• ช่วงนี้ Storyฯ ย้อนไปดูซีรีส์เก่า มีฉากหนึ่งในเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> ที่เตะตา เพื่อนเพจที่เคยดูคงจำได้ว่าพระนางของเรื่องต้องผ่านด่านกลหมากปริวรรตเพื่อช่วงชิงสุดยอดวิชาหลันอิงปี้เยวี่ย ซึ่งเป็นการต่อสู้กับจิตใจของตนเอง โดยในด่านสุดท้ายนั้นพระเอกต้องตัดสายใยที่อยู่ในใจทั้งหมดทิ้ง แต่พระเอกเลือกที่จะเหลือสายใยไว้หนึ่งเส้นซึ่งก็คือสายใยที่มีต่อนางเอก พร้อมกับวลีที่ว่า “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม สายใยความวุ่นวายแห่งทางโลกสามพันเส้น ข้าเหลือไว้เส้นหนึ่งจะเป็นไรไป?” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า>

    วันนี้มาคุยกันสั้นๆ เรื่องวลี “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม” (รั่วสุ่ยซันเชียน จื๋อฉวี่อี้เผียว / 弱水三千只取一瓢) (หมายเหตุ ซันเชียน แปลว่า สามพัน เป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงสามพันลี้)

    วลีนี้เคยถูกแปลไว้ว่า “แม่น้ำรั่วสามพันลี้ หนึ่งจอกดับกระหาย” เพื่อนเพจบางท่านอาจงงว่ามันต่างกันหรือไม่อย่างไร ขออธิบายก่อนว่า คำว่า ‘รั่วสุ่ย’ ในโบราณใช้หมายถึงลำธารที่อันตราบไม่สามารถใช้สัญจรได้ และ ‘รั่วสุ่ย’ ยังเป็นชื่อแม่น้ำสายหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ซานไห่จิงหรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ และแม่น้ำสายนี้ได้ถูกแปลมาเป็นภาษาไทยและอังกฤษว่า ‘แม่น้ำรั่ว’ นั่นเอง

    วลีนี้มีที่มาจากคำสอนทางศาสนาพุทธ เป็นนิทานว่าชายผู้ที่กำลังจะขาดน้ำตายเมื่อได้เห็นน้ำในลำธารก็โอดครวญอย่างเสียดายว่าน้ำทั้งลำธารจะดื่มอย่างไรหมด พระพุทธเจ้าจึงสอนว่าในชีวิตเรานั้นอาจพานพบหลากหลายสรรพสิ่งที่ดีงาม แต่เราไม่จำเป็นต้องครอบครองได้ทั้งหมด เพียงมีสิ่งเล็กๆ ที่สำคัญก็เพียงพอแล้ว ดังวลีนี้ที่เปรียบเปรยว่า น้ำในสายธารที่ทอดยาว ไม่จำเป็นต้องเอาน้ำมาดื่มใช้ให้หมด ขอเพียงหนึ่งชามก็พอยังชีพแล้ว

    แม้ว่าคำว่า ‘รั่วสุ่ย’ จะมีมาแต่โบราณ แต่วรรคที่ว่า ‘รั่วสุ่ยซันเชียน’ หรือ ‘ธารน้ำสามพัน(ลี้)’ ในรูปประโยคอย่างนี้ แรกปรากฏให้เห็นในอมตะวรรณกรรมเรื่อง <ความฝันในหอแดง> โดยเป็นตอนที่พระเอกเจี๋ยเป่าอวี้ใช้วลีเต็ม “แม้ธารน้ำยาวสามพันลี้ ข้าก็จะขอตักเพียงหนึ่งชาม” เพื่อบอกต่อนางเอกหลินไต้อวี้ว่า แม้จะมีสตรีอื่นรายล้อมเพียงใด เขาขอเพียงนางคนเดียวมาเป็นคู่ครองก็พอใจแล้ว และต่อมาวลีนี้จึงกลายเป็นวลีอมตะที่บ่งบอกถึงรักอันมั่นคง รักเดียวใจเดียว

    และด้วยคำว่า ‘รั่วสุ่ย’ ในโบราณแปลว่าสายธารที่อันตราย จึงมีการตีความวลี “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม” นี้เพิ่มเติมด้วยว่า กว่าจะตักน้ำนั้นมาได้หนึ่งชามก็ยากแสนยาก พึงเห็นคุณค่าของมันให้จงดี

    ดังนั้น จริงๆ แล้ววลีนี้ใช้ในบริบทอื่นก็ได้ เพื่อสื่อความหมายว่า ในบรรดาสรรพสิ่งมากมาย ขอเพียงได้ในสิ่งเดียวที่ตั้งใจที่มีคุณค่ามากมายต่อจิตใจเรา ก็เพียงพอแล้ว

