที่ไม่ดี
    – จวินจื่อเปรียบเสมือนลม เสี่ยวเหรินเป็นเหมือนหญ้าที่ต้องเอนไหวศิโรราบให้เมื่อลมพัดผ่าน เป็นการอุปมาอุปไมยว่าคุณธรรมของจวินจื่อ สามารถเอาชนะความไม่ดีของเสี่ยวเหรินได้

    ปรัชญาที่สอง ‘ไม่คิดอกุศล’ (ซืออู๋เสีย/思无邪) โดยปรัชญานี้ขงจื๊อเคยใช้ในสองบริบท บริบทแรกในการวิจารณ์งานประพันธ์โดยหมายถึงว่า สิ่งที่นักประพันธ์สื่อผ่านตัวอักษรออกมานั้น ควรบ่งบอกจิตวิญญาณและความคิดที่แท้จริง พูดง่ายๆ คือซื่อตรงต่อตัวเอง ส่วนอีกบริบทหนึ่งนั้นคือเป็นการกล่าวถึงคุณสมบัติของคน โดยหมายถึงว่า อันความคิดที่ดี ย่อมไม่กลัวที่จะเปิดเผยให้ผู้ใดรับรู้

    คำว่า ‘จวินจื่อ’ ปรากฏอยู่บนงานประพันธ์และสำนวนจีนมากมาย และปรัชญาของขงจื๊อถูกศึกษามาหลายพันปีโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงวิชาจำนวนนับไม่ถ้วน Storyฯ ไม่หาญกล้ามาเสวนามากมายในปรัชญาเหล่านี้ เพียงแต่เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามา คำว่า ‘จวินจื่อ’ หรือ ‘วิญญูชน’ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในสังคมทุกวันนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นวิญญูชน และใครเป็นวิญญูชนจอมปลอม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/467496758_120871225
    https://www.sohu.com/a/433221328_99929216
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/思无邪/5080
    https://guoxue.ifeng.com/c/7jUG4KBpiZC
    https://baike.baidu.com/item/君子/1389

    #ดุจฝันบันดาลใจ #จวินจื่อ #วิญญูชน #ขงจื๊อ
    ขออภัยที่หายไปหนึ่งอาทิตย์ค่ะ วันนี้ Storyฯ เห็นว่าเรากำลังอยู่ในบรรยากาศการเลือกคนดีคนเก่งมาบริหารบ้านเมือง เลยลองมาคุยกันเรื่องปรัชญาจีนโบราณ (แม้ว่า Storyฯ จะไม่สันทัดเรื่องปรัชญาก็ตาม) เพื่อนเพจที่เคยอ่านนิยายของกิมย้งหรือดูหนังเรื่อง <กระบี่เย้ยยุทธจักร> ต้องคุ้นหูกับคำว่า ‘วิญญูชนจอมปลอม’ ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า ‘เหว่ยจวินจื่อ’ (伪君子) โดยคำว่า ‘จวินจื่อ’ นี้ปัจจุบันมักใช้คำแปลว่า ‘สุภาพชน’ (gentleman) แน่นอนว่าคำว่า ‘วิญญูชน’ และ ‘สุภาพชน’ มีนัยแตกต่าง คำถามที่ตามมาก็คือ: ‘จวินจื่อ’ (君子) คืออะไร? นี่เป็นคำถามในข้อสอบยอดฮิตในสมัยจีนโบราณ Storyฯ ขอยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีฉากที่นางเอกต้องร่วมสอบและได้ต่อว่าคนที่กลั่นแกล้งนางและดูถูกพ่อของนางไว้ว่า “วิญญูชนไม่คิดอกุศล ข้าเดินได้อย่างผึ่งผาย นั่งได้อย่างหลังตรง มิเคยต้องกังวลลมปากของผู้ใด... วิญญูชนไม่แบ่งแยกสูงต่ำด้วยชาติกำเนิด” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ประโยคที่ว่า ‘วิญญูชนไม่คิดอกุศล’ หรือ ‘จวินจื่อซืออู๋เสีย’ (君子思无邪) นี้ เป็นการรวมสองปรัชญาจากคัมภีร์หลุนอวี่ (论语) เข้ามาด้วยกันในประโยคเดียว ปรัชญาแรกว่าด้วยเรื่องของ ‘จวินจื่อ’ ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก ‘จวิน’ ที่หมายถึงผู้เป็นประมุขหรือผู้มียศศักดิ์ และ ‘จื่อ’ ที่แปลว่าบุตรชาย ดังนั้นความหมายดั้งเดิมคือหมายถึง ‘Nobleman’ หรืออาจแปลเป็นไทยได้ว่าราชนิกุลหรือลูกหลานชนชั้นศักดินา ต่อมาหมายถึงผู้ที่มีศีลธรรมและคุณสมบัติสูงส่งอันเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้ (‘A man of noble character’) เป็นส่วนประกอบสำคัญของปรัชญาขงจื๊อในการสร้างมาตรฐานสังคม โดยขงจื๊อมักใช้การเปรียบเทียบระหว่าง ‘จวินจื่อ’ กับ ‘เสี่ยวเหริน’ (小人 / ทุรชน) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ‘จวินจื่อ’ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร Storyฯ สรุปมาไม่ได้หมด เลยยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพดังนี้: – จวินจื่อคำนึงถึงความเที่ยงธรรม (义) แต่เสี่ยวเหรินคำนึงถึงผลประโยชน์ – จวินจื่ออยู่ร่วมได้ด้วยความต่าง แต่เสี่ยวเหรินแม้ไม่ต่างแต่ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ --- ประเด็นนี้ Storyฯ อาจแปลได้ไม่ดี ขอขยายความว่า จวินจื่อเมื่อเรียนรู้และตระหนักถึงสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าอาจมีแก่นความคิดที่แตกต่างกันไป แต่เพราะมีความเข้าใจในเนื้อแท้ของคนและเคารพยอมรับซึ่งกันและกันได้ ก็สามารถส่งเสริมเกื้อกูลหล่อหลอมเข้าด้วยกันได้ แต่ในทางกลับกัน เสี่ยวเหรินมีความเสแสร้งพยายามให้ดูกลมกลืน แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง สุดท้ายแม้อยู่ร่วมกันแต่ไม่สามารถหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ – จวินจื่อเปิดเผยผึ่งผาย จึงไม่ต้องกังวลถึงความเห็นคนอื่น แต่เสี่ยวเหรินทำอะไรก็พะวงหน้าพะวงหลังกลัวคนมากลั่นแกล้ง – จวินจื่อพึ่งพาตนเอง แต่เสี่ยวเหรินพึ่งพาผู้อื่น – จวินจื่อส่งเสริมผู้อื่นในเรื่องที่ดีและไม่สนับสนุนในเรื่องที่ไม่ดี แต่เสี่ยวเหรินขัดผู้อื่นในเรื่องที่ดีและส่งเสริมในเรื่องที่ไม่ดี – จวินจื่อเปรียบเสมือนลม เสี่ยวเหรินเป็นเหมือนหญ้าที่ต้องเอนไหวศิโรราบให้เมื่อลมพัดผ่าน เป็นการอุปมาอุปไมยว่าคุณธรรมของจวินจื่อ สามารถเอาชนะความไม่ดีของเสี่ยวเหรินได้ ปรัชญาที่สอง ‘ไม่คิดอกุศล’ (ซืออู๋เสีย/思无邪) โดยปรัชญานี้ขงจื๊อเคยใช้ในสองบริบท บริบทแรกในการวิจารณ์งานประพันธ์โดยหมายถึงว่า สิ่งที่นักประพันธ์สื่อผ่านตัวอักษรออกมานั้น ควรบ่งบอกจิตวิญญาณและความคิดที่แท้จริง พูดง่ายๆ คือซื่อตรงต่อตัวเอง ส่วนอีกบริบทหนึ่งนั้นคือเป็นการกล่าวถึงคุณสมบัติของคน โดยหมายถึงว่า อันความคิดที่ดี ย่อมไม่กลัวที่จะเปิดเผยให้ผู้ใดรับรู้ คำว่า ‘จวินจื่อ’ ปรากฏอยู่บนงานประพันธ์และสำนวนจีนมากมาย และปรัชญาของขงจื๊อถูกศึกษามาหลายพันปีโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงวิชาจำนวนนับไม่ถ้วน Storyฯ ไม่หาญกล้ามาเสวนามากมายในปรัชญาเหล่านี้ เพียงแต่เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามา คำว่า ‘จวินจื่อ’ หรือ ‘วิญญูชน’ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในสังคมทุกวันนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นวิญญูชน และใครเป็นวิญญูชนจอมปลอม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/467496758_120871225 https://www.sohu.com/a/433221328_99929216 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/思无邪/5080 https://guoxue.ifeng.com/c/7jUG4KBpiZC https://baike.baidu.com/item/君子/1389 #ดุจฝันบันดาลใจ #จวินจื่อ #วิญญูชน #ขงจื๊อ
    WWW.SOHU.COM
    《雁归西窗月》是根据小说改编的吗 《雁归西窗月》结局是什么_赵孝
    《雁归西窗月》讲述了霸道郡王赵孝谦与率真少女谢小满的乌龙甜怼恋,两人从开始的欢喜冤家到逐渐相知相守,携手历经坎坷,冲破重重阻碍,最终收获了一段浪漫的爱情故事。 这部剧是先婚后爱的戏码,女主谢小满…
    0 Comments 0 Shares 969 Views 0 Reviews
  • สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง

    เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ

    แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’?

    สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才)

    เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ

    Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html
    https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子
    https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/
    https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D
    http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html
    https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593

    #สำนวนจีน #เสาหลัก
    สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’? สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才) เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子 https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/ https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593 #สำนวนจีน #เสาหลัก
    0 Comments 0 Shares 841 Views 0 Reviews
  • ## เสือกทะลุจักรวาล...!!! ##
    ..
    ..
    ดูรูปให้ครบแล้วอ่านให้จบก่อน ค่อยมาอ่านข้างล่างต่อนะครับ...
    ...
    ...
    คนพวกนี้ สำนวนจีน เขาว่า "กินอิ่มแล้วไม่มีอะไรจะทำ"...???
    .
    สำนวน วัยรุ่น เลือดร้อน เขาว่า "เสือก"...!!!
    .
    อเมริกา และ องค์กรโลกบาล เสือกเรื่องของคนอื่นเขาไปทั่วโลก...!!!
    .
    อเมริกา โดย ประธานาธิบดี ทรัมป์ จะยอมรับเฉพาะ ผู้ชายและผูหญิงเท่านั้น...!!!
    .
    จะเลิกสนับสนุนทุกโครงการ เกี่ยวกับ LGBTQ...
    .
    พูดง่ายๆ คือ ไม่ยอมรับ LGBTQ แล้ว...
    .
    พี่ไม่ลองย้อนกลับ ไปเห่า ไปเสือก กะตาทรัมป์ ประธานาธิบดี แห่ง อเมริกา หน่อยเหรอ...???
    .

