• สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติ วันนี้เราคุยกันเบาๆ ว่าด้วยวลีจีนคลาสสิกอีกประโยคหนึ่ง

    ความมีอยู่ว่า
    ... ตี้จวิน: “แต่ข้าต้องออกไปนานนัก”
    เฟิ่งจิ่ว: “นานนัก คือนานเท่าใด? สองสามเดือน?”
    ตี้จวินส่ายศีรษะ
    เฟิ่งจิ่ว: “สองสามปี?”
    ตี้จวินส่ายศีรษะอีกแล้วเอ่ย: “อย่างไรก็ต้องมีหลายวัน”
    เฟิ่งจิ่ว: “ไม่กี่วัน? ท่านพูดราวกับว่านานนัก”
    ตี้จวิน: “หนึ่งวันมิเห็นหน้า ดุจห่างกันสามสารทฤดู”...
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนย> (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ‘หนึ่งวันมิเห็นหน้า ดุจห่างกันสามสารทฤดู’ (一日不见,如隔三秋) นี้เป็นหนึ่งวลีคลาสสิกที่ใช้กันบ่อยในละครหรือนิยายจีนเวลาที่พระนางเขาต้องห่างกันไป ความหมายคือคิดถึงนัก แม้จากกันประเดี๋ยวเดียวก็เหมือนนานมาก

    เชื่อว่าเพื่อนเพจไม่น้อย (รวมถึงนักแปลมืออาชีพหลายคน) คงเข้าใจว่า ‘สามสารทฤดู’ นี้แปลว่าสามปี แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ

    วลีนี้ยกมาจากบทกวีที่ชื่อว่า ‘หวางเฟิง-ฉ่ายเก๋อ’ (王风·采葛) เป็นหนึ่งในบทกวีที่ปรากฏอยู่ในบันทึกบทกวีจีนโบราณ ‘ซือจิง’ (诗经) เป็นบทกวีจากยุคสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่เป็นคำบรรยายถึงความโหยหาคิดถึง โดยมีฉากหลังเป็นฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งโดยปกติคือ ‘ชิว’ หรือสารทฤดู มีทั้งหมดสามวรรคแปลใจความได้ดังนี้
    นางผู้เก็บต้นเก๋อนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามเดือน
    นางผู้เก็บต้นเซียวนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามสารทฤดู
    นางผู้เก็บต้นอ๋ายนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามปี

    ในบริบทของบทกวี ‘หวางเฟิง-ฉ่ายเก๋อ’ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จะเห็นว่ามี ‘เดือน’ ‘สารทฤดู’ และ ‘ปี’ ดังนั้น เมื่อเรียงประโยคตามนี้ผู้อ่านคงตีความได้ไม่ยากแล้วว่า ‘สามสารทฤดู’ นี้จริงๆ แล้วหมายถึงช่วงเวลาสามฤดูกาล หรือประมาณ 9 เดือนนั่นเอง

    หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนเพจที่แต่งนิยายหรือแปลนิยายจีนนะคะ

    (หมายเหตุ ‘ต้นเก๋อ’ คือต้นมันชนิดหนึ่ง เรียกว่ามันเท้ายายม่อม ใช้ประโยชน์ได้หลายส่วนของต้น; ‘ต้นเซียว’ เป็นไม้พุ่มเตี้ยชนิดหนึ่ง ใบมีสรรพคุณเป็นยา ภาษาอังกฤษเรียกว่า Wormwood; ‘ต้นอ๋าย’ หรืออ๋ายเถียวเป็นสมุนไพรจีนชนิดหนึ่งนิยมนำมาใช้เป็นโกฐรมยา)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://mydramalist.com/photos/eVR3n
    https://www.sohu.com/a/474755225_419393
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.gushiji.cc/gushi/170.html
    https://baike.baidu.com/item/王风·采葛
    https://www.sohu.com/a/462824147_120340030
    https://kknews.cc/zh-hk/culture/yjyjpxk.html

    #สารทฤดู #วลีจีน #ลิขิตเหนือเขนย #บทกวีจีนโบราณ
    สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติ วันนี้เราคุยกันเบาๆ ว่าด้วยวลีจีนคลาสสิกอีกประโยคหนึ่ง ความมีอยู่ว่า ... ตี้จวิน: “แต่ข้าต้องออกไปนานนัก” เฟิ่งจิ่ว: “นานนัก คือนานเท่าใด? สองสามเดือน?” ตี้จวินส่ายศีรษะ เฟิ่งจิ่ว: “สองสามปี?” ตี้จวินส่ายศีรษะอีกแล้วเอ่ย: “อย่างไรก็ต้องมีหลายวัน” เฟิ่งจิ่ว: “ไม่กี่วัน? ท่านพูดราวกับว่านานนัก” ตี้จวิน: “หนึ่งวันมิเห็นหน้า ดุจห่างกันสามสารทฤดู”... - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนย> (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) ‘หนึ่งวันมิเห็นหน้า ดุจห่างกันสามสารทฤดู’ (一日不见,如隔三秋) นี้เป็นหนึ่งวลีคลาสสิกที่ใช้กันบ่อยในละครหรือนิยายจีนเวลาที่พระนางเขาต้องห่างกันไป ความหมายคือคิดถึงนัก แม้จากกันประเดี๋ยวเดียวก็เหมือนนานมาก เชื่อว่าเพื่อนเพจไม่น้อย (รวมถึงนักแปลมืออาชีพหลายคน) คงเข้าใจว่า ‘สามสารทฤดู’ นี้แปลว่าสามปี แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ วลีนี้ยกมาจากบทกวีที่ชื่อว่า ‘หวางเฟิง-ฉ่ายเก๋อ’ (王风·采葛) เป็นหนึ่งในบทกวีที่ปรากฏอยู่ในบันทึกบทกวีจีนโบราณ ‘ซือจิง’ (诗经) เป็นบทกวีจากยุคสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่เป็นคำบรรยายถึงความโหยหาคิดถึง โดยมีฉากหลังเป็นฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งโดยปกติคือ ‘ชิว’ หรือสารทฤดู มีทั้งหมดสามวรรคแปลใจความได้ดังนี้ นางผู้เก็บต้นเก๋อนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามเดือน นางผู้เก็บต้นเซียวนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามสารทฤดู นางผู้เก็บต้นอ๋ายนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามปี ในบริบทของบทกวี ‘หวางเฟิง-ฉ่ายเก๋อ’ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จะเห็นว่ามี ‘เดือน’ ‘สารทฤดู’ และ ‘ปี’ ดังนั้น เมื่อเรียงประโยคตามนี้ผู้อ่านคงตีความได้ไม่ยากแล้วว่า ‘สามสารทฤดู’ นี้จริงๆ แล้วหมายถึงช่วงเวลาสามฤดูกาล หรือประมาณ 9 เดือนนั่นเอง หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนเพจที่แต่งนิยายหรือแปลนิยายจีนนะคะ (หมายเหตุ ‘ต้นเก๋อ’ คือต้นมันชนิดหนึ่ง เรียกว่ามันเท้ายายม่อม ใช้ประโยชน์ได้หลายส่วนของต้น; ‘ต้นเซียว’ เป็นไม้พุ่มเตี้ยชนิดหนึ่ง ใบมีสรรพคุณเป็นยา ภาษาอังกฤษเรียกว่า Wormwood; ‘ต้นอ๋าย’ หรืออ๋ายเถียวเป็นสมุนไพรจีนชนิดหนึ่งนิยมนำมาใช้เป็นโกฐรมยา) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://mydramalist.com/photos/eVR3n https://www.sohu.com/a/474755225_419393 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.gushiji.cc/gushi/170.html https://baike.baidu.com/item/王风·采葛 https://www.sohu.com/a/462824147_120340030 https://kknews.cc/zh-hk/culture/yjyjpxk.html #สารทฤดู #วลีจีน #ลิขิตเหนือเขนย #บทกวีจีนโบราณ
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 54 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้วพูดถึงภาพวาดโบราณที่ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสิบที่ล้ำค่าที่สุดของจีน วันนี้มาคุยกันสั้นๆ ถึงภาพวาดที่ปรากฏในละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>

    ละครเปิดฉากมาที่ร้านชาในเจียงหนานของนางเอกจ้าวพ่านเอ๋อร์ เพื่อนเพจที่ได้ดูละครอาจมัวแต่เพลินกับความสวยของนางเอกและวิวทิวทัศน์จนไม่ทันสังเกตว่าผนังร้านมีภาพวาดแขวนเต็มไปหมด

    Storyฯ จะบอกว่ามันคือแกลเลอรี่ดีๆ นี่เอง เพราะภาพที่โชว์อยู่ตามผนังเป็นภาพเหมือนของภาพวาดโบราณที่มีชื่อเสียงจัดเป็นสมบัติชาติของจีน ซึ่งในหลายฉากอื่นในละครก็มีภาพวาดโบราณเหล่านี้ให้ดูอีก วันนี้ยกตัวอย่างมาให้ดูกันสามภาพ

    ภาพแรกคือภาพ ‘เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว’ (莲池水禽图 แปลได้ว่าภาพสัตว์น้ำในสระปทุม ดูรูปประกอบ1) ภาพนี้เป็นภาพวาดสมัยปลายถัง-ห้าราชวงศ์ เป็นภาพคู่ วาดขึ้นบนผ้าไหมหรือที่เรียกว่า ‘เจวี้ยนเปิ่น’ (绢本/silk scroll) ขนาดประมาณของภาพแต่ละผืนคือ 106 x 91ซม. วาดโดยกู้เต๋อเชียนซึ่งมีพื้นเพอยู่เจียงหนาน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว

    ภาพต่อมาคือภาพ ‘ซีซันหลี่ว์สิง’ (溪山行旅图 แปลได้ว่าภาพการท่องไปตามภูเขาลำธาร ดูรูปประกอบ2) ภาพนี้วาดโดยฟ่านควน จิตรกรสมัยซ่งเหนือ วาดขึ้นบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 206 x 103ซม. เป็นสมบัติในวังหลวงสืบทอดกันมา (มีตราประทับห้องทรงพระอักษรสมัยหมิงและชิงอยู่ที่ขอบรูปจริง) ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม

    ภาพที่สามคือภาพ ‘ชิวซานเวิ่นเต้า’ (秋山问道图 แปลได้ประมาณว่าภาพการแสวงหาทางธรรมกลางภูผาในสารทฤดู) เป็นภาพสมัยปลายห้าราชวงศ์-ต้นซ่ง ผู้วาดเป็นนักบวชนามว่าจวี้หรัน เป็นภาพวาดบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 165 x 77ซม. ปัจจุบันภาพที่จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามเช่นกัน

