• ขออภัยที่หายไปหนึ่งอาทิตย์ค่ะ วันนี้ Storyฯ เห็นว่าเรากำลังอยู่ในบรรยากาศการเลือกคนดีคนเก่งมาบริหารบ้านเมือง เลยลองมาคุยกันเรื่องปรัชญาจีนโบราณ (แม้ว่า Storyฯ จะไม่สันทัดเรื่องปรัชญาก็ตาม)

    เพื่อนเพจที่เคยอ่านนิยายของกิมย้งหรือดูหนังเรื่อง <กระบี่เย้ยยุทธจักร> ต้องคุ้นหูกับคำว่า ‘วิญญูชนจอมปลอม’ ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า ‘เหว่ยจวินจื่อ’ (伪君子) โดยคำว่า ‘จวินจื่อ’ นี้ปัจจุบันมักใช้คำแปลว่า ‘สุภาพชน’ (gentleman)

    แน่นอนว่าคำว่า ‘วิญญูชน’ และ ‘สุภาพชน’ มีนัยแตกต่าง คำถามที่ตามมาก็คือ: ‘จวินจื่อ’ (君子) คืออะไร? นี่เป็นคำถามในข้อสอบยอดฮิตในสมัยจีนโบราณ

    Storyฯ ขอยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีฉากที่นางเอกต้องร่วมสอบและได้ต่อว่าคนที่กลั่นแกล้งนางและดูถูกพ่อของนางไว้ว่า “วิญญูชนไม่คิดอกุศล ข้าเดินได้อย่างผึ่งผาย นั่งได้อย่างหลังตรง มิเคยต้องกังวลลมปากของผู้ใด... วิญญูชนไม่แบ่งแยกสูงต่ำด้วยชาติกำเนิด” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ประโยคที่ว่า ‘วิญญูชนไม่คิดอกุศล’ หรือ ‘จวินจื่อซืออู๋เสีย’ (君子思无邪) นี้ เป็นการรวมสองปรัชญาจากคัมภีร์หลุนอวี่ (论语) เข้ามาด้วยกันในประโยคเดียว

    ปรัชญาแรกว่าด้วยเรื่องของ ‘จวินจื่อ’ ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก ‘จวิน’ ที่หมายถึงผู้เป็นประมุขหรือผู้มียศศักดิ์ และ ‘จื่อ’ ที่แปลว่าบุตรชาย ดังนั้นความหมายดั้งเดิมคือหมายถึง ‘Nobleman’ หรืออาจแปลเป็นไทยได้ว่าราชนิกุลหรือลูกหลานชนชั้นศักดินา ต่อมาหมายถึงผู้ที่มีศีลธรรมและคุณสมบัติสูงส่งอันเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้ (‘A man of noble character’) เป็นส่วนประกอบสำคัญของปรัชญาขงจื๊อในการสร้างมาตรฐานสังคม โดยขงจื๊อมักใช้การเปรียบเทียบระหว่าง ‘จวินจื่อ’ กับ ‘เสี่ยวเหริน’ (小人 / ทุรชน) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ‘จวินจื่อ’ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร Storyฯ สรุปมาไม่ได้หมด เลยยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพดังนี้:

    – จวินจื่อคำนึงถึงความเที่ยงธรรม (义) แต่เสี่ยวเหรินคำนึงถึงผลประโยชน์
    – จวินจื่ออยู่ร่วมได้ด้วยความต่าง แต่เสี่ยวเหรินแม้ไม่ต่างแต่ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ --- ประเด็นนี้ Storyฯ อาจแปลได้ไม่ดี ขอขยายความว่า จวินจื่อเมื่อเรียนรู้และตระหนักถึงสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าอาจมีแก่นความคิดที่แตกต่างกันไป แต่เพราะมีความเข้าใจในเนื้อแท้ของคนและเคารพยอมรับซึ่งกันและกันได้ ก็สามารถส่งเสริมเกื้อกูลหล่อหลอมเข้าด้วยกันได้ แต่ในทางกลับกัน เสี่ยวเหรินมีความเสแสร้งพยายามให้ดูกลมกลืน แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง สุดท้ายแม้อยู่ร่วมกันแต่ไม่สามารถหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันได้
    – จวินจื่อเปิดเผยผึ่งผาย จึงไม่ต้องกังวลถึงความเห็นคนอื่น แต่เสี่ยวเหรินทำอะไรก็พะวงหน้าพะวงหลังกลัวคนมากลั่นแกล้ง
    – จวินจื่อพึ่งพาตนเอง แต่เสี่ยวเหรินพึ่งพาผู้อื่น
    – จวินจื่อส่งเสริมผู้อื่นในเรื่องที่ดีและไม่สนับสนุนในเรื่องที่ไม่ดี แต่เสี่ยวเหรินขัดผู้อื่นในเรื่องที่ดีและส่งเสริมในเรื่องที่ไม่ดี
    – จวินจื่อเปรียบเสมือนลม เสี่ยวเหรินเป็นเหมือนหญ้าที่ต้องเอนไหวศิโรราบให้เมื่อลมพัดผ่าน เป็นการอุปมาอุปไมยว่าคุณธรรมของจวินจื่อ สามารถเอาชนะความไม่ดีของเสี่ยวเหรินได้