    .
    Cr. Facebook กิ๊ฟจังนั่งเล่า
    https://www.facebook.com/share/p/1BK2xtk2D7/
    ## เสือกทะลุจักรวาล...!!! ## .. .. ดูรูปให้ครบแล้วอ่านให้จบก่อน ค่อยมาอ่านข้างล่างต่อนะครับ... ... ... คนพวกนี้ สำนวนจีน เขาว่า "กินอิ่มแล้วไม่มีอะไรจะทำ"...??? . สำนวน วัยรุ่น เลือดร้อน เขาว่า "เสือก"...!!! . อเมริกา และ องค์กรโลกบาล เสือกเรื่องของคนอื่นเขาไปทั่วโลก...!!! . อเมริกา โดย ประธานาธิบดี ทรัมป์ จะยอมรับเฉพาะ ผู้ชายและผูหญิงเท่านั้น...!!! . จะเลิกสนับสนุนทุกโครงการ เกี่ยวกับ LGBTQ... . พูดง่ายๆ คือ ไม่ยอมรับ LGBTQ แล้ว... . พี่ไม่ลองย้อนกลับ ไปเห่า ไปเสือก กะตาทรัมป์ ประธานาธิบดี แห่ง อเมริกา หน่อยเหรอ...??? . 🤣🤣🤣🤣🤣🤣 . Cr. Facebook กิ๊ฟจังนั่งเล่า https://www.facebook.com/share/p/1BK2xtk2D7/
    0 Comments 0 Shares 385 Views 0 Reviews
  • เมื่อกว่า 1 ปีก่อนมีภาพยนตร์จีนชื่อว่า #NoMoreBets เปิดเผยเรื่องขบวนการคอลเซนเตอร์ จนทำให้นักท่องเที่ยวจีนหวาดกลัว และไม่กล้าเดินทางมาท่องเที่ยวเมืองไทย....แต่ว่า นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รมต. สำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้แก้ปัญหาด้วยการ️ สั่งห้ามภาพยนต์เรื่องดังกล่าวฉายในประเทศไทย.วันนี้ดูได้ทาง Netflix เรื่องราวในหนังยังเหมือนเดิม และคราวนี้ ไทยจะได้รับผลกระทบที่หนักกว่าด้วย เพราะ "มาตรการเด็ดขาด" จากจีนกำลังจะเริ่มขึ้น⛔หนังที่ถูกอ้างว่า "ทำลายการท่องเที่ยว" ทำให้นักท่องเที่ยวจีนหวาดหวั่นไม่มาเที่ยวเมืองไทย ถึงขนาดที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ต้องไปพบกับทูต #จีน เพื่อชี้แจงว่า เรื่องที่เกิดขึ้นในหนังไม่ใช่ประเทศไทย ทั้งขบวนการหลอกลวงออนไลน์, แก็งคอลเซนเตอร์, ขบวนการค้ามนุษย์ ที่หลอกคนมาทำงาน มีการลักพาตัว, กักขัง, ทรมาน จนถึงฆาตกรรม.หนังเรื่อง No More Bets ทำรายได้ในจีนได้สูงถึง 20,000 ล้านบาท ( ไม่ได้พิมพ์ผิด ! "2 หมื่นล้าน") และมีผู้เข้าชมในประเทศจีนมากกว่า 100 ล้านคน ผู้ที่ไปชมภาพยนตร์เรื่องนี้ต่างพูดกันปากต่อปากว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เปิดเผยถึงความน่ากลัวของขบวนการหลอกลวงออนไลน์ จนเกิดกระแสว่า "ถ้าคนไปชมภาพยนตร์เรื่องนี้เพิ่มขึ้น 1 คน ก็จะมีคนที่ถูกหลอกลวงลดน้อยลงอีก 1 คน" .ในเมืองไทย สำนักข่าวต่าง ๆ รายงานเรื่องผลกระทบต่อการท่องที่ยวจากหนังเรื่องนี้มากมาย แต่ว่าน่าจะไม่มีใครได้ดูหนังเรื่องนี้อย่างเด็มๆ ส่วนใหญ่จะแค่ "ฟังเขาเล่ามา" อีกที ...แต่ฉันได้ดูหนังเรื่องนี้ 3 รอบ และคิดว่าถ้ามี DVD หรือให้ดาวน์โหลด ก็เต็มใจจะซื้อเก็บไว้.No More Bets หรือชื่อภาษาจีนคือ "กูจู้อีจื้อ" #孤注一掷 ซึ่งเป็นสำนวนจีน ที่แปลว่า "เดิมพันครั้งสุดท้าย" ตัวเอกในหนังมี 2 คน คนหนึ่งเป็นชายหนุ่มที่เป็นโปรแกรมเมอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ อีกคนหนึ่งเป็นนางแบบสาวสวย ทั้งสองคนถูกหลอกลวงว่า จะว่าได้ไปทำงานได้เงินเดือนสูง ๆ ในต่างประเทศ แต่เมื่อเดินทางไปถึงแล้ว กลับพบว่านี่คือขบวนการหลอกลวงออนไลน์.ภาพยนตร์มีฉากที่หัวหน้าขบวนการคอลเซนเตอร์พูดกับ คนที่มาทำงานด้วยว่า มี 2 ทางเลือก หนึ่งคือหลอกเงินเข้ามา สองก็คือหลอกคนให้มาทำงานด้วย.ขบวนการนี้จะใช้อุบายต่าง ๆ เพื่อหลอกเอาทรัพย์สินจากเหยื่อ คนที่ทำงานกับขบวนการนี้เล่าว่า ถึงขนาดมีคู่มือ มีการอบรมวิธีการพูด มีการสร้างเรื่องราวต่าง ๆ เป็นเหมือนบทละครเป็นร้อยเป็นพันเรื่อง เพื่อหลอกให้เหยื่อตายใจหลงเชื่อ .นอกจากการหลอกลวงให้โอนเงิน และการขโมยข้อมูลส่วนตัวแล้ว แหล่งรายได้หลักของขบวนการนี้ก็คือ การพนันออนไลน์.สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ขบวนการหลอกลวงและพนันออนไลน์แพร่หลายอย่างมาก ก็คือ ผู้ที่เข้าร่วมในขบวนการนี้ ไม่รู้สึกผิด คนเหล่านี้คิดว่าเหยื่อคือคนโลภ แต่ความจริงแล้ว เหยื่อจำนวนมากถูกหลอกลวงจนสิ้นเนื้อประดาตัว สูญเงินเกษียณ เงินที่ใช้เลี้ยงดูครอบครัว เหยื่อบางรายบ้านแตกสาแหรกขาด หรือถึงกับฆ่าตัวตายจบชีวิตตัวเองก็มี⚓️เพลงนำของหนังใช้ชื่อว่า "หมดเนื้อหมดตัว" #千金散尽 เปรียบเทียบว่า เรือลำหนึ่งที่อยากจะกลับเข้าฝั่ง แต่ว่าเมื่อถอนสมอ กางใบเรือกลับพบว่าเต็มไปด้วยรอยทะลุจนแทบจะแล่นต่อไปไม่ไหว...ความ "กล้าหาญ" ถ้ามากเกินไปก็จะเป็น "ลำพอง" ความ "ฉลาด" ถ้าใช้ไม่ถูกก็จะกลายเป็น "เล่ห์เหลี่ยม" .ความน่ากลัวของขบวนการหลอกลวงก็คือ เหยื่อจำนวนมากไม่รู้ตัวว่ากำลังถูกหลอก พอนึกจะ "กลับเนื้อกลัวตัว" ก็สายไปแล้ว "กลับไม่ได้ไปไม่ถึง".No More Bets ทำให้ผู้คนตระหนักว่า ขบวนการหลอกลวงใกล้ตัวกว่าที่เราคาดคิด หลายคนคงเคยได้รับโทรศัพท์ SMS หรือข้อความในโซเชียลมีเดีย ที่มาจากแก็งค์เหล่านี้ และถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า โทรศัพท์และข้อความเหล่านี้มีมากขึ้นทุกวัน พวกเราหลายคนอาจจะกดลบข้อความทิ้งหรือวางสายโทรศัพท์ไป แต่ว่ายังมีผู้สูงอายุ เยาวชน และคนอีกมากมายที่ไม่รู้เท่าทันจนตกเป็นเหยื่อ .มีอีกหลายกรณีที่เหยื่อเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง เป็นคนที่มีการศึกษา เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ก็ยังถูกหลอกลวงได้...อย่าคิดว่าไม่มีโอกาสตกเป็นเหยื่อขบวนการหลอกลวง .ในภาพยนตร์บอกว่า คนเรามีจุดอ่อน 2 อย่าง คือ ความโลภ และความหลง เพราะว่า ใครๆ ก็อยากมีงานที่ดี มีเงินใช้ และก็หลงคิดไปว่า ตัวเองคงจะไม่โชคร้ายถึงขนาดที่ต้อง "ทุ่มสุดตัว วางเดิมพันครั้งสุดท้าย" เหมือนกับชื่อของภาพยนตร์ คือ No More Bets ที่มา เพจบูรพาไม่แพ้ .