    Storyฯ ถือโอกาสนี้แปะรูปมาให้แฟนคลับของหยางหยางดูว่า เขาไม่เพียงกล่าววลีนี้มาแล้วในละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> แต่เมื่อปี 2010 ยังเคยแสดงเป็นเจี๋ยเป่าอวี้ ในเรื่อง <ความฝันในหอแดง> ซึ่งเป็นต้นฉบับของวลีอมตะนี้ด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://imgur.com/20Mx6mv
    http://yule.sohu.com/20160617/n454973158.shtml
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/弱水三千只取一瓢/96378
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=242a130850f0cbde411c456e&lemmaId=96378&fromLemmaModule=pcBottom&lemmaTitle=%E5%BC%B1%E6%B0%B4%E4%B8%89%E5%8D%83%E5%8F%AA%E5%8F%96%E4%B8%80%E7%93%A2&fromModule=lemma_bottom-tashuo-article
    https://www.sohu.com/a/325578545_594411

    #เทียบท้าปฐพี #แม่น้ำรั่ว #สายธารสามพันลี้
    ช่วงนี้ Storyฯ ย้อนไปดูซีรีส์เก่า มีฉากหนึ่งในเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> ที่เตะตา เพื่อนเพจที่เคยดูคงจำได้ว่าพระนางของเรื่องต้องผ่านด่านกลหมากปริวรรตเพื่อช่วงชิงสุดยอดวิชาหลันอิงปี้เยวี่ย ซึ่งเป็นการต่อสู้กับจิตใจของตนเอง โดยในด่านสุดท้ายนั้นพระเอกต้องตัดสายใยที่อยู่ในใจทั้งหมดทิ้ง แต่พระเอกเลือกที่จะเหลือสายใยไว้หนึ่งเส้นซึ่งก็คือสายใยที่มีต่อนางเอก พร้อมกับวลีที่ว่า “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม สายใยความวุ่นวายแห่งทางโลกสามพันเส้น ข้าเหลือไว้เส้นหนึ่งจะเป็นไรไป?” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า> วันนี้มาคุยกันสั้นๆ เรื่องวลี “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม” (รั่วสุ่ยซันเชียน จื๋อฉวี่อี้เผียว / 弱水三千只取一瓢) (หมายเหตุ ซันเชียน แปลว่า สามพัน เป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงสามพันลี้) วลีนี้เคยถูกแปลไว้ว่า “แม่น้ำรั่วสามพันลี้ หนึ่งจอกดับกระหาย” เพื่อนเพจบางท่านอาจงงว่ามันต่างกันหรือไม่อย่างไร ขออธิบายก่อนว่า คำว่า ‘รั่วสุ่ย’ ในโบราณใช้หมายถึงลำธารที่อันตราบไม่สามารถใช้สัญจรได้ และ ‘รั่วสุ่ย’ ยังเป็นชื่อแม่น้ำสายหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ซานไห่จิงหรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ และแม่น้ำสายนี้ได้ถูกแปลมาเป็นภาษาไทยและอังกฤษว่า ‘แม่น้ำรั่ว’ นั่นเอง วลีนี้มีที่มาจากคำสอนทางศาสนาพุทธ เป็นนิทานว่าชายผู้ที่กำลังจะขาดน้ำตายเมื่อได้เห็นน้ำในลำธารก็โอดครวญอย่างเสียดายว่าน้ำทั้งลำธารจะดื่มอย่างไรหมด พระพุทธเจ้าจึงสอนว่าในชีวิตเรานั้นอาจพานพบหลากหลายสรรพสิ่งที่ดีงาม แต่เราไม่จำเป็นต้องครอบครองได้ทั้งหมด เพียงมีสิ่งเล็กๆ ที่สำคัญก็เพียงพอแล้ว ดังวลีนี้ที่เปรียบเปรยว่า น้ำในสายธารที่ทอดยาว ไม่จำเป็นต้องเอาน้ำมาดื่มใช้ให้หมด ขอเพียงหนึ่งชามก็พอยังชีพแล้ว แม้ว่าคำว่า ‘รั่วสุ่ย’ จะมีมาแต่โบราณ แต่วรรคที่ว่า ‘รั่วสุ่ยซันเชียน’ หรือ ‘ธารน้ำสามพัน(ลี้)’ ในรูปประโยคอย่างนี้ แรกปรากฏให้เห็นในอมตะวรรณกรรมเรื่อง <ความฝันในหอแดง> โดยเป็นตอนที่พระเอกเจี๋ยเป่าอวี้ใช้วลีเต็ม “แม้ธารน้ำยาวสามพันลี้ ข้าก็จะขอตักเพียงหนึ่งชาม” เพื่อบอกต่อนางเอกหลินไต้อวี้ว่า แม้จะมีสตรีอื่นรายล้อมเพียงใด เขาขอเพียงนางคนเดียวมาเป็นคู่ครองก็พอใจแล้ว และต่อมาวลีนี้จึงกลายเป็นวลีอมตะที่บ่งบอกถึงรักอันมั่นคง รักเดียวใจเดียว และด้วยคำว่า ‘รั่วสุ่ย’ ในโบราณแปลว่าสายธารที่อันตราย จึงมีการตีความวลี “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม” นี้เพิ่มเติมด้วยว่า กว่าจะตักน้ำนั้นมาได้หนึ่งชามก็ยากแสนยาก พึงเห็นคุณค่าของมันให้จงดี ดังนั้น จริงๆ แล้ววลีนี้ใช้ในบริบทอื่นก็ได้ เพื่อสื่อความหมายว่า ในบรรดาสรรพสิ่งมากมาย ขอเพียงได้ในสิ่งเดียวที่ตั้งใจที่มีคุณค่ามากมายต่อจิตใจเรา ก็เพียงพอแล้ว Storyฯ ถือโอกาสนี้แปะรูปมาให้แฟนคลับของหยางหยางดูว่า เขาไม่เพียงกล่าววลีนี้มาแล้วในละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> แต่เมื่อปี 2010 ยังเคยแสดงเป็นเจี๋ยเป่าอวี้ ในเรื่อง <ความฝันในหอแดง> ซึ่งเป็นต้นฉบับของวลีอมตะนี้ด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://imgur.com/20Mx6mv http://yule.sohu.com/20160617/n454973158.shtml Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/弱水三千只取一瓢/96378 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=242a130850f0cbde411c456e&lemmaId=96378&fromLemmaModule=pcBottom&lemmaTitle=%E5%BC%B1%E6%B0%B4%E4%B8%89%E5%8D%83%E5%8F%AA%E5%8F%96%E4%B8%80%E7%93%A2&fromModule=lemma_bottom-tashuo-article https://www.sohu.com/a/325578545_594411 #เทียบท้าปฐพี #แม่น้ำรั่ว #สายธารสามพันลี้
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 507 มุมมอง 0 รีวิว
  • ก่อนหน้านี้มีคุยเรื่องความหมายของดอกไม้ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เรื่องสุภาษิตจีนที่เกี่ยวกับดอกไม้

    เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <เทียบท้าปฐพี> คงเคยผ่านตาฉากที่พระเอกต้องแกล้งเป็นดื่มเหล้าเมาแล้วนางเอกเตือนไม่ให้ดื่มเยอะ ตัวร้ายถึงกับออกปากว่า “นางข้าหลวงคนนี้ มาจากในวังหรือ? ทั้งซื่อสัตย์และงดงามนัก เป็นดอกไม้งามที่เฉลียวฉลาด” (หมายเหตุ คำแปลยกมาจากซับไทยของละครเรื่องนี้)

    แต่เพื่อนเพจที่ไม่ทราบภาษาจีนคงไม่รู้ว่า ‘ดอกไม้งามที่เฉลียวฉลาด’ นี้ ในฉบับภาษาจีนใช้คำว่า ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ (解语花) แปลตรงตัวว่า เข้าใจ+ภาษา+ดอกไม้ (อุ้ย... ความหมายเพี้ยน!) เปรียบเปรยถึงหญิงงามที่ฉลาดมีความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็นวลีที่นิยมใช้ในสมัยซ่ง

    สุภาษิตนี้มีจุดกำเนิดจากบทประพันธ์เชิงประวัติศาสตร์ของนักอักษรศาสตร์ในช่วงปลายราชวงศ์ถังนามว่า หวางเหรินอี้ (ค.ศ. 880-956) เป็นเรื่องเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากสมัยองค์ถังเสวียนจง ฮ่องเต้องค์ที่เจ็ดแห่งราชวงศ์ถัง โดยฉากที่กล่าวถึงนี้บรรยายว่า วันหนึ่งในสารทฤดู เดือนแปด องค์ถังเสวียนจงทรงชื่นชมความงามของธรรมชาติอยู่ในอุทยานกับญาติๆ และนางใน ดอกบัวขาวบานสะพรั่งชูช่อเป็นที่ชื่นชมของผู้คน แต่แล้วทรงหันมาชี้นิ้วไปยังหยางกุ้ยเฟยที่ตามเสด็จมาด้วยแล้วเอ่ยว่า “ไยจะสู้เจี๋ยอวี่ฮวาของเรา” (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) เป็นเหตุการณ์ที่ถูกเล่ากันต่อๆ มาให้เป็นตัวอย่างว่าหยางกุ้ยเฟยเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังเสวียนจงเพียงใด

    ความหมายดั้งเดิมของ ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ ในตอนนั้นคือ บุปผาที่พูดได้ ย่อมงดงามกว่าบุปผาธรรมดา ใช้เปรียบเปรยสตรีที่งดงามยิ่งนัก และในเวลานั้นใช้หมายถึงหยางกุ้ยเฟยนั่นเอง

    ต่อมาคำว่า ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ ถูกนำมาใช้ในบทกวีและบทประพันธ์ของชนรุ่นหลัง ปัจจุบันเป็นสุภาษิตที่แปลว่าสตรีที่งามยิ่งนัก หรือสตรีที่ทั้งงามและมีเสน่ห์ (เพราะมีความเข้าอกเข้าใจคน)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://baike.baidu.com/item/解语花/9250245
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/解语花/9250245
    https://baike.baidu.com/item/王仁裕
    https://www.sohu.com/a/273086275_100069764
    https://cidian.qianp.com/ci/%E8%A7%A3%E8%AF%AD%E8%8A%B1

    #เทียบท้าปฐพี #หยางกุ้ยเฟย #เจี๋ยอวี่ฮวา
    ก่อนหน้านี้มีคุยเรื่องความหมายของดอกไม้ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เรื่องสุภาษิตจีนที่เกี่ยวกับดอกไม้ เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <เทียบท้าปฐพี> คงเคยผ่านตาฉากที่พระเอกต้องแกล้งเป็นดื่มเหล้าเมาแล้วนางเอกเตือนไม่ให้ดื่มเยอะ ตัวร้ายถึงกับออกปากว่า “นางข้าหลวงคนนี้ มาจากในวังหรือ? ทั้งซื่อสัตย์และงดงามนัก เป็นดอกไม้งามที่เฉลียวฉลาด” (หมายเหตุ คำแปลยกมาจากซับไทยของละครเรื่องนี้) แต่เพื่อนเพจที่ไม่ทราบภาษาจีนคงไม่รู้ว่า ‘ดอกไม้งามที่เฉลียวฉลาด’ นี้ ในฉบับภาษาจีนใช้คำว่า ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ (解语花) แปลตรงตัวว่า เข้าใจ+ภาษา+ดอกไม้ (อุ้ย... ความหมายเพี้ยน!) เปรียบเปรยถึงหญิงงามที่ฉลาดมีความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็นวลีที่นิยมใช้ในสมัยซ่ง สุภาษิตนี้มีจุดกำเนิดจากบทประพันธ์เชิงประวัติศาสตร์ของนักอักษรศาสตร์ในช่วงปลายราชวงศ์ถังนามว่า หวางเหรินอี้ (ค.ศ. 880-956) เป็นเรื่องเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากสมัยองค์ถังเสวียนจง ฮ่องเต้องค์ที่เจ็ดแห่งราชวงศ์ถัง โดยฉากที่กล่าวถึงนี้บรรยายว่า วันหนึ่งในสารทฤดู เดือนแปด องค์ถังเสวียนจงทรงชื่นชมความงามของธรรมชาติอยู่ในอุทยานกับญาติๆ และนางใน ดอกบัวขาวบานสะพรั่งชูช่อเป็นที่ชื่นชมของผู้คน แต่แล้วทรงหันมาชี้นิ้วไปยังหยางกุ้ยเฟยที่ตามเสด็จมาด้วยแล้วเอ่ยว่า “ไยจะสู้เจี๋ยอวี่ฮวาของเรา” (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) เป็นเหตุการณ์ที่ถูกเล่ากันต่อๆ มาให้เป็นตัวอย่างว่าหยางกุ้ยเฟยเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังเสวียนจงเพียงใด ความหมายดั้งเดิมของ ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ ในตอนนั้นคือ บุปผาที่พูดได้ ย่อมงดงามกว่าบุปผาธรรมดา ใช้เปรียบเปรยสตรีที่งดงามยิ่งนัก และในเวลานั้นใช้หมายถึงหยางกุ้ยเฟยนั่นเอง ต่อมาคำว่า ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ ถูกนำมาใช้ในบทกวีและบทประพันธ์ของชนรุ่นหลัง ปัจจุบันเป็นสุภาษิตที่แปลว่าสตรีที่งามยิ่งนัก หรือสตรีที่ทั้งงามและมีเสน่ห์ (เพราะมีความเข้าอกเข้าใจคน) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://baike.baidu.com/item/解语花/9250245 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/解语花/9250245 https://baike.baidu.com/item/王仁裕 https://www.sohu.com/a/273086275_100069764 https://cidian.qianp.com/ci/%E8%A7%A3%E8%AF%AD%E8%8A%B1 #เทียบท้าปฐพี #หยางกุ้ยเฟย #เจี๋ยอวี่ฮวา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 395 มุมมอง 0 รีวิว