    พูดถึงภาพจริงกันไปแล้วพอหอมปากหอมคอ แน่นอนว่าในละครยังมีอีกหลายภาพ ใครที่ยังดูละครเรื่องนี้อยู่อย่ามัวแต่เพลินตากับพระนางนะคะ ดูอาร์ตแกเลอรี่ที่เขาใส่มาให้ในละครด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจากในละครและจาก:
    https://www.163.com/dy/article/HBHTPUAG055226SD.html
    https://news.yangtse.com/content/1470761.html
    http://www.chinashj.com/sh-gdhh-wd/502.html
    https://baike.baidu.com/item/秋山问道图/2237166
    https://baike.baidu.com/item/溪山行旅图/1775752

    #สามบุปผาลิขิตฝัน #ซีซันหลี่ว์สิง #เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว #ชิวซานเวิ่นเต้า #ภาพวาดจีนโบราณ
    สัปดาห์ที่แล้วพูดถึงภาพวาดโบราณที่ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสิบที่ล้ำค่าที่สุดของจีน วันนี้มาคุยกันสั้นๆ ถึงภาพวาดที่ปรากฏในละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> ละครเปิดฉากมาที่ร้านชาในเจียงหนานของนางเอกจ้าวพ่านเอ๋อร์ เพื่อนเพจที่ได้ดูละครอาจมัวแต่เพลินกับความสวยของนางเอกและวิวทิวทัศน์จนไม่ทันสังเกตว่าผนังร้านมีภาพวาดแขวนเต็มไปหมด Storyฯ จะบอกว่ามันคือแกลเลอรี่ดีๆ นี่เอง เพราะภาพที่โชว์อยู่ตามผนังเป็นภาพเหมือนของภาพวาดโบราณที่มีชื่อเสียงจัดเป็นสมบัติชาติของจีน ซึ่งในหลายฉากอื่นในละครก็มีภาพวาดโบราณเหล่านี้ให้ดูอีก วันนี้ยกตัวอย่างมาให้ดูกันสามภาพ ภาพแรกคือภาพ ‘เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว’ (莲池水禽图 แปลได้ว่าภาพสัตว์น้ำในสระปทุม ดูรูปประกอบ1) ภาพนี้เป็นภาพวาดสมัยปลายถัง-ห้าราชวงศ์ เป็นภาพคู่ วาดขึ้นบนผ้าไหมหรือที่เรียกว่า ‘เจวี้ยนเปิ่น’ (绢本/silk scroll) ขนาดประมาณของภาพแต่ละผืนคือ 106 x 91ซม. วาดโดยกู้เต๋อเชียนซึ่งมีพื้นเพอยู่เจียงหนาน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว ภาพต่อมาคือภาพ ‘ซีซันหลี่ว์สิง’ (溪山行旅图 แปลได้ว่าภาพการท่องไปตามภูเขาลำธาร ดูรูปประกอบ2) ภาพนี้วาดโดยฟ่านควน จิตรกรสมัยซ่งเหนือ วาดขึ้นบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 206 x 103ซม. เป็นสมบัติในวังหลวงสืบทอดกันมา (มีตราประทับห้องทรงพระอักษรสมัยหมิงและชิงอยู่ที่ขอบรูปจริง) ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม ภาพที่สามคือภาพ ‘ชิวซานเวิ่นเต้า’ (秋山问道图 แปลได้ประมาณว่าภาพการแสวงหาทางธรรมกลางภูผาในสารทฤดู) เป็นภาพสมัยปลายห้าราชวงศ์-ต้นซ่ง ผู้วาดเป็นนักบวชนามว่าจวี้หรัน เป็นภาพวาดบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 165 x 77ซม. ปัจจุบันภาพที่จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามเช่นกัน พูดถึงภาพจริงกันไปแล้วพอหอมปากหอมคอ แน่นอนว่าในละครยังมีอีกหลายภาพ ใครที่ยังดูละครเรื่องนี้อยู่อย่ามัวแต่เพลินตากับพระนางนะคะ ดูอาร์ตแกเลอรี่ที่เขาใส่มาให้ในละครด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจากในละครและจาก: https://www.163.com/dy/article/HBHTPUAG055226SD.html https://news.yangtse.com/content/1470761.html http://www.chinashj.com/sh-gdhh-wd/502.html https://baike.baidu.com/item/秋山问道图/2237166 https://baike.baidu.com/item/溪山行旅图/1775752 #สามบุปผาลิขิตฝัน #ซีซันหลี่ว์สิง #เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว #ชิวซานเวิ่นเต้า #ภาพวาดจีนโบราณ
    《梦华录》中的挂画,惊现国宝《溪山行旅图》!
    《梦华录》中的挂画,惊现国宝《溪山行旅图》!,溪山行旅图,梦华录,范宽,董其昌,挂画,画家
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 289 มุมมอง 0 รีวิว
  • ** โฉมงามอวี๋ บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู **

    สวัสดีค่ะ ก่อนอื่น Storyฯ ขอแสดงความเสียใจกับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาและหวังเพื่อนเพจทั้งหลายแคล้วคลาดปลอดภัย

    สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงสีแดงจากเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> มีการกล่าวถึงบทกวีที่มีชื่อว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人) หรือ ‘โฉมงามอวี๋’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมากแล้วแต่บทความถูกลบไป (อาจด้วยมีลิ้งค์ที่ต้องห้าม) วันนี้เลยแก้ไขแล้วเอามาลงใหม่ให้อ่านกัน

    ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีเลื่องชื่อของจีน และถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู> โดยชื่อของนางเอกพระเอก ‘ชุนฮวา’ และ ‘ชิวเยวี่ย’ มาจากวลีหนึ่งในบทกวีนี้ ซึ่งก็คือ ‘ชุนฮวาชิวเยวี่ยเหอสือเหลี่ยว หว่างซื่อจือตัวส่าว?’ (春花秋月何时了,往事知多少?) แปลตรงตัวว่า ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดูสิ้นสุดไปเมื่อใด มีเรื่องราวมากน้อยเท่าไรให้รำลึกถึง?’ โดยในซีรีส์เรื่องนี้มีการกล่าวถึงวรรคแรกของวลีนี้อยู่บ่อยครั้ง

    ฟังดูเหงาๆ โรแมนติก เป็นวลีฮอตฮิตยามชมจันทร์ ละครเรื่องนี้ก็เป็นแนวรักตลก จะมีเพื่อนเพจกี่ท่านที่ทราบถึงความเจ็บปวดที่แฝงไว้อยู่ในบทกวีนี้?

    บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทประพันธ์ขององค์หลี่อวี้ (ค.ศ. 937-978) ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ถังปลายในช่วงยุคสมัยห้าราชวงศ์สิบแคว้น (คือคนเดียวกับที่สั่งให้จิตรกรไปวาดภาพงานเลี้ยงราตรีของหานซีจ่ายที่ Storyฯ เคยเล่าถึง)

    พระองค์ทรงมีชื่อเสียงในฐานะกวีที่มีผลงานน่ายกย่องหลายชิ้น แต่ก็ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่อ่อนแอที่สุดของจีน ภายหลังจากอาณาจักรถังปลายล่มสลาย องค์หลี่อวี้ถูกจับกุมเป็นเชลยศึกและกักบริเวณอยู่ที่เมืองตงจิง (เมืองหลวงของราชวงศ์ซ่ง คือเมืองไคเฟิงปัจจุบัน) โดยองค์เจ้าควงอิ้งปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง หลี่อวี้ได้รับการอวยบรรดาศักดิ์ให้ใหม่เป็นระดับโหว นามว่า ‘เหวยมิ่งโหว’ (ก็คือถูกถอดยศกษัตริย์เนื่องจากชาติล่มสลายไปแล้ว) เขาถูกกักบริเวณอยู่ด้วยกันกับมเหสีองค์ที่สองผู้ซึ่งมาจากสกุลโจวเช่นเดียวกับพระมเหสีองค์แรก นามจริงไม่ปรากฏ เรียกกันในประวัติศาสตร์ว่า ‘เสี่ยวโจวโฮ่ว’ (มเหสีสกุลโจวเล็ก) ว่ากันว่าเขารักนางมาก

    ต่อมาเข้าสู่รัชสมัยขององค์เจ้ากวงอี้ (ฮ่องเต้องค์ที่สองของราชวงศ์ซ่ง) หลี่อวี้ได้ประพันธ์บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้ขึ้น ความหมายของบทกวีแปลได้ประมาณว่า: วันเวลาที่สวยงามสิ้นสุดไปแล้วอย่างรวดเร็ว เมื่อคืนนี้ลมบูรพาโชยมาอีกครา ภายใต้ดวงจันทร์ที่ทอแสงสุกสกาว จะทำอย่างไรให้ลืมความทุกข์ของการที่บ้านเมืองล่มสลาย? สถานที่ที่งดงามคงยังอยู่ แต่คนที่อยู่ในห้วงคะนึงหาคงล้วนแก่ชรากันไปตามเวลาแล้ว หากจะถามว่าใจข้าทุกข์เพียงใด... คงเปรียบได้ดั่งคลื่นนทีที่ไหล่รินสู่ทิศบูรพา

    จะเห็นได้ว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีที่บรรยายถึงความทุกข์ขมขื่นในยามที่มองจันทร์ แต่ถูกองค์เจ้ากวงอี้ตีความหมายว่าหลี่อวี้คิดไม่ซื่อกับราชสำนักซ่ง หวังจะพลิกฟื้นราชวงศ์เดิมขึ้นใหม่ จึงพระราชทานยาพิษให้หลี่อวี้ฆ่าตัวตาย