    ปรัชญาที่สอง ‘ไม่คิดอกุศล’ (ซืออู๋เสีย/思无邪) โดยปรัชญานี้ขงจื๊อเคยใช้ในสองบริบท บริบทแรกในการวิจารณ์งานประพันธ์โดยหมายถึงว่า สิ่งที่นักประพันธ์สื่อผ่านตัวอักษรออกมานั้น ควรบ่งบอกจิตวิญญาณและความคิดที่แท้จริง พูดง่ายๆ คือซื่อตรงต่อตัวเอง ส่วนอีกบริบทหนึ่งนั้นคือเป็นการกล่าวถึงคุณสมบัติของคน โดยหมายถึงว่า อันความคิดที่ดี ย่อมไม่กลัวที่จะเปิดเผยให้ผู้ใดรับรู้

    คำว่า ‘จวินจื่อ’ ปรากฏอยู่บนงานประพันธ์และสำนวนจีนมากมาย และปรัชญาของขงจื๊อถูกศึกษามาหลายพันปีโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงวิชาจำนวนนับไม่ถ้วน Storyฯ ไม่หาญกล้ามาเสวนามากมายในปรัชญาเหล่านี้ เพียงแต่เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามา คำว่า ‘จวินจื่อ’ หรือ ‘วิญญูชน’ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในสังคมทุกวันนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นวิญญูชน และใครเป็นวิญญูชนจอมปลอม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/467496758_120871225
    https://www.sohu.com/a/433221328_99929216
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/思无邪/5080
    https://guoxue.ifeng.com/c/7jUG4KBpiZC
    https://baike.baidu.com/item/君子/1389