    เมื่อกว่า 1 ปีก่อนมีภาพยนตร์จีนชื่อว่า #NoMoreBets เปิดเผยเรื่องขบวนการคอลเซนเตอร์ จนทำให้นักท่องเที่ยวจีนหวาดกลัว และไม่กล้าเดินทางมาท่องเที่ยวเมืองไทย....แต่ว่า นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รมต. สำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้แก้ปัญหาด้วยการ⛔️ สั่งห้ามภาพยนต์เรื่องดังกล่าวฉายในประเทศไทย.วันนี้ดูได้ทาง Netflix เรื่องราวในหนังยังเหมือนเดิม และคราวนี้ ไทยจะได้รับผลกระทบที่หนักกว่าด้วย เพราะ "มาตรการเด็ดขาด" จากจีนกำลังจะเริ่มขึ้น⛔หนังที่ถูกอ้างว่า "ทำลายการท่องเที่ยว" ทำให้นักท่องเที่ยวจีนหวาดหวั่นไม่มาเที่ยวเมืองไทย ถึงขนาดที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ต้องไปพบกับทูต #จีน เพื่อชี้แจงว่า เรื่องที่เกิดขึ้นในหนังไม่ใช่ประเทศไทย ทั้งขบวนการหลอกลวงออนไลน์, แก็งคอลเซนเตอร์, ขบวนการค้ามนุษย์ ที่หลอกคนมาทำงาน มีการลักพาตัว, กักขัง, ทรมาน จนถึงฆาตกรรม.หนังเรื่อง No More Bets ทำรายได้ในจีนได้สูงถึง 20,000 ล้านบาท ( ไม่ได้พิมพ์ผิด ! "2 หมื่นล้าน") และมีผู้เข้าชมในประเทศจีนมากกว่า 100 ล้านคน ผู้ที่ไปชมภาพยนตร์เรื่องนี้ต่างพูดกันปากต่อปากว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เปิดเผยถึงความน่ากลัวของขบวนการหลอกลวงออนไลน์ จนเกิดกระแสว่า "ถ้าคนไปชมภาพยนตร์เรื่องนี้เพิ่มขึ้น 1 คน ก็จะมีคนที่ถูกหลอกลวงลดน้อยลงอีก 1 คน" .ในเมืองไทย สำนักข่าวต่าง ๆ รายงานเรื่องผลกระทบต่อการท่องที่ยวจากหนังเรื่องนี้มากมาย แต่ว่าน่าจะไม่มีใครได้ดูหนังเรื่องนี้อย่างเด็มๆ ส่วนใหญ่จะแค่ "ฟังเขาเล่ามา" อีกที ...แต่ฉันได้ดูหนังเรื่องนี้ 3 รอบ และคิดว่าถ้ามี DVD หรือให้ดาวน์โหลด ก็เต็มใจจะซื้อเก็บไว้.No More Bets หรือชื่อภาษาจีนคือ "กูจู้อีจื้อ" #孤注一掷 ซึ่งเป็นสำนวนจีน ที่แปลว่า "เดิมพันครั้งสุดท้าย" ตัวเอกในหนังมี 2 คน คนหนึ่งเป็นชายหนุ่มที่เป็นโปรแกรมเมอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ อีกคนหนึ่งเป็นนางแบบสาวสวย ทั้งสองคนถูกหลอกลวงว่า จะว่าได้ไปทำงานได้เงินเดือนสูง ๆ ในต่างประเทศ แต่เมื่อเดินทางไปถึงแล้ว กลับพบว่านี่คือขบวนการหลอกลวงออนไลน์.ภาพยนตร์มีฉากที่หัวหน้าขบวนการคอลเซนเตอร์พูดกับ คนที่มาทำงานด้วยว่า มี 2 ทางเลือก หนึ่งคือหลอกเงินเข้ามา สองก็คือหลอกคนให้มาทำงานด้วย.ขบวนการนี้จะใช้อุบายต่าง ๆ เพื่อหลอกเอาทรัพย์สินจากเหยื่อ คนที่ทำงานกับขบวนการนี้เล่าว่า ถึงขนาดมีคู่มือ มีการอบรมวิธีการพูด มีการสร้างเรื่องราวต่าง ๆ เป็นเหมือนบทละครเป็นร้อยเป็นพันเรื่อง เพื่อหลอกให้เหยื่อตายใจหลงเชื่อ .นอกจากการหลอกลวงให้โอนเงิน และการขโมยข้อมูลส่วนตัวแล้ว แหล่งรายได้หลักของขบวนการนี้ก็คือ การพนันออนไลน์.สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ขบวนการหลอกลวงและพนันออนไลน์แพร่หลายอย่างมาก ก็คือ ผู้ที่เข้าร่วมในขบวนการนี้ ไม่รู้สึกผิด คนเหล่านี้คิดว่าเหยื่อคือคนโลภ แต่ความจริงแล้ว เหยื่อจำนวนมากถูกหลอกลวงจนสิ้นเนื้อประดาตัว สูญเงินเกษียณ เงินที่ใช้เลี้ยงดูครอบครัว เหยื่อบางรายบ้านแตกสาแหรกขาด หรือถึงกับฆ่าตัวตายจบชีวิตตัวเองก็มี⚓️เพลงนำของหนังใช้ชื่อว่า "หมดเนื้อหมดตัว" #千金散尽 เปรียบเทียบว่า เรือลำหนึ่งที่อยากจะกลับเข้าฝั่ง แต่ว่าเมื่อถอนสมอ กางใบเรือกลับพบว่าเต็มไปด้วยรอยทะลุจนแทบจะแล่นต่อไปไม่ไหว...ความ "กล้าหาญ" ถ้ามากเกินไปก็จะเป็น "ลำพอง" ความ "ฉลาด" ถ้าใช้ไม่ถูกก็จะกลายเป็น "เล่ห์เหลี่ยม" .ความน่ากลัวของขบวนการหลอกลวงก็คือ เหยื่อจำนวนมากไม่รู้ตัวว่ากำลังถูกหลอก พอนึกจะ "กลับเนื้อกลัวตัว" ก็สายไปแล้ว "กลับไม่ได้ไปไม่ถึง".No More Bets ทำให้ผู้คนตระหนักว่า ขบวนการหลอกลวงใกล้ตัวกว่าที่เราคาดคิด หลายคนคงเคยได้รับโทรศัพท์ SMS หรือข้อความในโซเชียลมีเดีย ที่มาจากแก็งค์เหล่านี้ และถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า โทรศัพท์และข้อความเหล่านี้มีมากขึ้นทุกวัน พวกเราหลายคนอาจจะกดลบข้อความทิ้งหรือวางสายโทรศัพท์ไป แต่ว่ายังมีผู้สูงอายุ เยาวชน และคนอีกมากมายที่ไม่รู้เท่าทันจนตกเป็นเหยื่อ .มีอีกหลายกรณีที่เหยื่อเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง เป็นคนที่มีการศึกษา เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ก็ยังถูกหลอกลวงได้...อย่าคิดว่าไม่มีโอกาสตกเป็นเหยื่อขบวนการหลอกลวง .ในภาพยนตร์บอกว่า คนเรามีจุดอ่อน 2 อย่าง คือ ความโลภ และความหลง เพราะว่า ใครๆ ก็อยากมีงานที่ดี มีเงินใช้ และก็หลงคิดไปว่า ตัวเองคงจะไม่โชคร้ายถึงขนาดที่ต้อง "ทุ่มสุดตัว วางเดิมพันครั้งสุดท้าย" เหมือนกับชื่อของภาพยนตร์ คือ No More Bets ที่มา เพจบูรพาไม่แพ้ .