    แต่มีเรื่องเล่าขานกันว่านี่เป็นเพียงข้ออ้าง ว่ากันว่าองค์เจ้ากวงอี้ทรงรอจังหวะหาข้ออ้างสังหารหลี่อวี้อยู่แล้วเพราะทรงหลงไหลในชายาเสี่ยวโจวของหลี่อวี้ผู้ซึ่งงามพิลาส ถึงกับทรงล่อลวงนางเข้าวังแล้วขืนใจและหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ในวัง จากนั้นมีการบังคับขืนใจนางอีกหลายครั้งครา มีการเล่าขานว่าทรงถึงขนาดให้จิตรกรมาวาดภาพขณะกำลังย่ำยีนางเพื่อส่งให้หลี่อวี้ดูเป็นการขยี้ใจ จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจของบทกวีนี้ขึ้น... ข้อเท็จจริงใช่อย่างนี้หรือไม่? ไม่มีใครยืนยันได้ มีการกล่าวไว้เพียงว่าบทกวีอวี๋เหม่ยเหรินนี้ทำให้หลี่อวี้ถูกพระราชทานยาพิษตาย แต่ก็มีเอกสารเรื่องเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ในสมัยหมิงที่กล่าวถึงภาพวาดที่องค์เจ้ากวงอี้ได้ทรงให้คนวาดขึ้นนี้

    นอกจากชื่อบทกวีแล้ว ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ ยังเป็นชื่อเรียกดอกป๊อปปี้ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีความหมายถึงความทุกข์และการตายจากพลัดพรากมาแต่จีนโบราณอีกด้วย

    วันนี้จบกันแบบสั้นๆ เศร้าๆ อย่างนี้แล

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://image.tmdb.org/t/p/original/enj2s0CNvp2oaf84j87H8Vsdbr0.jpg
    https://bowuguan.bucm.edu.cn/kpzl/zyyzs/57214.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.lllst.com/guoxuejingdian/scmj/271349.html
    https://baike.baidu.com/item/虞美人·春花秋月何时了/10926799
    https://www.jianshu.com/p/8ff00c387fbe
    https://baike.sogou.com/v6849891.htm
    https://www.guwenxuexi.com/classical/24854.html
    https://k.sina.cn/article_1659337544_62e77b48001003bvc.html

    #บุปผาวสันต์ #จันทราสารทฤดู #ชุนฮวาชิวเยวี่ย #อวี๋เหม่ยเหริน #หลี่อวี
    ** โฉมงามอวี๋ บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู ** สวัสดีค่ะ ก่อนอื่น Storyฯ ขอแสดงความเสียใจกับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาและหวังเพื่อนเพจทั้งหลายแคล้วคลาดปลอดภัย สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงสีแดงจากเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> มีการกล่าวถึงบทกวีที่มีชื่อว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人) หรือ ‘โฉมงามอวี๋’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมากแล้วแต่บทความถูกลบไป (อาจด้วยมีลิ้งค์ที่ต้องห้าม) วันนี้เลยแก้ไขแล้วเอามาลงใหม่ให้อ่านกัน ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีเลื่องชื่อของจีน และถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู> โดยชื่อของนางเอกพระเอก ‘ชุนฮวา’ และ ‘ชิวเยวี่ย’ มาจากวลีหนึ่งในบทกวีนี้ ซึ่งก็คือ ‘ชุนฮวาชิวเยวี่ยเหอสือเหลี่ยว หว่างซื่อจือตัวส่าว?’ (春花秋月何时了,往事知多少?) แปลตรงตัวว่า ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดูสิ้นสุดไปเมื่อใด มีเรื่องราวมากน้อยเท่าไรให้รำลึกถึง?’ โดยในซีรีส์เรื่องนี้มีการกล่าวถึงวรรคแรกของวลีนี้อยู่บ่อยครั้ง ฟังดูเหงาๆ โรแมนติก เป็นวลีฮอตฮิตยามชมจันทร์ ละครเรื่องนี้ก็เป็นแนวรักตลก จะมีเพื่อนเพจกี่ท่านที่ทราบถึงความเจ็บปวดที่แฝงไว้อยู่ในบทกวีนี้? บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทประพันธ์ขององค์หลี่อวี้ (ค.ศ. 937-978) ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ถังปลายในช่วงยุคสมัยห้าราชวงศ์สิบแคว้น (คือคนเดียวกับที่สั่งให้จิตรกรไปวาดภาพงานเลี้ยงราตรีของหานซีจ่ายที่ Storyฯ เคยเล่าถึง) พระองค์ทรงมีชื่อเสียงในฐานะกวีที่มีผลงานน่ายกย่องหลายชิ้น แต่ก็ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่อ่อนแอที่สุดของจีน ภายหลังจากอาณาจักรถังปลายล่มสลาย องค์หลี่อวี้ถูกจับกุมเป็นเชลยศึกและกักบริเวณอยู่ที่เมืองตงจิง (เมืองหลวงของราชวงศ์ซ่ง คือเมืองไคเฟิงปัจจุบัน) โดยองค์เจ้าควงอิ้งปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง หลี่อวี้ได้รับการอวยบรรดาศักดิ์ให้ใหม่เป็นระดับโหว นามว่า ‘เหวยมิ่งโหว’ (ก็คือถูกถอดยศกษัตริย์เนื่องจากชาติล่มสลายไปแล้ว) เขาถูกกักบริเวณอยู่ด้วยกันกับมเหสีองค์ที่สองผู้ซึ่งมาจากสกุลโจวเช่นเดียวกับพระมเหสีองค์แรก นามจริงไม่ปรากฏ เรียกกันในประวัติศาสตร์ว่า ‘เสี่ยวโจวโฮ่ว’ (มเหสีสกุลโจวเล็ก) ว่ากันว่าเขารักนางมาก ต่อมาเข้าสู่รัชสมัยขององค์เจ้ากวงอี้ (ฮ่องเต้องค์ที่สองของราชวงศ์ซ่ง) หลี่อวี้ได้ประพันธ์บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้ขึ้น ความหมายของบทกวีแปลได้ประมาณว่า: วันเวลาที่สวยงามสิ้นสุดไปแล้วอย่างรวดเร็ว เมื่อคืนนี้ลมบูรพาโชยมาอีกครา ภายใต้ดวงจันทร์ที่ทอแสงสุกสกาว จะทำอย่างไรให้ลืมความทุกข์ของการที่บ้านเมืองล่มสลาย? สถานที่ที่งดงามคงยังอยู่ แต่คนที่อยู่ในห้วงคะนึงหาคงล้วนแก่ชรากันไปตามเวลาแล้ว หากจะถามว่าใจข้าทุกข์เพียงใด... คงเปรียบได้ดั่งคลื่นนทีที่ไหล่รินสู่ทิศบูรพา จะเห็นได้ว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีที่บรรยายถึงความทุกข์ขมขื่นในยามที่มองจันทร์ แต่ถูกองค์เจ้ากวงอี้ตีความหมายว่าหลี่อวี้คิดไม่ซื่อกับราชสำนักซ่ง หวังจะพลิกฟื้นราชวงศ์เดิมขึ้นใหม่ จึงพระราชทานยาพิษให้หลี่อวี้ฆ่าตัวตาย แต่มีเรื่องเล่าขานกันว่านี่เป็นเพียงข้ออ้าง ว่ากันว่าองค์เจ้ากวงอี้ทรงรอจังหวะหาข้ออ้างสังหารหลี่อวี้อยู่แล้วเพราะทรงหลงไหลในชายาเสี่ยวโจวของหลี่อวี้ผู้ซึ่งงามพิลาส ถึงกับทรงล่อลวงนางเข้าวังแล้วขืนใจและหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ในวัง จากนั้นมีการบังคับขืนใจนางอีกหลายครั้งครา มีการเล่าขานว่าทรงถึงขนาดให้จิตรกรมาวาดภาพขณะกำลังย่ำยีนางเพื่อส่งให้หลี่อวี้ดูเป็นการขยี้ใจ จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจของบทกวีนี้ขึ้น... ข้อเท็จจริงใช่อย่างนี้หรือไม่? ไม่มีใครยืนยันได้ มีการกล่าวไว้เพียงว่าบทกวีอวี๋เหม่ยเหรินนี้ทำให้หลี่อวี้ถูกพระราชทานยาพิษตาย แต่ก็มีเอกสารเรื่องเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ในสมัยหมิงที่กล่าวถึงภาพวาดที่องค์เจ้ากวงอี้ได้ทรงให้คนวาดขึ้นนี้ นอกจากชื่อบทกวีแล้ว ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ ยังเป็นชื่อเรียกดอกป๊อปปี้ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีความหมายถึงความทุกข์และการตายจากพลัดพรากมาแต่จีนโบราณอีกด้วย วันนี้จบกันแบบสั้นๆ เศร้าๆ อย่างนี้แล (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://image.tmdb.org/t/p/original/enj2s0CNvp2oaf84j87H8Vsdbr0.jpg https://bowuguan.bucm.edu.cn/kpzl/zyyzs/57214.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.lllst.com/guoxuejingdian/scmj/271349.html https://baike.baidu.com/item/虞美人·春花秋月何时了/10926799 https://www.jianshu.com/p/8ff00c387fbe https://baike.sogou.com/v6849891.htm https://www.guwenxuexi.com/classical/24854.html https://k.sina.cn/article_1659337544_62e77b48001003bvc.html #บุปผาวสันต์ #จันทราสารทฤดู #ชุนฮวาชิวเยวี่ย #อวี๋เหม่ยเหริน #หลี่อวี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 686 มุมมอง 0 รีวิว
  • **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน

    เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’

    ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา

    ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร

    กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี

    เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น

    เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง

    บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ)

    Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน)

    เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล

    เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง

    ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน

    บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://news.agentm.tw/310261/
    https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00
    https://www.yeeyi.com/news/details/629504/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/李白/1043
    https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719
    http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259
    https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904
    https://www.sohu.com/a/538839040_355475
    http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211#

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ) Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน) เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223 Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.agentm.tw/310261/ https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00 https://www.yeeyi.com/news/details/629504/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/李白/1043 https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719 http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259 https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904 https://www.sohu.com/a/538839040_355475 http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211# #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1166 มุมมอง 0 รีวิว
  • ก่อนหน้านี้มีคุยเรื่องความหมายของดอกไม้ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เรื่องสุภาษิตจีนที่เกี่ยวกับดอกไม้

    เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <เทียบท้าปฐพี> คงเคยผ่านตาฉากที่พระเอกต้องแกล้งเป็นดื่มเหล้าเมาแล้วนางเอกเตือนไม่ให้ดื่มเยอะ ตัวร้ายถึงกับออกปากว่า “นางข้าหลวงคนนี้ มาจากในวังหรือ? ทั้งซื่อสัตย์และงดงามนัก เป็นดอกไม้งามที่เฉลียวฉลาด” (หมายเหตุ คำแปลยกมาจากซับไทยของละครเรื่องนี้)