    #ดุจฝันบันดาลใจ #จวินจื่อ #วิญญูชน #ขงจื๊อ
    ขออภัยที่หายไปหนึ่งอาทิตย์ค่ะ วันนี้ Storyฯ เห็นว่าเรากำลังอยู่ในบรรยากาศการเลือกคนดีคนเก่งมาบริหารบ้านเมือง เลยลองมาคุยกันเรื่องปรัชญาจีนโบราณ (แม้ว่า Storyฯ จะไม่สันทัดเรื่องปรัชญาก็ตาม) เพื่อนเพจที่เคยอ่านนิยายของกิมย้งหรือดูหนังเรื่อง <กระบี่เย้ยยุทธจักร> ต้องคุ้นหูกับคำว่า ‘วิญญูชนจอมปลอม’ ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า ‘เหว่ยจวินจื่อ’ (伪君子) โดยคำว่า ‘จวินจื่อ’ นี้ปัจจุบันมักใช้คำแปลว่า ‘สุภาพชน’ (gentleman) แน่นอนว่าคำว่า ‘วิญญูชน’ และ ‘สุภาพชน’ มีนัยแตกต่าง คำถามที่ตามมาก็คือ: ‘จวินจื่อ’ (君子) คืออะไร? นี่เป็นคำถามในข้อสอบยอดฮิตในสมัยจีนโบราณ Storyฯ ขอยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีฉากที่นางเอกต้องร่วมสอบและได้ต่อว่าคนที่กลั่นแกล้งนางและดูถูกพ่อของนางไว้ว่า “วิญญูชนไม่คิดอกุศล ข้าเดินได้อย่างผึ่งผาย นั่งได้อย่างหลังตรง มิเคยต้องกังวลลมปากของผู้ใด... วิญญูชนไม่แบ่งแยกสูงต่ำด้วยชาติกำเนิด” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ประโยคที่ว่า ‘วิญญูชนไม่คิดอกุศล’ หรือ ‘จวินจื่อซืออู๋เสีย’ (君子思无邪) นี้ เป็นการรวมสองปรัชญาจากคัมภีร์หลุนอวี่ (论语) เข้ามาด้วยกันในประโยคเดียว ปรัชญาแรกว่าด้วยเรื่องของ ‘จวินจื่อ’ ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก ‘จวิน’ ที่หมายถึงผู้เป็นประมุขหรือผู้มียศศักดิ์ และ ‘จื่อ’ ที่แปลว่าบุตรชาย ดังนั้นความหมายดั้งเดิมคือหมายถึง ‘Nobleman’ หรืออาจแปลเป็นไทยได้ว่าราชนิกุลหรือลูกหลานชนชั้นศักดินา ต่อมาหมายถึงผู้ที่มีศีลธรรมและคุณสมบัติสูงส่งอันเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้ (‘A man of noble character’) เป็นส่วนประกอบสำคัญของปรัชญาขงจื๊อในการสร้างมาตรฐานสังคม โดยขงจื๊อมักใช้การเปรียบเทียบระหว่าง ‘จวินจื่อ’ กับ ‘เสี่ยวเหริน’ (小人 / ทุรชน) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ‘จวินจื่อ’ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร Storyฯ สรุปมาไม่ได้หมด เลยยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพดังนี้: – จวินจื่อคำนึงถึงความเที่ยงธรรม (义) แต่เสี่ยวเหรินคำนึงถึงผลประโยชน์ – จวินจื่ออยู่ร่วมได้ด้วยความต่าง แต่เสี่ยวเหรินแม้ไม่ต่างแต่ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ --- ประเด็นนี้ Storyฯ อาจแปลได้ไม่ดี ขอขยายความว่า จวินจื่อเมื่อเรียนรู้และตระหนักถึงสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าอาจมีแก่นความคิดที่แตกต่างกันไป แต่เพราะมีความเข้าใจในเนื้อแท้ของคนและเคารพยอมรับซึ่งกันและกันได้ ก็สามารถส่งเสริมเกื้อกูลหล่อหลอมเข้าด้วยกันได้ แต่ในทางกลับกัน เสี่ยวเหรินมีความเสแสร้งพยายามให้ดูกลมกลืน แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง สุดท้ายแม้อยู่ร่วมกันแต่ไม่สามารถหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ – จวินจื่อเปิดเผยผึ่งผาย จึงไม่ต้องกังวลถึงความเห็นคนอื่น แต่เสี่ยวเหรินทำอะไรก็พะวงหน้าพะวงหลังกลัวคนมากลั่นแกล้ง – จวินจื่อพึ่งพาตนเอง แต่เสี่ยวเหรินพึ่งพาผู้อื่น – จวินจื่อส่งเสริมผู้อื่นในเรื่องที่ดีและไม่สนับสนุนในเรื่องที่ไม่ดี แต่เสี่ยวเหรินขัดผู้อื่นในเรื่องที่ดีและส่งเสริมในเรื่องที่ไม่ดี – จวินจื่อเปรียบเสมือนลม เสี่ยวเหรินเป็นเหมือนหญ้าที่ต้องเอนไหวศิโรราบให้เมื่อลมพัดผ่าน เป็นการอุปมาอุปไมยว่าคุณธรรมของจวินจื่อ สามารถเอาชนะความไม่ดีของเสี่ยวเหรินได้ ปรัชญาที่สอง ‘ไม่คิดอกุศล’ (ซืออู๋เสีย/思无邪) โดยปรัชญานี้ขงจื๊อเคยใช้ในสองบริบท บริบทแรกในการวิจารณ์งานประพันธ์โดยหมายถึงว่า สิ่งที่นักประพันธ์สื่อผ่านตัวอักษรออกมานั้น ควรบ่งบอกจิตวิญญาณและความคิดที่แท้จริง พูดง่ายๆ คือซื่อตรงต่อตัวเอง ส่วนอีกบริบทหนึ่งนั้นคือเป็นการกล่าวถึงคุณสมบัติของคน โดยหมายถึงว่า อันความคิดที่ดี ย่อมไม่กลัวที่จะเปิดเผยให้ผู้ใดรับรู้ คำว่า ‘จวินจื่อ’ ปรากฏอยู่บนงานประพันธ์และสำนวนจีนมากมาย และปรัชญาของขงจื๊อถูกศึกษามาหลายพันปีโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงวิชาจำนวนนับไม่ถ้วน Storyฯ ไม่หาญกล้ามาเสวนามากมายในปรัชญาเหล่านี้ เพียงแต่เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามา คำว่า ‘จวินจื่อ’ หรือ ‘วิญญูชน’ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในสังคมทุกวันนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นวิญญูชน และใครเป็นวิญญูชนจอมปลอม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/467496758_120871225 https://www.sohu.com/a/433221328_99929216 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/思无邪/5080 https://guoxue.ifeng.com/c/7jUG4KBpiZC https://baike.baidu.com/item/君子/1389 #ดุจฝันบันดาลใจ #จวินจื่อ #วิญญูชน #ขงจื๊อ
    WWW.SOHU.COM
    《雁归西窗月》是根据小说改编的吗 《雁归西窗月》结局是什么_赵孝
    《雁归西窗月》讲述了霸道郡王赵孝谦与率真少女谢小满的乌龙甜怼恋,两人从开始的欢喜冤家到逐渐相知相守,携手历经坎坷,冲破重重阻碍,最终收获了一段浪漫的爱情故事。 这部剧是先婚后爱的戏码,女主谢小满…
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 137 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติเพราะ Storyฯ จะไปเที่ยววีคเอนด์นี้ เลยรีบมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากละครจีนโบราณเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีเรื่องราวให้พูดคุยเกี่ยวกับวัฒนธรรมไม่น้อย มีตอนหนึ่งที่หนึ่งในตัวละครสมทบคือซูวุ่ยถูกกักบริเวณโดยแม่ของนาง และจะสามารถก้าวเท้าออกจากบ้านได้ก็ต่อเมื่อนางเรียนงานปัก ‘เปี้ยนซิ่ว’ ได้สำเร็จ สร้างความหนักใจให้แก่นางนัก เป็นการบอกเล่าให้พวกเราทราบได้ว่า งานปักชนิดนี้ยากนักหนา

    ‘เปี้ยนซิ่ว’ (汴绣)คืออะไร? มันคือสไตล์การปักที่มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ มีชื่อมาจากเมืองหลวงเปี้ยนจิง (หรือที่เราคุ้นหูว่าตงจิง) บ้างเรียกว่า ‘ซ่งซิ่ว’ (宋绣) บ้างจำแนกละเอียดกว่านั้นว่า เปี้ยนซิ่วเป็นงานชาววังในขณะที่ซ่งซิ่วเป็นงานของชาวบ้านทั่วไป

