• ว่าด้วยชื่อของป๋ออี้เข่าจากเรื่องเฟิงเสิน

    Storyฯ ไม่มีโอกาสได้ไปชมภาพยนต์ที่อัดแน่นด้วยนักแสดงคุณภาพอย่างเรื่อง <Creation of the Gods 1: Kingdom of Storms> (ซึ่งก็คือเวอร์ชั่นใหม่ของ เฟิงเสิน / สงครามกำเนิดเทพเจ้า ที่เพิ่งออกฉายในปีนี้) แต่ขอคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้สักหน่อยก็ยังดี

    ก่อนอื่นขอเท้าความให้ฟังว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นอิงนิยายเรื่อง ‘เฟิงเสินเหยี่ยนอี้’ (封神演义หรือ ‘ฮ่องสิน’ ตามสำเนียงจีนแต้จิ๋ว แปลตรงตัวว่า ตำนานการแต่งตั้งเทพเจ้า) ซึ่งเป็นบทประพันธ์จีนเรื่องยาวแนวแฟนตาซีที่ถูกแต่งขึ้นในสมัยหมิง เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับโจ้วหวาง กษัตริย์ผู้โหดเหี้ยมแห่งราชวงศ์ซาง ซึ่งต่อมาถูกโค่นล้มโดยเจ้าผู้ครองแคว้นโจวตะวันออกภายใต้ความช่วยเหลือของเจียงจื่อหยา นักการเมืองและกุนซือทหารผู้ชำนาญกลยุทธ์ โดยในบทประพันธ์นี้มีเทพเซียนและปีศาจมาร่วมรบในอภิมหาสงครามนี้ด้วย ต่อมาเกิดการสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น (256 ปีก่อนคริสตศักราช) และบุคคลต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญในสงครามนี้ได้ถูกเจียงจื่อหยานำชื่อเขียนขึ้นกระดานแต่งตั้งให้เป็นเทพเจ้า จึงเป็นที่มาของชื่อวรรณกรรมชิ้นนี้

    หนึ่งในกลุ่มตัวละครที่เดินเรื่องสำคัญคือครอบครัวตระกูลจี มีเจ้าผู้ครองแคว้นโจวคือจีชางที่ถูกโจ้วหวางจับตัวไปจองจำ (ต่อมาคือโจวเหวินหวางแห่งราชวงศ์โจว) บุตรชายคนโตคือป๋ออี้เข่า ที่ถูกโจ้วหวางฆ่าเอาเนื้อมาทำอาหารให้จีชางกิน และบุตรชายคนเล็กจีฟาที่แค้นจนลุกขึ้นสู้กับโจ้วหวางและสามารถโค่นราชวงศ์ซางได้สำเร็จ ขึ้นครองราชย์เป็นโจวอู่หวาง (หมายเหตุ เรื่องป๋ออี้เข่า Storyฯ ได้เคยเอ่ยถึงในเรื่องหนึ่งในสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถูขององค์เฉียนหลง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/746257530835875)

    กล่าวถึงครอบครัวตระกูลจีนี้ ก็เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ขึ้น ทำไมบุตรชายคนโตของจีชางมีชื่อว่า ‘ป๋ออี้เข่า’? ทำไมไม่ใช่ แซ่จี+ชื่อ?