    0 Comments 0 Shares 1507 Views 0 Reviews
  • สำนวนจีนจาก <หาญท้าฯ 2>สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ เกี่ยวกับสำนวนจีนจากซีรีส์เรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> เพื่อนเพจที่ได้ดูแล้วอาจจำได้ว่าฮ่องเต้จัดงานชมบุปผาบนเขาและต่อมามีคนลอบปลงพระชนม์จนทำให้ฟ่านเสียนได้รับบาดเจ็บสาหัส ในช่วงตอนเตรียมงานนั้น แม่ทัพเย่มาขอให้ฟ่านเสียนช่วยสอดส่องดูแลความปลอดภัยของฮ่องเต้ โดยให้เหตุผลว่า ถ้ามีอะไรผิดพลาดเขาจะต้องรับความผิดและลูกน้องจะซวยหนักกว่า ในเวอร์ชั่นซับไทยตอนที่แม่ทัพเย่ให้เหตุผลนี้ เขาอ้ำอึ้งใช้ประโยคว่า “หญ้า... อะไรแหลกๆ… ลมพัดแรงมักพัดถึงพวกตำแหน่งล่าง” ซึ่งฟ่านเสียนเลยต่อให้จบว่า “ช้างสารชนกันหญ้าแพรกก็แหลกลาญ... ประโยคนี้ไม่ได้ใช้อย่างนี้” เพื่อนเพจที่ดูซับหรือพากย์ไทยอาจไม่สะดุดตาสะดุดหู แต่จริงๆ แล้วในเวอร์ชั่นภาษาจีนใช้อีกประโยคหนึ่ง ซึ่งสะดุดหู Storyฯ ไม่น้อยประโยคที่กล่าวถึงนี้ ในภาษาจีนก็คือ ‘เฟิงฉี่ชิงผิงจือม่อ’ (风起青萍之末) Storyฯ ขอแปลว่า ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน’ ซึ่งเป็นสำนวนจีน เป็นวรรคต้นของประโยคที่ว่า ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน สิ้นสุดกลางทุ่งหญ้า’ (风起于青萍之末,止于草莽之间) ฟังดูไพเราะ แต่มันแปลว่าอะไร?ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงที่มาว่า สำนวนนี้ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์โบราณสมัยจ้านกั๋วชื่อว่า ‘เฟิงฟู่’ (风赋 / บทประพันธ์แห่งสายลม)ของกวีนามว่าซ่งอวี้ (宋玉 ประมาณปี 290 – 222 ก่อนคริสตกาล) จากแคว้นฉู่ ซึ่งเป็นหนึ่งในแปดบทประพันธ์ชนิด ‘ฟู่’ ของจีนที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด โดย ‘ฟู่’ เป็นวรรณกรรมร้อยแก้วที่มีภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆเฟิงฟู่ ใช้สายลมเป็นตัวดำเนินเรื่อง กล่าวถึงอ๋องฉู่เซียงไปชมวิวบนหอสูง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) รู้สึกชื่นมื่นกับลมเย็นสบายและคิดว่านี่เป็นความเย็นสบายที่ชาวบ้านสามารถร่วมสัมผัสได้เหมือนกัน ไม่แบ่งแยกชนชั้นหรือความร่ำรวยแต่ซ่งอวี้ที่ติดตามไปด้วยกลับบอกว่า ลมที่อ๋องฉู่เซียงสัมผัส ย่อมไม่เหมือนกับลมที่ชาวประชาสัมผัส นั่นเป็นเพราะว่า แม้ลมเป็นอากาศที่ไหลเวียนไปได้หลายพื้นที่ แต่เพราะภูมิประเทศและสิ่งปลูกสร้างที่แตกต่าง แรงลมที่สัมผัสได้ในแต่ละพื้นที่ย่อมแตกต่างกันซ่งอวี้บอกว่า ลมที่อ๋องฉู่เซียงสัมผัส สร้างตัวจากคลื่นอากาศแผ่วเบาเหนือจอกแหน ค่อยๆ ขยายไปยังหุบเขา ก่อเกิดเป็นลมแรงพัดผ่านภูเขา โถมกระหน่ำเข้าใส่หินผาและป่าไม้ จนผ่านพ้นถึงทุ่งหญ้าแล้วจึงสงบลงกลายเป็นสายลมที่สร้างความเย็นใจ และสำนวน ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน สิ้นสุดกลางทุ่งหญ้า’ นี้จึงเป็นการนำข้อความท่อนนี้มากลั่นย่อลงเป็นสำนวนสั้นๆ ซ่งอวี้ยังบอกต่ออีกว่า ลมที่ชาวบ้านทั่วไปสัมผัสนั้นเกิดจากตรอกเล็กซอกซอย เมื่อก่อตัวแรงขึ้นก็พัดพาเอาฝุ่นทรายและของสกปรกคลุ้งกระจายเข้าสู่บ้านเรือน ลมนั้นเมื่อชาวบ้านได้สัมผัสย่อมไม่ทำให้รู้สึกสบายตัวและอาจทำให้ล้มป่วยลงได้บทประพันธ์เฟิงฟู่นี้ไพเราะสวยงามด้วยคำบรรยายถึงลักษณะของสายลมภายใต้สภาวะต่างๆ และแฝงไว้ซึ่งข้อคิดเตือนสติ เฟิงฟู่ใช้สายลมเป็นตัวเปรียบเทียบระหว่างความเกรียงไกรของกษัตริย์และความแร้นแค้นของชาวบ้านธรรมดา สะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างทางสังคมและความไม่เท่าเทียมกัน เพื่อเป็นการเตือนใจต่ออ๋องฉู่เซียงว่าอย่าได้นิ่งนอนใจกับความสบายที่ได้รับเพราะในขณะเดียวกันยังมีชาวบ้านที่ลำบากอยู่ต่อมาสำนวน ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน’ ถูกใช้เป็นการอุปมาอุปไมยว่า คลื่นอากาศแผ่วเบาเหนือจอกแหนสามารถก่อตัวขึ้นเป็นคลื่นลมแรงที่กวาดไปทั่วพื้นที่อันกว้างใหญ่ ก่อเกิดผลกระทบได้มากมาย และแน่นอนว่าสำนวนนี้ไม่ได้แปลว่า ถ้าผู้มีอำนาจล้มแล้วคนที่อยู่เบื้องล่างจะซวยได้อย่างที่แม่ทัพเย่ในซีรีส์ต้องการหมายถึง และ Storyฯ คิดว่าความหมายก็เปรียบไม่ได้กับ ‘ช้างสารชนกันหญ้าแพรกก็แหลกลาญ’ เพราะจริงๆ แล้วความหมายของสำนวนนี้พูดสั้นๆ ก็คือ Butterfly Effect --- สิ่งเล็กๆ ที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์หรือการเปลี่ยนแปลงตามมาได้มากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://m.mp.oeeee.com/a/BAAFRD000020240519954909.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/风起于青萍之末/5876137 https://www.sohu.com/a/395149302_120482984 https://baike.baidu.com/item/风赋/2482215 https://zhsc.org/work/work-58b83fd9570c350062072623.htm #หาญท้าชะตาฟ้า #บทประพันธ์จีน #ButterflyEffect #เฟิงฟู่