    แต่เพื่อนเพจที่ไม่ทราบภาษาจีนคงไม่รู้ว่า ‘ดอกไม้งามที่เฉลียวฉลาด’ นี้ ในฉบับภาษาจีนใช้คำว่า ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ (解语花) แปลตรงตัวว่า เข้าใจ+ภาษา+ดอกไม้ (อุ้ย... ความหมายเพี้ยน!) เปรียบเปรยถึงหญิงงามที่ฉลาดมีความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็นวลีที่นิยมใช้ในสมัยซ่ง

    สุภาษิตนี้มีจุดกำเนิดจากบทประพันธ์เชิงประวัติศาสตร์ของนักอักษรศาสตร์ในช่วงปลายราชวงศ์ถังนามว่า หวางเหรินอี้ (ค.ศ. 880-956) เป็นเรื่องเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากสมัยองค์ถังเสวียนจง ฮ่องเต้องค์ที่เจ็ดแห่งราชวงศ์ถัง โดยฉากที่กล่าวถึงนี้บรรยายว่า วันหนึ่งในสารทฤดู เดือนแปด องค์ถังเสวียนจงทรงชื่นชมความงามของธรรมชาติอยู่ในอุทยานกับญาติๆ และนางใน ดอกบัวขาวบานสะพรั่งชูช่อเป็นที่ชื่นชมของผู้คน แต่แล้วทรงหันมาชี้นิ้วไปยังหยางกุ้ยเฟยที่ตามเสด็จมาด้วยแล้วเอ่ยว่า “ไยจะสู้เจี๋ยอวี่ฮวาของเรา” (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) เป็นเหตุการณ์ที่ถูกเล่ากันต่อๆ มาให้เป็นตัวอย่างว่าหยางกุ้ยเฟยเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังเสวียนจงเพียงใด

    ความหมายดั้งเดิมของ ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ ในตอนนั้นคือ บุปผาที่พูดได้ ย่อมงดงามกว่าบุปผาธรรมดา ใช้เปรียบเปรยสตรีที่งดงามยิ่งนัก และในเวลานั้นใช้หมายถึงหยางกุ้ยเฟยนั่นเอง

    ต่อมาคำว่า ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ ถูกนำมาใช้ในบทกวีและบทประพันธ์ของชนรุ่นหลัง ปัจจุบันเป็นสุภาษิตที่แปลว่าสตรีที่งามยิ่งนัก หรือสตรีที่ทั้งงามและมีเสน่ห์ (เพราะมีความเข้าอกเข้าใจคน)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://baike.baidu.com/item/解语花/9250245
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/解语花/9250245
    https://baike.baidu.com/item/王仁裕
    https://www.sohu.com/a/273086275_100069764
    https://cidian.qianp.com/ci/%E8%A7%A3%E8%AF%AD%E8%8A%B1

    #เทียบท้าปฐพี #หยางกุ้ยเฟย #เจี๋ยอวี่ฮวา
    ก่อนหน้านี้มีคุยเรื่องความหมายของดอกไม้ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เรื่องสุภาษิตจีนที่เกี่ยวกับดอกไม้ เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <เทียบท้าปฐพี> คงเคยผ่านตาฉากที่พระเอกต้องแกล้งเป็นดื่มเหล้าเมาแล้วนางเอกเตือนไม่ให้ดื่มเยอะ ตัวร้ายถึงกับออกปากว่า “นางข้าหลวงคนนี้ มาจากในวังหรือ? ทั้งซื่อสัตย์และงดงามนัก เป็นดอกไม้งามที่เฉลียวฉลาด” (หมายเหตุ คำแปลยกมาจากซับไทยของละครเรื่องนี้) แต่เพื่อนเพจที่ไม่ทราบภาษาจีนคงไม่รู้ว่า ‘ดอกไม้งามที่เฉลียวฉลาด’ นี้ ในฉบับภาษาจีนใช้คำว่า ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ (解语花) แปลตรงตัวว่า เข้าใจ+ภาษา+ดอกไม้ (อุ้ย... ความหมายเพี้ยน!) เปรียบเปรยถึงหญิงงามที่ฉลาดมีความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็นวลีที่นิยมใช้ในสมัยซ่ง สุภาษิตนี้มีจุดกำเนิดจากบทประพันธ์เชิงประวัติศาสตร์ของนักอักษรศาสตร์ในช่วงปลายราชวงศ์ถังนามว่า หวางเหรินอี้ (ค.ศ. 880-956) เป็นเรื่องเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากสมัยองค์ถังเสวียนจง ฮ่องเต้องค์ที่เจ็ดแห่งราชวงศ์ถัง โดยฉากที่กล่าวถึงนี้บรรยายว่า วันหนึ่งในสารทฤดู เดือนแปด องค์ถังเสวียนจงทรงชื่นชมความงามของธรรมชาติอยู่ในอุทยานกับญาติๆ และนางใน ดอกบัวขาวบานสะพรั่งชูช่อเป็นที่ชื่นชมของผู้คน แต่แล้วทรงหันมาชี้นิ้วไปยังหยางกุ้ยเฟยที่ตามเสด็จมาด้วยแล้วเอ่ยว่า “ไยจะสู้เจี๋ยอวี่ฮวาของเรา” (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) เป็นเหตุการณ์ที่ถูกเล่ากันต่อๆ มาให้เป็นตัวอย่างว่าหยางกุ้ยเฟยเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังเสวียนจงเพียงใด ความหมายดั้งเดิมของ ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ ในตอนนั้นคือ บุปผาที่พูดได้ ย่อมงดงามกว่าบุปผาธรรมดา ใช้เปรียบเปรยสตรีที่งดงามยิ่งนัก และในเวลานั้นใช้หมายถึงหยางกุ้ยเฟยนั่นเอง ต่อมาคำว่า ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ ถูกนำมาใช้ในบทกวีและบทประพันธ์ของชนรุ่นหลัง ปัจจุบันเป็นสุภาษิตที่แปลว่าสตรีที่งามยิ่งนัก หรือสตรีที่ทั้งงามและมีเสน่ห์ (เพราะมีความเข้าอกเข้าใจคน) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://baike.baidu.com/item/解语花/9250245 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/解语花/9250245 https://baike.baidu.com/item/王仁裕 https://www.sohu.com/a/273086275_100069764 https://cidian.qianp.com/ci/%E8%A7%A3%E8%AF%AD%E8%8A%B1 #เทียบท้าปฐพี #หยางกุ้ยเฟย #เจี๋ยอวี่ฮวา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 564 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้วพูดถึงภาพวาดโบราณที่ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสิบที่ล้ำค่าที่สุดของจีน วันนี้มาคุยกันสั้นๆ ถึงภาพวาดที่ปรากฏในละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>

    ละครเปิดฉากมาที่ร้านชาในเจียงหนานของนางเอกจ้าวพ่านเอ๋อร์ เพื่อนเพจที่ได้ดูละครอาจมัวแต่เพลินกับความสวยของนางเอกและวิวทิวทัศน์จนไม่ทันสังเกตว่าผนังร้านมีภาพวาดแขวนเต็มไปหมด

    Storyฯ จะบอกว่ามันคือแกลเลอรี่ดีๆ นี่เอง เพราะภาพที่โชว์อยู่ตามผนังเป็นภาพเหมือนของภาพวาดโบราณที่มีชื่อเสียงจัดเป็นสมบัติชาติของจีน ซึ่งในหลายฉากอื่นในละครก็มีภาพวาดโบราณเหล่านี้ให้ดูอีก วันนี้ยกตัวอย่างมาให้ดูกันสามภาพ

    ภาพแรกคือภาพ ‘เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว’ (莲池水禽图 แปลได้ว่าภาพสัตว์น้ำในสระปทุม ดูรูปประกอบ1) ภาพนี้เป็นภาพวาดสมัยปลายถัง-ห้าราชวงศ์ เป็นภาพคู่ วาดขึ้นบนผ้าไหมหรือที่เรียกว่า ‘เจวี้ยนเปิ่น’ (绢本/silk scroll) ขนาดประมาณของภาพแต่ละผืนคือ 106 x 91ซม. วาดโดยกู้เต๋อเชียนซึ่งมีพื้นเพอยู่เจียงหนาน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว

    ภาพต่อมาคือภาพ ‘ซีซันหลี่ว์สิง’ (溪山行旅图 แปลได้ว่าภาพการท่องไปตามภูเขาลำธาร ดูรูปประกอบ2) ภาพนี้วาดโดยฟ่านควน จิตรกรสมัยซ่งเหนือ วาดขึ้นบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 206 x 103ซม. เป็นสมบัติในวังหลวงสืบทอดกันมา (มีตราประทับห้องทรงพระอักษรสมัยหมิงและชิงอยู่ที่ขอบรูปจริง) ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม

    ภาพที่สามคือภาพ ‘ชิวซานเวิ่นเต้า’ (秋山问道图 แปลได้ประมาณว่าภาพการแสวงหาทางธรรมกลางภูผาในสารทฤดู) เป็นภาพสมัยปลายห้าราชวงศ์-ต้นซ่ง ผู้วาดเป็นนักบวชนามว่าจวี้หรัน เป็นภาพวาดบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 165 x 77ซม. ปัจจุบันภาพที่จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามเช่นกัน

    พูดถึงภาพจริงกันไปแล้วพอหอมปากหอมคอ แน่นอนว่าในละครยังมีอีกหลายภาพ ใครที่ยังดูละครเรื่องนี้อยู่อย่ามัวแต่เพลินตากับพระนางนะคะ ดูอาร์ตแกเลอรี่ที่เขาใส่มาให้ในละครด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจากในละครและจาก:
    https://www.163.com/dy/article/HBHTPUAG055226SD.html
    https://news.yangtse.com/content/1470761.html
    http://www.chinashj.com/sh-gdhh-wd/502.html
    https://baike.baidu.com/item/秋山问道图/2237166
    https://baike.baidu.com/item/溪山行旅图/1775752