    Storyฯ ลองไปหาข้อมูลดูเลยพบเจอคลิปวีดีโอนี้ https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk เลยอยากให้เพื่อนๆ ได้ลองดูกัน อาจจะยาวสักนิด แต่จะเห็นภาพได้ดีถึงขั้นตอนการทำต่างๆ ตั้งแต่เลือกผ้าจนปลดออกจากสะดึง และที่สำคัญมีการซูมให้ดูถึงรายละเอียดของงานปักที่ทำเอา Storyฯ รู้สึกทึ่งไม่น้อย

    งานปักจีนโบราณพัฒนาขึ้นมากในสมัยถังแต่ในสมัยนั้นยังมีเทคนิคการปักไม่กี่แบบ และเมื่อมาถึงสมัยซ่งก็ได้รับการพัฒนายิ่งขึ้นไปอีกเป็นกว่ายี่สิบเทคนิค จากบันทึกโบราณพบว่างานปักเปี้ยนซิ่วโดยหลักเกิดขึ้นจากในวัง เรียกได้ว่าเป็นงานปักชาววัง รับผิดชอบงานฉลองพระองค์และของใช้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในวัง ความนิยมและเทคนิคการปักได้รับความสำคัญจนถึงกับมีการก่อตั้งวิทยาลัยเฉพาะทาง (เหวินซิ่วย่วน / 文绣院) ขึ้นเมื่อปี 1005 มีช่างปักกว่าสามร้อยคน

    เปี้ยนซิ่วถูกหลงลืมไปตามกาลเวลาจนแทบจะสูญหาย มีไม่กี่คนที่ยังสืบทอดมาภายหลังจากสิ้นราชวงศ์ งานเปี้ยนซิ่วรับการฟื้นฟูเมื่อมีผู้ที่สืบทอดเอาผลงานเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองครบสิบปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปีค.ศ. 1959 โดยผลงานที่สร้างชื่อเสียงชิ้นนี้ก็คืองานปัก <ชิงหมิงซ่างเหอถู> เป็นผลงานที่ได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมากจากประธานเหมา และปัจจุบันถูกจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม (ดูได้จากรูป 1 และรูป 2 บน และจากคลิปวีดีโอที่เป็นการสาธิตการปัก) ต่อมาเปี้ยนซิ่วถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในห้าของสไตล์การปักที่โด่งดังที่สุดของจีน จัดเป็นศิลปะแห่งชาติแขนงหนึ่ง มีการสืบทอดอย่างเป็นทางการ

    เอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วคืออะไร?

    เปี้ยนซิ่วขึ้นชื่อว่าเป็นงานละเอียด ใช้เส้นด้ายเพียงหนึ่งหรือสองเส้นเท่านั้น (หมายเหตุ หากสังเกตดีๆ ไหมปักที่เราใช้ทั่วไปปัจจุบันนี้เป็นเกลียวที่ประกอบขึ้นจากด้ายปักหลายเส้น) นำมาปักจนทึบโดยไม่เห็นรอยช่องไฟใดๆ ริมขอบลายปักเลย และอาศัยเทคนิคการปักต่างๆ ไม่ว่าจะความหนานูน ทิศทางของฝีเข็มที่แตกต่าง หรือการคัดสีไหม เพื่อสร้างมิติให้แก่ภาพปัก เพราะเอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วนี้คือการนำงานศิลปะภาพวาดพู่กันจีนมาถ่ายทอดลงบนผืนผ้า ไม่ว่าจะเป็นลายภูผาวารี นก ดอกไม้ คนและสัตว์ รวมถึงบทกวีโคลงกลอนด้วย (ดูตัวอย่างได้ในรูป 2) เรียกได้ว่า งานปักสมัยซ่งนี้ ไม่เพียงปักสิ่งของใช้สอย แต่เป็นงานศิลปะที่มีไว้ชมอีกด้วย (เช่นภาพติดผนัง ภาพติดฉากกั้น ฯลฯ) นอกจากนี้ ยังมีการปักแบบสองด้าน ไม่แพ้งานปักสไตล์ชื่อดังอื่นๆ ของจีนที่เราอาจเคยผ่านตากันมา