    สำนวนจีนจาก <หาญท้าฯ 2>สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ เกี่ยวกับสำนวนจีนจากซีรีส์เรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> เพื่อนเพจที่ได้ดูแล้วอาจจำได้ว่าฮ่องเต้จัดงานชมบุปผาบนเขาและต่อมามีคนลอบปลงพระชนม์จนทำให้ฟ่านเสียนได้รับบาดเจ็บสาหัส ในช่วงตอนเตรียมงานนั้น แม่ทัพเย่มาขอให้ฟ่านเสียนช่วยสอดส่องดูแลความปลอดภัยของฮ่องเต้ โดยให้เหตุผลว่า ถ้ามีอะไรผิดพลาดเขาจะต้องรับความผิดและลูกน้องจะซวยหนักกว่า ในเวอร์ชั่นซับไทยตอนที่แม่ทัพเย่ให้เหตุผลนี้ เขาอ้ำอึ้งใช้ประโยคว่า “หญ้า... อะไรแหลกๆ… ลมพัดแรงมักพัดถึงพวกตำแหน่งล่าง” ซึ่งฟ่านเสียนเลยต่อให้จบว่า “ช้างสารชนกันหญ้าแพรกก็แหลกลาญ... ประโยคนี้ไม่ได้ใช้อย่างนี้” เพื่อนเพจที่ดูซับหรือพากย์ไทยอาจไม่สะดุดตาสะดุดหู แต่จริงๆ แล้วในเวอร์ชั่นภาษาจีนใช้อีกประโยคหนึ่ง ซึ่งสะดุดหู Storyฯ ไม่น้อยประโยคที่กล่าวถึงนี้ ในภาษาจีนก็คือ ‘เฟิงฉี่ชิงผิงจือม่อ’ (风起青萍之末) Storyฯ ขอแปลว่า ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน’ ซึ่งเป็นสำนวนจีน เป็นวรรคต้นของประโยคที่ว่า ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน สิ้นสุดกลางทุ่งหญ้า’ (风起于青萍之末,止于草莽之间) ฟังดูไพเราะ แต่มันแปลว่าอะไร?ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงที่มาว่า สำนวนนี้ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์โบราณสมัยจ้านกั๋วชื่อว่า ‘เฟิงฟู่’ (风赋 / บทประพันธ์แห่งสายลม)ของกวีนามว่าซ่งอวี้ (宋玉 ประมาณปี 290 – 222 ก่อนคริสตกาล) จากแคว้นฉู่ ซึ่งเป็นหนึ่งในแปดบทประพันธ์ชนิด ‘ฟู่’ ของจีนที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด โดย ‘ฟู่’ เป็นวรรณกรรมร้อยแก้วที่มีภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆเฟิงฟู่ ใช้สายลมเป็นตัวดำเนินเรื่อง กล่าวถึงอ๋องฉู่เซียงไปชมวิวบนหอสูง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) รู้สึกชื่นมื่นกับลมเย็นสบายและคิดว่านี่เป็นความเย็นสบายที่ชาวบ้านสามารถร่วมสัมผัสได้เหมือนกัน ไม่แบ่งแยกชนชั้นหรือความร่ำรวยแต่ซ่งอวี้ที่ติดตามไปด้วยกลับบอกว่า ลมที่อ๋องฉู่เซียงสัมผัส ย่อมไม่เหมือนกับลมที่ชาวประชาสัมผัส นั่นเป็นเพราะว่า แม้ลมเป็นอากาศที่ไหลเวียนไปได้หลายพื้นที่ แต่เพราะภูมิประเทศและสิ่งปลูกสร้างที่แตกต่าง แรงลมที่สัมผัสได้ในแต่ละพื้นที่ย่อมแตกต่างกันซ่งอวี้บอกว่า ลมที่อ๋องฉู่เซียงสัมผัส สร้างตัวจากคลื่นอากาศแผ่วเบาเหนือจอกแหน ค่อยๆ ขยายไปยังหุบเขา ก่อเกิดเป็นลมแรงพัดผ่านภูเขา โถมกระหน่ำเข้าใส่หินผาและป่าไม้ จนผ่านพ้นถึงทุ่งหญ้าแล้วจึงสงบลงกลายเป็นสายลมที่สร้างความเย็นใจ และสำนวน ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน สิ้นสุดกลางทุ่งหญ้า’ นี้จึงเป็นการนำข้อความท่อนนี้มากลั่นย่อลงเป็นสำนวนสั้นๆ ซ่งอวี้ยังบอกต่ออีกว่า ลมที่ชาวบ้านทั่วไปสัมผัสนั้นเกิดจากตรอกเล็กซอกซอย เมื่อก่อตัวแรงขึ้นก็พัดพาเอาฝุ่นทรายและของสกปรกคลุ้งกระจายเข้าสู่บ้านเรือน ลมนั้นเมื่อชาวบ้านได้สัมผัสย่อมไม่ทำให้รู้สึกสบายตัวและอาจทำให้ล้มป่วยลงได้บทประพันธ์เฟิงฟู่นี้ไพเราะสวยงามด้วยคำบรรยายถึงลักษณะของสายลมภายใต้สภาวะต่างๆ และแฝงไว้ซึ่งข้อคิดเตือนสติ เฟิงฟู่ใช้สายลมเป็นตัวเปรียบเทียบระหว่างความเกรียงไกรของกษัตริย์และความแร้นแค้นของชาวบ้านธรรมดา สะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างทางสังคมและความไม่เท่าเทียมกัน เพื่อเป็นการเตือนใจต่ออ๋องฉู่เซียงว่าอย่าได้นิ่งนอนใจกับความสบายที่ได้รับเพราะในขณะเดียวกันยังมีชาวบ้านที่ลำบากอยู่ต่อมาสำนวน ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน’ ถูกใช้เป็นการอุปมาอุปไมยว่า คลื่นอากาศแผ่วเบาเหนือจอกแหนสามารถก่อตัวขึ้นเป็นคลื่นลมแรงที่กวาดไปทั่วพื้นที่อันกว้างใหญ่ ก่อเกิดผลกระทบได้มากมาย และแน่นอนว่าสำนวนนี้ไม่ได้แปลว่า ถ้าผู้มีอำนาจล้มแล้วคนที่อยู่เบื้องล่างจะซวยได้อย่างที่แม่ทัพเย่ในซีรีส์ต้องการหมายถึง และ Storyฯ คิดว่าความหมายก็เปรียบไม่ได้กับ ‘ช้างสารชนกันหญ้าแพรกก็แหลกลาญ’ เพราะจริงๆ แล้วความหมายของสำนวนนี้พูดสั้นๆ ก็คือ Butterfly Effect --- สิ่งเล็กๆ ที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์หรือการเปลี่ยนแปลงตามมาได้มากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://m.mp.oeeee.com/a/BAAFRD000020240519954909.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/风起于青萍之末/5876137 https://www.sohu.com/a/395149302_120482984 https://baike.baidu.com/item/风赋/2482215 https://zhsc.org/work/work-58b83fd9570c350062072623.htm #หาญท้าชะตาฟ้า #บทประพันธ์จีน #ButterflyEffect #เฟิงฟู่
    0 Comments 0 Shares 965 Views 0 Reviews
  • 8/10/67