    #สามบุปผาลิขิตฝัน #ซีซันหลี่ว์สิง #เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว #ชิวซานเวิ่นเต้า #ภาพวาดจีนโบราณ
    สัปดาห์ที่แล้วพูดถึงภาพวาดโบราณที่ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสิบที่ล้ำค่าที่สุดของจีน วันนี้มาคุยกันสั้นๆ ถึงภาพวาดที่ปรากฏในละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> ละครเปิดฉากมาที่ร้านชาในเจียงหนานของนางเอกจ้าวพ่านเอ๋อร์ เพื่อนเพจที่ได้ดูละครอาจมัวแต่เพลินกับความสวยของนางเอกและวิวทิวทัศน์จนไม่ทันสังเกตว่าผนังร้านมีภาพวาดแขวนเต็มไปหมด Storyฯ จะบอกว่ามันคือแกลเลอรี่ดีๆ นี่เอง เพราะภาพที่โชว์อยู่ตามผนังเป็นภาพเหมือนของภาพวาดโบราณที่มีชื่อเสียงจัดเป็นสมบัติชาติของจีน ซึ่งในหลายฉากอื่นในละครก็มีภาพวาดโบราณเหล่านี้ให้ดูอีก วันนี้ยกตัวอย่างมาให้ดูกันสามภาพ ภาพแรกคือภาพ ‘เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว’ (莲池水禽图 แปลได้ว่าภาพสัตว์น้ำในสระปทุม ดูรูปประกอบ1) ภาพนี้เป็นภาพวาดสมัยปลายถัง-ห้าราชวงศ์ เป็นภาพคู่ วาดขึ้นบนผ้าไหมหรือที่เรียกว่า ‘เจวี้ยนเปิ่น’ (绢本/silk scroll) ขนาดประมาณของภาพแต่ละผืนคือ 106 x 91ซม. วาดโดยกู้เต๋อเชียนซึ่งมีพื้นเพอยู่เจียงหนาน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว ภาพต่อมาคือภาพ ‘ซีซันหลี่ว์สิง’ (溪山行旅图 แปลได้ว่าภาพการท่องไปตามภูเขาลำธาร ดูรูปประกอบ2) ภาพนี้วาดโดยฟ่านควน จิตรกรสมัยซ่งเหนือ วาดขึ้นบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 206 x 103ซม. เป็นสมบัติในวังหลวงสืบทอดกันมา (มีตราประทับห้องทรงพระอักษรสมัยหมิงและชิงอยู่ที่ขอบรูปจริง) ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม ภาพที่สามคือภาพ ‘ชิวซานเวิ่นเต้า’ (秋山问道图 แปลได้ประมาณว่าภาพการแสวงหาทางธรรมกลางภูผาในสารทฤดู) เป็นภาพสมัยปลายห้าราชวงศ์-ต้นซ่ง ผู้วาดเป็นนักบวชนามว่าจวี้หรัน เป็นภาพวาดบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 165 x 77ซม. ปัจจุบันภาพที่จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามเช่นกัน พูดถึงภาพจริงกันไปแล้วพอหอมปากหอมคอ แน่นอนว่าในละครยังมีอีกหลายภาพ ใครที่ยังดูละครเรื่องนี้อยู่อย่ามัวแต่เพลินตากับพระนางนะคะ ดูอาร์ตแกเลอรี่ที่เขาใส่มาให้ในละครด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจากในละครและจาก: https://www.163.com/dy/article/HBHTPUAG055226SD.html https://news.yangtse.com/content/1470761.html http://www.chinashj.com/sh-gdhh-wd/502.html https://baike.baidu.com/item/秋山问道图/2237166 https://baike.baidu.com/item/溪山行旅图/1775752 #สามบุปผาลิขิตฝัน #ซีซันหลี่ว์สิง #เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว #ชิวซานเวิ่นเต้า #ภาพวาดจีนโบราณ
    《梦华录》中的挂画,惊现国宝《溪山行旅图》!
    《梦华录》中的挂画,惊现国宝《溪山行旅图》!,溪山行旅图,梦华录,范宽,董其昌,挂画,画家
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 713 มุมมอง 0 รีวิว
  • สุนัขเห่ากรรโชก วลีจาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ว่าเหล่าขุนนางจากสำนักผู้ตรวจการได้ร้องเรียนฟ่านเสียนว่ารับเงินสินบน และฟ่านเสียนมีปฏิกิริยาตอบกลับคือ ส่งภาพอักษรสี่ตัวให้กับสำนักผู้ตรวจการ ทำให้พวกเขายิ่งโกรธแค้นกระเหี้ยนกระหือรือจะเอาผิดฟ่านเสียนให้ได้ อักษรสี่ตัวนี้คือ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ (狺狺狂吠) ในซีรีส์พากย์ไทยแปลว่า ‘สุนัขเห่าโฮ่งๆ’ วลีนี้แปลว่าสุนัขเห่า แต่เพราะมีคำว่า ‘ขวาง’ ซึ่งแปลว่าบ้าคลั่ง มันจึงไม่ใช่สุนัขเห่าธรรมดา แต่เป็นการเห่าแบบกรรโชกแบบบ้าคลั่ง แต่ที่ดูแปลกตาสำหรับ Storyฯ คืออักษร ‘อิ๋น’ จึงลองไปหาข้อมูลดูพบว่ามันเป็นคำที่แทบไม่ค่อยเห็นในปัจจุบัน ‘อิ๋น’ มีที่มาจากบทกวีจีนโบราณที่มีชื่อว่า ‘จิ่วเปี้ยน’ (九辩 แปลได้ประมาณว่า คำถก 9 หัวข้อ) ซึ่งเป็นผลงานของซ่งอวี้ (宋玉) นักประพันธ์และขุนนางจากแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐ (มีชีวิตอยู่ช่วงปี 298-222 ก่อนคริสตกาล) เป็นบทร้อยกรองยาวกว่าสองร้อยห้าสิบวรรค เขียนขึ้นเมื่อปีที่เขาถูกปลดออกจากราชการตอนอายุห้าสิบปี เป็นวัยที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน บทกวีนี้จึงสะท้อนความรู้สึกหลากหลายโดยมีหัวข้อหลักคือความโศกเศร้าในสารทฤดู ถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบและเป็นหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อนี้เพราะสามารถชวนให้ผู้อ่านจินตนาการและมีอารมณ์ร่วมได้อย่างดีเลิศ(หมายเหตุ บทกวี ‘เติงเกา’ จากตู้ฝู่ซึ่งเป็นสุดยอดกลอนเจ็ดที่เอ่ยถึงในภาคแรกเป็นอีกหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อเดียวกันนี้ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/973244118137214)‘จิ่วเปี้ยน’ เปิดฉากมาด้วยการบรรยายความงามของฤดูใบไม้ร่วงที่ให้ความรู้สึกโศกเศร้า สะท้อนถึงความโดดเดี่ยวของคนที่ตกยากไร้ทรัพย์สินเงินทอง จากนั้นกล่าวถึงสตรีที่รักแล้วผิดหวังถูกทอดทิ้งสลับกับฉากเศร้าๆ ของสารทฤดูที่สะท้อนถึงอารมณ์ของนาง และวลีหมาเห่ากรรโชก ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ นี้มาจากฉากที่เล่าว่าสตรีผู้นี้พยายามจะเข้าไปหาคนรักแต่ถูกหมาเห่าขัดขวางไว้ไม่สามารถก้าวข้ามผ่านประตูไปได้ แต่จริงๆ แล้วฉากข้างต้นเป็นการอุปมาอุปไมยถึงคนที่พยายามเข้าหาแต่ไม่เป็นที่ต้องการ เพราะฉากถัดมากล่าวถึงคนที่พยายามทำตัวเป็นประโยชน์ ดุจขุนนางที่ต้องการรับใช้งานราชสำนัก แต่กลับไร้ซึ่งโอกาส ถูกกีดกันจากรอบด้าน ในขณะที่อำนาจตกไปอยู่ในมือที่ไม่สะอาดจนสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเมือง เป็นความโศกเศร้าของคนที่รู้สึกว่าตัวตนหายไปพร้อมกับโอกาสในชีวิตที่หายไปแล้ว ดังนั้น บทร้อยกรองนี้จึงเป็นการพัฒนาเนื้อหาอย่างต่อเนื่องจากความสดใสของธรรมชาติที่สูญหาย (lost nature) ไปสู่รักที่สูญหาย (lost love) ไปสู่ความเป็นตัวตนที่สูญหาย (lost man)ผลงานของซ่งอวี้ได้รับอิทธิพลจากกวีรุ่นก่อนคือชวีหยวน (屈原) บ้างว่าเขาเป็นศิษย์ของชวีหยวน ผลงานของพวกเขาถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของสไตล์ที่เรียกว่าจินตนิยมในวรรณกรรมจีนโบราณ กล่าวคือ ใช้การบรรยายธรรมชาติหรือวิถีชีวิตคนธรรมดาเร้าอารมณ์ และในขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงหลักความคิดหรืออุดมคติบางอย่าง แต่ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ เดิมเป็นเพียงการบรรยายถึงอาการเห่าอย่างบ้าคลั่งของสุนัข ไม่ได้มีความหมายอื่นแอบแฝง มันถูกใช้เปรียบเปรยถึงคนในเชิงดูแคลนตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่การใช้วลีนี้ในลักษณะด่าคนนี้มีตัวอย่างให้เห็นในซีรีส์ ‘สามก๊ก’ เวอร์ชั่นปี 1994 ในตอนที่ขงเบ้งด่าหวางหลาง (อองลอง) จนกระอักเลือดตาย โดยคำด่าเต็มๆ กล่าวไว้ประมาณว่า อองลองทำตัวเป็นบ่าวสองนายไม่มีผลงานใดๆ ในชีวิต ยังจะมีหน้ามาว่ากล่าวตักเตือนคน ช่างทำตัวเป็นเสมือนสุนัขขี้เรื้อนเห่ากรรโชกได้อย่างไร้ยางอายปัจจุบัน ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่โวยวายเสียงดังแต่ไร้สาระ ประหนึ่งสุนัขที่สักแต่จะเห่าไปอย่างนั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด จึงไม่แปลกที่ในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> นี้ คนจากสำนักผู้ตรวจการจึงโกรธฟ่านเสียนมากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://weibo.com/6356014463/OhILTDU5d Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/九辩/2482251 https://baike.baidu.com/item/宋玉/72945 https://www.ruanyifeng.com/blog/2006/02/post_174.html https://chuci.5000yan.com/jiubian/ #หาญท้าชะตาฟ้า #สุนัขเห่า #ซ่งอวี้ #จิ่วเปี้ยน #ฉู่ฉือ