    Storyฯ รู้สึกว่า เขียนอย่างไรก็บรรยายความงามของเปี้ยนซิ่วออกมาไม่ได้เพียงพอ ยังอยากให้เพื่อนเพจเข้าไปดูคลิปวีดิโอตามคลิปข้างบน ชอบไม่ชอบอะไรมาเม้นท์ให้ฟังกันบ้างนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://baike.baidu.com/item/雁归西窗月
    https://www.tvzn.com/15774/role/226234.html
    https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk
    http://m.news.xixik.com/content/55c6bf156997ce9f/
    http://5b0988e595225.cdn.sohucs.com/images/20190514/7e22d3dd9d0244ddada007df51228ee0.jpeg
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.yxhenan.com/info/kf/scyjl_13025_1289.html
    https://kknews.cc/collect/4xyn5m2.html
    https://baike.baidu.com/item/汴绣/1124193
    #ดุจฝันบันดาลใจ #เปี้ยนซิ่ว #ซ่งซิ่ว #งานปักจีนโบราณ #ชิงหมิงซ่างเหอถู
    สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติเพราะ Storyฯ จะไปเที่ยววีคเอนด์นี้ เลยรีบมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากละครจีนโบราณเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีเรื่องราวให้พูดคุยเกี่ยวกับวัฒนธรรมไม่น้อย มีตอนหนึ่งที่หนึ่งในตัวละครสมทบคือซูวุ่ยถูกกักบริเวณโดยแม่ของนาง และจะสามารถก้าวเท้าออกจากบ้านได้ก็ต่อเมื่อนางเรียนงานปัก ‘เปี้ยนซิ่ว’ ได้สำเร็จ สร้างความหนักใจให้แก่นางนัก เป็นการบอกเล่าให้พวกเราทราบได้ว่า งานปักชนิดนี้ยากนักหนา ‘เปี้ยนซิ่ว’ (汴绣)คืออะไร? มันคือสไตล์การปักที่มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ มีชื่อมาจากเมืองหลวงเปี้ยนจิง (หรือที่เราคุ้นหูว่าตงจิง) บ้างเรียกว่า ‘ซ่งซิ่ว’ (宋绣) บ้างจำแนกละเอียดกว่านั้นว่า เปี้ยนซิ่วเป็นงานชาววังในขณะที่ซ่งซิ่วเป็นงานของชาวบ้านทั่วไป Storyฯ ลองไปหาข้อมูลดูเลยพบเจอคลิปวีดีโอนี้ https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk เลยอยากให้เพื่อนๆ ได้ลองดูกัน อาจจะยาวสักนิด แต่จะเห็นภาพได้ดีถึงขั้นตอนการทำต่างๆ ตั้งแต่เลือกผ้าจนปลดออกจากสะดึง และที่สำคัญมีการซูมให้ดูถึงรายละเอียดของงานปักที่ทำเอา Storyฯ รู้สึกทึ่งไม่น้อย งานปักจีนโบราณพัฒนาขึ้นมากในสมัยถังแต่ในสมัยนั้นยังมีเทคนิคการปักไม่กี่แบบ และเมื่อมาถึงสมัยซ่งก็ได้รับการพัฒนายิ่งขึ้นไปอีกเป็นกว่ายี่สิบเทคนิค จากบันทึกโบราณพบว่างานปักเปี้ยนซิ่วโดยหลักเกิดขึ้นจากในวัง เรียกได้ว่าเป็นงานปักชาววัง รับผิดชอบงานฉลองพระองค์และของใช้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในวัง ความนิยมและเทคนิคการปักได้รับความสำคัญจนถึงกับมีการก่อตั้งวิทยาลัยเฉพาะทาง (เหวินซิ่วย่วน / 文绣院) ขึ้นเมื่อปี 1005 มีช่างปักกว่าสามร้อยคน เปี้ยนซิ่วถูกหลงลืมไปตามกาลเวลาจนแทบจะสูญหาย มีไม่กี่คนที่ยังสืบทอดมาภายหลังจากสิ้นราชวงศ์ งานเปี้ยนซิ่วรับการฟื้นฟูเมื่อมีผู้ที่สืบทอดเอาผลงานเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองครบสิบปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปีค.ศ. 1959 โดยผลงานที่สร้างชื่อเสียงชิ้นนี้ก็คืองานปัก <ชิงหมิงซ่างเหอถู> เป็นผลงานที่ได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมากจากประธานเหมา และปัจจุบันถูกจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม (ดูได้จากรูป 1 และรูป 2 บน และจากคลิปวีดีโอที่เป็นการสาธิตการปัก) ต่อมาเปี้ยนซิ่วถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในห้าของสไตล์การปักที่โด่งดังที่สุดของจีน จัดเป็นศิลปะแห่งชาติแขนงหนึ่ง มีการสืบทอดอย่างเป็นทางการ เอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วคืออะไร? เปี้ยนซิ่วขึ้นชื่อว่าเป็นงานละเอียด ใช้เส้นด้ายเพียงหนึ่งหรือสองเส้นเท่านั้น (หมายเหตุ หากสังเกตดีๆ ไหมปักที่เราใช้ทั่วไปปัจจุบันนี้เป็นเกลียวที่ประกอบขึ้นจากด้ายปักหลายเส้น) นำมาปักจนทึบโดยไม่เห็นรอยช่องไฟใดๆ ริมขอบลายปักเลย และอาศัยเทคนิคการปักต่างๆ ไม่ว่าจะความหนานูน ทิศทางของฝีเข็มที่แตกต่าง หรือการคัดสีไหม เพื่อสร้างมิติให้แก่ภาพปัก เพราะเอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วนี้คือการนำงานศิลปะภาพวาดพู่กันจีนมาถ่ายทอดลงบนผืนผ้า ไม่ว่าจะเป็นลายภูผาวารี นก ดอกไม้ คนและสัตว์ รวมถึงบทกวีโคลงกลอนด้วย (ดูตัวอย่างได้ในรูป 2) เรียกได้ว่า งานปักสมัยซ่งนี้ ไม่เพียงปักสิ่งของใช้สอย แต่เป็นงานศิลปะที่มีไว้ชมอีกด้วย (เช่นภาพติดผนัง ภาพติดฉากกั้น ฯลฯ) นอกจากนี้ ยังมีการปักแบบสองด้าน ไม่แพ้งานปักสไตล์ชื่อดังอื่นๆ ของจีนที่เราอาจเคยผ่านตากันมา Storyฯ รู้สึกว่า เขียนอย่างไรก็บรรยายความงามของเปี้ยนซิ่วออกมาไม่ได้เพียงพอ ยังอยากให้เพื่อนเพจเข้าไปดูคลิปวีดิโอตามคลิปข้างบน ชอบไม่ชอบอะไรมาเม้นท์ให้ฟังกันบ้างนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://baike.baidu.com/item/雁归西窗月 https://www.tvzn.com/15774/role/226234.html https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk http://m.news.xixik.com/content/55c6bf156997ce9f/ http://5b0988e595225.cdn.sohucs.com/images/20190514/7e22d3dd9d0244ddada007df51228ee0.jpeg Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.yxhenan.com/info/kf/scyjl_13025_1289.html https://kknews.cc/collect/4xyn5m2.html https://baike.baidu.com/item/汴绣/1124193 #ดุจฝันบันดาลใจ #เปี้ยนซิ่ว #ซ่งซิ่ว #งานปักจีนโบราณ #ชิงหมิงซ่างเหอถู
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 676 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขออภัยที่หายไปหนึ่งอาทิตย์ค่ะ วันนี้ Storyฯ เห็นว่าเรากำลังอยู่ในบรรยากาศการเลือกคนดีคนเก่งมาบริหารบ้านเมือง เลยลองมาคุยกันเรื่องปรัชญาจีนโบราณ (แม้ว่า Storyฯ จะไม่สันทัดเรื่องปรัชญาก็ตาม)