    หิวยิ่งสุขภาพแข็งแรง

    สำนวนจีนโบราณว่าไว้...กองทัพต้องเดินด้วยท้อง ถ้าปล่อยให้เหล่าทหารหิวโหย จะเอาเรี่ยวแรงที่ไหนมาสู้รบ ความคิดนี้ถือว่าเก่าไปแล้ว เพราะมีการค้นพบใหม่ว่า "ความหิว" ส่งผลดีต่อร่างกายมนุษย์ แค่ปล่อยให้ท้องหิวมากกว่าอิ่ม สุขภาพก็จะแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ

    เมื่อรู้สึกหิว ยีนบางตัวจะเริ่มเคลื่อนไหว!!"โยะชิโนะริ นะงุโมะ" ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทรวงอกของญี่ปุ่น ค้นพบความลับนี้จากประสบการณ์ส่วนตัว ถามว่าทำไมการไม่กินอาหารตลอดเวลา และปล่อยให้ท้องร้องจ๊อกๆถึงดีต่อสุขภาพ คำตอบอยู่ที่ "ยืนช่วยให้รอดชีวิต"การกระตุ้น "ยืนช่วยให้รอดชีวิต" ฟื้นคืนชีพ จะช่วยให้มนุษย์เรามีอายุยืนและมีสุขภาพดี ซึ่ง

    "ยืนช่วยให้รอดชีวิต" จะปรากฏขึ้นเฉพาะตอนอดอยากเท่านั้น ยิ่งเราหิวเท่าไหร่ ความสามารถในการอยู่รอดก็จะยิ่งทำงานและทำให้เรากลับเป็นหนุ่มสาวได้อีกครั้งในทางกลับกัน ถ้าไม่ได้เผชิญกับภาวะอดอยาก หรือความเหน็บหนาว "ยีนช่วยให้รอดชีวิต" ก็จะไม่ทำงาน ยิ่งไปกว่านั้นการกินอย่างอิ่มหนำสำราญตลอดเวลาของมนุษย์ยุคนี้กลับทำให้ร่างกายแก่ชรา อัตราการเกิดลดลง และภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง ย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ตลอด 170,000 ปีที่ผ่านมา จะพบว่ามนุษย์เพิงเริมได้กินอิ่มครบ 3 มื้อ เมื่อไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา

    ซึ่งอย่างมากก็ไม่น่าจะถึง 100 ปี ประเทศญี่ปุ่นเองก็เพิ่งจะเริ่มกินอาหารวันละ 3 มื้อ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อันที่จริงมนุษย์เราเริ่ม กินอาหารตามเวลา มื้อเช้า มื้อกลางวัน และมื้อเย็นก็หลังเกิดวัฒนธรรมการปลูกข้าวในจีนเมื่อ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนหน้านั้นเป็นยุคของวัฒนธรรมการล่าสัตว์ ถ้าล่าสัตว์ไม่ได้ก็จะไม่มีอาหารกินไปหลายวัน

    ร่างกายของคนยุคปัจจุบันไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความอิ่มได้ เนื่องจากบรรพบุรุษของพวกเราได้รับยืนที่ช่วยให้รอดชีวิตจากการเผชิญกับสภาพแวดล้อมอันโหดร้าย ต้องทนกับความอดอยากและเหน็บหนาว ทำให้มนุษย์เรามีโครงสร้างร่างกายที่สามารถปรับตัวเข้ากับความอดอยากและความเหน็บหนาวได้ แต่ไม่เหมาะกับความอิ่มเลย!!

    "โรคเบาหวาน" ถือเป็นหนึ่งในปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายเพื่อปรับตัวให้รอดชีวิตในยุคสมัยนี้ ยุคของการกินอย่างอิ่มหนำสำราญ ซึ่งขัดกับธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ความลับของการปล่อยให้ท้องร้องจ๊อกๆ และการกินอาหารวันละมื้อ ปฏิกิริยาตอบสนองแรกสุดเมื่อเริ่มกินอาหารวันละมื้อคือ อาการรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน ตรงปากทางเข้าของลำไส้เล็กในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดจะมีเซ็นเซอร์เตรียมรอรับของกินอยู่

    ถ้าไม่มีอาหารไหลลงมา ลำไส้เล็กจะรีบหลั่งฮอร์โมนโมติลินสำหรับย่อยอาหาร ซึ่งทำให้กระเพาะอาหาร บีบตัว เพื่อส่งของกินที่ตกค้างอยู่ในกระเพาะอาหารเข้าไปในลำไส้เล็ก เป็นการบีบตัวเมื่อหิวและทำให้เกิดอาการท้องร้องจ๊อกๆ

    ถ้าเราปล่อยให้ท้องร้องจ๊อกๆอยู่อย่างนั้น โดยไม่กินอะไรเลย กระเพาะอาหารจะหลั่งฮอร์โมนเกรลินออกมา ซึ่งจะออกฤทธิ์ที่สมองทำให้เกิดความอยากอาหาร ขณะเดียวกันก็จะออกฤทธิ์ที่ต่อมใต้สมอง ทำให้หลั่งโกรทฮอร์โมนออกมา ซึ่งก็คือฮอร์โมนที่ทำให้กลับเป็นหนุ่มสาว นี่เองคือความลับของการปล่อยให้ท้องร้อง จ๊อกๆเพราะความหิว


    ถึงท้องจะร้องดังแค่ไหนก็อย่าเพิ่งรีบกินอาหาร ปล่อยตัวเองให้เพลิดเพลินกับโกรทฮอร์โมนสักครู่ เพื่อทำให้เรากลับไปเป็นหนุ่มสาว ตอนที่ท้องกำลังร้องจ๊อกๆนี่ล่ะ ความสามารถในการอยู่รอดจะพุ่งพล่านขึ้นมา บ่งบอกว่าได้เวลาทำงานของ "ยืนต่ออายุขัย" (ยืนเซอร์ทูอิน) ที่ขึ้นชื่อว่าจะทำให้อายุยืน จากการทดลองกับสัตว์ทุกชนิดพบว่า เมื่อลดปริมาณอาหารลง 40% จะทำให้อายุยืนขึ้น 1.5 เท่าตัว