    สุนัขเห่ากรรโชก วลีจาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ว่าเหล่าขุนนางจากสำนักผู้ตรวจการได้ร้องเรียนฟ่านเสียนว่ารับเงินสินบน และฟ่านเสียนมีปฏิกิริยาตอบกลับคือ ส่งภาพอักษรสี่ตัวให้กับสำนักผู้ตรวจการ ทำให้พวกเขายิ่งโกรธแค้นกระเหี้ยนกระหือรือจะเอาผิดฟ่านเสียนให้ได้ อักษรสี่ตัวนี้คือ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ (狺狺狂吠) ในซีรีส์พากย์ไทยแปลว่า ‘สุนัขเห่าโฮ่งๆ’ วลีนี้แปลว่าสุนัขเห่า แต่เพราะมีคำว่า ‘ขวาง’ ซึ่งแปลว่าบ้าคลั่ง มันจึงไม่ใช่สุนัขเห่าธรรมดา แต่เป็นการเห่าแบบกรรโชกแบบบ้าคลั่ง แต่ที่ดูแปลกตาสำหรับ Storyฯ คืออักษร ‘อิ๋น’ จึงลองไปหาข้อมูลดูพบว่ามันเป็นคำที่แทบไม่ค่อยเห็นในปัจจุบัน ‘อิ๋น’ มีที่มาจากบทกวีจีนโบราณที่มีชื่อว่า ‘จิ่วเปี้ยน’ (九辩 แปลได้ประมาณว่า คำถก 9 หัวข้อ) ซึ่งเป็นผลงานของซ่งอวี้ (宋玉) นักประพันธ์และขุนนางจากแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐ (มีชีวิตอยู่ช่วงปี 298-222 ก่อนคริสตกาล) เป็นบทร้อยกรองยาวกว่าสองร้อยห้าสิบวรรค เขียนขึ้นเมื่อปีที่เขาถูกปลดออกจากราชการตอนอายุห้าสิบปี เป็นวัยที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน บทกวีนี้จึงสะท้อนความรู้สึกหลากหลายโดยมีหัวข้อหลักคือความโศกเศร้าในสารทฤดู ถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบและเป็นหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อนี้เพราะสามารถชวนให้ผู้อ่านจินตนาการและมีอารมณ์ร่วมได้อย่างดีเลิศ(หมายเหตุ บทกวี ‘เติงเกา’ จากตู้ฝู่ซึ่งเป็นสุดยอดกลอนเจ็ดที่เอ่ยถึงในภาคแรกเป็นอีกหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อเดียวกันนี้ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/973244118137214)‘จิ่วเปี้ยน’ เปิดฉากมาด้วยการบรรยายความงามของฤดูใบไม้ร่วงที่ให้ความรู้สึกโศกเศร้า สะท้อนถึงความโดดเดี่ยวของคนที่ตกยากไร้ทรัพย์สินเงินทอง จากนั้นกล่าวถึงสตรีที่รักแล้วผิดหวังถูกทอดทิ้งสลับกับฉากเศร้าๆ ของสารทฤดูที่สะท้อนถึงอารมณ์ของนาง และวลีหมาเห่ากรรโชก ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ นี้มาจากฉากที่เล่าว่าสตรีผู้นี้พยายามจะเข้าไปหาคนรักแต่ถูกหมาเห่าขัดขวางไว้ไม่สามารถก้าวข้ามผ่านประตูไปได้ แต่จริงๆ แล้วฉากข้างต้นเป็นการอุปมาอุปไมยถึงคนที่พยายามเข้าหาแต่ไม่เป็นที่ต้องการ เพราะฉากถัดมากล่าวถึงคนที่พยายามทำตัวเป็นประโยชน์ ดุจขุนนางที่ต้องการรับใช้งานราชสำนัก แต่กลับไร้ซึ่งโอกาส ถูกกีดกันจากรอบด้าน ในขณะที่อำนาจตกไปอยู่ในมือที่ไม่สะอาดจนสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเมือง เป็นความโศกเศร้าของคนที่รู้สึกว่าตัวตนหายไปพร้อมกับโอกาสในชีวิตที่หายไปแล้ว ดังนั้น บทร้อยกรองนี้จึงเป็นการพัฒนาเนื้อหาอย่างต่อเนื่องจากความสดใสของธรรมชาติที่สูญหาย (lost nature) ไปสู่รักที่สูญหาย (lost love) ไปสู่ความเป็นตัวตนที่สูญหาย (lost man)ผลงานของซ่งอวี้ได้รับอิทธิพลจากกวีรุ่นก่อนคือชวีหยวน (屈原) บ้างว่าเขาเป็นศิษย์ของชวีหยวน ผลงานของพวกเขาถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของสไตล์ที่เรียกว่าจินตนิยมในวรรณกรรมจีนโบราณ กล่าวคือ ใช้การบรรยายธรรมชาติหรือวิถีชีวิตคนธรรมดาเร้าอารมณ์ และในขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงหลักความคิดหรืออุดมคติบางอย่าง แต่ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ เดิมเป็นเพียงการบรรยายถึงอาการเห่าอย่างบ้าคลั่งของสุนัข ไม่ได้มีความหมายอื่นแอบแฝง มันถูกใช้เปรียบเปรยถึงคนในเชิงดูแคลนตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่การใช้วลีนี้ในลักษณะด่าคนนี้มีตัวอย่างให้เห็นในซีรีส์ ‘สามก๊ก’ เวอร์ชั่นปี 1994 ในตอนที่ขงเบ้งด่าหวางหลาง (อองลอง) จนกระอักเลือดตาย โดยคำด่าเต็มๆ กล่าวไว้ประมาณว่า อองลองทำตัวเป็นบ่าวสองนายไม่มีผลงานใดๆ ในชีวิต ยังจะมีหน้ามาว่ากล่าวตักเตือนคน ช่างทำตัวเป็นเสมือนสุนัขขี้เรื้อนเห่ากรรโชกได้อย่างไร้ยางอายปัจจุบัน ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่โวยวายเสียงดังแต่ไร้สาระ ประหนึ่งสุนัขที่สักแต่จะเห่าไปอย่างนั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด จึงไม่แปลกที่ในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> นี้ คนจากสำนักผู้ตรวจการจึงโกรธฟ่านเสียนมากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://weibo.com/6356014463/OhILTDU5d Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/九辩/2482251 https://baike.baidu.com/item/宋玉/72945 https://www.ruanyifeng.com/blog/2006/02/post_174.html https://chuci.5000yan.com/jiubian/ #หาญท้าชะตาฟ้า #สุนัขเห่า #ซ่งอวี้ #จิ่วเปี้ยน #ฉู่ฉือ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1148 มุมมอง 0 รีวิว
  • สุดยอดกลอนเจ็ด ‘ชีลวี่’ จาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค1>สวัสดีค่ะ Storyฯ ย้อนกลับไปดูภาคแรกของ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร> เพื่อทวนความทรงจำรอดูภาคสอง เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูภาคแรกนี้ต้องจำได้ว่าในงานสังสรรค์ชมบทกวี พระเอกได้ยืมกลอนจากกวีเอกตู้ฝู่มาใช้โดยมั่นใจว่าจะไม่มีใครสามารถแต่งกลอนที่ดีกว่าได้เพราะกลอนบทนี้ของตู้ฝู่ถูกยกย่องให้เป็น ‘ที่สุด’ Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจทั้งหลายที่เคยได้ยินคำแปลของกลอนบทนี้คง ‘เอ๊ะ’ เหมือนกันว่ามันเป็น ‘ที่สุด’ อย่างไร วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กันก่อนอื่นขอแนะนำเกี่ยวกับกวีตู้ฝู่และกลอนบทนี้ กวีตู้ฝู่เป็นกวีเอกสมัยถัง (ค.ศ. 712–770) ถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดกวีและถูกขนานนามว่า ‘ราชันกวี’ และกลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เติงเกา’ (登高 แปลว่าปีนขึ้นที่สูง) เบื้องหลังของกลอนนี้คือ เป็นช่วงปี ค.