    เพื่อนเพจที่เคยอ่านนิยายของกิมย้งหรือดูหนังเรื่อง <กระบี่เย้ยยุทธจักร> ต้องคุ้นหูกับคำว่า ‘วิญญูชนจอมปลอม’ ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า ‘เหว่ยจวินจื่อ’ (伪君子) โดยคำว่า ‘จวินจื่อ’ นี้ปัจจุบันมักใช้คำแปลว่า ‘สุภาพชน’ (gentleman)

    แน่นอนว่าคำว่า ‘วิญญูชน’ และ ‘สุภาพชน’ มีนัยแตกต่าง คำถามที่ตามมาก็คือ: ‘จวินจื่อ’ (君子) คืออะไร? นี่เป็นคำถามในข้อสอบยอดฮิตในสมัยจีนโบราณ

    Storyฯ ขอยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีฉากที่นางเอกต้องร่วมสอบและได้ต่อว่าคนที่กลั่นแกล้งนางและดูถูกพ่อของนางไว้ว่า “วิญญูชนไม่คิดอกุศล ข้าเดินได้อย่างผึ่งผาย นั่งได้อย่างหลังตรง มิเคยต้องกังวลลมปากของผู้ใด... วิญญูชนไม่แบ่งแยกสูงต่ำด้วยชาติกำเนิด” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ประโยคที่ว่า ‘วิญญูชนไม่คิดอกุศล’ หรือ ‘จวินจื่อซืออู๋เสีย’ (君子思无邪) นี้ เป็นการรวมสองปรัชญาจากคัมภีร์หลุนอวี่ (论语) เข้ามาด้วยกันในประโยคเดียว

    ปรัชญาแรกว่าด้วยเรื่องของ ‘จวินจื่อ’ ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก ‘จวิน’ ที่หมายถึงผู้เป็นประมุขหรือผู้มียศศักดิ์ และ ‘จื่อ’ ที่แปลว่าบุตรชาย ดังนั้นความหมายดั้งเดิมคือหมายถึง ‘Nobleman’ หรืออาจแปลเป็นไทยได้ว่าราชนิกุลหรือลูกหลานชนชั้นศักดินา ต่อมาหมายถึงผู้ที่มีศีลธรรมและคุณสมบัติสูงส่งอันเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้ (‘A man of noble character’) เป็นส่วนประกอบสำคัญของปรัชญาขงจื๊อในการสร้างมาตรฐานสังคม โดยขงจื๊อมักใช้การเปรียบเทียบระหว่าง ‘จวินจื่อ’ กับ ‘เสี่ยวเหริน’ (小人 / ทุรชน) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ‘จวินจื่อ’ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร Storyฯ สรุปมาไม่ได้หมด เลยยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพดังนี้:

    – จวินจื่อคำนึงถึงความเที่ยงธรรม (义) แต่เสี่ยวเหรินคำนึงถึงผลประโยชน์
    – จวินจื่ออยู่ร่วมได้ด้วยความต่าง แต่เสี่ยวเหรินแม้ไม่ต่างแต่ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ --- ประเด็นนี้ Storyฯ อาจแปลได้ไม่ดี ขอขยายความว่า จวินจื่อเมื่อเรียนรู้และตระหนักถึงสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าอาจมีแก่นความคิดที่แตกต่างกันไป แต่เพราะมีความเข้าใจในเนื้อแท้ของคนและเคารพยอมรับซึ่งกันและกันได้ ก็สามารถส่งเสริมเกื้อกูลหล่อหลอมเข้าด้วยกันได้ แต่ในทางกลับกัน เสี่ยวเหรินมีความเสแสร้งพยายามให้ดูกลมกลืน แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง สุดท้ายแม้อยู่ร่วมกันแต่ไม่สามารถหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันได้
    – จวินจื่อเปิดเผยผึ่งผาย จึงไม่ต้องกังวลถึงความเห็นคนอื่น แต่เสี่ยวเหรินทำอะไรก็พะวงหน้าพะวงหลังกลัวคนมากลั่นแกล้ง
    – จวินจื่อพึ่งพาตนเอง แต่เสี่ยวเหรินพึ่งพาผู้อื่น
    – จวินจื่อส่งเสริมผู้อื่นในเรื่องที่ดีและไม่สนับสนุนในเรื่องที่ไม่ดี แต่เสี่ยวเหรินขัดผู้อื่นในเรื่องที่ดีและส่งเสริมในเรื่องที่ไม่ดี
    – จวินจื่อเปรียบเสมือนลม เสี่ยวเหรินเป็นเหมือนหญ้าที่ต้องเอนไหวศิโรราบให้เมื่อลมพัดผ่าน เป็นการอุปมาอุปไมยว่าคุณธรรมของจวินจื่อ สามารถเอาชนะความไม่ดีของเสี่ยวเหรินได้

    ปรัชญาที่สอง ‘ไม่คิดอกุศล’ (ซืออู๋เสีย/思无邪) โดยปรัชญานี้ขงจื๊อเคยใช้ในสองบริบท บริบทแรกในการวิจารณ์งานประพันธ์โดยหมายถึงว่า สิ่งที่นักประพันธ์สื่อผ่านตัวอักษรออกมานั้น ควรบ่งบอกจิตวิญญาณและความคิดที่แท้จริง พูดง่ายๆ คือซื่อตรงต่อตัวเอง ส่วนอีกบริบทหนึ่งนั้นคือเป็นการกล่าวถึงคุณสมบัติของคน โดยหมายถึงว่า อันความคิดที่ดี ย่อมไม่กลัวที่จะเปิดเผยให้ผู้ใดรับรู้

    คำว่า ‘จวินจื่อ’ ปรากฏอยู่บนงานประพันธ์และสำนวนจีนมากมาย และปรัชญาของขงจื๊อถูกศึกษามาหลายพันปีโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงวิชาจำนวนนับไม่ถ้วน Storyฯ ไม่หาญกล้ามาเสวนามากมายในปรัชญาเหล่านี้ เพียงแต่เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามา คำว่า ‘จวินจื่อ’ หรือ ‘วิญญูชน’ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในสังคมทุกวันนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นวิญญูชน และใครเป็นวิญญูชนจอมปลอม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/467496758_120871225
    https://www.sohu.com/a/433221328_99929216
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/思无邪/5080
    https://guoxue.ifeng.com/c/7jUG4KBpiZC
    https://baike.baidu.com/item/君子/1389