    การกินอาหารทั้งที่ยังไม่หิวจึงหมายถึงการมีของดีอยู่กับตัว แต่ไม่ใช้ให้เป็นประโยชน์ ลองมาทำให้ท้องร้องจ๊อกๆด้วยการกินอาหารวันละมื้อ โดยเลือกตามไลฟ์สไตล์ที่เหมาะสม แล้ว ยืนต่ออายุขัยจะช่วยสแกนยืนในร่างกายอย่างรวดเร็ว พร้อมกับค่อยๆฟื้นฟูส่วนที่เสียหายความแก่ชราและโรคมะเร็งล้วนเกิดจากความผิดปกติของยืน เราสามารถกลับไปเป็นหนุ่มนุ่มสาวได้และป้องกันตัวเองจากโรคมะเร็ง ด้วยการกินอาหารวันละมื้อ

    cr:www.thairath.co.th

    8/10/67 หิวยิ่งสุขภาพแข็งแรง สำนวนจีนโบราณว่าไว้...กองทัพต้องเดินด้วยท้อง ถ้าปล่อยให้เหล่าทหารหิวโหย จะเอาเรี่ยวแรงที่ไหนมาสู้รบ ความคิดนี้ถือว่าเก่าไปแล้ว เพราะมีการค้นพบใหม่ว่า "ความหิว" ส่งผลดีต่อร่างกายมนุษย์ แค่ปล่อยให้ท้องหิวมากกว่าอิ่ม สุขภาพก็จะแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ เมื่อรู้สึกหิว ยีนบางตัวจะเริ่มเคลื่อนไหว!!"โยะชิโนะริ นะงุโมะ" ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทรวงอกของญี่ปุ่น ค้นพบความลับนี้จากประสบการณ์ส่วนตัว ถามว่าทำไมการไม่กินอาหารตลอดเวลา และปล่อยให้ท้องร้องจ๊อกๆถึงดีต่อสุขภาพ คำตอบอยู่ที่ "ยืนช่วยให้รอดชีวิต"การกระตุ้น "ยืนช่วยให้รอดชีวิต" ฟื้นคืนชีพ จะช่วยให้มนุษย์เรามีอายุยืนและมีสุขภาพดี ซึ่ง "ยืนช่วยให้รอดชีวิต" จะปรากฏขึ้นเฉพาะตอนอดอยากเท่านั้น ยิ่งเราหิวเท่าไหร่ ความสามารถในการอยู่รอดก็จะยิ่งทำงานและทำให้เรากลับเป็นหนุ่มสาวได้อีกครั้งในทางกลับกัน ถ้าไม่ได้เผชิญกับภาวะอดอยาก หรือความเหน็บหนาว "ยีนช่วยให้รอดชีวิต" ก็จะไม่ทำงาน ยิ่งไปกว่านั้นการกินอย่างอิ่มหนำสำราญตลอดเวลาของมนุษย์ยุคนี้กลับทำให้ร่างกายแก่ชรา อัตราการเกิดลดลง และภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง ย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ตลอด 170,000 ปีที่ผ่านมา จะพบว่ามนุษย์เพิงเริมได้กินอิ่มครบ 3 มื้อ เมื่อไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งอย่างมากก็ไม่น่าจะถึง 100 ปี ประเทศญี่ปุ่นเองก็เพิ่งจะเริ่มกินอาหารวันละ 3 มื้อ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อันที่จริงมนุษย์เราเริ่ม กินอาหารตามเวลา มื้อเช้า มื้อกลางวัน และมื้อเย็นก็หลังเกิดวัฒนธรรมการปลูกข้าวในจีนเมื่อ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนหน้านั้นเป็นยุคของวัฒนธรรมการล่าสัตว์ ถ้าล่าสัตว์ไม่ได้ก็จะไม่มีอาหารกินไปหลายวัน ร่างกายของคนยุคปัจจุบันไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความอิ่มได้ เนื่องจากบรรพบุรุษของพวกเราได้รับยืนที่ช่วยให้รอดชีวิตจากการเผชิญกับสภาพแวดล้อมอันโหดร้าย ต้องทนกับความอดอยากและเหน็บหนาว ทำให้มนุษย์เรามีโครงสร้างร่างกายที่สามารถปรับตัวเข้ากับความอดอยากและความเหน็บหนาวได้ แต่ไม่เหมาะกับความอิ่มเลย!! "โรคเบาหวาน" ถือเป็นหนึ่งในปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายเพื่อปรับตัวให้รอดชีวิตในยุคสมัยนี้ ยุคของการกินอย่างอิ่มหนำสำราญ ซึ่งขัดกับธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ความลับของการปล่อยให้ท้องร้องจ๊อกๆ และการกินอาหารวันละมื้อ ปฏิกิริยาตอบสนองแรกสุดเมื่อเริ่มกินอาหารวันละมื้อคือ อาการรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน ตรงปากทางเข้าของลำไส้เล็กในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดจะมีเซ็นเซอร์เตรียมรอรับของกินอยู่ ถ้าไม่มีอาหารไหลลงมา ลำไส้เล็กจะรีบหลั่งฮอร์โมนโมติลินสำหรับย่อยอาหาร ซึ่งทำให้กระเพาะอาหาร บีบตัว เพื่อส่งของกินที่ตกค้างอยู่ในกระเพาะอาหารเข้าไปในลำไส้เล็ก เป็นการบีบตัวเมื่อหิวและทำให้เกิดอาการท้องร้องจ๊อกๆ ถ้าเราปล่อยให้ท้องร้องจ๊อกๆอยู่อย่างนั้น โดยไม่กินอะไรเลย กระเพาะอาหารจะหลั่งฮอร์โมนเกรลินออกมา ซึ่งจะออกฤทธิ์ที่สมองทำให้เกิดความอยากอาหาร ขณะเดียวกันก็จะออกฤทธิ์ที่ต่อมใต้สมอง ทำให้หลั่งโกรทฮอร์โมนออกมา ซึ่งก็คือฮอร์โมนที่ทำให้กลับเป็นหนุ่มสาว นี่เองคือความลับของการปล่อยให้ท้องร้อง จ๊อกๆเพราะความหิว ถึงท้องจะร้องดังแค่ไหนก็อย่าเพิ่งรีบกินอาหาร ปล่อยตัวเองให้เพลิดเพลินกับโกรทฮอร์โมนสักครู่ เพื่อทำให้เรากลับไปเป็นหนุ่มสาว ตอนที่ท้องกำลังร้องจ๊อกๆนี่ล่ะ ความสามารถในการอยู่รอดจะพุ่งพล่านขึ้นมา บ่งบอกว่าได้เวลาทำงานของ "ยืนต่ออายุขัย" (ยืนเซอร์ทูอิน) ที่ขึ้นชื่อว่าจะทำให้อายุยืน จากการทดลองกับสัตว์ทุกชนิดพบว่า เมื่อลดปริมาณอาหารลง 40% จะทำให้อายุยืนขึ้น 1.5 เท่าตัว การกินอาหารทั้งที่ยังไม่หิวจึงหมายถึงการมีของดีอยู่กับตัว แต่ไม่ใช้ให้เป็นประโยชน์ ลองมาทำให้ท้องร้องจ๊อกๆด้วยการกินอาหารวันละมื้อ โดยเลือกตามไลฟ์สไตล์ที่เหมาะสม แล้ว ยืนต่ออายุขัยจะช่วยสแกนยืนในร่างกายอย่างรวดเร็ว พร้อมกับค่อยๆฟื้นฟูส่วนที่เสียหายความแก่ชราและโรคมะเร็งล้วนเกิดจากความผิดปกติของยืน เราสามารถกลับไปเป็นหนุ่มนุ่มสาวได้และป้องกันตัวเองจากโรคมะเร็ง ด้วยการกินอาหารวันละมื้อ cr:www.thairath.co.th
    0 Comments 0 Shares 719 Views 0 Reviews