ศ. 766 ซึ่งผ่านเหตุการณ์กบฏอันลู่ซานไปได้หลายปีแล้วแต่บ้านเมืองยังไม่สงบ สหายต่างสิ้นชีพกันไปเกือบหมด ตัวตู้ฝู่เองก็มีโรครุมเร้า เดิมอาศัยใต้ร่มบารมีของเหยียนอู่ เมื่อสิ้นเหยียนอู่ก็ไร้ที่พึ่งพาจำต้องเดินทางจากเมืองหลวงไป ตอนที่ตู้ฝู่แต่งกลอนบทนี้คือช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่เขาแวะพักฟื้นที่เขตขุยโจว (ปัจจุบันใกล้ฉงชิ่ง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแยงซีเกียง หรือฉางเจียงที่กล่าวถึงในบทกลอน) วันหนึ่งเขาปีนขึ้นหอสูงนอกเมืองไป๋ตี้ มองทิวทัศน์ก็รำลึกถึงอดีตและรู้สึกสะท้อนใจกับชีวิตที่ต้องระหกระเหินแม้ร่างกายเจ็บป่วย กลอนบทนี้สี่วรรคแรกจึงบรรยายถึงความงามแบบเศร้าๆ ของทิวทัศน์ในฤดูใบไม้เปลี่ยนสี สี่วรรคสุดท้ายบรรยายถึงสภาพตนเองที่มีแต่ความโศกเศร้าเป็นเพื่อน แม้แต่จะกินเหล้าดับทุกข์ก็ยังทำไม่ได้เพราะว่าร่างกายไม่เอื้ออำนวย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาคแรก> จึงมีฉากที่มีคนถามว่า พระเอกอายุยังน้อยจะสามารถแต่งกลอนที่แฝงด้วยความทุกข์ความเศร้าของคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวในชีวิตมาได้อย่างไรกลอนบทนี้ถูกยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดอักษรที่มีลักษณะเฉพาะ หรือที่เรียกว่า ‘ชีเหยียนลวี่ซือ’ (七言律诗) เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ (七律) ที่บอกว่ามีลักษณะเฉพาะเพราะว่ากลอนเจ็ดชีลวี่นี้หมายถึงกลอนเจ็ดสี่วรรคคู่ รวมแปดวรรค แต่ละวรรคมีเจ็ดอักษร มีแบบแผนจังหวะเสียงที่ตายตัว ทีนี้เรามาดูกันว่ามันเป็น ‘สุดยอด’ อย่างไรประเด็นแรกคือ หัวข้อ --- กลอนที่ดีจะพัฒนาถ้อยคำขึ้นรอบๆ หัวข้อของกลอน ในที่นี้หัวข้อคือ ความเศร้าของสารทฤดู ภาพทิวทัศน์คือใบไม้เปลี่ยนสีและธรรมชาติที่แฝงด้วยความเศร้า ความในใจคือความโศกเศร้าเชื่อมโยงกับสารทฤดู ทุกวรรคทุกประโยคล้วนส่งเสริมหัวข้อนี้แต่บรรยายให้เห็นราวภาพวาด แต่ข้อจำกัดของกลอนเจ็ดชีลวี่คือพอเข้าประโยคที่สามต้องเปลี่ยนเรื่อง... ใช่ค่ะ เปลี่ยนเรื่องโดยไม่หลุดจากหัวข้อ ดังนั้นเราจึงเห็นสองประโยคแรกเป็นการบรรยายทิวทัศน์ และประโยคสามเปลี่ยนมาพูดถึงตัวกวีเองแต่คุณสมบัติตามประเด็นแรกนี้หาไม่ยากในกลอนที่โด่งดังทั้งหลาย เรามาดูประเด็นที่เข้มข้นมากขึ้นกันประเด็นที่สองคือ แบบแผนจังหวะและเสียง --- กลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเฉพาะเจาะจงอยู่สี่แบบ และจังหวะที่ว่านี้คือจังหวะความเข้มเบาของเสียงอักษร โดย ‘เบา’ หมายถึงเสียงกลาง ซึ่งท่านที่เรียนภาษาจีนจะทราบว่าจริงๆ แล้วภาษาจีนไม่มีเสียงกลางเหมือนไทยแต่ผันเป็นสี่เสียง และอักษรที่อยู่ในกลุ่มเสียงเบานี้ส่วนใหญ่เป็นอักษรในเสียงสองหรืออาจเป็นอักษรเสียงแรก ส่วน ‘เข้ม’ คือหมายถึงเสียงอื่น แต่ในประเด็นนี้มีความละเอียดอ่อนของการผันเสียง เช่น หากเป็นอักษรแรกตอนเริ่มวรรคหรือหลังกลางวรรค เสียงเบาอาจผันเป็นเสียงเข้มได้ ฟังแล้วอาจงงแต่เราไม่ได้อยากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญก็อย่าไปเครียดกับมันค่ะ สรุปได้สั้นๆ ว่ากลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเบาเข้มที่ชัดเจน ซึ่งกวีต้องรู้ว่าอักษรใดคือเสียงเบา อักษรใดคือเสียงเข้ม และต้องเลือกใช้อักษรที่ให้เสียงเบาเข้มตามแบบแผนจังหวะที่เลือก ดังที่กล่าวมาข้างต้น ชีลวี่มีสี่แบบแผนจังหวะมาตรฐาน ซึ่งทั้งสี่แบบนี้ล้วนให้อิสระกับจังหวะของประโยคแรกและประโยคสุดท้าย แต่เข้มงวดเรื่องการเชื่อมโยงทางจังหวะของวรรคอื่นๆ อย่าเพิ่งงงค่ะ เรามาดูกลอน ‘เติงเกา’ เป็นตัวอย่าง เอกลักษณ์ของแบบแผนชีลวี่สรุปได้ดังนี้ (ดูรูปประกอบขวาล่าง) - จังหวะของวรรคท้ายในประโยคแรกและประโยคสามเหมือนกัน และต่อเนื่องมาถึงจังหวะของวรรคแรกในประโยคสองและวรรคแรกในประโยคสุดท้ายก็เหมือนกัน - ลงท้ายทุกประโยคด้วยเสียงเบาซึ่งทำให้จำนวนอักษรที่สามารถนำมาใช้ได้นั้นมีจำนวนจำกัดยิ่งขึ้น และ - จังหวะเข้มเบาของวรรคแรกและวรรคจบต้องเหมือนกันเชื่อว่าเพื่อนเพจคงรู้สึกเหมือน Storyฯ แล้วว่า การที่จะใช้อักษรให้สื่อความหมายได้ตามต้องการและยังอยู่ในกรอบแบบแผนจังหวะเสียงที่ว่ามานี้ยากมากและกวีผู้นั้นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาสูงมาก เท่านี้ยังไม่พอ ดีกรีความเข้มข้นของภาษาของกลอนบทนี้คือประเด็นสุดท้ายจะกล่าวถึงประเด็นสุดท้ายคือ ความเป็นคู่ --- หลายคนมักเข้าใจว่ากลอนจีนต้องมีความคล้องจองของคำ แต่ถ้าเพื่อนเพจดูจากคำออกเสียงที่ Storyฯ ใส่มาให้จะเห็นว่าเสียงไม่คล้องจองกันเลย ดังนั้นจะเห็นว่ากลอนจีนโบราณจริงแล้วให้ความสำคัญกับความคล้องจองของอักษรน้อยกว่าความเป็นคู่ ซึ่งความเป็นคู่อาจหมายถึง ‘คู่เหมือน’ หรือ ‘คู่ขัดแย้ง’ ซึ่ง Storyฯ เคยเกริ่นถึงแล้วในบทความเกี่ยวกับรหัสลับจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02a8RcKiQmJ1GyrL2pkPs4dKmeZDnuti8guSaVo2VgSTcG9obtJoguAX62Mx4DgbQLl) เพื่ออธิบายประเด็นความเป็นคู่นี้ Storyฯ เลยแปลและเรียบเรียงบทกวีนี้โดยไม่เน้นความไพเราะหรือความพลิ้วพราย แต่พยายามคงเอกลักษณ์ความเป็นคู่ของวรรคแรกและวรรคหลังของแต่ละประโยคไว้ (ดูรูปประกอบขวาบนนะคะ) จะเห็นว่าความเป็นคู่นี้มีลูกเล่นได้หลากหลาย อาทิ - คุณศัพท์ขยายนาม เช่นในประโยคแรก ลมแรง <-> น้ำใส และ ฟ้าสูง <-> ทรายขาว ; ประโยคสาม หมื่นลี้ <-> ร้อยปี- นามและกิริยา เช่นในประโยคแรก ลิงหวนไห้ <-> นกบินกลับ; - คำซ้ำๆ เหมือนกัน เช่นในประโยคที่สอง โปรยโปรย <-> ม้วนม้วน- คำที่ความหมายคล้ายคลึงด้วยจำนวนอักษรเท่ากัน เช่นในประโยคที่สอง ไร้ขอบเขต <-> ไม่สิ้นสุด- อารมณ์ที่ขัดแย้งกัน เช่นในประโยคสาม วรรคแรก ‘หมั่นมาเยือน’ ให้อารมณ์ความคึกคักขัดแย้งกับวรรคหลัง ‘ปีนหอเดียวดาย’ - อารมณ์สอดคล้องกัน เช่นในประโยคสุดท้ายที่ล้วนบรรยายถึงความยากลำบากทางกายและความระทมทางใจและหากเพื่อนเพจสังเกตดีๆ นอกจากความเป็นคู่ของคำที่ใช้แล้ว จะเห็นว่าตำแหน่งของคำเหล่านี้ล้วนเป็นตำแหน่งเดียวกันในวรรคแรกและวรรคหลัง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นคู่Storyฯ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมจีน แต่ที่พยายามแปลและยกมาเล่าให้ฟังนี้ เพื่อที่เพื่อนเพจจะได้อรรถรสถึงความซับซ้อนของกวีจีนโบราณ บ่อยครั้งที่เราได้ยินคำแปลกลอนจีนที่ไพเราะสละสลวยได้อารมณ์และความหมาย แต่ไม่เคยรู้เลยว่าคำแปลนั้นไม่สามารถสะท้อนถึงเอกลักษณ์ทางเทคนิคของบทกลอน Storyฯ เองเวลาแปลบทกวีจีนก็มักจะมองข้ามเอกลักษณ์ทางเทคนิคเช่นกัน และเอกลักษณ์ทางเทคนิคเหล่านี้นี่เองที่ช่วยเสริมให้บทกวี ‘เติงเกา’ ของตู้ฝู่บทนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดชีลวี่ยาวนานกว่าหนึ่งพันปี ทีนี้เข้าใจกันแล้วนะคะว่าบทกวีนี้เป็น ‘ที่สุด’ ได้อย่างไร(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_5325467 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/604660125_121119376 https://www.toutiao.com/article/6824075960027972109/?&source=m_redirect https://www.sohu.com/a/138168554_146329https://baike.baidu.com/item/登高/7605079 https://baike.baidu.com/item/七言律诗/10294898 #หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร #กลอนเจ็ดจีนโบราณ #ชีลวี่ #เกาเติง #กวีสมัยถัง #ตู้ฝู่