    #ดุจฝันบันดาลใจ #จวินจื่อ #วิญญูชน #ขงจื๊อ
    ขออภัยที่หายไปหนึ่งอาทิตย์ค่ะ วันนี้ Storyฯ เห็นว่าเรากำลังอยู่ในบรรยากาศการเลือกคนดีคนเก่งมาบริหารบ้านเมือง เลยลองมาคุยกันเรื่องปรัชญาจีนโบราณ (แม้ว่า Storyฯ จะไม่สันทัดเรื่องปรัชญาก็ตาม) เพื่อนเพจที่เคยอ่านนิยายของกิมย้งหรือดูหนังเรื่อง <กระบี่เย้ยยุทธจักร> ต้องคุ้นหูกับคำว่า ‘วิญญูชนจอมปลอม’ ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า ‘เหว่ยจวินจื่อ’ (伪君子) โดยคำว่า ‘จวินจื่อ’ นี้ปัจจุบันมักใช้คำแปลว่า ‘สุภาพชน’ (gentleman) แน่นอนว่าคำว่า ‘วิญญูชน’ และ ‘สุภาพชน’ มีนัยแตกต่าง คำถามที่ตามมาก็คือ: ‘จวินจื่อ’ (君子) คืออะไร? นี่เป็นคำถามในข้อสอบยอดฮิตในสมัยจีนโบราณ Storyฯ ขอยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีฉากที่นางเอกต้องร่วมสอบและได้ต่อว่าคนที่กลั่นแกล้งนางและดูถูกพ่อของนางไว้ว่า “วิญญูชนไม่คิดอกุศล ข้าเดินได้อย่างผึ่งผาย นั่งได้อย่างหลังตรง มิเคยต้องกังวลลมปากของผู้ใด... วิญญูชนไม่แบ่งแยกสูงต่ำด้วยชาติกำเนิด” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ประโยคที่ว่า ‘วิญญูชนไม่คิดอกุศล’ หรือ ‘จวินจื่อซืออู๋เสีย’ (君子思无邪) นี้ เป็นการรวมสองปรัชญาจากคัมภีร์หลุนอวี่ (论语) เข้ามาด้วยกันในประโยคเดียว ปรัชญาแรกว่าด้วยเรื่องของ ‘จวินจื่อ’ ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก ‘จวิน’ ที่หมายถึงผู้เป็นประมุขหรือผู้มียศศักดิ์ และ ‘จื่อ’ ที่แปลว่าบุตรชาย ดังนั้นความหมายดั้งเดิมคือหมายถึง ‘Nobleman’ หรืออาจแปลเป็นไทยได้ว่าราชนิกุลหรือลูกหลานชนชั้นศักดินา ต่อมาหมายถึงผู้ที่มีศีลธรรมและคุณสมบัติสูงส่งอันเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้ (‘A man of noble character’) เป็นส่วนประกอบสำคัญของปรัชญาขงจื๊อในการสร้างมาตรฐานสังคม โดยขงจื๊อมักใช้การเปรียบเทียบระหว่าง ‘จวินจื่อ’ กับ ‘เสี่ยวเหริน’ (小人 / ทุรชน) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ‘จวินจื่อ’ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร Storyฯ สรุปมาไม่ได้หมด เลยยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพดังนี้: – จวินจื่อคำนึงถึงความเที่ยงธรรม (义) แต่เสี่ยวเหรินคำนึงถึงผลประโยชน์ – จวินจื่ออยู่ร่วมได้ด้วยความต่าง แต่เสี่ยวเหรินแม้ไม่ต่างแต่ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ --- ประเด็นนี้ Storyฯ อาจแปลได้ไม่ดี ขอขยายความว่า จวินจื่อเมื่อเรียนรู้และตระหนักถึงสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าอาจมีแก่นความคิดที่แตกต่างกันไป แต่เพราะมีความเข้าใจในเนื้อแท้ของคนและเคารพยอมรับซึ่งกันและกันได้ ก็สามารถส่งเสริมเกื้อกูลหล่อหลอมเข้าด้วยกันได้ แต่ในทางกลับกัน เสี่ยวเหรินมีความเสแสร้งพยายามให้ดูกลมกลืน แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง สุดท้ายแม้อยู่ร่วมกันแต่ไม่สามารถหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ – จวินจื่อเปิดเผยผึ่งผาย จึงไม่ต้องกังวลถึงความเห็นคนอื่น แต่เสี่ยวเหรินทำอะไรก็พะวงหน้าพะวงหลังกลัวคนมากลั่นแกล้ง – จวินจื่อพึ่งพาตนเอง แต่เสี่ยวเหรินพึ่งพาผู้อื่น – จวินจื่อส่งเสริมผู้อื่นในเรื่องที่ดีและไม่สนับสนุนในเรื่องที่ไม่ดี แต่เสี่ยวเหรินขัดผู้อื่นในเรื่องที่ดีและส่งเสริมในเรื่องที่ไม่ดี – จวินจื่อเปรียบเสมือนลม เสี่ยวเหรินเป็นเหมือนหญ้าที่ต้องเอนไหวศิโรราบให้เมื่อลมพัดผ่าน เป็นการอุปมาอุปไมยว่าคุณธรรมของจวินจื่อ สามารถเอาชนะความไม่ดีของเสี่ยวเหรินได้ ปรัชญาที่สอง ‘ไม่คิดอกุศล’ (ซืออู๋เสีย/思无邪) โดยปรัชญานี้ขงจื๊อเคยใช้ในสองบริบท บริบทแรกในการวิจารณ์งานประพันธ์โดยหมายถึงว่า สิ่งที่นักประพันธ์สื่อผ่านตัวอักษรออกมานั้น ควรบ่งบอกจิตวิญญาณและความคิดที่แท้จริง พูดง่ายๆ คือซื่อตรงต่อตัวเอง ส่วนอีกบริบทหนึ่งนั้นคือเป็นการกล่าวถึงคุณสมบัติของคน โดยหมายถึงว่า อันความคิดที่ดี ย่อมไม่กลัวที่จะเปิดเผยให้ผู้ใดรับรู้ คำว่า ‘จวินจื่อ’ ปรากฏอยู่บนงานประพันธ์และสำนวนจีนมากมาย และปรัชญาของขงจื๊อถูกศึกษามาหลายพันปีโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงวิชาจำนวนนับไม่ถ้วน Storyฯ ไม่หาญกล้ามาเสวนามากมายในปรัชญาเหล่านี้ เพียงแต่เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามา คำว่า ‘จวินจื่อ’ หรือ ‘วิญญูชน’ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในสังคมทุกวันนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นวิญญูชน และใครเป็นวิญญูชนจอมปลอม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/467496758_120871225 https://www.sohu.com/a/433221328_99929216 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/思无邪/5080 https://guoxue.ifeng.com/c/7jUG4KBpiZC https://baike.baidu.com/item/君子/1389 #ดุจฝันบันดาลใจ #จวินจื่อ #วิญญูชน #ขงจื๊อ
    WWW.SOHU.COM
    《雁归西窗月》是根据小说改编的吗 《雁归西窗月》结局是什么_赵孝
    《雁归西窗月》讲述了霸道郡王赵孝谦与率真少女谢小满的乌龙甜怼恋,两人从开始的欢喜冤家到逐渐相知相守,携手历经坎坷,冲破重重阻碍,最终收获了一段浪漫的爱情故事。 这部剧是先婚后爱的戏码,女主谢小满…
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 647 มุมมอง 0 รีวิว