    จริงๆ แล้วเขาก็แซ่จี และชื่อเข่า นั่นแล่ะค่ะ แต่ที่ถูกเรียกว่า ‘ป๋ออี้เข่า’ (伯邑考) นั้น เป็นไปตามลำดับความเป็นของบุตรและตำแหน่งของเขา

    ในบันทึกสมัยชุนชิวมีกล่าวถึงการเรียกบุตรชายที่มีมาแต่โบราณตามลำดับว่า ‘ป๋อจ้งซูจี้’ (伯仲叔季) โดยคำว่า ‘ป๋อ’ แปลว่า บุรุษที่ไม่มีพี่ชาย จึงหมายถึงบุตรชายคนโต ส่วนบุตรคนรองจะเรียกว่า ‘จ้ง’ เป็นต้น อนึ่ง ในสมัยโบราณนั้น บุตรชายคนโตอาจเรียกว่า ‘ป๋อ’ (伯)หรือ ‘เมิ่ง’ (孟) ก็ได้ แต่ ‘เมิ่ง’ นั้นใช้กับบุตรชายที่ไม่ได้เกิดจากภรรยาเอก ดังนั้น ‘ป๋อ’ จึงบ่งบอกว่า จีเข่านี้เป็นบุตรชายคนโตที่เกิดจากภรรยาเอก

    แต่ ‘ป๋ออี้เข่า’ มีคำว่า ‘อี้’ เพิ่มมาด้วย ซึ่ง ‘อี้’ นี้ แปลว่าแคว้น/ประเทศ หรืออาจหมายถึงตำแหน่งขุนนางระดับสูงที่ดูแลเรื่องต่างๆ ของแคว้น แต่ก็มีบางข้อมูลที่บอกว่าหมายถึงตำแหน่งทายาทของผู้ปกครองแคว้น

    ดังนั้น การเรียก ป๋ออี้เข่า จึงเป็นการเรียกอย่างยกย่องให้เกียรติตามศักดิ์และตำแหน่งของจีเข่าค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    (ป.ล.2 ถ้าไม่เห็น Storyฯ ตอบเม้นท์ โปรดทราบว่าเม้นท์ของ Storyฯ ถูกปิดกั้นนะคะ)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.fapot.or.th/main/cinema/view/2328 https://www.sohu.com/a/713169120_121284943#google_vignette
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/封神演义/69344
    https://baike.baidu.com/item/伯仲叔季/1416767
    https://www.sohu.com/a/365640681_100296378
    http://www.guoxuedashi.net/guanzhi/10648wj/

    #เฟิงเสิน #ฮ่องสิน #สงครามเทพยดา #ป๋ออี้เข่า #จีชาง #จีฟา #ราชวงศ์โจว #โจวเหวินหวาง #โจวอู่หวาง
    ว่าด้วยชื่อของป๋ออี้เข่าจากเรื่องเฟิงเสิน Storyฯ ไม่มีโอกาสได้ไปชมภาพยนต์ที่อัดแน่นด้วยนักแสดงคุณภาพอย่างเรื่อง <Creation of the Gods 1: Kingdom of Storms> (ซึ่งก็คือเวอร์ชั่นใหม่ของ เฟิงเสิน / สงครามกำเนิดเทพเจ้า ที่เพิ่งออกฉายในปีนี้) แต่ขอคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้สักหน่อยก็ยังดี ก่อนอื่นขอเท้าความให้ฟังว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นอิงนิยายเรื่อง ‘เฟิงเสินเหยี่ยนอี้’ (封神演义หรือ ‘ฮ่องสิน’ ตามสำเนียงจีนแต้จิ๋ว แปลตรงตัวว่า ตำนานการแต่งตั้งเทพเจ้า) ซึ่งเป็นบทประพันธ์จีนเรื่องยาวแนวแฟนตาซีที่ถูกแต่งขึ้นในสมัยหมิง เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับโจ้วหวาง กษัตริย์ผู้โหดเหี้ยมแห่งราชวงศ์ซาง ซึ่งต่อมาถูกโค่นล้มโดยเจ้าผู้ครองแคว้นโจวตะวันออกภายใต้ความช่วยเหลือของเจียงจื่อหยา นักการเมืองและกุนซือทหารผู้ชำนาญกลยุทธ์ โดยในบทประพันธ์นี้มีเทพเซียนและปีศาจมาร่วมรบในอภิมหาสงครามนี้ด้วย ต่อมาเกิดการสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น (256 ปีก่อนคริสตศักราช) และบุคคลต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญในสงครามนี้ได้ถูกเจียงจื่อหยานำชื่อเขียนขึ้นกระดานแต่งตั้งให้เป็นเทพเจ้า