    สุดยอดกลอนเจ็ด ‘ชีลวี่’ จาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค1>สวัสดีค่ะ Storyฯ ย้อนกลับไปดูภาคแรกของ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร> เพื่อทวนความทรงจำรอดูภาคสอง เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูภาคแรกนี้ต้องจำได้ว่าในงานสังสรรค์ชมบทกวี พระเอกได้ยืมกลอนจากกวีเอกตู้ฝู่มาใช้โดยมั่นใจว่าจะไม่มีใครสามารถแต่งกลอนที่ดีกว่าได้เพราะกลอนบทนี้ของตู้ฝู่ถูกยกย่องให้เป็น ‘ที่สุด’ Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจทั้งหลายที่เคยได้ยินคำแปลของกลอนบทนี้คง ‘เอ๊ะ’ เหมือนกันว่ามันเป็น ‘ที่สุด’ อย่างไร วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กันก่อนอื่นขอแนะนำเกี่ยวกับกวีตู้ฝู่และกลอนบทนี้ กวีตู้ฝู่เป็นกวีเอกสมัยถัง (ค.ศ. 712–770) ถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดกวีและถูกขนานนามว่า ‘ราชันกวี’ และกลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เติงเกา’ (登高 แปลว่าปีนขึ้นที่สูง) เบื้องหลังของกลอนนี้คือ เป็นช่วงปี ค.ศ. 766 ซึ่งผ่านเหตุการณ์กบฏอันลู่ซานไปได้หลายปีแล้วแต่บ้านเมืองยังไม่สงบ สหายต่างสิ้นชีพกันไปเกือบหมด ตัวตู้ฝู่เองก็มีโรครุมเร้า เดิมอาศัยใต้ร่มบารมีของเหยียนอู่ เมื่อสิ้นเหยียนอู่ก็ไร้ที่พึ่งพาจำต้องเดินทางจากเมืองหลวงไป ตอนที่ตู้ฝู่แต่งกลอนบทนี้คือช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่เขาแวะพักฟื้นที่เขตขุยโจว (ปัจจุบันใกล้ฉงชิ่ง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแยงซีเกียง หรือฉางเจียงที่กล่าวถึงในบทกลอน) วันหนึ่งเขาปีนขึ้นหอสูงนอกเมืองไป๋ตี้ มองทิวทัศน์ก็รำลึกถึงอดีตและรู้สึกสะท้อนใจกับชีวิตที่ต้องระหกระเหินแม้ร่างกายเจ็บป่วย กลอนบทนี้สี่วรรคแรกจึงบรรยายถึงความงามแบบเศร้าๆ ของทิวทัศน์ในฤดูใบไม้เปลี่ยนสี สี่วรรคสุดท้ายบรรยายถึงสภาพตนเองที่มีแต่ความโศกเศร้าเป็นเพื่อน แม้แต่จะกินเหล้าดับทุกข์ก็ยังทำไม่ได้เพราะว่าร่างกายไม่เอื้ออำนวย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาคแรก> จึงมีฉากที่มีคนถามว่า พระเอกอายุยังน้อยจะสามารถแต่งกลอนที่แฝงด้วยความทุกข์ความเศร้าของคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวในชีวิตมาได้อย่างไรกลอนบทนี้ถูกยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดอักษรที่มีลักษณะเฉพาะ หรือที่เรียกว่า ‘ชีเหยียนลวี่ซือ’ (七言律诗) เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ (七律) ที่บอกว่ามีลักษณะเฉพาะเพราะว่ากลอนเจ็ดชีลวี่นี้หมายถึงกลอนเจ็ดสี่วรรคคู่ รวมแปดวรรค แต่ละวรรคมีเจ็ดอักษร มีแบบแผนจังหวะเสียงที่ตายตัว ทีนี้เรามาดูกันว่ามันเป็น ‘สุดยอด’ อย่างไรประเด็นแรกคือ หัวข้อ --- กลอนที่ดีจะพัฒนาถ้อยคำขึ้นรอบๆ หัวข้อของกลอน ในที่นี้หัวข้อคือ ความเศร้าของสารทฤดู ภาพทิวทัศน์คือใบไม้เปลี่ยนสีและธรรมชาติที่แฝงด้วยความเศร้า ความในใจคือความโศกเศร้าเชื่อมโยงกับสารทฤดู ทุกวรรคทุกประโยคล้วนส่งเสริมหัวข้อนี้แต่บรรยายให้เห็นราวภาพวาด แต่ข้อจำกัดของกลอนเจ็ดชีลวี่คือพอเข้าประโยคที่สามต้องเปลี่ยนเรื่อง... ใช่ค่ะ เปลี่ยนเรื่องโดยไม่หลุดจากหัวข้อ ดังนั้นเราจึงเห็นสองประโยคแรกเป็นการบรรยายทิวทัศน์ และประโยคสามเปลี่ยนมาพูดถึงตัวกวีเองแต่คุณสมบัติตามประเด็นแรกนี้หาไม่ยากในกลอนที่โด่งดังทั้งหลาย เรามาดูประเด็นที่เข้มข้นมากขึ้นกันประเด็นที่สองคือ แบบแผนจังหวะและเสียง --- กลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเฉพาะเจาะจงอยู่สี่แบบ และจังหวะที่ว่านี้คือจังหวะความเข้มเบาของเสียงอักษร โดย ‘เบา’ หมายถึงเสียงกลาง ซึ่งท่านที่เรียนภาษาจีนจะทราบว่าจริงๆ แล้วภาษาจีนไม่มีเสียงกลางเหมือนไทยแต่ผันเป็นสี่เสียง และอักษรที่อยู่ในกลุ่มเสียงเบานี้ส่วนใหญ่เป็นอักษรในเสียงสองหรืออาจเป็นอักษรเสียงแรก ส่วน ‘เข้ม’ คือหมายถึงเสียงอื่น แต่ในประเด็นนี้มีความละเอียดอ่อนของการผันเสียง เช่น หากเป็นอักษรแรกตอนเริ่มวรรคหรือหลังกลางวรรค เสียงเบาอาจผันเป็นเสียงเข้มได้ ฟังแล้วอาจงงแต่เราไม่ได้อยากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญก็อย่าไปเครียดกับมันค่ะ สรุปได้สั้นๆ ว่ากลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเบาเข้มที่ชัดเจน ซึ่งกวีต้องรู้ว่าอักษรใดคือเสียงเบา อักษรใดคือเสียงเข้ม และต้องเลือกใช้อักษรที่ให้เสียงเบาเข้มตามแบบแผนจังหวะที่เลือก ดังที่กล่าวมาข้างต้น ชีลวี่มีสี่แบบแผนจังหวะมาตรฐาน ซึ่งทั้งสี่แบบนี้ล้วนให้อิสระกับจังหวะของประโยคแรกและประโยคสุดท้าย แต่เข้มงวดเรื่องการเชื่อมโยงทางจังหวะของวรรคอื่นๆ อย่าเพิ่งงงค่ะ เรามาดูกลอน ‘เติงเกา’ เป็นตัวอย่าง เอกลักษณ์ของแบบแผนชีลวี่สรุปได้ดังนี้ (ดูรูปประกอบขวาล่าง) - จังหวะของวรรคท้ายในประโยคแรกและประโยคสามเหมือนกัน และต่อเนื่องมาถึงจังหวะของวรรคแรกในประโยคสองและวรรคแรกในประโยคสุดท้ายก็เหมือนกัน - ลงท้ายทุกประโยคด้วยเสียงเบาซึ่งทำให้จำนวนอักษรที่สามารถนำมาใช้ได้นั้นมีจำนวนจำกัดยิ่งขึ้น และ - จังหวะเข้มเบาของวรรคแรกและวรรคจบต้องเหมือนกันเชื่อว่าเพื่อนเพจคงรู้สึกเหมือน Storyฯ แล้วว่า การที่จะใช้อักษรให้สื่อความหมายได้ตามต้องการและยังอยู่ในกรอบแบบแผนจังหวะเสียงที่ว่ามานี้ยากมากและกวีผู้นั้นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาสูงมาก เท่านี้ยังไม่พอ ดีกรีความเข้มข้นของภาษาของกลอนบทนี้คือประเด็นสุดท้ายจะกล่าวถึงประเด็นสุดท้ายคือ ความเป็นคู่ --- หลายคนมักเข้าใจว่ากลอนจีนต้องมีความคล้องจองของคำ แต่ถ้าเพื่อนเพจดูจากคำออกเสียงที่ Storyฯ ใส่มาให้จะเห็นว่าเสียงไม่คล้องจองกันเลย ดังนั้นจะเห็นว่ากลอนจีนโบราณจริงแล้วให้ความสำคัญกับความคล้องจองของอักษรน้อยกว่าความเป็นคู่ ซึ่งความเป็นคู่อาจหมายถึง ‘คู่เหมือน’ หรือ ‘คู่ขัดแย้ง’ ซึ่ง Storyฯ เคยเกริ่นถึงแล้วในบทความเกี่ยวกับรหัสลับจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02a8RcKiQmJ1GyrL2pkPs4dKmeZDnuti8guSaVo2VgSTcG9obtJoguAX62Mx4DgbQLl) เพื่ออธิบายประเด็นความเป็นคู่นี้ Storyฯ เลยแปลและเรียบเรียงบทกวีนี้โดยไม่เน้นความไพเราะหรือความพลิ้วพราย แต่พยายามคงเอกลักษณ์ความเป็นคู่ของวรรคแรกและวรรคหลังของแต่ละประโยคไว้ (ดูรูปประกอบขวาบนนะคะ) จะเห็นว่าความเป็นคู่นี้มีลูกเล่นได้หลากหลาย อาทิ - คุณศัพท์ขยายนาม เช่นในประโยคแรก ลมแรง <-> น้ำใส และ ฟ้าสูง <-> ทรายขาว ; ประโยคสาม หมื่นลี้ <-> ร้อยปี- นามและกิริยา เช่นในประโยคแรก ลิงหวนไห้ <-> นกบินกลับ; - คำซ้ำๆ เหมือนกัน เช่นในประโยคที่สอง โปรยโปรย <-> ม้วนม้วน- คำที่ความหมายคล้ายคลึงด้วยจำนวนอักษรเท่ากัน เช่นในประโยคที่สอง ไร้ขอบเขต <-> ไม่สิ้นสุด- อารมณ์ที่ขัดแย้งกัน เช่นในประโยคสาม วรรคแรก ‘หมั่นมาเยือน’ ให้อารมณ์ความคึกคักขัดแย้งกับวรรคหลัง ‘ปีนหอเดียวดาย’ - อารมณ์สอดคล้องกัน เช่นในประโยคสุดท้ายที่ล้วนบรรยายถึงความยากลำบากทางกายและความระทมทางใจและหากเพื่อนเพจสังเกตดีๆ นอกจากความเป็นคู่ของคำที่ใช้แล้ว จะเห็นว่าตำแหน่งของคำเหล่านี้ล้วนเป็นตำแหน่งเดียวกันในวรรคแรกและวรรคหลัง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นคู่Storyฯ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมจีน แต่ที่พยายามแปลและยกมาเล่าให้ฟังนี้ เพื่อที่เพื่อนเพจจะได้อรรถรสถึงความซับซ้อนของกวีจีนโบราณ บ่อยครั้งที่เราได้ยินคำแปลกลอนจีนที่ไพเราะสละสลวยได้อารมณ์และความหมาย แต่ไม่เคยรู้เลยว่าคำแปลนั้นไม่สามารถสะท้อนถึงเอกลักษณ์ทางเทคนิคของบทกลอน Storyฯ เองเวลาแปลบทกวีจีนก็มักจะมองข้ามเอกลักษณ์ทางเทคนิคเช่นกัน และเอกลักษณ์ทางเทคนิคเหล่านี้นี่เองที่ช่วยเสริมให้บทกวี ‘เติงเกา’ ของตู้ฝู่บทนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดชีลวี่ยาวนานกว่าหนึ่งพันปี ทีนี้เข้าใจกันแล้วนะคะว่าบทกวีนี้เป็น ‘ที่สุด’ ได้อย่างไร(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_5325467 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/604660125_121119376 https://www.toutiao.com/article/6824075960027972109/?&source=m_redirect https://www.sohu.com/a/138168554_146329https://baike.baidu.com/item/登高/7605079 https://baike.baidu.com/item/七言律诗/10294898 #หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร #กลอนเจ็ดจีนโบราณ #ชีลวี่ #เกาเติง #กวีสมัยถัง #ตู้ฝู่
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1266 มุมมอง 0 รีวิว