จึงเป็นที่มาของชื่อวรรณกรรมชิ้นนี้ หนึ่งในกลุ่มตัวละครที่เดินเรื่องสำคัญคือครอบครัวตระกูลจี มีเจ้าผู้ครองแคว้นโจวคือจีชางที่ถูกโจ้วหวางจับตัวไปจองจำ (ต่อมาคือโจวเหวินหวางแห่งราชวงศ์โจว) บุตรชายคนโตคือป๋ออี้เข่า ที่ถูกโจ้วหวางฆ่าเอาเนื้อมาทำอาหารให้จีชางกิน และบุตรชายคนเล็กจีฟาที่แค้นจนลุกขึ้นสู้กับโจ้วหวางและสามารถโค่นราชวงศ์ซางได้สำเร็จ ขึ้นครองราชย์เป็นโจวอู่หวาง (หมายเหตุ เรื่องป๋ออี้เข่า Storyฯ ได้เคยเอ่ยถึงในเรื่องหนึ่งในสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถูขององค์เฉียนหลง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/746257530835875) กล่าวถึงครอบครัวตระกูลจีนี้ ก็เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ขึ้น ทำไมบุตรชายคนโตของจีชางมีชื่อว่า ‘ป๋ออี้เข่า’? ทำไมไม่ใช่ แซ่จี+ชื่อ? จริงๆ แล้วเขาก็แซ่จี และชื่อเข่า นั่นแล่ะค่ะ แต่ที่ถูกเรียกว่า ‘ป๋ออี้เข่า’ (伯邑考) นั้น เป็นไปตามลำดับความเป็นของบุตรและตำแหน่งของเขา ในบันทึกสมัยชุนชิวมีกล่าวถึงการเรียกบุตรชายที่มีมาแต่โบราณตามลำดับว่า ‘ป๋อจ้งซูจี้’ (伯仲叔季) โดยคำว่า ‘ป๋อ’ แปลว่า บุรุษที่ไม่มีพี่ชาย จึงหมายถึงบุตรชายคนโต ส่วนบุตรคนรองจะเรียกว่า ‘จ้ง’ เป็นต้น อนึ่ง ในสมัยโบราณนั้น บุตรชายคนโตอาจเรียกว่า ‘ป๋อ’ (伯)หรือ ‘เมิ่ง’ (孟) ก็ได้ แต่ ‘เมิ่ง’ นั้นใช้กับบุตรชายที่ไม่ได้เกิดจากภรรยาเอก ดังนั้น ‘ป๋อ’ จึงบ่งบอกว่า จีเข่านี้เป็นบุตรชายคนโตที่เกิดจากภรรยาเอก แต่ ‘ป๋ออี้เข่า’ มีคำว่า ‘อี้’ เพิ่มมาด้วย ซึ่ง ‘อี้’ นี้ แปลว่าแคว้น/ประเทศ หรืออาจหมายถึงตำแหน่งขุนนางระดับสูงที่ดูแลเรื่องต่างๆ ของแคว้น แต่ก็มีบางข้อมูลที่บอกว่าหมายถึงตำแหน่งทายาทของผู้ปกครองแคว้น ดังนั้น การเรียก ป๋ออี้เข่า จึงเป็นการเรียกอย่างยกย่องให้เกียรติตามศักดิ์และตำแหน่งของจีเข่าค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) (ป.ล.2 ถ้าไม่เห็น Storyฯ ตอบเม้นท์ โปรดทราบว่าเม้นท์ของ Storyฯ ถูกปิดกั้นนะคะ) Credit รูปภาพจาก: https://www.fapot.or.th/main/cinema/view/2328 https://www.sohu.com/a/713169120_121284943#google_vignette Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/封神演义/69344 https://baike.baidu.com/item/伯仲叔季/1416767 https://www.sohu.com/a/365640681_100296378 http://www.guoxuedashi.net/guanzhi/10648wj/ #เฟิงเสิน #ฮ่องสิน #สงครามเทพยดา #ป๋ออี้เข่า #จีชาง #จีฟา #ราชวงศ์โจว #โจวเหวินหวาง #โจวอู่หวาง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 419 มุมมอง 0 รีวิว
  • สำนวนจีนจาก <หาญท้าฯ 2>สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ เกี่ยวกับสำนวนจีนจากซีรีส์เรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> เพื่อนเพจที่ได้ดูแล้วอาจจำได้ว่าฮ่องเต้จัดงานชมบุปผาบนเขาและต่อมามีคนลอบปลงพระชนม์จนทำให้ฟ่านเสียนได้รับบาดเจ็บสาหัส ในช่วงตอนเตรียมงานนั้น แม่ทัพเย่มาขอให้ฟ่านเสียนช่วยสอดส่องดูแลความปลอดภัยของฮ่องเต้ โดยให้เหตุผลว่า ถ้ามีอะไรผิดพลาดเขาจะต้องรับความผิดและลูกน้องจะซวยหนักกว่า ในเวอร์ชั่นซับไทยตอนที่แม่ทัพเย่ให้เหตุผลนี้ เขาอ้ำอึ้งใช้ประโยคว่า “หญ้า... อะไรแหลกๆ… ลมพัดแรงมักพัดถึงพวกตำแหน่งล่าง” ซึ่งฟ่านเสียนเลยต่อให้จบว่า “ช้างสารชนกันหญ้าแพรกก็แหลกลาญ... ประโยคนี้ไม่ได้ใช้อย่างนี้” เพื่อนเพจที่ดูซับหรือพากย์ไทยอาจไม่สะดุดตาสะดุดหู แต่จริงๆ แล้วในเวอร์ชั่นภาษาจีนใช้อีกประโยคหนึ่ง ซึ่งสะดุดหู Storyฯ ไม่น้อยประโยคที่กล่าวถึงนี้ ในภาษาจีนก็คือ ‘เฟิงฉี่ชิงผิงจือม่อ’ (风起青萍之末) Storyฯ ขอแปลว่า ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน’ ซึ่งเป็นสำนวนจีน เป็นวรรคต้นของประโยคที่ว่า ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน สิ้นสุดกลางทุ่งหญ้า’ (风起于青萍之末,止于草莽之间) ฟังดูไพเราะ แต่มันแปลว่าอะไร?ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงที่มาว่า สำนวนนี้ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์โบราณสมัยจ้านกั๋วชื่อว่า ‘เฟิงฟู่’ (风赋 / บทประพันธ์แห่งสายลม)ของกวีนามว่าซ่งอวี้ (宋玉 ประมาณปี 290 – 222 ก่อนคริสตกาล) จากแคว้นฉู่ ซึ่งเป็นหนึ่งในแปดบทประพันธ์ชนิด ‘ฟู่’ ของจีนที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด โดย ‘ฟู่’ เป็นวรรณกรรมร้อยแก้วที่มีภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆเฟิงฟู่ ใช้สายลมเป็นตัวดำเนินเรื่อง กล่าวถึงอ๋องฉู่เซียงไปชมวิวบนหอสูง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) รู้สึกชื่นมื่นกับลมเย็นสบายและคิดว่านี่เป็นความเย็นสบายที่ชาวบ้านสามารถร่วมสัมผัสได้เหมือนกัน ไม่แบ่งแยกชนชั้นหรือความร่ำรวยแต่ซ่งอวี้ที่ติดตามไปด้วยกลับบอกว่า ลมที่อ๋องฉู่เซียงสัมผัส ย่อมไม่เหมือนกับลมที่ชาวประชาสัมผัส นั่นเป็นเพราะว่า แม้ลมเป็นอากาศที่ไหลเวียนไปได้หลายพื้นที่ แต่เพราะภูมิประเทศและสิ่งปลูกสร้างที่แตกต่าง แรงลมที่สัมผัสได้ในแต่ละพื้นที่ย่อมแตกต่างกันซ่งอวี้บอกว่า ลมที่อ๋องฉู่เซียงสัมผัส สร้างตัวจากคลื่นอากาศแผ่วเบาเหนือจอกแหน ค่อยๆ ขยายไปยังหุบเขา ก่อเกิดเป็นลมแรงพัดผ่านภูเขา โถมกระหน่ำเข้าใส่หินผาและป่าไม้ จนผ่านพ้นถึงทุ่งหญ้าแล้วจึงสงบลงกลายเป็นสายลมที่สร้างความเย็นใจ และสำนวน ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน สิ้นสุดกลางทุ่งหญ้า’ นี้จึงเป็นการนำข้อความท่อนนี้มากลั่นย่อลงเป็นสำนวนสั้นๆ ซ่งอวี้ยังบอกต่ออีกว่า ลมที่ชาวบ้านทั่วไปสัมผัสนั้นเกิดจากตรอกเล็กซอกซอย เมื่อก่อตัวแรงขึ้นก็พัดพาเอาฝุ่นทรายและของสกปรกคลุ้งกระจายเข้าสู่บ้านเรือน ลมนั้นเมื่อชาวบ้านได้สัมผัสย่อมไม่ทำให้รู้สึกสบายตัวและอาจทำให้ล้มป่วยลงได้บทประพันธ์เฟิงฟู่นี้ไพเราะสวยงามด้วยคำบรรยายถึงลักษณะของสายลมภายใต้สภาวะต่างๆ และแฝงไว้ซึ่งข้อคิดเตือนสติ เฟิงฟู่ใช้สายลมเป็นตัวเปรียบเทียบระหว่างความเกรียงไกรของกษัตริย์และความแร้นแค้นของชาวบ้านธรรมดา สะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างทางสังคมและความไม่เท่าเทียมกัน เพื่อเป็นการเตือนใจต่ออ๋องฉู่เซียงว่าอย่าได้นิ่งนอนใจกับความสบายที่ได้รับเพราะในขณะเดียวกันยังมีชาวบ้านที่ลำบากอยู่ต่อมาสำนวน ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน’ ถูกใช้เป็นการอุปมาอุปไมยว่า คลื่นอากาศแผ่วเบาเหนือจอกแหนสามารถก่อตัวขึ้นเป็นคลื่นลมแรงที่กวาดไปทั่วพื้นที่อันกว้างใหญ่ ก่อเกิดผลกระทบได้มากมาย และแน่นอนว่าสำนวนนี้ไม่ได้แปลว่า ถ้าผู้มีอำนาจล้มแล้วคนที่อยู่เบื้องล่างจะซวยได้อย่างที่แม่ทัพเย่ในซีรีส์ต้องการหมายถึง และ Storyฯ คิดว่าความหมายก็เปรียบไม่ได้กับ ‘ช้างสารชนกันหญ้าแพรกก็แหลกลาญ’ เพราะจริงๆ แล้วความหมายของสำนวนนี้พูดสั้นๆ ก็คือ Butterfly Effect --- สิ่งเล็กๆ ที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์หรือการเปลี่ยนแปลงตามมาได้มากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://m.mp.oeeee.com/a/BAAFRD000020240519954909.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/风起于青萍之末/5876137 https://www.sohu.com/a/395149302_120482984 https://baike.baidu.com/item/风赋/2482215 https://zhsc.org/work/work-58b83fd9570c350062072623.htm #หาญท้าชะตาฟ้า #บทประพันธ์จีน #ButterflyEffect #เฟิงฟู่
    สำนวนจีนจาก <หาญท้าฯ 2>สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ เกี่ยวกับสำนวนจีนจากซีรีส์เรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> เพื่อนเพจที่ได้ดูแล้วอาจจำได้ว่าฮ่องเต้จัดงานชมบุปผาบนเขาและต่อมามีคนลอบปลงพระชนม์จนทำให้ฟ่านเสียนได้รับบาดเจ็บสาหัส ในช่วงตอนเตรียมงานนั้น แม่ทัพเย่มาขอให้ฟ่านเสียนช่วยสอดส่องดูแลความปลอดภัยของฮ่องเต้ โดยให้เหตุผลว่า ถ้ามีอะไรผิดพลาดเขาจะต้องรับความผิดและลูกน้องจะซวยหนักกว่า ในเวอร์ชั่นซับไทยตอนที่แม่ทัพเย่ให้เหตุผลนี้ เขาอ้ำอึ้งใช้ประโยคว่า “หญ้า... อะไรแหลกๆ… ลมพัดแรงมักพัดถึงพวกตำแหน่งล่าง” ซึ่งฟ่านเสียนเลยต่อให้จบว่า “ช้างสารชนกันหญ้าแพรกก็แหลกลาญ... ประโยคนี้ไม่ได้ใช้อย่างนี้” เพื่อนเพจที่ดูซับหรือพากย์ไทยอาจไม่สะดุดตาสะดุดหู แต่จริงๆ แล้วในเวอร์ชั่นภาษาจีนใช้อีกประโยคหนึ่ง ซึ่งสะดุดหู Storyฯ ไม่น้อยประโยคที่กล่าวถึงนี้ ในภาษาจีนก็คือ ‘เฟิงฉี่ชิงผิงจือม่อ’ (风起青萍之末) Storyฯ ขอแปลว่า ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน’ ซึ่งเป็นสำนวนจีน เป็นวรรคต้นของประโยคที่ว่า ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน สิ้นสุดกลางทุ่งหญ้า’ (风起于青萍之末,止于草莽之间) ฟังดูไพเราะ แต่มันแปลว่าอะไร?ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงที่มาว่า สำนวนนี้ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์โบราณสมัยจ้านกั๋วชื่อว่า ‘เฟิงฟู่’ (风赋 / บทประพันธ์แห่งสายลม)ของกวีนามว่าซ่งอวี้ (宋玉 ประมาณปี 290 – 222 ก่อนคริสตกาล) จากแคว้นฉู่ ซึ่งเป็นหนึ่งในแปดบทประพันธ์ชนิด ‘ฟู่’ ของจีนที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด โดย ‘ฟู่’ เป็นวรรณกรรมร้อยแก้วที่มีภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆเฟิงฟู่ ใช้สายลมเป็นตัวดำเนินเรื่อง กล่าวถึงอ๋องฉู่เซียงไปชมวิวบนหอสูง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) รู้สึกชื่นมื่นกับลมเย็นสบายและคิดว่านี่เป็นความเย็นสบายที่ชาวบ้านสามารถร่วมสัมผัสได้เหมือนกัน ไม่แบ่งแยกชนชั้นหรือความร่ำรวยแต่ซ่งอวี้ที่ติดตามไปด้วยกลับบอกว่า ลมที่อ๋องฉู่เซียงสัมผัส ย่อมไม่เหมือนกับลมที่ชาวประชาสัมผัส นั่นเป็นเพราะว่า แม้ลมเป็นอากาศที่ไหลเวียนไปได้หลายพื้นที่ แต่เพราะภูมิประเทศและสิ่งปลูกสร้างที่แตกต่าง แรงลมที่สัมผัสได้ในแต่ละพื้นที่ย่อมแตกต่างกันซ่งอวี้บอกว่า ลมที่อ๋องฉู่เซียงสัมผัส สร้างตัวจากคลื่นอากาศแผ่วเบาเหนือจอกแหน ค่อยๆ ขยายไปยังหุบเขา ก่อเกิดเป็นลมแรงพัดผ่านภูเขา โถมกระหน่ำเข้าใส่หินผาและป่าไม้ จนผ่านพ้นถึงทุ่งหญ้าแล้วจึงสงบลงกลายเป็นสายลมที่สร้างความเย็นใจ และสำนวน ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน สิ้นสุดกลางทุ่งหญ้า’ นี้จึงเป็นการนำข้อความท่อนนี้มากลั่นย่อลงเป็นสำนวนสั้นๆ ซ่งอวี้ยังบอกต่ออีกว่า ลมที่ชาวบ้านทั่วไปสัมผัสนั้นเกิดจากตรอกเล็กซอกซอย เมื่อก่อตัวแรงขึ้นก็พัดพาเอาฝุ่นทรายและของสกปรกคลุ้งกระจายเข้าสู่บ้านเรือน ลมนั้นเมื่อชาวบ้านได้สัมผัสย่อมไม่ทำให้รู้สึกสบายตัวและอาจทำให้ล้มป่วยลงได้บทประพันธ์เฟิงฟู่นี้ไพเราะสวยงามด้วยคำบรรยายถึงลักษณะของสายลมภายใต้สภาวะต่างๆ และแฝงไว้ซึ่งข้อคิดเตือนสติ เฟิงฟู่ใช้สายลมเป็นตัวเปรียบเทียบระหว่างความเกรียงไกรของกษัตริย์และความแร้นแค้นของชาวบ้านธรรมดา สะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างทางสังคมและความไม่เท่าเทียมกัน เพื่อเป็นการเตือนใจต่ออ๋องฉู่เซียงว่าอย่าได้นิ่งนอนใจกับความสบายที่ได้รับเพราะในขณะเดียวกันยังมีชาวบ้านที่ลำบากอยู่ต่อมาสำนวน ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน’ ถูกใช้เป็นการอุปมาอุปไมยว่า คลื่นอากาศแผ่วเบาเหนือจอกแหนสามารถก่อตัวขึ้นเป็นคลื่นลมแรงที่กวาดไปทั่วพื้นที่อันกว้างใหญ่ ก่อเกิดผลกระทบได้มากมาย และแน่นอนว่าสำนวนนี้ไม่ได้แปลว่า ถ้าผู้มีอำนาจล้มแล้วคนที่อยู่เบื้องล่างจะซวยได้อย่างที่แม่ทัพเย่ในซีรีส์ต้องการหมายถึง และ Storyฯ คิดว่าความหมายก็เปรียบไม่ได้กับ ‘ช้างสารชนกันหญ้าแพรกก็แหลกลาญ’ เพราะจริงๆ แล้วความหมายของสำนวนนี้พูดสั้นๆ ก็คือ Butterfly Effect --- สิ่งเล็กๆ ที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์หรือการเปลี่ยนแปลงตามมาได้มากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://m.mp.oeeee.com/a/BAAFRD000020240519954909.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/风起于青萍之末/5876137 https://www.sohu.com/a/395149302_120482984 https://baike.baidu.com/item/风赋/2482215 https://zhsc.org/work/work-58b83fd9570c350062072623.htm #หาญท้าชะตาฟ้า #บทประพันธ์จีน #ButterflyEffect #เฟิงฟู่
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 504 มุมมอง 0 รีวิว